ประชาไท | Prachatai3.info |
- สมานฉันท์แรงงานออก จม.ชวนสมาชิกยึด ก.แรงงาน 1 ธ.ค.นี้
- ยุบสภา- ทางออกที่ชอบ เพื่อให้รัฐบาลมีแรงทำ
- พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: เหนือกว่า(อำนาจ)ตุลาการ
- การ์ดเสื้อแดงถูกยิงศรีษะบริเวณรามคำแหง 24 แยก 14
- ศอ.รส.ขอกำลังทหารทุกเหล่าทัพหนุน ปฏิบัติการตี 3 ขอปชช.อย่าตกใจ
- นศ.มอ.ปัตตานี แถลงค้านการประกาศท่าทีทางการเมืองของกลุ่มผู้บริหารมหาลัย
- องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแถลงการณ์วอนทหารอย่ารัฐประหาร
- มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุปะทะที่รามคำแหง
- พีมูฟระบุผ่าวิกฤติประเทศไทยด้วยการยุบสภาคืนอำนาจประชาชน
- สัมภาษณ์สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติรัฐ อารยะขัดขืน และการมองให้เห็นความเป็นคน
- นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเรียกร้องให้มีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน
- Blognone วอนรัฐคุ้มครองโครงข่ายการสื่อสาร หลังตึกกสท.ถูกตัดไฟ
- สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ออกแถลงการณ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตยคัดค้านอันธพาลการเมือง
- FTA Watch ชี้ก่อนยุบสภาควรแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการประชาธิปไตยก่อน
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้
สมานฉันท์แรงงานออก จม.ชวนสมาชิกยึด ก.แรงงาน 1 ธ.ค.นี้ Posted: 30 Nov 2013 12:53 PM PST เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกจดหมายยกเลิกการประชุมประจำเดือน ธ.ค. ชวนสมาชิกร่วมเข้ายึดกระทรวงแรงงาน วันที่ 1 ธ.ค.นี้ 1 ธ.ค.2556 เฟซบุ๊ก คณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย ได้โพสต์จดหมายถึงองค์กรสมาชิก เครือข่าย เรื่อง ยกเลิกการประชุมประจำเดือนธันวาคม และเชิญสมาชิกร่วมเข้ายึดกระทรวงแรงงาน วันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ยุบสภา- ทางออกที่ชอบ เพื่อให้รัฐบาลมีแรงทำ Posted: 30 Nov 2013 12:24 PM PST อุณหภูมิการเมืองขณะนี้ ถึงจุดที่ทั้งฝ่ายหนุนและฝ่ายต้านรัฐบาลคิดว่าได้เวลาเดินให้สุดซอยเสียที จนละเลยวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถูกออกแบบไว้อย่างน่าทึ่ง ว่าหากขัดแย้ง หรือขาดฉันทามติร่วมในเรื่องสำคัญ ทางออกหนึ่งคือ "ยุบสภา" ผมคงไม่มีอะไรจะสื่อสารไปยังฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งจ้องล้มรัฐบาลอยู่ทุกขณะ ทุกวิธีการ ผมเพียงอยากสื่อสารไปยังฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลด้วยกัน ว่าทำไมควรหาทางยุบสภา 1 อย่างที่หลายคน เช่นอาจารย์สมศักดิ์ ได้ย้ำเตือนว่าเวลาสูญเสีย คนที่สูญเสียคือคนธรรมดา มิหนำซ้ำพอได้ชัยชนะชั่วคราว ผู้นำแต่ละฝ่ายมีความสุขกับอำนาจและไม่ยอมเสี่ยงอะไรอีกแล้วเพื่อทำสิ่งที่ดีกว่า (ก่อนมีอำนาจเสี่ยงได้ทุกอย่างแม้ชีวิตผู้คน) การยุบสภาคือการหลีกเลี่ยงการเสียชีวิต อิสรภาพของประชาชน อย่างค่อนข้างมีโอกาสสูงว่าจะสูญเปล่า 2 ผมไม่เชื่อว่าประเทศไทยจะหลีกเลี่ยงการเสียชีวิต อิสรภาพได้ตลอดไป ผมเชื่อลึกๆว่าวันหนึ่งอาจนองเลือดได้อีก เพียงแต่ผมอยากหวังว่าหากต้องนองเลือดอีกรอบ ต้องเป็นรอบที่ฝ่ายประชาธิปไตยมีโอกาสเดินให้สุดซอย ท่ามกลางความชอบธรรมทางการเมืองและหลักการกฎหมาย หลังไทยรักไทย (จงใจใช้ชื่อเดิม เพื่อบอกว่าผมไม่อาจยอมรับคำตัดสิน) ชนะเลือกตั้งหลังสุด ความชอบธรรมสูงพอที่จะทำอะไรให้ดีขึ้น แต่เขาเลือกและหวังจะรอมชอม เขาไม่ต้องการเสี่ยงอะไรอีกต่อไป แม้แต่การเสี่ยงน้อยเช่นการเอานักโทษการเมืองออกจากคุก หากยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ฝ่ายประชาธิปไตยต้องกดดันไทยรักไทยให้น้ำหนักเรื่องโครงสร้างการเมืองควบคู่กับเรื่องเศรษฐกิจอย่างชัดเจน หากไทยรักไทยชนะเลือกตั้งเขาจะได้ไม่มีข้ออ้างต่างๆนานาเหมือนครั้งก่อน ถึงตอนนั้นหากต้องแตกหักทางการเมือง อย่างน้อยฝ่ายประชาชนมีความหวังว่าจะไม่สูญเปล่า เพราะประเด็นของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาคือหลักการที่ถูกนำเสนออย่างชัดเจน หลักการที่ว่า "สู้เพื่อได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง" ควรเป็นเป้าหมายขั้นต่ำสุดของฝ่ายประชาธิปไตย บทเรียนที่ผ่านมาหลายช่วงให้ข้อคิดว่าเป้าหมายรัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่เพียงพอ ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างการปกครอง รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 3 สำหรับผมการยุบสภา ไม่ถือเป็นความพ่ายแพ้ นอกจากเชื่อกันว่าเป้าหมายสุดท้ายทางการเมืองคือมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ผมอยากชวนให้คิดว่า "ยุบสภา" คือวิถีทางปกติคู่กับ "เลือกตั้ง" บ่อยครั้งรัฐบาลต่างประเทศไม่ได้ทำอะไรผิด เขาเลือกยุบสภาเพื่อถามประชาชน ว่าที่รัฐบาลจะทำนั้นเอาแน่ไหม หากเอาแน่ยืนยันอีกที แล้วจะทำตามนั้น 4 ยุบสภา แล้วไม่มีการเลือกตั้ง? ผมคิดว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมคิดเช่นนั้น แต่เขากล้าทำหรือ? ประวัติศาสตร์ชี้ว่าปิดกั้นไม่ได้นาน แต่ยิ่งต้องปล่อยให้เลือกตั้งเร็วขึ้น สมัยถนอมเกิดตุลา 16 สมัยสุจินดาเกิดพฤษภา 35 สมัยคมช.เกิดพฤษภา 53 หากฝ่ายอนุรักษ์นิยมมีความเกลียด ความกลัวปิดกั้นสูง จนกระทั่งชั่งน้ำหนักผลเสียที่จะเกิดขึ้นผิดไป นั่นคือการเร่งระดับความชอบธรรมให้ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ เพียงแต่หากเกิดอีกรอบ อย่าให้สูญเปล่า ต้องหวังให้มากกว่าการได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ฝ่ายประชาธิปไตยต้องเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง รัฐธรรมนูญ อย่างเป็นรูปธรรม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: เหนือกว่า(อำนาจ)ตุลาการ Posted: 30 Nov 2013 12:10 PM PST ปัญหาผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมไทยในขณะนี้ จนกระทั่งเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย เนื่องจากประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว คู่ขัดแย้งได้ฉวยเอาคำวินิจฉัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์สำหรับฝ่ายตน พร้อมกับคำวินิจ ฉัยนั้นเองได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนและนักวิชาการอย่างมาก การถูกวิพากษ์วิจารณ์ของศาลรัฐธรรมนูญของไทยกรณีคำวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สมาชิกวุฒิสภา(สว.)มาจากการเลือกตั้งเป็นอันตกไป แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ ประเด็นหนึ่ง คือ การวิจารณ์เหตุผลของคำวินิจฉัยของศาล ประเด็นที่สองคือ การวิจารณ์ที่โยงจากส่วนแรก, ที่มาของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ และประเด็นที่สาม คือ ขอบเขตการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนของประเด็นแรกนั้นข้อวิจารณ์มุ่งไปที่ความสมเหตุสมผลของคำวินิจฉัย ซึ่งคำวินัยของศาลรัฐธรรมนูญจะต้องยึดโยงกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญ โดยระเบียบวิธีการตัดสินของศาลยุติธรรมโดย ปกติทั่วไป ประเด็นที่สองซึ่งเป็นการวิจารณ์ที่ว่าด้วยที่มาของศาลรัฐธรรมนูญและที่มาของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเหมือนในอารยะประเทศ ส่วนประเด็นที่สาม ขอบเขตการใช้อำนาจในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งวิจารณ์กันว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายอาณา เขตการตัดสินเกินไปจากอำนาจของตัวเอง ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยกรณีบทบัญญัติ กฎหมายที่ออกมาใหม่ขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น คำวินิจฉัยครั้งนี้จึงเป็นการขยาย อำนาจในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกไปจากอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ผลของการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวทำให้เสียงส่วนใหญ่ของสถาบันนิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎรปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองใน ประเทศไทยอยู่ในเวลานี้ ผมอยากให้พิจารณาเปรียบเทียบถึงบทบาทหน้าที่และการถ่วงดุลอำนาจ ของอำนาจตุลาการกับอีก 2 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศแม่แบบประชาธิปไตยประเทศหนึ่งในโลก บนหลักการพื้นฐานของประเทศที่ปกครองโดย ระบอบประชาธิปไตย ที่มีหลักปรัชญาซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน" หรือประชาชนเป็นใหญ่ ทั้งยังเป็นที่ทราบกันดีว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่ใช่การปกครอง ที่สมบูรณ์แบบแต่เป็นการปกครองที่ดีที่สุดเท่าที่ "วิสัยของมนุษย์"จะนำมาใช้เพื่อการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติได้ วิสัยมนุษย์นั้น หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนผู้ยังมีกิเลส หากเป็นในทางพุทธศาสนาก็ หมายถึงมนุษย์ที่ยังมีโลภ โกรธ หลงอยู่ หลักการเชิงปัญหา คือ ทำอย่างไรมนุษย์ถึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมี สันติ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนซึ่งกันและกัน กติการ่วมทางสังคมในการอยู่ร่วมกันจึงถูกกำหนดขึ้น มนุษย์ส่วนมากมองว่า การทำตามเสียงส่วนมากน่าจะพอทำให้สังคมอยู่กันอย่างสันติได้ แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้เกิดสันติกับทุกส่วนหรือทุกคนในสังคมก็ตาม จนเป็นที่มาของสัญญาประชาคม และกติกาประชาธิปไตย เหมือน จอห์น ล็อค กล่าวไว้ใน Two Treatises of Government (1689) ว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชน ประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา ซึ่งวิธีที่เหมาะสมมากที่สุดได้แก่ การใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน เพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนรัฐอย่างสันติ ดังนั้นหากรัฐถูกปกครองด้วยเสียงส่วนน้อยก็จะกลายเป็นการปกครองที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่ง คือ เผด็จการ มนุษย์ได้ลองผิดลองถูกในเรื่องการปกครองมามาก ผลจากการลองผิดลองถูกทำให้ผู้คน สังเวยชีวิตจำนวนมากเช่นกัน ที่จริงมนุษย์รับรู้เรื่องสัญญาประชาคมมาก่อนที่จะเกิดกติกาประชาธิปไตยเสียด้วยซ้ำ เพียงแต่ไม่ชัดเจนเหมือนการลงประชามติอย่างในยุคประชาธิปไตยที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน โดยที่ก่อนหน้านั้นแม้แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เอง หากผู้นำปกครองรัฐอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจสร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นกับมหาชน จนนำไปสู่การโค่นล้มผู้นำคนนั้นๆโดยประชาชนได้ ซึ่งในประวัติศาสตร์มีให้เห็นมากมาย รัฐธรรมนูญสหรัฐฯตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมรัฐ โดยมีบทเรียนจาก ประวัติศาสตร์ของยุโรป จึงได้จัดระบบดุล 3 อำนาจอย่างเหมาะสม (เท่าที่ทำได้) ในที่นี้จะขอยก ในส่วนของการดุลอำนาจของอำนาจตุลาการมาอธิบาย เปรียบเทียบกับปัญหาการดุลอำนาจของฝ่ายตุลาการ ในเมืองไทย ที่ถูกวิจารณ์ว่ากำลังกลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ (absolute power) หรืออำนาจสูงสุดชนิดใหม่ โดยเฉพาะก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าไปแล้วสร้างความสับสนอยู่ไม่น้อยเมื่อเทียบกับอำนาจตุลาการใน ระบบสากล เพราะศาลรัฐธรรมนูญของไทยถูกเรียกว่า "องค์กรอิสระ" ก็เลยไม่ทราบว่าจะเอาไปไว้ในฝ่ายอำนาจไหนในสามอำนาจ ซึ่งสำหรับกลไกตามระบอบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อำนาจที่สาม คือ อำนาจตุลาการย่อมต้องมีการยึดโยงกับอำนาจของประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนไม่มากก็น้อย ฉะนั้นการชื่อว่า "ศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ" โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกอ้างในฐานะส่วนหนึ่งของอำนาจตุลาการจึงเป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่ง ในระบบการเมืองสหรัฐฯ ไม่มีการใช้คำว่า องค์กรอิสระที่ชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด หากมีเพียงระบบการดุล 3 อำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการเท่านั้น เพราะภายใต้กติกาประชาธิปไตย ไม่ควรมีองค์กรใดมีอิสระอย่างถึงที่สุด แต่ทุกองค์กรมีที่มาที่ไปเพื่อคานอำนาจของกันและกัน เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ ระบบตุลาการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ เป็นอย่างนี้ครับ หนึ่ง ใช้ระบบการยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง ผู้พิพากษาของศาลสูงถูกแต่งตั้งโดยสภาสูงหรือ วุฒิสภา(ซีเนต) โดยการเสนอชื่อของประธานาธิบดี ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีมักจะเลือกบุคคลสังกัดพรรคเดียวกัน มีทัศนะทางการเมืองที่สอดคล้องกัน เนื่องจากการดำรงตำแหน่งผู้ตุลาการหรือผู้พิพากษามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของประธานาธิบดีในด้านกฎหมาย ขณะเดียวกันอาจเรียกได้ว่าระบบศาลของอเมริกันทุกระดับเกี่ยว ข้องกับการเมืองไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ศาลท้องถิ่นในหลายมลรัฐ ผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้งโดย ตรงของประชาชน วิธีการนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเชื่อว่าการเลือกตั้งผู้พิพากษาทำให้ประชาชนได้ ใช้สิทธิอย่างเต็มที่ตามแนวทางประชาธิปไตย ด้วยเหตุที่ผู้พิพากษาที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ย่อมมีจิตสำนึกเหนือกว่าผู้พิพากษาในฐานะเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งสำหรับวัฒนธรรมอเมริกันแล้ว การไม่ยอมรับผู้พิพากษาในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำของรัฐมีสูงมาก ทำให้เกิดระบบการ พิจารณาคดีที่เรียกว่า "คณะลูกขุน" (Jury)ขึ้น โดยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้พิพากษาเป็นเพียงเครื่องมือในการจัดระบบด้านเทคนิคกระบวนการพิจารณาและเทคนิคทางด้านกฎหมายเท่านั้น สอง ขอบเขตอำนาจการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ศาลสูงอเมริกันมีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายที่ บัญญัติโดยฝ่ายนิติบัญญัติ(คองเกรส) และฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)ว่าขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ไม่ตีความเกินเลยอำนาจของตัวเอง โดยเฉพาะในอำนาจของอีกสองฝ่าย ดังนั้น ข้อเท็จจริงการตีความของศาลสูงอเมริกัน คือ ศาลสูงมีงานเกี่ยวกับการตีความกฎหมายน้อยมาก ส่วนหนึ่งเพราะมีเรื่องร้องเรียนน้อย อีกส่วนหนึ่ง เพราะขอบเขตของอำนาจศาลในการตีความโดนจำกัด จากส่วนฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นฝ่ายที่สามารถออกฎหมายเพิ่มหรือจำกัดอำนาจการตีความกฎหมาย(บทบาทหน้าที่)ของศาลสูงได้ ยกเว้นแต่ในเรื่องระเบียบข้อบังคับของศาลสูง กฎหมายรัฐธรรมนูญอเมริกันกำหนดให้ สภานิติบัญญัติมีอำนาจกล่าวโทษผู้พิพากษาได้ หากพบว่าผู้พิพากษาประพฤติตนในทางไม่ชอบในการปฏิบัติหน้าที่ คองเกรสมีอำนาจในการฟ้องร้องเพื่อปลดผู้พิพากษา สมาชิกสภาสูงจะเป็นผู้พิจารณาคดีที่ผู้พิพากษากระทำความผิดทางอาญา ผู้พิพากษาเองจึงต้องระวังความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากไม่มีสิทธิพิเศษปลอดจากการถูกฟ้องร้อง ถ้าประพฤติตนไม่ชอบ สาม ผลของคำวินิจฉัยของศาลสูงหรือตุลาการสูงสุด คำสั่งศาลสูงแม้เป็นเรื่องที่ผูกพันกับอำนาจอีกสองฝ่าย แต่คำสั่งและคำพิพากษาของศาลสูงจะใช้ได้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายอื่น เช่น ฝ่ายบริหาร เป็นต้น ดังนั้น หากฝ่ายอื่นไม่ยอมทำตาม คำสั่งศาลสูงก็ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น เพราะคำวินิจฉัยของศาลสูง เป็นไปในแง่การตีความในประเด็นที่ขัดกับกฏหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น เช่น การออกกฎหมายใหม่ของมลรัฐต่างๆ ที่ส่วนใหญ่หากมีการฟ้องต่อศาลสูง ก็เป็นเพียงการวินิจฉัยว่าขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น น่าสังเกตด้วยว่า การตัดสินของศาลสูงอเมริกันไม่ก้าวล่วงไปถึงกระบวนการภายในของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เช่น การลงไปล้วงลึกถึงที่มาของการออกฎหมาย แต่จะพิจารณากฎหมายที่ออกมาแล้วเท่านั้น ว่าขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น หรือหากเป็นกฎหมายทั่วไปก็จะพิจารณาว่ากฎหมายที่ออกมาโดยรัฐบาลท้องถิ่น (Local law) ขัดกับกฎหมายกลาง(Federal law)หรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญ คือ รัฐธรรมนูญอเมริกันได้วาง ระบบที่เรียกว่า "การแก้ไข" หรือ Amendment ที่หมายถึง การตีความของศาลสูงอเมริกันนั้นอาจถูกลบล้าง(Overrule) ได้ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, คำวินิจฉัยของศาลจึงไม่ใช่เป็นคำตัดสินสุดท้ายที่จะแก้ไขอะไรไม่ได้อีกต่อไป นอกเหนือไปจากระบบการถ่วงดุลศาลจากประชาชนในเชิงของการยอมรับของสาธารณะหรือ Public Acceptance Public Acceptance ที่หมายถึง คำตัดสินของศาลจะต้องได้รับการยอมรับและต้องไม่ขัดแย้งกับสาธารณะจนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันในระหว่างหมู่ชนหรือประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
การ์ดเสื้อแดงถูกยิงศรีษะบริเวณรามคำแหง 24 แยก 14 Posted: 30 Nov 2013 11:57 AM PST
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศอ.รส.ขอกำลังทหารทุกเหล่าทัพหนุน ปฏิบัติการตี 3 ขอปชช.อย่าตกใจ Posted: 30 Nov 2013 11:38 AM PST "ประยุทธ์" กำชับไม่ให้ใช้ความรุนแรง ศอ.รส.ขอกำลังทหารทุกเหล่าทัพหนุน เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ตี 3 ขอประชาชนอย่าตกใจ พร้อมออกประกาศห้ามเข้าพื้นที่ รอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทางเดินเชื่อม BTS สยาม-ชิดลม 30 พ.ย.56 มติชนออนไลน์ รายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน จากการประเมินสถานะการณ์ ของ ศอ. รส.ล่าสุด ได้มีการร้องขอกำลังทหารจากกระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งการให้ บก.กองทัพไทยจัดกำลังทหารจากทุกเหล่าทัพ สนับสนุน ศอ. รส.ตั้งแต่1ธค.นี้ สำหรับภารกิจของทหารที่ไปสนับสนุน. เป็นไปตามกฏขั้นตอนการใช้กำลังของกระทรวงกลาโหม และบก.กองทัพไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.จึงได้สั่งการกำชับให้กำลังพลทุกนายที่ออกปฏิบัติหน้าที่ให้ใช้ความระมัดระวัง ไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ลดการเผชิญหน้า คำนึงถึงเกียรติยศศักดิ์ศรี. และความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก ยืนยันภารกิจในการช่วยรักษาความปลอดภัย สถานที่ราชการเท่านั้น ไม่ได้ร่วมในภารกิจควบคุมหรือสลายฝูงชนกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเด็ดขาด ขอให้ประชาชนทุกฝ่ายระมัดระวังในการเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่าได้สร้างความเสียหายต่อสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยด้วยกันทุกคน ทั้งนี้ ศอ.รส.ได้ขอรับการสนับสนุนกำลังพลจาก ศปก.ทบ. เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย โดยให้เริ่มเคลื่อนย้ายเวลา 22.00 น.ของคืนนี้ (30 พ.ย.) และพร้อมปฏิบัติหน้าที่ 03.00 น. (1 ธ.ค.) ดังนี้ ร้อย รส. (กองร้อยรักษาความสงบ) จำนวน 4 กองร้อย จัดจากกองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) จำนวน 1 กองร้อย จาก ป.21 รอ. (กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 รักษาพระองค์) รปภ.สนามบินสุวรรณภูมิ, พล.ม.2 รอ. (กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์) จำนวน 1 กองร้อย จาก ส.พัน 12 รอ. (กองพันทหารสื่อสารที่ 12 รักษาพระองค์) รปภ. ช่อง 5 และ พล.ป. (กองพลทหารปืนใหญ่) จำนวน 2 กองร้อย รปภ. ช่อง 7 และ ช่อง 9 รวมทั้งให้จัด สห. (สารวัตรทหาร) 90 นาย ปฏิบัติหน้าที่สายตรวจร่วมกับตำรวจ ขณะที่นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เวลา 03.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม กำลังทหารจะถูกส่งมาเสริมตำรวจดูแลป้องกันทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการพกอาวุธ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนอย่าตกใจ เพราะทหารแค่ไปเสริมตำรวจดูแลป้องกันสถานที่เท่านั้น ไม่ข้องเกี่ยวกับผู้ชุมนุม ขณะที่วันเดียวกัน เวลา 19.20น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษก ศอ.รส. แถลงว่า ศอ.รส.ออกประกาศศอ.รส. ให้พื้นที่บริเวณโดยรอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลตำรวจ สถาบันนิติเวช วิทยาลับพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลจุฬา เป็นพื้นที่ห้ามเข้า โดยบริเวณหน้าสำนักงานตำรวชแห่งชาติ นั้นครอบคลุมบริเวณทางเดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้า หรือสกายวอล์คด้วย โดยประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางเข้าออกตามปกติ เว้นแต่ บุคคลที่มีลักษณะที่จะสร้างความวุ่นวายและขยายเวลาการ ประกาศปิดถนนรอบทำเนียบรัฐบาล และรอบรัฐสภาทั้ง 14 สายด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นศ.มอ.ปัตตานี แถลงค้านการประกาศท่าทีทางการเมืองของกลุ่มผู้บริหารมหาลัย Posted: 30 Nov 2013 09:33 AM PST แถลงการณ์ กลุ่มนักศึกษา มอ.ปัตตานี เสรีประชาธิปไตย
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนักศึกษา มอ.ปัตตานี เสรีประชาธิปไตย จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังนี้
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
หมายเหตุ:กลุ่มนักศึกษา มอ.ปัตตานี เสรีประชาธิปไตย ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวกันของนักศึกษาที่ทำกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย และยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชน โดยแถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการไม่เห็นด้วยต่อท่าทีของมหาลัยที่วางตัวไม่เป็นกลางในทางการเมือง แต่กลับเลือกข้างอย่างชัดเจน การกระทำดังกล่าวผิดวิสัยที่สถานศึกษาควรจะเป็น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแถลงการณ์วอนทหารอย่ารัฐประหาร Posted: 30 Nov 2013 09:08 AM PST 30 พ.ย. 2556 - องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ออกแถลงการณ์เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุปะทะที่รามคำแหง Posted: 30 Nov 2013 09:02 AM PST เหตุปะทะระหว่าง ผู้ชุมนุม นปช. กับผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย 30 พ.ย. 2556 - จากเหตุปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกลุ่มต่อต้าน นปช. และผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ที่บริเวณซอยรามคำแหง 24 และบริเวณด้านหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อเวลา 20.00 - 21.00 น. คืนนี้นั้น (30 พ.ย.) ศอ.รส. และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 21 ราย ผู้เสียชีวิตชื่อ ทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว อายุ 21 ปี ถูกกระสุนที่ชายโครงซ้าย 2 นัด ผู้บาดเจ็บที่มีอาการสาหัสได้แก่ จีระพงษ์ คลองชาตรีพงศ์ อายุ 25 ปี ถูกกระสุนที่ขาขวาเหนือเข่า 1 นัด ฉัตรชัย คำประสงค์ อายุ 23 ปี ถูกกระสุนที่แขนขวา 1 นัด เสน่ห์ จันทร์เกิด อายุ 33 ปี ถูกกระสุนที่แขนขวา 1 นัด นายบุญ รัตนา อายุ 30 ปี ถูกกระสุนที่ด้านหลัง 2 นัด อรรถพล หอมบุปผา อายุ 19 ปี ถูกกระสุนที่ต้นขาซ้าย 2 นัด ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผอ.ศอ.รส. ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. เข้าไปสืบสวนสอบสวนเพื่อคลี่คลายคดีดังกล่าว สำหรับเหตุปะทะที่ซอยรามคำแหง 24 ดังกล่าว เกิดขึ้นไม่ไกลจากสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน พื้นที่ชุมนุมของ นปช. ที่เริ่มนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 30 พ.ย. ล่าสุดเมื่อเวลา 01.55 น. เข้าสู่วันที่ 1 ธ.ค. หลังกลุ่มการ์ด นปช. เดินสำรวจพื้นที่บริเวณซอยรามคำแหง 24 แยก 14 หลังเหตุปะทะระหว่างกลุ่ม นปช. กับกลุ่มต่อต้าน นปช. ยุติลง ได้เกิดเสียงปืนดังขึ้น 6 นัด ทำให้การ์ด นปช. ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบชื่อ 1 ราย ถูกยิงเข้าที่ศีรษะ โดยถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยรถของมูลนิธิร่วมกตัญญู (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
เมื่อเวลา 17.50 น. วันที่ 30 พ.ย. 56 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เริ่มปิดกั้นถนนรามคำแหง โดยด้านที่อยู่ไกลออกไปคือด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อกันไม่ให้ผู้ชุมนุมต่อต้าน นปช. และผู้ชุมนุม นปช. เผชิญหน้ากัน (ที่มา: เพจ Prachatai)
ต่อต้าน นปช. หน้ารามคำแหง บานปลายสู่เหตุปะทะ โดยก่อนหน้าเหตุปะทะจนมีผู้เสียชีวิตนั้นนั้น ในช่วงเวลา 16.35 น. วันที่ 30 พ.ย. 56 ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ชุมนุมต่อต้าน นปช. กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยศิษย์เก่า และนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่ง และผู้สนับสนุนกลุ่ม กปปส. มาชุมนุมเรียกร้องให้คนเสื้อแดงยุติการชุมนุมที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน และมอบหนังสือผ่านทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หัวหมาก และ สน.วังทองหลาง ที่เรียกร้องให้เอาผิดผู้ที่ทำร้ายนักศึกษาหญิง เมื่อคืนวันที่ 29 พ.ย. โดยผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นการกระทำของคนเสื้อแดง ทั้งนี้ นปช. ได้ปักหลักชุมนุมที่สนามราชมังคลากีฬาสถานมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 56 ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 20 พ.ย. และมีการนัดหมายชุมนุมใหญ่ในวันที่ 30 พ.ย. 56 ก่อนที่ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส. จะเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในวันที่ 1 ธ.ค. 56 และในวันที่ 28 พ.ย. ไม่กี่วันก่อนวันที่ 30 พ.ย. ซึ่งเป็นวันนัดหมายชุมนุมใหญ่ของ นปช. ในโลกสังคมออนไลน์ มีการแชร์คลิป ที่ระบุว่าถ่ายวันที่ 27 พ.ย. เป็นภาพชายสามคนถูกทำร้ายและบังคับให้ถอดเสื้อแดงจากกลุ่มคนที่ถือธงชาติไทย บริเวณสะพานที่ซอยมหาดไทย ใกล้กับย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง และราชมังคลากีฬาสถาน นอกจากนี้มีรายงานว่าผู้ชุมนุม นปช. ถูกดักทำร้ายหลังกลับจากการชุมนุมหลายครั้ง และมีกระแสข่าวว่าผู้ชุมนุม นปช. ตามมาดักแก้แค้น ทั้งยังมีการกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงกรีดป้ายพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งสุโขทัย สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย จนทำให้กลุ่มต่อต้าน นปช. ยกเรื่องนี้มาเป็นสาเหตุชุมนุมต่อต้าน นปช. อยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในวันที่ 30 พ.ย. ดังกล่าว ทั้งนี้จากรายงานของมติชนออนไลน์ การชุมนุมต่อต้าน นปช. ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เกิดเหตุชุลมุนขึ้นในช่วงเย็นหลังจากมีคนขับรถแท็กซี่สีเขียว-เหลือง รับผู้โดยสารเสื้อแดงมุ่งหน้าไปทางสนามราชมังคลากีฬาสถานผ่านบริเวณที่ชุมนุมทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปทำร้าย นอกจากนี้มีการไล่ทุบรถเมล์ ขสมก. ที่รับคนเสื้อแดงโดยสารมาในรถด้วย โดยไล่วิ่งตีรถเมล์ตั้งแต่บริเวณหน้าซอยรามคำแหง 53 จนถึงซอยรามคำแหง 55 โดยรถเมล์มีสภาพกระจกแตกยับเยินเสียหายรอบคัน โดยคนขับรถประจำทางได้นำรถไปจอดที่ สน.หัวหมาก และเข้าแจ้งความกับตำรวจ (ชมภาพในสเตรทไทม์) (คลิปเหตุการณ์ใน Youtube 1, 2 คลืปเหตุการณ์ใน Facebook 3) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พีมูฟระบุผ่าวิกฤติประเทศไทยด้วยการยุบสภาคืนอำนาจประชาชน Posted: 30 Nov 2013 08:11 AM PST 30 พ.ย. 2556 - ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ออกแถลงการณ์แถลงการณ์ฉบับที่ 40 เรื่อง ผ่าวิกฤติประเทศไทย ยุบสภาคืนอำนาจประชาชน ตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แถลงการณ์ฉบับที่ 40
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สัมภาษณ์สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติรัฐ อารยะขัดขืน และการมองให้เห็นความเป็นคน Posted: 30 Nov 2013 05:10 AM PST สมชาย ปรีชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์ จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นนักกิจกรรมทางวิชาการในนามกลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เขาเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ทีพูดเรื่อง Civil disobedience ที่ต่อมามีการแปลเป็นไทยว่าอารยะขัดขืน และเขาเคยเสนอเล่นๆ ครั้งหนึ่งหลังฝุ่นควันรัฐประหารจางและมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งว่า สำหรับนักวิชาการที่เคยแสดงความเห็นผิดพลาดไปในทางหลักการ ตอนนี้อาจจะหันหน้ามายอมรับผิดและนิรโทษกรรมให้กันและกันเสีย เพื่อร่วมกันเดินหน้าต่อไปและรักษาหลักการประชาธิปไตยเอาไว้ แต่เมื่อสถานการณ์ที่จะหันหน้ามาคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ด้วยหลักวิชาดูจะยิ่งห่างไกลออกไป และวันนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอย่างยิ่ง ประชาไทได้พูดคุยกับเขาถึงมุมมองต่อประเด็นหลักนิติรัฐ นิติธรรมที่ต่างก็ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นอารยะขัดขืนที่ถูกนำมาอธิบายการเคลื่อนไหวทางการเมืองของทุกฝ่าย ซึ่งเขาเห็นว่าเลยความหมายไปไกลมากแล้ว ข้อเสนอของเขาขณะนี้คือ ยังไม่ต้องพูดอะไรอื่นไกล แค่มองให้เห็นความเป็นคนของคนที่เห็นต่างคิดต่างให้ได้ก่อน บ้านเมืองก็อาจจะคลี่คลายความร้อนระอุลงไปได้ และสารที่สำคัญที่เขาอยากจะสื่อกับผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำก็คือ ตั้งสติ อย่าเดินตามแกนนำจนละเลยที่จะตั้งคำถาม ประชาไท: คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตอนนี้ถูกนำมาใช้ลดความชอบธรรมของรัฐบาล คุณสุเทพบอกว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่โมฆะไปแล้วเพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล โดยใช้ตรรกะว่าการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เท่ากับไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ รัฐบาลที่ไม่ยอมรับกฎหมายสูงสุดของประเทศก็เป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม อาจารย์มองว่าตรรกะอันนี้ใช้ได้หรือไม่ สมชาย: ผมคิดว่าตรรกะอันนี้จะเป็นการตัดเอาบางส่วนมา ผมคิดว่าเวลาที่จะพิจารณาปัญหาเรื่องนี้คงต้องคิดถึงที่มันยาวขึ้น อย่างเช่น การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาใช้อำนาจ ซึ่งมีปัญหามากพอสมควร การที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาแตะในประเด็นเรื่องอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายนิติบัญญัติ ในแง่นี้คือ สามารถถูกตั้งคำถามได้ว่า เอาเข้าจริงศาลรัฐธรรมนูญ ขอบเขตของศาลรัฐธรรมนูญในการทำหน้าที่เรื่องนี้ มีมากน้อยขนาดไหน ผมคิดว่าเรื่องนี้ถ้าเรามองแล้วตัดเป็นส่วนๆ จะเกิดภาวะที่เราหยิบเอาบางประเด็นมาอ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์กับบางฝ่าย เพราะฉะนั้นกรณีนี้ ในแง่หนึ่งต้องมองให้เห็นโครงใหญ่ๆ ทั้งหมดด้วยว่ามีปัญหายังไง ในทัศนะของผม รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่พยายามจะตรึงอำนาจ พูดง่ายๆ ทำให้อำนาจการเมืองของฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งต้องอยู่ภายใต้กำกับของฝ่ายที่เรียกว่าอนุรักษ์นิยม ดังนั้นเราจะเห็นบทบาทหน้าที่ของฝ่ายที่ไม่สู้จะสัมพันธ์กับประชาชนเท่าไหร่ เช่น ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. บทบาทองค์กรพวกนี้เห็นได้ชัดว่าพยายามที่จะตรึงให้การเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีอำนาจเหนืออยู่ ขณะที่เราเห็นแบบนี้สิ่งที่มองก็คือว่า ความพยายามของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง หรือพูดอีกแบบ คือพยายามที่จะรุกให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแต่ละจุดๆ โดยที่มีองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ปกป้องพรมแดนอำนาจของอนุรักษ์นิยมเอาไว้ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ในแง่หนึ่งที่เราจะมอง คงต้องมองการทำหน้าที่ของรัฐธรรมนูญ 2540 หรือปฏิบัติการของรัฐธรรมนูญ 2540 ให้กว้างขวางขึ้นจะทำให้เราเห็นเรื่องนี้ได้ชัดเจนขึ้น ประชาไท: แต่ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อไม่ฟังกฎหมาย ความขัดแย้งก็จะไม่จบ เพราะฉะนั้นศาลจึงเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งหวัง ถ้าศาลชี้ไปทางใดแล้วก็น่าจะรับ สมชาย: ในแต่ละสังคมควรมีสถาบันที่ยุติความขัดแย้ง แต่ถ้าเราสังเกตสังคมไทยในช่วงหลังปี 2549 สถาบันหรือกระบวนการยุติธรรมมีปัญหามาก เพราะในแง่หนึ่งคำวินิจฉัยขององค์กรที่เป็นผลผลิตของรัฐธรรมนูญ 2550 เราจะพบว่ามีปัญหาอย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น ในแง่นี้การบอกให้ยอมรับอำนาจศาล หรือการบอกว่าเมื่อศาลตัดสินแล้วต้องยุติ ผมคิดว่าในแง่หนึ่งมีผลผูกพันที่ต้องปฏิบัติตาม การบอกว่าไม่ยอมรับถ้ามองให้กว้างก็พูดได้ว่าคือ การไม่ยอมรับความชอบธรรม ซึ่งถ้าเป็นเรื่องแบบนี้ผมคิดว่าทุกคนก็พูดได้ แต่ถ้าเมือไหร่ที่เราลุกขึ้นพูดว่าไม่ยอมรับแล้วพากันพยายามจะล้มศาล โดยไม่อาศัยกระบวนการทางกฎหมาย ผมคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ชอบแน่ๆ ผมคิดสิ่งที่พรรคเพื่อไทยทำ คือไม่ยอมรับ น่าจะนัยของมันคือการไม่ยอมรับความชอบธรรมของคำพิพากษาที่เกิดขึ้น แล้วถามว่ามีกระบวนการอะไรที่จะล้มศาลโดยกระบวนการนอกกฎหมาย ก็ไม่เห็น ผมคิดว่าความพยายามต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือก็แก้ไขไปตามอำนาจที่มีตามรัฐธรรมนูญกำหนด เพราะฉะนั้น การพยายามหยิบบางส่วนหรือบางถ้อยคำมาอธิบาย ผมคิดว่าอันนี้น่าจะมีปัญหาอยู่พอสมควร ประชาไท: ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญภายใต้วิกฤตการเมืองไทยที่ผ่านมา หลายครั้งคำพิพากษาที่ออกก็จะมีข้อโต้แย้ง อาจารย์คิดว่าองค์กรศาลรัฐธรรมนูญถึงวิกฤตที่ต้องมาทบทวนกันหรือเปล่า สมชาย: ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเลยวิกฤตไปแล้วนะครับ เราจะพบว่าหลายๆ เรื่องศาลรัฐธรรมนูญตัดสินด้วยคำตัดสินที่ไม่มีตรรกะที่เป็นที่รองรับมากพอสมควร เราจะพบเหตุผลที่ไม่ได้ยึดโยงอยู่บนตรรกะทางกฎหมาย ตั้งแต่กรณีของคุณสมัคร การให้คุณสมัครพ้นไปจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยการอ้างว่าเป็นลูกจ้าง ผมคิดว่าอันนี้ในหลักการทางกฎหมายมันใช้ไม่ได้แน่ๆ นักกฎหมายที่เรียนกฎหมายแรงงานรู้ว่ากรณีคุณสมัครไม่ใช่ลูกจ้าง เราพบคำตัดสินหลายๆ ครั้งที่เห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลเพียงพอ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมในระยะหลายๆ ปีที่ผ่านมา คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถามว่าศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีไหม ผมคิดว่าจำเป็น แต่ทั้งนี้คงต้องอย่างน้อยมีรกระบวนการคัดสรรที่ยึดโย ถาม: ขณะเดียวกันก็มีความเห็นจากฝั่งที่เข้าอกเข้าใจศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นหน้าที่เป็นศาลทางการเมือง เมื่อเกิดวิกฤตศาลก็ทำหน้าที่พยายามที่จะหาทางออก ประนีประนอมมากที่สุด สมชาย: ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีหน้าที่ในแง่ของทำหน้าที่ให้เกิดการประนีประนอมทางการเมือง ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาข้อขัดแย้งที่วางอยู่บนหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่โดยวางคำวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญตรงไปตรงมา จะทำให้ข้อขัดแย้งในหลายๆ กรณียุติลง แต่ผมคิดว่าการพยายามจะทำหน้าที่ผู้ประนีประนอม แต่บนการวินิจฉัยที่ไม่มีเหตุผล ผมคิดว่ากรณีมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าตรงไปตรงมา ก่อนหน้านี้นักวิชาการก็ยอมรับว่ายังไงก็ตามศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถรับเรื่องได้โดยตรงตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก็ถูกวินิจฉัยจนกระทั่งรับได้ ทั้งหมดนี้ จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยถ้ามีเหตุผลที่ยอมรับกันได้ ผมคิดว่ามันจะให้ความขัดแย้งเบาลงพอสมควร แต่ผลปรากฏว่ายิ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีมากเท่าไหร่ ยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ก็สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพในตัวของคำวินิจฉัยมีอยู่มากน้อยเพียงใด ถาม: ตอนนี้ทั้งสองฝั่งการเมืองและมวลชนเองก็อ้างเรื่องการยอมรับในกฎหมาย การเรียกหานิติรัฐ นิติธรรมบ่อยๆ แต่ทำไมเข้าใจไม่ตรงกัน สมชาย: ทั้งสองฝ่ายพยายามช่วงชิง แล้วก็ตีความหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมไปตามจุดยืนและทัศนะอุดมการณ์ของตัวเอง ถ้าเป็นฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลก็พยายามตีความหลักนิติรัฐ นิติธรรม ให้หมายถึงการเคารพคำพิพากษาของศาล ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายเสื้อแดงพยายามตีความนิติรัฐนิติธรรมหมายถึง อำนาจสูงสุดของรัฐสภาในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ หรืออำนาจสูงสุดของประชาชน อำนาจสูงสุดของนักการเมืองที่มาจากเลือกตั้งจะต้องเป็นหลัก ซึ่งทั้งสองส่วนนี้เป็นส่วนประกอบซึ่งกันและกัน ผมคิดว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ต่างฝ่ายต่างดึงเอาบางส่วนมาเป็นฐานในการสนับสนุนความชอบธรรมของตัวเอง เพราะฉะนั้นมันถึงเกิดสภาพการณ์ที่ทั้งคู่ก็พูดถึงนิติรัฐ นิติธรรม แต่ปรากฏว่าเป็นการพูดกันคนละส่วนหรือคนละด้าน อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นภาวะที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้งแน่ๆ ถาม: ภาวะที่เกิดขึ้นตอนนี้กับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอยู่นี้ความหมายของ civil disobedience ไหม สมชาย: ถ้าในระยะเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวที่นำโดยคุณสุเทพ จนกระทั่งอย่างน้อยจนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายนซึ่งมีการชุมนุมใหญ่ ผมคิดว่าแนวโน้มหลักของการชุมนุมยังเป็นไปในทางที่เรียกว่าสันติวิธี และจะเรียกว่าเป็น civil disobedience ก็ได้ แต่หลังจากวันนั้นมา ผมคิดว่ามีความคลุมเครือเกิดขึ้นและดูเหมือนว่ามีแนวที่จะไม่ใช่ civil disobedience อย่างน้อยใจกลางหลักๆ ของ civil disobedience เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปรับแก้กฎหมายหรือนโยบายบางอย่าง โดยที่ยังเคารพระบบกฎหมายหรือการปกครองโดยรวมอยู่ บัดนี้ เราเห็นได้ชัดว่าคุณสุเทพกำลังพูดถึงระบอบการปกครองใหม่ จะเป็นอะไรก็ว่ากันอีกเรื่อง แต่อันนี้หมายความว่า พอเป็นแบบนี้ สิ่งที่เรียกว่า civil disobedience มันเป็นการเคลื่อนไหวที่ยังยอมรับความชอบธรรมว่า ระบอบการปกครองเป็นพื้นฐานอยู่แต่อาจจะมีนโยบายหรือกฎหมายบางอย่างที่ไม่ได้เรื่อง ต้องถูกปรับแก้ การเคลื่อนไหวแบบ civil disobedience จึงยอมรับโครงสร้างใหญ่ๆ ผมเข้าใจว่าข้อเสนอต่างๆ ของคุณสุเทพ ไม่ว่าหลัก 6 ประการที่คุณสุเทพประกาศ ผมคิดว่านำไปสู่การปรับโครงสร้างการปกครองใหม่เลย อันนี้ถ้าถามถึงใจกลางของ civil disobedience ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้มันน่าจะก้าวข้าม civil disobedience ไปแล้ว ถาม: ตอนนี้ต่างคนต่างตีความความหมายของกฎหมาย ศาล ไปคนละทิศละทาง มันเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตวาทกรรมเพื่อให้เกิดความขัดแย้ง เราจะก้าวข้ามวาทกรรมที่แตกต่างหลากหลายอันนี้ยังไง สมชาย: ผมมีความเห็นว่า การที่ความขัดแย้งครั้งนี้เกิดขึ้น เราน่าจะให้บทเรียนกับคนที่เป็นแกนนำทั้งสองฝ่ายได้ ผมคิดว่าอย่างน้อย แกนนำในพรรคเพื่อไทยที่พยายามผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ทางพรรคเพื่อไทยกล้าผลัก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเดินหน้าไป เพราะมองข้ามหัวเสื้อแดง และรวมถึงการมองข้ามหัวคนในสังคมไทยว่าจะไม่ลุกขึ้นมาต่อต้าน ผมคิดว่าสิ่งที่เสื้อแดงควรทำ คือการให้บทเรียนกับพรรคเพื่อไทยและรวมถึงขบวนการเสื้อแดง มวลชนควรพยายามถอยห่างออกมา การพิทักษ์พรรคเพื่อไทยตอนนี้กับการพิทักษ์ประชาธิปไตยเป็นคนละเรื่องกัน ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวที่ตอนนี้กำลังเลยจุดที่ผมคิดว่าเพื่อปรับแก้หรือสร้างพลังอำนาจทางสังคมของฝ่ายต่อต้าน กำลังก้าวไปจุดที่มันเลยเถิดไปมากแล้ว การเคลื่อนไหวของแกนนำ ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ที่มันเลยเถิดไปได้หรือบ้าระห่ำไปได้ เป็นเพราะว่ายังมีมวลชนสนับสนุนอยู่ ข้อเรียกร้องผมคิดว่ามวลชนแต่ละฝ่ายต้องคิดให้มากขึ้น ต้องตั้งสติให้มากขึ้น อันนี้สำคัญ ผมคิดว่ามวลชนเสื้อแดงก็ต้องตระหนักว่าอย่าเดินตามแกนนำอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง ผมคิดว่าการถูกพรรคเพื่อไทยถีบหัวส่งเมื่อ 3-4 อาทิตย์ก่อนในกฎหมายนิรโทษกรรมคงต้องเป็นบทเรียน ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่เป็นมวลชนนกหวีดก็ต้องตระหนักว่า ข้อเรียกร้องของคุณสุเทพกำลังเดินไปสู่จุดที่เปิดกว้างมากจนไม่รู้ว่าเป็นอะไร เช่น พูดถึงสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน ผมคิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีฐานความชอบธรรมใดๆ รองรับ จะสร้างสภาประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ได้ยังไงก็ไม่ชัดเจน และดูเหมือนว่ายิ่งเดินหน้ายิ่งมีความสุ่มเสี่ยงที่จะให้เกิดความรุนแรงหรือข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ผมคิดว่า มวลชนทั้งสองฝ่ายต้องตั้งสติให้ดี ถ้าจอเรียกร้องหรือประเด็นที่แกนนำเรียกร้องมันเลยเถิดมากเกินไปมวลชนต้องตั้งสติและถอยห่างออกมา ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่มวลชนทั้งสองฝ่ายต้องคิดให้มาก ต้องตระหนักให้มาก อย่าเพียงแต่ฟังแล้วเคลื่อนไหวไปตามการชี้นำของแกนนำแต่ละฝ่าย อันนี้อันตรายมาก ถาม: มีนักกฎหมายขึ้นเวทีให้คำอธิบายสร้างวาทกรรมกับมวลชนไปบ้างแล้ว อาจารย์คิดว่าบทบาทของนักวิชาการกฎหมายตอนนี้ควรจะเป็นยังไง สมชาย: สิ่งที่นักวิชาการด้านกฎหมายอันแรก คือควรต้องยึดกับหลักการให้มั่นคง ผมคิดว่าจุดยืนทางการเมืองแต่ละคนต่างก็ได้ แต่กับหลักการทางกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักการในเรื่องระบอบรัฐสภา ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่แต่ละคนควรยึดให้มั่น เราอาจจะมีจุดยืน ระบบรัฐสภามันอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรได้ตามใจเราในชั่วข้ามคืน ระบอบประชาธิปไตยก็คือเราต้องทนอยู่กับคนที่เราไม่ชอบ สมมติตอนนี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไม่ชอบขี้หน้ารัฐบาล สิ่งที่ควรทำคือ ขายาความคิดของตัวเองให้กว้างขวาง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้มีผลงานให้วิจารณ์ได้มากมายกว้างขวางเต็มไปหมด ก็พยายามเผยแพร่ความคิดออกไปให้กว้างขวาง ถ้าคิดว่านโยบายจำนำข้าวไม่ดี โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นปัญหาก็ขยายความคิดออกไป แล้วทำให้ตัวเองได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เลือกตั้งครั้งหน้าก็พยายามทำอย่างนี้ ผมคิดว่าระบบรัฐสภาหรือระบอบประชาธิปไตย ข้อดีคือ เสียงข้างน้อยเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากได้ แต่เราควรจะเปลี่ยนมันด้วยเหตุผล ไม่ควรเปลี่ยนมันด้วยกำลัง ด้วยการใช้อำนาจนอกระบบ ผมคิดว่าสิ่งที่นักกฎหมายตอนนี้ควรทำคือ ยืนอยู่ในหลักการให้มั่นคง คนที่เราไม่ชอบหน้าจะเป็นรัฐบาลก็ได้ แต่ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า เราก็รณรงค์ไป วันหนึ่งเราอาจจะกลายเป็นเสียงข้างมากขึ้นมาก็ได้ ในหลายๆ ประเทศก็เป็นแบบนี้ อเมริกาบางช่วงก็เป็นเดโมแครต บางช่วงก็เป็นรีพับลิกัน พอตกเป็นฝ่ายที่รัฐบาลก็รณรงค์และชี้แจงให้เห็นว่าเราดีกว่าอย่างไร มีเหตุผลกว่าอย่างไร ถาม: หลังรัฐประหาร 2549 อาจารย์เคยเสนอว่าประเทศไทยเล็กเท่านี้ นักวิชาการก็มีเท่านี้ ใครที่เคยไปสนับสนุนรัฐประหารให้แสดงตัวออกมา แล้วนิรโทษกรรมกันจะได้เดินเข้าสู่หลักการแล้วเดินไปข้างหน้ากันใหม่ ถึงจุดนี้อาจารย์ยังมีข้อเสนอทำนองนี้ไหมสำหรับนักวิชาการที่นำเสนอประเด็นหรือหลักการที่ผิดเพี้ยนไปจากประชาธิปไตย สมชาย: ถ้าพูดในช่วงเวลานี้คงยาก ผมคิดว่าหลายๆ ท่านตอนนี้อุดมการณ์คงล้นทะลักจนบางทีอาจทำให้หลักวิชาที่เคยยึดเป็นหลัก มันคลอนแคลนไป สิ่งที่ผมอยากเสนอ คือ ตอนนี้ดูเหมือนเราพยายามมองหาความต่างกันระหว่างแต่ละฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนกับฝ่ายรัฐบาลพยายามมองหาจุดต่าง ผมคิดว่านอกจากการมองหาจุดต่างซึ่งสร้างความเกลียดชังให้เกิดเพิ่มมากขึ้น ในอีกแง่หนึ่งเราพยายามมองหาความเหมือนกันของทั้งสองกลุ่ม หรือกลุ่มอื่นๆ ด้วยก็ได้ เราก็เป็นคนเหมือนกัน เรามีญาติพี่น้องที่เป็นคนรักเหมือนกัน เราก็เป็นคนที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าตอนนี้พื้นฐานสุดคือ มองอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นคนซึ่งอาจจะคิดไม่เหมือนกับเราให้เป็นคน ยังไงเขาก็เป็นคน เขาอาจจะคิดไม่เหมือนเราก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ในสังคมประชาธิปไตยก็มีคนที่คิดไม่เหมือนเราเต็มไปหมด แต่อย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่คน ตอนนี้ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ การเริ่มมีการปะทะกันของแต่ละฝ่ายเกิดขึ้นในจุดต่างๆ ผมอยากจะเตือนว่า หลังเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคนเจ็บคนตาย สิ่งที่ผมพบเป็นส่วนใหญ่หลังปี 35 คือ คนที่บาดเจ็บ ล้มตาย คนที่สูญเสียคนรักไป ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาๆ สามัญชนอย่างพวกเรานี่แหละ ไม่มีแกนนำคนไหนบาดเจ็บล้มตาย ถ้าใครคิดว่าอยากเปลี่ยนแปลงประเทศ อยากจะทำให้สังคมดีขึ้นก็ทำ แต่ไม่มีสังคมไหนเปลี่ยนในชั่วข้ามคืน เรามีเวลาอีกเยอะที่จะค่อยๆ ปฏิรูปทุกๆ อย่างให้ดีขึ้น สังคมไทยมีวีรชนและผู้เจ็บปวดมามากพอแล้ว ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปเป็นวีรชนและถูกทอดทิ้งให้เพิ่มขึ้น เรามองกันให้เป็นคน อันไหนที่เราต้องแก้ก็ค่อยๆ แก้ เรามีเวลาอีกเยอะ ค่อยๆ ปรับแก้ สังคมไทยคงไม่ได้พังทลายไปในชั่วข้ามคืนนี้ถ้ารัฐบาลยังไม่ได้ออกไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเรียกร้องให้มีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน Posted: 30 Nov 2013 04:28 AM PST 30 พ.ย. 2556 - นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ,ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, แกนนำมวลชนทุกฝ่าย, สถาบันที่เกี่ยวข้อง และประชาชนชาวไทย โดยระบุว่าจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันนับเป็นวิกฤตของประเทศไทยอีกครั้ง เกิดการเรียกร้องทางการเมืองจากประชาชนจำนวนมาก โดยมีหลากฝ่าย หลายความคิด และไม่มีท่าทีของการเจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดข้อยุติของความขัดแย้ง ในภาวะที่มืดดำเช่นนี้ มองเห็นเพียงฝุ่นควันของภาวการณ์การใช้อานาจนอกระบบ และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งน่ากังวลว่าจะนำไปสู่การละเมิดทางร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติใหญ่หลวงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Blognone วอนรัฐคุ้มครองโครงข่ายการสื่อสาร หลังตึกกสท.ถูกตัดไฟ Posted: 30 Nov 2013 04:25 AM PST เว็บข่าวไอทีอิสระด้านไอทีออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐวางมาตรการคุ้มครองโครงข่ายการสื่อสารอย่างจริงจัง หลังผู้ชุมนุมปิดตึก CAT และถูกตัดไฟ 30 พ.ย.56 เว็บไซต์ Blognone ซึ่งเป็นเว็บข่าวไอทีอิสระเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไอที โทรคมนาคม และชีวิตในโลกดิจิทัล ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐวางมาตรการคุ้มครองโครงข่ายการสื่อสารอย่างจริงจัง หลังมีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองล้อมอาคารของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่เขตบางรัก ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และมีการตัดไฟฟ้าของอาคารจนส่งผลกระทบให้เว็บไซต์จำนวนมากและการสื่อสารหลายช่องทางต้องปิดตัวลง ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารภายในประเทศไทย และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ออกแถลงการณ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตยคัดค้านอันธพาลการเมือง Posted: 30 Nov 2013 03:38 AM PST 30 พ.ย. 2556 - สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ออกแถลงการณ์ "ปกป้องระบอบประชาธิปไตย คัดค้านอันธพาลการเมือง และการรัฐประหาร" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
FTA Watch ชี้ก่อนยุบสภาควรแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการประชาธิปไตยก่อน Posted: 30 Nov 2013 03:25 AM PST 30 พ.ย. 2556 - กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนเสนอข้อเสนอทางออกทางการเมือง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ Posted: 30 Nov 2013 02:21 AM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น