โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นปช.ชุมนุมสนามกีฬาหัวหมาก-จตุพรอัด 'สุเทพ' ใช้เวลารวดเร็วฟอกตัวกลายเป็นคนดี

Posted: 24 Nov 2013 01:44 PM PST

ธิดา ถาวรเศรษฐ ยันไม่จัดชุมนุมเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมราชดำเนิน จตุพร พรหมพันธ์ จวกประชาธิปัตย์นึกอะไรไม่ออกบอก 'โค่นระบอบทักษิณ' ทั้งที่หลัง 19 กันยา 49 รัฐบาลขิงแก่และประชาธิปัตย์ได้ตั้งรัฐบาลเป็นเวลารวมกันเกิน 4 ปี

การชุมนุม นปช. เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2556 ที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน (ที่มา: เพจ Prachatai)

 

25 พ.ย. 2556 - ตามที่เมื่อวันที่ 23 พ.ย. แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ได้นัดชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. เวลา 18.00 น. ที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน โดยระบุว่าเพื่อปกป้องรัฐบาล โดยประกาศคำขวัญการชุมนุมว่า "รัฐถูกรัฐประหารโดยศาลรัฐธรรมนูญ" นั้น ล่าสุดแกนนำ นปช. ได้เริ่มปราศรัยตั้งแต่เวลา 18.00 น. อย่างไรก็ตามมีผู้ชุมนุมไม่เต็มความจุของที่นั่งภายในสนามกีฬาดังกล่าว และหนาแน่นอยู่บริเวณสนามหญ้าเท่านั้น

ทั้งนี้ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. แถลงจุดยืนของ นปช. 4 ข้อว่า 1.ยืนยันว่าการเมืองการปกครองในประเทศไทยต้องเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัติย์เป็นประมุข 2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา 3.นปช. ต่อสู้ด้วยสันติวิธี เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย และ 4.ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ

โดยในเวลา 21.00 น. ประธาน นปช. ได้ปราศรัยตอนหนึ่งว่า วันนี้ต่อให้การชุมนุมที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ เปิดตัวก่อน แต่นับอย่างไรก็ไม่ถึงล้าน ทั้งที่เตรียมการจัดการมาเป็นปี แต่ของเราใช้เวลาสามวัน แต่ไม่ว่าอย่างไรคนของเราก็ต้องมากกว่า ทั้งนี้ภาพที่มีการชุมนุมทั้งสองฝั่งเป็นจำนวนมาก ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีการชุมนุมสองฝั่งแต่ไม่เผชิญหน้าเพราะเราไม่คิดจะปะทะกับอีกฝ่ายที่เป็นประชาชนเหมือนกัน

"เรามาอย่างสันติ ไม่มีการชุมนุมใดในโลกจัดในสนามกีฬา แต่เรายอมจัดเพราะเราไม่อยากให้เกิดการปะทะ มีการใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดงว่าเผาบ้านเผาเมือง ล้มเจ้า และพยายามฟอกตัวเองให้เป็นวีรบุรุษ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามฆาตกรก็ต้องไปขึ้นศาลอยู่ดี ดังนั้นการที่ฆาตกรจะขึ้นมาเป็นผู้นำของประชาชนนั้นเป็นไปไม่ได้ " ธิดากล่าว

ประธาน นปช. กล่าวว่า นปช. มีจุดยืนอยู่ที่ผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่นี่คือจุดยืนตลอดกาลของคนเสื้อแดง ส่วนเวทีราชดำเนินนั้นมีจุดยืนของกลุ่มชนชั้นนำ อนุรักษ์นิยม กลุ่มชนชั้นสูง ที่ล้าหลัง แต่ของเราอยู่ที่ประชาชน อยู่ที่คนใช้แรงงาน ผู้ยากไร้ นอกจากจะอยู่กับมวลชนพื้นฐาน เรายังคงมีจุดยืนอยู่กับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งประเทศ ทางเขาอาจภาคภูมิใจที่มีชนชั้นนำ ปัญญาชน อยู่กับเขา แต่ นปช. มีความภาคภูมิใจที่ได้อยู่กับประชาชนรากหญ้า

ในเวลา 22.20 น. จตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ปราศรัยว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่าหากรัฐบาลลาออก ยุบสภา ก็จะยังไม่หยุดเคลื่อนไหว การที่สุเทพบอกจะเดินทางไป 13 สาย ไปสามเหล่าทัพ ตำรวจ ที่ตั้งกระทรวงทบวงกรม สื่อมวลชน และประกาศให้ข้าราขการแข็งข้อนั้น อยากเรียนให้ประชาชนทราบว่านี่เป็นความหวังสุดท้ายของนายสุเทพ หากข้าราชการไม่เลือกที่จะฟังนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไปฟังคำสั่งของคนอื่น คุณก็ไม่ควรเป็นข้าราชการของประชาชนอีกต่อไป

"การสั่งปิดล้อมและยึด หากจะยึดก็ปล่อยให้เขายึดไป แต่อยากเตือนคนที่ตามนายสุเทพไปขอให้รู้ไว้ว่าพร้อมที่จะถูกดำเนินคดีหรือไม่ เพราะคุณสุเทพเป็นผู้ต้องหาดำเนินคดีอยู่แล้ว" นายจตุพรกล่าว

จตุพรกล่าวด้วยว่า ตอนนี้นักการเมืองขี้แพ้ทั้งหลายได้พยายามกวักมือเรียกทหารให้ออกมาทำรัฐประหาร หากคุณยึดอำนาจไป ไม่อาจจะคิดภาพได้ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร  วันนี้เป็นเรื่องการเมืองของพวกขี้แพ้กลุ่มเดิม นักวิชาการทุกคนคือคนหน้าเดิม คือพวกที่ไปเปิดประตูให้กับการรัฐประหาร และองค์กรอิสระ พอหมดเรื่องนิรโทษก็นำเรื่องเดิมมาพูดคือเรื่องระบอบทักษิณ

เพราะพรรคประชาธิปปัตย์แพ้ครั้งแรก 1 เท่าตัว ครั้งที่ 2 แพ้ 4 เท่าตัว เลยอ้างว่าแพ้ระบอบทักษิณ ความจริงแล้วที่แพ้ไม่ใช่ระบอบทักษิณ แต่ที่แพ้เป็นเพราะไม่รู้และเข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง หากอยากที่จะชนะก็ทำให้ประชาชนมาศรัทธา เชื่อและมั่นใจที่จะเลือก ไม่ใช่หวังพึ่งแต่รัฐประหาร หวังพึ่งตัวช่วย ทั้งเอาแบบรัฐประหารก็เอา เปิดประตูให้องค์กรอิสระก็เอา ขิงแก่เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งหนึ่ง อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีในค่ายทหารก็หนหนึ่ง หลังรัฐประหารปี 2549 ฝ่ายคุณ ครองประเทศ 4 ปีเศษๆ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ คุณยังทำลายระบอบทักษิณไม่สำเร็จ นึกอะไรไม่ออกบอกโค่นล้มระบอบทักษิณ ถ้าพวกผมนึกอะไรไม่ออกบ้าง นี่คือระบอบเทือกสุบรรณ ถึงเวลาต้องโค่นล้มแล้ว การเมืองก็ผูกขาด อาละวาดทุกที่ ต้องจัดการระบอบเทือกสุบรรณหรือไง แต่พวกเราไม่บ้าแบบนั้น เพราะระบอบเทือกสุบรรณไม่มีจริง

แต่ที่สุเทพ เทือกสุบรรณสามารถขึ้นมาเป็นแกนนำ ก็เพราะแกนนำเหล่านั้นคือกลุ่มคนที่ต่อสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ มาแล้วทั้งนั้น ในที่สุดแกนนำเหล่านั้นก็เลือกคนที่อัปลักษณ์ชั่วช้าที่สุดมานำ ทั้งนี้ถือว่ารัฐบาลนี้โชคดี พี่น้องเสื้อแดงโชคดีที่สุด การต่อสู้กับสุเทพ เทือกสุบรรณสบายที่สุด หันหลังชกก็ยังโดน เพราะเป็นนักการเมืองมีประวัติ คนไทยมีความชิงชัง มีความยี้กับสุเทพ เขาถูกดำเนินคดีเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น มีเรื่องที่เคยการปราบปรามประชาชน

ทั้งนี้สุเทพ บอกว่าไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทยทุจริตการเลือกตั้ง แต่ผมไม่ลืมที่สุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องคำพิพากษาศาลให้ กกต. ไปดำเนินคดีข้อหาทุจริตการเลือกตั้งนายก อบจ. จ.สุราษฎร์ธานี เห็นหน้าสุเทพก็นึกถึง สปก.4-01 นึกถึงขวดน้ำมันปาล์ม นึกถึงโรงพัก นึกถึง 100 ศพ นี่หรือผู้นำที่ประกาศว่ายุบสภาก็ไม่ยอม ลาออกก็ไม่ยอม ส้นตีนล่ะเอาไหม ทั้งนี้คงคิดว่าถ้าขู่แบบนั้นนายกรัฐมนตรีคงตกใจกับมัน แต่คนไทยรู้เช่นเห็นชาติว่าสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นคนอย่างไร แต่บัดนี้สุเทพ ได้กลายเป็นคนดีแล้ว โดยใช้เวลาฟอกตัวเร็วที่สุด ทั้งที่เขาเป็นนักการเมืองที่เลวคนหนึ่ง และเป็นผู้ร้ายฆ่าคนตาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สุเทพ' นัดดาวกระจาย 13 จุด ขอหยุด 'ระบอบทักษิณ' ภายใน 3 วัน

Posted: 24 Nov 2013 10:34 AM PST

ผู้ชุมนุมมาตามนัด - ขยายเวทีเพิ่มถึงสนามหลวง 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' อัดรัฐบาลปฏิเสธอำนาจศาล รธน. เท่ากับปฏิเสธรัฐธรรมนูญถือเป็นรัฐบาลที่โมฆะ และจะขอสู้เพื่อให้ลูกหลานมีชีวิตอยู่อย่างเสรีชนไม่ใช่เบี้ยล่างทรราชย์ ประกาศเคลื่อนขบวนเยี่ยมหน่วยราชการ-ทีวี 13 แห่ง และการต่อสู้จะจบภายใน 3 วัน

สุเทพ เทือกสุบรรณ ทักทายผู้สนับสนุนบนเวทีโค่นล้มระบอบทักษิณ  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ที่มาของภาพ เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ

การปราศรัยของสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อคืนวันที่ 24 พ.ย. (ที่มา: Blue Sky Channel)

 

ในการชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ซึ่งมีการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 พ.ย. นั้น บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีการขยายพื้นที่ชุมนุมไปตั้งเวทีที่สี่แยกคอกวัว และสนามหลวง นอกจากนี้เมื่อวันที่ 23 พ.ย. กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง (คปท.) ก็ประกาศร่วมเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกภาพกับผู้ชุมนุมที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

ประกาศตามหา 'สรยุทธ' ให้ช่อง 3 ขึ้น ฮ. รายงานข่าว

สำหรับบรรยากาศการปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น ช่วงหัวค่ำเมื่อเวลา 19.00 น. โฆษกบนเวทีได้ประกาศตามหาสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ว่า ควายหายตัวเดียวยังเอาเฮลิคอปเตอร์ตามได้ โดยเรียกร้องขอให้ผู้สื่อข่าวช่อง 3 และสรยุทธใช้เฮลิคอปเตอร์มาถ่ายทำการชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนินบ้าง

ต่อมา เวลา 19.10 น. พาเมล่า บุนนาค ได้ขึ้นปราศรัยเป็นภาษาอังกฤษ ระบุว่าผู้ชุมนุมไม่ได้มาเพราะถูกกะเกณฑ์ แต่มาจากทุกสาขาอาชีพ และเตือนให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รีบเดินทางออกจากประเทศ และกล่าวว่าทักษิณไม่ใช่คนไทยแล้วเป็นคนมอนเตรนิโกร และปัจจุบันทักษิณมีเงินมากพอ น่าจะพาคนเสื้อแดงไปอยู่มอนเตรนิโกรไปพัฒนามอนเตรนิโกร และไปประธานาธิบดีของมอนเตรนิโกร ส่วนประชาชนไทยยินดีจะอยู่ที่ประเทศไทยอย่างผาสุก และกรุณาปล่อยให้พวกเราอยู่ตามลำพัง

 

'สุเทพ' วอนผู้ชุมนุมอย่าล้อมรถถ่ายทอดสด เพราะพรุ่งนี้ก็จะไปเยี่ยมอยู่แล้ว

เวลา 19.12 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการชุมนุม ขอขึ้นปราศรัยเพื่อชี้แจงหลังเกิดเหตุล้อมรถถ่ายทอดสดของช่อง 3 และช่อง 7 ที่แยกคอกวัว โดยเขาปราศรัยว่า มีเรื่องด่วนจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องทั้งหลาย ขอความร่วมมือจากพี่น้องที่มาชุมนุม กราบขอความกรุณาจากพี่น้อง และชี้แจงว่า "ได้มีพี่น้องเราไม่พอใจที่ทีวีช่องต่างๆ รายงานข่าวการต่อสู้ของพวกเราอย่างไม่เป็นธรรม พี่น้องเราไม่พอใจ ผมต้องเรียนกับพี่น้อง ผมเองก็ไม่พอใจ แต่พี่น้องที่รักทั้งหลายเราได้ตกลงแต่แรกแล้วว่าการต่อสู้ของเราครั้งนี้ เราจะสู้แบบคนดี พลเมืองดี เพราะฉะนั้นต้องยึดหลักการนี้ ผมจึงต้องขอความกรุณา ขอความร่วมมือจากพี่น้องทั้งหลาย เก็บความไม่พอใจเอาไว้ก่อน พรุ่งนี้ค่อนเดินไปเยี่ยมเขาที่สถานี"

"วันนี้ให้โอกาสเขาอีกครั้ง ให้เขาทำหน้าที่ของเขา อย่าไล่พวกเขาออกไป ผมขอแค่นี้ พี่น้องให้ได้ไหมครับ ไล่รถถ่ายทอดสดช่อง 3 ไปคันหนึ่งแล้ว ผมขึ้นมาไม่ทัน แต่นี่กำลังจะไล่ช่อง 7 อีก ผมขอบิณฑบาตก็แล้วกัน ขอให้พี่น้องล้อมรถถ่ายทอดสดของช่อง 7 กรุณารับคำขอร้อง แล้วปล่อยให้เขาทำงานต่อไปคืนนี้ แล้วพรุ่งนี้ค่อยไปคุยกับเขา"

 

วสิษฐ เดชกุญชร เชื่อเมื่อยกระดับการชุมนุม จะเห็นความร่วมมือจาก ปชช. กทม. ต่างจังหวัด

ต่อมาเวลา 19.20 น. พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ได้ขึ้นเวทีปราศรัย พี่น้องคนไทยผู้ห่วง ผู้หวนแหนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ทั้งหลาย ตั้งใจว่าเป็น 1 ในล้านให้ได้ ออกจากบ้านที่ฝั่งธนเมื่อบ่ายสี่โมง ทุ่มหนึ่งเพิ่งมาถึงนี่ ตอนจะออกพ้นหรือเปล่าก็ไม่รู้

วสิษฐปราศรัยว่า การชุมนุมยกระดับมาเรื่อยๆ เมื่อแรกทีเดียวเราชุมนุมเพื่อคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ทำให้อาชญากรตัวใหญ่ตัวเล็กพ้นความผิดหมด บัดนี้วัตถุประสงค์การชุมนุมเปลี่ยนไป เราคัดค้านกฎหมายฉบับนั้นอยู่ และเราคัดค้านบุคคลที่ผลักดันกฎหมายฉบับนั้น และกฎหมายฉบับอื่นนั่นคือ รัฐธรรมนูญของเรา ท่านจะเห็นแล้วว่าพรรคเพื่อไทยและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รวมหัวกันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อำนาจ ให้ประโยชน์แก่ตัวเองให้มากยิ่งขึ้น เป็นการแก้ไขที่ไม่ต่างอะไรจากการลักหลับ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อ 20 พ.ย. ที่ผ่านมานี้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่แทนที่พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจะฟังคำวินิจฉัยนั้นแล้วปฏิบัติตาม กลับแข็งข้อ เรากำลังชุมนุมแบบอารยะขัดขืน แต่การกระทำของเพื่อไทย รัฐบาล เป็นการต่อต้านแบบอนารยะขัดขืน ก็มีสภาพเหมือนกลุ่มโจรเท่านั้นเอง และไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องเชื่อถือทั้งพรรคและรัฐบาลต่อไปอีก

เราได้ตกลงยึดมั่นกันแล้วในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ อหิงสา แบบที่คุณสุเทพ พูดแล้วพูดอีก เพราะฉะนั้นไม่มีความจำเป็นอะไรที่เราจะใช้กำลังรุนแรง จำนวนกว่าล้านคน เพียงพอที่จะทำให้เสียงต่อต้านสงบ พรุ่งนี้ เมื่อได้ยกระดับการชุมนุมไปอีกแบบหนึ่งแล้ว จะได้เห็นความร่วมมือของพี่น้องในกรุงเทพ และต่างจังหวัดมากขึ้นๆ โดยหวังว่าอุปสรรคจะมีอยู่น้อย และเห็นข้าราชการร่วมมือร่วมใจมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลยังอยู่ ถึงทักษิณยังอยู่ ยิ่งลักษณ์ยังอยู่ แต่ก็จะมีสภาพเหมือนศพที่คอยในหีบ เพื่อรอฌาปนกิจ

 

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ความบกพร่องของ 14 ตุลา คือจัดการทหารไปแล้ว แต่ยังเหลือระบอบทักษิณ

ต่อมา สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย (ศนท.) อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ระบุว่า เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีมวลชนนับแสนมาลุกขึ้นสู้เผด็จการทหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย และวันนี้วันที่ 24 พ.ย. 2556 เป็นวันที่ประชาชนทั่วแผ่นดินลบสถิติเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่แล้ว 14 ต.ค. มีนิสิตนักศึกษาหลานแสน แต่วันนี้พี่น้องประชาชนมาร่วมกันเป็นล้าน

ความบกพร่องของ 14 ตุลาคม 2516 คือเรากำจัดเผด็จการทหารไปได้ แต่ที่เราต่อสู้กันอยู่วันนี้ เรากำลังเผชิญเผด็จการที่ยิ่งใหญ่กว่าระบอบทหาร คือเผด็จการระบอบทักษิณ ถ้าเราปล่อยให้ระบอบเผด็จการยังคงอยู่ วันนี้ผมยังต้องพูดกับพี่น้องประชาชนว่าเราสู้ ณ ถนนสายนี้ ถ้าเราไม่สามารถจัดการระบอบทักษิณได้ ลูกหลานจะเป็นทาสระบอบทักษิณ ซึ่งพวกเราไม่ยอม พวกเราจะต้องสู้ ต้องสู้ให้ได้ชัยชนะเด็ดขาด วันนี้จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่มหาประชาชนนับล้านมาแสดงเจตจำนงค์แน่วแน่ พร้อมต่อสู้กำจัดระบอบทักษิณให้สิ้นซาก การต่อสู้ในวันนี้ ไม่ใช่การต่อสู้ของพี่น้องประชาชนชาวไทยเท่านั้น ในทางวิชาการถือว่าเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ประชาชนทั่วโลกต้องเรียนรู้จากเรา และจะนำชัยชนะถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

นิชาระบุมาชุมนุมเพื่อก้าวข้ามความกลัวไปให้ได้ และมาในฐานะภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า และเพราะรักในหลวง

ในเวลาประมาณ 21.00 น. นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ผู้สูญเสีย พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม จากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 กล่าวว่า วันนี้ที่ออกมาชุมนุมได้นึกถึงสามีที่จากไป บอกเขาว่า "พี่รู้ไหม พี่จากไปเกือบสี่ปีแล้ว เหตุการณ์ยังไม่จบ ต้องเดินออกมาสู้โดยลำพังโดยไม่มีเขา" ถามตัวเองว่ากลัวไหม เป็นผู้หญิงคนเดียวเดินออกมาคนเดียวย่อมมีภัยเกิดขึ้นได้ แต่เรากลัวไม่ได้แล้ว เราต้องข้ามความกลัวไปให้ได้ นี่คือชัยชนะของคืนวันที่ 24 พ.ย.

เชื่อว่าทุกท่านที่มาในวันนี้มาด้วยแรงบันดาลใจที่ต่างกัน ดิฉันมายืนตรงนี้เพราะเป็นภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม นายทหารที่รักแผ่นดิน รักพระมหากษัตริย์ รักประชาชนชาวไทย 10 เมษายน 2553 เขาต้องพลีชีพที่นี่ด้วยเหตุการณ์การเมือง ใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เขาไม่มีวันได้ชัยชนะ

สี่ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าความรุนแรงไม่สามารถนำชัยชนะมาสู่ใคร ผู้ที่ใช้ความรุนแรงกับทหารกับประชาชนไม่ชนะ สิ่งเดียวที่จะชนะได้คือต้องชนะใจประชาชนเท่านั้น

ชีวิตทหารที่ตายไปที่ถนนดินสอ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บาดเจ็บราวใบไม้ร่วง น้อยกว่าน้อยนักที่คนในรัฐบาลจะกล่าวถึง ไม่เคยมีใครให้คุณค่ากับทหารที่มารักษาความสงบในคืนวันนั้นเลย ทุกครั้งที่พูดเรื่องนิรโทษกรรมมันเสียใจ ช้ำใจ นายกรัฐมนตรีสอนให้ให้อภัย อยากบอกว่า ท่านไม่เคยสูญเสียคนที่ท่านรัก ท่านไม่มีสิทธิสอนดิฉันเรื่องการให้อภัย

ดิฉันมามายืนบนนี้ในฐานะข้าราชการอีกฐานะหนึ่ง ข้าราชการที่มีสำนักมีหน้าที่ ไม่ยอมเป็นเครื่องมือนักการเมือง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นดิฉันจึงกล้าที่จะยืน และมาในฐานะคนไทยอีกหน้าที่หนึ่ง คนไทยที่ไม่สามารถจะเห็นบ้านเมืองนี้ย่อยยับอับจนไปต่อหน้าต่อตาในชั่วชีวิตเรา โดยที่เราไม่สามารถทำอะไรได้เลย ขอเสียสละผู้มาทำหน้าที่ในฐานะคนไทย ที่วันนี้จะสามารถจะตอบบรรพบุรุษที่เสียเลือดเสียเนื้อให้บ้านเมืองของเรา

นอกจากนี้การเดินมาในวันที่ 24 พ.ย. ในฐานะของลูกคนหนึ่งของพ่อหลวง อยากเป็น 1 ในล้านดวงใจ ณ ที่นี้ ถวายความจงรักภักดี ถวายของขวัญในวันเฉลิมพระชมนพรรษาที่จะมาถึงในเร็วๆ นี้ มาในฐานะของล้านดวงใจเพื่อจะบอกว่าเรารักในหลวงยิ่งชีวิต

 

สุเทพขึ้นเวทีระบุคนมาชุมนุมมากเป็นประวัติศาสตร์

โดยเมื่อเวลา 21.20 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี และแกนนำการชุมนุมได้ขึ้นเวทีปราศรัย โดยสุเทพ ปราศรัยว่ามีคนชุมนุมมากเป็นประวัติศาสตร์ วันที่พวกผมประกาศว่า 24 พ.ย. เป็นวันที่เราหลอมดวงใจล้านดวงเข้าด้วยกัน วันที่เราประกาศเช่นนั้นมีคนปรามาสเราเยอะแยะ มีคนดูถูกว่าคนไทยทั้งหลายไม่มีวันที่จะกล้าแสดงตัวอย่างชัดเจนเป็นจำนวนมากขนาดนั้นหรอก เพื่อนร่วมชาติที่มายืนเคียงบ่าเคียงไหล่นั้นมากกว่าล้านคนแล้ว โดยออกมาชุมนุมเพราะทนเสียงหัวใจตัวเองไม่ได้

"คืนนี้ได้ปรากฏแก่สายตาว่าพี่น้องร่วมชาติลุกขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่พี่น้องที่รักชาติรักแผ่นดินมากกว่าล้านคน สนามหลวงคนเต็ม ถนนระหว่างสนามหลวงและศาลฎีกาคนแน่น รถมอเตอร์ไซต์วิ่งผ่านไม่ได้ คนล้นเข้าไปบนสะพานปิ่นเกล้า ที่สนามหลวงมีปัญหาการรับภาพ ผมจึงไปขึ้นเวทีสนามหลวงพูดคุยกับทุกคนระหว่างทางเดินมาเวทีนี้มีผู้รักชาติเต็มหมด จากถนนดินสอ ถึงศาลาว่าการ กทม. เดินไม่ได้ ลานคนเมือง ไม่มีจอไม่มีลำโพง แต่พี่น้องนั่งเต็มไปหมด แต่สื่อบางส่วนรายงานว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 4 หมื่นคน เหมือนกับที่นายณัฐวุฒิ นายจตุพร พูดที่ราชมังคลากีฬาสถาน" สุเทพ บรรยายจำนวนผู้ชุมนุม

 

ลั่นไม่กลัวระบอบทักษิณแล้ว ออกมาต่อสู้เพื่อให้ลูกหลานอยู่อย่างเสรีชน ไม่ตกเป็นเบี้ยล้างทรราชย์

สุเทพ ปราศรัยว่า มีข้าราชการตำรวจไม่กี่คนที่ขายวิญญาณแก่ระบอบทักษิณ ถึงได้ข่มขู่พวกเราทุกวัน ฝ่ายรัฐบาลทั้งนั้นที่ปล่อยข่าวว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ ระวังจะเกิดเหตุร้าย ขู่ว่าอย่าออกมาเดี๋ยวจะเกิดเหตุร้าย เดี๋ยวจะบาดเจ็บ ล้มตาย มึงมาดูการขู่ของมึงสิว่าคืนนี้มาเท่าไหร่ และกล่าวว่า "ผมขอคารวะหัวใจของชาวไทยผู้รักชาติทุกท่าน"

"วันนี้พี่น้องทั้งหลายได้พิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่า กูไม่กลัวอะไรอีกแล้ว ไม่กลัวตำรวจ ไม่กลัวเสื้อแดง ไม่กลัวเสื้อดำ ไม่กลัวระบอบทักษิณ กลัวอย่างเดียว กลัวลูกหลานจะเป็นขี้ข้าของมัน ถ้าไม่สู้วันนี้ ที่เราออกมานั้นเราตัดสินใจกันเด็ดเดี่ยวแล้วว่าลูกเราหลานเรา จะต้องมีชีวิตอยู่ในประเทศไทยนี้อย่างเสรีชน ไม่ใช่อยู่เป็นเบี้ยล่างของรัฐบาลทรราชย์อีกต่อไป พอกันที ไม่อดทนอีกต่อไปแล้ว เราได้ทนกับระบอบทักษิณ 10 กว่าปีแล้ว มันทำชาติเราย่อยยับหนักหนาแล้ว"

หลังจากนั้นผู้ชุมนุมได้ร่วมกันตะโกนว่า "ออกไป ออกไป ออกไป" อย่างกึกก้อง ถ.ราชดำเนิน

 

จะไม่เลิกต่อสู้จนกว่าระบอบทักษิณจะหมดสิ้นไป ยุบสภา-ลาออกก็ไม่หยุด

สุเทพปราศรัยต่อไปว่า "พี่น้องทั้งหลาย ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพทั้งที่เป็นนักเรียน นักศึกษาครูบาอาจารย์ ชาวไร่ ชาวนา ชาวกรุง และชาวต่างจังหวัด จะสามัคคีกันขนาดนี้ เมื่อมาถึงขั้นนี้ ขอเอาหัวใจของผม หัวใจคณะกรรมการแกนนำทุกคน ลงมาวางเคียงคู่กับหัวใจของพี่น้องทั้งล้านคน"

"พี่น้องทั้งหลาย ณ มหาสมาคม เราจะไม่เลิกต่อสู้ จนกว่าระบอบทักษิณจะหมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย ออกมาเป็นล้านไม่หยุดแล้ว ยุบสภาก็ไม่หยุด ลาออกก็ไม่หยุด"

 

หวังปฏิรูปประเทศให้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแท้จริง

"เราจะหยุดต่อเมื่อระบอบทักษิณหมดสิ้นไป จะได้สร้างประเทศไทยสำหรับลูกหลาน เปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วย 'ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง' ไม่ให้พวกทรราชย์ นายทุนสามานอาศัยคราบประชาธิปไตยมากดขี่ เราจะต้องร่วมกัน สร้างเกราะ สร้างกติกา ไม่ให้ประเทศไทย เป็นประเทศของนักทุจริต คอรัปชั่นอีกต่อไปแล้ว เราจะต้องร่วมกัน กำหนดกฎเกณฑ์กติกาให้เสียงของประชาชน อธิปไตยของประชาชนเป็นจริง และทุกคนต้องฟังประชาชนใช่ไหมพี่น้อง"

"พี่น้องเราเป็นพลเมืองดี ประกาศแต่ต้นต่อสู้ว่าเป็นสิทธิพลเมือง ปกป้องแผ่นดินนี้ ชาตินี้ และประกาศว่าจะต่อสู้อย่างสันติ สงบ ปราศจากอาวุธ อหิงสา และจะยืนยันอย่างนั้นอยู่ และตั้งแต่เราต่อสู้มา คืนนี้เป็นคืนที่ 25 ไม่เคยทำผิดกฎหมายเลยแม้แต่ข้อเดียว เพราะเป็นพลเมืองเลยไม่คิดเผาสมบัติใคร หรือปล้นใคร ไม่เหมือนไอ้พวกของรัฐบาลนี้ เราระมัดระวังการเคลื่อนไหวของมวลชน ทุกขั้นทุกตอน เราค่อยๆ ปรับความคิดให้มวลชนให้มีความคิดระดับเดียวกัน ทีละขั้นทีละตอน และเราหลีกเลี่ยงที่จะพามวลชนออกเดิน เพราะมวลชนของเรา แกนนำของเรา เป็นมือใหม่หัดขับกันทั้งสองฝ่าย"

 

นัดเคลื่อนขบวนไปสถานที่ราชการ - ให้ ขรก.หยุดปฏิบัติหน้าที่ แล้วระบอบทักษิณก็จะสิ้นสภาพ

"ตั้งแต่เริ่มต่อสู้กันมา เราเดินขบวนวันเดียวเท่านั้นคือ 4 พ.ย. จากสามเสน มาไหว้พระแก้วมรกต ไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระบรมหาราชวัง แล้วประกาศปณิธานร่วมกันว่าการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนคราวนี้สู้เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน เพื่อประชาชนเท่านั้น ไม่มีผลประโยชน์อื่น แล้วจึงมายึดถนนราชดำเนินเป็นที่มั่นในการต่อสู้ของเรา ไม่เคยยกขบวนไปที่ไหนเลย แต่คืนนี้ วันนี้ เราเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าเป้าหมายของเราคือจัดการระบอบทักษิณ ฉะนั้นพรุ่งนี้เราจะเคลื่อนขบวน"

"การที่จะให้ระบอบทักษิณล้มลงไปเอง สิ้นสภาพไปเอง ที่นุ่มนวลที่สุดก็คือถ้าข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ปฏิเสธที่จะรับใช้ระบอบทักษิณต่อไป มันก็เป็นง่อยไปทั้งระบบ มันจบตรงแค่นั้น ต้องเก็บกระเป๋าหอบพี่หอบน้องหนีไปอยู่ดูไบแน่นอน" สุเทพกล่าวถึงวิธีจัดการระบอบทักษิณ และกล่าวต่อไปว่า

 

ชี้รัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับไม่ยอมรับ รธน. ถือเป็นรัฐบาลโมฆะ

"ผมขอส่งเสียงนี้ ถึงบรรดาข้าราชการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ท่านทั้งหลายเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นข้าของประชาชน ผมพูดแทนคนล้านคน ว่าบัดนี้ คนล้านคนที่มาชุมนุมอยู่ที่นี่ เป็นตัวแทนอีก 14-15 ล้านคนที่อยู่ที่บ้าน และไม่ได้มา ทุกคนมีความเห็นอย่างเดียวกันแล้ว ว่าระบอบทักษิณเป็นพิษเป็นภัยที่ร้ายแรงของประเทศไทย ต้องขจัดไปให้หมด แล้วผมเรียนไปถึงพี่น้องข้าราชการทั้งหลาย ไม่ต้องหัวหมอกับประชาชน ไม่ต้องมาเถียงว่ารัฐบาลนี้เขายังชอบธรรมอยู่ ผมจะบอกให้ รัฐบาลนี้เป็นโมฆะตั้งแต่วันประกาศต่อต้านรัฐธรรมนูญแล้ว"

"เมื่อพรรครัฐบาล ส.ส. ส.ว. รัฐบาล ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ออกมาปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ นั่นคือการปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นรัฐบาลต่อไปไม่ได้ บรรดาข้าราชการท่านต้องตัดสินใจว่าจะอยู่ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นโมฆะหรือฝ่ายประชาชน" สุเทพกล่าว

 

ประกาศเคลื่อนขบวน 13 จุดไปถามข้าราชการว่าจะอยู่ข้างใคร

"ถ้าพวกผม ลุกขึ้นตั้งคำถามนี้ ถ้าท่านคิดไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้ พรุ่งนี้ประชาชนจะไปถาม พรุ่งนี้ถึงจะเป็นวันเดินขบวนจริงของพวกเรา ผู้รักชาติ รักแผ่นดิน เราจะเดินไปหาข้าราชการเหล่านั้น กระซิบถามอย่างสุภาพว่าท่านจะเลือกอยู่ข้างใคร จะเอาดอกไม้ไปให้ เอานกหวีดไปให้ ถามว่าจะอยู่กับยิ่งลักษณ์ หรือจะอยู่ในอ้อมใจประชาชน ถ้าข้าราชการเหล่านั้นทั้งประเทศตัดสินใจได้ ประกาศยืนข้างประชาชน ระบอบทักษิณก็ล้มทันที โดยสดุดี และโดยดุษฎี"

นอกจากนี้ สุเทพกล่าวถึงสถานีโทรทัศน์ที่ผู้ชุมนุมจะไปเยี่ยมว่า "คุณจะเป็นสื่อมวลชนของประชาชน หรือสื่อมวลชนระบอบทักษิณกันแน่ พวกเราปวดหัวใจเหลือเกิน คนมาชุมนุมเป็นล้านวันนี้ มันไม่มีข่าวเลย มันกลัวคนทั้งประเทศรู้ว่าที่นี่มีคนล้านคน ขอประกาศให้เฉลิม ยิ่งลักษณ์ทราบด้วย ให้ขี้ข้าทราบด้วย พรุ่งนี้ขบวนมหาประชาชนจะแบ่งเป็น 13 เส้นทาง"

ทั้งนี้ 13 เส้นทางประกอบด้วย 1.กองบัญชาการทหารสูงสุด ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นำโดย สกลธี ภัททิยกุล 2. กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง นำโดยวิทยา แก้วภราดัย 3.กองทัพบก แกนนำคือเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ 4.กองบัญชาการกองทัพเรือ นำโดยสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม 5.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดยพุฒิพงศ์ ปุณณกันต์ 6.กองบัญชาการตำรวจนครบาล นำโดยชุมพล จุลใส 7. ช่อง 3 นำโดยณัฐพล ทีปสุวรรณ 8. ช่อง 5 นำโดยอิสสระ สมชัย 9.ช่อง 7 นำโดยชาญวิทย์ วิภูศิริ 10.ช่อง MCOT นำโดยถนอม อ่อนเกตุพล 11.ช่อง 11 นำโดยนายถาวร เสนเนียม 12. กระทรวงมหาดไทย จะให้สมาชิก อบต.ที่มาร่วมชุมนุมไปทวงเงินกระทวงมหาดไทย และ 13.สำนักงบประมาณ จะไปบอกกับสำนักงบประมาณ และข้าราชการหยุดจ่ายเงินให้อีปูเอาไปผลาญได้แล้ว โดยขบวนที่ 13 สุเทพจะเป็นผู้นำไปเอง

 

จะให้เวลาข้าราชการและสื่อมวลชนตัดสินใจ 1 วัน และการต่อสู้จะต้องจบภายใน 3 วันนี้

สุเทพกล่าวด้วยว่า พรุ่งนี้เหนื่อยกันหน่อย จะเป็นการเดินขบวนครั้งสำคัญ ทั้งนี้มีคนท้วงติงเขามาก มีคนรักและเคารพเตือนผมว่า อย่าไปยุ่งกับสื่อมวลชนเดี๋ยวจะเสียคะแนน แต่ผมตัดสินใจแล้วไม่กลัวเสียคะแนน เพราะกล้าลาออกจาก ส.ส.มาต่อสู้ไม่รู้จะได้กลับไปหรือไม่ ประโยชน์ของชาติ ประโยชน์ของประชาชนต้องมาก่อนตัวเอง เราจะไปแบบสุภาพชน เราจะเดินแบบสันติ สงบ อหิงสา เดินไปร้องเพลงไป ไปชวนข้าราชการ โดยการต่อสู้ต้องจบภายใน 3 วันนี้ ถ้าข้าราชการสื่อมวลชนยังสมัครใจรับใช้ระบอบทักษิณ รับใช้รัฐบาลที่เป็นโมฆะ เราจะตัดสินใจภายคืนวันที่ 26 พ.ย. เป็นอะไรก็เป็นกันให้มันรู้ไป ไม่มีเวลามายื้อ บ้านเมืองยับเยินมาพอแล้ว หลังจากเดินไป 13 เส้นทางแล้ว เราจะกลับมาประเมินสถานการณ์ที่นี่ ให้เวลาข้าราชการและสื่อมวลชนตัดสินใจ 1 วัน จากนั้นจะพิจารณาจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป

ทั้งนี้มีการนัดหมายว่าในเวลา 8.30 น. จะมีการจัดขบวนและแยกย้ายออกมาจาก ถ.ราชดำเนิน โดยคาดว่าจะไปถึงแต่ละสถานที่ในเวลา 10.30 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพ เทือกสุบรรณ

Posted: 24 Nov 2013 09:46 AM PST

"เมื่อพรรครัฐบาล ส.ส. ส.ว. รัฐบาล ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ออกมาปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ นั่นคือการปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นรัฐบาลต่อไปไม่ได้ บรรดาข้าราชการท่านต้องตัดสินใจว่าจะอยู่ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นโมฆะหรือฝ่ายประชาชน"

24 พ.ย. 2556 ปราศรัยที่ ถ.ราชดำเนิน

อ็อกฟอร์ดเผยมีเด็กเสียชีวิตมากกว่า 11,000 ในซีเรีย หลายร้อยถูกยิงด้วยสไนเปอร์

Posted: 24 Nov 2013 08:39 AM PST

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ สำรวจตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ระบุตัวตนและสาเหตุการเสียชีวิตได้ในสงครามกลางเมืองซีเรียช่วงตลอดสามปีที่ผ่านมา พบว่ามีเหยื่อที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีจำนวน 11,420 คน มีจำนวน 389 คนที่ถูกสังหารโดยอาวุธสไนเปอร์

24 พ.ย. 2556 - กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดเปิดเผยในรายงานการสำรวจว่ามีเด็กเสียชีวิตมากกว่า 11,000 คน ในซีเรียจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีหลายร้อยคนที่ถูกสังหารโดยสไนเปอร์ และส่วนใหญ่ถูกสังหารโดยระเบิดหรืออาวุธหนักที่ยิงเข้าไปในย่านชุมชน โดยพวกเขายังได้เรียกร้องให้กลุ่มนักรบได้รับการฝึกฝนไม่ให้ทำสงครามโดยนำชีวิตของพลเรือนเข้าไปเสี่ยงด้วย

ในรายงานที่ชื่อ "อนาคตที่ถูกช่วงชิง ตัวเลขเด็กผู้เสียชีวิตในซีเรียที่ยังไม่ได้เปิดเผย" ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งในซีเรียตั้งแต่เดือน มี.ค. 2554 ถึงเดือน ส.ค. 2556 รายงานระบุว่ามีเหยื่อที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีจำนวน 11,420 คน มีจำนวน 389 คนที่ถูกสังหารโดยอาวุธสไนเปอร์ ซึ่งเป็นปืนซุ่มยิงระยะไกล

รายงานของอ็อกฟอร์ดเปิดเผยอีกว่ามีเด็กราว 764 คนถูกสังหารตัดตอน (summarily executed) มีมากกว่า 100 คน รวมถึงเด็กอ่อนถูกทรมาน โดยกลุ่มประชากรที่ถูกสังหารส่วนใหญ่ในที่นี้คือเด็กผู้ชายอายุระหว่าง 13 ถึง 17 ปี มีประชากรเด็กผู้ชายถูกสังหารมากกว่าเด็กผู้หญิงสองเท่า

ข้อมูลจากรายงานระบุอีกว่าสถานที่ที่มีเด็กถูกสังหารมากที่สุดคือในเขตปกครองอเลปโป โดยมีเด็กถูกสังหาร 2,223 คน

ฮานา ซาลามา ผู้ร่วมเขียนรายงานการวิจัยกล่าวว่าเหล่าเด็กๆ ถูกสังหารในรูปแบบที่เลวร้าย คือการถูกระเบิดขณะอยู่ที่บ้าน ในย่านชุมชน ขณะกำลังปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่นรอต่อแถวรับอาหาร หรือเข้าเรียน นอกจากนี้ยังมีส่วนหนึ่งถูกยิงจากลูกหลงในการสู้รบ ตกเป็นเป้าของสไนเปอร์ ถูกสังหารตัดตอน แม้กระทั่งถูกรมแก็สและถูกทรมาน

โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตข้อมูลทั้งหมดรวบรวมมาจากปากคำของกลุ่มประชาสังคมในซีเรีย ซึ่งตัวเลขที่ระบุในรายงานมาจากเหยื่อที่ทราบชื่อและสามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิตได้เท่านั้นและยังคงมีพื้นที่บางส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปสำรวจได้ ทำให้มีการระบุในรายงานว่าขอให้มีการนำตัวเลขนี้ไปใช้อย่างระมัดระวังและยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่ามีจำนวนมากหรือน้อย

รายงานกล่าวอีกว่าความขัดแย้งในซีเรียทำให้เกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเหล่าประชากรเด็กในซีเรีย และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเลิกโจมตีเป้าหมายที่เป็นพลเรือนรวมถึงอาคารของพลเรือน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และศาสนสถาน

กลุ่มนักวิจัยอ็อกฟอร์ดยังได้เรียร้องให้มีการอนุญาตให้นักข่าวสามารถเข้าถึงพื้นที่ในซีเรียรวมถึงมีการคุ้มครองนักข่าวและทีมงานด้านอื่นๆ ที่เข้าไปบันทึกตัวเลขการสูญเสีย

จนถึงตอนนี้เหตุสงครามกลางเมืองในซีเรียทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 100,000 คน มีอีกมากกว่า 2 ล้านคนอพยพออกจากประเทศ


เรียบเรียงจาก

Syria conflict: Children 'targeted by snipers', BBC, 24-11-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง 4 หน่วยงานรัฐละเลยหน้าที่ ปล่อยเหมืองทองเลยก่อมลพิษ

Posted: 24 Nov 2013 08:16 AM PST

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย เตรียมฟ้อง กพร. สปก. สผ. และผู้ว่าฯ ต่อศาลปกครองกลาง ชี้ละเลยหน้าที่ และกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมขอให้ศาลเพิกถอนใบประทานบัตร-ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมบริษัทเอกชน
 
 
24 พ.ย.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ในนามกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จำนวน 322 คน เตรียมยื่นฟ้อง 4 หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ต่อศาลปกครองกลาง ในช่วงเช้าวันที่ 25 พ.ย.2556 นี้ เหตุละเลยการปฏิบัติหน้าที่ และกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
พร้อมขอให้ศาลเพิกถอนใบประทานบัตรเลขที่ 26971/15558, 26972/15559, 26968/15574, 26969/15575 และ 26970/15576 ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด และขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ที่ 1/2552 และ คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรม คำขอที่ 1/2555 ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด รวมทั้งเพิกถอนหนังสือยินยอมให้เข้าใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
 
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ระบุว่าทั้ง 4 หน่วยงานได้ใช้ดุลพินิจในการออกใบประทานบัตรอนุญาตให้ บริษัททุ่งคำได้รับสิทธิในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ฉบับเดิม รวมทั้งประทานบัตรฉบับใหม่ และในการออกใบอนุญาตประกอบการโลหกรรม และการต่อใบอนุญาตโลหกรรม ให้แก่บริษัททุ่งคำ รวมถึงการยินยอมให้บริษัททุ่งคำเข้าใช้ที่ดิน 369 – 3 – 17 ไร่ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นผลให้บริษัททุ่งคำ ได้รับสิทธิในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ และการประกอบโลหกรรม ตลอดจนใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ประมาณปี 2533
 
ต่อมาการประกอบกิจการทั้งหมดของบริษัททุ่งคำ ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ ทำให้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางน้ำสาธารณะเสื่อมประโยชน์ ทำลายระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์อันเป็นสภาพดั้งเดิมของพื้นที่ จนก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนใน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านนาหนองบง บ้านกกสะท้อน บ้านภูทับฟ้า บ้านห้วยผุก บ้านโนนผาพุงพัฒนา และบ้านแก่งหิน ใน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
 
ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องนับสิบครั้งที่พบว่า การประกอบกิจการของบริษัททุ่งคำได้ทำให้สารไซยาไนต์ แคดเมียม สารหนู สารตะกั่ว แมงกานีส ซึ่งเป็นสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ 1) ความเสียหายต่อคุณภาพชีวิต ต่อสุขภาพ ต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียสำหรับน้ำในการอุปโภคและบริโภค 2) ค่าเสียหายต่อพืชผลเกษตรกรรม ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และ 3) ความเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปนเปื้อนสารพิษในสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่อาจใช้ประโยชน์ในห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติได้ตามปกติ
 
ระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้พยายามร้องเรียนเพื่อขอให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบทำการตรวจสอบ กำกับดูแล และแก้ไขปรับปรุงการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่งคำ แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้ง 4 นอกจากจะเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงเหล่านั้น ไม่ได้ดูแล กำกับ แก้ไขให้บริษัททุ่งคำปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงไม่เพิกถอนใบประทานบัตร ใบอนุญาตโลหกรรม และยังยินยอมให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
 
ดังนั้น นอกจะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในพื้นที่ อันเป็นสิทธิที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 66 และ 67
 
 
ลำดับเหตุการณ์โดยสรุป
 
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้รับสิทธิในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ และการประกอบโลหกรรม ตลอดจนใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ประมาณปี 2533
 
ประมาณปี 2549 ชาวบ้านบริเวณบริเวณหมู่บ้านนาหนองบง, บ้านกกสะท้อน, บ้านภูทับฟ้า, บ้านห้วยผุก, บ้านโนนผาพุงพัฒนาและบ้านแก่งหิน ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม และพบว่าชาวบ้านบางคนมีอาการผื่นคันตามผิวหนัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บป่วยบ่อยๆ และมีอาการแสบตา กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เพื่อขอให้ตรวจสอบ กำกับดูแล และแก้ไขปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น
 
ประมาณเดือนมกราคม 2550 จังหวัดเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการทำเหมืองแร่และการประกอบโลหกรรมของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด คณะกรรมการได้ประชุมและมีมติให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามแผนผังโครงการทำเหมือง
 
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีหนังสือให้อุตสาหกรรมจังหวัดเลย ทำการเปรียบเทียบปรับบริษัท ทุ่งคำ จำกัด เนื่องจากได้ปล่อยให้มีปริมาณสารไซยาไนต์เจือปนในกากแร่ ก่อนนำไปกักเก็บในบ่อกากแร่สูงถึง 62 PPM ซึ่งตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 PPM เท่านั้น
 
19 กุมภาพันธ์ 2550 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีหนังสือให้อุตสาหกรรมจังหวัดเลย ทำการเปรียบเทียบปรับบริษัท ทุ่งคำ จำกัด เนื่องจากได้ปล่อยให้มีปริมาณสารไซยาไนต์เจือปนในกากแร่ ก่อนนำไปกักเก็บในบ่อกากแร่สูงถึง 62 PPM ซึ่งตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 PPM เท่านั้น
 
เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 จังหวัดอุดรธานี สรุปรายงานผลการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการทำเหมืองแร่ทองคำซึ่งบริษัททุ่งคำ ได้รับประทานบัตร (ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2547-2549) รวมระยะเวลา 3 ปี พบว่าคุณภาพของน้ำในลำน้ำฮวยและลำห้วยผุก ตำบลเขาหลวง มีค่าไซยาไนต์และแมงกานีสค่อนข้างสูง โดยในปีแรกทำการเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำในลำน้ำสาขาของแม่น้ำเลย รวม 5 สถานี พบว่ามีค่าแมงกานีสสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานี และมีค่าไซยาไนต์เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3 สถานี
 
เดือนธันวาคม 2550 โรงพยาบาลวังสะพุง ได้ดำเนินการเจาะเลือดชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านนาหนองบง, บ้านกกสะท้อน, บ้านภูทับฟ้า, บ้านห้วยผุก, บ้านโนนผาพุงพัฒนา, บ้านแก่งหิน ตำบลเขาหลวง โดยการสุ่มตรวจหาสารไซยาไนต์ จำนวน 279 คน ผลปรากฏว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลผู้ทำการตรวจ ได้แจ้งผลการตรวจเลือดพบว่า มีสารไซยาไนต์ในเลือดของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 54 ราย ซึ่งในจำนวนที่ตรวจพบมีค่าสารไซยาไนต์เกินค่ามาตรฐาน 20 คน
 
ช่วงระหว่างวันที่ 23 ถึง 25 มิถุนายน 2551 กรมควบคุมมลพิษ ได้แจ้งผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำจากการจัดเก็บในลำน้ำห้วยเหล็ก พบว่ามีสารหนูสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินและเก็บในบริเวณลำน้ำฮวย เขตพื้นที่บ้านนาหนองบง หมู่ที่ 3 บริเวณเหนือฝายห้วยผุก และปากฝายห้วยผุก บ้านนาหนองบง และในลำคลองบริเวณถนนหน้าเหมืองพบสารแมงกานีส สูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน และพบสารแคดเมียมในระบบประปาบาดาลบ้านนาหนองบงหมู่ที่ 3 สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคได้
 
วันที่ 24 กันยายน 2551 จังหวัดเลย แต่งตั้งคณะทำงานเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบริเวณโดยรอบเหมือง ผลการวิเคราะห์พบว่า สารหนู แคดเมียม และแมงกานีสเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
 
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ออกประกาศฉบับที่ 1/2552 โดยเตือนว่าประชาชน ไม่ควรนำน้ำมาดื่มหรือใช้ประกอบอาหารโดยตรง
 
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 กองวิเคราะห์น้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล รายงานผลการทดสอบคุณภาพน้ำจำนวน 9 จุด ในบริเวณตำบลเขาหลวง พบว่า ระบบประปาหมู่บ้านภูทับฟ้าพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง มีสารหนู 0.10 และสารตะกั่ว 0.11 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นค่าที่เกินมาตรฐาน
 
เดือนมีนาคม 2553 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ออกประกาศฉบับที่ 1/2553 ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยและโรงพยาบาลวังสะพุง ได้ร่วมกันเก็บตัวอย่างหอยขม ปลาไหล ปลากด ผักกูด ข้าวสารขัดสี และข้าวกล้อง ที่เก็บจากลำห้วยเหล็ก ตำบลเขาหลวง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า หอยขมที่เก็บจากต้นลำห้วยเหล็กมีปริมาณสารหนูสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานให้ประชาชนงดบริโภคหอยขม
 
วันที่ 24 มีนาคม 2553 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 อุดรธานี ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณโครงการเหมืองแร่ทองคำโดยเก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน จำนวน 6 จุด นำไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำพบว่า จุดที่ 1 และจุดที่ 2 บริเวณน้ำซึมติดสันเขื่อนบ่อเก็บกากแร่ พบว่า สารหนู แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว แมงกานีส มีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
 
วันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2554 กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน บริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงเหมืองแร่ทองคำ (บริเวณแหล่งน้ำสาธารณะ) ตำบลห้วยหลวง พบว่าคุณภาพน้ำห้วยเหล็กมีสารหนู เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำผิวดิน และมีค่าไซยาไนต์ เกินค่ามาตรฐาน
 
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย และโรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย แจ้งผลการตรวจเลือดหาสารไซยาไนต์ ปรอท ตะกั่วในเลือดของประชาชนจำนวนกว่า 750 ราย พบว่าผลการตรวจหาสารไซยาไนต์ในเลือดเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 124 ราย จากจำนวนที่ส่งตรวจ 758 ราย
 
เมื่อวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2555 สันเขื่อนของบ่อเก็บกักกากแร่ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ด้านทิศเหนือเกิดการทรุดตัวและพังทลายลง โดยเกิดขึ้นตอนกลางของคันทำนบดินที่บดอัดแน่น เป็นระยะทางยาว 15 – 20 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร
                       
ภาพ: การชะล้างหน้าดินและดินสไลด์ภาพมุมสูงจากภูป่าซำบอน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีวีดาวเทียมให้พื้นที่ข่าวชุมนุมต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ มากกว่าข่าวในฟรีทีวี

Posted: 24 Nov 2013 06:38 AM PST

มีเดียมอนิเตอร์พบ ทีวีดาวเทียมให้พื้นที่ข่าวชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกรณีอารยะขัดขืนมากกว่าฟรีทีวี แต่ทุกช่องเน้นรายงานตามสถานการณ์ โดยแหล่งข่าวส่วนใหญ่เป็นผู้คัดค้านอารยะขัดขืน ขณะที่ความเห็นประชาชนและกลุ่มผู้ชุมนุม มีสัดส่วนน้อย โดยช่อง 5 ให้เวลาข่าวในสัดส่วนที่น้อยที่สุด ในเกือบทุกประเด็นที่ศึกษา



24 พ.ย. 2556 - โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor) เปิดเผยว่า นับจากหลังเที่ยงคืนของ 31 ตุลาคม 2556 ที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมด้วยการพิจารณา 3 วาระ ในรวดเดียว ได้ก่อให้เกิดการชุมนุมคัดค้านจากหลายกลุ่ม ขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยต้องทำจดหมายถึงสื่อมวลชน ผู้ประกอบการสื่อ และผู้ดำเนินการจัดการชุมนุม ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนงนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไป ตรงมา ปราศจากอคติ เปิดพื้นที่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนผู้บริหารองค์กรสื่อ ควรสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อ อย่างไม่แทรกแซง กดดัน ทั้งไม่ทำให้สื่อมีอาการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self -censorship) กับขอให้ผู้จัดชุมนุมทุกกลุ่มให้สื่อทำหน้าที่อย่างอิสระและไม่ทำให้สื่อถูกเข้าใจว่าเป็นฝ่ายเดียวกับผู้ดำเนินการชุมนุม

เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์นี้ มีเดียมอนิเตอร์ ได้เลือกศึกษาสื่อโทรทัศน์ในรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน (News and Current Affairs) ทางช่องฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ThaiPBS) และช่องข่าวทีวีดาวเทียม (Nation,  Spring News และ Voice TV)  ช่วงวันที่ 12-15 พ.ย. 2556 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศมาตรการอารยะขัดขืน เพื่อต่อต้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของสภาผู้แทนราษฏร ผลการศึกษา เป็นดังนี้

สถานีที่มีการนำเสนอข่าวสถานการณ์การชุมนุมเพื่อต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม  มากที่สุด ได้แก่  ช่อง Spring News (21 ชั่วโมง 53 นาที )  รองลงมา ได้แก่ ช่อง Nation (13 ชั่วโมง 9 นาที) ช่อง ThaiPBS (9 ชั่วโมง 50 นาที) ช่อง Voice TV  (8 ชั่วโมง 50 นาที)  จากนั้นเป็น ช่อง 3 (5 ชั่วโมง 5 นาที) ช่อง 7 (2 ชั่วโมง 41 นาที) ช่อง 9 (2 ชั่วโมง 32 นาที) ช่อง 11  (2 ชั่วโมง 16 นาที) และช่อง 5 (1 ชั่วโมง 28 นาที) แต่ส่วนใหญ่เป็นการรายงานตามสถานการณ์การชุมนุม รองลงมาเป็นเรื่องผลกระทบของการชุมนุมต่อเศรษฐกิจ  และ ความเห็นของกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อมาตรการอารยะขัดขืน
 



เมื่อพิจารณา การนำเสนอข่าวสถานการณ์การชุมนุมเพื่อต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการอารยะขัดขืน  พบว่า ช่อง Spring News เป็นช่องที่มีการนำเสนอข่าวในประเด็นดังกล่าวมากที่สุด   (10 ชั่วโมง 8 นาที) รองลงมาได้แก่ ช่อง Nation (7 ชั่วโมง 8 นาที) ช่อง Voice TV (5 ชั่วโมง 31 นาที) ช่อง 3 (2 ชั่วโมง 29 นาที) ช่อง ThaiPBS (2 ชั่วโมง 10 นาที) ช่อง 11 (1 ชั่วโมง 25 นาที) ช่อง 9 (52 นาที) ช่อง 7 (47 นาที) และ ช่อง 5 (19 นาที)

ในภาพรวม พบว่าทุกสถานีมีการให้พื้นที่แหล่งข่าวที่ไม่สนับสนุนมาตรการอารยะขัดขืนค่อนข้างมาก   โดยช่องที่พบว่า มีการให้พื้นที่แหล่งข่าวกลุ่มคัดค้านมาตรการอารยะขัดขืนมากกว่ากลุ่มอื่น  คือ ช่อง Nation  (2 ชั่วโมง 30 นาที) ช่อง Spring News  (1 ชั่วโมง 24 นาที ) ช่อง 9  (33 นาที)  ช่อง 11  (25 นาที)  และ ช่อง 5  (10 นาที)  ในขณะที่ ช่องที่มีการให้พื้นที่แหล่งข่าวกลุ่มที่สนับสนุนมาตรการอารยะขัดขืนมากกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่  ช่อง Voice TV  (1 ชั่วโมง 8 นาที)  ช่อง ThaiPBS  (1 ชั่วโมง 8 นาที) ช่อง 3 ( 1 ชั่วโมง) และช่อง 7 (17 นาที)  ดังแสดงในแผนภูมิ
 





การศึกษาครั้งนี้ ยังพบว่า แหล่งข่าวที่ไม่สนับสนุนมาตรการอารยะขัดขืน ส่วนใหญ่ได้แก่ นักการเมืองพรรคเพื่อไทย เช่น นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายปลอดประสพ สุรัสวดี  นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง  และกลุ่มนักธุรกิจ/ ผู้บริหารจากภาคอุตสาหกรรมและเอกชน   ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ /ความเชื่อมั่นในการลงทุน และ เหตุผลด้านกฎหมาย   แหล่งข่าวที่สนับสนุนมาตรการอารยะขัดขืน ส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแกนนำการชุมนุมต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม  โดยเฉพาะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ  นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์  และนายวิทยา แก้วภราดัย  แหล่งข่าวที่สนับสนุนมาตรการอารยะขัดขืนเฉพาะการติดธงชาติ และ การเป่านกหวีด แต่ไม่สนับสนุนให้มีการหยุดงาน หรือชะลอการเสียภาษี ได้แก่ กลุ่มแพทย์ชนบท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น  สหภาพรัฐวิสาหกิจการรถไฟ พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  เป็นต้น  แหล่งข่าวที่เน้นการวิเคราะห์อย่างให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอารยะขัดขืน ได้แก่ นักวิชาการสถาบันต่างๆ   อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า สื่อโทรทัศน์ทุกช่องให้พื้นที่แหล่งข่าวที่เป็นประชาชน และกลุ่มผู้ชุมนุม ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย
    
ด้านรูปแบบในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับมาตรการอารยะขัดขืน พบว่า ส่วนใหญ่ทุกช่องมักนำเสนอในรูปแบบรายงานข่าว   โดยช่องที่เน้นการรายงานสถานการณ์โดยผู้สื่อข่าวภาคสนามมากที่สุดคือ ช่อง Spring News (1 ชั่วโมง 27 นาที)   รองลงมาคือ ช่องThaiPBS ( 1 ชั่วโมง 9 นาที)  ช่อง 7  (32 นาที)   Voice TV (27 นาที)   ช่อง 9 (20 นาที)  Nation (18 นาที) ช่อง 3 (12 นาที)  ช่อง 11(9 นาที) และ ช่อง 5 (3 นาที)   ส่วนช่องที่เน้นการนำเสนอข่าวมาตรการอารยะขัดขืนในรูปแบบการวิเคราะห์/สนทนา โดยนักวิชาการ และฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ได้แก่  ช่อง Voice TV (3 ชั่วโมง 15นาที)   รองลงมาคือ  Spring News (3 ชั่วโมง 13 นาที)   ช่อง Nation ( 2 ชั่วโมง 53 นาที) ช่อง 3 (1 ชั่วโมง 9 นาที )  และ ช่อง ThaiPBS (1 ชั่วโมง 8 นาที) ทั้งนี้  ในการศึกษา ได้นับรวมเวลาการออกอากาศซ้ำด้วย โดยช่องข่าวทีวีดาวเทียมทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ Nation, Spring News, และ Voice TV มีการออกอากาศซ้ำ (Re-run)  
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศิษย์เก่า 1 อำเภอ 1 ทุนวอน ‘จาตุรนต์’ ยกเลิกเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำการสอบผ่านข้อเขียน

Posted: 24 Nov 2013 05:58 AM PST



24 พ.ย. 2556 – กลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาล นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้ห่วงใยต่อความเป็นไปของทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ได้เผยแพร่ข้อความเปิดผนึก ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ ฉายแสง เรื่อง โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อความเปิดผนึก ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ ฉายแสง เรื่อง โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน

โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนฯ หรือ ทุน ODOS เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าหมาย คือ ให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่สอบได้ที่หนึ่งจากทุกอำเภอทั่วประเทศและจากทุกเขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

หลักการสำคัญของทุนนี้ คือ ให้ยึดภูมิลำเนาของผู้สมัครตามโรงเรียนที่สังกัดไม่ใช่ภูมิลำเนาทะเบียนบ้านและให้ผู้สมัครที่สอบได้คะแนนรวมเป็นอันดับหนึ่งของแต่ละอำเภอเป็นผู้ได้รับทุน

หลักการข้างต้นสัมพันธ์กับฐานความคิดที่ตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงว่าโรงเรียนในแต่ละพื้นที่มีความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพ  ดังนั้น เพื่อเป็นการกระจายโอกาสและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการสอบแข่งขันมากที่สุด จึงกำหนดให้ผู้สมัครจากโรงเรียนในแต่ละอำเภอแข่งขันกันเอง ที่สำคัญ ให้ผู้สมัครที่สอบได้คะแนนรวมเป็นอันดับหนึ่งของทุกอำเภอเป็นผู้ได้รับทุนโดยไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำการสอบผ่านข้อเขียน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การสอบคัดเลือกทุน ODOS รุ่นที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงรุ่นที่ 4 ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสำคัญหลายอย่างของทุนนี้ โดยเฉพาะการกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสอบผ่านข้อเขียน (60 % ในรุ่นที่ 3, 80% ในรุ่นที่ 3/2 และ 70% ในรุ่นที่ 4) ทำให้ในหลายอำเภอไม่อาจมีผู้ได้รับทุน ไม่ว่าจะเป็นทุนเพื่อการศึกษาในหรือต่างประเทศ

การกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำดังกล่าว นอกจากเป็นการละทิ้งหลักการและเจตนารมณ์แรกเริ่มของทุนนี้ซึ่งเคยมอบโอกาสให้กับนักเรียนที่เป็น "ที่หนึ่ง" จากระบบการศึกษาในอำเภอนั้น ๆ อันเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากทุนรัฐบาลอื่นที่เน้นเฉพาะการสรรหาผู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อมาเป็นบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ แล้ว ยังถือเป็นการซ้ำเติมนักเรียนผู้อยู่ภายใต้สภาวะความไม่เท่าเทียมและด้อยโอกาสทางการศึกษา เสมือนกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของตัวนักเรียนแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงไม่สมควรมีผู้ได้รับทุนในอำเภอเหล่านั้น

แม้ว่าผู้ดำเนินโครงการอาจเห็นความจำเป็นว่าต้องมีมาตรการประกันความสำเร็จและความคุ้มค่าโดยเฉพาะกรณีของผู้ที่จะไปเรียนต่างประเทศ หากแต่การกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ตัดสิทธิ์ผู้รับทุนในอำเภอนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงมิใช่หนทางสุดท้าย ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องตัดโอกาสที่จะให้ทุกอำเภอมีผู้ได้ทุน เช่น ฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้นก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ หรือ สร้างระบบคัดกรองชั้นที่สองเพื่อประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ การปรับตัวและการพัฒนาตนเองของผู้ได้ทุน เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถไปศึกษาในต่างประเทศได้หรือไม่ เป็นต้น

พวกเราในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาล นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้ห่วงใยต่อความเป็นไปของทุนนี้ ตามรายชื่อด้านล่าง จึงขอเรียกร้องให้มีการทบทวนและแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยพวกเราขอเสนอให้มีการยกเลิกเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำการสอบผ่านข้อเขียนของทุน ODOS กล่าวคือ ให้ผู้ที่ได้คะแนนสอบข้อเขียนสูงสุด 3 ลำดับแรกของทุกอำเภอมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ และให้ผู้มีคะแนนรวมเป็นอันดับหนึ่งของแต่ละอำเภอเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับทุน เพื่อคงไว้ซึ่งหลักการและเจตนารมณ์ในการ กระจายโอกาสทางการศึกษาของโครงการนี้  


ด้วยความเคารพ

นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล     นักเรียนทุน ก.พ.
นางสาวพลอยแก้ว โปราณานนท์     นักเรียนทุน ก.พ.
นางสาวขวัญข้าว สังขพันธานนท์     นักเรียนทุน ก.พ.
นางสาวชีรา ทองกระจาย         นักเรียนทุน ก.พ.     
นายวิจิตร ประพงษ์             นักเรียนทุนODOS รุ่นที่ ๑
นายสุทธิชัย ใจติ๊บ             นักเรียนทุนODOS รุ่นที่ ๑
นายนิกร ไชยเครื่อง             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายธนุวิทย์ ประมาชิด         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวดาริกา นันภิวงค์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายลำพอง อยู่ทุ่ง             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวแววดาว คุณกัณหา         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายทวีศักดิ์ จันอุทัย             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวชลธิชา รัมมะฉัตร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวจิรนันท์ เสนานุช         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายอัมรินทร์ บัวเจริญ         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายเปรมชัย จินะสาม         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวฐิตยา มาแสง         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายวิศรุต แดงสูงเนิน         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวพรพรรณ คำศรี         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายประวันวิทย์ ศรีจันทร์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวสุภกิณห์ แก้วชมจิตต์     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายภัทรพงศ์ ตนเหี่ยม         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายแสนศักดิ์ สำเภาทอง         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายธิปไตร แสละวงศ์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวเทพิน รัตนา             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวแสงดาว ดวงสีดา         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวศันศนีย์ ศรีจันทร์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวภาวิณี กลิ่นขจร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายณชนน หาญวงศ์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายจรัส รัตนบุรี             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑  
นายยงยุทธิ์ ก้งดี             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายสมชาย หลงเศษ             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายสุนทร เมืองมนประเสริฐ          นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นางสาวกรรณิการ์ น้อยแพง         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑
นายเกษม บ่ายสกุล             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๑    
นายเสกสรร พรมเกษา         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายศรัญญู ลิมป์วรอมร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายเอกชัย มาตวงศ์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวกาญจนา องคศิลป์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายบรรพต รสจันทน์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายวิเชียร เนียมชาวนา         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวประภาพร ใหม่ทอง         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวสุดารัตน์ เพิ่มทอง         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายวรเชษฐ์ อุทธา             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวนิศาชล ศรีไชยรัตน์         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวกัญญารัตน์ นิ่มตระกูล     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายยุทธนา จันทะขิน             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวอรวรรณ์ อัมพร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวสิพิชญา บุญตา         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวพัชรินทร์ สายสู่         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายเอกภพ เหมือนทิม         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวปัณฑิตา จุ่งประสพมงคล     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวชาริณี รองวัง             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายศานติ วิลัยพัฒน์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายสุวัฒน์ ใจดี             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวนิสา ม่วงสี             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายสราชิต คชสีห์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายกิตติศักดิ์ อยู่สบาย         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวสะใบพร พัฒนพานิชกุล     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวรัศมี ดิลกเลิศพลากร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวศิริวัฒนา สุวรรณนาคเวช     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวทิพวัลย์ นวลมุสิก         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวเฉลิมขวัญ สมใจ         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวศิริรัตน์ บุตรทะลี         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาววรัญญา ช่างเเช่ม         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นางสาวจรรยพร สวนหนองแวง     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๒
นายอุดมทรัพย์ นีละสุนทร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๓
นายณัฐพล คำแสนลาศ         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๓
นายอดิศร ครองยุติ             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๓
นายศานติ วิลัยพัฒน์             นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๓
นางสาวฉัตรสุดา ธีฆะพร         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๓
นายภาณุพงศ์ หวังสม         นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวธัญญรัตน์ รัตนเมธาโกศล     นักเรียนทุน ODOS รุ่นที่ ๔            
นางสาวประกายแก้ว หอมเจริญ     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายจักรกฤษ มะไลเงิน         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวรินรดา บัวหอม         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวพิศมัย สีสรร             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวปาริฉัตร หล้าหนัก         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุมิตรา นิ่มดิษฐ์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวชมพูนุช อุ่นวงศ์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวมาริษา เผือกนวล         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวไอมี่ มาราสา             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวธันยธณ์ สุขสถาวรพันธุ์     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวกชนันท์ วงษ์สมบูรณ์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวเจนจิรา บุดดีคง         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุวิมล พิมประวัติ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายปริญญา แก้วกุล             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวศิวนาถ โปษยาอนุวัตร์     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวนิภาพร หมวกทอง         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายพงศธร สุทธการ             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายพัชรพล วงศ์ชูวรรณ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวณัฎฐพัชร พรมราช         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวศิริประภา สมถา         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายอรรถพล ผานัด             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวณัฐกานต์ เชียงคำ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุภัค จุลบุตร             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔  
นางสาวอรพิชา เทียมผล         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวมนฑวรรณ สวัสดิพันธ์     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวดวงรัตน์ ปั้นประสงค์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔  
นางสาววันวิสา ไชยนา         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายรัชมงคล แสนวันดี         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวมนุชาธิป ปานเมือง         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายภานุวัฒน์ โรจนะรัตน์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวกิ่งกาญจน์ ทองศรี         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวคันธรส จันทรา         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุฑามาศ สุทธิวิริยะกุล     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔  
นางสาวณัฐพัชร์ พิสุทธิชินคุณ     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวกนิษฐา อายุยืน         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายภัทรพล ไชยชโย             นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔  
นางสาวปพิชญา ปุ่นเอื้อง         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวณัฏฐณิชา ชาญเชี่ยว         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวนิรัชพร ด้วงมูล         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวศิริยากรณ์ แสนอุบล         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวปวีณา สะสมสิน         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสิริลักษณ์ เส็งเจริญ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายวิรุฬห์ จารุเบญจรัตน์         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายอิทธิพล อาทิตย์              นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุธารินี ดรพล         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวศรินทร์ลักษณ์ ศิริ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวศศิประภา ธรรมชาติ         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวสุรัตติพร ปสาทนรักษกุล     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาว ธัญญาณี โชคกาญจนกุล     นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวเบญจวรรณ สีอ่อน         นักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นายสุรพล พิมประวัติ             ผู้ปกครองนักเรียนผู้สมัครทุน ODOS รุ่นที่ ๔
นางสาวทิพย์อัปสร ศศิตระกูล
นายกรณินทร์ จุงเลียก    
นางสาวกุลภาภร บริสุทธิ์                
    __________________
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว/มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยวิธีสเต็มเซลล์

Posted: 24 Nov 2013 05:13 AM PST

บอร์ด สปสช.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว/มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยวิธีสเต็มเซลล์ ชี้ช่วยประหยัดงบเคมีบำบัด คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ปีงบ 57 มีผู้ป่วยได้รักษาวิธีนี้ 40 ราย ค่าใช้จ่ายรายละ 8 แสนบาท คาดปี 61 จะมีผู้ป่วยได้รับการรักษา 60 ราย มี รพ.ที่ให้การรักษาได้ทั่วประเทศ 8 แห่งที่ขึ้นทะเบียนการรักษากับ สปสช.



24 พ.ย. 2556 - นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า บอร์ดสปสช.ได้มีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2556 วันที่ 5 สิงหาคม 2556 ที่ได้พิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell Transplantation) สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้เฉพาะตามที่เสนอ (ยกเว้นผู้ป่วยธาลัสซีเมีย) เมื่อผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังแล้ว ดังนั้นคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง จึงได้ประชุม วันที่ 17 กันยายน 2556 และมีมติว่า เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับบริการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดตามเงื่อนไขนี้ จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณจากการที่ไม่ต้องให้เคมีบำบัด และทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง จึงมีมติเห็นชอบกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้เฉพาะที่ปรับปรุง (ยกเว้นผู้ป่วยธาลัสซีเมีย) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป ให้นำเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทราบต่อไป โดยให้มีการคำนวณภาระงบประมาณในระยะยาวเพิ่มเติม

เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 เห็นชอบให้เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ได้ โดยคาดการณ์ค่าใช้จ่ายการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามเงื่อนไขเฉพาะใหม่  และในปี 2557 มีโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนให้บริการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.พระมงกุฏเกล้า รพ.จุฬาลงกรณ์ และรพ.สงขลานครินทร์ สำหรับรพ.สงขลานครินทร์ในปี 2557 รักษาได้เฉพาะผู้ใหญ่ แต่ในปี 2558 จะสามารถรักษาผู้ป่วยเด็กได้ และในปี 2559 จะมีรพ.ในการให้บริการเพิ่มอีก 3 แห่ง คือ รพ.มหาราชเชียงใหม่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ในปี 2557 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 40 ราย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายละ 800,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งปี 32 ล้านบาท ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษานั้นจะเพิ่มขึ้นทุกปี และคาดว่าในปี 2561 จะมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ 60 ราย

"สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น หัวใจสำคัญนอกจากทำให้ประชาชนมีหลักประกันในการรักษาพยาบาลแล้ว ยังคือการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาที่จำเป็น แม้ว่าจะเป็นโรคค่าใช้จ่ายสูงก็ตาม ซึ่งทิศทางการทำงานของบอร์ดสปสช.จะให้ความสำคัญกับหลักการคุ้มครองประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลที่จำเป็น อย่างทั่วถึงและถ้วนหน้า" เลขาธิการสปสช. กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไอซีทีเตือนการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบัน

Posted: 24 Nov 2013 05:01 AM PST

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมามติชนออนไลน์รายงานว่าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) แถลงข่าวกรณีมีการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก

น.อ.อนุดิษฐ์แถลงว่า มีผู้ไม่ประสงค์ดีนำเอาข้อมูลที่อาจเข้าข่ายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เผยแพร่และส่งต่อในโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้น มีทั้งการสร้างเรื่อง ใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้าม เป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และอาจเข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

"ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ และกรณีหลายฝ่ายออกมากล่าวหารัฐบาลว่าไม่มีความจริงใจในการปกป้องสถาบันนั้น ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลายหน่วยงานได้แก่ กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตร. กอ.รมน. สมช. และอีกหลายหน่วยงาน รวมทั้งกระทรวงไอซีที ได้บูรณาการความร่วมมือในการทำหน้าที่พิทักษ์ รักษา ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าราชการทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่นี้ เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนมีความจงรักภักดี และปฏิบัติหน้าที่นี้อย่างเต็มกำลัง จึงอยากให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง หยุดกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว" รมว.ไอซีทีกล่าว

น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้ดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์หมิ่นสถาบันไปแล้วกว่า 90,000 เว็บไซต์

ที่มา: มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรญี่ปุ่นชวนร่วมค้าน ‘ญี่ปุ่น’ ส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป ‘ตุรกี’

Posted: 24 Nov 2013 03:53 AM PST

ปฏิเสธการส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ องค์กรภาคประชาชนชี้ด้วยสถานการณ์อันเลวร้ายที่ยังมองไม่เห็นจุดจบในประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ควรผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศ
 
24 พ.ย.56 โครงการศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน (JACSES) โครงการนิวเคลียร์และพลังงาน เฟรนด์ออฟดิเอิร์ธ ญี่ปุ่น (FoE Japan) และแม่โขงวอชท์ (Mekong Watch) เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกเชิญชวน 'คัดค้านรัฐสภาญี่ปุ่นลงนามในสัญญาส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากญี่ปุ่นไปยังตุรกี' โดยสามารถลงชื่อได้ทั้งในนามบุคคล (Individual) และองค์กร (Organization) ในแบบฟอร์มจากลิ๊งนี้ https://pro.form-mailer.jp/fms/eb13819e50609
 
จากกรณีที่ สภาไดเอทแห่งชาติญี่ปุ่น (รัฐสภา) กำลังดำเนินกระบวนการให้สัตยาบันข้อตกลงระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศตุรกี เพื่อความร่วมมือในการที่ญี่ปุ่นจะสร้างเตาปฏิกรณ์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศตุรกี
 
ในขณะที่วิกฤตของโรงไฟฟ้านิวเคลีย์ฟุกุชิมะไดอิชิยังไม่จบ เนื่องจากยังคงมีการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาลสู่สิ่งแวดล้อมจากเตาปฏิกรณ์ที่เสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554 จนกระทั่งขณะนี้ และเหยื่อของอุบัติภัยนิวเคลียร์ยังคงทนทุกข์
 
"สถานการณ์อันเลวร้ายที่ยังมองไม่เห็นจุดจบในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ควรอย่างยิ่งที่จะผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศ เราจึงจะส่งจดหมายคัดค้านการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์นี้ไปยังรัฐสภาญี่ปุ่น" คำเชิญชวนระบุ

กำหนดเวลาครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน เวลา 8.00น. (เวลาประเทศไทย)
กำหนดเวลาครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน เวลา 8.00น. (เวลาประเทศไทย)

จดหมายที่จะยื่นต่อรัฐสภาญี่ปุ่น
 
 
 
คัดค้านสัญญานิวเคลียร์ระหว่างญี่ปุ่น-ตุรกี: ปฏิเสธการส่งออกเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
 
Dear Members of the National Diet of Japan:
เรียนสมาชิกสภาไดเอทแห่งชาติญี่ปุ่น:

เรามีความกังวลอย่างมากต่อการให้สัตยาบันข้อตกลงระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศตุรกี ในขณะที่วิกฤตนิวเคลียร์นิวเคลีย์ฟุกุชิมะไดอิชิยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจะส่งเสริมการส่งออกวัตถุและเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากญี่ปุ่นไปยังประเทศตุรกี และเราคัดค้านข้อตกลงนี้อย่างแข็งขัน

ประเทศตุรกีเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก กระนั้นก็ตาม อาคารและโครงสร้างพื้นฐานของตุรกียังขาดมาตรการป้องกันแผ่นดินไหว หากมีเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นจึงเป็นไปได้อย่างมากที่โครงสร้างพื้นฐานรายรอบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะได้รับความเสียหายร้ายแรง และจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการเพื่อตอบสนองเหตุอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยความที่นายกเทศมนตรีเมือง Sinop ต่อต้านการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในเมืองของเขา จึงมีความกังวลว่าจะสามารถออกแบบแผนการอพยพประชาชน [จากอุบัติภัยนิวเคลียร์] อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะนี้บริษัทพลังงานปรมาณูญี่ปุ่น (Japan Atomic Power Company: JAPC) กำลังทำการสำรวจทางธรณีวิทยาในเมือง Sinop ด้วยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 1,170 ล้านเยน และบริษัท JAPC เดียวกันนี้เองที่ยืนยันว่ารอยเลื่อนของเปลือกโลกใต้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สุรุกะ (Tsuruga Nuclear Power Plant) เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลัง (inactive) แล้วแม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (Nuclear Regulation Authority: NRA) จะตัดสินว่ารอยเลื่อนดังกล่าวยังมีพลัง (active) อยู่ ด้วยประวัติการสำรวจทางธรณีวิทยาที่น่ากังขาของบริษัท JAPC นี้ ประกอบกับการที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ให้สัญญาในการเปิดเผยผลจากการสำรวจทางธรณีวิยาดังกล่าว เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมือง Sinop จะดำเนินไปพร้อมกับการปิดบังข้อมูลต่อสาธารณะทั้งในญี่ปุ่นและตุรกี

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ญี่ปุ่นจะมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Regulation Authority: NRA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังจากภัยพิบัติที่ฟุกุชิมะและเป็นกลางปราศจากรัฐมนตรีที่เข้าข้างอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ประเทศตุรกีกลับมีเพียงหน่วยงานด้านพลังงานปรมาณู ( Atomic Energy Authority) ซึ่งมีหน้าที่ทั้งส่งเสริมและกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์ และตุรกียังไม่มีแผนการกำจัดของเสียกัมมันตรังสี

แม้เราได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยแผนรับมือต่ออุบัติภัยและการก่อการร้าย แผนการอพยพ และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะเกิดจากสัญญาระหว่างประเทศในครั้งนี้ (ทั้งในประเทศตุรกี และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต) แต่รัฐบาลญี่ปุ่นกลับปัดความรับผิดชอบและกล่าวว่าเรื่องเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลตุรกี ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นใช้เงินของประชาชนในการสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าที่ประเทศตุรกี รัฐบาลญี่ปุ่นมีหน้าที่ที่จะต้องอธิบาย อย่างน้อยที่สุดต่อประชาชนญี่ปุ่น ว่ามีแผนจะจัดการกับประเด็นเหล่านี้อย่างไร

ในญี่ปุ่น เหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องทิ้งบ้านเรือนและทนทุกข์กับมลพิษนิวเคลียร์ และจนถึงขณะนี้ที่น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสียังคงรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม วิกฤตนิวเคลียร์ครั้งนี้ยังไม่สิ้นสุด เรายังไม่ทราบว่าค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีมหาศาลเหล่านั้น การปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหาย การทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อน และค่าเสียหายต่อผู้ได้รับผลกระทบจะคิดเป็นมูลค่าเท่าใด

ด้วยสถานการณ์อันเลวร้ายที่ยังมองไม่เห็นจุดจบในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ เราขอต่อต้านการกระทำของรัฐบาลญี่ปุ่นในการสนับสนุนการส่งออกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปยังประเทศตุรกีเพียงเพื่อผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ และเราขอเรียกร้องให้สภาไดเอทแห่งชาติญี่ปุ่นหยุดการลงนามให้สัตยาบันต่อสัญญานิวเคลียร์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและตุรกี

ด้วยความเคารพ
ศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน
(Japan Center for a Sustainable Environment and Society: JACSES)
เฟรนด์ออฟดิเอิร์ธ ญี่ปุ่น
(FoE Japan)
แม่โขงวอชท์
(Mekong Watch)

 



ภาคผนวก: ปัญหาของข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างญี่ปุ่น-ตุรกี และแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Sinop

การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ป้องกันแผ่นดินไหวได้ยังไม่เพียงพอ
-ประเทศตุรกีตั้งอยู่บนภูมิภาคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เกิดเหตุแผ่นดินไหวระดับ 6.0 หรือใหญ่กว่าถึง 72 ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ.1900)[1] เหตุการณ์แผ่นดินไหวอิซมิท (Izmit) เมื่อปี 1999 (ระดับ 7.8) ทำให้คนตายถึง 17,000 คน และบาดเจ็บ 43,000 คน[2] แผ่นดินไหวครั้งนั้นยังสร้างความเสียหายให้กับสถานีจ่ายไฟฟ้าที่สำคัญหลายแห่ง ทำให้เกิดไฟดับอยู่หลายวัน[3]

-อาคารและสาธารณูปโภคในตุรกียังมีการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวไม่เพียงพอ เป็นต้นว่า ในกรุงอิสตันบุล อาคารเพียง 1% ซึ่งรวมถึงโรงเรียน 250 แห่งจากทั้งหมด 3000 โรง และโรงพยาบาล 10 แห่งจากทั้งหมด 635 แห่ง มีการดัดแปลงเพื่อต่อต้านแผ่นดินไหว (ข้อมูลล่าสุดปี 2009)[4]

-แม้ว่าเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูที่ญี่ปุ่นจะส่งออกไปให้ตุรกีจะมีความทนทานสูงต่อแผ่นดินไหว แต่ถ้าเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ สิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ รอบตัวปฏิกรณ์ปรมาณูจะถูกทำลาย ทำให้ยากแก่การช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน
 
-เนื่องจากนายกเทศมนตรีเมือง Sinop ต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงทำให้ยากแก่การร่างแผนการอพยพที่มีประสิทธิภาพได้

ปัญหาความถูกต้องของข้อมูลของการสำรวจทางธรณีวิทยา
-บริษัทพลังงานปรมาณูญี่ปุ่น (JAPC) กำลังทำการสำรวจทางธรณีวิทยาในเมือง Sinop ด้วยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 1,170 ล้านเยน[5] แต่ JAPC เป็นบริษัทเดียวกันที่ยังยืนยันว่ารอยเลื่อนของเปลือกโลกใต้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สุรุกะ (Tsuruga Nuclear Power Plant) ไม่มีการเคลื่อนไหวแล้ว (inactive) ในขณะที่องค์การกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (Nuclear Regulation Authority: NRA) ได้เคยยืนยันว่ารอยเลื่อนดังกล่าวยังเคลื่อนไหวได้อยู่ (active) ด้วยประวัติเช่นนี้ ทำให้การสำรวจทางธรณีวิทยาของบริษัทเป็นที่น่ากังขา

การประเมินความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจยังไม่เพียงพอ
-ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Sinop คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 22000-25000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Akkuyu ที่สร้างโดยบริษัทรัสเซียแห่งหนึ่งเพิ่งถูกประเมินเพิ่มขึ้นจาก 20000 ล้านเหรียญ เป็น 25000 ล้านเหรียญ และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นอีก ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานบางคนในตุรกีประเมินว่าพลังงานนิวเคลียร์จะมีราคาแพงกว่าพลังงานชนิดอื่นๆ ในระยะยาว[6]

การขาดองค์การกำกับดูแลที่เป็นอิสระ
-ในขณะที่ญี่ปุ่นก่อตั้งองค์การกำกับดูแลปรมาณูที่เป็นอิสระจากกระทรวงที่สนับสนุนนิวเคลียร์ หลังจากที่อุบัติเหตุนิวเคลียร์ขึ้น ตุรกีมีเพียงการพลังงานปรมาณู ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้สนับสนุนและกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์[7]

การขาดแผนรองรับการปลดระวางและการกำจัด
-ตุรกีไม่มีแผนรองรับการปลดระวางเตาปฏิกรณ์ปรมาณูและกำจัดกากกัมมันตรังสี[8] จากรายงานในนิตยสารอาซาฮีรายสัปดาห์ เจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตกลงเป็นการภายในที่จะไม่ถกเถียงประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสีในระยะยาวกับรัฐบาลตุรกี[9]

การต่อต้านคัดค้านโดยนายกเทศมนตรีและราษฎรเมือง Sinop
-นายกเทศมนตรีเมือง Sinop ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ.2009 จากการประกาศแนวนโยบายต่อต้านนิวเคลียร์ โดยไม่ยอมรับการก่อสร้างโครงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเมือง และตั้งแต่นั้น ก็ได้แสดงการต่อต้านอย่างต่อเนื่อง[10] ชาวเมืองเองก็ได้จัดการชุมนุนประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายครั้งหลายหน[11]

การขาดข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวัง
-รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังอุบัติเหตุรุนแรงและการก่อการร้าย แผนการอพยพราษฎร และการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า Sinop[12]

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า ...

อุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการ
-ในขณะที่เตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่ถูกทำลายยังคงปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีออกมาเรื่อยๆ เราคงไม่สามารถรู้ได้ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้จะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อไร แล้วเรายังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุด้วยซ้ำ ระหว่างนี้ ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียบ้านเรือนและยังต้องทนทุกข์ทรมานจากมลภาวะนิวเคลียร์ต่อไป ในขณะที่สถานการณ์อันเลวร้ายนี้ยังดำรงอยู่ การส่งออกเตาปฏิกรณ์ปรมาณูย่อมเป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรม และละเลยความปรารถนาของผู้เป็นเหยื่อที่ต้องการจะเห็นโลกที่ปลอดจากพลังงานนิวเคลียร์
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://hinan-kenri.cocolog-nifty.com/blog/2013/11/please-oppose-t.html
 
 

[1] http://www.giroj.or.jp/disclosure/q_kenkyu/12.html
[2] http://www.mofa.go.jp/mofaj/area/turkey/99/
[3] http://www.meti.go.jp/policy/external_economy/.../y2003_05.pdf
[4] Milliyet, August 17, 2009.
[5] http://www.enecho.meti.go.jp/info/tender/tenddata/1306/130610a/130610a.htm; http://www.enecho.meti.go.jp/info/tender/tenddata/1307/130719a/130719a.htm
[6] http://www.todayszaman.com/newsDetail_getNewsById.action?newsId=309907
[7] http://www.jaif.or.jp/ja/asia/turkey/turkey_data.pdf
[8] http://www.jaif.or.jp/ja/asia/turkey/turkey_data.pdf
[9] http://dot.asahi.com/wa/2013061200015.html
[10] http://www.dunya.com/power-plants-will-turn-sinops-paradise-into-hell-mayor-179321h.htm
[11] http://www.greenpeace.org/japan/Global/japan/pdf/Jpn_Aslihan_ppt.pdf
[12] Interview with an official of Japan's Ministry of Foreign Affairs, October 3, 2013.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: หมิ่นฯ กษัตริย์ในอดีตผิด มาตรา 112

Posted: 24 Nov 2013 02:44 AM PST

เว็บไซต์นิติราษฎร์และประชาไท เผยแพร่ "คำพิพากษาคดีหมิ่นฯอดีตกษัตริย์ ผิด ม.112" มีใจความสำคัญดังนื้

จำเลยกล่าวข้อความว่า

"ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่เราคิดว่าเราไปแล้วเนี้ยะ ถ้าเราทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชนเราไปครับ แต่ถ้าเราต้องไป แล้วต้องเป็นเหมือนกับรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับท่าน ยุคนั้นหมดไปแล้ว แต่บ้านนี้เมืองนี้อาจจะมีอยู่บ้างบางส่วนนะครับ"

ศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อความดังกล่าว "มีความหมายเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต เปรียบเทียบว่ายุคของพระองค์เหมือนต้องไปเป็นทาส ไม่มีความเป็นอิสระมีการปกครองที่ไม่ดีทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 4 เสื่อมเสียพระเกียรติเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ...พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดลงให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี

โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ "ให้ยกฟ้อง" โจทก์ฎีกา และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยให้เหตุผลว่า

"ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นราชวงศ์ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ ด้วยเหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่...ดังนั้น หากมีการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรได้" 
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น (ดาวน์โหลดคำพิพากษาฎีกาฉบับเต็มได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/page/287)

จากคำพิพากษาดังกล่าว เราอาจตั้งคำถามได้หลายประการ เช่น

1) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ระบุว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามถึงสิบห้าปี" แม้มิได้บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น" แต่ก็ไม่ได้บัญญัติให้แน่นอนลงไปว่า "รวมถึงพระมหากษัตริย์ในอดีตด้วย" จึงเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น คำถามจึงมีว่าศาลตีความกฎหมายเกินไปจากตัวบทหรือไม่?

2) การที่ศาลตีความคำพูดของจำเลยว่า "มีความหมายเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต...โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 4 เสื่อมเสียพระเกียรติ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ..." นั้น เป็นการตีความที่ให้น้ำหนักไปในทางลิดรอนสิทธิเสรีภาพของจำเลยอย่างเกินความจำเป็นหรือไม่?

เนื่องจากตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังมีระบบทาสอยู่จริง (เลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5) และยังมีกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรให้เน้นการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

เช่น มาตรา 26 ระบุว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา  29 ระบุว่า "การจำกัดสิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้"

3) ข้ออ้างที่ว่า สถาบันกษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ และประชาชนในประเทศผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาโดยตลอด ถึงแม้จะเป็นความจริง แต่ก็เป็นความจริงด้วยว่า ประเทศสยามได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น "ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy)" มาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว รัฐธรรมนูญปัจจุบันก็รับรองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และประเทศไทยยังเป็นภาคีของกลุ่มประเทศที่ยืนยันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

ฉะนั้น ระบบนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรม ต้องเป็นระบบและกระบวนการที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยต้องไม่มีการนำเอาเรื่องความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ หรือเรื่องใดๆ มาตีความให้มีความหมายไปในทางลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างเกินความจำเป็น

แม้แต่ประเพณีเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ก็ถือว่า ความชอบธรรมของสถาบันกษัตริย์ยึดโยงอยู่กับความมี "ทศพิธราชธรรม" โดยกษัตริย์ที่ปกครองโดยธรรมนั้นย่อมใช้ "พระเดช" น้อย แต่ใช้ "พระคุณ" มากกว่า  ดังทศพิธราชธรรมบางข้อ เช่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน (มัททวะ) มีขันติธรรมต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ (ขันติ) ไม่โกรธ (อักโกธะ) ไม่กดขี่เบียดเบียนราษฎร (อวิหิงสา) เป็นต้น ว่าโดยเนื้อหาสาระหลักทศพิธราชธรรมก็คือหลัก "ทองแท้ไม่กลัวไฟ" นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อยึดเนื้อหาสาระของทศพิธราชธรรมและหลักการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว คำกล่าวของจำเลยข้างต้น ไม่น่าจะก่อความเสียหายต่อคุณค่าของสถาบันกษัตริย์ทั้งในอดีตและปัจจุบันอันเป็นเหตุให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา เกิดความเกลียดชัง หรือกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐได้

ว่าตามจริงแล้ว การอ้างสถาบันกษัตริย์ทำรัฐประหาร และการใช้สัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ในการต่อสู้ทางการเมืองและแบ่งแยกประชาชนออกเป็นฝ่ายจงรักภักดีและไม่จงรักภักดี ดังที่ทำกันมานานและยังทำกันอยู่ต่างหาก ที่น่าจะเป็นการไม่เคารพหลักทศพิธราชธรรมและขัดต่อความเป็นประชาธิปไตย ก่อความเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์และกระทบต่อความมั่นคงแห่ง "รัฐประชาธิปไตย" มากกว่า แต่ก็ไม่เคยปรากฏเลยว่า ระบบยุติธรรมไทยได้ดำเนินการใดๆ อันเป็นการป้องปราม หรือให้ยุติการกระทำดังกล่าว

ฉะนั้น การที่ระบบยุติธรรมไทย ไม่เคยดำเนินการใดๆ ในการป้องกันและยุติ หรือเอาผิดกับการอ้างสถาบันทำรัฐประหารและต่อสู้ทางการเมืองแบ่งแยกประชาชนออกเป็นฝักฝ่าย ซึ่งส่งผลเสียหายอย่างรูปธรรมชัดแจ้งต่อสถาบันกษัตริย์และความมั่นคงของรัฐประชาธิปไตยมากกว่า แต่กลับมุ่งปกป้องสถาบันกษัตริย์ด้วยการตีความมาตรา 112 อย่างเน้นไปในทางลิดรอนเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน (โดยเฉพาะคนเล็กๆที่ไร้อำนาจต่อรอง)

ตกลงว่าระบบยุติธรรมไทยกำลังทำหน้าที่ป้องกัน "อันตรายที่แท้จริง" ต่อสถาบันกษัตริย์และความมั่นคงของรัฐประชาธิปไตยจริงหรือไม่? จำเป็นต้องปฏิรูประบบยุติธรรมให้มีวัฒนธรรมตีความกฎหมายตามอุดมการณ์เสรีนิยมหรือยัง?

 

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข (23-29 พฤศจิกายน 2556)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอห์น เอฟ เคนเนดี:ประธานาธิบดี เซ็กส์ อำนาจและความตาย

Posted: 24 Nov 2013 12:34 AM PST

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้เอง สหรัฐอเมริกาก็ได้จัดงานระลึกถึงการครบรอบ 50 ปีการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคนที่ 35  คือจอห์น เอฟ เคนเนดี  เคนเนดีเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ซึ่งถูกสังหารขณะดำรงตำแหน่งประธานธิบดี ซึ่งประธานาธิบดี 3 คนแรกได้แก่อับราฮัม ลินคอล์น,เจมส์ เอ การ์ฟิลด์และวิลเลียม แม็คคินเลย์  ไม่นับประธานาธิบดีอีกหลายคนที่ถูกลอบยิงแต่รอดมาได้อย่างเช่นโรนัลด์ เรแกน

เคนเนดีนับได้ว่าเป็นประธานาธิบดีคนที่ได้รับความนิยมจากคนอเมริกันสูงสุดคนหนึ่ง  ถึงแม้เขาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงไม่ถึง  3  ปี (เป็นที่คาดการณ์กันว่าถ้าเขาไม่เสียชีวิตก็คงจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 8 ปีหรือ 2 สมัย) แต่ก็ได้ทำประโยชน์ให้กับสหรัฐอเมริกามากมายไปพร้อมกับชีวิตในด้านมืดและข่าวอันอื้อฉาว รวมไปถึงนโยบายการต่างประเทศที่ทั้งสำเร็จคือคลี่คลายวิกฤตการณ์คิวบา (ปี 1962) ในสายตาของพวกเสรีนิยม แต่ล้มเหลวในสายตาพวกหัวรุนแรง เป็นเรื่องน่าสนใจว่าการลอบสังหารเคนเนดีได้ก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดแก่คนอเมริกันอย่างมากมายในรอบ 50 ปี (ซึ่งมากมายจนไปถึงความเชื่อที่ว่าเคนเนดียังไม่ตาย) พร้อมกับข้อสรุปที่ยังสรุปกันไม่ได้เต็มปากเสียทีว่า ลี ฮาร์วีย์ ออสวัลด์เป็นคนยิงเคนเนดีเพียงคนเดียว  เหตุใดประเทศสหรัฐฯ ซึ่งมักหลงตัวเองหรือได้รับการยกย่องจากชาวโลกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยจึงยังคงยืนงงงวยอยู่กับการที่ผู้นำสูงสุดของตนถูกฆ่าอย่างเลือดเย็นกว่าครึ่งศตวรรษหรือว่าเพราะสหรัฐฯ มีระบบราชการและผู้มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญอันยิ่งใหญ่และตรวจสอบไม่ได้อยู่เบื้องหลังเช่นเดียวกับความงงของคนไทยจำนวนมากที่พบว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยิ่งกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ

ต่อไปนี้เป็นปูมประวัติของจอห์น เอฟ เคนเนดีรวมไปถึงเรื่องอำนาจและเซ็กส์ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่นำไปสู่การเสียชีวิตของเขาในที่สุด อนึ่งผู้เขียนได้แปลหลายส่วนจากเว็บวีกิพีเดียและและเรียบเรียงจากหลายแหล่งข้อมูลมานานหลายปีแล้ว ก่อนจะเอามาเขียนใหม่อีกครั้งด้วยความรู้สึกสบายใจว่าตัวเองจะไม่ถูกกฏหมายอาญามาตรา 112 เล่นงานว่าได้เขียนในด้านลบเกี่ยวกับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เหมือนกับที่ได้เขียนถึงอดีตกษัตริย์ของบางประเทศ


ประวัติและโรคภัยไข้เจ็บ

เคนเนดีเกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ปี 1917 เมืองบรูกไลน์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นบุตรชายของโจเซฟ พี เคนเนดี และโรส ฟิตซ์เจอรัล   บิดาของเขา เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งเชื้อสายไอริช และเป็นผู้สร้างตระกูลเคนเนดีให้ยิ่งใหญ่ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าทั้งจอห์นและโรเบิร์ต เข้าสู่วงการทางการเมืองได้ก็เพราะการผลักดันของผู้เป็นพ่อ โจเซฟครั้งหนึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาประจำอังกฤษและรู้จักกับประธานาธิบดีรูสเวลท์อย่างดี เพราะตัวเองเป็นคนระดมทุนให้ตอนเลือกตั้ง

เคนเนดีเข้าเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐคอนเนคติกัตซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนสำหรับชนชั้นสูงที่หรูหราที่สุดในสหรัฐ ฯ และก็เข้าเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (London School of Economics and Political Science) ที่อังกฤษ เป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนจะไปลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยปรินส์ตันแต่ต้องลาออกเสียก่อนเพราะป่วยเป็นโรคดีซ่าน จึงไปเรียนที่มหาวิทยาลัย   ฮาวาร์ด สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนจบในปี 1938 ชื่อของงานนิพนธ์ชื่อ "เหตุใดอังกฤษจึงหลับไหล" (Why England Slept) เป็นการวิเคราะห์ว่าทำไมอังกฤษจึงอ่อนข้อให้กับเยอรมันนาซีในสนธิสัญญามิวนิกโดยยอมให้เยอรมันเข้ายึดแคว้นซุเดเทนแลนด์ของเช็กโกสโลวาเกียเป็นที่น่าสังเกตว่าบิดาของเขาตอนเป็นเอกอัครราชทูตอยู่ที่อังกฤษก็เห็นดีเห็นงามกับการยอมอ่อนข้อต่อเยอรมันของนาย    เนวิลล์ แชมเบอร์แลนด์นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้น งานนิพนธ์ชิ้นนี้ต่อถูกนำไปตีพิมพ์ออกวางแผงและขายดิบขายดี ซึ่งน่าส่งอิทธิพลถึงนโยบายการต่างประเทศของเคนเนดีไม่มากก็น้อย

เคนเนดีสมัครเข้ารับราชการในกองทัพในปี 1941 คงด้วยความเป็นคนอ่อนแอขี้โรค จึงถูกปฏิเสธ แต่ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน เขาก็ถูกรับเข้ากองทัพเรือ ด้วยเส้นสายของพ่อ มีหน้าที่สรุปข่าวให้กับเลขานุการของกองทัพเรือ ว่ากันว่าในช่วงนี้เขาไปมีความสัมพันธ์กับสตรีนางหนึ่งซึ่งมีข่าวลือว่าเป็นสายลับของเยอรมันนาซี ซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลสำหรับ เจ เอดการ์ ฮูเวอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางในขณะนั้นใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์กับตระกูลเคนเนดีต่อไป แต่เคนเนดีก็ถูกย้ายไปฝึกในโรงเรียนหน่วยสำรองของหน่วยข่าวกรองของกองทัพเรือที่เซาท์ คาโรไลนา เสียก่อนและเข้าร่วมสงครามระหว่างสหรัฐ ฯกับญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ติดยศทหารคือ นาวาเอก

ปี 1943 เคนเนดีประกอบวีรกรรมช่วยเพื่อนทหารด้วยกันขณะที่เรือพีที 190 ของเขากำลังจะโจมตีญี่ปุ่นในตอนกลางคืนแต่ถูกเรือพิฆาตของญี่ปุ่นเข้าเล่นงานเสียก่อน เคนเนดีได้รับบาดเจ็บที่หลังซึ่งก็เจ็บมาแล้วก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่เขาสามารถช่วยลูกน้องหลายคนให้พ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้น โดยการประคับประคองซากเรือไปถึงเกาะและได้รับการช่วยเหลือในเวลาต่อมา เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ ก่อนปลดประจำการในปีที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม

พี่ชายของเขาคือโจเซฟ พี เคนเนดี จูเนียร์หาได้โชคดีเหมือนเขาไม่ โจเซฟเสียชีวิตขณะพยายามเอาเครื่องบินติดระเบิดไปชนฐานจรวดวีสองของเยอรมัน แต่กระโดดร่มหนีออกมาไม่ทันตามแผน ก่อนหน้านี้โจเซฟ จูเนียร์ ได้ชื่อว่าเป็นความหวังอันสูงสุดของครอบครัวเคนเนดีเพื่อจะเล่นการเมืองในอนาคต แต่เมื่อเสียชีวิต ผู้เป็นน้องชายก็ได้เป็นคนสืบทอดเจตนารมณ์นี้ของตระกูล ปี 1946 เคนเนดีสมัครลงเลือกตั้งและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตบอสตัน ในนามของ พรรคเดโมแครตและในปี 1952 ก็ได้เป็นวุฒิสมาชิก ภายใต้สโลแกนว่า "เคนเนดีจะทำให้เมซซาจูเซสท์มากกว่านี้" แต่ที่เขาชนะก็จากการเฉือนคู่แข่งด้วยคะแนนเสียงอย่างหวุดหวิด

ในปี 1956 เคนเนดีพยายามจะเสนอตัวเพื่อเป็นตัวแทนของพรรคเดโมเเครตในการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่พรรคกลับเลือกคนอื่นแทน กระนั้นนักการเมืองหนุ่มก็ได้รับชื่อเสียงขึ้นมากโข จนเคนเนดีประสบความสำเร็จในปี 1960 และก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปีนั้น โดยการเฉือนเอาชนะ อดีตรองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของพรรค รีพับลิกันด้วยคะแนนที่หวุดหวิดที่สุดในประวัติศาสตร์

ขอขั้นรายการตรงนี้ด้วยเรื่องความรักของเคนเนดี (ซึ่งมีผลทางการเมืองทางอ้อม) นั้นคือเคนเนดี ในปี 1951 ได้พบกับสาวสวยผู้ดีชาวนิวยอร์ก ผู้ทำงานเป็นนักข่าวและนักถ่ายภาพจากหนังสือพิมพ์วอชิงตัน ไทมส์-แฮร์โรลด์  ชื่อว่าแจคเกอลิน ลี บูวิเออร์ ที่เดินทางมาสัมภาษณ์นักการเมืองในวอร์ชิงตัน ดีซี ทั้งคู่ตกหลุมรักกันอย่างแรง แจ็คกี้นั้นเคยมีคู่หมั้นมาแล้วเป็นนักเล่นตลาดหุ้น แต่ด้วยครอบครัวเห็นว่าเธอกับหมอนั่นอยู่คนละชั้นกันก็เลยกดดันให้มีการถอนหมั้น สุดท้ายแจ็คกี้ก็แต่งงานกับเคนเนดี ในปี 1953 มีลูกด้วยกันสี่คน ด้วยอายุเพียง 31 ปี แจ็คกี้ได้ชื่อว่าเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งที่มีเสน่ห์ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และนำสีสันมาสู่ทำเนียบขาวในช่วงที่เคนเนดีเป็นประธานาธิบดี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เคนเนดีได้เป็นประธานาธิบดีก็คือการโต้วาทีกับริชาร์ด นิกสัน ผ่านโทรทัศน์ ในวันที่ 26 กันยายน 1960 นับว่าเป็นการถ่ายทอดสดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ให้ชาวอเมริกันผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงได้ดูกันทั่วหน้า และเห็นหน้ากันจะ ๆ นี่เองที่ทำให้เคนเนดีได้ใจของคนอเมริกันอย่างมาก จากความหล่อ และท่าทางหนักแน่น (คิดว่าอภิสิทธิ์คงจะพยายามเลียนแบบ) ส่วนนิกสันซึ่งหล่อน้อยกว่า (จมูกยาวๆ กลายเป็นจุดที่สื่อโจมตีเขาเมื่อขึ้นเป็นประธานาธิบดีว่าเหมือนพีน๊อกคีโอ) ทำคะแนนได้ไม่ดี เจอคำถามอะไรใหม่ๆ หน่อย ก็ตอบไม่ค่อยได้ ท่าทางหลุกหลิกและเหนื่อยล้า แต่ที่น่าสนใจคือมีการสำรวจผู้ฟังการโต้วาทีทางวิทยุเห็นว่านิกสันพูดทำคะแนนได้ดีกว่า แถมยังมีหลายคนโจมตีว่าการเลือกตั้งที่ชนะกันเฉียดฉิวนี้เต็มไปด้วยการโกงคะแนนเสียง

เคนเนดีเข้าสาบานรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 1961 และได้กล่าวคำปราศรัย พร้อมกับวลีที่จะเป็นอมตะต่อไปนั้นคือ "Ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country" (โปรดอย่าถามว่าประเทศของคุณจะทำอะไรให้คุณบ้าง แต่จงถามว่าคุณจะทำอะไรบ้างให้กับประเทศของคุณ) นอกจากนี้เคนเนดียังเรียกร้องให้ชาติต่าง ๆ ร่วมใจกันต่อสู้กับศัตรูตัวจริงของมนุษยชาตินั่นคือ ทรราช (คงจะด่ากระทบพวกโซเวียต) ความยากจน โรคภัยและ สงคราม เขาถือได้ว่าเป็นประธานาธิบดีที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา นั่นคือดำรงตำแหน่งเมื่ออายุเพียง 43 ปี และยังเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก เพราะคนอเมริกันนับถือนิกาย โปรเตสแตนท์กันเป็นส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุนี้ทำให้พรรคเดโมแครตลังเลใจที่จะส่งเขาสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะกลัวว่าเขาจะโดนสันตะปาปาชักใยอยู่เบื้องหลัง แต่เคนเนดีก็พิสูจน์ให้เห็นว่าทั้งหมดเป็นแค่ความระแวง

นอกจากนี้เคนเนดียังเป็นประธานาธิบดีที่ขี้โรคที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐ ฯ เลยก็ว่าได้ ตอนเขาอายุยังไม่ถึงสามขวบดีก็ป่วยเป็นโรคอีดำอีแดง (Scarlet Fever) อย่างหนัก จนพ่อของเขาต้องไปเฝ้าไข้เขาอยู่นานกว่าจอห์นน้อยจะหายดี แต่สุขภาพก็ไม่เคยดีอีกเลย แม่ของเขายังบันทึกโรคของเขาตอนเด็กว่าเป็นโรคไอกรน โรคหัดและโรคอีสุกอีใส ตอนหนุ่ม เคนเนดียังเป็นโรคแอดดิสัน ซึ่งเป็นความผิดปกติของต่อมเหนือไต ที่คนโดยมากไม่ค่อยจะเป็นกัน (เคนเนดีปิดบังเรื่องตัวเองป่วยโรคนี้อยู่นาน) และอาการเจ็บหลังที่กำเริบหนักหลังจากประสบอุบัติเหตุจากที่เรือญี่ปุ่นบุกเรือของเขา จน ภายหลังจากแต่งงานได้สองปี เคนเนดีต้องไปผ่าตัดที่กระดูกหลังแต่อาการแย่ลงจนเกือบจะตาย จนพระต้องไปทำพิธีสวดให้เขาในฐานะคนใกล้ตาย

ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าจะมีการแฉว่าในช่วงที่เขาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ ฯ ระหว่างสงครามสงครามเย็นที่ต้องพบกับความเครียดอันมหาศาล เขาต้องกินยาเป็นกำมือรวมถึงยานอนหลับหรือยาคลายเครียด (ว่ากันว่ารวมไปถึงยาสปีดหรือยาม้าด้วย !!!) ประมาณว่า ถ้าเคนเนดีไม่ถูกลอบสังหารเสียก่อนก็คงจะเป็นโรคพวกที่ว่านี้ตายเป็นแน่ แต่กระนั้นเคนเนดีก็มีสิ่งปลอบประโลมจิตใจได้อย่างดีอีกอย่างหนึ่ง ให้ทายสิ อะไร ?

เซ็กส์และอำนาจ

...........เปล่าหรอกไม่ใช่กำลังใจจากภรรยา เพราะนั่นมันเป็นหนังเรื่อง A Beautiful Mind หากแต่เป็นเรื่องกามารมณ์ … และกับผู้หญิงอื่นเสียด้วย จากสถิติ เข้าใจว่าเคนเนดีได้หลับนอนกับผู้หญิงจำนวนมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงทั่วไป โสเภณี นักกีฬา ภรรยาของคนอื่นก็ไม่เว้น  ซ้ำร้ายมีเด็กสาวที่เคยฝึกงานในทำเนียบข่าวออกมาแฉว่าเมื่อเธอตั้งท้องกับเคนเนดีก็ถูกประธานาธิบดีบังคับให้ไปทำแท้ง (ทั้งที่เคนเนดีนับถือคาทอลิกซึ่งต่อต้านการทำแท้ง)  สำหรับดาวยั่วสุดฮอตมาริลีน มอนโรว์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอได้สร้างความเกรียวกราวเมื่อไปร้องเพลง Happy Birthday to Mr. President ซึ่งในรายการฉลองวันเกิดของเคนเนดีถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เมื่อปี 1962 บางทฤษฎีบอกว่า เคนเนดีได้แบ่งปันสาวสวยผู้นี้กับโรเบิร์ตน้องชายของเขาแม้แต่ในขณะประกอบกิจกาม และก็มีบางทฤษฎีบอกว่า โรเบิร์ตพัวพันกับความตายของมอนโรว์ (บ้างก็ว่าเป็นพวกมาเฟีย) ว่ากันว่าในช่วงวิกฤตการณ์คิวบาซึ่งโลกกำลังไปใกล้หายนะแบบเส้นยาแดงผ่าแปด เคนเนดียังมีแก่ใจคิดถึงเรื่องเซ็กส์ เขาเคยเกริ่นกับโรเบิร์ต แม็คนามารารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมถึงเลขานุการสาวสวยที่ทำงานอยู่ที่เพนตากอน หรือที่ทำการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ "ผมอยากได้ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของหล่อน คืนนี้เราอาจจะหลีกเลี่ยงสงครามก็ได้"

แต่เรื่องกามารมณ์ของท่านประธานาธิบดีที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือเรื่องของ สาวสวยนามว่า จูดิท เอกเนอร์ ผู้ที่เข้ามาพัวผันพับเคนเนดีโดยผ่านแฟรงค์ ซีเนตร้า นักร้องชื่อดัง เจ้าของเพลง My way กับ New York New York นั่นแหละ ปู่แฟรงค์ ได้แนะนำให้เธอรู้จักและมีความสัมพันธ์กับเคนเนดีตอนที่เขายังเป็นวุฒิสมาชิกและเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 1960   แต่แล้วปู่แฟรงค์ของเราก็แนะนำให้เอ็กซ์เนอร์รู้จักและเป็นเมียน้อย กับเจ้าพ่อ นามว่าแซม เกียนกานา  ว่ากันว่า เธอจึงกลายเป็นตัวประสานความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลเคนเนดีและเจ้าพ่อมาเฟีย ในเรื่องการโค่นล้มคาสโตร  นี่เป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นหนึ่งในเงื่อนงำสำหรับ การสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี ก็ได้ เพราะพวกเจ้าพ่อมาเฟียต้องการจะโค่นล้มคาสโตร ที่มาทำลายผลประโยชน์ของพวกตนในคิวบา (เหมือนกับในเรื่อง Godfather ภาค 2) แต่เมื่อปฏิบัติการอ่าวหมู (Bay of Pigs) ล้มเหลว พวกเขาก็คิดว่าเกิดจากความอ่อนแอของเคนเนดี

แต่แล้วเอ็ดการ์ ฮูเวอร์ผู้อำนวยการเอฟบีไอ ได้แจ้งให้เคนเนดีทราบว่าความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่กำลังถูกจับตาดูอยู่ (เพื่อบอกเป็นนัยว่ากำลังแบล็คเมล์ท่านประธานาธิบดีอยู่) เรื่องของเขาและเธอจึงสิ้นสุดลงในปี 1962 เกียนกานาเองสิบปีต่อมาถูกสังหารโหดก่อนที่จะขึ้นศาลเพื่อไปให้การในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลเคนเนดีกับมาเฟีย  ตามความจริงแล้ว ความสัมพันธ์นี้มีมาตั้งแต่สมัยพ่อของเคนเนดีคือโจเซฟทำธุรกิจค้าเหล้าเถื่อนเสียด้วยซ้ำ ส่วนปู่แฟรงค์เองก็โดนเอฟบีไอเล่นงานเรื่องความสัมพันธ์กับมาเฟีย มาริโอ พูโซ่นักเขียนชื่อดังถึงกลับเอาเขาไปเป็นตัวละครคือจอห์นนี ฟอนแทน นักร้องผู้ที่ถูกมาเฟียเชิดในนวนิยายเรื่อง The Godfather

สำนักอัยการเมือง New Orleans เวลา 12.35 วันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 (ฉากในภาพยนตร์ JFK) Jim Garrison อัยการของนิว ออร์ลินส์ กำลังก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่บนโต๊ะ มีเสียงเปิดประตู เขาหันไปมอง พบว่าเป็นลูกน้องของเขาซึ่งมีสีหน้าเคร่งเครียด

"หัวหน้า ประธานาธิบดีถูกยิง ที่เมืองดัลลัส ...... เมื่อห้านาทีที่แล้ว"
"เป็นอะไรมากไหม ?"
"ยังไม่มีการแถลง ครับ แต่พวกเขาคิดว่ากระสุนโดนที่หัว"

แกร์ริสันและลูกน้องรีบไปยังร้านอาหารซึ่งเป็นที่เดียวในละแวกนั้นที่มีโทรทัศน์ (เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว คนมีโทรทัศน์ถือว่าฐานะดี) อัยการหนุ่มหวาดวิตกมากต่ออาการของเคนเนดี เพราะตัวเองชื่นชอบประธานาธิบดีคนนี้เป็นพิเศษ และแล้วความกลัวของเขาก็เป็นจริงเมื่อมีข่าวด่วนออกมายืนยันว่าเคนเนดีถึงแก่อสัญกรรมแล้ว เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเมื่อคนทั้งหลายที่ออกันอยู่ในผับต่างมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป หลายคนเงียบ หลายคนร้องไห้ แต่ใครคนหนึ่งกลับปรบมือด้วยความสะใจ พร้อมกับบอกว่า " ลาก่อน ไอ้ลูกหมาเอ้ย สมควรตายได้แล้ว" ทำไมคนอเมริกันถึงมีปฏิกิริยาแตกต่างกันเช่นนั้น เพราะอะไร ?

มุมมองด้านบวกของเคนเนดี

รายการข่าวการลอบสังหารประธานาธิบดียังได้สัมภาษณ์ผู้หญิงผิวดำคนหนึ่งที่ร้องห่มร้องไห้ "ท่านได้ทำประโยชน์มากมายให้กับประเทศนี้ เพื่อคนสีผิว ทำไม ?" สหรัฐฯในต้นศตวรรษที่ยี่สิบยังเหยียดสีผิวและกีดกั้นคนผิวดำอยู่มาก เคนเนดีได้พยายามหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งในสมัยหน้าจากคนผิวดำโดยการตอกย้ำความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในปี 1954 ที่ยุติการแบ่งแยกสีผิวเช่นให้คนผิวดำสำหรับการเข้าเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยร่วมกับคนขาว ก่อให้เกิดความไม่พอใจสำหรับพวกหัวอนุรักษ์นิยมอย่างมากโดยเฉพาะรัฐทางใต้

เคนเนดียังมีผลงานชิ้นโบว์แดงอื่น ๆ เช่น การผลักดันให้มีสนธิสัญญาการครอบครองระเบิดนิวเคลียร์  การขอให้รัฐสภาอนุมัติงบจำนวนมหาศาลสำหรับโครงการอะพอลโลซึ่งมุ่งหวังให้มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ และประสบความสำเร็จหกปีหลังจากที่เคนเนดีเสียชีวิต  เริ่มโครงการนิวฟรอนเทียร์เน้นการช่วยเหลือชาวอเมริกันในด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ และเคนเนดียังตั้งหน่วยพีซ คอร์พส์ ซึ่งเป็นหน่วยที่ไปให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศโลกที่สามทางด้านความจำเป็นพื้นฐาน จนมีคนตั้งสมญาให้เขาและบรรดารัฐมนตรีทั้งหลายว่าเป็นพวกคาเมลอต (Camelot) ซึ่ง มีที่มาจากตำนานของอัศวินคู่ใจของกษัตริย์อาเธอร์

มุมมองด้านลบของเคนเนดี

ความล้มเหลวของการบุกรุกอ่าวหมูหรือเบย์ออฟพิกส์ (Bay of Pigs)ใน ปี 1961  วิกฤตการณ์คิวบาในปี 1962  สิ่งเหล่านี้เราสามารถมองได้สองด้าน ถ้ามองด้านสันติภาพ เคนเนดีเป็นคนดี แต่ถ้ามองแบบก้าวร้าวดุดันแบบพวกอนุรักษ์นิยม หรือพวกนิยมทหาร ถือว่าเคนเนดี ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ยอมอ่อนข้อให้พวกคอมมิวนิสต์ และจริง ๆแล้วเคนเนดีก็ดุดันอยู่ลึก ๆ เช่นสนับสนุนโครงการคิวบาหรือความพยายามในการโค่นล้มคาสโตร และยังอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติโค่นล้ม ประธานาธิบดีของเวียดนามใต้คือ โง ดินห์เดียมในปี 1963  โง เองถูกประหารชีวิตไม่กี่อาทิตย์ก่อนเคนเนดีถูกลอบสังหาร (ถ้ามองแบบชาวพุทธก็คือกรรมตามสนอง แต่ถ้ามองแบบสังคมศาสตร์ก็คือเรื่อง"อำนาจไม่เคยปราณีใคร") นอกจากนี้ความอื้อฉาวทางเพศของเคนเนดียังทำให้คนอเมริกันไม่น้อยมองเขาในด้านไม่ดี

ความตาย

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 1963 เวลา 11.40 น. เคนเนดีพร้อมคณะเดินทางมาถึงเมืองดัลลัส      รัฐเท็กซัส ซึ่งอยู่ทางใต้เพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งปี 1964 ในรัฐนี้ที่เขาและรองประธานาธิบดีจอห์นสันไม่ค่อยได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งปี 1960 เท่าไรนัก และเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรค     เดโมแครตประจำรัฐแท็กซัส การมาของเขาและคณะทำให้มีความวิตกกันถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลอบยิง ดังนั้นตำรวจเมืองดัลลัสจึงเตรียมพร้อมที่จะรักษาความปลอดภัยด้วยมาตรการที่เข้มงวดที่สุดในประวัติศาสตร์แต่แล้วเจ้าหน้าที่ของหน่วยสืบราชการคนหนึ่งก็บอกว่าไม่ต้องมีหน่วยตำรวจคุ้มกันติดตามรถของประธานาธิบดี ต่อมาตำรวจดัลลัสมาให้การต่อคณะกรรมการว่า ถ้าหากมีการคุ้มกันดังที่วางแผนไว้ ประธานาธิบดีอาจจะไม่ถูกสังหาร หรืออย่างน้อยฆาตกรก็ต้องถูกจับกุมตัวทันที

แผนถูกวางไว้ว่าประธานาธิบดี พร้อมกับภริยาและรองประธานาธิบดีจะนั่งรถลีมูซีนยี่ห้อลินคอล์น คอนทิเนนทัล ปี 1961 แบบเปิดประทุน ในขณะนั้นยังไม่มีการนำเอากระจกกันกระสุนมาใช้สำหรับรถประธานาธิบดี ขบวนรถมีมอเตอร์ไซด์ตำรวจนำเป็นแถว (เหมือนที่เราเห็นในหนังฝรั่ง) มาจากสนามบินเลิฟฟิลด์ ไปรอบใจกลางเมืองดัลลัส เพื่อที่เคนเนดีจะไปกล่าวคำปราศรัยที่ ศูนย์การค้าใหญ่แห่งหนึ่ง และรับประทานอาหารเที่ยงกับคนสำคัญเมืองดัลลัส ขบวนรถยังคงวิ่งไปเรื่อยๆ แต่ต้องหยุดถึงสองครั้งเพื่อที่ว่าประธานาธิบดีจะได้จับมือกับบรรดาชาวเมืองดัลลัสที่แห่แหน ชูป้ายมาต้อนรับเคนเนดี ก่อนหน้าที่ขบวนรถจะขึ้นถนนใหญ่ มีผู้ชายคนหนึ่งวิ่งตรงมาหาประธานาธิบดี แต่ถูกพวกหน่วยสืบราชการลับจับตัวไว้ทัน

เวลา 12.29 ขบวนรถก็เดินทางมาถึงดีลีย์ พลาซ่า และเลี้ยวขวาจากถนนใหญ่ไปยังถนนฮุสตัน และขบวนรถก็เลี้ยวไปทางซ้าย ผ่านตึกที่ชื่อคลังเก็บหนังสือเรียนของแท็กทัส ซึ่งเป็นตึกเจ็ดชั้น ทันใดนั้นเสียงปืนก็ดังขึ้น........

จากปากคำของพยานผู้กำลังใช้กล้องถ่ายเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ความว่า เขาได้ยินเสียงปืนนัดแรกและเห็นเคนเนดีผงะไปทางแจ็กกี้ พร้อมกับเอามือกุมหน้าอกด้านซ้ายและเมื่อกระสุนนัดที่สองดังขึ้น เขาก็เห็นศีรษะของเคนเนดีเปิดออก พร้อมกับเลือดสาดกระเซ็น (ปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันว่ามีการยิงกี่นัดและคนยิงมีกี่คน) ผู้ที่พลอยซวยไปด้วยคือ จอห์น คอนเนลลี ผู้ว่าการรัฐแท็กซัส ที่นั่งอยู่ด้านหน้ารถคู่กับคนขับ เขาถูกกระสุนลูกหลงเข้าตรงหลังแต่ยังมีแรงกรีดร้องว่า "ไม่ ไม่ ไม่ พวกมันกำลังจะฆ่าพวกเราหมด !!!"

ส่วนแจ็คกี้กลายเป็นคนสติแตกพยายามปีนไปทางด้านหลังของรถเพื่อที่จะเก็บเอาส่วนของสมองของเคนเนดีที่กระเด็นไป ผู้คุ้มกันคนหนึ่งก็รีบเข้าไปปกป้องร่างของคนทั้งสอง แล้วรถของประธานาธิบดีก็ถูกขับออกไปอย่างเร่งด่วนยังโรงพยาบาลปาร์กแลนด์ เมโมเรียล ซึ่งไม่ไกลจากที่นั่น ประธานาธิบดีเคนเนดีได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเสียชีวิตในอีกสามสิบนาทีต่อมา .......

ช่วงบ่ายของวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 หรือวันเดียวกับที่ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกลอบสังหารนั้น ชาวอเมริกันได้รับรู้ถึงการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยนามว่าลี ฮาร์วีย์ ออสวัลด์( Lee Harvey Oswald) ชายหนุ่มอายุ 24 ปีผู้นี้ได้ยิงตำรวจเสียชีวิตก่อน จะนั่งรถแท็กซี่หนีเข้าไปในโรงหนังแท็กซัสโดยไม่จ่ายค่าตั๋วดูหนัง ทำให้คนเก็บเงินโทรศัพท์เรียกตำรวจ (ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าสำหรับคนที่ลอบยิงประธานาธิบดีมาหมาดๆ จะโง่ยอมเสี่ยงทำให้เกิดเรื่องเพียงเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นหรือไม่)

ตำรวจกว่าสามสิบนายก็กรูเข้าไปในโรงหนังจับเพื่อกุมผู้ต้องสงสัยคนเดียว แต่ผู้ที่เข้าถึงเขาเป็นคนแรกถูกชกหน้าหงาย เกิดการต่อสู้กันนิดหน่อย ก่อนที่ออสวาล์ดจะถูกหิ้วปีกออกไป แต่ก็โวยวายลั่นว่าตัวเองไม่ได้ขัดขืนอะไร สาเหตุที่ออสวัลด์ถูกจับกุมเพราะมีคนยืนยันว่าเห็นเขาอยู่ตรงหน้าต่างของตึกคลังเก็บหนังสือเรียนของแท็กทัส ตอนที่เคนเนดีถูกยิง ทางตำรวจได้แจ้งให้ทุกหน่วยทราบถึงรูปพรรณของคนร้าย ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งซึ่งลาดตะเวน อยู่แถวโอค คลิฟฟ์ ในเวลา 13.15 น. เห็น ออสวัลด์เข้าก็ขอตรวจค้น เลยถูกยิงตาย โดยมีใครหลายคนเป็นประจักษ์พยาน จนเขามาถูกจับกุมในที่สุด

ออสวัลด์ถูกตั้งข้อหาฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีสังหารประธานาธิบดี แต่เขาปฏิเสธอย่างแข็งขัน โดยบอกว่าตัวเองเป็นแค่ Patsy หรือแพะรับบาป ทั้ง ๆที่มีการค้นพบปืนไรเฟิลที่ชั้นหกของตึก คลังเก็บหนังสือเรียนของแท็กทัส  ที่สั่งซื้อภายใต้นามแฝงของออสวัลด์ ประวัติของหมอนี่ไม่เบาเหมือนกัน เคยเป็นนาวิกโยธิน ซึ่งทำให้เขาฝักใฝ่และเชี่ยวชาญในเรื่องปืน แต่กลับมาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เคยอพยพไปตั้งรกรากที่โซเวียตในปี 1959 พร้อมกับขอยกเลิกสัญชาติอเมริกัน จนได้ภรรยาเป็นคนรัสเซีย แต่ก็หูตาสว่างเห็นความไม่ได้เรื่องของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตเลยกลับมาอยู่ที่อเมริกา และหันมาฝักใฝ่กับ    ฟิเดล คาสโตรแทน ออสวัลด์ได้งานทำชั่วคราวที่ตึกเจ็ดชั้นตึกนั้น ในช่วงที่เคนเนดีถูกลอบสังหาร

แต่แล้วก่อนที่จะถูกดำเนินคดีวันที่ 24 คือสองวันต่อจากนั้น ออสวัลด์ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปส่งเข้าคุกที่อยู่ใกล้ กับสถานีตำรวจดัลลัส เพราะได้รับจดหมายขู่ฆ่า ขณะที่เขาและตำรวจที่คุมตัวอย่างแข็งขันเดินลงมาจากลิฟท์มายังที่จอดรถใต้ดินของรถพัก ท่ามกลางบรรดาผู้สื่อข่าวจำนวนมาก  แจ็ค รูบี้ เจ้าของกาสิโนและผู้กว้างขวางย่านนั้นก็วิ่งเข้าไปยิงออสวัลด์อย่างอุกอาจ ท่ามกลางสายตาของชาวอเมริกันนับล้านคนผ่านกล้องโทรทัศน์ที่กำลังถ่ายทอดสด ออสวัลด์บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา รูบี้ อ้างว่าเพราะต้องการช่วยเหลือแจ็คกี้ อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแบบสด ๆ ร้อน ๆ ไม่ให้ต้องทนทุกข์ทรมานกับขบวนการขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งแน่นอนว่าคำอ้างของเขาฟังไม่ขึ้น แต่รูบี้ก็ป่วยตายก่อนจะถูกนำขึ้นศาล มีชาวอเมริกันไม่น้อยที่สงสัยว่า ต้องมีคนอยู่เบื้องหลังเขาเพื่อที่จะฆ่าตัดตอนออสวัลด์เป็นแน่

วันที่ 29 ของเดือนเดียวกัน ประธานาธิบดีคนใหม่คือลินดอน บี จอห์นสันซึ่งสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งบนเครื่องบิน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาโดยมีผู้พิพากษานามว่า เอิร์ล วาร์เรนเป็นประธาน ภายใต้ชื่อที่นิยมเรียกกันว่า คณะกรรมการวาร์เรน (ที่น่าสนใจคือมีอดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางหรือซีไอเอ ที่ถูกเคนเนดีไล่ออกคืออัลเลน ดัลเลส รวมอยู่ด้วย) ทำการตรวจสอบที่เกิดเหตุและสืบสวนพยานอย่างละเอียดจึงสรุปว่า ออสวัลด์เป็นผู้สังหารประธานาธิบดีเพียงผู้เดียว มีการยิงด้วยปืนไรเฟิลเพียงสามนัดเพราะพบปลอกกระสุนจำนวนเท่านั้นอยู่ที่ชั้นหกของตัวอาคาร มีเพียงนัดเดียวที่พลาดเป้า กระสุนที่เข้าไปที่คอของเคนเนดีเป็นกระสุนนัดเดียวกันที่โดนตรงหลังของ ผู้ว่าการรัฐแท็กซัส ส่วนแรงจูงใจในการลอบสังหาร ไม่มีการพูดถึง แม้ออสวัลด์จะเคยอยู่ในโซเวียตมาก่อน ถึงแม้ข้อสรุปนี้จะได้รับการยอมรับจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการแต่ก็ถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงจากหลายฝ่ายในเวลาต่อมา

เหตุใดเคนเนดีจึงถูกลอบสังหาร ?

ยังมีคนอเมริกันจำนวนมหาศาลยังติดใจสงสัยเบื้องหลังการลอบสังหารเคนเนดี จนถึงทุกวันนี้รวมไปถึง อัยการของเมืองนิว ออร์ลินส์ เช่นจิม แกร์ริสันด้วย เขาคือแรงบันดาลใจและแหล่งข้อมูลสำหรับ            โอลิเวอร์ สโตนผู้เชิดชูเคนเนดีในการทำหนังเรื่อง JFK ที่ออกฉายเมือ่ปี 1991 และมีส่วนอย่างยิ่งสำหรับความเข้าใจของคนทั่วโลกเกี่ยวกับการลอบสังหารเคนเนดี แกร์ริสันมีความเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี ไม่ใช่ ออสวัลด์ ชายหนุ่มผู้นี้เป็นเพียงแพะรับบาป ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ในหนัง ขณะที่แกร์ริสันซึ่งแสดงโดยเควิน คอสเนอร์ นั่งดูทีวีที่ถ่ายทอดการแถลงของออสวัลด์ เขาก็พูด     เปรย ๆ  ว่า "เขาดูใจเย็นมากเหลือเกินสำหรับคนที่ตกอยู่ใต้แรงกดดันขนาดนั้น"

แกร์ริสันมีความเชื่อว่า ออสวัลด์รู้จักกับ ใครหลายคนที่นำเขามาเป็นแพะรับบาป บุคคลเหล่านั้นต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหน่วยงานของรัฐบาลเช่นซีไอเอหรือเอฟบีไอรวมไปถึงพวกใต้ดินเช่น มาเฟีย ไม่ว่า เดวิด เฟอร์รี เคลย์ ชอว์ หรือกาย แบนิสเตอร์ แกร์ริสันจึงพยายามนำสองคนแรก (ส่วนคนหลังสุดชิงกลับบ้านเก่าเสียก่อน) ไปสอบสวนและขึ้นศาล แต่ก็ได้รับการขัดขวางจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนพยานที่เกี่ยวข้องหรือรู้เรื่องราวต่าง ๆ ถูกข่มขู่ ไม่กล้ามาให้ปากคำ บางคนก็ถูกเก็บ ชอว์โดนยกฟ้องและแฟรรี่เองถึงแม้จะรอดจากเงื้อมือของกฏหมาย ก็ตายอย่างมีเงื่อมงำ แกร์ริสันเอง ก็โดนกล่าวหาว่าสติเฟื่อง อยากดังจึงข่มขู่พยานเพื่อสร้างเรื่องราวขึ้น

ในระหว่างการพิจาณาคดีของเคลย์ ชอว์ เมื่อปี 1969 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนัง แกร์ริสันพยายามจะบอกแก่สาธารณชนอเมริกันว่า แท้ที่จริง ผู้สังหารเคนเนดีมีหลายคนทำงานกันเป็นทีมและเตรียมตัวกันมาอย่างดี จุดที่มือสังหารอยู่ไม่ใช่เพียงจากหน้าต่างของตึกเท่านั้นหากยังจากเนินที่มีหญ้าปกคลุม ซึ่งอยู่ใกล้รถขบวนประธานาธิบดี มีการยิงจากปืนไรเฟิลสองกระบอกถึงหกนัด ในขณะที่ออสวัลด์ซึ่งอยู่ในตึกนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเลยและอาจจะไม่ได้ยิงตำรวจด้วย ออสวัลด์คือผู้บริสุทธิ์ !!!

จุดสรุปของหนังเรื่องนี้ (ซึ่งไม่รู้ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่) ก็คือตอนที่แกร์ริสันเดินทางไปพบกับอดีตนายทหารที่ใช้ชื่อปลอมว่า ผู้พัน X (แสดงโดยโดนัลด์ ซูเทอร์แลนด์)  X ได้เล่าให้ฟังถึงความไม่ชอบมา      พากลในวันที่เคนเนดีเดินทางมายังดัลลัส โดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯ ต่างปล่อยปละละเลยเรื่องการรักษาความปลอดภัย ราวกับจะเปิดช่องให้มือสังหารทำงานได้สะดวก ที่ออกมาสรุปเรื่องราวทั้งหมดว่า

1.เกิดจากหน่วยข่าวกรองกลางหรือซีไอเอเพราะหลังจากที่เบย์ออฟพิกส์ล้มเหลว เคนเนดีต้องการลดอำนาจของ ซีไอเอโดยการไล่บรรดาผู้บริหารระดับสูงออกเช่นดัลเลส และมอบอำนาจให้กองทัพในการปฏิบัติงานใต้ดินแทนซีไอเอ

2. เกิดจากความพยายามของเคนเนดีในการถอนทหารอเมริกันทั้งหมดออกจาก เวียดนามภายในปี 1965 ซึ่งเป็นการขัดผลประโยชน์ของกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธ (Military-industry Complex) อย่างแรงและนายทหารทั้งหลายที่มีเอี่ยวด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ ในวิกฤตการณ์คิวบาที่เคนเนดีตกลงกับครูซชอฟผู้นำของสหภาพโซเวียตได้อย่างสันติ ก็ทำให้คนพวกนั้นไม่พอใจเป็นยิ่งนัก ซ้ำเคนเนดียังใฝ่ใจในเรื่องสันติภาพ ต้องการยุติสงครามเย็น เป็นไปได้เช่นกันว่า รองประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสันจะล่วงรู้ในเรื่องนี้ด้วย เพราะหลังจากที่จอห์นสันได้เป็นประธานาธิบดี เขาก็ลงนามในการส่งกองกำลังทหารเข้าไปในเวียดนามแทนที่จะถอนออก  ทฤษฎีนี้ได้รับการไม่เห็นด้วยจากนักวิชาการหลายคนเช่นนอม ชอมสกี เขาเห็นว่าเคนเนดีนั้นจริงๆ แล้วมีแผนที่จะขยายอำนาจทางทหารไปในเวียดนาม ดังนั้นถึงแม้เคนเนดีไม่ถูกลอบสังหาร สหรัฐฯ ก็จะเข้าสู่สงครามเวียดนามอยู่ดี
 

สรุปก็คือเคนเนดีนั้นเหมือนกับจูเลียส ซีซาร์ จักรพรรดิ์โรมันที่ถูกลูกน้องรอบข้างเป็นศัตรูและรุมสังหารเขาในที่สุด ในประวัติศาสตร์มีอยู่สี่ครั้งที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ถูกสังหาร แต่ครั้งนี้คือการทำรัฐประหาร หรือ Coup d'état เคนเนดีถูกโค่นโดยระบบราชการอันยิ่งใหญ่ (ซึ่งก็ยังเป็นความเชื่ออีกเช่นกัน)

ถึงแม้แกร์ริสัน ชี้ให้สาธารณชนถึงความเท็จจริงเหล่านี้ แต่ด้วยพยานบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ ทำให้ความพยายามของเขา กลายเป็นเพียงหนึ่งใน การไต่สวนหรือทฤษฎีการสมรู้ร่วมคิด (Conspiracy) จนถึงทุกวันนี้โดยนักประวัติศาสตร์หรือคณะกรรมการของรัฐบาลยังคงต้องทำงานต่อไปถึงสาเหตุการลอบสังหารประธานาธิบดี หรือจนกว่า ความจริงยังไม่มีใครประจักษ์ชัด แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ คนผิดก็ไปเกิดใหม่นานแล้ว

นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีเกี่ยวกับการลอบสังหารอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้อยู่ในฉากนั้น หรือว่าไม่ได้อยู่ในหนังว่าเกิดจากการบงการของ

1.รองประธานาธิบดีจอห์นสัน ซึ่งได้ข่าวระแคะระคายว่า เคนเนดีจะไม่เอาเขามาเป็นคู่หูในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1965 แถมตอนที่เคนเนดียังเป็นประธานาธิบดี จอห์นสันเองยังต้องคดีเรื่องทุจริตอยู่หลายคดี เมื่อจอห์นสันได้เป็นประธานาธิบดีเรื่องพวกนี้ก็หายไปในกลีบเมฆ นอกจากนี้จอห์นสันและ        ฮูเวอร์ยังพยายามทำให้สาธารณชนเชื่อว่า ออสวัลด์เป็นคนฆ่าเพียงคนเดียว แฟ้มทั้งหมดของการสืบสวนการลอบสังหารของคณะกรมการวาร์เรนถูกเก็บไว้ภายใต้คำสั่งของจอห์นสันจะเปิดออกมาดูได้ก็ต่อปี 2093

2. พวกมาเฟียที่สูญเสียผลประโยชน์จากการยึดประเทศของคาสโตร และปฏิบัติการเบย์ออฟพิกส์ในการโค้นล้มคาสโตรไม่สำเร็จ ทำให้คนเหล่านั้นโมโหโกธาเป็นยิ่งนัก (ภาพยนตร์ได้แก่ต่างว่าเคนเนดีถูกผู้อำนวยการของซีไอเอหลอกในเรื่องปฏิบัติการนี้)

3. นอกจากนี้ข้อสอง ยังโยงมายัง ฮูเวอร์ผู้อำนวยการ FBI ผู้เกลียดชังเคนเนดี ที่ต้องการจำกัดอายุของผู้อำนวยการ FBI ให้ไม่เกิน 70 ปี ถ้าหากเคนเนดีได้รับการรับเลือกตั้งอีกครั้ง ฮูเวอร์จะต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่เมื่อจอห์นสันเป็นประธานาธิบดี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอ "ตลอดชีพ" ถึงแม้       ฮูเวอร์จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสังหารโดยตรง แต่เขาอาจจะรู้ว่าเป็นฝีมือของมาเฟียซึ่งแบ็คเมล์เขาเกี่ยวกับความเป็นพวกรักร่วมเพศ จึงเงียบไว้ก่อนดีกว่า

4. พวกคิวบา อาจจะเป็นพวกคิวบาพลัดถิ่นที่โกรธแค้นเคนเนดีที่ไม่ยอมช่วยเหลือพวกเขาใน ปฏิการ   เบย์ออฟพิกส์ หรืออาจจะเป็นฝีมือของคาสโตรที่ต้องการล้างแค้นเคนเนดี ซึ่งพยายามจะลอบสังหารเขา

5. เป็นฝีมือของครูซชอฟหรือพวกผู้นำหัวรุนแรงในเครมลิน แต่ทฤษฎีนี้อ่อนเกินไปเพราะครูซชอฟเองถือว่าเคนเนดีเป็นคนที่สามารถตกลงกันได้ และเคนเนดียังถูกโจมตีว่าอ่อนข้อให้กับสหภาพโซเวียต จนมีคนมาตั้งทฤษฎีว่าเคนเนดีเป็นสายลับให้กับทางเครมลิน

บทส่งท้าย (ในภาพยนตร์)

แกร์ริสันรู้สึกเลือดขึ้นหน้าเมื่อได้ยิน ผู้พัน X พูดถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารจบ

"ไม่น่าเชื่อเลย ว่าพวกเขาฆ่าเคนเนดีเพียงเพราะเขาต้องการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง.... ในยุคนี้ในประเทศนี้"

ผู้พูดซึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้ยาวตัวเดียวกันยิ้มและจ้องตาแกร์ริสันเหมือนเขาเป็นเด็กอายุสามขวบ

"เขาฆ่าผู้นำกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้ว มีกษัตริย์หลายพระองค์ถูกปลงพระชนม์ คุณแกริสัน การเมืองคืออำนาจ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น"..............

 

 

ป.ล. ปัจจุบัน ตัวจิม แกร์ริสัน และโอลิเวอร์ สโตน ก็โดนโจมตีจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับหลักฐานที่ยังสรุปไม่ได้จากหนังเรื่อง JFK แกร์ริสันเองประวัติส่วนตัวก็ไม่ได้ดูสวยงามอย่างที่ปรากฏอยู่ในหนังของสโตน  และดังที่ได้กล่าวมาข้างบน ตัวเคนเนดีเองก็ไม่ได้ดีอย่างที่สโตนยกย่องนัก

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพฯ เผย บ.จอร์จี้ จูงใจคนงานเปลี่ยนสัญญาจ้าง ด้านคนงานเริ่มยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมที่ สภ.อ. สันกำแพง

Posted: 23 Nov 2013 11:00 PM PST

24 พ.ย. 2556 - สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ ได้เปิดเผยว่าหลังจากที่ตัวแทนลูกจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และยังอยู่ในระหว่างการเจรจาอีก 2 ข้อที่ยังไม่ได้ข้อตกลงนั้น (คือ การจ่ายเงินให้พนักงานรายชิ้นที่ทำได้จริงไม่ต่ำกว่า 310 บาท บริษัทยังคงยืนยันที่จะไม่พิจารณาในปีนี้ แต่จะพิจารณาในปีหน้า และเรื่องโบนัส บริษัทยังยืนยันที่จะพิจารณาเรื่องโบนัสให้ในปีหน้าเช่นกัน)

ล่าสุดทางบริษัทฯ ได้ออกประกาศให้รางวัลแก่พนักงานที่ไปลงนามเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นรายปี โดยพนักงานที่ลงนามในสัญญาใหม่และข้อตกลงเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานก่อนวันที่ 1 พ.ย. 56 จะได้รับเงินรางวัลตามสัดส่วนอายุการทำงาน ส่วนพนักงานที่ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานใหม่และสัญญาใหม่หลังวันที่ 1 พ.ย. 56 ก็จะได้รับรางวัลตามสัดส่วนโดยดูจากวันที่เซ็นต์สัญญาโดยเช่นกัน

ซึ่งทางสหภาพแรงงานฯ มองว่าการนำเงินมาจูงใจเพื่อแลกกับความมั่นคงในการทำงาน เปลี่ยนสัญญาจ้างให้พนักงานทำงานเป็นสัญญาปีต่อปีนั้นเป็นการแลกที่ได้ไม่คุ้มเสีย และทางสหภาพแรงงานฯ ก็ได้พยายามสื่อสารกับสมาชิกสหภาพฯ และคนงานอื่นๆ ในประเด็นนี้

อนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. 56 ที่ผ่านมาตัวแทนคนงานได้ไปยื่นจดหมายขอสอบถามความคืบหน้ากรณีบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด กระทำผิดกฎหมายอันเป็นความผิดอาญา ต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสันกำแพง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สืบเนื่องจากการที่บริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ตั้งอยู่ที่  121 หมู่ 3 ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบริษัทผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์ Pure Handknit และ Neon Buddha ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ได้มีการพยายามเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับการยินยอมจากลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการไกล่ แต่ก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้

จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 ลูกจ้างได้ร่วมลงลายมือชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัท ฯ (ใช้สิทธิตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มีการนัดเจรจา แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งในระหว่างที่มีการยื่นข้อเรียกร้องและการเจรจา ทางบริษัทฯได้มีการดำเนินการซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างหลายประการ ดังนี้

1. เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 10 คนอย่างไม่เป็นธรรมเนื่องด้วยไม่ยอมเซ็นต์สัญญาใหม่ซึ่งเป็นการลดสิทธิของคนงาน
2. มีการลดตำแหน่งและโยกย้ายหน้าที่การงานของพนักงาน และตัวแทนในการเจรจาหลายคน

ซึ่งการกระทำของบริษัทฯ เช่นนี้ ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่บัญญัติไว้ว่า "เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่เหตุผลอันสมควรและหากนายจ้างกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน ก็ต้องระวางโทษ ตาม มาตรา 136 ที่บัญญัติไว้ว่า   " นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ซึ่งที่ผ่านมาคนงานที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และถูกโยกย้ายหน้าที่การงาน ได้ไปใช้สิทธิแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรสันกำแพง ซึ่งทางคนงานได้รับการแจ้งจากทางพนักงานตำรวจว่า คนงานไม่มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดี

ดังนั้นพวกเราคนงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงได้ทำหนังสือขอคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจากท่าน ว่า คนงานสามารถใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ได้หรือไม่ หากพวกเราใช้สิทธิได้ท่านจะดำเนินการต่อไปอย่างไร  แต่หากพวกเราใช้สิทธิไม่ได้ เป็นเพราะเหตุผลใด โดยขอให้ท่านชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความเข้าใจของพวกเรา พร้อมกันนี้พวกเราได้สำเนาหนังสือถามไปยังผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ด้วย เพื่อความชัดเจน และเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของพวกเราในฐานะที่เป็นผู้ใช้แรงงาน





 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา ‘จากสื่อ...สู่โศกนาฏกรรม’

Posted: 23 Nov 2013 10:12 PM PST

ประจักษ์ ก้องกีรติ, ชัยรัตน์ ถมยา, สุชาดา จักรพิสุทธิ์ และชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา ร่วมถกใน Media Cafe ถึงบทบาทสื่อกับการนำสู่โศกนาฎกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ จัดโดยมีเดีย อินไซต์ เอาท์

24 พ.ย.2556 มีเดีย อินไซต์ เอาท์ จัด Media Cafe สื่อสนทนาครั้งที่ 10 เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นต่อบทบาทสื่อในการรายงานข่าวประเด็นละเอียดอ่อนของสังคม เรียนรู้บทเรียนต่างประเทศที่การทำงานของสื่อนำสู่โศกนาฎกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ และวิเคราะห์การทำงานของสื่อไทยในวันที่สังคมอ่อนไหว เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2556 ที่ผ่านมาโดยมี ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา นักวิจัยศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ บรรณาธิการบริหาร ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิและพลเมือง(TCIJ) และชัยรัตน์ ถมยา บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ไทยพีบีเอส ร่วมเสวนา โดยมี เพ็ญนภา หงษ์ทอง เป็นผู้ดำเนินรายการ ที่ระเบียงกาแฟ สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน เชิงสะพานหัวช้าง

00000

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา

hate speech กับ free speech

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา กล่าวถึงการวิจัย "การกำกับดูแลสื่อที่เผยแพร่สื่อแห่งความเกลียดชัง โดยโฟกัสไปที่สื่อวิทยุโทรทัศน์" ว่าเป็นการศึกษารูแบบเนื้อหาในช่วงปีที่แล้วที่สถานการณ์ยังไม่มากขนาดปีนี้ แต่สิ่งที่ค้นพบก็อาจเป็นสัญญาณอะไรบางอย่างที่นำมาถึงวันนี้ เราศึกษาทั้งในต่างประเทศด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สิงคโปร์และออสเตรเลีย ซึ่งมีบริบทแตกต่างกัน แต่ดีเบตที่เกินขึ้นเหมือนกันคือ ระหว่าง hate speech กับ free speech ขอบเขตมันอยู่ตรงไหน บางประเทศที่เป็นเสรีนิยประชาธิปไตยอย่างอเมริกา จะยึดถือ free speech หรือ เสรีภาพในการแสดงความเห็น

ความต่างนี้แล้วแต่จุดยืนของแต่ละประเทศ เช่น อเมริกาจะยึดการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความเห็น เขาจะมองว่า hate speech อยู่ใน free speech คือมีเสรีภาพที่จะพูดจนกว่ามันจะไปสู่ความรุนแรงก็จะถูกระงับ อย่างสิงคโปร์ที่เป็นอนุรักษ์นิยมก็มองที่การดำรงซึ่งความสุขสงบเป็นเรื่องสำคัญ หรือเยอรมันที่มีประสบการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็ออกกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าอะไรเป็น hate speech อะไรไม่ใช่ ของเราอยู่ในกฏหมายหมิ่นซึ่งโน้มเอียงไปทาง ม.112 คือหมิ่นพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ยังไม่พูดถึงการแสดงความเกลียดชังที่อ้างอิงต่อกลุ่ม จึงนำมาสู่การศึกษาว่าจะวางนิยามประเทศเราว่าอย่างไร ซึ่งยากที่จะระบุว่าอะไรเป็นหรือไม่

อิทธิพลสื่อในการยกระดับความขัดแย้ง

ชนัญสรา กล่าวว่า ความเกลียดชังนั้นไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้น แต่มันมีขั้นตอนของมัน

1.     เริ่มจากสื่อสร้างความวิตกกังวลว่ามีคนกลุ่มหนึ่งจะทำไม่ดีหรือลิดรอนสิทธิของเรา

2.     ขั้นตอนไปนำไปสู่การทำให้แปลกแยกว่าเป็นพวกเขา พวกเรา เขาเป็นเสื้อสีนั้นนี้

3.     ไปถึงขั้นการกล่าวโทษผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เราสามารถทำลายล้างเขาได้

รูปแบบของเมืองไทยที่ผ่านมา จากการค้นพบจากสื่อกระแสหลักทั้งโทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม พบจุดร่วมคือองค์ประกอบของ hate speech มี 4 องค์ประกอบ

1.     มีวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

2.     มีเป้าหมาย ซึ่งจะรู้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่อ้างอิงมีลักษณะความเป็นกลุ่ม

3.     ระดับความร้ายแรง

4.     กระบวนการสื่อที่ซ้ำๆ ต่อเนื่อง และใช้เวลา ไม่ใช่พูดแล้วเกิด ต้องสั่งสม

ระดับความร้ายแรงมีหลายระดับ ในงานวิจัยจึงแบ่งเป็น 3 ระดับ

1.     ขั้นดูถูกแบ่งเขาแบ่งเรา หรือเหมารวม

2.     ลดคุณค่าว่าเขาไม่ใช่คน เปรียบมนุษย์ไม่ใช่คน ปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน

3.     ระดับยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางกายภาพ การขจัดทำลายล้าง หมิ่นประมาท ละเมิดศักศรีความเป็นมนุษย์หรือยั่วยุให้กระทำผิดกฏหมาย

ชนัญสรา กล่าวต่อว่า จากการปรึกษาหารือว่าจะตัดสินว่า hate speech ควรตัดที่ระดับไหนนั้นเห็นว่าควรแบ่งเป็นระดับ 3 ซึ่งจะต่อเนื่องไปสู่การกำกับดูแลว่าควรกำกับโดยกฏหมาย ส่วนระดับอื่นนั้นก็ควรจะใช้วิธีการอื่น แต่ทุกคนก็มองว่าผลกระทบนั้นเกิดขึ้นได้ทุกระดับ

สิ่งที่พบทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกก็พบว่ารายการข่าวจะมีลักษณะคล้ายกันคือระดับ 2 กับ 1 ไม่ถึงระดับ 3 โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นกลุ่มที่มีอคติจากอุดมการณ์ทางการเมือง คือ รสนิยมทางการเมือง และเรื่องของขั้วตรงข้ามด้วย เช่น เหลืองแดง ทักษิณนิยม อำมาตย์นิยม นิยมเจ้า-ล้มเจ้า หรือแม้กระทั้งเชื่อมไปถึงชนชั้น นี่คือการแบ่งขั้วอคติ ส่วนร้ายแรงระดับ 3 ในเวลานั้นพบได้บ้าง แต่คาดว่า ณ ขณะนี้อาจจะเยอะขึ้น วิทยุจะมีการปล่อยเสียงคนสัมภาษณ์เข้าไปในรายการ เช่น สัมภาษณ์ชาวบ้าน หรือทีวีก็เป็นผู้ดำเนินรายที่ฮาร์ดคอร์

สื่อกระแสหลักมักนำเสนอข่าว 2 ด้าน คือ ถ้าเปิดเสียงเวที ปชป. ก็เปิดเสียง นปช. ถ้าเป็นสื่อทางเลือก(partisan media)จะเลือกที่จะเลือกข้างว่าจะนำเสนอข้างไหน นี่คือธรรมชาติเพราะปัจจุบันคนมีเทคโนโลยี่เข้าถึงการสื่อสารมากก็อยากมีส่วนร่วมทางการเมืองก็มักเสพสื่อแบบนี้มากขึ้น ในอเมริกาก็เช่นกัน

ปลูกความคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)ในสื่อ

ชนัญสรา กล่าวด้วยว่า สื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน สื่อใหม่ที่เลือกเป็นสื่อทางเลือก(partisan media) และ มันไม่มีพื้นที่ให้คุยกันได้หลากหลายในสื่อกระแสหลัก รวมทั้งสื่อไทยยังยึดโยงกับทุน ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญจึงเป็นตัวจริยธรรมที่อยู่ภายในซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังกันมา ด้วยเหตุนี้ถามว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมดีขึ้น การศึกษาควรเพิ่มวิชาการคิดเชิงวิพากษ์ คิดวิเคราะห์ได้ว่าสื่อนี้เป็นของใคร โปรด้านไหน แต่ปัญหาคือเมื่อมีสื่อเฉพาะพวกแล้วมันก็เป็นกลไกทางจิตวิทยาที่จะไม่เปิดรับสื่อตรงข้ามหรือรอบด้านด้วย นิเทศศาสตร์สอนให้เข้าใจว่าเบื้องลึกเบื้องหลังนั้นยากและนักศึกษาเข้ามาเรียนก็มักนึกถึงวงการบันเทิงมากกว่า องค์กรสื่อเองต้องทำตัวเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย 

ชัยรัตน์ ถมยา

กระบวนการตักเตือน

ชัยรัตน์ ถมยา กล่าวว่าเราก็พยายามที่จะนำเสนอ 2 ด้าน แต่ในบางครั้งคนที่ไปทำข่าวภาคสนามก็มีการเตือนให้ระมัดระวัง เช่น จะปล่อยเสียงคนที่พูดบนเวทีก็ไม่ควรที่จะปล่ยเสียงที่จะทำให้เกิดความเกลียดชัง ต้องเป็นเนื้อหาที่เราคิดว่ามันเหมาะสม แต่ทั้งหมดแล้วการตัดสินใจจะอยู่กับคนที่อยู่หน้างานเป็นส่วนใหญ่และคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น แม้หน้างานอาจต้องเร่งมากในการตัดสินใจ แต่สิ่งที่สำคัญคือการกลับมาดูว่าที่ทำไปนั้นมันทำให้เกิดความเกลียดชังหรือไม่ ซึ่งก็ต้องมีการตักเตือนกัน และควรมีประจำ

การเลือกใช้คำ กับข้อจำกัดหน้างาน

ชัยรัตน์ กล่าวด้วยว่าหน้าที่ของสื่ออย่างหนึ่งคือการเลือกใช้คำพูด แต่ละคำมีความสำคัญมาก อย่างในสหรัฐอเมริกา ช่วงการเลือกตั้ง มีการสื่อสารกันจนกระทั่งมีบางคนเชื่อว่าโอบามาเป็นมุสลิมเพราะฝ่ายตรงข้ามย้ำตลอดเวลาผ่านการเชื่อมโยงกับบริบทบางอย่าง เหมือนกับโอบาม่านับถื่อศาสนาอิสลาม หรือการใช้คำว่ากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง มันเป็นการไปสร้างว่าคนมุสลิมต้องใช้ความรุนแรง ภายหลังมีการตกลงว่าจะใช้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความคิดสุดโต่งแทน เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำพูดหรือการเลือกคำพูดในการรายงานข่าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าจอด้วย เราก็ต้องพยายามคิดว่าจะเปลี่ยนคำตรงนั้นอย่างไรจากสคริปต์ ซึ่งก็ต้องพยายามแก้ไข แต่หน้างานจริงอาจมีเวลาน้อย ถ้าดูการทำงานในสตูดิโอข่าว บางข่าวนั้นไปนั่งรออ่านแล้วสคลิปต์ข่าวนั้นยังไม่มาก็มี การเลือกคำอาจใช้การอ้างอิงจากคำพูดของนักวิชาการอื่นที่เคยสัมภาษณ์มา เป็นต้น

คนที่อยู่หน้าจอต้องระวังว่าสิ่งที่พูดมันจะต้องเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่สิ่งที่เราคิด สำหรับข้อเท็จจริงบนเวทีที่เป็นการพูดนั้นเราสามารถเลือกได้ บอกได้ว่าอันนั้นนี้ไม่เอา เพราะมันมีบริบทที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งคำพูดแบบนี้ส่วนใหญ่มันก็จะไม่มีข้อเท็จจริงเท่าไร เพราะเป็นการด่ากัน

การทำข่าวเราก็จะบอกเสมอว่าจะไปขอความคิดเห็นของนักวิชาการบางท่านก็เป็นที่รับรู้ของสาธารณะถึงจุดยืนทางการเมือง ดังนั้นก็ต้องถ่วงดุลอีกฝ่ายด้วย แต่บางครั้งให้เวลาเท่ากัน อีกฝ่ายพูดได้ดีกว่า ก็กลายเป็นว่าเนื้อข่าวนั้นเอียงไปอีกฝ่าย สิ่งนี้จึงเป็นความท้าทายของการทำข่าวเช่นกัน

การวิเคราะห์กึ่งสีเทา และการเสพสื่อแบบปรุงสำเร็จรูป

ชัยรัตน์ กล่าวว่า ในการควบคุมคุณภาพของสื่อจะยากขึ้นหลังมีทีวีติจิตอล สำหรับประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาอย่างตอนไปที่อเมริกาเวลาที่คนละขั้วมาเจอกันบนถนนเขาด่ากันแรงมาก แต่ด่าเสร็จเขาก็เดินจากไป การยั่วยุในอเมริกาก็มีอยู่เยอะ แต่ก็ไม่มีการนำไปสู่ความรุนแรง

คนดูอยากให้ทำรายการแบบวิเคราะห์ ตนก็บอกว่าตนไม่มีความรู้ ก็ถูกบีบว่าให้ต้องวิเคราะห์ แต่การวิเคราะห์มันเป็นกึ่งสีเทาที่บางครั้งคุณก็ไม่ได้อยู่นเหตุการณ์ มันมีการเรียกร้องมากเยอะ ก็คิดอยู่ว่าการที่เราเสนอข้อมูลไปแล้วคนดูนำไปวิเคราะห์ได้หรือเปล่า หรือต้องการให้ปรุงสำเร็จรูปให้เสร็จเลยหรือ 

สุชาดา จักรพิสุทธิ์

ความน่ากลัวของเครื่องกรองคำของนักข่าว

สุชาดา จักรพิสุทธิ์ กล่าว่า ที่น่ากลัวคือการกลั่นกรองคำของนักข่าวนั้นมาจากวิธีคิดชุดไหน เพราะนักข่าวจำนวนมากคิดว่ากำลังเสนอข้อเท็จจริง ความจริงข้อเท็จจริงมีเป็นจำนวนมาก แต่อะไรที่เราหยิบเอามานั้นก็อาจมีผลมาจากการเลือกข้างด้วย ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือสื่อที่พยายามรายงานข้อเท็จจริง พยายามตอกย้ำความเป็นหมาเฝ้าบ้าน แต่เนื้อแท้ไม่มีดุลยพินิจที่กว้างพอที่จะหยิบข้อเท็จจริงมานำเสนอ การเลือกที่จะสัมภาษณ์ใครนั้น ความจริงก็ไม่เพียงพอ และสื่อก็มักมีคนที่ให้ข่าวซ้ำๆ

การชี้นำคนอ่านที่เป็นการผลิตซ้ำก็มีมาก สิ่งพบขณะนี้คือมีปัญหาสร้างผีตนหนึ่งที่เรียกว่า "นายใหญ่" ทำให้ทั้งหมดได้ทวีความเกลียดชัง ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เขาเขียนมามันจึงไม่ใช่เพียงภาษาของการรายงานข่าวเท่านั้น มันสะท้อนวิธีคิดที่แม้ตัวนักข่าวก็ไม่รู้ตัว

ไม่สามารถตั้งคำถามไปมากว่าตาดูหูฟัง

สุชาดา กล่าวว่า ปัญหาแวดวงในองค์กรสื่อเอง อย่างเช่นกรณีการระบุชื่อสามีนายกฯ ผิดในข่าว ซึ่งเป็นผลมาจากการพูดเล่นกันในองค์กร แล้วเอาไปเขียนโดยเข้าใจว่าเป็นความจริง สิ่งนี้สะท้อนบรรยากาศภายในกองบรรณาธิการข่าวที่ช่วยกันบ่มความเกลียดชัง อคติ และตัวนักข่าวมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นสื่อที่ไม่สามารถตั้งคำถามไปมากว่าตาดูหูฟังแล้วก็หยิบเอาข้อเท็จจริงเท่าที่ตาดูหูฟังมาเสนอ จึงเป็นความจริงครึ่งๆ กลางๆ และที่ร้ายกว่านั้นคือ ความจริงที่ถูกนำเสนอนั้นก็ถูกบิดไปตามทัศนะของตนเองอีก

ความเป็นจริงนั้นการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมที่หลากหลาย ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมที่สื่อเป็นธุรกิจประกอบการ หรือแม้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งไม่ใช่แค่ไปนั่งในตำแหน่งสำคัญๆ ต่างๆ ปัจจุบันอาจไม่ใช่แค่เม็ดเงิน แต่เป็นเรื่องอุมดการณ์เดียวกัน แค่นี้ก็เห็นว่าสื่อบ้านเราอาจจะสอบตก แค่เรื่องไม่เลือกข้างก็แทบจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ดังนั้นเป็นการยากที่จะมีสื่อที่จะมีดุลยพินิจที่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อเท็จจริงชุดไหนควรนำเสนอ ซึ่งพาดโยงไปที่ระบบการศึกษาทั้งหมดที่ผลิตคนไปทำงานสื่อแล้วไม่สามารถคิดอะไรไปนอกเหนือที่แหล่งข่าวพูด ไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้ว่าถ้าเสนอไปจะเป็นผลลบ ทำตัวเองเป็นแค่กระจก ดังนั้นสื่อจึงนำสู่โศกนาฎกรรมจริงๆ ตั้งแต่ 6 ตุลา 19 นักศึกษาจำนวนมากต้องออกจากบ้าน มีคนจำนวนมากที่ถูกกระทำจากสื่อที่บิดเบือนข่าวสารกิจกรรมของนักศึกษาจนทำให้เกิดความรุนแรง

การศึกษาหลอมสื่อให้มีอุดมคติที่ตายตัว

สุชาดา ตั้งคำถามว่าอะไรที่ทำให้สื่อเกลียดทักษิณ ก็ต้องโทษการศึกษาที่มีอุดมคติที่ตายตัว เมื่อเกิดการปะทะมาของชนชั้นล่างที่ต้องการมากกว่าที่เป็นอยู่ในอุดมคติหลักของรัฐ ก็ถูกมองว่าเป็นพวกคนเลวที่ไม่ยอมรับอุดมคติเหล่านั้น สำหรับองค์กรสื่อที่เลือกข้างไปแล้วก็ไม่เท่าไร แต่องค์กรที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีวิธีคิดที่ตายตัวอยู่แล้ว แต่กลับคิดว่าตัวเองทำสิ่งที่ถูกต้องแล้วก็นำความไม่รู้และการไม่ตระหนักถึงบางสิ่งบางอย่าง(ignorant)เช่นกัน

การปราบปรามเชิงวัฒนธรรม

สุชาดา กล่าวว่า สื่อนอกจากเป็นตัวแสดงแล้ว มันยังเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นทางการเมือง(Active Citizen)ด้วย นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ที่สมาคมวิชาชีพของสื่อพยายามทำให้สื่อรู้สึกดีกับภาคธุรกิจ มีการจัดอบรมร่วมกัน สิ่งนี้เป็นการปราบปรามเชิงวัฒนธรรมที่เนียนและลึกที่สุด สุดท้ายสื่อก็รู้สึกดีกับชนชั้นนำเหล่านั้น เพราะมันรู้สึกดีกับเขาไปแล้ว เชื่อไปแล้วว่าเขาดีส่งผลให้มันอยู่ในชุดความคิดเดียวกัน

นักเขียนข่าว, และการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม (Third-party)

สุชาดา กล่าวด้วยว่า สื่อไม่มีระบบพัฒนาศักยภาพ ทำให้สื่อกลายเป็นเพียงนักเขียนข่าว ยึดอาชีพนี้เป็นนักเทคนิค ยุคก่อนนั้นวารสารศาสตร์เป็นการเรียนศาตร์แห่งการอ่านโลก ทำให้อ่านสถานการณ์ออก แต่ตอนหลังเป็นการเรียนในเชิงเทคนิคหมด

สถาบันสื่อไม่ได้ลอยอยู่กลางอากาศ คนทำงานสื่อเป็นผลผลิตของการศึกษา พอเข้าสู้วิชาชีพก็ไม่มีระบบการพัฒนาก่อน แต่กระโดดเข้าสนามข่าว ทำให้ไม่สามารถวิพากษ์ปรากฏการณ์ได้ เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงสื่อสันติภาพนั้นเราจะพูดเพียงสื่อไม่ได้ ต้องไปถึงระบบการศึกษา องค์กรต่างๆ ภาคประชาสังคมที่จะตรวจสอบสื่อ สื่อควรเป็นพื้นที่ตรงกลาง เพราะความรุนแรงมันจะเกิดขึ้นแน่ถ้าไม่มีพื้นที่ตรงกลาง

สื่อมักพูดถึงการควบคุมกันเอง แต่มันยังขาดบุคคลที่สาม (Third-party) คือผู้บริโภคสื่อ ซึ่งสถาบันสื่อที่ไม่คิดเรื่องนี้ คิดว่าตัวเองควบคุมได้ ดังนั้นต้องไปไกลกว่าการคุบคุมตัวเองหรือกันเอง แต่ต้องเปิดโอกาสให้ส่วนอื่นเข้ามาควบคุม 

ประจักษ์ ก้องกีรติ

กรณีรวันดา 

ประจักษ์ ก้องกีรติ กล่าวว่าเรื่องความรุนแรงทางการเมืองนั้นนักวิชาการจะพูดถึงสื่อมาก เพราะมันเป็นได้ยากมากที่จะพิจารณาความรุนแรงโดยไม่ดูบทบาทของสือ กรณีคลาสสิคคือกรณีรวันดา ที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่มากที่สุดหลังกรณีฮอโลคอสต์(สมัยฮิตเลอร์) จากการณีที่ชาวตุดซีในรวันดาที่เป็นคนส่วนน้อยถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยรัฐและชาวฮูตู อาวุธที่ใช้ฆ่านั้นโบราณเช่นใช้มีดพร้าของเกษตรกร โดยนักวิชาการพยายามไปค้นคว้าว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้พบว่าสื่อมีบทบาทสำคัญมาก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฆ่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าสื่อเป็นสาเหตุเดียวที่นำไปสู่ความรุนแรงทั้งหมด โดยกรณีสื่อไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรง แต่ทำหน้าที่ 3 ประการ

1.     แพร่กระจายถ้อยคำ เพลงปลุกใจ สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการสร้างความรุนแรง

1.1.         ไปลดทอนความเป็นมนุษย์หรือทำให้มีความเป็นคนไม่เท่าเรา เช่น 6 ตุลา 19 มีการบอกว่าฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป

1.2.         ไปปลุกปั่นให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นยักษ์เป็นมาร เป็นคนที่น่ากลัวกว่าความเป็นจริง สร้างปีศาจ ซึ่งในสังคมไทยนั้นกระบวนการนี้สร้างขึ้นมามาก

ทั้ง 2 กระบวนการนี้ทำให้สร้างวาทกรรมที่จะไปกำจัดอีกฝ่ายก่อนเพื่อนความปลอดภัย เช่น สมัยนั้นมีการปลุกระดมว่าชาวตุดซี่จะฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวฮูตู

2.     สื่อทำหน้าที่ประสานงานนักการเมืองหัวรุนแรง ประกาศชี้เป้าว่าขณะนั้นแกนนำคนสำคัญของตุดซี่อยู่ตรงไหน เพื่อให้ชาวฮูตูไปฆ่า และรายงานวิจัยก็พบว่าหลังประกาศไม่นานก็ถูกฆ่า ดังนั้นมีความชัดเจนว่าคนฟังสื่อแล้วไปที่เกิดเหตุ  ดังนั้นเป็นเหตุให้ในศาลอาญาระหว่างประเทศนำเจ้าของสถานีวิทยุจึงถูกพิพากษาว่าผิดด้วย ถือว่าคุณมีผลในการปกป้องได้

3.     ชี้นำสาธารณะให้เห็นว่าความรุนแรงเท่านั้นเป็นทางออกและจำกัดทางเลือกสันติวิธีออกไป

ในสังคมไทย สื่อควรทำหน้าที่เป็นองค์กรที่มีสติมากที่สุด สื่อควรเป็นสติของสังคม ให้ทางเลือกที่หลากหลาย ให้ความเห็นที่รอบด้านในสังคม แต่สื่อไม่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้กลับไปทำหน้าที่เป็นผู้เล่นในการเมือง

สื่อในฐานะตัวละครทางการเมือง

ประจักษ์ กล่าวว่าเวลาเราพูดถึงตัวละครทางการเมือง สื่อมักถูกละเลย ช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาจะสอนโดยละเลยสื่อไม่ได้ เพราะสื่อเป็นตัวละครในการเมืองแล้ว ตอนนี้สื่อทั้งองค์กรหลายองค์กรเลือกที่จะเป็นผู้เล่น เขียนบทลงไปในสนามเป็นกองเชียร์ และเอาสื่อทั้งหมดไปรับใช้เป้าหมายทางการเมืองตรงนั้นซึ่งอันตรายมาก ข้อมูลมันถูกสกีนออก เช่น เห็นว่าภาพข่าวอันไหนที่จะไปทำให้ขบวนการนั้นอ่อนลงก็ถูกตัอออก ดังนั้นแทนที่สื่อจะไปถอดชนวนความรุนแรงกลับไปเติมความรุนแรง สื่อกำลังข้ามเส้นบทบาทตัวเอง นอกจากสื่อแล้วก็มีตุลาการด้วย

การเมืองสีเทาในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่พระเอกผู้ร้ายแบบลิเก

จริงๆ แล้วการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นสีเทา ถ้าเราอยู่ในระบอบเผด็จการนั้นการเมืองมันขาวดำ สื่อเลือกข้างได้ ในการที่จะตรวจสอบรัฐบาล ในการอยู่ข้างประชาธิปไตย แต่เมื่อมายุคประชาธิปไตยปัจจุบัน มันเป็นการต่อสู้บนผลประโยชน์และอุดมการณ์ที่หลากหลาย สื่อต้องมองว่าการเมืองมันเป็นสีเทา ไม่มีอะไรถูก 100% หรือ ผิด  100% การเมืองมันไม่ใช่พระเอกผู้ร้ายแบบลิเกที่ไม่เห็นมิติของความซับซ้อน ที่มันต่อสู้มานี้ไม่มีใครเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย 100% แต่สิ่งที่สื่อควรยึดคือการสร้างบรรยากาศจรรโลงประชาธิปไตยไว้ จะเลือกข้างมีอคติได้ มันเป็นธรรมดาที่จะไม่สามารรถตัดได้ แต่อย่างน้อยสื่อไม่ควรไปเลือกข้างจนไปทำลายระบอบประชาธิปไตย โดยไม่เลือกวิธีการที่จะเชียร์ในการกำจัดฝ่ายตรงข้าม เพราะถ้าไม่เลือกวิธีการแล้ว เมื่อฝ่ายที่เชียร์ชนะแล้วอีกฝ่ายก็คิดว่าเขาไม่เคารพกติกาได้เช่นกัน

จนกระทั่งทุกฝ่ายเหลืออาวุธเดียวกันคือ กำลัง

ประจักษ์ ตั้งคำถามว่าสังคมไทยจะไปถึงรวันดาไหม ก่อนหน้านี้คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เป็นไปแบบรวันดา แต่ถามวันนี้ชักไม่แน่ใจ เพราะกระบวนการสร้างของสื่อมันไปไกลแล้ว มันรอเพียงน้ำผึ้งหยดเดียว และกติกาก็เริ่มถูกทำลายแล้ว กระทั่งศาลก็ทำอะไรที่นักกฏหมายหลายคนออกมาตั้งคำถามแล้ว สถานการณ์อาจเดินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งที่ทุกฝ่ายเหลืออาวุธเดียวกันคือกำลัง

ต้องตั้งคำถามกับสิ่งที่เชื่ออยู่ ไม่ใช่ตอกย้ำมัน

ประจักษ์ กล่าวด้วยว่าคนที่ทำสื่อก็มาจากหลากหลายสาขา รัฐศาสตร์ก็ไปเป็นสื่อมากเพราะมีความคิดว่าจะสร้าง impact ได้ แต่ภายใต้ความคิดแบบนี้ก็มีปัญหาอยู่เช่นกัน จากการมีคำตอบไว้ในใจอยู่แล้ว สำหรับในทางรัฐศาสตร์เวลาพูดถึงการสื่อสารเราจะพูดถึงการสื่อสารทางการเมืองที่มากว่าองค์กรสื่อ แต่ยังรวมถึงพรรคการคเมือง กลุ่มเคลื่อนไหว นักวิชากากร ก็ทำหน้าที่สื่อสารเช่นกัน ในโลกสมัยใหม่ทุกคนก็ทำหน้าที่เป็นสื่อด้วย รวมทั้งโพสต์ความเห็น ทัศนคติ มันแพร่หลายมาก ไฮสปีดอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียก็เป็นช่องทางทั้งในการสร้าความเข้าใจและอคติมากขึ้นด้วย

หน้าที่ของการศึกษามันควรจะเป็นว่าเมื่อเข้ามาเรียนแล้วถึงจุดหนึ่งคือ ตั้งคำถามกับสิ่งที่เชื่ออยู่ ไม่ใช่ตอกย้ำความเชื่อเดิม เพราะอย่างนั้นไม่ต้องมาเรียนแล้ว อ่านหนังสือพิมพ์อยู่บ้านก็ได้ และตอนนี้เราอ่านหนังสือพิมพ์ก็เพื่อตอกย้ำความเชื่อเดิมที่เราเชื่อ สื่อก็ยิ่งทำหน้าที่ตรงนี้ ตอนนี้ถ้ามองกว้างๆ สื่ออาจมีความหลากหลาย แต่เมื่อเข้าไปดูในองค์กรสื่อหนึ่งก็พบว่าไม่มีความหลากหลาย พบปรากฏการณ์ที่ทุกองค์กรสื่อลดทอนความหลากหลายออก จนกระทั่งช่องเอเชียอัพเดทก็มีการถอดรายการของ บก.ลายจุด รายการคุณณัฐวุฒิ ฯลฯ ที่มีความคิดต่างจากพรรคเพื่อไทยไป ซึ่งอันนี้เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สุเทพ’ลั่นเปลี่ยนแปลงประเทศ “ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง”

Posted: 23 Nov 2013 07:30 PM PST

สุเทพ เทือกสุบรรณ ขึ้นกล่าวปราศรัยเวที คปท. แยกนางเลิ้ง ประกาศปณิธานขจัดระบอบทักษิณ เปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย ให้เป็นประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 23 พ.ย.2556 สุเทพ เทือกสุบรรณ ขึ้นกล่าวปราศรัย เวทีเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ที่สี่แยกนางเลิ้ง ว่า "พี่น้องผู้รักชาติรักแผ่นดินที่เคารพทุกท่านครับ เกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง มีครั้งนี้ที่เราจะได้เสียสละทุ่มเทเพื่อประเทศไทยและอนาคตของลูกหลานไทยทุกคน ผมปลื้มใจและภาคภูมิใจเป็นที่สุดที่ได้ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้เพื่อประเทศไทยร่วมกับมวลมหาประชาชนและบรรดาแกนนำของทุนกลุ่มทุกองค์กรครับ"

สุเทพ กล่าวอีกว่า"ผมขอให้คำมั่นสัญญาแทนเพื่อนๆผู้เป็นคณะกรรมการแกนนำที่ราชดำเนินว่าพวกเราจะยืนหยัดต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านจนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชนครับ และขอกราบเรียนยืนยันกับพี่น้องทั้งหลายว่าการต่อสู้ของพวกเราครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เราผนึกหัวใจสู้เพื่อประชาชนคนไทยและแผ่นดินไทยครับพี่น้องครับ"

"ข้อที่ 1 เราต้องร่วมใจกันขจัดระบอบทักษิณให้สิ้นซากพ้นแผ่นดินไทย และข้อที่ 2 เราจะหลอมหัวในด้วยกันเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย ให้เป็นประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง นั่นคือปณิธานของเราของคนไทยทุกคนที่หลอมดวงใจต่อสู้ในคราวนี้" สุเทพ กล่าวทิ้งท้าย

โดยหลังการปราศรัยของสุเทพ สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว ได้กล่าวว่า "ผมเชื่อเหลือเกินว่าบทปราศรัยของคุณสุเทพสั่นๆ เมื่อตะกี้เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องการได้ยินและได้ฟังมากที่สุด"

 

การปราศรัยของแกนนำโค่นล้มระบอบทักษิณ กปท. และ คปท. บนเวทีย่อยของ คปท. ที่นางเลิ้ง เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2556 โดยการปราศรัยของสุเทพ เทือกสุบรรณเริ่มในช่วงนาทีที่ 2.38 เป็นต้นไป ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น