โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

พบคนงานเหมืองทองพม่าเป็นโรคปอดจำนวนมาก เผยไม่มีเครื่องมือช่วยกรองอากาศ

Posted: 26 Nov 2013 10:07 AM PST

คนงานเหมืองทองในเมือง Sinktu และ Thabait Kyin เขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า กำลังประสบปัญหาจากโรคติดเชื้อในปอด เนื่องจากต้องทำงานขุดเจาะเหมืองไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจ

26 พ.ย. 2556 สำนักข่าวโกลบอลโพสต์รายงานว่า ในเขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า แม้จะมีเหมืองทองจำนวนมากกว่า 30 เหมือง แต่คนทำงานเหมืองก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก พวกเขาต้องใช้เครื่องมือเป็นสว่านลมขึ้นสนิมและระเบิดไดนาไมท์ทำเอง ห้อยตัวด้วยเชือกบางๆ ลงไปใต้พื้นดิน 500 ฟุต ในสภาพเปลือยกายครึ่งตัวมีเพียงผ้าขี้ริ้วป้องกันใบหน้าขณะที่ทำการขุดเจาะหาทองจากหิน

วัด เทย์ (Wat Tay) คนงานเหมืองอายุ 35 ปีจากเมือง Sinktu กล่าวว่าพวกเขาทำการเจาะหินให้แตกด้วย "ปืนอัดแรงดัน" ทำให้ต้องสูดหายใจเอาอนุภาคฝุ่นที่มาจากการแตกตัวของหินเข้าไป พวกเขากลายเป็นโรคติดเชื้อในปอด ซึ่งพวกเขาเรียกกันว่าเป็น "โรคปืนอัดแรงดัน" (gun disease)

ไม่เพียงแค่คนขุดเจาะหินเท่านั้น คนงานกะกลางคืนที่รอขนแร่ทองหรือช่วยเพื่อนร่วมงานอยู่ที่อุโมงค์เหมืองต้องแช่อยู่ในโคลนเป็นเวลานาน หลังจากที่พวกเขาทำงานมาได้สิบปี ปอดของพวกเขาก็เริ่มใช้การไม่ได้ มีส่วนหนึ่งต้องรักษาตัวอยู่ในกระท่อมไม้ไผ่โดยต้องคอยให้ออกซิเจน

"เจ้าของเหมืองทองไม่สนใจปัญหาสุขภาพของพวกเราคนทำงานเหมือง ปัญหาสุขภาพจึงเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาไม่เคยจ่ายเงินเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของพวกเรา เราจึงต้องทำกันเอง เช่นการใช้เสื้อคลุมปากตัวเอง หรือซื้อหน้ากากราคาถูกเพื่อกรองฝุ่นที่เราหายใจเข้าไป" วัด เทย์ กล่าว

ก่อนหน้าปี 2554 ซึ่งกลุ่มเผด็จการทหารยังคงปกครองประเทศพม่า กิจการเหมืองแร่ทั้งหมดในพม่าถือเป็นของรัฐบาล แต่หลังจากนั้นเหมืองแร่ก็ถูกขายให้เป็นกิจการของเอกชน เช่นเหมืองแร่ Sinktu ซึ่งมีขนาด 7 ตารางไมล์ (ราว 11 ตร.กม.) มีคนงานกว่า 500 คน

กระทรวงเหมืองแร่ของทางการพม่าในตอนนี้เป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (non-equity partner) ของบริษัทเหมืองเอกชนซึ่งจะได้รับหุ้นร้อยละ 30 จากการส่งออก กำไร และค่าสัมปทาน ภายใต้กฎหมายเหมืองแร่ปี 2537 แต่ก็กำลังมีการหารือเพื่อชำระกฎหมายนี้เนื่องจากไม่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ

โกลบอลโพสต์ระบุอีกว่า พม่าผลิตและส่งออกทองคำน้อยมากเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ ของโลก โดยก่อนหน้าปี 2554 พม่า ผลิตทองคำเพียง 100 กก. ต่อปี แต่หลังจากนั้นก็สามารถผลิตได้มากขึ้นสองเท่าตามความต้องการของโลกและการผ่อนปรนการคว่ำบาตร แต่ก็ยังคงตามหลังจีนอยู่ห่างมากในแง่การผลิต ซึ่งจีนทำได้มากกว่า 360,000 กก. ต่อปี

อย่างไรก็ตาม พม่ามีแหล่งแร่จำนวนมากซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตด้านการส่งออก ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในพม่าซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการลดค่าเงินดอลลาร์ ทำให้มีคนฉวยโอกาสนี้ขายอัญมณีในราคาที่สูงและหวังจะซื้อคืนหากราคาตกลง

มีการจัดเวทีพูดคุยในพม่าโดยมีรัฐบาลพม่า เจ้าของเหมือง และกระทรวงเหมืองแร่ พยายามเจรจากับนักลงทุนต่างชาติจากบรรษัทต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายต้องการลดระดับความยากจนจากร้อยละ 26 เหลือร้อยละ 16 ภายในปี 2558 โดยการส่งออกทรัพยากรทองคำ อย่างไรก็ตามความต้องการส่งออกมากขึ้น ทำให้ต้องอาศัยแรงงานคนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงชั่วโมงทำงานที่มากขึ้น และความช่วยเหลือทางการแพทย์มากขึ้นด้วย

แม้ว่ามีการผ่านร่างกฎหมายแรงงานในประเทศพม่าแล้ว และองค์การแรงงานระหว่างประเทศก็ได้ยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนในพม่า แต่แรงงานยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ภายใต้ความเสี่ยง

โกลบอลโพสต์รายงานว่าคนงานเหมืองจะได้รับอาหารเป็นกล้วยหนึ่งหรือสองผลหลังกะทำงาน เพื่อแค่ให้ได้สารอาหารเท่านั้น แต่เจ้าของเหมืองไม่ได้ให้อุปกรณ์ช่วยหายใจแก่คนงาน และคนงานก็ไม่มีเงินพอที่จะซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ นอกจากนี้แม้ว่าจะมีกรณีคนเป็นโรคปอดเกิดขึ้นมาก แต่ก็ไม่มีระบบดูแลสุขภาพเพื่อวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่คนงานพากันเรียกว่า "โรคปืนอัดแรงดัน"

คนงานที่ป่วยจะได้รับถังออกซิเจนและปล่อยให้ช่วยเหลือตัวเอง โดยที่พวกเขาอ่อนแอเกินกว่าจะหางานใหม่หรือแม้กระทั่งออกจากกระท่อม

คิน โตน เซย (Kwin Tone Sel) คนงานเหมืองในเมือง Sintku อายุ 42 ปี ที่เป็นโรคปอดจนลุกจากเตียงไม่ได้บอกว่า เขาหายใจได้ไม่ดีนัก เวลาเขาหายใจ กล้ามเนื้อช่องท้องจะบีบเกร็งจนเจ็บไปถึงข้างหลัง เขาจึงเจ็บทุกครั้งที่หายใจ เขาเคยได้รับยารักษาวัณโรคสองครั้งแต่ยาก็ไม่มีผลสำหรับเขา

 

 

เรียบเรียงจาก

'Gun disease' afflicts Myanmar's gold miners, Globalpost, 25-11-2013
http://www.globalpost.com/dispatches/globalpost-blogs/rights/gold-mines-myanmar-gun-lung-disease

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กป.อพช.วอนถอยคนละก้าว ขอผู้ชุมนุมยึดสันติวิธี-ประชาธิปไตย

Posted: 26 Nov 2013 07:52 AM PST

กป.อพช.หวั่นการชุมนุมเกิดความรุนแรง ออกแถลงการณ์วอนทุกฝ่ายถอยคนละก้าว ขอให้ชุมนุมสันติยึดแนวทางประชาธิปไตย

26 พ.ย.2556 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ออกแถลงการณ์เรียกร้องทุกฝ่ายถอยคนละก้าวเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อน เรียกร้องรัฐบาลยกเลิกประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง วอนทุกฝ่ายถอยคนละก้าว ขอให้ผู้ชุมนุมชุมนุมอย่างสันติตามแนวทางประชาธิปไตย และให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่

......................................

แถลงการณ์คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
รักษาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ นำพาสังคมไทยออกจากความรุนแรง ไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง

จากการที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 อันนำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจำนวนมาก ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ ฯ ดังกล่าว รวมทั้งการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน แถลงปฏิเสธอำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันก่อให้เกิดความขัดแย้งและความสับสน เกี่ยวข้องกับหลักการและวิถีทางประชาธิปไตย

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เห็นว่า ขณะนี้ปัญหาความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากำลังลุกลาม บานปลาย ขยายตัว และเสี่ยงต่อความรุนแรงที่อาจยุติลงด้วยการนองเลือด จนอาจกลายเป็นวิกฤติการณ์อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ นำพาสังคมไทยออกจากความรุนแรง กป.อพช. ขอเสนอจุดยืนและข้อเรียกร้องไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา ดังนี้

1. ในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้ สถาบันและองค์กรที่เป็นหลักของระบอบประชาธิปไตย อันได้แก่ รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมา โดยยึดถือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ทุกฝ่ายจำต้องยอมรับเป็นกติการ่วมกันไปก่อน

2. ในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และกลุ่มประชาชนที่กำลังเคลื่อนไหวทุกกลุ่ม ต้องถอยกันคนละก้าว และยอมรับการเจรจาเป็นกระบวนการคลี่คลายวิกฤติการณ์ความขัดแย้ง โดยรัฐบาลต้องยกเลิกการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และในฐานะผู้รับผิดชอบการบริหารประเทศรัฐบาลต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดให้มีการเจรจา โดยในการเจรจาต้องให้ความสำคัญกับความเห็นและความต้องการที่ประชาชนได้แสดงออกผ่านการชุมนุม

3. ในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้ ผู้ชุมนุมทุกกลุ่มซึ่งกำลังใช้สิทธิเสรีภาพในแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ต้องใช้แนวทางสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง ยึดหลักการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชัง ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมาย ไม่บุกรุกสถานที่ราชการ และไม่ทำลายสาธารณสมบัติ

4. ในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้ สถาบัน องค์กร และทุกกลุ่มพลังทางการเมือง ต้องเชื่อมั่นและยืนยันที่จะใช้วิถีทางประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ไม่เรียกร้องหรือสนับสนุนการรัฐประหาร

5. หลังจากที่วิกฤติการณ์ความขัดแย้งเฉพาะหน้าคลี่คลาย ทุกฝ่ายต้องร่วมมือผลักดันขับเคลื่อนสังคมไทยให้ก้าวสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง โดยสร้างกลไกและกระบวนการ เพื่อเปิดพื้นที่และโอกาสที่ทุกสถาบัน ทุกกลุ่มพลังทางการเมือง ตลอดจนกลุ่ม องค์กรและเครือข่ายของภาคประชาสังคม ได้ร่วมกันสรุปประสบการณ์และทบทวนบทเรียน เพื่อจัดทำรายละเอียดของระบอบประชาธิปไตยไทย อันหมายรวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย

6. ในการจัดทำรายละเอียดของระบอบประชาธิปไตยไทย และการแก้รัฐธรรมนูญนั้น จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ ให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจ ให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอกฎหมาย มีส่วนร่วมในการตัดสินนโยบายที่อาจมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของตน และให้องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร มีความเชื่อมโยงกับประชาชนและมีความเป็นองค์กรอิสระอย่างแท้จริง

กป.อพช. เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หลักการและแนวทางที่ระบุข้างต้นจะสามารถ รักษาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ นำพาสังคมไทยออกจากความรุนแรง คลี่คลายวิกฤติการณ์การเผชิญหน้า และนำสังคมไทยไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง

ด้วยความสมานฉันท์
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
26 พฤศจิกายน 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำปราศรัยสุเทพ เทือกสุบรรณ: 6 ปฏิรูปหลังระบอบทักษิณ

Posted: 26 Nov 2013 07:13 AM PST

สุเทพ เทือกสุบรรณ เสนอการปฏิรูปประเทศ 6 ข้อหลังขจัดระบอบทักษิณ ลั่นสุเทพ-อภิสิทธิ์จะไม่เป็นนายกฯ เพราะไม่ได้สู้เพื่อตัวเอง จะไม่แช่แข็งประเทศ แต่จะแช่แข็งนักการเมือง จะมีสภาประชาชน เลือกคนดีเป็น ครม.ในฝัน-รัฐบาลประชาชน และถ้าไม่อยากแพ้ระบอบทักษิณ ต้องลงมือยึดสถานที่ราชการทั่วประเทศพรุ่งนี้

 

สุเทพลั่นจะสู้เพื่อขจัดระบอบทักษิณที่อ้างประชาธิปไตยแค่ชื่อ เนื้อแท้คือเผด็จการ

26 พ.ย. 2556 - เมื่อคืนวันที่ 26 พ.ย. เวลา 19.30 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี แกนนำผู้ชุมนุมขจัดระบอบทักษิณได้ปราศรัยที่กระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะต้องขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทยให้จงได้ แล้วสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง ต้องเน้นว่าต้องเป็น 'ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็นประมุขอย่างแท้จริง' เพราะว่าในช่วงที่ระบอบทักษิณปกครองบ้านเมือง มันไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง มันเป็นประชาธิปไตยแค่ชื่อ เป็นเพียงเปลือกนอก เนื้อแท้คือเผด็จการเสียงข้างมาก แอบอ้างอำนาจประชาชน แล้วมาใช้อำนาจนั้นตามอำเภอใจ

"พวกมันใช้สภาที่มีเสียงข้างมาก ทำลาย ย่ำยี หลักการปกครองบ้านเมือง ที่จะต้องปกครองด้วยนิติธรรม ด้วยกฎหมาย แต่คนพวกนี้มันปกครองแบบอธรรม ใช้พวกมากข่มเหงรังแกตามอำเภอใจพวกมัน นายมันโกงชาติไปเสวยสุขต่างประเทศ ทั้งที่ศาลพิพากษาแล้ว แต่มันบอกนายมันไม่ผิด ต้องทำคำพิพากษาเป็นหมัน เป็นโมฆะ ใช้กับคนอื่นได้ แต่ใช้กับนายมันไม่ได้ ใช้สภาอ้างเสียงข้างมาก ออกกฎหมายเพื่อล้างความผิดให้คนที่ฆ่า พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และทหารของประชาชน ฆ่าตำรวจ และประชาชนที่บริสุทธ์ ปล้นทรัพย์ เผาบ้านเผาเมือง ทั้งหมดนี้สู้เพื่อนายมันคนเดียว"

"อีกทั้งยังพยายามที่จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ พอถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยท้วงติง เขียนทั้งฉบับไม่ได้ ต้องเขียนทีละมาตรา มันเลยเขียนทีละมาตรา แต่ให้รวบอำนาจแก่พวกมัน เพื่อรอนายมันกลับมามีอำนาจ และปรากฏชัดในสายตาชาวไทยทั้งประเทศ ในการแก้รัฐธรรมนูญนั้นมันทำด้วยการโกง ฉ้อฉลทุกรูปแบบ ขืนใจคนไทยให้ได้ เพื่อทำลายหลักความถูกต้อง ความชอบธรรมทั้งหลาย"

"แล้วในสภาก็ปิดปากคนอื่น ที่ต้องการอภิปรายแก้ไขให้มันถูกต้อง แต่มันไม่ยอมให้อภิปรายไม่ให้แสดงเหตุผลอะไร มันปิดอภิปราย ปิดปาก ส.ส.ของประชาชน กลัวไม่ชนะก็โกงคะแนนลงมติ คนของมันมาประชุมไม่ครบ แต่มันให้คนอื่นไปลงคะแนนแทน เสียบบัตรแทน นี่มันทำอย่างเดียวกับที่โกงเลือกตั้ง ในที่สุดมันข่มขืนใจคนไทยทั้งประเทศ เอารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขของมัน ผลักดันจนสำเร็จ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาได้วินิจฉัยพิพากษาว่าเนื้อหาสาระที่แก้นั้น จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ทำให้เกิดการรวบอำนาจทางการเมืองขึ้น ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่แบ่งอำนาจอธิปไตยออกจากกัน ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาว่าทุกขึ้นตอนที่ทำกันมานั้น ผิด ผิด ผิด และผิดทั้งหมด"

 

ไม่ยอมรับศาล รธน. เท่ากับไม่เคารพรัฐธรรมนูญ จึงไม่ชอบธรรมอีกต่อไป

สุเทพ กล่าวต่อว่า แทนที่พวกมันจะน้อมรับคำวินิจฉัยของศาล มันกลับโอหัง บังอาจ ดาหน้าออกมา ประกาศต่อคนทั้งประเทศมันไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมรับฟังคำวินิจฉัย ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด และจะเล่นงานศาล

เมื่อรัฐบาลปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ เท่ากับปฏิเสธในบทบัญญัติกฎหมายสูงสุดของประเทศ แปลว่าไม่เคารพหฎหมายรัฐธรรมนูญ ในเมื่อมันปฏิเสธ มันไม่ยอมรับ ไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ มันจึงเป็นรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป คำสั่งที่ออกมาจากรัฐบาลไม่ชอบธรรม เป็นโมฆะ เราไม่จำเป็นต้องรับฟังและปฏิบัติตาม

สุเทพ กล่าวด้วยว่า ต้องกราบขออภัยพี่น้อง เมื่อคืน ตั้งใจจะพูดว่า 'เมื่อรัฐบาลไม่ฟังศาล ไม่เคารพศาล เราก็ไม่ต้องเคารพรัฐบาล' ดันไปพูดว่า 'เมื่อรัฐบาลไม่ฟังศาล เราก็ไม่ต้องฟังศาล' คนมาท้วงว่าไปพูดออกอากาศแบบนั้นไม่ถูกต้อง ผมต้องขออภัยพี่น้องด้วย ที่ผมตั้งใจจะพูดคือ 'เมื่อรัฐบาลไม่เคารพศาล ไม่เคารพกฎหมาย เราก็ไม่ต้องฟังรัฐบาล' และเรามีสิทธิที่จะลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องกฎหมายรัฐธรรมนูญ รักษาขื่อแปของบ้านเมืองไว้ ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองจะเป็นกลียุค เพราะจะไม่มีใครในประเทศนี้เคารพกฎหมายกันอีกต่อไป

 

รากเหง้าปัญหามาจากการเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้คนโกงเข้ามา

สุเทพกล่าวต่อไปว่า รากเหง้าปัญหามาจากกระบวนการเลือกตั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันยังเปิดโอกาสให้คนซื้อสิทธิขายเสียง ให้คนโกงเลือกตั้ง ให้ทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้คนชั่วจำนวนหนึ่งชนะการเลือกตั้ง ไปชูคออยู่ในสภาผู้แทน คนชั่วพวกนี้ ข้าทาสพวกนี้ รับเงินมาจากนายทาส ที่เราเรียกว่า 'นายทุนสามานย์' เอาไปซื้อเสียง มันจะไม่ใช่ผู้แทนประชาชน เพราะไม่ได้หัวใจประชาชน ได้แต่คะแนน เพียงแต่เอานายทาสไปปกครอง เขาเลยเรียกว่าระบบทุนสามานย์ ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ถ้าเราขจัดระบอบทักษิณได้ เราต้องร่วมกันคิด วางกฎเกณฑ์กติกากันใหม่ เราต้องทำการเลือกตั้งในประเทศไทย บริสุทธิ์ ยุติธรรม ซื้อเสียงไม่ได้ โกงไม่ได้ และต้องไม่ให้คนชั่วได้มีโอกาสเข้ามานั่งในสภา ทำเรื่องชั่วๆ อย่างที่มันทำทุกวันนี้ ไม่ให้คนชั่วมาแอบอ้างอำนาจประชาชนมาแอบอ้างชื่อระบอบประชาธิปไตย แล้วมากระทำการอย่างไม่ฟังเสียงอำนาจประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียวอย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้

 

ข้อเสนอ 6 ปฏิรูป หลังระบอบทักษิณ ต้องทำให้เลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม - ประเทศปลอดคอร์รัปชั่น

นี่คือคำตอบว่า ถ้าขจัดระบอบทักษิณที่เป็นพิษเป็นภัยแล้วจะทำอะไร คำตอบคือต้องร่วมกันคิด เปลี่ยนแปลงประเทศไทยในข้อนี้ เรื่องแรก ต้องให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ให้คนชั่วเข้ามา

เรื่องที่สอง ที่เราจะเปลี่ยนให้ได้ในประเทศไทย คือเราจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไม่ให้ทุจริต คอร์รัปชั่นจนชาติวิบัติเสียหายอย่างที่เป็นอยู่ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นนักธุรกิจการเมือง นายทุนสามานย์ เห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ ลงทุน แล้วถอนทุนเมื่อชนะเลือกตั้ง ทำให้มีการคอร์รัปชั่น โกงกันวินาศ เลือกตั้งครั้งหนึ่งใช้เงินไม่ถึงหมื่นล้าน ซื้อเสียงให้บริวารของมัน พอได้เสียงมากเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาล ที่ลงทุนเป็นหมื่นล้าน มันโกงกลับเป็นแสนล้าน พี่น้องก็เห็นอยู่ ในกลุ่มพวกมันเลยมีพวกใจถึง กล้าทุ่มเงินในการเลือกตั้ง เพราะไม่มีธุรกิจใดในสายตาพวกมัน ที่จะได้กำไรหลายร้อยหลายพันเท่า เหมือนธุรกิจการเมือง

"เรารักชาติของเรา อยากเห็นประเทศก้าวหน้า ต้องขจัดคอร์รัปชั่นให้ได้ ต้องร่วมกันทำทุกอย่าง ต้องอบรมลูกหลานของเรา ไม่ให้ยกย่องคนชั่วที่มาจากการโกง การทุจริต ต้องบอกว่าโตขึ้นจะไม่โกง ทำให้อยู่ในสมอง ไม่ใช่พี่น้องได้ยินอยู่ทุกวันนี้ โกงไม่เป็นไร แต่ฉันได้ แบบนี้ชาติฉิบหายแน่นอน มันทำให้คนไทยชินเสียแล้วว่านักการเมืองต้องโกง ต้องคอร์รัปชั่น"

 

ต้องแก้กฎหมายคดีคอร์รัปชั่นต้องไม่มีอายุความ

เราจะทำอย่างไร เราจะออกกฎหมายว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถ้าโกงวันนี้ ถึงเกิน 10 ปี 20 ปี ถ้ามึงไม่ตาย มึงต้องติดคุก ดูอย่างนายประชา มาลีนนท์ ถูกสั่งจำคุก ตอนมันเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย มันหนีไปอยู่ถ่ายรูปกับทักษิณ หน้าระรื่น หมดอายุความเมื่อไหร่มันก็กลับมาบริหารช่องทีวีต่อไป ผมคงไม่ต้องกล่าวหาว่าที่ช่อง 3 ไม่มาทำข่าวประชาชน เพราะประชาชนต่อต้านการทุจริต ที่เจ้าของช่อง 3 ได้กระทำมาหรีอไม่

ซึ่งเหมือนทักษิณ ที่ไปอ้อนประชาชน หลอกลวงให้ช่วยกันพามันกลับบ้าน ไม่กี่ปีก็ได้กลับบ้านแล้ว คนต่อต้านคือพวกเรา ที่ตากแดด ตากฝน ร้องเพลงเสียงแหบเสียงแห้ง แต่มันมีเครื่องบินส่วนตัว เวลาจะกินข้าว ต้องสั่งนักร้องจากเมืองไทยไปร้องเพลงให้มันฟัง พวกเราอย่างมากก็ฟังหลวงปู่พุทธะอิสระเทศน์ไปพลาง กินข้าวห่อไปพลาง ดังนั้นเราต้องทำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ออกกฎหมายปราบคอร์รัปชั่น แต่การออกกฎหมายทำไม่ได้ ถ้าสภานี้ยังเป็นสภาทาส มันก็จะปกป้องนายของมัน นี่เป็นคำตอบสำหรับคนที่บอกเราว่าไม่ออกมาสู้ เพราะไม่รู้ว่าสู้แล้วจะทำอะไร

 

ต้องทำให้ประชาชนสามารถถอดถอนนักการเมืองได้เห็นผลจริง และให้เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง

ข้อที่สาม ที่เราจะต้องทำ ต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ก็คือ ให้นักการเมืองเคารพอำนาจประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มาข่มขู่เหมือนหมูเหมือนมา จะหลอกก็ได้ จะกระทืบก็ได้ จะต้มก็ได้ ทำแบบนี้ไม่่ยอมโว้ย ต้องมีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนมีอำนาจในการเมืองการปกครอง เช่น ประชาชนต้องสามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ถ้ามันทำชั่ว จนมันปรากฏเป็นข่าวไปทั้งโลกแบบนี้ ต้องให้ประชาชน ถอดถอน ส.ส. ได้เหมือนกับ ส.ส. ทาสที่มันบังอาจออกกฎหมายล้างผิดให้นายมัน ออกรัฐธรรมนูญให้นายมันรวบอำนาจ

ผมพูดอย่างนี้จะมีคนเถียงทันที ไอ้พวกหัวหมอทั้งหลายจะบอกว่าเดี๋ยวนี้ก็ถอนได้เข้าชื่อ 20,000 ก็ถอนได้ ตอนนี้เข้าชื่อ 120,000 คน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะถอดถอนได้ชาตินี้หรือชาติหน้า พี่น้องทั้งหลาย เราจึงต้องให้อำนาจประชาชน ต้องมีกระบวนการรับรองอำนาจประชาชนเอาไว้ ถอดถอนใช้เวลาไม่ยืดยาวต้องเห็นผล 5 เดือน 6 เดือน ไม่ใช่รอเป็นปี นี่ส่งชื่อเป็นแสนกว่าชื่อ มันบอกต้องตรวจสอบสามเดือน ตรวจสอบชื่อเสร็จ ไม่รู้กระบวนการสอบสวน ปปป. อีกกี่ปี นี่คนชั่วก็ลอยนวล หายใจได้นานเกินไป

"การเคารพในอำนาจของประชาชน จะมีอีกเรื่องหนึ่ง ต้องกระจายอำนาจในการปกครองบ้านเมือง ให้อยู่ในมือประชาชนจริงๆ ให้มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น ทุกจังหวัดต้องได้เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเหมือนกรุงเทพมหานคร ไม่เอาอีกแล้วที่ผู้ว่าราชการแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง ไม่เอาอีกแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาซื้อตำแหน่งจากคุณนายแดง ไม่เอาอีกแล้ว เพราะผู้ว่าอย่างนั้น มันไปรีดนาทาเร้น ไปโกง ไปข่มเหงประชาชน อ้างว่าเอามาใช้หนี้ที่ลงทุนซื้อตำแหน่ง แถมบวกกำไร เหมือนนายมัน ที่ชั่วเช่นเดียวกับมัน"

 

ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ - ให้อยู่ใต้ผู้ว่าราชการจังหวัด

สุเทพเสนอมาตรการปฏิรูปประเทศข้อสี่ว่า "สี่ต้องปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ เป็นตำรวจของประชาชน ต้องให้ประชาชนเป็นคนให้ความดีความชอบตำรวจเพราะฉะนั้น กตร. คณะกรรมการตำรวจจึงต้องเป็นประชาชน ไม่ใช่ตำรวจด้วยกันหรือข้าราชการที่นายมันตั้ง พอกันที ตำรวจมาลอยหน้าลอยตา บอกว่า "ที่ได้ดีวันนี้ เพราะพี่ให้" ต่อไปถ้าตำรวจจะได้ดี ต้องได้ดีเพราะประชาชนเห็นคุณความดี และให้รางวัล"

"กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ไอ้แจ๊ดมันอยู่ ต้องอยู่ภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัด จังหวัดอื่นก็เช่นเดียวกัน"

 

ข้าราชการต้องใช้ระบบคุณธรรม ไม่ใช่เล่นพรรคเล่นพวก

ประการที่ห้า เราต้องออกแบบ ระบบกฎหมาย กติกา ว่าข้าราชการนั้นต้องเป็นข้าราชการในระบบคุณธรรม ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์เล่นพรรคเล่นพวก ข้าราชการต้องเป็นข้าราชการของประชาชนของประชาชน ไม่ใช่ข้าราชการของนักการเมืองหรือขี้ข้านักการเมือง

 

การศึกษา สังคม สาธารณสุข ขนส่งต้องเป็นวาระแห่งชาติ และเลิกประชานิยมทั้งหลาย

ประการที่หก ที่เราจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย คือบรรดาด้านการศึกษา สังคม สาธารณสุข คมนาคมขนส่ง ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติ ใครมาเป็นรัฐบาลต้องทำ ไม่ใช่ใครเป็นรัฐบาลทำตามอำเภอใจ ไม่สนใจเป้าหมายของชาติ เราจะปล่อยให้การศึกษาลูกหลานมันด้อยมันแย่กว่าเพื่อนบ้านไม่ได้อีกต่อไป นี่คือสิ่งที่ต้องแก้ไข "เรื่องของคนจนต้องเป็นวาระแห่งชาติ พอกันทีที่ให้คนจนหากินไปวันๆ ด้วยประชานิยมทั้งหลาย"

"ด้านคมนาคมขนส่งก็เช่นเดียวกัน เพื่อประโยชน์ชาติ ไม่ใช่เพื่อคะแนนนิยม เช่น รถไฟความเร็วสูง ต้องทำเพื่อประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ทำไปขนผักบ้านคุณตาคุณยายมัน เลิกคิดที่จะกู้เงิน 2 ล้านล้านทำรถไฟขนผักเป็นภาระลูกหลานชาตินี้ชาติหน้า 50 ปีไม่เอา"

"เรื่องธุรกิจ การค้าการขายเช่นเดียวกัน พ่อค้านักธุรกิจมีฝีมือ แพ้นักธุรกิจต่างชาติ รัฐบาลไม่ต้องไปควบคุมเขา ไม่ต้องออกกฎหมายยุกยิกจุกจิกจนเป็นเครื่องมือหากินของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าได้ต้องส่งเสริมนักธุรกิจ และไม่ผูกขาด เหมือนเช่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ผูกการค้าข้าวจนเจ๊งไปห้าแสนล้าน"

 

ขจัดระบอบทักษิณแล้ว จะตั้งสภาประชาชน ครมในฝัน รัฐบาลประชาชน

จากนั้นสุเทพ กล่าวว่า "ผมพูดไว้ก่อนเป็นตัวอย่าง ไม่รู้ว่าคืนพรุ่งนี้จะมีโอกาสพูดหรือเปล่า" และกล่าวต่อไปว่า ที่กล่าวมานั้น เพื่อตอบคนที่คนตั้งข้อรังเกียจคนที่จะร่วมต่อสู้ ถ้าจะขจัดระบอบทักษิณออกไป เราจะปฏิรูปประเทศไทยอย่างไร นี่เป็นตัวอย่าง ท่านจะต้องมองเห็นแล้ว แล้วถามว่าใครจะเป็นคนทำถ้าระบอบทักษิณหมดไป ผมตอบเลย คนทำคือประชาชน ถ้าเราขจัดระบอบทักษิณหมดไป อยู่ที่เราจัดตั้งสภาประชาชนมาจากคนทุกสาขาอาชีพ แล้วสภาประชาชนจะเลือกคนดีมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สร้างดรีมทีม คณะรัฐมนตรีในฝัน มีรัฐบาลประชาชน

 

ยันต่อสู้เพื่อชาติ สุเทพและอภิสิทธิ์จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี จะแช่แข็งนักการเมือง ไม่แช่แข็งประเทศ

"ผมขอพูดต่อหน้าท่าน และจะพูดวันนี้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เป็นนายกรัฐมนตรี ผมมีหัวใจเหมือนกับผู้ที่รักชาติครั้งหลาย สู้เพื่อชาติ ไม่ได้สู้เพื่อตัวของกู ผมพูดชัดเจน ไม่ได้สู้เพื่อตัวเอง ไม่ได้คิดเป็นนายกรัฐมนตรี และไม่ได้คิดจะต่อสู้อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี และอภิสิทธิ์เขาบอกผมเอง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการต่อสู้คราวนี้ เขาไม่ขอตำแหน่งแห่งหนทั้งสิ้น และนี่ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อประโยชน์ของประชาธิปัตย์ ผมลาออกจาก ส.ส. แล้ว เพื่อนผมลาออกจาก ส.ส. ประชาธิปัตย์สู้ในแนวเขา และพวกเราสู้ในแนวทางประชาชน จะขึ้นอยู่กับสภาประชาชน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับนายสุเทพ หรือใครคนใดคนหนึ่ง"

"แล้วถามว่าช่วงนั้นจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็ตอบให้เข้าใจ ว่าใช้เวลา สั้นที่สุด เร็วที่สุด ไม่แช่แข็งประเทศไทย แต่จะแช่แข็งนักการเมือง  พรรคการเมือง"

 

คนออกมาเป็นล้านแล้ว จะไม่สู้ครึ่งๆ กลางๆ แค่ยุบสภา-ลาออก

"ผมเชิญชวนพี่น้องออกมาแสดงตน รักชาติ รักแผ่นดิน เสียสละต่อสู้เพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน 24 พ.ย. ออกมาเป็นล้านคน แม้คนโง่บางคนจะนับไม่ได้ผมก็ช่างแม่งมัน เพราะวันที่ 24 พ.ย. เป็นประวัติศาสตร์ประเทศไทยมีประชาชนนับล้านออกมายืนต่อสู้ และแสดงตัวอย่างกล้าหาญ เปิดเผย ว่ากูไม่ยอมระบอบทักษิณอีกต่อไปแล้ว ปัญหาคือว่า แล้วจะทำอย่างไร ถ้าเราจำได้ คืนวันที่ 24 พ.ย. ผมถามพี่น้อง ย้ำแล้วย้ำอีก ว่าสู้แน่นะพี่น้อง เอาจริงนะพี่น้อง ไม่ใช่สู้ครึ่งๆ กลางๆ ยุบสภา ลาออกไม่พอนะ เราจะขจัดระบอบทักษิณให้สิ้น เพราะผมเชื่อพี่น้อง เพราะวาจาพี่น้องเป็นล้านที่เปล่งออกมาพร้อมกัน เมื่อวานจึงเป็นครั้งแรกที่ผมตัดสินใจกระทำการที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย เลยพาพี่น้องมาที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ไม่ให้เอาภาษีอากรมาบำรุงบำเรอระบอบทักษิณอีกต่อไป"

"ผมทำให้พี่้น้องทั้งหลายเห็นแล้ว ว่าการกระทำของประชาชนทำแบบสิ่งนี้ได้ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง โดยสันติวิธี ไม่มีอาวุธ ไม่ต้องทำลายทรัพย์สินราชการ ไม่ต้องเผา และไม่ต้องฆ่า แบบที่พวกเราทำในเมื่อวานนี้ และเรากำลังทำอยู่"

 

ลั่นถ้าไม่ทำผิดเสียบ้างจะชนะไหม ถ้าบ่นไปบ่นมา 10 ปีระบอบทักษิณจะอยู่เหมือนเดิม

"มีคนมาค่อนขอดว่าไหนนายสุเทพจะไม่ทำผิดกฎหมาย ก็ตอบว่า ถ้าไม่ทำผิดเสียบ้างแล้วจะชนะไหม มานั่งชุมนุมที่ราชดำเนินเป็นล้าน บ่นกันไปกันมากลับบ้าน พรุ่งนี้มาใหม่  อีก 10 ปีระบอบทักษิณก็จะอยู่เหมือนเดิม ให้เราเบื่อ ให้เราหมดกำลังใจต่อสู้ แล้วเราแยกย้ายกลับบ้านเตรียมตัวเป็นข้าทาสมันต่อไป เรายอมได้หรือไม่" สุเทพถาม ทำให้ผู้ชุมนุมตอบว่า "ไม่ยอม ไม่ยอม"

 

มาที่กระทรวงการคลังเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ประชาชนทำตามทั่วประเทศ

สุเทพ กล่าวต่อว่า "ผมเลยมาที่นี่ ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และหวังว่าพี่น้องประชาชนส่วนอื่นจะทำอย่างเดียวกัน ผมคนเดียวไปทุกกระทรวงไม่ได้ แต่กระทรวงอื่นๆ ท่านช่วยกันทำได้ เมื่อคืน กลุ่ม คปท. เขาเข้าไปกระทรวงการต่างประเทศ อยู่กระทรวงการต่างประเทศเรียบร้อยมาจนขณะนี้ กองทัพประชาชน เขาจัดการแล้วกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยว และกระทรวงมหาดไทย พรุ่งนี้ช่วยจัดการกันหน่อย ให้ครบทุกกระทรวงต้องจัดการให้ได้ นั่งอยู่เฉยๆ ล้านคนก็เสียของ พรุ่งนี้พลังของประชาชนไปทุกกระทรวง

เห็นที่พวกเราทำไหมครับ เรามาสำนักงบประมาณ เรามากระทรวงการคลัง เราไม่ได้เข้าไปในอาคาร เรานั่งที่ลาน ข้าราชการก็ยิ้มแย้ม เขาบอกว่ามีเหตุผลดีมากที่จะบอกผู้บังคับบัญชา เพราะประชาชนมาชุมนุมเต็มไปหมดแล้ว

เมื่อไม่มีข้าราชการทำงาน แล้วจะมีใครขับเคลื่อนระบอบทักษิณอีกต่อไป ก็จะกลายเป็นรัฐบาลที่ล้มเหลว

 

วิงวอนคนกรุงเทพฯ ลงมือปฏิบัติการ ชี้ไม่มีเวลายืดยาวแล้ว

ช่วงท้ายสุเทพปราศรัยว่า "เหตุและผลก็พูดครบแล้ว ขอใช้โอกาสนี้ กราบเรียนวิงวอนคนกรุงเทพฯ พรุ่งนี้ลงมือปฏิบัติการด้วยตัวท่านเองเหมือนที่เราทำที่กระทรวงการคลัง หมอชนบทก็ไปจัดการกระทรวงสาธารณสุข นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ไปตกลงกันเองว่าจะไปตรงไหน พ่อค้านักธุรกิจก็เลือกกัน พี่น้องชาวกรุงเทพฯ ลงมือทำพรุ่งนี้ เวลาไม่มียืดยาวแล้ว เพราะเขากำลังจะจัดการกับผมอยู่แล้ว สำหรับพี่น้องชาวต่างจังหวัดไปจัดการกับศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ แต่ไม่ใช่จัดการแบบที่ไอ้ตู้ไอ้เต้นมันสั่ง ขอให้เอาดอกไม้ไป ไปด้วยใจบริสุทธ์ ขอร้องเขา อย่าเป็นเครื่องมือระบอบทักษิณเลย ออกมาดีกว่า ให้รัฐบาลมันเจ๊ง ต้องทำพรุ่งนี้ ทำพร้อมกันทั้งประเทศ มิฉะนั้นจะไม่มีพลัง จะไม่ชนะมันอีกต่อไปแล้ว"

"ผมจะบอกพี่น้องต่อหน้าพระ ผมไม่คิดเป็นผู้นำการชุมนุม ไม่เคยคิดฝันว่าต้องมาเป็นผู้นำ ที่มาทำคราวนี้ ทำเพื่อชาติ เพื่อประชาชน และทำเพียงหนเดียวเท่านั้น ชนะก็จะภูมิใจว่าไม่เสียชาติเกิดมาทำงานให้แผ่นดินแล้ว ถ้าแพ้ก็จะก้มหน้าก้มตาเป็นขี้ข้ามันไม่ร้องไห้"

 

ลั่นจะไปมอบตัวกับตำรวจแน่ แต่ตอนนี้ไม่ว่าง กำลังขจัดระบอบทักษิณ

สุเทพกล่าวด้วยว่า "วันนี้ สน.บางซื่อ ไปขอหมายศาลจับกุมผม ข้อหาที่ใหญ่ที่สุดเป็นกบฎแผ่นดิน แต่ศาลไม่ยอมออกหมายข้อหากบฎ แต่ศาลออกหมายให้มาจับผม 2 ข้อหา 1 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป 2 บุกรุกสถานที่ราชการ ผมขอตำรวจ 2 ข้อหานี้ ไม่ใช่ความผิดใหญ่โต ผมไม่ได้ฆ่าคน ผมไม่ได้วางเพลิงเผาทรัพย์ ผมแค่มั่วสุมเกิน 10 คน และผมอยู่ในสถานที่ราชการจริง แต่เข้ามาได้นั้น ข้าราชการกวักมือและเปิดประตูให้ แต่ไม่เป็นไร เมื่อท่านไปขอหมายจับได้ ผมขอมอบตัวตำรวจ ผมขอเวลา ตอนนี้ผมยังไม่ว่าง ยังยุ่งอยู่ รอให้ผมอยู่กับพี่้น้องประชาชนขจัดระบอบทักษิณให้หมดจากประเทศไทย นปช. ชุมนุม ทำความผิดมากกว่าผม ทั้งฆ่าคน ทั้งปล้นทรัพย์ ยิงวัดพระแก้ว เผาบ้านเผาเมือง ยังไม่เคยมีตำรวจใช้กำลังไปบุกจับได้สักคนเดียว"

"ไอ้ นปช. ก็ชุมนุมเหมือนกัน ต้องไปขอหมายศาลเหมือนกัน หรือจะแก้ตัวว่าที่นี่ชุมนุมการเมือง ส่วนเสื้อแดงปิคนิคกันหากินกัน ไม่ใช่เรื่องการเมือง ผมให้ทนายไปยื่นคัดค้าน เพราะหมายศาลออกโดยผู้พิพากษาที่เข้าเวรอยู่ เลยไปร้องศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องออกหมายจับ ผมมีหลักแหล่งชัดเจน ไม่ใช่คนจรจัด และผมไม่มีพฤติกรรมจะหนี ผมประกาศต่อหน้าพระ"

 

ฝากมวลชนไม่ต้องห่วงสุเทพ แต่ต้องล้มระบอบทักษิณให้ได้ และให้ยึดสันติ

สุเทพกล่าวด้วยว่า เขาส่งข่าวด่วนมาว่า ตำรวจกำลังมาที่นี่ หลายคันรถ อาจจะหนึ่งหมื่นคน เขาประกาศว่าคืนนี้ จะจับผมให้ได้ ไม่ว่าเป็นหรือตาย พี่น้องทั้งหลาย นี่คือขอร้องครั้งสุดท้ายของผม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผม การต่อสู้ของประชาชนวันนี้ต้องเข้มข้น ท่านส่งผมตรงนี้ นิมนต์หลวงปู่พุทธอิสระเทศน์ทุกคืน ถ้ามันจับผมไปได้ไม่ต้องไปยุ่งเรื่องประกันตัวผม แต่ล้มระบอบทักษิณให้ได้ พี่น้องทั้งหลาย คนที่เป็นนายตำรวจด้วยกัน พี่น้องครับ ผมเป็นคนไทยมีหัวใจรักชาติ รักแผ่นดิน ผมจะอยู่ที่นี่ จับก็จับไป แล้วแต่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่อยากให้ตำรวจจับผม ต้องมาชุมนุมที่กระทรวงการคลังเดี๋ยวนี้ มากอดคอกันที่นี่ และพรุ่งนี้ยึดให้หมดประเทศไทย

ไม่ว่าท่านจะเป็นตำรวจ ทหาร รักชาติ รักแผ่นดิน ถ้าท่านรักชาติรักแผ่นดิน จงออกมายืนอยู่ข้างประชาชน ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หรือท่านเป็นตำรวจ หรือทหาร หรือท่านเป็นประชาชน แล้วทำไม่รู้ ผมขอกราบเรียนท่านว่า ท่านจะแก้ตัวกับคนอื่น แต่ท่านไม่มีวันแก้ตัวกับตัวเอง ท่านไม่ออกมา ในวันที่มีคนเป็นล้านๆ พร้อมจะเป็นตายร่วมกัน และนี่อาจจะเป็นคำพูดสุดท้ายของสุเทพ เทือกสุบรรณ ผมไม่ต้องขอร้องท่านสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กัน ท่านไม่ทิ้งผมแน่นอน แต่ผมเป็นห่วงพี่น้อง ผมไม่อยากเห็นพี่้น้องบาดเจ็บ ผมขอร้องพี่น้องทำเหมือนที่หลวงปู่เทศน์ใช้สติ อย่าลุแก่โทสะ เห็นตำรวจมา ตอบโต้กับเขาไม่ได้เป็นอันขาด อย่างมากสุด ดันกันไปดันมา ถ้าเขาขว้างแก๊สน้ำตา เราก็หลับหูหลับตาข้างกลับ เราไม่ใช้อาวุธ ใช้หัวใจกับมือเปล่าๆ เท่านั้น ด้ามธงก็ไม่เอา จารึกในประวัติศาสตร์ประชาชนว่า ถ้าสู้ไม่ไหว เราให้เขาจับ ถ้าเขาใช้อาวุธ ตายเป็นตาย ถ้าผมตายลงประชาชนชนะแน่นอน จะไม่นั่งงอมืองอเท้า

โดยภายหลังที่สุเทพปราศรัยที่กระทวงการคลังนั้น ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น สาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส. จ.ตรัง หนึ่งในแกนนำการชุมนุมได้ประกาศว่า พรุ่งนี้ 9.00 น. จะมีการแบ่งกำลังไปตามที่ต่างๆ จะปฏิบัติอย่างอหิงสา และจะไปขอร้องให้ทุกส่วนราชการอารยะขัดขืนขั้นสูงสุดไม่ทำงาน

ในเวลา 20.59 น. อัญชะลี ไพรีรักษ์ ประกาศที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า ขออาสาสมัครในที่ชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนิน ให้ช่วยกันขับรถยนต์นำไปจอดล้อมกระทรวงการคลังเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเคลื่อนกำลังเข้ามา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงาน บ.จอร์จี้ เตรียมแจ้งพิพาทแรงงาน หลังเจรจารอบที่ 9 ไม่คืบ

Posted: 26 Nov 2013 06:34 AM PST

26 พ.ย. 2556 - สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ระบุว่าหลังจากการเจรจาในช่วงบ่ายของวันนี้กับตัวแทนบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ไม่มีความคืบหน้า ทางสหภาพแรงงานฯ จึงได้เตรียมตัวที่จะแจ้งพิพาทแรงงานกับพนักงานประนอมข้อพิพาทในวันพรุ่งนี้ (27 พ.ย.)

โดยสหภาพแรงงานฯ ระบุว่าจากการที่พนักงานบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัดจำนวน 224 คน ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 และได้มีการเจรจากันทั้งหมด 9 ครั้ง ซึ่งการเจรจาในครั้งที่ 9 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ณ เวลา 16.30 - 17.20 น. ผลการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้

ดังนั้นตัวแทนเจรจาจึงขอแจ้งพิพาทแรงงานมายังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายแรงงาน โดยสหภาพแรงงานฯ หวังว่าการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานจะมีขึ้นโดยเร็วและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพื่อความเป็นธรรมกับพนักงานบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ทุกคน และเพื่อสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเผยตลาดซอฟต์แวร์ไทยปีนี้คึกคัก ชี้บิ๊กดาต้าจะมาแรงปีหน้า

Posted: 26 Nov 2013 05:13 AM PST

นักวิชาการทีดีอาร์ไอเผยตลาดซอฟแวร์ไทยสดใส มูลค่าการผลิตในประเทศสูงเกือบ 4 หมื่นล้าน บริการรูปแบบมัลติแชลแนลมาแรง ระบุการขาดแคลนบุคลากรคือตัวแปรหลัก แนะสถาบันการศึกษาพัฒนาหลักสูตรรองรับการขยายตัวธุรกิจซอฟแวร์

19 พ.ย.2556 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เปิดเผยผลการสำรวจตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ซึ่งผลิตในประเทศไทยปี 2555/2556 พบว่า มีการเติบโตในภาวะที่ดีมีมูลค่าการผลิตสูงถึง 39,096 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 22.2  โดยจำแนกเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีมูลค่าการผลิตประมาณ 7,962 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 35.5 และบริการซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าการผลิตประมาณ 31,134 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 19.3

ขณะที่ภาพรวมของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในปี 2557 นั้น คาดการณ์เบื้องต้นว่าจะมีมูลค่าประมาณ 44,026 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณร้อยละ 12.6  ส่วนตลาดซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded system software) ในปี 2557 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 5,864 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตประมาณร้อยละ 20

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการ SIPA กล่าวว่า SIPA และ TDRI ร่วมกันสำรวจตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์เป็นปีที่สอง โดยมีการปรับปรุงวิธีการศึกษา ขอบเขตการศึกษา และกรอบนิยามในตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ รวมทั้งซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลการสำรวจที่น่าเชื่อถือ ซึ่งภาคเอกชนและภาครัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงได้มีการสำรวจบุคลากรด้านซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ภายในองค์กร (In-House) ขึ้นเป็นปีแรก โดยในปัจจุบันสัดส่วนการใช้ซอฟต์แวร์ของไทยยังมีน้อยอยู่ที่ประมาณ 18 % แต่ทาง SIPA ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2559 อัตราการเติบโตในส่วนนี้จะพัฒนาไปถึง 25%

ทางด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI  คาดการณ์สัดส่วนการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟแวร์ในปี 2557 โดยระบุว่า จะเน้นไปที่ซอฟแวร์สำเร็จรูปซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น เนื่องจากมีการนำแอพลิเคชั่นเข้ามารวมด้วย ขณะที่สัดส่วนการเติบโตของตลาดในภาพรวมใกล้เคียงกับปี 2556 โดยประมาณการเบื้องต้นจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10 % เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าค่อนข้างชะลอตัว เป็นเหตุให้ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามารองรับภาคบริการมีการชะลอตัวตามไปด้วย โดย TDRI จะมีการสำรวจอีกครั้งในอีก 1-2 ไตรมาส ซึ่งจะจำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบขนาดตลาดซอฟต์แวร์ไทยกับต่างประเทศยังไม่สามารถวัดได้ เนื่องจากตัวเลขแต่ละประเทศไม่นิ่ง อีกทั้งยังมีขนาดตลาดและมาตรฐานแตกต่างกัน  ขณะเดียวกันวัตถุประสงค์หลักของการสำรวจในครั้งนี้ เป็นการสำรวจเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของคนไทยในประเทศ

สำหรับภาพรวมตัวเลขการส่งออกของไทยปี 2555 มีสัดส่วนไม่มากนัก โดยพบว่ามีมูลค่าการส่งออกรวม 817 ล้านบาท  แบ่งเป็นบริการซอฟต์แวร์ 575 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในรูปแบบ SI Service ที่มีการขยายฐานในกลุ่มอาเซียน และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 242 ล้านบาท โดยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกจากความต้องการของตลาดที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เทรนด์ที่มาแรงและกำลังเป็นที่นิยม คือ บิ๊กดาต้า ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในส่วนของการบริการในรูปแบบมัลติแชลแนลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินทางออนไลน์

ประธาน TDRI ยังกล่าวอีกว่า ตัวแปรหลักของปัญหาอุตสาหกรรมซอฟแวร์คือ การขาดแคลนบุคลากร ซึ่งในปีนี้มีจำนวนบุคลากรที่ต้องการเพิ่มขึ้นถึง 8,136 คน โดยกลุ่มทักษะที่มีความต้องการเพิ่มคือ การออกแบบและเขียนโปรแกรม (Object-Oriented Design and Programming) 34%  ตรวจสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ (Software Quality and Testing) 16% และรับเรื่องและวิเคราะห์ (Requirement Gathering and Analysis) 15% ตามลำดับ โดยเห็นว่า สถาบันการศึกษาควรขยายหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เนื่องจากบริษัทต้องเสียเวลาในการฝึกอบรมพนักงานก่อนเริ่มงาน 6-12 เดือน จึงจะสามารถเริ่มปฏิบัติงานจริงได้ ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่นิยมเปลี่ยนงานบ่อยหรือประกอบอาชีพอิสระ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการสะสมความรู้และประสบการณ์ อีกทั้งบุคลากรมักกระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพ ส่งผลให้บริษัทที่ต้องอยู่นอกเมืองหาบุคลากรได้ยาก

อย่างไรก็ตาม ประธาน TDRI เชื่อว่าเส้นทางการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ไทยยังคงเป็นไปอย่างสดใส โดยได้รับอิทธิพลมาจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากภาคเอกชนและภาครัฐมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพิ่มมากขึ้น สอดรับกับการแนวคิดของผู้ประกอบการในวงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทย ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาพันธ์นร.ไทย-กลุ่มนศ.อิสระ ร้องทุกฝ่ายยึดหลักสันติวิธี

Posted: 26 Nov 2013 05:02 AM PST

สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติฯ ระบบการศึกษาไทย นำโดยเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาอื่นๆ อาทิ กลุ่มสภาหน้าโดม ม.ธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายตั้งอยู่บนหลักสันติวิธีและหลีกเลี่ยงความรุนแรง
 
จากเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ได้เข้ายึดสถานที่ราชการ อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกรมประชาสัมพันธ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลประกาศพ.ร.บ. ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงเมื่อคืนวันจันทร์นั้น
 
สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติฯ ระบบการศึกษาไทย นำโดยเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาอื่นๆ อาทิ กลุ่มสภาหน้าโดม ม.ธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายตั้งอยู่บนหลักสันติวิธีและหลีกเลี่ยงความรุนแรง 
 

 
 
"สถานการณ์การเมืองเวลานี้กำลังเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงสูง ไม่ว่าจะจากทางเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ร่วมชุมนุมทุกฝ่าย ตามหลักการของสังคมประชาธิปไตยแล้ว เราจำเป็นต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ที่แตกต่างความเห็นกัน ใช้เหตุผลและใช้สติ ถ้าใช้ความรุนแรงและไร้เหตุผลแล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดกับสังคมในเวลานี้และในภายภาคหน้าย่อมไม่ดีกับทุกฝ่าย
 
"ด้วยเหตุนี้ทางสมาพันธ์นักเรียนฯ จึงเรียกร้องขอให้ทั้งทางภาครัฐและฝั่งผู้ชุมนุมทุกฝ่าย ยึดมั่นอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) บนสันติวิธี และขันติธรรม"
 
"นักเรียนแม้จะน้อยนิดและเสียงอาจไม่ดังแต่ก็ขอให้ทุกฝ่ายรับฟัง ใช้สติยิ่งกว่าอารมณ์" แถลงการณ์ระบุ
 
ในขณะที่กลุ่มสภาหน้าโดม เรียกร้องให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมแสดงซึ่งสิทธิเสรีภาพทางการเมืองยึดหลักสันติวิธีและปราศจากความรุนแรง และให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมเคารพต่อหลักกฎหมายตลอดจนหลักนิติรัฐและนิติธรรม และคำนึงถึงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและผลประโยชน์ของสาธารณะ ตลอดจนให้ประชาชนทุกกลุ่มใช้สติและพิจารณารับฟังข้อมูลข่าวสารอย่างรอบคอบ
 

 
"สุดท้ายนี้ทางกลุ่มอิสระ สภาหน้าโดม เราเคารพสิทธิการแสดงออกทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ นิติธรรม พร้อมกับหวังว่าจะมีการสร้างความเข้าใจมีการเจรจาและการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์"
 

 
ในขณะที่กลุ่มเยาวชนนิสิตนักศึกษาอื่นๆ เช่น กลุ่มดาวดิน ม.ขอนแก่น และกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ม.บูรพา ก็ได้รณรงค์ต่อต้านไม่เอาความรุนแรงผ่านทางโซเชียลมีเดีย โดยให้เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ที่มีข้อความต่อต้านความรุนแรง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เก็บตกความ (สิ้น) หวังนักโทษการเมือง หลัง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสูญหาย-บานปลาย

Posted: 26 Nov 2013 04:33 AM PST

 

ชั่วไม่กี่สัปดาห์ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เป็นความหวังของนักโทษการเมืองในเรือนจำ 20 กว่าชีวิต-ผู้ที่ได้ประกัน รวมถึงผู้ต้องหาอีกนับร้อยชีวิตก็มีอันตกไป เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักหลังพบว่ามีการขยายเวลาให้ครอบคลุมเหตุการณ์และความหมายของผู้จะได้รับนิรโทษกรรมออกไปกว้างขวาง ไม่เพียงผู้เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมปี 2553 ที่จะหลุดรอดและเป็นที่ถกเถียงอย่างหนักในหมู่คนเสื้อแดงก่อนร่างนี้จะผ่านวาระ 1 แต่รวมไปถึงคดีของอดีตนายกฯ  พ.ต.ท.ทักษิณด้วย เพียงเท่านั้นม็อบใหญ่ก็จุดติด การเมืองระส่ำระสายหนัก มีแรงต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมและขยายไปถึงการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  

เป็นอันปิดฉากการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองอย่างสมบูรณ์ และไม่มีใครนึกออกว่าวาระนี้จะกลับขึ้นมาเป็นประเด็นพิจารณาในสังคมอีกอย่างไร เมื่อไร   

"นักโทษการเมืองคือคนที่ออกมาเรียกร้องทางการเมือง เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เป็นผลมาจากรัฐประหาร คณะรัฐประหารทำลายนิติรัฐยังนิรโทษกรรมตัวเองได้ พวกผมเป็นแค่ประชาชนตาดำๆ"

"ผมไม่ได้บอกว่าจะเอาสุดซอยหรือไม่สุดซอย แต่หวังว่าอันไหนก็ได้ ซักอันจะผ่าน ก่อน พ.ร.บ.จะจบแบบนี้ ผมตั้งความหวังไว้มาก ไม่คิดว่าจะจบง่ายขนาดนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีความหวังตลอดว่าสักวันหนึ่งจะมีการนิรโทษกรรม ถึงวันนี้ก็ไม่รู้จะไปยังไงต่อ"

"พวกผมมีชีวิต มีเลือดเนื้อ มันเหมือนตายทั้งเป็นในนี้ อยู่กันมากี่ปีแล้ว ครอบครัวจะเป็นยังไง ฐานะยากจนกันทั้งนั้น เงินเยียวยาจากรัฐบาลก็ไม่ได้ มีแต่เงินช่วยเหลือจากเสื้อแดงด้วยกันเอง"

ธีรวัฒน์ สัจจสุวรรณ์ หรือต้า วัย 23 ปี หนึ่งในผู้ต้องขังในเรือนจำหลักสี่ เขาถูกคุมขังมาตั้งแต่อายุ 20 ปีในข้อหาร่วมกันวางเพลิงสถานที่ราชการ (ศาลากลางอุบลฯ) โทษจำคุก 33 ปี 8 เดือน

เขาเป็นลูกคนกลาง เสียพ่อไปตั้งแต่ยังเด็ก มีเพียงแม่รับภาระดูแลครอบครัวลำพัง ปัจจุบันแม่ของเขามีอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดขาย ขณะถูกจับกุมเขาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารในเมืองอุบลฯ

เขาเล่าว่าแรกเริ่มไม่ใช่คนที่สนใจการเมือง เพียงแต่ดิ้นรนหาเลี้ยงครอบครัว จนเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองมีความขัดแย้งรุนแรง เขารู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม จึงเริ่มศึกษาข้อมูล อ่านข่าวสารต่างๆ มากขึ้น เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ตัวจังหวัดอุบลฯ เขาก็เข้าร่วมบ้างบางครั้ง กระทั่งเกิดเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.53

ธีรวัฒน์ เป็นหนึ่งในสี่จำเลยที่โดนโทษสูงสุดในเรือนจำหลักสี่ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ให้ข้อมูลเหตุการณ์ในวันนั้นว่า ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 สื่อต่างๆ แพร่ภาพผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ ถูกยิงบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เวลาประมาณ 14.00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดอุบล กลุ่มคนเสื้อแดง ประมาณ 600 คน รวมตัวกันบริเวณประตูทางเข้าศาลากลางทั้ง 4 ประตู  ช่วงนั้นมีการนำยางรถยนต์มาจุดไฟเผาจนลุกไหม้ ที่ประตูด้านหน้ามีการปราศรัยของแกนนำบนหลังคารถ ประณามการกระทำอันโหดร้ายของรัฐขณะที่ด้านในรั้วศาลากลาง กำลังทหาร ตำรวจ และอป.พร.ประมาณ 200 นาย ประจำการอยู่ เหตุการณ์เริ่มรุนแรงเมื่อทหารด้านในยื่นกระบองออกมาตีคนแก่คนหนึ่ง ทำให้คนเสื้อแดงบางส่วนไม่พอใจ และเขย่ารั้วศาลากลางด้านทิศเหนือจนพัง กลุ่มผู้ชุมนุมพากันเดินเข้าไปบริเวณสนามหญ้า บางคนขว้างก้อนหินใส่ทหาร ขณะนั้นเองก็มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด มีผู้ชุมนุมล้มลงบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลรวม 6 คน

เวลาประมาณ 15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งคาดว่าผู้ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ทำให้เกิดความเกิดแค้น และพยายามจะบุกเข้าไปยังศาลากลางอีกครั้ง  ขณะนั้นก็เกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณอาคารสื่อสารด้านทิศเหนือของอาคารศาลากลาง จากนั้นมีควันไฟพวยพุ่งมาจากบริเวณชั้น 2 ของศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นห้องทำงานของผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ เจ้าหน้าที่หลายคนพยายามนำถังดับเพลิงมาช่วยกันดับไฟ แต่ทหารกลับถอนกำลังออกไป และรถดับเพลิงที่จอดอยู่ 2 คัน อยู่ในสภาพที่ไม่มีน้ำ

หลังเหตุการณ์สงบลง จังหวัดอุบลฯ ประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกว่า 93 ล้านบาท มีการออกหมายจับรวมทั้งสิ้น 242 ราย มีผู้ถูกจับกุม 67 คน อัยการสั่งฟ้องเป็น 16 คดี เฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับศาลากลาง มีผู้ถูกจับกุมและตกเป็นจำเลย 32 ราย แบ่งเป็นคดีบุกรุก 9 ราย คดีเผา 21 ราย และเยาวชนถูกฟ้องในคดีเผาเช่นเดียวกันอีก 2 ราย

นอกจากนี้ ศปช.ยังอ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายธีรวัฒน์ถึงกระบวนการในชั้นสอบสวนด้วยว่า เขาถูกจับกุมในเวลาประมาณ 06.00 น. ขณะนอนหลับอยู่ที่บ้าน ตอนแรกตำรวจแจ้งว่าต้องการให้เขามาเป็นพยานในคดีเสื้อแดง แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ เขาก็ถูกนำตัวไปกักขัง จากนั้น ตำรวจก็ข่มขู่ ตลอดจนใช้แฟ้มตีศีรษะ เพื่อให้เขารับสารภาพ และเซ็นรับว่าชายชุดดำปิดหน้าในภาพถ่ายเป็นตัวเขา แต่เขาไม่ยอม เพราะไม่ใช่เขา เขายอมรับว่าเขาไปที่ศาลากลาง แต่ไม่ได้แต่งตัวแบบนั้น และได้แต่ยืนดูเหตุการณ์อยู่รอบๆ  ในที่สุด ตำรวจเกลี้ยกล่อมว่าจะกันตัวไว้เป็นพยานแล้วจะปล่อยกลับบ้าน เขาจึงยอมเซ็น แต่แล้วก็โดนตั้งข้อหาร้ายแรง  

ตามรายงานของ ศปช. การดำเนินการลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่น้อยในช่วงที่เหตุการณ์ยังชุลมุน หลายคนต่างรู้สึกว่าคดีของตนไม่เป็นธรรม การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมนั้นมีอุปสรรคเพราะถูกควบคุมตัวตลอดภายหลังการจับกุม อีกทั้งยังมีฐานะยากจนไม่สามารถหาทนายที่มีความรู้ความสามารถได้ เว้นแต่จะมีใครหรือฝ่ายใดยื่นมือมาช่วย ซึ่งหลายคดีลูกความกับทนายแทบจะไม่ได้พูดคุยกันก่อนพิจารณาคดี หลังพิจารณาคดีก็ไม่รู้ว่าดำเนินการอะไร ถึงไหน

จากการสอบถามผู้ต้องขังหลายคนต่างมีอารมณ์ร่วมของความผิดหวัง บางคนเผื่อใจไว้บ้าง บางคนไม่ได้เผื่อ

ปีที่แล้ว ธีรวัฒน์เขียนจดหมายออกมานอกเรือนจำ หาอาจารย์ที่เขาเคารพรักคนหนึ่ง

"ใจกะคิดฮอดบ้านหลายๆ  อยากไปเห็นบ้านเฮาแฮว! 

ป่านนี้ข้าวคือสิไกล้ได้เกี่ยวแล้ว อยากเมื่อบ้านไปเกี่ยวสอยแม่เด้  

ลมหนาวมากะสีข้าวม่วนหลาย!  

คั่นลมหนาวมาผมละใจสิขาด  คิดฮอดบ้านหลายๆ  ยามได๋สิได้ออก -_-! 

กะว่าละน้อล่ะอาจารย์การต่อสู้มันก็ต้องมีผู้เสียสละ 

ผมบ่เสียใจดอกอาจารย์ เพราะผมสู้เพื่อพี่น้องเฮาเพื่อความยุติธรรม  

หาเอาความยุติธรรมมาให้พี่น้องคนไทย บ่ให้เขามาเหยียบหัวคนจนคนไทย 

เพื่อให้มีประชาธิปไตยให้ได้ ติดคุกก็ติดได้แต่โต

แต่ใจโบยบินไปได้เรื่อยๆละครับอาจารย์   หาแนวสิเฮ็ดยามออกไป 

แต่ก็บ่ฮู้ครับอาจารย์ว่ามื้อได๋เขาสิปล่อย  -_-!   

จั๋งไดก็สู้อยู่แล้วอาจารย์ ได้ยินขาวว่าอาจารย์ญี่ปุ่นเพิ่งสิย้าย  เพิ่งย้ายไปไสก็ขอให้โชคดี รักษาสุขภาพ

ดูแลตัวเองดีๆ เด้อครับ  ผมกะคิดฮออดอยู่เด้อครับ   :)  !"

 

ถึงวันนี้ เขาได้แต่บอกว่าอยากให้คนข้างนอกช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ต่อ

"แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะไปทางไหนได้อีก"

อาจไม่ใช่แค่เขาที่คิดเช่นนั้น

===========

 

ปัจจุบัน มีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำหลักสี่จำนวน 25 คน เป็นชาย 21 คน หญิง 4 คน ก่อนหน้านี้มีผู้ต้องขังทั่วประเทศที่ได้รับการประกันตัวไปเป็นจำนวนมาก

 

ลำดับ

ชื่อ-นามสกุล

ข้อหา

สถานะทางคดี

อัตราโทษ

1

นายเพชร แสงมณีหรือเฮ่น มณีเพชร

มั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไป,วางเพลิงเผาทรัพย์(ธ.กรุงเทพฯสาขาพระโขนง),พรบ.คนเข้าเมือง, พรก.

คดีเด็ดขาด

จำเลยไม่ฏีกา

6 ปี 6 เดือน

2

นายคำหล้า ชมชื่น

ร่วมกันปล้นทรัพย์ของกรมทหารราบที่ 1 รอ.

ศาลอุทธรณ์

10 ปี

3

นายประสงค์ มณีอินทร์

พรบ.อาวุธปืนฯ, พรบ.วิทยุคมนาคม, พรก., ลักทรัพย์, พาอาวุธไปในเมือง

ศาลอุทธรณ์
(ระหว่างฏีกา)

11 ปี 8 เดือน

4

นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฎีกา)

11 ปี 8 เดือน

5

สต.บัณฑิต สิทธิทุม

ก่อการร้าย,มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน,พาอาวุธไปในเมือง

ศาลอุทธรณ์

(อัยการฏีกา)

38 ปี

6

จ.ส.ต.ปริญญา มณีโคตม์

พรบ.อาวุธปืน,เครื่องกระสุนปืนฯ

ศาลชั้นต้น

10 ปี

7

นางสาวปัทมา มูลมิล

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฎีกา)

33 ปี 12 เดือน

8

นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฎีกา)

33 ปี 12 เดือน

9

นายสนอง เกตุสุวรรณ์

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฏีกา)

33 ปี 12 เดือน

10

นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์

พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฎีกา)

33 ปี 12 เดือน

11

นายพรชัย (ไม่ระบุนามสกุล)

จ้างวานปาระเบิดเพลิงธนาคารกรุงเทพ

ศาลอุทธรณ์

(ระหว่างฏีกา)

4 ปี 1 เดือน 15 วัน

12

สุริยา โพธิ์เงิน

 จ้างวานปาระเบิดเพลิงธนาคารกรุงเทพ

(ระหว่างฎีกา)

4 ปี 1 เดือน 15 วัน

13

สกันต์ แสงเฟื่อง

 จ้างวานปาระเบิดเพลิงธนาคารกรุงเทพ

(ระหว่างฏีกา)

4 ปี 1 เดือน 15 วัน

14

นางวรนุช ศรีกันทา

ก่อความวุ่นวาย ขัดขวางเจ้าหน้าที่

ศาลฎีกา

1 ปี

15

นายเอกชัย มูลเกษ

พรบ.อาวุธปืนฯ

ศาลอุทธรณ์
(จำเลยไม่ฏีกา)

 5 ปี 4 เดือน

16

นายเอนก สิงขุนทด

พรบ.อาวุธปืน, พาอาวุธไปในเมือง

ศาลอุทธรณ์
(อัยการฏีกา)

 5 ปี

17

นายชาตรี ศรีจินดา

ชิงทรัพย์

ศาลอุทธรณ์
(ระหว่างฏีกา)

 15 ปี

18

นายจีระวัฒน์ จันทร์เพ็ง

คดีวางระเบิด

ศาลชั้นต้น

ระหว่างอุทธรณ์

 9 ปี

19

ณัทกร ชัยธรดำรงสุข

มีระเบิดขวด ประทัดยักษ์

คดีเด็ดขาด

จำเลยไม่ฎีกา

 6 เดือน

20

อุไร ศรีสุวรรณ

พ.ร.บ.อาวุธปืน

คดีเด็ดขาด
จำเลยไม่ฎีกา

1 ปี 4  เดือน

21

เดชพล พุทธจง

จ้างวานวางระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทย

ศาลชั้นต้น

(ระหว่างอุทธรณ์)

6 ปี 8 เดือน

22

กำพล คำคง

 จ้างวานวางระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทย

ศาลชั้นต้น
(ระหว่างอุทธรณ์)

6 ปี 8 เดือน

23

กอบชัย บุญปลอด

จ้างวานวางระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทย

ศาลชั้นต้น

(ระหว่างอุทธรณ์)

6 ปี 8 เดือน

24

เรณู จิตร์ประสาน

ละเมิดอำนาจศาล (วันพิพากษาวาสนา เพิ่มลาภ)

ศาลฏีกา

1 เดือน

25

ฐิติรัตน์ สุรัตน์กุลชัย

ละเมิดอำนาจศาล (วันพิพากษา วาสนา เพิ่มลาภ)

ศาลฎีกา

1 เดือน

 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล และศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)

หมายเหตุ ประชาไทแก้ไขข้อมูลในตาราง 21.40 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คู่มือทำความเข้าใจ GMOs-UPOV 1991 ฉบับง่าย

Posted: 26 Nov 2013 04:21 AM PST

เอกสาร 'จาก GMOs สู่ ... UPOV 1991' เผยแพร่ประกอบ การสัมมนา 'นโยบายพืชจีเอ็มโอและการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญายูปอฟ 1991 กับผลกระทบต่อเกษตรรายย่อย ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหาร' จากความร่วมมือระหว่างนักวิชการกับเกษตรจากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2556 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (คลิกอ่าน)
 
เอกสารดังกล่าว อธิบายปัญหาและผลกระทบของพืช GMOs หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม และอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV 1991) และนำเสนอข้อมูลความเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านในประเทศต่างๆ ได้อย่างกระชับและตรงประเด็น ประชาไทจึงขอนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อขยายความรับรู้ต่อประเด็นดังกล่าว 
 
หมายเหตุ: จัดทำโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม และ FTA WATCH
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จรัญ โฆษณานันท์: นิติธรรมมายาของศาลรัฐธรรมนูญไทย

Posted: 26 Nov 2013 03:54 AM PST

อนุสนธิจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 กรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญกล่าวพาดพิงถึงหลักนิติธรรมอย่างมากและหลายๆคราวในฐานะเป็นฐานที่มาแห่งการอ้างอำนาจในการวินิจฉัยคดี ทำให้ประเด็นเรื่องหลักนิติธรรมกลายเป็นศูนย์กลางหนึ่งของคำวินิจฉัยและกลับกันเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์หนึ่งเช่นกันในฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะในเรื่องความเลื่อนลอยคลุมเครือในคำอธิบายของศาลรัฐธรรมนูญ [1]

ที่ผ่านมาบ่อยครั้งมักมีบางฝ่ายชื่นชมต่อรัฐธรรมนูญ 2550 โดยอ้างอิงถึงการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของวาทกรรม "หลักนิติธรรม"ในบทบัญญัติมาตรา 3 วรรค 2 และมาตรา 78(6)(แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน)ของรัฐธรรมนูญ  ขณะที่จงใจหรือละลืมการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 309(รับรองความชอบธรรมของการรัฐประหารและผลพวงการใช้อำนาจที่ตามมา)ซึ่งเป็นการทำลายหลักนิติธรรมโดยสิ้นเชิง 

สถานะแห่งคุณค่าหรือความสำคัญของหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญจึงมีลักษณะลักลั่นขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองชัดเจน  ซ้ำร้ายหลักนิติธรรมดังกล่าวยังปรากฏตัวอย่างคลุมเครือปราศจากการให้นิยามหรือคำอธิบายอันชัดเจนใดๆกระทั่งนักกฎหมายฝ่ายจารีตนิยมยังยอมรับถึงอันตรายที่ไม่มีแนวทางรองรับในรัฐธรรมนูญว่าคืออะไร[2]   จุดอ่อนอันสำคัญนี้อาจนับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปรับใช้หลักนิติธรรมอย่างผิดพลาด/ไร้เหตุผลหนักแน่นของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตหลายๆคราว ดังอาทิ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2551  หรือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555[3]   รวมทั้งกรณีล่าสุดปัจจุบันในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดดังกล่าว เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญอธิบายหลักคิดพื้นฐานทางกฎหมายของหลักนิติธรรมแต่อย่างใด   ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอย่างเป็นนามธรรมยิ่งว่าหลักนิติธรรมเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมายที่อยู่เหนือบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเป็นแนวทางในการปกครองที่มาจากหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติอันเป็นความเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติ ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง   หากศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้คำอธิบายชัดเจนใดๆว่าหลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมายดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นแก่นแกนเชิงหลักกฎหมายอย่างไร หากไพล่ไปพรรณนาว่าการใช้อำนาจให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรมต้องไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงน้อย มีความทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์  และไม่นำมาซึ่งความเสียหาย-แตกสามัคคีในประเทศชาติ  และโดยตรรกะอย่างครอบจักรวาลเช่นนี้เองที่ศาลรัฐธรรมนูญนำมาเป็นข้ออ้างอย่างรวบรัดเพื่อสถาปนาอำนาจทางกฎหมายของตนในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมอันขยายความสู่การมีอำนาจในการพิจารณาการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

แม้หลักนิติธรรมตามนิยามคลุมเครือของศาลรัฐธรรมนูญอาจดูเสมือนหลักการใช้อำนาจที่เป็นธรรมทั่วไป แต่พิจารณาโดยรวมกลับมีฐานะเป็นหลักนิติธรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงให้สอดรับกับความเชื่อมั่นรุนแรงของศาลในพฤติกรรมการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล/ฝ่ายเสียงข้างมากในรัฐสภาทั้งในแง่เผด็จการเสียงข้างมากหรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน  ยิ่งกว่านั้นในความคลุมเครือของคำอธิบายหลักนิติธรรมดังกล่าว หากสังเกตให้ดีจะพบว่าไม่มีมิติของกฎหมาย หลักการทางกฎหมาย/กระบวนการยุติธรรมปรากฏอยู่เลย  จนมีสภาพประหนึ่งหลักอนิติธรรมหรือหลักนิติธรรมมายาที่ไร้นิติ/กฎหมายในตัวมันเอง

ความผิดพลาดสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว  เป็นไปได้ที่จะเกิดจากความไม่รู้หรือแสร้งไม่รู้ต่อความหมายเบื้องต้นหนึ่งของหลักนิติธรรมในแง่หลักความเป็นใหญ่สูงสุดของกฎหมายที่เป็นธรรมในเชิงเนื้อหาหรือรูปแบบในการปกครองบ้านเมือง โดยที่ความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐขององค์กรใดๆหรือกระทั่งอำนาจประชาชนล้วนต้องสามารถอธิบายโดยยึดโยงกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ในแง่นี้หลักนิติธรรมแท้จริงจึงบังคับให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องอธิบายอำนาจในการพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยอ้างอิงมาตรา 68ของรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ใช่การอ้างอิงอำนาจหลักนิติธรรมอันคลุมเครือเพื่อยืนยันอำนาจชี้ขาดของตนอย่างไม่ชอบธรรม

การยืนยันอำนาจวินิจฉัยอันไม่ถูกต้องย่อมนำไปสู่ข้อกังขาสำคัญต่อปัญหาการใช้อำนาจอย่างเป็นอิสระและเป็นกลางของศาลรัฐธรรมนูญ  อันโยงสู่ปัญหาการละเมิดหลักนิติธรรมอันแท้จริงของตุลาการรัฐธรรมนูญเอง  แม้ว่าณปัจจุบันข้อถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับความหมายแห่งหลักนิติธรรมจักดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่คำอธิบายหลักนิติธรรมในทางสากลจำนวนมากต่างเห็นพ้องต่อหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของศาลในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของหลักนิติธรรม ดังปรากฏตัวอย่างในคำอธิบายหลักนิติธรรมของนักนิติปรัชญาสำคัญของโลกอย่าง H.L.A. Hart [4], Joseph Raz[5] ,หรือในนิยามหลักนิติธรรมของสหประชาชาติ[6] ,เนติบัณฑิตยสภาสากล (The International Bar Association/IBA)[7]และ The World Justice Project Rule of Law Index,2012[8]       

แม้หลักนิติธรรมในมาตรา 3 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญจะไม่มีนิยามใดๆในตัวเอง แต่แท้จริงแล้วหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักนิติธรรมมีปรากฏชัดเจนเช่นกันในรัฐธรรมนูญ  ดังเห็นประจักษ์ได้ในมาตรา197 วรรค 2 :ความเป็นอิสระและเป็นธรรมในการใช้อำนาจตุลาการ และมาตรา 201 :การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา-ตุลาการโดยปราศจากอคติเพื่อให้เกิดความยุติธรรม   บทบัญญัติเหล่านี้ล้วนสอดรับกับสิทธิพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลในการคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ(ที่มีอคติ/ความขัดกันแห่งผลประโยชน์)และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างถูกต้องและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (2) (3) รวมทั้งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(ข้อ10:สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติ)และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง(ข้อ 14 : สิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในศาลที่มีอิสระและเป็นกลาง)ซึ่งไทยร่วมลงนามและให้สัตยาบันผูกมัดรับรอง

หลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักนิติธรรม มีความหมายในตัวเองที่การตัดสินคดีต้องเป็นไปอย่างอิสระและเป็นกลาง ไม่แอบแฝงหรือเก็บซ่อนความคิดใดล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหาในการพิจารณา ไม่กระทำในสิ่งซึ่งเอื้อประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือไม่มีความขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆของผู้พิพากษากับคดีที่พิจารณา  ดังหลักการพื้นฐานที่ว่าบุคคลไม่อาจเป็นผู้พิพากษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยถือกันทั่วไปว่าเป็นเสมือนหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ(Natural Justice)  น่าสนใจว่าสภาขุนนางของอังกฤษซึ่ง(เคย)ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดเคยปรับใช้หลักการนี้ในการปฏิเสธอำนาจพิจารณาของตุลาการที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องอย่างแรงกล้า(Strong Commitment)ในความเชื่อมั่นหรือความคิดเห็นบางประการอันสัมพันธ์กับเรื่องที่พิจารณา หรือปฏิเสธอำนาจตุลาการผู้มีความสัมพันธ์กับบุคคลหรือองค์กร/สถาบันซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นปัญหาในกระบวนการพิจารณา[9]

ในแง่นี้เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน  ตุลาการผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ พศ.2550 ซึ่งย่อมเห็นดีเห็นชอบด้วยในหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆที่ร่วมสถาปนาขึ้นมา  ย่อมมีผลประโยชน์ส่วนตนทั้งในเชิงความคิด อุดมการณ์ หรือระบบการเมืองในรูปแบบหนึ่งๆที่ตนยึดมั่นและมุ่งปกป้องส่งเสริมในรัฐธรรมนูญ   เช่นนี้แล้วภายใต้หลักนิติธรรมสากลที่เน้นความสำคัญของหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการ ตลอดจนตัวอย่างบรรทัดฐานสากลข้างต้น  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมล้วนขาดคุณสมบัติหรือไร้อำนาจชอบธรรมใดๆในการร่วมพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็นปัญหา   เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 ท่านที่เข้าร่วมวินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของเสียงข้างมากในการตัดสินคดีครั้งนี้   เคยมีส่วนร่วมสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่2(นายจรัญ  ภักดีธนากุล) และในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ(นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์)[10]  การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสามท่านไม่ยอมถอนตัว และฝืนเข้าร่วมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ย่อมถือเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ละเมิดหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการหรือฝ่าฝืนต่อหลักนิติธรรมอันแท้จริง 

ผลลัพธ์แห่งการใช้อำนาจตุลาการโดยละเมิดต่อหลักนิติธรรมเช่นนี้ย่อมเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่ความสูญเปล่าแห่งความชอบธรรมใดๆของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20พฤศจิกายนที่ผ่านมา   และจักปรากฏเป็นรอยด่างสำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งสถาบันตุลาการไทยซึ่งมักตกอยู่ใต้บทวิพากษ์แห่งความเป็นอำนาจนิยม/อนุรักษ์นิยมมาโดยตลอด[11]ดังได้รับการตอกย้ำจากคำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ครั้งนี้จะถูกปกปิดห่อคลุมด้วยหลักนิติธรรมมายาที่พยายามสร้างขึ้นเพื่อยืนยันอำนาจว่างเปล่า  หรือหยิบยืมวาทกรรมของพรรคฝ่ายค้านมาใช้ในคำวินิจฉัย จำพวกเผด็จการฝ่ายข้างมาก , สภาผัวเมียหรือการกดขี่ฝ่ายเสียงข้างน้อย เพื่ออวดอ้างความเป็นประชาธิปไตย

แต่ใช่หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วเสียงข้างน้อยดังกล่าว "ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น และเหนือเสียงข้างมาก  มาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น"[12]

 

 




[1] แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ เรื่อง "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา" วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 , นสพ.มติชน  อาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 หน้า 9

[2] ทรรศนะของวิษณุ เครืองาม ใน, ธานินทร์ กรัยวิเชียร , หลักนิติธรรม,นนทบุรี: สำนักงานกพ. 2552 , หน้า66

[3] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่5/2551 ปรากฏนัยความไร้เหตุผลอันชอบธรรมจาก ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายจรัญ ภักดีธนากุล ที่ยืนยันเชิงหลักการว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยฯฉบับที่ 30(ประกาศคณะรัฐประหาร)เป็นมาตรการที่จำเป็นต้องมี  มิได้ฝ่าฝืนหรือขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมหรือสิทธิมนุษยชนแต่ประการใด  ส่วนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ยืนยันว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรค2ของรัฐธรรมนูญภายใต้ข้ออ้างเรื่องความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

[4] H.L.A. Hart , Essays in Jurisprudence and Philosophy, Oxford :Clarendon Press, 1983, pp.114-5

[5] Joseph Raz, "The Rule of Law and Its Virtue", The Law Quarterly Review,Vol.93, April 1977,p.201

[6] UN, Rule of Law and Transitional Justice in Conflict and Post-Conflict Societies,(S/2004/616), 2004 แม้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักนิติธรรมของสหประชาชาติในปีคศ.2012  หลักความเป็นอิสระของระบบตุลาการและความเป็นกลาง-เที่ยงธรรมของศาล ยังได้รับการตอกย้ำให้เป็นสาระสำคัญอันจำเป็นเบื้องต้น(Essential prerequisite)ต่อการยืนหยัดในหลักนิติธรรม , UN General Assembly ,Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on the Rule of Law at the National and International Levels, 19 September 2012(ข้อ13)

[7] The International Bar Association(IBA), Rule of Law Resolution ,September 2005,WWW.ibanet.org/Document/Default.aspx? Document Uid=a 19de354

[8] http://worldjusticeproject.org/sites/default/files/wjp_Index_Report

[9] R v.Bow Street Metropolitan Stipendiary Magistrate, ex parte Pinochet Ugarte(No.2)  House of Lords, United Kingdom,(1999) 1 LRC 1  อ้างใน Nihal Jayawickrama , The Judicial Application of Human Rights Law, Cambridge : Canbridge University Press,2002 ,p.519   คดีนี้เกี่ยวข้องกับการออกหมายจับอดีตผู้นำเผด็จการชิลี(Pinochet)ในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำตัวมาพิจารณาคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ภายหลังพบว่าหนึ่งในผู้พิพากษาที่พิจารณาการออกหมายจับ เคยเป็นผู้อำนวยการและประธานองค์การนิรโทษกรรมสากล(AI) อันเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ตกเป็นเหยื่อของอำนาจเผด็จการ/การละเมิดสิทธิมนุษยชน  แม้ไม่มีการกล่าวหาว่าผู้พิพากษาดังกล่าวมีอคติในความเป็นจริง  สภาขุนนางอังกฤษก็ชี้ขาดว่า ถึงแม้จะไม่พบความผิดในแง่การมีอคติความลำเอียงใดๆ   ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมขาดคุณสมบัติ(แห่งความเป็นอิสระ-เป็นกลาง)โดยอัตโนมัติในการพิจารณาการออกหมายจับดังกล่าว

[10] คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พศ.2550, http://th.wikipedia.org/wiki/

[11] ดูตัวอย่างบทวิพากษ์ล่าสุดของสถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฏีกา ในงานเสวนาวิชาการ"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับหลักประชาธิปไตยและนิติธรรม"24พย.2556 :"...สถาบันตุลาการของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงมีอุดมการณ์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่มาก  เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 นั้น ศาลหรืออำนาจตุลาการเป็นสถาบันการเมืองเดียวที่แทบไม่ถูกปฏิรูปเลยแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง" ,นสพ.มติชน ,25 พย.2556

[12] เกษียร เตชะพีระ , "ผลทางการเมืองของมติศาลรัฐธรรมนูญ" ,  http://blogazino.in.th/blogs/kasian/post/4460

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

Posted: 26 Nov 2013 03:51 AM PST

"ที่ว่าดิฉันขาดความรู้ ขาดสติปัญญา ท่านสมาชิกบอกว่าดิฉันโง่ ก็คงยากที่จะอธิบายเพราะเราไม่เคยร่วมงานกัน"

26 พ.ย. 2556, นายกรัฐมนตรีกล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่รัฐสภา

กสทช.เตือนผู้ประกอบการฯ ตัดสัญญาณมือถือโดยพลการ โทษถึงยึดใบอนุญาต

Posted: 26 Nov 2013 01:31 AM PST

สำนักงาน กสทช. แจ้งผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่หากตัดสัญญาณโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิดทางกฎหมายถึงขั้นยึดใบอนุญาต พร้อมสั่งเร่งเพิ่มความแรงคุณภาพสัญญาณในพื้นที่ชุมนุม


26 พ.ย.2556 สำนักงาน กสทช. เผยแพร่ข่าว ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงาน กสทช. ได้ออกข่าวเกี่ยวกับสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองก่อนหน้านี้ สำนักงาน กสทช. ขอแจ้งไปยังผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายว่า การตัดสัญญาณโทรศัพท์ถือเป็นกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตพัก หรือหยุดการให้บริการ ตามาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีความเสียหายร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.เดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจของ กสทช. ที่จะพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ นอกจากนี้ เมื่อการกระทำดังกล่าวมีผลให้ระบบโทรคมนาคมขัดข้อง จึงอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ตามมาตรา 73 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

ฐากร กล่าวว่า ขณะนี้ สำนักงานฯ ได้มีหนังสือสั่งการด่วนให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ดูแลเพิ่มความแรงของคุณภาพสัญญาณในพื้นที่ชุมนุมให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง มีประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมกันเป็นจำนวนมาก  ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพสัญญาณ แม้การออกแบบโครงข่ายจะมีการเผื่อกรณีมีผู้ใช้งานมากไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อกรณีที่มีการใช้งานพร้อมกันมากมากเช่นนี้ การให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มความแรงของคุณภาพสัญญาณจะช่วยให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้นได้ พร้อมระบุ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญของสำนักงาน กสทช. ที่จะดูแลประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพ หากพบปัญหาจากการใช้บริการสามารถแจ้ง และร้องเรียนมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ได้ทันที

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอนุมัติหมายจับสุเทพ เทือกสุบรรณ หลังชุมนุมกระทรวงการคลัง

Posted: 26 Nov 2013 12:28 AM PST

ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุเทพ เทือกสุบรรณ ฐานกระทำการให้เกิดความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร - มั่วสุม - ฝ่าฝืนเจ้าพนักงาน - บุกรุก ตามที่ สน.บางซื่อขออำนาจศาล - จากกรณีชุมนุมกระทรวงการคลัง 'สุเทพ' อัพเฟซบุ๊คย้ำเป็นมาตรการสันติวิธี ขอให้ประชาชนอย่าหวั่นไหว

สุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Suthep Thaugsuban)

26 พ.ย. 2556 - เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา ศาลอาญา รัชดาภิเษก ได้อนุมัติหมายจับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุมฐานความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กระทำการให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เพื่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และมาตรา 215 มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และมาตรา 216 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และมาตรา 365 ประกอบมาตรา 362 ร่วมกันบุกรุก

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ ได้ขออำนาจศาลอาญา ออกหมายจับสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะที่ตัวแทนกระทรวงการคลัง จะไปยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินต่อศาลแพ่ง ให้ศาลมีคำสั่งให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่กระทรวงการคลังด้วย ส่วนข้อหากบฏ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาพยานหลักฐานว่าเข้าข่ายความผิดหรือไม่

ส่วนกรณีที่แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำผู้ชุมนุมเข้าไปชุมนุมในกระทรวงการต่างประเทศ ถ.ศรีอยุธยา ทาง สน.พญาไท ได้ประสานกระทรวงการต่างประเทศให้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ชุมนุม คปท. ได้เคลื่อนขบวนออกจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว

สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงกรณีมีภาพถ่ายถุงดำครอบกล้องวงจรปิด บริเวณแยกวัดเบญจมบพิตร ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นภาพเก่าที่มีการตัดต่อ เชื่อต้องการปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งได้ประสานข้อมูลให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหาตัวผู้กระทำผิดแล้ว

ส่วนที่สถานีโทรทัศน์บลูสกาย มีการลิงค์สัญญาณภาพกล้องซีซีทีวีของกรุงเทพมหานครมาออกอากาศ เบื้องต้น ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าเป็นภาพจริงหรือตัดต่อ หากมีการลิงค์สัญญาณจริง ถือว่าเป็นความผิด ต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบ เพราะถือเป็นการนำข้อมูลของราชการไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก่อนศาลอนุมัติหมายจับ สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้โพสต์สเตตัสยืนยันการทำอารยะขัดขืนด้วยว่า "พี่น้องครับอย่าหวั่นไหว การเข้ายึดสถานที่สำคัญโดยสันติวิธี นื่เป็นวิธีการต่อสู้อย่างหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะ เป็นการแสดงพลังประชาชนเป็นล้าน การชุมนุมอยู่เฉยๆไม่จบได้ แต่เราต้องออกมาแสดงพลังในการต่อสู้ ช่วยกันเสริมกำลังในทุกการปฏิบัตการของเราด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นไหว"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมสิทธิฯ ขอทุกฝ่ายใช้วิถีทางประชาธิปไตยแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

Posted: 25 Nov 2013 11:10 PM PST

26 พ.ย.2556 สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง มีเนื้อหาดังนี้

0000

แถลงการณ์
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
เรื่อง ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทาความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 โดยพิจารณาเห็นชอบ 3 วาระวันเดียวกัน เป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ชุมนุมคัดค้าน พร้อมๆ กับเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการคัดค้านทางการเมืองและทางสังคมอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ความไม่พอใจของสังคมต่อร่างกฎหมายกฎหมายดังกล่าวนาไปสู่การชุมนุมขับไล่รัฐบาล โดยกลุ่มประชาชนหลายฝ่าย กลุ่มผู้ชุมนุมได้กระจายการชุมนุมโดยปิดล้อมสถานที่ราชการ เช่น กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กระทรวงการต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อมิให้เจ้าหน้าที่ส่วนราชการนั้นปฏิบัติราชการได้ อีกทั้งยังไปปฏิบัติการในพื้นที่ของเอกชนที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น อันนำไปสู่การที่รัฐบาลประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ เฉพาะอาเภอบางพลี จังหวัดปทุมธานี เฉพาะอาเภอลาดหลุมแก้ว ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย อาจนาไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและความรุนแรงรอบใหม่

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มีความเป็นห่วงสถานการณ์ที่เป็นอยู่เป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการนาไปสู่การเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้ความรุนแรงและไม่ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชนตามวิถีทางของสังคมประชาธิปไตย จึงขอเสนอความคิดเห็นและข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในรัฐเสรีประชาธิปไตย

2. การยึดกระทรวงการคลัง ยึดสำนักงบประมาณ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมอ้างว่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สำนักงบประมาณโอนเงินตามคำสั่งของระบอบทักษิณ และเรียกร้องไปยังประชาชนทั่วประเทศให้ทำการยึดอาคารสำนักงานราชการทั่วประเทศต่อไป แม้จะโดยมิได้ทำร้ายผู้ใดและไม่ทำลายทรัพย์สินของราชการก็ตาม การกระทำดังกล่าวถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองซึ่งมิได้เป็นเรื่องปกติในรัฐเสรีประชาธิปไตย หากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายใด รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจโดยชอบในการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ เพื่อออกมาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือลงโทษผู้กระทาผิดนั้นได้

3. การที่กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงกิริยา หรือใช้วาจาหยาบคายในการแสดงความคิดเห็นบนเวที และบางกรณีอาจมีการใช้กำลังกับเจ้าหน้าที่หรือสื่อมวลชนผู้กำลังปฏิบัติตามหน้าที่หรือผู้อื่นซึ่งมีความเห็นต่างจากลุ่มผู้ชุมนุมให้ดำเนินการตามความประสงค์ของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น การเสนอเงื่อนไขให้บุคคลใดๆ เป่านกหวีด หากไม่ดำเนินการถือว่าไม่ใช่พวกเดียวกับตน ย่อมเป็นการแสดงกิริยาอันมิใช่วิสัยของอารยชน ที่เชื่อมั่นในวิถีทางประชาธิปไตย

4. การประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล นั้นย่อมมิได้เป็นการบังคับใช้กฎหมายเพียงต่อผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประชาชนทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย การปฏิบัติการใดๆ ตามประกาศดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง จึงต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนของการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมกับการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไปที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเป็นสาคัญ

สสส. จึงขอเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่าย ตั้งอยู่ในความอดกลั้น อยู่ในกรอบของการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ หากรัฐบาลต้องการให้ผู้ชุมนุมออกจากสถานที่สาธารณะ รัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษเช่นที่กาลังดำเนินการอยู่ และขอให้ผู้นำการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลและรัฐบาลหาทางใช้มาตรการตามวิถีทางรัฐสภา ให้น้ำหนักกับการเจรจากับผู้ชุมนุม เพื่อหาทางยุติวิกฤตโดยสันติ โดยมีมาตรการรูปธรรมต่างๆ ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน และดำเนินการต่างๆ อย่างระมัดระวังบนฐานแห่งสันติวิธีและจรรโลงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นวิถีทางเดียวที่จะนำชาติบ้านเมืองอันเป็นที่รักยิ่งของคนทุกคน ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยความเรียบร้อย

เชื่อมั่นในหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์หวังชุมนุมราชดำเนินเป็นแรงบันดาลใจคนไทยหลายล้านพาสังคมไปในทางถูกต้อง

Posted: 25 Nov 2013 11:09 PM PST

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้การที่มีประชาชนออกมาชุมนุมจำนวนมากโดย 'ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งพรรค' นั้นเพราะเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สะสมความอึดอัด-ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม และต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง โดยหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอีกหลายล้านนำพาสังคมไปในทางที่ถูกต้อง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างพบปะประชาชนในการชุมนุมที่สถานีรถไฟสามเสน เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Abhisit Vejjajiva/แฟ้มภาพ)

 

26 พ.ย. 2556 - เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า เมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel เกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่วันที่ 24 พ.ย. ว่า เป็นการแสดงออกอย่างสำคัญของสังคมไทยที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง

"ผมคิดว่าหลายคนเมื่อวานนี้ที่เดินทางไป ซึ่งจำนวนเป็นเรือนล้าน คงจะต้องถือว่ามีประสบการณ์ที่ยากที่จะมีประสบการณ์เช่นนี้อีก ผมเองตอนเช้าไปร่วมในงานทำบุญตอนเช้า ขณะนั้นก็เห็นแล้วครับว่าประชาชนก็หนาแน่นกว่าทุกๆ วันที่เราติดตามข่าวสารอยู่จากราชดำเนินสำหรับในช่วงเช้า แต่ว่าพอช่วงบ่ายก็มีข่าวสารการเคลื่อนขบวนของประชาชนที่นัดหมายตามจุดต่างๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองก็เดินทางไป แล้วก็รถไปถึงประมาณสะพานขาว แล้วก็ลงเดินไป ก็มีพี่น้องจำนวนมากซึ่งกำลังเดินทางไปที่ราชดำเนิน ก็เรียกว่าแน่นตลอดทาง แล้วก็กว่าจะไปถึงตัวเวทีก็ประมาณน่าจะชั่วโมงกว่าๆ ครับ ชั่วโมงครึ่ง แล้วก็ทราบเลยว่ามีพื้นที่ไม่พอสำหรับการชุมนุมตรงนั้น เห็นความพยายามในการที่จะต้องเอาเครื่องขยายเสียง จอภาพต่างๆ ไปให้ถึงที่ที่ประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุม แต่ว่าในที่สุดก็ไม่ไหวครับ ต้องไปเปิดอีกเวทีที่สนามหลวง แล้วก็ภาพของประชาชนบนสะพานพระปิ่นเกล้า เชื่อว่าคงไม่มีใครเห็นในลักษณะนั้นมาก่อน"

"เพราะฉะนั้นก็ผมคิดว่าเป็นการแสดงออกอย่างสำคัญของสังคมซึ่งขณะนี้เราก็ยังไม่ได้ยินว่าทางนายกรัฐมนตรีกับรัฐบาลมีปฏิกิริยา หรือมีความพยายามที่จะตอบสนองอะไรอย่างไร นอกจากคำพูดที่ค่อนข้างที่จะเป็นคำพูดเดิมๆ ทำนองว่าขอให้มาพูดคุยกันอะไรทำนองนั้นครับ"

อภิสิทธิ์ตอบคำถามถึงสาเหตุว่าทำไมคนจึงออกมาร่วมชุมนุมว่า "ผมคิดว่าการต่อต้านตัวกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งมีการพัฒนามานั้น เพราะในที่สุดคนก็มองว่ากฎหมายนิรโทษกรรมนั้นก็เหมือนกับเป็นอาการของโรค แล้วก็ต้องการที่จะรักษาโรค ไม่ใช่รักษาอาการเฉยๆ แล้วก็รวมไปจนถึงว่าประเด็นของกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น เป็นประเด็นที่ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มไม่แบ่งสี ไม่แบ่งพรรค ไม่แบ่งเพศ ไม่แบ่งอะไร สามารถที่จะรวมตัวกันได้ เพราะว่าเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นจุดเริ่มต้นตรงนั้นที่ทำให้เกิดพลังตรงนี้ แล้วก็พลังจำนวนมากคือสะสมความอึดอัด กับความเลวร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นอยู่ในสังคม แล้วก็ต้องการที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลง"

ต่อมาผู้ดำเนินรายการถามว่า "คุณอภิสิทธิ์มองท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดงวานนี้ที่ชุมนุมในสนามรัชมังคลาภิเษกอย่างไร ว่าจะมีผลกระทบกับการชุมนุมวันนี้หรือไม่" อภิสิทธิ์ตอบว่า "มันเป็นความพยายามของเขาที่จะระดมคน แล้วเราก็มี ผมเห็นก็มีเอกสารที่ส่งผ่านทางโซเชียลมีเดีย ที่เป็นคำสั่ง ผมเห็นจังหวัดนึงสั่งทางเจ้าหน้าที่ หรือทาง กศน. ให้มาร่วมกัน แล้วก็บอกให้เอาเสื้อแดงมาด้วย"

ส่วนความเห็นท่าทีรัฐบาลนั้น อภิสิทธิ์ตอบว่า "ก็ยังไม่มีท่าทีอะไรที่ชัดเจนนะครับ ผมเห็นข่าว แต่ผมยังไม่แน่ใจหรือยังว่าวันนี้ตกลงนายกฯ งดประชุมครม."

ผู้ดำเนินรายการถามว่า "คุณอภิสิทธิ์คิดว่าจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าหากมีการเคลื่อนการชุมนุมขนาดนี้" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ถ้าฟังจากคุณสุเทพ เส้นทางที่เคลื่อนไปนี้ แล้วก็เจตนาที่เคลื่อนไปก็ไม่ได้มีอะไรที่ไปกระทบอะไรกับการดำเนินการประชุมในวันพรุ่งนี้" โดยผู้ดำเนินรายการตอบว่า "13 เส้นทางของกลุ่มราชดำเนิน และอีก 12 เส้นทางของกลุ่ม คปท." จากนั้นอภิสิทธิ์ได้ชี้แจงว่า "คืออันนั้นผมไม่ทราบว่าตกลงแล้วเขาจะไปที่จุดไหนอย่างไรบ้าง เพราะว่าผมเห็นข่าวเมื่อเช้าสั้นๆ พอดีของคุณสุเทพเมื่อคืนพูดบนเวที ประกาศชัดเจนว่าจะไปไหนอย่างไร เพื่ออะไร เพราะฉะนั้นก็คงต้องติดตาม ผมก็มีหน้าที่เตรียมอย่างเดียวครับ ทำหน้าที่ของผม แล้วก็วันนี้ในพรรคฯ ก็คงจะต้องเตรียมกันอย่างเต็มที่ เพราะก็ยังถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญที่เราต้องทำเพื่อให้ความจริงปรากฎกับสังคม"

เมื่อถามถึงความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ อภิสิทธิ์ตอบว่า "เราก็ทราบนะครับ รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา แต่ว่าสิ่งที่เราต้องการจะทำก็คือเปิดเผยข้อมูลหลายอย่างให้เห็นว่ารัฐบาลนี้มีการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตมากอย่างไรอันนี้เป็นประเด็นหลักอยู่แล้วครับ ในการอภิปรายครั้งนี้"

ต่อมาผู้ดำเนินรายการถามว่า "คุณอภิสิทธิ์วิเคราะห์เส้นทางที่คุณสุเทพจะเดินทั้ง 13 เส้นทางนี้อย่างไรบ้าง ที่มีการไปพบสื่อมวลชน หน่วยงานราชการสำคัญทั้งทหาร และตำรวจ" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ถ้าติดตามสิ่งที่คุณสุเทพพูดมาตลอด ความหมายของคุณสุเทพก็คือว่า กลไกที่มีความสำคัญในการทำให้ระบอบทักษิณเดินต่อนั้น ก็ประกอบไปด้วยทางกลไกของราชการเพราะว่าต้องอยู่ภายใต้รัฐบาลในระบอบทักษิณ แล้วก็มีสื่อสารมวลชนซึ่งดูว่า จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ไม่ค่อยพร้อมที่จะเสนอข่าวสารเป็นมุมมองที่แตกต่างจากรัฐบาลในระบอบนี้ เพราะฉะนั้นก็เดินทางไป ก็ชัดเจนว่าไปในกลุ่มเป้าหมาย ก็คือในส่วนของส่วนราชการที่คุณสุเทพต้องการจะไปถามว่าจะมาอยู่เคียงข้างประชาชนไหม โดยคุณสุเทพก็เชื่อว่าถ้าหน่วยงานเหล่านั้นตัดสินใจว่าจะมาอยู่เคียงข้างประชาชน ไม่รับใช้ระบอบทักษิณแล้วก็เดินต่อ ระบอบทักษิณก็ไม่น่าจะเดินต่อได้ เช่นเดียวกับสื่อมวลชนที่จะไปเรียกร้องให้มายืนเคียงข้างประชาชนในการเสนอข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาครับ"

ส่วนคำถามที่ว่า "การที่หน่วยงานต่างๆ จะแสดงท่าที หรือจะแสดงออกในการที่จะไม่สนับสนุนรัฐบาลนั้น คุณอภิสิทธิ์คิดว่าเขาควรจะแสดงออกอย่างไร" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ทราบนะครับว่า ทางกลุ่มที่เคลื่อนวันนี้จะเป็นบุคคลที่ได้รับหมอบหมาย แกนนำหรือกลุ่มอะไรต่างๆ นั้น 1.จะได้มีโอกาสพูดคุยมั้ยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กับ 2. ถ้ามี จะมีการพูดถึงประเด็นนี้ แล้วก็จะพูดถึงรูปแบบหรือไม่อย่างไร อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ เพราะฉะนั้นก็ไม่กล้าที่ไปวิเคราะห์ หรือไปเสนอไปเสนอว่ารูปแบบมันคืออะไร"

ส่วนกรณีการไปพบสื่อมวลชนนั้น อภิสิทธิ์ได้เตือนว่า "ผมอยากให้ระมัดระวังนะครับว่า อย่าให้เป็นลักษณะของการที่เป็นการไปข่มขู่ หรือไปคุกคาม หรือถูกมองอย่างนั้น แต่ผมเข้าใจว่ามันเป็นความอึดอัดของคนจำนวนไม่น้อยที่บ่นกันมาว่าฟรีทีวี หรือสื่อเหล่านี้ ทำไมไม่ยอม หรือไม่นำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความคิดต่างกับรัฐบาล เท่าที่ควรจะเป็นภายใต้ความปกติของการทำงานตามวิชาชีพ ผมว่าอันนี้คือประเด็นมากกว่า เพราะฉะนั้นก็คงต้องระมัดระวังครับว่า การไปสื่อสารตรงนี้ต้องไม่ให้ถูกตีความว่าเป็นการไปข่มขู่ หรือไปคุกคามเขาครับ"

ต่อเรื่องทางออกทางการเมืองนั้น อภิสิทธิ์ตอบว่า "ทางออกมันจะมีได้ก็ต่อเมื่อ นายกฯ และรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ทำขึ้นมา อันนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องในการประชุมของพรรคฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า สิ่งที่มันขาดหายไปขณะนี้ก็คือหลักความรับผิดชอบ"

จากนั้นผู้ดำเนินรายการถามว่า "บรรดาผู้ที่ขึ้นเวทีที่ราชดำเนินนั้น มีกลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากพนักงานกลุ่มนี้มีอารยะขัดขืนขึ้นในวัน สองวันนี้ อะไรจะเกิดขึ้น" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมพูดตรงๆ ว่าจะให้ไปวิเคราะห์ก็คงลำบากนะครับ แล้วก็มันก็เป็นเรื่องที่เขาเองเขาก็จะต้องเป็นผู้กำหนดจุดยืนท่าที แต่ว่าแน่นอนครับ อันนี้ก็เป็นอีกกลไกที่สำคัญถ้าหากว่าไม่ทำงานเพื่อแสดงออกถึงการไม่ยอมรับ ก็จะมีผลนะครับ"

ต่อคำถามว่า "คุณอภิสิทธิ์อยากฝากอะไรถึงพี่น้องคนไทยทั้งประเทศถึงสถานการณ์ในวันนี้" อภิสิทธิ์ตอบว่า "อยากจะขอเป็นกำลังใจ แล้วก็ขอบคุณกับพี่น้องประชาชนที่ได้แสดงออกอย่างสงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวานนี้ผมเห็นหลายคนนะครับ มีความยากลำบาก ผมเห็นคุณยายนั่งรถเข็น อายุ 80 กว่า ถือธง แล้วก็ยังต้องการที่จะออกมาแสดงออก ผมเห็นหลายคนที่อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการชุมนุม ในการประท้วงอะไรทั้งสิ้น ตัดสินใจว่าจะไปเป็นครั้งแรก ผมเห็นความยากลำบากเวลาที่ต้องเบียดเสียดกัน มีปัญหาเรื่องอาหารการกิน ห้องน้ำ โดยเฉพาะพี่น้องที่มาจากต่างจังหวัดที่ถูกสกัดกั้นทุกรูปแบบ แต่ว่านี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าจะเป็นแรงบันดาลใจแล้วก็กำลังใจให้คนอีกหลายล้านคนที่ไม่ได้มีโอกาสมาเมื่อวานนี้ ให้เห็นว่ามีประชาชนมากมายมหาศาลที่ยังหวงแหนประเทศชาติ และต้องการเห็นสังคมไปในทางที่ถูกต้องครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ" 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวอิหร่านต้อนรับผู้แทนประเทศชื่นมื่น หลังเจรจานิวเคลียร์รอบแรกกับมหาอำนาจผ่านไปด้วยดี

Posted: 25 Nov 2013 10:54 PM PST

การเจรจารอบแรกระหว่าง 6 ชาติมหาอำนาจกับอิหร่านในเรื่องการควบคุมนิวเคลียร์สามารถบรรลุข้อตกลงได้ โดยให้อิหร่านลดการใช้ยูเรเนียมและให้อนุญาตคณะผู้ตรวจการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ และกับการผ่อนปรนการคว่ำบาตร แต่นายกฯ อิสราเอลไม่พอใจ บอกว่าข้อตกลงยังอ่อนเกินไปในการควบคุมอิหร่าน

25 พ.ย. 2556 กลุ่มประชาชนชาวอิหร่านพากันออกมาต้อนรับตัวแทนเจรจาผู้เดินทางกลับประเทศหลังจากเจรจาตกลงเรื่องนิวเคลียร์กับกลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลกเป็นผลสำเร็จ ขณะที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลแสดงความไม่พอใจบอกว่าเป็น "ความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์"

การเจรจาบรรลุข้อตกลงในขั้นแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา  (24 พ.ย.) เมื่อตัวแทนจาก 6 ประเทศมหาอำนาจ คือสหรัฐฯ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนีได้หารือกับอิหร่านจนกระทั่งบรรลุข้อตกลงชั่วคราวถือเป็นขั้นแรกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้

อิหร่านได้ยอมรับในข้อตกลงชั่วคราวทำให้มีการจำกัดปฏิบัติการเกี่ยวกับนิวเคลียร์เพื่อแลกกับการผ่อนปรนด้านการคว่ำบาตรคิดเป็นมูลค่าราว 7,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 224,000 ล้านบาท)

ประชาชนชาวอิหร่านผู้ให้การสนับสนุนหลายร้อยคนออกมาต้อนรับการกลับประเทศของตัวแทนเจรจาของอิหร่านที่สนามบินเมห์ราบัด กรุงเตหะรานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พวกเขาถือดอกไม้และธงอิหร่าน มีการกล่าวชื่นชมว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านว่าเป็น "ทูตแห่งสันติ" และมีการตะโกนคำขวัญว่า "ไม่เอาสงคราม การคว่ำบาตร การยอมแพ้ และการถูกดูหมิ่น"

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวว่า ข้อสรุปการเจรจาเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ใช่ข้อตกลงในระดับประวัติศาสตร์แต่เป็น "ความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์" โดยเนทันยาฮูวิจารณ์ว่าข้อตกลงในครั้งนี้ทำให้มีการยกเลิกการคว่ำบาตรที่เคยมีมานานหลายปีและไม่ได้ช่วยลดประสิทธิภาพด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านมากนัก

เนทันยาฮูอ้างว่าอิหร่านมีรัฐบาลที่อันตรายและกำลังจะครอบครองอาวุธที่อันตรายที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีความพยายามทำลายอิสราเอล แต่ประเทศอิสราเอลก็มีพรรคพวกมากและพวกเขามีสิทธิที่จะปกป้องตนเองจากสิ่งที่เป็นภัยคุกคาม

ขณะที่ จอห์น เคอร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวของเนทันยาฮู โดยบอกว่าข้อตกลงร่วมกันกับอิหร่านจะทำให้อิสราเอลปลอดภัยกว่าเดิม อย่างน้อยก็ภายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากข้อตกลงทำให้พวกเขาสามารถเข้าไปตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ และเคอร์รี่ยังได้ให้คำมั่นว่าพวกเขาจะไม่ลดการกดดันอิหร่านโดยการผ่อนปรนการคว่ำบาตรเป็นการผ่อนปรนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา กล่าวว่านี่ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการทำให้ทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญของกรณีโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน โอบามากล่าวอีกว่าข้อตกลงนี้มีการจำกัดปฏิบัติการสำคัญของอิหร่านที่น่าจะเป็นการตัดหนทางไม่ให้มีการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้ แต่ก็มีนักการเมืองบางส่วนในสภาสหรัฐฯ ที่ยังคงเป็นกังวลไม่ไว้ใจอิหร่านในแง่นี้ และคิดว่าควรมีการคว่ำบาตรเพิ่ม

ทางด้านโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านหวังว่าข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนชาวอิหร่านกลับคืนมา

"ประชาชนชาวอิหร่านต้องการการเคารพต่อสิทธิและศักดิ์ศรีของพวกเขา มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะคืนความเชื่อมั่นให้พวกเขา และผมว่าหวังว่ากระบวนการในครั้งนี้จะทำให้เกิดผลเช่นนั้น" ซารีฟกล่าว

โดยก่อนหน้านี้กลุ่มประเทศตะวันตกมีความพยายามยับยั้งโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งเคยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากสหประชาชาติมาก่อน เพื่อขจัดความเสี่ยงไม่ให้อิหร่านแอบกักตุนแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์

 

ผู้นำคนใหม่อิหร่านเน้นเชื่อมสัมพันธ์ประเทศมหาอำนาจ

สำนักข่าวอัลจาซีรา ระบุว่า การทูตระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจเป็นไปได้ด้วยดีหลังจากการเลือกตั้งเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งฮัสซัน รูฮานี จากพรรคแนวคิดอนุรักษนิยมสายกลางได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีโดยรับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น แทนที่ผู้นำชาตินิยมก่อนหน้านี้คือมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด โดยรูฮานีมีเป้าหมายต้องการคืนดีกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจและทำให้มีการยกเลิกคว่ำบาตร ขณะเดียวกันเขาก็ได้รับการสนับสนุนด้านมวลชนจากอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสุงสุดของอิหร่าน

สำนักข่าวบีบีซี ระบุถึงรายละเอียดข้อตกลงมีใจความสำคัญ 5 ประการคือ ห้ามให้อิหร่านใช้ประโยชน์จากยูเรเนียมเกินร้อยละ 5 ส่วนที่มีอยู่เกินอยู่แล้วให้นำไปทำให้กลับคืนสภาพ "ทำให้กลายเป็นกลาง" ให้อิหร่านอนุญาตให้ผู้ตรวจการเข้าไปสำรวจพื้นที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์ ห้ามการพัฒนาโรงงานอารัคซึ่งเชื่อว่าเป็นโรงงานที่ใช้ผลิตพลูโตเนียม (สารอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์) โดยแลกกับการให้คำมั่นว่าจะไม่มีการคว่ำบาตรในประเด็นที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์อีก 6 เดือนข้างหน้า รวมถึงมีการผ่อนปรนการคว่ำบาตรราว 7,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมเหล็กด้วย

การผ่อนปรนดังกล่าวทำให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันในประเทศได้มากขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการลดความเสี่ยงในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งทางบีบีซีเปิดเผยว่าหลังจากการบรรลุข้อตกลงรอบแรกในคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็ทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลงในวันจันทร์

 


เรียบเรียงจาก

Iranian nuclear deal sparks war of words, Aljazeera, 25-11-2013
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2013/11/iranian-nuclear-deal-sparks-war-words-20131124142141183840.html

Iran welcomes nuclear deal which Israel calls 'mistake', BBC, 25-11-2013
http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-25083875

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น