โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘ปกป้อง จันวิทย์’ เสนอ 4 สร้างพัฒนานักเรียนนักศึกษาไทย

Posted: 27 Nov 2013 12:59 PM PST

ทีดีอาร์ไอเสนอสร้างทักษะแห่งอนาคต ทางเลือกคุณภาพ ระบบข้อมูลและการมีส่วนร่วมพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ 'จาตุรนต์' ฝันอยากมีสถาบันวิจัยพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ชี้สร้างสมดุลส่วนกลางกับโรงเรียนสำคัญ

28 พ.ย.2556 ในงานสัมนาวิชาการประจำปี 2556 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ผศ.ปกป้อง  จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอในหัวข้อ "การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิตภาพ" ซึ่งเป็นหัวข้อที่เป็นองค์ประกอบหลักของ  "โมเดลใหม่ในการพัฒนา : สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ" โดยมี จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมอภิปราย ดังนี้

0000

ปกป้อง จันวิทย์ เริ่มต้นการนำเสนอด้วยการอ้างถึงอ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เคยกล่าวไว้ว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีอยู่ในตนเอง การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียนและจบลงด้วยความสำคัญของนักเรียน นักเรียนนักเรียนไม่จำเป็นต้องเล่าเรียนเพื่อเห็นแก่ครูหรือแก่โรงเรียน ไม่ใช่หมั่นเรียนเพื่อชาติ แต่ทำตัวเองให้เก่งที่สุดในทางที่ตนเองเลือกก็โอเคแล้วครับ

อ.ป๋วย ได้ฝากข้อคิดไว้กับนักเศรษฐศาสตร์และนักวางแผนการพัฒนาด้วยว่า สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ที่ชอบอ้างและวางแผนการศึกษาให้เป็นเนื้อเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ยังเข้าใจไม่ถูก เพราะเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เป็นนักเรียนแต่ละคนมากเพียงพอ ในเรื่องการศึกษานั้นผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นเนื้อเดียวกับผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นเนื้อเดียวกับผลประโยชน์ของประเทศ ถ้านักเรียนมีคุณภาพดี สังคมเศรษฐกิจเราก็จะดีตามไปด้วย เมื่อไหร่ที่เราหลงผิดเห็นประโยชน์ของประชาคมหรือของประเทศเป็นเรื่องแรก คิดถึงตัวนักเรียนน้อยไปเราอาจดำเนินนโยบายที่ผิดทางก็ได้

เราพูดถึงเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ยังยืน เป็นธรรม มีนวัตกรรม สีเขียว สร้างชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคม การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนสังคมไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจใหม่ จึงไม่ควรมองว่าเป็นแค่เครื่องมือในการพัฒนาแรงงานที่เป็นปัจจัยการผลิตหรือมองเศรษฐกิจในเชิงปริมาณเท่านั้น เราไม่จำเป็นต้องผลิตคนเพื่อไปเป็นแรงงานตามสั่งราคาถูกตลอดชีวิต จากโครงสร้างการกระจายผลตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นการศึกษาจึงมีความหมาย คุณค่า และเป้าหมายตัวเอง ไม่ใช่แค่เครื่องมือ การศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนามนุษย์สังคม เป็นหัวใจของการเติบโตในเชิงคุณภาพ

ในงานวิจัยเราเชื่อว่าการศึกษาควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อเสริมความสามารถของนักเรียนให้เขาสามารถบรรลุศักยภาพตามเส้นทางที่แต่ละคนได้เลือกเอง คลายกับที่ อ.ป๋วยได้ว่าไว้ว่าทุกคนควรได้รับการศึกษาตามความสามารถของตนให้สุดความสามารถ เมื่อนักเรียนได้รับการเติมเต็มศักยภาพของตนให้สุดทางที่ตนเองได้เลือกแล้ว คนคุณภาพนั้นก็จะมีผลิตภาพสูงขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความเติบโตอย่างมีคุณภาพ เศรษฐกิจที่มีคุณภาพก็จะตามมา

การเติมเต็มศักยภาพของคนเพื่อเพิ่มผลิตภาพนั้น ต้องอยู่ในงานที่ดีมีค่า งานที่ชอบ ผลตอบแทนที่เป็นธรรม มีโอกาสในการพัฒนาตัวเอง มีเวลาว่างดูแลร่างการและจิตใจของตัวเอง มีทางเลือกและอำนาจต่อรองในตลาดแรงงาน สามารถเปลี่ยนจากลูกจ้างเป็นผู้ประกอบการเสียเองได้

ถ้าโจทย์ของการศึกษาอยู่ที่การเติมเต็มศักยภาพของมนุษย์ เราจำเป็นต้อลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา 4 อย่าง

1.     สร้างทักษะแห่งอนาคต ปฏิรุปหลักสูตรให้นักเรียนสามารถหัดคิดเป็น อ่านเป็น รู้จักโลก รู้จักตัวเอง

2.     สร้างทางเลือกคุณภาพ ปฏิรูปการสอน การพัฒนาครู การพัฒนาโรงเรียน ให้รับผิดชอบต่อนักเรียน ยกระดับอาชีวะศึกษา

3.     สร้างระบบข้อมูล พัฒนาระบบข้อมูล ระบบสื่อสารข้อมูลและระบบแนะแนวที่ดีเป็นพื้นฐานให้นักเรียนตัดสินใจ เลือกอย่างมีคุณภาพ

4.     สร้างการมีส่วนร่วม ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมพัฒนาศักยภาพนักเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้

สร้างคนให้มีทักษะศตวรรษใหม่

ปกป้อง กล่าวว่า ศตวรรษใหม่สร้างความท้าทายให้กับเราโลกเข้าสู่สังคมความรู้ เราไม่จำเป็นต้องท่องจำต่อไป ทักษะที่จำเป็ฯคือทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการเลือกสรรข้อมูล ประมวลข้อมูลข่าวสารที่มีอย่างท่วมท้น คุณ โตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการนิตยสารจีเอ็ม เคยกล่าวไว้ว่า "Google อาจตอบคำถามเราทุกคำถาม แต่ Google ไม่ได้สอนเราว่าจะถามคำถามอะไร" 

เทคโนโลยี่แทนที่งานซ้ำซากจำเจ ทักษะที่สำคัญคือทักษะทีคอมพิวเตอร์ทำแทนไม่ได้ เช่น ทักษะในการคิดในเชิงซับซ้อน การทำงานเป็นทีมและการสื่อสารต้องใช้คนต่อคน โครงสร้างองค์กรเปลี่ยนไปจากแนวดิ่งสู่แนวราบ กระจายอำนาจมากขึ้น เพราะฉะนั้นทักษะที่จำเป็นคือการที่แต่ละคนสามารถคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตลาดแรงงานเชื่อมกันในตลาดโลก การเรียกนรู้แบบเก่าที่ท่องจำยัดเยียดถึงทางตัน ความรู้มีชีวิตแค่ครึ่งเดียว จึงต้องสร้างทักษะในศตวรรษใหม่หรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 

นักเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น เนื้อหาในหลังสูตรมีความสำคัญอยู่ แต่ต้องเรียนรู้ในหลักสูตรที่กระชับ เน้นแนวคิดหลักและคำถามสำคัญ ไม่ยัดเยียด ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่างคิด เนื้อหาเป็นเครื่องมือที่พาไปสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้แต่ละสาขาเพื่อมองเห็นเป็นองค์รวม ออกจากการนั่งฟังบรรยายในห้องเรียนไปสู่การเรียนรู้ด้วยโครงงาน ทำงานเป็นทีม แก้ปัญหาในโลกจริง ทักษะในการเรียนรู้นวัตกรรม ชีวิต การทำงาน ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งหมดเพื่อสร้างเด็กรู้จักคิด รักการเรียนรู้มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม แก้ปัญหาในชีวิตจริงเป็นปรับตัวเก่ง สื่อสารและทำงานกับผู้อื่นได้ดี 

หลักสูตรของไทย

ปกป้อง กล่าวว่า เด็กไทยเราเรียนเยอะแต่รู้น้อย ทำงานไม่เป็น หลักสูตรของไทยยังห่างไกลที่จะสร้างทักษะแห่ง ศ.21 แกนกลางตังชีวัดในหลักสูตรยังสนจแต่เนื้อหา ยังไม่เน้นการสร้างทักษะ และเด็กไทยก็เรียนมากเกินไป เด็กประถมของเราเรียนอย่างต่ำ 1,000 ชม. ต่อปี ถ้าเป็นเด็กมัธยมประมาณ 1,200 ชม. ต่อปี แต่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเด็กประถมเรียน 800 ชม.ต่อปี เด็กมัธยมเรียนประมาณ 900 ชม. ต่อปี เขามีระบบการเรียนที่ดีกว่าไทยมาก หลักสูตรจของไทยก็ไม่กระชับ ไม่ช่างคิดไม่บูรณาการ ต้องมีการประโครงสร้างหลักสูตรให้ยืดหยุ่นขึ้น

งานวิจัยดูทั้งหลักสูตรสายสามัญและอาชีวะ ด้านอาชีวะแม้หลักสูตรใหม่ที่ออกในปีนี้จะเน้นการปฏิบัติจริงมากขึ้น แต่คนเรียนก็ยังรู้เป็นส่วนๆอยู่ ยังเน้นทักษะ ฝึกคนเป็นแรงงานตามสั่งอยู่ ฝึกทักษะเป็นงานๆ คิดว่าเราต้องไปไกลกว่านั้น ให้แรงงานแต่ละคนสามารถก้าวหน้าในชีวิตการงานได้ เข้าใจภาพรวมของอาชีพได้

มีการเปิดให้สถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรมากขึ้น แต่เราก็พบว่ายังเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ค่อนข้างน้อย การจัดการศึกษาด้านอาชีวะที่คำนึงถึงภาคธุรกิจนั้นสำคัญ แต่จะยึดประโยชน์ผู้ประกอบการอย่างเดียวก็ไม่ได้ต้องมีกลไกในการปกป้องไม่ให้นักเรียนไปเป็นแต่แรงงานราคาถูกของภาคธุรกิจ

เราต้องสร้างคุณภาพที่หลากหลายให้เขาได้เลือกด้วย ถ้านักเรียนต้องการเรียนสายอาชีพต้องมีระบบอาชีวะที่ดี ทีดาร์ไอวิจัยระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องมีการทำมาก่อนที่ตนเองจะมาทำ พบว่าการศึกษาไทยมีปัญหาในการสร้างทางเลือกที่มีคุณภาพอยู่มาก ทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ โดยเฉพาะสายอาชีวะยังไม่เป็นทางเลือกที่แท้จริงในการเรียน

ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยเกิดจากอะไร? ไม่ใช่เรื่องเงินเดือนครู เป็นเพราะงบประมาณน้อยเกอนไปไหม ไม่ใช่ครับ งบประมาณกระทรวงศึกษานั้นเพิ่มขึ้น 3 เท่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แต่งบที่สูงขึ้นส่วนมากเป็นงบในเงินเดือนครูอยู่ที่ประมาณ 70% ของงบทั้งหมด

หรือว่าครูเงินเดือนน้อยทำให้การศึกษาไทยไม่มีคุณภาพ เมื่อก่อนอาจจะใช่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่อีกต่อไป เงินเดือนครูถูกปรับขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากแยกบัญชีเงินเดือนครูเมื่อปี 2548 ครูที่จบปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่าอาชีพอื่นอีกต่อไป

ระบบประเมินคุณภาพการศึกษาโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ซึ่งทำมา 3 รอบแล้ว รอบแรกผ่านการประเมินไม่มาก แต่ 12 ปีผ่านไป โรงเรียนไทยมีคุณภาพมากขึ้นจริงไหมต้องตั้งคำถาม เพราะเราผ่านคุณภาพจริงๆหรือเราขาดการประเมินคุณภาพ เพราะเราเล่นเกมส์ในการตกแต่งตัวเลข 

แต่เด็กสอบตกครับ เพราะคะแนนสอบมาตรฐานนานาชาติของเด็กไทยตกลงไม่ว่าจะสอบ TIMMS หรือ PISA เด็กไทยยังทำงานไม่เป็นด้วย ตอนไปสัมภาษณ์ภาคธุรกิจหลายแห่ง แม้เขาต้องการสายอาชีพมาทำงาน แต่เขาก็มรับอาชีวะเพราะแพงกว่าสายสามัญเนื่องจากไม่ว่าจะรับแบบไหนก็ต้องเทรนใหม่อยู่ดี ดังนั้นเอาถูกไว้ก่อน

ใจกลางของปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่การขาดความรับผิดชอบตลอดทั้งกระบวนการการศึกษา

ปกป้อง กล่าวว่า ทั้งหมดจะเห็นว่าปัญระบบการศึกษาไทยไม่ใช่การขาดแคลนทรัพยากรอีกต่อไป แต่เป็นประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร งานวิจัยในช่วง 2 ปีหลัง ทีดีอาร์ไอตีโจทย์เรื่องการศึกษาว่าใจกลางของปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่การขาดความรับผิดชอบตลอดทั้งกระบวนการการศึกษา ถ้าระบบความรับผิดชอบทำงานดีโรงเรียนต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อเด็กและพ่อแม่ เมื่อเด็กมีคะแนนตกต่ำครูในโรงเรียนต้องเดือดร้อนแล้ว เพราะเป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหาไม่เช่นอยู่ไม่ได้

ในไทยระบบความรับผิดชอบสายตรงระหว่างครูกับเด็กนั้นไม่ค่อยทำงาน ความสำเร็จของเด็กไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการประเมินผล เพราะฉะนั้นตัวโครงสร้างของระบบมันทำให้ครูไม่มีแรงจูงใจในการทำเพื่อเด็ก แม้ครูดีๆจะมีมาก แต่ระบบมันไม่เอื้อ เพราะอยากทำเพื่อ ผอ.โรงเรียนมากกว่า ผอ.โรงเรียนก็ไม่ได้ใส่ใจนักเรียนมากเท่ากับเอาใจ ผอ.เขตพื้นที่ ผอ.เขตพื้นที่ก็เอาใจเลขา สพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เลขา สพฐ. ก็เอาใจรัฐมนตรี รัฐมนตรีก็รับผิดชอบต่อนายก แล้วเราก็คาดหวังว่านายกจะรับผิดชอบต่อพ่อแม่ผ่านระบบการเมือง เราจะเห็นสายความรับผิดชอบที่มันยาวมาก และยากเสียจนไม่มีใครเป็นเจ้าภาพที่จะเข้าไปดูแล เวลาที่เกิดปัญหา

เป้าหมายปลายทางต้องสร้างเด็กเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนต้องมีการปฏิรูประบบการออกข้อสอบ ระบบโรงเรียน ระบบครูให้มีคุณภาพเรียนรู้ในโลศตวรรษใหม่ได้ ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบและความมีอิสระในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเบื้อต้นคืออิสระในการเลือกรับครูและเอาครูออก โรงเรียนต่างจังหวัที่ไปสัมภาษณ์ได้แต่ครูพละเพราะรับบการรับครูเป็นระบบที่ครูเลือกโรงเรียน โรงเรียนไม่ได้เลือกรับครู เพราะรับผ่านเขตอีกที นี่ก็เป็นปัญหา ผู้ปกครองเองก็ควรมีสิทธิเลือกโรงเรียน 

การทำธนาคารข้อสอบ

ปกป้อง กล่าวด้วยว่า สำรวจสภาพปัญหา 3 ระบบสำคัญคือระบบการพัฒนาครู ระบบการพัฒนาโรงเรียนและระบบการทดสอบ สำหรับสายสามัญข้อสอบ O-Net ยังเน้นท่องจำ มีปัญหาเรื่องคุณภาพ เรายังไม่มีการทำธนาคารข้อสอบ ไม่มีระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลสอบ ไม่มีการใช้ผลสอบไปประเมินคุณภาพครูและโรงเรียน ส่วนเรื่องการเอาระบบซ้ำชั้นมาใช้นั้นมันมีระบบที่ผสมกันได้ เช่น เด็กตกวิชาใดก็ไปเรียนซ้ำในวิชานั้นได้ ไม่จำเป็นต้องซ้ำทั้งชั้น 

ด้านอาชีวะมี 3 ระบบทดสอบซึ่งยังมีความซ้ำซ้อน การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ ตอนนี้มาตรฐานวิชาชีพนั้นมีแต่สมาคมโรงแรมไทยที่ออกมามาตรฐานมาแล้ว และการสอบมาตรฐานวิชาชีพพึ่งมีผลต่อการเรียนจบเมื่อปี 56 นี้ จากแต่ก่อนใช้ความสมัครใจ 

ระบบการวัดผลนักเรียนทีดีอาร์ไอเสนอให้ O-net ต้องปฏิรูปใหญ่ เปลี่ยนจากข้อสอบแนวท่องจำ เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจ แล้วใช้ผลการสอบเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลงานครู แต่ไม่เน้นการประเมินเพื่อลงโทษ แต่ประเมินเพื่อเน้นการเข้าไปช่วยแก้ปัญหา ถ้าไม่สามารถเปรียบเทียบระดับประเทศได้เราก็ไม่สามารถพัฒนานโยบายได้ ส่วนการทดสอบนักเรียนอาชีวะนั้นต้องลดความซ้ำซ้อน แยกความรู้อันหนึ่ง ด้านทักษะและการปฏิบัติอีกหนึ่ง และให้มีตัวแทนสถานประกอบการหรือวิชาชีพเข้าร่วมทดสอบ ข้อสอบเน้นการแก้ปัญหาจริง

ระบบฝึกอบรมครูนั้นสายสามัญรัฐเป็นผู้ดำเนินการ เป็นคนจัดหาผู้ฝึกอบรมให้ ไม่มีมาตรการอะไรรับรองว่าอบรมแล้วสอนเก่งขึ้นจริงไหม ข้อเสนอของทีดีอาร์ไอในระบบการฝึกอบรมครูคือให้โรงเรียนมีบทบาทหลัก รัฐเพียงกำกับคุณภาพ ประเมินสมรรถนะครูหลังฝึกอบรม เน้นการนำไปปฏิบัติจริง มีชุมชนการเรียนรู้ของครู ให้ครูวิทยฐานะสูงมีบทบาทภาระกิจในการช่วยสร้างครูใหม่ๆ ลดภาระงานของครูโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับงานเอกสาร 

ระบบการประเมินผลงานครู ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในปัจจุบันมีบทบาทไม่มากในการประเมิน การเลื่อนขั้นเงินเดือนและวิทยฐานะครู การเลื่อนขั้นครูไม่คำนึกถึงผลการเรียนของเด็ก น้ำหนังส่วนใหญ่ไปประเมินด้านจริยธรรมการทำงานด้านอื่นๆ อีก 30% เป็นทักษะการสอน การประเมินต่างๆขึ้นอยู่กับ ผอ.และกรรมการที่ ผอ.เป็นคนตั้ง การเลื่อนวิทยฐานะของครูนั้นคะแนนสอบมีสัดส่วนเพียงแค่ 3% ของคะแนนทั้งหมด

ข้อเสนอของเราคือเพิ่มน้ำหนังผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนให้มากขึ้น โดยดูพัฒนาการขอนักเรียนเป็นสำคัญ 

ระบบประเมินสถานศึกษาที่ผ่านมาภาครัฐเป็นพระเอกตลอด ระบบประเมินผู้ประเมินเน้นดูเอกสารทำให้ผู้ถูกประเมินใช้วิธีการตกแต่งเอกสารให้ดูดี แล้วผู้ประเมินก็ไปเขียนเอกสารการประเมินเสนอ ผลการวิจัยก็เห็นว่ามีการตัดแปะจากโรงเรียนหนึ่งไปยังอีกโรงเรียนหนึ่ง มีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนแบบกว้างๆ เป็นนามธรรม เรื่องการประเมินจริยธรรมนั้นจากที่สัมภาษณ์ผู้ประเมินว่าทำอย่างไร ก็ใช้วิธีการไปดูว่าเด็กเข้ามาในโรงเรียนแล้วไหว้หรือไม่ หรือสุทรียศาสตร์นั้นก็ด็ว่าในโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่มีคำว่าสุทรียศาสตร์หรือไม่ และการประเมินก็ให้ผลการเรียนของเด็กน้อยอยู่เพียง 20% เท่านั้น

ทางออกเรื่องนี้ต้องเหลี่ยนจากการเประเมินจากภายนอกที่รัฐเป็นพระเอกให้โรงเรียนเป็นพระเอกแทน สามารถประเมินกระบวนการเรียนการสอนได้ ให้ผู้ปกครองมาร่วมประเมินด้วย รัฐเน้นการทำวิจัยเรื่องระบบการประเมิน และคอยช่วยเหลือโรงเรียนที่มีปัญหา หรือเปนการประเมินเฉพาะเรื่องเช่นการแจกแทปเล็ตไปก็ประเมินเรื่องนี้

การเพิ่มสัดส่วนอาชีวะมากขึ้นนั้นถือเป้นทางออกที่ดี รัฐประเมินว่าต้องการเด็กช่างมาช่วยสร้างชาติประมา 4 แสนคน แต่มีผู้มาเรียนจริง 280,000 คน กระทรวงศึกษามีเป้าหมายที่จะเพิ่ทมจำนวนเด็กอาชีวะให้มากขึ้นในอีก 2 ปีการศึกษาให้สัดส่วนเท่าๆกันระหว่างสายอาชีวะกับสามัญ

สัดส่วนนักเรียนอาชีวะนั้นลดลงเรื่อยๆ คนเรียนอาชีวะน้อยลงในขณะที่มีความต้องการจากภาคธุรกิจ งบตัวหัวที่อาชีวะได้นั้นต่ำกว่าสายสามัญ ทั้งที่มีต้นทุนด้านการศึกษาสูงกว่า งบบุคลาการก็น้อยมาก และมีปัญหาการขาดแคลนครู 10 ปีที่ผ่านมางบครุภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ไม่ได้เพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีเครื่องมือดีจะเรียนอย่างไร ครูอาชีวะขาดแคลนมาก และมีครูอัตราจ้างที่ไม่มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพทำให้จิตใจในการพัฒนาในอาชีพน้อย ต้องทำอย่างไรให้อาชีวะสามารถดึงดูคนมาเรียนได้จริง ต้องเพิ่มเงบประมาณงบอุดหนุน งบครุภัณฑ์ด้านการศึกษา และที่สำคัญต้องเพิ่มครูด้วยจึงสามารถทำให้อาชีวะเป็นทางเลือกได้ 

การสร้างทางเลือกที่มีคุณภาพเราต้องสร้างระบบข้อมูลและรับบแนะแนวที่มีคุณภาพด้วย เพื่อให้เด็กนักเรียนตัดสนใจเลือกได้มีคุณภาพด้วย ระบบการศึกษาไทยขาดระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่มีคุณภาพ งานไม่สอดคล้องกับผู้เรียน ถ้าระบบข้อมูลดีตลาดแรงงานก็จะมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานน้อย ปัจจุบันครูที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดคือครูพละและครูสุขศึกษา 

ระบบแนะแนวนั้นโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ยังใช้ครูในโรงเรียนเป็นครูแนะแนว ต่างจากโรงเรียนในประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้ครูแนะแนวและคนข้างนอก เด็กไทยขาดโอกาสพบคนที่หลากหลาย ระบบข้อมูลและตลาดแรงงานมีปัญหา

ระบบทวิภาคี

ปกป้อง กล่าวว่า การสร้างการมีส่วนร่วม ต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมาร่วมพัฒนาศักยภาพ ระบบทวิภาคี คือระบบความร่วมมือของสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการ พึ่งได้รับการยอมรับเมื่อปี 2551 นี้เอง เรามีมาตราการสถาบันที่มาลงทุนในการศึกษาได้รับการลดหย่อนภาษี แต่เนื่องจากเกิดความยุงยาก ขั้นตอนมาก รวมทั้งครูบางคนก็จะไม่ร่วมเพราะค่าสอนล่วงเวลาจะลดลง ไม่มีการถอดบทเรียน

สรุป แนวทางการปฏิรูประบบการศึกษาควรตั้งไปไปที่สังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมีการกำหนดเป้าหมายให้นักเรียมมีเส้นทางสูงสุดตามศักยภาพที่จะไป ระบบการศึกษานั้นคุณภาพขั้นต่ำของนักเรียนต้องสูง แต่ไม่มีเพดาลที่ที่จำกัดไม่ให้นักเรียนได้บรรลุศักยภาพสูงสุด สร้างทางเลือกคุณภาพ ระบบที่คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

ปกป้อง กล่าวว่า เราต้องสร้างการมีส่วนร่วม เพราะการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงศึกษาเท่านั้น ทุกภาคส่วนต้องมาเข้าร่วมกัน ในปีหน้าทีดีอาร์ไอจะจัดตั้งสถาบันวิจัยการเรียนรู้ขึ้นเพื่อทำงานวิจัยเชิงระบบารเรียนการสอน 

15 ปีที่ผ่านมาเรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ 16 คน ทำงานเฉลี่ยคนละ 10 เดือน สูงสุด 1 ปี 8 เดือน รัฐบาลนี้มีมาแล้ว 4 คน ขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบาย 

 

ฝันตั้งสถาบันวิจัยพัฒนาหลักสูตรการศึกษา

จาตุรนต์  ฉายแสง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อภิปรายข้อเสนอของปกป้อง ด้วยว่า เรื่องหนึ่งทีจะจัดการศึกษาเพื่อให้ความสนใจเรื่องความเป็นมนุษย์การคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งหลักการร่วมมือและแข่งขันในการพัฒนาประเทศ ต้องปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน สอนให้เด็กมีความรู้อย่างเหมาะสมกับโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปข้างหน้า ทั้งนี้ปัญหาการปรับหลักสูตรของประเทศไทยนั้นขาดการวิจัยและพัฒนาพื้นฐานมาก จึงอยากตั้ง สถาบันวิจัยพัฒนาหลักสูตรการศึกษา

ย้ำต้องมีมาตรฐานกลางการประเมิน แม้ให้บทบาทโรงเรียนมากขึ้น

จาตุรนต์ กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เกรด หน่วยกิต ในชั้นประถม มัธยม โดยให้ครูในโรงเรียนเป็นผู้วัดผลนักเรียนมาตั้งแต่ปี 21 ทำให้เราจัดการศึกษาโดยไม่รู้ว่าประเทศนี้ผลการเรียนของนักเรียนที่แท้จริงทั้งประเทศเป็นอย่างไร ภายใต้การวัดผลจากครูที่โรงเรียนนั้น จึงคิดว่าจะมีการวัดการศึกษากลางให้มากขึ้น โดยเฉพาะการสอบวัดผลกลางนั้นต้องมี ซึ่งในหลายประเทศก็ให้น้ำหนักตรงนี้ อย่างไรก็ตามการให้โรงเรียนรับผิดรับชอบมากขึ้นนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมโดยเฉพาะวิธีการเรียนการสอนก็ต้องให้โรเรียนเข้ามาจัดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีมาตรฐานกลาง

สำหรับวิชาภาษาไทยนั้น ถือเป็นตัวอย่างที่ง่ายมากในการประเมิน ที่ผ่านมาการสอนวิชานี้ ครูจำนวนมากให้เด็กจำเป็นคำ สุดท้ายเด็กสะกดไม่เป็น ผลมาจากการที่นักการศึกษายุคหนึ่งเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการจำ จึงไม่เน้นการสะกดคำ นอกจากนี้ผลการปรเมินในส่วนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ผ่านมาพบว่ายังอ่อน แต่ในการประเมินผลมาก็ไม่พบว่าการสื่อสารแลกเปลี่ยนว่าครูจะสื่อสารอย่างไรเพื่อให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้ดีด้วย อีกทั้งการประเมินโรงเรียนก็ไม่ได้ไปส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียนมากเท่าที่ควร เพราะใช้วิธีแก้กรณีวัดผลไม่ได้มาตรฐาน คือแทนที่จะได้ให้เกรดนักเรียน 0 ก็ให้ 1

ส่วนระบบการรับครูนั้นควรมีมาตรฐานกลางในการรับ ไม่ใช่เปิดให้โรงเรียนรับอย่างอิสระ เพื่อทำให้ครูมีคุณภาพ ขณะที่เรื่องความรับผิดรับชอบเรื่องผลสัมฤทธิ้ โดยเฉพาะการใช้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนมาเป็นเงื่อนไขในการเลื่อนขั้นของครูนั้น บางประเทศก็จะเจอปัญหาว่าไม่สามารถแยกว่าเป็นผลของครูคนไหน เพราะเด็กไม่ได้เรียนแค่ครูคนเดียวในรายวิชานั้นๆ เป็นต้น

จาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า แต่โดยทิศทางนั้นก็เห็นด้วยกับข้อเสนอจากทีดีอาร์ไอ และผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลและแนวทางการปฏิบัติในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวง รวมถึงหาแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา พร้อมปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกันและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนการสอน ขณะเดียวกัน ยังเน้นการเพิ่มโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกเพศวัยอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเป็นอีกแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยอันจะนำสู่การสร้างคนให้มีทักษะรองรับการขยายตัวของประเทศในทุกภาคส่วน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเสนอรัฐบาลยุบสภา-ยอมถอย ยุติความขัดแย้งอย่างสันติ

Posted: 27 Nov 2013 11:36 AM PST

ชี้ที่มีการชุมนุมถึงขั้นนี้ ก็เพราะรัฐบาลทำผิดมากในเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง และจนบัดนี้ก็ไม่เคยมีการขอโทษหรือแสดงความรับผิดชอบ พร้อมตำหนิ "แคมเปญยุส่ง" ของ 'สมบัติ บุญงามอนงค์' ชี้คนที่มีโอกาสเลือดตกยางออกไม่ใช่สุเทพ แต่คือคนธรรมดาที่มาร่วม

28 พ.ย. 2556 - เมื่อวานนี้ (27 พ.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์สเตตัสเสนอให้ความขัดแย้งยุติลงอย่างสันติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

000

[1]

"จุดเริมต้น" (premise) หรือ "ฐานคิด" ของผม ในเรื่องต้องพยายามอย่างสุดความสามารถทีจะหาทางให้ความขัดแย้ง ยุติลงอย่างสันติ ซึงในแง่ฝ่ายรัฐบาล อาจจะต้องรวมถึงการ "ถอย" ในบางระดับ เช่น อาจจะถึงเรือง ยุบสภา มี 2 ประเด็นใหญ่ ซึงเท่าทีผมอ่านความเห็นของบรรดาเพื่อนทีเชียร์ รบ. ผมรู้สึกว่า คงไม่ได้มองเรืองนี้นัก (จึงเชียร์ อย่าให้ยอมเด็ดขาด อย่างเรืองยุบสภา ก็เชียร์กันว่า ยอมไม่ได้เด็ดขาด)

1. ถ้ามีการปะทะ ในทีสุด คนทีเจ็บ พิการ ตาย จะเป็นคนระดับธรรมดาๆ (หรือ จนท.ระดับธรรมดาๆ) บรรดาฝ่ายนำ ทั้ง 2 ฝ่าย ในทีสุด จะไม่มีใครเจ็บ ไม่มีการถูกลงโทษ ไม่มีการต้องรับผิดชอบ .. ถึงจุดหนึง พวกเขาจะใช้ ความผิดเรืองนี้ มาต่อรองกันเอง นิรโทษกันเอง .. ประสบการณ์เรือง เหมาเข่ง น่าจะทำให้ทุกคนตระหนักเรืองนี้ ว่า ทักษิณ ทีเป็นฮีโร่ของฝ่าย เชียร์ รบ. (และบรรดา "ฮีโร่" อีกหลายๆ คนในฝ่าย รบ.) พร้อมจะทำเรืองนี้ เต็มที่ ไม่แคร์เลยเรือง คนพิการ คนตาย

2. อันนี้ สำคัญ และผมสังเกตว่า ดูเหมือน เพื่อนๆ ฝ่าย เชียร์ รบ. จะลืม หรือไม่นึกถึงกันไปแล้ว คือ

วิกฤติครั้งนี้ เริ่มต้น มาจากการทำความผิดของรัฐบาลจริงๆ คือการอาศัยเสียงข้างมาก ใช้เสียงข้างมากอย่างผิดๆ ลักไก่ ยัดใส้ แปรญัตติ พรบ. เกินว่าทีเคยรับหลักการ ซึงเป็นความผิดในลักษณะที่ ผิด รธน. เลย (ถ้าใครไม่เชื่อผม ก็กลับไปอ่านแถลงการณ์ นิติราษฎร์ วันที่ 31 ตุลา ก็ได้ เขาก็ยืนยัน พรบ.เหมาเข่ง ผิด รธน.จริงๆ) ไม่ต้องพูดถึงสิ่งทียัดเข้าไป มันคนละเรื่องเลยกับ พรบ.ตอนแรก (คตีต่างๆ ย้อนหลังไปถึงปี 47) และเรือง การทำให้การฆ่าคนกลางเมืองเป็นเรื่อง โมฆะ ไปง่ายๆ เลย

ผมขอให้พวกเราลอง "จินตนาการ" ดูนะ สมมุติ นี่เราไม่ได้กำลังพูดถึงว่า นี่เป็น รบ.ทีเราเชียร์ และมีฝ่ายต่อต้าน ทีอิงกับอำนาจทีตรวจสอบไม่ได้มาเรียกร้อง

เอาเป็นว่า สมมุติว่า ถ้าเรืองนี้ เกิดใน ปท.ยุโรปสักแห่ง (อิตาลี ก็ได้ เป็นต้น) มี รบ.ทำแบบที่ พรรคเพื่อไทยทำ ซึงสร้างความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง มีคนเป็นแสนๆ ออกมา ประท้วง

พวกคุณว่า ความผิดในระดับนี้ วิกฤติทีเกิดขึั้นในระดับนี้ มันสมควร ถึงขั้น อย่างน้อย มีคนรับผิดชอบ เสียตำแหน่ง (รมต ถึงนายกฯ) หรือกระทัง ยุบสภา ให้เลือกตั้งใหม่ไหม?

ผมว่า ถึง นะ

พูดง่ายๆ คือ ถ้าใช้บรรทัดฐานสากลทัวไป ความผิดที่ รบ.เพื่อไทยทำ มันถึงขั้นนั้นจริงๆ (อย่างน้อย ควรยุบสภา ให้ประชาชนตัดสินใหม่)

และความเป็นจริงคือ ในการทำความผิดใหญ่ขนาดนี้ จนถึงวินาทีนี้ เคยมีคนของฝ่าย รบ.สักคน รวมถึง นายกฯ ออกมา "ขอโทษ" ออกมา "ยอมรับผิด" ไหม? ไม่ต้องพูดถึง มีใครแสดงความรับผิดชอบ ต่อความผิดใหญ่นั้นไหม?

มองในแง่นี้ ถ้าการยุบสภา จะทำให้สถานการณ์ยุติ กลับไปเริ่มต้นใหม่ รบ.ต้องเป็นฝ่าย ทีอาจถูกมอง (ท้ังโดยพวกตัวเอง และพวกตรงข้าม) ว่า "แพ้" คือต้องยอมยุบสภา .. ผมก็ว่า เป็นอะไรที่ไมใช่ถึงกับผิดปกติ หรือประหลาดมาก .. เพราะ รบ. ทำผิดในระดับนั้นจริงๆ

อยากให้ลองคิดดูให้ดี 2 ประเด็นที่กล่าวมา

 

000

[2]

ผมโต้แย้งเรืองนี้ไปในหลายคอมเม้นท์ แต่ขอยกมาเขียนเป็นกระทู้ชัดๆ

ที่หลายคนแย้งผมว่า ถ้ายุบสภา หรือ "ยอม" ฝ่ายต่อต้านได้ อีกหน่อย ถ้าฝ่าย รบ. ชนะเลือกเข้ามาอีก ฝ่ายน้ัน ก็ทำอีก

ไม่จริงหรอกครับ ต่อให้คนไม่พอใจ รบ. แพ้เลือกตั้งครั้งใหม่ อยากล้มเลือกตั้งทุกวันตั้งแต่เลือกตั้งเสร็จ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆหรอกครับ การก่อม็อบทีให้คนร่วมได้มาก ขนาดเป็นวิกฤติแบบนี้ มันต้องมี "การเมือง" นำมาก่อน คือต้องมีความผิดหนักๆ ของฝ่าย รบ. นำมาก่อนครับ ไม่งั้น ม็อบ เสธ อ้าย หน้ากากขาว และอีกสารพัด หรือแม้แต่ พันธมิตร และ ปชป เอง ก็คงทำได้ตั้งแต่ปี 54-55 แล้ว

อย่างที่ผมเขียนไปในกระทุ้ข้างล่าง อย่าลืมว่า ที่มี ม็อบในระดับนี้ได้ (ทีมีคนเป็นหมื่น ยึดสถานทีราชการ และโดยทีมีคนอีกมาก "ยอมรับ" หรือกระทังเชียร์ ในความชอบธรรมของการทำเช่นนั้นได้)

มันเพราะ รบ.เอง ทำผิดมากๆ เรื่องเหมาเข่งก่อน

และอย่างทีผมเขียนไป จนบัดนี้ เคยมีการ ขอโทษ ยอมรับผิด หรือมีการแสดงความรับผิดชอบใดๆ ในความผิดหนักอันนั้น (เหมาเข่ง) จากฝ่าย รบ.ไหม? ไมมีเลย

โดยบรรดาฐาน ปชต. ธรรมดาๆ ความผิดระดับที่ว่า อันที่จริง ต้องมีการขอโทษ ยอมรับผิด หรือต้องมีคนออกจากตำแหน่ง หรือ ถ้ามีวิกฤติจากความผิดในลักษณะนี้ ต้องมีการยุบสภา เป็นเรืองธรรมดามากครับ

ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องมีการยุบสภา ก็เพราะ รบ.ทำผิดมากๆ ก่อน และถ้าการยุบสภา จะทำให้เป็นการลงจากวิกฤติอย่างสันติได้ ผมก็ว่า เป็นอะไรทีน่าทำ (ทั้งในแง่การรับผิดชอบต่อความผิด และในแง่การเลี่ยงความรุนแรง)

 

000

โดยก่อนหน้านี้ สมศักดิ์ ได้โพสต์สเตตัสด้วยว่าไม่เห็นด้วยกับแคมเปญ "สุเทพ มาถูกทางแล้ว" ที่สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงเชิญชวน โดยสมศักดิ์ระบุว่า

[3] "ผมเขียนเรื่องการแสวงหาทางออกอย่างสันติ (กรุณาดูกระทู้ติดกันข้างล่าง) เพื่อจะบอกอย่างเป็นรูปธรรมว่า ทำไมในสถานการณ์แบบนี้ ผมจึงไม่อิน กับ - ยกตัวอย่างรูปธรรม - เช่น การรณรงค์ของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ เรื่อง "สุเทพ มาถูกทางแล้ว" (มีคนกดไลค์เป็นพัน และมีคน "ร่วมรณรงค์" เยอะพอสมควร) บอกตรงๆว่า ถ้าเป็นสถานการณ์อื่น อาจจะขำ แต่ตอนนี้ ที่มีความเป็นไปได้ของการปะทะ เลือดตกยางออก ฯลฯ ไม่รู้สึกขำอะไร"

[4] "เมื่อถึงทางตัน หรือหายนะ ในลักษณะนี้ ที่มีคนร่วม "ทางตัน" นั้นเป็นหมื่นๆ ต่อให้เป็นคนที่เราไม่ชอบอย่างไร คนที่มีโอกาสเลือดตกยางออกจะไม่ใช่สุเทพ แต่คือคนธรรมดาๆ เหล่านั้น นี่คือเหตุที่ทำไม ผมไม่ "ยุส่ง" การไปสู่ "ทางตัน" นั้น หรือไม่รู้สึกมีอารมณ์ขันใดๆ กับการ "ยุส่ง" นั้น (ดูกระทู้ติดกันข้างล่าง 2 กระทู้ที่ผมอธิบายเรื่องนี้)"

[5] "พอความขัดแย้งมันพัฒนาไปถึงระดับที่เราเห็นอยู่ขณะนี้ (ชุมนุม ยึดสถานที่ ฯลฯ) ท้้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบรรดากองเชียร์ ทั้งทีเข้าร่วมโดยตรง และที่คอยเชียร์ตามออนไลน์ ก็มีลักษณะที่ รู้สึกว่า จะยอมอีกฝ่ายไม่ได้ จะต้องได้ในส่วนของฝ่ายตัวเองเต็มๆ และจะต้องให้อีกฝ่ายยอมเต็มๆเท่านั้น (ฝ่ายชุมนุม ก็เชียร์ให้ไม่เลิกเด็ดขาด จนกว่าฝ่าย รบ. จะยอม ขณะที่ ฝ่าย รบ. ก็เชียร์ว่า อย่ายอมเด็ดขาด แม้แต่นิดเดียว)"

ต่อจากกระทู้ข้างล่างนะ ที่ผมเขียนว่า พอความขัดแย้งถึงจุดนี้ กองเชียร์ทั้งสองฝ่าย ก็จะถูก "ติดกับ" หรือ "อิน" (caught up) กับสถานการณ์ ในลักษณะที่วา ยังไง ก็จะยอมอีกฝ่ายไม่ได้เด็ดขาด จะไม่ยอมให้อีกฝ่ายได้ "ความพอใจ" ว่า เขา "ชนะ" (แม้แต่นิดเดียว) และเรา "แพ้" แม้แต่นิดเดียว

อย่างเมือ่วาน คุณ Rood Thanarak แค่ลองๆเสนอ เกี่ยวกับการปรับ ครม. หรือการที่ นายกฯ ขอโทษที่พรรคเสนอ พรบ.เหมาเข่ง ก็มีคนเชียร์ รบ. ต่อว่าไม่พอใจ (หาว่า "บ้าไปแล้ว" บ้าง อะไรบ้าง)

(ทีจริง เรือง ขอโทษนี่ ผมกลับมานึกอยู่เหมือนกัน ตอนเกิดเรืองเหมาเข่ง ก็เสนอไป แต่ตอนนี้ กำลังสงสัยว่า จะสายไปในแง่สถานการณ์ แต่ก็ไม่แน่ น่าพิจารณาเหมือนกัน บทความของ ยุกติ ในประชาไท ล่าสุด ก็ยกประเด็นนี้ขึ้นมาเหมือนกันว่า ถ้าตอนแรก นายกฯ ขอโทษ สถานการณ์อาจจะไม่บานปลายให้อีกฝ่ายขนาดนี้ก็ได้)"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมปรับอัตรารับซื้อไฟจากพลังงานชีวภาพ

Posted: 27 Nov 2013 11:14 AM PST

 

27 พ.ย.2556 นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)  กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ สนพ. ทบทวนค่าไฟฟ้าส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน โดยให้ปรับเป็นค่าสนับสนุนเงินตามการลงทุนที่แท้จริง (Feed in Tariff : FIT) ทดแทนระบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ซึ่งจะทำให้ราคาที่กำหนดสะท้อนต้นทุนโรงไฟฟ้าที่แท้จริง และมีการปรับราคาที่เปลี่ยนแปลงตามเชื้อเพลิงชีวมวลที่เหมาะสม เป็นธรรมกับโรงไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะในส่วนของอัตราการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FIT สำหรับโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ที่อยู่ที่ 4.50 บาท/หน่วย ซึ่งยังไม่จูงใจผู้ประกอบการและกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาปลูกหญ้าเนเปียร์มากนักนั้น

จากการทบทวนอัตรารับซื้อไฟฟ้าใหม่ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตก๊าซชีวภาพและการผลิตปุ๋ย และทำการปรับปรุงสมมุติฐานรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยที่ได้จากโครงการ 100% เป็น 25% ของสมมติฐานเดิม เพื่อส่งเสริมให้โรงไฟฟ้านำปุ๋ยที่ผลิตได้แจกจ่ายให้เกษตรกรในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า พบว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้า FIT ของหญ้าเนเปียร์ที่เหมาะสมจากการปรับสมมติฐานดังกล่าวเป็น 4.90 บาท/หน่วย

สำหรับการศึกษาราคาชีวมวลที่เหมาะสมนั้น ทำการส่งเสริมโดยเน้นการผลิตไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กถึงระดับชุมชน โดยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 300 กิโลวัตต์ กลุ่มโรงไฟฟ้าขนาด 300-1000 กิโลวัตต์ กลุ่มโรงไฟฟ้าขนาด 1 - 3 เมกะวัตต์ และกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาด 3- 10 เมกะวัตต์ โดยมีการกำหนดโครงสร้างราคา FIT เป็น 2 ส่วน ได้แก่ อัตรา FIT ส่วนคงที่ ซึ่งจะคิดจากต้นทุนโรงไฟฟ้าโดยตรง และอัตรา FIT ส่วนแปรผัน ซึ่งจะปรับเปลี่ยนได้ตามต้นทุนเชื้อเพลิงชีวมวล โดยได้ศึกษาเชื้อเพลิงในรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ และทำการกำหนดราคาชีวมวลที่เหมาะสม เป็นราคาที่เหมาะสม โดยอัตรารับซื้อไฟฟ้า FIT สำหรับชีวมวล จะอยู่ในช่วง 3.78 ถึง 5.41 บาท/หน่วย

ในส่วนการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้า FIT จากขยะนั้น มุ่งเน้นไปที่ระบบจัดการขยะแบบผสมผสาน โดยประเมินค่าต้นทุนที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ซึ่งสามารถนำระบบดังกล่าวมาผลิตไฟฟ้าโดยเทคโนโลยีทางความร้อนได้เหมือนเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งจากการศึกษาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) โดยการศึกษาจากข้อมูลระบบจัดการขยะแบบผสมผสานของไทย พบว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้า FIT สำหรับขยะ จะอยู่ในช่วง 4.69 - 6.32 บาท/หน่วย

"จากการศึกษาการอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FIT ใหม่นี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานจริง โดยในส่วนอัตราการรับซื้อจากหญ้าเนเปียร์จะมีการปรับเพิ่มจาก 4.50 บาท/หน่วย เป็น 4.90 บาท/หน่วย ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้า FIT สำหรับชีวมวล จะอยู่ในช่วง 3.78 - 5.41 บาท/หน่วย และสำหรับขยะจะอยู่ในช่วง 4.69 - 6.32 บาท/หน่วย ซึ่ง สนพ. จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. เร็วๆ นี้"  ผอ.สนพ. กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรกลางฯ เสนอตั้ง 3 ฝ่ายยุติขัดแย้ง–ระดมความเห็นร่างรธน.ใหม่

Posted: 27 Nov 2013 11:02 AM PST

 

เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2556   มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยออกแถลงการณ์นำเสนอทางออกประเทศไทยในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นระบุให้แต่ละฝ่ายถอยคนละก้าว ตั้งอนุญาโตตุลาการยุติความขัดแย้ง ส่งตัวแทนฝ่ายละคน บวกคนกลางอีกหนึ่งคน ระยะยาวเสนอทำเวทีระดมความเห็นประชาชนทั่วประเทศเสนอไอเดียวปฏิรูปประเทศไทย ทำประชามติพร้อมนำสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผ่านคณะกรรมการร่างรธน.ที่มาจากประชาชน

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้ 

 

ทางออกประเทศไทย

เนื่องด้วยสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะคับขัน และมีแนวโน้มจะนำไปสู่ความรุนแรง ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับซึ่งกันและกันอีกแล้ว จนทำให้การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่ทางตัน  มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยขอเสนอแนวทางออกที่น่าจะเป็นไปได้ของทุกฝ่ายและขอเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองยอมเสียสละเพื่อชาติและประชาชน ด้วยแนวทางที่เป็นทั้งทางออกเฉพาะหน้าและทางออกในระยะยาวซึ่งเป็นข้อเสนอรูปธรรมนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย ดังต่อไปนี้

ทางออกเฉพาะหน้า

1.      ให้ทุกฝ่ายการเมืองที่อยู่ในความขัดแย้งยอมเสียสละ ชะลอบทบาททางการเมืองชั่วขณะ เพื่อหาทางออกให้ประเทศไทยร่วมกัน ก่อนที่จะเกิดการเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย

2.      ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมทุกฝ่าย ถอยคนละก้าว  เลิกพฤติกรรมยั่วยุ 

3.      ให้รัฐบาลยกเลิกพ.ร.บ.ความมั่นคงที่ประกาศบังคับใช้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล  เพื่อให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

4.      ให้หน่วยงานยุติธรรมที่พิจารณาคดีเกี่ยวเนื่องกับการเมือง รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องไปตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม

5.      ให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมือง   โดยฝ่ายรัฐบาลกับผู้ชุมนุมเสนอมาฝ่ายละ 1 คน ซึ่งแต่ละฝ่ายยอมรับได้   และเสนอคนกลางเป็นที่ประจักษ์เข้ามาร่วมอีก 1 คน เพื่อร่วมกันคลี่คลายความขัดแย้ง

 

ทางออกระยะยาว

1.        เสนอให้องค์กรอิสระที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญซึ่งมีภารกิจการมีส่วนร่วมกับประชาชนมีเครือข่ายหรือหน่วยงานในระดับภูมิภาคท้องถิ่นอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง  สภาพัฒนาการเมือง    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย   สภาองค์กรชุมชน  และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  รวมทั้งสถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน   ร่วมกันรับผิดชอบในการจัดเวทีสาธารณะระดมความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยตั้งแต่ฐานรากขึ้นมา  (เวทีในระดับตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ)  ซึ่งคาดว่าจะสามารถสำเร็จได้ในกรอบระยะเวลา   1-2 ปี โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานเหล่านี้ที่มีอยู่แล้ว

2.        แนวทางการปฏิรูปในแต่ละด้านให้ครอบคลุมถึงด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   เมื่อได้รวบรวมความคิดเห็นจนได้ข้อเสนอที่ตกผลึกแล้ว  ให้นำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นพ้องแล้วให้นำข้อเสนอไปสู่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ นำร่างรัฐธรรมนูญสู่การรับฟังความคิดเห็น จนได้รับการยอมรับก่อนนำไปสู่การทำประชามติ  ในแต่ละด้าน

3.        ให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่  โดยอยู่ในกรอบความคิดเห็นที่ผ่านการทำประชามติแล้ว ตามข้อ 2 โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คนให้มาจากประชาชนที่ร่วมในเวที ตามข้อ 1 เลือกกันเองมาเพื่อเป็นผู้แทนในการนำเสนอความคิดเห็นที่ได้จากการระดมสมองในเวทีจังหวัดละ ตั้งแต่ 1 ถึง 18 คน ตามสัดส่วนประชากรในแต่ละจังหวัด

4.        ให้นำร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างตามกรอบความคิดเห็นตามข้อ 2-3   ขอความเห็นชอบจากประชาชน โดยการทำประชามติตามมาตรา9 ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2554

 
 

มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย

 26  พฤศจิกายน  2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กิตติศักดิ์ ปรกติ

Posted: 27 Nov 2013 10:54 AM PST

"ในประเทศใดก็ตามถ้ารัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจของศาล[รัฐธรรมนูญ]แล้วก็เท่ากับรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจของการปกครองโดยกฏหมาย เพราะศาลคือผู้ชี้ว่ากฏหมายมีว่าอย่างไร ปฏิเสธศาลคือปฏิเสธกฏหมาย ผู้ที่ปฏิเสธกฏหมาย คือผู้อยู่นอกกฏหมาย"

27 พ.ย.56, ปราศรัยบนเวทีต้านระบอบทักษิณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ยูเอ็นรับรองมติ สิทธิความเป็นส่วนตัวยุคดิจิตอล

Posted: 27 Nov 2013 09:52 AM PST

27 พ.ย.2556 เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่สาม ของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งดูแลปัญหาด้านสังคม มนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน รับรองมติเรื่อง สิทธิในความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิตอล หลังจากนี้จะมีการลงมติในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 193 ประเทศ ในเดือนหน้า (ธ.ค.)

ร่างดังกล่าวเสนอโดยบราซิลและเยอรมนี และแม้ว่าจะไม่ได้ระบุถึงประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ก็ออกมาหลังมีการเปิดโปงว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ดักฟังโทรศัพท์ของผู้นำบราซิลและเยอรมนี

ร่างข้อมตินี้มีเนื้อหาระบุให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทบทวนกระบวนการ การปฏิบัติ และการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอดแนมการสื่อสาร การดักฟัง และการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงการสอดแนมประชาชน การดักฟัง และการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้มุมมองในการส่งเสริมสิทธิในความเป็นส่วนตัว เพื่อทำให้แน่ใจว่า ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพตามพันธกรณีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 

ร่างดังกล่าวตั้งข้อสังเกตว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเพิ่มความสามารถในการสอดแนม ดักฟัง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยรัฐบาล บริษัทและปัจเจกบุคคล อาจเป็นการฝ่าฝืนและละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในความเป็นส่วนตัว

เดิมร่างนี้มีการระบุถึงความกังวลต่อการฝ่าฝืนและละเมิดสิทธิมนุษยชนอันอาจเกิดจากการสอดแนมประชาชน การดักฟังและการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ในมีการเจรจาต่อรอง เพื่อลดความเข้มข้นของภาษาลง โดยมีสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย เป็นโต้โผ

Katitza Rodriguez ผู้อำนวยการด้านสิทธิระหว่างประเทศของ Electronic Frontier Foundation (EFF) องค์กรระหว่างประเทศซึ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ ระบุผ่านแถลงการณ์ว่า แม้ข้อมติที่ผ่านจะไม่ได้เข้มข้นเท่าต้นฉบับ แต่มันก็มีความหมายและเป็นก้าวที่สำคัญมากต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจก โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นพลเมืองประเทศใด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กิตติศักดิ์ ปรกติ' ขึ้นเวทีต้านระบอบทักษิณ ชี้เป็นรัฐบาลนอกกฎหมายหลังปฏิเสธศาล รธน.

Posted: 27 Nov 2013 09:46 AM PST

กิตติศักดิ์ ปรกติ ปราศรัยจี้รัฐบาลมาสาบานยอมรับอำนาจศาล ชี้เป็นรัฐบาลนอกกฏหมายหลังปฏิเสธอำนาจศาลรธน. พร้อมย้ำประชาชนมีความชอบธรรมในการค้านอย่างสันติ แนะแดงปกป้องปประชาธิปไตยต้องมาร่วมที่ราชดำเนิน

27 พ.ย.2556 เวลา 21.40 น. กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเวทีเครือข่ายต่อต้านระบอบทักษิณ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปราศรัยชี้ปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลและรัฐสภาเสียงข้างมากในการออก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านมา รวมทั้งการปฏิเสธอำนาจและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุการปฏิเสธศาลคือปฏิเสธกฏหมาย ผู้ที่ปฏิเสธกฏหมาย คือผู้อยู่นอกกฏหมาย พร้อมทั้งอธิบายถึงความชอบธรรมของประชาชนที่จะคัดค้านและหลักนิติธรรม เรียกร้องให้รัฐบาลมาสาบานที่ราชดำเนินว่าจะยอมรับอำนาจศาลและกฏหมายรัฐบธรรมนูญ

โดย กิตติศักดิ์ ปราศรัยว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตราไว้อย่างชัดเจนว่าอำนาจอธิปไตยอำนาจปกครองสูงสุดทั้งประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย ท่านคือที่ตั้งแห่งอำนาจอธิปไตยในแผ่นดินนี้แล้ว แต่อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดให้การปกครองประเทศนั้น ไม่ใช่อำนาจอำเภอใจ ไม่ใช่อำนาจที่ปกครองตามใจชอบ แต่เป็นอำนาจปกครองที่ตั้งอยู่ความเป็นธรรม ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม การที่ท่านทั้งหลายอยู่ที่นี้ไม่ใช่เพียงเพื่อแสดงอำนาจแต่เพื่อแสดงคุณธรรมด้วย"

"สาเหตุใหญ่ที่พ่อแม่พี่น้องมาประชุมกันในที่นี้และที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และในต่างประเทศ เริ่มต้นจากการประจักษ์แน่ชัดว่าผู้ที่เรามอบหมายความไว้วางใจไว้คือสภาผู้แทนราษฏร โดยเฉพาะผู้แทนราษฏรเสียงข้างมากนั้นได้ใช้อำนาจไปที่เราให้ความไว้วางใจไปอย่างไม่เป็นธรรมในการตราร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และเป็นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสับปลับ ฉบับล้างผิด ฉบับอยุติธรรมเท่าที่เราเคยเจอมา การที่เรามาที่นี้ก็เพื่อประท้วงมันในเบื้องแรก

แม้ว่าในที่สุดสภาผู้แทนราษฏรเสียงข้างมาก รวมทั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง ได้ให้สัตยาบันว่าหากวุฒิสภาไม่รับรองหลักการ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้แล้วก็จะไม่นำมาพิจารณาอีก นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าเขายอมรับผิด ถึงแม้จะไม่ยอมรับผิดอย่างชัดแจ้งก็ตาม แต่เราก็ยังบอกว่าเรายังไม่ไว้วางใจท่านทั้งหลาย

แต่เหตุการณ์นั้นผ่านไปไม่นาน ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก นั่นคือการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยพิพากษามาแล้วว่าการเสนอร่างรัฐธรรมนูญของสภาฝ่ายเสียงข้างมากนั้น ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม เป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลตัดสินอย่างนี้แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรฝ่ายเสียงข้างมาก รวมทั้งประธานสภา และบรรดาสมาชิกสภาส่วนที่สนับสนุนรัฐบาลอื่นๆ รวมไปถึง รมว.มหาดไทย รมว.แรงงาน แสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ การแสดงเช่นนั้นคือการแสดงออกว่าไม่ยอมรับการปกครองโดยในระบอบประชาธิปไตย ไม่ยอมรับการปกครองโดยกฏหมาย และนี่คือความผิดซ้ำซ้อนของสภาผู้แทนราษฏรในปัจจุบัน"

 

ปวงชนชาวไทยกับพระมหากษัตริย์และการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

"ตำรวจจะดำเนินการกระชับพื้นที่กับพ่อแม่พี่น้องที่ไปชุมนุมที่กระทรวงการคลัง ต้องอ้างเหตุว่าพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ในบริเวณกระทรวงการคลังนั้น กระทำการอันมิชอบด้วยกฏหมาย แต่การอ้างเหตุเช่นนั้นได้ อยากเรียนเสียก่อนว่า เหตุอันมิชอบด้วยกฏหมายนั้นไม่ได้มาจากพี่น้องที่เข้าไปในกระทรวงการคลังก่อน เหตุอันมิชอบด้วยกฏหมายนั้นมาจากรัฐบาลก่อน ที่ว่าไม่ชอบด้วยกฏหมายหมายความว่าอย่างไร บ้านเมืองของเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นั่นหมายความว่าประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขตามรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ม. 3 ของรัฐธรรมนูญ บอกไว้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภาและศาล ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย ปวงชนชาวไทยเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตยนั้น นั่นหมายความว่าปวงชนชาวไทยกับพระมหากษัตริย์และการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เมื่ออำนาจอธิปไตยแบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คืออำนาจนิติบัญญัติ แสดงออกทางรัฐสภา อำนาจบริหารหรือบังคับใช้กฏหมายแสดงออกผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจตัดสินคดีหรืออำนาจตุลาการ แสดงออกโดยศาล เมื่อศาลตามรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดแล้วก็คือการใช้อำนาจอธิปไตยแล้ว เมื่อใช้อำนาจอธิปไตยแล้วก็ต้องยอมรับ รัฐบาลไม่ยอมรับรัฐบาลก็เป็นกบฏต่อระบอบประชาธิปไตย

ข้อแรกที่คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คัดค้านเพราะว่าร่าง พ.ร.บ.นั้น ตราขึ้นโดยขัดรัฐธรรมนูญ คราวนี้ก็คัดค้านรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ยอมรับนับถือศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อตัดสินแล้วย่อมผูกพันองค์กรของรัฐทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล รัฐสภาหรือว่าหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระใดๆ การที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ยอมรับศาลรัฐธรรมนูญก็คือไม่ยอมรับการปกครองโดยกฏหมาย ก็คือไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ก็คือการที่ประชาชนทั้งหลายจะลุกขึ้นคัดค้านรัฐบาลว่ากระทำการมิชอบด้วยกฏหมายได้

และการที่จะใช้สิทธิของประชาชนนั้นเป็นการใช้สิทธิตาม ม.69 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ชัดเจนว่าถ้าหากว่ามีผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพไปในทางที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือเป็นการทำให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ประชาชนมีสิทธิที่จะต่อต้านได้โดยสันติ ขอให้พี่น้องพิจารณาให้ดี คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำพิพากษาตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิทธิในหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษานี้ในรัฐธรรมนูญ ม.27 บัญญัติรับรองไว้ชัดเจนว่าสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ศาลพิพากษาแล้วย่อมผูกพันองค์กรของรัฐ รัฐบาลก็ดี สมาชิกรัฐสภาก็ดีไม่ยอมรับคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญก็เท่ากับไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ นั่นหมายความว่าแสวงหาหรือทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่ไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญ"

 

รัฐบาลนอกรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านได้โดยสันติวิธี

"เมื่อสมาชิกสภาของเรา เมื่อรัฐบาลของเรา แสดงออกว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่ารัฐบาลแสดงออกว่าไม่ยอมรับการปกครองโดยกฏหมายเป็นใหญ่ และการอยู่ในอำนาจ อ้างอำนาจหรืออ้างความชอบธรรม ก็คือการทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แล้วเมื่อสั่งตำรวจให้ออกไปทำการจับหรือทำร้ายประชาชนโดยเหตที่ประชาชนเขาทำการต่อต้านโดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยสันติวิธีแล้ว การกระทำเช่นนั้นก็ขัดกับรัฐธรรมนูญอีกชั้นหนึ่งแล้ว

ความผิดของรัฐบาล ความผิดของสมาชิกสภาผู้แทนฯเสียงข้างมาก จึงเป็นความผิด 2 ชั้น คือ 1. ละเมิดรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่คราวที่เสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม  2. เมื่อศาลมีคำวินิจฉัย เมื่อประชาชนใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของให้ศาลมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็กลับเพิกเฉยกลับปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรม นั่นหมายความว่าเขาเป็นรัฐบาลนอกรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านได้โดยสันติวิธี

สิทธิอันนี้ได้ใช้แล้ว ได้แสดงออกแล้ว โดยพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายที่ได้มาชุมนุมในที่นี้ สิทธิอันนี้ได้แสดงออกแล้วด้วยการแสดงออกไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลในต่างจังหวัด ถึงขนาดเข้ายึดเอาสถานที่ราชการ แต่ถ้าหากพ่อมี่น้องเหล่านั้น ไปยึดเอาสถานที่ราชการเพื่อที่จะเรียกร้องให้ผู้ว่าฯ เพื่อเรียกร้องให้หัวหน้าส่วนราชการเหล่านั้นยืนยันให้แน่ชัดว่าจะรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จะยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างนี้ก็เป็นการกระทำโดยชอบ

ถ้าการกระทำเหล่านั้นเป็นการกระทำเพื่อโต้แย้งคัดค้านรัฐบาลที่ทำการอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ประชาชนทำการได้โดยสันติวิธี ตราบใดก็ตามไม่ใช้กำลังประทุษร้าย ตราบใดก็ตามไม่ใช้อาวุธข่มขู่ ขู่เข็ญว่าหากไม่จะยอมแล้วจะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างการหรือก้ทรัพย์สินเป็นสิทธิตาม ม.69 ของรัฐธรรมนูญในอันที่จะคัดค้านการทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ"

 

ปฏิเสธศาลคือปฏิเสธกฏหมาย ผู้ที่ปฏิเสธกฏหมาย คือผู้อยู่นอกกฏหมาย

"การที่พ่อแม่พี่น้องมาชุมนุมที่นี้เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงค์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง เรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับอำนาจยอมรับความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ ในประเทศใดก็ตามถ้ารัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจของศาลแล้วก็เท่ากับรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจของการปกครองโดยกฏหมาย เพราะศาลคือผู้ชี้ว่ากฏหมายมีว่าอย่างไร ปฏิเสธศาลคือปฏิเสธกฏหมาย ผู้ที่ปฏิเสธกฏหมาย คือผู้อยู่นอกกฏหมาย"

 

ให้รัฐบาลมาสาบานที่ราชดำเนิน ยอมรับอำนาจศาลและกฎหมาย

"เมื่อรัฐบาลก็ดี สมาชิกสภาผู้แทนฯ ก็ดี ประพฤติตนเป็นพวกนอกกฏหมาย ประชาชนก็ย่อมใช้อำนาจอธิปไตยบังคับให้เขาเหล่านั้น ยอมก้มหัวให้แก่กฎหมายได้ สิ่งที่พ่อแม่พี่น้องควรจะเรียกร้องคือ หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมตรี รัฐมนตรีทั้งหลายควรรีบมาสาบานที่ราชดำเนินแห่งนี้ สาบานว่าจะยอมรับอำนาจ สาบานว่าจะปฏิบัติตามกฏหมาย สาบานว่าจะไม่เลี่ยงกฏหมาย สาบานว่าจะไม่หาทางหลบเลี่ยงหรือทำผิดกฏหมายอย่างอื่นอีกต่อไป บางทีประชาชนอาจพอให้อภัยได้

การแสดงออกด้วยการไปพบปะเพื่อนประชาชนชาวไทยและการไปแสดงออกต่อข้าราชการตามกระทรวงทบวงกรมเหล่านั้น ในสายตาผมย่อมเป็นการเรียกร้องให้เขามองเป็นว่าเขากำลังปฏิบัติหน้าที่ภายใต้รัฐบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายแล้ว ย่อมเป็นการชอบธรรมที่จะเรียกร้องให้ส่วนราชการเหล่านั้นมาช่วยกันยืนยันมาช่วยกันแสดงออกว่าเราจะปฏิบัติตามกฏหมาย เราจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เราจะยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

ถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรักษากฏหมายสิ่งแรกที่ ผบ.ตร. จะต้องเร่งรีบกระทำคือรายงานตัวต่อนายกฯ รองนายก แล้วว่าผมจะปฏิบัติตามคำสั่งของท่านก็ต่อเมื่อท่านจะปฏิญาณตนเสียก่อนว่าจะยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นผมต้องจับท่านมาดำเนินคดีด้วย

ส่วนประชาชนที่ประท้วงโดยสันติ แสดงออกซึ่งเจตจำนง แสดงออกซึ่งความต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลให้มายอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการกระทำโดยชอบเป็นการเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลซึ่งประพฤติตนนอกกฏหมายโดยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ กลับมาอยู่ในรัฐธรรมนูญเสีย พ่อแม่พี่น้องที่นั่งอยู่ที่นี้และที่อื่นๆ ถ้าอยู่ภายใต้เจตนารมณ์อันนี้นั่นเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะตามรัฐธรรมนูญ ม. 69 บอกไว้ชัดเจนว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ การที่ท่านทั้งหลายออกมาคัดค้านรัฐบาลที่ปฏิเสธอำนาจศาลจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกประการ เราต้องทำความคิดเห็นนี้ให้แจ้งชัดอยู่เสมอ"

 

เสื้อแดงจะปกป้องประชาธิปไตยต้องมาที่ราชดำเนิน

"เวลานี้พี่น้องเสื้อแดงก็เรียกร้องให้มาร่วมชุมนุมที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ข้อเรียกของเขาคือเรียกร้องให้มาปกป้องระบอบประชาธิปไตย เราต้องบอกพี่น้องเสื้อแดงว่าถ้าจะช่วยกันปกป้องระบอบประชาธิปไตย คือปกป้องไม่ให้รัฐบาลนอกกฏหมายมีอำนาจต่อไป ต้องมาร่วมกันที่ราชดำเนิน

กระบวนการที่จะปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ได้ขยายตัวออกไป นอกจาก รมว.สำคัญในรัฐบาล นอกจากส.ส. แล้ว มีการเผยแพร่ออกไปยังพี่น้องเสื้อแดงในทำนองว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ที่ละเมิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ"

 

สาระสำคัญของหลักนิติธรรม คือศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่ากฏหมายมีว่าอย่างไร

"เราต้องมาทำความเข้าใจว่าหลักการปกครองโดยกฏหมายหรือที่เรียกว่าหลักนิติธรรมนั้น สาระสำคัญของมันคืออะไร หลักนิติธรรมคือหลักการปกครองโดยถือกฏหมายเป็นใหญ่ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ กฏหมายต้องเป็นกฏหมาย และทุกคนเสมอภาคกันต่อหน้ากฏหมาย และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่ากฏหมายมีว่าอย่างไร ที่เป็นอย่างนี้เพราะหลักการง่ายๆ คือ สภาเป็นผู้บัญญัติกฏหมาย รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับการตามกฏหมาย ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่ากฏหมายนั้นมีเนื้อหาว่าอย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อศาลวินิจฉัยแล้วก็ต้องจบที่ศาล การไม่ยอมรับอำนาจศาลก็คือไม่ยอมรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ยอมรับหลักนิติธรรมอันเป็นสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตย พ่อแม่พี่น้องต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องเสื้อแดง รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ยังไม่เข้าใจและมีข้อสงสัย"

 

หลักการปกครองโดยกฏหมายต้องมีหลักการแบ่งแยกอำนาจ

"เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลเป็นคนบอกว่ากฏหมายว่าอย่างไร อย่างที่รัฐบาลอ้างอยู่ขณะนี้ หรือสภาออกกฏหมายอย่างไรก็ได้แล้วรัฐสภาเป็นผู้ตัดสินเสียเอง อย่างนี้ไม่ใช่หลักนิติธรรมไม่ใช่หลักการปกครองโดยกฏหมาย หลักการปกครองโดยกฏหมายต้องมีหลักการแบ่งแยกอำนาจ รัฐบาลเป็นผู้บังคับใช้กฏหมาย รัฐสภาเป็นผู้ตรากฏหมาย ตรากฏหมายแล้วคนที่มีอำนาจตัดสินคือศาล เพราะถ้าหากว่าเราปล่อยให้รัฐบาลเป็นคนตัดสินทุกเรื่อง รัฐสภาตัดสินทุกเรื่อง เมื่อนั้นก็จะเท่ากับว่าปล่อยให้อำนาจปกครองอยู่ในอำเภอใจอยู่ในความพอใจของคนบางกลุ่มเท่านั้น สิ่งนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิที่จะตัดสินว่า อันนี้ไม่ใช่อำนาจของศาล ศาลเท่านั้นที่จะตัดสินว่าอันนี้อยู่ในอำนาจของศาลหรือไม่"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนโคกหินขาวร่วมนักศึกษาดาวดิน ร้องผังเมืองสีเขียวบน ‘ห้วยเสือเต้น’

Posted: 27 Nov 2013 09:01 AM PST

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวร่วมกับนักศึกษากลุ่มดาวดินร้องกรมโยธาธิการและผังเมืองขอนแก่น ใช้สีเขียวในพื้นที่ห้วยเสือเต้นสำหรับการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ จี้เปิดให้ ปชช.มีส่วนร่วม เผยห้วยเสือเต้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับชาติแต่กลับมีโรงงานแป้งมันตั้งอยู่
 
27 พ.ย.2556 เมื่อเวลา 10.00 น.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวนำโดย นายบุญช่วย โสสีทา ประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว พร้อมด้วยนักศึกษากลุ่มดาวดินเดินทางไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่นเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องกำหนดพื้นที่ห้วยเสือเต้นให้เป็นสีเขียวในผังเมืองรวมของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด
 
การยื่นหนังสือในครั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณห้วยเสือเต้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2552 มีมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ โดยการประกาศให้พื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและมิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงกลับมีโรงงานแป้งมันเข้ามาใช้พื้นที่ในการก่อสร้างโรงงาน
 
อีกทั้ง จังหวัดขอนแก่นกำลังมีการจัดวางผังเมืองครั้งใหม่ ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวมีความเห็นว่าควรมีการเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากการวางผังเมืองดังกล่าวมีผลกระทบต่อหลายภาคส่วน จึงเรียกร้องให้เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการวางผังเมืองครั้งนี้ พร้อมทั้งเผยข้อมูลความคืบหน้าให้แก่สาธารณชนได้รับรู้
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุญช่วย เป็นตัวแทนยื่นหนังสือของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น โดยมีนางสาวนฤมล อัตนโถ เป็นผู้รับเรื่องแทน นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และนายบุญช่วย ยังได้ชี้แจงเหตุผลในการยื่นข้อเสนอในครั้งนี้
 
หลังจากรับฟังข้อเสนอ นางสาวนฤมล เปิดเผยขั้นตอนการจัดทำผังเมืองรวมของจังหวัดขอนแก่นว่า อยู่ในขั้นตอนแรก คือการสำรวจและกำหนดเขตผัง จึงยังไม่อาจให้ข้อมูลได้ ในตอนนี้จึงทำได้เพียงข้อมูลในเรื่องของขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กรมโยธาธิการและผังเมืองรับรองว่า จะส่งความคืบหน้าให้แก่ทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวได้รับทราบเป็นระยะและกระบวนการจัดทำผังเมืองในขั้นตอนของการทำประชาคมจะมีการเชิญเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างแน่นอน
 
ด้านนายวัชรพล จงใจภักดิ์ นักศึกษากลุ่มดาวดินกล่าวว่า เห็นด้วยในเรื่องที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจะมีการจัดผังใหม่ เพราะในผังเมืองเดิม ยังมีการจัดแบ่งเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังที่ปรากฏว่า มีการตั้งโรงงานขนาดใหญ่ใกล้บริเวณพื้นชุ่มน้ำ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ได้รับผลกระทบ
 
 
กอค.ที่ ๐๒๒/๒๕๕๖                                
 
ศูนย์ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว
๑๘๐ หมู่ ๘ บ้านหนองหารจาง ตำบลน้ำพอง
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๓๑๐
 
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
 
เรื่อง ขอให้ประกาศผังเมืองบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้นเป็นเขตพื้นที่สีเขียว
เรียน นายสุวพงษ์ ภูนาคพันธุ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น
สิ่งที่แนบมา มติคณะรัฐมนตรี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง ทะเบียนรายนาม พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทยและมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
 
เนื่องด้วย กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวเป็นการรวมตัวของประชาชนบริเวณรอบพื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และปกปักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้น ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตามสิทธิชุมชนแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ. ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗
 
ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า พื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้นถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทยและมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้เห็นชอบมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการประกาศผังเมือง ดังนี้
มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ข้อ ๑
 
"ประกาศให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นสาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและมิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำต่อไป"
 
เพื่อให้มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำถูกบังคับใช้และเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้นอย่างชาญฉลาด กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว จึงมีข้อมีเสนอดังนี้
 
·          เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้ากระบวนการขั้นตอนการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิชุมชน แห่ง รธน. มาตรา ๖๖ , ๖๗
 
·         ให้ประกาศผังเมืองบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำห้วยเสือเต้นเป็นเขตพื้นที่สีเขียว
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 
( นายบุญช่วย โสสีทา )
ประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.มหาดไทยเผยสุราษฎร์ถูกบุกถึงอาคารศาลากลาง อีกหลายจังหวัดโดนล้อม

Posted: 27 Nov 2013 08:37 AM PST

 

27 พ.ย.2556  เว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปถึงตัวอาคาร โดยได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเจรจาหาข้อยุติ

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศยกระดับการชุมนุมด้วยการบุกรุกศาลากลางจังหวัดนั้น ล่าสุดได้รับรายงานว่าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแห่งเดียวที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปภายในตัวอาคาร ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ส่วนศาลากลางจังหวัดอื่นๆ สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยผู้ชุมนุมอยู่เพียงบริเวณโดยรอบ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเจรจากับผู้ชุมนุมเพื่อยุติการเคลื่อนไหวแต่ยังไม่สำเร็จ ขณะเดียวกันยืนยันไม่มีการคาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะถือว่าปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว แต่ได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดย้ำกับหัวหน้าส่วนราชการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกคน

สำหรับพื้นที่ศาลากลางจังหวัดที่ไม่มีผู้ชุมนุม มีจำนวน 50 แห่ง ส่วนที่มีการชุมนุมภายในพื้นที่แต่ไม่ได้เข้าตัวอาคาร มีจำนวน 24 แห่ง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มองว่าการกระทำเกิดขึ้นเป็นความพยายามทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลเสียหาย ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ และไม่สามารถบริหารจัดการได้ จึงขอให้ผู้ชุมนุมยุติการปิดล้อม เพราะถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย แต่ยืนยันรัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรงโดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันเหตุแทรกซ้อน

ม็อบฮือบุกเข้าศาลากลางระนอง ยันไม่ค้างคืน

เว็บไซต์เนชั่นรายงานว่า กลุ่มมวลชนจาก 5 อำเภอของ จ.ระนอง ประกอบด้วย อ.ละอุ่น ,อ.กะเปอร์,อ.สุขสำราญ,อ.กระบุรี และ อ.เมืองระนอง กว่า 3,000 คน ได้นัดรวมตัวกันที่บริเวณลานอเนกประสงค์หน้าเทศบาลเมืองระนอง ก่อนร่วมกันตั้งขบวนเป็นแถวยาวกว่า 2 กม.เพื่อเดินเท้ามายังศาลากลางจังหวัดระนอง ตั้งอยู่ ม.3 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ 7 กม. ท่วมกลางความสนใจและปรบมือให้กำลังใจจากประชาชนสองข้างทาง

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมนำโดยนายสุชีพ พัฒน์ทอง และนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ร่วมกันผลัดเปลี่ยนกันพูดโจมตีการบริหารงานของรัฐบาลด้วยเครื่องขยายเสียงตลอดระยะทาง พร้อมกับเป่านกหวีดเสียงดังสนั่น โดยผู้ชุมนุมได้ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1 ชม.มาถึงศาลากลางจังหวัดระนองในเวลา 12.00 น.

โดยในช่วงแรกทาง จนท.ได้พยายามปิดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ามาในศาลากลาง แต่จากการที่ได้มีการเจรจากับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมกับ ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ผวจ.ระนอง ในที่สุดก็ยอมให้ผู้ชุมนุมเดินทางเข้ามายังด้านในของศาลากลางหลังกลุ่มผู้ชุมนุมและแกนนำยืนยันว่า จะไม่ขึ้นไปข้างบนศาลากลาง เพียงเพื่อต้องการเดินทางมาแสดงให้เห็นถึงพลังประชาชนว่าไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่วมกันขับไล่ระบอบทักษิณที่มองว่าเป็นระบอบที่ทำลายชาติ นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะไม่มีการยึดศาลากลางแบบนอนค้างคืน โดยจะใช้เวลาในการแสดงพลัง 2-3 ชม.ก็จะทยอยกันกลับบ้าน

ด้านนายสุชีพ พัฒน์ทอง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวว่า ทางกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมายังศาลากลางไม่ได้ต้องการมาสร้างความวุ่นวาย หรือยึดศาลากลางเพียงแต่ต้องการเดินทางมาให้กำลังข้าราชการที่ตั้งใจทำงาน และให้ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องอย่าไปฟังคำสั่งของคนชั่ว

ขณะที่ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ซึ่งออกมาพบผู้ชุมนุมบริเวณหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขอบคุณผู้ชุมนุมที่เดินทางชุมนุมโดยสงบ ไม่มีการทำลายทรัพย์ของทางราชการ หรือทำผิดกฏหมายใดๆ ซึ่งตนเป็นคนนอกพื้นที่ทีมารับตำแหน่ง ผวจ.ระนองที่ผ่านมาตั้งใจทำงานเพื่อคนระนอง และพยายามส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหากผู้ชุมนุมทำผิดกฏหมายก็อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากจะมาระนอง หากจะทำอะไรก็ให้คิดถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ส่วนการดูแลความปลอดภัยตนได้ประสาน จนท.ตำรวจจากกองร้อยควบคุมฝูงชนรวม 90 นายมาดูแลความสงบเรียบร้อย และอำนวยความสะดวกและสั่งกำชับไม่ให้ จนท.ทำร้ายประชาชนอย่างเด็ดขาด 

นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ชี้ว่า ทางภาคเอกชนจังหวัดระนองทั้งหอการค้าจังหวัดนอง,สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง,สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ระนอง,สมาคมประมง จ.ระนอง กำลังวิตกต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ผลกระทบจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมาได้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่จะเข้ามาลงทุน ส่วนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะชะลอการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว หรือลงทุนในประเทศไทย ดังนั้นหากสถานการณ์การชุมนุมยืดเยื้อ หรือเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงจนบานปลาย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมทั้งการท่องเที่ยวก็อาจจะได้รับกระทบที่รุนแรงจนยากที่จะแก้ไข จนกลายเป็นวิกฤติปัญหาที่ยากที่จะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู 

" ทุกฝ่ายกำลังวิตกและไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอีก ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือต้องให้ทั้ง2 ฝ่ายทั้งฝ่ายต้ายและฝ่ายสนับสนุน ถอยกันคนละก้าว แล้วหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อหาทางออกให้กับประเทศให้สามารถฝ่าฟันวิกฤติปัญหาและนำประเทศเดินไปข้างหน้าได้"

ม็อบพิษณุโลก บุกศาลากลางยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ

เว็บไซต์แนวหน้ารายงานว่า ส่วนที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองอพิษณุโลก มีกลุ่มคนพิษณุโลกต่อต้านระบอบทักษิณจำนวนหนึ่งมารวมตัวกัน เพื่อรอเวลาเคลื่อนเข้าไปในบริเวณศาลากลางพิษณุโลก ตลอดเวลามีนายวรพงษ์ แก้วพริ้ง และนายอธิป กลันทปุระ หรือ ตี๋ กล่าวปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงโจมตีรัฐบาลตลอดเวลา โดยมีกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณเป่านกหวีดส่งเสียงดังตลอดเวลา

ต่อมากลุ่มต่อต้านระบบอบทักษิณ ได้เคลื่อนตัวเดินเข้าไปในบริเวณศาลากลาง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองพิษณุโลกเพียงเล็กน้อย ระหว่างนั้นได้มีรถตำรวจขนอุปกรณ์ปราบจลาจลผ่านกลุ่มดังกล่าว ปรากฏว่ากลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณได้โห่ร้องแสดงความไม่พอใจ และเป่านกหวีดไล่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล 1 กองร้อยไปตั้งแถวรอรับกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณก่อหน้าแล้ว ?โดยระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินเข้าไปในบริเวณสนามศาลากลางจังหวัด ได้มี พ.ต.ท.ยงยุทธ แสงศรี หัวหน้าชุดปราบจลาจล ได้เข้าไปพูดคุยกับแกนนำ ว่าขอให้ปิดเสียงเครื่องขยายเสียง เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดกำลังมีประชุมหน่วยงาน ทำให้ผู้ชุมนุมแสดงความไม่พอใจ พร้อมทั้งเปิดเสียงให้ดังและเป่านกหวีดเสียงดังลั่น จนไม่สามารถควบคุมได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณเข้ามาในสนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก ได้ไปรวมตัวกันที่จุดตั้งแถวของตำรวจปราบจลาจล โดยมีนายสุธรรม ปาเฉย อดีต สจ.และอดีตประธาน อบจ.พิษณุโลก ได้กล่าวปราศรัยการทำงานของรัฐบาล พร้อมกับกล่าวขอบคุณที่ตำรวจมาดูแลความสงบเรียบร้อย โดยกลุ่มต่อต้านมาแสดงความคิดเห็นไม่ได้มาสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร เพื่อขอยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงอย่างเดียว

ต่อมานายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการพิษณุโลก นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รอง ผู้ว่า นายประทีป ศิลปเทศ ปลัดจังหวัดพิษณุโลก พล.ต.ต.ชฎิล พรหมไพบูลย์ ผบก.จว.พิษณุโลก พร้อมเจ้าหน้าที่หัวหน้าหน่วยราชการ ได้เดินมาจากศาลากลาง เพื่อมาพูดคุยกับกลุ่มประชาชนดังกล่าว

นายระพี ผ่องบุพกิจ กล่าวกับ ผู้ชุมนุม ว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ ตนไม่เคยขัดขวางการแสดงออก และไม่สนับสนุนให้ใครโต้แย้งกัน เพราะทุกคนรักชาติเหมือนกัน เราเปิดเวทีแสดงออกอย่างสงบ เรื่องการเมืองอยู่ในใจจะพูดก็พูดไม่ได้ เพราะรับราชการอยากเห็นพี่น้องรักกัน แต่จะลงเอยอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่อง ตนห่วงเรื่องโจรผู้ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ ผมเป็นผู้ว่าต้องทำตามกฎหมาย ผมรักประเทศไทยรักประชาชนคนไทย การแสดงออกปราศจากอาวุธเป็นการแสดงออกถูกกฎหมาย

พล.ต.ต.ชฎิล พรหมไพบูลย์ ผบก. กล่าวว่า ข้าราชการต้องปฏิบัติตามราชการ ส่วนตำรวจต้องดูแลความสงบเรียบร้อยไม่ให้มีเลือดตกยางออก และผมจะไม่ยอมให้คนพิษณุโลกเลือดตกยางออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงหนึ่ง ผบก.จว.พิษณุโลก พูดด้วยอารมณ์ว่า หากพูดว่าทุกอย่างมาจากภาษีประชาชน "ทั้ง ปืนที่ใช้ โล่ กระบอง เครื่องมือ มาจากภาษีเงินของกู" หากตนจะพูดย้อนกลับไปว่า ถ้ามึงจะเผาก็เป็นเงินของมึง" กลุ่มชุมนุมได้พูดว่า ชาวบ้านเผาก็ไม่ผิดกฎหมาย

นายอธิป กลันทปุระ กล่าวว่า วันนี้กลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณมาแสดงพลังเท่านั้น ไม่ได้มายึดหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร แต่ทางตำรวจขนเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลมากันเป็นกองร้อย เสมือนว่าพวกเราจะมาสร้างความเสียหาย ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าเรียบร้อยก็จะเดินทางกลับทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ โดยนายอธิป กลันทปุระ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ จากนั้นได้มอบหนังสือให้กับนายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการพิษณุโลก หลังจากนั้นคณะผู้ว่าราชการได้เดินขึ้นศาลากลาง เพื่อประชุมหน่วยงานราชการต่อ ส่วนผู้ชุมนุมได้พักผ่อนทานข้าวกัน ก่อนจะแยกย้ายกันกลับโดยไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ม็อบพัทลุง ปัตตานี สุราษฎร์ฯ ยึดศาลากลาง

เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า จ.พัทลุง รายงานว่า กลุ่มคนพัทลุงรักชาติ ประมาณ 3,000 คน ภายใต้การนำของ นายทวี ภูมิสิงหราช อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง ได้ใช้รถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง และเดินเท้ามารวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง โดยเรียกร้องขอพบ นายเสรี ศรีหะไตร ผวจ.พัทลุง ต่อมา นายสุชาติ สุวรรณกาศ และนายสุรินทร์ เพชรสังข์ รอง ผวจ.พัทลุง ได้ลงมาพบผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงไม่ยอมรับ

นายทวี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เป็นรัฐบาลที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ความเป็นรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ขณะนี้คณะรัฐบาลเป็นกลุ่มบุคคลเถื่อนที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายใดรองรับแล้ว ดังนั้น คำสั่งใดๆ ของรัฐบาลจึงเป็นโมฆะ จึงขอเรียกร้องให้ ผวจ.พัทลุงอย่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลอีกต่อไป

ต่อมานายเสรีได้ลงมาพบผู้ชุมนุม โดยผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ข้าราชการบนศาลากลางฯ หยุดทำงานตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันศุกร์ โดยให้เปิดทำการในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 56 และให้ข้าราชการทุกหน่วยงานออกจากศาลากลางฯ ให้หมดทุกคน แต่นายเสรีต่อรองว่าขณะนี้น้ำกำลังท่วมพัทลุง ข้าราชการต้องออกช่วยเหลือประชาชน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยินยอม ซึ่งต่อมานายเสรีและบรรดาข้าราชการก็เดินออกจากศาลากลางฯ ในที่สุด ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินเท้าออกไปรวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางหลังเก่า แล้วเปิดเวทีกล่าวโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์

ขณะที่ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมกว่า 500 คน เป่านกหวีด ถือธงชาติ และดอกไม้ยืนชุมนุมอยู่หน้าประตูทางออกของศาลากลางฯ เพื่อต้องการเข้าไปภายใน แต่ถูกเจ้าหน้าที่ปิดกั้นไว้ ทำให้สถาการณ์ตรึงเครียดและมีการกระทบกระทั่งกันขึ้น แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงใดๆ ซึ่งทางตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมได้ชี้แจงว่า ต้องการเข้าพบ นายวิทยา พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อมอบดอกไม้และจะชุมนุมโดยสันติ เจ้าหน้าที่จึงยอมเปิดประตูให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดทยอยเข้ามาภายในศาลากลาง โดยยืนปักหลักอยู่หน้าเสาธง ซึ่งแกนนำผู้ชุมนุมได้ปราศรัยกรณีการออกมาชุมนุมว่าไม่ยอมรับระบอบทักษิณ พร้อมเป่านกหวีด

จากนั้น นายนฤพล แหละดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ออกมาพบกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวกับผู้ชุมนุมว่า ตนเป็นตัวแทนของผู้ว่าฯ เนื่องจากผู้ว่าฯ ไปราชการที่ จ.สงขลา ซึ่งทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ปราศัยต่อหน้ารองผู้ว่าฯ และหัวหน้าส่วนฯ ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมออกมาชุมนุมเพื่อแสดงพลังโดยสันติ และจะไม่มีการกระทบกระทั่งแต่อย่างใด และไม่ยอมรับระบอบทักษิณ ก่อนที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะเป่านกหวีดและนำนกหวีดให้รองผู้ว่าฯ เป่า 2 ครั้ง ก่อนจะมอบดอกไม้ให้รองผู้ว่าฯ และข้าราชการเพื่อเป็นกำลังใจ หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมก็เดินทางออกจากศาลากลางฯ ไปรวมตัวกันที่ลานวัฒนธรรม ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี

ด้านอำเภอเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีชาวบ้านกว่า 200 คน เดินทางไปรวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย แล้วเคลื่อนขบวนไปยังหน้าตึกที่ทำการอำเภอเกาะสมุย พร้อมถือดอกกุหลาบไปมอบให้ นายกัมปนาท กลิ่นเสาวคนธ์ ปลัดอวุโสอำเภอเกาะสมุย ทำหน้าที่รักษาราชการแทนนายอำเภอเกาะสมุย ที่ลงมารับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม โดยผู้ชุมนุมได้ยื่นข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย หยุดงานเป็นเวลา 3 วัน โดยให้มีผลทันที ตามแนวทางของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และกลุ่มแกนนำขับไล่ระบอบทักษิณ ที่ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมในต่างจังหวัดไปร่วมตัวกันที่หน่วยงานราชการ และขอให้เจ้าหน้าที่หยุดการทำงานโดยทันที

หลังจากนั้น นายกัมปนาทได้ขอร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุม ที่แสดงออกทางการเมือง ชุมนุมอย่างสงบที่บริเวณหน้าที่ว่าการฯ โดยไม่ให้เข้าไปในตัวอาคารที่ว่าการฯ ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกฝ่ายอยู่ในที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย ต่างเก็บข้าวของส่วนตัวทยอยกันออกจากที่ทำงานในทันที ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เกาะสมุย ได้เรียกประชุมกำลังตำรวจ พร้อมจัดกำลังดูแลความเรียบร้อย สถานีที่หน่วยงานราชการตลอด 24 ชั่วโมง.

ผู้ว่าฯ สงขลา นำม็อบเข้าศาลากลางเอง หวังลดความตึงเครียด

เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการรายงานบรรยากาศการชุมนุมที่ศาลากลาง จ.สงขลา ซึ่งมีกลุ่มมวลชนชาวสงขลากว่า 2,000 คน มาชุมนุมอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัด ล่าสุด นายกฤษฏา บุญราช ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา ได้เข้าเจรจากับแกนนำ พร้อมกับเป็นผู้นำขบวนกลุ่มมวลชนเข้าไปในศาลากลางจังหวัด และปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลาง ทั้งนี้เพื่อลดความตึงเครียด และเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปักหลักเป่านกหวีด และส่งเสียงตะโกนเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ใน จ.สงขลา หยุดทำงาน และออกมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ปักหลักอยู่ในขณะนี้ โดยแกนนำ ระบุว่า การชุมนุมยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะยืดเยื้อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงานรถไฟ-ขสมก. ยันให้บริการปกติ ไม่มีการหยุดงานตาม สรส.

Posted: 27 Nov 2013 08:32 AM PST

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ให้สมาชิก 45 สหภาพ "ลางานเพื่อชาติ" 28-29 พ.ย. เพื่อพิทักษ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ขณะที่ประธานสหภาพแรงงาน ขสมก. ยันไม่เข้าร่วมเพราะวัตถุประสงค์การชุมนุมเปลี่ยนไปจากเดิม ด้านสหภาพแรงงานรถไฟยืนยันจะไม่มีการหยุดเดินรถ

27 พ.ย. 2556 - วันนี้ (27 พ.ย.) บลูสกายทีวี รายงานว่า ทางสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ซึ่งมีสมาชิกรวม 45 สหภาพแรงงานมีมติเป็นเอกฉันท์ให้สมาชิกทุกแห่งเข้าร่วมต่อสู้กับประชาชน "เพื่อทำหน้าที่พลเมืองดีตามมาตรา 70 และมาตรา 71 และใช้สิทธิตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ ร่วมชุมนุมกับขบวนการประชาชนทั่วประเทศตามพื้นที่ที่สะดวกที่สุด และขอให้สมาชิกลางานเพื่อชาติ 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 28-29 พ.ย. 2556 เพื่อแสดงการใช้สิทธิในการทำหน้าที่ของปวงชนชาวไทย พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

ขณะที่ โพสต์ทูเดย์ สัมภาษณ์ วีระพงษ์ วงแหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบุว่า คณะกรรมการบริหารสหภาพ ขสมก.ได้ประชุมในวันที่ 27 พ.ย. และมีมติว่า ทางสหภาพขสมก.จะไม่เข้าร่วมกับ สรส. เพราะการชุมนุมมีการปิดสถานที่ราชการ ซึ่งวัตถุประสงค์เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ด้านอำพล พองรัตน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ให้สัมภาษณ์ฐานเศรษฐกิจว่า สหภาพฯ รถไฟ ไม่ได้ออกแถลงการณ์ใดเพื่อคัดค้านทางการเมือง และจะไม่นัดหยุดงานประท้วงวันที่ 28-29 พ.ย.นี้ โดยรถไฟยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการสบายใจได้ ส่วนเรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองถือว่าทำได้ในฐานะส่วนบุคคล ไม่ได้ปิดกั้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพปราศรัย: จะช่วงชิงอำนาจรัฐจากระบอบทักษิณ ตั้งรัฐบาลประชาชน

Posted: 27 Nov 2013 06:59 AM PST

สุเทพ เทือกสุบรรณ ชื่นชมผู้ชุมนุมเดินเท้ามาถึงศูนย์ราชการ ลั่นงานนี้เพื่อชาติ ไม่มีเจตนายึดศาลปกครอง-ผู้พิากษาให้ถือว่าได้ลากิจฟรีๆ และจะขอพักค้างที่ศูนย์ราชการติดแอร์ ย้ำเป้าหมายสภาประชาชน รัฐบาลประชาชนเท่าทั้น เมินยุบสภาและไม่เจรจากับยิ่งลักษณ์

 

สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: Blue Sky Channel)

บรรยากาศการชุมนุมที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Prachatai)

บรรยากาศการชุมนุมที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Prachatai)

 

ชื่นชมผู้ชุมนุมเดินเท้า 17 กิโลเมตร ไม่มีในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

27 พ.ย. 2556 - หลังการผู้ชุมนุมขจัดระบอบทักษิณ เดินทางจากกระทรวงการคลัง ถ.พระราม 6 มายังศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ และเข้าชุมนุมอยู่ในพื้นที่ของศูนย์ราชการในช่วงบ่ายวันนี้ (27 พ.ย.) นั้น ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. สุเทพ เทือกสุบรร อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี และแกนนำผู้ชุมนุม ได้ขึ้นปราศรัย กล่าวถึงการเดินขบวนในวันนี้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้น ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง เพราะไม่ได้ไปฆ่า หรือไปเผา มาวันนี้กว่าจะมายึดได้ เหนื่อยแทบตาย เพราะเดิน 17 กิโลเมตร สำหรับมวลมหาประชาชนนั้นตัวเขากราบเท้าได้ทุกคน ทั้งๆ ที่เมื่อคืนไม่ได้นอนกันเลย ไม่เคยมีใคร หรือมีการขบวนชุดไหน ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เดินไกล กลางแดดแบบนี้

"น้องๆ ของผมที่เป็นแกนนำ สะกิดถามหลายทีว่า พี่ครับ 17 กิโลเมตร กลางแดด คนจะไปถึงสักกี่คนครับ ผมตอบว่า ถ้าแค่ 17 กิโลเมตรไม่ได้ จะทำอย่างอื่นได้อย่างไร ผมตัดสินใจขึ้นเวทีที่กระทรวงการคลัง กราบเรียนพี่้น้อง คนอายุเท่าผมเกินผม พวกผู้สูงวัยไม่ต้องออกรบแนวหน้าเฝ้ากระทรวงการคลังก่อนแล้วกัน ปรากฏว่าพ่อยกแม่ยกก็ตามมา"

 

ยันทำเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง แต่รัฐบาลหน้าด้าน-ระบอบทักษิณเมิน

สุเทพกล่าวต่อไปว่า เราได้ปฏิญาณต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่ามวลมหาประชาชนทำการคราวนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์คนใดคนหนึ่งหรือนักการเมือง แต่เพื่อประเทศชาติ มวลมหาประชาชนที่ลุกขึ้นยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับเรา ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันแล้ว

"ผมถามซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าที่ลุกขึ้นสู้คราวนี้ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติด้วยมือของประชาชนจริงๆ ผมในฐานะที่ทำหน้าที่แกนนำ ต้องรับผิดชอบต่อการเดินหน้าของมวลมหาประชาชน ผมต้องถามย้ำแล้วย้ำอีก กลางที่มหาประชาชน เอาอย่างนั้นแน่นะครับ เขายุบสภาพี่น้องไม่หยุดใช่ไหมครับ เขาลาออกพี่น้องก็ไม่หยุดใช่ไหมครับ เพราะพี่น้องตั้งใจว่าคราวนี้จะต้องสร้างสภาประชาชน สร้างรัฐบาลของประชาชน และวางรากฐานการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผมต้องถามเรื่อยๆ เพราะการแสดงเจตนาของพี่น้องเป็นเหมือนแผนที่ เหมือนเข็มทิศ ถ้าแปลผิดก็จะเข้ารกเข้าพง ผมถามแล้ว ผมเช็คกับหลวงปู่พุทธะอิสระด้วย ว่าพี่น้องต้องการอย่างนี้ ผมบอกถ้าอย่างนั้นเดินหน้า"

"แต่เดินหน้าก็ผิดกฎหมาย เพราะรัฐบาลนี้มันหน้าด้าน สภานี้มันก็หน้าหนา และด้านพอๆ กับหน้านายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ระบอบทักษิณมันไม่สนใจ อย่าว่าแต่ลุกขึ้นมาชุมนุมล้านคนเลย ห้าล้าน สิบล้าน มันก็จะเฉย เชิญพวกมึงเฮไปทั้งปี กูไม่เดือดร้อน เพราะมันรู้ว่ามวลมหาประชาชนของเราที่ลุกขึ้นมาต่อสู้คราวนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองดีทั้งนั้น พลเมืองดีมีอาชีพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีใครสู้ยาวกับมันทั้งปีทั้งชาติ ต้องกลับบ้าน มันถึงได้ปล่อยไงครับ ปล่อยให้เราหมดแรงไปเอง แต่ผมในฐานะแกนนำพอผมมั่นใจว่าพี่้น้องต้องการอะไร ปรึกษากันทันที 9 คน และออกปฏิบัติการ"

"ผมบอกพี่น้องตรงๆ ระบอบทักษิณที่อยู่ได้ เพราะมันมีทุน มีนักธุรกิจที่ร่วมหัวจมท้าย แบ่งกำไร อุดหนุน เกื้อกูลมัน ผมถึงเชิญพี่น้องต่อต้านสินค้าและบริการของทักษิณ แต่เห็นผลช้าวางไว้ก่อน สองสื่อมวลชนช่องโน้น ช่องนี้ รับเงินทักษิณ บางคนส่งลูกไปเรียนเมืองนอก พ่อมันก็หลับหูหลับตาเชียร์ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ เชียร์แม้แต่ไอ้โอ๊ค ด่าผมทุกวัน แต่ผมไม่รู้สึก เพราะผมไม่สนใจคนไม่มีอุดมการณ์มาด่าผม ไม่รู้สึกคันแม้แต่ฝ่าเท้า ไม่สน แต่คนพวกนี้ครับพี่น้อง มันไม่รายงานข้อเท็จจริง ประชาชนชุมนุมกันเป็นล้าน ที่ต่อต้านขัดขืน มันเขียนให้สองบรรทัด หรือออกทีแผล็บนึงในทีวี"

 

ลั่นใช้ไอทีสื่อตัวถึงตัวไม่ง้อสื่อมวลชน วันไหนมี รบ.ประชาชนอย่าร้องไห้แล้วกัน

"วันนี้เราเดินตั้ง 5 ชั่วโมง 17 กิโล ไกลที่สุด ไม่มีใครเดินได้เหมือนเรา รับรองข่าวไม่มี ผมคิดว่าข่าวคงปรากฏเฉพาะช่องบลูสกาย ทีนิวส์ เนชั่น เพราะวันนี้คุณกนกมาเดินกับเราด้วย ส่วนช่องอื่นก็ลงหร็อมแหร็มไม่มีสาระ แต่นั่นได้เตือนแล้ว เราพามวลชนไปพบท่านทุกช่อง และรอท่านปรับตัว และบอกท่านเลย ถึงวันนี้ ท่านกลับตัวได้ กลับตัวไม่ได้ มวลมหาประชาชนไม่สนใจ มึงไม่เสนอข่าว กูไปทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวถึงตัวก็ได้ วันไหนมีรัฐบาลประชาชนจริงๆ อย่าร้องไห้ มากราบมือกราบเท้าประชาชนก็แล้วกัน จำไว้แล้วกันเพื่อนเอ๋ย"

สุเทพกล่าวด้วยว่า "มีคนมาเตือนมาก 'ว่าอย่าไปยุ่งกับสื่อมวลชนคุณสุเทพ ไม่มีอนาคต' ผมบอกว่าไม่มีอนาคตอยู่แล้ว ผมทำม็อบครั้งนี้ครั้งเดียว เดินมาตามถนนวันนี้ 17 กิโลเมตร มีแต่มวลชนออกมาเชียร์ มายุส่งทั้งนั้น สุเทพสู้ๆ ลุงกำนันสู้ๆ ตลอดทาง ผมนึกว่าตัวเองหนุ่มเสมอ มาคราวนี้ถึงรู้ว่าแก่ เพราะคนเรียก ลุงกำนัน คนออกมาโบกไม้โบกมือ เชียร์กันมากมาย ทั้งนักศึกษาพ่อค้า แม่ขาย เพื่อนบอก เที่ยวหน้าสมัครผู้ว่า กทม. ดีไหมท่าน ฮ่าๆๆ"

"ผมก็คุยกับเพื่อนรัก คุณสนธิญาณ (หมายถึง - สนธิญาณ หนูแก้ว หรือสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม) นี่ผมกระซิบคุณนะ เผลอๆ ผมทำงานให้ประชาชนเสร็จสิ้นคราวนี้ ผมคงล้างมือแล้ว กลับไปเอาใจลูกเมียดีกว่า เพราะไม่เคยช่วยเขาเลย ผมเรียนกับพี่น้อง สู้กับพี่้น้องคราวนี้ผมเทหมดหน้าตักจริงๆ ลูกเมียตาปริบๆ แล้วยิ่งพี่น้องยุอย่างนี้นะ ผมยอมตาย ไม่มีถอยแม้แต่นิดเดียว"

ผมไม่เชื่อนะครับ ว่าผมฉลาดกว่ายิ่งลักษณ์ เฉลิม หรือประชา แต่ผมก็ไม่รู้ว่าผู้ชุมนุมมีกี่หมื่นกี่แสน หัวขบวนมาถึงศูนย์ราชการแล้ว ท้ายขบวนยังเตาะแตะๆ ที่หลักสี่นู่น แล้วสองหมื่นตั้งเวทีอยู่ดีเอสไอ เพราะสงสัยตั้งใจพักเหนื่อย เพิ่งตามเมื่อเราตั้งเวทีใหญ่เสร็จ ประมาณว่าร่วมสองหมื่น ชื่นใจจริงๆ ที่มาจนถึง

 

ชวนข้าราชการเลิกรับใช้ 'ระบอบทักษิณ'

"เราผ่านบททดสอบมาหลายบท เริ่มจากสามเสน บอกกับเพื่อนว่าจะทำให้ได้สามแสนคนก็หัวเราะ พอเราถึงสามเสนไปอยู่ราชดำเนิน บอกจะมีเป็นล้าน คนก็หัวเราะ ถึงล้านก็ไม่มีน้ำยา เพราะไม่ระคายเคืองรัฐบาล ถ้าฉันยึดกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ จะเอาท่อน้ำเลี้ยงที่ไหนไปใช้ รัฐบาลเอ๋ย เสร็จเรา แล้วเราทำอะไรเปิดเผย สื่อมวลชนมาถามว่าถ้ายึดสำนักงบประมาณแล้ว กระทรวงการคลังแล้ว จะทำอะไรต่อ ผมบอก เราก็ยึดทุกกระทรวง ยึดทุกจังหวัด เขาก็หัวเราะ นึกว่าเราทำไม่ได้"

สุเทพกล่าวด้วยว่า "พี่น้องข้าราชการมาร่วมกับประชาชนเถิด อย่าร่วมกับระบอบทักษิณ พี่น้องข้าราชการยังลังเล เราพูดแล้วพูดอีก เราก็เห็นใจเพราะเขาเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ส่วนข้าราชการผู้ใหญ่เขาถูกชุบเลี้ยงเอาไว้ เลยรับใช้เหมือนสุนัขที่ซื่อสัตย์อย่างไรอย่างนั้น ข้าราชการชั้นผู้น้อยเขาไม่กล้าขยับ ข้าราชการสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังไปบอกแกนนำเอง ว่าช่วยมายึดกระทรวงการคลังที รัฐบาลจะถูกตัดท่อน้ำเลี้ยง พี่น้องเห็นไหม เราเดินจากราชดำเนินมาถึงกระทรวงการคลังไม่ได้บุกเข้าไปเลย นั่งกันรอข้าวห่อ กินข้าวห่อเสร็จ กินน้ำเสร็จ ชวนข้าราชการก็กวักมือบอกเข้ามาเลยๆ เราถึงได้เข้าไป"

"ตลอดเวลาที่อยู่ในกระทรวงการคลัง ก็มีข้าราชการมาบอก ให้มาถอดตรงนี้ ถอดตรงนั้น โอนเงินไม่ได้ ผมไม่เคยเรียนทีวียังเปิดไม่ถูกเลย คิดดูแล้วกัน มีข้าราชการมานั่งฟังปราศรัย เราก็ถามมาทำไมไม่ทำงานรึ เขาว่า เคยมาทุกวัน มาฟังพวกพี่ สนุกดี เขาว่า ฟังไปฟังมาเป็นนักปฏิวัติประชาชนร่วมเดินทางมาที่นี่ด้วยทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ"

 

เผยได้รับความสนับสนุนจากข้าราชการศูนย์ราชการเป็นอย่างมาก

สุเทพกล่าวต่อว่า "แต่ข้าราชการกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ยังสู้ข้าราชการที่ศูนย์ราชการแห่งนี้ไม่ได้ ต้องชมว่าสุดยอด ผมอายุ 64 แล้ว เดินฝ่าแดด 17 กม. นั่งหอบบนรถ ไม่ได้พูดอะไร ให้น้องๆ พูดไปเรื่อยๆ ผมได้กุหลาบแดงมาสองมัดใหญ่ๆ เอากุหลาบไปมอบว่าเรามาด้วยความรัก เอานกหวีดไปให้ แต่ว่าเดินมา 5 ชม. เหี่ยวคอพับหมด ที่น่าชื่นใจข้าราชการมีกุหลาบที่สดเอามามอบให้ผมแทน แถมยังบอกรอมาห้าชั่วโมงแล้ว โถถ้าท่านคิดอย่างนี้ ผมไม่ต้องตากแดดเดินมาไกลขนาดนั้น ขอต้อนรับมวลมหาประชาชนด้วยความยินดี และพร้อมจะต่อสู้ร่วมกับเรา ผมขอตั้งข้อสังเกตข้าราชการที่นี่ฐานะดี ผมมานั่งแป๊บเดียว ควักกระเป๋ายื่นให้ๆ ได้แสนกว่าบาท"

"ผมชักนึกว่าตัวเองไม่เบาแล้ว เพราะว่าถ้าจะได้ระดับแสนนี่หลวงปู่พุทธะอิสระเทศน์ทีหนึ่งแสนสองแสน แต่ผมต้องกราบหลวงปู่นะครับ นั่งหอบเฉยๆ ได้แสนกว่าใช้ได้เหมือนกัน ที่ต้องพูดอย่างนี้ให้พี่น้องประชาชนที่อื่น ได้เข้าใจว่าบรรยากาศที่นี่เป็นอย่างไร บอกให้ผู้ชมทางบ้านได้ทราบ เพราะสื่อในระบอบทักษิณคงไม่ช่วยรายงานเรื่อยนี้เท่าไหร่นัก"

 

เผยยึดได้หลายกระทรวง และยึดศาลากลางได้ในต่างจังหวัด

"พี่น้องทั้งหลายครับ เรื่องที่เราจะทำไม่สำเร็จ มันยากจริงๆ เพราะเราไม่มีความรุนแรง เราอยากเปลี่ยนประเทศไทย สันติวิธี สงบ มือเปล่า อหิงสา มันจึงยาก เราต้องการความร่วมแรงแข็งขันของชาวไทยทุกคน เพราะเราเรียกร้องข้าราชการเลือกข้างเขาต้องคิด เลยต้องอาศัยพลังประชาชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เมื่อคืนนี้พอผมพูดเป้าหมาย วิธีการเปิดใจพี่น้องหมด คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตยส่งสัญญาณไปยังจังหวัดต่างๆ ขอให้พี่น้องประชาชนไปที่ศาลากลางดำเนินการอย่างที่พวกเราทำที่กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ปรากฏว่าได้ผลครับพี่น้อง อย่างที่หนึ่ง คุณสาทิตย์ ถูกออกหมายจับแล้วตอนนี้ ตอนนี้ผมได้เพื่อนเพิ่มคือสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แต่พี่น้องเชื่อเถิดครับ ที่เหลืออีก 7 คนต้องตามมา รัฐบาลไม่เว้นให้หรอกครับ"

สุเทพกล่าวด้วยว่า มีการยึดศาลากลางไปแล้วหลายจังหวัด โดยระบุว่า "ผลประการที่สอง ปรากฏว่ารายงานที่เขาส่งถึงผม มีจังหวัดที่เราเข้าไปดำเนินการยึดแล้วเกือบครึ่งประเทศแล้วครับ ที่ผมบอกว่าเกือบครึ่งประเทศคือ ประเทศไทยมี 77 จังหวัด พี่น้องยึดได้แล้ว 30 จังหวัดครับ และพรุ่งนี้คงมีอีกหลายจังหวัด"

โดยเขากล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวได้เริ่มต้นแล้ว พรุ่งนี้จะตามมาหลายจังหวัด สำหรับกระทรวงทั้งหลายวันนี้มวลมหาประชาชนยึดไปได้แล้ว 9 กระทรวงครับพี่น้องครับ มหาดไทย การคลัง เกษตร แรงงาน คมนาคม การท่องเที่ยว พลังงาน พัฒนาสังคม อุตสาหกรรม ยังไม่นับศูนย์ราชการ ที่อยู่ในมือเราแล้ว

 

ไม่เจตนายึดศาลปกครอง-ถือเสียว่าได้พักฟรีๆ และจะนอนค้างที่ศูนย์ราชการ

"เรียนพี่น้องครับที่เรามายึดศูนย์ราชการ มีเรื่องไม่สบายใจสองเรื่อง หนึ่งติดศาลปกครองไปด้วยตรงนี้ ต้องกราบเรียนท่านผู้พิพากษา ไม่มีความตั้งใจละเมิดศาลเลย เผลอไผลลูกน้องทำไปแล้ว ผมจะพยายามหาทางแก้ไข ที่ยังแก้อยู่ขอความกรุณาใต้เท้าท่านผู้พิพากษาถือว่าได้พักงานฟรีๆ ลากิจไปสักสองสามวันแล้วกัน ที่ผมไม่ค่อยพอใจเรื่องที่สองคือ คุณถาวร เสนเนียม แกไปยึดดีเอสไอมาด้วย ผมไม่พอใจอย่างมาก มันมีธาริต เพ็งดิษฐ์อยู่ ผมไม่อยากให้มันได้พักผ่อน ไอ้ธาริตมันขยัน มันประจบรัฐบาลคุณปูเขา ผมอยากให้มันทำงานทุกวันไม่ต้องพัก นี่พอเรายึดมันเลยได้พัก ผมก็เสียใจเล็กน้อยนะ พี่น้องทั้งหลายเราคงไม่ยึดอะไรต่อแล้ว แต่จะจัดการแถวนี้ให้เรียบร้อย วันนี้ให้พี่น้องพักผ่อนให้สบาย คนที่จะนอนค้างที่นี่ได้นอนห้องแอร์เพราะที่นี่เปิดแอร์ทั้งอาคาร"

 

จะช่วงชิงอำนาจรัฐจากทักษิณ มาจัดอำนาจใหม่ให้ประเทศก้าวหน้า

สุเทพกล่าวด้วยว่า จะต้องมีสภาประชาชน "โดยมีความเอาจริงเอาจัง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องประชาชน คือการช่วงชิงอำนาจรัฐจากระบอบทักษิณ มาจัดอำนาจใหม่ให้ประเทศเจริญก้าวหน้า แต่พวกนั้นไม่ยอมง่ายๆ แน่ จึงต้องออกแรงกันมาก ต้องพร้อมใจกันมาก"

สุเทพกล่าวต่อไปว่า ผมดูๆ หลวงปู่จะไปไกลกว่าผมแล้ว หลวงปู่บอกฮวงจุ้ยดูมาก ผมไม่มีความรู้เลย ชี้ไปแล้วตั้งเวทีทิศโน้น ประชาชนอยู่ตรงนี้ เราจะรับได้สองล้านคน ที่ผมพูดตรงนี้คือ กล้องทีวีอยู่่ตรงนี้ ขอถือโอกาสนี้กราบเรียนไปถึงพี่น้องกระทรวงการคลังนะครับ ไม่ได้ตั้งใจทอดทิ้งเลย แต่คืนนี้กลับไปเยี่ยมไม่ได้ ตำรวจมันดักกลางทางครับพี่น้อง

 

เมินยุบสภา เมินเจรจา ตั้งเป้าสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน

"วันที่ 28 พ.ย. นี้ หมดวาระสมัยประชุมสภา เขาอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จ ถ้ารัฐบาลนี้หมดทางออก มันจะยุบสภา เพราะฉะนั้นไปคุยกันให้ดี ถามใจตัวเองให้ดี ถ้าเขายุบสภา เรายังเดินหน้าต่อไปตามเจตนารมณ์ใช่หรือเปล่าครับ กรุณาอย่าหลอกผมนะครับ ผมมือใหม่หัดครับ ติดคุกฟรีอย่างเดียว เราเตรียมการเตรียมใจเสียก่อนว่าเราถึงแม้เขายุบสภา เพราะเป้าหมายเราคือสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน เพื่ออนาคตประเทศไทย"

"วันนี้สื่อมวลชนมาถามผม ว่านายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เขาอยากจะคุยด้วย" ทำให้ผู้ชุมนุมตะโกนว่า "ไม่เอา"  สุเทพปราศรัยต่อว่า "ทำไม ทำไมพี่น้องไม่ให้เสรีภาพในการตัดสินใจของของผมบ้าง เพราะพี่น้องไม่ให้คุย ตกลงไม่คุยกับมันแน่นอน ไม่ต้องมาต่อรองกัน การเมืองประเทศไทยวันนี้ ไม่มีการต่อรองกันแล้ว ใช่ไหมพี่น้อง ไม่ใช่พรรคการเมือง นักการเมือง ต่อไปเป็นเรื่องประชาชนล้วนๆ ผมจะเดินหน้าพร้อมกับบรรดาแกนนำทั้งหลาย พี่น้องประชาชนต้องมาช่วยกันให้มาก ทำตามแผนการให้สำเร็จได้ไหมพี่น้อง" สุเทพกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สุเทพ’ปักหลักศูนย์ราชการล้มระบอบทักษิณ ยันไม่เจรจาไม่เอายุบสภา-นายกลาออก

Posted: 27 Nov 2013 03:56 AM PST

สุเทพ เทือกสุบรรณ นำกลุ่มต้านระบอบทักษิณชุมนุมค้างศูนย์ราชการเป็นจุดที่3 ชี้ระบอบฯดำรงอยู่ได้เพราะสื่อ-ข้าราชการ ยันไม่เจรจาต่อรอง ไม่เอายุบสภาหรือนายกลาออก ล้มระบอบทักษิณให้ได้ภายใน 30 พ.ย.นี้

27 พ.ย.2556 17.20 น. ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำเครือข่ายต้านระบอบทักษิณ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ระบุตั้งเวทีชุมนุมที่นี่ค้างคืนเป็นเวทีหลักที่ 3 ต่อจากถนนราชดำเนินและกระทรวงการคลัง พร้อมแถลงกับผู้สื่อข่าวถึงสิ่งที่ทำให้ระบอบทักษิณสามารถดำรงอยู่ได้มี 2 ส่วน คือ

1. สื่อมวลชน ที่ไม่ทำตัวเป็นสื่อมวลชนของประชาชน ที่เห็นแก่เงินทองเห็นแก่อำนาจบริษัท สมคบกับระบอบทักษิณ แกล้งเสนอข่าวบิดเบือนบ้าง ความจริงบ้าง ซึ่งจะต้องแก้กัน

2. ข้าราชการ ซึ่งประชาชนกล้าหาญลุกขึ้นมาแสดงตัวต่อต้านระบอบทักษิณเป็นล้านคน และที่บ้านของคนเหล่านั้นมีเป็ฯ 10 ล้านคน เพราะฉะนั้นข้าราชการควรมีจิตสำนึกที่จะร่วมได้แล้ว แต่ยังมีข้ออ้างแก้ตัวอยู่เรื่อยๆ และยังรังเร ใจก็อยากจะออกจากระบอบทักษิณมาอยู่ข้างประชาชน แต่ก็ยังห่วงอานาคตของตัวเอง

สุเทพ กล่าวถึงข้าราชการกระทรวงการคลังที่พวกตนเข้ายึดก่อนหน้านี้ว่าข้าราชการติดต่อมาที่ตนพร้อมบอกว่ากำลังจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่สำคัญ แล้วตนคิดว่าถ้าประชาชนเข้าไปควบคุมพื้นที่ได้ก่อนที่จะมีการโอนเงินงบประมาณส่วนหนึ่งก็จะเป็นประโยชน์ จึงตัดสินใจเข้าไป เมื่อเข้าควบคุมพื้นที่ได้ข้าราชการก็ถือโอกาสไม่มาทำงาน โดยที่พวกตนนั้นเข้าไปอย่างสันติ มือเปล่า ไม่มีอาวุธ ไม่มีการปะทะต่อสู้เพราะข้าราชการเป็นผู้ควักมือเรียกพวกตนเข้าไป รวมทั้งแนะนำให้ไปทำอย่างไรด้วย ทำให้พวกตนสามารถตัดท่อน้ำเลี้ยงของรัฐบาลได้

สำหรับการเคลื่อนไหวในวันนี้ สุเทพ กล่าวว่ามีมวลชนหลายจังหวัดที่เข้าไปควบคุมพื้นที่ศาลากลางจังหวัด เนื่องจากประชาชนทั้งประเทศลุกขึ้นมาปฏิเสธรัฐบาลนี้ที่ไม่มีความชอบธรรม เป็นรัฐบาลที่เป็นโมฆะจากการไม่เคารพกฏหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายก็ไปที่กระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงพลังงาน ฯลฯ

"เราตั้งใจที่จะควบคุมพื้นที่ส่วนราชการทั้งหมด เพื่อที่จะให้ฟันเฟืองตรงนี้ไม่สามารถจะเลือกอยู่ในระบบทักษิณได้อีกต่อไป" สุเทพ กล่าว

เพราะฉะนั้นตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไปเราจะตั้งเวทีที่นี่ เราไล่ตำรวจออกไป เนื่องจากเราไม่ต้องการมีเรื่องรุนแรงกับใคร เพราะเราใช้สันติวิธี และยืนยันว่าไม่ได้ทำลายทรัพย์สินราชการ จะรีบจัดการ ตั้งใจจะทำให้เสร็จก่อนวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่ถ้าไม่เสร็จก็ทำต่อไป โดยขณะนี้มี 3 เวทีหลัก คือที่ราชดำเนิน ที่กระทรวงการคลังและที่ศูนย์ราชการ โดยจะมีการปักหลักค้างคืน

"ไม่มีการต่อรอง ยุบสภาประชาชนที่นี่เขาก็ไม่เลิก นายกรัฐมนตรีลาออกเขาก็ไม่เลิก ประชาชนที่นี้จะเลิกก็ต่อเมื่ออำนาจรัฐตกอยู่ในมือประชาชน จัดตั้งสภาประชาชนและจัดตั้งรัฐบาลประชาชน ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขอย่างแท้จริงสมบูรณ์แบบไม่ได้เป็นแต่ในเปลือก" สุเทพ กล่าว

สุเทพกล่าวถึงข้อเสนอของการปฏิรูปประเทศว่า จะต้องไม่มีการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทยต่อไป ปฏิรูปการปกครองเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งประเทศ ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจเพื่อให้เป็นตำรวจของประชาชนไม่ใช่ตำรวจของพรรคการเมือง เป็นต้น

"เอาระบอบทักษิณออกไปก่อน ถ้ากุมอำนาจรัฐได้ถึงจะได้ตั้งสภาประชาชน ถึงจะได้ตั้งรัฐบาลประชาชน" สุเทพ กล่าว

ส่วนเรื่องการเข้ามอบตัวตามมายจับนั้น สุเทพ กล่าวว่าตอนนี้มีหน้าที่ มีภาระกิจหลักคือจัดการกับระบอบทักษิณก่อน หมดเรื่องยุ่งเมื่อไหร่ก็จะไปมอบตัว โดยเรื่องยุ่งจะหมดเมื่อตนเองและประชาชนชนะ ยืนยันว่าจะไม่หนีไปเมืองนอก จะมอบตัวเพื่อสู้คดี

"ผมไม่เจรจา ไม่มีการต่อรอง ยุบสภาก็ไม่เอา นายกลาออกก็ไม่เอา เอาเป็นว่าไม่มีระบอบทักษิณ ต่อไปนี้เป็นเรื่องของประชาชน" สุเทพ กล่าทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

11 องค์กรวิชาชีพสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ เห็นพ้องหนุนกำกับกันเอง

Posted: 27 Nov 2013 02:53 AM PST

27 พ.ย. 2556 สำนักงาน กสทช. จัดโครงการสัมมนาทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2556 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยในงานมีการร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ของ 11 องค์กรวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในการกำกับดูแลกันเอง

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การกำกับดูแลสื่อในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ในอุดมคติคือ การกำกับดูแลกันเอง โดยผู้ประกอบกิจการและผู้ประกอบวิชาชีพ โดยที่องค์กรกำกับดูแลของรัฐไม่ต้องมาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม อย่างที่ทราบกันว่าเป็นไปได้ยาก ที่จะให้คนในระดับเดียวกันจะยอมรับซึ่งกันและกัน และกำกับกันเอง ดังนั้น ต้องพัฒนาการยอมรับซึ่งกันและกันเพื่อไม่ให้องค์กรกำกับดูแลของรัฐเข้ามาดูแล ซึ่งโดยเจตนารมณ์แล้ว ควรเป็นในกรณีร้ายแรง หรือยอมรับไม่ได้จริงๆ เท่านั้น

เขากล่าวต่อว่า จะต้องหาสมดุลโดยองค์กรกำกับดูแลและองค์กรวิชาชีพ พูดคุยกันว่าใครจะอยู่ตรงไหน โดยที่แต่ละฝ่ายต้องพิสูจน์บทบาทของตัวเอง เพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ย้ำว่า หวังว่าองค์กรกำกับดูแลจะเข้ามาแตะน้อยที่สุด โดยที่กิจการสื่อแต่ละประเภทอาจมีระดับการกำกับที่แตกต่างกัน เพราะสื่อต่างประเภทก็มีธรรมชาติต่างกัน 


สุภิญญาชี้ในภาวะการเมืองร้อนแรง ขอสื่ออย่าสร้างความเกลียดชัง จนเกิดความรุนแรง
ต่อมามีการเสวนาหัวข้อ "ศักยภาพขององค์กรวิชาชีพสื่อในการกำกับดูแลกันเองภายใต้มาตรฐานจริยธรรม" สุภิญญา กลางณรงค์ เล่าว่า กระบวนการแลกเปลี่ยนเรื่องการกำกับดูแลกันเองระหว่าง กสทช. และสื่อว่าใช้เวลากว่าสองปี โดยการลงนามในประกาศเจตนามณ์ วันนี้ถือเป็นพิธีการเชิงสัญลักษณ์ เพื่อบอกว่าองค์กรวิชาชีพตื่นตัว แล้ว กสทช. เองก็ตระหนักว่ารัฐใช้อำนาจอย่างเดียวไม่ได้ผล จึงต้องส่งเสริมให้การกำกับดูแลกันเองมีประสิทธิภาพ

สุภิญญา กล่าวว่า รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จากทุกฝ่ายเช่นเคย หากมองในแง่ดี ก็คืออย่างไรเสีย สื่อคงไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ แต่อีกแง่ ในเมื่อมีเสียงวิจารณ์มากขนาดนี้ก็แปลว่าอาจมีอะไรผิดปกติ ที่ต้องทบทวนตัวเอง

โดยสื่อทีวีขณะนี้มีทั้งรายเดิมอย่างฟรีทีวีและรายใหม่อย่างทีวีดาวเทียม ซึ่งในฟรีทีวีนั้นยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่เป็นสื่อของรัฐ ยังไม่มีความเป็นอิสระ กสทช.ก็กำลังแก้ไขตรงนี้ โดยในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า จะมีประมูลทีวีดิจิตอล ซึ่งจะทำให้สื่อทีวีทั้งรายเก่าและรายใหม่มาอยู่ร่วมกัน เป็นโอกาสที่จะออกแบบฟรีทีวีใหม่ในระบบใบอนุญาตร่วมกัน

ส่วนปัจจุบัน ที่สถานการณ์การเมืองร้อนแรง คงต้องช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ โดยสื่อโทรทัศน์ไทยขณะนี้อยู่ในภาวะสุดขั้วสองทาง ฟรีทีวีโดนวิจารณ์ว่า เมินเฉยต่อความเคลื่อนไหวในสังคม ไม่นำเสนอข่าวเท่าที่ควร ขณะที่ทีวีดาวเทียมก็เต็มที่ จนอาจล้ำเส้นเป็นเฮทสปีช ในภาวะเช่นนี้ หาก กสทช.เข้าไปแทรกแซง อาจเป็นการปิดกั้นเสรีภาพสื่อ

สุภิญญา เสนอว่า ถ้าสองส่วนปรับเข้ามา จะช่วยกอบกู้สังคมไทยในระยะยาว โดยไม่ควรสร้างความเกลียดชังจนทำให้เกิดการใช้ความรุนแรง ฟรีทีวีต้องปรับตัวเสนอข้อเท็จจริงให้รอบด้าน เป็นกลาง และให้พื้นที่ฝ่ายค้านมากขึ้น ส่วนทีวีดาวเทียม ก็ขออย่าล้ำเส้น คุกคามสื่อ หลังจากผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้ว ก็จะเชิญทุกฝ่ายมาหากติกากลางร่วมกัน โดยหากทีวีดาวเทียม อยากจะเลือกข้าง ก็มองว่าสามารถทำได้ แต่ต้องมีเกณฑ์ต่ำสุดที่จะไม่ข้ามเส้น

ด้าน ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า การกำกับกันเองไม่ได้แปลว่าสื่อกำกับกันเองเท่านั้น แต่ภาคอื่นๆ ต้องกำกับดูแลสื่อด้วย โดยปัจจุบัน สภาวิชาชีพฯ ก็มีนักวิชาการ มาร่วมสะท้อนการทำงานของสื่อว่าเป็นอย่างไรอยู่ ขณะเดียวกัน เรียกร้องไปยังผู้ชมผู้ฟังที่อยากเห็นสื่อทำงานอย่างมืออาชีพ เป็นกลาง มีจริยธรรม ก็ต้องใส่แว่นที่เป็นกลางด้วย

 

11 องค์กรวิชาชีพ ประกอบด้วย สภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) สมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สมาคมสื่อสารมวลชนสัมพันธ์จักรชัยเพื่อความมั่นคง สภาองค์กรวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์ภาคประชาชน สมาคมสภาผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทย สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ และสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย

เจตนารมณ์ดังกล่าว ระบุองค์กรวิชาชีพเห็นสมควรให้มีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ ยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพฯ ในการนำเสนอข่าวสารและแสดงความเห็นและสนับสนุนสิทธิในการจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งสนับสนุนการมีกลไกกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ ที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในการปฏิบัติและยึดถือร่วมกัน ส่งเสริมสนับสนุนสิทธิการรับรู้ข่าวสารที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยจะกำหนดแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.เพื่อสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
2. กำหนดธรรมนูญ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้บังคับในการทำหน้าที่กำกับดูแลกันเอง ในกลุ่มสมาชิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพฯ
3.ยึดถือและปฏิบัติภายใต้หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพและข้อบังคับโดยเคร่งครัด
4.สนับสนุนและยึดถือการมีกลไกกำกับดูแลกันเอง ในกรอบ จริยธรรม จรรยาบรรณองค์กรวิชาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน ที่มีแนวทางแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ/วิชาชีพ
5.สนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความประพฤติดี นำเสนอข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ
6.ร่วมเสนอแนะแนวทางในกรณีมีผู้ประกอบกิจการหรือองค์กรวิชาชีพมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อข้อบังคับระเบียบบังคับ จริยธรรมวิชาชีพ
7.ให้ความร่วมมือ สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานกับองค์กรวิชาชีพอื่นๆ ตลอดจนองค์กรกำกับดูแลกันเอง ในการผลักดันกลไกกำกับดูแลกันเองมีประสิทธิภาพ ตอบสนองประโยชน์สาธารณะสูงสุด 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ขอหมายจับแกนนำคปท.เพิ่ม ศาลเเพ่งยกคำร้องกรณีคลังขอผู้ชุมนุมย้ายออก

Posted: 27 Nov 2013 01:43 AM PST

ศาลยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ 'สุเทพ' ขณะที่ศาลแพ่งยกคำร้องกรณีก.คลังร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้กลุ่มผู้ชุมนุม ออกจากกระทรวง ระบุมีพ.ร.บ.ความมั่นคงแล้ว ตร.ขอหมายจับ4แกนนำคปท.บุกรุก 

27 พ.ย.2556 ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีกระทรวงการคลังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ พร้อมด้วยกลุ่มผู้ชุมนุม ย้ายออกจากพื้นที่ภายในกระทรวงการคลัง หลังจากนายสุเทพ ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากปักหลักค้างคืนที่กระทรวงการคลังตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.56 ที่ผ่านมา โดยศาลฯระบุว่า เนื่องจากในขณะนี้พื้นที่กรุงเทพฯ มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรอยู่แล้ว ศาลจึงยกคำร้อง

วันเดียวกัน เดลินิวส์ เว็บ รายงาน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พ.ต.ท. เทพพิทักษ์ แสงกล้า พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญพิเศษ สน.พญาไทพร้อมคณะได้นำพยานหลักฐานมายื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับนายนิติธร ล้ำเหลือ ที่ปรึกษาเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.), นายอุทัย ยอดมณี , นายรัชตชยุต หรือ อมร ศรีโยธินศักดิ์ และนายพิชิต ไชยมงคลแกนนำ คปท. ข้อหาร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืนและมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 

กรณีเมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 พ.ย. แกนนำ คปท. นำกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา เป็นเหตุให้ทรัพย์สิน และประตูบานเลื่อนไฟฟ้าเสียหาย 4 บาน  

ต่อมาเวลา 11.30 น. น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความกลุ่มคปท. เดินทางมายื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้อง และพยาน ในการขอออกหมายจับแกนนำ คปท. โดยได้เตรียมแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่ากลุ่มคปท. มีเจตนาเข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแสดงให้นานาอารยประเทศ ปฏิเสธนิติสัมพันธ์ใดๆ กับรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลที่หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว ซึ่งข้าราชการยังเดินทางมาทำงานเข้าออกได้ตามปกติ ไม่มีผู้ชุมนุมคนใดเข้าไปในตัวอาคาร ไม่มีเจตนาทำลายทรัพย์สิน อีกทั้งได้ทำความสะอาดพื้นที่ภายในให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเคลื่อนขบวนกลับไปที่หน้าสนามม้านางเลิ้งแล้ว

โดยพนักงานสอบสวนควรออกหมายเรียกไปตามภูมิลำเนาทะเบียนบ้านก่อน หรือนำหมายเรียกไปส่งให้ที่ชุมนุม ซึ่งตำรวจก็เคยเข้ามาเจรจาและส่งหนังสือกับแกนนำ คปท.แล้วหลายครั้ง ยังไม่ควรขออนุมัติหมายจับจากศาล โดยศาลได้นัดฟังคำสั่งว่าจะอนุมัติหมายจับหรือไม่เวลาประมาณ 15.00 น.วันเดียวกันนี้

วันเดียวกัน เวลา 13.30 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายเจษฎา อนุจารี ทนายความนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมทีมทนายความ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญา พิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุมัติหมายจับนายสุเทพ แกนนำการชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและรัฐบาลรวมทั้งระบอบทักษิณไปเมื่อวันที่ 26 พ.ย. รวม 2 ข้อหา ฐานมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และบุกรุกเข้าไปในอาคารสถานที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 365 กรณีที่นำมวลชนบุกปิดล้อมกระทรวงการคลังโดยศาลรับคำร้องไว้พิจารณา เพื่อมีคำสั่งต่อไป

ด้านนายเจษฎา กล่าวว่า การยื่นคำร้องวันนี้ขอให้ศาลทบทวนการออกหมายจับโดยขอให้ไต่สวนพยานของเราด้วย เพราะเราเห็นว่ากระบวนการขออนุมัติหมายจับนั้น ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59/1 , มาตรา 66 ว่าก่อนออกหมายจับ จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควร ทำให้ศาลเชื่อว่า มีเหตุออกหมายจับได้และบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการออกหมายจับข้อ 14 และ ข้อ 16 ทั้งนี้หากศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนและเพิกถอนหมายจับทนายความก็จะยื่นอุทธรณ์ต่อไป

ส่วนที่นายสุเทพ ไม่เข้ามอบตัวหลังศาลอนุมัติหมายจับแล้วจะมีผลตามกฎหมายอย่างไรหรือไม่นั้น ที่ผ่านมานายสุเทพก็ประกาศชัดเจนอยู่แล้วว่าจะขอมอบตัวภายหลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจก่อน

ยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ "สุเทพ"

สำนักข่าวไทย รายงานว่า ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ "สุเทพ" ชี้การอนุมัติหมายจับศาลได้พิเคราะห์ดีแล้ว คำร้องจึงไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลง ขณะที่ศาลแพ่งยกคำร้อง ก.คลัง กรณีขอให้ผู้ชุมนุมคืนพื้นที่ ส่วนการขออนุมัติหมายจับแกนนำ คปท.บุกรุก ก.ต่างประเทศ นัดไต่สวนวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค.นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาประชาชน คือ ทางออก

Posted: 27 Nov 2013 12:35 AM PST


ท่ามกลางสถานการณ์การต่อสู้ของประชาชนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองในขณะนี้ มวลมหาประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันว่าต้องการใช้สิทธิการปฏิวัติ(Right of Revolution) ของตนโค่นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมแล้ว คำถามสำคัญคือรัฐบาลนั้นจะต้องถูกแทนที่ด้วยอำนาจของประชาชนอย่างไร? ย่อมไม่ใช่ด้วยกองทัพเข้าทำการรัฐประหาร และจัดตั้งรัฐบาลที่ถูกเลือกโดยกองทัพ สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ชอบธรรมเพราะนั่นไม่ใช่อำนาจของประชาชน

ยิ่งในขณะนี้ข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมืองได้ถูกเสนอออกมาแล้ว เราต้องการปฏิรูปประเทศให้เกิดประชาธิปไตยที่จริงแท้ ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นธรรมได้ผู้แทนที่รับใช้ประชาชน เราต้องการข้าราชการที่รับใช้ประชาชน เราต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมกันนำพาการศึกษาของชาติให้พ้นจากความตกต่ำด้วยการตั้งใจลงมือแก้ไขอย่างจริงจังให้เป็นวาระแห่งชาติ ฯลฯ ข้อเสนอเหล่านี้ ต้องการความร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมผลักดันให้เป็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่กำลังของแกนนำ หรือกลุ่มบุคคลในแวดวงชั้นนำเพียงหยิบมือหนึ่งซึ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามา

เราจึงต้องมีการจัดตั้งตนเองของประชาชน (Self organization) เพื่อแทนที่รัฐบาลเดิมและผลักดันข้อเสนอที่ดี ที่ตรง ที่สมควร และที่นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง การจัดตั้งนั้นเป็นอย่างไร

หนึ่ง. การจัดตั้งนั้นเรียกว่า สภาประชาชน ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนที่เข้าแทนที่อำนาจสภานิติบัญญัติของประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่

สอง. สมาชิกสภาประชาชนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมต่อสู้ ประชาชนในที่นี้คือ บุคคลในสาขาอาชีพต่างๆทั้งปวงที่เห็นด้วยกับการปฏิวัติโค่นรัฐบาลที่ปราศจากความชอบธรรม และมีการรวมตัวต่อสู้ในสถานที่ต่างๆ สภาประชาชนอาจเกิดขึ้นในขอบเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล เทศบาล และ/หรือสาขาอาชีพต่างๆ ตลอดจนองค์กรของประชาชน เช่น สภาคนทำงานสาธารณสุขสุราษฎร์ธานี สภาคนงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สภาสภาชาวนาจังหวัดสุรินทร์ สภาข้าราชการทหารทุกระดับชั้นของกองทัพภาค๓ เป็นต้น สมาชิกสภาประชาชนต้องถูกกำกับดูแลและตรวจสอบ กระทั่งถูกถอดถอนได้โดยประชาชนที่เป็นผู้เลือกเข้าไปได้ตลอดเวลา

สาม สภาประชาชนทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศส่งผู้แทนสภาประชาชนที่ได้รับเลือกของตนมารวมตัวกันจัดประชุมใหญ่ผู้แทนสภาประชาชนแห่งชาติที่กรุงเทพฯเพื่อทำหน้าที่กำกับการต่อสู้ของประชาชน และผลักดันข้อเสนอหรือแนวทางในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

สี่ สภาประชาชนแห่งชาติจะต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยเลือกตั้งฝ่ายบริหารจำนวนหนึ่งไปทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระยะเปลี่ยนผ่าน ทำให้ข้อเสนอที่ได้สัญญาไว้กับประชาชนระหว่างการต่อสู้ เป็นสัญญาประชาคมแห่งการต่อสู้ ให้บรรลุผลเป็นจริง

ห้า สภาประชาชนแห่งชาติเตรียมการให้มีการเลือกตั้งด้วยระบบที่ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมเป็นใหญ่ แทนที่ระบบเลือกตั้งที่ทุนเป็นใหญ่ กล่าวคือ ให้การเข้าร่วมการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆตั้งอยู่บนการใช้งบประมาณแผ่นดินที่เท่าเทียมกัน และเน้นการประชันขันแข่งกันในด้านแนวนโยบายพัฒนาประเทศที่มุ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยลงโทษหรือตัดสิทธิ์อย่างรุนแรงกับการใช้ทุนหรือกลไกรัฐเพื่อให้ได้คะแนนเสียง

หก สภาประชาชนแห่งชาติจะมุ่งส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการจัดตั้งตนเองในรูปแบบของสภาประชาชน สิทธิการชุมนุม การรวมตัว และสิทธิการปฏิวัติ ให้อยู่อย่างยั่งยืนเพื่อตรวจสอบ และปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหาร และผู้แทนของประชาชน

นี่คือ ประชาธิปไตยทางตรงของประชาชนพลเมืองที่มีสำนึกที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพมาร่วมต่อสู้กันอย่างเสมอบ่าเสมอไหล่เพื่อกำหนดชะตากรรมของสังคมร่วมกัน(Active citizen) ซึ่งแตกต่างจากพลเมืองที่ไร้สำนึกในชีวิตประจำวันปกติและเป็นแต่ผู้ถูกปกครองภายใต้ประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่(Passive citizen)

นี่คือ ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่เหนือกว่าประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่
นี่คือ พลังประชาชนที่ไปพ้นจากการพึ่งพาอำนาจอื่น โดยพึ่งพาตนเองและมีความเป็นตัวของตัวเอง
นี่คือทางสายเอกที่จะนำพาประชาชนไปสู่การมีอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น