ประชาไท | Prachatai3.info |
- สหภาพยุโรปจะปรับความสัมพันธ์กับไทย-หลัง คสช.ประกาศเลือกตั้ง พ.ย. ปีหน้า
- กวีประชาไท: ลูกหลานเอย.. เจ้าจะอยู่กันอย่างไร
- ใบตองแห้ง: สเป๊กเทพปักเลน
- ปัญหาของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและแนวทางการปฏิรูป
- นิธิ เอียวศรีวงศ์: ทางวิบากสองแพร่ง
- ก้าวคนละก้าว: ก้าวที่หลงทาง (2)
- กวีประชาไท: สวนทางทุน
- รมว.ต่างประเทศยก 'หลักประกันสุขภาพไทย' เป็นจุดเด่นประเทศไม่แพ้การท่องเที่ยว-อาหาร
- ยูนิเซฟชูโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ร้องให้เด็กที่ขาดโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
- รัฐธรรมนูญ/รัฐสวัสดิการ | ษัษฐรัมย์-แสงศิริ-พิชิต-จาตุรนต์ [วิดีโอ]
- เครือข่ายองค์กรมุสลิมในไทยค้านและประณามทรัมป์กรณีประกาศ 'เยรูซาเล็ม'
สหภาพยุโรปจะปรับความสัมพันธ์กับไทย-หลัง คสช.ประกาศเลือกตั้ง พ.ย. ปีหน้า Posted: 11 Dec 2017 08:58 AM PST คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเผย เตรียมฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย-หลังหัวหน้า คสช.บอกจัดเลือกตั้งพฤศจิกายน 61 ส่วนการเจรจา FTA ไทย-อียู รอรัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้ง เน้นย้ำให้ยกเลิกข้อจำกัดด้านเสรีภาพ ปลดล็อกให้พรรคการเมือง-ภาคประชาสังคมทำงาน เคารพนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ และให้ความสำคัญกับรัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 61 หรือ ครม.ประยุทธ์ 5 ถ่ายภาพร่วมกันหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 4 ธันวาคม 2560 (ที่มา: เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล/วิกิพีเดีย) ธงสหภาพยุโรป (ที่มา: Facebook/European Union in Thailand) 11 ธ.ค. 2560 ในเฟสบุ๊ค European Union in Thailand ได้เผยแพร่ผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเกี่ยวกับประเทศไทย (Council Conclusions on Thailand) โดยมีรายละเอียดดังนี้ คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป ได้มีการตกลงที่จะปรับความสัมพันธ์ด้านการเมืองกับประเทศไทย รวมไปถึงด้านสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และแผนการดำเนินงานสู่ประชาธิปไตย ผลสรุปการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเกี่ยวกับประเทศไทย (Council Conclusions on Thailand) วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 1. คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป ยังคงยืนยันถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย คณะรัฐมนตรีฯ เล็งเห็นถึงคุณค่าของบทบาทที่ประเทศไทยมีในฐานะประเทศผู้ประสานการเจรจาและสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศ อียู-อาเซียน (EU-ASEAN Dialogue Relations) ในปัจจุบัน 2. คณะรัฐมนตรีฯ ขอย้ำถึงข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยมีการคืนสู่กระบวนการทางด้านประชาธิปไตยอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยผ่านการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย รวมถึงความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 3. คณะรัฐมนตรีฯ ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง และเสรีภาพ ซึ่งได้ถูกลดรอนไปอย่างรุนแรงในประเทศไทยหลังจากการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมยังคงถูกจำกัดอยู่เป็นอย่างมาก ผ่านกฎหมายและคำสั่งของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลายฉบับ นอกจากนี้นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนยังคงเผชิญกับการคุกคามทางกฎหมาย คณะรัฐมนตรีฯ ตอกย้ำถึงความสำคัญของเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวที่ต้องได้รับการฟื้นฟูขณะที่ประเทศไทยดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตย และขอย้ำถึงความสำคัญของเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบทบาทของภาคประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อไป 4. คณะรัฐมนตรีฯ ส่งเสริมให้ผู้มีอำนาจของไทยดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้ให้คำมั่นระหว่างการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้กลไก UPR (Universal Periodic Review) ครั้งที่สองของประเทศไทย (พฤษภาคม 2016) 5. คณะรัฐมนตรีฯ พึงสังเกตว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 150 วันหลังจากมีการประกาศใช้กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นสี่ฉบับ นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีฯ ยังตั้งข้อสังเกตว่าการเตรียมความพร้อมในทางนิติบัญญัติเพื่อจัดการเลือกตั้งกำลังมีความคืบหน้า ในบริบทนี้คณะรัฐมนตรีฯ ยอบรับแถลงการณ์ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีฯ เรียกร้องให้มีการประกาศใช้กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เคารพกำหนดการการจัดการเลือกตั้งตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 6. คณะรัฐมนตรีฯ ตั้งข้อสังเกตถึงการตัดสินใจของผู้นำทางทหารในการลดการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหารหลายคดีลง ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 ทั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะรัฐมนตรีฯ เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยไม่ดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร ซึ่งรวมถึงความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 7. คณะรัฐมนตรีฯ ทบทวนผลสรุปการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2557 ที่ระบุว่าสหภาพยุโรปตัดสินใจที่จะทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย และอาจจะพิจารณาดำเนินการมาตรการอื่นๆ ต่อไปตามสถานการณ์ เมื่อพิจารณาจากความคืบหน้าที่กล่าวไปข้างต้น คณะรัฐมนตรีฯ จึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเริ่มกลับมาปรับความสัมพันธ์ด้านการเมืองกับประเทศไทยอย่างช้าๆ 8. ดังนั้น คณะรัฐมนตรีฯ ตัดสินใจที่จะกลับเข้าสู่การติดต่อทางการเมืองในทุกระดับกับประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกการเจรจาในประเด็นที่มีความสำคัญร่วมกัน อันรวมถึงด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และแผนการดำเนินงานสู่ประชาธิปไตย สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะใช้จากการเจรจาติดต่อดังกล่าวอย่างเต็มที่เพื่อหยิบยกประเด็นข้อกังวลเหล่านี้ 9. คณะรัฐมนตรีฯ อยากเห็นความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นกับประเทศไทย หลังจากการจัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและการปรับปรุงของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน สหภาพยุโรปหวังให้ผู้มีอำนาจของไทยจะดำเนินการให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ฝ่ายค้านและภาคประชาสังคมสามารถทำงานได้อย่างเสรี 10. ในบริบทนี้ คณะรัฐมนตรีฯ ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปสำรวจความเป็นไปได้ในการกลับมาเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างยุโรป-ไทย (EU-Thailand Free Trade Agreement) 11. การลงนามในกรอบข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement - PCA ) และการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศไทย จะสามารถดำเนินการได้กับรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 12. คณะรัฐมนตรีฯ ย้ำอีกครั้งว่าจะยังคงพิจารณาทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับประเด็นในด้านต่อไปนี้: - การยกเลิกข้อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ ตลอดจนเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่ม การยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองและองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงการเคารพและสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน - การจัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย อันสอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งนำไปสู่สถาบันทางประชาธิปไตยที่ทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ - การเข้าประจำตำแหน่งของรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 13. สหภาพยุโรปพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ด้วยเจตนารมณ์ของความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน 14. คณะรัฐมนตรีฯ ขอให้ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมกันติดตามสังเกตการณ์และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีฯ ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าที่เกิดขึ้น ผลสรุปการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปฉบับภาษาอังกฤษ - Council Conclusions in English: http://www.consilium.europa.eu/media/32026/st15583en17.pdf อ่านเพิ่มเติม - More: http://bit.ly/2yf2xvm ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กวีประชาไท: ลูกหลานเอย.. เจ้าจะอยู่กันอย่างไร Posted: 11 Dec 2017 08:56 AM PST
แหวนมารดา นาฬิกาของยืมเพื่อน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 11 Dec 2017 08:51 AM PST
สเป๊กสูงลิบขนาดต้องเป็นอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ 5 ปี ตำรวจทหารก็ต้องเป็น ผบ.เหล่าทัพเท่านั้น มีซักกี่คนกัน ตอนตั้งกรรมการสรรหา สเป๊กเดียวกัน จึงได้อดีตอธิบดีกรมหม่อนไหมและกรมการข้าว คิดอีกทีก็ดีเหมือนกัน เบื่อตำรวจทหารข้าราชการแก่ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ใครมีตั๋วทนายครบ 20 ปี ใบประกอบวิชาชีพอิสระ หมอ วิศวะ สถาปนิก 20 ปี ทั้งข้าราชการและเอกชนกลับสมัครได้ มันแปลกดีไหม ครูประถม มัธยม ก็ได้ แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเป็นศาสตราจารย์ครบ 5 ปี จึงถือว่าขลัง จะบอกว่าเจตนาตั้งสเป๊กสกัดข้าราชการก็ไม่น่าใช่ ดูเหมือนเขียนกฎหมายบกพร่องโดยพิกลเสียมากกว่าหวย กกต.เลยมาออกที่เลขาฯ กสทช. อดีตผู้ว่าฯ คณะทำงาน "บิ๊กป๊อก" อดีตอธิการบดีราชมงคล ราชภัฏ ซึ่งรายหลังก็พอดี๊ เป็นศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ มีความรู้ความสามารถ ขึ้นเวที "ยามเฝ้าแผ่นดิน" มาแล้วเมื่อปี 51 รายสุดท้ายเซอร์ไพรส์หนักมาก ทนายหญิงที่ไม่มีใครรู้จัก ท่านอาจดีบริสุทธิ์ ประทับใจกรรมการสรรหา แต่ถามหน่อยว่า คนจะเป็นองค์กรอิสระ ควรมีบทบาทผลงานเป็นที่ประจักษ์ไหม ถ้ามาจากศาลก็ว่าไปอย่าง เพราะปกติผู้พิพากษาสมถะ โลว์โปรไฟล์ เพียงแต่ครั้งนี้ได้คนที่สังคมรู้จัก เพราะท่านแรกอยู่ใน "63 ตุลาการรักแผ่นดิน" ลงชื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม กกต.สมชัยไม่ใช่หัวร่อแค่การสรรหา กกต.เท่านั้น หากยังเห็น พ.ร.ป.องค์กรอิสระที่เอนไปเอนมายิ่งกว่าหอเอน ปิซ่า ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน หากขัด "สเป๊กมหาเทพ" จะทำอย่างไร ทีแรก กรธ.ก็บอกว่าจะ "รีเซ็ต" ทั้งหมด คือใครคุณสมบัติครบอยู่ต่อ ใครเป็นอธิบดีเป็นศาสตราจารย์ไม่ครบ 5 ปีก็ตกเก้าอี้ไป สรรหาใหม่ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทุกองค์กร ที่ไหนได้ พอร่างกฎหมายเข้า สนช.กลับถูกแก้ไขไปคนละทิศละทาง กกต.ถูก Set Zero โดยอ้างว่าจะเพิ่มจาก 5 เป็น 7 ไม่ให้มี "ปลาสองน้ำ" ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รีเซ็ต ให้อยู่ต่อจนครบวาระ กสม.ถูก Set Zero ตั้งแต่ร่างของ กรธ.โดยอ้างว่าให้เป็นไปตามหลักการปารีส เพราะถูกลดเกรด พอมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ กลับเปิงไปอีกอย่าง ตุลาการ 9 คนมี 5 คนครบวาระ คำสั่ง คสช.ให้อยู่ต่อไปก่อน รอกฎหมายลูกเสร็จค่อยสรรหา ปรากฏว่า สนช.กลับให้อยู่ต่อจนหลังเลือกตั้ง จนมีประธานสภาและผู้นำฝ่ายค้าน มาร่วมเป็นกรรมการสรรหา โดยอ้างว่า "สง่างาม" ส่วนอีก 4 คนที่ร่าง กรธ.ให้รีเซ็ต ก็ให้อยู่ต่อจนครบวาระ แบบเดียวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยอ้างว่าศาลเป็นอิสระ ปลดศาลไม่ได้ ต่างชาติจะนินทา กกต.สมชัยก็เลยแต่งกลอนถาม นี่ไม้หลักหรือไม้เลื้อย สองมือถือกฎหมาย ละอายกันหรือไม่ เรื่องตลกกว่านั้นคือ ในที่ประชุมกรรมาธิการ สนช.ที่มีสมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน ตัวแทน กรธ.3 คน ได้แก่ สุพจน์ ไข่มุกด์, อุดม รัฐอมฤต, ธนาวัฒน์ สังข์ทอง ค้านหัวชนฝา โดยเฉพาะสุพจน์ อดีตตุลาการเจ้าของวาทกรรม "ทำถนนลูกรังให้หมดก่อน" ยืนยันว่า การต่ออายุเพื่อนตุลาการ 5 คนขัดรัฐธรรมนูญ แต่ท้ายที่สุด กรธ.กลับมาประชุมกันแล้วมีมติว่า จะไม่ส่งความเห็นค้าน สนช. โดยอ้างว่าผู้แทน 3 คนแสดงความเห็นไปแล้ว และศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยแล้ว ในกรณีร่าง พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ (คือจะเขียนรีเซ็ต เซ็ตซีโร่ อยู่ต่อ ต่ออายุ อย่างไรก็ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ) แหม่ เสียดายจัง เมื่อ กรธ.ไม่ค้าน ก็คงไม่มีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่เข้าใจตรงกันนะ ถ้าท่านวินิจฉัยว่าไม่ขัด ก็ไม่ใช่ ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีคำวินิจฉัยร่าง พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดินนำร่องไว้แล้วไง ก็ต้องกลับไปถามสุพจน์ ไข่มุกด์ ที่อ้างว่าตุลาการ 5 คน ส่วนใหญ่อยากลาออกเต็มที นั้นจริงไหม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปัญหาของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและแนวทางการปฏิรูป Posted: 11 Dec 2017 08:39 AM PST
ผู้เขียนและคณะวิจัยที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอผลงาน วิจัยที่ได้รับการสนับสนุน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (personal income tax หรือ PIT) เป็นแหล่งรายรับภาษีสำคัญของรัฐบาลแหล่งหนึ่ง ทั้งเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้ และหากมีการปฏิรูปที่เหมาะสมจะเพิ่มรายรับให้รัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและธำรงโครงการเช่นระบบสุขภาพถ้วนหน้าได้ โครงการวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้น เพื่อชี้ให้ทั้งผู้วางนโยบายและประชาชนทั่วไปได้เข้าใจในระบบของ PIT อย่างแจ่มชัดมากขึ้น และเพื่อเป็นพื้นฐานในการผลักดันการปฏิรูประบบภาษีนี้ต่อไป โดยจุดเด่นของโครงการคือได้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากตัวอย่างผู้ยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ในปีภาษี 2555 ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากกรมสรรพากรโดยไม่มีข้อมูลใดๆ ที่บอกตัวตนของผู้กรอกผลงานวิจัย มีข้อสรุปสำคัญ คือ ในด้านระบบภาษีและประสิทธิผล กรมสรรพากรประสบความสำเร็จสูงในการบริหารการจัดเก็บภาษีเงินได้ประเภทเงินเดือนประจำ แสดงถึงการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนายจ้างทั่วประเทศ แต่การเก็บภาษีเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินและการประกอบธุรกิจของบุคคลธรรมดานั้น ยังเก็บได้ต่ำกว่าที่ควร กล่าวได้ว่า ระบบภาษียังไม่เป็นธรรมสำหรับบุคคลที่มีแหล่งเงินได้ต่างกัน ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีรูปแบบที่หลายหลาก (multiple tax system) นั่นคือระบบยังขาดการจัดเก็บภาษีเงินได้จากหลายแหล่งแบบบูรณาการ โดยการเก็บแบบบูรณาการ เป็นการรวมเงินได้ทุกประเภท ทั้งเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว และที่ยังไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย มารายงานในแบบภาษี เพื่อคำนวณภาษีในอัตราเดียวกันตามขั้นเงินได้สุทธิ แต่ระบบของไทยเป็นระบบแบบแยกส่วน จึงเกิดความลักลั่นในการคิดคำนวณและการจัดเก็บภาษีจากเงินได้ประเภทต่างๆ การบรรเทาภาระภาษีของบุคคลธรรมดาโดยการยกเว้น การหักค่าใช้จ่าย และการลดหย่อนเงินได้ที่มีหลากหลายรูปแบบ เปรียบเสมือนเป็นการสร้างรายจ่ายผ่านมาตรการทางภาษี (tax expenditure) ที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ รายรับภาษีลดต่ำลงไป มากไปกว่านั้น มาตรการลดหย่อนต่างๆ ที่ผ่านมา ยังเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มต่างๆ ไม่ทัดเทียมกัน และนี่คือ ตัวชี้ของความไม่เป็นธรรมของระบบ PIT ในปัจจุบันอีกด้วย หากมองระบบ PIT นี้ในภาพรวมใหญ่ของทั้งประเทศ ผู้เสียภาษีจริงมีไม่ถึงร้อยละ 10 ของประชากรในวัยทำงาน ซึ่งในด้านนี้มีสองประเด็นที่ต้องพิจารณา เรื่องที่หนึ่งคือ จุดอ่อนอันเกิดจากกฎหมายและระเบียบ เช่น การยกเว้นรายได้สำคัญบางประเภท การเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายบางประเภทในอัตราต่ำ และการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาเป็นต้น ในมิติการกระจายรายได้ ระบบภาษี PIT ของไทยมีลักษณะก้าวหน้า (progressive) คือ ผู้ยื่นแบบที่มีเงินได้น้อยก็ไม่ต้องเสียภาษี และในบรรดาผู้ยื่นแบบทั้งหมดนั้น ภาษีที่เก็บส่วนใหญ่มาจากกลุ่มที่มีเงินได้สูงสุดร้อยละ 10 ของผู้มีรายได้ทั้งประเทศ แต่ระบบ PIT ยังครอบคลุมเงินได้ไม่ครบทุกประเภท ความก้าวหน้าของภาษีที่กล่าวถึงนี้ จึงไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำมากนัก โดยเฉพาะ สำหรับเงินได้จากทรัพย์สินและการทำธุรกิจนั้น การแจ้งรายงานเงินได้และการจัดเก็บภาษีในส่วนนี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ความเป็นธรรมลดน้อยลง สำหรับประสบการณ์ในต่างประเทศพบว่า ประเทศที่รายรับ PIT สูง มักใช้ระบบภาษีแบบบูรณาการเป็นหลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้พอที่จะเสียภาษีตามขั้นเงินได้ 3-5 ระดับขั้น ประเทศที่รายรับ PIT สูงนั้น แสดงให้เห็นถึงความเสมอภาคด้านรายได้ ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนมีระบบ PIT ที่ใกล้เคียงกัน โดยประชาชนจำนวนมากไม่ต้องเสีย PIT และภาษี PIT ที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 ของรายได้ทั้งประเทศ ทั้งๆ ที่อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 20-35 การที่บางประเทศมีรายรับ PIT สูงนั้น อาศัยความร่วมมือของประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นประโยชน์และเชื่อว่าระบบภาษีเป็นธรรม ซึ่งความเข้าใจนี้สะท้อนความต้องการที่จะเป็นสังคมเดียวกันทั้งคนรวยคนจน และหากการเมืองและการบริหารภาครัฐได้ไปถึงจุดนี้แล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบการรายงานรายได้ และดำเนินการลงโทษผู้ที่หลีกเลี่ยงหรือรายงานเท็จแบบแน่นอน ปัญหาสืบเนื่องจากภาวะโลกาภิวัตน์ต่อระบบภาษีในนานาประเทศ คือ บุคคลบางกลุ่มโยกย้ายไปรับเงินได้ในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียน้อย (tax haven) ประเทศใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศสำคัญในเอเชีย เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เป็นต้น จึงได้ตกลงร่วมกันสร้างระบบเพื่อลดปัญหาดังกล่าวนี้ โดยคิดโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้เสียภาษีและรายได้ที่ได้รับ โดยมีหลักการว่า ผู้มีรายได้ควรเสียภาษี ณ ประเทศที่พำนักอาศัย (tax residence) บนฐานรายได้ที่ได้รับทั่วโลก (worldwide income) ซึ่งตามหลักการเดียวกันนี้ แต่ละประเทศยังจะมีระบบภาษีที่ต่างกันได้ ส่วนประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 139 ของ Global Forum เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป สําหรับนัยต่อนโยบายของไทยสรุปได้ว่ากรมสรรพากรได้ดำเนินการหลายเรื่องเพื่อให้ระบบ PIT ของไทยมีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลได้กำหนดให้ยกเลิกการลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุน (LTF) จาก พ.ศ.2563 เป็นต้นไป ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่าหากเลิกได้จริงจะเพิ่มรายรับ PIT ได้หมื่นกว่าล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ กรมได้เริ่มลดอัตราที่ใช้ในการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป สำหรับธุรกิจหลายประเภท ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนไห้หักค่าใช้จ่ายตามจริง และกรมได้แนะนำผู้มีรายได้สำคัญให้ทำบัญชีที่ตรวจสอบได้ หรือจดทะเบียนกิจการธุรกิจเป็นนิติบุคคล ทั้งหมดนี้เป็นทางที่น่าจะต้องดำเนินการต่อไป รวมทั้งกำหนดว่ารายการใดบ้างที่สมควรหักเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้ระบบครอบคลุมคนที่มีรายได้ระดับกลางมากขึ้น ในระยะยาว การปรับระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ครอบคลุมผู้ที่ควรเข้ามาในระบบและรายได้จากทรัพย์สินทุกประเภทให้ทั่วถึงมากกว่าที่เป็นอยู่เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อความเป็นธรรมและเพื่อให้มีความเข้าใจและความยินยอมเสียภาษีในอนาคต หากสามารถขยายฐานภาษีออกไปอย่างที่ควรเป็น เช่น ให้ครอบคลุมประชากรในวัยทำงานให้ได้มากขึ้น นั่นแหละระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้บ้าง นอกจากนี้ ไทยจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อเลี่ยงการแข่งกันลดภาษี และเพื่อช่วยกันปรับปรุงระบบ PIT โดยการใช้เทคโนโลยีเชื่อมระบบข้อมูลรายได้และรหัสผู้เสียภาษี ซึ่งในที่สุดอาจนำมาใช้ในการคำนวณภาษี ณ ประเทศที่พำนักอาศัย (tax residence) บนฐานรายได้ที่ผู้เสียภาษีได้รับทั่วโลก (worldwide income) การที่กรมสรรพากรให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิด้านภาษีให้แก่นักวิจัยเป็นเรื่องที่ดี ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของกรมสรรพากร ต่อการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปที่จะได้รับรู้ถึงการทำงานสำคัญของกรม ได้เข้าใจระบบภาษีและมีความยินยอมเสียภาษีมากขึ้น จึงควรเปิดเผยข้อมูลต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: มติชนออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิธิ เอียวศรีวงศ์: ทางวิบากสองแพร่ง Posted: 11 Dec 2017 08:24 AM PST
ตามปกติคณะรัฐประหารจะวางเงื่อนไขการสืบทอดอำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นก็ระดมการสนับสนุนของนักการเมือง, ข้าราชการ, นายทุน, ไว้เพื่อจัดการตามเงื่อนไข หลังเลือกตั้งผู้นำการรัฐประหารจะได้เสียงสนับสนุนในสภามากพอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้อย่างมั่นคง ยิ่งหากยังได้กองทัพหนุนหลังอยู่ ก็จะคุมพรรคการเมืองได้เด็ดขาดขึ้น การเลือกตั้งและการได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นเพียงการสืบทอดอำนาจเท่านั้น แต่เป็นการพิสูจน์ว่าการรัฐประหารที่ผ่านมานั้นมีความชอบธรรม อย่างน้อยก็ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาซึ่งส่วนหนึ่งเป็นตัวแทนประชาชน การเลือกตั้งจึงประกันความปลอดภัยของคณะรัฐประหารในทางปฏิบัติ ที่น่าจะมีผลมั่นคงในอนาคตเสียยิ่งกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมตัวเองเสียอีก การเลือกตั้งจึงเป็นบันไดทองของคณะรัฐประหาร ไม่ใช่ไว้ลงจากอำนาจ แต่ลงจากอำนาจที่ไร้ความชอบธรรม มาสู่อำนาจที่อย่างน้อยก็ชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงเป็นจุดจบที่คณะรัฐประหารทั้งหลายที่ผ่านมาในเมืองไทยต้องการ งานเลี้ยงที่ไม่ยอมเลิกรานั้นน่ากลัว ทั้งแก่เจ้าภาพและแขกพอๆ กันอันที่จริงคณะรัฐประหารปัจจุบันมีเหตุที่พึงวิตกกังวลกับการเลือกตั้งน้อยมาก เพราะได้วางเงื่อนไขไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างรัดกุมพอสมควร ป้องกันไม่ให้ผลของการเลือกตั้งมีส่วนตัดสินอะไรได้มากนัก เช่นอาจไม่ให้อำนาจบริหารแก่ผู้ชนะการเลือกตั้ง หรือถึงช่วงชิงตำแหน่งนั้นไป ก็เป็นเพียงตำแหน่งกลวงๆ ที่ไร้ความหมาย เพราะยังมีอำนาจอื่นที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งเอาไว้คอยกำกับควบคุมอย่างแน่นหนา จนนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าเปิดป้ายโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ หากคุมไม่อยู่ ก็อาจถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ด้วยอำนาจขององค์กรซึ่งแต่งตั้งเอาไว้อย่างง่ายดาย นายกรัฐมนตรีที่อาจบริหารประเทศได้จริง ก็คือคนที่องค์กรต่างๆ ซึ่งคณะรัฐประหารตั้งเอาไว้ยอมรับเท่านั้น จริงอยู่สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี จึงอาจขัดขวางนายกรัฐมนตรีที่มาจากคณะรัฐประหารได้ แต่ภายใต้โครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่ไม่เอื้อให้นักการเมืองจากการเลือกตั้งมีบทบาทมากนัก การเจรจาต่อรองกับพรรคการเมืองเพื่อให้ผ่านงบประมาณ ย่อมทำได้ไม่ยากนัก ทั้งตบหัวและลูบหลัง หากระบอบถนอม-ประภาส หรือระบอบสุจินดา คราประยูร มีรัฐธรรมนูญอย่างนี้ เราก็คงต้องอยู่กับทายาททางอำนาจของบุคคลเหล่านั้นสืบมาจนทุกวันนี้ เหตุใดคณะรัฐประหารชุดปัจจุบันจึงไม่อาจวางใจกับเงื่อนไขที่พร้อมมูลของรัฐธรรมนูญ แล้วเปิดการเลือกตั้ง เพื่อปิดฉากอำนาจที่ขาดความชอบธรรม เปิดเข้าสู่ฉากใหม่ของอำนาจที่ดูชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ เหตุผลที่คณะรัฐประหารและบริวาร กับคนชั้นกลางที่สนับสนุนการรัฐประหาร น่าจะมองเห็นแล้วในบัดนี้ก็คือ การเมืองไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว และไม่สามารถใช้อำนาจเด็ดขาดของคณะรัฐประหารดึงการเมืองแบบเก่ากลับมาได้อีก ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ การเมืองไทยได้กลายเป็นการเมืองมวลชนไปเสียแล้ว การเกี้ยเซี้ยระหว่างผู้มีอำนาจกลุ่มต่างๆ อย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้การเมืองสงบราบคาบได้อย่างแต่ก่อน พรรคการเมืองไม่ได้นำประชาชน แต่ประชาชนเป็นผู้นำพรรคการเมือง จึงยากมากที่คณะรัฐประหารจะสามารถหาเสียง ส.ส.มาสนับสนุนได้เป็นกอบเป็นกำ ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะวางเงื่อนไขให้คะแนนเสียงของ ส.ส.ค่อนข้างกระจาย แต่พรรคการเมืองที่ยังหวังจะมีอนาคตในการเมืองไทยต่อไปข้างหน้า ไม่อาจสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารได้เต็มที่นัก จะเหลือก็แต่พรรคเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนคณะรัฐประหารโดยตรง แต่การหยั่งเสียงที่ทำกันอย่างลับๆ ชี้ให้เห็นว่า พรรคเช่นนี้จะได้รับเลือกตั้งไม่มากนัก แม้แต่พรรคภูมิใจไทย ก็ต้องแสดงท่าทีที่ไม่ถึงกับสยบยอมอย่างที่เคยเป็นข่าวเมื่อสองสามปีที่แล้ว แสดงว่าจนถึง 2535 มวลชนที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองคือคนชั้นกลางในเขตเมืองเท่านั้น ในขณะที่คนในชนบทยังพร้อมจะเดินตามพรรคการเมืองหรือหัวคะแนน แสดงว่าเป้าหมายทางการเมือง คือประโยชน์ที่ท้องถิ่นจะได้รับจากนักการเมืองระดับชาติ มากกว่าเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองระดับชาติโดยตรง แต่หลังรัฐประหาร 2549 ผู้คนจำนวนมากที่ไม่เคยเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างใกล้ชิดได้หลั่งไหลเข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างคึกคัก การเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางในเมืองสูญเสียอำนาจนำทางการเมืองในระดับประเทศไป หรืออย่างน้อยก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเมืองมวลชน จุดมุ่งหมายของการรัฐประหารใน 2549 ไม่บรรลุผลจน "เสียของ" แม้แต่การแทรกแซงของกองทัพเพื่อตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ขึ้นก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ก็เพราะการเมืองไทยได้เปลี่ยนเป็นการเมืองมวลชนไปแล้ว การเจรจาต่อรองระหว่างชนชั้นนำบนเวทีรัฐประหารและอำนาจพิเศษ ไม่อาจคืนความสงบราบคาบให้แก่การเมืองได้อย่างเคย การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายคนชั้นกลางในเมือง และคนชั้นกลางจากชนบท ได้ให้ประสบการณ์ทางการเมืองแก่คนไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน สื่อไซเบอร์ทำให้การจัดตั้งทางการเมืองทำได้ง่ายขึ้น ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าต้องเคลื่อนไหวอย่างไร จึงจะสามารถยึดความชอบธรรมทางกฎหมายไว้ได้ การเมืองมวลชนจึงเต็มไปด้วยสีสันของการเคลื่อนไหวของผู้คนจำนวนมาก มวลชนที่มีสำนึกทางการเมืองชัดเจนถึงเพียงนี้ ทำให้พรรคการเมืองต้องเดินตามมวลชนจริงอยู่ไม่ว่าเสื้อแดงหรือ กปปส.ล้วนได้รับการอุดหนุนทั้งด้านการเงินและอื่นๆ จากนักการเมือง แต่ทั้งสองกลุ่มไม่ใช่สมุนของพรรคการเมืองแท้ๆ นักการเมืองไม่อาจตั้งเงื่อนไขได้ว่าหากรับการอุดหนุนของตนแล้วต้องเคลื่อนไหวอย่างไร ตรงกันข้าม เพราะมวลชนเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างหาก นักการเมืองที่หวังผลการเลือกตั้งจึงไม่อาจวางเฉยหรือขัดขวางได้ กลายเป็นว่านักการเมืองต่างหากที่ต้องเดินตามมวลชน การเมืองมวลชนทำให้วิธีรวบอำนาจอย่างที่เคยทำกันมาเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว แม้จะเขียนรัฐธรรมนูญให้เอื้อต่อการรวบอำนาจของคนบางกลุ่มอย่างไร ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก เพราะการเมืองมวลชนทำให้เส้นทางการรวบอำนาจไม่มีวันราบรื่นไปได้ บันไดลงจากอำนาจที่ไม่ชอบธรรมซึ่งรัฐธรรมนูญจัดไว้ให้เป็นบันไดที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว ขืนลงบันไดนั้น ก็อาจไม่ได้พบกับอำนาจที่ดูชอบธรรมได้ แต่อาจพบกับความไร้ระเบียบที่ไม่มีอำนาจใดๆ สามารถจัดการได้ ไม่จำเป็นว่าการเมืองมวลชนจะนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยเสมอไป การเมืองมวลชนอาจนำมาซึ่งระบอบเผด็จการก็ได้ แต่ไม่ใช่เผด็จการเชยๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ต้องเป็นเผด็จการอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมี "ประสิทธิภาพ" สูง ทั้งในเชิงกำกับควบคุมและในเชิงการยอมรับของมวลชน เมืองไทยยังไม่เคยมีเผด็จการทันสมัยประเภทนี้ มีอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้เราเป็นประชาธิปไตยได้ยาก และมีอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้เราเป็นเผด็จการทันสมัยได้ยากกว่า เช่น เรามีกลไกรัฐที่ขาดเอกภาพ เราไม่มีอุดมการณ์ของความเปลี่ยนแปลง ซึ่งขาดไม่ได้ในเผด็จการทันสมัย กองทัพซึ่งอาจเป็นหัวหอกหรือผู้สนับสนุนหลักของเผด็จการทันสมัย ต้องเป็นกองทัพที่ประสบความสำเร็จอย่างเลื่องลือบางอย่าง เช่น กู้ชาติ หรือรวมประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างมั่นคง ฯลฯ บ่ายหน้าไปทางประชาธิปไตยก็ยาก บ่ายหน้าไปทางเผด็จการทันสมัย ก็ดูไม่มีแววจะเป็นไปได้เลย แล้ว คสช.จะลงจากอำนาจอันไม่ชอบธรรมของตนอย่างไร จากสามปีที่แล้วเมื่ออำนาจประเภทนี้ยังเป็นกำไรหรือข้อได้เปรียบ (asset) นับวันกลับกลายเป็นภาระ (liability) เพิ่มขึ้นทุกวัน
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน www.matichonweekly.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ก้าวคนละก้าว: ก้าวที่หลงทาง (2) Posted: 11 Dec 2017 08:07 AM PST
2. การจัดสรรงบประมาณ: งบประมาณ พ.ศ. 2561 (ต.ค. 2560-ก.ย. 2561) จัดสรรงบประมาณให้กับยุทธศาสตร์ 7 ด้าน รวมเป็นเงินกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ คสช. จัดสรรงบประมาณให้กับด้านความมั่นคงกว่า 271,267 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9.35 ของงบประมาณ ปี พ.ศ. 2560 กองทัพมีความต้องการทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) จำนวน 103,097 นาย เมื่อรวมทหารเกณฑ์เหล่านี้เข้ากับทหารเกณฑ์ที่ยังไม่ปลดประจำการ ไทยมีทหารกว่า 420,000 คน ติด 1 ใน 25 กองทัพที่ใหญ่ที่สุดของโลก หากเปรียบเทียบขนาดกองทัพจีนที่มีทหารในกองทัพกว่า 2,300,000 คน เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน - จีนมีประชากร (2559) กว่า 1,379 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนประชากร 600 คนต่อทหาร 1 คน ข้อมูลของกรมการปกครองไทยมีประชากร (2559) กว่า 65.9 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนประชากร 157 คนต่อทหาร 1 คน เห็นได้ชัดว่า จีนมีทหารต่อประชากรน้อยกว่าไทยเกือบ 4 เท่า แถมจีนมีนโยบายลดขนาดกองทัพเหลือเพียง 2 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้เพื่อประหยัดงบประมาณ - จีนมีพื้นที่ขนาด 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นอัตราส่วนพื้นที่ 2608.7 ไร่ต่อทหาร 1 คน ไทยมีพื้นที่ขนาด 513,115 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอัตราส่วนพื้นที่ 763.6 ไร่ต่อทหาร 1 คน เห็นได้ชัดว่า ทหารจีนดูแลพื้นที่มากกว่าไทยกว่า 3 เท่า จำนวนทหารจึงไม่ใช่ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกองทัพ เมื่อเปรียบสัดส่วนทหารไทย-จีนจะเห็นได้ชัดว่า ทหารไทยมีมากเกินความจำเป็น เมื่อดูรายละเอียดงบประมาณด้านความมั่นคงเราจะพบว่า แผนงานบุคลากรภาครัฐ (ด้านความมั่นคง) มีการจัดสรรงบประมาณสูงกว่า 106,951 ล้านบาท งบประมาณนี้ถูกจัดสรรให้กับเงินเดือน, เบี้ยเลี้ยง, สวัสดิการ, อาหาร และอื่นๆให้กับทหาร ขณะที่แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบประกันสุขภาพมีการจัดสรรงบประมาณสูงกว่า 207,096.6 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณจะพบว่า แผนงานบุคลากรภาครัฐ (ด้านความมั่นคง) มีงบประมาณมากกว่าครึ่งของแผนงานบูรณาการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ หากไทยลดขนาดกองทัพเหลือ 100,000-150,000 คนจะช่วยให้เราประหยัดงบประมาณส่วนนี้กว่า 50,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้สามารถช่วยเหลือแผนงานอื่นที่จำเป็นมากกว่า นอกจากนี้ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งจะมีผู้อายุมากกว่า 60 ปีกว่า 14.4 ล้านคน แต่ประชากรวัยทำงาน (อายุ 20-60 ปี) กลับลดลงเหลือกว่า 30 ล้านคน ไทยอาจต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลนประชากรวัยทำงานในอนาคต ดังนั้นการเกณฑ์ทหารเกินความจำเป็นจึงการซ้ำเติมสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานมากขึ้น ขณะที่การลดขนาดกองทัพจะช่วยให้ประชากรวัยทำงานสามารถทำงานเพื่อสร้างผลผลิตให้กับประเทศได้อย่างเต็มที่ รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสม การกักประชากรวัยทำงานจนไม่สามารถทำงาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐขาดแคลนงบประมาณ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 11 Dec 2017 07:53 AM PST ภูเหี้ยนป่าหายเพราะไฟดับ ป่าดิบฉิบหายกลายข้าวโพด เกิดป่าโตป่ารู้ค่าป่า ภูเหี้ยนป่าหายเพราะใครหนุน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รมว.ต่างประเทศยก 'หลักประกันสุขภาพไทย' เป็นจุดเด่นประเทศไม่แพ้การท่องเที่ยว-อาหาร Posted: 11 Dec 2017 04:59 AM PST ดอน คาดที่ประชุมสมั ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่ 11 ธ.ค.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่ ดอน กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage : UHC) ของไทย ถือเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่ ทั้งนี้ การดำเนินการที่ผ่านมาของไทย ได้ร่วมสนับสนุนและเสนอข้อมติ "เราได้เสนอในเวทีระหว่ สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมื "แม้ว่านโยบายการให้บริการผู้ ดอน กล่าวทิ้งท้ายว่า ความสำเร็จของระบบหลักประกันสุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยูนิเซฟชูโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ร้องให้เด็กที่ขาดโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น Posted: 11 Dec 2017 04:44 AM PST รายงานฉบับใหม่ของยูนิเซฟชี้ 11 ธ.ค. 2560 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รายงานว่า รายงานฉบับใหม่ของยูนิเซฟซึ่ รายงานสภาวะเด็กโลก 2560: เด็กในโลกดิจิทัล (The State of the World's Children 2017: Children in a digital world) คือ รายงานประจำปีฉบับพิเศษของยูนิ โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า "ทุกวันนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รายงานด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ยูนิเซฟได้ทำการสำรวจความคิดเห็ รายงานสภาวะเด็กโลกได้ระบุถึ อย่างไรก็ดี รายงานแสดงให้เห็นว่าเด็กหลายล้ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังระบุด้วยว่าอิ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ระบุต่อว่า รายงานได้แสดงให้เห็นข้อมูล ณ ปัจจุบันพร้อมบทวิเคราะห์เกี่ ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงาน มีดังนี้
ทั้งนี้ รายงานชี้ว่า หนทางเดียวที่จะทำให้เด็กมี
ในส่วนของประเทศไทย ยูนิเซฟได้ร่วมมือกับรั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐธรรมนูญ/รัฐสวัสดิการ | ษัษฐรัมย์-แสงศิริ-พิชิต-จาตุรนต์ [วิดีโอ] Posted: 11 Dec 2017 01:37 AM PST อภิปรายในประเด็นรัฐธรรมนูญ/รัฐสวัสดิการโดยษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี- แสงศิริ ตรีมรรคา-พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์-จาตุรนต์ ฉายแสง ว่าจำเป็นแค่ไหนสำหรับ "รัฐสวัสดิการ" ในประเทศไทย อุปสรรคและความเป็นไปได้ ฐานภาษีต้องเก็บแค่ไหน สวัสดิการนำไปใช้ในเรื่องใด และพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะเป็นเครื่องส่งเสริมหรือขัดขวางรัฐสวัสดิการกันแน่ ภาพโดย Bundit Uawattananukul อภิปรายหัวข้อ "รัฐธรรมนูญ/รัฐสวัสดิการ" เสวนาวิชาการในวันรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าด้วยสาเหตุและความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐสวัสดิการในประเทศไทย อุปสรรค ความเป็นไปได้ และความคาดหวังที่จะสร้างรัฐสวัสดิการไทย และพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะเป็นเครื่องส่งเสริมหรือขัดขวางรัฐสวัสดิการกันแน่ การอภิปรายประกอบด้วย 1. "ทำไมต้องมีรัฐสวัสดิการ?" ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ 2. "รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร?" แสงศิริ ตรีมรรคา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ 3. "ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของรัฐสวัสดิการไทย" รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 4. "อุปสรรคของรัฐสวัสดิการไทยทั้งในและนอกรัฐธรรมนูญ" จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดำเนินรายการโดย ณัฏฐา มหัทธนา กิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ 'เจาะเวลาหาอนาคต' จัดโดย Third Way Thailand ระหว่างวันที่ 10 ถึง 11 ธันวาคม ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำไมต้องมีรัฐสวัสดิการ?ษัษฐรัมย์ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า เงื่อนไขที่จะสร้างรัฐสวัสดิการต้องมาจากรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่เผด็จการ ถ้ามีการเลือกตั้งครั้งต่อไปเราต้องผลักดันให้พรรคการเมืองผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงก็จริง แต่ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับการเติบโของโครงสร้างของทุนที่มีจำนวนมาก โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆ ในการสร้างสวัสดิการนั้นเราเกิดจากการผลักดันในช่วงที่เรามีประชาธิปไตย ซึ่งก็ที่มีช่วงเวลาที่สั้น ในประเทศของเรา เรารับผิดชอบตัวเองตั้งแต่เกิดจนตาย ต้องยอมรับการแข่งขันที่สูงแล้วเชื่อว่าจะเดินไปถึงดวงดาวได้ ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ (ภาพโดย Bundit Uawattananukul) สำหรับสวัสดิการ ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ประเทศที่แย่ที่สุดในการสร้างสวัสดิการคือการใช้กลไกตลาดในการสร้าง เพราะรัฐผลักให้ไปซื้อประกันสุขภาพประกันชีวิต ส่วนอีกระบบคือระบบประกันสังคมของบิสมาร์ค ในเยอรมัน ที่ให้รัฐ ทุน และคนงานร่วมกันจ่าย ระบบแบบนี้อาจทำให้คนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน แต่ก็ไปอิงกับวัฒนธรรมจารีต เผด็จการในที่ทำงาน เพื่อควบคุมให้คนในสังคมทำงานหนัก แต่อีกโมเดลคือ รัฐสวัสดิการ แบบนอร์ดิก ที่มีการเก็ยภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า สร้างสวัสดิการที่ถ้วนหน้าครบวงจร ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นบนฐานของกรปกครองแบบประชาธิปไตย โจทย์ไม่ใช่โจทย์ทางเศรษฐกิจ แต่เป็นโจทย์ทางการเมืองที่เป็นฉันทามติของคนในสังคมต้องเห็นพ้อง เราต้อบงมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งพอที่เสียงเราจะดัง สำหรับผลของรัฐสวัสดิการ จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผู้คนมีความปลอดภัย มีอาชีพที่หลากหลาย ค่าจ้างไม่แตกต่างกัน เกิดแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับมิติทางเศรษฐกิจ ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ขณะที่ผลในทางการเมืองจะทำให้อำนาจท้องถิ่นมีเพิ่มขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเอง ส่วนในทางสังคมจะสร้างสังคมที่มีความเชื่อใจกัน ความรุนแรงทางสังคมต่ำ การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐต่ำ และยอมรับความหลากหลายสูง รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร?แสงศิริ เริ่มต้นด้วยโจทย์คือ ทำไมเราเชื่อว่ารัฐสวัสดิการถ้วนหน้าลดความเหลื่อมล้ำได้? แล้ความเหลื่อล้ำ คืออะไร อะไรที่บอกว่าเรามีความเหลื่อมล้ำ? เราพร้อมหรือยังเงินมาจากไหน? พร้อมยกตัวอย่างความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยว่า สิ่งแรกที่เห็นคือเรื่องของรายได้ ในสังคมไทยกลุ่มคนที่รายได้น้อยนั้นจะมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย มีภาระค่าใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ และหากมองในการถือครองทรัพยสิน มีคนเพียง 10% เท่านั้นที่ถือครองมากกว่า 61% และคนที่มีรายได้ต่ำสุดค่าใช้จ่ายจะไปอยู่ที่ค่าใช้จ่ายส่วนของอาหาร โดยที่รวมแล้วมี 3 ประเด็นที่แก้ปัญหาความเหลือมล้ำ คือ นอกจากระบบประกันสุขภาพและประกันรายได้แล้ว ยังมีเรื่อของการศึกษา ที่คนจนนั้นโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานด้านการศึกษาของรัฐนั้นต่ำมาก ทำไมสวัสดิการถ้วนหน้าถึงลดความเหลือมล้ำได้ แสงศิริ กล่าวว่า จากการพิสูจน์ของระบบหลักประกันสุงขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง มีงานวิจัยที่ออกมาหลังมีบัตรทอง คนมีรายจ่ายเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพตรงนี้ลดลง ลดจำนวนครัวเรือนที่ล้มละลาย แต่ถามว่าบัตรทองเป็นสวัสดิการที่ถ้วนหน้าหรือยัง วิธีคิดแบบบัตรทองนั้นมันเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้า แต่ยังมีปัญหาเรื่อการจัดการอยู่ และใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพนั้น มันยังมีความเหลือมล้ำอยู่ สวัสดิการข้าราชการนั้นได้สวัสดิการเรื่องสุขภาพ โดยรัฐให้งบประมาณสูงสุด เมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ ดังนั้นสวัสดิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นสวัสดิการแบบชนชั้น แสงศิริ กล่าวว่า สวัสดิการเป็นสิทธิ์ รัฐต้องประกันความมั่นคงให้กับประชาชน เนื่องจากทุกคนมีส่วนเพิ่มพูนมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศนี้ ดังนั้นความหวังอนาคตในการสร้างประชาธิปไตยในการสร้างรัฐบาลนั้นประชาชนเราจะลุกขึ้นมาทำข้อตกลงกับรัฐได้หรือไม่ ประชาชนได้มีส่วนร่วมไปกับนโยบายการคลังหรือไม่ เราจะช่วงชิงเคลื่อนไหว ทำข้อตกลงกับรัฐทีจะเข้ามาได้ไหม ในการจัดการคุณภาพชีวิตของคนและลดความเหลือมล้ำได้อย่างได้ และที่สำคัญในการสร้างรัฐสวัสดิการ ถ้าจะสร้างได้ ประชาชนต้องเชื่อใจรัฐ เพราะรัฐต้องเก็บภาษีมาแล้วเอาเงินไปสร้างสวัสดิการ แต่ที่ผ่านมารัฐไม่สามารถสร้างความเชื่อใจตรนี้ได้ สำรับ รัฐธรรมนูญ 2560 นี้ มันช่วยในการสร้างรัฐสวัสดิการหรือไม่นั้น แสงศิริ กล่าวว่า แต่คนเขียน รัฐธรรมนูญเขียนแบบสงเคราะห์ เพราะถ้าไม่คิดแบบนั้นต้องไม่ใช้คำว่า "ผู้ยากไร้" ในนั้น แต่สำหรับการสร้างรัฐสวัสดิการต้องเขียนว่าเป็นสิทธิของทุกคนในนั้นด้วย ไม่ใช่เฉพาะผู้ยากไร้ อุปสรรคของรัฐสวัสดิการไทยทั้งในและนอกรัฐธรรมนูญจาตุรนต์ กล่าวว่าถ้าดูจากรัฐธรรมนูญ 2560 เรื่องการศึกษา รัฐธรรมนูญ ใช้คำว่าเรียนฟรี 12 ปี ก็มีการตีความว่าการเรียนฟรีไม่ถึง ม.ปลาย แต่ภายหลังมีคำสั่ง คสช. ออกมา แก้ แต่ก็มีคำถามว่า คำสั่ง คสช. นั้นจะมีผลหรือไม่ เรื่องแบบนี้มันสะท้อนความลักลั่น ที่จะทำให้ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผ่าน ประชามติ
จาตุรนต์ ฉายแสง (ภาพโดย Bundit Uawattananukul) เรื่องสาธารณะสุขในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จาตุรนต์ กล่าวว่า ก็มีการใส่เรื่องคำว่าผู้ยากไร้ แทนที่จะใช้คำว่าถ้วนหน้า ส่วนเรื่องการดูแลเกษตรกร รัฐธรรมนูญนี้กพูดเรื่องให้คุ้มครอง แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องประกันความเสียงหรือรายได้อย่างไร ดังนั้นเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ส่งเสริมรัฐสวัสดิการ ในประเด็นด้านเศรษฐกิจกับการสร้างรัฐสวัสดิการนั้น จาตุรนต์ มองว่า ขนาดของเศรษฐกิจ ถ้ามองจากวันนี้เราอยากมีสวัสดิการของรัฐในสังคมให้มีความถ้วนหน้ามากขึ้น เราจำเป็นให้เศรษฐกิจที่โตกว่านี้ ขนาดของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่จะดีขึ้นโดยให้เศรษฐกิจดีขึ้น หรือดีขึ้นโดยให้คนมีสวัสดิการที่ดีแล้วทำให้เศษฐกิจดี นั้นคิดไปพร้อมกันได้ แต่ต้องให้เศรษฐกิจโตด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถดูแลคนในสังคมได้มีคุณภาพมากได้ สำหรับอัตราของภาษีต่อ GDP จาตุรนต์ กล่าวว่า ต้องคิดกันว่าประเทศที่มีรัฐสวัสดิการเข้มแข็ง หลายประเทศเก็บภาษีประมาณ 30% ของรายได้ประชาชาติ แต่ไทย 15-17% ของ GDP เราจะขยานฐานภาษีอย่างไร และสร้างแรงจูงใจให้คนยินดีที่จะเสียภาษีได้อย่างไร เพราะไทยเรามีแรงจูงใจในการหนีภาษีมาก เพราะธุรกิจเขาแข่งกับคนที่หนีภาษีอยู่ จะทำอย่างไให้เก็บภาษีได้มากกว่านี้ นอกจากนี้ในระบบที่ดูแลคนจนนั้น ต้องคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรให้ไม่มีแรงจูงใจให้คนอยากจนไม่จบ เนื่องจากไม่อยากพ้นจากเงื่อนไขในการมีบัตรคนจนก็จะกลายเป็นไม่มีบัตรต่อไป ก็กลายเป็นหลีกเลี่ยนไม่ให้เสียบัตรด้วย
จาตุรนต์ ฉายแสง (ภาพโดย Bundit Uawattananukul) สำหรับเรื่องภาษีที่ดินและมรดก จาตุรนต์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ชูขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. ตอนยึดอำนาจใหม่ๆ แต่ผ่านมาแล้ว 3 ปีกว่าก็ไม่ได้มีผลอะไรในการนำรายได้เหล่านี้มาสร้างสวัสดิการ ดังนั้นในระหว่างนี้ การเลือกเรื่องที่จะทำ ประสิทธิภาพคุณภาพอาจเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ ประเด็นที่ว่าควรกำหนดเรื่องรัฐสวัสดิการในรัฐธรรมนูญ หรือไม่ หรือเขียนเนื้อหาอย่างไรให้ส่งเสริ่มรัฐสวัสดิการนั้น จาตุรนต์ กล่าวว่า คงมีหลายท่านมีความคิดอย่างนี้ และแนวความคิดว่าใครอยากให้บ้านเมืองดีในเรื่องอะไรก็ใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นความคิดที่มีมาตั้งแต่ในสมัยปี 40 ก็เกิดเรื่องดีๆ หลายๆ อย่างในตอนนั้น แต่ต่อมารัฐธรรมนูญ 50, 60 มีความต่าง ตรงที่ว่าคนเขียนไม่เหมือนกัน ปัญหาของรัฐธรรมนูญนี้ ก็มีเนื่อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแล้ว ยังไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐธรรมนูญ 60 ยังมีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นอย่างน้อยข้อหนึ่งคือมีเรื่องยุทธศาสตร์ชาติกับแผนปฏิรูป มีกระบวนการทำกันโดยที่ประชาชนไม่เกี่ยว เพราะฉะนั้นถ้าโยงกันว่ารัฐธรรมนูญกับรัฐสวัสดิการ ในความหมายว่า ถ้าใครอยากเห็นรัฐสวัสดิการในไทย แล้วมองไปที่รัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐธรรมนูญส่งเสริมนั้น เป็นเรื่องที่มันไม่เข้ากัน ไม่สอดคล้องกันเลย เป็นไปไม่ได้เลย จาตุรนต์ กล่าวว่า เราผ่านปี 40 50 60 ต้องทำความเข้าใจใหม่ ว่าความคิดที่ว่าใครอยากให้บ้านเมืองดีอย่างไร ในแง่ไหน อาชีพตัวเองดีอย่างไร ให้เขียนเนื้อหามากๆ ละเอียดมากๆ แล้วไปใส่ในรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเลิกความคิดนี้ และมันเป็นไปไม่ได้ รัฐธรรมนูญ 60 นี้แก้ได้ แต่แก้ยากมาก จนกระทั่งเหมือนว่า แผนของ คสช. จะทำให้คนไทยไปดวงจันทร์ถภายใน 20 ปี และกระบวนการสร้างรัฐสวัสดิการนั้น จะผลักดันผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ จะผลักดันกับรัฐบาลหรือพรรคการเมืองก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในกลไกยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปไว้ ว่าต้องดำเนินการตามแผ่นในยุคที่ คสช. วางไว้ ถ้าไม่ทำตามแผนปฏิรูปก็จะถูกตรวจสอบถอดถอน ถ้านำเอาข้อเสนอเหล่านี้ไปเสนอผู้แทนราษฎรนั้นก็ร่างไปเลย แต่ถ้ารัฐบาลและพรรคการเมืองเอาด้วย เขาก็จะมีคณะพิจารณาว่า ร่างกฎหมายใดเกี่ยวกับการปฏิรูป ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่ก้บ ส.ว. ที่น่าจะมีอำนาจมากกว่า ถ้าเขาวินิจฉัยว่า ร่างที่เสนอนั้นเกี่ยวกับกรปฏิรูป กฎหมายดังกล่าวจะไมได่พิจารณาจากสภาปกติ แต่จะพิจารณาจาก สภา 2 ฝ่าย และกรรมาธิการก็มี 2 ฝ่าย จึงเป็นการการพิจารณากฎหมาย แบบที่ ส.ว. มีอิทธิพลมากกว่า ซึ่งมันเป็นข้อเท็จจริงที่รัฐธรรนูญนี้มีเงื่อนไขจำกัด ดังนั้นประเด็นที่สำคัญ ภายใต้รัฐธรรมนูญแบบนี้ไม่ได้ส่งเสริมรัฐสวัสดิการ และปิดทางให้คนที่จะเสนอผลักดัน แล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องทำความเข้าใจ สร้างความนิยม เสนอให้คนเห็น และจะทำได้จริงๆ ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองให้ได้ก่อนด้วย ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของรัฐสวัสดิการไทยพิชิต เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า จุดอ่อนสำคัญของรัฐสวัสดิการในประเทศไทยคือพูดด้านเดียว พูดแต่ด้านดี ประสบการณ์ในประเทศอื่นที่ทำสำเร็จคือการศึกษา แต่ในอีกหลายประเทศทำแล้วล้มเหลว ดังนั้นคนที่รณรงค์เรื่องรัฐสวัสดิการในไทยต้องทำการบ้านอีกมาก เมื่อรณรงค์ต้องเจอกับเทคโนแครตฝ่ายโน้น เขามีข้อมูลอีกเพียบ สำหรับแนวความคิดเรื่องการที่รัฐมีหน้าที่ต้องช่วยสวัสดิการประชาชนนั้น พิชิต กล่าวว่า เพิ่งมีมาไม่ถึง 100 ปี ถอยหลัง 200 ปีไปนั้น ผู้ปกครองคิดแต่เรื่องขูดรีดประชาชน รัฐสวัสดิการ มันมาจากความคิดที่ว่าคนเราเท่ากัน เกิดมาจากท้องแม่แล้วทุกคนเท่ากันหมด เป็นคนที่รัฐมีหน้าที่รับผิดชอบให้เขาได้ใช้ชิวิตไปตามศักยภาพ ลดอุปสรรคทางสังคม ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลคุ้มครอง และรัฐมีหน้าที่ ดังนั้นฝั่งหนึ่งมีสิทธิ ฝังหนึ่งมีหน้าที่ แะมีความต่างของการให้ ให้ในฐานที่เป็นมนุษย์ กับให้ในฐานการกุศล ระบบสวัสดิการในประเทศเผด็จการ ส่วนใหญ่เป็นสวัสดิการแบบชนชั้น เพราะระบบสวัสดิการในประเทศเผด็จการเป็นระบบแบบชนชั้น มองคนอื่นเป็นมนุษย์ชั้น 2 รัฐไม่ได้มีหน้าที่ดูแล แต่ให้เพราะความใจบุญ ต้องตรีตรา ต้องกันคนพวกนี้ที่ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องมีบัตร พกบัตรและเข้าช่องเฉพาะอีก ดังนั้นระบบสัวสดิการที่รัฐให้บนพื้นฐานที่มองคนเท่าเทียมกัน มันมาบนพื้นฐานของสิทธิและหน้าที่ และอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (ภาพโดย Bundit Uawattananukul) พิชิต กล่าวว่าหากพิจารณาข้อดีหลายอย่างรวมกัน เช่น อัตราความยากจนต่ำ ความยากจนน้อย กลุ่มนอร์ดิกจะสมบูรณ์แบบ ขณะที่ออสเตรเลียกับสหรัฐจะมีช่องว่างเยอะหน่อย โดยคุณภาพชีวิตของประชาชนในกลุ่มนอร์ดิกจะดีที่สุด ลักษณะการให้สวัสดิการโดยรัฐ พิชิต อธิบายว่า มี 2 รูปแบบ 1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐผ่านสถาบันต่างๆ เช่น งบประมาณให้โรงเรียน ไม่ได้ให้เงินกับประชาชนโดยตรง อันที่ 2. สวัสดิการที่ให้มือประชาชนโดยตรง เช่น เงินประกันการว่างงาน ทั้ง 3 กลุ่มประเทศที่เป็นตัวแบบของสวัสดิการนั้น มีส่วนที่ต่างคือเงินในส่วนที่ 2. โดยประเทศในกลุ่มนอร์ดิกนั้นจะให้ส่วนที่ 2. นี้ เยอะสุด ส่วนคำถามที่ว่าระบบนี้จะทำให้คนขี้เกียจและไม่ทำงานไหม และภาษีสูง มันเป็นแรงจูงใจให้คนไม่ตั้งบริษัทหรือธุรกิจ ดังนั้นประเทศพวกนี้คนจบจะไม่ทำธุรกิจ เป็นลุูกจ้างดีกว่า มั่นคงที่สุดไหม? พิชิต ตั้งคำถาม พร้อมตอบด้วยว่า มีงานวิจัยออกมาคนในประเทศเหล่านี้ก็ยังมีความรับผิดชอบในการทำงานไม่ต่างกัน ระดับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไม่ต่างกัน เพราะรัฐเข้าไปส่งเสริม เงินภาครัฐเข้าไปส่งเริ่มตรงนี้สูงมาก รัฐนอกจากช่วยเหลือประชาชนแล้ว ยังช่วยเหลือภาคเอกชนด้วย ทำอย่างไรนั้นมันมีผล พิชิต กล่าวว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้รายจ่ายภาครัฐต่อ GDP นั้น 30% ของไทยมีประมาณ 16% เท่านั้น ส่วนการทำรัฐสวัสดิการ รัฐมาจาก 2 ทาง ทางหนึ่งคือกู้ ด้วยการขายพันธบัตรรัฐบาลขายให้กับประชาชน และอีกทางคือเก็บภาษี ถ้าไปดูภาษีในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ในประเทศเหล่าเก็บได้น้อย เพราะคนไม่ใช่เป้านิ่ง ประเทศพวกนั้นคนรวยไม่สะสมที่ดิน รวมก็เก็บเป็นเพชรเป็นทอง และพันธบัตรรัฐบาล ข้อดีคือปลอดภาษี คนรวยที่นั่นก็ตั้งกองทุน เหมือนมูลนิธิ ก็สามารถเลี่ยงภาษีได้อีก โดยภาษีหลังๆ มาจาก ภาษีเงินได้นิติบุคคล - บุคคล และ VAT รายได้มาจากการใช้จ่ายนั้นเกินครึ่ง ประเทศกลุ่มนี้เป็นประเทศที่ VAT สูงที่สุดในโลก คนงานทั้งภาครัฐและเอกชนหักภาษีแล้วเหลือประมาณ 40% ของเงินเดือน พิชิต กล่าวดว้ยว่า ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐนั้นสำคัญมาก จะทำอย่างไรให้เสียไปกับราชการให้น้อย การที่คนในประเทศเหล่านั้นยอมเสียไปกับสวัสดิการนั้น เพราะเขามั่นใจไปกับรัฐบาลนั้น คือความไว้วางใจ ความสามารถที่จะตรวจสอบได้ ความโปร่งใส่ของระบบราชการและการเมือง ดัชนีความโปร่งใส่และคอรัปชั่น กลุ่มนอร์ดิกก็อยู่อันดับต้นๆ ปัญหาความเหลือล้ำแทบไม่มีก็จริง แต่มีปัญหาการว่างงานของเยาวชนสูงมาก บัณฑิตจบใหม่ว่างงานสูงสุด เพราะ บริษัทเอกชนไม่ค่อยรับคนเข้าทำงาน เนื่องจากรับมาแล้วค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การปลดคนงานออกนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นบริษัทก็รับคนเข้าทำงานยาก ปัญหาเรื่องหนีสาธารณะ พิชิต กล่าวว่า ประเทศกลุ่มนอร์ดิกนั้นจัดการดี แต่ประเทศหลายประเทศที่พยายามทำแล้วพัง อย่างเช่น สเปน ก็มี แม้กระทั่งสวีเดนก็เจอวิกฤตเศรษฐกิจก็มีการตัดสวัสดิการออกบ้าง พิชิต กล่าวว่าย้ำดว้ยว่า รัฐสวัสดิการที่มีอยู่ในประเทศเหล่านี้ไม่ได้มาฟรีๆ แต่มันมาจากการต่อสู่ เช่น สหภาพแรงงาน สหภาพสตรี สหภาพคนชรา มันเป็นการต่อสู้กันมาอย่างยาวนานมาก ก่อนที่จะได้รูปแบบนี้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ภายหลังมีนักการเมืองฝ่ายขวาจะปรับลด แต่คนก็ไม่ยอม ในกรณีเมืองไทยนั้นมีปัญหา เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น พลังที่จะรักษามันไว้ มันไม่มี ก่อนเลือกตั้งถ้าเขาทยอยลดเลิกจะทำอย่าไรได้ เพราะมันไม่ได้เกิดจากการต่อสู้ ในแง่นี้ในสวัสดิการของรัฐจะมีแบบไหนต้องเลือกเอา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายองค์กรมุสลิมในไทยค้านและประณามทรัมป์กรณีประกาศ 'เยรูซาเล็ม' Posted: 10 Dec 2017 11:22 PM PST ระบุ ทรัมป์ให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงอิสราเอล และการที่ชาวอิสราเอลตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเล็มละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ อิสราเอลแค่ก่อตั้งประเทศในดินแดนคนอื่นก็ถือว่ารุนแรงพอแล้ว เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการละเมิดชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิมนุษยชนชาวปาเลสไตน์ ภาพทางอากาศบริเวณทิศใต้ของเทมเปิลเมาท์ โดมสีทองตรงกลางคือ Dome Of Rock ส่วนโดมเล็กสีดำด้านหน้าคือมัสยิด อัล-อัคซา ตั้งอยู่ที่บริเวณตะวันออกของเยรูซาเล็ม (ที่มา: วิกิพีเดีย) เมื่อ 10 ธ.ค. 2560 เครือข่ายองค์กรมุสลิมในประเทศไทย ออกแุถลงการณ์คัดค้านและประณามการประกาศเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าเยรูซาเล็มเป็นเมืองนานาชาติที่ศาสนิกทั้งจากศาสนายูดาย อิสลามและคริสต์มีสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งยังเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิมนุษยชนและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว ทั่วโลกประณาม-ชาวปาเลสไตน์ประท้วง หลัง 'ทรัมป์' ประกาศเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงอิสราเอล อิสราเอล-ปาเลสไตน์ 101: เปิดปูมดราม่า เหตุผลที่โลกขยับเพราะประเทศเล็กๆ เยอรมนียกเลิกถ่ายทอดสดคอนเสิร์ต 'โรเจอร์ วอเตอร์ส' จากกรณีที่เขาบอยคอตต์อิสราเอล แถลงการณ์คัดค้าน และประณามการประกาศเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเลขที่ 2334 วันที่ 23 ธันวาคม 2559 เกี่ยวกับความกังวลเรื่องการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับชาวอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองตั้งแต่ ค.ศ. 1967 ซึ่งรวมถึงด้านตะวันออกของเยรูซาเล็มด้วย มติดังกล่าวผ่านการเห็นชอบของสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ด้วยคะแนนเอกฉันท์ (14-0) โดยสหรัฐอเมริกา หนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติงดออกเสียง มติดังกล่าวมีรายละเอียดคือการดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับชาวอิสราเอล เป็นการละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศที่ปรากฏชัด และไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย จึงมีความต้องการให้อิสราเอลยุติการกระทำดังกล่าว และปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะเป็นอำนาจที่เข้ายึดครอง ภายใต้การประชุมเจนีวาครั้งที่สี่ ตามมตินี้จะเห็นได้ว่า แม้แต่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับชาวอิสราเอลในเขตเยรูซาเล็มก็เป็นการละเมิดข้อตกลงและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น การที่อิสราเอลประกาศให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของตนเอง โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุน จึงไม่เพียงเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่เป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยที่แต่เดิมนั้นการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์เพื่อการก่อตั้งประเทศอิสราเอลเมื่อ ค.ศ. 1948 โดยการดำเนินการของรัฐบาลอังกฤษในขณะนั้น ตามคำประกาศของลอร์ดบัลโฟร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1917 ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติอยู่แล้ว ที่ประเทศหนึ่งทำหนังสือประกาศยกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ให้กับชนชาติอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของประเทศ โดยที่ประเทศที่ประกาศยกดินแดนให้และประเทศผู้รับดินแดน ต่างไม่มีสิทธิ์ในดินแดนที่จะมีการยกให้ และเจ้าของประเทศไม่เคยรับรู้หรือมีโอกาสคัดค้านเรื่องดังกล่าว เครือข่ายองค์กรมุสลิมในประเทศไทย จึงขอคัดค้านและประณามการที่อิสราเอลจะประกาศให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเยรูซาเล็มเป็นเมืองของนานาชาติ ซึ่งศาสนิกของทั้งสามศาสนาคือคริสต์ อิสลามและยูดาย มีสิทธิ์ร่วมกันโดยบริบูรณ์ เป็นสิ่งที่นานาชาติให้การยอมรับ และสหประชาชาติก็มีมติเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมากและตลอดมา เครือข่ายองค์กรมุสลิมในประเทศไทย ยังขอเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการกระทำใดๆ ที่เป็นการละเมิดต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิมนุษยชนและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลากว่า 70 ปีแล้วด้วย โดยปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกฉบับเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ และคืนสิทธิของดินแดนให้แก่ชาวปาเลสไตน์ตามเขตแดนก่อนปี ค.ศ. 1967 ด้วย องค์กรเพื่อสันติภาพและสิทธิมนุษยชน สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม ศูนย์สารสนเทศอิสลาม ชมรมนักกฏหมายมุสลิม 10 ธันวาคม 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น