โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ปชป.เรียกร้องประธานสภา ให้โอกาสฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

Posted: 16 Nov 2013 11:35 AM PST

องอาจ คล้ามไพบูลย์ เตือน 'สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์' ไม่ควรปิดกั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เรียกร้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ตาม รธน. ชี้ 310 ส.ส. ควรแสดงความรับผิดชอบจากการลงมติ กม.นิรโทษกรรม

17 พ.ย. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมาว่า นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องตามขั้นตอน โดยมีการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เข้าข่าย ซึ่งประธานวุฒิสภา ระบุ ต้องตรวจสอบรายชื่อผู้ร่วมยื่นถอดถอนภายใน 15 วัน และนำเรื่องดังกล่าวส่งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ปปช. ต่อไป

ส่วนการยื่นญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ได้ยื่นเรื่องต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ได้รับการปฎิเสธโดยอ้างว่าเอกสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาที่จะปิดกั้นไม่ให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อีกทั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีหน้าที่ที่จะเปิดดูคำร้อง เพราะเป็นเพียงผู้ที่จะนำเรื่องที่ได้รับส่งต่อไปตามขั้นตอนเท่านั้น พร้อมเรียกร้องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ควรเปิดโอกาสให้พรรคฝ่ายค้านได้ทำตามหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และฝากไปยังรัฐบาลว่า ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฝ่ายค้านมีสิทธิยื่นเรื่องถอดถอนและอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

นายองอาจ ยังกล่าวถึงร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ว่า วันนี้ยังค้างอยู่ในสภาตามกำหนดเวลา 180 วัน หลังจากที่วุฒิสภามีมติไม่รับร่างดังกล่าว และส่งคืนกลับมายังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย จนทำให้รัฐบาลต้องถอนร่างดังกล่าวออกไป แต่คงเป็นเพียงยุทธวิธีการลดกระแสคัดค้านของประชาชนเท่านั้น ทั้งที่มีช่องทางที่รัฐบาลสามารถที่จะทำให้กระบวนการกฎหมายตายไปจากสภาได้ แต่รัฐบาลก็ไม่ดำเนินการ ซึ่งวันนี้ยังไม่มีใครรับรองได้ว่า รัฐบาลหรือบุคคลในรัฐบาลจะไม่หยิบยกร่างดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาอีก ซึ่งทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การถอยของรัฐบาลเป็นยุทธวิธีไม่ได้เป็นการถอยเพราะมีจิตสำนึกผิดชอบ ดังนั้นจึงไม่เห็นมีบุคคลใดในรัฐบาลออกมาแสดงความสำนึกรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ เพราะฉะนั้นบุคคลที่ร่วมลงมติเห็นชอบในร่างดังกล่าวทั้ง 310 คน กรรมาธิการเสียงข้างมากที่เป็น ส.ส. และไม่เป็น ส.ส. ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ชน.เยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุชุมนุม

Posted: 16 Nov 2013 11:26 AM PST

17 พ.ย. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ว่า พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เดินทางเข้าเยี่ยมอาการ ร้อยตำรวจตรี จิระ แจ่มศรีจันทร์ สังกัด กก.สส.บก.น.8 ที่ห้อง 603 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลตำรวจซึ่งถูกการ์ดของกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำร้ายร่างกาย เมื่อวันที่ 16 พ.ย.

โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ได้มอบเงิน 30,000 บาท เป็นขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งกล่าวยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทำร้ายประชาชน และในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่พกอาวุธ ซึ่งเชื่อว่ามีหลักฐานจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ในการดำเนินคดีกับคนร้ายที่ก่อเหตุ ส่วนการจะขยายพื้นที่ประกาศพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรัฐบาล แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังคงยึดหลักในการเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมเช่นเดิม โดยขณะนี้ได้ประสานกับกรุงเทพมหานคร ร่วมกันตั้งด่านตรวจค้น โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 12 นายและเทศกิจ 3 นาย ร่วมตรวจค้นอาวุธเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตำรวจไม่ได้เลือกปฏิบัติ

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยังกล่าวแสดงความเป็นห่วงการชุมนุมว่า อาจมีมือที่ 3 เข้ามาก่อความวุ่นวาย โดยย้ำว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สลายการชุมนุม และจะอยู่ในที่ตั้ง ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายอดกลั้น แม้จะถูกยั่วยุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพจะไม่ยอมให้ 'ระบอบทักษิณ' สืบทอดถึงรุ่นลูก- ลั่นต้องรู้ผลก่อน 30 พ.ย.

Posted: 16 Nov 2013 07:52 AM PST

สุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ 'ตระกูลชินวัตร' ไปถึงรุ่น 'พานทองแท้' ชี้ไม่มีทางเลือกอื่นต้องสร้างอำนาจประชาชนให้เติบใหญ่ไปสู้ระบอบทักษิณ โดยขอให้มาชุมนุมล้านคนเพื่อให้ได้ชัยชนะก่อน 30 พ.ย. นี้

สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานีหลายสมัย แกนนำการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ยกระดับเป็นการ 'โค่นระบอบทักษิณ' ปราศรัยที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่มา: BlueSky TV

 

16 พ.ย. 2556 - ในการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรม ที่ ถ.ราชดำเนิน ซึ่งเมื่อวานนี้ (15 พ.ย.) สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ยกระดับเป็นการชุมนุมเพื่อถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณ และเชิญชวนประชาชนใช้ 4 มาตรการอารยะขัดขืนได้แก่ ถอดถอน 310 ส.ส. - ไม่เสวนาแต่เป่านกหวีดใส่บริวารทักษิณ - ไม่ซื้อขายสินค้าเครือทักษิณ - ข้าราชการทั่วประเทศหยุดงาน และล่าสุดในการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ในช่วงหัวค่ำสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส. จ.ตรัง แกนนำการชุมนุมได้นัดหมายผู้ชุมนุมว่าในวันที่ 17 พ.ย. จะมีการลอยกระทง 'ลอยระบอบทักษิณลงทะเล' นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

สุเทพลั่น 30 พ.ย. ต้องรู้ผล ไม่อย่างนั้นระบอบทักษิณจะมีอำนาจไปหลายสิบปี

ต่อมาในเวลา 19.37 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ตอนหนึ่งกล่าวว่า การชุมนุมของประชาชนที่ ถ.ราชดำเนิน นั้น "ไม่เกินวันที่ 30 พ.ย. นี้ ต้องรู้ผล ถ้าอำนาจฝ่ายทักษิณชนะ ก็จะได้ปกครองประเทศไทย มีอำนาจเหนือชีวิตจิตใจคนไทยต่อไปอีกหลายสิบปี"

"และถ้าเหตุการณ์มันชั่วร้ายถึงขนาดนั้น ประชาชนคนไทย ที่จะยังมีชีวิตอยู่ในวันข้างหน้า จะได้มองภาพ การสืบทอดตำแหน่งของคนในตระกูลชินวัตร จากทักษิณ มาเป็นน้องเขย มาเป็นน้องสาว มาเป็นน้องสาวอีกคนหนึ่ง หมดจากน้อง ก็มาเป็นลูก มาเป็นโอ๊ค อุ๊งอิ๊ง ลูกของโอ๊ค ฯลฯ ถ้าเราแพ้เขาก็ทำใจเสีย ใครจะคิดอย่างไร ใครจะทำใจอย่างไร บรรดาพวกเราที่ออกมาต่อสู้ร่วมกัน รวมทั้งตัวผมจะไม่มีวันเสียใจอีกแล้วเพราะเราต่อสู้สุดชีวิต"

"ถ้าจะต้องมีชีวิตในแผ่นดิน แล้วทนเห็นการสืบทอดอำนาจของคนตระกูลนี้ไปจนถึง ไอ้โอ๊ค กูตายเสียดีกว่า"

"ด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ด้วยสำนึกอย่างนี้ ผมจึงได้กราบเรียนพี่น้องที่เคารพทั้งหลายว่า ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเราจะต้องสร้างอำนาจของประชาชน ให้เติบใหญ่ ให้ทันเวลาที่จะสู้กับมัน เพราะระบอบทักษิณ เพราะอำนาจของทักษิณ วันนี้มันยิ่งใหญ่คับบ้านคับเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันกุมอำนาจรัฐเอาไว้ในมือ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ข้าราชการทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ได้โง่หัวขึ้นมาเลย ทั้งที่มีข้าราชการจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการขุนเลี้ยงจากทักษิณ แต่มีข้าราชการส่วนใหญ่ถูกกดขี่จากระบอบทักษิณทุกวัน"

 

ขอประชาชนลุกฮือหนึ่งล้าน ปลดปล่อยข้าราชการจากทักษิณ

"พี่น้องไปถามผู้กำกับทุกโรงพักในนครบาล ต้องจ่ายเงินเป็นสิบๆ ล้าน แล้วไม่รู้ด้วยว่าจะไปอยู่โรงพักไหน ไม่เชื่อไปถามไอ้แจ๊ด ลูกประชาชนคนธรรมดาไม่มีเงินสิบยี่สิบล้าน ตำรวจดีๆ ทั้งหลายไม่มีวันได้เป็ผู้กำกับในนครบาลนี้ นี่ไม่ต้องพูดถึงคนจะขึ้นเป็น พล.ต. พล.ท. พล.อ. ยกเว้น 'แจ๊ดคนเดียว' มันบอกได้ดีเพราะพี่ให้ ที่จริงต้องพูดว่าได้ดีเพราะพ่อมันให้ หมดเรื่องหมดราว"

โดยสุเทพกล่าวด้วยว่าการขึ้นเป็นข้าราชการระดับสูง ต้องใช้เงิน อธิบดีถ้าไม่จ่ายเงิน ก็ต้องสาบานว่าจะรับใช้ 'ตระกูลชิน' ทำให้ตระกูลนี้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้ข้าราชการไม่กล้าลุกขึ้นมาเผชิญหน้า จนกว่าเขาจะเห็นประชาชนนับล้านออกมาสู้

สุเทพกล่าวว่า แต่ในแถวของผู้ชุมนุมนั้น ขอให้เชื่อเถิดว่าต้องมีข้าราชการมาร่วมชุมนุมด้วย ที่รู้ก็เพราะเขาเดินเยี่ยมผู้ชุมนุมทุกวัน มีคนมาขอถ่ายรูปและกระซิบว่าเป็นข้าราชการกระทรวงต่างๆ ตำรวจ ทหารก็มีแต่เขาไม่กล้าแสดงตัว เพราะรอวันที่ผู้ชุมนุมจะมาชุมนุมครบล้าน

"ประเทศไทยวันนี้ไม่มีที่หวังอื่น ถ้าอยากรอดพ้นจากการใช้ชีวิตอยู่รอดจากระบอบทักษิณ มีอยู่อย่างเดียวคือพลังประชาชนเท่านั้น เพราะผมบอกแล้ว ข้าราชการทุกฝ่าย พลเรือน ตำรวจ ทหาร เขาคือข้าราชการประจำ เขาจะมาอยู่ข้างประชาชน ต่อเมื่อประชาชนแสดงพลังออกมามากมายจนเขามั่นใจว่าเราชนะระบอบทักษิณแน่นอน เขาจึงออกมา"

 

ลั่นต้องจบให้ได้ก่อน 30 พ.ย. ด้วยการระดมมาให้ได้หนึ่งล้านคน

"บรรดาพี่น้องที่ตัดสินใจต่อสู้จนตัวตาย ต้องทำงานหนักกันทุกคน เพราะเราไม่มีเวลามาสู้กับพวกมันทั้งปีทั้งชาติ เราต้องกลับบ้าน เพราะฉะนั้นก่อน 30 พ.ย. ต้องชนะมันให้ได้ เมื่อจะต้องจบให้ได้ เราทุกคนต้องทำงานหนัก รีบบอกกับญาติ บอกกับมิตรสหาย ถ้าพวกคุณไม่อยากเป็นทาส ไม่อยากเสียโอกาสนี้ โอกาสที่มวลมหาประชาชนลุกขึ้นมาเป็นแสนๆ แบบนี้ รีบออกมาร่วมมือกับเรา"

สุเทพ ได้ขอให้ผู้ชุมนุมเชิญชวนประชาชนมาร่วมชุมนุมให้ได้มากๆ ถึงล้านคน "ขอให้พวกเราทำงานทุกคน ทุกท่าน ทำตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ ขอให้ชวนคนได้เป็นสิบ ชวนมากกว่านั้นยิ่งดีเผื่อเพื่อนด้วย ต้องทำให้ได้เกินล้านครับพี่น้องครับ และเราต้องใช้ระบบขายตรงแล้ว โทรถึงญาติด้วยตัวเอง โทรถึงเพื่อนด้วยตัวเอง"

 

อัด 'ทีวีบางช่อง' ยังติดหนี้บุญคุณ ขอให้จำไว้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนมากราบประชาชน

"พี่น้องอย่าคาดหวังว่าที่เราชุมนุมกัน ปราศรัยกันที่นี่ สื่อมวลชนจะช่วยขยายความให้เรา ยากครับ เพราะสื่อก็กลัวเหมือนกัน สื่อมวลชนก็กลัวอำนาจทักษิณ ถ้าไปเขียนไม่ดี ก็ไม่ได้โฆษณา ทักษิณจะสั่งหมด ห้ามบริษัทนี้โฆษณาในสื่อนี้ สื่อของรัฐไม่ลงโฆษณา เสร็จ เลยหงอ ยอมรับใช้ทักษิณดีกว่า ได้ประโยชน์โพดผลมากมาย จึงไม่ต้องแปลกใจ เรามาชุมนุมเป็นหมื่นเป็นแสน แต่ภาพที่สื่อนำเสนอ หรอมแหรม มาถ่ายตอนพี่น้องหลับตอนเช้าๆ น่ะครับ เอาไปลง"

"ก็ไม่ว่ากัน ไม่โกรธกัน สถานีโทรทัศน์บางสถานี เคยติดหนี้บุญคุณผม แต่วันนี้ไม่กล้าเสนอข่าวที่เป็นบวกกับมหาประชาชนเลย กูรู้ใจมึงแล้วเพื่อน จำคำนี้เอาไว้แล้วกันเพื่อนเอ๊ย ถ้าวันไหนมวลมหาชนชนะทักษิณ เอาดอกไม้ธูปเทียนมากราบประชาชน กูถึงจะคุยกับมึง ส่วนถ้ามวลมหาประชาชนแพ้ กูจะไม่ว่าอะไร ก้มหน้าก้มตา เป็นขี้้ข้ามันต่อไป"

"พี่น้องทั้งหลาย บนเวทีแห่งนี้่ จึงเป็นเรื่องของพวกเราล้วนๆ พึ่งใครไม่ได้เลย พึ่งได้ เฉพาะพวกเรากันเองเท่านั้น"

สุเทพ ยังตัดพ้อถึงอีกมิตรสหายของเขาที่ไม่ยอมรับโทรศัพท์ว่า "เพื่อนที่เคยรักกับผม คนที่เคยดีกับผม ไม่กล้าแม้แต่จะ รับโทรศัพท์ของสุเทพ เทือกสุบรรณ ผมจึงภูมิใจมาก วันนี้พวกเราต่อสู้ โดยไม่ต้องเป็นหนี้บุญคุณใคร เป็นเรื่องของประชาชนแท้ๆ"

โดยเขาเล่าตัวอย่างประชาชนที่มาร่วมบริจาคว่า "ก็มีคนดี คนใจงาม มาให้กำลังใจทุกวัน ส่งคนมาบอก ให้การช่วยเหลือทุกวัน เมื่อสักครู่ก่อนขึ้นเวที มีอากงคนหนึ่ง นุ่งกางเกงขาสั้น จูงหลานมาสองคน หลานผู้ชาย อยู่ ป.6 หลานผู้หญิง อยู่ชั้นอนุบาลสอง โรงเรียนวัดนาคปรก ตลาดพลู ที่ทำให้ผมน้ำตาไหล เด็กสองพี่น้องนี้ ทำงานพิเศษ เก็บเงินไว้ได้ 4 พัน ให้อากงถอนเงินหมด เอามาให้คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ"

สุเทพย้ำว่า "ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้คนไทยคนอื่นๆ ที่มีสมบัติพัสถานกิจการใหญ่โตกว่าอากงคนนี้ มีรายได้มากว่าเด็กสองคนนี้ ที่นอนเฉยอยู่ที่บ้าน ผมและพี่น้องที่นี่ ไม่ต้องการเงินของท่าน แต่ต้องการใจของท่าน"

สุเทพกล่าวว่า เชื่อว่าผู้ชุมนุมที่มาฟังการปราศรัยนั้น หลายคนมาโดยที่ไม่ได้ถูกทักษิณรังแกข่มเหงโดยตรง ไม่ใช่คนที่ถูกทักษิณเอารัดเอาเปรียบเรื่องการค้า การขาย แต่คนที่มาเพราะเขามีหัวใจที่รักความเป็นไทย ไม่ต้องการให้ลูกหลานเป็นขี้ข้าทักษิณ "แล้วคนที่ทักษิณข่มเหงรังแก ทนกลืนน้ำตาอยู่ที่บ้านทำไม ออกมาสิครับ"

 

ทบทวนมาตรการจัดการระบอบทักษิณ เชิญชวนประชาชนร่วมกันถอดถอน 310 ส.ส.

ต่อมาสุเทพ ได้ปราศรัยทบทวนมาตรการจัดการระบอบทักษิณ โดยเฉพาะการเข้าชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. 310 คนที่ยกมือลงมติร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า "พี่น้องที่เคารพ เมื่อคืนผมกราบเรียนพี่น้อง เมื่อเรายกระดับการต่อสู้ เป็นการขจัดระบอบทักษิณ ให้พ้นไปจากแผ่นดินไทย ผมก็ได้เสนอมาตรการ 4 มาตรการ มาตรการที่ 1 คือต้องเล่นงานสมุนบริวารสุนัขรับใช้ของระบอบทักษิณ ให้มันเห็นชัดเจนว่าประชาชนไม่ยอมแล้ว สมุนบริวาร คนของทักษิณกลุ่มแรก ที่เราตั้งใจจะจัดการร่วมกัน คือบรรดา ส.ส. 310 คน ที่บังอาจทรยศประชาชน ไปออกกฎหมายล้างผิดให้ทักษิณ

"ปรากฎว่าพี่น้องประชาชนตื่นตัวมาก 6 โมงเช้ามาเข้าแถวรอลงชื่อ ผมยังพิมพ์แบบฟอร์มไม่ทันครับ ต้องกราบขอโทษพี่น้องทั้งหลาย เพราะต้องให้คนรู้กฎหมายเปิดดูรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการถอดถอน ส.ส. แล้วไปเขียนแบบฟอร์มให้ถูกต้อง"

"ผมและคณะต้องเป็นผู้แสดงตนต่อประธานวุฒิสภา รวบรวมรายชื่อประชาชนถอดถอน ส.ส. 310 คนแล้วก็เป็นคนตรวจกำกับว่าชื่อนั้นถูกต้อง บัตรประชาชนนั้นถูกต้อง เจ้าของประชาชน เจ้าของชื่อมาลงชื่อในคำร้องด้วยตัวเอง ลงวันที่กำกับ เพราะถ้าทำไม่ดี รายชื่อที่ยื่นไป พวกนั้นจะมีเหตุจะเล่นงานผม และเพื่อนๆ ว่าปลอมแปลงเอกสาร ผิดกฎหมายอาญาอีก เสียของอีก"

"เราจะตั้งโต๊ะ มีเจ้าหน้าที่ ถ่ายเอกสารต่อหน้าพี่น้อง ประทับตราเลย สำเนาบัตรประชาชนพี่น้องใช้เฉพาะกรณีถอดถอน ส.ส. 310 คนนี้เท่านั้น พี่น้องใจเย็นๆ อย่าหงุดหงิด อารมณ์เสีย เพราะพี่น้องใจร้อน อยากจะถอดมันวันนี้ ไม่เป็นไร ขณะนี้มันก็ตุ้มๆ ต่อมๆ ฝันร้ายอยู่แล้ว เราค่อยๆ ทำ ทำให้สมบูรณ์ ทำให้ประณีต ทำให้เรียบร้อย ทำให้ได้ผล ขอให้พี่น้องได้เข้าใจ"

"แล้วก็ขอให้ท่านทั้งหลายทำใจ คนที่คิดจะถอดถอน ส.ส. พวกนี้ไม่ได้มีแต่ชาวราชดำเนิน คนอื่นๆ ก็ไปถอดถอนเหมือนกัน ไม่เป็นไร หลายๆ เท้าช่วยกัน ก็สำเร็จได้อยู่ดี"

"มาตรการที่สองที่ชวนพี่้น้องชาวไทย ลุกขึ้นสินค้าและบริการที่ผลิต จำหน่าย โดยบริษัทในเครือทักษิณ วันนี้ได้ผล มีพี่น้องประชาชนจำนวนมาก เอาโทรศัพท์ในเครือ AIS ไปคืนแล้วครับ โดยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ผมก็กล่าวตรงนี้ไม่เอ่ยชื่อท่านหรอก รูปท่านหราเลยในเฟสบุ๊ก ใช้ AIS มา 20 ปีบริการดีมาก แต่วันนี้ตัดใจ คืนไปแล้ว"

 

และขั้นเด็ดขาดต้องออกมาให้ได้นับล้าน เพื่อให้ข้าราชการปฏิเสธระบอบทักษิณ

ส่วนมาตรการสำคัญ คือมาตรการที่ผมบอกพี่น้องแหละครับ ว่าล้านคน ต้องทำให้ได้ ถ้าเอาคนล้านคนลุกขึ้นมากอดคอต่อสู้กับเราไม่ได้ อำนาจรัฐไม่กล้าแข็งข้อต่อระบอบทักษิณ เราจะชนะได้ ในขั้นสุดท้าย คือวันที่อำนาจรัฐ แสดงอาการแข็งข้อกับระบอบทักษิณ เฟืองทุกตัวในระบบของรัฐ คือข้าราชการประจำทั้งหลาย หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวต่อไป ปฏิเสธระบอบทักษิณ หันมาหาประชาชนนั่นคือวันชนะของเรา"

"เพราะฉะนั้นเราเปิดไพ่เล่นกันแล้ว สิ่งที่เราทำคือชวนพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ลุกขึ้นมา กอดคอ ร่วมกันขจัดระบอบทักษิณจากแผ่นดินไทยให้ได้ คือหน้าที่ของเราทุกคน"

"เมื่อคืน พอผมพูดถึงว่า จะให้ข้าราชการหยุดงานทั่วประเทศ ผมพูดหวัดไปหน่อย คนฟังก็เลยหงุดหงิด คนบอกเอาอีกแล้ว ชวนหยุดงานอีกแล้ว ผมหมายถึงว่าวันนั้น วันที่มีพวกเราล้านคน ข้าราชการก็เดินออกมาจากออฟฟิศมาร่วมกับประชาชน นั่นแหละคือวันตัดสินชะตาของระบอบทักษิณ คือเฟืองไม่ทำงานแล้ว"

 

หวังสร้างประเทศไทยที่มีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่สมบูรณ์แบบ

"เมื่อเราขจัดระบอบทักษิณได้ หมดสิ้นไปแล้ว เราจะได้ร่วมกัน เปลี่ยนแปลงแก้ไขประเทศไทย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่สมบูรณ์แบบ พวกเราจะได้คิดกัน สร้างระบบ ป้องกันที่เข้มแข็ง ไม่ให้ระบบทุนสามานย์มันเข้ามาครอบงำประเทศไทยเหมือนที่ทักษิณทำ เราต้องทำให้ได้ เราจะต้องทำให้ประเทศไทยของเรา ไม่เป็นประเทศที่มีแต่คนขี้โกง ทุจริต คอร์รัปชั่น ไม่เอาแล้ว หยุดเสียที เพราะประเทศไปไม่รอด"

"ที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์เจื้อแจ้วว่าพอเถอะค่ะ ให้ประเทศเดินหน้า มันเดินไม่ได้หรอก ถ้าตระกูลมึงมาปกครองอย่างนี้ การทุจริตคอร์รัปชั่น ฉ้อโกง เป็นมะเร็งร้าย ต้องผ่าตัด ต้องจัดการ ถ้าเราล้มระบอบทักษิณไม่ได้ คนจะระเริง เหลิงลม ทำผิดไม่ต้องรับผิดไม่ต้องติดคุก ยึดทรัพย์ก็ต้องคืนทรัพย์ ที่นี้เสร็จแน่นอนประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่พวกเราต้องทำให้ได้ อย่าไปกลัว ไม่ต้องกลัวว่าเราทำไม่ได้ ทำเถอะครับพี่น้อง อย่างน้อยที่สุดถ้าจะต้องแพ้มัน จะไม่ต้องเสียใจว่าลูกหลานมันด่า ว่าทำไมพ่อกับแม่ไม่สู้เขา"

"แต่ผมเชื่อ ว่าเมื่อมีคุณพ่อ คุณแม่ คุณน้า คุณยาย อากงมานั่งสู้ที่นี่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงที่บ้านจะเข้าใจ และมาสมทบภายในเร็ววันนี้ และเราจะชนะร่วมกัน ขอให้พี่น้องอดทน มันจะว่าเราอย่างไร ด่าเราอย่างไร ไม่ต้องไปสนมัน เหมือนนักมวยขึ้นเวที มึงชกกูมา กูชกมึงมั่ง ดูว่าใครจะน็อคใคร"

 

ตอบโต้แรมโบ้อีสาน ระบุผู้ชุมนุมจะสู้แบบพลเมืองดี ไม่มีวันเผาบ้านเผาเมือง

สุเทพกล่าวถึงข้อกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามว่า "ผมไม่สนใจ ที่มันด่าผมทุกวัน หาว่าผมโกง สปก. โรงพัก ผมไม่ไปยุ่งกับมัน สปก. ผมก็ไม่มีที่สักฝ่ามือเดียวที่เป็น สปก. ถ้าใครอยากรู้มากกว่านี้จะแฉให้ฟัง โรงพักไม่เสร็จ ไอ้ธาริตจะฟ้องผม ปรากฏว่าผมฟ้องมันไปก่อนแล้ว คุณประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีเมื่อก่อนก็ดีกันกับผม แต่วันนี้เป็นต้นไป ประชาเอ๋ย เจอที่ไหน นกหวีดกูที่นั่น"

ในการปราศรัยสุเทพ ได้เตือน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอกด้วยว่า อย่าดูถูกการชุมนุมเด็ดขาดมิเช่นนั้นจะแฉกลับ ว่าครอบครัวมีทรัพย์สินนับร้อยล้านเพราะไปมีอาชีพอะไร และตอบโต้ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้อีสาน แกนนำ นปช. ที่กล่าวหาว่ามีการขนอาวุธเข้ามาในที่ชุมนุม โดยสุเทพตอบโต้ว่า คนอย่างเขานั้น จะจัดการกับสุภรณ์ ไม่ต้องใช้อาวุธ

"กูบอกให้มึงฟังแล้วกันสุภรณ์ มึงเจอคน 1 ล้านคน 2 ล้านตีน 2 ล้านมือ มึงหนีให้รอดก็แล้วกัน แล้วก็บอกให้พวกมึงรู้ ว่าพวกกูทั้งหมดนี้ ไม่ใช่คนขี้ขลาด ไม่มีวันกลัวมึง แล้วไม่มีวันทำตัวเป็นหมาลอบกัด นี่เป็นการชุมนุมของพลเมืองดี ต่อสู้แบบคนดี สู้แบบคนที่เคารพกฎหมายบ้านเมือง สู้โดยสันติ อหิงสา สงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ใช่สู้แบบพวกมึง ที่มาเผาบ้านเผาเมืองมาฆ่าคน ในชีวิตคนอย่างพวกมึง ไม่รู้จักว่าความดีเป็นอย่างไร คนดีเป็นอย่างไร เพราะมึงคบกันเฉพาะคนชั่วเท่านั้น" สุเทพตอบโต้แรมโบ้อีสานอย่างเผ็ดร้อน และกล่าวต่อไปว่า "และเพราะเหตุที่พวกมึงสุมหัวกัน คนดีอย่างพวกเราจำเป็นต้องลุกขึ้นมา จัดการกับพวกมึง"

"ขอเรียนยืนยันกับพี่น้องครับว่า ประเทศไทยนี้ เป็นของพวกเราทุกคน เราสามารถปกป้องรักษาแผ่นดินนี้ ไว้ให้ลูกหลานได้ โดยที่เราไม่ต้องทำลายใคร ไม่ต้องทำผิดกฎหมาย ไม่ต้องเผาบ้านเผาเมืองหรือฆ่าใคร แนวทางนี้ถูกต้องแล้ว ขอให้แน่วแน่ในแนวทางนี้ต่อไป แต่ขอให้พวกเราทำงานให้หนัก ทำงานให้เต็มที่ สามัคคีเป็นพิเศษ อยู่ที่ไหนๆ มา เถอะครับ สละเวลามา ไม่กี่วันเท่านั้น บอกแล้วว่าต้องจบก่อน 30 พ.ย. มาเถอะครับ"

"ขอให้พวกเราชักชวนเพื่อนฝูง ญาติมิตร มาร่วมกับเรา ทำให้เป็นล้านให้ได้ แล้วเราจะได้ฉลองชัยชนะของประชาชนอันยิ่งใหญ่ด้วยกัน" สุเทพกล่าวในที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "พี่น้องคร๊าบ"

Posted: 16 Nov 2013 07:36 AM PST

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "พี่น้องคร๊าบ"

หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556

Posted: 16 Nov 2013 07:27 AM PST

ชื่อบทความเดิม: วิเคราะห์ปัญหาในการตีความและบังคับใช้บทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556

 

คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยศาลฎีกาได้ยกเหตุแห่งการตีความหลายประการซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระบบงานยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ทั้งนี้ ด้วยความเคารพต่อศาล ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้

ประการหนึ่ง ข้อความของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้ "… เพราะศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่คิดว่าเราไปแล้วเนี๊ยะ ถ้าเราทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชน เราไปครับ แต่ถ้าเราต้องไปแล้วต้องเป็นเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับ ยุคนั้นหมดไปแล้ว แต่บ้านเมืองนี้อาจจะมีอยู่บ้าง บางส่วนนะครับ บางส่วนยังมีอยู่บ้าง ก็คือ ความภาคภูมิใจในตัวผม คิดถึงทีไรเราก็มีความภาคภูมิใจตลอด" ผู้เขียนเห็นว่า ข้อความดังกล่าวไม่น่าจะมีลักษณะเป็นการ "หมิ่นประมาท" องค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 เพราะจากบริบทของข้อความ มิได้มีแม้แต่ตอนหนึ่งตอนใดที่เป็นการ "ใส่ความ" <1> องค์รัชกาลที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจบริหารบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์ เป็นแต่เพียงการกล่าวเปรียบเทียบแก่ผู้ฟังโดยยกตัวอย่าง "ระบบการเมืองการปกครอง" ในสมัยนั้นซึ่งมีระบอบการปกครองที่แตกต่างจากสมัยปัจจุบันเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต เปรียบเทียบว่ายุคของพระองค์เหมือนต้องไปเป็นทาส ไม่มีความเป็นอิสระ มีการปกครองที่ไม่ดี ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา …" จึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกจากจะตีความหมายข้อความของจำเลยจนผิดเพี้ยนเกินเลยจากที่ปรากฏตามความเป็นจริงแล้ว ยังเป็นการทำลายหลักวิชาองค์ความรู้ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอีกด้วย เพราะสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนย่อมมีความแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองและระบอบการปกครองในแต่ละยุคสมัย หาใช่สิ่งที่อาจอาศัยมาตรฐานความรับรู้ทั่วไปในสมัยปัจจุบันเข้าตัดสินความถูกต้องชอบธรรมได้ไม่ แม้ข้อความของจำเลยจะสื่อแสดงได้ว่าในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ยังมีการใช้ระบบทาสอยู่ในสังคมไทย ก็ไม่อาจฟังได้ว่าเป็นเพราะการปกครองที่ไม่ดีของพระองค์อันทำให้ประชาชนอาจเสื่อมศรัทธาดังที่ศาลวินิจฉัย เนื่องเพราะระบบทาสมีใช้ในสังคมไทยสืบเนื่องมาแต่บุรพกาล หาใช่พระบรมราโชบายส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ไม่ อีกทั้งเมื่อพิเคราะห์ตามบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ ย่อมจะเห็นได้ว่าการดำรงคงอยู่ของระบบทาสในสังคมไทยสมัยนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระปรีชาสามารถในการปกครองบริหารบ้านเมืองของรัชกาลที่ 4 ดังที่ศาลวินิจฉัยแต่ประการใด ด้วยเหตุผลดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ขาด "องค์ประกอบภายนอก" ของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ประการสอง สืบเนื่องจากรายละเอียดข้างต้นที่ผู้เขียนเห็นว่า ข้อความของจำเลยไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความองค์พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 4 โดยประการที่น่าจะทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง แต่ข้อความของจำเลยเพียงเปรียบเปรยถึง "ระบบการเมืองการปกครอง" ในรัชสมัยของพระองค์กับสมัยปัจจุบันเท่านั้น โดยหลัก "กรรมเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนา" (Acta exteriora indicant interiora secreta) ผู้เขียนจึงเห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะใส่ความหรือดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงขาด "องค์ประกอบภายใน" ของการกระทำความผิด

ประการสาม ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยให้เหตุผลตอนหนึ่งว่า "… บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่า พระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งยังครองราชย์อยู่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ และก็มิได้ระบุว่าพระมหากษัตริย์ที่ถูกกระทำจะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังคงครองราชย์อยู่ …" อันพึงอนุมานได้ว่า ศาลตีความบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้มีผลคุ้มครองไปถึงบุรพกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะโดยพื้นฐานแห่งหลักวิชาทางอาญา การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัดเพราะกฎหมายอาญามีสภาพบังคับที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ทั้งในด้านชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และชื่อเสียง แม้จะเป็นความจริงที่ว่าหลักการตีความกฎหมายอาญานั้น อนุญาตให้มีการ "ขยายความกฎหมาย" (Extensive interpretation) ได้ แต่ทั้งนี้ จะขยายความจนเกินขอบเขตหรือขัดแย้งกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ ไม่ได้ โดยหลักการของกฎหมายอาญา บทบัญญัติต่าง ๆ มุ่งคุ้มครองเฉพาะกับการกระทำต่อบุคคลที่ยังมีชีวิต ในกรณีที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองบุคคลเนื่องจากการกระทำผิดต่อผู้ตาย ก็จะต้องมีการบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง เช่น บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 327 ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการบัญญัติกฎหมายอาญาที่ต้องมีความชัดเจนแน่นอนปราศจากความคลุมเครือ (Reasonably definite) นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครอง "ฐานะของบุคคล" มิใช่บทบัญญัติที่คุ้มครอง "ตัวบุคคล" ซึ่งฐานะใด ๆ ของบุคคลจะเกิดมีขึ้นได้ บุคคลนั้นย่อมต้องมีสภาพบุคคลอยู่ด้วย ดังนั้น ผู้ปราศไร้ซึ่งสภาพบุคคลย่อมไม่อาจมีนิติฐานะใด ๆ ที่กฎหมายอาญาจะให้ความคุ้มครองโดยเฉพาะเจาะจง ด้วยเหตุนี้ การตีความถึงบุคคลผู้มีนิติฐานะตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ความคุ้มครอง ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงต้องตีความว่าหมายถึงพระผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพหรือยังมีชีวิตอยู่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการตีความกฎหมายอาญาอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ การตีความให้บทบัญญัติมาตรา 112 มีผลคุ้มครองไปถึงบุรพกษัตริย์ ยังมีปัญหาในแง่ของการบังคับใช้กฎหมายอย่างมาก เพราะหากใช้ตรรกะและบรรทัดฐานเดียวกันแล้ว จักกลายเป็นว่าบทบัญญัติมาตรานี้มีผลคุ้มครองไปถึงอดีตพระราชินี อดีตรัชทายาท และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทุกพระองค์หรือทุกคน แล้วแต่กรณี อีกด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะการหมิ่นประมาทบุคคลเหล่านั้นโดยเฉพาะบุคคลทางประวัติศาสตร์ผู้ล่วงลับไปเสียนานแล้ว ย่อมไม่น่าจะเป็นความผิดอันร้ายแรงอันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นชื่อ "ลักษณะ" ที่หมวด 1 (มาตรา 107 ถึงมาตรา 112) อยู่ในบังคับ แต่ประการใด

ประการสี่ นอกจากข้อความตามย่อหน้าข้างต้น ศาลยังยกเหตุผลในการวินิจฉัยอีกด้วยว่า "… การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่ ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาทให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ …" ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้เขียนเห็นว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ผิดหลักการตีความและบังคับใช้กฎหมายอาญาอย่างชัดเจน โดยเหตุผลของศาลดูเสมือนเป็นการนำบทบัญญัติมาตรา 327 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้เทียบเคียงเพียงบางส่วน ซึ่งหลักการพื้นฐานการใช้กฎหมายอาญาจะอาศัย "การเทียบเคียงกฎหมาย" (Analogy) ที่มีใจความใกล้เคียงมาลงโทษจำเลยไม่ได้ โดยกฎหมายสหรัฐอเมริกาถือว่า "การเทียบเคียงกฎหมาย" เพื่อลงโทษจำเลยในทางอาญาถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อ "หลักศุภนิติกระบวน" (Due Process of Law) <2> เลยเสียทีเดียว ดังนี้ เมื่อบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญามิได้บัญญัติถึงสาระสำคัญแห่งการกระทำ คือ การใส่ความบุรพกษัตริย์อันอาจเป็นเหตุให้กษัตริย์องค์ปัจจุบันเสียหาย จึงต้องถือว่าการกระทำดังกล่าวมิใช่องค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ และจะอาศัยการเทียบเคียงกฎหมายอื่นเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดกับหลักการตีความและบังคับใช้กฎหมายอาญาดังที่ผู้เขียนได้เสนอแล้วข้างต้น

ประการห้า ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้เขียนเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้งไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 327 ซึ่งเป็นความผิดในหมวดความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปอีกด้วย เพราะบทบัญญัติมาตรา 327 คุ้มครองแต่เฉพาะ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตาย ที่อาจต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเนื่องมาจากการใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามเท่านั้น ไม่รวมถึงหลานหรือเหลนของผู้ตายด้วย ดังนั้น แม้หากจะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการ "ใส่ความ" องค์รัชกาลที่ 4 บทบัญญัติมาตรา 327 แห่งประมวลกฎหมายอาญาก็ยังไม่ครอบไปถึงการกระทำของจำเลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้ เนื่องจากยังคง "ขาดองค์ประกอบภายนอก" ของฐานความผิดนั้นอยู่นั่นเอง

ประการหก ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา จากเหตุผลต่าง ๆ ที่ผู้เขียนนำเสนอข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่าจำเลยไม่ควรได้รับโทษในทางอาญา ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกฎหมายอาญาสากลที่ว่า "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษหากไม่มีกฎหมาย" (Nullum crimen nulla poena sine lege) ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จำเลยจึงไม่สมควรต้องรับโทษทางอาญา

ท้ายนี้ ผู้เขียนเห็นว่า หากคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ถูกยึดถือเป็นบรรทัดฐาน นอกจากจะเป็นการลงโทษทางอาญาแก่บุคคลซึ่งมิได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา อันจะก่อให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงต่อระบบงานยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยแล้ว ยังก่อให้เกิดความสับสนอย่างมากในวงการศึกษานิติศาสตร์ไทย อีกทั้งยังจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทยอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะองค์ความรู้ที่ดีและเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ย่อมเกิดได้ด้วยการคิด วิเคราะห์ วิพากษ์และอภิปรายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อแก้ไขปัจจุบัน และสร้างสรรค์อนาคต หากสังคมเกิดความหวาดกลัวที่จะต้องประสบภัยจากบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังที่ศาลตีความไว้เช่นนี้ ย่อมเป็นการปิดกั้นหนทางเรียนรู้อย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการศึกษาไทยทั้งระบบ อันจะก่อให้เกิดผลเสียแก่อนาคตของชาติในระยะยาว

 

เชิงอรรถ

1.การใส่ความในทางอาญา คือการกล่าวอ้างข้อความหรือข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจจะเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ และการกล่าวอ้างนั้นน่าจะทำให้ผู้ถูกกล่าวอ้างเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
 
2.Bouie v. Columbia.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ให้โอกาสประชาธิปไตยไทยสักครั้ง

Posted: 16 Nov 2013 06:30 AM PST

แนวทางการต่อสู้ของผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อรัฐบาลคือ การรอคอยเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินผ่านการเลือกตั้งโดยไม่พยายามล้มรัฐบาลด้วยวิธีการต่างๆ

 

หลังจากเกิดความพยายามในการเสนอ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเหม่าเข่งซึ่งได้รับการประท้วงจากหลายภาคส่วน การเมืองระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งในสภาได้เผชิญหน้ากับความท้าทายอีกครั้งเมื่อ "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ"  (กปท) ได้ยกระดับการประท้วงจากการต่อต้าน พ.ร.บ. ไปสู่ความพยายามโค่นล้มรัฐบาล

เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ดังกล่าว กอปรกับการที่ผู้เขียนได้เปิดอ่านบทความของ Ian Baruma ที่ชื่อว่า "Give Democracy a Chance in Egypt" อีกครั้ง ผู้เขียนจึงเกิดข้อคิดอันเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ของกลุ่มพลังที่คอยออกมาขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถามวิถีประชาธิปไตย บทความชิ้นนี้มุ่งในการวิเคราะห์ถึงผลกระทบอันเกิดจากพฤติกรรมของกลุ่มพลังที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยบทความชิ้นนี้เสนอว่ากลุ่มพลังดังกล่าวนั้นได้สร้างวงจรอุบาทว์ที่ตนเองพยายามต่อต้านขึ้นมาซึ่งส่งผลให้ประชาธิปไตยไทยวนเวียนอยู่กับการเมืองแบบที่เป็น "ตัวแทนประชาธิปไตย ปะทะ ตัวแทนเผด็จการ"  ไม่เป็นที่สิ้นสุด

ก่อนหน้าที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะถูกรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 นั้น กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมได้รวมพลังกันเพื่อประท้วงรัฐบาลที่มีแนวโน้มไปในทางอำนาจนิยมในสมัยทักษิณ กลุ่มพลังดังกล่าวที่รู้จักกันในนาม "พันธมิตรประชาคมเพื่อประชาธิปไตย" นั้นได้ปลุกมวลชนหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม ผู้นำสหภาพ หรือไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา เพื่อแสดงพลังประชาชนต่อต้านรัฐบาลทักษิณ

อย่างไรก็ดี การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 นั้นได้สร้างวิกฤติการความชอบธรรมทางการเมืองขึ้นมา กล่าวคือ ปัญญาชน นักวิชาการ นักศึกษา หรือผู้นำองค์กรต่างๆหลายกลุ่มที่เคยเข้าร่วมกับพันธมิตรฯนั้นได้ถูกผลักออกมาเพื่อแสดงออกคัดค้านถึงวิถีทางการแก้ไขความขัดแย้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยผ่านการใช้กลไกรัฐประหาร

มวลชนหลายกลุ่มได้เริ่มมองปัญหาทางการเมืองอันเกิดจากวิกฤติการณ์ความชอบธรรมผ่านกรอบแว่นแบบ "ประชาธิปไตย ปะทะ เผด็จการ" ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวนั้น กลุ่มคนที่นิยมประชาธิปไตยได้ให้ความสำคัญต่อวิธีการมากกว่าเป้าหมาย ซึ่งหมายความว่าพวกเขาให้ความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตยมากกว่าระบอบเผด็จการ กล่าวคือ จากพรรคไทยรักไทยที่ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นพรรคพลังประชาชนนั้นได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นตัวแทนของพลังประชาธิปไตยที่ต่อสู้กับระบอบเผด็จการ

ด้วยเหตุนี้ การที่พรรคที่มีภาพลักษณ์ตัวแทนของประชาธิปไตยอย่างเช่นพรรคพลังประชาชนจะได้รับการเลือกตั้งเสียงข้างมากนั้น จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเท่าใดนัก ด้วยเหตุที่ผู้ที่รักในประชาธิปไตยย่อมให้ความสำคัญต่อตัวระบอบมาเป็นอันดับแรก ซึ่งภาพลักษณ์ของพรรคพลังประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นไปในลักษณะภาพลักษณ์ตัวแทนของประชาธิปไตยตามที่มวลชนคาดหวัง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งมีภาพลักษณ์ในฐานะตัวแทนประชาธิปไตยเหล่านั้นได้ถูกประท้วงจากกลุ่มพลังที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งยังมีความพยายามการใช้กลไกต่างๆที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยโจมตีและริดรอดความชอบธรรมของพรรคการเมืองอาทิเช่น พรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยอยู่ตลอดเวลา

แนวทางการต่อสู้ทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวนั้นได้ส่งผลกระทบทางความคิดและมุมมองต่อกลุ่มคนที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย พวกเขาเหล่านั้นกลับยิ่งมองว่าการต่อสู้ทางการเมืองที่เกิดขึ้นบนเวทีนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง "ตัวแทนประชาธิปไตย ปะทะ ตัวแทนเผด็จการ" มากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การใช้แนวทางต่างๆในการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยปราศจากการหยิบยื่นโอกาสให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบธรรมได้เดินหน้าไปต่อนั้นส่งผลต่อกลไกของการเลือกตั้งประชาธิปไตยในด้านความต่อเนื่องของระบบการเลือกตั้ง อีกทั้งแนวทางดังกล่าวยังสร้างวงจรอุบาทว์ของประชาธิปไตยขึ้นมาเองอีกเช่นกัน

โดยปกตินั้น ในการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแต่ละครั้ง พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองมักจะชนะพรรคคู่แข่งด้วยเหตุผลที่พรรคคู่แข่งดังกล่าวนั้นไม่สามารถดำเนินนโยบายตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนั้น กลไกพื้นฐานที่นักเรียนชั้นประถมสามารถเข้าใจได้ก็คือการที่พรรคที่ไม่สามารถครองใจผู้คนด้วยนโยบายต่างๆนั้นก็จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งตามผลงาน

ในกรณีของไทยนั้น ประชาธิปไตยไม่ได้รับโอกาสดังกล่าวอย่างเพียงพอ เมื่อพรรคที่ได้ถูกมองว่าเป็นพรรคตัวแทนของประชาธิปไตยอาทิเช่น พรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยถูกขัดขวางการทำงานผ่านความพยายามโค่นล้มรัฐบาลโดยวิถีทางที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย มวลชนผู้นิยมประชาธิปไตยทั้งหลายก็จะมองว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นการต่อสู้ระหว่างประชาธิปไตยและเผด็จการ ซึ่งกลุ่มมวลชนผู้รักประชาธิปไตยเหล่านั้นย่อมไม่ลังเลที่จะให้ความสำคัญต่อการต่อสู้เพื่อนำมาซึ่งประชาธิปไตยมากกว่า ด้วยเหตุนี้เอง แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่พรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะถูกล้มโดยวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นกี่ครั้งก็ตาม แต่ทว่าตัวแทนพรรคหรือรัฐบาลที่ถูกล้มดังกล่าวนั้นก็จะได้รับเลือกกลับเข้ามาทุกครั้งอันเนื่องมาจากมุมมอง "ประชาธิปไตย ปะทะ เผด็จการ"

และเมื่อเป็นเช่นนี้เอง กลไกของการปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าพรรคใดคู่ควรเป็นพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งในแต่ละสมัยจึงจะไม่มีทางเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลจะคอยถูกล้มและประชาชนผู้ศรัทธาในประชาธิปไตยก็จะเลือกตัวแทนจากรัฐบาลที่ถูกล้มเข้ามาครองอำนาจอีกครั้ง และกลไกดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่ยังมีกลุ่มพลังที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ด้วยเงื่อนไขทั้งหลายนี้เอง ระบอบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายถวิลหานั้นก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น

กล่าวโดยรวบรัดก็คือ กลุ่มพลังที่คอยโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งผ่านเครื่องมือที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลรองรับใดๆก็ตามนั้น เป็นกลุ่มพลังซึ่งสร้างวงจรอุบาทว์ของระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาเองนั่นเอง

เมื่อเข้าใจปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ดังที่ผู้เขียนได้อภิปรายข้างต้นแล้วนั้น แนวทางการต่อสู้ที่ควรดำเนินของผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็คือการรอคอยเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินผู้ครองอำนาจผ่านการเลือกตั้งในสมัยต่อไปโดยไม่พยายามล้มรัฐบาลดังกล่าวด้วยวิธีการพิสดารต่างๆนาๆ มิฉะนั้นแล้ว วงจรอุบาทว์ของประชาธิปไตยก็จะไม่มีวันจบสิ้น

ย้อนกลับมาพิจารณาสถานการณ์การประท้วงขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในยุคปัจจุบันอันเป็นผลพวงมาจากความพยายามในการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง มวลชนของกลุ่ม กปท. ได้พยายามใช้สารพัดวิธีเพื่อพยายามล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง ซึ่งอันที่จริง ถ้าหากว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์สามารถอยู่รอดจนครบสมัยและดำเนินตามกลไกการเลือกตั้งนั้น คะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยก็คงจะลดลงไปพอสมควรอันเนื่องมาจากการเสียความเชื่อมั่นจากหลายฝ่ายรวมถึงมวลชนคนเสื้อแดงบางกลุ่มสืบเนื่องมาจากข้อเสนอ พ.ร.บ. เหมาเข่ง อย่างไรก็ดี ถ้าหากว่ารัฐบาลชุดนี้ล้มลงจากวิถีทางอันไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น วงจรอุบาทว์ที่สร้างโดยนักล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็คงจะหมุนเวียนต่อไปเป็นแน่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำไมญี่ปุ่นจึงเลือก 'โดราเอมอน' เป็นทูตพิเศษประจำการแข่งขันโอลิมปิก 2020

Posted: 16 Nov 2013 06:29 AM PST

 
โดราเอมอน หรือ โดเรมอน ที่ออกมาโลดแล่นสู่จอแก้ว นับได้ว่าเป็นตัวการ์ตูนที่จะพูดไป คือ เจ้าแมวอ้วนท้วม มากด้วยของวิเศษ ในแง่มุมของเด็ก ณ ตอนนั้น คือ โดเรมอน มีความเก่ง ความเก่งนั่นก็คือ ความคิด ไม่ใช่เพียงเจ้าแมวที่ชอบทานแป้งทอด และไม่ได้สร้างประโยชน์กับผู้ใด ผู้เขียนชอบดู โดเรมอนตั้งแต่เด็ก เทียบเท่ากับ โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบ ไม่ใช่เพราะความสนุก แต่การชมสองเรื่องนี้มักจะให้ความหมายในเชิง "ความคิด" เสียมากกว่า
 
 
แม่เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า หลานสาว คนหนึ่งไปสอบสัมภาษณ์ อาจารย์ที่สัมภาษณ์มีคำถามทดลองนักศึกษาคนนั้นว่า หากให้เธอเลือก เธออยากเป็นอะไร ระหว่างโดเรมอนและซุปเปอร์แมน? ด้วยมโนความคิดและภาพลักษณ์ของซุปเปอร์แมนในภารกิจช่วยเหลือผู้คนที่ด้อยกว่า ซุปเปอร์แมนจึงเป็นคำตอบที่สร้างความประทับใจให้กับกรรมการ ภาพลักษณ์ของซุปเปอร์แมนที่มาดเข้ม หล่อเท่ สามารถโจนทะยาน หมายถึงความเป็นสาธารณะที่ปราดเปรี้ยว แต่หากมองตามสภาพความเป็นจริงแล้ว สังคมกำลังรอให้มีคนอย่างซุปเปอร์แมนที่จะช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยากเพียงคนเดียวหรือ ภาพของซุปเปอร์แมนจึงเป็นภาพอุดมคติ ที่น้อยนักจะเจอคนเช่นนี้ เพราะซุปเปอร์แมนเองก็คงต้องเหนื่อยที่จะช่วยเหลือคนกว่า 60 กว่าล้านคน (เฉพาะประเทศไทย)
 
ฉะนั้นภาพลักษณ์ของตัวการ์ตูนโดเรมอนจึงถูกมองว่าเป็นตัวการ์ตูนที่สร้างความสนุกให้กับเด็กๆ และผู้ปกครองสามารถดึงตัวการ์ตูนมาสอนลูกในด้านของ "ความรับผิดชอบ" โดยจะเห็นว่า โดเรมอนมักจะใช้ความคิด และมักเตือนสติเสียเป็นส่วนใหญ่ กับการใช้เทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ แต่จุดที่ผู้ชมโดเรมอนอาจมองว่าไร้สาระเพราะสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถย้อนเวลาในอดีตและอนาคตนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีอยู่จริง แต่ความไร้สาระนี้ ไม่ได้ไร้สาระเลย หากไตร่ตรองดูแล้ว โดเรมอนเป็นตัวการ์ตูนที่มีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยหากเมื่อคุณมีปัญหา คุณสามารถเรียกใช้โดเรมอนได้ทันทีและนั่นคือการแทนภาพของคนญี่ปุ่น คนที่ไวต่อการมองอนาคตในเรื่องของนวัตกรรม
 
ญี่ปุ่นสามารถฟื้นฟูประเทศหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง อดีต (Past time) หรือประวัติศาสตร์ชาติตรงนี้ต่างหากที่ญี่ปุ่นจดจำและเอามาเตือนสติ การตกอยู่ในสถานะของผู้แพ้สงครามและพบกับความสูญเสียจนทุลักทุเล กลายเป็นภาพที่แสดงว่า การอยู่กับปัจจุบันและการมองอนาคตที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์อดีตที่ตัวเองเผชิญ สงครามจึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ญี่ปุ่นจะไม่หันกลับไปอีก แต่เน้นการเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลแทน ความคิดของคนญี่ปุ่นดูเหนือกว่า และเป็นไปได้ เห็นได้จากการคิดค้นหุ่นยนต์เพื่อมาช่วยเหลือคนภายในประเทศ สังคมญี่ปุ่นจึงเป็นสังคมที่สอนให้รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองคิด
 
แต่โดเรมอนไม่ได้หยิบเอาเทคโนโลยีหรือเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อมาช่วยเหลือเด็กเท่านั้น การ์ตูนยังสะท้อนให้เห็นว่า การสอนวิธีการใช้เครื่องมือเหล่านั้นและเตือนสติผู้ใช้ว่าหากใช้เกินกำลังจะส่งผลอย่างไร ซึ่งผู้เล่นมิซซูโอะมักจะไม่ค่อยคำนึงนัก เพราะสุดท้ายคนที่พึ่งพาเทคโนโลยีกว่าทั่วโลกก็คงจะมาลงความรับผิดชอบที่โดเรมอน หากกล่าวในเชิงนี้จะเป็นการมองโดเรมอนในฐานะของผู้ช่วยเหลือทางด้านความคิด เตือนสติกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
 
 
แต่โดเรมอนตัวเดิม กลับถูกนำมาคิดใหม่ เมื่อญี่ปุ่นได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาโอลิปปิก ทั้งนี้ น้อยครั้งมากที่ผู้เขียนจะเกาะติดสถานการณ์โอลิมปิก โอลิมปิกจึงไม่ใช่เพียงแค่การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมหรือสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านกีฬา แต่ทุกปีจะมีการเลือกมาสคอต (mascot) หรือทูตพิเศษประจำการแข่งขันโอลิมปิก นอกจากนี้แล้วประเทศเจ้าภาพต้องการนำเสนอ รูปลักษณ์ของประเทศผู้ซึ่งเป็นเจ้าภาพด้วย นี่เป็นโอกาสหนึ่งที่หลายประเทศต่างช่วงชิง เพราะไม่เพียงแต่การเป็นเจ้าภาพแข่งขันโอลิมปิกจะนำมาซึ่งการกระชับแน่นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว เหตุผลเรื่องเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะมีการจับจ่ายใช้สอยและอาจจะเกิดการลงทุนใหม่เพื่อต้อนรับการเป็นพื้นที่โอลิมปิก
 
ดังนั้นคำถามที่ว่า ทำไมญี่ปุ่นจึงเลือกโดราเอมอน ซึ่งต่างจากหลายประเทศก่อนหน้าที่มักจะสรรหาสัตว์ซึ่งมีอยู่จริงตามธรรมชาติประจำชาตินั้นๆ มาเป็นทูตเชิงสัญลักษณ์ สื่อต่างๆ ต่างมองว่าเพราะโอดาเอมอนเป็นตัวการ์ตูนยอดฮิต แต่หากวิเคราะห์ในภาพรวมแล้วจะพบว่า โดราเอมอนมีความหมายที่มากกว่าการเป็นตัวการ์ตูนยอดฮิต ที่เด็กก็ดูได้ ผู้ใหญ่ก็ดูดี หลักๆ 3 ประการดังนี้
 
หนึ่ง โดราเอมอน คือสิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของญี่ปุ่นในการพลิกฟื้นประเทศด้านเทคโนโลยี โดเรมอนจึงเป็นสัตว์สมมติที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี อันเป็นภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น
 
สอง สิ่งที่สะท้อนว่าญี่ปุ่นคือประเทศเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปสักเพียงใด ญี่ปุ่นจะผลิตเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าได้เสมอ เสมือนกับความสามารถในการมองอนาคต ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ แม้จะมีหลายประเทศที่สามารถคิดค้นเทคโนโลยีได้แล้วก็ตาม แต่ความก้าวหน้าและความน่าค้นหาของญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้นได้เสมอ ฉะนั้นเจ้าแมวแป้งทอดตัวนี้จึงไม่ธรรมดา
 
สาม ที่ผ่านมาญี่ปุ่นเผชิญกับปัญหาสึนามิ จนกระทั่งบ้านเรือนย่อยยับ ต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อเยียวยาและก่อสร้างอาคารที่พักให้กับประชาชนของตัวเอง อีกทั้งยังกลายเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงทั้งภัยธรรมชาติและพื้นที่เสี่ยงจากสารกัมมันตภาพรังสีที่แฝงฝัง นักลงทุนไม่กล้าที่จะเข้าไปลงทุนนัก การให้โดราเอมอนซึ่งมีภาพลักษณ์ของความน่ารักเพื่อมาดึงความสนใจและเป็นจุดขายก่อให้เกิดแรงกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้น
 
ด้วยเหตุนี้ หากนับเวลาโอลิมปิกที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าจับตามองว่า โดราเอมอนสมมตินี้จะพากองทัพนักกีฬาและกองทัพสื่อที่จับจ้องค้นพบสิ่งใดบ้างในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นกำลังคิดค้น ประดิษฐ์สร้างนวัตกรรมใดเพื่อต้อนรับบรรดาผู้นำประเทศ คงต้องติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ปัญหาของการถอยสุดซอย

Posted: 16 Nov 2013 06:26 AM PST

ความจริงแล้ว เมื่อเวลาพรรคเพื่อไทยดึงดันเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ก็ไม่ได้เสนอสุดซอยอย่างแท้จริง เพราะไปยกเว้นไม่ยอมนิรโทษพี่น้องที่เป็นเหยื่อความอยุติธรรมจากมาตรา 112 แต่เมื่อเวลาถอยเพราะเพลี่ยงพล้ำ กลับเป็นการถอยอย่างสุดซอยอย่างแท้จริง เพราะเป็นการถอยแบบ "แตกพ่ายไม่เป็นขบวน" และก็ต้องยอมกลับมาหาการสนับสนุนจาก นปช. (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ) อีกครั้งเพื่อรักษาแนวของตนเอง แต่กระนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะเยียวยา

การถอยสุดซอยเริ่มจากการแถลงของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ส่งสัญญาณว่า สภาผู้แทนราษฎรจะยอมรับมติของวุฒิสภา แม้ว่าจะคว่ำกฎหมายนี้ ต่อมา วันที่ 6 พฤศจิกายน ก็เป็นที่ชัดเจนจากคำแถลงของนายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทยว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนั้น ถ้าวุฒิสภาลงมติไม่รับหลักการ และส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร ขอยืนยันว่า ส.ส.เพื่อไทยทั้งหมดจะไม่หยิบร่างกฎหมายนี้มาพิจารณาใหม่

จากนั้น ในวันที่ 7 พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรีก็ย้ำอีกครั้งว่า ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมได้ถูกพับเก็บเป็นที่เรียบร้อย และจะไม่นำมาพิจารณาอีก และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็ออกแถลงการณ์ย้ำเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน โดยอธิบายว่า ที่อ้างกันว่ากฎหมายนิรโทษกรรมจะนำมาสู่การคืนเงินและล้างผิดให้ตนเองคนเดียวเป็นการบิดเบือน เพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ กระทำเพื่อให้ประเทศก้าวข้ามความขัดแย้งและคืนความเป็นธรรมให้กับเหยื่อของการรัฐประหารปี 2549

การถอยสุดซอย ยังเห็นได้จากการที่สภาผู้แทนราษฎร ลงมติ 310 ต่อ 1 ให้ถอนออกทั้งหมด สำหรับร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง 5 ฉบับ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษ 1 ฉบับที่ยังค้างในสภา ซึ่งรวมถึงร่างของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ ร่างของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายกรัฐมนตรีได้แถลงอีกครั้งว่า "รัฐบาลจะไม่ฝืนความรู้สึกของประชาชน เราต้องรับฟังและยึดเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน" และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กล่าวปิดหนทางเลยว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิดในการเสนอเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรมอีกด้วย

แนวทางลักษณะนี้ ยังได้สอดคล้องกับการประชุมของพรรคร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งมีการออกคำแถลงว่า ในกรณีที่วุฒิสภาเสนอให้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมตกไป พรรคร่วมรัฐบาลขอแสดงเจตนาร่วมกันให้สัตยาบันเป็นสัญญาประชาคมต่อประชาชนชาวไทยว่า พรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาล จะไม่เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรหยิบยกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาอีก และในที่สุด ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งก็มาถึงจุดจบในวันที่ 11 พฤศจิกายน จากการที่วุฒิสภาลงมติคว่ำด้วยคะแนนเสียง 140 ต่อ 1

นี่คือภาพแห่งการถอยแบบสุดซอย ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจว่า แทนที่พรรคเพื่อไทยจะยับยั้งกระบวนการกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่งเพราะการเตือนจากเพื่อนมิตรในขบวนประชาธิปไตย กลับถอยเพราะการรุกจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งฝ่ายยุทธศาสตร์ของพรรคเคยประเมินกันว่า ฝ่ายต่อต้านจะไม่มีน้ำยา สร้างกระแสไม่ขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า กฎหมายนิรโทษกรรมเจอกระแสต่อต้านของมวลชนที่มากกว่าที่ประเมินไว้ เพราะการต่อต้านมิได้มาจากพรรคประชาธิปัตย์และพวกขวาจัดสลิ่มเท่านั้น แต่ยังได้รับการขานรับจากกระแสประชาสังคมและชนชั้นกลางทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มวิชาชีพทางการแพทย์ ข้าราชการ กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจ กลุ่มวิชาชีพบันเทิง เป็นต้น ความวิตกในสถานการณ์เช่นนี้ นำมาสู่การที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ต้องยอมประนีประนอมกับแกนนำ นปช. นำมาสู่การที่ นปช.หันมาจัดชุมนุมคนเสื้อแดงเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

การต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการเคลื่อนไหวในประเด็นที่ว่า ร่างกฎหมายนี้จะทำลายระบบนิติรัฐและนิติธรรมในสังคมไทย โดยยินยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีข้อหาทุจริตต้องได้รับการนิรโทษกรรม แต่กระแสประชาสังคมไม่ได้ร่วมในการรณรงค์ประเด็นอื่น เช่น การนิรโทษกรรมให้กับฆาตกรที่สังหารหมู่ประชาชน การเว้นไม่นิรโทษกรรมเหยื่อมาตรา 112 เป็นต้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็สะท้อนว่า ฝ่ายรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยก็น่าจะไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยนักโทษการเมืองเป็นสำคัญตามที่อ้าง เพราะการถอยสุดซอย หมายถึงว่า หลักการในร่างเดิมของวรชัย เหมะ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรก ในประเด็นที่จะให้มีการนิรโทษกรรมประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อสถานการณ์ทางการเมืองและต้องติดอยู่ในคุก ก็จะไม่ได้รับการพิจารณาด้วย และถ้ารัฐบาลยืนยันไม่ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรม อนาคตของนักโทษการเมืองในประเทศไทยคงมืดมน

การถอยทางการเมืองแบบสุดซอยครั้งนี้ ยิ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะอันไม่จริงใจของพรรคเพื่อไทยที่คงจะทำให้ขบวนการประชาธิปไตยไว้ใจฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ยากมากขึ้น ตั้งแต่การที่พรรคเพื่อไทยผลักดันนิรโทษกรรมฆาตกรมือเปื้อนเลือด โดยยอมแลกกับการแตกหักกับคนเสื้อแดงและขบวนการประชาธิปไตย แต่ในที่สุดเมื่อไปต่อไม่ได้ ก็ยอมจำนนต่อฝ่ายตรงข้าม ปล่อยชะตากรรมของพี่น้องประชาชนไปไว้ในอุ้งมือมารของวุฒิสภา และยังคงไม่มีมาตรการที่จะช่วยนักโทษการเมืองคนเสื้อแดงอย่างจริงจังเช่นนี้ ขบวนการประชาธิปไตยคงต้องประเมินใหม่ทั้งหมด ในการที่จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทยในโอกาสต่อไปข้างหน้า แต่ความอับจนของสังคมไทยอยู่ที่ว่า ถ้าหากจะไม่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยแล้ว พรรคฝ่ายตรงข้ามคือ พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับยิ่งไร้ความชอบธรรมมากยิ่งกว่า

สถานการณ์จนถึงวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน นี้ ทั้งฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มฝ่ายขวาสลิ่ม ต่างก็ยกระดับการต่อสู้ จากการคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมไปสู่การขับไล่รัฐบาล โดยกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับกลุ่มกองทัพธรรม และกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เสนอให้ขับไล่ทั้งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ และขับไล่รัฐสภา โดยให้กองทัพยึดอำนาจ ประสานสอดคล้องกับการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยกระดับการต่อสู้ ด้วยการเสนออารยะขัดขืนให้มีการนัดหยุดงานและหยุดเรียนทั่วประเทศ เพื่อขับไล่รัฐบาล และนายสุเทพกับ ส.ส.อีก 8 คนก็จะลาออกมานำการประท้วงเต็มตัว หวังจะโค่น "ระบอบทักษิณ" ให้สำเร็จ

บทความนี้จึงขอจบด้วยเรื่องขำขันที่เอามาจากเฟซบุ๊ก ดังนี้
คุณนก : คุณว่า ประธานาธิบดีโอบามาบริหารประเทศเป็นยังไง
ฝรั่ง : โอแย่มาก เอาแต่โกหก หลอกประชาชนไปวันๆ ทำงานไม่เป็น ชาวบ้านเดือดร้อนไปทั่ว
คุณนก : ถ้าเป็นอย่างนี้ คุณก็จัดการชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาล เสนอต่อศาลสูงอเมริกาให้ยุบพรรค ระงับการบริหารของโอบามา หรือเรียกร้องให้กองทัพอเมริกายึดอำนาจ โค่นโอบามา แล้วเอาคนดีมาบริหารประเทศแทน
ฝรั่ง : นี่คุณยังสติดีอยู่หรือเปล่า หลักการมันมีอยู่แล้ว อีกสองปีก็เลือกตั้งใหม่ มีประเทศไหนในโลกเขาแก้ปัญหากันแบบที่คุณว่า
คุณนก : มีอยู่ประเทศหนึ่งค่ะ!!!!

 


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 438 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: เสียงแห่งมโนธรรมทางสังคม

Posted: 16 Nov 2013 06:15 AM PST

ปรากฏการณ์ที่อธิการบดีธรรมศาสตร์,จุฬาฯ และอีกหลายมหาวิทยาลัยออกมา "เป่านกหวีด" รวมพลังอาจารย์ นักศึกษา ปัญญาชนในรั่วมหาวิทยาลัยต้านร่าง "พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ของรัฐบาลเพื่อไทยนั้น ว่าโดยเป้าหมายเพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไป เพราะไม่ชอบธรรมเนื่องจากเป็นการนิรโทษกรรมแก่คดีทุจริตคอร์รัปชัน และแก่ผู้มีอำนาจสั่งการและเจ้าหน้าที่รัฐที่สังหารประชาชนนั้น ผมเห็นด้วย

แต่มีข้อสังเกตว่า การให้สัมภาษณ์ของอธิการบดีธรรมศาสตร์, จุฬาฯ และหลายมหาวิทยาลัยดูจะเน้นไปที่ประเด็นคัดค้านการ "ล้างผิดคนโกง" โดยไม่สื่อสารต่อสาธารณะให้ประจักษ์ชัดว่าคัดค้าน "ฆาตกรที่สั่งการและสังหารประชาชน" ด้วย ไม่สื่อสารให้ชัดว่าที่ว่า "เหมาเข่ง" นั้นก็ไม่ได้เหมาเข่งจริง เพราะไม่รวมนักโทษการเมืองคดี 112 อยู่ในเข่งด้วย ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือแสดงถึง "ความไม่เสมอภาคทางกฎหมาย" อันไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐอย่างจะแจ้ง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำ พูดตามๆ กันคือ "มหาวิทยาลัยสอนให้นักศึกษามีจริยธรรมซื่อสัตย์สุจริต หากนิรโทษกรรมให้คนโกง การสอนให้นักศึกษาซื่อสัตย์ ก็ไม่มีความหมาย เพราะสังคมขาดตัวอย่างที่ดี คนโกงไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย" แต่ไม่พูดต่อไปเลยว่า "มหาวิทยาลัยมีหน้าที่สอนประชาธิปไตยให้นักศึกษา สร้างค่านิยมให้นักศึกษาเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นแสดงออกซึ่งสิทธิทางการเมืองเพื่อปกป้องประชาธิปไตย หากปล่อยให้ผู้มีอำนาจที่ใช้กำลังสังหารประชาชนไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย เท่ากับมหาวิทยาลัยทรยศต่อหลักการที่ตนเองสอน"

หากเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของมหาวิทยาลัยต่างๆ กับข้อเรียกร้องของ "นิติราษฎร์" ที่สื่อสารต่อสาธารณะชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมแก่คดีทุจริต และแก่ผู้มีอำนาจสั่งการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐที่สังหารประชาชน และแกนนำทั้งสองฝ่าย อีกทั้งชี้ชัดว่า "พ.ร.บ.ฉบับเหมาเข่ง" ก็ไม่ได้เหมาเข่งจริงเพราะไม่มีนักโทษ 112 อยู่ด้วย ทำให้เกิดคำถามว่า เสียงของมวลชนแห่งมหาวิทยาลัยต่างๆ นั้น ใช่ "เสียงแห่งมโนธรรมทางสังคมที่เที่ยงตรง" จริงหรือไม่? หรือออกจะมีโทนเสียงค่อนไปทางวาระต้านการ "ล้างผิดคนโกง" ของประชาธิปัตย์เท่านั้นหรือไม่?

ทำให้เห็นภาพความซับซ้อนของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปัตย์" ตามการวิเคราะห์ ที่ว่า 
...จะสังเกตว่าพันธมิตรเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นสูง และคนชั้นกลางในเมืองชัดเจน ตั้งแต่ "ราชนิกุล" นักธุรกิจ อาจารย์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง บุคลากรทางการแพทย์ ข้าราชการ "ดารา" และเหล่า "เซเลบ" สื่อและองค์กรสื่อบางส่วนเป็นต้น
ทั้งหมดล้วนมีสถานะ ยศถาบรรดาศักดิ์ มากด้วยทรัพย์และสติปัญญา
แน่นอนย่อมแตกต่างอย่างลิบลับกับอีกฟากที่ถูกเหยียดเป็นเพียง "ควายแดง" "ทาส" หรือ "ขี้ข้า"
สถานภาพที่เพียบพร้อมนี้ ถือเป็นแต้มต่อสำคัญ ที่ทำให้การขับเคลื่อนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปัตย์ เสียงดัง และมีน้ำหนักที่พร้อมจะดำเนินการตามคำพาดหัวของหนังสือพิมพ์บางฉบับ "ไล่อีโง่"
(มติชนสุดสัปดาห์ 8-14 พ.ย. น.10)

พวกที่เหยียดอีกฝ่ายว่าเป็น "ควายแดง" "ทาส" หรือ "ขี้ข้า" ทักษิณ ฯลฯ นั้น มักพูดซ้ำๆ บนสมมติฐานที่ว่า "ประชาธิปไตยของเสื้อแดงนั้นมีความหมายแค่เป็นการเลือกตั้งเท่านั้น จากนั้นฝ่ายชนะการเลือกตั้งจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ ไม่ต้องตรวจสอบ" แต่ปรากฏการณ์ต้าน "นิรโทษกรรม(ไม่)เหมาเข่ง" แสดงให้เห็นชัดว่าคนเสื้อแดงอย่างกลุ่ม บก.ลายจุดก็ต้านด้วย นักวิชาการที่เห็นใจเสื้อแดง เช่นสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฯลฯ ล้วนแต่แสดงความเห็นคัดค้านทั้งสิ้น รวมทั้งแกนนำ นปช.และกลุ่มญาติคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตด้วย จึงไม่ได้หมายความว่าประชาธิปไตยของเสื้อแดงเป็นแค่การเลือกตั้งเท่านั้น เพียงแต่พวกเขายืนยันว่าการเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของประชาธิปไตย

ผิดกับบนเวทีของประชาธิปัตย์ ที่คนมีการศึกษาดี หรืออยู่ในกลุ่มคน "เสียงส่วนน้อยที่ฉลาดกว่า (?)"  ตะโกนใส่ไมโครโฟนว่า "ชื่อมหาวิทยาลัยของผมเป็นชื่อพระราชทาน ผมมาวันนี้เพื่อปกป้องพระองค์ท่าน จะไม่ยอมให้รัฐบาลชั่วๆ นำกฎหมายชั่วๆ นี้ไปให้ถึงพระองค์ท่านได้ลงพระปรมาภิไธย" โดยที่คนมีการศึกษาดีซึ่งนิยามตนเองว่าเป็น "ผู้ฉลาดกว่า" ไม่เป็นทาสหรือขี้ข้าใคร ก็ไม่เคยปกป้อง "พระองค์ท่าน" จากการที่อีกฝ่ายนำคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะรัฐประหาร หรือรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐบาลคณะรัฐประหารไปให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่อย่างใด

ตรงกันข้ามนักวิชาการที่เห็นใจเสื้อแดง ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นขี้ข้าทักษิณต่างหาก ที่ทั้งวิจารณ์ทักษิณและรัฐบาลเพื่อไทยด้วย ทั้งยืนยันหลักการว่า สถาบันกษัตริย์มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามพระราชสัตยาธิษฐานของรัชกาลที่ 7 ที่ทรงยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารนำขึ้นทูลเกล้าให้ทรงลง

เสียงแห่ง "มโนธรรมทางสังคม" ของนักวิชาการ ปัญญาชน จึงต้องยืนอยู่บนหลักการ ต้องวิพากษ์ทุกฝ่ายที่ทำผิดหลักการ ไม่ใช่มุ่งวิพากษ์แต่ฝ่ายนักการเมืองเท่านั้น

ผมเองไม่อยากรื้อฟื้นว่า อธิการบดีที่ออกมาต้าน "(ไม่)เหมาเข่ง" ครั้งนี้ เข้าไปรายงานตัวกับคณะรัฐประหาร 19 กันยายนอย่างนอบน้อมกว่า เข้าไปฟังคำชี้แจงของตัวแทนรัฐบาลเพื่อไทยขณะนี้อย่างไร ใครบ้างที่เคยไปเป็น "เนติบริกร" ของคณะรัฐประหาร เพราะเป็นเรื่องที่ประจักษ์ในทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่เชื่อว่า อาจารย์ นักวิชาการ ปัญญาชนที่เข้าไปร่วมเดินต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคราวนี้ น่าจะมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง อาจไม่ได้เห็นด้วยกับอธิการบดีที่เน้นประเด็น "ล้างผิดคนโกง" เป็นพิเศษ

แต่ข้อพิสูจน์ว่า อาจารย์ นักวิชาการ ปัญญาชนเหล่านั้น (ซึ่งหลายคนนิยามตนเองว่าไม่เลือก "สี" ใดๆทั้งนั้น) ได้ยืนยันว่า 1 เสียงที่ตนแสดงออกเป็นเสียงแห่ง "มโนธรรมทางสังคม" ที่เที่ยงตรงหรือไม่ ต้องดูว่าพวกเขาจะแสดงออกอย่างไรหลังจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไป นั่นคือพวกเขาจะส่งเสียงเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองและนักโทษ 112 หรือไม่? หากไม่ ก็เท่ากับว่า พวกเขาเป็นเพียงเสียงของ "พลังมวลชนนกหวีด" ที่ออกมาแสดงพลังตามเสียง "เป่านักหวีด" ต้านคนโกงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของตนเท่านั้น
 

 

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข (16-22 พ.ย.2556)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกับการสับขาหลอกของรัฐ

Posted: 16 Nov 2013 04:04 AM PST

<--break->
หากใครได้เคยอ่านบทความเก่าๆ ของผู้เขียนคือ " เหตุใดรัฐจึงกลายเป็นฆาตกร" ก็จะได้รู้ว่าผู้เขียนไม่ต้องการมาจำกัดคำว่า รัฐ ให้เป็นเพียงผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลเท่านั้นแต่ยังพยายามยกสถานะของรัฐให้เป็นลักษณะนามธรรมหรือมวลรวมของจิตอันแสนยิ่งใหญ่เหมือนของเฮเกลซึ่งมีชีวิตและสามารถคิดเองได้ แต่เป็นสิ่งที่อยู่เหนือมนุษย์ทุกคน หรือทุกกลุ่มในสำหรับบทความนี้ผู้เขียนอยากจะเอาแนวคิดเหล่านี้มาวิเคราะห์กับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดูบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็หนักใจว่าเหมือนเอามะพร้าวมาขายสวนและจะกลายเป็น "เป่านกหวีด" ช้าไปหน่อย แต่ก็พยายามจะเขียนให้ดีที่สุด

ผู้เขียนคิดว่าความพยายามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการล้างความผิดของตัวเองนั้นก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งของรัฐที่กระทำมาช้านาน ในฐานะที่เขาเคยเป็นตัวแทน (agent) ของรัฐมาก่อน การทำโทษให้ศูนย์ (set zero) ของทักษิณจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทัศน์อันเก่าแก่ของรัฐไทย การที่เขาอ้างว่าเพื่อทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปก็คือเดินบนพรมแดงที่มีศพจำนวนมหาศาลถูกซุกใต้พรม ในมาตรฐานของความเป็นรัฐไทยแล้ว อาชญากรรมที่ฝ่ายประท้วงทักษิณมองเห็นว่าชั่วช้าเช่นการโกงกินบ้านเมือง การอยู่เบื้องหลังเสื้อแดงเผาเมือง  (หรือเลยไปถึงมีส่วนในการฆ่าตัดตอนคนหลายพันศพเมื่อหลายปีก่อน)

ตามจริงก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติอะไรเลยของการก่ออาชญากรรมของรัฐไทยในอดีตเพียงแต่มีการอวตาร  (reincarnate) เป็นเหตุการณ์เฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะสามารถทำให้การก่ออาชญากรรมนี้เป็นสิ่งที่ปกติสำหรับประชาชนได้มากน้อยเพียงใด (ผ่านสื่อมวลชน แบบเรียน ฯลฯ) 

อย่าลืมว่ารัฐไทยนั้นเป็นเอตทัคคะในการทั้งสังหารประชาชนตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นรัฐสมัยใหม่อย่างเช่นกองทัพของรัฐในช่วงเริ่มต้นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกับประชาชนของประเทศราชหรือพวกแข็งเมือง สำหรับการฉ้อราษฎรบังหลวงหรือการโกงกินซึ่งมีอยู่มากมายในราชสำนักของรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราช อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบอบสมบูรณญาสิทธิราชล่มสลายอย่างรวดเร็ว (1) ดูเหมือนคนไทยจะไม่ใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้เท่าใดนักเพราะต่างถูกรัฐคุมขังไว้เป็นจักรกลหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (ซึ่งยังถูกผลิตซ้ำมาให้ปะปนกับระบอบประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดังที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้กล่าวไว้)

ผู้เขียนเองก็ไม่ปฏิเสธว่าภายในความยิ่งใหญ่ของรัฐนั้น ปัจเจกชนก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้รัฐเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยผู้เขียนคิดเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Matrix ว่าผู้นำของรัฐสามารถที่เกิดภาวะผิดปกติ (Anomaly) ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามการศึกษาที่รัฐพยายามยัดเหยียดให้เพื่อเป็นฟันเฟืองที่แสนซื่อสัตย์ของรัฐ ดังเช่นคณะราษฎรที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ  แต่เมื่อคณะราษฎรขึ้นมามีอำนาจก็ใช้ความรุนแรงในการรักษารัฐภายใต้ระบอบใหม่คือประชาธิปไตย ดังนั้น ในช่วงเปลี่ยนแปลงแย่งชิงอำนาจของรัฐบาลภายใต้กลุ่มพลเรือนและทหาร(และอื่นๆ) รวมไปถึงยุคเรียกร้องประชาธิปไตย ยุค 14   ตุลาคม 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ ฯลฯ  ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่เงียบงัน (silent majority) เพราะต่างชินชาและถือว่าความรุนแรงของรัฐเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม นักศึกษาและประชาชนที่ต่อสู้กับรัฐจนตัวตายคือสิ่งแปลกปลอมที่สมควรถูกรัฐกำจัดออกไป (ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับใครบางคนที่ว่า "ชาวพุทธไทยไม่ซีเรียสที่จะฆ่ากันตาย")  

ดังนั้นกฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกโดยรัฐบาลเผด็จการทั้งหลายให้แก่คนผิดที่รวมไปถึงผู้ตกเป็นเหยื่อคือประชาชนตาดำๆ ที่เสียชีวิตก็ได้รับนิรโทษกรรมไปด้วยเป็นสิ่งที่ทำได้สะดวกสบาย ไม่มีใครรับผิดชอบ ไม่มีคนผิด ไม่มีเหยื่อ ตามการยอมรับกระแสหลักของรัฐ มีเพียงผู้เสียชีวิตและความเข้าใจผิด  เหตุการณ์ผ่านไป ผู้ฆ่าและญาติมิตรผู้ถูกฆ่า ชนชั้นปกครองและผู้ถูกปกครองก็จากโลกนี้ (หากกล่าวถึงในมิติทางปัจเจกชน) เหลือแต่รัฐซึ่งยังคงทรงพลังอยู่ 


เกิดอะไรขึ้นกับทักษิณ?

การที่ทักษิณพยายามจะ set zero  กลายเป็นเรื่องคอขาดบาดตายไปนั้นเพราะทักษิณถูกรัฐตีความให้เป็นสิ่งแปลกปลอมของตน อย่าลืมว่ารัฐนั้นมีลักษณะเหมือนร่างกายมนุษย์คือพยายามกำจัดสิ่งที่แปลกปลอมในร่างกายตัวเองออกไป ทักษิณแม้ว่าจะพยายามเจรจากับชนชั้นนำอื่นในตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ตัวรัฐนั้นยิ่งใหญ่ไปกว่าชนชั้นนำกลุ่มไหนจะสามารถสร้างข้อตกลงร่วมกันหรือยอมรับได้ทั้งหมด (1)  สาเหตุสำคัญคือการที่ทักษิณสามารถมีอิทธิพลเหนือมวลชนจำนวนมากได้อย่างที่รัฐไม่เคยเผชิญมาก่อน จึงทำให้ระบบของรัฐเกิดการรวนขึ้นมา รัฐจึงทำการ reboot เครื่องใหม่โดยการทำรัฐประหารซึ่งชาวไทยโดยมากไม่ซีเรียสหรือจำนวนมากก็ให้การสนับสนุนเพราะอยู่ภายใต้วาทกรรมแห่งความรุนแรงที่รัฐบาลถูกกระทำมาจนชิน  

การประท้วงพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของชนทุกส่วนซึ่งผู้เขียนยังตกใจจากการอ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับ  (ซึ่งผู้เขียนมิบังอาจว่ามีความเห็นเหมือนกันทั้งหมด เพราะมีหลายกลุ่มที่ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแต่ก็มีเหตุผลที่ต่างกันเพราะมองผ่านเลนส์สีแดงและสีเหลือง) ทำให้ผู้เขียนนึกในใจว่าถ้าประชาชนออกมาประท้วงต่อการทำรัฐประหารปี 2549 หรือออกมาเรียกร้องให้จับคนผิดในการเข่นฆ่าสังหารประชาชนปี 2553 (หรืออย่างน้อยก็ทำให้ความจริงกระจ่างเช่นผู้นำเสื้อแดงคนไหนหรือทหารหรือไอ้มืดคนไหนควรถูกลงโทษ ไม่ใช่ว่ายังไปไม่ถึงไหนเหมือนทุกวันนี้) ก็คงจะดีไม่น้อยแต่ก็เป็นไปไม่ได้เป็นอันขาด เพราะกระบวนทัศน์หลักที่รัฐได้สอดใส่ไว้ในสมองของคนไทยจำนวนมากไว้แล้วคือใบอนุมัติสั่งประหารรัฐบาลซึ่งไม่สามารถเป็นไปตามบรรทัดฐานที่รัฐได้วางไว้ให้

นอกจากนี้กลุ่มที่ออกมาประท้วงกลุ่มที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณซึ่งคุณธรรมทางการเมืองก็ไม่แตกต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณหรือบางกลุ่มที่นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมืองซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นั้นก็คงเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกได้บ้างว่ารัฐไทยได้อำพรางความชั่วของตนที่มีมานานอยู่โดยอาศัยภาพเงาอันน่ากลัวของพตท.ทักษิณ  เราควรจะมองว่ารัฐมีความแยบยลในการสับขาหลอกหรือการบงการให้จักรกลสำคัญของตนคือประชาชนดำเนินเป็นไปอย่างที่ตัวเองโดยเข้าใจว่าคือการใช้สิทธิตามประชาธิปไตยเพื่อประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยที่มองไม่เห็นกลไกการเอารัดเอาเปรียบทางชนชั้นและอิทธิพลอันซ้อนเร้นของชนชั้นปกครองอื่น  ที่สำคัญคือมองไม่เห็นกลไกความฉ้อฉลและความรุนแรงของรัฐ  สิ่งนี้ผู้เขียนใคร่เรียกว่า Imagined democracy หรือประชาธิปไตยที่ถูกสร้างจำลองขึ้นมาในความคิดของตัวเองผ่านกระแสวัฒนธรรมแบบประชานิยม  เช่นคนประท้วงจำนวนมาก (ไม่ได้ว่าทั้งหมด) กล่าวด่าหรือปลุกระดมให้ล้มรัฐบาลแบบเอามันผ่านเฟซบุ๊คโดยผ่านข่าวลือหรือการนินทากันแบบดารา  เช่นเดียวกับประชาชนอียิปต์เป็นล้านๆ ที่ออกมาประท้วงอดีตประธานาธิบดีมูหะหมัด มอร์ซี แต่หดหัวอยู่กับบ้านเมื่อทหารทำการเข่นฆ่าประชาชนเป็นพันๆ คนเพียงเพราะคน เหล่านั้นเป็นพวกภราดรภาพมุสลิม เช่นเดียวกับเมืองไทยซึ่งน่าละอายใจที่ผู้ประท้วงพ.ร.บ.นิรโทษกรรมบางกลุ่มหันไปเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากทหารซึ่งเป็นองคาพยบชิ้นสำคัญของรัฐที่มือเปื้อนเลือดและใช้กฏหมายนิรโทษกรรมในการล้างผิดให้กับตัวเองตลอดมา

อนึ่งความฉ้อฉลโกงกินหรือความรุนแรงที่รัฐไทยมีต่อประชาชน ในขณะที่ประชาชนในทุกภาคส่วนก็มีการติดเชื้อลามกันไปทั่วในเรื่องขอการฉ้อฉลและการใช้ความรุนแรงต่อกันทั่วหน้า ดังนั้นจึงดูเป็นขัดแย้งในตัวเอง (irony) ที่ประชาชนซึ่งคุ้นชินและเป็นส่วนหนึ่งของ 2 ความชั่วร้ายดังกล่าวได้ประท้วงหรือด่าทอคนแบบเดียวกันอย่างสนุกสนาน  ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่วิเคราะห์ได้ไม่ยากว่าเกิดจากความรู้สึกกังวลใจของคนที่ออกมาประท้วงเพื่อเป็นสิ่งรับประกันว่าถึงแม้ตนจะชั่วร้ายประการใด ตนจะไม่มีทางกลายเป็นเนื้อร้ายที่รัฐต้องกำจัดออกไปกลายเป็นคนไร้รัฐ เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณเป็นอันขาด (2) เช่นเดียวกับการออกมาระบายความรู้สึกผิดข้างในลึกๆ ที่ว่า รัฐสมัยใหม่มีความต้องการที่ขัดแย้งภายในตัวเองคือในขณะที่ประชาชนเป็นพวกตื่นรู้ทางการเมือง ไปพร้อมๆ กับการเป็นทาสที่ดีของรัฐ   ดังนั้นผู้เขียนจึงขอพอเดาเอาว่าความรู้สึกเช่นนี้กลายเป็นแรงผลักดันให้คนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อนหรือสนใจการเมืองเพียงน้อยนิดออกมาประท้วงด้วยประเด็น (agenda) ที่หดเหลือแค่คำว่า "ทักษิณ" ซึ่งเป็นการมองประเด็นของความผิดของรัฐที่คับแคบจนน่าเสียดาย ซึ่งในที่สุดเมื่อเหตุการณ์คลี่คลายลงไป คนเหล่านั้นก็พร้อมจะกลับเป็นพวกการเมืองแบบไพร่ฟ้าแบบสับสนตามที่อุดมการณ์หลักของรัฐไทยได้วางไว้เหมือนเดิม


กฎหมายจะมีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไปหรือไม่ ?
 
มีคนสงสัยว่าหากทักษิณสามารถ set zero ได้สำเร็จ ต่อไปกฎหมายจะมีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไปหรือไม่เพราะอาจมีผู้มีอำนาจทางการเมืองที่คาดหวังว่าอาชญากรรมที่ทางการเมืองของตนในท้ายที่สุดจะได้รับการทำให้เป็นศูนย์ในที่สุด ผู้เขียนไม่ได้ไม่เชื่อว่ากฎหมายเมืองไทยทุกวันนี้ขาดความศักดิ์สิทธิ์และจะขาดความศักดิ์สิทธิ์ในอนาคต เพราะความศักดิ์สิทธิ์ไม่มีจริง แต่เป็นสิ่งที่ถูกรัฐสร้างขึ้นมาเพื่อให้กฎหมายเป็นตามบริบทที่ตัวเองกำหนดไว้   เช่นในฉากหน้าจะมีการบัญญัติหรือสร้างตัวหนังสือไว้บรรยายการสนับสนุนสิทธิเสรีและเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างงดงามก็ตาม แต่รัฐก็สามารถอาศัยบริบทอื่นเพื่อเข้ามากำหนดอำนาจที่มีอย่างจำกัดของกฏหมายเสียใหม่เช่นวัฒนธรรมทางการเมืองที่รัฐได้ปลูกฝังไว้ให้กับประชาชนเช่นการนิยมความรุนแรง การสร้างบรรยากาศ "ฝุ่นตลบ" หรือการพรางตาไม่ให้ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐในเวลานั้นไม่ถูกลงโทษ (ไม่ใช่รักใคร่อะไรแต่เป็นการรักษาระบบของรัฐไม่ให้เกิดการรวนหรือเสียหาย) อย่างเช่นการทำรัฐประหารที่ผู้ทำรัฐประหารออกกฏหมายเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกลงโทษทั้งที่เป็นการก่ออาชญากรรมอย่างร้ายแรง สมมติว่าทักษิณสามารถ set zero ได้ก็จะเป็นการตอกย้ำวัฒนธรรมแห่งการหนีจากความผิดของผู้มีอำนาจซึ่งมีอย่างดาดดื่นในสังคมไทยเท่านั้น  แต่นั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะสนับสนุนให้พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ผ่าน ยิ่งไปกว่านั้นแม้แต่ในอนาคต ถ้ากองทัพหรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นจะพยายามทำเช่นนี้บ้าง ประชาชนก็ควรจะออกมาประท้วงเต็มถนน เป่านกหวีดหรืออริยะขัดขืน หรืออย่างน้อยเมื่อนักการเมืองซึ่งเต็มไปด้วยกรณีทุจริตและฆาตกรรมอย่างเช่นนายสุเทพ เทือกสุบรรณกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็ขอให้คนไทยทุกคนหยุดงานและไม่ยอมจ่ายภาษีบ้าง


เราควรทำอย่างไร ?
 
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพราะจะเป็นการตอกย้ำและสานต่อวาทกรรมของความฉ้อฉลและความรุนแรงซึ่งไม่ใช่เฉพาะของทักษิณเท่านั้นแต่ยังเป็นรัฐตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยที่จะมีการประท้วงที่จะลดความจริงลงเหลือเพียงตัวทักษิณ จะเป็นสิ่งอันประเสริฐยิ่งหากว่าเราควรใช้โอกาสนี้ในการปฏิวัติหรือการสะสางความรุนแรงที่รัฐได้ใช้กับประชาชนย้อนหลังไปให้ได้มากที่สุดรวมไปถึงการพิจารณารื้อฟื้นพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับอื่นที่รัฐเคยออกมาอย่างสบายๆ อีกด้วยไม่ใช่ปล่อยให้รัฐสับขาหลอกเพื่อคงเราไว้เป็นทาสเช่นนี้ไปเรื่อยๆ 
 
 
 
เชิงอรรถ

(1) มีผู้วิเคราะห์ว่าเป็นเครือข่ายพระราชา (Network Monarchy) หรือเครือข่ายที่ใช้เบื้องสูงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ เครือข่ายเหล่านั้นแม้จะมีศัตรูคนเดียวกันแต่ก็ไม่สามารถสั่งการหรือควบคุมกันได้ดังที่เสื้อแดงบางกลุ่มคิด ต่างฝ่ายต่างกระทำไปตามกระบวนทัศน์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐเป็นหลักผ่านเลนส์การมองของแต่ละฝ่าย อันเป็นตัวสะท้อนว่ารัฐนั้นมีความยิ่งใหญ่เหนือกว่าปัจเจกหรือแม้แต่กลุ่มทางการเมือง (แม้แต่เสื้อแดงก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันเพียงแต่มีกระบวนทัศน์ที่ค่อนข้างแย้งกับกระบวนทัศน์หลัก) ดังนั้นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดในอนาคตกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีคนเพียงคนเดียวหรือไม่กี่คนสามารถกำหนดได้ตามใจได้อีกต่อไป

(2) หากใครได้อ่านหนังสือในเครือมติชนที่ชื่อ "นายใน" ซึ่งกล่าวถึงชีวิตของบรรดามหาดเล็กและผู้ใกล้ชิดของรัชกาลที่ 6 จะได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ของ 3 สิ่งที่มักจะมาด้วยกันในการเมืองไทยคือเรื่องอำนาจ เงินและเซ็กส์  ผู้เขียนคิดว่าหนังสือเล่มนี้แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงจากผู้อ่านอย่างมาก แต่ข้อเท็จที่หนังสือนำเสนอสามารถสะท้อนถึงความฉ้อฉลอย่างสุดขั้วของราชสำนักในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อย่างดี

(3) กระบวนการทำให้กลายเป็นคนนอกเป็นสิ่งที่คนไทยมักจะคุ้นเคยกันดีผ่านสื่อต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครน้ำเน่าซึ่งมักมีพล็อตเรื่องตายตัว มีพระเอก นางเอก และดาวร้ายซึ่งมักมีความชั่วร้ายผิดไปจากคนรอบข้างที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน  มักมีคนมองเกิดจากความงี่เง่าไร้สาระของคนไทยส่วนใหญ่ สำหรับผู้เขียนไม่เชิงเห็นด้วยหรือคัดค้านเท่าไรนักเพราะผู้เขียนคิดว่าละครน้ำเน่าเป็นเครื่องมือที่ดีของรัฐในการเข้ามาควบคุมพฤติกรรมของประชาชนอย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึงผ่านการสะกดจิตซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนโฆษณา เช่นพระเอกกับนางเอกมักจะได้กันอย่างมีความสุข  อันเป็นสิ่งที่รัฐมักบอกเราว่าหากมีพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะได้รางวัลอย่างเช่นจะรณรงค์ให้คนไปเลือกตั้งหรือต่อต้านยาเสพติด ต่อสู้กับการฉ้อราษฎรบังหลวง ฯลฯ ในขณะที่ดาวร้ายซึ่งมีพฤติกรรมที่รัฐไม่ยอมรับเช่นการก่ออาชญากรรมต้องมีอันเป็นไปอย่างน่าสยดสยอง สำหรับคนที่ประท้วงทักษิณและกลุ่มเสื้อแดงอีกหลายกลุ่มซึ่งผู้เขียนไม่ทราบเหมือนกันว่าจำนวนมากหรือน้อยดีย่อมมีโลกทัศน์แบบละครน้ำเน่าคือพยายามแบ่งโลกเป็นขาวดำ ทั้งที่ความจริง ผู้ที่ดูเหมือนจะเป็นพระเอกหรือนางเอกก็มีความชั่วไม่ต่างกับดาวร้ายเช่นเป็นอาชญากรในคราบนักบุญ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สาทิตย์ วงศ์หนองเตย' เตรียมจัด 'ลอยกระทงระบอบทักษิณ' ลงอ่าวไทย

Posted: 16 Nov 2013 03:56 AM PST

เวที ถ.ราชดำเนิน เตรียมจัดงาน "ลอยระบอบทักษิณลงทะเล" 'สาทิตย์ วงศ์หนองเตย' ระบุจะเตรียม 10 กระทงยักษ์ เขียนความชั่วช้าของระบอบทักษิณติดไว้ ขณะที่ 'อุทัย ยอดมณี' แกนนำ คปท. ระบุเหตุกระทบกระทั่งกับตำรวจช่วงเช้านั้นเป็นเรื่องเข้าใจผิด และได้ทำความเข้าใจแล้ว

 

ในการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรม ที่ ถ.ราชดำเนิน ซึ่งเมื่อวานนี้ (15 พ.ย.) สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ยกระดับเป็นการชุมนุมเพื่อถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ช่วงเย็นวันนี้ (16 พ.ย.) สาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง ปราศรัยในเวลา 18.20 น. ว่า ระบุวันอาทิตย์นี้ (17 พ.ย.) คือวันลอยกระทงขอชวนผู้ชุมนุมดูพระจันทร์เต็มดวง ทั้งนี้อากาศปลอดโปร่งเป็นใจต่อการขจัดระบอบทักษิณอย่างยิ่ง ทั้งนี้ลอยกระทงจะต้องสอดคล้องกับการขจัดระบอบทักษิณ กิจกรรมที่จะจัดขึ้นจะใช้ชื่อว่า "ลอยระบอบทักษิณลงทะเล" โดยจะเตรียมกระทงขนาดใหญ่ 10 กระทง แต่ละกระทงจะตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ให้พี่น้องเห็นตั้งแต่เที่ยงวัน จนถึงเที่ยงคืน แต่ละกระทงจะเขียนความชั่วช้าของระบอบทักษิณ กระทงละ 1 ข้อหา รวม 10 กระทง โดยมีเป้าหมายคือการลอยคอระบอบทักษิณลงทะเล

ขณะที่พิธีกรอีกคนบอกว่าอยากให้จัดกระทงลอยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงคลองแสนแสบ

ขณะที่เวลานี้ 18.20 น. เป็นการปราศรัยของ จักษ์ พันธ์ชูเพชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกล่าวให้กำลังใจผู้ชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนิน และวิจารณ์การทำงานรัฐบาล ทั้งนี้จักร์ ระบุว่าการชุมนุมของอีกฝ่ายมีการเตรียมขวดเอ็ม 150 ไปเติมน้ำมันข้างหน้า แต่การชุมนุมที่นี่มีแต่ขวดน้ำเย็นกับผ้าเย็น และไม่มีอิชิตันแน่นอน ทั้งนี้การชุมนุมของเรามีแต่นกหวีด ไม่มี M79 ทั้งนี้ผู้ชุมนุมที่นี่มีความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ มาที่นี่ด้วยใจสั่งมา ไม่มีโฟนอินสั่งมา

จักษ์ ระบุด้วยว่า ไม่สามารถกล่าวหาใครเป็นฆาตกรได้ตราบที่ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ขณะที่อีกคนที่บอกว่าตัวเองบริสุทธิ์กลับไม่ยอมกลับมาเมืองไทย นอกจากนี้ได้นัดหมายผู้สนับสนุนจัดชุมนุมที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ.พิษณุโลก ในวันอังคารนี้ (19 พ.ย.) เวลา 16.00 น.

สำหรับการชุมนุมของกลุ่มอื่นๆ นั้น เมื่อเวลา 11.30 น. เครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) เคลื่อนพลติดธงชาติรอบพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง เพื่อแสดงความรักชาติ อย่างไรก็ตามในกิจกรรมติดธงชาติดังกล่าว เกิดการปะทะกับตำรวจที่บริเวณหน้าสนามม้านางเลิ้ง

ทั้งนี้ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานคำสัมภาษณ์ของ อุทัย ยอดมณี แกนนำ คปท. ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องเข้าใจผิดระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ แต่ได้ปรับความเข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว และกิจกรรมปักธงตามจุดต่างๆ เป็นไปด้วยดี แกนนำ คปท. กล่าวด้วยว่าจะขยายผลให้ประชาชนร่วมกันปักธงชาติให้มากยิ่งขึ้นอีก จนกว่าตำรวจจะยกเลิกคำสั่งให้ตรวจจับรถยนต์ที่ติดธงชาติไทยหากทำผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ความเข้าใจของอุทัย น่าจะคาดเคลื่อนไปจากที่ า พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลให้สัมภาษณ์ โดยก่อนหน้านี้ สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานเมื่อวันที่ 13 พ.ย. ว่า พล.ต.ต.อดุลย์ ระบุว่าจะสั่งการให้ตำรวจจราจร จับกุมและดำเนินคดีฐานผิดพระราชบัญญัติจราจรและประมวลกฎหมายอาญา ม. 116 และ 117 กับรถที่มีการติดธงสัญลักษณ์ธงชาติและเข้ามาก่อความวุ่นวาย โดยจอดกีดขวางการจราจรโดยทันที พร้อมยืนยันว่าจะไม่ดำเนินคดีกับรถที่ไม่กระทำผิดกฎจราจร แม้จะมีการติดธงสัญลักษณ์ก็ตาม

ทั้งนี้ในวันที่ 17 พ.ย. นี้ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป คปท. จะจัดงานลอยกระทง บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้สะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อให้ผู้ชุมนุมและประชาชนได้มาลอยกระทงตามประเพณี และถือว่าเป็นการลอยสิ่งไม่ดี ลอยนักการเมืองเลวๆ ไปกับสายน้ำ โดยจะมีชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และเกมปาเป้า เอารูปนักการเมืองมาทำเป็นเป้าด้วย

ด้านนิติธร ล้ำเหลือ ยังยืนยันว่าจะยังไม่มีการรวม 3 กลุ่มผู้ชุมนุม แต่ถือว่าเป้าหมายเดียวกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวลิเบียประท้วงต้านกลุ่มติดอาวุธ ถูกโจมตีด้วยอาวุธ

Posted: 15 Nov 2013 08:31 PM PST

มีประชาชนหลายร้อยคนในลิเบียเดินขบวนเรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธในกรุงตริโปลีวางอาวุธและถอนกำลังออกจากพื้นที่ แต่ก็ถูกกลุ่มติดอาวุธโจมตีจนมีผู้เสียชีวิต โดยประเทศลิเบียหลังการโค่นล้มกัดดาฟี ยังคงมีปัญหาการปะทะกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธซึ่งกองกำลังของรัฐบาลยังไม่สามารถเข้าไปจัดการปัญหาได้

15 พ.ย. 2556 ที่กรุงตริโปลี ประเทศลิเบีย มีประชาชนอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตและอีก 50 คนได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมเรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธออกไปจากกรุงตริโปลี หลังจากที่มีคนใช้อาวุธโจมตีเข้าใส่ผู้ชุมนุม

คณะผู้นำศาสนาอิสลามในลิเบียเรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อต่อต้านกลุ่มติดอาวุธกับอดีตนักรบที่ไม่ยอมปลดอาวุธและทำตัวขัดขวางรัฐบาลกลางมาเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่มีการโค่นล้มอดีตประธานาธิบดี มูอัมมาร์ กัดดาฟี โดยมีองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้คอยหนุนหลัง

ประชาชนหลายร้อยคนได้มารวมตัวกันที่จัตุรัสเมเลียอะนาในกรุงตริโปลี พวกเขาพากันถือธงสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสันติ4krพร้อมกับธงชาติลิเบีย รวมถึงมีการขับร้องเพลงชาติ

หลังจากนั้นผู้ชุมนุมจึงได้เดินขบวนไปยังกองบัญชาการของกลุ่มติดอาวุธมิสราทา เพื่อเรียกร้องให้กองกำลังถอนตัวออกไปจากเมืองหลวง ก่อนที่จะมีคนยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม

ซัดดัด อัล-บาดรี ประธานสภาเทศบาลของตริโปลีผู้อยู่ในที่ชุมนุมกล่าวว่ากลุ่มติดอาวุธยิงใส่ผู้ชุมนุมทันทีที่พวกเขาเข้าไปถึงพื้นที่ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปที่กองบัญชาการอย่างสงบแต่กลุ่มติดอาวุธได้โจมตีผู้ชุมนุมด้วยอาวุธปืน 106 มม. รวมถึงเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี

"ผู้ชุมนุมไม่ได้มีอาวุธและพวกเขาต่างก็แค่ตะโกนว่า 'ลิเบีย' " อัล-บาดรีกล่าว เขาบอกอีกว่าเมืองตริโปลีมีความเสี่ยงเข้าสู่สงครามห้ำหั่นด้วยอาวุธ

รานา จาหวัด ผู้สื่อข่าวบีบีซีในกรุงตริโปลีกล่าวว่า ดูเหมือนการประท้วงต่อต้านกลุ่มติดอาวุธจะถูกสลายการชุมนุมแล้ว แต่ยังคงมีรายงานว่ารัฐบาลได้ปิดถนนเพื่อควบคุมการเข้าออกพื้นที่ มีเครื่องบินเจ็ทของกองทัพลิเบียบินต่ำอยู่รอบบริเวณถนนของสนามบิน โดยมีเสียงการต่อสู้ด้วยอาวุธหนักเกิดขึ้นอย่างประปราย

รัฐบาลปัจจุบันของลิเบียมีความพยายามควบคุมกลุ่มติดอาวุธจำนวนมากที่ครอบครองพื้นที่หลายส่วนของประเทศลิเบียหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในปี 2554 โดยมีกระแสการเรียกร้องจากฝ่ายพลเรือนมากขึ้นเรื่อยๆ บอกให้กลุ่มติดอาวุธสลายตัวหรือไม่ก็เข้าร่วมกับกองทัพลิเบีย ซึ่งทางรัฐบาลรักษาการลิเบียได้ขีดเส้นตายให้กลุ่มติดอาวุธเข้าร่วมกองทัพภายในสิ้นปีนี้

แต่กองทัพของลิเบียยังคงอ่อนแอและไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มติดอาวุธได้ แม้จะมีความพยายามประสานความร่วมมือโดยการจ้างด้วยเงินของรัฐเพื่อให้กลุ่มติดอาวุธทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในเมืองต่างๆ แต่กลุ่มติดอาวุธก็ยังคงเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาของพวกตนมากกว่าของทางการ และจนถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มติดอาวุธที่ขัดแย้งกันสองกลุ่ม ซึ่งจาหวัดผู้สื่อข่าวบีบีซีกล่าวว่าหากกลุ่มติดอาวุธเข้าปะทะกับฝ่ายพลเรือนก็อาจถือเป็นสถานการณ์อันตรายเพราะพลเรือนส่วนมากยังมีอาวุธติดอยู่ที่บ้าน

เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เคยมีเหตุการณ์กลุ่มติดอาวุธควบคุมตัวนายกรัฐมนตรี อาลี ไซดาน เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่จะมีการปล่อยตัว

เหตุการณ์ประท้วงต่อต้านกลุ่มติดอาวุธเคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. ปีนี้ โดยเป็นการประท้วงขับไล่กลุ่ม 'กองกำลังโล่แห่งลิเบีย' ในกรุงเบงกาซี จนเป็นเหตุให้ผู้ประท้วงถูกยิงเสียชีวิต 28 คน หลังจากที่ผู้ประท้วงขว้างปาก้อนหินเข้าใส่กองบัญชาการ

 


เรียบเรียงจาก

Deaths at Libya anti-militia protest, BBC, 15-11-2013
http://www.bbc.co.uk/news/world-africa-24959938

'Anti-militias' protest in Libya turns deadly, Aljazeera, 15-11-2013
http://www.aljazeera.com/news/africa/2013/11/protest-libya-turns-deadly-2013111515712840946.html

เกิดเหตุปะทะระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับอดีตกองกำลังกบฏในลิเบีย, ประชาไท, 10-06-2013
http://prachatai.com/journal/2013/06/47136
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วีรชัย พลาศรัย' เบื้องหลังคดีตีความปราสาทพระวิหาร

Posted: 15 Nov 2013 06:07 PM PST

ชมวิดีโอช่วงหนึ่งของเสวนาวิชาการ "เบื้องหลังคดีตีความปราสาทพระวิหาร" ซึ่งนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนอเธอแลนด์ และหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารร่วมอภิปราย โดยอธิบายว่าหลังศาลโลกมีคำวินิฉัยคดีเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2556 ประเทศไทยได้และเสียอะไรบ้าง งานเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2556 ที่ผ่านมา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น