ประชาไท | Prachatai3.info |
- ช่อง 3 แจงถอด 'เหนือเมฆ2' เพราะไม่เหมาะสม-ย้ำ เมื่อตัดสินใจถอดแล้ว คงไม่ฉายที่ไหนอีก
- สานฝันหิ่งห้อยน้อย: 5 ปีการจากไปของ ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์’
- ประชาไทบันเทิง: The King of Dramas: กล้าดราม่าแม้แต่กับวงการละครของตัวเอง
- ผู้สมัครรองเลขาฯ สปสช. เตรียมถอนตัว ไม่มั่นใจกระบวนการคัดเลือก
- การตรวจในวันเอดส์โลก พบผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยเดิมหลายเท่า
- ภาคประชาสังคมค้านทุบศาลฎีกา วอนเวทีให้สาธารณะมีส่วนร่วม
- คุยกับ 'เดวิด อิซักสัน': อนาคตของสื่อเก่า, ไอซีที และการพัฒนา
- สาระ+ภาพ: ไทม์ไลน์ปราสาทพระวิหาร
- ยันไม่ย้าย ‘บ้านมั่นคง’ ไปการเคหะฯ หลังสลัม 4 ภาค-สอช.ออกโรงทวง
- แนะช่อง 3 ส่ง 'เหนือเมฆ 2' ให้ กสทช. ตรวจ
- อธิป จิตตฤกษ์: 12 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคนไทย
- มติ ครม.ออก 6 มาตรการการ อุ้ม SMEs ชงลดภาษีเหลือ 15% หลังขึ้นค่าแรง
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความเสี่ยงโลกผลกระทบต่ออาเซียน
- การแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันทำไมจึงไม่สามารถทำประชามติได้
- กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ เดินหน้า จี้ อปท.พื้นที่เหมืองโปแตช ยกเลิกประชาคมหมู่บ้าน
ช่อง 3 แจงถอด 'เหนือเมฆ2' เพราะไม่เหมาะสม-ย้ำ เมื่อตัดสินใจถอดแล้ว คงไม่ฉายที่ไหนอีก Posted: 08 Jan 2013 10:38 AM PST สืบเนื่องจากกรณีทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ประกาศยุติการออกอากาศละครโทรทัศน์ "เหนือเมฆ 2 ตอน มือปราบจอมขมังเวทย์" ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้แสดงความไม่พอใจและตั้งคำถามต่อความไม่ชัดเจนในการยุติการออกอากาศดังกล่าวจำนวนมาก ทั้งนี้ พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวว่า จะนำประเด็นนี้ รวมกับข้อเรียกร้องของสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีนายศรีสุวรรณ จรรยา เป็นแกนนำ และได้ยื่นเรื่องร้องเรียนให้กสทช.ตรวจสอบช่อง 3 ในการยุติออกอากาศ เข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเนื้อหาและผังรายการ ในวันที่ 18 ม.ค.นี้ ช่อง 3 ย้ำจะไม่ฉายที่ไหนอีก "ขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ทางสถานีฝ่ายรายการรับเทปจากผู้จัด ไม่ว่าจะเป็นละคร รายการ หรืออะไรก็แล้วแต่ เราจะมีเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาว่า มีอะไรที่ไม่สมควรออกอากาศบ้างไหม เขาก็จะดูในเบื้องต้น ถ้าเขาเห็นว่ามีอะไรไม่เหมาะสม ก็จะทำเสนอไปให้ทางผู้จัดการฝ่าย ถ้าเห็นว่าเจ้าหน้าที่พิจารณามา เห็นว่ายังไม่ดี ก็จะส่งเซ็นเซอร์ได้ ซึ่งเราก็เคยทำ ไม่ใช่ไม่เคย เพียงแต่ว่ามันไม่เป็นข่าว เรื่องเซ็นเซอร์รายการเราทำกันอยู่เป็นประจำ" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการนำละครเรื่องเหนือเมฆ 2 กลับมาฉายหรือไม่ นายบริสุทธิ์ ชี้แจงว่า ตัวเองก็ไม่ได้เห็นว่าอีก 3 ตอนที่เหลือมีอะไรบ้าง แต่ก็เชื่อในวิจารณญาณของฝ่ายรายการว่า คงพิจารณาได้รอบคอบและดีแล้ว ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาต่อต้านและเรียกร้องให้มีการฉายละครต่อให้จบนั้น ก็ไม่รู้จะทำอะไรได้ เพียงแต่เห็นว่าถ้าเรานำสิ่งที่เราพิจารณาแล้วว่าไม่สมควรออกอากาศมาออกอีก เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็จะไม่ออก "เราเก็บเลยครับ ไม่มีการออกยูทูบ ไม่ต้องไปรอดู ลงแผ่นอะไรก็ไม่มี มันจะไปทำได้อย่างไร ทำไปใครก็รู้ว่าเราทำ เพราะลิขสิทธิ์ละครเรื่องนี้เป็นของเรา เราก็ทราบว่า ทาง กสทช.จะแถลง ก็คาดว่าน่าจะทำหนังสือมาถึงเรา ทางนี้ก็คงจะตอบไป เรื่องพวกนี้ก็มีอยู่ตลอด เขาถามมาเราก็ตอบไป ไม่ได้มีปัญหาอะไร" เพื่อไทยจี้ช่อง 3 ฉาย "เหนือเมฆ 2" ให้จบ โวยถูกโยนบาป วิปฝ่ายค้านเตรียมตั้งกระทู้ถามปม แบนเหนือเมฆ - ปราสาทพระวิหาร นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า 2. ปราสาทพระวิหาร โดยจะตั้งคำถามไปถึงท่าทีของ รมว.ต่างประเทศ ที่ออกมาแสดงความเห็นในช่วงแรก ถึงการตัดสินคดีว่าจะมีแต่ เจ๊งกับเจ๊า เหตุผลเบื้องลึกเป็นการถอดใจหรือสมยอม และ 3. กระทู้ผลกระทบการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี และกลุ่มผู้ใช้แรงงงาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สานฝันหิ่งห้อยน้อย: 5 ปีการจากไปของ ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์’ Posted: 08 Jan 2013 09:55 AM PST รำลึก 5 ปี การจากไปของ 'มด' วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ พร้อมยืนหยัดการต่อสู้ของคนจนเส้นทางของขบวนการภาคประชาชน "ฉันภาวนาให้พ่อแม่พี่น้องของฉัน หลานของฉัน เป็นเช่นหิ่งห้อยเรือนแสง ร่วมกันบนหนทางธรรม ฉันจะร่วมกับหิ่งห้อยนับล้านๆ ทอแสงสร้างขวัญขึ้นแทนหมู่ดาว" นี้คือเนื้อในความเป็นตัวตนของ 'พี่มด' วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ นับแต่เข้ามาร่วมกับขบวนการหิ่งห้อยซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านอีสานคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูน 'พี่มด' เป็นหญิงอีกผู้หนึ่ง ที่ผู้เขียนน้อมจิตคารวะ ด้วยความเป็นหญิงกล้าแกร่ง เป็นทั้งผู้ให้ความรัก หวัง และกำลังใจในการต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพ เป็นคนจริงที่ยิ่งใหญ่กลางใจคน เป็นดั่งดาวเดือนตะวันอันเจิดจ้า เพราะที่ใดมีทุกข์ ที่นั่น พี่มดมักปรากฏกายเข้าร่วมเรียกร้องต่อสู้ ให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรมโดยเสมอ สมัยเรียนที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม พี่มดได้ร่วมเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ 14 ต.ค. 2516 กระทั่ง 6 ต.ค.2519 ขณะเรียนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เกิดเหตุการณ์ฆ่าหมู่นักศึกษาประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย กลับถูกเหล่าอำมาตย์ พวกอำนาจเก่าที่กลัวสูญเสียอำนาจ สร้างภาพ ปลุกปั่นด้วยความชำนาญตามความถนัดของพวกอันธพาล เป็นเหตุให้เกิดการนองเลือดกลางสนามหลวง หลายพันชีวิตจำต้องหลบหนีเข้าป่า ไปเรียนรู้ยุทธวิธีการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้นก็รวมพี่มดอยู่ด้วย ล่วงมาถึงปี 2532 พี่มดเริ่มเข้ามาทำงานภาคประชาชนในโครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ทำงานในด้านเชิงวิชาการ ร่วมคัดค้านเขื่อน และโครงการพัฒนาต่างๆ ของภาครัฐที่ภาคประชาชนถูกผลกระทบทั้งในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ที่ดิน และมามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ในกรณีเขื่อนปากมูน ที่อุบลราชธานี "แล้วคิดว่า จะช่วยอะไรได้บ้าง" นั่นคือคำถามที่ย้อนกลับมาสู่ผู้เขียนที่ถามว่า "พี่มด มีอะไรให้ผมช่วยได้บ้างครับ" เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนได้พูดคุยเหมือนถูกต้องมนต์ขลัง จากนั้นผู้เขียนก็รับอาสาฯ เป็นหน่วยปฐมพยาบาลกลางฝูงชน ที่ช่วงนั้นพี่มดเป็นที่ปรึกษาในการนำผู้ได้รับผลกระทบจากทั่วประเทศหลายหมื่นยันเรือนแสนคน มาปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลนานกว่า 3 เดือน เพื่อให้รัฐบาลเข้าร่วมแก้ไขปัญหาผลกระทบที่ภาคประชาชนได้รับความเดือดร้อน กระทั่งชวลิต ยงใจยุทธ และบรรหาร ศิลปอาชา จำต้องยอมลุกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ลงมารับฟังปัญหาถึงใจกลางกลุ่มผู้ชุมนุม กว่า 30 ปี ในการทำงานเคียงข้างประชาชนผู้ทุกข์ยาก แม้พี่มดจะถือกำเนิดมาในชนชั้นกลาง แต่ด้วยการคลุกคลีชีวิตร่วมกับชาวบ้านในชนชั้นล่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายลาวแถบภาคอีสาน เกิดความกลมกลืนจนเรียกได้ว่าพี่มด ถือเป็นลูกสาวคนจน เป็นลูกหลานชาวนา ชาวไร่ ชาวประมง ได้ด้วยหัวใจบริสุทธิ์จนถึงที่สุด แม้จะพูดลาว หรือภาษาท้องถิ่นไม่ได้ แต่ก็สามารถดำรงวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมเหล่านั้นได้ด้วยความจริงใจ "ฉันคือหิ่งห้อย ฉันจะเรืองแสงในยามที่ทุกสิ่งมืดมิด ฉันจะบินว่อนฉวัดเฉวียน เฝ้ามองความเป็นไปของสรรพสิ่ง... อย่างสงบ" อาจมีชนชั้นสูง และผู้มีอำนาจบางส่วนที่หวงแหนผลประโยชน์ส่วนตน ต่างแอบเบิกบานใจ ขณะเดียวกันประชาชนผู้ยากไร้ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ ของภาครัฐ พวกเขาเหล่านั้นต่างแอบร้องไห้ด้วยความรักอาลัย ขณะทราบข่าวว่าหิ่งห้อยน้อยตัวนี้หมดแรงโบยบินไปด้วยโรคมะเร็งร้ายในเต้านม เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2550 แม้การจากไปในโลกนี้ด้วยความสงบ แต่ด้วยคุณงามความดีที่ยืนหยัดเคียงข้างประชาชนมาโดยตลอด ภาคประชาชนจึงได้ร่วมกันจัดงานรำลึก 5 ปี การจากไปของพี่มด ในงานเวทีสาธารณะ 23 ปี การต่อสู่ของคนปากมูน กับเส้นทางการต่อสู้ของขบวนการภาคประชาชน ณ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ วันที่ 14 – 15 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา "ฉัน... จะเฝ้ามองความเป็นไปของสรรพสิ่ง อย่างสงบ" ผู้เขียนเชื่อมั่นเสมอว่า เมื่อคนที่เรารักจากไปแล้ว เขาจะกลายไปเป็นดวงดาวที่อยู่บนฟากฟ้า เป็นวิญญาณที่คอยเฝ้าดูด้วยความชื่นชม เพื่อคนรุ่นหลังคนที่จะอยู่และต่อสู้ต่อไป พักผ่อนให้สบายเถอะครับพี่มด ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ยังคงอยู่ แม้เวลาจะยังยาวนาน แม้พี่น้องที่จะร่วงโรย จะถูกลอบฆ่า ดังเช่นที่สุราษฎร์กรณีแกนนำหญิง 2 คนถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ลอบยิงตายด้วยอาวุธปืนเอ็ม 16 แม้เลือดจะรดรินหลั่งไหล ทว่าพี่น้องเราจะรวมความเป็นเอกภาพ ร่วมกันต่อสู่เพื่อความถูกต้อง เป็นธรรมต่อไป เริ่มปีใหม่นี้ นับจากนี้ จะร่วมร้อยดวงใจสานฝันหิ่งห้อยน้อย จะหอบความเบิกบานมาให้กับประชาชน ให้พี่น้องทุกคนมีชัยตลอดไป สวัสดีปีใหม่ 2556
เชื่อมั่น + ศรัทธา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาไทบันเทิง: The King of Dramas: กล้าดราม่าแม้แต่กับวงการละครของตัวเอง Posted: 08 Jan 2013 09:46 AM PST
เปิดฉากมา ละครเรื่องนี้ก็เหน็บแนมวงการละครของเกาหลีใต้อย่างหนัก ตัวแทนคิม หรือ แอนโธนี สาธยายความสำเร็จแบบก้าวกระโดดของวงการละครเกาหลีใต้ในช่วง K-Pop รุ่งเรืองไว้อย่างน่าสนใจ (ประหนึ่งไปรวบตึงงานวิจัย/รายงาน ที่เกี่ยวกับวงการละครเกาหลีใต้มาพูด) ในโลกนอกจอ สอดคล้องกับสิ่งที่ลีจุนกิ ให้สัมภาษณ์ไว้หลังจบละคร Arang And The Magistrate (ช่วงปลายปี) ว่า ธรรมชาติของคนเกาหลีใต้ยุคใหม่ เป็นคนที่มุ่งมั่นและจดจ่ออยู่กับงานมาก ทุกคนตั้งใจทำงาน เหมือนว่าโลกของพวกเขา เวลาทำงานมี 24 ชั่วโมง ซึ่งลีจุนกิมองว่า นี่เป็นเรื่อง "ผิดปรกติ" ละครให้ภาพของผู้กุมสภาพของวงการละครเกาหลีใต้ เป็นตัวแทนของอำนาจฝ่ายต่ำที่โลภและกระหายความสำเร็จที่เป็นตัวเรทติ้งเป็นพื้น แต่แล้วพระแม่มารีอาคงอยากจะเปลี่ยนโลก เลยพลิกกลับให้แกะน้อยของพระนาง ซึ่งมีโลภะเป็นเจ้าเรือนนั้น ถูกผลักให้ตกลงมาจากจุดสูงสุดของวงการละคร กลายมาเป็น Loser ที่คนในวงการโทรทัศน์และละครพร้อมใจกันเอาสองตีนกดหัวแอนโธนีให้หน้าแนบกับฝ่าตีนของเทวทัตในอเวจี แต่อย่างไรมิทราบได้ วงล้อแห่งชะตา พาโอกาสมาให้ตัวแทนคิมอีกครั้ง กับการสร้างละครเรื่องใหม่ มีหรือที่คนสันดานอย่างเขา จะไม่ใช้โอกาสนี้พาตัวเองเข้าสู่สังเวียนและเกมการแก้แค้น อะไรจะโชคดีขนาดนั้น พระบุตรอาจจะประทานนางเทวฑูตของพระองค์มาให้อีตาคิมอีกแน่นอน เพราะอยู่ๆ นักเขียนบทละครโนเนม พื้นเพเป็นลูกแม่ค้าขายปลาย่าง แต่คุณธรรมสูงส่งเหนือกำพืด จะเข้ามาเปลี่ยนนิสัยสุดแสนแย่ของตัวแทนคิม ให้ตรัสรู้อะไรบางอย่างในชีวิต หลังจากที่ต้องจมจ่อมอยู่ในโลกแห่งความมืดบอดในใจมาตั้งนาน กลเกมต่างๆ ที่พาให้คนในวงการละครเกาหลีใต้ ถูกแงะขึ้นมาเล่าแบบเสียดสีทุกเม็ด ตั้งแต่ตัวตนของ "ดารา" ที่ต้องสร้างความเป็น "ดารา" เพื่ออัพราคาให้ตัวเอง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในวงการละคร ตั้งแต่ผู้แทนบริษัทผลิต สถานีโทรทัศน์ ผู้จัดการฝ่าย นักเขียน เอเจนซี่ และบริษัทโฆษณา ถูกร้อยเรียงให้เห็นอย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องใช้วิธีการสื่อสารโง่ๆซื่อๆ อย่างเช่นที่ละครเหนือเมฆ 2 ชอบทำเวลาจะแอ๊บด่านักการเมือง อันนี้ด่ากันตรงๆ แต่มีชั้นเชิงและเทคนิคทางวรรณกรรมสูงกว่าเยอะ ที่จัญไรมากก็คงเป็นการบอกอ้อมๆ ว่า โลกนี้มันคือละคร ทุกคนก็ควรจะ perform ตัวเองให้สมบทบาทให้มากที่สุด แต่อย่ากระนั้นเลย ชีวิตบางทีมันก็ถูกกำหนดมาแล้ว ปรับตัวกับสิ่งที่คาดไม่ถึงบ้าง ชีวิตก็น่าจะมีความสุข ตกลงจะเอายังไงแน่ อีกเรื่องที่พีคสุดๆ คือ เป็นละคร ที่เล่าเรื่องการถ่ายทำละคร เท่ากับว่า ละครเรื่องนี้ ถ่ายทำไปออกอากาศไปพร้อมๆ กันทีเดียวสองเรื่อง! ทีมเขียนบทกับทีมกำกับสมาธิดีมากๆ ถ่ายไปออกอากาศไปตลอดทั้ง 18 ตอนโดยไม่มีหลุด สิ่งสุดท้าย ที่เห็นคือ แม้วงการละครเกาหลีใต้ จะมีข่าวแย่ๆ ที่รุนแรงมากๆ เช่น การฆ่าตัวตายของดาราเนื่องจากทนแรงกดดันไม่ไหวก็ตาม แต่สิ่งที่เห็นคือความชัดเจนของแต่ละหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับละคร สถานี ผู้อำนวยการผลิต ผู้กำกับ นักแสดง นักเขียน ต่างก็ยึดมาตรฐานทางวิชาชีพเข้าหากันทั้งสิ้น ไม่เหมือนช่อง 7 ที่สมัยก่อน แดง สุรางค์ ชี้นิ้วหมด หรือ บอย ถกลฯ จัดการเอาตามแต่ใจตัวเองหมดทุกอย่าง ก็อย่าได้สงสัยว่าทำไมละครบ้านเรา ถึงวันนี้ แม้กระทั่งเนื้อเรื่องมันก็ไม่ลอจิกแล้ว ในขณะที่ละครเกาหลีใต้ บทซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอุตสาหกรรมของแท้ ที่ไปตีตลาดไกลถึงโลกอาหรับ ซึ่งถือเป็นโลกที่วัฒนธรรมแข็งๆ มากๆ มาแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้สมัครรองเลขาฯ สปสช. เตรียมถอนตัว ไม่มั่นใจกระบวนการคัดเลือก Posted: 08 Jan 2013 08:54 AM PST คาดอาจถอนตัวจากการสมัครรองเลขาธิการ สปสช. หากมีการเลื่อนสัมภาษณ์ครั้งที่ 3 แจงไม่สบายใจกระบวนการคัดเลือก หลัง สปสช.เลื่อนสัมภาษณ์ 2 ครั้ง นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้สมัครตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า อาจจะถอนตัวจากการเป็นผู้สมัครตำแหน่งรองเลขาธิการสปสช. เนื่องจากไม่มั่นใจว่ากระบวนการคัดเลือกว่าจะโปร่งใสเพียงใด เนื่องจากที่ผ่านมามีการเลื่อนสัมภาษณ์ไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งในประกาศรับสมัครนั้น ได้ประกาศชัดเจนว่า จะมีการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกในวันที่ 4 มกราคม 2556 ก่อนจะเลื่อนเป็นวันที่ 8 มกราคม และล่าสุดเลื่อนเป็นวันที่ 14 มกราคม และยังไม่ทราบว่า วันที่ 14 มกราคม จะมีการเลื่อนอีกหรือไป จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีกระบวนการใดแอบแฝงอยู่หรือไม่ มีบุคคลใดในใจอยู่แล้ว หรือไม่ หรือมีการเจรจานอกรอบที่ยังไม่ลงตัว จึงต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเจรจาลงตัว นางสาวสุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า การที่ตนตัดสินใจลงสมัครเพื่อรับการคัดเลือกครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจอย่างจริงจังที่จะเข้ามาทำงานเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ในฐานะที่มีประสบการณ์การทำงานในแวดวงการบริหารขององค์กรระดับชาติ ทั้งยังเคยเป็นกรรมการบริหารฝ่ายนโยบายขององค์การกระจายและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) เป็นเวลา 3 ปี รวมถึงการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2 วาระ และการทำงานภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันสุขภาพต่อเนื่อง แต่เมื่อกระบวนการคัดเลือกไม่เป็นตามที่กำหนด มีความไม่ชอบมาพากลเช่นนี้ การถอนตัวจึงอาจจะดีกว่า
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การตรวจในวันเอดส์โลก พบผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยเดิมหลายเท่า Posted: 08 Jan 2013 08:38 AM PST ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ ฯ เผยพบผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3.6% จากการออกหน่วยบริการ "ตรวจเพื่อก้าวต่อ" ในวันเอดส์โลก ย้ำรัฐต้องสนับสนุนให้คนเข้าถึ จากการออกหน่วยบริการตรวจเลื ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยเปิดเผยว่า จำนวนผู้รับบริการดังกล่าวถื ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสายด่ "มาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้ , |
ภาคประชาสังคมค้านทุบศาลฎีกา วอนเวทีให้สาธารณะมีส่วนร่วม Posted: 08 Jan 2013 08:26 AM PST 8 ม.ค.56 เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม เตรียมอ่านประกาศและแถลงการณ์คัดค้านสำนักงานยุติธรรม กรณีปรับปรุงกลุ่มอาคารศาลฎีกาและสร้างอาคารใหม่แทนอาคารปฏิบัติหลังเก่า โดยประกาศเชิญชวนเข้าร่วมแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมได้แจ้งว่าจะดำเนินการปรับปรุงกลุ่มอาคารศาลฎีกาและสร้างอาคารใหม่แทนอาคารปฏิบัติหลังเก่า โดยให้เหตุผลว่า อาคารปฏิบัติงานหลังเก่ามีความเสื่อมโทรมและมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอนั้น และต่อมา สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ดำเนินการประกาศจัดซื้อจัดจ้างก่อสร้างอาคารศาลฎีกา และดำเนินการรื้อทุบอาคารอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่ก่อสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล โดยที่กรมศิลปากรได้ทำหนังสือแจ้งให้สำนักงานศาลฯทราบแล้วว่า อาคารหลังนี้เป็นโบราณสถาน และขอความร่วมมือให้สำนักงานศาลฯดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ในท้องที่เขตพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งห้ามการก่อสร้างอาคารสูงเกิน 16 เมตร แต่ตามแบบการก่อสร้างอาคารศาลหลังใหม่ จะมีความสูงอาคารถึง 31.7 เมตร ซึ่งขัดต่อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และสูงกว่าอาคารพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอีกด้วย เอกสารเชิญชวนดังกล่าวยังระบุด้วยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 57 รับรองสิทธิของประชาชนในการได้รับข้อมูลข่าวสาร การร้องเรียน และการมีส่วนร่วม ก่อนการอนุญาตหรือการดeเนินการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนการดำเนินโครงการ เครือข่ายประชาชน และภาคประชาสังคมที่เห็นคุณค่าอาคารประวัติศาสตร์อันเป็นโบราณสถานในพื้นที่มรดกวัฒนธรรมของชาติจึงได้รวมตัวกันเพื่อใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์ ปกป้องมรดกวัฒนธรรมของชาติ คัดค้านการดาเนินการของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้สำนักงานศาลยุติธรรมยุติการรื้อ ทุบ ทำลาย กลุ่มอาคารศาลฎีกา และดำเนินการตามแนวนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อมูลและให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดเห็นและร่วมตัดสินใจต่อการปรับปรุงอาคารนี้ เพื่อให้สำนักงานเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมในการเคารพ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช้ข้อยกเว้นทางกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งองค์กรตน โดยประกาศเชิญชวนนี้ ได้นัดหมายการอ่านแถลงการณ์คัดค้านในวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556 เวลา 9.00 น. ณ หน้าประตูเข้าอาคารศาลฎีกา ด้านสนามหลวง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คุยกับ 'เดวิด อิซักสัน': อนาคตของสื่อเก่า, ไอซีที และการพัฒนา Posted: 08 Jan 2013 04:40 AM PST อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือสื่อสารที่มีราคาถูกลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะค่อยๆ ลดบทบาทของสื่อเก่าลง โดยเฉพาะข่าว 'สืบสวน' ซึ่งเอ็นจีโอด้านสิทธิอาจจะทำได้ดียิ่งกว่า เนื่องด้วยทรัพยากรและข้อมูลที่เปิดกว้างมากขึ้น นั่นเป็นทัศนะของ 'เดวิด อิซักสัน' ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อใหม่และไอซีทีจากสวีเดน
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปี 2554 ที่เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ก่อนหน้าการจัดงานสุดยอดผู้นำอาเซียนไม่กี่สัปดาห์ ได้มีการจัดงาน 'บล็อกเฟสต์ เอเชีย 2012' ซึ่งชื่อก็บอกว่า เป็นเทศกาลของชาวบล็อกเกอร์และชาวเทคโนโลยีในเอเชีย โดยเหล่าบล็อกเกอร์เยาวชนชาวกัมพูชาที่เป็นคณะจัดงาน ระบุว่า ต้องการให้งานนี้เป็นพื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนทางความคิดระหว่างชาวบล็อกเกอร์จากประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมถึงเยาวชนชาวกัมพูชาที่จะได้เข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์จากนานาประเทศ ซึ่ง 'บล็อกเฟสต์' ที่กัมพูชา นับเป็นการจัดครั้งที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้านี้จัดขึ้นที่ฮ่องกงและมาเลเซีย งาน 'บล็อกเฟสต์' ที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเล็กๆ ชื่อ Build Bright University ในเมืองเสียบเรียบ มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คนจากทั้งเวียดนาม มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ฯลฯ โดยในงานดังกล่าว มีการพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับดิจิตอลเทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัยทางเน็ต เสรีภาพในโลกไซเบอร์ การบล็อกด้วยโทรศัพท์มือถือ (mobile blogging) การบล็อกเชิงมัลติมีเดีย โดยมีทั้งรูปแบบของปาฐกถา วงเสวนา และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 3 วัน มหาวิทยาลัย Build Bright ในเมืองเสียมราฐ สถานที่จัดงาน Blogfest 2012 'ประชาไท' ชวนแลกเปลี่ยนมุมมองกับ 'เดวิด อิซักสัน' ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ไอซีที และการพัฒนาจากสวีเดนที่เป็นผู้กล่าวปาฐกถางานนี้ อิซักสันเป็นนักข่าวมากว่า 30 ปี โดยรายงานจากประเทศแถบละตินอเมริกา รวมถึงในเอเชียอย่างในกัมพูชาและเวียดนาม เป็นผู้เขียนหนังสือกว่า 15 เล่มเกี่ยวกับละตินอเมริกา วารสารศาสตร์ ไอซีที และการพัฒนา ปัจจุบันเขาเป็นซีอีโอบริษัทที่ปรึกษาด้านสื่อ Global Reporting และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารองค์กร 'Spider' ที่ทำงานด้านพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีไอซีทีเข้ามาใช้ในการกระจายข้อมูลข่าวสาร และลดความยากจนในประเทศแถบแอฟริกาและเอเชีย ในการกล่าวปาฐกถา เขาตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มที่สำคัญบางประการ คือ การเสื่อมถอยลงของสื่อดั้งเดิม จุดจบของงานข่าวสืบสวนสอบสวน การใช้ Open Data (ข้อมูลดิบที่เปิดเผยต่อสาธารณะ) และการใช้ Crowdsourcing (การระดมข้อมูลจากผู้คน) เราจะมาพูดคุยกับเขาต่อเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว วงเสวนาเรื่องสถานการณ์สื่อและเสรีภาพในกัมชา ในงาน Blogfest 2012 คุณพูดถึงแนวโน้มของขาลงของสื่อเก่ากับขาขึ้นของสื่อใหม่ ช่วยขยายความประเด็นดังกล่าวหน่อยได้ไหม? ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า สื่อดั้งเดิมหรือสื่อเก่าถูกบังคับให้ต้องย้ายไปสู่พื้นที่ของสื่อใหม่ คุณมีพื้นที่คอมเมนท์เพิ่มขึ้น มีวีดีโอ หนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ ก็มีวิทยุและก็ช่องทางโทรทัศน์ แต่คำถามก็คือว่า ทำอย่างไรที่ทำให้เขาสามารถทำกำไรได้ อย่างสื่อดั้งเดิมหรือสื่อสิ่งพิมพ์ พวกเขาได้รายได้จากค่าโฆษณา เมื่อคุณซื้อหนังสือพิมพ์ คุณก็จ่ายเงินเป็นค่าส่ง จ่ายเป็นค่าข่าว แต่คนส่วนใหญ่ไม่อยากจะจ่ายเงินสำหรับสื่อดิจิตอล ถ้าคุณเข้าไปในร้านหนังสือ คุณจะไม่มีทางคิดหยิบเอาหนังสือออกไปโดยไม่ได้จ่ายเงิน แต่ถ้าคุณค้นเจอหนังสือในอินเทอร์เน็ตและคุณถูกขอให้จ่ายเงินทางเครดิตการ์ด คุณก็คงจะดาวน์โหลดมันมาแบบฟรีๆ อยู่ดี (ถ้าทำได้) ปัญหาก็คือ การหาโมเดลธุรกิจที่ทำได้จริง เราจะเห็นว่านิตยสารอย่างนิวส์วีคที่นำเทรนด์เรื่องไปเป็นสิ่งพิมพ์ดิจิตอลอย่างเต็มตัว จริงๆ แล้วผมก็ไม่เข้าใจว่าจะมีใครอยากจะซื้อหรือเปล่า ผมไม่ทราบว่าพวกเขาจะวางจุดยืนตัวเองอย่างไรในเมื่อทุกสิ่งอย่างก็อยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ฉะนั้น สื่อหลายๆ ที่ก็กำลังประสบปัญหานี้ ในสวีเดนเองก็มีการคุยกันว่าในอีก 4-5 ปี หนังสือพิมพ์ใหญ่ๆ จะเป็นแบบดิจิตอลทั้งหมด แต่พวกเขาจะทำเงินอย่างไรนี่สิ ฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังเห็นตอนนี้คือการลดจำนวนสต๊าฟในสื่อเก่า มีเงินไหลเข้าน้อยลงซึ่งก็ทำให้นักข่าวที่ดีๆ ลดลงด้วย เนื่องจากว่าคุณมีทรัพยากรที่น้อยลงในการทำข่าวสืบสวนสอบสวน ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อเก่าได้ทำมานานหลายปี ฉะนั้นก็มีความเสี่ยงว่านักข่าวสืบสวนสอบสวนจะถูกลดลง นอกจากนี้เรายังเห็นแนวโน้มว่ากลุ่มคนที่ทำงานสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนก็คือเอ็นจีโอ อย่างเช่นฮิวแมนไรท์วอทช์ ก็ได้เริ่มทำงานสอบสวนหลายอย่างมาก ซึ่งไม่มีสื่อไหนที่จะสามารถสนับสนุนทางการเงินหรือจัดการแบบที่พวกเขาสามารถทำได้ จริงๆ แล้วพวกเขากำลังมาแทนบทบาทของสื่อด้วยซ้ำ นี่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นทุกทีนะ แต่ว่ามันก็เป็นแนวโน้มที่ชัดแน่นอน นอกจากนี้เราก็ยังเห็นบทบาทของโซเชียลมีเดียในภาพทั้งหมดนี้ พูดให้เจาะจงก็คือ crowdsourcing ที่มีความสำคัญ มีตัวอย่างของ Open Development of Cambodia ที่ผมคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมาก โดยคนทำงานก็จะรวบรวมข้อมูลสาธารณะที่เกี่ยวกับสิทธิที่ดิน การยึดที่ดินและการลงทุนต่างๆ ลงในแผนที่ เพื่อให้คนอื่นๆ อย่างทนายความหรือนักข่าวนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ฉันคิดว่านั่นก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะใช้ crowdsourcing ให้เกิดประโยชน์ ตรงนี้แหละที่ Open Data เข้ามามีบทบาท เนื่องจากว่าข้อมูลก็ได้เป็นที่เปิดเผยเยอะขึ้นมาก ธนาคารโลกเองก็บอกนักหนาว่ามันเปิดเผยขึ้นมาก ก็ต้องลองดูว่าเขาจะเปิดเผยเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ที่มาที่ไปของเงิน ถ้าหากว่าเราสามารถตรวจสอบได้นั่นก็จะเป็นความท้าทายต่อไป คุณกำลังบอกว่าตอนนี้พวกนักข่าวมีความสำคัญน้อยลง เนื่องจากใครก็ได้สามารถผลิตเนื้อหาของตนเองและงานสืบสวนสอบสวนอย่างนั้นหรือเปล่า ผมคิดว่าเส้นแบ่งมันค่อนข้างจะเบลอมาก นิโคลัส คริสตอฟ เขาเป็นคอลัมนิสต์ของนสพ. เดอะนิวยอร์กไทมส์ แต่ในที่สุดผมคิดว่าเขาก็คือบล็อกเกอร์และคนโซเชียลมีเดียคนหนึ่ง เขามีพื้นที่ในนสพ. ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่การเข้าถึงผู้ชมของเขาทางทวิตเตอร์และในเฟซบุ๊กนั้นใหญ่กว่าคนอ่านในนิวยอร์กไทมส์มาก ฉะนั้นผมคิดว่าเขาเป็นตัวอย่างของการผสานเส้นแบ่งที่ไม่ได้จำเป็นต้องแย่เสมอไป เพราะเขาได้สร้างบทสนทนากับผู้อ่านซึ่งผมคิดว่ามีคุณค่ามาก ฉะนั้นผมคิดว่าเราอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญ นั่นคือเราไม่รู้ว่าสื่อจะไปทางไหน ในขณะเดียวกันมันก็มีความเป็นไปได้และมันก็มีปัญหา เนื่องจากว่าหน่วยงานของรัฐบาลและบริษัทได้ว่าจ้างคนปั่นกระแส (spin doctors) และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ อย่างน้อยในสวีเดน คนที่ทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ในรัฐบาลและบริษัทเพิ่มสูงขึ้น ส่วนนักข่าวสอบสวนลดน้อยลงเรื่อยๆ ฉะนั้น สมดุลก็เอียงไปทางผู้ที่มีอำนาจในมืออยู่แล้ว หากว่าโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยสร้างสมดุลและทำอะไรได้มากขึ้นตรงนี้ก็จะดี แต่อย่างในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนก็ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากนัก เขาจึงยังอ่านหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ เลยไม่แน่ใจว่าหนังสือพิมพ์จะตายลงในภูมิภาคนี้จริงหรือ ผมก็ไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับประเทศไทย แต่ในระยะยาวแล้วมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือแบบเบสิคๆ กันหมดแล้ว เขาสามารถส่งข้อความได้ อย่างกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมืองต่างๆ เวลามีอะไรก็จะเกิดจากการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ อาจจะด้วยทวิตเตอร์หรือไมโครบล็อกในประเทศจีน ผู้คนนั้นใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งนั้น และในอีก 5-10 ปี ผมคิดว่าแนวโน้มนี้ก็ยังจะเป็นต่อไปเพราะของพวกนี้ก็ราคาถูกลงด้วย นอกจากนั้น สิ่งที่เราเห็นก็คือการพยายามควบคุมสื่อออนไลน์หรือนิตยสารออนไลน์ต่างๆ เหตุผลหนึ่งก็เป็นเพราะวัฒนธรรมใหม่ที่คุณไม่จำเป็นต้องทำนสพ. ต้องมาจดทะเบียนและมีเงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะทำนสพ. และส่งออกข้อมูลข่าวสาร สมัยนี้ ถ้าคุณเป็นบล็อกเกอร์คนหนึ่งคุณก็สามารถเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตและมันก็จะถึงผู้คนนับล้านทั่วโลก ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อสิบปีก่อน แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้รัฐบาลกังวลใจและพยายามควบคุมพื้นที่สื่อ เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่าเรื่องไหนจะแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว บางเรื่องกลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะมีคนเอาไปเล่นต่อ บางคนอาจจะทำอีกอย่างแล้วมันก็กลายเป็นเรื่องใหญ่มากทันที แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลควบคุมไม่ได้และจึงกังวลมาก เดวิด อิซักสัน กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ก็เริ่มถูกนำเอาไปใช้ในหลายประเทศแล้วในขณะนี้ รัฐบาลต้องการที่จะควบคุมด้วยบริบทที่สำคัญที่สุดคือความมั่นคง จากนั้นก็เป็นเรื่องภาพยนตร์อนาจาร เรื่องเพศสัมพันธ์ ภาพยนตร์อนาจารเด็กและเรื่องอื่นๆ เหตุผลแรกคือเรื่องความมั่นคงนั้นได้ถูกท้าทายในยุโรป ผมหมายถึงว่า คุณไม่สามารถจะหยุดอัลไคด้าด้วยการเข้าค้นข้อมูลในทวิตเตอร์หรืออีเมลล์ของทุกคนได้หรอก คือว่า อัลเคด้าคงจะไม่มาส่งอีเมลล์บอกว่า โอเคเราจะลงมือบอมบ์กันพรุ่งนี้แล้วนะ หรือให้คนมาคลิก 'ไลค์' ถ้าเห็นด้วยอะไรอย่างนี้ พวกเขาคงไม่ทำกันอย่างนั้น มันเป็นวิธีที่แย่และต้องการจะควบคุมอย่างอื่นๆ ส่วนเรื่องภาพยนตร์อนาจารหรือเพศสัมพันธ์ ก็อยู่ในบริบทที่คล้ายกัน โดยเฉพาะในประเทศแถวนี้ที่มีโสเภณีเด็กจำนวนมาก คือถ้าคุณอยากจะหยุดมันจริงๆ นะก็เริ่มต้นที่บนท้องถนนก่อนก็ได้ ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่อินเทอร์เน็ตเสียหน่อย แต่ก็แน่นอนว่าบางอย่างก็ต้องมีข้อจำกัด เช่นภาพยนตร์อนาจารเด็กนี่แน่นอนว่ารับไม่ได้ ซึ่งในสวีเดนก็มีองค์กรเอ็นจีโอที่ทำงานร่วมกับตำรวจและภาคประชาสังคมซึ่งหากว่าพบเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะรายงานและปิดกั้น คือมันก็มีบางอย่างที่ยอมรับไม่ได้อย่างภาพยนตร์อนาจารเด็ก แต่ถ้าอย่างอาชญากรรมทางการเงิน แน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ที่ที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องนี้ ปัญหามันอยู่ที่มันมีการย้ายโอนเงินออกจากประเทศไปเก็บไว้ในสวิตเซอร์แลนด์หรือเกาะเคย์แมนอะไรพวกนี้มากกว่า มองเรื่องดีเบตระหว่างเสรีภาพและการควบคุม และระหว่างฟรีสปีชและเฮตสปีชว่าอย่างไร มันเป็นเรื่องที่ตอบยากมาก เพราะเอาจริงๆ ข้อจำกัดจะอยู่ตรงไหน ในยุโรปคุณไม่สามารถปฏิเสธว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่มีจริง หรือพูดว่าเห็นด้วยกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะนั่นเป็นอาชญากรรม บางคนก็กล่าวหรือตั้งคำถามว่าทำไมเราพูดคุยเรื่องมุสลิมไม่ได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่คอมเมนท์ท้ายข่าวหรือในเซเชียลมีเดียก็ได้เปิดต่อคำพูดที่เหยียดเชื้อชาติและดูหมิ่นมากมาย นั่นก็เป็นพื้นที่ที่ยากที่จะบอก เราต้องอดกลั้นต่ออะไรบ้างในนามของการถกเถียงอย่างเสรี หรือคุณควรจะต้องอดกลั้นหรือไม่ ในกรณีนี้ สื่อหลายที่ในสวีเดนตัดสินใจจะปิดไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็นท้ายข่าว ส่วนหนึ่งเพราะว่ามันละเมิดคนอื่นมาก และก็ยากที่จะควบคุมเพราะคุณจำเป็นต้องมีคนดูแลพื้นที่ดังกล่าว 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ก็เลยปิดไป แต่แน่นอนว่าคุณก็เสียพื้นที่ในการดีเบต แต่มันก็เป็นสิ่งที่มากับอย่างอื่นเพราะพื้นที่มันเป็นพื้นที่เปิด ใครสามารถมาพิมพ์อะไรก็ได้ และเมื่อเขาตีพิมพ์เรื่องส่วนบุคคลออกไปแล้ว เจ้าของเว็บก็ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองได้ เพราะอย่างในนสพ. คุณก็อาจจะบอกได้ว่าคุณไม่ได้เป็นคนเขียน แต่ในอินเทอร์เน็ตมันเป็นคนที่ปัจเจกและกึ่งนิรนาม อีกอย่างคือ ถ้ามันอยู่ในเน็ตแล้วมันก็จะคงอยู่ในพื้นที่นั้นอีกนาน ผู้เข้าร่วมงาน Blogfest 2012 จากกัมพูชาและประเทศต่างๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาระ+ภาพ: ไทม์ไลน์ปราสาทพระวิหาร Posted: 08 Jan 2013 04:33 AM PST
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยันไม่ย้าย ‘บ้านมั่นคง’ ไปการเคหะฯ หลังสลัม 4 ภาค-สอช.ออกโรงทวง Posted: 08 Jan 2013 03:55 AM PST เครือข่ายสลัม 4 ภาค บุกทำเนียบ ค้านการโยก 'โครงการบ้านมั่นคง' ให้การเคหะฯ ดูแล ด้าน 'สุพร' ประสานงาน ยัน พม.บอกไม่มีการโอนย้ายโครงการฯ ทั้งมีงบหนุนแน่นอน วันนี้ (8 ม.ค.56) เวลา 9.00 น. เครือข่ายสลัม 4 ภาค ราว 1,000 คน รวมตัวที่บริเวณข้างประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล ปักหลักคัดค้านการโยกงบประมาณแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด ในโครงการบ้านมั่นคง ที่รับผิดชอบโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.ให้การเคหะแห่งชาติดูแล ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีการเสนอ นายสุชิน เอี่ยมอินทร์ แกนนำเครือข่ายคนไร้บ้าน ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเรียกร้องในการชุมนุมว่ามี 6 ข้อ คือ 1.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สานต่อโครงการบ้านมั่นคง 2.ให้รีบโอนงบประมาณ 3 พันล้าน ที่ ครม.อนุมัติแล้วมาให้กับชุมชน เพื่อมาทำบ้านมั่นคง (เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2552 ครม.เห็นชอบอนุมัติงบ 6 พันล้าน เดินหน้าโครงการบ้านมั่นคง โดยการจ่ายงบฯ ตามมติ ครม.เห็นชอบให้จ่ายในปี 2553 เป็นเงิน 3,000 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ในปี 2554 ส่วนอีก 1,000 ล้านบาทจะจ่ายในปี 2555) 3.โครงการชุมชนใหม่คนไร้บ้านในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้โอนเงินมาแค่ปลูกบ้าน อยากให้รัฐบาลนี้ช่วยสนับสนุนเงินซื้อที่ปลูกบ้านเป็นเงิน 77 ล้านบาท ใน 200 หน่วย ได้แก่ กทม. 100 หน่วย ขอนแก่น 50 หน่วย เชียงใหม่ 50 หน่วย 4.ให้งบประมาณสร้างบ้านชั่วคราวระหว่างการปลูกบ้านมั่นคง 5.สนับสนุนงบประมาณติดตั้งไฟฟ้า และน้ำประปา และ 6.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พม.ต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเป็นคนกลางระหว่าง เจ้าของที่และชุมชน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทวงถามมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า ด้านนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ได้เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนและลงมาพูดคุยกับทางเครือข่ายฯ ยืนยันจะไม่มีการโอนย้ายโครงการบ้านมั่นคงไปอยู่ในความดูแลของการเคหะฯ ซึ่งดูแลโครงการบ้านเอื้ออาทรอยู่ อีกทั้ง นายสุพรยังได้ลงนามในหนังสือเรื่องการแก้ไขปัญหาของเครือขายสลัม 4 ภาค หลังการเจรจาร่วมกับตัวแทนเครือข่ายฯ โดยระบุถึงการประชุมวานนี้ (7 ม.ค.56) ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายฯ และสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) โดยมีนายอนุสันต์ เทียนทอง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ เข้าร่วมและได้มีการชีแจงว่า ยังไม่มีการโอนย้ายโครงการบ้านมั่นคง และข้อร้องเรียนในวันดังกล่าวได้นำเสนอต่อ รมว.พม. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้รับทราบแล้ว ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าผลการเจรจามีการยืนยันว่าจะยังคงให้ พอช.ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงตามเดิม และให้ พม.จัดทำแผนงบประมาณเพื่อสนับสนุน พอช.ดำเนินการต่อไป ส่วนการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อจะเร่งรัดจัดการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ โดยเร็ว ต่อมากลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค จึงได้สลายการชุมนุมอย่างสงบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แนะช่อง 3 ส่ง 'เหนือเมฆ 2' ให้ กสทช. ตรวจ Posted: 08 Jan 2013 03:49 AM PST
สุภิญญาไม่เห็นด้วยอ้างมาตรา 37 พร่ำเพรื่อ อย่างไรก็ตาม สุภิญญา มองว่า กสทช.ควรเรียกช่อง 3 มาชี้แจง และหากบอกว่าแบนเพราะเนื้อหาขัดมาตรา 37 ก็ควรส่งเทปละครมาให้ กสทช.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยดู หาก กสทช.บอกว่าไม่ขัดก็จะสามารถออกอากาศได้ แต่จะนำมาออกอากาศหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารช่อง 3 ทั้งนี้ ล่าสุด วันนี้ทราบว่าช่อง 3 ได้ส่งหนังสือชี้แจงมาที่สำนักงานแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังอยากให้ช่อง 3 มาชี้แจงด้วยตัวเองมากกว่า สุภิญญาระบุว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการอ้างมาตรา 37 พร่ำเพรื่อ เพราะมาตรานี้ถ้าไม่ทำให้ชัดเจน จะทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัวมากขึ้น ส่วนตัวค้านร่างนี้ตั้งแต่ยังเป็นเอ็นจีโอ และตั้งแต่รับตำแหน่ง กสทช.มา ก็ระวังในการใช้มาตรา 37 ในการแบนโดยไม่มีเหตุผล ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยใช้มาตรานี้แบน เพราะมองว่าการแบนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อดีตประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย เสนอว่า ดังนั้นวันนี้ขอให้ยกประเด็นว่า เป็นโทรทัศน์ช่องอะไร คนสั่งการเป็นใคร อยู่ที่ไหน ไว้ก่อน แล้วถามตัวเองว่ารับได้หรือไม่ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น เพราะสิ่งที่เรากำลังพบจากละครเรื่องนี้ คือสังคมไทยกำลังถูกละเมิดสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญเปิดไว้ให้กับประชาชนและสื่อเป็นอย่างมาก ต่อมาตรา 37 ที่กำลังเป็นปัญหา สุวรรณากล่าวว่า ในฐานะหนึ่งในกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ตอนที่เขียน คิดกันอยู่นาน เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเหมือนดาบสองคม แต่จะไม่มีก็ไม่ได้ เพราะความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องสำคัญ ศีลธรรมเป็นเรื่องจำเป็น เรื่องลามกอนาจารเป็นเรื่องที่สื่อต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม ประเมินว่ามาตรานี้ไม่ได้นำมาใช้กันง่ายๆ กรณีที่มีผู้แสดงความเห็นว่า ละครอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 ส่วนตัวได้กลับไปดูละครเรื่องนี้ตั้งแต่ตอน 1-8 ก็ไม่พบว่าจะมีเรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 อย่างไรก็ตาม ยังมีความมั่นคงอีกหลายด้าน เช่น ความมั่นคงของรัฐ นักการเมืองหรือข้าราชการ จึงเป็นเรื่องน่าคิดและต้องติดตามต่อไป สุวรรณา กล่าวว่า ฝากถึงฝ่ายการเมืองว่าถ้าแทรกแซงสื่อ จะไม่รอด เพราะมาตรา 46 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญ บอกไว้ว่าอาจถูกปลดจากตำแหน่งได้ เราหลุดพ้นภาวะการปิดกั้นสื่อแบบนั้นมานานแล้ว ทั้งนี้ ตั้งคำถามด้วยว่า ในกรณีที่สื่อปิดกั้นตัวเอง ทำให้ประชาชนเสียหาย ต้องเพิ่มบทลงโทษแก่สื่อหรือไม่
"เสรีภาพในการตีความละครคือเสรีภาพของผู้ชม ผู้ชมมีเสรีภาพที่จะดูแล้วคิดว่ามันไปเฉี่ยวเรื่องอะไร" สุภาพรกล่าวและว่า แต่เสรีภาพนี้กลับถูกจำกัด เมื่อช่อง 3 ระบุว่าละครนี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม สุภาพร แสดงความเห็นว่า การอ้างว่าเนื้อหาผิดมาตรา 37 นั้นอันตราย ทั้งที่กฎหมายเขียนไว้กว้าง เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้น แต่สื่อกลับเซ็นเซอร์ตัวเอง ถามว่าถ้าคนทำงานสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง แล้วสื่อจะกล้าตั้งประเด็นทางสังคม เพื่อสื่อสาร เปิดหูเปิดตาประชาชนได้อย่างไร สุภาพร กล่าวว่า ในการเลือกประเด็นนำเสนอต่างๆ หลายคนอาจเชื่อว่าละครมีพลัง จึงคิดว่าเนื้อหาเป็นเรื่องอ่อนไหว ทั้งที่คนดูอาจไม่ได้ตีความเหมือนกัน และต่างมีจุดประสงค์ในการรับชมคนละแบบ จึงน่าแปลกใจว่าอะไรที่ทำให้คนเซ็นเซอร์กลัวแม้แต่เซ็นเซอร์ตัวเอง สุภาพร กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะเป็นละครเหนือเมฆ แต่เพราะเป็นละครที่มีคนพยายามสร้างสรรค์และมีคนดูอยู่ แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจมาบอกว่าอย่าดู ทั้งที่เรารู้ว่าละครทำจนเสร็จแล้ว ถ้าความรื่นรมณ์ยังถูกห้ามได้ขนาดนี้ จะไปเอาเรื่องจริงและข้อเท็จจริงมาจากไหน
เกริกเกียรติ กล่าวว่า เชื่อว่าคนดูมีความสามรถในการวิเคราะห์แยกแยะอะไรจริงไม่จริง ไม่ใช่นั่งดูแล้วเชื่อกันหมด ส่วนตัวไม่ได้มองว่าจะเหมือนละครปลุกระดมแบบสมัยหนึ่งในฝรั่งเศส แต่เป็นการเสนอเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันธรรมดา ก็ไม่รู้ทำไมสะดุ้งกันง่าย ทั้งนี้ แทนที่จะสะดุ้งหรือสันหลังสวะ ละครทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนที่ดีให้กับสังคมและคนที่มีบทบาทในสังคม ถ้าละครนี้มีพล็อตอย่างนี้กลับมองว่ามีแต่ได้กับได้ ในช่วงเปิดให้แสดงความเห็น มีผู้ร่วมเสวนา มองว่า รัฐบาลควรออกมาชี้แจง มีบางส่วนที่มองว่ารัฐบาลเซ็นเซอร์เรื่องนี้ เพื่อกลบกระแสการเคลื่อนไหวกรณีปราสาทพระวิหาร บ้างชี้ว่า ปัจจุบันในโลกออนไลน์ ต่างฝ่ายต่างปักใจเชื่อและเผยแพร่ข้อมูลโดยยังไม่มีหลักฐาน โดยตอนหนึ่ง ขณะที่มีนักศึกษาแสดงความเห็นว่า สิ่งที่ต้องเรียกร้องเบื้องต้นคือข้อเท็จจริง เรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวกับรัฐบาลก็ได้ ก็มีหลายคนตะโกนแสดงความไม่พอใจ รวมถึงลุกขึ้นมาหานักศึกษาคนดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าต้องการลุกมาชี้แจง อย่างไรก็ตาม สุดท้ายสถานการณ์จบลงด้วยความเรียบร้อย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อธิป จิตตฤกษ์: 12 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคนไทย Posted: 08 Jan 2013 02:37 AM PST รวม 12 ประเด็นที่คนไทยมักเข้าใจผิดทั้งในแง่หลักการสากล-กฎหมาย อาทิ การให้ 'เครดิต' เจ้าของงาน ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วหรือไม่ การละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นการ 'ขโมย' จริงหรือ การปราบปรามทำให้การละเมิดน้อยลงจริงหรือเปล่า ปีที่ผ่านมาประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ในโลกเป็นประเด็นที่ร้อนแรงมาก ในประเทศไทยแม้ว่าจะมีการตื่นตัวด้านลิขสิทธิ์บ้างจากประชาชนทั่วไป แต่การตื่นตัวนั้นกลับเป็นการตื่นตัวที่กลับหัวกลับหางกับต่างประเทศ นักเคลื่อนไหวด้านลิขสิทธิ์จากฝั่งประชาชนมองว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของรัฐนั้นขยายตัวเกินไปและมีลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน นักทฤษฎีฝ่ายซ้ายจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มออกมาตีความลิขสิทธิ์เป็นกลไกของทุนนิยมที่ใช้ในการขูดรีดแรงงานผู้คนในรูปแบบใหม่ผ่านกฏหมายของรัฐ ทางด้านฝั่งไทย การตื่นตัวด้านลิขสิทธิ์จากฟากประชาชนกลับเป็นการรณรงค์ให้ผู้คน "ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ซะเองและมองว่าผู้คนจำนวนมาก "ไม่มีสำนึกด้านลิขสิทธิ์" แน่นอนว่าการกล่าวอ้างเหล่านี้ก็ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการชั่งตวงวัดเชิงปริมาณใดๆ หากแต่เกิดจากการกวาดสายตามองปรากฏการณ์ต่างๆ สังคมไทยที่มีการ "ลอกเลียน" กันอย่างแพร่หลาย การที่สังคมไทยมีปรากฏการณ์ที่กลับหัวกลับหางกับโลกตะวันตกนี้ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดอะไรสำหรับสังคมนี้ที่เต็มไปด้วยปรากฎการทางสังคมที่ "สามัญสำนึก" ในแบบตะวันตกนั้นยากจะเข้าใจมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีสิ่งที่ลักลั่นไม่น้อยในหมู่ผู้คนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องลิขสิทธิ์ ก็คือผู้คนกลุ่มนี้ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจด้านลิขสิทธิ์เป็นอย่างดีเลย ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของผู้ที่ใส่ใจในการ "ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ในไทยนั้นในหลายๆ ครั้งไม่ได้มีมากไปกว่าผู้นิยมการ "ละเมิดลิขสิทธิ์" ด้วยซ้ำ แม้ว่าจะมีผู้ใส่ใจในการรณรงค์ให้ผู้คนปฏิบัติตาม "ลิขสิทธิ์" มากขึ้นในสังคมไทย แต่ความเข้าใจด้านลิขสิทธิ์กลับไม่ได้มากขึ้นไปตามกัน ในโอกาสนี้ผู้เขียนจึงอยากจะทำการแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆ ที่ปรากฏทั่วไปในสังคมไทยผ่านบทความสั้นๆ ชิ้นนี้ ทั้งนี้บทความความนี้จะวางอยู่บนกฎหมายไทยเป็นหลัก โดยพิจารณา "หลักการสากล" ทั่วๆ ไปของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศประกอบในกรณีที่กฎหมายไทยไม่มีความชัดเจนเพียงพอ
ความเข้าใจผิดที่ 1: ต้อง "จดลิขสิทธิ์" ถึงจะมีลิขสิทธิ์ความเข้าใจผิดระดับคลาสสิคของคนไทยคือการต้องไป "จดลิขสิทธิ์" งานสร้างสรรค์ก่อน งานถึงจะมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ข้อเท็จจริงคือไม่ว่าจะเป็นไทยหรือที่ใดๆ ในโลก กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองงานที่มีลิขสิทธิ์ตั้งแต่เริ่มสร้างสรรค์มันออกมาเลยทันที ซึ่งการคุ้มครองแบบนี้ต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาชนิดอื่นๆ ที่มักต้องไป "จดทะเบียน" กับรัฐและต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองก่อนจะได้รับการคุ้มครอง เช่น สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า อย่างไรก็ดีการ "จดลิขสิทธิ์" ก็เป็นหลักประกันให้รัฐนั้นรับรู้ถึงการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และทำให้ในยามที่ต้องยืนยันกับรัฐว่าตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริง (เช่นในกรณีการฟ้องร้อง) จะสามารถยืนยันได้ง่ายกว่า ความเข้าใจผิดที่ 2: ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิในการผูกขาดการขายสินค้าที่โยงกับทรัพย์สินทางปัญญาทุกชนิดถ้าจะอธิบายให้สั้นแหละง่าย ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองงานจำพวกการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมเท่านั้น ดังนั้นลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองแค่งานสร้างสรรค์จำพวก ข้อเขียน บทพระพันธ์ทางดนตรี งานบันทึกเสียง ภาพยนตร์ งานออกแบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เท่านั้น การละเมิดสิทธิในการผูกขาดการแสดงออกเหล่านี้เท่านั้นถึงจะเป็น "การละเมิดลิขสิทธิ์" การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาชนิดอื่นๆ ก็จะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาชนิดอื่นไป เช่น การผลิตยาโดยไม่มีใบอนุญาตก็เป็นการ "ละเมิดสิทธิบัตร" ที่คุ้มครองการผูกขาดกระบวนการผลิตยา การซื้อเสื้อปลอมที่มีโลโก้แบรนด์ดัง ก็เป็นการ "ละเมิดเครื่องหมายการค้า" ที่คุ้มครองการผูกขาดการใช้โลโกดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ การเป็น "ตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว" ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์นั้นไม่ใช่การ "ได้ลิขสิทธิ์" ในมุมมองของกฎหมาย ดังนั้นการบอกว่าตนได้ลิขสิทธิ์มันฝรั่งทอดกรอบมาขายในท้องตลาดไทยนั้นจึงไม่ถือว่าเป็น "ลิขสิทธิ์" ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ที่ผู้เขียนพบมาจริงๆ ณ ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง) ความเข้าใจผิดที่ 3: การแสดงออกทุกรูปแบบได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์โดยทั่วไปกฎหมายเกณฑ์หนึ่งของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็คืองานที่คุ้มครองจะต้องมี "ความเป็นต้นฉบับ" (originality) เพียงพอ ดังนั้นสิ่งที่ไม่มีความเป็นต้นฉบับเพียงพอ แม้ว่าจะเป็นงานสร้างสรรค์แขนงที่กฎหมายลิขสิทธิ์ครอบคลุม แต่มันก็อาจไม่ได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ เช่น วลีสั้นๆ ที่พูดกันตามอินเทอร์เน็ตกันอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็น "เจ้าตายแล้ว" "โหดสัส" "แถวนี้แม่งเถื่อนไม่แน่จริงมึงอยู่ไม่ได้" "นี่มันตัดต่อชัดๆ" "ขอ 3 คำ" ก็ไม่น่าจะถือว่ามีความเป็นต้นฉบับเพียงพอที่จะกฏหมายลิขสิทธิ์โดยทั่วไปจะคุ้มครอง อย่างไรก็ดี ข้อเขียนที่ไม่ได้ยาวไปกว่ากันนักแต่มีลักษณะของการเป็นบทกวีหรือกระทั่งคำคมก็อาจได้รับการคุ้มครองได้ ไม่ว่ามันจะได้รับการตีพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์หรือถูกโพสต์ลงบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งที่ไม่มีใครสนใจ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในหลายๆ ครั้ง "ความเป็นต้นฉบับ" ก็เป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนนัก และงานชิ้นหนึ่งๆ จะมีความเป็นต้นฉบับพอหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลในพื้นที่และเวลาหนึ่งๆ ความเข้าใจผิดที่ 4: ใครเห็นการละเมิดลิขสิทธิ์จะไปแจ้งตำรวจให้จับก็ได้และตำรวจเห็นคนละเมิดลิขสิทธิ์ต้องจับพรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของไทย มาตรา 66 ระบุว่าความผิดละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ นี่หมายความว่าความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดส่วนบุคคลซึ่งเจ้าทุกข์เท่านั้นที่เป็นผู้ดำเนินคดีได้ ไม่ใช่อาญาแผ่นดินที่ใครจะไปแจ้งตำรวจก็ได้ ดังนั้นถ้าไม่มีการเอาความจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการละเมิดลิขสิทธิ์แค่ไหนก็ไม่สามารถเอาความได้ และนี่หมายความถึงการที่ตำรวจอาจเดินผ่านแผงซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยไม่ทำอะไรและมันก็ไม่ผิดแปลกอะไรด้วย เพราะตราบที่ไม่มีเจ้าทุกข์ที่ได้รับการละเมิดจากแผงซีดีนั้นๆ ร้องเรียน ตำรวจก็ไม่มีสิทธิ์ใช้อำนาจรัฐปราบปราม อนึ่ง ความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ต่างจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่เป็นอาญาแผ่นดิน ซึ่งในทางปฏิบัติหมายความว่าถ้าเราเจอแผงซีดีเถื่อน เราไม่มีสิทธิ์แจ้งตำรวจให้ดำเนินคดีได้ แต่ถ้าเราเจอร้านเสื้อเถื่อนที่มีโลโกแบรนด์ดังแปะหราอยู่ เราสามารถแจ้งตำรวจให้ดำเนินคดีได้ ความเข้าใจผิดที่ 5: การนำงานลิขสิทธิ์ไปใช้แบบไม่แสวงกำไรไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์โดยทั่วไปการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ในแบบที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์จะมีระบุอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ทุกประเทศในฐานะของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งหลักการของข้อยกเว้นนี้มักจะเรียกกันว่า Fair Use หรือ การใช้ที่ชอบธรรม อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปในกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็ไม่มีระบุว่าการใช้งานลิขสิทธิ์แบบไม่แสวงกำไรจะเป็นการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ กฎหมายไทยก็เช่นกัน ดังนั้นความเข้าใจว่าการใช้อย่างไม่แสวงกำไรเป็นการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยปริยายจึงเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไม่ว่าจะเป็นการ "ทำเพื่อการค้า" หรือไม่ ถ้าตัวการกระทำเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ล้วนมีความผิด ทั้งนี้ในกรณีของไทยการ "ทำเพื่อการค้า" หรือไม่นั้นมีผลในแง่ความหนักของโทษที่การ "ทำเพื่อการค้า" มีโทษมากกว่า (ตามพรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของไทย มาตรา 69) สำหรับในกรณีของต่างประเทศ หลายๆ ประเทศมีการระบุในกฎหมายว่าการ "ทำเพื่อการค้า" มีความผิดทั้งในทางแพ่งและอาญา ส่วนการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่ได้เป็นไม่แสวงกำไรมีความผิดเพียงแค่ทางแพ่งเท่านั้น ความเข้าใจผิดที่ 6: การนำงานลิขสิทธิ์มาดัดแปลงมากๆ จนไม่เหลือเค้าเดิมไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์การนำงานลิขสิทธิ์มาทำการ "ดัดแปลง" โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น (หากอยู่นอกข้อยกเว้นในการละเมิดลิขสิทธิ์) ดังนั้นในทางเทคนิคแล้ว หากนำงานอันมีลิขสิทธิ์ใดๆ มาดัดแปลงจนไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว ถ้าต้องการให้ถูกกฎหมายก็ต้องกล่าวอ้างว่างานดังกล่าวเป็นงานชิ้นใหม่ หากกล่าวว่างานชิ้นดังกล่าวเป็นงานที่ทำการดัดแปลงจากงานของผู้อื่นเมื่อใดแล้วไม่ได้รับอนุญาตในการดัดแปลงดังกล่าวมาก่อน ก็น่าจะถือว่าเป็นการยอมรับว่าตนเองละเมิดลิขสิทธิ์ทันที อย่างไรก็ดีในแวดวงการทำงานสร้างสรรค์หลายๆ แวดวง การ "ละเมิดลิขสิทธิ์" ด้วยการสร้างงานต่อยอดพร้อมเคารพผู้ที่ตนต่อยอดงานมาอย่างชัดเจนเช่นนี้ก็กระทำกันเป็นปกติ เป็นจารีตที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะไม่ทำการดำเนินคดีใดๆ ทั้งๆ ที่จริงๆ เขามีสิทธิ์ตามกฏหมายที่จะกระทำได้ กรณีการไม่ดำเนินคดี "ละเมิดลิขสิทธิ์" นี้ที่โด่งดังที่สุดล่าสุดไม่นานมานี้ก็ได้แก่กรณีของมิวสิควีดีโอล้อเลียนเพลง Gangnam Style ที่ทำกันแพร่หลายไปทั่วโลก เจ้าของลิขสิทธิ์มิวสิควิดีโอเพลงนี้เลือกที่จะไม่ดำเนินคดีกับผู้ทำมิวสิควีดีโอล้อเลียนแทบจะทั้งหมด ทั้งๆ ที่จริงๆ น่าจะสามารถดำเนินคดีได้แน่นอนสำหรับบางมิวสิควีดีโอ (แต่ก็ปรากฏการบล็อกมิวสิควิดีโอบางชิ้นที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เห็นชอบเช่นกัน) ความเข้าใจผิดที่ 7: การนำงานมาใช้โดย "ให้เครดิต" ไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์ไม่น่าจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ใดในโลกที่ว่าการ "ให้เครดิต" จะทำให้ผู้นำงานอันมีลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตรอดพ้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไปได้ ถ้าหลักการนี้มีอยู่จริง เว็บไซต์ที่ต่างๆ ก็คงไม่มีปัญหากับการที่มีลิงค์ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บนเว็บไซต์ เพราะงานเหล่านี้ก็มีชื่อเจ้าของผลงานหรือมี "เครดิต" ของเจ้าของชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกรณี หนัง เพลง หนังสือ หรือการ์ตูน กฎหมายลิขสิทธิ์โดยทั่วไปไม่มีการแยกแยะความผิดของการละเมิดลิขสิทธิ์แบบ "ให้เครดิต" กับ "ไม่ให้เครดิต" ออกจากกันด้วยซ้ำ โดยทั่วไปสิทธิการอ้างความเป็นเจ้าของคือสิทธิที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Moral Right หรือที่มีการแปลว่า สิทธิธรรม นี่เป็นสิทธิที่มักจะพ่วงอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศต่างๆ ด้วยและมักมีโทษของการละเมิดที่ต่ำกว่าการละเมิดลิขสิทธิ์มาก (ในไทยพบใน พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 18 ซึ่งเป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น) กล่าวโดยสรุปคือการนำงานอันมีลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่าจะให้เครดิตหรือไม่ก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น เพียงแต่การไม่ให้เครดิตเป็นการละเมิดสิทธิธรรมเพิ่มไปอีกกระทงนั่นเอง ความเข้าใจผิดที่ 8: หากกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ระบุว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ในบรรดาผู้รู้กฎหมายลิขสิทธิ์บ้างและเคยอ่านกฎหมายลิขสิทธิ์ สิ่งหนึ่งที่จะพบเห็นทั่วไปเมื่อเกิดคำถามว่ากิจกรรมหนึ่งๆ เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่คือการนั่งมองหาว่าในกฏหมายมีกำหนดชัดเจนหรือไม่ว่ากิจกรรมนั้นๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าไม่พบ ก็ถือว่ากิจกรรมนั้นไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์ ความคิดว่ากิจกรรมหนึ่งๆ เป็นการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เพราะ "กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้" เป็นความเข้าใจที่ผิด อย่างน้อยๆ ก็บนฐานการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในนานาประเทศ เพราะหากพิจารณาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้ว สิ่งที่เป็นจริงน่าจะตรงกันข้ามกันมากกว่า กล่าวคือ กิจกรรมที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์คือกิจกรรมที่กฎหมายระบุชัดเจนว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น บรรดากิจกรรมที่มีความคลุมเครือต่างๆ ศาลมักจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่มีกิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจนจึงต้องแบกรับความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา (ซึ่งนี่รวมไปถึงกิจกรรมและธุรกิจออนไลน์จำนวนมากที่ไม่สามารถหลีกเลียงการ "ทำซ้ำ" อันเป็นธรรมชาติของโลกดิจิทัลไปได้) โดยทั่วไปการบัญญัติกฏหมายลิขสิทธิ์จะช่วยลดความเสี่ยงของทั้งประชาชนและผู้ประกอบการได้โดยการทำให้ข้อยกเว้นให้มีความชัดเจนมากขึ้น ไม่ให้บรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์อาศัยความคลุมเครือและต้นทุนการต่อสู้ทางกฏหมายที่สูงของจำเลยในการฟ้องเพื่อมุ่งเอาค่ายอมความได้ (การฟ้องร้องแบบนี้ในโลกตะวันตกเรียกว่า Copyright Trolling หรือที่ผู้เขียนเคยแปลว่า "เกรียนลิขสิทธิ์") ความเข้าใจผิดที่ 9: งานที่มีลิขสิทธิ์จะได้รับคุ้มครองลิขสิทธิ์ไปหมดทุกประเทศในโลกการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในขอบเขตรัฐชาติหนึ่งๆ ผูกพันกับกฎหมายรัฐชาตินั้นๆ และบรรดาอนุสัญญาที่รัฐชาตินั้นลงนามไปเท่านั้น รัฐชาติมีพันธะผูกพันในการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์จากประเทศที่ร่วมลงนามอนุสัญญาในกรอบของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของกฏหมายลิขสิทธิ์ของรัฐตนเองเท่านั้น ดังนั้นในทางเทคนิคแล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศพม่า ลาว และกัมพูชาจึงไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ในไทย และในทางกลับกันงานอันมีลิขสิทธิ์ของไทยก็ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ในประเทศเหล่านี้เช่นกัน เพราะประเทศเหล่านี้ไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาเบิร์น (Berne Convention) นี่หมายความว่าในทางเทคนิคไทยจึงละเมิดลิขสิทธิ์ประเทศเหล่านี้ไม่ได้ (และในทางกลับกันประเทศเหล่านี้ก็ละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ของไทยไม่ได้) เพราะการคุ้มครองลิขสิทธ์ไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ หากงานที่ประเทศคู่สัญญาถือว่ามีลิขสิทธิ์แต่ในกรอบกฎหมายของบางประเทศถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ก็ไม่ถือว่างานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์เช่นกันในประเทศที่ไม่นับว่างานเหล่านั้นได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่น หนังโป๊สารพัดที่มีลิขสิทธิ์ในหลายๆ ประเทศที่มันเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ก็ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ในไทยที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่น่าจะครอบคลุมถึงหนังโป๊ด้วยเพราะมันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากงานสร้างสรรค์บางประเภทจะถือว่ามีลิขสิทธิ์ในประเทศหนึ่งแต่ไม่มีลิขสิทธิ์ในอีกประเทศหนึ่งแล้ว กิจกรรมแบบเดียวกันก็อาจเป็นกิจกรรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศหนึ่งก็อาจไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ในอีกประเทศหนึ่งได้เช่นกัน เช่นการ "โหลดเพลง" ของวงดนตรีอเมริกันในสหรัฐอเมริกาผ่านเครือข่ายแชร์ไฟล์นั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แน่นอนภายใต้กฎหมายอเมริกา แต่การ "โหลดเพลง" วงดนตรีอเมริกันในแบบเดียวกันก็ไม่นับว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศที่การแชร์ไฟล์เป็นสิ่งถูกกฏหมายเช่น เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ [1] สุดท้าย งานที่ยังอยู่ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของประเทศคู่สัญญาก็อาจหมดลิขสิทธิ์ในประเทศอื่นที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์สั้นกว่าก็ได้ เช่น ลิขสิทธิ์ในอัลบั้มชุดแรกของ The Beatles จะยังไม่หมดในเร็วๆ นี้แน่ๆในอังกฤษ [2] แต่ในไทย ลิขสิทธิ์ส่วนงานบันทึกเสียงจะหมดในเดือนมีนาคม 2013 นี้ เพราะกฏหมายลิขสิทธิ์ไทยระบุให้งานบันทึกเสียงหมดลิขสิทธิ์หลังการเผยแพร่ครั้งแรก 50 ปี (ตามมาตรา 21 พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537) และอัลบั้มนี้ออกสู่สาธารณชนในเดือนมีนาคม 1963 [3] ความเข้าใจผิดที่ 10: การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงจากการวิจัยของทางสภาวิจัยสังคมศาสตร์ (Social Science Research Council) ในงานวิจัยชิ้นใหญ่ที่ศึกษาประเทศโลกที่สามจำนวนมาก [4] พบว่าตั้งแต่ช่วงปี 2000 เป็นต้นมาไม่มีข้อมูลใดๆ ที่บ่งชี้ว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์บนท้องถนนในระดับใดก็ตามจะทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงได้ไม่ว่าจะในประเทศไหนๆ กระบวนการบุกจับหลักครั้งนำไปสู่การจับกุมคนหลักร้อยคนที่นำไปสู่การดำเนินคดีคนหลักสิบคนที่รัฐไม่ต้องการให้ติดคุกเพราะคุกเหมาะสำหรับคดีที่หนักหนาสาหัสกว่านั้น นอกจากนี้การบุกปราบปรามในทางปฏิบัติก็มักจะเป็นไปอย่างสุ่มๆ ซึ่งมันเป็นเครื่องมือในการกำจัดคู่แข่งของพ่อค้าของละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยกันไปซะอีก กิจกรรมทั้งหมดสร้างความสิ้นเปลืองกับทรัพยากรรัฐอย่างมหาศาลโดยไม่ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง อย่างไรก็ดีปัญหานี้ก็ปรากฏในประเทศโลกที่หนึ่งอย่างฝรั่งเศสเช่นกันเมื่อผลปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในการตรวจจับการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์อย่างหน่วยงาน HATOPI ก็ไม่สามารถลดการละเมิดลิขสิทธิ์ลงได้อย่างชัดเจนทั้งๆ ที่ใช้งบประมาณรัฐไปไป 12 ล้านยูโรต่อปี [5] ความเข้าใจผิดที่ 11: ละเมิดลิขสิทธิ์คือการขโมยความเข้าใจว่าลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินปรากฏทั่วโลกในการรณรงค์ต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งมักจะเปรียบเทียบการละเมิดลิขสิทธิ์คือขโมยของ อย่างไรก็ดีสิ่งที่ชัดเจนในระบบกฎหมายทั่วโลกก็คือ ไม่มีที่ไหนที่ความผิดฐานลักขโมยจะรวมไปถึงการการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นในระดับโครงสร้างกฎหมาย การละเมิดลิขสิทธิ์จึงไม่ใช่เท่ากับการขโมยของ ทั้งนี้การที่สองกรณีนี้ไม่เทียบเท่ากันก็น่าจะเกิดจากการที่การละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ทำให้งานต้นฉบับหายไป เช่นการวาดภาพเลียนแบบงานศิลปะหนึ่งๆ ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แน่ๆก็ไม่เท่ากับการขโมยตัวงานศิลปะนั้นๆ เป็นต้น ความเข้าใจผิดที่ 12: ลิขสิทธิ์คือทรัพย์สินที่ไม่มีวันหมดอายุหลักฐานในทางกฎหมายที่ชัดเจนที่สุดในโครงสร้างลิขสิทธิ์ทั่วโลกว่าลิขสิทธิ์ไม่ใช่ทรัพย์สินคือลิขสิทธิ์จะมีวันหมดอายุเสมอ และลิขสิทธิ์ที่หมดอายุแล้วจะถือว่าเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ" (Public Domain) ที่ใครๆ ก็สามารถนำมาใช้อย่างไรก็ได้โดยเสรี โครงสร้างกฎหมายแบบนี้ทำให้ลิขสิทธิ์มีลักษณะคล้าย "สัมปทาน" ของรัฐในการให้เอกชน "ผูกขาด" หาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเวลาที่กำหนดก่อนที่ทรัพย์สินดังกล่าวจะกลับมาเป็นของส่วนรวมมากกว่าทรัพย์สินเอกชนทั่วไปที่สิทธิการถือครองไม่มีวันหมดอายุ หลักการหมดอายุของลิขสิทธิ์นี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งหมดเกิดจากการสร้างต่อยอดจากงานอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น ทั้งสาธารณชนและผู้สร้างสรรค์งานล้วนได้ประโยชน์จากการใช้คลังทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะที่สั่งสมกันมาในอดีต (บางคนเรียกสิ่งนี้ว่า Pool of Tradition หรือบ่อน้ำแห่งจารีตที่ใครจะเข้ามาใช้น้ำก็ได้) และในขณะเดียวกันพวกเขาก็มีหน้าที่เพิ่มพูนทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะสำหรับผู้คนในอนาคต อย่างไรก็ดี ในทางทฤษฎี การไม่คุ้มครองลิขสิทธิ์เลยอาจทำให้ผู้สร้างสรรค์งานไม่มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ ดังนั้นลิขสิทธิ์จึงมีเพื่อจูงใจให้ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์งานออกมาผ่านการคุ้มครองการ "ผูกขาด" การแสดงประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา แต่ในขณะเดียวกันการคุ้มครองนี้ก็มีเวลา "จำกัด" เพื่อให้การ "ผูกขาด" นี้สิ้นสุดลงและทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะที่ทุกคนสามารถนำมาใช้ได้อย่างเสรีนั้นเพิ่มพูนขึ้น
อ้างอิง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มติ ครม.ออก 6 มาตรการการ อุ้ม SMEs ชงลดภาษีเหลือ 15% หลังขึ้นค่าแรง Posted: 08 Jan 2013 02:23 AM PST มติ ครม.เห็นชอบ มาตรการการคลังและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ของ SMEs นายก ย้ำค่าจ้าง 300 บาทช่วยแรงงานมีรายได้เพิ่ม กระตุ้นการบริโภคในประเทศ รองประธาน ส.อ.ท. โต้ เกาไม่ตรงที่คันเพราะเป็นธุรกิจที่ไม่มีกำไร 8 ม.ค.56 ข่าวกระทรวงการคลัง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2556 รายงาน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (8 ม.ค.56) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการการคลังและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2556 ดังนี้ 1.1 ให้นายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมและนิติบุคคลให้หักค่าใช้จ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำได้ 1.5 เท่า 1.2 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 1.3 ให้สามารถหักค่าเสื่อมเครื่องจักรใหม่ได้ร้อยละ 100 ในปีแรก 2. ปรับเพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท จากเดิม 150,000 บาทแรกเป็น 300,000 บาทแรก สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ SMEs ที่มีรายได้น้อย และปรับโครงสร้างอัตราภาษีของ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้เท่าเทียมกัน 3. ปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าที่พักและค่าอาหารในการฝึกอบรมของส่วนราชการให้สอดคล้องกับค่าครองชีพและสภาวการณ์ปัจจุบัน 4. จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5 ต่อเนื่องจากระยะที่ 4 ผ่านบรรษัทค้ำ ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงินค้ำประกันรวม 240,000 ล้านบาท โดยยื่นรับคำขอค้ำประกันได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ระยะเวลาค้ำประกัน 7 ปี เพื่อสนับสนุน SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อโดยมีวงเงินค้ำประกันต่อรายสูงสุด 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 5. ขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต (Productivity Improvement Loan) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ประกอบด้วย (1) สินเชื่อเพื่อพัฒนาเครื่องจักร และ (2) สินเชื่อเพื่อพัฒนากระบวนการทำ งาน ในวงเงินรวม 2 โครงการที่ 20,000 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดการอนุมัติสินเชื่อในวันที่ 23 เมษายน 2557 เป็นสิ้นสุดการขอรับสินเชื่อจาก ธพว. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยให้วงเงินสินเชื่อรวมกันไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 5 ปีหรือ 7 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อ และมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น 1 ปี ทั้งนี้รัฐบาลจะชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ใน 2 ปีแรก และให้ ธพว. พิจารณาสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ปิดรับคำขอ 6. ขยายระยะเวลาโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme สำหรับผู้ประกอบการใหม่ (PGS New/Start-up) ออกไปอีก 3 ปี เป็นสิ้นสุดการขอรับสินเชื่อในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และปรับเกณฑ์คุณสมบัติ SMEs จาก SMEs ที่ประกอบกิจการที่มีอายุกิจการไม่เกิน 2 ปี เป็นอายุกิจการไม่เกิน 3 ปี เพื่อช่วย SMEs ขนาดย่อมที่เพิ่งเริ่มกิจการให้เข้าถึงสินเชื่อ และคงค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ 2.5 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตลอดอายุการค้ำประกัน 7 ปี โดยรัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมค้ำประกันแทน SMEs ในปีแรก จากเดิมร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2.50 ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กล่าวว่า มาตรการการคลังและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) จะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ SMEs สำหรับกำไรสุทธิ 150,000 บาทเป็น 300,000 บาท คาดว่าจะมี SMEs ที่ได้รับประโยชน์ ประมาณ 210,000 ราย มาตรการด้านการเงิน PGS5 คาดว่าจะทำให้มี SMEs ได้สินเชื่อเพิ่ม80,000 ราย สร้างสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 424,800 ล้านบาท เกิดการจ้างงานรวม 320,000 คน และสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2.328 ล้านล้านบาท
นายก ย้ำค่าจ้าง 300 บาทช่วยแรงงานมีรายได้เพิ่ม กระตุ้นการบริโภคในประเทศ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานด้วยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหลังปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันว่า ครม.ได้พิจารณามาตรการการดูแลช่วยเหลือธุรกิจSMEs โดยมาตรการหลักๆ ที่จะดูแลคือ 1. มาตรการที่ภาครัฐจะไปใช้บริการต่างๆ ใน SMEs เพื่อช่วยเสริมสร้างรายได้ 2. มาตรการด้านภาษีที่จะช่วยลดรายจ่าย และ 3. เรื่องดอกเบี้ย หรือเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและผลผลิตที่ดีขึ้น ส่วนอีก 2 มาตรการที่กระทรวงแรงงานเสนอมานั้น ครม.ให้นำกลับไปพิจารณาทบทวนใหม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทั้ง 3 มาตรการนี้ถือว่าเป็นมาตรการใหญ่ ซึ่งตนได้สั่งการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าไปดูบางบริษัทที่มีการเลิกจ้าง ทั้งผู้ถูกเลิกจ้าง และระดับผู้ประกอบการSMEsว่ามีปัญหาอะไร วันนี้เรามีความห่วงใยทุกบริษัทที่ต้องหยุดกิจการ โดยเราจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูในเนื้อหารายละเอียดว่าผลประกอบการที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือเป็นรายเฉพาะบริษัท ผู้สื่อข่าวถามว่าบริษัทที่ปิดกิจการไปมีสาเหตุมาจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาลหรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ค่าแรง 300 บาทประกาศปรับขึ้นตั้งแต่ 1 ม.ค. ส่วนจะมีผลพวงจากการขึ้นค่าแรงหรือไม่อย่างไรนั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลังเข้าไปดูในเนื้อหารายละเอียดแล้ว อย่างไรก็ตามการปิดกิจการไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร เราต้องคงเข้าไปดูว่าจะทำอย่างไร และจะให้ความร่วมมือการช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง จะต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ได้อย่างแท้จริง เพราะบางครั้งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ผู้สื่อข่าวถามว่าจะอธิบายอย่างไรว่าการปิดกิจการของบริษัทต่างๆ ไม่ได้มาจากผลกระทบการขึ้นค่าแรง 300 บาท น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า จะให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปดูในรายละเอียด และดูสถิติปริมาณบริษัทที่ถูกปิดกิจการในแต่ละปีมาประกอบ เพื่อชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ เมื่อถามย้ำว่ารัฐบาลมั่นใจใช่หรือไม่ว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาทจะมีประโยชน์ในอนาคต น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ยืนยันว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีประโยชน์ทั้งสองส่วน คือ จะช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และระยะยาวทำให้การบริโภคต่างๆ ในประเทศดีขึ้น ซึ่งในช่วงรอยต่อก็ต้องดูในเรื่องผลกระทบที่มีการปรับตัวควบคู่กันไป ส่วนกลุ่มธุรกิจSMEsมีการร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลืออะไรบ้างนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า วันนี้เราได้ตอบรับหลายๆ มาตรการที่ขอมาแล้ว ซึ่งจะให้รองนายกรัฐมนตรีหารือกับภาคเอกชน กลุ่มธุรกิจSMEsอีกครั้งหนึ่งว่าจากมาตรการที่รัฐบาลออกไปยังมีอะไรอีกบ้างที่จะร่วมมือกันทำงานต่อไป ซึ่งในระยะยาวเราต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้SMEsมีรายได้เพิ่มขึ้น มากกว่าการไปลดค่าใช้จ่าย หรือการทดแทนเพราะตรงนี้จะไม่สามารถอยู่ได้ในระยะยาว เพราะระยะยาวคือจะทำอย่างไรให้ธุรกิจนี้อยู่ได้และแข่งขันได้ในอนาคต
อธิบดีกรมสรรพากร ชงลดภาษี SMEs เหลือ15% ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย 1.การขยายฐานการยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 15% สำหรับ SMEs ที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท จากเดิมที่จะได้รับยกเว้นกรณีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท, กรณีที่มีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,000-1 ล้านบาท เสียภาษี 15% และกรณีที่กำไรสุทธิเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 20% 2.การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายเหลือ 2% จากเดิม 3% และ 3. การขยายเวลาการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรได้ 100% ในปีแรกออกไปอีก 1 ปีจนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.56 จากเดิมที่ครบกำหนดในสิ้นเดือน ธ.ค.55
รองประธาน ส.อ.ท. โต้ รบ.ลดภาษี "SMEs" เกาไม่ตรงที่คันเพราะเป็นธุรกิจที่ไม่มีกำไร ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงาน นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงการคลังจะเสนอให้มีการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลSMEsที่มีกำไรไม่มาก เพื่อช่วยลดผลกระทบการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศว่า มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs นับเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เพราะธุรกิจเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีกำไร จึงไม่มีประโยชน์ที่จะยกเว้นหรือลดอัตราภาษีและเห็นว่าข้อเสนอของอุตสาหกรรม 5 ภาค ทั้ง 7 มาตรการเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด สำหรับการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงนั้น นายทวีกิจกล่าวว่า กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีทุนมากกว่าSMEsจะได้ประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจของต่างชาติ บริษัทเหล่านี้ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีมากกว่าแรงงาน ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลช่วยเหลือSMEsอย่างจริงจัง โดยมาตรการที่จะออกมาช่วยต้องเป็นรูปธรรมที่ทำแล้วเห็นผลทำได้จริง การช่วยเหลือด้านสภาพคล่องก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะผลกระทบเกิดขึ้นแล้วจากต้นทุนการปรับเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท นายทวีกิจกล่าวอีกว่า สำหรับธุรกิจส่งออกที่เป็นรายเล็กและSMEs ขณะนี้การปรับค่าแรง 300 บาทเริ่มส่งผลกระทบแล้วหลายอุตสาหกรรมทั้งสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยต่างจังหวัดที่รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหายไปแล้วเฉลี่ยร้อยละ 10-20 ขณะที่การเพิ่มราคาทำได้ยาก เพราะลูกค้าต่างประเทศจะหันไปสั่งซื้อจากประเทศอื่นที่ต้นทุนถูกกว่า โดยผู้สั่งซื้อมองว่าการปรับเพิ่มราคาเป็นเพราะนโยบายค่าแรงของประเทศไทย จึงจะไปสั่งซื้อในประเทศคู่แข่งที่ต้นทุนค่าแรงถูกกว่าแทน เช่น เวียดนามและกัมพูชา ด้านนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1-4 ม.ค. 2556 มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแล้ว 4 แห่ง เลิกจ้างลูกจ้าง 275 คน "ยังมีแนวโน้มเลิกจ้างอีก 2 แห่ง ลูกจ้าง 480 คน และมีอีก 5 แห่งที่ส่งสัญญาณขาดสภาพคล่องและหมดสัญญาเช่าที่ ลูกจ้าง 999 คน" นายเผดิมชัยกล่าว ดังนั้น การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (8 ม.ค.) จะหารือมาตรการเยียวยาเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คลังจะเสนอ ครม.ช่วยเหลือSMEsที่มียอดรายรับไม่เกินปีละ 50 ล้านบาท โดยขยายฐานยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นกำไรไม่เกิน 3 แสนบาทแรก เดิมยกเว้น 1.5 แสนบาทแรก สำหรับกำไรที่เกิน 3 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียในอัตรา 15% และรายได้เกิน 1 ล้านบาท เสีย 20% เหมือนเดิม นายเผดิมชัยกล่าวว่า จะเสนอมาตรการเพิ่มเติม 5 ข้อ คือ 1. ลดค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรม จากปัจจุบันที่จัดเก็บห้องละ 80 บาท/ปี นาน 3 ปี ลดค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจรายปีลง 50% 2. จัดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปสถานศึกษาและสถานประกอบการ 3. เพิ่มค่าใช้จ่ายจัดประชุมสัมมนาส่วนราชการ 4. จัดคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ และ 5.ลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 2% อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรการการคลังโดยเฉพาะการลดภาษีนิติบุคคลนั้น ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 11 ต.ค.54 ก็เคยได้ มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ภายในปี 55 และลดเหลือ 20% ในปี 56 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 เป็นต้นไปมาก่อนหน้าแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความเสี่ยงโลกผลกระทบต่ออาเซียน Posted: 08 Jan 2013 01:57 AM PST
ก้าวขึ้นปีใหม่เป็นช่วงเวลาเพื่อเตรียมรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นเวลาดีที่จะกลับมานั่งทบทวนกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาในปีที่แล้ว เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปีที่ World Economic Forum (WEF) จะสแกนภาพอนาคตความเสี่ยงของโลกและรายงานประจำปีชื่อว่า « Global Risks »[1] โดยในปี 2013ซึ่งเป็น 8th edition ทาง WEF ได้สำรวจและฉายภาพความเสี่ยงทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม และเทคโนโลยี WEF ได้เรียงลำดับ 5 ประเด็นความเสี่ยงของโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นสูง (likelihood) ได้แก่ ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาเรื้อรังของการคลังไม่สมดุลย์ การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก็าซเรือนกระจก วิกฤติการจัดหาทรัพยากรน้ำ การจัดการที่ผิดพลาดต่อเรื่องประชากรสูงวัย และ 5 ประเด็นความเสี่ยงของโลกที่ส่งผลกระทบอย่างมาก (impact) ได้แก่ ความล้มเหลวของระบบการเงินหลัก วิกฤติการจัดหาทรัพยากรน้ำ ปัญหาเรื้อรังของการคลังไม่สมดุลย์ วิกฤติการขาดแคลนอาหาร และการแพร่กระจายของอาวุธทำลายล้างสูง เมื่อนำปัญหาความเสี่ยงหลายๆประเด็นมารวมกันและเชื่อมโยงแล้ว WEF ได้เสนอเคสปัญหาความเสี่ยงใหญ่ 3 ประการคือ ความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและบททดสอบทางเศรษฐกิจ (Testing Economic and Environmental Resiliance) ความกดดันของสภาพเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาการคลัง นโยบายรัดเข็มขัด ส่งผลกระทบต่อผู้นำในการมองภาพอนาคต นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันของสภาพแวดล้อมธรรมชาติร่วมด้วย เช่นปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และปัญหาวิกฤติสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไฟป่าของระบบดิจิตอลในโลกการติดต่อสื่อสารเข้มข้น (Digital Wildfire in a Hyperconnected World) อันตรายของความอหังการ์ต่อเรื่องสุขภาพของมนุษยชาติ (Dangers of Hubris on Human Health)
จากที่ WEF สรุปถึงความเสี่ยงหลักของโลกได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารของโลกดิจิตัล และปัญหาเรื่องสุขภาพและการพัฒนาองเชื้อโรค ในส่วนนี้จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบของความเสี่ยงโลกต่ออาเซียน ถึงแม้กลุ่มประเทศอาเซียนต่างไม่มีปัญหาหนี้สาธารณะสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออเมริกา และด้วยการดำเนินนโยบายแบบสมดุลติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ทำให้ปัญหาเรื่องโครงสร้างทางการคลัง หรือวิกฤติทางการเงินเกิดได้ยากในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ นอกจากนี้อานิสงส์ของวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาส่งผลให้เกิดลมเปลี่ยนทิศ เงินตราต่างประเทศโยกย้ายเข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนโดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ตลาดขนาดมหึมาของจีนและอินเดีย แต่ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกก็ส่งผลเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจอาเซียนเช่นกัน โดยประเทศคู่ค้าอาเซียนที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต่างมีกำลังซื้อลดลง ย่อมส่งผลเชิงลบกับเศรษฐกิจที่พึ่งการส่งออกเป็นหลักอย่างอาเซียน และทำให้เซียนต้องเพิ่มความเข้มข้นในการหาตลาดใหม่ได้แก่ ตลาดในจีนและตลาดระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองที่มีการแข่งขันสูง และปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ก็เป็นปัญหาเรื้อรังของสมาชิกอาเซียน ส่วนทางด้านสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็เป็นความเสี่ยงต่ออาเซียนเช่นกัน เมืองใหญ่ๆในอาเซียนต่างประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา เช่น กรุงเทพฯ และมะนิลา นอกจากนี้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น ลาว เวียดนาม เขมร และกลุ่มประเทศระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม เช่น ไทย ก็ส่งผลให้เกิดการปล่อยกาซเรือนกระจกมากขึ้น ทั้งมาจากภาคอุตสาหกรรม หรือมาจากการบริโภคของภาคครัวเรือน ปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสารในโลกดิจิตัลเป็นปัญหาสากลของโลกรวมถึงอาเซียน ซึ่งมีการแพร่หลายในการใช้โซเชียลมีเดียสูง และไม่มีมาตรการการจัดการที่ออกมาชัดเจน การแพร่ขยายของโซเชียลมีเดียยังเพิ่มพื้นที่ใหม่ให้กับประชาชน และเกิดกิจกรรมต่างๆราวกับโลกเสมือนจริง รวมถึงอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและแพร่กระจายในโลกอินเตอร์เนต การแพร่ขยายข้อมูล ข่าวลือ เป็นต้น นอกจากนี้อาเซียนยังมีความแตกต่างเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เนตระหว่างประเทศที่รายได้สูงกับรายได้ต่ำ หรือระหว่างคนเมืองกับคนชนบท ปัญหาด้านสุขภาพ และการระบาดของโรคชนิดใหม่และสุขภาพ การกระจายความรู้สาธารณสุขไปสู่ประชาชนยังอยู่ในวงจำกัด พฤติกรรมการบริโภคยาปฏิชีวนะส่งผลให้เกิดการดื้อยา เกิดโรคระบาดชนิดใหม่ต่างๆไม่ว่าไข้หวัดนก หรือซารส์ ส่งผลให้ต้องมีการทบทวนระบบประกันสุขภาพของแต่ละประเทศ และมีความพยายามในการขยายการคลอบคลุมประกันสุขภาพของรัฐให้กับประชาชนทุกคน และพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามความสำเร็จดังกล่าวต้องอาศัยการใช้จ่ายจากภาครัฐซึ่งมาจากภาษีประชาชน โดยถ้าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลเกิดการถดถอยในเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว รัฐบาลก็ขาดงบประมาณในการบริหารประเทศ และสิ่งแรกๆที่รัฐบาลจะตัดค่าใช้จ่ายคือสวัสดิการประชาชนซึ่งรวมถึงการรักษาพยาบาลด้วยเช่นกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันทำไมจึงไม่สามารถทำประชามติได้ Posted: 08 Jan 2013 12:28 AM PST
กรณีจากฝรั่งเศส แม้ว่าการสำรวจความเห็นประชาชน 69 เปอร์เซ็นต์ จะมีความเห็นว่าควรทำประชามติในเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันแต่ข้อเสนอเรื่องการทำประชามตินั้นเป็นอันสะดุดลงไปด้วยเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศฝรั่งเศสมีประเด็นทางสังคมและกฎหมายที่น่าสนใจและเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างทั้งจากนักการเมือง นักการศาสนา รวมถึงกลุ่มอิสระต่างๆ นั่นคือประเด็นของการสมรสของคนรักเพศเดียวกัน (mariage homosexuelle) โดยที่มีทั้งฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนจนเกิดการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมที่ผ่านมา เป็นที่น่าสนใจว่าในประเทศที่ค่อนข้างเสรีอย่างฝรั่งเศสนั้นชาวรักร่วมเพศไม่สามารถมีสิทธิในการจัดตั้งครอบครัวได้ คงได้แค่การจดทะเบียนเพื่อเป็นหุ้นส่วนชีวิตหรือปัคเซ่ (pacser, pacte civil de solidalité) ซึ่งข้อตกลงต่างนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของหุ้นส่วนชีวิต แต่ไม่รวมถึงสิทธิต่างๆในการเป็นครอบครัว ในการประชุมสภาที่ผ่านมาข้อเสนอของนาย โลรองค์ โวกิเยต์ (Laurent WAUQUIER) อดีตรัฐมนตรีสังกัดพรรค UMP ต้องพบกับอุปสรรคชิ้นใหญ่นั่นคือรัฐธรรมนูญ เขากล่าวว่าทำไมถึงจะไม่ทำประชามติเกี่ยวกับสิทธิในการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน? ข้อเสนอนี้ถูกหยิบยกขึ้นในการอถิปรายในช่วงท้ายของฝ่ายขวาโดยเฉพาะเป็นข้อเสนอจาก นายโลรองค์ โวกิเยต์ เขากล่าวในวันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมาว่าจะดำเนินการเคลื่อนไหวให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับประเด็นนี้ในสัปดาห์หน้า โดยที่สมาชิกรัฐสภาบางส่วนได้เรียกร้องไปยังประธานาธิบดีเพื่อให้ประธานาธิบดียอมรับร่างกฎหมายการสมรสสำหรับทุกคน (mariage pour tous) เพื่อนำไปให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวฝรั่งเศสทำการตัดสินใจ ในทางการเมืองแล้วการกระทำดังกล่าวอาจกระทบต่อฐานเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ แม้ว่า ร้อยละ 58 ของชาวฝรั่งเศสจากการสำรวจของ Le Nouvel Observateur เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจะเห็นด้วยกับการแต่งงานของบรรดารักร่วมเพศก็ตาม นอกจากนั้นจากการสำรวจของJDDพบว่าร้อยละ 60 ของประชาชนให้การสนับสนุนเรื่องนี้ นอกจากนี้ร้อยละ 69 ยังเห็นว่าประเด็นนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำประชามติ อย่างไรก็ตามข้อเสนอในการทำประมติดังกล่าวต้องสะดุดไปเนื่องจากเงื่อนไขที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 11 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสามารถนำร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรทางการเมือง การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม บริการสาธารณะของชาติที่กำลังจัดทำอยู่และการให้สัตยาบันกับสนธิสัญญาที่แม้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญแต่อาจกระทบต่อหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันการเมือง โดมินิค รุสโซ(Dominique Rousseau)นักกฎหมายรัฐธรรมนูญและศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชนของมหาวิทยาลัยปารีส1กล่าวว่า มาตรา11ของรัฐธรรมนูญไม่เปิดโอกาสให้มีการจัดทำประชามติในเรื่องการสมรสของคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับ กี กากาสซอน (Guy Carcassonne) ศาตราจารย์ทางกฎหมายมหาชนจากมหาวิทยาลัยปารีส 10 ที่กล่าวว่าการทำประชามติในประเด็นนี้เป้นไปไม่ได้เพราะเป็นการยากที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าสิทธิในการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันนั้นอยู่ในเงื่อนไขใดตามมาตรา 11 ดิดิเยต์ โมร์ (Didier Maus) นักวิชาการด้านรัฐธรรมนูญและอดีตข้าราชการระดับสูงกล่าวยืนยันความเห็นนี้โดยกล่าวว่า มันมีข้อแตกต่างระหว่างประเด็นทางสังคมและสถาบันทางสังคม (social et sociétal) สำหรับดิดิเยต์นั้นสิทธิในการสมรสของคนรักเพศเดียวกันไม่ใช่ประเด็นทางสังคมและเขาจะรอดูการตัดสินในของ โลรองค์ โวกิเยต์ อยู่ กี กากาสซอน ยกตัวอย่างกรณีของการจัดทำประชามติในปี1962 ของประธานาธิบดี เดอโกล เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบการเข้าสู่อำนาจของประธานาธิบดีว่ากรณีดังกล่าวนั้นปราศจากข้อสงสัยสัยเนื่องจากเข้ากับเงื่อนไขตามมาตรา11 ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการตรารัฐกฤษฎีกาให้ออกเสียงลงประชามติได้ จากอุปสรรคทางกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดอุปสรรคทางการเมืองตามมา ข้อเสนอของโลรองค์ โวกิเยต์นั้นแทบจะไม่มีโอกาสได้รับการตอบสนองเลย ดิดิเยต์ โมร์ กล่าวว่ามันเป็นการยากที่รัฐสภาจะยอมรับข้อเสนอนี้อย่างไรก็ตามการที่โลรองค์ โวกิเยต์เสนอข้อเสนอดังกล่าวมาทำให้เขาเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้งหนึ่งและยังเป็นการตอบสนองต่อคำถามของสาธารณะชนชาวฝรั่งเศสอีกด้วย ดิดิเยต์ โมร์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าการเสนอให้มีการจัดทำประชามตินั้นเป็นเทคนิคทางกฎหมายและการเมืองเพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เสนอมีเวลาในการอภิปรายมากขึ้นเนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้มีการเพิ่มเติมเวลาให้สำหรับข้อเสนอให้มีการจัดทำประชามติ โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเห็นว่าคงเป็นการยากลำบากในการยอมรับร่างกฎหมายฉบับนี้ แม้ว่าสังคมฝรั่งเศสจะเป็นสังคมที่แยกอาณาจักรออกจากศาสนจักรอย่างเด็ดขาดตาม รัฐบัญญัติปี1905แต่ประชาชนส่วนมากยังนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งคงเป็นการยากที่จะยอมรับในเรื่องดังกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ เดินหน้า จี้ อปท.พื้นที่เหมืองโปแตช ยกเลิกประชาคมหมู่บ้าน Posted: 07 Jan 2013 10:36 PM PST กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เดินสาย อปท.ในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช ร้องยกเลิกและถอนเอกสารการประชาคมหมู่บ้านรายงานการประชุมสภาเทศบาลฯ ที่ผิดระเบียบการประชาคมหมู่บ้าน วานนี้ (7 ม.ค.56) เวลาประมาณ 09.00 น. - 15.00 น. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จ.อุดรธานี ประมาณ 100 คน รวมตัวเดินสายไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม และเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อยื่นหนังสือต่อหน่วยงานทั้งสอง ให้ยกเลิกและถอนเอกสารการประชาคมหมู่บ้าน และรายงานการประชุมสภาฯ กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี สืบเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งเอกสารการประชาคมหมู่บ้านและรายงานการประชุมไปยังอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี เพื่อใช้ประกอบการขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี แต่ทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ มีความเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่เป็นไปตามระเบียบคู่มือปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง การให้ความเห็นในการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ พ.ศ.2545 เช่น ในส่วนของผู้เข้าร่วมการประชาคมไม่ตรงตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบ และอาจมีการสร้างหลักฐานและเอกสารเท็จในการประชาคมที่ส่งให้อุตสาหกรรมจังหวัดในครั้งนี้ด้วย จึงมายื่นหนังสือให้มีการยกเลิกและถอนเอกสารกลับคืนมาดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.00 น.กลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้เริ่มเดินทางไปยัง อบต.นาม่วง โดยมีรองนายก อบต.นาม่วง และปลัด อบต.มารับฟังปัญหาข้อเรียกร้อง พร้อมรับปากว่าจะนำเรื่องเข้าปรึกษากับนายก อบต.ซึ่งมีผลเป็นเช่นไรจะแจ้งให้ทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ ทราบต่อไป และในช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.00 น.กลุ่มชาวบ้านได้เดินทางไปยังสำนักงานเทศบาล ต.หนองไผ่ โดยมีปลัดเทศบาล ต.หนองไผ่ เปิดห้องประชุมเพื่อพูดคุยและรับหนังสือกับทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ นายบุญเลิศ เหล็กเขียว แกนนำชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ต.หนองไผ่ กล่าวว่า การมาในวันนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ ต้องการให้ อบต.หรือเทศบาลถอนเรื่องการประชาคมหมู่บ้านและรายงานการประชุมสภาฯ ที่มีการส่งไปยังอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งทางกลุ่มตรวจสอบแล้วพบว่าเอกสารที่ส่งไปไม่ถูกต้องตามระเบียบของการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อจะดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จึงต้องการให้ยกเลิกและถอนเอกสารดังกล่าวกลับคืนมา เพื่อที่จะนำกลับมาดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบที่แท้จริง "เมื่อหลักฐานการประชุมหมู่บ้านและรายงานการประชุมไม่ถูกต้องตามระเบียบ ถือได้ว่าเป็นหลักฐานเท็จ นำไปขอประทานบัตรเหมืองโปแตชไม่ได้ จึงต้องนำกลับมา ทำให้ถูกต้องตามระเบียบที่มีก่อน" นายบุญเลิศกล่าว ด้านนายประพาส ศรีเข้ม ปลัดเทศบาล ต.หนองไผ่ กล่าวว่า เรื่องทุกเรื่องที่จะเกิดขึ้นและสร้างผลกระทบขึ้นในชุมชนจะต้องมีกระบวนการจัดการที่โปร่งใสถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ หากดำเนินการโดยไม่เปิดเผยและรับรู้ร่วมกันทุกฝ่ายอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เป็นผลจากการไม่พูดคุยอย่างเปิดเผยร่วมกัน จนนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนอย่างยาวนานดังที่เกิดขึ้น "ทุกขั้นตอนที่จะดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช ต้องมีความโปร่งใส และให้ทุกๆ ฝ่ายร่วมกันตรวจสอบและเสนอความเห็น ไม่เช่นนั้นจะเกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งขึ้นในชุมชนอย่างไม่สิ้นสุด เรื่องที่นำมาร้องเรียนวันนี้ ผมจะทำเรื่องเพื่อเสนออุตสาหกรรมจังหวัดต่อไป" นายประพาสกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น