ประชาไท | Prachatai3.info |
- ประมวลภาพ รำลึก 7 ปี สลายการชุมนุม นปช.
- ประยุทธ์ ชี้ 'คิดนอกกรอบ' สำคัญอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมโลกศตวรรษที่ 21
- โฆษก ก.ยุติธรรม ยันกระทรวงไม่มีนโยบายเลิกจ้างลูกจ้าง
- ทนาย 'ศิริกาญจน์ เจริญศิริ' รับรางวัล Lawyers for Lawyers ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม
- ชาวริมโขงสิ้นหวัง อัดรัฐจัดเวทีหนุนเขื่อนปากแบงแทนที่จะฟังข้อเท็จจริงของชุมชน
- บังคับใช้แล้วกฎกระทรวง คุ้มครองสุขภาพ-ความปลอดภัย หญิงมีครรภ์-เด็กต่ำกว่า 15 ที่รับงานไปทำที่บ้าน
- เครือข่ายภาคปชช. ด้านต้นไม้ในเมือง ออกแถลงการณ์ ร้องรัฐปฏิรูปต้นไม้ในเมือง
- 3 วันยังไม่ได้กลับบ้าน ทหารเชิญครูตาดีกาสะบ้าย้อยอยู่ค่ายฯ อ้างปลอดภัย หลังถูกอุ้ม
- สช. เดินหน้า ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ เปิดเวทีระดมความเห็น 4 ภูมิภาค
- เปิดรายชื่อคนตาย พ.ค.35 และ พ.ค.53 – 7 ปี ความยุติธรรมที่ไม่ไปไหน
- โขงของใคร? ผลกระทบของเขื่อนแม่น้ำโขงที่คนใช้ไม่เดือดร้อน คนเดือดร้อนไม่ได้ใช้
- 7 ปี สลายแดง ศปช. เปิดอีก 5 ความจริง ย้ำปรองดอง ที่ไร้ความจริง-ยุติธรรม เป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ
ประมวลภาพ รำลึก 7 ปี สลายการชุมนุม นปช. Posted: 19 May 2017 09:29 AM PDT ทำบุญรำลึก วัดปทุมฯ - อิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว ผบก.น.5 สั่งห้ามรำลึก ล้อมทั้งป้ายและรายแม็คฯ ราชประสงค์ ตร.นำตัวนักแสดง 'walk for justice' ไป สน.ปทุมวัน ขณะที่ สุดสงวน ลงบันทึกประจำวันที่ ยันไม่ได้ชวนคนมาชุมนุม แต่ต่างคนต่างมา โตโต้ ถูกคุมตัวไป สน.ลุมพินี ก่อนปล่อยตัวในเวลาต่อมา 19 พ.ค. 2560 เนื่องในวาระครบรอบ 7 ปี การสลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีการจัดกิจกรรมรำลึกทั้งบริเวณวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร สี่แยกราชประสงค์ และศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด ทำบุญรำลึก วัดปทุมฯ - อิมพีเรียลเวิลด |
ประยุทธ์ ชี้ 'คิดนอกกรอบ' สำคัญอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมโลกศตวรรษที่ 21 Posted: 19 May 2017 09:15 AM PDT พล.อ.ประยุทธ์ ชี้การคิดนอกกรอบ เป็นการคิดสร้างสรรค์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมของโลกยุคศตวรรษที่ 21 ระบุช่วยยกระดับการศึกษาของประเทศและเปิดโอกาสให้ ปชช.ได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ 19 พ.ค. 2560 เมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งถึงการยกระดับการศึกษาของประเทศ โดยระบุว่า การคิดนอกกรอบ เป็นการคิดสร้างสรรค์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมของโลก ยุคศตวรรษที่ 21 "ผมเห็นว่าการคิดนอกกรอบ เป็นการคิดสร้างสรรค์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมของโลก ยุคศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นการยกระดับการศึกษาของประเทศ และเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ ในการที่เราจะก้าวไปสู่ การศึกษาไร้พรมแดน รัฐบาลจึงได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยกตัวอย่างโครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐ ทุกหมู่บ้าน ว่า รัฐบาลนี้ เร่งดำเนินการอยู่ 25,000 หมู่บ้าน ในปีนี้ และอีก 15,000 หมู่บ้านในอนาคต เรามีอยู่แล้ว 30,000 กว่าหมู่บ้าน ทั้งหมดมี 70,000 กว่าหมู่บ้าน ไม่เช่นนั้นจะเข้าใจว่า ทำไมทำช้า มีอยูแล้ว ส่วนที่ขาดเราก็จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ อีกแนวความคิดหนึ่ง คือการส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันการศึกษา โดยให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ อีกด้วย อาทิเช่น จากประเทศที่เจริญแล้ว หรือจากสถาบันที่ประสบความสำเร็จมาก่อน อาจเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ในสาขาที่ประเทศไทยขาดแคลน แต่เป็นที่ต้องการ และโรงเรียนเอกชน ที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น อย่าถือว่าจะเอาใครมาแย่งงานของเราเลย เป็นระยะแรก เราต้องการสนับสนุนนโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC นะครับ หรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 10 แห่ง พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวด้วยว่า ความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ ในด้านการศึกษา คือมีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เกิดผลเป็นรูปธรรม เป็นการใช้สีกำหนดขั้นตอนการอ่าน สำหรับวิชาด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของครูในโรงเรียนบ้านหนองแก อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ที่ส่งผลให้คะแนนสอบของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น ติดระดับประเทศ โดยเฉพาะคะแนนสอบโอเน็ต ซึ่งโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่ ก็ได้นำวิธีการดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อขยายผล ผมเองก็เห็นว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสอนที่เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นแบบอย่างได้ หรือให้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้อีกด้วย ก็ขอให้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ก็อยากจะยกเป็นกรณีศึกษา แล้วได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ให้กระทรวงศึกษาธิการศึกษา ได้ขยายผลแนวทางการสอนนี้ หรือแบบอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย โดยให้หาข้อมูลเพิ่มเติม จากการรวบรวมแนวทางการสอนที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับบริบทของคนไทยและสังคมไทย เพื่อนำไปเผยแพร่ให้กับครูในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศอีกด้วยต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โฆษก ก.ยุติธรรม ยันกระทรวงไม่มีนโยบายเลิกจ้างลูกจ้าง Posted: 19 May 2017 08:47 AM PDT โฆษกกระทรวงยุติธรรม แจงข่าวจ่อโละลูกจ้างชั่วคราวกว่า 2 พัน ระบุเป็นผลมาจากปัญหาด้านงบฯ ส่งผลให้ลูกจ้างชั่วคราวอาจไม่ได้รับการจ้างต่อไป แต่ขณะนี้ได้ขออัตรากำลังข้าราชการหรือพนักงานราชการ และมาตรการอื่น เพื่อให้สามารถจ้างลูกจ้างไว้ก่อน หวั่นกระทบบริการประชาชน 19 พ.ค. 2560 จากกรณี มติชนออนไลน์และข่าวช่อง 8 รายงาน เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ข่าวจากกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า สิ้นปีงบประมาณ 2560 กระทรวงยุติธรรมจะเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราว จ้างเหมาบริการ จำนวนกว่า 2,000 อัตรา เนื่องจากไม่มีงบประมาณ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ก่อนหน้านี้มาจากดอกเบี้ยของกรมบังคับคดี เป็นเงินวางทรัพย์ หรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์และรอคืนคู่ความ มีระยะเวลาพอสมควร แต่เมื่อมีนโยบายการเร่งระบายทรัพย์การคืนเงินคู่ความโดยเร็ว ทำให้ระยะการคงเงินดังกล่าวมีจำนวนสั้น จึงไม่เกิดดอกเบี้ยในส่วนนี้ ทำให้ไม่มีเงินดอกเบี้ยมาบริการจัดการจ้างลูกจ้างชั่วคราวและจ้างเหมาบริการ อีกทั้งนโยบายของรัฐเข้าสู่ระบบ e payment การซื้อขายของรัฐเป็นระบบจ่ายตรงเข้าระบบ จึงไม่มีเงินนอกงบประมาณมาบริการเหมือนที่ผ่านมา ต่อมา เวลาประมาณ 23.00 น. ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะ หัวข้อ "วิกฤตการเลิกจ้างลูกจ้างในสังกัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมไม่มีนโยบายเลิกจ้างลูกจ้าง" โดยระบุว่า จากแนวนโยบายของกระทรวงยุติธรรม ส่งผลให้จำนวนลูกจ้างชั่วคราวและจ้างเหมาบริการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2561 ของกระทรวงยุติธรรมจึงอาจไม่ได้รับการจ้างต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องไปขอรับบริการจากส่วนราชการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามกระทรวงยุติธรรมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมจึงได้ขออัตรากำลังข้าราชการหรือพนักงานราชการ โดยเฉพาะในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดไปยังสำนักงาน กพร. และ กพ. ขณะที่ส่วนราชการอื่นๆ ก็ทำคู่ขนานไปด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อขอชะลอการใช้ระบบ National e-payments ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมไปพลางก่อนจนกว่ากระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน กพร. และสำนักงาน กพ. จะได้หาข้อยุติร่วมกันได้ หากได้รับการยกเว้นการเข้าระบบ National e-payments และดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางเหลือน้อยลง การใช้เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเสริมงบประมาณ หากต้องเลือกระหว่างการจ้างลูกจ้างจำนวนดังกล่าวข้างต้นกับการนำไปเสริมด้านอื่นๆ แล้ว กระทรวงยุติธรรมก็จะเลือกที่จะใช้จ้างลูกจ้างไว้ก่อน เพราะกระทบต่อการบริการประชาชนโดยตรง ส่วนงบบริหารอื่นก็ต้องของบประมาณปกติต่อไป รายละเอียดที่ ธวัชชัย โพสต์อธิบายมีดังนี้ ปกติกระทรวงยุติธรรมจะมีเงินเสริมงบประมาณจากดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางที่คู่ความนำมาวางไว้ที่กรมบังคับคดีที่นำไปฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งกระทรวงการคลังอนุญาตให้กระทรวงยุติธรรมนำไปใช้เสริมงบประมาณได้ โดยให้กำหนดเป็นระเบียบการใช้จ่ายเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ส่งเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางจำนวนร้อยละ 10 ของยอดเงินดอกเบี้ยคงเหลือทุกสิ้นเดือนมีนาคมและสิ้นเดือนกันยายนของทุกปีเป็นรายได้แผ่นดินโดยให้นำส่งภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นเดือนนั้นๆ นับแต่นั้นเป็นต้นมากระทรวงยุติธรรมก็จะได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามจริงตามภารกิจปกติและภารกิจที่เพิ่มขึ้นของกระทรวงยุติธรรม แต่จะสามารถใช้เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลาง เพื่อเสริมงบประมาณตลอดมา ตั้งแต่เพื่อการปลูกสร้างซ่อมแซมหรือต่อเติมอาคารสถานที่ราชการ การขออนุมัติซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงการจ้างลูกจ้างชั่วคราวหรือการจ้างเหมาบริการ โดยที่ส่วนราชการต่างๆในสังกัดต้องมีหนังสือหรือบันทึกขอใช้จ่ายเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางตามแบบบัญชีประมาณการรายจ่าย พร้อมด้วยบันทึกชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและรายละเอียดต่างๆ ประกอบ โดยเฉพาะต้องเป็นรายการจำเป็นที่ได้ของบประมาณมาแล้วแต่ไม่ได้รับการจัดสรร เพื่อให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณา โดยจะมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิจารณาในเบื้องต้นก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาในลำดับสุดท้าย เว้นแต่กรณีที่เป็นนโยบายสำคัญที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากไม่ดำเนินการจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการก็ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติได้เลย แต่ต้องมีการแจ้งให้คณะกรรมการฯ ทราบในโอกาสต่อไป ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบราชการเหมือนการใช้งบประมาณปกติ สำหรับอัตรากำลังลูกจ้างที่มีการขอให้เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางนั้นเป็นภารกิจจำเป็นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอัตราข้าราชการและพนักงานราชการอันเนื่องมาจากมาตรการจำกัดอัตรากำลังภาครัฐ เช่น การขยายหน่วยงานตามการเปิดศาลใหม่ การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ อาทิ สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น หรือ SME ปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพราะขยายอัตราโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ที่ศาลให้รอลงอาญาและคุมประพฤติจากอัตราโทษไม่เกิน 3 ปี เป็น 5 ปี หรือการนำมาตรการควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ EM มาใช้ในงานคุมประพฤติ การปฏิบัติตามคำสั่ง คสช. เรื่อง การควบคุมสถานบันเทิงและเด็กแว้นของกรมพินิจฯ การแก้ปัญหาการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้คนจนคนด้อยโอกาส แก้ปัญหาคนจนนอนคุก คนรวยนอนบ้าน ปัญหาตีนโรงตีนศาล ปัญหาเหยื่ออาชญากรรม โดยกองทุนยุติธรรมและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และอื่นๆ โดยผ่านสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่ปัจจุบันไม่มีอัตรากำลังราชการเลยใน ๕๗ จังหวัด และ 5 สาขา จากความจำเป็นดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางไปจ้างลูกจ้างชั่วคราวและจ้างเหมาบริการทั้งหมดรวม 8 หน่วยงาน จำนวน 2,777 อัตรา รวมเป็นเงิน 454.175 ล้านบาทต่อปี แต่เนื่องจากนโยบายของกระทรวงยุติธรรมต้องการเร่งรัดให้กรมบังคับคดีขายทอดตลาดและคืนเงินแก่คู่ความด้วยความรวดเร็ว และปฏิรูปการขายทอดตลาดใหม่โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาดำเนินการ เพื่อต้องการให้เงินและสินทรัพย์ที่มีอยู่ในความดูแลไปกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงทำให้มียอดการขายแต่ละปีสูงนับแสนล้านบาท ส่งผลทำให้ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางลดลงโดยระบบดังกล่าว ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่ต้องการใช้ National e-payments ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้จะไม่มีเงินกลางของคู่ความไปวางที่กรมบังคับคดีอีกต่อไป นั่นจึงหมายความว่าในอนาคตจะไม่มีเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางอีกต่อไป แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงยุติธรรม จึงได้นำอัตราทั้งหมดที่ใช้ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางไปทำเป็นคำขอตั้งงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งขณะนี้ทราบแล้วว่าไม่ได้รับการจัดสรรตามที่ขอ ฉะนั้น จำนวนลูกจ้างชั่วคราวและจ้างเหมาบริการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2561 ของกระทรวงยุติธรรมจึงอาจไม่ได้รับการจ้างต่อไป ก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องไปขอรับบริการจากส่วนราชการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น กระทรวงยุติธรรมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมจึงได้ขออัตรากำลังข้าราชการหรือพนักงานราชการ โดยเฉพาะในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดไปยังสำนักงาน กพร. และ กพ. ขณะที่ส่วนราชการอื่นๆ ก็ทำคู่ขนานไปด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อขอชะลอการใช้ระบบ National e-payments ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมไปพลางก่อนจนกว่ากระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน กพร. และสำนักงาน กพ. จะได้หาข้อยุติร่วมกันได้ อนึ่ง หากได้รับการยกเว้นการเข้าระบบ National e-payments และดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางเหลือน้อยลง การใช้เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเสริมงบประมาณ หากต้องเลือกระหว่างการจ้างลูกจ้างจำนวนดังกล่าวข้างต้นกับการนำไปเสริมด้านอื่นๆ แล้ว กระทรวงยุติธรรมก็จะเลือกที่จะใช้จ้างลูกจ้างไว้ก่อน เพราะกระทบต่อการบริการประชาชนโดยตรง ส่วนงบบริหารอื่นก็ต้องของบประมาณปกติต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทนาย 'ศิริกาญจน์ เจริญศิริ' รับรางวัล Lawyers for Lawyers ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม Posted: 19 May 2017 08:26 AM PDT ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้ารับรางวัล Lawyers for Lawyers award 2017 ที่เนเธอแลนด์ เจ้าตัวแจงสถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิฯ ในไทย ตลอดระยะ 3 ปีภายหลังการรัฐประหาร พร้อมย้ำสำคัญในการทำหน้าที่ทนายความเพื่อปกป้องสิทธิ ภาพการเข้ารับรางวัล ของ ศิริกาญจน์ ที่มาภาพ เพจ Lawyers for Lawyers 19 พ.ค. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศิริกาญจน์ เจริญศิริ หรือ ทนายจูน ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้ารับรางวัล Lawyers for Lawyers award 2017 จากองค์กร Lawyers for Lawyers ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า รางวัล Lawyers for Lawyers Award เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2554 และมอบรางวัลในทุกๆ สองปี โดยองค์กรภาคประชาสังคมของประเทศเนเธอร์แลนด์ Lawyers for Lawyers (L4L) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระและไม่สังกัดพรรคการเมือง มีภารกิจในการส่งเสริมนิติรัฐ เสรีภาพ และความเป็นอิสระในวิชาชีพกฎหมาย โดยการสนับสนุนทนายความทั่วโลกซึ่งถูกข่มขู่หรือคุกคามการทำหน้าที่ตามวิชาชีพ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานว่าด้วยบทบาทนักกฎหมายของสหประชาชาติ สำหรับปี 2560 คณะกรรมการได้พิจารณารางวัลจากรายชื่อทนายความและองค์กรกว่า 18 รายชื่อทั่วโลก และมอบรางวัลให้กับ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เพื่อช โดยในงานดังกล่าว ศิริกาญจน์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยซึ่งยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดระยะสามปีภายหลังการรัฐประหาร ความสำคัญในการทำหน้าที่ทนายความเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และระบบกฎหมายภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน คำกล่าวในโอกาสรับรางวัลของศิริกาญจน์ เจริญศิริ (จูน) รางวัล Lawyers for Lawyers Award 2560 19 พฤษภาคม 2560 ท่านประธานองค์กร Lawyers for Lawyers และคณะกรรมการ กรรมการตัดสินผู้ทรงเกียรติ เพื่อนร่วมงาน สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ ในวันที่ 27 มีนาคม สามสัปดาห์หลังจากที่ดิฉันเดินทางมาถึงเมืองทิลเบิร์กตามโครงการระยะสามเดือนว่าด้วยความยุติธรรมและสันติภาพของเมืองเชลเตอร์ซิตี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือเมืองต่าง ๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดิฉันได้รับอีเมล์ในตอนเช้าแจ้งว่าเป็นผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล Lawyers for Lawyers Award ประจำปี 2560 ดิฉันใช้เวลาอ่านอีเมล์ฉบับนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงและอ่านทวนอีก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้อ่านผิด ความคิดแวบแรกคือ "เรื่องจริงหรือนี่? ดิฉันยังอายุน้อยและด้อยประสบการณ์ (ที่จะได้รับรางวัลอันทรงเกียรติเช่นนี้!)" จากนั้นก็รู้สึกเป็นเกียรติ รู้สึกขอบคุณที่ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องความมานะพยายามของนักกฎหมายในการปกป้องหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ระหว่างที่ถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง ดิฉันยืนเบื้องหน้าท่านวันนี้ เพื่อแสดงความขอบคุณอย่างลึกซึ้ง และในนามตัวแทนนักกฎหมายของไทย รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ ขอบคุณ Lawyers for Lawyers และทุกท่านที่ให้ความสนับสนุนกับเรา ดิฉันอยากอธิบายให้เห็นสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นดังที่กรรมการตัดสินได้ปรารภว่าเป็นเรื่องที่ชาวตะวันตกไม่ค่อยได้ทราบมากนัก ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กองทัพไทยได้ทำรัฐประหาร เปลี่ยนจากอำนาจรัฐบาลพลเรือนเป็นรัฐบาลทหาร ใช้วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ การระงับใช้รัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแทน ซึ่งสถาปนาอำนาจกองทัพเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลไม่เกินเจ็ดวัน โดยไม่มีข้อหาและไม่ให้เข้าถึงทนายความ สั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองของบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ขยายเขตอำนาจศาลทหารเหนือพลเรือนสำหรับความผิดบางกรณี รวมทั้งความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุก 3-15 ปีต่อหนึ่งกรรม สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ดิฉันและเพื่อนร่วมงานเห็นว่าต้องทำอะไรบางอย่าง เป็นความเห็นชอบร่วมกันไม่เฉพาะบรรดานักกฎหมายสิทธิมนุษยชน แต่รวมถึงเพื่อนของเราทั้งที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม และอาสาสมัครซึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคมมายาวนาน พวกเราเห็นว่าภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนต้องก้าวออกมาเป็นแนวหน้าเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เราได้ก่อตั้ง "ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน" เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีโดยรัฐบาลทหาร เราเห็นว่าสถานการณ์น่าจะกลับสู่สภาวะปรกติภายในเวลาสามเดือน แต่หลังจากนั้นก็ตระหนักว่า ทหารจะยังคงมีอำนาจต่อไปยาวนานกว่านั้น และจนถึงทุกวันนี้ โดยสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือในคดีที่ขึ้นศาลทหารและศาลพลเรือน 110 คดี เป็นคดีเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม และคดีอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องประกันให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ ในเวลาเดียวกัน เพื่อนร่วมงานของดิฉันที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยสองคนซึ่งทำหน้าที่สังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน กลับถูกดำเนินคดีและต้องขึ้นศาลทหารเนื่องจากการทำงานของตน แต่พวกเขายังไม่ท้อถอยและยังคงมุ่งหน้าทำงานให้ดีที่สุดต่อไป ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ นับแต่การทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 รัฐบาลไทยได้กำหนดกรอบกฎหมายเผด็จการซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจอย่างกว้างขวางและตรวจสอบไม่ได้กับหัวหน้าคสช. โดยศาลก็ไม่สามารถตรวจสอบอำนาจนี้ได้ และประกาศคำสั่งเหล่านี้จะยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป แม้ภายหลังมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ร่างขึ้นใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน ในฐานะนักกฎหมาย ดิฉันไม่สามารถยอมรับ กรอบและระบอบเผด็จการซึ่งทำลายระบบการตรวจสอบถ่วงดุล ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพได้ ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลทหารและบรรดาหน่วยงานของพวกเขาได้รับการยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายท่านใดซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองกฎหมาย จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นนี้ได้? เราไม่ได้เป็นผู้ปกป้องความยุติธรรมหรือ? ในปี 2558 ดิฉันต้องประสบปัญหาท้าทายสำคัญในชีวิตการทำงาน เป็นบททดสอบอย่างแท้จริงว่า ดิฉันเป็นนักกฎหมายที่มีศักดิ์ศรีและน่าภาคภูมิใจ และสามารถปกป้องสิทธิของบุคคลอื่นได้หรือไม่ เนื่องจากทางการไทยได้พยายามขอตรวจค้นรถยนต์ของดิฉันตอนกลางคืนโดยไม่มีหมายศาลในบริเวณพื้นที่ของศาลทหาร เจ้าหน้าที่อ้างว่าพวกเขาต้องการตรวจยึดสิ่งของและโทรศัพท์มือถือของนักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษา 14 คนที่เป็นลูกความของดิฉัน สิ่งที่ดิฉันคิดคือเราจะเป็นนักกฎหมายได้อย่างไร ถ้าปล่อยให้มีการตรวจค้นอย่างผิดกฎหมายเกิดขึ้นได้? ดิฉันจะมีหน้าไปบอกลูกความอย่างไรเวลาไปเยี่ยมพวกเขาในเรือนจำ? ดิฉันเห็นว่าเป็นเรื่องไร้จริยธรรมและกระทบต่อความลับส่วนตัวของลูกความดิฉัน ที่สำคัญยังเท่ากับว่าดิฉันยินยอมให้มีการละเมิดความยุติธรรมทางกฎหมาย และเพิกเฉยให้มีการโจมตีต่อความเป็นอิสระของนักกฎหมาย ดิฉันจึงปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่และการกระทำที่เป็นการละเมิดกฎหมายของพวกเขา แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะส่งผลให้ดิฉันถูกดำเนินคดีอาญาในหลายข้อหา รวมทั้งการปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานและข้อหาร่วมกันล้มล้างระบอบปกครอง ซึ่งอยู่ใต้เขตอำนาจศาลทหาร แต่ดิฉันไม่เคยเสียใจ นอกจากแรงบันดาลใจของเพื่อนร่วมงานที่มีหลักการและกล้าหาญแล้ว การตัดสินใจของดิฉันครั้งนั้นยังเป็นผลมาจากจิตใจอันกล้าหาญของนักกิจกรรมหนุ่มสาว ซึ่งกล้าแสดงความเห็นและประท้วงอย่างสงบต่อระบอบที่ไม่เป็นธรรมและรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย หนึ่งในจำนวนนั้นถูกคุมขังอยู่ในปัจจุบัน โดยถูกควบคุมตัวมาแล้วห้าเดือนตามความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากการแชร์ข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านทางเฟซบุ๊ก ดิฉันหวังว่าเราจะส่งความคิดและกำลังใจให้กับพวกเขา ซึ่งเป็นผู้ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกและประชาธิปไตยอย่างสงบ และบรรดาผู้ที่ลุกขึ้นยืนต่อสู้เพื่อสิทธิของคนอื่น ความกล้าหาญในการทำงานกฎหมายและการปกป้องสิทธิของบุคคลอื่นที่บุคคลต่าง ๆ ยกย่องในตัวดิฉัน เป็นผลมาจากความเข้มแข็งและปณิธานที่เหนียวแน่นของบุคคลต่าง ๆ ที่มีต่อชีวิตดิฉัน ซึ่งคงไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด อย่างน้อยดิฉันอยากกล่าวถึงบุคคลต่าง ๆ ดังนี้ ขอบคุณครอบครัวดิฉันที่เลี้ยงดูให้ดิฉันมีความใส่ใจต่อชีวิตและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ ส่งเสริมให้ดิฉันได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะประสบปัญหาด้านการเงินอย่างไรก็ตาม และการให้เสรีภาพที่จะให้ดิฉันเป็นตัวของตัวเอง ปฏิบัติตามปณิธานในชีวิต และทำในสิ่งที่รัก ดิฉันขอบคุณสำหรับความอดทนและความเข้มแข็งของพวกเขาที่ยืนหยัดเคียงข้างดิฉันในเส้นทางอันท้าทายนี้ ขอขอบคุณชุมชนนักสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประชาคมระหว่างประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ และทุกท่านซึ่งเห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ขอบคุณสำหรับความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของท่าน ที่สำคัญ ขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ความกล้าหาญและปณิธานอันเด็ดเดี่ยวของดิฉันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในบรรดาเพื่อนร่วมงาน และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งร่วมกันต่อสู้และหวังว่าจะเห็นความเป็นธรรมและความยุติธรรม ดิฉันขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง หากพวกคุณกำลังรับชมและได้ยินคำกล่าวนี้ ดิฉันหวังว่าคุณจะรู้สึกถึงกำลังใจของดิฉันและกำลังใจจากบุคคลอื่น ๆ มากมายทั่วโลก ซึ่งชื่นชมการทำงานและปณิธานของท่าน เนื่องจากเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีวันยุติ ดิฉันขอให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมงานและนักกฎหมายรุ่นใหม่ รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พวกท่านต้องไม่ท้อถอย ต้องมีความหวัง และภาคภูมิใจในสิ่งที่ท่านทำอยู่ รางวัล Lawyers for Lawyers Award สะท้อนถึงการทำงานอย่างซื่อสัตย์และมั่นคงและความสนับสนุนที่ดิฉันได้รับจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ เหมือนพวกเขากำลังบอกดิฉันอย่างหนักแน่นว่า "จูน คุณทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่นักกฎหมายที่ดีต้องทำ!" หมายถึงว่าเมื่อเพื่อนต้องเผชิญปัญหาและภัยคุกคามเนื่องจากการปกป้องสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองระบบกฎหมาย พวกเขาควรได้รับกำลังใจและความสนับสนุน เพื่อให้สามารถทำงานอย่างเป็นอิสระ ปราศจากความกลัวและการคุกคาม ด้วยเหตุดังกล่าว ดิฉันเชื่อมั่นอย่างจริงใจว่ารางวัลนี้เป็นสิ่งที่อุทิศให้กับนักกฎหมายและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่น ๆ อีกมาก บางท่านอยู่ร่วมกับเราในวันนี้ พวกเขาไม่เคยยกเลิกการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและสิทธิของบุคคลอื่น ไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่รวมถึงที่อื่น ๆ ด้วย รางวัลนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงการยกย่องส่วนบุคคล แต่เป็นการยกย่องการทำงานที่ยิ่งใหญ่ของทุกคน ในการต่อสู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น และเป็นการต่อสู้ร่วมกันของเราเพื่อสิทธิและความยุติธรรมขั้นพื้นฐาน อย่าลืมว่างานของเรายังไม่สิ้นสุด! ให้ร่วมกันทำงานต่อไปทุกวัน! ขอขอบคุณ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวริมโขงสิ้นหวัง อัดรัฐจัดเวทีหนุนเขื่อนปากแบงแทนที่จะฟังข้อเท็จจริงของชุมชน Posted: 19 May 2017 08:25 AM PDT 19 พ.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวี ยงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดเวทีให้ข้อมู ลโครงการเขื่อนปากแบง ซึ่งกั้นแม่น้ำโขงในสาธารณรั ฐประชาธิปไตประชาชน (สปป.) ลาว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการลุ่มน้ำกก-โขง เครือข่ายอาสาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ชาวบ้านจากเขตอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น เข้าร่วมประมาณ 150 คน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเวทีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยได้ นำเสนอรายงานความคิดเห็นทางเทคนิค หรือ Technical Reviews Report ซึ่งจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ สำนักงานเลขาธิการแม่น้ำโขง (MRCs) โดยศึกษาทบทวนรายงานที่เกี่ยวข้ องกับเขื่อนปากแบงจำนวน 20 เล่ม โดยในครั้งนี้มีการนำเสนอข้อมูลใน 3 ด้านคือ ด้านอุทกวิทยาและตะกอน ความปลอดภัยของเขื่อน ด้านประมง ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยสรุปคือ เนื้อหาในรายงานโครงการเขื่อนปากแบงยังไม่มีความสมบูรณ์ ในแทบทุกด้าน และจำเป็นต้องมีการจัดทำการศึกษาเพิ่มเติม นวลลออ วงศ์พินิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบริหารลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ขณะนี้โครงการเขื่อนปากแบงอยู่ ในขั้นตอนการเจรจาในประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) โดยได้จัดเวทีนี้เพื่อรับฟังข้อกังวลและประเด็นจากผู้มีส่ วนได้เสียในพื้นที่ 8 จังหวัดและเพื่อประกอบท่าทีของไทยต่อสปป.ลาว เจ้าของโครงการ และวันนี้มาทำตามกรอบความตกลงของ MRC ที่ร่างขึ้นมาอยู่บนหลักการใช้น้ำอย่างสมเหตุผลและเป็นธรรม ทั้งนี้ลาวมีอำนาจอธิปไตยในกาดำเนินโครงการของตัวเอง และตามหลักการต้องมีการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น และต้องมีความโปร่งใสและซื่อสัตย์ คือการต้องบอกกล่าวต่อเพื่อนบ้านว่าจะเกิดอะไรขึ้น นวลลออ กล่าวว่ากระบวนนี้ เราไม่มีสิทธิในการยับยั้งการก่อสร้าง แต่ประเทศเจ้าของโครงการต้องคำนึงถึงสิทธิของประเทศเพื่ อนบ้าน และไม่ใช่กระบวนการที่ "ให้หรือไม่ให้" ก่อสร้างโครงการแต่อย่างใด ต้องนำเอาข้อมูลรับฟังความเห็นไปเป็นข้อมู ลประกอบการเจรจาในระดับอธิบดีของ 4 ประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการลดผลกระทบร่วมกันของประเทศสมาชิก และสิ่งที่ได้ทำมาแล้วคือ ได้ไปคุยกับรัฐบาลลาวอย่างไม่ เป็นทางการ โดยนำเอาข้อมูลห่วงกังวลไปคุยกับรัฐบาลลาวและขอข้อมูลทางเทคนิคจากรัฐบาลเพื่อจะทำอย่างไรไม่ ให้เกิดผลกระทบต่อฝั่งไทย มีการส่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการและจะเป็นกระบวนการที่เป็นทางการต่อไป ต่อมาก็ได้มีการจัดการประชุมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องว่าเกิดขึ้นอะไรขึ้น นอกจากนี้ได้มีการจัดงบประมาณและศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนในแม่น้ำโขง เริ่มเก็บฐานข้อมูลของหน่วยงานตนเอง เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้น พื้นที่เสี่ยงที่ไหนบ้าง ทำโดยประเทศไทย ยังไม่ไปไม่ถึงเรื่องการชดเชย อภิชาติ เติมวิชากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมง กล่าวว่า จากรายงานการศึกษาเรื่องประมงของเขื่อนปากแบง มีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลสั้นมาก การเก็บตัวอย่าง 6 สถานีละครั้ง (2 ฤดู) ถ้าจะนำมาใช้ในงานวิชาการถือว่าไม่เพียงพอ ถ้าหากมีการสร้างเขื่อนแล้ว ปลาหายไป จะทำอย่างไร แต่เขาจะเอาข้อมูลที่เก็บมาอ้างว่ามีเท่านี้ แต่ที่จริงมีชนิดพันธุ์ ปลามากกว่านี้ พื้นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของปลา ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้เลย ข้อมูลเฉพาะปลาบึกขึ้นมาไข่ และมีข้อมูลปลาอีกหลายตัวที่ อพยพยาวๆ เช่น ปลาเลิม พื้นที่เลี้ยงตัวของปลาลูกปลาและแหล่งที่ชาวบ้านต้องทำมาหากินต้องหายไป ทางปลาผ่าน ยาว 1.6 กิโลเมตร อัตราส่วนความชัน 1.8 /1 เมตร ค่อนข้างชัน โอกาสที่ปลาแม่น้ำโขงจะสามารถว่ายผ่านขึ้นไปเป็นไปได้ยากมาก การอพยพของปลามันไม่ได้ขึ้นทางตรง มันจะต้องมีการพักระยะทาง ไม่มีที่พักแหล่งน้ำของปลา เพ่อสะสมพลังงานก่อนที่จะขึ้นสูงไปอีก และจะต้องมีจุดดึงดูดให้ปลาขึ้นคือ ความเร็วของน้ำและกระแสน้ำที่ เหมาะสม ต้องมีระบบควบคุมจัดการน้ำให้ เร็วเพื่อล่อปลาให้ขึ้นอพยพ หาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนอนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวยังกังวลเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดน เรื่องการเดินเรือของธุรกิจท่องเที่ยว ในรายงานไม่มีระบุ หากเศรษฐกิจการท่องเที่ยวหายไป หากน้ำท่วมแก่งหินในลำน้ำ โขงหายไป ก็ไม่มีนักท่องเที่ยวแน่นอน เรื่องระดับน้ำจากจุดที่สร้างเขื่อนน้ำจะเท้อขึ้นมาถึงบริเวณพรมแดนไทย และระหว่างการก่อสร้างไม่มีการประเมินผลกระทบ คนที่จะมาตอบคำถามของประชาชนวันนี้ควรจะเป็นตัวแทนของบริษัทด้วยซ้ำ หาญณรงค์กล่าวว่า หากถ้าข้อมูลยังไม่นิ่งไม่ควรสร้างเขื่อนไปแล้ว และต้องมาชี้แจงต่อ MRCs ก่อนจะดำเนินการต่อ ในฐานะที่ได้เข้าร่วมประชุมระดั บภูมิภาคที่กรุงเวียงจันทน์ ได้เสนอว่าต้องเป็นการบริหารร่ วมระหว่างไทยกับลาว ถ้าหากระดับน้ำมีผลกระทบเกิดน้ำ ท่วมมาถึงไทยต้องรับผิดชอบ ต้องถามถึงความรับผิดชอบของบริ ษัทว่าฝ่ายใดจะรับผิดชอบ รัฐบาลหรือใคร กรมทรัพยากรน้ำในฐานะเลขาฯ ต้องเอาข้อกังวลไปเสนอให้เวที กรณีข้อตกลงแม่น้ำโขงที่ ประเทศไทยไม่สิทธิคัดค้าน แต่เรามีสิทธิที่จะคัดค้านได้ มันมีผลในเชิงที่เป็นเรื่องสิทธิว่าจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยและรัฐบาลมีสิทธิที่จะห่วงกังวลในนามกรมน้ำฯ หรือในนามชาวบ้าน เขื่อนปากแบง เป็นที่ชัดเจนว่าท้ายน้ำจะท่วมมาถึงไทย ที่ผ่านมามีการร้องเรียนไปที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้เชิญกรมแผนที่ทหารไปชี้ แจงและแจ้งว่า ยังไม่มีแผนจะปักปันชายแดนระหว่ างไทยลาว โดยขณะนี้มีแม่น้ำโกลกเพี ยงสายเดียวทีปักปันเขตแดน ไทยกับมาเลเซีย ข้อเสนออาจจะต้องให้ระดั บนโยบายมาตัดสินใจ ระดับการบริหารแม่น้ำโขงต้ องอาศัยระดับรัฐมนตรี เป็นหลายเรื่องที่ต้องไปข้างหน้ า สายันต์ ข้ามหนึ่ง ผู้แทนสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า มีข้อกังวลหนักมากเรื่องปริมาณน้ำสะสมจากเขื่อนจิงหงในจีน และจะมีเขื่อนปากแบงที่อยู่ตอนล่าง ซึ่งหากมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนและกักเก็บน้ำในช่วงเวลาเดียวกัน จะเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ชาวบ้านเขตเชียงแสน เชียงของ เวียงแก่น แน่นอน ประสบการณ์น้ำท่วมปี 2551 และผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำที่มาหลายสิบปี ขณะนี้ยังไม่การแสดงความรับผิดชอบต่อเจ้าของเขื่อนแต่อย่างไร การแลกเปลี่ยนข้อมูลการปล่อยน้ำของเขื่อนจีนก็ยังไม่มี และหากเกิดกรณีน้ำท่วมอีกประเทศไหนหรือใครจะรับผิดชอบระหว่างเขื่อนจิงหงและเขื่อนปากแบง ทองสุข อินทะวงศ์ ราษฎรบ้านห้วยลึก อำเภอเวียงแก่นกล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อน ข้อมูลระบุว่าสันเขื่อนตรงสั นเขื่อนจะกักน้ำสูง 340 ม.รทก. แต่ระดับของที่ตั้งบ้านห้วยลึ กอยู่ระดับ 315 ม.รทก. เราอยู่ต่ำน้ำมาก หากเกิดความเสียหายมาใครจะรับผิ ดชอบและจะรับผิดชอบอย่างไร หากแม่น้ำกลายเป็นน้ำนิ่ง ขยะที่ไหลมากับน้ำมันลอยมากองที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการดำเนินการชี้แจงข้อมูลมีชาวบ้านเวียงแก่นรายหนึ่ง กล่าวว่า บ้านอยู่ริมน้ำโขง ถ้าน้ำท่วมพื้นที่ การเกษตรของชาวเวียงแก่น จะมีแก้ไขปัญหาผลกระทบอย่างไร "ตอนนี้วิตกกังวลมาก ถ้าน้ำมามันจะกระทบแน่นอน ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ" ชาวบ้าน กล่าว ด้าน ธนดล คำมะวงศ์ กำนันตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า มองเวทีวันนี้แล้วสิ้นหวัง คือ ฝ่ายจะเดินหน้าโครงการก็ตั้ งใจจะเดินหน้าแต่ไม่มี ใครมามองผลเสียหายที่เกิดกั บรากหญ้า ถึงเวลาที่แผ่นดินไทยหายไปตอนเขื่อนสร้างเสร็จ ประเทศไทยจะให้คำตอบประชากรตัวเองอย่างไร ส่วนตัวไม่เชื่อและไม่ศรัทธาในกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าหรือ PNPCA แล้ว แม้ว่ามีมานานและจะสิ้นสุ ดลงในวันที่ 19 มิถุนายน นี้ แต่ก็ไม่เคยเชื่อใจกรมทรั พยากรน้ำ ว่าจะสรุปแบบเป็นธรรม "เวทีวันนี้ คือ เวทีหนุนเขื่อนเหมือนเดิม ทุกคนจะสร้าง จะเดินหน้าให้ได้ แต่ถามว่าปากท้องเรา คนจน คนติดแม่น้ำโขงที่ต้องเสียรายได้ อาชีพ แผ่นดินที่มันค่อยๆหายไป ใครจะมาแยแส ถ้าท่านไม่ฟังคำค้านของเราก็ ควรหาคำตอบให้เราว่าหลังสร้ างเขื่อนเราจะอยู่ยังไง คือ จะพูดว่าไปคุยกับลาวเพื่ อลดผลเสียหายต่อไทยไม่ได้ แม่น้ำโขงมันผลเสียหายต่อลาวด้ วยไง ต้องไปคุยว่า มันเสียหายทุกคน ทุกประเทศที่ใช้น้ำโขง จึงจะถูกต้อง" ธนดล กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บังคับใช้แล้วกฎกระทรวง คุ้มครองสุขภาพ-ความปลอดภัย หญิงมีครรภ์-เด็กต่ำกว่า 15 ที่รับงานไปทำที่บ้าน Posted: 19 May 2017 08:16 AM PDT กฎกระทรวง กำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอั 19 พ.ค. 2560 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจ้งว่า สุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายภาคปชช. ด้านต้นไม้ในเมือง ออกแถลงการณ์ ร้องรัฐปฏิรูปต้นไม้ในเมือง Posted: 19 May 2017 07:48 AM PDT กรณี ต้นไทรที่ ถ.ชิดลม ล้มจนมีผู้เสียชีวิต เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ร้องรัฐสร้างระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง ย้ำอย่าด่วนตัดต้นไม้ทิ้งทั้งหมด ตามที่มีบางกระแส 19 พ.ค. 2560 เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ประกอบด้วย เครือข่ายต้นไม้ ในเมือง มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์ กล่มุบิ๊กทรี สมาคมภมูิสถาปนิกประเทศไทย และโครงการอนรุักษ์ต้นไม้ใหญ่ สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา ร่วมออกแถลงการณ์ "ข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ ให้เกิดระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง" กรณี : ต้นไทรที่ ถ.ชิดลม ล้มจนมีผู้เสียชีวิต" แถลงการณ์ระบุด้วยว่า จากกรณีดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ขอร่วมแสดง ความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และทุกหน่วยงานที่ดูแลต้นไม้ในเมือง คือ กรุงเทพมหานคร กฟน.กฟภ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการสร้างระบบบริหารจดัการต้นไม้ในเมือง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิด ความสูญเสียของประชาชนและประเทศชาติเช่นนี้อีก โดยข้อเรียกร้องของกลุ่มเครือข่ายประกอบไปด้วย ข้อ เรียกร้องในระยะเร่งด่วน คือ ข้อ 1-3 และข้อเรียกร้องในระยะยาว คือ ข้อ 4-6 ดังนี้ 1. อย่าด่วนตัดต้นไม้ทิ้งทั้งหมด ตามที่มีบางกระแสเรียกร้อง ซึ่งเป็นการตัดสินใจด้วยความรู้สึก คือ "ความกลัว" สิ่งที่ควรทำคือการแก้ปัญหาด้วย "ความรู้" โดยใช้ศาสตร์ "รุกขกรรม" 2. จัดทีมรุกขกรและนักวิชาการ เร่งสำรวจต้นไม้อันตราย (ต้นไม้ป่วย) อย่างเป็นระบบ พร้อมทำ สัญลักษณ์ต้นไม้ป่วยให้ประชาชนได้ทราบ และกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือได้ รักษาต้นไม้ใหญ่ และได้เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับให้ประชาชน และควรจัดทำค่มูือ ประชาชนในการสังเกตต้นไม้ป่วย เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจ 3. จัดทีมตรวจรักษาต้นไม้อันตราย (ต้นไม้ป่วย) โดยมีรุกขกรทำหน้าที่หมอต้นไม้ ในการประเมิน ระดับการรักษา บางต้นอาจใช้การตัดแต่ง บางต้นอาจใช้การค้ำยัน บางต้นอาจต้องปรับปรุงระบบราก และปรับวัสดุดาษแข็งที่ทับระบบราก ยกเว้นบางกรณีที่เกินเยียวยาจริงๆ ถึงมีความจำเป็นต้องตัดทิ้ง 4. จัดตั้งบริษัท รุกขกรรมนครหลวง โดยเป็นการบรูณาการร่วมกัน ระหว่าง กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้า นครหลวง การไฟฟ้าสว่นภมูิภาค ฯลฯ เพื่อให้เกิดองค์กรที่มีความรู้ ทักษะ และอปุกรณ์ที่ได้มาตรฐานใน ระดับสากล เพื่อให้บริการหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบดแูลต้นไม้ใหญ่ในเมือง 5. กำหนดระเบียบปฎิบัติ ให้ทุกหน่วยงานที่่ดูแลต้นไม้ในเมือง ต้องมีรุกขกรีที่ได้มาตราฐาน โดยมี การส่งเสริมการฝึกอบรมรุกขกร พฒันาระบบควบคมุคุณภาพรุกขกร โดยมีการออกใบรับรองความรู้รุกขกร เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการตัดแต่ง รักษาต้นไม้ของหน่วยงาน ซงึ่เป็นมาตราการสากลที่นานาประเทศ ใช้กันทั้ง ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ ฯลฯ 6. ควรออกกฎหมายคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในเมือง เพื่อครอบคลมุต้นไม้ใหญ่ในเมือง ทั้งที่อยู่ในการดูแล ของภาครัฐและเอกชน โดยกำหนดมาตรการการค้มุครองดูแล และเกณท์การปฎิบัติต่อต้นไม้ในเมืองที่ ได้รับการขึ้นทะเบียน (ตามชนิด ขนาด และสถานที่) ให้มีมาตราฐานปฎิบัติเดียวกันและตรวจสอบได้ ตามหลักสากลของโลก (เป็นสิ่งที่รัฐบาลอังกฤษและสิงคโปร์ทำ) เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ยินดีให้ความร่วมมือทั้งในด้านข้อมลู ปฏิบัติการ และการสื่อสารกับภาคประชาชน เป็นการยื่นข้อเรียกร้องไปพร้อมๆ กับการยื่นมือเพื่อเป็นเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดการร่วมกันสร้าง "ระบบ บริหารจัดการต้นไม้ในเมือง" เช่นเดียวกบันานาอารยประเทศ เพื่อให้ทุกเมืองในประเทศไทยมีความร่มรื่น ทุกชีวิต ได้รับประโยชน์จากต้นไม้ในเมืองในทุกมิติ และประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตร่วม เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบนิเวศน์ของ ต้นไม้ในเมือง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
3 วันยังไม่ได้กลับบ้าน ทหารเชิญครูตาดีกาสะบ้าย้อยอยู่ค่ายฯ อ้างปลอดภัย หลังถูกอุ้ม Posted: 19 May 2017 06:38 AM PDT หลังถูกปล่อยจากการถูกอุ้ม ครูสอนตาดีกา 'ดาโหะ มะถาวร' ถูกเชิญตัว พร้อมน้องชาย ตั้งแต่ 3 วันที่แล้ว อ้างบำบัดจิตใจ ชี้อยู่ค่ายทหาร ปลอดภัยกว่าบ้าน ด้านนักสิทธิโต้หากเป็นเช่นนี้ ปชช.ทุกคน ก็ต้องอยู่ค่ายฯ เพื่อปลอดภัย แม้วันนี้ญาติเข้าคุยที่ค่ายฯ หวังพากลับ สุดท้ายไร้เงา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ชี้เป็นการควบคุมตัวโดยพลการ ร้องปล่อยตัวทันที ดาโหะ มะถาวร หรือ เจ๊ะฆูโอะ ผู้อำนวยการและครูสอนโรงเรียนตาดีกาประจำหมู่บ้านทุ่งพอ 19 พ.ค. 2560 ความคืบหน้ากรณี ดาโหะ มะถาวร หรือ เจ๊ะฆูโอะ ผู้อำนวยการและครูสอนโรงเรียนตาดีกาประจำหมู่บ้านทุ่งพอ (ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กช่วงชั้นประถมศึกษา) ม.3 อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ถูกอุ้มโดยกลุ่มคนร้ายไม่เปิดเผยตัวตน เมื่อ 13 พ.ค. 2560 เวลาประมาณ 20.20 น. และได้รับการปล่อยตัวที่สถานีขนส่ง (บขส.) จ.สตูล เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 60 ถึงบ้านอย่างปลอดภัย จนกระทั่งช่วงเวลาประมาณ 17.00 – 18.00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา มีหน่วยงานทหารจากค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี มารับตัวเจ๊ะฆูโอะ ไป วันนี้ (19 พ.ค.60) เจ๊ะฆูโอะ ยังไม่กลับ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) มาตามนัด คุยกับทหารหวังพากลับ สุดท้ายไร้เงาเจ๊ะฆูโอะกลับบ้านด้วยผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมล่าสุดจากการสัมภาษณ์ อัญชณา หีมมิหน๊ะ ประธาน กลุ่มด้วยใจ นักสิทธิที่มีชื่อเสียงด้านการช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิในพื้นที่จังหวัดชายใต้/ปาตานี หลังกลับจากการพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารค่ายอิงคยุทธบริหาร พร้อมภรรยาและพี่สาวของเจ๊ะฆูโอะวันนี้ (19 พ.ค.60) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา โดย อัญชนา เปิดเผยว่า ตนและครอบครัวเจ๊ะฆูโอะ เดินทางไปถึงค่ายอิงคยุทธฯ ตามเวลาที่นัดหมาย แต่ตนไม่สามารถเข้าไปข้างใน โดยเจ้าหน้าที่ให้ตนและเพื่อนร่วมงานอีกคนรอที่อาคารเยี่ยมญาติ โดยพาภรรยาและพี่สาวของเจ๊ะฆูโอะเข้าไปที่อาคาร "อาร์ต รีสอร์ท" ที่ตั้งอยู่ภายในค่ายอิงคยุทธฯ เพียงลำพัง กระทั่งครอบครัวเขาคุยกับเจ้าหน้าที่เสร็จโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ออกมาตนกลับไม่เห็นเจ๊ะฆูโอะและน้องชายเขาเดินออกมาด้วย บวกกับท่าทีของครอบครัวเปลี่ยนไป เหมือนจะไม่กล้าคุยกับตนด้วย นักสิทธิแนะ จนท.ควรหาคนผิดมาลงโทษ - มอบนักจิตวิทยา ดูแลสภาพจิตแทนอัญชณา กล่าวอีกว่า จากนั้นตนขออนุญาติเข้าพบเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงนายหนึ่ง โดยตนได้ถามเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า แนวทางที่ถูกต้องรัฐควรทำอย่างไร พร้อมแจ้งไปว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนอยากเห็นหลังจากที่เจ๊ะฆูโอะปลอดภัยจากการถูกอุ้ม คือ การมีนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยามาดูแลสภาพจิตใจของเจ๊ะฆูโอะและครอบครัว การที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และมีการร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร ชุดคุ้มครองตำบลและหมู่บ้าน มาร่วมกันคิดถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยต่อประชาชนด้วย พาไปอยู่ค่ายฯ สภาพไม่ต่างกับตอนถูกอุ้มอัญชนา เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า เจ๊ะฆูโอะกลับต้องไปอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกับการเป็นผู้ต้องสงสัย เพราะการไปอยู่ในค่ายทหาร ไปอยู่ในห้องที่มีสภาพไม่ต่างจากตอนทีถูกอุ้มไป ถูกทหารเชิญตัวไปเวลากลางคืนซึ่งสภาพเดียวกันกับช่วงเวลาที่ถูกอุ้ม แต่ครั้งนี้โชคดีที่มีน้องชายของเขาไปอยู่เป็นเพื่อนด้วย แต่น้องชายของเขาเองก็มีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำงานเลี้ยงดูลูกเมีย การต้องมาอยู่ในค่ายทหารแบบนี้เขาและครอบครัวคงได้รับผลกระทบในการดำรงชีพอย่างแน่นอน และวิธีการแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เพราะคนในสังคมมีความเชื่อว่าการไปอยู่ในค่ายทหาร คือ การตกเป็นผู้ต้องสงสัยและอาจเป็นจำเลยของสังคมต่อไป ทหารยันครอบครัวยินยอม ห่วงความปลอดภัย - อยู่ค่ายฯ ต่อจนรู้สึกปลอดภัยอัญชนา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่า เป็นความยินยอมของเจ๊ะฆูโอะและครอบครัว เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยของเจ๊ะฆูโอะจึงยินยอมให้อยู่ในค่ายทหาร จนกว่าทุกคนในครอบครัวจะรู้สึกปลอดภัยถึงจะได้กลับไป ที่มา เฟซบุ๊กส่วนตัว "Anchana Heemmina" เผยทหารอ้างบำบัดจิตใจหลังถูกอุ้มและเพื่อความปลอดภัย – นัดส่งเช้าอีกวัน กลับไร้ร่องรอยวานนี้ (18 พ.ค.60) อัญชนา ได้โพสต์ ถึงกรณี เจ๊ะฆูโอะ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำตัวไปยังค่ายอิงคยุทธฯ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Anchana Heemmina" ด้วยว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค.60 เวลา 17.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจรวมกัน 7 นาย มารับตัว ดาโหะ มะถาวร อ้างพาไปบำบัดจิตใจที่ค่ายอิงคยุทธฯ หลังจากเจอเหตุถูกอุ้มไประหว่างเดินทางกลับบ้าน (เมื่อวันที่ 13 พ.ค.60) โดยการไปครั้งนี้มีน้องชายดาโหะตามไปด้วยอีกคนจากการเชิญชวนของเจ้าหน้าที่เพื่อความสบายใจของครอบครัว พร้อมบอกว่า "พรุ่งนี้ (18 พ.ค 60.) เช้าจะนำตัวมาส่งถึงบ้านอย่างปลอดภัย" อัญชณา ยังระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ให้หมายเลขโทรศัพท์ไปหลังจากทางครอบครัวยื้อเวลานานถึงครั่งชั่วโมงเพราะไม่ไว้ใจให้เจ้าหน้าที่พาไป ต่อมาเมื่อเวลา 19.20 น. ของวันเดียวกัน (17 พ.ค.60) ปรากฎว่าไม่สามารถติดต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้ อัญชณา ระบุเพิ่มเติมว่า ตนได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามถึงความเป็นอยู่และเหตุผลที่นำตัวเจ๊ะฆูโอะไปยังค่ายอิงคยุทธฯ จนได้รับคำชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่เพียงแค่ต้องการทราบถึงรายละเอียดเหตุการณ์ช่วงเวลาที่เจ๊ะฆูโอะถูกอุ้มตัวไปเท่านั้น รวมทั้งเจ๊ะฆูโอะก็สมัครใจที่จะมาด้วย อีกทั้งครอบครัวของเขาเองก็เข้าใจ สำหรับคำถามถึงวันนัดส่งกลับที่ตามสัญญาไปจนบัดนี้เลยเวลานัดมาหลายชั่วโมงแล้วนั้น อัญชณา ระบุว่า เจ้าหน้าที่บอกว่าหากเดินทางกลับไปช่วงเวลากลางคืนเกรงเจ๊ะฆูโอะและน้องชายเขาจะไม่ปลอดภัย ทั้งที่ช่วงเวลาที่มารับตัวก็เป็นช่วงเวลาเดียวกัน พร้อมอ้างว่าการอยู่ในค่ายอิงคยุทธฯ จะปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน ซึ่งหากอยู่บ้านอาจจะถูกอุ้มไปอีก แต่ทางครอบครัวก็ยืนยันที่จะนำทั้งสองกลับบ้านโดยด่วน จึงมีการนัดหมายเพื่อพบปะและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่วันนี้ (19 พ.ค.) เวลา 09.00 น. ที่ค่ายอิงคยุทธฯ อัญชนาระบุ ปิดท้ายว่า กระบวนการรักษาความปลอดภัยในชุมชนสามารถออกแบบมาตรการได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วประชาชนในพื้นที่ทุกคนจะต้องย้ายไปอยู่ในค่ายอิงคยุทธฯ กระนั้นหรือ ชีวิตทุกชีวิตถึงจะปลอดภัย ผสานวัฒนธรรม ชี้ควบคุมตัวโดยพลการ ร้องปล่อยตัวทันทีวันนี้ (19 พ.ค.60) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แถลงด้วยว่า ได้รับท มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอเรียก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สช. เดินหน้า ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ เปิดเวทีระดมความเห็น 4 ภูมิภาค Posted: 19 May 2017 04:58 AM PDT เวทีรับฟังความคิดเห็นร่างธรรมนูญสุขภาวะพระสงฆ์แห่งชาติคึกคัก ทุกฝ่ายหนุนแก้ปัญหาสุขภาวะทั้งพระสงฆ์และสามเณรทั่วประเทศก่อนวิกฤต สช. เตรียมจัดใหญ่ 4 ภาค ก่อนเสนอมหาเถรสมาคม และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 ปลายปีนี้ 19 พ.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมี พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน และมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนพระสงฆ์จากทั่วประเทศ และนักวิชาการเข้าร่วม เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ พงศ์เทพ เปิดเผยว่า เวทีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาสุขภาวะพระสงฆ์อย่างจริงจัง โดยทาง มหาเถรสมาคม ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานเรื่องนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขับเคลื่อนมติสมัชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.๒๕๕๕ เรื่อง "พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ" ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ จะเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในการสร้างสุขภาวะให้กับพระสงฆ์ในปัจจุบันที่ต้องเผชิญปัญหาท้าทายหลายเรื่อง ทั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความเครียด พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมในวัด ฯลฯ โดยเนื้อหาหลักๆ มี ๕ หมวดสำคัญ ได้แก่ บททั่วไปและคำนิยาม, การดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย (ทางกาย จิต สังคม ปัญญา), การดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์โดยชุมชนและสังคม, พระสงฆ์กับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะของชุมชนและสังคม และการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ "ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติไม่ใช่เป็นแค่หลักปฏิบัติของมหาเถรสมาคมหรือพระสงฆ์ทั่วไปเท่านั้น แต่ทุกๆ ภาคส่วนในสังคมก็สามารถนำธรรมนูญไปใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ ตั้งแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปวางแผนปรับใช้ในพื้นที่ หรือ สปสช. ใช้วางกรอบและทิศทางการทำงานได้" พงศ์เทพ กล่าว ด้านความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่เข้าร่วมเวที พระดุษฏี เมธงฺกุโร วัดทุ่งไผ่จังหวัดชุมพร แนะว่า เนื้อหาในธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติควรเขียนด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่าย เพราะผู้ปฏิบติคือพระสงฆ์และสามเณรทั่วประเทศซึ่งมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน "ใจความสำคัญคือ ต้องสะท้อนความห่วงใยต่อสุขภาพ และกระตุ้นให้พระหันมาดูแลสุขภาวะของตนเองด้วย" พระดุษฏี กล่าว พระครูอมรชัยคุณ เจ้าอาวาสวัดสุชัยคณาราม จังหวัดนครราชสีมา หรือ หลวงตาแชร์ เสนอว่า ควรนำแผนดำเนินงานที่ได้ทำไปแล้ว เช่น โครงการพระสงฆ์ไทยไกลโรคเข้ามาอยู่ในธรรมนูญฯ นี้ด้วย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบจากทางมหาเถรสมาคมต่อไป พระมหาบุญช่วย สิรินฺธโรค วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาที่พบขณะนี้คือเรื่องคุณภาพของอาหารใส่บาตรและผลิตภัณฑ์ถวายสังฆทานในพื้นที่ ซึ่งกลายเป็นเครือข่ายผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ประชาชนยังไม่รับรู้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมแก้ปัญหาเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพพระสงฆ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงาพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็เห็นด้วยกับเนื้อหาและแนวทางของร่างธรรมนูญฯ ฉบับนี้ โดยขั้นตอนต่อไปนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง และขยายเวทีไปสู่ทั้ง 4 ภูมิภาค ก่อนรายงานให้มหาเถรสมาคมรับทราบ และนำเข้ารับฟังความคิดเห็นทางวิชาการอีกครั้ง ในเวที สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 ปลายปีนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดรายชื่อคนตาย พ.ค.35 และ พ.ค.53 – 7 ปี ความยุติธรรมที่ไม่ไปไหน Posted: 19 May 2017 02:54 AM PDT รวมรายชื่อผู้เสียชีวิต/สูญหาย พ.ค.35 พร้อมทั้งเปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต เม.ย.-พ.ค.53 และผลการไต่สวนการตาย ขณะที่ 7 ปี กระบวนการยุติธรรมที่ ศาลยกฟ้อง 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ในความผิดต่อชีวิต ต่อด้วย ปปช. ตีตกความผิดต่อหน้าที่ โดยที่ 'กองทัพ' ยังไม่เคยก้าวมาสู่ปริมณฑลของ 'จำเลย'
เนื่องในวาระครบรอบเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง 2 เหตุการณ์ คือ ครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ พฤษภา 35 และ ครบรอบ 7 ปี เหตุการณ์ พฤษภา 53 ในโอกาสนี้ประชาไทขอนำรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 2 เหตุการณ์มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อย้ำเตือนความสูญเสีย และความยุติธรรมที่ยังไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ 25 ปี พฤษภา 35เมื่อ 25 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อประชาชนรวมตัวต่อต้านเผด็จการจนเกิดการนองเลือดบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พ. ค. 35 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก อันประวัติศาสตร์บันทึกเรียกว่า "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" ตัวเลขการสูญเสียในเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2535 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 44 ราย สูญหาย 48 ราย พิการ 11 ราย บาดเจ็บสาหัส 47 ราย และบาดเจ็บรวม 1,728 ราย ทั้งที่ในความเป็นจริง จะเป็นตัวเลขที่สูงกว่านี้มาก จนเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (อ้างอิงจาก บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์, กว่าจะถึงวันนี้ 23 ปี พฤษภา กับอนุสาวรีย์วีรชน, วันอาทิตย์ ที่ 17 พฤษภาคม 2558 เผยแพร่ในสำนักข่าวอิศรา) รายชื่อวีรชนผู้เสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535
รายชื่อผู้เสียชีวิต 7 ปี เม.ย.-พ.ค.53การชุมนุมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นยุบสภา ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 53 และไม่ใช่ครั้งแรก ช่วง เม.ย.52 ก็มีการชุมนุมและเรียกร้องในลักษณะนี้ ก่อนถูกสลายการชุมนุม โดยการชุมนุมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ยุบสภาและลาออกจากนายกฯ เป็นผลมาจาก ธ.ค. 51 อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้ยุบพรรคพลังประชาชน (และอีก 2 พรรค) ซึ่งมีเสียงข้างมากและเป็นผู้นำรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ทำให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตำแหน่งนายกฯ นับเป็นการถูกยุบพรรคเป็นครั้งที่สอง หลังจากไทยรักไทยโดนยุบพรรคไปก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสที่สื่อไทยและสื่อต่างประเทศระบุว่าทหารมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ ส.ส. ในสภาเข้าร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน ไม่ว่าพรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนเนวิน (เนวิน ชิดชอบ) ที่เป็นอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเดิมเปลี่ยนขั้วมาร่วมกับฝ่ายค้าน กระแสข่าวและความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวทำให้คนเสื้อแดง หรือ นปช. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานเสียงของพรรคพลังประชาชนไม่พอใจและรวมตัวกันประท้วงและเรียกร้องให้เกิดการยุบสภามาโดยตลอด สำหรับการสลายการชุมนุม นปช. ช่วง เม.ย. - พ.ค. 53 นั้น เริ่มรุนแรงขึ้นก่อนหน้าวันที่ 10 เม.ษ. 53 เพียง 1 วัน นั่นคือ คนเสื้อแดงจำนวนมากบุกยึดคืน "สถานีไทยคม" ที่ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทหารเข้าคุมและตัดสัญญาณช่องทีวีดาวเทียมพีเพิลชาแนลซึ่งถ่ายทอดสดการชุมนุมของ นปช. ทำให้ทหารถูกประชาชนปลดอาวุธและเดินเท้ากลับขึ้นรถเป็นทิวแถว ต่อมาทหารจึงได้เปิดยุทธการ "ขอคืนพื้นที่" ในวันที่ 10 เม.ย.53 จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้ง ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ทหาร และผู้สื่อข่าว หรือแม้กระทั่งยามที่สวนสัตว์ดุสิต เหตุการณ์ยังไม่จบเท่านั้น หลังเหตุการณ์ 10 เม.ย. ผู้ชุมนุมนอกจากเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ลาออกแล้ว ยังเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก การชุมนุมต่อเนื่องมาอีก 1 เดือน ก่อน ศอฉ. ซึ่งเป็นองค์กรร่วมระหว่างรัฐบาลและกองทัพขณะนั้น เปิดยุทธการ กระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ วันที่ 14-19 พ.ค.53 เหตุการณ์ดังกล่าวก่อนให้เกิดการเสียชีวิต และบาดเจ็บ ทั้งผู้ชุมนุม ประชาชนทั่วไป ผู้ชุมนุมต่อต้านกลุ่ม นปช. ผู้สื่อข่าว และอาสาสมัครด้านมนุษยธรรม โดยที่เหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พ.ค.53 แม้ก่อนหน้านั้น 1 วัน แกนนำนปช. จะเห็นด้วยกับการเจรจาแบบไม่มีเงื่อนไขกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ และนอกจากนี้สมาชิกวุฒิสภายังได้รับคำสัญญาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่า หากแกนนำนปช. เข้าร่วมการพูดคุยอย่างไม่มีเงื่อนไข อภิสิทธิ์จะยับยั้งการใช้ทหารเข้าปราบปรามในอนาคตก็ตาม จนต่อมา 20 พ.ค.53 ตัวแทนกลุ่ม ส.ว. ที่ไปเจรจากับแกนนำนปช. ดังกล่าว ออกมาแสดงความรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าปฏิบัติการทั้งที่อภิสิทธิ์พูดกับประธานวุฒิสภาให้วุฒิสภาเดินหน้าเจรจา แต่กลับพูดต่อสาธารณะอีกอย่างหนึ่ง ทำแบบนี้เหมือนหักหลังวุฒิสภา สำหรับรายชื้อผู้เสียชีวิต ทั้งผู้ชุมนุม นปช. เจ้าหน้าที่รัฐ อาสาสมัครมนุษยธรรม ผู้สื่อข่าว ประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้าน นปช. ตามรายงานของ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 หรือ ศปช. มีดังนี้ วันที่ 10 เมษายน 2553 1. นายเกรียงไกร คำน้อย (สะพานผ่านฟ้าลีลาส) [ศาลสั่งคดีชันสูตรตายเพราะเสียเลือดมาก วิถีกระสุนมาจากทหาร อ่านรายระลเอียด] สี่แยกคอกวัว 4. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข ถนนดินสอ 14. นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ สวนสัตว์เขาดิน 27. นายมานะ อาจราญ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ อ่านรายละเอียด] วันที่ 22 เมษายน 2553 วันที่ 28 เมษายน 2553 วันที่ 7 พฤษภาคม 2553 วันที่ 8 พฤษภาคม 2553 วันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ถนนพระราม 4 วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ถนนพระราม 4 35. นายเสน่ห์ นิลเหลือง 41. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบฝีมือใคร อ่านรายละเอียด] ถนนราชปรารภ 42. นายทิพเนตร เจียมพล วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ถนนพระราม 4 53. นายวารินทร์ วงศ์สนิท ถนนราชปรารภ 58. นายสมาพันธ์ ศรีเทพ วันที่ 16 พฤษภาคม 53 ถนนพระราม 4 64. นายสมชาย พระสุพรรณ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด] 17 พฤษภาคม 2553 18 พฤษภาคม 2553 19 พฤษภาคม 2553 ถนนราชปรารภ 76. นางประจวบ เจริญทิม ถนนราชดำริ 79. นายถวิล คำมูล [ศาลสั่งคดีชันสูตร วิถีกระสุนจากด้านจนท.ทหาร อ่านรายละเอียด] วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร 85. นายมงคล เข็มทอง [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด] สถานที่อื่นๆ 91. นายกิตติพงษ์ สมสุข (ภายในห้างเซ็นทรัลเวิลด์) นอกจากนี้ยังมี ประชา ศรีคูณ ผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เม.ย.53 และเป็นอัมพาตกว่า 3 ปี ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ศาลยกฟ้อง 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ในความผิดต่อชีวิต ส่วน ปปช. ตีตกความผิดต่อหน้าที่ในส่วนของการดำเนินคดีกับกองทัพและผู้นำรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องในการสลายการชุมนุมนั้น เคยมีญาติของ พัน คำกอง ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม (พ.ค.2553) ร่วมกับ สมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ถูกทหารยิงแต่รอดชีวิต ร่วมกันเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการฟ้อง อภิสิทธิ์ และสุเทพ เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 80, 83, 84 และ 288 จากกรณีที่ ศอฉ. มีคำสั่งใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการขอคืนพื้นที่จากการชุมนุมของ นปช. ระหว่าง เม.ย.-พ.ค. 2553 คดีนี้นับเป็นคดีแรกที่อัยการยื่นฟ้อง ส่วนคดีอื่นๆ สำนวนยังคงค้างอยู่ที่ดีเอสไอ อย่างไรก็ตาม คดีตัวอย่างนี้ทั้ง ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ต่างก็ยกฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยศาลชั้นต้นระบุเหตุผลว่า เหตุเกิดในช่วงทั้งสองยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดีจึงอยู่ในอำนาจศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า เรื่องฟังไม่ได้ว่าทั้งสองกระทำในฐานะส่วนตัว ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง ต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ชี้มูลความผิดและยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดีเอสไอไม่มีอำนาจในการสอบสวน (เปิดคำอุทธรณ์ของญาติผู้ตาย) ต่อมา ป.ป.ช.ก็ มีมติว่า ฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป ล่าสุด ญาติที่เป็นโจทก์ร่วมยังคงฎีกาต่อ และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามาราว 1 ปีแล้ว ขณะนี้ยังไม่มีคำพิพากษา ทนายความในคดีนี้ระบุว่า กระบวนการที่ผ่านมาอัยการสูงสุดได้อนุญาตให้ฎีกาแล้ว และศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดผ่านไปแล้ว คาดว่าน่าจะรอผลคำพิพากษาของศาลฎีกาอีกไม่นาน แน่นอนว่า นี่เป็นเพียงคดีที่มุ่งฟ้องผู้นำรัฐบาลในเวลานั้น โดยที่ "กองทัพ" ยังไม่เคยก้าวมาสู่ปริมณฑลของ "จำเลย" ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแต่อย่างใด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โขงของใคร? ผลกระทบของเขื่อนแม่น้ำโขงที่คนใช้ไม่เดือดร้อน คนเดือดร้อนไม่ได้ใช้ Posted: 19 May 2017 01:15 AM PDT สำรวจความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานีหลังจีนสร้างเขื่อนควบคุมปริมาณน้ำโดยไม่สนใจเสียงของคนปลายน้ำ ชาวบ้านเผย ผลกระทบวงกว้าง ทั้งวิถีชีวิต การยังชีพ และการท่องเที่ยว หวั่นระเบิดแก่งหินเชียงของจะยิ่งกระทบหนัก
กลุ่มรักษ์เชียงของขึ้นป้ายต่อต้านการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขง (ภาพจากมติชน) เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ส่งเรือสำรวจ 7 ลำ เข้าสู่แม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ฝูงเรือดังกล่าวได้รับมอบหมายให้เข้ามาสำรวจแม่น้ำโขงของไทยเพื่อออกแบบการระเบิดแก่ง-ปรับปรุงร่องน้ำให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ของจีนสามารถเดินทางผ่านไปได้ถึงหลวงพระบางโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเดินเรือของจีนในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภูมิภาคของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไทยเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ พยายามอ้างสิทธิเหนือแม่น้ำโขง และปรับเปลี่ยนธรรมชาติของแม่น้ำโขงตามอำเภอใจโดยไม่สนใจเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีของประเทศไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้มีการข่มขู่คุกคามประชาชนที่ลุกขึ้นต่อต้านโครงการดังกล่าวอีกด้วย โดยในวันที่ 26 เมษายน ทหารได้เรียกตัว นิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ 'ครูตี๋' ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ เข้าพูดคุยร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ. 37 จังหวัดเชียงราย หลังกลุ่มของครูตี๋ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการดังกล่าว เมื่อจีนเปลี่ยนแม่น้ำโขงเป็นแค่คลองส่งน้ำ ก่อนจะถูกทางการเรียกตัว ครูตี๋ให้สัมภาษณ์กับ เดอะ อีสานเรคคอร์ด ว่าโครงการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่สำคัญของแม่น้ำโขง เพราะแก่งหินเป็นแหล่งพักพิงของพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชาวบ้าน อีกทั้งแก่งหินยังทำหน้าที่เป็นเหมือนเขื่อนชะลอน้ำตามธรรมชาติ ไม่ให้กระแสน้ำไหลแรงจนเกินไป ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมริมฝังโขงไม่เสียหาย "เหมือนเป็นคลองส่งน้ำดีๆ นี่เอง ถ้าไม่มีเกาะแก่ง มันไม่ใช่แม่น้ำ มันเป็นคลองส่งน้ำ แล้วมันไม่มีอะไรที่ทำให้สัตว์น้ำอยู่" นอกจากปัญหาเรื่องระบบนิเวศ ครูตี๋ยังมองว่าการที่รัฐบาลไทยปล่อยให้รัฐบาลจีนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเขตแม่น้ำโขงของไทยก็ไม่ต่างจากการปล่อยให้จีนรุกล้ำอธิปไตยของไทย กลุ่มรักษ์เชียงของจึงต้องการให้รัฐบาลปัจจุบันชะลอโครงการดังกล่าว เหมือนที่รัฐบาลในอดีตเคยทำ "ผมว่ารัฐไทยนี่แหละต้องทบทวน คำว่าอธิปไตย จีนก็ถือว่าประโยชน์ของเขา จีนก็ต้องรุกใช่ไหม ถ้าเราก็ถือว่านี่คืออธิปไตยของเรา ทำไมเราต้องเสียด้วย ถ้ารัฐบาลเราบอกว่าเราไม่ยอม จีนจะทำอะไรได้ ผ่านมาครั้งที่แล้ว ที่มันทำไม่ได้ สำรวจไม่ได้ ก็เพราะ ครม. ไม่อนุมัติไง แต่ตอนนี้มันอนุมัติแล้ว" ครูตี๋กล่าว
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ "ครูตี๋" ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ (ภาพจาก เดอะ อีสานเรคคอร์ด) การต่อสู้ระหว่างชาวบ้านกับรัฐเพื่อสิทธิเหนือแม่น้ำโขงไม่ใช่เรื่องใหม่ นับตั้งแต่ปี 2539 รัฐบาลจีนได้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงไปแล้ว 6 แห่ง และรัฐบาลลาวได้สร้างอีก 1 แห่ง เขื่อนดังกล่าวส่งผลให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ระดับน้ำที่เคยเพิ่มและลดอย่างคาดการณ์ได้เริ่มมีความผันผวน พันธุ์ปลาที่เคยอุดมสมบูรณ์ทุกวันนี้มีจำนวนลดลง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนปลายน้ำเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการตั้งกลุ่มของชาวบ้านเรียกร้องการเยียวยาจากภาครัฐ แต่ก็ไม่เคยส่งผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ชาวบ้านจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่พวกเขาไม่ได้สร้างและไม่เคยได้ใช้ประโยชน์ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบของเขื่อนแม่น้ำโขงอย่างชัดเจนที่สุดในประเทศไทย อุบลราชธานีเป็นจังหวัดสุดท้ายที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศก่อนจะออกสู่ประเทศลาวที่อำเภอโขงเจียม นั่นหมายความว่า แม่น้ำโขงจะต้องผ่านเขื่อนถึง 7 เขื่อนทั้งในจีนและในลาว กว่าจะไหลมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี เหตุที่ผลกระทบของแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานีมีความรุนแรงกว่าจังหวัดอื่นๆ เพราะนอกจากแม่น้ำโขงจะเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านหลายหลังคาเรือนแล้ว แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเช่น แม่น้ำสองสี หาดสลึง หรือสามพันโบก ล้วนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสิ้น ปลาหาย รายได้หด เสียงของชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีเหล่านี้น่าจะเป็นตัวแทนของคนไทยอีกกว่า 3.1 ล้านคนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งโขงได้เป็นอย่างดี นิภาพร อุระ ชาวบ้านตามุย อำเภอโขงเจียม และสมาชิกเครือข่ายชุมชนคนรักษ์น้ำโขงกล่าวว่า ในฐานะที่หลังบ้านของเธอติดกับแม่น้ำโขง เธอได้เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำมาตั้งแต่จีนสร้างเขื่อนแห่งแรกในปี 2539 ในอดีตแม่น้ำโขงจะลดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านสามารถลงไปทำการเกษตรริมโขง ตามบริเวณสันดอนทรายที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ชาวบ้านเคยสามารถปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด หรือถั่วได้ในช่วงที่น้ำลด แต่เมื่อมีเขื่อน การขึ้นลงของกระแสน้ำก็เปลี่ยนไป บางครั้งน้ำลงแค่สองวัน บางครั้ง นานเกือบสองเดือน ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถวางแผนทำการเกษตรริมโขงได้อีกต่อไป จำนวนและขนาดปลาที่จับได้ก็ลดลง ในอดีตปลาคังซึ่งถือเป็นปลาท้องถิ่นของแม่น้ำโขงมีน้ำหนักตัวถึง 1-3 กิโลกรัม และอาจหนักได้มากสุดถึง 5 กิโลกรัม ปัจจุบันปลาที่ชาวบ้านจับได้มีน้ำหนักไม่ถึงกิโล เพราะโดยปกติแล้ว ปลามักจะวางไข่ในช่วงหน้าแล้งที่น้ำนิ่ง แต่จีนมักจะปล่อยน้ำมาในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้ปลาวางไข่ได้น้อยลง ซึ่งการระเบิดแก่งหินก็จะยิ่งทำให้กระแสน้ำไหลแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตัดสินออกจากพื้นที่ไปทำงานในเมือง โดยนิภาพรกล่าวว่า มีชาวบ้านมากกว่าร้อยชีวิตจากประชาการทั้งหมด 600 คน ในบ้านตามุยที่ตัดสินใจเข้าไปทำงานในกรุงเทพมหานคร และส่งเงินกลับบ้านตามแต่โอกาสจะอำนวย นิภาพรยังชี้ให้เห็นว่าบรรยากาศการเมืองภายใต้รัฐบาลทหารเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหวในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ในอดีตชุมชนบ้านตามุยเคยร่วมเรียกร้องฉโนดชุมชน ในสมัยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การเรียกร้องของชุมชนดูจะส่งเสียงได้ดังกว่าสมัยรัฐบาลปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด "เมื่อก่อนเราสามารถพูดได้ คุยได้ เราเคยเอารองรัฐมนตรีมาลงถึงพื้นที่ได้ ตอนรัฐประหาร เราต้องไปถึงกรุงเทพฯ ไปกันร้อยกว่าคน ตอนนั้นไปกับพีมูฟ แต่เขาให้เข้าไปคุยแค่สิบคน รับปากอย่างดีว่ารัฐบาลรับรู้ถึงปัญหาของชาวบ้าน เดี๋ยวจัดการให้ แล้วก็เงียบหาย" นิภาพรกล่าว ไพรวัลย์ แก้วใส ชาวตำบลท่าล้ง วัย 46 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องพึ่งพิงแม่น้ำโขง เธอมีลูกทั้งหมด 4 คน ลูกคนโตสองคนเมื่อเรียบจบ ม.ต้น ก็ต้องเริ่มทำงานช่วยที่บ้านหาเงิน เมื่ออายุได้ 20 ปีก็เข้ากรุงเทพและส่งเงินกลับมาเดือนละ 4,000 บาท หรือบางเดือนก็ไม่ได้ส่ง อีกทั้งยังส่งหลานอีกสองคนกลับมาให้แม่เลี้ยงที่บ้าน ไพรวัลย์จึงต้องเลี้ยงดูลูก 2 คนและหลานอีก 2 คน ซึ่งเธอคาดว่าหากลูกคนที่ 3 ของเธอซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.1 เรียนจบ ม. 3 ก็คงต้องเข้ากรุงเทพฯ ไม่ต่างจากพี่ๆ ของเขา นอกจากเงินที่ได้จากลูกๆ แล้ว ครอบครัวของเธอยังมีรายได้จากสามีที่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีกเดือนละ 5,000 บาท และรายได้เล็กน้อยจากการสานกระติ๊บข้าวเหนียว ซึ่งไพรวัลย์ทำในเวลาว่างอีกเดือนละสองถึงสามพันบาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้ล้วนหมดไปกับค่าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการเลี้ยงดู ลูกๆ หลานๆ ไพรวัลย์กล่าวว่า รายได้ที่หายไปมากที่สุดหลังการสร้างเขื่อนคือการประมง เมื่อก่อนออกเรือหนึ่งครั้งสามารถจับปลาได้มากกว่าสิบกิโล สร้างรายได้ครั้งละเจ็ดถึงแปดร้อยบาท ปัจจุบันได้แค่เที่ยวละไม่กี่กิโล หรือถ้าโชคไม่ดีก็ต้องออกเรือสี่ถึงห้ารอบกว่าจะได้ปลาซักตัว ทำให้ปัจจุบันชาวบ้านเลิกทำประมงกันเกือบหมด ปลาที่เคยจับกินเองได้ทุกวันนี้ต้องไปซื้อจากตลาด "อย่าถามเลยว่ามีรายได้ไหม ไม่มีรายได้แล้ว ทำงานเลี้ยงส่งหลานอย่างเดียว ถ้าลูกไม่ส่งก็ไม่มีกิน" ไพรวัลย์กล่าว
งานสานกระติ๊บข้าวเหนียวเป็นอาชีพเสริมที่ไพรวัลย์ทำที่บ้านยามว่างจากการเลี้ยงลูกๆ หลานๆ การท่องเที่ยวท้องถิ่นกระทบหนัก ภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน สถานที่ท่องเที่ยวริมฝั่งโขงของจังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ต้องอาศัยอิทธิพลของแม่น้ำโขง เช่น หาดสลึง ซึ่งเป็นหาดสันดอนทรายริมแม่น้ำโขงให้นักท่องเที่ยวเข้าไปพักผ่อนในช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี และยังเป็นจุดขึ้นเรือสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะชม "แกรนด์แคนย่อนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล" ปราสาท อุดมลาภ คนขับเรือท่องเที่ยววัย 60 ปีของหาดสลึง กล่าวว่า ตั้งแต่จีนสร้างเขื่อน หาดสลึงซึ่งเคยรองรับนักท่องเที่ยวได้นานกว่า 4 เดือนตลอดช่วงน้ำลลง กลับเหลือเพียงไม่กี่อาทิตย์ในช่วงปลายเดือนธันวาคม รายได้จึงลดลงจากเมื่อก่อนที่ได้เดือนละ 2-3 หมื่นบาท กลายเป็นไม่ถึงหมื่น สมัยก่อนมีเรือหางยาวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว 19 ลำ วิ่งวันละ 2-3 เที่ยว คนขับได้เที่ยวละ 1,000 บาท ทุกวันนี้เหลือเรือ 17 ลำ วิ่งกันวันละเที่ยว บางวันก็ไม่ได้วิ่งเพราะไม่มีนักท่องเที่ยว ซึ่งหากมีการระเบิดแก่งหินเพิ่มอีก ปราสาทกังวลว่าจะทำให้น้ำท่วมสูงกว่าเก่า และทำให้ช่องทางทำมาหากินต้องลดลงไปอีก
ปราสาท อุดมลาภ "เหมือนประเทศจีนเขาแกล้งการท่องเที่ยวไทย พอหน้าท่องเที่ยว น้ำก็ดันมาท่วม ที่นี่มันต้องมาเที่ยวหน้าแล้ง เมื่อก่อนคนมาเล่นเยอะ เหมือนพัทยาเลย แม่ค้าก็ขายของเต็มไปหมด มีจัดแข่งวอลเล่ย์บอลชายหาด เตะฟุตบอล ทุกวันนี้หายหมดแล้ว บางทีนักท่องเที่ยวขับรถมา พอเห็นว่าไม่มีหาดเขาก็กลับ" ปราสาทเล่าว่านอกจากหาดสลึงแล้ว หาดหงส์ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องหายไปเพราะเขื่อนแม่น้ำโขง หาดหงส์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เคยได้ชื่อว่าเป็น 'ทะเลทรายเมืองไทย' เนื่องจากมีทิวทัศน์เป็นสันดอนทรายจำนวนมาก ในอดีต พื้นที่ดังกล่าวจะถูกแม่น้ำโขงท่วมสูงในช่วงน้ำหลากอยู่นานสามเดือน ทำให้พืชไม่สามารถเติบโตได้และกลายเป็นทะเลทรายในช่วงน้ำลง อย่างไรก็ตามในปีที่จีนปิดเขื่อน ระยะเวลาที่น้ำท่วมจะลดลงเหลือเพียงเดือนเดียว ทำให้บางปีทะเลทรายของหาดสลึงถูกปกคลุมได้ด้วยหญ้าและสูญเสียความสวยงามไปจดหมด นี่เป็นเพียงผลกระทบหนึ่งของโครงการขนาดใหญ่ของจีนได้สร้างต่อแม่น้ำโขงโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนปลายน้ำ แม้ตั้งแต่ปี 2545 จีนได้เริ่มส่งข้อมูลการบริหารจัดการแม่งน้ำโขง ให้กับคณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่เคยมาถึงประชาชนในพื้นที่ เป็นเพียงแค่ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของบรรดาผู้นำรัฐบาลเท่านั้น และถึงแม้ว่า MRC จะคัดค้านโครงการดังกล่าวของจีน ก็ไม่ได้รับประกันว่ารัฐบาลจีนจะยอมถอย เนื่องจากจีนไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการดังกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
7 ปี สลายแดง ศปช. เปิดอีก 5 ความจริง ย้ำปรองดอง ที่ไร้ความจริง-ยุติธรรม เป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ Posted: 19 May 2017 12:21 AM PDT ศปช. ออกแถลงการณ์ ความปรองดองที่ละเลย ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาเหยื่อ เป็นแค่การโฆษณาชวนเชื่อที่ไร้มนต์ขลัง พร้อมเปิดความจริงอีก 5 ข้อ การใช้กำลังเกินเหตุ ละเมิดกฎการใช้กำลัง 6 ศพวัดปทุมฯ ศาลไม่เชื่อตามคำให้การของทหารว่ามีชายชุดดำยิงอยู่ภายในพื้นที่รอบวัด ฯลฯ ภาพ ความพยายามเข้าช่วยเหลือ ถวิล คำมูล ศพแรก ของเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค. 53 เข้าถูกยิงช่วงเข้า บริเวณป้ายรถแท็กซี่ ศาลาแดง ต่อมาเดือน ธ.ค.56 ศาลมีคำสั่งในการไต่สวนการตายของเขา ระบุว่า แห่งการตายคือถูกยิงด้วยกระสุนปืนลูกโดดความเร็วสูงที่ศีรษะทะลุเข้ากะโหลกศีรษะทำให้เนื้อสมองฉีกขาดมากโดยมีวิถีกระสุนปืนยิงมาจากด้านเจ้าหน้าที่ทหารที่กำลังเคลื่อนกำลังพลเข้ามาควบคุมพื้นที่จากแยกศาลาแดงมุ่งหน้าไปแยกราชดำริ โดยยังไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้ลงมือกระทำอันเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (อ่านรายละเอียดคำสั่งศาล) ภาพโดย หงส์ ศาลาแดง 19 พ.ค. 2560 เนื่องในวาระครบรอบ 7 ปีการสลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) วันนี้ (19 พ.ค.60) ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือนเมษายน-พฤษภาคม 53 (ศปช.) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนจัดตั้งขึ้นหลังเหตุการสลายการชุมนุมเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ดังกล่าว ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ความปรองดองที่ละเลย ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาเหยื่อ เป็นแค่การโฆษณาชวนเชื่อที่ไร้มนต์ขลัง และดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจเถื่อนที่กดหัวประชาชนไว้เท่านั้น ถือเป็นความปรองดองที่อิหลักอิเหลื่อและอันตราย ศปช. เปิดความจริง ที่ค้นพบอีกชุดหนึ่ง ประกอบด้วย รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ และกองทัพ ใช้กำลังเกินกว่าเหตุและละเมิดกฎการใช้กำลังจากเบาไปหาหนักในการสลายการชุมนุม กรณีที่รัฐบาลขณะนั้น และ ศอฉ . กล่าวหาต่อผู้ชุมนุม เป็นผู้ก่อการร้าย และมีอาวุธร้ายแรง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้เสียชีวิตรายใดมีอาวุธร้ายแรงที่สามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ในระยะไกลได้ โดยมีผลการไต่สวนการตายของผู้ชุมนุมโดยศาลอาญาจำนวน 18 ราย ล้วนยืนยัน การเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายพลเรือน เกือบทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนปืน ในตำแหน่งที่ประสงค์ให้ถึงแก่ชีวิต การไต่สวนการตายกรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ศาลเห็นว่าไม่มีน้ำหนักให้เชื่อตามคำให้การของเจ้าหน้าที่ทหารว่ามีชายชุดดำยิงอยู่ภายในพื้นที่รอบวัดหรือภายในวัด หรือมีการยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ศาลจึงวินิจฉัยว่าการเสียชีวิตของทั้ง 6 คนเป็นผลจากการกระทำของทหารและ กรณีการเผาเซ็นทรัลเวิล์ด ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่กล่าวหาผู้ชุมนุมเสื้อแดง 2 คน คือ นายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ในข้อหาวางเพลิง ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นไปแล้ว โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ ดังนี้ 7 ปีของการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 ไม่มีความจริง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความปรองดอง ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือนเมษายน-พฤษภาคม 53 (ศปช.) 19 พฤษภาคม 2560 สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมหยิบยืมศัพท์แสงทางการเมืองของฝรั่งที่ดูสวยหรูมาใช้ เพื่อทำให้การกระทำของผู้อ้างศัพท์แสงนั้นดูดี มีความหมายอันสูงส่ง แต่ในทางปฏิบัติกลับละทิ้งสารัตถะของถ้อยคำเหล่านั้นไปเสีย หนึ่งในคำที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือคำว่า "ปรองดอง" หรือ "สมานฉันท์" (reconciliation) จากบทเรียนในอดีต เมื่อผู้มีอำนาจเอ่ยคำว่า "ปรองดอง" พวกเขามักหมายความว่า ให้ประชาชน ลืม หรือ เงียบ ต่อความรุนแรงที่พวกเขากระทำต่อประชาชน ให้เป็นพลเมืองดีเดินตามแนวทางที่พวกเขากำกับ แล้วสังคมจะดีขึ้นเอง ความสมัครสมานสามัคคีจะกลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง หากใครพยายามขุดคุ้ยเรียกร้องหาความจริงและความยุติธรรมกลับถูกตราหน้าว่าเป็นพวกชอบสร้างความแตกแยกปั่นป่วนในสังคม ในสังคมอื่นที่เคยผ่านความขัดแย้งรุนแรง แต่สามารถผ่านพ้นวิกฤติและสร้างความปรองดองขึ้นมาได้นั้น เขาให้ความสำคัญกับการแสวงหาความจริง (truth) เพื่อหาทางคืนความยุติธรรม (justice) ให้แก่เหยื่อของความขัดแย้งรุนแรง อันเป็นส่วนสำคัญสำหรับทั้งการเยียวยาบาดแผลของเหยื่อและการสมานรอยร้าวของสังคม (reparation) ฉะนั้น คำว่าปรองดอง ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยา จึงเป็นชุดคำศัพท์ที่ต้องปรากฏอยู่ด้วยกันเสมอ เพราะเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ซึ่งกันและกันของกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม แต่สำหรับสังคมไทย ผู้มีอำนาจต้องการความปรองดองในแง่ที่หมายถึงเพียงความสงบเรียบร้อยทางการเมือง พวกเขาปฏิเสธที่จะเยียวยาเหยื่อของความขัดแย้ง ด้วยการค้นหาความจริงและฟื้นฟูความยุติธรรมให้แก่พวกเขา ความปรองดองที่ละเลย "ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาเหยื่อ" จึงเป็นแค่การโฆษณาชวนเชื่อที่ไร้มนต์ขลัง และดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจเถื่อนที่กดหัวประชาชนไว้เท่านั้น ถือเป็นความปรองดองที่อิหลักอิเหลื่อและอันตราย สำหรับศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 (ศปช.) เรายังคงยืนยันว่า "ความจริงคือหัวใจของความยุติธรรมและความปรองดอง" แม้เวลาจะล่วงเลยเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษา-พฤษภา 2553 ไป 7 ปีแล้ว ศปช. ยังขอยืนยัน "ความจริง" ที่เราค้นพบอีกคำรบหนึ่ง ดังต่อไปนี้ · รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ และกองทัพ ใช้กำลังเกินกว่าเหตุและละเมิดกฎการใช้กำลังจากเบาไปหาหนักในการสลายการชุมนุม มีการระดมกำลังพลของกองทัพถึง 67,000 นาย มีการเบิกจ่ายกระสุนจริงถึง 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด เท่ากับมีการใช้กระสุนจริงไปทั้งสิ้น 117,923 นัด มีการเบิกจ่ายกระสุนสำหรับการซุ่มยิง (สไนเปอร์) 3,000 นัด ส่งคืนเพียง 880 นัด เท่ากับใช้ไป 2,120 นัด และมีการประกาศ "เขตกระสุนจริง" ต่อผู้ชุมนุมอย่างเปิดเผย และนี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิต 84 ราย (เจ้าหน้าที่ 10 ราย) และบาดเจ็บอีกกว่า 1,400 คน · แม้ว่ารัฐบาลและ ศอฉ .พยายามกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้าย และมีอาวุธร้ายแรง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้เสียชีวิตรายใดมีอาวุธร้ายแรงที่สามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ในระยะไกลได้ ผลการไต่สวนการตายของผู้ชุมนุมโดยศาลอาญาจำนวน 18 ราย ล้วนยืนยันข้อเท็จจริงนี้ · การเสียชีวิตและบาดแผลของผู้เสียชีวิตฝ่ายพลเรือน เกือบทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนปืน โดยมากกว่าร้อยละ 50 พบบาดแผลบริเวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ประสงค์ให้ถึงแก่ชีวิต · จากการไต่สวนการตายของศาลอาญาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ในกรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ศาลเห็นว่าไม่มีน้ำหนักให้เชื่อตามคำให้การของเจ้าหน้าที่ทหารว่ามีชายชุดดำยิงอยู่ภายในพื้นที่รอบวัดหรือภายในวัด หรือมีการยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ศาลจึงวินิจฉัยว่าการเสียชีวิตของทั้ง 6 คนเป็นผลจากการกระทำของทหาร · กรณีการเผาเซ็นทรัลเวิล์ด ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่กล่าวหาผู้ชุมนุมเสื้อแดง 2 คน คือ นายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ในข้อหาวางเพลิง ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นไปแล้ว ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2556 อัยการสูงสุดได้สั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าโดยเจตนา จากกรณีที่ทั้งสองออกคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แต่หลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในปี 2553 จากเดิมที่ล่าช้าอยู่แล้ว ก็กลายเป็นชะงักงัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กลับพิพากษายกฟ้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ด้วยเหตุผลว่าทั้งสองออกคำสั่งขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง ต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้ชี้มูลความผิดและยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฉะนั้นศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจพิจารณา ขณะที่ทางด้าน ป.ป.ช. ก็มีมติให้ข้อกล่าวหากรณีนายอภิสิทธิ์กับพวกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บตกไป ด้วยเหตุผลว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ป.ป.ช. เห็นว่า หากภายหลังสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติใช้อาวุธโดยไม่สุจริต เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ก็ถือเป็นความรับผิดเฉพาะตัวเท่านั้น ซึ่งต้องส่งเรื่องให้ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลไปยังดีเอสไอเพื่อสอบสวนการกระทำผิดต่อไป นอกจากนี้ หลังรัฐประหารการบริหารประเทศก็ถูกครอบงำโดยคณะนายทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมในปี 2553 อย่างชัดเจน เป็นต้นว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ในปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นรอง ผบ.ทบ. และผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศอฉ. ในช่วงสลายการชุมนุม พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษา คสช. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองผู้อำนวยการ ศอฉ. ในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีกลาโหม และรองหัวหน้ากับประธานคณะที่ปรึกษาของ ศอฉ. พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ ศอฉ. ในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นองคมนตรี และเคยเป็นที่ปรึกษา คสช. กับรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ ในบริบทเช่นนี้เอง พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. ยังได้ออกคำสั่งที่ 68/2558 เปลี่ยนแปลงพนักงานสอบสวนและแนวทางการสอบสวนสำหรับสำนวนคดีผู้เสียชีวิตกรณีปี 53 ที่เหลือทั้งหมด เท่ากับเป็นการแทรกแซงกระบวนการสอบสวนคดีโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังสลายการชุมนุม จากที่กล่าวมา แม้ ศปช. จะตระหนักดีว่าผู้มีอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ไม่ต้องการรับฟังความจริงรวมทั้งการสร้างความปรองดองจากแง่มุมที่ต่างไปจากของพวกเขา แต่ ศปช. ถือว่าสิ่งนี้เป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ยึดมั่นในหลักการสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่เราไม่อาจละเว้นได้ และเป็นการประกาศว่า เราไม่สามารถปรองดองกับระบอบที่มุ่งปิดกั้นความจริง ความยุติธรรม และสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น