ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชาวคะฉิ่นในไทยเรียกร้องจีน-สหรัฐฯ หยุดพม่าโจมตีคะฉิ่น
- เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ ‘เขื่อนราษีไศล’ เตรียมชุมนุม ร้องรัฐฯ แก้ปัญหา
- "จดหมายตอบโต้” และ "ตอบจดหมายตอบโต้" - หลังสหภาพยุโรปกังวลต่อคำพิพากษา “สมยศ”
- ไม่ใช่เรื่องสี ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ สิ่งที่เราถามหาคือศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
- นักกิจกรรมทางสังคมเผาตำรากฎหมายประท้วงหน้าศาล
- เรื่องน่าคิดที่อัสสัมชัญ : ประท้วงคนไม่ประท้วงสถาบัน?
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เรื่องเหลือเชื่อของศาลกับมาตรา 112
- อธิบดีศาลฯ เล็ง "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" - จะเรียกมาสอบถามดีหรือไม่ เพราะแรงสิบเท่า
- สาระ+ภาพ สื่อที่ถูกคุมขังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากปี 2000-2012
- รื้อเรือนจำเก่า เพื่อ (จอง) จำประวัติศาสตร์ใหม่
- ครู-ศิษย์เก่าอัสสัมชัญชุมนุม ขับ ผอ.รร.
- โมฆะ! ถอนการทำประชาคม เหมืองโปแตชอุดรฯ อบต.รับผิดระเบียบ
- สหภาพ GM ประเทศไทยค้านนโยบายเพิ่มเวลาทำงานเป็น 6 วันของบริษัท
ชาวคะฉิ่นในไทยเรียกร้องจีน-สหรัฐฯ หยุดพม่าโจมตีคะฉิ่น Posted: 25 Jan 2013 10:51 AM PST ชาวคะฉิ่นในประเทศไทยรวมตัวชุ วันนี้ (25 ม.ค. 2556) กลุ่มชุมชนชาวคะฉิ่นในประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มนักเคลื่ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องถึ หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวอ่ 4.กดดันให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ โดยระหว่างการชุมนุมยื่นข้อเรี นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมยังระบุอีกว่า รัฐบาลพม่าไม่ได้พยายามใช้ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ ‘เขื่อนราษีไศล’ เตรียมชุมนุม ร้องรัฐฯ แก้ปัญหา Posted: 25 Jan 2013 07:37 AM PST เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล ออกแถลงการณ์จี้รัฐฯ เร่งแก้ปัญหาผลกระทบ เผยเตรียมชุมนุมบริเวณสันเขื่อนเพื่อขอเจรจากับตัวแทนที่มีอำนาจตัดสินใจ ตั้งแต่ 7 ก.พ.นี้ ไปจนกว่าจะหาข้อยุติได้ วันนี้ (25 ม.ค.56) เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 "รัฐต้องแก้ปัญหาผลกระทบโครงการเขื่อนราษีไศล ให้แล้วเสร็จ..!!" ระบุจะร่วมกันออกมาแสดงตัวตนของผู้ได้รับผลกระทบด้วยการ "ชุมนุมอย่างสงบ สันติ" เพื่อขอเจรจากับตัวแทนรัฐบาลที่มีอำนาจการตัดสินใจแก้ปัญหากรณีดังกล่าว ณ บริเวณสันเขื่อนราษีไศล ใน 7 ก.พ.2556 เป็นต้นไป พร้อมตั้งความหวังรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา นายพุฒ บุญเต็ม ผู้ประสานงานสมัชชาคนจนเขื่อนราศีไศลกล่าวว่า ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล 9 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.สมัชชาคนจนเขื่อนราษีไศล (สคจ.) 2.สมัชชาชาวนา 2,000 3.สมาพันเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท.) 4.สมัชชาลุ่มน้ำมูล 5.สมาพันเกษตรกรอีสาน (สพอ.) 6.สมัชชาเกษตรกรอีสาน (สกอ.) 7.สมัชชาเกษตรกรฝายราษีไศล 8.กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน 9.กลุ่มอิสระ ตัดสินใจที่จะชุมนุมโดยสันติที่เขื่อนราษีไศลในวันที่ 7 ก.พ.นี้ เป็นต้นไป จนกว่าจะหาข้อยุติเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ นายพุฒ ระบุด้วยว่า การชุมนุมดังกล่าวเพื่อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่มีความคืบหน้า อาทิ กรณีแปลงที่ดินที่ทางราชการอ้างว่าทัพซ้อนแปลงกระโดด กรณีที่นาที่อยู่เหนือระดับน้ำ +119 ม.รทก. ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนราษีไศลแต่ยังไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนจำนวน 17,000 แปลง กรณียังมีผู้ตกหล่นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2546 จำนวน 4,981 แปลงตามคำร้องที่ราษฎรยื่นไว้ ส่วนสาเหตุที่เลือกชุมนุมที่สันเขื่อนเพราะไม่ต้องการสร้างความหนักใจให้กับสาธารณะชนในกรุงเทพฯ แถลงการณ์ให้ข้อมูลด้วยว่า ผลจากการชุมนุมเรียกร้องของชาวบ้านในนามสมัชชาคนจนและกลุ่มเครือข่าย ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2535 ผ่านมาหลายรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา 2 ระดับ คือ 1.คณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 2.การดำเนินการตามผลศึกษาผลกระทบด้านสังคม โดยสถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว ต่อมาจึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแนวทางในการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการเขื่อนราษีไศล มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ซึ่งในปัจจุบันยังสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 และ 28 พ.ย.2555 ที่ประชุมอนุกรรมการจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด มีข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหามอบหมายให้กรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำมูลล่างดำเนินการกักเก็บน้ำเพื่อตรวจสอบพื้นที่ แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อตกลงร่วมกัน เนื่องจากปัญหาทั้งด้านเทคนิคและข้อมูลด้านวิชาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินการได้จริง เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบทั้ง 9 กลุ่ม จึงได้หารือกันและตัดสินใจร่วมกันชุมนุมในวันดังกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
"จดหมายตอบโต้” และ "ตอบจดหมายตอบโต้" - หลังสหภาพยุโรปกังวลต่อคำพิพากษา “สมยศ” Posted: 25 Jan 2013 07:26 AM PST มีผู้เขียนจดหมายเปิดผนึกโต้อียู ระบุไทยเป็นชาติเอกราช-มีวัฒนธรรมของตนเอง สหภาพยุโรปอาจจะไม่เข้าใจ พร้อมแนะให้ไปดูแลโรฮิงญาถ้าสนใจเสรีภาพจริงๆ – ขณะที่มีผู้เขียนจดหมายตอบโต้ "จดหมายถึงอียู" เช่นกัน โดยแนะให้ใช้สติ รัชกาลที่ 5 ปฏิรูปประเทศให้อารยะ ขณะที่กฎหมายหมิ่นฯ ผ่านการแก้ไขมาหลายรอบ ยิ่งแก้ยิ่งสร้างปัญหาในการบังคับใช้ ระบุหากต้องการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ต้องปกป้องเสรีภาพ ตามเมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลา 10 ปี สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและคณะเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อคำพิพากษาดังกล่าว และเรียกร้องให้ไทยกำหนดข้อจำกัดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วยมาตรการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการรักษาไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนสากลนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ผู้ใช้เฟซบุคนามว่า Robert Pattinzon ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก จากคนไทยคนหนึ่งถึงสหภาพยุโรป โดยเขียนฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื้อหาใกล้เคียงกัน และโพสต์รูปประกอบเป็นภาพประชาชนสวมเสื้อสีเหลืองร่วมในพระราชพิธีการเสด็จออกมหาสมาคม 5 ธันวาคม 2555 ฉากหลังเป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม พิมพ์ข้อความประกอบภาพว่า "Preserving our beloved Monarchy is the right of the Thai people - not the business of the EU." และ "สิทธิในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ของไทย เป็นสิทธิของคนไทย ไม่ใช่สหภาพยุโรป" โดยมีรายละเอียดของจดหมายมีดังนี้ จดหมายฉบับที่หนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช มีวัฒนธรรม เรามีกฏหมายของเรา เรามีขนบประเพณีของเรา การให้ความเคารพต่อกษัตริย์ของเราไม่เหมือน คุณความดีที่กษัตริย์ของเรา ที่ทรงงานอย่างหนัก ประชาชนล้วนแต่รักและเทิดทูนกษัตริย์พระองค์นี้ มีคนเพียงส่วนน้อย ที่พยายามจะล้มล้างสถาบัน ด้วย ซึ่งการกระทำแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย คนไทยไม่มีนิสัยรุกรานใคร ไม่ต่อเรือไปยึดประเทศอื่น และเราไม่พยายามยัดเยียดความคิด เรื่องเสรีภาพ เพราะคนในประเทศนี้ เราไม่ยอมรับเสรีภาพในการ ถ้าสหภาพยุโรปสนใจเรื่องเสรีภาพจริงๆ ไม่ใช่แค่สร้าง ด้วยความเคารพ ............................................................................... Preserving our beloved Monarchy From one Thai person to the EU: Thailand is a free country, and has never been colonized by This may be difficult for Europeans to understand: It is our The way we admire our beloved King in our tradition, is very Thai people would never presume to intervene in European Our beloved King has spent his life working hard for all of his This is why Thai people love and respect this King to such a There is a very small group of people in Thailand that sling mud Most Thai people see this as unacceptable, and recognize that Here in Thailand, we do not invade other countries, or make bold Please give us the same respect, and do not apply your narrow This country will never accept the idea that it is an acceptable freedom If the EU is really interested in freedom—not just in creating an
With all respect, เขียนฉบับภาษาไทยโดย - Robert Pattinzon
000 ต่อมาผู้ใช้ชื่อว่า Rood Thanarak เขียนจดหมายเปิดผนึก "### จดหมายเปิดผนึก จากคนไทย "อีกคนหนึ่ง" ### ถึงสหภาพยุโรป" เพื่อตอบโต้ โดยโพสต์ภาพประกอบจดหมายเป็นรูปนกสีขาวบินข้ามลวดหนาม พื้นหลังสีน้ำเงิน พิมพ์ข้อความว่า "หากท่านต้องการรักษาและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ท่านต้องปกป้องเสรีภาพ" และ "To protect and defend the Thai Monarchy, you must defend freedom." โดยจดหมายมีการเขียนทั้งในส่วนที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่มีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้าง โดยทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้่
### จดหมายเปิดผนึก จากคนไทย "อีกคนหนึ่ง" ### ผมขออภัยที่เขียนจดหมายฉบับนี้มารบกวนเวลาของท่าน แต่หลังจากอ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่เพื่อนร่วมชาติของผมเขียนขึ้นแล้ว พบว่ามีความคาดเคลื่อนอยู่มากไม่อยากให้ท่านและคนอื่นๆเข้าใจเราผิด ผมอยากให้ท่านเข้าใจว่า ไม่ใช่คนไทยทุกคนจะมีสติปัญญาและความรู้อย่างที่ควรมี คนไทยหลายคนไม่รู้ว่ากลุ่มประเทศของท่านล้มลุกคลุกคลานผ่านประวัติศาสตร์มาอย่างไรบ้าง เขาไม่รู้ว่ากว่าจะมีสถาบันกษัตริย์ที่ยืนยาวสง่างามในประเทศได้นั้น ต้องมีเงื่อนไขใดเป็นองค์ประกอบ ในแง่พระเกียรติยศ -- พวกเขาไม่เข้าใจว่าการลงโทษผู้คนอย่างรุนแรง การบิดเบือนบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม การกล่าวอ้างสถาบันฯเพื่อหวังผลทางการเมืองของกลุ่มตน ไม่ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อชื่อเสียงของประเทศในสังคมโลก พวกเขาไม่ยอมรับรู้ว่าสังคมโลกวิพากษ์วิจารณ์พวกเราอย่างไร เพราะหากพวกเขาใช้ "สติ"กันสักนิด ก็จะเข้าใจได้ไม่ยากว่าการทำเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อพระเกียรติยศของสถาบันฯ อันเป็นที่รักของชาวไทยเลยจริงๆ ในแง่ระบบกฎหมาย -- เพื่อนร่วมชาติของผมไม่รู้จักประวัติศาสตร์ประเทศตัวเอง พวกเขาไม่รู้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปกฎหมายมานานแล้ว พระองค์พัฒนาระบบกฎหมายไทยให้มีความเป็นสากล เที่ยงธรรม เป็นอารยะ เพราะด้วยพระปรีชาสามารถมองการณ์ไกลทำให้ทรงทราบดีว่าความเป็นอารยะนั้นสำคัญต่อการอยู่ในสังคมโลก เพื่อนร่วมชาติของผมด้อยความรู้ จึงไม่ทราบว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นผ่านการแก้ไขมาหลายครั้ง และทุกครั้งที่ถูกแก้ไข ก็สร้างปัญหาใหม่ขึ้น ขยายขอบเขตมากขึ้น และสร้างปัญหาในการบังคับใช้มากมาย ในแง่เสรีภาพ -- เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เพื่อนคนไทยของผมบางกลุ่มขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่อาจแยกแยะได้ว่าเสรีภาพและการหมิ่นประมาทพระเกียรติยศของพระประมุขนั้นเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง เสรีภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสังคม เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยทำนุบำรุงพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ในทางกลับกัน ผมไม่เคยได้ยินใครเรียกร้องหาเสรีภาพในการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ความเคลื่อนไหวในเมืองไทย ณ ขณะนี้เป็นเพียงเพื่อปฏิรูประบบกฎหมายให้ดีขึ้น เป็นอารยะมากขึ้น ซึ่งหากเพื่อนคนไทยของผมจะติดตามข่าวสารด้วยสติปัญญาที่เปิดกว้างอยู่บ้าง ก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก ผมเชื่อว่าท่านทราบดีว่าความเห็นของคนหนึ่งคน ไม่ใช่อาจเหมารวมเป็นความเห็นของคนทุกคนได้ ผมจึงไม่บังอาจไปอ้างว่าความเห็นของผมคือความเห็นของเพื่อนคนไทยทุกคน และด้วยเหตุนี้ ผมจึงเชื่อว่าการมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสมบูรณ์เท่านั้น ที่จะเป็นกลไกช่วยสะท้อนภาพความคิดเห็นของผู้คนในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง สุดท้าย ผมขอขอบคุณในแถลงการณ์ของท่าน ขอบคุณน้ำใจไมตรีที่หยิบยื่นให้ผ่านคำตักเตือนถึงปัญหาที่ใหญ่และลึกซึ้งในสังคมของเรา ผมหวังว่าประเทศของผมจะทำในสิ่งเดียวกันแก่ท่านเมื่อมีโอกาส เพราะเราคนไทยเชื่อกันว่าการยื่นคำตำหนิติเตือนให้แก่กันในยามที่จำเป็นนั้น เป็นสิ่งมีค่าที่ผู้เป็นกัลยาณมิตรพึงกระทำต่อกันด้วยความจริงใจ
### An open letter from "another Thai citizen" ### My fellow Thai citizen has recently wrote an open letter to you regarding his/her opinion on the Delegation's position on Somyot Pruksakasemsuk's case. The letter contains a number of inaccuracies that I wish to take this opportunity to clarify to you, as well as to the concerned observers of Thai politics. I beg for your understanding that not all educated Thais are educated. Not all Thais have the knowledge and judgment that are worthy of being a global citizen in our time. Many Thais do not understand the tumultuous history that has shaped the European foundations of human rights, or how European sovereign states and their institutions are established and preserved. Many Thais do not know the social factors contributing to the rise and decline of the institution of monarchy. *** With regard to the preservation of the Monarchy, many Thais do not understand that civilized legal system and legal principles are the basic requirements to defend their beloved Institution. The harsh punishment, manipulation of legal process, and the exploitation of the Monarchy for political agendas, regardless of the perpetrator, is damaging the Monarchy, as well as Thailand's reputation. They do not acknowledge the fact that the world is criticizing them. Had they use their inner voice of reason and conscience, it would have been clear to them that they are not acting in the best interest of the Thai Monarchy. *** With regard to the legal system, not only that many Thais do not know the history of the EU, they also do not know their own history. They do not know that the King Rama V of Siam (1853-1910), for his exceptionally keen vision of the changes in his era, has ordered a complete modernization of Siam's archaic legal system. The modernization guarantees an equal access to justice that follows the standard of the "civilized world", in order for Thailand to become "civilized" - for the Thai nation to gain the respect and acceptance from outside world. This has led to cancellation of the extraterritoriality of Britain and other European powers in Thailand in 1938. For their lack of knowledge of their own history, my fellow Thai citizens do not realize that the present form of the Thai lese majesty law has been amended for a number of times. Each of the amendment has allowed a successively wider range of interpretations on what constitutes a lese majesty, resulting in complications of enforcement and in infringement of the freedom of expression. *** With regard to freedom and human rights, many of my fellow citizens regrettably do not understand the fundamental differences between freedom of expression and defamation of Monarchy. Freedom is a fundamental requirement for society, an important foundation upon which we can protect and defend our Monarchy from both domestic and foreign threats. There is no such thing as a call for freedom to defame the Monarchy in Thailand. The present movement in Thailand is solely to call for modernization of the lese majesty law to be more proportional, fair, transparent, and civil. If my fellow citizen has followed the recent developments with open mind and tolerance, this would have been an intuitive call. I sincerely hope that you will understand that the embarrassing opinion of my fellow citizen does not represent the general sentiment within the country. Likewise, I dare not claim that opinion in this letter is shared by the Thai population as a whole. Therefore, I believe that only the law that permits freedom of expression will allow the full spectrum of thought to be represented equally. Lastly, I thank you for your declaration, for your friendship and concern in Thailand's deep and fundamental problems. I hope that our nation will one day have the opportunity to reciprocate, because it is in our culture that sincere and constructive criticism is an expression of true friendship ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไม่ใช่เรื่องสี ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ สิ่งที่เราถามหาคือศักดิ์ศรีของวิชาชีพ Posted: 25 Jan 2013 04:43 AM PST หลังศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ลงโทษจำคุก 10 ปี สมยศ พฤกษาเกษมสุข ในฐานะบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งตีพิมพ์บทความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 บทต่างกรรมต่างวาระ และอีก 1 ปีข้อหาหมิ่นประมาท พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร แวดวงวรรณกรรมและสื่อไทยดูเหมือนจะเงียบกริบ นอกจากรายงานข่าวสั้นๆ แล้วไม่มีการแสดงออกซึ่งท่าที ความเห็นของคนในวงการ หรือแม้แต่บทวิเคราะห์ใดๆ ต่อกรณีนี้เมื่อเทียบกับที่สื่อนานาชาติแสดงความวิตกต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมืองไทย ที่น่าเศร้าคือ ไม่มีสมาคมวิชาชีพสื่อไทยออกมาแสดงตัวคัดค้านคำพิพากษาหรือแสดงท่าทีที่จะปกป้องเสรีภาพของเพื่อนร่วมวิชาชีพอย่างคุณสมยศแม้แต่องค์กรเดียว ทั้งที่ข้อหาที่คุณสมยศได้รับนั้น คนทำสื่อล้วนตระหนักดีว่ามันเกี่ยวข้องกับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นได้ว่าพวกเขาไม่นับคุณสมยศเป็นหมู่พวกเดียวกัน เพียงเพราะอยู่ต่างสี เพราะยืนอยู่บนเส้นขนานทางอุดมการณ์ หรือเป็นเพราะไม่อยากแกว่งเท้าออกจากเขตแดนปลอดภัยของตัวเองด้วยเกรงจะโดนหางเลข เป็นได้ว่าพวกเขาเชื่อว่ามีขบวนการทำหนังสือเป็นปฏิปักษ์กับราชวงศ์จริง และพวกนี้สมควรแล้วที่จะได้รับโทษ ในขณะที่พวกตนกอบโกยผลประโยชน์อยู่บนสายพานการผลิตซ้ำหนังสือประเภทอาเศียรวาทมามิรู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่แล้ว หรืออาจจะเป็นได้ว่า วิชาชีพบรรณาธิการมันก็ตัวใครตัวมันมาแต่ไหนแต่ไร ใครพิมพ์หนังสืออะไรก็รับผิดรับชอบกันไปตามสมควร อย่าได้ถามหาความรับผิดชอบร่วมทางวิชาชีพอย่างสมาคมนักข่าว สมาคมช่างภาพ หรือสมาคมนักเขียน (ซึ่งอันที่จริงสมาคมเหล่านี้ก็ไม่เคยปกป้องคนในวิชาชีพอย่างแท้จริงนอกจากผลประโยชน์ของตัวเอง) ผู้เขียนจำได้ว่าไม่นานมานี้ บรรณาธิการสำนักพิมพ์และคนในแวดวงวรรณกรรมต่างตบเท้าเข้าร่วมประท้วงการเก็บค่าบริการศูนย์กระจายสินค้า (DC Fee) ของซีเอ็ด-อมรินทร์กันอย่างคึกคักจนในที่สุดซีเอ็ด-อมรินทร์ต้องยุติการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าว เมื่อเทียบกับกรณีคุณสมยศซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทคนทำหนังสือโดยตรง ผู้เขียนกลับได้ยินเพียงเสียงของความเงียบอันโหดเหี้ยม และอย่าได้อ้างข้างๆ คูๆ ว่าสมาคมทั้งหลายมีข้อกำหนดไม่ยุ่งเรื่องการเมือง เพราะที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวในวิชาชีพนี้ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้นไม่เว้นแม้แต่การประท้วงซีเอ็ด-อมรินทร์ดังกล่าว นานมาแล้ว สมัยผู้เขียนเป็นนักศึกษาวารสารฯ เราเคยพร่ำบ่นกันว่าหากช่วงชิงพื้นที่ข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ พื้นที่หน้า cover ในนิตยสาร หรือพื้นที่เล่าข่าวในรายการข่าวได้ ก็มีผลปลุกกระแสสังคมให้ตื่นตัวต่อเรื่องนั้นๆ จนอาจก่อความเปลี่ยนแปลงตามมา เรามีความฝันกันว่าถ้าได้เข้าไปนั่งในองค์กรสื่อจะใช้ปากกาเป็นอาวุธทำให้ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว" กลายเป็นวาระข่าวให้ได้ ในโลกความจริง ครั้นเราได้เข้าสู่วิชาชีพสื่อมวลชน เราเป็นได้แค่นักข่าวไฟแรงในองค์กรสื่อที่กุมบังเหียนโดยบรรณาธิการอาวุโส เราเป็นได้แค่นักเขียนไฟแรงในนิตยสารที่กุมทิศทางโดยบรรณาธิการอาวุโส เมื่อไฟเริ่มมอดหลายคนยังมีฝันยิ่งใหญ่ออกไปตั้งสื่อใหม่ของตัวเอง แต่มันก็เป็นได้แค่ "สื่อทางเลือก" ที่ทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นได้แค่ทางเลือกจากสื่อกระแสหลัก เพราะเคยร่วมงานกับสำนักพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ผู้เขียนย่อมรู้ดีว่าปัจจุบันสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าการถูกเซ็นเซอร์ คือการที่สื่อเซ็นเซอร์ตัวเองก่อนเสมอ (กรณี "เหนือเมฆ" เป็นตัวอย่างชัดเจน) โดยเฉพาะเมื่ออำนาจอยู่ในมือบรรณาธิการอาวุโสผู้ล้วนกังวลต่อประโยชน์และความปลอดภัยของหัวหนังสือรวมถึงแคร์สปอนเซอร์มากกว่าการนำเสนอความจริงตามพันธกิจและอุดมการณ์ แม้แต่พื้นที่ในคอลัมน์แนะนำหนังสือที่ผู้เขียนรับผิดชอบก็ยังถูกร้องขอว่าเป็นไปได้กรุณาหลีกเลี่ยงหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ "การเมืองเรื่องสี" หนังสือคือบรรณาธิการ ไม่มีใครปฏิเสธคำนี้ เมื่อคุณสมยศในฐานะบรรณาธิการนิตยสารซึ่งเป็นทางเลือกของผู้อ่านกลุ่มหนึ่ง ถูกจองจำกว่าสิบปีอันเนื่องจากบทความในนิตยสารที่เขาไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเป็นแต่เพียงเขากล้าเปิดพื้นที่ให้ตีพิมพ์โดยไม่ได้เซ็นเซอร์ข้อความ และโดยที่การกระทำดังกล่าวก็ไม่ผิด พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับปัจจุบันด้วย เพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อจะทำเมินเฉย เพื่อนร่วมวิชาชีพบรรณาธิการจะยังคงซุกตัวอยู่ในเกราะเซฟโซนของตัวเองอย่างนั้นหรือ และนี่ก็ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้นกับคนในวงการสื่อด้วยซ้ำ ในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท จีรนุช เปรมชัยพร ถูกตัดสินจำคุก 8 เดือน ปรับ 2 หมื่นบาท (คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์) นั่นหมายความว่ามันย่อมมีอะไรผิดปรกติในกระบวนการยุติธรรม มีอะไรบิดเบี้ยวในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งสามารถตีความได้อย่างครอบจักรวาลว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรื่องทั้งหมดนี้จึงไม่เกี่ยวว่าสื่อนั้นอยู่ฝ่ายไหน ยืนอยู่บนอุดมการณ์อะไร หากมันเกี่ยวกับเกียรติยศและศักดิ์ศรีในวิชาชีพสื่อมวลชนต่างหาก ถ้าสังคมใดปล่อยให้บรรณาธิการ นักเขียนหรือนักแปลที่มีเพียงปากกาและกระดาษเป็นอาวุธ ถูกจำคุกเพียงเพราะพิมพ์บทความที่ถึงที่สุดแล้วไม่ได้มีผลบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรแล้วไซร้ สังคมนั้นก็ดูท่าจะพิกลพิการอย่างหาที่สุดมิได้ สุดท้ายนี้ หากสมาคมนักข่าว สมาคมผู้จัดพิมพ์ สมาคมนิตยสาร สมาคมนักเขียน หรือสมาคมห่าเหวอะไรที่เกี่ยวข้องกับหนังสือและการพิมพ์ (แน่นอนเรายังไม่มีสมาคมบรรณาธิการและสมาคมนักแปล) ยังคงปิดตาข้างเดียวต่อกรณีนี้ ก็บอกได้คำเดียวว่าศักดิ์ศรีในวิชาชีพสื่อมวลชนถูกพวกคุณบดขยี้เองกับมือ (หรืออันที่จริงวิชาชีพนี้ไม่เคยมีศักดิ์ศรีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วก็ตาม)
จากบทความเดิมชื่อ : ไม่ใช่เรื่องสี ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ สิ่งที่เราถามหาคือศักดิ์ศรีของวิชาชีพบรรณาธิการต่างหาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักกิจกรรมทางสังคมเผาตำรากฎหมายประท้วงหน้าศาล Posted: 25 Jan 2013 04:25 AM PST นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม ญาติผู้เสียชีวิตในปี53 รณรงค์หน้าศาลเผาตำรากฎหมายจำลอง ชี้ มาตรา112 กระบวนยุติธรรมไทยมีปัญหา 25 มกราคม 2556 เวลาประมาณ 12.00น. บริเวณหน้าศาลอาญารัชดา กลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมและนักวิชาการประมาณ 50 คนได้เดินทางมาทำกิจกรรมรณรงค์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่ ศาลพิพากษาจำคุก 11 ปี คดีหมิ่นเบื้องสูง นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการ นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ Voice of Taksin ด้วยการอ่านและแจกแถลงการณ์รวมทั้งทำการจุดไฟ "เผาตำรากฎหมายเชิงสัญลักษณ์" พร้อมชูป้ายข้อความต่างๆ(ตามภาพ)
ขวัญระวี วังอุดม จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมรณรงค์ กล่าวกับประชาไทหลังสิ้นสุดกิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ว่า เราต้องการจะสื่อให้เห็นว่าความไม่ยุติธรรมที่เกิดจากตัวกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล เห็นว่าสิ่งที่เล่าเรียนกันมามันใช้ไม่ได้อีกแล้ว กิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามและท้าทายยมากขึ้น นับตั้งแต่คดีองกง หรือกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดาของ นายสมาพันธ์ ศรีเทพ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภา 53 หนึ่งในผู้เข้าร่วมรณรงค์ กล่าวกับประชาไทว่า ในทางสาธารณะมันมีทัศนคติว่าผู้ต้องหาในคดีนี้ ที่เป็นผู้ถูกกล่่าวหากลายเป็นจำเลย ซึ่งถูกตัดสินไปแล้วและไม่สามารถหลุดออกจากคดีนี้ได้ โดยส่วนตัวแล้วผมรู้สึกเฉยๆ กับกระบวนการยุติธรรมไทยเมือเทียบกับกรณีการเสียชีวิตของลูกชาย แต่ก่อนเขาพูดกันว่าศาลเป็นที่พึ่งสุดท้าย แต่ตอนนี้ประชาชนต้องพึ่งอยู่บนตีนตนเอง และเชื่อว่ากิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่คนตัวเล็กตัวน้อยทำอะไรได้บ้างเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม" อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยา ธรรมศาสตร์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวถึงเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมว่า อย่างแรกสุด 112 เป็นกฎหมายที่มีปัญหาในหลายระดับ (อุดมการณ์ การบังคับใช้ การตีความ ฯลฯ) อย่างที่สองกรณีคุณสมยศมันมีความพิลึกพิลั่นในการตัดสินเพิ่มอีก อย่างที่สามที่สำคัญมากคือมันจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว "บนท้องถนน" เพราะลำพังแต่เพียงการแสดงความเห็นหรือเคลื่อนไหวในวงเสวนาหรือสื่อออนไลน์มันไม่พอ นักวิชาการจาก มธ.ตอบเมื่อถูกตั้งคำถามว่ากิจกรรมอาจมีความคาบเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลว่า "ผมไม่แน่ใจว่าในทางกฎหมายนิยามการละเมิดอำนาจศาลไว้อย่างไร แต่ผมไม่คิดว่าการแสดงความเห็นต่างหรือวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินของศาลบนฐานของเหตุผลและข้อเท็จจริงจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล เพราะไม่แล้วศาลก็จะกลายเป็นอำนาจสูงสุดและเบ็ดเสร็จที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลได้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นวิสัยของระบอบประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น" ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า กรณีมีผู้ชุมนุมมาประท้วงหน้าศาลอาญานั้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศาลอาญาดูเเลรักษาความสงบ ซึ่งก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายเเรงหรือลุกลาม ส่วนที่มีการเผาตำรา หรือเเจกเอกสารนั้นก็เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยในกระบวนการยุติธรรม ทางศาลอาญาก็จะไม่มีการดำเนินคดีอะไรต่อคนกลุ่มนี้ เพราะจะเป็นการต่อความยาว ผู้ชุมนุมก็ชุมนุมบริเวณข้างหน้าศาลไม่ได้เข้ามาชุมนุมในเขตรั้วของศาล คิดว่าคงจะไม่มีเหตุการณ์ลุกลามไปกว่านี้แล้ว เพราะทางศาลอาญาได้ชี้เเจงผ่านสื่อมวลชนไปเเล้วถึงคดีของนายสมยศ และเชื่อว่าประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนมากและมีความคิดเป็นกลางจะมีความเข้าใจ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ คนบางกลุ่มมีการปลุกระดมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือโดยการดึงต่างประเทศเข้ามา ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีความเข้าใจในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของประเทศไทยหรือไม่ แต่ที่ตนเชื่อว่าจะไม่บานปลาย เพราะกระบวนการยุติธรรมเรามีบทบัญญัติชัดเจนและตรวจสอบได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เรื่องน่าคิดที่อัสสัมชัญ : ประท้วงคนไม่ประท้วงสถาบัน? Posted: 25 Jan 2013 03:50 AM PST เกริ่นนำ เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ ต้องชี้แจงก่อนว่า ผู้เขียนไม่ได้มีส่วนได้หรือเสียกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพียงแต่ เหตุการณ์ความขัดแย้งของโรงเรียนชื่อดังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ความขัดแย้งกำลังดำเนินไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าสังเกตว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นต้น การประท้วงของบุคลากรการศึกษา หรือของบรรดาศิษย์เก่า พุ่งเป้าไปที่ "ตัวบุคคล" ที่สำคัญเรียกร้องไปที่ "มูลนิธิฯ" ทั้งที่ ทุกคนทราบกันดีว่า บุคคลที่กำลังประท้วงและมูลนิธิที่กำลังเรียกร้องเป็น "ภราดาของศาสนจักร" (หรือที่ภาษาอย่างไม่เป็นทางการเรียกว่า บราเดอร์) [1] "แป๊ะเจี๊ยะ" หรือ เงินบริจาคให้เปล่า? เป็นคำพูดติดปากของบรรดาผู้ปกครองที่ประสงค์จะส่งบุตรหลานให้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของนิยายเรื่องยาว เมื่อแป๊ะเจี๊ยะถูกเสนอให้นักบวชผู้ปฏิญาณตนว่าจะถือความยากจนอะไรจะเกิดขึ้น? สินน้ำใจที่เคยเกื้อกูลกันตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อแบบเกี๊ยะเซี๊ยะ [2] บัดนี้ เริ่มก่อให้เกิดปัญหากับลูกหลาน เมื่อ "เงิน" เข้ามาเป็นตัวตั้งของทุกการดำเนินการในคณะนักบวชที่พยายามดิ้นรนเพื่อพัฒนาตนเองในบรรยากาศของโลกที่ใช้ "เงิน" เป็นองค์ประธานเช่นกัน และผลแห่งการกระทำไม่ว่าดีหรือชั่วซึ่งช่วยกันก่อกรรมมาก็ปรากฏ
เนื้อหา คณะนักบวช (Religious order) เป็นกลุ่มของบุคคลที่รวมตัวกันด้วยจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งภายใต้การรับรองของศาสนจักร ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง คือ กลุ่มเหล่านี้ถูกรับรองโดยกฎหมายของศาสนจักร (Canon Law) และในกรณีที่นักบวชเหล่านั้นสร้างโรงเรียนและดำเนินการบริหาร แสดงว่า จุดประสงค์หนึ่งที่ศาสนจักรรับรู้คือ "งานการศึกษา" และส่วนใหญ่ บรรดาโรงเรียนคริสต์ชื่อดังในประเทศไทย ล้วนแต่ดำเนินการบริหารด้วยน้ำมือของนักบวชในแต่ละคณะทั้งสิ้น เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี บริหารงานโดย นักบวชชายคณะเซนต์คาเบรียล [3] โรงเรียนมาแตร์ เดอี บริหารงานโดย นักบวชหญิงคณะอุร์สุลิน [4] ซึ่งโดยปกติ ผู้เข้ารับการศึกษาที่เป็นศาสนิกชนศาสนาอื่นอาจไม่ทราบความแตกต่างส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ของศาสนจักรว่าด้วยคณะนักบวชได้กำหนดกรอบของความเป็นนักบวชข้อหนึ่งความว่า "พระคัมภีร์ให้นักบวชถือความยากจนตามแบบฉบับของพระคริสต์ ซึ่งต้องปฏิบัติทั้งความยากจนฝ่ายกายและจิตใจ ต้องรู้จักประมาณตน ไม่ผูกใจยึดติดกับสมบัติฝ่ายโลก มีขีดจำกัดเสมอในการจัดการทรัพย์สิน" [5] นั่นหมายความว่า เงินแป๊ะเจี๊ยะซึ่งมีวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) เพื่อเกี๊ยะเซี๊ยะลูกหลานให้ได้เข้าเรียน เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎเกณฑ์นี้ และการสร้างค่านิยมเกี่ยวกับเรื่องนี้ของผู้ปกครองหรืออธิการเป็นสิ่งที่ผิดพลาด มากไปกว่านั้น เมื่อชาวบ้านซึ่งประกอบอาชีพค้าขายปรารถนาให้บุตรหลานได้ร่ำเรียนสูงๆ ไม่ทราบถึงข้อจำกัดของนักบวช เป็นไปได้ว่า ชาวบ้านเหล่านั้นมีความรู้ความเข้าใจที่น้อยเกินไปเกี่ยวกับสถานะนักบวชหรือฆราวาสของศาสนจักร เพราะ นักบวชเหล่านั้นยุ่งเกี่ยวโดยตรงกับทรัพย์สิน นั่นขัดกับมโนทัศน์ในนักบวชในพุทธศาสนาที่กระเดียดไปทางเป็นผู้ขอทานแบบให้เปล่า (แต่นักบวชเถรวาทไทยในศตวรรษที่ 21 เริ่มเลียนแบบ) แน่นอนที่สุด ต้นตอของปัญหาไม่ได้อยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่อยู่ที่ "สถาบันนักบวชนั้นๆปล่อยให้บุคลากรแบบนี้ผลิตออกมาได้อย่างไร?" "สถาบัน" (Institute, Order) เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการอบรม สั่งสอน ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกในสถาบัน นั่นทำให้เกิดคำถามว่า "ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมีการรื้อสร้างบางส่วนของสถาบัน?" เพื่อพิจารณาว่าอะไรเป็นปัญหาซึ่งมีผลทำลายอัตลักษณ์และเจตนารมณ์ของสถาบันเอง แม้ว่า การจัดการเรื่องตัวบุคคลเป็นสิ่งที่จำเป็นแน่นอน แต่จะเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะปัญหาจะเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบไป ถ้าเราไม่ทราบว่าใครสนับสนุนปัญหานี้อยู่เบื้องหลัง และเพื่ออะไร? ที่สำคัญสิ่งที่อภิปรายกันอยู่นี้ ดูเหมือนจะเลยจาก "ความเป็นนักบวช" ไปทุกที ดูเหมือนว่า จะเป็นปัญหาในองค์กรแบบบริษัทที่มีทรัพย์สินและมีผู้ที่ตักตวงผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น? เรื่องย่อมซับซ้อนขึ้นไปอีก เมื่อมีผู้ร่วมได้ประโยชน์และเสียประโยชน์กับสถาบันนั้นต่างเคลื่อนไหว พูดอย่างชาวบ้านว่า ใครจะยอมให้ตนเองขาดทุน เพราะในเมื่ออุตส่าห์ลงทุนเพื่อให้ทุกอย่างเกิดขึ้นจนถึงขนาดนี้ ไม่ใช่เวลาแค่วันสองวัน เนื่องจากต้องใช้ศิลปะแห่งการชวนเชื่อ โฆษณา และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และนั่นอาจจะกินเวลาหลายปี กว่าที่พวกของตนจะขึ้นในตำแหน่งผู้บริหาร ฉะนั้น เมื่อขัดผลประโยชน์กัน การแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่ง "หญ้าแพรกก็แหลกลาญไปตามระเบียบ" นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในสังคมไทย คือ ผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ กลับเป็นคนยาก คนจน คนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ประชาชนชั้นรากหญ้า แม้กระทั่ง ครูผู้น้อย จะดีกว่าหรือไม่? ถ้าจะยอมรับความเป็นจริงของสถาบัน ซึ่งเป็นความเป็นจริงที่จับต้องได้ (Material) ไม่ใช่ความจริงเชิงอุดมการณ์หรือเป้าหมาย (Vision) เช่น กรณีของอัสสัมชัญ จะดีกว่าหรือไม่? ถ้าหันมาพิจารณาเสียทีว่า ทำไมเราเรียกร้องเอากับองค์กร (คณะนักบวช) แบบนี้ หรือว่า เราคาดหวังให้เขาเป็นนักบวชที่ดี ยากจน? เป็นความคาดหวังที่อุดมคติหรือไม่? เช่นเดียวกับ แป๊ะเจี๊ยะในโรงเรียนภายใต้อุปถัมภ์ของรัฐ เราคาดหวังให้ผู้บริหารเป็นข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริตใช่หรือไม่? แต่น่าเสียดายที่ มีหลักฐานแสดงให้เห็นแล้วว่า ความคาดหวังดังกล่าวเป็นเรื่องลมๆแล้งๆ เนื่องจากยืนอยู่บนความคิดที่เอาแต่ได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อความเสียประโยชน์ส่งผลกระทบกับตัวเองแล้วค่อยออกมาเรียกร้อง ซึ่งความเป็นธรรมดังกล่าวมันเลือนหายไปตั้งแต่ทุกคนเพิกเฉยให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตลกร้ายในโลกของทุนอันบิดเบี้ยว มนุษย์ซึ่งเป็นกลไกการผลิตไม่ต่างจากฟันเฟืองที่ไร้ชีวิต การกดขี่ของสถาบันซึ่งถูกอนุญาตให้กระทำในนามของความดีงามจากสวรรค์ นั่นเป็นสิ่งที่ถูกปล่อยให้เกิดและกระทำกันเป็นค่านิยมมาเป็นสิบๆปี และหลายคนอาจเคยส่งเสริมให้เกิดขึ้นด้วยซ้ำเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่พอมาถึงวันนี้ เมื่อขัดกับประโยชน์ของตนเองในระยะเผาขน แต่ไม่ทันแล้ว ความเสื่อมโทรมได้กัดกินเข้าไปในสถาบันที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชน จึงสรุปได้อย่างเดียวว่า เหตุการณ์นี้ยิ่งใหญ่และลึกซึ้งเกินกว่าที่การประท้วงเพียงครั้งสองครั้งจะลบเลือนได้ ต้องยอมรับความจริงว่าเรื่องแบบนี้จะอยู่ต่อไปในมุมมืดของสถาบัน แน่นอนมันจะวิวัฒนาการให้ซับซ้อนขึ้น "ตัวบุคคล" ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของสถาบันจึงน่าเห็นใจ เพราะตำแหน่งแห่งที่ คุณวุฒิ อำนาจบารมี และพรรคพวก ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่เกิดขึ้นภายใต้การอนุญาตไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมของสถาบัน ประเด็นคือ การที่สถาบันไม่คัดค้านก็เท่ากับอนุญาต และการที่สถาบันไม่จัดการเรื่องภายในให้เรียบร้อยจนสุดท้ายลุกลามบานปลายออกมา ก็เป็นเรื่องที่สถาบันจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาด้วยความเงียบแบบลอยตัวเหนือปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดผลดี ซ้ำร้าย สถาบันยังแสดงให้เห็นถึงความไร้น้ำใจที่จะปกป้องบุคลากรของสถาบัน ในฐานะพี่น้องร่วมคณะนักบวชอีกต่างหาก เห็นได้ชัดว่า ความคิดปกป้องสถาบันด้วยวิธีแบบนี้ผิดพลาดมหันต์
สรุป การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือ การแก้ที่ปลายเหตุ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน นั่นไม่มีใครคัดค้านได้ แต่ทว่า ปัญหารากฐานที่มาจาก "กระบวนการอบรมในสถาบัน"และ "ความเป็นสถาบัน" จะยังคงอยู่และไม่ถูกแก้ปัญหาเสมอไป โดยที่ไม่ต้องอภิปรายถึงความเป็นนักบวชกันอีกแล้ว เพราะป่วยการ แต่ควรลงมืออธิบายกันเฉพาะปัญหาสถาบัน ก็น่าจะเพียงพอแล้วว่าอะไรคือปัญหา และเพื่อแสดงความจริงใจว่าการเคลื่อนไหวเรียกร้องนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากการขัดผลประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว ควรหรือไม่ที่จะเรียกร้องให้ถามว่า "ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมีการรื้อสร้างบางส่วนของสถาบัน?" อันจะนำความ เปลี่ยนแปลง (อภิวัฒน์) มาสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิกประเทศไทย เพื่อเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะนักบวชแบบจับต้องได้สืบไป เพราะถ้าคณะนักบวชอ้างว่าจะปกครองโรงเรียนด้วยหลักธรรม ก็ควรที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ประพฤติธรรมตามที่อ้างไม่ใช่หรือ? ไม่ใช่อ้างว่าจะปกครองโรงเรียนด้วยหลักธรรมแต่รวยเอารวยเอาในสายตาชาวบ้านร้านตลาด
ข้อเพิ่มเติม [1] ชื่อทางการภาษาไทยเรียก เจษฎาจารย์ ใช้เรียกชายที่เป็นนักบวช แต่ไม่ขอบวชเป็นบาทหลวง [2] หมายถึง จัดการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการไกล่เกลี่ย ประนีประนอม เจรจาต่อรอง ประสานหรือจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัวในหมู่ชนชั้นนำของสังคมเพื่อรักษาอภิสิทธ์หรือสถานะดั้งเดิมของพวกตนไว้ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ก่อประโยชน์อันใดให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย (พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย) [3] คณะภราดาเซนต์คาเบรียล (The Montfort Brothers of St. Gabriel) ก่อตั้งในปี 1711 [4] คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน (Order Sister of st. Ursula) ก่อตั้งสหภาพในปี 1984 [5] มาตรา 600 : ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 2 ประชากรของพระเจ้า ภาค 3 สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว และคณะชีวิตแพร่ธรรม ตอน 1 สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ลักษณะ 1 กฎเกณฑ์สำหรับสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วทุกสถาบัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เรื่องเหลือเชื่อของศาลกับมาตรา 112 Posted: 25 Jan 2013 03:33 AM PST เมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในกรณีที่คุณยศวริศถูกกล่าวหาว่า กล่าวถึงสถาบันเบื้องสูงด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม บนเวทีชุมชุมของแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (นปช.) ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2553 ในที่สุด ศาลก็ตัดสินว่า คุณยศวริศมีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา จึงให้จำคุก 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษ 1 ใน 3 ให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา การตัดสินคดีคุณยศวริศนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นความไม่ชอบธรรมจากศาลอีกครั้งหนึ่ง เหมือนเช่นกรณีที่ฝ่ายคนเสื้อแดงถูกดำเนินการในคดี 112 กรณีอื่น ในที่นี้ จะขอยกใจความตอนสำคัญที่ศาลอ้างในความผิดของคุณยศวริศ ดังนี้ "ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายที่นำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า การที่จำเลยกล่าวถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ทำนองว่า พล.อ.เปรม ไม่ยอมให้ยุบสภาและกล่าวต่อว่า อาจมีเหนือกว่านั้นก็ดี พล.อ.เปรม อาจจะไม่มีอะไร แต่จะมีอะไรอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมก็ดี คำว่า "อาจมีเหนือกว่านั้น" และคำว่า "มีอะไรอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม" ซึ่งการที่จำเลยกล่าวปราศรัยในลักษณะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม จึงเท่ากับว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ยินยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นยุบสภา โดยสั่งการผ่านทาง พล.อ.เปรม จึงเป็นการใส่ความว่า ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ...ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง" ในที่นี้คงจะต้องขอแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน เพราะจะเห็นได้ว่า คำปราศรัยของคุณยศวริศตามที่ศาลอ้างทั้งหมด ไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลย แต่มุ่งจะโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง คำว่า "อาจจะมีเหนือกว่านั้น" คุณยศวริศก็ไม่ได้ระบุว่าคืออะไร เป็นการถูกต้องหรือไม่ที่ศาลจะเป็นผู้ตีความเสียเองว่าหมายถึงอะไร และก็ตัดสินลงโทษตามที่ศาลตีความ กรณีนี้จึงเป็นตัวอย่างอีกครั้งหนึ่งว่า การตีความของศาลนั่นเอง เป็นที่มาของการนำเอาผู้บริสุทธิ์ไปเข้าคุก กรณีคำตัดสินของศาลในคดี 112 ที่มีปัญหาอย่างมากเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่คดีของนายอำพน ตั้งนพคุณ ซึ่งศาลตัดสินในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 เพื่อแย้งในกรณีไม่มีหลักฐานพยานที่จะพิสูจน์ได้เลยว่า คุณอำพนกระทำความผิดตามที่กล่าวหา แต่ศาลก็อธิบายว่า "แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากผู้ที่กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรงดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ ทั้งจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลจากพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีที่โจทก์นำสืบเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาซึ่งอยู่ภายใน" ซึ่งถ้าใช้คำตัดสินเช่นนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อไปฝ่ายโจทย์ก็ไม่จำเป็นต้องหาประจักษ์พยานพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดอีกต่อไป เพราะศาลสามารถหาความผิดของจำเลยจากหลักฐานแวดล้อมได้ ลองเปรียบเทียบกับอีกคดีหนึ่ง ที่ศาลพิจารณาตัดสินเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2555 ในคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกฟ้องว่ากระทำผิดตามมาตรา 112 ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่คุณสนธิได้กล่าวปราศรัยในเวทีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2551 โดยนำคำปราศรัยของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเผยแพร่ซ้ำ คำตัดสินของศาลเป็นดังนี้ "ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเห็นว่า การพูดของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล พูดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เป็นการพูดโดยถอดข้อความบางตอนมาสรุปให้ประชาชนฟัง โดยจำเลยเห็นว่า คำพูดของ น.ส.ดารณี เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และพระราชินี จึงเรียกร้องให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร.ขณะนั้น ให้ดำเนินคดีกับ น.ส.ดารณี จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยสรุปคำพูดของ น.ส.ดารณี เมื่อฟังโดยรวมแล้วเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาที่จะเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับน.ส.ดารณี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขยายคำพูดของ น.ส.ดารณี อันมีเจตนาโดยตรงเพื่อหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินี การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ให้พิพากษายกฟ้อง" ที่ยกตัวอย่างคำพิพากษาของศาลในกรณีนี้มา ไม่ได้หมายความว่า ต้องการให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ติดคุกในคดีนี้ เพราะไม่ว่าใครจะถูกดำเนินคดีติดคุกตามข้อหาในมาตรา 112 ผมก็ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้น ยิ่งคุณดารณีถูกจำคุกโดยไม่เป็นธรรมมาจนถึงขณะนี้ นานกว่า 4 ปีแล้ว การยกกรณีคดีคุณสนธิในที่นี้ เพียงแต่อยากให้ศาลใช้บรรทัดฐานอันผ่อนปรนในลักษณะเดียวกับกรณีคุณสนธิ ยกประโยชน์ให้จำเลยในกรณีอื่นด้วย เพราะการกล่าวหากันด้วยความผิดตามมาตรา 112 ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องการใส่ร้ายป้ายสีกันทางการเมือง ยิ่งกว่านั้น กฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นกฎหมายเผด็จการ แก้ไขให้ลงโทษสูงตามคำสั่งคณะรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2519 กฎหมายนี้จึงไม่มีความชอบธรรมแต่อย่างใด ในที่นี้ยังอยากจะเล่าถึงคดีตามมาตรา 112 อีกกรณีหนึ่ง คือในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2553 นายยุทธภูมิ มาตรนอก อาชีพรับจ้าง ได้ถูกนายธนะวัฒน์ มาตรนอก พี่ชายแท้ของตนเอง แจ้งจับในความผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ต่อมา นายยุทธภูมิได้มามอบตัว และยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด แต่เกิดจากการกลั่นแกล้งของพี่ชายแท้ๆ โดยได้แสดงหลักฐานเป็นบันทึกการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าพี่ชายเคยจะใช้มีดทำร้ายและหนังสือข่มขู่ อย่างไรก็ตาม ศาลก็รับฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2555 และขณะนี้ นายยุทธภูมิถูกขังอยู่ในคุก เพราะศาลไม่ให้ประกันตัว ในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น กลายเป็นเครื่องมือต่อสู้ช่วงชิงผลประโยชน์กันในครอบครัวแล้ว ท้ายที่สุดคงต้องขอกล่าวถึง กรณีของ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ต้องถูกจำคุกมาแล้วนานกว่าปีครึ่ง และ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ที่ถูกจำคุกมาแล้ว 2 ปี ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ในกรณีของคุณสมยศที่ต้องติดคุกก็เพราะศาลริดรอนสิทธิในการประกันตัวนั่นเอง ถึงเวลาของสังคมไทย ที่จะต้องพิจารณาแก้ไข หรือยกเลิกมาตรา 112 อย่างเป็นจริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อธิบดีศาลฯ เล็ง "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" - จะเรียกมาสอบถามดีหรือไม่ เพราะแรงสิบเท่า Posted: 25 Jan 2013 02:18 AM PST อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาระบุจะไม่ดำเนินคดีผู้เผาตำรากฎหมายหน้าศาล เพราะจะเป็นการต่อความยาว แต่ห่วงการปลุกระดมที่มีการดึงสหภาพยุโรปหวังสร้างความน่าเชื่อถือ-ไม่แน่ใจว่าต่างประเทศจะเข้าใจธรรมเนียมไทยหรือไม่ ส่วนบทความของ "วีรพัฒน์ ปริยวงศ์" ศาลไม่ติดใจ แต่กำลังพิจารณาว่าจะเรียก "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" มาสอบถามดีหรือไม่ เพราะแรงกว่าสิบเท่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ปราศรัยที่วัดลาดพร้าวเมื่อ 25 ส.ค. 55 (แฟ้มภาพ) มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึงกรณีที่มีผู้มาประท้วงหน้าศาลอาญาในวันนี้ ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตามประทวงกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการเผาตำรากฎหมายว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของศาลอาญาดูเเลรักษาความสงบ ซึ่งก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายเเรงหรือลุกลาม ส่วนที่มีการเผาตำรา หรือเเจกเอกสารนั้นก็เป็นการเเสดงความไม่เห็นด้วยในกระบวนการยุติธรรมเเละเเสดงออกทางสัญลักษณ์ ทางศาลอาญาก็จะไม่มีการดำเนินคดีอะไรกับคนกลุ่มนี้ เพราะจะเป็นการต่อความยาว ผู้ชุมนุมก็ชุมนุมบริเวณข้างหน้าศาลไม่ได้เข้ามาชุมนุมในเขตรั้วของศาล โดยตนคิดว่าคงจะไม่มีเหตุการณ์ลุกลามไปกว่านี้เเล้ว เพราะทางศาลอาญามีการชี้เเจงผ่านสื่อมวลชนไปเเล้วถึงคดีของนายสมยศ เเละเชื่อว่าประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนมากเเละมีความคิดเป็นกลางจะมีความเข้าใจ "เเต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือคนบางกลุ่มมีการปลุกระดมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือโดยการดึงต่างประเทศ เช่นสหภาพยุโรป(อียู)เข้ามา ซึ่งก็ไม่เเน่ใจว่าทางต่างประเทศจะมีความเข้าใจในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของประเทศไทยหรือไม่เเต่ที่ตนเชื่อว่าจะไม่บานปลายเพราะกระบวนการยุติธรรมเรามีบทบัญญัติชัดเจนเเละตรวจสอบได้"อธิบดีศาลอาญาระบุ นายทวี กล่าวว่า ส่วนกรณีบทความของนาย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฏหมายอิสระ นั้นหลังจากที่ทางสื่อมวลชนได้ลงข่าวไปเเละมีบทความชี้เเจงมาจากนายวีรพัฒน์อีกครั้งนั้น ทางศาลก็ไม่ติดใจที่จะถือสาหาความอีก เเละจะถือเป็นการเเสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งบทความในครั้งเเรกมีลักษณะที่สั้นเกินเเละมีความเเข็งกร้าว ส่วนบทความชี้เเจงครั้งที่สองมีการอธิบายรายละเอียดของเจตนาที่ต้องการจะสื่อสารมากขึ้น ก็ถือเป็นบทเรียนไป ซึ่งทั้งฝ่ายศาลเเละนักวิชาการต้องมองให้ละเอียดมากขึ้น "เเต่ในส่วนของกรณีอื่นๆก็จะดำเนินการตรวจสอบต่อไป อาทิ กรณีของ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีลักษณะเเข็งกร้าวเกินพอสมควรมีเเนวคิดเเละบทความที่สื่อออกมาที่จะเสียหายต่อสถาบันเเละศาล รุนแรงและแข็งกร้าวมากว่านายวีรพัฒน์เป็นสิบเท่า ซึ่งมองว่าสุ่มเสี่ยงมาก ทางศาลกำลังดำเนินการตรวจสอบ เเละพิจารณาต่อไปว่าจะออกหมายเรียกมาสอบถามหรือไม่"อธิบดีศาลอาญาระบุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สาระ+ภาพ สื่อที่ถูกคุมขังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากปี 2000-2012 Posted: 25 Jan 2013 01:55 AM PST
การตัดสินจำคุกสมยศ พฤกษาเกษมสุข 10 ปี จากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นที่จับตาและถูกประณามจากองค์กรและประชาคมระหว่างประเทศแล้ว ยังได้เปิดมิติใหม่ให้กับสถิติการจับกุมคุมขังสื่อมวลชน โดยรายงานของคณะกรรมการปกป้องผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists – CPJ) ที่รวบรวมตลอด 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าไทยซึ่งเป็นเสมือนแม่แบบเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่เคยมีการคุมขังสื่อมวลชน (นักข่าว, บรรณาธิการ) มาก่อน ตัวเลขผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการที่ถูกจับกุมคุมขังซึ่งเพิ่ม-ลดในแต่ละปี เป็นผลจากการพ้นโทษ และจำกุมคุมขังสื่อรายใหม่ โดยมีหลายกรณีเป็นการติดคุกต่อเนื่อง เช่นกรณีของประเทศพม่า ปี 2012 พม่าปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกคุมขังทั้งหมด และประกาศยกเลิกการตรวจต้นฉบับของสื่อโดยกรมสารสนเทศ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2012 หลังจากที่ก่อนหน้านี้คำสั่งตรวจสอบสื่อก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งหมดตั้งแต่หนังสือพิมพ์ เพลง และแม้แต่นิทานในยุคที่คณะทหารปกครองพม่า ที่มา: รายงาน CPJ https://www.cpj.org/imprisoned/2012.php ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รื้อเรือนจำเก่า เพื่อ (จอง) จำประวัติศาสตร์ใหม่ Posted: 25 Jan 2013 01:51 AM PST เรือนจำหญิงกลาง ที่ จ.เชียงใหม่ (ที่มาของภาพประกอบบทความ: Pensupa Sukkata Jai Inn) นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ข่าวคราวหนึ่งที่สร้างความตื่นตัวในแวดวงคนเชียงใหม่คงจะหนีไม่พ้น "การไปดูคอก" หลังจากที่ได้มีการย้ายผู้ต้องขังหญิงออกจากเรือนจำหญิงกลางเมืองเชียงใหม่ แล้วเสร็จไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา การย้ายออกของเรือนจำจากสถานที่เคยเป็นที่ตั้งของเวียงแก้ว (พระราชวัง) เมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้ หลายภาคส่วนโดยเฉพาะนักวิชาการท้องถิ่นบางกลุ่มถึงกับถือว่าเป็นความสำเร็จในการร่วมมือกันของภาคประชาชนหรือท้องถิ่นในการเรียกร้องรัฐบาลให้คืนพื้นที่ที่มีสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้กับชาวเชียงใหม่ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมชองประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เวทีประชาพิจารณ์เรื่องการเปลี่ยนพื้นที่เรือนจำให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดขึ้นหลายครั้ง [1] การประกาศตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามโครงการปรับปรุงพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิมเป็นสวนสาธารณะ [2] และครั้งล่าสุดคือ การเสวนา "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่..." เพื่อระดมความเห็นครั้งสำคัญของนักวิชาการและประชาชนจากหลายภาคส่วน เพื่อหาข้อสรุปเสนอต่อรัฐบาลในการเปลี่ยนพื้นที่เรือนจำเก่าในฐานะความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมท้องถิ่น แม้ว่าจะมีแนวคิดที่แตกต่างหลากหลายที่ถูกเสนอเพื่อการจัดการเปลี่ยนพื้นที่เรือนจำเก่าซึ่งเคยเป็นเวียงแก้ว (พระราชวัง) โบราณแห่งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวคิด "รื้อเรือนจำเก่า สร้างพื้นที่ประวัติศาสตร์ใหม่" นั้น ถือเป็นแนวคิดกระแสหลักในการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ดูเหมือนว่าความคิด "รื้อเรือนจำเก่า สร้างพื้นที่ประวัติศาสตร์ใหม่" จะเป็นการสมาทานแนวคิดท้องถิ่นนิยม และ หลักการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างเต็มรูปแบบ แต่ในอีกมุมหนึ่งสิ่งที่นักเคลื่อนไหวกระแสหลักกลุ่มต่างๆ ได้ดำเนินการนั้นกลับเป็นแค่การผูกขาดความรู้และความจริงเกี่ยวกับ "เรือนจำ" และ "เวียงแก้ว" ไว้ในมือของนักวิชาการท้องถิ่นด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงความจริงได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น
เรือนจำ: ประวัติศาสตร์ของการเลือกให้จำ เวียงแก้ว มีประวัติศาสตร์เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ในสมัยพญามังราย เมื่อปี 1839 โดยมีการสร้างหอนอน โรงคัล โรงคำ เหล้ม และฉางหลวงขึ้นในเวียงแก้วในคราวเดียวกัน [3] นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์เวียงแก้วที่มีอายุยาวนานมาถึงปัจจุบันกว่า 700 ปี หากแต่ประวัติศาสตร์เวียงแก้วในฉบับของนักวิชาการท้องถิ่นนั้นกลับเต็มไปด้วยการเลือกเอาเฉพาะบางเหตุการณ์หรือหลักฐานบางชิ้นมาเรียบเรียงเผยแพร่ให้ประชาชน ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ที่ตั้งขึ้นโดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน (ซึ่งมีส่วนในการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนพื้นที่เรือนจำมาเป็นเวลากว่าสิบปี) ได้มีการเผยแพร่ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเวียงแก้วไว้ทางเพจในเฟซบุ๊คของศูนย์ ซึ่งน่าสนใจว่า ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเวียงแก้วถูกข้ามไปเป็นเวลากว่า 600 ปี คือจากปี 1839 ไปถึงปี 2442 แต่ทางศูนย์ฯ กลับเลือกเน้นถึงประวัติศาสตร์ของการกลายเป็นเรือนจำของพื้นที่เวียงแก้วโดยรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ในปี 2442 และปี 2451 [4] ทั้งที่ระหว่างช่วงเวลาที่หายไปดังกล่าวก็ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการใช้พื้นที่พระราชวังของกษัตริย์เชียงใหม่ เช่น การสร้างที่ประทับของกษัตริย์ที่เวียงเจ็ดลิน หรือที่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ [5] หรือพลวัติการใช้พื้นที่คุ้ม (วัง) ของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในช่วงเริ่มต้นของการขยายอำนาจของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามเข้ามาในล้านนา ซึ่งพบว่าพื้นที่คุ้ม มีการเปลี่ยนมือ และมีการนำไปให้รัฐบาลสยามใช้ประโยชน์ (โดยมิได้มีการบังคับ) หลายครั้ง [6] และตามมาด้วยการเน้นบทบาทของศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่ และมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ (ซึ่งมีผู้นำเป็นนักวิชาการกลุ่มเดียวกันกับศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่) เป็นแกนกลางของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการขอคืนพื้นที่เวียงแก้ว โดยมิได้กล่าวถึงบทบาทหรือการดำเนินการของกลุ่มอื่นๆ ที่มีส่วนในการขอคืนพื้นที่ดังกล่าว นอกจากการเลือกเฉพาะบางเหตุการณ์มาเขียนประวัติศาสตร์เวียงแก้วของศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่แล้ว ยังมีนักวิชาการบางกลุ่มได้เลือกสร้างความทรงจำให้เวียงแก้วด้วยการนำเอารูปภาพโบราณของสถาปัตยกรรมคล้ายวิหารล้านนาหลังหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2483 ในหนังสือของกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้ชื่อ "เวียงแก้ว จ.เชียงใหม่" [7] มาเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของหอคำ (ท้องพระโรง) เมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ภายในเวียงแก้ว ซึ่งภาพถ่ายดังกล่าวมิได้ปรากฏที่มาหรือวันเวลาหรือสถานที่ถ่ายภาพที่ชัดเจน จนภาพดังกล่าวกลายเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ดังเช่น การนำภาพดังกล่าวไปแสดงไว้ในนิทรรศการที่เรือนจำหญิงเชียงใหม่ ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมก่อนการรื้อถอน [8] หรือการใช้ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นตัวแบบหนึ่งในการสร้างหอคำหลวงในงานราชพฤกษ์เมื่อปี 2549 [9] แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางท่านได้วิพากษ์ภาพถ่ายดังกล่าวว่ามิใช่หอคำเมืองเชียงใหม่ เช่น ไกรสิน อุ่นใจจินต์ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ที่กล่าวว่าภาพดังกล่าวน่าจะเป็นภาพโบราณของวิหารวัดหลวงราชสัณฐาน จ.พะเยา [10] หรือ ทวีศักดิ์ เกียรติวีระศักดิ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสนอว่า ภาพดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นหอพระ เขตพระราชวัง [11] ซึ่งถูกเสนอในปี ๒๕๕๑ แต่ข้อวิพากษ์เหล่านี้กลับถูกละเลยที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนทั่วไปจนกระทั่งปัจจุบัน
(เรือน)จำ(กัด)ประวัติศาสตร์ของประชาชน แม้ว่าจะมีหลายภาคส่วนที่พยายามยกเอาการรื้อถอนเรือนจำออกจากบริเวณเวียงแก้วเป็นเสมือนการคืนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้กับท้องถิ่น แต่ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์ของเวียงแก้ว-เรือนจำก็เป็นได้เพียงภาพจำลองของประวัติศาสตร์รัฐชาติแบบรวมศูนย์ที่ไม่เคยให้ตำแหน่งแห่งที่กับประชาชนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเลย ไม่ว่าจะเป็น ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากหอคำเวียงแก้ว เชียงใหม่ ของศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ที่กล่าวถึงแต่เพียงการดำเนินการของหน่วยงานรัฐและกลุ่มนักวิชาการท้องถิ่นในการคืนพื้นที่เรือนจำ โดยไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของประชาชนแต่อย่างใด [12] หรือ ส่วนประวัติความเป็นมาของพื้นที่ ใน ข้อมูลพื้นฐาน: โครงการปรับปรุงพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิมเป็นสวนสาธารณะ ที่เน้นความเป็นมาของการใช้พื้นที่เรือนจำโดยรัฐ ทั้งในระดับท้องถิ่น (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่) และรัฐส่วนกลาง (รัฐบาลสยาม) [13] หรือแม้แต่วันเริ่มทุบรื้อเรือนจำก็ยังยึดเอาวันที่เชื่อว่าเป็นวันประสูติพญามังรายเป็นฤกษ์ [14] มีเพียงบางบทความที่มีการกล่าวถึงประชาชนไว้ในประวัติศาสตร์เวียงแก้ว-เรือนจำ เช่น คุ้มในคอก คอกในคุ้ม ของสมโชติ อ๋องสกุล ที่แม้จะมีการกล่าวถึงประชาชนในท้องถิ่น แต่ก็เป็นเพียงการบรรยายถึงชีวิตและความเป็นอยู่ของนักโทษในสมัยโบราณที่สิทธิทางการศาลยังอยู่ที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ [15] หากประวัติศาสตร์ของเวียงแก้ว-เรือนจำยังคงเห็นว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเพียงการเน้นเฉพาะแต่บทบาทของกษัตริย์ (พญามังราย/เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่) รัฐ (รัฐบาลของเชียงใหม่และรัฐบาลสยาม) ปัญญาชน (นักวิชาการท้องถิ่น เช่น ไกรศรี นิมมานเหมินทร์) ที่มีต่อเวียงแก้ว-เรือนจำ โดยละเลยที่จะให้คุณค่าต่อความทรงจำของประชาชนในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่าของผู้คนในช่วงเวลาต่างๆเกี่ยวกับเวียงแก้ว-เรือนจำ หรือ ประวัติศาสตร์ชุมชนโดยรอบที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลายาวนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังกล่าวก็หาได้ต่างอะไรจากประวัติศาสตร์ชาติแบบรวมศูนย์ที่เน้นศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์-รัฐ ที่จำกัดไม่ให้ประชาชนเข้าถึงและสามารถมีส่วนร่วมรังสรรค์ประวัติศาสตร์ได้
รื้อเรือนจำแต่ไม่รื้ออำนาจ นับตั้งแต่มีการดำเนินการขอเข้าใช้พื้นที่เรือนจำหญิงเชียงใหม่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2540 ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่นักวิชาการท้องถิ่นจำนวนมากในการเรียกร้องที่จะดึงเอาอำนาจในการตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่เรือนจำเป็นพื้นที่สาธารณะมาสู่ประชาชนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน การจัดอภิปรายแนวทางการพัฒนาพื้นที่เรือนจำ การเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นของประชาชนผ่านทางวิทยุ [16] อย่างไรก็ตามพบว่าไม่ได้มีการดำเนินการเรียกร้องอำนาจครั้งใดที่เริ่มต้นขึ้นจากประชาชน หากแต่บทบาทนำกลับอยู่ที่กลุ่มนักวิชาการและภาครัฐเป็นรัฐ ดังจะเห็นว่าในการแต่งตั้คณะกรรมการและอนุกรรมการดำเนินงานโครงการปรับปรุงทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิมเป็นสวนสาธารณะโดยนายกเทศมนตรีเชียงใหม่ ในปี 2551 ไม่มีประชาชนทั่วไปดำรงตำแหน่งเลย [17] หรือในการเรียกร้องให้ย้ายเรือนจำหญิงออกจากพื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียวซึ่งนำโดยมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ก็มีองค์กรร่วมเพียงราว 17 องค์กรจากทั้ง 28 องค์กรที่เป็นองค์กรประชาชน [18] นอกจากนี้ยังพบว่าข้อเสนอแนะของประชาชนที่ถูกนำเสนอต่อยอดหรือนำไปเป็นข้อเสนอทางเลือกนั้น ไม่ได้เป็นข้อเสนอทั้งหมดของประชาชน หากแต่เป็นข้อเสนอที่ถูกเลือกแล้วโดยนักวิชาการหรือองค์กรผู้จัดเสวนา ดังจะพบว่ามีข้อเสนอบางส่วนที่ถูกละเลยไปในการเสวนาในครั้งถัดมา เช่น ข้อเสนอแนะที่จะเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานสุขภาพเพื่อรองรับกลุ่มเยาวชนจากสถานศึกษาหลายแห่งที่ตั้งอยู่รอบบริเวณดังกล่าวแทนที่จะสร้างสวนสาธารณะ [19] ลักษณะดังกล่าวจึงยังคงเป็นคำถามว่าอำนาจถูกเปลี่ยนผ่านจากมือของรัฐมาสู่มือของประชาชนหรืออยู่ในมือของนักวิชาการ
เลิกจองจำชีวิตมาจองจำความคิด จากคำแถลงถึงแนวทางของรัฐบาลในการปรับปรุงพื้นที่เรือนจำ โดย เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะผู้ร่วมเสวนา ในงานเสวนาครั้งล่าสุด "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่..." ที่จัดคือเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ว่า ทางรัฐบาลจะอนุมัติงบจำนวน 1,200 ล้านบาทปรับปรุงพื้นที่เรือนจำเก่าเป็นข่วงหลวงเวียงแก้ว ประดิษฐานพระนวพุทธชยันตี [20] รวมถึงจัดสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม และจำลองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งรวมไว้ในบริเวณดังกล่าว ภายใต้ชื่อ "พุทธมณฑลเชียงใหม่" พร้อมกับการสร้างอาคารพื้นถิ่นล้านนาขนาดใหญ่ในทำนองการจำลองที่ประทับเจ้านายล้านนา [21] แนวทางดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในหมู่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประเด็นของการสร้างพุทธมณฑลเชียงใหม่โดยรัฐ ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายสร้างพุทธสถานไว้ให้แก่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐในการใช้อำนาจสถาปนาอุดมการณ์หลักของชาติในพื้นที่สาธารณะ และการสร้างเบ้าหลอมทางความคิดเพื่อผลิตพลเมืองตามความประสงค์ของรัฐ ในที่นี้คือ การสร้างพื้นที่สำหรับพุทธศาสนา ศาสนาหลักของชาติ เพื่อผลิตพุทธศาสนิกที่มีความคิดอ่านตามที่รัฐต้องการ โดยปราศจากความคำนึงถึงประชาชนจำนวนมากที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนาซึ่งต่างก็เป็นผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงพื้นที่สาธารณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การสร้างอาคารเรือนไม้สักแบบล้านนาคล้ายที่ประทับของเจ้านายล้านนา ก็ยังคงเป็นการผลิตซ้ำสาระของประวัติศาสตร์ที่มีกษัตริย์เป็นศูนย์กลางให้แก่ประชาชนเฉกเช่นที่เคยเป็นมา
อดีตของเรือนจำ อนาคตของความจำ ความเปลี่ยนแปลงของเรือนจำที่จะมาถึงในระยะอันใกล้นี้คือสิ่งที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ การรื้อเรือนจำและสร้างความ (จอง) จำทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ โดยมีรัฐบาลและนักวิชาการที่สมาทานตนเป็นนักท้องถิ่นนิยมเป็นผู้กระทำ ในขณะที่เราเพียงแต่เฝ้าดูโดยไม่ใยดีและไม่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมนั้น จะต่างอะไรไปจากผู้ชมที่เสพติดกับมหรสพตบตาที่ถูกตกแต่ง ดัดแปลง เลือกสรร โดยผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คน ในขณะที่โลกนอกโรงละครนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่นักประพันธ์ละทิ้งและปิดบังเราไว้มากมาย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราในฐานะประชาชนคนหนึ่งจะต้องคำนึงและพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างทันท่วงที ไม่เป็นเพียงผู้อ่านประวัติศาสตร์ที่ตนเองไม่ได้เลือก ไม่เป็นเพียงคนส่วนน้อยที่ละทิ้งสิทธิอันพึงมีให้รัฐย่ำยีอย่างจำนน ไม่เป็นเพียงผู้ที่ยืนอยู่ที่เส้นขอบของปริมณฑลแห่งอำนาจ หากแต่ต้องเดินก้าวไปไกลกว่าการยอมให้ตัวเองเป็นเพียงผู้ถูกจองจำทางความคิดด้วยประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งเราไม่มีส่วนร่วม นี่คือเวลาครั้งสำคัญที่ประชาชนต้องแสดงตนเป็นผู้หลุดพ้นจากการถูกจองจำทางความคิดด้วยการเป็นมีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์ของเวียงแก้ว-เรือนจำ ในฐานะศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
อ้างอิง [1] ประชาไท, ระดมความเห็นปรับปรุงเรือนจำเชียงใหม่เป็นพื้นที่สาธารณะ (2009) http://prachatai.com/journal/2009/03/20196 [2] ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่: ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากหอคำเวียงแก้ว เชียงใหม่,https://www.facebook.com/cusc.chiangmai/posts/439183889488920 [3] อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่: 2540 [4] ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่: ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากหอคำเวียงแก้ว เชียงใหม่,https://www.facebook.com/cusc.chiangmai/posts/439183889488920 [5] เพิ่งอ้าง [6] อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากความคิดเห็นของ วรชาติ มีชูบท ใน facebook.com [7] ที่นี่ล้านนา, จากคุ้มเจ้า สู่เรือนจำ และสวนสาธารณะ http://www.teeneelanna.com/moojoomhao/home/space.php?uid=1&do=blog&id=1703 [8] ดูภาพการเปิดเรือนจำและนิทรรศการให้ชม ที่นี่ [9] Hotsia, หอคำหลวง, http://www.hotsia.com/chiangmai/royal-pavilion-horkhumluang/index.shtml [10] ประชาไท, นักวิชาการสถาปัตย์เสนอใช้หลักโบราณคดีพิสูจน์สิ่งก่อสร้างใต้ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่, http://prachatai.com/journal/2008/12/19465 [11] เพิ่งอ้าง [12] ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่: ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากหอคำเวียงแก้ว เชียงใหม่, [13] หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่, ข้อมูลพื้นฐาน: โครงการปรับปรุงพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิมเป็นสวนสาธารณะ, www.cmocity.com/park/Newpark.doc [14] สรุปการเสวนา "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...", เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์, 22 ม.ค. 56 https://www.facebook.com/notes/pensupa-sukkata-jai-inn/588414821172793/588414821172793 [15] สมโชติ อ๋องสกุล, คอกในคุ้ม-คุ้มในคอก, ใน โลกล้านนา http://www.lannaworld.com/story/narrative/narrative33.php [16] ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่: ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากหอคำเวียงแก้ว เชียงใหม่, [17] เพิ่งอ้าง [18] เพิ่งอ้าง [19] โอเคเนชั่น, เปลี่ยนคุก...ให้เป็นมากกว่าสวนได้ไหม?, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=338739 [20]เดลินิวส์, เชียงใหม่เตรียมทุบทัณฑสถานหญิงหลังเดิมสร้างข่วงหลวงเวียงแก้ว, http://www.dailynews.co.th/thailand/178735 [21] สรุปการเสวนา "จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...", เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์, 22 ม.ค. 56 https://www.facebook.com/notes/pensupa-sukkata-jai-inn/588414821172793/588414821172793 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ครู-ศิษย์เก่าอัสสัมชัญชุมนุม ขับ ผอ.รร. Posted: 25 Jan 2013 01:31 AM PST ครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ชุมนุมคัดค้านการควบรวมโรงเรียนฝ่ายประถมและมัธยม รวมถึงให้ปรับขึ้นเงินเดือน พร้อมเรียกร้องเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการ กลุ่มศิษย์เก่าร้องผู้อำนวยการคืนเงินบริจาค ชี้เอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ (25 ม.ค.56) บรรยากาศที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดความโกลาหล เมื่อนายอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียน ประกาศปิดเรียนตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีต่อโรงเรียน วางแผนและนัดหมายกันจะเข้ามาก่อความวุ่นวายภายในบริเวณโรงเรียนจนถึงขั้นที่โรงเรียนไม่สามารถดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียนได้ ตลอดจนความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพย์สินของสถาบัน ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวเพิ่งเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียนในช่วงเช้าวันนี้ ทำให้นักเรียนจำนวนมากไม่ทราบเรื่อง และเดินทางไปโรงเรียน คณะอาจารย์จึงต้องประสานผู้ปกครองไปรับกลับ ส่งผลให้การจราจรบนถนนเจริญกรุง ติดขัด ด้านนายณรงค์ วีระประจักษ์ ตัวแทนกลุ่ม "คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ" กล่าวว่า วันนี้ คณะครูได้นัดหมายกันแต่งชุดดำ มารวมตัว ยื่นข้อเรียกร้องให้ทางโรงเรียนยกเลิกการตัดค่าครองชีพครู 1,500 บาท และคืนค่าวิชาชีพ 2,000 บาท รวมทั้งยกเลิกการควบรวมโรงเรียนประถมและมัธยม และปรับเงินตามฐานเงินเดือนที่ประกาศไว้ มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 แต่กลับมีการประกาศปิดโรงเรียนก่อน คณะครูจึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการโรงเรียน และให้เปิดทำการสอนตามปกติในวันที่ 28 มกราคม
อีกด้านบริเวณหน้าโรงเรียน มีผู้ประท้วงอีกกลุ่มเป็นสมาคมศิษย์เก่า ในชื่อกลุ่ม "กู้อัสสัมชัญ" ที่แต่งกายด้วยชุดดำและเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวผู้อำนวยการโรงเรียนเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าประวัติการทำงานที่ผ่านมา มีข้อถูกร้องเรียนหลายเรื่อง และมีคดีอยู่ในชั้นศาล โดยขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนคืนเงินโรงเรียนที่ใช้ในการก่อสร้างอัสสัมชัญพระราม 2 ซึ่งเป็นเงินที่ผู้ปกครองบริจาคไว้สำหรับอัสสัมชัญบางรัก ถือว่านำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ข้อเรียกร้องของทางกลุ่ม ซึ่งระบุไว้ในเพจเฟซบุ๊ก "กู้อัสสัมชัญ" มีดังนี้ 1) ให้ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญโดยทันที เพื่อยุติวิกฤตความขัดแย้ง ไม่ให้นักเรียนและครูลาออกไปมากกว่านี้ 2) ให้แต่งตั้งภราดาที่เคยเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญมาก่อนมาเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ เพื่อกอบกู้ความยิ่งใหญ่ ของอัสสัมชัญกลับคืนมา 3) ให้แก้ไขการเลือกกรรมการบริหารสถานศึกษา ให้มีความเป็นธรรมาภิบาล สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของอธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ให้เอาเงินของโรงเรียนอัสสัมชัญที่ใช้ไปกับการสร้างโครงการพระราม 2 คืนให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญ เพราะเป็นคนละโรงเรียน ขณะที่นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช. ระบุว่า เป็นอำนาจในดุลยพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียนในการประเมินสถานการณ์และประกาศหยุดการเรียนการสอนได้ไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งเบื้องต้น สช. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่รับทราบปัญหาที่ต้องหยุดเรียน ก่อนจะให้ ผอ.โรงเรียน ส่งหนังสือด่วนชี้แจงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทาง สช. ยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากครูและผู้ปกครอง ทั้งเรื่องการขายที่ดินโรงเรียน การไม่ปรับเงินเดือนครู ตามที่เป็นข่าว
ที่มา: สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวอิศรา, แถลงการณ์กลุ่มกู้อัสสัมชัญ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โมฆะ! ถอนการทำประชาคม เหมืองโปแตชอุดรฯ อบต.รับผิดระเบียบ Posted: 25 Jan 2013 12:16 AM PST อบต.ในพื้นที่เหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ร่อนหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัด ขอถอนเอกสารการทำประชาคมหมู่บ้านมาแก้ใหม่ รับว่าผิดระเบียบ ด้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เตรียมหลักฐานฟ้องศาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ม.ค.56 เวลา 14.00 น.นายทองหล่อ ทิพสุวรรณ์ กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้นำเอกสารมาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว พร้อมกล่าวว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำบลที่อยู่ในขอบเขตเหมือง ตามแผนผังเหมืองแร่ใต้ดิน โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 2.6 หมื่นไร่ ได้ทำหนังสือ ขอถอนเอกสารการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน ต่ออุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้านแล้ว จากการตรวจสอบพบว่าหนังสือที่อด 72801/027 ลงวันที่ 15 มกราคม 2556 ลงนามโดยนายก อบต.นาม่วง ได้ส่งถึงอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี มีใจความบางตอนระบุว่า... "องค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง จึงขอถอนเอกสารการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านเกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปรแตชที่ส่งให้อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีตามหนังสือที่นำส่งเลขที่ อด72801/507 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2555 คืนเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการให้ความเห็นในการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ พ.ศ.2545 ต่อไป" ทั้งนี้ สืบเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการส่งเอกสารการประชาคมหมู่บ้านและรายงานการประชุมสภาฯ ไปยังอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อใช้ประกอบการขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี แต่ทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้ยื่นหนังสือให้อบต./เทศบาล ยกเลิกและถอนเอกสารกลับคืนมาดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่เป็นไปตามระเบียบคู่มือปฏิบัติงานฯ เช่น ในส่วนขององค์ประกอบผู้เข้าร่วมการประชาคมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ รวมทั้งมีการสร้างหลักฐาน และเอกสารเท็จในการประชาคมที่ส่งให้อุตสาหกรรมจังหวัดด้วย ด้านนายทองหล่อ ทิพสุวรรณ์ กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการทำประชาคมหมู่บ้านและรายงานการประชุมสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตเหมืองทั้งหมด 5 ตำบล พบว่าไม่เป็นไปตามระเบียบคู่มือปฏิบัติงานฯ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านก็ทำหนังสือคัดค้านมาโดยตลอด บางตำบลก็ยอมรับว่าทำผิดและนำมาแก้ไขใหม่ แต่บางตำบลก็ดันทุรังทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่ามันไม่ถูก "ตามประทานบัตรเหมืองจะอยู่กับชาวบ้านอย่างน้อย 25 ปี แต่เห็นได้ว่าตั้งแต่เริ่มต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ยังทำผิดระเบียบและไม่โปร่งใสกับชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยทางกลุ่มฯ ก็กำลังรวบรวมหลักฐานเตรียมฟ้องคดีต่อศาล" นายทองหล่อกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สหภาพ GM ประเทศไทยค้านนโยบายเพิ่มเวลาทำงานเป็น 6 วันของบริษัท Posted: 24 Jan 2013 11:55 PM PST เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 56 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ได้แจ้งข่าวว่าทางสหภาพฯ ไม่ยินยอมที่จะรับข้อตกลงของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ที่จะให้บริษัทฯ สามารถกำหนดการทำงานกะรูปแบบใหม่ รวมถึงปรับเปลี่ยนจำนวนวัน เวลาการทำงานและเวลาพักของกะการผลิต และการเปลี่ยนแปลงอื่นตามความจำเป็นเพื่อความยืดหยุ่นของการผลิต โดยทางสหภาพแรงงานฯ ระบุว่าบริษัทจะให้พนักงานทำงาน 6 วัน โดยการทำงานในวันที่ 6 ที่มาทำงานจะไม่ได้ OT ซึ่งทางสหภาพแรงงานฯ เห้นว่าการยื่นข้อเรียกร้องสวนของบริษัทฯ ในข้อนี้ไม่เป็นธรรมกับพนักงาน สหภาพแรงงานฯ จึงไม่เซ็นต์รับข้อเรียกร้อง และไม่ตั้งตัวแทนเจรจากับบริษัทฯ ทั้งนี้สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ระบุว่าทางสหภาพแรงงานฯ จะประชุมใหญ่วิสามัญในวันอาทิตย์ ที่ 27 มกราคม 2556 นี้เพื่อขอมติในการแก้ปัญหาดังกล่าวว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร อนึ่ง บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่ 111/1 หมู่ 4 นิคมอุตสาหกรรมอีสเทอร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง ระยอง บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และจากข้อมูลของบริษัทฯ ระบุว่าปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 5,200 คน โดยเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อ เชฟโรเลต ทั้งนี้ในเดือนกันยายน 2554 จีเอ็ม ประเทศไทย ได้ขยายศักยภาพการผลิตในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการทุ่มเม็ดเงินลงทุน 6,000 ล้านบาท (200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เปิดศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลทันสมัย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ในจังหวัดระยอง ประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของจีเอ็ม แห่งแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน ยังเป็นศูนย์การผลิตเครื่องยนต์แห่งแรกในโลกที่ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 4 สูบ ตระกูลดูราแมกซ์รุ่นใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น