ประชาไท | Prachatai3.info |
- คนงาน บ.จอร์จี้เจรจาครั้งที่ 6 ไม่คืบ นายจ้างยันคำเดิม-ไล่แจกใบเตือน พักงาน อ้างทำตาม กม.แรงงาน
- กปท.ลั่นพร้อมยุติชุมนุม หากยิ่งลักษณ์ยุบสภา
- อภิสิทธิ์ระบุจะขอคืนพื้นที่ไม่ได้-ถ้ายังไม่มีการฟ้องศาล
- หมอนิรันดร์ ชี้ชุมนุมต้านนิรโทษยังไม่เข้าเงื่อนไขใช้ พ.ร.บ.มั่นคง
- ผบ.สส.ยันไทยไม่เสียดินแดน ด้านนายกฯ วอนหยุดวิจารณ์คำตัดสินคดีพระวิหาร
- มาตรา 190 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับปัญหาที่ยังวนเวียน
- หมอชนบทจวกโปรเจคแสนล้านของสธ.แค่ขายฝัน
- สัมภาษณ์พิเศษ 'กัสตูรี มะห์โกตา’ หนึ่งในแกนนำพูโล: สันติภาพปาตานี ต้องมีเราร่วมโต๊ะ!
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6374/2556
- คำพิพากษาคดีหมิ่นฯอดีตกษัตริย์ ผิด ม.112
- ปปง.แถลงผลงานปี 56 อายัดทรัพย์ 892 คดี กว่า 5 พันล้าน
- ชายแดนสุรินทร์ค้าขายคึกคัก ส่วนทหารยังวางกำลังตามปกติ
- โมเดลใหม่การพัฒนา: ต้องยกระดับการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีภาคการผลิต
- ดิอิโคโนมิสต์วิเคราะห์คำตัดสินศาลโลกกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร
- เผด็จการใหม่ในห้องเรียนและสถาบันการศึกษา
คนงาน บ.จอร์จี้เจรจาครั้งที่ 6 ไม่คืบ นายจ้างยันคำเดิม-ไล่แจกใบเตือน พักงาน อ้างทำตาม กม.แรงงาน Posted: 14 Nov 2013 10:34 AM PST สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2556 เวลาประมาณ 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนลูกจ้างบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด จ.เชียงใหม่เข้าเจรจากับตัวแทนนายจ้างครั้งที่ 6 โดยนายจ้างส่งผู้จัดการโรงงานชื่อ สตีฟ เข้าเจรจา แต่ผลการเจรจายังไม่คืบหน้านายจ้างยังยันคำเดิมว่าจะรับข้อเสนอทั้งหกข้อก่อนหน้านี้ แต่ประเด็นข้อเรียกร้องเรื่อง การจ่ายเงินให้พนักงานรายชิ้นที่ทำได้จริงไม่ต่ำกว่า 310 บาท และโบนัส บริษัทยังคงยืนยันที่จะพิจารณาในปีหน้า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กปท.ลั่นพร้อมยุติชุมนุม หากยิ่งลักษณ์ยุบสภา Posted: 14 Nov 2013 09:02 AM PST กปท.ลั่นพร้อมยุติชุมนุม หากนายกฯ ยุบสภา ด้าน คปท.ไปสีลม รณรงค์ต้านแก้ ม.190-บุก สตช. จี้ ตร.อย่าทำร้ายปชช. ขณะ วสันต์ พานิช ขึ้นเวทีราชดำเนิน ย้อนเหตุการณ์การเมืองไทย ชี้กระบวนยุติธรรมต้องเดินหน้า ส่วนบรรยากาศการของ กปท. กองทัพธรรม และภาคีเครือข่าย 77 จังหวัด ที่บริเวณแยกผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินนอก นั้นว่า ตลอดทั้งวัน บนเวทียังมีการปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ผลการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก โดยเฉพาะประเด็นที่นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชี้แจงการแปลคำพิพากษา ต่อที่ประชุมรัฐสภายอมรับว่า ไทยเสียดินแดนยอดเขาพระวิหาร ไปทางทิศเหนือ เกินเส้นมติคณะรัฐมตรี ปี 2505 และบริเวณทางขึ้นเขาพระวิหารทางฝั่งกัมพูชา แต่ไม่กินพื้นที่ยาวถึงภูมะเขือ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก
นิติธร ล้ำเหลือ ที่ปรึกษา คปท. กล่าวบนเวทีปราศรัยเคลื่อนที่ว่า ตำรวจเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ดังนั้นจากนี้ คปท.จะเดินขบวนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะตำรวจต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่ระบอบทักษิณ และขอให้ตำรวจ อย่าทำร้ายประชาชน ซึ่งการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลรู้ว่า ประเทศนี้เป็นของประชาชน และปกครองประเทศโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นระบอบทักษิณ จากนั้นเวลา 14.00 น. กลุ่ม คปท. เดินทางมาถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยส่งตัวแทนมวลชน 10 คนนำธงชาติไทยปักด้านหน้าประตู สตช. พร้อมทั้งปราศรัย โจมตีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงาน คปท. กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสำนึกถึงตราโล่ที่อยู่บนหมวกว่าเป็นตราของแผ่นดิน การมา สตช.เพื่อมาแสดงพลัง กรณีที่พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. สั่งการให้จับกุมประชาชนที่ติดธงชาติไทยที่รถ สร้างความปั่นปวน กีดขวางการจราจร จึงขอเรียกร้อง ไปยัง สตช. ตั้งคณะกรรมการสอบ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ถึงการออกคำสั่งดังกล่าว พร้อมทั้งขอให้ สตช.ดำเนินการปลดให้พ้นจากตำแหน่ง ผบช.น. เนื่องจากไม่รู้จักทดแทนบุญคุณแผ่นดิน "กรณีที่ ผบช.น. กล่าวอ้างว่า ม็อบเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวายนั้น แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่มาสร้างสถานการณ์คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลต่างหาก และ คปท. ไม่ได้เป็นม็อบที่สร้างความวุ่นวาย แต่คือกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง หากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับใช้ประชาชน ประชาชนก็พร้อมจะปฏิรูป สตช.ด้วย" อุทัย กล่าว ต่อมาเวลา 15.30 น. กลุ่ม คปท.ได้เดินทางกลับมาถังแยกมัฆวานรังสรรค์ พร้อมประกาศว่าเป็นชัยชนะอีกครั้งหนึ่งของการชุมนุม วสันต์ พานิช ขึ้นเวทีราชดำเนิน ย้อนเหตุการณ์การเมืองไทย ชี้กระบวนยุติธรรมต้องเดินหน้า ทั้งนี้ มีรายงานว่า วสันต์ได้ปราศรัยพร้อมแสดงภาพถ่ายของ สมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ เฌอ ผู้เสียชีวิตจากปืนสไนเปอร์ที่ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2553 ด้วย
ที่มา: เนชั่นทันข่าว (1, 2) และข่าวสดออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อภิสิทธิ์ระบุจะขอคืนพื้นที่ไม่ได้-ถ้ายังไม่มีการฟ้องศาล Posted: 14 Nov 2013 08:43 AM PST อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเชื่อ 'นปช.' นัดชุมนุม 18-20 พ.ย. เพราะอ้างเรื่องคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ และยืนยันว่าในปี 2553 รัฐบาลมีสิทธิ์ขอคืนพื้นที่เพราะร้องขอต่อศาลแล้ว และมีอำนาจในการทำให้ทุกอย่างกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 56 ที่อาคารรัฐสภา (ที่มา: เพจ Abhisit Vejjajiva)
14 พ.ย. 2556 - เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานวันนี้ (14 พ.ย.) ว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ตอนหนึ่งตอบคำถามผู้ดำเนินรายการที่ว่า การที่เสื้อแดงจะออกมาชุมนุมช่วงวันที่ 18 – 20 นี้ จะเป็นการกดดันศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยอภิสิทธิ์ตอบว่า "ก็ดูคุณจตุพรก็ระบุค่อนข้างจะชัดเจนอย่างนั้นด้วยซ้ำว่า ที่จะต้องมาชุมนุมนี้อ้างว่าเนื่องจากจะมีคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย แล้วก็แหม รู้ล่วงหน้าอีก มติเท่าไหร่ จะเกิดอะไรไม่ได้ ไม่ยอม ก็กลายเป็นอย่างนั้นไปครับ" ส่วนคำถามที่ว่า กระแสที่ถูกสร้างโดยรัฐบาลขณะนี้กดดันว่าที่ราชดำเนินต้องเลิกชุมนุม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดกลียุคขึ้น เพราะจะมีม็อบชนม็อบ อภิสิทธิ์ตอบว่า "คือผมว่าอย่างนี้นะครับ 1. มีความพยายามอยู่แล้ว วันก่อนก็มีคนไปยื่นว่าการชุมนุมที่ราชดำเนินอะไรต่างๆ นี้ผิดกฎหมาย จะให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์มั๊งครับ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ก็แถลงไปแล้วว่า ไม่ใช่ เขาใช้สิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ ทีนี้ก็ต้องดูครับว่า การชุมนุมนี้มันวุ่นวาย หรือไม่วุ่นวาย แล้วก็ใครจะเป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย ก็ต้องดูลักษณะการชุมนุม ถูกมั้ยครับ" "เพราะฉะนั้นสิ่งง่ายๆ ที่ต้องดุก็คือว่า ราชดำเนินนี้ แกนนำเขาประกาศว่าเขาต้องการที่จะเป็นการชุมนุมที่ไม่ก่อความวุ่นวาย ไม่ใช้ความรุนแรง เช่นไม่ไปบุก ไปยึด ไปเผาสถานที่ แล้วก็ต้องการที่จะดำเนินการอย่างอารยชน ในขณะที่การชุมนุมเสื้อแดงในส่วนที่ผ่านมานี้ มีการพูดว่า ถ้าอีกฝ่ายไม่หยุด เราจะไปบังคับให้หยุด แค่นี้ก็เพียงพอครับที่จะพิจารณาได้ว่า ตกลงกลุ่มไหนครับที่กำลังมุ่งสู่ความรุนแรง เจ้าหน้าที่ก็ต้องไปจัดการกับกลุ่มนั้นไม่ใช่มาคิดว่า ฝ่ายนี้เข้าข้างรัฐบาล ฝ่ายนั้นไม่เข้าข้าง ดูจากตรงนี้ไม่ได้ครับ เจ้าหน้าที่ต้องดูว่า กลุ่มไหนจะมีพฤติกรรมในลักษณะไหนอย่างไร แล้วก็ต้องไปรักษาความสงบเรียบร้อยครับ" อภิสิทธิ์ตอบคำถามผู้ดำเนินรายการเปรียบเทียบการขอคืนพื้นที่ชุมนุมที่ราชประสงค์ในปี 2553 โดยอภิสิทธิ์ตอบว่า "ปี 53 ประเด็นก็คือว่า มีการไปร้องต่อศาลอย่างชัดเจนว่า การชุมนุมนั้นผิดกฎหมายหรือยัง และรัฐบาลทำอะไรได้บ้าง ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ได้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเลย" ผู้ดำเนินรายการถามว่า ในการชุมนุมปี 53 ศาลตัดสินว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย อภิสิทธิ์ตอบว่า "ถูกต้องครับ แล้วก็รัฐบาลมีสิทธิ์ มีอำนาจในการที่จะดำเนินการเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาสู่สภาวะปกติครับ" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมอนิรันดร์ ชี้ชุมนุมต้านนิรโทษยังไม่เข้าเงื่อนไขใช้ พ.ร.บ.มั่นคง Posted: 14 Nov 2013 08:22 AM PST กรรมการสิทธิฯ เชิญแกนนำต้านนิรโทษกรรม 4 กลุ่ม รองเลขาธิการ สมช.เผยกำลังเช็คข่าวชายชุดดำป่วนชุมนุม ยันคง พ.ร.บ.มั่นคง รับกระแสการชุมนุมสุปสัปดาห์-คำวินิจฉัยแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. ด้านตัวแทนผู้ชุมนุมโวยรัฐไม่ได้คำนึงถึงสิทธิในการชุมนุม กสม.ชี้ชุมนุมต้านนิรโทษยังไม่เข้าเงื่อนไขใช้ พ.ร.บ.มั่นคง จวกเว้นกรณีใต้ ทุกรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคงไม่ตามเงื่อนไข
14 พ.ย.2556 เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน ได้เชิญแกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ ผู้ประสานงานกองทัพธรรม ที่ร่วมชุมนุมกับกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ที่แยกผ่านฟ้า พวงทิพย์ บุญสนอง ที่ปรึกษากฎหมาย กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. สมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ แกนนำกลุ่มราชตระกูลรวมใจ รวมถึงผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และนักวิชาการเข้าชี้แจงกรณีมีการร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิการชุมนุม ส่วนประเด็นอนุกรรมการสนใจซักถามมากคือ กรณีที่ปรากฏข่าวและภาพเป็นลักษณะชายชุดดำพกอุปกรณ์คล้ายปืนเตรียมที่จะเข้าป่วนการชุมนุม ว่าในทางการข่าวมีข้อเท็จจริงอย่างไร และตลอดเวลากว่า 20 วันของการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง มีปรากฏการณ์อะไรที่ชัดเจนว่าการชุมนุมเข้าข่ายจำเป็นต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และความเหมาะสมในการออกแถลงการณ์ แจ้งเตือนแกนนำผู้ชุมนุมและกลุ่มทุนคัดค้านนิรโทษกรรมของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผบ.สส.ยันไทยไม่เสียดินแดน ด้านนายกฯ วอนหยุดวิจารณ์คำตัดสินคดีพระวิหาร Posted: 14 Nov 2013 07:49 AM PST ผบ.สส.ชี้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระบบสภา ส่วนทหารพร้อมรักษาอธิปไตย ด้านนายกฯ ขอความร่วมมือฝ่ายค้าน หยุดวิพากษ์วิจารณ์-นำมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ห่วงกระทบการเจรจา พร้อมชี้แจงหากฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ 14 พ.ย.2556 เดลินิวส์รายงานว่า ที่วัดบุปผารามวรวิหาร พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีคำตัดสินในคดีที่ประเทศกัมพูชาขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามระบบรัฐสภา ซึ่งทางสภาฯ ได้มีการหารือถึงแนวทางกันอยู่ ซึ่งก็มีหลากหลายความคิดเห็นที่แนะนำรัฐบาลในการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ เราต้องมีการเตรียมตัว ในส่วนของทหารก็ทำหน้าที่รักษาอธิปไตยเหมือนเดิม ส่วนแผนที่ก็ชัดเจนแล้วว่าจะไม่ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เมื่อถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าไทยไม่เสียดินแดน พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ทุกอย่างยังเหมือนเดิม แต่คำพิพากษาของศาลโลกนั้นต้องนำมาแปลภาษา เพื่อให้เกิดความชัดเจน และได้นำรายละเอียดมาพูดคุย พร้อมทั้งนำเข้าสภาฯ เพื่อขอความเห็นชอบ เพราะฉะนั้นขอยืนยันว่าการดำเนินการต่างๆ จะไม่มีการตัดสินใจเพียงกลุ่มคน หรือเฉพาะรัฐบาล เพราะเมื่อได้รายละเอียดรัฐบาลต้องนำเข้าที่ประชุมสภาฯ เพื่อเก็บข้อมูลทุกอย่างไปดำเนินการให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้เราต้องรักษาอธิปไตย ภายใต้ความรักความสามัคคี ตนขอยืนยันว่าสถานการณ์ชายแดนยังเป็นปกติ ทหารก็มีการติดต่อสื่อสารกันทุกระดับชั้น อย่างไรก็ตามได้มีการหารือกับผู้นำทางทหารของกัมพูชาทุกระดับอยู่ตลอดเวลา นายกฯ วอนหยุดวิจารณ์คำตัดสินคดีพระวิหาร ขณะที่ VoiceTV รายงานวันเดียวกันนี้ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอความร่วมมือฝ่ายค้าน หยุดวิพากษ์วิจารณ์และไม่หยิบยกคดีปราสาทพระวิหารมาเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการหารือกับกัมพูชา จึงอยากให้รับฟังข้อมูลเฉพาะส่วนที่ทีมทนายความได้ให้ข้อมูลในเบื้องต้น ทั้งนี้ภายหลังศาลโลกตัดสินคดี นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีการโทรศัพท์ไปพูดคุยกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาแต่อย่างใด โดยให้ดำเนินการผ่านการทูต กระทรวงการต่างประเทศของ 2 ฝ่าย นายกรัฐมนตรียังยอมรับว่า การที่ฝ่ายค้านออกมาโจมตีในกรณีดังกล่าว ทำให้รัฐบาลทำงานได้ยากขึ้น จึงขอความร่วมมือเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะชี้แจงต่อรัฐสภา หากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะที่ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจํากรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ร่วมกันแถลงข่าวการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องหลังคำพิพากษาของศาลโลก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในวันอังคารที่ 19 พ.ย.นี้ คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาผลการตัดสินของศาลโลก กรณีปราสาทพระวิหารจะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานความมั่นคง กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์สาระสำคัญของคำตัดสินของศาลโลก โดยเฉพาะการสรุปแนวเส้นและพื้นที่ ตามคำพิพากษาที่ศาลโลกระบุนั้นเป็นจุดใดบ้าง ก่อนที่จะไปหารือกับทางกัมพูชา พร้อมย้ำว่าก่อนที่จะไปหารือนั้น ประเทศไทยจะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน จะต้องผ่านกระบวนการภายในของประเทศ และต้องฟังเสียงจากทุกภาคส่วนโดยผ่านกระบวนการรัฐสภา นายสีหศักดิ์ กล่าวด้วยว่า กระบวนการเจรจาจะยึดแนวทางการแก้ไขโดยสันติวิธี ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก อีกทั้งต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทางกัมพูชาในฐานะเพื่อนบ้านและสมาชิกประชาคมอาเซียน รวมทั้งรักษาเกียรติภูมิของประเทศในสังคมโลก ด้าน นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจํากรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุ แม้ขณะนี้จะมีการคาดการณ์ถึงแนวเส้นเขตแดนและพื้นที่ ที่ศาลโลกได้ระบุแต่ก็ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากคณะทำงานต้องศึกษาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีผลผูกพันต่อการเจรจากับกัมพูชาในอนาคต และเชื่อว่าจากการชี้แจงเรื่องกรณีปราสาทพระวิหารต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาที่ผ่านมาจะทำให้สมาชิกเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มาตรา 190 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับปัญหาที่ยังวนเวียน Posted: 14 Nov 2013 07:35 AM PST บทนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 เป็นมาตราเดียวในรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องของการทำหนังสือสัญญา (Treaty) ระหว่างบุคคลในทางระหว่างประเทศกล่าวคือระหว่างรัฐกับรัฐและระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ เข้าใจว่าการแก้ไขทุกๆครั้งที่ผ่านมา ต้องการลดความยุ่งยากในการที่ไทยจะไปทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ อีกทั้งลดปัญหากรอบการตีความที่กว้างขวางจนไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าหนังสือสัญญาใดที่จะต้องผ่านสภาก่อนหรือไม่ แต่แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็มีปัญหามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นประเด็นถ้อยคำที่กำกวม การตีความ รวมถึงการปฏิบัติที่ยุ่งยาก ซึ่งบทความนี้ได้มีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแก้ไข รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้น การแก้ไขล่าสุด เดิมรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 มีการบัญญัติ มาตรา 190 ไว้ว่า…
ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ…. ที่ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในวรรค 2 เป็นดังนี้ "หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา" และได้ตัดวรรค 3 – 5 เดิมทิ้งโดยเปลี่ยนเป็นข้อความดังนี้
รวมถึงในวรรคท้ายได้มีการเพิ่มมาตรา 154 (2) ด้วย เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ปัญหา วรรค 2 1. มีการเพิ่มเติมคำว่า "โดยชัดแจ้ง" หลังคำว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งในการเพิ่มเติมถ้อยคำนี้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่าเป็นเรื่องของ การที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจ ในเขตพื้นที่นอกอาณาเขตโดยชัดแจ้ง หรือเป็นเรื่อง "กฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง" ซึ่งไม่ว่าเป็นเรื่องใดก็ตามระหว่าง 2 เรื่องนี้ โดยส่วนตัวผมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมคำว่า โดยชัดแจ้ง ลงไป ซ้ำยังทำให้เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนแน่นอนว่าคำว่า "โดยชัดแจ้ง" หมายความว่าอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องหนังสือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตของไทยนั้น ยังคงต้องผ่านความเห็นชอบของสภาเช่นเดิม จึงไม่เป็นที่กังวลว่า ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนได้โดยง่าย 2. เปลี่ยนจาก "หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ" ซึ่งคำว่า "อย่างกว้างขวาง" และ "มีนัยสำคัญ" เป็นคำที่สามารถตีความได้กว้างมากว่าอย่างไรที่มี นัยสำคัญ หรืออย่างไรที่ไม่มี นัยสำคัญ หรือสิ่งใดมีผลกระทบกว้างขวาง หรือไม่กว้างขวาง ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่รู้ชัดเจนแน่ว่าหนังสือสัญญาใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ ข้างต้นอย่างกว้างขวางและมีนัยสำคัญจริงๆ ซึ่งการแก้ไขครั้งนี้ได้ตัดข้อความนี้ทิ้งทั้งหมดเป็น "หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน" โดยมีความหมายแคบลงอย่างแน่นอนเนื่องจากกล่าวถึงแค่หนังสือสัญญาเปิดเสรีด้านการค้า และหนังสือสัญญาเปิดเสรีด้านการลงทุน ซึ่งมีความหมายต่างจากถ้อยคำเดิมแน่นอน เนื่องจากหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าหรือการลงทุนทุกนั้นมีความหมายแคบกว่าเดิมมากนัก หมายความว่ายังมีเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมอื่นๆ รวมถึงเรื่องหนังสือสัญญาที่ผูกพันงบประมาณที่ไม่รวมในความหมายของถ้อยคำใหม่นี้ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ถกเถียงได้ว่า ยังควรมีหนังสือสัญญาระหว่างประเทศอื่นไหมที่ควรรวมอยู่ในประเภทที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาก่อนที่รัฐบาลจะลงนามให้สัตยาบัน 3. ตัดข้อความในตอนท้ายของวรรคที่ว่า "ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว" ออกไป ซึ่งอาจหมายความได้ว่าไม่มีกรอบกำหนดระยะเวลาที่สภาจะพิจารณาในเรื่องดังกล่าว วรรค 3 ใหม่ มีการบัญญัติในวรรค 3 ใหม่ของมาตรา 190 ว่า "ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาและการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป" ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนในวรรคนี้คือ คำว่า "ให้มีกฎหมาย…" ซึ่งหมายความว่า หากไม่มีการออกกฎหมายรองรับความในวรรคนี้ ประชาชนก็ยังไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียด ขั้นตอนและกระบวนการในการแก้ไข เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่รัฐบาลได้ลงนามให้สัตยาบันไปอยู่ดี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า กว่าจะมีกฎหมายมารองรับนั้น ใช้เวลานานมาก แต่ก็ได้มีการบัญญัติหลักประกันไว้ในมาตรา 4 ว่า "ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้" สิ่งที่ถูกตัดออกไปคือ "ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดประเภท กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือสัญญา…" ตามวรรค 5 เดิมออกไป ซึ่งตั้งแต่ปี 2554 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 และได้มีการเพิ่มถ้อยคำนี้ ยังไม่เคยมีการออกกฎหมายเรื่องดังกล่าวมารองรับเลยแม้แต่ฉบับเดียว ซึงนับเป็นปัญหาในการเจรจาทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่เมื่อไม่มีถ้อยคำนี้แล้ว ไม่แน่ว่าจะเกิดปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนแน่นอนหรือไม่ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายในเรื่องประเภทและกรอบเจรจาอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถทำตามทางปฏิบัติระหว่างประเทศแต่เดิมประกอบกับขั้นตอนตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties – VCLT) ซึ่งแม้ไทยไม่ได้เป็นภาคีแต่ก็ต้องปฏิบัติตามในฐานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ (Customary International Law) สิ่งที่น่าเป็นกังวลสำหรับประชาชนคือ การแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ในครั้งนี้ ได้ตัดกลไกการตรวจสอบโดยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปออก แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติที่ผ่านมารัฐบาลค่อนข้างมีความระมัดระวังและกังวลเป็นอย่างมากในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ หรือแม้แต่ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ใช่หนังสือสัญญาก็ตาม (ดูความหมายของหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญาได้ในข้อบทที่ 2(a) ของ VCLT) โดยได้มีการขอความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความเห็นแก่รัฐบาลว่า การกระทำดังกล่าวถูกผูกมัดในกรอบมาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้เกิดความล่าช้าเกินสมควร ซึ่งอาจกระทบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ บทส่งท้ายและข้อสนอแนะ ในการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ได้ลดขั้นตอนความยุ่งยากในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไปได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเพิ่มความกังวลให้ประชาชนในเรื่องของขั้นตอนการตรวจสอบ รวมทั้งเรื่องขอบเขตของหนังสือสัญญาที่เข้าตามมาตรานี้ที่ไม่รวมถึงหนังสือสัญญาอีกมากมายที่สำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน หรือผลประโยชน์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของประเทศ ซึ่งควรจะมีการถกเถียงและพิจารณาต่อไปว่าหนังสือสัญญาประเภทใดอีกไหมที่ควรหรือไม่ควรผ่านความเห็นชอบของสภา นอกจากนั้นสิ่งที่ยังแก้ไม่ได้ และเป็นปัญหาที่คลาสสิคที่สุดของมาตรา 190 นี้คือ ความไม่ชัดเจนแน่นอนของถ้อยคำ (Ambiguity) ซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ในอนาคตเราอาจจะยังต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในมาตรานี้ต่อไปเพื่อความชัดเจนแน่นอน และเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และความสมดุลกันระหว่างการลดความยุ่งยากซับซ้อนและความล่าช้า กับความกังวลใจของประชาชนเรื่องความโปร่งใสในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งมาตรานี้เป็นการใช้อำนาจทางรัฐบาลระดับรัฐธรรมนูญ ซึ่งการตรวจสอบตกเป็นภาระของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี แต่คงไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องปัญหายุ่งยากเช่นนั้นเป็นแน่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมอชนบทจวกโปรเจคแสนล้านของสธ.แค่ขายฝัน Posted: 14 Nov 2013 07:28 AM PST หมอชนบทจวกโปรเจคงบแสนล้านของกระทรวงสาธารณสุข แค่ขายฝัน แฉ รพ.ใหม่-ตึกใหม่ที่สร้างด้วยงบไทยเข้มแข็งหรืองบประมาณประจำปี ใช้งานได้ไม่เต็มที่-เปิดให้บริการไม่ได้ เพราะขาดครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เนื่องจากงบที่ขอกระทรวงฯ 9,000 ล้านบาท ได้จริงเพียง 600 ล้านบาท 14 พ.ย.2556 นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และ นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ทำจดหมายเปิดผนึก เรื่อง "ขอให้รัฐมนตรีประดิษฐ หยุดเล่นปาหี่งบแสนล้านเมกะโปรเจคของระบบสาธารณสุข" ระบุว่า กรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนเมกะโปรเจคเพื่อพัฒนาสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1-2 แสนล้านบาทใน 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป เพื่อพัฒนาโครงสร้างระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า เมกะโปรเจคนี้เป็นโครงการขายฝัน งบแสนล้านเป็นเพียงเกมการเมือง เพราะปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีการตัดงบครุภัณฑ์ที่จำเป็นของโรงพยาบาลเปิดใหม่หรือตึกเปิดใหม่ที่สร้างด้วยงบไทยเข้มแข็งหรืองบประมาณประจำปี ซึ่งโรงพยาบาลหรือตึกเหล่านั้นล้วนสร้างเสร็จแล้ว แต่กลับไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ และมีเป็นจำนวนมากเปิดให้บริการไม่ได้ เพราะขาดครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เนื่องจากงบครุภัณฑ์ที่ขอทางกระทรวงสาธารณสุขไปจำนวน 9,000 ล้านบาท นั้นเมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้วถูกตัดเหลือเพียง 4,700 ล้านบาท แต่เมื่อมีการจัดสรรงบจริงในปีงบ 2557 กลับได้รับงบสนับสนุนมาเพียง 600 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้หลายๆ โรงพยาบาลต้องไปของบประมาณจากรายการของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา แทนที่กระทรวงจะชื่นชมกลับถูกตำหนิ บอกว่าทำให้กระทรวงเสียภาพพจน์ และมีการข่มขู่ว่า หากใครที่ไปขอจะไม่ขึ้นเงินเดือนให้เป็นต้น "การจัดทำเมกะโปรเจคอย่างรีบเร่งและขายฝันครั้งนี้ มีขึ้นมาเพื่อการแก้เกมส์ทางการเมือง เป็นปาหี่ฉากใหญ่ หากรัฐบาลและกระทรวงสาธาณสุขมีความจริงใจ ก็ไม่ต้องกู้เงินมาทำโครงการแสนล้านแต่อย่างไร เพียงแค่จัดสรรงบประมาณจำนวน 4,700 ล้าน จัดซื้อครุภัณฑ์ให้ตามรายการเดิมที่กระทรวงมีอยู่ ก็จะทำให้หลายสิบโรงพยาบาลสามารถเปิดบริการได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น ไม่ขายฝัน ไม่หลอกลวง" ทั้งสองระบุในจดหมายเปิดผนึก 0000
จดหมายเปิดผนึก ถึงพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ทางชมรมแพทย์ชนบทขอสะท้อนความเห็นว่า การทำแผนเมกะโปรเจคงบแสนล้านครั้งนี้เป็นเพียงละครฉากหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาในยุคที่รัฐบาลตกต่ำ เพราะเจ้ากระทรวงสาธารณสุข ทั้งฝ่ายการเมือง และผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายประจำ ขาดความน่าเชื่อถือและขาดการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ออกนโยบายรายวันที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วทุกหัวระแหง ปฏิบัติการรวบอำนาจ ใช้อำนาจข่มเหงจนเคยตัว จนกระทบต่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน จนก่อให้เกิดกระแสการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่โรงพยาบาลต่างๆ อารยะขัดขืนอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ยิ่ง รมต.ประดิษฐออกมาห้ามเหมือนยิ่งยุยงส่งเสริมให้ท้าทายอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ลิดรอนสิทธิในฐานะประชาชนคนไทยเจ้าของประเทศ และเมื่อทางกระทรวงสาธารณสุขได้รีบเร่งผลักดันเมกะโปรเจคนี้ออกมาขึ้นมา เพื่อฟื้นฟูกระชับอำนาจที่ลดทอนลงไปให้กลับคืนมา จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับประเทศไทย และยิ่งจะส่งผลเสียเนื่องจากทำแผนไป รับปากไปแต่ไม่มีงบประมาณที่จะมารองรับ เสียทั้งเวลาและเสียความรู้สึก เหมือนที่ผ่านๆ มา ชมรมแพทย์ชนบทมั่นใจว่าเมกะโปรเจคนี้เป็นโครงการขายฝัน งบแสนล้านเป็นเพียงเกมส์การเมือง เพราะปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีการตัดงบครุภัณฑ์ที่จำเป็นของโรงพยาบาลเปิดใหม่หรือตึกเปิดใหม่ที่สร้างด้วยงบไทยเข้มแข็งหรืองบประมาณประจำปี ซึ่งโรงพยาบาลหรือตึกเหล่านั้นล้วนสร้างเสร็จแล้ว แต่กลับไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ และมีเป็นจำนวนมากเปิดให้บริการไม่ได้ เพราะขาดครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เนื่องจากงบครุภัณฑ์ที่ขอทางกระทรวงสาธารณสุขไปจำนวน 9,000 ล้านบาท นั้นเมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้วถูกตัดเหลือเพียง 4,700 ล้านบาท แต่เมื่อมีการจัดสรรงบจริงในปีงบ 2557 กลับได้รับงบสนับสนุนมาเพียง 600 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้หลายๆ โรงพยาบาลต้องไปของบประมาณจากรายการของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา แทนที่กระทรวงจะชื่นชมกลับถูกตำหนิ บอกว่าทำให้กระทรวงเสียภาพพจน์ และมีการข่มขู่ว่า หากใครที่ไปขอจะไม่ขึ้นเงินเดือนให้เป็นต้น ชมรมแพทย์ชนบท เห็นว่า การจัดทำเมกะโปรเจคอย่างรีบเร่งและขายฝันครั้งนี้ มีขึ้นมาเพื่อการแก้เกมส์ทางการเมือง เป็นปาหี่ฉากใหญ่ หากรัฐบาลและกระทรวงสาธาณสุขมีความจริงใจ ก็ไม่ต้องกู้เงินมาทำโครงการแสนล้านแต่อย่างไร เพียงแค่จัดสรรงบประมาณจำนวน 4,700 ล้าน จัดซื้อครุภัณฑ์ให้ตามรายการเดิมที่กระทรวงมีอยู่ ก็จะทำให้หลายสิบโรงพยาบาลสามารถเปิดบริการได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น ไม่ขายฝัน ไม่หลอกลวง จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สัมภาษณ์พิเศษ 'กัสตูรี มะห์โกตา’ หนึ่งในแกนนำพูโล: สันติภาพปาตานี ต้องมีเราร่วมโต๊ะ! Posted: 14 Nov 2013 06:37 AM PST
แม้ว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพปาตานีระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ดูเหมือนจะหยุดชะงักไปแล้วหลายเดือน ทว่าเบื้องหลังความเงียบนั้นก็มีความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญหลายอย่าง ล่าสุดคือการพบปะระหว่าง "กัสตูรี มะห์โกตา" ซึ่งระบุตำแหน่งในนามบัตรว่าเป็น "ประธานขบวนการพูโล" โดยเขียนยศ พ.อ.(COL.) นำหน้าชื่อตัวเอง กับดาโต๊ะซัมซามิน ฮาซิม ผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยฝ่ายมาเลเซียเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา เพื่อหารือถึงการเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยในฝ่ายขบวนการต่อสู้ที่ปาตานี ซึ่งมีแนวโน้มว่าฝ่ายพูโลจะส่งตัวแทน 2 คนเข้าร่วมกับฝ่ายบีอาร์เอ็น ที่ผ่านมา เป็นที่รับรู้กันดีในกลุ่มผู้ที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนใต้ว่า ขบวนการพูโล หรือ Patani United Liberation Organisation (PULO) แตกออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มของกัสตูรี มะห์โกตา กลุ่มของนายซัมซูดิง ค่าน และกลุ่มของนายลุกมาน บินลีมา ซึ่งกัสตูรียืนยันเองว่า ตอนนี้พูโลทั้ง 3 กลุ่มได้รวมเป็นหนึ่งแล้ว เพื่อเตรียมเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพครั้งต่อไป
ถามว่าเมื่อไหร่จะจบนั้น มันก็ต้องใช้เวลาซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติ เราอย่าได้ท้อ เพราะถึงเราจะรบกันอีก 50 ปีข้างหน้า เราก็ต้องเจรจาอยู่ดี อย่างตอนนี้ไทยเองก็ยอมที่จะเจรจาอย่างเปิดเผยแล้ว เราก็จงคว้าโอกาสนี้ไว้ สำหรับผมแล้ว เราในฐานะคนปาตานีอย่าได้ดูถูกคนอื่นเลยหรือคณะผู้แทนพูดคุย ถ้าเรามัวแต่ดูถูกพวกเดียวกันเอง หรือเหมือนอย่างที่ว่าถ้าเจรจากันแล้วจะถูกฝ่ายไทยหลอก อันนั้นไม่น่าจะถูกนัก เท่าที่ทราบมาว่า การเจรจารอบหน้าที่จะถึงนี้ผมจะเข้าไปร่วมด้วย ช่วยๆ กันขอพรด้วยนะครับ คุณได้หารือกับฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นแล้วหรือไม่ อย่างไร? ทำไมสังคมชอบตั้งแง่ต่อการปรากฏตัวของกัสโตรี มะฮ์โกตา? ท่านเชื่อว่าฝ่ายไทยมีความจริงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้? มีคำถามหนึ่งจากกลุ่มคนหนุ่มบางส่วนในพื้นที่ซึ่งพวกเขาไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลและฝ่ายทหาร เพราะในช่วงที่มีกระบวนการสันติภาพก็มีความพยายามตามเก็บ (ตามสังหาร) กลุ่มคนในพื้นที่ด้วย เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้สร้างความหวาดกลัวให้พวกผู้นำที่อยู่ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพหรอกหรือ กระบวนการสันติภาพในปัจจุบันท่านสนับสนุนหรือไม่? จะหลีกเลี่ยงและออกห่างความบกพร่องเหล่านั้นอย่างไร? อย่างไรก็ตาม เราก็ยอมรับในศักยภาพและอำนาจของขบวนการใดขบวนการหนึ่ง แต่ก็ในกระบวนการพูดคุยนี้เท่านั้นซึ่งผมเชื่อมั่นว่าการมีคณะผู้แทนแห่งชาตินั้นจะทำให้เราไม่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างกัน นั่นหมายความว่าเป็นการขับเคลื่อนของประชาชนโดยทั่วกัน? ศาสนาอิสลามก็ยังสอนด้วยว่า เราต้องให้ความเคารพต่อศาสนิกอื่นด้วย นั่นคือหลักการอิสลาม เราต้องนอบน้อมอ่อนโยนกับคนที่ไม่ใช่อิสลาม ไม่ใช่แค่กับคนมลายูและอิสลามด้วยกันเท่านั้น
แต่ในช่วงหลังมานี้เราได้เห็นถึงกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่มีความก้าวหน้าสู่จุดที่เราต้องการ เราลองให้โอกาสพวกเขาสักหน่อยหนึ่ง เราต่างก็อดทน โดยส่วนตัวผมเห็นว่า ตอนนี้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมแล้ว
ในส่วนของพูโลและขบวนการอื่นๆ ก็ได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญของตนเองว่าเป้าหมายสูงสุดคือเอกราช แต่คำถามก็คือว่า เมื่อเราได้เข้าสู่การพูดคุยที่นั่นก็ต้องมีกระบวนการต่อรองกันไปมาและไม่มีความขัดแย้งใดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้อาวุธ มันต้องคลี่คลายด้วยการพูดคุย แต่เมื่อเราเข้าสู่การพูดคุยมันก็ต้องมีการต่อรองกันโดยอัตโนมัติถือเป็นเรื่องปกติ แต่เป้าหมายของเราก็จะยังคงเป็นเอกราชเช่นเดิม และเราอาจไม่ลดเป้าหมายของเราลงไปสู่การปกครองแบบออโตนอมิ ไปสู่เขตปกครองพิเศษ แต่เราจะฟังว่ารัฐไทยจะให้อะไรแก่เรา ถ้าไทยไม่ให้เอกราชแล้วอะไรล่ะที่เขาจะให้ แต่เท่าที่ผมได้ฟังมานั้น ผมก็มีความเห็นตรงกันกับคนหนุ่มๆ ทั้งหลาย เราต้องการเอกราช แต่ไทยไม่ให้เอกราช แล้วไปขอออโตนอมิ ซึ่งถ้าอย่างนี้ก็เป็นการที่ผิดเราเป็นนักต่อสู้ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปลดเป้าหมายของเราเอง มันต้องเป็นฝ่ายไทยเท่านั้น อย่างกรณีความขัดแย้งที่อาเจะห์ (ประเทศอินโดนีเซีย) ตอนเจรจาที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียย้ำอยู่ตลอดตั้งแต่แรกเริ่มการพูดคุยว่า ถ้าจะคุยเรื่องเอกราชเขาก็จะไม่คุยด้วยอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าจะคุยเรื่องอื่นเราคุยได้ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยพบคุณไหม?
เรื่องนี้ผมก็ต้องกลับไปหารือกันในวงของเราก่อนถึงผลดีผลร้าย ถ้าไม่ดีเราก็ไม่กลับ แต่ถ้าดีก็คงไม่มีอะไร แต่ถ้ากลับไปมอบตัวนั้นไม่เคยมีในหัวสมองแม้แต่น้อย เราจะหลีกเลี่ยงประเด็นที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ากลับไปเพื่อมอบตัว เพราะประชาชนปาตานีที่กำลังรอเราอยู่และได้ฝากความหวังไว้กับเรา ซึ่งเรามิอาจปล่อยความหวังของประชาชนทิ้งได้ หนึ่งในเงื่อนไขที่จะกลับไปนั้นก็คือต้องปล่อยนักโทษในเรือนจำก่อนด้วยหรือไม่? ในการปล่อยตัวคนของพูโลทั้งสามท่านนั้น (หะยีสะมะแอ ท่าน้ำ, หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ, หะยีบือโด) ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพิธีด้วยอย่างที่ผมบอกตั้งแต่ต้นว่าเรื่องนี้ผมต้องกลับไปหารือก่อน หากมีการปล่อยตัวจริง กล้ากลับไหม? ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 14 Nov 2013 05:36 AM PST "..การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่.." ใน คำพิพากษาคดีหมิ่นฯอดีตกษัตริย์(ร.4) ผิด ม.112 |
คำพิพากษาคดีหมิ่นฯอดีตกษัตริย์ ผิด ม.112 Posted: 14 Nov 2013 05:05 AM PST
จำเลยกล่าวข้อความว่า "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่เราคิดว่าเราไปแล้วเนี้ยะ ถ้าเราทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชนเราไปครับ แต่ถ้าเราต้องไป แล้วต้องเป็นเหมือนกับรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับท่าน ยุคนั้นหมดไปแล้ว แต่บ้านนี้เมืองนี้อาจจะมีอยู่บ้างบางส่วนนะครับ" ศาลอาญาเห็นว่า ข้อความดังกล่าว "มีความหมายเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต เปรียบเทียบว่ายุคของพระองค์เหมือนต้องไปเป็นทาส ไม่มีความเป็นอิสระมีการปกครองที่ไม่ดีทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 4 เสื่อมเสียพระเกียรติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ...พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดลงให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี" โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า "ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นราชวงศ์ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ ด้วยเหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่ ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาท ให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ ดังได้กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วว่าประชาชนชาวไทยผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาตลอด แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้วประชาชนก็ยังเคารพพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึงโดยทางราชการจัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี ดังนั้น หากมีการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรได้" ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ที่มา:เว็บไซต์ นิติราษฎร์ ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดคำพิพากษาฎีกาฉบับเต็มได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/page/287
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปปง.แถลงผลงานปี 56 อายัดทรัพย์ 892 คดี กว่า 5 พันล้าน Posted: 14 Nov 2013 01:22 AM PST
เลขาธิการ ปปง. กล่าวอีกว่า เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรฐานผ่านการประเมินรอบใหม่ของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) ปปง. จึงได้ออกประกาศเพิ่มอีก 9 ฉบับ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา หนึ่งใน 9 ฉบับ เป็นประกาศ ปปง. เรื่องบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินต้องตรวจสอบ เฝ้าระวังและรายงานธุรกรรมการเงิน บัญชีผิดปกติของผู้มีอำนาจชี้ขาด ให้เกิดผลประโยชน์และผลเสียแก่ประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม ปปง. ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตรวจสอบธุรกรรมการเงินของกลุ่มนายทุนผู้สนับสนุนการชุมนุม เนื่องจากยังไม่มีผู้ร้องให้ตรวจสอบ แต่หากมีผู้ร้องก็ต้องตรวจสอบที่ธุรกรรมไม่ใช่ตรวจสอบตัวบุคคลและต้องดูความเชื่อมโยงของธุรกรรมด้วย โดยการตรวจสอบธุรกรรมนั้น ปปง.จะได้รับแจ้งธุรกรรมต้องสงสัยจากสถาบันการเงินเดือนละ 2 รอบ ซึ่งรอบแรกยังไม่ได้รับแจ้งเพราะยังไม่ถึงกำหนด เลขาธิการ ปปง.กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองนั้นเป็นการตรวจสอบบุคคลที่มีอำนาจเพื่อป้องกันการทุจริตซึ่งสถาบันการเงินต้องเฝ้าระวังการทำธุรกรรมไม่ใช่ตรวจตัวบุคคล โดยเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากล ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ผู้มีอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ รวมถึงผู้มีอำนาจสำคัญควบคุมและบริหารราชการส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐด้วย
ที่มา: เนชั่นทันข่าว และไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชายแดนสุรินทร์ค้าขายคึกคัก ส่วนทหารยังวางกำลังตามปกติ Posted: 14 Nov 2013 01:03 AM PST หลังศาลโลกตัดสิน ชายแดนสุรินทร์ไม่พบเสียงปืน ชาวเขมรแห่ข้ามแดนคึกคักตั้งแต่เช้า มั่นใจไม่เกิดสงคราม ส่วนทหารยังวางกำลังตามปกติ 14 พ.ย.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศบริเวณประตูด่านจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม-โอรเสม็ด ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2556 เวลา 07.00 น.ว่าหลังศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหารผ่านไปแล้ว 2 วัน ยังไม่พบว่าจะเกิดเหตุรุนแรงตามแนวชายแดนขึ้น ทำให้เริ่มมีชาวกัมพูชาทั้งพ่อค้าแม่ค้าเดินทางเข้ามา เพื่อค้าขายและซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคเป็นจำนวนมากกว่าในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา อีกทั้งมีชาวกัมพูชาเกือบ 100 คน พากันข้ามแดนเข้ามาเพื่อไปรับจ้างเกี่ยวข้าวในฝั่งไทย โดยมีนายจ้างชาวไทยไปรับถึงประตูด่าน ซึ่ง ตม.กาบเชิง ได้ตรวจเอกสารอย่างละเอียด พร้อมอำนวยความสะดวกให้ โดยชาวกัมพูชาที่มารับจ้างเกี่ยวข้าวจะเดินทางเช้าไปเย็นกลับ โดยได้ค่าจ้างวันละ 200 บาท นอกจากนี้ยังมีลักษณะรับเหมาเกี่ยวข้าวไร่ละ 600 บาท อีกด้วย ขณะที่สถานการณ์ชายแดนโดยรวมของ จ.สุรินทร์ เริ่มคลี่คลายลงไปในทิศทางที่ดี ชาวบ้านและหลายฝ่ายเริ่มคลายความวิตกกังวลลงไปในระดับหนึ่งว่าจะไม่เกิดสงคราม โดยทหารยังคงตรึงกำลังตามปกติ และยังไม่มีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้มีการเคลื่อนไหวใดๆ คาดว่าสถานการณ์จะกลับคืนมาสู่ภาวะปกติในเร็ววันนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โมเดลใหม่การพัฒนา: ต้องยกระดับการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีภาคการผลิต Posted: 13 Nov 2013 11:06 PM PST 50 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก เป็นการใช้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นการส่งออกเป็นพลังขับเคลื่อน ในปัจจุบัน สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตในผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของไทยสูงถึงร้อยละ 35.6 ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออก ที่ส่วนใหญ่สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตของไทยก็คือยังไม่สามารถสร้างผลิตภาพได้มากพอ ซึ่งหมายถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสูงขึ้น โดยใช้ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแนวโน้มการใช้พลังงานในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออก และที่สำคัญก็คือ อุตสาหกรรมการผลิตของไทยยังมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่จำกัด ปัญหาหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยก็คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมายังภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก โดยมีการกระจายการผลิตไปในหลายสินค้า แต่ไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้มาก ซึ่งน่าจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของไทยมีแนวโน้มลดลงในอนาคต เนื่องจากมีแรงงานในภาคเกษตรกรรมเหลือให้เคลื่อนย้ายไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตน้อยลงเรื่อยๆ และไม่สามารถกระจายการผลิตได้มากกว่านี้โดยง่ายอีกแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในลักษณะดังกล่าวจึงแฝงไว้ด้วยความไม่ยั่งยืน หากไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพในภาคการผลิตที่สำคัญ
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยจะเพิ่มผลิตภาพของตนได้อย่างไร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมและปัญหานานัปการ ร่วมหาคำตอบได้ในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2556 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ "การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการผลิต (Strategies to Create Innovation and Technology Development) โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอและ ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ทีดีอาร์ไอเชิญชวนผู้สนใจและประชาชนติดตามการเสนอผลงานศึกษาแบบเต็มๆ ได้ผ่านการถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์ www.tdri.or.th และร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/tdri.thailand ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดิอิโคโนมิสต์วิเคราะห์คำตัดสินศาลโลกกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร Posted: 13 Nov 2013 10:15 PM PST ดิอิโคโนมิสต์ วิเคราะหฺ์ว่า การตัดสินของศาลโลกจะช่วยลดอารมณ์ความเกลียดชังของสองชาติได้เล็กน้อย แต่อีกตัวแปรหนึ่งคือสภาพการเมืองภายในประเทศไทยที่มีการปลุกเร้าอารมณ์และดึงเอาความเกลียดชังนักการเมืองมาเป็นเครื่องมือ ทำให้ถูกเพ่งเล็งและสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านได้ไม่เต็มที่ 14 พ.ย.2556 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2556 เว็บไซต์นิตยสารดิอิโคโนมิสต์ เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีปราสาทเขาพระวิหารหลังจากการตัดสินของศาลโลกเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยระบุตามคำตัดสินของศาลว่าพื้นที่เขตป่าโดยรอบปราสาทเขาพระวิหารเป็นส่วนพื้นที่ของปราสาทซึ่งจัดเป็นของกัมพูชาเอง อย่างไรก็ตามศาลโลกยังได้กล่าวอีกว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งกัมพูชาอ้างว่าเป็นของตนเองนั้นศาลไม่ได้ตัดสินยกให้กัมพูชา แต่ตัดสินให้ไปเจรจาตกลงกับทางการไทยเอง รวมถึงพื้นที่ 100 กม. โดยรอบเขตแดนด้วย ดิอิโคโนมิสต์ ระบุว่า การตัดสินในครั้งนี้หากมองในแง่ดี ประเทศไทยก็สามารถบอกได้ว่าเป็นการตัดสินในแบบที่ไม่ลำเอียงเข้าข้างกัมพูชาจากการที่ปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝ่ายกัมพูชา และดูเหมือนว่าทั้งสองประเทศจะยอมรับผลการตัดสิน เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของไทยยังยิ้มขณะอยู่ในพิธีกรรม (ภาพ พล.ต.ธรากร ธรรมวินทร ผบ.กกล.สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 สวม กอดกับ พล.อ.สไล ดึ๊ก ผบ.กองพลสนับสนุนที่ 3 ของกัมพูชา ระหว่างที่ทั้ง 2 ฝ่ายหารือพัฒนาความสัมพันธ์ ที่จุดประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2556) ปราสาทเขาพระวิหารซึ่งเป็นที่สถิตย์ของพระศิวะตามตำนานฮินดูกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชามาเป็นเวลานาน ดิอิโคโนมิสต์ระบุว่า "ความตึงเครียดทวีเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี 2551 เมื่อนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาได้ยื่นจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ทำให้รัฐบาลไทยในสมัยนั้นนำโดยพรรคประชาธิปัตย์รวมถึงกลุ่มผู้สนับสนุนทหารและ 'รอยัลลิสต์' ที่พยายามสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองโดยอาศัยความขัดแย้งกับกัมพูชา" อิโคโนมิสต์ ระบุอีกว่า การตัดสินในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นไปได้ที่จะทำให้ความเกลียดชังลดน้อยลง แต่การตัดสินมีขึ้นในช่วงที่รัฐบาลทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์กำลังประสบกับวิกฤติความชอบธรรมพอดี และกลายเป็นว่าฮุนเซน ซึ่งเพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือน ก.ค.อย่างเฉียดฉิวกลับสร้างความชอบธรรมให้ตนเองได้มากขึ้น ทำให้ตอนนี้การเมืองภายในของไทยจึงเป็นปัจจัยหลักต่อความสัมพันธ์ตึงเครียดระหว่างไทยและกัมพูชา บทวิเคราะห์ยังได้กล่าวถึงการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินพลาดท่าในกรณีร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งมุ่งหวังเปิดทางให้อดีตนายกฯ ทักษิณกลับมา เป็นการจุดฉนวนอารมณ์ให้กับกลุ่ม 'รอยัลลิสต์' จัด และชาตินิยมจัด รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งพากันออกมาชุมนุมบนท้องถนน ทำให้ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถแสดงตัวเป็นมิตรกับกัมพูชามากเกินไปและหากเดินเกมพลาดในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับพื้นที่เขตแดนไทยก็อาจทำให้กลุ่มชาตินิยมขุ่นเคือง ซึ่งมีโอกาสเปิดทางให้กับกองทัพสร้างความชอบธรรมในการแทรกแซงเพื่อหาโอกาสมีบทบาทในการเมืองไทย แม้ว่าจนถึงตอนนี้ประเทศไทยยังหลีกเลี่ยงการรัฐประหารได้ แต่ก็มีการปลุกเร้าอารมณ์โดยกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น กลุ่มคนไทยรักชาติซึ่งเป็นกลุ่มย่อยที่แยกมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้ออกมาชุมนุมเรียกร้องการปกป้องเขตแดนไทย แต่การกล่าวหาของพวกเขาที่บอกว่าการยอมรับผลการตัดสินของศาลโลกเท่ากับเป็นการ "ขายชาติ" นั้นดูจะใช้ไม่ได้นานเนื่องจากการตัดสินเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม ดิอิโคโนมิสต์ ชี้ว่าเรื่องข้อพิพาทเขาพระวิหารถูกนำมาผูกโยงกับทักษิณเช่นเดียวกับเรื่องการเมืองไทย เมื่อทักษิณดูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับฮุนเซน นำมาซึ่งความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในเขตชายแดน จนกระทั่งในยุคสมัยของยิ่งลักษณ์ซึ่งศาลโลกได้มีคำสั่งชั่วคราวให้ทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากพื้นที่บริเวณ 17 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาท ภู โสธิรักษ์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันกัมพูชาเพื่อสันติภาพและความร่วมมือ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารและความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ ระบุว่ามีความขัดแย้งสองช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงที่ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อปี 2505 โดยอาศัยแผนที่ของอาณานิคมจากปี 2451 และช่วงที่สองคือหลังเกิดการรัฐประหาร 2549 ในไทย ทางกัมพูชาได้อ้างสิทธิในพื้นที่โดยอาศัยแผนที่เก่าของฝรั่งเศส ขณะที่ประเทศไทยอ้างตามแผนที่ปี 2550 ที่เขียนขึ้นฝ่ายเดียว กรณีการขีดเส้นเขตแดนโดยฝรั่งเศส ดิอิโคโนมิสต์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องในระดับปราสาทเขาพระวิหาร แต่ชนชั้นนำไทยมีแนวทางการเล่าประวัติศาสตร์ของชาติไทยผ่านเรื่องการเสียดินแดนให้กับต่างชาติและประเทศเพื่อนบ้านที่คิดไม่ซื่อ โดยปราสาทเขาพระวิหารเคยอยู่ในพื้นที่ของสยาม ในช่วงศตวรรษที่ 20 จึงถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสบีบให้มอบพื้นที่จังหวัดพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้กับกัมพูชาซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของฝรั่งเศส บทวิเคราะห์ในอิโคโนมิสต์ เปิดเผยว่า ผู้ทำแผนที่ของฝรั่งเศสพยายามปักเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำ (แนวสันเขาที่แบ่งลุ่มน้ำเวลาฝนตกให้ไหลออกไปสองฝั่ง) ของเทือกเขาพนมดงรักซึ่งตั้งขึ้นเป็นเขตแดนตามธรรมชาติระหว่างไทยกับกัมพูชา แต่เจ้าหน้าที่ 4 คนของฝรั่งเศสผู้เขียนแผนที่ก็ได้ขีดเส้นพรมแดนส่วนของปราสาทโดยให้เข้าไปในเขตของกัมพูชาอย่างไม่มีคำอธิบายซึ่งเป็นการวางเขตผิดด้านของสันปันน้ำ แต่ทางสยามก็ไม่ได้ท้าทายเรื่องการขีดเส้นของฝรั่งเศสมาตลอด 50 ปี แต่พวกเขาขอบคุณที่ชาวฝรั่งเศสช่วยทำแผนที่ให้ ซึ่งการที่ไทยเคยแสดงยอมรับแผนที่นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แพ้คดีเมื่อปี 2505 การตัดสินของศาลโลกในครั้งแรก (ปี 2505) ให้ความชอบธรรมแก่การขีดเส้นของฝรั่งเศส แต่ดูเหมือนว่าการตัดสินครั้งหลังนี้มีการลดขนาดของเส้นที่ขีดลง และให้กัมพูชากับไทยหารือกันเรื่องการปักเขตแดนในส่วนที่ยังไม่ได้ปักเพื่อให้มีแผนที่ซึ่งยอมรับได้กับทั้งสองฝ่าย แต่คิดว่าคงจะหารือไม่เสร็จสิ้นภายในเร็ววันนี้
Once more, with feeling, The Economist, 12-11-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เผด็จการใหม่ในห้องเรียนและสถาบันการศึกษา Posted: 13 Nov 2013 08:24 PM PST สิทธิเสรีภาพในการพูดจัดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย หรือที่รู้จักกันในคำพูด Freedom of speech รวมทั้งสิทธิในการแสดงออก หรือ Freedom of expression ได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้ถูกยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights -ICCPR)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น