ประชาไท | Prachatai3.info |
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17-23 ธ.ค. 2560
- พิษการเมือง-อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล 'วอยซ์ ทีวี' ประกาศปรับโครงสร้าง เลิกจ้าง 127 พนักงาน
- ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ขยายกรอบเวลาในการดำเนินการทางธุรการของพรรคการเมือง
- 15 แกนนำค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา รายงานตัวต่อศาล - 114 นักวิชาการประกาศยืนเคียงข้าง
- เมียนมาร์ห้าม ‘ผู้รายงานพิเศษยูเอ็น’ เข้าประเทศ
- เปิดรายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ กรณีกองทัพเมียนมาร์สังหารหมู่โรฮิงญา ชี้วางแผนเป็นระบบ
- สธ.แจงสถานการณ์เงินบำรุง รพ. ในสังกัด ภาพรวมในช่วง 3 ปี ไม่ขาดทุน
- 20 ประเด็นข่าวสำคัญ 2017
- ปล่อยตัว 'อดีตผู้ประสานงาน PerMAS' จากค่ายแล้ว หลังถูกคุมตัวเหตุถ่ายภาพทหารคุมตัวผู้ต้องสงสัย
- ฉันทมติ 'สมัชชาสุขภาพ' ดันประเด็นกิจกรรมทางกาย-พื้นที่เล่น-ยาเสพติด-ขยะ
- หวั่นแก้ พ.ร.บ.ยา-สิทธิบัตร เอาใจ แลกปลดไทยจากบัญชีดำทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ
- มติสมัชชาใหญ่ยูเอ็นค้านสหรัฐรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงอิสราเอล
- บุญยืน ศิริธรรม: ประวัติศาสตร์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภาคประชาชน
- บุคคลแห่งปี 2017: ‘กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ’ ภูมิคุ้มกันสวัสดิการสุขภาพเพื่อทุกคน
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17-23 ธ.ค. 2560 Posted: 22 Dec 2017 11:50 AM PST เปิดโผจากผลสำรวจอัตราการจ่ายโบนัส ประจำปี 2560 ธุรกิจยานยนต์ครองแชมป์จ่ายสูงสุด/ว๊อยซ์ทีวีเลิกจ้างพนักงาน 127 คน/อดีตพนักงานรัฐ สธ.ร้อง 'ขอคืนอายุราชการ ลดเหลื่อมล้ำเงินเดือน' ชี้ 17 ปีถูกลอยแพ/เทคโนโลยีดิจิตอลรุกหนักกระทบ 10 อาชีพต้องปรับตัว 'นักข่าว' ติดโผอาชีพดาวร่วงในปี 2561/พนง.ฟูจิคูระอิเล็กทรอนิกส์ เรียกร้องโบนัส 3 เดือน บวก1.5หมื่นบาท พร้อมเงินพิเศษ/เครือข่ายแรงงานร้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาททั่วประเทศ เปิดโผจากผลสำรวจอัตราการจ่ายโบนัส ประจำปี 2560 ธุรกิจยานยนต์ครองแชมป์จ่ายสูงสุด บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยผลสำรวจอัตราการจ่ายโบนัสในประเทศไทย ประจำปี 2560 จากการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกในเว็บไซต์จ๊อบส์ ดีบี ผู้หางานจำนวน 2,020 ราย และผู้ประกอบการจำนวน 322 องค์กรทั่วประเทศ พบว่า ธุรกิจยานยนต์เป็นธุรกิจที่มีการจ่ายโบนัสสูงสุดในปี 2560 โดยจ่ายโบนัสแบบการันตี เฉลี่ยอยู่ที่ 2.33 เดือน และจ่ายแบบพิจารณาตามผลงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 2.14 เดือน สำหรับ 5 ธุรกิจที่จ่ายโบนัสแบบการันตีสูงสุด ประกอบด้วย 1. ธุรกิจยานยนต์ จ่ายโบนัสเฉลี่ย 2.33 เดือน 2. ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1.31 เดือน 3. ธุรกิจบริการด้านการเงิน จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1.16 เดือน 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจัดเลี้ยง จ่ายโบนัสเฉลี่ย 0.89 เดือน 5. ธุรกิจไอที จ่ายโบนัสเฉลี่ย 0.86 เดือน ส่วน 5 ธุรกิจที่จ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานสูงสุด ประกอบด้วย 1. ธุรกิจยานยนต์ จ่ายโบนัสเฉลี่ย 2.14 เดือน 2. ธุรกิจบริการด้านการเงิน จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1.96 เดือน 3. ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1.26 เดือน 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจัดเลี้ยง จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1.11 เดือน 5. ธุรกิจไอที จ่ายโบนัสเฉลี่ย 0.92 เดือน สำหรับช่วงเวลาในการจ่ายโบนัส จะพบว่าส่วนใหญ่กำหนดจ่ายโบนัสในช่วงเดียวกัน คือเดือนธันวาคม จำนวน 39% ตามมาด้วยเดือนมกราคม 14% และเดือนกุมภาพันธ์ 12% และเมื่อถามว่าโบนัสที่ได้จะนำไปใช้อะไร ทุกเจเนอเรชั่น ไม่ว่าจะเป็น Baby Boomer Gen X และ Gen Y เลือกเก็บโบนัสไว้เป็นเงินออม ตามด้วยการนำไปลงทุน อย่างไรก็ดี Gen Z กลับเลือกนำโบนัสไปลงทุนเป็นอันดับหนึ่ง และเงินออมเป็นอันดับสอง แสดงให้เห็นว่า Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ให้ความสำคัญของผลตอบแทนการลงทุนที่ก้าวกระโดดมากกว่าการออมเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการ 46% มองว่าโบนัสเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ที่บอกได้ว่าพนักงานจะตัดสินใจอยู่หรือไป และผู้ประกอบการ 47% เชื่อว่าโบนัสสามารถดึงดูดผู้หางานได้ ขณะเดียวกันทั้งผู้ประกอบการและพนักงาน ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า โบนัสที่จ่ายตามผลงานเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นผลของความพยายามที่พนักงานทุ่มเทให้กับการทำงาน รมว.แรงงาน สั่งล่าแก๊งตุ๋นไปสหรัฐ กรณี น.ส.รุ้งนภา วงค์แสนพรหม อายุ 36 ปี บ้านเลขที่ 200 หมู่ 11 บ้านคำพอก ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมกับเพื่อนชายหญิงรวม 19 คน ว่าถูก น.ส.รุ่งทิวา มั่นคง อายุ 35 ปี ภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์ระบุ อยู่บ้านเลขที่ 18/26 ถนนโขดหิน-เขาไผ่ ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง หลอกไปทำงานประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด เงินเดือน 35,000 ดอลล่าร์ สัญญาจ้าง 2 ปี โดยโอนเงินเป็นค่าประกันวีซ่าคนละ 45,000 บาท และค่าเปิดบัญชีธนาคารในสหรัฐอีกคนละ 5,200 บาท เข้าบัญชีนายไพรินทร์ มะลิวัลย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขามีนบุรี กทม. และยังมีนายสมโชค เจริญกุล บ้านเลขที่ 160/1 หมู่ 1 ต.หนองปรือ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทำงานในสถานทูตอเมริกา จะประสานงานด้านการออกวีซ่าให้ผ่าน แต่เมื่อเดินทางไปถึงสถานทูต กลับไม่มีชื่อเป็นเจ้าหน้าที่ตามที่กล่าวอ้าง สูญเงินเกือบ 1,000,000 บาท จึงพากันไปแจ้งความที่กองปราบปราม และ สภ.เมืองนครพนม ตามที่เสนอข่าวไป ล่าสุด วันที่ 22 ธ.ค.60 เวลา 08.00 น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ถึง น.ส.บุญยวีร์ ไขว้พันธุ์ จัดหางานจังหวัดนครพนม สั่งไปลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการด่วน พบกับ น.ส.รุ้งนภา ได้พูดคุยถึงที่มาที่ไปแล้วพบว่าเป็นความจริงที่สื่อนำเสนอ จึงให้มาร้องทุกข์ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดฯ เพื่อบันทึกปากคำแล้วให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครพนม ตามจับกุมแก๊งหลอกคนไปทำงานต่างประเทศมาดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ทาง รมว.แรงงาน กำชับให้ดูแลผู้ถูกหลอกเป็นกรณีพิเศษ หากต้องการหางานทำภายในประเทศ หรือต้องการไปทำงานต่างประเทศ ให้หาตำแหน่งงานตามที่เหมาะสม "จากการตรวจสอบเบื้องต้นทราบว่า น.ส.รุ่งทิวา อยู่ต่างประเทศ ส่วนนายสมโชคยังหลบหนีอยู่ภายในประเทศ และกำลังตรวจสอบว่านายไพรินทร์เจ้าของสมุดบัญชีธนาคารที่คนหางานโอนเงินเข้าไปนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร หลังออกสื่อมีเจ้าหน้าที่จัดหางานจังหวัดยโสธรขอรายละเอียดเพิ่มเติม เพราะทราบว่าขบวนการนี้ยังไปหลอกคนหางานที่นั่นอีก แต่ยังไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ขณะนี้กำลังประสานงานกันอยู่" น.ส.บุญยวีร์ กล่าว วันเดียวกันเวลา 13.30 น. กลุ่มคนหางาน จำนวน 19 ราย เดินทางไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครพนม มีนายปิติโรจน์ ภวันพิธิวัฒน์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ เป็นผู้สอบสวนรายละเอียด โดยใช้ห้องประชุมเป็นสถานที่สอบปากคำ ซึ่งคนหางานที่ถูกหลอกหอบเอกสารต่างๆ มามอบให้เจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสารไว้เป็นหลักฐาน แหล่งข่าวแจ้งว่า พล.ต.อ.อดุลย์ ทราบเรื่องขบวนการต้มตุ๋นไปต่างประเทศ ที่มี น.ส.รุ่งทิวาเป็นหัวหน้าแก๊ง สั่งมีการสอบสวนปากคำให้เร็วที่สุด เพื่อจะส่งเรื่องต่อให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไล่ล่าตัวแก๊งนี้มาดำเนินคดีให้เร็วที่สุด เพราะถือว่าเป็นการซ้ำเติมคนยากคนจน และกำชับให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ออกให้ความรู้แก่คนหางานถึงขั้นตอนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้เข้าใจว่ามีกี่วิธี ถ้าสงสัยต้องปรึกษาจัดหางานจังหวัดทันที ว๊อยซ์ทีวีเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด ได้ออกแถลงการณ์เรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยมีใจความสำคัญว่า ได้ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพร์มไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาออกอากาศมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะนำเสนอผ่านทีวีดิจิทัล ช่องวอยซ์ 21 แล้ว ยังได้นำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมได้ทุกช่องทาง อีกทั้งได้ปรับลดพนักงานจำนวน 127 คน โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่ากฎหมายแรงงานกำหนด โดยรายละเอียดทั้งหมดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้ แถลงการณ์ "วอยซ์ ทีวี" 22 ธันวาคม 2560 เรื่อง : การปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เรียนผู้รับชมรายการ ลูกค้า ผู้มีอุปการะคุณ ผู้สนับสนุนรายการ และเพื่อนร่วมงานทุกท่าน บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ขอเรียนให้ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 บริษัทฯ จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ ปี 2561 ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่มีข้อจำกัดมาเกือบ 4 ปี แม้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบทางธุรกิจอันเนื่องมาจากคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมการเสนอข้อมูลข่าวสารอยู่บ่อยครั้ง แต่การที่บริษัทฯ ได้พยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และข้อจำกัดทางการเมืองที่ต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ จึงยังทำให้บริษัทฯ สามารถยืนหยัดในการผลิตผลงานคุณภาพที่มีคุณค่ากับสังคม เป็นทางเลือกในการรับชมรายการทีวีที่มีสาระสร้างสรรค์ เสนอข้อมูลข่าวสารพร้อมบทวิเคราะห์ที่ทำให้สังคมไทยคิดก้าวหน้าอย่างนานาอารยประเทศ นอกเหนือจากสภาวการณ์ทางการเมืองที่บริษัทฯต้องบริหารอย่างสมดุลแล้ว สถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลคืออีกปัจจัยที่มีผลกระทบแทบทุกช่องอย่างถ้วนหน้า รวมถึง "วอยซ์ ทีวี" ด้วยเช่นกัน ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงในอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด โดยบริษัทฯ ได้ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาการออกอากาศมากขึ้น นอกจากออกอากาศผ่านทางดิจิตอลทีวี "วอยซ์ ทีวีช่อง 21" แล้ว ยังนำเสนอผ่านทางสื่อออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีออโต้เมทต่างๆ รวมถึงการปรับระบบ Progressive Web Applications เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งวีดีโอคอนเทนท์ เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทันทีทุกช่องทางทุกเวลาที่ต้องการอีกด้วย จากแผนธุรกิจปี 2561 ที่จะมีการปรับสัดส่วนการผลิตรายการ ทำให้บริษัทฯจำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง ด้วยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทุกคนจะได้รับเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด ซึ่งจะมีพนักงานส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างยังคงร่วมงานในรูปแบบ outsource กับบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม แม้การปรับโครงสร้างองค์กรต้องเกิดขึ้นตามแผนธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ทางการเมืองและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวี แต่การที่บริษัทฯ ต้องเลิกจ้างพนักงานที่เป็นทั้งเพื่อน พี่ และน้องที่ทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมายาวนานนั้น เชื่อว่าเพื่อนร่วมงานทั้งที่ผู้ที่ต้องจบภารกิจและผู้ที่ยังต้องมีภารกิจต่อไป ยังมีความรู้สึกผูกพันต่อกันไม่เปลี่ยนแปลง บริษัทฯ ขอขอบคุณพนักงานทุกคน ขอบคุณผู้บริหารระดับอาวุโสหลายท่านที่เสียสละเพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทฯได้ส่งเสริมพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่อีกหลายคนได้ขึ้นมาทำงานภายใต้โครงสร้างใหม่ที่กระชับคล่องตัวสอดคล้องกับอุตสาหกรรม สร้างสรรค์รายการคุณภาพดีๆให้กับผู้ชม "วอยซ์ ทีวี" ในปี 2561 ทั้งนี้ การอัพเดตรายการต่างๆ สามารถติดตามได้จากทางสถานี "วอยซ์ ทีวี ช่อง 21" และทุกช่องทางออนไลน์ "วอยซ์ ทีวี" สุดท้ายนี้ "วอยซ์ ทีวี" ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับผู้ชมที่ส่งกำลังใจ และติดตามชมรายการอย่างเหนียวแน่น ขอบคุณลูกค้า ผู้มีอุปการะคุณที่เชื่อมั่นสนับสนุนรายการของเราอย่างต่อเนื่องยาวนานต่อไป และพร้อมก้าวเดินไปด้วยกัน เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 22 ธันวาคม 2560 ก.แรงงานขึ้นเหนือ ฝึกคนพื้นที่สูง รับนักท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากโครงการ"เที่ยวทั่วไทย ไปถึงถิ่น" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายในท้องถิ่นผ่านการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายตัวไปยังเมืองรองด้านการท่องเที่ยว โดยกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ การพัฒนาศักยภาพแรงงานในชุมชน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่กพร.ให้ความสำคัญ ประกอบกับปี 2561 เป็น"ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ (เชียงแสน) ใช้แนวคิดเที่ยววิถีไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต มุ่งเน้นให้มีการเดินทางและใช้จ่ายในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น นับเป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า เพราะเกิดจากภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา สะท้อนวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ที่สำคัญคือ ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และพื้นที่โครงการหลวงในจังหวัดภาคเหนือหลายแห่ง ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาเรียนรู้ และเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินตามรอยศาสตร์พระราชาเพิ่มมากขึ้น นางสาวอาภากร ว่องเขตกร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ(เชียงแสน) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) พัฒนาศักยภาพคนพื้นที่สูง จัดฝึกอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการโฮมสเตย์ ระหว่างวันที่ 11-15 ธ.ค.2560 มีผู้เข้าอบรม 25 คน ทั้งหมด 8 ชุมชน จากจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่านและเชียงราย อาทิ ชุมชนไทยลื้อบ้านวังไผ่ ชุมชนปะกาเกอญอ ชุมชนบ้านห้วยโทน ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถบริหารจัดการที่พักแรม และเป็นการดำเนินงานตามจุดเน้นของจังหวัดในด้านการท่องเที่ยวและบริการ นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรม จะได้ศึกษาดูงานและพักแรม ณ บ้านโป่งน้ำร้อน(บ้านป่าเมี่ยง) ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งมีการให้บริการนักท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์มานานกว่า 10 ปี มีกิจกรรมในชุมชนที่หลากหลายเช่น วิถีชีวิตชนเผ่า มีเส้นทางเดินป่า การแปรรูปชาพื้นเมือง การแปรรูปใบเมี่ยง เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรม สำหรับในปี 2561 กพร.มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว จำนวน 19,066 คน ซึ่งเป้าหมายนี้ได้กระจายลงภูมิภาคแล้วทั้ง 76 จังหวัด เพื่อรองรับความต้องการกำลังแรงงานในแต่ละพื้นที่ อธิบดี กพร.กล่าว ที่มา: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, 20/12/2560 เครือข่ายแรงงานร้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาททั่วประเทศ เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน แถลงจุดยืนคัดค้านนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่จะประกาศใช้ในปี 2561 พร้อมเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้าง 360 บาทเท่ากันทั่วประเทศ และให้ตั้งคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติที่มีตัวแทนของทีมวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงจุดยืนคัดค้านแนวนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 การใช้กลไกของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ซึ่งมีเงื่อนไขไม่สอดคล้องกับหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นธรรมและคุณภาพชีวิตของคนงาน ซึ่งผลจากการสำรวจหนี้ของคนงาน พบว่า มีหนี้สินเฉลี่ยต่อวันถึง 225 บาท 87 สตางค์ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนงานและระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มเติมความเหลื่อมล้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น จึงขอประกาศจุดยืนหลักการในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ต่อรัฐบาล ดังนี้ 1. ต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้มีความเป็นธรรม ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ 360 บาทเท่ากันทั้งประเทศ 2. ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด 3. ตั้งคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งทีมวิชาการและมีองค์ประกอบมากกว่าไตรภาคี 4. ต้องกำหนดโครงสร้างค่าจ้างและปรับค่าจ้างทุกปี 5. ต้องมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เจรจา พนง.ฟูจิคูระฯ กับบริษัท ยังหาข้อยุติไม่ได้ เผยกำไรกว่า 400 ล้าน แต่บ่ายเบี่ยงข้อเรียกร้องมาตลอด เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 20 ธ.ค.2560 นายเกรียงไกร วังหอม อายุ 33 ปี ประธานสหภาพแรงงาน โรงงานผลิตของบริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ เขตหมู่ 5 ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมแกนนำคนงาน เดินทางมาเพื่อร่วมเจรจา 3 ฝ่าย กับหน่วยงานภาครัฐ และผู้บริหารโรงงาน ที่สำนักงานคุ้มครองและสวัสดิการแรงงานจังหวัดพระนครรีอยุธยา เพื่อหาข้อยุติกรณีแรงงานจำนวนเกือบ 4,000 คน ของบริษัทรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องขอโบนัสปลายปีเพิ่ม จากเดิมที่โรงงานกำหนดจ่ายให้คนละ 2.8 เดือน แต่คนงานขอเพิ่มเป็น 3.3 เดือน โดยตัวแทนคนงานที่ออกกะการทำงานแล้ว ได้รวมตัวกันที่หน้าโรงงาน เพื่อแสดงพลังตั้งแต่เช้าที่ผ่านมา แต่โรงงานยังเปิดสายพานการผลิตตามเดิม เพราะว่ายังมีคนงานเข้ากะทำงานผลัดเปลี่ยนกันไป ทั้งนี้ ประธานสหภาพแรงงาน เปิดเผยว่า พวกเรามองว่าโรงงานมีกำไรมากกว่า 400 ล้านบาทในปีนี้ จึงขอโบนัสปลายปีเพิ่ม อีกทั้งขอเพิ่มสวัสดิการแรงงานอื่นๆ รวม 7 ข้อ เช่น เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ จากเดิมคนละ 7,000 บาท/ปี เป็น 15,000 บาท โดยก่อนหน้านี้เคยยื่นข้อเรียกร้อง ตามขั้นตอนทางกฎหมายไปกับนายจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึง 7 รอบ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาและมีการบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด ทำให้ตัวแทนคนงานและสหภาพฯต้องออกมาเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ โดยแต่ละฝ่ายจะนำข้อเรียกร้องของอีกฝ่าย ไปหาข้อสรุปและกำหนดจะกลับมาเจรจาใหม่อีกครั้งให้เร็วที่สุด ส่วนการแสดงพลัง กำหนดรวมตัวกันในวันที่ 20 และ 21 ธันวาคม จากนั้นค่อยประเมินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ที่มา: มติชนออนไลน์, 20/12/2560 เทคโนโลยีดิจิตอลรุกหนักกระทบ 10 อาชีพต้องปรับตัว "นักข่าว" ติดโผอาชีพดาวร่วงในปี 2561 นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ 10 อาชีพเด่นปี 2561 และ 10 อาชีพดาวร่วง พบว่า 10 อาชีพที่ไม่โดดเด่นในปี 2561 ได้แก่ 1.อาชีพตัดต้นไม้ ช่างไม้ไม่มีฝีมือ 2.พ่อค้าคนกลาง 3.อาชีพย้อมผ้า 4.บรรณารักษ์ ไปรษณีด้านการส่งจดหมาย 5.พนักงานขายสินค้าหน้าร้าน 6.การตัดเย็บเสื้อผ้าโหล 7.การทำรองเท้า ซ้อมรองเท้า 8.เกษตรกร ครู อาจารย์ 9. อาชีพแม่บ้านทำความสะอาด และ 10.นักหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ผู้สื่อข่าว ส่วนอาชีพเด่น 10 อาชีพได้แก่ 1.แพทย์ (แพทย์ผิวหนัง ศัลยแพทย์) 2.โปรแกรมเมอร์ วิศวกรซอฟแวร์ และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล 3.นักการตลาดออนไลน์ รวมทั้วรีวิวเวอร์ เน็ตไอดอล 4.นักการเงิน นักออกแบบวิเคราะห์ระบบด้านไอที ให้คำปรึกษาด้านระบบไอที 5.กราฟฟิคดีไซต์ นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร 6.นักวิทยาศาสตร์ด้านความงาม (คิดค้นเครื่องสำอาง หรือครีม เป็นต้น) อาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว 7.ผู้ประกอบการธุรกิจ (สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ e-commerce เป็นต้น) 8.อาชีพในวงการบันเทิง (ดารานักแสดง นักร้อง) สถาปนิก มัณฑนากร 9.ครูสอนพิเศษ ติวเตอร์ อาชีพเกี่ยวกับโลจิสติกส์ และการขนส่ง และนักบัญชี โดยปัจจัยที่มีผลต่ออาชีพมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 4.2% อัตราการว่างงานในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.9% แนวโน้มการผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 การเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ง่าย การเปิดเสรีทางการค้าและบริการมีมากขึ้น ซึ่งมีผลต่ออาชีพเด่น นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า สาเหตุที่อาชีพที่ไม่โดดเด่นในปี 2561 มาจากเทรนด์ดิจิตอลเข้ามามากขึ้นทั้งในด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การลงทุน และผู้บริโภคก็เริ่มหันมาใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาจากไม้ ประกอบกับการนำเข้าสินค้าจากจีน ซึ่งมีราคาถูกและแนวโน้มจะยิ่งเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น ผลมาจากการเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ระหว่างอาเซียน-จีน จะยิ่งมีผลให้อาชีพที่ใช้แรงงาน และแนวโน้มการส่งจดหมาย เขียนจดหมายก็ยิ่งลดลง เพราะดิจิตอลเข้ามาแทนที่ ประกอบกับในปีหน้าสินค้าเกษตรยังไม่ดีขึ้นก็มีผลต่ออาชีพเกษตรกรเช่นกัน นอกจากนี้ ในปี 2561 แนวโน้มแรงงานก็ยิ่งน่าเป็นห่วง ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น กลุ่มผู้ใช้แรงงานจะยิ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันอยู่ที่ 700,000 คนต่อปี ซึ่งจะยิ่งลดลง ขณะที่กลุ่มอายุ 15-60 ปี เดิมอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านคน ปัจจุบันลดลงเหลืออยู่ที่ 37.2 ล้านคน ซึ่งลดลงมาถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งในระยะยาวก็จะยิ่งลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยก็จะหายออกไปจากระบบประมาณ 2-3 แสนคน นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องของแรงงานต่างด้าวมากขึ้น โดยเข้าไปจัดระเบียบ อนาคตแรงงานก็ยิ่งจะหายยาก ค่าแรงก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น และการกก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 การนำเรื่องของเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ระบบไอที เพื่อเข้ามาเปลี่ยนผ่านแงงานที่ผ่านไป และเข้ามาทดแทนค่าแรงที่สูงขึ้น ในภาคธุรกิจก้จตะยิ่งเร็วขึ้น จากปัจจัยดังกล่าว เชื่อว่าภายใน 5-10 ปีการเปลี่ยนผ่านก็จะยิ่งเห็นผลชัดเจน และมองว่าผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นปรับตัวได้ไม่มีปัญหา แต่สำหรับเอสเอ็มอีแล้วอาจจะลำบาก "ค่าแรงหากมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเร็ว การนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนผ่าน ทดแทนแรงงานก็จะยิ่งเร็วขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องพิจารณาในกรอบที่เหมาะสม มองก็อยู่ในกรอบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 บาท หรือ 3-5% เพราะหากมากกว่านี้ แรงงานจะประสบปัญหาภาคธุรกิจจะยิ่งนำระบบต่าง ๆ เข้ามาทดแทน และแรงงานเองก็จะต้องไม่เลือกงาน และพัฒนาฝีมือให้เหมาะสมเพื่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้นกับงานนั้น ๆ อย่างไรก็ดี แนวโน้มการว่างงานในปี 2561 ลดลงอยู่ที่ 0.9% หากไม่เลือกงานก็บยังมีงานที่รองรับอยู่แน่นอน" ที่มา: ประชาติธุรกิจ, 19/12/2560 พนง.ฟูจิคูระอิเล็กทรอนิกส์ เรียกร้องโบนัส 3 เดือน บวก1.5หมื่นบาท พร้อมเงินพิเศษ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองปราจีนบุรี ได้รับแจ้งมีพนักงานบริษัทฟูจิคูระอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย จำกัด ซึ่งผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ส่งออกต่างประเทศ เลขที่ 118/2 หมู่ 11 ถนนสุวรรณศร ต.บ้านพระ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี จำนวนกว่า 1,500 คน รวมตัวกันตั้งเต้นท์ รวม8หลัง ประท้วงบริเวณหน้าบริษัท เรียกร้องขอเพิ่มเงินโบนัส หลังจากทางบริษัทฯ ประกาศให้โบนัสกับพนักงาน 2.5 + เงิน 7,000 บาท โดยพนักงานต้องการ 3.0+ 15,000 บาท และเงินพิเศษ ตามอายุงานของพนักงานจึงรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น พร้อมประสานหน่วยรักษาความสงบเรียบร้อย ไปร่วมดูแล ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มผู้ชุมนุมตั้งเต็นท์ รวม 8 หลัง ที่ด้านหน้าทางเข้าบริษัทฯ ปักหลักชุมนุมเรียกร้อง พร้อมร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน สลับการใช้โทรโข่งประกาศให้กำลังใจกัน การชุมนุม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่รุนแรง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ,ทหารและฝ่ายปกครอง กว่า 20 ได้รักษาความเรียบร้อยด้านในบริษัทฯ ไม่อนุญาตให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าด้านใน จากการสอบถามพนักงานที่มาชุมนุม บอกว่าทำงานมากว่า 18-20 ปี หลังจากแกนนำยื่นหนังสือกับทางบริษัทฯตามกฎหมายการชุมนุมแต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน จึงรวมตัวกันประท้วง ซึ่งพนักงานทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หากไม่ได้ตามที่ต้องการจะไม่ยอมถอย ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นอุณภูมิ 18 องศาเซลเซียส และลมแรงตั้งแต่เช้า แต่พนักงานทุกคนก็ไม่ยอมที่จะหนี ยังคงรวมตัวกันประท้วงอย่างไม่ย่อท้อแม้ไร้วี่แววตัวแทนจากผู้บริหารของบริษัทออกมาเจรจาต่อรอง นายอาทิตย์ ปันทะนะ แกนนำ กล่าวว่า "ทางกลุ่มพนักงาน ทำในสิ่งที่ถูกต้อง สั่งพนักงานทุกคนห้ามทำผิดกฎหมาย และทำลายสิ่งของของบริษัทฯ และห้ามพนักงานทุกคนพูดพาดพิงบริษัทฯ ในทางที่เสียหาย แม้จะประท้วงยืดเยื้อทุกคนจะไม่ยอมถอยจะสู้ และทำในสิ่งที่พวกตนพึงจะได้เท่านั้น ที่ผ่านมามีการชุมนุมย่อยและหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนพนักงานและฝ่ายบริหารของบริษัทฯเพื่อขอเพิ่มโบนัสและสวัสดิการมา 7 ครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ และในวันนี้ทางบริษัทฯปิดงานตัวแทนพนักงานและพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเข้าทำงาน ส่งผลให้พนักงานคนอื่น ๆ เข้าทำงานไม่ได้จึงได้มีการชุมนุมประท้วงในวันนี้แทนจากเดิมจะมีกำหนดชุมนุมประท้วงเรียกร้องในวันที่ 20 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารชุดรักษาความสงบจากมณฑลทหารบกที่ 12 (มทบ.12) และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองปราจีนบุรี มาดูแลรักษาความสงบ ให้ ซึ่งพนักงานที่ประท้วง ได้รอเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานมาร่วมหารือกับทางบริษัทและสวัสดิการแรงงาน จ.ปราจีนบุรี ในวันพรุ่งนี้ ที่มา: มติชนออนไลน์, 19/12/2560 คนทีวีล่ารายชื่อเสนอ กก.ปฏิรูปสื่อ หลังทีวีดิจิทัลปลดพนักงานแล้ว 2,000 คน ในวงการโทรทัศน์ขณะนี้มีข่าวมาว่า ในวันที่ 22 ธันวาคมที่จะถึงช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งจะมีการเลย์ออฟพนักงานจำนวนมาก เนื่องจากผลประกอบการขาดทุน ซึ่งถึงตอนนี้จะยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าเป็นช่องไหน แต่ดูเหมือนข่าวก็น่าจะมีมูล เพราะคนในแวดวงมีการโพสต์ถึงเรื่องนี้กันอยู่ และหนึ่งในนั้นคือ สุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้โพสต์ข้อความไว้ในเฟซบุ๊กว่า "วันที่ 22 นี้ ควรเป็นสถานีสุดท้าย เตรียมรวบรวมรายชื่อทุกสำนักรวมพลังพี่น้อง หยุดฟองสบู่สื่อหยุดหายนะสังคม!!!!!" โดยเจ้าตัวให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" ว่าเท่าที่ทราบตัวเลขคนถูกเลย์ออฟ จากทีวีดิจิทัลน่าจะเกิน 2,000 คนแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเคยเรียกร้องมาตลอดว่าควรจะมีระบบที่ให้การดูแลคนทำงานเหล่านี้ เช่น กสทช.สนับสนุนให้มีการตั้งสหภาพแรงงานของแต่ละองค์กรสื่อ และถ้าองค์กรไหนมี กสทช.ก็อาจจะให้สิทธิพิเศษ เช่น ลดค่าธรรมเนียมหรืออะไรสักอย่างเพื่อที่จะปกป้องคนทำงาน "เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้คนที่เดือดร้อนไม่ใช่นายทุน ทุกครั้งการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดของนายทุน ในการแก้ไขปัญหาดิจิทัลทีวีคือ 1.หาผู้ร่วมทุนใหม่ โดยที่ไม่ได้สนใจว่าตรงนั้นจะทำธุรกิจอะไร ซึ่งผมมองว่าเป็นอันตรายกับสื่อและสังคมไทย และมันจะน่ากลัวกว่านี้ถ้าต่างชาติเป็นนอมินีให้คนไทยถือหุ้นเข้ามาแล้วต่างชาติเป็นเจ้าของสื่อไทย 2.การเอาคนออก" ด้วยเหตุนี้จึงรู้สึกว่าถึงเวลาต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง สิ่งที่เขาคิดจะทำ การนำเสนอสภาวะที่เกิดขึ้นให้กรรมการชุดปฏิรูปสื่อพิจารณา "ปัญหาสภาพฟองสบู่ที่เป็นอยู่ ถ้ายังเป็นอย่างนี้ก็จะเกิดการเอาคนออกเรื่อยๆ แน่นอนสังคมอาจจะมองว่าไม่กระทบต่อสังคม แต่ถ้ามองลงไปลึกๆ ให้ดี กระทบสังคมนะ คือแต่ก่อนนี้กว่าสื่อจะคิดจะทำข่าวอะไรแต่ละอย่าง เราคิดกันเยอะมาก แต่เดี๋ยวนี้คิดง่ายๆ คือคลิปอะไรที่สังคมสนใจ สื่อกระแสรองก็ไปเอามาทำ แล้วประชาชนคนบริโภคก็มาด่าว่าสื่อกระแสหลักไม่ทำหน้าที่ ทีนี้ถามว่าเวลาสื่อกระแสหลักทำหน้าที่ พอมันไม่ตอบจริต อ่านกันหรือเปล่าดูกันหรือเปล่า มันก็วนรูปอยู่อย่างเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะแก้ปัญหาได้ในการปฏิรูปสื่อต้องนำความจริงตรงนี้มาพูดกันก่อน" ขณะเดียวกันด้วยสภาพการแข่งขันของทีวีดิจิทัลที่มีจำนวนมากเกินไป และต่างฝ่ายจำเป็นต้องหาทางอยู่รอด ชนิดที่เขาว่า "วันนี้สื่อไม่ต้องคิดอะไรมาก คิดแค่ว่าทำแล้วมีเรตติ้ง ทำแล้วโฆษณาเข้าพอแค่นั้น" "ถามว่าคุณภาพสังคมจะอยู่กันแบบนี้จริงเหรอ" ด้วยเหตุนี้เขาจึงมีแผนจะเดินไปหาสื่อสำนักเพื่อขอรวบรวมรายชื่อเพื่อนำเสนอต่อกรรมการปฎิรูปสื่อ ขอให้หาทางแก้ปัญหาหรือหาทางออกให้กับวิกฤตที่เกิดขึ้นตอนนี้ เพราะหวังไว้ในใจว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค. นี้ ควรเป็นสถานีสุดท้าย ที่มา: มติชนออนไลน์, 19/12/2560 กอช.แนะสมาชิกโค้งสุดท้ายปี 2560 ส่งเงินออมเต็มเพดาน รับบำนาญตลอดชีพ นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กล่าวว่า เหลือเวลาอีกเพียงครึ่งเดือนเท่านั้น สำหรับการส่งเงินสะสมกับ กอช.รอบปี 2560 (สามารถส่งเงินสะสมได้ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2560) ซึ่ง กอช.ปรารถนาดีต้องการให้สมาชิกได้รับเงินสมทบเต็มอัตราจากภาครัฐที่จะสมทบเพิ่มให้ตามช่วงอายุ จึงขอแนะนำให้สมาชิก กอช.ส่งเงินสะสมให้ได้อย่างน้อยรวมแล้ว 1,200 บาทต่อปี ส่วนสมาชิก กอช.ที่มีสิทธิ์การออมเพียง 10 ปี (สมาชิก กอช.อายุ 50 ปีขึ้นไป) ควรส่งเงินสะสมให้ได้ 13,200 บาทต่อปี ตามเพดานที่กำหนด เพื่อมีสิทธิ์รับเงินบำนาญตลอดชีพ ซึ่งสมาชิกต้องมีวินัยการออม สะสมเงินให้เต็มสิทธิ์ตลอดทั้ง 10 ปี ทำให้สมาชิกสามารถอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าเมื่อถึงยามชราภาพ จะมีหลักประกันขั้นพื้นฐาน ซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกส่งเงินสะสม และมีรัฐช่วยออม พร้อมการันตีผลตอบแทน นอกจากนี้ การออมเงินกับ กอช.ยังทำให้สมาชิกมีสิทธิ์พิเศษทางด้านภาษีสามารถนำยอดเงินที่ส่งสะสมเข้ากองทุนฯ ตลอดรอบปีไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน โดยนำใบแจ้งยอดเงินที่ได้รับจาก กอช. ใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการคำนวณและยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง กอช.จะดำเนินการจัดส่งใบแจ้งยอดเงินถึงมือสมาชิกทางไปรษณีย์ภายในเดือนมีนาคม 2561 ที่มา: สำนักข่าวไทย, 19/12/2560 ช่วยลูกจ้างเมียนมารับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา จากนายจ้าง 1.5 ล้านบาท นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยผลการช่วยเหลือกรณีลูกจ้างชาวเมียนมา จำนวน 39 คน ยื่นคำร้องกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 ว่า บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ค้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา กสร. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายโดยสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงสิทธิ หน้าที่และข้อกฎหมาย ให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ ล่าสุด วันที่ 8 ธันวาคม 2560 นายจ้างได้นำเงินค่าจ้างและค่าล่วงเวลาตามที่ตกลงกับลูกจ้าง จำนวน 1,500,000 บาท มาวางไว้กับพนักงานตรวจแรงงานเพื่อนำจ่ายให้กับลูกจ้างชาวเมียนมาทั้ง 39 คน ต่อไป นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงาน แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ ด้วยการคุ้มครองแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้หากลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงานสามารถร้องเรียนได้ที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ หรือที่สายด่วนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 1546 ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 18/12/2560 ฝึกอบรมขับรถตัดอ้อย เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดการเผาไร่อ้อย รองรับไทยแลนด์ 4.0 18 ธ.ค. 2560 ที่ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขาไทอุดรบ้านผือ บ.เจริญสุข ต.คำบง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นายวิรัช คันศร ผู้ตรวจราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดการเผาไร่อ้อย รองรับไทยแลนด์ 4.0 หลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน สาขา พนักงานขับรถตัดอ้อย โดยมี นายธีรระชัย แสนแก้ว นายกสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ , สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.อุดรธานี ผู้แทนจากศูนย์ความปลอดภัยเขต 4 จัดหางานจังหวัด , บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี และวังเกษตร พร้อมเกษตรกรผู้สนใจ เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 28 คน นางสาวสมลักษณ์ สุวรรณพรหมา ผอ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 18 อุดรธานี กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้บูรณาการความร่วมมือกับบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับ พนักงานขับรถตัดอ้อย พนักงานขับรถคีบอ้อย ช่างซ่อมบำรุงรถตัดอ้อยและรถคีบอ้อย เพื่อลดปัญหาขาดแคลนแรงงานในไร่อ้อย สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 18 อุดรธานี จึงได้ทำโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรลดการเผาไร่อ้อย รองรับไทยแลนด์ 4.0 ในหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน สาขาพนักงานขับรถตัดอ้อย โดยการอบรมมีการบรรยายความปลอดภัยในการขับรถตัดอ้อย ส่วนประกอบของรถ และเครื่องยนต์ ระบบหล่อลื่นและระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ระบบควบคุมรถตัดอ้อย ปฏิบัติให้ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งกำหนดฝึกวันที่ 18 - 20 ธันวาคม ระยะเวลาฝึก 18 ชั่วโมง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานในสถานประกอบกิจการ พนักงานขับรถตัดอ้อย บุคคลทั่วไป เจ้าหน้าที่พัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 28 คน โดยฝึกอบรมที่ สมาคมไร่อ้อยอีสานเหนือ อ.บ้านผือ นายวิรัช กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้ เนื่องจากกำลังคนของประเทศไทย ขาดประสิทธิภาพทักษะด้านฝีมือแรงงาน และทัศนคติที่ไม่ต้องการทำงานในลักษณะที่ใช้แรงงาน เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน การฝึกอบรมครั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถรู้ถึงหลักความปลอดภัยในการขับรถตัดอ้อย สามารถขับรถตัดอ้อยได้ถูกวิธี เกิดความปลอดภัย รู้ถึงหลักการบำรุงรักษารถตัดอ้อย จากการฝึกจากรถตัดอ้อยจริง จะเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยต้องการให้คนไทยมีงานทำอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพที่มั่นคง ก.แรงงานจับมือ IM Japan ขยายฝึกงานญี่ปุ่นเป็น 5 ปี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายเคียวอิ ยานากิซาวา ประธานผู้บริหาร IM Japan ในโอกาสร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยโครงการจัดส่งผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น (IM Japan) ระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า การลงนามในวันนี้ ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เริ่มมีการลงนามครั้งแรกเมื่อปี 2542 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศญี่ปุ่นตามโครงการ IM Japan ที่ได้ส่งเยาวชนไทยที่เรียนจบเทคนิคไปฝึกงานเพื่อแสวงหาโอกาส เพิ่มทักษะของตนเอง และนำความรู้ที่ได้กลับมาต่อยอดในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ เยาวชนแต่ละคนยังได้รับค่าตอบแทนซึ่งเป็นรายได้เดือนละประมาณ 30,000 บาท รวมทั้งการได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี และระเบียบวินัยในการทำงานแบบญี่ปุ่น เป็นการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนไทยที่ได้นำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากการฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น กลับมาต่อยอดในการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวอีกด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า การลงนามในครั้งนี้ IM Japan รัฐบาลญี่ปุ่นมีการปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติใหม่ โดยได้ขยายเวลาการฝึกงานจาก 3 เป็น 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ซึ่งปัจจุบันโครงการจัดส่งผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีแรงงานไทยที่เคยเข้าไปเป็นผู้ฝึกงานทางเทคนิคในประเทศญี่ปุ่นแล้วกว่า 4,000 คน ซึ่งถือเป็นผู้โชคดีที่ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสโลกของการทำงานแบบญี่ปุ่น และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากสถานประกอบการของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอย่างญี่ปุ่นอีกด้วย แรงงานไทยตำแหน่งผู้ประกอบการอาหารไทยต้องทำใบอนุญาต Tom Yam Pass กระทรวงแรงงาน เตือนแรงงานไทยที่จะเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียในตำแหน่งผู้ประกอบการอาหารไทย ควรตรวจสอบนายจ้างที่จะเข้าไปทำงานด้วยว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียกำหนด และมีใบจดทะเบียนประกอบธุรกิจและใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และขอให้นายจ้างดำเนินการขอทำใบอนุญาต Tom Yam Pass เพื่อป้องกันการเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าสำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียชี้แจงถึงการทำใบอนุญาต Tom Yam Pass ซึ่งเป็นใบอนุญาตทำงานประเภท Visit Pass (Temporary Empioyment) ระยะสั้น ที่ทางการมาเลเซียออกให้กับแรงงานไทย ตำแหน่งผู้ประกอบการอาหารไทย (Tukang Masak Masakan thai) โดยในระยะแรกทางการมาเลเซียออกใบอนุญาตแบบระยะสั้น ๓ เดือน และต่ออายุได้เรื่อยๆ และเมื่อปี ๒๕๕๙ ทางการมาเลเซียได้ปรับระยะเวลาของใบอนุญาตจาก เดิม ๓ เดือน เป็น ๖ เดือน ซึ่งการทำใบอนุญาตดังกล่าวถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องเป็นผู้ดำเนินการ แม้ว่าแรงงานไทยประสงค์จะทำใบอนุญาตให้ถูกต้อง แต่นายจ้างไม่ดำเนินการให้ หรือกรณีที่นายจ้างมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียกำหนด ไม่มีใบจดทะเบียนประกอบธุรกิจและใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ก็ไม่สามารถดำเนินการทำใบอนุญาตให้แรงงานไทยได้ นางเพชรรัตน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเตือนแรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซียในตำแหน่งผู้ประกอบการอาหารไทย ควรให้นายจ้างดำเนินการขอทำใบอนุญาต Tom Yam Pass ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และตรวจสอบนายจ้างที่จะเข้าไปทำงานด้วยว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียกำหนด และมีใบจดทะเบียนประกอบธุรกิจและใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เพื่อป้องกันการเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1694 และเว็บไซต์ http://www.overseas.doe.go.th/ ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 18/12/2560 สั่งบีโอไอ หาทางออกมาตรการส่งเสริมลงทุน หนุนเอกชนสร้างบ้านพักให้แรงงานต่างด้าว จัดโซนนิ่ง ดูกฎระเบียบให้ชัด ไม่กระทบความมั่นคง รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน หาทางออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้กับภาคเอกชนในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยสำหรับแรงงานต่างด้าวบริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ให้เป็นไปตามนโยบายการจัดโซนนิ่งพื้นที่พักอาศัยเพื่อจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ต่างๆ ให้ชัดเจน และสามารถดูแลได้อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าว ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งออกมาตรการออกมารองรับ โดยเฉพาะบีโอไอ ซึ่งมีเครื่องมือทางด้านการส่งเสริมการลงทุน ทั้งมาตรการที่เป็นภาษี และไม่ใช่ภาษี ซึ่งสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเอกชนได้มีการก่อสร้างที่พักอาสัยของคนต่างด้าวขึ้น โดยการดำเนินการครั้งนี้ นายกฯ ยังได้ย้ำด้วยว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ และให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมครม.ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ยังให้คำถึงประเด็นในด้านความมั่นคงด้วย ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พิจารณาจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั่วคราวในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดต่างๆ หรือศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนิคมอุตสาหกรรม และมีความสนใจเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ คสรท.ร้องของขวัญปีใหม่ "บิ๊กอู๋" ปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 712 บาทเท่ากันทั่ว ปท. นายจ้างโต้ทำไม่ได้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงการเตรียมพร้อมแสดงจุดยืนปรับค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2561 ว่า คสรท.จะเดินทางไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อขอแสดงจุดยืนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ทางคณะกรรมการค่าจ้างจะมีการพิจารณาและประกาศใช้ในปี 2561 โดย คสรท.ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างไม่เท่ากัน เนื่องจากการปรับเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะข้อเท็จจริงแล้วต้องปรับค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ และต้องปรับขึ้นตามอัตราค่าครองชีพ ณ ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป นายชาลีกล่าวอีกว่า คสรท.ได้มีการสำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานเดือนกันยายน 2560 จำนวน 2,959 คน แบ่งเป็นเพศชาย 982 คน เป็นเพศหญิง 1,962 คน ไม่ได้ระบุเพศ 15 คน โดยสำรวจ 4 ภูมิภาค ครอบคลุม 29 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคกลางและตะวันออก มีจ.ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ระยอง อ่างทอง ชลบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร ภาคอีสาน มีจ.สกลนคร กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ อุดรธานี นครพนม นครราชสีมา ขอนแก่น ภาคเหนือ มีเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และภาคใต้ มีนครศรีธรรมราช นราธิวาส ชุมพร และพัทลุง นายชาลีกล่าวว่า โดยผลสำรวจพบว่า ช่วงอายุงานของลูกจ้างทำงานมาแล้วเฉลี่ยสูงสุด 6-10 ปี ซึ่งจากการสอบถามว่า ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,959 คน พบเป็นลูกจ้างค่าจ้างรายเดือนมีถึง 2,153 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.76 ขณะที่ลูกจ้างค่าจ้างรายวัน 796 คน คิดเป็นร้อยละ 26.9 ทั้งนี้ได้สอบถามถึงค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุม พ่อ แม่ ลูกรวม 3 คน พบว่ามีรายจ่ายที่จำเป็น อาทิ ค่าเช่าหรือค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดูแลบุพการี ค่าเทอมลูก ค่านมลูก ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ เฉลี่ยจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะต้องจ่ายอยู่ที่ 14,771.40 บาทต่อเดือน และหากคิดเฉลี่ยรายวันพบว่า จะมีค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเท่ากับ 492.38 บาท ซึ่งจากค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทก็ยังไม่เพียงพอ และหากขึ้นค่าจ้างไม่เท่ากันทั่วประเทศอีกก็ยิ่งไม่เป็นธรรม "จากค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้มีการสอบถามและสรุปค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายแรงงานครอบครัว 3 คนจะอยู่ที่ 712.3072 บาทต่อวัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ ดังนี้ 1.ค่าใช้จ่ายของผู้ใช้แรงงาน 1 คนอยู่ที่ 219.92 บาทต่อวัน ซึ่งมีค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าเดินทางไปทำงาน เป็นต้น และ 2.จากค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมถึงพ่อแม่ และลูก อยู่ที่ 492.38 บาทต่อวัน ซึ่งจากค่าใช้จ่ายทั้งครอบครัวจะอยู่ที่ 712.3072 บาทต่อวัน ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำจึงต้องปรับเพิ่มมากขึ้น และเท่ากันทั่วประเทศ แต่ก็เข้าใจว่าข้อเสนอดังกล่าว ก็ต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการค่าจ้างด้วย แต่ก็อยากให้พิจารณาจากสถานการณ์ความเป็นจริงจุดนี้" นายชาลี กล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า จากตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นไปไม่ได้ นายชาลีกล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวมาจากการสำรวจ แต่หากไม่ได้ก็ต้องปรับเพิ่มมากกว่าเดิม ซึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน ทางคสรท.เคยสำรวจว่าค่าจ้างที่เหมาะสมต่อ 1 คนควรอยู่ที่ 360 บาทต่อวัน ซึ่งหากเพิ่มได้จำนวนนี้ก็ถือว่ายังดี แต่ที่สำคัญต้องปรับเพิ่มเท่ากันทั่วประเทศไทย แต่ที่ทราบมาเหมือนก่อนหน้านี้คณะกรรมการค่าจ้างเตรียมจะปรับขึ้นแค่ 30 จังหวัด และปรับเพิ่มอยู่ที่ 5-10 บาทเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 โซน โซนแรกเท่าเดิม 300 บาทต่อวัน โซนที่สอง ปรับเพิ่ม 305 บาท โซนที่สามปรับเพิ่ม 308 บาท และโซนที่สี่ปรับเพิ่ม 310 บาท การแบ่งแบบนี้ไม่เหมาะสม เพราะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง "เข้าใจว่าการพิจารณาค่าจ้างเลื่อนออกไป อาจเพราะพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพิ่งรับตำแหน่งด้วย และเรื่องนี้ก็ต้องมีการพิจารณาอีกมาก แต่ทางคสรท.ก็อยากจะเสนอข้อเท็จจริง ไม่ใช่คิดคำนวณโดยไม่ดูค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ทางคสรท.จะขอแสดงจุดยืนเรื่องนี้ และขอให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับประเทศเพียงชุดเดียว ที่มีองค์ประกอบคณะกรรมการที่หลากหลายกว่าปัจจุบัน"รองประธาน คสรท. กล่าวและว่า พวกตนก็หวังเพียงว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคนทุกพื้นที่จริงๆ จึงคงต้องฝากความหวังกับท่านรัฐมนตรีฯ ด้าน นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำต้องอยู่ที่คณะกรรมการพิจารณาค่าจ้าง ซึ่งมีไตรภาคี ทั้งรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งการที่ออกมาระบุว่าต้องได้ค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ และต้องเพิ่มสูงกว่า 700 บาทต่อวัน เพื่อนำมาเลี้ยงครอบครัวและผู้ใช้แรงงานเองรวม 3 คนนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก โดยประเด็นเพิ่มค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศนั้น มีบทเรียนมาแล้วสมัยอดีตที่เพิ่มเท่ากันหมด สุดท้ายส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม ยกตัวอย่าง ในอดีตเคยปรับเท่ากันหมด เห็นชัดในจ.น่าน พะเยา จากเดิมได้ค่าจ้างวันละ 131 บาท เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท กระทบต่อนายจ้างขนาดเล็กต้องปิดกิจการ เพราะอยู่ไม่ได้ แบบนี้ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหรืออย่างไร "ส่วนที่เสนอให้ปรับเงินสูงขึ้น เพื่อเลี้ยงครอบครัวรวม 3 คน หรือแม้แต่คนเดียวจะให้สูงถึง 360 บาทต่อวันนั้น ก็ต้องมาพิจารณาในคณะกรรมการที่มีไตรภาคีก่อน ว่าตัวเลขเท่าไรจึงจะเหมาะสม จะให้บอกตอนนี้คงไม่ได้ แต่ก็ต้องรับได้ทั้งหมด ซึ่งการจะเสนอข้อมูลอะไรนั้นต้องมีเหตุผลที่ยอมรับและไม่กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจด้วย ส่วนจะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างวันไหนนั้น ตนก็ยังไม่ทราบ คงต้องรอจากทางฝั่งกระทรวงแรงงาน" นายอรรถยุทธกล่าว ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 18/12/2560 "อดุลย์" สั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่ สปส.ยักยอกเงินชราภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งลงโทษไล่ออก กรณีพนักงานประกันสังคมทุจริตเงินสมทบบำนาญชราภาพของผู้ประกันตน พร้อมทั้งเอา ผิดทางอาญา กำชับเร่งเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทุกราย พร้อมทบทวนมาตรการอุดช่องโหว่ หวั่นเกิดเหตุซ้ำรอย กรณีเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม พื้นที่ 3 กทม.เขตดินแดง ทุจริตเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน วันนี้ (18 ธ.ค.2560) นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม หรือสปส.ดำเนินการทางวินัยและอาญากับพนักงานคนดังกล่าวของ สปส. นอกจากนี้ให้เร่งเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบทุกรายทันที และให้สปส.ทบทวนมาตรการทั้งระบบ เพื่ออุดช่องโหว่ไม่ให้ซ้ำรอยในลักษณะนี้อีก นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า เหตุการณ์นี้พบว่าเจ้าหน้าที่ สปส. ทุจริตเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน โดยมีพฤติกรรมนำธนาณัติของผู้ประกันตนไปกระทำการบันทึกแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในกระบวนการจ่ายธนาณัติ และนำธนาณัติดังกล่าวไปเบิกเงินกับที่ทำการไปรษณีย์ จากนั้นนำเงินที่ได้ ไปเป็นของตนเอง ตั้งแต่ปี 2559 โดยได้มีการสอบสวนอย่างเร่งด่วน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 21 ก.ค.2560 และพบว่าทุจริตจริง จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงเมื่อ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิด เมื่อ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสอบสวนอย่างละเอียดรอบคอบที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้องภายหลัง และเป็นข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต และต้องคืนเงินให้ผู้ประกันตนทุกคนด้วย นายสุรเดช กล่าวว่า สำหรับเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการสำนักงานประกันสังคม หากพบว่ามีการทุจริตเช่นกรณีนี้หรือกรณีอื่นๆ ทุกคน ต้องถูกดำเนินการ ทางกฎหมาย อย่างเด็ดขาดทุกคน ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจ สำนักงานประกันสังคมมีการดูแลเงินของผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเข้ามาอย่างดีที่สุด อดีตพนักงานรัฐ สธ.ร้อง 'ขอคืนอายุราชการ ลดเหลื่อมล้ำเงินเดือน' ชี้ 17 ปีถูกลอยแพ ชมรมอดีตพนักงานของรัฐสังกัด สธ.ปี 43-46 ระดมพลังยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ ยังศูนย์ดำรงธรรม 77 จังหวัด แก้เหลื่อมล้ำการนับอายุราชการและเงินเดือน ชี้ 17 ปีแห่งการลอยแพอดีตพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สูญสิ้นทั้งอายุราชการ และ ความเหลื่อมล้ำจากการเยียวยา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 นายมานพ ผสม ประธานชมรมอดีตพนักงานของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2543-2546 กล่าวว่า วานนี้ (15 ธันวาคม 2560) ชมรมอดีตพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2543-2546 ได้ยื่นหนังสือสมุดปกขาว ขอความเป็นธรรม ณ ศูนย์ดำรงธรรม ทั้ง 77 จังหวัด เพื่อเรียน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ คืนความเป็นธรรมแก่อดีตพนักงานของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2 ข้อ คือ 1. ขอให้มีการแก้กฎหมายเพื่อนับระยะเวลาการเป็นพนักงานของรัฐเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ 2. ทบทวนการเยียวยาเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้กรณีดังกล่าว เป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นมานานแล้ว สืบเนื่องจากนโยบายคุมกำเนิดข้าราชการของรัฐบาลในปี 2543 กระทบต่อกระทรวงสาธารณสุขขณะนั้นต้องเลือกบรรจุเฉพาะในวิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ ปล่อยลอยแพนักเรียนทุนกระทรวงสาธารณสุขที่จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2543 จนเกิดปรากฏการ "ม็อบคุณหนู" ในปี พ.ศ.2543 ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ห็นชอบให้มีการจ้างงานประเภทใหม่เรียกว่า "พนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข" ความหมายคือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกประเภทหนึ่ง รับเงินเดือนจากงบประมาณ หมวดเงินเดือนเช่นเดียวกับแพทย์ ค่าตอบแทนใช้บัญชีเงินเดือนพลเรือนโดยอนุโลม การเลื่อนเงินเดือน วันเวลาทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การสิ้นสุดการจ้าง เหมือนข้าราชการทุกประการ แต่ไม่นับอายุราชการ จนเมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติบรรจุและแต่งตั้งพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ไม่ได้มีการนำระยะเวลาการปฏิบัติงานในช่วงเป็นพนักงานของรัฐฯ (ก่อนการบรรจุ) มาคำนวณในสิทธิประโยชน์กองทุนบำเหน็จบำนาญแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่พนักงานของรัฐฯทุกท่าน ได้รับการปฏิบัติเหมือนข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประการ ความไม่เป็นธรรมครั้งที่ 2 เมื่อสำนักงาน ก.พ.และคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาสิทธิประโยชน์ ให้พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ 1. ระยะที่ 1 การกำหนดหลักเกณฑ์ฯ ให้พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ ตั้งแต่ วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/๑๕๔ ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2556 2. ระยะที่ 2 การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๑๒.๒/๒๕๐ ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบ ตามหนังสือ ที่ สธ ๐๒๐๘.๐๙/๑๘๖๒๔ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ใน 2 ประเด็น คือ 1. การได้รับเงินเดือนระหว่าง 1.ข้าราชการปกติ 2.พนักงานของรัฐฯ (พนร) 3.กลุ่มที่ได้รับการเยียวยา ที่มีอายุงาน/อายุราชการใกล้เคียงกัน และตำแหน่งประเภทเดียวกัน เปรียบเทียบเงินเดือน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 พบว่า เงินเดือน ข้าราชการที่ได้เยียวยาเงินเดือนมากกว่าข้าราชการปกติ 6,100 บาท ข้าราชการที่ได้เยียวยาเงินเดือนมากกว่าพนักงานของรัฐฯ 7,800 บาท 2. เปรียบเทียบกรณีอายุงาน/อายุราชการที่แตกต่างกัน แต่ได้รับเงินเดือนใกล้เคียงกัน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 พบว่า อายุราชการ ข้าราชการปกติอายุราชการมากกว่าพนักงานของรัฐฯ 3 ปี 8 เดือน พนักงานของรัฐฯ อายุราชการมากกว่า ข้าราชการที่ได้เยียวยา 5 ปี "จนถึงวันนี้ ความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำดังกล่าว ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น กลับยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ทำลายระบบธรรมมาภิบาล และสร้างความแตกแยก ความไม่สามัคคีในองค์กรเป็นอย่างมาก พวกเราจึงต้องขอความเป็นธรรมจากพลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีให้ช่วยแก้ไข" นายมานพ กล่าว นายมานพ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมบัญชีกลาง ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๔๐๘.๓/๔๓๗๘๕ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2560 แจ้งมายังปลัดกระทรวงสาธารณสุข เนื้อความสำคัญว่า ไม่มีข้าราชการกลุ่มใดที่จะมีสิทธินำระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอื่นมานับรวมเป็นเวลาราชการ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ซึ่งในประเด็นดังกล่าว ทางชมรมอดีตพนักงานของรัฐฯ ได้ยื่นหนังสือ ถึง รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงการคลัง ขอความเป็นธรรมกรณีพนักงานของรัฐในกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่ได้นับอายุราชการ (ในเหตุกรณีพิเศษ) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา และจะติดตามหนังสือดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
พิษการเมือง-อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล 'วอยซ์ ทีวี' ประกาศปรับโครงสร้าง เลิกจ้าง 127 พนักงาน Posted: 22 Dec 2017 08:59 AM PST 'วอยซ์ ทีวี' ประกาศปรับโครงสร้าง เลิกจ้าง 127 พนักงาน ระบุผลจากการเมืองที่บริษัทฯต้องบริหารอย่างสมดุลและปรับให้เข้ากับสถานการณ์อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ขณะที่ เนชั่นฯ ขาย 'ม.เนชั่น-NOW26-ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง' มูลค่า 1.4 พันล้าน 22 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ออกแถลงการณ์บริษัท เรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ ระบุถึงเรียนผู้รับชมรายการ ลูกค้า ผู้มีอุปการะคุณ ผู้สนับสนุนรายการ และเพื่อนร่วมงาน แถลงการณ์ระบุว่า 1 ม.ค. 2561 บริษัทฯ จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ ปี 2561 โดยบริษัทฯ ได้ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาการออกอากาศมากขึ้น นอกจากออกอากาศผ่านทางดิจิตอลทีวี "วอยซ์ ทีวีช่อง 21" แล้ว ยังนำเสนอผ่านทางสื่อออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีออโต้เมทต่างๆ รวมถึงการปรับระบบ Progressive Web Applications เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งวีดีโอคอนเทนท์ เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทันทีทุกช่องทางทุกเวลาที่ต้องการอีกด้วย แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า จากแผนธุรกิจปี 2561 ที่จะมีการปรับสัดส่วนการผลิตรายการ ทำให้บริษัทฯจำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง ด้วยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทุกคนจะได้รับเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด ซึ่งจะมีพนักงานส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างยังคงร่วมงานในรูปแบบ outsource กับบริษัทฯ "นอกเหนือจากสภาวการณ์ทางการเมืองที่บริษัทฯต้องบริหารอย่างสมดุลแล้ว สถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลคืออีกปัจจัยที่มีผลกระทบแทบทุกช่องอย่างถ้วนหน้า รวมถึง "วอยซ์ ทีวี" ด้วยเช่นกัน ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงในอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด" ความตอนหนึ่งของแถลงการณ์บริษัทฯ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า เทพชัย แซ่หย่อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้จำหน่ายสินทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนในบริษัทย่อยและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะปัจจุบันของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ และธุรกิจสื่อ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการดำเนินการตามกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทที่จะมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจหลักที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ สำหรับทรัพย์สินที่จำหน่าย ประกอบด้วย 1. เงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท เนชั่น ยู จำกัด (NU) บริษัทย่อยประกอบธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่น จำนวน 30.59 ล้านหุ้น คิดเป็น 90% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 2. เงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (BBB) บริษัทย่อยดำเนินธุรกิจช่องทีวีดิจิทัล NOW 26 จำนวน 149.99 ล้านหุ้น คิดเป็น 100% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ BBB (หุ้นดังกล่าวถือโดยบริษัท 149.90 ล้านหุ้น และอีก 99,997 หุ้น ถือโดยบริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด) 3. เงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท ดับบลิวพีเอส จำกัด (WPS) ประกอบธุรกิจและบริการด้านการพิมพ์ จำนวน 42.25 ล้านหุ้น คิดเป็น 84.5% 4. เงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท เอ็นเอ็มแอล จำกัด (NML) ซึ่งประกอบธุรกิจด้านการบริหารขนส่ง จำนวน 4.9 ล้านหุ้น คิดเป็น 99.99% และ 5. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขา และบางแปลงเป็นที่ดินว่างเปล่า รวม 5 แห่ง ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 1,403.61 ล้านบาท
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ขยายกรอบเวลาในการดำเนินการทางธุรการของพรรคการเมือง Posted: 22 Dec 2017 08:26 AM PST พล.อ.ประยุทธ์ ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง การขยายกรอบเวลาในการดำเนินการทางธุรการของพรรคการเมืองต่าง ๆ 22 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรานยงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า ตามที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค.2560 ซึ่งพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านั้น ต้องเริ่มดําเนินการต่างๆ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ส่วนบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ก็ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้ โดยดําเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ แต่เนื่องจากประกาศ คสช.ฉบับที่ 57/2557 เรื่อง ให้ พ.ร.ป. บางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2557 และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ลงวันที่ 1 เม.ย.2558 ยังมีผลใช้บังคับ การดําเนินกิจกรรมทางการเมืองเช่นว่านี้จึงยังไม่อาจกระทําได้ ผลจากการนี้ทําให้พรรคการเมืองทั้งที่จัดตั้งขึ้นแล้วและกําลังเตรียมจะจัดตั้งขึ้นใหม่อาจเกรงว่าหากไม่สามารถดําเนินการต่างๆ ได้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด จะเป็นเหตุให้เสียสิทธิในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและการได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ดังที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชน การสํารวจความคิดเห็นของประชาชน และหนังสือร้องเรียนหรือแสดง ความกังวลจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มต่างๆ ที่เรียกร้องให้ คสช. หาทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว คสช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้สถานการณ์รอบด้านในขณะนี้จะสงบเรียบร้อย ประชาชนทั่วไปสามารถดําเนินชีวิตและประกอบหน้าที่การงานได้เป็นปกติสุข แต่ก็ยังมีความจําเป็นต้องคงประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อไม่ให้มีผู้ฉวยโอกาสอ้างการดําเนินการตามกฎหมายไปกระทํากิจกรรมทางการเมืองอื่น อันกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยและความปกติสุขในบ้านเมืองซึ่งกําลังดําเนินมาด้วยดี ตลอดจนกระทบต่อบรรยากาศความสามัคคีปรองดอง การอยู่ระหว่างการจัดทําแผนการปฏิรูปประเทศ และการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับในขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่แล้วเสร็จ แต่ทั้งนี้การคงประกาศและคําสั่งดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่งต้องไม่ทําให้พรรคการเมืองเสียสิทธิและโอกาสตามกฎหมาย จึงสมควรขยายกําหนดเวลาตามบทเฉพาะกาล มาตรา 141 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งกําหนดเวลาดังกล่าวอาจขยายได้อยู่แล้วเป็นกรณีๆ ไป โดยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่เพื่อให้ทุกพรรคการเมืองได้รับประโยชน์เสมอกันจึงควรได้รับการพิจารณาไปพร้อมกัน สำหรับสาระสำคัญของคำสั่งหัวหน้า คสช. เป็นการขยายกรอบเวลาในการดำเนินการทางธุรการของพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งบีบีซีไทย สรุปไว้ดังนี้
รายละเอียดคำสั่ง หัวหน้าคสช.ที่ 53/2560 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
15 แกนนำค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา รายงานตัวต่อศาล - 114 นักวิชาการประกาศยืนเคียงข้าง Posted: 22 Dec 2017 05:48 AM PST 15 แกนนำค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเข้ารายงานตัวต่อศาลจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 หลัง ถูกจับกุมในช่วงประยุทธ์เดินทางไปประชุม ครม.สัญจร ขณะที่ 114 นักวิชาการประกาศยืนเคียงข้างประชาชน ที่มา เพจ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 22 ธ.ค.2560 ไทยพีบีเอส รายงานว่า กลุ่มประชาชนในชื่อเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดินทางมาให้กำลังใจ 15 แกนนำ ในการเดินทางมารายงานตัวต่อศาลจังหวัดสงขลา เป็นครั้งที่ 2 ทันทีที่ได้รับการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หลังถูกจับกุมในระหว่างการสลายการชุมนุมในกิจกรรม "เดินเทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดินหานายกฯ หยุดทำลายชุมชน" เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังการรายงานตัวแล้วเสร็จ ตัวแทนประชาชนพร้อมแกนนำทั้ง 15 คน ได้เดินทางเข้าร่วมในเวทีชุมชนเสวนา "เราจะสู้เพื่ออยู่ ไม่ใช่เพื่อย้าย" ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงกำหนดทิศทางในการเคลื่อนไหว ที่ยืนยันจะไม่ยอมให้เกิดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในพื้นที่ นอกจากนี้ นักวิชาการ 114 รายชื่อ ยังออกแถลงการณ์ พร้อมเคียงข้างประชาชน เพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา แถลงวันนี้ 22 ธ.ค. 2560 ที่หน้าศาลจังหวัดสงขลา ในโอกาสที่ผู้ต้องหา ไปรายงานตัวตามนัดที่ศาลสงขลาด้วย รายละเอียดแถลงการณ์ : แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการยืนเคียงข้างประชาชนเพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และพร้อมเป็น "นายประกัน" ให้แก่การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนของพี่น้องประชาชนชาวเทพาการรณรงค์จัดหานายประกันเพิ่มเติมครั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เป็นนายประกันให้แก่พี่น้องประชาชน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผู้เดินเท้าไปหานายกฯ ซึ่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 มีการสลายการชุมนุมและจับกุมดำเนินคดีชาวเทพา 16 คน ใน 4 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันเดินหรือเดินแห่อันเป็นการกีดขวางการจราจร ปิดกั้นทางหลวง ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายเจ้าหน้าที่ และพกพาอาวุธหรือไม้แหลมไปในเมืองหรือทางสาธารณะ นักวิชาการที่ร่วมกันเป็นนายประกันมีรายชื่อดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ยังมีการระบุว่าอาจจะมีการดำเนินคดีชาวบ้านเพิ่มเติม เพื่อหยุดชาวเทพาไม่ให้เรียกร้องความยุติธรรมแก่ตนเอง ลำคลอง ทะเล หาดทราย ป่าชายเลน ผืนดิน สัตว์น้ำ และอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลใจและทำลายจิตใจที่จะปกป้องธรรมชาติ จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการซึ่งเป็นเครือข่ายทางวิชาการพร้อมกับนักวิชาการภาคใต้ จากทั่วประเทศ จำนวน 114 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา ทะเล ทรัพยากรป่าไม้ ประมง ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านพลังงาน ด้านชายฝั่ง ด้านสังคม เช่น ศาสนาและปรัชญา สังคมประชากรและความมั่นคงของมนุษย์ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สังคมวิทยา รัฐศาสตร์การปกครองท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในโครงการขนาดใหญ่ ความเป็นธรรมทางสังคม สันติศึกษา ประวัติศาสตร์ และกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ โดยเครือข่ายฯ ได้ส่งตัวแทนนักวิชาการ 5 คนลงพื้นที่เข้าพบชาวเทพาและทำการศึกษาในพื้นที่ตั้งโครงการ มีการนำข้อมูลกลับมาประเมิน เพื่อแสวงหาการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหากรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน จากการศึกษาข้อเท็จจริงในพื้นที่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 พบว่าชาวบ้านจำนวนมากยังคงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดทำลายสิ่งแวดล้อมจากโครงการไฟฟ้าจากถ่านหิน และท่าเรือขนถ่ายหินที่หาดบางหลิง อ.เทพา ทั้งนี้ที่ตั้งของโครงการมีความอุดมสมบูรณ์และมีความสวยงามของธรรมชาติที่ขาดการประเมินทั้งในเชิงคุณค่าและมูลค่า ซึ่งไม่ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ดังนั้นความพยายามเร่งรัดโครงการมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ว่า มีความบกพร่องในการศึกษาผลกระทบอย่างมาก และจะส่งผลเสียหายแก่ชีวิตของธรรมชาติมนุษย์และภูมิทัศน์ อย่างร้ายแรง จนมิอาจฟื้นฟูให้คืนกลับมาเช่นเดิมได้ ยิ่งกว่านั้นมีแนวโน้มว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและกังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น ระหว่างผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและตัวแทนของโครงการ เราในฐานะตัวแทนนักวิชาการ 114 คนตามรายชื่อแนบท้าย มีข้อกังวลและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาลมีความเร่งรีบในการตัดสินใจท่ามกลางความขัดแย้ง โดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และมีความบกพร่องทางการศึกษาในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รัฐบาลควรที่จะใช้เวลาในการศึกษาถึงผลกระทบที่คนในชุมชนเทพาจะได้รับอย่างถี่ถ้วน การที่รัฐบาลเร่งรีบตัดสินใจอาจเกิดให้คนเข้าใจผิดได้ว่ามีรัฐบาลอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน 2. มีการข่มขู่ที่จะดำเนินคดีแก่ชาวเทพาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ชัดเจนว่าอันเนื่องมาจากความผิดอะไร การข่มขู่อย่างไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ถือว่าเป็นการข่มขู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างไร้ความเป็นธรรม ทั้งนี้ถือว่ารัฐบาลชุดนี้ขาดธรรมาภิบาลและขาดจริยธรรมในการบริหารประเทศ 3. ความเพิกเฉยของนายกรัฐมนตรี เห็นได้ชัดว่า นายกรัฐมนตรียังคงเพิกเฉยที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของชาวเทพา จนมีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเข้าดำเนินการที่จะยุติการเดินเท้าของชาวเทพา ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเป็นการเดินทางโดยสันติที่ชาวเทพาตั้งใจจะนำเสนอความจริงของพื้นที่ด้วยเจตจำนงค์อย่างสุจริตใจต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันโอชา ด้วยความตระหนักถึงปัญหาการพยายาม "ปิดเสียง ปิดปาก" คนที่จะพูดแทนธรรมชาติ เครือข่ายนักวิชาการจึงได้มีมติร่วมกันว่าจะพยายามช่วยเหลือประชาชนที่ลุกขึ้นมาปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรณีพี่น้องประชาชนชาวเทพา ด้วยการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเป็น "นายประกัน" ให้ประชาชนมีขวัญและกำลังใจในการปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป นอกจากนี้เครือข่ายฯ จะทำการศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ของพื้นที่ตั้งโครงการรวมถึงผลกระทบทางสังคม เพื่อนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณชนต่อไป แถลงการณ์ในครั้งนี้ประกาศในนามของเครือข่ายนักวิชาการ 114 คน ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 1. อาจารย์อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
เมียนมาร์ห้าม ‘ผู้รายงานพิเศษยูเอ็น’ เข้าประเทศ Posted: 22 Dec 2017 04:13 AM PST รัฐบาลเมียนมาร์ไม่ให้ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นเข้ามาตรวจตราสถานการณ์สิทธิมนุษยชน อ้างไม่น่าเชื่อถือ มีอคติ ไม่ยุติธรรม ผู้รายงานฯ หวังเมียนมาร์ทบทวนใหม่ ห่วงสถานการณ์ในประเทศเลวร้าย ยังฮีลี ผู้รายงานพิเศษจากองค์การสหประชาชาติ (ที่มา:un.org) เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 สำนักข่าวอิรวดีของเมียนมาร์ รายงานว่า รัฐบาลเมียนมาร์ไม่อนุญาตให้ ยังฮีลี ผู้รายงานพิเศษจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เดินทางเข้าประเทศ และประกาศระงับการให้ความร่วมมือกับผู้รายงานพิเศษฯ จนกว่าวาระดำรงตำแหน่งของยังฮีลีจะสิ้นสุดลง ยังฮีลีมาเยือนเมียนมาร์ในเดือนมกราคมเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนทั่วประเทศ รวมทั้งรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ โดยยังฮีลีระบุว่าตนรู้สึกสับสนและผิดหวังกับการตัดสินใจของรัฐบาลเมียนมาร์เช่นนี้ การประกาศไม่ให้ความร่วมมือกับผู้รายงานพิเศษนั้นสามารถมองได้ทางเดียวว่ากำลังมีบางอย่างที่เลวร้ายมากเกิดขึ้นในรัฐยะไข่และพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ทั้งนี้ เธอยังหวังให้เมียนมาร์ทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง อูซอวเตย์ ผู้อำนวยการของสำนักประธานาธิบดีเมียนมาร์ กล่าวกับสำนักข่าวอิรวดีว่า ยังฮีลีไม่ได้ทำงานอย่างมีอคติและไร้ความยุติธรรม "เธอไม่มีความน่าเชื่อถือ เราจึงได้แจ้งไปทางคณะผู้แทนถาวรในสำนักงานเลขาธิการยูเอ็นประจำกรุงนิวยอร์ก และสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติประจำกรุงเจนีวาแล้ว" จากแถลงการณ์ของสหประชาชาติระบุว่า ที่ผ่านมา ยังฮีลีได้รับการร่วมมือและความเคารพจากรัฐบาลเมียนมาร์และเข้าไปเยือนประเทศได้ แต่รัฐบาลเมียนมาร์ระบุว่า แถลงการณ์หมดวาระของลีเมื่อเดือน ก.ค. มีอคติและไม่ยุติธรรม ผู้รายงานพิเศษประจำสหประชาชาติต้องการเยือนเมียนมาร์ปีละสองครั้งเพื่อรายงานกับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ที่มีการตั้งเกณฑ์การเยือนดังกล่าวขึ้นมาในเดือน มิ.ย. 2557 ยังฮีลี ได้ไปเยือนเมียนมาร์มาแล้วเป็นจำนวนหกครั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาร์ได้ปฏิเสธว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์อยู่ตลอด โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งในเดือน ส.ค. ปีนี้ แปลและเรียบเรียงจาก Myanmar Ends Cooperation with UN Rights Rapporteur, The Irrawady, Dec. 20, 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
เปิดรายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ กรณีกองทัพเมียนมาร์สังหารหมู่โรฮิงญา ชี้วางแผนเป็นระบบ Posted: 22 Dec 2017 03:46 AM PST รายงานสะเทือนขวัญของฮิวแมนไรท์วอทช์ กรณีกองทัพเมียนมาร์กวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาเมื่อเดือน ส.ค. พบนอกจากการฆ่า ข่มขืน เผาเด็กทั้งเป็น ในระดับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว ยังเป็นการกระทำที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ทำให้มีการเรียกร้องให้นานาชาติร่วมกันนำตัวผู้ก่อเหตุเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้ 21 ธ.ค. 2560 ฮิวแมนไรท์วอทช์เปิดเผยรายงาน 30 หน้า เกี่ยวกับกรณีที่กองทัพเมียนมาร์สังหารหมู่และข่มขืนชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากในหมู่บ้านทุลาโทลี รัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหลายเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลสะเทือนทำให้กองทัพเมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาร์รวมถึงอองซานซูจี ถูกวิจารณ์จากทั่วโลก ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการกวาดล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพเมียนมาร์ที่ส่งผลให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 645,000 ราย ต้องลี้ภัยไปที่บังกลาเทศ ในรายงานที่ชื่อ "การสังหารหมู่ริมแม่น้ำ : การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติของกองทัพเมียนมาร์ในทุลาโทลี" มีการระบุถึงรายละเอียดการใช้กำลังเข้าผิดล้อมและโจมตีหมูบ้านริมฝั่งแม่น้ำ กองทัพเมียนมาร์ได้ล่าสังหารและข่มขืนผู้คนทั้งชาย หญิง และเด็ก รวมถึงมีการขุดไฟเผาหมู่บ้าน รายงานฉบับดังกล่าวมาจากปากคำของชาวโรฮิงญาที่รอดชีวิตและกำลังลี้ภัยในบังกลาเทศ รวมถึงการสืบสวนปฏิบัติการทหารเมียนมาร์ในกรณีของโรฮิงญา แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์สาขาเอเชียกล่าวว่า การกระทำที่โหดร้ายป่าเถื่อนของกองทัพเมียนมาร์ในทุลาโทลีนั้นไม่เพียงแต่อำมหิตอย่างเดียวเท่านั้นแต่มีการกระทำอย่างเป็นระบบและมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุถึงรายละเอียดที่กองทัพเมียนมาร์เข้าล้อมชาวบ้านที่กำลังหนีตายไปรวมตัวอยู่ที่ริมแหล่งน้ำ พวกเขาจับผู้หญิงและเด็กแยกออกมาแล้วสังหารผู้ชายด้วยอาวุธปืนหรือมีด จากนั้นจึงพยายามเอาศพที่เผาแล้วมากลบฝังเพื่อพยายามทำลายหลักฐานการสังหารหมู่ นอกจากน้ยังมีบางกรณีที่พวกเขาพรากเด็กจากแม่นำไปสังหารแล้วโยนลงไปเผาหรือโยนลงแม่น้ำ มีรายหนึ่งเป็นเด็ก 1 ขวบถูกจับโยนลงในกองเพลิงทั้งเป็น มีการต้อนเด็กและผู้หญิงที่เหลือรอดไปที่บ้านใกล้ๆ นั้นแล้วลงมือข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงมีการใช้กำลังทำร้าย จากนั้นจึงจุดไฟเผาบ้านที่มีผู้หญิงและเด็กอยู่ในนั้นเพื่อทำลายหลักฐาน ซึ่งหลายคนหมดสติหรือเสียชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้น มีเหยื่อรายหนึ่งที่หนีรอดจากกองเพลิงออกมาได้ห้สัมภาษณ์ต่อฮิวแมนไรท์วอทช์ในเรื่องนี้ ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าการกระทำของกองทัพเมียนมาร์เหล่านี้ทั้งการฆ่า ข่มขืน ปราบปราม และบีบให้ออกจากพื้นที่เทียบได้กับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยรายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ยังได้นำเสนอรายชื่อผู้เสียชีวิตมากกว่า 120 ราย ที่มาจากปากคำการสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิต ทางด้านองค์กรหมอไร้พรมแดนรายงานเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า มีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 6,700 ราย หลังจากที่กองทัพเมียนมาร์มีปฏิบัติการปกวาดล้างเผ่าพันธุ์ช่วงปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา อดัมสเรียกร้องให้สหประชาชาติและรัฐบาลประเทศอื่นๆ นำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อการกระทำที่โหดร้ายนี้มารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้ "การประณามอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะนำความยุติธรรมมาสู่เหยื่อของเหตุการณ์ทุลาโทลี ควรจะมีปฏิบัติการร่วมกันของนานาชาติเดี๋ยวนี้" อดัมสกล่าว
Burma: Methodical Massacre at Rohingya Village, Human Rights Watch, 19-12-2017
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
สธ.แจงสถานการณ์เงินบำรุง รพ. ในสังกัด ภาพรวมในช่วง 3 ปี ไม่ขาดทุน Posted: 22 Dec 2017 03:12 AM PST กองเศรษฐกิจสุขภาพฯ สธ. แจงสถานการณ์เงินบำรุง รพ. ระบุ รพ.ในสังกัด สป.สธ.ภาพรวมไม่ขาดทุน ในช่วง 3 ปี รพ.ที่ขาดทุนมีแนวโน้มลดลง เผย 2 ปัจจัยหลักขาดทุน เหตุงบที่ได้รับไม่พอและประสิทธิภาพการบริหารของ รพ. ชี้ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิ 22 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกั 1.ข้อมูลหน่วยบริการแสดงเงิ ตอบ เงินบำรุงของหน่วยบริการติ 2.หน่วยบริการของสำนักงานปลั ตอบ การดำเนินงานของหน่วยบริ 3.การจัดสรรงบประมาณจาก สปสช.เป็นต้นเหตุให้เกิ ตอบ ยังไม่สามารถสรุปว่า เกิดจากการบริหารของ สปสช. เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
Posted: 22 Dec 2017 02:49 AM PST ในยุคข้อมูลข่าวสาวท่วมท้น บางประเด็นเกิดขึ้นมาแล้วหายไปกับกระแสโซเชียล กองบรรณาธิการประชาไทคัดสรร 20 ประเด็นข่าวที่คิดว่ามีนัยสำคัญของปี 2560 มานำเสนอ เพื่อชวนทบทวนและมองไปข้างหน้ากับปีใหม่ที่จะถึงนี้ หมุดคณะราษฎร-หมุดหน้าใส ความทรงจำที่ถูกลบและความทรงจำที่ถูกสร้างใหม่กรณีการหายไปของ 'หมุดคณะราษฎร' และถูกแทนที่ด้วย 'หมุดหน้าใส' ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา นำมาสู่การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นฝีมือของใครและมีวัตถุประสงค์อย่างไร ซึ่งก็ไม่ยังมีคำตอบ แต่ผู้ที่เรียกร้องและทวงถามกลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม ทั้งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม บางรายครอบครัวถูกกดดัน บางรายถูกเจ้าหน้าที่ไปหาแม่ที่ที่ทำงานเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัว บางวงเสวนาถูกเจ้าหน้าที่สั่งงด ไปจนถึงการควบคุมตัว ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ นักเคลื่อนไหวทางสังคม หลังไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบการเปลี่ยนหมุดฯ การคุมตัวนักกิจกรรมและอดีตนักโทษการเมืองอย่าง เอกชัย หงส์กังวาน เข้าค่ายทหาร หลังประกาศจะนำหมุดคณะราษฎรจำลองกลับไปติดที่เดิม หรือการเอาผิดทางกฎหมาย อย่างที่วัฒนา เมืองสุข นักการเมืองพรรคเพื่อไทย ถูกดำเนินคดี ด้วยข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ว่าหมุดดังกล่าวเป็นโบราณวัตถุ มีการวิเคราะห์ว่า การหายไปของหมุดคณะราษฎร อันเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นประชาธิปไตยไทยและการปรากฏหมุดหน้าใสคือการพยายามลบล้างประวัติศาสตร์การอภิวัฒน์ของคณะราษฎร บ้างก็ว่าหมุดหน้าใสคือสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ เขียนไว้ในบทความ 'หมุดหาย อะไรโผล่' เห็นแย้งแนวคิดดังกล่าวข้างต้นว่า โอกาสที่จะเกิดเช่นนั้น เป็นไปได้ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เอาเลย เหตุผลก็เพราะว่า เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกโค่นล้มไปแล้ว ก็ไม่พบในสังคมใดเลยว่า ระบอบนี้จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ใหม่ แต่ไม่จำเป็นว่าการโค่นล้มของระบอบนี้จะนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตย ในหลายต่อหลายครั้งมักนำมาซึ่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์มากกว่า พร้อมชี้ว่า หมุดคณะราษฎรเป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ไม่ใช่การสิ้นสุดของสถาบันกษัตริย์ เมื่อเอาหมุดนั้นออกไป ก็ไม่ทำให้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ฟื้นคืนชีพขึ้นได้ ตรงกันข้าม เพื่อให้หมุดนั้นสูญหายไปชั่วนิรันดร์อย่างไม่มีวันหวนคืนกลับมาได้อีก กลับทำให้ต้องพึ่งพิงสมบูรณาญาสิทธิ์นายพลมากขึ้น จนทำให้สมบูรณาญาสิทธิ์นายพลเริ่มมีความชอบธรรมในตัวเอง
หมุดคณะราษฎรถูกรื้อถอน พบหมุดใหม่ "ประชาชนสุขสันต์หน้าใส" มาฝังแทนที่
โรดแมปยืดได้หดได้และภาวะรัฐธรรมนูญคู่ 2560+ม.44หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อ 6 เมษายน 2560 (อ่านเพิ่มเติม) นับเป็นเวลา 8 เดือนหลังการลงประชามติ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าประเทศจะกลับสู่ประชาธิปไตยในเร็ววัน ตรงกันข้ามสำหรับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็นการต่ออายุรัฐบาลทหารไปได้อีกหลายอึดใจ โดยเมื่อพิจารณาโรดแมปและเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ 2560 คสช. จะมีเวลาถึง 19 เดือน ในการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ โดยวันเลือกตั้งช้าสุดคือเดือนพฤศจิกายน 2561 สอดคล้องกับข้อเสนอของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. อย่างไรก็ตาม โรดแมปเลือกตั้งอาจขยับได้อีก หากหัวหน้า คสช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำตามข้อเสนอของไพบูลย์ นิติตะวัน คณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนปฏิรูป ที่เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำให้พรรคการเมืองที่เตรียมจัดตั้งใหม่เสียเปรียบพรรคเก่าเพราะต้องหาสมาชิกพรรคและชำระค่าบำรุงพรรค โดยหากมีการแก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมือง ก็ต้องยืดโรดแมปไปอีก 2 เดือน ข้อที่ต้องคำนึงอีกก็คือ แม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปตามโรดแมป แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับที่มีการประกาศใช้ก็มีเนื้อหาต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 อยู่ถึง 8 มาตรา ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญคืนมาแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ โดยเนื้อหาที่มีการแก้ไขคือ บทเฉพาะกาล มาตรา 272 ตามคำถามพ่วงในการลงประชามติ เปิดทางให้วุฒิสภาชุดแรกจากการแต่งตั้งโดย คสช. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้มีการแก้ไขอีก 7 มาตรา ตัดเรื่ององค์กรแก้วิกฤต และเรื่องคุณสมบัติองคมนตรี อำนาจการแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ไม่กำหนดให้ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งและปฏิญาณตนมาแล้ว ไม่ต้องปฏิญาณตนที่รัฐสภาอีก และเรื่องผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้ยังเกิดภาวะที่ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์เคยเสนอว่าเป็น "ภาวะรัฐธรรมนูญคู่" เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 ยังให้หัวหน้า คสช. มีอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ต่อไป รวมถึงคงประกาศและคำสั่ง คสช.ก่อนหน้าไว้ด้วย ภาวะนี้เองอาจทำให้กระบวนการเลือกตั้ง หรือโรดแมปถูกเลื่อนได้เสมอ โดยการใช้มาตรา 44 หรือสิทธิเสรีภาพที่ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญ 2560 อาจถูกละเมิดได้เสมอ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีจริงเพราะมาตรา 44 ใหญ่กว่าตัวรัฐธรรมนูญ 2560 โดยปิยบุตรเคยเสนอว่า 'รัฐธรรมนูญคู่' ในอนาคตจะนำมาสู่ 'รัฐบาลคู่' ถ้ามีการเลือกตั้งตามโรดแมปในปีหน้า ก็จะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง และพร้อมกันนั้นก็จะมีรัฐบาลที่เป็นกลไกที่ คสช. ครอบงำไว้และถูกทำให้กลายเป็นรัฐธรรมนูญ (Constitutionalized) ฝังเอาไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้เกิดภาวะ 2 รัฐบาลคู่ขนานกัน โดยรัฐบาลตัวหลังจะฝังเข้าไปผ่านกระบวนการ เช่น รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 16 เรื่องการปฏิรูปประเทศ ที่บังคับรัฐบาลชุดต่อไปทำตามแผนการปฏิรูปประเทศที่ คสช. และพรรคพวกทิ้งเอาไว้ หากไม่ทำก็จะมีโทษ เพื่อไปจากสถานการณ์เหล่านี้ ปิยบุตรเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ได้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญนี้จะถูกออกแบบให้แก้ได้ยากมากๆ ก็ตาม
รัฐธรรมนูญ 2560 แก้ 8 มาตราจากร่างฯประชามติ-ตัดองค์กรแก้วิกฤต-เพิ่มส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ
'บัตรคนจน' จากสวัสดิการถ้วนหน้าสู่สังคมสงเคราะห์?โครงการประชารัฐสวัสดิการการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกกันว่า 'บัตรคนจน' ของรัฐบาล คสช. มีประชาชนซึ่งลงทะเบียนไว้กว่า 11 ล้านคนที่ได้รับบัตรดังกล่าว พร้อม 2 สิทธิพิเศษคือ มาตรการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งมาตรการหลังเป็นการเปลี่ยนจากการไม่ต่ออายุมาตรการรถเมล์และรถไฟฟรีที่ให้แก่ประชาชนทุกคน มาเป็นการช่วยเหลือเฉพาะผู้มีบัตรดังกล่าว ข้อวิพากษ์วิจารณ์หนึ่งของ 'บัตรคนจน' คือข้อกังวลว่านี่คือการนำร่องเพื่อบ่อนทำลายแนวคิด 'รัฐสวัสดิการ' ที่วางบนฐานความคิดว่าทุกคนในสังคมไม่ว่าจะยากดีมีจนมีความเท่าเทียมกันและต้องสามารถเข้าถึงสิทธิของตนได้ โดยรัฐต้องเป็นผู้จัดสรรให้ ไปสู่ 'รัฐสังคมสงเคราะห์' หรือการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม ข้ออ้างหนึ่งที่รัฐใช้กับนโยบายนี้คือวาทกรรมว่าคนรวยแอบมาใช้สวัสดิการดังกล่าว ซึ่งนอกจากเชิงแนวคิดจะมีปัญหาแล้ว ในเชิงเทคนิคก็ยังมีปัญหาด้วย ดังที่สมชัย จิตสุชน นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ วิจารณ์ช่องโหว่ของนโยบายดังกล่าวในบทความ 'จนไม่จด คนจดกลับไม่จน' พร้อมเสนอว่าการทำให้เป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าเป็นวิธีที่ช่วยเหลือประชาชนได้ผลที่สุดที่จะทำให้ช่วยเหลือคนจนได้โดยไม่ตกหล่น พร้อมโต้วาทกรรมคนรวยแอบมาใช้สวัสดิการด้วยว่า รวยจริงๆ คงไม่มาใช้ ยกเว้นแต่ชนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม หากจะรั่วไหลก็ยังดีกว่าช่วยได้ไม่ทั่วถึง
นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ชี้ช่องโหว่นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 'จนไม่จด คนจดกลับไม่จน'
เมื่อ 'พี่ตูน' ออกวิ่งกับคำถามที่ตามมา'พี่ตูน' กับโปรเจกต์ 'ก้าวคนละก้าว' เป็นปรากฏการณ์การระดมทุนที่ถูกพูดถึง เป็นที่จับตา และก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด เมื่ออาทิตวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้สแลม ออกวิ่งระดมทุนอีกครั้งเพื่อบริจาคให้แก่โรงพยาบาล 11 แห่ง ด้วยระยะทาง 2,191 กิโลเมตรจากเบตงถึงแม่สาย ณ เวลานี้ยอดเงินบริจาคทะลุ 700 ล้านบาทไปแล้ว อีกด้านหนึ่ง การวิ่งเพื่อระดมเงินบริจาคได้จุดประเด็นถกเถียงหลากหลาย อาทิ การลงมือทำเท่าที่ทำได้ของคนคนหนึ่ง การตอบโต้คนที่ออกมาวิจารณ์ตัวอาทิวราห์ การบริจาคซึ่งสะท้อนลักษณะบางประการของสังคมไทยเช่นครั้งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนหรือไม่ เป็นต้น ทว่า จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่ละก้าวที่ตุูน บอดี้สแลม วิ่งออกไปได้ผลักคำถามที่หนักหน่วงที่สุดไปยังรัฐบาลต่อการจัดสรรและจัดลำดับความสำคัญในการใช้งบประมาณ ทำไมการซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมโดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาไปรบกับใครจึงสำคัญกว่าการดูแลสุขภาพของประชาชน ทำไมโรงพยาบาลยังขาดแคลนงบประมาณ แต่กระทรวงกลาโหมกลับได้รับงบประมาณมากกว่ากระทรวงสาธารณสุขเกือบเท่าตัว หรือเพียงเจียดงบประมาณกระทรวงกลาโหมเพียง 1 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท จะได้เงินบริจาคเท่ากับตูน บอดี้สแลมวิ่ง 3 ครั้ง แต่เหตุใดสิ่งนี้จึงไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดูแลคนไทย 40 กว่าล้านคนกลับถูกบ่อนทำลายจากรัฐบาลและกลุ่มคนที่ไม่พึงพอใจระบบหลักประกันฯ อย่างต่อเนื่อง ซ้ำยังห้อยโหนกระแสการวิ่งของตูน บอดี้สแลมว่าเป็นสิ่งที่คนไทยควรเอาเป็นแบบอย่าง และละเลยความกังขาของประชาชนที่ว่า คสช. กำลังเปลี่ยนรัฐสวัสดิการไปสู่การเป็นรัฐสังคมสงเคราะห์หรือไม่
อีกกี่ 'ก้าว' จะถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (1) "เขาไม่เคยเชื่อว่าหลักประกันสุขภาพดีกับประชาชน"
'สิทธิมนุษยชน' วาระแห่งชาติจากปากกระบอกปืน21 พ.ย. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและประกาศให้สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมสันติสุข โดยมีกลยุทธ์ 4 สร้าง 3 ปรับปรุง 2 ขับเคลื่อน และ 1 ลด 4 สร้างคือการสร้างจิตสำนึกในการเคารพสิทธิผู้อื่น สร้างระบบการติดตามการละเมิดสิทธิ สร้างวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชน และสร้างเสริมการพัฒนาเครือข่ายทุกภาคส่วน 3 ปรับปรุงคือการปรับปรุงฐานข้อมูลและสถานการณ์การละเมิดสิทธิ การปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ และการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย 2 ขับเคลื่อนคือการขับเคลื่อนองค์กรหรือจังหวัดต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน การขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสู่การปฏิบัติ และ 1 ลดคือการลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละปีอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม เรียกว่าทำเอาผู้คนงงกันทั้งประเทศ เมื่อรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร จับกุม ดำเนินคดีผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ดำเนินคดีประชาชนในศาลทหาร ออกคำสั่งให้บุคคลไปรายงานตัวและปรับทัศนคติในค่ายทหาร ฯลฯ แต่กลับประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ และหลังประกาศเพียง 7 วัน รัฐก็สลายการชุมนุมของชาวบ้านที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน 15 ราย นี่คงเป็นความย้อนแย้งแบบไทยๆ ที่ไม่มีที่ใดในโลกเสมอเหมือน
ครม.ประกาศ 'สิทธิมนุษยชน' ร่วมเคลื่อน Thailand 4.0 เป็นวาระแห่งชาติ
'แก้กฎหมายสิ่งแวดล้อม' ทางด่วนพิเศษเอื้อรัฐและทุน?สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยเฉพาะหมวดว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ โดยอ้างว่าเพื่อให้ทันตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ภาคประชาชนและเอ็นจีโอที่ติดตามเรื่องนี้คิดว่า เบื้องหลังจริงๆ คือการมุ่งอำนวยความสะดวกแก่โครงการพัฒนาต่างๆ ที่ภาครัฐและเอกชนกำลังเร่งผลักดัน เพราะมีการยัดไส้คำสั่งตามมาตรา 44 ลงไปในกฎหมายที่เปิดช่องให้เริ่มดำเนินโครงการไปก่อนได้โดยที่อีไอเอยังไม่แล้วเสร็จ ประเด็นอีไอเอเป็นปัญหามาตลอด 25 ปี เมื่อมันกลายเป็นตราประทับความชอบธรรมให้กับโครงการต่างๆ มากกว่าการปกป้องสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่ การแก้ไขเนื้อหาในลักษณะนี้กลับจะยิ่งสร้างความขัดแย้งในอนาคตและไม่ได้มุ่งปกป้องสิ่งแวดล้อมตามชื่อกฎหมาย เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประกาศคัดค้านร่างแก้ไขฉบับนี้ ทั้งเห็นว่าหากจะแก้ไขต้องแก้ทั้งฉบับ นำเนื้อหาของภาคประชาชนและภาควิชาการที่เคยทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์ปัญหา และข้อเสนอบรรจุลงในกฎหมายด้วย ซึ่งที่ผ่านมาถูกเมินเฉยมาโดยตลอด กระทั่งนำไปสู่การชุมนุมเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ทำเนียบรัฐบาลบริเวณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ก่อนจะยุติลงในวันที่ 7 พร้อมกับประกาศว่าจะกลับมาในอีก 1 เดือนข้างหน้าพร้อม 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายสิ่งแวดล้อมประกบกับร่างกฎหมายของรัฐบาล คาดว่ากรณีนี้จะเป็นปมใหญ่ที่ต้องติดตามต่อในปีหน้าที่จะถึงนี้
เครือข่ายปชช. จี้หยุดเดินหน้าร่างกม.สิ่งแวดล้อม ชี้ยัดคำสั่ง คสช.ในกม.-อีไอเอมีปัญหา
'ชัยภูมิ ป่าแส' อำนาจรัฐที่ตรวจสอบไม่ได้กับกล้องวงจรปิดที่เปิดไม่ได้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ณ ด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นผู้โดยสารรถคันดังกล่าว โดยนั่งด้านข้างคนขับ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารจาก ร้อย.ม.2.บก.ควบคุมพื้นที่ 1 ฉก.ม.5 ร่วมกับ ชสท.ที่ 5 กกล.ผาเมือง ได้กระทำการวิสามัญ ทางเจ้าหน้าที่อ้างว่า ในวันดังกล่าวได้เรียกตรวจค้นรถฮอนด้าแจ๊ส สีดำ ป้ายทะเบียน ขก 3774 เชียงใหม่ พบยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวนมากซุกซ่อนอยู่ในที่กรองอากาศของรถคันดังกล่าว พร้อมอ้างด้วยว่าผู้ตายขัดขืนการจับกุม โดยหยิบมีดจากหลังรถพยายามต่อสู้กับเจ้าหน้าที่และวิ่งหลบหนีเข้าไปในป่า จากพฤติการณ์การวิสามัญฯ และข้อกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ในด่านที่ตั้งอยู่ใกล้ที่พักอาศัยของคนจำนวนมากนำไปสู่ข้อถกเถียงถึงความชอบธรรม ความสมเหตุสมผลในการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ทหารและความบริสุทธิ์ของนักกิจกรรมหนุ่ม ยิ่งมีวาทะ "ถ้าเป็นผมในเวลานั้นอาจกด (ยิง) ออโต้ไปแล้ว" จาก พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ยังคงปิดตายจากสายตาสาธารณชนจนถึงทุกวันนี้ ยิ่งกระพือกระแสความกังขาในสังคมว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง ปัจจุบันคดีนี้กำลังอยู่ในกระบวนการของศาล ซึ่งทางสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และทนายความของครอบครัวชัยภูมิ กล่าวว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่ตำรวจเคยได้ฮาร์ดดิสก์กล้องวงจรปิดจากทหารแล้วแต่ก็เปิดนำภาพออกมาไม่ได้ และได้พยายามขอให้ทหารส่งมาใหม่ตั้งแต่ก่อนที่เรื่องจะถึงอัยการแล้ว โดยต้นปีหน้า สุมิตรชัยจะขอให้ศาลออกหมายขอภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังหน่วยที่ตั้งอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ และทำสำเนาให้กับพลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาพที่ 3 ที่เคยระบุว่าได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดแล้ว การเสียชีวิตในลักษณะนี้ไม่ใช่รายแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ก็มีเหตุวิสามัญฯ อาเบ แซ่หมู่ ชายชาติพันธุ์ลาหู่ในลักษณะเดียวกันในช่วงที่ พล.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสงครามกับยาเสพติดเมื่อปี 2546 เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนซ้ำซากของอำนาจในการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐต่อประชาชนที่การตรวจสอบเป็นไปอย่างยากลำบากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย สิทธิในชีวิตอันเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของคนไทยจึงตั้งอยู่บนความคลอนแคลนในรัฐที่ระบบนิติรัฐพิกลพิการ
เปิด Timeline จากปากคำชาวกองผักปิ้ง วัน ชัยภูมิ ป่าแส ถูกทหารวิสามัญฯ ฝังศพ"ชัยภูมิ ป่าแส"เยาวชนลาหู่ถูกยิงวิสามัญ-แฮชแท็ก "#RIPชัยภูมิ" กระหึ่มโซเชียล ศาลไต่สวนนัดแรกคดีทหารวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส' ทนายมั่นใจภาพวงจรปิดไขข้อสงสัย
โกตี๋หายตัว การหายไปของการบังคับใช้กฎหมายอาญาและจารีตระหว่างประเทศการหายตัวไปของผู้ลี้ภัยทางการเมืองอย่างไร้เบาะแสเกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ 'โกตี๋' ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีอาญา มาตรา 112 และผู้ต้องสงสัยที่ คสช. คาดว่าเป็นเจ้าของอาวุธที่ค้นพบที่จังหวัดปทุมธานีในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้หายตัวไปขณะลี้ภัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการจับกุม การอุ้มหาย หรือกระทั่งว่าโกตี๋เสียชีวิตแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ออกมาจากภาครัฐทั้งฝั่งไทยและลาว นอกจากการบอกปัดไม่รู้ไม่เห็นจากทาง พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการ คสช. นอกจากข่าวการหายตัวไปของโกตี๋แล้ว ยังมีการหายตัวไปของอิทธิพล สุขแป้น หรือ ดีเจเบียร์ หรือ ดีเจซุนโฮ ที่หายตัวไปตั้งแต่เมื่อปี 2559 ระหว่างลี้ภัยอยู่ใน สปป. ลาวเช่นกัน ซึ่งจนขณะนี้ก็ยังไม่ทราบชะตากรรม ขณะที่ทาง คสช. ทหาร และตำรวจก็ออกมาปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการหายตัวไป ปริศนาการหายตัวของผู้ลี้ภัยทางการเมืองยังคงเป็นคำถามที่ไม่ได้คำตอบจากภาครัฐในประเทศต้นทางที่จากมาและประเทศที่พวกเขาพำนักอยู่ก่อนจะหายตัวไป ทั้งยังสะท้อนถึงความบกพร่องของการบังคับใช้กฎหมายอาญาและจารีตระหว่างประเทศ สุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW) ประจำประเทศไทยให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ผิดหวังกับท่าทีของไทยและลาวที่ขาดความจริงจังในการค้นหาข้อเท็จจริงและการคุ้มครองคนไทยที่ลี้ภัยไปอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยประเทศอื่นอย่างเสมอกันในฐานะพลเมือง ซ้ำยังออกมาปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับการหายตัวไปจนกลายเป็นสภาวะสุญญากาศทางการบังคับใช้กฎหมายอาญาทั้งในลาวและไทย และยังระบุว่าไทยและลาวต่างก็ละเมิดจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่จะไม่ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทางหากพวกเขามีแนวโน้มที่จะเผชิญภัยร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตเรื่อยมา เช่นกรณีที่ไทยส่งคนม้งกลับไปลาวจำนวนนับพันคนในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ถูกนานาชาติและสหประชาชาติประณาม ด้วยท่าทีของรัฐบาลไทยเช่นนี้จึงเป็นที่น่ากังขาว่าสวัสดิภาพของผู้ลี้ภัยทางการเมืองในต่างประเทศอาจไม่ได้รับการดูแลจากประเทศที่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองอาศัยอยู่ในฐานะพลเมืองอย่างเสมอหน้ากัน
ผบ.ทบ.ไม่รู้ เรื่อง 'โกตี๋' โดนอุ้มหาย และไม่ขอวิจารณ์หวั่นกระทบลาว
ทดสอบขีปนาวุธ-นิวเคลียร์ 'โสมแดง' เขย่าโลกความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่ระอุอยู่แล้วกลับทวีอุณหภูมิขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2560 เมื่อเกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนใจบรรดามาตรการหนักเบาจากประชาคมนานาชาติ เกาหลีเหนือใช้การทดสอบขีปนาวุธเป็นเครื่องมือตอบโต้ท่าทีของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมรบร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ รวมถึงแผนการนำโดรนจู่โจม 'เกรย์ อีเกิลส์' และระบบต่อต้านขีปนาวุธในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูง THAAD (Terminal High Altitude Area Defense System) ของสหรัฐฯ มาประจำในเกาหลีใต้ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไปจนถึงการทดสอบขีปนาวุธหลังจากที่ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนใหม่ มุนแจอิน เข้ารับตำแหน่ง รายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ระบุว่า ปัจจุบันมี 9 ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ โดยคาดว่าเกาหลีเหนือครอบครองหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 10-20 หัว วิวาทะเผ็ดร้อนระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับคิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือยังเป็นที่จับตามองของชาวโลก เมื่อทรัมป์ระบุว่ายังคงไม่ทิ้งมาตรการการใช้สงครามกับเกาหลีเหนือ ความตึงเครียดทางการทูตนำไปสู่ข่าวคราวว่าเกาหลีเหนือจะโจมตีเกาะกวม อันเป็นฐานที่มั่นทางทหารของสหรัฐฯ ในเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนสิงหาคม จากนั้นก็มีการทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามประเทศญี่ปุ่นถึง 2 ครั้งในปลายเดือนสิงหาคมและต้นเดือนกันยายน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ระยะทางที่จรวดเดินทางเป็นการบอกใบ้ว่าเกาหลีเหนือสามารถยิงขีปนาวุธโจมตีเกาะกวมได้ ปัจจุบันสหประชาชาติและนานาชาติใช้มาตรการทางเศรษฐกิจคว่ำบาตรสินค้าและแรงงานจากเกาหลีเหนือ รวมไปถึงมาตรการทางการทูต เช่น ส่งผู้แทนทางการทูตของเกาหลีเหนือกลับประเทศ ไม่ต่อวีซาให้ชาวเกาหลีเหนือ เป็นต้น การตอบโต้ของเกาหลีเหนือและท่าทีของประเทศมหาอำนาจระดับโลกและภูมิภาคเช่นสหรัฐฯ จีนและญี่ปุ่น รวมถึงเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้จะยังคงเป็นจุดสนใจ เพราะหากความขัดแย้งทวีความรุนแรงในยุคที่มีอาวุธทำลายล้างสูงขยายตัว ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในคาบสมุทรเกาหลีที่จะขยายวงออกสู่ภูมิภาคใกล้เคียง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ผู้นำโสมขาว สหรัฐฯ คูเวต เดินหน้าคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ ผู้เชี่ยวชาญชี้มาตรการที่มียังไม่พอ
จอดำ - 4.0ปีนี้สถานีโทรทัศน์ถูกใบสั่งให้ปิดสถานีและยกเลิกรายการอยู่เนืองนิจ อาทิ กรณีให้วอยซ์ทีวียุติการออกอากาศทั้งสถานี โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) สั่งพักใบอนุญาตเป็นเวลา 7 วัน ด้วยอ้างว่ามีการกระทำผิดซ้ำเดิม ให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสนยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยก กรณีบอร์ด กสท. มีมติสั่งพักใช้ใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องพีซทีวี (Peace TV) เป็นเวลา 30 วันเนื่องจากรายการ "เข้าใจตรงกันนะ" และ "ห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์" มีเนื้อหาเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง กระทบความมั่นคงและศีลธรรมอันดี ผิดข้อตกลงที่เคยให้ไว้ กรณี กสทช. สั่งระงับออกอากาศรายการ "สนธิญาณฟันธงตรงประเด็น" บนช่องสปริงนิวส์ 1 เดือน โดยอ้างว่ามีเนื้อหาซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยใช้คำพูดในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพและจริยธรรมของสื่อ กรณี กสทช. สั่งให้ช่อง TV24 สถานีประชาชนมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม TV24 สถานีประชาชน ยุติการออกอากาศเป็นเวลา 30 วัน เนื่องจาก "รายการคมข่าว" และ "รายการ ไฟเขียวความคิด" ขัดต่อเงื่อนไขการอนุญาตประกอบกิจการ การเซ็นเซอร์เหล่านี้ประกอบการกับความเคลื่อนไหวในภาพใหญ่ที่ผ่านมาอย่างการใช้คำสั่ง คสช. ห้ามการทำข่าววิจารณ์ การทำงานของ คสช. ที่ตอนหลังแก้ให้วิจารณ์ได้โดยสุจริต การแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.กสทช. ความพยายามในการร่างกฎหมายควบคุมสื่อ (ภายใต้ชื่อว่า คุ้มครอง) และแนวคิดเข้ามากำกับเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต (OTT) สะท้อนความพยายามในการควบคุมสื่อของรัฐไทยอย่างเข้มข้นทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งดูจะสวนทางกับแนวคิดเรื่องการปฏิรูปสื่อเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระทั้งด้านโครงสร้างความเป็นเจ้าของและเนื้อหาที่พยายามจะปักหมุดกันในยุคพฤษภา 2535 เข้าทุกที
ดาบ โซ่ แส้ กุญแจมือ: เปิดเครื่องมือเชือด Voice TV และเนื้อหา 3 รายการที่โดนลงโทษ
'ซื้อทำไม?'คำถามจากผู้เสียภาษีในวันที่กองทัพช้อปอาวุธล็อตใหญ่ตลอด 3 ปีของการบริหารงานในยุค คสช. มีการอนุมัติสั่งซื้ออาวุธกว่า 7 หมื่นล้านบาท เช่น รถถัง (38 คัน 6,985 ล้านบาท) รถเกราะล้อยาง (34 คัน 2,300 ล้านบาท) เฮลิคอปเตอร์ (10 ลำ 8,083 ล้านบาท) เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง-เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (10 ลำ 6,599 ล้านบาท) เรือดำน้ำ (3 ลำ 36,000 ล้านบาท) รวมทั้งเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่เบื้องต้นจากเกาหลีใต้ แบบ T50-TH จำนวน 8 ลำ รวมมูลค่า 8,997 ล้านบาทโดยเป็นงบผูกพัน 3 ปีของกองทัพอากาศ กรณีที่เป็นที่ถูกกล่าวถึงกันมากในปีนี้คงเป็นกรณีการซื้อรถถัง VT-4 ที่เข้าประจำการแล้ว 28 คัน เรือดำน้ำ Yuan Class S26T 2 ลำจากจีน การสั่งซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง วีเอ็น 1 จำนวน 34 คันจากจีน และเครื่องบินแบล็คฮอว์คจากสหรัฐฯ 4 ลำ เป็นที่น่าสังเกตว่าอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากซื้อมาจากประเทศจีน เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดคำถามด้านประสิทธิภาพของเทคโนโลยี การสร้างสภาวะผูกพันทั้งเรื่องอะไหล่และการฝึกฝนการใช้อาวุธ รวมถึงข้อจำกัดในการวางตัวทางการทูตอันเนื่องมาจากการพึ่งพาประเทศจีนอย่างมาก เพราะจีนเองก็มีประเด็นขัดแย้งกับประเทศในอาเซียนในหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ใหญ่กว่านั้นและต้องตั้งคำถามกันอย่างจริงจังคือ 'ทำไมต้องซื้ออาวุธ' 15 ปีที่ผ่านมางบประมาณของกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยที่ยังมองไม่เห็นว่ากองทัพไทยจะนำอาวุธเหล่านี้ไปใช้ทำสงครามกับใคร และเมื่อเกิดปรากฏการณ์ก้าวคนละก้าวของตูน บอดี้สแลม เพื่อระดมเงินบริจาคใหัแก่โรงพยาบาล 11 แห่ง คำถามนี้ก็ยิ่งดังขึ้น เพราะดูเหมือนวิจารณญาณในการจัดลำดับความสำคัญการใช้งบประมาณเพื่อประชาชนของรัฐบาลบกพร่อง นำเงินภาษีไปซื้อปืนแทนที่จะซื้อยา
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์-วรศักดิ์ มหัทธโนบล เปิดนัยสัมพันธ์ไทย-จีนหลังดีลเรือดำน้ำ
ไผ่ ดาวดิน กระชากหน้ากากกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทยจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน อาจเป็นอีกชื่อหนึ่งที่คอข่าวการเมืองรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารของ คสช. อย่างต่อเนื่องและออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจนถูกจับดำเนินคดี แต่แล้วการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมของเขาก็หยุดชะงักลง เมื่อเขาถูกจับกุมดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการแชร์รายงานพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai รายงานซึ่งมีคนแชร์ร่วมกันกับเขากว่า 2,800 คน แต่มีเพียงเขาคนเดียวที่ถูกดำเนินคดี เขากลายเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคนแรกแห่งรัชสมัยใหม่ หลังจากถูกจับกุมตัว เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี ต่อมาราว 2 สัปดาห์พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิการประกันตัว ศาลนัดไผ่มาฟังการพิจารณาคำฟ้อง แม้ยินดีเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สุดท้ายศาลพิจารณาถอนสิทธิประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า หลังจากได้รับการประกันตัวไผ่มีพฤติกรรมที่เป็นการ 'เย้ยหยันอำนาจรัฐ' อันเป็นเหตุผลที่ไม่อาจค้นหาจากประมวลกฎหมายของไทยเล่มใดมาอ้างอิงได้ เขาไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอีกเลยแม้จะมีการยื่นคำร้องของประกันตัวต่อศาลนับสิบครั้ง ซึ่งคำตอบที่ได้รับกลับมาจากศาลคือ "ยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม" ไผ่ ดาวดิน เห็นว่าคดีนี้จะเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นความไม่เป็นธรรมในสังคมจึงเลือกที่จะต่อสู้อย่างเปิดเผยในศาลเพื่อให้สังคมได้รับรู้ แต่เมื่อศาลใช้อำนาจสั่งให้เป็นการพิจารณาคดีลับ จึงชัดเจนว่าความตั้งใจของเขาไม่สามารถบรรลุผล บวกกับแรงกดดันจากการถูกจำคุกเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการประกันตัว 15 สิงหาคม 2560 เขาจึงตัดสินใจรับสารภาพว่าเป็นผู้แชร์รายงานชิ้นดังกล่าวจริง แต่ไม่ยอมรับว่าเนื้อหานั้นผิดหรือไม่ ศาลตัดสินลงโทษจำคุกเขา 5 ปี ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา แม้จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแต่การต่อสู้ของเขายังดำเนินต่อไป นั่นคือการเปิดให้เห็นอีกหน้าหนึ่งของอำนาจตุลาการและกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับไผ่ ดาวดิน | ||||||||
ปล่อยตัว 'อดีตผู้ประสานงาน PerMAS' จากค่ายแล้ว หลังถูกคุมตัวเหตุถ่ายภาพทหารคุมตัวผู้ต้องสงสัย Posted: 22 Dec 2017 01:50 AM PST ทหารคุมตัว 'อดีตผู้ประสานงาน PerMAS' เข้า ฉก.33 อ.บันนังสตา หลังถ่ายภาพขณะ จนท.คุมตัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงกลับมาที่บ้านค้นหาหลักฐาน ล่าสุดปล่อยตัวแล้ว เหตุจนท.เปิดอ่านกลุ่มไลน์พบข้อความที่เพื่อน ๆ ส่งถามสถานการณ์หลังทราบถูกควบคุมตัว
ไฟซอล ดาเล็ง อดีตผู้ประสานงาน PerMAS (คนซ้ายมือ) ภาพจาก เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'The Federation of Patani Students and Youth - PerMAS' 22 ธ.ค.2560 จากกรณีรายงานข่าวว่า เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา ไฟซอล ดาเล็ง อดีตผู้ประสานงานสหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) ถูกเจ้าหน้าที่นำไปควบคุมตัวที่ ฉก.33 อ.บันนังสตา จ.ยะลา นั้น ผู้สื่อข่าวประชาไท สอบถาม ฮาฟิส ยะโกะ ประธาน PerMAS เพิ่มเติม โดย ฮาฟิส กล่าวว่า ไฟซอล คุมตัวเวลาประมาน 9 โมงเช้าของวันนี้ ที่หมู่บ้านบ่อทอง ม.2 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกควบคุมตัวไปเมื่อวานนี้กลับมาที่บ้าน เพื่อค้นหาหลักฐาน ไฟซอลต้องการทำหน้าที่เป็นสื่อพลเมืองที่ต้องการเข้ามาบันทึกการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่พอใจในการกระทำของไฟซอล จึงมีการปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่ ขอให้ลบภาพ แต่ไฟซอลยืนยันว่าตนมีสิทธิ์ร่วมสังเกตการณ์ และปฏิเสธที่จะลบภาพ เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจจับกุม โดยควบคุมตัวไว้ที่ ฉก.33 ซึ่งเป็นค่ายทหารพรานในเขตบันนังสตา จ.ยะลา ไฟซอลได้เปิดเผยว่าระหว่างควบคุมตัว ทหารพรานได้บังคับให้เขา เปิดโทรศัพท์มือถือ เพื่อลบรูปที่ถ่ายไว้ และเช็คประวัติการใช้โทรศัพท์ เฟสบุ๊ก และไลน์ ของเขา ประธาน PerMAS ระบุถึงสาเหตุที่ ไฟซอล สนใจไปสังเกตการณ์กรณีที่เจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงกลับมาที่บ้านนั้น เพราะช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีการควบคุมตัวชาวบ้านในหมู่บ้านบ่อทองหมู่ 1, 2, 3 และ 4 เขาจึงมีความสงสัย และมาร่วมสังเกตุการณ์ ล่าสุดเมื่อ เวลา 14.16 น. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'The Federation of Patani Students and Youth - PerMAS' รายงานความคืบหน้าว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. เจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัว ไฟซอล แล้ว รายงานความคืบหน้าจากเพจของ PerMAS ระบุรายละเอียดเหตุการณ์ที่ ไฟซอล ถูกควบคุมตัวด้วยว่า เวลาประมาณ 09.00 น.) ของวันนี้ (22 ธ.ค.60) ผมได้ตามไปถ่ายรูปการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าทหารพราน (ฉก.33) ที่อ้างว่าจะไปรับซิมโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัวเมื่อเวลา 2.30 น. ของวันเดียวกัน ณ บ้านบ่อทอง ต.บ้านแหร่ อ.ธารโต จ.ยะลา และไฟซอลเกิดการปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่ทหาร "เจ้าหน้าที่ได้สั่งห้ามไม่ให้ผม ถ่ายรูปการปฏิบัติหน้าที่และสั่งให้ลบรูปทันที ไฟซอลเล่าต่อว่านี้เป็นสิทธิผมพึ่งกระทำได้ เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิสั่งห้าม" ไฟซอล กล่าว พร้อมระบุว่า ระหว่างการปะทะคารมอยู่เจ้าหน้าที่ขอให้ตนพร้อมผู้ใหญ่บ้านไปพูดคุยที่ ฉก.33 โดยอ้างว่าเพียงจะขอพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นเท่านั้น แต่ระหว่างการควบคุมตัวเจ้าหน้าได้ขอเปิดอ่านกลุ่มไลน์ของตนอีกด้วย "เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดอ่านในกลุ่มไลน์แล้ว และเห็นข้อความที่เพื่อน ๆ ส่งมาถามสถานการณ์หลังจากที่ทราบว่าผมถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่จึงมีท่าทีที่อ่อนลงและได้ปล่อยตัวในเวลาต่อมา" ไฟซอล เล่าเพิ่มเติม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
ฉันทมติ 'สมัชชาสุขภาพ' ดันประเด็นกิจกรรมทางกาย-พื้นที่เล่น-ยาเสพติด-ขยะ Posted: 22 Dec 2017 12:49 AM PST ปิดม่านสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 ฉันทมติ 4 ประเด็นสำคัญ กิจกรรมทางกาย พื้นที่เล่น ยาเสพติด ขยะ 22 ธ.ค. 2560 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ นพ.กิจจา เรืองไทย ประธานอนุกรรมการดำเนินการประชุ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ รองประธานอนุกรรมการดำเนิ ขณะที่ ปรีดา คงแป้น ประธานอนุกรรมการดำเนินการประชุ ภารนี สวัสดิรักษ์ รองประธานอนุกรรมการดำเนิ อนึ่ง "สมัชชาสุขภาพ" คือ เครื่องมือพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
หวั่นแก้ พ.ร.บ.ยา-สิทธิบัตร เอาใจ แลกปลดไทยจากบัญชีดำทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ Posted: 21 Dec 2017 11:11 PM PST ภาคประชาสังคมยันต้องจับตา-ตรวจสอบการแก้ไข พ.ร.บ.ยา-สิทธิบัตร อย่างใกล้ชิด แย้งหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลให้ข้อมูลต่อสาธารณะไม่ครบรอบด้าน และไม่ได้นำข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติมาใช้ เพื่อขจัดการผูกขาดผ่านระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เป็นธรรมและยาราคาแพง 22 ธ.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โพสต์ข้อความบนเว็บไซด์ของหน่วยงานพร้อมกันเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีที่สหรัฐฯ ถอดประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ (Priority Watch List) เป็นเพราะการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียในการรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับแก้ไข และการแก้ไข พ.ร.บ. สิทธิบัตรเพื่อให้เป็นไปตามวรรคหกของปฏิญญาโดฮาฯ และกำหนดระยะเวลาการประกาศโฆษณาและการยื่นเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการประดิษฐ์ เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ แสดงความคิดเห็นว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้แต่ข้อมูลด้านดีของร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฉบับแก้ไข แต่ไม่ได้พูดถึงเนื้อหาอื่นที่จะก่อความเสียหายต่อการเข้าถึงยา โดยเฉพาะในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐหรือมาตรการซีแอล การแก้ไขเนื้อหาในส่วนนี้ถือว่าถอยหลังเข้าคลอง ในขณะที่รายงานการเข้าถึงยาโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงขององค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ ประเทศต่างๆ นำมาตรการซีแอลมาใช้อย่างกว้างขวางและโดยสะดวกยิ่งขึ้น ถึงขนาดมีข้อแนะนำด้วยว่าให้ประเทศที่ถูกขัดขวางหรือกดดันไม่ให้นำมาตรการซีแอลมาใช้ร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลกได้ เฉลิมศักดิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาแก้ไข พ.ร.บ. สิทธิบัตร โดยทำให้การนำมาตรการซีแอลมาใช้มีอุปสรรคและเป็นไปได้ยากมากขึ้น เช่น การลดหน่วยงานรัฐที่จะประกาศใช้ซีแอลลงเหลือแค่กระทรวง จากเดิมที่มีทบวงและกรม แทนที่จะแก้ไขให้มีหน่วยของรัฐอื่นๆ ประกาศใช้ซีแอลได้มากขึ้น และการที่ยอมให้ผู้ทรงสิทธิบัตรร้องต่อศาลให้ยกเลิกคำสั่งประกาศใช้ซีแอลได้ ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบันไม่ได้กำหนดไว้ และเป็นข้อกฎหมายที่เข้มงวดเกินว่าข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาหรือ "ทริปส์" ขององค์การการค้าโลก และขัดแย้งกับปฏิญญาสากลโดฮาว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญากับการสาธารณสุข "การทำให้นำมาตรการซีแอลมาใช้ได้ยากลำบากเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการมาตลอด สหรัฐฯ ลดสถานะไทยอยู่ในบัญชีดำด้านทรัพย์สินทางปัญญาทันทีและต่อเนื่องมาสิบปี เพราะไทยประกาศใช้ซีแอลในปี 2549 – 2550" เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ กล่าว พร้อมเสนอว่า กรมฯ ควรแก้ไข พ.ร.บ. ให้ขยายระยะเวลาการคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรออกไปตามที่ภาคประชาสังคมเสนอ ไม่ใช่คงเดิมไว้เพียง 90 วันนับจากวันประกาศโฆษณา การกำหนดระยะเวลาการประกาศโฆษณาและการยื่นตรวจสอบขั้นตอนการประดิษฐ์ไม่ได้ช่วยขจัดปัญหาสิทธิบัตรยาด้อยคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลิมศักดิ์ ยังมีความคิดเห็นต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ยา ด้วยว่า ในระหว่างรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอของภาคประชาสังคมที่กำหนดให้ผู้ขึ้นทะเบียนยากับ อย. ต้องแจ้งโครงสร้างราคาถูกตัดทิ้งไป ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีมาตรการใดๆ ตรวจสอบหรือควบคุมราคายาเลย สิ่งนี้จะเป็นปัญหาต่อการเข้าถึงยาอย่างมาก โดยเฉพาะยาราคาแพงและติดสิทธิบัตร ในระบบหลักประกันสุขภาพ ยาที่มีสิทธิบัตรหลายตัวไม่สามารถต่อรองราคาให้ลดลงได้มากพอ หรือไม่ถูกกำหนดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ "อย. ละเลยไม่นำข้อแนะนำในรายงานการเข้าถึงยาของคณะผู้ทรงฯ ขององค์การสหประชาชาติมาปรับใช้ ซึ่งระบุให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนยาต้องแจ้งโครงสร้างราคายาให้กับหน่วยงานที่กำกับดูแล ส่วนกรมการค้าภายใน ก็ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเช่นกัน โดยไม่นำ พรบ. ควบคุมราคาสินค้าและบริการมาใช้อย่างเต็มที่ แม้ว่ายาจะถูกกำหนดเป็นสินค้าที่ต้องควบคุมราคา สิ่งที่กรมฯ ทำคือให้ระบุราคายาไว้ที่บรรจุภัณฑ์เท่านั้น" เฉลิมศักดิ์ กล่าว นอกจากนี้ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงภาคประชาชน (FTA Watch) แสดงความไม่เห็นด้วยต่อข่าวเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 ที่รองนายกฯ วิษณุ เครืองามจะให้ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขปัญหาคำขอรับสิทธิบัตรคั่งค้างจำนวนมาก และการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปยังไม่ควรรื้อฟื้นและดำเนินการในช่วงนี้ "แค่นับตั้งแต่มีคู่มือตรวจสอบคำขอฯ สิทธิบัตรยามา 5 ปี เรายังพบว่ามีคำขอฯ ที่ด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น ถ้าให้มีการเร่งพิจารณาฯ ตาม ม.44 จะเป็นการปล่อยผีสิทธิบัตรยา ทำให้เกิดปัญหาสิทธิบัตรด้อยคุณภาพและการผูกขาดที่ไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้นอีก" กรรณิการ์กล่าว พร้อมเสริมว่า สหภาพยุโรปไม่ควรกระทำตัวแบบปากว่าตาขยิบและกลืนน้ำลายตัวเอง ไม่ควรฉวยโอกาสในช่วงที่ประเทศไทยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เปิดการเจรจาเอฟทีเอกับไทยอีกครั้งในขณะนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
มติสมัชชาใหญ่ยูเอ็นค้านสหรัฐรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงอิสราเอล Posted: 21 Dec 2017 06:03 PM PST ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติ 128 ต่อ 9 เรียกร้องให้ทุกรัฐยึดข้อมติของสหประชาชาติต่อสถานะของเยรูซาเลม พร้อมแสดงความผิดหวังหลังสหรัฐฯ หนุนเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงอิสราเอล อย่างไรก็ตามมติที่ประชุมใหญ่ยูเอ็นไม่มีผลผูกพันชาติสมาชิก โดยที่ชาติยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงมติหนุน ยกเว้นฟิลิปปินส์ที่งดออกเสียง ส่วนพม่าและติมอร์ไม่เข้าประชุม ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐฯ อย่างแคนาดา ออสเตรเลีย เม็กซิโก งดออกเสียง
21 ธ.ค. 2560 ตามเวลาท้องถิ่นที่นิวยอร์ก ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกอบด้วยชาติสมาชิก 193 ประเทศ ออกเสียงเห็นชอบ 128 ไม่เห็นชอบ 9 ลงมติเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเพิกถอนการรับรองสถานะนครเยรูซาเลม เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดยเนื้อหาของมติดังกล่าวระบุว่าการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับสถานะของนครเยรูซาเล็มไม่มีผลบังคับใช้และเป็นโมฆะ ขณะที่มีชาติงดออกเสียง 35 ประเทศ โดยมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติแสดงความผิดหวังอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานะของเยรูซาเลม หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเมื่อ 6 ธันวาคมว่าจะรับรองเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล นอกจากนี้มติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติยังระบุด้วยว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานะของเยรูซาเลมจะต้องกระทำผ่านการเจรจาซึ่งเป็นไปตามข้อมติของสหประชาชาติเท่านั้น การลงมติครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับคำร้องเรียนจากผู้แทนปาเลสไตน์ โดยการลงมติมีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ขู่จะตัดความช่วยเหลือด้านการเงินกับชาติที่ออกเสียงสนับสนุนมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่ให้เพิกถอนการรับรองสถานะนครเยรูซาเลม คลิปช่วงการลงมติในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สำหรับ 9 ประเทศที่ออกเสียงไม่เห็นชอบมติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล กัวเตมาลา ฮอนดูรัส หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย นาอูรู ปาเลา และโตโก ส่วน 35 ชาติที่งดออกเสียงหลายชาติเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ออกเสียงเห็นชอบมี 8 ประเทศประกอบด้วย บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และประเทศไทย ส่วนฟิลิปปินส์ซึ่งประธานาธิบดีดูเตอร์เต เคยแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อสหรัฐอเมริกากลับเป็นชาติเดียวงดออกเสียง ส่วนผู้แทนของพม่า และติมอร์เลสเต ไม่อยู่ในที่ประชุม ส่วนชาติในเอเชียตะวันออกทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือ ออกเสียงเห็นชอบ ส่วนมองโกเลีย ไม่อยู่ในที่ประชุม อย่างไรก็ตามการลงมติในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติไม่มีผลผูกพัน แต่เป็นการส่งสัญญาณความไม่เห็นด้วยหลังประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศให้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และจะย้ายสถานทูตสหรัฐอเมริกาจากเทล อาวีฟ มาที่เยรูซาเลม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. นิกกี เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติใช้สิทธิวีโต้ปัดตกร่างมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ต้องการประณามการตัดสินใจของสหรัฐอเมริกา ในการรับรองสถานะกรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก General Assembly demands all States comply with UN resolutions regarding status of Jerusalem, UN News Center, 21 December 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||
บุญยืน ศิริธรรม: ประวัติศาสตร์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภาคประชาชน Posted: 21 Dec 2017 06:00 PM PST บุคคลแห่งปีของประชาไท ประจำปี 2017 นี้ มาเป็นทีม พวกเขาคือ 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของผู้คนมากหน้าหลายตา ท่ามกลางความพยายามทำลายหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล คสช.และรัฐราชการ 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ออกมาเคลื่อนไหว เฝ้าระวัง ปกป้อง และยันสถานการณ์เอาไว้อย่างสุดกำลัง สำหรับสถานการณ์ในปีหน้าที่พอจะเห็นเค้าลางว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะยิ่งเผชิญการคุกคามที่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' กำลังยืนขวางระหว่างรัฐบาลและกลุ่มคนที่ต้องการทำลายกับผู้คน 48 ล้านคนที่ได้รับการดูแลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และคอยย้ำเตือนว่าการรักษาพยาบาลคือสิทธิของประชาชนที่รัฐไม่อาจพรากมันไปได้ อ่านรายละเอียดที่ บุคคลแห่งปี 2017: 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ภูมิคุ้มกันสวัสดิการสุขภาพเพื่อทุกคน บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค หนึ่งในเครือข่าย 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' เธอเป็นฟันเฟืองหนึ่งจากอีกหลายชีวิตในการก่อร่างสร้างตัวของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่เริ่มเขียนกฎหมาย ล่ารายชื่อ ร่วมผลักดันให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ถูกพัฒนา กระทั่งวันนี้ก็ยังต้องคอยเฝ้าระวังและจับตาการบ่อนทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หากจะนับเวลาก็เกือบ 2 ทศวรรษแล้ว | ||||||||
บุคคลแห่งปี 2017: ‘กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ’ ภูมิคุ้มกันสวัสดิการสุขภาพเพื่อทุกคน Posted: 21 Dec 2017 04:00 PM PST "พวกนี้เป็นพวกทักษิณ เพราะปกป้องสิ่งที่ทักษิณทำ" ฯลฯ เลี่ยงไม่ได้เลย เมื่อความขัดแย้งทางการเมืองตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาจะทำให้ 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ถูกมองจากทุกสีว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับตน ทว่า หากพิจารณาลงไปในเนื้อหาสาระแล้ว 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' กำลังปกป้องแนวคิดพื้นฐานของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ภาคประชาชนเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษก่อนร่วมกันวางรากฐานกับ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ให้ถูกทำลาย แนวคิดรัฐสวัสดิการ แนวคิดที่ว่าคนเท่ากัน ไม่ว่ารวยหรือจนต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเสมอภาค เพราะถ้านับว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 (ที่ถูกฉีกไปแล้ว) คือเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อการเมืองและประชาธิปไตยไทย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่ทำให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ต้องนับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ต่อเนื่องตามมา ทำไม? ไม่ใช่เพราะมันทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงถล่มทลาย ทำให้ทักษิณ ชินวัตรเข้าไปนั่งในหัวใจคนรากหญ้าจำนวนมาก ไม่ใช่เลย แม้ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ แต่ทักษิณไม่ใช่เจ้าของมัน ไม่ใช่เพราะมันทำให้เห็นว่า การปฏิรูประบบบริหารราชการที่เปลี่ยนจากข้าราชการเป็นใหญ่แล้วหันมาใช้วิธีบริหารจัดการใหม่ที่ให้ประชาชนเป็นตัวตั้งนั้น เป็นไปได้ หรือเพราะทำให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพโดยไม่เลือกยากดีมีจน ช่วยผู้คนนับล้านให้รอดตายจากโรคภัยไข้เจ็บ ปกป้องผู้คนอีกนับล้านจากโรคยากจนเฉียบพลันหรือต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล แน่นอนว่าข้อนี้ไม่ผิด แต่หากกล่าวอย่างถึงที่สุด หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือหมุดหมายแรกๆ ที่ทำให้สังคมและประชาชนไทยเริ่มทำความรู้จักกับ 'รัฐสวัสดิการ' และตระหนักชัดเจนขึ้นทุกขณะว่าการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคือ 'สิทธิ' ที่รัฐมี 'หน้าที่' ต้องจัดหาให้แก่ประชาชน ผิดกับภาพในอดีตที่ประชาชนต้องเป็นฝ่ายค้อมตัวต่ำและแบมือขอการสงเคราะห์จากรัฐ แต่การเกิดขึ้นของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสั่นสะเทือนวงการสาธารณสุขไทยทุกองคาพยพ มีหลายกลุ่ม หลายฝ่ายไม่ชื่นชอบมัน มันทำให้ผลประโยชน์ – ในที่นี้หมายถึงทั้งในรูปทรัพย์สิน อุดมการณ์ความเชื่อ หรืออภิสิทธิ์ที่ได้รับจากระบบราชการ - ที่เคยดำรงอยู่ต้องสั่นคลอน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงถูกจ้องโจมตีและบ่อนทำลายเรื่อยมา ในรอบปี 2560 ภายใต้การนำของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการเติบโตของรัฐราชการ เราได้เห็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถูกบ่อนเซาะอย่างหนักหน่วงจากหลายทิศทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ในระดับกฎหมายสูงสุดของประเทศ นโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เช่น บัตรคนจน การลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพ ไปจนถึงการพยายามแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อประมวลเหตุการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน จะเห็นแนวโน้มความพยายามทำลายหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างชัดเจน รัฐสวัสดิการค่อยๆ ถูกแปลงร่างอย่างช้าๆ และเนียนๆ กลับไปเป็น 'รัฐสงเคราะห์' ประชาชนถ้าไม่พึ่งตัวเองก็ต้องแบบมือขอจากรัฐ รัฐจะไม่ดูแลทุกคนอย่างเสมอหน้า จะเลือกดูแลเฉพาะบางกลุ่มที่ถูกตีตราความจนเท่านั้น 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งเด็ก คนหนุ่มสาว คนสูงอายุ คนที่รอดตายและรอดพ้นการล้มละลายเพราะระบบหลักประกันฯ และอีกมากหน้าหลายตา พวกเขารวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหว เฝ้าระวัง ปกป้อง และยันสถานการณ์เอาไว้อย่างสุดกำลัง เจรจาต่อรอง เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้กฎหมาย ชุมนุมประท้วง ยื่นหนังสือ ทวงถามความคืบหน้า จัดเวทีเสวนาให้ความรู้ ล้มเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จัดขึ้นเป็นเพียงพิธีการบังหน้า แม้แต่การนอนขวางให้ข้ามหัวเพื่อยับยั้งการรับฟังความคิดเห็นที่ขาดความชอบธรรม เชื่อได้ว่าสถานการณ์ในปีหน้า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะยิ่งเผชิญการคุกคามที่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' กำลังยืนขวางระหว่างรัฐบาลและกลุ่มคนที่ต้องการทำลายกับผู้คน 48 ล้านคนที่ได้รับการดูแลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และคอยย้ำเตือนว่าการรักษาพยาบาลคือสิทธิของประชาชนที่รัฐไม่อาจพรากมันไปได้ 'ประชาไท' จึงเลือกให้ 'กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ' เป็นบุคคลแห่งปี 2560 ในฐานะ "ภูมิคุ้มกันสวัสดิการสุขภาพเพื่อทุกคน" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น