ประชาไท Prachatai.com |
- ความสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน: การค้า และวัฒนธรรม บนสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด
- ดูความรู้รอบเรือ เมื่อรัฐเล็งทุ่ม 3 พันล้านบาทซื้อเรือประมงไปทำปะการังเทียม
- จดหมายน้อยจากวัฒน์ วรรลยากูรในงานเปิดตัวหนังสือครูไพบูลย์ บุตรขันธ์
- ใบตองแห้ง: ภาษีลาภซ้ำซ้อน
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชม ‘ทันตแพทยสภา’ บังคับหมอฟันศึกษาต่อเนื่อง ชี้เป็นประโยชน์ ปชช.
- โปรดเกล้าฯ ตั้ง ‘พล.อ.อภิรัชต์' เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ
- กวีประชาไท: ถ้ำเมือง
- หนี้ข้าราชการครู บทพิสูจน์เหรียญสองด้านอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยมใหม่
- วงเสวนาชี้ควรจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย แต่ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
- เสวนาอำนาจนำ และลัทธิ(ไม่)เสรีนิยม: เมื่อชนชั้นกลางไม่ชอบประชาธิปไตย
- ยิ่งห่างไกล สถิติป่วย ‘ตาต้อกระจก’ ยิ่งพุ่ง ไทยเดินหน้าผลิตจักษุแพทย์เพื่อชนบท
- โต้ประกาศ 5 ข้อสื่อไม่ปลอดภัยฯ ‘ใบตองแห้ง’ ชี้สื่อต้องกล้าถามท้าทายกรอบศีลธรรม
- 'สมัชชาคนจน' ร้อง 'ประยุทธ์' แก้ปัญหา 'ยาฆ่าหญ้า-ค่าครองชีพ-บัตรทอง-สิทธิแรงงาน'
- ชาวแคลิฟอร์เนียนำ 'มอนซานโต' ขึ้นศาลได้ครั้งแรกกรณียาฆ่าหญ้าก่อมะเร็ง
- ผู้ใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต ตอบประเด็นขังลืมผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ
ความสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน: การค้า และวัฒนธรรม บนสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด Posted: 17 Jul 2018 09:26 AM PDT
เป็นที่ทราบกันดีว่าความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ไทยและภูฏานค่อนข้างมีความใกล้ชิด โดยเฉพาะความนับถือของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 ของไทย ในแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้งสองรัฐบาลต่างให้ความสำคัญและเป็นแบบแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มันคงไม่มีอะไรมากนักหากผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องสายสัมพันธ์เบื้องต้น เพราะคงเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว และสามารถหาอ่านได้ไม่ยากนัก แต่ในส่วนของบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนจะพาไปมองปรากฎการณ์ทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านการทูต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างไทยและภูฏาน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีไทยจะเยือนภูฏานอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 กรกฎาคม ในขณะที่ประเด็นด้านความมั่นคงนั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันนักกับนโยบายต่างประเทศ เพราะปัจจุบัน ฐานทัพของกองทัพอินเดียจำนวนมากยังคงฐานที่มั่นอยู่ในประเทศภูฏาน โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดปัญหาการยึดครองธิเบตของจีน ซึ่งยังผลให้ทั้งอินเดีย และภูฏานมีพรมแดนติดกับประเทศจีนไปโดยปริยาย นอกจากนี้การนำเข้าอาวุธสงครามของภูฏานเพื่อเสริมสร้างกองทัพยังคงเป็นเรื่องยากจากปัญหาเรื่องสนธิสัญญากับอินเดีย และเนื่องด้วยประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลยิ่งทำให้ภูฏานต้องเอาใจใส่ต่อความสัมพันธ์กับอินเดียเป็นอย่างมากเสมอมา จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของภูฏานโดยภาพรวมมากกว่าร้อยละ 80 มาจากการสนับสนุนและการทำการค้ากับประเทศอินเดีย เพราะภูฏานไม่สามารถส่งออกสินค้าไปทางด้านอื่นได้เลย ถึงแม้ว่านโยบายต่างประเทศของภูฏานจะถูกครอบงำบางส่วนโดยรัฐบาลอินเดีย แต่ภูฏานก็
ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของภูฏานทั้งในทางการเมืองและนโยบายต่างประเทศคือภายหลังปี 2007 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 2 ประการ คือประการแรกรัฐบาลภูฏานตัดสินใจยื่นข้อเสนอไปยังรัฐบาลอินเดียในการขอแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างสองประเทศโดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับประเด็นนโยบายต่างประเทศ ที่ระบุว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศใด ๆ ของภูฏานจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำหรือให้ความเห็นจากรัฐบาลอินเดียด้วย นี่นำมาซึ่งการเปิดทางให้รัฐบาลภูฏานสามารถมีแนวนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ ภูฏานเริ่มมีการกำหนดนโยบายต่างประเทศของตนเองบ้างแล้วในช่วงสงครามเย็น และเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องเท่าไหร่นักจากรัฐบาลอินเดีย เช่นประเด็นปัญหาเขมรแดงในกัมพูชา เป็นต้น ทั้งนี้การแก้ไขดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการภายหลังสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) พระราชบิดาของกษัตริย์องค์ปัจจุบันประกาศสละราชสมบัติ และเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองดังกล่าวเริ่มดำเนินการมานับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 ทั้งนี้รัฐธรรมนูญประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2007 นำมาซึ่งการเลือกตั้งใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ภูฏานในปี 2007 และ 2008 นี่ถือเป็นเหตุประการที่สองอันส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่าทีทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลภูฏานในเวลาต่อมา ปัจจุบันประเทศไทยมีการตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศภูฏาน ภายใต้การดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและภูฏานมีร่วมกันในหลายลักษณะ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสองที่ค่อนข้างมีความชัดเจนอย่างมาก เห็นได้จากการเสด็จเยือนระหว่างกันของทั้งราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ภูฏานในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองระหว่างรัฐบาลเองก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแม้ว่าสายสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าระหว่างสองประเทศจะยังไม่มากนัก แต่ต้องยอมรับประเทศไทยได้ดุลการค้าจากประเทศภูฏานจำนวนมาก ภูฏานถือเป็นคู่ค้าลำดับที่ 166 ของประเทศไทย โดยมีมูลค่าการค้าราว 15.5 ล้านเหรียญ แต่มูลค่าการค้าเติบโตในแต่ละปีมากกว่าร้อยละ 38 โดยส่วนใหญ่รัฐบาลภูฏานจะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นสำคัญ นอกจากนี้สัดส่วนนักท่องเที่ยวชาวภูฏานที่มาเยือนไทยยังสูงมากกว่านักท่องเที่ยวไทยที่ไปภูฏานอีกด้วย ทำให้ในปี 2013 นายกรัฐมนตรี Lyonchhen Tshering Tobgay เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างสองประเทศเพื่อลดปัญหาการขาดดุลทางการค้าระหว่างไทยและภูฏานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการเดินทางเยือนของนายกรัฐมนตรีภูฏาน ในด้านความร่วมมืออื่น ๆ นั้น ไทยและภูฏานมีความร่วมมือระหว่างกันในหลากหลายด้านทั้งทางด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยว การสาธารณสุขและการศึกษา โดยรัฐบาลไทยได้ส่งความช่วยเหลือและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากไปยังประเทศภูฏานเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศที่มีต่อกันเสมอมา ตลอดจนมีการมอบทุนการศึกษาจำนวนมากให้นักเรียนภูฏานในการเข้ามาศึกษาในประเทศไทย ในด้านความสัมพันธ์ระดับพหุภาคีทั้งไทยและภูฏานต่างเป็นสมาชิกของความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) ซึ่งองค์การความร่วมมือนี้เป็นการเริ่มต้นของรัฐบาลไทยโดยการใช้เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ปัจจุบันความร่วมมือนี้ยังมีข้อติดขัดในหลายประการ ทำให้ยังคงไม่มีความก้าวหน้ามากนัก จากการอาศัยช่องทางความร่วมมือพหุภาคีนี้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาภูมิภาคโดยภาพรวม อีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญที่ค่อนข้างมีความชัดเจนระหว่างไทยและภูฏานคือความร่วมมือทางด้านศาสนา ซึ่งปัจจุบันภูฏานถือเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการระบุให้พระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นศาสนาหลักของชาติ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเสมอมาระหว่างคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์แห่งภูฏาน เกี่ยวกับประเด็นด้านพระพุทธศาสนา สำหรับในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ทางรัฐบาลภูฏานได้เชิญให้นายกรัฐมนตรีของไทยเยือนอย่างเป็นทางการ และมีการตอบรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการนี้คาดว่าจะมีการพูดคุยและเจรจาประเด็นทางด้านการค้าและโอกาสทางด้านการลงทุนของไทยในภูฏานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้รายงานระบุว่าตามที่ทางการภูฏานได้มีการขอรับการสนับสนุนเกี่ยวกับตำราเรียนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนนั้น การเดินทางเยือนครั้งนี้ของรัฐบาลไทยจะได้มอบตำราดังกล่าวด้วย นี่ถือเป็นภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเล็ก ๆ ในเอเชียใต้อย่างภูฏาน ที่มีหลากหลายมิติอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ทั้งนี้ในบทความถัด ๆ ไป ผู้เขียนจะบอกเล่าเรื่องราวและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์และเหตุการณ์ที่สำคัญของประเทศภูฏานให้ได้อ่านกันด้วย
เกี่ยวกับผู้เขียน: ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก กำลังศึกษาปริญญาโท สาขา International Relations and Area Studies ณ Jawaharlal Nehru University ประเทศอินเดีย ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดูความรู้รอบเรือ เมื่อรัฐเล็งทุ่ม 3 พันล้านบาทซื้อเรือประมงไปทำปะการังเทียม Posted: 17 Jul 2018 09:10 AM PDT เปิดดูกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่งหัวหน้า คสช. กำกับการทำประมงผิดกฎหมายหรือ IUU เมื่อรองนายกฯ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะเผย จะซื้อเรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาตทำประมง 680 ลำในวงเงิน 3 พันล้านบาท ที่ปรึกษาระบุ ซื้อไปแต่โครงเรือ รู้จัก IUU ใบเหลืองอียู กับมรสุมนโยบายที่ซัดเรือไทยทั้งในฝั่งและกลางทะเล นายกฯ สมาคมประมงลั่น ควรซื้อตั้งนานแล้ว ที่มาภาพประกอบ เว็บไซต์ https://shiptoshorerights.org/ เมื่อ 16 ก.ค. 2561 มติชนรายงานว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีและประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู-IUU-Illegal, Unreported and Unregulated)) ระบุหลังประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ตามแผนบริหารจัดการประมงทะเลที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบไว้ตั้งแต่ 3 พ.ย. 2558 ลักษณะโครงการคือการซื้อเรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมง มีการแจ้งจุดจอดและจัดทำ UVI (อัตลักษณ์เรือ) จากกรมเจ้าท่า และไม่มีคดีใดๆ โดยจะจัดซื้อในราคาตามสภาพจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคากลางเป็นจำนวน 680 ลำ ในวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท แบ่งการจัดซื้อเป็นสามระยะ ระยะแรกจะเป็นการจัดซื้อเรือประมงขนาดเล็กและกลาง (น้ำหนักรวม 10-60 ตันกรอส) จำนวน 409 ลำ วงเงินประมาณ 690 ล้านบาท อีก 271 ลำที่เหลือเป็นกลุ่มเรือขนาดใหญ่จะได้ดำเนินการต่อไป คาดว่าไม่เกินกลางเดือน ส.ค. นี้จะเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอีกครั้งเพื่อให้ซื้อเรือคืนระยแรกดำเนินการได้ภายใน 30 ก.ย. 2561 โดยการซื้อเรือคืนครั้งนี้นอกจากเป็นการลดจำนวนเรือประมงให้เหมาะสมกับปริมาณปลาแล้ว ยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแก้ไขปัญหา IUU ด้วย ผศ.ธนพร ศรียากูล คณะทำงานรองนายกฯ พล.อ.ฉัตรชัย ให้ข้อมูลกับประชาไทเพิ่มเติมว่าเรือที่ถูกซื้อไปนั้นเป็นการซื้อเพียงโครงเรือ ส่วนเครื่องนั้น เจ้าของเรือสามารถนำไปขายกับเซียงกงได้เพราะมีราคารับซื้อสูงกว่ารัฐบาล ปัจจุบันใบอนุญาตประมงอนุญาตให้เรือประมงออกทำการประมงได้ปีละ 240 วัน ในขณะที่สัดส่วนของเรือประมงกับสัตว์น้ำยังไม่มีความสมดุลเมื่อดูจากสถิติของกรมประมงแล้วก็พบว่าต้องมีการจำกัดจำนวนเรือ "สถิติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้นั้นลดลงเรื่อยๆ เมื่อพลอตกราฟเทียบกับเรือประมงที่จดทะเบียนกับกรมเจ้าท่าก็พบว่าสอดคล้องกัน คือจำนวนปลาลดลง แต่จำนวนเรือประมงที่จดทะเบียนกับกรมเจ้าท่าก่อนปี 2558 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้น ขนาดของสัตว์น้ำที่ถูกจับมาได้ก็เล็กลงเรื่อยๆ ถ้าจะให้ปลาเพิ่มขึ้นก็ต้องลดความสามารถในการจับปลาเราให้ลดลง ในสหภาพยุโรปใช้วิธีโควตา คือเรือหนึ่งลำจับปลาได้ 1000 กก. ถ้าครบแล้วก็ออกจับปลาไม่ได้ แต่บ้านเราเห็นว่าสปีชีส์สัตว์น้ำ ลักษณะทางธรรมชาติอาจต่างจากอียู จึงใช้วิธีคุมเป็นจำนวนวัน" ธนพรเล่าว่า ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลมีมาตรการลดเรือออกจากระบบประมง ได้แก่วิธีสนับสนุนให้เจ้าของเรือสามารถซื้อเรือและใบอนุญาตของเรืออีกลำเพื่อนำโควตาวันออกทำประมงของอีกลำมาเป็นของตัวเองเพื่อให้ออกเรือได้นานขึ้น แล้วให้เรืออีกลำออกนอกระบบ คือไม่ทำการประมง เรียกวิธีนี้ว่าการควบรวมเรือ และวิธีที่สองคือการสนับสนุนให้ใช้เรือนอกระบบในงานอย่างอื่น เช่นเป็นเรือส่งสินค้า เรือโดยสาร เรือท่องเที่ยว จนมาถึงวิธีสุดท้ายคือการซื้อเรือคืน "ตั้งแต่ปี 2558 มีเรือประมง 687 ลำที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้อีกแล้ว เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตทำการประมงตั้งแต่ปี 2559 จึงถูกจอดล็อกอยู่กับท่า พี่น้องเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดจำนวนเรือมานานแล้ว รัฐบาลก็ใช้ทุกวิถีทางแล้วและพบว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อเรือคืน" ต่อคำถามว่าการซื้อเรือเช่นนี้เป็นการสร้างความนิยมให้กับรัฐบาล คสช. หรือไม่ ธนพรตอบว่า การซื้อเรือเป็นไปตามแผนการจัดการประมงทะเลที่ ครม. ได้อนุวัตไว้ตั้งแต่ 3 พ.ย. 2558 ตนมองว่าการมาซื้อเรือในตอนที่ชาวประมงครหามานานเป็นเรื่องที่ผิดเวลา ถ้าจะเรียกคะแนนนิยมก็มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น เช่นการทำให้เนื้อหาในพระราชกำหนดการประมงหย่อนยานลง ด้านมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมการประมงฯ ได้เรียกร้องให้มีการซื้อเรือคืนมานานแล้ว แต่รัฐบาลไม่ยอมมาเยียวยาตั้งแต่ต้นทำให้ปัญหาของชาวประมงที่ไม่สามารถจดใบอนุญาตประมงได้ก็ต้องจอดแช่เป็นเวลาสามปี ทำให้มีปัญหาเรื่องปากท้อง "จริงๆ ต้องซื้อตั้งแต่ปี 2558 แล้ว ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ การแก้ปัญหา IUU คือถ้าเรือมากกว่าจำนวนสัตว์น้ำที่จะผลิตตามธรรมชาติคุณก็ต้องซื้อเรือออก ยุโรปใช้เวลา 15 ปี ซื้อเรือออกหมดเลย ใช้เงินตั้งห้าแสนล้าน ของเราไม่ได้ใช้เงินเลย ทำให้ชาวประมงเราเดือดร้อน" "ทำไมเราถึงเรียกร้องตลอดว่าแก้ผิด คือคุณไม่ยอมเยียวยาตรงนี้ตั้งแต่ต้น ถ้าเอาเงินมาซื้อเรือเขาออกจากระบบ ปัญหา IUU ไม่ได้เป็นอะไร ที่มีปัญหาเดือดร้อนกันวันนี้คือเขาหยุดประกอบอาชีพ เขาไม่มีรายได้แล้วเขาจะประกอบอาชีพอะไร แต่ถ้าคุณตั้งงบมาซื้อเลยป่านนี้เขาก็มีทุนไปประกอบอาชีพใหม่ได้ 3 ปีแล้ว ซึ่งเสียเวลาไปสามปี กว่าจะซื้อก็ซื้อช้า" มงคลกล่าว ทำความรู้จัก IUU ใบเหลืองอียู กับมรสุมทางนโยบายที่ซัดเรือไทยทั้งในฝั่งและกลางทะเลมาตรการซื้อเรือคืนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขนานใหญ่ของการทำประมงไทยที่เกิดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) ให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทยจากการที่ไทยไม่มีมาตรการที่จะป้องกันและขจัดปัญหาการทำประมงแบบผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู-IUU-Illegal, Unreported and Unregulated) เมื่อเดือน เม.ย. 2558 ซึ่งเป็นที่มาของการจัดระเบียบเรือประมงในสารพัดมิติ แต่ IUU ไม่ได้เป็นอะไรกับอียูโดยตรงตามที่หลายคนอาจเข้าใจเนื่องจากการมาเยือนไทยเป็นแพ็คคู่ เอกสารของกรมประมงระบุว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้กำหนดแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเรื่อง IUU มาตั้งแต่ปี 2544 ด้วยความตั้งใจให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ IUU เป็นแผนปฏิบัติการให้ทุกประเทศนำไปปรับใช้บนพื้นฐานความสมัครใจ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปมีความตั้งใจต่อสู้กับ IUU มานาน และได้ออกระเบียบเพื่อป้องกัน IUU ในปี 2551 เพื่อต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายกับประเทศสมาชิกในอียูและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และไทยเองก็เป็นผู้ส่งออกสินค้าประมงไปยังอียู จึงต้องทำการรับรองสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว เป็นเหตุให้ฝนที่ตกทางยุโรปหนาวมาถึงไทยแลนด์ในรูปแบบของใบเหลือง เพราะอียูเคยยื่นคำขาดให้ไทยแก้ไขปัญหาและปฏิรูปนโยบายเรื่อง IUU ไม่เช่นนั้นจะถูกห้ามส่งออกอาหารทะเลไปยังอียู ซึ่งสื่อวอยซ์ ออฟอเมริการายงานว่าอาจทำให้ไทยสูญเสียรายได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์หรือราว 15,000 ล้านบาทต่อปี รัฐบาล คสช. พยายามปรับตัวแบบระบบการประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ไม่ให้มี IUU เกิดขึ้น มีการตราพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาใช้แทนโดยเพิ่มข้อกำกับให้กับทั้งเรือและชาวประมง อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ระบุว่า ตาม พ.ร.ก. ประมง 2558 แบ่งการประมงในน่านน้ำไทยเป็นสองประเภท หนึ่ง ประมงพื้นบ้าน คือเรือที่มีขนาดเรือไม่เกิน 10 ตันกรอส และประมงพาณิชย์ที่มีขนาดเรือตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไป การทำประมงพื้นบ้านสนับสนุนให้จับสัตว์น้ำได้ไม่เกินสามไมล์ทะเล จากเดิมที่กำหนดไว้ 1.5 ไมล์ทะเล เรือประมงพื้นบ้านไ่ต้องมีใบอนุญาตทำการประมง แต่ต้องจดทะเบียนเรือจากกรมเจ้าท่า ขณะที่เรือประมงพาณิชย์คือการจับสัตว์น้ำมาจำหน่าย เมื่อ 2 เม.ย. 2560 มีเรือที่จดทะเบียนกับกรมเจ้าท่ารวม 37,000 ลำ แบ่งเป็นเรือประมงพื้นบ้าน 25,000 ลำ เรือประมงพาณิชย์ 12,000 ลำ (ที่มา: มติชน) หน่วยตันกรอสคือการการคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไปบนเรือ (ที่มา: ราชบัณฑิตยสภา) ธนพรเล่าว่า หลังพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ฉบับที่ต่อมามีปรับเป็นฉบับที่สองในปี 2560 บังคับใช้ เรือประมงพาณิชย์มีข้อกำกับเพิ่มเข้ามาดังนี้
(ประมงพาณิชย์หมายถึงการประมงโดยใช้เรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป หรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือใช้เรือประมงโดยมีหรือใช้เครื่องมือทำการประมงตามประเภท วิธี จำนวนแรงงานที่ใช้ หรือลักษณะการทำการประมงตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และหมายรวมถึงการใช้เรือประมงดังกล่าวทำการแปรรูปสัตว์น้ำไม่ว่าจะมีการทำประมงด้วยหรือไม่ก็ตาม) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) รวบรวมสถิติว่ามีการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ตามอำนาจมาตรา 44 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายและแรงงานข้ามชาติ
หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขข้อความในส่วนของธนพร ที่ว่า "พระราชกำหนดประมง เช่น เรือขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส ต้องติดอุปกรณ์ติดตามระบบ VMS" เป็น "พระราชกำหนดประมง เช่น เรือขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดอุปกรณ์ติดตามระบบ VMS" เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2561 เวลา 00.47 น. ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายน้อยจากวัฒน์ วรรลยากูรในงานเปิดตัวหนังสือครูไพบูลย์ บุตรขันธ์ Posted: 17 Jul 2018 09:04 AM PDT จากใจคนจร ในวาระงาน 100 ปีชาตกาล ครูไพบูลย์ บุตรขัน และ 20 ปี หนังสือ คีตกวีลูกทุ่ง เขียนโดย วัฒน์ วรรลยางกูร เมื่อหนังสือที่ได้ทุ่มเทแรงงานสมองเขียนไว้ ได้กลับมาพิมพ์ซ้ำอีก ย่อมทำให้ได้ทั้งความสุขทางใจ และความอิ่มท้องทางปัจจัย นับตั้งแต่พิมพ์พ็อกเกตบุ๊คเล่มแรกในวัย 20 ปี จนถึงวันนี้ในวัยเลยเกษียณ ชีวิตผมอยู่ได้ด้วยการเขียนหนังสือ ไม่ต้องการเป็นอะไรอื่นมากกว่านี้ (มีบางทีพูดอำคนฟังว่า อยากเป็นประธานาธิบดี เพราะเบื่อราชาธิปไตยเต็มที) นักเขียนต้องอยู่ได้ด้วยการเขียนหนังสือ และขายหนังสือ เช่นเดียวกับแม่ค้าข้าวแกงต้องอยู่ได้ด้วยการขายข้าวแกง ข้าวแกงต้องมีคุณประโยชน์และอร่อย ลูกค้าจึงอุดหนุนต่อเนื่อง ถ้าสังคมไทยปกติ ไม่วิปริตผิดเพี้ยน ไม่ตรรกะวิบัติ ไม่หลงมายาคติ ไม่บ้าคลั่งงมงาย ไม่ประจบผู้มีอำนาจ ไม่สอพลอผู้ชนะในกระแสเฉพาะหน้า นักเขียนที่สร้างงานด้วยแรงงานสมองอย่างมีมาตรฐานของตัวเองย่อมสามารถอยู่ได้อย่างเสรีชน ในอดีตมีตัวอย่างมาแล้ว เช่น ยุคของ ศรีบูรพา ยาขอบ ไม้ เมืองเดิม สร้างงานคุณภาพและอยู่ได้อย่างเสรีชน โดยไม่ต้องไปชะเง้อชะแง้รอคอยอภินิหาร หรือฟ้าประทานมาช่วยที่ไหนเลย ในวาระครบ 20 ปี หนังสือคีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน และเป็นการพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 5 ผมขอยืนยันมาตรฐานว่า หนังสือหนาราว 600 หน้าเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ควรมีอยู่ทุกบ้าน...ทุกบ้านที่มีดนตรี มีกวี และมนุษยธรรมอยู่ในหัวใจ เมื่อนักเขียนอยู่ได้ด้วยการเขียน และการขายหนังสือ โดยความเมตตาของผู้อ่านที่เป็นวิญญูชน นักเขียนย่อมยืนหยัดมั่นคงอยู่อย่างเสรีชน ทำงานอย่างซื่อสัตย์ต่อตนเอง และจริงใจต่อผู้อ่าน สี่ปีกว่าที่ต้องพลัดที่นา คาที่อยู่ ย่อมคิดถึงบ้าน แต่ผมไม่คิดกลับบ้าน บ้านเมืองที่ป่าเถื่อน เพียงคนคิดต่าง ก็ถูกไล่ออกจากบ้านเป็นหมูหมา และขนาดหนีออกจากบ้านแล้ว ยังตามไล่ล่า ความคิดอยากกลับบ้านเพิ่งมาเกิดขึ้นสอง - สามวันนี้ เมือได้เห็นหมายงาน 100 ปี ชาตกาลครูไพบูลย์ และ 20 ปี หนังสือ คีตกวีลูกทุ่ง ดูรายการ นึกคาดหมายภาพบรรยากาศน่าสนใจและน่าสนุก ทั้งภาคสาระและบันเทิง รวมทั้งสถานที่จัดงานคือร้านเฮมล็อก ผมเคยมานั่งตั้งแต่เปิดร้านใหม่ๆ สมัยเขียนคอลัมน์ประจำอยู่แถวๆ นี้ รู้สึกอกจะแตกครับ เหมือนเพื่อนเล่นบอลรออยู่ที่ลานวัด แต่เราไปไม่ได้เพราะต้องช่วยย่าขุดหลุมปลูกกล้วย อยากได้ฟังเพลงมนต์รักแม่กลองสดๆ ร่วมกับท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ฟังอยู่คนเดียวขณะทำกับข้าวอยู่ในแคมป์ลี้ภัยอย่างที่เป็นมาหลายปี หวนคิดถึงความสนุกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เปิดตัวหนังสือคีตกวีลูกทุ่ง ที่ริมน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี สนุกกันจนรุ่งสางวันใหม่ คุณชูเกียรติ เจ้าของสำนักพิมพ์แพรวและคณะ สนุกจนดึกดื่น วาณิช จรุงกิจอนันต์ โดยมี เริงไชย พุทธาโร คอยดูแล 20 ปีผ่านไป ทั้งสามนามที่เอ่ยมา ไม่สามารถมาสนุกกับเราในวันนี้ได้แล้ว ผมยังคิดถึงภาพน้องๆ สนพ.แพรว ช่วยกันทำกองฟาง และนั่งร้อยดอกลั่นทม ดอกลั่นทมเป็นดอกไม้ของกวี ครูไพบูลย์รำพันถึงดอกลั่นทมไว้เป็นสิบเพลง รองลงมาคือดอกพะยอม อันหมายถึงหญิงในชนชั้นต่ำต้อย ปรารถนาให้สังคมไทยเสพโสตกับเพลงดีๆ ของครูไพบูลย์ ไม่ใช่แต่ละวันเสพแต่เรื่องโง่เขลา บ้าคลั่ง ทุกข์ยาก เวียนวน ได้ยินแต่ถ้อยคำต่ำช้าของคนเหลิงอำนาจ หรือเจอแต่ขยะไซเบอร์อันหยาบกระด้าง เรามีทรัพยากรบุคคลากรทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์ทุกด้าน เพลง วรรณกรรม จิตรกรรม การแสดง คนไทยควรได้เสพสุขกับศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เยี่ยงอารยชน ไม่ใช่เสพถ้อยเพ้อเจ้อน้ำท่วมทุ่งจนทำให้ วันศุกร์กลายเป็นวันทุกข์ ขอบคุณ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ บินหลา สันกาลาคีรี ที่อาทรห่วงใยเสียจนลูกสาวถามว่า พ่อเป็นอะไรกับพี่สองคนนี้ ตอบ...เราเป็นออเจ้ากันมาแต่ชาติปางก่อน บุพเพสันนิวาสจ้ะ ขอบคุณพี่สุจิตต์ วงษ์เทศ ปลดเข็มน้ำเกลือมาเป็นหลักของงาน สี่สิบกว่าปี พี่จิตต์ไม่เคยเปลี่ยน ผม..ไอ้หมาวัฒน์ก็เลยเปลี่ยนไม่ได้ เพราะถ้าผมเปลี่ยน ผมจะพูดกับพี่ไม่รู้ภาษาคน ขอบคุณ ธีร์ อันมัย และคณะ ที่มีสมาชิกนามสกุลอะไร..อันทะ (พร อันทะ-ประชาไท) พิมพ์ผิดป่าว ขอบคุณ นักแต่งเพลงผู้ไม่ประสงค์ออกนามว่า สมพงษ์ ขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติ 100 ปีชาตกาลของครู เกือบลืมบอกไปว่า อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่สนใจจะกลับบ้าน คือหมายจับสองหมายที่มีอายุความ 15 ปี ตอนนี้ผ่านไป 4 ปี หมายความว่า หมายจับจะหมดอายุ พ.ศ. 2572 นี่คือเรื่องงี่เง่าปัญญาอ่อนของบ้านป่าเมืองเถื่อน ขอให้สนุกกับงานชาตกาลของครู ไม่ต้องห่วงไอ้หมาวัฒน์อย่างผม ทุกวันนี้ชีวิตผมก็แค่ ย้ายที่กินเหล้า ย้ายที่อ่านหนังสือ ย้ายที่เขียนหนังสือ อย่าลืมอุดหนุนหนังสือผมด้วยนะครับ จะได้มีเงินซื้อเหล้ากินไปเรื่อยๆ
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 17 Jul 2018 08:33 AM PDT
รัฐบาลประกาศจะเก็บภาษี "ลาภลอย" จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ครอบครองที่ดินหรืออาคารชุดในเชิงพาณิชย์ ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางคู่ สนามบิน ท่าเรือ ทางด่วน กำหนดเพดาน 5% ของส่วนต่างมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น นับจากวันที่รัฐเริ่มก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ฟังดูก็เหมือนดี ชาวบ้านทั่วไปไม่เดือดร้อนอะไร ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อเกษตรกรรมก็ไม่เก็บ มีแต่พ่อค้านายทุนที่ต้องเสียภาษี ซึ่งสมแล้วเพราะได้ประโยชน์จากการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ อยู่ดี ๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย ราคาที่ดินก็เพิ่ม จึงต้องเก็บภาษีเสียบ้างเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม แต่ช้าแต่ นี่มันหลักเดียวกับการเก็บภาษีที่ดินไม่ใช่หรือครับ ภาษีที่ดินก็ถือหลักว่าที่ดินของคุณอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย เกิดความเจริญจากการลงทุนของรัฐ หรือความเติบโตของสังคม ทำให้บ้านเมืองขยายตัว จนที่ดินราคาตารางวาละพันเมื่อยี่สิบปีก่อนกลายเป็นหลักหมื่น เกิดการซื้อกักตุนเก็งกำไร จึงควรจ่ายภาษีตามราคาประเมินที่เพิ่มขึ้นทุกปี พูดง่าย ๆ คือมันซ้ำซ้อนกัน ถ้าภาษีทั้ง 2 ฉบับประกาศใช้ ที่ดิน 100 ล้านใกล้รถไฟฟ้า ต้องเสียภาษีที่ดินทุกปี ตามราคาประเมินที่เพิ่มขึ้น แล้วก็ยังต้องเสียภาษีลาภลอย ตามราคาประเมินที่เพิ่มขึ้น เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ขณะเดียวกัน การประกาศพื้นที่กว้างขนาด 5 กิโลเมตรรอบโครงการ ก็เป็นเรื่องน่าขัน ถามว่าหมู่บ้านจัดสรรในซอยห่างรถไฟฟ้า 4.9 กม. ราคาเพิ่มขึ้นแค่ไหน ที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มตามปกติ หรือมาจากรถไฟฟ้ากันแน่ คงเถียงกันตาย อ้าว อีกหมู่บ้านที่ห่างไป 200 เมตรก็เพิ่มเหมือนกัน ทำไมไม่ต้องเสียภาษี ที่พูดอย่างนี้ จึงไม่ใช่ห่วงเศรษฐีนายทุนที่ไหน แต่อยากทวงถามว่าทำไมภาษีที่ดินไม่ผ่านสักที แถมดูไปดูมา ก็จะไม่ใช่การเก็บภาษีเพื่อความเป็นธรรม อย่างบ้านพักอาศัย ทีแรกกำหนดไว้ 50 ล้าน จะลดเพดานลง 20 ล้าน แล้วก็กลับไป 50 ล้าน คนมีบ้านหลังใหญ่โตมโหฬารราคา 49 ล้านไม่ต้องเสียภาษี เหมือนคนมีทาวน์เฮาส์ 16 ตารางวา มันเป็นธรรมที่ไหนกัน ว่าที่จริงในสังคมที่คนไม่มีบ้านอยู่ตั้งเยอะแยะ บ้านราคา 1 ล้านก็ควรเสียภาษี แต่ในอัตราต่ำมาก แล้วขยับขึ้นไปตามอัตราก้าวหน้า คนอยู่บ้านราคา 10 ล้าน เสียภาษีปีละ 1-2 พัน เดือดร้อนอะไรกัน ในเมื่อแต่ละปี ราคาที่ดินเพิ่มมากกว่านั้นหลายเท่า ยิ่งกว่านั้น ถ้าจะลดความเหลื่อมล้ำจริง ภาษีที่ดินต้องเก็บอัตราก้าวหน้า แบบใครถือครองมากยิ่งเสียมาก นับรวมจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองทั้งประเทศ ไม่ใช่แยกเก็บรายแปลง โดยใช้โครงสร้างภาษีบำรุงท้องที่แบบดั้งเดิม น่าสังเกตว่า การออกมาตรการภาษีในประเทศนี้เป็นเรื่องยาก ทำกล้า ๆ กลัว ๆ แบบภาษีที่ดินไม่กล้าเก็บบ้านพักอาศัยต่ำกว่า 50 ล้านบาท กลัวคนชั้นกลางระดับบนต่อต้าน ภาษีลาภลอยก็จำกัดวงเกิน 50 ล้านเพื่อการพาณิชย์ คนทั่วไปจะได้ไม่โวย ทั้งที่ไม่ควรซ้ำซ้อน ถ้าอยากลดเหลื่อมล้ำก็ต้องเก็บภาษีที่ดินทั้งหมดภายใต้อัตราก้าวหน้า เคยย้อนดูบ้างไหมว่า ทำไมคนไทยไม่อยากเสียภาษี มองดูดี ๆ น่าจะเป็นเพราะระบบภาษีเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม คนรวยเลี่ยงได้ มนุษย์เงินเดือนหนีไม่ออก แถมเงินภาษีก็เอาไปขึ้นเงินเดือน เอาไปซื้อเครื่องบิน อะไรทำนองนั้น ใครมันจะอยากเสียภาษี
ที่มา: www.kaohoon.com/content/240969 ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชม ‘ทันตแพทยสภา’ บังคับหมอฟันศึกษาต่อเนื่อง ชี้เป็นประโยชน์ ปชช. Posted: 17 Jul 2018 07:56 AM PDT เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นด้วยสภาวิชาชีพออกประกาศบั 17 ก.ค.2561 สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงการจัดการศึกษาต่อเนื่ สารี กล่าวว่า การศึกษาต่อเนื่องของผู้ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวอีกว่า ความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพทั "เราในฐานะองค์กรเพื่อผู้บริ สำหรับกระบวนการและรูปแบบการศึ ทั้งนี้ เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่ "สิ่งเหล่านี้ควรที่จะนับรวมหน่ อนึ่ง ข้อบังคับของทันตแพทยสภาว่าด้ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้ ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โปรดเกล้าฯ ตั้ง ‘พล.อ.อภิรัชต์' เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ Posted: 17 Jul 2018 04:51 AM PDT โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 'พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์' เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 17 ก.ค.2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารพิเศษ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งนายทหารพิเศษอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 มาตรา 10 มาตรา 13 มาตรา 15 และมาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการ และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม พุทธศักราช 2561 ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2561 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ไทยโพสต์เขียนบทวิเคราะว่า พลเอก อภิรัชต์ เป็นเต็ง 1 ที่จะได้ขึ้นเป็น ผู้ชัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) คนต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 17 Jul 2018 03:59 AM PDT
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หนี้ข้าราชการครู บทพิสูจน์เหรียญสองด้านอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยมใหม่ Posted: 17 Jul 2018 03:20 AM PDT
ข้อถกเถียงเรื่องหนี้สินของข้าราชการครูกลายมาเป็นประเด็นอีกรอบ เมื่อมีกรณี "ปฏิญญามหาสารคาม" ที่ข้าราชการครูร่วมร้อยคนประกาศขอพักชำระหนี้เพื่อรอการเจรจาระหว่างลูกหนี้ (ข้าราชการครู) กับเจ้าหนี้ (ธนาคารออมสิน และ กองทุน ช.พ.ค.- ผู้ให้กู้/สกสค. – ผู้ค้ำประกัน) อย่างที่กล่าวไปตอนต้นปัญหาเรื่องหนี้สินครูไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิดแต่เป็นปัญหาคาราคาซังมานาน ที่ทำให้ตัวเลขจำนวนหนี้สินของข้าราชการครูมีจำนวนมูลค่ามากกว่า 1.2 ล้านล้าน แบ่งเป็นหนี้ที่กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและแหล่งกู้อื่น 7 แสนกว่าล้านบาท และหนี้ที่กู้กับธนาคารออมสินผ่านทางโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา [จากรายงานข่าวออนไลน์ของโพสต์ทูเดย์]
ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูยังมีความซับซ้อนอย่างอื่นอีก อย่างเช่น ข้าราขการครูบางคนเรียนจบมหาวิทยาลัยมาด้วยการกู้เงินจาก กยศ. หรือ กรอ. ที่ทำให้เมื่อเข้าสู่การบรรจุเป็นข้าราชการแล้วก็จะถูกหักเงินเดือนในรายเดือนไป ยังไม่ต้องไปแตะถึงเรื่องค่าครองชีพ เฉพาะแค่เรื่องเงินเดือนที่ถูกหักไปก็ทำให้เกิดปัญหาแล้ว มันเป็นการชะลอการสะสมทุนเพื่อต่อยอดหรือนำไปบริโภคสินที่ขั้นพื้นฐานที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเช่น ยานพาหนะ หรือ โทรศัพท์มือถือ หรือที่พักอาศัย การจะซื้อสินค้าเหล่านี้ข้าราชการ (เช่นเดียวกัน หมายรวมถึงกลุ่มคนอื่นๆในสังคมด้วย) จึงจำเป็นต้องใช้การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆเพื่อนำเงินไปซื้อสินค้าเหล่านั้น ในฐานะที่มันเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สภาวะแบบดังกล่าวนั้นทำให้เกิดปัญหางูกินหางในระบบหนี้ที่ไม่จบไม่สิ้น การกู้กองทุนนั้นตามระเบียบทำให้ข้าราชการสามารถถูกหักเงินเดือนได้สูงจนถึงเหลือเงินเดือนเพียงร้อยละ 10 ของเงินเดือนสุทธิ หรือเหลือเพียงร้อยละ 30 ของเงินเดือนสุทธิ (กรุณาดูภาพประกอบที่ 2) คำถามคือถ้าคำนวณเอาตามฐานเงินเดือนของข้าราชการครู ที่ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยซึ่งจะถูกหักเงินเดือนเหลือร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนแล้ว ภายใต้ค่าตอบแทนรายเดือนที่ 15,000 เศษ หักแล้วเหลือ 4,500 บาทเศษต่อเดือนนี่พอกินหรอ? (กรุณาดูภาพประกอบที่ 3)
อันที่จริงการอภิปรายมาทั้งหมดแต่ต้นนี้ คงต้องขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้กำลังประกาศว่าผมสนับสนุนการยกเลิกหนี้หรือการหนีหนี้ของข้าราชการครู (ตามที่กล่าวไปข้างต้น กลุ่มปฏิญญามหาสารคามก็ไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกหนี้เพียงแต่ของดจ่ายชั่วคราวเพื่อเรียกร้องการเจรจา) และขณะเดียวกันก็ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบหนี้สินหรือเรื่องวินัยการเงินหรือเรื่องความพอเพียง อันที่จริงเรื่องนี้ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่สร้าง "ฉันทามติ" ให้สังคมได้ดี เพราะดูเหมือนทั้งฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่างก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกันต่อเรื่องหนี้สินของข้าราชการครู ("ทำให้คนไทยหันมาสามัคคีกันได้" – ตามคำพูดติดตลกของพวกปัญญาชน) อ้างอิง แก๊งครูโต้ชักดาบหนี้ ช.พ.ค. งดจ่ายไม่เรียกเบี้ยว แค่รอชำระถ้ามาเจรจา (คลิป), อมรินทร์ทีวี (ออนไลน์), (7 กรกฎาคม 2561) : http://www.amarintv.com/news-update/news-10623/227593/ อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน, ธเนศน์ นุ่นมัน, โพสต์ทูเดย์ (ออนไลน์), (27 พฤศจิกายน 2558) : https://www.posttoday.com/politic/report/401921 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การหักเงินเดือนเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการเพื่อชําระหนี้ เงินกู้ ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 : http://www.swutcc.co.th/…/rules®ulations/moe_reg_2551.pdf ตารางบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 : http://www.kroobannok.com/75120
เกี่ยวกับผู้เขียน: จักรพล ผลละออ เป็นสมาชิกขององค์กร International Marxist Tendency ประจำประเทศไทย ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วงเสวนาชี้ควรจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย แต่ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม Posted: 17 Jul 2018 02:46 AM PDT รายงานเสวนา 'จัดระเบียบแผงลอย ถอยกันคนละก้าว' ชี้ควรจัดระเบียบ แต่ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมหาทางออกอย่างยั่งยืน ระยะสั้นควรทบทวนคืนพื้นที่ขายให้แก่ผู้ค้า ระยะกลางควรมีการปรึกษาหารือแนวทางในการจัดระเบียบ และระยะยาวควรมีการพัฒนากฎหมายขึ้นมาดูแล เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ได้จัดเวทีเสวนา "จัดระเบียบแผงลอย ถอยกันคนละก้าว" ณ ห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมประมาณ 350 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและ WIEGO ในช่วงแรกมีการนำเสนอ "นโยบายจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยในกทม. ภูมิทัศน์สวยใส คนยากไร้อดตาย" โดย กัณณิกา อังศุธนสมบัติ นักวิจัยอิสระ และเรวัตร ชอบธรรม ประธานเครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินรายการโดย บวร ทรัพย์สิงห์ นักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กัณณิกา อังศุธนสมบัติ นำเสนอสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า หลังมาตรการหยุดผ่อนผันและการจัดระเบียบทางเท้าที่ผ่านมาเกือบสองปี ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยไม่สามารถขายในพื้นที่เดิมได้ทำให้ขาดรายได้ ต้องนำเงินเก่ามาใช้จนหมด ทำให้เป็นหนี้ บางคนช่วงมีรายได้ผ่อนบ้านและรถ เมื่อไม่มีรายได้ต้องหยุด และกระทบต่อการศึกษาของบุตรหลาน เป็นช่วงชีวิตที่ยากลำบาก ต้องประคองตัวเอง ส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยไม่สามารถเข้าถึงอาชีพชั้นสูงได้ และเป็นอาชีพที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น รายได้เป็นเงินหมุนเวียนแต่ละวัน ซื้อของมาขายและเก็บผลกำไรไว้ใช้จ่าย ผู้ค้าดั้งเดิมจะมีความชำนาญในพื้นที่ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้ว่าจะปรับปรุงภูมิทัศน์อย่างไร ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ค้ากับการจัดระเบียบ ด้านการเยียวยา กทม. หาตลาดเอกชนให้แต่ค่าใช้จ่ายสูง บางแห่งอยู่ไกล ไม่มีผู้ไปซื้อ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อร้านค้าข้าง ๆ หาบเร่แผงลอย ทำให้ขาดรายได้เพราะไม่มีผู้ซื้อมาเดินจับจ่ายใช้สอยในบริเวณดังกล่าว เส้นทางเปลี่ยว และมีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ผู้ค้าในตลาดสดขายผักได้น้อยลง รวมทั้งมีปัญหาด้านสุขภาพซึ่งส่งผลมาจากความเครียด และบางรายฆ่าตัวตาย กัณณิกา กล่าวถึงทางออกของปัญหาว่า การจัดระเบียบมีความจำเป็น เพราะในอดีตมีการถูกร้องเรียน ทั้งความสะอาดและกีดขวางทางเท้า กทม. ควรใช้โอกาสนี้จัดระเบียบใหม่ ต้องคืนอาชีพให้กับผู้ค้า และผู้ค้าก็ต้องปรับตัว เรวัตร ชอบธรรม นำเสนอว่า ที่ผ่านมาได้เดินทางไปร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานกรุงเทพมหานคร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ไม่ได้รับการแก้ปัญหา ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็น street food ที่ดีที่สุดในโลก แต่ทำไม กทม .จึงยกเลิก อีกทั้งหาบเร่แผงลอยยังสร้างประโยชน์กับทุกระดับ เป็นตัวกระจายสินค้าให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม มีผู้มาใช้บริการทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยว จึงอยากให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญ ช่วงต่อมาเป็นการอภิปรายในหัวข้อ "จัดระเบียบแผงลอย ถอยกันคนละก้าว" วิทยากรคือ รศ.ดร. นฤมล นิราทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. สมชัย จิตสุชน สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กทม. และ วิทูรย์ ศรีแก้ว สำนักเทศกิจ กทม. ดำเนินรายการโดย พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ รศ.ดร.นฤมล นิราทร อภิปรายว่า หาบเร่แผงลอยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากสูงมาก กทม. เป็นหน่วยปฏิบัติที่รับนโยบายจากรัฐบาล ที่ผ่านมาไม่มีความเป็นมิตรกับผู้ค้า และเรื่องการจัดระเบียบนี้ไปไกลกว่าอำนาจหน้าที่ของกทม. เราจะสร้างโอกาสจากวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างไร ผู้ค้ามีลักษณะหลากหลาย ต้องมองผู้ค้าว่าเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย และ SME เป็นการทำธุรกิจ รัฐจะมีนโยบายดูแลอย่างไร แต่ละรายต้องการความช่วยเหลืออย่างไร เพื่อจะได้กลับไปประกอบอาชีพได้ แต่ผู้ค้าต้องมีการปรับตัว เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เข้าไปขายในพื้นที่เดิม ผู้ค้าต้องเผชิญกับการแข่งขันกับรสนิยมของผู้บริโภครุ่นใหม่ ต้องทันสมัย การขายอาหารต้องมีมาตรฐานสูงขึ้น แต่จุดเด่นคือคนยุคนี้คนวิ่งหาความสัมพันธ์ทางใจ และหาบเร่แผงลอยมีสิ่งที่คนขายของในร้านสะดวกซื้อไม่มี รวมทั้งการรวมตัวเป็นเครือข่ายที่ยั่งยืนก็เป็นสิ่งจำเป็น วิทูรย์ ศรีแก้ว ร่วมอภิปรายว่า นโยบายมาจากข้อกฎหมาย ซึ่งมาจาก คสช. ตั้งแต่การจัดระเบียบวินมอเตอร์ไซค์ รถตู้ จนถึงหาบเร่แผงลอย ปัจจุบันจุดที่ยกเลิกแล้วห้ามกลับไปขายอีก ต้องรอการกำหนดจุดผ่อนผันโดยชอบด้วยกฎหมายต่อไป ซึ่ง กทม. ต้องเสนอจุดผ่อนผันต่อหัวหน้าสำนักงานตำรวจในพื้นที่ และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานจราจร ดร.สมชัย จิตสุชน กล่าวว่าประเด็นหาบเร่แผงลอยเป็นประเด็นทาง นโยบายมากกว่าเรื่องกฎหมาย นโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยเกี่ยวข้องกับคนในระดับที่สูงมาก คสช. เป็นทหารจึงเน้นเรื่องระเบียบวินัย นโยบายค่อนข้างเร่งรีบ ทำให้ไม่มีเวลาปรับตัว ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ รัฐต้องคำนึงถึงผลกระทบในวงกว้าง มาตรการเยียวยาต่าง ๆ ต้องช่วยเหลืออย่างจริงจัง และเน้นการมีส่วนร่วม ส่วนผู้ค้าต้องเข้ามาอยู่ในกรอบ และนำเสนอเรื่องราวปัญหาสู่ผู้มีอำนาจในระดับสูงด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้สามารถประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีการสนับสนุนให้ไปอยู่ในที่ใหม่ที่ดีจริง ๆ รสนา โตสิตระกูล อภิปรายว่า นโยบายทางการเมืองต้องมองเรื่องปากท้องของประชาชน และป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ หาบเร่แผงลอยช่วยให้การว่างงานในประเทศลดลง รัฐบาลต้องทำให้ทุกคนมีงานทำจะลดอาชญากรรมลงได้ สี่ปีที่ผ่านมา คสช. ใช้เงินเป็นแสนล้าน แต่ไม่ถึงเศรษฐกิจฐานราก เพราะอุ้มคนรวยทำให้รวยขึ้นและมีจีดีพีสูงขึ้น แต่คนทั่วไปจนลง ลำบากมากขึ้น รัฐปล่อยให้กิจการขนาดใหญ่กินรวบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ให้อิสระเสรีกับกลุ่มทุนมากเกินไป ถ้าคนเล็กคนน้อยอยู่ไม่ได้ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ก็อยู่ไม่ได้ รสนา กล่าวต่อว่า รัฐต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากการสั่งการ เป็นการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีเสรีภาพในการดูแลผู้คนในท้องถิ่น หาบเร่แผงลอยช่วยคนมีรายได้น้อย ต้องให้แต่ละชุมชนหรือประชาคมมาช่วยกันดูแล รักษาความสะอาดและระเบียบทางเท้า และการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมีความสำคัญเพราะจะทำให้เสียงดังมากขึ้น หลังเสร็จสิ้นเวทีเสวนา เครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้อ่านแถลงการณ์ ซึ่งมีข้อเรียกร้องดังนี้ 1. รัฐควรทบทวนยกเลิกนโยบายนี้ และคืนพื้นที่ค้าขายให้กับกลุ่มหาบเร่แผงลอยที่เคยได้รับอนุญาตอยู่เดิม 2. ให้โอกาสผู้ค้าได้เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการจัดระเบียบกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เขต เครือข่ายผู้ค้า ตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อาชีพหาบเร่แผงลอยได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาเมืองและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ ไม่ใช่การยกเลิกหาบเร่แผงลอยออกไปจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้ค้าในทุกพื้นที่เพื่อให้กลุ่มผู้ค้าสามารถประสานงานกับเจ้าหน้าที่เขตในพื้นที่และกำกับดูแลให้สมาชิกในพื้นที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางและข้อเสนอแนะอันเกิดจากการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน เช่น การดูแลเรื่องความสะอาด การดูแลพื้นที่ตั้งแผงลอยให้มีทางเดินไม่น้อยกว่า1.5 เมตร การควบคุมเวลาตั้งแผงค้าให้เป็นไปตามที่กำหนด รวมทั้งการลงโทษผู้กระทำผิด 4. จัดหามาตรการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น 5. พิจารณาออกกฎหมายเรื่องการค้าริมทางเท้าเพื่อให้เกิดการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในระยะยาว และป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนเป็นผลกระทบกับการประกอบอาชีพโดยสุจริตของประชาชน
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนาอำนาจนำ และลัทธิ(ไม่)เสรีนิยม: เมื่อชนชั้นกลางไม่ชอบประชาธิปไตย Posted: 17 Jul 2018 02:32 AM PDT นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ยกกรณีศึกษาไทยและสิงค์โปร์ โดยชี้ว่าชนชั้นกลางมีโอกาสถูกขัดเกลาให้เป็นคนหัวอนุรักษ์นิยมง่ายกว่าชนชั้นล่าง เผย 2 ปัจจัย "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" และ "คนดี" คืออุปสรรคประชาธิปไตยไทย ส่วน 'ประจักษ์ ก้องกีรติ' เสนอว่าชนชั้นกลางอาจหันหลังให้เผด็จการ หากสถาบันทางการเมืองเข้มแข็ง แวดวงการศึกษาทางรัฐศาสตร์เคยเชื่อว่าชนชั้นกลางคือกำลังสำคัญในการวางรากฐานประชาธิปไตย ยิ่งประเทศไหนมีชนชั้นกลางเยอะ ประเทศนั้นก็มีโอกาสจะเป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น แต่ปรากฏการณ์ทั่วโลกในรอบทศวรรษที่ผ่านมาได้ทำให้เหล่านักรัฐศาสตร์ต้องกลับมาตั้งคำถามกับแนวคิดดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นขบวนการชนชั้นกลางในไทยที่ร่วมกันต่อต้านรัฐบาลพลเรือนของทักษิณและยิ่งลักษณ์ อีกทั้งประเทศที่มีชนชั้นกลางจำนวนมากอย่างประเทศจีน และสิงคโปร์ ก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเลยแม้แต่น้อย เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ร่วมกับ ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จึงได้จัดงานเสวนา "Middle Classes in Southeast Asia : Hegemony and Illiberalism" ขึ้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ ศ.ดร.อีริก คูฮอนต้า จากมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสต์ ธรรมศาสตร์ อาจารย์ดุลยภาพ จาตุรงคกุล จากคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ คลิปเสวนา "Middle Classes in Southeast Asia : Hegemony and Illiberalism"
ชนชั้นกลางถูกขัดเกลาให้ยอมรับเผด็จการง่ายกว่าชนชั้นแรงงาน การชุมนุมของ กปปส. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 (แฟ้มภาพ/ประชาไท) อีริก คูฮอนต้า เริ่มอภิปรายด้วยการยกโควทของอริสโตเติ้ล นักปรัชญาการเมืองกรีกที่กล่าวไว้ว่า "ระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไปนั้นมีความความมั่นคงและยั่งยืนกว่าระบอบคณาธิปไตยก็ เพราะว่ามีชนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญ หากประชาธิปไตยไร้ซึ่งชนชั้นกลาง และชั้นล่างมีจำนวนมาก ย่อมเกิดปัญหา และพังทลายอย่างรวดเร็ว" แม้จะเป็นถ้อยคำที่กล่าวเอาไว้นานกว่า 300 ปีก่อนคริสตกาล แนวคิดดังกล่าวได้ส่งผลต่อแนวคิดของนักรัฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างมาก และได้กลายมาเป็นทฤษฎีการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ (Modenization Theory) ที่อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจะนำไปสู่การก่อตัวของชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดแบบเสรีนิยม มีความอดกลั้นทางการเมือง และต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ชนชั้นกลางจึงเป็นกำลังสำคัญในการท้าทายอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยภายในประเทศ อย่างไรก็ตามคูฮอนต้ากล่าวว่า วิธีคิดดังกล่าวมองข้ามปัจจัยด้านอุดมการณ์ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบสร้างพฤติทางการเมืองของชนชั้นกลาง ข้อเสนอของเขาคือชนชั้นกลางสามารถถูก "กล่อมเกลา (socialized)" ให้เชื่อและยอมรับอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมและกลายเป็นผู้สนับสนุนระบอบอำนาจนิยมภายในประเทศ และเมื่ออุดมการณ์ดังกล่าวครอบงำสังคมได้ในระดับที่ไม่มีอุดมการณ์อื่นท้าทายได้ อุดมการณ์ดังกล่าวก็จะกลายเป็นอำนาจนำ (hegemony) ในท้ายที่สุด โดยคูฮอนต้าได้นิยามชนชั้นกลางว่าหมายถึง คนที่เป็นแรงงานมีฝีมือ อาศัยอยู่ในเมือง ได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป และไม่มีทุน คูฮอนต้ากล่าวว่า จริงที่อุดมการณ์ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระบอบการเมืองภายในประเทศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่าอุดมการณ์มีผลอย่างยิ่งต่อการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของคนในสังคม โดยในกรณีของประเทศไทย อุดมการณ์ที่มีผลต่อการประกอบสร้างพฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางไทยคือแนวคิดเรื่อง "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" และ แนวคิดเรื่อง "คนดี" อุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ถูกสถาปนาขึ้นโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมของคนไทย ที่รักความมีเสถียรภาพ (stability) ความมีระเบียบ (order) ความสามัคคีของคนในชาติ (national unity) และความจงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์ แนวคิดทั้งหมดนี้นำไปสู่การให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารมากกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมแนวคิดทางการเมืองแบบผูกขาดไปในท้ายที่สุด อุดมการณ์ที่สองคือแนวคิดเรื่อง "คนดี" ซึ่งถูกคิดค้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งคูฮอนต้าอธิบายว่าคึกฤทธิ์เป็นคนที่นิยมระบอบศักดินา (fuedalism) อย่างมาก คือชื่นชอบสังคมมีลำดับชั้นโดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นจุดสูงสุดของสังคม รองลงมาคือช้าราชการ นักการเมือง และประชาชนตามลำดับ เมื่อมีแนวคิดตั้งต้นมาจากระบบศักดินา คึกฤทธิ์จึงไม่ชอบการเลื่อนลำดับชั้นทางสังคมแต่มองว่าคนทุกคนควรจะทำหน้าที่ของตัวเองในสังคมให้ดีอย่างมีศีลธรรม และปราศจากความเห็นแก่ตัว (self-interest) การเมืองจึงอุดมการณ์ของคึกฤทธิ์จึงไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ เพราะขอแค่เพียงให้คนดีได้ขึ้นมาปกครอง ประเทศก็จะดำเนินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ในระบอบดังกล่าว การทำรัฐประหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และยอมรับได้เพื่อขับไล่ผู้ปกครองที่ไม่มีศีลธรรมลงจากอำนาจ และสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ คูฮอนต้าสรุปว่า อุดมการณ์ทั้งสองข้างต้นได้ทำให้แนวประชาธิปไตยของไทยขัดแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นในมิติของความชอบธรรมในการปกครองที่ยึดติดกับแนวคิดทางศีลธรรมและศาสนา แทนที่จะเป็นหลักนิติธรรมและเสียงข้างมาก มองการแข่งขันทางการเมืองและการตรวจสอบถ่วงดุลว่าเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายความสามัคคีและความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้ความสำคัญกับคนดีมากกว่าคนที่มาจากการเลือกตั้ง สนับสนุนสังคมที่มีลำดับชั้น ทั้งๆ หนึ่งในเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยคือการสร้างความเท่าเทียมในสังคม และสุดท้ายคือยอมรับการทำรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่ทางออกของวิกฤติการเมืองในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย คูฮอนต้ากล่าวต่อว่า อุดมการณ์ "การเมืองแบบไทยๆ" และ "คนดี" ปรากฏตัวออกมาอย่างชัดเจนผ่านวิกฤติการเมืองไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอเรื่อง สว. แต่งตั้งของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ การเรียกร้องอย่างชัดเจนให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองขบวนการ กปปส. จวบจนมาถึงรัฐบาล คสช. ที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่ากำลังเดินตามแนวคิดประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของจอมพลสฤษดิ์ ผ่านการร่างรัฐธรรมนูญที่เน้นการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายใต้การนำของกองทัพ มากกว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน คล้ายคลึงกับประเทศสิงคโปร์ ที่แม้จะมีการเลือกตั้ง และมีสัดส่วนชนชั้นกลางมากที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พรรคกิจกรรมสังคมกลับชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1959 จึงไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้เต็มปาก ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจความพึงพอใจในระบอบการปกครองในปี 2009 ชาวสิงคโปร์กว่า 93% ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกพึงพอใจกับรูปแบบการปกครองในปัจจุบัน นั่นหมายความว่าชนชั้นกลางในสิงคโปร์ไม่มีแนวโน้มที่จะตั้งคำถาม หรือท้าทายรูปแบบการปกครองกึ่งอำนาจนิยมของประเทศตัวเองเลย เนื่องจากมีอุดมการณ์สามประการที่ครอบงำความคิดชนชั้นกลางสิงคโปร์อยู่นั่นคือ 1. "ความอยู่รอด (survival)" คือแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองและประเทศอยู่รอดได้ท่ามกลางปัญหาและความท้าทายต่างๆ 2. "หลักปฏิบัตินิยม (pragmatism)" คือแนวคิดที่เน้นประสิทธิภาพและปฏิบัติได้จริง และ 3. "หลักคุณธรรมนิยม (meritocracy)" คือแนวคิดที่ให้คุณค่ากับความสามารถของตัวบุคคล คูฮอนต้ากล่าวว่าชนชั้นนำสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการสถาปนาอุดมการณ์ทางการเมืองว่า "พรรคกิจสังคมเหมาะสมที่จะปกครองประเทศ (หลักปฏิบัตินิยม) เพราะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หลักคุณธรรมนิยม) ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ท้าทาย (ความอยู่รอด)" สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการทำให้ประชาชนเชื่อว่าประเทศมีความท้าทายทางเศรษฐกิจ และการเมือง จึงจำเป็นจะต้องให้ผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางการเมืองสูงอย่างพรรคกิจสังคมบริหารประเทศต่อไป ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคกิจสังคมได้พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่าสามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่องได้จริง ในแง่นี้แนวคิดเรื่องคุณธรรมนิยม จึงไม่ต่างจากแนวคิดเรื่องคนดีของประเทศไทยมากนัก เพราะเป็นการสนับสนุนให้คนเพียงบางกลุ่มบริหารประเทศได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล ในท้ายที่สุดอุดมการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความชอบธรรมให้ชนชั้นสูงปกครองประเทศต่อไป เพราะมองว่าชนชั้นนี้เหมาะสมที่สุดในการบริหารประเทศ คูฮอนต้าอธิบายว่า อุดมการณ์ดังกล่าวยังถูกใช้เป็นข้ออ้างของรัฐบาลในการมองข้ามปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ เพราะมองว่าการที่คนยากจนนั้นเป็นเพราะพวกเขาไม่มีความพยายามหรือความสามารถมากพอ แม้สิงคโปร์จะมีพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคคนงานที่มีฐานเสียงเป็นชนชั้นล่าง แต่พรรคดังกล่าวก็วิพากษ์วิจารณ์พรรคกิจสังคมแค่ในระดับนโยบายเท่านั้น แต่ก็ใช่ว่าพรรคกิจสังคมจะไม่ถูกท้าทายเลย โดยในการเลือกตั้งปี 2011 พรรคกิจสังคมได้เสียงในสภาไปเพียง 66 เปอร์เซ็น ซึ่งลดลงเกือบ 10 เปอร์เซ็น จากการเลือกตั้งในปี 2005 แต่คะแนนเสียงหายไปเหล่านี้กลับไม่ใช่ชนชั้นกลาง แต่มาจากเขตพื้นที่ผู้ใช้แรงงานอาศัยอยู่เยอะ จึงกลายเป็นว่าชนชั้นที่พยายามจะท้าทายระบอบการเมืองของสิงคโปร์ไม่ใช่ชนชั้นกลาง แต่เป็นชนชั้นแรงงานเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามพรรคกิจสังคมก็พยายามจะปรับตัวเพื่อดึงเสียงของชนชั้นแรงงานกลับมา โดยมีการออกนโยบายลดเงินเดือนรัฐมนตรี ลดราคาที่อยู่อาศัย และพัฒนาระบอบขนส่งมวลชนให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงได้มากขึ้น คูฮอนต้าสรุปว่าชนชั้นกลางไม่เป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเสมอไป ชนชั้นกลางสามารถสลับไปมาระหว่างฝ่ายต่อต้านและสนับสนุนประชาธิปไตยได้ตลอดเวลา เพราะชนชั้นเหล่านี้มีโอกาสถึงการศึกษามากกว่าชนชั้นล่าง จึงถูกสถาบันทางสังคมกล่อมเกล่าให้เชื่อในอุดมการณ์ของรัฐได้ง่ายกว่าชนชั้นล่าง "ความย้อนแย้งของเรื่องนี้คือยิ่งชนชั้นกลางมีการศึกษามากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งถูกขัดเกลาให้มีแนวคิดตามอุดมการณ์ของรัฐได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่กับชนชั้นแรงงาน ชนชั้นแรงงานมีแนวโน้มที่จะท้าทายระบอบการเมืองอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนชั้นกลางอย่างขัดเจน" คูฮอนต้ากล่าว
ชนชั้นกลางไทยสลับไปมาระหว่างฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านประชาธิปไตย การชุมนุมของ กปปส. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการศึกษาเรื่องชนชั้นกลางในไทยมักมีข้อจำกัดอยู่สองประการคือ 1. พยายามอธิบายว่าชนชั้นกลางต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแบบตายตัว เช่นเป็นฝ่ายประชาธิปไตย เป็นฝ่ายสนับสนุนทหาร หรือเป็นไม่เอาการเลือกตั้ง และ 2. คือมักมุ่งศึกษาความพยายามของชนชั้นนำไทยมากเกินไป ในงานศึกษาของเธอ กนกรัตน์ได้ไปสัมภาษณ์ผู้ที่เคยร่วมชุมนุมกับพันธมิตร และ กปปส. จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นทั้งผู้ชุมนุมทั่วๆ ไป ไปจนถึงระดับแกนนำ ข้อค้นพบของกนกรัตน์คือ ชนชั้นกลางสลับไปมาตลอดระหว่างฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านประชาธิปไตย โดยในระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตย (democratic transition) เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 กับเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 ชนชั้นกลางมีบทบาทอย่างยิ่งในการท้าทายเผด็จการทหาร แต่เข้าสู่ช่วงการทำให้ประชาธิปไตยเป็นปึกแผ่น (democratic consolidation) ชนชั้นกลับมีแนวโน้มที่จะต่อต้านประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งทำให้ชนชั้นล่างมีอำนาจมากขึ้น ชนชั้นกลางจึงรู้สึกว่าตัวเองถูกกีดกันออกจากการเมือง ชนชั้นกลางไทยจึงเริ่มแสวงหาอำนาจทางการเมืองผ่านการนิยมตัวเองเป็นมวลชนที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
"เสรีนิยม" กับ "ประชาธิปไตย" ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 (แฟ้มภาพ/ประชาไท) ดุลยภาพ จาตุรงคกุล กล่าวว่า นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่มักจะตีความแนวคิดของอริสโตเติ้ลผิดซึ่งนำไปสู่การทำความเข้าใจชนชั้นกลางที่คลาดเคลื่อนตามไปด้วย แม้อริสโตเติ้ลจะมองว่าชนชั้นกลางจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับระบอบประชาธิปไตย แต่เขาก็เสนออีกเช่นกันว่า เมื่อคนเราถูกทิ้งให้อยู่กับความโลภของตนเองจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง กล่าวคือมนุษย์ไม่ได้จำเป็นต้องยึดติดอุดมการณ์เสมอไป หากแต่ยึดติดกับผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง นั่นหมายความว่าชนชั้นกลางก็พร้อมที่จะร่วมมือกับฝ่ายที่ไม่เป็นประชาธิปไตยตลอดเวลาเพื่อรักษาอำนาจ และผลประโยชน์ของตัวเองไว้ ดุลยภาพยังเสนออีกด้วยว่าเราควรจะมองคำว่า "เสรีนิยม" แยกออกจากคำว่า "ประชาธิปไตย" เพราะสองสิ่งนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสอดคล้องกันเสมอไป เนื่องจากแนวคิดประชาธิปไตยเน้นหลักความเท่าเทียมกัน ขณะที่แนวคิดเสรีนิยมเน้นเรื่องเสรีภาพ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือในช่วงการชุมนุมคนเสื้อแดง มีการสร้างแคมเปญ Respect My Vote ซึ่งเป็นแนวคิดแบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่าย กปปส. ก็มีการทำแคมเปญ Respect My Tax ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดเสรีนิยม
เผด็จการปรับตัวตลอดเวลา ประจักษ์ ก้องกีรติ เริ่มอภิปรายโดยกล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะปกติแล้วคูฮอนต้าขึ้นชื่อว่าเป็นนักวิชาการสายสถาบันนิยม ส่วนตัวเขามักจะศึกษาเรื่องการเมืองเชิงวัฒนธรรม แต่วันนี้เขาต้องการจะเสนอว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางจำเป็นต้องกลับไปศึกษากลไกลทางการเมืองเชิงสถาบันด้วย ประจักษ์เห็นด้วยกับคูฮอนต้าว่า อุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับ คนดี มีบทบาทอย่างยิ่งในการเมืองไทย แต่คำถามที่น่าคิดต่อคือรัฐไทยใช้วิธีการใดในการเผยแพร่อุดมการณ์ดังกล่าว เพราะต้องไม่ลืมว่านอกจากอุดมการณ์ทั้งสองแล้ว กลุ่มการเมืองต่างๆ ก็พยายามจะสถาปนา และเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองของตัวเองขึ้นมาท้าทายแนวคิดอนุรักษ์นิยมด้วยเช่นกัน แต่เมื่ออุดมการณ์เหล่านี้มาปะทะกัน ฝ่ายอุนรักษ์นิยมมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า เนื่องจากสถาบันทางการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย เช่นพรรคการเมือง และภาคประชาสังคมในไทยยังคงอ่อนแอเกินกว่าจะท้าทายระบอบการเมืองในปัจจุบันได้ นอกจากนี้ กระแสเศรษฐกิจโลกที่ดูจะดำเนินไปตามแนวทางเสรีนิยมใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เกิดการเมืองแบบประชานิยมเพิ่มมากขึ้น นักการเมืองเริ่มแสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองผ่านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของชนชั้นแรงงาน ซึ่งนโยบายเหล่านี้สร้างความไม่พึงพอใจให้กับชนชั้นกลาง ทำให้พวกเขารู้สึกว่าประชาธิไตยและการเลือกตั้งเป็นภัยคุกคามของพวกเขา หากประเทศนั้นมีสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง มีพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายที่ก้าวหน้า และตอบสนองคนหลากหลายชนชั้น ชนชั้นกลางก็อาจจะเลือกที่จะดำเนินตามครรลองประชาธิปไตย แต่ในกรณีของไทย สถาบันทางการเมืองเหล่านั้นกลับอ่อนแอ ชนชั้นกลางไทย จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสนับสนุนระบอบเผด็จการเพื่อให้ตัวเองได้เข้าถึงอำนาจทางการเมือง ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยิ่งห่างไกล สถิติป่วย ‘ตาต้อกระจก’ ยิ่งพุ่ง ไทยเดินหน้าผลิตจักษุแพทย์เพื่อชนบท Posted: 17 Jul 2018 01:47 AM PDT ยิ่งห่างไกล สถิติป่วย 'ตาต้อกระจก' ยิ่งพุ่ 17 ก.ค.2561 รศ.นพ.อนุชิต ปุญญทลังค์ ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่ "ในพื้นที่ห่ นพ.อนุชิต กล่าวต่อไปว่า จากผลการศึกษาผ่านงานวิจัยพบว่ "ขณะนี้ ประธานราชวิทยาลั "ย้อนกลับไปในอดีต เลนส์ที่เราใส่กันอยู่ในปัจจุบั นพ.อนุชิต กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมีข้อเสนอเพิ่มเติมคื สำหรับสถานการณ์จั อย่างไรก็ดี ทาง สธ.ได้ร่วมกับราชวิทยาลัยทุกๆ สาขา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือราชวิทยาลั ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โต้ประกาศ 5 ข้อสื่อไม่ปลอดภัยฯ ‘ใบตองแห้ง’ ชี้สื่อต้องกล้าถามท้าทายกรอบศีลธรรม Posted: 17 Jul 2018 01:39 AM PDT หลังกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ ออก 5 ลักษณะสื่อไม่ปลอดภัย/ไม่สร้างสรรค์ 'ใบตองแห้ง' ชี้เป็นกฎที่ยิ่งจำกัดกรอบการสร้างสรรค์ตามโอวาทรัฐ ย้ำวิวัฒนาการสื่อต้องมาจากกล้าตั้งคำถามท้าทายกรอบศีลธรรม ขณะที่วิธีคิดแบบไทยๆ คือป้องกันเยาวชนจากสื่อไม่ดี แต่กลับไม่ติดทักษะ 'การรู้เท่าทันสื่อ' หลังจากเมื่อวาน (16 ก.ค. 61) คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกประกาศเรื่อง "กําหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ พ.ศ.2561" ตั้งแต่เรื่องขัดต่อศีลธรรม ยุยงปลุกปั่น ส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดต่อกฎหมาย และขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ จากเนื้อหาที่ตีความได้โดยกว้าง จึงเกิดคำถามว่าสื่อที่อยู่ภายใต้การตีกรอบเหล่านี้ ยังจะสามารถทำหน้าที่สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมได้อยู่หรือไม่ ประชาไทสัมภาษณ์ อธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา 'ใบตองแห้ง' และพิธีกรวิเคราะห์ข่าววอยซ์ทีวี ต่อประเด็นดังกล่าว อธึกกิต กล่าวว่า สื่อที่อยู่ภายใต้กฎ 5 ข้อนี้ นอกจากเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว 4 ข้อที่เหลือก็คือสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในโอวาทรัฐ คือสื่อที่อยู่ในกรอบ ไม่ใช่สื่อที่เป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งต้องเปิดกว้าง ต้องมีความหลากหลาย ไม่จำกัดอยู่ภายใต้กรอบของคนส่วนใหญ่ เขา ชี้ว่า วิวัฒนาการของสื่อต้องมาจากสื่อที่กล้าท้าทายต่อศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมในสังคมทั้งนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้คือการตีกรอบให้อยู่ในระบบ ให้เชื่อฟัง เช่นเดียวกับค่านิยม 12 ประการ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า "ทุกคนต้องเป็นคนดี" สื่อก็จะไม่สามารถโต้เถียงได้ว่า "อะไรคือการเป็นคนดี" หรือการรณรงค์ไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ พอมีสื่อที่โต้แย้งว่าเรายังมีสิทธิ์ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ตราบใดที่ไม่ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน สื่อแบบนี้ก็จะถูกมองว่าสื่อขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม หรือในแง่การวิพากษ์วิจารณ์ทางวัฒนธรรม เช่น คำสอนของศาสนาในข้อนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ์หรือจำกัดเสรีภาพ สื่อก็อาจจะไม่สามารถสร้างข้อถกเถียงทางศาสนาได้ หรือเรื่องขัดต่อกฎหมาย ก็ต้องตั้งคำถามว่าเราอยู่ในกฎหมายอะไร เราอยู่ในกฎหมายม. 44 สื่อบางครั้งก็ต้องขัดแย้งต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้ก่อให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาค "ดังนั้นหน้าที่สื่อจึงไม่อาจอยู่ในกรอบ แต่หน้าที่สื่อคือการถกเถียงเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง" อธึกกิตกล่าว เขา กล่าวต่อเรื่องกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกว่า ทางกองทุนฯ เคยให้ทุนกับละครช่อง 5 เรื่อง 'นายร้อยสอยดาว' จำนวน 5 ล้านบาท ทั้งที่มีงบประมาณจัดสรรให้ช่อง 5 อยู่แล้ว ถามว่านั่นคือสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์จริงหรือไหม มีองค์กรอื่นที่ควรได้กว่านี้หรือไม่ หรือการให้ทุนกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อมาตุภมิ หรือการ์ตูนสำหรับเด็ก "สิ่งเหล่านี้มันอาจเป็นอะไรที่ดีๆ ในแนวของรัฐแต่มันไม่หลากหลาย สิ่งที่แหกคอกออกไปถูกมองว่าไม่ใช่สิ่งดี วิธีคิดคือปกป้องเยาวชนจากการรับสิ่งไม่ดี แทนที่จะไปเสริมสร้างการเท่าทันสื่อหรือการรับมือกับโลกออนไลน์ยังไงให้ถูกวิธี" อธึกกิต กล่าวทิ้งท้าย รายละเอียดประกาศระบุว่า โดยที่ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 กําหนดให้คณะกรรมการประกาศกําหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแล กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อเฝ้าระวังสื่อ ที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 (2) แห่ง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2561 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงกําหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ ดังต่อไปนี้ 1. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทางลบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง 2. สื่อที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ 3. สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย 5. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ หรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้นๆ
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'สมัชชาคนจน' ร้อง 'ประยุทธ์' แก้ปัญหา 'ยาฆ่าหญ้า-ค่าครองชีพ-บัตรทอง-สิทธิแรงงาน' Posted: 17 Jul 2018 01:16 AM PDT สมัชชาคนจนร้องประยุทธ์แก้ปัญหานำเข้าสารเคมีอันตราย ราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น กระทบค่าครองชีพ ปัญหาสวัสดิการรักษาพยาบาลจากระบบบัตรทอง และปัญหาด้านแรงงาน ที่คนงานที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมากขึ้น 17 ก.ค.2561 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ. เดิม) บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนสมัชชาคนจน นำโดย บุญยืน สุขใหม่ กรรมการบริหารสมัชชาคนจน ฝ่ายกฎหมายแรงงาน พร้อมตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า 50 คน เดินทางยื่นหนังสือเรียกร้องถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่าน พันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน เพื่อให้ภาครัฐเร่งรัดในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล คสช. ผ่านนโยบาย และออกประกาศคำสั่งต่างๆ รวม 4 ประเด็นคือ 1. การนำเข้าสารเคมีอันตราย โดยเฉพาะ พาราควอต (ยาฆ่าหญ้า)เพื่อใช้ในภาคการเกษตร ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย ให้ยังสามารถใช้ได้ในประเทศไทย ทั้งที่เกิดผลกระทบขึ้นมากมายต่อชีวิตเกษตรกร และผู้บริโภคประชาชนทั่วไป ทั้งเสียชีวิต และสะสมปนเปื้อนตกค้าง ในสภาพแวดล้อม และอาหารที่ทุกคนบริโภค จึงขอให้พิจารณาการจำกัดหรือยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ คือ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซต 2. ราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนแพงขึ้นทุกวัน ในขณะที่รายได้ของประชากร กลับไม่ได้มากตาม ทำให้คนไทยต้องจนลง จากเงินในกระเป๋าที่ต้องจ่ายไปเป็นค่าเชื้อเพลิงพลังงาน และจากปัญหาความไม่โปร่งใสในแวดวงธุรกิจพลังงาน 3. ปัญหาสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล จากระบบบัตรทอง ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีความพยายามจะปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยผิดไปจากเจตนารมณ์เบื้องต้นที่ต้องการให้เกิดระบบสวัสดิการและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ในด้านการดูแลรักษาพยาบาล เพื่อให้เกิดเป็นระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยทุกคน โดยจะส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกคนที่ใช้ระบบบัตรทอง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนคนยากจน ที่จะถูกเลือกปฏิบัติสงเคราะห์อย่างไม่เป็นธรรม เกิดเป็นความเหลื่อมล้ำในด้านการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล 4. ปัญหาด้านแรงงาน ที่ปัจจุบันมีจำนวนคนงานที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมากขึ้น โดยที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถเข้าไปดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที กลับปล่อยให้บรรดาคนงานที่ถูกปิดงานเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องเผชิญชะตากรรมโดยลำพัง โดยรัฐได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่ให้สิทธินักลงทุนมากขึ้นแทบทุกด้าน แต่สิทธิด้านแรงงานกลับไม่ได้รับการเหลียวแล แก้ไข สำหรับรายละเอียดทั้ง 4 ประเด็นเรียกร้องมีดังนี้ ประเด็นการนำเข้าสารเคมีอันตรายประเด็นราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นประเด็นระบบบัตรทองประเด็นปัญหาด้านแรงงาน ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวแคลิฟอร์เนียนำ 'มอนซานโต' ขึ้นศาลได้ครั้งแรกกรณียาฆ่าหญ้าก่อมะเร็ง Posted: 16 Jul 2018 10:55 PM PDT เมื่อเดือนที่แล้วมีการฟ้ สื่อ CBS นำเสนอกรณี เดอเวย์น จอห์นสัน ชาวมลรัฐแคลิฟอร์เนียผู้มีอาชีพคนดูแลสนามฟ้องร้องต่ จอห์นสันที่ปัจจุบันอายุ 46 ปีได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็ ริคดี คลีแมน นักวิเคราะห์ด้ คลีแมนกล่าวว่ามีการฟ้องร้องคดี จนถึงตอนนี้มอนซานโตยังคงปฏิ อย่างไรก็ตาม คลีแมนบอกว่าโจทก์ในคดีนี้สามารถนำเสนอหลั มอนซานโตเป็นบรรษัทที่มีบริษัทแม่ในมลรัฐเซ็นต์หลุยส์ได้พัฒนาสารไกลโฟเซตในช่วงทศวรรษ 2510 ปัจจุบันยาฆ่าหญ้าราวน์อัพถูกจำหน่ายไปมากกว่า 160 ประเทศ ถูกใช้กับพืชผลมากกว่า 200 ชนิดโดยเกษตรกรในแคลิฟอร์เนีย นอกจากนั้นมันยังถูกใช้กับสนามหญ้าและสวนตามบ้านเรือนอีกด้วย มอนซานโตไม่ได้ขายเพียงยาฆ่าหญ้า แต่ยังขายเมล็ดพันธุ์พืชที่ตัดต่อทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ให้เป็นพืชที่ทนต่อสารไกลโฟเซตเพื่อไม่ให้ตายตามวัชพืชรอบๆ เมื่อเวลาผ่านไป ยาฆ่าหญ้าตัวดังกล่าวเริ่มถูกจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ จากองค์กรวิจัยนานาชาติด้านมะเร็งที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลก มีศูนย์ใหญ่อยู่ที่เมืองลีญง ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2558 องค์กรดังกล่าวระบุว่าราวน์อัพมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ก่อมะเร็ง จากนั้นก็ตามมาด้วยการฟ้องร้องจำนวนมากในศาลมลรัฐและศาลสูงของสหรัฐฯ จำนวนมาก โดยมลรัฐแคลิฟอร์เนียได้เพิ่มสารไกลโฟเซตเข้าไปอยู่ในรายการสารเคมีที่ก่อมะเร็ง คริสติน เชพพาร์ด หนึ่งในผู้ฟ้องร้องมอนซานโตกล่าวว่าเธอใช้ราวน์อัพกำจัดวัชพืชในไร่กาแฟของเธอที่ฮาวายเป็นเวลาหลายปี จนในปี 2546 เธอถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและจะมีชีวิตอยู่ต่อได้เพียงหกเดือนซึ่งเธอเชื่อว่าราวน์อัพคือสาเหตุของมะเร็งนี้ แม้ตามรายงานข่าวเมื่อเดือน มี.ค. 2561 เธอมีอาการดีขึ้น แต่ก็ยังมีอาการเจ็บปวดอย่างสาหัสที่มือและขาจากการรักษามะเร็งและระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง เรียบเรียงจาก Monsanto faces its first trial over allegations Roundup ingredient caused cancer, CBS News, Jun. 19, 2018 ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้ใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต ตอบประเด็นขังลืมผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ Posted: 16 Jul 2018 10:27 PM PDT คุยกับผู้ใช้กฎหมายสุขภาพจิต กรณีผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำที่รักษาไม่หายและไม่สามารถกลับสู่กระบวนการพิจารณาคดีได้ ทำให้ต้องติดค้างอยู่ในเรือนจำจนหมดอายุความ พบปัญหาทรัพยากรไม่เพียงพอ ทั้งกรมราชทัณฑ์และกระทรวงสาธารณสุขทำงานภายใต้ข้อจำกัด ผู้ต้องขังกลุ่มนี้หากอยู่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่าย 1 ล้านต่อคนต่อปี
ผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำยังมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงการรักษา ผลจากปัญหาความแออัดในเรือนจำ บุคลากรไม่เพียงพอ ทรัพยากรจำกัด อีกทั้งข้อกฎหมายยังทำให้ผู้ต้องขังจิตเวชที่รักษาไม่หายหรือทุเลาไม่สามารถกลับสู่การพิจารณาคดีได้ จนทำให้ต้องอยู่ในเรือนจำจนหมดอายุความ
เราพูดคุยกับ นพ.อภิชาติ แสงสิน นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ในฐานะผู้ใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ต่อประเด็นข้างต้นและแนวทางที่กำลังดำเนินการปรับปรุงการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ "ปัญหาสุขภาพจิตในเรือนจำ กลุ่มผู้ต้องขังเป็นกลุ่มเฉพาะกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในระหว่างการต้องโทษ การเข้าถึงบริการสุขภาพ ไม่เฉพาะสุขภาพจิตก็มีข้อจำกัด เพราะเรือนจำก็ต้องมีการรักษามาตรฐานความปลอดภัย และด้วยภารกิจของราชทัณฑ์ที่ต้องคืนคนดีกลับสู่สังคม ทำให้เรื่องสุขภาพจิตหรือสุขภาพกายของผู้ต้องขังอาจยังไม่ได้เป็นเป้าหมายหลัก จึงเป็นที่มาว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องเข้าไปทำเครือข่ายกับเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลในเรือนจำ เพื่อช่วยเหลือ ให้ความรู้ในการดูแล คัดกรอง คนไหนมีปัญหาจะได้เข้าสู่ระบบการรักษา เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกรมราชทัณฑ์กับกระทรวงสาธารณสุข" ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตทำเครือข่ายกับเรือนจำ แต่ทางกรมไม่สามารถทำฝ่ายเดียวได้ เนื่องจากโรงพยาบาลในสังกัดมีจำนวนจำกัด เหตุนี้จึงมีการพยายามผลักดันให้โรงพยาบาลจังหวัดในแต่ละพื้นที่ที่มีจิตแพทย์ทำเครือข่ายกับเรือนจำเช่นกัน เพื่อจะเข้าไปตรวจรักษาผู้ต้องขัง โดยในส่วนของสถาบันกัลยาณ์ฯ มีการทำเครือข่ายมานานแล้ว แต่เนื้องานมีความเข้มข้นขึ้นและถูกกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ อย่างเข้มข้นขึ้นในช่วงสี่ห้าปีมานี้ เบื้องต้นที่ทางกรมสุขภาพจิตดำเนินการอยู่คือการให้องค์ความรู้ในการสังเกตอาการและพฤติกรรมจิตเวชกับบุคลากรของสถานพยาบาลในเรือนจำ และมีแบบคัดกรองต่างๆ ที่จะช่วยประเมินว่าผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพจิตมากน้อยแค่ไหน ถ้ารุนแรงมากก็ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา สถานพยาบาลในเรือนจำก็จะปรึกษากลับมาว่าจะรักษาอย่างไร จะให้ทีมแพทย์เข้าไปตรวจหรือไม่ อย่างไร "แบบคัดกรองช่วยทำให้เราเจอผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ต้องขังเข้าถึงกระบวนการรักษามากขึ้น" เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะคัดกรองไม่พบผู้ป่วยจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา "ความเห็นผม มันก็มีความเป็นไปได้ที่จะคัดกรองไม่เจอ เพราะอย่างที่รู้ว่าผู้ต้องขังมีจำนวนมากและแออัด แล้วความพิเศษของคนไข้จิตเวชคือไม่แสดงออก บางคนก็ไม่ขอความช่วยเหลือ ไม่เหมือนโรคทางกายที่มักจะขอความช่วยเหลือ "มันเป็นความท้าทายที่เราต้องพัฒนาต่อ เพราะจำนวนคนไข้ที่เยอะ ณ ปัจจุบัน เราก็เจอมากขึ้น ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เพิ่มขึ้น แต่เราก็พูดไม่ได้เต็มปากว่าคนไข้ทั้งหมดจะถูกส่งมา เพราะการที่จะเป็นอย่างนั้น แปลว่าเราต้องคัดกรองถูกเคสและการคัดกรองต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ซึ่งการใช้แบบคัดกรองก็มีโอกาสหลุด และคนที่ทำงานด้านนี้ก็มีจำกัด เอาเข้าจริงๆ แล้ว หน้างานที่เราทำ ถ้าเราเจอ คนไข้ได้รับการรักษาดูแลแน่นอน แต่ไม่กล้าพูดหรอกว่าเราเอาผู้ต้องขังทั้งหมดที่น่าจะป่วยออกมาจริงๆ" นพ.อภิชาติ กล่าวอีกว่า การคัดกรองต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ แต่บุคลากรที่อยู่ในสถานพยาบาลเรือนจำเองก็มีอยู่น้อย ถ้าต้องคัดกรองทุก 6 เดือน สมมติว่าเรือนจำหนึ่งมีผู้ต้องขัง 4,000 คน มีพยาบาล 3 คน ย่อมไม่สามารถทำได้ และต้องไม่ลืมว่าบุคลากรในสถานพยาบาลไม่ได้ทำงานด้านจิตเวชอย่างเดียว แต่ยังทำงานด้านสุขภาพทั่วไปด้วย "เงินก็จะไม่ใช่คำตอบอย่างเดียว คุณมีเงิน มีเวชภัณฑ์พอ แต่คนที่จะเอาเงิน เอาเวชภัณฑ์ไปใช้ ไม่มี จ้างเอาก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นเรือนจำ อยู่ดีๆ จะเอาใครเข้าไปก็ไม่ได้ ผมอยากให้มองว่าขนาดประชาชนทั่วไป การเข้าถึงบริการทางจิตเวชก็ยังจำกัด ยิ่งไปอยู่ในเรือนจำ การเข้าถึงบริการสุขภาพก็ยิ่งจำกัดเข้าไปอีก มันก็ยิ่งยาก แต่ผมเข้าใจว่าผู้บริหารก็พยายามพัฒนาตรงนี้ แน่นอนว่าสาธารณสุขไม่ได้เลือกว่าเราจะดูแลเฉพาะคนนี้ ไม่ดูแลคนนั้น" ประเด็นมาตรา 36 พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ที่ระบุว่า 'ภายใต้บังคับมาตรา 14 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้สถานบำบัดรักษารับผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ควบคุมและบำบัดรักษาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาหรือจำเลย จนกว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหายหรือทุเลาและสามารถต่อสู้คดีได้ เว้นแต่พนักงานสอบสวนหรือศาลจะมีคำสั่งหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น 'ให้จิตแพทย์ผู้บำบัดรักษาทำรายงานผลการบำบัดรักษาส่งให้พนักงานสอบสวนหรือศาลภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ ในกรณีที่จิตแพทย์เห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยยังไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้รายงานผลการบำบัดรักษาทุกหนึ่งร้อยแปดสิบวัน เว้นแต่พนักงานสอบสวนหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น 'ในระหว่างการบำบัดรักษา เมื่อจิตแพทย์ผู้บำบัดรักษาเห็นว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการบำบัดรักษาจนความผิดปกติทางจิตหายหรือทุเลา และสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ให้รายงานผลการบำบัดรักษาต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลทราบโดยไม่ชักช้า' ข้อกฎหมายนี้ทำให้ผู้ต้องขังที่ไม่สามารถรักษาให้หายจนกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีได้ต้องอยู่ในเรือนจำจนคดีหมดอายุความ นพ.อภิชาติ กล่าวว่า
"กรมสุขภาพจิตไม่ได้มีหน้าที่แก้กฎหมาย แต่กรมฯ ก็เห็นปัญหาตรงนี้อยู่ เราไม่ได้ละทิ้งคนเหล่านี้ เราเข้าไปรักษาอยู่เรื่อยๆ แต่การบอกว่าเราควรจะให้การช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อย่างไร มันไม่ใช่แค่กรมสุขภาพจิตอย่างเดียว มันเป็นการประสานกันระหว่างระบบสุขภาพกับระบบยุติธรรมที่จะทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด ถ้าเราจะบอกว่าคนเหล่านี้ป่วยทางจิต รักษาไม่หาย ก็ไม่ควรอยู่ในเรือนจำ ควรปล่อยออกมา ในแง่ระบบยุติธรรมก็มองว่า ถ้าปล่อยออกมาจะเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่ ถ้าเราไม่มีเหตุผลมากพอที่จะบอกว่าเขาไม่อันตราย การอยู่ในเรือนจำอาจจะปลอดภัยมากกว่า เพราะในแง่ระบบยุติธรรม เขาต้องปกป้องสังคม แต่ในแง่สาธารณสุขก็มองว่าคนเหล่านี้ควรได้รรับการเยียวยารักษา อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม มันก็เลยเป็นสิ่งที่ต้องสร้างสมดุล "แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว ดุลพินิจเหล่านี้ก็ขึ้นกับทางศาล ทางกระบวนการยุติธรรม มันมีเคสที่ตกค้างอยู่ในเรือนจำที่สู้คดีไม่ได้ แต่ก็มีอีกหลายๆ เคสที่ศาลจำหน่ายคดีและปล่อยให้ญาติรับไปดูแลภายใต้เงื่อนไข เคสเหล่านี้กระบวนการยุติธรรมก็ต้องมั่นใจว่าเคสเหล่านี้ปลอดภัย คืออย่างน้อยต้องมีคนควบคุมดูแล อย่างน้อยต้องเข้าถึงการรักษาสม่ำเสมอ เพราะถ้าไม่สามารถให้ความมั่นใจตรงนี้ได้ จะเสี่ยงปล่อยดีหรือไม่" มีผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำกลุ่มนี้อยู่สักเท่าไหร่ นพ.อภิชาติ ตอบว่าหลักร้อย "ล่าสุดที่ประชุมก็มีเป็นหลักร้อย แต่ถ้าตัวเลขอิงของราชทัณฑ์น่าจะแม่นยำกว่า เพราะเป็นฝ่ายที่ดูแล อย่างสาธารณสุขเอง เวลาเข้าไปสำรวจหรือประเมิน เป็นลักษณะของการเข้าไปรักษาและใช้สถิติ ความแม่นยำอาจจะไม่เท่ากับทางราชทัณฑ์ อย่างสถาบันฯ เอง เรือนจำในเขตที่เราดูแลคือเรือนจำพิเศษธนบุรีและทัณฑสถานหญิงธนบุรี ก็มีผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่หลายสิบ จึงเชื่อว่าถ้ารวมเรือนจำอื่นๆ ก็น่าจะมีเยอะกว่านี้" ถึงจุดนี้อาจเกิดคำถามว่า แล้วเหตุใดจึงไม่ส่งตัวผู้ต้องขังกลุ่มนี้ไปไว้ในโรงพยาบาล นพ.อภิชาติ ตอบว่า "ถ้าจะนำตัวบุคคลเหล่านี้ไปไว้ในสถานพยาบาล ก็ต้องถามว่าสถานพยาบาลพร้อมจะรองรับหรือไม่ มันไม่ใช่แค่ พ.ร.บ.สุขภาพจิต อย่างเดียว มันตั้งแต่วิธีพิจารณาความอาญา คือถ้าคนที่สู้คดีไม่ได้ก็ให้ส่งคนเหล่านี้ไปรับการดูแลรักษา ศาลก็จำหน่ายคดีไว้ ในช่วงนี้กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องทำอย่างไร ใน พ.ร.บ. ก็ไม่ได้ระบุว่าต้องทำอย่างไร จำหน่ายคดีคือการพักการพิจารณา หายแล้วจึงนำมาพิจารณาต่อ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเรือนจำ ขึ้นอยู่กับว่าศาลจะให้ไปอยู่ที่ไหน ทีนี้ศาลจะให้ไปอยู่ที่ไหนขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าปลอดภัยต่อสังคมหรือไม่ มีคนดูแลหรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ญาติก็ได้ "พูดง่ายๆ ตอนนี้กรมราชทัณฑ์และกระทรวงสาธารณสุขทำงานภายใต้ข้อจำกัด เงินที่ลงไปเป็นเงินก้อน แต่คนไข้กลุ่มนี้เวลาดูแลไม่ได้จบเป็นครั้งคราว ต้องดูแลต่อเนื่องเพราะเรื้อรัง สมมติคนไข้มาอยู่โรงพยาบาลเป็นปีๆ โรงพยาบาลจะเอาเงินมาจากไหน หรือกรมราชทัณฑ์เองก็เหมือนกัน จะเอาทรัพยากรมาดูแล เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษมากกว่า ผู้ต้องขังทั่วไป ขณะเดียวกันถ้าคนกลุ่มนี้มาอยู่โรงพยาบาล ก็ต้องการการดูแลเป็นพิเศษมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป" นพ.อภิชาติ เล่าว่า มีผู้ป่วยจิตเวชต้องคดีที่รักษาไม่หายบางกรณีที่รักษาตัวอยู่ในสถาบันฯ ซึ่งเป็นคนไข้ที่ต้องการการดูแลพิเศษ กรณีผู้ป่วยกลุ่มนี้ โรงพยาบาลต้องรับผลขาดทุนต่อคนปีละเป็น 1 ล้านบาท คำถามคือโรงพยาบาลจะเอาเงินจากไหน "มันจึงต้องดูและแก้ไปทีละปัจจัย เพราะการดูแลคนไข้กลุ่มนี้ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าคนไข้ทั่วไป ใช้ระบบการรักษาความปลอดภัยที่มากกว่า ปัญหานี้มองแบบเส้นตรงไม่ได้ การที่คนคนหนึ่งจะได้รับการดูแล อยู่ในกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน ถ้าเรามองว่าคนไข้เยอะไป ก็ต้องหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้คนไข้น้อยลง แล้วผู้ป่วยที่ป่วยอยู่แล้วจะทำอย่างไรให้น้อยลง จะเห็นว่ามีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องอีกเยอะ" นพ.อภิชาติ กล่าวว่า ต้องคุยกันว่าจะหาแนวทางปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะกับคนกลุ่มนี้มากที่สุด พอได้ข้อสรุปแล้วก็จะนำมาสู่กระบวนการที่ 2 คือพัฒนากระบวนการที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ "กฎหมายคงไม่ได้เขียนลึกถึงขนาดว่าคนไข้ต้องไปอยู่ที่ไหน อย่างไร แต่ถ้ามีระบบรองรับ ผมคิดว่าน่าจะพอตอบโจทย์การดูแลคนกลุ่มนี้ได้ เพราะแก้กฎหมายเป็นเรื่องใหญ่และก็ต้องรออีก แต่บางอย่างเราทำได้เลย เช่น ให้คนไข้เข้าสู่กระบวนการรักษาเราก็ทำได้เลย กฎหมายไม่ได้เขียนว่าต้องไปรักษาที่ไหน ไม่ได้ระบุวิธีการรักษา ผมกำลังจะบอกว่าถ้าเราทำระบบขึ้นมาแล้วกฎหมายปรับตามอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ"
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น