ประชาไท | Prachatai3.info |
- อภิสิทธิ์ลั่นหากผู้ชุมนุมได้รับอันตราย 'โคตรตระกูลนี้' อย่าหวังอยู่แผ่นดินนี้ต่อไป
- สมศักดิ์ระบุรับประทานไม่ลง!"การเมืองแบบตบจูบ" ไร้คำขอโทษจาก พท.-แกนนำ นปช.
- ฟังแนวคิดคนรุ่นใหม่ “ธรรมศาสตร์เสรีฯ” บรรทัดฐานของการต้านนิรโทษกรรม
- 100 ปี อัลแบร์ กามู: สำรวจมุมมองกามูด้านสิทธิมนุษยชน
- เสียงจากจากคนงานเก็บเบอร์รี่: ชีวิตที่ต้องสู้
- การนิรโทษกรรมในมุมมองของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
- ศอ.บต.เผยผลสำรวจสันติภาพ - คนต้องการให้ยอมรับอิสลาม-มลายูเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย
- กวีประชาไท: ฉะนี้นะเจ้า...มิยากเกิน
- ไต่สวนการตาย ‘ชายนิรนาม’ เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.53
- โฆษก พธม. ระบุประชาชนตื่นตัว - หลังสนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำฯ ยุติบทบาท
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : รวมพลคนไม่รักทักษิณ
- พระวิหาร: เรามาถึงจุดเสี่ยงนี้ได้อย่างไร
- 4 พรรคร่วมฯลงสัตยาบันถอน6ร่างฯนิรโทษฯ ปล่อยตกอีกร่างถ้าวุฒิฯส่งกลับ
- ธรรมศาสตร์วอนบุคลากรร่วม 'สวดชยันโต-จุดเทียน' นำความสว่างคืนไทย พรุ่งนี้
- รัฐศาสตร์ภาคประชาชน: หลากหลายความคิดต่อการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
อภิสิทธิ์ลั่นหากผู้ชุมนุมได้รับอันตราย 'โคตรตระกูลนี้' อย่าหวังอยู่แผ่นดินนี้ต่อไป Posted: 09 Nov 2013 12:24 PM PST อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระบุสาเหตุที่ต้องต่อต้าน กม.นิรโทษกรรม เพื่อให้ศาลอาญาจัดการกับฆาตกรที่ฆ่าประชาชนโดยไม่รับการนิรโทษ เผยดีใจที่ได้เห็นพลังคนไทยที่ไม่ต้องการให้ใครคิดทำชั่ว หวังให้พลังนี้ได้สร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงประเทศต่อไป อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในฐานะ "แขกรับเชิญ"
10 พ.ย. 2556 - เมื่อเวลา 22.00 น. คืนวานนี้ (9 พ.ย.) ในการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะ "แขกรับเชิญ" โดยเขากล่าวตอนหนึ่งว่า นายสุเทพบอกให้มาขึ้นเวทีนี้ การที่รัฐบาลบอกว่าเขาหยุดแล้ว แต่มีหลายเรื่องผิดปกติ คือยังไม่หยุดจริง มีการเกณฑ์คนเสื้อแดงเข้ามาชุมนุมใน กทม. ในวันที่ 10 พ.ย. ถึง 3 จุดคือดอนเมือง สนามกีฬาเมืองทองธานี และแยกราชประสงค์ จากเดิมที่ระบุว่า จะชุมนุมที่สนามศุภชลาศัยแต่มีคนห้ามไม่ให้ใช้คือ "บรรหาร ศิลปอาชา" นอกจากนี้ "อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง" แกนนำ นปช. ก็ส่งสัญญาณว่า ถ้าไม่หยุด เขาจะเป็นผู้หยุดเองนั้น ไม่ทราบว่าคำพูดดังกล่าวผิดเงื่อนไขการประกันตัวหรือไม่ แต่เป็นการพูดปลุกระดมอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นผมอยากให้ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุด และดีเอสไอตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อกรณีนี้ และการที่ตำรวจขึ้นป้ายหนุนกฎหมายนี้และบอกให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้านนั้น ผมเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถกลับบ้านได้ แต่จะกลับบ้านแบบใส่กุญแจมือ หรือนอนมาก็เลือกเอา อภิสิทธิ์ปราศรัยด้วยว่า วันนี้รัฐบาลก็ยังไม่หยุดเพราะมีการเรียกหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล 4 พรรคไปร่วมลงนามในสัตยาบรรณว่ารัฐบาลนี้จะไม่ยกเรื่องร่างนิรโทษกรรมอัปยศนี้กลับคืนมาอีกเด็ดขาด พี่น้องเชื่อหรือไม่ โดยหลังจากนั้นผู้ชุมนุมตอบว่า "ไม่เชื่อ" มีการพร้อมเป่านกหวีดและตะโกนว่า "ออกไปๆ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงว่าเหตุผลสำคัญที่ต้องต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ก็คือ ต้องการให้ศาลอาญาจัดการกับฆาตกรที่ฆ่าประชาชน โดยไม่รับการนิรโทษ แต่มีคนในรัฐบาลพยายามกล่อมบรรดาอธิการบดีของทุกมหาวิทยาลัยให้ยอมรับกฎหมายดังกล่าว ซึ่งก็ขอชื่นชมอธิการบดีทุกคน โดยเฉพาะอธิการบดีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ที่แสดงจุดยืนและยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้ ส.ส.ที่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าว ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อประชาชน โดยหลังจากนั้นนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ก็ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องขอโทษ เพราะไม่ได้ลงมติ แต่เขาเห็นว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณตั้งแต่ต้น เช่น การออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษให้นักโทษในช่วงเวลาที่ประเทศเกิดมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 การให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และสถาบันพระปกเกล้าเสนองานวิจัย และผลักดัน พ.ร.บ.ปรองดอง เอาความสูญเสียของคนเสื้อแดง มาเป็นเครื่องมือ จนกลายเป็นกฎหมายของวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทยที่มีปัญหาให้กับประเทศจนทุกวันนี้ อภิสิทธิ์ปราศรัยต่อไปว่า เห็นว่าการที่สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่นเรื่องให้วุฒิสภาตัดสินใจ และการที่วุฒิสภาจะไม่รับร่างกฎหมายนี้นั้น เป็นเพียงแค่การวางยาสลบแค่ 180 วันเท่านั้น เพราะถ้า ส.ส.เสนอญัตติเพื่อยืนยันกฎหมายนี้ และลงมติด้วยเสียงข้างมาก กฎหมายนี้ก็ทูลเกล้าฯ ทันที นอกจากนี้อภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า มีความเข้าใจกรณีที่ ส.ว. ที่ไม่เข้าประชุมเมื่อ 8 พ.ย. ก็เพื่อหาวิธีทำให้กฎหมายตายจากสภา นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่า มีการปล่อยข่าวสารพัด และมีวิชามารเพื่อไม่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุม เช่น มีการปล่อยข่าวว่าจะมีสไนเปอร์มาจัดการมวลชน ซึ่งข่าวสไนเปอร์ที่นายสุเทพได้มานั้น เขาก็ได้รับการเตือนมาเช่นกัน อภิสิทธิ์กล่าวว่าไม่เฉพาะแต่นายสุเทพ แม้แต่ตัวเขาก็ตกเป็นเป้า และถ้ามีความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่ต้องเกิดกับตนหรือนายสุเทพ แม้หากอันตรายเกิดขึ้นกับพี่น้องที่มาร่วมชุมนุมแม้แต่คนเดียว ก็อย่าหวังว่าโคตรตระกูลนี้จะได้อยู่ในแผ่นดินนี้ได้อีกต่อไป ทั้งโครตไม่ต้องเอ่ยชื่อว่าโครตไหน อภิสิทธิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาได้ปรับทุกข์กับเพื่อน ส.ส.ว่า สังคมไทยไม่สนใจเรื่องทุจริต คอร์รัปชัน โกงกินชาติบ้านเมืองแล้ว แต่วันนี้เห็นพลังของคนไทยแล้วว่า สังคมไทยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วที่จุดประกายความหวังให้ชาติบ้านเมือง ฉะนั้นอย่าทำให้คนทั้งชาติต้องผิดหวังอีกเป็นอันขาด "พลังของพี่น้องตรงนี้ต้องอยู่คู่กับสังคมต่อไป ไม่ให้ใครคิดทำชั่ว และต้องแปลงพลังนี้สร้างสรรค์ประเทศ เปลี่ยนแปลงประเทศต่อไป" อภิสิทธิ์กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมศักดิ์ระบุรับประทานไม่ลง!"การเมืองแบบตบจูบ" ไร้คำขอโทษจาก พท.-แกนนำ นปช. Posted: 09 Nov 2013 11:08 AM PST สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลระบุจะไม่ร่วมกิจกรรม '10,000 up' ที่ บก.ลายจุดนัดหมาย ชี้รัฐบาลพลาดร้ายแรง ที่ทำลายโอกาสได้รับอิสรภาพของคนธรรมดา เพื่อแลกกับการช่วยผู้นำอย่างผิดๆ แถมไม่เคยมีคำขอโทษ - เรียกร้อง นปช. "สร้างอำนาจต่อรอง" วิจารณ์ทักษิณ-เพื่อไทย-แกนนำ ให้มากกว่าที่เป็นมา ไม่ใช่เอาแต่ขานรับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แฟ้มภาพ/ประชาไท) 10 พ.ย. 2556 - เมื่อวานนี้ (9 พ.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์สเตตัสวิจารณ์พรรคเพื่อไทย และระบุว่าจะไม่ไปร่วมกิจกรรม "10,000 up" ที่สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงนัดหมายในวันที่ 10 พ.ย. ที่แยกราชประสงค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
000 คุณจตุพร เพิ่งประกาศในการแถลงข่าว ช่วยประชาสัมพันธ์งาน "10000 up" ของ สมบัติ บุญงามอนงค์ ด้วย โดยบอกว่า จะไปร่วมกิจกรรม ให้กำลังใจด้วย ผมจึงขอบอกวา ผมคงไม่ไปแล้ว - อันทีจริง ผมไปหรือไม่ ไม่ใช่เรืองใหญ่โตอะไร จริงๆแล้ว เล็กน้อยมากๆ แต่ทีผมต้องบอก เพราะบังเอิญ ผมเป็นคนนึงทีทำเทป "โปรโมท" งานนี้ให้ด้วย (อัดตั้งแต่ ค่ำวันที่ 31 ตุลาคม ก่อนที รบ.จะ "ลักไก่" รีบรวบรัดลงคะแนนตอนตี 4 คืนนั้น) ผมจึงรู้สึกว่าเป็นหน้าทีของผมทีต้องมาชี้แจง ทีจะไม่ไป อย่างที่ผมเขียนไปก่อนหน้านี้ว่า ผมมีปัญหากับการทีงาน "10000 up" ได้ถูกโยงเข้ากับกิจกรรม "ปกป้องรัฐบาล" .. (มัน "ตลกร้าย" เหมือนกัน เพราะแม้แต่ชื่อ "10000 up" มันก็มาจากการทีมีข่าวว่า คนของรัฐบาล ไม่ยอมฟังการทักท้วง เพราะ "มาไม่ถึงหมื่น" ก็เลยมีการนัดชุมนุมว่า จะมากัน "10000 up" - ตอนนี้ งานในชื่อ ทีมาจากการประท้วงรัฐบาล ถูกทำให้กลายเป็นเชียร์รัฐบาลไปแล้ว) ผมควรบอกด้วยว่า ตลอดการแถลงข่าวของคุณจตุพร (ยังไม่จบขณะกำลังเขียน) คุณจตุพร มาในแนวพรรคเต็มที่ คือ บอกว่า เรืองนิรโทษ "จบแล้ว" เด็ดขาด แล้วก็ตามด้วยการด่า เฉพาะสุเทพ อภิสิทธิ์ ตามทีเคยเป็นๆ มา ผม "รับประทานไม่ลง" กับการเมืองแบบ "ตบจูบ" แบบละครน้ำเน่าแบบนี้ ไม่มีคำขอโทษ ไม่มีคำอธิบาย ไม่มีการอภิปรายว่า แล้วอนาคตของคนคุกจะเอายังไง (จตุพร ถึงกับยืนยัน สิ่งที ภูมิธรรม และ พงษ์เทพ พูดไปว่า ตลอดสมัย รบ. นี้ จะไม่มีการรื้อฟื้่นเรื่องนิรโทษอีก ถ้ามี เขาจะ "นำคนไปโค่นล้มเอง" .. คงลืมไปว่า การที่ไม่มีการรื้อฟื้นนั้น มันหมายถึงว่า มวลชนเองน่ะต้องอยู่ในคุกต่อไป .. จากความผิดพลาดของรัฐบาลที่จตุพรตอนนี้มาเชียร์แหลก) และที่สำคัญ ในขณะที่ผมเห็นด้วยกับทีคุณจตุพร ในช่วงไม่กี่วันก่อน ออกมาแสดงการไม่เห็นด้วยกับการ "ไม่นิรโทษฆาตกร" แต่ว่า แต่ไหนแต่ไร การ "ไม่เหมาเข่งฆาตกร" ของคุณจตุพร และ นปช ไม่เคยรวมทหาร ที่พรรคเพื่อไทยหันไปเอกอกเอาใจ อย่างไร้หลักการโดยสิ้นเชิง (ซึงดังทีผมพูดมาตลอดว่า ทำให้การ "อัด" สุเทพ อภิสิทธิ์ กลายเป็นเรือง "ปาหี่" คือถ้า "ให้อภัย" "เอาใจ" ทหารได้ มีเหตุผลอะไร นอกจากการแย่งเสียงทางการเมือง ทียังอัดสุเทพ อภิสิทธิ์ อยู่? คือกลายเป็นเรือง แข่งกันทางการเมืองล้วนๆ) และแน่นอน ผมไม่ลืมด้วยว่า คุณจตุพร เช่นเดียวกับ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ไม่ยอมนิรโทษกรรมคดี 112 ซึงเป็นคดึการเมืองล้านเปอร์เซนต์ ด้วย สรุปแล้ว ผมเห็นว่า ตอนนี้ งาน "10000 up" ถูกทำให้กลายเป็นเพียงงาน "เชลียร์" รัฐบาลไป รวมไปถึง กลายเป็นงานทีอาจจะทำให้ความผิดพลาดใหญ่หลวงของรัฐบาลทีเพิ่งเกิด "ลืมๆ กันไป" แบบการเมืองน้ำเน่า ไม่ต้องพูดถึงวา จุดยืนเรือง "ไม่เหมาเข่ง" แม้แต่ นปช. ก็มีปัญหามาตลอด (เรื่องทหาร, 112) ขออภัย ในฐานะคนหนึงที่ช่วยโปรโมทงาน ว่า ตัวเองขอไม่ไปครับ รับประทานไม่ลงกับการเมืองน้ำเน่าครับ
000 อ้อ ต่อจากกระทู้ข้างล่างอีกนิดนะครับ ผมว่ามัน "ตลกร้าย" ดี ทีตอนนี นปช. มาเชียร์งานราชประสงค์ของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ คราวก่อน ไม่ทราบหายไปไหนนะครับ ไม่ยักกะเชียร์แบบนี้ จริงๆ ก็ไม่ยากจะเข้าใจ คราวก่อนเป็นเรืองวิพากษ์รัฐบาลล้วนๆ นปช ก็สงบเสงี่ยมไม่ยอมมา คราวนี้ ต้องการคนมาช่วยเชียร์รัฐบาล ก็เลยมา เพราะยังไง ประเด็น "เหมาเข่ง" ทีเป็นจุดเริ่มต้นของ "10000 up" มันหมดไปแล้ว ก็มาดึงให้กลายเป็นส่วนหนึงของการเชียร์รัฐบาลเสียเลย
000 ขำ คุณพี่ นพ.เหวง โตจิราการ กำลัง "อาศัยวิกฤติ เป็นโอกาส" เรียกร้อง ให้ นปช เป็นฝ่ายนำ แทน พรรคเพื่อไทย .... เหอๆๆ ......... บรรดา "เบี้ย" ทั้งหลาย ก็คงได้แต่ปลงนะครับ "ละครตบจูบ" น้ำเน่าแบบนี้ ในทีสุดแล้ว เรื่องเป็นเรืองตาย อิสรภาพ ของ "เบี้ย" ลงเอยด้วยการ "จูบ" กัน และเป็นข้ออ้างในการเรียกร้องช่วงชิงบทบาทนำกันเองระหว่าง "เจ้านาย" ไป
000 [4] http://www.matichon.co.th/daily/view_newsonline.php?newsid=1383961846 นี่เป็นบทนำ มติชน รายวัน วันนี้ เรียกร้อง "ความรับผิดชอบ" จากรัฐบาล ซึงก็ตรงกับทีผมเขียนมาในหลายวันนี้ อ่าน โดยเฉพาะ ย่อหน้าสุดท้ายนะครับ เขียนดีมากๆ "......ท่าทีการถอยร่นอย่างไม่เป็นขบวนนี้ เปรียบไม่ได้กับครั้งการผลักดันร่างกฎหมายฉบับสุดซอยอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ที่ฝ่ายรัฐบาลดึงดัน ไม่ยอมรับฟังเสียงทักท้วงใดๆ ทั้งสิ้นว่า มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับทุกคน ต้องตั้งใจฟังก่อนตัดสินใจ มาวันนี้กลับตาลปัตร ตัดสินใจถอยแบบไร้ทิศทาง ละทิ้งหลักการ ไม่พิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพียงแค่ต้องการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ จริงอยู่ปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ไข แต่อะไรที่เป็นหลักการสำคัญที่ต้องทำแต่รัฐบาลละเลย อย่างการช่วยเหลือเฉพาะผู้ชุมนุมทางการเมือง ที่ย่อมได้รับผลกระทบจากการที่กฎหมายต้องตกไปทั้งฉบับ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน....."
000 ผมเสนอว่า คนเสื้อแดงหรือผู้สนับสนุนหรือเลือกทักษิณ-พรรคเพื่อไทย ควรต้อง "สร้างอำนาจต่อรอง" กับทักษิณ-พรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดง ในลักษณะต่างๆ ให้มากกว่าที่เคยเป็นมา ดังนี้ 1. ตั้งแต่การรับข่าวสารข้อมูล จะต้องรู้จักเลือกรับข่าวสารข้อมูลและความเห็นที่ทักษิณ-พรรคและแกนนำเสนอออกมาอย่างเป็นตัวของตัวเอง รู้จักพิจารณาเลือกสรรว่าจะเชื่อหรือเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องๆไป ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าข่าวสารข้อมูลหรือความเห็นอะไรที่มาจากทักษิณ-พรรคและแกนนำ เป็นสิ่งที่ต้องเชื่อหรือเห็นด้วยเสมอไป 2. หลังจากนั้น จะต้องไม่เกรงกลัวที่จะแสดงออกในลักษณะไม่เห็นด้วย หรือวิพากษ์อย่างเปิดเผย ต่อทักษิณ-พรรคและแกนนำ ในสิ่งที่เห็นว่าผิด ไม่ใช่ต้องรู้สึกเป็นพันธะที่ต้องดีเฟนด์หรือเชียร์ตลอดเวลา 3. จะต้องไม่เอาแต่ "สนองตอบ-ขานรับ" ต่อการเรียกร้อง "ระดมพล-ขอความช่วยเหลือ-ขอการสนับสนุน" ของทักษิณ-พรรคและแกนนำ ในทุกๆเรื่อง และที่มักจะซิ้กแซ็ก เปลี่ยนท่าที กลับไปมา หลายต่อหลายครั้ง 4. เรื่องไหนที่พรรคและแกนนำทำผิด นอกจากต้องกล้าวิพากษ์ แสดงความไม่เห็นด้วย หรือปฏิเสธที่จะคอย "ขานรับ" แล้ว ยังต้องเรียกร้องให้พรรคหรือแกนนำต้องแสดงความรับผิดชอบ ชี้แจง ยอมรับผิด และอธิบายต่อเราว่า ที่ทำผิดนั้นเพราะอะไร และจะมีมาตรการในการแก้ไขสิ่งที่ผิดไปแล้ว หรือป้องกันไม่ให้ผิดแบบนั้นอีก ได้อย่างไร กระทั่งต้องเรียกร้องการรับผิดชอบ เช่นการเปลี่ยนผู้นำหรือแกนนำที่ทำความผิดพลาดนั้น อนาคตของประชาธิปไตยของสังคมไทย (ซึ่งไม่เท่ากับ หรือไม่ใช่คือ เพียงแค่การชนะเลือกตั้งและรักษาอำนาจของพรรคเพื่อไทย) ขึ้นอยู่อย่างสำคัญกับความสามารถของคนเสื้อแดงหรือผู้สนับสนุนทักษิณ-พรรคเพื่อไทย ที่จะสร้างอำนาจต่อรอง กับทักษิณ-พรรคเพื่อไทย-แกนนำเสื้อแดง ในลักษณะดังกล่าวนี้
000 ผมคิดว่า ปัญหาใหญ่สุดตอนนี้ ที่น่าคิดสำหรับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้สังเกตการณ์ทั้งหลายคือ ถ้าวันจันทร์ หลังจากวุฒิสภาลงมติคว่ำ พรบ.นิรโทษกรรมแล้ว แต่พรรค ปชป ไม่เลิกการชุมนุม - ก้าวต่อไปของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร? หลังจากฟังทั้งสุเทพ และอภิสิทธิ์ ปราศรัยค่ำนี้ (อภิสิทธิ์ยังพูดอยู่ขณะกำลังเขียนนี้) ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ปชป คงจะไม่สลายการชุมนุม แม้วุฒิสภาจะลงมติคว่า พรบ. แน่นอน ปัญหาต่อเนื่องกันก็คือ ถ้า ปชป ไม่เลิกชุมนุม จะยังมีกระแสคัดค้าน รบ. มากพอที่จะทำให้การชุมนุมอยู่ตอไปได้หรือไม่? สำหรับประเด็นนี้ ผม 50-50 จริงอยู่ หลายคนคงเชื่อว่า ถ้าวุฒิลงมติคว่ำแล้ว ประเด็นประท้วงจะหมดไป และคนจำนวนไม่น้อย อาจจะหยุดมาชุมนุม .. ผมคิดว่า อาจจะจริงส่วนหนึง แต่กำลังสังหรณ์ว่า เพียงแค่วันจันทร์นี้ ต่อให้วุฒิลงมติคว่ำ พรบ.แล้วก็ตาม "โมเมนตัม" ของความไม่พอใจรัฐบาล น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ทำให้ ปชป ดำเนินการชุมนุมต่อไปได้ อย่างน้อยอีกหลายวัน แต่แน่นอนว่า ถึงจุดนั้น ปชป เอง ก็อาจจะต้องหาทาง "ยกระดับ" ขึ้น ซึงจะเป็นอะไร ผมเดาไม่ถูก
000 พอดี ผมไปโพสต์สรุปความเห็นสั้นๆ เรืองการชุมนุมของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ ที่กระทู้ของเพื่อนคนหนึ่ง (ซึงเขาจะไปร่วม - ที่ผมโพสต์ ไมใช่เพื่อทำให้เขาเปลี่ยนใจ เพียงเพื่ออธิบายวิธีคิดของผมกับเพื่อนเท่านั้น) ผมขออนุญาต copy มาไว้ในทีนี้เสียเลย ขออภัย ที่มีคำภาษาอังกฤษหลายคำ เวลาผมคิดในใจ ก็คิดด้วยคำเหล่านี้ และไม่มีเวลาและขี้เกียจจะหาคำไทยทีรู้สึกพอใจมาแทนในขณะนี้ .................. ประเด็นราชประสงค์พรุ่งนี้ของหนูหริ่งนะ ผมสรุปสั้นๆ แบบนี้ ในบริบทที่ รบ เพิ่งทำผิดพลาดที่สำคัญมากแบบนั้น (ผมถือว่าการทำลายโอกาสอิสรภาพของชาวบ้านธรรมดา เพื่อแลกกับการช่วยผู้นำอย่างผิดๆ เป็นเรื่องผิดพลาดที่ร้ายแรง) การชุมนุมใดๆ - ถ้าไม่สามารถแสดงออกในลักษณะว่า เป็นอิสระ จากรัฐบาล - ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการ identify กับ รบ. ได้ ซึ่งการชุมนุมพรุ่งนี้ที่ราชประสงค์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่มีทางแสดงออกในลักษณะเป็นอิสระจาก รบ. ได้ ผมเห็นว่าการชุมนุมนั้นไม่เหมาะสม พูดอีกอย่างคือ การ identify ใดๆ กับ รบ. ในบริบทที่ รบ. เพิ่งทำลายชีวิตอิสรภาพของชาวบ้านธรรมดา เพื่อผู้นำ รบ - เป็นอะไรที่ สำหรับความรู้สึกผมเอง morally reprehensible
000 ผมไม่เรียกร้องให้คนอืนๆ แม้แต่เพื่อนที "สนิท" ทางความคิด เชื่อนะครับ แต่บอกจริงๆ ว่า ผมรับไม่ได้อย่างรุนแรง กับการทำลายชีวิตอิสรภาพของคนธรรมดาๆในคุก เพือ่แลกกับการช่วยเหลือผู้นำอย่างผิดๆ ของรัฐบาล - ผมเห็นว่านี่เป็นเรืองสำคัญเหมือนการฆ่าคนนั่นแหละ (ซึงก็ดังทีเห็นกันว่า รบ. ก็พร้อมจะไมสนเหมือนกันในเรืองนั้น) และดังนั้น การแสดงออกใดๆในขณะนี้ ที่จะ identify กับ รบ. ผมทำไม่ได้ครับ รู้สึกขัดความรู้สึกเกินกว่าจะทำ จะเรียกแบบทีฝรังว่า เป็นเรืองในเชิง morality สำหรับผมก็ได้ .. ส่วนท่านอื่น จะใช้การพิจารณาเชิง "การเมือง" อะไร ก็แล้วแต่ ไม่ได้เรียกร้องให้คิดเหมือนกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฟังแนวคิดคนรุ่นใหม่ “ธรรมศาสตร์เสรีฯ” บรรทัดฐานของการต้านนิรโทษกรรม Posted: 09 Nov 2013 09:23 AM PST วันที่ 1 พ.ย. คือวันถัดมาหลังจากสภาผู้แทนราษฎร ผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) ได้เดินทางไปแสดงกิจกรรมหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ดังกล่าว พร้อมกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้พรรคเพื่อไทยตระหนักถึงความสูญเสีย ก่อนที่จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างทุกวันนี้ ในขณะเดียวกัน พวกเขายืนยันจะไม่เข้าร่วมขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือการจัดการที่ไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย แถวบน:ไท บาส, แถวล่าง: ชา อาร์ม ตัวแทนกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ประกอบด้วย รัฐพล ศุภโสภณ หรือ บาส คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ปี 3ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไท นิติศาสตร์ มธ. ปี 4 ธนู รุ่งโรจน์เรืองฉาย หรือ ชา นิติศาสตร์ มธ. ปี 2 อิทธิพัฒน์ ไกรไทยศรี หรือ อาร์ม รัฐศาสตร์ มธ. ปี1 ร่วมพูดคุยให้สัมภาษณ์ถึงกิจกรรมดังกล่าว รวมถึงการแสดงความคิดเห็นต่อการกระทำของผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก และบรรทัดฐานที่อยากให้เป็น ไท : ตอนช่วยกันคิดว่าจะไปจัดกิจกรรมหน้าพรรค ก็มีหลายไอเดีย แต่ก็ได้ข้อสรุป คือไปลงสีตรงนั้น และมีคนเสนอ ให้เอาชื่อคนตายไปแปะตรงบันได เพื่อนบางคนเสนอเป็นฮาโลวีน แต่ไอเดียฮาโลวีนก็ยังอยู่ คือมีคนตาย วันนั้นเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก ส.ส. โหวตผ่านร่างนิรโทษเหมาเข่ง วันนั้น อั้ม เนโกะ เทพมาก แต่งตัวแบบนั้นตั้งแต่คืนวันที่ 31 พฤศจิกายน เพราะอั้มไปผับก็แต่ง "NO เหมาเข่ง" ไปผับ แล้วหลังจากนั้นมาร่วมกิจกรรมของเราที่หน้าพรรคเพื่อไทย บาส : ทำกิจกรรมเทสี พ่นสีไปที่พื้น รวมทั้งติดป้ายชื่อคนตายที่บันได แทนไอเดียที่ว่า พรรคเพื่อไทยได้ขึ้นสู่อำนาจเพราะมีคนเสียชีวิตเพื่อแลกกับให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง ชา: แต่พอเขาได้ขึ้นสู่อำนาจแล้ว เขากลับ ไม่สนใจคนตาย นิรโทษให้คนผิด เราก็เลยต้องการแสดงให้เขารู้ตัวว่า คุณทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่ ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย -เลือด เป็นสัญลักษณ์ ของเหตุการณ์ใดโดยเฉพาะ หรือไม่ บาส : สีแทนเลือดบนพื้น มีสเปรย์ฉีดบนพื้นแทนรูปคนตาย แล้วก็ที่สำคัญ เราแปะชื่อคนตายที่บันไดพรรคเพื่อไทย ซึ่งถูกดึงออกอย่างรวดเร็ว ชา: เขาก็คงต้องรีบดึงออก เพราะไม่อยากให้มีภาพที่พรรคเหยียบชื่อคนตายขึ้นบันไดเข้าพรรค บาส : เรื่องเลือดก็แรงพอสมควร แต่เรื่องชื่อที่แปะบันไดพรรค คงเป็นอะไรที่เขารีบเก็บออกเร็วที่สุดเท่าที่เห็นมา เพราะ เราต้องการจะสื่อว่า เขาเหยียบคนตายกลับบ้าน คือ คุณอยากให้ทักษิณกลับมาเท่ๆ ถามว่ากลับมาอย่างนี้เท่เหรอ เวลาคุณเหยียบบันไดขึ้นเครื่องบิน แล้วมีคนตาย นอนเป็นบันได มันเท่เหรอ ผมว่าไม่เท่หรอก แล้วตอนที่เขามาล้าง ก็เหมือนจะง่ายนะ แต่ล้างได้ทั้งหมดจริงหรือ ผมว่าความขัดแย้ง จะให้อภัยกัน หรือจะอะไร ก็ต่อเมื่อต้องทำความจริง ให้ปรากฏ -เหตุการณ์ตอนนี้ เปลี่ยนไปโดย พรรคได้ถอยสุดซอยแล้ว อาร์ม : เขาอาจจะกลัวคะแนนนิยมในภาคอีสานลดลงด้วย ชา : ผมว่าเขาน่าจะเริ่มรู้ตัวที่เห็นคนมาชุมนุมเยอะขนาดนี้ ปกติ เขาเคยเจออย่างมากก็เป็นม็อบจากฝั่งตรงข้ามซึ่งยังไงก็ไม่เลือกเขาอยู่แล้ว แต่คนที่เลือกเขา ซึ่งออกมาว่า มาด่า มาเตือนเขาเยอะขนาดนี้ เขาน่าจะรู้ตัวแล้ว ไท: ฝ่ายตรงข้ามก็พยายามจะหาเงื่อนไข พยายามจะหาเหตุผลขยายประเด็น ซึ่งการต่อสู้แต่ละครั้งในอดีตก็ประมาณนี้ เริ่มจากประเด็นเล็กๆ พอคนเยอะๆ ก็ขยายประเด็น แต่ผมคิดว่าจุดไม่ติด เพราะคนส่วนใหญ่มาเรื่อง พ.ร.บ.อย่างเดียว ถ้ารัฐบาลรีบถอยและถอยจริงๆ ฝ่ายตรงข้ามก็น่าจะจุดไม่ติด รัฐบาลอาจจะต้องเงียบไปหลายเดือน ซึ่งก็มีผลต่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับอื่น -การสอดไส้ ไม่มีเรื่องนิรโทษ ม.112 ชา : เรื่อ 112 เขาเซฟตัวเอง แต่ทีนี้ มีจุดน่าสนใจคือ เขา ย้อนๆ ไปถึงปี 47 ซึ่งนึกออกอย่างเดียวคือ เรื่องตากใบ คือถ้าเขาเห็นฝั่งตรงข้ามเป็นฆาตกร จริงๆ ตัวเขาเองก็มือเปื้อนเลือดและอยากจะล้างมลทินเหมือนกัน บาส : ไม่ได้ทำให้ฝ่ายนักวิชาการปัญญาชนที่หนุนพรรค รู้สึกสนับสนุนเท่าไหร่ ผมว่าเพื่อไทยยอมถอยเพราะเรื่องคะแนนเสียง อาจจะเป็นหลักล้าน ซึ่งเพื่อไทยก็มีช็อคได้เหมือนกัน ไม่ว่าร่างจะผ่านหรือตก ก็ต้องโทษพรรคเพื่อไทย ที่ทำให้ผิดหลักการ ถึงขนาดที่คนที่เคยไม่เห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญ ยังค้านเรื่องนี้ไม่ได้ -ถ้าไม่มีการสอดไส้ ขยายหลักการของร่างคุณวรชัย เหมะ คิดว่า คุณพ่อของไท (สมยศ พฤกษาเกษมสุข) จะได้รับการนิรโทษกรรมจากร่างเดิมหรือไม่ ส่วนถ้าผ่านร่างคุณวรชัย ก็ยังไม่แน่ใจว่า คนที่โดนคดี 112 จะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะอำนาจบังคับ ขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเมือง สมัยก่อน เรื่องนี้รวมอยู่ในความขัดแย้งทางการเมือง แต่ปัจจุบันต้องไปตีความ ซึ่งอย่างไรแล้ว ร่างคุณวรชัยก็ยังมีโอกาสเอื้อให้ 112 มากกว่า การไปเขียนเพิ่มว่าไม่รวม 112 ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย -จะเรียกร้องให้คนที่ยัดไส้ ออกมาขอโทษหรือไม่ ไท : ถ้า สว.ตีตกก็จบ ไม่ต้องมาเห็นชอบอีก ปล่อยตกไปเลย บาส : ผมว่าเขาน่าจะรู้ตัวด้วยนะว่า การกระทำผิดหลักการขนาดนี้ และเป็นสาระสำคัญ ก็ตกได้ทั้งฉบับ แล้วประเด็นที่เอามาอ้างตอนหนุนร่างสอดไส้เหมาเข่ง ก็ไปอ้างว่าเพื่ออิสรภาพของคนที่อยู่ในคุก ประเด็นคือ ความเป็นจริงทุกคดีก็ต้องได้รับการชี้ว่าเข้าข่ายนิรโทษหรือไม่ ร่างคุณวรชัย ก็มุ่งเน้นให้ประชาชนในคุกออกมาอยู่แล้ว ทีนี้ คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือเพื่อไทยนี่แหละ เป็นเพราะคุณทำให้ร่างมันช้า คนอื่นเขาก็ต้านอยู่บนหลักการพื้นฐานตัวบทกฎหมาย คุณต้องกลับไปพิจารณาตัวเองให้หนักๆ เลยด้วย -คิดว่าการเมืองทุกวันนี้ มันเป็นเรื่องที่คุณทักษิณ ตกลงกับใครสักคนหนึ่งได้ แล้วมันจะจบจริงหรือเปล่า อาร์ม : ทั้งในโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือบนท้องถนน มันมีหลายกลุ่มที่แสดงพลังภาคประชาสังคมทำให้พรรคต้องมาพิจารณาทบทวนว่า มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ เขาอาจจะต้องตั้งลำใหม่ เพราะดูแล้ว ประชาชนลุกฮือขึ้นมามากกว่าที่เขาคิด -คิดว่าฝั่งตรงข้าม กับฝ่ายเสื้อแดง อันไหน ที่น่ากลัวสำหรับรัฐบาลมากกว่ากัน บาส : คนเสื้อแดงที่ไม่เลือกเพื่อไทยอีก ก็คงไม่คิดไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์ คือ เพื่อไทยไม่ต้องกลัวในส่วนนี้หรอก ตรรกะง่ายๆ คือ คนเสื้อแดง เขาไม่เลือกคนที่พยายามจะฆ่าเขา แต่ประเด็นคือ เสียงที่สวิงระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคอื่น ยังเปลี่ยนได้ ถ้าประชาธิปัตย์ยอมอยู่ในประเด็น ไม่ขยายประเด็น ก็จะไม่เสียและจะได้กำไร ส่วนทางเพื่อไทย ยังไงก็มีแต่เสีย ส่วนจะเสียน้อย เสียมาก ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเขาเอง ชา: ถ้ามีเลือกตั้งครั้งต่อไป เสียงอาจจะน้อยลงก็จริง แต่เพื่อไทย ก็อาจจะยังได้เป็นรัฐบาล แต่ จำนวนส.ส. ที่น้อยลง แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะต้องลอบบี้คนนอกให้มากขึ้น ฉะนั้น การจะทำอะไรก็ลำบาก อันนี้ คือเหตุการณ์เดียวที่ทำให้ ส.ส.น้อยลง แล้วถ้าเกิดว่าเขาทำอะไรบ้าๆ ที่ทำให้ ส.ส.ยิ่งน้อยลงไปอีก สุดท้ายผลร้าย มันจะชัดเจนจนเขาน่าจะรู้ตัว แต่ตอนนี้ผมว่าเขารู้ตัวแล้ว คือ ส.ส. ไม่จำเป็นต้อลดลงถึงขนาดไม่ได้เป็นรัฐบาลหรอก เอาแค่น้อยลงถึงขนาดตัดสินใจทำอะไรยาก ยกมือโหวต ก็ต้องลอบบี้คนนอกเต็มไปหมด มันก็ทำให้เขาหายใจอึดอัดแล้วแหละ ฉะนั้น การที่ ส.ส.น้อยลงน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้ตัวได้ บาส : คุณปฏิเสธไม่ได้ว่า เคยประกาศจะทวงความเป็นธรรมให้คนเสื้อแดง ซึ่งคนเสื้อแดง ก็คือ ฐานเสียงให้พรรคเพื่อไทยถ้าคะแนนโหวตหายไป 2-3 ล้านคน ผมถามว่า ไม่ใช่คนเหล่านี้หรอกเหรอ เวลามีเลือกตั้งปุ๊บ เขาก็แอคทีฟ ให้พรรค ไปช่วยพรรคทวงความยุติธรรม เป็นแนวร่วม คุณไม่สามารถปฏิเสธได้หรอกว่าเขาไม่ได้ทำเพื่อพรรค แต่ว่า เขาเป็นแนวร่วมที่สำคัญให้กับพรรคคุณ แล้วเขาก็เป็นฐานเสียงที่สำคัญให้กับพรรคคุณ การที่คุณผ่านนิรโทษแบบเหมาเข่ง คุณเห็นคนเสื้อแดง เป็นคะแนนโหวตมากไปหน่อย คุณนับคะแนน แทนที่จะนับเหตุผล จิตใจ ผมถามเล่นๆ แล้วกัน ถ้าเป็นลูกคุณทักษิณ ถ้าเป็นคุณโอ๊ค คุณเอม ผมไม่ได้อยากให้เขาตายจริงนะ มันคุ้มไหม ต่อให้มี 7 ล้าน ก็ไม่ใช่เรื่องบุญคุณ ถึงขนาดต้องละทิ้งหลักการ ถ้าสมมุติ การฆ่าเกิดขึ้นกับลูกคุณทักษิณ แล้วคนเสื้อแดง รวมเงินกันคนละ 10-20 บาท รวมกันได้เป็น สิบๆ ล้านคุณจะเอาไหม ถ้าเทียบกับความยุติธรรมที่คุณควรจะได้รับ ถ้าคุณจะรับเงินนั้น แล้วลืมๆ ไป ผมก็ไม่มีอะไรจะพูดเหมือนกัน แสดงว่าคุณเห็นว่าเงินก็พอแล้ว แน่นอนการที่คนตายมันผ่านไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะใคร หรือเกิดอะไรขึ้น เป็นสิ่งที่ควรจะรู้ ถ้าเราไม่รู้อดีตแล้วจะเดินไปข้างหน้ายังไง เดินไปได้ไม่มั่นคง ชา: เงิน 7 ล้านไม่ใช่บุญคุณ แต่เป็นการเยียวยาที่ควรจะได้อยู่แล้ว แล้วไม่ใช่เงินส่วนตัวของเขา ไม่ใช่บุญคุณสักนิด แล้วเทียบกับการเอาฆาตกรมาลงโทษก็ไม่ได้ เพราะ 7 ล้านแค่เยียวยาระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้สร้างให้เกิดบรรทัดฐาน ถ้าเอาฆาตกรมาลงโทษได้ จะเกิดบรรทัดฐาน คราวหน้าจะได้ไม่มีใครอยากเป็นฆาตกรสุ่มสี่สุ่มห้าอีก อาร์ม : ไม่ใช่ว่า เอาเงินโยนให้คนตายแล้วจบ มันดูไม่แฟร์ -อาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ให้ความสำคัญกับ นักโทษในคดี 112 ด้วย ขณะที่นักการเมืองบางคนไม่อยากให้รวมคดีนี้อยู่ในคดีการเมือง ไท : ผมว่าเรื่องนี้แปลกนะ ส่วนใหญ่จะอ้างว่า กลัวโดนล้มรัฐบาล แต่เขากลับกล้ามากที่เอาคดีคุณทักษิณ เข้าไปอยู่ในนิรโทษกรรม โดยไม่กลัวโดนล้มรัฐบาล ขณะที่ คดีอาญามาตรา 112 ผมว่าประเด็นมันน้อยกว่ามาก ถ้าคุณไม่เขียน หรือเขียนรวมทุกอย่าง เช่น ร่างคุณวรชัย ผมว่ายังโดยต้านน้อยกว่าเอาคดีคุณทักษิณเข้าไปใส่ ผมก็ไม่แน่ใจว่าจริงๆ ประเด็นอยู่ตรงไหน ผมว่าประเด็นอยู่ที่ความโง่มากกว่า -คิดว่า เมื่อเอาคุณทักษิณเข้ามาอยู่ในการนิรโทษ แรงต้านย่อมมากกว่า เอาคดี 112 เข้ามา ชา: เขาเอาคุณทักษิณมา เพราะว่า ทักษิณยังอ้อนมวลชนได้สำเร็จอยู่ เขาคิดว่าจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งเขาคิดผิด ไท: อีกอย่าง เขาคงคิดว่าม็อบฝั่งตรงข้ามก็นิดๆ หน่อยๆ จิ๊บจ๊อย แต่จริงๆ ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับประเด็น ชา : ผมคิดว่า พรรคเพื่อไทย ยังคิดว่ามวลชนเลือกตัวบุคคลอยู่ แต่จริงๆ มันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว เพราะ มวลชน ได้ก้าวข้ามไปถึงการเลือกตัวประเด็นแล้ว เพราะฉะนั้น ประเด็นที่ผ่านมา เขาอาจจะเคยเห็นด้วยกับคุณ แต่ประเด็นนี้เขาอาจจะไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับคุณเสมอไป บาส : คนที่สนับสนุนนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ชอบพูดว่าเราแก้แค้น ไม่จบไม่สิ้น ทำไมไม่ยอมอภัยให้คนในชาติ ขณะที่ "ความจริง" มันยังไม่ปรากฏเลย คุณจะบอกให้เราอภัยให้ใคร ผมก็งงว่าเอ๊ะ เราต้องอภัยให้ใคร คุณลองนึกว่า ถ้ามันต้องเกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วมันเป็นลูกของคุณ เป็นคนรู้จักของคุณ เป็นคนที่คุณรัก คุณจะทำยังไง คุณจะให้อภัยทุกคนได้ในขณะที่คุณยังไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไงหรือเปล่า คือ ผมว่ามันเป็นวัฒนธรรม ที่ไม่ควรตอกย้ำขึ้นอีก มันสร้างไปแล้วเมื่อปี 2516 ปี 2519 ปี 2535 ผมคิดว่ามันควรจะเป็นบทเรียนได้แล้ว ใน พ.ศ.นี้ ที่การฆ่ากัน เป็นเรื่อง ที่ยอมรับกันไม่ได้ จริงๆ แล้ว คนลืมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยไปมากๆ คือว่า เราไปเน้นมีการเลือกตั้ง การตรวจสอบ มีรัฐสภา แต่เราไม่แคร์ถึงที่มา ไม่แคร์วัฒนธรรมที่ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วยหรือเปล่า เพราะว่าต่อให้คุณมีระบบดีแค่ไหน รวยเหมือนกัน แต่คุณไม่มีวัฒนธรรมที่เป็นประชาธิปไตยในประเทศ คนในประเทศไม่ทำให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยเกิดทั่วกัน ผมก็คิดว่าอยู่ในระบอบแบบนี้ลำบาก คือเมื่อเกิดการฆ่าแบบนี้ ก็ยังยอมรับกันได้ เพราะอีกฝ่ายมีความเห็นต่าง ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ควรยอมรับได้ ชา : เราไม่ได้จะแก้แค้นครับ แต่เรา ต้องการสร้างบรรทัดฐานว่า ต่อไป ถ้ามีคนมาฆ่าประชาชนกลางเมืองตามอำเภอใจแบบนี้อีก เขาจะต้องได้รับการลงโทษนะ ต่อไปจะได้ไม่มีใครกล้ามาทำแบบนี้อีก ไม่งั้นมันก็จะเป็นการ ฆ่า และนิรโทษ ฆ่าและนิรโทษเหมือนที่ผ่านๆ มา สุดท้ายก็ย่ำแย่อยู่กับที่ ถ้ามีบรรทัดฐานขึ้นมาว่า ใครทำแบบนี้ ฆ่าประชาชน จะถูกลงโทษ ต่อไปคนที่จะมาเป็นผู้นำในอนาคต จะได้ไม่กล้าทำแบบนี้อีก อาร์ม : เป็นการสร้างบรรทัดฐาน เช่น ในปัจจุบัน ถ้าประชาชนไปชุมนุมแล้วโดนฆ่า คนทำก็ได้รับการนิรโทษ แล้วคนตัวเล็กๆ จะรู้สึกว่า ความปลอดภัยในชีวิต อยู่ที่ไหน เหมือนเป็นการทำให้คนที่ทำให้คนตาย ก็ไม่ต้องรับผิด ลอยนวล ปิดปากทุกคน บาส: ผมอยากถามคนที่ออกมาต่อต้านนิรโทษกรรม เพราะ ต้องการต่อต้านคุณทักษิณอย่างเดียว โดยไม่ได้สนใจกรณีฆาตกรรมทางการเมืองว่า ถ้าเป็นพวกคุณที่ชุมนุมอยู่ตอนนี้ แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เอาสไนเปอร์มายิงคุณ มีชายชุดดำออกมาเหมือนกัน ผมถามว่า คุณจะเรียกร้อง ให้มีการตรวจสอบความยุติธรรมเกิดขึ้น หรือคุณจะเรียกร้องการนิรโทษกรรม เพื่ออภัยให้กับบุคคล ผมแค่อยากรู้คุณแค่ต้องการเอาผิดคุณทักษิณ โดยไม่สนใจชีวิตคนตายหรือเปล่า คือ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่คุณต้องตอบคำถาม เพราะ จุดยืนของคุณจะมั่นคง ก็ต้องมีความชอบธรรมในการจะอ้างมันเหมือนกัน -จะไปร่วมม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ หรือ ม็อบ คปท. หรือไม่ ทีนี้เรื่องไปชุมนุมกับม็อบ คปท. หรือ ประชาธิปัตย์ ผมไม่เอาทั้งคู่ คือ ม็อบหนึ่งก็ออกมาเป็นเรื่องทักษิณเป็นหลัก เป็นเรื่องเดียวที่เขาชูขึ้นมา ผมไม่ไปร่วม เพราะผมไม่ยอมรับการรัฐประหาร เพราะตรงข้ามกับประชาธิปไตย อีกม็อบหนึ่ง ก็นำโดยคู่กรณี ตั้งแต่ปี 53 ชา: ไม่ไปร่วมอยู่แล้วเพราะเขามุ่งจะเอาผิดทักษิณอย่างเดียว ขณะที่เราอยากให้สนใจ ฆาตกร ไท : ม็อบธรรมศาสตร์ก็มีสาวๆ น่ารักเยอะนะ น่าไป(หัวเราะ) แต่ว่า ผมว่ามันแปลกประหลาดมากเลยนะครับ เช่น ของมหิดล ก็ประกาศงดเรียน งดสอน เพื่อเรื่องนี้ โดยเฉพาะ โอเค ผมไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้ทักษิณด้วย แต่ก็ดูตลกที่เหตุการณ์ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญเลยเหรอ เพิ่งออกมาเหตุการณ์นี้ แต่เพิ่งออกมาคัดค้านประเด็นนี้ประเด็นเดียว ชา : ไม่ใช่แค่ไม่คัดค้าน ตอนรัฐประหาร ยังส่งใครบางคน ไปช่วยเขาเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมคณะปฏิวัติด้วยซ้ำ อาร์ม : เพื่อนที่อยู่มหาวิทยาลัยแถวสามย่าน บอกว่าบางคณะเอาคะแนนมาเป็นตัวล่อ ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ และน่าสงสัยว่ามหาวิทยาลัยอื่นผู้บริหารมีการมาชี้นำหรือไม่ -ความแตกต่างของกลุ่มต่างๆ ที่ต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง แยกอย่างไรกลุ่มไหนจุดยืนอย่างไร ชา : มหาวิทยาลัยนี้ ผู้บริหาร ส่วนใหญ่ก็เป็นนักกฎหมาย เราเรียนเราสอนวิธีการจัดการคนทำผิดต้องใช้กระบวนการ วิธีการที่ถูกต้อง ไม่ใช่ทำยังไงก็ได้ ให้เอาผิดเขาให้ได้ แต่การที่เขาไปสนับสนุนการรัฐประหาร กลับกลายเป็นทำให้เขาทำยังไงก็ได้ จะเอาผิดทักษิณให้ได้ ไม่สนวิธีการ ซึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่นักกฎหมายทำกัน เขาก็คงจะพิจารณาทบทวนตัวเอง อีกอย่างในกระบวนการยุติธรรม คนพิจารณาคดี ใจต้องเป็นกลาง ไม่ใช่มุ่งแต่จะเอาผิดอีกฝ่าย คดีทักษิณ ก็เกิดจาก คตส. อย่างน้อยต้องได้รับการสอบสวนจากคนที่เป็นกลาง ไม่ใช่คนที่เป็นปฏิปักษ์มาตัดสิน ถ้าจะสอบสวนยังไงก็ได้ ก็คงไม่ต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาความ ไท : อย่างขององค์การนักศึกษา ในธรรมศาสตร์ ก็พูดถึงคดีคอรัปชั่นและการสลายการชุมนุมในปี 2553 แต่แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยไม่มีพูดถึงการสลายชุมนุมปี 53 เลย ก็ดูได้ง่ายๆ ว่าปีกไหน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
100 ปี อัลแบร์ กามู: สำรวจมุมมองกามูด้านสิทธิมนุษยชน Posted: 09 Nov 2013 09:17 AM PST ในโอกาสครบรอบ 100 ปี เจสัน เบอร์รี่ บล็อกเกอร์ของสำนักข่าว Globalpost ชวนสำรวจอีกด้านหนึ่งของกามู ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียง คือในมุมของอุดมการณ์การเมือง การเคลื่อนไหวทางสังคม สิทธิมนุษยชน และขณะเดียวกันแนวคิดของกามูรวมถึงปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่หลอมรวมตัวเขา ได้ถูกกล่าวโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกรณีอาหรับสปริงหรือการทรมานนักโทษในกวนตานาโม เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบวันเกิด 100 ปี ของอัลแบร์ กามู นักเขียนและนักปรัชญา ผู้ที่มีคนรู้จักในแง่ของต้นธารแนวคิด absurdism (แนวคิดที่กล่าวถึงความขัดแย้งภายในตัวมนุษย์จากการพยายามค้นหาความหมายของชีวิต แต่มนุษย์ก็มักจะล้มเหลวในการค้นหาความหมาย) และในแง่วรรณกรรมจากผลงานอมตะหลายเรื่องที่ชวนสำรวจด้านต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ เช่นเรื่อง คนนอก, มนุษย์สองหน้า, มนุษย์คนแรก จากประวัติของกามู เขาเกิดในครอบครัวที่ยากจนในเมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรียซึ่งตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มารดาของกามูไม่รู้หนังสือและหูหนวกข้างเดียว และแทบจะกลายเป็นใบ้เมื่อทราบข่าวสามีของเธอเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในตอนนั้นกามูยังอายุได้ไม่ถึง 2 ขวบ กามูได้ทุนการศึกษาจนทำให้ได้เรียนในมหาวิทยาลัยจนสำเร็จการศึกษาวิชาปรัชญา กามูเดินทางไปอยู่ในฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีผลงานเรื่อง 'คนนอก' (The Stranger) ตีพิมพ์เมื่ออายุ 29 ปี ขณะอยู่ในกรุงปารีส เขาทำงานเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ใต้ดินที่เป็นขบวนการต่อต้านนาซี เขาสร้างผลงานอีกหลายชิ้นหลังสงครามโลกจบลง แต่หลังจากการได้รับเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม อีก 3 ปีต่อมาเขาก็เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ ซึ่งในตอนนั้นเขามีอายุเพียง 46 ปี
ในช่วงก่อนเสียชีวิตไม่กี่ปี อดีตมิตรสหายของกามูก็ตั้งแง่รังเกียจเขาเนื่องจากกามูปฏิเสธที่จะสนับสนุนกลุ่มกบฏแนวร่วมปลดปล่อยชาติแอลจีเรีย (National Liberation Front หรือ FLN) ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส โดยในขณะที่กามูวิจารณ์ฝรั่งเศสเรื่องนโยบายทางการทหารที่มีการทรมานชาวแอลจีเรียผู้ถูกจับกุม แต่กามูก็เลือกจะอยู่บนวิธีการกลางๆ เขากล่าวในการแถลงข่าวที่พิธีรับรางวัลโนเบลกรุงสตอกโฮล์มว่า "ตอนนี้มีคนกำลังวางระเบิดรถรางในแอลเจียร์ แม่ผมอาจจะกำลังโดยสารอยู่บนรถรางขบวนใดขบวนหนึ่ง ถ้าหากคุณบอกว่าการกระทำเช่นนี้คือความยุติธรรม ผมก็ขอเลือกแม่ผมดีกว่า" กามูได้นำเสนอวิสัยทัศน์เรื่องความยุติธรรมไว้ตั้งแต่ 10 ปีก่อนหน้านั้นแล้ว ในช่วงที่กำลังเกิดความบอบช้ำจากจิตใจหลังการยึดครองของนาซี เขาตีตัวออกห่าง ฌอง-ปอล ซาร์ต นักปรัชญาอัตถิภาวนิยม และถูกพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสขับไล่โดยหาว่ากามูเป็นพวกมีแนวคิดแบบทรอตสกี้ ซึ่งในช่วงนั้นกามูก็ได้เขียนหนังสือบทความที่ชื่อ "กบฏ" (The Rebel) ในปี 2494 เนื้อหาในบทความเรื่อง "กบฏ" ของกามูกล่าวถึงความขยาดของชาวตะวันตกที่มีต่อเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่เขาก็ยังได้วิจารณ์แนวคิดมาร์กซิสม์แบบเบ็ดเสร็จว่าเป็นการหลอกขายฝันถึงสังคมที่มีความเสมอภาค กามูมองเรื่องเหล่านี้ด้วยพื้นฐานเรื่องความเป็นธรรม "กบฏคืออะไร คือคนที่กล่าวปฏิเสธ แต่ว่าการปฏิเสธของเขาไม่ได้หมายถึงการสละสิทธิ์" กามูเขียนไว้ เขาบอกอีกว่า "การกบฏจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีความรู้สึกที่ว่าในที่ใดที่หนึ่งหรือในหนทางใดทางหนึ่งคุณจะได้รับความชอบธรรม" การที่กามูไม่เลือกข้างในสงครามแอลจีเรีย ซึ่งเป็นการต่อสู้ของกลุ่มเรียกร้องเอกราชกับฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้กามูถูกโดดเดี่ยวในแง่การเมือง ในสงครามนี้ทหารฝรั่งเศสสังหารชาวแอลจีเรียไปมากกว่า 1 ล้านคน หลังจากเมินเฉยต่อการที่กามูเรียกร้องให้มีการเจรจา โดยที่กามูได้เคยกล่าววิจารณ์การกระทำอันโหดร้ายจากทั้งสองฝ่าย ทำให้เขาจำเป็นต้องถอยไปอยู่เงียบๆ อย่างไม่สบายใจนัก โรเบิร์ต ซาเรทสกี้ ผู้เขียนหนังสือบันทึกชีวิตของอัลแบร์ กามู ชื่อ "A Life Worth Living: Albert Camus and the Quest for Meaning" กล่าวว่า การที่กามูเงียบเฉยต่อสงครามในแอลจีเรียซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเองนั้นไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือจริยธรรม แต่เป็นเพราะเขารู้ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาจากทั้งสองฝ่าย
หนังสือบทความ "บันทึกแอลจีเรียน" (Algerian Chronicles) ของกามูวางขายในฝรั่งเศสเมื่อปี 2501 ปีเดียวกับที่เกิดสงคราม ซึ่งเขาได้เขียนปกป้องผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากลัทธิอาณานิคมฝรั่งเศส แต่ขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามกับการก่อการร้าย หนังสือเล่มนี้ถูกเมินเฉยจากนักวิจารณ์ในปารีส ไม่มีทั้งเสียงชื่นชมหรือเสียงวิจารณ์โจมตี ดูเหมือนเป็นช่วงตกต่ำของกามู อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่อง "บันทึกแอลจีเรียน" เพิ่งถูกนำมาตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ และมีคำวิจารณ์ในแง่บวกจำนวนมาก การที่กามูไม่ยอมรับวิธีการก่อการร้ายไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม เป็นการส่อเค้าให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่แอลจีเรียต้องประสบในเวลาต่อมาหลังจากที่กามูเสียชีวิตไปแล้ว โดยหลังจากได้รับเอกราชในปี 2505 แอลจีเรียก็ตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการซึ่งไม่ใช่ 'ความยุติธรรม' ในมุมมองของกามูแน่นอน และในช่วงทศวรรษที่ 1990 กลุ่มผู้ก่อการร้ายศาสนาอิสลามได้ลอบสังหารตำรวจ อาจารย์ แพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีคน 100,000 คนเสียชีวิตในสงครามกลางเมืองอันโหดเหี้ยมซึ่งจบลงในช่วงทศวรรษที่ 2000 แต่เดวิด แบลร์ ก็เขียนบทความถึงเรื่องนี้ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาว่ายังคงมีกลุ่มทหารระดับนายพลที่ชักใยอยู่เบื้องหลังแอลจีเรียและไม่ยอมลงจากอำนาจง่ายๆ หนังสือเรื่อง "บันทึกแอลจีเรียน" เริ่มต้นด้วยรายงานข่าวช่วงปี 2482 กล่าวถึงภาวะแร้นแค้นในเขตชนบทของแอลจีเรียภายใต้ระบอบอำมาตย์ของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสขึ้นบัญชีดำกามูในฐานะนักหนังสือพิมพ์ในแอลจีเรีย ในงานเขียนของเขากามูยังเรียกร้องให้ฝรั่งเศสให้แอลจีเรียมีสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของชนกลุ่มน้อยชาวฝรั่งเศสที่เข้าไปตั้งรกราก (ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนของกามูเอง) และเพื่อรักษาสังคมแบบหลายเชื้อชาติเอาไว้
หนังสือของกามูยังกล่าวอีกว่า ประชาชนชาวอาหรับต้องการสิทธิในการเลือกตั้งและสิทธิอื่นๆ ตามระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากพวกเขารู้ว่าหากได้รับสิทธินี้พวกเขาก็จะสามารถขจัดความอยุติธรรมที่มีอยู่ในบรรยากาศทางการเมืองของแอลจีเรียในยุคนั้นไปได้ คำกล่าวของกามูในยุคนั้นฟังดูไม่ต่างอะไรกับสถานการณ์ในประเทศแถบตะวันออกกลางเช่นอียิปต์ หรือตูนีเซีย ที่เพิ่งเกิดปรากฏการณ์อาหรับสปริง แต่ในหลายประเทศก็ยังไม่ได้รับสิทธิตามที่เรียกร้อง และในบางประเทศเช่นอียิปต์ยังคงเกิดความวุ่นวายทางการเมืองจากการผลัดเปลี่ยนขั้วอำนาจซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการก่อรัฐประหาร โรเบิร์ต ซาเรทสกี้พูดถึงเรื่องนี้ว่า "สำหรับกามูแล้ว มันเป็นเรื่องสำคัญที่ได้ค้นพบช่วงเวลาเช่นนั้น คือช่วงที่คนๆ หนึ่งรู้ว่ามีคนอื่นที่พูดแบบเดียวกับเขา และทำตามแนวคิดนั้น มันเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนมีอยู่เหมือนกัน ความซื่อตรงของพวกเรา ความมีศักดิ์ศรีของพวกเรา คุณสมบัติที่คาดหวังในตัวผู้อื่นคือการที่คุณจะต่อต้าน อย่าได้สูญเสียมุมมองด้านความเป็นมนุษย์ ผู้กดขี่ก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับผู้ถูกกดขี่ แรงต่อต้านกลับเป็นสิ่งจำเป็นก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็ระวังไม่ให้ตัวคุณเองกลายเป็นผู้กดขี่หรือฆาตกรคนใหม่เสียเอง" "นอกจากในตูนิเซียแล้ว การผลิตซ้ำปรากฏการณ์อาหรับสปริงในที่อื่นๆ ล้มเหลว" ซาเรทสกี้กล่าว "พวกเขาทำให้เผด็จการกลับมามีอำนาจเช่นกรณีของอียิปต์ หรือเกิดสงครามกลางเมืองเช่นในซีเรีย การประท้วงต่อต้านอัสซาด (ประธานาธิบดี บาชาร์ แอล-อัสซาด) ที่เป็นจุดเริ่มต้น เป็นการกบฏแบบเดียวกับในความคิดของกามู คือมีแนวทางสันติ ไม่ทำลายชีวิตผู้อื่นเว้นแต่ไม่มีทางเลือกจริงๆ แต่ในตอนนี้ประเทศซีเรียอยู่ในสภาพเดียวกับคาบสมุทรบอลข่านอีกประเทศหนึ่ง" ในบันทึกของซาเรทสกี้ยังมีตอนที่กามูกล่าวต่อต้านการใช้วิธีการทรมานของกองทัพฝรั่งเศส แต่ก็รู้สึกแย่กับการนิ่งเฉยของเพื่อนในอดีตเกี่ยวกับการก่อการร้ายของกลุ่มกบฏเรียกร้องเอกราช FLN ซึ่งทำการสังหารหัวหน้ากลุ่มขบวนการชาตินิยมอื่นๆ กามูเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ความผิดที่ตนกระทำลงไป จาคส์ มาสซู อดีตนายพลของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ผู้ริเริ่มวิธีการทรมานนักโทษแสดงความเสียใจในการให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวเลอมงของฝรั่งเศสเมื่อปี 2543 ซึ่งในตอนนั้นเขามีอายุได้ 92 ปี เขาบอกว่าสิ่งที่เขาทำลงไปเป็นความผิดพลาด "สิ่งที่ฝรั่งเศสได้เรียนรู้ในช่วงยุคทศวรรษที่ 1950 เป็นสิ่งเดียวกับที่พวกเราได้เรียนรู้จากยุคหลังเหตุการณ์ 9/11 ในอเมริกา การให้ความชอบธรรมแก่การทรมานสร้างความรู้สึกหยาบช้า สิ้นกำลังใจ และกัดกินความเป็นมนุษย์ของผู้กระทำ" ซาเรทสกี้กล่าว ซาเรทสกี้ยังได้กล่าวเทียบกับเหตุการณ์ทรมานนักโทษที่คุกกวนตานาโม ว่าเป็นสิ่งเตือนใจชวนให้นึกถึงเรื่องที่พวกเขาเคยกระทำ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการพยายามสร้างรัฐที่มีการสอดแนม ซึ่งไม่แน่ใจว่ากามูเคยคิดถึงเรื่องนี้ไว้หรือไม่ นอกจากนี้เขายังคิดว่ากามูคงตกใจถ้าทราบเรื่องการทำสงครามด้วยอาวุธโดรน (เครื่องบินไร้คนขับมีคนควบคุมจากระยะไกล) "มีสงครามรูปแบบใดอีกที่ดูนามธรรมถึงเพียงนี้ มีคนกดปุ่มจากระยะห่างออกไป 5,000 ไมล์ โดยคิดว่ามันจะเป็นการโจมตีแบบเน้นเป้าหมาย ...พวกเราก็ถูกทำลายเช่นเดียวกับประชาธิปไตย" กามูเป็นคนที่สนใจเรื่องการเมืองน้อยมาก แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยของเขาเน้นเรื่องเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่ดำรงไว้ด้วยความยุติธรรมที่ไม่ถูกจองจำ ในบทความที่ชื่อ "ต้นอัลมอนด์" ซึ่งกามูเขียนไว้ในช่วงปี 2483 ก่อนหน้าฝรั่งเศสจะตกอยู่ใต้การยึดครองของฮิตเลอร์มีความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "พวกเราต้องช่วยกันซ่อมแซมสิ่งที่ถูกทำลายไป ทำให้ความยุติธรรมกลายเป็นสิ่งที่จินตนาการถึงได้อีกครั้งในโลกที่ดูอยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัดนี้ ทำให้คำว่าความสุขกลับมามีความหมายอีกครั้งต่อผู้คนต้องกล้ำกลืนกับความทุกข์โศกของศตวรรษนี้ ถ้าพูดตามความจริงแล้วมันเหมือนเป็นงานสำหรับอภิมนุษย์ แต่คำว่าอภิมนุษย์สำหรับผมคือสิ่งที่มนุษย์เรากระทำเป็นเวลานานจนกระทั่งสำเร็จ เท่านั้นเอง"
Camus, at 100, a prophet of human rights, GlobalPost, 07-11-2013
ข้อมูลหนังสือ Algerian Chronicles เว็บไซต์ amazon http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Camus ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสียงจากจากคนงานเก็บเบอร์รี่: ชีวิตที่ต้องสู้ Posted: 09 Nov 2013 08:13 AM PST ตื่นมาเช้านี้อากาศเริ่มเย็นลงกว่าทุกวัน เดินออกมาหลังบ้านแหงนมองดูยอดมะพร้าว ฝูงนกเอี้ยงร้องกัน เจียวจ้าวดังระงม มันคงกำลังจะเริ่มออกหาอาหารเพื่อเลี้ยงปากท้องและลูกๆ ของมัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การนิรโทษกรรมในมุมมองของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย Posted: 09 Nov 2013 08:03 AM PST แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยย้ำการนิรโทษกรรมจะต้องไม่สร้างวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด (Impunity) เรียกร้องให้ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และต้องมีการไต่สวนที่เป็นธรรม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศอ.บต.เผยผลสำรวจสันติภาพ - คนต้องการให้ยอมรับอิสลาม-มลายูเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย Posted: 09 Nov 2013 06:35 AM PST เผยผลสำรวจของทีมงานทีวีมลายู ศอ.บต.เรื่องสันติภาพที่คนพื้นที่ต้องการ พบประชาชนต้องการให้มีการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมอิสลามและมลายูมากกว่าเรื่องการเมืองการปกครอง 9 พ.ย. 2556 - วันนี้ (9 พ.ย.) ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม หัวหน้าคณะทำงานสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่องสันติภาพที่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการในอนาคต พร้อมด้วย นายสัมพันธ์ มูซอดี ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. นายอับดุลการีม อัสมะแอ คณะทำงานจากสถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ร่วมแถลงผลสำรวจคิดเห็นของประชาชนเรื่องสันติภาพที่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการในอนาคต นายอับดุลการีม แถลงว่า รายงานการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่องสันติภาพที่ประชาชนต้องการในอนาคต โดยคณะกรรมการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ภาษามลายู ซึ่งแต่งตั้งโดย ศอ.บต.เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนสถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็นผู้ประมวลผล นายอับดุลการีม แถลงว่า การสำรวจใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,046 คน โดยร้อยละ 55.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 88.9 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 8.2 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 40.3 อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 24.9 อาศัยอยู่ในจังหวัดยะลา ร้อยละ 42.2 มีอาชีพเกษตร ร้อยละ 35.3 เป็นอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ลูกจ้าง แม่บ้าน นักศึกษา นายอับดุลการีม แถลงต่อไปว่า ความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง สันติภาพที่ประชาชนในจังวัดชายแดนภาคใต้ต้องการในอนาคตโดยรวม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.30 เมื่อพิจารณาด้านใดที่รัฐต้องแก้ไขก่อน มากที่สุด ได้แก่ ด้านประเด็นทางสังคม ค่าเฉลี่ย 3.38 รองลงมา ด้านประเด็นทางเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย 3.33 และด้านประเด็นทางการเมืองและการปกครอง ค่าเฉลี่ย 3.20 ตามลำดับ นายอับดุลการีม แถลงว่า เรื่องที่รัฐต้องแก้ไขก่อนในประเด็นทางสังคม ลำดับ 1-8 ดังนี้ 1.ให้ยอมรับวัฒนธรรมอิสลามและมลายูเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 2.ส่งเสริมการใช้ภาษามลายูและพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนทุกระดับ 3.ให้ทุกคนมีการศึกษาระดับสูงอย่างเป็นธรรม 4.แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง 5.ประชาชนได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย และปกป้องชีวิตทรัพย์สินอย่างเท่าเทียม 6.กำหนดหลักสูตรการศึกษาโดยท้องถิ่นเอง 7.แก้ไขปัญหาสินค้าเถื่อน หนีภาษี ให้หมดไป และ 8.แก้ไขปัญหาผู้ก่อการร้ายให้หมดไป นายอับดุลการีม แถลงอีกว่า เรื่องที่รัฐต้องแก้ไขก่อนในประเด็นทางเศรษฐกิจ ลำดับ 1-6 ดังนี้ 1.ให้ประชาชนทุกคนมีอาชีพและมีงานทำ 2.แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ/ลดราคาสินค้า 3.ส่งเสริมสินค้าเกษตร ให้ขายได้มีราคา 4.ให้ประชาชนมีสิทธิดูแลทรัพยากรธรรมชาติ 5.จัดสรรที่ดินให้ผู้ยากจนที่ไม่มีที่อยู่และที่ทำกิน และ 6.แก้ไขปัญหานาร้าง นายอับดุลการีม แถลงต่อไปว่า เรื่องที่รัฐต้องแก้ไขก่อนในประเด็นทางการเมืองและการปกครอง ลำดับ 1-8 ดังนี้ 1.ให้นักการเมืองรับฟังความเห็นประชาชน 2.แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น การทุจริตประพฤติมิชอบ 3.ให้ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจในปัญหาท้องถิ่นมากขึ้น/ปกครองตนเอง 4.ให้มีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่นให้มากขึ้น 5. การออกเสียงประชามติเกี่ยวกับอนาคตจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6.รูปแบบการปกครองที่อยากให้ 3 จังหวัดรวมเป็น 1 เขตปกครองเลือกตั้งผู้นำสูงสุด ยกเลิก อบจ. ส่วนอื่นๆเหมือนเดิม 7.รูปแบบการปกครองที่อยากให้เป็น ให้มีองค์กรปกครองท้องถิ่นและภูมิภาคเหมือนเดิม แต่อยู่ใต้ ศอ.บต. และ 8.รูปแบบการปกครองที่อยากให้เป็น แยกแต่ละจังหวัดเป็น 3-4 เขต, เลือกตั้งผู้ว่าฯ ยกเลิกนายก อบจ. ส่วนอื่นๆ เหมือนเดิม นายอับดุลการีม แถลงว่า ส่วนเรื่อง สันติภาพที่ประชาชนในจังวัดชายแดนภาคใต้ต้องการในอนาคต ด้านการพูดคุยสันติภาพโดยรวม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.01 นายอับดุลการีม แถลงอีกว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ได้แก่ เรื่อง เห็นด้วยกับการพูดคุย/เจรจาสันติภาพ ค่าเฉลี่ย 3.34 รองลงมา เรื่องเชื่อว่าการพูดคุยและการเจรจาจะไปสู่สันติภาพได้สำเร็จ ค่าเฉลี่ย 2.96 ต่อมาเรื่องเห็นด้วยกับตัวแทนบีอาร์เอ็น ที่อ้างตัวเป็นตัวแทนชาวมาลายูมุสลิมในพื้นที่และเห็นด้วยกับตัวแทนฝ่ายไทยที่นำโดยพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตรและคณะ ค่าเฉลี่ย 2.87 ตามลำดับ นายอับดุลการีม แถลงด้วยว่า ความคิดเห็นเรื่องสันติภาพในด้านสิ่งที่ประชาชนต้องการในอนาคตโดยรวม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.38 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อด้านสิ่งที่ประชาชนต้องการในอนาคตมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง มีหลักสูตรการเรียนการสอนภาษามลายูที่เป็นมาตรฐานในโรงเรียนทุกระดับ ค่าเฉลี่ย 3.53 รองลงมา เรื่อง มีสถาบันพัฒนาภาษามลายูอันเป็นที่ยอมรับโดยรัฐและประชาชน ค่าเฉลี่ย 3.50 และกลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นด้านสิ่งที่ประชาชนต้องการในอนาคตน้อยที่สุด เรื่อง ผู้ต้องขัง/ผู้ต้องโทษคดีความมั่นคงได้รับการอภัยโทษและปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ค่าเฉลี่ย 3.24 ตามลำดับ "จากการสำรวจปรากฏผลว่า ประชาชนให้ความสำคัญมากเป็นอันดับแรก คือเรื่องอัตลักษณ์วัฒนธรรมอิสลามและมลายู การใช้ภาษามลายู โดยให้มีการเรียนการสอนภาษามลายูในโรงเรียนที่เป็นมาตรฐาน มากกว่าด้านสังคมในเรื่องอื่นๆ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง" นายอับดุลการีม แถลง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กวีประชาไท: ฉะนี้นะเจ้า...มิยากเกิน Posted: 09 Nov 2013 05:26 AM PST ๐ ศึกในก็คุกรุ่น__ศึกนอกหนุนกระหน่ำตี พลิกพ่ายทุกนาที__สิล่มแหลกเพราะแตกกัน ๐ จับมือผสานใจ__ลุกสู้ไล่ศัตรูพลัน อธิปไตยอัน__มิอาจแพ้แก่มวลมาร ๐ สามัคคีคือพลัง__หยุดและยั้งรัฐประหาร ขืนขัดเผด็จการ__ด้วยมหาประชาชน .... ๐ ยามสงบกระทบกระทั่งมิทน เพราะมิตรสหายตะกายสิด้น__ละหลักการ ๐ ฆาตกรทมิฬนะโทษประหาร ไฉนรึลืมและร่ำจะพาล__อภัยมัน ๐ กากสมุนอมาตย์คะนองสินั่น ขยับระดับระดมและลั่น__จะโค่นเรา ๐ อาจจะเป็นเพราะลับและพรางรึเขลา ละวางเถอะยามฉะนี้นะเจ้า__มิยากเกิน .... ๐ เผชิญภัยเภทพ้อง.......เพียรสาน เป็นหนึ่งใจเดียว,พาล......ย่อมแพ้ มือเราจับจูงหาญ............ฮึดสู่ อธิปไตยมั่นแท้.............เทิดด้วยประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไต่สวนการตาย ‘ชายนิรนาม’ เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.53 Posted: 09 Nov 2013 04:06 AM PST พนักงานสอบสวนเบิกความสรุปผู้ตายเสียชีวิตจากการกระทำของทหารบริเวณถนนราชดำริ วันที่ 19 พ.ย. 53 นัดต่อไป 22 พ.ย.นี้ ขณะที่ไต่สวนการตาย 'สมชาย' เยื่อกระสุน 16 พ.ค พระราม 4 พยานเชื่อกระสุนสังหารมาจากทหาร เมื่อวันที่ 7 – 8 พ.ย. ที่ศาลอาญา ศาลไต่สวนคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 3 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรพลิกศพชายไทยไม่ทราบชื่อและนามสกุล ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณแยกสารสิน ถนนราชดำริ ในเหตุการณ์สลายชุมนุมม็อบเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นายภัสพล ไชยพงษ์ เบิกความโดยสรุปว่า ระหว่างที่มีการชุมนุมพยานเข้าไปขายขนมบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ในวันเกิดเหตุ เวลา 07.00 น. ขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าไปเพื่อเก็บของออกจากพื้นที่ สักพักได้ยินเสียงประกาศจากบนเวทีว่าให้เก็บข้าวของไปรวมกันที่วัดปทุมวนาราม ต่อมาพยานขับรถ จยย.ไปตามถนนราชดำริ เพื่อไปดูเหตุการณ์ที่แยกศาลาแดง เมื่อไปถึงแยกสารสินเห็นผู้ชุมนุมหลบอยู่ตามเต็นท์ ต้นไม้ และตอม่อ สักพักได้ยินเสียงดังคล้ายเสียงปืนและระเบิดดังขึ้น เห็นผู้ชุมนุมวิ่งมาจากทางร.พ.จุฬาลงกรณ์ แล้วขอให้ไปช่วยผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตบริเวณบังเกอร์หน้าร.พ.จุฬาฯ ระหว่างนั้นเห็นว่ามีการนำผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตออกมา แล้วขอให้พยานขับรถ จยย.นำไปที่ร.พ.ตำรวจ เห็น 'นรินทร์ ศรีชมภู' เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.ถูกยิงเสียชีวิต ภัสพล เบิกความต่อว่า จากนั้นพยานได้กลับไปที่แยกสารสินอีกครั้ง สักพักได้ยินเสียงปืนดังมาจากหน้าร.พ.จุฬาฯ ต่อมาเวลา 09.00 น. พยานเข้าไปหลบอยู่หลังต้นไม้บริเวณหน้าอาคารบ้านราชดำริจนสิ้นเสียงปืน พยานจึงชะโงกหน้าออกไปดู แล้วก็ถูกยิงที่ลำคอและล้มลง เพื่อนจึงดึงพยานเข้าไปหลบ สักพักเห็นชายที่ถือโทรโข่งที่อยู่ใกล้พยานก็ถูกยิงเช่นกัน ผ่านไปประมาณ 10 นาที กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำพยานและผู้เสียชีวิตขึ้นรถกระบะไปส่งที่ร.พ.ตำรวจ โดยทราบภายหลังว่าคือนายนรินทร์ ศรีชมภู ส่วนผู้ตายในคดีนี้พยานไม่ทราบว่าถูกยิงที่ใด พนง.สอบสวน ชี้ ชายนิรนาม ถูกยิงใกล้ 'ถวิล-นรินทร์-ธนโชติ' พ.ต.ท.วัฒนา ศิริสูงเนิน พนักงานสอบสวน ชำนาญการพิเศษ ดีเอสไอ เบิกความสรุปว่า จากการสอบสวนทราบว่า ผู้ตายเสียชีวิตในเวลาประมาณ 07.00 น. บริเวณตรงข้ามตึก สก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ศพ เสียชีวิตในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน คือ นายถวิล คำมูล นายนรินทร์ ศรีชมภู และนายธนโชติ ชุ่มเย็น โดยนายถวิลอยู่บริเวณแนวบังเกอร์ยางรถยนต์หน้าตึก สก. ก่อนหลบไปที่ป้ายจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะและถูกยิงล้มลง มีผู้ชุมนุม 2 คน จะเข้าไปช่วย แต่ก็ถูกยิงบาดเจ็บเช่นกัน โดยทหารพบศพชายไทยไม่ทราบชื่อ ขณะเข้ามาเคลียร์พื้นที่ ทหารที่ปฏิบัติการในวันเกิดเหตุมาจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ รับผิดชอบบริเวณสวนลุมพินี ถนนพระราม 4 แยกศาลาแดง และถนนราชดำริ แผนที่ 1: จุดที่นายถวิล คำมูล และชายไม่ทราบชื่อนอนเสียชีวิตอยู่ (ภาพจาก ทีมข้อมูล ศปช.) จนท.คุมทั่วพื้นที่ มีชุดระวังป้องกันบนที่สูง พยาน เบิกความต่อว่า ในการสอบสวนยังทราบว่า มีการจัดชุดระวังป้องกันบนที่สูง เช่น อาคารไทยประกันชีวิต อาคารอื้อจื้อเหลียง โดยขึ้นตรงกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2553 มีการสั่งให้ทหารเคลื่อนกำลังเข้ากระชับพื้นที่ เข้าคุมพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกสวนลุมพินี อีกทั้งยังคุมพื้นที่อยู่ที่สนามมวยลุมพินี และบนสะพานข้ามแยกศาลาแดง พร้อมกับประกาศห้ามเข้าพื้นที่ พยานคิดว่าไม่น่าจะมีใครสามารถเข้าไปภายในสวนลุมพินีได้ พ.ต.ท. วัฒนาเบิกความอีกว่า จากการสอบสวนนายปรีชา สุกใส ผู้ชุมนุมที่นั่งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 14 พ.ค.2553 ให้การว่าได้ยินเสียงปืนมาจากตึก สก แล้วชี้นิ้วให้เพื่อนดู ปรากฏว่าถูกยิงที่นิ้วชี้ และจากการสอบสวนยังทราบว่า มีการสั่งการให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษจากทหารทั้ง 4 เหล่า มาร่วมปฏิบัติการด้วย โดยในวันที่ 19 พ.ค.2553 ศอฉ.สั่งการให้เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 03.00 น. จากการชันสูตรพลิกศพพบว่า ผู้ตายถูกกระสุนปืนความเร็วสูง หลังสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด จึงสรุปความเห็นว่า ผู้ตายในคดีนี้เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร พันโทจาก ราบ 11 เบิก ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณที่ชายนิรนามเสียชีวิต ด้าน นายทหารยศพันโท สังกัดกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เบิกความโดยสรุปว่าช่วงที่มีการชุมนุม พยานเป็นรองผบ. กองพันทหารราบที่ 2 ร.11 รอ. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2553 ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับกองพันให้จัดกำลังพล 150 นาย แบ่งเป็น 5 ชุด ชุดที่ 1-4 มีชุดละ 10 นาย ถือปืนลูกซองบรรจุกระสุนยาง 30 นัด และสะพายปืนเล็กยาวไว้ด้านหลังแต่ไม่มีกระสุน ส่วนกระสุนจริงอยู่ในขบวนสัมภาระด้านหลังที่เคลื่อนที่ตาม สำหรับทหารอีก 110 นาย มีเพียงโล่และกระบองเท่านั้น พยานเบิกความต่อว่า พยานเป็นผู้ควบคุมกำลังพล 1 ชุด รวมพยานเป็น 10 นาย ส่วนอีก 4 ชุด ขึ้นตรงกับผู้บังคับกองพัน ในวันที่ 19 พ.ค.2553 เวลา 05.30 น. ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนไปตามถนนวิทยุ และเข้าควบคุม อาคารเคี่ยนหงวน บริเวณแยกสารสิน เมื่อไปถึงพบว่ามีผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 10 กว่าคน พยานจึงให้ สน.ลุมพินี มารับตัวไป แต่หน่วยของพยานควบคุมพื้นที่บริเวณด้านล่างเท่านั้น เนื่องจากมีกำแพงล้อมไว้ไม่สามารถเข้าไปในตึกได้ จึงไม่ทราบว่าจะมีใครอยู่หรือไม่ พยานประจำอยู่จนถึงวันที่ 20 พ.ค.2553 เวลา 14.00 น. ระหว่างนั้นไม่มีการยิงปืน หรือปะทะกับผู้ชุมนุมแต่อย่างใด จาก นั้นทนายความถามว่า ขณะประจำการได้ยินเสียงปืนในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ พยานเบิกความว่า พยานจดจ่อกับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่ง จึงไม่ทราบว่าจะมีเสียงดังมาจากที่อื่นหรือไม่ ทนายความถามต่อว่าการเข้าควบคุมพื้นที่นั้น ตรวจพบอาวุธหรือไม่ พยานเบิกความว่าเวลา 18.30 น. เห็นว่าชุดที่มี 110 นาย ตรวจยึดอาวุธในพื้นที่ได้หลายรายการ ประกอบด้วย มีด ประทัด ถังดับเพลิงที่ดัดแปลงเป็นระเบิด ปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก และปืนอาก้า 2 กระบอก แต่ไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ ทนายความถามอีกว่า ปืนอาก้า และปืนเอ็ม 16 ใช้ในหน่วยงานใด พยานเบิกความว่า ปืนอาก้า ไม่ได้ใช้ในกองทัพบก แต่ใช้ในหน่วยทหารพราน ส่วนปืนเอ็ม 16 ใช้ในหน่วยราชการทั้งทหารและตำรวจ สำหรับการเสียชีวิตของชายไทยไม่ทราบชื่อ พยานไม่ได้เกี่ยวข้อง เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ส่วนหน่วยอื่นจะใช้อาวุธและกระสุนจริงหรือไม่ พยานไม่ทราบ ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไป วันที่ 22 พ.ย. เวลา 09.00 น.
ไต่สวนการตาย 'สมชาย ช่างซ่อมรองเทา' เยื่อกระสุน 16 พ.ค พระราม 4 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายสมชาย พระสุพรรณ ช่างซ่อมรองเท้า ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณเชิงสะพานลอยคนข้าม ใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ย่านชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระราม 4 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 พยานเชื่อกระสุนสังหารผู้ตายมาจากทหาร นายวีระชัย ดอกพอง ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เบิกความโดยสรุปว่าในวันเกิดเหตุ เวลา 09.30 น. เห็นผู้ตายเดินมาจากสะพานลอยตรงข้ามปากซอยงามดูพลี ขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ตั้งแนวอยู่ตรงสะพานไทย-เบลเยียม จึงตะโกนบอกผู้ตายไม่ให้เดินออกมา ผ่านไปไม่นานก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นมาจากแนวที่เจ้าหน้าที่ยืนอยู่ เหตุที่เชื่อว่ากระสุนมาจากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีแต่เจ้าหน้าที่ และตอนที่พยานจะเข้าไปช่วยผู้ตาย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ยิงสกัด และที่เชื่อว่าเป็นกระสุนจริง เนื่องจากพบรอยกระสุนที่กำแพง และบังเกอร์ยางรถยนต์ ต่อมาทนายความญาติผู้ตายถามพยานว่า ผู้ตายแต่งกายอย่างไร พยานเบิกความว่าใส่กางเกงขายาวสีเข้ม และเสื้อสีอ่อน ทนายความญาติผู้ตายถามต่อว่า พยานเห็นชายชุดดำ หรือผู้ชุมนุมมีอาวุธในบริเวณดังกล่าวหรือไม่ พยานเบิกความว่าไม่เห็น และไม่มี พยานเชื่อว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้ยิงผู้ตาย แต่ไม่ทราบว่าเป็นคำสั่งผู้ใด แพทย์ผู้วินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตระบุกระสุนเข้าหัวฝังในเป็นเหตุเสียชีวิต ต่อมา นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ แพทย์ ผู้วินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิต เบิกความโดยสรุปว่า ขณะที่พยานรับราชการอยู่ที่ร.พ. เลิดสิน กทม. มีอาสาสมัครนำคนไข้มาส่งเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 เวลา 09.50 น. พร้อมให้ประวัติว่าถูกยิงที่ศีรษะ แพทย์ศัลยกรรมประจำแผนกฉุกเฉินจึงรักษา แต่คนไข้อาการรุนแรง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากนั้น ร.พ.จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกกระสุนปืนเสียชีวิต แต่ไม่มีการผ่าพิสูจน์ เพราะเห็นสาเหตุเสียชีวิตแน่นอน นพ.สุกิจเบิกความต่อว่า โดยลักษณะบาดแผลเข้าได้กับกระสุนที่ศีรษะด้านหน้า กระสุนฝังใน ทำลายสมอง จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต บาดแผลมีร่องรอยกระสุนเข้า แต่ไม่มีร่องรอยกระสุนออก บาดแผลยาว 2 ซ.ม. เหมือนรูกระสุนทั่วไป โดยมีพยานเป็นผู้ตรวจ และลงความเห็นการเสียชีวิตของผู้ตาย หรือนายสมชาย พระสุพรรณ ที่พยานไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน นอกจากนี้ พยานยังได้ไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน และกรมสอบสวน คดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก่อนหน้านี้ด้วยแล้ว จากนั้นทนายความญาติผู้ตายถามพยานว่า ทราบหรือไม่ว่าผู้ตายถูกยิงที่ไหน พยานเบิกความว่าทราบเพียงว่าผู้ตายถูกยิงจากพื้นที่ชุมนุมก่อนหน้านำส่งร.พ. 20 นาที แต่จากบาดแผลไม่สามารถระบุวิถีกระสุนได้ ภายหลังพยานทั้ง 2 ปากเบิกความเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 13 และ 19 พ.ย.
เรียบเรียงจาก : ข่าวสดออนไลน์
หมายเหตุ : อ่านข้อมูลเกี่ยวกับชายไม่ทราบชื่อเพิ่มเติมได้ที่ "เปิดหน้าหาชื่อชายนิรนามเหยื่อสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โฆษก พธม. ระบุประชาชนตื่นตัว - หลังสนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำฯ ยุติบทบาท Posted: 09 Nov 2013 03:32 AM PST โฆษกพันธมิตรเผยความเห็นของ 'สนธิ ลิ้มทองกุล' ที่ระบุว่าแกนนำ พธม. ยุติบทบาทนั้นถูกต้องแล้ว และความฮึกเหิมของทักษิณถึงขั้นทรยศคนเสื้อแดงได้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิด พลังใหม่ + ปชป. ออกมาเคลื่อนไหวอย่างเต็มศักยภาพ - สุวินัยชี้สนธิเดินหมากอนัตตา เป็นขั้นสูงสุดของวิชากลยุทธ์แบบเต๋า โฆษก พธม. เผยความเห็นของสนธิ ลิ้มทองกุล ต่อการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 9 พ.ย. 2556 - เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของสนธิ ลิ้มทองกุล 66 ปี และวันก่อตั้งเครือผู้จัดการ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้ใกล้ชิดของนายสนธิ ได้โพสต์บทความในเฟซบุ๊คเพจ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ขึ้นหัวข้อว่า "ครบรอบ 66 ปี สนธิ ลิ้มทองกุล "ถ้าเราไม่ยุติบทบาท คนจะไม่ออกมาชุมนุมมากขนาดนี้"!!! โดยมีรายละเอียดดังนี้ วันนี้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ได้กล่าวถึงการชุมนุมในช่วงเวลานี้กับพนักงานเนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 66 ปี และวันคล้ายวันเกิดของค่าย ASTVผู้จัดการ โดยได้กล่าวถึงสถานการณ์ในการชุมนุมในช่วงเวลานี้ว่า "ถ้าเรายังไม่ยุติบทบาท ประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องนี้ทั่วประเทศอย่างนี้หรือไม่?" คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ให้ลองพิจารณาเปรียบเทียบกับปี 2555 (30 พ.ค.-1 มิ.ย.) ที่ในเวลาตอนนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ (ฉบับ พล.อ.สนธิ บุญญรัตกลิน) ซึ่งเนื้อหาในเวลาตอนนั้นก็คือการนิรโทษกรรมล้างความผิดที่แทบจะไม่ต่างกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับปัจจุบันเลย แต่ในเวลานั้นแม้การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะได้รับชัยชนะด้วยการปิดล้อมสภาฯ จนไม่สามารถดำเนินการประชุมได้สำเร็จ แต่ผู้ชุมนุมก็มีจำกัดอยู่กับคนหน้าเดิมที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น จากคำพูดของคุณสนธิ ผมอยากให้ย้อนกลับไปอ่านแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2556 ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างละเอียดก็จะยิ่งเข้าใจว่าการยุติบทบาททางยุทธวิธีนั้นคืออะไร? "การยุติบทบาทครั้งนี้ถือเป็นยุทธวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในปัจจุบัน หรือผู้ที่มีโอกาสจะมีอำนาจในอนาคต รวมถึง ทหารภายใต้จอมทัพไทย และศาลที่กระทำการภายใต้พระปรมาภิไธย ตลอดจนผู้ที่มีบทบาทในบ้านเมือง รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ของตนเองและเลือกเดินทางของตัวเอง มากกว่าที่จะคาดหวังหรือรอมติการนำมวลชนโดยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ในเวลานั้นคนยังไม่เข้าใจว่าเรายุติบทบาททางยุทธวิธีคืออะไร แต่เรารู้ว่าถ้าเรื่องใหญ่ๆ แม้กระทั่งเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมยังต้องให้ผูกขาดการชุมนุมอยู่กับแกนนำพันธมิตรฯซึ่งมีมวลชนอยู่เพียงเท่านี้ นั่นย่อมแสดงว่าภาคประชาชนนิ่งเฉยเกินไปแล้ว คุณสนธิ ได้วิเคราะห์ว่าที่ผ่านมาคนที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวเพราะ 1. นิ่งเฉยเพราะคิดว่ามีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ผูกขาดต่อสู้ได้รับชัยชนะประสบความสำเร็จมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จึงคิดว่าธุระไม่ใช่ เพราะคิดว่ามีคนต่อสู้ให้แทนแล้ว อีกทั้งความสำเร็จในการเคลื่อนไหวมวลชนติดต่อเนื่องกันหลายปีมากเกินไป พลังการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯได้กลบการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มอื่นไปหมด จนคนกลุ่มอื่นๆ ก็ไม่อยากจะจัดการชุมนุม 2. นิ่งเฉยเพราะไม่ชอบพันธมิตรฯ หรือแกนนำพันธมิตรฯ เพราะเราอยู่ในบทบาทนี้นานเกินไป วิวัฒนาการหลายปีย่อมไม่ได้สะสมคนที่ชอบเราเป็นทองเนื้อแท้อย่างเดียว แต่คนที่ไม่ชอบพวกเราก็มีเพิ่มมากด้วยเช่นกัน (ทั้งการชุมนุมที่สนามบิน ตั้งพรรคการเมืองใหม่ การโหวตโน การประท้วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ ) และหลายคนก็ไม่อยากเคลื่อนไหวแล้วถูกตราหน้าว่าเป็นพวกเสื้อเหลือง (ขั้วสี) หรือเป็นพวกพันธมิตรฯ ด้านหนึ่ง การยุติบทบาท จึงเหมือนเป็นการ "เร่งปฏิกิริยา" ให้เกิดขึ้น ฝ่ายทักษิณฮึกเหิมมากขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีใครขวางได้ ความฮึกเหิมของทักษิณถึงขนาดยอมทรยศมวลชนคนเสื้อแดงจนหมดสิ้น เมื่อการยุติบทบาทที่เร่งปฏิกิริยาให้ฝ่ายระบอบทักษิณให้แสดงความชั่วมากขึ้น กฎหมายปรองดองที่เว้นมาปีกว่า ก็ถูกแปรญัตติกลายร่างกายเป็นกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับลักหลับที่ทำลายความชอบธรรมของคำว่าเสียงข้างมากในสภาจนหมดสิ้น ในอีกด้านหนึ่ง ก็เลยทำให้ประชาชนที่ส่วนหนึ่งต้องออกมาทำหน้าที่ เพราะคิดว่าไม่สามารถฝากความรับผิดชอบไว้กับแกนนำพันธมิตรฯที่ยุติบทบาทไปแล้ว ในขณะคนที่อยากเคลื่อนไหวแต่ไม่อยากอยู่ภายใต้ธงของพันธมิตรฯ ก็ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม ทุกชนชั้น ทุกสาขาอาชีพ และทั่วประเทศ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งๆ ที่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับที่พันธมิตรฯได้เคยออกมาต่อสู้เมื่อปีที่แล้ว เราไม่ได้ยุติบทบาทเพื่อให้เกิดพลังใหม่ด้านเดียว แต่เราได้พยายามผลักดันคนที่มีศักยภาพและมีฐานคะแนนเสียงมากที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์ให้ออกมาด้วย และสิ่งที่เราคิดก็ได้รับผลสำเร็จ เพราะพรรคประชาธิปัตย์มีศักยภาพในการนำที่โดดเด่นกว่าการชุมนุมของคนกลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด จนวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้อยู่บนคลื่นมหาชนที่อาจไปกว่าเพียงแค่การคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว และถ้าประชาธิปัตย์ทำได้ดีจนถึงขั้นนำไปสู่การปฏิรูปประเทศได้จริง พรรคประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นพรรคการเมืองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์และอยู่ในใจประชาชนอีกตราบนานเท่านาน คุณสนธิ พูดกับผมว่าการยุติบทบาทคือการลดอัตตา เพื่อชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่า และขอให้เป็นชัยชนะกับประเทศชาติ ชัยชนะนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในมือเราเลยก็ได้ ผมนึกถึงประโยคสุดท้ายในแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายของพันธมิตรฯฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2556 อีกครั้ง: "เราขอยืนยันว่าจะยังคงแน่วแน่ยึดมั่นในอุดมการณ์ของวีรชนและพี่น้องประชาชนที่เสียสละไม่เคยเปลี่ยน และขอให้มั่นใจว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นยุทธวิธีที่จะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน" บทความของอดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุ
'สุวินัย ภรณวลัย' ชี้สนธิเดินหมากอนัตตา สุดยยอดกลยุทธ์เต๋า ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 พ.ย. สุวินัย ภรณวลัย รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ได้ โพสต์บทความ หลังจากไปแสดงความยินดีกับสนธิเนื่องในวันคล้ายวันเกิดด้วยว่า "เรื่องราวบางเรื่อง มันเหมือนได้ถูกฟ้าลิขิตเอาไว้แล้ว เมื่อนรกส่งทักษิณมาเกิด ฟ้าก็ส่งสนธิ ลิ้มมาเป็นดาวข่มทักษิณด้วยเช่นกัน... เมื่อวานผมไปถึงธรรมศาสตร์แต่เช้ามืดเพื่อเตรียมไปร่วมเดินขบวนกับชาวธรรมศาสตร์ ผมจึงถือโอกาสไปอวยพรวันเกิดคุณสนธิที่บ้านพระอาทิตย์ตั้งแต่เช้าตรู่โดยเอาหนังสือปกแข็ง"มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์" ของผมไปให้เป็นของขวัญด้วย.." "ผมขออวยพรให้พี่สนธิอยู่เป็นเสาหลักของบ้านเมืองไปอีกนานเท่านาน..สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากการที่แกนนำพันธมิตรประกาศยุติบทบาททั้งสิ้น" "ผมดีใจมากที่อาจารย์สุวินัยอ่านหมากตานี้ของผมออก หมากพิฆาตที่ทำให้ทุกภาคส่วนขยับโดยผมไม่ต้องขยับ" "....นี่คือหมากอนัตตาหรือหมากอกรรมของเต๋าซึ่งเป็นกลยุทธ์ขั้นสุดยอดของหลักวิชากลยุทธ์แล้ว คนที่จะเดินหมากแบบนี้ได้ นอกจากจะอ่านสถานการณ์ในภาพรวมขาดและอ่านหมากล่วงหน้าได้หลายๆ ชั้นแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีตบะ ความอดกลั้นที่สูงยิ่งและต้องยอมเสียสละตัวเองเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเดินหมากวิเศษแบบนี้ ผู้เดินนอกจากจะถูกเข้าใจผิดแล้ว ผู้เดินยังไม่ได้อะไรเพื่อตัวเองเลย...นี่คือราคาที่ผู้เดินหมากวิเศษนี้ต้องจ่ายเพื่อแลกกับชัยชนะของส่วนรวม...ข้างต้นนี้คือความเข้าใจที่นักกลยุทธ์คนหนึ่งมีต่อการวางกลยุทธ์ขั้นเทพของยอดนักกลยุทธ์ของภาคประชาชนที่ยังมีชีวิตอยู่คนหนึ่งของประเทศนี้...เรื่องราวของการเดินหมากวิเศษขั้นเทพนี้จะกลายเป็นตำนานของคนรุ่นหลังอย่างแน่นอน...คุณคำนูณ สิทธิสมานที่อยู่ที่นั่นด้วยได้กล่าวกับผมว่า"อาจารย์สุวินัย ในประเทศนี้มีทักษิณคนเดียวเท่านั้นที่ทำเช่นนี้ได้ จากสถานการณ์ที่เกือบจะกินรวบประเทศได้หมดแล้ว เพราะความย่ามใจเพียงครั้งเดียวทำให้สถานการณ์พลิกกลับมาเป็นแบบนี้"...ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มาจากประสิทธิผลของหมากวิเศษขั้นเทพที่ชื่อว่าหมากอนัตตาหรือหมากอกรรมแบบเต๋านี้นั่นเอง
ที่มาของภาพประกอบหน้าแรก: วิกิพีเดีย/แฟ้มภาพ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : รวมพลคนไม่รักทักษิณ Posted: 09 Nov 2013 02:07 AM PST จากความดื้อด้านในการกฎหมายนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ได้ทำลายเหตุผลที่ชอบธรรมของการต่อสู้ของฝ่ายตนเอง และทำลายแนวร่วมประชาธิปไตยที่เคยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยไปแทบหมดสิ้นเชิงแล้ว ในที่สุด ผลพวงของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่งแต่ไม่สุดซอยของพรรคเพื่อไทยก็เห็นได้ชัด คือ การแตกแยกกันเองมากมายของคนเสื้อแดงทั้งหลายที่เคยรักกัน ต่อสู้มาด้วยกัน วันนี้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย แล้วด่ากันเอง โจมตีกันเอง ขุดคุ้ยกันเอง ทำให้ขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยอ่อนกำลังลงอย่างมาก แต่ในทางตรงข้าม กฎหมายนี้กลายเป็น พรบ.เรียกแขก ทำให้พลังของขบวนการต่อต้านทักษิณ ได้ฟื้นคืนชีวิตมาเข้มแข็งอีกครั้ง หลังจากที่เหี่ยวเฉามาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี หลังจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 ย้อนกลับไปวันที่ 18 ตุลาคม ที่กรรมาธิการของกฎหมายนิรโทษกรรมเสียงข้างมาก ลงมติสนับสนุนการนิรโทษแบบเหมาเข่ง ซึ่งมีเนื้อหาอาจสรุปได้คือ การนิรโทษกรรมให้กับฆาตกรที่ก่อการสังหารหมู่ที่มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย แต่ไม่นิรโทษแก่ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมาตรา 112 และยังฉวยโอกาสนิรโทษกรรมทหารย้อนไปถึง พ.ศ.2547 ให้รวมกรณีกรือเซะ-ตากใบ ด้วยการดำเนินการที่ล้มระเบียบปฏิบัติของรัฐสภาอย่างน่าเกลียด ในวันนั้น มีเพียงกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอยู่ที่สวนลุมพินีกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และอีกกลุ่มหนึ่งที่แยกอุรุพงษ์ เรียกว่ากลุ่มเครือข่าย นักศึกษา ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) แต่ทั้งหมดมีคนเข้าร่วมน้อยมากและแทบจะไม่ได้รับความสนใจเลย แต่ปรากฏว่า หลังจากการผลักดันกฎหมายเช่นนี้ ฝ่ายค้านคือ พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นจังหวะในดีในการเคลื่อนไหวใหญ่ทำลายความชอบธรรมของรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ ส.ส.กลุ่มหนึ่ง ได้จัดการชุมนุมต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมที่สามเสน เริ่มจากวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงทำให้กระแสการต่อต้านมีมากขึ้น ในคืนวันนั้น สภาผู้แทนราษฎรประชุมข้ามคืนจนถึงเวลา 4.00 น. จากนั้นก็ได้มีการลงมติผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่งวาระที่สองและวาระที่สามในคราวเดียวกัน โดยมี ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 310 คน ลงมติสนับสนุน ไม่มีเสียงคัดค้านเพราะฝ่ายค้านออกจากที่ประชุมประท้วง มี ส.ส.เพียง 4 คนที่งดออกเสียง คือ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ เหวง โตจิราการ ขัตติยา สวัสดิผล และ วรชัย เหมะ การลงมติอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ถือเป็นการเดินหมากการเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการผลักกฎหมายเผือกร้อนฉบับนี้ไปสู่วุฒิสภา และปิดทางที่ฝ่ายที่ต่อต้านจะตั้งข้อเรียกร้องกดดันต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย แต่กระนั้น ฝ่ายพรรคเพื่อไทยประเมินผิดพลาดว่า ม็อบต่อต้านรัฐบาลคงจะจุดไม่ติด โดยเฉพาะม็อบประชาธิปัตย์คงจะไม่มีน้ำยาและต้องสลายตัวในเวลาไม่นาน กลับกลายเป็นว่ากระแสการต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่งขยายไปอย่างรวดเร็วในกลุ่มปัญญาชนฝ่ายไม่เอาทักษิณ และขยายไปชนชั้นกลาง และกลุ่มประชาสังคมส่วนอื่นที่นิ่งเฉยมาหลายปีกลับลุกขึ้นมาแสดงปฏิกิริยา เริ่มจากข่าวการต่อต้านของกลุ่มแพทย์รามาธิบดีที่มีข่าวตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ว่าจะมาร่วมชุมนุมกับม็อบอุรุพงษ์เพื่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม แม้ว่าจะกลายเป็นเพียงการเดินขบวนของกลุ่ม"แพทย์ไทยหัวใจรักชาติ" ที่ประสานงานโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ก็ถือได้ว่าเป็นการเปิดฉากต่อต้านโดยกลุ่มวิชาชีพแพทย์ จากนั้นต่อมา ก็มีประชาสังคมหลายกลุ่มที่ออกแถลงการณ์คัดค้านการนิรโทษกรรม เช่น กลุ่มพีมูฟหรือขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม( ขปส.) องค์การต่อต้านคอรับชั่นประเทศไทย กลุ่มคณาจารย์ 491 คนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในวิชาชีพไอที. 61 คน ชมรมแพทย์ชนบท มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กลุ่มอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และแม้กระทั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และที่สร้างผลสะเทือนมากคือ คณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รวบรวมรายชื่อถึง 538 คนลงนามจดหมายเปิดผนึกคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เผยแพร่ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ต่อมา คณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ออกแถลงการณ์ในลักษณะเดียวกัน จะเห็นได้ว่าการต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ได้ลุกลามจากพวกฝ่ายขวากลุ่มเล็ก ขยายมาสู่แวดวงมหาวิทยาลัย เพราะไม่เพียงแต่อาจารย์เท่านั้น กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งสำคัญก็ได้มีการระดมลงชื่อคัดค้านกฎหมายฉบับนี้กับอย่างคึกคัก จากนั้น ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยก็ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยในวันที่ 4 พฤศจิกายน ในที่สุดอธิการบดีมหาวิทยาลัย 25 แห่งก็ได้ออกแถลงการณ์ร่วมคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมเช่นกัน สำหรับความเคลื่อนไหวด้านมวลชน ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน กลุ่มชุมนุมสวนลุมพินีได้เคลื่อนกำลังมารวมกับกลุ่มชุมนุมที่อุรุพงษ์ โดยกลุ่มผู้นำพันธมิตร คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พิภพ ธงไชย และ สมเกียรติ พงศ์ไพบูลย์ กลับมาเป็นผู้มีบทบาทนำอีกครั้ง ส่วนการชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์ที่สามเสน ได้ยกระดับการชุมนุมมาตั้งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ยังมีรายงานข่าวกลุ่มอื่นที่ร่วมเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มนักธุรกิจถนนสีลม กลุ่มข้าราชการกระทรวงพานิชย์ และแม้กระทั่งกลุ่มดาราศิลปินคนทำงานบันเทิง และประชาชนกลุ่มอื่นจำนวนมากที่แสดงการคัดค้านอยู่ในโซเชียลมีเดีย ส่วนกลุ่มแพทย์ชนบทก็ได้รณรงค์ให้แพทย์ทั้งลายผลักดันการเคลื่อนไหวต่อต้านให้กระจายตามต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้กระแสต่อต้านนิรโทษกรรมยิ่งโหมกระพือมากขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจคือ ข้อเรียกร้องจากกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้หลายกลุ่ม มักจะมุ่งเป้าไปที่การต่อต้านการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากคดีทุจริตคอรัปชั่น โดยเสนอว่า ผู้ที่กระทำการทุจริตคอรัปชั่นควรจะถูกลงโทษ แต่ไม่ได้สนใจกรณีนิรโทษกรรมประชาชน และไม่กล่าวถึงการนิรโทษกรรมฆาตกรที่ก่อการสังหารประชาชน และส่วนมากจะไม่พูดถึงเรื่องการเว้นไม่นิรโทษเหยื่อมาตรา 112 ตัวอย่างของกรณีนี้ที่เห็นได้ชัดก็คือ แถลงการณ์ของอาจารย์และนักวิชาการวิชาชีพไอที องค์การต่อต้านคอรับชั่นประเทศไทย คณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแถลงการณ์ของที่ประชุมอธิการบดี เป็นต้น ท่าทีเช่นนี้จึงถูกวิจารณ์เช่นกันว่า ส่วนมากพวกต่อต้านเหล่านี้ก็เป็นพวกแอบเหลือง หรือสนับสนุนเสื้อเหลืองอยู่แล้ว จึงเป็นการคัดค้านการนิรโทษกรรมแบบคับแคบ และไม่สนใจในชีวิตของประชาชนระดับล่างที่ถูกเข่นฆ่า หรือตกเป็นเหยือต้องติดคุกเลย สรุปแล้ว กระแสที่จุดติดในขณะนี้ ก็คือการรวมพลคนไม่รักทักษิณทั้งหลาย และอาศัยประเด็นความไม่ชอบธรรมของกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง มาสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของพวกเขา ในขณะที่ฝ่ายนักวิชาการปีกประชาธิปไตยส่วนมากก็ไม่มีใครสนับสนุนระเบียบวาระของพรรคเพื่อไทยเลย จึงนำมาซึ่งความยากลำบากอย่างยิ่งแก่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สถานการณ์จึงทำให้รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์การเมืองครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่บริหารประเทศมา คงจะต้องกล่าวต่อไปว่า จากความดื้อด้านในการกฎหมายนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ได้ทำลายเหตุผลที่ชอบธรรมของการต่อสู้ของฝ่ายตนเอง และทำลายแนวร่วมประชาธิปไตยที่เคยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยไปแทบหมดสิ้นเชิงแล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยจึงต้องเผชิญปัญหาและแก้ไขวิกฤตด้วยตนเองตามลำพัง และไม่ว่าท่านนายกจะน้ำตาคลออย่างไร ผมก็ขอเลือกเป็นผู้ชม และไม่เอาใจช่วยใดๆ ทั้งสิ้น นี่เป็นท่าทีอันชัดเจน
ที่มา: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 437 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พระวิหาร: เรามาถึงจุดเสี่ยงนี้ได้อย่างไร Posted: 09 Nov 2013 01:49 AM PST มาถึงวันนี้ ประชาชนและสื่อมวลชนที่ไม่คลั่งชาติจนเกินไปน่าจะรับรู้ข้อเท็จจริงที่ว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลนายสมัครสนับสนุนให้กัมพูชานำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และลงนามโดยนายนพดล ปัทมะ ไม่ได้ทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นอ้างสิทธิ์ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. โดยเฉพาะเมื่อข้อเท็จจริงนี้ได้รับการยืนยันโดยท่านทูตวีรชัย พลาดิศัย หัวหน้าทีมกฎหมายของฝ่ายไทย เพราะแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ระบุชัดเจนว่า "ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท" ซึ่งก็คือ ไม่มีการเอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วยนั่นเอง แถลงการณ์ร่วมฯ ยังระบุอีกว่า "ในระหว่างที่ยังไมมีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมกาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตก และทางทิศเหนือ แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย" สิ่งนี้หมายความว่าไทยและกัมพูชาได้บรรลุข้อตกลงที่จะบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน อันเป็นแนวทางที่น่ายกย่องชื่นชม ทั้งสองฝ่ายมีแต่ได้กับได้ ประการสำคัญ แถลงการณ์ร่วมระบุไว้ชัดเจนว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาและไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของทั้งสองประเทศ แต่ความสำเร็จที่ใช้เวลาเจรจาต่อเนื่องถึงสามรัฐบาล (ทักษิณ-สุรยุทธ์-สมัคร) นี้ ก็ถูกทำลายลงด้วยพลังคลั่งชาติและความเกลียดชังทักษิณอย่างไม่ลืมหูลืมตา แถลงการณ์กลายเป็นโมฆะ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ว่าแถลงการณ์ร่วมละเมิด รธน. มาตรา 190 เพราะมีสถานะเป็นหนังสือสัญญา ที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ปัญหาคือ รธน.2550 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า หนังสือสัญญาที่ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา คือ "หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" เท่านั้น แต่ศาลกลับเพิ่มคำว่า "อาจจะ" เข้าไปในคำตัดสิน จึงเท่ากับว่า ศาลเพิ่มถ้อยคำลงไปใน รธน.เสียเอง โดยไม่สามารถยืนยันได้ว่าแถลงการณ์ร่วมทำให้ไทยสูญเสียดินแดนจริงหรือไม่ นอกจากนี้ เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในวันที่ 28 มิถุนายน 2551 ให้รัฐบาลสมัครระงับการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วม ต่อมารัฐบาลยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้น ได้สั่งจำหน่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะที่ 2 แต่ต่อมาปรากฎข่าวว่า ก่อนที่องค์คณะที่ 2 จะลงนามในคำสั่ง ประธานศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเปลี่ยนองค์คณะไปเป็นองค์คณะที่ 1 และวันที่ 11 กันยายน 2551 ศาลปกครองสูงสุดก็มีคำสั่งให้ยกเลิกแถลงการณ์ร่วม ต่อมามีผู้ร้องต่อ ปปช. ประธานศาลปกครองสูงสุดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่ ปปช.ก็ต้องหงายหลัง เมื่อคนในวงการตุลาการได้ช่วยกันออกมาปกป้องว่า ปปช.ไม่มีอำนาจหน้าที่มาตรวจสอบตุลาการ สังคมไทยอยู่ในภาวะฝุ่นตลบหลายปี สื่อมวลชนจำนวนมากช่วยกันตอกย้ำว่าเพราะทักษิณต้องการทำธุรกิจในกัมพูชา, เรายังมีสิทธิทางกฎหมายที่จะทวงปราสาทพระวิหารคืนได้อีก, ทางขึ้นพระวิหารมีแต่ฝั่งไทยเท่านั้น มันจึงควรเป็นของไทย, กัมพูชาได้แต่ซากปรักหักพังไป แต่พื้นดินใต้ปราสาทยังเป็นของไทย, ถ้าไม่ถอดพระวิหารจากมรดกโลก ไทยไม่เพียงเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. แต่จะเสียพื้นที่ในภาคอีสานถึง 1.5 ล้านไร่ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เต็มไปด้วยแก๊สและน้ำมัน, ฮุน เซ็นเป็นคนชั่วร้าย ฯลฯ และเมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็รับเอาจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯ มาเป็นของตนอย่างไม่รีรอ เขานำเรื่องการปกป้องสิทธิ์ของไทยเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไปปะปนกับเรื่องตัวปราสาทพระวิหาร ด้วยการประกาศที่จะทำให้พระวิหารถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลกและขัดขวางแผนบริหารจัดการพระวิหารของกัมพูชาให้ถึงที่สุด ทั้งๆ ที่นายอภิสิทธิ์น่าจะรู้ดีว่า ไทยหมดสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์คำตัดสินศาลโลกไปตั้งนานแล้ว ฉะนั้น ตราบเท่าที่ไทยไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาเอาพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก การขึ้นทะเบียนมรดกโลกและบริหารจัดการพระวิหารย่อมเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของกัมพูชา ไทยในฐานะคนนอกไม่สามารถแทรกแซงได้ และด้วยเหตุผลนี้เอง ที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่เคยสนใจคำประท้วงคัดค้านของผู้แทนไทยเลย ยังไม่นับว่าตัวแทนที่ถูกส่งไปนั้น ได้พยายามบิดเบือนข้อมูล ทำให้ประชาชนไทยเข้าใจผิดบ่อยครั้ง กล่าวคือ เมื่อนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (คมล.) ในปี 2552 ที่สเปน ในการประชุมครั้งนี้กัมพูชาได้ขอเลื่อนการส่งแผนบริหารจัดการออกไปหนึ่งปี ซึ่ง คมล.ได้อนุมัติให้อย่างไม่มีปัญหา แต่รัฐบาลไทยกลับแถลงว่าคณะของนายสุวิทย์ได้นำชัยชนะชั่วคราวมาสู่ไทย เพราะสามารถทำให้ คมล.เลื่อนการจดทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกไปอีกหนึ่งปี สิ่งที่ประหลาดมากคือ สื่อมวลชนไทยทุกค่ายนำเสนอข่าวนี้โดยไม่เอะใจแม้แต่นิดเดียว ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงคือ พระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่กรกฎาคม 2551! เรื่องทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีกในปีถัดมา ในการประชุม คณะกรรมการมรดกโลก(คมล.) ที่บราซิล ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น นายอภิสิทธิ์ขู่ว่าไทยอาจถอนตัวจากสมาชิกของคมล. หากแผนบริหารจัดการพระวิหารได้รับอนุมัติ และไทยจะไม่ร่วมพิจารณาหารือเรื่องแผนบริหารจัดการ จนกว่าจะได้มีการตกลงปักปันเขตแดนเสียก่อน สิ่งที่อภิสิทธิ์เข้าใจผิดคือ ไทยไม่มีสถานะทางกฎหมายอะไรที่จะเข้าไปร่วมปรึกษาหารือการบริหารจัดการพระวิหาร เพราะนี่เป็นเรื่องระหว่างกัมพูชาและ คมล. เท่านั้น เขาไม่จำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากไทย แต่สิ่งที่น่าฉงนฉงายยิ่งกว่าก็คือ นายสุวิทย์ได้แถลงว่าคณะของเขาสามารถล้อบบี้ให้ คมล.เลื่อนการพิจารณาแผนฯออกไปได้จนถึงปีหน้า อีกทั้งกัมพูชาทำแผนไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด เขายังกล่าวว่ากัมพูชาได้นำบางส่วนของพื้นที่ทับซ้อนไปทำแผนบริหารจัดการ แม้ว่าในรายงานอีกชิ้นหนึ่ง เขายอมรับว่าไม่มีโอกาสเห็นตัวแผนเลยก็ตาม คำแถลงดังกล่าวสร้างความยินดีปรีดาให้กับสื่อมวลชนอย่างล้นเหลือ นายสุวิทย์และคณะได้รับการยกย่องราววีรบุรุษกู้ชาติ (ยกเว้นนายสุวิทย์แล้ว ผู้ร่วมคณะต่างได้ดิบได้ดีกันไป) แต่ปรากฏว่าสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาออกแถลงการณ์ตอบโต้คำกล่าวอ้างของนายสุวิทย์ ว่ากัมพูชาได้ยื่นแผนฯ และรายงานความก้าวหน้าในการอนุรักษ์พระวิหารแก่ศูนย์มรดกโลก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ไม่ใช่ คมล. ไปตั้งแต่มกราคม 2553 และศูนย์มรดกโลกยังมีความเห็นชื่นชมแผนฯของกัมพูชาอีกด้วย กัมพูชายังเยาะเย้ยไทยว่า ช่างไม่รู้ขั้นตอนการทำงานของ คมล.เอาเสียเลย แน่นอนว่าสื่อมวลชนไทยย่อมไม่ชายตาดูแถลงการณ์ตอบโต้จากฝ่ายกัมพูชา เดินหน้ายกย่องคณะของนายสุวิทย์ต่อไป เท่านั้นยังไม่พอ ในการประชุม คมล.ในเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งใกล้วันเลือกตั้งทั่วประเทศ จู่ๆ นายสุวิทย์ ก็ประกาศว่าประเทศไทยขอถอนตัวจาก คมล. เพราะฝ่ายหลังไม่ยอมทำตามคำร้องของฝ่ายไทยที่ให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการไปก่อน สุวิทย์ได้รับการสรรเสริญมากมายจากกลุ่มพันธมิตรฯ แต่เรื่องกลับโอละพ่อ เมื่อผู้อำนวยการ คมล.แถลงตอบโต้นายสุวิทย์อย่างทันทีทันควัน ว่าข้อกล่าวหาของนายสุวิทย์ไม่มีมูลความจริง ในที่ประชุมวันนั้น ไม่มีวาระพิจารณาแผนบริหารจัดการเลย อันที่จริง นายอภิสิทธิ์อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่านายสมัครและนายนพดล ที่จะอธิบายให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง ว่าไทยไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนอีกแล้ว สิทธิ์นั้นได้หมดไปตั้งแต่สิบปีหลังคำตัดสิน, ไทยต้องแยกแยะเรื่องปราสาทพระวิหารออกจากการปกป้องสิทธิ์ของไทยเหนือพื้นทีทับซ้อนรอบพระวิหาร, และมุ่งเจรจากับกัมพูชาเฉพาะเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้น เสียงเตือนจากนักวิชาการที่เรียกร้องให้ผู้นำต้องมีสติ ไม่เช่นนั้นไทยอาจสูญเสียมากไปกว่าที่เสียไปแล้ว ดูจะไม่เข้าโสตประสาทของรัฐบาลอภิสิทธิ์เสียเลย นายอภิสิทธิ์เลือกที่จะเล่นกับไฟชาตินิยม มุ่งถอดถอนพระวิหารออกจากสถานะมรดกโลก ทั้งๆ ที่เราไม่สิทธิ์เหนือโบราณสถานชิ้นนี้อีกแล้ว ยังไม่นับการแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าผู้นำกัมพูชาว่าเป็นกุ๊ย ให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ วิธีการเหล่านี้จึงเป็นการปิดโอกาสที่จะเจรจายุติปัญหาพื้นที่ทับซ้อนอย่างสันติ ขณะที่ผู้นำกัมพูชา นายฮุน เซ็น ก็พร้อมตอบโต้ด้วยคำพูดที่ดุเดือด ดูหมิ่นเหยีดดหยามนายอภิสิทธิ์ และใช้วิธีฉีกหน้า ด้วยการเชิญทักษิณให้เป็นที่ปรึกษาของตน เหตุการณ์บางส่วนที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จึงนำไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างไทยกับกัมพูชา ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดบริเวณชายแดน และการปะทะหลายครั้งหลายครา และครั้งที่รุนแรงที่สุดก็คือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และเมษายน 2554 จนในที่สุด ในวันที่ 24 สิงหาคม 2554 รัฐบาลกัมพูชาก็ตัดสินใจยื่นคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ว่าขอบเขตของพื้นทีที่ไทยจะต้องถอนทหารออกไปจากพื้นที่โดยรอบพระวิหารนั้นเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ภาคผนวก 1 หรือไม่ คำพิพากษาที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน ดูจะสร้างความเครียดให้กับคนไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างมาก แม้เรารู้ว่าทีมกฎหมายของไทยได้พยายามทำงานอย่างเต็มที่แล้ว แต่เราก็ยังเครียด เพราะเรารู้ว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. และเสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นอีกรอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
4 พรรคร่วมฯลงสัตยาบันถอน6ร่างฯนิรโทษฯ ปล่อยตกอีกร่างถ้าวุฒิฯส่งกลับ Posted: 09 Nov 2013 12:11 AM PST หัวหน้า 4 พรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงนามใน 'สัตยาบันพรรคร่วมรัฐบาลต่อประชาชนชาวไทย' ถอน 6 ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ ยันไม่พิจารณาอีก ส่วนร่างที่อยู่ชั้นวุฒิสภาให้เป็นตามกระบวนการ รธน. และถ้ากลับส่งมาจะปล่อยตก 9 พ.ย.2556 นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายธีระ วงศ์สมุทร หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และนายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล ร่วมลงนามใน 'สัตยาบันพรรคร่วมรัฐบาลต่อประชาชนชาวไทย' โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาและเห็นชอบร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ปรากฏว่ามีการโต้แย้งคัดค้านร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา ตามมาตรา 146 ของรัฐธรรมนูญฯ พรรคร่วมรัฐบาลเคารพทุกความเห็นของพี่น้องประชาชน และเห็นว่าหากปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามต่อไปจะส่งผลเสียหายต่อประเทศ พรรคร่วมรัฐบาลจึงได้ร่วมกันถอน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติของ ส.ส.จำนวน 6 ฉบับออกจากวาระประชุมของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เพื่อแสดงความจริงใจว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ประสงค์จะให้พิจารณาร่างพ.ร.บ. ซึ่งมีหลักการทำนองนี้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นร่างฉบับใดๆก็ตาม ในส่วนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับที่เป็นปัญหาโต้แย้งคัดค้านอยู่ในขณะนี้ ตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมทั้งของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภา ไม่ว่า ส.ว. ส.ส. หรือผู้ใดรวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาลก็มิอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้มีผลเป็นการถอน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวออกจากการพิจารณาของวุฒิสภาได้ จำต้องให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พรรคร่วมรัฐบาลจึงมีความเห็นร่วมกันว่า หากวุฒิสภามีมติยับยั้งและส่งร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้คืนมายังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรอาจหยิบยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อพ้นช่วงเวลา 180 วันไปแล้ว ดังนั้น เพื่อให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะไม่หยิบยกร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ พรรคร่วมรัฐบาลจึงขอแสดงเจตนาร่วมกันให้สัตยาบันเป็นสัญญาประชาคมต่อพี่น้องประชาชนชาวไทยว่า พรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาลจะไม่เสนอให้ สภาผู้แทนราษฎรหยิบยกร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา โดยจะปล่อยให้ตกไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ภาพจากเฟซบุ๊ก Arm Worawit ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ธรรมศาสตร์วอนบุคลากรร่วม 'สวดชยันโต-จุดเทียน' นำความสว่างคืนไทย พรุ่งนี้ Posted: 08 Nov 2013 11:39 PM PST 'นครินทร์ เมฆไตรรัตน์' ขอบุคลากรในธรรมศาสตร์ 'มากเท่าที่จักดำเนินการได้'ร่วม'สวดชยันโต-จุดเทียน' เพื่อนำสถาบันการศึกษา-ประชาชน รวมพลังให้ทุกพื้นที่ของแผ่นดินไทยให้สว่างไสว นำประเทศพ้นภัยด้วยสันติธรรม 9 พ.ย.2556 ศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทัพยากรมนุษย์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกหนังสือ เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2556 ถึงอธิการบดี, รองอธิการบดี, คณะบดี, ผู้อำนวยการสถาบัน, ผู้อำนวยการศูนย์, ผู้อำนวยการกองและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ร่วมงาน "จุดประทีปแห่งปัญญา นำความสว่างสู่แผ่นดินไทย" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 10 พ.ย.2556 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยหนังสือเป็นดังกล่าวเป็นการขอให้หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยส่งเสริมให้บุคคลากรร่วมงานให้มีจำนวนมากเท่าที่จักดำเนินการได้ โดยมีกำหนดการ ในเวลา 17.30 น. พระสงฆ์ 9 รูป ถึงบริเวณพิธี 18.00 น. สวดชยันโต และ 18.30 น. จุดเทียนประทีปฯ โดยพร้อมเพียง โดยกิจกรรมดังกล่าวเพื่อนำสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและประชาชนทุกหมู่เหลาพร้อมใจกัน รวมพลังให้ทุกพื้นที่ของแผ่นดินไทยให้สว่างไสว นำประเทศพ้นภัยด้วยสันติธรรม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐศาสตร์ภาคประชาชน: หลากหลายความคิดต่อการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม Posted: 08 Nov 2013 09:42 PM PST หลังกระแสต้าน บก.ลายจุดเชื่อ ปชต.ไทยมีหวัง เพราะ ปชช.ตรวจสอบคนที่เลือกมา ชี้ปัญหาการเมืองไทย ไม่ใช่เลือกข้าง แต่คือเข้าข้าง หมอตุลย์ชี้คนที่อยากได้นิรโทษกรรมที่สุด คือฆาตกรฆ่าทหาร-เสื้อแดง ยันมวลชนสู้ไม่ถอย พวงทองวอนฝ่ายค้านอย่าตีขลุมเหมาเข่งทะลุซอย 8 พ.ย.2556 เวลา 16.30 น.คณะรัฐศาสตร์ และสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ตอน "หลากหลายความคิดเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ณ ห้อง103 ตึก1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิทยากรร่วมนำเสวนา ประกอบด้วย จรัส สุวรรณมาลา พวงทอง ภวคพันธุ์ ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย และสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด)
'พรสันต์' แจงกลไกนิรโทษกรรม ภายใต้หลักนิติรัฐ-นิติธรรมพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายถึงกลไกเรื่องการนิรโทษกรรม ภายใต้หลักนิติธรรมและนิติรัฐว่า ภายใต้หลักการนี้ จะมีการกำหนดกลไกคร่าวๆ ที่จะเข้ามาเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีการตรากฎหมายที่ไม่ชอบธรรม ซึ่งละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักนิติรัฐนิติธรรม จะกำหนดกลไก เช่น การใช้ศาล เพื่อมาตัดสินว่ากฎหมายดังกล่าวขัดกับหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลักนิติธรรมและนิติรัฐ จึงมีการคิดเรื่องการนิรโทษกรรมขึ้นมา เพื่อยกเว้นโทษและความผิดแก่คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบธรรมตามกฎหมาย เนื่องมาจากระบวนการที่บกพร่องตามหลักกฎหมาย ซึ่งหากสามารถชี้ให้เห็นได้ว่าผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง หรือประชาชนถูกกล่าวหาตามกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมจะ สามารถเข้าข่ายการนิรโทษกรรมได้ โดยหลักแล้ว กฎหมายนิรโทษกรรม จะนิรโทษความผิดให้กับผู้ถูกบังคับใช้กฎหมาย และไม่นิรโทษกรรมให้ผู้ใช้กฎหมาย เพราะถือว่าประชาชนเป็นผู้ถูกกระทบสิทธิจากการใช้กฎหมายที่ไม่ชอบธรรมโดยตรง และได้รับความไม่ยุติธรรม การนิรโทษกรรมจึงเข้ามาเยียวยาตรงนี้ และผู้ใช้กฎหมายไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม เพราะผู้กระทำไม่ถูกละเมิดสิทธิ การนิรโทษกรรม ขัดกับหลักนิติรัฐนิติธรรม หรือไม่?จากหลักการที่กล่าวมา จึงเห็นว่าการนิรโทษกรรมจึงไม่สามารถขัดกับหลักนิติรัฐหรือนิติธรรมได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐนิติธรรม และเป็นกลไกที่ถูกออกแบบมาภายใต้หลักการนี้ พรสันต์อธิบายการตรากฎหมายนิรโทษกรรมว่า แบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ การออกด้วยฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และแบบผสมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและการบริหาร ในไทย ถือว่าเป็นแบบนิติบัญญัติ เพราะมีการบัญญัติอยู่ตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ในการตรากฎหมายนิรโทษกรรม จึงจำเป็นต้องพิจารณาตามตัวบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการนิรโทษกรรม ประกอบกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ลงนามและผูกพันไว้ ภายใต้หลักการของหลักนิติรัฐและนิติธรรม หลักเกณฑ์การตรากฎหมายนิรโทษกรรมหลักเกณฑ์ทั่วไปในการตราตัวบทกฎหมายที่มีลักษณะนิรโทษกรรม คือ ต้องมีความชัดเจน คำนึกถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญและต้องพิจารณาว่า การนิรโทษกรรม มีลักษณะของการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมอย่างไร พรสันต์อภิปรายว่า ในการตรากฎหมายนิรโทษกรรม จำเป็นต้องพิจารณาสองข้อหลัก คือ ส่วนของกระบวนการ ว่าชอบด้วยกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญ กำหนดหรือไม่ และส่วนของเนื้อหา ว่าเป็นไปตามหลักการของกลไกนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะมีความผิดบางอย่างที่ไม่สามารถนิรโทษได้ ในส่วนกระบวนการ จะเห็นชัดว่ามีปัญหาแน่นอนเพราะขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการพิจารณาของสภาวาระแรกรับหลักการของร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับวรชัย ที่นิรโทษเฉพาะผู้ชุมนุม เมื่อถูกเปลี่ยนแปลงในชั้นกรรมาธิการ ถือว่าขัดกับสิ่งที่สภาใหญ่ได้ลงมติไป เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมสภา หากมีคนร้องเรียนที่ศาลรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนี้น่าจะตกไปแน่นอน ส่วนในเชิงเนื้อหา มีประเด็นสองอย่างที่ทับซ้อน คือเรื่องที่ถูกหลักการและผิดหลักการ ที่ถูกหลักการ คือ การครอบคลุมการนิรโทษกรรมประชาชน ข้อนี้เป็นไปตามหลักการใช้กฎหมาย ที่ไม่ชอบธรรม โดยจะเห็นจากการใช้กฎหมายความมั่นคงควบคุมและละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ซึ่งนี่เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ผิดหลักการ ฉะนั้น ผู้ที่ถูกกล่าวหาตามกฎหมายนี้ เช่น พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ร.บ. ความมั่นคง นี้ถือว่าสมควรได้รับการนิรโทษกรรม ส่วนที่มีปัญหา คือ มาตราสามที่มีความกว้างและคลุมเครือ เนื้อหาสามารถถูกตีความไปครอบคลุมบุคคลหลายฝ่าย รวมถึงกรณีสุเทพ อภิสิทธิ์ รวมถึงมีการพูดถึงกันว่า รวมไปถึงกรณีตากใบ และกรือเซะด้วย และไม่มีการพิจารณาความผิดที่จะทำการนิรโทษกรรม หากครอบคลุมทุกฝ่ายถือว่าขัดหลักนิรโทษกรรมหรือไม่การจะตีความกฎหมายที่คลุมเครืออาจต้องดูที่เจตจำนงของกฎหมาย ในที่นี้คือมุ่งลบล้างความผิดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร ซึ่งแน่นอนว่าไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์กรือเซะหรือตากใบ ฉะนั้นโดยหลักการแล้ว ไม่สามารถตีความไปถึงตรงนั้นได้ ท้ายสุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับการตีความของศาล ซึ่งก็น่าจะตีความตามหลักที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดระบบกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ คือ หลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนสากลรวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประกันเรื่องสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม สิทธิทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิทธิที่รัฐไทย.และกฎหมายระหว่างประเทศคุ้มครองไว้โดยไม่สามารถล่วงละเมิดได้เลย ดังนั้น การตีความกฎหมายนิรโทษกรรม ถ้าจะรวมไปถึงอภิสิทธิ์และสุเทพ ก็ไม่อาจทำได้ เพราะถือว่าขัดกับหลักการดังกล่าวที่ว่ามา ทั้งหลักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งไทยเป็นภาคี ระบุว่าไม่อาจนิรโทษกรรมการกระทำการที่อภิสิทธิ์และสุเทพถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิในชีวิตประชาชน สิ่งที่ต้องทำคือการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนในกรณีการนิรโทษกรรมทักษิณ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่สามารถใช้บังคับในกรณีนี้ได้เช่นกัน เพราะอย่างเรื่องที่ดินรัชดา ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องเจตจำนงของกฎหมายฉบับนี้ แต่ในข้อเท็จจริง ก็ทราบกันว่ามีการถูกกล่าวหาและส่งฟ้อง ตัดสินจากการตั้งหน่วยงานที่เป็นผลของรัฐประหาร ซึ่งเป็นวิถีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาธิปไตย และรัฐธรรมน๔ญ ทางออกของปัญหา ณ ปัจจุบันพรสันต์กล่าวถึงข้อเสนอของอดีต ส.สร.ปี 50 ที่เคยเสนอให้ ส.ส. ผู้เสนอกฎหมายฉบับนี้ ถอนร่างกฎหมายออก แต่การถอนดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายระบุไว้ว่าเมื่อกฎหมายผ่านสภาแล้วจะต้องบรรจุในวุฒิสภาอย่างเร่งด่วน ข้อเสนอที่ว่า ให้ส.ว. ยับยั้งกฎหมายดังกล่าว โดยไม่รับหลักการ ให้ร่างกฎหมาย กลับไปอยู่ที่สภาล่าง แต่การที่ให้ต้องรออีก 180 วันเพื่อพิจารณา ตนเองไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นการยื้อเวลาโดยใช่เหตุ ประเด็นที่สำคัญตอนนี้คือ คนที่ได้รับความเดือดร้อนคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่การตีตกคือไม่นิรโทษใครเลยทั้งสิ้น ถ้าให้ความสำคัญแก่ประชาชนเป็นหลัก วุฒิสภาต้องแก้ร่างเนื้อหาให้กลับไปสู่ร่างวรชัย เพื่อนิรโทษเฉพาะประชาชนโดยเร็วที่สุด พรสันต์เสนอให้ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง พิจารณาได้ทั้งสภาโดยไม่ต้องผ่านวาระที่สอง ซึ่งทำให้ไปสู่วาระที่สามได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา ในทางปฏิบัติ เมื่อรัฐบาลส่งสัญญาณมาแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็สามารถมาตกลงคุยกันได้ แม้จะดูว่าเป็นการล็อบบี้ แต่ถ้าล็อบบี้แล้วเกิดผลดีต่อประชาชน ก็ควรที่จะทำ ต่อคำถามที่ว่า นิรโทษกรรม สามารถแก้ไขความขัดแย้งของสังคมได้จริงหรือเปล่า ต้องบอกว่า ในความขัดแย้งตอนนี้ มีสองมิติ คือมิติสังคมและมิติกฎหมายที่ทับซ้อนกันอยู่ ในทางกฎหมาย สามารถแก้ไขโดยตรากฎหมายนิรโทษกรรม แต่ยังไม่ได้แก้ความขัดแย้งในเชิงสังคม ซึ่งโดยหลักแล้วต้องเอาความจริงมาเปิดเผย แต่ตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยในเชิงสังคม แม้แต่ คอป. ก็ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือความเป็นจริงเลย ฉะนั้น ขอฟันธงว่า การตรากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปสู่การปกรองดองได้ถ้ายังไม่มีการเปิดเผยความจริงต่อคนในสังคม เพราะประชาชนยังคงต้องมีสิทธิในการเข้าถึงความจริง นอกจากนี้ พรสันต์กล่าวถึงความไม่เป็นธรรมของการเหมารวมคนที่คัดค้านนิรโทษกรรมเป็นเข่งเดียวกัน เนื่องจากมีหลายกลุ่มหลายก้อน จึงต้องพิจารณาให้ดีว่าคัดค้านประเด็นไหนของกฎหมายนิรโทษกรรม
'พวงทอง'แจงข้อเท็จจริง ชี้ทหารใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมพวงทอง ภวัครพันธ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ภาพการชุมนุมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งข้อมูลและช่วยในการสื่อสารระหว่างกันในสังคม แต่ในความเป็นจริงก็มีเพียงแค่ข้อมูลชุดเดียวเท่านั้นที่มักถูกนำไปใช้และผลิตซ้ำอยู่ในสังคม ยกตัวอย่างการชุมนุมของนิสิตจุฬาที่ป้ายว่า "โกงเอง ฆ่าเอง นิรโทษเอง" ตรงนี้ชี้ว่า ความเข้าใจผิดๆ ในเรื่องของคนเสื้อแดงยังคงมีอยู่ในสังคม ไม่ว่าภาพลักษณ์ที่ว่าคนเสื้อแดงน่ากลัว เป็นพวกป่าเถื่อน ข่มขู่คุกคาม ในฐานะที่ตนเองเคยทำงานอยู่ใน ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) จึงต้องการให้ข้อมูลอีกด้านที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตของคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 6 ศพวัดปทุม ที่มีคำสั่งออกมาทั้ง 6 ศพแล้วว่าทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนปืนจากฝั่งทหาร และยังมีสถิติข้อมูลว่า กองทัพระดมกำลังทหารมาปราบปรามคนเสื้อแดงกว่า 30,000 นาย มีหลักฐานว่าทหารได้เบิกกระสุน 600,000 นัด ส่งคืนกลับมา 400,000 กว่านัด ไม่รวมสไนเปอร์อีกประมาณ 3,000 กว่านัด ใช้ไป 2,000 พัน ส่วนกระสุนปลอมมีการเบิกมาแค่ 10,000 นัด จากรายงานของ ศปช.มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 94 ราย คิดเป็นทหาร 10 คน ส่วนที่เหลือเป็นพลเรือน และบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนการเสียชีวิต พบว่าร้อยละ 56 เสียชีวิตจากการถูกยิงบริเวณเอวขึ้นมาถึงศีรษะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง แต่เป็นยิงเพื่อให้ตาย ส่วนที่เหลือ เป็นการใช้กระสุนปืนไรเฟิลยิงระดับล่างของร่างกายลงมา ตัวอย่างในคดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ด มีอยู่ผู้ต้องหาในคดีนี้ 4 ราย ซึ่งตอนนี้ถูกยกฟ้องไปหมดแล้ว สองคนในนั้นเป็นเยาวชน ในคดีดังกล่าว คำให้การของพยานที่สำคัญ คือคำให้การของที่ปรึกษาอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเครือเซ็นทรัลมากว่า 20 ปี ได้ให้การในฐานะเป็นหัวหน้าการควบคุมการดับเพลิงในเซ็นทรัลว่า คนเสื้อแดงไม่สามารถเผาได้ เพราะมีระบบป้องกันภัยที่ดีที่สุดในเอเชีย และชี้ว่า ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ภาพในกล้องวงจรปิด แต่กลับพบคนหน้าแปลก แต่งกายคล้ายทหาร มีอาวุธ เข้ามาเผาบริเวณห้าง รปภ.ของห้าง พยายามเข้ามาห้ามแต่ก็ต้องถอย แม้คำตัดสินจะออกมาชัด แต่อัยการก็ยังคงเดินหน้าจะฟ้องต่อ ชี้กระบวนการศาลไม่เป็นธรรมต่อจำเลยคนเสื้อแดงกรณีเผาศาลากลาง จ.อุบลราชธานี มีประชาชนกว่า 1,000 คนถูกจับเพียงเพราะถ่ายรูป มีหลายคนถูกติดคุกฟรี และคดีเผาศาลากลางจังหวัดในหลายพื้นที่ไม่มีประจักษ์พยานอย่างชัดเจน มีเพียงการใช้ภาพถ่ายประกอบคำรับสารภาพเป็นหลัก อีกทั้งพบว่ามีคดีที่พยานโจทก์เบิกความเป็นคุณต่อจำเลย ศาลก็ไม่หยิบมาประกอบการวินิจฉัย อย่างกรณีนายสนอง เกตุสุวรรณ ที่ถูกตัดสินจำคุก 33 ปี มีพยานชี้ว่าเขาเข้าไปดับเพลิง แต่ศาลก็ไม่เอามาพิจารณาเป็นคุณ "คนที่เดือดร้อนที่สุดคือประชาชนที่กฎหมายนี้ตั้งใจจะช่วยเหลือตั้งแต่แรก นี่เป็นความไม่รับผิดชอบตั้งแต่แรกแล้วของพรรคเพื่อไทยที่เอาทักษิณ เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมครั้งนี้ ดังนั้น สว.ยังมีเวลาแก้ โดยการแก้ตรงนี้ออกไปให้เหลือแต่เพียงผู้ชุมนุมเท่านั้น" พวงทองย้ำว่า แม้แกนนำต้องมีความรับผิดชอบจากการสลายการชุมนุมช้า แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่รัฐจะสามารถใช้กำลังที่เกินกว่าเหตุเข้ามาสลายการชุมนุมของประชาชน ต่อประเด็นที่จรัสได้พูดว่า ไม่เห็นด้วยว่าให้มีการนิรโทษกรรมแกนนำ ผู้สั่งการ และทักษิณ แต่เสียงในกลุ่มของคนเสื้อเหลืองมันไม่ดังพอ เรื่องนี้มันไม่พอ มีแต่เสียงของการต่อต้านทักษิณอย่างเดียว อย่างที่สุเทพบอกว่าจะนิรโทษคนติด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่คนที่ติดคุกในคดี พ.ร.ก.ออกจากคุกหมดไปแล้ว นี่เป็นผักชีโรยหน้าเพื่อแสดงว่าเขาเห็นใจผู้ชุมนุม แต่ไม่ตรงประเด็น เพราะคนที่ติดคุกในขณะนี้มาจากคดีอื่นๆ วอนฝ่ายค้านอย่าตีขลุมเหมาเข่งทะลุซอยพวงทองชี้ว่า ฝ่ายเสื้อเหลืองต้องส่งเสียงในการวิพากษ์วิจารณ์พรรคการเมืองอีกฝ่ายด้วย ไม่ใช่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างไม่ลืมหูลืมตาและไม่วิพากษ์วิจารณ์เลย จะเห็นว่าการวิพากษ์นิรโทษกรรมในขณะนี้ มันเต็มไปด้วยวาระซ่อนเร้นทั้งหมด "อย่างกลุ่ม 40 ส.ว.ก็ยังไม่ผ่านเรื่องนี้ พยายามจะดึงเรื่องนี้ออกไป เพื่อยื้อให้วิกฤติมันมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับเรื่องเขาพระวิหาร มันไม่ใช่แค่สุดซอยแล้ว แต่เป็นเรื่องการทะลุซอยที่มีเป้าหมายเพื่อการล้มล้างรัฐบาล" พวงทองกล่าว อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายควรมองคนที่ติดคุกอยู่ตอนนี้ว่าเป็นคนที่ออกมาต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ แต่ยังคงต้องติดคุกและไม่ได้รับการประกันตัว และมองด้วยหลักเกณฑ์มนุษยธรรม จะลดความโกรธแค้นที่มีอยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยังรู้สึกว่าไม่ถูกประกัน "มันเปลี่ยนอาชญากรรมโดยรัฐทำให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และทำให้ผู้ทำความผิดลอยนวล ไม่ควรปล่อยให้มันอยู่อีกต่อไป ถ้าเราอยากให้ประชาชนเคารพสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และความเป็นมนุษย์ เราไม่ควรต้องปล่อยให้ผู้กระทำความผิดเดินหลุดออกไปอีก" พวกทองย้ำ พวงทอง มองว่า ต่อไป พ.ร.บ.เหมาเข่งคงล้ม เพราะรัฐบาลขณะนี้อยู่ในภาวะหวาดกลัวมาก วุฒิสภาสายเพื่อไทยเองก็บอกว่าจะวาระ 3 อย่างรวดเร็ว ยังย้ำตามแถลงการณ์ ศปช.วิงวอนวุฒิสภาทุกฝ่ายให้มีสติกับเรื่องนี้ ช่วยประชาชนออกมาก่อน ไม่เช่นนั้นจะต้องรออีกนานกว่าเพื่อไทยจะผลักเรื่องนี้อีก ทั้งนี้ อย่างน้อยที่สุด ถ้า พ.ร.บ.นี้ตกไปยังมีร่าง พ.ร.บ.ของญาติ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการที่มุ่งช่วยเหลือเฉพาะประชาชนเท่านั้น แต่ไม่แน่ใจว่าพรรคเพื่อไทยจะกล้าหยิบมาพิจารณาหรือไม่ แต่อย่างไรก็จะใช้เวลาเช่นกัน จึงอยากให้นายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมใช้ตำแหน่งของตัวเองประกันให้ผู้ถูกคุมขังได้ประกันตัวออกมาก่อน
'จรัส' ชี้สภาเผด็จการ ก่อแรงต้านนิรโทษกรรมจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเห็นต่างทางการเมือง แต่ต่างก็ค้าน พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะหลักการไม่ชอบ โดยจะเห็นว่าในร่างแรกนั้น ไม่มีใครค้าน เพราะที่ควรจะเป็นคือนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมทางการเมือง ไม่ใช่ผู้ที่ยิงหรือทำร้าย เนื่องจากการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองย่อมผิดกฎหมายเป็นธรรมดา ตัวเองก็เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง ซึ่งถูกมองว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การชุมนุมนั้นเป็นการใช้สิทธิความเป็นพลเมืองในการแสดงความเห็นต่างจากรัฐบาล กรณีคณะกรรมาธิการในสภาแปรญัตติในวาระ 2 และ 3 เพิ่มข้อความให้นิรโทษกรรมรวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดย คตส. ซึ่งมีคนสำคัญคือ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกตัดสินจำคุกและยึดทรัพย์ นอกจากนี้ยังให้ขยายจากช่วงเวลาจากปี 2549 ไปถึง 2547 ครอบคลุมความผิดอีกเยอะ ทำให้กฎหมายเกิดความคลุมเครือในการตีความ ซึ่งอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ความผิดที่ขยายออกนี้รวมถึงเรื่องทุจริตคอร์รัปชันด้วย ซึ่งอาจขัดข้อตกลงกับต่างประเทศ ทำให้กฎหมายมีปัญหาเชิงหลักการ นอกจากนี้ ยังเป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกันด้วย จรัส มองว่า กระแสการคัดค้าน พ.ร.บ.นี้ ในทางรัฐศาสตร์ ไม่ใช่การค้าน พ.ร.บ.นี้แบบเฉพาะเจาะจง แต่เป็นเพราะความไม่พอใจสิ่งที่รัฐบาลและ รัฐสภาทำเพิ่มขึ้นๆ อาทิ นโยบายจำนำข้าว การแก้รัฐธรรมนูญ ที่ใช้เสียงข้างมากในการแก้ เช่น ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีความกังวลว่าอาจทำให้ ส.ว.พึ่งพิงการเมืองมากขึ้น หรือ พ.ร.บ.เงินกู้สองล้านล้าน จรัส กล่าวว่า คนกลัวสภาที่ออกกฎหมายแบบไม่ฟังเสียงใคร ตีสี่ก็ออกกฎหมายได้ คนจะไม่มั่นใจว่าจะเชื่ออะไรได้กับระบบการเมืองรัฐสภา เราเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐสภาต้องกำกับควบคุมรัฐบาล ถ้าสภามีอำนาจการเมืองค่อนข้างสูง เป็นสภาเผด็จการ คนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อระบอบรัฐสภา เรามาถึงจุดที่มีความเคลือบแคลงในระบอบรัฐสภาว่า ใช้ได้หรือเปล่ากับสังคมไทย ทั้งนี้ย้ำว่า ระบบรัฐสภาต้องผ่านการเรียนรู้ โดยที่คนในสังคมถ่วงดุลได้ จรัส สรุปว่า ดังนั้น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงเป็นฟางเส้นสุดท้าย ทำให้คนออกมาต่อต้านมาก แม้รัฐบาลจะบอกว่าถอนแล้ว แต่จะเห็นว่าการต่อต้านก็ยังไม่หยุด ลองคิดว่ามันเกิดจากอะไร ส่วนตัวไม่มีทางออกในเรื่องนี้ แต่ชี้ว่านี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแรงสะสมที่ไม่ใช่เพิ่งมี แต่เห็นมาระยะหนึ่งแล้ว แนะคุมโรคหักหลังประชาชนด้วยการตรวจสอบต่อคำถามว่าจะทำอย่างให้ปกครองด้วยระบบรัฐสภาที่แท้จริง จรัส ระบุว่า "โรคหักหลังประชาชน" เป็นโรคที่อยู่กับระบอบประชาธิปไตย ขจัดไม่ได้ ทำได้เพียงควบคุมให้คนที่เลือกเข้าไปทำหน้าที่ให้ดีเท่านั้น โดยมีกลไกคือ การตรวจสอบโดยประชาชน ไม่ใช่เชียร์แบบหลับหูหลับตา เพราะคนเหล่านี้มีโอกาสหักหลังเราตลอดเวลา ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็คอร์รัปชั่นมากบ้างน้อยบ้างทั้งนั้น "เลือกเข้าไปแล้วก็ต้องตรวจดู ไม่ใช่เลือกแล้วทิ้ง แบบที่เป็นอยู่" จรัส ทิ้งท้าย
หลังกระแสต้าน บก.ลายจุดเชื่อ ปชต.ไทยมีหวัง เพราะ ปชช.ตรวจสอบคนที่เลือกมาสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด เริ่มโดยแซวว่า มีคนบอกว่าเรามีตัวอย่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง คือ มาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะกำหนดให้สิ่งใดถูกก็ถูก สิ่งใดผิดก็ถูก ซึ่งสิ่งนี้ยังดำรงอยู่ในรัฐธรรมนูญ และต้องเอาออกไป สมบัติ กล่าวว่า พฤติกรรมของตัวแทนประชาชนที่ผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ใน "สภาฮาโลวีน" เมื่อ 4.00 น. วันที่ 31 ต.ค. เป็นการกระทำที่ย่ามใจมาก ทำให้ประชาชนต่างออกมาท้วง ไม่ว่าคนคิดต่างหรือพวกเดียวกัน ซึ่งจากกรณีนี้ ทำให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยในไทย เริ่มมีความหวังแล้ว แม้ไม่ใช่ในนักการเมือง แต่คือความหวังที่อยู่ในประชาชน ที่ลุกขึ้นมาตรวจสอบผู้แทนที่เลือกขึ้นมา สมบัติ กล่าวว่า ขอให้เลิกวัฒนธรรมที่ไม่ด่าพวกเดียวกัน โดยต้องตรวจสอบว่าเขาทำถูกไหม ทั้งนี้ แม้ตนเองจะไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าเขาทำผิดก็จะบอกว่าผิด ถูกก็บอกว่าถูก "ปัญหาของการเมืองไทย ไม่ใช่การเลือกข้าง แต่คือการเข้าข้าง" สมบัติกล่าวและว่า ไม่มีปัญหาเลยว่าใครจะใส่สีอะไร การเปลี่ยนรัฐบาลเป็นเรื่องปกติ แต่ระบบจะอยู่ได้เมื่อคนในสังคมไทย มีความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นธรรม สมบัติ กล่าวว่า กรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ เมื่อรัฐบาลทำผิด ประชาชนต้องออกมาเอะอะโวยวาย พร้อมชื่นชมกลุ่มที่ออกมาเป่านกหวีดส่งเสียงด้วย แม้ว่าเมื่อส่งเสียงแล้ว อาจถูกบ้างผิดบ้าง ก็ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไป สมบัติ กล่าวว่า การสอดไส้ประเด็นนิรโทษกรรมทักษิณไม่เหมาะสม โดยร่างแรกนั้นรับได้แล้ว ควรเอาประชาชนในฐานะเหยื่อทางการเมืองออกมา ตรงที่เห็นไม่ตรงกันก็ต่อรองกันได้ ส่วนตัวเชื่อว่ามีคนที่อีรุงตุงนังมีเสื้อแดงที่เข้าไปเผาจริง แต่จะเห็นว่า เวลาเผาศาลากลางอาจมี 50 คน แต่กลับมีการออกหมายจับถึง 300 คน กระบวนการแบบนี้ไม่ยุติธรรม ไม่ว่า 14 ตุลา 6 ตุลา หรือ พฤษภา 35 หรือนักศึกษาในอังกฤษประท้วง ก็มีการเผารถเผาเมือง นี่ไม่ใช่อาชญากรโดยธรรมชาติ แต่เป็นจิตวิทยาฝูงชน พร้อมชี้ว่า เมื่อวานนี้ สายสืบตำรวจ สน.นางเลิ้ง ก็ถูกกระทืบในม็อบเป่านกหวีด แนะรัฐบาลก้มหัวรับฟังหลังก้าวพลาดทั้งนี้ สมบัติ กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่ารัฐบาลถอยหมดแล้วจริงๆ เพียงแต่คนในสังคมยังรู้สึกโกรธ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความผิดของประชาชน แต่เป็นวาระที่รัฐบาลต้องอดทนและรับผิดชอบ ก้มหัวรับฟัง อย่างไรก็ตาม ขณะที่ประชาชนยังโกรธและสนุกกับความโกรธอยู่ สิ่งที่เขากังวลคือกลัวว่าจะเกิดการปะทะกันระหว่างคนที่ไล่รัฐบาลออกมาจากซอยกับคนเสื้อแดงที่อยู่บนถนนใหญ่ ซึ่งต่างมีปริมาณและความชอบธรรมพอๆ กัน โดยเขาเปรียบเทียบว่า หากมาถึงปากซอย ก็จะปกป้องรัฐบาล จะตีเส้น ตำหนิในประเด็นนิรโทษกรรม ซึ่งจะเรียกร้องให้รัฐบาล แสดงความรับผิดชอบ จนกว่าสังคมจะพอยอมรับได้ด้วย นี่คือเส้นความชอบธรรมของการไล่คนจากซอย โดยจากนั้นคงต้องเป็นภาระหน้าที่ของปัญญาชนที่จะเปิดการถกเถียงกัน นำพาความคิดของผู้คนในสังคมต่อไป
หมอตุลย์ จวกคนที่อยากได้นิรโทษกรรมที่สุด คือฆาตกรฆ่าทหาร-เสื้อแดงนพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) กล่าวว่า การเห็นคนไทยเสียชีวิต ไม่ว่าใครไม่ใช่เรื่องสนุก แต่ส่วนตัวรู้สึกว่าการตายในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 มีคนได้ประโยชน์รวมทั้งวางแผนให้เกิดขึ้นและนั่นคือฆาตกรที่แท้จริง นพ.ตุลย์ กล่าวต่อมาว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในร่างแรกของนายวรชัย เหมะ และส่วนตัวเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้มาชุมนุมทางการเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งถูกชักจูงมาชุมนุมทางการเมืองและมีการชักจูงให้ก่อเหตุวางเพลิง แต่การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดย ส.ส.เสียงข้างมากในสภาเมื่อรุ่งเช้าวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง "กฎหมายนิรโทษกรรมตบหน้าคนเสื้อแดงที่เกลียดอภิสิทธิ์และทหาร ตบหัวประชาชนทั้งชาติที่ไม่เอาการโกง" ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินกล่าว พร้อมตั้งคำถามว่าที่ ส.ส.เสียงข้างมากโดยเฉพาะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยกล้าทำเช่นนี้เพราะทักษิณใช่หรือไม่ นพ.ตุลย์ แสดงจุดยืนต่อมาว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการยัดเยียดประเด็นรัฐประหารปี 2549 มาเอี่ยวกับการนิรโทษกรรมที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ปี 2553 พร้อมตั้งคำถามว่าทำไมจึงนำมาเกี่ยวข้องกันเหมือนการซื้อเหล้าพ่วงเบียร์ รวมถึงกรณีการบอกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นรัฐบาลจากค่ายทหาร ตั้งโดย คมช.ทั้งที่หลังการรัฐประหารก็มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ขึ้นมาบริหารประเทศ จนมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งมาจากการโหวตในสภา เนื่องจากการย้ายข้างของพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับ 2 ตรงนี้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพราะไม่จำเป็นที่พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอันดับ 1 จะต้องเป็นรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากอยากให้มีการแก้ไขตรงนี้ก็ต้องไปรณรงค์แก้ไขกฎหมาย ตัวแทนกลุ่มคนเสื้อหลากสีตั้งคำถามต่อมาว่า ทำไมการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2552 จึงไม่มีการตายเกิดขึ้น ทั้งที่ก็มีการยิง มีความพยายามเอารถน้ำมันไปเผา มีการล้มการประชุมอาเซียนและพยายามลักพาตัวนายอภิสิทธิ์ด้วย ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อ 10 เม.ย.2553 คนไม่เข้าใจเพราะละเลยลำดับเหตุการณ์ ทำให้เปลี่ยนผู้กระทำผิดไปเป็นผู้ถูกกระทำ ทั้งคนเสื้อแดงละทหารเป็นเหยื่อของฆาตกรที่วางแผนให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น คนที่ยิงคือคนชุดดำ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมปี 2552 จึงไม่มีการตาย นพ.ตุลย์ กล่าวว่า การพูดตรงนี้เพื่อที่จะได้รู้ความจริงว่าทำไมต้องออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะผลลัพธ์คือจะไม่มีการดำเนินคดี คนที่ยิงคนเสื้อแดง ยิงทหารก็จะไม่ถูกเปิดเผย นี่คือสิ่งที่คนที่อยากให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมากที่สุดอยากให้เกิดขึ้น ยืนยันมวลชนสู้ไม่ถอย ชี้อึดอัดมานาน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนิรโทษกรรมนพ.ตุลย์ กล่าวด้วยว่า การตีความกฎหมายมี 2 รูปแบบ คือตีความตามตัวบทและตีความตามเจตนารมณ์ ซึ่งสิ่งที่ขาดไปในขณะนี้คือไม่มีใครไปถาม นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ว่ามีเจตนาอะไรในการเพิ่มมาตรา 3 และต้องการหมายรวมถึงใครบ้าง แต่เมื่ออ่านตัวร่างกฎหมายก็จะรู้ว่าหมายถึงใคร โดยตรงนี้คนที่ได้ประโยชน์คือ อภิสิทธิ์ สุเทพ และทักษิณ ซึ่งจะไม่มีใครได้รับโทษและไม่มีการดำเนินคดีอีกต่อไป แต่ความโกรธเกลียดเคียดแค้นก็จะยังคงดำรงอยู่ต่อไป หลังจากกฎหมายบังคับใช้ ส่วนผู้ชุมนุมก็ยังคงจะชุมนุมอยู่ไม่ถอย เพราะไม่เชื่อถือ ไม่เชื่อใจรัฐบาลนี้อีกต่อไป แม้ว่าคนเสื้อแดงจะถอย แต่คนที่เหลือไม่เอาด้วย เพราะประชาชนอึดอัดมานาน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่มีทั้งการแก้มาตรา 190 ให้ไม่ต้องผ่านสภา การขึ้นราคาน้ำมัน ขึ้นราคาก๊าซ ซึ่งเป็นการขึ้นค่าใช้จ่ายในการครองชีพของประชาชน "หากพรรคประชาธิปัตย์หยุดแค่ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนที่จะถูกไล่ต่อไปคือ ส.ส.ประชาธิปัตย์ เพราะคนอัดอั้นมานานไม่ใช่เฉพาะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" นพ.ตุลย์กล่าวย้ำ นพ.ตุลย์ กล่าวต่อมาว่า สำหรับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เห็นด้วยหาก ส.ว.จะนำร่างกฎหมายฉบับนายวรชัยกลับมา แต่อยากให้เพิ่มข้อความต่อท้ายว่า "ทั้งนี้ไม่กระทบการดำเนินคดี เพื่อให้ความจริงปรากฏต่อไป" เพราะเขาก็อยากรู้ว่าตัวเองจะติดคุกจากการปิดสนามบินหรือไม่ ใครยิงทหาร ใครยิงคนเสื้อแดง และสำหรับคนถูกขังก็อยากให้ได้สิทธิในการประกันตัว แต่สำหรับคนที่มีอัตราโทษสูงอาจเป็นไปได้ยาก "อยากรู้ความจริงเมื่อปี 53" นพ.ตุลย์ระบุและว่า ในส่วนฆาตกรที่ฆ่าประชาชนอยากให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด หากทหารทำผิดก็ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับกรณีการวิสามัญโดยกระทำการเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อีกทั้งยังเรียกร้องให้คนที่เข้าใจถึงความทุกข์ของญาติผู้ถูกยิงสูญเสียชีวิต เข้าใจความรู้สึกเจ้าของทรัพย์สินที่โดนเผาในเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นด้วย ต่อคำถามเรื่องการสอดแทรกผู้ต้องโทษมาตรา 112 ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นพ.ตุลย์ แสดงความเห็นว่า เป็นการฉวยโอกาสนำมารวมกันทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดการปราศรัยจึงต้องมีการกล่าวพาดพิงสถาบันฯ เกิดขึ้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น