ประชาไท Prachatai.com |
- กรรมการสิทธิฯ หยุดตามปมบุคคลภาวะเพศกำกวม หลัง สปสช.ยันใช้สิทธิประกันสุขภาพได้
- 'เวิร์คพอยท์' สั่งพักงานไม่มีกำหนด 'บ.ก.ข่าวภูมิภาค' ปมปล่อยเสียงวิทยุช่วย 'ทีมหมูป่า'
- เห็นชอบ 5 จาก 7 รายชื่อเป็น กกต. ส่วนที่ว่างยังไม่แน่ใจว่าจะใช้การทาบทามหรือไม่
- 2 พรรคใหญ่ 3 พรรคใหม่ ร่วมอภิปราย ‘ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด’
- กวีประชาไท: สรุปบทเรียน การผจญภัย
- ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด
- จับนายกเทศมนตรีเผาศาลากลางขอนแก่น ขัง 8 เดือนไม่ได้ประกัน เจ้าตัวยันนำรถดับเพลิงไปควบคุมเพลิง
- “ยุติธรรมไทยวิบัติ กฎหมายไทยวิปลาส” ฟังวงสนทนาของเหล่านักกฎหมาย
- เตือน! ผักไฮโดรโปนิกส์มีสารเคมีเกินมาตรฐานกว่า 60% ยังไม่มีหน่วยงานรัฐรับผิดชอบ
- ผู้เสพคือผู้ป่วย(1): ส่องภารกิจสู้ยาเสพติดแบบใหม่ บำบัดฟื้นฟูแทนขังล้นคุก
- ปักธงผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกทั่วประเทศ สธ.ผนึก สปสช.ยกระดับคุณภาพชีวิต
- ฟ้อง 2 นักข่าวรอยเตอร์ 'เผยความลับราชการ' หลังรายงานข่าวสังหารหมู่โรฮิงญา
- สหภาพแรงงานรถไฟสำรวจพื้นที่ รฟท. พบ 'ทำเลทอง' ติดแม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็นภูเขาขยะ
- “ความเหลื่อมล้ำแนวราบ” ที่จังหวัดชายแดนใต้
- ทฤษฎีกับการปฏิบัติ: พระ-ครู ลวงโลก
กรรมการสิทธิฯ หยุดตามปมบุคคลภาวะเพศกำกวม หลัง สปสช.ยันใช้สิทธิประกันสุขภาพได้ Posted: 12 Jul 2018 12:46 PM PDT สปสช. ระบุ LGBTI ที่ภาวะเพศกำกวมและจะผ่าตัดเพื่อรักษาให้ 12 ก.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีผู้ร้องเรียนต่อ กสม. ขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลที่มี กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยมีการออกกฎหมาย ระเบียบ และแนวปฏิบัติในการให้สิทธิบุ 1) กสม. ขอให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ผู้ร้องรั 2) กสม. ขอให้สำนักงานหลักประกันสุ ต่อมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ ดังนี้แล้ว กสม. จึงเห็นควรยุติการติ
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'เวิร์คพอยท์' สั่งพักงานไม่มีกำหนด 'บ.ก.ข่าวภูมิภาค' ปมปล่อยเสียงวิทยุช่วย 'ทีมหมูป่า' Posted: 12 Jul 2018 09:39 AM PDT 'เวิร์คพอยท์' ลงโทษสั่งพักงานไม่มีกำหนด บรรณาธิการข่าวภูมิภาค ปมปล่อยเสียงวิทยุเครือข่ายเครื่องสีแดงช่วย 'ทีมหมูป่า' ระบุทำโดยพลการและขาดการใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติงาน แม้ กสทช. ชี้ ว.เเดง เป็นคลื่นสาธารณะ ทุกคนฟังได้ ไม่ผิด กม. ก็ตาม 12 ก.ค.2561 เมื่อเวลา 18.29 น. ที่ผ่านมา เฟสบุ๊กแฟนนเพจ 'Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์' เผยแพร่ ประกาศลงโทษบรรณาธิการข่าวภูมิภาค เวิร์คพอยท์นิวส์ สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ โดยระบุว่า กรณีการนำเสนอข่าวของบรรณาธิการข่าวภูมิภาค เวิร์คพอยท์นิวส์ ทางสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ที่นำมาเผยแพร่ออกอากาศทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อต่างๆ ประกาศระบุต่อว่า การกระทำดังกล่าว ทางบริษัทฯ มิได้นิ่งนอนใจ ได้ทำการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและพบว่าบรรณาธิการข่าวได้กระทำโดยพลการและขาดการใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติงาน อันเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการนำเสนอข่าว บริษัทฯ จึงได้กำหนดบทลงโทษ โดยให้ ฤทธิชัย ชูวงษ์ ตำแหน่งบรรณาธิการข่าวภูมิภาค พักงานโดยไม่มีกำหนด และมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.เป็นต้นไป ทางบริษัทฯ ขอน้อมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและขอยืนยันว่าจะพยายามอย่างดีที่สุดที่จะกำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีเวิร์คพอยท์นิวส์เผยแพร่เสียงวิทยุเครือข่ายเครื่องสีแดง ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการดักฟังวิทยุราชการ อย่างไรก็ตาม วันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ได้ออกมาชี้แจงผ่านแถลงคำขอโทษกรณีดังกล่าว พร้อมระบุว่า เสียงที่เผยแพร่เป็นของ พลสิงห์ แสนสุข ประธานศูนย์พญาอินทรี ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลข่าวสาร (ว.8) ที่ประชาชนเข้าถึงได้ปกติ รวมทั้ง ถ่ายทอดผ่านแอพพลิเคชั่น Zello และต่อมา เฟสบุ๊กแฟนเพจ 'โครงการพลังอาสา พลังแห่งแผ่นดิน' เผยแพร่ คำชี้แจงจาก ศูนย์พญาอินทรี โดย พลสิงห์ ระบุว่า การรับฟังข่าวสารจากศูนย์พญาอินทรี ประชาชนคนไทยสามารถรับฟังได้โดยเสรี หากมีวิทยุสื่อสารเครื่องแดงในมือ ดังนั้นการที่ ศูนย์ข่าวเวิร์คพอยท์รับฟังนั้น สามารถกระทำได้ เสมือนคนไทยทั่วไป ต่อมา 10 ก.ค.61 ฤทธิชัย เขียนคำชี้แจงกรณีดังกล่าว ถึง บรรยงค์ สุวรรณผ่อง ปธ.กก. จริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยเรื่องนี้ ก่อนมีคำสังพักงานดังกล่าว กสทช. ประวิทย์ ชี้ ว.เเดง เป็นคลื่นสาธารณะ ทุกคนฟังได้ ไม่ผิด กม.สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แสดงความเห็นกับสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ต่อกรณีการนำเสนอเสียงจากสัญญาณวิทยุสื่อสาร ในระหว่างภารกิจช่วยเหลือครั้งนี้ ว่า วิทยุสื่อสารสีแดง (ว.แดง) เป็นวิทยุคลื่นสาธารณะ ไม่ใช่คลื่นเฉพาะ ทุกคนจึงฟังได้ ดังนั้น จึงไม่มีความผิดฐานลักลอบดักฟัง อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นประเด็นอยู่ที่ความเหมาะสมมากกว่า ในการนำเนื้อหาที่คนอื่นพูดไปเผยแพร่ต่อ "ยังไม่เห็นข้อกฎหมายใดเข้าข่าย เพราะ ว.ปกติ ไม่บันทึกเสียงอยู่แล้ว เหมือนกับโทรศัพท์ พูดคุยกันเสร็จ ข้อความการสนทนานั้นจะหายไป หรืออัดเสียงระหว่างคุยโทรศัพท์ไม่มีความผิดตามกฎหมาย" กรรมการ กสทช. กล่าว และว่า ว.สีแดง ไม่มีระบบอัดเสียง จึงแสดงว่า มีการอัดเสียงผ่านระบบอัดเสียงอื่นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่า ผิดกฎหมายอย่างไร
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เห็นชอบ 5 จาก 7 รายชื่อเป็น กกต. ส่วนที่ว่างยังไม่แน่ใจว่าจะใช้การทาบทามหรือไม่ Posted: 12 Jul 2018 07:18 AM PDT มติ สนช. เห็นชอบ ผู้ดำรงตำแหน่ง กกต. 5 รายชื่อ แต่ตีตก 2 รายชื่อ 'อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฯ กับอดีตผู้ว่าฯ พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า' ขณะที่ รองนายกฯ วิษณุ เชื่อ 5 คนก็สามารถเตรียมเดินหน้าจัดการเลือกตั้งได้ ส่วนอีก 2 ที่นั่งที่ว่างอยู่ ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้การทาบทามหรือไม่ แต่กฎหมายไม่ได้ห้าม แฟ้มภาพ 12 ก.ค. 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาวาระให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จำนวน 7 คน ประกอบด้วย มาจากการสรรหาโดยกรรมการสรรหาฯ 5 คน คือ ศาสตราจารย์ สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / อิทธิพร บุญประคอง อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และอดีตเอกอัครราชทูต กรุงโนโรบี สาธารณรัฐเคนยา และกรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ / พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี บุรีรัมย์ ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช / ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ปราจีนบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ลำปาง และเป็นอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ(สปท.) ส่วนที่มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามี 2 คน คือ ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ ปกรณ์ มหรรณพ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ภายหลังการประชุมลับเพื่อพิจารณารายงานประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรม ของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และลงคะแนนลับ ปรากฏว่า ศาสตราจารย์สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ ได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ 178 คะแนน ไม่เห็นชอบ 20 และงดออกเสียง 3 อิทธิพร บุญประคอง ได้รับคะแนนเห็นชอบ 186 ไม่เห็นชอบ 10 งดออกเสียง 5 ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ได้รับคะแนนเห็นชอบ 184 ไม่เห็นชอบ 12 งดออกเสียง ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ได้รับคะแนนเห็นชอบ 184 ไม่เห็นชอบ 11 งดออกเสียง 6 และปกรณ์ มหรรณพ ได้รับคะแนนเห็นชอบ 185 ไม่เห็นชอบ 10 และงดออกเสียง 6 โดยทั้ง 5 คนได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่คือ 123 คะแนนขึ้นไป จึงถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง ส่วน สมชาย ชาญณรงค์กุล ได้รับคะแนนเห็นชอบ 3 ไม่เห็นชอบ 193 งดออกเสียง 5 และพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ได้รับคะแนนเห็นชอบ 28 ไม่เห็นชอบ 168 งดออกเสียง 5 ซึ่งได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง. ทั้งนี้การลงมติให้พิจารณาผู้สมควรดำรงตำแหน่ง กกต. ในครั้งถือเป็นการลงมติเป็นครั้งที่ 2 นับจากมีการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในครั้งแรกนั้น เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2561 สนช. ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำรง กกต. โดยมีมติไม่เห็นชอบผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คน ได้แก่ ประชา เตรัตน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผวจ.หลายจังหวัด มีคะแนนไม่เห็นชอบ 125 เห็นชอบ 57 งดออกเสียง 86 เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีคะแนนไม่เห็นชอบ 175 เห็นชอบ 10 งดออกเสียง 14 ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มีคะแนนไม่เห็นชอบ 156 เห็นชอบ 27 งดออกเสียง 17 อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีคะแนนไม่เห็นชอบ149 เห็นชอบ 30 งดออกเสียง 21 ชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท วรวิสิฏฐ์ จำกัด และหัวหน้าสำนักงานกฎหมายสุธีรชาติ มีคะแนนไม่เห็นชอบ 168 เห็นชอบ 16 งดออกเสียง 16 ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา มีคะแนนไม่เห็นชอบ 128 เห็นชอบ 46 งดออกเสียง 26 ปกรณ์ มหรรณพ ผู้พิพากษาศาลฎีกา มีคะแนนไม่เห็นชอบ 130 เห็นชอบ 41 งดออกเสียง 29 โดยเหตุผลที่สนช.ลงมติไม่เห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อทุกคน แม้ทุกคนจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากสนช.เห็นว่างานของกกต.ตามรัฐธรรมนูญใหม่มีภารกิจสำคัญเรื่องการเลือกตั้ง จึงอยากได้บุคคลมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งสมาชิกสนช.ส่วนมากยังไม่เชื่อมั่นในฝีมือของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และยังไม่เคยแสดงฝีมือการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ ในส่วนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน อาจมีปัญหาเรื่องที่มาการสรรหาได้ดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ แม้สนช.จะได้รับหนังสือยืนยันจากศาลฎีกาว่ากระบวนการสรรหาดำเนินการอย่างถูกต้อง แต่สนช.เกรงว่าจะมีผู้ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยในภายหลัง ซึ่งจะเกิดความวุ่นวายตามมา ดังนั้น สนช.จึงอยากได้คนใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความตั้งใจที่ดีที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กกต. ชุดใหม่นี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 33 คน มีผู้ผ่านคุณสมบัติ 24 คนซึ่งได้เข้าสัมภาษณ์ และแสดงวิสัยทัศน์รายบุคคล กับคณะกรรมการสรรหา กกต
เรียบเรียงจาก: เว็บข่าวรัฐสภา ไทยรัฐออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
2 พรรคใหญ่ 3 พรรคใหม่ ร่วมอภิปราย ‘ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด’ Posted: 12 Jul 2018 05:09 AM PDT
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา WAY Dialogue ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเวทีเสวนา 'ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด' ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ในช่วงที่ 3 ของงานคือการนำเสนอนโยบายพรรคการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม โดย นิรามาน สุไลมาน พรรคอนาคตใหม่, เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ พรรคสามัญชน, สมบัติ บุญงามอนงค์ พรรคเกียน, ราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และชวลิต วิชยสุทธิ์ พรรคเพื่อไทย 'อนาคตใหม่' เสนอเปลี่ยนระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวน
นิรามาน สุไลมาน นิรามาน สุไลมาน พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า เราอยู่ในสภาวะชะงักงัน ด้านเศรษฐกิจหนักหนาที่สุด ส่วนด้านกระบวนการยุติธรรมเป็นวัฒนธรรมที่ฟังรากลึก คนในพื้นที่ส่วนกลางก็ยังถูกละเมิด แต่การละเมิดเหล่านั้นก็ยังอยู่ภายใต้การที่หลายฝ่ายช่วยกันเฝ้าระวัง แต่พี่น้องชายแดนใต้ประสบปัญหา เช่น ด้านภาษา คุยกันไม่ค่อยเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกจับกุมมีการสอบสวน หลายครั้งที่เขาตอบไม่ถูก ตอบไม่ตรงประเด็น ผู้ถือกฎหมายยังไม่เปลี่ยนทัศคติว่าตัวเองเป็นนาย ต้องอยู่ภายใต้การรักษากฎหมายของฉัน แต่ความจริงไม่ว่าท่านเป็นใครท่านมีศักดิ์ศรีเท่ากัน เรามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเปลี่ยนโครงสร้างสังคมใหม่ ให้ทุกคนเท่ากันและเคารพสิทธิของกันและกัน กระบวนการยุติธรรมไทยให้อำนาจพนักงานสอบสวนล้นฟ้า การใช้ดุลยพินิจไม่มีประเทศไหนให้อำนาจเท่าประเทศไทย ดังนั้นต้องมีกรอบในการให้เขาใช้อย่างจำกัด ถึงเวลารึยังที่จะเปลี่ยนระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวน ก่อนที่จะไปจับกุมต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน ความไม่โปร่งใสในกระบวนการมีอยู่ แต่หน่วยงานแรกที่ต้องปะทะสังสรรค์กับประชาชนคือตำรวจก็ต้องคุยกับประชาชนอย่างดีก่อนที่จะจับกุม แต่ข้อเท็จจริงคือตำรวจจะใช้พฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้จับกุม เข้าใจว่าต้องใช้วิธีการฉับพลัน แต่นั่นคือปลายเหตุ ต้นเหตุของปัญหามันคือความฟอนเฟะของสังคม มันเต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นมลพิษทางศีลธรรม อยากจะเห็นสังคมวันนี้เริ่มต้นฟื้นฟูศีลธรรมของทุกศาสนา นอกจากยืนหยัดในระบอบประชาธิปไตยต่อสู้กับระบบเผด็จการ หากท่านกุมอำนาจแล้วเอาเปรียบเขา ท่านไม่ใช่ลูกผู้ชายชาติทหาร วันนี้สังคมกำลังเรียกร้องให้ คสช. ลงจากอำนาจ คืนความสุขให้ประชาชน เลือกตั้งให้เร็วที่สุด แล้ววันนั้นประชาธิปไตยจะเบ่งบาน เงินในกระเป๋าพ่อแม่พี่น้องจะมากขึ้น ทุกพรรคการเมืองมาร่วมกันสร้างสรรค์ประชาธิปไตยเพื่อชาติพันธุ์ต่อไปครับ 'สามัญชน' ชี้ความยุติธรรมกับความเหลื่อมล้ำแปรผันตามกันเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ พรรคสามัญชน กล่าวว่า อยากจะวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา ครม. เสนอ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการยุติธรรม 10% และมีเงินเดือนย้อนหลัง 4 ปีคือตั้งแต่มีรัฐประหาร ซึ่งต้องใช้งบประมาณจ่ายเงินเดือนย้อนหลัง 450 ล้านบาท ย้อนหลังไปเมื่อเดือนมกราคม หน่วยงานด้านแรงงานของรัฐอนุมัติค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศต่ำสุด 308 บาท สูงสุด 330 บาท โดยเฉลี่ยเพิ่มเป็น 316 บาท ประเด็นอยู่ที่ ครม. อ้างว่าขึ้นเงินเดือนข้าราชการยุติธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งที่มีเงินเดือน 80,000 กว่าบาท มีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 กว่าบาท แต่อ้างเหตุผลนี้ ขณะที่กระบวนการแรงงานหลายกลุ่มเรียกร้องแทบตายหลายปีเพื่อต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างต่ำที่ 450 บาทต่อวัน เพื่อให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรมพียงพอต่อการดูแลครอบครัว จะเห็นว่าผู้ปกครองมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อผู้เป็นแรงงาน การเรียกร้องขึ้นค่าจ้างของแรงงาน ผู้ปกครองก็มีท่าทีเหยียดหยามแรงงานว่าเป็นภาระของชาติ แต่มีท่าทีอีกแบบต่อข้าราชการ ทั้งที่แรงงานคือผู้สร้างผลกำไรและความมั่งคั่งให้แก่นายจ้างและรัฐ แต่กลับไม่ได้รับผลกำไรจากความมั่งคั่งที่เกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของพวกเขาเลย นี่แหละความเหลื่อมล้ำ นโยบายแรกของสามัญชน น่าจะลดเงินเดือนข้าราชการศาล คำถามคือทำไมคนในกระบวนการยุติธรรมจึงส่วนที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้น จนทำให้กระบวนการยุติธรรมชำรุด ก็เพราะการค้าความยุติธรรมด้วยการเอาตนเองและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่ตัวเองสังกัดมาค้ำบัลลังก์รัฐประหารด้วยการไม่ตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. เพราะเหตุที่หวังมาตลอดว่าเขาจะขึ้นเงินเดือนให้แก่ตนเองเป็นเรื่องที่น่าละอายยิ่งนัก อำนาจที่มาจากรัฐประหารทำงานเองไม่ได้ถ้ามี่อำนาจตุลาการค้ำจุลอยู่ ผลที่เกิดขึ้นทำให้กระบวนการยุติธรรมละเลยการทำหน้าที่ แต่ส่งเสริมอำนาจที่มาจากรัฐประหารกระทำการลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนแทน เหตุที่บ้านเรามีทัศนคติเช่นนี้เพราะเรามีรัฐบาลที่ออกกฎหมายตามอำเภอใจ ตรวจสอบไม่ได้ กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลจากกระบวนการยุติธรรมก็ง่อยเปลี้ยไปหมดจากหลายสาเหตุ การขึ้นเงินเดือนก็คงเป็นสาเหตุหนึ่งด้วย คนพวกนี้ดูดผลกำไรและความมั่งคั่งไปจากสังคม แทนที่ประชาชนจะได้ผลประโยชน์ในรูปสวัสดิการและการบริการสาธารณะ จากผลกำไรและความมั่งคั่งที่เกิดจากรายได้และการลงแรงของแรงงาน แต่กลับต้องเก็บไว้จ่ายเงินเดือนแกคนพวกนี้ เราจึงไม่มีสวัสดิการและบริการสาธารณะที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของพวกเรา มีคนกลุ่มหนึ่งดูดผลกำไรไปจากพวกเรา เป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนกลุ่มนั้นคือคนในกระบวนการยุติธรรม ยังมีคนอีกกลุ่มที่อยู่นอกเหนือจากแรงงานในโรงงาน ขณะที่ค่าการศึกษาของลูกสูงมาก ราคาพืชผลการเกษตรกลับตกต่ำมาก และสาเหตุที่พืชผลราคาตกเนื่องจากการกักตุนสินค้าด้านพืชผลการเกษตรในโกดังของบริษัทใหญ่เพื่อรอเทขายทำกำไร เช่น โรงงานยางพาราขนาดใหญ่แถววังสะพุง กดราคายางพาราไปที่กิโลกรัมละ 18 บาท บางช่วง 15 บาท คุณภาพชีวิตตกต่ำจากที่เคยมีเงินเก็บ ก็ต้องกู้ยืมเงินในและนอกระบบมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำของราคาพืชผลก็เป็นอีกอย่างหนึ่งระหว่างอำนาจเงินมหาศาลของบริษัทกับประชาชนที่ต้องการขายผลผลิตเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ซึ่งมีรัฐเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลกลไกราคาที่ไร้ประสิทธิภาพมาก ขณะที่สถานการณ์ถือครองที่ดินมีการกระจุกตัวสูงมาก ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในการถือครองของคนส่วนน้อย ผู้คนจำนวนมากขาดแคลนที่ดินทำกิน ปี 2555 พบว่าสัดส่วนการถือครองที่ดินระหว่างผู้มีการถือครองที่ดินมากที่สุด 10% มีส่วนการถือครองที่ดิน 61% และผู้ถือครองที่ดินน้อยที่สุด 10% หลัง ห่างกันถึง 854 เท่า ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำของคนรวยที่มีโอกาสถือครองที่ดินและคนจนที่ไม่มีโอกาสถือครองที่ดินจากการบีบของนโยบายและกฎหมาย แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนานของรัฐบาลหลายสมัย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่านโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลชุดนี้มีแนวโน้มจะทำให้การถือครองที่ดินระหว่างคนรวยและคนจนถ่างกว้างขึ้นไปอีก เพราะเป็นคำสั่งที่ขับไล่คนตัวเล็กตัวน้อยให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกินในเขตป่า นอกจากนี้หลังรัฐประหาพบคดีความที่เกิดจากความขัดแย้งจากการผลักดันนโยบาย โครงการพัฒนา และกฎหมายที่ไม่เป็น สัดส่วนของรัฐฟ้องคดีความต่อประชาชนเพิ่มขึ้นด้วยกฎหมายชุมนุมและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 มีตัวอย่างคดีและการถูกข่มขู่คุกคามที่ไม่ได้เป็นคดีที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถลุกขึ้นมาชุมนุมได้จำนวนมาก ตัวอย่างคดีจากกฎหมายชุมนุมล่าสุดเดือน พ.ค. กลุ่มชาวบ้านอำเภอวานรนิวาส ร่วมกันออกมาคัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตสหลุมที่ 4 ของบริษัทจากทุนจีน จำนวน 2 คนถูกฟ้องข้อหาชุมนุมโดยไม่แจ้ง และข่มขืนใจเหมือง อีก 7 คนถูกฟ้องข้อหาข่มขืนใจเหมือง หลักฐานที่เอามาฟ้องคดีเอามาจากรูปถ่ายที่ทหารตำรวจถ่ายส่งให้กับเหมือง กฎหมายชุมนุมจึงเป็นเครื่องมือของรัฐในการฟ้องคดีกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากประชาชนธรรม และส่งเสริมผลประโยชน์ของบริษัทและขยายความมั่นคงของรัฐมากเสียจนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแทน กรณีคดีจากคำสั่ง คสช. 3/58 ปัจจุบันมีผู้ถูกฟ้องคดี 421 คน การแทรกแซงของคำสั่งดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถชุมนุมทางการเมืองหรือไม่ใช่การเมืองได้โดยง่าย กฎหมายและคำสั่งดังกล่าวได้ปิดกั้นสิทธิและการแสดงความเห็นด้วยการห้ามทำกิจกรรมเกือบทุกรูปแบบที่ ผลคือทำให้รัฐดำเนินโครงการหรือนโยบายขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไร้การตรวจสอบจากประชาชน สิ่งนี้คือความเหลื่อมล้ำอีกประการหนึ่ง สรุปก็คือความยุติธรรมกับความเหลื่อมล้ำแปรผันตามกัน บ้านเมืองใดมีความเหลื่อมล้ำสูงความชำรุดของกระบวนการยุติธรรมก็มีผลตามไปด้วย บ้านเมืองใดมีความชำรุดของกระบวนการยุติธรรมสูง ความเหลื่อมล้ำก็สูงเช่นเดียวกัน 'เกียน' โยนโจทย์ลดปัจจัยสร้างอาชญากร
สมบัติ บุญงามอนงค์ สมบัติ บุญงามอนงค์ พรรคเกียน กล่าวว่า ครั้งหนึ่งตอนตนเริ่มต้นงานพัฒนาเปนอาสาสมัคร ตนไปสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนในสลัมแห่งนึง ตนถามว่าพี่คิดว่ามีความชอบธรรมอะไรในการไปอยู่ในที่ดินเอกชนที่ไม่ใช่ที่ของพี่ เขาเล่าเรื่องนึงให้ตนฟังว่า เมื่อหลายปีก่อนเขาเป็นทหารเกณฑ์ที่ชายแดน มีจดหมายจากภรรยาของเขาซึ่งกำลังตั้งท้องลูคนที่สอง ภรรยาเขาบอกว่าบ้านที่เราอยู่กำลังจะถูกไล่ที่ เขาในฐานะสามีเกิดคำถามว่า ในขณะที่เขายืนอยู่ที่ชายแดนและถูกอธิบายว่าเขาจะป้องแผ่นดินนี้ เขาปกป้องแผ่นดินนี้ให้ใคร ในเมื่อลูกและเมียของเขาไม่มีแม้แต่แผ่นดินจะอยู่ ดังนั้นเวลาเราอธิบายตามกฎหมาย แน่นอนบุคคลเหล่านี้เป็นผู้บุกรุก แต่ถ้าถามเรื่องความยุติธรรม โดยสามัญสำนึกมันไม่ยุติธรรมเลย มันต้องกาอะไรรบางอย่างมาคลี่คลายเงื่อนไขนี้ กฎหมายจึงไม่ใช่ความยุติธรรม เรื่องที่สอง ตนไปใช้ชีวิตบนดอยอยู่ 7 ปี วันหนึ่งเด็กถามพ่อว่า นกที่บินอยู่บนสะพานเป็นนกสัญชาติไทยหรือพม่า พ่อตอบไม่ได้ เพราะมันบินข้ามไปมา ตนมีคำถามคล้ายกันตอนอยู่ที่ที่ว่าการอำเภอเชียงราย ทำไมเด็กชาวเขาที่วิ่งเล่นอยู่แถวนั้นจึงเป็นเด็กไม่มีสัญชาติ ชุดอธิบายคือเด็กคนนั้นเกิดที่ไทยแต่พ่อแม่ที่ไม่ใช่คนไทย ตนบอกว่าถ้าตนเกิดประเทสไทย พ่อแม่ตนไม่ได้เกิดไทย ทำไมตนมีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด ความต่างระหว่างพ่อตนกับพ่อของเด็กชาวเขา คือ พ่อตนพอขึ้นฝั่งก็ไปทำใบสำคัญต่างด้าวซึ่งตอนนั้นรัฐมีนโยบาย ทำให้พ่อตนมีถานะเป็นผู้เข้าเมือง แต่ขณะที่ขาวเขาไม่มีและกลายเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง กฎหมายสมมติฐานว่า ลูกของคนที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนที่มิชอบด้วยกฎหมาย เรามีปัญหาที่ข้อกฎหมายไม่ถูกสันนิษฐานไปตามข้อเท็จจริง แต่ปัจจุบันเรื่องพวกนี้ก็เริ่มคลี่คลาย แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้อพยพลี้ภัยสงครามอีกมากที่ต้องอยู่ในสถานะผู้หลบหนีเข้าเมือง และเขาหลี้ภัยความตายมา เช่น คนโรฮิงญา คนซีเรีย คนพวกนี้อยูในซอกหลีบทอับที่เรามองไม่เห็น ข้อเสนอว่าเราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร กระบวนการยุติธรรมเรามักจะพูดช่วงกลางและท้าย ไม่ได้ดูที่ต้นเหตุ กรมราชทัณฑ์บอกว่ามีคนในคุก 300,000 กว่าคน แต่ศักยภาพคุกไทยรับได้ 100,000 กว่าคน สองในสามถูกคดียาเสพติด เราต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นว่าอะไรที่ผลิตคนเหล่านี้ ย้อนไปที่เรื่องผู้อพยพ ฝ่ายความมั่นคงมองว่าเป็นปัญหาหากเปิดกว้างให้แก่ผู้อพยพเข้ามามากๆ แต่ตนอธิบายว่า คนที่ตนสัมภาษณ์ซึ่งเป็นคนขนยาให้หว้าแดง เขาเป็นชาวเขาและเป็นเด็กกำหร้า เขียนไม่ด่านไม่ออก คนที่ไม่ได้รับการพัฒนาและถูกปิดกั้น โดยที่คุณเองก็ผลักเขาออกไปนอกประเทศไม่ได้ คนพวกนี้จะเป็นภัยของคุณในอนาคต คุณต้องให้สัญชาติเด็กที่คุณไม่มีปัญญาผลักคนพวกนี้ออกไป ดังนั้นรัฐไทยต้องให้โอกาสในการพัฒนาเขา 10 กว่าปีผ่านไปพอเขาได้สัญชาติเขาทำงานเรื่องเป็นราว เป็นบุคคลมีคุณภาพของสังคมได้ มีสองคนทำงานกับตนอยู่ ทำอย่างไรจะทำให้ปัจจัยที่สร้างอาชญากรลดลง อาชญากรไม่ได้มาจากขุมนรก แต่มาจากสภาพการณ์ทางสังคม เป็นผลผลิตจากสังคมแท้ๆ เราละเลยที่จะพูดถึงรากของปัญหาจริงๆ มีคนเสนอให้สอนเรื่องศีลธรรม ตนเห็นด้วย เพียงแต่ต้องเป็นการสอนศีลธรรมที่ทันสมัย ตนเห็นด้วยกับการเรียนปรัชญา หรือการเรียนแบบ critical thinking ตั้งแต่ชั้นประถม เช่นที่บ้านกาญจนา เขาเอาข่าวมาให้เด็กอภิปรายกัน เกิดการเรียนรู้ รู้จักคุณค่าของชีวิต ถ้ามนุษย์ไม่เข้าใจชีวิต ไม่เข้าใจคุณค่ามนุษย์ มันง่ายมากที่จะประกอบอาชญากรรม 'ปชป.' ปฏิรูปตำรวจ - ยกสถานะ ส.นิติวิทยาศาสตร์เป็นองค์กรอิสระ - E-Justice
ราเมศ รัตนะเชวง ราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายเรื่องกระบวนการยุติธรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำนอกจากเกิดจากกฎหมาย เจ้าหน้าที่ในกระบวนการก็มีส่วนเกี่ยวข้องมาก การบังคับใช้กฎหมาย การมองประชาชนด้วยสายตาไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ เหตุผลเพราะประชาชนใส่เสื้อผ้าไม่ดี เอาฐานะของประชาชนมาเลือกปฏิบัติ พรรคจะกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปให้ได้ ปัญหาเรื่องการประมง ได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมาย คสช. ถ้าหากมีการเลือกตั้ง กฎหมายเหล่านี้พรรคจะสังคายนาให้หมด มีประเด็นน่าสนใจคือ ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายกับสังคมไม่มี ไม่มีการรับฟังความเห็นของประชาชน พรรคจะมีนโยบายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย โดยการเสนอกฎหมายเพิ่มเติมให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการร่างกฎหมายทุกฉบับ นโยบายอีกอย่างคือ จะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีความไม่เป็นธรรมกับประชาชน เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ เช่น ประชาชนเดือดร้อนจากเกษตรจะออกมาเรียกร้อง ก็ควรได้รับสิทธิ รัฐบาล คสช. บอกว่าจะแก้ไขเรื่องการทุจริต แต่รัฐบาลชุดนี้ทำสวนทางกันหมดทุกกรณี คุณออกกฎหมายมากี่ฉบับที่ลิดรอนการตรวจสอบการป้องกันการทุจริต เมื่อประชาธิปัตย์เข้าไปในสภารอบหน้าเราจะแก้ พ.ร.บ. ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ให้มีการปกปิด เปิดให้มีการตรวจสอบ ประเด็นถัดมาเรื่ององค์กรกระบวนการยุติธรรม เราจะให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน เราจะปฏิรูปองค์กรตำรวจอย่างแน่นอน แต่ก็ต้องยอมรับว่าตำรวจที่ดีก็มี นโยบายแยกการสอบสวนออกจาก สน.ตำรวจแห่งชาติเพื่อให้เป็นอิสระ แยกระบบปฏิบัติงานความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะมีนโยบายให้ทุกสถานีตำรวจประกาศผลงานเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบถ่วงดุล และมีนโยบายออกกฎหมายแยกว่าเมื่อประชาชนร้องทุกข์ต้องรับเป็นเลขคดี และประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะต้องแจ้งรายละเอียดชัดเจน เหตุผลเพราะประชาชนจะได้ใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นแสดงหลักฐานยืนยันได้ และชั้นพนักงานสอบสวนไปจนถึงกระบวนการศาลจะต้องบันทึกภาพและเสียงครบถ้วน สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ คดีล่าสุดที่ตัดสินประหารชีวิตไม่มีหลักฐานของนิติวิทยาศาสตร์เลย ดังนั้นต้องอออกกฎหมายยกสถานะนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นองค์กรอิสระ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การแจ้งความดำเนินคดี ควรมีอัยการเข้ามาถ่วงดุล และจะออกนโยบายหากตำรวจแจ้งความกับประชาชน ตำรวจคู่กรณีไม่มีหน้าที่สอบสวนคดีนี้ ส่วนในขั้นตอนอัยการต้องมีระเบียบชัดเจนเปิดเผยคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องให้ประชาชนทราบ และที่สำคัญพรรคมีนโยบายการชะลอฟ้องในคดีลหุโทษ อัยการต้องกลั่นกรองข้อหาและการออกหมายจับ คนที่ถูกคดีและอยู่ในคุกจะต้องมีระยะเวลากำหนดชัดเจนในการดำเนินคดีให้เสร็จ และสุดท้ายประชาชนยื่นฟ้องทางอินเตอร์เน็ตได้ ประชาธิปัตย์จะมีนโยบาย E-Justice เพื่อลดต้นทุนให้แก่ประชาชน 'เพื่อไทย' ชี้คำสั่ง คสช. ขัดหลักนิติธรรมตอกย้ำยุติธรรมชำรุด
ชวลิต วิชยสุทธิ์ ชวลิต วิชยสุทธิ์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า 4 ปีนี้ประชาชนจนลง หนี้สินเพิ่ม ร้านค้าทยอยปิด จีดีพีที่เพิ่มขึ้นเพิ่มแค่ข้างบนไม่กี่บริษัท นี่คือความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการรัฐประหารซึ่งมีมาต่อเนื่อง ทำอย่างไรจะหมดไป พ.ร.ก. พรรคการเมือง มีผลบังคับใช้แล้ว แต่กลับมีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60 มาทับ ทำให้สมาชิกของพรรคการเมืองแต่ละพรรคต้องมายืนยันตัวตน ส่งผลให้สมาชิกพรรคและสาขาพรรคบางแห่งหายไปโดยปริยาย พรคคประชาธิปัตย์สมาชิกหายไปเป็นล้าน สาขาพรรคหายไปเป็นร้อย จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข เมื่อคำสั่งถือเป็นกฎหมาย หลักนิติธรรมบอกว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไปถึงโทษแก่บุคคล แต่อันนี้เป็นโทษ สมาชิกหาย สาขาพรรคหาย ขัดหลักนิติธรรม นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ชำรุดหรือไม่ รัฐบาลชุดนี้อยู่มา 4 ปี ทุกปีเพื่อไทยจะต้องวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในรอบปี ทำเป็นปกติ ไม่เคยถูกดำเนินการอะไร พอครบ 4 ปี พรรคเพื่อไทยตั้งโต๊ะวิจารณ์ผลงานรัฐบาล เพราะในสภาไม่ได้ตรวจสอบอะไรเลย มีแค่การยกมืออย่างเดียว พิจารณางบประมาณผ่านไปโดยรวดเร็วทั้งที่เป็นเงินภาษีอากรของประชาชนและเรามีสิทธิตรวจสอบ ปีนี้ทางพรรคเตรียมการวิจารณ์โดยใช้สมาชิก 8 คน 3 คนโดนข้อหามาตรา 116 และคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน และอีก 5 คนก็โดนข้อหาห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ขณะที่ 'สามมิตร' พลังดูด ไปตามจังหวัดเป้าหมายอย่างเปิดเผย แจ้งทีวีก่อนด้วย เกินห้าคนแน่นอน ให้ข่าวว่าไปเจรจาการเมือง แต่ไม่โดนข้อหาอะไรเลย อย่างนี้กระบวนการยุติธรรมชำรุดไหมครับ ยังมีเรื่องแบบนี้อีกมาก ยกตัวอย่างทีมฟุตบอลหมูป่า ทำไมเขาได้รับความสนใจ ความเอื้ออาทร เมตตาสงสาร มนุษยธรรม แต่นี่คนไทยทุกคนประสบกับตัวเอง อยากให้ครั้งนี้มันถล่มทลายเลยได้ไหม เหมือนกับอองซานซูจี ตนไม่ได้บอกว่าให้มาเลือกพรรคเพื่อไทย แต่อยากให้ทุกคนดูพรรคที่อยู่ในแนวทางประชาธิปไตย ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กวีประชาไท: สรุปบทเรียน การผจญภัย Posted: 12 Jul 2018 04:05 AM PDT
โถอยู่เนินนมสาวหนาวกระหน่ำ กินแต่น้ำฝนฝอยหยดย้อยมา ขวัญเอ้ยขวัญหายเดนตายแล้ว เกิดใหม่แถวถ้ำหลวงหายห่วงหา ปรากฏการณ์ฐานคิดพิจารณา ได้รู้ว่าประชาทั้งหล้ามาห่วงใย
ถ้ำเป็นครูหนูเอ๋ยเผยเภทภัย ความยิ่งใหญพบในถ้ำ น้ำใจคน มีเด็ก ๆ อีกมากมายไม่โชคดี ถ้ำกาลีขังพี่น้องยังหมองหม่น เด็กอาภัพอีกมากฐานะยากจน มากมายทนประเทศเขตสงคราม
ข้ามน้ำข้ามทะเลไปบ้างไม่ข้าม พบร่างตามชายหาดขาดหายใจ ถ้ำกว้างมีแดดฉายชายหาดสวย มีคนรวยคนจนชั้นชนใหญ่ เผด็จการขยี้เสรีประชาธิปไตย อยู่เป็นไหมใต้ตะวันอันมืดมน
ระบอบถ้ำยุทธศาสตร์ทางชาติชน 20 ปี จะวกวนไปหนใด ไปไม่พ้นเผด็จการสันดานบิด เพราะเริ่มติดกระดุมผิดติดเม็ดใหญ่ รุ่นพ่อแม่ยังยักแย่ยักยันไป ผจญภัยอีกไกลไอ้หนูเดี๋ยวรู้เอง
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด Posted: 12 Jul 2018 03:58 AM PDT
สัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง ครม. มีมติเสนอร่างกฎหมาย 5 ฉบับ แก่ สนช. เพื่อขึ้นเงินเดือน 10% ให้ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม เช่น ประธานศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญที่ปัจจุบันรับเงินเดือน 75,590 บาท บวกเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท จะได้รับเงินเดือนอัตราใหม่ 83,090 บาท บวกเงินประจำตำแหน่งอัตราใหม่ 55,000 บาท เป็นต้น และยังได้เงินเดือนย้อนหลังอีกสี่ปี ตั้งแต่ปีที่เกิดรัฐประหาร ซึ่งต้องใช้งบประมาณสำหรับจ่ายเงินเดือนย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 450 ล้านบาท ย้อนหลังกลับไปในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านแรงงานของรัฐอนุมัติค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศต่ำสุดที่ 308 บาท/วัน สูงสุดที่ 330 บาท/วัน จากเดิมวันละ 300 บาท โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16 บาท/วัน ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่โดยเฉลี่ยเปลี่ยนเป็น 316 บาท/วัน หรือประมาณ 9,480 บาท/เดือน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การเปรียบเทียบตัวเลข แต่อยู่ที่เหตุผลของการขึ้นเงินเดือนที่ ครม. อ้างว่า "เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น" ย้อนหลังไปในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมารัฐบาลสฤษดิ์น้อยใช้คำที่ชัดเจนกว่านี้ว่า "เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ" เมื่อครั้งที่ ครม. มีมติในเรื่องเดียวกันนี้ คนมีเงินเดือนสูงอยู่แล้วที่ 75,000 กว่าบาท บวกกับเงินประจำตำแหน่งอีก 50,000 บาท/เดือน แต่อ้างเหตุผลดังกล่าว ขณะที่ขบวนการแรงงานหลายกลุ่มเรียกร้องแทบตายมาหลายปีเพื่อต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น "ค่าจ้างเพื่อชีวิต" ในอัตราอย่างต่ำที่ 450 บาท/วัน เพื่อให้เกิดค่าจ้างที่เป็นธรรม คุ้มครองคนทำงานและเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีกสองคน-รวมเป็นสามคนพ่อแม่ลูก แต่นี่ขึ้นมา 16 บาท/วัน 480 บาท/เดือน ต่างกันลิบลับกับเงินเดือนของข้าราชการในกระบวนการยุติธรรมที่สามารถนำมาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้เป็น 10 คน มีเงินเอาไปตีกอล์ฟและมัวเมาในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสบาย จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อประชาชนที่เป็นแรงงาน การเรียกร้องขึ้นเงินเดือนและค่าครองชีพแต่ละครั้งของขบวนการแรงงานก็มักมีท่าทีเหยียดหยามคนงานว่าเป็นภาระของชาติ ต้องคอยหางานให้ แล้วยังจะมาเรียกร้องนู่นนี่ ให้แค่นี้ก็บุญแล้วจะเอาอะไรอีก แต่มีท่าทีอีกแบบต่อข้าราชการในกระบวนการยุติธรรมด้วยการเอาเงินเดือนไปประเคนให้ ทั้ง ๆ ที่แรงงานคือผู้สร้างผลกำไรและความมั่งคั่งให้แก่นายจ้างและรัฐ แต่กลับไม่ได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรและความมั่งคั่งที่เกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของพวกเขาเลย นี่แหละความเหลื่อมล้ำคำถามกวนใจก็คือว่าทำไมคนในกระบวนการยุติธรรมจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นจนทำให้กระบวนการยุติธรรมชำรุดได้ในสังคม ? ตอบแบบกวนใจก็คือ การค้าความยุติธรรมด้วยการนำตัวเองและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่ตัวเองสังกัดมาค้ำบัลลังก์รัฐประหารด้วยการไม่ตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. เพราะเหตุที่หวังมาตลอดว่าเขาจะขึ้นเงินเดือนให้แก่ตนเป็นเรื่องที่น่าละอายยิ่งนัก อำนาจที่ได้มาจากรัฐประหารมันทำงานเองไม่ได้หรอกถ้าไม่มีอำนาจตุลาการถือหางหรือค้ำจุนอยู่ ผลที่เกิดขึ้นมันทำให้กระบวนการยุติธรรมละเลยการทำหน้าที่สร้างกระบวนการยุติธรรมให้เกิดสันติสุขแก่สังคม แต่กลับส่งเสริมและสนับสนุนอำนาจที่ได้มาจากรัฐประหารกระทำการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแทน เหตุที่บ้านเมืองเราดำรงทัศนคติเช่นนี้ก็เพราะว่าเรามีรัฐบาลที่ออกกฎหมายและนโยบายตามอำเภอใจ ตรวจสอบไม่ได้ กลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลย์ที่หวังพึ่งได้จากกระบวนการยุติธรรมก็ง่อยเปลี้ยไปหมดจากหลายสาเหตุ ซึ่งมีการขึ้นเงินเดือนเป็นสาเหตุหนึ่ง คนพวกนี้ดูดผลกำไรและความมั่งคั่งไปจากสังคม แทนที่ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมจะได้รับประโยชน์ในรูปของสวัสดิการและบริการสาธารณะจากผลกำไรและความมั่งคั่งที่เกิดจากรายได้และการลงทุนที่แรงงานได้ลงแรงไป แต่กลับต้องเอาเก็บไว้จ่ายเงินเดือนแก่คนพวกนี้ จึงทำให้เราในฐานะประชาชนไม่มีสวัสดิการและบริการสาธารณะที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของพวกเรา มีคนกลุ่มหนึ่งดูดผลกำไรและความมั่งคั่งของสังคมไปจากพวกเรา และเป็นเรื่องโคตรเศร้าที่คนเหล่านั้นคือคนในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช้สติปัญญา ความสามารถและความรู้ของตนสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำให้แก่สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความยุติธรรมประเภทหนึ่ง ยังมีคนหาเช้ากินค่ำนอกบริบทของแรงงานในโรงงานที่ชีวิตประจำวันหาอยู่หากินได้ยากขึ้น กว่าจะหาเงินได้ 100, 200 บาทแต่ละวันแทบกระอักเลือด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกสูงมาก แต่ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำลงมากแทบทุกชนิด ทั้งข้าว อ้อย ข้าวโพด กระเทียม มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ สาเหตุก็เพราะมีการกักตุนสินค้าจำนวนมหาศาลอยู่ในโกดังบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพืชผลการเกษตรเพื่อรอเทขายทำกำไร เช่น โรงงานแปรรูปยางพาราขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย กดราคารับซื้อยางพาราชนิดก้อนถ้วยที่ 17, 18 บาท/กิโลกรัม บางวันรับซื้อ 17 บาท บางวันรับซื้อ 18 บาท บางช่วงเวลาถูกกดต่ำสุดที่ 15 บาท/กิโลกรัมก็มี คุณภาพชีวิตของประชาชนที่นั่นตกต่ำลงมากจากที่เคยมีเงินเก็บสำหรับการศึกษาของลูก มีเงินจ่ายสำหรับซ่อมแซมบ้านเรือน ค่าอาหาร ค่าข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ค่าผ่อนรถ ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่และญาติสนิท ค่านมลูก ค่าโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เดี๋ยวนี้ต้องกู้ยืมเพื่อนบ้านและเงินกู้ในและนอกระบบมากขึ้น ความยุติธรรมด้านราคาผลผลิตก็เป็นความเหลื่อมล้ำอีกประเภทหนึ่งระหว่างอำนาจเงินมหาศาลของบริษัทกับประชาชนที่ต้องการขายผลผลิตเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ซึ่งมีรัฐเป็นผู้ควบคุม กำกับและดูแลกลไกด้านราคาที่ไร้ประสิทธิภาพเสียจนเอนเอียงเข้าข้างบริษัท ในขณะที่สถานการณ์การถือครองที่ดินในบ้านเมืองเราพบว่ามีการกระจุกตัวสูง ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของคนส่วนน้อย ทำให้ผู้คนจำนวนมากขาดแคลนที่ดินทำกิน ตัวเลขปี 2555 พบว่าสัดส่วนการถือครองที่ดินในกลุ่มผู้ถือครองท่ีดินร้อยละ 10 ที่มีการถือครองที่ดินมากที่สุดต่อกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 10 ที่มีการถือครองที่ดินน้อยที่สุดห่างกัน 854 เท่า โดยกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 10 ท่ีมีการถือครองท่ีดินมากที่สุดมีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินร้อยละ 61 ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ถือครองที่ดินอีกร้อยละ 90 ที่เหลือ ที่มีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินเพียงร้อยละ 39[[1]] ขอยกตัวอย่างให้เห็นรูปธรรมเชิงเปรียบเทียบ ถ้้าผู้เขียนอยู่ในกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 10 ที่มีการถือครองที่ดินน้อยที่สุด มีที่ดินทำกิน 1 ไร่ ส่วนผู้อ่านเป็น Elite หรือเป็นผู้ร่ำรวยสูงมากที่อยู่ในกลุ่มผู้ถือครองที่ดินร้อยละ 10 ที่มีการถือครองที่ดินมากที่สุด ผู้อ่านจะมีที่ดินไม่น้อยกว่า 854 ไร่ ไว้ในครอบครอง ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างการถือครองที่ดินของคนรวยที่มีโอกาสได้สิทธิการถือครองที่ดินมากกว่าคนจนที่ถูกบีบจากนโยบายและกฎหมายไม่ให้เป็นผู้มีสิทธิถือครองที่ดินได้ เมื่อไม่มีสิทธิถือครองที่ดินก็ไม่มีหลักทรัพย์เอาไปกู้หนี้ยืมสินจากสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธกส. เพื่อนำไปซื้อหาปัจจัยการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและครอบครัวให้ดีขึ้นได้ แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนานจากรัฐบาลหลายสมัย แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่านโยบายทวงคืนผืนป่าตามคำสั่ง คสช. ที่ 64/57[[2]] และ 66/57[[3]] ของรัฐบาลนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดินระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างกว้างขึ้นไปอีก เพราะเป็นคำสั่งที่ขับไล่ประชาชนคนเล็กคนน้อยในสังคมให้ต้องสูญเสียสิทธิการถือครองที่ดินทำกินโดยชอบธรรมในเขตป่าไปเสีย เรากำลังมีชีวิตอยู่ในท่ามกลางยุคสมัยของ "รัฐตามอำเภอใจ ไร้การตรวจสอบ" ที่บีบประชาชนทุกช่องทางให้สูญเสียสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ไม่เว้นแม้แต่สิทธิและเสรีภาพในการพูด แสดงความคิดเห็นและการชุมนุมที่มีไว้เพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจรัฐ หลังรัฐประหาร 2557 พบปริมาณคดีความที่เกิดจากความขัดแย้งจากการผลัักดันนโยบาย โครงการพัฒนาและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้นมาก ก่อนหน้ารัฐประหารพบความขัดแย้งที่บริษัทฟ้องคดีความต่อประชาชนโดยตรง แต่หลังรัฐประหารสัดส่วนของคดีความที่เพ่ิมขึ้นเป็นส่วนของรัฐฟ้องคดีต่อประชาชนโดยตรงด้วยกฎหมายชุมนุมฯ[[4]]และคำสั่งที่ 3/58[[5]] ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำการข่มขู่คุกคามต่อประชาชนให้หนักข้อยิ่งขึ้น มีตัวอย่างคดีและการถูกข่มขู่คุกคามที่ไม่เป็นคดีจำนวนมากจนทำให้ประชาชนไม่สามารถลุกขึ้นมาทำการชุมนุมได้ ขอหยิบยกมาตัวอย่างหนึ่งที่เป็นกรณีคดีจากกฎหมายชุมนุมฯล่าสุด ชาวบ้านกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสที่รวมตัวกันออกมาคัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตชหลุมที่สี่ของบริษัทจากทุนจีนช่วงระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา จำนวน 2 คน ถูกฟ้องในข้อหาชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมงและ "ข่มขืนใจเหมือง" อีก 7 คน ถูกฟ้องในข้อหาข่มขืนใจเหมือง หลักฐานท่ี่นำมาฟ้องคดีก็คือรูปถ่ายที่ตำรวจกับทหารถ่ายส่งให้กับเหมือง จะเห็นได้ว่าในทางปฎิบัติกฎหมายชุมนุมฯไม่ได้มุ่งคุ้มครองและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมตามที่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมายเลย เพราะถ้ามุ่งคุ้มครองและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมจริง คงไม่มีผู้ชุมนุมรายใดต้องถูกฟ้องคดีจากรัฐเช่นนี้ กฎหมายดังกล่าวจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการฟ้องคดีกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากประชาชนให้กลัว แทนที่จะเป็นกฎหมายที่คุ้มครอง อำนวยความสะดวก ส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน กลับเป็นกฎหมายที่มีไว้ใช้เพื่อคุ้มครอง อำนวยความสะดวก ส่งเสริมและสนับสนุนแก่ผลประโยชน์ของบริษัท และขยายความมั่นคงของรัฐมากเสียจนไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแทน กรณีคดีจากคำสั่งที่ 3/58 ปัจจุบันมีผู้ถูกฟ้องคดีไปแล้ว 421 คน ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งที่หน้ามาบุญครอง หรือ #MBK39 ที่ถนนราชดำเนิน หรือ #RDN50 ที่พัทยา ที่เชียงใหม่ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก หรือ #ARMY57 การชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในวันครบรอบสี่ปีรัฐประหาร หรือ #UN62 และการเดินมิตรภาพ หรือ "We Walk เดินมิตรภาพ" จากกรุงเทพฯไปจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น[[6]] การแทรกแซงของคำสั่งดังกล่าวด้วยอำนาจตามอำเภอใจของรัฐส่งผลให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถทำการ "ชุมนุมการเมือง" และ "ชุมนุมไม่การเมือง" ได้โดยง่าย การชุมนุมทุกอย่างตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปจะถูกตีความว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองไว้ก่อน เพื่อที่จะทำให้ประชาชนกลัวจนไม่สามารถจัดการชุมนุมขึ้นมาได้ แต่ถ้ายังดื้อรั้นหาช่องทางก่อการชุมนุมขึ้นมาได้ก็จะใช้การฟ้องคดีมากำราบแทน กฎหมายและคำสั่งดังกล่าวได้ปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุมและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการห้ามทำกิจกรรมเกือบทุกรูปแบบที่เป็นการรวมตัวกัน เพราะจะถูกตีความว่าเข้าข่ายการชุมนุมที่บังคับให้ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน ถ้าชุมนุมโดยไม่แจ้งก็มีความผิด ซึ่งตามหลักการแล้วเพียงแค่แจ้งให้ทราบ แต่กลับกลายเป็นว่าต้องแจ้งเพื่อขออนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่อนุญาต หรือถ้าอนุญาตก็จะมีเงื่อนไขหยุมหยิมเต็มไปหมดจนทำให้การชุมนุมไม่มีพลังกดดันและต่อรองกับบริษัทและรัฐได้ ผลของการฟ้องคดีกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากด้วยอำนาจของกฎหมายและคำสั่งดังกล่าว ทำให้รัฐเดินหน้าโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและมากขึ้นโดยไร้การตรวจสอบและตั้งคำถามจากประชาชน สิ่งนี้ก็คือความเหลื่อมล้ำอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากบริษัทไม่สามารถถูกฟ้องคดีกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากได้ เพราะพวกเขาใช้เงินและทรัพย์สินที่มี "ปิดปากรัฐ" ให้เข้าข้างตนเองแทน แต่ประชาชนสามารถถูกฟ้องคดีกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากได้จากอำนาจเงินและอำนาจรัฐที่ผสมพันธุ์กัน ในกรณีที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าความยุติธรรมกับความเหลื่อมล้ำมักแปรผันตามกัน กล่าวคือ ความยุติธรรมที่ชำรุดมาพร้อม ๆ กับความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น หรือเป็นเพราะมีความเหลื่อมล้ำความยุติธรรมจึงชำรุดตามไปด้วย หรือบ้านเมืองใดมีความเหลื่อมล้ำสูงความชำรุดของกระบวนการยุติธรรมก็สูงตามไปด้วย บ้านเมืองใดมีความชำรุดของกระบวนการยุติธรรมสูงความเหลื่อมล้ำก็สูงเช่นเดียวกัน นี่แหละบ้านเมืองเรา
เชิงอรรถ [[1]] ดูรายละเอียดได้ที่ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2558. สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. หน้า 2-17 เข้าถึงข้อมูลออนไลน์ (เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ได้ที่ http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6363 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2561 [[2]] คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ [[3]] คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน [[4]] พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 [[5]] คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ [[6]] ดูรายละเอียดได้ที่ รายงานการตั้งข้อหาทางการเมืองหลังรัฐประหาร 2557. เอกสารออนไลน์ของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw เข้าถึงข้อมูลได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/politically-charged เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561
หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้พัฒนาขึ้นมาจากเนื้อหาที่ใช้พูดของผู้เขียนในเวที 'WAY dialogue: ประเทศเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรมชำรุด' เมื่อวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา ชั้น 7 ห้อง 701 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้เขียนถูกรับเชิญให้ไปพูดในนามตัวแทนของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคสามัญชนในหัวข้อ 'นโยบายพรรคการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม' อนึ่ง ผู้เขียนไม่ได้ทำการขออนุญาตจากผู้จัดเวทีโดยตรงหรืออย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้ชื่อเวทีมาเป็นชื่อบทความ จึงขออนุญาตไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จับนายกเทศมนตรีเผาศาลากลางขอนแก่น ขัง 8 เดือนไม่ได้ประกัน เจ้าตัวยันนำรถดับเพลิงไปควบคุมเพลิง Posted: 12 Jul 2018 03:41 AM PDT พยานเป็นผู้สื่อข่าวผู้จัดการชี้ตัวตามภาพถ่ายระบุ เห็นใช้โทรศัพท์มือถือและชี้มือมีลักษณะสั่งการ จำเลยยืนยันนำรถดับเพลิงและเรียกลูกบ้านไปเพื่อระงับเหตุ หลังเกิดเหตุไม่ได้หลบหนีไปไหนจนถูกจับ ยื่นประกัน 3 ครั้ง หลักทรัพย์ห้าล้าน ศาลไม่อนุมัติอ้างเกรงหลบหนี (เมื่อวานนี้) 11 กรกฎาคม 2561 เวลาประมาณ 09.30 น. ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ชั้น 2 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้มีนัดสืบพยานโจทก์คดีเผาศาลากลาง จ.ขอนแก่น โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ในช่วงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่บริเวณแยกราชประสงค์ ชารี พานสายตา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 โดยถูกกรมสืบสวนคดีพิเศษ DSI แจ้งข้อหาว่าได้กระทำความผิดร่วมกันวางเพลิงเผาศาลากลางจังหวัดในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม 2553 อัยการได้ทำการส่งฟ้องศาลเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561 โดยหลังการถูกจับกุมที่ที่พักจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 8 เดือน นายชารีได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวแล้ถึง 3 ครั้ง โดยใช้หลักทรัพย์วงเงินห้าล้านบาท แต่ศาลยกคำร้องไม่ให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่าคดีร้ายแรงเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“ยุติธรรมไทยวิบัติ กฎหมายไทยวิปลาส” ฟังวงสนทนาของเหล่านักกฎหมาย Posted: 12 Jul 2018 03:41 AM PDT ทนาย EnLaw ชี้ ต้องมีพหุกฎหมายที่เอื้อให้เกิดสิทธิชุมชน กฎหมายต้องเปิดช่องให้ตรวจสอบแสดงความเห็น อดีตผู้กำกับ สภ. เผยยุติธรรมไทยวิบัติ ตำรวจจับคนบริสุทธิ์ต้องทำให้กลายเป็นคนผิด ไม่งั้นผิด ม. 157 ด้านอัยการชี้กฎหมายไทยวิปลาส ไม่ตามหลักสากล ใน ตปท. อัยการตัดสินว่าจะแจ้งข้อหาหรือไม่ ถ้าพิสูจน์ว่าไม่ผิดก็ปล่อยและไม่โดนมาตรา 157 11 ก.ค. 2561 WAY Dialogue ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดเสวนา "ประเทศเหลื่อมล้ำความยุติธรรมชำรุด" ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา ประกอบด้วย พ.ต.อ.วิรุตน์ ศิริสวัสดิบุตร อดีต ผกก.สภ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี คอลัมนิสต์ ผู้เขียนหนังสือวิกฤตตำรวจและงานสอบสวนจุดดับกระบวนการยุติธรรม, สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และน้ำแท้ มีบุญสร้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อ "เราเห็นอะไรในกระบวนการยุติธรรม" โดยจักรชัย โฉมทองดี เป็นผู้ดำเนินการเสวนา จากซ้ายไปขวา สุรชัย ตรงงาม, น้ำแท้ มีบุญสร้าง, พ.ต.อ.วิรุตน์ ศิริสวัสดิบุตร, จักรชัย โฉมทองดี ต้องมีพหุกฎหมายเอื้อให้เกิดสิทธิชุมชน และเปิดช่องให้ตรวจสอบแสดงความเห็น
สุรชัย กล่าวว่า กลไกการผูกขาดใดๆ ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่เป็นธรรม ถ้าความยุติธรรมทางอาญาไม่มีการตรวจสอบของหลายๆ หน่วยงานก็กลายเป็นปัญหาได้ ถ้าถามในมุมมองของคนที่ทำเรื่องสิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น กรณีของชาวประมงที่ใช้เครื่องมือทำมาหากินที่ชื่อว่าโพงพางนั้น รัฐบอกว่าเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย แต่ตอนนี้ประเทศไทยมักมองกฎหมายเป็นเนื้อเดียวกันหมดทุกพื้นที่ จริงๆแล้วชาวบ้านมีสิทธิจะพูดว่ากฎหมายที่บอกว่าผิดนั้นแต่ในพื้นที่ของชาวบ้านมันมีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่ไม่มีช่องทางที่จะให้เขาไปแสดงความคิดเห็นหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้เลย กลับบอกว่ากฎหมายก็คือกฎหมายแล้วเอามาวาง ในกรณีนี้มองว่าเราไม่เคยยอมรับกฎหมายที่เป็นพหุ ที่เป็นกฎเกณฑ์ของชุมชนหรือสิทธิชุมชนต่างๆ รวมถึงในกรณีของขยะปนเปื้อนซึ่งอยู่ดีๆ ขยะมาอยู่ในนาข้าวของชาวบ้านได้อย่างไร แปลว่าเมื่อมีของอันตรายขนาดนั้นอยู่ในชุมชนแล้ว ชาวบ้านก็ไม่มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นว่าการพัฒนาในชุมชนเขานั้นเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นผลกระทบ ถ้าในกรณีนี้ถ้าชาวบ้านเกิดสงสัยแล้วสามารถไปตรวจสอบได้ที่ไหน จริงๆ เรามีหลักกฎหมายข้อมูลข่าวสาร มีคดีหนึ่งที่ไปฟ้องศาลแต่ก็ไม่ไปถึงไหน ไม่มีหลักประกันเลยว่ามีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมเพราะกฎหมายไม่เปิดช่อง หรือเปิดโอกาสที่จะให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงตรงนั้น ต้องรอให้ประชาชนตื่นตัวขอให้สื่อลงไปทำ ไปขอให้สภาทนายความช่วยจึงจะนำไปสู่การฟ้องร้องคดี กลไกแบบนี้ไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้เลยว่าจะมีหลักประกันในการดูแลทรัพยากร อย่างกรณีของชาวบ้านสกลนครไปร้องเรียนกับ อบต. ว่ามีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ไปกระทบกับที่ดินสาธารณะประโยชน์ ทั้งๆ ที่แค่ไปร้องเรียนแต่กลับโดนฟ้องได้ เหมือนกับการฟ้องเพื่อปิดปากไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักให้ได้รับผลจากการดำเนินคดีโดยตรงแต่ว่าเพื่อให้ไม่เกิดการเป็นภาระและไม่ให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ กรณีแบบนี้แสดงให้เห็นว่ากลไกไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอให้คนไปใช้สิทธิ ซึ่งนอกจากคุกจะมีไว้ขังคนจนแล้วยังมีไว้ขังคนที่มีปากมีเสียงอีกด้วย ยุติธรรมไทยวิบัติ ตำรวจจับคนบริสุทธิ์ต้องทำให้ผิด ไม่งั้นผิด ม. 157
วิรุตน์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มองว่าความยุติธรรมของไทยชำรุดแต่ตนมองว่าเข้าขั้นวิบัติและได้สร้างความเสียหายมายาวนานมาก บ่อยครั้งคนทำความผิดที่รวยๆ ไม่ได้รับโทษ แต่ผู้บริสุทธิ์หรือคนจนกลับถูกดำเนินคดี ศาลที่เป็นหลักประกันขั้นสุดท้ายว่าผู้บริสุทธิ์จะไม่ถูกลงโทษนั้นก็ยังไม่แน่นอน บางกรณีมีคนเป็นแพะตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนตัดสินคดีก็ยังมีคนบอกว่าเป็นแพะอยู่ มีคนยื่นขอให้รื้อฟื้นคดีอาญายุติธรรมใหม่หลายรายแต่ก็ไม่เคยสำเร็จ นั่นสะท้อนว่ามีความจริง 50% แต่ที่เหลือคือเรื่องหลอกซึ่งนี่คือปรากฏการณ์ของปัญหา ความเหลื่อมล้ำในความคิดของตนนั้นมีทุกมิติโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยเป็นอันดับ 3 ของโลกเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาทางโครงสร้างสังคม แต่อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายไม่ควรจะมีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญเขียนว่าบุคคลย่อมเสมอภาคกันโดยกฎหมาย นี่คืออุดมคติหลังจากที่เรามีรัฐธรรมนูญ แต่สมัยก่อนที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญก็ต้องยอมรับความไม่เท่าเทียมในทางกฎหมาย จนมีคำพูดว่า "นิสัยไมตรีไม่ถึงประชา อาญาไม่ถึงคนชั้นสูง" แต่ในยุคหลังๆ จะได้ยินว่า "คุกมีไว้ขังคนจน" ปัญหาของประเทศเรามีข้าราชการที่ทุจริตมากมายแต่ไม่เคยมีใครถูกดำเนินคดีจนติดคุกหรือมีแต่น้อยมาก แตกต่างจากประเทศจีนที่เขาตัดสินโทษประหารข้าราชการที่ทุจริต กระบวนการยุติธรรมของประเทศเราต่อให้เราปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีความเสียหายอยู่แล้ว ทุกคนมักจะบอกว่าทำหน้าที่โดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้วแต่ทำไมถึงยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ความแม่นตรงของกระบวนการยุติธรรมในไทยนั้นมีปัญหา ที่มีปัญหาที่สุดคือในชั้นสอบสวนของตำรวจ ตำรวจมีหน้าที่เพื่อป้องกันอาชญากรรม ตำรวจไม่ได้มีบทบาทของการสอบสวนโดยแท้ แต่ในไทยตำรวจมีหน้าที่สอบสวน เมื่อตำรวจจับใครมาคนนั้นต้องไม่รอด ผู้เสียหายคือหวังพึ่งอัยการให้ความเป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ เพราะอัยการตัดสินคดีความไปตามสำนวนคำสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วไปว่ากันในศาล สรุปคือมีปัญหาตั้งแต่ชั้นจับกุม ในการจับกุมบางทีอาจจะมีความคลาดเคลื่อนในนั้น ซึ่งเราไม่หวังว่าการจับกุมจะถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับคนไปแล้ว ปรากฏว่าคนๆนั้นบริสุทธิ์เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปล่อยกลับได้ก็ต้องหาความผิดให้ คือถ้าไม่ใช่คนผิดก็ต้องทำให้ผิด เพราะไม่อย่างนั้นก็จะโดนข้อหามาตรา 157 ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ"
สำหรับบางคนที่คุยกันได้ก็จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยา อย่างเช่นถ้าขึ้นศาลแล้วติดคุกก็ให้วันละ 300 คือถ้าติด 2 วันก็รับไป 600 บางคนมองว่าคดีที่สั่งยกฟ้องนั้นมีความยุติธรรม แต่จริงๆแล้วครึ่งหนึ่งคือความอยุติธรรม คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องศาลยกฟ้องมันคือความอยุติธรรม นี่คือช่องว่างของความวิบัติ ตำรวจนั้นถือว่าหากคนนั้นมีคุณสมบัติน่าเชื่อว่าเป็นผู้กระทำความผิดสามารถจับกุมได้เลย ซึ่งในชั้นแจ้งข้อหาไม่มีการตรวจสอบตำรวจ ในไทยมีคนที่ถูกออกหมายจับโดยไม่รู้ตัว เพราะกระบวนการที่ไม่มีการกลั่นกรองของตำรวจ ซึ่งอัยการก็ยึดหลักฐานถ้าหลักฐานพอฟ้องก็คือฟ้อง แสดงว่าอัยการก็ไม่มั่นใจมันจึงกลายเป็นปัญหา กฎหมายไทยวิปลาส ไม่ตามหลักสากล ใน ตปท. อัยการตัดสินจะแจ้งข้อหาหรือไม่ ถ้าไม่ผิดก็ปล่อยและไม่โดน ม. 157
น้ำแท้ กล่าวว่า นักกฎหมายไทยเห็นความยุติธรรมแค่ในตัวบทกฎหมาย ส่วนในเรื่องของความเหลื่อมล้ำจะมีในเชิงนโยบายในการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย แต่จะพูดแค่ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายทางอาญา เมื่อพูดถึงความเหลื่อมล้ำแปลว่าไม่เสมอภาค อีกอย่างหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทุกคนจะพูดว่าเราต้องเสมอภาคกันทางกฎหมาย หมายความว่าคุณจะจนหรือรวยก็จะถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวกันต้องไม่ได้รับการยกเว้น พอเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมก็ต้องไปหาสื่อมวลชน มูลนิธิหรือไปขอให้ทนายช่วย แปลว่ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้ กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมได้ทุกคนต้องมีความเสมอภาคกันก่อน ดังนั้นเจ้าหน้าที่รัฐไม่จำเป็นต้องตั้งโต๊ะแถลงข่าวเลยว่าจะให้ความเป็นธรรมกับคนนั้นคนนี้ ระบบที่ดีต้องเป็นระบบที่ไม่สามารถบิดเบือนอะไรได้ คือต้องสร้างระบบที่กระบวนการยุติธรรมมีความตรงไปตรงมา กฎหมายที่ใช้ดำเนินคดีของไทยจะต่างกับของต่างประเทศ ถ้ามองถึงกฎหมายบ้านเราไม่ได้มองว่าชำรุดแต่มองว่ากฎหมายที่ใช้ดำเนินคดีของไทยนั้นวิปลาส ตั้งแต่เรื่องปรัชญาที่บอกว่าปล่อยคนผิดไปสิบคนดีกว่าดำเนินคดีทำร้ายคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว ตรงนี้เป็นหลักตั้งต้นซึ่งแปลว่าถ้าจะดำเนินคดีอะไรก็จะต้องทุ่มเทต้องหาทางพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ได้ ถ้าด้วยกลักปรัชญาสากลคือว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชน คือห้ามจับตามอำเภอใจ ถ้าลองเปรียบเทียบกฎหมายที่ใช้ดำเนินคดีของไทยกับของต่างประเทศในประเทศอเมริกาการดำเนินคดีในชั้นฟ้องคดี จะต้องรวดเร็วและเปิดเผย อัยการจะต้องมีเวลาแค่ 72 ชั่วโมงเท่านั้นที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ไม่ใช่ให้ตำรวจแจ้ง ถ้าอัยการไม่แจ้งก็คือปล่อยได้ ส่วนของไทยเมื่อจับผิดแล้วถ้าปล่อยก็จะกลัวมาตรา 157 ดังนั้นวิธีการจับของสากลคือผู้ที่สงสัยว่าจะกระทำความผิดสามารถจับได้แต่ต้องให้อัยการตัดสินว่าจะแจ้งข้อหาหรือไม่ ถ้าพิสูจน์ว่าไม่ผิดก็ต้องปล่อยและจะไม่โดนมาตรา 157 เพราะจับตามเหตุอันควรสงสัย แต่นักฎหมายไทยไม่รู้จักข้อนี้พอจับผิดตัวก็ยัดยาให้เพราะจะได้ไม่ย้อนมาเอาผิดตัวเองตามกฎหมาย 157 ซึ่งเกิดขึ้นมากมาย เราจะเห็นว่าการดำเนินคดีของต่างประเทศนั้นยากและดำเนินไปตามปรัชญาตั้งต้น ซึ่งนักกฎหมายไทยจะต้องมาเปลี่ยนวิธีคิดปรัชญากันใหม่ ในประเทศอังกฤษถ้าจะดำเนินการจับใครจะต้องมั่นใจว่าจะได้คนที่กระทำความผิดจริงแต่ในบ้านเราสงสัยคือฟ้อง ต้องมาทำความเข้าใจในส่วนที่ว่าถ้ายกฟ้องแล้วฟ้องอีกไม่ได้ดังนั้นต้องเข้าใจว่าช้าแต่ชัวร์ดีกว่า ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เตือน! ผักไฮโดรโปนิกส์มีสารเคมีเกินมาตรฐานกว่า 60% ยังไม่มีหน่วยงานรัฐรับผิดชอบ Posted: 12 Jul 2018 02:22 AM PDT ไบโอไทยเผยพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานของผักไฮโดรโปนิกส์เกิดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย เหตุผสมปุ๋ยเคมีเพื่อให้พืชดูดสารพิษเพื่อฆ่าแมลง ที่มาภาพประกอบข่าว: Aqua Mechanical 12 ก.ค. 61 ไบโอไทยเปิดเผยข้อมูลว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เปิดเผยผลการตรวจสอบพบว่า ผักไฮโดรโปนิกส์ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐานมากกว่า 60% ของตัวอย่างที่มีการสุ่มตรวจ สั่นคลอนความเชื่อของผู้คนที่เข้าใจว่าผักที่ปลูกโดยระบบที่ไม่ใช้ดินนี้ปลอดภัยกว่าผักทั่วๆ ไป ไบโอไทยพบว่า ปัญหาสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานของผักไฮโดรโปนิกส์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น การสุ่มตรวจในออสเตรเลียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการส่งเสริมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มากที่สุดในโลกก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน รวมทั้งนิวซีแลนด์ด้วย รายงานการวิเคราะห์ของอุตสาหกรรมไฮโดรโปนิกส์เอง ซึ่งเป็นการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศค้นหาสาเหตุพบความจริงหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางเรื่องที่ถูกปิดบังมานาน เช่น การผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงในสารอาหาร(ปุ๋ยเคมี)เพื่อให้รากของพืชดูดสารพิษเหล่านั้นเพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ เป็นต้น นับตั้งแต่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เรายังไม่เห็นการแสดงความรับผิดชอบใดๆของหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานในผักไฮโดรโปนิกส์มากกว่าผักปลูกโดยใช้ดิน เนื่องจาก 1.) ส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรือนที่มีร่มเงา/ผนังกั้น สารเคมีกำจัดโรคและแมลงที่ฉีดพ่นจึงสลายตัวด้วยแสงแดดช้ากว่า ไม่ถูกชะล้างด้วยฝนหรือน้ำเหมือนผักทั่วไป ทำให้สะสมอยู่ในโรงเรือนและวัสดุปลูก และไม่ถูกสลายด้วยจุลินทรีย์ในดิน 2.) ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ส่วนใหญ่ทั้งระบบปิดและเปิดใช้สารเคมีกำจัดแมลงและเชื้อรา 3.) ผักสามารถดูดซึมสารละลายไนเตรทอย่างรวดเร็วโดยตรง และมีโอกาสสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ได้ง่ายกว่าผักที่ปลูกบนดิน 4.) มีการใส่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผสมอยู่ในสารละลายปุ๋ยเคมีและสะสมอยู่ในผักหลังการเก็บเกี่ยว ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผู้เสพคือผู้ป่วย(1): ส่องภารกิจสู้ยาเสพติดแบบใหม่ บำบัดฟื้นฟูแทนขังล้นคุก Posted: 12 Jul 2018 01:46 AM PDT "ผู้เสพคือผู้ป่วย" เป็นแนวนโยบายใหม่ที่พยายามไม่จับผู้เสพเข้าคุก แต่เปิดช่อง(เชิงบังคับ)ให้เข้าสู่ระบบบำบัด รายงานนี้จะพาไปดูรายละเอียดระบบบำบัดว่ายังมีช่องว่างระหว่างนโยบายกับระดับปฏิบัติเพียงไหน ผู้เสพได้เป็นผู้ป่วยจริงหรือไม่หรือเป็นอาชญากรเช่นเดิม การบำบัดนั้นทำอย่างไร ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าคือปีศาจอันที่จริง มันไม่ได้น่ากลัวขนาดนี้มาตั้งแต่ต้น เมื่อก่อนเป็นแค่ยาม้าหรือยาขยัน ความน่าสะพรึงเริ่มขึ้นเมื่อไทยได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดโทษต่างๆ ไว้สูงมาก ต่อมาปี 2546 เป็นปีที่เราประกาศสงครามกับยาเสพติดและนำไปสู่การฆ่าตัดตอนเครือข่ายยาเสพติดมากกว่าสองพันศพ สถิติผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ต้องขังอยู่ทั้งหมด 334,279 คน โดยเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด มากถึง 247,344 คน หรือราว 74% ของทั้งหมด ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นแทบทุกปีจนเกิดปัญหานักโทษล้นคุก ปัญหานี้เป็นปัญหาที่รัฐเองตระหนักดีและพยายามหาทางแก้ไขกันอยู่ อย่างไรก็ตาม พัฒนาการเกิดขึ้นเล็กน้อยในสมัยรัฐบาล คสช. เมื่อกระทรวงยุติธรรมภายใต้การนำของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นหัวหอกแก้ พ.ร.บ. ยาเสพติด ที่เพิ่งจะผ่านวาระ 1 จาก สนช. ไปเมื่อ 15 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ เปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจแยกแยะ "ผู้เสพ" กับ "ผู้ขาย" จากเดิมที่ใช้วิธีการนับเม็ดและปริมาณสาร เช่น ในอดีตหากผู้ต้องหาครอบครองยาบ้าเกิน 15 เม็ด ศาลจะตัดสินโดยอัตโนมัติว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งโทษหนักกว่าการมีไว้เพื่อเสพมาก หรือกรณี "นำเข้ามาในราชอาณาจักร" ก็โทษหนักมากไม่ว่าจะเพื่อเสพหรือจำหน่าย จนเกิดการลงโทษที่ล้นเกินความจำเป็น (overcriminalisation) เช่น กรณีสาวไทยคนหนึ่ง ถูกจำคุกตลอดชีวิตจากการนำเข้ายาบ้า "ครึ่งเม็ด" มาจากฝั่งลาว
แนวคิดใหม่ 'คนเสพคือคนป่วย' ระบบบำบัด 3 ประเภทแนวคิดที่ว่า ผู้เสพยาเสพติดเป็นเหยื่อ เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษานั้นมีมานานแล้ว และเป็นรูปธรรมากขึ้นเมื่อการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดของโลก ปี 2016 ได้มีมติและนโยบายใหม่ต่อปัญหายาเสพติดว่า แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องสุขภาพ ระบบสาธารณสุข อาชญากรรม สิทธิมนุษยชน ความยากจน ฯลฯ เรียกได้ว่ายาเสพติดเป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ มากมาย ทั้งยังมีมติให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดมุ่งเน้นด้านสาธารณสุข สำหรับประเทศไทย ในปี 2545 เรามี พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อจำแนกผู้เสพนำไปบำบัด แต่ในทางปฏิบัติอาจต้องเรียกว่าเป็นการกวาดต้อนผู้คนจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการบำบัดที่พวกเขาไม่ได้ร้องขอแต่รัฐอยากจัดให้เสียมากกว่า พ.ร.บ.นี้ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำนวนน้อย เช่นยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด สามารถ "เลือก" ที่จะเข้ารับการบำบัดจนสิ้นสุดกระบวนการ แลกกับการไม่ต้องรับโทษอาญา แต่ยังคงมีประวัติยาเสพติดอยู่ ระบบการบำบัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. สมัครใจบำบัด คือ กลุ่มที่เดินเข้าไปพบแพทย์ด้วยตัวเองหรือญาติพาไป โรงพยาบาลทั่วประเทศรองรับแล้ว ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในระบบบำบัด เนื่องจากมีองค์ความรู้และบุคลากร ทางกระทรวงจึงมีการตั้งยอดการบำบัดผู้ใช้ยาเสพติดในแต่ละระบบไว้เป็นตุ๊กตาด้วย เช่น ปี 2560 ตั้งเป้าหมายภาพรวมทุกระบบการบำบัดเอาไว้ที่ 220,015 ราย แต่ทำได้จริง 106,354 หรือราว 48% แบ่งเป็น จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ได้ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้มากที่สุดคือ ระบบสมัครใจ ส่วนระบบที่ทำได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่สุดคือ ระบบต้องโทษ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่ารัฐไทยยังคงล้มเหลวในการจูงใจให้คนเข้ารับการบำบัดการติดยาเสพติดโดยสมัครใจ และกรมราชทัณฑ์ยังคงต้องเป็นผู้แบกภาระในการบำบัดผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งที่ไม่ได้มีองค์ความรู้โดยตรงในด้านนี้ ความพยายามโอนภารกิจในการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดให้ไปอยู่กับหน่วยงานสาธารณสุข เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นเมื่อมีการออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เริ่มใช้ตั้งแต่กรกฎาคม 2557 มีสาระสำคัญคือ เปิดโอกาสให้ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดในปริมาณน้อยสามารถเลือกที่จะยินยอมเข้ารับการบำบัดกับกระทรวงสาธารณสุขแทนการรับโทษทางอาญาได้ ข้อต่างระหว่าง ประกาศ คสช.ฉบับ 108/2557 กับ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คือ หากเป็นไปตามประกาศ คสช.จะไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาล่วงหน้า และผู้ที่ผ่านการบำบัดจะไม่มีประวัติยาเสพติดติดตัว อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าโปรแกรมการบำบัดแล้วก็ยังต้องรายงานตัวต่อสถานบำบัดภายในพื้นที่และได้รับการตรวจปัสสาวะทุกเดือนต่อเนื่อง 12 เดือน หลักการดังกล่าวได้ถูกระบุไว้ พ.ร.บ. ยาเสพติดฉบับใหม่ที่กำลังพิจารณากันอยู่ด้วยเช่นกัน แนวทางฟื้นฟูสูญเปล่า หากรอจำแนกอยู่ในเรือนจำแนวนโยบายต่างๆ ที่ออกมาดูเหมือนจะก้าวหน้า แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีความลักลั่นและขัดแย้ง เป็นอุปสรรคต่อการบำบัดฟื้นฟูอยู่ จิตรนรา นวรัตน์ กรรมมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ให้ความเห็นว่า ในปัจจุบันไทยดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดควบคู่ไปกับการดำเนินคดีทางอาญา ขบวนการบำบัดจะเริ่มต้นก็ต่อเมื่อผู้ใช้ยาถูกจับกุม ควบคุมตัวที่โรงพัก เดินทางไปศาลและถูกควบคุมตัวในเรือนจำแล้ว โดยระหว่างกระบวนการดังกล่าวจะไม่มีการคัดแยกพฤติกรรมของผู้เสพว่ามีความจำเป็นต้องรับการบำบัดหรือไม่ ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดผู้เสพคือผู้ป่วย แทนที่ผู้เสพจะต้องถึงมือผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขให้เร็วที่สุด กลับเริ่มต้นด้วยการตั้งข้อกล่าวหาและถูกคุมขัง ซ้ำยังต้องมีประวัติยาเสพติดติดตัว ผู้ใช้ยาหลายคนจึงเลือกที่จะไม่เข้ารับการบำบัดและยอมรับโทษอาญาตามปกติ หรือบางรายก็หลบหนี ไม่ให้ความร่วมมือ "ผู้เสพก็เลยไม่ได้เป็นผู้ป่วยจริง เพราะต้องโดนควบคุมตัวในเรือนจำอย่างน้อย 15 - 45 วัน การเข้าเรือนจำมันก็เหมือนโดนจับสำหรับเขา สถานที่ควบคุมตัวก็แออัดยัดเยียด ที่เป็นอย่างนี้เพราะตอนกฎหมายออกมาไม่ได้มีงบประมานรองรับมาตรการที่เกิดขึ้นใหม่ จึงต้องใช้เรือนจำแทนโรงพยาบาลในการตรวจจำแนกก่อนเข้ารับบำบัดรักษา คนที่ถูกดำเนินคดีจึงพร้อมจะหนีตลอดเวลา เป็นความสูญเปล่าในด้านการฟื้นฟู" จิตรนรากล่าว แม้จะมีปัญหาในทางปฏิบัติ แต่อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับใหม่นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่ารัฐไทยกำลังเอาแนวทางการลดหย่อนโทษ (decriminalization) เข้ามาใช้แทนการปราบปรามยาเสพติด เมื่อพิจารณาจากรายงาน "ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศประจำปี 2559" ทั่วประเทศ จะพบว่าจำนวนคดียาเสพติดในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ในความดูแลของตำรวจนครบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 18,872 คดีในปี 2556 เหลือเพียง 11,872 ในปี 2557 และลดลงเป็น 10,360 และ 9,831 ตามลำดับ สอดคล้องกันกับตัวเลขของสถาบันธัญญารักษ์ที่ระบุว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดโดยให้เหตุผลว่า "ทำตามบังคับ พ.ร.บ." เพิ่มมากขึ้นจากปี 2556 ที่มีเพียงร้อย 14 เป็นร้อยละ 20 ในปี 2557 และร้อยละ 25 ในปี 2558 นั่นหมายความว่ารัฐไทยได้มีความพยายามในการโอนภารกิจการบำบัดฟื้นฟูให้มาอยู่ในมือของสาธารณสุขมากขึ้น คำถามสำคัญคือ ระดับนโยบาย กับ ระดับปฏิบัติ มีความสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด ตำรวจตั้งด่านหาผู้ป่วย ช่วยเหลือหรือยัดเยียด?ประชาชนคนไทยน่าจะเคยเห็นภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจนำกรวยจราจร และป้าย "หยุดตรวจ" มาตั้งด่านกลางถนนในยามวิกาล เพื่อสุ่มตรวจผู้ที่สัญจรผ่านไปมาเพื่อหายาเสพติด ในรายที่โชคดี เจ้าหน้าที่อาจเชิญตัวลงมาจากรถเพื่อค้นตัวอย่างละเอียด และหากโชคดีมากๆ ก็จะถูกขอให้ตรวจปัสวะ ด่านตำรวจส่วนใหญ่มักไม่มีห้องน้ำ ผู้โชคดีเหล่านี้จึงต้องปัสวะตามข้างทางอย่างไม่เต็มใจ ในความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายในการสุ่มตรวจสารเสพติดกับประชาชนที่ยังไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหา เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131/1 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนตรวจหาสารเสพติดในร่างกายผู้ต้องหาเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินดีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ให้อำนาจในการตรวจปัสสาวะของผู้ขับขี่เพราะถือว่าต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้โดยสารและผู้ขับขี่คนอื่นๆ แต่ในทางปฏิบัติ บุคคลที่โดยสารรถแท็กซี่ ไม่ใช่คนขับ ก็ยังคงถูกเรียกตรวจปัสสาวะอยู่ดี เมื่อไม่รู้ข้อกฎหมาย หรือถึงรู้ก็ไม่อยากมีปัญหา ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกขอให้ตรวจปัสสาวะจึงจำให้ความร่วมมือ และหากพบว่าฉี่ม่วง เจ้าหน้าที่ก็จะถือว่ามีสารแอมเฟตตามีนอยู่ในร่างกายและต้องถูกดำเนินคดีหรือรับการบำบัด การหว่านแห-การตั้งเป้าจำนวนผู้รับการบำบัดวีระพันธ์ งามมี เลขาธิการมูลนิธิโอโซนซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดให้ความเห็นว่า นี่คือการหว่านแหที่สร้างปัญหา เพราะการตรวจปัสสาวะสามารถระบุได้เพียงว่ามีสารในร่างกายหรือไม่ แต่ไม่ได้ระบุว่ามากเท่าไร ต่างจากการตรวจแอลกอฮอล์ที่ยังอนุญาตให้ผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ไม่เกิน 50 มก.เปอร์เซ็น แปลว่าต่อให้เป็นผู้เสพครั้งแรก เสพเป็นครั้งคราว หรือเสพมาเป็นเวลานานแล้ว แต่หากมาเจอกับด่านตรวจแล้วพบผลตรวจปัสสาวะสีม่วง คนเหล่านี้ก็จะต้องถูกส่งเข้าสู่กระบวนการบำบัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ "รัฐมีความเชื่อว่าคนที่มีสารเสพติดต้องได้รับการบำบัด จึงนำมาสู่ตั้งเป้าในเชิงปริมาณ คาดการณ์ว่ามีคนใช้ยาประมาณเท่าไหร่ แต่ละปีควรจะตั้งเป้าการจับกุมเท่าไหร่ เพื่อจะนำเอาคนเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการบำบัด เมื่อได้ตัวเลขเชิงปริมาณมาเกิดการจัดสรรไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับไป ต้องตอบตัวชี้วัด เช่นตำรวจรับไปแต่ละเดือนต้องทำยอดให้ครบ ถ้าไม่ครบก็จะมีปัญหา เมื่อไม่ครบก็ต้องหาให้ครบ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการตั้งด่านตรวจปัสสาวะตามถนน ตามแยกต่างๆ" วีระพันธ์กล่าว แม้ว่าสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดฉบับใหม่คือการมองว่า ผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดและช่วยเหลือจากรัฐซึ่งวีระพันธ์มองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องในระดับหลักการ แต่ในทางปฏิบัติ ร่างดังกล่าวก็ยังคงระบุโทษทางอาญาต่อผู้เสพอีกอยู่ดีสำหรับผู้ไม่ยอมสมัครใจเข้ารับการบำบัด มาตรการดังกล่าวจึงเป็นการ "กึ่งบังคับ" เสียมากกว่า นอกจากนี้ทางเลือกที่จะสมัครใจเข้ารับการบำบัดโดยไม่ต้องรับโทษอาญาก็ใช้ได้กับคนที่ไม่เคยมีประวัติยาเสพติดหรือครอบครองสารเพียงเล็กน้อย ในกรณีของยาบ้าคือไม่เกิน 5 เม็ด เป็นมาตรการที่ใช้เพียงครั้งเดียว หากถูกจับกุมอีกครั้งก็จะถูกดำเนินคดีตามปกติ ตั้งเป้าจับกุม 60,000 เคสต่อปีถามว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่จึงต้องตั้งด่านตรวจปัสสาวะ? ในแง่ของนโยบาย รัฐไทยพยายามกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามทำงานปราบปรามยาเสพติดผ่านกลไก 2 ประการคือ ยอดการบำบัด ตามระบบบังคับบำบัดของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ ซึ่งอยู่ที่ประมาน 60,000 เคสต่อปี อีกกลไกหนึ่งคือ เงินสินบนนำจับ ซึ่งจะมอบเงินพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านยาเสพติด ขึ้นอยู่กับปริมาณสารและฐานความผิดของคดีที่รับผิดชอบ นิยม เติมศรีสุข รองเลขธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า เงินดังกล่าวมีจำนวนเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นกำลังให้ใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เจ้าพนักงานทำยอดคดียาเสพติดเพิ่มเติม ส่วนเป้าการจับกุมในแต่ละปีที่ทาง ป.ป.ส. กำหนดอยู่ที่ประมาน 62,000 เคส แต่ก็ไม่ได้มุ่งไปที่การจับผู้เสพ เพราะเน้นที่ผู้ค้าเป็นส่วนใหญ่ "มันก็มีบางกระแสว่าน่าจะเลิกเรื่องเงินสินบนรางวัลนะ เพราะอาจจูงใจในทางไม่เหมาะกับเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ บางคนก็บอกว่าถ้ามีอำนาจหน้าที่อยู่แล้วทำไมต้องมีค่าตอบแทนเพิ่ม ผมคิดว่าโดยระบบบ้านเราในภาพรวม ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่สายไหนค่าตอบแทนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภาระความรับผิดชอบ ถามว่าตำรวจบางคนตื่นตีสี่ บางทีสองทุ่มยังไม่ได้กลับบ้าน แล้วค่าตอบแทนเขาเท่าไหร่ ชั้นประทวนหมื่นกว่าบาท คนที่ไปยืนก่นด่าเขาว่าเขาทำงานไม่ถูกไม่ควร ถามว่าคุณไปทำเองไหมล่ะ" นิยมกล่าว เช่นเดียวกับการตั้งด่านตรวจปัสสาวะ นิยมยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอำนาจตามกฎหมายในการขอตรวจปัสสาวะจากประชาชนที่สัญจรไปมาจะต้องมีบัตรเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.เท่านั้น เว้นแต่กรณีเมาในขณะขับขี่เนื่องจากผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้ในทาง ป.ป.ส. จะยืนยันหนักแน่นว่า ยอดการดำเนินคดีไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน แต่ พรเทพ (นามสมมติ) เจ้าหน้าที่ตำรวจวัย 25 ปี ที่เคยปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายปรามปรามในจังหวัดแถบภาคตะวันออก เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมักจะถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิอยู่เสมอ หากยอดการดำเนินคดียาเสพติดในพื้นที่น้อยกว่าในปีก่อนหน้า ในพื้นที่ที่เขาดูแลเป็นพื้นที่ต่างจังหวัด จึงไม่ได้มีคดียาเสพติดให้จับมากนัก แต่เมื่อถูกกดดันมาก็ต้องทำให้ได้ตามเป้า พรเทพให้ข้อมูลว่าผู้ต้องหาข้อหายาเสพติดส่วนหนึ่งจะมาจากการทำงานของหน่วยสืบสวน ร่วมกับหน่วยปราบปรามในการเข้าไปจับกุมผู้ขายภายในพื้นที่ อีกส่วนหนึ่งถูกจับได้ที่ด่านตรวจปัสสาวะ ซึ่งตัวเขาเองก็เคยปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้เช่นกัน โดยเขาจะสังเกตจากรูปลักษณ์ภายนอกเป็นหลัก เช่นตัวผอมแห้ง ไว้หนวดไว้เครา หรือสักเต็มตัว หากเข้าลักษณะดังกล่าว พรเทพก็จะเชิญลงมาตรวจปัสสาวะ หากพบสารก็จะส่งตัวไปให้โรงพยาบาลเพื่อตรวจสารอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนจะถูกส่งไปบำบัดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ พรเทพกล่าวด้วยว่าในพื้นที่ที่เขาทำงานอยู่มักจะประสบปัญหาขาดแคลนชุดตรวจปัสสาวะอยู่บ่อยๆ จนจำเป็นต้องใช้การ "ขอ" จากหน่วยงานรัฐอื่นๆ ในพื้นที่ เช่นปลัดอำเภอ ป.ป.ส. โรงพยาบาล หรือกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขอปากเปล่าโดยใช้ความสนิทสนมส่วนตัว "ผมไม่รู้ว่ามันเบิกได้ไหม แต่เท่าที่ผมเห็นคนอื่นๆ เขาทำกัน เขาก็ต้องขอกันหมด ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าถ้าอยากให้ทำคดียาเสพติด ทำไมไม่มีงบตรงส่วนนี้ลงมา" พรเทพกล่าว ในบางปีต่อให้มีการเข้าจับกุมผู้ขายก็แล้ว ตั้งด่านหาผู้เสพก็แล้ว แต่ยอดก็ยังไม่ถึงเป้า ในกรณีเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติงานอาจแก้ปัญหาด้วยการนับรวมกับ "คดีอบายมุข" อื่นๆ เช่นคดีการพนัน หวยใต้ดิน หรือการค้าประเวณี หากยอดคดียาเสพติดไม่ถึงเป้าอาจมีการเรียกพนักงานบริการในพื้นที่ซึ่งบางส่วนเป็นชาวต่างด้าว หรือแม่ค้าหวยใต้ดินมาลงบันทึกจับกุม พิมพ์ลายนิ้วมือ และเสียค่าปรับเล็กน้อยเพื่อให้ยอดคดีครบตามเป้า ส่งผู้ป่วยไปให้ใครดูแล?เมื่อขึ้นชื่อว่า (ผู้เสพคือ) "ผู้ป่วย" ก็ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด แต่ในความเป็นจริง ผู้ใช้ยาส่วนใหญ่ยังคงได้รับการบำบัดผ่านเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเสียเป็นส่วนใหญ่ ตอนหน้าเราจะพาไปดูว่าผู้ป่วยยาเสพติด เข้าสู่ระบบบำบัดอย่างไร มีกี่ช่องทาง และผู้ที่ถูกดำเนินคดี ในเรือนจำมีระบบบำบัดอย่างไร ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปักธงผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกทั่วประเทศ สธ.ผนึก สปสช.ยกระดับคุณภาพชีวิต Posted: 12 Jul 2018 01:24 AM PDT สธ. ร่วมกับ สปสช.ตั้งเป้ากวาดล้าง 'ตาบอดจากต้อกระจก' ให้หมดไทย รองอธิบดีกรมการแพทย์ ชี้ประเทศพัฒนาแล้วมองสายตาเอียงเป็นโรคที่ต้องมีสิทธิประโยชน์รองรับ จ่อผลักดัน 'เลนส์แก้วตาแก้สายตาเอียง' เข้าสู่ระบบบัตรทอง หวังยกระดับคุณภาพชีวิต 12 ก.ค.2561 นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยตาต้อกระจก ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชัดเจนว่าสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยตาต้อกระจกที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ดีขึ้นตามลำดับ โดยเป้าหมายในปัจจุบันคือต้องการขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจกให้หมดไปจากประเทศไทย นพ.ปานเนตร กล่าวว่า ในอดีตพบปัญหาผู้ป่วยเข้าไม่ถึงบริการและการให้บริการก็ไม่มีความแน่นอน เพราะต้องอาศัยเงินบริจาคจากมูลนิธิหรือองค์กรสาธารณะประโยชน์ต่างๆ จึงจะสามารถออกหน่วยให้บริการประชาชนได้ อย่างไรก็ตามภายหลังมีระบบบัตรทองและได้ทำโครงการแก้วตาดวงใจเทิดไท้ 72 พรรษามหาราชินี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ใช้งบประมาณจากภาครัฐในการส่งเสริมให้เกิดการผ่าตัดทั่วประเทศได้ 1 แสนดวงตา จากนั้นทาง สปสช.ก็เข้ามารับช่วงต่อในการดูแล กำหนดสิทธิประโยชน์ และเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นพ.ปานเนตร กล่าวว่า ในอดีตจะใช้เลนส์ขนาด 6 มิลลิเมตร ผ่าตัดแผลใหญ่และต้องเย็บแผลหลายเข็ม แต่ในระยะหลังมีการศึกษาวิจัยจนพบว่าสามารถใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์ผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กได้ แต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบเคียงความคุ้มค่าที่ผู้ปวยจะฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปทำงานหารายได้ได้ สปสช.จึงได้อนุมัติให้มีการเบิกจ่ายการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแผลเล็ก โดยใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มที่พับได้ ซึ่งนับว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น "แต่ก่อนเราบอกว่าของฟรีคงไม่ค่อยดี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้ว เพราะมีมาตรฐานดี มีคณะกรรมการดูแลและพิจารณาอย่างละเอียด" นพ.ปานเนตร กล่าว รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาบุคลากรด้านจักษุ รวมถึงพยาบาลในท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อรองรับการดำเนินโครงการมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่เพียงพอแต่ก็นับว่าดีขึ้นและให้บริการได้อย่างครอบคลุม โดยปัจจุบัน สธ.ได้ร่วมมือกับราชวิทยาลัยเพื่อให้โควต้าจักษุแพทย์เพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 คน ซึ่งหากเป็นไปตามอัตรานี้อีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าบุคลากรจะเพียงพอ จากนั้นก็จะมีการบริหารจัดการระบบเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกันมีการทำระบบสารสนเทศเพื่อให้ส่วนกลางสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดตามตัวชี้วัดหรือไม่ เช่น ป่วยชนิดบอดต้องผ่าตัดภายใน 30 วัน หรือถ้าไม่ถึงกับบอดต้องได้รับการผ่าตัดภายใน 90 วัน "การมอร์นิเตอร์นี้ถือเป็นการประกันคุณภาพการรักษา และเพิ่มศักยภาพในการผ่าตัดได้มากขึ้น โดยสถิติพบว่าผู้ป่วยต้อกระจกเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 6 หมื่นราย และมีผู้ป่วยตกค้างที่ยังไม่ได้รับการรักษาอีกราวๆ แสนกว่าราย ขณะที่การให้การรักษาในปัจจุบันนื้เคยทำได้สูงสุดถึงปีละ 1.8 แสนราย นั่นหมายความว่าผู้ป่วยก็จะลดลงเรื่อยๆ ปัญหาใหม่ก็จะไม่มี ปัญหาเก่าๆ ก็จะค่อยๆ เคลียร์" นพ.ปานเนตร กล่าว นพ.ปานเนตร กล่าวอีกว่า ทุกวันนี้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชนบางแห่งไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ก็มีแพทย์ด้านตาหมดแล้ว ส่วนในพื้นที่ที่ยังขาดแคลนจริงๆ ก็มีการออกหน่วยเคลื่อนที่ โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนเป็นฐานในการผ่าตัด "หลังจากเราเคลียร์ผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดได้แล้วก็จะเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าระดับคุณภาพชีวิต คือจริงๆ แล้วตาของเราจะมีสายตาเอียงอยู่ด้วย ซึ่งต้องแก้ด้วยการใส่แว่น แต่พัฒนาการในปัจจุบันพบว่ามีเลนส์แก้วตาเทียมที่แก้สายตาเอียงได้ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลีย เขาให้เบิกเลนส์แก้วตาเทียมเพื่อแก้สายตาเอียงได้ด้วย ซึ่งจะจบทีเดียวเลยโดยที่ไม่ต้องไปตัดแว่นอีก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยด้วย" นพ.ปานเนตร กล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่าสายตาเอียงเป็นโรค ต้องมีสิทธิประโยชน์ในการดูแล ซึ่งขณะนี้เราพยายามเสนอให้พิจารณานำเลนส์แก้วตาเทียมชนิดแก้เอียงเข้ามาอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วราคาของเลนส์เกือบ 1 หมื่นบาท แต่ถ้าเราซื้อมากๆ และมีการต่อรองราคา เชื่อว่าราคาก็จะลดลงเป็นอย่างมาก "สมมุติว่าราคาเลนส์แก้สายตาเอียงอยู่ที่ 8,000 บาท ขณะที่เลนส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันราคา 2,800 บาท นั่นหมายความว่าราคาแพงขึ้นราวๆ 5,000 บาท โดยเรามีผู้ป่วยที่ต้องใช้เลนส์แก้สายตาเอียงประมาณ 6 หมื่นคน แต่ถ้าเราใช้กระบวนการต่อรองราคาน่าจะทำให้ต่ำลงเหลือไม่ถึง 5,000 บาทได้ ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า" นพ.ปานเนตร กล่าว นพ.ปานเนตร กล่าวว่า สธ.มีนโยบายให้หน่วยบริการภาครัฐทั่วประเทศดำเนินการตามไกด์ไลน์ที่อยู่ใน Service Plan ด้านตา ซึ่งมีทั้งการกำหนดพันธกิจและมีตัวชี้วัดอย่างชัดเจน แต่ก็เห็นใจหน่วยบริการเพราะมีโครงการเรื่องสายตาด้านอื่นๆ อีก ซึ่งทำให้ภาระงานของพื้นที่สูงขึ้น นั่นเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาในเชิงระบบต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ฟ้อง 2 นักข่าวรอยเตอร์ 'เผยความลับราชการ' หลังรายงานข่าวสังหารหมู่โรฮิงญา Posted: 12 Jul 2018 12:58 AM PDT นักข่าวรอยเตอร์ 2 ราย ถูกศาลตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายความลับทางราชการหลังจากที่พวกเขาเปิดเผยข้อมูลเรื่องทหารพม่าสังหารประชาชนชาวโรฮิงญาที่หมู่บ้านอินน์ดิน ผ่านการเสนอข่าวเชิงลึกให้รอยเตอร์ ด้านองค์กรเสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ยกเลิกการตั้งข้อหากับนักข่าวที่ทำหน้าที่ของตัวเองทั้งสองคนนี้ ขณะที่ทนายความของทั้งสองคนมองว่ายังมีความหวังที่จะแก้ต่างให้พวกเขาในเรื่องนี้ 12 ก.ค. 2561 สื่ออิระวดีรายงานว่าศาลแขวงในเขตตอนเหนือของกรุงย่างกุ้งตั้งข้อหาให้นักข่าวรอยเตอร์ 2 คน มีความผิดข้อหาละเมิดกฎหมายความลับทางราชการจากการที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำเอกสารลับของรัฐบาลออกเผยแพร่ สองนักข่าว วะลง (Wa Lone) และ จ่อซออู (Kyaw Soe Oo) ถูกตั้งข้อหาละเมิดมาตรา 3 [1] ที่ระบุถึงกรณีความลับทางราชการ ซึ่งเป็นกฎหมายมีมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว โดยในกฎหมายระบุว่าผู้ที่ละเมิดจะถูกจำคุกสูงสุด 14 ปี อย่างไรก็ตามนักข่าวทั้งสองคนแก้ต่างว่าพวกเขาไม่ได้มีความผิดเพราะไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของรัฐบาลเลย พวกเขาแค่ทำหน้าที่รายงานข่าวโดยไม่ได้เก็บข้อมูลหรือสำเนาเอกสารใดๆ มาจากรัฐบาล ขิ่นหม่องซอ (Khin Maung Zaw) ทนายความของนักข่าวสองคนนี้เปิดเผยว่า รัฐบาลกล่าวหาจำเลยทั้งสองคนว่าทำการเก็บข้อมูลลับของรัฐบาลเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2560 และอ้างว่าจำเลยทั้งสองคนจะนำข้อมูลนี้ไปเผยแพร่กับศัตรูหรือใช้มันสร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของรัฐบาล หรือนำไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งทางทนายความบอกว่าเขาไม่พอใจต่อการตั้งข้อหาของศาลและมีแผนการจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยจะมีการนัดสืบพยานอีก 6 รายในชั้นศาลอีกภายในวันที่ 16 ก.ค. ที่จะถึงนี้ นักข่าวรอยเตอร์ทั้ง 2 คนถูกขังก่อนการพิจารณาคดีมาตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 2560 ทันทีหลังจากที่ถูกจับกุม พวกเขากำลังทำข่าวสืบสวนสอบสวนกรณีที่กองทัพรัฐบาลพม่าสังหารชาวโรฮิงญา 10 คนรวมถึงเด็กในหมู่บ้านอินน์ดินทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ หลังจากนั้นสื่อรอยเตอร์ก็นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการสังหารหมู่ดังกล่าวเป็นรายงานเชิงลึก ในเดือน เม.ย. 2561 ที่ผ่านมารัฐบาลทหารก็ประกาศว่ามีการสั่งลงโทษทหาร 7 นาย ด้วยการจำคุก 10 ปีจากการที่พวกเขาสังหารคนนอกกระบวนการกฎหมาย สตีเฟน เจ แอดเลอร์ ประธานรอยเตอร์และหัวหน้ากองบรรณาธิการกล่าวว่าทางรอยเตอร์รู้สึก "ผิดหวังอย่างมาก" ต่อคำวินิจฉัยของศาลและบอกว่าการดำเนินคดีกับนักข่าวของพวกเขา "ไม่มีมูลความจริง" แอดเลอร์บอกว่านักข่าวของเขาทำงานอย่างอิสระและไม่เลือกข้าง ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ เลยที่บ่งบอกว่าพวกเขาผิดกฎหมาย ทำให้การตั้งข้อหาของศาลในครั้งนี้ทำให้น่าสงสัยต่อพันธกรณีของรัฐบาลพม่าในเรื่องเสรีภาพสื่อและหลักนิติธรรม ก่อนหน้านี้ในปี 2557 ก็เคยมีกรณีนักข่าว 5 รายจากวารสารยูนิตีเจอนัลถูกตั้งข้อหามาตรา 3 [1] [a] ว่าด้วยความลับทางราชการและต่อมาก็ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี และลดโทษเหลือ 7 ปี หลังจากอุทธรณ์ผ่านศาลระดับภูมิภาค ในวันเดียวกันกับที่มีการตั้งข้อหา องค์กรเพื่อเสรีภาพสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่าง Article 19, แอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล และคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการยกเลิกการตั้งข้อหานักข่าว 2 รายล่าสุด โดยที่แมธธิว บูเออร์ ประธานโครงการภาคพื้นเอเชียของ Article 19 กล่าวว่าการวินิจฉัยของศาลในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องอยุติธรรม เพราะนักข่าวทั้ง 2 คน ต่างก็เสี่ยงชีวิตเพื่อเปิดเผยเรื่องราวที่ถูกซ่อนไม่ให้สาธารณชนรับรู้ ควรจะชื่นชมการทำงานที่ส่งเสริมการตรวจสอบของพวกเขามากกว่าจะดำเนินคดีกับกระบวนการกฎหมายที่ "ไร้สาระอย่างที่สุด" เรียบเรียงจาก Two Reuters Reporters Charged With Violating Official Secrets Act, The Irrawaddy, 09-07-2018 ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สหภาพแรงงานรถไฟสำรวจพื้นที่ รฟท. พบ 'ทำเลทอง' ติดแม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็นภูเขาขยะ Posted: 12 Jul 2018 12:36 AM PDT สหภาพแรงงานรถไฟลงสำรวจพื้นที่หลัง รฟท.สั่งเดินหน้าเร่งแผนมักกะสันรับลงทุนแสนล้าน พบ 'ทำเลทอง' ติดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีแม่น้ำ ถ.พระราม 3 เนื้อที่ 227 ไร่ ว่าจ้างที่ปรึกษาหลายครั้งปัจจุบันเป็นภูเขาขยะ ย้ำสหภาพแรงงานเห็นด้วยนำที่ดิน รฟท. มาทำประโยชน์ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานฯ ได้ลงพื้นที่ 'ย่านสถานีแม่นํ้า' พบกลายเป็น 'ภูเขาขยะ' 12 ก.ค. 2561 สืบเนื่องจากกรณีที่นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเพื่อรองรับการลงทุน เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา โดยระบุว่าในพื้นที่มักกะสันซึ่งจะมีมูลค่านับแสนล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อสรุปแผนพัฒนาพื้นที่แปลงเอราว 140 ไร่ซึ่งต้องยกให้เอกชนที่เข้ามาพัฒนารถไฟไฮสปีด เบื้องต้นจะยกที่ดินให้เอกชนราว 100 ไร่ ขณะที่อีก 40 ไร่ซึ่งเป็นพื้นที่พวงรางไปสู่ศูนย์ซ่อมภายในพื้นที่มักกะสันนั้น รฟท.จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเดิม ส่วนด้านแผนการย้ายบ้านพักพนักงานและโรงซ่อมบำรุงในพื้นที่มักกะสันนั้น รฟท.ได้เตรียมพื้นที่สองแปลงใหญ่จำนวนมากกว่า 100 ไร่ไว้รองรับประกอบด้วย 1.พื้นที่บริเวณ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 2.พื้นที่บริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่รูปแบบธุรกิจการเดินรถในอนาคตนั้นรฟท.จะแบ่งแยกระหว่างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟดีเซลกับศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าให้ตั้งอยู่คนละที่กันเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาย่านศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้านรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซลรองรับโครงการรถไฟสายใหม่อีกหลากหลายเส้นทางในอนาคตที่จะมีการเปิดเดินรถทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟขนส่งสินค้า รถฟ้าชานเมืองและรถไฟความเร็วสูง (อ่านเพิ่มเติม: รฟท.สั่งเดินหน้าเร่งแผนมักกะสันลงทุนแสนล้าน, ไทยโพสต์, 3/7/2561) สหภาพแรงงานรถไฟลงสำรวจพื้นที่พบ 'ทำเลทอง' ติดแม่น้ำเจ้าพระยา กลายเป็นภูเขาขยะ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2561 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานฯ ได้ลงพื้นที่ 'ย่านสถานีแม่นํ้า' และได้ระบุว่าที่ดินจุดนี้ถือว่าเป็นทำเลทองในเขตกรุงเทพฯ โดยที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำในพื้นที่แห่งนี้น่าจะประมาณสัก 200 กว่าไร่ ด้านข้างจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือขนาดใหญ่ผ่านได้ แสดงว่ามันสามารถที่จะทำท่าเรือน้ำลึกได้ และพื้นที่แห่งนี้เคยผ่านการว่าจ้างที่ปรึกษาหลายครั้งแต่ในท้ายที่สุดมันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบันพบว่าที่จุดนี้กลายเป็น 'ภูเขาขยะ' ทั้งๆ ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ให้ รฟท. โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้สินได้ "ใต้ภูเขาขยะเหล่านี้ มันจะมีทรัพย์สินของการรถไฟซ่อนอยู่รึเปล่า ถ้าฟังจากคนที่ดูแลในพื้นที่ เขาบอกว่ามีทรัพย์สินของรถไฟ แคร่บ้าง ล้อบ้าง ซากรถบ้าง ก็คงใช่ กองขยะแห่งนี้ แล้วก็ที่สำคัญก็คือว่า ไม่รู้ว่าเป็นกองขยะพิษรึเปล่า เป็นขยะพิษ อย่างที่เคยเกิดในที่แถวชลบุรีรึเปล่า ซึ่งก็น่าเสียดายนะครับว่าเรากำลังพูดถึงภาวะการขาดทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย เราพูดถึงหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเราก็พูดกันมาโดยตลอดว่า หนี้สินของการรถไฟที่เกิดขึ้นนั้นหลักๆ ก็เกิดขึ้นจาก เรื่องของการบริการในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ต้นทุนต่อ 1 กิโลเมตร ผู้โดยสารเดินทาง 1 คนเนี่ย ต้นทุนของการรถไฟก็จะมีอยู่ที่ประมาณ 2.50 บาท ในขณะนี้ แต่การรถไฟถูกรัฐบาลให้เก็บค่าโดยสารเพียง 24 สตางค์ ต่อ 1 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน 30 กว่าปี นะครับ รถไฟไม่เคยได้ปรับค่าโดยสารก็เลยทำให้เกิดภาวะหนี้สินที่มันพอกพูนขึ้นมาเป็นแสนสามหมื่นกว่าล้านบาท" "ในขณะนี้เขามีความพยายามกันว่า เอ๊ะ! จะแก้หนี้กันยังไงนะครับ แล้วก็มีแนวคิดหนึ่งซึ่งสหภาพแรงงานฯ ก็เห็นด้วยในการเอาที่ดินมาดำเนินการแก้หนี้นอกเหนือจากการที่จะไปบอกรัฐบาล หรือรัฐบาลต้องแถลงความจริงแก่สังคมว่า เหตุที่รถไฟเป็นหนี้เพราะอะไร แล้วก็ถ้าจะเป็นหนี้ต่อไปเนี่ย สังคมต้องยอมรับได้ว่ามันเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐไม่ใช่ว่ามาโทษพนักงานว่าบริหารไม่ดีดำเนินการไม่ดีซึ่งเป็นพนักงานส่วนใหญ่ที่ก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่โดยตลอด" นายสาวิทย์ กล่าว นอกจากนี้นายสาวิทย์ยังระบุว่าสหภาพแรงงานฯ เห็นด้วยกับแนวคิดนำเอาที่ดินของ รฟท. ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาหารายได้ มาเพิ่มมูลค่า เพื่อเอาเงินเหล่านั้นไปพัฒนาบำรุงกิจการ รฟท. "อยากจะบอกนะครับกับผู้ที่เกี่ยวข้องบอกกับพี่น้องประชาชนพี่น้องสื่อมวลชนทั้งหลายว่าการพิจารณาการฟื้นฟูรถไฟเป็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งทำแล้วก็ต้องรีบทำ แล้วก็ปัญหาเรื่องภาวะหนี้สินที่รัฐบาลยังคงค้างชำระต่อการรถไฟ แล้วก็ด้านหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจกับสังคมแล้วก็ชี้แจงกับสังคมซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการรถไฟ เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง รัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยอีกส่วนหนึ่งก็คือว่าที่ดินของการรถไฟทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นที่อุบลราชธานี ที่บุ่งหวาย บ้านโพธิ์มูลที่เราลงไปดูกัน แม้กระทั่งที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ 5,083 ไร่ ทั้งหมด วันนี้ยังคงเป็นที่บุกรุกของกลุ่มทุนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ที่เชียงใหม่ ที่พิษณุโลก ที่หาดใหญ่ แล้วก็อีกหลายพื้นที่ซึ่งยังสามารถที่จะหาประโยชน์หารายได้จากมูลค่าของที่ดินเหล่านั้น เพื่อที่จะมาดำเนินการเพื่อที่จะแบ่งเบาภาระหนี้สินที่รถไฟต้องแบกรับจากการบริการในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนก็จำเป็นต้องต้องหาแนวทางในการแก้ไข" "ซึ่งสหภาพก็พยายามอย่างเต็มที่นะครับ ในการที่จะช่วยเหลือผู้บริหารนะครับมีความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะสนับสนุนการพัฒนากิจการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะว่าเราไม่ได้ไปขัดขวางการพัฒนาอะไร ผมว่าการพัฒนานั้นต้อง ต้องดูจากความเป็นจริงนะครับ เอาความจริงมาคุยกันแล้วมาแก้กันว่าจะเป็นแบบไหน ท้ายที่สุดมันยอมรับกันได้แค่ไหน ในแง่ของนโยบายของรัฐบาลมันยอมรับกันได้แค่ไหน ในเรื่องของภาวะหนี้สิน แต่ท้ายที่สุดเนี่ย ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่หลายคนบอกว่าเป็นพื้นที่ทำเลทองจะมีการบริหารจัดการยังไง โดยเฉพาะที่แห่งนี้นะครับ ก็ขอย้ำว่ามันได้ผ่านการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาก็เอามาสะสางทำมาสเตอร์แพลนทำอะไรหลายสิ่งหลายอย่างในหลายครั้งที่ผ่านมา หลายสถาบัน หลายสำนัก ท้ายที่สุด มันก็จบลงเพียงแค่กองขยะอย่างที่เราเห็น แล้วที่สุดแล้วเนี่ยมันจะแก้ไขปัญหากันยังไงอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมจะฝากพี่น้องคนรถไฟฝากพี่น้องสื่อมวลชนและประชาชน ให้ทุกคนได้เข้าใจนะครับ" นายสาวิทย์ ระบุ อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ย. 2560 คณะกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ตีกลับผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่นํ้า ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อให้ รฟท.ไปประเมินราคาที่ดินใหม่ และผลตอบแทนที่เป็นราคาปัจจุบันมากที่สุด เนื่องจากราคาประเมินที่ดินแปลงดังกล่าวได้มีการศึกษามานานแล้วนั่นเอง โดยย่านสถานีแม่นํ้ามีพื้นที่ทั้งหมด 277 ไร่ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 9.6 หมื่นล้านบาท เป็นพื้นที่ติดแม่นํ้าเจ้าพระยา หน้ายาวประมาณ 2 กิโลเมตร นับเป็นทำเลใจกลางเมืองใกล้กับศูนย์กลางเศรษฐกิจและแหล่งงานสำคัญอย่างสาทร สีลม แม้จะมีแผนพัฒนาแต่ปัจจุบันกลับพบว่าทำเลดังกล่าวได้รับการบุกรุกทำแคมป์ที่พักคนงานรูปแบบก่อสร้างอาคารถาวรเต็มพื้นที่ อีกทั้งยังใช้เป็นพื้นที่จอดรถคอนเทนเนอร์กันอย่างโจ๋งครึ่ม ทั้งๆ ที่ รฟท. ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าแก่รายใดแต่อย่างใดทั้งสิ้น (อ่านเพิ่มเติม: โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีแม่น้ำ ทำเลทองริมเจ้าพระยา, ฐานเศรษฐกิจ, 23/9/2560) ต่อมาในเดือน ต.ค. 2560 ได้มีการเปิดเผยว่าคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบให้ รฟท. จัดตั้งบริษัทลูก คือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด บริหารที่ดินไม่ได้ใช้ในการเดินรถ จำนวน 38,469 ไร่ มูลค่า 300,000 ล้านบาท ให้เอกชนเข้าร่วม PPP จัดหาประโยชน์ระยะยาว 30 ปี รูปแบบเชิงพาณิชย์ เช่น ย่านมักกะสัน 497 ไร่ สถานีแม่น้ำ 277 ไร่ สถานีบางซื่อ 218 ไร่ ย่าน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ สถานีเชียงใหม่ สถานีสงขลา หาดใหญ่ และหัวหิน 30 ปีได้ผลตอบแทน 6 แสนล้านเพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว โดย รฟท.จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนธุรกิจ จะมีผลตอบแทนจากการพัฒนาที่ดินในระยะเวลา 10 ปี (2561-2570) อยู่ที่กว่า 120,000 ล้านบาท และระยะเวลา 30 ปี (2561-2590) จะอยู่ที่ 630,000 ล้านบาท (คิดเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 300,000 ล้านบาท) เป็นรายได้จากค่าเช่าสัญญาเดิม ผลตอบแทนรายได้จากที่ดินแปลงใหญ่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (อ่านเพิ่มเติม: ลุยประมูลที่ดินรถไฟ-ขสมก. ขุดกรุทำเลทองล้างหนี้ 2 แสนล้าน, ประชาชาติธุรกิจ, 5/10/2560)
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“ความเหลื่อมล้ำแนวราบ” ที่จังหวัดชายแดนใต้ Posted: 11 Jul 2018 09:35 PM PDT
เสียงของศิษย์เก่าโรงเรียนอนุบาลปัตตานี คำโปรยข้างต้นเป็นตัวอย่างความรู้สึกของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ จากเหตุการณ์ความขัดแย้งยืดเยื้อล่าสุดนับจากปี 2547 หากกล่าวแบบคนทั่ว ๆ ไป อาจถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ จากเดิมที่เคยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐไทยเหมือน "ชาติพันธุ์ไทย/พุทธ" ในภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งความรู้สึกแบบเดียวกันนี้เองก็เคยเกิดกับคนมลายูมุสลิมในพื้นที่ในช่วงก่อนหน้าปี 2547 และยังคงรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำที่รัฐไทยปฏิบัติต่อพวกเขามาตลอดจวบจนปัจจุบันได้ แม้ว่าในช่วงหลัง ๆ พวกเขาจะได้รับโอกาสทางการศึกษาและอาชีพมากขึ้นก็ตาม ในงานของสุรินทร์ยังชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งต่อโครงการสิทธิพิเศษสู่สถาบันระดับอุดมศึกษานี้ ไม่เพียงเกิดกับชาวพุทธและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เท่านั้น แต่ภายในสังคมมุสลิมเองก็มีความเห็นขัดแย้งกันระหว่างผู้มีทัศนะแบบอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายที่ค่อนไปทางก้าวหน้า โดยฝ่ายแรกคิดว่าทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประชาคมคือ "เยาวชนมาเลย์มุสลิม" ได้ถูกรัฐดึงเอาไปให้การศึกษาเสียเอง ส่วนฝ่ายหลังนั้นเห็นว่าควรจะตักตวงเอาผลประโยชน์จากโอกาสที่รัฐเปิดให้ จากเสียงต่อต้านข้างต้นที่ค่อนข้างรุนแรงทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น (2518-2519) ได้เสนอให้ยุติสิทธิพิเศษเหล่านี้เสีย ด้วยเหตุผลว่า "ข้าพเจ้าต้องการจะปรับปรุงการศึกษาเพื่อว่านักเรียนในภูมิภาคนี้สามารถผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามสิทธิพิเศษที่มอบให้แก่นักเรียนจากภูมิภาคนี้ก่อให้เกิดความแตกแยก สิ่งนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพราะคนที่ไม่ใช่มุสลิมเขาไม่พอใจ อีกอย่างหนึ่งนักเรียนสิทธิพิเศษเหล่านี้ก็ไม่พอใจในการศึกษาของตนหลังจากจบการศึกษาแล้ว เพราะรู้สึกมีปมด้อย" แต่ยังมิทันจะได้ดำเนินการใด ๆ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็พ้นจากตำแหน่งไปก่อน จึงทำให้กระทรวงมหาดไทยยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไป นอกจากนี้ มาในภายหลังพลโทหาญ ลีลานนท์ ได้ดำเนินนโยบาย "ใต้ร่มเย็น" ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลให้โครงการสิทธิพิเศษได้ขยายจำนวนสูงขึ้น และรวมเอาสถาบันทหาร ตำรวจ และอื่น ๆ เข้าอยู่ในโครงการด้วย ดังที่กล่าวไปแล้ว แม้ว่ารัฐไทยจะเห็นว่านโยบายการให้สิทธิพิเศษกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างกรณีชนกลุ่มน้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยให้พวกเขาได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผสมผสานนั้นได้นำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ อย่างที่ Centre for Research on Inequality, Human Security and Ethnicity (CRISE) ได้ทำการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์อยู่ร่วมกัน ข้อสรุปสำคัญของโครงการวิจัยของ CRISE คือ การมีความเหลื่อมล้ำแนวราบ (horizontal inequalities) ในวงกว้าง หรือความไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าความเหลื่อมล้ำแนวราบมักมีจุดเริ่มต้นในยุคอาณานิคม แต่ความเสียเปรียบที่กลุ่มต่าง ๆ เผชิญทำให้ความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่แม้ปัจจุบัน "ความเหลื่อมล้ำแนวราบ" ในความหมายของ CRISE นั้นอาจเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือเกี่ยวกับสถานะทางวัฒนธรรมของกลุ่ม ความขัดแย้งที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำแนวราบในลักษณะที่ทำให้คนบางกลุ่มมีความเสียเปรียบ ผู้นำของกลุ่มที่ถูกกีดกันทางการเมือง และบรรดาผู้ที่อาจเป็นผู้ตาม ซึ่งมองว่าตนเสียเปรียบทั้งด้านทรัพย์สิน อาชีพ และการได้รับบริการทางสังคม อาจถูกปลุกเร้าให้มารวมตัว กระทั่งก่อเหตุรุนแรงได้ ดังจะเห็นได้จากเสียงของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ข้างต้น นอกจากนี้ ยังมีเอกสารที่เป็นข้อเสนอของกลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) ต่อสถานการณ์ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนที่พูดถึงความห่วงกังวลของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี 6 ข้อ หนึ่งในข้อเสนอนั้นคือ ชาวพุทธรู้สึกกังวลใจคือนโยบายการปฏิบัติต่อศาสนิกที่ขาดดุลยภาพ ชาวพุทธบางกลุ่มมองว่าการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ตนได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกับชาวมลายูมุสลิมและตนสูญเสียโอกาสในหลาย ๆ ด้าน เช่น การที่หน่วยงานภาครัฐบางแห่งสนับสนุนทุนการศึกษา หรือโควต้าการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแก่เยาวชนมุสลิมเป็นพิเศษ ทำให้เยาวชนพุทธรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเลื่อนตำแหน่งในหน่วยราชการบางแห่ง มีการจัดสอบในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้สมัครหรือบุคลากรที่เป็นชาวมลายูมุสลิมมากกว่าชาวพุทธ และการยกเลิกครัวพุทธในโรงพยาบาลบางแห่ง เหลือแต่ครัวมุสลิม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้รู้สึกว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสอง ที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดีเหมือนคนมลายูมุสลิม จากปรากฏการณ์ที่หยิบยกมาข้างต้น ในวันนี้รัฐไทยอาจต้องกลับมาทบทวนนโยบายขาดดุลยภาพ ตามที่เป็นข้อกังวลที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทั้งทางชาติพันธุ์และศาสนา ทำอย่างไรที่จะลดทอนความรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ซึ่งชาวไทยพุทธอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อย และชาวมลายูมุสลิมอยู่ในฐานะชนกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ชาวมลายูมุสลิมก็ยังรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำในภาพใหญ่ของทั้งประเทศอยู่ และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ความรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำภายในศาสนิกเดียวกันเองในแต่ละภูมิภาคของประเทศ มิพักต้องพูดถึงกระแสการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน ที่ยังผลทำให้ปัญหานี้มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมากขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ดี หลายๆ ประเทศที่มีคนหลายชาติพันธุ์ เช่น บราซิล อินเดีย มาเลเซีย และแอฟริกา ได้เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายขจัดความเหลื่อมล้ำแนวราบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความไม่เท่าเทียมของสถานภาพทางวัฒนธรรม ในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การมีสังคมที่เป็นธรรม และเป็นสังคมที่คนทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามารถมีชีวิตอยู่อย่างเสมอกัน
ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทฤษฎีกับการปฏิบัติ: พระ-ครู ลวงโลก Posted: 11 Jul 2018 09:22 PM PDT
พระย่อมต้องพร่ำสอนให้คนเป็ เพลงเขมรไทรโยค เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้ ท่านทราบหรือไม่กรมพระยานริ อีกท่านหนึ่งที่มีพลังจิ ท่านไม่เคยเข้าป่ามาก่อน และทำให้ต้องค้นคว้าเกี่ยวกั บางคนบอกว่าถ้าว่ายน้ำเองไม่เป็ แต่กับพระหนุ่มๆ เสียงไพเราะ หรือผู้ที่สวมเครื่องแบบพระให้ พระเหล่านี้สอนให้คนเป็นคนดีจริ นี่เป็นเรื่องอันตรายที่มักได้ 1. Black souls wear white shirts. (โปรดระวัง) คนใจดำมักใส่ชุดขาว (แสร้งเป็นคนดี) 2. The devil likes to hide behind a cross. ปีศาจมักอยู่หลังไม้กางเขน (ซึ่งเป็นตัวแทนของคนดี) เพื่อให้แฟร์กับทุกฝ่าย ผมขออนุญาตยกตัวอย่างของผมเองบ้ ผมจึงขอย้ำให้ตาสว่างว่า โปรดอย่าเชื่อคนดูดี เช่น นักบวชที่ทำตัวดี สอนดี สอนไพเราะ แต่ตัวเองได้แค่เล่าเรื่องแบบนิ ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น