ประชาไท | Prachatai3.info |
- สปท. เสนอปรับโครงสร้าง กต.ตร. ทั้ง ภูธร และนครบาล
- เป่าเค้ก (Un) Happy Birthday แก่ คสช. - ป้ายเสียดสี 3 ปี รปห.โผล่ ธรรมศาสตร์-เกษตรฯ
- 'แพทยสภา-ส.นักกฎหมายสิทธิฯ-อังคณา-ชมรมแพทย์ชนบท-จตุพร' ประณามเหตุระเบิดรพ.พระมงกุฏฯ
- ย้อนคำพูด ประยุทธ์ ก่อนรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
- เสวนา 3 ปี คสช. (2) ความเสมอภาคทางเพศ-ผลกระทบแรงงาน-ความมั่นคงและกองทัพบก
- มอบรางวัลกวางจูให้ ไผ่ ดาวดิน ก่อนขึ้นศาลทหารคดีชูป้ายต้านรัฐประหารในวันครบรอบ 3 ปี รปห.
- สัมภาษณ์อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล: แค่ดูเนื้อหาก็ผิดกฎหมาย?
- ดีอี เตรียมตั้งศูนย์ Big Data ส่องคีย์เวิร์ดโซเชียลกระทบสถาบันกษัตริย์-ความมั่นคง
- ผบ.ทบ.เชื่อ 3 เหตุระเบิด เป็นกลุ่มเดียวกัน พิสูจน์หลักฐานชี้เป็นไปป์บอมบ์ ใช้ตะปูเข็มเศษเหล็กเป็นส่วนประกอบ
- 'รักษ์เชียงของ' ร่อนจดหมาย ถึง สี จิ้นผิง กังวลปม บ.จีน ปรับร่องน้ำเพื่อการเดินเรือแม่น้ำโขง
- ศรีวราห์ยันเหตุหน้าห้องวงษ์สุวรรณ รพ.พระมงกุฎฯ เป็นระเบิด เนื่องจากพบเศษถ่านไฟฉาย-สายไฟ
- อ่านการเมืองไทย 25 ปีพฤษภาทมิฬถึง 3 ปีรัฐประหาร: จาตุรนต์ ฉายแสง
- เครือข่ายนักวิชาการฯ แถลง '3 ปีที่เสียของ' เปิด 10 ความสูญเสียในยุค คสช.
- วีรชน ชี้ 3 ปี คสช.ผลงานเกินเป้า - ยิ่งลักษณ์ ทวงสัญญา อย่าให้ เป็น 3 ปี ที่ต้องสูญเปล่า
- ไอลอว์เปิดรายงาน 3 ปี คสช. วางฐานอำนาจ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
สปท. เสนอปรับโครงสร้าง กต.ตร. ทั้ง ภูธร และนครบาล Posted: 22 May 2017 12:04 PM PDT สปท.เห็นชอบรายงานการปฏิรูปการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการของตำรวจ ที่เสนอ ยุบ กต.ตร.ภูธร และนครบาล ให้ กต.ตร.จังหวัดประเมินผลสถานีตำรวจภูธร พร้อมตั้ง กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาลประเมินผลทุก สน. ส่งรายงานไปยังรัฐบาลต่อไป
22 พ.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เรื่อง การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการของตำรวจ โดย เข็มชัย ชุติวงศ์ ประธานกรรมาธิการฯ เป็นผู้นำเสนอรายงานว่า การปฏิรูปนี้จะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการตรวจสอบและติดตามการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ รวมถึงสนับสนุนภารกิจของตำรวจ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในด้านการตรวจสอบและติดตามการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนั้น ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) จำนวน 1,559 ชุด และองค์ประกอบ กต.ตร.กำหนดให้มีสัดส่วนตัวแทนประชาชนหรือภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการสรรหา โดยกรรมการ โดยตำแหน่ง จึงเสนอว่า ควรยุบ กต.ตร.ภูธรและนครบาล และให้ กต.ตร.จังหวัด ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามประเมินผลในทุกสถานีตำรวจภูธรแทน และตั้ง กต.ตร.กองบังคับการตำรวจนครบาลเพื่อตรวจสอบและติดตามประเมินผลในสถานีตำรวจนครบาลทุกสถานี และให้มีกต.ตร.ระดับกองบัญชาการ ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามประเมินผลการบริหารงานของตำรวจภูธรจังหวัดและสถานีตำรวจนครบาลในสังกัด เพื่อเปรียบเทียบผลงานในภาคเดียวกัน พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า การกำหนดให้ กต.ตร. เป็นผู้รับแนวทางและนโยบายจากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของ กต.ตร.ที่ให้ตรวจสอบและติดตามประเมินผล รวมถึงการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ กต.ตร.พัฒนาการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ และการบริหารงานตำรวจ ให้คำแนะนำประชาสัมพันธ์งานตำรวจ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ปฏิบัติงานเอง ไม่ใช่ผู้ตรวจสอบ อีกทั้งที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏว่า มีการทำรายงานประเมินผลปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของกต.ตร.คณะใด เสนอมายัง ก.ต.ช.ด้วย พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งภาคเอกชน หรือ อาสาสมัคร ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนภารกิจของตำรวจและการรักษาความปลอดภัยในแต่ละชุมชน ภายใต้นโยบายตาม ก.ต.ช. พร้อมกับสร้างเครือข่ายชุมชนแนวร่วม เพื่อให้อาสาสมัครสามารถแจ้งข่าวสารร้องเรียนผ่านแอพพลิเคชั่น Police i lert u ซึ่งเป็นโครงการทดลองริเริ่ม เพื่อแก้ปัญหาความขัดข้องของระบบแจ้งเหตุ 191 ที่มีผู้โทรมาก่อกวนถึงร้อยละ 80 ต่อวัน อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจของประชาชน ทั้งการเป็นอาสาสมัครตำรวจบ้าน อาสาจราจร สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม จะปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้มีประสิทธิภาพ เช่น อาสาสมัครตำรวจบ้าน ปัจจุบันมีกว่า 164,000 คน แต่ปฏิบัติการในลักษณะลอยตัว ไม่เกิดประโยชน์ จึงจะกำหนดกรอบอัตราความต้องการ เช่น ในสถานีตำรวจขนาดใหญ่ ให้มีอาสามัครได้ไม่เกิน 40 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 30 คน เป็นต้น เพื่อลดจำนวนอาสาสมัคร ซึ่งการกำหนดตามกรอบดังกล่าว อาสาสมัครทั่วประเทศ จะมีรวมทั้งสิ้นประมาณ 55,000 คน ขณะที่ สมาชิกสปท.ส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยกับรายงาน แต่ตั้งข้อสังเกตถึงการปรับโครงสร้าง กต.ตร.โดยเฉพาะตำแหน่งประธาน กต.ตร.แต่ละคณะไม่ควรกำหนด 65-70 ปี และไม่ควรล็อคสเป็กเฉพาะอดีตข้าราชการตำรวจ อีกทั้งการกำหนดใช้งบประมาณส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนภารกิจของตำรวจอาจทำให้เกิดการแทรกแซงได้ จึงควรมีแนวทางป้องกันหรือกำหนดวิธีสร้างความโปร่งใสได้อย่างไร สมาชิก สปท. บางส่วน ก็ยังไม่มั่นใจว่าข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯจะดำเนินได้และเกิดการปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้น ที่ประชุมสปท.มีมติเห็นชอบรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เรื่อง การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกิจการของตำรวจ ด้วยคะแนน 140 ต่อ 3 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง เพื่อส่งรายงานไปยังรัฐบาลต่อไป ที่มา : สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เป่าเค้ก (Un) Happy Birthday แก่ คสช. - ป้ายเสียดสี 3 ปี รปห.โผล่ ธรรมศาสตร์-เกษตรฯ Posted: 22 May 2017 09:47 AM PDT กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย จัดกิจกรรม "(Un) Happy Birthday" แก่ คสช. พร้อมแถลงการณ์ย้ำประชาชนต้องกดดัน คสช. ให้จัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด - การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่ ธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ป้ายเสียดสี 3 ปี คสช. โผล่ 22 พ.ค. 2560 หรือ วันครอบรอบ 3 ปี การการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ที่บริเวณลานลานปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านพระจันทร์ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (Democracy Restoration Group - DRG) จัดกิจกรรม "(Un) Happy Birthday" แก่ คสช. ย้ำต้องกดดัน คสช. ให้จัดการเลือกตั้งให้เร็วท |
'แพทยสภา-ส.นักกฎหมายสิทธิฯ-อังคณา-ชมรมแพทย์ชนบท-จตุพร' ประณามเหตุระเบิดรพ.พระมงกุฏฯ Posted: 22 May 2017 09:34 AM PDT แพทยสภา ชี้สถานพยาบาล เป็นพื้นที่สันติภาพ อันสงวนไว้รักษาผู้เจ็บป่วย ส.นักกฎหมายสิทธิฯ ย้ำใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติ อย่างโปร่งใส อังคณา หดหู่ แม้ในภาวะสงครามยังต้องคุ้มครองสถานพยาบาล จตุพร ย้ำไม่ว่าใครหน้าไหนทำก็ต้องถูกประณาม
22 พ.ค. 2560 จากเหตุระเบิดในช่วงสายวันนี้ (22 พ.ค.60) บริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องรับรองนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุราชการ หน้าห้องวงษ์สุวรรณ ภายใน รพ.พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี กทม. จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย นั้น ล่าสุดมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ ออกแถลงการณ์ประณามผู้ก่อเหตุจำนวนมาก ประกอบด้วย แพทยสภา ชี้สถานพยาบาล เป็นพื้นที่สันติภาพ อันสงวนไว้รักษาผู้เจ็บป่วยแพทยสภา ในฐานะองค์กรวิชาชีพแพทย์ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ขอให้กำลังใจแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกฝ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ และดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ แพทยสภา ขอประณามความรุนแรงทุกชนิด ที่กระทำต่อสถานพยาบาล อันเป็นพื้นที่สันติภาพ อันสงวนไว้รักษาผู้เจ็บป่วย ถือว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมที่วิญญูชน ไม่พึงกระทำ ส.นักกฎหมายสิทธิฯ ย้ำใช้กระบวนการยุติ |
ย้อนคำพูด ประยุทธ์ ก่อนรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้ว Posted: 22 May 2017 09:33 AM PDT ย้อนคำพูดสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนรัฐประหาร ตั้งแต่ ทหารออกมาจะวุ่นวาย - รัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาผิดทาง - กองทัพต้องยึดถือกฎหมายรัฐธรรมนูญ - จุดยืนกองทัพ ไม่เข้าข้างคนทำผิดกฎหมาย - การรัฐประหารทำไปก็ไม่จบ - รัฐประหารเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ จนกระทั่ง จำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจ
22 พ.ค. 2560 เนื่องในวันครบรอบ 3 ปี การทำรัฐประหารของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ภายใต้สโลแกนคืนความสุข และ "เราจะทำตามสัญญา" ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในประวิตัศาสตร์การเมืองช่วงนี้ ทั้งเป็นหัวหน้า คสช. และมาเป็น นายกรัฐมนตรี ควบอีกตำแหน่งในเวลาต่อมา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ในโอกาสนี้จึงขอย้อนคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนรัฐประหารว่าได้ให้คำมั่นสัญญาต่อสาธารณะหรือสังคมไว้อย่างไรบ้าง อย่าเรียกร้องให้ทหารออกมา ทหารออกมาจะวุ่นวาย28 ต.ค. 2556 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่มีความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นว่า "สื่อบางสื่อใช้ไม่ได้เพราะเขียนข่าวแบ่งคนเป็นพวกๆ และเมื่อถึงเวลาคนพวกนี้เขาออกมาตีกัน สื่อต้องรับผิดชอบด้วย วันนี้หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นม็อบ ชายแดน ภาคใต้ และปัญหาอื่นๆ ยังแก้ไม่ได้สักเรื่อง เราพยายามแก้ไขปัญหาให้ได้รวดเร็ว แต่ดูเหมือนสื่อต้องการให้เหตุการณ์แรง ผมไม่เข้าใจ เหตุการณ์ในประเทศไทยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ไม่เคยนำมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์มาเสียชีวิต การที่ท่านจะมุ่งไปสู่เป้าหมายอะไร ต้องหาวิธีการที่ไม่รุนแรง หรือไม่กระทบคนอื่น ยืนยันว่าทหารทำหน้าที่จริงใจทุกปี ทุกเหตุการณ์ ทหารต้องทำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ จะเอาทหารออกมา เตาะแตะไม่ได้ อย่าเรียกร้องให้ทหารออกมา ทหารออกมาจะวุ่นวาย อยากขอให้ทุกคนเข้าใจทหาร" (ที่มา : 28 ต.ค.2556, คมชัดลึก, 'บิ๊กตู่'พร้อมสู้คดีปราบแดง-ไม่สน'นิรโทษฯ') ทหารออกด้วยคำสั่งตามกฎหมาย ไม่ใช่นึกอยากจะออกก็ออก4 พ.ย. 56 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมถ้า และตอบคำถามประเด็นที่ว่าหากสถานการณ์ยืดเยื้อทหารจะออกมาหรือไม่ ว่า ถ้าไม่สั่งก็คงไม่ออก แต่ถ้าสั่งให้ทหารออกก็ต้องดูว่าให้ออกไปทำอะไร ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลเมื่อสั่งให้ทหารออก เราก็ออก รัฐบาลชุดที่แล้วสั่งเราก็ออก ถ้ารัฐบาลชุดนี้สั่งแล้วเราไม่ออกจะได้หรือไม่ ซึ่งก็ไม่ได้ ตนอยากจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าที่ทหารออกมาทุกครั้งออกมาด้วยคำสั่งตามกฎหมาย ไม่ใช่นึกอยากจะออกก็ออก ถ้าออกมาโดยที่ไม่ฟังคำสั่ง ตนถามว่าเหตุการณ์จะจบหรือไม่ ซึ่งก็ไม่จบแล้วจะเรียกร้องให้ทหารออกมาทำไม ส่วนจะทำอย่างไรก็ไปคิดกันเอาเอง (ที่มา, 4 พ.ย. 2556, ไทยรัฐออนไลน์, 'ประยุทธ์'ชี้ทหารออกมีบทเรียนวอนให้ถอยคนละก้าว) รัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาผิดทาง ปัญหาอื่นๆ จะเกิดอีกเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 56 พล.อ.ประยุทธ์ ออกมายืนยันว่า ไม่ว่าเหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม กปปส. ในวันที่ 9 ธ.ค. 56 จะเป็นอย่างไร ทหารก็จะไม่ออกมาปฏิวัติ พร้อมกล่าวด้วยว่า "ถ้าทหารปฏิวัติ(รัฐประหาร)อีก แก้ปัญหาผิดทาง ปัญหาอื่นๆ ก็จะเกิดขึ้นอีก ประเทศไทยจะยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างไร ทุกคนรักชาติแต่ไม่ยอมเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว (ที่มา : 8 ธ.ค.2556, สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ), ผบ.ทบ.ยืนยันทหารไม่ปฏิวัติแม้การชุมนุมพรุ่งนี้จะออกมาแบบใด ) ข่าวลือก็เป็นข่าวที่ไม่จริง7 ม.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานวันสถาปนากรมแพทย์ทหารบกครบรอบ 114 ปีถึงกระแสข่าวว่า การที่ทหารเคลื่อนย้ายกำลังในช่วงนี้เพื่อทำการปฏิวัติว่า ข่าวลือก็เป็นข่าวที่ไม่จริง ดังนั้น ไม่ต้องเชื่อ เพราะเรามีการเคลื่อนย้ายกำลังพลทุกปี และนโยบายในปี 2557 ของกองทัพบกเป็นการนำพากองทัพไปสู่ความทันสมัยในอนาคต ในปีนี้เป็นวาระพิเศษที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า เราจะนำยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่ได้จัดซื้อจัดหามาให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ได้เห็นว่า สิ่งที่เราได้จัดซื้อมามีสมรรถนะเพียงใด (ที่มา : 7 ม.ค. 2557, ไทยรัฐออนไลน์, บิ๊กตู่ ย้ำข่าวปฏิวัติแค่ลือ เตือนระวังมือที่สาม) ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือกฎเกณฑ์ได้22 ม.ค.57 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ว่า วันนี้จัดทหาร 40 กองร้อย จัดตั้งจุดตรวจร่วม 30 กว่าจุด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ จัดจุดตรวจของทหารอีกกว่า 20 จุดมีการปรับแผนการทำงานทุกวัน โดยมีกองทัพภาคที่ 1 เป็นคนรับผิดชอบในภาพการใช้กำลัง ตามแนวทางของ ศอ.รส. ทุกวันได้เสนอแผนจากกองทัพไปยัง ศอ.รส.ตลอด ที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีมาก ทหารจึงจำเป็นต้องไปเสริมในหลายจุด เราต้องลดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้น ทหารยังต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล และเป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม ทหารเป็นผู้สนับสนุน ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการออกไปดูแลประชาชนทุกฝ่ายให้เกิดความปลอดภัย ไม่ใช่ว่า เรานิ่งนอนใจ ทหารทำทุกอย่าง แต่วันนี้เราต้องยึดถือกฎเกณฑ์ ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือกฎเกณฑ์ได้ เพราะกำลังพลถืออาวุธ ดังนั้นการทำอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง รวมถึงการวางตัวของทหารทุกคน ซึ่งตนได้กำชับกำลังพลที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่เสมอ ทหารมีบทเรียนมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : 22 ม.ค. 2557, ผู้จัดการออนไลน์, "บิ๊กตู่" พอรู้มือบึ้ม-ขู่อย่าทำ ห่วง พ.ร.ก.ฉุกเฉินรุนแรงลดหรือไม่ แนะพัฒนาใต้ทุกรูปแบบ) กองทัพต้องยึดถือกฎหมายรัฐธรรมนูญ24 ก.พ. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ได้อ่านแถลงการณ์ชี้แจงจุดยืนของกองทัพบกต่อสถานการณ์ทางการเมืองผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ตอนหนึ่งว่า สิ่งที่กองทัพดำเนินการในเวลานี้จำเป็นต้องยึดถือกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยการจัดกำลังออกมาดูแลประชาชนในพื้นที่ที่มีการประกาศกฎหมายพิเศษเป็นจำนวนมากตลอด 24 ชั่วโมง หากเราดำเนินการไม่ถูกวิธี หรือใช้กำลังทหารเต็มรูปแบบ เราจะแน่ใจได้หรือว่า สถานการณ์จะยุติลงได้โดยสงบ ขณะที่ทุกฝ่ายยังไม่พยายามลดเงื่อนไข ไม่พยายามพิสูจน์หาข้อเท็จจริง และยอมรับกฎกติกา กฎหมายของสังคม สิ่งที่น่ากระกระทำในเวลานี้คือ ให้ทุกฝ่ายได้ทำงานตามความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มสติกำลังอย่างครบถ้วนด้วยความเป็นธรรม อำนวยความยุติธรรมได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์โดยไม่ถูกกดดันโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และหาทางลดความขัดแย้งให้ได้โดยเร็ว ประการสำคัญคือ การใช้กำลังทหารคลี่คลายสถานการณ์อย่างเต็มรูปแบบนั้น จะได้รับการยอมรับจากประชาชนที่อยู่นอกเหนือจากความขัดแย้งนี้หรือไม่ เรื่องนี้ต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ประกอบกับขณะนี้สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยในสายตาของต่างชาติยังมีความสำคัญ สำหรับความขัดแย้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าปี 2553 เพราะในปี 53 เกิดจากคู่ขัดแย้งไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันมีหลายกลุ่มและมีเงื่อนไขสลับซับซ้อน (ที่มา : 24 ก.พ.2557, เดลินิวส์ เว็บ, "ประยุทธ์" แถลงจุดยืนกองทัพผ่านช่อง 5 จี้ยุติความรุนแรง) จะไปเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยกติกาไหน25 มี.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ตอบคำถามถึงกรณีที่ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหนึ่งในแคนดิเดตเป็นนายกรัฐมนตรีคนกลางด้วยนั้น ว่า ต้องไปถามเขา เขาตั้งตนได้ไหม ถ้าตั้งไม่ได้แล้วจะมาถามตนทำไม แล้วถามจะไปเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยกติกาไหน และกติกาจะเกิดหรือไม่ตนก็ไม่รู้ แต่อย่าถามตนว่า ตนจะทำนั่นทำนี่หรือไม่ ตนไม่ตอบ เพราะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตน ไม่ใช่เรื่องของตน (ที่มา : 25 มี.ค. 2557, กรุงเทพธุรกิจ, ผบ.ทบ.อัดกลับข่าวนายกฯคนกลาง) จุดยืนกองทัพ ไม่เข้าข้างคนทำผิดกฎหมาย9 เม.ย. 57 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ปราศรัยเรื่องรัฏฐาธิปัตย์ว่า "จุดยืนกองทัพในตอนนี้ คือ ไม่เข้าข้างคนทำผิดกฎหมาย และเรื่องรัฏฐาธิปัตย์ DSI ก็ดำเนินการไปแล้ว ผมไม่ได้เข้าข้างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หรือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือใครทั้งนั้น เพราะทหารต้องทำหน้าที่ของทหาร ที่ทำอยู่ทุกวันไม่ใช่หน้าที่ แต่มาลงที่ทหารทั้งหมด จะรบกับศัตรูนอกประเทศก็ทหาร รบในประเทศก็จะใช้ทหาร เขียนไปเขียนมาให้ผมอยู่ข้างนั้นข้างนี้ ผมอยู่ข้างความถูกต้องเท่านั้น ภายใต้ความอดทนและทนอยู่ทุกวันนี้ ส่วนแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต้องไปถามรัฐบาล" (ที่มา : 9 เม.ย. 2557, ประชาชาติธุรกิจ, ผบ.ทบ.ลั่นไม่เข้าข้าง "สุเทพ-ณัฐวุฒิ-จตุพร" ย้อนถาม "รัฏฐาธิปัตย์" คืออะไร ผิด กม.ต้องดำเนินคดี) การรัฐประหารทำไปก็ไม่จบ10 พ.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากข้อความผ่านทางรายการ ลับ ลวง พลาง โดยยืนยันกองทัพตัองหนักแน่น จะทำตามใครเรียกร้องไม่ได้ ต้องใจเย็น ขอให้เชื่อมั่นในทหาร ซึ่งจะต้องเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประเทศชาติและประชาชนได้ในทุกโอกาส ให้เก็บทหารไว้เป็นที่พึ่งสุดท้าย เชื่อว่า การรัฐประหารทำไปก็ไม่จบ ขอให้เข้าใจทหาร เพราะทหารทำหรือไม่ทำก็โดนตำหนิ (ที่มา : 10 พ.ค.2557, สำนักข่าวเจ้าพระยา, "ประยุทธ์" เผยรัฐประหารไปปัญหาก็ไม่จบ) รัฐประหารเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้20 พ.ค. 57 พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะ ผอ.กอ.รส. ตอบคำถามกรณีแนวคิดตั้งนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 หลังประกาศกฏอัยการศึก ว่า ที่ประชุมไม่ได้กล่าวถึง แต่ถ้าทำได้ก็ทำ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนการรัฐประหารนั้น เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ สำหรับสถานะรัฐบาลและการรายงานให้รัฐบาลทราบหลังประกาศใช้กฎอัยการศึก ขณะนี้รัฐบาลอยู่ไหนไม่ทราบ แต่ถ้าเจอจะรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์ อย่างไรก็ตามขอให้เป็นกำลังใจทหารตำรวจในการทำงานด้วย (ที่มา : 20 พ.ค. 2557, มติชนออนไลน์, "ประยุทธ์"แจงเหตุใช้กฎอัยการศึก เตรียมนำคู่ขัดแย้งเจรจา ส่ง′อำพน′ถกฝ่ายการเมือง สั่งดีเอสไอหยุดฟ้อง) จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ22 พ.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. พร้อมด้วยผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ ออกประกาศการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ "ตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆ พื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.30 เป็นต้นไป.." (ที่มา : 22 พ.ค.2557, ประชาไท, ผบ.ทบ.ตั้ง 'คณะรักษาความสงบแห่งชาติ' ประกาศยึดอำนาจ!)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา 3 ปี คสช. (2) ความเสมอภาคทางเพศ-ผลกระทบแรงงาน-ความมั่นคงและกองทัพบก Posted: 22 May 2017 09:32 AM PDT 21 พ.ค. 2560 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG)จัด "████ 360 องศา : ████ ไทยทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด" ว่าด้วยผลกระทบในมิติต่างๆที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงที่ 4 ว่าด้วยประเด็นสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคระหว่างเพศ กับ เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ และอติวิชช์ ปัทมาภรณ์ศิริกุล นักกิจกรรมเพื่อสังคม ช่วงที่ 5 ว่าด้วยประเด็นผลกระทบต่อแรงงาน อภิปรายโดย ศรีไพร นนทรีย์ สหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง และกรชนก ธนคูณ นักสหภาพแรงงาน ช่วงที่ 6 ว่าด้วยประเด็นความมั่นคงและกองทัพบก นันทพงศ์ ปานมาศ กลุ่มคนหนุ่มสาว และ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มอบรางวัลกวางจูให้ ไผ่ ดาวดิน ก่อนขึ้นศาลทหารคดีชูป้ายต้านรัฐประหารในวันครบรอบ 3 ปี รปห. Posted: 22 May 2017 08:19 AM PDT ไผ่ ดาวดิน ถูกเบิกตัวมาศาลทหารนัดสืบพยานโจทก์คดีชูป้ายต้านรัฐประหารเมื่อปี 2558 ด้านครอบครัวเข้ามอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุยชนที่ไปรับมาแทนให้เจ้าตัว ในวันครบรอบ 3 ปี รัฐประหารโดย คสช. 22 พ.ค. 2560 เวลา 13.30 น. จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีฝ่าฝืน พร.บ.คอมฯ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai โดยปัจจุบันยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานกลางจังหวัดขอนแก่น ถูกนำตัวมาที่ศาลทหาร ในคดีที่เขาและพวก รวม 7 คน ถือป้ายประท้วงรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2558 ซึ่งเป็นการขัดคำสั่ง คสช. ชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยวันนี้เป็นการสืบพยานโจทก์ปากที่สอง เกี่ยวกับรายละเอียดในวันจับกุม เนื่องจากพยานปากแรกติดราชการ นัดสืบพยานโจทก์ครั้งถัดไป 27 ก.ค. 2560 เวลา 8.30น. การสืบพยานในวันนี้มีผู้ร่วมฟังกว่า 20 คน ประกอบด้วยครอบครัวของไผ่ เพื่อนนักศึกษา นักกิจกรรมและสื่อ ก่อนเริ่มการพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่ศาลเข้ามาแจ้งว่าห้ามจดและบันทึกภาพ หลังศาลอ่านกระบวนพิจารณาคดี แม่ของไผ่ขออนุญาตซื้ออาหารและเครื่องดื่มให้กินระหว่างรอส่งตัวกลับเรือนจำ ซึ่งศาลอนุญาต ทั้งนี้ หลังไผ่เดินทางมาถึงศาลทหาร ครอบครัวของไผ่ ประกอบด้วย พ่อ แม่และน้องสาว ซึ่งเพิ่งกลับจากสาธารณรัฐเกาหลี(ประเทศเกาหลีใต้) เพื่อรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธมนุษยชนแทนไผ่ ซึ่งไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัลด้วยตัวเอง เนื่องจากศาลจังหวัดขอนแก่นไม่อนุญาตให้ประกันตัวในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ครอบครัวจึงได้นำรางวัลมามอบให้กับไผ่ที่บริเวณด้านหน้าศาลทหาร สำหรับรางวัลดังกล่าวได้มีพิธีมอบรางวัลไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่สาธารณรัฐเกาหลี ณ เมืองกวางจู ซึ่งถือว่าเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ 'การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่กวางจู' เมื่อ 37 ปีก่อน โดยคณะกรรมก่ารคัดเลือกบุคคลผู้ที่สมควรได้รับรางวัลได้ระบุถึงเหตุผลที่มอบรางวัลดังกล่าวให้กับไผ่ว่า "คณะกรรมการคัดสรรรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2017 ขอชื่นชมความกล้าหาญและจิตใจรักความเป็นธรรมของคุณที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับเผด็จการและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราเล็งเห็นด้วยว่าการต่อสู้ของคุณช่วยปลุกเร้าประชาชน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ให้หันมาสนใจสภาพการณ์ทางการเมืองและความสำคัญของการแก้ไขปัญหา รวมทั้งได้สร้างคุณูปการต่อการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทย" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สัมภาษณ์อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล: แค่ดูเนื้อหาก็ผิดกฎหมาย? Posted: 22 May 2017 07:49 AM PDT ประชาไทสัมภาษณ์อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ แค่ดูเนื้อหาจะกระทบความมั่นคงของชาติอย่างไร? คำสั่งศาลให้ปิดกั้นไม่ได้แปลว่าผิดกฎหมายเพราะยังไม่พิพากษา วันนี้ (22 พ.ค.) จากกรณี เว็บไซต์ Bangkok Post รายงานว่าตำรวจกำลังเพ่งเล็งคนที่ดูรูปและอ่านคอนเทนต์ผิดกฎหมาย แม้ไม่ได้กดไลค์กดแชร์ ก็อาจมีความผิดเช่นกัน พล.ต.ท. ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง บอกเพิ่มเติมกับนักข่าวว่า ตัวกฎหมายจะรวมผู้กระทำผิดในสามส่วนด้วยกันคือ ผู้ผลิตคอนเทนต์นั้นๆ ผู้ที่เข้าไปคอมเมนท์ ไลค์ แชร์ และผู้ที่อ่านคอนเทนต์นั้นแม้ไม่ได้กดไลค์กดแชร์ แต่เบื้องต้นจะยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายต่อบุคคลกลุ่มที่สามนี้ เพียงแต่จะเข้าไปตักเตือนและทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่ทำให้ตัวเองไปอยู่ในกลุ่มที่สองซึ่งมีความผิด พล.ต.ท. ฐิติราช ระบุอีกว่า ทางตำรวจจะจัดหาเครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อระบุบุคคลในกลุ่มที่สาม และตรวจสอบสาเหตุว่าทำไมพวกเขาถึงดูเนื้อหาดังกล่าว อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ประชาไทสัมภาษณ์ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เกี่ยวกับกรณีที่ผู้อ่านคอนเทนต์อาจเป็นผู้กระทำความผิดด้วย โดยอาทิตย์อธิบายว่า แม้เจ้าหน้าที่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นการเฝ้าระวังสอดส่องคนที่ดูเนื้อหาผิดกฎหมาย แต่การดูนั้นไม่ได้ผิดกฎหมาย เช่น การเผยแพร่ภาพโป๊ การเผยแพร่นั้นเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่การดูภาพโป๊ไม่ได้ผิดกฎหมาย อาทิตย์ยกตัวอย่างกรณีการเฝ้าระวังคนก่ออาชญกรรม เจ้าหน้าที่อาจอ้างได้ว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ คือจำเป็นต้องรู้ว่าเขามีการสื่อสารเพื่อเตรียมการก่ออาชญากรรม แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะกฎหมายก่อการร้ายหรือกฎหมายสอบสวนคดีพิเศษก็ต้องมีคำสั่งศาล ต้องมีเหตุอันสมควรให้เชื่อได้ว่าจะเกิดอาชญากรรมจริง แต่ในกรณีนี้ไม่ใช่การก่ออาชญากรรม เป็นแค่การดูเฉยๆ ซึ่งไม่มีความผิดโดยตัวมันเอง อาทิตย์ตั้งคำถามว่า การเข้าถึงเนื้อหาเฉยๆ เป็นการเตรียมการก่ออาชญากรรมรึเปล่า? คำถามคือใช้ข้ออ้างอะไรที่ชอบธรรมในการสอดส่องคนที่มาดู หากเจ้าหน้าที่อ้างถึงเรื่องความมั่นคงของชาติ แค่การดูเนื้อหานั้นจะไปกระทบความมั่นคงของชาติอย่างไร?
นอกจากนี้ เขาเสริมว่า แม้กระทั่งมีคำสั่งศาลให้ปิดกั้นก็ไม่ได้แปลว่าผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้มีคำพิพากษาว่าผิดกฎหมาย คำสั่งศาลมีเพื่อระงับการเข้าถึงเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วคำสั่งศาลเป็นมาตราการชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสียหายเป็นการชั่วคราว ไม่ใช่คำพิพากษาว่าผิดกฎหมาย "แต่คำสั่งศาลในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องถาวร คำสั่งศาลราวกับว่าเป็นคำพิพากษา เช่นกรณีบล็อกเฟซบุ๊ก ตามกฎหมายปฏิบัติมันกลายเป็นการปิดกั้นถาวร จริงๆ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องส่งฟ้องแล้วพิสูจน์ให้ได้ว่าผิดหรือไม่ผิด ถ้าไม่ผิดจะต้องยกเลิกคำสั่งการปิดกั้น แต่ถ้าพิสูจน์ว่าเป็นความผิดก็ปิดถาวรไป" อาทิตย์กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดีอี เตรียมตั้งศูนย์ Big Data ส่องคีย์เวิร์ดโซเชียลกระทบสถาบันกษัตริย์-ความมั่นคง Posted: 22 May 2017 06:04 AM PDT กระทรวงดิจิทัลฯ เตรียมตั้งศูนย์ Big Data งบร้อยล้าน ส่องพฤติกรรมวิเคราะห์ข้อความในโลกโซเชียลกระทบต่อสถาบันกษัตริย์และความมั่นคง จ้าง 30 เจ้าหน้าที่เฝ้าจอตลอด 24 ชั่วโมง
ร่างข้อกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ โครงการจัดทำศูนย์ข้อมูล Big Data 22 พ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์กระทรวงดิจิตอลฯ ได้เผยแพร่ประกาศราคากลางโครงการจัดทำศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ มีงบประมาณทั้งสิ้น 102,554,383 บาท โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้ "จากปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยที่ได้ก่อตัวและขยายวงกว้างมากขึ้น พฤติกรรมการกระทำความผิดผ่าน Social network มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และความมั่นคงประเทศ รวมไปถึงการกระทำ หรือ การแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่เป็นการ ปลุกปั่น สร้างความเกลียดชัง (hate speech) ซึ่งที่ผ่านมา ไม่มีเทคโนโลยีใดมาตรวจจับและเก็บพยานหลักฐาน วิเคราะห์กลุ่มบุคคลนี้ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ Social network เพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน และเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะคดีความมั่นคงต่อราชอาณาจักรต่างๆ..." โดยโครงการดังกล่าวระบุวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อจัดหาข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ 2.ระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social network เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ 3.เพื่อจัดหา เครื่องมือ พัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์พิเศษระบบเฝ้าระวังการโจมตี เพื่อใช้ในการตรวจสอบ เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ และภัยคุกคามระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจจับการโจมตี และภัยคุกคามระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานรัฐ เป็นการป้องกันก่อนเกิดเหตุ คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานรัฐ ถูกโจมตี และโพสต์ข้อความดังที่ปรากฎเป็นคดีความเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ 4.รวบรวมผลข้อมูลคดี รูปแบบ วิธีการ พฤติการณ์กระทำผิดของบุคคลที่มีลักษณะเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ 5.เพื่อจัดหาเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันตัวบุคคลพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยใช้ภาพใบหน้าและระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคลทางข้อมูลชีวภาพ (Biometric) หรืออื่นๆ เพื่อการตรวจสอบ และค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคล 6.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์เครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษ และระบบสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยคุณลักษณะเฉพาะของศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมเทคโนโลยีฯ คือ 1. จัดห้องปฏิบัติการศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ ให้มีอุปกรณ์พร้อมปฏิบัติงาน รวมทั้งระบบไฟฟ้าและแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รองรับเจ้าหน้าที่ 2. ชุดอุปกรณ์ Video wall จำนวน 1 ชุด 3. เครื่องโปรเจคเตอร์แบบ Inter active 4. จัดจ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวน 30 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 31 กรกฎาคม 2561 โดยต้องจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และสามารถทำงานเป็นกะ สำหรับการปฏิบัติงานในส่วนที่จะต้องทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง 5. จัดหาผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 วันทำการ จำนวน 2 คน นับตั้งแต่วันถัดจากวันลงนามในสัญญา จนถึงวันสิ้นสุดสัญญา โดยต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีผลงานวิจัยในด้านใดด้านหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีคุณลักษณะอื่น คือ · ระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social network เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ · ระบบเฝ้าระวังการโจมตี เพื่อใช้ในการตรวจสอล เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ และภัยคุกคามระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจจับการโจมตี และภัยคุกคามระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานรัฐ · ระบบฐานข้อมูลคดี รูปแบบ วิธีการ พฤติการณ์กระทำผิดของบุคคลที่มีลักษณะเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ · ระบบยืนยันตัวบุคคลพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยใช้ภาพใบหน้า และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคลทางข้อมูลชีวภาพ (Biometric) อื่นๆ เพื่อการตรวจสอบ และค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการระบุตัวบุคคล ซึ่งมีการทำงานที่สามารถวิเคราะห์ อาทิเช่น วิเคราะห์ข้อความเพื่อค้นหาคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฎษที่ปรากฎในเอกสาร เช่น สเตตัสและคอมเมนต์ บน facebook, Tweet บน Twitter ขณะเดียวกันวันนี้ (22 พ.ค.) เว็บไซต์ Bangkok Post รายงานว่าตำรวจกำลังเพ่งเล็งคนที่ดูรูปและอ่านคอนเทนต์ผิดกฎหมาย แม้ไม่ได้กดไลค์กดแชร์ ก็อาจมีความผิดเช่นกัน พล.ต.ท. ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง บอกเพิ่มเติมกับนักข่าวว่า ตัวกฎหมายจะรวมผู้กระทำผิดในสามส่วนด้วยกันคือ ผู้ผลิตคอนเทนต์นั้นๆ ผู้ที่เข้าไปคอมเมนท์ ไลค์ แชร์ และผู้ที่อ่านคอนเทนต์นั้นแม้ไม่ได้กดไลค์กดแชร์ แต่เบื้องต้นจะยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายต่อบุคคลกลุ่มที่สามนี้ เพียงแต่จะเข้าไปตักเตือนและทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่ทำให้ตัวเองไปอยู่ในกลุ่มที่สองซึ่งมีความผิด พล.ต.ท. ฐิติราช ระบุอีกว่า ทางตำรวจจะจัดหาเครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อระบุบุคคลในกลุ่มที่สาม และตรวจสอบสาเหตุว่าทำไมพวกเขาถึงดูเนื้อหาดังกล่าว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวงดีอีประกาศเตือนประชาชนให้งดติดตามและติดต่อกับ 3 บุคคล คือ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต และ นาย Andrew MacGregor Marshall นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 22 May 2017 05:56 AM PDT พล.อ.เฉลิมชัย ระบุไม่ชัดเจนว่ากลุ่มใดเป็นผู้ก่อเหตุ แต่เชื่อว่า ระเบิดหน้า สนง.สลากฯ หน้าโรงละครแห่งชาติ และ รพ.พระมงกุฎฯ เป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุเดียวกัน พิสูจน์หลักฐานชี้เป็นไปป์บอมบ์ แรงดันต่ำ ใช้ตะปูเข็มเศษเหล็กเป็นส่วนประกอบ ซ่อนในแจกัน แฟ้มภาพ 22 พ.ค. 2560 จากเหตุระเบิดในช่วงสายวันนี้ (22 พ.ค.60) บริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องรับรองนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุราชการ หน้าห้องวงษ์สุวรรณ ภายใน รพ.พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี กทม. จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย นั้น ต่อมา พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (รองผอ.รมน.) เรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน จากนั้น เวลา 16.31 น. ไทยพีบีเอส รายงานว่า พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เป็นการวางระเบิดของผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นโรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เข้ารับบริการเป็นผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมาและประสงค์ต่อชีวิต เพราะมีการใส่ตะปูจำนวนมาก ทั้งนี้ ได้เชิญหน่วยงานด้านความมั่นคงมาหารือ เพื่อนำตัวผู้ก่อเหตุมาลงโทษ และบูรณาการด้านการข่าว ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่ากลุ่มใดเป็นผู้ก่อเหตุแต่เชื่อว่าทั้ง 3 เหตุการณ์ที่เกิดในกรุงเทพฯ ได้แก่ ระเบิดหน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระเบิดหน้าโรงละครแห่งชาติ และระเบิด รพ.พระมงกุฎเกล้า เป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุเดียวกัน พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ผู้ก่อเหตุต้องการสร้างความปั่นป่วนในการบริหารงานของรัฐบาล แต่ไม่ดิสเครดิตรัฐบาล พร้อมสั่งเร่งรัดเฝ้าระวังพื้นที่สำคัญและสถานที่ราชการ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนในการแจ้งเบาะแสผู้ก่อเหตุ ยืนยันยังไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ "เป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุด ปกติเขาไม่ทำกันในโรงพยาบาล ในสงครามยังไม่ทำ สังคมต้องช่วยกันประณามและแจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่ ไม่เกี่ยวกับโอกาสครบรอบ 3 ปี คสช. แต่น่าจะสบโอกาส เพราะเป็นพื้นที่เปิดใครก็สามารถเข้าไปได้ ยากในการป้องกัน" ผบ.ทบ. กล่าว ชี้เป็นไปป์บอมบ์ แรงดันต่ำ ใช้ตะปูเข็มเศษเหล็กเป็นส่วนประกอบ ซ่อนในแจกันสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานความคืบหน้าของการตรวจสอบที่เกิดเหตุด้วยว่า เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานเก็บพยานวัตถุในที่เกิดเหตุระเบิดบริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเสร็จสิ้นแล้ว โดยเตรียมคืนพื้นที่ให้กับโรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารวางกำลังดูแลความเรียบร้อยบริเวณโดยรอบพื้นทีทั้งหมด ซึ่งในส่วนพื้นที่โดยรอบโรงพยาบาลยังเปิดให้บริการตามปกติ มีรายงานว่าบริเวณที่เกิดเหตุคือ ห้องวงษ์สุวรรณ ส่วนระเบิดที่คนร้ายใช้ก่อเหตุเป็นชนิดไปป์บอมบ์ แรงดันต่ำ ใช้ตะปูเข็มและเศษเหล็กเป็นส่วนประกอบระเบิด นอกจากนี้มีรายงานจากเจ้าหน้าที่หน่วยเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบัญชาการตำรวจนครบาล ระบุว่า คนร้ายนำระเบิดซุกซ่อนในแจกันดอกไม้ ขณะที่ชุดสืบสวนอยู่ระหว่างตรวจสอบกล้องวงจรปิดภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติประมาณ 13 ตัว ซึ่งเป็นทางเข้าออก รวมถึงกล้องที่ติดตั้งอยู่บริเวณภายนอกโรงพยาบาล พร้อมสอบปากคำพยาน และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'รักษ์เชียงของ' ร่อนจดหมาย ถึง สี จิ้นผิง กังวลปม บ.จีน ปรับร่องน้ำเพื่อการเดินเรือแม่น้ำโขง Posted: 22 May 2017 04:14 AM PDT กลุ่มรักษ์เชียงของ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก ถึงสี จิ้นผิง กรณีข้อกังวลต่อโครงการปรับปรุ 22 พ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงาน กลุ่มรักษ์เชียงของ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก 'ข้อกังวลเรื่องโครงการปรับปรุ "เราอยากให้ท่านมองการอยู่ร่วมกั รายละเอียดจัดหมายเปิดผนึก : กลุ่มรักษ์เชียงของ 22 พฤษภาคม 2560 เรื่อง ข้อกังวลเรื่องโครงการปรับปรุ ขอแสดงความนับถือ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศรีวราห์ยันเหตุหน้าห้องวงษ์สุวรรณ รพ.พระมงกุฎฯ เป็นระเบิด เนื่องจากพบเศษถ่านไฟฉาย-สายไฟ Posted: 22 May 2017 01:01 AM PDT พล.ต.อ.ศรีวราห์ ยืนยันเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุระเบิด เนื่องจากตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเศษถ่านไฟฉายและสายไฟ ประยุทธ์สั่งเร่งสอบ พร้อมดูแลผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่ ผบ.ทบ.เรียกถกหน่วยงานความมั่นคงด่วน ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam 22 พ.ค. 2560 จากเหตุระเบิดในช่วงสายวันนี้ (22 พ.ค.60) ภายใน รพ.พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี กทม. โดย คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องรับรองนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุราชการ โดยแบ่งเป็นชื่อ ห้องติณสูลานนท์ ห้องยงใจยุทธ ห้องวงษ์สุวรรณ โดย ระเบิดดังกล่าวพบบริเวณหน้าห้องวงษ์สุวรรณ จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย นั้น ล่าสุด เมื่อเวลา 13.13 น. ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. เดินทางไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พร้อมเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ก่อนให้สัมภาษณ์ว่า ยืนยันเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุระเบิด เนื่องจากตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเศษถ่านไฟฉายและสายไฟ แต่ต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดและประชุมสรุปอีกครั้ง โดยยังตอบไม่ได้ว่าเหตุระเบิดครั้งนี้เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดหน้าโรงละครแห่งชาติ เมื่อสัปดาห์ก่อนหรือไม่ ต้องรอเจ้าหน้าที่ประชุมหารืออีกครั้ง ประยุทธ์สั่งเร่งสอบเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการ ทหารบกแล้วถึง กรณีเหตุระเบิดบริเวณ ห้องจ่ายยานายทหารสัญญาบัตร ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในช่วงสายวันนี้ โดยมีผู้บาดเจ็บ เล็กน้อย ประมาณ 24 ราย "เบื้องต้น ทางโรงพยาบาลได้ควบคุมพื้นที่ เกิดเหตุได้ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล ผู้บาดเจ็บ อย่างเต็มที่ และ ให้เร่งตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง ต่อไป" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว ผบ.ทบ.เรียกถกหน่วยงานความมั่นคงด่วนขณะที่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (รองผอ.รมน.) เรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วนในวันนี้ (22 พ.ค.) เวลา 15.00 น. ภายหลังจากเกิดเหตุระเบิดดังกล่าว โดยมี พล.อ.สสิน ทองภักดี เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการกอ.รมน. พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) กองทัพภาคที่ 1 รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านการข่าวและฝ่ายยุทธการของฝ่ายความมั่นคง เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์และตรวจสอบสาเหตุระเบิดดังกล่าว พล.ต.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2รอ.) เปิดเผยหลังลงพื้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎว่า ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชี้แจงในเรื่องรายละเอียด ในส่วนของตนไปดูมาตรการการรักษาความปลอดภัย ว่ามีจุดบกพร่องอะไรบ้าง ซึ่งตนคิดว่าเหตุการณ์ลอบวางระเบิดครั้งนี้ ไม่ควรกระทำเนื่องจากหวังทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธ์ อย่างไรก็ตามตนเน้นย้ำให้เจ้าหน้าเข้มงวดในเรื่องความความปลอดภัย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.ม.2 รอ. รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนแจ้งแบะแสหากพบสิ่งผิดปกติ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุระเบิดในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นติดต่อกันในรอบ 1 เดือนกว่าที่ผ่านมา 3 ครั้งแล้ว โดยเมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมาเกิดเหตุที่บริเวณหน้ากองสลากเก่า สนามหลวง ขณะที่เมื่อ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุบริเวณหน้าโรงละคร แห่งชาติ สนามหลวง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อ่านการเมืองไทย 25 ปีพฤษภาทมิฬถึง 3 ปีรัฐประหาร: จาตุรนต์ ฉายแสง Posted: 22 May 2017 12:18 AM PDT 'ประชาไท' สนทนากับ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกพรรคเพื่อไทย ค้นหาเรื่องราว บาดแผล ความผิดพลาด และบทเรียนที่เขาสรุปออกมา ผ่านห้วงเวลา 2 ทศวรรษครึ่งเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และวาระครบรอบ 3 ปีของสังคมไทยใต้กระบอกปืน 25 ปีหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 หลังจากประชาชนจำนวนมากลุกฮือขึ้นขับไล่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ลงจากอำนาจ เกิดการปฏิรูปการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ 2540 ความเชื่อ ณ เวลานั้น การรัฐประหารถึงเวลาสาบสูญจากการเมืองไทยแล้ว เข้าสู่ยุคของการสร้างประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพ แต่ประวัติศาสตร์การเมืองมักยอกย้อนและตลบตะแลง ชนชั้นกลางผู้เป็นกำลังหลักในการขับไล่ รสช. เหวี่ยงกลับมาสนับสนุนรัฐประหา สังคมไทยเดินมาสู่ยุคเผด็จการอีกครั้ง ทั้งยังเป็นยุคเผด็จการที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ปี ชนิดที่ รสช. และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. ก็ยังทำไม่ได้ เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย 'ประชาไท' สนทนากับ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกพรรคเพื่อไทย ค้นหาเรื่องราว บาดแผล ความผิดพลาด และบทเรียนที่เขาสรุปออกมา ผ่านห้วงเวลา 2 ทศวรรษครึ่งเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และวาระครบรอบ 3 ปีของสังคมไทยใต้กระบอกปืน .............. หลังกลับจากอเมริกาในเดือนพฤษภาคม 2529 จาตุรนต์ ฉายแสง ก็ได้เป็นผู้แทนราษฎรสมัยแรกในนามพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน เขามีบทบาทในฐานะนักการเมืองที่อยู่ในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบผ่านมาถึงยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งผลักดันเศรษฐกิจของประเทศผ่านนโยบายสำคัญอย่างการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มุมมองของเขา สิ่งนี้คือความไม่คุ้นเคย "แต่การที่ชนชั้นนำโดยเฉพาะผู้มีอำนาจทางทหารที่คุ้นเคยกับระบบเดิมรู้สึกขัดกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ประจวบกับเกิดมีความเอกภาพและความเข้มแข็งทางทหารของ จปร.5 ทำให้เกิดการ รัฐประหาร ด้วยข้ออ้างเรื่อง คอร์รัปชั่น บุฟเฟต์ คาร์บิเนต เรื่องลอบปลงพระชนม์ ลอบสังหารผู้นำ แต่หลังจากนั้น เราจะพบว่าเรื่องที่เป็นข้ออ้างทั้งหลายไม่มีอะไรจับต้องได้เป็นเรื่องเป็นราว เช่น มีการอายัดทรัพย์สินของนักการเมืองหลายคนต่อมาก็โมฆะทั้งหมด เพราะเป็นการใช้อำนาจที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ส่วนกรณีลอบปลงพระชนม์หรือหมิ่นพระบรมราชานุภาพก็ไม่ปรากฎว่าดำเนินคดีกับใครได้ "รสช.ที่มีกำลังหลัก คือ จปร.5 มีความเข้มแข็งเป็นเอกภาพจริง แต่ก็เข้มแข็งและมีเอกภาพจนน่ากลัว ทำให้รุ่นอื่น ส่วนอื่น ถูกกันออกจากอำนาจ โดยเฉพาะในกองทัพ ยิ่งภายนอกกองทัพ จปร.5 ยิ่งแปลกแยกจากส่วนอื่น ไม่ผสมกลมกลืนกับชนชั้นนำที่มีพลังทางสังคม ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงภาคประชาสังคมด้วยที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน" เมื่อรัฐประหารทำให้เศรษฐกิจที่กำลังเดินหน้าชะงักงัน ผนวกกับความไม่พอใจจากกรณี 'เสียสัตย์เพื่อชาติ' ชนชั้นกลางจึงลุกขึ้นมาเป็นกำลังหลักในการขับไล่กองทัพกลับเข้ากรมกองและเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
"ตอนนั้นผมเป็น ส.ส. อยู่และวันรุ่งขึ้นก็ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและแสดงความคิดเห็นเป็นระยะในนามส่วนตัว เพราะพรรคการเมืองยังไม่มีบทบาท ทำอะไรไม่ค่อยได้ มีเสวนาบ้างก็ไปร่วม ตอนนั้นผมเป็นโฆษกพรรคความหวังใหม่ซึ่งตัดสินใจร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ ในระหว่างนั้นเริ่มมีการชุมนุม ผมทำหน้าที่เป็นโฆษกเวที เป็นผู้ดำเนินรายการ จัดคิว เวลามีเวทีของภาคประชาชนหรือภาคการเมืองผสมกันก็ขึ้นปราศรัยตามจุดต่างๆ หน้าสภาบ้าง สนามหลวงบ้าง ในระหว่างนั้นมีการประชุมกันเข้มข้น ผมทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาและประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่มีการประชุมเรื่อยๆ และมีการแถลงข่าว "ช่วงวันที่มีการล้อมปราบผมอยู่ใน กทม. ขึ้นเวทีบ้างและร่วมประชุมอยู่กับพรรคการเมืองข้างเวทีบ้าง นอกสถานที่บ้าง ในวันที่จับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผมร่วมชุมนุมอยู่จนถึงเช้ามืด จากนั้นจึงกลับไปพักผ่อน ก่อนหน้านั้นชุมนุมและปราศรัยที่สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ตอนเช้ามืดปราศรัยบนหลังคารถแถวสะพานผ่านฟ้า ระหว่างนั้น วันท้ายๆ จำได้ว่ามีเรื่องพยายามเปิดสภา จึงมีการประสานเพื่อจะยื่นหนังสือต่อประธานสภาในขณะนั้น ตอนนั้นมาจากต่างจังหวัดต้องนั่งมอเตอร์ไซค์จากดอนเมือง เพื่อให้ทันร่วมยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนในขณะนั้น เพื่อขอเปิดสภาแก้วิกฤต แต่สุดท้ายก็ไม่มีการเปิดสภา แล้วก็มีร่วมแถลงข่าว วันสุดท้าย เท่าที่จำได้คืออยู่ในที่ที่ส่งแฟ็กซ์ได้และติดตามสถานการณ์และสื่อสารกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ด้วยการส่งแฟ็กซ์ แต่ละฝ่ายเช็คสถานการณ์กัน มันเริ่มเปลี่ยนดุลกำลัง จนตอนเย็นๆ ก็รู้แล้วว่า รสช. อยู่ไม่ได้แล้ว" ขึ้นๆ ลงๆ บนเส้นทางการเมือง "ตอนผมเริ่มเป็นนักการเมืองผมอายุ 30 นอกจากปราศรัยสั้นๆ แล้วก็ร้องเพลงด้วย เพลงประจำตัวที่ชอบร้องในตอนนั้นคือเพลงสามสิบยังแจ๋วของ ยอดรัก สลักใจ เวลาปราศรัยก็จะบอกว่า ผมอายุยังน้อย ถ้าเปรียบกับการรับราชการก็สามารถทำงานไปได้อีกสามสิบปีถึงจะเกษียณ ถ้าเป็นนักการเมืองก็จะรับใช้ประชาชนได้อีกนาน ตอนนี้ผ่านมา 31 ปี มาคิดดูพบว่า เวลาที่ทำหน้าที่นักการเมืองรับใช้ประชาชนจริงๆ ไม่แน่ว่าจะถึงครึ่ง ทั้งที่เราไม่ได้เปลี่ยนอาชีพเลย รัฐประหารของ รสช. ปีกว่าก็ไม่มีเลือกตั้ง มา คมช. ปีกว่า สองรายการนี้เกือบสามปี ยุบพรรคเพิกถอนสิทธิ์อีกห้าปี กลับมาก็ไม่ตรงกับการเลือกตั้ง แล้วก็เป็นรัฐมนตรีได้ปีเศษๆ จากปี 49 ถึง 60 เวลา 11 ปี ทำหน้าที่นักการเมืองได้ปีหนึ่ง หายไป 9 ปี บวกรัฐประหารอีก 3 ปี เป็น 13-14 ปี เป็นความลุ่มๆ ดอนๆ ของการเมือง" จาตุรนต์บอกว่า ชีวิตเขาขึ้นลงพร้อมกับการเมือง ไม่เคยสวนทาง พอเกิดการรัฐประหารแต่ละครั้ง เขาก็ไม่มีตำแหน่งหน้าที่อะไร แต่สิ่งที่เขารู้สึกกระทบกระเทือนมากที่สุดคือกรณีการถูกเพิกถอนสิทธิ "เพราะเป็นการถูกเพิกถอนไปทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิด เป็นเรื่องขององค์กร พรรคการเมืองถูกยุบ สุดท้าย จากการพิจารณาคดีทั้งหมดก็ไม่ปรากฏว่ามีใครในพรรคกระทำความผิด แต่พรรคถูกยุบ แล้วกรรมการบริหารพรรคก็ถูกเพิกถอนสิทธิไป โดยการออกกฎหมายย้อนหลัง การออกกติกาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพื่อต้องการใช้ตัดสิทธินักการเมืองเข้าสู่อำนาจ จะไปดำรงตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ แต่พอเราถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมันเหมือนเป็นประชาชนชั้นสอง เหมือนไม่ใช่ประชาชนของประเทศนี้ พูดไปแล้วการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ 5 ปี จริงๆ แล้วรัฐประหารแต่ละครั้งก็ทำให้ไม่มีการเลือกตั้ง และก็ทำให้ประชาชนแต่ละคนไม่มีสิทธิเลือกตั้งนั่นเอง ในแง่นักการเมืองที่เป็นประชาชนคนหนึ่ง จากปี 2549 มาถึงปัจจุบัน ก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเกือบจะตลอด" ความผิดพลาด ถามว่า บนเส้นทางลุ่มๆ ดอนๆ ของชีวิตนักการเมือง เขาได้ทบทวนความผิดพลาดและสรุปบทเรียนอย่างไร 'นิรโทษกรรมสุดซอย' ที่ถูกใช้เป็นชนวนนำไปสู่รัฐประหารคือความผิดพลาดครั้งหนึ่ง "ในความเห็นผมเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและรัฐสภาที่นำโดยพรรคเพื่อไทย มันสะท้อนกระบวนการตัดสินใจที่ผิดและบกพร่อง คือหลายฝ่ายไม่มีส่วนร่วม และการตัดสินใจอย่างนั้นไม่สอดคล้องกับความคิดของคนส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่ฝ่ายประชาธิปไตยควรสรุปเป็นบทเรียน แต่ก็น่าเสียดายที่ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือพลังประชาธิปไตยนอกสภาสรุปเรื่องนี้กันน้อยไป อาจจะมองข้ามความสำคัญของการสรุปหรือไม่อยากสรุปเพราะกลัวว่าจะขัดใจกัน แต่ผมถือว่าผมพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนมี พ.ร.บ.สุดซอย ผมสนับสนุนร่างที่นิรโทษเฉพาะประชาชน และเมื่อมีสุดซอย ผมก็เคยวิจารณ์ เคยไปขอโทษประชาชนบนเวทีเสื้อแดงมาแล้ว ให้ผมพูด ผมก็พูดอย่างเดิม เพราะผมเห็นว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงตามมาต่อกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศ" จาตุรนต์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดของรัฐบาลก็ไม่ทำให้การรัฐประหารเกิดความชอบธรรมแต่ประการใด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่อาศัยเป็นจังหวะและข้ออ้างเท่านั้น ซึ่งรัฐประหาร 2557 สำหรับเขาคือความต่อเนื่องจากรัฐประหาร 2549 และการที่ต้องรัฐประหารก็เพราะชนชั้นนำผู้เคยมีอำนาจไม่คุ้นเคยและไม่ยอมรับกระบวนการพัฒนาทางการเมืองที่เกิดกระบวนการที่ประชาชนกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองผ่านระบบพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และระบบรัฐสภา "เรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่น ถ้าถามผมว่ามีมั้ย ผมจะตอบว่ามี ถ้าตอบว่าไม่มีคงไม่ได้ แต่มีมากแค่ไหน สิ่งที่เกิดมาในช่วงสิบกว่าปีมานี้ทำลายโอกาสที่จะมีการพิสูจน์ด้วยกระบวนการที่เป็นไปตามหลักนิติธรรมว่ามีการทุจริตมากน้อยเพียงใด ถ้าจะพูดว่ามีมากแน่ๆ ก็พูดไม่ได้เหมือนกัน เพราะ กระบวนการในการตรวจสอบ หาคนผิดมาลงโทษถูกทำลายและแทรกแซงในสมัยมี คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) เป็นต้นมา ช่วงหลังมีการถอดถอนโดยสภาที่มาจากการแต่งตั้ง โดยใช้รัฐธรรมนูญที่ยกเลิกไปแล้ว ถอดถอนคนที่ออกจากตำแหน่งไปแล้ว" ความไม่เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย "ปัญหาที่สำคัญมากที่สุดของประเทศคือ การไม่เป็นประชาธิปไตย พูดเหมือนธรรมดา ใครเห็นก็น่าจะรู้ แต่พูดในบริบทความหมายของชีวิตที่ผมเกี่ยวข้องมาสามสิบปี ทำให้เห็นว่าเรื่องความไม่เป็น ประชาธิปไตยหรือปัญหาประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะผมเริ่มเป็นนักการเมืองในช่วงตั้งแต่ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ ตอนนั้นอยู่พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้เป็นนายก เราก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ประชาธิปไตย พอมีพรรคการเมือง นักการเมืองมาเป็นนายก เป็น รัฐบาล กำลังมีบรรยากาศของการแข่งขันทางนโยบาย นำเสนอนโยบาย ระดมนักวิชาการ ผลิตนโยบายออกมา มันทำให้การเมืองมีสีสัน มีความหวังมากขึ้น แต่พอมาเจอการยึดอำนาจ รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) ก็ถอยหลังอีก" จาตุรนต์เล่าความหลังให้ฟังว่า ก่อนการยึดอำนาจของ รสช. ที่ปรึกษาของพลเอกชาติชายพูดกับเขาว่า เป็นไปไม่ได้แล้วสำหรับประเทศไทยในขณะนั้น แต่เขากลับเห็นต่าง เพราะไม่มีทฤษฎีใดบอกว่าประเทศไทยจะไม่กลับสู่ระบอบเผด็จการอีก และเขาก็เป็นฝ่ายถูก "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนำไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วมค่อนข้างมาก มีการพยายามแก้ปัญหาทางการเมืองสำคัญๆ ตามประสบการณ์ของหลายฝ่ายในสังคมไทย ออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีผู้นำที่เข้มแข็งมีภูมิต้านทางจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อำนาจต่อรองของกลุ่มนักการเมืองน้อยลงเมื่อเทียบกับ ส.ส. ใน รัฐบาล จากอันนั้นนำไปสู่การเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น รัฐบาลมีความเข้มแข็งมากขึ้น รัฐธรรมนูญปี 2540 สนับสนุนให้เลือกพรรคการเมือง มีระบบบัญชีรายชื่อเป็นครั้งแรก ขณะที่ประเทศกำลังต้องการนโยบายและการพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการประจวบเหมาะกันของปัจจัยหลายอย่างในการพัฒนาการทางการเมืองไปอีกขั้นหนึ่ง พรรคการเมืองต้องฟังความเห็น รวบรวมปัญหา หาทางแก้ปัญหา นำเสนอนโยบายและให้ประชาชนไปเลือกพรรคการเมืองจากนโยบายและเลือกผู้นำหรือนายกเป็นครั้งแรกและมีผลมากต่อการบริหารของประเทศ "ผมจำได้ดีว่าในช่วงปี 2540-2544 พูดกันว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว เราไม่พูดกันว่าจะต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยอย่างไร แต่พูดกันว่าเราจะใช้เสรีภาพให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร คนที่ร่วมในรัฐบาลก็คิดว่าเราจะบริหารประเทศให้ดีได้อย่างไรเมื่อได้รับเลือกจากประชาชน คนที่อยู่ในภาคประชาชน ภาคประชาสังคมจะใช้สิทธิเสรีภาพให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร" จาตุรนต์เองก็ออกไปทางคล้อยตาม อย่างน้อยเขาก็รู้สึกเช่นนั้นอยู่สี่ห้าปี กระทั่งช่วงปี 2547-2548 เขาก็เริ่มเห็นสัญญาณความไม่พอใจรัฐบาล เกิดความเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นมิตรและไม่เป็นผลดีต่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การรัฐประหาร จากปี 2549 ถึงปัจจุบัน เขาสรุปว่า การที่ประเทศไทยอาจถูกดึงกลับไปสู่การปกครองแบบเผด็จการยังเป็นปัญหาใหญ่มาก และเราไม่ได้หลุดพ้นจากปัญหานี้เลย ความเหวี่ยงไหวของชนชั้นกลาง-บทเรียนของพรรคการเมือง ปี 2535 ชนชั้นกลางลุกขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตยและขับไล่ทหารออกจากการเมือง ปี 2549 และ 2557 ชนชั้นกลางเรียกร้องทหารและผลักไสประชาธิปไตย เป็นอาการเหวี่ยงชนิดสุดขั้วที่ยังคงสร้างข้อกังขากับผู้สนใจการเมือง จาตุรนต์มองว่าชนชั้นกลางไทยมีความโน้มเอียงที่แอบอิงกับชนชั้นนำในสังคมอยู่แล้ว ประเด็นที่เขาให้ความสนใจมากกว่ากลับอยู่ที่ว่า แล้วพรรคการเมืองจะทบทวนและสรุปบทเรียนการเหวี่ยงไหวของชนชั้นกลางอย่างไร "พรรคการเมืองที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายควรสรุปบทเรียนกรณีชนชั้นกลางคือ ในช่วงหลัง บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งที่แข่งกันเข้มข้นผ่านนโยบาย ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยไทยรักไทยแล้วต่างกัน สมัยนั้นมีการรับฟังความเห็นฝ่ายต่างๆ แล้วสังเคราะห์เป็นนโยบาย นโยบายไทยรักไทยดูแลคนหลายระดับไม่ได้ทิ้งระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ประชานิยมอย่างที่มีการโจมตีกัน มันเป็นนโยบายที่ไม่ใช่การเอาเงินแผ่นดินไปถลุง เงินที่ไปใช้จ่ายกองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร ทำให้เกิดผลผลิตขึ้น "แต่ตอนหลังอาจมีการคิดนโยบายโดยไม่มีกระบวนการรับฟังหลายฝ่ายและขาดการสังเคราะห์ให้ดีเท่าเมื่อก่อน อาจด้วยสภาพทางการเมืองที่มีการชุมนุมต่อต้าน นักการเมือง พรรคการเมืองไม่มีอันทำงาน บุคคลากรก็ต่างไปจากเดิม การแข่งขันกันในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งก็นำไปสู่นโยบายประเภทที่คนชั้นกลางหรือคนในเมืองมีความรู้สึกว่า เมื่อทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน คนชนบท คนยากจน เกษตรกรมีเสียงมากกว่าก็จะกำหนดนโยบายรัฐบาลได้มากกว่า กลายเป็นเอาภาษีของชนชั้นกลางคนในเมืองไปใช้สำหรับเกษตรกรหรือคนจนมากเกินไป อันนี้เป็นบทเรียนที่ต้องสรุปและต้องหาทางป้องกันหรือแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้น "ไม่จำเป็นเลยที่พรรคเพื่อไทยหรือพรรคการเมืองที่คิดจะแก้ปัญหาในประเทศจะต้องทุ่มเทงบประมาณทั้งหลายไปเฉพาะคนรากหญ้าหรือคนยากจน แน่นอนที่ต้องให้ความสำคัญกับคนยากคนจนที่เดือดร้อนมากกว่า แต่ขณะเดียวกันถ้าการส่งออกไปไม่ได้ การลงทุนขนาดใหญ่ไม่มี ก็มีผลกระทบ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาต้องดูหลายระดับ มีความจำเป็นอะไรที่จะมีนโยบาย แล้วทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่และคนชั้นกลางรู้สึกว่าตนเองถูกทิ้งหรือเสียเปรียบ" ไม่ปฏิรูปกองทัพ ความผิดพลาดของฝ่ายประชาธิปไตย? เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 คือชัยชนะของฝ่ายประชาชนและพลังประชาธิปไตย แต่ก็มีข้อสังเกตว่าหลังเหตุการณ์ทั้งสองครั้งไม่มีการกล่าวถึงการปฏิรูปกองทัพ แม้แต่การปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ไม่มีการแตะต้องกองทัพในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองเลย และนี่คือความผิดพลาดของฝ่ายประชาธิปไตยหรือไม่ จาตุรนต์อธิบายว่า "มันไม่ได้เป็นโจทย์ร่วม ไม่ได้เป็นประเด็นถึงขั้นที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะคิดไปถึง ด้วยหลายเหตุผล หลายสภาพการณ์ ช่วง 14 ตุลาถึง 6 ตุลา มันเป็นช่วงที่ได้ประชาธิปไตยมาในลักษณะที่ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น ขบวนการนักศึกษาประชาชนก็ใช้สิทธิเสรีภาพกันเต็มที่ แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในอำนาจรัฐ พรรคการเมือง นักการเมือง ซึ่งถือว่าละเว้นมานาน เคยมีการเลือกตั้งช่วงสั้นๆ ปี 2512-2514 เท่านั้น ก็กลับมาใช้เวทีรัฐสภากัน"
จากนั้นสายลมการเมืองในประเทศก็พัดพาไปในแนวทางการจับอาวุธขึ้นสู้ของนักศึกษาฝ่ายซ้าย เนื่องเพราะถูกบีบคั้นจากฝ่ายขวา เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย สังคมไทยก็เคลื่อนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบต่อเนื่องเกือบสิบปี ทำให้พรรคการเมืองและพลังฝ่ายประชาธิปไตยพัฒนาอย่างเชื่องช้า อ่อนแอเกินกว่าจะคิดเรื่องปฏิรูปกองทัพ "ช่วงหลังพฤษภาใหม่ๆ มีการเข้าไปจัดการกองทัพอยู่บ้าง แต่เป็นการจัดบุคลากรส่วนหัวๆ เมื่อรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจาก รสช. ล้มลง รัฐบาลต่อมาก็เข้าไปจัดการ เปลี่ยนตัวบุคคลอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นเรื่องที่ต้องเกิดตามสภาพ ไม่ได้เป็นโจทย์ถึงขนาดที่รัฐบาลต่อมาจะคิดเรื่องการปฏิรูปกองทัพ พอมาการปฏิรูปการเมือง 2540 มีการร่วมมือกันระหว่างองค์กรภาคประชาชน พลังประชาธิปไตยนอกสภา พรรคการเมืองบางส่วนร่วมกันปฏิรูปการเมือง มีทั้งโจทย์ร่วมกันและต่างกัน แต่โดยรวมๆ คือการพยายามจะให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ ไม่ต้องอยู่ในสภาพที่บริหารไม่ได้ แต่ก็ต้องการระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง ในแง่ทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตยก็มองไปในลักษณะนี้ และนี่คือประชาธิปไตยแล้วในความหมายของการปฏิรูปการเมืองขณะนั้น "อย่างที่ผมพูดก่อนหน้านี้ว่า ช่วงนั้นและหลังจากนั้นการพูดถึงปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศหรือความเสี่ยงที่จะถูกดึงกลับไปเป็นการปกครองแบบเผด็จการอาจจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในกระแสการปฏิรูปไม่คิดว่าจะกลับมาอีกแล้ว เพราะฉะนั้นมันก็โยงไปถึงว่า มันก็ไม่มีโจทย์ที่จะคิดเรื่องปฏิรูปกองทัพ หลายช่วงบทบาทของผู้นำกองทัพก็น้อยลง บางช่วงงบประมาณทหารน้อยลง ไปเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ แล้วโจทย์ทางการเมืองก็อยู่ในลักษณะที่ต่อเนื่องจากการปฏิรูปการเมืองหรือดึงกลับ ชักเย่อกันไปมา "จะพูดว่าเป็นความผิดพลาดมั้ย ผมคิดว่าจะเป็นก็ได้ แต่เวลาพูดถึงความผิดพลาด มันต้องมีว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ แต่นี่มันเป็นเหมือนผลโดยรวมๆ ของพัฒนาการที่หลายฝ่ายคิดว่าก้าวข้ามสภาพปัญหาของประเทศที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆ มันยังไม่ได้ก้าวข้าม จะเรียกว่าวัฒนธรรม ค่านิยมของระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยยังฝังรากลึกในชนชั้นนำหลายส่วน และความคิดเรื่องเสรีประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเชื่อต่อระบบรัฐสภาก็ยังไม่เข้มแข็ง เพราะฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง มันเหมือนเชื้อโรคอะไรสักอย่างที่ฝังตัวอยู่ พอมีเงื่อนไข มันก็เติบโตขึ้นมาอีก" ทำไม คสช. จึงอยู่ได้นาน-การสร้างความกลัว "ทำไม คสช. จึงอยู่ได้นาน มันเป็นการสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความกลัวและรู้สึกจำเป็น ไม่มีทางออกอื่น นอกจากการให้ผู้มีอำนาจทางกำลังอาวุธมาปกครองประเทศด้วยอำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ความกลัวที่ว่าคือความกลัวต่อภาวะความไม่สงบ ความวุ่นวาย สภาพที่ไม่มีการรักษากฎหมาย วุ่นวายไม่รู้จักจบจักสิ้น แล้วก็ต่อมาด้วยสภาพที่คนมองหรือเชื่อว่ารัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ ผู้ที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้คือผู้นำกองทัพและต้องปกครองด้วยการมีอำนาจพิเศษ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเท่านั้น "เมื่อบวกกับระบบกลไกอีกหลายอย่างที่ถูกสร้าง ถูกพัฒนา เพื่อจัดการกับสังคม กับการเมือง บวกกับการวางแผนอย่างเป็นระบบแยบยลในการรักษาอำนาจและสืบทอดอำนาจต่อไป ก็ทำให้ระบบที่ต่อเนื่องจากการยึดอำนาจปี 2557 อยู่ได้นานเป็นพิเศษ ในการรัฐประหารปี 2535 และปี 2549 ไม่มีสภาพความกลัวต่อความไม่สงบ ความวุ่นวาย ไม่ได้ถูกเตรียมการและสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบเหมือนครั้งนี้ "พัฒนาการอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญคือการพัฒนาไปสู่ความเป็นพรรคขนาดใหญ่ และแข่งกันระหว่างสองพรรค มันเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วทำให้คล้ายกับการเมืองในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ แต่เมื่อมันพัฒนาเร็ว มันอาจจะกลายเป็นความกลัว บางช่วงมันใหญ่เกินไป มี 377 เสียง มันมากเกินพอที่จะแก้รัฐธรรมนูญเพียงพรรคเดียว น่ากลัวต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย น่ากลัวกับพรรคการเมืองด้วยกันที่รู้สึกว่าจะต้องเป็นพรรคฝ่ายค้านไปอีกนาน "อีกอย่างคือการเมืองแบบนี้เมื่อบวกกับเรื่องอื่นๆ แล้ว มันนำไปสู่การแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แบ่งขั้วแบ่งฝ่ายในลักษณะการชักเย่อที่ยืดเยื้อ การที่การเมืองอยู่ในลักษณะนี้เป็นคำอธิบายอีกส่วนหนึ่งของคำถามที่ว่า ทำไมรัฐประหารรอบนี้จึงอยู่นาน ซึ่งถ้าพูดในแง่นั้น ความจริงรัฐประหารรอบนี้เป็นความต่อเนื่องของรัฐประหารปี 2549 ที่มีการชักเย่ออย่างยืดเยื้อของพลังที่อิงกับระบบพรรคการเมือง ผู้เลือกตั้ง และประชาชนที่ใช้สิทธิใช้เสียงนอกสภา กับส่วนที่ไม่เชื่อระบบการเลือกตั้ง ไม่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง "ปี 2549 กำลังมันก้ำกึ่ง ยึดอำนาจแล้ว เขียนกติกาแล้ว ต้องการสร้างระบบการปกครองที่กำหนดได้หมด แต่กำหนดไม่ได้เพราะว่าคนออกเสียงลงคะแนนไม่ยอม เขาก็ต้องไปใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญมาจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จัดการไปแล้ว มีเลือกตั้งอีก ประชาชนก็ยังไม่ยอม แถมมีพลังนอกสภาเกิดขึ้นด้วย ก็เลยต้องยึดอำนาจอีกรอบและเขียนกติกาใหม่ กติกาคราวนี้นอกจากเตรียมไว้จัดการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ยังสร้างกติกาที่ต้องการให้เกิดรัฐบาลที่มาจากคนนอก คือออกประตูไหนก็ได้ จัดการได้หมด แต่คำถามอยู่ที่ว่าพลังประชาธิปไตย พลังของผู้ออกเสียง พลังของพรรคการเมือง จะอยู่ในสภาพที่ยังชักเย่อต่อไปหรือไม่ ต้องดูกันต่อ หรือว่าจะถูกดึงจนล้มระเนนระนาด" รัฐธรรมนูญ 2560 ระเบิดเวลา แล้วอนาคตข้างหน้าของประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 จะเป็นอย่างไร จาตุรนต์อธิบายว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้เราอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนไม่สามารถกำหนดความเป็นไปของประเทศได้ มีแนวโน้มที่จะมีรัฐบาลจากคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือต่อให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็อาจจะทำอะไรได้ไม่มาก เพราะถูกกลไกในรัฐธรรมนูญล็อกเอาไว้ "เราก็กำลังเดินไปสู่สภาพที่รัฐบาลไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และยังต้องทำงานภายใต้กรอบของนโยบายแห่งรัฐ แผนปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งกำลังทำกันอย่างขะมักเขม้น แต่เป็นการทำโดยไม่มีวิสัยทัศน์ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม เต็มไปด้วยปัญหาและความยุ่งเหยิง แนวโน้มคือจะนำไปสู่ประเทศที่ล้าหลัง ปรับตัวยาก เพราะแผนปฏิรูปก็ดี ยุทธศาสตร์ชาติก็ดี สิ่งเหล่านี้มันล้าหลังและแก้ไขยาก รวมทั้งรัฐธรรมนูญเองก็แก้ไขยาก ในขณะที่โลกเปลี่ยนเร็วมาก "ในระยะใกล้ๆ คงจะยังไม่เกิดความรุนแรง แต่ความขัดแย้งเดิมในสังคมไทยที่ยังไม่ได้แก้ มันจะสะสมเป็นความขัดแย้งใหม่ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายต่างๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การออกกฎหมาย ออกกติกาต่างๆ ผ่าน สนช. ผ่านคำสั่ง คสช. สิ่งเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง แต่สังคมไทยก็เบื่อหน่าย หวาดกลัว ไม่ต้องการเห็นความรุนแรงและความวุ่นวาย โอกาสที่พลังของฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ที่เคยเคลื่อนไหวมาแล้ว เคยมีบทบาทมาแล้ว จะกลับมามีบทบาทมากๆ จนเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความขัดแย้งบานปลายน่าจะยังไม่เกิดขึ้นได้เร็ว "แต่เมื่อมีการสะสมปัญหา ความขัดแย้งเก่าไม่แก้ ความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้นมากมาย มันเหมือนเป็นระเบิดเวลา มีกับระเบิดเต็มไปหมด สังคมก็กำลังเดินไปอยู่ความขัดแย้งที่ไม่สามารถแก้ได้โดยกระบวนการที่อยู่ในตัวระบบเอง เช่น จะแก้คำสั่ง คสช. ที่ส่งผลเสียต่อประชาชนต้องไปแก้กฎหมาย ซึ่งพรรคการเมือง สภาผู้แทนก็แก้ให้ไม่ได้ จะแก้รัฐธรรมนูญ แก้ยุทธศาสตร์ชาติ ก็แก้ไม่ได้ มันก็รอวันระเบิด เพียงแต่มันอาจเป็นเรื่องของผู้ที่เจอกับปัญหาในอนาคต จะเป็นใคร จะเกิดขึ้นอย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผมไม่สามารถจินตนาการไปได้ รู้แต่ว่าแนวโน้มไม่ดีเลย" หรือจะเป็นโศกนาฏกรรมของประเทศไทย? และภายใต้ข้อจำกัดนี้ นักการเมืองและพรรคการเมืองจะยิ่งต้องพัฒนาตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่สังคม "ในส่วนของความเป็นนักการเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมือง ผมคิดว่าพรรคการเมืองต้องพยายามสร้างหรือพัฒนาตัวเองให้เป็นทางเลือกของประชาชน ให้ประชาชนได้เห็นว่าระบบรัฐสภาซึ่งมีพรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญสามารถแก้ปัญหาประเทศได้ เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ทีนี้ มันยากที่ต้องทำภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎกติกาต่างๆ ไม่เปิดโอกาสให้ทำ เช่น มีนโยบายก็อาจจะแถลงในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งไม่ได้ เลือกตั้งมาแล้วก็อาจไม่ได้เป็นรัฐบาล หรือเป็นรัฐบาลก็นำนโยบายไปปฏิบัติไม่ได้ "แต่พรรคการเมืองก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่จุดที่สามารถสร้างนโยบายที่จะแก้ปัญหาประเทศได้และประชาชนยอมรับ แล้วก็นำเสนอต่อสังคม ในระหว่างเลือกตั้งอาจจะเสนอได้จำกัดก็เสนอในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง ในระหว่างเป็นรัฐบาลทำได้ไม่มากก็ต้องบอกว่าอะไรที่อยากจะทำ แต่ทำไม่ได้ หมายความว่าถ้าเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ ที่รัฐบาลที่มาจากประชาชนสามารถทำอะไรได้มากกว่า แล้วพรรคการเมืองจะทำอะไร ก็คือให้ประชาชนได้เข้าปัญหาของความไม่เป็นประชาธิปไตยและเห็นว่าถ้าเป็นประชาธิปไตยขึ้นมาจะดีอย่างไร ไม่ใช่ดีเฉพาะในเชิงหลักการ นักการเมืองและพรรคการเมืองก็จะยากตรงนี้ แต่ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปได้ว่า ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างนี้จะอยู่ไปอีกนาน ถึงประชาชนไม่พอใจ เห็นปัญหา ก็ไม่รู้จะทำยังไง เพราะไม่มีทางเลือกอื่น ผมคิดว่าพรรคการเมืองต้องก้าวไปถึงตรงจุดนี้ ถ้าจะเป็นฝ่ายค้านก็เป็นฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลที่ดี ขณะเดียวกันก็เสนอทางเลือก" ส่วนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จาตุรนต์กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องชูประเด็นนี้ เพียงแต่ช่วงเวลานี้อาจยังไม่เหมาะและจะกลับกลายเป็นถูกต่อต้าน อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าถึงที่สุดแล้วสถานการณ์จะเดินไปสู่จุดที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ "จากประวัติความเป็นมาของการเมืองไทย มันก็จะเดินไปสู่จุดที่รัฐธรรมนูญถูกฉีกโดยผู้นำกองทัพรุ่นต่อๆ ไป แต่การชูประเด็นแก้รัฐธรรมนูญคงไม่เกิดขึ้นเร็ว และถ้าชูขึ้นเร็วก็อาจไม่สอดคล้องกับความรู้สึกของผู้คน และจะไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ แต่ต่อไปข้างหน้าคนจะไปสู่จุดที่เห็นร่วมกันว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้าคนก็ยังไม่เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้มีปัญหา อันนั้นก็เป็นโศกนาฏกรรมของประเทศไทย" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายนักวิชาการฯ แถลง '3 ปีที่เสียของ' เปิด 10 ความสูญเสียในยุค คสช. Posted: 22 May 2017 12:06 AM PDT เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เปิด 10 ความสูญเสีย เสียสิทธิและเสรีภาพ เสียเวลาและอนาคตสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เสียโอกาสเติบโตก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เสียการมีส่วนร่วมและอำนาจของประชาชนในการพัฒนาและจัดการทรัพยากร เสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนระดับล่าง/คนยากจน ฯลฯ ภาพจาก Banrasdr Photo 22 พ.ค. 2560 เนื่องในโอกาสการครบรอบ 3 ปีแห่งการทำรัฐประหารโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ได้จัดการแถลงข่าว ในหัวข้อ " '3 ปีที่เสียของ': 3 ปีแห่งการสูญเสียของสังคมไทยภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร" ณ ห้องประชุมโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คนส. แบ่งความสูญเสียของสังคมไทยในยุค คสช. ออกเป็น 10 ด้าน ประกอบด้วย 1) การสูญเสียสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น 2) การสูญเสียเวลาและอนาคตของประเทศในการสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย 3) การสูญเสียโอกาสในการเติบโตก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ 4) การสูญเสียการมีส่วนร่วมและอำนาจของประชาชนในการพัฒนาและจัดการทรัพยากร 5) การเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนระดับล่าง/คนยากจน 6) การเสียระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตพื้นฐาน 7) การเสียโอกาสในการสร้างสันติภาพและแก้ปัญหาชายแดนใต้ 8) เสียระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณของกองทัพ 9) การเสียหน้าและไม่ได้รับการยอมรับในประชาคมโลกในฐานะที่เป็นประเทศเผด็จการ และ 10) การสูญเสียความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย สำหรับในประเด็นสูญเสียสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกนั้น คนส. ได้ยกตัวอย่างการตั้งข้อหานักกิจกรรมและสื่อมวลชนกรณีอุทยานราชภักดิ์และคดีประชามติ รวมทั้งการจำกัดเสรีภาพในการอภิปรายทางวิชาการที่ลุกลามมาถึงในรั้วมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับการหายไปของสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งแม้แต่การจุดเทียนหรือวางดอกไม้เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ก็ยังทำไม่ได้ ที่สำคัญมีความพยายามควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะการแทรกแซงการสนทนาส่วนตัวของประชาชนแล้วนำมาตั้งข้อหาที่มีโทษร้ายแรง เช่น ข้อหาด้านความมั่นคงและ 112 ขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาใหญ่และจัดการทรัพยากร คนส. ชี้ว่า สิทธิเหล่านี้ที่เคยมีถูกยกเลิกไปหมดในยุค คสช. ด้วยการออกคำสั่ง คสช. ฉบับต่างๆ เช่น คำสั่ง คสช.เพื่อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและยกเว้นการทำ EIA ขณะที่ระบบสวัสดิการพื้นฐานแบบถ้วนหน้าทั้งในด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นสวัสดิการแบบสงเคราะห์เฉพาะกลุ่มแทนในยุค คสช. ส่วนการตรวจสอบการคอรัปชั่นนั้น คนส. ชี้ถึงการที่ไม่สามารถตรวจสอบงบประมาณการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ ที่ถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่าขาดความโปร่งใสและไร้ประสิทธิภาพได้เลย สุดท้าย คนส. ได้ชี้ว่าในยุค คสช. มีการพยายามลบประวัติศาสตร์การปฏิวัติของคณะราษฎรและสร้างประวัติศาสตร์ชุดใหม่ที่เอื้อต่อระบอบเผด็จการแบบสมบูรณ์ขึ้นมาแทน ดังกรณีที่หมุดคณะราษฎรถูกทำให้หายไปและแทนที่ด้วย "หมุดหน้าใส" รายละเอียดคำแถลง คนส. :คำแถลงของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) "3 ปีที่เสียของ" วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 1. เสียสิทธิและเสรีภาพ นอกจากนี้ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นยังปรากฏในการอภิปรายทางวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดซึ่งทำให้การถกเถียงอย่างสร้างสรรค์และสันติถูกจำกัดวงอย่างมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ก็ถูกแทรกแซงทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังกรณีการเชิญนายโจชัว หว่อง นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยชาวฮ่องกง มาอภิปรายเรื่องการเมืองของคนรุ่นใหม่เนื่องในวาระ 40 เหตุการณ์ 6 ตุลาคา 2519 แต่นายหว่องกลับถูกกักตัวและส่งกลับเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สร้างความวิตกกังวลและหวาดกลัวให้กับนิสิต นักศึกษา และอาจารย์ เพราะเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจได้เข้าไปแสดงตัวถึงในมหาวิทยาลัยในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางวิชาการ ในส่วนของสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่ก็ยังพบว่ามีการจำกัดสิทธิตลอดจนการคุกคามการแสดงออกทางการเมืองโดยสงบและสันติอยู่ ล่าสุดดังการรำลึกเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ที่ห้ามจุดเทียนรำลึกในบริเวณที่มีการปะทะและสลายการชุมนุม ญาติของผู้เสียชีวิตจะแสดงการรำลึกก็ถูกควบคุมตัว การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นยังปรากฏชัดขึ้นผ่านความพยายามควบคุมสื่อทางสังคม (social media) เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ค และอื่นๆ ถึงในระดับของบทสนทนา ซึ่งเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่ามีคดีทางการเมืองและ 112 จำนวนมากพุ่งเป้าไปที่บทสนทนาส่วนตัวในสื่อทางสังคม ขณะที่ประชาชนก็อยู่ในความหวาดกลัวเพราะไม่รู้ว่าจะตกเป็นเป้าเมื่อใด รวมทั้งวิตกกังวลว่ารัฐบาลจะปิดสื่อทางสังคมหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วจะมีการตรากฎหมายควบคุมสื่อทางสังคมในที่สุด สามปีที่ผ่านมาจึงเป็นสามปีที่ประชาชนคนไทยเสียสิทธิและเสรีภาพอย่างลึกซึ้งกว้างขวาง ไม่สามารถอภิปรายถกเถียงประเด็นสาธารณะบนฐานของหลักการ เหตุผล และข้อเท็จจริง ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสันติและอย่างมีอารยะ 2. เสียเวลา เสียอนาคต หากแต่ในความเป็นจริงรัฐบาลทหารและ คสช. กลับใช้อำนาจเถื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการอาศัยมาตรา 44 ในการข่มขู่คุกคามและจับกุมคุมขังนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชน ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากตน อีกทั้งยังละเมิดหลักการ ขั้นตอน และกระบวนการยุติธรรม/กฎหมายปกติ และในหลายกรณีกลับอาศัยกลไกของศาลทหารในการพิจารณาคดีพลเรือนอีกด้วย พฤติการณ์ของรัฐบาลทหารและ คสช. ดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดการ "เสียเวลา" ในการพัฒนาสังคมการเมืองไทยให้ไปสู่สังคมที่เคารพและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนจำนวนมาก "เสียอนาคต" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ "คนหนุ่มสาว" ที่มีความฝันและจิตวิญญาณเสรี ในร่วมสร้างสังคมการเมืองไทยให้เป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน 3. เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การลงทุนภายในประเทศของเอกชนที่เคยเติบโตร้อยละ 11.8 ใน พ.ศ. 2556 กลับกลายเป็นลดลง (ติดลบ) ร้อยละ -0.8 ใน พ.ศ. 2557 และลดลงอีกร้อยละ -2.2 ใน พ.ศ. 2558 ก่อนจะเติบโตขึ้นมาเพียงร้อยละ 1.8 ใน พ.ศ. 2559 เช่นเดียวกับในส่วนของเงินทุนระหว่างประเทศ ก่อน พ.ศ. 2556 เคยมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ ทว่าหลังจากนั้นเป็นต้นมากลายเป็นเงินทุนไหลออกสุทธิอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. 2557 ไหลออกสุทธิ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ใน พ.ศ. 2558 ไหลออก 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ และใน พ.ศ. 2559 ไหลออก 2.6 หมื่นล้าน ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่เคยสูงสุด 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2556 ลดลงเหลือ 2,553 ล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2559 โดยภายในกลุ่มอาเซียน ถึง พ.ศ. 2556 ประเทศไทยรับเงินลงทุนต่างชาติจากนอกอาเซียนสูงเป็นอันดับสอง รองจากสิงคโปร์ แต่ถึง พ.ศ. 2558 ประเทศไทยตกเป็นอันดับห้า รองจากสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (รองจากไทยคือ ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา พม่า บรูไน) นอกจากนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์หดตัวต่อเนื่อง เช่น นอกจากนี้ การใช้จ่ายบริโภคสินค้าคงทนของประชาชนลดลง (ติดลบ) ทุกปี จากลดลงร้อยละ -15.3 ใน พ.ศ. 2557 เป็นร้อยละ -6.7 ใน พ.ศ. 2558 และร้อยละ -1.2 ใน พ.ศ. 2559 สะท้อนความไม่มั่นใจของผู้บริโภคและมาตรฐานการครองชีพที่ไม่กระเตื้องขึ้น ประเทศจึงเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงสามปีที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร 4. เสียการมีส่วนร่วมและอำนาจของประชาชนในการพัฒนาและจัดการทรัพยากร ขณะเดียวกันหากมีการจัดกิจกรรมรับฟังสาธารณะชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ อาทิ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โครงการท่าเทียบเรือ เหมืองถ่านหิน เหมืองทอง เหมืองโปแตช ชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบก็มักถูกควบคุมและกีดกันออกจากการประชุมโดยกำลังทหาร รวมทั้งยังมีการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม แกนนำการคัดค้านอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในต่างจังหวัด ชนบทห่างไกล หรือเขตทุรกันดาร หากแต่ยังเกิดขึ้นในกลางกรุงเทพฯ ด้วย ดังกรณีโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะมีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากคนกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มีคำถามถึงประโยชน์และผลกระทบที่คลุมเครือ เพราะไม่มีรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน แต่รัฐบาล คสช. ก็เดินหน้าอนุมัติดำเนินการต่อ เป็นต้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คสช. ไม่เคยนำข้อมูลและความเห็นของประชาชนกลับมาทบทวนการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ทั้งในแง่ของการศึกษาผลกระทบ การปฏิบัติการ รวมถึงการกำหนดนโยบายสาธารณะ จึงเป็นช่วงเวลา 3 ปีที่สังคมเสียโอกาสการมีส่วนร่วมและอำนาจในการพัฒนาและจัดการทรัพยากร 5. เสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สามปีที่ผ่านมาจึงเป็นสามปีที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนคนไทยได้ถูกกระทำย่ำยี ประชาชนถูกกล่าวหา ตีตรา และต้องแบกรับภาระในการแก้ปัญหา ทั้งที่สาเหตุมาจากโครงสร้าง กฎเกณฑ์ และกติกา ที่รัฐบาลและ คสช. ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง 6. เสียสวัสดิการและคุณภาพชีวิต เช่นเดียวกับเรื่องการรักษาพยาบาลที่รัฐบาลพยายามจะจำกัดงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ รวมถึงพยายามจะเปลี่ยนแนวคิดและถ้อยคำที่มีการรับรองสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพทัดเทียมกันออกไปจากรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ สิทธิในการจัดการศึกษาด้วยตนเองของประชาชนและชุมชนก็ได้ถูกยกออกไปจากรัฐธรรมนูญด้วย 7. เสียโอกาสการสร้างสันติภาพและแก้ปัญหาชายแดนใต้ นอกจากนี้ ในยุค คสช. อุดมการณ์ชาตินิยมแบบแข็งตัวถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น แม้ คสช.จะสานต่อการพูดคุยสันติภาพ แต่ก็ดำเนินการได้จำกัดอย่างมากเนื่องจากวางอยู่บนฐานคิดแบบชาตินิยม ส่งผลทำให้รัฐไทยกลายเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการเจรจาแต่เพียงฝ่ายเดียว บนฐานของความหวาดกลัวและหวาดระแวงต่อองค์กรและกฎกติการะหว่างประเทศ จึงไม่สามารถรวมกลุ่มกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ให้เข้ามาร่วมกระบวนการเจรจาได้อย่างเต็มใจ ในด้านการมีส่วนร่วม ทหารได้เข้ามาสังเกตการณ์และจับตากิจกรรมขององค์กรในภาคประชาสังคมอย่างใกล้ชิดมากขึ้น มีความพยายามเรียกพบผู้ปฏิบัติงานเพื่ออบรมสั่งสอนให้มีความคิดและการทำงานภายใต้กรอบที่รัฐบาลทหารกำหนด รวมทั้งได้เข้ามาตรวจสอบแหล่งทุนของภาคประชาสังคมด้วย ประการสำคัญ ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร การส่งเสริมความเข้าใจและเคารพในความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และการศึกษาได้ลดน้อยลงไปมาก มีการคุกคามการแสดงออกด้านอัตลักษณ์ (ดังกรณีการจัดการกับกลุ่มนักศึกษาที่แสดงป้าย "ขออนุญาตเรียกตัวเองว่า 'คนปาตานี' " ในขบวนพาเหรดกีฬา) รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดด้านการด้านงบประมาณแผ่นดินประจำปีเพื่อช่วงชิงนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามให้มาเรียนในโรงเรียนรัฐ ส่วนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชายแดนใต้ คสช. เน้นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ที่มักส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม แทนที่จะมองและพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานของวัฒนธรรมและศาสนาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาเหล่านี้ก็มักเป็นผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นมากกว่าชาวบ้านทั่วไปหรือผู้ประสบปัญหาหรือว่าผู้มีความต้องการช่วยเหลือ 8. เสียระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณของกองทัพ นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังมีบทเรียนการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ ของกองทัพที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ซื้อเครื่องตรวจจับระเบิด GT 200 ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท ต่อมาศาลประเทศอังกฤษได้ลงโทษบริษัทผู้ขายโทษฐานหลอกลวง เพราะเครื่องดังกล่าวมีต้นทุนเพียง 600 บาท สูญงบประมาณ 660 ล้านบาท หรือกรณีเรือเหาะตรวจการณ์ใน พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถใช้งานได้ สามปีที่ผ่านมาจึงเป็นสามปีที่กองทัพใช้งบประมาณจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อย่างขาดความโปร่งใสและไร้ประสิทธิภาพ ปราศจากกลไกในการตรวจสอบอย่างสิ้นเชิง กองทัพจำเป็นจะต้องถูกตรวจสอบการใช้งบประมาณเช่นเดียวกับหน่วยราชการอื่นๆ 9. เสียหน้าในประชาคมโลก สหภาพยุโรปมีมติระงับการเจรจาข้อตกลงด้านการค้าและการลงทุนกับไทย รวมทั้งการเยือนอย่างเป็นทางการจนกว่าประชาธิปไตยในไทยจะได้รับการฟื้นฟู คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) สหภาพยุโรป องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เช่น Human Rights Watch, Asian Human Rights Commission ฯลฯ ประณามการจับกุมและคุกคามนักศึกษาและนักกิจกรรมที่เรียกร้องประชาธิปไตย การใช้ศาลทหารดำเนินคดีกับพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกและมาตรา 44 ของ คสช. และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างกว้างขวาง ในเดือนพฤษภาคม 2559 ประเทศไทยเผชิญกับการทำให้อับอายในที่ประชุม "การทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Periodic Reviews) ดังที่สำนักข่าวรอยเตอร์สพาดหัวข่าวว่า "Thailand faces "moment of shame" at UN rights council review" ในระหว่างการประชุม สมาชิกสหประชาชาติ 97 ประเทศได้ยื่นข้อเสนอแนะ 249 ข้อเพื่อให้รัฐบาลทหารปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย อาทิ การคุกคามและจับกุมผู้เรียกร้องประชาธิปไตย การใช้มาตรา 44 การใช้ศาลทหารกับพลเรือน การซ้อมทรมาน การบังคับอุ้มหายในกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การบังคับใช้และการลงโทษอย่างรุนแรงตามกฎหมายอาญามาตรา 112 การค้ามนุษย์ ฯลฯ นายเดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ดูแลกิจการด้านเอเชียตะวันออกและแปซิฟิควิจารณ์กรณี สนช. มีมติให้ฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์กรณีจำนำข้าวและคอรัปชั่นว่า กระบวนการทางการเมืองที่ดำรงอยู่ไม่ได้เป็นตัวแทนของทุกฝ่ายในสังคม กรณีจับกุมคุมขัง "ไผ่ ดาวดิน" (จาตุภัทร์ บุญภัทรรักษา) และปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่งผลให้ Human Rights Watch ออกแถลงการณ์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยทบทวนมาตรา 112 ล่าสุดคณะกรรมการรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ได้มอบรางวัลประจำปี พ.ศ. 2560 ให้แก่ไผ่ ในฐานะผู้ต่อสู้และปกป้องประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชน เหตุการณ์ข้างต้นคือการประกาศของอารยะประเทศว่าพวกเขาไม่สามารถยอมรับและนิ่งเฉยต่อพฤติกรรมอำนาจนิยมของ คสช.และพลพรรค 10. เสียความทรงจำ ประวัติศาสตร์ชาติครอบงำความคิดของคนไทยมาเนิ่นนาน ผ่านตำราเรียนที่เขียนขึ้นโดยรัฐ และวิธีการสอนที่ไม่เอื้อให้เกิดทักษะเพื่อการคิดวิเคราะห์ บ่อยครั้งที่อดีตบางอย่างถูกรัฐขีดฆ่าและลบออกไปจากความทรงจำของสาธารณะ และในขณะเดียวกันก็มักมีประวัติศาสตร์ชุดใหม่ที่เพิ่งสร้างเข้ามาแทนที่ ดังกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 มีกลุ่มคนที่ตั้งตนเป็น "ปฏิปักษ์การปฏิวัติ 2475" เพื่อล้มล้างความน่าเชื่อถือของคณะราษฎร เวลาผ่านไปกว่า 8 ทศวรรษ ความพยายามล้มล้างบทบาทการปฏิวัติของคณะราษฎรก็ยังคงอยู่ อย่างไรก็ดี ในประเทศประชาธิปไตย การลบล้างประวัติศาสตร์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะผู้กระทำการจะพบกับการต่อต้านโดยสังคม แต่ในสังคมเผด็จการ การต่อต้านการลบล้างอดีตเกิดขึ้นได้ยาก เพราะนอกจากผู้คนจำนวนมากจะหันหลังให้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว รัฐบาลยังปราบปรามผู้มีความคิดเห็นต่างอย่างรุนแรง พร้อมกับผูกขาดประวัติศาสตร์และฉกชิงประวัติศาสตร์ให้มาอยู่ข้างตนเอง ดังกรณีการหายไปของหมุดคณะราษฎรและแทนที่ด้วย "หมุดหน้าใส"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วีรชน ชี้ 3 ปี คสช.ผลงานเกินเป้า - ยิ่งลักษณ์ ทวงสัญญา อย่าให้ เป็น 3 ปี ที่ต้องสูญเปล่า Posted: 21 May 2017 11:30 PM PDT รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เผย คสช. จะแถลงผลงาน 3 ปี พร้อมรัฐบาล ปลาย ส.ค.-ต้น ก.ย. ย้ำผลงานของ คสช. ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเกินเป้าเป็นอย่างมาก ด้าน ยิ่งลักษณ์ ทวงสัญญา อย่าให้ เป็น 3 ปี ที่ต้องสูญเปล่า พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค (แฟ้มภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล) 22 พ.ค. 2560 สำนักข่าว INN รายงานวาา พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ถึงความชัดเจนในการแถลงผลงาน 3 ปี คสช. เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี วันนี้ ว่า เป็นไปตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการ คือจะเป็นการแถลงรวบยอดทั้งครบรอบ 3 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ 3 ปีรัฐบาล ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายนทีเดียว ส่วนรูปแบบกำลังอยู่ระหว่างการหารือ เบื้องต้นยืนยันว่าได้มีการรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งลักษณ์ทวงสัญญา อย่าให้ เป็น 3 ปี ที่ต้องสูญเปล่าขณะที่วันนี้ (22 พ.ค.60) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Yingluck Shinawatra' ในหัวข้อ 'อย่าให้ 3 ปี ของการยึดอำนาจต้องสูญเปล่า' โดยระบุว่า วันนี้เป็นวันที่ ครบรอบ 3 ปี ของ คสช. ที่เข้ามายึดอำนาจจาก รัฐบาลตน คงจะจำกันได้ว่า เหตุผลที่เข้ามายึดอำนาจนั้นเพราะมี ปัญหาจากความแตกแยกทางการเมือง ต้องแก้ไข ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ให้ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา และต้องการที่จะมาปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้ดีขึ้น เกิดความเป็นธรรมกับทุกพวกทุกฝ่าย จะได้เกิดความสงบ และมีความปรองดองเกิดขึ้นในชาติ "และวันนี้ก็ครบ 3 ปี แล้วนะคะ เป็น 3 ปี ของประเทศไทย ที่รอวันนั้นด้วยความหวัง หวังจะให้บ้านเมือง เกิดความสงบ ปรองดองและเกิดหลักนิติธรรมขึ้นในบ้านเมือง เราจะได้เลิกทะเลาะกันสักที และร่วมกันปฏิรูปประเทศเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ จะได้ร่วมกันทำให้บ้านเมืองของเราดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ อยู่ในเวทีโลกด้วยความภาคภูมิใจ ตามที่สัญญาว่าจะคืนความสุขให้กับพี่น้องประชาชนและประเทศ แต่วันนี้พวกเรายังไม่เห็นการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ถ้าไม่มีการปฏิรูปก็สูญเปล่าเพราะความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมากจากการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น "อย่าให้ เป็น 3 ปี ที่ต้องสูญเปล่าเลยค่ะ" ยิ่งลักษณ์ พร้อมทั้งท้ายด้วยว่า ดิฉันขอทวงสัญญา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไอลอว์เปิดรายงาน 3 ปี คสช. วางฐานอำนาจ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” Posted: 21 May 2017 11:04 PM PDT ไอลอว์เปิดรายงาน 3 ปี คสช. วางฐานอำนาจ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ชี้ คสช.พาไทยถอยหลังกลับรวมศูนย์อำ แฟ้มภาพ 22 พ.ค. 2560 โครงการอินเท รายงานฉบับนี้ ชี้ให้เห็นว่า คสช. ใช้เวลา 3 ปีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองการ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ ไอลอว์ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้เป็นการประมวลภูมิ แฟ้มภาพ "คสช. ได้ทำลายกลไกและวัฒนธรรมการปกคร ยิ่งชีพ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ คสช. ยังบ่อนทำลายการเคลื่อนไหวของภา สำหรับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย อ่านรายงาน สามปี คสช. วางฐานอำนาจ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ฉบับเต็มที่ : https://ilaw.or.th/node/4505 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น