โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

จากใบประกาศปราบกบฏถึงหน้าบันศาลาการเปรียญในนิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร"

Posted: 26 Jul 2018 07:43 AM PDT

ภาพจากนิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร" ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการจัดแสดงไป โดยเป็นการรวบรวมวัตถุ สิ่งของหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จนถึงจุดสิ้นสุดในปี 2490 ตั้งแต่สิ่งที่ผลิตโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ถึงผู้คนธรรมดา จากใบประกาศนียบัตร ตาลปัตร ถึงหน้าบันศาลาการเปรียญ ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อร่วมฉลองการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้น

ชมภาพจากนิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร" นิทรรศการที่รวบรวมวัตถุสิ่งของเกี่ยวข้องกับคณะราษฎร ตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2479 – 2490 ซึ่งในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 มีการทำรัฐประหารของจอมพลผิน ชุณหะวัณ โค่นรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งในทางประวัติศาสตร์คือช่วงหมดยุคของคณะราษฎร

โดยภัณฑารักษ์ที่ดูแลนิทรรศการ นิทรรศการดังกล่าวผลงานรวบรวมของ 2 ภัณฑารักษ์ ชาตรี ประกิตนนทการ และกิตติมา จารีประสิทธิ์ ที่คาร์เทล อาร์ตสเปซ ระหว่าง 24 มิถุนายน ถึง 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา

นิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร" เริ่มต้นจากข้อถกเถียงที่ว่าการปฏิวัติ 2475 โดยคณะราษฎรเป็นการแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นเฉพาะคนกลุ่มเล็กๆ โดยกลุ่มทหารหรือนักเรียนนอกจากฝรั่งเศสเล็กน้อย มักจะพูดว่าพานรัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่มีใครรู้จักและคณะราษฎรพยายามจะทำให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ให้ประชาชนกราบไหว้ ทำให้เหมือนกับว่าคณะราษฎรเป็นเพียงแค่กลุ่มคนที่แย่งชิงอำนาจ แล้วพยายามที่จะสถาปนาความศักดิ์สิทธิ์ไม่ต่างจากที่เคยมีมา นิทรรศการนี้จึงเป็นการใช้หลักฐานวัตถุสิ่งของทางวัฒนธรรมที่ผลิตขึ้นไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นรัฐบาล แต่ของหลายชิ้นผลิตขึ้นโดยคนธรรมดา ชาวบ้านรวมไปถึงพระสงฆ์ ที่ผลิตขึ้นเพื่อร่วมฉลองการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้น

 

ข้อมูลนิทรรศการ 

ชื่อนิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร"

คาร์เทล อาร์ตสเปซ 24 มิถุนายน ถึง 19 กรกฎาคม 2561

ภัณฑารักษ์และผู้เขียน

ชาตรี ประกิตนนทการ
กิตติมา จารีประสิทธิ์

ผู้เขียนร่วม

ณภัค เสรีรักษ์
กษมาพร แสงสุระธรรม

 

โดยนิทรรศการ "ของ(คณะ)ราษฎร" มีการจัดแสดงวัตถุทั้งหมดประมาณ 60 ชิ้น แบ่งออกเป็น 4 หมวด

หมวด A คือวัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวันที่ผลิตขึ้นโดยรัฐ เช่น เข็มหมุดที่ระลึก เหรียญตราต่างๆ

หมวด B คือวัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวันที่ผลิตขึ้นโดยเอกชน สร้างจากคนธรรมดา รวมถึง Mass Production ที่เอาไว้ขายที่มีตราสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ เป็นหมวดที่แสดงให้เห็นว่าความตื่นตัวหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไปไกลมาก

หมวด C วัตถุสิ่งของที่สร้างในศาสนสถาน เช่นหน้าบัน ตาลปัตร จะเห็นได้ว่าพระสงฆ์ในสมัยนั้นก็ร่วมเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

และหมวด D หน้าปกสิ่งพิมพ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่งผลกระทบต่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้ในฐานะเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคดังกล่าว

โดยต่อไปนี้ส่วนหนึ่งของผลงานจัดแสดงในนิทรรศการที่คาร์เทล อาร์ตสเปซ ระหว่าง 24 มิถุนายน ถึง 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา

 

หมวด A

A.1 ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ไม่ได้สร้าง (จำลอง), พ.ศ. 2561

วัสดุ : ปูนปลาสเตอร์ ขนาด 20 x 80 x 2.5 ซม.

สมบัติของ : ผลงานจริงจัดแสดงอยู่ที่ หอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

ปั้นจำลองโดย : ธนกร ตีระเมธี

แสดงเรื่องราวการดำเนินงานและประวัติของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตลอดจนภาพประชาชนหลากหลายอาชีพในฐานะพลเมืองของรัฐชาติสมัยใหม่ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นรูปแบบศิลปะเหมือนจริง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานศิลปะในสมัยคณะราษฎร รูปบุคคลล้วนเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อที่แสดงออกถึงความแข็งแรงของของร่างกาย

 

A.4 ประติมากรรมนูนต่ำ เจ้าแม่โมฬี โรงภาพยนตร์ทหานบก(จำลอง), พ.ศ. 2561

วัสดุ : พลาสติกและไฟเบอร์เสริมเรซิน ขนาด 59 x 84 x 8 ซม.

สมบัติของ : ผลงานจริงติดตั้งอยู่ในโรงภาพยนตร์ทหานบก จ.ลพบุรี

สร้างจำลองโดย : บริษัท AT 3D Printing

ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงอุดมคติเกี่ยวกับร่างกายของคนไทยในสมัยสร้างชาติในยุคคณะราษฎร กล่าวคือ ร่างกายของผู้หญิงไม่นิยมผู้ที่มีร่างกายอ้อนแอ้น แต่ต้องเป็นหญิงที่แข็งแรงสุขภาพดี ผู้ชายก็เช่นกัน งานชิ้นนี้ทำหน้าที่ผลิตซ้ำภาพร่างกายในอุดมคติที่รัฐต้องการเป็นกลวิธีหนึ่งในการปลูกฝังนโยบายรัฐผ่านงานศิลปะ

 

A.5.1 เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ขนาดย่อ, พ.ศ. 2476

วัสดุ : ทองแดง ขนาด 1.4 x 1.4 ซม.

สมบัติของ : ศรัญญู เทพสงเคราะห์

เหรียญด้านหน้าเป็นรูปรัฐธรรมนูญในวงล้อมพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายโดยรอบ ด้านหลังเป็นรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ มีอักษรด้านล่างว่า ปราบกบฏ พ.ศ. 2476 บริเวณห่วงมีข้อความว่า พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แพรแถบสีธงชาติ ห้อยบนเข็มโลหะมีข้อความว่า สละชีพเพื่อชาติ เหรียญจัดทำขึ้นเพี่อมอบแก่บุคคลทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนที่ช่วยเหลือราชการในการปราบกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476

 

A.6 ใบประกาศยกย่องคุณงามความดีเนื่องในเหตุการณ์ปราบกบฏ พ.ศ. 2476, พ.ศ. 2477

วัสดุ : กระดาษ | ขนาด : 18.5 x 24 ซม. | สมบัติของ : ประวิทย์ สังข์มี

โดยในใบประกาศเขียนข้อความว่า "ด้วย ...ขุนยุกตนันทน์โลหเวท... ได้ช่วยรัฐบาลเนื่องในการปราบกบฏ พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นการแสดงว่า เป็นผู้รักประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ จึ่งขอชมเชย และอวยพรให้เจริญด้วย อายุ วรรณ สุขะ พละ ทุกประการ" ลงลายมือชื่อ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

 

A.7.1 เหรียญสร้างชาติ, พ.ศ.2483

วัสดุ : ทองแดง | ขนาด 2 x 3.5 ซม.

สมบัติของ : ศรัญญู เทพสงเคราะห์

เหรียญห้อยคอ รูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ชื่อว่าเหรียญสร้างชาติ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเหรียญที่ระลึกใน "งานฉลองวันชาติ พ.ศ. 2483" ออกแบบเป็นรูปทรงเสมา ด้านหลังเขียนข้อความว่า "สร้างชาติ" มีจำนวนการผลิตมากถึง 2 ล้านเหรียญ ถูกแจกจ่ายเป็นครั้งแรกพร้อมกับการทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2483 เหรียญนี้ถูกแพร่กระจายออกไปสู่มวลชนในวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนทำให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้กลายมามีสถานะของการเป็น"ภาพจำ"และภาพ"อ้างอิง" ที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของสังคมไทยเมื่อมีการพูดถูกระบอบประชาธิปไตย

 

A.7.3 เข็มผู้แทนตำบล, พ.ศ.2476

วัสดุ : เงินลงยา | ขนาด 3 x 4 ซม.

สมบัติของ : ประวิทย์ สังข์มี

ในปี 2476 ได้มีการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กระบวนการคือ ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนตำบล และสุดท้ายผู้แทนตำบลทำการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เข็มกลัดนี้จะมอบให้ผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น

 

A.7.7 เข็มกลัดรางวัลสวนครัว, พ.ศ. 2484-87

วัสดุ : เงินลงยา | ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม. | สมบัติของ : ศรัญญู เทพสงเคราะห์

เข็มกลัดเนื้อเงินลงยา ตรงกลางเป็นรูปไก่และพืชผักสวนครัวมีข้อความ "รางวัลสวนครัว พิบูลสงคราม" ในงานฉลองวันชาติ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดประกวดพืชผักสวนครัวและสัตว์เลี้ยง เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกและสนับสนุนเศรษฐกิจของชาติ

 

หมวด B

B.1 ประติมากรรมรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา (จำลอง), พ.ศ. 2561

วัสดุ : ขี้ผึ้ง,สีอะคริลิค | ขนาด 34 x 10 x 7 ซม.

สมบัติของ : ผลงานจริงจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี

ปั้นจำลองโดย : วรายุทย์ หล่อนกลาง

ประติมากรรมรูปพระอิศวรปรางปราบอสุรีตรีบุรัมเทิดรัฐธรรมนูญสยามรัฐ ทำโดยช่างจีนชื่อนายซุ่นฮะ ตวลพรรณ์ ที่มีความศรัทธาต่อการปฎิวัติ 2475 ตัวเทวรูปเป็นหินทรายแกะสลักมีชื่อเรียกว่า "อิศวรปรางปราบอสุรตรีปูรำ เทิด รัฐธรรมนูญสยามรัฐ" ใบหน้าของเทวรูปใช้ใบหน้าของพระยาพหลพลพยุหเสนา รูปปั้นคนขนาดเล็กบนบ่าได้รับการอธิบายว่าเป็นสัญลักษณ์แทนประชาชนที่พระยาพหลพลพยุหเสนาได้นำพาสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ เป็นของที่ระลึกมอบให้พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2476 สำหรับผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการเป็นเพียงผลงานจำลอง

 

B.2 โอ่งดินเผา ลายรัฐธรรมนูญ, พ.ศ. 2478

วัสดุ : ดินเผา | ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 ซม. สูง 180 ซม.

สมบัติของ : หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โอ่งมอญที่มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ปั้นขึ้น3ปีภายหลังการปฏิวัติ ตอนนี้เป็นสมบัติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของห้องสมุดปรีดี พนมยงค์

ขอบด้านบนของโอ่งปรากฏลวดลายพานรัฐธรรมนูญและสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์อยู่ด้านบน พร้อมทั้งระบุ พ.ศ.2478 ไว้ด้านล่าง โอ่งนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของสัญลักษณ์ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นแพร่หลายลงไปจนถึงระดับมวลชน

 

B.4 แผ่นเสียงวิทยุ ตรากระต่าย เพลงสดุดีรัฐธรรมนูญ , ไม่ทราบปีที่ผลิต

วัสดุ : แผ่นเสียง ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.

สมบัติของ : ประวิทย์ สังข์มี

 

B.5 ขวดน้ำหวาน ลายพานรัฐธรรมนูญ ยี่ห้อ SMAI THAI CO (สมัยไทย), ไม่ทราบปีที่ผลิต

วัสดุ : แก้ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ซม. สูง 22 ซม.

สมบัติของ : ประวิทย์ สังข์มี

ขวดแก้วยี่ห้อสมัยไทย เดิมเป็นขวดใส่น้ำหวานที่ขายในยุคสมัยนั้น ด้านล่างมีรูปพานรัฐธรรมนูญ เป็นmass production ที่ผลิตขึ้นโดยเอกชน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แสดงให้เห็นว่าสัญลักษณ์เหล่านี้แพร่หลายเป็นอย่างมากในตอนนั้น

 

หมวด C

C.1 หน้าบันศาลาการเปรียญ วัดตลิ่งชัน กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2484

วัสดุ : ไม่และคอนกรีต | ขนาดกว้าง 5 ม. สูง 4 ม.

สมบัติของ : วัดตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

หน้าบันศาลาการเปรียญของวัดตลิ่งชัน พื้นหลังเป็นหน้าบันเดิมที่สันนิษฐานว่ามาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 4 หลังจากการปฏิวัติเจ้าอาวาสได้ทำการสร้างลวดลายใหม่ทับลงไปเป็นรูปเทวดากำลังเทินพานรัฐธรรมนูญ โดยระบุปี พ.ศ. 2484 วัสดุทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในตอนนั้น รูปร่างของเทวดามีลักษณะกำยำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสกุลงานศิลปะยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

 

C.2 พนักพิงธรรมาสน์ วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี, พ.ศ.2480

วัสดุ : ไม้ | ขนาด 32 x 79 x 2.5 ซม.

สมบัติของ : พิพิธภัณฑ์วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี

ผนักพิงที่ประกอบกับตัวธรรมาสน์ ระบุไว้ว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 และซ่อมปิดทอง พ.ศ. 2482 ทำจากแผ่นไม้แกะสลักเป็นรูปทรงเสมา ภายในสลักรูปลายพานแว่นฟ้าเทินพานรัฐธรรมนูญมีประการเป็นแสงอาทิตย์ 7 แฉกอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเป็นลักษณะทางศิลปะอื่นๆที่พบเห็นได้แพร่หลายในงานศิลปะยุคนี้ แสดงให้เห็นถึงยุคแห่งแสงสว่างภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ งานชิ้นนี้น่าจะถูกสร้างโดยช่างชาวจีนหรือช่างญวนในยุคสมัยนั้น

C.4 หุ่นจำลองเมรุวัดไตรมิตร, พ.ศ.2559

วัสดุ : ไม้และปูนปลาสเตอร์ | ขนาด 28 x 55 x 60 ซม.

สมบัติของ : สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมรุจำลองที่วัดไตรมิตร ซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว สร้างเสร็จเมื่อประมาณปี 2484 ออกแบบโดยพระพรหมพิจิตร สถาปนิกกรมศิลปากร ถือเป็นเมรุเผาศพแบบสมัยใหม่ของสามัญชนแห่งแรก โดยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 หากคนธรรมดาเสียชีวิตต้องทำการเผาศพบนเชิงตะกอน ไม่สามารถเผาศพบนเมรุได้ แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลในยุคนั้นมอบหมายให้กรมศิลปากรทำการออกแบบเมรุสำหรับประชาชนคนธรรมดาขึ้นเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยอาคาร 3 ส่วน คือโถงด้านหน้าที่ทำเป็นอาคารทรงเครื่องยอดมณฑป ส่วนอาคารเคาเผาสมัยใหม่ทางด้านหลัง และมุขหลังคาที่เชื่อมระหว่างอาคารทั้งสอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เห็นทั่วไปในปัจจุบัน

 

หมวด D

D.1.2 สุภาพสตรี ฉะบับ ทหานหยิง, พ.ศ. 2486

หน้าปกเป็นรูปทหารหญิงซึ่งก็คือคุญจีรวัฒน์ พิบูลสงคราม ในสมัยนั้นเริ่มมีทหารที่เป็นผู้หญิง คำนำหน้ายศทหารจะไม่มีคำว่านาย เช่น นายพลเอก จะกลายเป็นพลเอก ทั้งฟร้อนและตัวสะกดถูกบัญญัติขึ้นใหม่ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการตัดตัวอักษรที่ไม่ต้องการใช้ออกเป็นจำนวนมาก

D.1.3 คู่มือสมรส, พ.ศ. 2486

วัสดุ : กระดาษ ขนาด : 16.5 x 24 ซม.

สมบัติของ : ศรัญญู เทพสงเคราะห์

หนังสือคู่มือสมรส หน้าปกเป็นรูปของจอมพล ป. พิบูลสงครามสวมชุดทหารคล้ายเครื่องแบบทหารเยอรมันกำลังยืนมองท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามกำลังอุ้มลูกสาวอยู่บนระเบียง ภายใต้บรรยากาศของอุดมการณ์ส่งเสริมการมีลูกมากในสมัยนั้น ได้มีการก่อตั้งกระทรวงสาธารณะสุขในปี พ.ศ. 2485เพื่อดำเนินการสร้างพลเมืองภายใต้วาทกรรมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นกระบวนการเช่นการสร้างจิตสำนึกให้หญิงสาวดูแลสุขภาพ เพื่อที่จะเป็นแม่พันธุ์ที่ดีก่อนสมรส มีเนื้อหาเน้นความสำคัญของการเพิ่มประชากร ซึ่งหมายถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับชาติบ้านเมืองผ่านการสร้างพลเมืองด้วย

D.1.5 สมุดที่ระลึกวันพิธีเปิดสมัยการศึกษาและประสาทปริญญา พุทธศักราช 2483, พ.ศ.2483

D.2.1. ภาพพิมพ์ ปกหนังสือเมืองไทย: หนังสือภาพฉะบับงานฉลองรัฐธรรมนูญ, พ.ศ. 2561

วัสดุ : ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม | ขนาด 80 x 100 ซม.

ภาพต้นฉบับเป็นสมบัติของ : ประวิทย์ สังข์มี

ถ่ายภาพปกโดย : ธาดา เฮงทรัพย์กูล

พิมพ์โดย : ฐิรชญา แสนจิตต์

หนังสือภาพฉบับงานฉลองรัฐธรรมนูญ ในปี 2484 เดือนธันวาคม ที่มีรูปสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายปีกทั้ง4 ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้าปกในช่วง 15 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมักถูกออกแบบมาเพื่อมีลักษณะของ visual politics เพื่อนำเสนออุดมการณ์ของคณะราษฎรและใช้ฟอนต์ตัวเหลี่ยม

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ขอถนน ไม่ขอดูงาน: ชาวบ้านน้ำจวงวอนรัฐเลิกตั้งงบล็อคสเปค ปล่อยคนในชุมชนบริหารเอง

Posted: 26 Jul 2018 06:45 AM PDT

กรณีชาวบ้านน้ำจวง จ.พิษณุโลก คืนงบไทยนิยม 2.8 ล้านบาท ชาวบ้านเผยไม่อยากใช้งบดูงานนอกหมู่บ้านเพราะถนนสภาพย่ำแย่เสี่ยงอุบัติเหตุ แถมแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านยังไม่มีถนนเข้าถึง ดูงานกลับมาก็พัฒนาต่อไม่ได้ ผู้ใหญ่บ้านเสนอให้ประชาคมหมู่บ้านบริหารงบเอง ดีกว่ากำหนดจากส่วนกลางแล้วค่อยมาถามคนในพื้นที่

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 บ้านน้ำจวง ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ปฏิเสธงบ 2.8 ล้านบาท จากโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี เนื่องจากงบดังกล่าวเป็นงบสำหรับการอบรมและดูงานนอกสถานที่เพื่อกลับมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ในขณะที่ชาวบ้านต้องการงบเพื่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างชุมชุนกับแหล่งท่องเที่ยวมากกว่า เมื่อเห็นว่างบประมานที่ตั้งมา ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ทางประชาคมหมู่บ้านจึงมีมติไม่รับงบดังกล่าว เพื่อให้หมู่บ้านอื่นที่มีความพร้อมมากกว่ารับไป โดยนายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ออกมาชี้แจงว่าจะนำงบดังกล่าวไปมอบให้กับหมู่บ้านอื่นที่มีความต้องการและความพร้อมมากกว่า

นายหยี  แซ่หย่าง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 บ้านน้ำจวง เปิดเผยว่าจากการทำประชาคมหมู่บ้านเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ชาวบ้านมีมติว่าต้องการงบมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในสามส่วนด้วยกันคือ 1. ตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2. สร้างถนนเชื่อม ต้องการให้ทำการปรับปรุงถนน โดยซื้อหินคลุกไปพัฒนาตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในทุกฤดูกาล เพราะทุกวันนี้ถนนในช่วงฤดูฝนมาสภาพแย่มาก หากไม่ใส่โซ่ที่ล้อรถจะไม่สามารถวิ่งได้ และ 3 คือ สร้างห้องน้ำตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ เช่นเนินสองเต้า ซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวหลักของชุมชน อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังพัฒนาชุมชนอำเภอ ยืนยันว่าไม่สามารถโยกงบ 2.8 ล้านมาสร้างสิ่งที่ชาวบ้านต้องการได้ จึงตัดสินใจไม่รับงบดังกล่าวเพราะไม่อยากใช้ภาษีประชาชนโดยใช้เหตุ

"ที่พูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่าพวกเราไม่อยากได้งบ ถ้างบมันสามารถเอาไปพัฒนาได้ตรงจุดตามความต้องการของชาวบ้านแบบนั้นเราเอาครับ เท่าไหร่เราก็เอา แต่ถ้าไม่ตรงก็ไม่เอาดีกว่า เพราะเงินตรงนี้มันมาจากภาษีประชาชน คนในหมู่บ้านเลยมองว่าเอาไปให้หมู่บ้านอื่นที่มีความพร้อมดีกว่า ชาวบ้านที่นี่ไม่ได้ติดใจอะไรเลย" ผู้ใหญ่บ้านกล่าว


หยี แซ่หย่าง ผู้ใหญ่บ้านน้ำจวง หมู่ 13 ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก(ที่มา: ประชามติออนไลน์)

ผู้ใหญ่หยีกล่าวว่าหลังเรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสข่าว ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้บอกให้ทางหมู่บ้านทำหนังสือเขียนโครงการมาของบกับทางจังหวัด ซึ่งทางหมู่บ้านก็ได้ยื่นโครงการของบสร้างถนนกับทางอำเภอไปแล้ว แต่จะได้รับการอนุมัติไหมต้องรอดูต่อไป เขากล่าวต่อว่าถนนมีความสำคัญกับชุมชนมาก ไม่ใช่แค่เรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ข้าราชการ ครู และหมอ ก็จะสามารถเข้ามาทำงานในชุมชนได้สะดวกขึ้น การขนส่งสินค้าระหว่างตัวอำเภอกับชุนชนก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะตอนนี้ถนนระยะทาง 10 กิโลเมตรภายในหมู่บ้าน ครึ่งหนึ่งยังเป็นถนนลูกรัง มีสภาพทรุดโทรม บางส่วนเป็นหลุมเป็นบ่อ บางสวนก็พังทลายจากน้ำกัดเซาะในฤดูฝน

ผู้ใหญ่หยียังกล่าวอีกด้วยว่าโครงการประชารัฐ และไทยนิยมยั่งยืนที่รัฐบาล คสช. กำลังทำอยู่มีความพยายามที่จะทำให้งบประมาณที่ลงมาตอบสนองต่อความต้องการของคนในพื้นที่ ผ่านการใช้กลไกประชาคมหมู่บ้าน แต่ติดปัญหาคือโครงการดังกล่าวยังมีลักษณะบนลงล่างอยู่ คือฝ่ายข้าราชการจะเป็นคนคิดว่าควรเอางบจากส่วนกลางไปทำโครงการอะไร แล้วจึงมาถามความเห็นชาวบ้านว่าเห็นด้วยหรือไม่ พอชาวบ้านไม่เห็นด้วย ก็ดึงงบกลับไป ทางที่ดีคือรัฐควรจัดสรรงบมาให้กับชุมชนโดยตรง แล้วใช้กลไกประชาคมหมู่บ้านในการตัดสินใจร่วมกันว่าจะเอาเงินดังกล่าวไปพัฒนาด้านใด

ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวเท่านั้น ถนนยังมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่อีกด้วย สุขสันต์ แซ่หลอ เจ้าของร้านชำภายในหมู่บ้านที่เข้าร่วมการทำประชาคมหมู่บ้านเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม กล่าวว่า หมู่บ้านของเขาอยู่ห่างจากตัวอำเภอเพียง 45 กิโลเมตร แต่กลับต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 1 ชั่วโมง บางครั้งก็โชคร้ายมีต้นไม้ล้มกลางถนน ก็ต้องเสียเวลาช่วยกันตัด ค่าน้ำมันในการเดินทางเข้าอำเภอแต่ละรอบอยู่ที่ประมาน 300 ถึง 400 บาท ตัวเขาเองอยากออกไปซื้อของทุกวัน แต่ก็ทำไม่ได้เพราะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย หากมีถนนที่ได้มาตรฐานจะใช้เวลาเดินทางเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น และค่าน้ำมันก็จะลดลงเท่าตัว

แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านน้ำจวง ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก (ที่มา: Google Maps)

สุขสันต์กล่าวว่าตนรู้สึกเห็นด้วยกับผู้ใหญ่บ้านที่ปฏิเสธงบดังกล่าว เพราะถึงแม้จะได้ออกไปดูงานแต่สภาพถนนยังเป็นแบบเดิม ก็ไม่สามารถเอาความรู้จากการอบรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อยู่ดี นอกจากนี้คนที่ต้องออกไปดูงานก็เสี่ยงอันตราย เพราะการจะเดินทางออกจากหมู่บ้านทีละหลายๆ คน จำเป็นต้องใช้รถทัวร์ ซึ่งวิ่งได้ยากในสภาพถนนเช่นนี้ นอกจากนี้เขามองว่า งบ 2.8 ล้านดังกล่าว ตอนลงมาถึงชุมชนจริงๆ อาจจะเหลือไม่ถึงล้าน เพราะเป็นธรรมดาที่ต้องแบ่งไปให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งตัวเขาไม่ได้มีปัญหากับระบบดังกล่าว แต่เมื่องบดังกล่าวต้องถูกใช้เพื่อการดูงานเท่านั้น จึงรู้สึกเหมือนเป็นโครงการที่ฝ่ายราชการได้ประโยชน์ แต่ชาวบ้านได้แค่ไปเที่ยว

"ในส่วนของชาวบ้าน เราอยากให้พัฒนาการสัญจรตามจุดท่องเที่ยวให้ดีกว่านี้ อยากให้เทหินคลุกก่อน รถจะได้ไปมาสะดวก ต่อไปจะไปศึกษาดูงานก็ค่อยไปก็ได้ เพราะตอนนี้รถยังไปไม่ถึงจุดท่องเที่ยวเลยด้วยซ้ำ แม้แต่เดินไปยังไม่สะดวก ตอนนี้มันไปไม่ได้เลยเพราะถนนมันมาแค่ถึงหน้าหมู่บ้าน แล้วยังจะเอางบมาให้ไปศึกษาดูงานอีก ทั้งๆที่คนในหมู่บ้านเราแทบไปไหนไม่ได้เลย" สุขสันต์กล่าว "ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา นักท่องเที่ยวเขาก็เสียความรู้สึก แล้วเดี๋ยวนี้มันมีโลกโซเชียล พอเขามาเห็นว่าสภาพหมู่บ้านแย่แล้วเอาไปพูดต่อในโซเชียลมันก็ทำให้คนอื่นไม่อยากมา แบบนี้ชุมชนก็ยิ่งเสียหายใหญ่"

สุขสันต์เปิดเผยว่าทุกวันนี้ชาวบ้านต้องช่วยกันแก้ปัญหาด้วยการระดมอาสาสมัครในชุมชนมาช่วยกันขุดดินไปถมตามถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ช่วยกันตัดต้นไม้ข้างทาง และขุดร่องน้ำป้องกันน้ำกัดเซาะถนนในช่วงฝนตกหนัก เขายังเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐเขามาตรวจสอบกระบวนการสร้างถนนให้มากกว่านี้ เพราะทุกวันนี้งบหนึ่งล้านบาททำถนนได้เพียง 500 เมตร ทั้งๆ ที่ควรจะทำได้ 1 กิโลเมตร ผู้รับเหมาบางคนก็ไม่มีความรับผิดชอบ ผสมหินเยอะ แต่ใส่ปูนน้อย พอใช้ไปได้แค่ปีเดียวถนนก็พัง

ชาวบ้าน 3 หมู่บ้าน คือหมู่ 12 บ้านขุนน้ำคับ หมู่ที่ 13 บ้านน้ำจวง และหมู่ที่ 14 บ้านรักชาติ ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ร่วมกันซ่อมถนนสายบ่อภาค-บ้านน้ำจวง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)

ข้อมูลของเว็บไซต์ อบต.บ่อภาค หมู่บ้านน้ำจวงตั้งอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ 13 ต.บ่อภาค อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ตัวหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอชาติตระการ โดยบ้านน้ำจวง หมู่ 13 มีประชากร 1,115 คน 273 หลังคาเรือน บ้านขุนน้ำคับ หมู่ 12 มีประชากร 1,056 คน 255 หลังคาเรือน และบ้านรักชาติ หมู่ 14 มีประชากร 208 คน 51 หลังคาเรือน

สำหรับ ต.บ่อภาค มีทั้งหมด 16 หมู่ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 8,535 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 4,358 คน หญิง จำนวน 4,177 คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,220 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 570 ตารางกิโลเมตร หรือ 365,250 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเมี่ยง – ภูทอง เขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ เขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูสอยดาว และป่าสงวนแห่งชาติ ภูมิประเทศของ ต.บ่อภาค เป็นป่าเขาสูงชัน พื้นดินลูกรัง มีที่ราบหุบเขาใช้สำหรับการเกษตร ประมาณ 615 ไร่ มีลำน้ำภาคไหลผ่านบริเวณตอนกลางตามแนวยาวของพื้นที่ตำบล ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำการเพาะปลูกพืชไร่เป็นหลัก รองลงมาคือ ทำนาข้าว ปลูกไม้ผล หาของป่า เลี้ยงสัตว์ และรับราชการตามลำดับ นอกฤดูการเก็บเกี่ยวมีการอพยพแรงงาน ไปประกอบอาชีพรับจ้างในต่างถิ่น

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กังวาฬ ฟองแก้ว

Posted: 26 Jul 2018 03:55 AM PDT

"เราถูกเรียกว่าสายเหลือง แต่มิติด้านเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ของชีวิตเรา มันเป็นแค่ 0.0001 แต่อีก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ คือทำวิจัย สอนหนังสือ สร้างปัญญาชนให้ประเทศนี้ ทำไมจึงไม่เรียกเราด้วยตัวตนจาก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่เอา 0.0001 เปอร์เซ็นต์ มาเรียกแทนทั้งชีวิตของเรา นี่ก็เหมือนกัน (สื่อ) ใช้ตัวตนทางเพศมาแทนชีวิตของเขาทั้งหมด"

หนึ่งในคณะวิจัยเรื่อง 'การศึกษาเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศสถานะ และการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศในสื่อ' กล่าว
https://prachatai.com/journal/2018/07/78001

เปิดสวน ‘ป้อมมหากาฬ’ ชาวชุมชนเผยหลังย้ายวิถีชีวิตเปลี่ยน ตกงาน ค่าใช้จ่ายเพิ่ม

Posted: 26 Jul 2018 03:25 AM PDT

'อัศวิน' แจง พื้นที่สวนสาธารณะเปลี่ยนจากเดิม ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย ชี้จะทำเป็นพื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ด้านชาวชุมชนที่ถูกบีบให้ย้ายออกจนหมด หลังการต่อสู้อย่างยาวนานกว่า 25 ปี วางแผนซื้อที่ดินกู้โครงการบ้านมั่นคง เล่า "ผมไม่เหลืออะไรเลย ตกงาน ครอบครัวแยกแตกสลาย จิตใจมันหายไปตั้งแต่เรารื้อบ้าน"

สภาพบริเวณป้อมมหากาฬ ปัจจุบัน (ที่มาภาพ เฟสบุ๊คแฟนเพจ ผู้ว่าฯ อัศวิน)

26 ก.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสวนสาธารณะภายในป้อมมหากาฬเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ชาวชุมชนป้อมมหากาฬได้ย้ายออกจนหมดแล้วในเดือนเม.ย. ไปอยู่ที่ชุมชนกัลยาณมิตร

ชุมชนป้อมมหากาฬจัดงานอำลา ยุติมหากาพย์ 25 ปี ย้าย 25 เม.ย. นี้

ประมวลภาพ+คลิป เสียงสะท้อน ความรู้สึก บทเรียนจากชุมชนป้อมมหากาฬ

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา เฟสบุ๊คแฟนเพจ ผู้ว่าฯ อัศวิน ของ อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ได้ลงข้อความพร้อมภาพประกอบคือสวนสาธารณะภายในป้อมมหากาฬ ใจความว่า ปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับพื้นที่ภายในป้อมมหากาฬ และพร้อมเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยว ตอนนี้พื้นที่ภายในป้อมฯ เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทั้งโล่ง เขียว ร่มรื่น สวยงาม และดูปลอดภัย มองจากมุมไหนเราก็จะได้เห็นความสง่างามของป้อมมหากาฬและกำแพงเมืองซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติได้ชัดเจนขึ้น และอิ่มเอมมากขึ้น

กทม.ตั้งใจจะทำพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นที่ศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่นันทนาการ เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกับพื้นที่บริเวณป้อมพระสุเมรุ และสวนสันติชัยปราการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และ 24 ก.ค.61 สวนสาธารณะภายในป้อมมหากาฬจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว

ผู้ว่าฯ กทม. ยังได้เชิญชวนให้เข้าไปเยี่ยมชม และระบุถึงช่องทางรับความคิดเห็นสำหรับการปรับปรุงสถานที่ทาง   @aswinbkk

อดีตชาวชุมชนที่ถูกบีบให้ย้ายออก เผยวิถีชีวิตเดิมหาย บ้างตกงาน ค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ด้าน พรเทพ บูรณบุรีเดช รองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวกับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า พวกตนเป็นกลุ่มสุดท้ายทั้งหมด 8 หลังคาเรือน ที่ย้ายออกจากชุมชนป้อมมหากาฬ และย้ายมาอาศัยร่วมกับคนในชุมชนกัลยาณมิตร โดยมีข้อตกลงว่าจะสามารถอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งปี หลังจากนี้พวกตนวางแผนจะซื้อที่ดินแถวพุทธมณฑลสาย 2 พร้อมกับครอบครัวอื่นๆ 8 หลังคาเรือนที่ย้ายออกมาด้วยกัน โดยแม้เงินที่มีอยู่ตอนนี้จะไม่เพียงพอ แต่จะไปขอกู้เงินกับโครงการบ้านมั่นคง

เมื่อถามเรื่องปัญหาที่เจอในตอนนี้ พรเทพ กล่าวว่า หลักๆ แล้วเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย อาชีพ และจิตใจ บางคนจากที่เคยมีอาชีพค้าขายอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬ เมื่อย้ายออกมาก็ตกงาน บางคนก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนการเดินทาง ค่าใช้จ่ายก็สูงเพิ่มขึ้น

"วิถีชีวิตแบบเดิมที่เราเคยอยู่ในชุมชนมันไม่เหลือแล้ว อันนี้เหมือนเรามาอาศัยเขาอยู่ ก็หวังแต่ว่าถ้าเรามีที่ดินเป็นของเราอีกครั้ง เราจะรื้อฟื้นวิถีชีวิตเดิมๆ ของเรากลับมาได้ อย่างตอนนี้ผมจากคนที่เคยมีบ้าน มีอาชีพ ผมไม่เหลืออะไรเลย ตกงาน ครอบครัวแยกแตกสลาย จิตใจมันหายไปตั้งแต่เรารื้อบ้าน เริ่มตั้งแต่รื้อหลังคาบ้าน ใจมันก็หายแล้ว เรายืนมองแล้วคิดว่ามันมาสุดทางแล้วจริงๆเหรอ" พรเทพ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ก่อนที่ชาวชุมชนป้อมมหากาฬหลังสุดท้ายจะถูกแบบให้ย้ายออกจากพื้นที่ไปเมื่อ เม.ย.ที่ผ่านมา สำหรับปัญหาที่ชาวชุมชนป้อมมหากาฬประสบนั้น เริ่มต้นจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม. ทำการเวนคืนที่ดินในปี พ.ศ.2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตาม ชาวชุมชนป้อมมหากาฬมีการต่อสู้เพื่อสิทธิในการอยู่อาศัยโดยใช้แนวคิดการพัฒนาสวนสาธารณะป้อมมหากาฬด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามกระบวนการ co - creation ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและการออกแบบจากทุกภาคส่วน การพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Heritage Museum) โดยพัฒนาแนวคิดนี้จากโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณ

รวมถึงมีการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ 1. ชุมชนและนักวิชาการ 2. กรุงเทพมหานคร และ 3. ทหารที่เข้ามาเป็นคนกลาง มีความพยายามหาทางออกด้วยการพิสูจน์คุณค่าของบ้านแต่ละหลัง โดยบ้านที่จะได้รับการอนุรักษ์ต้องมีการพิสูจน์ให้ครบถ้วนทั้ง 5 ด้านด้วยกัน คือ 1) ด้านคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ 2) ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและผังเมือง 3) สังคมและวิถีชีวิต 4) โบราณคดีและการตั้งถิ่นฐาน และ 5) คุณค่าในด้านวิชาการ เป็นต้น

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เพราะ ‘ทอม’ ไม่จำเป็นต้อง ‘โหด’ แต่เพราะสื่อใช้ตัวตนทางเพศตัดสินทั้งชีวิตของคน

Posted: 26 Jul 2018 02:33 AM PDT

อ่านงานวิจัยว่าด้วยอัตลักษณ์ทางเพศในสื่อ เมื่อสื่อเสนอข่าวการทำร้ายร่างกายโดยนำตัวตนทางเพศของผู้ต้องสงสัยมาใช้เรียกแทนตัวบุคคล คือการสร้างภาพตัวแทนของคนหลากหลายทางเพศที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ ตีตรา และตัดสิน

  • ภาพตัวแทนของคนหลากหลายทางเพศที่สื่อเสนอส่วนใหญ่เป็นภาพลบ ตีตรา ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
  • สื่อใช้ตัวตนทางเพศของบุคคลคนหนึ่งแทนทุกมิติของชีวิตคนคนนั้น สร้างการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ทางเพศกับการกระทำที่ไม่ดี

ตัวอย่างการพาดหัวและใช้คำเรียกในสื่อ

ข่าวนางสาวกาญจนา สินประเสริฐ ทำร้ายร่างกายนางสาวพิมพิไล ปักษี จนได้รับบาดเจ็บสาหัส เป็นข่าวโด่งดังในเวลานี้ สร้างความรู้สึกโกรธแค้นให้แก่ประชาชนเป็นวงกว้าง เป็นความโกรธแค้นที่ดูจะแฝงอคติต่อตัวตนทางเพศเข้าไปด้วย เมื่อถ้อยคำแทนตัวผู้ต้องหาหรือนางสาวกาญจนาที่ปรากฏในสื่อมีการนำตัวตนทางเพศมาใช้ ตามด้วยคุณศัพท์ว่า 'โหด' กลายเป็น 'ทอมโหด' แทบจะทุกพาดหัวสื่อ

ความเป็นทอมโหดคือสิ่งที่สังคมเชื่อมโยงการกระทำของนางสาวกาญจนาและอัตลักษณ์ทางเพศเข้าด้วยกัน แปรเปลี่ยนเป็นภาพตัวแทนที่ประทับลงไปในความนึกคิดของผู้คนซ้ำๆ ว่าทอมกับความรุนแรงเป็นของคู่กัน

"สื่อใส่ชิพในหัวคนเกี่ยวกับแอลจีบีที ชีวิตคู่ของกะเทยต้องจบลงด้วยความเศร้า กะเทยต้องตลก มันมาจากไหน มาจากสื่อหรือเปล่า ในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ 2 ทฤษฎีหลักคือ Agenda Setting หรือทฤษฎีการจัดวาระกับ Representation คือมันมีประเด็นต่างๆ มากมายในสังคม สื่อก็มีข้อจำกัด จะเลือกอะไรมานำเสนอ สมมติเลือกเรื่องของเลสเบี้ยนมานำเสนอ เขาจะเลือกทุกมิติของเลสเบี้ยนมานำเสนอหรือเปล่า เขาก็จะเลือกสร้างภาพตัวแทนที่ชัดเจนสักอย่างหนึ่ง เพื่อนำเสนอ ซึ่งทำให้เกิด Grand Narrative ที่สังคมรับรู้"

กังวาฬ ฟองแก้ว อาจารย์ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา อธิบายแนวคิดที่ใช้ในงานวิจัยเรื่อง 'การศึกษาเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศสถานะ และการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศในสื่อ' ที่นำเสนอในการประชุม Being LGBT in Asia Thailand Country Dialogue จัดโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นดีพี (The United Nations Development Programme: UNDP) ซึ่งสะท้อนสถานการณ์เวลานี้ได้เป็นอย่างดี

ข่าวกับคนหลากหลายทางเพศ

"ภาพตัวแทนของคนหลากหลายทางเพศส่วนใหญ่เป็นภาพลบ ทำให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้พยายามสะท้อนบทบาทสื่อมวลชนไทยที่เลือกปฏิบัตินำเสนอภาพตัวแทนของคนหลากหลายทางเพศ และดูรูปแบบการนำเสนอ สุดท้าย เมื่อเราเห็นรูปแบบแล้ว เราจะเห็นประเด็นและความท้าทายร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเสนอข้อเสนอแนะ"

งานศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจาก 6 แหล่ง แบ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ 5 ฉบับและสื่อออนไลน์ 1 เว็บ โดยมีการเก็บข้อมูลตลอด 1 ปี จากนั้นจึงให้ทีมวิจัยซึ่งเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศจำแนกและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนหลากหลายทางเพศ 870 ข่าว โดย 1 ใน 3 มาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่ถ้านับข่าวจากจำนวนอัตลักษณ์ที่มีการนำเสนอในแต่ละข่าวนับได้ทั้งหมด 1,047 ข่าว อัตลักษณ์ชายรักชายมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือคนข้ามเพศ ขณะที่ข่าวเกี่ยวชายข้ามเพศ (Trans Men) มีปรากฏเพียงร้อยละ 0.9 และแทบไม่มีพื้นที่ข่าวของกลุ่มอินเตอร์เซ็กส์

"อินเตอร์เซ็กส์ไม่มีพื้นที่ในข่าวไทยเลย มีแค่ 2 ข่าว ข่าวหนึ่งพูดถึงชีวิตอันโหดร้ายของการเป็นอินเตอร์เซ็กส์ อีกข่าวเป็นเรื่องมีสองเพศในคนเดียวกัน" กังวาฬ กล่าว

ยังพบด้วยว่า ข่าวที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นแหล่งข่าวทุติยภูมิ โดยมีแหล่งข่าวปฐมภูมิเพียงร้อยละ 10 หมายความว่าข่าวเกี่ยวกับคนหลากหลายทางเพศไม่ได้มาจากบุคคลที่เป็นแหล่งข่าวโดยตรง อีกทั้งข่าวส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับข่าวบันเทิง ตามด้วยข่าวอาชญากรรมและการเมืองตามลำดับ โดยไม่มีข่าวที่เกี่ยวกับการศึกษาเลย

นอกจากนี้ มากกว่า 2 ใน 3 ของข่าวที่เกี่ยวกับคนหลากหลายทางเพศมีรูปแบบการนำเสนอแบบ Soft News คือเป็นข่าวสนุกสนาน ส่วน Hard news หรือข่าวที่มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ มีเพียง 1 ใน 3 ของข่าวทั้งหมด

กังวาฬตั้งข้อสังเกตด้วยว่า บางข่าวไม่เกี่ยวข้องกับคนหลากหลายทางเพศ แต่การพาดหัวของสื่อก็นำมาใช้เพื่อให้ข่าวขายได้และทำให้บุคคลในข่าวถูกลดคุณค่าลงเพราะข้องเกี่ยวกับคนหลากหลายทางเพศ เช่น พาดหัวข่าวที่ว่า พระเมาซิ่งเก๋ง พาสีกาตระเวนพร้อมกะเทย ไล่จับระทึก เป็นต้น

ภาพตัวแทน

อะไรคือภาพตัวแทนของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่สื่อมวลชนส่งต่อไปยังผู้เสพ จากงานศึกษากังวาฬแบ่งภาพตัวแทนของคนหลากหลายทางเพศออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มหญิงรักหญิง พบว่าสื่อใช้ภาษาและการให้สมญานามที่ตีตรา คุกคาม ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และนำเสนอภาพที่สื่อนัยทางเพศ

"เราถูกเรียกว่าสายเหลือง แต่มิติด้านเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ของชีวิตเรา มันเป็นแค่ 0.0001 แต่อีก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ คือทำวิจัย สอนหนังสือ สร้างปัญญาชนให้ประเทศนี้ ทำไมจึงไม่เรียกเราด้วยตัวตนจาก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่เอา 0.0001 เปอร์เซ็นต์ มาเรียกแทนทั้งชีวิตของเรา นี่ก็เหมือนกัน (สื่อ) ใช้ตัวตนทางเพศมาแทนชีวิตของเขาทั้งหมด"

กลุ่มชายรักชาย สื่อใช้ภาษาและการให้สมญานามที่ตีตรา คุกคาม ลดทอนศักดิศรีความเป็นมนุษย์ เป็นผู้ที่หมกมุ่นกับความสวยงาม เพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และอาชญากรรม และใช้ความเป็นเกย์ลดทอนความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้เป็นข่าว

กลุ่มบุคคลรักสองเพศหรือไบเซ็กช่วล ถูกสร้างภาพตัวแทนเป็นคนที่หมกมุ่นในกามารมณ์เพราะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้กับเพศใดก็ได้

กลุ่มบุคคลข้ามเพศ มีการนําเสนอข่าวแบบตัดสินผู้เป็นข่าว ใช้รูปประกอบในลักษณะที่ตีตรา ใช้ภาษาและให้ฉายานามที่เจืออารมณ์ ลดทอนศักดิIศรีความเป็นมนุษย์ เป็นปัญหาของสังคม ตัวตลก และเป็นผู้มีความ ต้องการทางเพศสูงกว่าบุคคลทั่วไป

กลุ่มบุคคลไม่นิยามเพศหรือเควียร์ (Queer) ถูกทำให้เป็นตัวตลกหรือผิดแปลกไปจากบุคคลทั่วไป เน้นนําเสนอลักษณะที่แตกต่างของบุคคลนั้นโดยทำการตัดสินผู้ที่เป็นข่าว

กังวาฬสรุปว่าสิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าสื่อยังนําเสนอข่าวโดยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลหลากหลายทางเพศและนำเสนอในฐานะกลุ่มคนที่ผิดแผกแตกต่างจากผู้คนทั่วไป โดยคัดเลือกและขับเน้นเพยีงบางมิติของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตีตราโดยการกล่าวถึงเพศวิถีที่แตกต่างเพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นการลดทอนความซับซ้อน สร้างความเข้าใจผิด และดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

สื่อกำลังทำตัวเป็นศาลและตัวตนทางเพศอธิบายทั้งชีวิตของบุคคล

กังวาฬสะท้อนข่าวนี้ผ่านงานวิจัยว่า

"เราเห็นมันทุกวันๆๆ จนมันกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ทุกคนก็ใช้คำนี้ แล้วเราก็รู้ว่าพาดหัวข่าวไทยเป็นอย่างไร โดยเฉพาะหัวสี ทอมโหด ทอมหึงโหด ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องอันตราย เหมือนเมื่อก่อนที่บอกว่าฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป มันเป็นวิธีการใช้ภาษา เมื่อมันฝังอยู่ในหัว ในจิตใต้สำนึก ทำไมเราเกลียดคนนั้น รักคนนี้ โดยที่เราไม่เคยเจอตัวเขาเลย ตอนที่เขาไปทำแผน มีคนออกมาจะรุมประชาทัณฑ์

"หน้าที่ของสื่อคือการนำเสนอข่าว ไม่ใช่ตัดสินเขา แต่ตอนนี้สื่อตัดสินไปแล้วว่าเขาผิด สื่อทำหน้าที่เป็นศาลไปแล้ว ถ้าให้สะท้อนกับงานวิจัยที่ทำมันก็เข้าข่ายเดียวกับข่าวที่นำเสนอเรื่องของคนหลากหลายทางเพศ คือการใช้คำและรูปแบบการนำเสนอ คือใช้คำที่ตีตรา เราไม่ดูว่าคนนั้นเป็นใคร แต่เอาตัวตนทางเพศออกมาเล่นก่อน แทนที่จะใช้คำว่านางสาวกาญจนา คุณกาญนา หรือว่ากาญจนา แต่ใช้คำว่าทอมหึงโหด ทำให้เกิดการดราม่าด้วยการใช้พาดหัวตัวใหญ่ตรงคำว่า สาวทอม แล้วพยายามเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของคนหลากหลายทางเพศเข้ากับเหตุการณ์ที่เป็นด้านลบ ใช้ตัวตนทางเพศแทนตัวตนของเขา"

กังวาฬอธิบายผ่านเหตุการณ์ที่ตนประสบว่า

"เราถูกเรียกว่าสายเหลือง แต่มิติด้านเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์ของชีวิตเรา มันเป็นแค่ 0.0001 แต่อีก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ คือทำวิจัย สอนหนังสือ สร้างปัญญาชนให้ประเทศนี้ ทำไมจึงไม่เรียกเราด้วยตัวตนจาก 99 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่เอา 0.0001 เปอร์เซ็นต์ มาเรียกแทนทั้งชีวิตของเรา นี่ก็เหมือนกัน ใช้คำที่ทำให้เป็นดราม่า ใช้ตัวตนทางเพศมาแทนชีวิตของเขาทั้งหมด กลายเป็นว่าสื่อตัดสินเขาแล้ว คนเป็นทอมไม่ใช่ว่าต้องเป็นทอมโหดอย่างเดียว ทอมก็ทำการทำงาน

"เมื่อพาดหัวข่าวต้องกระชับสั้น ดึงดูด ซึ่งบางทีสิ่งที่ง่ายที่สุดคือการดึงตัวตนทางเพศที่แปลกในความรับรู้ของเขา ผู้คนยังมองความเป็นคนหลากหลายทางเพศเป็นความแปลกแตกต่างจากตัวเอง สะท้อนได้ว่าสังคมไทยไม่ได้มองคนหลากหลายทางเพศเป็นมนุษย์ แต่เป็นบุคคลที่แปลกประหลาด ดังนั้น บุคคลที่แปลกประหลาดย่อมทำสิ่งที่ไม่ดีได้ และสร้างภาพตัวแทนในหัวของผู้เสพ เป็นว่าทอมต้องโหดเสมอ"

เพราะคนคนหนึ่งไม่ได้มีมิติเดียวและการใช้หรือไม่ใช้ความรุนแรงก็ไม่ได้ผูกติดกับเพศใดเพศหนึ่ง

...........

สำหรับคำว่า Grand Narrative คือ  เรื่องเล่าหลักของสังคม ซึ่ง ธนัชชนม์ ธนาธิป-ปริพัฒน์ อธิบายในบทความ "ทบทวนการให้ความหมายของการถูกกดบังคับ (กับคนไทย ?)" (ออนไลน์ https://prachatai.com/journal/2013/05/46606) ว่า Grand Narrative คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ของเรื่องเล่าทั่วไปตามสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และถ้ามีการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องเล่าจะเป็นฝ่ายที่ถูกมองว่าผิดไว้ก่อน เหตุผลที่ถูกมองว่าผิดโดยอัตโนมัติ เนื่องจาก โครงสร้างของการผลิตซ้ำที่มุ่งครอบงำอย่างเข้มข้นในลักษณะที่ชวนให้รู้สึกว่า สิ่งที่ตรงข้ามกับเรื่องเล่านี้เป็นความชั่วร้าย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'โสภณ' เผยราคาที่ดิน กทม.-ปริมณฑล เพิ่ม 54 เท่า ภายใน 33 ปี เหตุเป็นศูนย์กลางอำนาจ

Posted: 26 Jul 2018 01:15 AM PDT

โสภณ พรโชคชัย เปิดผลสำรวจ 33 ปี ราคาที่ดิน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพิ่มขึ้นถึง 54 เท่า เหตุกรุงเทพเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ การเมือง สังคมและเศรษฐกิจของไทย

เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวถึงราคาที่ดินว่า ในรอบ 33 ปี (2528 ถึง 2561) ราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นถึง 54 เท่า ทั้งนี้เพราะกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ การเมือง สังคมและเศรษฐกิจของไทย

โสภณ เปิดเผยผลการสำรวจราคาที่ดินล่าสุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเป็นผลการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2528 ถึง 2561 หรือ 33 ปีต่อเนื่อง โดยถือเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งเดียวที่ดำเนินการต่อเนื่องที่สุดในประเทศไทย และมีความเป็นกลางเป็นที่สุด เพราะไม่มีผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินรายใหญ่นั่งเป็นกรรมการในศูนย์ฯ

ในช่วง พ.ศ.2528 ถึง 2561 มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยได้รวบรวมไว้  โดยจะสังเกตได้ว่า

            ระยะที่ 1: ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2528-2534

            ระยะที่ 2: ราคาที่ดินชะลอตัวในช่วง พศ.2535-2539

            ระยะที่ 3: ราคาที่ดินก็ตกต่ำลงในช่วงปี 2540-2542

            ระยะที่ 4: ราคาที่ดินกลับฟื้นตัวอีกในช่วงปี 2543-2548

            ระยะที่ 5: จนมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2553 ต่อเนื่องถึงปี 2556 และชะลอตัวในปี 2557-2560

            ระยะที่ 6: ปี 2561 ราคาที่ดินดูเพิ่มขึ้น แต่สาเหตุเพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้า ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดี

ขณะที่เมื่อต้นปี 60 ที่ผ่านมา องค์การอ็อกแฟม (Oxfam) ประเทศไทย เปิดเผย "รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย" โดยระบุว่าดัชนีชี้วัดความมุ่งมั่นต่อการลดความเหลื่อมล้ำไทยอยู่ในลำดับที่ 122 จาก 155 ประเทศ ด้านหนึ่งคือเรื่องปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดย 40% ไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง และ 37% ไม่มีโฉนดที่ดิน ที่เหลือที่ดินไม่พอทำกิน (อ่านรายละเอียด)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กก.นักนิติสากล ส่ง 8 ข้อเสนอ ปมแก้ ป.วิ.อาญา และกระบวนการยุติธรรม ให้ กก.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

Posted: 26 Jul 2018 12:14 AM PDT

กก.นักนิติศาสตร์สากลส่ง 8 ข้อเสนอให้ กก.ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ปมแก้ ป.วิ.อาญา และ ก.ม.กระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การบันทึกภาพและเสียงในการจับและการค้น ในการถามคำให้การและการสอบปากคำ ข้อห้ามการกระทำอันเป็นการขัดต่อข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และ การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย เป็นต้น

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ได้ส่งหนังสือข้อคิดเห็นถึงคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในประเด็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ร่าง พ.ร.บ.ระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 24 ก.ค. 2561 

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ชื่นชมความพยายามของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น และได้ขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 8 ประเด็นโดยมุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือให้คณะกรรมการฯ สามารถปรับปรุงร่างมาตราดังกล่าวให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ประกอบด้วย ก. มาตรา 13/1 การบันทึกภาพและเสียงในการจับและ/หรือการค้น ข. มาตรา 13/2 ข้อห้ามการกระทำอันเป็นการขัดต่อข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ค. มาตรา  121/2 มาตรา 123 และมาตรา 124/2 การร้องทุกข์ในคดีอาญาต่อพนักงานอัยการ การร้องทุกข์ในเขตท้องที่ใดก็ได้ และการร้องทุกข์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด

ง. มาตรา 136 การบันทึกภาพและเสียงในการถามคำให้การและการสอบปากคำ จ. มาตรา 161/1  การให้ดุลยพินิจแก่ศาลในการยกฟ้องคดีที่มีการยื่นฟ้องโดยไม่สุจริตหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลย ฉ. มาตรา  165/1  ให้สิทธิจำเลยในการแถลงข้อโต้แย้งและนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโต้แย้งระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ช. มาตรา  179/1 การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย และ ซ. ร่าง พ.ร.บ. ระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม

สำหรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล มีรายละเอียดดังนี้

 

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เรียน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม

ข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและร่างพระราชบัญญัติระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม

พวกเราส่งหนังสือฉบับนี้ถึงท่านในประเด็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ("ร่าง พ...แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ") และร่างพระราชบัญญัติระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม ("ร่าง พ...กระบวนการยุติธรรม") ซึ่งมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พวกเราชื่นชมความพยายามของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อีกทั้งให้มีกฎหมายว่าด้วยระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม

ร่างแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา

พวกเรายินดีและชื่นชมคณะกรรมการ ฯ ที่บัญญัติมาตราดังต่อไปนี้ในร่าง พ...แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. กระนั้นก็ตาม พวกเราขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังที่ระบุด้านล่างนี้โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือให้คณะกรรมการ ฯ สามารถปรับปรุงร่างมาตราดังกล่าวให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ได้แก่

1. มาตรา  13/1 การบันทึกภาพและเสียงในการจับและ/หรือการค้น

ในมาตรานี้ การกำหนดให้มีการบันทึกการดำเนินการจับและ/หรือการค้นนั้นเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดการกะทำที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหาและ/หรือผู้ถูกจับ โดยเฉพาะการละเมิดที่เกิดขึ้นจากการทรมานหรือการประทุษร้ายอื่นๆ การข่มขู่ หรือการกระทำหรือการใช้กำลังอันมิชอบด้วยกฎหมายหรืออันไม่เหมาะสมโดยเจ้าพนักงานผู้จับหรือผู้ค้น อีกทั้งยังเป็นมาตรการคุ้มครองแก่เจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายจากการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ข้อเสนอแนะ: พวกเราขอเสนอให้ขยายความในมาตรานี้ให้ครอบคลุมไปถึงการบันทึกภาพและเสียงในสถานที่ใดก็ตามที่มีการจำกัดเสรีภาพ ซึ่งรวมถึงระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวผู้ต้องหาและ/หรือผู้ถูกจับ เช่น บนยานพาหนะของตำรวจ การขยายความนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการกระทำที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการทรมาน การประทุษร้ายอื่นๆ การข่มขู่ และการกระทำหรือการใช้กำลังอันมิชอบด้วยกฎหมายหรืออันไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายโดยส่วนมากแล้วมักจะถูกกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวผู้ถูกกักขังจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายตัวไปยังหรือออกจากสถานที่กักขัง[1]

ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราดังกล่าวมิได้หมายถึงเป็นการละเลยความจำเป็นในการใช้มาตรการเชิงป้องกันอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการฝึกอบรมที่เพียงพอให้กับเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายในเรื่องการใช้กำลังที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานและการประทุษร้ายอื่นๆ โดยควรกำหนดประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนในกฎหมายฉบับนี้[2]

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: "ในการจับหรือค้น และในสถานที่ใดก็ตามที่มีการจำกัดเสรีภาพ ซึ่งรวมถึงระหว่างการเคลื่อนย้ายตัวผู้ต้องหาและ/หรือผู้ถูกจับขณะอยู่บนยานพาหนะของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานผู้จับ เคลื่อนย้ายตัวหรือค้นจัดให้มีการบันทึกภาพหรือเสียงซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้ เว้นแต่ เป็นกรณียกเว้นเมื่อมีความขัดข้องทางเทคนิคโดยเร่งด่วน เพื่อให้การบันทึกดังกล่าวและการจับกุมเป็นเพื่อความจำเป็นในการป้องกันอาชญากรรมร้ายแรงโดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ ความในมาตรานี้ไม่เป็นการห้ามมิให้ใช้มาตรการเชิงป้องกันอื่นใดอันจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรมาน การประทุษร้ายอื่นๆ การข่มขู่ หรือการกระทำหรือการใช้กำลังอันมิชอบด้วยกฎหมายหรืออันไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดแค่มาตรการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"

2. มาตรา 13/2 ข้อห้ามการกระทำอันเป็นการขัดต่อข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

ในมาตรานี้ การห้ามมิให้เผยแพร่บันทึกภาพหรือเสียงของผู้ต้องหาและ/หรือผู้ถูกจับ และการห้ามนำผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาออกแถลงข่าวหรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ต้องหาและ/หรือผู้ถูกจับที่ต้องได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิดในชั้นศาล

สิทธิได้รับการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์นั้นได้รับการคุ้มครองตามข้อ 14(2) แห่งกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง  (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ยืนยันในความเห็นทั่วไป (General Comment) เรื่องพันธกรณีของรัฐตามข้อ14  และสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมว่าเจ้าพนักงานของรัฐทุกคนมีหน้าที่`ที่จะต้องมิทำการที่เป็นการด่วนสรุปผลการพิจารณาคดี ผ่านการงดเว้นการแถลงต่อสาธารณะเกี่ยวกับความผิดของผู้ต้องหา และสื่อมวลชนก็ควรงดเว้นการแถลงข่าวที่เข้าข่ายลิดรอนสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน[3]

ข้อเสนอแนะ: เพื่อการคุ้มครองสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้ ICCPR  พวกเราขอเสนอให้ขยายความในมาตรานี้ โดยให้กำหนดหน้าที่รวมไปถึงเจ้าพนักงานของรัฐทุกคน และกำหนดให้ผู้ต้องสงสัยและ/หรือผู้ถูกจับได้รับการคุ้มครองจนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิดในชั้นศาล ทั้งนี้โดยไม่จำกัดหน้าที่เฉพาะสำหรับ "เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับหรือพนักงานสอบสวน" และ "ในชั้นจับกุมหรือระหว่างสอบสวน" พวกเรายังขอเน้นย้ำว่าการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13/2  เพื่อป้องกันมิให้มี "การกระทำการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการประจานผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา" ควรบัญญัติอย่างชัดเจนให้รวมถึงหน้าที่ในการละเว้นการแถลงต่อสาธารณะที่เป็นการด่วนสรุปความผิดของผู้ต้องหา (prejuding the guilt of a suspect) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: "ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐทุกคนนำผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาออกแถลงข่าวหรือจัดให้บุคคลดังกล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีความผิดโดยศาล

เจ้าพนักงานของรัฐทุกคนตามวรรคหนึ่งต้องไม่เผยแพร่ภาพหรือเสียงของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาต่อสาธารณชนหรือยินยอมให้บุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่บันทึกภาพหรือเสียงของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาหรือกระทำการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการประจานผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ซึ่งรวมถึงการละเว้นไม่แถลงต่อสาธารณะในลักษณะเป็นการด่วนสรุปว่าผู้ต้องหามีความผิด แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงการกระทำตามความจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด"

3. มาตรา  121/2 มาตรา 123 และมาตรา 124/2 การร้องทุกข์ในคดีอาญาต่อพนักงานอัยการ การร้องทุกข์ในเขตท้องที่ใดก็ได้ และการร้องทุกข์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด

มาตรา 121/2 ให้สิทธิในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีอาญาต่อพนักงานอัยการ หากพนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ มาตรา 123  ให้สิทธิในการร้องทุกข์ในเขตท้องที่ใดก็ได้ และมาตรา 124/2 ให้สิทธิในการร้องทุกข์ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด ทั้งนี้ พวกเรายินดีกับการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราดังกล่าว เนื่องจากมาตราดังกล่าวช่วยในการประกันว่าจะไม่มีบุคคลใดถูกริดรอนสิทธิในการเรียกร้องความยุติธรรมในเชิงวิธีปฏิบัติ

นอกจากนี้ การให้สิทธิในการร้องทุกข์ในคดีอาญาผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดยังมีส่วนช่วยให้ผู้เสียหายในคดีที่เกี่ยวข้องกับภัยต่อร่างกายหรือการทำร้ายร่างกาย ซึ่งรวมถึงการทรมาน การประทุษร้ายอื่นๆ ความรุนแรงทางเพศ การข่มขืน และการทำร้ายทางเพศหรือการทำร้ายอื่นใด สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น เนื่องจากในคดีดังกล่าวผู้เสียหายมักไม่ประสงค์ที่จะยื่นคำร้องทุกข์ด้วยตนเอง[4]

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: ไม่มี

4. มาตรา 136 การบันทึกภาพและเสียงในการถามคำให้การและการสอบปากคำ

ในมาตรานี้ การกำหนดให้พนักงานสอบสวน "จัดให้มี" การบันทึกภาพและเสียงระหว่างการถามคำให้การหรือการสอบปากคำผู้ต้องหา เป็นมาตรการที่น่าชื่นชม เนื่องจากเป็นมาตรการเชิงป้องกันที่สำคัญ จากการกระทำที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องสงสัยและ/หรือผู้ถูกจับ ดังกล่าวข้างต้น

ข้อเสนอแนะ: อย่างไรก็ดี ควรกำหนดให้มีการดำเนินการบันทึกภาพและเสียงในทุกการสอบปากคำ[5] โดยไม่คำนึงถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับข้อหาความผิด เนื่องด้วยอัตราโทษนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิด เพื่อเป็นการประกันว่าการสอบสวนจะดำเนินไปอย่างโปร่งใสและชอบด้วยกฎหมาย พวกเราขอเสนอให้มีการดำเนินการบันทึกภาพและเสียง ไม่เพียงเฉพาะระหว่างการสอบสวนทุกครั้ง แต่ยังรวมไปถึงระหว่างการสัมภาษณ์ใดที่ดำเนินโดยเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายกับบุคคลนอกเหนือจากผู้ต้องสงสัยและ/หรือผู้ถูกจับ ซึ่งได้แก่กับพยานและผู้ร้องทุกข์

การห้ามไม่ให้นำข้อมูลอันได้มาจากการสอบสวนหรือการสัมภาษณ์ที่ไม่มีการบันทึก [ภาพและเสียง] มาใช้ในชั้นศาลนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พยานหลักฐานอันได้มาจากการทรมานหรือการประทุษร้ายถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาล [6]  ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องห้ามภายใต้กฎหมายไทยรวมถึงภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย ได้แก่ ข้อ 15  แห่งอนุสัญญาว่าด้วยอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นภาคี

เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราดังกล่าวไม่เป็นการห้ามมิให้ใช้มาตรการเชิงป้องกันอื่นใดอันจำเป็น ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการฝึกอบรมที่เพียงพอให้กับเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายในเรื่องการใช้กำลังที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานและการประทุษร้ายอื่นๆ โดยควรกำหนดประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนในกฎหมายฉบับนี้

นอกจากนี้ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การบันทึก [ภาพและเสียง] ระหว่างการสอบสวนและการสัมภาษณ์ยังมีส่วนช่วยเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายในการโต้แย้งหากถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดหรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยหากผู้ต้องหา ผู้ถูกจับ พยาน หรือผู้ร้องทุกข์กลับคำที่ให้ไว้ระหว่างการสอบสวนหรือการสัมภาษณ์[7]

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว:"การถามคำให้การ การร้องทุกข์ หรือการสอบปากคำผู้ต้องหา ผู้ถูกจับกุม พยาน หรือผู้ร้องทุกข์ใด ในคดีที่มีข้อหาความผิดซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้ เว้นแต่ เป็นกรณียกเว้นเมื่อมีความขัดข้องทางเทคนิคโดยเร่งด่วน เพื่อให้การบันทึกดังกล่าวและการจับกุมเป็นเพื่อความจำเป็นในการป้องกันอาชญากรรมร้ายแรงโดยเคร่งครัด

ห้ามมิให้นำข้อมูลใดก็ตามที่ได้มาจากการสอบสวน การถามคำให้การ หรือการสอบปากคำที่ไม่มีการบันทึกภาพหรือเสียงมาใช้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล

ทั้งนี้ ความในมาตรานี้ไม่เป็นการห้ามมิให้ใช้มาตรการเชิงป้องกันอื่นใดอันจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรมาน การประทุษร้ายอื่นๆ การข่มขู่ หรือการกระทำหรือการใช้กำลังอันมิชอบด้วยกฎหมายหรืออันไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดแค่มาตรการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"

5. มาตรา 161/1  การให้ดุลยพินิจแก่ศาลในการยกฟ้องคดีที่มีการยื่นฟ้องโดยไม่สุจริตหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลย

พวกเราชื่นชมบทบัญญัติมาตรานี้ที่มีไว้เพื่อป้องกันการดำเนินคดีที่ไม่จำเป็นและสร้างความเดือนร้อนให้กับจำเลย อันจะช่วยป้องกันมิให้มีการใช้ระบบกฎหมายในทางมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งจำเลย

ข้อเสนอแนะ: พวกเราเข้าใจว่าเจตนารมณ์ของมาตรานี้นั้นมีไว้เพื่อป้องกันการดำเนินการในทางมิชอบโดยการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (strategic litigation against public participation หรือ SLAAP)[8] ซึ่งรวมถึงการใช้มาตรการหมิ่นประมาททางอาญาตลอดจนกฎหมายอื่น ๆ อาทิ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3  พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ และฐานความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยุยงปลุกปั่น เพื่อคุกคามผู้ใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

พวกเราชื่นชมเจตนารมณ์และความพยายามของคณะกรรมการ ฯ ในการป้องกันไม่ให้มีการใช้ SLAPP อย่างไรก็ดีพวกเรายังคงห่วงกังวลเนื่องจากในร่างกฎหมายฉบับนี้ยังไม่มีการกำหนดคำนิยามที่ชัดเจนของคำว่า "ไม่สุจริต" หรือ "บิดเบือนข้อเท็จจริง"  ถ้าหากมาตรานี้บัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ไว้เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งทางกฎหมาย บทบัญญัติดังกล่าวควรต้องบัญญัติให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับการพิจารณาใช้ดุลยพินิจยกคำฟ้องที่มีลักษณะเป็น SLAPP  มิใช่เพียงองค์ประกอบที่ว่าการฟ้องคดีเป็นไปโดย "ไม่สุจริต" หรือ "บิดเบือนข้อเท็จจริง"

นอกจากนี้ พวกเรายังห่วงกังวลว่าแม้ว่ามาตรานี้มีไว้เพื่อต่อต้านการใช้กฎหมายในทางที่มิชอบเพื่อกลั่นแกล้งและข่มขู่บุคคล แต่กลับถูกบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ มาตราดังกล่าวไม่สามารถและไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นมาตรการคุ้มครองจากการดำเนินคดี SLAPP เนื่องจากมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติทางอาญา พวกเราไม่เห็นด้วยที่จะปล่อยให้มีการดำเนินคดีอาญาเพื่อข่มขู่และกลั่นแกล้งบุคคลผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตั้งแต่แรก จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีบทบัญญัติในเชิง "ป้องกัน" ดังกล่าว ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสำหรับคุ้มครองจากการดำเนินคดีเช่นว่า

ทั้งนี้ พวกเราจึงขอเสนอให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายภายใน รวมถึงบทบัญญัติดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อประกันว่าการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะไม่เป็นความผิดอาญาภายใต้กฎหมายไทย อีกทั้งให้มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันนี้ในทางแพ่งเพื่อป้องกันการดำเนินคดีที่ไม่จำเป็นและสร้างความเดือดร้อนให้กับจำเลย และปกป้องการดำเนินคดีทางแพ่งจาก SLAPP

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: ไม่มี อย่างไรก็ตามโปรดพิจารณาข้อสังเกตข้างต้นว่าพวกเราไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรานี้เป็นมาตรการป้องกันการดำเนินคดีด้วย SLAPP  ในขณะที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเดิมที่ถูกใช้ในทางมิชอบเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

6. มาตรา  165/1  ให้สิทธิจำเลยในการแถลงข้อโต้แย้งและนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโต้แย้งระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง

ในมาตรานี้ จำเลยมีสิทธิในการแถลงข้อต่อสู้ นำเสนอและเรียกพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน อันเป็นพัฒนาการที่สำคัญและจำเป็นต่อการประกันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในการสู้คดี ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามข้อ 14(3) แห่ง ICCPR

พวกเราขอเรียนว่า แม้ว่าในภาพรวมระบบกฎหมายของประเทศไทยจะดำเนินตามอย่างระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (civil law)  ระบบกล่าวหาที่ปรากฏในระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law) กลับมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการระบบกฎหมายของประเทศไทยโดยเฉพาะในการพิพากษาคดี รวมถึงกฎหมายวิธีสบัญญัติและกฎหมายพยานหลักฐาน การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรานื้ถือเป็นการผนวกแนวปฏิบัติที่ดีของระบบกล่าวหาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายของประเทศไทย

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: ไม่มี

7. มาตรา  179/1 การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย

ในมาตรานี้ ศาลสามารถดำเนินการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถปรากฏตัวต่อศาลเนื่องจากความเจ็บป่วย ในกรณีที่จำเลยหรือผู้แทนจำเลยยังไม่ถูกจับตัว ในกรณีที่จำเลยหลบหนีจากสถานที่กักขัง และในกรณีที่จำเลยออกจากห้องพิจารณาเพราะศาลสั่งหรือโดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อ 1 4(3) แห่ง ICCPR  รับรองสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีต่อหน้าบุคคลนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ดี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ยอมรับว่าการจำกัดสิทธิประการนี้ด้วยการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยจะสามารถกระทำได้ก็แต่เฉพาะในสถานการณ์ที่พิเศษยิ่งเท่านั้น โดยกระบวนพิจารณาดังกล่าวจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อเป็นการดำเนินการเพื่อการบริหารงานยุติธรรมที่เหมาะสม เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งนัดพิจารณาล่วงหน้าอย่างเหมาะสมแล้ว แต่กลับปฏิเสธที่จะใช้สิทธิในการปรากฏตัวต่อหน้าศาล[9]

ข้อเสนอแนะ: พวกเราเสนอให้เพิ่มความในมาตรานี้ โดยกำหนดให้ศาลต้องพิสูจน์ว่าได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และแจ้งวันเวลาและสถานที่สำหรับการพิจารณาคดีให้ทราบล่วงหน้าและเรียกให้ [ผู้ถูกกล่าวหา] มาร่วมฟังการพิจารณาคดี และข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธที่จะมาฟังการพิจารณาหรือไม่ โดยมาตรการที่จำเป็นทั้งปวงจะต้องดำเนินให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย[10]

นอกจากนี้ยังควรระบุไว้ในมาตรานี้ด้วยว่า บุคคลผู้ถูกพิพากษาว่ามีความผิดโดยการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย มีสิทธิได้รับการเยียวยา ซึ่งรวมถึงสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อหน้าบุคคลนั้น ในโอกาสแรกที่บุคคลนั้นทราบถึงการดำเนินคดีเช่นว่า พร้อมกับแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมและสามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีเช่นว่าได้[11]

อีกทั้งหากผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดโดยการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยประสงค์ที่จะ โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่ควรเกิดขึ้นลับหลังตนเอง ภาระในการพิสูจน์ว่าตนมิได้จงใจหลบเลี่ยงกระบวนการยุติธรรมหรือในการพิสูจน์ว่าเหตุที่ตนไม่ปรากฏตัวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยจะต้องไม่ตกอยู่แก่บุคคลผู้นั้น[12]

ข้อเสนอต่อเนื้อความในมาตราดังกล่าว: [เสนอแนะให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 179/2]

"ในการใช้ดุลยพินิจพิจารณาคดีลับหลังจำเลย ศาลจะต้องพิจารณาว่ากรณีครบองค์ประกอบดังต่อไปนี้:

(1)  ได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นสำหรับการออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และแจ้งวันเวลาและสถานที่สำหรับการพิจารณาคดีของผู้ถูกกล่าวหาให้ทราบล่วงหน้าแล้ว และเรียกให้ [ผู้ถูกกล่าวหา] มาเข้าร่วม [การพิจารณาคดี] และ

(2) ผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธที่จะมาฟังการพิจารณา

หากมีการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยและมีผู้ต้องคำพิพากษาว่ามีความผิดในการพิจารณาคดีดังกล่าว แล้วในภายหลังบุคคลดังกล่าวจึงทราบถึงการพิจารณาคดีนั้น บุคคลผู้นั้นมีสิทธิได้รับการเยียวยา ซึ่งรวมถึงสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อหน้าผู้นั้น นับแต่โอกาสแรกที่ผู้นั้นทราบเกี่ยวกับการพิจารณาคดีดังกล่าว พร้อมกับแสดงความประสงค์และสามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีเช่นว่าได้

ทั้งนี้ หากผู้ที่ต้องคำพิพากษาว่ามีความผิดโดยการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยประสงค์ที่จะโต้แย้งว่าการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่ควรเกิดขึ้นลับหลังตนเอง ผู้นั้นไม่มีภาระในการพิสูจน์ว่าตนมิได้จงใจหลบเลี่ยงกระบวนการยุติธรรมหรือในการพิสูจน์ว่าเหตุที่ตนไม่ปรากฏตัวเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย"

ร่าง พ.ร.บ. กระบวนการยุติธรรม

พวกเรายินดีและชื่นชมคณะกรรมการ ฯ ที่เสนอบทบัญญัติต่าง ๆ ในร่าง พ... กระบวนการยุติธรรม เพื่อประกันการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็ว อันได้รับการคุ้มครองตามข้อ 14(3) แห่ง ICCPR พวกเรายังชื่นชมมาตรา 8  ของร่าง พ.ร.บ. กระบวนการยุติธรรม ที่เสนอโดยคณะกรรมการ ฯ เนื่องจากเป็นการบัญญัติกฎหมายให้มีการระบุผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่แจ้งให้ผู้เสียหาย ญาติผู้เสียหาย มิตรหรือทนายความทราบถึงพัฒนาการและความคืบหน้าของการดำเนินงาน

ในประการนี้ พวกเราขอเน้นย้ำว่าการรายงานพัฒนาการและความคืบหน้าในการดำเนินงานนั้นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และต้องกระทำโดยผู้ประสานงานที่ได้รับมอบหมายในเชิงรุก โดยมิต้องให้ฝ่ายผู้เสียหาย ญาติผู้เสียหาย มิตรหรือทนายความเป็นผู้ต้องดำเนินการร้องขอข้อมูลดังกล่าว[13]

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล(International Commission of Jurists หรือ ICJ) มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทย เพื่อให้สอดรับกับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในประเทศไทย และเพื่อประกันว่าประเทศไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือคำแนะนำประการใด โปรดติดต่อมายังข้อมูลติดต่อข้างต้น

ขอแสดงความนับถือ

(ลงลายมือชื่อ)

คิงส์ลี่ย์ แอ๊บบ็อต

ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล

 


[1] โปรดดู สมาคมป้องกันการทรมาน (Association for the Prevention of Torture), 'Factsheet (เอกสารข้อเท็จจริง): การบันทึกภาพระหว่างการควบคุมตัวของตำรวจ  การขจัดปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันการทรมานและการประทุษร้าย', พิมพ์ครั้งที่ 2 , ค.ศ.2015  , https://www.apt.ch/content/files_res/factsheet-2_using-cctv-en.pdf,  โปรดดู คณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Subcommittee on Prevention of Torture and Other Cruel,Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ SPT), รายงานการเยือนประเทศเม็กซิโกของของ SPT, CAT/OP/ MEX/1 31 พฤษภาคม ค.ศ.2010 , ย่อหน้า 141, https://tbinternet.ohchr.org/_layouts/treatybodyexternal/Download.aspx?symbolno=CAT%2FOP%2FMEX%2F1&Lang=en.

[2] อ้างแล้ว

[3] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, 'ความเห็นทั่วไปที่ 32ข้อ 14 สิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเท่าเทียมต่อหน้าศาลและคณะตุลาการ และได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม', 23  สิงหาคม 2007 , CCPR/C/GC/32, ย่อหน้า 30, ('HRC GC 32'), http://www.refworld.org/docid/478b2b2f2.html

[4] HRC GC No. 32 ย่อหน้า 9

[5] คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน 'ความเห็นทั่วไปที่ 2 อนุสัญญาว่าด้วยว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี,24 มกราคม ค.ศ.2008, CAT/C/GC/2, ย่อหน้า 14  http://docstore.ohchr.org/SelfServices/FilesHandler.ashx?enc=6QkG1d%2FPPRiCAqhKb7yhskvE%2BTuw1mw%2FKU18dCyrYrZhDDP8yaSRi%2Fv43pYTgmQ5n7dAGFdDalfzYTJnWNYOXxeLRAIVgbwcSm2ZXH%2BcD%2B%2F6IT0pc7BkgqlATQUZPVhi ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 'รายงานระหว่างรอบปีของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี' 10 สิงหาคม ค.ศ. 2010. UN Doc. A/65/273 ย่อหน้า75, http://www2.ohchr.org/english/issues/torture/rapporteur/docs/A.65.273.pdf ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 'รายงานของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับการทรมานภายใต้มติของคณะกรรมาธิการที่ 2002/38, 17 ธันวาคม 2002, , E/CN.4/2003/68 ย่อหน้า26(g)https://undocs.org/E/CN.4/2003/68

[6] ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการป้องกันการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 'รายงานของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับการทรมานภายใต้มติของคณะกรรมาธิการที่ 2002/38, 17 ธันวาคม 2002, , E/CN.4/2003/68 ย่อหน้า 26(g) https://undocs.org/E/CN.4/2003/68

[7] คณะกรรมการเพื่อป้องกันการทรมานของยุโรป (European Committee for the Prevention of Torture หรือ CPT), 'มาตรฐาน CPT', 2011, CPT/Inf/E (2002) 1 – Rev. 2011, หน้า 9, ย่อหน้า 36,  http://www.psychargos.gov.gr/Documents2/ΝΕΑ/eng-standards.pdf

[8] ตัวอย่าง ประเทศไทย, 'สิทธิในการตอบข้อซักถาม', วาระที่ 4 การอภิปรายทั่วไป (ต่อ) การประชุมครั้งที่ 35  สมัยการประชุมสามัญครั้งที่ 37 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน, คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน, 14 มีนาคม ค.ศ.2018 , (เวลา 2:51:00) http://webtv.un.org/meetings-events/treaty-bodies/watch/item4-general-debate-contd-35th-meeting-37th-regular-session-human-rights-council/5751616281001/?term=&lan=original,  โปรดดู ศาลยุติธรรม, ' หลักการและเหตุผลเบื้องหลังการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ....', 2561 ,, http://www.jla.coj.go.th/doc/data/jla/jla_1521605382.pdf  ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีบทบัญญัติคล้ายกับมาตรา 161/1

[9] HRC GC No. 32 ย่อหน้า 36

[10] อ้างแล้ว; คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, 'Maleki v Italy',  ข้อมูลติดต่อเลขที่ 699/1996, UN Doc. CCPR/C/66/D/699/1996, 27 กรกฎาคม 1999, ย่อหน้า 9.4, http://hrlibrary.umn.edu/undocs/session66/view699.htm ;  องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, 'คู่มือการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม' , 2014, หน้า 158, https://www.amnesty.org/download/Documents/8000/pol300022014en.pdf

[11] HRC GC No. 32 ย่อหน้า54;  ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป, , 'Colozza v Italy (9024/80)', 12 กุมภาพันธ์ 1985, ย่อหน้า 29, https://www.juridice.ro/wp-content/uploads/2018/04/CASE_OF_COLOZZA_v._ITALY_08.pdf;  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, 'Maleki v Italy',  ข้อมูลติดต่อเลขที่ 699/1996, UN Doc. CCPR/C/66/D/699/1996, 27 กรกฎาคม 1999, ย่อหน้า 9.5, http://hrlibrary.umn.edu/undocs/session66/view699.htm

[12]ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป, 'Colozza v Italy (9024/80)', 12 กุมภาพันธ์ 1985, ย่อหน้า 30, https://www.juridice.ro/wp-content/uploads/2018/04/CASE_OF_COLOZZA_v._ITALY_08.pdf;  ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป, ''Sejdovic v Italy (56581/00) , 1 มีนาคม 2006, ย่อหน้า 87-88, https://hudoc.echr.coe.int/eng#{%22dmdocnumber%22:[%22792978%22],%22itemid%22:[%22001-72629%22]}

[13] โปรดดู ตัวอย่างสำหรับการสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมาย พิธีสารมินนิโซตาว่าด้วยการสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตที่มิชอบด้วยกฎหมาย ค.ศ. 2016 ย่อหน้า 35https://www.icj.org/wp-content/uploads/2017/05/Universal-Minnesota-Proto...

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น