โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ลงแดง! กรณีเนติวิทย์กับสภานิสิตจุฬาฯ

Posted: 07 May 2017 09:27 AM PDT

 

โลกโซเชียลลงแดง! เนติวิทย์เตรียมยึดสภานิสิตจุฬาฯ

เรื่องราวในแวดวงรั้วจามจุรีขณะนี้ ก็คงไม่มีเรื่องใดที่อาจร้อนแรงไปกว่าเรื่องที่นาย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2560 ด้วยคะแนนเสียงข้างมากในที่ประชุมสภานิสิตจุฬาฯอย่างท่วมท้นถึง 27 เสียง จาก 36 เสียงของสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ ปี 2560[1] ซึ่งได้สร้างแรงสะเทือนต่อสังคมอย่างเป็นวงกว้าง ตั้งแต่ระดับภายในแวดวงจุฬาฯเอง และแวดวงสังคมภายนอก จนแม้แต่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังได้กล่าวถึงนายเนติวิทย์ในงานปาฐกถาพิเศษเรื่อง "บทบาทมหาวิทยาลัยไทย ต่อไทยแลนด์ 4.0" ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เขตศาลายา ว่า "ผมนึกเสียดายและเป็นห่วง เพราะเสียชื่อสถาบัน เมื่อผมไปต่างประเทศ ถ้าเขาบอกว่าไม่อยากอยู่ประเทศของเขา เขาจะให้ไปอยู่ที่อื่น ดังนั้น จึงต้องเคารพกฎหมาย ขอให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี เสน่ห์ของเราต้องช่วยกันรักษา อย่าไปข้างหน้าแล้วทิ้งข้างหลัง สถานที่เที่ยวในประเทศไทยสร้างในสมัยก่อนทั้งนั้น ประวัติศาสตร์ที่ดีเป็นความภาคภูมิใจ ขอให้เก็บเอาไว้ อันไหนไม่ดีก็ขอให้อย่าทำอีก"[2]

จากการที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงนายเนติวิทย์เช่นนั้น ส่งผลให้นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาลได้โพสต์แสดงความคิดเห็นแบบสาธารณะตอบโต้คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโปรไฟล์เฟสบุ๊คของตนว่า "ใครคือความอับอายของชาติ เมื่อผ่านการศึกษา ผ่านการอบรมมาแล้ว ฝึกวินัยมาแล้ว น่าจะรู้จักเคารพกติกาของบ้านเมือง ถ้าอยากเล่นการเมืองก็มาตั้งพรรคการเมืองสิ แต่ตัวเองกลับเล่นนอกกติกา ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ เท่านั้นยังไม่พอ ยังลิดรอนสิทธิคนอื่นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผมและคนรุ่นใหม่อีกหลายๆคน ท่านนายกรัฐมนตรีได้ทำลายชื่อเสียงของประเทศไทยมาเกือบจะ 3 ปีแล้ว"[3]

เราจะเห็นได้ว่า การที่แม้แต่บุคคลระดับนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงนายเนติวิทย์ ย่อมเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่านายเนติวิทย์ได้รับความสนใจจากสังคมไทยอย่างมาก แต่กรณีที่พินิจและน่ากล่าวถึงก็คือ การได้รับความสนใจอย่างหนักหน่วงในโลกโซเชียลนั้น เช่น เพจข่าวต่างๆบางสำนัก ที่เขียนข่าวพาดหัวรุนแรง และมีการทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่นายเนติวิทย์อย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละโพสต์มีการผู้แสดงความคิดเห็นในมุมมองต่างๆ โดยมักมีการแสดงความคิดเห็นแบบอาฆาตมาดร้าย จากการปลุกเร้าอารมณ์โดยการเสี้ยมของผู้เขียนข่าว จนทำให้ผู้เสพสื่อจากเพจข่าวนั้นๆเกิดอาการลงแดง แลดูคล้ายจะคลุ้มคลั่งกับการที่นายเนติวิทย์ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ปี 2560 และแสดงออกประหนึ่งว่าเรื่องดังกล่าวกระทบต่อตนเองเสมือนว่าตนเองเป็นนิสิตจุฬาฯ เสียขนาดนั้น ซึ่งเราอาจสามารถวิเคราะห์ประเด็นที่ว่า ทำไมคนในโลกโซเชียลที่ได้รับการเสี้ยมโดยสำนักข่าวซึ่งสร้างความเสื่อมเสียแก่นายเนติวิทย์ ถึงสามารถเกิดอาการหงุดหงิด คลุ้มคลั่ง และลงแดงถึงขนาดนั้นได้ ผ่านแนวคิดทางจิตวิทยาสังคมในเรื่องของสังคมประกิต (socialization), เจตคติ (attitude), การคล้อยตามโดยอัตโนมัติ (mindless conformity), พฤติกรรมการไม่เป็นตนเอง (deindividuation), และความก้าวร้าว (aggression)


สื่อจอมเสี้ยมบางสื่อที่อาศัยหลักแนวคิดทางจิตวิทยาสังคม

เราจะสามารถพินิจกรณีที่มีสื่อบางสำนักได้เขียนข่าวเกี่ยวกับกรณีนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ปี 2560 ซึ่งมีการพาดหัวและการเขียนเนื้อหาที่ปลุกเร้าสังคมให้เกิดความเกลียดชังนายเนติวิทย์อย่างรุนแรง จนมีการแสดงความคลุ้มคลั่งเหมือนคน "ลงแดง" อยู่ตามช่องแสดงความคิดเห็นตามโพสต์ข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจพิจารณาสื่อเหล่านั้นมีจุดประสงค์ปลุกเร้าอารมณ์คนอาศัยการเข้าใจวัฒนธรรมพื้นฐานของไทยที่มีสังคมประกิต (socialization) โดยสังคมประกิตนี้คือการที่บุคคลได้รับการกล่อมเกลาและเกิดการเรียนรู้ ที่จะรับความเชื่อและนำพฤติกรรมมาสู่ตน ตามบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ[4] ซึ่งสังคมไทยมีวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยมเป็นกระแสหลัก และสังคมไทยโดยทั่วไปมักยอมรับความเห็นต่างของบุคคลอื่นได้ยาก ซึ่งหากมีผู้ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม ย่อมมีผู้คนในสังคมนั้นๆไม่พอใจต่อบุคคลนั้น และมีบทลงโทษ ซึ่งหากติดตามวีรกรรมต่างๆของนายเนติวิทย์ จะพบว่าเขาเป็นผู้ท้าทายความเชื่อ และกล้าตั้งคำถามกับบรรทัดฐานต่างๆของสังคมไทยหลายอย่าง ซึ่งขัดกับการที่คนไทยจำนวนมากถูกหลักสังคมประกิตให้อย่าตั้งคำถามกับประเพณีและวัฒนธรรม ถูกกล่อมเกลาให้มองว่าสิ่งต่างๆเป็นประเพณีที่ทำกันมานาน เป็นสิ่งดีงาม ไม่สมควรถูกแก้ไขหรือยกเลิก ทำให้เขาต้องเจอบทลงโทษมากมายจากคนใจแคบในสังคมไทย โดยในที่นี้เป็นการลงโทษลักษณะที่ไม่ใช่ทางการ เป็นในเชิงจารีต เช่น การแสดงความคิดเห็นด่าทอ และแสดงความความคิดเห็นเชิงเกลียดชัง เป็นต้น

โดยในส่วนของแนวคิดเจตคติ (attitude)[5] นั้น มีความหมายในเชิงความเชื่อ ความนึกคิด ที่นำพามาสู่พฤติกรรมต่อบุคคลหรือสิ่งของในลักษณะการประเมินค่า ซึ่งเป็นแนวโน้มของพฤติกรรมที่ดำรงอยู่ได้นาน โดยผู้เสพข่าวในเพจสื่อจอมเสี้ยมนั้นเนื่องจากถูกกล่อมเกลาและเกิดการเรียนรู้ทางสังคมมาก่อนหน้านั้นแล้ว ยิ่งเมื่อมีกาเรียนรู้พื้นฐานซึ่งทำให้เจตคติอนุรักษ์นิยมที่แรงกล้าเช่นนั้นแล้ว เมื่อเขามาพบข่าวของนายเนติวิทย์ เขาจึงไม่ลังเลที่จะแสดงพฤติกรรมที่หยาบคายและแลดูคลุ้มคลั่งออกมาในช่องแสดงความคิดเห็นของโพสต์ข่าว

เมื่อลองพินิจให้ลึกลงไปอีก เราจะพบว่าการที่เขามีความไม่พอใจนายเนติวิทย์ นอกจากจะเป็นเพราะถูกสังคมกล่อมเกลามาเช่นนั้น มีเจตคติที่ผ่านการกล่อมเกลามาอย่างเข้มข้น ก็เป็นเพราะแต่ละคนมักมีการคล้อยตามโดยอัตโนมัติ (mindless conformity)[6] จากวัฒนธรรมในสังคมไทยที่มักให้เชื่อฟัง ห้ามตั้งข้อสงสัย ให้ปฏิบัติตามประเพณีและสิ่งที่เขาทำต่อๆกันมา โดยให้เหตุผลว่าเขาทำต่อกันมานาน ถ้าสิ่งนั้นไม่ดี เขาก็คงไม่ทำ หรือให้ทำๆไป ชีวิตจะได้ราบรื่นและไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องปวดหัวในการใช้ความคิด เป็นต้น เมื่อมีผู้ที่ไม่คล้อยตามสิ่งที่พวกตนเชื่อหรือปฏิบัติ จนเมื่อพวกเขารู้สึกว่าคนๆนั้นยากเกินกว่าที่จะกล่อมเกลาให้มาคล้อยตามเหมือนพวกตนได้นั้น ก็จะถูกจัดให้อยู่นอกกกลุ่มตน มักไม่ได้รับความร่วมมือหรือการยอมรับใดๆ นอกจากนี้เราอาจจะเห็นได้ว่า การที่นายเนติวิทย์ไม่ได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มนั้น เมื่อมีข่าวเสี้ยมๆเกิดขึ้น คนพวกนี้มักเกิดอคติและละทิ้งหลักวิจารณญาณของตนในทันที และพร้อมจะเชื่อตามข่าวที่ถูกปลุกระดมนั้นๆ

มีประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ก็คือ พฤติกรรมการไม่เป็นตนเอง (deindividuation)[7] ซึ่งจากการที่เขาอยู่ในเพจข่าวซึ่งมีคนที่เหมือนๆกันทางเจตคติจำนวนมหาศาล เขาจะมีความรู้ตัว(awareness) น้อยกว่าปกติ การใช้เหตุผลของเขาจะลดลง และจะไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างซึ่งในยามปกติตนคงไม่ทำ เช่น แสดงความคิดเห็นหยาบช้าหรือรุนแรงในโลกโซเชียล โดยมีสาเหตุเช่น เขารู้สึกว่าไม่มีใครจดจำตนเองได้ในโลกโซเชียล การที่อยู่ในกลุ่มซึ่งมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการเกลียดชังนายเนติวิทย์ และการที่จิตใจและอารมณ์ได้รับการกระตุ้นอย่างรุนแรง ซึ่งเพจข่าวจอมเสี้ยมก็ได้ยกเอาประเด็นต่างๆเช่น นายเนติวิทย์เป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯได้อย่างไร ทั้งๆที่ไม่ใช่คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม(อย่างที่พวกเขาถูกกล่อมเกลาให้เชื่อ และต้องการให้คนอื่นเชื่อเช่นนั้น) โดยเพจข่าวจอมเสี้ยมได้เขียนข่าวโจมตีเนติวิทย์อย่างต่อเนื่อง ว่าเป็นคนที่แสดงความคิดเห็นขัดกับกระแสความเชื่อหลักของสังคมไทย เช่น การไม่ต้องการยืนตรงเคารพธงชาติ และการขอให้มีทางเลือกสำหรับนิสิตจุฬาฯใหม่ ซึ่งต้องการยืนโค้งคำนับแสดงความเคารพแทนการหมอบกราบพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ เป็นต้น

จากประเด็นทางจิตวิทยาสังคมที่ได้ยกมานั้น อาจนำไปสู่ความก้าวร้าว (aggression)[8] ซึ่งก็คือ การกระทำที่บุคคลต้องการทำร้ายผู้อื่นซึ่งต้องการหนีไปจากสภาพถูกทำร้ายนั้นๆ เป็นไปได้ทั้งการทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งความก้าวร้าวในประเด็นนี้อาจมาจากแนวคิดทางวัฒนธรรมไทยแบบอนุรักษ์นิยม เมื่อผู้คนเหล่านั้นพบว่านายเนติวิทย์กำลังมีอำนาจพอที่จะสั่นคลอนวัฒนธรรมที่ตนเองเชื่อว่าดีได้ เขาก็จะเริ่มมีการแสดงความก้าวร้าวตอบโต้ออกมา โดยการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงต่อข่าวเรื่องนายเนติวิทย์นั่นเอง และน่ากังวลว่า ความก้าวร้าวทางการแสดงความคิดเห็นนี้อาจจะพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวที่รุนแรงกว่าเดิมในอนาคตได้ ซึ่งเป็นความก้าวร้าวที่มาจาการปลุกระดมโดยสื่อจอมเสี้ยม


สรุปเหตุการณ์โลกโซเชียลลงแดง และสิ่งที่น่าฉุกคิดจากกรณีนี้

ในทัศนะของผู้เขียนบทความ เห็นว่าเหตุการณ์ที่สังคมไทย(โดยเฉพาะสังคมภายนอกรั้วจุฬาฯ มีความสนใจต่อการที่นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ปี 2560 นั้น ในโลกโซเชียลได้มีเพจข่าวบางเพจทำการเขียนข่าวสร้างความเสียหายแก่นายเนติวิทย์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการพาดหัวอย่างรุนแรงสร้างความเร้าอารมณ์ผู้เสพสื่ออย่างต่อเนื่อง ทำให้นึกสงสัยถึงหลักจริยธรรมของสื่อสารมวลชน ว่าการที่เขียนข่าวพาดหัวปลุกปั่นให้สังคมเกลียดชังนิสิตชั้นปีที่หนึ่งนี้มีความสมควรหรือถูกต้องหรือไม่อย่างไร? สื่อบางสื่อมีจุดประสงค์อย่างไรจึงปลุกระดมคนเช่นนั้น? และทำให้นึกถึงกรณีตัวอย่างของการที่สื่อบางสื่อในอดีตได้ปลุกระดมเร้าอารมณ์มวลชนจนทำให้มวลชนเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเกิดการสังหารหมู่นิสิตนักศึกษาและประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งมาจากการปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐ[9] และการใช้กำลังกลุ่มมวลชนแนวคิดฝ่ายขวา เช่น กลุ่มกระทิงแดง ,กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ,และกลุ่มนวพล เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้มีการปลุกปั่นเร้าอารมณ์อย่างต่อเนื่องโดยสื่อไร้จริยธรรมในยุคนั้น อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ดาวสยาม[10] จนทำให้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ในเมืองหลวงของประเทศไทยดังกล่าว จากกรณีในอดีตที่กล่าวว่า ก็อาจสมควรที่จะสงสัยว่าสื่อบางสื่อในปัจจุบัน ที่มีการโจมตีนายเนติวิทย์อย่างต่อเนื่อง ในประเด็นการนำเสนอที่เขาไม่เห็นด้วยกับหลักจารีตของสังคมไทยนั้น มีจุดประสงค์ใดในการนำเสนอพาดหัวข่าวในกรณีที่ต้องการสร้างความแตกแยกในสังคมไทยเช่นนี้? และสังคมไทยที่กำลังลงแดงจากการถูกปลุกระดมโดยสื่อที่ไร้จริยธรรมเช่นนี้จะดำเนินต่อไปได้อย่างน่ากังวลเพียงใด?

 

เชิงอรรถ
[1] อ้างอิงเนื้อหาจาก http://www.matichon.co.th/news/549745
[2] อ้างอิงเนื้อหาจาก http://www.matichon.co.th/news/550928
[3] อ้างอิงเนื้อหาจาก http://www.matichon.co.th/news/551574
[4] อ้างอิงแนวคิดเรื่องสังคมประกิต (socialization) - หนังสือจิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ (2549) สิทธิโชค วรานุสันติกูล, หน้า 45-46
[5] อ้างอิงแนวคิดเรื่องเจตคติ (attitude) - หนังสือจิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ (2549) สิทธิโชค วรานุสันติกูล, หน้า 121
[6] อ้างอิงเนื้อหาและแนวคิดเรื่องการคล้อยตามโดยอัตโนมัติ (mindless conformity) - หนังสือจิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ (2549) สิทธิโชค วรานุสันติกูล, หน้า 201-202
[7] อ้างอิงเนื้อหาและแนวคิดเรื่องพฤติกรรมการไม่เป็นตนเอง (deindividuation) - หนังสือจิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ (2549) สิทธิโชค วรานุสันติกูล, หน้า 239-241
[8] อ้างอิงเนื้อหาและแนวคิดเรื่องความก้าวร้าว (aggression) - หนังสือจิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ (2549) สิทธิโชค วรานุสันติกูล, หน้า 317-318
[9] อ้างอิงเนื้อหาและแนวคิดจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=กลุ่มกระทิงแดงและนวพล
[10] อ้างอิงเนื้อหาและแนวคิดจาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_3139

 

เกี่ยวกับผู้เขียน ธรณ์เทพ มณีเจริญ เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วาด รวี: พระราชอำนาจที่หายไป (บางส่วน)

Posted: 07 May 2017 08:55 AM PDT


 

 

"ผมคิดว่าจะเป็นเรื่องงี่เง่า ฉ้อฉลและเป็นการฉวยโอกาสอย่างยิ่ง หากใครจะมองในบริบทของความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมาแล้วจะไม่คิดถึงว่าเขาต้องการที่จะเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรในอีกสิบหรือสิบห้าปีข้างหน้า และพยายามหาที่ทางสำหรับสถาบันกษัตริย์ในกรอบของรัฐธรรมนูญในแนวทางที่สถาบันสามารถที่จะดำรงอยู่ได้แม้ว่ากษัตริย์องค์ต่อไปจะxxxxxเท่ากับกษัตริย์องค์ปัจจุบันก็ตาม ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมพยายามจะพูดเมื่อวานนี้ว่าให้คิดไกล ๆ อย่าคิดแต่ว่าต้องการที่จะล้มทักษิณ อย่าคิดแต่ยุทธศาสตร์เพียงซึ่งหน้า แต่ควรจะคิดถึงว่าต้องการจะเห็นอะไรในอีกสิบปีข้างหน้า ผมอยากจะพูดว่าเวลาที่คุณคิดถึงทักษิณ คุณอาจจะคิดถึงเขาว่าเป็นคนที่เลวมาก ถ้าคุณอยากจะคิดเช่นนั้น แต่คุณก็อาจจะมองเขาในฐานะของสิ่งที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน พรรคไทยรักไทยยังมิได้มีสถานะเป็นพรรคสมัยใหม่อย่างเต็มตัว แต่พรรคไทยรักไทยก็มีนโยบายที่พรรคการเมืองอื่นในอดีตไม่มี วิธีที่ทักษิณใช้ในการหลอมตัวเองเข้ากับมวลชนทั้งในแบบบุคคลต่อบุคคลและผ่านจอโทรทัศน์นั้นมีลักษณะเหมือนกับนักการเมืองสมัยใหม่มากกว่านักการเมืองอื่น ๆ ที่ผ่านมา แต่แน่นอน เขาเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน มีคำพูดอันโด่งดังคำพูดหนึ่งซึ่งอันโตนิโอ กรัมชี่ ได้กล่าวไว้ว่า "ในช่วงเวลาที่สิ่งเก่าปฏิเสธที่จะตายไปและสิ่งใหม่ก็ยังมิได้ถือกำเนิด ร่างแห่งปีศาจก็ได้ปรากฏกายขึ้น"

เบน แอนเดอร์สัน

 

ตอนนี้ก็กล่าวได้ว่า "ครบ" หรือเลยสิบปีมานิดหน่อยนับจากเบน แอนเดอร์สันกล่าวคำพูดที่ยกมาข้างต้น แม้ว่าตัวของเบนจะไม่ได้อยู่เห็น "การเปลี่ยนผ่าน" ณ จุดที่เกิดการเปลี่ยนรัชกาลจริง ๆ แต่คนอื่น ๆ ในวงสัมนา[2] ซึ่งได้ยินคำพูดของเขาต่างก็ยังอยู่และได้เห็นและกำลังเห็น

สำหรับผู้ที่ต้องการโค่นล้มทักษิณ หรือเห็นทักษิณ "ออกไป" ณ วันนี้สิ่งที่เขาได้เห็นก็คือ "ความแนบแน่น" ระหว่างเขา (สังคมไทย) และทักษิณ ยิ่งกว่าเดิม ยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาเมื่อปี 2549 และก่อนหน้านั้น ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นในฐานะมิตร หรือศัตรู ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันรัดรึงขึ้น ผูกมัดขึ้น เหนียวแน่นขึ้น นี่คือฐานะของทักษิณกับการเมืองไทยในวันนี้ แม้ว่าตัวเขาจะไม่ได้อยู่ในประเทศ แม้ว่ารัฐบาลฝ่ายเขาจะถูกยึดอำนาจไป มันไม่ได้ทำให้เขา "ออกไป" จากสังคมการเมืองไทย แต่มันกลับยิ่ง "อิน" เข้ามาเรื่อย ๆ

สิ่งที่น่าสนใจในการสัมนาวันนั้นอย่างแรกก็คือ บรรยากาศการสัมนาที่สะท้อนความรู้สึกปลอดภัย หรือตึงเครียดน้อยกว่าปัจจุบันหรือหลัง 2553 มาก ยากที่จะเห็นคนที่ร่วมสัมนาในวันนั้น คุยเรื่องนี้กันบน "โต๊ะเดียวกัน" อีกและพูดถึงหรือฟังการพูดถึงสถาบันกษัตริย์แบบวันนั้นอีกในบรรยากาศปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น แม้แต่ตัวผมเองซึ่งเขียนบทความนี้ขึ้นก่อนที่จะเกิดกรณีของไผ่ ดาวดิน ก็คิดไม่ถึงว่าไม่กี่เดือนถัดมาเมื่อจัดทำต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ ตัวเองจะต้องเซ็นเซอร์ถ้อยคำอันแสนธรรมดาอย่างยิ่งของเบน แอนเดอร์สัน ที่ยกมาข้างต้นในระหว่างที่ปรับปรุงบทความอีกครั้ง

ในการสัมนาธงชัย วินิจจะกูลพยายามจะชี้ให้เห็นสถานะของสถาบันกษัตริย์ที่อยู่ "เหนือ" การเมือง ในลักษณะของการอยู่เหนือ "ปริมณฑลการเมืองสกปรก" ซึ่งตอกย้ำให้เห็น "อำนาจธรรมะ" ที่สูงกว่า ซึ่งเป็นวาระทางการเมืองนับจาก 14 ตุลา 2516 

ประเด็นที่น่าสนใจคือ สิ่งที่สะท้อนออกมาในช่วงวิกฤตการเมือง 10 ปี ก็คือทัศนะที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและสถาบันกษัตริย์ การกลับมาชนะการเลือกตั้งทั้งที่ถูกยึดอำนาจไปถึง 2 ครั้ง (2549, 2551) สะท้อนให้เห็นว่าประเด็นนักการเมืองสกปรกไม่ได้มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดอีกต่อไป ผลงานของรัฐบาลสมัยทักษิณมีอิทธิพลเหนือกว่าปัญหาว่าทักษิณจะโกงหรือไม่ ในขณะที่การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นผลทางกฎหมายที่ก่อให้เกิดความรู้สึกถูกบังคับโดยตรงจากสถานะของสถาบันกษัตริย์ ไม่ใช่ความยินยอมพร้อมใจอีกต่อไป

ผลสะท้อนนี้เมื่อมองจากมุมของสถาบันกษัตริย์ ทำให้เห็นว่า ปัญหาทักษิณไม่ใช่ปัญหานักการเมืองโกง (หรือไม่) แต่เป็นปัญหาว่า การดำรงอยู่ของรัฐบาล (ของฝ่าย) ทักษิณส่งผลกระทบต่อโลกทัศน์ (world view) นักการเมืองโกง ดังว่า โลกที่มีนักการเมืองสกปรกกเฬวรากและสถาบันกษัตริย์ที่ทรงธรรม ได้ถูกสั่นสะเทือนเพราะไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดทางเลือกทางการเมืองอีกต่อไป ประชาชนอาจจะยินดีที่จะเลือกนักการเมืองสกปรก "แต่กินได้" คือทำงานเห็นผล หรืออาจจะไม่ได้ติดอยู่ในโลกทัศน์นั้นอีกก็ได้ ซึ่งหมายความว่า สถานะของสถาบันกษัตริย์ก็ถูกกระทบโดยตรงตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ทักษิณ โดยที่ทักษิณยังไม่ต้องทำอะไรที่แปลกหรือพิเศษไปกว่าสิ่งที่นักการเมืองสมัยใหม่กระทำกัน (ต่อสู้ผลประโยชน์ในสนามแข่งขัน)

ถ้าสถานภาพของธรรมราชาตั้งอยู่บนโลกทัศน์ว่านักการเมืองโกง การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ที่มีต่อนักการเมืองย่อมส่งผลต่อพระราชอำนาจ

ธงชัยกล่าวถึงการปฏิรูปการเมืองนับแต่การต้านทักษิณว่าคือพันธมิตรกันของฝ่ายประชาชนปีกหนึ่งกับฝ่ายกษัตริย์นิยม ซึ่งทำให้ฝ่ายประชาชนอีกจำนวนหนึ่งอิหลักอิเหลื่อ เพราะฝ่ายประชาชนที่เป็นพันธมิตรกับกษัตริย์นิยมเห็นปัญหาแค่นักการเมืองอย่างเดียว ในขณะที่เกษียรกล่าวว่าการเป็นพันธมิตรระหว่างขบวนการประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ก่อตัวในช่วงสิบปีหลังพฤษภาฯ 2535 เขากล่าวถึงงานของดันแคน แมคคาโกว่า "เครือข่ายในหลวง" มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจซึ่งรวมเอาปีกเสรีนิยมเอาไว้ เช่น (สำหรับเกษียร) อานันท์ ปันยารชุน ประเวศ วะสี หรืออาจจะนิธิ เอียวศรีวงศ์ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน  ซึ่งเขานิยามการเมืองภาคประชาชนนี้ว่า "ขบวนการฝ่ายค้านนอกสภาที่จงรักภักดี" และกล่าว (ในขณะนั้น) ว่า "ดังนั้น พันธมิตรดังกล่าวไม่ได้เพิ่งมาก่อตัวเมื่อจัดตั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้นปีนี้นะครับ หากมีการปูพื้นมานานกว่าที่จะเดินมาถึงจุดนี้"

ข้างต้นเป็นความเห็นเกี่ยวกับฝ่ายต่อต้านทักษิณในปี 2549 ซึ่งไม่สอดพ้องกับสิ่งที่ปรากฏขึ้นระหว่างวิกฤตการเมือง โดยเฉพาะหลัง 2549 (ทั้งของธงชัยและของเกษียร) เราจะพูด (แบบธงชัย) ว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณเป็นพันธมิตรกันระหว่างฝ่ายประชาชนกับฝ่ายกษัตริย์นิยมได้อย่างไรในเมื่อผู้นำ (รัฐบาล) คนหนึ่งของฝ่ายตรงข้ามคือสมัคร สุนทรเวช? ยังไม่นับรอยัลลิสต์และสมาชิกราชสกุลอีกจำนวนหนึ่งในฝ่ายทักษิณแม้จะเป็นส่วนน้อย ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถพูด (แบบเกษียร) ได้ว่า บทบาทในช่วงวิกฤตของอานันท์และประเวศคือเสรีนิยม นิธิและรวมถึงตัวเกษียรเองก็เรียกว่าขาดจากพันธมิตรและกลายมาเป็นฝ่ายตรงข้ามกันในเวลาต่อมา

วิกฤตการเมืองครั้งนี้เหมือนเอาสังคมไทยมาใส่ในหม้อแล้วเขย่าแรง ๆ หลายครั้ง ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนที่ทางจากที่เคยอยู่

จริง ๆ แล้วฝ่ายต่อต้านทักษิณคือ "กลุ่ม" (bloc) ที่เพิ่งเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น หรืออาจจะถอยไปไม่เกินปี 2547 มาจากการรวมตัวของ นักวิชาการ, เอ็นจีโอ (หรือภาคประชาชน ตามที่เรียกกัน), สื่อมวลชน, คนชั้นกลาง, ศาล, องคมนตรี และกองทัพ

กลุ่มนี้เกิดจากการ "จับกลุ่มกันใหม่" โดยที่ไม่ได้อิงกับค่ายการเมืองในอดีต จะเห็นได้ว่ามีทั้งฝ่ายซ้ายและขวา (ในอดีต) อยู่ในทั้งฝ่ายต่อต้านและสนับสนุนทักษิณ อีกทั้งกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากอุดมการณ์ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์กษัตริย์นิยมหรือประชาธิปไตย ทั้งสองฝ่ายต่างก็กล่าวอ้างอิงประชาธิปไตยทั้งคู่ และก็ต้องยอมรับความจริงด้วยว่ามีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในบางส่วนของทั้งสองฝ่าย เหมือน ๆ กับที่มีความเป็นกษัตริย์นิยมอยู่ในบางส่วนของทั้งสองฝ่าย

เป้าหมายแคบ ๆ เป้าหมายเดียวของฝ่ายต่อต้านทักษิณก็คือ กลุ่มนี้ต้องการและพยายามมาตลอดที่จะสถาปนาฉันทามติ (consensus) "ไม่เอาทักษิณ" ขึ้นในสังคม ในขณะที่ฝ่ายทักษิณก็คือปฏิกิริยาตอบโต้ต่อฉันทามตินี้

เบื้องหลังความขัดแย้งก็คือโลกทัศน์เกี่ยวกับนักการเมืองที่แตกต่างกันโดยพื้นฐาน และยิ่งกลายเป็นคนละโลกเมื่อเกิดปรากฏการณ์ทักษิณ การ "สู้กลับ" ของทักษิณก่อให้เกิด "กลุ่ม" การเมืองอีกกลุ่มที่มีจุดร่วมกันคือความเป็นปฏิกิริยาต่อฝ่ายต่อต้านทักษิณ

เพราะวิกฤตการเมืองคือวิกฤตพระราชอำนาจในความหมายของอำนาจนำตั้งแต่จุดเริ่มต้น อำนาจนำ (Cultural hegemony - ของกรัมชี่) นี้คืออำนาจที่เกี่ยวร้อยอุดมการณ์กษัตริย์นิยมเข้าไว้กับอุดมการณ์ประชาธิปไตย บิดและต่อเชื่อมประสานอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันสองแบบเข้าไว้ให้สืบสานต่อเนื่องกันไป

อำนาจนำนี้ทำหน้าที่สลายความขัดแย้งเมื่อเกิดการปะทะหรือขัดกัน ทำหน้าที่เป็นศีลธรรมการเมืองที่อยู่สูงกว่าอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง กลบเกลื่อนรอยต่อใด ๆ ที่ปรากฏ และผลิตสร้างคุณค่าซึ่งมีหน้าที่ลบเลือนความแตกต่างของคุณค่า เหนี่ยวรั้งการถอยห่างที่เกิดจากความแตกต่างของอุดมการณ์

อำนาจนำจะสิ้นสุดไปพร้อมกับตัวบุคคลหรือไม่ยังเป็นที่สงสัย แต่พระราชอำนาจที่มีพลังเกี่ยวร้อยอุดมการณ์ 2 แบบดังที่กล่าวมา น่าจะได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แม้โลกทัศน์ที่เห็นนักการเมืองเป็นปริมณฑลสกปรกยังคงขับเคลื่อนการเมืองอยู่

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 คือการพยายามทดแทนพระราชอำนาจที่หายไปด้วยกระบวนการแปลงโลกทัศน์ปริมณฑลการเมืองสกปรกให้กลายเป็นเครื่องมือในการกำกับควบคุมการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และสถาปนาพื้นที่ให้กับ "ปริมณฑลอันขาวสะอาด" ของคนดีที่ไม่ต้องมาจากสนามแข่งขัน นัยหนึ่งมันคือการพยายามรักษาอำนาจนำเอาไว้ในภาวะที่ปราศจากพระราชอำนาจ ลงในรัฐธรรมนูญ

สนามการแข่งขันทางนโยบายที่เกิดขึ้นสมัยทักษิณจะถูกทำให้กลายเป็นสิ่งต้อยต่ำของการเมืองสกปรกที่น่ารังเกียจ โดยที่คนดีและความดีสามารถได้มาโดยไม่ต้องแข่ง และคณะคนดีอาจมาจากการเลือกกันเองในหมู่ชนชั้นนำ โดยพระราชอำนาจที่ไม่ใช่ความหมายของอำนาจนำยังคงเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพล  

แรงพยายามคงโลกทัศน์นี้เอาไว้คือแรงเดียวกับที่จะคงวิกฤตการเมืองเอาไว้ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคืนได้ด้วยการใช้อำนาจทางวัตถุของเผด็จการทหาร วิกฤตการเมืองจึงเพียงจบบทหนึ่งและกำลังเริ่มอีกบทหนึ่ง

จากการสร้างคำอธิบายต่าง ๆ นานาเพื่อรองรับพระราชอำนาจ (นำ) ของในหลวงองค์ก่อน มาสู่การสถาปนาอำนาจนำโดยปราศจากพระราชอำนาจ (เก่า) ลงสู่รัฐธรรมนูญ พร้อมกับการปรากฏขึ้นของ "พระราชอำนาจ" ของในหลวงองค์ใหม่

เมื่อพระราชอำนาจเก่าปฏิเสธที่จะตาย และศีลธรรมใหม่ยังไม่ถือกำเนิด การต่อสู้บนวงแหวนโมเบียสก็ยังดำเนินต่อไป

 

เชิงอรรถ

[1] บางส่วนจากบทความ พระราชอำนาจที่หายไป อ่านฉบับเต็มได้ในหนังสือ การเมืองโมเบียส ของผู้เขียน

[2] บรรเจิด สิงคะเนติ, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ธงชัย วินิจจะกูล, สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, เกษียร เตชะพีระ, สมภพ มานะรังสรรค์, อัมมาร สยามวาลา, อานันท์ กาญจนพันธุ์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, สมเกียรติ ตั้งนโม, อุเชนทร์ เชียงเสน, สุธี ประศาสน์เศรษฐ, วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, เบน แอนเดอร์สัน, ผาสุก พงษ์ไพจิตร, นิธิ เอียวศรีวงศ์, สายชล สัตยานุรักษ์, อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ใน "วิวาทะว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2: ทางออก ทางเลือก ทางลวงในระบอบทักษิณ" เป็นส่วนหนึ่งของการสัมนา "โครงการเปลี่ยนประเทศไทย" ที่จัดโดยวารสารฟ้าเดียวกัน เป็นเวลา 2 วัน ตีพิมพ์เนื้อหาเผยแพร่ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2549

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายจากครอบครัวสีรุ้ง

Posted: 07 May 2017 07:07 AM PDT




เนื่องในเทศกาลรณรงค์ความเท่าเทียมทางครอบครัวระหว่างประเทศ (The International Family Equality Day :IFED)  7 พฤษภาคม และวันรณรงค์วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (International Day Against Homophobia, Transphobia and Biphobia หรือ IDAHOT) วันที่ 17 พฤษภาคม

0000


ถึงแม่ 2 คน


ความรู้สึกที่อยู่กับแม่สองคน

รู้สึกมีความสุขมากคะ ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาอยู่ด้วย


ก็มีคำถามอยู่หลายอย่าง ก็คือ

มนุษย์เราชอบเพศเดียวกันได้จริง(เ)หรอ

แล้วเค้าจะดูแลเราได้จริง(เ)หรอ

เขาไม่กลัว(เ)หรอที่จะถูกนินทา


แต่พอได้อยู่กับแม่ทั้งสอง

ฉันรู้สึกอบอุ่นมากๆ

เพราะฉันไม่เคยได้รับสิ่งเหล่านี้

ทั้งการกอด การหอมแก้ม


ตั้งแต่ยังเล็กฉันไม่ได้อยู่กับพ่อ - แม่

ตอนยังจำความได้

พ่อกับแม่ทะเลาะกัน เลิกกัน


พ่อคงไม่รู้จะเลี้ยงลูกยังไง

เลยพาฉันไปหายาย


ผ่านไป 2 ปี

ฉัน(ได้)พบกับคนที่ไม่รู้จักเลย

เขายิ้ม พูดคุย และก็หายไป

(หมายเหตุ ผู้เขียนเคยพบกับลูกสาวครั้งเดียวก่อนที่จะรับอุปการะลูกสาว)

ในตอนนั้น ฉันรู้สึกขาดไร สักอย่างไป


จนอยู่ ป. 3 เทอม 2

ยายพาฉันไปเที่ยวที่เชียงใหม่ แล้วฉันก็ได้พบกับแม่ทั้งสองคน


ที่ผ่านมาตั้งแต่มาอยู่เชียงใหม่ ฉันมักจะถูกตั้งคำถามหลายอย่าง ทั้ง

"ไม่มีพ่อ จะอยู่ได้(เ)หรอ"

"สองคนนั้นเป็นใคร"

"สองคนนั้นเป็นไรกัน"

"คนที่ขับรถเป็นพ่อเธอ(?)"


บางครั้งคำถามทำให้ฉันโกรธนิดๆ แต่ฉันก็ตอบว่า

"เราไม่มีพ่อ เราก็อยู่ได้"

"สองคนนั้นเป็นแม่เราเอง"

"สองคนนั้นเป็นคู่ชีวิตกัน"

"คนที่ขับรถ ไม่ใช่พ่อ แต่เป็นแม่ของเราเอง"

ฉันไม่อายที่มีแม่สองคน แต่ฉันภูมิใจที่มีแม่ 2 คน


อยากจะบอกทุกคนที่มีแม่ 2 คน ที่มีพ่อสองคน หรืออื่นๆก็ตาม

ว่าไม่ต้องเสียใจ ที่มีแม่ 2 คน

เพราะต่อให้จะถูกรังแก ถูกว่าร้าย

ถ้าเราปฏิเสธว่า นั้นไม่ใช่แม่เรา มันก็เหมือนเรากำลังยอมแพ้

กับเรื่องที่แม่ของเรากำลังทำกันอยู่

แม่ของเรากำลังต่อสู้เพื่อให้เราไม่ยอมแพ้ ทั้งสอนสิ่งต่างๆ

เรื่องบางเรื่องพ่อ-แม่ ทั่วไปยังไม่กล้าบอกลูกด้วยซ้ำ

อยากบอกทุกคนว่า ให้สู้ต่อสิ่งที่อยู่ข้างหน้า อย่ายอมแพ้ที่จะเผชิญหน้ากับสังคม


จากลูกสาวของแม่ๆ

0000

ถึงลูกสาวของแม่..แม่


แม่อยากบอกลูกว่า

มันมีเหตุผลมากพอที่ผู้หญิง 2 คนนี้

(รวมถึงชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศและอินเตอร์เซ็ก)

ที่จะรักและ/หรือ ตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน รวมถึงการก่อตั้งครอบครัว

เมื่อแม่..แม่ ได้ตัดสินใจว่าจะมีลูกนั้น

มันเป็นความตั้งใจ

ลูก คือ ความรัก

ซึ่งความรักนี่เองที่สร้างครอบครัวของเรา

ในวันที่ลูก มาอยู่กับแม่ซึ่งเป็นเลสเบี้ยน

มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

แม่ .. แม่ รู้ว่าลูกอาจไม่ทันได้ตั้งตัว

แต่ลูกก็สามารถใช้ศักยภาพที่มีในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

จนแม่..แม่แทบจะลืมไปเลยว่า ครั้งแรกที่เราเจอกัน

ลูกแทบจะไม่สามารถสื่อสารได้และกระบวนการเรียนรู้ของลูกแตกต่างจากเด็กๆคนอื่นๆอยู่บ้าง


แม่ แม่ ยืนยันสิทธิ์ที่จะดูแลลูก

และลูกรู้ไหมว่า ยังมีครอบครัวอีกหลากหลายรูปแบบมากกว่าครอบครัวคู่รักต่างเพศ

เช่นเดียวกับครอบครัวของลูก ที่มี แม่ แม่

บางครอบครัวมีพ่อ พ่อ

บางครอบครัวมีกัน 3 คน

บางคนมีพ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว

บางคนมีแม่เป็นหญิงข้ามเพศ

บางคนมีพ่อเป็นผู้ชายข้ามเพศที่ให้กำเนิดลูกอีกด้วย

อีกหลายครอบครัวที่ใช้การเข้าถึงเทคโนโลยี ในการตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกๆ

เพื่อนของแม่บางคน ครอบครัวของเขามีแม่เลสเบี้ยน 2 คนและพ่อเกย์ อีก 2 คน ทั้ง 4 คน ตั้งใจดูแลลูกร่วมกัน

และอาจจะมีรูปแบบครอบครัวรูปแบบอื่นๆ

ลูกเห็นใช่ไหม ว่าในทางปฏิบัติเราก้าวข้ามเส้นบรรทัดฐานรักต่างไปเพศไปไกลมาก


แต่ทางกฎหมาย แม่ แม่ และ ครอบครัวสีรุ้งกลับไม่ได้รับการรับรอง

นั่นหมายความว่า การเลือกที่จะทำหน้านี้ด้วยหัวใจ ซึ่งสามารถสะท้อนผ่านการกระทำ

เช่น การดูแลลูกด้วยความรัก ความเข้าใจ เมื่อผ่านไปเพียงสองปี ลูกสามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

และมีพัฒนาการด้านอื่นๆ รวมถึงลูกได้พัฒนาทักษะด้านศิลปะที่ลูกสนใจ

จนลูกขอทำเพจ Her story_My Daughter ไว้เพื่อเอางานศิลปะของหนูออกมาสื่อสารกับสังคม

แต่ถึงเราจะเอาสิ่งเหล่านี้ มาหลักฐานที่น่าเชื่อถือ แล้วใช้ต่อสู้ในทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์ว่า เราทำหน้าที่นี้ได้

และมันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกและเด็กๆ ในครอบครัวพ่อแม่หลากหลายทางเพศ

มันก็ยังไม่เพียงพอที่จะชนะ

แต่เราก็ยังสู้


ขอบคุณลูกรัก

ที่เข้มแข็งและต่อสู้อย่างกล้าหาญ

ต่อความไม่เข้าใจของสังคม

และต่อเพื่อนๆ ที่โรงเรียนของลูก


ลูกรับรู้ว่าแม่ต้องต่อสู้อะไรบ้าง

ความความหวาดระแวงของสังคม ต่อคนหญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ และอินเตอร์เซ็ก (LGBTI)

ส่งผลต่อการแบ่งแยกกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อครอบครัวสีรุ้ง

ไม่มีกฎหมายไม่รองรับสถานภาพคู่ชีวิตของแม่..แม่

แม่ แม่ ไม่สามารถเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย ทั้งๆที่ในทางปฏิบัติแม่ดูแลหนูมาตั้งแต่ปี 2554

หากแม่คนนี้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงทางสายเลือดกับหนูอยู่บ้าง (แม่เป็นพี่สาวของพ่อหนู) ได้เสียชีวิตด้วยเหตุใดๆ

แม่อีกคนของหนูจะสูญเสียสิทธิ์ที่จะเลี้ยงดูหนูทันที

ครอบครัวสีรุ้ง จำนวนมากไม่มั่นใจว่าที่จะเปิดตัว ในที่ทำงาน และในสังคม

เพราะกังวลว่าจะถูกเลือกปฏิบัติ

รวมถึงพ่อ แม่ หลายคนสูญเสียโอกาสที่จะได้ทำหน้าที่นี้ เพียงเพราะเป็น เลสเบี้ยน เกย์ คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ หรือ อินเตอร์เซ็ก


แม่ แม่ และชาวครอบครัวสีรุ้งทั่วโลก จึงต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงการมีอยู่ของเรา

ในวันที่ 7 พฤษภาคม ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันความเท่าเทียมทางครอบครัวระหว่างประเทศ (The International Family Equality Day :IFED)


วันนี้นานาประเทศ จะมีการเฉลิมฉลองการยอมรับและเคารพในความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆบนพื้นฐานของการเคารพตัดสินใจที่ต่างหลากหลาย ตามหลักการสิทธิมนุษยชน ในกาสร้างครอบครัว (Right to Family) ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของมนุษย์อันได้รับการปกป้องคุ้มครองมิให้ถูกเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ


เรามีความหวังลึกๆว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

สังคมจะเข้าใจและตระหนักถึงความเท่าเทียมและยุติธรรมระหว่างเพศ

ซึ่งครอบคลุมสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว

สิทธิในการรับรองสถานะคู่ชีวิตในทางกฎหมาย

สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีในการตั้งครรภ์

สิทธิในการการอุปการะเลี้ยงดูบุตรและบุตรบุญธรรม

ตลอดจนการปกป้องลูกของเรา จากการถูกรังแกในโรงเรียนและในสังคม


ลูกรักของ แม่ แม่

วันนี้เสียงของเรา มีคนได้ยินมากขึ้น

และแม่เชื่อมั่นว่า จะมีเสียงสนับสนุนที่ดังขึ้นอีก ดังขึ้นอีก

และนี่เองจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

รัก
แม่ แม่

0000

 

หมายเหตุ: วันที่ 7 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันความเท่าเทียมทางครอบครัวระหว่างประเทศ (The International Family Equality Day :IFED) ซึ่งผู้คนสามารถสนับสนุนความเทียมเทียมของมิติทางครอบครัวโดยเฉพาะ ต่อครอบครัวผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Rainbow Family) โดยการเปลี่ยนโปรไฟล์ เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุน สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียม ได้ที่ https://twibbon.com/Support/love-makes-a-family-2#
และติดแอซแท๊ก #IFED2017

วันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2560: ประชุมสัมนานานาชาติ เอเชีย - แปซิฟิก ครอบครัวสีรุ้ง (Asia - Pacific Rainbow Family Forum) เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองวันความเท่าเทียมทางครอบครัวระหว่างประเทศ (The International Family Equality Day :IFED) และ วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (Interna-tional Day Against Homophobia, Transphobia and Biphobia หรือ IDAHOT)

วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี ร่วม การเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศทั่วโลก: วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (International Day Against Homophobia, Transphobia and Biphobia หรือ IDAHOT)  สำหรับประเทศไทยปีนี้ สามารถร่วมเฉลิมฉลองในประเด็น พวกเรา คือ ครอบครัวสีรุ้ง IDAHOT Thailand 2017: WE are a #RainbowFamily เวลา 16.30 น. - 20.30 น. ณ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

https://www.facebook.com/events/1134688903344519/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้หญิงซาอุดิอาระเบียและบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมยุคโซเชียล

Posted: 07 May 2017 06:35 AM PDT

อิมาน อัลฮุสเซน นักวิจัยด้านกิจการตะวันออกกลางระบุถึงการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านที่กำลังเกิดขึ้นในซาอุดิอาระเบียในช่วงเวลาพิเศษ โดยที่ผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ขณะที่ซาอุดิอาระเบีย กำลังพยายามลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันลง ผู้หญิงที่นี่ก็ใช้ทั้งความรู้ พลังการเคลื่อนไหวทางสังคมและเทคโนโลยีในการเปลี่ยนชีวิตตัวเองให้ดีขึ้นหลังถูกครอบงำมานาน

ที่มาของภาพประกอบ: วิกิพีเดีย

อิมาน อัลฮุสเซนเปิดเผยว่าซาอุดิอาระเบียกำลังเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่จะลดการพึ่งพาน้ำมันลง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มาจากวิสัยทัศน์ของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ที่ยังทรงพระเยาว์ ผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในทางสังคมจากการที่ซาอุดิอาระเบีย มีการลดอำนาจของตำรวจศาสนาเป็นครั้งแรกและพยายามเปิดประเทศเพื่อความบันเทิงมากขึ้น โดยกลุ่มประชากรที่มีบทบาทให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย จากขบวนการเคลื่อนไหวร่วมกันขนานใหญ่ผ่านโซเชียลมีเดีย

สาเหตุที่ซาอุดิอาระเบีย กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเช่นนี้อัลฮุสเซนระบุว่าต้องทำความเข้าใจกับสภาพสังคมในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาด้วย จากที่ในช่วงก่อนการบูมด้านทรัพยากรน้ำมัน ผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย เคยต้องทำงานหนักกว่าผู้ชายมาก่อน พวกเธอถูกคาดหวังจากประเพณีดั้งเดิมให้ต้องทำทั้งการดูแลครอบครัวและการหารายได้ จนถึงช่วงคริสตทศวรรษที่ 1980s การบูมด้านทรัพยากรน้ำมันกลับทำให้สถานการณ์ของผู้หญิงในซาอุดิอาระเบียก็ตกต่ำลงไปอีก

ถึงแม้ว่าในยุคสมัยที่ทรัพยากรน้ำมันเฟื่องฟูจะทำให้สภาพครอบครัวซาอุดิอาระเบียดีขึ้น แต่ก็มีการอาศัยคนทำงานบ้านมากขึ้นขณะเดียวกันก็มีการผุดขึ้นของแนวคิดมุสลิมนิกายซาลาฟีในนามขบวนการซาห์วาที่ทำให้เกิดการจำกัดบทบาทของผู้หญิงมากขึ้นไปอีก มีการแบ่งแยกเพศทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกในการทำงานน้อยลง พวกเธอถูกคาดหวังไม่ให้ไปทำงานนอกบ้าน ในช่วงที่ซาอุดิอาระเบีย กำลังเปิดประเทศช่วงนั้นเองก็มีความกลัววัฒนธรรมตะวันตกและกลุ่มว่าจะสูญเสียอัตลักษณ์ทางศาสนาของตัวเองไป ความกลัวสองอย่างนี้ทำให้ไม่มีการเปิดกว้างให้เกิดการถกเถียงในเรื่องศาสนาในประเทศ และยังกลายมาเป็นเครื่องมือที่นำมาครอบงำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในสังคมซาอุดิอาระเบีย

อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่โตมาในสังคมแบบนี้รู้สึกอึดอัดเหมือนถูกบีบให้หายใจไม่ออกภายใต้สังคมอนุรักษ์นิยมแบบซาอุดิอาระเบีย แต่ในช่วงระหว่างนั้นก็ยังมีกลุ่มผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย ที่ออกมาเรียกร้องยกเลิกการสั่งห้ามผู้หญิงขับรถในปี 2533 ที่ผู้หญิงกลุ่มเล็กๆ กลุ่มนี้ทำให้ทั้งชายและหญิงสายอนุรักษ์นิยมในซาอุดิอาระเบีย พากันแสดงความไม่พอใจ เหล่าสตรีที่กล้าลุกขึ้นมาต่อกรกับสภาวะหยุดนิ่งในสังคมเช่นนี้กลับถูกตราหน้าว่าเป็นพวกรับแนวคิดตะวันตกผู้พยายามทำลายสังคมซาอุดิอาระเบีย อัลฮุสเซนมองว่าสิ่งนี้เองที่สะท้อนภาพสังคมแบบอนุรักษ์นิยมของซาอุดิอาระเบีย ได้เป็นอย่างดี โดยที่หลังจากนั้นกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายศาสนาของซาอุดิอาระเบีย ก็พยายามควบคุมสถานการณ์จนไม่มีการประท้วงเรียกร้องให้ผู้หญิงขับรถได้เกิดขึ้นอีก

พอถึงยุคที่ซาอุดิอาระเบีย มีอินเทอร์เน็ตในปี 2542 ก็เริ่มทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย อินเทอร์เน็ตทำให้พวกเธอมีความรู้มากขึ้น ทำให้พวกเธอมีพื้นที่ความบันเทิงและพื้นที่ส่วนตัว อัลฮุสเซนมองว่าอินเทอร์เน็ตไม่เพียงแค่ให้พื้นที่แก่ผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย หายใจหายคอได้อย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังทำให้พวกเธอเล็งเห็นความจริงบางอย่างที่ต่างออกไป พวกเธอไม่ได้มองโลกเป็นสีขาวดำแบบที่ถูกเลี้ยงดูมาในสังคมซาอุดิอาระเบียอีกต่อไป ความจริงเหล่านี้ทำให้พวกเธอมองเห็นสีสันต่างๆ มากกว่าเดิมและกลายเป็นการตระหนักรู้ถึงคุณค่าตัวเอง

ในปี 2548 พระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์เคยให้นักศึกษาหลายพันคนไปเรียนต่างประเทศได้ แต่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงจำนวนมากเข้าร่วมโครงการเพราะในตอนนั้นการให้ผู้หญิงเดินทางออกไปนอกประเทศยังไม่ใช่เรื่องปกติในสังคมซาอุดิอาระเบีย แต่ก็มีจำนวนผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นทีละนิดๆ

อัลฮุสเซนระบุว่าอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงซาอุดิอาระเบียมีโอกาสมากขึ้นในสังคมคือโซเชียมีเดียต่างๆ ที่ทำให้ผู้หญิงสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตตัวเองได้ และคนที่ออกไปเรียนต่างประเทศกลับมาก็มีบทบาทพูดออกเสียงตัวเองมากขึ้นในโลกโซเชียล จนเริ่มทำให้การเปิดเผยตัวเองของผู้หญิงซาอุดิอาระเบียในโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมากขึ้น ทำให้พวกเธอกลายเป็นแรงบันดาลใจหรือจะว่ามีความน่าอิจฉาก็ได้จนทำให้ผู้หญิงลุกขึ้นมาเรียกร้องอะไรให้ตัวเองมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ในโซเชียลมีเดียมีผู้คนหลากหลายบุคลิกมากขึ้นจนดึงดูดให้ผู้คนอื่นๆ เข้าร่วม

โซเชียลมีเดียเองยังทำให้ผู้คนตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้มีอำนาจทางศาสนาในประเทศตัวเองมากขึ้น จากที่ซาอุดิอาระเบียใช้ศาสนาในการปิดกั้นผู้คนจากดาวเทียม อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ถ่ายรูปได้ และการเดินทางไปต่างประเทศมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อผู้มีอำนาจทางศาสนาเหล่านี้ก็ใช้โซเชียลมีเดียรวมถึงโทรทัศน์ในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ตัวเองจากการเดินทางไปที่ต่างๆ ก็ทำให้ชาวซาอุดิอาระเบียเริ่มตั้งคำถามถึงการเลือกปฏิบัติเช่นนี้ ผู้นำทางศาสนาที่หันมาเปิดเผยตัวเองทางโซเชียลมากๆ กลับทำให้รัศมีทางศาสนาของพวกเขาดูอ่อนลง

อัลฮุสเซนบอกว่าการที่ฝ่ายศาสนาสูญเสียเครดิตเช่นนี้ผู้คนไม่มองว่าความเป็นตะวันตกเป็นภัยอีกต่อไปแบบที่ฝ่ายศาสนาเคยพร่ำสอน กลายเป็นการเปิดเวทีให้ผู้หญิงมีโอกาสพูดมากขึ้น จากที่พวกเธอเคยถูกผู้หญิงด้วยกันต่อต้านตอนประท้วงเรียกร้องให้อนุญาตขับรถได้ในปี 2533 ในปัจจุบันก็มีผู้คนแสดงการสนับสนุนพวกเธอมากขึ้นและร่วมเรียกร้องเคียงบ่าเคียงไหล่พวกเธอในประเด็นต่างๆ ที่จากเดิมบรรทัดฐานทางสังคมเคยบอกว่าเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่ถูกท้าทาย

มีกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา หญิงชาวซาอุดิอาระเบียคนหนึ่งที่ชื่อ ดินา ลาสลูม ที่เดินทางไปออสเตรเลียแล้วถูกสั่งให้หยุดในช่วงเปลี่ยนเครื่องในมะนิลาเนื่องจากเธอเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้การคุ้มครอง เรื่องนี้ทำให้มีการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตในแฮชแท็ก #SaveDinaLasloom ซึ่งได้รับความนิยมเป็นเวลาหลายวัน มีกลุ่มชายและหญิงชาวซาอุดิอาระเบียรอเธอที่สนามบิน มีคนหนึ่งถูกกักตัวไว้ที่สนามบินเพิ่ม คือนักศึกษาแพทย์ชื่อ อลา อลานาซิ เพราะถามหาลาสลูม ในเวลานั้นเองก็มีนักกิจกรรมหญิงอีกรายหนึ่งชื่อมาร์ลัม อโลไทบิ ผู้ที่ถูกจับเพียงเพราะเธอออกจากย้ายพ่อแม่มาอยู่คนเดียวในริยาด เรื่องราวเหล่านี้กลายเป็นข่าวสารที่แพร่ต่อๆ กันไปในโลกโซเชียล และกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เห็นได้ตามสื่อโซเชียลในชีวิตประจำวัน

อัลฮุสเซนมองว่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าซาอุดิอาระเบียกำลังพัฒนาไปในทางบวก ทำให้ผู้หญิงไปเรียนต่างประเทศมากขึ้น พวกเธอต้องพึ่งพาครอบครัวน้อยลงและมีความเป็นปัจเจกของตัวเองมากขึ้น ผู้มีอำนาจทางศาสนาที่คอยครอบงำการเติบโตของผู้หญิงก็ถูกรัฐบาลคอยสกัดไว้ขณะเดียวกันก็สูญเสียความน่าเชื่อถือในสายตาประชาชนไปเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้หญิงในซาอุดิอาระเบีย ต้องคอยดูกันต่อไปหลังจากนี้ว่าผู้หญิงในซาอุฯ จะต่อสู้เรียกร้องไปได้ไกลแค่ไหน

 

เรียบเรียงจาก

A new social, economic and political climate emerges in Saudi Arabia, The National, 04-05-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย #156 แนวคิดเรื่องชาติและกำเนิดนักเขียนคณะสุภาพบุรุษ

Posted: 07 May 2017 06:12 AM PDT

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ คำ ผกา และ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี ค้นหาที่มาของนักเขียน "คณะสุภาพบุรุษ" ซึ่งกำเนิดขึ้นหลังตีพิมพ์นิตยสาร "สุภาพบุรุษ" ระหว่างปี พ.ศ. 2472-2473 หลายคนกลายเป็นนักเขียนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา), อบ ไชยวสุ (ฮิวเมอร์ริสต์), โชติ แพร่พันธุ์ (ยาคอบ), มาลัย ชูพินิจ (แม่อนงค์, เรียมเอง), ชิต บุรทัต (แมวคราว), ฉุน ประภาวิวัฒน์ (นวนาค) ฯลฯ

ทั้งนี้ข้อเสนอของคณะสุภาพบุรุษ ที่ตั้งคำถามเรื่องความยุติธรรม เรื่องความก้าวหน้าในชีวิตการงานของปัจเจกบุคคลควรถือตามความสามารถ ไม่ถือเอาชาติกำเนิด รวมทั้งบุญธรรมกรรมแต่งหรือวาสนา เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะสังคมไทยในเวลานั้นเท่านั้น แต่การตั้งคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นไปทั่วเอเชียในหมู่นักชาตินิยมที่ต้องการปลดแอกจากเจ้าอาณานิคม

นักเขียนคณะสุภาพบุรุษซึ่งส่วนใหญ่จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ นับเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาภายใน พวกเขาเหล่านี้ได้เรียนหนังสือ และได้เห็นขบวนการในดินแดนอื่นๆ ที่สามัญชนออกมาเรียกร้องตำแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม เรียกร้องให้ทุกๆ คนควรมีตำแหน่งแห่งหนในโครงสร้างสังคมอีกแบบหนึ่งไม่ใช่แบบเดิมอีกต่อไป

นอกจากนี้ในบทความของ "ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์" ตีพิมพ์ในนิตยสารสารคดีเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 ยังเสนอด้วยว่า คณะนักเขียนสุภาพบุรุษในช่วงเวลานั้น ยังทำให้เกิดแนวคิดว่าผู้แต่งคือ "นักเขียนอาชีพ" ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับช่วงที่สังคมเปลี่ยนจากระบบศักดินามาสู่ทุนนิยม ที่การอ่านงานวรรณกรรมมิได้ผูกขาดในกลุ่มชนชั้นสูงอีกต่อไป แต่กลายเป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิจะสร้างหรือเสพได้และ "เมื่อวรรณกรรมได้แปรสภาพมาเป็น "สินค้า" ชนิดหนึ่ง สิ่งที่ต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความสำคัญของผู้แต่งในฐานะ "นักเขียนอาชีพ" ผู้เป็นเจ้าของผลงานวรรณกรรม ที่ทรงสิทธิในการได้รับผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้จากผลงานที่ตนเองสร้างขึ้น"

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai

หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: เปิดแผนมอเตอร์เวย์ 'บางปะอิน-โคราช' ผ่าชุมชน-รุกป่าสงวน-ถมลำตะคอง!

Posted: 07 May 2017 05:45 AM PDT

รายงานพิเศษจาก TCIJ 'ทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา' มอเตอร์เวย์ลำดับที่ 3 ของประเทศและเส้นทางแรกสู่อีสาน เริ่มก่อสร้างไปแล้วเมื่อ ส.ค. 2559 มูลค่ากว่า 84,600 ล้านบาท หลังรัฐผลักดันมากว่า 20 ปี "อนุมัติสมัยชวลิต-เวนคืนสมัยยิ่งลักษณ์-ก่อสร้างสมัยประยุทธ์" กลุ่มคัดค้านระบุไม่ฟังเสียงชาวบ้าน-เลือกเส้นทางไม่เหมาะสม-รายงาน EIA ไม่เป็นจริง-เปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่วิถีชีวิตชุมชน-ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

'ทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา' มอเตอร์เวย์ลำดับที่ 3 ของประเทศและเส้นทางแรกสู่อีสาน หลังรัฐผลักดันมากว่า 20 ปี และเริ่มก่อสร้างไปเมื่อ ส.ค. 2559 คนในพื้นที่หวั่นผลกระทบมหาศาลทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังแล้วเสร็จ ที่มาภาพ: กรมทางหลวง

ความเป็นมา 'โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6' และ 'ทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา'

'ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6' หรือ 'ทางหลวงพิเศษสายตะวันออกเฉียงเหนือ' เป็นโครงการทางหลวงพิเศษเชื่อมระหว่างเมือง เริ่มต้นจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขึ้นสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปสิ้นสุดที่ จ.หนองคาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อปี 2540 ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเส้นทาง 3 สายต่อเนื่องกัน (ระยะทางตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2540) ได้แก่ สายบางปะอิน–นครราชสีมา, สายนครราชสีมา–ขอนแก่น และสายขอนแก่น–หนองคาย ทั้ง 3 เส้นทางนี้จะมีระยะทางรวมกัน 535 กิโลเมตร โดย 'ทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา' เป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ที่เริ่มดำเนินการเป็นโครงการแรกซึ่งมี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเมื่อปี 2556 ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ข้อมูลจากกรมทางหลวงระบุว่า ทางทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา จะมีระยะทางประมาณ 196 กิโลเมตร โครงการก่อสร้างฯ มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณจุดเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 กับทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแนวเส้นทางใหม่ขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และมีจุดสิ้นสุดบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 2 ผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางปะอิน อ.วังน้อย อ.อุทัย) (จ.สระบุรี) อ.หนองแค อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก (จ.นครราชสีมา) อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ และ อ.เมืองนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 196 กิโลเมตร

แผนที่เส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา ที่มา: กรมทางหลวง

ในการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ ช่วงที่ 1 ก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร จากบางปะอิน (กม. 0+000) ถึง อ.ปากช่อง (กม. 103+000) ระยะทาง 103 กิโลเมตร และ ช่วงที่ 2 ก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร จาก อ.ปากช่อง (กม. 103+000) ถึง นครราชสีมา (กม. 196+000) ระยะทาง 93 กิโลเมตร โดยมีรูปแบบการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นทางระดับพื้น แต่จะมีทางยกระดับ 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงทางเลี่ยงเมืองสระบุรี (ระหว่าง กม. 40+300 – 47+000) ระยะทาง 7 กิโลเมตร ,ช่วงพื้นที่สัมปทานปูนซีเมนต์ TPI (ระหว่าง กม. 69+000 –75+700) ระยะทาง 5.5 กิโลเมตร ,ช่วงเขาตาแป้น (ระหว่าง กม. 81+600 –85+250) ระยะทาง 2.3 กิโลเมตร และช่วงเลียบอ่างเก็บน้ำลำตะคอง (ระหว่าง กม. 125+400 –143+040) ระยะทาง 17.3 กิโลเมตร รวมระยะทางที่ก่อสร้างเป็นทางยกระดับทั้งสิ้น 32.1 กิโลเมตร ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 มีเขตแนวเขตทาง 70 เมตร ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.60 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร และ 6 ช่องจราจร มีการควบคุมการเข้า – ออกแบบสมบูรณ์ (รั้วกั้น) ตลอดทาง โดยใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางระบบปิด (บันทึกข้อมูล/รับบัตรที่ด่านขาเข้า และจ่ายค่าผ่านทางตามระยะที่ด่านขาออก) ซึ่งมีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ ด่านบางปะอิน ด่านวังน้อย ด่านหินกอง ด่านสระบุรี ด่านแก่งคอย ด่านมวกเหล็ก ด่านปากช่อง ด่านสี่คิ้ว และด่านนครราชสีมา มีจุดทางแยกต่างระดับที่เชื่อมต่อกับทางหลวง จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ทางต่างระดับบางปะอิน ทางต่างระดับวังน้อย ทางต่างระดับหินกอง ทางต่างระดับสระบุรี ทางต่างระดับแก่งคอย ทางต่างระดับมวกเหล็ก ทางต่างระดับปากช่อง ทางต่างระดับสีคิ้ว และทางต่างระดับนครราชสีมา รวมทั้งพื้นที่บริการทางหลวง จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย ที่พักริมทางหลวง (Rest Area) จำนวน 5 แห่ง สถานีบริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 2 แห่ง และศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 1 แห่ง

นอกจากนี้ในเดือน ส.ค. 2560 กรมทางหลวงระบุว่ามีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหาร จัดการและงานบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) ตามขั้นตอนของ พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล โดยโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษสาย     บางปะอิน-นครราชสีมา ใช้วงเงินลงทุนรวม 84,600 ล้านบาท ประกอบด้วยวงเงินค่าก่อสร้าง 77,970 ล้านบาท และวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,630 ล้านบาท และเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเสริมศักยภาพด้านคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ซึ่งจะเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้บริการในเส้นทางนี้ และยังเสริมศักยภาพการขนส่งทางถนน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 นี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและ การลงทุนของประเทศ และเป็น 1 ใน 20 โครงการสำคัญเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยปี 2558–2565 และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2563 [1]

กระแสคัดค้าน

 

ชาวบ้านและองค์กรสิ่งแวดล้อม คัดค้านการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา เมื่อเดือน ม.ค. 2559 ที่มาภาพ: ASTV ผู้จัดการออนไลน์

หลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เมื่อปี 2556 เป็นต้นมา ก็มีกระแสคัดค้านโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นเมื่อเดือน ส.ค. 2557 กลุ่มชมรมคนปากช่องต่อต้านมอเตอร์เวย์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้านมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมาโดยระบุว่าชาวบ้านเองไม่เคยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อโครงการนี้เลย และสนับสนุนให้พัฒนาโครงการรถไฟทางคู่แทน [2] เดือน ก.ค. 2558 ชาวอำเภอปากช่องที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่เห็นด้วยกับรูปแบบของโครงการนี้ เนื่องจากแนวเส้นทางที่ผ่านอำเภอปากช่อง ใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งยูเนสโกขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก ขณะเดียวกันทางขึ้น-ลงบริเวณถนนธนะรัชต์ก็ใกล้ชุมชนเกินไป ทั้งยังติดแหล่งน้ำสาธารณะลำน้ำลำตะคอง และช่วงที่ผ่านกองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ก็มีข้อกฎหมายห้ามสร้างทาง ตลอดทั้งสิ่งปลูกสร้าง จึงมีข้อเรียกร้องมาตั้งแต่ต้น จากชาวอำเภอปากช่องว่า ขอให้ปรับแนวเส้นทางบนถนนมิตรภาพให้เป็น Toll way (ทางยกระดับ) ตลอดแนวเส้นทางที่ผ่านเขตอำเภอปากช่อง หรือเวนคืนที่ราชพัสดุ 29,000 กว่าไร่ บริเวณตำบลหนองสาหร่ายแทน ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรมการสัตว์ทหารบก [3]

และในเดือน ม.ค. 2559 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์สาย 6 บางปะอิน-โคราช อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอำเภอปากช่อง ประกอบด้วย ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอำเภอปากช่อง, กลุ่มเครือข่ายคนรักษ์เขาใหญ่, และกลุ่มรักษ์ลำตะคอง รวมกว่า 100 คน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงาน สอบสวน สภ.ปากช่อง เพื่อคัดค้านการสร้างถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ช่วงผ่าน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยระบุว่าโครงการนี้จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน สูญเสียที่ดินทำกิน ระบบสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบรุนแรง โดยมีข้อเสนอให้ยกระดับถนนมอเตอร์เวย์ขึ้นจากแนวถนนมิตรภาพเดิม ยืนยันจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด [4]

 

เลือกเส้นทางไม่เหมาะสม-ไม่ศึกษาผลกระทบ

ข้อมูลจาก 'ข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา' ที่จัดทำโดยกลุ่มคัดค้านโครงการฯ  ระบุว่าในการออกแบบและเลือกใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างถนนสายนี้ กรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ทำการสำรวจและออกแบบทั้งโครงการ เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่า มีหลายจุดที่เลือกใช้พื้นที่ในการก่อสร้างถนนสายนี้พาดผ่านไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงจากมวกเหล็ก จากถนนมิตรภาพหลักกิโลเมตรที่ 31 (ช่วงท้ายตอนที่ 1 ของโครงการ) ถึงบริเวณกองพันสุนัขทหาร ถนนมิตรภาพหลักกิโลเมตรที่ 78 (กิโลเมตรที่ 125 ของโครงการ) กล่าวคือพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ถนนสายนี้พาดผ่าน นอกจากนั้น ยังตัดถนนผ่านภูเขาในบริเวณถัดจากหมู่บ้านบุญบันดาล เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง

(ซ้าย) หลักแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติกับหลัก L94 ของโครงการ (ขวา) อุโมงค์ระบายน้ำธรรมชาติ

พื้นที่สภาพป่าอันสมบูรณ์ ที่จะถูกทำลายโดยโครงการนี้พาดผ่าน

สายน้ำลำตะคองคดเคี้ยวที่จะมีการกลบถม แล้วขุดสร้างใหม่เป็นแนวตรง

ภาพน้ำท่วมชุมชนนันทเขตต์และท่ามะนาว เมื่อปี 2553

โดยจากช่วงมอกระหาดถึงวัดแก่งกลางดง นอกจากจะก่อปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรงจากการกลบถมลำตะคองแล้วขุดลำคลองใหม่เป็นแนวตรง และจากการสร้างสะพานบริเวณลำตะคอง ซึ่งจะสร้างปัญหามลพิษให้กับแหล่งน้ำดิบสำหรับบริโภคที่สำคัญของภาคอีสาน รวมถึงการทำลายระบบนิเวศน์ของลำน้ำธรรมชาติแล้วนั้น ยังมีปัญหาใหญ่ที่จะตามมาอีกประการคือ ปัญหาน้ำท่วมชุมชนในเทศบาลเมืองปากช่อง สืบเนื่องจากการก่อสร้างถนนดังกล่าวนี้แนวถนนจะกีดขวางทางไหลของน้ำเมื่อฝนตก ทำให้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ที่เคยกระจายไหลซึมลงผิวดิน เมื่อปะทะกับแนวถนนจากความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้เกิดการรวมตัวของน้ำแล้วไหลลงสู่ลำตะคองในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ทำให้มีความเสี่ยงสูงมากที่ชุมชนตอนล่างในเทศบาลเมืองปากช่องมีโอกาสเกิดน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้นเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวก็ประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เมื่อปริมาณน้ำในลำตะคองมีเพิ่มมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วจากการสร้างถนนดังกล่าว ทำให้มีโอกาสเกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้นและรุนแรงกว่าเดิมเป็นอันมาก พื้นที่ที่จะได้รับผล กระทบจากภัยน้ำท่วมได้แก่ ชุมชนราชประชา, ชุมชน บขส.เก่า, ชุมชนประชานุสรณ์, ชุมชนสะพานดำ, ชุมชนโรงสูบ, ชุมชนตรอกแดง, ชุมชนตรอกสุเหร่า, ชุมชนนันทเขตต์ ,ชุมชนประปา, ชุมชนหนองสาหร่าย, ชุมชนเจ้าแม่กวนอิม, ชุมชนท่ามะนาว เป็นต้น ซึ่งชุมชนทั้งหมดนี้เป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปากช่องเกือบทั้งสิ้น และที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบ ชี้แจงหรือแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้รับทราบข้อมูลนี้แต่ประการใด

ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างทางขึ้น-ลง ด่านเก็บเงิน และศูนย์บริการ

การใช้พื้นที่สำหรับจุดขึ้น-ลง และด่านเก็บเงิน และศูนย์บริการ (Service center) จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทางขึ้น-ลง และด่านเก็บเงิน ตั้งอยู่ที่ ต.หนองน้ำแดง ห่างจากลำตะคองประมาณเพียง 400 เมตร ลักษณะพื้นที่จะลาดเอียงสู่ลำตะคอง ดังนั้นเมื่อมีของเสียทั้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล โดยเฉพาะน้ำเสียจากระบบสาธารณูปโภค และห้องส้วม ที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะไหลลงสู่ลำตะคองซึ่งเป็นพื้นที่ลาดต่ำอยู่ด้านล่าง ซึ่งลำตะคองเป็นแหล่งน้ำสะอาดสำหรับบริโภคของอำเภอปากช่อง สีคิ้ว จนถึง จ.นครราชสีมา และพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ส่วนศูนย์บริการ (Service center) ทั้งสองด้านของโครงการ ตั้งอยู่ที่ ต.หนองน้ำแดง  เป็นที่ลาดเอียงเชิงเขา อยู่สูงกว่าถนนธนะรัชต์และตัวเมืองปากช่องเป็นอย่างมาก พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแนวเขานางชี ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่สำคัญของ อ.ปากช่อง โดยเฉพาะเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณภาพสูงมากเหมาะสำหรับการบริโภค และเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองเพื่อการบริโภคที่สำคัญของปากช่องในปี 2554 เมื่อเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เกิดขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค ได้มีการนำน้ำใต้ดินจากบริเวณแนวเขานางชีมาผลิตเป็นน้ำดื่มคุณภาพสูงเพื่อส่งไปช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อมีการสร้างศูนย์บริการในบริเวณดังกล่าว จะเป็นการทำลายแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของปากช่อง และประเด็นที่น่าวิตกกว่านั้นคือ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขาอยู่ในระดับที่สูงกว่าถนนธนะรัชต์และตัวเมืองปากช่องค่อนข้างมาก ดังนั้น ของเสียและมลพิษที่เกิดจากโครงการนี้ทั้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะน้ำเสียจากระบบสาธารณูปโภคและห้องส้วมจะไหลซึมลงพื้นดินที่เคยอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำของปากช่อง ส่วนที่เหลือจะไหลลงสู่เบื้องล่าง นั่นคือถนนธนะรัชต์และไหลต่อไปยังลำตะคองแหล่งน้ำดิบที่สำคัญของภาคอิสาน เกิดการปนเปื้อนและก่อมลพิษที่รุนแรง โดยมีการประมาณการสิ่งปฏิกูล (ปัสสาวะและอุจจาระ) ที่ศูนย์บริการจะมีรวม 30,500 ลิตร/วัน คิดเป็น 915,000 ลิตร/เดือน และ 11,132,500 ลิตร/ปี  

ประชาพิจารณ์ไม่จริง-ปิดกั้นข้อมูล-บิดเบือนเอกสาร

กลุ่มคัดค้านระบุว่า จากการดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ที่ผ่านมา ประชาชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างถนนสายนี้ ไม่ได้รับข้อมูลหรือข่าวสารจากผู้ดำเนินโครงการ ซ้ำร้ายยังพยายามปกปิดข้อมูลต่าง ๆ เมื่อประชาชนร้องขอหรือไต่ถาม อีกทั้งในการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ผู้ดำเนินโครงการใช้วิธีว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อทำการสำรวจข้อมูลการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทเอกชนดังกล่าวเลือกใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ โดยตัดเอกสารหรือข้อมูลที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ออกจากรายงานที่นำเสนอ แม้ประชาชนในหลายส่วนได้พยายามทำหนังสือแจ้งเตือนและเสนอข้อร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง หน่วยงานดังกล่าวยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อโดยมิได้พิจารณาหรือใส่ใจข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่แต่อย่างใด ดังนั้น รายงานการทำประชาพิจารณ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ของโครงการนี้จึงเป็นรายงานที่ไม่เป็นจริงและไม่ถูกต้อง

ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ไม่เป็นจริง

นอกจากนี้ กระบวนการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนดำเนินโครงการนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์หลายส่วน เช่น ในส่วนที่มีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติบริเวณหมู่บ้านบุญบันดาล บริเวณถัดจากหมู่บ้านบุญบันดาลที่มีการตัดถนนพาดผ่านภูเขาซึ่งต้องมีการขุดทำลายภูเขาดังกล่าว และบริเวณที่โครงการพาดผ่านลำตะคองซึ่งจะทำการกลบถมลำน้ำเดิมแล้วขุดคลองใหม่ทดแทน เป็นต้น ผู้ดำเนินโครงการมีการของบประมาณเพื่อทำรายงานซ่อมเพิ่มเติมให้เสร็จเฉพาะจุด ดังนั้นรายงานดังกล่าวจึงขาดความต่อเนื่องจากรายงานในส่วนอื่น ๆ ที่นำเสนอ และยังมีจุดสำคัญอีกหลายแห่งที่ผู้ดำเนินโครงการยังคงปกปิดข้อมูล สำหรับในส่วนที่ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ทำเสร็จแล้วนั้น ทางผู้ดำเนินโครงการใช้ข้อมูลเก่ากว่า 10 ปี มาเป็นข้อมูลในรายงาน ซึ่งสภาพพื้นที่ในปัจจุบันหลายแห่งได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว ดังนั้นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

ก่อปัญหาเปลี่ยนความเป็นอยู่-วิถีชุมชน ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

ถนนสายนี้กระทบต่อพื้นที่ฟาร์มโคนม และพื้นที่เกษตรกรรมแหล่งผลิตอาหารโลกที่สำคัญ

จากการดำเนินโครงการก่อสร้างถนนดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศวิทยา และวิถีชุมชนท้องถิ่นที่ เนื่องจากมีการตัดถนนพาดผ่านผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งอาหารโลก ผ่านใกล้บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และบางส่วนกระทบทำลายสภาพธรรมชาติของลำตะคอง นอกจากนั้น แนวถนนยังกั้นขวางแบ่งชุมชนที่เคยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขออกจากกัน ทำให้วิถีชีวิตชุมชนเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงทั้งการสัญจรที่ไม่สะดวก พื้นที่จำนวนมากถูกปิดกั้นจากแนวถนนจนไม่มีทางเข้าออกซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องได้รับการแก้ไข ปัญหาการสูญเสียบ้านเรือน การสูญเสียที่ทำกิน และมีโอกาสประสบภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม ที่บ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น       

นอกจากนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวในส่วนการเวนคืนที่ดินที่แนวถนนนี้พาดผ่าน ผู้ดำเนินโครงการกำหนดค่าชดใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงหลายเท่า ในประเด็นนี้ ชาวบ้านเองไม่เต็มใจ ไม่ต้องการขายที่ดินใช้เพื่อสร้างถนนสายนี้แต่ประการใด แต่ถูกบังคับด้วยวิธีต่างๆทั้งกฎหมาย ทั้งมติ ครม. จนกระทั่งชาวบ้านบางส่วนจำยอมถูกเวนคืน แต่กลับได้รับค่าชดเชยที่ดินที่ไม่เป็นธรรม หลังจากเสียที่ดินตนเองให้ผู้ดำเนินโครงการนำไปสร้างถนนนี้แล้ว ชาวบ้านไม่สามารถนำเงินที่ได้ไปซื้อที่ดินที่มีสภาพใกล้เคียงของเดิมได้ เพราะจากการถูกกดราคาดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นการละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างถนนสายนี้

 

อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง:

จับตา: คาดการณ์รถยนต์ที่ใช้มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ผ่านช่วง อ.ปากช่อง ในปี 2574
ข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา
ข้อกังวลต่อเมืองปากช่อง
ผลกระทบต่อโรงเรียนกลางดงปุณณวิทยา
ผลกระทบต่อวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (หลวงพ่อขาว)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สุดารัตน์' แจ้งความ พ.ร.บ.คอมฯ คนกล่าวหาหนุนหลัง 'เนติวิทย์'

Posted: 07 May 2017 03:01 AM PDT

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ให้ทนายความ แจ้งความ พ.ร.บ.คอมฯ ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ 'บูรพ์ พุละกาพย์' รวมทั้งนายพลทหารจากกองทัพบก และช่องไลน์กลุ่มต่าง ๆ อีก 43 กลุ่ม นำเข้าข้อความอันเป็นเท็จกรณีถูกกล่าวหาอยู่เบื้องหลังแนวคิด 'เนติวิทย์' ระบุทำให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกิดความเสียหายและได้รับความเกลียดชัง

 
เว็บไซต์ TNN Thailand รายงานเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่าจากกรณีที่มีภาพนิ่ง ที่มีการแชร์ผ่านโชเชียล โดยเป็นภาพชายคนหนึ่งกำลังก้มกราบคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และระบุว่า ชายที่ก้มกราบนั้น คือนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ และอ้างว่าคุณหญิงสุดารัตน์ อยู่เบื้องหลังการกระทำของนายเนติวิทย์ ที่เสนอแนวคิดที่่จะไม่ก้มกราบพระบรมรูปพระปิยะมหาราช
 
ล่าสุดคุณหญิงสุดารัตน์ ได้มอบอำนาจให้ทนายความ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "บูรพ์ พุละกาพย์" ผู้เขียนด้วยข้อความอันเป็นเท็จ รวมทั้งนายพลทหารจากกองทัพบก และช่องไลน์กลุ่มต่าง ๆ อีก 43 กลุ่ม ที่ได้นำข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกิดความเสียหาย และได้รับความเกลียดชัง
 
ทั้งนี้คุณหญิงสุดารัตน์ ระบุว่า ภาพดังกล่าว เป็นภาพเมื่อหลายปีก่อน ที่ลูกน้องคนหนึ่งมาลาบวช ซึ่งเขาชอบทำตัวไม่ดี ตนเองเลยโกรธเขา เมื่อเขาจะบวชก็มาขอขมา และเขาได้ลงก้มกราบ แบบที่ตนเองไม่ทันตั้งตัว และตนได้รีบดึงเขาขึ้นมา หลังจากนั้น คนบวชก็นำภาพนี้ ไปโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา
 
นอกจากนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ ยังระบุอีกว่า ส่วนตัวไม่เคยรู้จักนายเนติวิทย์ และการกระทำเช่นนี้ เป็นการจงใจทำให้เกิดความเกลียดชังแก่ตนเอง และขอวิงวอนให้ผู้ใช้โซเชียลต่างๆ ก่อนโพสต์ก่อนแชร์ โปรดใช้สติ และโพสต์แชร์ด้วยความมีคุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งปัญญา
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิตยสารสารคดีแจ้งเรื่องเพจเฟซบุ๊กหาย

Posted: 07 May 2017 01:44 AM PDT

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ของนิตยสารสารคดี ได้แจ้งเกี่ยวกับเรียนผู้ติดตามเพจ Sarakadee Magazine ว่าได้เกิดปัญหากับเพจ Sarakadee Magazine เพจเฟซบุ๊กทางการของ นิตยสารสารคดี ในช่วงบ่าย เพจได้เกิดหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทางแก้ปัจจุบันเราจึงได้จัดทำเพจขึ้นมาใหม่ในชื่อ "นิตยสาร สารคดี" และขอเชิญชวนผู้ติดตามรบกวนช่วยกระจายข่าวเพจของเราอีกครั้ง ทางเราสัญญาว่าจะนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา โดยสามารถติดตามเพจใหม่ของนิตยสารสารคดีได้ที่ https://www.facebook.com/sarakadeemagazine

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา 'ขุดคอคอดกระ' แนะรัฐศึกษาผลดี-ผลเสีย

Posted: 07 May 2017 01:10 AM PDT

สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย-จีน จัดวงเสวนา "คลองไทยหัวใจของชาติ ของประชาชน"  มีความเห็นตรงกันอยากให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการศึกษาผลดี-ผลเสีย เพื่อไม่ให้ประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่ภาคใต้เสียโอกาส คาดใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,680,000 ล้านบาท ระยะทางยาว 140 กม.

 
7 พ.ค. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่าสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย-จีน จัดเสวนา "คลองไทยหัวใจของชาติ ของประชาชน" จังหวัดตรัง มีประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ที่อาศัยอยู่บริเวณที่คาดว่าคลองจะผ่านเข้าร่วมงานกว่า 300 คน โดยมี พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานคณะกรรมการศึกษาโครงการคลองไทย เป็นประธาน พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)  บนเวทีมีการให้ความรู้ถึงแนวคิดการขุดคลองตามแนวภาคใต้ที่มีมาในอดีตกว่า 300 ปี แต่มีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้โครงการไม่สามารถเกิดได้ 
 
ทั้งนี้ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ประกอบกับการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้และประเทศไทยที่จะขุดคลองย่นระยะการขนส่งสินค้าทางเรือ จากเดิมต้องอ้อมช่องแคบมะละกามาเข้าคลองไทย  ซึ่งไทยจะเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งการหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น 2 ฝั่งคลอง รวมกันจะมีมูลค่ามหาศาล อย่างไรก็ตาม งบประมาณการลงทุนโครงการขนาดใหญ่นี้ต้องใช้เงินจำนวนมาก รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าว  เวทีเสวนาจึงต้องการให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ โอกาส และอุปสรรคของการขุดคลองไทยเชิงลึกอย่างรวดเร็ว 
 
พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป  กล่าวว่า หากมีการขุดคลองไทยจริง คิดว่าประเทศไทยจะได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน แม้จะเกิดการแข่งขันสูง เนื่องจากจะเกิดประโยชน์กับประเทศและชาวโลก ส่วนเกณฑ์การวัดความคุ้มค่ากับความคุ้มทุนอยู่ตรงไหน ไม่สามารถตอบได้ ขึ้นอยู่กับคณะทำงานศึกษาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งความเจริญที่จะต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะจะต้องศึกษารายละเอียดลึกซึ้งทุกด้าน ทั้งผลกระทบกับวิถีชีวิต สิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมถึงกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคนหวงแหนให้กระทบน้อยที่สุดอย่างไรบ้าง
 
ส่วนการศึกษาคาดว่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ผู้นำในคณะศึกษาดังกล่าว ประกอบกับเป็นเรื่องเก่าที่นำมาปัดฝุ่นใหม่ มีการศึกษาไปแล้วหลายยุคหลายสมัย แต่ต้องล้มพับ ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีการศึกษาพัฒนา รวมทั้งการขุดต่าง ๆ มีการพัฒนาไปเร็วมาก ดังนั้น ถ้ามีการหยิบเรื่องนี้มาศึกษาอย่างจริงจังและวางแผนรองรับจะเกิดประโยชน์กับประเทศไทยและชาวโลก ส่วนขั้นตอน คือ นำข้อมูลความรู้มาให้ประชาชนว่าสิ่งนี้ดีหรือไม่ดี แต่เป็นความรู้ในกรอบกว้าง ๆ นั้นเท่านั้น ไม่ใช่เชิงลึก หากประชาชนในพื้นที่เห็นว่าดีก็จะเป็นแรงสนับสนุนสะท้อนความต้องการ  ขณะเดียวกันภาควิชาการก็จะต้องศึกษา หากเห็นว่าเป็นโครงการที่มีหลักการและเหตุผลดี ก็สามารถจัดประชุมสัมมนาหรือเสวนา เพื่อให้มีความผสมผสานและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเสนอรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีให้ทำการศึกษาต่อไป อย่างไรก็ตาม  คณะทำงานฯ ที่จะแต่งตั้งในยุค คสช. หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเชื่อว่าจะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชุดต่อไป              
 
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าการขุดคลองไทยเป็นการแบ่งแยกแผ่นดินอาจจะเป็นช่องทางทำให้ผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นำไปหาประโยชน์กับกลุ่มที่สนับสนุน หรือเข้าทางกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น พล.อ.พงษ์เทพ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเป็นความแตกแยก แต่จะเป็นการรวม 2 ทะเลของภาคใต้ระหว่างอ่าวไทย – อันดามันเข้าด้วยกันและเป็นการสร้างความเจริญและความผกผันในพื้นที่ ในด้านการสร้างงาน สร้างโอกาส แต่จะต้องมีการจัดทำแผนรองรับอย่างละเอียดรอบคอบ
 
สำหรับคลองไทย หรือที่เคยรู้จักกันชื่อ "คอคอดกระ หรือ คลองกะ" เปลี่ยนเส้นทางจากเดิมแนว 5 A มาเป็นบริเวณแนว 9 A เริ่มต้นจากตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จนถึงฝั่งอ่าวไทย อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีความยาวทั้งสิ้น 135 กิโลเมตร ลึก 25 เมตร และความกว้างคลอง 400 เมตร และภายหลังรัฐบาลมีแนวคิดที่จะก่อสร้างโครงการดังกล่าว แต่ต้องเกิดจากความต้องการของประชาชน ซึ่งโครงการจะขุดผ่าน 5 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,680,000 ล้านบาท ระยะทางยาว 140 กม. กว้าง 300 – 400 เมตร ลึก 30 เมตร ลักษณะเป็นคลอง 2 คลองคู่ขนานไปและกลับ มีการสร้างสะพานแขวน สะพานโค้ง และสะพานเชื่อม 2 ฝั่งคลอง ทั้งทางบกและทางรถไฟ โดยคาดว่าจะทำรายได้ 120,000 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี ใช้เวลา 14 ปีคืนทุน ลดเส้นทางเดินเรือ 700 กม. เพราะช่องแคบมะละกามีปัญหา มีความแออัดมากขึ้น การจราจรทางเรือหนาแน่น 80,000 ลำต่อปี จึงมีแนวคิดก่อสร้างโครงการดังกล่าวขึ้น หวังให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาค
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แจงทำไมมีกระทรวงสาธารณสุขแล้วยังต้องมี สปสช. ชี้บทบาทต่างกัน

Posted: 06 May 2017 11:07 PM PDT

'นิมิตร์' อดีตบอร์ด สปสช.ภาคประชาชน แจงบทบาท สธ.และ สปสช.ต่างกัน ชี้ สปสช.ทำหน้าที่แทนประชาชนจัดหาบริการสาธารณสุขให้ประชาชนเข้าถึง ภายใต้ข้อจำกัดงบประมาณที่ต้องบริหารคุ้มค่าที่สุด จึงต้องจัดระบบ ต่อรองราคายาและวัคซีนเพื่อให้ได้ราคาลดลงมา ศึกษาโรคไหนประชาชนป่วยมากสุด ต้องการรักษาเร่งด่วน กระจายงบให้ รพ.ให้สมดุลกับจำนวนประชากรในพื้นที่ ส่วน สธ.ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ

 
 
7 พ.ค. 2560 นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และอดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าคนทั่วไปยังคงสับสนว่า เหตุใดยังต้องมีหน่วยงาน เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของพลเมืองทับซ้อนกันในเมื่อมีหน่วยงานใหญ่อย่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว
 
"ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า สปสช.นั้นมีบทบาทที่ต่างกันกับ สธ. กล่าวคือ สปสช.จะทำหน้าที่แทนประชาชนเป็นหน่วยที่จัดหาบริการให้กับประชาชนด้วยงบประมาณอันน้อยนิดที่รัฐจัดสรรให้ โดยคิดจากประชากรในพื้นที่ต่างๆ ที่เรียกว่างบรายหัว ภายใต้งบประมาณเหล่านั้น สปสช.ต้องบริการจัดการให้คุ้มค่าที่สุด ตั้งแต่การต่อรองราคายากับบรรษัทข้ามชาติเพื่อให้ได้ราคายาถูก ศึกษาว่าโรคไหนที่ประชาชนเป็นมากที่สุดและต้องการการรักษาเร่งด่วน และโรคไหนที่มีค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษาสูงและประชาชนเป็นน้อย ตลอดจนกระจายงบประมาณไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ ให้สมดุลกับประชากรในพื้นที่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าประชาชนจะได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง ขณะที่ สธ.ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข"
 
นายนิมตร์ กล่าวต่อว่า มากไปกว่านั้นจุดเด่นที่สำคัญของ สปสช. คือ การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ที่แต่เดิมนั้นผูกขาดอยู่เพียงผู้เชี่ยวชาญอย่างหมอและพยาบาลที่จะคอยบอกว่า อะไรคือคำนิยามของ "สุขภาพดี" โดยประชาชนสวมบทบาทเป็นเพียงคนไข้ที่ต้องเล่นไปตามตำรารักษาโรค ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อประชาชนเข้ามาเป็นผู้เล่นร่วม เรียกคืนอำนาจการนิยามมาไว้ในมือตัวเอง ตั้งแต่สะท้อนคุณภาพผ่านการใช้บริการในสถานพยาบาล ไปจนถึงร่วมกันจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสร้างสุขภาพของคนในชุมชน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณของ สปสช.
 
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจะทำหน้าที่หลักในการรักษาพยาบาลประชาชน ดูแลเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือและจัดการรักษาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะมีแพทยสภาเป็นหนึ่งในแขนขาคอยตรวจสอบคุณภาพของหมอและพยาบาลในฐานะของสภาวิชาชีพ
 
สุขภาพไม่ใช่แค่เรื่องของหมอ
 
นายนิมิตร์ กล่าวว่า การเรียกคืนอำนาจการนิยามจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าเรื่องใดย่อมสร้างความสั่นคลอนให้เจ้าของอำนาจเดิมเป็นธรรมดา ไม่ต่างกับเรื่องสุขภาพ ความพยายามยื้อยุดฉุดอำนาจคืนกลับไปสู่กระทรวงสาธารณสุขและเพิ่มบทบาททางวิชาชีพโดยมีชีวิตประชาชนเป็นเดิมพันนั้นมีให้เห็นอยู่เป็นระลอก โดยเฉพาะพุ่งไปที่ช่องโหว่ของระบบหลักประกันสุขภาพที่มีงบประมาณให้โรงพยาบาลไม่พอ ไปจนถึงข่าวที่บิดเบือนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนไปว่ามีเอ็นจีโอเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากงบประมาณของ สปสช.
 
ในทางกลับกันอาจต้องตั้งคำถามกลับว่า แล้วเอ็นจีโอไม่ใช่ภาคประชาชน? หากพิจารณาอย่างปราศจากอคติแล้วเราจะพบว่า หลายครั้งเอ็นจีโอเป็นข้อต่อให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐ รวบรวมความต้องการและปัญหาของประชาชนผ่านองค์กรภาคประชาชนสะท้อนไปยังผู้กุมอำนาจ สำหรับเรื่องงบประมาณที่ว่ากันว่าเอ็นจีโอมีส่วนได้ส่วนเสียนั้นยอมรับว่าเกิดขึ้นจริง แต่เกิดขึ้นในรูปของการจัดทำโครงการเพื่อเสนอต่อแหล่งทุน ซึ่งทุกขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบที่ระบุไว้อย่างรัดกุมและเป็นขั้นเป็นตอน
 
"หากรวบอำนาจกลับคืนไปที่ สธ. คาดการณ์ได้ว่าสิ่งแรกที่จะถูกทำลายคือ กลไกภาคประชาชน ตลอดจนสิทธิในการดูแลและจัดการกับสุขภาพของตนเอง กลับคืนไปสู่การวินิจฉัยของแพทย์ที่มุ่งเพียงรักษาและลดทอนผู้คนให้เหลือเพียงร่างกายที่ชำรุดทรุดโทรม" นายนิมิตร์ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศรีสุวรรณ' เตรียมร้องผู้ตรวจการแผ่นดินอีก กรณีเรือดำน้ำ

Posted: 06 May 2017 10:42 PM PDT

'ศรีสุวรรณ จรรยา' เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เตรียมยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีซื้อเรือดำน้ำจีน ชี้รุกลี้รุกรนเร่งรีบลงนามเซ็นต์สัญญาไม่คำนึงถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ม.231 ของ รธน. 2560 วันที่ 8 พ.ค. นี้

 
7 พ.ค. 2560 ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย แจ้งว่าตามที่เสนาธิการทหารเรือในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำจีนได้เดินทางไปลงนามในสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T จากบริษัท CSOC รัฐวิสาหกิจของกระทรวงกลาโหมจีน แบบ G to G ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น
        
กรณีดังกล่าวเป็นการรุกลี้รุกรนในการเร่งรีบไปลงนามเซ็นต์สัญญาโดยไม่คำนึงถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชนถึงความไม่เหมาะสมในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพงสถานะทางการเงินและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำรวมทั้งอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของ สตง. ด้วย อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2503 ซึ่งเป็นการก่อหนี้ผูกพัน 7 ปีที่จะต้องขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติภายใน 60 วันนับแต่วันที่ 1 ต.ค. 2559 คือภายใน 30 พ.ย. 2559 แต่คณะรัฐมนตรีเพิ่งมาอนุมัติให้มีการจัดซื้อได้เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 จึงอาจเข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อกฎหมายดังกล่าว
 
นอกจากนั้นการลงนามซื้อเรือดำน้ำเป็นไปในแบบ G to G ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เสียก่อนโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือ สนช. และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสียก่อนกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเสนาธิการทหารเรือไปลงนามในสัญญาดังกล่าวแล้วจึงเข้าข่ายเป็น "การกระทำอื่นใดของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย"
 
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จำต้องทำความจริงให้ปรากฏโดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 231(2) ของรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองพิจารณาโดยไม่ชักช้าโดยสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันจันทร์ที่ 8 พ.ค.60 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ห้อง 903 ชั้น 9 อาคาร B ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ จึงเรียนทุกท่านมาเพื่อร่วมรายงานข่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงาน เมษายน 2560

Posted: 06 May 2017 08:38 PM PDT

ปปง.ประกาศอายัดทรัพย์คดีก่อการร้าย 6 ราย มี 'เอนก ซานฟราน' ด้วย

Posted: 06 May 2017 08:36 PM PDT

ปปง. เปิดรายชื่ออายัดทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 6 ราย เกี่ยวข้องเหตุรุนแรงภาคใต้ 5 ราย ส่วนอีก 1 รายคือ 'มนูญ ชัยชนะ' หรือ 'เอนก ซานฟราน' กลุ่มคนเสื้อแดงที่ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา

 
เว็บไซต์แนวหน้า รายงานเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่าสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ประกาศรายชื่อบุคคลเฝ้าระวังให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยระบุว่า ผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย ตามมติของคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ถูกกำหนดตามข้อห้าม มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการเผยแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559
 
โดยมีรายชื่อบุคคลที่เฝ้าระวัง คณะบุคคล และนิติบุคคล รวมถึงองค์กรบางแห่ง จำแนกเป็นบุคคลธรรมดา จำนวน 254 ราย นิติบุคคล 75 ราย รวมทั้งสิ้น 329 ราย ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา ซึ่ง ปปง.ได้ส่งประกาศให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อคอยเฝ้าระวัง พร้อมเร่งขยายผลหาผู้ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลตามรายชื่อเหล่านี้ต่อไป
 
นอกจากนี้ ปปง.ยังกำหนดเพิ่มเติม ให้ 6 คนไทย เป็นบุคคล ตามมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ซึ่งระบุว่า เป็นบุคคลที่มีเหตุอันสงสัย และมีหลักฐานอันสมควรว่า มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการประกาศรายชื่อคนไทยไปแล้ว 87 รายชื่อ
 
โดย 6 รายชื่อล่าสุด แบ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงทางภาคใต้ของไทย 5 คน ประกอบด้วย 1.นายมูฮำมัด ขาเดร์ 2.นายอาแว สามะ 3.นายมาหะมะซอบือรี กรือสง 4.นายอารง ดือราแม 5.นายไรนาอาบีเด็ง สามะ ส่วนอีก 1 ราย มีความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดทางการเมืองที่ผ่านมา คือ นายมนูญ ชัยชนะ หรือ 'เอนก ซานฟราน' กลุ่มคนเสื้อแดงที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปี 2558 ที่ผ่านมา ทางการไทย เคยประสานขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กับทางการสหรัฐฯ มาแล้ว แต่เรื่องเงียบไป ก่อนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจาก ปปง.ประกาศให้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย อย่างเป็นทางการ
 
โดยท้ายประกาศดังกล่าว ระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่เข้าไประงับเกี่ยวกับทรัพย์สินของคนไทย ที่ถูกกำหนดรายชื่อทันที หรือขยายผลหาผู้ถือครองทรัพย์สินแทน ก่อนแจ้งให้ผู้ที่เคยทำธุรกรรมกับบุคคลเหล่านี้รับทราบ หากผู้ใดฝ่าฝืน ทั้งถือครองทรัพย์สินแทน หรือยังทำธุรกรรมกับบุคคลดังกล่าว ถือว่ามีความผิด ตามมาตรา 23 , 24 , 25 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก นร.หญิง ป.5 ทั่วประเทศ ก.ค.นี้

Posted: 06 May 2017 08:04 PM PDT

สปสช.จับมือกรมควบคุมโรค เร่งจัดหาวัคซีนเอชพีวี 4 แสนโด๊ส เริ่มฉีดกลุ่มเป้าหมาย นร.หญิงชั้น ป.5 ทั่วประเทศใน ก.ค. 2560 มุ่งลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูก หลังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และสาเหตุการป่วยเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย พร้อมกำหนดเป็นสิทธิประโยชน์บัตรทองปี 2561 

 
7 พ.ค. 2560 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยความเห็นชอบจากรัฐบาล ได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีนเอชพีวี (HPV) เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายหลังเมื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเห็นชอบและให้บรรจุวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พิจารณาอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายฯ ผ่านทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดหาวัคซีนเอชพีวีเพิ่มเติมฉีดให้ครอบคลุมนักเรียนหญิง ป.5 ทั้งหมด ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้ สอดคล้องกับคำแนะนำองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้เพื่อให้บริการป้องกันโรคดำเนินไปอย่างครอบคลุม ไม่เพียงแต่ช่วยลดการเจ็บป่วยแต่ยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประเทศได้
 
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ได้ร่วมกันจัดหาวัคซีนเอชพีวีเพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400,000 คน งบประมาณรวมกว่า 144 ล้านบาท โดยในส่วนของ สปสช.ดำเนินการจัดหาวัคซีน 226,660 โด๊ส งบประมาณภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 85 ล้านบาท และกรมควบคุมโรคดำเนินการจัดหาวัคซีน 173,340 โด๊ส งบประมาณ 58.9 ล้านบาท ขณะนี้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือกันสื่อสารไปยังหน่วยบริการ และประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนและผู้ปกครองเพื่อรับทราบข้อมูลการรับวัคซีนเอชพีวี  
 
"คาดว่าจะให้บริการวัคซีนเอชพีวีเข็มแรกในช่วงเปิดเทอม ประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 และเข็มที่ 2 ในเทอมสองห่างจากเข็มแรก 6 เดือน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 บอร์ด สปสช.โดยมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นประธานได้เห็นชอบให้วัคซีนมะเร็งปากมดลูกเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็กหญิงชั้น ป.5 พร้อมอนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดซื้อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การลดอัตราเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย" เลขาธิการ สปสช.กล่าว
 
ทั้งนี้ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม โดยข้อมูลปี 2553-2555 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยอยู่ที่ 14.4 ต่อแสนประชากรหญิง หรือ 6,426 รายต่อปี ทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ในหญิงไทย สาเหตุเกิดจากเชื้อเอชพีวี หรือ Human Papilloma virus ซึ่งติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณปากมดลูกเรื้อรังและเซลล์บริเวณปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยเฉพาะในสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยสูงถึงร้อยละ 70 การให้วัคซีนเอชพีวีในเด็กซึ่งปกติเป็นวัยที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่นทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะ ยังมีความจำเป็นในการป้องกัน
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงานอุตสาหกรรมไอทีเปลี่ยนงานบ่อยเพราะรู้สึก ‘ไม่เป็นธรรม’

Posted: 06 May 2017 07:55 PM PDT

อุตสาหกรรมไอทีในสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายในการจ้างงานบุคลการหมุนเวียนถึง 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะอัตราการ 'เข้า-ออก' ของพนักงานสูง เนื่องจากวัฒนธรรมที่ทำให้คนทำงานรู้สึก 'ไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน' ทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำชาย-หญิง อคติต่อเชื้อชาติ-สีผิว และอคติต่อรสนิยมทางเพศ

อุตสาหกรรมไอทีในสหรัฐฯ มีอัตราการ 'เข้า-ออก' ของพนักงานสูง เนื่องจากวัฒนธรรมที่ทำให้คนทำงานรู้สึก 'ไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน' ที่มาภาพ: รายงาน TECH LEAVERS STUDY A first-of-its-kind analysis of why people voluntarily left jobs in tech

7 พ.ค. 2560 ในรายงาน TECH LEAVERS STUDY A first-of-its-kind analysis of why people voluntarily left jobs in tech ของ Kapor Center for Social Impact (KCSI) ที่เผยแพร่เมื่อปลายเดือน เม.ย. 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสำรวจคนทำงานภาคไอทีในสหรัฐอเมริกาจำนวน 2,006 คน ที่ลาออกจากงานภาคอุตสาหกรรมไอทีในรอบสามปีที่ผ่านมา  โดยในรายงานระบุว่า 'ความรู้สึกไม่เป็นธรรม' เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บุคลากรของอุตสาหกรรมนี้หมุนเวียนเข้าและออกจากงานสูง โดยกว่าร้อยละ 37 ระบุว่าการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมทำให้พวกเขาตัดสินใจลาออกจากบริษัท และเมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการออกจากงานหากรู้สึกว่าได้รับความไม่เป็นธรรมกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ คนทำงานในภาคไอทีมีแนวโน้มออกจากงานถึงร้อยละ 42 มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ร้อยละ 32

การประสบกับปัญหาความไม่เป็นธรรมในที่ธรรมงานนี้มีทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำชาย-หญิง อคติต่อเชื้อชาติและสีผิว และอคติต่อรสนิยมทางเพศ โดยพนักงานหญิงกว่า 1 ใน 10 ระบุว่าเจอประสบการณ์การคุกคามทางเพศ ส่วนพนักงานคนสีผิวกว่า 1 ใน 4 ที่ลาออกจากงานระบุว่าพวกเขาทนไม่ได้กับการเลือกปฏิบัติ ผู้หญิงผิวสีระบุว่าพวกเธอถูกเลือกปฏิบัติสูงสุดที่ร้อยละ 30 โดยเฉพาะการถูกมองข้ามจากการเลื่อนตำแหน่งและความก้าวหน้าในที่ทำงาน ส่วนพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ร้อยละ 20 ระบุว่าเคยถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงาน และร้อยละ 24 ระบุว่าเคยถูกสร้างความอึดอัดใจในที่สาธารณะ

ทั้งนี้มีการประเมินว่าอุตสาหกรรมไอทีในสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายในการจ้างงานบุคลการหมุนเวียนถึง 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดอัตราการเข้า-ออก ของพนักงานสูงนั่นเอง

อนึ่งการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมไอทีนั้นมีสูงกว่าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ถึง 2 เท่า อย่างกรณีล่าสุดอูเบอร์ (Uber) บริษัทชื่อดัง ถูกอดีตวิศวกรหญิงของบริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะชนว่าถูกผู้บริหารในสาขาย่อยพยายามคุกคามทางเพศ ซึ่งเมื่อเธอแจ้งต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็ไม่มีการลงโทษใด ๆ เกิดขึ้น นอกจากนี้เธอยังระบุว่าอูเบอร์เคยมีพนักงานหญิงราวร้อยละ 25 แต่จำนวนกลับลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6 ในปีนี้ ซึ่งข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันเนื่องจากอูเบอร์มีนโยบายไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติและเพศของพนักงาน เหมือนบริษัทในอุตสาหกรรมไอทียักษ์ใหญ่อื่น ๆ อย่าง แอปเปิล กูเกิล หรือ เฟซบุ๊ก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น