โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

แอมเนสตี้ระบุสหรัฐฯ ถล่มเมืองหลวงไอซิสทำพลเรือนโดนลูกหลงตายนับร้อย

Posted: 19 Jul 2018 09:53 AM PDT

ที่ปรึกษาอาวุโสแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลบอกให้กองทัพสัมพันธมิตรที่สหรัฐอเมริกาลงพื้นที่สำรวจความเสียหายเองบ้าง หลังมีรายงานของแอมเนสตี้ฯ เปิดเผยว่ามีพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงครามเสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศช่วงปี 2560 ที่เมืองอัลรัคคา เมืองที่กลุ่มไอซิสเคยยึดครอง

แฟ้มภาพกองกำลังชาวเคิร์ด (SDF) ที่ปฏิบัติการยึดเมืองอัลรัคคาคืนจากกลุ่มไอซิสได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2017 โดยปัจจุบัน SDF เป็นฝ่ายครอบครองเมืองอัลรัคคา (แฟ้มภาพ/เมษายน 2561/Qasioun News Agency)

18 ก.ค. 2561 สื่ออัลจาซีรารายงานว่ารัฐบาลกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ ปฏิเสธอย่างจริงจังเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขพลเรือนผู้เสียชีวิตจากสาเหตุปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามหรือไอซิสในเมืองอัลรัคคาเมื่อปี 2560

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลแถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ประณามจุดยืนของสหรัฐฯ ที่ไม่ยอมรับว่ามีพลเรือนเสียชีวิตจากปฏิบัติการ หลังจากที่ก่อนหน้านี้แอมเนสตีเคยออกรายงานเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาระบุถึงตัวเลขพลเรือนผู้เสียชีวิตในปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่นของไอซิส

ดอนนาเทลลา โรเวรา ที่ปรึกษาอาวุโสของแอมเนสตี้ฯ แถลงว่าการกล่าวตอบโต้แบบไม่ทันได้คิดของประเทศสัมพันธมิตรมีการใช้แต่ "โวหาร" และแทบจะไม่มีเนื้อหาอะไรเลย มันยิ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาแค่ต้องการบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับความล้มเหลวในการที่จะปกป้องคุ้มครองพลเรือนท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในซีเรีย และตราบใดที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่เรียนรู้ความผิดพลาดจากปฏิบัติการในอัลรัคคาและจากในอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ พวกเขาก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีกจนพลเรือนกลายเป็นผู้สูญเสียอีก

แอมเนสตี้ฯ เคยให้กลุ่มนักวิจัยไปลงพื้นที่ที่ถูกโจมตีทางอากาศโดยกลุ่มสัมพันธ์มิตร 42 แห่งในเมืองอัลรัคคา และรวบรวมข้อมูลเป็นรายงานที่ชื่อ "สงครามแห่งการทำลายล้าง ความเสียหายต่อพลเรือนใน อัลรัคคา ซีเรีย" ในรายงานระบุว่ามีพลเรือนหลายร้อยรายถูกสังหารในช่วงที่มีปฏิบัติการสู้รบระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับไอซิสในอัลรัคคา

แต่กลุ่มสัมพันธมิตรก็โต้ตอบรายงานฉบับดังกล่าวโดยระบุว่าพวกเขา "มองว่าการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ร่วมสู้รบใดๆ ก็ตามนับเป็นโศกนาฏกรรม" และระบุว่าพวกเขามีกระบวนการที่ทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียดังกล่าว

แถลงการณ์ของกลุ่มสัมพันธมิตรระบุอีกว่ากลุ่มของพวกเขา "มีความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการโจมตีมาโดยตลอดและมีการประเมินความเป็นไปได้ว่าจะมีความเสียหายต่อพลเรือนที่อาจจะเกิดขึ้นได้"

ฌอง ไรอัน โฆษกของทีมกองกำลังสัมพันธมิตร ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่าทางแอมเนสตี้ฯ ไม่ได้ขอคำปรึกษาใดๆ จากพวกเขาหรือไม่ใช้ข้อมูลจากพวกเขาเลยในตอนที่เขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่เน้นให้เห็น "โศกนาฏกรรมของสงครามและความโหดร้ายจากน้ำมือพวกดาอิช (ชื่อที่ผู้นำตะวันตกบางส่วนเรียกกลุ่มไอซิส)" ทั้งนี้ ในการให้สัมภาษณ์ทางอีเมลต่ออัลจาซีราเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ไรอันระบุว่าทางประเทศสัมพันธมิตรพร้อมจะพิจารณาหลักฐานใหม่ในการประเมินความเสียหายต่อพลเรือนอีกครั้ง โดยจะมีการเผยแพร่รายงานจำนวนความเสียหายต่อพลเรือนเพื่อโต้ตอบกับรายงานของแอมเนสตีภายในวันที่ 26 ก.ค. ที่จะถึงนี้

ในรายงานเมื่อเดือนมิถุนายนของแอมเนสตี้ฯ เก็บข้อมูลจากพลเรือน 112 รายจากอัลรัคคา พวกเขาเล่าถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อครอบครัวของพวกเขาถูกสังหารในช่วงที่มีการโจมตี โดยเป็นปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดที่ต่อต้านกลุ่มไอซิส

โดยแอมเนสตี้ฯ รวบรวมข้อมูลได้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการครั้งนี้หลายร้อยรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันราย ตรงกันข้ามกับที่กลุ่มสัมพันธมิตรระบุไว้ว่ามีพลเรือนเสียชีวิตเพียง 23 ราย จากการโจมตีด้วยอาวุธปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ซึ่งแอมเนสตีวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ทั้งไม่แม่นยำ ไม่น่าเชื่อถือ และไม่จริงจัง" เป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีการสืบสวนในระดับภาคพื้นดิน

กองกำลัง SDF เป็นกองกำลังที่ร่วมมือต่อสู้กลุ่มไอซิสในระดับภาคพื้นดิน เคยส่งจดหมายถึงกลุ่มสัมพันธมิตรวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติการของพวกเขาว่าเป็น "ความผิดพลาด" และเป็น "ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศที่ไม่ประสบความสำเร็จ" โดยส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตผู้คนและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลบนภาคพื้นดิน

โรเวรายังได้แถลงโต้ตอบกลุ่มสัมพันธมิตร โดยเรียกร้องให้พวกเขารักษามาตรฐานด้วยการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนความเสียหายต่อพลเรือนบนภาคพื้นดินจริงๆ และให้การชดเชยแก่เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ

เรียบเรียงจาก

Amnesty: US-led coalition in denial over civilian deaths in Raqqa, Aljazeera, Jul. 17, 2018

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

แอมเนสตี้ระบุสหรัฐฯ ถล่มเมืองหลวงไอซิสทำพลเรือนโดนลูกหลงตายนับร้อย

Posted: 19 Jul 2018 09:53 AM PDT

ที่ปรึกษาอาวุโสแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลบอกให้กองทัพสัมพันธมิตรที่สหรัฐอเมริกาลงพื้นที่สำรวจความเสียหายเองบ้าง หลังมีรายงานของแอมเนสตี้ฯ เปิดเผยว่ามีพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงครามเสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศช่วงปี 2560 ที่เมืองอัลรัคคา เมืองที่กลุ่มไอซิสเคยยึดครอง

แฟ้มภาพกองกำลังชาวเคิร์ด (SDF) ที่ปฏิบัติการยึดเมืองอัลรัคคาคืนจากกลุ่มไอซิสได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2017 โดยปัจจุบัน SDF เป็นฝ่ายครอบครองเมืองอัลรัคคา (แฟ้มภาพ/เมษายน 2561/Qasioun News Agency)

18 ก.ค. 2561 สื่ออัลจาซีรารายงานว่ารัฐบาลกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ ปฏิเสธอย่างจริงจังเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขพลเรือนผู้เสียชีวิตจากสาเหตุปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามหรือไอซิสในเมืองอัลรัคคาเมื่อปี 2560

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลแถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ประณามจุดยืนของสหรัฐฯ ที่ไม่ยอมรับว่ามีพลเรือนเสียชีวิตจากปฏิบัติการ หลังจากที่ก่อนหน้านี้แอมเนสตีเคยออกรายงานเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาระบุถึงตัวเลขพลเรือนผู้เสียชีวิตในปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่นของไอซิส

ดอนนาเทลลา โรเวรา ที่ปรึกษาอาวุโสของแอมเนสตี้ฯ แถลงว่าการกล่าวตอบโต้แบบไม่ทันได้คิดของประเทศสัมพันธมิตรมีการใช้แต่ "โวหาร" และแทบจะไม่มีเนื้อหาอะไรเลย มันยิ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาแค่ต้องการบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับความล้มเหลวในการที่จะปกป้องคุ้มครองพลเรือนท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในซีเรีย และตราบใดที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่เรียนรู้ความผิดพลาดจากปฏิบัติการในอัลรัคคาและจากในอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ พวกเขาก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีกจนพลเรือนกลายเป็นผู้สูญเสียอีก

แอมเนสตี้ฯ เคยให้กลุ่มนักวิจัยไปลงพื้นที่ที่ถูกโจมตีทางอากาศโดยกลุ่มสัมพันธ์มิตร 42 แห่งในเมืองอัลรัคคา และรวบรวมข้อมูลเป็นรายงานที่ชื่อ "สงครามแห่งการทำลายล้าง ความเสียหายต่อพลเรือนใน อัลรัคคา ซีเรีย" ในรายงานระบุว่ามีพลเรือนหลายร้อยรายถูกสังหารในช่วงที่มีปฏิบัติการสู้รบระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับไอซิสในอัลรัคคา

แต่กลุ่มสัมพันธมิตรก็โต้ตอบรายงานฉบับดังกล่าวโดยระบุว่าพวกเขา "มองว่าการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ร่วมสู้รบใดๆ ก็ตามนับเป็นโศกนาฏกรรม" และระบุว่าพวกเขามีกระบวนการที่ทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียดังกล่าว

แถลงการณ์ของกลุ่มสัมพันธมิตรระบุอีกว่ากลุ่มของพวกเขา "มีความโปร่งใสเกี่ยวกับกระบวนการโจมตีมาโดยตลอดและมีการประเมินความเป็นไปได้ว่าจะมีความเสียหายต่อพลเรือนที่อาจจะเกิดขึ้นได้"

ฌอง ไรอัน โฆษกของทีมกองกำลังสัมพันธมิตร ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่าทางแอมเนสตี้ฯ ไม่ได้ขอคำปรึกษาใดๆ จากพวกเขาหรือไม่ใช้ข้อมูลจากพวกเขาเลยในตอนที่เขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่เน้นให้เห็น "โศกนาฏกรรมของสงครามและความโหดร้ายจากน้ำมือพวกดาอิช (ชื่อที่ผู้นำตะวันตกบางส่วนเรียกกลุ่มไอซิส)" ทั้งนี้ ในการให้สัมภาษณ์ทางอีเมลต่ออัลจาซีราเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา ไรอันระบุว่าทางประเทศสัมพันธมิตรพร้อมจะพิจารณาหลักฐานใหม่ในการประเมินความเสียหายต่อพลเรือนอีกครั้ง โดยจะมีการเผยแพร่รายงานจำนวนความเสียหายต่อพลเรือนเพื่อโต้ตอบกับรายงานของแอมเนสตีภายในวันที่ 26 ก.ค. ที่จะถึงนี้

ในรายงานเมื่อเดือนมิถุนายนของแอมเนสตี้ฯ เก็บข้อมูลจากพลเรือน 112 รายจากอัลรัคคา พวกเขาเล่าถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อครอบครัวของพวกเขาถูกสังหารในช่วงที่มีการโจมตี โดยเป็นปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดที่ต่อต้านกลุ่มไอซิส

โดยแอมเนสตี้ฯ รวบรวมข้อมูลได้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการครั้งนี้หลายร้อยรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันราย ตรงกันข้ามกับที่กลุ่มสัมพันธมิตรระบุไว้ว่ามีพลเรือนเสียชีวิตเพียง 23 ราย จากการโจมตีด้วยอาวุธปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ซึ่งแอมเนสตีวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ทั้งไม่แม่นยำ ไม่น่าเชื่อถือ และไม่จริงจัง" เป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีการสืบสวนในระดับภาคพื้นดิน

กองกำลัง SDF เป็นกองกำลังที่ร่วมมือต่อสู้กลุ่มไอซิสในระดับภาคพื้นดิน เคยส่งจดหมายถึงกลุ่มสัมพันธมิตรวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติการของพวกเขาว่าเป็น "ความผิดพลาด" และเป็น "ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศที่ไม่ประสบความสำเร็จ" โดยส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตผู้คนและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลบนภาคพื้นดิน

โรเวรายังได้แถลงโต้ตอบกลุ่มสัมพันธมิตร โดยเรียกร้องให้พวกเขารักษามาตรฐานด้วยการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนความเสียหายต่อพลเรือนบนภาคพื้นดินจริงๆ และให้การชดเชยแก่เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ

เรียบเรียงจาก

Amnesty: US-led coalition in denial over civilian deaths in Raqqa, Aljazeera, Jul. 17, 2018

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน ขยายความคุ้มครองถึงลูกจ้างส่วนราชการกว่า 1 ล้านคน

Posted: 19 Jul 2018 09:46 AM PDT

สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน กมธ.ระบุ ขยายความคุ้มครองถึงลูกจ้างส่วนราชการกว่า 1 ล้านคน นายจ้างลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 2 ต่อเดือน จากเดิมร้อยละ 3 รวมทั้งเพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้ให้ลูกจ้างจากเดิม ร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน

 

19 ก.ค.2561 สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า พล.อ.ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินทดแทน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมด้วย อำพันธ์ ธุววิทย์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังจากที่ประชุม สนช.เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ว่า ขั้นตอนต่อไปจะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอนต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2561 โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขแล้วลูกจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น และนายจ้างได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ขอขอบคุณรัฐบาลที่เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้ามาซึ่งทำให้ลูกจ้างภาครัฐ ทั้งพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างภาคเอกชน จำนวน 10 ล้านคน ได้รับสิทธิประโยชน์ มีหลักประกันของชีวิตดีขึ้น ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อำพันธ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการดูแลคุ้มครองลูกจ้าง โดยระหว่างรอร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายลูก 13 ฉบับ ประกอบด้วยกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศกระทรวงแรงงาน และประกาศของสำนักงานประกันสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้าง โดยขณะนี้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้เห็นชอบกฎกระทรวง 3 ฉบับ แล้ว และจะส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่นายจ้างจะได้รับจากกฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วย การปรับลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 2 ต่อเดือน จากเดิมร้อยละ 3 และเงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ โดยรัฐมนตรีมีอำนาจลดการจ่ายเงินเพิ่ม การอำนวยความสะดวกในการยื่น/แจ้ง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับ ประกอบด้วย การขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างส่วนราชการกว่า 1 ล้านคน การเพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้ให้ลูกจ้างจากเดิม ร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน การเพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพจาก 15 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี และกรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายจากเดิม 8 ปี เป็นไม่เกิน 10 ปี ส่วนค่ารักษาพยาบาลปรับเพิ่มจากเดิมสูงสุด 2 ล้านบาท เป็นสิ้นสุดการรักษา หากลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ ตั้งแต่ 3 วัน ได้แก้ไขเป็น ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปให้ได้รับค่าทดแทน นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มค่าทำศพจากเดิมที่คิด 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด เป็นไม่น้อยกว่า 100 เท่าของอัตราของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด ขณะที่ ด้านการบริหารจัดการ กองทุนเงินทดแทน ให้มีความโปร่งใสนั้น ได้เพิ่มจำนวนคณะกรรมการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม รวมทั้งปรับแก้วาระการดำรงตำแหน่งให้อยู่เพียงวาระเดียว ตลอดจนมีคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำด้วย

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: ' ส ถ า น ก า ร ณ์ ยั ง ป ก ติ '

Posted: 19 Jul 2018 08:33 AM PDT

 

  ..มิตรสหายสายจิกส่งซิกย้ำ
'เมื่อวานค่ำมิมีใครไปข้างหน้า'
แค่พองตนวนรอบในครอบกะลา
ฟุ้งกล้ามใหญ่ไก่กาอวดสากล

ผ่านปาหี่อีเวนต์เล่นขายของ
โอ่พระเอกเสกพระรองกองแทบส้น
ขณะปากเดินหน้า..ขายังวน 
เขย่งย่ำคลำถนนมิพ้นซอย

แทนสักใคร ทะลุตรอกออกไฮเวย์
ผ่า ! ..หลุดซอกออกทะเลเห่กุ้งหอย
ปลื้มน้ำครำน้ำเน่า ลากเมาธ์มอย
'ตระกองกรวด' อวดน้ำพลอยปล่อยไก่กรู

  ..' มิมีใครเดินทางไปข้างหน้า '
แว่วว่า..เมิ่อวานค่ำยังย่ำอยู่
กลางโถงหลืบถ้ำลึก ค้างพฤกษ์ภู
อย่างมิหมายใครผู้มากู้ภัย ฯ!

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

อุบล: ทหารบุกมหา'ลัย เคลียร์ทางประยุทธ์ลงพื้นที่

Posted: 19 Jul 2018 08:22 AM PDT

19 ก.ค.2561 จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และคณะรัฐมนตรีได้มีกำหนดการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.อุบลฯ และ จ.อำนาจเจริญ ในระหว่างวันที่ 23-24 ก.ค.นี้  ในช่วงก่อนหน้าการประชุมนี้ ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบได้ทำการติดตามตัวโดยเข้าใจว่าต้องการสกัดกั้นการเคลื่อนไหวต่อต้าน คสช.ในพื้นที่ โดยมีรูปแบบเช่นการโทรศัพท์สอบถาม การไปตามหาตัวที่ที่ทำงาน และล่าสุดมีการขอนัดพบพูดคุยกับ เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ นักวิชาการในเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนอยู่ที่ ม.อุบลฯ


ที่มาภาพ: Facebook Titipol Phakdeewanich

เวลา 10.00 น. ได้มีนายทหารในเครื่องแบบจำนวน 2 นาย เดินทางมาพบกับ นางเสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ นักวิชาการผู้สอนประจำคณะศิลปศาสตร์ ม.อุบล โดยได้นัดพบกันที่ร้านกาแฟในบริเวณมหาวิทยาลัย การนัดหมายครั้งนี้ได้รับการติดต่อผ่านมาทางผู้บริหารเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2561 (เมื่อวานนี้)

เสาวนีย์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า นายทหารที่มาพบแจ้งชื่อว่า พ.อ.มงกุฎ แก้วพรหม ตำแหน่งรอง เสธ. จากมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (มทบ.22) โดยในการพูดคุยได้มีเพื่อนนักวิชาการและนักเขียนเข้าร่วมพูดคุยด้วย การพูดคุยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นการถามเรื่องส่วนตัว ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ เรียนจบอะไร ที่ไหน พ.อ.มงกุฎ ให้เหตุผลว่าต้องการทำความรู้จัก และยังบอกอีกว่ามีคนอยากเจอตัวหลายคน (ซึ่งไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร) แต่ช่วงท้ายก็วกเข้าประเด็นถามว่าจะทำกิจกรรมอะไรหรือไม่ ในช่วงที่มีการประชุม ครม.สัญจร ก็ตอบไปว่าไม่ เพราะงานยุ่งมาก พ.อ.มงกุฎ ถามอีกว่าอยากพบท่านหรือไม่ ก็ตอบไปว่า ไม่ เพราะรู้สึกไม่โอเค

"จากนั้นประเด็นการแลกเปลี่ยนที่สำคัญคือการแลกเปลี่ยนว่าจุดยืนของเราคืออะไร อยากเห็นสังคมแบบไหน เราก็ตอบไปว่าอยากเห็นสังคมที่ให้เกียรติคนทุกคนอย่างเท่าเทียม ทุกสิ่งอย่างที่ทำเป็นเรื่องหลักการทั้งสิ้น ไม่ใช่การยึดมั่นในตัวบุคคล  ซึ่งเขาก็พยักหน้ารับฟัง เรากล่าวเสริมด้วยว่า เราเข้าใจว่าเขาต้องทำตามหน้าที่ เราก็ต้องทำตามหน้าที่ตัวเองเช่นกัน"

มีช่วงหนึ่ง ดูเหมือนเขาจะเข้าใจว่านี่เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าหน้าที่มาพบที่มหาวิทยาลัย ก็เลยถามประมาณว่า รู้สึกวิตกมั้ย ตอบไปว่า ไม่วิตก เพราะคิดว่าเจ้าหน้าที่มาตามหน้าที่

  ผู้สื่อข่าวถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ถือว่าเป็นการคุกคามหรือไม่  เสาวนีย์ตอบว่า โดยหลักการคือการคุกคามแน่นอน เราไม่มีข้ออะไรที่จะข้องเกี่ยวกัน เราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติ เขาใช้วิธีการที่สุภาพ ดูเป็นมิตร และพูดคุยในเรื่องทั่วไป ส่วนตัวไม่ได้โกรธเคืองอะไร ที่เค้ามาทำตามหน้าที่ แต่นั่นก็คือสิ่งที่ทำให้กระบวนการนี้เกิดต่อไปไม่จบสิ้น มันเป็นความลำบากใจกับทุกฝ่ายที่ต้องมาปฏิสัมพันธ์กัน  โดยคนที่นั่งสั่งการไม่ต้องมาแบกรับแรงเสียดทานในระดับซึ่งหน้าแบบนี้

ไม่ใช่มาแค่หน่วยงานเดียว เมื่อวานนี้ก็มีคนแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ ไปตามหาตัวเธอที่อีกส่วนงานหนึ่งในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ที่คณะฯ นอกจากนี้ มีผู้เห็นเหตุการณ์เตือนเพื่อนนักวิชาการของเธออีกคนหนึ่งว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสอบถามถึง

"มันเป็นสิ่งที่ไม่ปกติแน่นอน ในสภาพสังคมปกติที่มีรัฐบาลพลเรือน เราไม่เคยต้องเข้าไปในค่ายทหาร ไม่เคยมีทหารมาขอ "ทำความรู้จัก" "

"สุดท้ายอยากฝากไปถึงคณะรัฐประหารคือ ถึงจุดนี้แล้ว เราต่างเปลี่ยนความคิดกันไม่ได้ คน 70 ล้านคน ย่อมแตกต่างกัน แต่สิ่งที่จะทำเราอยู่ด้วยกันได้ คือระบบที่ดี ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิแสดงออก  เราเพียงแค่ต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพในสิทธิ ให้เกียรติกัน  ไม่ใช่แค่ให้เกียรติแต่คนที่รวยกว่า มีอำนาจมากกว่า มียศ ตำแหน่ง  และใช้อำนาจกับคนตัวเล็กๆ"

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

'ศรีสุวรรณ' จ่อพาญาติทหารเกณฑ์ร้องประยุทธ์ แก้ปัญหาเงินเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนพรุ่งนี้

Posted: 19 Jul 2018 06:50 AM PDT

'ศรีสุวรรณ จรรยา' เผยพรุ่งนี้ (20 ก.ค.61) เตรียมนำญาติทหารเกณฑ์ เข้าร้องทำเนียบ แก้ปัญหาเงินเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน 'เนชั่นทีวี' เผยชีวิตอดีตทหารเกณฑ์ ไม่ใช่สมัครใจ หรือเลี้ยงไก่ แม้แต่ชุดชั้นในเมียนายก็ซักมาแล้ว ด้านทีมล่าความจริง คมชัดลึก ปูด บิ๊กทหารเกษียณแล้วก็มี 'พลทหารรับใช้' ขณะที่ 'อนุพงษ์' ขอไม่วิพากษ์ ข่าวพลทหารไปรับใช้โหรวารินทร์

แฟ้มภาพ เพจ army pr center 

19 ก.ค.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า จาก ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ว่า พรุ่งนี้ (20 ก.ค.61) เวลา 10.30 น. สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะนำผู้ปกครองของทหารเกณฑ์บางคนที่รู้ข้อมูลตื้นลึกหนาบางทั้งหมดภายในค่ายทหารกรณีปัญหาเงินเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนของทหารเกณฑ์ไปร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี์และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และพร้อมเปิดเผยความจริงต่อสื่อมวลชน เพื่อให้มีการตรวจสอบ แก้ไข และลงโทษนายทหารที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยสมาคมฯ และผู้ปกครองของทหารเกณฑ์จะเดินทางไปยื่นหนังสือ ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล ตึก กพร.เดิม

รายละเอียดเพิ่มเติม สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ระบุว่าได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองของพลทหารเกณฑ์ ในค่ายทหารชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคตะวันตกว่า มีความผิดปกติของการฝึกทหารเกณฑ์ โดยอาหารที่เลี้ยงในแต่ละมื้อมีเพียงข้าวกับต้มผักกับซี่โครงไก่ 1 อย่างเท่านั้น ส่วนพริกน้ำปลา ไม่เคยมี โดยคนที่รับเหมามาจัดเตรียมและจัดทำอาหารเป็นหญิงคนสนิทของ ผบ.พัน เมื่อการฝึกทหารใหม่ภาคบังคับเสร็จสิ้นตามกำหนดแล้ว ผบ.พัน จะสั่งให้ปล่อยตัวทหารเกณฑ์กลับบ้านทั้งหมด โดยไม่มีใบแจ้งหรือคำสั่งให้กลับบ้าน หากใครไม่ยอมกลับ หรือยอมกลับ แต่รีบกลับมารายงานตัวเข้าค่ายก็จะถูกซ่อมจนทนไม่ไหว จนต้องหนีกลับบ้านอีก หากใครหัวหมอนำความไปร้องเรียนผู้บังคับบัญชาระดับสูงก็จะถูกเล่นงาน ตั้งข้อกล่าวหาว่าหนีทหาร และจะสั่งขังคุกทหารทันที จนทำให้ทหารเกณฑ์จำนวนมากหนีออกจากค่ายเพราะอาจไม่ปลอดภัยในชีวิต

ศรีสุวรรณ ระบุว่า กรณีเช่นนี้ เชื่อได้ว่าอาจมีพฤติการณ์แสวงหาประโยชน์จากเงินเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนของทหารเกณฑ์ เพราะเมื่อทหารเกณฑ์กลับบ้าน เงินค่าเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนก็จะตกอยู่กับผู้บังคับบัญชาของหน่วยและบริวาร ซึ่งผู้ปกครองของทหารเกณฑ์ไม่อาจทนเห็นพฤติการณ์ดังกล่าวได้ จึงได้ร้องเรียนผู้บังคับบัญชาระดับกระทรวงกลาโหมไปแล้ว แต่เรื่องกลับเงียบหาย

ไม่ใช่สมัครใจ หรือเลี้ยงไก่ แม้แต่ชุดชั้นในเมียนายก็ซักมาแล้ว

ภายหลังจากพลทหารรายหนึ่ง อัดคลิปความยาว 11 นาที เปิดเผยชีวิตความเป็นอยู่ หลังต้องการมารับใช้ชาติ ที่กองพันทหารราบที่ 2 ศูนย์การทหารราบ (ค่ายธนะรัชต์) อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่ถูกส่งมาให้เลี้ยงไก่นับร้อย ถูกตบหน้า ตี ด่าพ่อล่อแม่สารพัด หากดูแลไก่ไม่ดี สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมจำนวนมาก ล่าสุดเนชั่นทีวี นำบทสัมภาษณ์ของอดีตทหารเกณฑ์ ที่เปิดเผยเรื่องราวของตัวเองให้ได้รับรู้ เรื่องของความสมัครใจที่จะไปทำงานบ้านนาย โดยบอกว่าไม่ใช่เรื่องสมัครใจ แต่ที่ต้องไปเพราะถูกสั่ง แม้การอยู่บ้านนายไม่ต้องฝึก ไม่ต้องเข้าเวรยาม แต่ก็ต้องแลกด้วยการทำงานทุกอย่างตามคำสั่ง แม้แต่ชุดชั้นในของเมียนาย ก็ยังต้องซัก

'อนุพงษ์' ขอไม่วิพากษ์ ข่าวพลทหารไปรับใช้โหรวารินทร์

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่เพจ CSILA ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่ามีอดีตพลทหาร เปิดเผยข้อมูลว่าการนำพลทหารไปรับใช้โหรวารินทร์ที่บ้านที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ตนขอพูดโดยหลักการว่าทหารที่เข้ามาประจำการ เรียกว่าเข้ามารับใช้ชาติ ซึ่งการรับใช้ชาตินั้นก็ต้องมีภารกิจที่ควรต้องทำ อย่างไรก็ตาม จะมีเรื่องของทหารบริการ ซึ่งมีกฎระเบียบอยู่ สามารถใช้ทหารบริการได้แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบ ซึ่งถ้าผิดระเบียบก็ทำไม่ได้ และถ้านำไปทำในกิจที่ไม่เหมาะสมก็ไม่น่าทำ และผู้ที่ใช้ทหารบริการต้องรู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ซึ่งตนขอไม่วิพากษ์ในรายกรณี

บิ๊กทหารเกษียณแล้วก็มี 'พลทหารรับใช้' 

คมชัดลึกออนไลน์ รายงานด้วยว่า ข้อมูลที่ "ล่าความจริง" ได้รับมาจากแหล่งข่าวในกองทัพ ยืนยันได้ว่ามีการจัดระบบ "พลทหารรับใช้" หรือที่เรียกภาษาทางการว่า "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" จริง ส่วนจะใช้คำว่า "ยืมตัว" หรือ "สมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย" หรือ "สั่งให้ไปอยู่บ้านนาย" อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่างหน่วยทหารขนาดใหญ่หน่วยหนึ่ง มีการพูดคุยเป็นวาระการประชุมอย่างเป็นทางกรรของผู้บังคับบัญชา กำหนดระเบียบการขอตัว "พลทหาร" ไปเป็น "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" สรุปได้ว่า นายทหารที่มีสิทธิ์ขอ "พลทหาร" ไปเป็น "พลทหารประจำตัว" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "พลทหารรับใช้" นั้น ต้องมียศ "พันโท" ขึ้นไป และยังมีการกำหนดจำนวน "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" เอาไว้ว่า หากเป็นนายทหารตั้งแต่ยศ "พลเอก" ลงมาถึง "พันโท" จะมี "พลทหารประจำตัว" ได้เพียง 1 คนเท่านั้น (แต่ถ้าเป็นนายทหารระดับ "จอมพล" ก็จะมี "พลทหารรับใช้" ได้มากกว่า 1 คนแม้ระเบียบจะกำหนดเอาไว้แบบนี้ แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับพบว่า มีการส่ง "พลทหาร" เวียนไปทำหน้าที่ "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" แบบไม่ให้ขาดตอน เช่น พลทหารคนหนึ่ง ถูกส่งไปอยู่บ้านนายคนหนึ่ง เมื่อถึง "ผลัดพัก" หรือ "วันหยุด" ของพลทหารคนนั้น ซึ่งตามระเบียบกำหนดว่า ทำงาน 30 วัน ได้พัก 10 วัน

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

9 ปี การต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินชุมชนบ่อแก้ว

Posted: 19 Jul 2018 03:15 AM PDT

ทบทวน 9 ปี การต่อสู้ในสิทธิที่ดินทำกินของ ชุมชนบ่อแก้ว ชัยภูมิ ประธานกลุ่ม เผยปัจจุบันก้าวไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับทำการผลิตปลูกพืชผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร และเพื่อนำมาเป็นรายได้หล่อเลี้ยงชีพในครอบครัว

ทุกวันที่ 17 ก.ค. ชาวบ้านบ่อแก้วจะถือเอาเป็นวันกำเนิดของชุมชน โดยทุกปีจะมีตัวแทนสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) จำนวนทั้งหมด 25 ชุมชน ประกอบด้วย จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีสะเกษ มาเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนสรุปบทเรียนการต่อสู้ในสิทธิที่ดินทำกิน และรำลึกถึงสิ่งที่ร่วมกันต่อสู้ในสิทธิที่ดินทำกินของผู้เดือดร้อนที่สามารถร่วมกันเข้ายึดที่ดินทำกินเดิมกลับคืนมา

และในวาระครบรอบ 9 ปี ครั้งนี้ ชาวบ้านบ่อแก้วได้กำหนดกิจกรรมจัดงานขึ้นในวันที่ 16 ก.ค.61 ได้เชิญตัวแทนองค์กรชุมชนแก้ไขปัญหาที่ดินภาคอีสาน (คอ.ปอ.) กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.) เข้าร่วมเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาที่ดินและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐ โดยมี ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ผศ.ดร.อนุสรณ์ พัฒนศานส์ ร่วมเป็นวิทยากร และในวันที่ 17 ก.ค.61 เริ่มจากในช่วงเช้า จะเป็นการร่วมกันทำบุญตักบาตรนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูป มาประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมทั้งถวายภัตตราหารแด่พระสงฆ์

นอกจากนี้ สุนีย์ ไชยรส พร้อมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต รวม 4 คน เดินทางมาร่วมเรียนรู้ศึกษาวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชุมชน รวมทั้งวงดนตรีสเลเต จากจังหวัดอุบลราชธานีมาบรรเลงบทเพลงแนวรบด้านวัฒนธรรม ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้ง 2 วัน

นิด ต่อทุน ประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เล่าว่า จากการถูกขับไล่อพยพที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำมาสู่ความเดืออดร้อนทำให้ไม่มีที่ดินทำกิน หลายคนต้องไปเป็นแรงงานรับจ้าง และหลังจากได้มีการลงตรวจสอบสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับ อ.อ.ป.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมติที่ประชุมร่วมกันว่าให้ยกเลิกสวนป่ายูคาฯ และคืนที่ดินทำกินให้ผู้เดือดร้อน แต่ อ.อ.ป.ไม่ยอมมอบคืนให้ และในการปฏิบัติได้ส่งคนติดตามเพื่อหาข่าวความเคลื่อนไหวชาวบ้านตลอดเวลา ซึ่งก่อนเข้ายึดพื้นที่ประมาณ 5 วัน ได้ร่วมกันวางแผนปล่อยข่าวลวงไปยังที่ต่างๆ เช่น เวลาไปซื้อของที่ร้านค้าหรือเจอใครที่รู้จัก จะแกล้งพูดเพื่อให้มีการบอกต่อๆ กันว่าจะเข้ายึดสำนักงานสวนป่าฯ เมื่อ อ.อ.ป.ได้รับข่าว ได้เสริมกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาจากหลายจังหวัดในภาคอีสานและตำรวจ รวมกว่า 200 นาย มาประจำการที่สำนักงานสวนป่าคอนสาร และในช่วงเช้ามืดของวันที่ 17 ก.ค.ปี 52 เป็นวันที่ฝนตกหนักมาก พวกเราที่ได้รับผลกระทบ 200 กว่าคน จัดแบ่งกำลังออกเป็น 3 ทาง เพื่อปฏิบัติการเข้ามายึดพื้นที่พร้อมกันตรงบริเวณลำห้วยโปร่ง ตั้งอยู่ห่างจากสำนักงานฯประมาณ 3 กิโลเมตร

ประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้ว เล่าอีกว่า จากนั้นเจ้าหน้าที่ป่าไม้และตำรวจ นำกำลังเข้ามาผลักดันให้ออก แต่พวกเราได้เตรียมการรักษาความปลอดภัยโดยได้จัดชุดการ์ดมีทั้งผู้หญิงและผู้ชายประสานมือกันยืนเรียงแถวหน้ากระดานดันเจ้าหน้าที่เข้ามาจับกุมและทำร้ายได้ เจ้าหน้าที่จึงตั้งแคมป์ปิดล้อมทางเข้าออกไว้เป็นเวลาหนึ่งเดือนกว่า ในช่วงที่ถูกปิดล้อมอยู่ในพื้นที่ที่พวกเราเข้ายึดมาได้รวมจำนวนประมาณ 98 ไร่ จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นชุมชนบ่อแก้วขึ้นมาเพื่อแสดงสัญลักษณ์ในความเป็นเจ้าของ และได้มีการได้ร่วมกันพลิกฟื้นผืนดินให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยได้เอาต้นไผ่เลี้ยง 3 ฤดู และกล้วย เข้ามาปลูกแทนที่ต้นยูคาฯ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ถอนกำลังออกไปหลังจากที่ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดภูเขียว จำนวน 31 คน ข้อหาบุกรุกป่าสงวนแงชาติภูซำผักหนาม โดยมีนายนิด ต่อทุน เป็นจำเลยที่ 1 ซึ่งในปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา

นิด กล่าวอีกว่า เส้นทางการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรมของสมาชิกชุมชนบ่อแก้ว ไม่เคยหยุดนิ่งในการต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของชุมชนมาตลอดจนถึงครบรอบ 9 ปี ด้วยทำการผลิตในรูปแบบการเกษตรอินทรีย์ ทั้งในที่ดินส่วนบุคคล และที่ดินที่เป็นสิทธิของชุมชนที่สมาชิกได้ทำแปลงรวมร่วมกัน โดยปลูกผักพื้นบ้าน และไม้ยืนต้น เป็นการช่วยกันรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างกับพืชเศรษฐกิจ เช่น ต้นยูคาฯ ที่ อ.อ.ป.นำเข้ามาปลูกเป็นอย่างมาก และปัจจุบันชุมชนบ่อแก้วได้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับทำการผลิตปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเพื่อนำมาเป็นรายได้หล่อเลี้ยงชีพในครอบครัว

กระบวนการต่อสู้เพื่อที่ดินของชุมชนบ่อแก้ว

ทั้งนี้ ชุมชนบ่อแก้ว ได้รับผลกระทบและสูญเสียที่ดินทำกินมานับแต่ปี 2521 หลังจากที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้รับสัมปทานปลูกสร้างสวนป่า ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จำนวนทั้งสิ้น 4,401 ไร่ แต่การดำเนินการกลับเข้ามายึดที่ของชาวบ้านไปปลูกยูคาลิปตัส ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องถูกอพยพจากที่ดินทำกิน

ปี 2547 ผู้เดือดร้อนในเขตอำเภอคอนสาร ได้รวมตัวกันในนาม"เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน (คอซ.)"ทำการชุมนุมที่หน้าสำนักงานสวนป่าคอนสาร ในวันที่ 9 – 11 พ.ย.47 และต่อมาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)ในปี 2549

ในช่วงปี พ.ศ. 2548 – 2552 ร่วมผลักดันให้เกิดกลไกการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีหน่วยงานรัฐร่วมกับฝ่ายประชาชน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)รวมทั้งหน่วยงานระดับท้องถิ่น ร่วมกันลงตรวจสอบพื้นที่ และเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.51 มีการประชุมประชาคมตำบลทุ่งพระ มีมติให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และให้ดำเนินการจัดสรรที่ดินให้กับผู้เดือดร้อน ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ ให้ผู้เดือดร้อนสามารถเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ได้ จำนวนเนื้อที่1,500 ไร่

แต่ในทางปฎิบัติ อ.อ.ป.ไม่ดำเนินการส่งมอบที่ดินทำกินให้ ในวันที่ 17 ก.ค.52 ผู้เดือดร้อนจึงได้เข้ายึดพื้นที่ทำกินเดิมมาได้ประมาณ 90 ไร่ และจัดตั้ง "ชุมชนบ่อแก้ว" ต่อมาในวันที่ 27 ส.ค.2552 อ.อ.ป.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีรวม 31 ราย ในข้อกล่าวหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ปัจจุบันสถานภาพคดีอยู่ระหว่างการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา

26 ส.ค.57 เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหาร เข้ามาปิดประกาศ คำสั่ง คสช.ที่ 64/57 ให้รื้อถอน อพยพออกจากพื้นที่ ตามนโยบาย ทวงคืนผืนป่า ชาวบ้านจึงได้ยื่นหนังสือเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกับหน่วยงานรัฐ  เพื่อให้หัวหน้า คณะ คสช.พิจารณาสั่งการเพื่อยกเลิกหนังสือคำสั่งบังคับให้ออกจากพื้นที่ และเพื่อให้พิจารณารับรองแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยชุมชน ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน บนเนื้อที่ 1,500 ไร่ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชนในปี 2553 นำที่ดินมาบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่สมาชิกมีมติกฎ ระเบียบ กติกา ร่วมกันปฏิบัติ เช่น ไม่นำที่ดินไปทำธุรกิจอุตสาหกรรมและที่ดินสมารถตกทอดกันได้เฉพาะบุคคลในครอบครัวหรือสมาชิก ชุมชนมีการฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการผลลิตในรูปรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร

วันที่ 2 – 12 พ.ค.61 ชาวบ้านชุมชนบ่อแก้วเข้าร่วมชุมนุมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) เพื่อติดตามแนวทางแก้ไขปัญหา กระทั่งวันที่ 12 พ.ค.61 พีมูฟ ได้แถลงการณ์ยุติการชุมนุม ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี(พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) มอบหมายให้ พล.อ.นัฐพล นาคพานิชย์ เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนและการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 (กขป. 5) ทำการบันทึกข้อตกลงลงนามการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ชุมนุมพีมูฟ เช่น ข้อตกลงได้มุ่งเน้นการคุ้มครองพื้นที่ชุมชนที่ได้ดำเนินการยื่นขอโฉนดชุมชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2553 โดยไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อราษฎรและชุมชน จนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการส่งมอบพื้นที่โฉนดชุมชน และการชะลอการดำเนินคดีกับผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า รวมทั้งได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของ พีมูฟ ภายใต้คณะกรรมการ กขป.5

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

ผู้แทนสหภาพยุโรปจี้รัฐบาลไทยจัดเลือกตั้งเสรีหากต้องการฟื้นสัมพันธ์การค้า

Posted: 19 Jul 2018 02:13 AM PDT

คณะทำงานของรัฐสภายุโรปกล่าวชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการปราบการค้ามนุษย์ เผยพร้อมสานต่อข้อตกลงทางการค้าหลังประเทศไทยมีการเลือกตั้ง เสนอยกเลิกโทษประหาร และลดการใช้ ม. 116 เปิดเสรีทางการเมือง


 

เมื่อวันที่ 16 ถึง 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะทำงานของอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐสภายุโรป ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คณะทำงานดังกล่าวมีสมาชิก 6 คนได้แก่ฟรานซิส แซมมิท ดิเมช, อันเดรย์ โควัตเชฟ, โจคิม เซลเลอร์, เดวิด มาร์ติน, บาบาร่า ลอชบิห์เลอร์ และมี ปิแอร์ อันโตนิโอ แพนเซรี่ เป็นประธาน
       
ตลอดสามวันของการเยือนประเทศไทย ทางคณะทำงานได้เดินทางไปพบกับรัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคม พรรคการเมือง และลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อตรวจสอบสถานการณ์การค้ามนุษย์ สิทธิแรงงานข้ามชาติ และสิทธิแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง อีกทั้งยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในปีหน้าด้วย

หลังจบการเยือนประเทศ แพนเซรี่ในฐานะตัวแทนของอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ตัวเขารู้สึกชื่นชมความพยายามของรัฐไทยในการปราบปรามและดำเนินคดีกับเครือข่ายการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงาน ทางคณะทำงานจึงสนับสนุนให้รัฐบาลไทยลงนามลงนามในอนุสัญญาองค์กรแรงงานสากล หรือ ILO ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในอุตสาหกรรมประมง ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมมกลุ่มและสิทธิในการจัดตั้งองค์กรแรงงาน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งจะเป็นก้าวที่สำคัญของประเทศไทยในการแก้ปัญหาสิทธิแรงงานอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมการก็ได้แสดงความกังวลถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่ยังคงมีการจำกัดสิทธิทางการเมืองหลายประการทั้งเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุม โดยแพนเซรี่กล่าวว่า การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมยังคงเป็นเงื่อนไขสำคัญหากไทยต้องการจะกลับมามีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหภาพยุโรป

"การกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม และครอบคลุม คือเงื่อนไขสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรป ซึ่งจะเปิดโอกาสทั้งสองประเทศกลับมาเจราจาทางการค้ากันใหม่ได้ ทั้งข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (PCA)

"รัฐสภายุโรปจะจับตาดูการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับประเมินสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และสภาพการจ้างงานในอุสาหกรรมประมง และอุตหกรรมอาหารสำเร็จรูป เช่นเดียวกับปัญหาสิทธิแรงงาน โดยมุ่งความสนใจไปที่การปราบปรามการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานเป็นหลัก" แพนเซรี่กล่าว

ทางคณะทำงานได้สรุปข้อเรียกร้องหลังการเยือนประเทศต่อรัฐบาลไทย 4 ประการดังนี้

  1. จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปที่เสรีและเป็นธรรม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล มุ่งฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งผ่านสถาบันทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย 
  2. ฟื้นฟูสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามที่ประเทศไทยได้ให้สัญญาไว้ ยกเลิกการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม และการรวมตัว สร้างบรรยากาศทางการเมืองที่เปิดกว้าง ให้พรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสามารถใช้สิทธิ์ของพวกเขาได้อย่างเสรี และสงบสุข
  3. ทำตามข้อผูกมัดที่ประเทศไทยให้ไว้ในกลไก Universal Periodic Review ปี 2016 และ ทำตามแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินการยกเลิกโทษประหารมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  4. ทบทวนการใช้กฎหมายอาญา และกฎหมายยุยงปลุกปั่น (กฎหมายอาญามาตรา 116) ที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งมักนำไปสู่การจองจำนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมและยุติการลอยนวลพ้นผิด 
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

'แอมเนสตี้' ส่ง จม.เปิดผนึกถึงทางการไทยในวาระ 1 เดือนหันกลับมาใช้​​การประหารชีวิต หลังไม่ใช้เกือบ 9 ปี

Posted: 19 Jul 2018 02:00 AM PDT

แอมเนสตี้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงทางการไทย แสดงข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนหลังประเทศไทยรื้อฟื้นและหันกลับมาใช้การประหารชีวิตอีกครั้งหลังจากไม่มีการใช้มานานเกือบ 9 ปี

แฟ้มภาพ

19 ก.ค.2561 สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทางการไทยจัดทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อพักใช้การประหารชีวิตอย่างเร่งด่วน และมีมาตราการเพิ่มเติมเพื่อขจัดโทษประหารชีวิตออกจากกฎหมายไทยสำหรับความผิดทุกประเภท

แคทเธอรีน เกอร์สัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยเนื่องในโอกาสครบรอบหนึ่งเดือนหลังจากมีการประหารชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบเกือบเก้าปีว่า ทางการไทยต้องตระหนักว่าโทษประหารชีวิตไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมทางอาญา และต้องยุติแผนการที่จะใช้การประหารชีวิตอีก

ในจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรียุติธรรมของไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโทษประหารชีวิต หลังมีการประหารชายอายุ 26 ปีด้วยการฉีดยาในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยทารุณ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552

 

แคทเธอรีน กล่าวเสริมว่า ไม่ว่าจะเป็นความผิดแบบใด ไม่ว่าจะเป็นนักโทษคนไหน หรือไม่ว่าจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด ไม่มีเหตุผลใดที่สร้างความชอบธรรมในการใช้โทษประหารชีวิต เพราะถือว่าเป็นการลงโทษที่เลวร้าย และไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมทางอาญา

"รัฐบาลไทยต้องยืนยันพันธกิจของตนที่มีต่อสิทธิมนุษยชน โดยการทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อพักใช้การประหารชีวิตโดยทันที ซึ่งถือเป็นก้าวย่างแรกที่นำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด เพราะในความเป็นจริงแล้ว โทษประหารชีวิตไม่ได้ส่งผลให้มีการยับยั้งการกระทำความผิด และไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวรสำหรับญาติของผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โทษประหารชีวิตไม่ได้เป็นทางออกใดๆ เลย" 

ข้อมูลพื้นฐาน

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ทางการไทยได้ประหารชีวิตชายวัย 26 ปีที่ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยทารุณ นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคม2552  ภายหลังงดเว้นการประหารชีวิตมาตั้งแต่ปี 2546 จากตัวเลขของกระทรวงยุติธรรมเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ระบุว่า ไทยมีนักโทษประหารอยู่จำนวน 510 คน เป็นผู้หญิง 94 คน ในจำนวนนี้ 193 คนเป็นนักโทษเด็ดขาดที่ผ่านกระบวนการอุทธรณ์คดีหมดสิ้นแล้ว เชื่อว่ากว่าครึ่งหนึ่งของนักโทษเหล่านี้ต้องโทษประหารในคดียาเสพติด

แม้ว่าการใช้โทษประหารชีวิตเชิงบังคับถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่โทษประหารชีวิตยังเป็นโทษเชิงบังคับสำหรับความผิดหลายประการในประเทศไทย รวมทั้งคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ โดยความผิดหลายประการที่มีการใช้โทษประหารชีวิต มีลักษณะไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการเป็น "อาชญากรรมร้ายแรงที่สุด" ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้ใช้โทษแบบนี้ได้อย่างจำกัด สำหรับประเทศต่างๆ ที่ยังไม่ยกเลิกโทษประหารเสียทีเดียว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

จนถึงปัจจุบัน 106 ประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท และ 142 ประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

'ฉลาดซื้อ' เผยผลทดสอบ 'การตกค้างจากยาปฏิชีวนะ ในเนื้ออกไก่และตับไก่สด' พบ 41.9% จาก 62 ตัวอย่าง

Posted: 19 Jul 2018 01:38 AM PDT

ฉลาดซื้อ ตรวจพบยาปฏิชีวนะตกมาตรฐาน จำนวน 5 ตัวอย่าง ในเนื้อไก่สดและตับไก่สด จากจำนวนที่ตรวจพบยา 26 ตัวอย่าง หรือ 41.93% จากทั้งหมด 62 ตัวอย่าง

19 ก.ค.2561 นิตยสารฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ฉลาดซื้อสุ่มเก็บตัวอย่างอกไก่และตับไก่สด จำนวนทั้งสิ้น 62 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอกไก่สด จำนวน 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้รับความร่วมมือในการเก็บตัวอย่างจากเครือข่ายอาสาสมัครผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2561เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม นำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน(Fluoroquinolone group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน(Enrofloxacin), กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตตราไซคลิน(Tetracycline group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline), กลุ่มที่ 3 กลุ่มเบต้า-แลคแทม (Beta-lactam groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin)

ผลการตรวจวิเคราะห์    

ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด (ใน 3 กลุ่ม) จากตัวอย่างทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบการตกค้างตกของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 41.93) พบ ตกมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะ จำนวน 5 ตัวอย่าง (8.06%) ในยาเอนโรฟลอคซาซิน(Enrofloxacin) เนื่องจากป็นยานอกเหนือบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งสามารถใช้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างของยานี้ (ตารางที่ 2) และยาด็อกซีไซคลิน(Doxycycline) จำนวน 21 ตัวอย่าง (33.87%) (ตารางที่ 3)  โดยตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ 3 ชนิดอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ส่วนอีก 36 ตัวอย่าง นั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้งสามกลุ่ม (ตารางที่ 4)

ประกาศ สธ. อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง เพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้พบปริมาณการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) ของยาในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) ในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ ไก่งวง เป็ด ห่าน ไก่ต๊อก ในส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ ในส่วนของตับไม่เกิน 600 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

จากผลการตรวจวิเคราะห์พบ ยาเอนโรฟลอคซาซิน (Enrolfloxacin) จำนวน 5 ตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งอย.อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้ แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย โดยมีความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาทของพรบ.อาหาร พ.ศ. 2522

ส่วนผลวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่พบปริมาณเกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่อย.ประกาศกำหนด

ส่วน ดร. นิยดา เกียรยิ่งอังศุลี ศูนยฺวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ คือ การดื้อยา การแพ้ยา และอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ

ส่วนอันตรายของ ยา Doxycyclin

ผลไม่พึงประสงค์  อาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่, มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร, มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง,

อันตรายของ Enrolfloxacin

ผลไม่พึงประสงค์ มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียในรายที่ใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า  ทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆเกิดความเสียหายจากผลของยา

ส่วนอันตรายของ ยา Amoxycillin

ผลไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด (อาการของหอบหืด) หลังใช้ยา ควรต้องหยุดใช้ยาทันทีและรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล

ผลการตรวจสุ่มตรวจ ANTIBIOTIC ของนิตยสารฉลาดซื้อในอดีต

  1. สุ่มตรวจอาหารฟาสฟูดส์กลุ่มจำนวน  18 ตัวอย่าง พบยาด็อกซีไซคลิน(Doxycycline) 13.73 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในแซนวิชไก่อบจำนวน 1 ตัวอย่าง (เก็บตัวอย่าง กันยายน 2559)
  2. สุ่มตรวจเนื้อหมูสดในตลาดและห้างสรรพสินค้าทั่วไป จำนวน 15 ตัวอย่าง พบ ยาคลอร์เททระไซคลีน(Chlotetracycline) จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยเป็นเนื้อหมูในตลาดสด

ข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

  1. ผู้บริโภคไม่ต้องการอาหารที่มีการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ เพราะการเกิดเชื้อดื้อยาเกิดได้ทั้งปริมาณการตกค้างทั้งน้อยและมาก
  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องปรับปรุงมาตรฐานการตกค้างให้ยอมรับได้น้อยที่สุด
  3. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบังคับใช้แผนปฏิบัติการในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม
  4. สำนักงานงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จะต้องเข้มงวดและติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ให้ตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนด และเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai - ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai - LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น