ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชัชชาติ สิทธิพันธุ์: TU101 การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทยผ่านการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง
- ไอลอว์ เปิดเรื่องราว ทนายสิทธิแรงงาน ที่ต้องถูกจำคุกฐาน 'ละเมิดอำนาจศาล'
- ประชาชนโวย-หลังแคว้นแคชเมียร์ปิดโซเชียลมีเดีย 22 แห่ง
- พบตัวทนายประเวศ และผู้ต้องหาอีก 5 ราย หลังทหารให้ตำรวจรับตัวไปฝากขังข้อหา 112
- วิษณุ ชี้ 'หลักนิติธรรม' เป็นอาวุธสำคัญ สร้างความปรองดอง-ปราบโกง
- มหา'ลัยกับการสร้างพลเมือง บทที่ 2 : ความต้องการของโลก-ตลาด ที่เด็ก มหา’ลัยไทยไม่ตอบโจทย์
- สั่งลบโลโก้ 'แอปเปิ้ล กูเกิ้ล เฟซบุ๊ก' บน 'ครุฑยืน' ประดับพระเมรุมาศแล้ว
- 70 ปี รัฐธรรมนูญสมัยใหม่ญี่ปุ่น รัฐบาล 'อาเบะ' จะพยายามแก้ไขเพิ่มอำนาจกองทัพหรือไม่
- 'ภาคีต้านทุจริต' ยื่นหนุน ประยุทธ์ ซื้อเรือดำน้ำ โยนพวกต้านส่วนใหญ่เป็น 'เพื่อไทย'
- หมุดก็หาย เสวนาก็ปลิว ส.ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เผยถูก ตร.ขอให้งดถกปมหมุดคณะราษฎรหาย
- ประยุทธ์เผยรู้สึกเป็นเกียรติ 'ทรัมป์' ต่อสายคุยบอกรู้จักคนไทยพอสมควร เหตุมีเพื่อนเป็นคนไทย
- ฮิวแมนไรท์วอทช์ ร้อง รบ.ทหาร เปิดเผยที่อยู่และปล่อยตัว ทนายประเวศ
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์: TU101 การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทยผ่านการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง Posted: 03 May 2017 12:20 PM PDT ชัชชาติ สิทธิพันธุ์บรรยายวิชา TU101 พูดเรื่องการตัดสินใจแบบ System 1 VS System 2 แนะต้องคิดแบบ System 2 ใช้เหตุผลแทนอคติ ย้ำ "เวลามีค่าที่สุด" ชีวิตต้องจัดลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไร เปรียบเหมือนเรียงหิน กรวด และทรายลงในโถ และสุดท้ายพูดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไทยยังมีปัญหาเรื่องบริหารเวลาและคิดว่าประเทศอุดมสมบูรณ์จึงไม่ดิ้นรน รวมไปถึงยังมีอุปสรรคเรื่องทัศนคติ ความต่อเนื่องทางนโยบาย และการจัดงบประมาณ พร้อมย้ำว่ารถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ของวิเศษ หรือเครื่องมือเปลี่ยนประเทศฉับพลัน รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เพชรนิลจินดาแต่เป็นเหมือนครกกับสากไว้ตำน้ำพริกสร้างมูลค่า หัวใจคือคนต้องพร้อม และต้องหาประโยชน์จากพวกโครงการเหล่านี้ให้ได้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ที่ห้องบรรยาย SC1059 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม บรรยายพิเศษหัวข้อ "การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทยผ่านการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ต้นทุนที่สูญเสียไประหว่างรถไฟฟ้ายังไม่ได้สร้าง" โดยการบรรยายเป็นส่วนหนึ่งของวิชา TU101 โลก อาเซียน และไทยโดยเนื้อหาการบรรยาย หัวข้อแรกเป็นเรื่องการตัดสินใจ เนื้อหานำมาจากหนังสือ "Thinking, Fast and Slow" ผลงานของ Daniel Kahneman นักจิตวิทยาที่ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2002 และ "The Art of Thinking Clearly" ผลงานของ Rolf Dobelli ชาวสวิสส่วนหนึ่งของสไลด์ประกอบคำบรรยายโดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชัชชาติอธิบายการตัดสินใจ 2 ระบบ คือ System 1 คิดเร็ว และ System 2 คิดช้า ซึ่งการตัดสินใจแบบแรกจะเน้นความเร็ว ใช้จิตใต้สำนึก อัตโนมัติ ทำทุกวัน แต่มีโอกาสพลาดง่าย ส่วนการตัดสินใจแบบคิดช้า ต้องมีสติ ต้องตั้งใจ และการตัดสินใจประเภทนี้วันๆ หนึ่งจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่เป็นการติดสินใจที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ System 1 เร็ว สามารถทำได้พร้อมๆ กัน แต่การตัดสินใจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ส่วน System 2 ทำได้ช้ากว่า และเรามักรู้สึกขี้เกียจที่ต้องใช้การตัดสินใจแบบนี้ นอกจากนี้ยังทำได้ทีละอย่าง และเป็นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับเหตุผลด้วย ทั้งนี้ System 1 มีข้อจำกัดในการใช้ตัดสินใจ หากเรามีความลำเอียง (bias) หรือมีการรับรู้แบบผิดพลาด (illusion) มาเกี่ยวข้องโดยคนมักจะเลือกรับรู้เฉพาะข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อของตนเอง หรือ Confirmation Bias และเมื่อเราเจอกับประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ซับซ้อนที่ต้องใช้ System 2 สมองของเรามักจะทดแทนคำถามหรือปัญหาที่ง่ายต่อการหาคำตอบโดยใช้ System 1 แทน หรือ Substitution Bias ทั้งนี้ชัชชาติเสนอด้วยว่า ที่สังคมไทยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจนก็เกิดจากการที่ผู้คนต่างใช้วิธีคิดอย่างมีอคติ มากกว่าจะคิดด้วยระบบเหตุผลหัวข้อที่สอง คือเรื่องการบริหารเวลา ทั้งนี้ชัชชาติเสนอว่า เวลามีค่าที่สุด โดยแนะนำให้ดูภาพยนตร์ "Interview with the Vampire" มีแวมไพร (1994) เป็นเรื่องของผีแวมไพร์สองตัว ตัวแรกไม่กินเลือกมนุษย์ กินแต่เลือดหนู ทำให้ไม่มีแรง ส่วนอีกตัวฆ่าและกินแต่เลือดมนุษย์ ทำให้แข็งแรง และทั้งสองมาเจอกันและพูดคุยกัน มีแวมไพร์ตัวที่กินเลือกมนุษย์บอกว่า "God kills indiscriminately, and so shall we" โดยชัชชาติเปรียบว่า พระเจ้า (God) ก็คือเวลา เพราะ "เวลา ฆ่าอย่างไม่เลือกหน้า" เช่นกันอดีต รมว.คมนาคม ได้ยกคำสอนของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ที่ทรงมีคำสอนว่า "ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูงไปต่ำ จะไปดีไปร้าย เลือได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด"ส่วนหนึ่งของสไลด์ประกอบคำบรรยายโดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นอกจากนี้ชัชชาติยังพูดการจัดความสำคัญของเวลา โดยชี้ให้เห็นว่าเวลามีความสำคัญ มีค่ามหาศาล มันไม่ใช่ของฟรี ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเปรียบชีวิตเหมือน โถแก้ว ซึ่งเป็นภาชนะรองรับของ 3 สิ่ง ได้แก่ หิน เหมือนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต กรวด เป็นสิ่งสำคัญรองลงมา และทราย คือสิ่งไม่สำคัญ หรือเรื่องไร้สาระถ้าเอา 3 สิ่งเข้าไปใส่ในโถแก้ว โดยเราเอาทรายใส่เข้าไปก่อน เอากรวดใส่ สุดท้ายไม่มีเวลาให้หิน มันล้นแล้ว เหมือนเราบอกไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะใช้เวลาเล่นจดหมด แต่ถ้าเอาหินใส่ไปก่อน แล้วใส่กรวดตาม ก็สามารถเททรายแทรกเข้าไปได้เอง นี่คือการจัดลำดับความสำคัญในการใช้เวลา ก็จะได้ครบทั้ง 3 สิ่ง โดยไม่บ่นว่าไม่มีเวลาทำสิ่งสำคัญให้ชีวิตเลย ดังนั้น เราต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่า หินของเราคืออะไร อะไรสำคัญในชีวิต กรวดคืออะไร ทรายคืออะไรโดยชัชชาติ เปรียบว่าหินก่อนใหญ่ของเขาคือสุขภาพ ร่างกายเป็นจุดเริ่ม ถ้าร่างกายไม่ดีก็ไม่สามารถทำเพื่อครอบครัวและงานได้ แต่หินก้อนใหญ่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราแต่ละคนต้องออกแบบหินก้อนใหญ่ของเราให้ได้ก่อน ทั้งนี้ชัชชาติยังเปิดคลิปที่ได้รับจากไลน์แนะนำให้ผู้ฟังบรรยายให้ความสำคัญกับสุขภาพด้วย เพราะเวลาป่วยไม่สบาย ก็ไม่สามารถทำงานหรือหารายได้ใดๆ ได้เลย โดยชัชชาติแนะนำว่าตอนนี้เราอาจจะเห็นว่าไม่สำคัญเพราะอายุยังน้อย แต่ต้องทำให้เป็นนิสัยนอกจากนี้ยังนำเสนอกิจวัตรประจำวันของเขา ที่ตื่นตั้งเวลา 03.50 น. เพื่อเปิดอีเมล์ ดูข่าว ดื่มกาแฟ เข้าห้องน้ำ จากนั้นในเวลา 04.30 น. จะต้องวิ่งออกกำลังกาย และเข้ายิม เวลา 06.00 น. จึงจะไปอาบน้ำ เตรียมตัวไปทำงาน ส่งลูกไปโรงเรียน ไปที่ทำงาน กลับบ้าน สอนการบ้านลูก อ่านหนังสือ โดยจะเข้านอนเวลา 22.00 น. และอาจจะมีงีบหลังกินข้าวนิดหน่อยทั้งนี้กิจวัตรประจำวันก็แสดงถึงหินก้อนใหญ่ กรวด และทรายของเรา ถ้าจัดเวลาให้ดี ชีวิตมีตารางเวลาก็จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นหัวข้อที่สาม ที่ชัชชาตินำเสนอเป็นเรื่องสิ่งปลูกสร้างและการพัฒนาประเทศ ชัชชาตินำเสนอว่า มูลค่าเวลานั้นมีตลอด เช่น การซื้อเครื่องบินราคา 15,000 ล้านบาท ก็มีค่าเสื่อม มีค่าดอกเบี้ยที่ต้องเสียไป หากหักค่าเสื่อมทุกวันเป็นเวลา 20 ปี ก็จะพบว่าเครื่องบินมีค่าใช้จ่ายถึงวันละ 4.1 ล้านบาท หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงเฉพาะค่าก่อสร้างไม่รวมค่าเดินรถ มีมูลค่า 56,000 ล้านบาท หากคิดค่าเสื่อมราคา 30 ปี ก็จะมีมูลค่า 5 ล้านบาทต่อวันชัชชาติ ตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมประเทศไทยมีปัญหาเรื่องบริหารเวลา? ข้อหนึ่งก็คือ เราไม่เห็นคุณค่าของเวลา เราคิดว่าประเทศอุดมสมบูรณ์ มีคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แม้แต่หมาก็ไม่อดตาย รวมไปถึงเรื่องทัศนคติ ความเข้าใจ ความต่อเนื่องทางนโยบาย และงบประมาณแผ่นดิน ในขณะที่สิงคโปร์ต้องดิ้นรนอย่างมากหลังถูกมาเลเซียขับออกจากสหพันธรัฐ เพราะแม้แต่น้ำจืดก็ไม่พอ เวลา สำหรับเขาจึงสำคัญโดยกรณีของสิงคโปร์หลังถูกมาเลเซียขับออกมาตั้งประเทศใหม่ สิงคโปร์ซึ่งมีน้ำจืดไม่เพียงพอ จากที่ต้องพึ่งมาเลเซีย ปัจจุบันมีแหล่งน้ำ 4 แหล่ง 1. แหล่งกักเก็บน้ำ 2. โครงการ NEWater เอาน้ำใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทำให้ใช้ได้ใหม่ ซึ่งเมื่อปีก่อนนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ก็โชว์ดื่มน้ำจากแหล่งนี้ 3. นำเข้าน้ำ และ 4. นำน้ำจากทะเลมากลั่น"ถามว่าถ้าเขาไม่ยากลำบากแบบนี้ ชีวิตง่ายๆ เขาคงไม่ทำ ของเราก็ลุ้นกันว่าฝนจะแล้งไหม ถ้าไม่แล้งก็โชคดี ถ้าแล้งก็ประหยัดน้ำกัน แต่เรายังสบายกว่าเขาเยอะ ผมเชื่อเลยว่าเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเห็นคุณค่าของเวลา เพราะสบายเกินไป" ชัชชาติกล่าวตอนหนึ่งชัชชาติยังเปรียบเทียบสิงคโปร์กับไทยในรอบ 10 ปี (ระหว่าง 2547-2556) ซึ่งชัชชาติเปรียบประเทศไทยว่าอยู่ใน "ทศวรรษที่สูญหาย" เพราะในรอบ 10 ปีนี้ซึ่งยังไม่ต้องนับ คสช. แต่ก่อนหน้านี้ก็มีการรัฐประหาร คมช. มีรัฐบาล 7 รัฐบาล+คมช. มีพรรคการเมืองถูกยุบ 7 พรรค มีน้ำท่วมใหญ่ 1 หน จากเหตุทั้งหมดมีผู้เสียชีวิต 933 ราย บาดเจ็บ 2,200 ราย และเสียหายกว่า 1.7 ล้านล้านบาท โดยที่ประเทศไทยไม่ได้ลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักใหม่ๆ ของประเทศเลย ขณะที่ในช่วง 10 ปีสำหรับสิงคโปร์ มีแผนก่อสร้าง Marina Bay เพื่อตั้งเป้าพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคส่วนหนึ่งของสไลด์ประกอบคำบรรยายโดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และเมื่อพิจารณาอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ประเทศไทยก็มีสภาพโครงสร้างพื้นฐานที่ได้อันดับย่ำแย่ลง จากอันดับ 49 ในปี 2555 ก็ลดลงไปอยู่อันดับ 61 ในปีถัดมา และล่าสุดในปี 2559 อยู่ที่อันดับ 72 และเมื่อพิจารณาทั้งเรื่องถนน รถไฟ ท่าเรือ และอากาศยาน จะพบว่า โครงสร้างพื้นฐานอย่างรถไฟ มีอันดับถดถอยอย่างมาก จากอันดับ 57 ในปี 2554-2555 ไปอยู่อันดับ 77 ในปี 2559-2560ชัชชาติยังนำเสนอระยะเวลาของโครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในอดีต ในอดีตของประเทศไทย นับตั้งแต่ศึกษาจนสร้างเสร็จ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ปัจจุบันกลายเป็นท่าเรือหลักใช้เวลาสร้าง 30 ปี ปัจจุบันเป็นท่าเรือที่มีปริมาณสินค้าขนถ่าย 54% นับเป็นท่าเรือหลัก สนามบินสุวรรณภูมิใช้เวลา 45 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นประตูหลักที่นับท่องเที่ยว 74% เข้าสู่ประเทศไทย และสร้างรายได้กว่า 8.3 แสนล้านบาทขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง ญี่ปุ่นเริ่มคิดโครงการในปี 2493-2497 และทันใช้งานในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2507 ส่วนไทยเริ่มศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงมาตั้งแต่ปี 2537 แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เกิดขึ้น ขณะที่จีนเดินรถไฟความเร็วสูงสายแรกปี 2546 เกาหลีใต้เดินรถปี 2547 และไต้หวันเดินรถปี 2550โดยชัชชาติยังยกคำพูดของเขาในปี 2556 ที่ว่า "ปัญหาจริงๆ แล้วของเรา คือเราไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเวลา เพราะเราคิดว่าเวลาคือ "ของฟรี" แต่ระยะเวลา "ไม่ฟรี" เวลาเป็นสิ่งที่แพงที่สุด"ปัจจัยต่อมาคือเรื่อง "ทัศนคติ ความเข้าใจ" เช่นในช่วงที่เขาต้องไปชี้แจงที่ศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแนะนำว่า ต้องให้ถนนลูกรังหมดไปเสียก่อนนั้น ชัชชาติอธิบายว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก็เป็นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น มีถนนลูกรังก่อน แล้วมีถนนลาดยาง คอนกรีต ไฮเวย์ ฯลฯ ตามลำดับของการพัฒนาประเทศ และถนนลูกรังก็ไม่ได้แปลว่าไม่ได้พัฒนา เพราะถนนลูกรังบางทีก็จำเป็นเพราะใช้ในการสัญจรของชุมชน หรือเป็นถนนที่ลงไปตามไร่นาชัชชาติกล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลปัจจุบันก็ยังคงดำเนินโครงการระบบรางต่อไป ไม่ได้รอให้ถนนลูกรังหมดไปก่อน โดยระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกก็จะมีการก่อสร้าง 4 เส้นทาง ก็ยังทำอยู่แต่ระยะเวลาเลื่อนออกไป 4-5 ปีอีกประการหนึ่งก็คือ รัฐบาลไทยขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย โดยชัชชาติยกตัวอย่างแก้ไขจราจรในกรุงเทพฯ ว่าการใช้รถเมล์แก้ไขปัญหาจราจรก็น่าสนใจ เพราะสามารถกระจายตัวได้ทุกหย่อมหญ้า และใช้งบประมาณน้อย เมื่อเทียบกับการลงทุนระบบรางในเมือง แต่อย่างไรก็ตามนโยบายในรอบ 10 ปีของการพัฒนาระบบรถเมล์ก็ไม่มีความต่อเนื่องเชิงนโยบายสุดท้ายเรื่องงบประมาณ ประเทศไทยมีนโยบายในแต่ละปีจำกัด กรณีของคมนาคมในปี 2556 ใช้ประมาณแสนล้านบาทต่อปีจากงบทั้งหมด 2.4 ล้านล้านบาท เทียบกับสิงคโปร์ที่ใช้งบประมาณคมนาคมปีละ 1.4 แสนล้านบาท นอกจากนี้งบประมาณก็กระจุกอยู่กับเมืองหลวง ไม่ได้กระจายออกไปยังภูมิภาค ทั้งนี้การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ยังมีข้อจำกัด ในขณะที่ปัญหาจราจรมีความรุนแรงขึ้น ทั้งการจราจรติดขัด และปัญหาอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกทั้งนี้ต้นทุนของการไม่ทำโครงสร้างพื้นฐานในวันนี้ก็คือ นอกจากเวลาลงทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้ต้นทุนโครงการเพิ่มสูงขึ้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และเกิดค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจช่วงสุดท้ายชัชชาติย้ำถึงการพัฒนาขนส่งทางราง เปรียบเทียบภาพขบวนรถไฟไทยและมาเลเซีย ที่สถานีปาดังเบซาร์ชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันมาเลเซียพัฒนาระบบรางอย่างมาก ทำความเร็วได้ 160 กม. ต่อชั่วโมง ขณะที่รถไฟไทยขาดการพัฒนาไปนาน ทั้งนี้เวลาผมไปพูดเรื่องรถไฟความเร็วสูง คนมักคิดว่าเป็นแหวนเพชรหรือของมีค่า ถ้ารถไฟความเร็วสูงมาถึงจังหวัดนั้นต้องเจริญ ต้องขอบอกว่าจริงๆ รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เพชรนิลจินดา แต่เหมือนครกกับสาก คือเป็นเครื่องมือ ถ้าเราไม่ตำน้ำพริกก็ไม่เกิดมูลค่า หัวใจจึงไม่ใช่ครกกับสาก แต่หัวใจคือจะเอาครกกับสากไปตำน้ำพริกอย่างไรให้เกิดมูลค่า หัวใจของรถไฟความเร็วสูงคือ เราจะหาวัตถุดิบจากท้องถิ่นอย่างไร จะมีการตำน้ำพริกอย่างไร โดยอาศัยรถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือ และน้ำพริกที่ออกมาแต่ละจังหวัดต้องไม่เหมือนกัน มีน้ำพริกที่คนชอบในแต่ละบทบาทของจังหวัด รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ของที่มีค่าในตัวมันเอง ต้องเอาไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อย่าไปคิดว่าเป็นของวิเศษ มาถึงแล้วประเทศจะเปลี่ยนโฉมไม่ใช่เลย มันจะเปลี่ยนได้เราต้องหาเครื่องปรุงมา เราออกแรงตำมัน หาสูตรที่มีมูลค่าเพิ่มให้ ย้ำว่ารถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ของวิเศษ หรือเครื่องมือเปลี่ยนประเทศ หัวใจคือคนต้องพร้อม และต้องหาประโยชน์จากพวกโครงการเหล่านี้ให้ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไอลอว์ เปิดเรื่องราว ทนายสิทธิแรงงาน ที่ต้องถูกจำคุกฐาน 'ละเมิดอำนาจศาล' Posted: 03 May 2017 12:06 PM PDT เปิดเรื่องราวของ ทนายสิทธิแรงงาน ที่ต้องถูกจำคุกฐาน 'ละเมิดอำนาจศาล' จากเขาพร้อมแรงงานไม่พอใจศาลจำหน่ายคดี เหตุเขาไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีจากการสื่อสารที่เข้าใจผิดกับจนท.ศาลโทรแจ้งเลื่อนคดี ปัจจุบันเขายังมีคดีที่ต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นทนายประมาณ 3-4 คดี และมีภรรยาที่มีอายุครรภ์ประมาณ 5 เดือนต้องดูแล เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์ รายงานเรื่องราวของ ทนายความด้านสิทธิแรงงานคนหนึ่ง โดย ไอลอว์ ใช้ชื่อสมมติ ว่า "สหรัถ" เขากำลังถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสระบุรีตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีละเมิดอำนาจศาล ตามกำหนดโทษจำคุก 3 เดือน ตั้งแต่ 20 เม.ย. 2560 ข้อมูล ของ ไอลอว์ ระบุวาา "สหรัถ" เรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปัจจุบัน อายุ 37 ปี ระหว่างที่เขาอยู่ในเรือนจำ เขาไม่สามารถดูแลภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน ภรรยาของ "สหรัถ" จึงต้องดูแลตัวเองและลูกในครรภ์เพียงลำพัง นอกจากนี้"สหรัถ"ยังมีคดีแรงงานที่ต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นทนายความอยู่ด้วย ซึ่งต้องมีนัดพิจารณาคดีในระหว่างที่ "สหรัถ" ถูกจำคุกอยู่ ก่อนหน้านี้ "สหรัถ" เคยเป็นอาสานักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่น 3 ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เป็นเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายให้กับกลุ่มแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ที่ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร และเป็นเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายที่ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน ตามลำดับ 19 พ.ค. 2558 "สหรัถ" พร้อมผู้ใช้แรงงาน 51 คน รวมตัวกันแสดงความไม่พอใจที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของพวกเขาออกจากสารบบความ เพราะ ฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาคดี โดย "สหรัถ" ให้เหตุผลว่า เจ้าหน้าที่ศาลโทรศัพท์ไปแจ้งเลื่อนคดี แต่เจ้าหน้าที่ศาลปฏิเสธว่าไม่ได้โทรแจ้งเลื่อนนัดคดี เพียงแค่แจ้งให้นำคดีที่จะมาฟ้องใหม่มาฟ้องในวันอื่นแทน เมื่อ "สหรัถ" และแรงงาน 51 คนที่เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวมาถึงศาลแล้วพบว่า คดีถูกจำหน่ายออกไปแล้ว จึงแสดงคงามไม่พอใจ โดยการพูดว่า "ต้องมีการเลื่อนคดี ท่านต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ต้องมีคนรับผิดชอบ ผมจะร้องเรียน เดี๋ยวผมจะร้องเรียนเจ้าหน้าที่ทุกคน พวกเราไม่ยอมใช่ไหม" จากนั้น "สหรัถ" และพวกทั้ง 51 คนก็พูดว่า "เราไม่ยอม เราไม่ยอม"แล้ว "สหรัถ"ก็โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ประมาณว่า "วันนี้รู้แล้วว่าศาลแรงงานรับใช้นายทุน..." เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ "สหรัถ" ถูกอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาฟ้องร้องการกระทำผิดดังกล่าวว่าเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยวันที่ 16 มีนาคม 2560 ศาลชั้นต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิพากษารอการกำหนดโทษไว้มีกำหนดสองปีและให้คุมประพฤติจำเลย โดยให้จำเลยรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติทุกสามเดือนเป็นเวลาสองปี ขณะเดียวกัน การกระทำผิดดังกล่าวยังถูกดำเนินคดีแยกต่างหากเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยวันที่ 20 เมษายน 2560 ศาลฎีกา พิพากษาลงโทษจำคุกสามเดือน
จากการสังเกตการณ์ในคดีความผิดฐานดูหมิ่นศาล ของ "สหรัถ" ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยยอมรับว่า ได้กระทำการดังกล่าวรวมทั้งโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กจริง แต่ "สหรัถ" ต่อสู้คดีละเมิดอำนาจศาล ด้วยข้อต่อสู้อย่างน้อยสองประการสำคัญ คือ 1. การกระทำความผิดที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดกรรมเดียว ไม่ควรต้องรับโทษสองครั้ง อันเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไป "สหรัถ" ควรเลือกบทลงโทษที่หนักที่สุดให้แก่ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ที่บัญญัติว่า "เมื่อการกระทําใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อ กฏหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทําความผิด" 2. "สหรัถ"มีหน้าที่ต้องดูแลมารดาที่มีความพิการทางการได้ยิน มีภรรยาที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 5 เดือน และในฐานะทนายความ "สหรัถ" ยังมีคดีที่ต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นทนายความประมาณ 3-4 คดี ซึ่งต้องมีการดำเนินการต่อในระหว่างที่สหรัภถูกจำคุก และที่สำคัญ "สหรัถ" ไม่เคยต้องต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุให้ศาลกำหนดบทลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษ จากข้อต่อสู้ดังกล่าว ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคงเห็นด้วยกับข้อต่อสู้เพียงข้อที่ 2. และพิพากษาให้ "สหรัถ" มีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ ซึ่งในทางกลับกัน ก็เท่ากับศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เห็นว่า การกระทำ 1 ครั้งของ "สหรัถ" ที่ถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลไปแล้ว ก็อาจถูกลงโทษฐาน "ดูหมิ่นศาล" ซ้ำอีกก็ได้
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคดีเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการพิจารณาของศาลแสดงออกที่บริเวณหน้าศาลจนถูกดำเนินคดีในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพของไอลอว์(iLaw) บันทึกข้อมูลพบอย่างน้อยสามคดีที่ศาลพิพากษาจำคุก รอการลงโทษ และอยู่ระหว่างการไต่สวนตามลำดับ ได้แก่ คดีสุดสงวน ประท้วงหน้าศาลแพ่ง หรือ "อาจารย์ตุ้ม" อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดชุมนุมวางพวงหรีดที่หน้าป้ายศาลแพ่ง หลังศาลมีคำสั่งห้ามรัฐบาลยิ่งลักษณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มกปปส. จนถูกพิพากษาจำคุกหนึ่งเดือนโดยไม่รอลงอาญา ถัดมาคดีณัฐพล พ่นสีป้ายศาลอาญา เป็นตัวอักษรเอในวงกลมรวมสองจุดบนป้ายศาลอาญา จนถูกพิพากษาว่ารอการลงโทษไว้มีกำหนดหนึ่งปี และล่าสุด คดีนักกิจกรรมเจ็ดคนละเมิดอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น จากการทำกิจกรรม อ่านแถลงการณ์ แสดงท่าทาง ร้องเพลง พร้อมนำอุปกรณ์มาตั้งบริเวณหน้าศาลจังหวัดขอนแก่น กรณีที่ศาลไม่ให้ประกัน 'ไผ่ดาวดิน' จนถูกศาลเรียกไปไต่สวนความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ปัจจุบันคดีมีนัดไต่ส่วนวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 นักวิชาการชี้กฎหมายละเมิดอำนาจศาล ยังไม่ชัดเจนโดยคดีทั้งสี่ (สหรัถ สุดสงวน ณัฐพล และนักกิจกรรมเจ็ดคน) ยังไม่มีคดีไหนที่ศาลพิพากษายกฟ้อง อีกทั้งศาลพิจารณาว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสี่คดีประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31 (1) ซึ่งคำว่า "ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล" ยังไม่มีนิยามการกระทำความผิดที่ชัดเจน ผศ.ดร.เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหนึ่งในผู้ทำงานวิจัยเรื่อง "หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกรณีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล"กล่าวถึง ปัญหาการใช้กฎหมายละเมิดอำนาจศาลวไว้อย่างน้อยสองประเด็นคือ 1. การกำหนดขอบเขตการกระทำความผิด การละเมิดอำนาจศาล ไม่ชัดเจน 2. ผู้พิพากษาหรือศาลมีอำนาจพิเศษตัดสินลงโทษผู้ที่ถูกกล่าวหาได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีกระบวนการสอบสวนโดยตำรวจ และอัยการเช่นเดียวกับความผิดอื่น อีกทั้งกฎหมายละเมิดอำนาจศาลมีโทษทางอาญาคือ โทษปรับไม่เกิน 500 บาท โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน แต่ถูกนำไปเขียนไว้ในกฎหมายแพ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการนำคดีเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายอาญา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการระงับเหตุและอำนวยความยุติธรรม ผศ.ดร.เอื้ออารีย์กล่าวเสริม ตามความเข้าใจทั่วไปแล้ว หลักกฎหมายอาญา ต้องตีความโดยเคร่งครัด ไม่มีความผิดและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมาย เพราะโทษของกฎหมายอาญากระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนกฎหมายแพ่งไม่มีหลักต้องตีความโดยเคร่งครัด ตีความตามตัวอักษรหรือเจตนารมณ์ของบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ปรับใช้กับข้อเท็จจริงในแต่ละคนและไม่มีบทกำหนดโทษ เพราะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินเสียส่วนใหญ่ เมื่อกลับมาพิจารณาคดี "สหรัถ" และคดีอื่นที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นจะเห็นว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมาตรา 31(1) และบทลงโทษบุคคลที่กระทำตวามผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมาตรา 33 ได้ปรากฎที่ประมวลกฎหมายพิจารณาความเพ่ง เท่ากับว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมีความพิเศษ เพราะถูกบัญญัติที่กฎหมายแพ่งที่ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ทางทรัพย์สิน แต่ไม่ถูกบัญญัติที่กฎหมายอาญาที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับข้อห้ามและบทลงโทษของประชาชน สำหรับ บทสรุป ครั้งหนึ่งในชีวิตของ "สหรัถ" ทนายความด้านสิทธิแรงงานที่ครั้งหนึ่งต้องเป็นจำเลยและติดคุกจากการแสดงความไม่พอใจต่อศาล ต้องรับโทษในเรือนจำเป็นเวลา 3 เดือนในฐานของคดีละเมิดอำนาจศาลซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้ว เหลือเพียงแต่คดีความผิดฐานดูหมิ่นศาลที่ยังรอคำพิพากษาจากศาลอุทธรณ์อยู่ ด้านทนายความของ "สหรัถ" ก็มองว่า ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีจิตใจที่จะช่วยจำเลยแล้ว เนื่องจากว่าเป็นคดีหมิ่นประมาทศาล โอกาสที่จะต่อสู้แล้วชนะคดีมีน้อยและรูปพยานแวดล้อมฝ่ายโจทก์มีน้ำหนักมาก ในส่วนของคดีดูหมิ่นศาลของ "สหรัถ" จึงยังต้องรอลุ้นต่อไปว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีอย่างไร เนื่องจากว่า ปากกาอยู่ที่มือศาลหรือผู้พิพากษา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาชนโวย-หลังแคว้นแคชเมียร์ปิดโซเชียลมีเดีย 22 แห่ง Posted: 03 May 2017 10:20 AM PDT แคว้นแคชเมียร์ในอินเดียมีเหตุ ที่มาของภาพประกอบ: Global Voices 3 พ.ค. 2560 กลายเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิ ทางการของแคชเมียร์เปิดเผยอีกว่ ในการสั่งปิดโซเชียลมีเดียในครั้ ในช่วงไม่กี่วันหลังจากนั้ อังชุกันทา จักราบดี นักเขียนอี-แมกกาซีนระบุว่าการปิ โซเชียลมีเดียที่ถูกปิ การบล็อกเว็บในครั้งนี้ยังถื เรียบเรียงจาก Indian Government Bans 22 Social Media Platforms in Kashmir including Facebook, WhatsApp, Global Voices, 28-04-2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พบตัวทนายประเวศ และผู้ต้องหาอีก 5 ราย หลังทหารให้ตำรวจรับตัวไปฝากขังข้อหา 112 Posted: 03 May 2017 08:01 AM PDT ศาลสั่งฝากขังทนายประเวศ หลังถูกควบคุมตัวเมื่อ 4 วันก่อน ถูกแจ้งข้อกล่าวหาโพสต์หมิ่นกษัตริย์ ทั้งนี้มีผู้ต้องหาอีก 5 รายโดนข้อกล่าวหาเดียวกัน แต่ทนายประเวศ กับผู้ต้องหาอีก 1 ราย โดนข้อหายุยงปลุกปั่นด้วย 3 พ.ค. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก อนุญาตฝากขังทนายความประเวศ ประภานุกูล, ดนัย (สงวนนามสกุล) และผู้ต้องหาอีก 4 ราย ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยประเวศ และดนัยมีข้อหายุยงปลุกปั่นด้วย เวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ควบคุมตัวทนายความประเวศ ประภานุกูล, ดนัย (สงวนนามสกุล) และผู้ต้องหาอีก 4 ราย รวมเป็น 6 ราย มาขออนุญาตศาลอาญาฝากขังผู้ต้องหา ระหว่างการสอบสวนในชั้นตำรวจ โดยบันทึกจับกุมระบุว่า 10.00 น. วันที่ 3 พ.ค. 2560 เจ้าหน้าที่ทหาร มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) เป็นผู้ประสานให้มารับตัวผู้ต้องหา พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชร หนูทอง พนักงานสอบสวน ปอท. เป็นผู้มายื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย โดยขอฝากขังประเวศในข้อหา หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) พฤติการณ์ตามคำร้องขอฝากขังระบุว่า ผู้ใช้งานบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ ประเวศ ประภานุกูล โพสต์ข้อความที่มีเนื้อหายุยงปลุกปั่นจำนวน 3 ข้อความ และโพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ 10 ข้อความ แต่ประเวศให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ด้านดนัย ถูกฝากขังในข้อหา หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้บรรยายพฤติการณ์ในคำร้องฝากขัง ระบุแต่เพียงว่าตรวจสอบแล้วว่าดนัยเป็นบุคคลเดียวกับผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ศาลอาญาพิจารณาออกหมายจับ ลงวันที่ 28 เม.ย. 2560 ดนัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ส่วนผู้ต้องอีก 4 ราย ถูกฝากขังในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์โพสต์เฟซบุ๊ก Somsak Jeamteerasakul ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหมุดคณะราษฎร โดย 3 ใน 4 รายให้การรับสารภาพ ส่วนอีกรายปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ระหว่างวันที่ 3 – 14 พ.ค. 2560 ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 รายเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่า ผู้ต้องหาทั้ง 6 คนอาจถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารที่ มทบ.11 ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย. 2560 โดยก่อนหน้านี้ไม่มีการเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวทั้ง 6 คน ญาติและทนายความไม่สามารถติดต่อผู้ต้องหาได้ตลอดระยะเวลา 5 วันที่ผ่านมา ทำให้ไม่ทราบชะตากรรมของผู้ถูกควบคุมตัว การสอบสวนอาจเกิดขึ้นภายในค่ายทหาร ซึ่งพนักงานสอบสวนอาจจะไม่สามารถสอบสวนและผู้ต้องหาอาจจะไม่สามารถให้การได้โดยอิสระ ทนายความไม่สามารถเข้าร่วมระหว่างการสอบสวนได้ รวมถึงศาลอาญาได้อนุญาตฝากขังดนัยโดยไม่ทราบพฤติการณ์การกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา เนื่องจากคำร้องขอฝากขังไม่ได้บรรยายพฤติการณ์ไว้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วิษณุ ชี้ 'หลักนิติธรรม' เป็นอาวุธสำคัญ สร้างความปรองดอง-ปราบโกง Posted: 03 May 2017 07:19 AM PDT วิษณุ เครืองาม ปาฐกถา 'หลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่' ระบุ อาวุธชนิดหนึ่งที่ใช้ปราบโกง สร้างความปรองดอง และจัดระเบียบประเทศ คือ 'หลักนิติธรรม' แฟ้มภาพ 3 พ.ค.2560 สื่อหลายสำนักรายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "หลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่" เนื่องในวาระศาลรัฐธรรมนูญครบรอบ 19 ปี ตอนหนึ่งว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอายุ 19 ปี กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 20 ถือว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องเรียนรู้อะไรอีกหลายเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของผู้มีปัญญา ที่ต้องเรียนรู้ และรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างอดทนอดกลั้น โดยที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ถูกกล่าวถึงว่า เป็นหน่วยงานที่สงบเงียบ ด้วยความอดทนอดกลั้น วิษณุ กล่าวถึง หลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า หลักนิติธรรมได้ปรากฎมาก่อนหน้านี้ และรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่ได้แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ หากจะมีก็คงเป็นเรื่องความเข้มข้น ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญบอกเสมอว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ยาแรง เพื่อปราบโกง ดังนั้น อาวุธชนิดหนึ่งที่ใช้ปราบโกง คือ หลักนิติธรรม ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้เพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้น "หลักนิติธรรมนี้เอง ถือเป็นอาวุธสำคัญ ที่เป็นรากแก้วของการสร้างความปรองดอง และจัดระเบียบประเทศ ที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสามัคคีปรองดอง เดินต่อไปข้างหน้า และตอนนี้ประเทศกำลังเดินทางสู่ 3 หลัก คือ การปฏิรูป การเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ และ การสร้างความสามัคคีปรองดอง" วิษณุ กล่าว วิษณุ กล่าวว่า คำว่า "หลักนิติธรรม" นั้น ปรากฎใน รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 อยู่ 2 แห่ง คือ ในมาตรา 3 วรรค 2 ที่บัญญัติไว้ว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ต้องปฏิบัติตามกฏหมายและหลักนิติธรรม และในมาตรา 26 บัญญัติไว้ว่า กฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพ ต้องถูกต้องตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ส่วนในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุ ต้องตรากฎหมายตามหลักนิติธรรม ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ตามหลักนิติบริหารยุติธรรม วิษณุ กล่าวว่า ขณะที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มี 3 สถานการณ์ ที่สามารถใช้หลักนิติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย คือ 1. สถานการณ์ ที่ในกฎหมายระบุถึงหลักนิติธรรม ตรงๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้กับทุกเรื่อง 2. สถานการณ์ที่รัฐธรรมนูญในหลายมาตราระบุถึงคำว่า ธรรมาภิบาล หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ 3 สถานการณ์ที่รัฐธรรมนูญระบุถึงคำว่า เที่ยงธรรม ยุติธรรม แต่ต้องอาศัยการตีความตามบริบทของกฎหมาย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับ คำว่า "หลักนิติธรรม" นั้น วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยกล่าวถึงตั้งแต่ 16 พ.ย. 2552 ในฐานะองค์ปาฐก ในเรื่อง "นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม" ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า จริงๆ แล้วในรัฐธรรมนูญของเรามีการพูดถึงการปกครองโดย "หลักนิติธรรม" คำนี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2550 มีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่านิติธรรมคืออะไร และแตกต่างจากนิติรัฐอย่างไร นิติธรรมพัฒนามาในยุโรปเหมือนกัน แต่ในเกาะอังกฤษไม่ใช่ภาคพื้นทวีป ความสำคัญของนิติธรรมในอังกฤษอยู่ตรงที่การปฏิบัติตามกฎหมายของฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการที่ผูกพันตนเองอยู่กับการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าถามต่อไปว่าแล้วองค์กรนิติบัญญัติผูกพันอยู่กับอะไร คำตอบก็คือไม่มี เนื่องจากอังกฤษประสบความสำเร็จเร็วกว่าที่อื่นในการจำกัดอำนาจพระมหา กษัตริย์ ศูนย์กลางแห่งอำนาจได้เคลื่อนย้ายจากพระมหากษัตริย์ไปสู่รัฐสภา โดยเหตุนี้เขาจึงถือหลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา สภาอังกฤษจึงสามารถตรากฎหมายอย่างไรก็ได้ทั้งสิ้น ไม่เหมือนรัฐที่ยอมรับการเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ กระนั้น เราก็พบว่าในอังกฤษแทบจะไม่ปรากฏว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะตรากฎหมายล่วงละเมิด สิทธิเสรีภาพของราษฎร อาจเพราะคนอังกฤษมีจิตสำนึกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอยู่มาก เป็นจิตวิญญาณประชาชาติของเขา ในทางระบบจึงไม่เกิดปัญหาอะไร ในขณะที่ในภาคพื้นยุโรปเรียก ร้องต่อไปอีกว่า การตรากฎหมายของรัฐสภานั้นต้องผูกพันอยู่กับคุณค่าพื้นฐานในทางรัฐธรรมนูญ อีกด้วย หมายความว่า สภาจะตรากฎหมายต้องผูกพันสิทธิขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ นี่เป็นความแตกต่างที่สำคัญของ หลักนิติรัฐที่ปรากฏในภาคพื้นยุโรป และหลักนิติธรรมที่พัฒนามาในอังกฤษ ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์กับระบบในบ้านเราแล้ว อาจกล่าวได้ว่า คำว่านิติธรรมในรัฐธรรมนูญ ถ้ามุ่งหมายแบบที่ใช้อังกฤษอาจไม่สอดรับกับระบบเท่าใดนัก เนื่องจากอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่มีการประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญแบบในบ้านเรานั่นเอง เมื่อเราทราบแล้วว่า นิติรัฐ มีลักษณะเช่นนี้ ในทางรูปแบบก็เรียกร้องความชอบด้วยกฎหมาย ความผูกพันทางกฎหมายขององค์กรของรัฐ ในทางเนื้อหาก็เรียกร้องการประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร ประเด็นก็คือ นิติรัฐสัมพันธ์กับความยุติธรรมอย่างไร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มหา'ลัยกับการสร้างพลเมือง บทที่ 2 : ความต้องการของโลก-ตลาด ที่เด็ก มหา’ลัยไทยไม่ตอบโจทย์ Posted: 03 May 2017 06:07 AM PDT รายงานสัมมนาถกปัญหาการศึกษาพลเมืองช่วงประชาธิปไตยขาลง เปิดความต้องการภาคธุรกิจ โลกโลกาภิวัฒน์ เผยเด็กไทยยังสอบตกภาษา ความกล้าแสดงออก ภาคธุรกิจขอนายจ้างช่วยสร้างพลเมืองแก้ปัญหาเรื้อรังชาติ กูรูต่างชาติเผยหลักสูตรท่องจำพลเมืองทำอะไรบ้างล้าสมัยแล้ว แนะลงชุมชน มหา'ลัยเป็นหัวหอกวิจารณ์รัฐ เมื่อวันที่ 20-21 เม.ย.ที่ผ่านมา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย และมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท จัดสัมมนาสาธารณะ "บทบาทอุดมศึกษาในยุคประชาธิปไตยถดถอย การสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจและการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม" ที่ห้องประชุม 101 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ประชาไท นำเสนอบทที่ 2 ของซีรีส์มหาวิทยาลัยกับการสร้างพลเมืองด้วยทัศนะของนักธุรกิจ องค์การระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติและตัวแทนผู้จัดทำหลักสูตรการสร้างความเป็นพลเมืองไทย เพื่อขยายความเข้าใจนิยามความเป็นพลเมืองที่แต่ละคนอยากมี อยากได้บนเงื่อนไขด้านการสร้างความเป็นพลเมืองผ่านระบบอุดมศึกษาในปัจจุบันที่ทำให้อุปสงค์ยังคงเป็นฝันค้างยามกลางวัน อ่าน มหา'ลัยกับการสร้างพลเมือง บทที่ 1: เมื่อเราไม่ได้พูดถึง "พลเมือง" คนเดียวกัน นศ.ไทยทักษะแสดงออก ภาษาอังกฤษยังด้อยเรื้อรัง ตลาดแรงงานอยากได้คนดี คนเก่ง นักธุรกิจชื่อดังระบุ นายจ้างก็ต้องร่วมสร้างพลเมืองด้วยในการอภิปรายหัวข้อ "ทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: มืออาชีพและพลเมืองแบบไหนที่เราต้องการ" ร่วมอภิปรายโดยวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ อดิศร เหล่าพิรุฬห์ จากโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) สถานทูตสหรัฐฯ และอัศริน แก้วประดับ จากสมาพันธ์แรงงานรัฐสัมพันธ์ มีอรรถพล อนันตวรสกุล เป็นพิธีกรดำเนินการอภิปราย จากขวาไปซ้าย อรรถพล อนันตวรสกุล อัศริน แก้วประดับ อดิศร เหล่าพิรุฬห์ วิเชียร พงศธร วิเชียร พงศธร ประธานบริษัทพรีเมียร์กรุ๊ป กล่าวว่า ในมุมนักธุรกิจ ตนอยากได้คนดี คนเก่ง คุณค่าสองอย่างควรมาด้วยกันเสมอ และภาคธุรกิจเองก็ต้องให้ความรู้เรื่องทักษะการทำงานต่างๆ ต่อยอดไม่จบสิ้น แต่ตั้งคำถามว่า ในแง่การสร้างคุณค่าความดี จะให้ภาคธุรกิจจะมารับช่วงต่อจากอุดมศึกษา สอนให้คนเป็นคนดีทันไหม ควรมานิยามว่าความดีที่เราอยากได้คืออะไร เช่น สำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณการปฏิบัติหน้าที่ที่ดี "สถาบันการศึกษาต้องปูพื้นมาก่อน ภาคธุรกิจไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคนอายุ ยี่สิบสามสิบกว่าได้ขนาดนั้น รัฐไทยจะปลูกฝังเด็กที่พบเจอเงื่อนไขภาระทางครอบครัว การเงินให้เป็นคนดีได้อย่างไร และโรงเรียน 3 หมื่นกว่าโรงเรียนมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ให้น้ำหนักการสร้างคนดีมากน้อยแค่ไหนในปัจจุบันเพื่อส่งทรัพยากรมนุษย์เข้าระดับอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาก็มีส่วนในการสร้างคนไปพัฒนาคนที่จะพัฒนาเด็กด้วยเช่นกัน" วิเชียร กล่าว วิเชียรกล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เรื้อรังในสังคม ไม่ว่าเศรษฐกิจจะโตขึ้น ขนาดของการถ่วงน้ำหนักเชิงเศรษฐกิจอาจจะมากกว่าเดิม จำนวนผู้ด้อยโอกาสเพิ่มขึ้นเยอะ สัดส่วนที่ลดลงเป็นเพราะว่าประชากรเติบโตขึ้น ในภาคธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกก็ด้อยลงเนื่องจากคุณภาพทางการศึกษา ในขณะที่สังคมกำลังเป็นคนชรามากขึ้น ปัญหาจะทวีคูณเพราะคนมีปัญหาทางการเงินชราภาพลงเยอะขึ้นเรื่อยๆ ส่วนคนพิการจำนวนที่มีศักยภาพในการทำงานมีประมาณ 7 แสนคน มีงานทำเพียงครึ่ง ที่เหลือตกงาน จะแก้ปัญหาอย่างไร ระดับทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในอันดับต้นๆของโลก สถาบันต่างๆทำสำรวจ วิจัยออกมามีมหาศาล ไม่ว่าจะเกิดจากระบบสินบนหรือความไม่โปร่งใสต่างๆ จึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการด้วยเช่นกันที่จะสร้างมาตรฐานการจ้างงานและลงทุนบนเงื่อนไขธรรมาภิบาลที่ดี "ชั่วชีวิตเรียนรู้มาแล้วว่าการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ในสังคมต้องการพลเมืองที่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ มีส่วนได้ส่วนเสียกับสังคม อยากให้ได้พลเมืองที่รับผิดชอบและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ใช่เพียงแค่ตัวผู้นำ รัฐ หรือภาคประชาสังคมเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการเองก็สามารถสร้างพลเมืองได้ด้วยการวางเงื่อนไขธรรมาภิบาลทั้งด้านมาตรฐานการจ้างงานและการลงทุน" อดิศร เหล่าพิรุฬห์ จากโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) และสถานทูตสหรัฐฯ กล่าวถึงตัวโครงการว่า เป็นโครงการตั้งโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมพลเมือง สิ่งแวดล้อม การศึกษา การใช้ธุรกิจพัฒนาสังคม โดยคัดเยาวชนและประชาชนอายุ 18-25 ปีทั่วอาเซียน ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรนักศึกษาที่เข้ามาสมัครนั้น เมื่อดูจากเวลาคัดเลือก ภาษาอังกฤษยังเป็นสิ่งที่เยาวชนไทยต้องพัฒนาต่อไปอีกมาก สอง การพูด การนำเสนอ ส่วนใหญ่ค่อนข้างทำได้ดี แต่ว่าเวลาการแสดงความเห็นจริงในกิจกรรมต่างๆมักไม่ค่อยแสดงออก ในขณะที่เยาวชนจากเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์กล้าแสดงออกมาก จึงสงสัยว่าเกิดอะไรกับการศึกษาของไทย ตนคิดว่าอาจเป็นเพราะสัดส่วนการสมัครน้อยกว่าประเทศอื่น สาม ความเป็นผู้นำ นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์กิจกรรมช่วงเป็นนักศึกษาของผู้สมัครโคงรงการ สิ่งที่เห็นคือความแตกต่างของนักศึกษาในกรุงเทพฯ กับที่ต่างจังหวัดนั้น ในกรุงเทพฯ มีความกระตือรือร้นมากกว่าชัดเจน แต่การคัดเลือกก็พยายามกระจายโอกาสให้ทั่วถึง อดิศร กล่าวว่า อยากให้นักศึกษามีกิจกรรมนอกห้องเรียนมากยิ่งขึ้น คิดว่าเยาวชนทั้งอาเซียนอายุ 18-25 มีสัดส่วนกว่า 60 เปอร์เซนต์ ถือเป็นสัดส่วนอนาคตของภูมิภาคที่ใหญ่ อยากให้เยาวชนทำกิจกรรม ได้ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆมากขึ้น อัศริน แก้วประดับ ผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานรัฐสัมพันธ์กล่าวว่า ในฐานะคนที่จะจบจากมหาวิทยาลัยไปทำงาน นักศึกษาพึงทราบถึงสิทธิในการชุมนุม สิทธิแรงงานต่างๆที่พึงมี ซึ่งแรงงานในระดับรากหญ้าเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดสิทธิแรงงาน แต่ปัจจุบันไทยยังไม่รับรองกฎบัตรแรงงาน เพราะกลัวแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติจะรวมตัวประท้วงหยุดงาน จะส่งผลต่อความมั่นคง แต่กฎหมายไทยก็ไม่สามารถใช้เสรีภาพแก่แรงงานได้ดีเช่นกัน ผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานกล่าวว่า ตอนนี้กำลังแรงงานมี 40 ล้าน เป็นสหภาพเพียงร้อยละ 1.5 เป็นสัดส่วนการรวมตัวกันต่ำที่สุดเป็นลำดับต้นๆของโลก ข้าราชการ แรงงานข้ามชาติ นอกระบบไม่สามารถรวมตัวได้ บทบาทของสหภาพฯ ลดลงเพราะใช้เสรีภาพไม่ได้ อัศริน กล่าวว่า หลักการขั้นต้นของสหภาพแรงงานคือการสร้างผลประโยชน์จากส่วนรวม ถือว่าเป็นหูตาให้นายจ้างและกลไกรัฐด้วยซ้ำ เพราะผู้ตรวจสอบแรงงานมีเพียง 600 คนจากกระทรวงแรงงาน ไม่พอกับคนทำงาน 40 ล้านคนแน่ จึงมีแต่แรงงานที่จะช่วยเหลือได้ การตรวจสอบคุณภาพ สวัสดิการชีวิตแรงงานทำให้นายจ้างดูแลคนงานดี คนงานทำงานมามีคุณภาพ นายจ้างได้กำไร ต่างคนต่างได้ "เราอาจถูกจ้างวันนี้ และอาจจะถูกเลิกจ้างพรุ่งนี้ก็ได้ ดังนั้นก็จะต้องมีกลไกที่คอยปกป้องน้องๆจากการถูกละเมิด แต่เราคนเดียวไม่สามารถเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขสภาพนั้นๆได้ การรวมตัวกันจะทำให้เราเรียกร้องไปยังฝั่งนายจ้างละรัฐบาลให้รับรู้ถึงความต้องการของเรา" อัศริน กล่าว มุมมองพลเมืองศึกษาจากนานาชาติ: อาเซียนยังตั้งไข่ มหาวิทยาลัยควรเข้าหาชุมชน เป็นประชาธิปไตย ทุกวันนี้นั่งท่องจำหน้าที่พลเมืองล้าสมัย น่าเบื่อในหัวข้อการอภิปราย "มุมมองจากนานาชาติ" มีศรีประภา เพชรมีศรี จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนว่าด้วยการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน (AUN-HRE Convener) เดวิด ซินเจอร์ อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย และโจชัว ฟอร์สเทนเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานสาธารณประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ เป็นวิทยากร และวัชรฤทัย บุญธินันท์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย จากขวาไปซ้าย โจชัว ฟอร์สเทนเซอร์ เดวิด ซินเจอร์ วัชรฤทัย บุญธินันท์ ศรีประภา เพชรมีศรี โจชัว ยกแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ นักการศึกษาชาวอเมริกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการศึกษากับประชาธิปไตยว่า ประชาธิปไตยเป็นมากกว่าการเมือง แต่มันอยู่ในอณูของวิถีชีวิต และกล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ในชุมชนนั้นมักเกิดจากการรวมตัวทางความคิดทั้งองคาพยพในสังคมว่าจะจัดระเบียบสังคมอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์เสนอแนวทางสร้างพลเมืองที่ตื่นตัวในการมีส่วนร่วมสร้างเสริมประชาธิปไตย ดังนี้ - จัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมในเชิงการมีส่วนร่วมในสังคม (Service-based Learning) บนฐานที่พื้นที่ทางการศึกษาต้องมีเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การจัดการศึกษาดังกล่าวควรร่วมมือกับโรงเรียนในชุมชนเพื่อหาวิธีที่จะลงไปตอบสนองความต้องการของชุมชนด้วย การจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมดังกล่าวมุ่งพัฒนาพลเมืองที่มีความปรารถนาดี และไม่ได้เออออห่อหมกไปกับกฎอย่างเดียว - มหาวิทยาลัยควรให้ทุนจัดตั้งสหภาพ/คณะกรรมการนักศึกษา (Student Union) ในหลายกลุ่มกิจกรรม โดยคณะกรรมการต้องมีความเป็นเอกเทศ เป็นประชาธิปไตย จัดเลือกตั้งอย่างเสรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในแนวราบระหว่างนักศึกษาด้วยกัน - มหาวิทยาลัยควรเป็นตัวแทนของนักศึกษา บุคลากร และชุมชนในการรณรงค์และโน้มน้าวรัฐบาลต่อประเด็นสำคัญที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติ เช่น ภาวะโลกร้อน ยุทธศาสตร์ด้านงานอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากร บริการสาธารณสุข - มหาวิทยาลัยไม่ควรยึดติดกับวัฒนธรรมการควบคุมจัดการ (Managerialism) แต่ควรให้สิทธิ์นักศึกษาให้แต่งตั้งผู้แทนนักศึกษาไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกสรรบุคลากรระดับผู้นำของมหาวิทยาลัยและคณะ โดยอาจจะไปได้ไกลถึงการอนุญาตให้มีตัวแทนนักศึกษาอย่างน้อยหนึ่งคนเข้าไปเป็นองค์ประชุมในที่ประชุมการแต่งตั้งหรือการเลื่อนตำแหน่ง - ควรระบุให้มีพื้นที่พูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยในหลักสูตรการศึกษา - ควรใส่การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของปรัชญาความคิดมาอยู่ในหลักสูตร เพราะการศึกษาที่มาของความคิดในหลักปรัชญาและศาสนาต่างๆทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเพลโต คัมภีร์อัลกุรอาน ฯลฯ มีความจำเป็นสำหรับการสร้างพลเมืองในฐานะเข็มทิศช่วยตัดสินใจวิถีพฤติกรรมและความโน้มเอียงทางการเมืองในโลกที่อะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอด ศรีประภากล่าวว่า เสรีภาพสำคัญต่อความสำเร็จในเชิงวิชาการมาก ถ้าไม่มีเสรีภาพก็ไม่สามารถจัดรูปแบบการศึกษาได้ ในกฎบัตรด้านการศึกษาเพื่อการเป็นพลเมืองประชาธิปไตยและการศึกษาสิทธิมนุษยชนของสภายุโรป ขัดแย้งกับผู้เสวนาจาก มศว. ในรอบที่แล้วมากในกรณีการคงไว้ซึ่งอำนาจเดิม กฎบัตรดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อเสริมแรงให้กับสิทธิแห่งมนุษยชนและประชาธิปไตยในสังคม เพื่อให้พลเมืองเป็นตัวหลักในกระบวนการสร้างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมแห่งกฎหมายในสังคม ตัวแทนจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนกล่าวว่า การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงการเรียนระหว่างนักเรียนกับครู แต่หมายรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆในสังคม การจะทำให้เกิดพลเมืองประชาธิปไตยดังว่านั้น ต้องอาศัยหลักธรรมมาภิบาลว่าด้วยความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม ทั้งยังต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตื่นตัว เพื่อเรียนรู้ถึงประเด็นสิทธิจากแง่มุมอื่นของสังคม การศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณค่าหลักของสภายุโรป ได้แก่ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม รวมไปถึงการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น การศึกษาค่อยๆถูกมองให้เป็นเครื่องมือในการลดการก่อความรุนแรง การเหยียดเชื้อชาติ แนวคิดสุดโต่ง การเกลียดกลัวคนต่างเชื้อชาติ การเลือกปฏิบัติและความไม่มีน้ำอดน้ำทน… คัดลอกและแปลจากบทนำของกฎบัตรด้านการศึกษาเพื่อการเป็นพลเมืองประชาธิปไตยและการศึกษาสิทธิมนุษยชนของสภายุโรป (อ่านต้นฉบับ ที่นี่) ศรีประภากล่าวว่า ในที่ประชุมของอาเซียนได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนศึกษาและสันติศึกษา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ เพราะในขณะนี้มหาวิทยาลัยสมาชิกของ AUN ยังไม่ให้ความสำคัญ ไม่อยู่ในนโยบายของมหาวิทยาลัย เดวิด ซินเจอร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ และการศึกษาวิชาพลเมืองคือการมองสังคมผ่านสายตาของคนที่ไม่มีแต้มต่อทางสังคม ไม่ใช่จากมุมมองคนที่ได้เปรียบอยู่แล้ว เดวิดให้ภาพการศึกษาในออสเตรเลียว่า ออสเตรเลียเน้นให้การศึกษาสร้างพลเมืองที่มีส่วนร่วม โดยมุ่งให้เกิดพลเมืองที่ตื่นตัว ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอทั้งในบริบทท้องถิ่น ภูมิภาคและโลก โดยพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิตปัจจุบันและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ทุกวันนี้ การศึกษาหน้าที่พลเมืองแบบดั้งเดิม ที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างระบบการเมืองและประชาธิปไตยในหนังสือไม่ใช่คำตอบ เพราะเป็นการผลิตซ้ำชุดความคิดเชิงอำนาจนิยม ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าตัวเองเชื่อมโยงกับเนื้อหา ไม่มีความจำเป็น ทำให้ผู้เรียนเบื่อ อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์กล่าวว่า ลักษณะพลเมืองที่จำแนกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ - พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Citizen) คือพลเมืองที่ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความรับผิดชอบ - พลเมืองที่มีส่วนร่วม (Participatory Citizen) คือพลเมืองที่มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสังคม - พลเมืองที่ใฝ่หาความยุติธรรม (Justice Oriented Citizen) คือพลเมืองที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างแห่งความอยุติธรรมและบทบาทของมันในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เดวิดกล่าวว่า ในยุคสมัยนี้ พลเมืองสองประเภทแรกไม่เพียงพอในสังคม การศึกษาควรทำให้เกิดพลเมืองประเภทที่สามด้วย ผู้แทนยูเนสโกชี้ ความเป็นพลเมืองโลกสำคัญในยุคโลกาภิวัฒน์ ผู้แทน สกอ. ระบุโครงสร้างหลักสูตรสอดคล้องแผนปรองดองชาติในหัวข้อ "อุดมศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นพลเมือง" มีจุน โมโรฮาชิ ผู้แทนจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และวัชรฤทัย บุญธินันท์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นวิทยากร และอรรถพล อนันตวรสกุล เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย จากขวาไปซ้าย อรรถพล อนันตวรสกุล จุน โมโรฮาชิ ชฎารัตน์ สิงหเดชากุล วัชรฤทัย บุญธินันท์ จุน กล่าวว่า โลกทุกวันนี้อยู่บนเงื่อนไขของการพึ่งพาและเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ทำให้แนวคิดการศึกษาเองก็เปลี่ยนตาม ทุกวันนี้มีการเน้นวิธีการสื่อสาร ทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังมีการกล่าวถึงสันติภาพ สิทธิ ความเท่าเทียม ความหลากหลายและความยั่งยืนบ่อยขึ้น ผู้แทนจากยูเนสโก กล่าวว่า ทุกวันนี้โลกมีข้อท้าทายจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ข้ามเขตแดนรัฐ และสังคมพหุวัฒนธรรมจากพื้นที่เสมือนจริงหรือโซเชียลเนตเวิร์ค จึงมีการพูดถึงการเป็นพลเมืองของโลก (Global Citizenship) ที่หมายถึงการเป็นคนที่เคารพมนุษย์ผู้อื่น คำนึงถึงสิทธิ ประชาธิปไตย ความเท่าเทียม สันติและความหลากหลาย รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ที่สำคัญคือตระหนักถึงชนรุ่นหลังและคนที่อยู่ไกลออกไปทั่วโลก การพัฒนาอุดมศึกษาอย่างยั่งยืน ต้องประกอบด้วยการให้คนทุกคนเข้าถึงทรัพยากรความรู้ทางเทคนิคและวิชาชีพ ถ้าอยู่ในสังคมที่มีกำลังสนับสนุนทุนการศึกษาได้ก็ต้องมีทุนการศึกษาให้ ทั้งนี้ จุน ยังให้ภาพตัวอย่างการศึกษาในญี่ปุ่น ที่หลักสูตรในบางมหาวิทยาลัยที่อาจารย์เป็นตัวกลางให้นักเรียนถกเถียง เลือกประเด็นปัญหา ทำแค่เป็นตัวกลางในการพูดคุย ติดต่อกับภาครัฐ หาทุน เด็กเป็นคนวางแผน ลงพื้นที่ คิดแผนการพัฒนา แก้ไขปัญหา และในฝรั่งเศสมีโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่อุตสาหกรรม มีความตึงเครียดในสังคมมากเนื่องจากผู้อยู่อาศัยมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง ครูใหญ่จึงให้นักเรียนคิดโจทย์ว่าจะแก้ไขปัญหาสังคมอย่างไร เด็กคิดว่าควรให้ผู้ปกครองมามีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการมีค่านิยมการยอมรับความหลากหลาย เคารพซึ่งกันและกันและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้แทนจากสำนักงานการอุดมศึกษา กล่าวว่า หลักสูตรหน้าที่พลเมืองมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ตัวนักศึกษาเข้าใจว่าจะใช้สิทธิและตระหนักถึงความรับผิดชอบในสังคมได้อย่างไร จะนำไปสู่สภาวะสังคมเสรีผ่านตัวพลเมืองที่ผ่านการศึกษามาแล้ว โดยการศึกษาต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการออกนโยบาย กฎหมายของภาครัฐ ทั้งนี้ การศึกษาควรประกอบไปด้วยการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฝึกฝนด้านการสื่อสาร การเก็บข้อมูลรวมถึงการฝึกคิดในเชิงการเมือง ผู้แทนจาก สกอ. กล่าวว่า วิชาหน้าที่พลเมืองนั้นมีความจำเป็น เพราะสังคมทุกวันนี้มีประชาธิปไตยแค่ในห้องเรียนและคูหาเลือกตั้ง การศึกษาในแผนพัฒนาปี 2553-2561 มุ่งเน้นให้การศึกษาหน้าที่พลเมืองในหลายด้าน ทั้งยังมีการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา โดยยุทธศาสตร์ปรองดองชาติ มีแผนระยะสั้นระยะยาว มีหนึ่งโครงการโดย สกอ. ให้สร้างพลเมืองดี คือต้องให้นักศึกษาปรองดองต่อความเห็นที่ต่างกัน มีการทำกิจกรรมขึ้นมา มีการอบรมเทคนิคการสอนให้ครู กระตุ้นนักศึกษาให้มีการคิด ตัดสินใจ นำโครงการไปใช้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สั่งลบโลโก้ 'แอปเปิ้ล กูเกิ้ล เฟซบุ๊ก' บน 'ครุฑยืน' ประดับพระเมรุมาศแล้ว Posted: 03 May 2017 05:28 AM PDT อธิบดีกรมศิลปากร สั่งถอดสัญลักษณ์โลโก้แบรนด์สินค้า 'แอปเปิ้ล กูเกิ้ล เฟซบุ๊ก' บน 'ครุฑยืน' ที่ประดับพระเมรุมาศออกแล้ว ชี้ยังอยู่ในขั้นตอนการปั้น -ไม่สอดคล้องกับคติความเชื่อ ด้านสำนักช่างสิบหมู่ ระบุ เพื่อสื่อถึงความทันสมัย และความเป็นสากล 3 พ.ค. 2560 จากรณีมีรายงานถึงการใส่โลโก้ Apple Facebook และ Google ลงบนรูปปั้นครุฑยืนประดับพระเมรุมาศไปเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด Facebook Fanpage "ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ได้เผยภาพครุฑยืนดังกล่าวให้ประชาชน ส่งผลให้เกิดกระวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม ต่อมา Blognone รายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าวได้ลบโพสต์ออก ซึ่งสามารถดู Cached ของโพสต์ได้ที่นี่ ไทยพีบีเอส พิทักษ์ เฉลิมเล่า สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ระบุว่าเป็นประติมากรรมร่วมสมัย และประติมากร ได้ถ่ายทอดแนวคิดใส่โลโก้ แอปเปิ้ล กูเกิ้ล และเฟซบุ๊กไว้ เพื่อสื่อถึงความทันสมัย และความเป็นสากล เป็นภาพครุฑยืน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปั้นที่สำนักช่างสิบหมู่ จังหวัดนครปฐม ก่อเกียรติ ทองผุด ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ กรมศิลปากร บอกว่า ขณะนี้ อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้หารือด่วนและสั่งการให้ปรับแก้ไข ออกไปหมดแล้ว เพราะไม่ครอบคลุมและไม่สอดคล้องกับคติความเชื่อ ในการจัดสร้างพระเมรุมาศ อีกทั้งยังเป็นภาพลบเรื่องการโฆษณาไม่ถูกต้องที่จะนำมาใช้ก่อนหน้านี้ได้ มีการท้วงติงกันและภาพที่ออกมาในโซเชียลมีเดีย ยังทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์มากมาย จึงสั่งให้ประติมากรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ให้เป็นงานประติมากรรมครุฑประกอบพระเมรุมาศ ตามแบบโบราณราชประเพณี ถวายพระเกียรติสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อมาในช่วงบ่าย กรมศิลปากร ได้ทำหนังสือชี้แจงเผยแพร่มายังสื่อมวลชนอีกครั้ง โดยกรมศิลปากรชี้แจงว่า ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีการจัดทำประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ "ครุฑยืน" ประดับพระเมรุมาศ โดยประติมากรได้นำตราสัญลักษณ์ของสื่อสังคมออนไลน์มาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อความหมายถึงยุคสมัยในสังคมไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการปั้นเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้ปรับแก้ไขออกแล้ว เพราะไม่สอดคล้องกับคติความเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระเมรุมาศ สำหรับการจัดสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศนั้น จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตั้งแต่ การออกแบบลายเส้น การปั้นต้นแบบ ขยายแบบเท่าจริงและใส่รายละเอียด ซึ่งก่อนจะจัดทำพิมพ์และหล่อชิ้นงาน ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมศิลปากรก่อน กรณีที่เกิดขึ้น เป็นการดำเนินการตามแนวคิดของประติมากร ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากอธิบดีกรมศิลปากร อย่างไรก็ตาม ได้ทำการปรับแก้ไขเพื่อความถูกต้องเหมาะสม ให้งานประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ เป็นไปตามแบบโบราณราชประเพณีถวายพระเกียรติสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
70 ปี รัฐธรรมนูญสมัยใหม่ญี่ปุ่น รัฐบาล 'อาเบะ' จะพยายามแก้ไขเพิ่มอำนาจกองทัพหรือไม่ Posted: 03 May 2017 05:21 AM PDT 70 ปี รัฐธรรมนูญฉบับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น ท่ามกลางภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจทางการทหารหรือไม่ ในขณะที่ประชาชนญี่ปุ่นจำนวนมากยังมอง รธน. ฉบับนี้ในแง่บวกว่าช่วยวางรากฐานเสรีประชาธิปไตยและให้อำนาจประชาชน ชินโซ อาเบะ 3 พ.ค. 2560 ในช่วงที่กำลังมีความตึงเครียดในแถบเอเชียตะวันออก ขณะที่วันนี้เป็นวันครบรอบ 70 ปี รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าวันสำคัญในช่วงโลกสำคัญที่โลกจับตามองเนื่องจากว่ามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ชินโซ อาเบะ ที่ดูจะเป็นการหนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและเอื้อต่อการที่ญี่ปุ่นจะสามารถเน้นใช้กำลังทหารมากขึ้นจากที่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทของกองทัพญี่ปุ่นถูกจำกัดลง โดยที่บทบรรณาธิการของอีสต์เอเชียฟอรัมก็ระบุว่าการพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของอาเบะมีแรงจูงใจจากอุดมคติของตนเองแต่ยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ทางการเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในญี่ปุ่นปัจจุบันส่วนมากยังต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าจะมัวแต่ยุ่งกับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีมาตั้งแต่ปี 2490 นั้น ถูกร่างขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ ในช่วงที่ญี่ปุ่นยังอยู่ภายใต้การยึดครองโดยสหรัฐฯ ถึงแม้ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ชวนให้เกิดข้อถกเถียง แต่ชาวญี่ปุ่นในกระแสหลักต่างก็ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และชื่นชอบแนวคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมที่ระบุในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการเคารพในอธิปไตยของประชาชน เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเรื่องการหลีกเลี่ยงสงคราม อีสต์เอเชียฟอรัมระบุว่ารัฐธรรมนูญเก่าในยุคเมจิช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นให้อำนาจจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น รวมถึงพยายามกดให้ประชาชนอยู่ภายใต้แนวคิดเรื่องระเบียบและหน้าที่ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงการเมืองญี่ปุ่นจนนำมาซึ่งหายนะ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2490 ของญี่ปุ่นเน้นให้อำนาจอธิปไตยประชาชนมากกว่า เช่นเรื่องการให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายโดยห้ามการเหยียด-กีดกันทางเชื้อชาติ ความเชื่อ เพศ สถานะทางสังคม หรือพื้นเพทางครอบครัว ในแง่ของกองทัพรัฐธรรมนูญปี 2490 ของญี่ปุ่นมีมาตรา 9 ที่สั่งห้ามไม่ให้ญี่ปุ่นใช้กำลังในการจัดการกับความขัดแย้งระดับนานาชาติ ขบวนการฝ่ายขวาในพรรคแอลดีพีของอาเบะมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเป็นเวลานานตั้งแต่รุ่นตาของอาเบะแล้วโดยถึงขั้นบอกให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเป้าหมายของพรรคแอลดีพีโดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2490 "ทำให้ประเทศอ่อนแอ" หลังจากที่ โนบุสุเกะ คิชิ ตาของอาเบะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2500 เขาก็ตั้งคณะกรรมการศึกษารัฐธรรมนูญแต่สามปีหลังจากนั้นเขาก็ถูกบีบให้ลาออกก่อนที่จะทำอะไรได้ หลังจากนั้นมาพรรคแอลดีพีก็หันมาเน้นเรื่องการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแทนขณะที่พักเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญไว้เพราะกลัวเสียงจากประชาชน จนกระทั่งสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 2534 ก็มีเสียงตั้งคำถามต่อมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นปรากฏขึ้นอีกครั้งเนื่องจากมาตรานี้ทำให้ญี่ปุ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งไม่ได้มาก มาถึงในปี 2550 อาเบะก็เริ่มออกกฎหมายกระบวนการที่จะเอื้อให้เกิดการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ในปี 2559 การเลือกตั้งสภาบนของญี่ปุ่นก็ทำให้กลุ่ม ส.ส. จากพรรคที่หนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามามีเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสภาทั้งสภาบนและสภาล่าง ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีโอกาสที่ะจผลักดันให้เกิดการทำประชามติในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ยูกิ ทัตสึมิ ผู้อำนวยการโครงการญี่ปุ่นที่ศูนย์สติมสันในสหรัฐฯ ระบุว่าถึงแม้มาตรา 9 จะสร้างข้อจำกัดในการปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นแต่ชาวญี่ปุ่นส่วนหนึ่งมองว่ามาตรา 9 ในรัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์แทนเจตจำนงช่วงหลังสงครามโลกว่าญี่ปุ่นจะไม่เดินทางผิดพลาดไปสู่แนวทางทหารนิยมแบบเดียวกับช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อีก การพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้อาจจะถูกมองว่าเป็นการทำให้ญี่ปุ่นก้าวถอยหลัง อย่างไรก็ตามอีสต์เอเชียฟอรัมยก 3 สาเหตุว่าการพยายามจะแก้ไขดังกล่าวก็อาจจะไม่สามารถทำได้ง่ายๆ ในช่วงนี้ สาเหตุแรกคือทัตสึมิบอกว่า อาเบะได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงไปแล้วในปี 2558 ทำให้รัฐบาลเสียความชอบธรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปชั่วคราว สาเหตุที่ 2 เกี่ยวข้องกับความพยายามรักษาสัมพันธ์กับพรรคโคเมอิโตะซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรกับแอลดีพี พรรคโคเมอิโตะมีฐานเสียงเป็นกลุ่มพุทธศาสนาแนวสันติชื่อ "สมาคมสร้างคุณค่า" หรือ "โซกะ กักไก" (Soga Gakkai) ซึ่งฐานเสียงกลุ่มนี้จะไม่พอใจแน่ถ้าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 9 เพราะขัดหลักสันติภาพของพวกเขา สาเหตุที่ 3 คือความที่ผู้คนไม่เชื่อใจในตัวอาเบะจากการที่รัฐบาลของเขาถูกมองว่ามีส่วนพัวพันกับกลุ่มฝ่ายขวาอย่างนิปปง ไคกิ จากที่เมื่อไม่นานมานี้เคยมีกรณีเรื่องอื้อฉาวโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งที่สอนชาตินิยมแบบสุดโต่งให้กับเด็ก ถึงแม้จะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่โทชิยะ ทากาฮาชิ ผู้ช่วยศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโชอิน เปิดเผยในบทความเขาว่ารัฐบาลอาเบะก็กำลังพยายามเปิดอภิปรายในเรื่องอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อเสรีภาพพลเมืองญี่ปุ่นเช่นกัน เช่น การปรับแก้เงื่อนไขการยุบสภา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น และการระงับการใช้รัฐธรรมนูญในสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศ ซึ่งหมายความว่าในช่วงวิกฤตก็อาจจะมีการสั่งระงับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรืออนุญาตให้รัฐดำเนินการครอบครองทรัพย์สินเอกชนได้ ทากาฮาชิมองการถกเถียงเหล่านี้มีลักษณะที่พรรคแอลดีพีพายามเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลตัวเองซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่นจะต่อต้านในเรื่องนี้ ทากาอาชิ ยังวิจารณ์รัฐบาลเอาไว้ในบทความของเขาอีกว่า "ในระบอบเสรีประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญควรคุ้มครองเสรีภาพพลเมืองก่อน ไม่ใช่เน้นเรื่องอำนาจของรัฐ กลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองในญี่ปุ่นคงจะกำลังสูญเสียวิสัยทัศน์ถึงสิ่งที่เป็นตัวตนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญตัวเองไป" ในเรื่องที่ว่าฝ่ายค้านของญี่ปุ่นจะสามารถคัดง้างอะไรกับรัฐบาลได้หรือไม่ เจอราด เคอร์ติส ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยโคลอมเบียก็ประเมินว่าฝ่ายค้านพรรคดีพีในญี่ปุ่นดูอ่อนแอลงมาก ในตอนนี้พรรคดีพีที่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมสายกลางถูกบีบให้ต้องไปร่วมกับนักการเมืองที่มีพื้นเพมาจากพรรคสังคมนิยมรวมถึงต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานมากขึ้นด้วย แต่พรรคดีพีก็ตัดสินใจไม่ได้ว่าพวกเขาจะทำตัวเองให้เป็นพรรคก้าวหน้ามากขึ้นหรือทำตัวเป็นอนุรักษ์นิยมสายกลางแบบเดิม ตัวหัวหน้าพรรคเองก็ได้แต่บ่นโดยไม่ได้นำเสนอทางเลือกอะไรใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ รวมถึงไม่มีแนวคิดนโยบายที่ชัดเจนเสนอต่อประชาชน ทำให้ในตอนนี้พรรคแอลดีพีดูเหมือนจะมีอำนาจนำอยู่พรรคเดียวซึ่งไม่ดีต่อระบอบประชาธิปไตย อีสต์เอเชียฟอรัมสรุปในบทบรรณาธิการของพวกเขาว่าการที่พรรคแอลดีพียังมีอำนาจอยู่โดยที่ฝ่ายค้านอ่อนแอเช่นนี้ ทำให้ต้องจับตามองต่อไปว่าพวกเขาจะละทิ้งหลักการกฎหมายพื้นฐานที่มีมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา หรือจะละทิ้งสถาบันแบบเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศในแบบทุกวันนี้หรือไม่
เรียบเรียงจาก Questions about Japan's constitution after 70 years, East Asia Forum, 01-05-2017 http://www.eastasiaforum.org/2017/05/01/questions-about-japans-constitution-after-70-years/ Spotlight on Japan's seventy-year old constitution, Yuki Tatsumi, East Asia Forum, 29-04-2017 http://www.eastasiaforum.org/2017/04/29/spotlight-on-japans-seventy-year-old-constitution/ Japan's constitutional revision debate masks silent state control, Toshiya Takahashi, East Asia Forum, 26-04-2017
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ภาคีต้านทุจริต' ยื่นหนุน ประยุทธ์ ซื้อเรือดำน้ำ โยนพวกต้านส่วนใหญ่เป็น 'เพื่อไทย' Posted: 03 May 2017 04:13 AM PDT ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นฯ ร้องประยุทธ์ หนุนซื้อเรือดำน้ำ ดันกองทัพไทยติด 1 ใน 10 ของโลก ย้ำจำเป็นปกป้องอธิปไตย หวั่นอนาคตมีสงครามโลกครั้งที่ 3 ระบุไม่พบทุจริต ชี้ความมั่นคงบางอย่างต้องเป็นความลับ เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานว่า ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตัวแทนภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) นำโดย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการฯภตช.เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ชาติ (คสช.) เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ มงคงกิตติ์ กล่าวว่า ภตช. ขอสนับสนุนการจัดซื้อเรือดำน้ำของรัฐบาลครั้งนี้ เพราะมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ เนื่องจากอนาคตอาจมีสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ ทั้งนี้ตนจึงมองว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำครั้งนี้ช้าไป เพราะการต่อเรือดำน้ำต้องใช้ระยะเวลาถึง 6 ปี ระหว่างนี้ขอเสนอให้รัฐบาลประสานงานกับประเทศมหาอำนาจ ขอเช่าเรือดำน้ำมาประจำการก่อนอย่างน้อย 3 ลำ เพราะความมั่นคงคือสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้การที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาปากท้องก่อนนั้น ตนมองว่ารัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว และมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนด้วย ขณะเดียวกันก็อยากให้รัฐบาลเร่งรัดปราบปรามคดีทุจริต เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์และนำเงินเหล่านั้นมาจัดสรรในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ เพื่อผลักดันให้กองทัพติด 1 ใน 10 กองทัพโลก เพราะ 10 ปีที่ผ่านมางบประมาณในการจัดซื้ออาวุธของกองทัพมีเพียง 38,000 ล้านบาทซึ่งไม่เพียงพอ ต่อกรณีคำถามว่า ภตช.มีคำแนะนำในการตรวจสอบงบประมาณซื้อเรือดำน้ำครั้งนี้หรือไม่ มงคลกิตติ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการทุจริต คำชี้แจงของกองทัพเรือ ชี้แจงว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งเข้าใจว่าบางอย่างต้องเป็นความลับ และผู้ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตในเรื่องดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพรรคเพื่อไทย ตนจึงอยากแนะนำให้รวบรวมเงินไว้เตรียมจ่ายในคดีทุจริตก่อนหน้านี้จะดีกว่า สำหรับข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ของ ภตช. เผยแพร่ในเพจ มูลนิธิเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ระบุว่า 1. ขอให้รัฐบาลเร่งกำหนดแผนเพิ่มเติมซื้อเรือดำน้ำที่มีประสิทธิภาพในการสู้รบและสอดแนมข้าศึกมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไม่ให้แพ้ประเทศใดในทวีปเอเซีย อีก 3 ลำ และ ขอสนับสนุนการตัดสินใจในการอนุมัติซื้อเรือดำน้ำของรัฐบาลไทยลำแรก ตามแผน 3 ลำ เพื่อครอบคลุมปกป้องพื้นที่ ฝั่งอันดามัน-ฝั่งอ่าวไทย-จนถึงน่านน้ำสากล กินระยะทางกว่า 4,800 – 7,500 กิโลเมตร 2.ขอให้รัฐบาลนำเงินงบประมาณที่เข้มงวดกวดขันลดปัญหาการทุจริตในงบประมาณของรัฐ 20% ทุกโครงการ อีกทั้งเร่งลัดการจัดเก็บภาษีกับบริษัทที่นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ยักใหญ่ที่สำแดงภาษีเท็จ รวมค่าปรับ 3 เท่า รายการเดียวกว่า 1 แสนล้านบาท อีกทั้ง แก้ไข พรบ.รัษฏากร พ.ศ.2481 มาตรา 42(7) ให้จัดเก็บภาษีการศึกษา รวมทั้งหมดจะได้เงินคืนมากว่าปีละ 2 แสนล้านบาท ตามแผน 6 ปี จะได้เงินมาสนับสนุนกว่า 1.2 ล้านล้านบาท เพื่อมาเป็น 1.เงินเพิ่มในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2.เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3.เงินเพิ่มอุดหนุนรายหัวนักเรียน 15 ล้านคน ให้เรียนฟรีจริงโดยไม่เก็บค่าบำรุงการศึกษา 4.เพิ่มเงินจัดซื้ออาวุธเพิ่มศักยภาพกองทัพไทยให้เข้มแข็ง 5.เพื่อเป็นเงินหมุนเวียนในระบบสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาด เล็ก-กลาง 3.ขอเสนอให้รัฐบาลเร่งกำหนดแผนการจัดซื้อ เรือบรรทุกเครื่องบินรบ และ เครื่องบินรบเพิ่มเติม จากประเทศ สหรัฐอเมริกา หรือ รัฐเซีย หรือ จีน จะเป็นมือ 1 หรือ มือ 2 ก็ได้ เพื่อทำให้กองทัพไทยเข้มแข็งติด 1-10 ของกองทัพโลกได้ 4.ขอเสนอให้รัฐบาลเสนอบรรจุงบประมาณปี 2561 จัดซื้ออาวุธ อาทิ โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ) รุ่น บีจีเอ็ม – 109 เอ (TLAM-N) - รุ่นโจมตีภาคพื้นดิน ติดหัวรบนิวเคลียร์ ดับบลิว 80 , อาร์จีเอ็ม/ยูจีเอ็ม - 109บี (TASM) - รุ่นต่อต้านเรือรบผิวน้ำ นำวิถีด้วยเรดาร์,บีจีเอ็ม - 109ซี (TLAM-C) – รุ่นโจมตีภาคพื้นดินหัวรบธรรมดา และ ขีปนาวุธ ระดับพิสัยไกล ข้ามทวีป 5,500 กิโลเมตร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมุดก็หาย เสวนาก็ปลิว ส.ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เผยถูก ตร.ขอให้งดถกปมหมุดคณะราษฎรหาย Posted: 03 May 2017 02:36 AM PDT สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เลิกจัดเสวนา "ปริศนาหมุดคณะราษฎร์หาย" หลังมีจดหมายด่วนที่สุดจากสน.ลุมพินี ขอให้งด หวั่นผู้ไม่หวังดีก่อความวุ่นวาย กก.วัฒนธรรมฯ เผย ก.วัฒนธรรมนัดถกบรรจุเรื่องหมุดฯ ในบอร์ดวัฒนธรรม 3 พ.ค. 2560 บีบีซีไทยและ Voice TV รายงานว่า สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT แจ้งผ่านเฟซบุ๊กว่า ขอแสดงความเสียใจที่ต้องยกเลิกการจัดเสวนาในหัวข้อ "ความทรงจำแห่งอภิวัฒน์ 2475 - ปริศนาหมุดคณะราษฎรหาย" (Memories of 1932 - The Mystery of Thailand's Missing Plague) ซึ่งตามกำหนดการจะจัดขึ้นในวันนี้ (3 พ.ค.60) เวลา 19.00 น. โดยระบุว่า FCCT ได้รับหนังสือจากสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ขอความร่วมมือให้งดกิจกรรมดังกล่าวหลังทางตำรวจได้รับการประสานจาก "ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งเห็นว่างานเสวนาที่ว่านี้อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ บุคคลผู้ไม่หวังดีอาจฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดความวุ่นวาย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการประเมินสถานการณ์เช่นนั้น งานของสมาคมมีการดำเนินรายการอย่างเรียบร้อยเสมอมาและเปิดให้มีการอภิปรายอย่างสร้างสรรค์เยี่ยงอารยชน ประเด็นเสวนานี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เอฟซีซีทีเข้าใจว่าเป็นคำสั่งของคสช. เราไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากปฏิบัติตาม สมาคมฯ ระบุด้วยว่า ยังคงมีกิจกรรมในวันเวลาเดียวกันเนื่องในวันเสรีภาพสื่อโลก โดยเปลี่ยนหัวข้อเสวนาเป็น "สถานการณ์ด้านเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทย" เนื่องจากขณะนี้บรรดาเพื่อนร่วมวิชาชีพชาวไทยกำลังเผชิญกับกฎหมายฉบับใหม่ซึ่งคุกคามต่อบทบาทของสื่อในการตรวจสอบผู้ครองอำนาจ กก.วัฒนธรรมฯ เผย ก.วัฒนธรรมนัดถกบรรจุเรื่องหมุดฯ ในบอร์ดวัฒนธรรมขณะที่วันเดียวกัน สมภาร พรมทา อดีตอาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้โพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กแจ้งว่า วันนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมส่งข่าวมาบอกตนว่าอยากนัดปรึกษาหารือเรื่องการบรรจุเรื่องหมุดคณะราษฎรเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอะไรก้าวหน้าจะแจ้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์เผยรู้สึกเป็นเกียรติ 'ทรัมป์' ต่อสายคุยบอกรู้จักคนไทยพอสมควร เหตุมีเพื่อนเป็นคนไทย Posted: 02 May 2017 11:44 PM PDT พล.อ.ประยุทธ์ เผย รู้สึกเป็นเกียรติ 'ทรัมป์' ต่อสายโทรศัพท์คุย ชมการทำงานของตน ระบุรู้จักคนไทยมากพอสมควร มีเพื่อนเป็นคนไทย ออกปากชวนตนและครอบครัวไปเป็นแขกของทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา รายลานข่าวระบุว่า บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ แถลงตอนหนึ่งถึง การสนทนาทางโทรศัพท์กับ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สนทนากับประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยได้แสดงความยินดีที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ คนที่ 45 พร้อมชื่นชมในความสำเร็จในการบริหารประเทศในช่วง 100 วันที่ผ่านมา และยืนยันต่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า ไทยพร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯในทุกด้านเพื่อทำให้เกิดสันติภาพ ความมั่นคง มั่งคั่ง และเสถียรภาพ มาสู่ภูมิภาคและโลกด้วย ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวขอบคุณถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่มีความเป็นพันธมิตรมายาวนาน 184 ปี และชื่นชมความก้าวหน้าของประเทศไทยภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน และ ยืนยันว่า ไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นในอนาคต พร้อมเชิญนายกรัฐมนตรีไปหารือที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ ด้วย "และได้กล่าวชื่อชมคนไทยว่า รู้จักคนไทยมากพอสมควร มีเพื่อนเป็นคนไทย เพราะฉะนั้นก็อยากส่งความปรารถนาดีมายังคนไทยทุกคนในประเทศไทย และเชิญนายกฯ กับครอบครัว มาเป็นแขกของทำเนียบขาวได้ ตามเวลาที่ประสงค์หรือที่ตรงกัน แล้วก็พร้อมให้การสนับสนุนนายกฯ ไทยทุกๆ เรื่อง หากมีความต้องการให้ช่วยเหลืออะไร ผมก็บอกว่าก็ขอให้ช่วยดูแลรักษาระดับความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงสิ่งที่พูดคุยกับ ทรัมป์ ทางโทรศัพท์ พร้อมทั้งกล่าวด้วยว่าได้เชิญ ทรัมป์ มาไทยด้วย ซึ่งตอบรับและยืนยันจะเข้าร่วมประชุม เอเปค ปีนี้ที่เวียดนาม แฟ้มภาพโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแถลงที่กระทรวงป้องกันมาตุภูมิ เมื่อ 25 มกราคม 2017 (ที่มา: U.S. Department of Homeland Security (DHS)/Wikipedia) พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องการกำหนดบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกเราจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแสดงความคิดเห็น เช่น กรณีวิกฤติการณ์ในเกาหลีเหนือ เราและอาเซียนมีความคิดเห็นร่วมกันว่าเราคงจะต้องให้ประเทศมหาอำนาจพูดคุยหารือกันเพื่อหาหนทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการ เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้นมาจะมีผลกระทบกับทุกประเทศในโลก ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการพูดคุยกับประเทศจีนในระดับผู้นำไปแล้วเราก็คาดหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตาม ในเวทีสหประชาชาติ อาเซียนเราไม่เห็นชอบในการใช้ความรุนแรงหรืออาวุธนิวเคลียร์ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนของเหตุการณ์ในทะเลจีนใต้ก็อยู่ในขั้นตอนการเดินหน้าไปสู่การทำร่างกรอบการทำงานของคณะทำงานเพื่อหารือถึงการจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้(ซีโอซี)ซึ่งเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจีน ฟิลิปปินส์มีการหารือกันอย่างต่อเนื่อง โดยกลางปี 2560 นี้น่าจะจัดทำซีโอซีได้สำเร็จ ระหว่างนี้ได้มีการเสนอร่วมกันไปว่าขอให้ทำตามสัญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในภาคทะเลจีนใต้ (ดีโอซี) ไปก่อนคือการสร้างความร่วมมือ เช่น สิ่งแวดล้อม การรักษาปะการังในทะเล เส้นทางการเดินเรือที่ปลอดภัยโดยเสรี เพราะเราต้องการให้เป็นทะเลแห่งสันติภาพและทะเลแห่งความมั่งคั่ง ทะเลแห่งผลประโยชน์ ซึ่งทุกประเทศให้ความเห็นชอบร่วมกันในจุดที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเรื่องการเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐบาห์เรนและการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 30 ว่า มีความก้าวหน้าในหลายเรื่องทั้งการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว สาธารณสุข การเกษตร รวมถึงช่องทางในการส่งออกอาหารฮาลาลและสินค้าเกษตรแปรรูปไปยังกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ไทยก็มีความร่วมมือกับบาห์เรนในลักษณะThailand+1 ที่จะทำกับบาห์เรนและกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนี้ ทางบาห์เรนในฐานะผู้ประสานงานฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย มีแผนงานที่จะประชุมร่วมกันเร็วนี้ๆ สำหรับความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย ทั้งสองฝ่ายมีหลักการว่าจะประสานความสัมพันธ์ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลมีแผนจะให้รองนายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียในอนาคต
ที่มา : ยูทูบ ทำเนียบ รัฐบาล เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และข่าวสดออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฮิวแมนไรท์วอทช์ ร้อง รบ.ทหาร เปิดเผยที่อยู่และปล่อยตัว ทนายประเวศ Posted: 02 May 2017 10:47 PM PDT ประเวศ ประภานุกูล เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ได้แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยควรเปิดเผยข้อมูลโดยทันทีเกี่ยวกับที่อยู่ของ ประเวศ ประภานุกูล ทนายความสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง และผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ซึ่งหายตัวไปหลังจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้บุกตรวจค้นบ้านของเขาที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2560 โดย ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวในวันนี้ ทางการยังไม่ออกมายอมรับว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวเขา ทำให้เกิดข้อกังวลอย่างร้ายแรงว่าเขาอาจตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหาย "รัฐบาลทหารไทยควรเปิดเผยที่อยู่ของนายประเวศโดยทันที และให้ปล่อยตัวเขาหากไม่มีการตั้งข้อหาตามฐานความผิดที่น่าเชื่อถือ" แบรด อดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว "การควบคุมตัวแบบลับต่อทนายความสิทธิ ผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ และผู้เห็นต่างอื่น ๆ ทำให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัวในประเทศไทย และทำให้เกิดปฏิกิริยาด้านลบจากนานาประเทศ" เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นรัฐบาลทหาร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารจากกองร้อยรักษาความสงบที่ 1 (ร.อ.พัน 1รอ.) และตำรวจจากสถานีตำรวจบางเขน ได้บุกตรวจค้นบ้านของนายประเวศในตอนเช้า จากบันทึกการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ระบุว่า มีการยึดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดรฟ์ โทรศัพท์มือถือ ซีดีซึ่งมีรายการทางการเมือง และเสื้อยืดที่มีข้อความทางการเมืองหลายตัว อย่างไรก็ดี ไม่มีการประกาศแจ้งอย่างเป็นทางการว่ามีการจับกุมหรือควบคุมตัวนายประเวศแต่อย่างใด ประเวศ อายุ 57 ปี เป็นทนายความสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง เขาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายกับสมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ "กลุ่มคนเสื้อแดง" ในคดีที่เป็นผลมาจากการปะทะกันทางการเมืองเมื่อปี 2553 เขายังทำหน้าที่ทนายความให้กับ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ซึ่งต่อมาศาลลงโทษฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นับแต่รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 รัฐบาลทหารได้ควบคุมตัวบุคคลหลายร้อยคน รวมทั้งนักการเมือง นักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว และผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการประท้วงและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลทหาร ผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลพลเรือนของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ถูกโค่นล้มจากอำนาจ รวมทั้งผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าแสดงความเห็นในเชิงที่ไม่เคารพหรือดูหมิ่นต่อสถาบันกษัตริย์ ตรงข้ามกับข้อกล่าวอ้างของรัฐบาลทหารที่ว่าหน่วยงานของทหารยึดมั่นตามขั้นตอนปฏิบัติของกระบวนการอันควรตามกฎหมายในระหว่างการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล ที่ผ่านมาผู้ถูกควบคุมตัวหลายคนให้ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงปฏิบัติอย่างมิชอบต่อพวกเขาระหว่างการจับกุม มีการควบคุมตัวพวกเขาโดยไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอกในค่ายทหาร และมีการสอบปากคำโดยไม่สามารถเข้าถึงทนายความ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 และ 13/2559 หน่วยงานทหารมีอำนาจควบคุมตัวบุคคลแบบลับเป็นเวลาไม่เกินเจ็ดวันโดยไม่มีข้อหา และสามารถสอบปากคำบุคคลโดยไม่สามารถเข้าถึงทนายความหรือไม่มีหลักประกันเพื่อป้องกันการปฏิบัติมิชอบแต่อย่างใด ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารมักบอกปัดข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้ทรมานผู้ถูกควบคุมตัว แต่ก็ไม่สามารถให้หลักฐานใด ๆ เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว ฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้แสดงข้อกังวลอย่างจริงจังเสมอมาเกี่ยวกับการควบคุมตัวแบบลับโดยกองทัพในประเทศไทย เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงที่บุคคลจะถูกบังคับให้สูญหาย ถูกทรมาน และถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อบุคคลถูกควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอกในที่ทำการของทหาร ในจดหมายจากฮิวแมนไรท์วอทช์ถึงรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2558 เราได้แสดงข้อกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับสภาพการควบคุมตัวในมณฑลทหารบกที่ 11 ซึ่งมักเป็นสถานที่ที่ใช้ควบคุมตัวบุคคลที่เห็นต่างทางการเมือง เราเขียนจดหมายดังกล่าวภายหลังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเสียชีวิตของหมอดูอย่างนายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ และพ.ต.ต. ปรากรม วารุณประภาในระหว่างการควบคุมตัวที่นั่น ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การบังคับบุคคลให้สูญหายหมายถึงการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยเจ้าพนักงานของรัฐหรือหน่วยงานที่เป็นตัวแทน และต่อมาได้ปฏิเสธไม่ยอมรับว่ามีการควบคุมตัวดังกล่าว หรือไม่เปิดเผยชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคล การบังคับบุคคลให้สูญหายละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนานัปการที่ได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี รวมทั้งข้อห้ามต่อการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ การทรมานและการปฏิบัติอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย นับแต่ปี 2523 คณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ได้เก็บข้อมูล 82 กรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการคลี่คลายกรณีใดจนแล้วเสร็จเลย ที่ผ่านมาฮิวแมนไรท์วอทช์ได้กระตุ้นรัฐบาลไทยทุกคณะในเรื่องนี้ รวมทั้งเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2560 เราได้มีจดหมายไปถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาต่อต้านการบังคับบุคคลให้สูญหาย (Convention for Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นฐานความผิดอาญาอย่างหนึ่ง ฮิวแมนไรท์วอทช์ แม้ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหารจะให้ความเห็นชอบต่อการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม แต่ทางสนช.ได้ปฏิเสธที่จะพิจารณาร่างกฎหมายที่จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรมเพื่อเอาผิดกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย "คำสัญญาของรัฐบาลทหารไทยที่จะเคารพสิทธิ ที่ให้ไว้กับหน่วยงานสหประชาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ในเวทีระหว่างประเทศ จึงฟังดูว่างเปล่ามากยิ่งขึ้น" อดัมส์ กล่าว "รัฐบาลประเทศที่เกี่ยวข้องควรกดดันพลเอกประยุทธ์ให้ยุติการจับกุมโดยพลการ การควบคุมตัวแบบลับ และการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยให้ปล่อยตัวนายประเวศและบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบทั้งหมด" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น