ประชาไท | Prachatai3.info |
- จี้ ‘รมว.ทรัพฯ’ แสดงจุดยืนไทยใน MRC หยุดลาวสร้าง ‘เขื่อนดอนสะโฮง’
- รายงาน: 6 ปี ‘ชุมชนศรัทธา’ สิ่งละอันลดความขัดแย้ง จับต้องได้ที่หมู่บ้าน
- ราชนิกูลยืนหนังสือนายก เรียกร้องจัดการคนหมิ่นสถาบัน
- เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
- สุเทพเตือนคนใกล้ชิด 'ระบอบทักษิณ' รีบสละ 'รัฐนาวา' ก่อนประชาชนจัดการ 24 พ.ย.
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 พ.ย. 2556
- 'เนติวิทย์' ขอปฏิเสธรับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิฯ
- สุเทพชี้ระบอบทักษิณเป็นมะเร็งร้าย - นัด 24 พ.ย. ชุมนุม 1 ล้านคน
- เอฟทีเอ ว็อทช์ บุกกรมเกษตร ค้าน 'โจรสลัดชีวภาพ UPOV 1991'
- ไปเหนือกว่าการเมืองเหลือง/แดงสู่การปฏิวัติของประชาชนที่เป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง
- คนทำงาน ตุลาคม 2556
- คนทำงาน กันยายน 2556
- คนทำงาน สิงหาคม 2556
จี้ ‘รมว.ทรัพฯ’ แสดงจุดยืนไทยใน MRC หยุดลาวสร้าง ‘เขื่อนดอนสะโฮง’ Posted: 18 Nov 2013 08:44 AM PST 103 องค์กรภาคประชาชนร่วมลงนามเรียกร้องรัฐบาลไทย ยับยั้ง 'เขื่อนดอนสะโฮง' ในลาว พร้อมตรวจสอบกระบวนการสร้างเขื่อนในลำน้ำโขงสายหลักทั้งหมด เอ็นจีโอห่วงลาวบิดเบือนว่าเขื่อนอยู่บนลำน้ำสาขา ไม่รักษากติกาทำกระบวนการเพี้ยน 18 พ.ย.2556 ตัวแทนชาวบ้านแม่น้ำโขงร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน จัดแถลงข่าว กรณี 103 องค์กรภาคประชาชนร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ยับยั้งกระบวนการสร้ อีกทั้งยังเรียกร้องให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแสวงหาข้อมูลและแก้ปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้าโขง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม มนตรี จันทวงศ์ จากโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) กล่าวว่า เขื่อนดอนสะโฮงเป็นเขื่อนบนลำน้ำโขงสายหลักซึ่งตามกระบวนการในข้อตกลงการใช้แม่น้าโขงอย่างยั่งยืนปี 2538 หากจะสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักจะต้องเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าแบบเดียวกับเขื่อนไซยะบุรี แต่ตอนนี้ทางการลาวบิดเบือนว่าเขื่อนนี้อยู่บนลำน้ำสาขาจึงไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือ เพียงแค่แจ้งให้ทราบ สิ่งที่ห่วงคือหากเอ็มอาร์ซีไม่ดำเนินการใดๆ เขื่อนดังกล่าวก็จะสามารถสร้างได้เลย "เอกสารรายงานสิบกว่าปีที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ต่างเข้าใจร่วมกันเสมอมาว่า เขื่อนดอนสะโฮงเป็นเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลัก และมันได้แสดงอยู่ในเอกสารของเอ็มอาร์ซีมาโดยตลอดด้วย การที่ลาวบอกว่าเป็นเพียงน้ำสาขาเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง" มนตรีระบุ มนตรี กล่าวว่าการแถลงข่าวในวันนี้ต้องการให้รัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นกรรมการแม่น้ำโขงฝ่ายไทยได้ใช้สิทธิในการทักท้วงว่าเพียงกระบวนการแจ้งให้ทราบไม่ถูกต้อง ต้องใช้กระบวนการปรึกษาหารือ และต้องให้ประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเขื่อนนี้ร่วมกันด้วย อีกทั้ง ในแต่ละประเทศลุ่มน้ำโขงก็มีการกดดันและเรียกร้องไปยังตัวแทนรัฐบาลในแต่ละประเทศให้ทำหน้าที่ตรงนี้เช่นเดียวกัน อาทิในกัมพูชาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนเวียดนามซึ่งมีทีท่าห่วงใยในเรื่องนี้มากก็กำลังจับตาว่าจะมีจุดยืนอย่างไร นอกจากนี้ประเทศลุ่มน้ำโขงยังมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายพันธมิตรปกป้องแม่น้ำโขง เป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคที่จะเรียกร้องโดยตรงกับทางเอ็มอาร์ซีให้ทบทวนเรื่องการแจ้งของทางการลาวในขณะนี้ด้วย ในด้านผลกระทบของเขื่อนดังกล่าว มนตรี กล่าวว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.การประมง เพราะปลาที่อพยพมาจากกัมพูชาจะถูกปิดกั้นโดยเขื่อนดังกล่าว ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารและต่อรายได้จากการประมงของชาวบ้านในพื้นที่ และ 2.การรักษาไว้ซึ่งกติกาการใช้แม่น้ำโขงระหว่างประเทศ หากปล่อยละเลยเรื่องนี้ไป ในอนาคตการใช้ปะโยชน์ในแม่น้ำโขงก็จะบิดเบือนกันไปได้เรื่อยๆ เราต้องการเห็นการรักษากติกาที่รัฐบาลไปลงนามร่วมกันไว้ "ความเชื่อมั่นจากเดิมไม่ค่อยมีอยู่แล้วสักเท่าไหร่ มากรณีเขื่อนดอนสะโฮงหากเอ็มอาร์ซีไม่ทำอะไรเลย ความเชื่อมั่นก็จะยิ่งไม่มี" มนตรีกล่าว ส่วนการเคลื่อนไหวต่อไป มนตรียืนยันว่าภาคประชาชนยังคงยืนยันที่จะขอพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ฯ เพื่อที่จะพูดคุยเรื่องนี้โดยตรง เพราะเอ็มอาร์ซีจะมีการประชุมในเดือนมกราคมปีหน้า ยังมีเวลาที่จะผลักดันเรื่องนี้ ทั้งนี้ จากการประสานงานของภาคประชาชนเพื่อเข้าพบพูดคุยในประเด็นเขื่อนดอนสะโฮงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ฯ ได้เลื่อนออกไปจากวันที่ 20 พ.ย.2556 และกำหนดการใหม่ที่เป็นไปได้ในขณะนี้คือต้นเดือนธันวาคม ขณะที่ อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบล ภายใต้เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) กล่าวถึงการศึกษาของชุมชนริมโขงในภาคอีสานของไทยซึ่งชี้ให้เห็นถึงการพึ่งพาแม่น้ำโขงของประชาชนและผลกระทบของชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำซึ่งเกิดขึ้นแล้วในกรณีของเขื่อนจีน พร้อมระบุว่าประชาชนในพื้นที่เริ่มตื่นตัวกับกรณีเขื่อนดอนสะโฮงแล้ว และจะมีการรณรงค์เพื่อคัดค้านเรื่องนี้ร่วมกัน โดยในส่วนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนฯ จะมีการจัดเสวนาในเรื่องนี้เพื่อสะท้อนปัญหาและข้อกังวล ในวันที่ 13-14 ธ.ค.ที่จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ จะมีการรณรงค์ใหญ่ร่วมกันในระดับสายน้ำของภาคประชาชนกัมพูชา เวียดนาม และไทย ก่อนการประชุมเอ็มอาร์ซีที่เชียงใหม่ในเดือนมกราคมนี้ "เราไม่ใช่เพียงแค่จับปลา เรายังพึ่งพาแม่น้ำโขงทั้งในเรื่องการเกษตร ปลูกผักริมโขงโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ย ผลกระทบที่จะเกิดตามมามีมากมาย ทั้งเรื่องตลิ่งพัง และผลผลิตปลาที่จะลดลง ผลกระทบจากเขื่อนกลายเป็นชะตากรรมของประชาชนคนเล็กคนน้อยที่ต้องเผชิญ ซึ่งรัฐบาลลาวต้องคำนึงถึง และรัฐบาลไทยต้องทำหน้าที่ทักท้วง" อ้อมบุญกล่าว "เราเห็นว่าตอนนี้ทุกรัฐบาลกำลังทำสิ่งที่เรียกว่าลูบหน้าปะจมูกเพราะต่างก็อยากสร้างเขื่อนของตัวเอง ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ต่างพากันสนใจเรื่องความมั่นคงทางพลังงานมากกว่าความมั่นคงทางอาหาร และอย่าลืมว่า การสร้างเขื่อนจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศด้วย เมื่อลาวอยากเป็นแบตเตอรี่เอเชียแต่กลับทำลายแหล่งอาหารของประชาชนในภูมิภาค พวกเราพี่น้องลุ่มแม่น้ำโขง ขอยืนยันว่า พวกเราจะต่อสู้จนถึงที่สุด และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนในลุ่มแม่น้ำโขงด้วย" ต่อคำถามถึงความแตกต่างของการเคลื่อนไหวคัดค้านกรณีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง อ้อมบุญชี้แจงว่า เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่รับรู้กันว่าเป็นเขื่อนสัญชาติไทยแต่ไปสร้างในลาว เมื่อภาคประชาชนเคลื่อนไหวคัดค้านหรือยื่นข้อเสนอไปในเวทีปรึกษาหารือล่วงหน้า ไม่เคยได้รับคำตอบใดๆ จากรัฐบาลไทย เมื่อมาถึงกรณีเขื่อนดอนสะโฮงภาคประชาชนคาดหวังจากรัฐบาลว่าเขื่อนที่สร้างโดยบริษัทสัญชาติมาเลเซียนี้ หากมีการทักท้วงไปคาดว่าเสียงของไทยจะมีน้ำหนักมากในเวทีของเอ็มอาร์ซี อ้อมบุญ กล่าวด้วยว่า กรณีเขื่อนไซยะบุรีที่กำลังมีการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ทางเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนฯ ได้ทำการเก็บข้อมูลผลกระทบและนำเสนอภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เรื่องนี้เงียบหายไป โดยคาดว่าในปี 2561 เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จผลกระทบตรงนี้จะชัดเจน เมื่อถึงเวลานั้นรายงานการวิจัยของชาวบ้านจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลลาวจะเป็นคนที่ต้องมาเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมด นอกจากนั้นการรวมรวมข้อมูลตรงนี้ยังหวังผลในการนำไปฟ้องศาลปกครอง และการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดน ด้านสุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพอิสระผู้ผลิตผลงานในประเด็นแม่น้ำโขงมาอย่างต่อเนื่อง ผลงานสารคดีแม่น้ำโขงล่าสุดชุด "อวสานแม่น้ำโขง: จากไซยบุรีถึงสี่พันดอน เมื่อเขื่อนใหญ่สยบมหานที" ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก กล่าวถึงข้อสังเกตจากการทำงานระยะเวลา 3 ปีในพื้นที่สีพันดอนว่า ปลาเป็นรายได้หลักของประชาชนในพื้นที่ แม้ว่าชาวบ้านจะยังทำนาเป็นหลัก โดยฮู (รูหรือช่องทางน้ำผ่าน) สะโฮงเป็นที่ๆ กว้างและความลาดชันน้อย เป็นทางผ่านของทั้งปลาทุกชนิดทั้งปลาเล็กและปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาบึก และปลากระโห้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกจับได้ที่นี่เพราะฮูอื่นๆ เป็นหน้าผาชันและน้ำแรงมาก แม้ฮูสะดำก็ไม่ค่อยมีปลาใหญ่ผ่าน "ลาวเองก็บอกว่าพื้นที่ตรงนี้มีความสำคัญ และเมื่อเร็วๆ นี้ มีการห้ามไม่ให้ประชาชนจับปลา โดยให้เหตุผลว่าต้องการอนุรักษ์พันธุ์ปลา ผมก็เห็นด้วยว่าต้องมีการจัดการที่เหมาะสม แต่สงสัยว่าทำไมจึงมีแผนจะปิดฮูสะโฮงซึ่งมีความสำคัญเช่นนี้" สุเทพ กล่าว เจ้าของผลงานสารคดีแม่น้ำโขง ยังแสดงความห่วงใยต่อการท่องเที่ยวในบริเวณสี่พันดอนด้วยว่า ปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ฮูสะโฮงจะทำให้ปริมาณน้ำในบริเวณโดยรอบลดลง รวมทั้งที่คอนพะเพ็งด้วย ซึ่งหากน้ำลดลงถึงครึ่งหนึ่งในฤดูแล้งอาจกระทบกับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง แสดงจุดยืนเพื่อคัดค้านโครงการเขื่อนดอนสะโฮงของลาว และตรวจสอบกระบวนการสร้างเขื่อนในลำน้ำโขงสายหลักทั้งหมด ลงวันที่ 18 พ.ย.2556 ระบุเหตุผลคัดค้านโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักแห่งที่ 2 ใน ลาว 2 ข้อ คือ 1.ผลกระทบที่มหาศาลและผลประโยชน์อันน้อยนิด เขื่อนดอนสะโฮงมีกำลังผลิตติดตั้ง 260 เมกะวัตต์ หรือใหญ่กว่าเขื่อนปากมูนของไทยประมาณ 1 เท่า และใช้ระบบเดียวกันคือเป็นเขื่อนที่ใช้ตัวลำน้ำเป็นอ่างเก็บน้ำและทำการปันไฟจากกระแสน้ำที่ไหลผ่าน ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดไฟฟ้าที่ใช้ได้จริงอาจเป็นเพียง 1 ใน 3 ของกำลังผลิตติดตั้งเท่านั้น เช่นเดียวกับเขื่อนปากมูน แต่ทว่า เขื่อนดอนสะโฮงเป็นเขื่อนที่ถูกเสนอให้สร้างในช่องทางน้ำช่องทางเดียวของพื้นที่สีพันดอนที่ปลาสามารถว่ายผ่านขึ้นลงได้ตลอดปีเพื่อวางไข่และขยายพันธุ์ สีพันดอน คือ พื้นที่สำคัญที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขงสำหรับการขยายพันธุ์ของปลา โดยปลาที่ผ่านทางฮูสะโฮง คือปลาจากทะเลสาบเขมรของกัมพูชา ปลาจากลำน้ำสาขาที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งเซกอง เซซาน และ สเรป็อกของกัมพูชา รวมไปถึงจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นั่นหมายถึงว่า หากปิดกั้นฮูสะโฮงเพื่อสร้างเขื่อน ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์คือลาวและบริษัทผู้สร้างสัญชาติมาเลเซีย แต่ประเทศอื่นๆ ในลุ่มน้ำจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดและโดยทันที เนื่องจากระบบที่สัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งและแยกออกจากกันไม่ได้ของลำน้ำโขงและลุ่มน้ำเหล่านี้ โดยเฉพาะในเรื่องการประมงในพื้นที่ลำน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประชาชนในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย ทั้งนี้ ผลกระทบในเรื่องการประมงในลุ่มแม่น้าโขง ได้ถูกศึกษาและนำเสนอมาโดย ต่อเนื่องโดยนักวิชาการจากนานาประเทศ โดยในปี 2551 เมื่อลาวเสนอสร้างเขื่อนดอนสะโฮงใน ช่วงแรก กลุ่มนักวิชาการทั่วโลกได้เขียนจดหมายคัดค้านโดยทันที (เอกสารแนบ) โดยแสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งกับประเด็นผลกระทบทางการประมง 2.กระบวนการที่บิดเบือนและถือเป็นการละเมิดข้อตกลงแม่น้าโขงปี 2538 ของลาว โดยลาว อ้างว่าเขื่อนดอนสะโฮงเป็นเขื่อนที่สร้างในลำน้ำสาขา ไม่ใช่บนลำน้ำโขงสายหลัก ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เนื่องจากดอนสะโฮงเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำโขงสายหลักที่แตกตัวออกเนื่องจากเกาะแก่งในเขตสีพันดอน ก่อนที่จะมารวมตัวกันอีกครั้งในทางตอนล่างและไหลต่อไปยังประเทศกัมพูชา อีกทั้ง เขื่อนดอนสะโฮงถูกบรรจุไว้ในชุดของเขื่อนแม่น้าโขงสายหลัก 12 เขื่อนที่มีการเสนอไว้ก่อนหน้านี้ เป็นที่รับรู้โดยประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้าโขง ดังนั้น การบิดเบือนเพื่อการเร่งกระบวนการการสร้างเขื่อน โดยอาศัยกลไกของคณะกรรมาธิการแม่น้าโขงด้วยการยื่น แจ้งล่วงหน้า (Prior Notification) แทนที่จะเป็นปรึกษาหารือล่วงหน้า (Prior Consultation) กับประเทศสมาชิกอื่นๆ จึงเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ จะต้องแสดงจุดยืนและคัดค้านในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลาวยื่นการแจ้งล่วงหน้าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาและแจ้งว่าจะทำการก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now |
รายงาน: 6 ปี ‘ชุมชนศรัทธา’ สิ่งละอันลดความขัดแย้ง จับต้องได้ที่หมู่บ้าน Posted: 18 Nov 2013 07:56 AM PST สิ่งละอันพันละน้อย ภารกิจก่อกิจกรรมลดความขัดแย้ง จับต้องได้ที่หมู่บ้าน ถอดจากเวทีประเมินโครงการ 6 ปี'ชุมชนศรัทธา' โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยใช้วิถีท้องถิ่นเดินนำ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "ชุมชนศรัทธา" กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจลึกซึ้งว่ามันคือ อะไร แบบไหนและอยู่ที่ไหน แล้วมันลดความขัดแย้งได้อย่างไร "ชุมชนศรัทธา" หรือ "กำปงตักวา"ในภาษามลายูนั้นมีชื่อเต็มว่า โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชนศรัทธา "กำปงตักวา" แนวคิดหลักคือ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตามวิถี อัตลักษณ์ที่เป็นทุนเดิมของชุมชน ในรายงานการถอดบทเรียนชุมชนศรัทธาประจำปี 2556 โดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) อธิบายว่า เครือข่ายชุมชนศรัทธา เน้นกระบวนการและรูปแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ภายใต้โครงสร้างอำนาจของชุมชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นกระบวนการที่ใช้ภูมิปัญญา วิถีท้องถิ่น หลักศาสนา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีศักยภาพในการร่วมเสริมสร้างสันติสุข การพึ่งตนเอง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมั่นคงถาวร โครงการนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชุมชนหรือหมู่บ้านเป้าหมาย 120 หมู่บ้าน ขั้นต้นได้รับงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ต่อมาได้งบจากมูลนิธิชุมชนไทและ Action Aids ซึ่งได้รับทุนมาจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพการขับเคลื่อนในแต่ละชุมชนผ่านผู้นำ 4 เสาหลักและอาสาสมัครใน 120 หมู่บ้านเป้าหมาย การสร้างชุมชนศรัทธา เพื่อเป็นฐานรองรับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อและศาสนา เพื่อตอบสนองเป้าหมาย ความยุติธรรม สวัสดิการชุมชน ความเสมอภาคทางสังคม บทบาทการมีส่วนร่วม เพื่อบริหารจัดการผลประโยชน์ของชุมชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี คณะทำงานโครงการโครงการชุมชนศรัทธาได้จัดประชุมถอดบทเรียนชุมชนศรัทธา ประจำปี 2556 มีผู้เข้าร่วมจาก 4 พื้นที่เป้าหมายในการถอดบทเรียนเข้าร่วม ทั้ง 4 หมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ 1.บ้านมะยูง ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 2.บ้านแลเวง ต.ดอนทราย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี 3.บ้านกำปั่น (ตาแป) ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา 4.บ้านจวบ (จูวะ) ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ผู้รายงานสรุปผลการถอดบทเรียนมี 3 คน ได้แก่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส DSW และนายอะห์หมัดสมบูรณ์ บัวหลวง คณะทำงานโครงการชุมชนศรัทธา ซึ่งได้ลงไปประเมินงานใน 4 หมู่บ้านดังกล่าวมาแล้ว การถอดบทเรียนดังกล่าว ใช้ทั้งแบบสอบถาม การประชุมกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่ม 4 เสาหลัก กลุ่มแกนนำตามธรรมชาติ ปราชญ์ท้องถิ่น กลุ่มสตรี สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนทั่วไป การปฏิบัติงานภาคสนาม การจัดทำรายงานสรุปผลและประชาพิจารณ์ข้อมูล ไปจนถึงการจัดทำเป็นคู่มือกิจกรรมและแผนงานชุมชนศรัทธาเผยแพร่ต่อสาธารณะ สิ่งละอันพันละน้อยที่ชุมชนศรัทธาได้รับ เนื้อหาบางส่วนจากรายงานการถอดบทเรียนใน 4 หมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว พบว่า โครงการชุมชนศรัทธาได้ก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่อย่างน่าสนใจหลายอย่าง จากการนำเสนอของ 4 หมู่บ้านเป้าหมาย มีหลายประเด็น ส่วนใหญ่เชื่อว่าวิถีชีวิตชุมชนศรัทธาใช้หลักการศาสนาอิสลามเป็นหลัก มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มดะวะห์ตับลีค (กลุ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลามรูปแบบหนึ่ง) หลายคนพยายามอธิบายว่า ชุมชนศรัทธาคือความเชื่อมั่น ศรัทธา มุ่งเน้นให้สมาชิกชุมชนศรัทธาตามหลักศาสนาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความสามัคคี ร่วมกันตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีงาม สามารถพึ่งตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ห่างไกลความเลวร้ายด้านอาชญากรรม ยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางการบริหารและจัดการชุมชน กล่าวคือ ชุมชนมุสลิมใช้มัสยิดและชุมชนพุทธใช้วัดเป็นหลัก จากความเข้าใจดังกล่าว ทำให้สมาชิกและแกนนำชุมชนส่วนใหญ่จึงมักนำเสนอกิจกรรมภาคปฏิบัติมากกว่าเรื่องแนวคิด เช่น เปิดสอนการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านในชุมชน ซึ่งปัจจุบันหลายรูปแบบ เช่น สอนโดยผู้รู้ในบ้านตนเองหรือศาสนสถาน สอนแบบกีรออาตีซึ่งผู้สอนต้องผ่านการอบรม ส่วนใหญ่ใช้ศาสนสถานเป็นที่สอน สอนแบบท่องจำที่เรียกว่าฮาฟิสอัลกุรอ่าน ส่วนใหญ่ใช้สถานศึกษาเฉพาะ ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาย เรียนเต็มแบบเวลา และการสอนในโรงเรียนตาดีกา บางชุมชนดำเนินการได้ดีจนสามารถบรรจุเป็นข้อบัญญัติขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก เช่น ธนาคารโลก (World Bank) สนับสนุนค่าดำเนินกิจกรรมหรือสร้างอาคารเรียน เป็นต้น การจ่ายซากาต (การบริจาคภาคบังคับ) วิธีการจ่ายซากาตที่นิยมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จ่ายแบบส่วนตัวของตนหรือครอบครับโดยมอบผู้มีพระคุณ เช่น โต๊ะอิหม่าม ครูสอนศาสนา ครูสอนอัลกุรอาน แต่บางชุมชนมีข้อตกลงให้จ่ายซากาตที่มัสยิด โดยตั้งคณะกรรมการจัดสรรและแจกจ่ายซากาตให้เป็นไปตามหลักศาสนา ด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น การสร้างโรงครัวให้มัสยิด การสร้างโรงทานให้วัด จัดหารถยนต์อำนวยความสะดวกและบริการรับส่งสมาชิกที่เจ็บป่วย หรือรับส่งไปงานบุญอื่นๆ โดยไม่คิดค่าบริการ จัดรับบริจาคผ้าขาวห่อศพและอุปกรณ์โลงศพ การระดมทุนจากสมาชิกมาเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและเด็กกำพร้าประจำปี บางชุมชนสามารถตั้งกองทุนเลี้ยงอาหารนักเรียนตาดีกาทุกวัน บางชุมชนจัดหาเงินซื้อตำราสอนศาสนาแจกนักเรียนตาดีกา กิจกรรมนันทนาการ ในเรื่องการเมืองท้องถิ่น มีการใช้กระบวนการพูดคุยและปรึกษาหารือ (ชูรอ) ก่อนและหลังการเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล เพื่อป้องกันไม่ให้การแพ้ชนะทางการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องบาดหมางกัน ซึ่งช่วยลดความขัดแย้งได้ บางชุมชนได้เชิญฝ่ายแพ้เลือกตั้งมาเป็นคณะทำงานด้วย บางชุมชนพยายามจัดการนันทนาการของนักเรียนตาดีกาในเครือข่ายหลายๆโรงเป็นประจำ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และเสริมสร้างความสามัคคี บางชุมชนมีการจัดงานวันคล้ายวันเกิดของศาสดามูฮำมัด เรียกว่า "เมาลิดีนนบี หรืองานเมาลิด" งานวันอาซูรอ โดยเน้นให้สมาชิกในชุมชนหาวัตถุดิบมาร่วมกันทำขนมอาซูรอ ในเดือนรอมฎอน ทุกชุมชนจัดกิจกรรมละศีลอดร่วมกัน ทั้งที่ทำทุกวันหรือจัดครั้งเดียวที่มัสยิด กิจกรรมเหล่านั้น เป็นส่วนสำคัญที่สร้างความผูกพันในชุมชนให้มากขึ้น แม้บางชุมชนไม่ได้มีศักยภาพมากก็ตาม เสริมหลักสูตรในโรงเรียน เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักการของศาสนาในโรงเรียนของชุมชน ซึ่งบางชุมชนสามารถบูรณาการแนวคิดและหลักศาสนามาสู่ภาคปฏิบัติในโรงเรียนประจำชุมชน ทั้งรวมถึงสูตรการเรียนรู้อื่นๆ เช่น การเปิดพิธีด้วยการอัญเชิญคัมภีร์อัลกุรอ่าน การขอพร(ดูอา)หน้าเสาธง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็มีคุณค่าในเชิงจิตวิทยาชุมชนค่อนข้างมาก เพราะหลายชุมชนมีนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด แต่ยังเคยปฏิบัติเช่นนี้ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีความรู้หรือเกรงจะขัดกับระเบียบของโรงเรียน แต่เมื่อเริ่มทำไปแล้วกลับกลายเป็นแบบอย่างให้โรงเรียนอื่นๆไปด้วย การพัฒนาแกนนำและสมาชิก หลายชุมชนมีกระบวนทัศน์ในการพัฒนาศักยภาพสมาชิกและแกนนำ เช่น ส่งบุคลากรเข้าอบรมการสอนคัมภีร์อัลกุรอ่านระบบกีรออาตี เพื่อให้มีผู้สอนเป็นของชุมชนเอง มีการจัดตั้งชมรมโรงเรียนตาดีกาเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนการสอน และส่งเสริมความสามัคคี การส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น ไปทัศนศึกษาดูงาน การจัดฝึกอบรมและสัมมนาแกนนำและสมาชิกกันเองหรือโดยองค์กรภาคี โครงสร้างชุมชนศรัทธา การจัดโครงสร้างการบริหารและการจัดการชุมขนศรัทธา จะใช้ผู้นำ 4 เสาหลักเป็นแกนนำดำเนินการ ผู้นำ 4 เสาหลัก ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายพัฒนา คือนายกอบต.หรือนายกเทศมนตรีและสมาชิก ผู้นำศาสนา เช่น โต๊ะอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิด โต๊ะครู (ผู้สอนศาสนาในสถาบันปอเนาะ) อุสตาซ(ครูสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม) ผู้นำตามธรรมชาติ หรือปราชญ์ท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น นักคิด นักกิจกรรม ผู้อาวุโสที่มีความรู้เรื่องทั่วๆไป ผู้มีประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่ไม่มีตำแหน่งอื่นๆในชุมชน บางชุมชนแบ่งความรับผิดชอบในการดูแลชุมชน เช่น แบ่งซอยหรือส่วนย่อยของชุมชน หรือแบ่งตามกิจกรรม เพื่อสะดวกในการดูแลบริการต่างๆตามแผนงาน การทำงานส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการพูดคุย การปรึกษากันและกันตามหลักการอิสลาม คือกระบวนการชูรอ เพื่อให้เป็นฉันทามติและความเป็นสิริมงคล กิจกรรมด้านบริการ/สวัสดิการ หลายชุมชนมีแบบอย่างเรื่องการจัดหาทุนเพื่อเป็นสวัสดิการของชุมชน มีแบบอย่างของการเสียสละของแกนนำ เช่น ยอมหักค่าตอบแทนตำแหน่งหัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน(ชรบ.)ให้กองทุน หรือนำมาออมกับกลุ่มออมทรัพย์แบบสมัครใจรายวัน(วันละบาท) เพื่อเป็นทุนทำกิจกรรมหรือซื้อสินค้า กองทุนอาชีพของกลุ่มสตรี เมื่อชุมชนมีองค์กรและกระบวนการที่ชัดเจน ก็จะได้รับงบประมาณช่วยเหลือจากองค์ภาคีและจากรัฐเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อต่อยอดและเติมเต็มกิจกรรมชุมชนแต่ยังคงหลักการของชุมชนศรัทธาไว้ ตัวอย่างกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ เช่น การฟื้นฟูนาร้าง การส่งเสริมปลูกต้นไผ่เพื่อเก็บหน่อ การขุดสระน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การรวมกลุ่มสตรีทำขนมขายตามงานเทศกาล สิ่งที่ได้คือ เมื่อชุมชนผ่านกระบวนการในโครงการชุมชนศรัทธา การทำงานเพื่อสังคมหรือจิตอาสาได้เกิดขึ้นทันที โดยความเห็นร่วมของคนในชุมชน ก้าวต่อไปที่ชุมชนศรัทธาต้องการ แม้ชุมชนเป้าหมายบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำคนใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานบ้าง แต่ก็มีความกระตือรือร้นที่จะนำชุมชนพัฒนาไปข้างหน้า บางชุมชนสามารถสร้างภาพจินตนาการที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น ด้านบริการและสวัสดิการชุมชน มีแนวคิดตั้งกองทุนกลางเพื่อชุมชน อาจจะเรียกว่า กองทุนอุมมะห์(Ummah) กองทุนออมทรัพย์อิสลามและอื่นๆ บางชุมชนทดลองดำเนินการไปแล้ว เพื่อช่วยเยาวชนที่เรียนดีขยันแต่ขาดทุนทรัพย์ได้เรียนต่อ หรือเพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้แก่สมาชิกในชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น การผลิตน้ำบูดู บางชุมชนมีปัญหาที่จอดรถยนต์ เพราะเมื่อราคายางพาราสูงขึ้นสมาชิในชุมชนก็มีเงินซื้อรถยนต์มากขึ้น จึงคิดแก้ปัญหาด้วยการหาเงินทุนซื้อที่ดินทำลานจอดรถสาธารณะของชุมชนในอนาคต บางชุมชนเคยจัดแข่งขันความสะอาด มีห้องน้ำมัสยิดสะอาด ห้องน้ำเพื่อคนพิการ จึงนำมาเสนอเป็นแผนงานของชุมชน บางชุมชนมีภูเขาและน้ำตก แต่ยังไม่เคยใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง จึงวางแผนสร้างระบบน้ำประปาภูเขา ด้านการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับสภาพชุมชน เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการบริหารจัดการชุมชนศรัทธาควรทำอย่างกว้างขวาง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง และอยากให้ขยายพื้นที่ตามแนวคิดชุมชนศรัทธาให้ครอบคลุมทั้งตำบลและอำเภอ ข้อจำกัดที่ต้องข้ามพ้น แนวคิดและหลักการของชุมชนศรัทธา เป็นรูปแบบที่สามารถปฏิบัติเป็นรูปธรรมในทุกชุมชน เพราะเป็นหลักคิดการพัฒนาศักยภาพของชุมชนบนพื้นฐานความความถูกต้อง ดีงามและเกิดประโยชน์ตามวิถีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและศาสนา แต่การสร้างความมั่นคงของชุมชนก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น การขาดการถ่ายทอดงานกันระหว่างกรรมการโครงการคนเก่ากับคนใหม่ บางชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงของแกนนำหลัก หรือมีภารกิจอื่นนอกชุมชนมากขึ้น บวกกับการขาดการประสานงานที่ดีทำให้การขับเคลื่อนงานชุมชนศรัทธาอ่อนแอลง นอกจากนี้ การเพิ่มทักษะและพัฒนาศักยภาพการทำงาน ทั้งการทำงานกลุ่ม และความรู้ทั่วไปที่ต้องควบคู่กับความเข้าใจทางด้านศาสนาที่นำมาใช้ได้ในชุมชน ยังต้องเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดอยู่ ที่สำคัญค่านิยมของสังคมคนมลายูที่ยอมรับความเป็นผู้นำในชุมชนอย่างมาก จนทำให้การทำงานตามหลัก"กระบวนการประชาธิปไตย"ลดน้อยลงไป หมายความว่า สมาชิกมักจะมอบหมายอำนาจให้ผู้นำ จนทำให้ผู้นำบางคนเข้าใจว่าการทำงานของตน คือการทำงานตามหลักประชาธิปไตยที่ดีแล้ว หรือเข้าใจว่า การประชุมสมาชิกในชุมชนคือความมีประชาธิปไตยแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีสมาชิกบางคนเท่านั้นที่มีโอกาสพูดและตัดสินใจในที่ประชุม อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่สำคัญที่จะทำให้ชุมชนศรัทธาเดินต่อไปได้ คือความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เสียงสะท้อนจากผู้ถอดบทเรียน ในขณะที่ ความเห็นในส่วนของผู้ถอดบทเรียน อย่างนายอะห์หมัดสมบูรณ์ บัวหลวง คณะทำงานโครงการชุมชนศรัทธา เห็นว่า ชุมชนศรัทธาสามารถเปลี่ยนให้เป็นชุมชนพึ่งพาตนเองได้ จากการคิดเองบริหารเอง แต่ควรสร้างองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยเช่น การสร้างคณะกรรมการชุดใหม่มารับช่วงต่อ "การมีกรรมการชุดใหม่ในขณะที่ยังเหลือกรรมการชุดเก่าอยู่อาจทำให้เกิดการสงวนท่าที และการเปลี่ยนแปลงผู้นำชุมชนก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเดินหน้าลำบาก เพราะฉะนั้นการเปิดพื้นที่กลางให้ทุกฝ่ายมีพื้นที่พูดคุยก็จะช่วยลดปัญหานี้ได้" ชุมชนศรัทธาต้องมีโรดแมป นายอะห์หมัดสมบูรณ์ กล่าวว่า การสร้างแผนที่นำทางหรือ Road map เพื่อการจัดลำดับการบริหารจัดการเพื่อให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงก็สำคัญ ซึ่งทางชุมชนต้องกลับไปพูดคุยหารือกันเพื่อให้การทำงานเกิดความชัดเจนมากขึ้น นายอะห์หมัด กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะทำงานต้องมีขั้นตอนและกระบวนของตนเองที่มั่นใจว่าสามารถดำเนินการได้และต้องสร้างเครือข่ายหนุนเสริมชุมชนศรัทธาด้วย ส่วนนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวว่า การทำ Road map จะเป็นเป็นตัวกำหนดการทำงานที่ต้องเดินหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้ นายมูฮำมัดอายุบ กล่าวด้วยว่า ชุมชนศรัทธาสามารถหนุนเสริมให้ยุติการฆ่าหรือยุติความรุนแรงในพื้นที่ได้ โดยใช้ประโยชน์จากการขับเคลื่อนกิจกรรมทางวัฒนธรรม หากชุมชนศรัทธาทำได้ ชุมชุนอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน หลักคิดคือคณะทำงานต้องสร้างการทำงานที่เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ จะส่งผลให้การทำงานเป็นหนึ่งและสามารถเดินหน้าต่อไปได้ "ผู้นำยิ่งถอยหลัง ชุมชนยิ่งก้าวไปไกลขึ้น" นายอดินันท์ บินมุมิน ผู้ใหญ่บ้านจวบ หมู่ที่ 1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส กล่าวว่า เครื่องมือในการขับเคลื่อนชุมชนศรัทธาที่ชุมชนของตนใช้ คือ ความสามัคคีของผู้นำ เพราะความสามัคคีจะเป็นตัวทำลายความเป็นตัวตนของแต่ละคน นายอดินันท์ กล่าวว่า หากไม่มีความสามัคคีชุมชนก็จะแตกแยก เพราะมีหลายอย่างที่ทำให้เกิดความแตกแยกได้ เช่น บรรยากาศก่อนการเลือกตั้งหรือหลังการเลือกตั้งในหมู่บ้าน มักสร้างความแตกแยกของคนในชุมชนได้ "หากผู้นำจับมือกันทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่สอบตกเราก็นำมาเป็นคณะทำงานร่วมกันต่อได้" นายอดินันท์ กล่าว นายอดินันท์ ย้ำว่า เมื่อผู้นำกับผู้จับมือกันได้ ผู้ตามของแต่ละฝ่ายก็ต้องรวมตัวกัน ซึ่งช่วยลดความขัดแย้งและสร้างบรรยากาศที่ดีในชุมชนได้อีกด้วย ก่อนที่เขาจะทิ้งท้ายว่า "ผู้นำต้องถอยเป็น และต้องรู้จักถอยบ้าง ยิ่งถอยลงมาเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งก้าวต่อไปให้ได้ไกลกว่า อย่างหนังสติ๊กยิ่งดึงถอยหลังมากเท่าไหร่ ลูกหนังสติ๊กก็ยิ่งไปได้ไกลมากขึ้นไปอีก" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ราชนิกูลยืนหนังสือนายก เรียกร้องจัดการคนหมิ่นสถาบัน Posted: 18 Nov 2013 07:36 AM PST ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ ยื่นจดหมายถึงนายกพร้อมรายชื่อราชนิกูลจำนวนหนึ่ง ขอแนวทางปฏิบัติอย่างจริงจังในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ จ้กระทรวงไอซีทีมีอำนาจโดยตรงในการปิดกั้น ตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นสถาบัน หากพ้น 3 วัน รัฐไม่ตอบสนองจะเคลื่อนไหวขั้นต่อ 18 พ.ย. 2556 เว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ ตัวแทนราชนิกูล เปิดเผยต่อนักข่าวที่รัฐสภาว่าในช่วงเช้าของวันนี้ นฬล. สุทธิฉันท์ ได้ยื่นหนังสือต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และรมว.กลาโหม พร้อมรายชื่อราชนิกูล ผ่านทางนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกฯ เพื่อขอให้มีแนวทางในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมามีการหมิ่นสถาบันในหลายช่องทาง แต่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการใดในการปกป้อง โดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอซีที ที่มีอำนาจดำเนินการโดยตรง จึงขอให้ดำเนินการจัดการปิด ตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นสถาบัน ไม่ว่าสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ โดยขอให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาด ทั้งที่สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลและนายกฯ ก็ได้กล่าวปฏิญาณตนขณะเข้ารับตำแหน่ง "สิ่งที่ราชนิกูลต้องการเห็นความชัดเจนในการดำเนินการจัดการกับการหมิ่นสถาบัน ไม่ใช่นิ่งเฉย หากว่ารัฐบาลยังนิ่งเฉย เมื่อครบ 3 วัน ทางเราจะมีมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป "ม.ล.สุทธิฉันท์ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 18 Nov 2013 07:27 AM PST "ถ้าท่านมีความจริงใจและเห็นด้วยกับหนึ่งในสิทธิมนุษยชนสากล คือสิทธิในร่างกายของตนเองแล้ว ผู้ได้รับรางวัลปีนี้ในประเภทเด็กและเยาวชน ข้าพเจ้าขอเสนอแก่ท่านว่าผู้ที่ควรรับคือ "นักเรียนไทยทั้งหมดผู้กำลังต่อสู้และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนของพวกเขา" ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชนตัวจริง ผู้อดทนและเหน็ดเหนื่อยซ้ำอาจถูกกล่าวร้ายในโรงเรียนของพวกเขา ทั้งจากเพื่อนนักเรียนเอง ครู หรือกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าท่านประกาศผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวคือพวกเขาเหล่านี้ ถ้าได้เช่นนี้ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาสาธุการแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดนี้" 18 พ.ย.56, ในจดหมายถึงกสม.ไม่ขอรับรางวัลดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน |
สุเทพเตือนคนใกล้ชิด 'ระบอบทักษิณ' รีบสละ 'รัฐนาวา' ก่อนประชาชนจัดการ 24 พ.ย. Posted: 18 Nov 2013 06:55 AM PST สุเทพ เทือกสุบรรณขอให้ 'ธาริต เพ็งดิษฐ์' เอาผิดเขาคนเดียว ที่ชักชวนให้คนเป่านกหวีด โดยจะรอหมายจับที่นี่-ไม่หนีไปไหน ถ้ามีคนประทุษร้ายด้วยสไนเปอร์จะถือว่าคำรณวิทย์รู้เห็น -'ทั้งโคตรนั้น' ไม่ได้อยู่เมืองไทยแน่นอน พร้อมแนะผู้ชุนนุม 24 พ.ย. คนมาเป็นล้านให้วางแผนการเดินทาง-ห่อข้าว-เลี่ยงการขับรถส่วนตัว สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2556 ที่ ถ.ราชดำเนิน (ที่มา: BlueSky TV) ส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ฟังการปราศรัยเมื่อคืนวันที่ 18 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Prachatai)
สุเทพบอก 'ธาริต เพ็งดิษฐ์' ถ้าจะเอาผิดเรื่องเป่านกหวีดให้เอาผิดเขาคนเดียว 18 พ.ย. 2556 - ในการชุมนุมโค่นระบอบทักษิณ ที่ ถ.ราชดำเนิน วันนี้ (18 พ.ย.) เมื่อเวลา 20.30 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.หลายสมัยจาก จ.สุราษฎร์ธานี ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกล่าวถึงธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ที่แถลงข่าววันนี้ว่าจะดำเนินคดีเขา เนื่องจากชักชวนให้ประชาชนเป่านกหวีดใส่ข้าราชการของดีเอสไอ และมีการข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับพี่น้องที่ไปเป่านกหวีดใส่คนในระบอบทักษิณ โดยจะใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ดำเนินคดี (มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท) "ผมประกาศตรงนี้เลยว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เชิญชวนเป่าหวีดใส่สมุนคนโกง คนชั่ว ถ้าเอาผิดให้เอาผิดกับผม อย่าหันรีหันขวางไปฟ้องพี่น้องประชาชนคนอื่นๆ" "ฝากไปถึงข้าราชการดีเอสไอเป็นนักการเมือง 35 ปี เข้าไปบริหารกระทรวงหลายครั้ง และข้าราชการทั้งหลายทราบดีว่า ให้เกียรติกับข้าราชการแม้บางครั้งจะสั่งงาน ยังเดินไปหาอธิบดี ปลัดกระทรวงเองถึงที่ทำงาน แทนที่จะเรียกมาหาผม นี่รู้กันทุกกระทรวง ผมให้ความเคารพ ให้เกียรติข้าราชการ เพราะผมถือว่าข้าราชการเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน สมควรได้รับการยกย่องให้เกียรติ ที่พูดอย่างนี้เพื่อยืนยันกับพี่น้องข้าราชการว่า ประชาชนทราบดีว่าข้าราชการมีอุดมการณ์ ทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง ในแต่ละกระทรวง ในแต่ละกรม มีข้าราชการชั่วไม่กี่คนเท่านั้น" "เหมือนดีเอสไอ ตอนที่ผมเป็นรองนายกรัฐมนตรีผมเป็นคนขออนุมัติจาก ครม. ให้ว่าจ้างหรือรับข้าราชการเพิ่มขึ้นในกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผมเชื่อว่าข้าราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นคนดี ยกเว้นธาริต เพ็งดิษฐ์ครับ และผมไม่เคยชักชวนพี่น้องประชาชนให้แสดงความรังเกียจ เดียดฉันท์ ข้าราชการกรมสอบสวนคนอื่น ผมบอกประชาชนให้จัดการธาริต เพ็งดิษฐ์เท่านั้น ถ้าธาริตจะเอาคดีเป่านกหวีดเป็นคดีพิเศษ ให้เอาหมายจับมาจับได้ที่นี่ ทุกวัน ไม่หนีไปไหน" "ศัตรูประชาชนมีเฉพาะคนชั่ว ไม่กี่คนเท่านั้นเอง และประชาชนพลเมืองดีอย่างเรา แยกคนดีคนชั่วออกจากกันได้ ให้พี่น้องข้าราชการทั้งหลายสบายใจ มายืนข้างประชาชนเถิดครับพี่น้องข้าราชการทั้งหลาย"
ถ้าสไนเปอร์ประทุษร้าย ถือว่าคำรณวิทย์รู้เห็น และ 'ทั้งโคตรนั้น' ไม่ได้อยู่เมืองไทยแน่นอน สุเทพปราศรัยด้วยว่า "มีข่าวลือ มีคนบอกว่าคุณสุเทพให้ระวัง ฝ่ายเขาจะประทุษร้าย มีการเอาสไนเปอร์มาแล้ว บางคนมาบอกข่าวว่า ตำรวจออกในสื่อออนไลน์ ในเฟซบุค ถ้ารับจ้างยิงหัว เขาจะรับจ้างเอง" "ไม่ใช่เพราะเรามีข้ออาฆาตกับใครส่วนตัว แต่เราจำเป็นต้องลุกขึ้นต่อสู้เพื่อประเทศไทยของเรา เพื่อแผ่นดินไทยและอนาคตลูกหลานเรา เราไม่กลัวใครประทุษร้าย ใครจะมาฆ่า ตายก็ช่างมัน ผมอายุ 64 ปีแล้วพี่น้องครับ ไม่กี่วันก็จะอายุ 65 ชีวิตีที่เหลืออยู่ไม่รู้จะซื้อกางเกงนุ่งได้อีกกี่ตัว ถ้ามีโอกาสตายเพื่อแผ่นดิน ผมพอใจแล้ว และผมเชื่อมั่นว่า ถ้าผมตายลงไปคนเดียว พี่น้องประชาชนอีกนับล้านคน จะลุกขึ้นมาเป็นแกนนำแทนผมได้ทุกคน บอกไปถึงทักษิณ ยิ่งลักษณ์ บอกไปถึงคนในรัฐบาล สมุน ลิ่วล้อทั้งหลาย อย่าว่าแต่ผมเลย ถ้าแกนนำคนใดคนหนึ่งถูกประทุษร้ายถึงแก่ชีวิต และทั้งโคตรนั้นไม่ได้อยู่ประเทศไทยแน่นอน" "แล้วผมต้องพูดความจริง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ผบ.ชน. ให้ตำรวจแต่งเครื่องแบบทำหนังสือมาถึงผม บอกว่าเขาเป็นห่วงความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นเขาจะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน ผมเซ็นรับว่า ทราบ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะมาปฏิบัติหน้าที่แต่งเครื่องแบบให้เรียบร้อย จะได้รู้ว่าเป็นตำรวจ เพราะเมื่อสองสามวันก่อน ไม่แต่งเครื่องแบบตำรวจ แต่พกปืนในที่ชุมนุม เลยเจอเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของเรา แล้วเกิดเรื่อง วิ่งหนี แล้วไปใส่เรื่องราวใหญ่โต ผมขอความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยครับ" "พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ผบ.ชน. ได้แจ้งให้ผมทราบว่าบนตึกสูงๆ เหล่านี้ เป็นจุดที่คนร้ายเอาปืนมายิงผมได้ ขึ้นไปประจำบนตึกทั้งหมด 28 จุด ถ้าเกิดอะไรกับผม ให้สันนิษฐานได้ว่าคำรณวิทย์รู้เห็น แต่ถ้า ผบ.ชน. จริงใจที่จะทำเรื่องนี้โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ขอให้พี่น้องประชาชนให้กำลังใจตำรวจนครบาลด้วย"
นัดหมายชุมนุม 24 พ.ย. ขอให้วางแผนการเดินทางดีๆ ระวังไม่มีที่จอดรถ "เมื่อผมกราบเรียนพี่น้องทั้งหลายว่า การต่อสู้ของพี่น้องประชาชนชาวไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินคราวนี้ ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย เพราะมีคนมากเหลือเกินที่เข้าร่วมกระบวนการต่อสู้ ที่น่าชื่นชมยินดีคือพวกเราทุกคนได้พร้อมใจกันเลือกวิธีการต่อสู้ที่เป็นเรื่องของการต่อสู้แบบสันติ สงบ ปราศจากอาวุธ สู้แบบอหิงสาจริงๆ ไม่เคยมีใครทำมาก่อน" "ผมกราบเรียนกับพี่น้องทั้งหลาย ว่าการต่อสู้ด้วยวิธีการอหิงสานั้น ต้องอาศัยพลังมาก หัวใจยิ่งใหญ่แข็งแกร่ง มุ่งมั่น ยึดประโยชน์ประเทศชาติและแผ่นดินเป็นสำคัญ อีกทั้งจะต้องมีมวลมหาประชาชนเข้ามาร่วมในกระบวนการต่อสู้ให้มากที่สุด ให้เป็นล้านล้านคน พี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย ผมประกาศกับพี่น้องทั้งหลายว่า 24 พ.ย. นี้ จะเป็นวันที่เราพี่น้องประชาชนผู้รักชาติรักแผ่นดิน ออกมากอดคอร่วมกันต่อสู้ 1 ล้านคน แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่ามีพี่้น้องประชาชนที่อยู่ที่นี่ และอยู่ที่บ้าน มั่นใจเหลือเกินว่ามาเกินล้านคนแน่นอน พี่น้องที่เคารพครับ ผมมีความมั่นใจเหลือเกิน เพราะชีวิตนักการเมือง 35 ปี ผมได้รับการสั่งสอนจากพี่น้องประชาชนทั้งหลายว่าต้องเชื่อมั่นประชาชน บ้านเมืองถึงจะเดินหน้าไปได้" "และเหตุการณ์ที่เกิดในไทยหลายครั้งหลายหนพิสูจน์ให้ผมเห็นแล้วว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราฝากความหวังให้พี่น้องประชาชน ไม่มีวันที่ประชาชนจะทำให้ใครผิดหวังเป็นอันขาด ลูกเมียกูก็มาแน่นอน แต่อดหวั่นไหวไม่ได้ว่าลูกบ้านอื่นจะมาหรือเปล่า" "ถ้าใครหวั่นไหว ใครรู้สึกไม่ค่อยแน่ใจ ก็ขอให้มั่นใจในพี่น้องประชาชน บ้านเมืองนี้ประเทศไทยต้องเป็นเสียงของประชาชนเท่านั้นที่จะชี้อนาคตความอยู่รอดของประเทศไทย"
20 พ.ย. นี้จะยื่นรายชื่อถอดถอน 310 ส.ส. กับประธานวุฒิสภา สุเทพกล่าวถึงเรื่องต่อไปว่า "ผมจะกราบเรียนให้พี่น้องทั้งหลายทราบ ผมและเพื่อนๆ แกนนำไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาว่าจะรวบรวมบัญชีรายชื่อประชาชนเพื่อยื่นหนังสือถอดถอน ส.ส. 310 คนต่อประธานวุฒิสภา ผมได้พูดกับประธานวุฒิสภา นายนิคมว่า ครั้งนี้เป็นครั้งเดียวที่เจอท่านผมไม่เป่านกหวีด ครั้งหน้าเจอท่าน ผมจะเป่านกหวีดใส่ ท่านทั้งหลายที่ลงชื่อแล้วและจะลงชื่อต่อไปวันพรุ่งนี้ ผมจะให้เจ้าหน้าที่รวบรวมชื่อถึงกลางคืนวันพรุ่งนี้วันที่ 19 และวันที่ 20 จะไปยื่นชื่อให้กับประธานวุฒิสภานายนิคม ตามกฎหมายต่อไป" สุเทพเล่าด้วยว่าหลังจากนั้นได้ไปรับประทานอาหาร และพบกับคนหนุ่มสาวอายุราว 30 ซึ่งแสดงตัวว่าจะมาร่วมชุมนุมด้วยในวันที่ 24 พ.ย. "เสร็จแล้วผมไปนั่งทานอาหารกลางวันที่ร้านหนึ่ง เจอคนหนุ่มสาวอายุประมาณ 30-33 นั่งรับประทานอาหารอยู่โต๊ะข้างๆ พอเห็นผมเดินขึ้นมา คุณสุเทพ วันที่ 24 พวกผมและเพื่อนๆ ทุกครอบครัวไปกันหมดทุกคน ผมเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ทุกคน ทุกบ้าน คิดเหมือนกันกับคนหนุ่มสาวที่แสดงตัวกับผม ขอต้อนรับทุกท่านครับ" "งานนี้พี่น้องชาวกรุงเทพฯ ต้องเป็นเจ้าภาพร่วมกับผมละครับ เพราะเขามาชุมนุมที่นี่ ไม่เพียงแต่พี่น้องชาวกรุงเทพฯ มาล้านสองล้านคน จะมีคนจากทุกจังหวัดมาร่วมชาวกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกที่ร่วมกันอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่จริงๆ"
24 พ.ย. กลัวอาหารไม่พอ ขอให้คน กทม. ห่อเผื่อคน ตจว. - และเตือนหาที่จอดยาก "ความกลุ้มใจของ ส.ส.ชุมพล จุลใส หรือน้องลูกหมี คือไม่รู้จะเอากับข้าวที่ไหนมาเลี้ยงคนล้าน สองล้านคนในวันที่ 24 พ.ย. ได้ ผมขอซักซ้อมพี่น้องชาวกรุงเทพฯ 24 พ.ย. โปรดกรุณามาร่วมชุมนุมหิ้วตระกร้า เป้สะพายไหล่ใส่ขวดน้ำ ใส่ข้าวห่อมาด้วยนะครับ แล้วถ้ามีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ห่อมาเผื่อพี่น้องเราจากต่างจังหวัดด้วยจะขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ" "ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าคณะกรรมการแกนนำจะปฏิเสธความรับผิดชอบนะครับ ร้านสี่ภาคของเราก็จะมีเหมือนเดิม ส.ส.ชุมพลไปสั่งเพิ่มมารองรับ แต่เชื่อว่าอย่างไรก็ไม่พอสำหรับล้านคน เพราะฉะนั้นขอให้พวกเราร่วมเป็นเจ้าภาพทุกคน แล้วแต่ใครจะมีใจ แล้วสมาคมใด กลุ่มใด จะมาตั้งร้านเพิ่ม ก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้า ที่หนักใจที่สุด ผมเชื่อว่าวันนั้น จะมีพี่น้องประชาชนเต็มไปหมด ด้านโน้นคงทะลุ ถ.หลานหลวงไปถึงไหนผมก็ไม่รู้ แต่ด้านนู้นถึงสนามหลวง ถึงท่าพระจันทร์ ถึงสะพานพระปิ่นเกล้า ทีนี้ปัญหาเกิดอย่างนี้ครับ หาที่จอดรถยาก เพราะฉะนั้นพี่น้องที่จะมาที่ชุมนุมบ้านใกล้เรือนเคียงนั่งคันเดียวกันมา ให้ใครขับมาส่ง รถต้องจอดไกลละครับ เพราะไม่มีทางจะเอารถมาจอดบน ถ.ราชดำเนิน หรือสนามหลวง พี่น้องต้องวางแผนสักนิดนะครับ ขออภัยพี่น้องไว้ด้วย" สุเทพแนะนำเรื่องการเดินทาง
เผยตื่นเต้นจะได้เห็นคนเป็นล้านมาชุมนุม และเตือนคนในระบอบทักษิณให้รีบสละเรือ "พูดแล้วก็รู้สึกตื่นเต้นนะครับ ไม่เคยเห็นคนล้านคนมาชุมนุมกัน เกิดมาครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะได้เห็นคนล้านคนออกมาสู้ด้วยกัน ถือโอกาสกราบเรียนพี่น้องประชาชนจังหวัดต่างๆ ที่จะเดินทางมาร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องกรุงเทพฯ ท่านต้องวางแผนเดินทางเป็นพิเศษ รถไฟ รถทัวร์คงเต็มหมดทุกวัน คงต้องทยอยมาเดี๋ยวจะพลาดนาทีประวัติศาสตร์" ท้ายสุดสุเทพ ปราศรับด้วยว่า "พวกผมจะพยายามดูแลให้ดีที่สุด แล้วมั่นใจว่าพี่น้องชาวกรุงเทพฯ จะเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าภาพ ต้อนรับพี่น้องประชาชนทุกจังหวัดด้วยความยินดีมีสุขอย่างยิ่ง ขอให้นับวัน นับชั่วโมงที่จะถึงในวันที่ 24 พ.ย. เวลา 18.00 น. เวลาเดิมของพวกเรา" สุเทพเตือนคนที่ใกล้ชิดระบอบทักษิณด้วยว่า "เรือกำลังจะจมแล้ว ให้ออกมาเถอะครับ ให้เหลือแต่ชินวัตรเท่านั้น และที่อยู่เหลือในรัฐนาวานั้น มวลมหาประชาชนจะช่วยกันจัดการครับ" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 พ.ย. 2556 Posted: 18 Nov 2013 06:21 AM PST กรมการจัดหางานเตือนแรงงานไทยที่จะไปเก็บผลไม้ป่าที่ฟินแลนด์ สรส.ยังไม่อาระยะขัดขืนหยุดงาน- ตัดน้ำตัดไฟ กสร.ชี้ บริษัท เอคโค่ ปิดโรงงานที่พิจิตร เพราะแบกรับค่าแรง 300 บาท ไม่ไหว กสร.ชี้เอกชนหยุดงานเป็นสิทธิของนายจ้าง-การทำข้อตกลงกับลูกจ้าง คนงานอุดรเมินอารยะขัดขืน รมว.คมนาคมยืนยันรัฐวิสาหกิจในสังกัดไม่หยุดงาน พนักงานการไฟฟ้านครหลวง ยังทำงานปกติ ไร้ป้ายติดประกาศ ขณะที่เจ้าหน้าที่เผย ใช้เวลาหลังเลิกงาน ร่วมชุมนุมต้านนิรโทษ แนะตรวจสอบโควตาก่อนตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ ILO ร่วมภาคีต้านเอดส์ เปิดโครงการ VCT@WORK ให้คำปรึกษา ตรวจเลือด ไฟไหม้แคมป์คนงานก่อสร้างสมุทรปราการ กว่า 20 ห้องวอด ประธานกรรมการบริหาร ซีพี ออลล์ เผยแผนบริหารพนักงาน ต้องสร้างความรู้ ชี้ ช่วยลดสถิติพนักงานลาออกได้ 4-5% ต่อเดือน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'เนติวิทย์' ขอปฏิเสธรับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิฯ Posted: 18 Nov 2013 04:54 AM PST เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ร่อนจดหมายถึงกสม.ไม่ขอรับรางวัลดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน ระบุไม่ทราบกสม. จริงใจต่อการละเมิดสิทธิอย่างกรณีเม.ย.-พ.ค. 53 หรือเสรีภาพการแสดงออกมากเพียงใด เสนอ 'ไท พฤกษาเกษมสุข' รับรางวัลแทน 18 พ.ย. 2556 เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษา ส่งจดหมายเปิดผนึกแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอปฏิเสธไม่รับรางวัลสิทธิมนุษยชนในประเภทเด็กและเยาวชน จากบทบาทการรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน ผ่านทางงานของสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย เนติวิทย์ตั้งคำถามว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีความจริงใจเพียงใดในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากเหตุการณ์การความรุนแรงทางการเมืองเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 ซึ่งกสม. ดูเหมือนแทบไม่ค่อยสนใจต่อประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ รวมถึงในประเด็นสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน ที่เนติวิทย์ระบุว่า ทางสมาพันธ์ฯ ได้ส่งรายงานสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนไปยังกสม. แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด นอกจากนี้ เขายังเสนอให้ ไท ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นศ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษในคดีม. 112 ได้รับรางวัลนี้แทน ในฐานะตัวแทนของบิดา หรือในฐานะเยาวชนก็ได้ "ถ้าทำได้จะเป็นการกู้ศักดิ์คณะกรรมการสิทธิ และเป็นการขอโทษที่เมินเฉยต่อสิทธิทางการพูด พิมพ์ เขียน ทางความคิดโดยตลอด" จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุ 0000 วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เรียน ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการ เรื่อง ขอปฏิเสธการเสนอชื่อตนในการรับรางวัลฯ และข้อเสนอบางประการ อันเนื่องจากมีนักสิทธิมนุษยชนในองค์กรฯของท่านได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า อาจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคุณวิสา คณะกรรมการสิทธิฯได้มีกะใจเสนอชื่อให้ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน ในประเภทเด็กและเยาวชน จากงานของสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยซึ่งต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน ในประเด็นเรื่องทรงผม ข้าพเจ้ามีความปีติยินดียิ่ง และเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับเยาวชนคนหนึ่ง หากข้าพเจ้าขอปฏิเสธการเสนอชื่อตนในการรับรางวัลฯ เพราะ 1)ข้าพเจ้าไม่ถนัดในการส่งประวัติตนเองในการเสนอรางวัลใดๆ 2)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดนี้มีสักกี่คนที่ทำงาน และสนใจประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างใจจริง กรณีเมษา-พฤษภา 53 เป็นอย่างไร ดูแทบจะไม่ไยไพด้วยซ้ำ ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นเป็นประชาชน ไม่ต้องเอ่ยถึงการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางความคิดของฝ่ายรัฐได้สนใจบ้างหรือไม่ 3)ข้าพเจ้าในนามสมาพันธ์นักเรียนฯได้เคยส่งจดหมายรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนไปยังแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่ทางคณะกรรมการฯมิได้ตอบกลับ แล้วข้าพเจ้าจะรู้ได้อย่างไรว่าทัศนคติขององค์กรนี้เป็นอย่างไร มีน้ำใสใจจริงเพียงไหนกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นี่คือเหตุผลในการปฏิเสธ และข้าพเจ้าขอเสนอแนะต่อคณะกรรมการสิทธิฯต่อไปว่า สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนยังถูกละเมิดอย่างร้ายแรง มีอาทิกรณีทรงผมนักเรียน เป็นต้น ในหลายโรงเรียนยังจำกัดสิทธิเสรีภาพบนศีรษะนักเรียนอยู่ ทางกระทรวงศึกษาธิการเองในเวลานี้ เจ้ากระทรวงฯก็ไม่ได้สนใจใยดีต่อสิทธิเสรีภาพของนักเรียนเลย วิสัยทัศน์แห่งศตวรรษที่๒๑ แห่งการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนและพลโลกก็คือไร้แก่นสารไป ทั้งนี้ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิฯ ได้เป็นที่พึ่งแห่งสิทธิมนุษยชนสากลอย่างแท้จริง อย่าถูกหยุดกับเพียงกรอบความเป็นไทยเท่านั้น ข้าพเจ้าเห็นใจคณะกรรมการสิทธิฯ ในสภาพสังคมเช่นนี้ จึงขอแสดงความห่วงใยมาถึงด้วย ในท้ายที่สุด ถ้าท่านมีความจริงใจและเห็นด้วยกับหนึ่งในสิทธิมนุษยชนสากล คือสิทธิในร่างกายของตนเองแล้ว ผู้ได้รับรางวัลปีนี้ในประเภทเด็กและเยาวชน ข้าพเจ้าขอเสนอแก่ท่านว่าผู้ที่ควรรับคือ "นักเรียนไทยทั้งหมดผู้กำลังต่อสู้และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนของพวกเขา" ซึ่งเป็นนักสิทธิมนุษยชนตัวจริง ผู้อดทนและเหน็ดเหนื่อยซ้ำอาจถูกกล่าวร้ายในโรงเรียนของพวกเขา ทั้งจากเพื่อนนักเรียนเอง ครู หรือกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าท่านประกาศผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวคือพวกเขาเหล่านี้ ถ้าได้เช่นนี้ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาสาธุการแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดนี้ ด้วยความเคารพนับถือ (เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล) นักเรียน ปล. อนึ่งข้าพเจ้าขอเสนอให้นายไท ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นักศึกษา มธ บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้รับรางวัลด้วย จะในฐานะตัวแทนพ่อ หรือประเภทเด็กเยาวชนก็ได้ ถ้าทำได้จะเป็นการกู้ศักดิ์คณะกรรมการสิทธิ และเป็นการขอโทษที่เมินเฉยต่อสิทธิทางการพูด พิมพ์ เขียน ทางความคิดโดยตลอด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุเทพชี้ระบอบทักษิณเป็นมะเร็งร้าย - นัด 24 พ.ย. ชุมนุม 1 ล้านคน Posted: 18 Nov 2013 04:10 AM PST 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' อัดระบอบทักษิณเป็นมะเร็งร้าย ได้อำนาจด้วยการเลือกตั้งที่มีการทุจริต ปล่อยเอาไว้ประเทศจะหายนะ จึงต้องร่วมมือกันขจัดให้พ้นไปจากแผ่นดิน ด้านอดีตผู้ต้องหาคดีเผา ธ.กรุงเทพ จ.ขอนแก่นปี 53 ประกาศขอกลับใจ-และระบุจตุพรจ้างให้เผา ขณะที่จตุพรเตรียมฟ้องกลับฐานหมิ่นประมาท เมื่อวานนี้ (17 พ.ย.) ในการปราศรัยของ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ และแกนนำการชุมนุมต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีการยกระดับเป็นการ "ถอนรากถอนโคน" ระบอบทักษิณที่ ถ.ราชดำเนินนั้น ตอนหนึ่งสุเทพ ปราศรัยว่า มีคนสงสัยว่าทำไมต้องขจัดระบอบทักษิณจากแผ่นดินไทย ขอเรียนว่าพวกเราคนไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินทั้งหลายได้ประจักษ์ชัดด้วยตัวเองแล้วว่าระบอบทักษิณเป็นพิษภัยที่ร้ายที่สุดต่อประเทศไทยในขณะนี้ และในอนาคต ในระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาที่ระบอบทักษิณได้ครอบงำ ปกครองประเทศไทย เราทุกคนเห็นพ้องกันว่ามันเหมือนกับมะเร็งร้ายของประเทศไทย ถ้าไม่ผ่าตัดไม่มีทางเลือก ขืนปล่อยเอาไว้ประเทศไทยมีแต่จะประสบความหายนะ และจะเป็นความหายนะที่ยากแก่การฟื้นฟูแก้ไขในอนาคต จะเป็นภาระของลูกหลานในอนาคต ที่ต้องขจัดไปทั้งระบอบเพราะระบอบทักษิณได้ใช้กระบวนการเลือกตั้งเป็นพิธีการ เลือกตั้งพอเป็นพิธี เพื่อให้ตัวเองหรือระบอบทักษิณเองได้มาครองอำนาจในไทย เขาทำทุกอย่าง ทุกวิธีการเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะซื้อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต ฉ้อโกงการเลือกตั้ง ซื้อตัว ส.ส. หรือแม้แต่ซื้อพรรคการเมืองทั้งหลายให้มาเป็นสมุน เป็นบริวาร และยกมือสนับสนุนให้พวกเขาเป็นรัฐบาล การโกงการเลือกตั้งเป็นความผิดที่เลวร้ายที่สุด เพราะว่าการเลือกตั้งนั้นเป็นโอกาสเดียวที่คนไทยจะได้แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ร่วมกันว่าจะมอบอำนาจในการทำงานการเมือง การปกครองบริหารประเทศ ให้คนใด พรรคใด เมื่อมีการซื้อ เจตนารมณ์จึงถูกบิดเบือนแต่เบื้องต้น เป็นการทำลายรากฐานของระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผมมากล่าวหาลอยๆ ว่าเขาซื้อเสียง เขาโกงการเลือกตั้ง แต่มันเป็นเรื่องจริง มีการต่อสู้คดีแล้วในศาล และด้วยเหตุผลที่มีหลักฐาน มีประจักษ์พยานชัดเจน ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 เพราะทุจริตการเลือกตั้ง โกงการเลือกตั้ง แล้วคนพวกนี้เข็ดไหมครับ อายไหมครับ ถูกยุบพรรคไทยรักไทย ก็เปลี่ยนชื่อใหม่ มาอยู่ในพรรคพลังประชาชน หน้าเฉยตาเฉย คนหน้าเดิมทั้งสิ้น แล้วทำไงต่อครับ พอมาเป็นพรรคพลังประชาชน ก็ทำเหมือนเดิม โกงการเลือกตั้งอีก ซื้อเสียงอีก ก็ถูกยุบพรรค 2 ธ.ค. 2551 วันนี้จึงกลายมาเป็นพรรคเพื่อไทย แล้วถ้าเรายุบอีกก็จะเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อลาว เพื่อเขมร เพื่อพม่า ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ได้อายประชาชนเจ้าของประเทศเลย ทำผิดแล้วซ้ำอีก แล้วยังลอยคอ ชูคอเป็นรัฐบาลได้หน้าเฉยตาเฉย ผมมีส่วนเกี่ยวข้องในการรวบรวมพยานหลักฐานไปแสดงต่อศาล จนกระทั่งศาลยุบพรรคไทยรักไทย แต่มาวันนี้ ผมหมดความพยายามแล้วที่จะยุบพรรคเพื่อไทย แม้จะรวบรวมพยานหลักฐานเป็นปี ยุบแล้ว ก็จะเกิดเป็นพรรคเพื่อลาว เพื่อพม่า เพื่อเขมรอีก แล้วก็ลงเลือกตั้งอีก แล้วไปซื้อเสียงอีก โกงการเลือกตั้งอีก ชนะอีก กลับมาเป็นรัฐบาลอีก นี่คือวัฏจักรที่คนเหล่านี้ทำกับเรา ไม่มีความละอาย ไม่สามารถหาอุดมการณ์ที่แท้จริงได้จากพรรคการเมืองพวกนี้ นี่ไม่ใช่คำกล่าวผม แต่อยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยังบอกเลยครับว่าคนพวกนี้ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมายทุกฉบับ ไม่สนอะไรทั้งนั้น ต้องการให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศ แล้วศาลยังบอกอีกครับว่า คนพวกนี้ไม่มีความละอาย เมื่อได้อำนาจในการปกครองประเทศแล้วยังใช้อำนาจในการทุจริตคอร์รัปชั่น สะสม หาเงินเอาไว้ ใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพียงเหตุผลประการนี้ สำหรับคนที่มีหัวใจเป็นนักประชาธิปไตย คนที่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เพียงพอแล้วที่จะต้องร่วมมือกันกำจัดระบอบทักษิณให้พ้นไปจากแผ่นดินนี้ สุเทพกล่าวด้วยว่าในวันที่ 18 พ.ย. จะมีการออกกฎหมายพิเศษที่จะให้อำนาจยิ่งลักษณ์ กู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท โดยไม่บอกรายละเอียดว่าจะเอาไปใช้ที่ไหนอย่างไร และยังยากต่อการตรวจสอบ อีกทั้งเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี้ จะมีดอกเบี้ยจนเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านล้านบาท ทำให้คนไทยต้องใช้หนี้ไปอีก 50 ปี และเชื่อว่าคงจะมีการโกงเกิดขึ้นในงบประมาณนี้กว่า 10 เปอร์เซนต์ เท่ากับเป็นจำนวนเงิน 2 แสนล้านบาท ซึ่งสามารถจะเอาไปใช้ในโกงการเลือกตั้งครั้งต่อไป สุเทพปราศรัยต่อไปว่า ตั้งแต่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมาที่ได้ประกาศยกระดับการชุมนุมเพื่อขจัดระบอบทักษิณนั้น มีคนตั้งคำถามว่าเมื่อไรถึงจะล้มระบอบทักษิณได้ ดังนั้น ขอประกาศให้พี่น้องทั่วประเทศว่า คณะกรรมการและแกนนำขอประกาศว่าวันที่ประชาชนได้จำนวนครบ 1 ล้านคนคือ วันที่ 24 พ.ย. ซึ่งจะเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย "ใครมากรุงเทพได้คราวนี้ต้องมากันให้หมดทุกคนครับพี่น้องครับ ใครที่มากรุงเทพไม่ได้ให้มารวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด คุมเชิงผู้ว่าฯ เอาไว้ให้ดี รอสัญญาณจากเวทีราชดำเนิน แล้วค่อยๆ เดินเข้าไปกระซิบผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการทั้งหลายว่านี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะกลับเนื้อกลับตัวมายืนข้างมวลมหาประชาชน" "พี่น้องทั้งหลาย นับนาที นับวัน ตั้งแต่บัดนี้ และลงมือทำงานทุกคน เพื่อให้วันที่ 24 พ.ย. เป็นวันแห่งชัยชนะของประชาชน" "และพี่น้องทั้งหลายครับ ก่อนจะถึงวันที่ 24 พ.ย. วันนี้ เรามาลอยกระทง ผมขอร่วมอธิษฐานจิตกับพี่น้องทั้งหลาย จับไอ้พวกมารร้ายทั้งหลายเหล่านี้ ลอยออกทะเลไปให้หมด วันนี้จะลอยทั้งไอ้เหลี่ยมทักษิณ น้องสาวคุณแหลของเขา ลอยสมุนบริวารทาส ที่ปล้นชาติ ปล้นประชาชน ให้มันออกทะเลไปให้หมด ให้พ้นไปจากแผ่นดินไทย ลอยมันออกไป พร้อมกับคำสาปแช่งของมวลมหาประชาชน แล้ววันที่ 24 พ.ย. เราก็จะลอยตัวจริงของมันที่เหลือให้พ้นประเทศไทย ผมจะรอพี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย ผู้รักชาติรักแผ่นดินอยู่ที่นี่ ตั้งเวทีรอทุกค่ำทุกคืน จนถึงวันที่ 24 พ.ย. ที่จะเป็นวันต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่" นอกจากนี้ในการชุมนุมคืนเดียวกัน ปาริชาติ ภูนกยูง อดีต นปช. ได้ปราศรัยว่า เคยหลงผิด และเป็นคนเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น และธนาคารกรุงเทพ สาขาขอนแก่น โดยได้รับเงินค่าจ้าง 1.5 ล้านบาท โดยนายจตุพร พรหมพันธ์ บอกว่าให้เอาน้ำมันไปเผา ซึ่งเมื่อตนทำแล้วก็ยอมรับผิด และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับ ทั้งนี้ตนได้ขึ้นศาลปฏิบัติตามกฎหมาย และถูกตั้งข้อหาทั้งหมด 6 ข้อหา แต่โดนฟ้องเพียง 3 ข้อหา ติดคุก 1 ปี แต่รับสารภาพจึงลดเหลือติดคุก 3 เดือน เมื่อลงมือเผาแล้วกลับไม่ได้เงิน 1.5 ล้านบาท แต่ก็ทำให้ตนดีใจเพราะได้ตาสว่าง และตอนที่ติดคุก แกนนำ นปช.ไม่เคยมาเยี่ยมเลย ตอนนี้ตนไม่เหลืออะไรแล้ว ต้องเอาที่นาไปจำนำเพื่อนำเงินมาสู้คดี โดยพร้อมจะเข้าร่วมกับม็อบนกหวีดด้วย ขณะที่ล่าสุด กรุงเทพธุรกิจรายงานคำให้สัมภาษณ์ของ จตุพร พรหมพันธุ์ที่ระปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่าจะฟ้องสุเทพ เทือกสุบรรณ และเหล่าแกนนำที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีราชดำเนิน ฐานหมิ่นประมาท โดยจะไปฟ้องที่ สน.สำราญราษฎร์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เอฟทีเอ ว็อทช์ บุกกรมเกษตร ค้าน 'โจรสลัดชีวภาพ UPOV 1991' Posted: 18 Nov 2013 03:47 AM PST ตัวแทนเกษตรกร เครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม และเอฟทีเอว็อทช์ บุกกรมวิชาการเกษตร ยื่นหนังสือคัดค้านอนุสัญญา UPOV 1991 ชี้เป็นการละเมิดอธิปไตยของประเทศเหนือทรัพยากร 18 พฤศจิกายน 2556 ที่กรมวิชาการเกษตร องค์กรภาคประชาชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ตัวแทนจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ และเอฟทีเอ ว็อทช์ซึ่งติดตามกรณีที่สหภาพยุโรป และบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญา UPOV 1991 โดยมี Mr. Martin Ekvad ประธานของ UPOV จะมาบรรยายเพื่อโน้มน้าวให้ข้าราชการกรมวิชาการเกษตรเห็นดีเห็นงามกับอนุสัญญาดังกล่าว ในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ที่ตึกกสิกรรมกรมวิชาการเกษตร โดย เครือข่ายภาคประชาชนประมาณ 30 คน ได้ไปรวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าอนุสัญญาฉบับนี้ ละเมิดสิทธิเกษตรกร ละเมิดอธิปไตยของประเทศเหนือทรัพยากร และส่งเสริมให้บรรษัทเมล็ดพันธุ์ผูกขาดมากยิ่งขึ้น ตัวแทนเกษตรกรและภาคประชาสังคมเดินทางมาถึงหน้าตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตรตั้งแต่เช้าตรู่ มีการแสดงล้อเลียน โดยมีชายคนหนึ่งสวมสูทคุกเข่ากำลังยื่นพานใส่เมล็ดพันธุ์ส่งให้ชายอีกคนหนึ่งที่แต่งตัวเป็นโจรสลัด เบื้องหลังเป็นธงและป้ายฝ้ามีข้อความคัดค้านอนุสัญญายูปอพ 1991 เวลาประมาณ 08.30 น. นายดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกมารับหนังสือจากตัวแทนผู้คัดค้าน โดยปฏิเสธว่าตนเองไม่รู้ไม่เห็นกับการจัดประชุมนี้ และกล่าวว่าไม่เอาด้วยกับอนุสัญญาฉบับนี้อยู่แล้ว เพราะรักชาติเหมือนกัน และรักชาติมากกว่าอีกหลายคน ตัวแทนภาคประชาชนแย้งว่าในหนังสือเชิญให้มาร่วมรับฟังการบรรยายนั้น มีลายมือชื่อของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเองเป็นคนลงนาม จึงเป็นไปไม่ได้ที่กรมวิชาการเกษตรจะจัดการประชุมเรื่องที่จะกระทบกับเกษตรกรและผลประโยชน์ของประเทศโดยอธิบดีไม่ได้รับรู้ เมื่อถึงเวลา 09.30 น. ซึ่งตามกำหนดการเป็นการบรรยายของประธานยูปอพ เครือข่ายเกษตรกรและภาคประชาสังคมได้เดินทางเพื่อขอยื่นหนังสือคัดค้าน แต่ถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร โดยบอกให้ประชาชนรออยู่ตรงโถงหน้าห้องประชุมโดยระบุว่า ไม่มีการประชุมและไม่มีตัวแทนของยูปอพมาบรรยาย แต่เมื่อตัวแทนคนหนึ่งของกลุ่มผู้คัดค้านเล็ดลอดเข้าไปในห้องประชุมกลับพบว่า นาย Martin กำลังบรรยายให้ข้าราชการและผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คนอยู่ในห้องประชุม แม้จะถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปในห้องประชุมโดยอ้างว่าไม่มีเก้าอี้เพียงพอ แต่ผู้คัดค้านยืนยันว่าพร้อมจะนั่งพื้น และโต้แย้งว่าทำไมตัวแทนของบริษัทมอนซานโต้และบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติจึงได้รับโอกาสมากกว่าเกษตรกรรายย่อย ทางเจ้าหน้าที่จึงจำยอมให้ภาคประชาชนเข้าไปในห้อง และรอเวลาที่จะยื่นหนังสือตามที่ได้มีการต่อรองก่อนหน้านี้ว่า อนุญาตให้ภาคประชาชนยื่นหนังสือคัดค้านได้เมื่อถึงช่วงเวลาพักรับประทานของว่าง ก่อนถึงช่วงพักรับประทานของว่าง นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และข้าราชการของกรมแจ้งว่า นายมาร์ตินซึ่งผู้บรรยายอยู่ไม่ได้เป็นตัวแทนของยูปอพแต่ประการใด แต่มาจากสมาคมผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ของยุโรป จึงขอปฏิเสธที่จะให้ยื่นหนังสือ กลุ่มประชาชนผู้คัดค้านโต้แย้งว่า กรมวิชาการเกษตรได้ปิดบังข้อมูลและให้ข้อมูลเท็จต่อภาคประชาชนมาเป็นลำดับรวมถึงคำกล่าวอ้างนี้ด้วย เพราะมีหลักฐานชัดเจนในหนังสือเชิญประชุมของกรมฯเองที่ระบุตำแหน่งของมาร์ตินว่าเป็นตัวแทนของยูปอพ อีกทั้งในเว็บไซท์อย่างเป็นทางการของยูปอพเองก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่ามาร์ตินซึ่งเป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานของยูปอพ (chairman of the UPOV Administrative and Legal Committee) ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2556 และมีวาระดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบ 3 ปี (ดู UPOV Press Release, October 24, 2013) ตัวแทนของภาคประชาชนจึงใช้ช่วงเวลาที่ประธานของยูปอพ บรรยายเสร็จและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถาม เดินเข้าไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อประธานของยูปอพ ในรายงานของจดหมายที่ยื่นต่อ Martin Ekvad, Chairperson of the UPOV Administrative and Legal Committee ให้เหตุผลการคัดค้านอนุสัญญา UPOV 1991 โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการคือ 1) ทำลายสิทธิเกษตรกรในการเก็บรักษาและแลกเปลี่ยนสายพันธุ์พืช ซึ่งเป็นสิทธิตามวิถี เกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อย และเป็นสิทธิได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญของไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 2) ทำลายกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ ภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นโดยยึดหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับ UPOV เป็นการทำลายประสิทธิภาพการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองของประเทศไทยอย่างร้ายแรง และเป็นการสนับสนุนโจรสลัดชีวภาพในทางอ้อม 3) มีรายงานการศึกษาเป็นจำนวนมากที่รายงานว่าการเข้าร่วม UPOV ส่งผลกระทบต่อการ ปรับปรุงพันธุ์ของนักปรับปรุงพันธุ์รายย่อย วิสาหกิจชุมชน และ เอื้ออำนวยให้บริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ผูกขาดพันธุ์พืชมากยิ่งขึ้น 4) จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่าเกษตรกรรายย่อยต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น ใน 2-6 เท่าตัวจากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในท้ายจดหมายฉบับดังกล่าว ตัวแทนของภาคประชาชนระบุว่า "เราขอประกาศให้ทราบว่าเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย องค์กรภาคประชาชน และเอฟทีเอว็อทช์จะเคลื่อนไหวคัดค้าน UPOV 1991 อย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้ประเทศไทยต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวภายใต้การเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทย" ระหว่างการยื่นหนังสือคัดค้านของภาคประชาชน นางชุติมา รัตนเสถียร ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าใกล้ชิดกับยูปอฟ และเป็นหนึ่งของผู้ประสานงานให้มีการประชุมครั้งนี้ พูดด้วยเสียงอันดังว่า "กลุ่มประชาชนที่เข้ายื่นหนังสือวันนี้เป็นพวกไม่มีมารยาท และไม่ให้เกียรติกรมฯและผู้บรรยาย" อย่างไรก็ตาม ตัวแทนภาคประชาชนไม่ได้ใช้โอกาสนั้นโต้เถียงต่อข้าราชการคนดังกล่าว แต่กล่าวอธิบายต่อผู้เข้าร่วมประชุมว่า "เรามาในฐานะตัวแทนของเครือข่ายเกษตรกร และองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากอนุสัญญาฉบับนี้ เราควรได้รับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ที่ได้รับสิทธิดังกล่าวมาโดยตลอด เรายอมที่จะเสียมารยาทตามมาตรฐานของคนบางคน เพื่อจะปกป้องความอยู่รอดของเกษตรกรรายย่อย และทรัพยากรชีวภาพของประเทศ" ตัวแทนของเกษตรกรรายย่อยและภาคประชาสังคมระบุว่า หลังจากยื่นหนังสือต่อประธานของยูปอพ ได้ตระหนักว่าพวกเขาไม่ได้ต่อสู้กับสหภาพยุโรป และบรรษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่กำลังต่อสู้กับความเชื่อและทัศนคติของข้าราชการในกรมวิชาการเกษตรกลุ่มหนึ่ง ที่เชิดชูว่าอนุสัญญายูปอพของฝรั่งนั้นดีต่อประเทศไทยและนำพาเกษตรกรรมไทยไปสู่ความเจริญเหมือนในยุโรปและสหรัฐ พวกเขาชี้ว่า การมีกฎหมายพันธุ์พืชที่ลิดรอนสิทธิของเกษตรกร และเอื้ออำนวยประโยชน์ให้บรรษัทเมล็ดพันธุ์มากๆนั้น จะนำมาซึ่งการลงทุนและการพัฒนาสายพันธุ์พืชใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรกรรม พวกเขาจึงปิดหูปิดตาและไม่อยากรับฟังเสียงของเกษตรกรรายย่อย องค์กรสาธารณะประโยชน์ และนักวิชาการอิสระด้านปรับปรุงพันธุ์พืชและทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ที่เตือนว่าการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญายูปอพ จะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกร และปล่อยให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพของประเทศ ดังที่ได้เกิดกระแสการลุกขึ้นมาคัดค้านการผูกขาดเมล็ดพันธุ์และระบบอาหารเกิดขึ้นในทั่วโลก รวมทั้งแม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไปเหนือกว่าการเมืองเหลือง/แดงสู่การปฏิวัติของประชาชนที่เป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง Posted: 18 Nov 2013 12:54 AM PST
1. จะต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยเลือกตั้งฝ่ายบริหารจำนวนหนึ่งไปทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระยะเปลี่ยนผ่าน นี่คือ ประชาธิปไตยทางตรงของประชาชนพลเมืองที่มีสำนึก ซึ่งเหนือกว่าประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่ และไปพ้นจากการพึ่งพาอำนาจอื่น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 17 Nov 2013 08:56 PM PST |
Posted: 17 Nov 2013 08:54 PM PST |
Posted: 17 Nov 2013 08:52 PM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น