โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

ห่วงเจรจา RCEP ขยายผูกขาดสิทธิบัตรยา พันธุ์พืชจะตกเป็นของบรรษัท

Posted: 25 Jul 2018 02:20 PM PDT

สัมมนาคู่ขนานเวทีเจรจาการค้าเสรี 16 ประเทศ 'RCEP' ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ห่วงเจรจา RCEP ขยายการผูกขาดข้อมูลทางยาและสิทธิบัตรยา ระยะยาวจะเพิ่มต้นทุนทางการแพทย์-สร้างภาระให้ผู้ป่วย ขณะที่ไบโอไทยจับตาอนุสัญญา UPOV1991 หวั่นบรรษัทผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช สิ่งที่ควรเป็นทรัพยากรธรรมชาติ จะกลายเป็นทรัพย์สินบริษัท

ภาพประกอบโดย อิศเรศ เทวาหุดี | ดัดแปลงจากแหล่งภาพประกอบ: Wikipedia (Public Domain) CEphoto/Uwe Aranas และ Crisco 1492 (CC BY-SA 3.0)

ในการประชุมความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (The Regional Comprehensive Economic Partnership - RCEP) หรืออาร์เซ็ป ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 17-27 กรกฎาคมนั้น นอกจากนี้ยังมีการประชุมเวทีคู่ขนานโดยภาคประชาสังคม 25 องค์กรเมื่อวันที่ 20 ก.ค. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยร่วมกันอภิปรายผลกระทบหากไทยทำความตกลงใน RCEP และ CPTPP หรือ ความพยายามเข้าร่วมความตกลงการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

จับตาเจรจาการค้าเสรี RCEP เมื่อผลประโยชน์นักลงทุนอยู่เหนือประชาชน, 24 ก.ค. 2561

25 องค์กรร้องยุติเจรจาค้าเสรีอาเซียน +6 เข้า CPTPP ชี้กระทบสิทธิ-วิถีชีวิต ไม่ลงนามยุครัฐประหาร, 21 ก.ค. 2561

คุ้มแน่หรือเจรจา RCEP? บทเรียนการคุ้มครองนักลงทุน (มากกว่าประชาชน), 11 ก.ค. 2561

ความตกลง RCEP ที่ไทยเตรียมเจรจา จะก่อผลกระทบต่อชาวนา ที่ดิน และอาหาร, 20 มิ.ย. 2561

ข้อตกลงการค้าข้ามชาติที่ไทยเจรจา ทำชาวนาสูญเสียการควบคุมเมล็ดพันธุ์, 6 มิ.ย. 2561

หวั่น RCEP เพิ่มเงื่อนไขผูกขาดสิทธิบัตรยา เพิ่มต้นทุนการแพทย์ สร้างภาระผู้ป่วย

เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ อธิบายถึงผลกระทบของการเจรจา RCEP ว่าด้วยเรื่องของยากับสิทธิบัตร โดยแต่เดิมจุดมุ่งหมายของการให้มีเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา คือต้องการให้คนประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ โดยให้เรื่องการผูกขาด เพื่อให้ทำการค้าและได้เงินกลับมา แล้วเอาเงินนี้ไปคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ต่อมากลายเป็นการเน้นที่เรื่องการผูกขาดมากกว่าเรื่องการคิดค้นใหม่ โดยทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สิทธบัตร (ผลิตภัณฑ์รวมถึงยา), ลิขสิทธิ์ (เพลง วรรณรรม ภาพยนตร์ ฯลฯ), เครื่องหมายการค้า (ยี่ห้อสินค้า ชื่อยี่ห้อสินค้า ตราสินค้า ฯลฯ) หน่วยงานที่ดูแลสิทธิบัตรคือกระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมี พ.ร.บ.สิทธิบัตรให้การคุ้มครอง 20 ปี หน่วยงานที่ดูแลยาคือกระทรวงสาธารณสุข โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พ.ร.บ. ยา

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรูปแบบการค้าอย่างหนึ่ง องค์การการค้าโลกจัดเจรจาและได้ข้อตกลงทริปส์ (TRIPS) ซึ่งประเทศสมาชิกต้องนำไปกำหนดเป็นกฎหมาย ข้อตกลงนี้สร้างความเสียเปรียบเพราะบังคับให้ทุกประเทศต้องคุ้มครองสิทธิบัตร 20 ปี และเปลี่ยนจากการคุ้มครอง "ขั้นตอน" เป็นคุ้มครองผลิตภัณฑ์ด้วย จากเดิมที่คุ้มครองแต่ขั้นตอน ซึ่งหากมีขั้นตอนการผลิตที่ต่างออกไปและทำให้ได้ผลิตภัณฑ์แบบเดิมสามารถทำได้ หลังจากมีข้อตกลงทริปส์ก็กลายเป็นว่าไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ถูกคุ้มครองได้เลย

ในขณะที่ไทยแก้กฎหมายล่วงหน้า 2 ปีก่อนจะประกาศใช้ข้อตกลงทริปส์ อินเดียขอเลื่อนการใช้ 5 ปี และยื่นขอเลื่อนจากองค์การค้าโลกอีก 3 ปี เป็น 8 ปี และใน 8 ปีนั้นอินเดียพัฒนาศักยภาพการผลิตยาให้เข้มแข็ง จนปัจจุบันอินเดียเป็นแหล่งผลิตยาสำคัญของโลก และขายไปทั่วโลกในราคาที่ไม่แพง แต่ข้อดีของทริปส์คือมีมาตรการยืดหยุ่น ประเทศเผชิญวิกฤตก็อนุโลมให้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ และมีปฏิญญาโดฮาที่สำทับว่าจะต้องถือเรื่องสาธารณสุขมาก่อนเรื่องการค้า

เรื่องของ "สิทธิบัตร" ยา ที่ระบุในข้อตกลง RCEP และ CPTPP

กรณีของญี่ปุ่น ขอให้เพิ่มเรื่อง 1.) วิธีการใช้ยา หมายความว่าเราต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรในการที่หมอสั่งจ่ายยาตัวนี้ 2.) รูปแบบใหม่ของยา เช่น ยาชนิดนี้เป็นเม็ด และเมื่อจะทำเป็นน้ำด้วย กฎหมายไทยไม่ให้การคุ้มครอง แต่ญี่ปุ่นเรียกร้องให้คุ้มครองด้วย 3.) การผูกขาดข้อมูลทางยา 4.) การเอาผิดกับบุคคลที่สาม ซึ่งแต่เดิมคือการฟ้องร้องระหว่างบริษัทกับบริษัท แต่ถ้าเป็นบุคคลอาจหมายรวมตั้งแต่คนผลิตบรรจุภัณฑ์ คนส่งยา โรงพยาบาล ไปจนถึงคนไข้ 5.) การเพิ่มโทษทางอาญา ไม่ใช่แค่ทางแพ่ง บริษัทที่ละเมิดอาจติดคุกได้ 6.) มาตรการชายแดน เช่น สามารถยึดสินค้าได้หากมีการแวะถ่ายเปลี่ยนสินค้าในประเทศที่มีมาตรการนี้

เกาหลีใต้ ได้ยื่นขอเพิ่ม 2 เรื่อง 1.) การขยายอายุสิทธิบัตรจากการให้สิทธิบัตรล่าช้า โดยระยะเวลาชดเชย เท่ากับ ระยะเวลาที่ล่าช้า 2.) การเอาผิดกับบุคคลที่สาม โดยรายละเอียดที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ขอยื่นเพิ่ม เป็นไปดังภาพนำเสนอดังนี้

ข้อตกลง RCEP และ CPTPP ขยายการผูกขาดสิทธิบัตรยา

จากที่เห็นจึงสรุปได้ว่าทั้ง RCEP และ CPTPP นั้นเพิ่มเรียกร้องมากกว่าทริปส์ เพราะรวมทั้งการผูกขาดข้อมูลทางยา การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกลไก ISDS จะทำให้เกิดผลกระทบเฉพาะหน้า คือ เพิ่มจำนวนสิทธิบัตรยาด้อยคุณภาพ การผูกขาดนานกว่า 20 ปี ทำให้ยาชื่อสามัญไม่สามารถผลิตมาแข่งขันได้ ผลจะทำให้ไทยมียาราคาแพงขึ้น ปัจจุบันยาในหลักประกันสุขภาพที่จัดซื้อโดย สปสช. ใช้งบประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท ไม่รวมที่โรงพยาบาลจัดซื้อเองซึ่งตกปีละ 100,000 ล้านบาท ถ้ายาราคาแพงขึ้นจะทำให้ระบบไม่สามารถแบกรับต้นทุนตรงนี้ได้ อาจจะต้องผลักภาระให้เป็นภาระผู้ป่วย จะมีการร่วมจ่ายหรือไม่

จากเดิมที่นักเภสัชศาสตร์จากบริษัทอื่นระหว่างที่ยาติดสิทธิบัตรก็สามารถศึกษาวิธีการทำยาได้ และเมื่อทำเป็นยาได้ก็ไปขอขึ้นทะเบียนยาก่อนได้ พอยาต้นแบบหมดสิทธิบัตรก็สามารถขายได้ แต่หากมีมาตรการนี้จะกลายเป็นว่าระหว่างขึ้นสิทธิบัตรจะห้ามเผยแพร่ ห้ามทำศึกษา ห้ามขึ้นทะเบียน รอให้พ้น 20 ปีก่อนค่อยศึกษาได้

ทุกวันนี้ระบบประกันสุขภาพจ่ายยาให้ผู้ติดเชื้อ 300,000 กว่าคน เป็นเพราะเรามียาชื่อสามัญหรือบริษัทอื่นที่สามารถผลิตได้เนื่องจากตัวยาจดสิทธิบัตรแค่กระบวนการผลิต ดังนั้นหากเปลี่ยนกระบวนการผลิตก็สามารถทำได้ ทำให้ได้ยาราคาถูก หรือยา "โซฟอสบูเวียร์" (Sofosbuvir) ซึ่งรักษาไวรัสตับอักเสบซีอันเป็นต้นเหตุตับแข็งและมะเร็งตับ โดยยาตัวนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ บริษัทต้นแบบในอเมริกาขายในราคา 30,000 บาท ขณะที่องค์กรเภสัชไทยขายที่ 120 บาท และในอินเดียขายที่ 70 บาท หากมีมาตรการนี้แน่นอนว่าราคายาจะต้องเปลี่ยนไป

RCEP และ UPOV1991 บทใหม่ของการผูกขาดเมล็ดพันธุ์

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวถึงทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ โดย RCEP นั้นเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) และพยายามผลักดันประเทศอื่นให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV1991 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด มีภาคี 55 ประเทศ 120 ประเทศไม่เป็นภาคี อนุสัญญานี้นำไปสู่การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ให้พันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครอง เกษตรกรไม่สามารถนำไปปลูกต่อหรือแจกจ่ายได้ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย จำคุกไม่เกินสองปีปรับไม่เกินสี่แสนหรือทั้งจำทั้งปรับ อนุสัญญานี้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติกลายเป็นทรัพย์สินของบริษัทเมล็ดพันธุ์

บริษัทมอนซานโต ซึ่งเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ใหญ่สุดในโลก ร่วมกับซีพี ทำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด การผลักดันให้ไทยเป็น UPOV จึงมีกลุ่มบริษัทในไทยที่ต้องการผลักดันด้วย การผูกขาดจะยิ่งขยายอำนาจการผูกขาดของบริษัทมากขึ้นไปทุกที

ยกตัวอย่างฝ้ายดีพี คือฝ้ายมอนซานโตตัดต่อพันธุกรรมถ้าหนอนจะตายถ้ากิน UPOV1978 คุ้มครองแค่สายพันธุ์นี้ แต่ UPOV1991 รับรองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย จะขยายเวลาคุ้มครองออกไป และอำนาจการคุ้มครองก็ขยายไปด้วย เอาไปปลูกต่อก็ต้องขออนุญาตหรือการเอาเมล็ดพันธุ์ไปวิจัย ก็ทำไม่ได้ เพราะพืชพันธุ์นี้ถือเป็นของบริษัท

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง EDV หรือเรียกง่ายๆ ว่า อนุพันธุ์ของสายพันธุ์ หากไปปลูกแล้วเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย จะกลายเป็นสายพันธุ์บริษัททั้งหมด และหากไปผสมข้ามสายพันธุ์แล้วลักษณะเด่นปรากฎ ก็จะเป็นของบริษัทด้วย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

คืนวันพุธปลดอาวุธ คสช. iLaw X Prachatai | EP5 ม.44 เมินสิ่งแวดล้อม-ผังเมือง เอื้อเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Posted: 25 Jul 2018 10:40 AM PDT

คืนวันพุธปลดอาวุธคสช. iLaw X Prachatai พูดคุยกับสุภาภรณ์ มาลัยลอย จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมหรือ EnLaw

โดยตอนนี้พาทุกท่านไปทำความรู้จัก คำสั่งหัวหน้า คสช. หรือ 'มาตรา 44' ที่งดเว้นกฎหมายผังเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. สามฉบับ ซึ่งมีผลงดเว้นกฎหมายผังเมืองเปิดทางให้กับกิจการพลังงานและขยะซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมทั้งเปิดทางให้กับผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมได้ก่อตั้งโรงงานตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเขตที่ คสช. ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

และที่ร้ายกว่านั้นก็คือศาลปกครองไม่รับฟ้องการเพิกถอนคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ด้วย ทั้งนี้สุภาภรณ์เสนอว่าต้องฟังเสียงประชาชนหากจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรม อาจเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านเกษตรอินทรีย์ ตามที่ชุมชนเรียกร้องก็ได้

รับชมรายการ คืนวันพุธปลดอาวุธ คสช. ได้ทางเฟซบุ๊กไลฟ์ทางเพจ @prachatai และ @ilaw ทุกคืนวันพุธ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป และรับชมทาง YouTube ได้ในวันพฤหัสบดี

และร่วมเป็นหนึ่งใน 10,000 รายชื่อเพื่อปลดอาวุธ คสช. ได้ที่ https://ilaw.or.th/10000sign

รับชมย้อนหลังคืนวันพุธปลดอาวุธ คสช.

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: การเมืองหลังเลือกตั้งปี 62

Posted: 25 Jul 2018 09:32 AM PDT

ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฯปี 60 จะต้องเกิดขึ้น เพราะหากไม่มีการเลือกตั้งหรือยืดขยายออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนหลังจาก พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.มีผลบังคับใช้ ย่อมทำให้บ้านเมืองอยู่ในสภาวะที่พังพินาศอย่างแน่นอน ซึ่งผู้มีอำนาจรู้ดี ประเด็นอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนี้และจัดตั้งรัฐบาลให้ได้อีก

จากการประเมินทางวิชาการและผลสำรวจโพลต่างๆทั้งทางลับและทางแจ้งต่างก็ไม่สามารถชี้ชัดไปได้ว่าใครจะเป็นฝ่ายกำชัยโดยเด็ดขาด แม้จะดูเหมือนว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะได้เสียงที่มากโขอยู่ แต่เมื่อพิจารณาถึงระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วน (ที่มีใช้ในประเทศเดียวในโลก) ก็ไม่แน่นักว่าจะเป็นเช่นนั้น อีกทั้งหัวแถวของพรรคก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร มิหนำซ้ำยังเกิดคู่แข่งขันทางการเมืองที่ไม่มีใครคาดคิดขึ้นมาคือพรรคอนาคตใหม่ซึ่งดูเหมือนว่าจะดีวันดีคืน ซึ่งก็ไม่แน่อีกเหมือนกันว่าเสียงดีแล้วคะแนนจะเป็นไปตามนั้นด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจจะน้อยสุดๆ หรือมากสุดๆ ไปเลยก็เป็นได้ทั้งนั้น

ส่วนฝั่งฟากของพรรคที่ประกาศตัวหนุนรัฐบาลคสช.ต่างระดมกันใช้สรรพกำลังจูงใจให้อดีตส.ส.ย้ายค่ายมาสังกัดพรรคตน แต่ก็อีกนั่นแหละจากอดีตที่ผ่านมาย้ายมาก็ไม่แน่ว่าจะได้รับการเลือกตั้งเสมอไป อาจเกิดอาการตายยกรังเหมือนคราวที่แล้วก็เป็นได้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็ออกอาการกั๊กๆ เพราะก็ไม่รู้ว่าหากมีการเปิดประชุมพรรคได้ หัวหน้าพรรคจะยังเป็นคนเดิมอยู่หรือเปล่า เพราะหัวหน้าปัจจุบันบอกว่าไม่เอาคสช.แต่หากลูกพรรคจะเอาคสช.ก็คงต้องเปลี่ยนหัวหน้าเป็นคนอื่น

สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

คะแนนของพรรคต่างๆที่ได้หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจะไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงข้างมากเกิน 250 เสียงอย่างแน่นอน และพรรคที่ได้เสียงมากที่สุดก็อาจไม่ได้เป็นนายกฯ หรือจัดตั้งรัฐบาลเพราะตาม มาตรา 272 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญฯ ปี 60 ต้องใช้เสียงรวมกันถึง 375+1 เสียงจึงจะมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภารวมกัน (สส.500+สว.250) จึงจะตั้งนายกฯได้ ซึ่งผมจะแยกเป็นกรณีๆ ดังนี้

1.กรณีที่ใช้รายชื่อนายกฯจากสามรายชื่อของพรรคการเมือง (ก็อกแรก) ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าคุณประยุทธ์จะตัดสินใจลงรายชื่อพรรคไหน หรืออาจจะถอดใจโบกมือบ๊ายบายไปเลยซึ่งเดือนกันยายนนี้รู้กัน ผมเชื่อว่าจากเสียง สว.250 แล้วหาเสียงจาก สส.อีก125+1 คงไม่ยากนักในการที่จะได้นายกฯ มาตั้งรัฐบาล แต่จะเป็นรัฐบาลที่อายุสั้นที่สุดเพราะเมื่อมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือเสนอร่างกฎหมายสำคัญๆ เช่น พ.ร.บ.งบประมาณ ฯลฯ ก็จะถูกคว่ำกลางสภาผู้แทนราษฎรโดยที่ สว.ไม่สามารถยื่นมือมาช่วยได้เลย

2.กรณีที่จะไม่ใช้รายชื่อจากพรรคการเมืองแต่จะไปเอานายกฯคนนอก(ก็อกสอง)ซึ่งตามมาตรา272วรรคสองของรัฐธรรมนูญปี60 จะต้องได้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 จากทั้งสองสภาซึ่งก็คือ 500 นั้นเป็นไปได้ยากเพราะจะต้องเอาเสียง สว.250 ไปรวมกับเสียง สส.อีก250 จึงจะได้คะแนนที่ว่า ซึ่งหากเกิดกรณี สส.ต่างก็พากันนั่งเฉยๆหรือ "กอดอก"ไม่ยอมยกมือให้ กรณีที่ 2 นี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จึงจะเกิดภาวะที่เรียกว่าเดดล็อก ก็เป็นหน้าที่ที่นายกฯ ในขณะนั้นจะต้องต้องยุบสภาฯ ให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ รัฐบาล คสช.ก็จะยืดอายุออกไปอีก เพราะ คสช.จะสิ้นสภาพไปก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ ปี 60 เท่านั้น และหากยุบสภาฯ แล้วก็ยังตั้งรัฐบาลอีกไม่ได้ก็จะวนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

3.กรณีเกิดฟลุ๊กพรรคที่ได้เสียงข้างมากสามารถรวมกันได้ 375+1 ตั้งนายกฯและฟอร์มรัฐบาลขึ้นมาได้โดยไม่ต้องง้อ สว. (ซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆ ถึงยากที่สุด แต่ก็เป็นไปได้หากเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มหรือที่เรียกว่าแลนด์สไลด์แบบมาเลเซียโน่นแหละครับ) ซึ่งสิ่งตามมาก็คือการทำประชามติสอบถามประชาชนว่าเห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฯปี 60 หรือไม่ จะแก้บางประเด็นก่อนหรือทั้งฉบับไปเลย ฯลฯ เมื่อได้คำตอบแล้วก็เข้าสู่กระบวนการแก้ไขตามรัฐธรรมนูญฯต่อไป ซึ่งหากถึงตอนนั้น สว.ที่จะต้องใช้ 1 ใน 3 ก็คงยากที่จะฝืนแล้ว ในที่นี้ก็หมายความรวมถึงกฎหมายยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่จะต้องถูกแก้หรือถูกยกเลิกอย่างแน่นอน

แล้วเราควรจะทำอย่างไร

ไหนๆเราก็ไม่ได้เลือกตั้งกันมาตั้งแต่ปี 54 ถ้านับถึงปีหน้าก็จะเป็น 8 ปีพอดี และเป็นการเลือกตั้งหลังการรัฐประหารที่คนในประเทศมีทั้งชอบและไม่ชอบ พรรคการเมืองต่างๆก็ควรที่จะประกาศกันออกมาให้ชัดเจนไปเลยว่าจะอยู่ฝ่ายเอาหรือไม่เอาการสืบทอดอำนาจของ คสช. แล้วรณรงค์กันอย่างเต็มที่ คสช.เองก็จะได้รู้ตัวเองว่าเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วคนชอบหรือไม่ชอบตนเองมากกว่ากันแน่ หากมัวแต่ทำกึกๆกั๊กๆ ล็อกก็ไม่ยอมปลด ใครขยับอะไรนิดอะไรหน่อยก็แจ้งข้อหา หรือไม่ก็ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปรามขั้วตรงข้ามกับตนหรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัย หากจะได้ชัยชนะมาก็คงไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจอะไร แรงต้านก็จะยิ่งหนักกว่าเดิมทั้งจากในและนอกประเทศแบบเดียวกับการเลือกตั้งของเขมร และในทางกลับกันหากแม้ว่าทำทุกอย่างหรือทำทุกวิถีทางแล้วยังแพ้อีก ก็ถอยกลับเข้าไปกรมกองตลอดกาลไปเลยเพราะแสดงว่าการรัฐประหารไม่ได้รับการยอมรับนั่นเอง

หากปล่อยอิสระเสรีในการรณรงค์หาเสียงกันอย่างเต็มที่แล้ว มีการเลือกตั้งอย่างสุจริตยุติธรรม ไม่มีการโกงกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลการเลือกตั้งออกมาแล้วฝ่ายที่หนุนคสช.ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก็ให้เป็นอันยอมรับกันว่าประชาชนเขาจะเอาอย่างนี้ คราวหน้าก็แก้ตัวใหม่รณรงค์กันใหม่ก็เท่านั้นเอง

ประชาธิปไตยที่แท้จริงมันสวยงามอย่างนี้ จริงอยู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีข้อบกพร่อง แต่มันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์คิดขึ้นมาได้ การแก้ไขข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยก็คือการทำให้เป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นไปอีกนั่นเอง

อยากให้วันเลือกตั้งมาถึงเร็วๆจังเลยครับ

 

 

 

หมายเหตุ  เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สินเชื่อกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร: ปัญหากับดักหนี้

Posted: 25 Jul 2018 09:19 AM PDT

หนี้นอกระบบถือเป็นปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความยากจน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหานี้โดยการผลักให้ประชาชนเป็นหนี้ในระบบแทน เพื่อลดภาระในการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าหนี้สินของครัวเรือนกลับไม่ลดลงและยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาดังกล่าวเห็นได้อย่างชัดเจนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดน่านที่ทำการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  

เกษตรกรที่นี่ตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามการสนับสนุนของกลุ่มนายทุน เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถือเป็นผลผลิตที่มีศักยภาพทางธุรกิจสูง และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรว่าจะมีตลาดรองรับสินค้า และผลผลิตที่ออกมาจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างแน่นอน และการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านครั้งนี้ คือจุดเริ่มต้นของหนี้สินที่ต้องกู้ยืมมาเพื่อลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์การเกษตร

ในความเป็นจริงถึงแม้ว่าจะมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน แต่ราคาผลผลิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และชาวบ้านเองก็ไม่มีอำนาจมากพอที่จะสามารถกำหนดหรือต่อรองราคาผลผลิตกับกลุ่มนายทุนได้ ทำให้รายได้ที่มีหลังหักค่าใช้จ่ายหรือหนี้ที่กู้ยืมมาลงทุนตอนแรกไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงไม่มีทุนในการเพาะปลูกครั้งถัดไป ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องทำการกู้เงินเพิ่มเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และลงทุนในรอบการผลิตถัดไปเรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น

ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการหมุนจ่ายหนี้โดยอาศัยนโยบายสนับสนุนเกษตรกรของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นกลไกสำคัญ พวกเขากู้ยืมสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาเพื่อใช้ลงทุน แต่เมื่อถึงเวลานัดจ่ายชำระหนี้กลับไม่มีเงินเพียงพอ และถ้าเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นและถูกปรับลดระดับชั้นลูกค้า ส่งผลให้ต้องหากู้แหล่งเงินทุนอื่นเพื่อนำมาชำระหนี้ให้ทันเวลา ไม่ว่าจะเป็นการกู้จากสหกรณ์, กองทุนหมู่บ้านหรือการกู้นอกระบบ และเมื่อถึงคราวต้องจ่ายชำระหนี้ให้แก่แหล่งเงินทุนนอกระบบ พวกเขาก็ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้อีกเช่นเคย จึงทำให้ต้องเข้าสู่วงจรการกู้จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอีกครั้ง

ในขณะเดียวกัน เมื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐพิจารณาประวัติการชำระหนี้ของเกษตรกรแล้วพบว่า เกษตรกรมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ทางธนาคารก็จะอนุมัติเงินกู้รอบใหม่เพิ่มขึ้น ที่สุดแล้วเงินดังกล่าวที่ได้มาก็จะถูกใช้คืนหนี้นอกระบบหมุนวนกลับไปทำให้จำนวนหนี้สินที่เกษตรกรมีอยู่พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านครัวเรือนหนึ่งเล่าว่า เริ่มกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 จำนวนประมาณ 30,000 บาท ปัจจุบันเขามีหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสูงถึงประมาณ 600,000 บาท

ไม่แปลกที่เรามักจะคิดว่าการขาดวินัยและความรู้ทางการเงินของเกษตรกรเป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดวัฏจักรหนี้ขึ้น แต่หากพิจารณาไปถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดวงจรหนี้ลักษณะนี้ขึ้นจะพบว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมถือเป็นปัจจัยหลักที่รักษาความเหลื่อมล้ำให้คงไว้ พวกเขามีทางเลือกที่จะสร้างรายได้ไม่มากนัก และมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่ไม่น้อย

 "ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาที่ไปทำอะไร" คำพูดนี้ของเกษตรกรไม่ได้สะท้อนว่าพวกเขาขาดความรู้ทางการเกษตรหรือการประกอบอาชีพ  แต่ได้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาด และความสามารถในการสร้างรายได้ที่มากพอที่จะคืนทุนและใช้เงินกู้ ชนิดของพืชที่เพาะปลูกในหมู่บ้านจึงถูกกำหนดโดยกลุ่มทุนที่เข้ามาสนับสนุน เพราะการปลูกพืชชนิดอื่นไม่สามารถทำรายได้ให้แก่พวกเขาได้มากเท่ากับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เองก็ไม่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากพอเช่นกัน นอกจากนี้เกษตรกรในพื้นที่ยังเล่าอีกว่า ภาครัฐเข้าไปดูแลช่วยเหลือเรื่องผลผลิตทางการเกษตรน้อยมาก ผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรกรส่วนใหญ่คือกลุ่มนายทุนที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

กับดักที่ก่อให้เกิดวัฏจักรของการเป็นหนี้จึงมิได้อยู่ที่ตัวเกษตรกรเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงนโยบายการปล่อยสินเชื่อพร้อมดอกเบี้ยให้แก่เกษตรกรในสภาวการณ์ที่พวกเขาไม่มีศักยภาพในการทำรายได้เพื่อชำระหนี้ การที่รายรับจากผลผลิตทางการเกษตรไม่สูงพอ และความต้องการพึ่งพาการสนับสนุนจากภายนอก คือเงื่อนไขให้ต้องกู้ยืมเงินจากช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ดำรงชีพและประกอบอาชีพ เพราะเหตุนี้นโยบายส่งเสริมการลงทุนในการประกอบอาชีพโดยการเอื้อให้เกษตรกรเข้าถึงสินเชื่อและนโยบายช่วยเหลือการชำระหนี้ในโครงการต่าง ๆ จึงไม่สามารถปลดหนี้เกษตรกรได้อย่างแท้จริง ซ้ำยังเป็นการเพิ่มภาระในการชำระหนี้ในทางอ้อมอีกด้วย

ท้ายที่สุดแล้ว หากภาครัฐต้องการที่จะช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภาระด้านหนี้สินของเกษตรกรให้ตรงจุด ภาครัฐจำเป็นจะต้องส่งเสริมและขยายศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้มากพอที่จะหลุดพ้นจากภาระหนี้สิน และพิจารณาถึงช่องว่างของนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่มิได้คำนึงถึงเฉพาะความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ตามกำหนด แต่ต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดในการบริหารจัดการหนี้ของเกษตรกร ตลอดจนการเสริมองค์ความรู้ทางด้านการเงิน เพื่อที่จะทำให้การปล่อยสินเชื่อ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างแท้จริง

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

70 องค์กรสิทธิไทย-สากล ขอทางการไทย ทบทวนคดี 'มิก หลงจิ' ที่ถูกประหาร ว่าเกิดความผิดพลาดหรือไม่

Posted: 25 Jul 2018 09:16 AM PDT

องค์กรสิทธิมนุษยชนกว่า 70 องค์กรทั้งไทยและต่างประเทศ ออกแถลงการณ์กรณี ทางการไทยประหารชีวิต "มิก หลงจิ" ระบุว่าอาจเป็นความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม อันเกิดจากข้อบกพร่องของตำรวจ ขอทางการไทยทบทวน ว่าเกิดความผิดพลาดหรือไม่

(แฟ้มภาพ)

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมขององค์กรสิทธิมนุษยชนกว่า 70 องค์กรทั้งไทยและต่างประเทศ กรณี ทางการไทยประหารชีวิต ธีรศักดิ์ หรือ "มิก หลงจิ" เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าอาจเป็นความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม อันเกิดจากข้อบกพร่องของตำรวจ

โดยเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ทบทวนกรณีของธีรศักดิ์ โดยทันทีเพื่อวินิจฉัยว่าได้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรมขึ้นหรือไม่ และถ้ามี ให้มีการขอโทษต่อครอบครัวของธีรศักดิ์โดยทันที เรียกร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และรัฐบาลไทย ให้สอบสวนโดยทันทีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจโดย พ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสง และทีมงานที่ทำคดีการสังหาร ดนุเดช สุขมาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 เนื่องจากส่งผลให้เกิดการประหารชีวิต ธีรศักดิ์

แถลงการณ์ยังเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นมืออาชีพ เต็มความสามารถและไม่ปลอดจากการทุจริต ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการพักการประหารชีวิตและยกเลิกโทษประหารในประเทศไทยโดยทันที

รายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้ : 

การประหารชีวิตธีรศักดิ์ หลงจิเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 ในประเทศไทย  อาจเป็นความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม อันเกิดจากข้อบกพร่องของตำรวจ

– ยกเลิกโทษประหาร –

พวกเราซึ่งเป็นกลุ่มและองค์กรที่มีรายนามด้านล่างเสียใจอย่างยิ่งกับการประหารชีวิตธีรศักดิ์ หลงจิ ที่เกิดขึ้น "อย่างเป็นความลับ" เมื่อเร็ว ๆ นี้ นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 (Bangkok Post, 18/6/2559) และจากการพิจารณารายงานของสื่อมวลชนเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ได้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติมานับแต่ปี 2552 และในเวลาอีกประมาณหนึ่งปีเมื่อไม่ได้มีการประหารชีวิตเกินกว่า 10 ปี ประเทศไทยย่อมมีสถานะเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ ธีรศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ถูกประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง กรุงเทพฯ ด้วยการฉีดยาในข้อหาฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ เขาถูกกล่าวหาและถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานใช้มีดจ้วงแทงดนุเดช สุขมาก นักเรียนมัธยมวัย 17 ปี ถึง 24 ครั้ง ก่อนจะขโมยสมาร์ทโฟนและกระเป๋าสตางค์ของเขาไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ธีรศักดิ์ยืนยันมาตลอดว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่เคยรับสารภาพ

ในปัจจุบันได้เกิดข้อกังวลอย่างจริงจังว่า ธีรศักดิ์ หลงจิอาจถูกประหารจากกระบวนการที่ผิดพลาดเช่นเดียวกับกรณีของเจียงเกาจิง ที่ถูกประหารในไต้หวันเมื่อปี 2540 ในข้อหาละเมิดทางเพศและสังหารเด็กผู้หญิงอายุห้าขวบในปี 2554 กระทรวงยุติธรรมของไต้หวันยอมรับว่าการประหารชีวิตเจียงเกิดจากกระบวนการที่ผิดพลาด

"ไม่มีระบบยุติธรรมทางอาญาใดที่สมบูรณ์พร้อม ถ้าเราประหารชีวิตบุคคล และอีกหลายปีต่อมา เราพบว่าคนร้ายเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะทำอย่างไรล่ะ?" ดาโต๊ะเสรี นาซรี อับดุล อาซิซ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียในขณะนั้น

ความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม

ในปัจจุบันมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการสอบสวนและการดำเนินคดีนี้ ทั้งยังมีความเป็นไปได้ว่าเกิดการปกปิดความจริงและ "การทุจริต" ขึ้นเนื่องจากตำรวจยอมรับว่ายังจับตัวคนร้ายอีกคนหนึ่งไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยต่อ "พยานสำคัญ" ที่ใช้เป็นหลักฐานในการประหารชีวิตธีรศักดิ์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ก่อนจะมีการจับกุมคนร้ายในคดีนี้ได้ทั้งหมดและถูกนำมาไต่สวน หากมีการจับกุมผู้ต้องสงสัยคนอื่นได้ อาจนำมาสู่ข้อพิสูจน์ว่า ธีรศักดิ์ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด นอกจากนั้นพยานอีกคนหนึ่งยังปรากฏตัว และยืนยันว่าธีรศักดิ์เป็นผู้บริสุทธิ์

การสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจและการดำเนินคดีควรถูกตั้งคำถามหรือไม่?

รายงานของสื่อ (Khaosod English,22/6/2018) ระบุว่า "พ่อแม่ของผู้ตายบอกว่า พวกเขาได้เรียกร้องตำรวจมาเป็นเวลาหลายปีให้ตามหาตัวคนร้ายอีกคนหนึ่ง แต่พ่อแม่บอกว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ให้ความใส่ใจและบอกให้ทางครอบครัวไปรวบรวมพยานหลักฐานเอาเอง" เมื่อเร็ว ๆ นี้ตำรวจยืนยันเองว่ายังมีคนร้ายอีกคนหนึ่ง

ตำรวจได้แถลงเมื่อวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ว่ากำลังอยู่ระหว่างการติดตามตัวผู้ต้องสงสัยอีกคนหนึ่ง "เรายังคงสอบสวนเรื่องนี้ต่อไปเพื่อจับตัวคนร้ายอีกคนหนึ่ง" พ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสง ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 (Khaosod English, 22/6/2018) มีรายงานว่าพ.ต.ท.ประเสริฐระบุว่าธีรศักดิ์ไม่เคยให้การรับสารภาพ ทัศนคติและการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจไทยในคดีนี้ ย่อมถูกตั้งคำถามอย่างแน่นอน ตำรวจมีหน้าที่อำนวยการให้เกิดการสืบสวนสอบสวนอย่างรอบด้านโดยไม่ให้เกิดข้อสงสัยใดๆ ในการค้นหาความจริง เพื่อประกันว่าจะมีการนำตัวคนร้ายที่แท้จริงเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ด้วยเหตุดังกล่าว พฤติการณ์ของพ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสงและเจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่สอบสวนและฟ้องคดีนี้ทำให้เราผิดหวัง ถึงขั้นที่ตำรวจบอกให้พ่อแม่ของผู้ตายไป "รวบรวมพยานหลักฐานเอาเอง" ทั้ง ๆ ที่เป็นหน้าที่ในการสอบสวนของตำรวจถือเป็นการกระทำอย่างไม่เป็นมืออาชีพ

ยังมีรายงานในสื่ออีกด้วยว่า "…จากข้อมูลของพ.ต.ท.ประเสริฐ ตำรวจสามารถขอหมายจับจากศาลเพื่อจับกุมธีรศักดิ์ ซึ่งเคยมีประวัติกระทำความผิดด้านยาเสพติดและอาวุธหลายกรณี โดยสามารถออกหมายจับได้เพียงหนึ่งวันหลังการฆาตกรรมโดยใช้ปากคำของพยานที่หนักแน่น และตำรวจได้จับกุมเขาในวันต่อมา ตำรวจบอกด้วยว่าธีรศักดิ์ไม่เคยให้การรับสารภาพ…" ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตำรวจและพนักงานอัยการ ดำเนินการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ตำรวจและอัยการติดอยู่ในกรอบความคิดแคบ ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามตัวคนร้ายที่แท้จริงในคดีนี้ใช่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่ตำรวจปิดกั้นโอกาสในการสอบสวนผู้ต้องสงสัยรายอื่น และกลับให้ความสำคัญตามความเชื่ออย่างจริงจังว่าธีรศักดิ์เป็นคนร้าย โดยไม่ใส่ใจจะติดตามตัวผู้ต้องสงสัยอีกคนหนึ่ง หรือโดยไม่คำนึงว่ามีความเป็นไปได้ที่คนอื่นนอกจากธีรศักดิ์จะเป็นคนร้ายในคดีนี้? กรอบคิดที่คับแคบเช่นนี้ของตำรวจและพนักงานอัยการ เป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรมในหลายกรณีมาแล้ว ทั้งยังเป็นเหตุให้ผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิต

การที่บุคคลเคยมีประวัติกระทำความผิดไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะกระทำความผิดครั้งใหม่ ประวัติการถูกตัดสินลงโทษอาจมีผลในการกำหนดโทษ แต่ไม่ควรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสืบสวนสอบสวนของเจ้าพนักงานต่อความผิดที่เกิดขึ้นใหม่การด่วนสรุปและการปิดกั้นโอกาสอย่างอื่นเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมากสุด โดยอาจส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกลงโทษ หรืออาจต้องสูญเสียชีวิต

การประหารชีวิตธีรศักดิ์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม

ได้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความผิดของธีรศักดิ์ เนื่องจากพยานใหม่ให้ความเห็นตามรายงานของสื่อว่า "…พยานได้ให้ความเห็นทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าเขากับเพื่อนอีกคนหนึ่งเห็นวัยรุ่นอีกสองคนจ้วงแทงวัยรุ่นอีกคนหนึ่งอย่างไม่ยั้ง ระหว่างที่เขาขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านจุดเกิดเหตุ เขาได้จอดรถเพื่อหยุดดูสิ่งที่เกิดขึ้นและต้องหลบหนีจากคนร้าย เขาบอกว่าธีรศักดิ์ซึ่งเป็นคนที่เขารู้จักไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุในขณะนั้น
ต่อมาเขาเห็นธีรศักดิ์กำลังขี่มอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้ามาบริเวณที่เกิดเหตุจากทิศทางในตรงข้าม เขายังเตือนให้ธีรศักดิ์อย่าเข้าไปข้างใน…" (Khaosod English, 22/6/2018)

แม้ว่าธีรศักดิ์มีความผิดจริง ย่อมถือได้ว่าเขาเป็นพยานสำคัญในคดีนี้ กรณีที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสังหารครั้งนี้ การประหารชีวิตพยานสำคัญที่เหลืออยู่เช่นนี้ ก่อนจะมีการจับกุม ตั้งข้อหาและไต่สวนผู้ต้องสงสัยคนอื่น ย่อมไม่ส่งผลให้ผู้ตายได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากคนร้ายตัวจริงอาจลอยนวลพ้นผิด เนื่องจากเจ้าพนักงานไม่สามารถอ้างอิงปากคำของธีรศักดิ์เป็นหลักฐานได้แล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยต่อการเร่งรีบประหารชีวิตธีรศักดิ์ว่า อาจมีแรงจูงใจอย่างอื่นเพื่อปกป้องคนร้ายคนอื่น

ครอบครัวไม่ได้รับแจ้งเกี่ยวกับการประหารชีวิตธีรศักดิ์

มีรายงานว่า ขนิษตา หลงจิ อายุ 20 ปี น้องสาวของธีรศักดิ์บอกว่า '…ทางครอบครัวไม่ได้รับแจ้งก่อนจะมีการประหารชีวิตธีรศักดิ์จนกระทั่งหลังจากการประหารชีวิตเกิดขึ้นแล้ว…"หนูไม่เข้าใจ ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเลยว่าพี่จะถูกประหาร…ในความเป็นจริง ทางครอบครัวควรได้รับแจ้งก่อนจะมีการประหารชีวิต…เพื่อให้ญาติสามารถล่ำลาผู้ที่จะถูกประหารได้" ขนิษตาบอกว่า ทางครอบครัววางแผนจะไปเยี่ยมเขาในวันอังคาร เนื่องจากเมื่อเร็ว ๆ นี้พี่ชายเขียนจดหมายมาขอเงิน 2,000 บาท' (Khaosod English, 19/6/2018)

ถือเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เกรงกลัวใคร โดยครอบครัวและบุคคลผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังจะถูกประหาร ไม่ได้รับโอกาสที่จะมีเวลาอยู่ร่วมกันก่อนการประหารชีวิต การประหารชีวิต 'แบบลับ' เช่นนี้ยังขัดขวางไม่ให้สามารถดำเนินการในขั้นสุดท้ายใด ๆ เพื่อป้องกันความตายของนักโทษประหารได้ ในกรณีนี้ เมื่อมีการเปิดเผยรายละเอียดเสียชีวิตต่อสื่อมวลชน ได้ส่งผลให้พยานออกมาให้ปากคำยืนยันความบริสุทธิ์ของธีรศักดิ์ ซึ่งหากทางการเปิดเผยข้อมูลว่าจะมีการประหารชีวิตก่อนหน้านี้ ธีรศักดิ์อาจไม่ถูกประหารก็ได้ เนื่องจากมีพยานใหม่ปรากฏตัวขึ้น ข้อบกพร่องของตำรวจในการสอบปากคำพยานคนนี้ ในระหว่างการสอบสวนคดี เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการไร้ความสามารถ หรือท่าทีที่เฉื่อยชาในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา

เราจึง

เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ทบทวนกรณีของธีรศักดิ์ หลงจิซึ่งถูกประหารในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 โดยทันทีเพื่อวินิจฉัยว่าได้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรมขึ้นหรือไม่ และถ้ามี ให้มีการขอโทษต่อครอบครัวของธีรศักดิ์โดยทันที

เรียกร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและรัฐบาลไทย ให้สอบสวนโดยทันทีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจโดยพ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสงและทีมงานที่ทำคดีการสังหารดนุเดช สุขมาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 เนื่องจากส่งผลให้เกิดการประหารชีวิตธีรศักดิ์ หลงจิ

เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นมืออาชีพ เต็มความสามารถและไม่ปลอดจากการทุจริต ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม

เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการพักการประหารชีวิตและยกเลิกโทษประหารในประเทศไทยโดยทันที

องค์กรที่ลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์นี้

ALIRAN, Malaysia

Australians Against Capital Punishment (AACP)

Association of Human Rights Defenders and Promoters- HRDP, Myanmar

ATRAHDOM Guatemala

Banglar Manabadhikar Suraksha Mancha (MASUM), India

Brandywine Peace Community

Catholic Mobilizing Network, US

CAW (Committee for Asian Women)

Center for Orang Asli Concerns (COAC), Malaysia

Center for Prisoners' Rights, Japan

Christian Development Alternative (CDA), Bangladesh

CRCF -Cross Cultural Foundation, Thailand

Democratic Commission for Human Development, Pakistan

ECPM (Together against the Death Penalty [Ensemble contre la peine de
mort]), France

End Solitary Santa Cruz County, CA, USA

Farmworker Association of Florida, Inc.

FIDU – Federazione Italiana Diritti Umani(Italian Federation for Human
Rights)

German Coalition to Abolish the Death Penalty (GCADP)

Global Women's Strike, UK

Global Women's Strike, USA

GoodElectronics Thailand

Haiti Action Committee

Hands off Cain

Hearty Support Group   กลุ่มด้วยใจ

Health and Opportunity Network (HON), Thailand
เครือข่ายสุขภาพและโอกาส

Human Rights Coalition

Human Rights Coalition, Philadelphia, USA

HRC Fed Up Pittsburgh, USA

Human Rights and Democracy Media Center "SHAMS", Palestine

IDEAL(  Institute for Development of Alternative Living), Malaysia

Imparsial The Indonesian Human Right Monitor

International Concerned Family and Friends of Mumia Abu-Jamal

Legal Action for Women, United Kingdom

Legal Awareness Watch(LAW), Pakistan

Let's Get Free/Pittsburgh

MADPET(Malaysians Against Death Penalty and Torture)

Malaysian Physicians for Social Responsibility.(MPSR)

Manushya Foundation, Thailand

MAP Foundation (Thailand)

Margaret Prescod, Pacifica Radio host

Marvi Rural Development Organization- MRDO, Pakistan

Migrant Care, Indonesia

MLK Coalition of Greater Los Angeles, USA

Mumia Abu-Jamal

National Union of Transport Equipment & Allied Industries Workers
(NUTEAIW)

North South Initiative

Odhikar, Bangladesh

Parti Rakyat Malaysia(PRM)

Payday – USA

Payday Men's Network

People's Empowerment Foundation (PEF), Thailand
มูลนิธิศักยภาพชุมชน

Persatuan Komuniti Prihatin Selangor, KL & Perak (Malaysia)

Programme Against Custodial Torture and Impunity (PACTI), India

Raging Grannies

Rescue Alternatives Liberia (RAL)

Sikhoraphum Youth Group  ,Thailand
กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ

Singapore Anti Death Penalty Campaign (SADPC)

Step Ahead  Foundation, Thailand
มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา

TEA Togetherness for Equality and Action, Thailand

Tenaganita, Malaysia

Teoh Beng Hock trust for Democracy

The Duay Jai (Hearty Support) Group, Thailand

The Julian Wagner Memorial Fund (JWMF), Australia

The MOVE Organization (Family Africa)

The Sunny Center Foundation, New York

Think Centre, Singapore

Topanga Peace Alliance, USA

UCL – Union for Civil liberty, Thailand

Witness to Innocence

Women in Media,

Women of Color, UK

Women of Color, USA

Workers Assistance Center, Inc., Philippines

Workers Hub For Change(WH4C)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เราจะล้างผลพวงรัฐประหารอย่างไร: ข้อคิดจากเกาหลีใต้

Posted: 25 Jul 2018 09:06 AM PDT


 ประตู main gate ของ Korea University

ภาพข้างบนนี้ถ่ายจากหน้าประตู 'main gate' ของ Korea University เป็นเครื่องเตือนใจถึงเหตุการณ์ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยและชาวบ้านในชุมชน  Anam ของกรุงโซล ออกมาต่อต้านรัฐบาลทหาร ในปี 1960

เกาหลีใต้และไทยดูจะไม่ห่างกันมากในแง่ความลุ่มๆดอนๆ ของเสถียรภาพประชาธิปไตย เพราะการรัฐประหารและปราบปรามประชาชนบ่อยครั้งตลอดหน้าประวัติศาสตร์ ความแตกต่างอยู่ที่ว่าพวกเขาเรียนรู้ที่จะเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจนเข้มแข็งได้อย่างทุกวันนี้ ด้วยข้อคิดง่ายๆว่า

"We will not forget what they wanted"

การต่อสู้ของประชาชนเกาหลีใต้

หนึ่งในการรำลึกถึงความสูญเสียในอดีตของประชาชนเกาหลีใต้ เกิดขึ้นในปี 2012 เมื่อมีการสร้างภาพยนตร์เกาหลีใต้ชื่อ 'National Security' (Namyeong-dong 1985 in Korean) บทภาพยนตร์เขียนขึ้นมาจากความทรงจำของ คิม กึน แต อดีตนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักการเมือง เขาถูกลักพาตัวและถูกซ้อมทรมานเพื่อบีบบังคับให้รับสารภาพโดยเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงของรัฐบาลนายพลชุน ดู ฮวาน

กรณีของคิม กึน แต เป็นเพียงกรณีการละเมิดสิทธิ์เพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ท่ามกลางการกวาดล้างประชาชนจำนวนมาก ภายใต้ระบอบเผด็จการอันยาวนานของนายพล ชุน ดู ฮวาน ระหว่างทศวรรษที่ 1980's สะท้อนถึงแบบแผนการละเมิดสิทธิประชาชนภายใต้ระบอบเผด็จการได้เป็นอย่างดี หนังเรื่องนี้นำข้อถกเถียงถึงความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านในเกาหลีใต้กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง


โปสเตอร์ภาพยนต์ Namyeong-dong 1985

นับตั้งแต่นายพลชุน ดู ฮวาน ทำการรัฐประหารขึ้นครองอำนาจทางการเมือง หลังเหตุการณ์สังหารอดีตประธานาธิบดี ปัก จุง ฮี ในปี 1979 ประชาชนเผชิญการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาง มีผู้คนถูกทำร้ายในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจับกุมนักเขียน นักกิจกรรม การกวาดล้างผู้นำฝ่ายซ้าย การสลายการชุมนุมคนงาน นักศึกษาประชาชนอีกหลายระลอก ประชาชนนับแสนคนถูกป้ายสีว่าบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ มีการซ้อมทรมาน ผู้คนจำนวนไม่น้อยสูญหายและหากยังมีชีวิตอยู่ก็ได้รับความกระทบกระเทือนทั้งร่างกายและจิตใจ ฯลฯ

สัญญาณของการเปลี่ยนผ่าน เกิดขึ้นหลังการลุกฮือของประชาชนชาวเกาหลีใต้อีกครั้งในปี 1987 จนสามารถกดดันให้สภานิติบัญญัติแก้กฎหมายให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี มีการเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์บาดแผลโดย โร แต วู ประธานาธิบดีที่สืบทอดอำนาจจากนายพลชุน ดู ฮวาน เริ่มแสดงการยอมรับความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และตรากฎหมายฟื้นฟูเกียรติให้แก่ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

ในปี 1989 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยโจมตีพิเศษระหว่างการลุกฮือของชาวเมืองกวางจู ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบทางมโนธรรม และเปิดเผยข้อมูลการทารุณกรรมของกองทัพต่อประชาชน จนกระทั่งในปี 1990 องค์กรภาคประชาสังคม 41 องค์กรจัดกิจกรรมรำลึกการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยของชาวเมืองกวางจู และนั่นปูทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกระบวนการยุติธรรมของเกาหลีใต้

เมื่อเกาหลีใต้สามารถเปลี่ยนผ่านประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ระหว่างปี 1995-2010 ก็ทำให้ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านความยุติธรรมในสังคมเกาหลีใต้ก้าวหน้าอย่างมีพัฒนาการตามมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี 2010 มีการตั้งคณะกรรมการแสวงหาความจริงขึ้นมา และรัฐบาลพลเรือนทยอยออกแบบขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียดลออ เพื่อชำระความผิดที่ระบอบเผด็จการกระทำต่อประชาชน

กฎหมายพิเศษอุทิศแด่ขบวนการประชาธิปไตย "May 18"

การเปลี่ยนผ่านมาสู่รัฐบาลพลเรือนเปิดฉากขึ้นได้ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการค้นคว้าหาความจริงและคืนความเป็นธรรมให้ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย มีการเรียกร้องอย่างสูงในหมู่ประชาชนในการคืนความยุติธรรมให้แก่ "ขบวนการประชาธิปไตย" (Democratization Movement) ซึ่งตกเป็นเหยื่อของปราบปรามของระบอบเผด็จการ ที่เมืองกวางจู เมื่อปี 1980

แม้ว่าประธานาธิบดีพลเรือนในเวลานั้นอย่างนายคิม ยอง ซัม (1992-1997) จะวิจารณ์การกระทำของอดีตประธานาธิบดี นายพลชุน ดู ฮวาน อยู่บ้าง แต่คิม ยอง ซัมกลับเชื่อว่าการดำเนินคดีทั้งสองอาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพการเมืองและความไม่สงบทางสังคม คิมโต้แย้งความพยายามฟ้องร้องคดีอาญาต่ออดีตประธานาธิบดี ชุน ดู ฮวาน โดยกล่าวว่า "ให้ความจริงควรสงวนไว้สำหรับการตัดสินทางประวัติศาสตร์ในอนาคต" ในระหว่างที่เขาสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1993 มีผู้ชุมนุมไปขัดขวางคิม ยอง ซัมเข้าคารวะสุสานมังวอนทง เพราะโกรธแค้นจากข้อความดังกล่าว

ในปี 1994 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและญาติผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่เมืองกวางจูในปี 1980 ได้เรียกร้องให้มีค้นหาความจริงและดำเนินคดีกับชุน ดู ฮวาน และพวกในข้อหากบฏ ฆาตกรรม และทรยศต่อชาติ

แรกเริ่มเดิมที อัยการของกรุงโซลตัดสินใจที่จะระงับการดำเนินคดีกับอดีตผู้นำกองทัพ 2 คน คือชุน ดู ฮวาน และ โร แต วู  โดยมีความเห็นว่าการยึดอำนาจเมื่อปี 1979 เป็นการรัฐประหารที่กระทำการสําเร็จ แต่ก็ทำการควบคุมเฉพาะกิจการของกองทัพเท่านั้น ในขณะที่สถาบันทางการเมืองหลักอื่นๆ ยังคงทำงานต่อไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้ถูกยกเลิกหรืองดการบังคับใช้จากคณะรัฐประหารแต่อย่างใด ดังนั้นรัฐบาลคิม ยอง ซัม จึงยังคงเป็นผลต่อเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่

ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในปี 1995 ว่าการตัดสินใจไม่ฟ้องร้องเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดความไม่พอใจกระจายในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การเคลื่อนไหวกดดันอีกครั้ง

การเปลี่ยนคำวินิจฉัยครั้งสำคัญ

มีการเปิดเผยข้อมูลทุจริตของเผด็จการทั้งสองออกมาเป็นระยะจากองค์กรประชาสังคมต่างๆในเกาหลีใต้ จนสามารถกดดันให้รัฐบาลคิม ยอง ซัม รัฐบาลพลเรือนในเวลานั้นดำเนินการคืนความเป็นธรรมและตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริตของชุน ดู ฮวาน และ โร แต วู

ในเวลาต่อมา รัฐบาลสามารถผ่านกฎหมายพิเศษเพื่อพิจารณาเหตุการณ์การปราบปรามการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 1980 โดยฝ่ายจำเลยได้ต่อสู้ว่ากฎหมายฉบับนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญใน 2 ประการ คือ

หนึ่ง การออกกฎหมายพิเศษนี้เป็นการออกกฎหมายเพื่อมุ่งเอาผิดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้รับรองไว้

สอง การออกกฎหมายฉบับนี้ขัดต่อหลักนิติรัฐในประเด็นเป็นการออกกฎหมายเพื่อเอาผิดย้อนหลัง

อย่างไรก็ตาม ถึงที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับรองกฎหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุผลว่า การออกกฎหมายฉบับนี้ทำไปโดยคํานึงถึงหลักการพื้นฐานที่สําคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งการชําระสะสางความผิดพลาดในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นเรื่องที่ต้องทําเพื่อให้สังคมคลายความเคลือบแคลงสงสัย อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันอีกว่าการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 พ.ค.1980 ไม่ขัดกับหลักการกฎหมายเพื่อเอาผิดย้อนหลัง

คำวินิจฉัยนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ให้แก่การตรากฎหมายอีกหลายฉบับเพื่อเปลี่ยนผ่านความยุติธรรมภายในประเทศ โดยกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ดำเนินไปในกรอบการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองใน 4 ประการคือ

1.ดําเนินคดีกับอดีตผู้นําที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง

2.ปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตย

3.เยียวยาความเสียหายให้แก่เหยื่อและญาติของผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และ

4.ค้นหาความจริงเพื่อนําไปสู่การชําระความผิดพลาดที่รัฐเป็นผู้กระทําในอดีต


 ประชาชนที่ออกมาต่อต้านรัฐประหาร ปี 2557 ในไทย
ที่มา: Banrasdr Photo

การล้างผลพวงการรัฐประหารของไทย

จากบทเรียนของประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนการละเมิดสิทธิประชาชนตลอด 4 ปีที่ผ่านมากันใหม่อีกครั้ง แม้ว่าประเทศไทยจะผ่านความรุนแรงทางการเมืองมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ยังไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้กระทำความผิดจะถูกนำตัวมาลงโทษ เราอาจจะเริ่มคิดถึงเรื่องนี้ได้จากเหตุการณ์ร่วมสมัยที่สุดคือ หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ทำรายงานรวบรวมสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมา พบว่า มีการเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว การควบคุมตัวติดตาม การควบคุมการเผยแพร่ข่าว ตลอดจนการจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ เป็นไปอย่างกว้างขวาง

แม้ว่ารัฐบาล คสช. จะประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการดำเนินการให้ "สิทธิมนุษยชน" เป็นวาระแห่งชาติ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ และการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ดังปรากฏตัวอย่างในตารางสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ที่มา: รายงาน 4 ปีภายใต้ คสช. สิทธิมนุษยชน และผลพวงรัฐประหารต่อสังคมไทย โดยศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน

 

สมานแผลของประวัติศาสตร์

ในวาระครบรอบ 4 ปี ของการยึดอำนาจของคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเสนอวิธีจัดการกับผลพวงการรัฐประหาร ตลอด 4 ปี ของไทย อันแสดงให้เห็นว่าภายใต้ความสงบของการปกครองในระบอบรัฐประหาร เมื่อลงลึกไปในแต่ละกรณี เราจะพบความเจ็บปวดมากมายจากเหยื่อ ที่เป็นเพียงประชาชน "ผู้เห็นต่าง" ในทางการเมือง กลับต้องกลายมาเป็น "เป้าหมาย" ในการจัดการของรัฐตลอด 4 ปี หลังการรัฐประหารเป็นมา  

เพื่อยับยั้งมิให้ผลพวงจากการรัฐประหารได้รับการรองรับและบังคับใช้ในภายภาคหน้า รวมถึงเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้กลายเป็นข้อยกเว้นภายใต้เหตุผลความมั่นคงของรัฐอีก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงมีข้อเสนอต่อการจัดการผลพวงทางกฎหมายของ คสช. โดยมีตัวอย่างคร่าวๆดังนี้

 

แยกทหารออกจากการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน

ข้อเสนอนี้ให้จำกัดบทบาทของทหารโดยแยกเด็ดขาดจากการใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนโดยแท้ โดยอย่างน้อยที่สุด กองทัพต้องยุติการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติการในงานบริหาร นิติบัญญัติ และในคณะกรรมการชุดต่างๆ ทั้งหมด และต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นธรรมและโดยเร็วที่สุด โดยต้องแก้ไขมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ให้อำนาจ คสช. แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน โดยการเสนอชื่อจาก กกต.

จัดการกับผลพวงทางกฎหมาย ข้อเสนอนี้แบ่งชุดกฎหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ชุดที่ 1 กฎหมายที่มาจากโครงสร้างหรือวิธีการออกโดยมิชอบ กล่าวคือ ชุดกฎหมายที่ออกโดยคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมิได้มาจากฐานการใช้อำนาจนิติบัญญัติของประชาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ ประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ต้องได้รับการทบทวนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะดำเนินการทบทวนนั้น อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ พรรคการเมือง หรือหน่วยงานรัฐ/องค์กรอิสระก็ตาม

ชุดที่ 2 คือกฎหมายที่อยู่ในกระบวนการบังคับใช้โดยมิชอบ เป็นชุดกฎหมายซึ่งเป็นความผิดทางอาญาที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้ว แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตีความและบังคับใช้อย่างเข้มข้นหลังการรัฐประหาร โดยไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจัดการกับบุคคลซึ่งเห็นต่างหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช.

ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และใช้ฐานกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้ศาลวินิจฉัยคำพิพากษามีคำรับรองสิทธิทางการเมืองของประชาชน

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล ต้องยกเลิกการนำพลเรือนเข้าสู่การพิจารณาของศาลทหาร เพื่อยืนยันหลักความเป็นกลางและความเป็นอิสระของศาล พนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวน ต้องยืนยันว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงพยานหลักฐาน สิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ต้องออกกฎหมายให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในศาลทหาร เนื่องจากคดีเกิดขึ้นระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้สามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อศาลยุติธรรมได้ และขอรับการเยียวยาจากรัฐทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน รัฐควรต้องประกันระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรตุลาการกับประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอันแท้จริงตามระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ ต้องยกเลิกการเข้ามากำกับและควบคุมการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวน โดยการยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่ 115/2557 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานฝ่ายตำรวจมีดุลพินิจเหนือพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี นอกจากนี้ ต้องยุติการดำเนินคดีซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปราบปรามบุคคลซึ่งเห็นต่างด้วยการใช้ช่องทางสั่งไม่ฟ้องคดี

เยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของทหาร

การเยียวยาประชาชนเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยมีข้อเสนอ 2 ประเภท ตามรูปแบบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คือ ประเภทที่ 1 การเยียวยาประชาชน กรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่ไม่ถูกดำเนินคดี ได้แก่ บุคคลที่ยอมรับข้อตกลงอันจำกัดสิทธิบางประการ ตาม MOU ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ทหาร บุคคลที่ลี้ภัยทางการเมือง และบุคคลที่ถูกติดตาม ข่มขู่ หรือควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อันละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะไม่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ

ประเภทที่ 2 การเยียวยาประชาชน กรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยถูกรัฐ/เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดี ได้แก่ บุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่ง คสช. คำสั่งหัวหน้า คสช. และบุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดทางอาญาฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 อันเนื่องมาจากเหตุจูงใจทางการเมือง หรือตกเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ขัดต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสามารถแบ่งพิจารณาตามช่วงชั้นการดำเนินคดีของทั้งศาลยุติธรรมและศาลทหาร

จัดการคำพิพากษาที่รับรองความสมบูรณ์ในการทำรัฐประหาร สร้างเอกสิทธิ์คุ้มครองให้ คสช. และเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย และการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนสิ้นผลไป

การจัดการคำพิพากษาที่มีลักษณะดังนี้ ศูนย์นายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้คำพิพากษาแบ่งออกเป็น 2 ชุด

ชุดที่ 1 กลุ่มคำพิพากษาซึ่งรับรองความชอบด้วยกฎหมายและความสมบูรณ์ในการทำรัฐประหารของ คสช. เพื่อลบล้างความชอบด้วยกฎหมายและความสมบูรณ์ของการกระทำรัฐประหารโดย คสช. ต้องทำให้คำพิพากษา ซึ่งอย่างน้อยที่สุด คำพิพากษาฎีกาที่ 3578/2560 คดีสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่วินิจฉัยว่า คสช. มีฐานะเป็นรัฎฐาธิปัตย์ แม้พระมหากษัตริย์ยังไม่มีพระบรมราชโองการรองรับสถานะของ คสช. ต้องสิ้นผลไปทันที ทั้งนี้ เพื่อทำลายหลักในการวินิจฉัยว่าการใช้อำนาจอันไม่ชอบด้วยวิถีทางประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ต้องถูกลบล้างและไม่ถูกนำมาอ้างโดยสถาบันตุลาการในอนาคต

ชุดที่ 2 กลุ่มคำพิพากษาซึ่งสร้างเอกสิทธิ์คุ้มครองมิให้ คสช. และเจ้าหน้าที่รัฐต้องรับโทษทางกฎหมาย และกลุ่มคำพิพากษาซึ่งนำกฎหมายอันละเมิดสิทธิเสรีภาพมาวินิจฉัยเพื่อลงโทษประชาชน กลุ่มคำพิพากษาซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้มาตรา 44 มาตรา 47 และ 48 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ตลอดจนคำพิพากษาที่วินิจฉัยตามประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งอาศัยฐานอำนาจตามมาตราดังกล่าวในการออกและบังคับใช้เป็นกฎหมาย ต้องทำให้สิ้นผลไป

บทเรียนและข้อเสนอพอสังเขปที่กล่าวมา ทำให้เราเห็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อนำไปสู่การสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน มิใช่เรื่องง่ายที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะผลักดันอย่างโดดเดี่ยว หากจะต้องกระทำด้วยความละเอียดละออ และต้องอาศัยความพร้อมใจในวงกว้างเพื่อผลักดันข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมโดยเคารพจิตวิญญาณวีรชนประชาธิปไตยในอดีตเป็นหลักหมาย ทั้งนี้เป้าหมายทั้งหมดไม่มีอะไรมากหรือน้อยไปกว่าการคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้สูญเสีย และพาบ้านเมืองเดินไปให้พ้นจากกับดักทางประวัติศาสตร์บาดแผลกันเสียที

 

รายการอ้างอิง

Kuk Cho. 2007. "Transitional Justice in Korea: Legally Coping with Past Wrongs after Democratization." Pacific Rim Law & Policy Journal 16 (3): 579-611

Paul Hanley. 2014. Transitional Justice in South Korea: One Country's Restless Search for Truth and Reconciliation, 9 U. Pa. E. Asia L. Rev. 139

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  http://www.tlhr2014.com/th/?p=8235

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สมัชชาคนจนปากมูลพกธนูเดินขบวนหา 'ประยุทธ์' ที่อุบลฯ ร้องแก้ปัญหาน้ำเน่า-เขื่อน

Posted: 25 Jul 2018 06:40 AM PDT

ตัวแทนสมัชชาคนจนปากมูล-ชาวบ้านที่กระทบจากเขื่อนหัวนาเดินขบวนเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ ระหว่าง ครม. สัญจรที่อุบลฯ ร้องแก้ปัญหาประเด็นเขื่อนหัวนา-เขื่อนปากมูล-น้ำลำโดมเน่าจากโรงงาน พกธนูไว้ยิงส่งหนังสือหากถูกสกัด ด้านภาครัฐ-สำนักนายกฯ รับข้อเรียกร้องไว้ดำเนินการต่อ

เมื่อ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา เวลา  7.30 น. ตัวแทนสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูลตั้งขบวนเดินเท้าจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ม.อบ.) มุ่งหน้าไปยังโรงแรมยูเพลสอันเป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่มีขึ้นในวันที่ 23-24 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กฤษกร ศิลารักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูลกล่าวกับประชาไทว่า แต่เดิมจะมีผู้ร่วมเดินขบวนอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา ต.โนนสังข์ จ.ศรีสะเกษ เดินทางมาสมทบก่อนจะเดินขบวนที่ ม.อบ. แต่ต้องยกเลิกและเดินกันเพียง 13 คน เพราะกลุ่มจากศรีสะเกษถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามนั่งรถมาด้วย

กลุ่มตัวแทนสมัชชาคนจนได้นำธนู 18 คัน พร้อมไม้ใช้แทนลูกธนู เอาไว้ใช้ในกรณีที่เดินทางไปถึงแล้วถูกกั้นไม่ให้เข้าพบนายกฯ จะได้นำหนังสือข้อเรียกร้องพันกับลูกธนูแล้วยิงเข้าไป

ทั้งนี้ ขบวนเดินทางถึงแยกด้านหน้า ม.อบ. ที่จะทะลุไปยังโรงแรมยูเพลส ก็ถูกสกัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นเกิดการต่อรองเพื่อเปิดการเจรจา ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดห้องเจรจาในที่ทำการสำนักงานเทศบาลตำบลศรีไค

กลุ่มประชาชนมีข้อเรียกร้องในประเด็นปัญหาสามประการ ดังนี้

1.  กรณีเขื่อนหัวนา ที่สร้างเมื่อปี 2535 เริ่มเก็บน้ำในปี 2536 จนบัดนี้ 26 ปี กระบวนการจ่ายค่าชดเชยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่ 725 แปลงยังไม่แล้วเสร็จ
a.    เรียกประชุมคณะอนุกรรมการสืบเสาะราคาค่าทดแทนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ โครงการฝายหัวนา เพื่อพิจารณากำหนดราคาค่าชดเชยที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์โดยเร็ว
i.    ที่ผ่านมามีการจัดทำรายชื่อราษฎรที่ถูกเขตชลประทานโครงการฝายหัวนา ตามแผนที่ ร.ว. 43 ก. ในเขต 114 ม.รทก. ในพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 725 แปลง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานตรวจสอบพื้นที่เมื่อปี 2554-2556 โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ (โฉนด) และที่ดิน "ทค." (ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์)
ii.    ที่ดิน ทค. นั้นกำหนดอัตราค่าชดเชยที่ดินแล้วที่ 45,000 บาท แต่ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ยังไม่มีการกำหนดค่าชดเชยไว้
b.    ให้ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากเขื่อนหัวนา โดยมีตัวแทนของกลุ่มราษฎรบ้านโนนสังข์เข้าร่วมด้วยคณะละสามคน
c.    ให้คณะทำงานแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เร่งดำเนินการตรวจสอบที่ดินที่ยังตกหล่นจำนวน 34 แปลงโดยเร็ว
 

2. ปัญหาน้ำลำโดมเน่าเสีย เนื่องจากปี 2558 เกิดปัญหาคันบ่อบำบัดน้ำเสียของบริษัทอุบลเกษตรพลังงาน จำกัดแตกทำให้น้ำเสียปริมาณ 500,000 ลูกบาศก์เมตรไหลลงสู่ลำโดมใหญ่ ส่งผลให้น้ำในลำโดมใหญ่เน่าเสียทั้งลำน้ำและทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลา กุ้งตายลงเป็นจำนวนมาก  แม้ต่อมามีการตรวจสอบและให้บริษัทฯ แก้ไข ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูลำโดมใหญ่ แต่ก็ยังมีปัญหาน้ำเน่าในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ของทุกปี ทำให้สัตว์น้ำตายจำนวนมาก  น้ำเน่าจากลำโดมใหญ่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของแม่น้ำมูน ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพของแม่น้ำมูน มีผลกระทบโดยตรงต่อคนหาปลาปากมูน

สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ข้อเรียกร้องให้ รัฐบาลดำเนินการ ดังนี้
1.    ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างบริษัทฯ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย เข้าร่วมเป็นกรรมการในสัดส่วนที่เท่ากัน
2.    ให้บริษัทเปิดเผยแผนงานการแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากความผิดพลาดของโรงงาน
3.    ให้บริษัทฯ เปิดให้สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการ และสื่อมวลชน เข้าไปตรวจดูระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานได้

3. กรณีให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูลที่ไม่ลุล่วง สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ได้พยายามประสานงานกับทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล มาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ด้วยข้อติดขัดที่อ้างว่าเขื่อนปากมูล เป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงพลังงาน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ได้เพียงแค่การประสานงานเท่านั้น

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล จึงได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่กระทรวงพลังงาน เพื่อขอเปิดการเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และต่อมาวันที่ 5 มิ.ย. 2561 กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือที่ พน 0207/350  แจ้งผลการดำเนินการตามหนังสือยื่นของสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล โดยอ้างข้อมูลที่เป็นเท็จว่า "คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ยังดำเนินการอยู่" ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมการอำนวยการ ฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด เลย นับตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค.2559 จนถึงปัจจุบัน และเนื่องจากการที่คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล อยู่ในสภาพที่องค์ประกอบไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ไม่สามารถประชุม หรือดำเนินการอะไรได้เลย ทำให้การแก้ไขปัญหาชะงักลง 

ในขณะที่การบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าคือเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขง สามารถเดินทางข้ามเขื่อนปากมูล เข้ามาสู่แม่น้ำมูน ก็ดำเนินการไปตามอำเภอใจ ของกฟผ. และ จังหวัดอุบลราชธานี โดยไม่ได้ยึดหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการอำนวยการ ฯ กำหนดไว้เลย ดังเช่นการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลในปีนี้ ( ปี 2561) ที่ควรจะต้องเปิดประตูระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 2561 ซึ่งเป็นวันที่ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำห้วยสะคาม มีระดับ 95 ม.รทก. ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการอำนวยการ ฯ กำหนดไว้ แต่กลับมาเริ่มยกบานประตูเขื่อนปากมูลในวันที่ 21 ก.ค. 2561 ในขณะที่ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำห้วยสะคาม มีระดับ 100.82 ม.รทก. และอัตราการไหลของน้ำที่สถานี M7 อยู่ที่ 804 ลบ.ม./วินาที อันเป็นการฉีกหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการอำนวยการ ฯ กำหนดและตกลงไว้อย่างชัดเจน จนทำให้ชาวบ้านจำนวนกว่า 5,800 ครอบครัวต้องขาดโอกาสในการจับปลากว่า 35 วัน เป็นรายได้ที่หายไปกว่า 101,500,000 บาท (5,800 ครอบครัว ๆ ละ 500 บาท จำนวน 35 วัน) อันเกิดจากการบริหารราชการที่ผิดพลาด ล้มเหลวของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีด้วย

นอกจากการเปิดประตูเขื่อนปากมูลล่าช้าแล้ว ประมงจังหวัดอุบลราชธานี ยังทำการคุกคามชาวบ้านด้วยการสั่งห้ามไม่ให้จับปลาอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นการรังแกประชาชนทุกทาง โดยมีเจตนาปิดกั้น ตัดมือ ตัดตีน ชาวบ้านไม่ให้ทำมาหากิน เสมือนหนึ่งต้องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ให้คนหาปลาสิ้นซากไปจากแผ่นดินนี้

ดังนั้นหากรัฐบาลยังเห็นว่าชาวบ้านปากมูน ยังเป็นประชาชนคนไทย สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ขอเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการดังนี้ 1. เปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่าง รมว.พลังงาน กับตัวแทนสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล เพื่อดำเนินการ ตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดังนี้ a. จ่ายค่าเยียวยาความเสียหายให้กับชาวบ้านครอบครัวละ 310,000  บาท b. ทดลองเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล เป็นเวลา 5 ปี  และ 2. ให้รัฐบาลสั่งการให้ประมงจังหวัดอุบลราชธานี ยุติการคุกคามชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมง ทันที

กฤษกร ให้ข้อมูลว่า หลังจากเจรจากับหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนชาวบ้าน และสำนักนายกฯ ท่ามกลางการร่วมสังเกตการณ์ของทหารจากมณฑลทหารบกที่ 22 ได้ข้อสรุป ดังนี้

1. กรณีเขื่อนหัวนา  a. กำหนดให้มีการประชุมอนุกรรมการสืบเสาะราคาที่ดิน ที่มีเอกสารสิทธิ์ ในวันที่ 26 ก.ค. 2561  b. ให้ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ โดยมีตัวแทนชาวบ้านกลุ่มโนนสังข์ร่วมด้วยคณะละ 3 คน  และ c.จะดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ ที่ตกหล่น ในเดือนตุลาคม 2561 

2. กรณีปัญหาน้ำลำโดมใหญ่เน่าเสีย จะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ และชาวบ้านที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใน ส.ค. 2561

3. กรณีเขื่อนปากมูล 3.1 จะมีการเจรจาระหว่างตัวแทนสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล กับกระทรวงพลังงาน ภายในเดือนสิงหาคม 2561 และ  3.2 จะผ่อนปรนประกาศห้ามจับปลาฤดูน้ำแดง (ฤดูที่ปลาวางไข่ ราวเดือน พ.ค.-ก.ย. ที่มา: กรมประมง) ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อ.โขงเจียม อ.สิรินธร และ อ.พิบูลมังสาหารสามารถจับปลาได้ โดยให้งดจับปลาเดือนละ 4 วัน ทุกวันพระ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘มึนอ’ ภรรยา ‘บิลลี่’ กับ 4 ปี ที่สู้คดี “ถ้าเราไม่นึกถึงเรื่องที่ผ่านมามันก็จะไม่เหนื่อย”

Posted: 25 Jul 2018 05:36 AM PDT

แอมเนสตี้ฯ จัดดูหนังฟังเสวนาโครงการ 'Movies that Matter' แต่ต้องเปลี่ยนสถานที่ เหตุ จนท.แทรกแซง ขณะที่วงคุยเรื่องคดี 'บิลลี่' 4 ปีผ่านไปดีเอสไอเพิ่งรับเป็นคดีพิเศษ 'มึนอ' เล่าดีเอสไอเพิ่งสอบถามเรื่องคดี เอกสารถูกเก็บเป็นความลับ ดูได้แต่ห้ามเผยแพร่ ผู้กำกับหนังชี้การถูกบังคับให้สูญหายสำหรับคนไทยเป็นแค่ข่าว ไม่รู้สึกว่าสิทธิเราควรเท่ากัน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดฉายหนังพร้อมเสวนาในโครงการ 'Movies that Matter' ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ชวนดูหนังที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่เรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ความหลากหลายทางเพศ สิทธิมนุษยชนศึกษา นักปกป้องสิทธิ และผู้ลี้ภัย โดยเมื่อ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ G village ได้จัดฉายสองหนังสั้น คือ The Purple Kingdom กำกับโดย พิมพกา โตวิระ The Big Tree กำกับโดย Th'blay Paw  ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการโดนไล่ที่จากแผ่นดินเกิดของชาวปกาเกอะญอ และคดีสูญหายของ 'บิลลี่' นักกิจกรรมชาวปกาเกอะญอ ผู้ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมพูดคุยกับ 'มึนอ' พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของ 'บิลลี่' และนักแสดงจากเรื่อง The Purple Kingdom ร่วมด้วย พิมพกา โตวิระ ผู้กำกับเรื่อง The Purple Kingdom ชวนคุยโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ iLaw

4 ปีผ่านไป ดีเอสไอเพิ่งรับคดี 'บิลลี่' เป็นคดีพิเศษ

ยิ่งชีพ เล่าถึงคดีของบิลลี่ว่า หลังจากบิลลี่หายไปเมื่อปี 2557 มีการดำเนินคดี ทีมทนายไปฟ้องศาลเพชรบุรี ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลเรียกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่จับกุมบิลลี่มาไต่สวนหลายครั้ง มูลเหตุคือศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวบิลลี่เท่านั้น แต่เมื่อเจ้าหน้าที่บอกปล่อยตัวไปแล้ว และศาลเห็นว่าคำร้องมีน้ำหนักไม่เพียงพอ จึงให้ยกคำร้อง หลังจากนั้นคดีจึงอยู่ในอำนาจดีเอสไอ ซึ่งขึ้นกับว่าว่าจะรับเรื่องพิจารณาหรือไม่ ต้นปีนี้ดีเอสไอบอกว่าไม่รับคดีเพราะกล่าวว่า มึนอซึ่งเป็นผู้ร้องเป็นภรรยาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิ แต่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาดีเอสไอได้รับให้เป็นคดีพิเศษอยู่ในอำนาจของดีเอสไอ และผู้ต้องสงสัยก็คือ ชัยวัตน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลมากพอสมควร

มึนอกับการต่อสู้คดีมา 4 ปี "ถ้าเราไม่นึกถึงเรื่องที่ผ่านมามันก็จะไม่เหนื่อย"

มึนอ เล่าว่า เมื่อก่อนบิลลี่เองก็เคยสนใจถ่ายหนัง เพราะหนังเป็นเครื่องมือสื่อสารที่บางครั้งสามารถสื่อสารได้ดีกว่าการพูดปัญหาตรงๆ

"พี่บิลลี่ทำหนังเพื่อสื่อเรื่องราวในหมู่บ้าน เรื่องที่เราถูกกระทำ" มึนอ กล่าวเช่นนั้น

มึนอ กล่าวถึงหนัง The Purple Kingdom ว่าเป็นเรื่องจริงที่มาจากชีวิตเธอ แต่ถูกทำการแสดงขึ้นใหม่โดยใช้ตัวละครจริงทั้งหมดและชื่อสมมติ เช่น ฉากที่เธอไปแจ้งความกับตำรวจแล้วโดนถามให้พูดซ้ำๆ แบบเดิม หรืออีกฉากหนึ่งซึ่งจำลองมาจากฝันของเธอก่อนที่บิลลี่จะหายตัวไป เธอฝันว่ามีชายใส่สุดดำคนหนึ่งกำลังจะตัดต้นไม้ที่หน้าบ้าน ลูกๆ เธอไปเล่นที่ต้นไม้ เธอกลัวต้นไม้จะล้มใส่ลูกๆ จึงไปตามตัวให้กลับมา เธอคิดว่าเป็นลางสังหรณ์ไม่ดีบางอย่างที่จะเกิดขึ้นกับบิลลี่

เมื่อพูดถึงเรื่องคดี มึนอเล่าว่าเมื่อเร็วๆ นี้หลังจากที่ดีเอสไอรับคดีสูญหายของบิลลี่ ก็มีเจ้าหน้าที่มาพูดคุยกับเธอ แต่เป็นสิ่งเดิมที่เธอเคยพูดไปแล้วมาหลายครั้ง และเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ชี้แจงกับเธอว่าขั้นตอนต่อไปจะทำอย่างไรบ้าง รวมถึงเอกสารทั้งหมดจะถูกเก็บเป็นความลับ เธอดูได้แต่ไม่สามารถนำมาเผยแพร่ เธอกล่าวว่าคดียังไม่คืบหน้า มีความรู้สึกน้อยใจ ท้อแท้ ตอนแรกไม่เหนื่อยและอยากเดินเรื่องให้ถึงที่สุด แต่หลังๆ ผ่านไปหลายปีรู้สึกความยุติธรรมมันไม่จริง

"บางครั้งรู้สึกว่าเราเป็นคนจนรึเปล่า เราไม่มีค่าตอบแทนให้ใคร คดีถึงไม่คืบหน้า แต่ถ้าเราคิดว่าเราเดินมาไกลแล้วไม่มีอะไรคืบหน้าก็จะรู้สึกเหนื่อยบางครั้ง แต่ถ้าเราไม่นึกถึงเรื่องที่ผ่านมามันก็จะไม่เหนื่อย" มึนอ กล่าว

มึนอ ยังกล่าวว่า มีคนบางกลุ่มเห็นว่าคนที่อยู่กับป่าเป็นพวกตัดไม้ทำลายป่า ทำให้คนที่อยู่พื้นราบได้ผลกระทบ น้ำท่วม รถวิ่งไม่ได้ แต่เขาคิดแบบนั้นไปฝ่ายเดียว ไม่ถูกต้อง ที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมไม่ใช่คนอยู่กับป่าอย่างเดียว คนที่อยู่ในเมือง โรงงานก็ให้ผลกระทบเหมือนกัน

มึนอ เล่าอีกว่า ปู่คออี้กับอีกห้าสิบเจ็ดครอบครัวซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่ 'ใจแผ่นดิน' ได้ถูกสั่งให้ย้ายไปแล้ว แต่ตอนนี้ปู่ก็ยังอยากกลับไปอยู่ที่เดิม ปู่จะบอกประจำว่าที่ตรงนี้ไม่ดีเพราะปู่บอกว่าอากาศไม่เหมือนกัน ข้างบนอากาศดีกว่า ในกลุ่มคน ชุมชนมีโรคเยอะ ปู่ไม่แข็งแรง จะเป็นไข้หวัดบ่อยๆ และอยู่ข้างบนแบบไม่มีเงินนสักบาทก็อยู่ได้ แต่ถ้าอยู่พื้นราบไม่มีเงินอยู่ไม่ได้ ทุกอย่างต้องใช้เงินซื้อ

เมื่อถาม มึนอ ว่าใครอยู่เบื้องหลังอุตสาหกรรมตัดต้นไม้  มึนอ บอกว่า รู้แต่ไม่อยากตอบ เธอบอกแค่ว่าคนกลุ่มนั้นไม่ได้มาคุกคามเธอ

ปัจจุบันมึนอทำไร่ ทอผ้า ทอย่าม เพื่อเลี้ยงดูลูกทั้ง 5 คนของเธอ

มึนอและลูกๆ ภาพโดย Realframe

การถูกบังคับให้สูญหาย คนไทยเห็นเป็นแค่ข่าว ไม่รู้สึกว่าสิทธิเราควรเท่ากัน

พิมพกา ผู้กำกับหนัง กล่าวว่า ตนเชื่อว่าหนังเป็นสื่อที่ทำให้คนเล่าเรื่องของเขาออกมาได้ ก่อนหน้านี้เคยทำเวิร์คชอปให้กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ไม่ได้เจอบิลลี่ หลังจากนั้นได้รู้จักบิลลี่จากหนังที่เขาทำเรื่อง 'วิถีชีวิต' ซึ่งเขาทั้งกำกับแล้วก็เป็นโปรดิวเซอร์เองด้วย เธอชอบหนังเรื่องนี้ และมีภาพประทับใจเกี่ยวกับเขาในแง่นักกิจกรรมที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อบ้านเกิด ในหนังทำให้เธอเห็นภาพและผลกระทบที่เกิดจากการถูกไล่ที่ของรัฐ และทำให้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอมากขึ้น หลังจากนั้นพอเกิดคดีสูญหายของบิลลี่ก็ตกใจและติดตามข่าวมาตลอด

"ตอนดูหนังมันเปิดโลกเรา เราไม่เคยเห็นคนกลุ่มนี้ ไม่เข้าใจว่ามุมมองที่เขามีต่อประเทศไทยแบบไหน  และมันทำให้เราเข้าใจว่าเขารู้สึกว่าตรงนั้นเป็นพื้นที่ของเขา"

พิมพกา เล่าว่า ต่อมาสนใจที่จะทำเรื่องนี้เป็นหนัง และคิดว่าคนที่มาเล่นควรจะมึนอเอง เมื่อได้คุยกับมึนอก็รู้สึกว่าน่าสนใจ หลังจากนั้นจึงปรึกษาทนายเพื่อไม่ให้กระทบกับคดีที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และตนจึงตัดสินใจว่าจะไม่ทำเป็นสารคดีที่เป็นเรื่องจริงและอาจนำมาใช้เป็นหลักฐานใดๆ ได้ แต่จะทำเป็นหนังแทน 

"เราเอาเรื่องที่เขาเล่าจิปาถะมาทำเป็นบทด้วย แต่คนที่มีอำนาจเราแตะไม่ได้เลย เพราะแตะแล้วจะถูกใช้ดำเนินคดี เราไม่อยากให้มีผลกระทบต่อมึนอ เราเลยใช้อีกเส้นเรื่องเล่ามาเปรียบเทียบ" พิมพกา กล่าว

พิมพกา เล่าว่า ตอนถ่ายก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนภายนอกจะไปที่บางกลอยซึ่งเป็นหมู่บ้านของมึนอและเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และหากเธอต้องถ่ายโดยขออนุญาตถ่ายทำก็อาจจะมีเรื่องไม่ได้ถ่าย (เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบิลลี่) และการทำหนังเรื่องนี้ก็จำเป็นต้องไปเห็นพื้นที่จริง เช่น 'โป่งลึก' 'บางกลอยบน' 'บางกลอยล่าง' ซึ่งแค่บางกลอยล่างก็ห่างจากหน้าอุทยาน 4 ชม. ถ้าโดยสารรถกระบะ และ 'ใจแผ่นดิน' ซึ่งเคยเป็นบ้านของปู่คออี้ ต้องเดินเท้าต่อไปอีกสองวัน และขึ้นไม่ได้เพราะถูกเจ้าหน้าที่ห้าม

"ปู่คออี้ถามเราหลังถ่ายเสร็จว่าสิ่งที่เราทำจะทำให้เขากลับไปที่บ้านได้รึเปล่า เราก็ตอบไม่ได้ เรามีความหวัง แต่เราไม่รู้สึกว่าหนังเราจะช่วยเรื่องคดี แต่อาจจะทำให้คนอยากรู้เรื่องคดีนี้มากขึ้น เรารู้สึกว่าคนไทยอ่านข่าวเป็นแค่ข่าว แต่ไม่รู้สึกผูกพัน ทำยังไงให้หนังเห็นว่าเขาเป็นมนุษย์ มีสิทธิเท่ากับคนอื่นๆ ทำไมสิ่งนี้ไม่ถูกรู้สึกให้มากกว่านี้ในสังคม อย่างน้อยที่สุดหนังทำให้เขากลับไปอ่านข่าวบิลลี่หรือปู้คออี้ เราอยากให้หนังแค่จุดประกายให้คนเข้าใจ และรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้น" พิมพกา กล่าว

พิมพกา เล่าว่า การทำหนังแบบนี้ไม่มีรายได้ ทุกวันนี้ก็ต้องทำงานอื่นด้วย เธอตั้งข้อสังเกตว่าหนังบันเทิงแทบไม่เห็นประเด็นเหล่านี้ปรากฎ เพราะมองว่าอะไรแบบนี้ต้องเป็นสารคดี และคนก็จะมองว่าสารคดีนน่าเบื่อ ดังนั้นไม่ง่ายที่จะทำ ต้องรีเสิร์ชเยอะ ต้องเข้าใจเรื่อง ระมัดระวังแง่มุมที่จะถูกนำเสนอ และหนังเองก็เป็นดาบสองคม คือเป็นเสียงให้กับเขา หรืออาจถูกนำไปใช้เพื่อการอื่น อย่างเรื่อง The Big Tree มีฟุตเทจที่แอบถ่าย ซึ่งก็อาจจะถูกฟ้องได้

"ใจเราอยากให้ทุกคนใช้สื่อของตัวเองในการเล่าเรื่อง ทำยังไงให้วิธีการทำสื่อเผยแพร่ไปสู่คนที่เจอปัญหา เพราะเราทำก็ทำในมุมมองเรา ไม่เท่ากับคนที่เจอปัญหาเล่าปัญหาของตัวเอง ต้องหาวิธีทำยังไงให้เกิดแนวร่วม ให้เขาสร้างหนังจากเรื่องราวของเขาได้เอง" พิมพกา กล่าว

ขณะที่สุดท้ายแล้วหนังเรื่อง The Purple Kingdom ก็เดินทางไปตามเทศกาลหนังต่างๆ ทั่วโลก หลังฉายครั้งแรกในโครงการของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จากนั้นก็ไปฉายตามเทศกาลหนังต่างๆ หลายประเทศ เช่น  สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน สิงคโปร์ และกำลังจะไปฉายที่มาเลเซีย

"ตอนฉายที่สวิตเซอร์แลนด์ก็มีคนโคลัมเบียมาดู และเขาก็บอกว่าในโคลัมเบียก็มีเคสแบบนี้เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องคนถูกบังคับให้สูญหายมันเกิดขึ้นทั่วโลก และการไปฉายต่างประเทศ ทำให้คนอยากรู้ว่าทำไมเรื่องแบบนี้ถึงเกิดขึ้น สิทธิมมนุษยชนประเทศไทยเป็นยังไง เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน" พิมพกา กล่าวทิ้งท้าย

เจ้าหน้าที่แทรกแซงจนต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน

เดิมกิจกรรมนี้วางแผนจะจัดขึ้นที่โรงภาพยนตร์เอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ติดต่อทำสัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ไว้แล้ว แต่เมื่อวันที่ 19 ก.ค. สองวันก่อนหน้าการจัดกิจกรรม เจ้าหน้าที่ที่อ้างว่า มาจาก "สันติบาล" ได้เข้าไปที่โรงภาพยนตร์ โดยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของโรงภาพยนตร์ทราบว่า ไม่สบายใจกับกิจกรรมนี้ และขอทราบรายละเอียดกิจกรรม ภาพยนตร์ที่จะฉาย รวมทั้งชื่อผู้ที่จะมาพูด แต่ไม่ได้สั่งห้ามจัดกิจกรรม อย่างไรก็ดี การติดตามของเจ้าหน้าที่ก็ทำให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ตัดสินใจยกเลิกการให้เช่าสถานที่ ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย จึงต้องหาสถานที่จัดงานใหม่ และย้ายมาจัดยัง G village ซอยลาดพร้าว 18 ซึ่งในวันจัดกิจกรรมก็ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานใดเข้ามาแทรกแซงอีก และทางแอมเนสตี้ยังตั้งเป้าจะจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์ที่สะท้อนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และจัดวงพูดคุยกันเช่นนี้ต่อไปทุกวันเสาร์ที่สามของทุกเดือน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สปสช. เร่งดันนโยบายแก้ปัญหาผู้ต้องขัง 1.2 แสนคนไม่มีสิทธิรักษาพยาบาล

Posted: 25 Jul 2018 04:03 AM PDT

ผู้ต้องขังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ ทั้งที่มีสิทธิตามหลักประกันสุขภาพเทียบเท่าประชาชนทั่วไป เหตุระบบไม่เชื่อมโยง สปสช. กำลังผลักดันมาตรการแก้ไข ยกระดับสถานพยาบาลในเรือนจำเป็น รพ.สต. จับคู่กับโรงพยาบาลในพื้นที่ ส่งตรงบริการและองค์ความรู้ให้เรือนจำ

  • การเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังในแต่ละวัน ทำให้ผู้ต้องขัง 120,000 คน หรือ 1 ใน 3 ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล
  • ข้อมูลโรงพยาบาลกับเรือนจำไม่เชื่อมโยง ขาดการทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้ต้องขังเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษา
  • สปสช. เตรียมยกระดับสถานพยาบาลในเรือนจำเป็น รพ.สต. เชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลในพื้นที่ พัฒนาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในเรือนจำ

การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้ต้องขังในเรือนจำยังมีอุปสรรค ทั้งที่ผู้ต้องขังยังคงมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่ตนมี เช่น สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทว่า สภาพความเป็นจริง แม้งบประมาณรายหัวจะลงไปถึงพื้นที่ แต่บริการสุขภาพไม่ได้ตามเข้าไปในเรือนจำ ถ้าวาดออกมาเป็นแผนที่ ระบายสีพื้นที่ที่ได้รับบริการสุขภาพ ภาพเรือนจำบนแผนที่คงมีสภาพเว้าแหว่ง ไม่ถูกลงสี

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

'ประชาไท' หยิบคำถามค้างคาต่อสถานการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำเดินทางไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมี นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการ สปสช. และปริญญา ระลึก หัวหน้างานสำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ เป็นผู้ให้คำตอบ

ทำไมผู้ต้องขังเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษา

ว่ากันตามสิทธิแล้ว ผู้ต้องขังมีชุดสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับประชาชนที่อยู่ภายนอกทุกประการ แต่ด้วยหลายปัจจัยทำให้บริการไม่อาจติดตามเข้าไปในเรือนจำ เหตุประการหนึ่งเป็นผลจากประวัติศาสตร์เมื่อครั้งเกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้น ณ เวลานั้นมีการขึ้นทะเบียนสถานีอนามัยให้เป็นสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ทางกรมรามทัณฑ์แสดงความจำนงไม่ขอเข้าร่วมระบบหลักประกันตั้งแต่แรก ทำให้สถานพยาบาลในเรือนจำแยกเป็นเอกเทศจากระบบตั้งแต่แรก

ขณะที่โรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีเรือนจำตั้งอยู่จะรับเงินเหมาจ่ายรายหัวไป ในบางพื้นที่กลับไม่มีจัดบริการให้หรือไม่มีกำลังจัดบริการให้ได้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ต้องขังที่มีการเคลื่อนย้าย แต่สิทธิไม่ได้ตามตัวผู้ต้องขังไปด้วย เนื่องจากการย้ายสิทธิ์จะต้องแจ้งด้วยตัวเอง จึงทำให้ค่าเหมาจ่ายรายหัวไม่ได้ติดตามผู้ต้องขังไป ปริญญาอธิบายว่าผู้ต้องขังมีพลวัตเข้าออกประมาณวันละ 2,000 คน เช่น ย้ายจากเรือนจำจากอุบลไปขอนแก่นเพราะมีอีกคดีอยู่ที่นั่น ย้ายเพราะต้องไปฝึกอาชีพ ย้ายเพราะต้องระบายคุก ผู้ต้องขังบางรายย้ายปีละ 4 รอบ เป็นต้น จากฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์กับ สปสช. ที่มีการอัพเดทข้อมูลทุกวันหลังจากทำงานร่วมกันมา 2 ปี พบว่าปัจจุบันมีผู้ต้องขังประเภทนี้ประมาณ 120,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 3

"อย่างที่เรือนจำระยองมีผู้ต้องขัง 7,000 คน มีผู้ต้องขังต่างถิ่นอยู่ 3,000 คน โรงพยาบาลก็ได้รับเงินรายหัวไปแค่ 4,000 คน อีก 3,000 คนก็จ่ายไปที่อื่นหมด เราเห็นปัญหาแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการทำให้มีการย้ายสิทธิอัตโนมัติ ติดคุกที่ไหน สิทธิบัตรทองก็ย้ายตามตัวไป ทั้งฝั่งโรงพยาบาลและผู้ต้องขังก็จะได้รับสิทธิที่ควรจะได้ แต่ประเด็นคือยังปิดช่อง 120,000 นี้ไม่ได้ ถ้าทำได้ก็จะดี

"นอกจากนี้ เรือนจำใหญ่ๆ ถ้าคิดเป็นค่าหัวก็สูงพอสมควร เมื่อรับเงินไปแล้วไม่เกิดบริการ กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องไปกระทุ้ง ผู้ตรวจราชการของทางกระทรวงถ้ามีเรื่องนี้เข้าไปในแผนก็จะทำให้มีประสิทธิภาพขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่เป็นแบบนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ตรวจแต่ละเขต

"แต่ช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเริ่มดีขึ้น ทางกระทรวงสั่งการไปที่สาธารณสุขจังหวัดให้ทำแผนร่วมกับโรงพยาบาลและเรือนจำ ทำให้เริ่มมีแผน แต่ยังไม่ครบ การสำรวจล่าสุดมีเรือนจำประมาณ 120 กว่าแห่งที่ทำงานร่วมกันได้ แต่ยังไม่ได้ประกบเป็นคู่อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย คือดีขึ้นด้วยการสั่งการ ด้วยสัมพันธภาพ แต่เมื่อไหร่ที่เปลี่ยนผู้อำนวยการโรงพยาบาล เปลี่ยนสาธารณสุขจังหวัด มันก็ไม่ยั่งยืน เรื่องนี้จึงต้องมีพิมพ์เขียวเชิงระบบ"

นพ.ชูชัย เสริมว่า สปสช. มีการให้สิทธิประโยชน์ 2 แบบ คือแบบเหมาจ่ายรายหัวกับแบบโปรแกรม แต่สิทธิประโยชน์ทั้งสองแบบนี้มีช่องว่างที่ทำให้บริการไปไม่ถึงผู้ต้องขัง ประการแรกคือการไหลไปมาของผู้ต้องขัง ประการที่ 2 คือสิทธิประโยชน์แบบโปรแกรมซึ่งเป็นระบบที่ต้องทำแผนร่วมกัน เช่น โปรแกรมจิตเวชชุมชนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ใช้เงินเท่าไหร่ ให้บริการอะไรบ้าง แต่เมื่อเรือนจำกับโรงพยาบาลไม่เชื่อมกัน สิทธิประโยชน์ส่วนนี้จึงไม่เกิดขึ้น

เร่งยืนยันสิทธิการรักษา

จากโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โดยใช้ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2560 พบว่ามีผู้ต้องขัง 52,960 คนที่ไม่มีสิทธิการรักษา

ทั้งนี้เพราะโดยปกติแล้วกรมราชทัณฑ์ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบว่าผู้ต้องขังเป็นใคร เมื่อศาลพิพากษาให้จำคุกก็มีหน้าที่รับมา

"แต่ตอนนี้เรากับกรมราชทัณฑ์อัพเดทร่วมกันทุกวัน ทำให้เห็นว่าตอนนี้มีผู้ต้องขังที่ไม่มีไอดี ไม่มีสิทธิ์ ประมาณ 5 หมื่นกว่าเมื่อปีที่แล้ว แต่หลังจากทำงานร่วมกับกรมราชทัณฑ์มาปีกว่า ทางเรือนจำจึงสแกนลายนิ้วมือนักโทษทุกคนเทียบกับกรมการปกครอง ทำให้ลดเหลือแค่หลักพันที่ไม่มีไอดี ทำให้เห็นว่าอยู่ในสิทธิ์แต่ละสิทธิ์เท่าไหร่" ปริญญาชี้แจง

4 มาตรการแก้ปัญหาเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ต้องขัง

หากกล่าวโดยภาพรวมจะเห็นว่าระบบของกรมราชทัณฑ์กับระบบของโรงพยาบาลไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกิดการบริการติดขัด ปริญญาขยายความว่า ถ้าผู้ต้องขังถูกส่งตัวออกมารักษาที่โรงพยาบาลระบบจะเห็นและนับรวมไว้ในระบบ แต่ถ้าเป็นผู้ต้องขังที่ป่วยแต่ไม่ได้ถูกส่งโรงพยาบาล ระบบก็จะไม่เห็น หรือผู้ต้องขังที่ไม่ป่วยก็ไม่มีการบันทึกเช่นกัน ซึ่งโดยระบบแล้วทุกคนควรมีชื่อเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ

สปสช. กระทรวงสาธารณสุข และกรมราชทัณฑ์จึงมีความพยายามปรับปรุงการให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้ต้องขังผ่านนโยบาย นพ.ชูชัย กล่าวว่า

"ที่บอกว่าสถานการณ์ดีขึ้นก็คือกระทรวงสาธารณสุขมีการแบ่งเขตบริการสุขภาพ มีผู้ตรวจราชการเป็นผู้ดูแลอยู่ ผู้ตรวจราชการโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการสั่งการให้มีการจัดบริการส่วนนี้ มันก็จะไปได้ดี แทนที่เดิมทีแล้วแต่จริตของผู้ตรวจ ของผู้อำนวยการ ซึ่งขณะนี้กำลังทำกันอยู่ เป็นระดับนโยบาย"

ในยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560-2564 กำหนดให้ผู้ต้องขังต้องเข้าถึงบริการและมีการจัดระบบกลไกรองรับโดยเขตของ สปสช. ต้องทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ของเรือนจำในพื้นที่ สาธารณสุขจังหวัดที่ดูแลโรงพยาบาลที่ตั้งเรือนจำต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและวิธีจัดการแก้ไข มีการจัดหาคอมพิวเตอร์และระบบที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย

นพ.ชูชัย กล่าวว่าจากการทำงานร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุขและกรมราชทัณฑ์ ขณะนี้มีมติออกมา 4 เรื่องเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้ต้องขัง

1.จัดการการลงทะเบียนการเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังให้นิ่ง มีการเปลี่ยนที่อยู่อัตโนมัติเพื่อให้ผู้ต้องขังเข้าถึงสิทธิ์

2.ขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลในเรือนจำให้มีลักษณะคล้ายโรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งถือเป็นหน่วยพยาบาลปฐมภูมิ เท่ากับดึงสถานพยาบาลในเรือนจำเข้าระบบ

"สถานการณ์ของสถานพยาบาลในเรือนจำกับโรงพยาบาลขณะนี้คล้ายๆ กับก่อนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานีอนามัยกับโรงพยาบาลคือต่างคนต่างเดินหน้า แต่ไม่ได้ไปด้วยกัน ข้อมูลไม่เชื่อมกัน ปฏิบัติการ ระบบบริการไม่เชื่อมกัน" นพ.ชูชัยกล่าว

3.สร้างระบบส่งต่อข้อมูล

4.สร้างการจับคู่ระหว่างเรือนจำกับโรงพยาบาล

กระบวนการเหล่านี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การจัดระบบเพื่อให้งบประมาณไปถูกที่ถูกทาง เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่คนทำงาน จัดการให้โรงพยาบาลกับเรือนจำเชื่อมต่อกันเพื่อส่งต่อบริการและองค์ความรู้ โดย สปสช. ทำหน้าที่คุ้มครองการเข้าถึงสิทธิ รับประกันมาตรฐานและคุณภาพ

นอกจากนี้ ปริญญายังให้ข้อมูลว่า กรมราชทัณฑ์กำลังมีแผนตั้งโรงพยาบาลของตนในทุกเขต ในอนาคตเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณก็จะส่งไปยังโรงพยาบาลของกรมราชทัณฑ์โดยตรง

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ทัวร์นกขมิ้นอีสานใต้ 2 อนุมัติงบประมาณกว่า 1.5 แสนล้าน เน้นโครงสร้างคมนาคม และช่วยราคาข้าว

Posted: 25 Jul 2018 02:35 AM PDT

ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย

เมื่อวานนี้ PPTV รายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม. สัญจร) ที่จังหวัดอุบลราชธานี เห็นชอบโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางถนนและเครื่องบิน พร้อมไฟเขียวให้ศึกษาเส้นทางรถไฟรางคู่เชื่อมต่อไปยังสปป.ลาว ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น กว่า 59,000 ล้านบาท

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จ.อุบลราชธานีว่า ที่ประชุมอนุมัติงบประมาณในโครงการด้านคมนาคม กว่า 19 โครงการ ที่ภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  เสนอเข้ามาในที่ประชุม เพราะหลายโครงการก็อยู่ในแผนการพัฒนาของกระทรวงคมนาคมอยู่แล้ว ตามแผนจะทยอยดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี2562-2567 ด้วยงบประมาณกว่า 59,000 ล้านบาท

ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวถึงรายละเอียดโครงการที่ ครม.เห็นชอบว่า เป็นการอนุมัติให้ขยายช่องทางจราจร บนถนนหมายเลข2169 ยโสธร-เลิงนกทา และถนนวงแหวนรอบอุบลราชธานี ฝั่งตะวันออก ทางหลวงหมายเลข231 จากเดิม2ช่องทางให้เป็น4ช่องทาง รวมถึงแก้ปัญหาเส้นทางถนนบริเวณแยกดงอู่ผึ้ง และแยกวนารมย์ ซึ่งจุดนี้สามารถเริ่มแก้ไขปัญหาได้ทันที

พร้อมทั้งอนุมัติให้ ขยายทางจอดเครื่องบินของท่าอากาศยานนาชาติอุบลราชธานีเพิ่ม 5 ทาง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี2565 รวมถึงเพิ่มสะพานเทียบเครื่องบิน อาคารจอดรถและสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ เพื่อให้รองรับปริมาณการเพิ่มของผู้โดยสาร ให้ได้ 2,000 คนต่อชั่วโมง จากเดิม1,000คนต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้อนุมัติให้มีการศึกษาในการความเป็นไปได้ในการก่อสร้างรถไฟรางคู่จากสถานีวารินชำราบ ไปช่องเม็ก สปป.ลาว และโครงการรถไฟเชื่อมจากวารินชำราบ อำนาจเจริญ ไปเลิงนกทา รวมถึงเร่งการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 โดยโครงการทั้งหมดจะทยอยดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี2562-2567

อีกทั้งที่ประชุมครม.ยังตอบรับหลักการ การขอพัฒนาแหล่งน้ำ40 โครงการของกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง2 โดยได้ให้สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งโครงการเพื่อไม่ให้เกิดการทำงานทับซ้อน

ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวจำนวน 3 โครงการวงเงินหมุนเวียน 35,060 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาดจำนวน 62,890 ล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกร ดูดซับผลผลิตข้าวจากฤดูกาลผลิตปี 2561/2562 จำนวน 9 ล้านตัน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 17,050 บาท ข้าวเปลือกเหนียวตันละ 15,450 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 12,000 บาทและข้าวปทุมธานีตันละ 12,900 บาท

รวมแล้วทั้งสิ้นมีการอนุมัติงบประมาณที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่และนอกพื้นที่ทั้งหมด 156,950 ล้านบาท

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น