ประชาไท | Prachatai3.info |
- "สินจัย" ระบุไม่ทราบ"เหนือเมฆ 2"ถูกแบน มีการเมืองหรือไม่-แต่คนนำไปโยงเอง
- อิหร่านวางแผนสร้างภาพยนตร์ตอบโต้เรื่อง Argo
- ชุดคำบอกเล่าในยุคมืด(และ)ของประเทศไทย?
- สัมภาษณ์เพจแห่งปี : ออกพญาหงส์ทอง กับประเด็นเซนเซอร์ ถึงทำไมต้องบุเรงนอง
- ออสเตรเลีย จี้ 'ทวิตเตอร์' ลงนามข้อตกลงจัดการโซเชียลมีเดีย
- แถลงการณ์ นปช.เสนอ พรก.นิรโทษกรรม เร่งรัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว
- ‘สลายม็อบท่อก๊าซ’ 10 ปี คดีความ กับกว่า 16 ปี ‘การต่อสู้’ ของคนจะนะ
- สู้ 10 ปี ‘คดีท่อก๊าซไทย-มาเลย์’ ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ‘สตช.’ ชดใช้ฐานละเมิด
- ชำนาญ จันทร์เรือง
- สภาที่ปรึกษาฯ เตือนรัฐบาลเสี่ยงผิด รธน. ไม่นำร่างเอฟทีเอไทย-อียูฟังความเห็นก่อน
- พุทธทาสภิกขุกับพุทธศาสนาในมิติของ ‘ศาสตร์’
- จวก ‘ประชุมเอ็มอาร์ซี’ ไร้วาระ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ทำลายอนาคตความร่วมมือลุ่มน้ำโขง
- 'เอไอ' แถลง พม่าคุ้มครองพลเรือนและสอบสวนการโจมตีในรัฐคะฉิ่น
- สภาที่ปรึกษาฯ เร่งหาทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางสาธารณสุข ค้างเติ่งในสภา
- รายงาน: มิตรภาพของนักโทษแดง-เหลือง อัพเดทสถานการณ์นักโทษการเมือง
"สินจัย" ระบุไม่ทราบ"เหนือเมฆ 2"ถูกแบน มีการเมืองหรือไม่-แต่คนนำไปโยงเอง Posted: 16 Jan 2013 10:05 AM PST กมธ.พัฒนาการเมืองและการสื่อสารมวลชน เรียกทีมงาน "เหนือเมฆ 2" ชี้แจง ผู้จัดยืนยันเนือหาละครไม่กระทบใคร เน้นเรื่องความดี-ความชั่ว ด้าน "ฉัตรชัย เปล่งพานิช" ระบุผู้บริหารช่อง 3 ไม่ได้บอกสาเหตุ บอกแค่ละครถูกแบน "นนทรี นิมิบุตร" ถามสื่อถ้ารู้สาเหตุถูกแบนช่วยบอกด้วย "เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์" ซึ่งช่อง 3 ยุติการออกอากาศตั้งแต่ 4 ม.ค. 56 (ที่มาของภาพประกอบ: facebook.com/benzballshowwallpaper)
สืบเนื่องจากกรณีทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ประกาศยุติการออกอากาศละครโทรทัศน์ "เหนือเมฆ 2 ตอน มือปราบจอมขมังเวทย์" ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้แสดงความไม่พอใจและตั้งคำถามต่อความไม่ชัดเจนในการยุติการออกอากาศดังกล่าวจำนวนมากนั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) ล่าสุด ไทยรัฐออนไลน์ รายงานเมื่อวานนี้ (16 ม.ค. 56) ว่าที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน เพื่อพิจารณากรณีละคร "เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์" ถูกระงับการออกอากาศ โดยมีการเชิญนายนนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับ นายฉัตรชัย เปล่งพานิช ผู้อำนวยการสร้าง นางสินจัย เปล่งพานิช นักแสดง นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าชี้แจง ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. อ้างว่าติดภารกิจประชุมกรรมการ กสทช. ไม่สามารถมาชี้แจงได้ ขณะที่ นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหารช่อง 3 เพิ่งได้รับหนังสือช่วงเย็นวันที่ 14 ม.ค. จึงไม่สามารถมาชี้แจงได้ แต่ยินดีให้ความร่วมมือมาชี้แจงต่อไป นายฉัตรชัย ได้ชี้แจงขั้นตอนการสร้างละครว่า ก่อนสร้าง หรือผลิต ได้เสนอเรื่องให้ กบว.ของช่องพิจารณาแล้ว ถือว่าหมดหน้าที่ผู้ผลิตแล้ว เนื้อหาละครเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์สมมติ การนำเสนอไม่มีเจตนากระทบกระทั่งใคร บริษัทเมตตามหานิยมที่เขาเป็นเจ้าของจะสร้างละครแนวเพื่อชีวิต บอกเล่าเรื่องแก่งแย่งผลประโยชน์ อำนาจ ให้ทุกคนสามัคคีกัน เป็นแนวละครสร้างสรรค์บอกถึงความดี ชั่ว เลว ส่วนนายนนทรีย์ ชี้แจงว่า ปกติจะนำส่งบทละครไปครึ่งหนึ่งก่อน เริ่มลงมือสร้างที่เหลือจะทยอยส่ง ยอมรับว่ามีการปรับเปลี่ยนบทละครบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับการผลิต โดยเฉพาะละครเรื่องนี้เป็นแนวแอ็กชั่นดราม่า เมื่อเสร็จแล้วก็ส่งให้ช่องพิจารณาอนุมัติออกอากาศต่อไป ส่วน 3 ตอนสุดท้ายที่มีปัญหาคือ ตอนที่ 10-11-12 ยอมรับว่าตอนที่ 10 ได้ส่งก่อนปีใหม่ ส่วนตอนที่ 11-12 ส่งหลังปีใหม่แล้ว การทำละครแอ็กชั่น ยอมรับว่าต้องใช้เวลานานกว่าปกติ ไม่สามารถส่งเทปได้ทุกตอนในคราวเดียวกันหมด ต้องทยอยส่ง ส่วนการตัดบทบางส่วนก็มีบ้างเพื่อความเหมาะสม ให้เข้าใจง่าย ยอมรับว่าตอนที่ 11-12 มีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวของละคร หลังตัวละครที่เป็นนายกรัฐมนตรีในเรื่องเสียชีวิต เรื่องเริ่มไม่สนุก เราจึงเปลี่ยนบท แต่ก็ให้คนเขียนบทเป็นคนเปลี่ยน และส่งบทให้ทางช่องดู ไม่ทราบว่ามีการอ่านหรือไม่ ขณะเดียวกัน นางสินจัย กล่าวว่า บางคำถามของคณะกรรมาธิการฯ คงเป็นเรื่องที่ทางช่อง 3 จะตอบ เราเองก็ไม่ทราบถึงคำสั่งว่า บางส่วนบางตอนไม่เหมาะสมอย่างไร รวมถึงโอกาสที่จะได้รับชมตอนที่ถูกแบนทางดีวีดีนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นลิขสิทธิ์ของช่อง เราเป็นเพียงผู้ผลิต ในฐานะคนทำงาน ที่ทำตามขั้นตอน เมื่อผิดพลาดก็แก้ไข แต่เมื่อบอกจบ ก็ต้องจบ แต่การทำงานคราวหน้า เราจะรอบคอบและพิจารณากันมากขึ้น ทั้งนี้นายนนทรีย์ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ประเด็นว่ามีการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ ก็อยากรู้เหมือนกันว่าความจริงเป็นอย่างไร ถ้าสื่อทราบก็ช่วยบอกด้วย ส่วนนางสินจัย ได้กล่าวเสริมว่า หลังจากละครถูกระงับการออกอากาศแล้ว ก็มีการพูดว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เราไม่ทราบ แต่เป็นเพราะทุกคนนำไปโยงเป็นเรื่องการเมืองเอง ขณะที่ นายฉัตรชัย กล่าวว่า หลังละครโดนแบน ตนได้พูดกับ นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้บริหารช่อง 3 ทางโทรศัพท์ ซึ่งนายสมรักษ์ก็ไม่ทราบเหตุผลที่ถูกแบนเช่นกัน บอกแค่ว่าละครถูกแบน เมื่อถามว่าไม่ได้ติดต่อผู้ใหญ่ในช่องเพื่อถามเหตุผลที่แท้จริงหรือ นายนนทรีย์ กล่าวว่า การทำงานของพวกตนจะติดต่อนายสมรักษ์เพียงคนเดียว แต่ยืนยันว่าเรามีอิสระในการทำงาน ไม่มีใครขัดขวางการทำละครตั้งแต่ต้นจนจบ เพียงแต่ตอนจบไม่ได้ออกอากาศเท่านั้น เราก็เหมือนช่างทำรองเท้า พอตัดเสร็จก็ส่งให้ผู้จ้าง เขาจะเอาไปใส่หรือไม่ไม่เกี่ยวกับเราแล้ว ถือว่าไม่ขัดกับอิสรภาพ นอกจากนี้ นางสินจัย กล่าวด้วยว่า ส่วนที่เกิดขึ้นยอมรับว่ากระทบต่อเราในฐานะผู้สร้างและนักแสดง รู้สึกเสียดายมาก เหมือนส่งลูกยังไม่ขึ้นฝั่ง ยังต้องพายไปเรื่อยๆ ยอมรับว่าการทำหน้าที่ของสื่อมีผลต่อผู้ชม รู้สึกเสียใจที่ให้คำตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการ กบว.ของช่อง ได้แต่ขอโทษผู้ชม แต่เราจะไม่ท้อถอย จะทำงานต่อไป ก่อนหน้านี้เมื่อ 8 ม.ค.ทีผ่านมา นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ชี้แจงเกี่ยวกับกรณีการถอดละครเรื่อง เหนือเมฆ 2 ตอนมือปราบจอมขมังเวทย์ ว่า คงไม่มีการแถลงอะไร เพราะว่าเป็นเรื่องที่เห็นว่า เรื่องราวในละครไม่เหมาะสม คิดว่าการใช้คำว่าไม่เหมาะสมเป็นการลงตัวแล้ว แต่จะให้ลงรายละเอียดก็คงจะลงลำบาก ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยเคยแถลงยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับการถอดละครดังกล่าว และเรียกร้องให้ช่อง 3 นำละครเหนือเมฆ 2 มาออกอากาศให้จบ เพื่อจะได้จบปัญหาเพราะเรื่องนี้ไม่เกิดประโยชน์กับรัฐบาล ฝ่ายค้านพยายามนำเรื่องนี้มาโจมตีและลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อิหร่านวางแผนสร้างภาพยนตร์ตอบโต้เรื่อง Argo Posted: 16 Jan 2013 09:11 AM PST Argo ภาพยนตร์สองรางวัลลูกโลกทองคำและเข้าได้ชิงออสการ์ถูกรัฐบาลอิหร่านต่อต้านบอกว่าเป็นการสร้างความหวาดกลัวชาวอิหร่านและนำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อน จึงให้ทุนผกก.อิหร่านสร้างภาพยนตร์ตอบโต้นำเสนอเหตุการณ์เดียวกันในอีกมุมมองหนึ่งในชื่อ 'The General Staff'
สำนักข่าว CNN ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ทางการอิหร่านประกาศสร้างภาพยนตร์ของตนเองเพื่อตอบโต้ภาพยนตร์เรื่อง Argo ที่เพิ่งได้รับ 2 รางวัลลูกโลกทองคำเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าภาพยนตร์ Argo มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงและสร้างความเกลียดชังอิหร่าน ภาพยนตร์เรื่อง Argo หรือในชื่อไทยคือ 'แผนฉกฟ้าแลบลวงสะท้านโลก' เป็นภาพยนตร์แนวชีวิตอ้างอิงประวัติศาสตร์ ที่สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริง ผลงานการกำกับและนำแสดงโดยเบน แอฟเฟล็ก Argo ได้รับรางวัลภาพยนตร์แนวชีวิตดีเด่น และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากรางวัลลูกโลกทองคำ นอกจากนี้ยังได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนี้อีกด้วย เรื่อง Argo เล่าถึงเหตุการณ์บุกรุกสถานทูตสหรัฐฯ ในอิหร่านโดยกลุ่มคณะปฏิวัติอิหร่านช่วงปี 1979 ที่มีชาวอเมริกันหลายคนถูกจับเป็นตัวประกัน แต่มีตัวประกัน 6 คนหลบหนีออกมาได้และอาศัยที่บ้านพักของทูตแคนาดา ทำให้หน่วยงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ ต้องหาทางนำตัวพวกเขาออกจากอิหร่านและส่งตัวกลับประเทศให้ได้ จึงได้ตัดสินใจแกล้งทำเป็นว่ามีโครงการสร้างภาพยนตร์ของแคนาดาที่ต้องการมาใช้อิหร่านเป็นสถานที่ถ่ายทำและลักลอบส่งตัวทูตอเมริกันกลับขณะปลอมตัวเป็นทีมงานภาพยนตร์ CNN ระบุว่าการที่ Argo เล่าถึงกรณีวิกฤติตัวประกันในอิหร่านและปฏิบัติการลับของ ซีไอเอ ในช่วงที่มีการปฏิวัติอิหร่าน ทำให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมของอิหร่านวางแผนสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์เพื่อตอบโต้เรื่องราวในภาพยนตร์ Argo อตาโอลาห์ ซัลมานเนียน ผู้กำกับชาวอิหร่านกล่าวว่าภาพยนตร์เรื่อง "The General Staff" จะเป็นภาพยนตร์โปรดักชั่นฟอร์มยักษ์ และเป็นการตอบโต้ภาพยนตร์ที่ไม่ถือเป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์เรื่อง Argo สำนักข่าว Mehr ของอิหร่านรายงานว่าอตาโอลาห์อาศัยข้อมูลจากพยานในเหตุการณ์เพื่อนำมาเขียนบทภาพยนตร์และยังเป็นคนลงมือกำกับเองด้วย โดยจะเริ่มมีการถ่ายทำภาพยนตร์ในปีหน้า Mehr ระบุอีกว่ารัฐบาลอิหร่านรู้สึกว่าตนถูกกล่าวโจมตีจากการนำเสนอภาพของประเทศและประชาชนอิหร่านในภาพยนตร์ และตั้งแต่ปีที่แล้ว (2012) ที่ภาพยนตร์ออกฉายในสหรัฐฯ ก็ถูกทางการมองว่าเป็นภาพยนตร์ 'ต่อต้านอิหร่าน' ขณะเดียวกันก็มีบทความในสื่อรัฐบาลอิหร่าน PressTV กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่อง Argo ว่าเป็นลัทธิฮอลลิวูดที่ต้องการการสร้างความหวาดกลัวอิหร่านอย่างไม่มีเหตุผล (Iranophobic) บทความกล่าวว่า "ภาพยนตร์อเมริกันที่ต้องการสร้างความหวาดกลัวอิหร่านอย่างไม่มีเหตุผลพยายามนำเสนอภาพชาอิหร่านว่าเป็นพวกแสดงออกทางอารมณ์เกินจริง, ไม่มีเหตุผล, บ้าคลั่ง และเป็นคนเลว ขณะเดียวกันก็นำเสนอว่าเจ้าหน้าที่ซีไอเอเป็นวีรบุรุษผู้รักชาติ" บทความของ PressTv กล่าวอีกว่า Argo มีลักษณะการเล่าเรื่องข้างเดียว และทุกอย่างดูแบ่งขาวแบ่งดำชัดเจน โดยให้ฝ่ายตัวประกันและซีไอเอดูเป็นคนดีและชาวอิหร่านดูเลวร้ายทำให้คนดูเอาใจช่วยฝ่ายซีไอเอและคิดฝนแง่ลบกับประชาชนชาวอิหร่าน นอกจากนี้ยังบอกอีกว่าเป็นการบิดเบือนและนำเสนอประวัติศาสตร์อย่างไม่ตรงกับความเป็นจริง
เรียบเรียงจาก Coming soon: Iran's response to 'Argo', CNN, 14-01-2013 Iran to produce movie to respond to "Argo", Mehr News, 10-01-2013 Argo: From Hollywoodism to Iranophobia, PressTV, 08-11-2012 ฐานข้อมูลภาพยนตร์เว็บไซต์ imdb.com http://www.imdb.com/title/tt1024648/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชุดคำบอกเล่าในยุคมืด(และ)ของประเทศไทย? Posted: 16 Jan 2013 09:10 AM PST
เกริ่นนำ
สรุป ข้อมูลเพิ่มเติม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สัมภาษณ์เพจแห่งปี : ออกพญาหงส์ทอง กับประเด็นเซนเซอร์ ถึงทำไมต้องบุเรงนอง Posted: 16 Jan 2013 08:03 AM PST "มาตรแม้นกูจักมิเห็นงามกับทุกสิ่งที่มึงเอื้อนเอ่ย หากแต่กูจักปกป้องด้วยเกียรติของออกพญา ในสิทธิของมึง ที่จักเอื้อนเอ่ยถึงมัน" เพจออกพญาหงส์ทอง กล่าว รูปภาพหน้าปกเพจออกพญาหงส์ทอง หลังจากที่มีการประกาศผล โหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก ปี 2012 ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจของประชาไทได้ตั้งไว้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา พร้อมกับบทสัมภาษณ์แอดมินเพจ Drama-addict เพจ โหดสัส V2 เพจ สมมรัก พรรคเพื่อเก้ง และ เพจ Dora GAG ไปแล้วนั้น เพลานี้ก็จักถึงทีเพจ "ออกพญาหงส์ทอง" โดยในการโหวตที่ผ่านมาเพจนี้ได้ไป 15,263 โหวต เป็นเพจที่มี User กดถูกใจ 167,541 user เป็นเพจที่มีลักษณะเด่น เป็นการใช้ภาษาแบบในหนังนเรศวร และมีรูปประจำตัวเป็น "พระเจ้าบุเรงนอง" จากหนังดังกล่าว นำเสนอมุมมองเรื่องราวทางสังคม การเมือง ผ่านภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่มีอารมณ์ขันและการเสียดสี โดยเพจที่มีการล้อเลียนภาษาในรอบปีนั้นยังมีเพจที่น่าสนใจอย่าง เพจ ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์ เพจ ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย(ภาษาสก๊อย) หรือ หนังสือเพี้ยน ป.1 ด้วย โดยยุกติ มุกดาวิจิตร ได้เขียนอธิบายกรากฏการณ์เพจล้อเลียนภาษษนี้ไว้ในบทความ "แบบเกรียนภาษา" ว่า เพจตะละแม่ฯ เป็นการเอาคำศัพท์วันรุ่นมาล้อภาษารุงรังโบราณ ส่วนกรณีเพจภาษาสก๊อยก็เป็นการเล่นกับการสะกดรุงรังโบราณ และเพจ "มามี มานะ ล้อเลียน" ในเพจหนังสือเพี้ยน ป.1 ก็เป็นการ วิพากษ์อุดมการณ์รัฐที่สอดแทรกในแบบเรียน นอกจากนี้ช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาเพจออกพญาฯ ได้มีกิจกรรมแบบละครหลงยุคออนไลน์ กับเพจ "ผงหอมศรีจันทร์"(Srichand Powder) ซึ่่งเป็นแบรนด์เก่าแก่เกี่ยวกับสินค้าความงามที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ร่วมด้วยเพจ "แม่บ้านมีหนวด" ที่เข้ามาสร้างสีสัน จนผู้ใช้ชื่อ "chyutopia" ได้เขียนใน thumbsup.in.th ว่าเป็นการตลาดบนเฟซบุ๊กรูปแบบใหม่ด้วย โดยการถ่ายภาพและสร้างเรื่องราวระหว่างตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะ 3 ตัว เพื่อสร้างกระแสให้คนติดตาม รวมทั้งเกิดการไลค์ข้ามเพจระหว่างกันอีกด้วย สำหรับประเด็นในการสัมภาษณ์แอดมินเพจออกพญาหงส์ทอง นั้น ประกอบด้วย มุมมองต่อเฟซบุ๊กในรอบปี 2012 ที่ผ่านยมา รวมทั้งทิศทางแนวโน้มปี 2013, การโหวตเพจแห่งปี, การละเมิดลิขสิทธิ์, การระดมรีพอร์ตใน facebook, การแบนคนในเพจ, การเซนเซอร์ของรัฐและการเอาข้อมูลส่วนตัวของบุคคลธรรมดามาเผยแพร่ให้สาธารณะ โดย "ออกพญาหงส์ทอง" ได้ ร้อยคำจำนรรจาออกมาเป็นภาษาของตนเองดังนี้ 0000 ประชาไท : มองปรากฏการณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง เฟซบุ๊กในรอบปี 2012 มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง และทำไมถึงคิดว่ามันน่าสนใจ สามารถที่จักกำหนดสิ่งที่สนใจในหมู่อาณาประชาราษฎร์ ได้รวดเร็วกว่าสื่อหลัก เช่น โทรภาพ แลหนังสือพิมพ์ อีกทั้งยังเป็นคันฉ่องสะท้อนปฏิกิริยาของอ้ายอีไพร่สยามได้ดีอีกด้วย คิดอย่างไรกับอีก 9 เพจที่อยู่ใน 10 เพจแห่งปีที่คนโหวตกับประชาไท(ดู) ทั้ง๙ ล้วนเป็นปราชญ์แห่งสยาม หากแต่มันเป็นบ่าวไพร่กูเสียสิ้น ในฐานะที่เป็นแอดมินภูมิใจไหมที่มีคนสนใจเพจคุณ คิดว่าที่ทำไปเกิดผลอะไรกับสังคมบ้าง เอาแรงบันดาลใจมาจากไหน ก่อนและหลังทำ มีอะไรเปลี่ยนไปในชีวิตบ้าง กูก็ยินดีปรีดาที่ไพร่ชาวสยาม จักเปิดกระโหลกกะลา รับซึ่งความรู้ที่กูออกพญาจักสอนสั่งให้ ภาพล้อเลียนที่เพจออกพญาฯ ทำเพื่อเชิญชวนให้แฟนเพจมาโหวต พร้อมข้อความว่า "เพลานี้ตัวกูออกพญาพบประชาชน ได้ออกหาเสียงถ้วนทั่ว ทั้งพระนครโดยสามารถเลือก "ออกพญาหงส์ทอง" คิดว่าคนมาไลค์หรือติดตามเพจคุณเพราะอะไร รวมทั้งคนกดโหวตเพจคุณเพราะอะไร เหตุที่อ้ายอีไพร่มันมาอยู่หน้าเรือนกูมากโข ด้วยว่ารูปงามนักกู (ออกพญา คูกิมิยะ) อยากจะบอกอะไรกับคนเหล่านั้นบ้าง เหตุบ้านการเมืองในห้วงช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดความขัดแย้งรุนแรงประหนึ่งมิใช่เราชาวสยามเฉกเช่นเดียวกัน เหตุมิได้เกิดจากมิเห็นพ้องต้องกัน ฤๅมีแนวทางความคิดมิเหมือนกันดอก เพราะกฎธรรมชาติ มิมีความขัดแย้งย่อมมิมีการต่อสู้ แลจักมิมีการพัฒนาให้เกิดสิ่งที่ดียิ่งกว่าได้เยี่ยงไร ปุถุชนคนธรรมดาย่อมมีความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง จักรักใคร ชอบใคร เกลียดใคร ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในใจตน หากแต่ต้องมีขอบเขตจนมิเกิดอาการ "คลั่ง" คือ คลั่งเสียจนปากร้าย ใจร้าย แลทำร้ายแก่กัน หากเป็นเช่นนั้น มิได้เพียงทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ชะรอยยังทำให้ตนเดือดร้อนเสียงเองด้วย เอาเถิดแม้นว่า อ้ายอีไพร่มากหน้าหลายตาจักแบ่งข้าง เลือกข้าง เลือกสี กันเสียแล้ว แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า "เรามิสามารถควบคุมผู้อื่นได้ หากแต่สามารถควบคุมตนเองได้" ขอเพียงอ้ายอีไพร่สยาม คิดได้เพียงแค่นี้ สยามจักดำรงสืบไปชั่วกาลนาน ถ้าจะให้นิยามเพจคุณ เราควรเรียกหรือทำความเข้าใจว่าเพจคุณคืออะไร "กูเป็นเพียงคันฉ่องสะท้อนสังคมเท่านั้นแล" ตอนนี้มีดราม่าระหว่างแฟนเพจในเฟซบุ๊ก เรื่อง "ก๊อบปี้" หรือละเมิดลิขสิทธิ์ คุณมองเรื่องนี้ว่าอย่างไร หากผิดกฎบ้านกฎเมืองย่อมถือเป็นความผิด มองการระดมรีพอร์ตใน เฟซบุ๊ก ว่าอย่างไร ละเมิดสิทธิแลเสรีภาพของการแสดงออก จักชอบฤามิชอบ อ้ายอีไพร่มันพินิจเองได้ ในฐานะที่เป็นแอดมิน เคยแบนคนที่เข้ามาในเพจบ้างไหม เพราะเหตุใด ลงอาญาไปบ้าง เหตุเพราะมันลิขิตสารที่ผิดอาญาบ้านเมือง มีประมาณ ๑๐ คน คิดเห็นอย่างไรกับการเซนเซอร์ รัฐควรควบคุมหรือบล็อกเว็บไซต์หรือไม่ "มาตรแม้นกูจักมิเห็นงามกับทุกสิ่งที่มึงเอื้อนเอ่ย หากแต่กูจักปกป้องด้วยเกียรติของออกพญา ในสิทธิของมึง ที่จักเอื้อนเอ่ยถึงมัน" แอดมินบางเพจมีการเอาข้อมูลส่วนตัวของบุคคลธรรมดามาเผยแพร่ให้สาธารณะรู้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือหรือเศรษฐกิจบางอย่าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าตัวก่อนนั้น คุณมองพฤติกรรมแบบนี้ว่าอย่างไร ก้าวก่ายเรื่องของชาวบ้านนักอ้ายไพร่สถุลสกุลต่ำ มองว่าปี 2013 นี้ แนวโน้วของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ facebook จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งที่เป็นอยู่ กูมิใช่ พระโหราธิบดี จักได้เห็นกาลในเบื้องหน้า ทำไมถึงเลือกภาพบุเรงนองเป็นรูปประจำตัวในเพจ กูละม้ายคล้ายอ้ายน้าเดช มึงมิมีตาดูฤๅ กูจักเอาเหล็กแหลมลนไฟร้อน แทงตามึงเสียให้บอดอ้ายไพร่ประชาไท รูปประจำตัวเพจ ซึ่งเป็นภาพ สมภพ เบญจาธิกุล ที่รับบทเป็นพระเจ้าบุเรงนองในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ในวัน 11 ธ.ค. ที่ผ่านมากองบรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน ได้สำรวจทัศนะจากเพจดังในวัน 'รัฐธรรมนูญ' ซึ่งหนึ่งในนั้นมีทศนะของเพจออกพญาฯ ด้วยที่กล่าวว่า "กูจักมาเล่าข้อราชการเปิดกะโหลกแลกะลาให้อ้ายอีไพร่เยี่ยงพวกมึงถือว่าเอาบุญอีกสักครา รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบในการปกครองประเทศ ดังนั้นกฎหมายใดจักขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ อาจจะเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญ ฉบับแรก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร โดยยึดอำนาจการปกครองสยามจากรัชกาลที่ ๗ แลได้ใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะราษฎรจัดตั้งขึ้น ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยถือว่าผู้ที่ทำให้สยามมี ปฐมรัฐธรรมนูญ มาจากคณะราษฎร นั่นเอง หากแต่วันรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปีเนื่องด้วยเป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของสยาม แลให้เปลี่ยนชื่อสยาม เป็นประเทศไทย รัฐธรรมนูญถูกแก้ไขมาเป็นฉบับที่ ๑๘ ตามแต่สถานการณ์ว่าผู้ใดถืออำนาจพวกมากกว่าในขณะนั้น ฤๅ บางครั้งก็มาจากปลายสีหนาทปืนไฟ ในขณะที่บางคนยับยั้งการแก้ไขในฉบับหนึ่ง แต่ก็เคยได้แก้ไขมาอีกฉบับหนึ่งที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเฉกเช่นกัน ทำอะไรตามใจคือไทแท้ หากกฎมันยาก มันขัดขวาง จักไปยากกระไรก็เพียงแค่เปลี่ยนกฎ ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนกฎจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน ก็คือผู้ที่มีอำนาจที่มิใช่เพียงแค่นักการเมืองเท่านั้น หากแต่รวมถึง ทหาร ข้าราชการ แลชนชั้นปกครองเหนือรัฐธรรมนูญ หากการแก้รัฐธรรมนูญ ยังคงเป็นการแก้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแย่งชิงอำนาจของชนชั้นปกครอง อ้ายอีไพร่ฟ้าหน้าใส ก็ยังมิเคยได้ประโยชน์สูงสุดจากการแก้รัฐธรรมนูญสักครา "คนไทยทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ จักมีผู้ใดผู้หนึ่งอยู่เหนือกฎหมายมิได้" เพียงข้อนี้ก็ทำให้ได้เสียก่อนเถิด" ท่านออกญาพญาหงส์ทอง กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ออสเตรเลีย จี้ 'ทวิตเตอร์' ลงนามข้อตกลงจัดการโซเชียลมีเดีย Posted: 16 Jan 2013 07:43 AM PST เฟซบุ๊ก กูเกิล ยาฮู และไมโครซอฟท์ ร่วมลงนามในข้อตกลงเรื่องการร่วมจัดการการร้องเรียนเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์ก กับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อสกัดกั้นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ด้านทวิตเตอร์ยังไม่ลงนาม (16 ม.ค.56) จูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย เรียกร้องให้ทวิตเตอร์ลงนามในข้อตกลงเรื่องการร่วมจัดการการร้องเรียนเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กกับรัฐบาลออสเตรเลีย พร้อมโทษด้วยว่าความเสียหายจำนวนมากที่เกิดขึ้น มาจากความเกรียนของผู้ที่โพสต์ความเห็นยั่วโมโหกันในทวิตเตอร์ กิลลาร์ดระบุว่า เฟซบุ๊ก กูเกิลในส่วนของยูทูบ ยาฮู และไมโครซอฟท์ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลออสเตรเลียแล้ว ภายใต้ข้อตกลงนี้ประกอบด้วยหลักการ 12 ข้อ อาทิ บริษัทที่ร่วมลงนามจะต้องแต่งตั้งบุคคลเพื่อประสานงานกับรัฐบาล โดยมีการประชุมกันทุก 6 เดือน เพื่อหารือถึง "ประเด็นอุบัติใหม่" (Emerging Issues) และแนวโน้ม ลบเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเด็ก สร้างแนวปฏิบัติการใช้ที่ยอมรับได้ ให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ว่าอะไรคือพฤติกรรมออนไลน์ที่ยอมรับได้และไม่ได้ มีกระบวนการในการจัดการเรื่องร้องเรียน นอกจากนี้ บริษัทเหล่านี้มีหน้าที่จัดการเรื่องร้องเรียนเมื่อเกิดการละเมิดนโยบายใน "ทันที" ด้วย โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากรายงานของคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความปลอดภัยในไซเบอร์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องว่าไม่ตอบสนองต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย รัฐบาล และสาธารณะ แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาจะแสดงถึงการปรับปรุงตัวด้วยการเข้าร่วมการประชุมเรื่องความปลอดภัยในไซเบอร์ที่กรุงแคนเบอราก็ตาม นายกฯ ออสเตรเลียบอกว่า ความเสียหายจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากบรรดาเกรียนทั้งหลายล้วนอยู่ในทวิตเตอร์ ดังนั้นจึงอยากให้ทวิตเตอร์เอาอย่างบริษัทโซเชียลมีเดียใหญ่ๆ เจ้าอื่น โดยยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว พฤติกรรมการเกรียนที่เป็นข่าวพาดหัวเมื่อปีที่ผ่านมา อาทิ กรณีเซเล็บอย่างชาร์ลอต ดอว์สัน ถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาลหลังถูกถล่มทางทวิตเตอร์ หรือนักรักบี้อย่างร็อบบี ฟาราห์ แจ้งความกับตำรวจ หลังมีคนทวีตวิจารณ์แม่ของเขาที่เพิ่งเสียชีวิต กิลลาร์ดบอกว่า นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะแสดงความเห็น "แหลมคมและหนักขึ้น" ภายใต้เสื้อคลุมของความเป็นนิรนาม และนี่เป็นสาเหตุของปัญหาจำนวนมาก เมื่อผู้คนรู้สึกกดดันจากการถูกกลั่นแกล้งในเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ อนึ่ง มีรายงานว่า ทวิตเตอร์นั้นยังไม่มีสำนักงานในออสเตรเลีย และอยู่ระหว่างความพยายามที่จะตั้งสำนักงานในซิดนีย์ ส่วนกูเกิลนั้น กิลลาร์ดบอกว่า ข้อตกลงนี้ยอมรับโดยยูทูบ แต่กูเกิลพลัส ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลยังไม่ได้ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ขณะที่พรรคกรีนแสดงความกังวลว่า รัฐบาลอาจกำลังเล่นบทเผด็จการ (big brother) โดยสกอตต์ ลุดเลม โฆษกพรรคกรีนบอกว่า พรรคฯ สนับสนุนความพยายามที่จะทำให้เงื่อนไขการใช้บริการง่ายและชัดเจนขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะปกป้องตัวเองในโลกออนไลน์ได้ แต่ก็กังวลว่ารัฐบาลดูเหมือนจะตั้งใจควบคุมช่องทางที่ผู้คนจะสื่อสารระหว่างกัน นอกจากนี้ ออสเตรเลียเองก็มีกฎหมายที่จะจัดการกับการคุกคาม การทำให้เสียชื่อเสียงและการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กิลลาร์ดบอกว่า เธอตกใจกับงานวิจัยชิ้นใหม่ที่บอกว่า 6% ของวัยรุ่นออกไปพบกับคนแปลกหน้าในชีวิตจริง หลังจากได้ติดต่อกันทางออนไลน์ นอกจากนี้ ผลสำรวจวัยรุ่น 500 คนโดยบริษัทแมคอาฟี ระบุว่า วัยรุ่น 20% ตั้งใจเข้าไปดูภาพนู้ดหรือภาพลามกออนไลน์ แอนดรูว์ ลิตเติลพราวด์ ประธานแมคอาฟี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เด็กกว่า 2 ใน 3 ยอมรับว่าผู้ปกครองไม่รู้เลยว่าพวกเขาทำกิจกรรมอะไรบนอินเทอร์เน็ต
ที่มา: | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แถลงการณ์ นปช.เสนอ พรก.นิรโทษกรรม เร่งรัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว Posted: 16 Jan 2013 07:24 AM PST เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.แดงทั้งแผ่นดิน) ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ให้มีผลนิรโทษกรรมกับประชาชนทั้งสองฝ่าย ยกเว้นผู้นำที่มีอำนาจในการตัดสินใจกระทำการ "เพราะพวกเขาไม่ใช่อาชญากรที่ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน" โดยรายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้ 0 0 0 แถลงการณ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘สลายม็อบท่อก๊าซ’ 10 ปี คดีความ กับกว่า 16 ปี ‘การต่อสู้’ ของคนจะนะ Posted: 16 Jan 2013 06:23 AM PST วันนี้ที่รอคอย... หลังจากคนจะนะฝากความหวังต่อกระบวนการยุติธรรมมายาวนานถึง 10 ปี และแล้ว 'สิทธิเสรีภาพในชุมนุมโดยสงบ' ก็ได้รับการรับรอง เมื่อวันนี้ (16 ม.ค.56) ศาลปกครองสงขลาได้อ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่เจ้าพนักงานตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.45 คดีหมายเลขดำที่ อ.426/2549 คดีหมายเลขแดงที่ อ.711/2555 ระหว่าง นายเจะเด็น อนันทบริพงศ์ ที่ 1 กับพวกรวม 30 คน กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ระบุ การชุมนุมของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบ และการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมโดยสงบต่อไปได้ ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จึงต้องรับผิดชอบ โดยให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีรวมกันจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี 00000 สำหรับสาระสำคัญของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีสลายการชุมนุมผู้คัดค้านโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAW) สรุปประเด็น ไว้ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการสลายการชุมนุมของผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 และกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ที่ชุมนุมกันบนถนนจุติอนุสรณ์ บริเวณเชิงสะพานจุติบุญสูงอุทิศ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เป็นการกระทำละเมิดผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 หรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ทางสาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เสรีภาพในการชุมนุม เป็นเสรีภาพที่มีความสำคัญ เพราะมีที่มาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในสังคมที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย การชุมนุมเป็นกลไกในการเปิดโอกาสให้มีการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย แสดงออกซึ่งปัญหาและข้อเรียกร้องของประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม ทั้งยังช่วยให้รัฐมองเห็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมได้ชัดเจน ทั้งนี้การชุมนุมดังกล่าวต้องเป็นการชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ผู้ฟ้องคดีและกลุ่มประชาชนผู้คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ได้รวมตัวกันเพื่อเดินทางไปยื่นหนังสือ เสนอข้อเรียกร้องให้มีการทบทวนโครงการดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่จะเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรี (นอกสถานที่) ณ โรงแรม เจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันที่ 21 ธันวาคม 2545 ผู้ฟ้องคดีและกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาถึง อ.หาดใหญ่ ในเวลา 20.00 น.โดยมีรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนำขบวนมาตามถนนเพชรเกษม กระทั่งถึงทางเข้าถนนจุติอนุสรณ์ บริเวณวงเวียนน้ำพุ แต่ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจจัดวางกำลังและแผงเหล็กตั้งวางขวางกั้น ขบวนกลุ่มผู้ชุมนุมจึงหยุดอยู่บนถนนจุติอนุสรณ์ บริเวณเชิงสะพานจุติบุญสูงอุทิศ และมีการเจรจากันระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจกับผู้ชุมนุม โดยเจ้าพนักงานตำรวจต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมจากที่เคยตกลงกันไว้เดิม แต่การเจรจาไม่เป็นผล โดยในระหว่างนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนนั่งล้อมวงอยู่ใกล้แผงเหล็ก และบางส่วนที่นับถือศาสนาอิสลามก็ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยไม่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้กระทำการใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะใช้ความรุนแรง หรือมีการฝ่าแนวแผงเหล็กของเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ดำเนินการชุมนุมในลักษณะยั่วยุหรือส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงหรือก่อให้เกิดการจลาจล รวมถึงก่ออันตรายโดยตรงต่อชีวิตร่างกายของประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงเป็นการชุมนุมโดยสงบ แต่ภายหลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้ตั้งแถวเพื่อผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมจนเกิดความวุ่นวายขึ้น และดำเนินการสลายการชุมนุม จนกลุ่มผู้ชุมนุมต้องสลายตัวไปในที่สุด การที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการสลายการชุมนุมดังกล่าวเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การที่กลุ่มผู้ชุมนุมต้องชุมนุมกันอยู่บนถนนจุติอนุสรณ์ เป็นเพราะไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจได้ตั้งจุดสกัดไว้ กลุ่มผู้ชุมนุมจึงไม่มีเจตนาที่จะปิดกั้นการจราจร และการที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการสลายการชุมนุมดังกล่าวเพียงเพื่อเปิดเส้นทางเข้าออกโรงแรมเจ.บี.ให้แก่คณะรัฐมนตรี ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าการสลายการชุมนุมนั้น เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ทางสาธารณะ ตามมาตรา 44 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 อีกทั้งยังมีเส้นทางเข้าออกโรงแรมเจ.บี.ได้อีกหลายทาง การที่เจ้าพนักงานตำรวจเลือกที่จะใช้มาตรการสลายการชุมนุมจึงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เกินแก่ความจำเป็น นอกจากนี้ การเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ตามหลักสากลที่ใช้ในการสลายการชุมนุมของประชาชน หรือมีลำดับขั้นตอนจากเบาไปหาหนักตามที่ระบุในแผนรักษาความสงบในการชุมนุมครั้งนี้แต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการสลายการชุมนุมดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย โดยไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมต่อไปได้ อันถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 เมื่อการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานตำรวจอยู่ในสังกัด จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 ไม่อาจใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 44 เพียงใด เมื่อพิจารณาลักษณะเสรีภาพในการชุมนุมแล้ว เห็นว่าบุคคลเพียงคนเดียวไม่อาจก่อให้เกิดการชุมนุมสาธารณะได้ แต่จะต้องเกิดจากการที่บุคคลหลายๆ คนมารวมตัวกัน การกำหนดค่าสินไหมทดแทนสำหรับการกระทำละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุม จึงเป็นคนละส่วนกันและแตกต่างจากการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซึ่งถูกกระทำละเมิดเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การกำหนดค่าสินไหมทดแทนสำหรับการกระทำละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมในครั้งนี้ จึงเป็นการเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีและบุคคลอื่นๆ ไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าควรกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 เป็นเงินรวมกัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 100,000 บาท และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตามส่วนแห่งการชนะคดี 00000 แม้คำตัดสินจะนำมาซึ่งความหวังในเรื่องเสรีภาพในการชุมนุม แต่สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่โครงการ ช่วงระยะเวลาอันยาวนานกว่า 16 ปี ในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิและทรัพยากรในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลายจากโครงการขนาดใหญ่ และ 10 ปี กับการต่อสู้ด้วยกระบวนการยุติธรรมในคดีสลายการชุมนุม รวมไปถึงคดีอื่นๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาที่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าใดนัก ไม่สามารถทัดทานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ น.ส.ศุภวรรณ ชนะสงคราม นักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ให้ข้อมูลว่า หลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมดังกล่าว ในเดือนมิถุนายน 2545 โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ก็เริ่มเดินหน้าต่อในพื้นที่จนสำเร็จ และติดตามมาด้วยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าจะนะ รวมทั้งโครงการต่อเนื่องในปัจจุบัน อาทิ ท่าเทียบเรือสงขลา-สตูล ท่าเรือปากบารา ฯลฯ ขณะที่ผลกระทบจากโครงการฯ นั้น เริ่มตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง ที่มีการกันพื้นที่ทางทะเลเพื่อขุดวางท่อก๊าซ ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน และเมื่อเริ่มเดินเครื่องโครงการก็มีปัญหาเกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น กรณีกลิ่นเหม็นจากโรงแยกก๊าซ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ถูกยกเลิกการว่าจ้าง มลพิษทางเสียงที่มีเป็นระยะ และกรณีของก๊าซรั่ว เป็นต้น น.ส.ศุภวรรณ กล่าวว่า แม้ปัญหาจะไม่รุนแรงเท่าที่มาบตาพุด จ.ระยอง เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังมีไม่มากนัก แต่กระบวนการแก้ปัญหาผลกระทบด้วยการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ โรงแยกก๊าซ จังหวัดสงขลา และประชาชนให้ตรวจสอบแล้วแก้ไขโดยการจ่ายเงินชดเชย ตรงนี้สำหรับเธอไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ดังที่ นางสุไรด๊ะห์ โต๊ะหลี ชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา ผู้ร่วมในเหตุการณ์สลายการชุมนุมชาวบ้านจะนะ เมื่อปี 2545 เคยกล่าวไว้ว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เคยหยุดนิ่งในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิด ปกป้องทรัพยากรที่สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด เอาไว้ให้ลูกหลาน สำหรับชัยชนะในคดีความครั้งนี้คงเป็นความสำเร็จระหว่างทางให้เก็บเกี่ยว เพราะเมื่อพ้นจากคดีนี้ไปแล้วชาวบ้านก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอยู่ต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สู้ 10 ปี ‘คดีท่อก๊าซไทย-มาเลย์’ ศาลปกครองสูงสุดสั่ง ‘สตช.’ ชดใช้ฐานละเมิด Posted: 16 Jan 2013 04:37 AM PST ศาลปกครองสูงสุดชี้ตำรวจใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุสลายม็อบค้านโรงแยกก๊าซจะนะ หลังสู้คดี 10 ปี ระบุเป็นการชุมนุมโดยสงบ เจ้าหน้าที่กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้ สตช.จ่ายค่าเสียหาย รวม 1 แสนบาท เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 มกราคม 2556 ที่ห้องพิจารณาที่ 2 ศาลปกครองจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ศาลปกครองจังหวัด ได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีตำรวจสลายการชุมนุมของชาวบ้านที่คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ และโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ที่บริเวณถนนจุติอนุสรณ์ ใกล้โรงแรม เจ.บี.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หรือโรงแรมหรรษาเจบีในปัจจุบัน ทำให้มีผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม ได้รับบาดเจ็บ รถยนต์เสียหาย คดีหมายเลขดำที่ อ.426/2549 คดีนี้นายเจ๊ะเด็น อนันทบริพงศ์ ผู้ฟ้องที่ 1 กับพวก รวม 30 คน ได้ยื่นฟ้องสำนักงานตรวจแห่งชาติ จังหวัดสงขลา และกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องจากละเมิดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมตามมาตรา 40 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่บังคับใช้ขณะนั้น ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับฟ้องเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ 1-24 ในส่วนที่เรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเท่านั้น ศาลปกครองสงขลา ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ว่า การสลายการชุมนุมดังกล่าวไม่ชอบโดยกฎหมาย จึงให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายแก้ผู้ฟ้องคดีที่ 1 – 24 เป็นคน คนละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่วนจังหวัดสงขลาและกระทรวงมหาดไทย ไม่ปรากฏว่ามีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดร่วมกับตำรวจด้วย จึงไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย ซึ่งต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กระทั่งศาลจังหวัดสงขลาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า การชุมนุมดังกล่าวชาวบ้านเตรียมยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนโครงการท่อส่งก๊าซ และโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งมีกำหนดเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรม เจ.บี.หาดใหญ่ ในวันที่ 21 มกราคม 2545 โดยระบุว่า เป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ส่วนกรณีที่สำนักงานตรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ โดยระบุว่า กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวชุมนุมกันเกิน 10 คน มีผู้สั่งการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการตระเตรียมอาวุธทั้งที่เป็นอาวุธ และมิใช่อาวุธโดยสภาพ ซึ่งสามารถตรวจยึดหนังสติ๊ก ลูกตะกั่ว กรรไกรปลายแหลม มีดสปาต้า และไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลม 175 อันนั้น ศาลพิจารณาเห็นว่า การชุมนุมโดยใช้สิทธิอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญย่อมกระทำโดยคนเดียวไม่ได้ และไม่ปรากฏว่าแกนนำมีการสั่งการให้กลุ่มผู้ชุมนุมสั่งสมอาวุธ ขณะเดียวกัน ศาลเห็นว่าหนังสติ๊ก ลูกตะกั่ว และมีดสปาต้านั้นถือว่ามีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ชุมนุม โดยเป็นอาวุธที่ผู้คัดค้านเตรียมมาเป็นการส่วนตัว มิได้มีการสั่งการจากแกนนำแต่อย่างใด ส่วนไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลมพบว่า ผู้ชุมนุมใช้เป็นเสาธง มิใช่อาวุธแต่เดิม แต่ได้ใช้เป็นอาวุธในเวลาต่อมาเมื่อตำรวจเข้าสลายการชุมนุม สำหรับการทำร้ายตำรวจ และทรัพย์สินของทางราชการนั้น เกิดจากการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม และทำร้ายผู้คัดค้านจนบาดเจ็บ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบ และการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมโดยมิได้ดำเนินการตามหลักสากลคือ จากเบาไปหาหนักจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมโดยสงบต่อไปได้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องที่ 1) จึงต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องที่ 1-24 รวมกันจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นายสักการิยา หมะหวังเอียด หนึ่งในผู้ห้องคดี กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า ชาวบ้านไม่ได้ติดใจว่าจะได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายเท่าใด แต่คดีทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของชาวบ้านดังกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง รวมทั้งเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่ชาวบ้านคัดค้านมาตลอด คือโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย และการปกป้องสิทธิและทรัพยากรในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลายจากโครงการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการอ่านคำพิพากษา มีชาวบ้านมาร่วมฟังคำพิพากษากว่า 100 คน โดยชาวบ้านได้ถือป้ายที่มีภาพถ่ายของนายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมดังกล่าวรวม 5 นาย ได้แก่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง พล.ต.ท.สัญฐาน ชยนนท์ พล.ต.ต.สุรชัย สืบสุข ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุสลายการชุมนุมดังกล่าวจนกระทั่งวันนี้ เป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอีก 4 คดี โดยเป็นคดีอาญาที่ชาวบ้านถูกฟ้องข้อหามั่วสุมก่อความวุ่นวาย ขัดขวางและทำร้ายเจ้าพนักงานฯ 2 คดี ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้อง ขณะนี้ทั้ง 2 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ส่วนคดีที่ผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายยื่นฟ้องแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อศาลแขวงสงขลา ศาลสั่งจำหน่ายคดีเพื่อรอผลการพิจารณาคดีอาญา อีกคดีคือผู้ชุมนุมยื่นฟ้องอาญา พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ กับพวกรวม 38 คน ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานของศาลจังหวัดสงขลา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 16 Jan 2013 02:44 AM PST | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภาที่ปรึกษาฯ เตือนรัฐบาลเสี่ยงผิด รธน. ไม่นำร่างเอฟทีเอไทย-อียูฟังความเห็นก่อน Posted: 16 Jan 2013 02:31 AM PST
16 ม.ค.56 ตามที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรปให้รัฐสภาพิจารณาวันอังคารที่ 22 ม.ค.นี้ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกกังวลต่อท่าทีของกระทรวงพาณิชย์ที่ไม่เปิดเผยร่างกรอบเจรจาฯแม้จะผ่าน ครม.ไปตั้งแต่ 4 ธ.ค.55 และยังไม่เคยนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกรงว่า กระทรวงพาณิชย์จะสร้างปมปัญหาทางการเมืองแก่รัฐบาลในอนาคต "ทางสภาที่ปรึกษาเข้าใจดีว่า รัฐบาลต้องการที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอกับอียูอย่างเร่งด่วน แต่การเจรจาเอฟทีเอเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศต่างเห็นด้วยกับสภาที่ปรึกษาฯว่า รัฐบาลต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) กรอบเจรจาฯ อย่างทั่วถึงก่อนเสนอให้รัฐสภา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาร่างกรอบฯนี้ยังไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะหรือรับฟังความคิดเห็นเลย การจัดรับฟังความคิดเห็นในร่างกรอบฯ เพียง 1 ครั้งในส่วนกลางไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือเสียเวลา แต่ถือเป็นข้อมูลที่พึงแนบให้รัฐสภาได้พิจารณา ในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาลตามกฎหมายค่อนข้างกังวลกับท่าทีของกระทรวงพาณิชย์มาก เมื่อวานนี้ในการประชุมพิจารณาร่างความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ กรมเจรจาฯยังมีท่าทีไม่เต็มใจที่จะจัดรับฟังความคิดเห็น ขณะที่ภาคเอกชน คือ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัวแทนสภาหอการค้าไทย ยังเสนอให้เดินหน้าเข้ารัฐสภา แล้วให้คนที่กังวลก็ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯไม่อยากเห็นรัฐบาลตกไปอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางการเมืองเช่นนั้นอีก" รศ.ดร.จิราพร กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯเสนอให้รัฐบาลกำหนดให้ (ร่าง) กรอบการเจรจาฯ ระบุอย่างชัดเจนให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าขององค์การการค้าโลก กฎหมายไทย หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ทั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2555-2559 ซึ่งจะทำให้นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจริง "การกำหนดให้การเจรจาเอฟทีเอไม่เกินไปกว่าทริปส์นั้น ไม่ได้เป็นการขวางการเจรจาดังที่ภาคเอกชนวิตกกังวล เพราะดูจากการเจรจาเอฟทีเอของอินเดียกับอียู อินเดียซึ่งมีอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญเข้มแข็งระดับโลกไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว จนในที่สุดนายคาเรล เดอ กุช ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป หัวหน้าคณะเจรจา ต้องยอมรับด้วยการเขียนบทความเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ระบุว่า สหภาพยุโรปจะไม่กดดันให้อินเดียต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาในด้านนี้แล้ว เพื่อป้องกันผลกระทบทางลบที่จะเกิดต่อการเข้าถึงยารักษาโรคในราคาที่เหมาะสมทั้งที่อินเดียและที่อื่นๆ การเจรจาเอฟทีเอของทั้งสองประเทศก็ยังดำเนินต่อได้ไป และเท่าที่ทราบมาในร่างกรอบเจรจาฯหลายประเด็นที่ภาคเอกชนห่วงใยก็ได้กำหนดชัดเจน เช่น มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศ ไม่ได้เป็นการกำหนดกรอบอย่างหลวมๆตามอ้าง" อย่างไรก็ดี สภาที่ปรึกษาฯยินดีอย่างยิ่งที่ทางกระทรวงพาณิชย์รับปากที่จะรอผลการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพกรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อียูต่อการเข้าถึงยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางในการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา และจะให้มีการศึกษาเปรียบเทียบผลดีผลเสียในภาพรวมทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งสะท้อนสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะทำการศึกษาผลดีผลเสียด้านสวัสดิการของเกษตรกร แรงงาน และผู้มีรายได้น้อย เพราะที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนว่าผลประโยชน์จากการทำเอฟทีเอตกไปอยู่ที่ใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พุทธทาสภิกขุกับพุทธศาสนาในมิติของ ‘ศาสตร์’ Posted: 16 Jan 2013 02:29 AM PST บันทึกของพุทธทาสภิกขุ (ภาพจากเฟซบุ๊กของ Rachanant Kraikaew)
โดยปกติชาวพุทธเราเชื่อว่า 'พุทธศาสนา' นั้นเป็นของสูงกว่า 'ศาสตร์' เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล เขียนไว้ในหนังสือ 'อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่' ว่า พุทธศาสนาไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง) เพราะพุทธศาสนาสอนความจริงระดับปรมัตสัจจะ อันเป็นความจริงแท้เหนือสมมติสัจจะ แต่วิทยาศาสตร์ หรือศาสตร์ต่างๆ เสนอความจริงระดับสมมติฐานหรือสมมติสัจจะเท่านั้น พูดให้กว้างกว่านั้นคือ พุทธศาสนายังมีมิติของศรัทธา ความเชื่อที่แปรมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อุดมคติในการดำเนินชีวิตของปัจเจก มีมิติของศีลธรรม จารีตประเพณี วัฒนธรรมทางความคิด ค่านิยมของสังคม พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นมิติที่ศาสตร์ทั่วๆ ไปไม่มี อย่างไรก็ตาม แม้พุทธศาสนาจะมีมิติของศรัทธาความเชื่อและอะไรต่างๆ ดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพุทธศาสนาไม่ได้มีมิติของความเป็นศาสตร์ ความเป็น 'ศาสตร์' ในที่นี้ผมหมายความอย่างตรงไปตรงมาว่าคือ 'ระบบความรู้' เหมือนความรู้ทั่วๆ ไปที่เกิดจากการค้นคว้าทดลองตามระเบียบวิธีในการแสวงหา/สร้างองค์ความรู้นั้นๆ ท่านพุทธทาสไม่ลังเลเลยที่จะยืนยันว่า 'พุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งความดับทุกข์' ในหนังสือ 'คู่มือมนุษย์' ท่านเขียนว่า พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้จักสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร เพราะ 'พุทธศาสนา' แปลว่า 'ศาสนาของผู้รู้' พุทธะแปลว่าผู้รู้ คือรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง (ที่เกี่ยวกับการดับทุกข์) ได้อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา หรืออาศัยวิชาความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์และต้นเหตุของความทุกข์ ฉะนั้น จิตวิญญาณของพุทธศาสนาจึงเป็น 'จิตวิญญาณแห่งการแสวงหาความจริงและอิสรภาพ' หรือบางทีท่านพุทธทาสก็พูดว่า 'พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต' คล้ายๆ กับศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทำการศึกษา แต่ต่างกันตรงที่วิทยาศาสตร์ทางจิตแบบพุทธมีจุดมุ่งหมายเพื่อความพ้นทุกข์ทางจิตวิญญาณ ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะตัวต่างจากศาสตร์ทางจิตวิทยาทั่วๆ ไป (แต่ในบางเรื่องอาจศึกษาเทียบเคียงกันได้ เช่น งานเขียนเรื่อง 'ปมเขื่อง' ของท่านพุทธทาสก็มีส่วนคล้ายงานด้านจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ เป็นต้น) เหตุผลที่ท่านพุทธทาสยืนยันว่า 'พุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งความดับทุกข์' หรือ 'พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต' คือเหตุผลที่ว่า ความรู้แจ้งอริยสัจที่ทำให้พ้นทุกข์ได้นั้นเกิดการที่พุทธะลงมือค้นคว้าทดลองโดยการใช้ชีวิตของตนเองในการปฏิบัติลองผิดลองถูกหลากหลายแนวทางทาง จนค้นพบแนวทางที่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง ฉะนั้น ความรู้ที่ทำให้พ้นทุกข์ที่เรียกว่า 'อริยสัจสี่' นั้น จึงเป็นความรู้ที่อ้างอิงประสบการณ์ตรง ท่านพุทธทาสจึงพูดเสมอว่าพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา เพราะไม่ใช่เรื่องของการเก็งความจริงด้วยเหตุผล (สำหรับผู้ที่มองว่าพุทธศาสนามีมิติของปรัชญา อาจจะมองความหมายของ 'ปรัชญา' กว้างกว่าที่ท่านพุทธทาสมอง) แต่เป็นการรู้ความจริงจากการพิสูจน์ทดลอง หรือเป็นความจริงที่ยืนยันด้วยประสบการณ์ ข้อยืนยันของท่านพุทธทาสดังกล่าวเราจะโต้แย้งได้ ก็ต่อเมื่อเราหาหลักฐานมาหักล้างได้ว่า การรู้แจ้งอริยสัจของพุทธะไม่ใช่เรื่องของการมีประสบการณ์ตรง โดยผ่านการพิสูจน์ทดลองด้วยการปฏิบัติหลากหลายวิธี ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ จนเกิดการรู้แจ้งที่ทำให้แน่ใจได้ว่านั่นคือความดับทุกข์ ความเป็น 'ศาสตร์' ของ 'การดับทุกข์' ที่พุทธะค้นพบและนำเสนอนั้น เห็นได้ชัดว่าต่างจากความเป็น 'ศาสนา' ตามความหมายในยุคนั้น เพราะความเป็นศาสนานั้นหมายถึง 'การผูกพันกับอำนาจเหนือธรรมชาติ' เช่น ความศรัทธาในพระเจ้าหรือพระพรหม ซึ่งพุทธะตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็ผ่านการใช้ชีวิตทางศาสนาในความหมายนี้มาก่อน เช่น ตามประวัติบอกว่าได้ศึกษาจนเจนจบคัมภีร์ไตรเพทของพราหมณ์ เคยปฏิบัติตามลัทธิศาสนาอื่นๆ ที่เชื่อในพลังของฌานสมาบัติ การบำเพ็ญตบะแบบฤาษี เป็นต้น จนสุดท้ายเมื่อหลุดพ้นจากมิติทางศาสนาในความหมายดังกล่าว จึงค้นพบ 'ความจริงจากประสบการณ์' ซึ่งนี่คือหลักการพื้นฐานของพุทธศาสนาเลยว่า 'ความจริงต้องตรวจสอบได้ด้วยประสบการณ์' ความเชื่อเรื่องพระเจ้าหรืออัตตาที่เป็นอมตะ ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสบการณ์ พุทธศาสนาจึงไม่รับรองว่าเป็นความจริง (การที่พุทธศาสนาไม่ได้มีลักษณะของการผูกพันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือพระเจ้านี่เองที่ทำให้นักคิดตะวันตกมองว่า พุทธศาสนาไม่ใช่ 'religion' แต่เป็น 'philosophy of life' แบบหนึ่ง) ผมคิดว่า หากเรายอมรับว่าการพบความจริง (ที่ชาวพุทธเรียกว่า 'การตรัสรู้' หรือ enlightenment) ของพุทธะคือ 'การพบความจริงจากประสบการณ์' ที่ผ่านการทดลองอย่างเป็นระบบ และเป็นการพบความจริงที่เป็นจุดตั้งต้นของการเกิดพุทธศาสนาในระยะต่อมา เราต้องยอมรับว่าความจริงที่พุทธะค้นพบมีลักษณะเป็น 'ศาสตร์' มากกว่าจะเป็น 'ศาสนา' ตามความหมายร่วมสมัยในเวลานั้น และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมท่านพุทธทาสจึงเรียกพุทธศาสนาว่า 'ศาสตร์แห่งความดับทุกข์' (ถ้าเราอ่าน 'อนุทินปฏิบัติธรรม' ของท่านพุทธทาสในวัยหนุ่ม จะเห็นว่านั่นเป็นบันทึกการทดลองปฏิบัติในลักษณะเป็นศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด) แน่นอน พุทธศาสนาในความหมายที่เป็น 'ศาสตร์แห่งความดับทุกข์' เป็นความหมายของพุทธศาสนาในยุคแรกเริ่ม คือเริ่มจากความหมายของ 'อริยสัจสี่' ที่พุทธะค้นพบ และนำมาบอกเล่าแก่คนอื่นๆ ท่านพุทธทาสเองยืนยันว่า 'อริยสัจสี่คือหัวใจพุทธศาสนา' หรือคือแกนหลักของระบบคำสอนทั้งหมดในพุทธศาสนา คำสอนอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนขยายของอริยสัจสี่นี้ และหากเราจะตรวจสอบว่า คำสอนอื่นๆ เป็นคำสอนของพุทธะจริงหรือไม่ เราก็สามารถตรวจสอบได้ด้วยการดูความสอดคล้องกับหลักอริยสัจสี่ นั่นคือดูว่าเป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อการทำความเข้าใจ 'ความทุกข์กับความดับทุกข์' หรือไม่ และเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ด้วย 'ประสบการณ์' หรือไม่ เนื้อหาของอริยสัจสี่ไม่มีอะไรที่อยู่เกินเลยประสบการณ์ของมนุษย์ ความทุกข์และสาเหตุของทุกข์คือสิ่งที่สังเกตเห็นอาการแสดงออกทางกายภาพ หรือพฤติกรรมได้ด้วยประสาทสัมผัส และสังเกตเห็นอาการที่ปรากฏทางใจของเราได้อยู่แล้ว ความดับทุกข์และทางดับทุกข์ก็พิสูจน์ได้ด้วยประสบการณ์ตรงของเราเองอีกเช่นกัน ดังที่ท่านพุทธทาสพูดเสมอว่า ความดับเย็นทางใจเป็นสิ่งที่คนเรามีประสบการณ์กับตัวเองมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไปในชีวิตประจำวัน เมื่อทดลองปฏิบัติตามมรรคหรือไตรสิกขาก็อาจพบประสบการณ์ความดับเย็นหรือ 'นิพพานชิมลอง' ได้ และถ้าเราสามารถมีประสบการณ์กับนิพพานชิมลองหรือความสงบเย็นชั่วคราวได้ก็สามารถจะมีประสบการณ์กับความสงบเย็นถาวรได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเรียนรู้ของเรา (พึงตระหนักว่า คำว่า 'นิพพาน' ที่ท่านพุทธทาสใช้ไม่ได้หมายถึงของวิเศษสูงส่ง หรือลึกลับอย่างที่ชาวพุทธชอบใช้กัน แต่เป็นความจริงในธรรมชาติธรรมดาๆ เช่น ที่ท่านพุทธทาสว่าคนอินเดียเห็นไฟดับก็ว่า 'ไฟนิพพาน' ความร้อนในใจดับก็เรียกว่า 'ใจนิพพาน' เป็นต้น) ลักษณะความเป็น 'ศาสตร์' ของพุทธศาสนายุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสิ่งที่อาจารย์สมภาร พรมทา เขียนไว้ใน 'วารสารปัญญา' ว่า 'ความเรียบง่าย' คือ ในแง่ตัวคำสอนก็ง่ายตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน อีกทั้งไม่มีพิธีกรรมอันบ่งบอกความเป็นศาสนาเลย เช่น การเทศนาของพุทธะมักอยู่ในรูปของการสนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีความสนใจ พุทธะไม่เคยชวนใครมาทำพิธีกรรมนั่งสมาธิหลับตาอย่างที่นิยมทำกันในปัจจุบัน แต่จะใช้วิธีพูดคุยแลกเปลี่ยน เล่าสิ่งที่ท่านค้นพบ และนำเสนอโลกทัศน์แบบพุทธแก่คู่สนทนา บ่อยครั้งเมื่อจบการสนทนาผู้ฟังก็บรรลุธรรมทันที (พุทธะเรียกสิ่งที่ท่านนำเสนอแก่ผู้คนเวลานั้นว่า ' พรหมจรรย์' หรือ 'ธรรมวินัย' เป็นส่วนมาก) 'การบรรลุธรรม' ก็ไม่ได้มีลักษณะพิสดาร หรือมีลักษณะเชิงปาฏิหาริย์อย่างที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน บรรยายการบรรลุธรรมของตนเองว่า 'วินาทีที่กิเลสขาดผึงไปจากจิตใจ ปรากฏเหมือนโลกธาตุสะเทือนเลือนลั่น' แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในใจอย่างเรียบง่าย เช่น การบรรลุธรรมของโกณฑัญญะปฐมสาวกนั้น หมายถึงการ 'รู้แจ้ง' ว่า 'สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา' คล้ายๆ กับว่าฟังพุทธะเล่าแล้วไตร่ตรองตามจนเกิด 'get idea' อะไรประมาณนั้น (แต่เป็นการ 'get idea' ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตด้านในของผู้นั้น เปรียบเทียบหยาบๆ คล้ายๆ กับเราอ่านงานของนักปรัชญาบางคนแล้วก็ 'get idea' ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดบางอย่างของเรา เป็นต้น) การบวชพระก็ไม่มีพิธีรีตอง เมื่อมีผู้แจ้งความประสงค์จะใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุตามแบบพุทธะ ท่านก็ตอบอนุญาตสั้นๆ ว่า 'ท่านจงเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำความดับทุกข์โดยชอบ' คำอนุญาตนี้บอกเป้าหมายของการบวช และผู้บวชก็ใช้ชีวิตเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น วินัยสงฆ์ก็ไม่มีแม้แต่ข้อเดียว ภิกษุยุคแรกๆ ก็อยู่กันได้ไม่มีปัญหาวุ่นวาย ต่อเมื่อมีคนมาบวชมากขึ้น แล้วไม่เคารพเป้าหมายการบวชจึงมีวินัยหยุมหยิม มีคำสอนและพิธีกรรมที่ซับซ้อนตามมาและวิจิตรพิสดารมากขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านมาเกือบสามพันปี จนแทบจะหาร่องรอยเดิมของพุทธะไม่เจอ ดังที่เดวิด อาร์.ลอย บอกว่า 'พุทธะสอนธรรมะ ไม่ได้สอนพุทธศาสนาแบบที่มีหน้าตาเช่นปัจจุบัน' การที่ท่านพุทธทาสยืนยันความเป็น 'ศาสตร์' ของพุทธศาสนาโดยอ้างอิงคำสอนของพุทธะยุคแรกเริ่มไม่ใช่การแสดงจุดยืนแบบ Fundamentalism แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ใช่การยืนยันว่าสิ่งที่ปรากฏในคัมภีร์เท่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หากแต่ท่านยืนยันด้วยซ้ำว่าจะฉีกพระไตรปิฎก (ส่วนที่มีเนื้อหาเชิงอภิปรัชญาและปาฏิหาริย์) ทิ้งสัก 70 เปอร์เซ็นต์ก็ยังได้ เหลือไว้สัก 30 เปอร์เซ็นต์ที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจทุกข์และความดับทุกข์ก็พอ อีกทั้งยังยืนยันว่า แม้คนที่ไม่ได้เป็นชาวพุทธก็พ้นทุกข์ได้ หากเขาปฏิบัติสอดคล้องกับกฎธรรมชาติส่วนที่ทำให้พ้นทุกข์ หรือชาวพุทธเองจะบอกว่าไม่นับถือพุทธะก็ได้เพราะพุทธะสอนให้นับถือตัวเองและนับถือธรรม (ดังบันทึกของท่านพุทธทาสข้างบนสุด) และในพระไตรปิฎกก็ยืนยันว่า 'พุทธะเคารพธรรม' อย่างไรก็ตาม ท่านพุทธทาสก็พูดถึง 'พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา (religion)' ว่าได้แก่ 'ระเบียบปฏิบัติซึ่งได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความพ้นทุกข์' ซึ่งหมายความว่า ความเป็นศาสนาของพุทธศาสนานั้นไม่ได้ผูกพันอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติ หากแต่อยู่บนฐานของความเป็นศาสตร์ที่ทำให้รู้จักสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สำหรับผมแล้ว การมองว่าพุทธศาสนาเป็น 'ศาสตร์' คือการทำให้พุทธศาสนาเป็น 'ของธรรมดา' ไม่ใช่ 'ของศักดิ์สิทธิ์' การยืนยันว่า 'พุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งความดับทุกข์' หรือ 'พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต' จึงไม่ใช่การยืนยันสัจธรรมศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ หากแต่ท่านพุทธทาสยืนยันเสมอว่าพุทธศาสนาต้องวิจารณ์ได้ และชวนให้เราวิจารณ์ ที่สำคัญการมองว่าพุทธศาสนาเป็นศาสตร์หรือความรู้ธรรมดาๆ แบบหนึ่งย่อมทำให้เราข้ามพ้นการยึดติดในรูปแบบ พิธีรีตอง ดังที่ท่านพุทธทาสบอกว่าไม่จำเป็นเลยที่เราต้องบวชเป็นพระ บวชอยู่ที่บ้านก็ได้ ซึ่งหมายความว่า เป็นฆราวาสก็สามารถเรียนรู้โลกทัศน์แบบพุทธ และใช้โลกทัศน์นั้นเป็นแนวทางดำเนินชีวิตที่ดีได้นะจ๊ะ โดยเฉพาะการมีจิตวิญญาณแบบพุทธ คือ 'จิตวิญญาณแห่งการแสวงหาความจริงและอิสรภาพ' จะช่วยให้เราไม่ตกเป็นทาสของ 'วัฒนธรรมตอแหลแลนด์' ที่ฉ้อฉลอำนาจและเสรีภาพของประชาชนนะจ๊ะ
(ขออภัย บังเอิญผมติดสำนวน 'นะจ๊ะ' มาจากที่อ่าน 'วารสารปัญญา' เล่มล่าสุดของ อ.สมภาร พรมทา ไม่ใช่ต้องการล้อเลียนลีลาของ 'ท่านผู้มีญาณวิเศษ' แต่อย่างใด นะจ๊ะ)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จวก ‘ประชุมเอ็มอาร์ซี’ ไร้วาระ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ทำลายอนาคตความร่วมมือลุ่มน้ำโขง Posted: 16 Jan 2013 02:19 AM PST ภาคประชาชนและองค์กรสิ่งแวดล้อมในอาเซียน ออกแถลงการณ์ต่อการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 16-17 ม.ค.56 ที่ สปป.ลาว เผยไร้วาระการประชุมเรื่อง 'เขื่อนไซยะ' จวกแสดงถึงการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาล 16 ม.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเฟซบุ๊ก หยุดเขื่อนไซยะบุรี (stop Xayaburi Dam) เผยแพร่ แถลงการณ์จากภาคประชาชนและองค์กรสิ่งแวดล้อมในอาเซียน ต่อการประชุมเอ็มอาร์ซี ระหว่างวันที่ 16-17 ม.ค.56 ที่เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว กรณีที่รัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงไม่มีวาระเรื่องเขื่อนไซยะบุรีในการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ประจำปี ระบุเป็นการทำลายความร่วมมือในลุ่มน้ำโขงในอนาคต "การที่คณะมนตรีแม่น้ำ โขงไม่นำประเด็นเขื่อนไซยะบุรีมาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา แสดงถึงการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาลสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่าง" นายนิวัติ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ความเงียบไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนไซยะบุรี เรื่องนี้ส่งผลกระทบถึงการสร้างเขื่อนอื่นๆ ในแม่น้ำโขงในอนาคต แถลงการณ์ดังกล่าวระบุข้อมูลด้วยว่า ในเดือน พ.ย.55 รัฐบาลลาวจัดพิธีเปิดการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ แม้มีการทักท้วงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการ ปรึกษาหารือล่วงหน้า ในขณะเดียวกันรัฐบาลลาวก็เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามที่ต้องการให้มีการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนของโครงการนี้ รวมทั้งเพิกเฉยต่อความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่เสนอให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อนออกไป จนกว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จ ส่วนหนังสือพิมพ์ Cambodia Daily รายงาน ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมกัมพูชาเน้นย้ำจุดยืนของประเทศโดยการแถลงว่า "นายกรัฐมนตรีฮูนเซ็น กล่าวว่า ต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินว่าจะเกิดผล กระทบ (ต่อเรา) อย่างไร และเราเรียกร้องให้รัฐบาลลาวเคารพมติให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อน" ขณะที่แหล่งทุนระหว่างประเทศได้แสดงข้อกังวลเช่นกัน ล่าสุดในเดือน พ.ย.55 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่ามี "ข้อกังวลว่าการก่อสร้างดำเนินไปก่อนที่ การศึกษาผลกระทบจะแล้วเสร็จ" "สองปีที่ผ่านมาโครงการเขื่อนไซยะบุรีสร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงของรัฐบาลในภูมิภาคนี้ และเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแม่น้ำข้ามพรมแดนซึ่งเป็นที่สนใจกันมากที่สุดกรณีหนึ่งในโลก" เพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานประเทศไทยองค์การแม่น้ำ เพียรพร กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลลาวปฏิเสธที่จะร่วมมือกับเพื่อนบ้าน จึงไม่น่าประหลาดใจที่ไม่มีวาระการประชุมเรื่องนี้บรรจุอยู่ "ลาวได้ละเมิดข้อตกลงแม่น้ำโขง ทั้งยังอ้างอีกว่าเขื่อนไซยะบุรีมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และยังไม่สนใจข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงซึ่งระบุว่า มาตรการลดผลกระทบด้านประมงและปลาของเขื่อนไซยะบุรีไม่น่าจะได้ผล" เพียรพรกล่าว ด้านนายเทพ บุญณฤทธิ์ พันธมิตรเพื่อแม่น้ำในกัมพูชา (Rivers Coalition in Cambodia) และสมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (Cultural and Environmental Preservation Association) กล่าวว่า รัฐบาลในภูมิภาคนี้มีอำนาจป้องกันไม่ให้เกิดหายนะจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก ทำได้ด้วยการเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนแม่น้ำโขง โครงการอื่นๆ ทันที จนกว่าการศึกษาเพิ่มเติมและการปรึกษาหารือกับประชาชนจะเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ "เราเรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาค นี้และแหล่งทุนประกันว่า จะมีการทบทวนกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าก่อนที่จะเดินหน้าโครงการเขื่อนใดๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการเขื่อนอื่นๆ ซ้ำรอยเขื่อนไซยะบุรี" นายเทพกล่าว ส่วน Ms.Lam Thi Thu Suu ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม (Vietnam Rivers Network) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมและการพัฒนา (Centre for Social Research and Development - CSRD) เวียดนาม กล่าวว่า เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรีที่มีต่อความเป็นอยู่และความมั่นคงด้านอาหารของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงจะกว้างไกลและรุนแรงแค่ไหน "ในฐานะที่เป็นสายน้ำร่วมกัน อนาคตของเราจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือของรัฐบาลในภูมิภาคที่จะ ต้องแก้ปัญหาเขื่อนไซยะบุรีทันที ก่อนที่จะสายเกินไป" ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนามกล่าว ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ในระหว่างการลงพื้นที่แม่น้ำโขงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว องค์การแม่น้ำ อีกทั้ง เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว องค์การแม่น้ำ ภาพประกอบจาก: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4772896793317&set=o.122260101128398&type=1&relevant_count=1&ref=nf
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'เอไอ' แถลง พม่าคุ้มครองพลเรือนและสอบสวนการโจมตีในรัฐคะฉิ่น Posted: 16 Jan 2013 02:19 AM PST หลังมีผู้เสียชีวิตจากการโจมตี 16 มกราคม 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 15 มกราคม 2556 เรื่อง 'พม่า: ต้องคุ้มครองพลเรือนที่ได้รับอั 0 0 0 แถลงการณ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภาที่ปรึกษาฯ เร่งหาทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางสาธารณสุข ค้างเติ่งในสภา Posted: 16 Jan 2013 02:07 AM PST เหตุค้างในสภาฯหลายปี ด้านผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับร่ 16 ม.ค.56 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสั จากปัญหาการฟ้องร้องระหว่างผู้ ขณะเดียวกันแพทยสภาได้เคยยื่นข้ การสัมมนาในครั้งนี้ ดร.ยุพดี ศิริสินสุข สมาชิกคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้ นอกจากนี้ สภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะทำงานเกี่ยวเนื่ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนามี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงาน: มิตรภาพของนักโทษแดง-เหลือง อัพเดทสถานการณ์นักโทษการเมือง Posted: 16 Jan 2013 01:10 AM PST
หลายปีที่ผ่านมา ความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เกิดความสูญเสียขึ้นมากมาย ทั้งผู้บาดเจ็ด ผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะเมื่อปี 2553 หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า แอคทีฟซิทิเซ่นที่ร่วมชุมนุมในครั้งนั้นได้กลายสภาพเป็น "ผู้ต้องหา/นักโทษ ในคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง" จำนวนมาก ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหลายจังหวัด "คอป.เสนอว่าบุคคลเหล่านี้ควรจะเอามาไว้ในที่อื่นที่มิใช่เรือนจำปกติ เพราะผู้ต้องขังในราชทัณฑ์เรามันล้น...เราต้องการปรองดองใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นคุณก็เอาพวกนี้ไปไว้ที่อื่นซึ่งก็คุกเหมือนกัน อาจจะลดความแออัดลงมาหน่อย แต่คนที่สูญเสียเสรีภาพ มันไม่สบายดี ไม่สนุกหรอก" คณิต ณ นคร ให้สัมภาษณ์มติชนออนไลน์ ถึงเหตุผลข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อมารัฐบาลได้มีการจัดให้ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองนี้ย้ายมาคุมขังรวมกันที่ "เรือนจำหลักสี่" ภายในสโมสรตำรวจ โดยอ้างถึงคำแนะนำของ คอป.อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ต้องขังที่คดีเด็ดขาดอีกราว 5-6 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่ได้ย้ายมาด้วย ขณะที่ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 อีก 7 คนในจำนวนนี้เป็นหญิง 1 คนกลับไม่ถูกนิยามว่าเป็น "นักโทษ(อันมีแรงจูงใจมาจาก)การเมือง" แม้ คอป.จะนับรวมและเขียนในรายงานอย่างชัดเจนอย่างยิ่ง แต่รัฐบาลยังคงไม่กล้าตอบรับต่อนิยามนั้นท่ามกลางกระแส 'ล้มเจ้า' ที่จุดติดและยังมีผลสืบเนื่องในทางการเมืองอีกยาวนาน ปัจจุบัน ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวพันการเมืองที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่นั้นมีอยู่ 22 คนในจำนวนนี้เป็นหญิง 1 คน รายละเอียดข้อมูลคดีของนักโทษการเมือง สามารถดูได้จากตารางด้านล่าง (วันชัย รักสงวนศิลป์ หนึ่งในผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เสียชีวิตภายในเรือนจำหลักสี่อย่างกระทันหันเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.55 , ฉัตรชัย หมายเหลือง ผู้ต้องขังใหม่จากคดีบุกกระทรวงมหาดไทยปี 2552 ถูกย้ายจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาที่เรือนจำหลักสี่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา) ไม่ว่าจะเรียกพวกเขาว่า "นักโทษการเมือง" หรือจะเรียกขานอย่างไร เรื่องนี้ก็กลายมาเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมการเมืองไทย กระทั่งมีความพยายามของนักวิชาการอย่างกลุ่มนิติราษฎร์ ผลักดันเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม สำหรับประชาชนตัวเล็กที่เข้ามาเกี่ยวพันกับการชุมนุมและถูกดำเนินคดีด้วย (อ่านแนวทางของนิติราษฎร์ได้ที่ นิติราษฎร์: คำอธิบายเรื่องร่าง รธน.ว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง) เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของปัญหา เราอาจต้องย้อนไปดูข้อมูลตั้งแต่แรกเริ่ม ศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 หรือ ศปช. ซึ่งก่อตั้งโดยนักวิชาการ นักกิจกรรม อาสาสมัคร ได้ลงพื้นที่สำรวจและบันทึกเรื่องเกี่ยวกับนักโทษการเมืองไว้ในรายงาน 'ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53' ว่า "มีผู้ถูกจับกุมจากเหตุการณ์สืบเนื่องกับการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,857 คน ในจำนวนนี้ต่อมาถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 1,763 คน ในศาล 59 แห่ง" หน้า 448 ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีและไม่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมีอย่างน้อย 105 คน และมีหลายรายที่ในท้ายที่สุดแล้วศาลยกฟ้อง หรือกระทั่งกรณีที่ศาลอุทธรณ์สั่งยกคำพิพากษาโดยให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.173 วรรค 2 ก็ยังมี "จากข้อมูลทำให้เห็นได้ว่า กระบวนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ภายใต้อำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในช่วงนั้นมีปัญหา ทั้งการจับกุมในวันที่สลายการชุมนุม การออกหมายจับและการติดตามจับกุมตามหมายจับ หลายกรณีการตั้งข้อหากระทำโดยไม่มีหลักฐานชัดเจน เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง" หน้า 457 "แม้แต่ในกลุ่มคนที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณานั้น มีจำนวนมากที่ถูกคุมขังอยู่นานกว่า 6 เดือน และอีกจำนวนหนึ่งถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ปีก่อนที่ศาลจะปล่อยชั่วคราว อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อยู่นานหลายเดือนหลังสลายชุมนุม และบรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง" หน้า 453 ยังไม่รับรวมกรณีตัวอย่างที่ ศปช. มีการศึกษาและสัมภาษณ์โดยละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการจับกุมซึ่งมีการซ้อมและข่มขู่ผู้ต้องหาอย่างชัดเจนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ (หน้า 464) "คอป.พบว่ากระบวนการสอบสวนในคดีที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 มีการแทรกแซง และการแสวงหาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในบางกรณียังไม่สมบูรณ์และไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ทำให้สาธารณชนเกิดความเคลือบแคลงต่อกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น คอป.เห็นว่ารัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนว่า หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกแทรกแซง ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมถึงวางตนเป็นกลางและเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมืองโดยไม่เข้าข้างฝ่ายใด" ข้อเสนอแนะหนึ่งในรายงานฉบับสมบูรณ์ของ คอป. สถิติคดีและปัญหาในกระบวนการต่างๆ ประกอบกับความไม่คืบหน้าในคดีของกลุ่มการเมืองอีกฝ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ความเป็น 2 มาตรฐานของสังคมไทย ประชาชนของทั้งสองขั้วการเมืองต่างก็โกรธแค้นและชิงชังซึ่งกันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ และดูจะหาทางลงได้ยาก ท่ามกลางความขัดแย้งทางความคิดและสภาพเช่นว่านั้น กลับมีภาพของ "ความเห็นอกเห็นใจ" "ความพยายามทำความเข้าใจ" ซึ่งกันและกัน ผ่านซี่ลูกกรงเล็ดรอดออกมา เป็นภาพที่สวนทางกับสภาพการณ์ภายนอกอย่างแทบจะสิ้นเชิง 14 มกราคม 2555 อานนท์ นำภา ทนายความของผู้ต้องขังเสื้อแดงและผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯหลายคนได้โพสต์ภาพจดหมายจากลูกความของเขาที่อยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราว ชะตากรรมของ ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ คนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักจากสังคมวงกว้างเนื่องจากภาพที่เขาขับรถกระบะคันใหญ่ชนตำรวจถูกนำเผยแพร่ในสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางเมื่อปี 2551 – 'ปรีชา ตรีจรูญ' เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเขา 3 ปี แต่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ท่ามกลางนักโทษการเมืองเสื้อแดงเต็มคุก เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังขรมขึ้นทั่วทุกมุมเมือง "พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2), 80, 72 ลงโทษ จำคุก 3 ปี พิเคราะห์แล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งมั่นคง เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 56 ให้คุมประพฤติจำเลย โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนครั้ง ภายในกำหนด 1 ปี รายงานตัวครั้งแรกนับแต่วันมีคำพิพากษา กับให้จำเลยกระทำกิจการบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก" คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หลังจากนั้นเรื่องราวของเขาก็เงียบหายไป ไม่น่าเชื่อว่าวันนี้เราจะได้ยินเรื่องของเขาอีกครั้งจากนักโทษการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเขา จากมุมมองที่ต่างออกไป ผ่านจดหมายของผู้ต้องขังเสื้อแดง 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เดียวกัน คือ ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล และ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ซึ่งทั้งสองระบุว่า เมื่อ 11 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกปรีชา 33 ปี 12 เดือน ในความผิด 2 ข้อหาเกี่ยวกับการพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ปรีชาถูกคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อยู่ไม่กี่วันก่อนจะถูกย้ายไปคุมขังที่เรือนจำคลองเปรม ซึ่งบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ญาติและทนายไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ และเรายังไม่รู้ว่าเขาจะสามารถประกันตัวได้แล้วหรือไม่ สุรชัยเล่าเรื่องราวของปรีชาไว้ว่า "มีกรณีที่เป็นข่าวโด่งดังในครั้งนั้นคือ มีหนุ่มใหญ่คนหนึ่งของกลุ่มพันธมิตรฯ โหดเหี้ยมบ้าเลือด ขับรถพุ่งชนพยายามฝ่าตำรวจ ครั้นไม่ตายก็ถอยหลังมาทับซ้ำเพื่อฆ่าให้ตาย มีภาพเหตุการณ์ถ่ายทอดเป็นข่าวทางทีวี และภาพข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ทำให้ผู้ที่ดูข่าวหรืออ่านข่าวต้องรู้สึกชิงชัง แค้นเคืองหนุ่มใหญ่ที่โหดเหี้ยมผู้นี้" "นายปรีชาเป็นพันธมิตรฯ เสื้อเหลืองเพียงคนเดียวที่หลงเข้าเรือนจำในขณะที่คนเสื้อแดงถูกขังอยู่เต็มคุก และยึดพื้นที่สร้างเป็นฐานที่มั่นอยู่ก่อนแล้ว จึงมีการกริ่งเกรงว่า จะมีรายการต้อนรับน้องใหม่จนสะบักสะบอมแน่ แต่ปรากฏว่า นอกจากจะไม่มีรายการเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว พันธมิตรฯ เสื้อเหลืองท่านนี้กลับได้รับการดูแลอย่างดีจากกลุ่มคนเสื้อแดงเจ้าถิ่น จนเจ้าหน้าที่โล่งใจ สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในเรือนจำฯ ลงมติว่า พวกเราต้องมีใจบริสุทธิ์ ไม่ใช้ความรู้สึกที่โกรธแค้นชิงชังผู้ที่มีความคิดแตกต่างจากเรา และเราควรจะเห็นอกเห็นใจเขาที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับเรา เพราะต่างเป็นหญ้าแพรกทั้งคู่ เป็นเหยื่อของสถานการณ์ความขัดแย้งที่เราไม่ได้เป็นผู้ก่อ พวกเราสภาผู้แทนคนเสื้อแดงในเรือนจำฯ จึงได้ให้การดูแล อำนวยความสะดวกเรื่องข้าวเรื่องน้ำกาแฟในตอนเช้า และไม่ยอมให้ใครมาข่มเหงรังแก ดูถูกเหยียดหยาม สอบถามเรื่องราวและให้กำลังใจตลอด จึงได้ทราบความจริงที่ผิดไปจากข่าวว่า แท้ที่จริงที่เขาขับรถชนตำรวจนั้น ไม่ใช่เพราะจิตใจที่โหดร้ายทารุณ เจตนาฆ่าตำรวจ แต่เป็นเพราะเขาบาดเจ็บตกใจจะขับรถหนีจากที่เกิดเหตุแต่เลือดเข้าตา มองไม่เห็นจึงชนตำรวจที่อยู่ข้างหน้า และพอรถติดฟุตบาทก็ถอยเพื่อเดินหน้าใหม่ก็ชนตำรวจข้างทางด้านหลังอีก จนถูกตั้งข้อหา 2 คดี" สุรชัยทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า "ปรีชา อาชีพช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม และจบ มสธ.เกษตรศาสตร์ ผ่านการต่อสู้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 มาด้วย ไม่มีลักษณะของความเป็นคนคลั่งแต่อย่างใด ก็อยากเห็นศาลฎีกาพิพากษาตามศาลชั้นต้น อย่าเอาคนทำผิดเพราะตกใจมาติดคุกเลย และวันนี้ 14 ธันวาคม 2555 เขาก็ถูกย้ายไปเรือนจำกลางคลองเปรมจากพวกเราไปด้วยความประทับใจยิ่ง" ในขณะที่ธันย์ฐวุฒิเล่าให้ทนายของเขาฟังว่า "ความจริงแล้ว ด้วยความยาวนานที่พวกเราอยู่กันมาในนี้ มันสามารถจะทำอะไรก็ได้ สั่งให้ใครทำอะไรก็ได้ แต่พวกเราเลือกที่จะเห็นใจกัน แม้จะเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ตาม ผมนึกถึงสภาพเหตุการณ์ตอนที่ผมโดนรุมกระทืบในนี้แล้ว ผมไม่อยากให้เกิดขึ้นกับใครอีก โดยเฉพาะคนที่ถูกคดีทางการเมืองอย่างพวกเรา "พี่ปรีชาเป็นคนตัวเล็กๆ ผอมๆ รูปร่างเล็กกว่าผมอีก อายุ 50 กว่าๆ ผมสีเทา คือขาวเกือบครึ่ง ในสายตาผม เขาดูเหมือนผู้หญิงด้วยซ้ำ เราแทบไม่เชื่อเลยว่าจะเป็นคนๆ นี้ เช้าวันแรกที่เขาเข้ามา เขาดูกลัวมากๆ ต้นวรกฤต กลุ่มเชียงใหม่ 51 เป็นคนแนะนำให้เรารู้จัก ซึ่งผมก็บอกกับเขาตรงๆ ว่าเราเป็นเสื้อแดง เขาก็มือไหว้เราด้วยความเกรงๆ ผมพาเขาไปพบ อ.สุรชัย ซึ่งก็ให้ความอุ่นใจกับเขาได้เยอะ เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สุขทุกข์กัน ในช่วงเวลา 3-4 วัน ก่อนที่เขาจะย้ายไปคลองเปรม จนทำให้รู้ว่า เขากับเราต่างก็เป็นเหยื่อทางการเมืองเหมือนกัน" ธันย์ฐวุฒิตั้งคำถามถึงคนส่วนหนึ่งที่เมื่อทราบข่าวก็โกรธแค้นผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ผู้นี้และแสดงอาการสมน้ำหน้า "มันเกิดอะไรขึ้นกับคนไทยกันนะ เราแตกแยกกัน ใช้อารมณ์กันโดยไม่คำนึงถึงเหตุผลกันแล้วอย่างนั้นหรือ แดงเกลียดเหลือง เหลืองโกรธแค้นแดง อย่างไม่มีการให้อภัยกัน จนลืมไปแล้วว่าเราเป็นคนไทยเหมือนกัน เหมือนเป็นพี่น้องกัน ถอยออกมาคนละก้าวให้โอกาสกันดีกว่าไหม" "ผมนึกถึงเพื่อนๆ ผมอีกหลายๆ คนที่เกี่ยวข้องกับคดี 112 โดยเฉพาะป้าอุ๊ หมี (สุริยันต์) และณัฐ ที่ทุกวันนี้ พวกเขาก็ยังใช้ชีวิตอย่างไม่ปกติ แม้เรื่องมันจะจบหรือเขาพ้นโทษกันไปแล้ว ป้าอุ๊กับหลานๆ ยังมีคนคอยจ้องมองอยู่ จับผิดอยู่ เหมือนไม่ยอมให้จบ ทั้งๆ ที่ครอบครัวนี้สูญเสียอากงที่เกี่ยวข้องกับคดีไปกว่าปีแล้ว แต่คนที่คิดต่างเขาไม่จบ จนวันนี้ป้าอุ๊และครอบครัวกำลังคิดจะย้ายไปอยู่กับญาติที่พอจะให้ความอุ่นใจและความปลอดภัยกับเขาและหลานๆ ได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะจบปัญหาได้จริงๆ หรือเปล่า หมีเองทุกวันนี้ก็ยังกลับไปทำงานเย็บรองเท้าไม่ได้ เพราะยังกังวลเรื่องความปลอดภัยของเขาอยู่ จนผมเริ่มกังวลแล้วว่า ผมกับลูกจะอยู่กันยังไง ถ้าสักวันผมได้รับอิสระและออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ผมจะได้อยู่อย่างปกติเหมือนเดิมหรือเปล่า เราทั้งสองฝ่ายมาไกลกันเกินไปแล้วจริงๆ หรือ มันกลับไปเหมือนก่อนไม่ได้แล้วจริงๆ หรือ เห็นพล.อ.เปรมให้สัมภาษณ์ก่อนปีใหม่ มีบางตอนที่ว่า "คนเรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ถ้าแตกต่างกันอย่างฉันมิตร ประเทศชาติก็ไม่เสียหาย" ซึ่งผมเห็นด้วยมากๆ และถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากให้พวกเราทุกคนคิดหาทางออกให้ประเทศเรา ด้วยการคิดให้โอกาสกัน ให้อภัยกัน แม้ฟังดูแล้วจะเหมือนดัดจริตก็ตาม แต่ผมเชื่อว่านี่เป็นทางเดียวที่จะทำให้ประเทศนี้เป็นคนในประเทศนี้อยู่กันอย่างสงบสุขต่อไปได้" ธันย์ฐวุฒิระบุ
ข้อมูลจาก ศปช. (15 มกราคม 2555) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น