ประชาไท | Prachatai3.info |
- กวีประชาไท: เจตนารมณ์แห่งแสงอาทิตย์แด่ใครคิดแช่แข็ง
- ซุปเปอร์ กอ.รมน. กับบทบาททหารในอนาคต โดย สุรชาติ บำรุงสุข
- “โพสต์ไม่คิด… ชีวิตอาจพัง” บทพิสูจน์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ บังคับใช้ได้ตรงเจตนารมณ์หรือไม่
- ใบตองแห้ง: น้ำผึ้งขมที่สงขลา
- ปล่อยตัววัฒนาผู้ต้องหาคดีอาวุธสงครามหลังขังครบ 7 วัน ไม่แจ้งข้อหา/เสธ.หยอย เข้ามอบตัว
- นักวิชาการแนะ 3 กองทุนสุขภาพวางแนวทางส่งเสริมสุขภาพป้องกัน ‘ระเบิดเวลา’
- 12 ธ.ค.วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก เน้นย้ำทุกประเทศปกป้องสิทธิสุขภาพประชาชน
- เปิดผลจำลองแยกเงินเดือนจากงบรายหัวบัตรทอง เงินเทไปโรงพยาบาลแบบไหน
- ร้อง ประกันสังคม จ.ปทุมฯ รพ.ในพื้นที่วินิจฉัยโรคผู้ประกันตนผิด
- ภาค ปชช.-วชก. เผย คน 3 จ.ใต้ ยังระแวง แยกศาสนาลงถึง รร. แม้รัฐชี้สภาพดีขึ้น
- นักวิชาการ ร้องประยุทธ์ หนุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ยกต่างประเทศไม่มีปัญหา
- เครือข่าย ปชช. ประกาศล่ารายชื่อเสนอ กม.สิ่งแวดล้อมฉบับประชาชน ก่อนยุติชุมนุม
- 'อังคณา' ถกสิทธิหลากหลายทางเพศระดับภูมิภาค ห่วง ก.ม.ไทยยก 'มั่นคง-ศาสนา' กลบการเลือกปฏิบัติ
- บอร์ด สปสช.รับทราบการโอนเงินงวดแรก 3 พันล้านบาทให้ รพ.ราชวิถีจัดซื้อยาแล้ว
- กรมธนารักษ์จ่อเอาผิดโรงกษาปณ์ฝรั่งเศส เหตุปล่อยคลิปแม่แบบเหรียญกษาปณ์ ร.10
กวีประชาไท: เจตนารมณ์แห่งแสงอาทิตย์แด่ใครคิดแช่แข็ง Posted: 07 Dec 2017 12:20 PM PST
จากก๊าซร้อนมาร่วมรวมผันแปร เย็นตัวแช่แข็งคืนวันสร้างสรรค์มา แต่ละวินาทีที่เดินทาง หมุนอยู่กลางห้วงหาวบนราวฟ้า กว่าจะเย็นตัวเห็นเป็นโลกา คล้ายแขวนบนราวตากผ้าดูน่าคิด
สรรพสัตว์กับทัศนวิสัยในชีวิต ใครลิขิตประสิทธิ์ประศาสน์ไว้ ให้มีวิชาอุตสาหพยายาม ฝ่าข้ามยุคน้ำแข็งมาจนได้ และสาดแสงแห่งอาทิตย์อุทัย จะแช่แข็งไว้อย่างไรก็ไม่ตาย
ก่อให้เกิดกาลเวลานาฬิกาทราย เป็นประกายปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ จะปิดฟ้าด้วยฝ่ามือใช่หรือไม่ ก็คงได้แค่ใบหน้านัยน์ตาซื่อ จะแช่แข็งไม่แบ่งใครใจคนฤา สูญพันธุ์คือระบอบไม่ชอบเอย.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซุปเปอร์ กอ.รมน. กับบทบาททหารในอนาคต โดย สุรชาติ บำรุงสุข Posted: 07 Dec 2017 12:13 PM PST
ในท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่มาพร้อมกับข่าวเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรีนั้น นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งของหัวหน้า คสช.ที่ 51/ 2560 เรื่อง "การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร" สาระของกฎหมายฉบับนี้ดูจะถูกกลบด้วยข่าว "ครม.ประยุทธ์ 5" และข่าวการเสียชีวิตของนักเรียนเตรียมทหาร จนเสมือนว่าคำสั่งนี้อาศัยสถานการณ์การเมืองดังกล่าวเป็นเครื่องอำพรางตัวเอง และออกมาในขณะที่สื่อและสังคมดูจะสนใจประเด็นทางการเมืองเรื่องอื่นมากกว่า ทั้งที่สาระของการแก้ไขครั้งนี้มีนัยสำคัญต่ออนาคตของทหารกับการเมืองและความเป็นไปของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในวันข้างหน้าเป็นอย่างยิ่ง และแทนที่กฎหมายฉบับนี้จะใช้กระบวนการผ่านทาง สนช. เพื่อให้กฎหมายออกมาในรูปแบบของพระราชบัญญัติ แต่กลับใช้คำสั่งของมาตรา 44 เป็นช่องทางแทน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“โพสต์ไม่คิด… ชีวิตอาจพัง” บทพิสูจน์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ บังคับใช้ได้ตรงเจตนารมณ์หรือไม่ Posted: 07 Dec 2017 11:58 AM PST "โพสต์ไม่คิด… ชีวิตอาจพัง" ถ้อยคำที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางทวิตเตอร์ของกองทัพบก @armypr_news เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2560 แม้ปัจจุบันอาจจะถูกลบไปแล้ว แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวต่อการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ของประชาชน ด้วยการสื่อสารผ่านรูปว่าการแสดงความเห็นนั้นอาจนำไปสู่การติดคุกได้ เช่นเดียวกับที่ทวิตเตอร์ของกองทัพบกเคยส่ง 'ความปรารถนาดี' เกี่ยวกับการแชร์เนื้อหาออนไลน์ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคม 2560 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 2 ของ พ.ร.บ. นี้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุเจตนารมณ์ของการแก้ไขส่วนหนึ่งว่า เดิม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยเฉพาะมาตรา 14 (1) มักถูกพ่วงไปฟ้องกับการกระทำผิดใด ๆ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งที่มาตรานี้กำหนดให้ใช้กับการกระทำผิดในเรื่องฉ้อโกง หรือหลอกลวงกันทางออนไลน์ เพราะเดิมกฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้ตั้งข้อหากับคนที่โพสต์ด่าทอกันทางออนไลน์ รวมถึงดำเนินคดีต่อผู้แสดงความเห็นทางการเมือง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ในลักษณะที่เรียกว่า 'ฟ้องปิดปาก' หรือ SLAPPs (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SLAPPs ที่นี่)
กรณีตัวอย่าง เช่น นายอานดี้ ฮอลล์ (Mr.Andy Hall) นักวิจัยด้านสิทธิแรงงาน ถูกบริษัทผลไม้กระป๋องฟ้องด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 จากการเขียนงานวิจัยที่มีเนื้อหาว่าบริษัทดังกล่าวจ้างแรงงานเด็กด้วยค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และกรณีกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดเลย ถูกบริษัท ทุ่งคำฮาร์เบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ประกอบกิจการเหมืองแร่ฟ้องร้องดำเนินคดีความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ ร่วมกับความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 เนื่องจากเทปบันทึกรายการสัมภาษณ์ถูกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น การแก้ไขจึงเพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่า มาตรานี้ใช้กับการฉ้อโกง ปลอมแปลง หรือหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตหรือทางออนไลน์ และเขียนให้ชัดเจนว่า ไม่ให้เอาไปใช้กับเรื่องหมิ่นประมาทที่มีระบุไว้อยู่แล้วในประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ แต่หากกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะยอมความไม่ได้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี
ตามหลักกฎหมาย หากมีการแก้กฎหมายใหม่ และกฎหมายที่แก้นั้นยกเลิกความผิดตามที่มีอยู่ในกฎหมายเดิม หรือมีโทษเบาลง ให้นำกฎหมายที่ออกใหม่มาบังคับใช้ แม้การกระทำจะเกิดขึ้นก่อนมีการประกาศกฎหมายใหม่ก็ตาม หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ได้ราว 6 เดือน คดีความที่ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับเดิมต่างทยอยสิ้นสุดคดีจากการสั่งไม่ฟ้องในชั้นอัยการ ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการบังคับใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ในจำนวนนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 คดี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 07 Dec 2017 11:41 AM PST
ครม.สัญจรภาคใต้ ไม่ยักหวานแหววอย่างภาคเหนือ อีสาน กลาง แค่เริ่มต้นท่านผู้นำก็เจอชาวประมงปัตตานีร้องเรียนเสียงดังลั่น อุ๊ต๊ะ ลุงตู่ไม่ได้หูตึง จะตะเบ็งเสียงแข่งท่านทำไม ไม่รู้หรือ นี่ระบอบอะไร มีแต่ท่านตะเบ็งเสียงใส่คนอื่น หนุ่มประมงเลยโดนตวาดเข้าให้ ใจเย็นๆ อย่ามาเถียง พูดดีๆ ก็ได้ ทำไมต้องให้ลุงยัวะด้วย ใครผิดใครถูกก็ไม่รู้นะ รู้แต่ว่าวันรุ่งขึ้น เพจ Gen.Prayut Chan-o-cha โพสต์ว่านายกฯ เสียใจ ที่ได้ว่ากล่าวชาวประมงไป ขอให้เข้าใจว่ารัฐบาลกำลังแก้ไขปัญหา บลาๆๆ ปัดโธ่ กว่าจะแสดงความเสียใจ ก็โดนโลกโซเชียลถล่มซะน่วม ไม่รวมนักการเมืองรุมกระนั้น โฆษกไก่อูยังไม่วาย โทษชาวประมงใช้ถ้อยคำก้าวร้าวรุนแรง ทั้งที่มาขอให้ช่วย เห็นไหม คนไทยไม่เชื่อฟัง วันก่อน ลุงตู่เพิ่งจะออกทีวี ชวนคนไทยใช้คำพูดดีๆ ต่อกัน "รักนะ" มีอะไรให้ช่วยไหม อย่าใช้อารมณ์ใส่กัน รับฟังซึ่งกันและกัน ถ้าหนุ่มประมงทำตามโอวาท ก็คงไม่เป็นเรื่อง เรื่องชาวประมงไม่ทันหาย เรื่องโรงไฟฟ้าก็บานปลาย Social Movement ของชาวเทพา ที่ต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดินเท้ามาตั้งแต่วันศุกร์ จะยื่นหนังสือนายกฯ แล้วเกิดปะทะกับตำรวจ โดนจับไป 16 คน ข้อหากีดขวางการจราจร และต่อสู้ขัดขวาง ทำร้ายเจ้าพนักงาน ฟังความ 2 ข้างไม่ตรงกัน ม็อบอ้างว่าถูกตำรวจสกัด ไม่ให้ไปกินข้าว หิวมากจึงต้องเดินฝ่า แต่รัฐบาลอ้างว่าม็อบพยายามหาเหตุ เช่นโฆษกไก่อูบอกว่า ม็อบนัดยื่นหนังสือนายกฯ วันอังคาร แต่เปลี่ยนใจมาวันจันทร์ จะให้เลขาฯ นายกฯ ขึ้น ฮ.มาพบก็ไม่ยอม ผู้ว่าฯ จัดพื้นที่ให้รับประทานอาหารก็ไม่ไป ขออยู่ในพื้นที่แดดิ้นตรงนั้น แล้วบอกว่าเจ้าหน้าที่กีดกันไม่ให้ไปกินข้าว มีตัวแทนปลุกเร้า ใช้ด้ามธงทำร้ายเจ้าหน้าที่ นายกฯ ก็ฮึ่มว่า ผู้ชุมนุมละเมิดกฎหมาย รัฐบาลให้โอกาสแล้วยังดึงดัน ให้คนไปพบก็ไม่ยอมพบ จัดสถานที่ให้คุยก็ไม่คุย ถ้าให้มาเจอตนต่อหน้าสื่อก็เกิดปัญหาบานปลายไปเรื่อย รัฐบาลผ่อนผันมาตลอดก็ยังทำร้ายเจ้าหน้าที่ ต้องเอาผิดเป็นเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ใครผิดใครถูกก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่สถานการณ์วันนี้ รัฐบาลเสียเปรียบเต็มประตู ทั้งกรรมการสิทธิฯ องค์กรสิทธิ เครือข่าย NGO และ 102 นักวิชาการภาคใต้ ฮือออกมาเรียกร้องให้ปล่อย 16 คนโดยไม่มีเงื่อนไข เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฟังคุ้นๆ ไหม รัฐบาลทักษิณก็เคยสลายม็อบท่อก๊าซที่หาดใหญ่ ปลายปี 2545 ตอนนั้นก็พูดคล้ายกันว่าม็อบหาเหตุ ไม่ทำตามที่ตกลงไว้ แต่สุดท้ายก็โดนถล่มเละ กลายเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ NGO ภาคประชาสังคม หันมาต่อต้านอย่างแข็งขัน ว่าที่จริง ผมก็ "รู้ทัน NGO" อยู่หรอก รู้ว่าม็อบแบบนี้ต้องมีกลเม็ด แต่ในทางการเมือง ผู้มีอำนาจต้องเปิดใจกว้าง รับฟัง และมีศิลปะในการรับมือ ไม่ใช่เอาแต่ใช้กำลัง หรือใช้กฎหมายกำราบ แถมบังเอิญหรือไรไม่ทราบ ยังเกิดภาพบาดตาบาดใจ ทหารเปิดค่ายต้อนรับฝ่ายหนุนโรงไฟฟ้าเข้ายื่นหนังสือ ขณะที่อีกฝ่ายปะทะเจ้าหน้าที่ สถานการณ์อย่างนี้ รัฐบาลจึงเสียเปรียบเห็นๆ โดยอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนซ้ำรอย อ้าว ก็บอกแล้วไง นี่ภาคใต้ ซึ่งเคยเป่าปี๊ดๆ ไล่ระบอบทักษิณ แต่ตอนนี้กลายเป็นน้ำผึ้งขม ทั้งชาวประมง ชาวสวนยาง ม็อบต้านโรงไฟฟ้า NGO นักวิชาการ ที่เคยคิดว่าพวกเดียวกันทั้งนั้นเลย
ที่มา: https://www.kaohoon.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปล่อยตัววัฒนาผู้ต้องหาคดีอาวุธสงครามหลังขังครบ 7 วัน ไม่แจ้งข้อหา/เสธ.หยอย เข้ามอบตัว Posted: 07 Dec 2017 11:34 AM PST ทหารส่งตัววัฒนา ทรัพย์วิเชียร คืนลูกเมียหลังอุ้มเข้าค่ายสอบ 7 วัน โดยยังไม่ตั้งข้อกล่าวหา เจ้าตัวยืนยันไม่มีส่วนรู้เห็นไม่เกี่ยวข้องโกตี๋ ส่วนภรรยาร้องขอความเห็นใจ เจ้าหน้าที่ให้ข่าวคลาดเคลื่อนสร้างปัญหาให้กับเด็ก ลูกไม่ไปโรงเรียนเพราะถูกเพื่อนด่าเป็นลูกผู้ก่อการร้าย ด้าน เสธ.หยอย พลโทมนัส เปาริก เข้ามอบตัวหลังศาลอนุมัติหมายจับ 7 ธันวาคม 2560 เวลาประมาณ 20.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นางแสงเดือน เจริญพรภรรยาของนายวัฒนา ทรัพย์วิเชียร (ศิวะ) ชายวัย 54 ปี ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับตัวไปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 ที่ สภ.ลาดบัวหลวง ปทุมธานี ว่าได้รับการปล่อยตัวแล้วโดยที่ยังไม่ได้ตั้งข้อหา .หลังจากที่ได้ถูกกักขังและสอบสวนเป็นเวลา 7 วัน ที่ มทบ. 11 จากนั้น วัฒนาได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาได้ถูกทหารเข้าควบคุมตัวในขณะที่เขาและภรรยาได้เข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันว่าไม่ได้หลบหนีหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาวุธสงครามที่มีการค้นพบและได้มีการนำเสนอข่าวว่าตนเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด วัฒนากล่าวว่าการควบคุมตัวในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติต่อเขาด้วยดี ไม่ได้มีการใช้ความรุนแรง ประเด็นที่สอบสวนส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีการค้นพบอาวุธสงครามที่ผ่านมาแต่เป็นการสอบวนเวียนอยู่ที่กรณีอาวุธที่เป็นเหตุให้เขาได้ถูกจับในปี 2557 ซึ่งวัฒนาก็ได้ให้การไปตามจริงว่าไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในขบวนการเคลื่อนไหว แต่เป็นอาวุธที่เพื่อนเอามาฝากไว้ เมื่อเห็นว่าอาจสร้างปัญหาจึงได้ติดต่อเพื่อนำส่งมอบให้กับ คสช.จนเป็นเหตุให้ถูกจับกุมคุมขังเป็นเวลาร่วมสองปีจนคดีได้สิ้นสุดไปแล้ว จากนั้นเวลา 15.30 น.พล.ท.มนัสเดินทางมาที่ บกป. คณะเจ้าพนักงานสอบสวนได้แสดงหมายจับ ซึ่ง พล.ท.มนัสรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับจริง จากนั้นพนักงานสอบสวนจะนำตัวไปสอบปากคำ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักวิชาการแนะ 3 กองทุนสุขภาพวางแนวทางส่งเสริมสุขภาพป้องกัน ‘ระเบิดเวลา’ Posted: 07 Dec 2017 10:30 AM PST นักวิชาการชี้ ระบบประกันสุขภาพไทยครอบคลุม แต่กังวลอนาคต ผู้ประกันตน-ข้าราชการ ไหลมาซบบัตรทอง ระบุ 3 กองทุนต้องวางแนวทางส่งเสริมสุ ผศ.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลั 7 ธ.ค.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ผศ.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลั "โดยหลักการแล้วทุกรัฐบาลต้ ผศ.นพ.ภูดิท กล่าวต่อไปว่า หากพิจารณาจะพบว่าในผู้ที่ใช้บั นอกจากนี้ ทั้ง 3 กองทุนที่ทำงานอยู่ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะกำลั "เมื่ออายุมากขึ้นยังไงก็ต้องป่ ผศ.นพ.ภูดิท กล่าวต่อไปว่า ทุกวันนี้คนพูดกันว่าถ้าเอาเงิ "ผมเห็นด้วยบางส่วนว่าถ้าหากบริ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 ธ.ค.วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก เน้นย้ำทุกประเทศปกป้องสิทธิสุขภาพประชาชน Posted: 07 Dec 2017 10:22 AM PST 'หมอธีระ' ชี้ 'UHC DAY' เน้นย้ำประเทศทั่วโลกให้ ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิ 7 ธ.ค.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิ อาจารย์ประจำภาควิ ผศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ "โมเดลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ ผศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในประเทศที่มี "วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดผลจำลองแยกเงินเดือนจากงบรายหัวบัตรทอง เงินเทไปโรงพยาบาลแบบไหน Posted: 07 Dec 2017 10:07 AM PST กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ รายงานผลการวิเคราะห์จำลองสถานการณ์ หากแยกเงินเดือนจากงบรายหัวบัตรทอง พบเงินเทไป ที่ รพ.ศูนย์ และ รพ.ทั่วไป ขณะที่ รพ.ชุมชน กว่าครึ่งได้น้อยลง หนึ่งในประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 คือการยกเลิกมาตรา 46 (2) เพื่อแยกเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตามแต่บทบาทหน้าที่ สถานะและมุมมองของแต่ละคน แต่ถ้าจะให้ดีควรมีผลการศึกษาหรือข้อมูลวิชาการมาสนับสนุนเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกันให้เห็นชัดๆ ไปเลย ซึ่งไม่นานมานี้ก็มีผลการศึกษาออกมาชิ้นหนึ่งโดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ได้ทำการจำลองสถานการณ์การแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวเพื่อศึกษาผลกระทบว่ามีกลุ่มใดได้เงินเพิ่มขึ้น กลุ่มใดได้เงินลดลง ตลอดจนหา impact number ของประชากรในแต่ละกลุ่มและนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณา อนึ่ง การจำลองสถานการณ์ฯ ครั้งนี้ ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า 1.ข้อเสนอการแยกเงินเดือน ยังคงได้รับงบประมาณค่าบริการเท่าเดิม เนื่องจากการจัดทำงบประมาณเดิมมีการคำนวณต้นทุนที่รวมเงินเดือนไว้ด้วยแล้ว แต่เมื่อสำนักงบประมาณจะจ่ายมาให้กองทุน จะตัดส่วนที่เป็นเงินเดือนเพื่อจ่ายตรงให้บุคลากร 2.การจำลองสถานการณ์นี้ใช้ข้อมูลหน่วยบริการภาครัฐทุกสังกัดปี 2549 จำนวน 1,130 แห่ง (ประชากร 45 ล้านคน) ส่วนจำนวนเงินเดือนที่หัก ใช้ตามผลรวมเงินเดือนที่สำนักงบประมาณหักไว้ในปี 2559 เช่นกัน และ 3.จำลองสถานการณ์ตามการจัดสรรตามแนวทางบริหารที่ยังไม่มีกระบวนการปรับเกลี่ย แต่ปรับปรุงเฉพาะการจัดสรรแบบรวมเงินเดือนกับแยกเงินเดือน ทั้งนี้ ผลสรุปการจำลองสถานการณ์แยกเงินเดือนจากงบเหมาจ่ายรายหัว พบว่า ในภาพรวมแล้วหน่วยบริการของรัฐในสังกัด สป.สธ. จำนวนประชากร 42.58 ล้านคน ได้เงินเพิ่มขึ้น 1,482.79 ล้านบาท ส่วนหน่วยบริการของรัฐนอกสังกัด สป.สธ. จำนวนประชากร 2.47 ล้านคน ได้เงินลดลง -1,482.79 ล้านบาท รวมจำนวนหน่วยบริการทุกสังกัดที่ได้รับเงินเพิ่มขึ้นมีจำนวน 454 แห่ง ประชากร 18.63 ล้านคน ได้เงินเพิ่มขึ้น 5,552.76 ล้านบาท และหน่วยบริการที่ได้รับเงินน้อยลงมีทั้งสิ้น 676 แห่ง ประชากร 26.37 ล้านคน ได้เงินลดลง -5,552.76 ล้านบาท หากแยกพิจารณาในส่วนของหน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. 888 แห่ง พบว่ามีหน่วยบริการ 451 แห่ง จำนวนประชากร 18.63 ล้านคน ได้เงินเพิ่มขึ้น 5,552.76 ล้านบาท ส่วนหน่วยบริการที่ได้เงินน้อยลงมี 437 แห่ง จำนวนประชากร 23.90 ล้านคน ได้เงินน้อยลง -4,069.97 ล้านบาท ขณะที่หน่วยบริการนอกสังกัด สป.สธ. จำนวน 242 แห่ง มีเพียง 3 แห่งที่ได้เงินเพิ่มขึ้นรวม 6.04 ล้านบาท ส่วนอีก 239 แห่ง ประชากร 2.47 ล้านคน ได้เงินน้อยลง -1,488 ล้านบาท นอกจากนี้ หากแยกการจำลองออกมาเป็นรายเขต (ให้หน่วยบริการในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ/กรมแพทย์ทหารอากาศเป็นเขต 14) ได้ผลออกมาดังนี้
ทั้งนี้ ในกลุ่มของหน่วยบริการที่ได้เงินลดลงนั้น หากแบ่งตามช่วงผลกระทบพบว่า กลุ่มที่ได้เงินน้อยลง 10-15% มีจำนวนมากที่สุดคือ 151 แห่ง ได้เงินลดลง -1,015,065,304 บาท รองลงมาตามลำดับคือ กลุ่มที่ได้เงินลดลง 20-25% มีจำนวน 93 แห่ง ได้เงินลดลง -1,206,117,721 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 5-10% มีจำนวน 93 แห่ง ได้เงินลดลง -627,502,311 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 0-5% มีจำนวน 90 แห่ง ได้เงินลดลง -181,991,048 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 15-20% มีจำนวน 87 แห่ง ได้เงินลดลง -869,578,100 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 25-30% มีจำนวน 59 แห่ง ได้เงินลดลง -586,439,846 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 35-40% มีจำนวน 44 แห่ง ได้เงินน้อยลง -227,676,743 บาท กลุ่มที่ได้เงินลดลง 30-35% มีจำนวน 32 แห่ง ได้เงินลดลง -375,927,996 บาท และสุดท้าย กลุ่มที่ได้เงินลดลงมากกว่า 40% มีจำนวน 27 แห่ง ได้เงินลดลง -468,501,118 บาท ทั้งนี้ หากพิจารณาตัวเลขสำคัญของการศึกษาดังกล่าวจะพบว่าเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะไปเพิ่มที่ของหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากดูในรายละเอียดพบว่าไปเพิ่มที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ขณะที่ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนในภาพรวมแล้วได้รับเงินน้อยลง -625.97 ล้านบาท และในส่วนของโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้เงินน้อยลง ‐1,482.79 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้เงินน้อยลง -685.92 ล้านบาท และหน่วยบริการสังกัดกทม. -308.50 ล้านบาท และหากพิจารณาจากจำนวนหน่วยบริการและประชากรในความรับผิดชอบแล้ว จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลที่ได้เงินลดลง มีจำนวนมากกว่าโรงพยาบาลที่ได้เงินเพิ่มขึ้น คือได้น้อยลง 676 แห่ง แต่ได้เพิ่มขึ้น 454 แห่ง เช่นเดียวกับจำนวนประชากรในพื้นที่หน่วยบริการที่ได้รับเงินน้อยลง มีถึง 26.37 ล้านคน มากกว่าโรงพยาบาลที่ได้เงินเพิ่มขึ้น ซึ่งรับผิดชอบประชากร 18.63 ล้านคน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่แปลกที่กลุ่มโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจะแสดงปฏิกิริยาออกมา โดยเฉพาะโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับสูง ปกติต้องรับส่งต่อผู้ป่วยในเคสยากๆและมีต้นทุนสูงอยู่แล้ว แถมยังเรียกเก็บค่าชดเชยการให้บริการได้เพียง 40-60% เมื่อตัวเลขออกมาพบว่าแยกเงินเดือนบุคลากรออกไปแล้วได้เงินน้อยลงไปอีก จึงจำเป็นต้องแสดงท่าทีออกมา โดยในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการ สธ. โดยให้ความเห็นว่าการแยกเงินเดือนไม่ได้แก้ปัญหาการเงินของโรงพยาบาล การแก้ปัญหาที่แท้จริงควรเพิ่มงบประมาณแก่โรงพยาบาลโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หากไม่สามารถหาเงินมาเพิ่มในระบบได้ ทาง UHOSNET เสนอว่าควรมีงบประมาณเพื่อลดผลกระทบให้แก่โรงพยาบาล 676 แห่งซึ่งรับผิดชอบผู้ป่วยรวมกว่า 26ล้านคน ให้สามารถดำเนินการให้บริการผู้ป่วยได้ และควรมีการกำหนดอัตราฐานในการชดเชยค่าบริการผู้ป่วยใน (Base Rate) กรณีการรักษาผู้ป่วยที่รับส่งต่อจากสถานพยาบาลอื่น ให้ชดเชยแบบรวมเงินเดือนของสถานพยาบาลต้นสังกัดมาด้วย นอกจากนี้ UHOSNET ยังเสนอให้มีบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้การแยกเงินเดือนออกจากเงินเหมาจ่ายรายหัวต่อมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีมาตรการป้องกันความเสียหายแก่หน่วยบริการแล้วเสร็จ และหากมีการเพิ่มภาระงานในอนาคต เช่น การให้บริการตาม พ.ร.บ.การแพทย์ปฐมภูมิและบริการสาธารณสุข หรือการดูแลโรคเรื้อรัง ขอให้พิจารณาชดเชยงบประมาณแก่หน่วยบริการ เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ...แม้ขั้นตอนของร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับแก้ไข พ.ศ. ... ยังอยู่ระหว่างรอการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในขณะนี้ แต่น่าสนใจว่าเมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลกระทบจากการแยกเงินเดือนออกจากเงินเหมาจ่ายรายหัวออกมาเช่นนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะมีการถกแถลงเพื่อปรับแก้ร่างกฎหมายหรือหามาตรการทางออกรองรับผลกระทบที่จะตามมาหรือไม่อย่างไร... ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ร้อง ประกันสังคม จ.ปทุมฯ รพ.ในพื้นที่วินิจฉัยโรคผู้ประกันตนผิด Posted: 07 Dec 2017 09:46 AM PST เจริญ อินทร ผู้ประกันตนตาม ม.39 ร้อง ประกันสังคม จ.ปทุมฯ เหตุ รพ.ปทุมเวช วินิจฉัยโรคผิด ทำเสียสุขภาพ จิตใจ รักษายืดเยื้อ ขาดรายได้ ล่าสุด ผู้ประสานงานเผย จนท.ประกันสังคม ระบุ รพ.ยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นส่วนหนึ่งแล้ว
7 ธ.ค.2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ สํานักงานประกันสังคม จ.ปทุมธานี สุธิลา ลืนคำ เจ้าหน้าที่มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ในฐานตัวแทนของ เจริญ อินทร ผู้ป่วยและผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เข้ายื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อ หัวหน้า สนง.ประกันสังคม ปทุมธานี ด้วยเหตุที่ โรงพยาบาลปทุมเวช ตามสิทธิรักษาประกันสังคม วินิจฉัยโรคผิด หนังสือขอความเป็นธรรม ของ เจริญ หนังสือร้องขอความเป็นธรรมระบุว่า ประมาณกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เจริญ มีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาและมีกาการปวดเสียดไปถึงด้านหลัง และได้ไปพบหมอที่โรงพยาบาลปทุมเวชติดต่อกันถึง 2 ครั้ง หมอวินิจฉัยตามอาการว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบและหมอได้จ่ายยาแก้ปวด พร้อมกับยาเคาเตอร์เพนมาทาแก้ปวดกล้ามเนื่อหลัง แต่อาการไม่ดีขึ้น จากนั้น วันที่ 18 ก.ย.60 เจริญ ได้ไปตรวจอาการปวดท้องที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยจ่ายเงินเอง ผลปรากฎว่าเป็นนิ้วในถึงน้ำดี จากนั้นหมอที่ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ได้เขียนบันทึกและผลการตรวจให้เพื่อกลับไปพบหมอที่ รพ.ปทุมเวช เพื่อรักษาตามสิทธิประกันสังคม ซึ่งต่อมาหมอที่ รพ.ปทุมเวช ออกใบนัดเพื่อผ่าตัดในวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา หนังสือร้องขอความเป็นธรรมระบุอีกว่า เจริญ ได้ตัดสินใจผ่าตัดแบบส่องกล้อง พร้อมกับจ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าส่วนต่างให้กับ รพ. แต่สรุปผลผ่าตัดไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ต้องผ่าตัดแบบเปิดอีกครั้ง ส่งผลให้มีแผลผ่าตัดถึง 2 แผล และต้องนอนพักฟื้นที่ รพ.ปทุมเวช 8 วัน จ่ายค่าส่วนต่าง 12,780 บาท จึงกลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่หลัจากนั้นกลับมีอาการตาเหลือง แน่นท้อง ปวดท้องมาก ในที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงได้ไปพบหมอที่ รพ.ปทุมเวช ตามนัด และได้ปฏิบัติตัวตามหมอสั่งทุกอย่าง แต่อาการยังไม่ดีขึ้น วันที่ 30 พ.ย.และวันที่ 3 ธ.ค. ไปพบหมอ ซึ่งอาการก็ยังเหมือนเดิมทุกประการ จนกระทั่งวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่นมา ได้ตัดสินใจไปตรวจที่ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ หมอได้ตรวจอย่างละเอียด พร้อมให้นำบันทึกการวินิจฉัยไปให้ รพ.ปทุมเวช เพื่อใช้สิทธิรักษาตามประกันสังคม แต่ เจริญ กังวลใจเป็นอย่างมาก จึงขอรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตรร์ฯ ต่อไป เจริญ จึงของความเป็นธรรมจากหัวหน้า สนง.ประกันสังคม และตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี 1. หมอที่ รพ.ปทุมเวช วินิจฉัยโรคไม่ตรงกับที่เป็น ทำให้ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ เกิดความกลัว กังวลใจ ไม่มั่นใจในการรักษาที่นี่อีกต่อไป 2. การดำเนินการยืดเยื้อยานาน ทำให้ได้รับผลกระทบด้านร่างกายละจิตใจเกินกว่าเยี่ยวยา และหมอไม่เอาใจใส่ในการรักษาผู้ป่วยจริงๆ จังๆ 3. ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเพิ่มกับการรักษาที่ยืดเยื้อ สิ่งผลกระทบต่อคณะภาพชีวิตและครอบครัวที่ต้องแบกรับภาระที่เกิดจากการรักษา และ 4. ต้องการของย้ายสิทธิประกันสังคมไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ทันที ผู้สื่อข่าวสอบถาม สุธิลา เพิ่มเติม สุธิลา เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ประกันสังคมที่รับเรื่องได้โทรแจ้งตน ว่า รพ.ปทุมเวชจะจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายที่กับ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค.เป็นต้นมาแล้ว เนื่องจาก เจริญ ไม่มีสิทธิตามระบบประกันสังคมกับ รพ.นี้แต่ต้น สุธิลา กล่าวต่อว่า ขณะที่เรื่องวินิจฉัยโรคผิด ส่งผลต่อค่ารักษาพยาบาลและการต้องหยุดทำงานขายของกระทบกระเทือนเหล่านั้นจะเป็นการพูดคุยกันในภายหลัง สุธิลา ซึ่งเป็นนักปกป้องสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะพื้นที่ รังสิต จ.ปทุมธานี กล่าวด้วยว่า ในพื้นที่มีปัญหาลักษณะการวินิจฉัยโรคผิดจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาคนงานหรือผู้ประกันตนไม่ได้ลุกขึ้นมาร้องเรียน เมื่อรักษาหายแล้วก็จะจบเรื่องไป หรือไปรักษาที่อื่นยอมจ่ายเงินเองแทน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาค ปชช.-วชก. เผย คน 3 จ.ใต้ ยังระแวง แยกศาสนาลงถึง รร. แม้รัฐชี้สภาพดีขึ้น Posted: 07 Dec 2017 05:04 AM PST ประชาสังคมระบุ ประชาชนยังระแวง ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยทั้งอาวุธและการแสดงความเห็น เข้าถึงผู้ต้องขังได้น้อยลง วาทกรรมแยกพุทธ มุสลิมลงถึงระดับเยาวชน การศึกษาแล้ว เลขาฯ คณะพูดคุยฯ ระบุ สถานการณ์ใต้ดีขึ้น วอนช่วยกันลดความชอบธรรมการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ กองทัพต้องจำกัดบทบาทการใช้อาวุธและเคร่งครัดระเบียบควบคุมตัว 7 ธ.ค. 2560 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia (SHAPE-SEA) จัดเวทีประชุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นเวทีต่อเนื่องจากเวทีเสวนา "บทบาทของสังคมไทยกับการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้" ที่มีขึ้นเมื่อวานนี้ (6 ธ.ค. 60) จัดที่สถานที่เดิมคือคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ในงานมีผู้เข้าร่วมจากทางฝ่ายวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ตัวแทนจากฝ่ายรัฐและคณะพูดคุยสันติภาพเข้าร่วมจนเกือบเต็มห้องประชุม ประชาสังคมระบุ ประชาชนยังระแวง ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยทั้งอาวุธและการแสดงความเห็น เข้าถึงผู้ต้องขังได้น้อยลง วาทกรรมแยกพุทธ มุสลิมลงถึงระดับเยาวชน การศึกษาแล้วชลิดา ทาเจริญศักดิ์ จากมูลนิธิส่งเสริมศักยภาพชุมชนกล่าวว่า แม้ทุกคนพยายามหาทางออก สร้างสันติภาพ แต่ก็เป็นข้อท้าทายว่า คนที่ไปถามคำถามเป็นใคร คนในพื้นที่ยังมีความหวาดกลัวอยู่ คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ลงไปถามก็ได้คำตอบคนละอย่าง พื้นที่ปลอดภัยไม่เพียงแต่ปลอดภัยจากอาวุธ แต่ต้องปลอดภัยที่จะแสดงความเห็น การเจรจาตอนนี้ยังมีความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยๆ บริบทเพิ่มมากขึ้น มีเรื่องสิ่งแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ ปากท้องผู้คนก็เป็นเรื่องสำคัญ โครงการใหญ่ที่ลงไปก็จะมีผลกระทบกับประชาชน แต่รัฐไม่ฟัง ถ้าคุยกันแบบนี้อย่างไรก็ไม่จบ แล้วจะหาความร่วมมืออย่างไร ก็ต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนในพื้นที่ปลอดภัยจริงก่อน ทุกครั้งที่เราจัดเวทีคนก็ระแวงหน้าระแวงหลังว่าพูดหรือไม่พูดดี ตราบใดที่ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยขึ้นจริงๆ เราก็ยังไม่ได้ความจริงว่าจริงๆ แล้วประชาชนต้องการอะไร ส่วนความสำเร็จในการสร้างสันติภาพในประเทศในภูมิภาคทั้งในมินดาเนา อาเจะห์ ติมอร์เลสเต คือบทเรียนที่ต้องมาถอดร่วมกันกับประชาชนตามบริบทของไทย หลายคนก็ทำหลายเรื่องแล้วแต่ทำอย่างไรให้มีการแลกเปลี่ยนความคืบหน้า ตรวจสอบสิ่งที่แต่ละฝ่ายขาดและเกิน พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จากที่ตนได้ใช้เวลาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ พบว่าวาทกรรมแบ่งแยกพุทธ-มุสลิมกระจายลงไปในระดับเด็กและสถานศึกษา หลายกิจกรรมปัจจุบันต้องทำแยกกันระหว่างเด็กพุทธกับมุสลิม เด็กไทยพุทธบ่นเรื่องการไม่มีครัวพุทธ รำคาญเสียงอาซาน (การประกาศเชิญชวนให้ปฏิบัติละหมาด) รู้สึกว่ารัฐลำเอียงในการให้ทุนการศึกษากับเด็กมุสลิม ตนเคยอ่านเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา และพบว่าตอนนี้ภาคใต้ก็มีเงื่อนไขที่สอดคล้องกันหลายประการ ความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิมรุนแรงขึ้น ความหวาดกลัวว่าศาสนาพุทธจะหมดไปถ้าไม่ช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นวาทกรรมที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งฝ่ายมุสลิมเองก็มีปฏิบัติการในการต่อสู้กับชาวพุทธเช่นกัน พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าวว่า ในช่วง 2-4 เดือนที่ผ่านมามีการติดป้ายหมายจับบุคคลตามสถานที่ต่างๆ ไม่ใช่ป้ายเล็กตามด่านแต่เป็นป้ายขนาดใหญ่เท่าที่เทคโนโลยีในสามจังหวัดชายแดนใต้จะทำได้ ติดตามด่าน ถนน หนทางที่เห็นได้ชัด ตำรวจออกหมายจับตาม ป.วิ.อาญา การติดหมายจับในที่สาธารณะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการนักสิทธิมนุษยชนว่าสามารถทำได้หรือเปล่า ส่วนประเด็นการนิรโทษกรรมก็ต้องยอมรับว่าสิทธิ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมหยุดลง กสม. และพวกเรา (ภาคประชาสังคม) เข้าไปตรวจพื้นที่คุมขังไม่ได้ คุยกับญาติผู้เสียหายร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้น้อยมาก ราชทันฑ์มีเงื่อนไขเยอะ แต่ก่อนประชาสังคมเคยไปได้พอสมควรแต่ตอนนี้แทบจะไม่ได้ ข้อเสนอของบีอาร์เอ็นที่เรียกร้องให้รัฐปล่อยตัวนักโทษคดีความมั่นคงนั้นพรเพ็ญระบุว่า ไม่รู้ว่าตอนนี้รัฐจับใครอยู่ มีหมายจับแค่ไหน ลักษณะการดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยเป็นไปในลักษณะใด ต้องยืนยันว่าอยากได้คนผิดมาลงโทษทุกคน การฆ่า การวางระเบิดการดำเนินการดังกล่าวที่ผิดกฎหมายและหลักมนุษยธรรมก็ต้องได้รับการลงโทษ แต่อยากให้เกิดการดำเนินการที่เป็นธรรม กรณีพระมหาอภิชาติ ดีใจที่รัฐให้ความสนใจ แต่วิธีจับสึกกลับสร้างให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น และอาจทำให้ไทยพุทธที่หวังใช้อภิชาติเป็นการสื่อสารต่อต้านรัฐในแนวทางอื่นๆ หรืออาจจะรู้สึกว่ารัฐไม่ให้ความเป็นธรรมกับเขา เลขาฯ คณะพูดคุยฯ ระบุ สถานการณ์ใต้ดีขึ้น วอนช่วยกันลดความชอบธรรมการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ กองทัพต้องจำกัดบทบาทการใช้อาวุธและเคร่งครัดระเบียบควบคุมตัวพลตรีสิทธิ ตระกูลวงศ์ เลขานุการคณะพูดคุยสันติสุขชุดปัจจุบันกล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์ว่า ปัจจุบันค่อนข้างดีขึ้น ความเสียหายของกลุ่มเป้าหมายทั้งครู พระ วัด โรงเรียน ตกเป็นเป้าหมายน้อยลง เหตุระเบิดที่บิ๊กซีถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องการรับรู้การปฏิเสธความรุนแรงเพราะมีภาคประชาชน องค์การระหว่างประเทศประณาม ครั้งแรกที่คนกล้าออกมาประณามคนก่อเหตุ ความรู้สึกเกลียดกลัวมุสลิมในคนไทยพุทธส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลเรื่องความมั่นคง ทั้งเรื่องที่แผนของขบวนการบีอาร์เอ็นคือการขับไล่ชาวพุทธ ให้พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นของมุสลิม และการมองว่าไทยพุทธคือสิ่งแปลกปลอม ฆ่าไทยพุทธได้ถือว่าได้บุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ซักถามคนที่ถูกจับกุมและได้รับการเผยแพร่ออกไป แม้ว่าต่อมาจะพยายามชี้แจงให้ถูกต้องแต่ก็ไม่ฟังกันแล้ว มีการขยายความเข้าใจผิดจากวงหนึ่งไปอีกวงหนึ่ง เอาข้อมูลไปต่อยอดและสร้างความเข้าใจผิด เช่น ความเข้าใจผิดที่ว่าจะมีการใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการในพื้นที่ชายแดนใต้ พื้นที่เริ่มมีความเสรีมากขึ้น คนเริ่มฟังกันและกัน ในเรื่องการพูดคุย กลุ่มบีอาร์เอ็นในความหมายตนคือคนที่ก่อเหตุในปัจจุบัน แต่ในมุมมองนักวิชาการและเอ็นจีโอเป็นอย่างไรก็ต้องมีความชัดเจน ส่วนข้อคำถามที่ว่าทำไมชุดพูดคุยชุดนี้ไม่คุยกับกลุ่มเดียวแต่ไปคุยกับหกกลุ่มที่เหลือ ตอนแรกที่ทำคือคุยปูโลเพราะตอนนั้นมีกำลังมากที่สุด ต่อมาปูโลแตกก็เป็นกลุ่มบีอาร์เอ็นมาแทนที่ นายกรัฐมนตรีท่านบอกว่ากลุ่มไหนที่มีอิทธิพลก็เรียกมาคุยให้หมด กรณีป้ายประกาศจับได้มีการสะท้อนให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบว่ามันกระทบกับครอบครัว เด็กในพื้นทีี่เอามาใช้ล้อเลียนกัน ควรอยู่กับเจ้าหน้าที่ ดูกันเฉพาะเจ้าหน้าที่ก็พอ ส่วนเรื่องการควบคุมตัว ขั้นต้นด้วยเนื้อหาของพระราชกำหนด (การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน) เป็นการให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องสงสัยมากเพราะเราขังเขาในเรือนจำไม่ได้ ตอนนี้ก็ต้องกลับมาคุยเรื่องสิทธิผู้ต้องสงสัย ต้องดูอีกครั้งว่าจะขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างไร ตอนลงพื้นที่เองก็แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำว่าถ้าจับใครก็ต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบ พล.ต. สิทธิระบุว่า ตอนนี้มีตั้งคำสั่ง 230/2557 มีตั้งคณะกรรมการอำนวยการพูดคุยสันติสุข จัดตั้งคณะพูดคุย นำโดยพลเอกอักษรา เกิดผล มีแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนเพื่อกระบวนการสันติสุขชายแดนใต้ ตอนนี้อยู่ในระยะการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ มีการคัดเลือกพื้นที่ปลอดภัยกันอยู่ จากนั้นจะมีคนในพื้นที่รวมถึงฝ่ายที่เห็นต่างเป็นคณะกรรมการจัดการพื้นที่ปลอดภัย การพัฒนามีสิ่งที่น่าสนใจคืออยากให้มีเรื่องการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมอัตลักษณ์ ภาษาที่ใช้ เรื่องการศึกษาและปัญหายาเสพติดที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ระยะที่สองเป็นการแสวงหาข้อตกลงร่วมกันว่า ต้องมีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้คนกลุ่มหนึ่งไม่สบายใจ ไม่อยากอยู่ใต้การปกครองของรัฐมาจับอาวุธต่อสู้ เมื่อได้เงื่อนไขและสอบถามประชาชนว่ามีความสอดคล้องแล้วจะนำไปสู่การจัดทำโรดแมป รัฐบาลชุดนี้จริงใจแก้ไขปัญหา มีการพูดคุยที่เป็นระบบมากขึ้น มีการประเมินว่าเป็นไปตามแผนมากน้อยหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ เลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังระบุว่า สิ่งที่อยากให้ช่วยกันสองเรื่องคือ หนึ่ง เรื่องประวัติศาสตร์ เพราะตอนนี้ประวัติศาสตร์ส่วนกลางกับท้องถิ่นมันชนกัน อยากให้มีพิพิธภัณฑ์ในปัตตานี ให้เกิดการเรียนรู้ว่ารากฐานตัวตนของตัวเองทั้งเรื่องที่มาของดินแดนและรากความเป็นมลายู สอง ยังมีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง เป็นค่านิยมคนในพื้นที่ ถ้ามีการวิสามัญขบวนการ พวกไทยพุทธก็จะชอบใจ ในขณะที่อีกฝ่ายบอกว่าเป็นเรืองการละเมิดสิทธิฯ ถ้ามีการฆ่าไทยพุทธ ครู พระ อีกฝ่ายก็พอใจ ถือว่าสมน้ำสมเนื้อ อย่าให้ความรุนแรงเกิดขึ้นวนไปวนมา ต่อประเด็นบทบาทของกองทัพในการลดความชอบธรรมการใช้ความรุนแรง พล.อ.สิทธิ กล่าวกับประชาไทเพิ่มเติมว่า เจ้าพนักงานก็ต้องควบคุมปฏิบัติการทางทหารและการใช้อาวุธกับเป้าหมายให้จำเพาะลง กองทัพมีระเบียบเรื่องกฎการปะทะ อันไหนยิงได้หรือยิงไม่ได้ มีกฎเรื่องการปิดล้อม ตรวจค้น มีกลุ่มเป้าหมายรับทราบว่าใครอยู่ตรงไหน ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้อาวุธ ให้ปิดล้อมเขาแล้วเชิญชวนผู้นำศาสนาบอกให้เขามอบตัว แนวทางการใช้กำลัง ก็ต้องใช้กำลังให้พอดีกับสถานการณ์ ไม่ใช่มีผู้ต้องสงสัยหนึ่งคนยกกองกำลังกันไป 50-60 คน และพยายามลดการใช้อาวุธ เพราะอาวุธไม่ทำให้เกิดประโยชน์ นอกจากบาดแผลและการตอบโต้กันไปมามากกว่า ทางที่ดีคือใช้กฎหมายในทางที่เหมาะสมที่สุด ยกเว้นเหตุปะทะกันซึ่งหน้าก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องป้องกันตัวเองและป้องกันคนอื่น ต่อคำถามว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการบังคับใช้กฎอัยการศึกเป็นปัจจัยเสริมให้มีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงในพื้นที่หรือไม่ พล.ต.สิทธิเห็นว่า กฎหมายไม่ใช่ความรุนแรงโดยตรง แต่เป็นความรุนแรงทางอ้อม "กฎอัยการศึกให้อำนาจเจ้าหน้าที่ซึ่งตอนนี้เราบังคับใช้ตัวเดียวคือการระงับเหตุด้วยการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย กฎอัยการศึกให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวผุ้ต้องสงสัย เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งผมก็เห็นว่ามันจำเป็นต่อเหตุการณ์ในภาคใต้ที่ต้องระงับเหตุก่อนที่จะเกิด หรือถ้าเราสงสัยใครก็ควบคุมตัวไว้ก่อนเพื่อไม่ให้การก่อเหตุเกิดขึ้น ผมว่ากฎหมายไม่ได้มีปัญหา แต่มันอยู่ที่การเข้าใจของเจ้าหน้าที่ ถ้าใช้เป็นการป้องกันไม่ให้การก่อเหตุเกิดขึ้น และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหา เรามีกฎหมายเยอะ บางอย่างก็ใช้แก้ปัญหาได้เช่น พ.ร.บ. ความมั่นคงมาตรา 21 ที่ให้มีการอบรมแทนที่จะฟ้องคดีต่อผู้ก่อการโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็มีทางออกแบบนั้นอยู่" เลขาฯ คณะพูดคุยฯ กล่าว ส่วนคำตอบในประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาสังคมน้อยลงในประเด็นการเข้าถึงผู้ต้องขังนั้น พล.อ.สิทธิอธิบายว่า เรามีระเบียบฉบับหนึ่งออกตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พูดถึงการควบคุมตัวว่าต้องแจ้งญาติว่าบุคคลนั้นๆ จะถูกควบคุมตัวไว้ที่ใด แล้วระเบียบการเยี่ยมญาติก็มีอยู่ แต่เราก็จำกัดเฉพาะญาติ พ่อแม่ตามสายเลือดถึงจะเข้าเยี่ยมได้ ก็เหมือนกับผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ึคนเข้าเยี่ยมได้ต้องเป็นญาติหรือสายเลือดเดียวกัน พ่อ แม่ ลูก เมีย ส่วนภาคประชาสังคมหรือกรรมการสิทธิฯ ถ้าจะเข้ามาก็ต้องร้องขอเป็นรายกรณีไป มีอย่างเดียวคือต้องแจ้งให้หน่วยหรือคนปฏิบัติงานให้ทราบระเบียบดังกล่าวและให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผมเข้าใจปัญหาตรงนี้ บางคนเหมารถไปหาลูกแล้วไม่เจอก็กังวลใจว่าปลอดภัยไหม ถ้ารู้สถานที่และเวลาเยี่ยมก็จะสบายใจมากกว่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักวิชาการ ร้องประยุทธ์ หนุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ยกต่างประเทศไม่มีปัญหา Posted: 07 Dec 2017 03:42 AM PST ชมรมนักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 43 รายชื่อ ร้องประยุทธ์ หนุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ยกต่างประเทศไม่มีปัญหาเจ็บป่วย ชี้ในไทยในนิคมฯมาบตาพุด ก็ตั้งริมทะเล แต่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพ ส่วนการตั้งโรงไฟฟ้าเทพาก็ห่างทะเลถึง 9 กม. ภาพจากเฟซบุ๊ก Warich Noochouy 7 ธ.ค.2560 จากกระแสการเคลื่อนไหวคัดค้ วานนี้ (6 ธ.ค.60) สื่อหลายสำนัก เช่น TNN24 ข่าวสดออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์ และโพสต์ทูเดย์ รายงานตรงกันว่า ภิญโญ มีชำนะ ประธานชมรมนักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย คณะอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย และนักวิชาการ เดินทางมายื่นหนังสือสนับสนุนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา และพื้นที่ภาคใต้ พร้อมยื่นรายชื่ออาจารย์ และนักวิชาการที่ลงชื่อสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่าน สมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ภิญโญ กล่าวว่า เป็นหนึ่งในคณะกรรมการเพื่อศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ซึ่งตนเองและนักวิชาการในเครือข่ายได้ร่วมกันอธิบายและชี้แจงถึงความจำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และอ.เทพา จ.สงขลา ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงความจำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งได้มีการตอบข้อกังวลของประชาชน ที่มีเชื้อเพลิงถ่านหิน เนื่องจากอาจจะไม่ได้รับฟังข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ได้ออกมาสนบสนุนโครงการอย่างเปิดเผยแล้ว ประธานชมรมนักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ยืนยันได้ว่าจากประสบการณ์ตนเองและคณะจารย์ ที่ได้เดินทางไปดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินต่างประเทศ พบว่า ไม่เคยได้รับข้อมูลว่าเกิดความเจ็บป่วยร้ายแรงหรือสูญเสียชีวิต จากผลของมลภาวะที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขณะที่กลุ่มคัดค้าน กลับให้ข้อมูลที่บิดเบือนไป โดยเข้าใจว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งใกล้พื้นที่ทะเลมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและวีถีชุมชนนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องจริงเพราะโรงไฟฟ้าถ่าน ในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจ.ระยอง ก็มีที่ตั้งอยู่ริมทะเล ซึ่งพบว่าไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพประชาชน รวมการทำประมงกลับดีขึ้น ส่วนการตั้งโรงไฟฟ้าเทพาก็ห่างจากทะเลถึง 9 กิโลเมตร ดังนั้นมั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน ส่วนข้อกังวลปริมาณสารโลหะหนักหรือสารปรอท บางประเทศที่ดำเนินการก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เช่นเดียวกับปัญหาฝุ่นที่มีการจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภิญโญ ยังชี้ว่า ในขณะนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ล่าช้าไปจากแผนเดิมไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน และชาวฝั่งอ่าวไทย ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป็นไปตามแผน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ ภาคใต้เข้าสู่ขั้นวิกฤต และการเกิดปัญหาไฟดับเป็นวงกว้าง ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้ ยิ่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าล่าช้าไปมากกว่านี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งทราบมาว่าบริษัทใหญ่ๆ ไม่เพิ่มการลงทุนในประเทศไทยแล้ว แต่ไปเพิ่มการลงทุนในประเทศรอบบ้านเราเอง สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความมั่นใจประชาชนในพื้นที่ว่า จากการศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่ได้น่ากลัวหรือมีผลกระทบต่อประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้นโครงการของรัฐ จึงควรได้รับการสันบสนุน เพราะเป็นโครงการที่ส้รางความยั่งยืนด้านพลังงาน ไม่ใช่เกิดการต่อต้าน จนทำส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่ ยืนยันคณะอาจารย์ นักวิชาการ ที่ลงชื่อในวันนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังหรือได้รับผลประโยชน์ใดๆ สำหรับรายชื่ออาจารย์และนักวิชาการ ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่ภาคใต้ มีทั้งสิน 43 ราย เช่น มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน, สุรพันธ์ วงษ์โอภาสี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน, สุนทร พุ่มจันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มนูญ มาศนิยม หัวหน้าภาคววิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คมสูรย์ สมประสงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เทียนไชย ตันไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ,ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และดร.อภิรดี แซ่ลิ่ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นต้น รายงานข่าวระบุด้วยว่า ทั้งนี้ สมพาส เปิดเเผยว่า เตรียมนำหนังสือนี้ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ให้ได้รับทราบต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครือข่าย ปชช. ประกาศล่ารายชื่อเสนอ กม.สิ่งแวดล้อมฉบับประชาชน ก่อนยุติชุมนุม Posted: 07 Dec 2017 02:20 AM PST เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนยุติชุมนุมหลังเจรจากับตัวแทนรัฐ บอกให้เวลารัฐบาล 100 วันจะกลับมาพร้อม 10,000 รายชื่อกับร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับประชาชนเตรียมประกบฉบับของรัฐบาล หลังจากนี้จะเปิดเวทีถกรายประเด็นกับ สผ. ภาพจากเพจเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วันนี้ (7 ธันวาคม 2560) เวลาประมาณ 11.30 น. เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มาปักหลักชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.... ได้ประกาศข้อตกลงที่ได้พูดคุยกับทางรัฐบาลและอ่านแถลงการณ์ ก่อนจะยุติการชุมนุม เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ตัวแทนของเครือข่ายฯ กล่าวว่า ร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีเนื้อหาหลายข้อที่ถ้าผ่านเป็นกฎหมายจะเอื้อต่อการลงทุนมากเกินไปและทำให้มาตรการการป้องกัน แก้ไข ควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้คนเลวร้ายลง จึงเป็นเหตุให้ภาคประชาชนไม่สามารถยอมรับร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ สำหรับการเจรจากับตัวแทนรัฐบาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในช่วงเช้า เลิศศักดิ์ กล่าวว่า ทางหน่วยงานรัฐยังคงตอบคำถามของภาคประชาชนในแบบเดิมๆ และที่ผ่านมา ทางกระทรวงทรัพย์ฯ และ สผ. ก็ไม่เคยนำเนื้อหาที่ทางภาคประชาชนเสนอบรรจุเข้าไปในร่างกฎหมายเลย ขณะที่ตัวแทนรัฐบาลไม่ต้องการให้มีการชุมนุมบริเวณทำเนียบอีกต่อไปจึงมีการตกลงกันดังนี้ 1.หลังจากนี้จะมีการปรึกษาหารือกันระหว่างเครือข่ายประชาชนฯ กับหน่วยงานจากกระทรวงทรัพย์ฯ และ สผ. เพื่อศึกษาพิจารณาเป็นรายมาตราว่ามีมาตราไหนบ้างที่เครือข่ายเสนอไปแล้วสามารถยอมรับได้ หรือตรงไหนที่แตกต่างก็ระบุให้ชัด เพื่อนำเสนอบทบัญญัติต่างๆ ส่งไปยัง สนช. และคณะกรรมาธิการพิจารณา โดยทางภาคประชาชนจะกลับไปทำงานในส่วนวิชาการเพื่อเสนอต่อสาธารณะ รัฐบาล และส่วนราชการต่อไป 2.ทางเครือข่ายยืนยันว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อมจะต้องแก้ไขทั้งฉบับ ไม่ใช่เพียงหมวดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนมากเกินไปดังที่กำลังทำอยู่ 3.ทางเครือข่ายประชาชนฯ จะให้เวลารัฐบาล 1 เดือน และจะกลับมาพร้อมรายชื่ออย่างน้อย 10,000 รายชื่อตามรัฐธรรมนูญเพื่อเสนอกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับภาคประชาชนประกบไปกับฉบับของรัฐบาล "ความพึงพอใจของการตกลงในวันนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำสุด การยื่นหนังสือกับกระทรวงทรัพย์ฯ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ครั้งนี้มีแรงตอบรับที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย นี่คือการเจรจาต่อรองระหว่างภาคประชาชนกับรัฐบาล เราจึงยอมรับข้อตกลงนี้โดยที่ไม่ได้พึงพอใจมากนัก" เลิศศักดิ์ กล่าว สุภาภรณ์ มาลัยลอย จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมหรือเอ็นลอว์ เผยกับประชาไทว่า รัฐบาลยืนยันว่าไม่สามารถถอนร่างกฎหมายออกมาได้ เนื่องจากต้องทำกฎหมายให้เสร็จตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 278 ที่ระบุว่า สนช. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างกฎหมาย แต่ทางรัฐบาลต้องการแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมทั้งฉบับอยู่แล้ว ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงเตรียมล่ารายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายฉบับภาคประชาชนประกบกับร่างแก้ไขทั้งฉบับของรัฐบาลในอนาคต เมื่อถามว่าทางภาคประชาชนเคยยื่นหนังสือมาแล้วหลายครั้งและครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 คิดหรือไม่ว่านี่เป็นการซื้อเวลาอีกครั้งหนึ่งของทางรัฐบาลและหน่วยราชการ สุภาภรณ์ กล่าวว่า "เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดกระบวนการและเวทีพูดคุยรายประเด็นขึ้นแล้ว ไม่เกิดการแก้ไข ภาคประชาชนก็จะมีปฏิบัติการต่อเนื่อง ครั้งนี้อาจดูเหมือนไม่ได้อะไร แต่ต้องยอมรับรัฐบาลชุดนี้ทำให้ภาคประชาชนขยับลำบากมาก ครั้งนี้เป็นการตัดสินใจของพี่น้อง แต่เราต้องดำเนินการไปเรื่อยๆ คงไม่จบแค่นี้" หลังจากนั้นตัวแทนเครือข่ายจึงทำการอ่านแถลงการณ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ แถลงการณ์ยกเลิกร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ที่ไม่ปฏิรูป EIA/EHIA ยุติการเปิดทศวรรษใหม่แห่งความขัดแย้งในสังคมไทย ตลอด 8 เดือนของการยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแดวล้อมในฐานะหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาเพื่อนำไปสู่การปฏิรูประบบการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 58 และแนวนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศเดินหน้าปฏิรูปประเทศและสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย แต่ในทางปฏิบัติ กระทรวงฯ ได้ทำการบิดเบือนด้วยการนำร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ทำไว้ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาปัดฝุ่น และเร่งรัดการจัดทำให้เป็นไปตามกรอบเวลา 240 วัน ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 โดยไม่ได้มีการรับฟังความเห็นประชาชนอย่างรอบด้าน และเพาะเจาะจงไปยังการปฏิรูประบบ EIA/EHIA ที่เป็นปมปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรง และความสูญเสียในทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นผลมาจากปัญหาของการจัดทำ EIA/EHIA โครงการพัฒนาด้านต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม เหมืองแร่ หรือการก่อสร้างตึงสูง เช่น คอนโดมีเนียม โรงแรมขนาดใหญ่ ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่เนื้อหาสาระของร่างกฎหมายก็ไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการของการปฏิรูป ที่จะนำไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการประเมินผลกระทบ เช่น การไม่บัญญัติเรื่องการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์หรือ SEA (ทั้งที่เรื่องนี้เป็นดำริของนายกรับมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560) ในทางกลับกัน ยังเป็นการถอยหลังเข้าคลองเพราะมีการเปิดช่องให้เกิดการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ EIA เร่งรัดตัดตอนการพิจารณาโครงการและให้อำนาจ ครม. อนุมัติให้มีการจัดหาเอกชนเข้ามารับงานไปก่อนในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงาน EIA ซึ่งผิดหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขอขอบคุณพี่น้องทุกฝ่ายที่สนับสนุนการต่อสู้ในครั้งนี้ และขอวิงวอนให้สังคมช่วยกันกดดันให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว และดำเนินการแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดกระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม เกิดการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเกิดการเคารพสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื 7 ธันวาคม 2560 ทำเนียบรัฐบาล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'อังคณา' ถกสิทธิหลากหลายทางเพศระดับภูมิภาค ห่วง ก.ม.ไทยยก 'มั่นคง-ศาสนา' กลบการเลือกปฏิบัติ Posted: 07 Dec 2017 01:50 AM PST 'อังคณา' ร่วมหารือขับเคลื่ 7 ธ.ค.2560 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ อังคณา กล่าวในการเป็นวิทยากรอภิปรายหั อังคณา กล่าวต่อว่า ในการจัดทำรายงานคู่ขนานเกี่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บอร์ด สปสช.รับทราบการโอนเงินงวดแรก 3 พันล้านบาทให้ รพ.ราชวิถีจัดซื้อยาแล้ว Posted: 07 Dec 2017 01:15 AM PST บอร์ด สปสช.รับทราบความก้าวหน้าจั 7 ธ.ค.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมี ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจั 2.ยา Atazanavir 300 mg cap (ยาอะทาซานาเวียร์แคปซูลขนาด 300 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี) และยาrilpivirin tab (ยาต้านไวรัสเอชไอวีริลพิไวริน) เดิมมีปัญหาจากการผลิตและมี จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการจั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรมธนารักษ์จ่อเอาผิดโรงกษาปณ์ฝรั่งเศส เหตุปล่อยคลิปแม่แบบเหรียญกษาปณ์ ร.10 Posted: 07 Dec 2017 12:38 AM PST อธิบดีกรมธนารักษ์ เผยกำลังพิจารณาข้อกฎหมายเพื่อดำเนินการกับโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส กรณีเผยแพร่ภาพแม่แบบของเหรียญกษาปณ์รุ่นใหม่ของไทยรัชกาลที่ 10 ซึ่งถือเป็นความลับของราชการ ย้ำยังไม่มีการสรุปรูปแบบเหรียญ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา PPTV และแนวหน้า รายงานตรงกันว่า พชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยกรณีมีการนำเสนอคลิปชื่อ "French mint makes coins for Thailand" ซึ่งมีการเสนอภาพแม่แบบของเหรียญกษาปณ์รุ่นใหม่ของไทยรัชกาลที่ 10 ว่า ได้แจ้งหนังสือไปยังโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส (La Monnaie de Paris) ซึ่งเป็นคู่สัญญาในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนให้กับประเทศไทย ให้ระงับการนำเสนอภาพดังกล่าว เพราะกระบวนการผลิตเหรียญยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่มีการผ่านความเป็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะทำให้ประชาชนสับสน เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด รูปแบบการผลิตได้อีก "กรมฯยังไม่มีการสรุปรูปแบบเหรียญหมุนเวียนในรัชกาลที่ 10 คลิปกับภาพที่ปรากฏออกมายังถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริง ซึ่งผมก็ตกใจว่าโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมปล่อยภาพออกมาก่อนได้รับอนุญาตได้อย่างไร" อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวด้วยว่า กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างพิจารณาข้อกฎหมาย เพื่อดำเนินการกับโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งถือเป็นความลับของราชการ แต่ในข้อสัญญาไม่มีการระบุว่าให้สามารถยกเลิกการว่าจ้างได้ ก็จะต้องไปดูว่าจะเรียกร้องค่าเสียหาย หรือความรับผิดชอบจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างไรบ้าง รวมถึงขอเตือนผู้ใช้โซเชียลมีเดียในประเทศไทย อย่าได้มีการเผยแพร่รูปแบบกระบวนการผลิตเหรียญนี้ เนื่องจากมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในการเผยแพร่ความลับราชการ หากฝ่าฝืนก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย พชร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมได้ว่าจ้างโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส ผลิตเหรียญกษาปณ์ให้กับไทย โดยดำเนินการหลายสัญญา นับตั้งแต่เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชกาลที่ 9 ซึ่งขณะนี้ยังส่งมอบให้ไม่หมด ขณะเดียวกันในสัญญาก็ว่าจ้างให้ผลิตเหรียญรัชกาลที่ 10 ด้วย ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการที่เป็นความลับทั้งหมด การนำเสนอภาพ หรือคลิปเคลื่อนไหว ออกมาก่อนได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น