โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ไม่รับปากดันร่างนิรโทษฯ เข้าสภาสมัยนี้ นักวิชาการอัดรัฐ-นปช.เลือดเย็น

Posted: 29 Jan 2013 08:08 AM PST

ตัวแทนรัฐบาลขึ้นเวทีชี้แจง ยังยืนยันคงเดิม ส่งให้กฤษฎีกาตรวจสอบ และยังไม่กำหนดจะนำเข้าสภาเมื่อไร ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวบ้าน ด้านพนัส,สมศักดิ์ เจียมฯ, พวงทอง อัดรัฐบาล นปช. ไม่จริงใจช่วยคนธรรมดา "ความเงียบของคุณเป็นสิ่งเลือดเย็น" 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงตอนเย็นของการชุมนุมในการรณรงค์ "หนึ่งหมื่นเพื่อปลดปล่อย" ซึ่งผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมาปักหลักบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หลังจากยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน.ว่าด้วยเรื่องนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้งแก่ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาประมาณ 18.00น. พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาขึ้นเวทีเโดยกล่าวว่า ทางนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะผลักดันทั้งในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องขังและการนิรโทษกรรมอย่างเต็มที่ แต่อำนาจในเรื่องการพิจารณาคดีเป็นของศาลไม่ได้เป็นของรัฐบาล แต่โดยเบื้องต้น นายกรัฐมนตรีได้มอบข้อเสนอของทางกลุ่มที่ยื่นให้เมื่อช่วงเช้า ส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความแล้ว และเมื่อกฤษฎีกาตีความเสร็จ ทางนายกรัฐมนตรีจะเร่งพิจารณาและนำสู่ที่ประชุมสภาโดยไว 
 
หลังจากนั้น  น.ส.สุดา รังกุพันธ์ แกนนำกลุ่ม 29 มกรา กล่าวปราศัยเพื่อหาฉันทามติว่า ทางกลุ่มมีเงื่อนไขให้รัฐบาลต้องนำร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ก่อนปิดประชุมในสมัยนี้ คือ ในช่วงเดือนเมษายน ในระหว่างการปราศัยได้มีผู้ชุมนุมโห่ร้องแสดงความไม่พอใจตลอดเวลา 
 
จากนั้นเมื่อเวลาราว 20.30 น. ได้มีการเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมทางการเมือง 
 
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์และอดีตอัยการ กล่าวว่า การนิรโทษกรรมาสามารถทำได้ เพียงแต่รัฐบาลต้องมีความกล้าหาญทางการเมืองและความจริงใจที่จะทำเช่นนั้น ในอดีตมีหลายคดีที่เมื่อถูกดำเนินคดีไปแล้วถึงชั้นอัยการ แต่ก็สามารถถอนฟ้องได้ เช่นในคดีมาตรา 112 ของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และหากว่าคดีนั้นยังไม่ได้ถูกสั่งฟ้อง ก็สามารถถอนฟ้องได้เช่นเดียวกัน 
 
เขากล่าวด้วยว่า นอกจากจะออกเป็นร่างรธน. ว่าด้วยการนิรโทษกรรมและความขัดแย้ง ก็ยังสามารถออกเป็นพ.ร.ก. ได้ด้วยเนื่องจากสามารถออกได้โดยรัฐบาลและกระทำได้รวดเร็วกว่า เช่นเดียวกับในอดีตที่รัฐบาลได้ออกพ.ร.ก. นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดสมัยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535
 
ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คำตอบของรัฐบาลเมื่อหัวค่ำที่ให้กับผู้มาชุมนุมในวันนี้เป็นเรื่องน่าผิดหวัง ตนไม่อยากทำให้ตัวแทนรัฐบาลขายหน้า แต่ตัวแทนรัฐบาลก็ยังไม่ยอมบอกว่าจะรับไปพิจารณาเมื่อไหร่ และไม่ได้รับปากว่าจะเอาไปเข้าสมัยประชุมครั้งนี้ด้วย ถ้าหากคนเสื้อแดงยังไม่กดดันเรื่องนี้ต่อไป แม้แต่การนำเรื่องเข้าสู่สมัยประชุมสภานี้ก็ยังคงไม่สำเร็จ 
 
สมศักดิ์กล่าวว่า เขาสื่อสารไปถึงทักษิณหรือยิ่งลักษณ์ว่า เชื่อว่าคนเสื้อแดงและคนที่เลือกรัฐบาลมีความปรารถนาดีต่อรัฐบาล อยากให้รัฐบาลรับฟังเรื่องนี้ แต่ที่ผ่านมา ความช่วยเหลือจากจากนปช. หรือรัฐบาลก็ยังน้อยเกินไป นอกจากนี้สมศักดิ์ได้ตั้งคำถามต่อแกนนำนปช. ว่าทำไมกิจกรรมแบบนี้ต้องปล่อยให้คนอย่างอ. สุดา รังกุพันธ์ ที่เป็นแกนนำกลุ่มย่อยออกมา และชี้ว่า ก่อนหน้านี้นปช. ยังสามารถชุมนุมกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ปล่อยตัวแกนนำทุกอาทิตย์ได้ แต่เมื่อเป็นชาวบ้านคนเล็กน้อยกลับไม่ให้ความสนใจ
 
"ตอนที่มีการเสนอพรบ. ปรองดอง จากสนธิ บัง (บุญรัตกลิน) ตอนนั้นก็เข้าใจกันว่าเพื่อช่วยทักษิณ ผมเองก็ไม่ได้อะไรคิดว่าคุณทักษิณถูกดำเนินคดีอย่างไม่ชอบธรรมกลั่นแกล้งทางการเมือง ตอนนั้นนปช. และเพื่อไทยก็ยังหนุนพรบ. ปรองดองนั้นเต็มที่ แต่เมื่อเป็นระดับชาวบ้าน ก็มาอ้างว่าทำไม่ได้ กลัวรัฐบาลจะพังอย่างนู้นอย่างนี้ ทีตอนจะช่วยทักษิณยังไม่เห็นกลัว มันต้องมีความเสมอภาคกันหน่อย ความเดือดร้อนของคุณทักษิณไม่ได้หนึ่งในพันในร้อยของชาวบ้านเหล่านี้" เขากล่าว 
 
สมศักดิ์กล่าวว่า ทำไมต้องรอจนกระทั่งนิติราษฎร์และปฏิญญาหน้าศาลบอกจะยื่น ค่อยมีทีท่าจะมายื่นแย่งบ้าง ทำให้ตั้งคำถามว่ามีความจริงใจแค่ไหนในการช่วยในระดับชาวบ้าน ก่อนหน้านี้มาศาลว่าจะมีการถอนประกันจตุพร นปช.ก็จัดให้มีการเดินขบวน แต่สำหรัยชาวบ้านที่ติดอยู่ในคุกมาสองสามปี ทำไมไม่มีการทำอะไรแบบนี้บ้าง ถ้าจริงใจก็ต้องเสนอช่วยระดับชาวบ้านก่อน แล้วค่อยช่วยทักษิณ มันขายหน้าขนาดไหนในระดับแกนนำขนาดนี้ 
 
สมศักดิ์ยังกล่าวถึงตัวอย่างของนักโทษการเมืองที่เป็นชาวบ้านและต้องติดคุกยาวนานโดยไม่เป็นธรรม โดยยกกรณีของนายสนอง เกตุสุวรรณ์ จำเลยคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบล ซึ่งในการสืบพยานนั้นพยานโจทก์มาให้การเองว่าสนองไปช่วยดับไฟแต่สุดท้ายเขาก็ยังโดนโทษจำคุกไป 33 ปี 12 เดือน
 
นางวาสนา มาบุตร อายุ 49 ปี มารดาของ น.ส.ปัทมา มูลมิล อายุ 24 ปี ซึ่งศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิพากษาให้จำคุก 33 ปี 4 เดือนในคดีร่วมกับพวกวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางจังหวัด โดย นางวาสนา ได้กล่าวว่าดีใจที่เห็นว่ามีคนมาร่วมชุมนุมจำนวนมากแต่เสียใจมากที่รัฐบาลไม่มีความชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ต้องขังแต่อย่างใด
 
พวงทอง ภวัครพันธ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และเป็นทีมวิชาการของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุนฯ หรือ ศปช. กล่าวว่า งานนี้ถ้ารัฐบาลไม่ทำก็จะเสียมวลชนแน่ เพราะประชาชนจะไม่ยอม และจะตกเป็นเบี้ยล่างของฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา ดังนั้นต้องยอมเผชิญหน้าและยอมให้เกิดความตึงเครียด เชื่อว่ารัฐบาลจะมีมวลชนที่คอยปกป้องตลอด 
 
สุดท้าย พวงทองกล่าวถึงรัฐบาลเพื่อไทยว่า "ความเงียบของคุณที่ยังมีต่อคนเสื้อแดงและครอบครัวที่ยังร้องไห้อยู่ทุกครั้งเมื่อขึ้นเวที เป็นความเลือดเย็นเกินไป เกินกว่าจะรับได้" 
 

 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

Posted: 29 Jan 2013 07:59 AM PST

"ประชาธิปไตยคือ ก่อนจะมีการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกฝ่ายมีโอกาสพูดได้เท่าเทียมกันหรือไม่ ชีวิตผมก็เป็นเสียงข้างน้อยมาเยอะนะครับ ผมก็อดทนรอคอยว่าวันใดวันหนึ่งเสียงข้างมากจะเห็นด้วยกับผม มันก็ไม่มีวิธีอื่นใดแล้วนะครับ"

29 ม.ค.56, ในเสวนาวิชาการหัวข้อรัฐธรรมนูญ 2550 แก้หรือเก็บ

แถลงการณ์จากกลุ่มกวีราษฎร์ ฉบับที่ 3

Posted: 29 Jan 2013 05:48 AM PST

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ศาลอาญามีคำตัดสินให้จำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์วอยซ์ออฟทักษิณ เป็นระยะเวลา 10 ปี ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นความผิดในฐานะบรรณาธิการซึ่งต้องรับผิดชอบการเผยแพร่บทความ 2 ชิ้น แม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นผู้เขียนเอง 

และนี่ไม่ได้เป็นความอัปยศอดสูครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งได้ประกาศกับนานาอารยประเทศ ว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยได้ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน โดยการจับกุมคุมขังผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อเป็นเครื่องมือในการเอาผิดตัดสินลงโทษนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและผู้บริสุทธิ์อย่างไม่เป็นธรรมหลายครั้ง
 
หน้าประวัติศาสตร์ของรัฐจารีตอาจไม่ได้กล่าวถึงผู้หญิงคนหนึ่งถูกตัดสินในความผิดอาญามาตรา 112 เป็นระยะเวลา 15 ปีจนกระทั่งบัดนี้ยังไม่เคยมีการอนุญาตให้ได้รับการประกันตัว หรือบทลงโทษชายชราเป็นระยะเวลา 20 ปี จนเขาต้องตายในคุก มากไปกว่านั้นกฎหมายดังกล่าวยังส่งผลให้มีประชาชนจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากประเทศของตน เนื่องจากถูกฟ้องร้องในกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งบุคคลใดก็อาจเป็นผู้ฟ้องร้องได้
 
ในฐานะที่กลุ่มกวีราษฎร์เป็นผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนผ่านงานศิลปะ เราจึงตระหนักดีว่างานศิลปะไม่อาจะสะท้อนภาพของสังคมได้ หากปราศจากอิสระในการคิด พูด เขียน และแสดงออก อีกทั้งเราจะไม่อาจยอมให้ความอยุติธรรมกักขังอิสรภาพของพวกเราให้อยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวจากการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมมาเป็นเครื่องมือทำลายล้างกันของมนุษย์ด้วยกันเอง
เราจึงขอเรียกร้องให้
 
1. ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง รวมถึงนักโทษและผู้ต้องหาในคดี 112 ทุกคนโดยทันที เพราะพวกเขาคือผู้บริสุทธิ์ทางการเมือง และรัฐบาลต้องเยียวยาความสาหัสจากกระบวนการตีตรวน ล่ามโซ่ คุมขัง
โดยยึดหลักของกระบวนการยุติธรรมสากลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันทุกคน
 
2. รัฐบาลซึ่งได้รับชัยชนะมาจากเสียงการสนับสนุนของประชาชน จะต้องเข้ามาดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนักโทษทางการเมืองและนักโทษในคดี 112 ทุกคน
 
3. ทางกลุ่มกวีราษฎร์ขอสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของคณะนิติราษฎร์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเสนอตามหลักกระบวนวิชาที่เป็นธรรม
 
4. ในระยะยาว ขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกฉบับ เช่น กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 เป็นต้น
 
กลุ่มกวีราษฎร์ขอยืนหยัดในการร่วมเรียกร้องต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยของราษฎร
 
 
29 มกราคม 2556
ย่างเข้าสู่ปีที่ 81 ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริโภคชวนปั่นจักรยาน ให้รัฐผ่านกฎหมายองค์การอิสระฯ

Posted: 29 Jan 2013 05:35 AM PST

29 ม.ค. 56 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา "มาตรา61 (องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) ช่วยแก้ปัญหาแคลิฟอร์เนียร์ว้าวได้อย่างไร"

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ผลักดันกฎหมายองค์การอิสระฯ รายงานความคืบหน้ากฎหมาย ม.61 ว่า 15 ปี ยังไม่มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเนื่องจากคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองสภาได้พิจารณาร่าง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคแล้วเสร็จและรอนำสู่การพิจารณาของทั้งสองสภาเพื่อให้การ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ 

"การพิจารณากฎหมายชั้นวุฒิสภาได้แก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มงบประมาณจาก 3 บาทเป็น 5 บาทต่อหัวประชากร 2) เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา จาก 8 เป็น 9 คน โดยมีผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ 1 คน เป็นกรรมการสรรหา 3) เพิ่มอายุกรมการจาก 25 ปีเป็น 35 ปี 4) มีบทลงโทษคณะกรรมการองค์การอิสระฯ หากไม่ปฏิบัติหน้าที่
จนสุดท้าย ส.ส.ไม่รับกฎหมายที่แก้ไขของวุฒิสภา จึงตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภา 22 คน พิจารณากฎหมายอีกครั้งและได้พิจารณาแล้วเสร็จ 9 ม.ค. 56 ซึ่งสิ่งที่น่า จับตาว่าจะมีการตัดตอนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ก็คือความพยายามในการลดหรือตัดตอนบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระฯทั้ง ไม่ให้ตรวจสอบภาคเอกชน (ธุรกิจ) ยกตัวอย่าง แคลิฟอร์เนียฟิตเนส กรณีผิดประกศห้ามรับสมัครสมาชิกเกิน ๑ ปี แต่ทางแคลิฟอร์เนียเปิดรับสมัครสมาชิกตลอดชีพ

ประเด็นไม่ให้มีบทบาทในการเปิดเผยชื่อสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ซึ่งองค์การอิสระฯ ต้องเป็นหน่วยงานที่เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรรมาธิการไม่อยากให้ตรวจสอบภาคเอกชน ขณะที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐด้วยกันได้ แต่ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานนั้นเขาได้นำชื่อสินค้ามาเปิดเผยขึ้นเว็บไซต์ และไม่ให้มีบทบาทส่งเรื่องให้อัยการสูงสูดพิจารณาแต่งตั้งพนักงานฟ้องแทน ผู้บริโภค จากข้อสังเกตคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากผ่านมาก็คิดว่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเท่าที่ควร"

นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชน ปั่นจักยานรณรงค์ให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค "ปั่นจักรยาน ถีบกฎหมาย ม.61 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสภาฯ" พรุ่งนี้ (30 มกราคม)เวลา 10 โมงเช้า  เส้นทางปั่นจากสวนสันติภาพ พญาไท แยกศรีอยุธยา จตุรทิศ โรงแรมเซ็นต์จูรี่ และกลับสวนสันติภาพ

นางรัศมี วิศทเวทย์  ในฐานะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนกล่าว ว่า องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ทำให้มองเห็นปัญหาผู้บริโภคที่อยู่นอกกรอบ แต่สามารถเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาได้

"กรณีอำนาจหน้าที่ขององค์การอิสระฯ เรื่องการฟ้องแทนประชาชนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรถูกตัดตอน เพราะอำนาจหน้าที่ของรัฐนั้น อย่าง สคบ. ถึงแม้จะมีอำนาจในการฟ้องแทนประชาชนได้ แต่กรณีนี้ประชาชาชนมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ก็จะฟ้องไม่ได้ และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ให้ประชาชนฟ้อง เองได้แล้ว ก็ถือเป็นรายเคสไป ประชาชนเองก็ยังต้องไม่มีความรู้กระบวนการทางกฎหมาย การจะตัดตอนอำนาจหน้าที่จึงไม่ควร"

พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่าการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชาชน มีความสำคัญเพราะต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล และการพิจารณามีการปรับใหม่จาก 5 บาทในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา กลับไปเหลือ 3 บาท ควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย

"กรณีปัญหาแคลิฟอร์เนียว้าว ที่ยังไม่มีใครดูเรื่องสัญญามาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ซึ่งหากมีองค์การอิสระฯคน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทุกเรื่องให้กับผู้บริโภคได้" นางรัศมี กล่าว

ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีการฟ้องรวมหมู่ แทนผู้บริโภค กรณีปัญหาเดียวกันและสร้างความเดือดร้อนในวงกว้างว่า การฟ้องรวมหมู่นั้นสำคัญมาก อย่างกรณีบ้านเอื้ออาทรซึ่งเป็นของการเคหะแห่งชาติ ก็จะฟ้องการเคหะฯไม่ได้ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ การคงไว้ซึ่งหน้าที่ตามมาตรา 19 นั้นที่ให้ฟ้องแทนประชาชนนั้นสำคัญมาก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือลงนามปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

Posted: 29 Jan 2013 05:27 AM PST

4 สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตนบนร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่ต้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือและคุ้มครองโดยเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา 4สถาบันในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 

ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การศึกษาวิจัย และการพัฒนาบุคลากรกับสถาบันการศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งพื้นที่ภาคเหนือมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับที่ต้องเร่งคุ้มครอง เช่น ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินทำกินของประชาชนและฐานทรัพยากรของชุมชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านการศึกษาของกลุ่มเด็กและเยาวชน และปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น เมื่อ 4 สถาบันการศึกษาให้ความสำคัญผนึกกำลังร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น การส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนย่อมจะบังเกิดผลอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพราะสถาบันอุดมศึกษามีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีองค์ความรู้และฐานข้อมูลในชุมชนท้องถิ่นอย่างลึกและครบถ้วนสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ ข้อความในข้อตกลงความร่วมมือ มีดังนี้

1. การจัดให้มีการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชน

2. การจัดกิจกรรมต่างๆด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปกป้องสิทธิของตนเองและส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง

3. การส่งเสริมให้สถาบันในเครือข่ายดำเนินการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ร่วมกัน เพื่อสะท้อนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่และนำผลมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านประสบการณ์จริงในพื้นที่ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติ

5. การส่งเสริมการฝึกงานของนักศึกษาจากทั้ง 4 สถาบัน ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือองค์กรเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป

การดำเนินงานทำข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวได้ประชุมหารือ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ก่อนลงนามความร่วมมือ โดยมีการระดมความคิดเห็นและนำเสนอโครงการจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 สถาบัน ซึ่งโครงการต่างๆ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถาบันอุดมศึกษาจะระดมทรัพยากรร่วมดำเนินการ เช่น โครงการอบรมวิทยากรเผยแพร่ความรู้สิทธิมนุษยชน โครงการค่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาหารือเรื่องร้องเรียน และโครงการติดตามเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ที่คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีมติยุติเรื่องและมีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาตุรนต์เสนอ ใช้ 'พรก.' นิรโทษฯ ไม่สำเร็จดัน 'พรบ.' ไม่ได้อีก 'แก้ รธน.'

Posted: 29 Jan 2013 05:13 AM PST

29 มกราคม 2556 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีนิรโทษกรรมในเฟสบุ๊คของตนเอง http://www.facebook.com/chaturon.chaisang/posts/3647200438779 โดยระบุว่า ขณะนี้หากไม่รวมร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่ค้างอยู่ในสภา การเสนอให้นิรโทษกรรมประชาชนมีถึง 3 ทางแล้ว คือ ร่าง พ.ร.ก.ของ นปช. ร่าง พ.ร.บ.ของคอ.นท.และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์ ถึงแม้ว่าทั้ง 3 แบบนี้จะเสนอให้ใช้วิธีการต่างกันและมีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแต่จุดร่วมที่สำคัญคือการเสนอให้นิรโทษประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลานับแต่หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เป็นต้นมา โดยนายจาตุรนต์ ตั้งข้อสังเกตว่า ข้อเสนอให้นิรโทษกรรมประชาชนดังกล่าวนี้มีเสียงคัดค้านน้อยและจะเป็นที่ยอมรับกว้างขวางพอสมควร ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะให้มีการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษประชาชนเสียโดยเร็ว ส่วนจะเป็นวิธีใดย่อมเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถหารือกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไปได้

"เหตุผลที่น่าจะเป็นที่ยอมรับในการที่จะนิรโทษฯประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมโดยไม่รวมแกนนำหรือผู้สั่งการก็คือ ประชาชนเข้าร่วมชุมนุุมทางการเมือง เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างจากรัฐ ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการกระทำผิดกฎหมายแต่อยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ ถูกบีบคั้นหรือกระทั่งถูกทำร้ายปราบปราม นอกจากนี้ในหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยยังอยู่ในสภาพที่การรักษาหรือบังคับใช้กฎหมายลักลั่น ไม่เป็นธรรมอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองจึงอยู่ในสภาพที่เป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่อ่อนแอ

"การนิรโทษประชาชนที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางการเมืองนี้ จึงเท่ากับเป็นการเยียวยาบาดแผลของสังคมไม่ให้ต้องเลวร้ายหนักหนายิ่งขึ้นหรือเรื้อรังต่อไป ประชาชนจำนวนมากก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปรกติและยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสมานฉันท์ สามัคคีกันของคนในสังคมได้อีกด้วย

ทั้งนี้นายจาตุรนต์ได้แสดงความเห็นถึงข้อหว่งใยเรื่องที่ว่า การนิรโทษกรรมจะไม่มีหลักประกันว่า ผู้ที่ได้รับการนิรโทษจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีกในเร็วๆ นี้นั้น ถือว่าเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดว่า จากนี้ไปจะทำอย่างไรให้สังคมอยู่ในสภาพที่คนส่วนใหญ่ยึดถือกฎ กติกาที่เป็นธรรมเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความแตกต่างทางความคิดและทำอย่างไรจะทำให้สังคมมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกฝ่าย

โดยวิธีการนิรโทษกรรมที่มีข้อเสนอแตกต่างกันนั้น อดีตรองนายกฯ เสนอให้ใช้ทั้ง 3 วิธีที่มีอยู่ ที่ต่างกันทั้ง 3 แบบนั้น

"ผมเสนอว่าให้เริ่มจากการออก พ.ร.ก.ก่อนตามที่ นปช.เสนอ หากติดขัดก็ให้ออกเป็น พ.ร.บ.ตามที่ คอ.นท. เสนอ และถ้ายังติดขัดอีก จึงให้วิธีการเสนอเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่นิติราษฎร์เสนอเป็นลำดับไป"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับ 2 ผู้ต้องสงสัย สารภาพยิงครูมุสลิมบาเจาะ

Posted: 29 Jan 2013 04:58 AM PST

รับสารภาพเกี่ยวข้องจริง เผยเป็นลูกน้องมะรอโซ ไม่เชื่อว่าคนร้ายเข้าใจผิด เนื่องจากวางแผนมาอย่างดี อีกทั้งครูชลธีเป็นที่รู้จักของชาวบ้านและไม่มีคนพุทธเป็นครูในโรงเรียนผู้ตาย ตำรวจรอหลักฐานเตรียมออกหมายจับจาก DNA 

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 น.ท.ธรรมนูญ วรรณณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ที่ 32 (ผบ.ฉก.นราธิวาส 32) เปิดเผยกับ DSJ ถึงความคืบหน้าในการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุยิงนายชลธี เจริญชล ครูโรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส เสียชีวิตภายในโรงอาหารของโรงเรียน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้แล้ว 2 คน ชื่อนายอารอพะ อาบูหลง และนายอับดุลบาซิต ปิดอเลาะทั้งสองเป็นคนในพื้นที่ ต.บาเระใต้

น.ท.ธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน ถูกควบคุมที่ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457

"จากการซักถามพบว่า ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน รับสารภาพว่ามีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวจริง โดยนายอารอพะมีหน้าที่ประสานงานกับทีมก่อเหตุ ส่วนนายอับุดลบาซิตทำหน้าที่ดูต้นทาง ซึ่งทั้ง 2 เป็นลูกน้องของนายมะรอโซ จันทรวดี แกนนำผู้ก่อเหตุคนสำคัญในพื้นที่ อ.บาเจาะ" น.ท. ธรรมนูญ กล่าว

น.ท.ธรรมนูญ เปิดเผยอีกว่า ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยครูนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามปกติทั้งระหว่างเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน ส่วนโรงเรียนที่มีครูไทยพุทธซึ่งมักจะตกเป็นเป้าหมายนั้น จะมีทหารเฝ้าดูแลโรงเรียนตลอดทั้งวัน ส่วนโรงเรียนที่ไม่มีครูไทยพุทธ เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจเยี่ยมครูเป็นระยะๆ

"จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีข่าวออกมาว่าคนร้ายเข้าใจผิด คิดว่าครูชลธีฯเป็นครูไทยพุทธนั้น เป็นไปไม่ได้ที่คนร้ายจะเข้าใจผิด เนื่องจากคนร้ายมีการวางวางแผนมาเป็นอย่างดี ซึ่งจากสอบถามผู้ต้องสงสัยให้การว่ามีการวางแผนในการก่อเหตุครั้งนี้ประมาณ 4 วัน และที่สำคัญโรงเรียนแห่งนี้ก็ไม่มีครูที่นับถือศาสนาพุทธแม้แต่คนเดียว อีกทั้งเป็นครูชลธีฯเป็นคนในพื้นที่ และเป็นที่รู้จักของชาวบ้านเป็นอย่างดี"

พ.ต.อ.ภักดี ปรีชาชน ผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธรบาเจาะ จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า สำหรับคืบหน้าทางคดี ขณะนี้ตำรวจกำลังรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ เพื่อจะออกหมายจับและรอพยานหลักฐานที่เป็นลายนิ้วมือแฝงหรือ DNA (สารพันธุกรรม) ที่เก็บได้จากรถเก๋งยี่ห้อนิสสัน รุ่นซันนี่ สีบรอนซ์-เทาหมายเลขทะเบียน กข1109 ยะลา ของครูชลธีซึ่งคนร้ายขโมยไปหลังก่อเหตุ ก่อนจะนำไปจอดทิ้งไว้ในทุ่งนาโล่ง บ้านกูบู หมู่ที่ 6 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556

ส่วนที่สโมสรร่มเกล้า ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวระหว่างเดินทางมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยครูและนักเรียนในพื้นระยะนี้ถือเป็นระยะที่ 2 ของการสร้างความเข้มแข็งของกองกำลังในพื้นที่ และต้องมีการบูรณาการกับกองกำลังทั้ง 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน กองกำลังทหาร และกองกำลังตำรวจในพื้นที่ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อแก้ข้อบกพร่องของการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งกำชับให้ทุกฝ่ายได้เข้ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไม่ว่าปัญหาความยากจน การศึกษาและยาเสพติดที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตั้งสองรองเลขาฯ สปสช.วุ่น จนท.ใส่ชุดดำ ผู้บริหารชักแถวลาออก

Posted: 29 Jan 2013 04:52 AM PST

แหล่งข่าวภายในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่บอร์ด สปสช. อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. อีก 2 อัตราเพื่อดูแลระบบเบิกจ่ายเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพและได้รับการคัดค้านจากบอร์ดภาคประชาชนว่าเป็นการล้วงลูก มีใบสั่งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ล่าสุด นพ.วินัย  สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ต้องเลื่อนการประกาศผลคัดเลือกจากวันที่ 14 มค. ที่ผ่านมาออกไป  ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้สมัครและภายใน จนท. โดยชมรมรัก สปสช. มีมติส่งผู้แทนเข้าพบผู้บริหารก่อนประกาศใส่ชุดดำเพื่อแสดงจุดยืนให้เลขาธิการและผู้บริหารระดับสูงร่วมกับจนท. ปกป้องอุดมการณ์ของ นพ.สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์  ปกป้องหลักธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งผู้บริหารและปกป้องกองทุนหลักประกันสุขภาพแสนสามหมื่นล้านบาทให้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซงของผู้มีอำนาจทางการเมือง  ขณะที่มีกระแสข่าวว่ากรรมการคัดเลือก 2 ใน 3 คนที่เหลือเตรียมตัดสินใจไขก๊อกลาออกอีกเพราะรับไม่ได้กับใบสั่งให้เลือกคนของนักการเมือง  และล่าสุดผู้อำนวยการ สปสช.เขตและผู้บริหารกว่า 10 คน จาก เขตภาคอีสานและภาคกลางได้เขียนใบลาพร้อมออกจากราชการเพื่อยืนยันปกป้องระบบธรรมาภิบาลขององค์กรและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้            

นส.สุรีรัตน์  ตรีมรรคา  อดีตบอร์ด สปสช. และหนึ่งในผู้สมัครรองเลขาธิการเปิดเผยว่า รู้สึกผิดปกติที่มีการเลื่อนการคัดเลือกและประกาศผลหลายครั้งโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่รับฟังได้ ขณะที่การสัมภาษณ์คัดเลือกก็ทำแบบคล้ายมีธงมีใบสั่งมาก่อน กรรมการที่เหลืออยู่สามคน ดูไม่ได้ตั้งคำถามต้องการคัดเลือกจริงจังอะไรมากนัก สอดคล้องกับข่าวลือว่างานนี้มีใบสั่ง

ขณะที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ เครือข่ายมะเร็ง เครือข่ายคนพิการ และชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ประชุมติดตามสถานการณ์การแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อวันนี้ (วันที่ 28 มค.) มีความเป็นห่วงว่าระบบหลักประกันสุขภาพกำลังอยู่ในสถานการณ์อันตราย การส่งอดีตนักการเมืองเข้าเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.เพื่อดูแลการเบิกจ่ายเงินกองทุนแสนกว่าล้านบาทของประชาชนจะกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยทั่วประเทศ "ทางเครือข่ายผู้ป่วยทุกเครือข่าย กำลังประสานเข้าพบเลขาธิการ สปสช. เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องใบสั่งตั้งรองเลขาธิการ และยืนยันจะปกป้องให้ระบบหลักประกันสุขภาพเอื้อประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศ จะคัดการการแทรกแซงแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอำนาจทางการเมือง" แกนนำผู้ติดเชื้อเอดส์กล่าว

ขณะที่ชมรมแพทย์ชนบทนำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมฯ เปิดเผยว่าการแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการทำมาโดยตลอด การมีใบสั่งให้ตั้งอดีตนักการเมืองเป็นรองเลขาธิการ สปสช.เป็นแผนขั้นที่สองของแผนทำลายระบบบัตรทองที่มีการเตรียมการไว้ทั้งหมดสี่ขั้นตอน หลังจากยึดสำนักงานแต่งตั้งผู้บริหารได้แล้ว ปีต่อไปจะเริ่มแผนขั้นที่สามปรับระบบการเงินของ สปสช. ให้เอื้อกับธุรกิจเอกชน เพื่อนำไปสู่แผนขั้นที่สี่คือยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหลักประกัรสุขภาพแห่งชาติ ปรับไปใช้ระบบสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยแทน ทำให้ระบบ สปสช.เป็นระบบอนาถา และปรับราคาค่าบริการสุขภาพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับคนมีเงินร่วมจ่ายและกำลังซื้อจากต่างประเทศ "นโยบายลดความเหลื่อมล้ำสามกองทุน ที่ประกาศไว้เป็นเพียงการหาเสียงทางการเมือง แต่ทำจริงๆกับเพิ่มการเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย และคนถือบัตรทองกับบัตรข้าราชการมากขึ้น" ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตั้งสองรองเลขาฯ สปสช.วุ่น จนท.ใส่ชุดดำ ผู้บริหารชักแถวลาออก

Posted: 29 Jan 2013 04:52 AM PST

ลากยาวเลื่อนประกาศผลคัดเลือกสองรองเลขาฯ สปสช. กรรมการคัดเลือกที่เหลือเตรียมไขก๊อกลาออกเพิ่ม ล่าสุดผู้บริหารกว่าสิบคนเขียนใบลาออกจากราชการถ้าระบบธรรมาภิบาลถูกทำลาย เครือข่ายผู้ป่วยเคลื่อนไหวขอความชัดเจน

แหล่งข่าวภายในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่บอร์ด สปสช. อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. อีก 2 อัตราเพื่อดูแลระบบเบิกจ่ายเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพและได้รับการคัดค้านจากบอร์ดภาคประชาชนว่าเป็นการล้วงลูก มีใบสั่งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ล่าสุด นพ.วินัย  สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ต้องเลื่อนการประกาศผลคัดเลือกจากวันที่ 14 มค. ที่ผ่านมาออกไป  ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้สมัครและภายใน จนท. โดยชมรมรัก สปสช. มีมติส่งผู้แทนเข้าพบผู้บริหารก่อนประกาศใส่ชุดดำเพื่อแสดงจุดยืนให้เลขาธิการและผู้บริหารระดับสูงร่วมกับจนท. ปกป้องอุดมการณ์ของ นพ.สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์  ปกป้องหลักธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งผู้บริหารและปกป้องกองทุนหลักประกันสุขภาพแสนสามหมื่นล้านบาทให้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซงของผู้มีอำนาจทางการเมือง  ขณะที่มีกระแสข่าวว่ากรรมการคัดเลือก 2 ใน 3 คนที่เหลือเตรียมตัดสินใจไขก๊อกลาออกอีกเพราะรับไม่ได้กับใบสั่งให้เลือกคนของนักการเมือง  และล่าสุดผู้อำนวยการ สปสช.เขตและผู้บริหารกว่า 10 คน จาก เขตภาคอีสานและภาคกลางได้เขียนใบลาพร้อมออกจากราชการเพื่อยืนยันปกป้องระบบธรรมาภิบาลขององค์กรและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้            

นส.สุรีรัตน์  ตรีมรรคา  อดีตบอร์ด สปสช. และหนึ่งในผู้สมัครรองเลขาธิการเปิดเผยว่า รู้สึกผิดปกติที่มีการเลื่อนการคัดเลือกและประกาศผลหลายครั้งโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่รับฟังได้ ขณะที่การสัมภาษณ์คัดเลือกก็ทำแบบคล้ายมีธงมีใบสั่งมาก่อน กรรมการที่เหลืออยู่สามคน ดูไม่ได้ตั้งคำถามต้องการคัดเลือกจริงจังอะไรมากนัก สอดคล้องกับข่าวลือว่างานนี้มีใบสั่ง

ขณะที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ เครือข่ายมะเร็ง เครือข่ายคนพิการ และชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ประชุมติดตามสถานการณ์การแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อวันนี้ (วันที่ 28 มค.) มีความเป็นห่วงว่าระบบหลักประกันสุขภาพกำลังอยู่ในสถานการณ์อันตราย การส่งอดีตนักการเมืองเข้าเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.เพื่อดูแลการเบิกจ่ายเงินกองทุนแสนกว่าล้านบาทของประชาชนจะกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยทั่วประเทศ "ทางเครือข่ายผู้ป่วยทุกเครือข่าย กำลังประสานเข้าพบเลขาธิการ สปสช. เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องใบสั่งตั้งรองเลขาธิการ และยืนยันจะปกป้องให้ระบบหลักประกันสุขภาพเอื้อประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศ จะคัดการการแทรกแซงแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอำนาจทางการเมือง" แกนนำผู้ติดเชื้อเอดส์กล่าว

ขณะที่ชมรมแพทย์ชนบทนำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมฯ เปิดเผยว่าการแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการทำมาโดยตลอด การมีใบสั่งให้ตั้งอดีตนักการเมืองเป็นรองเลขาธิการ สปสช.เป็นแผนขั้นที่สองของแผนทำลายระบบบัตรทองที่มีการเตรียมการไว้ทั้งหมดสี่ขั้นตอน หลังจากยึดสำนักงานแต่งตั้งผู้บริหารได้แล้ว ปีต่อไปจะเริ่มแผนขั้นที่สามปรับระบบการเงินของ สปสช. ให้เอื้อกับธุรกิจเอกชน เพื่อนำไปสู่แผนขั้นที่สี่คือยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหลักประกัรสุขภาพแห่งชาติ ปรับไปใช้ระบบสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยแทน ทำให้ระบบ สปสช.เป็นระบบอนาถา และปรับราคาค่าบริการสุขภาพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับคนมีเงินร่วมจ่ายและกำลังซื้อจากต่างประเทศ "นโยบายลดความเหลื่อมล้ำสามกองทุน ที่ประกาศไว้เป็นเพียงการหาเสียงทางการเมือง แต่ทำจริงๆกับเพิ่มการเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย และคนถือบัตรทองกับบัตรข้าราชการมากขึ้น" ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัพภาคประชาชนปาตานีเยือนอาเจะห์ เรียนรู้แก้ปัญหาความขัดแย้ง

Posted: 29 Jan 2013 04:43 AM PST

เรียนรู้ประสบการณ์ในพื้นที่ความขัดแย้ง "อาเจ๊ะห์ –มินดาเนา-ปาตานี" ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนกับประชาชน พร้อมกลับมาสร้างพลังขับเคลื่อนสันติภาพชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 กลุ่มนักประชาสังคมและประชาชนปาตานีกว่า 23 คน ได้เดินทางถึงเมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนสันติภาพของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอาเจ๊ะ หลังจากผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซีย การเดินทางครั้งนี้นำโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน หรือ People Empowerment Foundation

คณะทั้งหมดเป็นนักประชาสังคมและประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคมพุทธ ภาคประชาสังคมมลายู ตัวแทนนักศึกษา และคณะทำงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชน

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้จัดโครงการ เปิดเผยว่า กิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีหลายกิจกรรม ส่วนสำคัญคือการนำตัวแทนประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐที่ทำงานในพื้นที่เดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในพื้นที่ขัดแย้งจากนักเคลื่อนไหวและผู้มีส่วนขับเคลื่อนสันติภาพตัวจริง ทั้งที่ทำงานในชุมชนในพื้นที่และผู้มีส่วนในการเจรจาเพื่อสันติภาพ

"ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ จะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผู้เข้าร่วม มีความคิดริเริ่มหรือต่อยอดงานตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อย่างไร ซึ่งความคาดหวังต่อผู้เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้คือ เพื่อกลับมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างสันติภาพหรือที่เรียกว่า Peace maker ภาคประชาชน"

"ประชาชนควรมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง แต่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ให้ภาคประชาชนได้เข้าใจว่ากระบวนการสันติภาพเป็นอย่างไร ซึ่งการพาไปพบประสบการณ์ของพื้นที่ความขัดแย้งอื่นอย่างอาเจ๊ะห์และมินดาเนา จะทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นว่า สันติภาพในพื้นที่ของเขาน่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร" นางชลิดา กล่าว

นายธนวัฒน์ โชติมณี กำนันตำบลธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หนึ่งในผู้เข้าร่วมครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นการเดินทางที่สนใจ ซึ่งตนเป็นนำชุมชนมาเกือบสิบปี ต้องมีหน้าที่หลักในการจัดการความขัดแย้งระหว่างลูกบ้านตลอด ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นสำคัญ และคิดว่าในการเดินทางสู่อาเจ๊ะห์ในครั้งนี้ จะมีประสบการณ์การจัดการความขัดแย้งใหม่ๆเพื่อใช้ในพื้นที่ได้

"ปกติผมต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งให้พื้นที่อยู่แล้ว ผมสนใจว่าอาเจ๊ะห์ ที่ขัดแย้งมานานจะมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร...ผมเชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเรามีเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ถ้าปัญหาอื่นๆไม่ถูกจัดการให้เรียบร้อยก่อน อาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา ซึ่งอาจจะถูกลากไปเป็นปัญหาความมั่นคงไปเสียหมด" กำนันธารโต กล่าว

สำหรับกิจกรรมวันแรกตามกำหนดการของการเดินทางครั้งนี้คือ การพบนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพอาเจ๊ะห์ ที่ขับเคลื่อนทั้งทางด้านการเมืองและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จากนั้นจะลงพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีส่วนเร่งให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นในเวลาต่อมา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์แจง ไม่ได้ละเมิดสิทธิคนงานที่ระยอง

Posted: 29 Jan 2013 04:42 AM PST


สืบเนื่องจากกรณี เยอกี้ ไรนา เลขาธิการ IndustriALL Global Union ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ ส่งหนังสือถึงผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์ที่สวีเดน โดยระบุว่าได้ทราบถึงการกระทำของผู้บริหารที่ละเมิดความตกลงสากลซึ่งการันตีสิทธิของคนงานที่ระยองและขอให้มีการสั่งการให้บริษัทที่ประเทศไทยรับคนงานและสมาชิกสหภาพแรงงานทุกคนกลับเข้าทำงานโดยทันที และกลับสู่โต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรมต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

ล่าสุด (22 ม.ค.) ไมเคิล มาร์เคอสัน รองประธานอาวุโส บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ได้ส่งอีเมลชี้แจงเลขาธิการ IndustriALL Global Union โดยระบุว่า เป็นการไม่ถูกต้องที่จะกล่าวหาว่ามีการกักบริเวณคนงานเพื่อขจัดข้อเรียกร้องการเจรจาต่อรองร่วม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือคนงานกลุ่มหนึ่งไม่ยอมที่จะหยิบยกประเด็น/ปัญหาของพวกเขาผ่านช่องทางที่เหมาะสมรวมถึงขั้นตอนที่มีอยู่สำหรับเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ กรณีที่มีการให้ข้อมูลว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อพนักงานที่ตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นความจริง โดยได้มีการดูแลเป็นพิเศษทั้งจัดอาหารและน้ำให้ และแจ้งต่อพวกเธอเรื่องสิทธิที่เธอมีทั้งนี้ อีเลคโทรลักซ์ยังเคารพในข้อตกลงสากลและจะปฏิบัติตามข้อตกลงสากลในทุกที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

จดหมายจากเลขาธิการ IndustriALL ถึงอีเลคโทรลักซ์สวีเดน

เจนีวา 17 มกราคม 2556
 
Mr Keith McLoughlin 
President and CEO
AB อีเลคโทรลักซ์
 
 
การกักบริเวณและเลิกจ้างสมาชิกและผู้แทนสหภาพแรงงานที่อีเลคโทรลักซ์ประเทศไทย
 
 
ถึงคุณ McLoughlin
 
ผมเขียนถึงคุณในนามของสมาชิก 50 ล้านคน ใน 140 ประเทศ ของสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ IndustriALL Global Union และในฐานะคู่สัญญาความตกลงสากลที่อีเลคโทรลักซ์ได้ลงนามร่วมกับ IF Metall, UNIONEN และ IMF (ปัจจุบัน IndustriALL Global Union) รวมถึง KFD ของคณะกรรมการบริหาร Electrolux 
 
ด้วยความรู้สึกที่เลวร้าย เราได้ทราบจาก IF Metall ถึงความไม่เป็นธรรมและการต่อต้านสหภาพแรงงานของบริษัทอีเลคโทรลักซ์ระยอง ประเทศไทย การกักบริเวณและการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานรวมถึงผู้แทนสหภาพแรงงานจำนวน 127 คน แสดงถึงพฤติกรรมการทำลายสหภาพแรงงานอย่างชัดเจนที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้คนงานยอมรับกระบวนการและข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
 
ผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์ประเทศไทยได้กักบริเวณคนงานมากกว่า 100 คน รวมถึงคนงานหญิงท้อง 6 เดือน ที่โรงงานอีเลคโทรลักซ์ ระยอง เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556  เพื่อกำจัดข้อเรียกร้องของคนงาน ซึ่งมีประเด็นเรื่องการจ่ายโบนัส การขึ้นค่าจ้าง และการบรรจุคนงานเหมาค่าแรงให้เป็นพนักงานประจำหลังจากทำงานที่อีเลคโทรลักซ์มาแล้ว 6 เดือน หลังจากกักบริเวณ ผู้บริหารประกาศเลิกจ้างคนงาน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่สมาชิกสหภาพแรงงาน คนงานที่ถูกเลิกจ้างกำลังต่อสู้กับความพยายามในการทำลายสหภาพแรงงานของผู้บริหารและล่าสุดได้ไปร้องเรียนที่กรรมการธิการแรงงานสภาผู้แทนฯ 
 
การกระทำของผู้บริหารกำลังละเมิดความตกลงสากล (International Framework Agreement) ซึ่งการันตีสิทธิของคนงาน ดังนั้นผมขอให้คุณสั่งการให้บริษัทที่ประเทศไทยรับคนงานและสมาชิกสหภาพแรงงานทุกคนกลับเข้าทำงานโดยทันที และกลับคืนสู่โต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรมต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงาน  
 
ผมกำลังคอยคำตอบจากคุณ
 
ด้วยความจริงใจ
 
เยอกี้ ไรน่า (Jyrki Raina)
เลขาธิการ 

 

อีเลคโทรลักซ์
วันที่ 22 มกราคม 2556   
 
เรียน เยอกี้ ไรนา (Jyrki Raina) เลขาธิการ IndustriALL
จาก ไมเคิล มาร์เคอสัน (Michele Marchesan)                                                            
แผนกแรงงานสัมพันธ์   
เรื่อง อีเลคโทรลักซ์ระยอง ประเทศไทย                                                 
ส่งทางอีเมลถึงเยอกี้ ไรนา

คุณไรน่า

ขอบคุณสำหรับจดหมายเรื่องสถานการณ์ที่โรงงานการผลิตของเราที่ระยอง ประเทศไทย

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น และผมยินดีที่จะตอบจดหมายในนามของบริษัท อีเลคโทรลักซ์ เพื่อที่จะแก้ไขประเด็นที่มีความเข้าใจผิดกรณีเหตุการณ์วันที่ 11 มกราคม  และผมขอยืนยันเจตนารมณ์ของบริษัทที่มีต่อข้อตกลงสากลในด้านแรงงานและยืนยันว่า อีเลคโทรลักซ์ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทยและกฎระเบียบทางด้านแรงงานตลอดเวลา

เป็นการไม่ถูกต้องที่จะกล่าวหาว่ามีการกักบริเวณคนงานเพื่อขจัดข้อเรียกร้องการเจรจาต่อรองร่วม  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือคนงานกลุ่มหนึ่งไม่ยอมที่จะหยิบยกประเด็น/ปัญหาของเขาผ่านช่องทางที่เหมาะสมรวมถึงขั้นตอนที่มีอยู่สำหรับเรื่องดังกล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลังจากการประชุมที่ศาลากลางจังหวัด เรื่องค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับปี 2556 พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมการผละงาน   แผนการจ่ายค่าตอบแทนเป็นผลพวงของการขึ้นค่าจ้างประจำปีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้างและการขึ้นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงานไทย ไม่ใช่ช่วงเวลาของการเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา  ในแผนการจ่ายเราได้รวมโบนัส ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกลงกับคณะกรรมการสหภาพแรงงานก่อนหน้านี้  การเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างครั้งถัดไปจะเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้

หลังจากการประชุมพนักงาน  พนักงาน 822 คนจาก 920 คน กลับไปทำงาน ขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่เข้าร่วมการสไตรค์ในบริเวณสนามหญ้านอกอาคาร บุคคลเหล่านี้และทั้งกลุ่มได้รับการบอกหลายครั้งให้กลับไปทำงานตลอดทั้งวัน  โดยได้มีการดูแลเป็นพิเศษต่อพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ มีการจัดอาหารและน้ำให้ และแจ้งต่อพวกเธอเรื่องสิทธิที่เธอมี

เจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นรวมถึงสำนักงานแรงงานจังหวัด ได้รับแจ้งจากบริษัทถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และเดินทางมาในที่เกิดเหตุ โดยมีการให้คำแนะนำต่อคนงานและแจ้งให้พวกเขาทราบถึงผลที่จะตามมาหลังจากที่พวกเขาเข้าร่วมการหยุดงาน  เจ้าหน้าที่รัฐยังได้บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น  หลังจากเวลาผ่านไปหลายชั่วโมงโดยไม่มีทางออก  พนักงาน 90 คน ซึ่งยังร่วมการหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้รับแจ้งว่าพวกเขาจะถูกเลิกจ้าง  กรรมการสหภาพแรงงานที่ร่วมการหยุดงานถูกสั่งพักงานซึ่งเป็นไปตามกฏหมายแรงงานในประเทศไทย   พื้นที่ถูกล้อมไว้เพื่อไม่ให้พวกเขาเข้าไปในบริเวณโรงงาน แต่ได้เปิดช่องทางประตูเข้า-ออกโรงงาน ไว้ตลอดเวลา

เป็นเรื่องโชคร้ายที่จำเป็นต้องเลิกจ้างที่ระยอง การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่เป็นเพราะสถานการณ์ได้ก่อตัวและทวีขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา  มีการพูดคุยกันหลายครั้งเป็นเวลามากกว่าหนึ่งเดือน  ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการก่อกวนทำให้การผลิตชะงัก  และมีการผละงานถึง 2 ครั้งภายใน 2 วัน

นับจากวันเปิดโรงงานระยองในปี พ.ศ. 2547  อีเลคโทรลักซ์ได้เพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโรงงานให้เป็นโรงงานการผลิตระดับโลกแห่งหนึ่งของบริษัท และเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ เรามีความตั้งใจที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานและสหภาพแรงงาน  ในความเป็นจริง อีเลคโทรลักซ์ได้ให้การอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นขององค์กรสหภาพแรงงานและให้การสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว  สำหรับผม นี่เป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ระยะยาวของเราในประเทศไทย

อีเลคโทรลักซ์ยังเคารพในข้อตกลงสากลและจะปฏิบัติตามข้อตกลงสากลในทุกที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  ก่อนหน้านี้ เราได้ต้อนรับ Erik Andersson เลขาธิการฝ่ายต่างประเทศของสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมคนงานการผลิตประเทศสวีเดน และ Ulf Carlsson ผู้แทนสหภาพแรงงานที่เป็นบอร์ดบริหารงานของบริษัท AB อีเลคโทรลักซ์ซึ่งเดินทางมาที่โรงงานระยอง   จากเหตุการณ์ล่าสุด พวกเขาจะมาที่โรงงานระยองอีกครั้งเพื่อช่วยในการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้แทนสหภาพแรงงานให้คืนสู่ปกติ

อีเลคโทรลักซ์ให้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารในประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์นี้และในวันข้างหน้า หากคุณยังมีคำถามในเรื่องนี้ อย่าได้ลังเลในการติดต่อกับผม

ขอแสดงความนับถือ
Michele Marchesan
รองประธานอาวุโส    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัพภาคประชาชนปาตานีเยือนอาเจะห์ เรียนรู้ประสบการณ์แก้ปัญหาความขัดแย้ง

Posted: 29 Jan 2013 04:42 AM PST

เรียนรู้ประสบการณ์ในพื้นที่ความขัดแย้ง "อาเจ๊ะห์ –มินดาเนา-ปาตานี" ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนกับประชาชน พร้อมกลับมาสร้างพลังขับเคลื่อนสันติภาพชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 กลุ่มนักประชาสังคมและประชาชนปาตานีกว่า 23 คน ได้เดินทางถึงเมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนสันติภาพของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอาเจ๊ะ หลังจากผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซีย การเดินทางครั้งนี้นำโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน หรือ People Empowerment Foundation

คณะทั้งหมดเป็นนักประชาสังคมและประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคมพุทธ ภาคประชาสังคมมลายู ตัวแทนนักศึกษา และคณะทำงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชน

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้จัดโครงการ เปิดเผยว่า กิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีหลายกิจกรรม ส่วนสำคัญคือการนำตัวแทนประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐที่ทำงานในพื้นที่เดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในพื้นที่ขัดแย้งจากนักเคลื่อนไหวและผู้มีส่วนขับเคลื่อนสันติภาพตัวจริง ทั้งที่ทำงานในชุมชนในพื้นที่และผู้มีส่วนในการเจรจาเพื่อสันติภาพ

"ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ จะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผู้เข้าร่วม มีความคิดริเริ่มหรือต่อยอดงานตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อย่างไร ซึ่งความคาดหวังต่อผู้เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้คือ เพื่อกลับมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างสันติภาพหรือที่เรียกว่า Peace maker ภาคประชาชน"

"ประชาชนควรมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง แต่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ให้ภาคประชาชนได้เข้าใจว่ากระบวนการสันติภาพเป็นอย่างไร ซึ่งการพาไปพบประสบการณ์ของพื้นที่ความขัดแย้งอื่นอย่างอาเจ๊ะห์และมินดาเนา จะทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นว่า สันติภาพในพื้นที่ของเขาน่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร" นางชลิดา กล่าว

นายธนวัฒน์ โชติมณี กำนันตำบลธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หนึ่งในผู้เข้าร่วมครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นการเดินทางที่สนใจ ซึ่งตนเป็นนำชุมชนมาเกือบสิบปี ต้องมีหน้าที่หลักในการจัดการความขัดแย้งระหว่างลูกบ้านตลอด ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นสำคัญ และคิดว่าในการเดินทางสู่อาเจ๊ะห์ในครั้งนี้ จะมีประสบการณ์การจัดการความขัดแย้งใหม่ๆเพื่อใช้ในพื้นที่ได้

"ปกติผมต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งให้พื้นที่อยู่แล้ว ผมสนใจว่าอาเจ๊ะห์ ที่ขัดแย้งมานานจะมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร...ผมเชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเรามีเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ถ้าปัญหาอื่นๆไม่ถูกจัดการให้เรียบร้อยก่อน อาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา ซึ่งอาจจะถูกลากไปเป็นปัญหาความมั่นคงไปเสียหมด" กำนันธารโต กล่าว

สำหรับกิจกรรมวันแรกตามกำหนดการของการเดินทางครั้งนี้คือ การพบนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพอาเจ๊ะห์ ที่ขับเคลื่อนทั้งทางด้านการเมืองและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จากนั้นจะลงพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีส่วนเร่งให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นในเวลาต่อมา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา: รัฐธรรมนูญ 2550 แก้หรือเก็บ

Posted: 29 Jan 2013 03:44 AM PST

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เสนอทางออกแก้รธน. ทั้งฉบับ ลงประชามติดีที่สุด ขณะวรเจตน์บอกถ้าจะใช้วิธีลงประชามติต้องมีสัญญาสุภาพบุรุษ ชี้สังคมควรต่อสู้ทางความคิด อย่าไปติดกับทักษิณ ขณะ ส.ส.ปชป. โอดไม่มีพื้นที่สื่อ เห็นด้วยกับการต่อสู้ทางความคิด ไม่ใช่เผาบ้านเผาเมือง

29 ม.ค. 2556 Media Inside Out จัดเสวนาวิชาการหัวข้อรัฐธรรมนูญ 2550 แก้หรือเก็บ ที่โรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท  โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , พีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส. พรรคเพื่อไทย, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินรายการโดย จอม เพ็ชรประดับ

พีรพันธุ์ พาลุสุข ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถานการณ์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 อาจจะไม่มีความคืบหน้า ขณะที่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นประเด็นที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงในการเลือกตั้ง และถือเป็นนโยบายหลักว่าต้องแก้ไขภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นที่มาของการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล แต่ก็ต้องเผชิญกับการถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและยืนยันเดินหน้าวาระสาม แต่มีผู้ที่กังวลว่าถ้าโหวตวาระสามจะโดนมาตรา 68 ซึ่งเขามั่นใจว่าไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 68 เมื่อศาลตัดสิน

"เมื่อเราจะแก้รัฐธรรมนูญจะมีกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกมาเลย และผมเชื่อว่าผลักดันต่อไปจะโดนย้อนด้วยมาตรา 68 แม้จะเป็นไปได้ว่าเข้าข่ายฟ้องซ้ำ แต่ก็ไม่มีความมั่นใจต่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" พีรพันธุ์กล่าว

ด้านวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ประเมินไม่ได้ว่าจะตัดสินในแบบไหน ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ถูกต้อง

"ผมคิดว่ารัฐสภานั้นได้เสียอำนาจจริงๆ ที่เป็นของสภาไปแล้วเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ระงับการพิจารณาไว้ชั่วคราว ซึ่งอำนาจนี้ไม่มีอยู่แต่ไปอนุโลมเอาประมวลกฎหมายแพ่งมาใช้ และเป็นการสั่งไปที่เลขาธิการรัฐสภาด้วยซ้ำ ศาลกลายเป็นคนให้ความหมายของมาตรา 68 ใหม่ว่าการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องผ่านอัยการก็ได้ และถือเป็นอันตรายมากๆ ต่อฝ่ายการเมือง เพราะคนจะไปยื่นต่อศาลฯ เมื่อไหร่ก็ได้ ตัวบทนั้นไม่มีความหมายแล้วด้วยคำวินิจฉัยของศาลฯ" วรเจตน์กล่าว

สำหรับการลงมติวาระสามนั้น วรเจตน์กล่าวว่าจะเป็นไปได้ไหมว่าหากนักการเมืองยืนยันลงมติผ่านวาระสามจะถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก เพราะหลังจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 68 แล้ว จากนี้อะไรก็เป็นไปได้หมด

วรเจตน์ย้ำว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำประชามติเพราะประชาชนได้แสดงออกไปแล้วตอนลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะพรรคเพื่อไทยได้ใช้ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญในการหาเสียง

ส่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น วรเจตน์เห็นว่าจะต้องใช้เวลานานจนแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสำเร็จ โดยเขาเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญก่อนเพื่อปลดล็อกการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป "ผมก็เสนอ ซึ่งมีผู้วิจารณ์ว่าข้อเสนอผมรุนแรงเกินไป คือการเสนอให้ยุบเลิกหรือเปลี่ยนโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญก่อน และฝ่ายการเมืองก็มีความชอบธรรมในการเปลี่ยนโครงสร้างนี้ แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายการเมืองและรัฐบาลนั้นประเมินอย่างไร"
 

ปริญญาชี้ รัฐธรรมนูญ 2550 ขาดการลงมติร่วมของสังคม เสนอลงประชามติเป็นทางออก
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล แสดงความเห็นว่าสิ่งที่เป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลทางกฎหมาย เป็นเรื่องที่แม้แต่นักศึกษานิติศาสตร์ปี 2 ก็รู้ สิ่งที่ศาลระบุในคำวินิจฉัยเรื่องควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องการเมือง เป็นคำแนะนำ แต่เป็นเรื่องการเมืองในการเผชิญต่อฝ่ายตรงข้าม

ปริญญายืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นเรื่องทำได้ และไทยเคยทำมาแล้ว รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราขนานใหญ่เช่นกัน

"การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องมีการวางกติการ่วมกัน และรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อบกพร่องตรงนี้ ส่วนเนื้อหาข้างในที่ต้องการแก้ไขนั้นเห็นด้วยกับอาจารย์วรเจตน์หลายประการ ในส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีทางเลือกสามทางคือ หนึ่ง ทำประชามติ สอง แก้รายมาตรา สาม เดินหน้าวาระสาม แต่อาจจะเผชิญหน้ากับการคัดค้าน ซึ่งถ้ารัฐบาลแคร์ ก็มีทางเลือกเหลือสองทาง คือทำประชามติ หรือแก้รายมาตรา

"ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรามีการแก้กันขนานใหญ่เหมือนกัน คือรัฐธรรมนูญ 2534"

"แนวทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดสำหรับประเทศไทยว่าจะไปต่ออย่างไร ก็คือต้องเดินหน้าไปโดยคิดถึงว่าเราจะอยู่กันอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหน ประเด็นที่ยังค้างอยู่ ถ้าจะเดินหน้าไปแบบไม่ให้เกิดปัญหา คิดว่าประชามติเป็นทางออกที่ดีที่สุด"

วรเจตน์ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้กติกาโดยเสียงข้างมากว่า "เรากำลังพูดถึงเรื่องการปกครองหลักประชาธิปไตย เป็นไปไม่ได้ที่คนจะเห็นเหมือนกัน ต้องมีคนเห็นต่าง ปัญหาคือเราจะจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร ที่เขาทำกันทั่วโลกคือใครชนะก็ใช้กติกาไป ซึ่งถ้าจะบอกว่าเป็นกติกาเสียงข้างมากก็ใช่ แต่เมื่อเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยก็ต้องโน้มน้าวให้ข้างมากมาเห็นด้วย ผมจึงไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อฝ่ายเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก เห็นว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะกลายเป็นกติกาของเสียงข้างมาก

"ประเด็นของผมมีอย่างเดียวคือ ประชาธิปไตย คือก่อนจะมีการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกฝ่ายมีโอกาสพูดได้เท่าเทียมกันหรือไม่ ชีวิตผมก็เป็นเสียงข้างน้อยมาเยอะนะครับ ผมก็อดทนรอคอยว่าวันใดวันหนึ่งเสียงข้างมากจะเห็นด้วยกับผม มันก็ไม่มีวิธีอื่นใดแล้วนะครับ" 

โดยวรเจตน์ย้ำว่า การลงประชามติเพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีผลผูกพันกับสมาชิกรัฐสภา เพราะเขาได้รับความคุ้มครองตามหลัก Free Mandate (เป็นอิสระจากการแทรกแซง) แต่ถ้าจะให้มีผลผูกพันก็ต้องทำสัญญาแบบสุภาพบุรุษ
 

ส.ส.ปชป. โอดไม่มีพื้นที่สื่อให้แสดงความเห็น
วิรัตน์ กัลยาศิริ จากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เห็นด้วยกับการลงประชามติ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้ออกสื่อเท่าเทียมกัน "ตอนนี้ออกแนวรณรงค์ฝ่ายเดียว ถ้าพี่น้องประชาชนเข้าใจ ทั้งโปรและคอน บวกและลบ บ้านเมืองก็เดินหน้าได้ ไม่ใช่รณรงค์ไปเต็มที่ ใช้งบประมาณเต็มร้อย พอชาวบ้านเห็นด้วยก็จัดลงประชามติ อย่างผมตอนนี้ช่อง 11 ผมก็ออกไม่ได้ เป็นข้อเท็จจริงที่อยากร้องเรียน"

ส่วนประเด็นที่ว่า ประชาธิปัตย์มักอ้างเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นผลประโยชน์ของทักษิณนั้น วิรัตน์กล่าวว่าถ้ามีความบริสุทธิ์ใจจริงใจก็มาเปิดอกคุยกันเหมือนกรณีภาคใต้ ที่รองนายกฯ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เชิญฝ่ายค้านมาพูดคุย ส.ส.ภาคใต้ก็ยินดีคุย ดังนั้นทางรัฐบาลต้องเปิดยื่นมือมาให้ได้พูดคุยกันอย่างเปิดอก คุยกันเพื่อหาทางออกเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย เราก็รักประเทศไทย อยากให้ประเทศไทยเดินหน้า

ปริญญากล่าวเสริมว่า สิ่งที่ทางฝ่ายประชาธิปัตย์ไม่ไว้วางใจคือการเอื้อประโยชน์ต่อทักษิณ ซึ่งนี่เป็นข้อที่ยากจะเชื่อใจ อย่างไรก็ตามประชาธิปัตย์อย่าลืมว่าได้ทำเรื่องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาถึงวาระสองด้วยกันกับทางรัฐบาล จนกระทั่งเข้าสู่วาระสาม แต่อดีตนายกฯ ทักษิณก็พลาดที่ยังคงพยายามแสดงบทบาท และแสดงความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม ปริญญาวิพากษ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในภาวะขาลง เพราะวิธีการของประชาธิปัตย์ในการคัดค้าน เกิดเหตุวุ่นวายป่วนสภา และไม่มีการตักเตือนกันในพรรค นี่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เช่นกัน เพราะกระแสนิยมตก

วรเจตน์ กล่าวว่าถึงความหวาดระแวงว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะเอื้อประโยชน์ต่ออดีตนายกฯ ทักษิณว่า เวลาที่พูดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญต้องแยกทักษิณออกไปก่อน เพราะบ้านเราไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไรก็ดึงทักษิณเข้ามารวมหมดทำให้ไม่เห็นโครงสร้าง

"การถูลู่ถูกกัง มันไปได้ระยะหนึ่ง แล้วพอถึงจุดหนึ่งมันเกิดการพลิกขึ้นมา ผมคิดว่าทุกคนที่นี่ไม่อยากไปถึงจุดนั้น ผมก็ไม่อยากไปถึงจุดนั้นครับ"

ด้าน ส.ส. ปชป. ยังคงยืนยันว่าไม่ได้พื้นที่ในสื่อ และวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล ทำให้เห็นความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน และกล่าวถึงการต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ โดยหากปราศจากสถาบันกษัตริย์ ไทยอาจจะอยู่ในสถานการณ์วุ่นวาย เช่น ซีเรีย

วรเจตน์ กล่าวตอบในประเด็นนี้ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน "ผมคิดว่าการแสดงความคิดความอ่านของกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองมันไม่เป็นเอกภาพ ไม่ใช่เนื้อเดียวกัน"

"ส่วนจะออกทีวีไม่ได้ ผมก็เคยอยู่ในลิสต์ที่ออกทีวีไม่ได้ โดยมีการให้เหตุผลว่าเพราะผมไม่เป็นมิตรกับ ปชป. ซึ่งนี่คือการพูดแฟร์ๆ ผมก็ไม่อยากให้เกิดสภาพแบบนี้ ผมเรียนว่าตอนนี้สังคมมันเปิด แม้บางฝ่ายอาจจะชอบคุณทักษิณ แต่ความคิดก้าวหน้าที่เป็นอิสระก็มี"

วรเจตน์ กล่าวในตอนท้าย ว่าเขาอยากเห็นความก้าวหน้าของประเทศไทย "ผมอยากให้เราทำการเมืองแบบนี้ เอาความคิดมาสู้กัน ลดเรื่องตัวคนไปให้เยอะ เราก็จะออกจากความขัดแย้งได้"

ด้าน วิรัตน์ กัลยาศิริ จากประชาธิปัตย์ จาก ปชป. ตอบว่า เห็นด้วยว่าควรจะสู้กันที่ความคิด ไม่อยากเห็นการเผาบ้านเผาเมือง เผาศาลากลาง

ขณะที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวว่า การพูดให้ก้าวข้ามทักษิณเป็นเพียงคำพูดที่ดูดี แต่ในทางปฏิบัติก็มีปัญหา เพราะประชาธิปัตย์ยังคงหวาดระแวง เสนอให้ย้อนกลับมาดำเนินกระบวนการยุติธรรมกับทักษิณใหม่เป็นการเฉพาะ เพื่อปลดเงื่อนตายทางการเมือง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ASEAN Weekly: ศึกที่รัฐคะฉิ่น ชี้อนาคตกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า

Posted: 29 Jan 2013 03:32 AM PST

 

ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดย สุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ พูดคุยถึงอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์พม่า ที่รัฐบาลพม่ายังคงปราบกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการทำสงครามปราบปราม กองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น KIA ในพื้นที่รัฐคะฉิ่น ที่ดำเนินมาตั้งแต่กลางปี 2554 และในช่วงปลายปีที่ผ่านมากองทัพพม่าได้โหมโจมตีทางอากาศ และปืนใหญ่ใส่พื้นที่รอบๆ เมืองไลซา ฐานบัญชาการใหญ่ของกองทัพคะฉิ่น KIA โดยขณะนี้เกิดผู้อพยพภายในรัฐคะฉิ่น และชายแดนจีนนับแสนคน

ดุลยภาคกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่น ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่กลางปี 2554 ก็คือ ประการแรก รัฐธรรมนูญปี 2008 ระบุว่ารัฐพม่าต้องมีกองทัพเดียว กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่เหลือจะต้องมามาเป็นส่วนหนึ่งกองทัพพม่า โดยหน่วยเหนือของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องถูกบังคับบัญชาโดยทหารพม่า และให้ทหารพม่าเข้ามาในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 2008 จึงเป็นสลักระเบิดทำให้กองกำลังคะฉิ่นหันมาเคลื่อนไหว เนื่องจากว่าคะฉิ่นไม่อยากยอม เพราะถ้าคะฉิ่นยอมเท่ากับจะสูญเสียอาวุธยุทโธปกรณ์และแรงบันดาลใจในการต่อสู้ ที่ต่อรองกับพม่านับตั้งแต่พม่าได้เอกราชนั้น ถ้าฝ่ายคะฉิ่นขาดกองทัพไปก็จะเสียแต้มต่อในทางการเมือง

ประการที่สอง อาจเป็นไปได้ที่ขุนทหารชายแดนของพม่า อยากจะยั้งประโยชน์ในชายแดนรัฐคะฉิ่น เพื่อคงอิทธิพลในการเมืองพม่า ทั้งนี้การเมืองพม่าหลังมีการเลือกตั้ง ด้านหนึ่งในรัฐสภามี ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เป็นแกนนำ อีกด้านหนึ่งคือกองทัพพม่า ทั้งนี้การที่กองทัพพม่าที่อยู่ชายแดนทำให้สถานการณ์บริเวณชายแดนเกิดวาบไฟ ก็ทำให้กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองโดยเฉพาะการเมืองชายแดน นอกจากนี้ทหารที่อยู่ชายแดนอาจจะยังคิดแก้แค้น เพราะสูญเสียกำลังพลเนื่องจากถูกฝ่ายกองทัพคะฉิ่นตอบโต้ ดังนั้นเมื่อรบติดพันอยู่ พอประธานาธิบดีเต็ง เส่ง สั่งให้หยุดรบก็ยังไม่หยุด เพราะอยากจะแก้แค้น

ประการที่สาม พื้นที่รัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำอิระวดีนั้น จีนมีแผนสร้างเขื่อนมิตซนที่ต้นแม่น้ำอิระวดี และอีกหลายเขื่อนในรัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นการดีสำหรับจีนหากรัฐบาลพม่าสามารถเคลียร์สถานการณ์ให้นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนได้สะดวก

ทั้งนี้ฐานบัญชาการใหญ่ของกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) คือเมืองไลซา ที่ตั้งยังอยู่บนจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐคะฉิ่น คือเมืองไลซา ซึ่งคร่อมอยู่บนถนนสายเลโด (Ledo road) ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมุ่งไปทางเหนือของไลซาคือเมืองมิตจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น และไปยังรัฐอัสสัม ของอินเดียได้ และมุ่งไปทางใต้คือเมืองบะหม่อ ซึ่งเชื่อมเส้นทางการค้ากับมัณฑะเลย์ และไปยังมณฑลยูนนานของจีน

ส่วนกรณีที่ สภาสหพันธรัฐชนชาติแห่งสหภาพพม่า หรือ UNFC เสนอตัวจะเจรจากับรัฐบาลพม่าในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ต่อสถานการณ์ในรัฐคะฉิ่นนั้น ดุลยภาคกล่าวว่า UNFC เป็นการรวมตัวของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อต่อรองกับกองทัพพม่า และต่อรองให้ชนกลุ่มน้อยมีอำนาจในการปกครองมากขึ้น แต่ฝ่ายพม่าก็ไม่ยอมเพราะกลัวการล่มสลายของสหภาพพม่า ทั้งนี้ UNFC เพื่อรวมตัวกันไม่กี่ปี เพื่อตอบโต้นโยบายกองทัพเดียวของพม่า อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ สไตล์การต่อสู้ของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มารวมกันเป็น UNFC ยังมีความหลากหลาย และไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรทางการเมือง 

ตอนท้าย ดุลยภาคเสนอว่าเราถวิลหาประชาคมในฝัน ด้วยการมีประชาคมอาเซียนขึ้นมา แต่การกระบวนการสร้างรัฐสร้างชาติเพื่อก่อรูปเป็นประเทศสำหรับหลายๆ รัฐในอุษาคเนย์ยังไม่จบ โดยเฉพาะพม่า การสร้างรัฐของพม่าคือการใช้รัฐเป็นแกนกลาง และคนในประเทศที่เป็นหลากชนเผ่าและบางครั้งเป็นคนพม่าเองถูกทำให้เป็นศัตรูของรัฐ และขณะเดียวกันก็เขย่ามโนทัศน์โดยที่บอกว่า รัฐที่ให้ที่พักพิงกับชนกลุ่มที่ต่อต้าน ก็ถือว่าเป็นศัตรูด้วย ดังนั้นอคติที่แอบแฝง ทั้งที่คนพม่าที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์บางส่วน และความหวาดระแวงรัฐพม่ามีต่อรัฐพม่ายังมีอยู่ ขณะที่ยังถวิลถึงประชาคมในฝันของอาเซียน สัจจะนิยมในการสร้างรัฐสร้างชาติของพม่ายังไม่จบ และผลที่ตามมาคือความรุนแรงของรัฐ ซึ่งมีหลายระดับของความรุนแรง ซึ่งหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงสงครามเย็นก็เกิดกรณีนี้ เช่น กรณีสงครามกลางเมืองสมัยเขมรแดง หรือที่ระบอบซูฮาร์โตที่ทำกับชาวติมอร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุ้ม คอก ขึด ข่วง พุทธอุทยาน: รอยปริบนทางเลือกพื้นที่สาธารณะเชียงใหม่ (2)

Posted: 29 Jan 2013 03:16 AM PST

บทสัมภาษณ์ "เมธาดล วิจักขณะ" ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ รวมทั้งคลิปวีดีโอการเสวนาสาธารณะ "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?" ต่อกรณีกระแสข่าวการสร้าง "ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล" ที่ จ.เชียงใหม่

 

ปูมความเป็นมาของการย้ายคุกออกจากกลางเมืองเชียงใหม่นั้นสามารถย้อนดูกลับไปถึงอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2510 ที่มีนายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อใช้พื้นที่เป็น "ข่วง" หรือสวนสาธารณะ ต่อมาใน พ.ศ.2539 ในโอกาสเมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่ (ปัจจุบัน - มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง) ได้รับช่วงรณรงค์ต่อโดยเรียกร้องเรื่อยมา ให้ย้ายเรือนจำออกจากพื้นที่ที่เคยเป็น "คุ้มเวียงแก้ว" หรือวังดั้งเดิมของเจ้าล้านนาและฟื้นฟูวัดสะดือเมือง ในปี 2541 กรมราชทัณฑ์ได้ย้ายเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ (ชาย) ออกไปอยู่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ อ.แม่ริม แต่ก็สับเปลี่ยนเอาทัณฑสถานหญิงเข้ามาไว้แทนที่ในคุกกลางเวียงนี้

จนกระทั่งในปี 2544 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการรวมกลุ่มกันก่อตั้งสถาบันล้านนาร่วมกันกับมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง และองค์กรภาคประชาชนอีกจำนวนหนึ่งร่วมกันเรียกร้องอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นให้ย้ายคุกหญิงนี้ออกไปนอกเมือง ถัดมาในปี 2545 กรมราชทัณฑ์จึงมีโครงการสร้างเรือนจำแห่งใหม่ที่ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทยอนุมัติหลักการของเทศบาลเมืองเชียงใหม่ที่จะใช้พื้นที่ทัณฑสถานหญิงหลังจากย้ายออกไปแล้ว สร้างเป็นสวนสาธารณะ แต่หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา แผนงานในการย้ายคุกและสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองก็ถูกวางพักไว้ แม้ว่าการก่อสร้างอาคารเรือนจำแห่งใหม่จะดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น

สำนึกรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของคนเชียงใหม่ต่อการรณรงค์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มองค์กรทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการท้องถิ่น รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหลายนั้น ได้ส่งผลให้การย้ายคุกกลับมาเป็นที่ถกเถียงเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมติ ครม. ย้ายนักโทษชายจากเรือนจำกลางที่ อ.แม่ริมไปยังเรือนจำแห่งใหม่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ตามด้วยการย้ายนักโทษหญิงเข้าไปคุมขังแทน สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติมีแผนจะรื้อทุบอาคารเก่าทั้งหมดทิ้งและใช้พื้นที่ราว 22 ไร่ของทัณฑสถานหญิงเดิมนี้สร้างเป็น "ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล" ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพันถึงปี 2557 ใช้ในการประดิษฐาน "พระพุทธชยันตี 2600 ปี" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี และปรับปรุงให้เป็นพื้นที่พุทธอุทยานและสวนสาธารณะ โดยในวันที่ 26 มกราคมนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ จะมาเป็นประธานในการทุบอาคารและกำแพงเรือนจำด้วยตนเอง

ความคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังข้อเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากนอกเวียงนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า คุกนั้นเป็นสิ่งอัปมงคล เป็นเสนียดจัญไรอันอุจาดไม่เหมาะควรจะมีหน้าตาอยู่กลางเมืองอันเป็นแหล่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม อีกทั้งคุกนี้ยังเป็นเครื่องมือของสยามในอดีตในการแผ่อำนาจมาปกครองครอบงำล้านนา โดยตลอดมามีการเผยแพร่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผ่านทางบทความในหน้าหนังสือพิมพ์และเล่าสู่กันมาในเชิงว่า การสร้าง "คอก" ทับลงบนคุ้มในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นเป็นการกระทำทางไสยศาสตร์ที่มุ่งกดทับความศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเป็นเสมือนภาพแทนของอำนาจท้องถิ่นของชาวล้านนาทั้งหลาย จึงสมควรที่จะกำจัดทิ้งเสียให้ราบคาบ ย่อมไม่แปลกที่ขณะนี้ประชาชนผู้สัญจรผ่านและนักท่องเที่ยวจะได้เห็นพระสงฆ์ 29 รูป นำโดยพระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ทำพิธี "สูตร (สวด) ถอน" ความอัปมงคลหรือ "ขึด" อยู่ภายในบริเวณอาคารเก่าตลอดระยะเวลา 9 วัน 9 คืนก่อนที่จะถึงวันรื้อทำลาย โดยมีนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ที่ปรึกษา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 เป็นโต้โผ

แต่เรื่องราวดูท่าจะไม่จบลงง่ายดายเพียงแค่การทุบทำลายคุกเก่าเพียงเท่านั้น ยังคงมีเสียงเรียกร้องถึงความเหมาะสมชัดเจนในแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ ไม่ว่าตัวละครต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่จะมีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้จะมีจุดยืนสถานะทางการเมืองอยู่ฝั่งแดงหรือเหลืองอย่างไร ประเด็นปัญหาร้อนที่กำลังจะผุดขึ้นก็ดูจะไม่ใช่เรื่องสีเสื้อเสียแล้ว เมื่อมีเรื่องงบประมาณผูกพันหลักพันล้านมาเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งย่อมส่งผลต่อทั้งชาวเชียงใหม่และประชาชนทั่วไปเป็นแน่

ก่อนหน้านี้เราได้หาโอกาสพูดคุยกับนักวิชาการและผู้มีอำนาจจัดการที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อลองมองหาหนทางคลี่คลายให้พอกระจ่างขึ้นบ้างเสียก่อน ก่อนที่รอยแยกของความขัดแย้งในทางเลือกระหว่าง คุ้ม คอก ขึด ข่วง หรือพุทธอุทยาน ในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ลงบนพื้นที่สาธารณะกลางเมืองเชียงใหม่จะปริห่างเกินสมาน (หรือจะไม่ทันการณ์เสียแล้ว ?)

อ่านตอนแรก: คุ้ม คอก ขึด ข่วง พุทธอุทยาน: รอยปริบนทางเลือกพื้นที่สาธารณะเชียงใหม่ (1)

0 0 0

 

(ที่มาภาพ: www.finearts.go.th)

เมธาดล วิจักขณะ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ (เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2555)

 

ในทางประวัติศาสตร์ที่ทางกรมศิลป์รับรู้ พื้นที่คุกหญิงเดิมนี้เป็นอย่างไร

เมธาดล : พูดง่ายๆ ว่าเป็นวังหลวงตั้งแต่สมัยพญามังรายไล่ลงมา มาปรากฏอีกทีสมัยรัชกาลที่ 5 มาสร้างทัณฑสถาน เดิมเป็นคุกชายมาก่อน คล้ายๆ กับที่พระนครศรีอยุธยาที่สร้างคุกทับวังหน้าของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น นักประวัติศาสตร์เชียงใหม่หลายกลุ่มก็มีการรณรงค์ให้ย้ายทัณฑสถานออกไปนอกเมือง แล้วก็เพื่อความปลอดภัยด้วย มีมติครม.รองรับ พื้นที่เดิมเป็นที่ราชพัสดุก็ต้องคืนกรมธนารักษ์ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะขอใช้ต่อว่าจะเอาไปทำอะไร แต่เดิมทางเทศบาลก็อยากจะได้ ตอนนี้มีแนวโน้มว่าทางจังหวัดน่าจะเป็นผู้ขอ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (นายธานินทร์ สุภาแสน) ก็ให้นโยบายเบื้องต้นว่าน่าจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตให้รื้อฟื้นความเป็นวังเวียงขึ้นมา ใช้องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่เกี่ยวข้องไปรื้อฟื้นว่าของเดิมมีแค่ไหน ว่ามีโครงสร้างฐานอาคารอะไรตรงไหน หมายความว่าคงจะต้องรื้ออาคารสมัยใหม่ที่เป็นทัณฑสถานออกไปก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าไปขุดดู

ในส่วนการฟื้นฟูตามแผนของผู้ว่าฯ ซึ่งเราสนับสนุน รวมทั้งสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย ก็คือ เมื่อได้หลักฐานว่าเป็นวังแท้ๆ แล้วมีพื้นที่เพียงใดก็มาศึกษาสถาปัตยกรรมล้านนาว่าคุ้มหลวงหรือเวียงเดิมรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร เราสามารถที่จะสร้างใหม่ (reconstruct) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (living museum) ได้ ให้เป็นศูนย์กลางของขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม การแสดง อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคกลางคืนก็ได้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทำเป็นวังเวียงแบบล้านนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคม เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านได้ โปรโมตเชียงใหม่ได้ เหมือนวังสุลต่านที่ยอกยากาต้าร์ อินโดนีเซีย มีห้องโถงสำหรับจัดการแสดงด้วย

 

ในช่วงเวลาราวสิบปีที่มีการรณรงค์ให้ย้ายคุกออกนอกเมืองนี้ ทางกรมศิลป์หรือสำนักศิลปากรมีการเตรียมจัดการรับมืออย่างไรบ้าง

เมธาดล : หน้าที่ย้ายไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เรื่องการฟื้นฟูเป็นหน้าที่ที่จะให้คำแนะนำกับจังหวัดได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของนโยบายรัฐบาลและความเห็นของนักวิชาการท้องถิ่นที่รณรงค์กัน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เอาความเป็นคุกออกไปเสีย รื้อฟื้นความเป็นเวียงเป็นวังขึ้นมา

 

เอาความเป็นคุกออกไปนี่หมายความว่าต้องรื้อทำลายสถาปัตยกรรมคุกออกไปเลยใช่ไหม

เมธาดล : ต้องไปนั่งคุยกันในรายละเอียดว่าตรงไหนที่เป็นอาคารที่ไม่เกี่ยวข้องก็รื้อไป เราอยากให้มีประวัติศาสตร์ของคุกอยู่สักนิดหนึ่งหรือไม่ จะเอามุมไหน อย่างอยุธยาจะมีบางมุมที่ไม่ได้รื้อทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการออกแบบและแนวความคิดของกรรมการที่จะรื้อออกหมดหรือไม่ เพราะว่าเชียงใหม่ถือว่า "ขึด" ที่เอาคุกมาทับ เป็นความเชื่ออย่างที่ไม่ต้องมีความเห็นเลย สืบทอดกันมาก็ต้องเดินตาม ในเมื่อมีประเพณี มีการสูตรถอนขึด รื้อก็รื้อ แต่ว่าวังยังเอาขึ้นมาได้ ประเด็นสำคัญคือให้ความเป็นคุกหมดไป แต่ว่าเราสามารถถ่ายภาพ จัดแสดงเป็นประวัติศาสตร์ไว้ในลักษณะพิพิธภัณฑ์ได้

 

การรื้อหรือไม่รื้อในทางการขุดค้นต่างกันอย่างไร

เมธาดล : ถ้าเป็นที่ว่างๆ ก็ขุดค้นง่าย การรื้ออาคารไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เราจะเข้าไปประสานงานไม่ให้กระทบกับหลักฐานที่อยู่ใต้ดิน ถ้าหลักฐานอยู่ภายใต้อาคารเราก็เข้าไปขุดไม่ได้ ถ้าอยากจะดูทั้งหมดก็ต้องเอาอาคารที่มีอยู่ปัจจุบันออกไป มีสมมติฐานว่าข้างใต้น่าจะเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างที่เป็นวังเป็นเวียง เป็นแนวกำแพงสัดส่วนของวัง เอาแค่ในสมัยประวัติศาสตร์ ยังไม่มีความคิดที่จะไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ยังไม่มีการเข้ามาระดมความคิดว่าจะทำอะไรในระดับจังหวัด ยังไม่มีอะไรชัดเจน เพราะยังไม่ได้ประชุมกัน เพียงแต่ว่าเดินตามแนวที่เขาอยากให้รื้อคุกออกไปก็ทำได้ กรมศิลป์ไม่มีความเห็นขัดแย้งอยู่แล้ว แต่เราจะไปรื้อฟื้นทางวิชาการโบราณคดีให้

 

จากประสบการณ์ในการจัดการพื้นที่อื่นเป็นอย่างไร

เมธาดล : อยู่ที่จังหวัดจะคุยอย่างไรกับท้องถิ่น อย่างพระนครศรีอยุธยาก็ทุบกำแพงบางส่วนทิ้ง บางส่วนก็เหลือไว้ บางส่วนราชทัณฑ์ขอไว้ขายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ แล้วก็รื้อฟื้นโบราณสถาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมีประวัติศาสตร์ของคุกส่วนหนึ่ง

ถ้าของใหม่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จริงๆ สิ่งที่ควรจะทำคือรื้อฟื้นของเดิมขึ้นมา แต่ต้องใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในเรื่องของวัฒนธรรม เราจะเป็นอาเซียนแล้ว แต่เชียงใหม่ตอนนี้เป็นเมืองเก่าที่มีการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) มากเสียจนมีสิ่งของใหม่ๆ มาสร้างทับซ้อนไว้จนแทบจะมองไม่เห็นของเก่า ดังนั้นคนมาเที่ยวเชียงใหม่ก็ได้เห็นแต่แจ่ง เห็นแต่ข่วง แล้วก็คูเมืองซึ่งไม่ชัดเจน มีตึกสมัยใหม่ขึ้นมาหมด คุ้มเจ้าเมืองวัดวาอารามโดนสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่บังทับไปหมด ความเป็นของเก่าไม่มีแล้ว เราต้องรื้อฟื้นศูนย์กลางของเมืองขึ้นมาให้ชัดเจนตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิมให้ได้ ทำให้มีชีวิตและใช้สอยทางวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์ในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่ตามมาคือการต่อยอดทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ

 

เห็นด้วยหรือไม่ว่าจะต้องมีพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการเสียก่อน ก่อนที่จะมีการกำหนดนโยบาย

เมธาดล : ต้องเดินไปด้วยกัน เพราะเรามีข้อมูลทางวิชาการอยู่แล้ว เพียงแต่ขุดให้มันชัดเท่านั้นเอง เพราะเวลาเป็นตัวจำกัด ไปรอไม่ได้ คุณต้องมีฐานข้อมูลในการคิด ถ้าคิดแบบไม่มีฐานข้อมูลก็สะเปะสะปะ

 

อาคารเรือนจำอายุ 110 ปี เข้าเกณฑ์โบราณสถานหรือไม่

เมธาดล : ขึ้นอยู่กับว่าประวัติตรงนี้มีแค่ไหน จริงๆ แล้วคือเขาก็ไม่ได้ซีเรียสกับมัน โบราณสถานอยู่ในอำนาจของกรมศิลป์ ขึ้นทะเบียนหรือไม่ขึ้นทะเบียนอย่าไปแตกประเด็น เพราะตอนนี้มีประเด็นเรื่องศาลฎีกาอยู่ ตรงนั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องเอกราชและประชาธิปไตย แต่ตรงนี้เป็นเรื่องคุกและเรื่องขึด ในเมื่อท้องถิ่นต้องการเอาขึดออกก็ไม่มีปัญหา แต่ว่าเราอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่งได้ ไม่ใช่อนุรักษ์ไว้แล้วทำประโยชน์ไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่อาคารสถาปัตยกรรมดีเด่น ไม่ใช่ว่าร้อยปีต้องเป็น ห้าสิบปีก็เป็นได้ถ้ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมากพอ

0 0 0

ทั้งนี้ในการเสวนาสาธารณะ "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?" เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 ซึ่งศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่จัดขึ้นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนหาแนวทางบริหารจัดการทัณฑสถานหญิงกลางเมืองเชียงใหม่นี้ หนึ่งในผู้ร่วมสนทนา เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ อดีตข้าราชการสังกัดกรมศิลปากรระดับหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน นักประวัติศาสตร์ศิลปะผู้มีผลงานวิชาการและบทความด้านศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก ได้แสดงความห่วงใยไว้ว่า "ไม่ทราบว่าการขุดค้นจะอยู่ในขั้นตอนใดของแผนงาน ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี หรืออาจจะถึงสามปี ทำไมจึงตัดสินใจเร่งด่วนเช่นนี้ แล้วเมื่อเข้าสู่การรื้อแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งอยากเก็บอาคารบางหลังไว้เป็นตัวแทนคุก ก็ควรต้องประสานหอจดหมายเหตุแห่งชาติให้มาทำ full documentation คือการบันทึกอย่างละเอียดในทางวิชาการ แม้วันนี้เรามีมติเอกฉันท์ว่าสมควรทุบทิ้งทั้งหมด แต่อย่างไรก็สมควรต้องบันทึกไว้"

บันทึกเสวนา "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?"

(ที่มาช่องยูทูป: Ram Dhama)

 

0 0 0

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายบัณรส บัวคลี่ คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้เขียนบทความต่อเนื่องลงในบล้อกส่วนตัว (http://storify.com/bunnaroth/2?utm_campaign&awesm=sfy.co_bDDX&utm_content=storify-pingback&utm_source=t.co&utm_medium=sfy.co-twitter) แสดงความเห็นด้วยและเห็นแย้งกับธเนศวร์ เจริญเมือง และโพสต์ในหน้าเฟซบุคของตนย้ำข้อสงสัย 6 ประเด็นว่า

"1. คนเชียงใหม่ยังไม่เห็นเอกสารรายละเอียดโครงการ ที่รู้ชัดคือ ครม.มีมติ 18 ม.ค.อนุมัติงบกลางเป็นกรณีพิเศษตามสำนักพระพุทธศาสนา(นิวัฒน์ธำรง)เสนอ รายละเอียดคือ ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑลเชียงใหม่ // การขออนุมัติงบได้ต้องมีรายละเอียดและแผนก่อสร้าง ขอถามว่า ไอ้รายละเอียดนั้นน่ะอยู่ไหน มีใครที่เป็นชาวบ้านธรรมดาหรือสื่อท้องถิ่น/สื่อส่วนกลางเห็นและรายงานมาบ้างว่า แบ่งเป็นรายการอะไรใน 150 ล.นั้น

2. ตามหลักการเมื่อเข้าครม. อนุมัติมาแล้ว ที่ดังกล่าวก็ต้องเป็นพุทธมณฑลและเดินตามกรอบที่เสนอไป ดังนั้นหากมีคนบอกว่าจะมีการหารือปรับเป็นลานกิจกรรม เป็นฯลฯ ต้องดูว่าคนที่พูดเป็นใคร มีตำแหน่งแห่งที่เกี่ยวข้องยังไง หรือเป็นแค่ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงที่ไม่เกี่ยวกันเลย หากจะคุ้มครองผลประโยชน์เชียงใหม่กันจริงๆ แล้ว คนเชียงใหม่ต้องเรียกดูรายละเอียดที่แท้จริงเสียก่อนว่าใช่ function แบบที่ต้องการจริงหรือไม่

3. ดร.เพ็ญบอกว่าจะเสนอผู้ว่าเรื่องการขุดค้นฯ ช้าไปแล้วครับ ... เพราะโครงการเดินหน้าไปแล้ว การสัมมนาครั้งนั้นก็แค่เครื่องเคียงประกอบเท่านั้น

4.ผมไม่ค้านทุบคุก แต่ค้านการยกคุกของหน่วยงานส่วนกลางหนึ่งไปให้หน่วยงานส่วนกลางอีกแห่งหนึ่งกำกับ งบประมาณและการจัดการขึ้นกับเขา ไม่ใช่ที่สาธารณะเพื่อประโยชน์สูงสุดคนเชียงใหม่แท้จริง

5. การออกแบบที่ดินกว้างๆ เป็น LandMark ของเมือง ต้องดูความเชื่อมโยงกับกิจกรรมทั้งหมด คนที่ได้ประโยชน์ต้องเป็นพื้นที่ก็ได้ทุกกลุ่มทุกศาสนาอาชีพ (ไม่ใช่แค่พุทธ) นักท่องเที่ยวก็ได้ ก็เหมือนกับลาน/สนามใหญ่ๆ ของเมืองอื่นๆ ที่มีกิจกรรมของคน เป็นลานที่มีชีวิต และเป็นกิจกรรมด้านบวก

6. เอาแค่เบื้องต้นก่อน ขอถามคนเกี่ยวข้องว่า เมื่อครม.อนุมัติให้สำนักงานพุทธศาสนาเป็นเจ้าภาพแล้ว กระบวนการขั้นตอนต่อไปจะทำยังไง...ขอถามลอยๆ ใครตอบได้ช่วยที"

หากวางการเมืองเรื่องสีเสื้อลงเสียก่อนเราอาจมองเห็นความพยายามในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการตัดสินใจใช้พื้นที่สาธารณะที่จะส่งผลต่อประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กลุ่มอนุรักษ์บางส่วนเริ่มก่อหวอดคัดค้านการสร้างพุทธมณฑลนี้ จนเมื่อถึงวัน "ทุบทำลาย" จากเดิมที่กำหนดตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธี ก็กลับมีการเปลี่ยนตัวเป็นนายธานินทร์ สุภาแสน ผวจ.เชียงใหม่เป็นประธานแทนอย่างฉุกละหุก แต่จนบัดนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีการประท้วงคัดค้านเป็นทางการแต่อย่างใด

ไม่ว่าจะจบลงอย่างไร ไม่ว่าจะอย่างไรเสีย การจัดการพื้นที่สาธารณะเช่นนี้ยังคงต้องการเสียงจากทุกฝ่ายในการพูดคุยหาข้อยุติที่จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะลบล้างผลพวงของอะไรก็แล้วแต่ออกไปได้ แต่ข้อมูลทางวิชาการซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในอนาคตก็เป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้ไม่ใช่หรือ.

 

 

(หมายเหตุผู้สัมภาษณ์เรียบเรียง : ข้อมูลเบื้องต้นสรุปเรียบเรียงจากรายงานลำดับเหตุการณ์ของมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ และบทความที่น่าสนใจ เช่น "คุก" ของใคร ครอบทับไว้เหนือ "หอคำ" โดย เพ็ญสุภาสุขคตะ ใจอินทร์ คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 75 http://botkwamdee.blogspot.com/2011/08/blog-post_04.html, ได้เวลาขับเคลื่อน คุ้ม คอก ข่วง! โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1658 หน้า 76 http://botkwamdee.blogspot.com/2012/05/ptn-khuang.html รื้อเรือนจำเก่า เพื่อ (จอง) จำประวัติศาสตร์ใหม่ โดย มนวัธน์ พรหมรัตน์http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44898)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น