ประชาไท | Prachatai3.info |
- แฉแผนจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ‘รัฐบาล - 24 บริษัทข้ามชาติ’ หมกเม็ดทำลายป่า
- ‘ศรีประภา’ ชี้ ‘ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน’ ไม่ได้เลวร้าย แนะประชาชนร่วมผลักดัน
- พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร
- iLaw : บทวิเคราะห์คำพิพากษาคดี ‘สมยศ’ บรรทัดฐานการตีความ ‘เนื้อหา’
- รายงาน: (ว่าที่) ผู้ว่าอยู่ไหน? ผลสำรวจ “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ทั่วกทม. 2,846 คน
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยต้องเร่งนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยต้องเร่งนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
- นักสหภาพเกาหลีหมดสติหลังอดอาหารประท้วงมา 16 วัน
- บันทึกว่าด้วยการ "แบน" ฟ้าเดียวกัน (อีกครั้ง)
- ภัควดี วีระภาสพงษ์: การปฏิรูปกองทัพ: กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย
- ‘ยกฟ้อง’ คดีเพิกถอน ‘ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง’ ชาวบ้านเตรียมอุทธรณ์ต่อ
- โคลัมเบียเตรียมเสนอร่างกฏหมายใหม่ ให้การใช้ยาเสพติดสังเคราะห์ไม่ผิดกฏหมาย
- เครือข่ายพิทักษ์สถาบันชุมนุมหน้าอียูจี้ขอโทษ - แจง ม. 112 จำเป็น
แฉแผนจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ‘รัฐบาล - 24 บริษัทข้ามชาติ’ หมกเม็ดทำลายป่า Posted: 31 Jan 2013 11:35 AM PST กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และ 24 บริษัทข้ามชาติ ร้องยุติแผนการทำลายป่าโดยการสร้างเขื่อน หวั่นแผนการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านหมกเม็ดทำลายป่ากว่า 50,000 ไร่ 31 ม.ค.56 กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และ 24 บริษัทข้ามชาติ ขอให้ยุติแผนการทำลายป่าโดยการสร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) และเขื่อนแม่วงก์ แฉแผนการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน หมกเม็ดการทำลายป่ามหาศาล ชี้เขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ จะทำลายป่า 41,750 ไร่ และเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ก็จะทำลายป่า 13,000 ไร่ "หากยังผลักดันการทำลายป่าต่อไป รัฐบาล ก็จะถูกตราหน้าว่าเป็น รัฐบาลนรกสำหรับสิ่งแวดล้อม และ 24 บริษัทข้ามชาติ ก็ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นบริษัททำลายป่า ธุรกิจของบริษัทของท่านก็จะถูกประณามและถูกตราหน้าว่าเป็นบริษัทนรกสำหรับสิ่งแวดล้อม เช่นกัน" จดหมายดังกล่าวระบุ นอกจากนี้ กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ยังได้ระบุถึงเหตุผล 8 ประการที่ไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และแนวทางแก้ไขปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 12 ข้อ โดยใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน รายละเอียดของจดมายเปิดผนึกมีดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
‘ศรีประภา’ ชี้ ‘ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน’ ไม่ได้เลวร้าย แนะประชาชนร่วมผลักดัน Posted: 31 Jan 2013 10:54 AM PST ผู้แทนไทยคนแรกใน AICHR แจงความยากลำบาก กว่าจะมาเป็น 'ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน' เผยหลักการหลายส่วนถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานสากล แต่ไม่ได้เลวร้ายขนาดใช้ไม่ได้ แนะประชาชนในอาเซียนร่วมผลักดันให้กลายกฎหมายทางประเพณีที่ได้รับการยอมรับ วันที่ 31 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม Victory 2 โรงแรมวิคทรี แบงคอก เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ จัดงานเสวนา "ปฏิญญาอาเซียนเรื่องสิทธิมนุษยชนจะส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้หญิงได้อย่างไร" สนุบสนุนโดย SEA Women's Caucus และ UN Women & CIDA ภายในงาน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง คนพิการ โดยไฮไลท์ของงานเป็นการบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ในการทำงาน ก่อนจะมาเป็นปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration) และแนวทางสู่การยกระดับสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้แทนคนแรกของประเทศไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) กว่าจะมาเป็นปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน การเดินทางอันแสนขรุขระ ดร.ศรีประภา อธิบายถึงกระบวนการในการยกร่างปฏิญญาว่า จะกระทำโดยให้ผู้แทน AICHR ของแต่ละประเทศ คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปนั่งในคณะกรรมการยกร่าง แต่ประเทศที่ปฏิบัติตามอย่างแท้จริง คือ ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจริงๆ เข้าไปนั่งในคณะกรรมการยกร่าง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น เช่น ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แต่ประเทศอื่นให้บุคคลประเภทข้าราชการระดับสูง รองปลัดกระทรวง ก็จะมีปัญหามาก คือเขาก็เน้นแต่เรื่องผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ได้พยายามจะผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชน และบางประเทศก็เป็นประเทศที่เสียงดังมากกว่าประเทศอื่นๆ จึงทำให้หลักการในปฏิญญาออกมาไม่ดีนัก ไม่มีความสมบูรณ์ในตังเอง ดร.ศรีประภา กล่าวว่า หลังจากได้คณะกรรมการยกร่างมาแล้ว ก็มีปัญหากันตั้งแต่เริ่มยกร่าง การเจรจาในครั้งแรกมีการถกเถียงกันว่าจะให้ร่างนี้ชื่อว่าอะไร มีความพยายามจากบางประเทศที่จะลดระดับให้เป็นเพียง "กรอบความร่วมมือ" ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะไม่มีเขียนบอกว่า สิทธิของประชากรอาเซียนมีเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งไม่เป็นผลดี แต่สุดท้ายก็กลายเป็น "ปฏิญญาอาเซียน" ซึ่งมีการเขียนรับรองเรื่องสิทธิต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องคำศัพท์อีก อย่างเราเสนอให้มีการใช้คำว่า Sexual Identity เพิ่มเติมจากคำว่า Sex, Gender บางประเทศก็บอกว่า "ไม่ต้องมาพูดเลยนะ" คือถึงอย่างไรเขาก็ไม่ยอม หรือคำว่า Public Morality ซึ่งมันกินความมาก ก็กลายเป็นคำที่ดูจะมีปัญหา เพราะอาจจะไปบดบัง Human Rights เสียหมด ซึ่งคำว่า Public Morality นี้เสียงส่วนใหญ่ก็ตกลงกันว่าจะให้ตัดออก มีเพียงเสียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย แต่มันก็ที่ว่าในอาเซียนเสียงส่วนน้อยมักชนะเสมอ คำนี้จึงยังปรากฎอยู่ในข้อ 8 ของปฏิญญา ดร.ศรีประภา กล่าวด้วยว่า เพื่อแก้ปัญหา ให้งานสามารถเดินหน้าได้อย่างคล่องตัว จึงมีการจัดกันเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มจะรับผิดชอบเนื้อหาของปฏิญญาในส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นอีก คือกลายเป็นว่าผู้แทนแต่ละประเทศก็อยากเข้าไปอยู่ทุกกลุ่ม อยากมีส่วนร่วมกับทุกกลุ่ม เพราะต่างคนต่างไม่ไว้ใจกัน กลัวว่าบางประเทศจะใส่หลักการหรือเนื้อหาอะไรที่ตนไม่ต้องการ แต่ก็มีบางประเทศใช้วิธีไม่ขออยู่กลุ่มไหนเลย แต่ให้สมาชิกเขียนมาจนเสร็จแล้วถึงเข้ามาเจรจาแลกเปลี่ยนทีหลัง มันก็มีความติดขัดอยู่เสมอ แต่สุดท้ายมันก็ออกมาเป็นปฏิญญาจนได้ แม้จะทุลักทุเล ดร.ศรีประภา กล่าวว่า คณะกรรมการยกร่างก็มีหน้าที่ยกร่างอย่างเดียว ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดประชุมปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคม อย่างไรก็ตามในภายหลังมีการอนุญาตให้ภาคประชาสังคมเข้าเสวนาด้วยได้ แต่จำกัดโควต้าโดยให้ประเทศละ 4 องค์กร องค์กรละ 2 คน ตรงนี้ก็ทำให้เกิดความไม่หลากหลาย บางครั้งต้องแก้ปัญหาด้วยการขอยืมตัวกันระหว่างองค์กรเลยก็มี ต้องนับว่ากว่าจะมาเป็นปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนได้นั้นสาหัสสากรรจ์มาก ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนก็ไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป ดร.ศรีประภา กล่าวว่า หลักการที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาหลายส่วนก็ต้องถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานสากลอย่างมาก เช่น ข้อ 8 ซึ่งมีหลักว่า สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และตอบสนองความมั่นคงของชาติ, ศีลธรรมอันดี (The exercise of human rights and fundamental freedoms shall be subject only to such limitations as are determined by law solely for the purpose of securing due recognition for the human rights and fundamental freedoms of others and to meet the just requirements of national security, public morality.) ตรงนี้ทำให้เกิดปัญหาการตีความ มันไม่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองเลย แต่ตัวปฏิญญาไม่ได้เลวร้ายขนาดใช้ไม่ได้ หลักการทั่วไปที่กล่าวไว้ในข้อ 1-5 ถือว่าดี หรืออย่างในข้อ 4 ก็ได้บัญญติรองรับให้ปฏิญญาคุ้มครองครอบคลุมในกลุ่มคนที่หลากหลาย และในข้อ 38 เป็นเรื่องสิทธิในสันติภาพ กล่าวว่า "ทุกคนและประชาชนของอาเซียนมีสิทธิในสันติภาพ ภายใต้กรอบอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงและความีเสถียรภาพ ความเป็นกลางและเสรีภาพ" (very person and the peoples of ASEAN have the right to enjoy peace within an ASEAN framework of security and stability, neutrality and freedom, such that the rights set forth in this Declaration can be fully realised.) สิทธิในสันติภาพถือเป็นเรื่องที่ไปไกล นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า His or Her ในข้อ 15, 21, 25, 27(2), 28, 31(3) ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าก้าวหน้า เพราะใน The Universal Declaration of Human Rights ยังใช้แค่คำว่า His อย่างเดียว กลไกที่ช่วยส่งเสริมสิทธิมนุษยชนคือประชาชน ผู้แทนไทยคนแรกใน AICHR กล่าวว่า เรื่องสิทธิของผู้หญิงไม่ใช่เรื่องที่ขับเคลื่อนได้โดยยาก เพราะไม่ใช่เรื่องที่อ่อนไหวทางการเมือง แต่ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย AICHR มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการปกป้องสิทธิมนุษยชน มาตรการที่จะส่งเสริมให้เกิดการปกป้องสิทธิมนุษยชนได้อย่างแท้จริงต้องเกิดจากความร่วมมือของประชาชนในอาเซียน แต่ก่อนอื่นต้องมีการให้ความรู้กับประชาชนในอาเซียน ทำให้เขารับรู้ว่าเรามีปฏิญญานี้อยู่ ในปัจจุบันประชากรในอาเซียนไม่ค่อยรู้จัก AICHR ไม่รู้จักปฏิญญาฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ขับเคลื่อนลำบาก ดร.ศรีประภา อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนเป็นที่รู้จักแล้วก็ต้องช่วยกันกล่าวอ้างถึงหลักการในตัวปฏิญญาอยู่เป็นนิจจนมันกลายเป็นเรื่อง Customary Law แม้จะไม่มีสภาพบังคับ แต่กลายเป็นกฎหมายทางประเพณีที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติตามอย่างกว้างขวาง เหมือนกับกรณีของ The Universal Declaration of Human Rights ดร.ศรีประภา กล่าวว่า มาตราการที่ควรส่งเสริมให้มีคือการทำ Convention หรืออนุสัญญาทางสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีสภาพบังคับทางกฎหมาย เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่าปฏิญญา แต่ก็ต้องศึกษา ต้องระมัดระวังให้มาก หากหลักการทางสิทธิมนุษยชนที่ปรากฎในตัวอนุสัญญามีมาตราฐานต่ำกว่ามาตราฐานในระดับสากล จะกลายเป็นว่าสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนก็จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 31 Jan 2013 09:58 AM PST | |
iLaw : บทวิเคราะห์คำพิพากษาคดี ‘สมยศ’ บรรทัดฐานการตีความ ‘เนื้อหา’ Posted: 31 Jan 2013 09:48 AM PST ชื่อเดิม: มองบรรทัดฐานจากศาล ในคำพิพากษาคดีสมยศ
"จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความปิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๕ ปี รวม ๒ กระทงแล้ว จำคุก ๑๐ ปี" เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Voice of Taksin หรือ เสียงทักษิณ มีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นบรรณาธิการของนิตยสารที่ตีพิมพ์บทความ 2 ชิ้น เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาดมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และโทษของเขาคือ จำคุก 10 ปี ดูรายละเอียดคดีนี้ และบันทึกสังเกตการณ์การพิจารณาคดีได้ที่ ฐานข้อมูลไอลอว์ คลิกที่นี่ ผล ของคำพิพากษาคดีนี้ดึงดูดให้สังคมเพ่งมองมาที่ปัญหาการบังคับใช้ประมวล กฎหมายอาญามาตรา 112 กับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเสรีภาพการแสดงออกในสังคมไทยมากขึ้น ลองดูกันว่าคำพิพากษาคดีนี้ วางบรรทัดฐานอะไรไว้บ้าง
ข้อความใด "หมิ่นฯ" หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบให้ศาลเห็นก่อน หน้าคดีนี้ มีคดีความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลายคดีที่ไม่นำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ "ความหมาย" ของข้อความที่นำมาฟ้อง ไม่ว่าจะเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างไม่อยากให้พูดถึงเนื้อหาที่อาจจะพาดพิงสถาบัน กษัตริย์อย่างโจ่งแจ้ง หรือไม่ต้องการให้ใช้เวลาสืบพยานยาวนานเกินไป หรือศาลเชื่อจริงๆ ว่าการพิจารณาว่าข้อความใด "หมิ่นฯ" หรือไม่ เป็น "ปัญหาข้อกฎหมาย" ที่อยู่ในดุลพินิจของศาลแต่เพียงผู้เดียว ไม่ว่าจะเหตุผลใด ก็ส่งผลให้การพิจารณาคดีมาตรา 112 ในอดีตแทบไม่แตะต้องเนื้อหาตามคำฟ้องเลย หลายคดี ศาลพิพากษาไปโดยที่แม้แต่ศาลเองก็ไม่ได้อธิบายว่า ข้อความตามคำฟ้องนั้นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ อย่างไร เพียงแต่เว้นพื้นที่ไว้ให้ทั้งจำเลยและประชาชนคิดและเข้าใจไปตามฐาน ประสบการณ์ของตัวเอง อาจกล่าวได้ว่า คดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นคดีที่มีการนำพยานมาเบิกความในประเด็นเนื้อหากันอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผย และพูดตรงประเด็นที่สุดของยุคสมัยนี้ โจทก์มีพยานไม่ต่ำกว่า 10 ปากที่มาอธิบายว่า อ่านบทความแล้วตีความอย่างไรให้หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ โดยมีนายทหารฝ่ายความมั่นคง 3 นาย นักศึกษากฎหมาย 3 คน ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฝ่ายกฎหมายกรมสรรพากร เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบันฯ รวมถึงมีศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ ซึ่งเป็นนักกฎหมายและนักประวัติศาสตร์ ผู้มีชื่อเป็นพยานโจทก์ในคดีตามมาตรา 112 หลายคดีก่อนหน้านี้มาเบิกความด้วย โดยพยานโจทก์ทั้งหลายต้องอธิบายโดยละเอียดในศาลว่า อ่านข้อความส่วนไหน แล้วเห็นว่าผู้เขียนพาดพิงถึงใครในเหตุการณ์ใด (ยกเว้นศ.ธงทอง ที่กล่าวว่าบทความชิ้นที่สองนั้นอ่านแล้วไม่ทราบว่าหมายถึงใคร) ขณะที่ฝ่ายจำเลย มีพยานทั้งหมด 7 ปาก รวมทั้งตัวจำเลยเอง ที่เบิกความว่า อ่านบทความแล้วไม่สามารถตีความว่าเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ เพราะเหตุใด โดยมีพยานหลากหลายระดับการศึกษา ทั้ง นักวิชาการด้านกฎหมาย ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทุกคนเบิกความตรงกันว่า อ่านบทความทั้งสองแล้ว คิดว่าผู้เขียนเขียนถึงระบอบอำมาตย์ ไม่คิดว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์ แม้ สุดท้าย ศาลจะใช้ดุลพินิจของตนเองพิจารณาข้อความ และเลือกที่จะให้น้ำหนักพยานฝั่งโจทก์มากกว่า แต่สิ่งที่แทบไม่เคยเห็นก่อนหน้านี้เลยคือ ศาลนำคำเบิกความของพยานมาประกอบการตีความแล้วเขียนไว้ในคำพิพากษา ด้วย คดี ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข สร้างบรรทัดฐานให้เห็นถึง การสืบพยานที่ให้โอกาสทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยสืบพยานในประเด็นการตีความ เนื้อหาได้โดยไม่ต้องปิดลับหรือขังเอาไว้ในแดนสนธยาที่ประชาชนเข้าไม่ถึง การสืบพยานลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น เพื่อให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ใช้สิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้จำเลย และประชาชนเข้าใจถึงเหตุผลในคำพิพากษาได้อย่างดี และเพื่อให้เรื่องที่ควรจะให้สาธารณชนเข้าใจไม่ต้องปิดลับอีกต่อไป
กรณีกล่าวพาดพิงโดยไม่ระบุชื่อ ก็ผิดหมิ่นประมาทได้คดี นี้จำเลยต่อสู้ว่า บทความทั้งสองชิ้นไม่ได้พาดพิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่กล่าวถึงระบอบอำมาตย์ โดยบทความชิ้นแรกมีเนื้อความทำนองว่า "คนแก่โรคจิต" วางแผนฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวทำนองว่า ตระกูลนี้เหมือนกันทั้งตระกูล เอาเขามาชุบเลี้ยงจนใหญ่โต พอได้ทีก็โค่นนายตัวเอง ซัดว่าสติไม่ดีแล้วก็จับลงถุงแดงฆ่าทิ้งอย่างทารุณ ส่วนบทความชิ้นที่สอง มีเนื้อความทำนองว่า "หลวงนฤบาล" แห่ง "โรงแรมผี" คอยบงการการเมืองไทยมาตลอดตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รวมทั้งอยู่เบื้องหลังการสังหารนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งสองบทความไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศานุวงศ์เลย แต่โจทก์นำสืบว่า ผู้เขียนบทความจงใจให้ผู้อ่านเข้าใจว่าหมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่พยานจำเลยเบิกความว่า อ่านบทความแล้วเข้าใจว่าหมายถึงระบอบอำมาตย์ "เมื่อพิจารณาจากคำว่า "โคตรตระกูลนี้มันก็เหมือนกันทั้งนั้น" ย่อมหมายความถึงพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เมื่อเทียบกับคำว่า "กรรมจะมาสนองกรรมเอาในตอนนี้" ที่เป็นเหตุการณ์ในปัจจุบัน ผู้อ่านย่อมเข้าใจได้ว่า ผู้เขียนหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" "ผู้เขียนจงใจให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า หลวงนฤบาลอยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาล โดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่นายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งหลังจากการเลือกตั้ง แล้วยังมีอำนาจเหนือรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง อันเป็นการสนับสนุนให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ผู้ที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้น ย่อมหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" คำ พิพากษาฉบับนี้ ย้ำแนวทางการใช้กฎหมายว่า แม้ข้อความจะไม่ได้เอ่ยชื่อบุคคลใดโดยตรง แต่ถ้าอ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ว่าหมายถึงบุคคลใด ก็เข้าข่ายการหมิ่นประมาทได้ นั่นหมายความว่า การกล่าวแบบใช้ชื่อสมมติก็ดี การใช้ตัวอักษรย่อก็ดี หรือการกล่าวอ้อมๆ ให้ตีความกันเองก็ดี ไม่อาจทำให้ผู้กล่าวข้อความนั้นหลบเลี่ยงจากความผิดตามกฎหมายได้ ศาล กล่าวไว้ในคำพิพากษาด้วยว่า แม้ข้อความที่กล่าวนั้นอาจชวนให้ตีความถึงบุคคลหลายคนได้ก็ตาม แต่หากมีข้อความ "ส่วนหนึ่ง" ที่ตีความได้ถึงบุคคลที่เสียหายแล้ว ก็ถือว่าเป็นความผิดต่อบุคคลที่เสียหายแล้ว ศาลวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ในคำพิพากษาว่า "แม้จะมีข้อความบางตอนอ้างว่า มีการวางแผนมาจากโรงพยาบาลพระรามเก้า อันมิใช่ที่ประทับรักษาพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชก็ตาม บทความในส่วนดังกล่าวก็น่าจะหมายถึงบุคคลอื่นตามที่จำเลยต่อสู้ แต่ก็ไม่ทำให้ข้อความในส่วนอื่นข้างต้นที่หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชเปลี่ยนแปลงไป" ผู้พิพากษา นอกจากจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจผ่านการเลือกให้น้ำหนักกับพยาน ที่แม้คดีนี้จะมีพยานโจทก์บางส่วน เช่น ศ.ธงทอง จันทรางศุ เบิกความว่าอ่านบทความชิ้นที่สองแล้วไม่รู้ว่าหมายถึงผู้ใด แต่ศาลก็สามารถใช้วิจารณญาณของตนลงโทษว่าการเผยแพร่บทความดังกล่าวมีความผิด ได้ ผู้พิพากษายังเป็นผู้ใช้ดุลพินิจตีความเนื้อหาด้วยว่าข้อความนั้นหมิ่น ประมาทใคร หากยอมรับกันได้ว่า ข้อความที่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงบุคคลที่เสียหาย โดยตรง และข้อความบางส่วนยังอาจสื่อถึงบุคคลอื่นก็ได้ด้วย ก็เท่ากับมอบอำนาจดุลพินิจในการวินิจฉัยให้ผู้พิพากษาในคดีนั้นๆ ใช้ความเข้าใจของตนเองในการตีความได้ ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนในการตีความ และอาจกระทบต่อบรรยากาศของการแสดงออกในสังคมได้ ศาลยืนยันให้บรรณาธิการสิ่งพิมพ์ ต้องรับผิดในเนื้อหาตาม ที่ทราบกันแล้วว่า พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2551 ยกเลิกบทบัญญัติ ในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่เคยกำหนดให้บรรณาธิการต้องรับผิดในเนื้อหาที่ตีพิมพ์ หมายความว่า ตามกฎหมายปัจจุบันเพียงแค่การเป็น "บรรณาธิการ" ของสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย ไม่ได้ทำให้ผู้นั้นต้องมีความผิดด้วยเสมอไป แต่พระราชบัญญัติจดแจ้ง การพิมพ์ก็ไม่ได้มีบทยกเว้นความรับผิดมาคุ้มครองบรรณาธิการ ดังนั้นบรรณาธิการผู้ใดจะมีความผิดตามกฎหมายใดหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ความผิดตามองค์ประกอบของกฎหมายนั้นๆ ซึ่งในคดีของนายสมยศ คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลักพื้นฐานที่ สุดของการพิสูจน์ความผิดในคดีอาญา คือ "จำเลยต้องมีเจตนาในการกระทำความผิด" ซึ่ง "เจตนา" นั้น ต้องมาจากการที่จำเลย "รู้" ถึงองค์ประกอบทุกอย่างที่จะทำให้การกระทำนั้นเป็นความผิดเสียก่อน เมื่อ "รู้" แล้วแต่ก็ยัง "ทำ" จึงจะมีความผิด ในคดีนี้ นายสมยศต่อสู้ว่า บทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ เป็นบทความต่อเนื่องจำนวน 12 ชิ้น ผู้เขียนส่งงานให้กองบรรณาธิการตั้งแต่ก่อนที่ตนจะรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ และเนื่องจากผู้เขียน คือ นายจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งเป็นคนมีชื่อเสียง ตนจึงให้เกียรติผู้เขียนโดยไม่แก้ไขบทความแต่อย่างใด และบทความตามฟ้องนี้ตนได้อ่านแบบคร่าวๆ เพราะต้องเร่งปิดต้นฉบับ อ่านแล้วไม่ได้คิดว่าเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่คิดว่าเป็นการกล่าวถึงระบอบอำมาตย์ เท่ากับนายสมยศได้ปฏิเสธชัดแจ้งแล้วว่า ตนไม่ได้มีเจตนากระทำความผิด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดแจ้งปราศจาก ข้อสงสัยว่า จำเลยได้อ่านบทความแล้วและรู้อยู่แล้วว่าเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่นำลงตีพิมพ์ได้ แต่ก็ยังเลือกที่จะนำลงตีพิมพ์เผยแพร่ จึงจะถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาในการกระทำความผิด แต่ทางนำสืบในคดีนี้ โจทก์นำพยานที่เป็นพนักงานคนอื่นของนิตยสารมาเบิกความ เช่น ช่างภาพของนิตยสาร ซึ่งเบิกความว่า ในกระบวนการคัดเลือกบทความที่จะลงตีพิมพ์ ไม่ได้มีนายสมยศเพียงคนเดียว แต่มีคนอื่นเข้าร่วมประชุมด้วย โดยคนอ่านบทความก่อนตีพิมพ์จริงๆ คือ พนักงานพิสูจน์อักษร ขณะที่พนักงานพิสูจน์อักษรก็ เบิกความเพียงแต่ว่าบทความทั้งหมดต้องส่งให้นายสมยศเท่านั้น และเมื่ออัยการถามว่า นอกจากจำเลย มีคนอื่นร่วมตัดสินใจคัดเลือกบทความหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ทราบ ส่วนพนักงานฝ่ายสมาชิก ก็เบิกความเพียงว่า เมื่อมีบทความส่งเข้ามาทางอีเมล ก็จะบันทึกไว้ที่เครื่องเพื่อให้นายสมยศอ่าน แต่จำเลยจะมาอ่านเมื่อไรนั้นไม่ทราบ และไม่ทราบว่าจำเลยได้ตรวจหรือแก้ไขหรือไม่ ดังนั้น เท่ากับข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่า จำเลยได้อ่านบทความทั้งสอง และทราบดีว่าเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และจำเลยในฐานะบรรณาธิการเป็นผู้มีสิทธิตัดทอน แก้ไข หรือไม่ตีพิมพ์ แต่ก็ยังตัดสินใจตีพิมพ์ จึงแสดงถึงเจตนาของจำเลยได้นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นโดยปราศจากข้อสงสัยได้ ศาลวิเคราะห์ประเด็นนี้ไว้เพียงว่า "จำเลย ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ ทำงานอยู่องค์การพัฒนาเอกชนที่สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และทำงานสื่อสารมวลชน จึงย่อมรู้อยู่แล้วว่า บทความที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่มีความจริง" และที่สำคัญ ในประเด็นเจตนาของจำเลยนั้น ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า "การ เสนอข่าวของจำเลยย่อมต้องตรวจสอบและวิเคราะห์บทความก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำเลยในฐานะบรรณาธิการบริหาร ย่อมต้องมีวิจารณญาณและมาตรฐานสูงกว่าบุคคลทั่วไป พร้อมเป็นผู้คัดเลือกบทความที่จะต้องลงพิมพ์ ย่อมต้องใช้ความระมัดระวัง ... แต่จำเลยยังคงคัดเลือกบทความลงพิมพ์ในนิตยสารดังกล่าว จัดให้พิมพ์เป็นรูปเล่มและจัดจำหน่ายเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนา ...." เท่ากับว่า ศาลวางแนวการวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาคดีนี้แล้วว่า เพียงแค่โจทก์พิสูจน์ว่า จำเลยมีชื่อเป็น "บรรณาธิการ" อยู่บนปกหนังสือเท่านั้น ก็มีผลโดยอัตโนมัติว่า จำเลยต้องมีวิจารณญาณและมาตรฐานที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป ต้องอ่านบทความ และต้องมีอำนาจเต็มในการคัดเลือกบทความว่าจะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เจตนาในการกระทำความผิดฐานนั้นๆ อีกต่อไป ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามเจตนารมณ์ของการแก้ไขกฎหมายการพิมพ์ ไม่ถูกต้องตามหลักภาระพิสูจน์ และไม่ได้ตีความกฎหมายอาญาอย่างแคบเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลย แม้จะมีบรรทัดฐานหลายอย่างที่น่ากังวลจากคำพิพากษาในคดีนี้ เช่น การรวบรัดว่าบรรณาธิการต้องรับผิดชอบในเนื้อหาโดยไม่เน้นการพิสูจน์เจตนา การใช้ดุลพินิจเพื่อเลือกให้น้ำหนักพยานเพื่อตีความเนื้อหาที่หมิ่นฯ การลงโทษฐานหมิ่นประมาททั้งๆ ที่ไม่มีการเอ่ยถึงบุคคลผู้เสียหาย แต่บรรทัดฐานอีกด้านหนึ่งที่เห็นได้ในคดีนี้ คือ การเขียนคำพิากษาให้ละเอียด การอธิบายวิธีการใช้ดุลพินิจ กล่าวอ้างถึงความเห็นของพยานต่างๆ ซึ่งเป็นความพยายามของศาลที่จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์แบบเพื่อหลีกเลี่ยงข้อ ครหาถึงความยุติธรรมกับนักโทษในคดีการเมือง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รายงาน: (ว่าที่) ผู้ว่าอยู่ไหน? ผลสำรวจ “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ทั่วกทม. 2,846 คน Posted: 31 Jan 2013 08:46 AM PST
นายนที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน เปิดเผยการสำรวจผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยมูลนิธิอิสรชนร่วมกับบ้านมิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำการสำรวจผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555 พบว่า มีจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทั่วกรุงเทพมหานคร ทั้งสิ้น 2,846 คน โดย 5 เขต ที่มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมากที่สุด ได้แก่1.เขตพระนคร 518 คน 2.เขตบางซื่อ 263 คน 3.เขตจตุจักร 215 คน 4.เขตปทุมวัน 202 คน 5.เขตสัมพันธวงศ์ 173 คน ส่วนกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ คนเร่ร่อน 838 คน, ผู้ติดสุรา 802 คน, คนที่ใช้ที่สาธารณะในการหลับนอน 750 คน, ผู้ป่วยข้างถนน 690 คน, คนจนเมือง 600 คน, คนไร้บ้าน 410 คน, เด็กเร่ร่อนและครอบครัวเร่ร่อน 382 คน, คนเร่ร่อนไร้บ้าน 320 คน, พนักงานบริการอิสระ 362 คน, ผู้พ้นโทษ 66 คน ตลอดปี 2555 ในพื้นที่เขตพระนคร บริเวณสนามหลวง คลองหลอด พบผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เสียชีวิต ตลอดทั้งปี 49 คน มีเพียง 5 รายที่สามารถได้รับหลักฐานการแจ้งตาย นอกจากนั้นไม่สามารถแจ้งได้เพราะไม่มีหลักฐานแสดงตัว กลายเป็นการเสียชีวิตข้างถนนที่ไร้การมองเห็นและรับรู้จากสังคม เมื่อเทียบสถิติที่มูลนิธิเก็บข้อมูลมาติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วง 2 ปีแรกมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาของการจัดเก็บข้อมูล โดยมีเวลาจัดเก็บข้อมูลเพียง 1 เดือนเศษ แต่ในปี 2555 ใช้เวลาเก็บข้อมูลมากกว่า 120 วัน จึงทำให้มีเวลาตรวจสอบข้อมูลและลงพื้นที่ซ้ำทำให้จำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ค่อนข้างแม่นยำมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ข้อสังเกตจากจำนวนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เพราะในปี 2554 มีปัจจัย เรื่องน้ำท่วมเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ ผู้ใช้ชีวิตฯส่วนหนึ่ง เข้ารับบริการในศูนย์พักพิงของรัฐที่เปิดขึ้นในช่วงน้ำท่วม และเมื่อพ้นวิกฤติการณ์ ดังกล่าว ก็ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะเช่นเดิม
นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับ "ปิ่นเกล้าโมเดล" โดยระบุถึงแนวคิดริเริ่มว่า จากการลงพื้นที่รอบสนามหลวง ถนนราชดำเนิน และใต้สะพานปิ่นเกล้า พบว่า คนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการบ้านที่เป็นหลัง แต่สิ่งที่เขาต้องการคือโอกาสการยอมรับของสังคม ซึ่งการทำงานกับพวกเขาต้องเป็นแบบเพื่อน โดยลงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตัวอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่การไล่จับหรือจัดหาที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ เพราะผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะบางรายมีงานทำและมีรายได้อยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่สาธารณะนั้นๆ แต่ในขณะเดียวกัน ในบางส่วนของคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จากการตรวจสอบจำนวนผู้ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่รอบสนามหลวง เช่น คลองหลอด ตรอกสาเก หลังกระทรวงมหาดไทย และใต้สะพานปิ่นเกล้า เป็นต้น โดยพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้เกิดภาวะว่างงาน คนตกงานและสิ้นเนื้อประดาตัว ล่าสุดนับจำนวนคนใช้ชีวิตโดยรอบสนามหลวง ซึ่งอยู่เป็นเวลานานประมาณ 400 คน นอกจากนี้ยังมีคนที่เข้ามาอยู่ไม่เกิน 7 วันแล้ว เพื่อพักพิงหรืออาศัยเป็นที่หลับนอนชั่วคราว เตรียมหางานทำและหารายได้ก่อนกลับภูมิลำเนา กลุ่มนี้หมุนเวียนเข้ามาประมาณ 200 คน ในกลุ่มที่พอมีรายได้ ที่พอเช่าบ้านราคาถูก เช่นวันละ 30-50 บาท ตอนหลังกว่า 18 ครอบครัวได้ อพยพมานอนใต้สะพานปิ่นเกล้า หลังบ้านที่เขาเช่าอยู่ ขึ้นราคาค่าเช่าในปี 2554 เดิมคนเหล่านี้ใช้เสื่อนอนหลับเรียงรายกันดูไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น ทำให้ ทางมูลนิธิอสรชน เกิดไอเดีย "ปิ่นเกล้าโมเดล" ที่จะให้คนในที่สาธารณะอยู่เป็นหลักแหล่ง เพื่อง่ายต่อเจ้าหน้าที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าไปทำงานฟื้นฟู และพัฒนาเพื่อส่งกลุบภูมิลำเนา หรือสามารถมีแรงกลับไปเช่าบ้านอยู่ได้อย่างเดิม ปิ่นเกล้าโมเดล นี้ไม่ได้มุ่งสนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิตปักหลักอยู่ข้างถนน แต่เป็นการจัดระเบียบของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอยู่อาศัยเป็นที่เป็นทาง และง่ายต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันเยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีอาชีพและรายได้ เมื่อสามารถตั้งหลักได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ก็จะถอนตัวออกจากที่สาธารณะไปในที่สุด ปิ่นเกล้าโมเดลนี้เป็นการทดลองนำร่องและจะเป็นต้นแบบนำไปสู่การทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั่วประเทศได้ต่อไป สำหรับรูปแบบ "ปิ่นเกล้าโมเดล"คือ การออกแบบ Shelter หรือที่พักชั่วคราว ที่สามารถจะกล่าวว่าเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ให้เหมาะสมกับกลุ่มของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คือ 1.อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีหัวหน้ากลุ่มที่ร่วมประสานงาน หรือเป็นหลักในการประสานงาน ดูแลกันเอง (ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นผู้ใหญ่บ้านในกลุ่มนั้นๆ)กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน, 2.หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฟื้นฟู และส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมีรายได้ และกลับสู่ภูมิลำเนา หรือหาที่อยู่เป็นหลักแหล่งได้ ส่วนสาเหตุที่เลือกเต็นท์ เพราะเต็นท์เหมาะที่สุดกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย เพราะมี 3 ฤดู โดยเฉพาะฤดูฝน เต็นท์ ช่วยป้องกันในฝนสาด และไม่ต้องนอนเปียกชื้น เหมือนเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ที่สร้างบ้านพักให้คนเร่ร่อนอยู่ในที่สาธารณะ โดยมีกลไกทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครมูลนิธิอิสรชนกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และจัดกฎระเบียบร่วมกันในการอยู่อาศัยให้มีความเป็นระเบียบเพิ่มขึ้น พร้อมตั้งหัวหน้ากลุ่มขึ้นมาทำหน้าที่เหมือนผู้ใหญ่บ้านคอยควบคุมชีวิตความเป็นอยู่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 มูลนิธิอิสรชน ร่วมกับบ้านมิตรไมตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการแจกเต็นท์เพื่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีคนเร่ร่อนไร้บ้านจำนวน 18 ครอบครัว เข้าอยู่อาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใต้สะพานปิ่นเกล้า ฝั่งพระนคร มูลนิธิอิสรชนได้เยียวยาและฟื้นฟูจนบางรายกลับบ้านตนเอง บางรายเราส่งกลับบ้านและประสานงานบ้านมิตรไมตรีจัดส่งต่อ ขณะนี้ได้เริ่มแจกเต็นท์ให้อยู่ร่วมกันเป็นสัดส่วนเหมือนครอบครัวเดียวกัน และจัดฝึกอาชีพต่างๆ เช่น ซ่อมรองเท้า ร้อยลูกปัดเครื่องประดับ ขายหนังสือ และเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น โดยมีหน่วยงานเข้ามาจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และเงินทุน รวมทั้งการออมเงิน เมื่อมีรายได้ก้อนหนึ่งก็จะสามารถออกไปหาบ้านเช่าและถอนตัวออกจากริมถนนในที่สุด ณ ตอนนี้ บางครอบครัวก็ไปเช่าบ้านอยู่ที่วัดบางยี่ขัน ส่วนการทำงานร่วมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ของกรุงเทพมหานคร มีทัศนคติเชิงลบต่อประชาชนที่ยากจนและด้อยโอกาสที่สุดในประเทศ และมีมุมมองเชิงสังคมแตกต่างจากองค์กรพัฒนาเอกชนที่ลงพื้นที่และสัมผัสคนเหล่านี้อย่างจริงจัง กทม.จึงไม่รู้ต้นตอหรือรากเหง้าของปัญหา และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด หาก กทม.ต้องการแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติโดยต้องมองคนกลุ่มนี้ให้เหมือนคนทั่วไปในสังคม. "เนื่องอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่า กทม. แต่ยังไม่มีผู้ว่าราชการท่านใดที่ให้ความสำคัญในเชิงนโยบายกับการทำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ" ตัวแทนมูลนิธิฯ ระบุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยต้องเร่งนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง Posted: 31 Jan 2013 08:12 AM PST
การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพวกจารีตนิยมกับฝ่ายประชาธิปไตยที่ยืดเยื้อตั้งแต่ต้นปี 2549 ถึงปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจสังคมไทย เกิดความแตกแยกแบ่งข้างอย่างรุนแรง และที่สำคัญคือ เป็นความขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกของประเทศไทยที่มีประชาชนเข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มวลชนที่เข้าร่วมกับฝ่ายประชาธิปไตย เฉพาะที่ออกมาต่อสู้บนท้องถนนทั่วประเทศก็มีจำนวนหลายแสนคน ผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากความขัดแย้งดังกล่าวก็คือ พวกกลุ่มชนชั้นนำจารีตนิยมที่ฉวยใช้มวลชนภายใต้การนำของกลุ่มอันธพาลพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับนักการเมืองในพรรคเพื่อไทยที่สามารถชนะเลือกตั้งปี 2554 ขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ตราบปัจจุบัน ในการระดมมวลชนออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ ประชาชนบนท้องถนนเปรียบเสมือน "ทหารราบ" ที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหว ประจันหน้า และปะทะกับพลังฝ่ายตรงข้าม และระหว่างมวลชนทั้งสองฝ่าย มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยที่เป็นขบวนคนเสื้อแดงได้ประสบความเสียหายมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเหตุการณ์ "สงกรานต์เลือด" ปี 2552 และการสังหารหมู่ประชาชน เมษายน-พฤษภาคม 2553 มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายรวมกันหลายพันคน และที่ถูกจับกุมคุมขัง ทั้งคดีพรก.ฉุกเฉินและคดีอาญาต่าง ๆ มากมายหลายร้อยคน ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมองดูความสูญเสียทั้งชีวิตร่างกายและอิสรภาพของพี่น้องร่วมอุดมการณ์เหล่านี้ด้วยความเจ็บปวดอย่างที่สุด และยิ่งกลายเป็นความคับแค้นเมื่อกระบวนการยุติธรรมปฏิบัติต่อผู้ต้องคดีทั้งสองฝ่ายอย่างไม่เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่คดีของแกนนำและมวลชนเสื้อเหลืองดำเนินไปอย่างเชื่องช้า มีการให้ประกันตัวเกือบทุกคดี แต่ในทางตรงข้าม คดีของแกนนำและมวลชนฝ่ายประชาธิปไตยกลับดำเนินไปอย่างเฉียบขาด จับกุมคุมขังไม่ให้ประกันตัวเยี่ยงอาชญากรร้ายแรง ไปจนถึงคดีอาญาที่จบด้วยบทลงโทษรุนแรง ผลที่เกิดขึ้น มิเพียงเป็นการสูญเสียสิทธิเสรีภาพแห่งตนเท่านั้น แต่เป็นการทำลายจิตใจและความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ต้องคดี ไปจนถึงทำลายครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง อาชีพการงาน และสถานะทางเศรษฐกิจของพวกเขาทั้งหมด ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการสูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ และอิสรภาพของคนเหล่านี้ก็คือ แกนนำพรรคเพื่อไทย และบรรดาสส.พรรคเพื่อไทย ที่ปัจจุบันได้เป็นรัฐบาล รัฐมนตรี และตำแหน่งทางการเมืองต่าง ๆ นั่งกันเต็มสภาและทำเนียบรัฐบาล คำถามคือ ที่ผ่านมา คนพวกนี้กระทำอะไรบ้างในทางประชาธิปไตยอันเป็นการแสดงว่า คุ้มค่าต่อการสูญเสียและเสียสละของมวลชนเหล่านี้? ในการช่วยเหลือประชาชนที่สูญเสีย ก็มีเพียงการเยียวยาด้วยการจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ที่บาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและร่างกายเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องคดี! ส่วนการช่วยเหลือผู้ต้องคดีและถูกคุมขังนั้น ตั้งแต่หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 พรรคเพื่อไทยมีความบกพร่องอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องการหาทนายแก้ต่าง การประกันตัว การช่วยเหลือครอบครัว เงินทุนสนับสนุนต่าง ๆ มีเสียงต่อว่ามากมายว่า ตัวแทนพรรคเพื่อไทยที่เข้ามา "ช่วยเหลือ" ผู้ต้องคดีทำงานล่าช้า บกพร่อง ไปจนถึงข้อครหาเรื่องการแสวงหาประโยชน์จากผู้ต้องคดีและข่าวลือเรื่องการเงินที่รั่วไหล ในท้ายสุด ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ต้องจัดตั้งกันเอง รวบรวมเงินทุนบริจาค ลงแรงกันเองร่วมกับทนายอาสาสมัคร หาทางช่วยเหลือผู้ต้องคดีทั่วประเทศ ตั้งแต่การเข้าเยี่ยม การเงิน สุขภาพ ปัญหาครอบครัว ทำกันอย่างอนาถา ตามมีตามเกิด และอาจโชคดีบ้างเมื่อสส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่บางคนที่ยังมีมนุษยธรรม ให้การหนุนช่วยเท่าที่จะทำได้ เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล ในระยะแรกก็มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ต้องคดีให้ได้ประกันตัวผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ์เสรีภาพ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นผลด้วยอุปสรรคทางฝ่ายอัยการและศาล จนกระทั่งหลายคดีได้ทยอยพิพากษาจำคุกไป ความพยายามของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จางหายไปพร้อมกับข้ออ้างว่า ไม่สามารถแทรกแซงอัยการและศาลได้ ที่แย่ที่สุดคือ พรรคเพื่อไทยได้เสนอพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภาเมื่อกลางปี 2555 แต่กลับเป็นการกระทำที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการมุ่ง "นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง" ให้กับทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่แยกแยะถูกผิด พรบ.ปรองดองฉบับพรรคเพื่อไทยนี้มีลักษณะสองประการคือ เลวร้ายและเห็นแก่ตัว ที่ว่าเลวร้ายนั้น เพราะเอาการนิรโทษกรรมประชาชนไปผูกกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ประชาชน ส่วนที่ว่า "เห็นแก่ตัว" ก็คือ เอาการนิรโทษกรรมประชาชนไปผูกกับการนิรโทษกรรมคดีการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนักการเมืองพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน พรบ.ปรองดองฉบับนี้ก็คือการเอาประชาชนที่ต้องคดีคุมขังอยู่เป็นตัวประกัน เสมือนต่อรองกับประชาชนว่า ถ้าอยากออกจากที่คุมขังและปลอดคดี ก็ต้องกล้ำกลืนเลือด ยอมรับการนิรโทษกรรมผู้ที่สังหารประชาชนด้วย แกนนำพรรคเพื่อไทยยังทำให้การนิรโทษกรรมประชาชนยิ่งยุ่งยากมากขึ้นด้วยการพ่วงเอาการนิรโทษกรรมคดีการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนักการเมืองพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชนเข้าไปด้วย เสมือนบอกกับประชาชนว่า ถ้าอยากออกจากคุก ก็ต้องให้พวกตนได้ประโยชน์ด้วย ที่สำคัญคือ การรวมคดีการเมืองเข้ามายังทำให้พรบ.ปรองดองถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายตรงข้าม จนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ในระยะสองปีมานี้ ความเคียดแค้นที่ประชาชนมีต่อพวกจารีตนิยมและกลุ่มทหารที่สังหารประชาชนได้ค่อย ๆ ขยายไปเป็นความไม่พอใจต่อพรรคเพื่อไทย จนถึงวันนี้ พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศมาได้เกือบสองปีแล้ว พวกเขาก็ยังคงแบกรับคดีร้ายแรงต่าง ๆ และถูกจำคุกอยู่เหมือนเดิม ความไม่พอใจของประชาชนได้เพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความโกรธและคับแค้นที่มีต่อรัฐบาล รัฐมนตรี สส. และแกนนำพรรคเพื่อไทยโดยรวม พรรคเพื่อไทยจะต้องตระหนักให้ชัดเจนว่า พวกท่านเป็นหนี้ประชาชนที่ออกมาต่อสู้ล้มตาย บาดเจ็บ พิการ และถูกจำคุกจนทุกวันนี้ ท่านเป็นหนี้คนพวกนี้ทั้งทางการเมืองและทางจริยธรรม การช่วยเหลือพวกเขาให้ถึงที่สุดไม่ใช่การให้ความเมตตาหรือให้ทาน แต่เป็น "การใช้หนี้" บัดนี้ โอกาสสำคัญได้มาถึงแล้ว นั่นคือ ได้มีข้อเสนอทั้งจากนักวิชาการและนปช.ให้เร่งนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทั้งสองฝ่ายที่ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นการแยกเอาประชาชนเหล่านี้ออกมาจากความขัดแย้งระหว่างพวกจารีตนิยมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคเพื่อไทยและนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนต่อไปอีกไม่ได้ พฤษภาคม 2556 นี้ พวกเขาก็จะถูกจำคุกมาครบสามปี ตำแหน่งลาภยศที่พวกท่านมีในวันนี้ ก็คืออานิสงส์จากความทุกข์ทรมาณของพวกเขา พวกท่านทั้งหลายในทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาไม่รู้สึกบ้างหรือว่า พวกเขาติดคุกนานเกินไปแล้ว!
หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: พรรคเพื่อไทยต้องเร่งนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง Posted: 31 Jan 2013 08:11 AM PST
การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพวกจารีตนิยมกับฝ่ายประชาธิปไตยที่ยืดเยื้อตั้งแต่ต้นปี 2549 ถึงปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจสังคมไทย เกิดความแตกแยกแบ่งข้างอย่างรุนแรง และที่สำคัญคือ เป็นความขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกของประเทศไทยที่มีประชาชนเข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มวลชนที่เข้าร่วมกับฝ่ายประชาธิปไตย เฉพาะที่ออกมาต่อสู้บนท้องถนนทั่วประเทศก็มีจำนวนหลายแสนคน ผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากความขัดแย้งดังกล่าวก็คือ พวกกลุ่มชนชั้นนำจารีตนิยมที่ฉวยใช้มวลชนภายใต้การนำของกลุ่มอันธพาลพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับนักการเมืองในพรรคเพื่อไทยที่สามารถชนะเลือกตั้งปี 2554 ขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ตราบปัจจุบัน ในการระดมมวลชนออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ ประชาชนบนท้องถนนเปรียบเสมือน "ทหารราบ" ที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหว ประจันหน้า และปะทะกับพลังฝ่ายตรงข้าม และระหว่างมวลชนทั้งสองฝ่าย มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยที่เป็นขบวนคนเสื้อแดงได้ประสบความเสียหายมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากเหตุการณ์ "สงกรานต์เลือด" ปี 2552 และการสังหารหมู่ประชาชน เมษายน-พฤษภาคม 2553 มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายรวมกันหลายพันคน และที่ถูกจับกุมคุมขัง ทั้งคดีพรก.ฉุกเฉินและคดีอาญาต่าง ๆ มากมายหลายร้อยคน ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมองดูความสูญเสียทั้งชีวิตร่างกายและอิสรภาพของพี่น้องร่วมอุดมการณ์เหล่านี้ด้วยความเจ็บปวดอย่างที่สุด และยิ่งกลายเป็นความคับแค้นเมื่อกระบวนการยุติธรรมปฏิบัติต่อผู้ต้องคดีทั้งสองฝ่ายอย่างไม่เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่คดีของแกนนำและมวลชนเสื้อเหลืองดำเนินไปอย่างเชื่องช้า มีการให้ประกันตัวเกือบทุกคดี แต่ในทางตรงข้าม คดีของแกนนำและมวลชนฝ่ายประชาธิปไตยกลับดำเนินไปอย่างเฉียบขาด จับกุมคุมขังไม่ให้ประกันตัวเยี่ยงอาชญากรร้ายแรง ไปจนถึงคดีอาญาที่จบด้วยบทลงโทษรุนแรง ผลที่เกิดขึ้น มิเพียงเป็นการสูญเสียสิทธิเสรีภาพแห่งตนเท่านั้น แต่เป็นการทำลายจิตใจและความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ต้องคดี ไปจนถึงทำลายครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง อาชีพการงาน และสถานะทางเศรษฐกิจของพวกเขาทั้งหมด ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการสูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ และอิสรภาพของคนเหล่านี้ก็คือ แกนนำพรรคเพื่อไทย และบรรดาสส.พรรคเพื่อไทย ที่ปัจจุบันได้เป็นรัฐบาล รัฐมนตรี และตำแหน่งทางการเมืองต่าง ๆ นั่งกันเต็มสภาและทำเนียบรัฐบาล คำถามคือ ที่ผ่านมา คนพวกนี้กระทำอะไรบ้างในทางประชาธิปไตยอันเป็นการแสดงว่า คุ้มค่าต่อการสูญเสียและเสียสละของมวลชนเหล่านี้? ในการช่วยเหลือประชาชนที่สูญเสีย ก็มีเพียงการเยียวยาด้วยการจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ที่บาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและร่างกายเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องคดี! ส่วนการช่วยเหลือผู้ต้องคดีและถูกคุมขังนั้น ตั้งแต่หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 พรรคเพื่อไทยมีความบกพร่องอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องการหาทนายแก้ต่าง การประกันตัว การช่วยเหลือครอบครัว เงินทุนสนับสนุนต่าง ๆ มีเสียงต่อว่ามากมายว่า ตัวแทนพรรคเพื่อไทยที่เข้ามา "ช่วยเหลือ" ผู้ต้องคดีทำงานล่าช้า บกพร่อง ไปจนถึงข้อครหาเรื่องการแสวงหาประโยชน์จากผู้ต้องคดีและข่าวลือเรื่องการเงินที่รั่วไหล ในท้ายสุด ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ต้องจัดตั้งกันเอง รวบรวมเงินทุนบริจาค ลงแรงกันเองร่วมกับทนายอาสาสมัคร หาทางช่วยเหลือผู้ต้องคดีทั่วประเทศ ตั้งแต่การเข้าเยี่ยม การเงิน สุขภาพ ปัญหาครอบครัว ทำกันอย่างอนาถา ตามมีตามเกิด และอาจโชคดีบ้างเมื่อสส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่บางคนที่ยังมีมนุษยธรรม ให้การหนุนช่วยเท่าที่จะทำได้ เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล ในระยะแรกก็มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ต้องคดีให้ได้ประกันตัวผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ์เสรีภาพ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นผลด้วยอุปสรรคทางฝ่ายอัยการและศาล จนกระทั่งหลายคดีได้ทยอยพิพากษาจำคุกไป ความพยายามของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จางหายไปพร้อมกับข้ออ้างว่า ไม่สามารถแทรกแซงอัยการและศาลได้ ที่แย่ที่สุดคือ พรรคเพื่อไทยได้เสนอพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภาเมื่อกลางปี 2555 แต่กลับเป็นการกระทำที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการมุ่ง "นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง" ให้กับทุกคนทุกฝ่ายโดยไม่แยกแยะถูกผิด พรบ.ปรองดองฉบับพรรคเพื่อไทยนี้มีลักษณะสองประการคือ เลวร้ายและเห็นแก่ตัว ที่ว่าเลวร้ายนั้น เพราะเอาการนิรโทษกรรมประชาชนไปผูกกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ประชาชน ส่วนที่ว่า "เห็นแก่ตัว" ก็คือ เอาการนิรโทษกรรมประชาชนไปผูกกับการนิรโทษกรรมคดีการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนักการเมืองพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน พรบ.ปรองดองฉบับนี้ก็คือการเอาประชาชนที่ต้องคดีคุมขังอยู่เป็นตัวประกัน เสมือนต่อรองกับประชาชนว่า ถ้าอยากออกจากที่คุมขังและปลอดคดี ก็ต้องกล้ำกลืนเลือด ยอมรับการนิรโทษกรรมผู้ที่สังหารประชาชนด้วย แกนนำพรรคเพื่อไทยยังทำให้การนิรโทษกรรมประชาชนยิ่งยุ่งยากมากขึ้นด้วยการพ่วงเอาการนิรโทษกรรมคดีการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและนักการเมืองพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชนเข้าไปด้วย เสมือนบอกกับประชาชนว่า ถ้าอยากออกจากคุก ก็ต้องให้พวกตนได้ประโยชน์ด้วย ที่สำคัญคือ การรวมคดีการเมืองเข้ามายังทำให้พรบ.ปรองดองถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายตรงข้าม จนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ในระยะสองปีมานี้ ความเคียดแค้นที่ประชาชนมีต่อพวกจารีตนิยมและกลุ่มทหารที่สังหารประชาชนได้ค่อย ๆ ขยายไปเป็นความไม่พอใจต่อพรรคเพื่อไทย จนถึงวันนี้ พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศมาได้เกือบสองปีแล้ว พวกเขาก็ยังคงแบกรับคดีร้ายแรงต่าง ๆ และถูกจำคุกอยู่เหมือนเดิม ความไม่พอใจของประชาชนได้เพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความโกรธและคับแค้นที่มีต่อรัฐบาล รัฐมนตรี สส. และแกนนำพรรคเพื่อไทยโดยรวม พรรคเพื่อไทยจะต้องตระหนักให้ชัดเจนว่า พวกท่านเป็นหนี้ประชาชนที่ออกมาต่อสู้ล้มตาย บาดเจ็บ พิการ และถูกจำคุกจนทุกวันนี้ ท่านเป็นหนี้คนพวกนี้ทั้งทางการเมืองและทางจริยธรรม การช่วยเหลือพวกเขาให้ถึงที่สุดไม่ใช่การให้ความเมตตาหรือให้ทาน แต่เป็น "การใช้หนี้" บัดนี้ โอกาสสำคัญได้มาถึงแล้ว นั่นคือ ได้มีข้อเสนอทั้งจากนักวิชาการและนปช.ให้เร่งนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทั้งสองฝ่ายที่ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นการแยกเอาประชาชนเหล่านี้ออกมาจากความขัดแย้งระหว่างพวกจารีตนิยมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคเพื่อไทยและนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนต่อไปอีกไม่ได้ พฤษภาคม 2556 นี้ พวกเขาก็จะถูกจำคุกมาครบสามปี ตำแหน่งลาภยศที่พวกท่านมีในวันนี้ ก็คืออานิสงส์จากความทุกข์ทรมาณของพวกเขา พวกท่านทั้งหลายในทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาไม่รู้สึกบ้างหรือว่า พวกเขาติดคุกนานเกินไปแล้ว!
หมายเหตุ : ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักสหภาพเกาหลีหมดสติหลังอดอาหารประท้วงมา 16 วัน Posted: 31 Jan 2013 05:24 AM PST หามประธานสหภาพแรงงานลูกจ้างภาครัฐของเกาหลีใต้ส่งโรงพยาบาล วูบหลังการอดอาหารประท้วงมา 16 วัน เรียกร้องให้รัฐบาลรับสมาชิกและแกนนำสหภาพ 137 คนที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน 31 มค. 56 - คิม จุงนำ ประธานสหภาพแรงงานลูกจ้างภาครัฐของเกาหลีใต้ (Korean Government Employees' Union หรือ KGEU) อดอาหารประท้วงเป็นวันที่ 16 ได้หมด สติลงจากนั้นสมาชิกสหภาพนำตัวเขาส่งโรงพยาบาล การประท้วงครั้งนี้มีข้อเรียกร้องคือ ให้รัฐบาลรับสมาชิกและแกนนำสหภาพ 137 คนที่ถูกเลิกจ้าง กลับเข้าทำงาน เนื่องจากการเข้าร่วมสหภาพแรงงานทำให้พวกเขาทำให้ถูกเลิกจ้าง และรัฐบาลยังกล่าวหาว่า พวกเขาเป็นแกนนำองค์กรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย สหภาพเรียกร้องต่อประธานาธิบดีหญิงคนใหม่ ปัก กึนเฮ ลูกสาวของอดีตประธานธิบดี ปัก จุงฮี ให้รับคนงานกลับเข้าทำงานและยอมรับสหภาพแรงงานนี้ว่าเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ สหภาพ KGEU ตั้งในปี 2002 ปัจจุบันมาสมาชิก 140,000 คนทั่วประเทศ สหภาพมีนโยบายปรับปรุงบริการสาธารณะให้มีคุณภาพสูงสำหรับประชาชนทุกคน ต่อต้านการแปรรูปหน่วยงานรัฐ และระบบบริการสาธารณะคุณภาพสูง สิทธิสหภาพแรงงาน และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น ที่มา: http://www.labourstartcampaigns.net/show_campaign.cgi?c=1693 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บันทึกว่าด้วยการ "แบน" ฟ้าเดียวกัน (อีกครั้ง) Posted: 31 Jan 2013 03:46 AM PST
ที่ผ่านมาการนโยบายการทำสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เราพยายามเลี่ยงที่จะพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือ โดยหวังว่าจะใช้ผลงานเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ตัวเอง แม้ว่าตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้น เราจะโดน "เล่นงาน" ทั้งโดยใช้วิธีการทางกฎหมาย วิธีการนอกกฎหมาย รวมทั้งมาตรการทางธุรกิจ (ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย) อยู่เนือง ๆ ศูนย์หนังสือจุฬา แบนหนังสือฟ้าเดียวกันฉบับ รัฐประหาร 19 กันยาฯ เมื่อเผชิญกับมาตรการทางธุรกิจ ซึ่งอยู่ในอำนาจที่จะทำได้โดยไม่ต้องมีเหตุผลมารองรับ ก็ป่วยการที่จะสู้ด้วยเหตุผล เพื่อความอยู่รอดสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันก็ต้องหาทางรอดด้วยการ "ขายตรง" ให้มากขึ้นโดยที่เราเน้นไปที่ตลาดมหาวิทยาลัยทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งก็มิได้ทำให้เราพบเส้นทางที่ราบรื่นแต่อย่างใด ยังมีอุปสรรคอีกมาที่ต้องเผชิญ เช่นกรณีการไปขายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ท่ามกลางกระแสสูงของการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย "ฟ้าเดียวกัน" ตีตลาดขยายแนวร่วม ม.ขอนแก่น หรือที่การประชุมวิชาการระดับชาติ: เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2552 ก็มีคำสั่งห้ามมิให้ขายวารสารฟ้าเดียวกันในงาน โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของสำนักพิมพ์ว่ามิให้วางจำหน่ายบนแผง บรรกาศความความกลัว/รังเกียจ ต่อสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันมีให้เห็นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่เราก็ยังอดทน ด้วยความตั้งใจจะใช้ผลงานคือหนังสือเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเอง ล่าสุดที่ร้ายแรงที่สุดก็เกิดขึ้นที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นกัน เมื่อทางคณะแจ้งว่าไม่อนุญาตให้กลุ่มที่จะนำหนังสือไปขายใต้ตึกบรมราชกุมารีไปจำหน่ายทั้งหมด (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันก็เป็นสมาชิกที่ไปขายด้วย) เนื่องจาก "กลัวหนังสือประเภทล้มล้างสถาบัน" ที่เรียกว่าร้ายแรงที่สุดก็เป็นเหตุว่าคนที่เดือดร้อนก็มิได้เป็นเพียงแค่สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสำนักพิมพ์อื่น ๆ ด้วยที่ต้องมารับเคราะห์จากที่มิได้เกี่ยวข้องด้วย และแน่นอนคือบรรดา นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองที่จะไม่ได้มีทางเลือกในการเลือกซื้อ/อ่านหนังสือ ด้วยเช่นกัน ทางคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงลืมไปแล้วว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2555 ยังเป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดตัวหนังสือปากไก่และใบเรือฉบับที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันอยู่เลย
เหตุที่ต้องเขียนเป็น "บันทึก" ไว้ในที่นี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจว่า สังคมนี้พื้นที่ที่ให้กับความเห็นที่แตกต่างนับวันจะลดลง
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กฟ้าเดียวกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ภัควดี วีระภาสพงษ์: การปฏิรูปกองทัพ: กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย Posted: 31 Jan 2013 03:44 AM PST เรียบเรียงจาก Leonard C. Sebastian and Iisgindarsah, "Assessing 12-year Military Reform in Indonesia: Major Strategic Gaps for the Next Stage of Reform" (6 April 2011), http://www.rsis.edu.sg/publications/WorkingPapers/WP227.pdf
ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการบางคนจึงลงความเห็นว่า การปฏิรูปกองทัพในอินโดนีเซียมาถึงจุดชะงักงัน ถึงแม้มีการดำเนินการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในสถาบันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1998 ก็ตาม แต่ความพยายามที่จะกำกับการทำธุรกิจของกองทัพและจัดวางกองทัพให้อยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงกลาโหมที่มีรัฐมนตรีมาจากฝ่ายพลเรือนยังคงเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทั้งด้านอารมณ์ความรู้สึกและด้านการปฏิบัติ อินโดนีเซียต้องการเวลาอีกพอสมควรเพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับกองทัพยังไม่ลงตัว ถึงแม้กองทัพไม่สามารถชี้นำนโยบายให้แก่ฝ่ายพลเรือนได้อีก แต่กองทัพยังคงสถานะอภิสิทธิ์ ทั้งจากมรดกตกค้างในอดีตและจากความจริงว่าประธานาธิบดีพลเรือนยังต้องขอเสียงสนับสนุนจากกองทัพในการปกครองประเทศ โลกทัศน์ของนายทหารระดับสูงก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนสักเท่าไร พวกเขายังคงดูถูกดูแคลนฝ่ายพลเรือนและเชื่อว่ามีแต่กองทัพเท่านั้นที่เหนือกว่าการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นและการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองพลเรือน ความคิดนี้ฝังรากอยู่ในจารีตทางประวัติศาสตร์และกลายเป็นคำขวัญศักดิ์สิทธิ์ในการสาบานตนของทหาร ซึ่งยกย่องกองทัพอินโดนีเซียเป็น "ผู้พิทักษ์รัฐ" ถึงแม้ความสนใจที่กองทัพอินโดนีเซียมีต่อการเมืองรายวันอาจลดลง แต่การเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองจะมากขึ้นหรือน้อยลงย่อมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้นำการเมืองและความพยายามในการปฏิรูปกองทัพ หลังจากดำเนินกระบวนการปฏิรูป (reformasi) มากว่าทศวรรษ บทความนี้ต้องการประเมินผลสำเร็จและล้มเหลวในช่วง 12 ปีหลัง บทความนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนแรก ภูมิหลังกว้าง ๆ ของกองทัพอินโดนีเซียในยุคซูฮาร์โต ส่วนที่สอง วิเคราะห์กระบวนการสร้างระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปกองทัพ ส่วนที่สาม ทบทวนการปฏิรูปที่ทำสำเร็จและปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ไข โดยเน้นไปที่ช่องโหว่เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญสามประการในการปฏิรูปกองทัพขั้นต่อไป กล่าวคือ "ช่องโหว่ในการกำกับดูแล" "ช่องว่างในเชิงงบประมาณกับการป้องกันประเทศ" และ "ความพร่องของอำนาจควบคุมฝ่ายพลเรือนประชาธิปไตย" ภูมิหลังในยุคซูฮาร์โต: บทบาทสองหน้าของกองทัพ ควบคู่ไปกับหลักการบทบาทสองด้าน กองทัพดำเนินนโยบายให้นายทหารเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรนิติบัญญัติและองค์กรบริหารที่ไม่ใช่กิจการกองทัพ ภายใต้นโยบายนี้ ทั้งนายทหารที่ยังอยู่ในราชการและเกษียณแล้วเข้าไปครอบครองตำแหน่งยุทธศาสตร์สำคัญในระบบราชการทั้งระดับชาติและภูมิภาค นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีลงไปจนถึงผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งตำแหน่งบริหารสำคัญในรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทน้ำมันและก๊าซ Pertamina เป็นต้น มีข้อมูลที่ระบุว่า มีนายทหารประมาณ 4,000 นายที่มีตำแหน่งนอกกองทัพใน ค.ศ. 1999 ส่วนจำนวนนายทหารเกษียณที่มีตำแหน่งมีมากกว่านั้นอย่างน้อยสองเท่า ยิ่งกว่านั้น กองทัพยังมีอิทธิพลในการออกกฎหมายโดยมีตัวแทนของกองทัพอยู่ในรัฐสภาทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ก่อนหน้า ค.ศ. 1999 กองทัพมีเก้าอี้ 75 ที่นั่งใน 500 ที่นั่งของรัฐสภา ก่อนจะถูกลดลงในยุคหลังซูฮาร์โตและไม่มีตัวแทนเลยใน ค.ศ. 2004 อิทธิพลของกองทัพยังขยายไปถึงพรรคการเมืองของรัฐบาล นั่นคือ พรรค Golkar โดยกองทัพช่วยให้พรรคนี้ชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมากตลอดยุคซูฮาร์โต อิทธิพลของกองทัพแผ่ไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศด้วยโครงสร้างการบังคับบัญชาที่เรียกว่า "โครงสร้างการบังคับบัญชาส่วนภูมิภาค" (territorial command structure) ซึ่งมีลักษณะคู่ขนานกับระบบราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับชาติลงไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ภายใต้โครงสร้างนี้ หมู่เกาะอินโดนีเซียถูกแบ่งออกเป็นหน่วยบังคับบัญชาระดับภูมิภาค 10 หน่วย (Regional Military Command หรือ Kodam) แต่ละ Kodam แบ่งเป็นหน่วยบังคับบัญชาย่อยอีกหลายระดับ กล่าวคือ Resort Military Command หรือ Korem ซึ่งบัญชาการโดยนายทหารยศพันเอก District Military Command บัญชาการโดยพันโท และ Sub-district Military Command บัญชาการโดยพันตรี ในระดับหมู่บ้าน กองทัพมอบหมายให้ทหารชั้นประทวนที่เรียกว่า Babinsa เป็นผู้ดูแล ด้วยโครงสร้างเช่นนี้ กองทัพจึงสามารถมีอิทธิพลทางการเมืองในทุกระดับของการปกครองท้องถิ่น รวมจนถึงการควบคุมกองกำลังและกองกำลังกึ่งทหารต่าง ๆ กองทัพสามารถสอดส่องดูความเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งของประชาชนและพรรคการเมือง กลุ่มศาสนา องค์กรสังคมและสหภาพแรงงานได้โดยง่าย กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างการบังคับบัญชาส่วนภูมิภาคคือเครื่องมือสำคัญที่ค้ำจุนระบอบซูฮาร์โตและเป็นแหล่งข้อมูลข่าวกรองที่สำคัญยิ่ง การปฏิรูปกองทัพยุคหลังซูฮาร์โต เพื่อวางแนวทางบทบาทในอนาคตของกองทัพ กองทัพจึงจัดสัมมนาในเมืองบันดุงใน ค.ศ. 1998 ซึ่งผลิตผลงานออกมาในชื่อ "กรอบกระบวนทัศน์ใหม่" (New Paradigm) แนวคิดนี้วางหลักการปฏิรูปในยุคหลังซูฮาร์โตไว้ 4 ประการคือ (1) กองทัพจะไม่เข้ามามีบทบาทนำในกิจการระดับชาติทั้งหมด ภายหลังการสัมมนาที่บันดุง กองทัพอินโดนีเซียเปลี่ยนชื่อเป็น "กองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย" (TNI) และเริ่มมาตรการปฏิรูปภายในหลายอย่าง อาทิเช่น - แยกกองกำลังตำรวจออกจากสายการบังคับบัญชาของกองทัพ นักวิชาการบางคน รวมทั้งนายทหารอาวุโสหลายคน ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ดูเหมือนการปฏิรูปภายในจะกระทำในเรื่องสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมีสาระน้อยมาก การปฏิรูปส่วนใหญ่มุ่งไปที่ตำแหน่งทางการเมืองที่เห็นได้ชัด ซึ่งจริง ๆ แล้วกองทัพก็เข้าไปครอบครองไม่ได้อยู่แล้วในเงื่อนไขของระบอบประชาธิปไตย แต่การยกเลิกหลักการบทบาทสองด้านของกองทัพไม่ได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งหลักการนี้ก็ยังฝังลึกในชุดความคิดของนายทหารระดับสูง ความพยายามที่จะปฏิรูปกองทัพให้มากขึ้นสะท้อนออกมาในเอกสารราชการที่มีชื่อว่า บทบาทของ TNI ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2001 เอกสารนี้ไม่เพียงย้ำถึงปณิธานของกองทัพที่จะยกเลิกบทบาทด้านสังคม-การเมืองเท่านั้น แต่ยังยืนยันการปวารณาตัวต่อการป้องกันประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและถ่ายโอนความรับผิดชอบด้านความมั่นคงภายในให้ตำรวจ ในช่วง ค.ศ. 2000-2006 กองทัพสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ อาทิเช่น - เพิ่มวิชากฎหมายและมนุษยธรรมในหลักสูตรของกองทัพ นอกเหนือจากนั้น เพื่อวางรากฐานการควบคุมของพลเรือนเหนือกองทัพและความเป็นกองทัพอาชีพ รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกกฎหมายสองฉบับเกี่ยวกับการป้องกันประเทศ รัฐบัญญัติฉบับ 2/2002 ว่าด้วยการป้องกันประเทศ กำหนดคุณค่าแกนกลาง จุดประสงค์และหลักการของการป้องกันประเทศ บทบาทและอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในการวางนโยบาย รวมทั้งความสัมพันธ์เชิงสถาบันกับกองทัพและสถาบันอื่น ๆ ของรัฐ การบริหารจัดการงบประมาณและการกำกับดูแลของรัฐสภา กฎหมายฉบับที่สองคือ รัฐบัญญัติฉบับ 34/2004 ว่าด้วยกองกำลังป้องกันประเทศของอินโดนีเซีย กฎหมายฉบับนี้ขีดเส้นบทบาทและหน้าที่หลักของกองทัพ กำหนดโครงสร้างองค์กรและอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง อำนาจในการใช้กำลัง สิทธิและความรับผิดชอบของทหาร ประเด็นสำคัญคือ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ "การเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ" ของกองทัพเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และกำหนดเงื่อนไขสำคัญสองประการคือ ประการแรก โครงสร้างกองกำลังของกองทัพต้องอยู่ "ภายใต้เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ โดยให้ความสำคัญอันดับแรกต่อพื้นที่ที่มีความมั่นคงน้อยและมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้ง รวมทั้งพื้นที่ชายแดน" การวางกองกำลังประจำการถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต้อง "หลีกเลี่ยงโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับระบบราชการพลเรือนและโอนเอียงต่อผลประโยชน์ทางการเมือง" ประการที่สอง คือการถ่ายโอนธุรกิจของกองทัพให้แก่รัฐบาลภายใน ค.ศ. 2009 ต้องใช้เวลาพอสมควรหลังจากประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้แล้ว กว่าที่ประธานาธิบดียูโดโยโนจะตั้งคณะกรรมาธิการมาจัดการเรื่องนี้ นี่เป็นประเด็นสำคัญที่จะกล่าวถึงต่อไป กล่าวโดยสรุปคือ การปฏิรูปกองทัพขั้นตอนที่หนึ่ง[1] ในอินโดนีเซียคือการวางพื้นฐานด้านกฎหมายและการจัดรูปแบบสถาบันเพื่อการป้องกันประเทศและความมั่นคง ในช่วงนี้ นายทหารระดับสูงในกระทรวงกลาโหมและกองทัพมีบทบาทในการปรับโฉมหน้าของสถาบันและสร้างความเป็นประชาธิปไตยในกระบวนการวางนโยบาย นับตั้งแต่ระบอบซูฮาร์โตล่มสลายลง รัฐมนตรีพลเรือนของกระทรวงกลาโหมล้วนพยายามปฏิรูปกระทรวงนี้ไม่มากก็น้อย ในการปฏิรูปกองทัพขั้นตอนที่หนึ่งในอินโดนีเซีย เราได้เห็นนักวิชาการและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกับนักวางนโยบายและสมาชิกรัฐสภาในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและความมั่นคงอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2000 นักวิชาการอินโดนีเซียหลายคน ร่วมกับสถาบัน ProPatria ซึ่งเป็นคณะมันสมองกลุ่มเล็ก ๆ ที่สนใจการปฏิรูปภาคความมั่นคง เข้ามามีบทบาทสำคัญผ่าน "การอภิปรายในกลุ่มโฟกัสประเด็น" (focus group discussions) เพื่อสนับสนุนนายทหารอาวุโสในกระทรวงกลาโหมที่กำลังเตรียมร่างกฎหมายเกี่ยวกับกองทัพและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ ในปลาย ค.ศ. 2004 ศูนย์วิจัย Pacivis ในมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ร่วมมือกับศูนย์วิจัยอื่น ๆ ที่เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูปภาคความมั่นคง ก็เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการวิจัยด้านนโยบายด้วย การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนวิชาการบ่อยครั้ง ทำให้นายทหารในกระทรวงกลาโหมสามารถซึมซับแนวคิดด้านนโยบายใหม่ ๆ และเพิ่มพูนความคิดอ่านของตัวเอง อีกทั้งนายทหารเหล่านี้บางคนเคยทำหน้าที่เป็นทูตทหารในกรุงวอชิงตัน การมีประสบการณ์ในต่างประเทศและได้พบเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหารที่แตกต่างออกไป ทำให้พวกเขาเปิดกว้างทางความคิดมากขึ้น และเข้าใจความเป็นจริงเพียงพอที่จะยอมรับเงื่อนไขทางการเมืองแบบใหม่ในอินโดนีเซีย รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ประเทศกำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่ซับซ้อนกว่าสมัยก่อน ยิ่งกว่านั้น ใน ค.ศ. 2009 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งอินโดนีเซีย (Indonesian Defence University) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้พลเรือนกับทหารได้มีปฏิสัมพันธ์และวิวาทะกันในประเด็นสำคัญ ๆ เกี่ยวกับนโยบายการป้องกันประเทศ ช่องโหว่เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญตลอด 12 ปีของการปฏิรูปกองทัพ ช่องโหว่ 1: ช่องโหว่ในการกำกับดูแลและสุญญากาศด้านกฎหมายและนโยบาย อีกทั้งยังมีความสับสนเกี่ยวกับเงื่อนไขในการตัดสินใจสั่งให้กองทัพใช้กำลังทำสงคราม กฎหมายกำหนดว่าในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประธานาธิบดีมีอำนาจส่งกองกำลังทหารออกไปทันทีโดยต้องรายงานให้รัฐสภารับรู้การตัดสินใจภายใน 48 ชั่วโมง แต่คำถามคืออำนาจการตัดสินใจนี้จำกัดเฉพาะการทำสงครามตามปรกติ หรือรวมไปถึงปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากสงคราม อาทิเช่น การใช้กำลังทหารในภารกิจภายในประเทศ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การบรรเทาภัยพิบัติ ฯลฯ ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ กฎหมายกำหนดให้กองทัพมีหน้าที่ "ช่วยเหลือส่วนปกครองท้องถิ่น" ซึ่งอาจเปิดช่องให้กองทัพเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไม่ใช่กิจการของกองทัพ นอกจากนี้ มีช่องว่างที่เห็นชัดในความสัมพันธ์เชิงสถาบันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกองทัพ ตามกฎหมาย กองทัพอยู่ภายใต้อำนาของประธานาธิบดีในการใช้กำลังทหาร ส่วนกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่ประสานงานในแง่ของนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ รวมทั้งการบริหารต่าง ๆ ข้อกำหนดนี้ไม่ได้นิยามชัดเจนถึงความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหมที่มีต่อความรับผิดทางการเมืองของกองทัพ ซึ่งเท่ากับจำกัดอำนาจเชิงสถาบันของกระทรวงในการกำกับให้กองทัพดำเนินนโยบายอย่างถูกต้อง ความสัมพันธ์ยิ่งมีปัญหาเมื่อผู้บัญชาการเหล่าทัพมีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีและมีอิสระในการเข้าถึงกระบวนการวางนโยบายในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประการที่สอง คือปัญหาของการกำกับดูแลและนโยบายที่ไม่ชัดเจน อาทิเช่น ไม่มีข้อกำหนดชัดเจนว่าตำแหน่งไหนในกระทรวงกลาโหมที่ควรเป็นของพลเรือน สถานะและความรับผิดชอบของนายทหารที่ทำงานในกระทรวงก็ไม่ชัดเจน หากปราศจากการกำหนดเงื่อนไขให้แน่ชัด ก็เป็นเรื่องยากที่กระทรวงกลาโหมจะสลายจารีตของ "วัฒนธรรมกองทัพ" ที่ฝังลึกมานาน รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลหน่วยงานข่าวกรองของกองทัพที่แน่นอนอีกด้วย ในส่วนการกำกับดูแลของรัฐสภา กฎหมายสองฉบับข้างต้นวางบทบาทของรัฐสภาให้เป็นผู้เห็นชอบหรือคัดค้านงบประมาณกองทัพ การใช้กำลังทหารของประธานาธิบดี และการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่า "ความเห็นชอบของรัฐสภา" ประกอบด้วยอะไรบ้าง หมายถึงความเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด หรือสมาชิกรัฐสภาที่อยู่ในคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคส่วนความมั่นคง หรือประธานวิปในรัฐสภา หรือโฆษกและตัวแทนของรัฐสภา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการโต้แย้งในหมู่สมาชิกรัฐสภาบ่อยครั้ง อาทิเช่น ใน ค.ศ. 2003 เมื่อประธานาธิบดีเมกาวาตีตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินและส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการในอาเจะห์ เป็นต้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับข้อมูลและระดับการเข้าถึงข้อมูลของรัฐสภา ในกรณีที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลด้านความมั่นคง ช่องโหว่ 2: ช่องว่างระหว่างความสามารถในการป้องกันประเทศกับงบประมาณ การวางนโยบายของกระทรวงกลาโหมไม่ได้แยกภัยคุกคามที่ไม่ใช่การทหารออกจากภาระหน้าที่ของกองทัพ แต่กลับวางนโยบายให้กองทัพต้องรับภาระดูแลปัญหาต่าง ๆ เช่น การค้ามนุษย์ การตัดไม้ทำลายป่า ความขัดแย้งในชุมชน ภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งสร้างภาระให้กับโครงสร้างงบประมาณของกองทัพมากเกินไป ประสิทธิภาพของกองทัพย่อมขึ้นอยู่กับการจัดสรรงบประมาณและการมีทรัพยากรเพียงพอต่อการใช้จ่าย ทั้งเงินเดือน การศึกษาและการฝึกอบรม รวมทั้งการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ถึงแม้รัฐบาลยุคหลังซูฮาร์โตจะเพิ่มขนาดงบประมาณป้องกันประเทศมาตลอดตั้งแต่ ค.ศ. 2000-2010 แต่อินโดนีเซียยังคงประสบปัญหาช่องว่างระหว่างงบประมาณที่ได้จริงกับงบประมาณที่กระทรวงกลาโหมเสนอต่อรัฐสภามาตลอด แต่ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า การใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และการใช้จ่ายจริงนั้นได้เงินมาจากเงินนอกงบประมาณผ่านทางธุรกิจของกองทัพมากน้อยแค่ไหน ช่องโหว่ 3: ความพร่องในอำนาจควบคุมของพลเรือน ส่วนคณะกรรมาธิการรัฐสภาที่กำกับดูแลด้านการป้องกันประเทศก็ขาดศักยภาพเชิงสถาบันที่จะทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ นอกจากการขาดบุคลากรที่มีคุณสมบัติแล้ว ยังขาดความเชี่ยวชาญในด้านการทหารและการเงิน ซึ่งสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในกระบวนการร่างกฎหมายและการจัดทำงบประมาณ ปัญหานี้บั่นทอนประสิทธิภาพของการกำกับดูแลโดยรัฐสภา การแก่งแย่งทางการเมืองในหมู่ชนชั้นนำพลเรือนมักเบี่ยงเบนความสนใจของสมาชิกรัฐสภาไปจากปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกองทัพ ภายใต้ระบบการเมืองในปัจจุบัน สมาชิกรัฐสภาถูกจัดกลุ่มอยู่ภายใต้มุ้งต่าง ๆ ในพรรคการเมืองของตน แต่ละพรรคก็กำหนดแนวทางชี้นำให้สมาชิกของตนแสดงออกต่อนโยบายต่าง ๆ อย่างไร ดังนั้น สมาชิกนิติบัญญัติคนใดแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับพรรค ก็มักถูกตำหนิหรือกระทั่งถอดจากตำแหน่งได้ สมาชิกสภานิติบัญญัติจึงตกอยู่ในสภาพที่ไม่กล้าแสดงออกอย่างเป็นตัวของตัวเองหรือทำหน้าที่กำกับดูแลอย่างตรงไปตรงมา เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐประพฤติผิดจริยธรรมหรือคอร์รัปชั่นโดยไม่ต้องรับโทษ องค์กรภาคประชาสังคมก็ยังไม่ปรับท่าทีของตนในการจัดการกับพัฒนาการทางการเมืองยุคหลังซูฮาร์โต หลายองค์กรยังป่าวร้องแต่ประเด็นไม่มีสาระ เช่น "ยกเลิกระบอบทหาร" และ "กองทัพกลับกรมกอง" ฯลฯ คำพูดเช่นนี้รังแต่จะสร้างปฏิกิริยาตอบโต้จากกองทัพและไม่ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำธุรกิจของกองทัพ จำเป็นต้องมีการสอบสวนอย่างถี่ถ้วน สื่อมวลชนซึ่งเป็นฐานันดรที่สี่ของสังคมประชาธิปไตย ควรให้ความสนใจกับประเด็นที่มีสาระมากกว่านี้ เช่น ประเด็นการจัดซื้ออาวุธ แต่สื่อมวลชนอินโดนีเซียมักให้ความสนใจแต่ประเด็นด้านการเมือง โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายพลทั้งหลายในช่วงการเลือกตั้งปี 2009 ตราบใดที่สถาบันของพลเรือนยังอ่อนแอ และกองทัพสามารถสร้างภาพพจน์ของการเป็น "ผู้คุ้มครองและพิทักษ์" รัฐอินโดนีเซียอันแบ่งแยกมิได้ต่อไป กองทัพก็ยังคงมีศักยภาพที่จะบ่อนทำลายรัฐบาลอินโดนีเซีย หากรัฐบาลมีประธานาธิบดีที่ไม่เข้มแข็งหรืออ่อนแอเพราะการทะเลาะเบาะแว้งและแก่งแย่งกันของพรรคการเมือง แต่ในขณะเดียวกัน หากมีประธานาธิบดีที่พอใจกับฐานสนับสนุนจากกองทัพและใช้กองทัพมาสนับสนุนความเข้มแข็งทางการเมืองของตัวเอง ระบอบการปกครองก็อาจเสื่อมถอยกลายเป็นรัฐที่มีผู้นำพลเรือนแต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยได้เหมือนกัน ซึ่งอาจไม่ต่างจากระบอบซูฮาร์โตเลยก็ได้ อินโดนีเซียในวันนี้จึงเป็น "ระบอบผสมหัวเลี้ยวหัวต่อที่พลเรือนและกองทัพดำรงอยู่ร่วมกัน" กองทัพอาจไม่ได้ชี้นำนโยบายให้พลเรือนอีกต่อไป แต่ยังคงอยู่ "หลังฉาก" ในฐานะผู้เล่นตัวสำคัญทางการเมือง
[1] การปฏิรูปกองทัพขั้นตอนที่หนึ่ง (first generation) คือการยกเลิกสถาบันความมั่นคงที่ผูกกับระบอบเก่า การวางรากฐานองค์กรของพลเรือนที่จะมาควบคุมกองทัพ การเปลี่ยนแปลงระบบบังคับบัญชา และการเพิ่มอำนาจให้รัฐสภา การปฏิรูปกองทัพขั้นตอนที่สอง (second generation) ขั้นตอนนี้มุ่งไปที่การรื้อถอนอำนาจเก่าของกองทัพที่อาจมีอิทธิพลผ่านเครือข่ายการเมืองที่ไม่ใช่สถาบันที่เป็นทางการ ขั้นตอนนี้จึงเน้นไปที่การสร้างสถาบันการเมืองที่มีอำนาจในการกำกับดูแลกองทัพ รวมทั้งกลุ่มประชาสังคมที่ทำหน้าที่ "เฝ้าระวัง" ทั้งสองภาคส่วนนี้จำเป็นต้องมีความพร้อมในการทำหน้าที่ให้บรรลุภารกิจ จึงต้องมีทั้งความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ เงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร หากขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ไป การปฏิรูปกองทัพก็อาจไม่ส่งผลที่ยั่งยืนและเต็มเม็ดเต็มหน่วย การปฏิรูปขั้นตอนที่สองนี้จึงมีความสำคัญไม่แพ้การปฏิรูปขั้นตอนที่หนึ่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
‘ยกฟ้อง’ คดีเพิกถอน ‘ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง’ ชาวบ้านเตรียมอุทธรณ์ต่อ Posted: 30 Jan 2013 10:48 PM PST ชาวบ้านพลาดหวัง แต่ยังเดินหน้าต่อ จี้ 'ผังเมือง' ยันพื้นที่เพื่อการเกษตร ทนายแนะ 'จับตา' การแก้ปัญหาตาม EIA สะท้อนความจริงจากพื้นที่ ด้าน 'สุนี ไชยรส' เผยมติ คปก.ดัน 'กม.องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ' หวังแก้ความขัดแย้ง วันนี้ (31 ม.ค.56) เวลา 10.00 น.ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง ในคดีหมายเลขดำที่ 1454/2553 คดีมายเลขแดงที่ 126/2556 ที่เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมฟ้องขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าหนองแซง ของ บริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด ในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงาน ตามร่า คดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 21 ก.ย.53 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม อ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยาจำนวน 61 คน นำโดย นายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี ยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จำเลยที่ 1 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (คชก.) จำเลยที่ 2 และบริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด จำเลยที่ 3 ต่อศาลปกครองกลาง ในคดีเจ้าหน้าที่รัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ของบริษัทดังกล่าว ศาลปกครองพิจารณาว่า กระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ของ กกพ.เป็นไป ศาลปกครอง ระบุด้วยว่า การพิจารณาให้ใบอนุญาตนั้นนอกจากต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ฟ้องคดีทั้ง 61 คนที่จะอนุรักษ์ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ แล้วยังต้องคำนึงถึงสิทธิของบริษัทเอกชนผู้ดำเนินโครงการ รวมทั้งต้องคำนึงถึงการมีส่วนได้ส่วนเสียของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะที่จะได้จากการมีเสถียรภาพทางพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงไม่สามารถจำกัดสิทธิไม่ใ ส่วนเรื่องผลกระทบที่อาจเกิ อีกทั้ง ตามอำนาจคณะกรรมการผังเมือง นอกจากนั้น การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟ ทั้งนี้ ศาลวินิจฉัยว่า มติของ คชก.ที่ให้ความเห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง และคำสั่งของ กกพ.ที่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการฯ นั้นชอบด้วยก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการพิพากษาคดี กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมกว่า 40 คนที่มาร่วมฟังการพิจารณาคดีได้มีการพูดคุยกันถึงผลที่ออกมา และได้ตกลงที่จะยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ต่อไปภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีการกลับไปจัดเตรียมข้อมูลในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อสู้คดี ชาวบ้านพลาดหวัง แต่ยังเดินหน้าต่อ จี้ 'ผังเมือง' ยันพื้นที่เพื่อการเกษตร นายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมกล่าวว่า ผลคดีนี้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านคาดการณ์อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความหวังเพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตชลประทาน ซึ่งเหมาะสมต่อการทำการเกษตรและมีการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีแล้วว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวทแยงขาว) สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไปของชาวบ้านในเรื่องผังเมือง ที่ผ่านมาได้มีการยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการผังเมืองแล้ว ซึ่งก็จะมีการเดินหน้าในขั้นตอนต่อไป เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ไม่สอดคล้องกับผังเมืองรวมสระบุรีที่ได้ประกาศบังคับใช้ อีกทั้งจะต้องติดตามเฝ้าระวังการเปลี่ยนสีผังเมืองไปเป็นสีม่วงหรือพื้นที่อุตสาหกรรมด้วย นายตี๋ ยังแสดงความคิดเห็นต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญด้วยว่า การกำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ซึ่งอาจมีผลกระทบรุนแรง ไว้ที่โรงไฟฟ้าขนาด 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไปนั้นไม่เป็นจริง เพราะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในปัจจุบันไม่มีโรงไหนมีกำลังผลิตถึงเกณฑ์ดังกล่าว และในเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นวิชาการ นอกจากนี้ การมีกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนา ฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้านั้นก็ขัดแย้งกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากโรงไฟฟ้าไม่ยอมรับว่าได้สร้างผลกระทบให้เกิดกับชุมชน อีกทั้งกองทุนดังกล่าวยังกลายเป็นเครื่องมือปิดปากชาวบ้านไม่ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้คัดค้านโครงการ ทนายแนะ 'จับตา' การแก้ปัญหาตาม EIA สะท้อนความจริงจากพื้นที่ นายสุรชัย ตรงงาม ประธานโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กล่าวว่า ทางทนายความของโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ยินดีที่จะสนับสนุนชาวบ้านในการดำเนินการทางคดีให้ถึงที่สุด พร้อมระบุ คำตัดสินในคดีนี้สะท้อนอย่างชัดเจนถึงปัญหาการประกาศผังเมืองที่ล่าช้า เนื่องจากได้ระบุชัดเจนว่าตราบใดที่กฎหมายยังไม่มีการบังคับใช้ ก็จะเกิดโครงการที่ขัดต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามหลักวิชาการและประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ได้ ซึ่งตรงนี้เป็นคำถามว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขต่อไปได้อย่างไร นายสุรชัย แนะนำกลุ่มชาวบ้านด้วยว่า ตามคำพิพากษาของศาลมีการกล่าวถึงมาตรการป้องกันที่ระบุไว้แล้วในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งเรื่องอาชีพเกษตรกรในการเลี้ยงไก่ มลภาวะทางน้ำ และปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ชุมชนควรต้องมีการติดตามการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ข้อแรกเพื่อความปลอดภัยของชุมชน และจะมีผลในการอุทธรณ์เพื่อให้ศาลเห็นว่ามาตรการดังกล่าวได้ผลหรือไม่อย่างไรในความเป็นจริง โดยสะท้อนจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน 'สุนี' ชี้สร้างโรงไฟฟ้าตามแผน PDP ยังมีข้อถกเถียง นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ซึ่งมาร่วมฟังการพิพากษาคดีกล่าวแสดงความเห็นว่า การพิพากษาวันนี้ศาลไม่ได้พูดถึงสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญก่อนการดำเนินโครงการมากนัก แต่เป็นห่วงในเรื่องการให้นำหนักระหว่างสิทธิของชุมชนกับสิทธิของผู้ประกอบการในการดำเนินโครงการ และผลประโยชน์สาธารณะในการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยอ้างถึงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแผน PDP นั้นยังมีข้อถกเถียงเรื่องการคำนวณเกินจริงซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า และคนจำนวนมากในเรื่องค่า FT ที่ต้องจ่ายไปพร้อมกับค่าไฟฟ้า อีกทั้งแผนดังกล่าวถูกจัดทำโดยรัฐซึ่งประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้ศาลไม่ได้พูดถึงข้อโต้แย้งของประชาชนอย่างชัดเจน ทั้งที่ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวต่อมาว่า จากคดีดังกล่าวได้เห็นความล้าหลังของกฎหมายในหลายเรื่อง รวมทั้งช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งถูกผลักให้เป็นภาระของประชาชนในการฟ้องร้องดำเนินคดี ดังกรณีการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดซึ่งมีความล่าช้าเปิดช่องทำให้มีการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าในพื้นที่เกษตรกรรม เผยมติ คปก.ดัน 'กม.องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ' นางสุนี กล่าวด้วยว่า ในส่วนของ คปก.ได้มีการประชุมและมีมติเมื่อวานนี้เพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลออกกฎหมายองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งจะมาช่วยคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสร้างมาตรฐานในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการดำเนินโครงการต่างๆ แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่รับรองกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งมีร่างกฎหมายที่ประชาชนร่วมกันเข้าชื่ออยู่ในการพิจารณาของสภาฯ ด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งจะต้องแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดทำ EIA ทั้งในเรื่องการมีส่วนร่วม และการกำหนดให้เจ้าของโครงการเป็นผู้ออกเงินว่าจ้างทำ และการผลักดันกฎหมายสิทธิชุมชน ซึ่งที่ผ่านมามีการพูดถึงสิทธิชุมชนกันอย่างลอยๆ แต่จะทำอย่างไรให้มีนิยามและกระบวนการที่ชัดเจน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โคลัมเบียเตรียมเสนอร่างกฏหมายใหม่ ให้การใช้ยาเสพติดสังเคราะห์ไม่ผิดกฏหมาย Posted: 30 Jan 2013 08:31 PM PST รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของโคลัมเบีย เผยหลังประชุมกับคณะกรรมการประเมินนโยบายยาเสพติดของรัฐบาลโคลัมเบีย ถึงร่างกม.ยาเสพติดฉบับใหม่ซึ่งบัญญัติให้ผู้ครอบครองยาเสพติดสังเคราะห์เพียงจำนวนน้อยหรือใช้เสพด้วยตนเองจะไม่ถือว่ามีความผิดทางกฏหมาย เพื่อหวังทำลายธุรกิจการลักลอบค้าของกลุ่มอิทธิพลมืด เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2013 สำนักข่าว BBC รายงานว่า ประเทศโคลัมเบียมีการเสนอร่างกฏหมายยาเสพติดฉบับใหม่ ซึ่ง รูธ สเตลลา คอร์เรีย รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของโคลัมเบียได้ให้ข้อมูลว่ากฏหมายฉบับใหม่นี้จะระบุให้ผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้กรรมวิธีสังเคราะห์เช่นยาอี (ecstasy) กับตัวเองได้โดยไม่ถือว่าผิดกฏหมาย สมาชิกสภานิติบัญญัติจของโคลัมเบียได้นำเสนอร่างกฏหมายใหม่เพื่อต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งการใช้ การซื้อขาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยร่างกฏหมายใหม่จะเข้ามาแทนร่างกฏหมายเดิมซึ่งมีการแบนโคเคนและกัญชาแต่คนที่มีไว้ครอบครองเพียงเล็กน้อยจะไม่ได้รับการลงโทษ รูธ สเตลลา คอร์เรีย เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวหลังจากที่มีการประชุมกับคณะกรรมการประเมินนโยบายยาเสพติดของรัฐบาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยอดีตประธานาธฺบดี ซีซาร์ กาวิเรีย และนักวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวนหนึ่ง รูธกล่าวอีกว่าทางศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการดำเนินคดีกับประชาชนที่พกพายาเสพติดจำพวกกัญชาและโคเคนจำนวนน้อยไปแล้ว "บัญญัติใหม่ที่จะมีการนำเสนอให้กับรัฐสภาในสมัยนี้ต้องการให้มีการนำมาบังคับใช้อย่างจริงจัง แต่ก็ปรับให้มันกว้างขึ้นด้วยการเพิ่มเติมเรื่องยาเสพติดสังเคราะห์ที่ถูกนำไปใช้เสพย์เองไว้ด้วย" รูธกล่าวผ่านสถานีวิทยุรัฐบาลโคลัมเบีย
การทำให้ถูกกฏหมายจะทำให้ธุรกิจของกระบวนการลักลอบค้าย่อยยับ ด้านโฆษกพรรคกรีนของโคลัมเบียก็แสดงท่าทีสนับสนุนแผนการของรัฐบาล "ปัญหาในโคลัมเบียคือปัญหาเรื่องยาเสพติดชนิดเบาอย่าง กัญชาและโคเคน วังวนของกระบวนการลักลอบค้าสิ่งเสพติดขึ้นอยู่กับโคเคนเป็นหลัก และการทำให้มันถูกกฏหมายในโลกจะทำให้ธุรกิจของกระบวนการลักลอบย่อยยับ" วุฒิสมาชิก รอย บาร์เรราส กล่าวผ่านสถานีวิทยุ ขณะเดียวกันนักวิจารณ์ก็บอกว่าการผนวกรวมยาเสพติดสังเคราะห์เข้าไปด้วยจะกลายเป็นแค่การสร้างความสับสนในการอภิปรายเท่านั้น เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่ายาอี และยาบ้า (methamphetamines) ถือเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ แต่บางส่วนแย้งว่าควรรวมเอาเฮโรอีนเข้าไปด้วย การประกาศของรมต.กระทรวงยุติธรรมในครั้งนี้ทำให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องการใช้ยาเสพติดในโคลัมเบียอีกครั้ง และจะมีการนำเสนอต่อรัฐสภาภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยที่ก่อนหน้านี้โคลัมเบียใช้วิธีดำเนินการกับกรณียาเสพติดด้วยวิธีการเชิงปราบปราม มีกฏหมายระบุโทษแก่ผู้ที่เสพหรือมียาไว้ในครอบครอง อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการตัดสินของศาลสูงในโคลัมเบียดูจะมีแนวทาบงตรงกันข้ามจากเดิม
เรียบเรียงจาก New drug bill 'to decriminalise ecstasy' in Colombia, BBC, 30-01-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เครือข่ายพิทักษ์สถาบันชุมนุมหน้าอียูจี้ขอโทษ - แจง ม. 112 จำเป็น Posted: 30 Jan 2013 07:43 PM PST
31 ม.ค.56 เวลาประมาณ 10.00 น. เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ราว 50 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรักษาความปลอดภัยอยู่โดยรอบ และมีการถ่ายทอดสดโดยสำนักข่าวทีนิวส์ นายธนบดี วรุณศรี ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ กล่าวว่า การมาวันนี้ เพื่อมาเลคเชอร์ให้อียูฟัง ขณะนี้พยายามประสานงานกับผู้แทนสหภาพยุโรปเพื่อขอเข้าไปอธิบายรายละเอียด โดยมีประเด็นที่ต้องการอธิบายต่ออียูคือ 1. ต้องการให้เข้าใจสถานภาพกษัตริย์ของไทยว่าอาจไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศอื่น บางประเทศในอียูไม่เคยมีกษัตริย์ อาจไม่เข้าใจว่าสถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ขนาดไหน 2.ต้องการอธิบายว่าทำไมต้องมีมาตรา 112 และไม่เฉพาะแต่ประเทศไทย แม้แต่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็มีโทษจำคุก 4-5 ปี หากมีการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ คุณสมยศซึ่งกระทำความผิดชัดแจ้ง โดยตีพิมพ์บทความสองบทความ มีโทษบทความละ 5 ปี ก็ถือว่าไม่ได้มากไปกว่าเนเธอร์แลนด์ หากไม่ได้มีการลบหลู่จริงใครจะมาทำอะไร รัฐธรรมนูญกำหนดให้กษัตริย์เป็นจอมทัพไทย ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายปกป้องประมุขของชาติ เขากล่าวถึงเหตุจูงใจที่อียูมีการออกแถลงการณ์เกี่ยวกับคดีสมยศว่า หากมองแบบไม่คิดลึกเข้าใจว่าอาจเป็นความรักชอบส่วนตัวกับสมยศ เพราะนายสมยศมีคุณูปการในการทำงานด้านแรงงาน ต่อสู้จนมีประกันสังคม แต่ก็ต้องแยกแยะการกระทำแต่ละครั้งว่าทำดีหรือทำผิด หวังว่าหากได้อธิบายแล้วอียูจะเข้าใจและสำนึกผิดได้ไม่ยาก ทั้งยังเห็นว่าควรออกแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่งเพื่อแสดงความเสียใจด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ชุมนุมมีรถปราศรัยขนาดใหญ่ซึ่งผู้ปราศรัยกล่าวว่า ปัญหาตอนนี้ที่อียูต้องแก้คือเรื่องโรฮิงยาไม่ใช่เรื่องนี้ และหากมีใครมาแตะต้องเรื่องการแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ทางกลุ่มอาจมีการรณรงค์ให้บอยคอตสินค้าอียูก็ได้ ต่อมา มีตัวแทนอียูลงมารับหนังสือจากผู้ชุมนุมโดยไม่ได้ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด พร้อมระบุว่าจะส่งเรื่องต่อให้ จากนั้น ผู้ชุมนุมจึงยุติการชุมนุมในเวลาราว 11.30น. ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางสหภาพยุโรปได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังทราบเรื่องการนัดชุมนุมประท้วงครั้งนี้ โดยเดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูต และหัวหน้าผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพยุโรปมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงอธิปไตยตามที่ทางเครือข่ายอ้าง เนื่องจากสหภาพยุโรปเพียงปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยบนหลักของสิทธิ โดยมองว่า บทลงโทษจำคุกนายสมยศถึง 11 ปี สำหรับบทความที่ตนเองไม่ได้เขียน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม "แน่นอนว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องที่สามารถตีความได้ แต่เรามองเรื่องนี้จากหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน สำหรับเราแล้วในยุโรป เราเองก็มีสถาบันกษัตริย์ ผมมาจากประเทศอังกฤษซึ่งก็มีพระราชินีที่เราเคารัพและนับถือมาก และประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ในทางที่เคารพ และก็ไม่ถูกส่งไปจำคุก" ลิปแมนกล่าว เขากล่าวถึงกรณีการประท้วงของเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันฯ ว่า นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนสามารถใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตนเองได้ ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสหภาพยุโรป แต่ลิปแมนก็ย้ำว่า การออกแถลงการณ์ไม่ใช่การแทรกแซง แต่เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น