โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ราชดำเนินเสวนา: หนึ่งทศวรรษปัญหาใต้ ในมุมมอง วันกาเดร์ เจ๊ะมัน-จรัญ มะลูลีม

Posted: 28 Nov 2013 01:47 PM PST

วันกาเดร์ หนุนสันติวิธีในภาคใต้ เจรจาแก้ปัญหาในประเทศ แต่ไทยคุยผิดกลุ่ม เผยจูแวนักรบใต้ดินมือระเบิดตัวจริง ชี้ 10 ปีแก้ไฟใต้มาถูกทาง แต่มี 5 อุปสรรคทำแก้ปมปัญหาไม่สำเร็จ 

 
 
28 พ.ย.2556 เวลา 13.00 น.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ จัดราชดำเนินเสวนาในหัวข้อ "หนึ่งทศวรรษปัญหาใต้ในมุมมองของ ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมัน และ ดร.จรัญ มะลูลีม" โดยมี วันกาเดร์ เจ๊ะมัน อดีตประธานเบอร์ซาตู (Bersatu) หรือขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี และจรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพูดคุย
 
 
วันกาเดร์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนเองขอใช้โอกาสนี้พูดจากใจจริง ต้องขออภัยถ้าคำพูดที่ออกมา บางกลุ่มอาจจะไม่เห็นด้วย ถ้าเราไม่พูดจากใจจริง ผมว่าเราจะหาความจริงไม่ได้ ถ้าเราจะหาความจริงให้ได้ต้องพูดจากใจจริงก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าพูดจากใจจริงจะถูกเสมอ แต่อาจจะผิดก็ได้ แต่วันนี้ตนเองขอพูดจากใจจริง
 
วันกาเดร์ กล่าวว่า เรื่อง 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนสำหรับคนบางกลุ่ม แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราทำไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย ถ้าเรามองในสมัยล่าอาณานิคม คนไทยเป็นคนที่ฉลาดมากชุมนุมหนึ่งในละแวกนี้ จะเห็นได้ว่าชุมนุมอื่นในละแวกนี้เป็นอาณานิคมของคนกลุ่มหนึ่ง แต่คนไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของใคร แสดงว่าคนไทยเก่งพอสมควร จึงสงสัยว่าเราเก่งขนาดนี้ทำไมเราจริงแก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้
 
เรากลายเป็นคนที่จะไม่ค่อยจะเก่งในการแก้ปัญหาครอบครัวของเราเอง แต่ถ้าเรามาพูดคุยให้เข้าใจว่าจะทำอย่างไรให้เราเข้าใจซึ่งกันและกัน ถ้าเข้าใจกันเราก็สามารถแก้ปัญหาได้ เราจะต้องคิดว่าคนไทยเองสามารถแก้ปัญหาตัวเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องมองไกล เราต้องแก้ปัญหาของเราเอง ปัญหาภาคใต้ถ้าเรามองว่า 10 ปี ยังแก้ไม่ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่ค่อยจะใช้ความรู้ความสามารถของเรามาแก้ เราไปมองไกล
 
"เราให้คนอื่นมาช่วยแก้ปัญหาของเรา นี่แหละที่เป็นจุดด้อยจุดหนึ่ง ถ้าคนอื่นมาช่วยแก้ แล้วแก้ได้ไม่เป็นไร เอาผมอีกคนหนึ่งมาช่วยแก้ ผมอยากจะแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ผมอยากอยู่ในวงผู้ที่จะแก้ปัญหา ผมทนไม่ไหวแล้วที่คนไทยมุสลิม คนไทยพุทธ เสียชีวิตกันทุกสัปดาห์ ผมเลยตัดสินใจว่าเราก็เป็นคนหนึ่งที่จะต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาของเราเอง" วันการ์เดร์ กล่าว
 
วันกาเดร์ กล่าวต่อว่า บางคนพูดว่าเราจะแยกดินแดน สำหรับตนเองมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในสมัยนี้ สมัยแยกดินแดนผ่านไปแล้ว มันผิดสมัยไปแล้ว คนอื่นเขาไม่แยกดินแดนกันแล้ว ดังนั้นเราควรมาอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ถ้าเราคิดว่า 3 จังหวัดภาคใต้มีปัญหาใหญ่ เราก็ควรแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ถือเป็นวิธีแก้ที่ถูกต้อง เป็นวิธีที่ชุมนุมในพื้นที่ยอมรับ วิธีแก้แบบปราบปราม ประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมรับ ถ้าเขาไม่ยอมรับก็แก้ไม่ได้ ทั่วโลกก็ไม่ยอมรับ
 
"อย่าง นายจอร์จดับเบิ้ลยู บุช อดีตประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโทนี่ แบล อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ยอมรับว่า 10 ปี ที่ทำสงครามในอิรักที่จริงแล้วเขาแพ้ เขาแพ้ยิ่งกว่าใครๆ เพราะเงินมหาศาลที่ใช้ในการสงคราม นายทหารดีๆ เสียชีวิตหลายคน แสดงว่าการแก้ปัญหาแบบใช้กำลังมันแพ้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจ ถ้าอดีตผู้นำประเทศมหาอำนาจยังยอมรับว่าแก้ปัญหาแบบใช้กำลังมันใช่ไม่ได้ แล้วเรายังไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจก็แก้ปัญหาแบบใช้กำลังไม่ได้" วันกาแดร์ กล่าว
 
นอกจากนั้น วันกาแดร์ยังได้ตอบประเด็นคำถามต่างๆ ดังนี้
 
มองอย่างไรที่รัฐบาลใช้กำลังทหารลงไปแก้ปัญหาภาคใต้
 
เรื่องทหารคนอย่างผมจะพูดไม่ได้ เพราะผมไม่รู้ว่าทหารเขามีจุดประสงค์อย่างไรที่ส่งกำลังไป ถ้าคุณส่งทหารไป 3 จังหวัดภาคใต้ เพื่อใช้กำลังผมคิดว่าผิดแน่ๆ ส่งลงไปก็แก้ปัญหาโดยปราบปรามผิดแน่นอน ยิ่งแก้โดยการใช้กำลัง ยิ่งสร้างปัญหาขึ้นมา
 
ทหารที่ลงไปตลอด 10 ปี ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นบ้างหรือไม่
 
ผมไม่ทราบ แต่ผมว่าถ้าฝ่ายทหารหรือฝ่ายไหนพยายามแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ผมว่าถูกต้อง ค่อยๆ ทำค่อยๆ ไป เสาหลักในแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ต้องเป็นสันติวิธี
 
จากที่เข้าไปมีส่วนสำคัญกับการเจรจาหลายครั้งที่ผ่านมา มันมีปัญหาอย่างไร
 
การพูดคุยเจรจาเป็นเรื่องที่ดี อาจมีผลทางบวกมาก แต่บางครั้งอาจเป็นทางลบก็ได้ ถ้าไม่ถูกหลักแหล่ง ไม่ถูกต้อง เรื่องการกระทำในการเจรจาถ้าทำผิดเกิดผลทางลบแน่ ฉะนั้นถ้าเราจะเอาเรื่องเจรจามาแล้วบอกว่าได้ผลทั้งหมดมันไม่ถูก
 
ผมไปคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กัวลาลัมเปอร์ เราไปกัน 16 คน แต่เข้าพบจริงแค่ 8 คน ผมไม่ได้ไปพบด้วย ท่านทักษิณนั่งโต๊ะใหญ่โต เอาไป 16 คน ก็นั่งได้ คนที่ถูกเชิญไปเขากระซิบกับผมทันทีบอกว่ามึงคอยดูกูจะสอนมัน ผมก็นั่งเฉย พอไปเขาสอนจริง ระเบิดที่ยะลา พวกนี้สอนเขาที่พาไปเจอคุณทักษิณแล้วไม่ให้เจอ แล้ว 8 คนที่ไปเจอเป็นพวกที่ไม่มีบทบาท ผมเป็นหัวหน้าเบอร์ซาตูมาก่อนผมรู้ใครมีบทบาท
 
เขาควรเรียกคนอย่างผมไปคุยกับคุณทักษิณ ไปพูดหน่อย เพราะผมรู้ภาษาไทย แต่คนอีกครึ่งหนึ่งที่ไปฟังเขาไม่รู้ภาษาไทย เอาคนแปลมา เขาก็แปลผิดๆ ผมเลยถามว่าทำไมแปลแบบนี้ คุณทักษิณไม่ได้พูดแบบนี้ ผมเลยถามเรียนจบชั้นไหน เขาบอกจบ ป.4 คุณทักษิณเป็นผู้นำประเทศ เอาคนจบ ป.4มาแปลมันไม่ได้ ผมถามว่าจบจากไหน เขาบอกว่าจบที่กลันตัน ทำอย่างนี้ถูกเหรอ นี่แหละการไปพูดคุยเป็นเรื่องถูก แต่เทคนิคอย่างนี้มันไม่ถูก จึงเป็นปัญหา
 
อย่างที่บอก การเจรจาก็มีผลลบ ผลบวก เพราะเราทำไม่ถูกต้อง เทคนิคในการกระทำ ตั้งใจดี แต่เทคนิคการทำถ้าไม่ถูกต้องเป็นผลลบทันที บางครั้งเราตั้งใจจะทำดี แต่เทคนิคไม่ถูกมันกลายเป็นผลด้านลบ ฉะนั้นเหตุที่เกิดกับคุณทักษิณครั้งหนึ่งมันเป็นเพราะอย่างนี้ ที่ไปพูดที่มาเลเซียก็เหมือนกัน ไปคุยกลุ่มเดียว แล้วกลุ่มอื่นเขาจะคิดอย่างไร พวกนี้เขาคิดสั้นๆ เราโกรธเมื่อไรก็เล่นทันที เรื่องเทคนิคมันเป็นเรื่องสำคัญ
 
แสดงว่าเมื่อหลังคุณทักษิณไปเจอแล้วพบ 8 คน นำมาสู่การพูดคุยสันติภาพ เป็นเรื่องที่ผิดกลุ่ม
 
ตามที่ผมเข้าใจ ผิดครับ คนพวกนี้เขาก็อยู่ในองค์กร แต่ในขณะนี้เขาไม่ได้มีบทบาท พวกนี้ไม่ได้มีบทบาท คนที่มีบทบาท คนที่ปาระเบิด มันกลุ่มอื่น คนที่เผาโรงเรียนเมื่อ 5 ปีก่อนไม่ต้องเอามาหรอก ต้องเอาคนปาระเบิดตอนนี้ อย่างนั้นมันไม่ถูก มันสร้างปัญหา
 
ซึ่งก่อนที่คุณทักษิณจะมา เรานี่มันโดนขัง 2 วัน เขาให้กินข้าวเขาก็ห่อข้าวมากับปลาแห้งมาให้กิน เพื่อนผมบอกว่าเรานี่เหมือนคนที่อยู่ในคุก คนที่อยู่ในคุกกินข้าวดีกว่านี้ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมได้ข่าวว่ารัฐบาลไทยก็ให้เงินไปเยอะ ไม่จำเป็นต้องซื้อปลาแห้งให้เรากิน แล้วไม่ให้เราเจ็บใจได้ไง ไม่ใช่ว่าเราเป็นคนคุกมาจากไหน ดังนั้นคนที่ทำต้องทำให้ถูก ผมก็อยากบอกว่าถ้าเรียกเรามาก็ให้เกียรติเราหน่อย ไม่ใช่ให้มากินข้าวกับปลาแห้ง
 
กลุ่มที่ก่อเหตุตอนนี้เป็นคนกลุ่มไหน หรือใครสั่งการ
 
ไม่รู้ครับ ผมว่าเราต้องเข้าใจว่า อันนี้เป็นธรรมชาติขององค์กรต่าง โดยเฉพาะองค์กรใต้ดิน เป็นพวกจูแวนี่ (กลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยดินแดนปัตตานี) แหละ เขาคือนักสู้ คนพวกนี้เขาสู้ ถ้าทำผิดพลาดไม่ถูกใจเขา เขาก็ออกมาสู้ได้ เขาไม่สนใจ เขาอ้างพระเจ้ามาเป็นหลักของเขา เขาบอกว่าเราสู้ เราตายก็ขึ้นสวรรค์ ไม่ต้องกลัว ดังนั้นพวกนี้เขาก็ไม่คิดมาก
 
เรื่องกลุ่มอย่างนี้ผมคิดว่าเขาทำเขาไม่มีอุดมการณ์มากมาย บางคนคิดว่ามีอุดมการณ์ มันไม่หรอก เราทำเพราะเราแค้นใจ ไม่ได้ทำเพื่ออุดมการณ์ สมัยก่อนอาจจะมีอุดมการณ์ ถ้าไปมององค์กรชื่อนั้นชื่อนี้ พวกองค์กรเขาคุมลูกน้องไม่ได้ บางกลุ่มเขามี 5 คน พวก 5 คนนี้แหละเขาทำ พวกนี้แตกมาจากองค์กรใหญ่ ตอนนี้กลุ่มใหญ่มี 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 9 มีกลุ่มบุคคลที่แตกออกมา เขาไม่ชอบกลุ่ม 1-8 เลยว่ารวมกลุ่มใหม่
 
สาเหตุของกลุ่มที่ 9 คืออะไร
 
กลุ่มที่ 9 เป็นกลุ่มที่ไม่ถูกกับกลุ่มที่เขาออกมา ซึ่งกลุ่มที่ 9 มีกิจกรรมมากกว่ากลุ่มอื่น เขาก็บอกว่ากลุ่มกูเก่ง มึงอย่างมา กูก็ทำได้เหมือนกับมึง และกลุ่มที่ 9 เขาไม่บอกชื่อ เพราะตั้งชื่อไม่ได้ ตั้งชื่อพูโล เขาก็บอกว่าไม่ได้ จึงเป็นกลุ่มที่ไม่มีชื่อ แต่อาจจะมีตั้งในอนาคตผมก็ไม่ทราบ แต่เขาจะบอกกับกลุ่มเก่าว่า เห้ย...กูก็มีน้ำยาเหมือนกัน
 
แบบอุดมการณ์ก็มี แต่เขาไม่เคยทำกันแล้ว เขานั่งกันในห้องแอร์ เมื่อเขามีฐานะมีชื่อเสียงก็นั่งอยู่ในห้องแอร์ก็ไม่ทำอะไร จึงต้องเข้าใจเรื่องภายในอย่างนี้ ต้องเข้าใจว่าองค์กรต่างๆไม่สามารถคุมสมาชิกเขาได้เต็มที่ ฉะนั้นมาบอกว่าผมเป็นหัวหน้าเบอร์ซาตู เป็นหัวหน้าบีไอพีพี แล้วโอ้ เพราะคนที่ทำเขาไม่บอกหรอก เขาไม่เชื่อมั่นในตัวเรา เขาไม่ทำตามคำสั่งของเรา เขาคิดว่าไอ้ประธานอาจจะมีบางอย่างซ่อนเร้น เขาเลยทำตามที่เขาคิดว่าดี
 
ผมอยากมาพูดที่นี่ เพราะคนที่อยู่บนดินไม่เข้าใจ ยากที่จะเข้าใจปัญหาเรื่องใต้ เพราะคนใต้ดินเขาคิดไม่เหมือนคนบนดิน อย่าไปคิดว่าเขาคิดเหมือนกัน ฉะนั้นเราก็เข้าใจกันยาก จะไปหาชี้ว่าใครเป็นตัวจริง มันหาไม่ได้ เพราะเราอยู่บนดิน ถ้าเขาบอกว่าผมบริหารจัดการ ถ้าเขาถามว่าใครเป็นหัวหน้าแล้วบอกว่า ดร.วันกาเดร์ อันนั้นไม่ใช่แล้ว .............. คนที่สั่งไม่มีชื่อ แล้วไม่มีน้ำใจ ผมยังไม่เคยได้ยินว่าหนังสือพิมพ์ลงว่าคนชื่อนั้นชื่อนี้เป็นตัวการจริง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไรคนออกคำสั่งไม่มีชื่อ ท่านไม่รู้จักหรอกครับ
 
องค์กรหลักที่รัฐบาลให้น้ำหนักคือบีอาร์เอ็น ในมุมมองคิดว่าบีอาร์เอ็นเป็นองค์กรหลักในการคุมสถานการณ์หรือไม่
 
อันนั้นผมพูดไม่ได้ แต่บอกว่าคนที่ทำเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่มีชื่อ ที่รู้เฉพาะพวกเขาที่ทำ สมมุติที่ระเบิดหาดใหญ่ พวกนี้มันเป็นกลุ่มตัวเขาเอง ไม่ได้รับคำสั่งจากใคร เขาทำของเขาเอง
 
ในรอบ 10 ไฟใต้ รัฐบาลไทยมาถูกทางแล้วหรือไม่
 
รัฐบาลไทยโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ ผมคิดว่ามีความรู้ความสามารถ 1.มีความรู้ จบสถาบันที่มีชื่อเสียงของโลกอย่างจบ เวสต์ปร้อย สหรัฐอเมริกา จบจากอังกฤษ 2.มีประสบการณ์เยอะพอสมควร 3.เขามีอำนาจเต็ม 4.มีงบประมาณพอเพียงที่แก้ปัญหา 5.มีเวลาในการแก้ปัญหา นี่เป็นเรื่องที่เราอาจจะพูดว่ามาถูกทางแล้ว และผมเชื่อว่าถูกทาง
 
ผมคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่ยังแก้ไม่ได้ ความคิดของผมมันอาจจะไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้ 1.เรายังใช้วิธีปราบปรามเป็นหลัก ประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมรับการแก้ปัญหาด้วยการปราบปราม ประชาชนส่วนน้อยอาจจะเห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย 2.แก้ด้วยสันติวิธี มานั่งคุยหาทางออก โดยไม่ต้องใช้ระเบิด ใช้ปืน ใช้ความรู้ความสามารถมาแก้ 3.ต้องแก้ร่วมกัน ไม่ใช่ให้เจ้าหน้าที่รัฐแก้ฝ่ายเดียว ต้องให้ผู้เห็นต่างมาแก้ด้วย ซึ่งเขามี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเห็นด้วยกับแก้ปัญหาสันติวิธี กลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วย เราก็เอากลุ่มที่เห็นด้วยมาแก้ปัญหาร่วมกันก่อน
 
4.ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นปัญหาภายในของเรา รัฐบาลก็พูดบ่อยว่าเป็นปัญหาภายใน ฉะนั้นเราต้องแก้ด้วยตัวของตัวเอง เราจะข้ามพรหมแดนให้คนอื่นมาแก้ มันผิดหลัก ต้องไปสวิตเซอร์แลนด์ ต้องไปนอร์เวย์ ไม่ต้องครับ นอกจากเราจะอยากให้มีพยาน เราอาจจะมีได้ แต่เราต้องแก้เองก่อน เอาทั้งหมดในประเทศมาคุยกันมันยากหน่อย แต่ต้องทำ เราข้ามพรหมแดนไปคุยประเทศอื่นมา 20 ปีแล้ว ผมยังไม่เห็นเป็นผล
 
5.เราจะต้องมีองค์กรหนึ่งที่สามารถจะชี้แนะได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ว่าบุคคลใด กลุ่มใด องค์กรใด ที่กำลังมีบทบาทในการสร้างปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัด ต้องมีองค์กรที่เป็นนักสืบ ที่สามารถชี้ได้ว่าใครเป็นตัวจริง อย่าไปพูดกับคนอื่น ต้องเอาคนนี้ ไม่เช่นนั้นเสียเวลา แต่เรื่องที่จะเอาคนที่มีบทบาทแท้จริงมามันมีปัญหา เพราะพวกนี้มันทำงานใต้ดิน เราจึงต้องเอากลไกอื่นมาช่วยชี้ คนใต้ดินที่คิดว่าเราควรจะแก้ปัญหาโดยสันติวิธีมาช่วยชี้ ให้เขาชี้ว่าใครเป็นตัวการใหญ่ มันยาก แต่ยากอย่างไรเราก็ต้องพยายาม ผมอยากจะเห็น 3 จังหวัดภาคใต้ อยู่อย่างสงบสุข ราบรื่น อย่างจังหวัดอื่น บนราชอาณาจักรไทย
 
บอกว่าให้เลือกคนที่เห็นต่างแต่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาแบบสันติวิธี จะมีวิธีคัดเลือกมาอย่างไร
 
ผมคิดว่าการที่เราจะเรียก ชักจูงกลุ่มจูแวมาพูดในบ้านเรา ผมว่าเราต้องใช้คนจูแวด้วยกัน ไปชักจูงเขา คนจูแวที่เห็นพ้องกับวิธีแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เลือกคนจูแวพวกนี้ไปช่วยพูด ช่วยหา ว่ามันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แก้ปัญหาด้วยเหตุผล ไม่ใช่ใช้ความรุนแรง ถ้าผมจะบอกเขา เขาก็ไม่ค่อยเชื่ออยู่แล้ว บอกเขาว่าแก้ปัญหาแบบใช้กำลังมีแต่แพ้กับแพ้ แก้ปัญหาด้วยสันติวิธีมีแต่ชนะกับชนะ ไม่มีใครแพ้ ถ้าแก้ปัญหาแบบใช้กำลังคนที่แพ้มากที่สุดคือพวกจูแว เพราะอาวุธเขามีไม่มากพอ
 
ผมถามเขาว่าเอาอาวุธมาจากไหนมาสู้ เขาบอกว่าก็จากทหาร แล้วจะชนะได้อย่างไรเพราะเอาอาวุธทหารมาใช้ เราต้องมาพูดกัน มันต้องพูดให้แข็งแกร่ง พูดให้เขาเชื่อว่าแก้ปัญหาแบบใช้กำลังมันแก้ไม่ได้ ถ้าคุณมีอาวุธมากกว่าเขาก็แก้ได้ แต่นี่คุณมีอาวุธน้อยกว่าเขา ที่ 3 จังหวัดภาคใต้ อย่างมากที่สุดมีแค่ 3 ล้านคน คนไทยมี 66 ล้าน คน 3 คน จะไปต่อยกับคน 66 คน มันไม่ชนะหรอก ผมจะเก่งมาจากไหนก็ไม่มีทาง
 
สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยมีผลอย่างไรกับการพูดคุย
 
เรื่องการเจรจาที่ฝ่ายเห็นต่าง เขาไม่ได้มองรัฐบาลให้รัฐบาลหนึ่ง ฉะนั้นรัฐบาลใดก็ได้ควรไปสานต่อ มันก็ไม่มีปัญหา พวกนี้เขาไม่ค่อยสนใจว่ารัฐบาลอะไร ขอให้พูดถูกในครรลองของเขา เขารับได้ ผมไม่ห่วงว่าใครจะเป็นรัฐบาล ถ้ามีกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐไปพูดคุยต่อ ผมว่าไม่มีปัญหาอะไร ต้องสะกิดรัฐบาลให้เอาคนที่ก่อเหตุมาคุย ต้องจี้คนออกมาคำสั่งมาให้ได้ ผมก็โดนขู่มาหลายครั้งแล้ว จูแวคือนักสู้ ถ้าคุณไม่แน่จริงอย่าครับ ต้องระวังตรงนี้
 
รัฐบาลยังมุ่งในการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น
 
การแก้ไขปัญหาเราต้องไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาจัดการว่าควรคุยกับใคร รัฐบาลควรลงใต้ดินเองแล้วจะรู้ว่าควรคุยกับใคร วันนี้เจ้าหน้าที่รัฐโดนกลุ่มอิทธิพลกลุ่มหนึ่งมาบอกว่าเอาอย่างนี้ ฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้กว่าจะจบก็ช้า เพราะไปทางที่คดเคี้ยวมากเกินไป จึงอย่าให้ใครคุม เจ้าหน้าที่รัฐต้องตัดสินใจเอง ต้องหาทางให้แน่ใจเอง
 
ตอนนี้ผมว่าเจ้าหน้าที่รัฐถูกให้ไปทางนั้นทางนี้ ต้องเข้าใจว่าพวกที่จะมาร่วมช่วยเขาหวังผลประโยชน์ อย่าคิดว่าคนที่มาช่วยเราเขาเต็มที่ โดยที่ไม่มีผลประโยชน์อะไร คิดอย่างนี้ผิดแน่นอน ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นคนนอกเขามีผลประโยชน์ของเขา ฉะนั้นต้องมองเห็น ถ้ากลุ่ม 3 จังหวัดในภาคใต้ มีผลประโยชน์กับกลุ่มหนึ่งนอกประเทศ มันไม่ได้ ดังนั้นเราต้องรู้ว่าเขามีจิตใจที่จะช่วยเราจึงหรือเปล่า
 
 
ด้าน จรัญ กล่าวว่า อาจมีกลุ่มหลายกลุ่มไม่ได้ถูกเอาขึ้นโต๊ะเจรจาด้วย กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงอาจจะถูกทิ้งเอาไว้ กลุ่มเบอร์ซาตูก็มีความสำคัญ แต่รัฐไทยให้ความสำคัญกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นหลัก เพราะอาจคิดว่าเป็นกลุ่มใหญ่ ดังนั้นเราจึงต้องหันกลับมาดูว่าอาจจะต้องทำให้มีกลุ่มใหญ่มากขึ้น เพื่อทำให้ครอบคลุม อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนการเจรจาบนโต๊ะเจรจาคุยกันสนุกสนาน เช้ามาดูข่าวคนละเรื่อง
 
"ภาคใต้ไม่มีอำนาจภายนอกเข้ามา เป็นเรื่องของคนในพื้นที่ หรือส่งเงินมาจากโลกอาหรับ ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องจริง คนที่ไปเรียนตะวันออกกลาง ส่วนใหญ่ก็มีอุดมการณ์ ซึ่งเขาก็อยู่กับที่มากกว่าจะออกไปปฏิบัติ จึงควรแก้ปัญหาจากภายใต้ การเจรจาต้องได้รับความร่วมมือจากหลายสาย เราก็สืบเสาะบอกคนที่ร่วมเจรจาว่าให้เอาคนที่มีบทบาท มีน้ำหนักในการพูดคุยมาร่วมด้วย" จรัญ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กิตติศักดิ์’ อ้าง ‘ชัยวัฒน์’ ยึดสถานที่ราชการเป็นสันติวิธีเชิงรุก

Posted: 28 Nov 2013 10:37 AM PST

กิตติศักดิ์ ปรกติ ปราศรัยอ้างความเห็นชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ระบุยึดสถานที่ราชการอย่างสงบเป็นสันติวิธีเชิงรุก แต่เตือนตำรวจแกนนำยึดความปลอดภัยผู้ชุมนุมอันดันหนึ่ง พร้อมยกตัวอย่างเทียบออกคิวพาย วอลล์สตรีท

 

29 พ.ย.2556 เวลา 22.30 น. กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเวทีเครือข่ายต่อต้านระบอบทักษิณ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปราศรัยช่วงหนึ่งถึง ศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงสุเทพ ว่า การต่อสู้โดยสันติวิธีนั้นสามารถมีได้ทั้งในทางรับและในทางรุก ในทางรับทำได้ด้วยการร้องเรียน การอุทธรณ์ การฟ้องร้อง ทำการประท้วงคัดค้าน อันนี้เป็นการตั้งรับ แต่การเข้ายึดครองสถานที่ราชการนั้นก็อยู่ในขอบเขตสันติวิธีเรียกว่าสันติวิธีเชิงรุก

"อาจารย์ชัยวัฒน์ยังอธิบายต่อด้วย การกระทำด้วยการเข้ายึดครองสถานที่โดยสันติไม่ใช้กำลังประทุษร้าย ไม่ใช้อำนาจข่มขู่ว่าจะทำร้ายผู้คน ไม่ทำร้ายทรัพย์สิน เข้าไปยู่อย่างสงบ นี่คือการแสดออกซึ่งการโต้แย้งคัดค้านอย่างสันติที่สุด" กิตติศักดิ์กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ตัวอย่างที่ใกล้เคียงที่สุดขณะนี้ที่เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา คือ ขบวนการออคคิวพายวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street) ขบวนการยึดพื้นที่ที่วอลล์สตรีท เพื่อโต้แย้งคัดค้านบรรดานายทุนสามานย์ทั้งหลายเอาบริษัทเงินทุนมาขูดรีดประชาชน หลอกลวงประชาชนจนแทบทำให้สหรัฐอเมริกาล่มจม ออคคิวพายวอลล์สตรีท หรือการเข้ายึดวอลล์สตรีทนั้นเป็นการปิดพื้นที่ทั้งหมดของวอลล์สตรีท ในขณะเดียวกันในประเทศเยอรมันมีขบวนการคัดค้าน ประท้วง หลายกรณีที่รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด ในการรื้อถอนหรือทำตึกบางตึกที่เป็นแหล่งสำคัญ เช่น เบอร์ลิน ฮัมบูร์ก หรือในเนเธอแลนด์ โดยบรรดาเยาวชน คนหนุ่มสาวและประชาชนในเขตพื้นที่นั้นพากันเข้าไปอยู่ในตึกที่รัฐบาลที่จะเข้าไปรื้อนั้นแล้วบอกว่าไม่ยอม นี่ก็คือการใช้อารยะขัดขืนยึดพื้นที่ ถือว่าเป็นสันติวิธี ส่วนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเห็นได้ชัดในกรณีที่รัฐบาลจะทำการรื้อโบราณสถานอย่างเช่นที่บางลำพูใช้วิธีประท้วงคัดค้าน ยื่นข้อเสนอแล้วไม่ฟัง ก็เข้าไปยึดครองอาคารที่เขาจะรื้อนั้นแล้วบอกว่าเราจะไม่ยอมออกไปจนกว่าจะเลิกโครงการทุบตึกนั้น แล้วเขาก็ประสบความสำเร็จ

กิตติศักดิ์กล่าวว่า เพราะฉะนั้นถ้าเราฟัง ศ.ชัยวัฒน์ สถานอานันท์ เราจะเข้าใจว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ชอบ ข้อนี้ก็อยากจะเรียนไปถึงผู้รู้ท่านอื่นๆ โดยเฉพาะคุณกรณ์ จาติกวาณิช ขอให้อ่านบทความของอาจารย์ชัยวัฒน์ อีกสักครั้งแล้ว พิจารณาเรื่องราวเสียใหม่ แต่อาจารยชัยวัฒน์ก็ได้เตือนด้วยว่าการใช้สันติวิธีในการประท้วงคัดค้านสิ่งใดต้องทำไปเพื่อสิ่งที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งกว่ าเพื่อสิ่งที่เป็นธรรมยิ่งกว่า จึงจะชอบธรรม การกระทำของพ่อแม่พี่น้องขณะนี้ก็คือช่วยกันกู้ชาติที่ถูกผลักให้ตกลงไปในท้องทะเลจนจะล่มจมอยู่ทุกวันนี้ให้กลับขึ้นมาอันนี้เป็นคุณค่าที่สำคัญ

กิตติศักดิ์กล่าวต่อว่า อาจารย์ชัยวัฒน์ยังเตือนต่อไปด้วยว่านอกจากนั้นการใช้สันติวิธีไม่เพียงไม่ทำร้ายผู้อื่นเท่านั้นยังต้องคำนึงถึงว่าบรรดามวลชนที่เข้าร่วมขบวนการนั้นจะต้องได้รับการประกันว่าจะไม่ถูกทำร้าย จะไม่ถูกเอาชีวิตและจะไม่ถูกประทุษร้าย เพราะฉะนั้นต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ทหารคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนด้วย ในขณะเดียวกันผู้นำของการชุมนุมก็จะต้องถือเอาชีวิตและความปลอดภัยของร่วมผู้ชุมนุมเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ทำการสุ่มเสียงไม่เอามวลชนไปท้าทายจนกระทั่งอาจจะทำให้ต้องเสียชีวิต แต่ถ้าจะเกิดภยันตราย การป้องกันตัวเองทำได้ อำนาจป้องกันตัวเองเป็นอำนาจโดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับประชาชนทุกคนในกฏหมายอาญา ม. 68 รับรองไว้ชัดเจนว่าหากมีอันตรายโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะป้องกันได้ หลักนี้เป็นหลักเดียวกับ ม. 69 ของรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีสิทธิที่จะต่อสู้ปกป้องรัฐธรรมนูญของตน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทปอ.แนะยุบสภา-หาคนกลางเจรจาคลายปม-นิรโทษผู้ชุมนุมปัจจุบัน

Posted: 28 Nov 2013 09:58 AM PST

ทปอ.ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 แนะรัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน หาคนกลางที่เป็นที่ยอมรับดึงทุกฝ่ายเจรจาปัญหาขัดแย้ง และนิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุมปัจจุบันทุกฝ่าย

28 พ.ย.2556 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีการเคลื่อนไหวและการแสดงออกทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยยังไม่สามารถเห็นแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมได้ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศอย่างรุนแรง ทปอ.จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยเร็ว เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่

พร้อมกันนี้ ทปอ. เสนอด้วยว่า ให้มีการเจรจาระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้มีข้อยุติเบื้องต้นก่อนยุบสภา โดยมีบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเป็นคนกลางในการเจรจาในประเด็นต่างๆ เพื่อไม่ให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในลักษณะเดิมภายหลังการเลือกตั้งซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา

นอกจากนี้ เพื่อให้สถานการณ์ของประเทศคลี่คลายไปโดยเร็ว และก่อให้เกิดความสามัคคีในการปฏิรูปประเทศ ทปอ.ได้เรียกร้องให้รัฐบาลออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ชุมนุมในปัจจุบันทุกฝ่ายด้วย

 

 

 

00000

แถลงการณ์ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ฉบับที่ 2

จากปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ขอให้รัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ปัญหาของประเทศด้วยการควบคุมหน่วยงานของรัฐและกลไกอื่นรัฐให้แก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีไปแล้วนั้น

ทปอ.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และมีความกังวลต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีการเคลื่อนไหวและการแสดงออกทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยยังไม่สามารถเห็นแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมได้ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศอย่างรุนแรง

ทปอ.จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยเร็ว เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่

เพื่อไม่ให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในลักษณะเดิมภายหลังการเลือกตั้งซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา จึงขอเสนอให้มีการเจรจาระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้มีข้อยุติเบื้องต้นก่อนที่จะมีการยุบสภา โดยมีบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเป็นคนกลางในการเจรจาในประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเด็นดังต่อไปนี้

(1) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยังมีความเห็นต่าง เช่น ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศมาตรา 190 เป็นต้น
(2) กฎหมายที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่น ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ร่างกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย (พระราชบัญญัติเงินกู้สองล้านล้านบาท) เป็นต้น
(3) การตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อปฏิรูปประเทศไทยทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่มีคุณธรรมและการมีส่วนร่วมในระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) การรณรงค์ต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น
(5) การยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
(6) การบริหารประเทศในระหว่างยุบสภา

อนึ่ง เพื่อให้สถานการณ์ของประเทศคลี่คลายไปโดยเร็ว และก่อให้เกิดความสามัคคีร่วมกันในการปฏิรูปประเทศต่อไป ทปอ.จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ชุมนุมในปัจจุบันทุกฝ่ายด้วย


ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
28 พฤศจิกายน 2556
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงปะทะกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณหลังเข้าพบผู้ว่าปทุมฯ เจ็บ 3

Posted: 28 Nov 2013 09:31 AM PST

คนเสื้อแดงปะทะกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณหลังต่างฝ่ายต่างเดินทางเข้าพบผู้ว่าฯ ที่ศาลากลางปทุมธานี มีผู้บาดเจ็บ 3 ราย ตำรวจตรึงกำลังเข้มป้องกันเกิดเหตุซ้ำสอง ด้านผู้ว่าฯ โพสเฟซบุ๊กเป็นห่วงบ้านเมือง
 
28 พ.ย.2556 เมื่อเกิดเหตุปะทะกันระหว่าง กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 200 คน นำโดย นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ แกนนำกลุ่มสถานีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงปทุมธานี ที่รวมตัวใกล้ศาลากลาง จ.ปทุมธานี กับกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณจำนวนประมาณ 100 คน นำโดย นายประกรณ์พัฒน์ เทพเอื้อตระกูล ประธานเครือข่ายภาคีประชาชนปทุมธานี ที่เดินทางมาศาลากลางจังหวัดเพื่อยื่นแถลงการณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
 
เหตุปะทะเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้ง 2 กลุ่มไปแสดงพลังที่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี จากนั้นก็ได้แยกย้ายกันไป และทางกลุ่มเครือข่ายภาคีประชาชนได้เคลื่อนขบวนไปยังปั๊ม ปตท.ก่อนขึ้นสะพานปทุมธานี ในขณะที่กล่มเสื้อแดงตามมาพบเข้าจึงมีการใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวหาโจมตีกันไปมา จากนั้นจึงมีการลงมาปะทะกัน ก่อนที่ทางตำรวจจะเข้าระงับเหตุการณ์ ทั้งนี้จากการปะทะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย นำส่ง ร.พ.ปทุมธานี และ ร.พ.กรุงสยามเซนต์คาร์ลอส แล้ว
 
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระดมกำลังเข้ารักษาความปลอดภัยในพื้นที่เพิ่มเพราะเกรงว่ามวลชนทั้ง 2 กลุ่มจะมีการระดมคนเพิ่มและเกิดเหตุเข้าปะทะกันอีก
 
ด้านนายอานนท์ นุ่นสุข ผู้ช่วยนายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง ส.ส.ปทุมธานี กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่าเหตุดังกล่าวมีผู้บาดเจ็บจำนวน 3 ราย ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว
 
ขณะที่ นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุแสดงความห่วยใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นวันนี้
 
"วันนี้มีพี่น้องมวลชนในปทุมธานีกลุ่มต่างๆ ทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ฝ่ายนกหวีด และฝ่ายเสื้อแดง มาเยี่ยมผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจ ทุกฝ่ายได้มอบดอกไม้ เริ่มตั้งแต่ 8.00 น.เหนื่อยตรงที่ต้องจัดคิวไม่ให้กลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันได้เผชิญหน้ากัน เพราะหน้าที่ผู่ว่าฯ คือต้องดูแลรักษาสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ 

เหตุการณ์เป็นไปด้วยดี แต่ตอน 14.30 น. มีฝ่ายนกหวีด กับฝายเสื้อแดงมาเจอกัน มีการใช้เครื่องเสียงด่ากัน เลยต้องใช้ตำรวจเกือบ 200 นาย กันให้อยู่คนละฝั่งถนน ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บังคับการตำรวจออกไปรับหนังสือแถลงการณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ดอกไม้พร้อมนกหวีด หลังจากแยกย้ายกันไปพักใหญ่ได้ข่าวว่าผู้ชุมนุมทั้ง 2 กลุ่มไปเจอกันตามเส้นทาง มีการใช้กำลังทำร้ายกันบาดเจ็บ (ยังไม่ทราบรายละเอียด)

ในฐานะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คงต้องเจออีกหลายยก เหนื่อยกายไม่เท่าไร แต่เป็นห่วงบ้านเมืองจริงๆ"
 
 
 
แดงมอบดอกไม้ให้กำลังใจผู้ว่าฯ ปทุมฯ
 
ไอเอ็นเอ็น รายงานว่า นายสายัณ นพขำ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง ได้นำ นายกเทศมนตรีตำบลต่างๆ ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี พร้อมกลุ่มคนเสื้อแดงกว่า 500 คน นำดอกกุหลาบแดง มอบให้กำลังใจ นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และ พล.ต.ต.สมิทธิ มุกดาสนิท ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี เพื่อเป็นกำลังใจให้ข้าราชการในการทำงาน ที่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี โดย ผู้ว่าฯ และผบก.ภ.จว.ปทุมธานี ออกมาต้อนรับกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้
 
นอกจากนี้ นายสายัณ ยังได้กล่าวว่า คนเสื้อแดงจังหวัดปทุมธานี ได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนในการทำงาน โดยไม่ต้องฟังคำยุแย่ให้ข้าราชการหยุดงานตามคำสั่งของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และให้กำลังใจทุกคนไม่ต้องหยุดงาน  และเมื่อเวลา 09.20 น. กลุ่มคนเสื้อแดงก็ได้แยกย้ายกันกลับไป โดยไม่มีเหตุการณ์ หรือความรุนแรงอื่นใด
 
 
หวิดปะทะหน้าศาลากลางปทุมธานี - ตร.ห้ามชุลมุน!
 
ข่าวสด รายงานว่า เวลา 14.30 น. กลุ่มคนเสื้อแดงปักหลักหน้าโลตัส สาขาปทุมธานี ตรงข้ามศาลกลางจังหวัด รอการเดินทางมาของกลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนปทุมธานี ที่นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง ส.ส.ปทุมธานี เขต 5 ให้การสนับสนุนและร่วมเดินเป่านกหวีดเชิญชวนคนปทุมธานีออกมาต่อต้านระบบทักษิณ ซึ่งนัดรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัด และมีกำหนดการมอบดอกไม้ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการและอ่านคำแถลงการณ์ "ขอปลดแอกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี"
 
กลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนปทุมธานีเคลื่อนขบวนโดยมีประชาชนมาร่วมเดินขบวน 2 กลุ่ม กลุ่มละกว่า 60 คน และมีเด็กนักเรียนเทคโนปทุมร่วมเดินเป่านกหวีดตลอดทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นตัวนักเรียนเทคโนปทุมพบว่ามีคนพกมีดมาด้วยจำนวน 2 คน
 
เมื่อเดินมาถึงแยกโรงเรียนปทุมวิไล เจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางกำลังไว้กว่า 300 นาย ได้กันกลุ่มเครือข่ายภาคี ออกไปทางตัวเมืองปทุมธานี เพื่อไม่ให้เกิดปะทะกัน แต่กลุ่มคนเสื้อแดงได้เฮกันเข้าหากลุ่มภาคีเครือข่ายที่เป่านกหวีด ทำให้ต้องหลบกันชุลมุน เจ้าหน้าที่ตำรวจกันคนเสื้อแดงไม่ให้เข้าหากลุ่มคนภาคีเครือข่าย และมีการจุดประทัดไล่ ทำให้กลุ่มภาคีเครือข่ายฯ ต้องหลบเข้าไปในไฟฟ้าจังหวัดปทุมธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กันให้ขึ้นรถแยกย้ายกันกลับไป เหตุการณ์จึงสงบลงได้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคการเมืองปากีสถาน เผยจนท.ระดับสูงซีไอเอ มีเอี่ยวโจมตีด้วยโดรน

Posted: 28 Nov 2013 09:19 AM PST

 

พรรคการเมือง ปากีสถาน เตห์รีค-อี-อินซาฟ (PTI) กล่าวหาว่ามีหัวหน้าหน่วยซีไอเอในกรุงอิสลามาบัดเกี่ยวข้องกับการโจมตีด้วยโดรน หลังเกิดเหตุการณ์โจมตีเมื่อวันที่ 21 พ.ย. และมีการจัดตั้งกลุ่มประท้วงเดินขบวนปิดเส้นทางลำเลียงพัสดุของนาโต้ ด้านสถานทูตสหรัฐฯ เล็งตรวจสอบ

28 พ.ย. 2556 พรรคการเมืองปากีสถาน เตห์รีค-อี-อินซาฟ (PTI) นำโดยอดีตนักคริกเกตชื่อดัง อิมราน ข่าน กล่าวหาว่า มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากองค์กรหน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือซีไอเอ (CIA) ในปากีสถานมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้คนขับหรือโดรน (Drone) ที่เพิ่มมากขึ้นในปากีสถาน

พรรค PTI ได้เขียนจดหมายคำร้องถึงตำรวจระบุว่าหัวหน้าหน่วยซีไอเอในกรุงอิสลามาบัด เป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการโจมตีด้วยโดรนเมื่อวันที่ 21 พ.ย. ซึ่งมีกลุ่มติดอาวุธ 5 รายเสียชีวิตรวมถึงผู้บัญชาการระดับสูงของกลุ่มฮัคคานี ที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มตาลีบัน

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาว่า จอห์น เบรนแนน ผู้อำนวยการซีไอเอเป็นหนึ่งในผู้ที่ปฏิบัติการสังหารและ "ทำสงครามกับปากีสถาน"

ดีน บอยด์ โฆษกของซีไอเอไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในอิสลามาบัดและไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้ ขณะที่สถานทูตสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาจะคอยตรวจสอบในเรื่องนี้

ก่อนหน้านี้ในปี 2553 เคยมีหัวหน้าหน่วยซีไอเอชื่อโจนาธาน แบงค์ ถูกกล่าวหาดำเนินคดีหลังจากกรณีการโจมตีด้วยโดรน ทำให้แบงค์ถูกให้ออกจากประเทศปากีสถาน แต่เรื่องนี้ก็ชวนให้ตั้งคำถามว่าพรรค PTI สามารถระบุตัวเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ได้อย่างไร

เดอะการ์เดียนระบุว่าสายลับจากประเทศส่วนใหญ่ในปากีสถานใช้เรื่องทางการทูตในการปกป้องและซ่อนความเป็นสายลับของตน แต่ก็มีอีกหลายคน เช่น หัวหน้าหน่วยซีไอเอมีการเปิดเผยตัวเองต่อหน่วยงานสายลับในประเทศ

เรื่องการโจมตีด้วยโดรนกลายมาเป็นข้อถกเถียงตึงเครียดอีกครั้ง โดย เชาดรี เนอซาร์ รัฐมนตรีกิจการภายในของปากีสถาน แสดงท่าทีต่อต้านการโจมตีด้วยโดรนในช่วงต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา แม้ว่าการโจมตีดังกล่าวจะสามารถสังหาร ฮากะมัลลาห์ มุห์ซัด ผู้นำกลุ่มตาลีบันในปากีสถานได้ แต่เนอซาร์ก็บอกว่าการโจมตีดังกล่าวทำลายความพยายามของรัฐบาลในการเจรจากับกลุ่มติดอาวุธ

ขณะที่อิมราน ข่าน ผู้ที่มีนโยบายทางการเมืองเน้นต่อต้านปฏิบัติการโดรนก็แสดงความไม่พอใจ เขาอ้างว่าการโจมตีด้วยโดรนมีส่วนอย่างมากในการทำให้การก่อการร้ายภายในปากีสถานเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่คำกล่าวอ้างของข่านยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ

เหตุที่การโจมตีในวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมาสร้างความไม่พอใจ เนื่องจากเป็นการโจมตีภายนอกบริเวณชนเผ่าที่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการปกครอง (Federally Administered Tribal Areas) ซึ่งน้อยครั้งจะเกิดขึ้น นอกจากนี้การโจมตียังเกิดขึ้นในพื้นที่ที่พรรค PTI เป็นหัวหน้ารัฐบาลผสมคือในเขตปกครองไตเบอร์ ปักตุนควา

อิมราน ข่าน ตอบโต้ด้วยการจัดเดินขบวนในเมืองเปชาวาร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองไตเบอร์ ปักตุนควา และสั่งให้นักกิจกรรมพรรค PTI ปิดเส้นทางไม่ให้ยานพาหนะสามารถลำเลียงพัสดุไปยังกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถาน แต่พรรค PTI ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าพัสดุดังกล่าวเป็นอะไร และไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางของปากีสถานและเจ้าหน้าที่ตำรวจปากีสถานก็พยายามยับยั้งไม่ให้มีการปิดเส้นทางลำเลียง

ทางด้านสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์รายงานว่า ข่านเป็นผู้ที่มีความพยายามยับยั้งปฏิบัติการทหารต่อกลุ่มตาลีบันในปากีสถานมาตลอด แม้ว่าพื้นที่เขตปกครองไตเบอร์ ปักตุนควา จะมีความรุนแรงจากกลุ่มติดอาวุธเกิดขึ้นสูงมาก

 


เรียบเรียงจาก

CIA's most senior officer in Pakistan 'unmasked' by Imran Khan's party, The Guardian, 27-11-2013
http://www.theguardian.com/world/2013/nov/27/cia-officer-pakistan-imran-khan-party

In Protest Against Unending Drone Attacks, Pakistani Party 'Unmasks' CIA Station Chief, commonDreams, 27-11-2013
http://www.commondreams.org/headline/2013/11/27-7

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุนโมเดล สจล. ใช้สภามหาวิทยาลัยตรวจสอบผู้บริหาร

Posted: 28 Nov 2013 08:46 AM PST

ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ยินดีสภามหาวิทยาลัย สจล. สอบ-ลงดาบอธิการบดี หวังเป็นโมเดลตรวจสอบภายในของแต่ละสถาบัน เผยยังมีการบริหารที่ไม่ชอบธรรมใน ม.อีกมาก รอการตรวจสอบ

28 พ.ย.2556 จากกรณีที่สภามหาวิทยาลัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย. พิจารณาผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่อธิการบดี แก้ผลการเรียนให้กับลูกตนเอง โดยมีมติ 9 ต่อ 4 เสียง ให้ถอดถอน ถวิล พึ่งมา พ้นจากตำแหน่งอธิการบดี

วีรชัย พุทธวงศ์ ประธานหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า ถือเป็นข่าวใหญ่ที่สุดในวงการอุดมศึกษาไทยในรอบปี ที่สภามหาวิทยาลัยได้ใช้อำนาจในการตรวจสอบและถอดถอนอธิการบดี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเป็นสภาเกาหลัง เป็นกลุ่มพรรคพวกอธิการบดี ทำให้การตรวจสอบอธิการบดีที่กระทำการลุแก่อำนาจ ไม่สามารถทำได้  บางมหาวิทยาลัย อธิการบดีถูก สตง. ชี้มูลทุจริต และประชาคมในมหาวิทยาลัยได้ลุกขึ้นมาต่อต้านเป็นข่าวใหญ่โต แต่ก็ยังไม่มีการขยับใดๆ จากสภามหาวิทยาลัย

วีรชัย กล่าวต่อถึงกรณีที่ ทปอ. มีมติให้ทุกมหาวิทยาลัยร่วมโครงการ "บัณฑิตไทยโตไปไม่โกง" ว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยจัดทำโครงการนี้ เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองและวงการอุดมศึกษาในช่วงนี้อย่างมาก เป็นการสร้างค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต และอยากให้โมเดลของสภามหาวิทยาลัยของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นตัวอย่างในการตรวจสอบภายในของแต่ละมหาวิทยาลัยไปพร้อมกันด้วย

"หากบ้านเรายังไม่สะอาดพอ ก็ไม่สามารถสอนนักศึกษาเรื่องการทุจริตได้เต็มปากเต็มคำ" วีรชัย กล่าว

ด้าน นุจรี ใจประนบ ฝ่ายเลขานุการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานฯ ได้รับข้อมูลหลากหลายจากสมาชิกตัวแทนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หลายเรื่องเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่ไม่เป็นธรรม ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งอยากให้สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ทำการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กรณีของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งใน จ.มหาสารคาม  ได้ดำเนินการละเมิด พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่ระบุให้ พนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และรัฐบาล จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนในส่วนละ 33% แต่ได้มีประกาศของมหาวิทยาลัยที่ทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ดังกล่าว โดย ผลักภาระการจ่ายเงินในส่วนมหาวิทยาลัย ไปหักเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยตนเองแทน นั่นหมายถึง อาจารย์เหล่านั้นต้องจ่าย 66% ถือเป็นการละเมิดกฏหมายอย่างร้ายแรง  อยากให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงานเอดส์ ประกาศเจตนารมณ์ ร่วมลดตาย ลดรายใหม่ ลดตีตรา

Posted: 28 Nov 2013 08:36 AM PST

เครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ เผยความเข้าใจเรื่องเอดส์ในคนรุ่นหลังต่ำลง ส่งผลคนไม่พร้อมอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ ประกาศเจตนารมณ์ ร่วมกันทำงาน สร้างความเข้าใจและลดการติดเชื้อเอชไอวีให้เป็นศูนย์

28 พ.ย.2556 เครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เครือข่าย 12 D และองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กว่า 60 คน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ต่อการทำงานเรื่องเอดส์ เนื่องในวันเอดส์โลก (1 ธ.ค.ของทุกปี) ที่ลานหน้ากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ให้ความเห็นว่า เอดส์ยังคงเป็นปัญหา และเหมือนว่าทุกฝ่ายที่ทำงานเรื่องนี้ คิดว่าทุกอย่างควบคุมได้ สถานการณ์กำลังจะดีขึ้น แต่สถานการณ์เช่นนี้ เขาคิดว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เอดส์กลายเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขลำบากขึ้น

"โจทย์คือคนรุ่นหลังยังมีความเข้าใจเรื่องเอดส์ที่ต่ำลง จากการสำรวจของกรมควบคุมโรค พบว่าคนยังไม่พร้อมอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อฯ หรือไม่อยากให้ผู้ติดเชื้อฯ มาเรียนร่วม เยาวชนที่ติดเชื้อฯ ต้องหลบตัวเองอยู่เงียบๆ ไม่ต้องการให้ใครรู้ เพราะหากมีคนรู้ ก็อาจจะถูกรังเกียจหรืออาจจะถูกไล่ออกจากโรงเรียน เป็นต้น แล้วเขาเหล่านั้นจะอยู่อย่างไร ในสถานการณ์แบบนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งทำงานสร้างความเข้าใจใหม่ให้บรรลุผลโดยเร็ว" นิมิตร์กล่าว

ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวอีกว่า กิจกรรมในครั้งนี้ทำขึ้นเพื่อต้องการสร้างความเข้าใจในเรื่องเอดส์ให้กับคนทุกรุ่น รวมถึงเตือนคนทำงานด้านเอดส์ กรมควบคุมโรค เอ็นจีโอ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ว่าการผูกสัญญาจะเป็นหมุดหมายในการร่วมมือกันในการทำงานเรื่องเอดส์มากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น เพื่อไปข้างหน้าด้วยกันได้

ด้าน สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า การทำเรื่องเอดส์ให้เป็นศูนย์ ต้องทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนบนแผ่นดินไทย รวมถึงแรงงานข้ามชาติ ได้รับบริการที่จำเป็น ตั้งแต่การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ หรือการรักษาตามมาตรฐาน เพื่อลดอัตราการตาย และลดการส่งผ่านเชื้อฯ ไปยังผู้อื่นได้ดีขึ้น

"การรักษาถือเป็นการป้องกันอย่างหนึ่ง ถ้าไม่ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการจะเป็นปัญหา เพราะเราไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาด หรือลดอัตราการตายได้จริง ซึ่งรัฐสามารถให้บริการกับแรงงานข้ามชาติได้ เพราะนี่คือเขตแดนความรับผิดชอบของรัฐไทย รวมถึงยังมีความจำเป็นที่ต้องจัดบริการหาเข็มและอุปกรณ์สะอาด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อฯ ในกลุ่มผู้ใช้ยาด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่เกิดบริการนี้" ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ให้ความเห็น

สุภัทรา กล่าวว่า แม้รัฐจะส่งเสริมให้คนเข้าถึงการรักษาโดยเร็ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องการตรวจเลือดเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ต้องให้ผู้ปกครองยินยอมนั้น จะต้องแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ เพื่อให้เยาวชนได้รับบริการการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องขออนุญาตพ่อแม่ เพราะหากเด็กเข้าถึงบริการเร็ว ก็จะมีประโยชน์กับตัวเด็กเอง คือจะช่วยให้เขาไม่เจ็บป่วย และลดโอกาสการเสียชีวิตจากเอดส์ลง

สุดใจ ตะภา ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ความเข้าใจผิดในเรื่องการอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เช่น การปฏิเสธไม่ให้เรียน ทั้งที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นการตีตราในเรื่องเอดส์ทำให้คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ ไม่กล้าเข้าสู่การรักษา เพราะกลัวคนรู้ กลัวคนในชุมชนไม่ยอมรับ

"อย่างกรณีของนักศึกษาพยาบาลที่ถูกบังคับตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีระหว่างเรียน เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้เขาต้องออกจากการเรียน ทั้งที่ถ้าได้เรียนต่อ ก็เรียนจบได้เป็นพยาบาลอย่างที่ฝันไปแล้ว แต่น้องเขาต้องเสียเวลาไปอีกหลายปี เพราะต้องไปเริ่มต้นหาที่เรียนใหม่ จากกรณีนี้ทำให้เห็นว่าความไม่เข้าใจของคนในสังคมต่อเรื่องเอดส์กระทบต่อชีวิตของผู้ติดเชื้อฯ อย่างใหญ่หลวง ซึ่งเรากำลังฟ้องศาลปกครอง ให้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการละเมิดสิทธิผู้ติดเชื้อฯ เพราะถ้าเราไม่ทำเรื่องนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะมีอีกกี่คน ที่จะต้องเจอกับสถานการณ์เช่นนี้" สุดใจ กล่าว

ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ ประกอบด้วยมาตรการทางนโยบายและการปฏิบัติงาน 9 ข้อ คือ 1.ลดการติดเชื้อฯ เด็กแรกเกิดให้เป็นศูนย์ 2.จัดหาเข็มและอุปกรณ์ใหม่สำหรับผู้ใช้ยา 3.มีมาตรฐานตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ และให้รู้ผลภายในวันเดียว 4.ตรวจเลือดหาการติดเชื้อฯ ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง 5.ใช้แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อฯ/ผู้ป่วยเอดส์ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก 6.ให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงการป้องกันและการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 7.ดำเนินการทางกฎหมายกับสถานศึกษา หรือสถานประกอบการที่บังคับตรวจเลือดหาการติดเชื้อฯ 8.ยึดใบอนุญาตหน่วยบริการสาธารณสุขที่ร่วมมือกับสถานศึกษา/สถานประกอบการในการบังคับตรวจเลือด และ  9.ลงทุนในการรณรงค์สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ อย่างต่อเนื่อง
         
ในการประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ มีการนำประติมากรรมรูปโบว์แดงขนาดใหญ่ไปตั้งไว้บริเวณสนามหญ้าหน้ากรมควบคุมโรค สธ.ด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์อันหมายถึงความร่วมมือ และพันธสัญญาในการไปสู่เป้าหมายในการทำงานเอดส์ร่วมกัน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลเลื่อนนัดตรวจคดี พธม.ปิดทำเนียบ มี.ค.ปีหน้า

Posted: 28 Nov 2013 08:29 AM PST

ศาลอาญา เลื่อนตรวจพยานหลักฐานคดีพันธมิตรฯ ปิดทำเนียบรัฐบาล ไปเป็น 3 มี.ค. 2557 ทนายขอศาลเนื่องจากยังจัดเตรียมพยานเอกสารไม่แล้วเสร็จ

28 พ.ย.2556 วอยซ์ทีวี รายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 708 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดประชุมคดีตรวจพยานหลักฐาน คดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกทำเนียบรัฐบาล ปี 2551 คดีหมายเลขดำ อ. 4925/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวกซึ่งเป็นแกนนำรวม 4 คน และคดีหมายเลขดำ อ.276/2556 ที่ยื่นฟ้องนายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสุริยะใส กตะศิลา ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและร่วมกันทำให้ให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 , 91 , 358 , 362 และ 365 ซึ่งคดีนี้สอบคำให้การจำเลยทั้ง 6 คนแล้วจำเลยให้การปฏิเสธ

โดยในวันนี้อัยการโจทก์ได้แถลงขอนำพยานเข้าสืบจำนวน 40 ปาก และขอยื่นพยานเอกสารและวัตถุพยานเพิ่มเติม  ขณะที่ด้านจำเลย นางอัจฉรา แสงขาว ทนายความจำเลย ได้แถลงว่ายื่นบัญชีพยานไว้แล้วบางส่วน แต่ขอยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 263 ปาก โดยเป็นพยานกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนพยานเอกสารยังจัดเตรียมไม่เสร็จสิ้น จึงขอศาลเลื่อนนัดส่งพยานเอกสารไปอีก 1 นัด  ศาลสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน ศาลจึงเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน เป็นวันที่ 3 มี.ค. 2557 เวลา 09.00 น.      

ภายหลังนายสนธิ กล่าวว่า  สำหรับสถานการณ์ในการชุมนุมของกลุ่มต่างๆที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  ซึ่งภารกิจของนายสุเทพ ถือว่าสำเร็จแล้วที่สามารถระดมมวลชนได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหลังจากนี้เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  พรรคเพื่อไทยจะไม่ยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ส่วนกรณีที่ประธานสภาและพรรคเพื่อไทยออกมาแถลงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำลงเนื่องจากไม่สนับสนุนนายสุเทพเปรียบเสมือนกึ่งลอยแพ สื่อและภาคประชาชนเริ่มตื่นตัวมีการจับตามองเรื่องการเมืองขึ้น ส่วนอำนาจต่อรองจะตกอยู่ที่กองทัพมากขึ้น โดยตนเห็นว่าทางกองทัพควรออกมาแสดงบทบาทหากรัฐบาลทำไม่ถูกต้อง ซึ่งวันนี้แม้ว่าจะแพ้หรือชนะก็คงไม่สำคัญแล้ว  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพลั่นไม่เจรจา ปิดเกมใน 2 วัน - ซัด 'กรณ์' ระวังอยู่ยาก

Posted: 28 Nov 2013 07:52 AM PST

สุเทพปิดประตูเจรจา เดินหน้าสู่ 'สภาประชาชน'  โต้นายกฯ 8 ประเด็น เตรียมปิดเกมใน 2 วัน ซัดกรณ์ จาติกวณิช ไม่เห็นด้วยให้เงียบ เรียกร้อง ส.ส.สาบานจะยอมรับศาลรัฐธรรมนูญ ด้านหลวงปู่พุทธะอิสระระบุเตรียมนำชัยชนะประชาชนน้อมกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญในหลวง

28 พ.ย.2556 เวลา 21.10 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั่งกล่าวปราศรัยบนเวทีศูนย์ราชการ เริ่มต้นด้วยการกล่าวขอบคุณประชาชนในเวทีต่างๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และจะปิดเกมต่อสู้จะมาถึงใน 1-2 วันนี้

"ผมเป็นผู้เขียนแผนปฏิบัติการร่วมกับบรรดาแกนนำ หลวงปู่ฯ เป็นผู้ระดมกำลังคน วันสองวันนี้รู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใครก็ใครไปกันข้างหนึ่ง ถ้าเราปฏิบัติการได้สำเร็จก็จะมีสภาประชาชนเกิดขึ้น มีรัฐบาลของประชาชนเกิดขึ้น ทั้งสภาประชาชนและรัฐบาลประชาชนจะปฏิบัติภารกิจเพื่อที่จะนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างสมบูรณ์แบบแท้จริง"

"กระผมได้กราบเรียนถึงเป้าหมายแนวทางที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปไปแล้ว สิ่งเหล่านั้นจะเกิดได้ต่อเมื่อปฏิบัติการคราวนี้สามารถขจัดระบอบทักษิณหมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทยเสียก่อน การปฏิบัติการคราวนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่จะมาร่วมกัน ที่หลวงปู่ฯ ได้ชักชวนให้มากันมากๆ มากันมากกว่าล้าน เป็นสองล้าน สามล้านสุดแล้วแต่ นั่นคือ จำนวนของคนที่ต้องตัดสินใจว่าออกมาเพื่อปฏิบัติการให้สำเร็จ ไม่ใช่คุยกันเฉยๆ แล้วกลับบ้านนอน แต่ถ้าท่านไม่มา ปฏิบัติการจะล้มเหลว จะมีพระคุณเจ้าองค์หนึ่งถูกปล้นจีวรและเข้าคุกแน่นอน ผมก็จะได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานทำสมาธิกับพระที่ไม่ได้ห่มจีวรแล้ว ในห้องขังใกล้ๆ กัน" สุเทพกล่าว และว่า การปฏิบัติการครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เห็นพระคุณเจ้าเดินนำขบวน

สุเทพกล่าวว่า แผนปฏิบัติการนั้นจะเก็บไว้พูดคืนพรุ่งนี้ แต่วันนี้ขอพูดถึงการแสดงแถลงของคน 2 คน คือ กรณ์ จาติกวณิช และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยนายกรณ์นั้นที่ได้แสดงท่าทีต่อสาธารณะเกี่ยวกับการชุมนุมว่าไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ชุมนุมเข้ายึดกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ไม่สบายใจกับกลยุทธ์ของกลุ่มผู้ชุมนุม และยังบอกว่าได้พยายามพูดคุยกับผู้ที่รับผิดชอบว่าต้องรักษากฎเกณฑ์การชุมนุม เรื่องนี้นายกรณ์มีสิทธิเต็มที่ 100% ที่จะไม่เห็นด้วยกับการกระทำใดๆ ของผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมก็มีสิทธิ 100% ที่จะตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการต่อสู้กับระบอบทักษิณเพื่อให้บรรลุชัยชนะของประชาชน

สุเทพกล่าวว่า การดำเนินการใดๆ เป็นไปตามมติของมวลมหาประชาชน นายกรณ์ไม่สบายใจกับกลยุทธ์ผู้ชุมนุม กลุ่มผู้ชุมนุมก็ชักจะไม่สบายใจกับท่าทีของนายกรณ์แล้วเช่นกัน

"ตรงนี้จะเป็นหลักฐานชัดเจนว่า พวกผมที่เป็นแกนนำ 9 คนแม้เคยสังกัดพรรคเดียวกับคุณกรณ์ แต่เมื่อเราลาออกจาก ส.ส. แล้ว ถือว่าการกระทำใดๆ ของเราต่อไปนี้ เราทำเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ ไม่สนใจพรรคการเมืองอีกต่อไป ขอเรียนอีกว่าแกนนนำทั้ง 9   คนจะไม่ทำตามคำสั่งใคร นอกจากคำสั่งของมวลมหาประชาชนที่สู้เคียงบ่าเคียงไหล่กันเท่านั้น พรรคการเมืองมาสั่งเราไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ขอเตือนคุณกรณ์ว่า ตั้งแต่วันนี้จนวันที่ปฏิบัติการเสร็จ อย่าออกมาพูดอะไรอีก มิฉะนั้น คุณกรณ์ จาติกวณิชย์ จะลำบากมากในชีวิต อันที่จริงก็เคยมีคนไม่น้อยที่ไม่ชอบใจ ไม่เห็นด้วย กับกลยุทธ์ กับการปฏิบัติการของพวกเรามวลมหาประชาชน เช่น คุณตัน เจ้าของสินค้าอิชิตัน เป็นต้น  ถ้าคุณกรณ์อยากรู้ว่าคุณตันเจออะไรบ้าง ก็ไปเปิดเฟซบุ๊กของคุณตันดูว่ามวลมหาประชาชนเขาจัดการกับคุณตันอย่างไร"

"ขอความร่วมมือคนดังๆ คนอื่นๆ ว่าอย่าทำกับเราแบบนี้ ปล่อยให้เราสู้ของเราต่อไป ส่วนท่านจะสู้หรือไม่สู้แล้วแต่ใจของท่าน วิธีการต่อสู้ของเราแม้มีส่วนที่ต้องผิดกฎหมายบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่อาจารย์ด้านสันติวิธีซึ่งเชี่ยวชาญชำนาญการการต่อสู้ด้วยสันติวิธี ยืนยันแล้วการต่อสู้ครั้งนี้ไม่มีอะไรผิดหลักสันติอหิงสาแต่อย่างใดทั้งสิ้น" สุเทพกล่าว  

สำหรับกรณีการแถลงของนายกฯ สุเทพกล่าวว่า ประเด็นที่รัฐบาลยืนยันจะไม่ใช้ความรุนแรงนั้น "เมื่อคืนนี้และคืนวานยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งตำรวจใช้อาวุธ ใช้อุปกรณ์ทุกอย่างสลายการชุมนุมที่กระทรวงการคลังให้ได้ คิดอ่านวางแผนกันขนาดจะดักจับ ส.ส.เอกณัฐ เพื่อบังคับให้ผมต้องไปแลกตัวประกัน"

สุเทพยังกล่าวหาโดยอ้างแหล่งข่าวจากกองทัพอากาศซึ่งแจ้งว่าคุณหญิงพจมาน เรียกนายทหารเข้าพบเพื่อให้ชุดปฏิบัติการหน่วยบัญชาการทหารอากาศโยธิน กองปฏิบัติการพิเศษกองพันที่ 2 เข้าจับกุมหรือทำให้นาสุเทพเสียชีวิต รวมถึงแกนนำคนอื่นด้วย

ประเด็นที่สองยิ่งลักษณ์แถลงว่ายังทำงานได้อยู่ สุเทพกล่าวว่า รัฐบาลจะทำได้อีกไม่กี่วันเท่านั้น และจะไม่ได้ทำอีกต่อไปแล้ว ขณะนี้ก็ทำงานได้ไม่ถึงครึ่งและจะยิ่งน้อยลง

ประเด็นที่สาม นายกฯ แถลงให้ข้าราชการต้องมีสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติราชการ นายสุเทพกล่าวว่า ข้าราชการที่ดีจะต้องมีสำนึกว่าเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และของประชาชน ไม่ใช่ของรัฐบาลที่โกงกิน

ประเด็นที่สี่ นายกฯ ยืนยันว่ารัฐบาลนี้จะไม่เล่นเกมการเมืองกับผู้ชุมนุม สุเทพกล่าวว่า "พวกกูก็ไม่ได้คิดเล่นเกมการเมืองกับมึง เพราะคราวนี้กูเอาจริง ไม่พวกคุณก็พวกเราไปกันข้างนึงแน่นอน พวกคุณชนะก็รอดคุก มีแต่พระกับกำนันอย่างผมติดคุก แต่ถ้าพลาด และกำนันไม่ติดคุก มึงติดคุกกันเยอะเลย"

ประเด็นที่ห้า นายกฯ ระบุว่ารัฐบาลพร้อมรับฟังข้อเรียกร้อง ข้อต่อรองของผู้ชุมนุม นายสุเทพกล่าวว่า "ขอส่งเสียงตอบให้ชัดเจนว่า ผู้ชุมนุมมวลมหาประชาชน ขณะนี้ไม่มีข้อต่อรองและไม่ต้องการต่อรองกับคุณ ไม่ต้องส่งใครมาเจรจาอีก ไม่คุยด้วย ไม่ต่อรองด้วย มวลมหาประชาชนตั้งเป้าหมายอย่างเดียวว่าต้องไม่มีระบอบทักษิณในประเทศไทยอีกต่อไป"

ประเด็นที่หก ยิ่งลักษณ์ระบุว่าสภาประชาชนไม่มีตามรัฐธรรมนูญ สุเทพกล่าวว่า "ผมต้องตอบว่า ใช่ ยังไม่มี แต่จะมีเร็วๆ นี้ ที่จะมีเร็วๆ นี้เพราะเหตุผลว่ารัฐบาลนี้ที่อ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่พูดจาเมื่อบ่ายว่าเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งถูกต้องตามกระบวนการประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงก็คือ การเลือกตั้งที่อ้างความเป็นประชาธิปไตยนั้นแท้ที่จริงแล้วพวกคุณโกงการเลือกตั้งและซื้อเสียงประชาชนจึงได้มานั่งในสภา"

สุเทพระบุด้วยว่า  รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายเนื่องจากไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นรัฐบาลที่ไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงหมดความชอบธรรมทางกฎหมาย เป็นเพียงรัฐบาลนอกรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังหมดความชอบธรรมทางการเมืองเนื่องจากเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา มีคนมากกว่าล้านคนลุกขึ้นแสดงชัดเจนว่าไม่ยอมรับรัฐบาลนี้ ซึ่งคนล้านคนเป็นตัวแทนของคนอีกนับสิบๆ ล้านที่บ้าน

"คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ไม่เอาคุณแล้ว เขาจึงลุกขึ้นยึดศาลากลาง ยึดกระทรวงและปฏิเสธรัฐบาลทุกอย่าง"  

สุเทพกล่าวต่อว่า เมื่อบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพอย่างนี้จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อดูบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะพบว่าหากรัฐบาลทำผิด ปฏิเสธศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิของประชาชนที่จะลุกขึ้นต่อต้านตามมาตรา 69 และต้องทำหน้าที่ตามมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญคือ รักษาชาติ ศาสนา สถาบันกษัตริย์ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังระบุในมาตรา 3 ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย วันนี้ประเทศไทยจึงต้องกลับไปใช้อำนาจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งก็คือ สภาประชาชน

"เพื่อตอบข้อนี้ จึงกราบเรียนถึงพี่น้องทุกหนแห่ง พรุ่งนี้ขึ้นป้ายให้เหมือนกัน 3 ป้าย คือ 1 เราคือปวงชน 2 เราคือประชาชน 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เขียนให้เหมือนกันทุกบ้าน เพื่อประกาศให้ชัดเจนว่าประชาชนคนไทยถึงเวลาที่ต้องออกมาใช้อำนาจอธิปไตยตามที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 3 เป็นเวลาต้องทำแล้ว เลือกไม่ได้แล้ว เอาอำนาจอธิปไตยของประชาชนคืนมา" สุเทพกล่าว

ประเด็นที่เจ็ด นายกฯ เสนอทางออกของประเทศไทยโดยให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม สุเทพกล่าวว่า "ขอตอบเลยว่า ไม่หยุด แล้วจะเดินหน้าต่อไปแรงขึ้น ยกระดับขึ้น ประการสองบอกว่ารัฐบาลจะเปิดเวทีเจรจากับตัวแทนผู้ชุมนุม ตอบเลย ไม่มีตัวแทนผู้ชุมนุมเครือข่ายไหน กลุ่มไหน ไปเจรจากับพวกมึงอีกต่อไปทั้งสิ้น ไม่มีการเจรา ไม่มีการต่อรอง มีเรื่องเดียว ระบอบทักษิณต้องหมดสิ้นแผ่นดินไทย"

ประเด็นที่แปด นายกฯ อ้างถึงช่วงเวลาแห่งการเทิดพระเกียรติ คนไทยต้องรู้รักสามัคคี สุเทพกล่าวว่า  "ไม่ต้องมาสอนพวกกู เพราะพวกกูจงรักภักดีมากกว่าพวกมึง แล้วจะประกาศให้รู้ ว่างานเฉลิมพระชนม์พรรษาคราวนี้ มวลมหาประชาชนจะจัดงานให้ยิ่งใหญ่กว่าที่รัฐบาลนี้คิดจะทำ"

จากนั้นหลวงปู่พุทธอิสระกล่าวเสริมว่า "ขอเรียนว่า ลูกหลานของพ่อหลวงทุกคนจะเอาชัยชนะ น้อมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญพระองค์ให้ได้ในสองวันนี้"

สุเทพกล่าวต่อว่า หากตั้งสภาประชาชน จัดตั้งรัฐบาลของประชาชนได้ จะทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปการปกครอง ปฏิรูปการศึกษาทั้งหมด เราจะรวบรวมประมวลทั้งหมดทำให้เสร็จในเวลารวดเร็ว แล้วจากนั้นให้ประเทศจะได้เดินในแนวทางประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่อาฆาตใครร แต่ระบอบประชาธิปไตยของเราคือระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข แม้แต่คนเสื้อแดงที่ไม่คิดล้มล้างสถาบันก็สามารถกลับใจมาร่วมงานกับสภาประชาชนได้

สุเทพกล่าวทิ้งท้ายว่า จะไม่อาฆาตส.ส.312 คนที่โหวตผ่านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่มีข้อแม้ว่า ส.ส.ทั้งหมดนั้นต้องทำการสาบานใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ต่อไปจะยอมรับอำนาจรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่บิดพลิ้ว 2.ต้องยอมรับการปฏิรูปการเมือง การเปลี่ยนแปลงการเมืองตาทที่มหาประชาชนได้เสนอ อย่างที่ตนได้ประกาศเมื่อคืน 25 พ.ย. 3.ต้องสาบานอย่างแข็งขันว่า จะไม่รับใช้ระบอบทักษิณอีกต่อไปและต้องทำภายใน 1-2 วันนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอ 20 ปี ศาลฎีกาพิพากษายืน ‘ยกฟ้อง’ คดียึดแก่งไม่ให้สร้างเขื่อนปากมูลปี 36

Posted: 28 Nov 2013 07:28 AM PST

เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา คดีบุกรุกยึดแก่งไม่ให้สร้างเขื่อนปากมูลตั้งแต่เมื่อปี 2536 ศาลพิพากษายืน ให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 1 'วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' เสียชีวิตก่อนสู้คดีมาถึงศาลสูงสุด
 
 
28 พ.ย.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2556 ศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาคดี ที่ 5553-5554/2556 ลงวันที่ 26 เม.ย.2556 คดีบุกรุกยึดแก่งไม่ให้สร้างเขื่อนปากมูล ที่พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ฟ้อง แกนนำ 2 คน คือ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ และทองเจริญ สีหาธรรม โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ยกฟ้อง
 
การฟ้องคดีดังกล่าว สืบเนื่องจากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 1-6 มีนาคม 2536 ที่ชาวบ้านปากมูนกว่า 500 คน ได้ร่วมกันเขาชุมนุมที่แก่งคันเห่ว บ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม จ.อุบล ขัดขวางไม่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระเบิดแก่งเพื่อสร้างเขื่อนปากมูล และต่อมาการไฟฟ้าฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ 2 แกนนำชาวบ้าน โดยกล่าวหาว่า ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง บุกรุก หมิ่นประมาท และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
 
ต่อมาศาลจังหวัดอุบลได้พิพากษายกฟ้อง จากนั้นโจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการเขต 3 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาต่อ โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา กระทั่งเมื่อวันที่ 27 พ.ย.2556 ศาลฎีกาพิพากษายืน ให้ยกฟ้อง
 
ทั้งนี้ วนิดา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน จำเลยที่ 1 ในคดี ได้เสียชีวิตจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็ง เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.วันที่ 6 ธ.ค.2550 ด้วยอายุ 52 ปี
 
คำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: อนารยะขัดขืน!!

Posted: 28 Nov 2013 07:25 AM PST

คงต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสื่อมถอยลงอย่างหนัก ตั้งแต่ พ.ศ.2553 หัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค กลายเป็นฆาตกรก่อการสังหารหมู่ประชาชนกลางเมือง และมาถึงวันนี้ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ สมาชิกพรรคส่วนหนึ่ง ได้กลายมาเป็นแกนนำม็อบข้างถนน ที่ใช้วิธีการอันไม่ชอบธรรมได้ทุกอย่าง เพียงเป้าหมายเพื่อจะโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอย่างฉับพลัน โดยมิได้คำนึงว่า วิธีการเช่นนี้จะสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมืองเพียงใด

และที่น่าเสียดายคือ การเคลื่อนไหวอันไม่ชอบธรรมเช่นนี้ กลับได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางในเมืองจำนวนมาก ที่รวมถึงข้าราชการ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ดาราภาพยนตร์และคนในวงการบันเทิง ตลอดจนพนักงานบริษัทห้างร้าน นอกจากนี้ก็คือการนำเอาคนภาคใต้ที่เดินทางมาร่วมเป็นกำลังหลัก โดยเฉพาะการสนับสนุนการชุมนุมเมื่อเวลาบ่ายถึงเย็นของวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน ที่ทำให้จำนวนผู้ชุมนุมของม็อบนายสุเทพที่ราชดำเนินมีจำนวนนับแสนคน

การที่มีประชาชนมาร่วมชุมนุมจำนวนมากเช่นนั้น ทำให้ฝ่ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยกระดับการชุมนุมในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยส่งกำลังไปยึดสถานที่ราชการ เช่น กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ กรมประชาสัมพันธ์ และ กระทรวงต่างประเทศ จากนั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็แถลงว่า การชุมนุมและการเข้ายึดสถานที่ราชการทั้งหมดนี้ เป็นไปเพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปยังประชาชนที่รักชาติให้ออกมาต่อต้านระบอบทักษิณ นายสุเทพอธิบายว่า จะไม่มีการเรียกร้องอะไรจากรัฐบาล เพราะถือว่ารัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ เพราะปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ  จึงต้องดำเนินการปฏิวัติประชาชน แล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง นายสุเทพย้ำว่า จะไม่เอาการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ เพราะถ้าเลือกตั้งภายใต้กติกาเดิม ในที่สุดเพื่อไทยก็จะได้เสียงกลับมาครองอำนาจแล้วทำเลวระยำกับแผ่นดินต่อไป การเคลื่อนไหวครั้งนี้จึงเป็น"อารยะขัดขืน" ยอมทำผิดกฎหมายเพื่อต่อต้านระบอบอธรรม ร่วมหยุด หรือเฉื่อยงานเพื่อร่วมมือร่วมใจล้มล้างระบอบทักษิณให้สิ้นซาก เลิกก้มหัวให้นักการเมืองพรรคการเมืองชั่ว

กระบวนที่เกิดขึ้นนี้เห็นได้แล้วว่า นายสุเทพต้องการจะนำประเทศไปสู่ระบอบการเมืองแบบอื่น ที่ไม่ต้องเป็นไปหลักประชาธิปไตย และไม่เป็นตามรัฐธรรมนูญแม้กระทั่งในฉบับ 2550 นี้ ถ้าพิจารณาตามที่นายสุเทพดำเนินการ ระบอบใหม่จะเป็นการเมืองที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง หรือถ้าเลือกตั้งก็ต้องเลือกพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว และอำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง และวิธีการที่ได้มาก็คือ การใช้มวลชนเข้ายึดสถานที่ราชการ แล้วประกาศปฏิวัติ คำถามก็คือ ระบอบแบบนี้และวิธีการได้มาแบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบด้วยเหตุผลจริงหรือ และที่สำคัญนายสุเทพมั่นใจจริงหรือว่าใช้วิธีเช่นนี้แล้วจะขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้สำเร็จ หรือความจริง คุณสุเทพใช้วิธีการนี้เพื่อสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย แล้วเปิดทางให้ตัวช่วย คือ องค์กรอิสระทั้งหลาย หรืออำนาจนอกระบบ อ้างความจำเป็นที่จะต้องรักษาความสงบของบ้านเมือง แล้วมาที่จะมาจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่พวกเขาต้องการ ซึ่งถ้าเป็นดังนั้น จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้าไปได้กระนั้นหรือ

ย้อนกลับไปเมื่อก่อนหน้าที่จะมีการชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องถือว่าบ้านเมืองไทยไม่ได้มีวิกฤตการณ์อะไร ฝ่ายพรรคเพื่อไทยกำลังเพลี่ยงพล้ำขนานใหญ่ หลังจากที่ไปผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง ยกโทษให้ฆาตกรแลกกับนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสถานะเช่นนั้นถ้าพรรคประชาธิปัตย์ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์ แล้วมุ่งโจมตีอย่างมีเหตุผลต่อนโยบายที่เป็นข้ออ่อนของรัฐบาล แล้วเปลี่ยนหัวหน้าพรรคมาเป็นคนที่มีภาพลักษณ์ดี นำเสนอนโยบายแก้ปัญหาของประเทศอย่างเป็นระบบ พรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นในการเลือกตั้งสมัยหน้า และอาจจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างมีหลักการได้ แต่กลับกลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ละทิ้งวิธีต่อสู้อันชอบธรรม ลดฐานะตัวเองจากพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา กลับมาใช้วิธีแบบม็อบขวาจัดลักษณะเดียวกับม็อบอุรุพงศ์และม็อบสวนลุมพินี แล้วนำเอาพลังของประชาชนที่สนับสนุนมาใช้ต่อสู้ด้วยวิธีการอนาธิปไตย อันเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

ดังนั้นจึงต้องสรุปว่า การเคลื่อนไหวของม็อบนายสุเทพในขณะนี้จึงไม่ได้ดำเนินไปด้วยหลักการและเหตุผล ไม่ต้องเสนอนโยบายและวิธีการ  ไม่ต้องอาศัยคนที่มีภาพลักษณ์ดีเสียด้วยซ้ำ แต่อาศัยการระดมอารมณ์ความรู้สึกที่เกลียดชังและอคติที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มาเป็นเชื้อเพลิง ทั้งที่ไม่ได้มีหลักฐานตามที่กล่าวอ้างกันเลยว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลที่โกงกินบ้านเมือง จนเกินกว่าที่จะยอมรับได้ ม็อบแห่งความเกลียดชังเหล่านี้ จะเอากฎหมายข้อไหนมาไล่ตระกูลชินวัตรทั้งหมดจากประเทศ ทั้งที่เขาไม่ได้มีความผิดอะไรเลย

นอกจากนี้ สิ่งที่ฝ่ายประชาธิปัตย์และกลุ่มชนชั้นกลางเกลียดทักษิณ ลืมไปว่า พวกเขาเป็นเสียงข้างน้อย มีจำนวนไม่ถึงครึ่งของผู้ลงคะแนนเสียงในประเทศนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือคนที่ลงคะแนนเลือกพรรคเพื่อไทย ขณะที่ฝ่ายนายสุเทพอ้างได้ว่า มีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก แต่ฝ่ายพรรคเพื่อไทย  นปช.และคนเสื้อแดง เขาก็อ้างได้เช่นกันว่า ฝ่ายของเขาก็มีคนสนับสนุนจำนวนมากหรือมากกว่า และคนเหล่านี้พร้อมที่จะสนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้บริหารประเทศต่อไป คำถามอย่างง่ายในที่นี้ว่า สมมติว่าวิธีการของนายสุเทพและกลุ่มเกลียดทักษิณใช้ได้ และสามารถยึดอำนาจรัฐได้จริง จะปกครองคนส่วนที่เหลือให้ยอมรับได้อย่างไร ต่อให้มีตัวช่วยและมีอำนาจนอกระบบค้ำจุน ก็ไม่สามารถสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนได้ การปกครองเช่นนั้นก็คงจะต้องใช้อำนาจอันอนารยะ ใช้การปราบปรามเข่นฆ่าสังหาร หรือจับกุมคุมขังอย่างหนักเพื่อกดประชาชนฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณลงไปให้จงได้ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว บ้านเมืองไทยคงจะย้อนสู่ยุคบ้านป่าเมืองเถื่อนแน่นอน

ลองกลับไปคิดกันเสียใหม่ เพราะความจริงทางที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหาบ้านเมือง และจะทำให้ประเทศไทยรักษาสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ในระยะยาวก็คือ การกลับมาต่อสู้ทางการเมืองในระบบ ยอมรับกติกากันก่อน และถ้ากติกาไม่ถูกต้องไม่สอดคล้องก็ยอมรับการแก้ไขกันตามระบบที่เป็นอยู่ เลิกคิดที่จะใช้ตัวช่วยและอำนาจนอกระบบ หรือวิธีการนอกกติกา ซึ่งการแก้ปัญหาแบบอารยะในลักษณะนี้ จะเป็นวิธีการที่ไม่ปฏิเสธความขัดแย้ง แต่จัดการให้ความขัดแย้งอยู่ในกรอบ เคารพในเสียงข้างมาก รักษาสิทธิเสียงส่วนน้อย บ้านเมืองจึงจะไปได้ แต่หากจะเอาตามเสียงส่วนน้อยมาลากจูงกำหนดทิศทางประเทศ ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องและคงจะหลงทิศผิดทางเช่นกัน



ที่มา: โลกวันนี้ ฉบับ 440 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครั้งที่ 2 ยังไม่ได้ข้อสรุป คนงานขอให้เจ้าของ บ.จอร์จี้ ร่วมด้วย

Posted: 28 Nov 2013 05:55 AM PST

28 พ.ย. 2556 - สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ระบุว่าวันนี้ (28 พ.ย.) เมื่อเวลา 16.30 น. พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.เชียงใหม่ ได้เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้แทนนายจ้างบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด กับผู้แทนลูกจ้าง เป็นครั้งที่ 2 โดยได้มีการทบทวนผลการเจรจาไกล่เกลี่ยในครั้งแรก ที่ข้อเรียกร้องที่ 3 และข้อเรียกร้องที่ 6 ที่ยังตกลงกันไม่ได้
 
ทั้งนี้มีการทบทวนข้อเรียกร้องข้อที่ 2 โดยผู้แทนลูกจ้างและผู้แทนนายจ้างเห็นตรงกันว่าให้ตัดข้อความ "ลูกจ้างรายวันไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาท" ออก คงเหลือผลเจรจาในข้อเรียกร้องนี้ว่า "บริษัทตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท"
 
อนึ่งสำหรับข้อเรียกร้องข้อที่ 5 ที่มีการเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งแรกนั้น ในเรื่องการยกเลิกสัญญาจ้างฉบับใหม่ บริษัทฯ รับว่าจะมีการดำเนินการติดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างที่ประสงค์ไปยกเลิกได้รับทราบและให้ยกเลิกตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. - 15 ธ.ค. 2556 
 
ส่วนในการเจรจาข้อเรียกร้องที่ 3 และข้อเรียกร้องที่ 6 ที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น ในข้อเรียกร้องข้อที่ 3 ให้บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายชิ้นตามที่ทำได้จริง และต่อวันต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 310 บาทนั้น ผลการเจรจาบริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายชิ้นตามที่ทำได้จริง และต่อวันต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 307 บาท โดยผู้แทนลูกจ้างมีเงื่อนไขให้บริษัทฯ บันทึกผลการทำงานและรายได้ต่อวันของลูกจ้างรายชิ้น ซึ่งผู้แทนนายจ้างรับว่าจะนำเรื่องดังกล่าวไปเสนอให้ฝ่ายบริหารพิจารณา และจะแจ้งให้ทราบในการเจรจาครั้งต่อไป
 
ข้อเรียกร้องข้อที่ 6 ให้บริษัทฯ จ่ายโบนัสประจำปีให้กับลูกจ้างทุกคนไม่ต่ำกว่า 2 เท่าของรายได้ ผลการเจรจาบริษัทฯ ตกลงจ่ายโบนัสประจำปี 2556 โดยจะมีการประเมินผลงานก่อนสิ้นปีล่วงหน้าสองสัปดาห์ ซึ่งผู้แทนลูกจ้างขอให้มีหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวโดยเปิดเผยและพิจารณาร่วมกัน แต่ผู้แทนลูกจ้างขอให้บริษัทฯ ประกันโบนัสไม่น้อยกว่า 1.5 ของรายได้ ซึ่งผู้แทนนายจ้างรับว่าจะนำเรื่องดังกล่าวไปเสนอให้กับฝ่ายบริหารพิจารณา และจะแจ้งให้ทราบในการเจรจาครั้งต่อไป
 
ทั้งสองฝ่ายนัดเจรจาไกล่เกลี่ยอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (29 พ.ย.) โดยตัวแทนลูกจ้างได้ขอให้นายเซบาสเตียน ชิรอยส์ เจ้าของบริษัทฯ เข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยด้วย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกษียร เตชะพีระ

Posted: 28 Nov 2013 04:41 AM PST

"ในประเทศใดก็ตามถ้าศาล[รัฐธรรมนูญ]ริบฉวยเอาอำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้ให้ไว้ไปใช้เป็นของตนโดยพลการแล้ว ก็เท่ากับศาลบั่นทอนบ่อนทำลายอำนาจของการปกครองโดยกฎหมาย เพราะศาลตีความให้ตนมีอำนาจเกินไปกว่าที่กฎหมายให้ไว้ ปฏิเสธกฎหมายก็คือปฏิเสธเหตุผลแห่งการดำรงอยู่ของศาลเอง ผู้รักษากฎหมายที่ปฏิเสธกฎหมายคือผู้อยู่เหนือกฎหมาย"

28 พ.ย.56 โพสต์สถานะบนเฟซบุ๊ก

แฉสหรัฐเตรียมปั่นกระแส 'ยาปลอม' กดดันแก้กฎหมายไทย ขยายนิยาม

Posted: 28 Nov 2013 03:43 AM PST

สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐจัดโครงการยาปลอมเป็นภัยชีวิต ด้านเอ็นจีโอไทยตั้งข้อสังเกตแค่บังหน้า เหตุสหรัฐส่งอุปทูตด้านทรัพย์สินทางปัญญาไป 5 ประเทศรวมไทย ดันแก้กฎหมายเอื้อประโยน์อุตสาหกรรมยาสหรัฐตั้งแต่ 2554

28 พ.ย.2556 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เปิดเผยว่า ตามที่วันพรุ่งนี้สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (United States Patent and Trademark Office) จะจัดงานแถลงข่าวเพื่อแนะนำโครงการรณรงค์ "ยาปลอมเป็นภัยถึงชีวิต (Fake Drugs Kill)" ที่โรงแรมดังกลางกรุงเทพฯ นั้น เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามจะแก้กฎหมายไทยเพื่อคุ้มครองผลิตภัณฑ์ของบริษัทยาข้ามชาติ

"ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยาข้ามชาติพยายามใช้ทุกวิถีทางในการผูกขาดทำกำไรผ่านการเจรจาเอฟทีเอ เมื่อการเจรจาเอฟทีเอไม่คืบหน้าก็ใช้การกดดันเพื่อให้แก้กฎหมายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2554 สำนักสิทธิบัตรสหรัฐฯได้ส่งอุปทูตด้านทรัพย์สินทางปัญญาไป 5 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ คือ รัสเซีย อินเดีย บราซิล จีน และไทย โดยระบุเป้าหมายชัดเจน เพื่อแก้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ จึงขอตั้งข้อสังเกตเรื่องความห่วงใยผู้บริโภคจากปัญหายาปลอมนั้น เป็นเพียงเรื่องบังหน้า'

ปี 2555 กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐฯได้ให้ทุนสนับสนุนการตั้งสาขา "ภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย" (Partnership for Safe Medicine) ในประเทศไทย ซึ่งภาคประชาสังคมไทยได้ออกมาตั้งข้อสงสัยในวาระซ่อนเร้น

ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์  ระบุว่า วาระซ่อนเร้นดังกล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงนิยามยาปลอมโดยสร้างความสับสนให้กับสังคมว่า ยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยเป็นเรื่องเดียวกันกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ในความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องและมีวิธีแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน หน่วยงานต่างๆ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมและอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ

"ในความเป็นจริง ยาต้นตำรับที่จำหน่ายโดยบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเองก็เป็นยาด้อยคุณภาพได้ เนื่องจากไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตหรือขนส่งที่ดีพอ หรือพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยจ้างให้บริษัทยาขนาดเล็กที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตแทนแบบกดราคา ทำให้บริษัทยาที่รับจ้างผลิตต้องลดปริมาณตัวยาสำคัญที่มีต้นทุนลง"            

ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวด้วยว่า ในขณะที่หากพิจารณาผลงานและจุดยืนที่ผ่านมาของภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย (Partnership for Safe Medicine) ในสหรัฐฯ และอินเดีย ก็มีท่าทีเดียวกันคือ ใช้นิยามยาปลอม (counterfeit drug)*ในเชิงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาอ้างรวมว่าเป็นเรื่องยาปลอมในเชิงคุณภาพและความปลอดภัย (fake drug, substandard drug, spurious drug) เพื่อกดดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลด้านยาของประเทศต้องทำหน้าที่การตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาไปด้วย นั่นไม่ได้แก้ปัญหายาปลอม แต่กลับใช้ทรัพยากรรัฐไปช่วยบริษัทยาข้ามชาติคุ้มครองผลประโยชน์ของเขา ดังนั้น เพื่อนผู้สื่อข่าวและหน่วยงานต่างๆ ที่จะไปฟังการแถลงข่าวครั้งนี้พึงระวัง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้เอกชน และทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ  

ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทยาข้ามชาติพยายามใช้หลากหลายกลยุทธ์เพื่อขยายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้กว้างขวาง และเข้มงวดมากขึ้นจนเกินเลยจากกฎหมาย เช่น การขยายนิยามของยาปลอมจากความหมายด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้รวมไปถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และเสนอให้มีมาตรการแก้ไขโดยหลอกล่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เรื่องยาปลอม ที่เหมารวมยาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยว่าเป็นยาปลอม ซึ่งเป็นยุทธวิธีแบบเดียวกันที่บรรษัทยาข้ามชาติพยายามวิ่งเต้นให้องค์การอนามัยโลกบัญญัตินิยามยาปลอมให้ครอบคลุมยาด้อยคุณภาพ และยาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับนิยายยาปลอมในข้อตกลงต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ที่ถูกคว่ำไปในสภายุโรป แต่ยังคงปรากฏในข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปและสหรัฐผ่านการเจรจาเอฟทีเอและทีพีพี โดยบังคับให้ อย. จากเดิมมีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและดูความปลอดภัยและคุณภาพของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มาทำหน้าที่ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย  อีกทั้ง ยังต้องการเพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย ให้สามารถยึดจับยารักษาโรคที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นยาปลอมตามความหมายใหม่ และสามารถร้องขอให้ห้ามการผลิตและขนส่งทั้งระบบ แม้เพียงแค่ต้องสงสัย เช่นที่สหภาพยุโรปยึดยาต้านไวรัสเอชไอวี และยารักษาโรคไม่ติดต่อที่ส่งจากอินเดียไปยังประเทศกำลังพัฒนา            

ทางด้าน ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 73 กำหนดขอบเขตความหมายของยาปลอม คือ 1.ยาหรือวัตถุที่ทำเทียมทั้งหรือมีบางส่วนว่าเป็นยาแท้ 2.ยาที่แสดงชื่อว่าเป็นยาอื่น หรือแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุไม่เป็นความจริง 3.ยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งไม่เป็นความจริง 4.ยาที่แสดงว่าเป็นยาตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ไม่จริง 5.ยาที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน โดยมีสาระสำคัญขาดหรือเกินกว่า 20% ของตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้             

"ยาผิดมาตรฐานและยาเสื่อมคุณภาพนี้จะเน้นเรื่องคุณภาพของยา ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาปลอมแปลง (counterfeit medicine) ทรัพย์สินทางปัญญาที่ทางอุตสาหกรรมยาต้องการขยายคำนิยามแต่อย่างใดทั้งนี้ ปัญหาเรื่องยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาใหญ่ในหลายๆ ประเทศที่ไม่มีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ในประเทศไทย เรามีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีศักยภาพทำงานตรวจสอบยาต่างๆ ในประเทศอยู่ แต่ปัญหายาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยในไทยส่วนใหญ่เป็นยาลักลอบขายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย.และยาที่ขายผ่านอินเทอร์เน็ต" ภญ.นิยดา กล่าว             

ภญ.นิยดา กล่าวเพิ่มว่า นอกจากนี้ จากงานวิจัยของ กพย.พบว่า บริษัทยาต้นแบบได้มีแทคติกต่างๆ ที่เป็นการข่มขวัญบริษัทยาชื่อสามัญ เช่น การฟ้องร้องเอาผิดทุกรูปแบบในประเด็นที่บริษัทยาต้นแบบคิดว่าถูกละเมิดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือแม้แต่ละเมิดลิขสิทธิ์ในเอกสารกำกับยาทั้งๆ ที่ไม่เข้าข่ายการเป็นวรรณกรรมที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย นอกจากนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในศาลยังส่งจดหมายไปแจ้งแกมขู่โรงพยาบาลต่างๆ ให้ระงับการสั่งซื้อยาชื่อสามัญที่เป็นคดีความ ทั้งๆ ที่คดียังไม่สิ้นสุด หากบริษัทยาชื่อสามัญเล็กๆ ที่ไม่มีฝ่ายกฎหมายหรือฝ่ายสิทธิบัตรที่แข็งแกร่งมากพอ ก็อาจจะถอดใจ ไม่สู้คดี ถอนยาจากตลาด ซึ่งทำให้บริษัทยาต้นแบบผูกขาดและเรียกราคายาได้แพงขึ้นเพราะขายเพียงเจ้าเดียว แม้ว่าในความเป็นจริง ในที่สุดศาลอาจจะชี้ว่า บริษัทยาชื่อสามัญนั้นอาจจะไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเลยก็ได้ ดังนั้น หากหน่วยงานต่างๆ ไปหลงกล เอาเรื่องคุณภาพยาและทรัพย์สินทางปัญญาไปปนกัน เชื่อว่า จะทำให้บริษัทยาชื่อสามัญจำนวนมากถูกกลั่นแกล้งด้วยการแจ้งจับยึดยาที่ถูกต้องสงสัย ทั้งที่อาจไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพและไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเลย    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์แถลง นายกฯไม่มีสิทธิเจรจา ย้ำ ส.ส.พร้อมลาออกหนุนผู้ชุมนุมเมื่อเหมาะสม

Posted: 28 Nov 2013 03:04 AM PST

ผู้นำฝ่ายค้านแถลงข่าวระบุรัฐบาลหมดความชอบธรรม ไม่มีสิทธิตั้งโต๊ะเจรจาต้องหลบไปก่อน แต่ไม่ระบุชัดเอายุบสภาหรือลาออก ย้ำมีจุดร่วมกับผู้ชุมนุมล้มล้างระบบทักษิณ แต่เป็นพรรคการเมืองจะปฏิเสธระบบไม่ได้ ส.ส.พร้อมลาออกหากถึงจุดที่เหมาะสม ย้ำหากมีการเปลี่ยนแปลงนอกรูปแบบรัฐสภาปกติ ส.ส.ปชป.จะไม่รับตำแหน่งใดๆ 

 

28 พ.ย.2556 อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคและส.ส.พรรค เพื่อประเมินสถานการณ์การเมืองและกำหนดท่าที โดยระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับรัฐบาลซึ่งขาดความชอบธรรม รัฐบาลยังใช้เล่ห์กลต่างๆ สกัดกั้นการแสดงออกของประชาชน หัวหน้ารัฐบาลยังไม่สำนึกต่อการกระทำผิดที่ผ่านมา นายกฯ ไม่มีสิทธิเสนอตัวเป็นเจ้าภาพหาทางออกให้ประเทศ เพราะนายกฯ เป็นศูนกลางของปัญหา ต้องหลบออกไปก่อนแล้วสังคมจะหาคำตอบให้กับประเทศได้

"ยืนยันอีกครั้งว่า การต่อสู้คู่ขนานกันนี้ กระบวนการเปลี่ยแปลงทางการเมืองใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามรูปแบบในระบบรัฐสภานั้น ขอยืนยันว่า ปชป. และ ส.ส.จะไม่มีการเข้าไปรับตำแหน่งใดๆ ถ้าเป็นผลพวงจากการต่อสู้นั้น นอกเหนือจากวิธีการทางรัฐสภาปกติ เพื่อให้สบายใจว่าการต่อสู้ไม่ยอมรับรบ.ที่ไม่ชอบธรรมนั้นไม่เกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจใดๆ ของพรรคการเมืองและนักการเมือง นี่คือผลสรุปของการประชุมในวันนี้" อภิสิทธิ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ส.ของพรรคจะมีการลาออกทั้งหมดเพื่อมาร่วมเคลื่อนไหวหรือไม่ หัวหน้าพรรคปชป.กล่าวว่า ถ้ามีเงื่อนไขหรือจังหวะเวลาที่เหมาะสม เราอาจจะพร้อมลาออก แต่วันนี้ยังเห็นว่าบทบาทของพรรคยังเคลื่อนไหวคู่ขนานได้ โดยการดำรงส.ส. ของพวกเราไม่ได้หมายถึงการยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาล การลงมติไม่ไว้วางใจของพวกเรานั้นชัดเจนอยู่แล้ว แต่สถานะ ส.ส. เป็นสถานะที่มาจากประชาชน แต่เมื่อไรก็ตามที่มีเงื่อนไขที่ทำให้การลาออกนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายที่จะล้มล้างระบอบทักษิณ ส.ส.ในพรรคได้ซักซ้อมกันแล้วว่าไม่มีใครลังเลที่จะดำเนินการเช่นนั้น 

"วันนี้เราจะระดมสรรพกำลังในสังคมมาช่วยกันบอกว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรม ใครก็ตามที่ยังเชื่อว่ากฎหมายล้างผิดเป็นสิ่งเลวร้าย การปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งเลวร้าย ต้องไม่ร่วมกับรัฐบาลในการพูดคุย" อภิสิทธิ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวกล่าวถึงคำตอบของนายกฯ ที่ระบุว่าข้อเรียกร้องเรื่องสภาประชาชนของผู้ชุมนุมนั้นขัดรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า  ข้อเรีกร้องผู้ชุมนุมเป็นสิทธิของผู้ชุมนุมที่จะเสนอ พรรคประชาธิปัตย์เคลื่อนไหวล้มล้างระบอบทักษิณ ปฏิเสธรัฐบาลชุดนี้นี้ และสนับสนุนการปฏิรูปประเทศ จะเห็นว่ามีมีจุดร่วมกับกลุ่มผู้ชุนุมอยู่บ้าง พรรคเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่แสดงความกล้าหาญ มุ่งมั่น และพร้อมอำนาวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากส.ส.ไม่ลาออกก็อาจไม่เป็นเนื้อเดียวกันกับผู้ชุมนุม อภิสิทธิ์กล่าวว่า วันนี้มองจุดร่วม และไม่เห็นว่าจุดต่างจะมีปัญหา

"วันนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องลาออก ทุกคนมองตรงกันว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญเท่าความสำเร็จในการต่อสู้ .. แต่ หนึ่ง เราไม่ทราบว่าพัฒนาการของการชุมนุมจะเป็นอย่างไร สอง เราไม่อาจคาดเดาพฤติกรรมรัฐบาลที่ปราศจากความละอายได้ เราบอกล่วงหน้าไม่ได้" อภิสิทธิ์กล่าว รวมทั้งตอบคำถามเรื่องการชุนุมของนปช.ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ว่า ทุกคนมีสิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญโดยสันติ รัฐบาลต้องเคารพสิทธิประชาชนไม่ว่ากลุ่มไหน

"วันนี้ได้ข่าวว่ามีการทำร้ายกลุ่มต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มคนเสื้อแดงที่ปทุมธานี รัฐบาลต้องไปจัดการไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรง รัฐบาลนี้สนับสนุนการชุมนุมเสื้อแดงชัดเจน ฉะนั้นเกิดอะไรขึ้นท่านต้องรับผิดชอบ" 

อภิสิทธิยังกล่าวด้วยว่า เขาเป็นผู้เสียหายจากระบอบทักษิณและในที่สุดไม่ว่าประเทศจะปฏิรูปไปอย่างไร สุดท้ายประเทศก็ต้องมีนักการเมือง พรรคการเมือง ทั้งนักการเมืองและพรรคการเมืองจะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศหลังการปฏิรูป แต่เบื้องต้นต้องให้นายกฯ รับผิดชอบต่อประชาชนตามหลักสากลเสียก่อน

"ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยคือ ไทยเฉย ประเมินว่าอยู่เฉยๆ พวกเคลื่อนไหวจะอ่อนแรง เกิดแรงกดดันแล้วลดความชอบธรรมไปเอง ผมไม่ทราบว่ายุทธศาสตร์ไทยเฉยจะทำให้รัฐบาลอยู่นานเท่าไร แต่มันไม่อาจลบล้างความรู้สึกของความไม่ถูกต้องได้"

"ผมมั่นใจว่าผู้เป็นแกนนำจะมีวิธีการต่อสู้ของเขา เขาเป็นอิสระจากพวกเรา แต่เป้าหมายตรงกัน .... เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนัด เขาเห็นก็มาเดินด้วยกันหมดแล้ว แล้วไทยเฉยจะชนะเป็นไปไม่ได้ นับวันก็บริหารไม่ได้ ปกครองไม่ได้ จะเป็นอุปสรรคต่อประเทศทำไม ทำไมไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่คุณทำผิดแล้วเปิดโอกาสให้ประเทศเดินไปข้างหน้า"

ผู้สื่อข่าวถามว่าผู้ชุมนุมประกาศไม่เอาทั้งลาออก ไม่เอาทั้งยุบสภา แล้วพรรคประชาธิปัตย์ต้องการอะไร อภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเองเป็นพรรคกาเรมือง ถึงจะออกจาก ส.ส. ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของพรรค พรรคประชาธิปัตย์ยังดำรงอยู่ และตั้งใจดำรงอยู่เพื่อช่วยสนับสนุนสิ่งดีๆ ให้เกิดในประเทศ

"ขอยืนยันว่าพรรคจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ ล้มล้างระบอบทักษิณ แม้รายละเอียดไม่ตรงกันทั้งหมดกับผู้ชุมนุม แต่เป้าหมายใหญ่มีร่วมกัน" 

"เราก็ต้องเคลื่อนไหวกับประชาชน แต่เพียงแต่ว่าวันนี้พวกผมยังอยู่ในระบบ จุดร่วมที่เรียกร้องได้ คือรัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมแล้ว ต้องแสดงความรับผิดชอบเสียก่อน หลังจากนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ว่ากันไป"

"ผมเป็นพรรคการเมือง ผมอยู่ในระบบ จะบอกว่าไม่เอาระบบไม่ได้ นอกจากทำให้พรรคหายไป ผมทำไม่ได้ แต่ยืนยันว่าการดำรงอยอยู่ของพรรคไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศและล้มล้างระบอบทักษิณ"

ผู้สื่อข่าวถามว่า เราเคลื่อนไหวมาเกือบเดือนแต่รัฐบาลยังนิ่งเฉยจะทำอย่างไร อภิสิทธิ์ตอบว่า "การนิ่งเฉยของรัฐบาล สังคมก็ต้องออกมาช่วยกัน ให้รู้ไปว่าคนหน้าด้านจะเอาชนะสำนึกของสังคมได้"

"ผมอยากบอกกับประชาชนทั่วไปว่า เรื่องของบ้านเมืองมีความสลับซับซ้อน ความคิดในอุดมคติของแต่ละคนย่อมแตกต่าง แต่สิ่งที่ไม่ควรต่างคือความสำนึกความผิดชอบชั่วดี ขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมแล้ว ต้องแสดงความรับผิดชอบกับสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นก่อน แล้วต่อไปค่อยสังคมจึงจะมีภูมิปัญญาในการกำหนดร่วมกันว่าจะปฏิรูปประเทศต่อไปอย่างไร"

"รัฐบาลไม่มีสิทธิเป็นเจ้าภาพเรียกร้องใคร เอาตัวปัญหาคือตัวเองออกไปก่อน ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร สื่อมวลชนเป็นเจ้าภาพเลย เอาผม เอานายกฯ เอาคุณสุเทพมา พดคุยกันในฐานะที่เท่ากัน"

ผู้สื่อข่าวถามว่าการเอานายกฯ ออก หมายถึงออกจากตำแหน่งหรือออกจากประเทศไปเลย อภิสิทธิ์กล่าวว่า ท่านมีเสรีภาพในการเดินทาง

ผู้สื่อข่าวถามว่าคนระแวงนักการเมืองมาก ประชาธิปัตย์จะพิสูจน์ตัวเองอย่างไร อภิสิทธิ์ตอบว่า เราปฏิรูปโครงสร้างพรรค เชิญชวนคนมีแนวคิดปฏิรูปมาร่วม เพื่อผูกมัดพรรคให้เดินไปสู่การปฏิรูปประทศ  แต่กระแสการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จได้ ยิ่งมีภาคส่วนร่วมมากเท่าไรยิ่งดี พรรคการเมืองเป็นภาคส่วนหนึ่ง มีพรรคอย่างน้อยหนึ่งพรรคที่สนับสนุนกระบวนการปฏิรูป โดยจะไม่ครอบงำ แทรกแซง ขบวนการประชาชนแต่สนับนสนุนให้เป็นวาระแห่งชาติ

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการประเมินว่าแม้มีการยุบสภา ปชป.ก็แพ้การเลือกตั้ง ไม่อาจนำสู่การปฏิรูปได้ อภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่มีใครบอกได้ว่ายุบสภาเมื่อไร การเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร แต่ผมเป็นพรรคต้องเคารพกระบวนการที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง ถ้าปชป.ชนะก็จะเป็นรัฐบาลที่มีวาระการปฏิรูปประเทศ หากแพ้การเลือกตั้งก็เป็นฝ่ายค้าน แต่คนชนะก็ไม่มีสิทธิทำชั่ว ทำเลวอย่างที่ผ่านมา เพราะจะเจอปัญหานี้อีก

ผู้สื่อข่าวถามว่าระยะเวลาที่ยิ่งนานผู้ชุมนุมจะยิ่งถูกทำลายความชอบธรรมหรือไม่ อภิสิทธิกล่าวว่า  "ผมเชื่อว่าเวลาอยู่ข้างคนดี ไม่ใช่คนเลว"  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น