ประชาไท | Prachatai3.info |
- นักศึกษาชายแดนใต้ถูกคนอ้างตัวเป็น จนท. เก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียดที่นครศรีฯ
- รมว.แรงงานกำชับกรมสวัสดิการฯ ดูแลใกล้ชิดกรณีนายจ้างมิตซูบิชิฯ ปิดงาน
- ไอเท็มแห่งปี 2017 : หมุดหน้าใส นาฬิกาลุงป้อม กล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ฯลฯ
- เปิดก้าวต่อก้าวของ ‘กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ’ ในรอบปี 60
- แกะรอยการบ่อนเซาะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใต้ท็อปบู้ท
- คุก 6 หมิ่นผู้ว่าฯ ชลบุรี ปมประท้วงไม่ปลื้มพิธีวางดอกไม้จันทน์ สารภาพรอการลงโทษ 1 ปี
- เมืองศิลปะอิตาลีเปิดกรุแสดงงานศิลปินหญิงที่เคยถูกกีดกันยุคเรเนสซองส์
นักศึกษาชายแดนใต้ถูกคนอ้างตัวเป็น จนท. เก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียดที่นครศรีฯ Posted: 29 Dec 2017 04:25 AM PST นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีฯ ชาวมลายูมุสลิมชายแดนใต้ ถูกกลุ่มคนอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด ขณะที่กลางเดือนที่ผ่านมา แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดการอบรมยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมต่อต้านการก่อเหตุรุนแรงนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 29 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูฮัมหมัดกัสดาฟี กูนา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.00 วันนี้ (29 ธ.ค.60) ขณะที่เขากำลังรับประทานอาหารอยู่ในร้านอาหารมุสลิมกับเพื่อนใกล้มัสยิด มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 6 นายมาในรถกะบะไม่ติดป้ายทะเบียน เข้ามาอ้างว่า เป็นตำรวจจากกองปราบปรามพิเศษ นครศรีธรรมราช เข้ามาหาที่ร้านอาหาร และถามหาคนที่เป็นชาวมลายูมุสลิมจากปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เมื่อเจ้าหน้าที่ทราบว่า เขาและเพื่อนอีกสามคน และเจ้าของร้านอาหารเป็นชาวมลายูมุสลิมจากสามจังหวัด จึงได้ทำการ "ขอสัมภาษณ์" มูฮัมหมัดกัสดาฟี ระบุว่า การขอสัมภาษณ์กลับกลายเป็นการเก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด โดยเจ้าหน้าที่ได้ขอบัตรประชาชน นำบัตรไปถ่ายรูป พร้อมกับถ่ายรูปตัว กรอกรายละเอียดลงในเอกสาร ซึ่งมีช่องให้กรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด รวมถึงชื่อบิดา มารดา ชื่อเพื่อนสนิท เบอร์โทรศัพท์ ความสูง ลักษณะรูปพรรณสันฐาน ลักษณะตา หู จมูก ปาก รอยแผลเป็น และให้ทั้งสี่คนพิมพ์ลายนิ้วมือ และเซ็นชื่อในเอกสาร มูฮัมหมัดกัสดาฟี พยายามสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูล ซึ่งเจ้าหน้าที่ตอบว่า ต้องการรวบรมข้อมูลของชาวสามจังหวัดไว้เฉยๆ เขากล่าวเพิ่มว่า เจ้าหน้าที่บางคนใส่เสื้อกั๊กมีข้อความว่า "สพ.อ. นครศรีธรรมราช" ในวันเดียวกันนั้น เขาได้รับข้อมูลอีกว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลแบบเดียวกันในหอพักนักศึกษา ซึ่งทำให้เกิดความกังวลและความกลัวในหมู่นักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เขายังระบุด้วยว่า มีคนโดนแบบเขาทั้งหมดมีมากกว่า 20 กว่าคน ที่เขาตรวจสอบได้ได้ "เขามุ่งเป้าคนพูดยาวีเท่านั้น" "อย่างนี้ไม่ใช่การมาขอข้อมูลแล้ว แต่เป็นการคุกคามและลิดรอนสิทธิ ผมรู้สึกไม่โอเค อยากให้เจ้าหน้าที่ชี้แจง" มูฮัมหมัดกัสดาฟี กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แม้จังหวัดนครศรีธรรมราชจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีการใช้กฎหมายความมั่นคง เจ้าหน้าที่กลับใช้อำนาจเก็บข้อมูล ของชาวมลายูมุสลิม อย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงข้อมูลรูปพรรณสันฐาน ข้อมูลบัตรประชาชน ลายนิ้วมือ ทำให้เกิดความรู้สึกตกเป็นเป้าและหวาดกลัวของหมู่นักศึกษาชาวมลายูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ย้อนไปเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา 18 ธ.ค. 60 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) รายงานว่า พล.ท. ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่ ภาพโครงการ "ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนมี สำหรับโครงการขับเคลื่อนทางยุ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า รายงานด้วยว่า การอบรมในครั้งนี้ เป็นโครงการต่อเนื่อง และ นับเป็นรุ่นแรกในปีงบประมาณ 2561 โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ ผ่านประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รมว.แรงงานกำชับกรมสวัสดิการฯ ดูแลใกล้ชิดกรณีนายจ้างมิตซูบิชิฯ ปิดงาน Posted: 29 Dec 2017 03:21 AM PST รมว.แรงงาน ห่วงกรณีข้อพิ 29 ธ.ค. 2560 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน แจ้งว่า วันนี้ เพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงานเปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์ "พล.ต.อ.อดุลย์ มีความห่วงใยในกรณีดังกล่าว โดยให้ประสานชี้แจงทำความเข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไอเท็มแห่งปี 2017 : หมุดหน้าใส นาฬิกาลุงป้อม กล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ฯลฯ Posted: 29 Dec 2017 01:49 AM PST แรร์ไอเท็ม ผลโหวตสิ่งของแห่งปี 2017 'หมุดหน้าใส' ที่มาแทนหมุดคณะราษฎร เป็นอันดับ 1 ตามด้วย 'นาฬิกาหรู' ของ พล.อ.ประวิตร และกล้องวงจรปิดวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส' ที่จนถึงทุกวันนี้สาธารณชนยังไม่เห็น แต่แม่ทัพภาพที่ 3 บอกว่า "ณ เวลานั้นอาจกดออโต้ได้" 29 ธ.ค. 2560 จากกรณีที่ประชาไทชวนแฟนเพจเฟซบุ๊กร่วมโหวตไอเท็มหรือสิ่งของแห่งปี 2017 ตั้งแต่วันที่ 25 - 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่ามีผู้โหวตให้ หมุดหน้าใส เป็นอันดับ 1 คือ 694 โหวต รองลงมาคือ นาฬิกาลุงป้อม ได้ 424 โหวต และ กล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ได้ 235 โหวต ส่วน เรือดำน้ำจีน และ บัตรคนจน ตามมาเป็นอันดับที่ 4 และ 5 หมุดหน้าใสกรณีการหายไปของ 'หมุดคณะราษฎร' และถูกแทนที่ด้วย 'หมุดหน้าใส' ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่าน ภาพหมุดใหม่ จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ หมุดคณะราษฎร มีการวิเคราะห์ว่า การหายไปของหมุดคณะราษฎร อันเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่
นาฬิกาลุงป้อมนาฬิกาข้อมือราคาแพง ยี่ห้อริชาร์ด มิลล์ ปรากฎขึ้นมาหลังจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สวมใส่ถ่ายรูปหมู่คณะรัฐมนตรีเมื่อ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนเกิดการตั้งข้อสังเกตุในโซเชียลเน็ตเวิร์ก พร้อมทั้งตรวจสอบพบว่าไม่มีในรายการทรัพย์สินที่แจ้งต่อ คณะกรรมการป้องกันะละกราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น โดยที่ต่อมา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า นาฬิกาและแหวนเป็นของเก่าเก็บที่มีมานานแล้ว ที่ผ่านมาสวมแหวนวงนี้มาโดยตลอด มีน้ำหนักเพียง 1 กะรัต แต่เมื่อวานนี้เป็นเรื่องบังเอิญที่แหวนกระทบกับแสงแดดจนเกิดแสงสะท้อนต่อหน้าสื่อมวลชนพอดี หลังกระแสวิพากษ์วิจารณ์ สื่อมวลชนได้สอบถาม พล.อ.ประวิตร ถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งตอบกลับมาว่า จะชี้แจงให้ ป.ป.ช. โดยไม่ต้องตอบสื่อมวลชน นอกจากนาฬิกาที่ปรากฎในภาพถ่ายนั้นแล้ว ผู้ใช้เฟซบุ๊กยังมีการนำภาพ พล.อ.ประวิตร ในวาระอื่นๆ ซึ่งปรากฎเห็นนาฬิกาอีกหลายเรือน อีกด้วย และ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รั ศรีสุวรรณ ชี้ด้วยว่า นอกจากกรณีนี้อาจมีลั กล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิกล้องวงจรปิด กลายเป็นหลักฐานที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมจำนวนมาก จากกรณีของ ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ อายุ 17 ปี ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ ด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันคดีนี้กำลังอยู่ระหว่างไต่สวนการตาย ซึ่งทางสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้
เรือดำน้ำจีนช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน ซึ่งระบุเป็นเอกสารลับในราคากว่า 3.6 หมื่นล้านบาท จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ซึ่ง พล.อ.ประวิตร อธิบายว่า ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำมานานแล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นการอนุมัติเงียบอย่างที่กล่าวอ้างกันแต่อย่างใด โดยการจัดซื้อเรือดำน้ำนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทางกองทัพเรือมีความต้องการมานานแล้ว เพื่อจะได้ใช้เป็นยุทธศาสตร์ 200 ไมล์ทะเลทางทะเลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เพื่อปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศติดกับทะเลต่าง ๆ ก็ต้องจัดหาเรือดำน้ำไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศ เช่นกัน นอกจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความโปร่งใส ในประเด็นรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนนั้น เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ชี้ว่าถือว่ามีปัญหาเรื่องความโปร่งใสแล้ว ยังมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการจัดซื้อด้วย เช่น 26 เม.ย.ที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การจัดซื้อดังกล่าวต้องคำนึงถึงว่าเมื่อมีเม็ดเงินจำกัด ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาว่าจะใช้อะไรเป็นอย่างแรก เพราะทราบว่ารัฐบาลมีความจำเป็นถึงขนาดจะยอมยกเลิก 30 บาท แต่กลับไปซื้อเรือดำน้ำตรงนี้ก็ต้องพิจารณาว่าอะไรเร่งด่วนกว่ากัน และอะไรคือความคุ้มค่า ในภาวะเช่นนี้ ทั้งนี้ ในฐานะเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เข้าใจในเรื่องความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำไว้เพื่อป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง แต่วันนี้บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะปกติ อาจมีบางส่วนที่สามารถที่จะชะลอได้ แล้วนำงบประมาณนั้นไปใช้ในสิ่งที่เร่งด่วนกว่า ซึ่งในวันข้างหน้าหากมีงบประมาณและมีความสามารถในการหารายได้มากขึ้น มีงบประมาณเหลือเพียงพอ ก็สามารถที่จะซื้อสิ่งที่ต้องการหรือต้องใช้ในอนาคตได้ เพราะการซื้อเรือดำน้ำเป็นการซื้อที่มีภาระผูกพันในอนาคต เป็นภาระด้านงบประมาณรายจ่ายต่อปี ค่าบำรุงรักษา จึงเป็นภาระระยะยาว ยังไม่รวมถึงค่าบำรุงรักษา การฝึกยุทโธปกรณ์ต่างๆ และจำนวนเรือดำน้ำ ซึ่งต้องดูประกอบว่าน่านน้ำที่ต้องการจะต้องใช้กี่ลำ เท่าที่ทราบต้องมีเป็นชุดไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานป้องกันได้ ถ้าสั่งมาเพื่อทดสอบอย่างเดียวก็สามารถซื้อในช่วงที่ไม่เกิดภาวะเร่งด่วนหรือว่ารัฐมีเงินงบประมาณเหลือเพียงพอที่จะใช้ในส่วนนั้นได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งการใช้งบประมาณจะต้องคำนึงว่าเงินอะไรที่ใช้เร่งด่วนก็ต้องใช้สิ่งนั้นก่อน โดยเฉพาะความเป็นอยู่ เรื่องความจำเป็นในการบริหารบ้านเมืองและเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชนจากนั้นสิ่งที่อยากได้ ก็จะเป็นความสำคัญอันดับสองรองลงมา ซึ่งฝ่ายบริหารเท่านั้นที่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเรื่องนี้
บัตรคนจนโครงการประชารัฐสวัสดิการกา ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ข้อวิพากษ์วิจารณ์หนึ่งของ 'บัตรคนจน' คือข้อกังวลว่านี่คือการนำร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดก้าวต่อก้าวของ ‘กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ’ ในรอบปี 60 Posted: 29 Dec 2017 01:05 AM PST
โอกาสนี้ประชาไทรวบรวมการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ในรอบปีที่ผ่านมาซึ่งมีหลากหลายและเข้มข้นโดยเฉพาะช่วงที่มีการทำประชาพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
16 ม.ค.2560 : ร้อง ยกเลิกสรรหาเลขาฯ สพฉ. เหตุไม่โปร่งใส และไม่ชอบด้วยกฎหมาย กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ในฐานะส่วนหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย ชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายสลัม 4 ภาค ฯลฯ ยื่นหนังสือถึง รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรณีขอให้ยกเลิกกระบวนการสรรหาเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เนื่องจากความไม่โปร่งใส และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ยื่นจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอให้ยุติกระบวนการแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำลายหลักการและล้าหลัง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน
31 พ.ค.2560 : แสดงความกังวลล็อคสเปคเลือกเลขาฯ สปสช. แสดงความล็อคสเปคเลือกเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หลังส่อแววส่งกฤษฎีกาตีความผู้สมัครเลขาฯ สปสช.ใหม่ พร้อมตั้งคำถามกรณีผู้สมัครที่เป็นผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขถือเป็นคู่สัญญา สปสช.หรือไม่ ย้ำด้วยว่า เลขาธิการ สปสช.ต้องมีความอิสระ ยึดมั่นหลักการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีแนวคิดใหม่พัฒนาระบบ
จัดเวที "สานพลังประชาชนขับเคลื่อนสังคมสวัสดิการ" ที่ องค์กรพัฒนาชุมชน ถ. นวมินทร์
6 มิ.ย. 2560 : ร้องประยุทธ์ยุติแก้ ก.ม.หลักประกันสุขภาพ เสนอเซ็ตซีโร่กระบวนการใหม่ เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกว่า 1,000 คนชุมนุมหน้าอาคารสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุติกระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้ว "เซ็ตซีโร่" เริ่มต้นกระบวนการใหม่โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนมากกว่าเดิม โดยก่อนหน้านั้นตัวแทนกลุ่มแจ้งต่อ สน.ดุสิต ตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ว่า จะจัดชุมนุม หน้ากระทรวงศึกษาธิการค่อนไปทางน้ำพุ ใกล้คลองผดุงกรุงเกษม ถ.ราชดำเนินนอก แต่ตำรวจทำหนังสือแจ้งว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล จึงอาจขัดต่อ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ นอกจากนี้ทหารยังเข้าไปหาสมาชิกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ที่บ้านใน จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ ด้วย วันเดียวกันยังมีการเผยแพร่ "สมุดปกขาว" แก้บัตรทองอย่างไร ให้ประชาชนได้ประโยชน์ด้วย
10 มิ.ย. 2560 : วอล์คเอาท์เวทีประชาพิจารณ์ ร่าง ก.ม.หลักประกันสุขภาพฯ ที่หาดใหญ่ เวทีประชาพิจารณ์พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่โรงแรมลีการ์เดนท์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลุ่มเครือข่ายหลักประกันสุขภาพประชาชนภาคใต้ได้วอล์คเอาท์ออกจากเวทีประชาพิจารณ์ฯ นี้ พร้อมกับได้ร่วมตัวอ่านแถลงการณ์บริเวณหน้าห้องประชุม เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ "แก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพประชาชนต้องมีส่วนร่วม หยุด!!!กระบวนการและเริ่มใหม่"
เวทีประชาพิจารณ์พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิวประชาชนที่เข้าร่วมประชุมก็พร้อมใจกันลุกขึ้นต่อต้าน แสดงจุดยื่นถ้าทำแล้วแย่กว่าเดิมอย่าทำดีกว่า พร้อมชูป้ายประท้วง และร่วมกันวอล์คเอาท์ออกจากการประชุม ทำให้กำหนดการประชุมที่จัดไว้เวลา 09.00-16.00 ต้องปิดการประชุมในเวลา 11.00 น. เพราะประชาชนไม่เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์ โดย สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพภาคเหนือ ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนการแก้ไขกฏหมาย "ถ้าทำแล้วแย่อย่าแก้ดีกว่า"
ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นสถานที่จัดเวทีประชาพิจารณ์พิจารณาร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เครือข่ายซาวอีสานซอมเบิ่งบัตรทอง ซึ่งมี 75 องค์กร ขึ้นยึดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประกาศจุดยืน คัดค้านการแก้กฎหมายฯ ที่ไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้น
ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนราว 300 คน รวมตัวร่วมจับตาเวทีรับฟังความคิดเห็น การแก้ไขปรับปรุง (ร่าง) พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สุดท้ายที่โรงแรมเซ็นทารา แจ้งวัฒนะ โดยในงานนี้ผู้ที่จะเข้าร่วมต้องลงทะเบียนล่วงหน้าทางออนไลน์ สแกนบัตรประชาชนเพื่อเข้างานและมีเวลาให้แสดงความเห็นคนละ 3 นาที ซึ่งกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายปฏิเสธจะเข้าร่วมเวทีโดยระบุว่ากระบวนการร่างและรับฟังความคิดเห็นนั้นไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น จึงได้รวมตัวกันปราศรัยถึงปัญหาของร่างกฎหมายใหม่อยู่หน้าห้องประชุม อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้วางกำลังอยู่โดยรอบ และได้ตรวจยึดป้ายกระดาษ ป้ายผ้าที่กลุ่มผู้ชุมนุมนำมาด้วย 20 มิ.ย. 2560 : นัดพบประธานคณะอนุกรรมการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ โดยตั้ง 3 เงื่อนไข ห้ามมีทหารและตำรวจมาคอยควบคุม หลังการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 4 ภาคออกแถลงการณ์คัดค้านและแสดงออกไม่เข้าร่วมเวทีประชาพิจารณ์แก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 30 บาท แต่พยายามที่จะให้เกิดการดูแลประชาชนได้มากขึ้น เพิ่มวงเงินดูแลประชาชนต่อคนต่อปี และจะไม่ทำให้เกิดภาระกับประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมีการออกมาให้ข้อมูลบิดเบือนว่ารัฐบาลจะยกเลิกบัตรทอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน ต้องมีส่วนช่วยทำความเข้าใจกับประชาชน ด้านกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นัดพบประธานรับฟังความคิดเห็น นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เพื่อตัดสินใจเข้าร่วมเวทีปรึกษาสาธารณ (Public Consultation) ในวันที่ 21 มิ.ย. 2560 ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ โดยยืนเงื่อนไข 3 ข้อ คือ ต้องไม่ใช่การคุยในสถานการณ์สู้รบที่มีทหารและตำรวจมาคอยควบคุม ต้องเปิดรับฟังอย่างหลากหลาย ไม่รวบรัด เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน และเตรียมเปิดสมัชชาสุขภาพวาระพิเศษเพื่อศึกษาข้อมูล ก่อนแก้กฎหมายให้ดีที่สุด
21 มิ.ย.2560 : ประกาศหลัก "4 เอา 5 ไม่เอา และ 7 สิ่งที่ดีกว่า" กับคณะกรรมการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพฯ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และเครือข่ายภาคประชาชน 75 เครือข่าย บุกยื่นหนังสือ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ยุติแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อเริ่มกระบวนการแก้ไขใหม่ที่มีภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม กังวลลิดรอนสิทธิประชาชน แต่กลับไม่ได้ พบ พล.อ.ปริยุทธ์ จึงยื่นศูนย์ดำรงธรรมเคลื่อนที่แทน วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายกว่า 18 คน รวมตัวกันก่อนเข้าร่วมประชุมเวทีปรึกษาสาธารณะ ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมการดำเนินการประชาพิจารณ์พิจารณาร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ.. โดย นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้กล่าวผ่านการไลฟ์สดเพจมูลนิธิผู้บริโภคว่า กรณีที่พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พูดถึงกรณีการจัดซื้อยา โดยระบุว่า นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ช้อมูลว่ากรณีการจัดซื้อยานั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เดิมเมื่อซื้อขายยากันในปริมาณมาก จะได้รับส่วนลด และกันเงินที่เหลือมอบให้กลุ่มเอ็นจีโอไปทำภารกิจองค์กร ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการพาดพิงและกล่าวหากลุ่มเอ็นจีโอ พวกตนจึงขอประกาศว่า ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ สธ. ตรวจสอบพวกตนได้เลย และให้เปิดเผยผลการตรวจสอบออกสู่สาธารณะ เพราะพวกตนยืนยันว่าไม่เคยได้รับเงิน หรือส่วนลดใดๆ ทั้งสิ้น และในงานเสวนา "แก้กฎหมายบัตรทองประชาชนได้อะไร" ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่งมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานคณะกรรมการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ร่วมเสวนานั้น ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อยเมื่อ สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง ตัวแทนภาคประชาชนด้านแรงงาน และตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พยายามพูดเสนอความเห็นในช่วงท้ายการเสวนาหลังจากที่วิทยากรพูดจบแล้ว แต่ผู้ดำเนินการรายไม่อนุญาตให้พูด และพยายามตัดจบการเสวนาโดยเร็ว หลังเหตุการณ์ดังกล่าว สุนทรี ได้ออกมาแถลงกับสื่อมวลชนบริเวณหน้าห้องเสวนา โดยระบุว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้กฎหมายบัตรทองให้ประชาชนได้ประโยชน์ พร้อมเปิดเผยถึงหลัก "4 เอา 5 ไม่เอา และ 7 สิ่งที่ดีกว่า" ต่อคณะกรรมการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าว (คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด)
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ และเครือข่ายภาคประชาสังคม ติดตามสถานการณ์การแก้กฎหมาย ได้มีการการจัดประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์การแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้มีตำรวจสันติบาลปะปนและถ่ายรูปเข้ามาร่วมประชุมด้วยซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการส่งข้อมูลจากภูมิภาคต่างๆว่ามีการติดตามจากตำรวจสันติบาล โดยการเข้าพบครอบครัวและโทรศัพท์สอบถามข้อมูล ทำให้เครือข่ายภาคประชาชนห่วงกังวลต่อเรื่องความปลอดภัย และกังวลต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้กฎหมายบัตรทอง กป.อพช.ใต้ จึงเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่หยุดการกระทำดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทบทวนกระบวนการแก้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ม. 77 วันเดียวกัน ตัวแทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.เชียงใหม่ ร่วมกับตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้ใช้บัตรทอง ชาวเชียงใหม่ พร้อมด้วยเครือข่ายคนพิการ ผู้ติดเชื้อ ผู้สูงอายุ ข่ายศาสนา และข่ายชุมชนเมือง รวมกว่าคน 30 คนได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่าน ศเนติ จิฐภาสอังกูร ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงใหม่ เพื่อคัดค้านการแก้ไขกฎหมายบัตรทองและขอให้ยุติกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่ให้หมด แล้วกลับไปสู่การเริ่มกระบวนการใหม่ที่จะช่วยให้กฎหมายมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากเชียงใหม่แล้ว ยังมีเครือข่ายยื่นหนังสือข้อเรียกร้องในจังหวัดอื่นๆ ภาคเหนืออีกด้วย
5 ก.ค.2560 : ที่หาดใหญ่ แถลงขอรัฐบาลทบทวนการแก้กฎหมายให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ ที่หอนาฬิกาหน้าจัตุรัส หาดใหญ่ จ.สงขลา ภาคีเครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพภาคใต้ได้รวมตัวกันเพื่อแถลงการณ์ขอให้ทางรัฐบาลทบทวนการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยืนยันไม่ได้ต่อต้านการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ต้องการให้ทางรัฐบาลได้ทบทวนการแก้กฎหมายให้ประชาชนกว่า 49 ล้านคน ที่ใช้ระบบบัตรทองได้รับรู้และมีส่วนร่วมตัดสินใจโดยทางเครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพภาคใต้ พร้อมเสนอ 4 ประเด็นเห็นด้วย 5 ประเด็นเห็นต่าง 7 ประเด็นเพื่อปฏิรูป
ที่โรงแรมไมด้า งามวงศ์วานเครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพก็ได้จัดเสวนาคู่ขนาน ในหัวข้อ 'แก้ กม.บัตรทองอย่างไร ให้ประชาชนได้ประโยชน์?' ในระหว่างที่คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังพิจารณากฎหมายและความคิดเห็นต่างๆ โดยในงานที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจัดนั้น ตัวแทนจากภาคประชาชนและเอ็นจีโอ ได้อธิบายถึงความสำคัญของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและความจำเป็นที่จะต้องปกป้องไม่ให้เกิดการทำลายหลักการนี้ลงจากการแก้ไขครั้งนี้ พร้อมประกาศด้วยว่าประชาชนพร้อมฮือลุกสู้ ปกป้องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหากคณะกรรมการยกร่างฯ กฎหมาย เดินหน้าแก้ประเด็นขัดแย้ง 13 ก.ค.2560 : วางพวกหรีดไว้อาลัยคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพฯ หน้าสนง.ปลัดกระทรวงสาธารสุข และเครือข่าย 4 ภาค ร้องยุติการแก้กฎหมายดังกล่าว ร่วมกับภาคีเครือข่าย ออกแถลงการณ์ ยืนยันจุดยืน 'แก้กฎหมายบัตรทองไม่ชอบธรรม ไร้ธรรมาภิบาล' พร้อมเรียกร้องต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เปิดเผยข้อมูลความเห็นในการแก้ไขกฎหมายที่ยังมีความเห็นต่างต่อสาธารณะ และสร้างกระบวนการที่เป็นกลาง โปร่งใส ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาค และออกมาแถลงชี้แจงแสดงความรับผิดชอบยอมรับต่อผลที่จะตามมาจากการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ ไม่ว่าผลที่เกิดขึ้นหลังจากการแก้ไขครั้งนี้จะเป็นอย่างไร พร้อมทั้ง แต่งตั้งคณะทำงานที่น่าเชื่อถือ เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการแก้ไขกฎหมาย แม้ว่าท่านจะไม่ใช่ผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ตาม วันเดียวกัน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ยังเดินทางมาที่บริเวณหน้าอาคาร สนง.ปลัดกระทรวงสาธารสุข เพือรอผลการประชุมของ คณะกรรมการพิจารณาร่างฎดหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งวางพวกหรีดไว้อาลัย
กลุ่มคนรักหลักประกัน 4 ภาค ภาคกลาง ภาคตะออก ภาคตะวันตก และ กรุงเทพฯ ยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าฯ จ.เพชรบุรี เพื่อยุติกระบวนการแก้ไข กฎหมายบัตรทอง และเริ่มต้นใหม่โดยมีประชาชนมีส่วนร่วม
นอกจากนี้ในช่วงดังกล่าวยังมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ของประชาชนภาคเหนือร่วมกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์คนใช้บัตรทองค้านแก้กฎหมายด้วย
(Voice TV, มติชนออนไลน์ และ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Mondoi Ffc, 13 ก.ค.60)
เครือข่ายซาวอีสานซอมเบิ่งบัตรทอง แถลงเรียกร้องและขอประกาศจุดยืน ต่อการ แก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1. ให้รัฐบาลยกเลิกการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และยุติกระบวนการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 2. กฎหมายหลักประกันสุขภาพถ้านหน้าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาลของประชาชน การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ต้องดำเนินการภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และ 3. ทางเครือข่ายฯ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวทุกที่ ทุกเวลา และทุกรูปแบบ จนกว่ากระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่ชอบธรรมและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจะยุติลง
จากกรณีที่ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ทางกระทรวงนัดหารือเรื่องแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็นที่ยังเห็นต่างกัน ประกอบด้วย การแยกเงินเดือนออกจากค่าเหมาจ่ายรายหัว และ สัดส่วนคณะกรรมการ โดยทาง นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ นัดประชุมวัน 19 ก.ค.60 นั้น สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ คงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมดังกล่าว เนื่องจากผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข ยังยืนยันที่จะให้ตัวแทนรพ.ขนาดใหญ่และ รพ.ขนาดเล็กบางส่วนที่สนับสนุนการแยกเงินเดือนออกจากค่าเหมาจ่ายรายหัวเข้าร่วมประชุม แต่ไม่รับข้อเสนอของทางกลุ่มฯที่ให้เชิญตัวแทน รพ.ในชนบทที่จะได้รับผลกระทบจากการแยกเงินเดือนครั้งนี้เข้าร่วมประชุมด้วย 2 ส.ค.2560 : จัดเวทีผ่าทางตันระบบหลักประกันสุขภาพ "ระบบบัตรทองถึงทางตัน จัดซื้อยารวมไม่ได้ แก้กฎหมายยังทัน รมว.สาธารณสุขจะว่าอย่างไร" จัดเวทีผ่าทางตันระบบหลักประกันสุขภาพ "ระบบบัตรทองถึงทางตัน จัดซื้อยารวมไม่ได้ แก้กฎหมายยังทัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะว่าอย่างไร" ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วย แถลงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจัดซื้อยารวมระดับประเทศ หลังถูก วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เบี้ยวนัดพบ ระบุสัปดาห์หน้าหากยังจัดซื้อยาปี 61 ไม่ได้ เกิดหายนะแน่ เตรียมบุกทำเนียบอีกครั้ง พร้อมเผยสถานการณ์ล่าสุด โรงพยาบาลทั่วประเทศเริ่มป่วน เร่งสต๊อกยาล่วงหน้ากันปัญหาผู้ป่วยขาดยาระหว่างรอความชัดเจนจัดซื้อ ชี้ต้นตอปัญหา สตง.ไล่บี้จนเกิดภาวะสูญญากาศ ใหญ่กว่าหน่วยงานปฏิบัติ ใหญ่กว่ารัฐมนตรี
12 ก.ย. 2560 : ยื่น สตง.ให้ความเห็นต่อการจัดซื้อยา เข้ายื่นร้องเรียนให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ความเห็นต่อการจัดซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดย สปสช. สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 อย่างแท้จริงและงดเว้นให้ความเห็นที่ไม่เป็นตามกฎหมาย
ในงานสมัชชาพลเมือง จ.เชียงใหม่ "กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ" ได้รับรางวัล "สวิง ตันอุด" ประเภท "เครือข่ายจัดการตนเอง" เนื่องการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงพลังของประชาชนในการลุกขึ้นมาปกป้องระบบหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นสวัสดิการด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนประชาชนอย่างมีมาตรฐาน ทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งในงานนี้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จ.เชียงใหม่ เป็นตัวแทนขึ้นรับรางวัลแทนพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ 3 ต.ค. 2560 : ชี้แจงประเด็นที่ยังขัดแย้งตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข กรณีแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ จากกรณีที่ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าได้รับอนุมัติจาก พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกชี้ประเด็นว่าขัดแย้งยังอยู่ พร้อมเรียกร้องให้ ครม. อย่าเพิ่งเร่งพิจารณา และเรียกร้องขอเข้าพบรองนายกฯ เพื่อให้ข้อมูลร่วมกันพิจารณาอย่างรอบด้านและแสดงจุดยืนค้านแยกเงินเดือนและกลไกใหม่ในการจัดซื้อยารวมนั้น ในวันดังกล่าวกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้เผยแพร่ประเด็นการคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังกล่าว ตั้งแต่ ความไม่สมดุลของคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผู้แทนภาคประชาชนเพียง 2 คนคือ สุรีรัตน์ ตรีมรรคา และยุพดี ศิริสินสุข จากทั้งหมด 27 คน และข้อคัดค้านในด้านสาระสำคัญการแก้ไขกฎหมาย เช่น นิยามคำว่า "บริการสาธารณสุข" ในร่าง พ.ร.บ. ซึ่งกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ระบุว่า เดิมให้ความสำคัญกับการครอบคลุมบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตามที่เป็นนโยบายสำคัญของประเทศในเรื่องการพึ่งตนเอง และ ลดค่าใช้จ่ายได้ รวมไปถึง นิยามคำว่า "สถานบริการ" "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ"
ร่วมกับตัวแทนภาคประชาชนจากเครือข่ายต่างๆ รวม 21 จังหวัดทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่กรุงเทพฯ จันทบุรี น่าน แพร่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา แม่ฮ่องสอน ลำพูน อำนาจเจริญ สมุทรปราการ สระแก้ว ลำปาง เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น เชียงราย อุบลราชธานี ปทุมธานี กำแพงเพชร และสุรินทร์ ได้ไปยื่นหนังสือถึง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์ดำรงธรรมของแต่ละจังหวัด เพื่อรับฟังเสียงของประชาชนในการขอเข้าชี้แจงประเด็นที่น่าห่วงกังวลในการแก้ไขกฎหมายบัตรทอง 2 พ.ย.2560 : เผยยังไม่มีการตอบสนองใดๆ หลังยื่นจดหมายถึง พล.ร.อ.ณรงค์ เพื่อให้ภาคประชาชนเข้าชี้แจงข้อมูลร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพฯ หลังจากที่ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเข้ายื่นจดหมายถึง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อให้เปิดโอกาสภาคประชาชนเข้าชี้แจงข้อมูลร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ให้เกิดความเข้าใจอย่างรอบด้านก่อนที่จะออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ระบุว่า ยังไม่มีการตอบสนองใดๆ เกิดขึ้น
ออกแถลงการณ์ร่วมกับเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการกรณีการใช้ความรุนแรง จับกุม ควบคุมตัว ปิดกั้น ขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพของเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยระบุว่าการเดินเท้าของประชาชนที่มุ่งหน้าไปยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนกระทำได้ รัฐบาลต้องหยุดการละเมิดและคุกคามสิทธิของประชาชนในการออกมาชุมนุมอย่างสงบ ดังนั้นรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ย. 2560 ที่มีการตัดสินใจสลายขบวนเดินของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ และมีบางส่วนถูกควบคุมตัว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมดทุกข้อกล่าวหาโดยไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากการปะทะและความรุนแรงที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากประชาชน แต่เกิดจากการที่รัฐสั่งให้ทหาร ตำรวจ สกัดกั้นและกดดันจนนำไปสู่เหตุการณ์ดังกล่าว 19 ธ.ค.2560 : ร่วมกับภาคประชาชนกลุ่มอื่น ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยตัวคำสั่งคสช. รวมกับภาคประชาชนกลุ่มอื่น ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยตัวคำสั่งคสช. ฉบับที่ 3/25558 ในข้อที่ 6 กับ ข้อที่ 12 ซึ่งเกี่ยวกับการจับกุมควบคุมตัวประชาชนได้ไม่เกิน 7 วัน และการห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน รวมไปถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ประเด็นที่เห็นเหมือนกันกับคณะกรรมการพิจารณาร่างฯ จำนวน 4 ประเด็นได้แก่ 1. ไม่เห็นด้วยเรื่องการเพิ่มนิยาม "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ" ตามมาตรา 3 เนื่องจากการเพิ่มนิยามคำนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุนในมาตรา 38 ที่ระบุว่า "กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ แต่การแก้ไขกลับเพิ่มนิยามที่จะส่งผลให้ไปจำกัดความหมายของ "กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ด้านการสนับสนุน ส่งเสริม การจัดบริการซึ่งสามารถสนับสนุนเป็นรูปแบบอื่นได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะตัวเงินเท่านั้น เช่นการสนับสนุนเป็นยา เวชภัณฑ์ เป็นต้น ไม่เห็นด้วยเรื่องการแก้ไขนิยาม "สถานบริการ" ตามมาตรา 3 เนื่องจาก "หลักการ" ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงการบริการรักษาอย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการร่วมจัดบริการด้านสุขภาพของประชาชน ประชาสังคม องค์กรสาธารณะ รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น ดังนั้นจึงให้เพิ่มนิยาม "องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร" ทั้งนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์จากผลการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนในการสร้างการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การทำงานร่วมให้บริการของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในรูปแบบ "ศูนย์องค์รวม" ที่สามารถติดตาม ดูแล ให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถกินยาได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาการดื้อยา ส่งผลต่อการลดอัตราการเสียชีวิต หรือการริเริ่มของชุมชนในการให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค (Community Led Services) กับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเปราะบางต่างๆ เป็นต้น 2. ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 13 ในการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีเหตุผลดังนี้ 2.1 ไม่เห็นด้วยกับการที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน เนื่องจากขัดกับหลักการแยกผู้จัดบริการและผู้ซื้อบริการ (Purchaser Provider Split) 3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41 ที่มีการระบุเพียงให้ได้รับเงินด้วยเหลือเบื้องต้น แต่เห็นว่าควรต้องเพิ่มเรื่องการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ และยังคงเห็นร่วมว่าให้เพิ่มผู้ให้บริการเข้าไปในมาตรานี้ด้วย เพื่อลดการฟ้องคดีกับผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม และพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการโดยไม่มีระบบเพ่งโทษตัวบุคคล 4.ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 46 ที่เสนอให้มีการแยกเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เนื่องจากการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว จะมีผลกระทบต่อการกระจายบุคลากร และในการแก้ไขมาตรานี้มีนัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในด้านการเข้าถึงบริการ หากบุคลากรไม่เพียงพอ ดังนั้นควรต้องมีการศึกษาด้านวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณามาตรานี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เนื่องจากการแก้กฎหมายจะส่งผลต่อการปฏิบัติในระยะยาว 5.ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 48 (8) ที่มีการเสนอเพิ่มเฉพาะวิชาชีพ และผู้ให้บริการเนื่องจากจะเป็นการลดสมดุลกรรมการในการพิจารณากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วย ซึ่งในกฎหมายปัจจุบันสัดส่วนของผู้ให้บริการและวิชาชีพมีมากอยู่แล้ว ในขณะที่ในส่วนของผู้ป่วย และผู้รับบริการกลับมีสัดส่วนน้อย ดังนั้นภาคประชาชนจึงเสนอเพิ่มตัวแทนประชาชนจาก 5 คนเป็น 8 คน โดยให้เพิ่มสัดส่วนของงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ให้บริการตามมาตรา 50 (5) และเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์จำนวน 3 คน ขณะที่ข้อเสนอใหม่เพื่อการปฏิรูปในการแก้ไขกฎหมายจำนวน 7 ประเด็น ได้แก่ 2.แก้ไขมาตรา 9 เสนอให้มีสิทธิประโยชน์ด้านบริการสาธารณสุขเดียวสำหรับทุกคน เนื่องจากสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 20 ปี ที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสาธารณสุข เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพที่ทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขโดยมีสิทธิประโยชน์เดียวกัน มีมาตรฐาน เพราะปัจจุบันมีสิทธิประโยชน์ในการรับบริการสาธารณสุขที่แตกต่างกัน รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน 3.แก้ไขมาตรา 10 เสนอให้มีมีสิทธิประโยชน์เดียวสำหรับประชาชนทุกคน และรัฐต้องจ่ายสมทบเรื่องสุขภาพให้ผู้ประกันตน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้ประกันตนที่ต้องจ่ายสมทบด้านสุขภาพทางตรงเพียงกลุ่มเดียว และเหตุผลอื่นๆ เดียวกันกับการแก้ไขมาตรา 9 4. เสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 18 แก้ไขอำนาจของคณะกรรมการ ในการจัดหายา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินกองทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ 4.1 การเข้าถึงยา วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีราคาแพงสำหรับผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี มะเร็ง เป็นต้น 5. แก้ไขมาตรา 26 ให้สามารถตรวจสอบหน่วยบริการที่ไม่โปร่งใส ด้วยเหตุผลดังนี้ ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณที่ได้รับทำให้ต้องมีการกำหนดการจ่ายในลักษณะ Global budget ซึ่งหากหน่วยบริการใดที่ผลการตรวจสอบเชื่อได้ว่ามีการจงใจจัดทำข้อมูลเพื่อการเบิกจ่ายที่เกินจริงก็จะส่งผลกระทบกับหน่วยบริการอื่น ดังนั้น ควรมีมาตรการที่สามารถดำเนินการลงโทษทางปกครองกับหน่วยบริการที่จงใจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินจริง เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารกองทุนและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่หน่วยบริการที่ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการลงโทษทางปกครองเป็นการลงโทษการกระทำของบุคคลที่จงใจฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แกะรอยการบ่อนเซาะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใต้ท็อปบู้ท Posted: 29 Dec 2017 12:06 AM PST ประชาไทยกให้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นบุคคลแห่งปี 2017 ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขาคือภูมิคุ้มกันระบบหลักประกันสุขภาพที่มีผู้คนอยู่ภายใต้ระบบนี้ราว 48 ล้านคน ในช่วงปีที่ผ่านมาพวกเขาจับตา เกาะติดการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลที่อาจนำไปสู่การล้มหรือทำลายหัวใจหลักของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ยืนยันในสิทธิการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันของคนไทย แม้ว่าการมุ่งโจมตีระบบหลักประกันสุขภาพจะเกิดขึ้นมานานแล้วนับแต่เริ่มต้นดำเนินนโยบาย แต่ภัยคุกคามปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดที่สุดในยุครัฐบาล คสช. ประชาไทรวบรวมข้อมูลและเหตุการณ์ส่วนที่เกิดในรัฐบาล คสช. เพื่อย้อนดูว่า 3 ปีกว่าที่ผ่านมา พวกเขาทำให้เราถอยห่างจากหัวใจของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปไกลเท่าไร 1.จากข่าวโรงพยาบาลขาดทุน สู่การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติข่าวคราวที่ระบุว่าโรงพยาบาลของรัฐกำลังตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือขาดทุนนั้นมีให้เห็นต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยหลายครั้งมีการโยงปัญหาการขาดทุนไว้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันว่า โครงการบัตรทอง, 30 บาทรักษาทุกโรค หากนับเฉพาะปีนี้มีหลายข่าวที่ปรากฏขึ้น เช่นข่าว 19 โรงพยาบาลของรัฐขาดทุนหลังหักเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ทำให้โรงพยาบาลไม่มีเงินเพียงพอที่จะดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ยังต้องให้บริการต่อไป และได้มีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้แยกงบเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว หรือกรณีการออกมายอมรับของ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ ซึ่งระบุว่า โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โรงพยาบาลรัฐขาดทุน เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่สอดคล้องกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี รวมทั้งอีกหลายเรื่องราวที่พุ่งเป้าโยนบาปเรื่องโรงพยาบาลขาดทุนให้กับระบบหลักประกันสุขภาพ และการบริหารจัดการของ สปสช. แม้ว่าประเด็นเรื่องการแยกเงินเดือน ออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวนั้น จะเป็นประเด็นหลักที่มีการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงที่สุดแล้ว หลักการตั้งต้นของการรวมเงินเดือนหมอไว้กับงบเหมาจ่ายรายหัวนั้น เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ เพื่อลดปัญหาการกระจุกตัวของแพทย์ ซึ่งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องถกเถียงกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้วเพราะเหตุใดกันแน่ที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเริ่มต้นแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลับพบว่าไม่ได้มีแต่เพียงเรื่องการแยกเงินเดือนบุคลากรทางแพทย์ออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวเท่านั้น ยังมีการเพิ่มเติมแก้ไขโครงสร้างบอร์ดบริหารของ สปสช. รวมอยู่ด้วย อีกทั้งประเด็นที่เป็นเรื่องน่าจับตาที่สุดคือ ยังมีความพยายามที่จะทำให้มีการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมอยู่ด้วย แม้ภาคประชาชนจะยื่นข้อเรียกร้องให้ตัดประเด็นดังกล่าวออก อีกทั้งประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับการแก้ไขกฎหมายตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ 2.คสช.กับข้อเสนอเรื่องการร่วมจ่าย และการโยนหินถามทางประเด็นเรื่องการร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งถูกพูดถึงอีกเช่นกัน แต่สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือเอกสารหลุด หลังจากการตรวจเยี่ยมกระทรวงสาธารณสุขของ พล.ร.อ. ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2557 ซึ่งในรายงานบันทึกการประชุมมีตอนหนึ่งที่ระบุว่า "เห็นด้วยกับการที่ประชาชนจะมีส่วนในการร่วมจ่ายค่าบริการ กระทรวงสาธารณสุขต้องคำนวณตัวเลขออกมาว่าการมีส่วนร่วมจ่ายของประชาชน ต้องจ่ายเท่าไหร่ เช่น 30 – 50 % และต้องหาหลักเกณฑ์ออกมา เพราะอนาคตข้างหน้าเห็นแล้วว่าแนวทางหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ไปต่อไม่ไหว" หลังจากที่มีข่าวดังกล่าวก็เกิดกระแสต่อต้านจากภาคประชาชน แต่ก็ไม่วายที่ผู้มีอำนาจจะโยนหินถามทางอีกหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งมีรายงานแนวทางการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง โดยผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2558 และนำส่งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2558 ซึ่งระบุถึงแนวทางการปฏิรูปในด้านการรักษาพยาบาลไว้ว่า สนับสนุนให้ผู้มีเงินได้สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพมาหักลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้บริการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องพึ่งรัฐ และให้มีการพิจารณาความเหมาะสมของการนำระบบการมีส่วนร่วมจ่าย เพื่อจูงใจให้มีจิตสำนึกในการประหยัดค่ารักษาพยาบาลและลดการรักษาพยาบาลที่เกินความจำเป็น หรือครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้กล่าวตอนหนึ่งในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ (นาทีที่ 14.20) ว่า ในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ และการให้ความเป็นธรรมนั้น เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนมีฐานะพอสมควร หรือมีผู้มีรายได้ปานกลางไม่ลำบากมาก จึงได้มอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้ง 30 บาทรักษาทุกโรค (ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า) ว่าจะให้มีการเสียสละไม่ใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกไปให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำจริงๆ ซึ่งกำลังมีการลงทะเบียนกันอยู่นั้น ซึ่งถ้าทำได้จะถือว่าเป็นกุศล "ถ้าท่านเสียสละแบบนี้ ผมว่าเป็นกุศล ผมเองก็พร้อมจะสละ ไปไหนก็หาหมอเองได้อยู่แล้ว แต่คนจนเขาไม่มีโอกาสเลย" พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ 3.การสนับสนุนให้คนซื้อประกันสุขภาพ การเกิดขึ้นของบัตรคนจน และคำว่าเสมอภาคที่หายไปจากรัฐธรรมนูญในรายงานแนวทางในการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ฉบับ สปช. และเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2558 ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น หนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมไปแล้วคือ การออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ โดยให้ประชาชนสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพมาหักลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตและการเงินฝากที่มีเงื่อนไขประกันชีวิตทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 1 แสนบาท โดยกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่ามาตรการนี้จะไม่กระทบต่อการจัดเก็บภาษีของประเทศมากนัก แต่จะเป็นการช่วยลดหย่อนภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐในด้านสุขภาพได้อีกทางหนึ่ง สำหรับบัตรคนจน หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้นก็ได้ปิดการลงทะเบียนในครั้งแรก และส่งมอบบัตรให้ผู้ที่ลงทะเบียนซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคน คือผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และผู้ที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท แต่ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี รวมแล้วจำนวนทั้งสิ้น 11.4 ล้านราย การลงทะเบียนคนจนนี้เป็นโครงการเดียวกันกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 แม้ว่าจะยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมว่าจะมีการจำกัดสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ไว้ให้กับคนที่มาลงทะเบียน 11.4 ล้านคนนี้เท่านั้น แต่นโยบายหรือการดำเนินการต่างๆ ในรัฐบาล คสช. แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะทำให้การรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ได้เป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้สำหรับคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันอีกต่อไป หลักฐานสำคัญที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนคือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ในมาตรา 47 ซึ่งระบุไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" ขณะที่ก่อนหน้านี้ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 51 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์" สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญ 2550 ในเรื่องสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐคือ ความเสมอภาค การได้รับบริการที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน การได้รับบริการที่ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปที่หัวใจของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีหลักการว่า 'คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม' เส้นทางที่รัฐบาล คสช. ได้พาคนไทยเดินทางนั้น ดูห่างไกลกับหัวใจสำคัญนี้ไปทุกที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คุก 6 หมิ่นผู้ว่าฯ ชลบุรี ปมประท้วงไม่ปลื้มพิธีวางดอกไม้จันทน์ สารภาพรอการลงโทษ 1 ปี Posted: 28 Dec 2017 10:34 PM PST ศาลสั่งจำคุก 6 คน กรณีหมิ่นฯ ผู้ว่าฯ ชลบุรี ปมประท้วงไม่ปลื้มพิธีวางดอกไม้จันทน์ สารภาพรอการลงโทษ 1 ปี พร้อมลงโฆษณาคำพิพากษาทางเฟซบุ๊กและสื่อท้องถิ่น รวบรวมพยานหลักฐานอีก 63 คน ให้ตำรวจแจ้งข้อหาและออกหมายเรียกต่อไป เพจ Army Worldwide News โพสต์ภาพพร้อมรายงานว่า 20.34 น. เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มประชาชนชาวชลบุรี ที่ไม่พอใจผู้ว่าฯ ชลบุรี ได้ตั้งแถวร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนประกาศนัดรวมตัวกันใหม่กันในพรุ่งนี้ และแยกย้ายกลับบ้าน ด้านตำรวจและฝ่ายปกครองยังเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังไม่มีการใช้มาตรการสลายการชุมนุม 29 ธ.ค. 2560 มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ ศาลจังหวัดชลบุรี ได้มีคำพิพากษาจำเลยในคดีลงข้อความประจานทางโลกโซเชียล ทำให้ ภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้รับความเสียหายดูหมิ่น เกลียดชัง และเสื่อมเสียชื่อเสียงทั้งหมด 6 คนคือ วิไล สูงสุด ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ จึงได้ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี และให้โฆษณาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ฉบับ วิรุส สูงสุด ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยรับสารภาพ จึงได้ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี ปภังกร เลิศคุณานุกูล ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ จึงได้ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี และให้ลงโฆษณาคำพิพากษาทางเฟซบุ๊กของจำเลย วิรินทร์ น้อมพิทักษ์เจริญ ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ จึงได้ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี และให้ลงโฆษณาของโทษในเฟซบุ๊กของจำเลย เจษฎา สุธัมมะ ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ จึงได้ลงโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี และให้โฆษณาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ฉบับ วรพรต ไทยอารี ลงโทษจำคุก 40 วัน ปรับ 2,666 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ จึงลงโทษจำคุก 20 วัน ปรับ 1,333 บาท และปรากฏว่าไม่เคยจำคุกมาก่อนให้รอการลงโทษ 1 ปี และให้ลงโฆษณาของโทษในเฟซบุ๊กของจำเลย ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ 63 คน กำลังรวบรวมพยานหลักฐาน หลังจากนั้นตำรวจจะได้แจ้งข้อหาและออกหมายเรียกต่อไป กรณีดังกล่าวนั้น รายงานข่าวระบุว่า เกิดขึ้นที่มีประชาชนจำนวนมากมายได้มารวมตัวประท้วง และขับไล่ ภัครธรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เนื่องมาจากการจัดงานพระราชพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ที่บริเวณหน้าพระเมรุมาศจำลอง หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี อ.เมือง จ.ชลบุรี ไม่สมพระเกียรติ และยังปล่อยให้ประชาชนยืนรอถวายดอกไม้จันทน์นานถึง 6-7 ชั่วโมง สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน และยังได้มีการเชิญชวนทางโลกโซเชียล ได้มารวมตัวกับบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งขับไล่ ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. 2560 เป็นต้นมาอีกหลายวัน นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วนได้เขียนข้อความลงเฟซบุ๊ค ในโลกโซเชียล ลักษณะทำให้เกิดความเสียหาย ดูหมิ่น เกลียดชัง และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง นายภัครธรณ์ จึงได้มอบอำนาจให้จ่าจังหวัดชลบุรี ร้องทุกข์กล่าวโทษ และดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอาญาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผู้ตกเป็นผู้ต้องหาทั้งหมด 63 ราย ส่วนผลการดำเนินคดี มีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนและรับแจ้งข้อกล่าวหา 13 คน พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อสั่งฟ้อง 7 คดี และได้มีการส่งฟ้องศาล และได้มีคำพิพากษาแล้ว 6 คดี สำหรับ ภัครธรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี หลังเหตุการณ์ประท้วง เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ถูกย้ายไปช่วยราชการปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่ขาดจากตำแหน่งเดิม และให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่อาวุโสรักษาราชการแทน หลังมีคำสั่งย้าย วันต่อมา( 8 พ.ย.60) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี และภาคเอกชนกว่า 1,000 คน พากันเดินทางมาศาลากลางจังหวัดชลบุรี เพื่อเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กลับมาทำงานเหมือนเดิมด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เมืองศิลปะอิตาลีเปิดกรุแสดงงานศิลปินหญิงที่เคยถูกกีดกันยุคเรเนสซองส์ Posted: 28 Dec 2017 09:18 PM PST ปฏิเสธไม่ได้ว่ามี 'การกีดกันเพศหญิง' ในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ศาสนาที่กำลังเป็นข้อถกเถียงในโซเชียลมีเดียไทย ขณะเดียวกันในตะวันตกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ก็มีการกีดกันผู้หญิงออกจากพื้นที่ศิลปะ แต่ก็มีกลุ่มสตรีเรียกร้องให้มีการนำภาพจากฝีมือศิลปินหญิงในยุคนั้นมาจัดแสดงในเมืองแห่งศิลปะอย่างฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้เป็นผลสำเร็จ 28 ธ.ค. 2560 คำว่า "จิตรกรชั้นครู" (Old Master) มักจะใช้เรียกขานศิลปินชายที่ได้รับความสนใจจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะเท่านั้น ผู้สะสมศิลปะและพิพิธภัณฑ์ให้ความสนใจกับศิลปินหญิงน้อยมาก แม้ว่าในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ "เรเนสซองส์" (Renaissance) ที่อิตาลีจะมีศิลปินหญิงที่มีความสามารถก็ตาม อย่างไรก็ตาม จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรีนิยมกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เออิเก ชมิดต์ ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์อุฟฟิซี ในฟลอเรนซ์ นำภาพศิลปินหญิงที่ถูกซ่อนอยู่ในกรุผ่านยุคสมัยมานาน ออกมาจัดแสดงให้เห็นในเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "แหล่งกำเนิดของเรเนสซองส์" กลุ่มที่เป็นแรงบันดาลใจให้ชมิดต์คือกลุ่มนักกิจกรรมศิลปะสตรีนิยม "กอริลาเกิร์ลส์" ที่เคยบอกกับชมิดต์ว่าพิพิธภัณฑ์จำนวนมากมีผลงานของศิลปินหญิงอยู่แต่มันถูกเก็บลืมอยู่ในโกดัง ทำให้ชมิดต์กลับไปค้นพบว่าพิพิธภัณฑ์ของเขามีผลงานของผู้หญิงช่วงก่อนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่มากที่สุด และนำออกจัดแสดงเป็นครั้งแรก โดยเขายังมีแผนการจัดแสดงผลงานเหล่านี้ในวันที่ 8 มี.ค. ของทุกๆ ปี ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การปรับเปลี่ยนมุมมองศิลปะในอดีตเท่านั้น ในฟลอเรนซ์ยังมีมูลนิธิเพื่อการพัฒนาศิลปินหญิง (AWA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อ 10 ปีที่แล้วโดย เจน ฟอร์จูน คนรักศิลปะผู้เคยเขียนหนังสือเรื่อง "ผู้หญิงไร้ตัวตน ศิลปินที่ถูกลืมแห่งฟลอเรนซ์" มูลนิธิของเธอตั้งขึ้นเพื่อพยายามฟื้นฟู กอบกู้ และอนุรักษ์ศิลปะของผู้หญิงในอดีต และบางครั้งก็มีการให้ทุนจัดแสดงถ้าเป็นไปได้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา AWA ทำการฟื้นฟูศิลปะจากฝีมือศิลปินหญิงในประวัติศาสตร์มาแล้ว 40 ชิ้น แต่พวกเขาก็ยังคงมีปัญหาเรื่องทัศนคติของภัณฑารักษ์ที่มักจะถามกลับว่าทำไมต้องมีการฟื้นฟูศิลปะของศิลปินหญิงด้วย ลินดา ฟัลโคเน ผู้อำนวยการของ AWA บอกว่าศิลปินหญิงมักจะถูกหลงลืมจากประวัติศาสตร์แม้ว่าหลายคนจะประสบความสำเร็จมากในยุคสมัยของตัวเอง ในสมัยนั้นผู้หญิงที่อยากมีตัวตนในฐานะศิลปินมืออาชีพต้องพยายามประสบความสำเร็จในสมัยของเธอให้ได้ หนึ่งในจิตรกรหญิงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 คือ เพลาทิลลา เนลลี เธอเป็นแม่ชีที่มีความทะเยอทะยานทางศิลปะ ฟัลโคเนมองว่าเรื่องนี้มีความสำคัญเพราะหญิงส่วนใหญ่ในยุคนั้นมักจะทำงานศิลป์ในสเกลเล็กมีแต่เนลลีที่สร้างผลงานสเกลใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากคัมภีร์ไบเบิลชื่อ "The Last Supper" (เป็นคนละแบบกับฉบับของลีโอนาร์โด ดา วินชี) ที่มีขนาดยาว 21 ฟุต ฟัลโคเนเล่าอีกว่าในยุคสมัยนั้นผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนหนังสือรวมถึงศิลปะทำให้เธอต้องฝึกฝนด้วยตนเอง อีกทั้งผู้หญิงยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมสมาคมศิลปิน ทำให้พวกเธอไม่สามารถแลกเปลี่ยนบริการเป็นเงิน ชมิดต์บอกอีกว่าการจัดแสดงในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการนำเสนอผลงานของผู้หญิงในประวัติศาสตร์แล้วยังเป็นการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ศิลปะในตัวมันเองด้วย ชมิดต์เปิดเผยว่างานจัดแสดงได้รับการตอบรับที่ดีมีคนต่อคิวเข้าชมอย่างล้นหลาม และสิ่งที่ถือว่า "ประสบความสำเร็จ" สำหรับยุคสมัยนี้คือมีคนมาถ่ายเซลฟีกับผลงานเหล่านั้น
In Florence, they're bringing the works of women artists out of the basement, PRI, 22-12-2017
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น