โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ยอดพล เทพสิทธา: สุขาภิบาลท่าฉลอมปฐมบทแห่งการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจริงหรือ ?

Posted: 13 Jan 2013 10:25 AM PST

ร.ศ.116 รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศใช้พระราชพระราชบัญญัติสุขาภิบาลกรุงเทพขึ้น แต่การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากงบประมาณทั้งหมดยังมาจากส่วนกลางและขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานนอกจากนั้นนโยบายต่างๆยังต้องรับมาจากส่วนกลางทั้งสิ้น ต่อมาในปี ร.ศ. 124 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้นโดยกำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ในเขตจัดการของสุขาภิบาลท่าฉลอมร่วมเป็นกรรมการด้วย สืบเนื่องจากการนี้เองทำให้มีการสถาปนาวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันท้องถิ่นไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันที่เริ่มต้นของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากข้อความทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวอาจทำให้เห็นมุมมองในด้านเดียวกล่าวคือเมื่อมีการจัดตั้งสุขาภิบาลและสามารถดำเนินการได้บางส่วนนั้นถือได้ว่าเป็นการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์แล้วอย่างไรก็ตามควรที่จะทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนว่าแท้จริงแล้วนั้นแนวนโยบายในห้วงเวลานั้นเป็นเช่นไร

สำหรับผู้ที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์การเมืองจะทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีการปฏิรูประบบราชการขึ้นมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อบริหารราชการแต่แท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ของการปฏิรูประบบราชการดังกล่าวคือการต้องการรวมศูนย์อำนาจมาไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้ส่วนกลางสามารถสั่งการใดๆไปยังแต่ละภูมิภาคได้อย่างมีเอกภาพ

ในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหลักสำคัญคือการกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะแต่กระจายอำนาจในการบริหารราชการแต่ยังรวมถึงการกระจายอำนาจในการตัดสินใจกระทำการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่น นอกจากนั้นส่วนสำคัญของการกระจายอำนาจคือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินในในกิจกรรมต่างๆของท้องถิ่นตามหลักประชาธิปไตยท้องถิ่น (La démocratie locale)

นอกจากนั้นยังมีหลักการที่สำคัญอีกประการคือความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Le principe de libre administration des collectivités territoriales)

เมื่อย้อนกลับมามองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการอุปโลกน์ ว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมนั้นเป็นปฐมบทของการกระจายอำนาจย่อมไม่น่าที่จะถูกต้องนัก ซึ่งผู้เขียนจะชี้ให้เห็นถึงส่วนที่ขัดและแย้งกับหลักการกระจายอำนาจตามหลักสากลในประเด็นต่างๆดังนี้

1. ในเรื่องของหลักการกระจายอำนาจ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าหลักการกระจายอำนาจนั้นเป็นหลักการสำคัญในการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณาจากตัวกฎหมายในขณะนั้นจะพบว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆของคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นขั้นๆ ตามระบบสายบังคับบัญชา กล่าวคือในการจะตรากฎต่างๆ เพื่อใช้ในสุขาภิบาลนั้นจะต้องเสนอผ่านกระทรวงมหาดไทยโดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดและไปสิ้นสุดลงที่พระมหากษัตริย์ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแล้วเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎเสนาบดีเพื่อใช้ในเขตสุขาภิบาลนั้นได้

ลักษณะดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเป็นการบริหารราชการแบบระบบสายบังคับบัญชา (Le pouvoir hiérarchie) ไม่ใช่ลักษณะของการกำกับดูแลซึ่งกล่าวได้ว่าสุขาภิบาลนั้นยังไม่มีความอิสระอย่างแท้จริงในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ของคนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าว

2. ในส่วนของหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หลักความเป็นอิสระในที่นี้หมายความรวมถึงความเป็นอิสระในด้านการบริหารงาน การบริหารทรัพยากรบุคคลและการบริหารงบประมาณ หากดูจากองค์ประกอบของสุขาภิบาลท่าฉลอมจะพบว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการมาจากการแต่งตั้งทั้งสิ้น ดังนั้นการที่จะเลือกผู้ใดมาทำงานในสุขาภิบาลย่อมต้องผ่านการพิจารณาจากบุคคลที่ส่วนกลางแต่งตั้งมาทั้งสิ้นการบริหารงานบุคคลจึงไม่อาจทำได้อย่างอิสระ

ในส่วนของการบริหารงานด้านการคลังหรือด้านงบประมานนั้นแม้ว่าจะมีการให้หักภาษีเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในกิจกกรมต่างๆ ของสุขาภิบาลได้ แต่อย่างไรก็ตามบทบาทของเทศาภิบาลที่เป็นตัวแทนจากส่วนกลางนั้นยังถือว่ามีมาก กล่าวคือสามารถตรวจสอบบัญชีรายจ่ายและรวมถึงการห้ามปรามการจ่ายเงินที่ไม่สมควรของสุขาภิบาล

การที่กฎหมายบัญญัติอำนาจของเทศาภิบาลไว้ว้างเช่นนี้ ในทางการคลังย่อมแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของส่วนกลางในการที่จะใช้อำนาจเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมของท้องถิ่นผ่านทางการคลังได้แม้ว่ากิจกรรมหรือการจ่ายเงินนั้นจะเป็นไปเพื่อสุขาภิบาล แต่หากเทศาภิบาลไม่เห็นด้วยย่อมสามารถระงับการใช้จ่ายเงินนั้นได้

3. ประเด็นเรื่องของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของท้องถิ่นโดยประชาชน ในความเป็นจริงแล้วประเด็นนี้แทบจะไม่ต้องพูดถึง เนื่องจากข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่นได้ แม้ว่าในขณะเริ่มแรกก่อนมีการจัดตั้งเขตสุขาภิบาลนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้ชักชวนให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินและลงแรงช่วยกันปรับปรุงถนนก็ตาม แต่หากมองในมิติของกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีส่วนร่วมนั้นการกระทำดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของท้องถิ่น แต่อาจกล่าวได้ว่าคือการร่วมมือหรือร่วมลงแรงลงเงินกันเสียมากกว่าซึ่งไม่มีคุณค่าหรือก่อให้เกิดผลใดๆในทางกฎหมายเลย

หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นอาจเรียกอีกอย่างได้ว่าหลักประชาธิปไตยท้องถิ่น อันประกอบไปด้วย สิทธิในการเลือกผู้ปกครองตนเอง สิทธิในการรับรู้ข้อมูลในการดำเนินการต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิทธิในการเรียกร้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตอบสนองความต้องการของตนเองและสิทธิในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น แต่จากข้อกฎกมายในพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอมจะเห็นว่าไม่มีประเด็นดังกล่าวบรรจุอยู่เลย โดยเฉพาะสิทธิทางการเมืองพื้นฐานในระดับท้องถิ่นคือการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้นยังไม่ต้องพูดถึงเพราะในห้วงเวลาขณะนั้นประเทศไทยเองยังไม่รู้จักการเลือกตั้งและคำว่าประชาธิปไตย

หากลองตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆจะพบว่าแท้จริงแล้วการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ เพราะองค์ประกอบต่างๆไม่ได้เข้าหลักเกณฑ์ใดๆ ของหลักการกระจายอำนาจเลยแม้แต่น้อย หากจะนับกันจริงๆแล้วควรจะถือว่าจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะมาจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 เสียมากกว่าเพราะมีหลักการที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจในรูปแบบปัจจุบันมากกว่าการอุปโลกน์วันในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม

ดังนั้นการจะกล่าวว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นจุดเริ่มต้นหรือปฐมบทของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจึงน่าจะคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงและหลักการกระจายอำนาจเป็นอย่างมาก

 

หมายเหตุ

บทความ ตัดตอนและแปลมาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง La participation du public à la vie locale en Thaïlande (อยู่ในระหว่างการจัดทำ) ของผู้เขียนบทความ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยอดพล เทพสิทธา: สุขาภิบาลท่าฉลอมปฐมบทแห่งการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจริงหรือ ?

Posted: 13 Jan 2013 10:24 AM PST

ร.ศ.116 รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศใช้พระราชพระราชบัญญัติสุขาภิบาลกรุงเทพขึ้น แต่การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากงบประมาณทั้งหมดยังมาจากส่วนกลางและขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานนอกจากนั้นนโยบายต่างๆยังต้องรับมาจากส่วนกลางทั้งสิ้น ต่อมาในปี ร.ศ. 124 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้นโดยกำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ในเขตจัดการของสุขาภิบาลท่าฉลอมร่วมเป็นกรรมการด้วย สืบเนื่องจากการนี้เองทำให้มีการสถาปนาวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันท้องถิ่นไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันที่เริ่มต้นของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากข้อความทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวอาจทำให้เห็นมุมมองในด้านเดียวกล่าวคือเมื่อมีการจัดตั้งสุขาภิบาลและสามารถดำเนินการได้บางส่วนนั้นถือได้ว่าเป็นการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์แล้วอย่างไรก็ตามควรที่จะทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนว่าแท้จริงแล้วนั้นแนวนโยบายในห้วงเวลานั้นเป็นเช่นไร

สำหรับผู้ที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์การเมืองจะทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีการปฏิรูประบบราชการขึ้นมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อบริหารราชการแต่แท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ของการปฏิรูประบบราชการดังกล่าวคือการต้องการรวมศูนย์อำนาจมาไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้ส่วนกลางสามารถสั่งการใดๆไปยังแต่ละภูมิภาคได้อย่างมีเอกภาพ

ในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหลักสำคัญคือการกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะแต่กระจายอำนาจในการบริหารราชการแต่ยังรวมถึงการกระจายอำนาจในการตัดสินใจกระทำการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่น นอกจากนั้นส่วนสำคัญของการกระจายอำนาจคือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินในในกิจกรรมต่างๆของท้องถิ่นตามหลักประชาธิปไตยท้องถิ่น (La démocratie locale)

นอกจากนั้นยังมีหลักการที่สำคัญอีกประการคือความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Le principe de libre administration des collectivités territoriales)

เมื่อย้อนกลับมามองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการอุปโลกน์ ว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมนั้นเป็นปฐมบทของการกระจายอำนาจย่อมไม่น่าที่จะถูกต้องนัก ซึ่งผู้เขียนจะชี้ให้เห็นถึงส่วนที่ขัดและแย้งกับหลักการกระจายอำนาจตามหลักสากลในประเด็นต่างๆดังนี้

1. ในเรื่องของหลักการกระจายอำนาจ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าหลักการกระจายอำนาจนั้นเป็นหลักการสำคัญในการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณาจากตัวกฎหมายในขณะนั้นจะพบว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆของคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นขั้นๆ ตามระบบสายบังคับบัญชา กล่าวคือในการจะตรากฎต่างๆ เพื่อใช้ในสุขาภิบาลนั้นจะต้องเสนอผ่านกระทรวงมหาดไทยโดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดและไปสิ้นสุดลงที่พระมหากษัตริย์ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแล้วเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงออกกฎเสนาบดีเพื่อใช้ในเขตสุขาภิบาลนั้นได้

ลักษณะดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเป็นการบริหารราชการแบบระบบสายบังคับบัญชา (Le pouvoir hiérarchie) ไม่ใช่ลักษณะของการกำกับดูแลซึ่งกล่าวได้ว่าสุขาภิบาลนั้นยังไม่มีความอิสระอย่างแท้จริงในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ของคนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าว

2. ในส่วนของหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หลักความเป็นอิสระในที่นี้หมายความรวมถึงความเป็นอิสระในด้านการบริหารงาน การบริหารทรัพยากรบุคคลและการบริหารงบประมาณ หากดูจากองค์ประกอบของสุขาภิบาลท่าฉลอมจะพบว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการมาจากการแต่งตั้งทั้งสิ้น ดังนั้นการที่จะเลือกผู้ใดมาทำงานในสุขาภิบาลย่อมต้องผ่านการพิจารณาจากบุคคลที่ส่วนกลางแต่งตั้งมาทั้งสิ้นการบริหารงานบุคคลจึงไม่อาจทำได้อย่างอิสระ

ในส่วนของการบริหารงานด้านการคลังหรือด้านงบประมานนั้นแม้ว่าจะมีการให้หักภาษีเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในกิจกกรมต่างๆ ของสุขาภิบาลได้ แต่อย่างไรก็ตามบทบาทของเทศาภิบาลที่เป็นตัวแทนจากส่วนกลางนั้นยังถือว่ามีมาก กล่าวคือสามารถตรวจสอบบัญชีรายจ่ายและรวมถึงการห้ามปรามการจ่ายเงินที่ไม่สมควรของสุขาภิบาล

การที่กฎหมายบัญญัติอำนาจของเทศาภิบาลไว้ว้างเช่นนี้ ในทางการคลังย่อมแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของส่วนกลางในการที่จะใช้อำนาจเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมของท้องถิ่นผ่านทางการคลังได้แม้ว่ากิจกรรมหรือการจ่ายเงินนั้นจะเป็นไปเพื่อสุขาภิบาล แต่หากเทศาภิบาลไม่เห็นด้วยย่อมสามารถระงับการใช้จ่ายเงินนั้นได้

3. ประเด็นเรื่องของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของท้องถิ่นโดยประชาชน ในความเป็นจริงแล้วประเด็นนี้แทบจะไม่ต้องพูดถึง เนื่องจากข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่นได้ แม้ว่าในขณะเริ่มแรกก่อนมีการจัดตั้งเขตสุขาภิบาลนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้ชักชวนให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินและลงแรงช่วยกันปรับปรุงถนนก็ตาม แต่หากมองในมิติของกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีส่วนร่วมนั้นการกระทำดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของท้องถิ่น แต่อาจกล่าวได้ว่าคือการร่วมมือหรือร่วมลงแรงลงเงินกันเสียมากกว่าซึ่งไม่มีคุณค่าหรือก่อให้เกิดผลใดๆในทางกฎหมายเลย

หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นอาจเรียกอีกอย่างได้ว่าหลักประชาธิปไตยท้องถิ่น อันประกอบไปด้วย สิทธิในการเลือกผู้ปกครองตนเอง สิทธิในการรับรู้ข้อมูลในการดำเนินการต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิทธิในการเรียกร้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตอบสนองความต้องการของตนเองและสิทธิในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น แต่จากข้อกฎกมายในพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอมจะเห็นว่าไม่มีประเด็นดังกล่าวบรรจุอยู่เลย โดยเฉพาะสิทธิทางการเมืองพื้นฐานในระดับท้องถิ่นคือการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นนั้นยังไม่ต้องพูดถึงเพราะในห้วงเวลาขณะนั้นประเทศไทยเองยังไม่รู้จักการเลือกตั้งและคำว่าประชาธิปไตย

หากลองตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆจะพบว่าแท้จริงแล้วการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ เพราะองค์ประกอบต่างๆไม่ได้เข้าหลักเกณฑ์ใดๆ ของหลักการกระจายอำนาจเลยแม้แต่น้อย หากจะนับกันจริงๆแล้วควรจะถือว่าจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะมาจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 เสียมากกว่าเพราะมีหลักการที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจในรูปแบบปัจจุบันมากกว่าการอุปโลกน์วันในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม

ดังนั้นการจะกล่าวว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นจุดเริ่มต้นหรือปฐมบทของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจึงน่าจะคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงและหลักการกระจายอำนาจเป็นอย่างมาก

 

หมายเหตุ

บทความ ตัดตอนและแปลมาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง La participation du public à la vie locale en Thaïlande (อยู่ในระหว่างการจัดทำ) ของผู้เขียนบทความ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ: เกาหลีเหนือ ในวันที่ทุนนิยมเริ่มคืบคลาน

Posted: 13 Jan 2013 08:53 AM PST

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ในวันที่องค์ความรู้ต่างๆสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส(เม้าส์) ในวันที่บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้อย่างซัมซุง ผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก เกาหลีเหนือคือประเทศที่มีจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ทต่ำที่สุดประเทศนึงในโลก

หลังจากสิ้นสุดยุคสงครามเย็นด้วยการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต ประเทศที่ยังคงปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์สืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้ต่างก็ปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับโลกในยุคปัจจุบันด้วยกันทั้งสิ้น ในปัจจุบัน ประเทศจีน คือตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบ"ทุนนิยมโดยรัฐ"  อาจกล่าวได้ว่าจีนเป็นชาติที่มีความมั่งคั่งและมีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง เราอาจจะเคยได้รับรู้ถึงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆในโลกไม่ว่าจะเป็น วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ แต่เรายังไม่เคยได้ยิน วิกฤตขนมจีบ หรือ ซาลาเปา แต่อย่างใด แม้ว่าเกาหลีเหนือจะคงความเป็นคอมมิวนิสต์ ที่รัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งระบบเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัด มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เกาหลีเหนือจะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศตามรอยประเทศจีน ซึ่งนอกจากเกาหลีเหนือจะมองว่าประเทศจีนเป็นมหามิตรของตนเองแล้ว ที่สำคัญประเทศจีนเองก็ได้ทำการพิสูจน์ให้โลกได้ประจักษ์ถึงความสำเร็จในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนเอง จนผงาดขึ้นมาหายใจรดต้นคอประเทศสหรัฐอเมริกา และทำท่าว่าจะแซงหน้าขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้

ภาพหญิงวัยกลางคนนั่งยองๆใช้มือดึงและเด็ดหญ้าที่ยาวออกให้สั้นลง บริเวณสองข้างถนนในกรุงเปียงยาง หรือภาพชาวเกาหลีเหนือรวมกลุ่มกันใช้มือจัดเรียงก้อนหินให้แน่นขึ้นในบริเวณรางรถไฟ อาจเป็นภาพที่เห็นจนคุ้นชินและดูเป็นเรื่องปกติสำหรับชาวเกาหลีเหนือ แต่สำหรับชาวต่างชาติที่ได้ประสบพบเจอนั้น สิ่งต่างๆเหล่านี้ถูกมองเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดไม่น้อย ผมค่อนข้างแปลกใจที่งานต่างๆเหล่านี้สำเร็จได้โดยไม่มีการใช้เครื่องมือทุ่นแรงใดๆ ในวันที่ผมเดินทางไปเคารพอนุสาวรีย์ท่านอดีตผู้นำ ผมเห็นนักเรียนหญิงกลุ่มใหญ่กำลังทำความสะอาดบริเวณนั้นโดยใช้ไม้กวาดขนาดจิ๋ว ซึ่งดูไม่เหมาะสมกับงานสักเท่าไหร่ ที่น่าสนใจคือ นักเรียนหญิงเหล่านี้ทุกคนสวมรองเท้าส้นสูง!

เมื่อ คิม จอง อึน ผู้นำคนปัจจุบันขึ้นสู่อำนาจ ต่อจากผู้เป็นพ่อ ท่านผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนปรนกฎระเบียบที่เข้มงวดบางประการ ในสมัยที่คุณปู่และคุณพ่อของเค้าปกครองประเทศนั้น รองเท้าส้นสูงเป็นสิ่งต้องห้าม ผู้หญิงจะสามารถใส่กางเกงขายาวได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นจะต้องทำงานที่ต้องการความทะมัดทะแมงเท่านั้น ท่าทีที่เปลี่ยนไปในทางที่ผ่อนคลายมากขึ้นของท่านผู้นำ อาทิ การอนุญาตให้ใส่รองเท้าส้นสูง หรือกระทั่งอนุญาตให้สามารถใส่ตุ้มหู สำหรับพวกเราเมื่อมองจากมุมมองของคนภายนอกอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับสตรีเกาหลีเหนือทุกคนแล้ว สิ่งเหล่านี้คือของขวัญอันล้ำค่าจากท่านผู้นำ มีรายงานว่ายอดนำเข้าสินค้าซึ่งในอดีตมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้นหลังจากผู้นำคนปัจจุบันก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง

ผู้เขียนได้มีโอกาสรับประทานพิซซ่าจากร้านพิซซ่าที่ตกแต่งอย่างหรูหรา มีนักร้องสาวสวยร้องเพลงสากลขับกล่อมให้ลูกค้าเจริญอาหารด้วย ผู้นำทางแจ้งว่าท่านผู้นำส่งพ่อครัวไปเรียนการทำพิซซ่าที่อิตาลี เครื่องครัว เตาอบ รวมไปถึงจาน ชาม ช้อนส้อม มีด แม้กระทั่งแก้วน้ำที่ใช้ในร้านแห้งนี้นำเข้าการอิตาลีทั้งหมด ต้องยอมรับครับว่าอร่อยมากจริงๆ ผู้เขียนพบว่าลูกค้าส่วนมากเป็นชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ที่ประเทศเกาหลีเหนือ รวมถึงนักท่องเที่ยว มีชาวเกาหลีเหนือที่แต่งตัวภูมิฐานใช้บริการบ้างแต่ว่าไม่มากเทาใดนัก การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มก่อตัวขึ้นนี้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ต่างๆให้ความเห็นว่าอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ผ่านผู้นำคนปัจจุบันเคยใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ยุโรป (ท่านผู้นำใช้ชีวิตวัยเด็กและเรียนหนังสือที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)

โทรศัพท์มือถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก แม้จะยังจำกัดการใช้งานสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาต ข้อมูลที่ได้รับจากการสอบถามผู้นำทาง ขณะนี้มียอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายล้านเครื่อง โดยบริษัทจากประเทศอียิปต์ เป็นผู้ได้รับสัมปทาน นอกจากนี้ ภายในร้านค้าของโรงแรมที่พัก ผู้เขียนได้พบเห็นเครื่องรูดบัตรเครดิตจึงได้ทำการสอบถาม เนื่องจากก่อนเดินทางได้รับแจ้งว่าบัตรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเครดิตหรือเดบิตไม่สามารถใช้ได้ที่นี่ ปรากฎว่าปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการใช้บัตรเดบิตกันบ้างแล้วตามสถานที่สำคัญๆ แต่เป็นบัตรเดบิตภายในประเทศเท่านั้น แม้จำนวนผู้ถือบัตรเดบิตจะมีน้อยมากแต่การใช้ผลิตภัณฑ์แทนเงินสดในรูปแบบต่างๆนั้น ถือเป็นการอำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยรูปแบบหนึ่ง นี่อาจเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเกาหลีเหนือกำลังพยายามเริ่มต้นที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางของทุนนิยมไม่มากก็น้อย

สินค้าจากต่างชาติก็สามารถหาซื้อได้ในประเทศเกาหลีเหนือ ไม่เว้นแม้แต่สินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกาหลีเหนือมองว่าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็มีขายในเกาหลีเหนือ เช่นเครื่อดื่มโค๊ก (ผลิตที่ประเทศจีน) เมื่อเดินทางไปสถานที่ ที่เป็นห้องสมุดและศูนย์การศึกษา ผู้เขียนได้พบว่าบรรณารักษ์ที่นั่นใช้จอคอมพิวเตอร์ยี่ห้อเดลล์ และใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องจากประเทศไทยก็มีขายที่นี่ด้วยเช่นเดียวกัน   

ผู้เขียนได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตน้ำแร่อัดลม ซึ่งประเทศเกาหลีเหนือสั่งซื้อสายการผลิตอันทันสมัยมาจากประเทศอิตาลี โรงงานตั้งอยู่ในทุ่งนาที่ห่างไกล คนขับรถซึ่งไม่คุ้นเคยเส้นทาง พาหลงอยู่นานทีเดียวกว่าจะหาโรงงานพบ ปรากฎว่าโรงงานไม่ได้ทำการผลิตแต่อย่างใด ผู้จัดการที่มาต้อนรับแจ้งว่าเพราะกระแสไฟฟ้าขัดข้องและไม่สามารถเดินเครื่องผลิตมาได้สองวันอแล้ว จึงได้แจ้งให้พนักงานซึ่งเป็นลูกหลานชาวนาในระแวกนั้นหยุดงาน หลังจากนั้นท่านผู้จัดการก็ประกาศเรียกพนักงานมาเดินเครื่องผลิตน้ำดื่มให้ชาวคณะทดลองชิม พบว่ารสชาติดีมากครับ คำถามที่ตามมาคือเค้าผลิตไปขายให้กับใคร ท่านผู้จัดการแจ้งว่าเค้ากำลังพยายามที่จะผลิตเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

ในอนาคตอันใกล้อาจจะมีสัญลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างของกรุงเปียงยางคือ โรงแรมรุกยอง (Ryugyong Hotel)ทรงปิรามิด(สร้างโดยผู้รับเหมาจากประเทศอียิปต์) ความสูง 105 ชั้น เริ่มต้นก่อสร้างในปี ค.ศ.1987 และหยุดชั่วคราวในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งหากสร้างเร็จในขณะนั้นจะเป็นโรงแรมที่สูงที่สุดในโลก ขณะนี้กำลังเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อ เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มเคมปินสกี้ ประเทศเยอรมนี ผู้ประกอบกิจการโรงแรมใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก ประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงที่จะเข้ามาบริหารกิจการทันทีที่โรงแรมก่อสร้างแล้วเสร็จ

แม้ว่าสิ่งต่างๆที่บรรยายมาทั้งหมด อาจจะเป็นสิ่งที่ประเทศเกาหลีเหนือพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะแสดงให้ชาวโลกเห็นว่าเค้ามีความเจริญและศิวิไลซ์ไม่แพ้ชาติใดๆในโลก ในความเป็นจริงนั้นประชาชนระดับรากหญ้ายังคงต้องเผชิญความยากลำบากในการดำเนินชีวิตอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นก้าวย่างที่สำคัญในการที่จะนำพาประเทศที่ยังคงความเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นได้

 

ผลิตภัณฑ์จากไทย

นักเรียนใส่รองเท้าส้นสูงขณะทำความสะอาดสถานที่สำคัญ

บริการ DHL ภายในโรงแรมที่พัก

ระบบปฎิบัติการวินโดว์ก็มีใช้ที่นี่

ร้านค้าบริเวณสถานีรถไฟใต้ดิน

ร้านพิซซ่าในกรุงเปียงยาง

โรงงานผลิตน้ำแร่อัดลม

โรงแรม Ryugyong

สินค้าที่เคยถูกมองว่าฟุ่มเฟือยที่จำหน่ายภายในเกาหลีเหนือ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช: ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร

Posted: 13 Jan 2013 08:02 AM PST

คดีปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจอีกครั้งเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ว่าศาลโลกจะมีคำพิพากษากรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาที่ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของการตีความคำพิพากษาข้อเขียนนี้จะขออธิบายการตีความคำพิพากษาโดยจะไม่ขอกล่าวถึงประเด็นข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยและข้อเท็จจริงเพื่อรักษารูปคดีในระหว่างที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลโลก

1.    การตีความคำพิพากษาของศาลโลกคืออะไร

ในกรณีที่รัฐคู่พิพาทสงสัยในความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาว่ามีความหมายแคบกว้างเพียงใดหรือมีความหมายว่าอย่างไรรัฐคู่ความก็สามารถร้องขอให้ศาลโลกทำการตีความคำพิพากษาได้

สำหรับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตีความคำพิพากษาของศาลโลกได้แก่ ธรรมนูญของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 60 ซึ่งบัญญัติว่า "คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุดและอุทธรณ์ไม่ได้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลต้องตีความตามคำร้องขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" สำหรับวัตถุประสงค์ของการตีความคำพิพากษาคือการทำให้กระจ่างแจ้ง (Clarify) ในประเด็นที่คู่ความมีความเห็นต่างกันหรือไม่ตรงกันไม่ว่าจะเป็นประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง แต่การตีความคำพิพากษาจะต้องไม่ใช่เป็นการขยายความหรือแก้ไข (Modify) บทปฎิบัติการหรืออธิบายในประเด็นที่มิได้ปรากฎอยู่ใน submission หรือมีลักษณะเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่

2.    เขตอำนาจในการตีความคำพิพากษา

ในเรื่องเขตอำนาจศาลในการตีความนี้ มีประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาดังนี้

2.1  เขตอำนาจในการตีความคำพิพากษานี้มาจากไหน

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยปกติทั่วไปเขตอำนาจของศาลมีอยู่ 2 ประเภท คือ เขตอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีที่มีข้อพิพาท (contentious jurisdiction) กับเขตอำนาจที่ติดตัวมากับศาลที่เรียกว่า incidental jurisdiction ซึ่งได้แก่อำนาจในการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว อำนาจในการตีความและอำนาจในการแก้ไขคำพิพากษา[1] ดังนั้น เขตอำนาจศาลในการตีความคำพิพากษาของตนจัดว่าอยู่ในประเภทเป็น incidental jurisdiction ศาลโลกในคดีการขอให้มีการตีความในกรณีของไหล่ทวีประหว่างประเทศตูนิเซียและลิเบีย ปีค.ศ. 1985 ได้อธิบายว่าเขตอำนาจในการตีความคำพิพากษานี้เป็นเขตอำนาจพิเศษ (special jurisdiction) ที่มาจากมาตรา 60 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยตรง ความน่าสนใจของคดีนี้อยู่ที่ว่า คดีนี้ประเทศตูนิเซียและลิเบียได้ทำความตกลงพิเศษ (Special agreement, Compromis) ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเพื่อให้ระงับข้อพิพาทและในข้อ 3 ของความตกลงนี้กำหนดว่าในกรณีที่ศาลโลกได้ตัดสินแล้วและหากต้องการให้ศาลโลกอธิบายหรือให้ความกระจ่าง ทั้งคู่จะต้องไปหาศาลโลกด้วยกัน แต่ปรากฏว่าตูนิเซียกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาฝ่ายเดียว ศาลโลกได้อธิบายว่าแม้รัฐคู่พิพาทจะทำความตกลงดังกล่าวแต่ก็ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิอีกฝ่ายหนึ่งที่จะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวให้ศาลโลกตีความ[2] ตามข้อที่98 ของ Rules of Court

นอกจากนี้ นักกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง Shabtai Rossene[3] Merrills[4] Kaikobad[5] เห็นว่า อำนาจในการตีความคำพิพากษาของศาลมาจากธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตามมาตรา 60 โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากรัฐคู่พิพาทอีกครั้งหนึ่ง การให้ความยินยอมยอมรับเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี (คดีดั้งเดิม) ตามมาตรา 36 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลในการตีความคำพิพากษาด้วย อย่างไรก็ตาม คำร้องของรัฐคู่ความจะรับฟังได้หรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องพิจารณาตามมาตรา 60 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและศาลโลกจะตีความคำพิพากษาเองไม่ได้หากคู่ความมิได้ร้องขอไม่ว่าคำขอนั้นจะกระทำร่วมกัน(Jointly)หรือกระทำฝ่ายเดียว(Unilaterally)ก็ตาม

อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า ประเด็นที่ว่า การตีความคำพิพากษาจำต้องได้รับความยินยอมจากรัฐคู่ความก่อนหรือไม่นั้นมิใช่เป็นเรื่องใหม่แต่เคยเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่ชั้นร่างอนุสัญญา The Hague Convention for the Pacific Settlement of International Disputes 1907 แล้ว โดย Sir Edward Fry ผู้แทนของประเทศอังกฤษเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทใหม่ ดังนั้น จำต้องได้รับความตกลงใหม่ (new compromis)[6] แต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกปฎิเสธจากที่ประชุมแต่ที่สุดก็ได้มีการประนีประนอมว่าคู่พิพาทสามารถเสนอให้ศาลสามารถตีความคำพิพากษาได้ตราบเท่าที่ไม่มีความตกลงห้ามมิให้กระทำ[7]

3.ความยินยอมของรัฐคู่ความในการยอมรับอำนาจศาลตามาตรา 36 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสิ้นสุดลง (Effect of lapse of title of jurisdiction) จะมีผลกระทบต่อเขตอำนาจของศาลในการตีความคำพิพากษาหรือไม่

ประเด็นนี้หมายความว่า หากความยินยอมของรัฐในการยอมรับอำนาจศาลโลกทั้งสามวิธี กล่าวคือกรณีการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกโดยการทำความตกลงทวิภาคีที่เรียกว่า "Special agreement" หรือคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกตามมาตรา 36 วรรคสองที่เรียกว่า "Optional clause declaration" หรือการยอมรับแบบที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาที่เรียกว่า "Compromissory clause" ได้สิ้นสุดลง (lapse) จะมีผลกระทบต่อเขตอำนาจศาลในการตีความคำพิพากษาหรือไม่ นักกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง Zimmermann เห็นว่า เขตอำนาจในการตีความคำพิพากษาเป็นไปตามมาตรา 60 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ขึ้นอยู่กับการให้ความยินยอมยอมรับเขตอำนาจศาลโลกในคดีดั้งเดิมแต่อย่างใด[8]

นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติของศาล ศาลโลกเคยตัดสินในคดีการร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาในคดี Avena ปีค.ศ. 2008 ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก โดยศาลโลกกล่าวว่า แม้ประเทศสหรัฐจะได้ถอนตัวจาก Optional Protocol ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการกงสุล เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2005 แต่ศาลโลกก็ยังมีเขตอำนาจตีความคำพิพากษาตามมาตรา 60 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอยู่ การสิ้นสุดของความยินยอมของการยอมรับเขตอำนาจศาลในคดีดั้งเดิม (lapse of jurisdiction of the original case) ไม่มีผลกระทบต่อเขตอำนาจศาลโลกในการตีความ[9]

นอกจากนี้ ในความเห็นแย้งของผู้พิพากษานามว่า Donoghue ที่เป็นองค์คณะพิจารณาการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่กัมพูชาร้องขอในกรณีปราสาทพระวิหารก็แสดงความเห็นว่า "รัฐไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอมแยกต่างหากในการตีความคำพิพากษาตามมาตรา 60 การให้ความยินยอมต่อเขตอำนาจศาลเหนือคดีที่มีข้อพิพาทได้รวมความยินยอมในการตีความคำพิพากษาในอนาคตด้วยแล้ว" [10] และผู้พิพากษา Donoghue ยังกล่าวชัดเจนว่า "The Court's jurisdiction to interpret the Court's 1962 Judgment survives the expiration of the declaration that Thailand made in 1950 pursuant to Article 36 paragraph 2, of the Statute of the Court."[11] 

3.1  การตีความนี้มีขอบเขตหรือข้อจำกัดระยะเวลาหรือไม่

ผู้พิพากษาศาลโลกสองท่านคือ Buergenthal[12] และ Donoghue[13] รวมทั้งศาสตราจารย์ Shabtai Rosenne[14] และ Kaikobad[15] ที่เห็นว่าการตีความคำพิพากษาศาลโลกไม่ถูกจำกัดด้วยระยะเวลา (no time-limits) ซึ่งต่างจากการขอแก้ไขคำพิพากษา (Revision) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ค้นพบข้อเท็จจริงใหม่หรือภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา

4.เงื่อนไขในการตีความ

เงื่อนไขสำคัญที่ขาดเสียมิได้ (conditio sine qua non) ในการตีความคำพิพากษาคือ ประการแรก ต้องมีข้อพิพาท (Dispute) เกิดขึ้นและประการที่สอง การตีความที่ว่านี้ต้องจำกัดเฉพาะความหมาย (Meaning) หรือขอบเขต (Scope) ของคำพิพากษาเท่านั้น

เงื่อนไขประการแรกหมายความว่า ศาลโลกจะรับคำร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาได้ (Admissible) ได้ก็ต่อเมื่อ มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจริง คำว่า "ข้อพิพาท" นั้น หมายถึงความเห็นต่างกันหรือความเห็นที่ไม่ลงรอยกันในประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงในบทปฏิบัติการ ลำพังอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าบทปฏิบัติการมีความคลุมเครือ (Obscure) แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามีความชัดแจ้งแล้ว ไม่เพียงพอที่จะถือว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น ดังนั้น ศาลโลกจึงไม่อาจตีความได้ และข้อพิพาทที่ว่านี้ต้องเป็นข้อพิพาทเกิดขึ้นจริงๆ (actual dispute) มิใช่เพียงแค่ข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ (potential dispute)

เงื่อนไขประการที่สองหมายความว่า การตีความจำกัดเฉพาะความหมายหรือขอบเขตของบทปฏิบัติการหรือเหตุผลในคำพิพากษาที่ไม่สามารถแยกออกจากบทปฏิบัติการได้เท่านั้น ศาลโลกจะตีความในประเด็นที่มิได้ปรากฏในบทปฏิบัติการหรือที่ศาลโลกมิได้ตัดสินไม่ได้ การตีความคำพิพากษาเดิมจะต้องไม่เป็นการขยายหรือแก้ไขบทปฏิบัติการในคำพิพากษาเดิมแต่จะต้องรักษา "สิ่งที่ได้รับการตัดสินและผูกพันคู่ความ"" (res judicata) ให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้ว การตีความจะกลายเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา (ซึ่งกระทำไม่ได้) หรือเป็นการขอแก้ไขคำพิพากษาซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการขอตีความ

4.วัตถุแห่งการตีความ

วัตถุแห่งการตีความ (Object of interpretation) โดยศาลโลกได้แก่คำตัดสินของศาลหรือส่วนที่เป็นบทปฏิบัติการ (Operative part) ซึ่งก็คือส่วนตอนท้ายของคำพิพากษาที่เรียงประเด็นตัดสินและมีชื่อของผู้พิพากษาที่ลงคะแนนตัดสินว่ามีผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะว่าท่านใดลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นด้วย นอกจากนี้แล้ว ผู้พิพากษาศาลโลกยังสามารถตีความ "เหตุผล" ที่ปรากฏในคำพิพากษาได้ด้วยแต่มีเงื่อนไขว่าเหตุผลนั้นต้องเป็นส่วนที่ไม่สามารถแยกได้ออกจากบทปฏิบัติการ (inseparable from the operative part) สรุปก็คือวัตถุแห่งการตีความได้แก่บทปฏิบัติการและเหตุผลที่ไม่อาจแยกออกจากบทปฏิบัติการได้

นอกจากนี้แล้ว คำพิพากษาที่จะเป็นวัตถุแห่งการตีความได้นั้นอาจเป็นคำพิพากษาชั้นเนื้อหาหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับการคัดค้านเบื้องต้นของเขตอำนาจศาล (Preliminary objection) ก็ได้ ในอดีตที่ผ่านมาศาลโลกเคยตัดสินการตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับการคัดค้านเบื้องต้นของเขตอำนาจศาลในคดี Request for Interpretation of the Judgment of 11 June 1998 in the Case concerning the Land and Maritime Boundary between Cameroon and Nigeria โดยศาลโลกได้กล่าวว่า ตามมาตรา 60 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้แยกความแตกต่างประเภทของคำพิพากษา ดังนั้น คำพิพากษาชั้นเนื้อหากับคำพิพากษาเกี่ยวกับการคัดค้านเบื้องต้นของเขตอำนาจศาลจึงเป็นวัตถุแห่งการตีความตามาตรา 60 ได้[16] ส่วนการตีความคำพิพากษาการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (Provisional measures) นั้นที่ผ่านมายังไม่ปรากฎรัฐคู่ความเสนอคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษากรณีของการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแต่อย่างใด

5.ช่องทางในการตีความคำพิพากษา

ตามธรรมนูญศาลโลกและ Rules of Procedure ของศาลข้อที่ 98 ของ Rules of Court ของศาลโลกที่แบ่งวิธีการร้องขอให้ศาลโลกตีความออกเป็นสองวิธีคือการยื่นคำร้องให้มีการตีความฝ่ายเดียว (an application) กับการแจ้งให้ทราบว่ามีการทำความตกลงพิเศษ (Notification of a Special Agreement) กับรัฐคู่พิพาทเพื่อให้ศาลโลกตีความ สรุปก็คือ วิธีการให้ศาลโลกตีความทำได้ 2 วิธี ได้แก่รัฐคู่พิพาททั้งสองฝ่ายซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการทำความตกลงพิเศษที่เรียกว่า Special Agreement เสนอให้ศาลโลกตีความ หรือการยื่นคำร้องฝ่ายเดียว โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน อย่างไรก็ดี ศาลจะรับการร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลโลก สำหรับกรณีของกัมพูชาได้ใช้ช่องทางนี้ยื่นคำร้องขอให้ศาลโลกตีความฝ่ายเดียว

6. หลักความสุจริตของผู้ขอตีความ

หลักความสุจริต (good faith, bona fide) เป็นหลักกฎหมายพื้นฐานสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศที่ครอบคลุมใช้กับหลายเรื่องรวมถึงกรณีการขอตีความคำพิพากษาด้วย[17] ผู้พิพากษาศาลโลกอย่างน้อย 2 ท่านที่ย้ำความสำคัญของหลักความสุจริตของรัฐที่ขอตีความคือท่าน Weeramantry และ Shigeru Oda ความสุจริตนี้หมายความว่า คำขอการตีความคำพิพากษาจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอำพราง (disguise) ขอแก้ไขคำพิพากษาหรือการเปิดเป็นประเด็นข้อพิพาทใหม่ โดยผู้พิพากษา Weeramantry กล่าวในคดี Request for Interpretation of the Judgment of 11 June 1998 in the Case concerning the Land and Maritime Boundary between Cameroon and Nigeria ว่า การขอให้ตีความจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอำพรางขอแก้ไขคำพิพากษาหรือเปิดการพิจารณาเป็นคดีใหม่ในสิ่งที่ศาลได้ตัดสินแล้ว ส่วนผู้พิพากษา Oda กล่าวในคดี Application for Revision and Interpretation of the Judgment of 24 February 1982 in the Case concerning the Continental Shelf (Tunisia/Libyan Arab Jamahiriya) ว่าการร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาของตูนีเซียนั้น ไม่ใช่เป็นการขอให้การตีความแต่เป็นการอำพรางขอแก้ไขคำพิพากษา[18] ส่วนการร้องขอให้ตีความคำพิพากษาของกัมพูชานั้นผู้เขียนเห็นว่ามีลักษณะเป็นการอำพรางการขอแก้ไขหรือขยายคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2505 แต่ทำในรูปของการขอตีความโดยกัมพูชาประสงค์จะอ้างสิทธิเหนือพื้นที่รอบๆ (vicinity) ปราสาทพระวิหารหรือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกระทำไม่ได้

7.ผลแห่งการตีความ

การตัดสินของศาลโลกเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษานั้นมีสถานะเป็น "คำพิพากษา" เหมือนกับการตัดสินในเนื้อหาของคดี (merits) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผลของการตัดสินกรณีของการตีความคำพิพากษานั้นกระทำในรูปแบบของ "คำพิพากษา" ซึ่งย่อมอยู่ในขอบเขตของการปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกตามมาตรา 94 วรรคแรกของกฎบัตรสหประชาชาติด้วย มีข้อสังเกตว่า แม้ว่ามาตรา 94 จะใช้คำว่า "คำตัดสิน" (Decision) มิได้ใช้คำว่า "คำพิพากษา" (Judgment) ก็ตาม แต่นักกฎหมายระหว่างประเทศส่วนใหญ่ก็ตีความคำว่า คำพิพากษาอยู่ในความหมายของ "คำตัดสิน" ตามมาตรา 94 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติด้วย[19] ผลก็คือ คำพิพากษากรณีการตีความคำพิพากษานั้นมีผลผูกพันให้รัฐคู่พิพาทจำต้องปฏิบัติตามคำตัดสินตามมาตรา 94 (1) แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

บทสรุป

การเตรียมการต่อสู้คดีในครั้งนี้เป็นผลมาจากการร่วมแรงร่วมใจของหลายฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองเขตแดน เจ้าหน้าที่ทหาร ทีมที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศชาวต่างประเทศทั้งสามท่านคือศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ และศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ เอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ และอีกหลายฝ่าย หวังว่าผลของคำพิพากษาที่จะตัดสินในช่วงเดือนตุลาคมปีนี้จะให้ความยุติธรรมแก่ประเทศไทยและเป็นผลดีต่อประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ผู้เขียนคาดการณ์ว่าคำร้องขอตีความคำพิพากษาของกัมพูชาไม่สามารถรับพิจารณาได้ (Inadmissible) เนื่องจากไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับขอบเขตและความหมายของบทปฏิบัติการของคำพิพากษาปีพ.ศ. 2505 เพราะว่าหลังจากที่ศาลโลกตัดสินคดีมาเกือบ 50 ปี ความประพฤติหรือทางปฎิบัติภายหลัง (subsequent conduct) ของกัมพูชาได้อธิบาย (clarify) ขอบเขตเเละความหมายของบทปฎิบัติอยู่ในตัวเองอย่างชัดแจ้งที่สุดแล้วว่าขอบเขตพื้นที่รอบๆอยู่ตรงไหนหลังจากที่ไทยทำรั้วลวดหนามล้อมตัวปราสาท

 

 




[1] J.G. Merrills, International Dispute Settlement, (Great Britain: Cambridge University Press,1993),หน้า 116

[2] Application for Revision and Interpretation of the Judgment of 24 Februaiy 1982 in the Case concerning the Continental Shelf (Tunisia/Libyan Arab Jamahiriya) (Tunisia v. Libyan Arab Jamahiriya), Judgment, I. C. J. Reports 1985,หน้า 216

[3] Shabtai Rossene, Interpretation, Revision and Other Recourse from International Judgments and Awards, (the Netherlands: Martinus Nijhoff Publisher,2007),p.4 ศาสตราจารย์ Rosense กล่าวว่า " The exercise of that construction-competence does not require any further expression of consent by either party; their consent to jurisdiction over the original case carries through to the interpretation phase should there be one."

[4] J.G. Merrills, อ้างแล้ว, หน้า 116

[5] Kaikobad Kaiyan, Interpretation and Revision of International Boundary Decisions, (the United Kingdom: Cambridge University Press, 2007),pp.102-104 Kaikobad กล่าวว่า "…one the court is vested with jurisdiction to hear a dispute between the parties, a litigants state need not seek ad hoc consent from the other litigant party to refer the dispute to the Court for the purposes of clarifying the meaning of the judgment."

[6] Kaikobad Kaiyan,p.87

[7] Article 82 of the 1907 The Hague Convention for the Pacific Settlement of International Disputes (Adopted in The Hague, Netherlands on 18 October 1907) stipulates that "Any dispute arising between the parties as to the interpretation and execution of the Award shall, in the absence of an Agreement to the contrary, be submitted to the Tribunal which pronounced it.

[8]Andreas Zimmermann et al (ed.)The Statute of the International Court of Justice: A Commentary,(Great Britain: Oxford University Press,2006),หน้า 1288

[9] Request for Interpretation of the Judgment of 31 March 2004 in the Case Concerning Avena and Other Mexican Nationals (Mexico v. United States of America) Request for the Indication of Provisional Measures (2008), วรรค 44

[10]โปรดดู Dissenting opinion of Judge Donoghue ในคดี Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) Provisional Measures, Order of 18 JULY 2011, วรรค 7

[11] โปรดดูความเห็นแย้งของ Donoghue ในคดี Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) Provisional Measures, Order of 18 JULY 2011,วรรค 6

[12] โปรดดูความเห็นแย้งของ Buergenthal ในคดี Request for Interpretation of the Judgment of 31 March 2004

in the Case concerning Avena and Other Mexican Nationals (Mexico v. United States of America) (Mexico v. United States of America), Provisional Measures, Order of 16 July 2008, I.C.J. Reports 2008,วรรค 25

[13] โปรดดูความเห็นแย้งของ Donoghue วรรค6

[14] Shabtai Rosenne, An International Law Miscellany, (the Netherlands: Martinus Nijhoff Publishers,1993) หน้า 81

[15] Kaikobad Kaiyan, Interpretation and Revision of International Boundary Decisions, (the United Kingdom: Cambridge University Press, 2007),p.129

 

[16] Request for Interpretation of the Judgment of 11 June 1998 in the Case concerning the Land and Maritime Boundary between Cameroon and Nigeria (Cameroon v. Nigeria), Preliminary Objections (Nigeria v. Cameroon), Judgment, I. C. J. Reports 1999,วรรค 10

[17] Kaikobad Kaiyan, ,p.135

[18] Separate opinion of Judge Oda, Application for Revision and Interpretation of the Judgment of 24 Februaiy 1982 in the Case concerning the Continental Shelf (Tunisia/Libyan Arab Jamahiriya) (Tunisia v. Libyan Arab Jamahiriya), Judgment, I. C. J. Reports 1985, p.245

[19] Bruno Simma & et al (editor)The Charter of the United Nations: A Commentary, (Great Britain: Oxford University Press, 2002), หน้า 1174

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ออกแถลงการณ์ต่อคำพิพากษาศาลปกครอง

Posted: 13 Jan 2013 07:46 AM PST

13 ม.ค. 56 - คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์กรณี คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกรณีสารพิษตะกั่วปนเปื้อนในลำห้วยคลิตี้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์กรณี คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกรณีสารพิษตะกั่วปนเปื้อนในลำห้วยคลิตี้
โดย คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ ภาคประชาสังคม
 
สืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 กรณีสารพิษตะกั่วปนเปื้อนในลำห้วยคลิตี้ ระหว่างชาวบ้านคลิตี้ล่าง จำนวน 22 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมควบคุมมลพิษ ผู้ถูกฟ้องคดี ได้ชี้ว่ากรมควบคุมมลพิษผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าจนเกินสมควร จากกรณีที่บริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) ผู้ก่อมลพิษได้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารตะกั่วในน้ำดินตะกอนดินพืชและสัตว์น้ำ โดยกรมควบคุมมลพิษไม่ได้ดำเนินการจัดทำแผนหรือกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขอันตรายจากมลพิษไว้ล่วงหน้า และไม่ทำการควบคุมตรวจสอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัทตามเวลาอันสมควรจนทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้ ซึ่งนอกจากศาลจะกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวบ้าน 22  ราย รวม 3.89 ล้านบาท แล้วศาลยังมีคำบังคับให้กรมควบคุมมลพิษกำหนดแผนงานวิธีการและดำเนินการฟื้นฟู ตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมทุกฤดูกาลจนกว่าจะพบว่าค่าสารตะกั่วในน้ำดิน พืชผัก และสัตว์น้ำในลำห้วยคลิตี้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี นั้น
 
ทางภาคประชาสังคม ซึ่งทำงานติดตามกรณีปัญหาดังกล่าว ได้มีการประชุมและจัดตั้ง คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ โดยมีมติแถลงการณ์เรียกร้องต่อกรมควบคุมมลพิษ ดังนี้
 
1.คณะทำงานฯ  คัดค้านท่าทีและความเห็นของกรมควบคุมมลพิษหลังศาลตัดสินที่ยืนยันจะใช้แนวทาง ให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง ในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ซึ่งหมายถึงการไม่ดำเนินการฟื้นฟูใดๆ และได้พิสูจน์เป็นที่ประจักษ์จากระยะเวลาการใช้วีธีดังกล่าวนับสิบปีแล้วว่าแนวทาง ให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วที่มีผลกระทบต่อชุมชนได้จนถึงปัจจุบัน มาตรการดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นกรมควบคุมมลพิษจึงต้องเปลี่ยนวิธีการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ เพื่อให้ปริมาณการปนเปื้อนสารตะกั่วในอาหารและสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนคลิตี้โดยเร็ว
 
2. กรมควบคุมมลพิษต้องเร่งกำหนดแผนงาน วิธีการ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จนกว่าสารตะกั่วจะลดลงในระดับที่ปลอดภัย ตลอดจนแก้ไขอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ตามเงื่อนไขคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเร่งด่วน  ซึ่งในการดำเนินการต้องเปิดเผยข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การดำเนินงานโปร่งใส รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ภาคประชาสังคมอยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้และกรณีศึกษาการฟื้นฟูจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อนำเสนอต่อกรมควบคุมมลพิษให้พิจารณาดำเนินการ และจะติดตามผลการบังคับตามคำพิพากษาคดีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมต่อไป
 
คณะทำงานติดตามการฟื้นฟูสายน้ำและชุมชนคลิตี้ภาคประชาสังคม ประกอบด้วย
 
1. ชุมชนคลิตี้ล่าง
2. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
3. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา
4. มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
5. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
6. กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. กลุ่มสตรีกาญจนบุรี
8. กลุ่มดินสอสี
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันเด็กที่ชายแดนใต้ ‘ขอพื้นที่ปลอดภัยให้พวกเขาด้วย’

Posted: 13 Jan 2013 07:36 AM PST

 

เปิดสถิติเด็กชายแดนใต้ เหยื่อของความรุนแรง 9 ปี เจ็บ 345 ราย ตาย 52 ราย กำพร้ากว่า 5 พัน เวที Children voice for peace ร่วมผลักดันพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชน ขอตัวเลขเหยื่อเด็กเป็นศูนย์

 
 
เต้นกังนัม – เด็กๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติอย่างสนุกสนานอย่างในภาพเป็นงานวันเด็กหน้าสำนักงานเคเบิ้ลทีวีปัตตานี หน้าโรงแรมซีเอส.ปัตตานี จัดโดยกลุ่มสื่อมวลชนในพื้นที่
 
บรรยากาศกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติหลายแห่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างคึกคัก มีเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพามาร่วมงานจำนวนมากเช่นเดียวกับทุกแห่งในประเทศไทย แต่ที่นี่เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่วันที่เด็กในพื้นที่มีความสุขสนุกสนานมากกขนาดนี้ อย่างน้อยแต่ละคนก็มีของขวัญติดมือกลับบ้านไปด้วย
 
วันเด็กแห่งชาติปี 2556 นี้ ตรงกับวันที่ 12 มกราคม เฉพาะในจังหวัดปัตตานีอย่างเดียวน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 50 แห่งที่มีการจัดกิจกรรมวันเด็ก ส่วนคำขวัญวันเด็กประจำปีนี้ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมอบไว้คือ "รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน"
 
หลายครั้งที่มีข่าวเกี่ยวเหตุรุนแรงในพื้นที่ที่ส่งผลให้มีเด็กตกเป็นเหยื่อ แม้ในวันเด็กปีนี้ยังไม่มีข่าวเช่นนั้น แต่ก็มีเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับวันเด็กแห่งชาติอยู่ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 มกราคม 2556 เมื่อคนร้ายลอบวางระเบิดรถยนต์เจ้าหน้าที่ทหารราบที่ 8033 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ 21 ขณะเดินทางไปร่วมงานวันเด็กและงานผู้นำท้องถิ่น ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา(อบต.) อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีทหารเสียชีวิต 2 นาย เหตุเกิดที่บ้านบือแนปีแน หมู่ที่ 4 ต.ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
 
สถิติเด็กเหยื่อของความรุนแรง
 
ขณะที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รายงานสถิติเหตุรุนแรงต่อแด็กว่า เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 – 2555 หรือในช่วง 9 ปีของเหตุการณ์ไม่สงบ มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตกเป็นเหยื่อ 397 ราย โดยบาดเจ็บ 345 ราย และเสียชีวิต 52 ราย โดยปี 2550 มียอดสูงที่สุดของทั้งสองกรณี คือ บาดเจ็บ 56 ราย และเสียชีวิต 23 ราย
 
ส่วนสถิติเหตุรุนแรงที่เกิดต่อเด็กเฉพาะปี 2555 ถึงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 พบว่ามีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับบาดเจ็บ 48 รายและเสียชีวิต 5 ราย โดยในปี 2555 มีเหตุสังหารเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 5 ราย ดังนี้
 
- วันที่ 19 เมษายน 2555 มีเหตุยิงนายอิสมาแอ แปเตาะ อายุ 17 ปี เสียชีวิตที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา
 
- วันที่ 31 ตุลาคม 2555 เหตุยิงนายดอรอแม สาอุ เหตุเกิดบนถนนสายชนบท ท้องที่บ้านบูเกะบือราแง หมู่ 3 ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตพร้อมลูกชาย ชื่อ ด.ช.อัคมาล สะอุ อายุ 11 ปี
 
- วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เหตุระเบิด 2 จุดในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย หนึ่งในนั้นคือ ด.ญ.ศศิกานต์ สูเริง อายุ 3 ปี
 
- วันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 เกิดเหตุคนร้ายวางระเบิดถล่มขบวนรถไฟสายนครศรีธรรมราช-สุไหงโก-ลก บริเวณบ้านสโลว์ หมู้ที่ 9 ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย บาดเจ็บ 17 คน ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 3คน ได้ ด.ช.มะเพาซัน ดาโอ๊ะ ด.ช.มะเพาซี ดาโอ๊ะ และด.ช.อัสรอน หะยีอาแซ
 
- วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เกิดเหตุคนร้ายกราดยิงร้านน้ำชา เลขที่ 60/2 บ้านดามาบูเวาะ หมู่ 1 ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ทำให้เด็กหญิงอินฟานี สาเมาะ อายุเพียง 11 เดือนเสียชีวิต นับเป็นเด็กที่เสียชีวิตที่อายุน้อยที่สุด
ขณะที่น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 16 เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า มีเด็กกำพร้าจากสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 5,000 คน โดยทางกระทรวงได้เข้าไปช่วยเหลือดูทางด้านจิตใจ  ส่วนกระทรวงศึกษาธิการช่วยเหลือด้านการเงินและทุนการศึกษา ซึ่งน่าจะมีอีกหลายร้อยคนยังไม่ได้ลงทะเบียนและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินและจิตใจ
 
ขอพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กชายแดนใต้
 
ด้วยเหตุดังกล่าว หลายองค์กรจึงพยายามรณรงค์ในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเด็ก ในฐานะที่เด็กไม่ใช่คู่ขัดแย้งของใคร โดยเฉพาะการอาศัยกระแสในช่วงเทศกาลวันเด็กแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา กลุ่มด้วยใจพร้อมด้วยสมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Deep Peace) สำนักพิมพ์โพรงกระต่าย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF)เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) จัดโครงการChildren voice for peace ขึ้นมา ที่ TK PARK  อ.เมือง จ.ยะลา มีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน โดยมีนางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ หัวหน้ากลุ่มด้วยใจ เป็นผู้ประสานงานหลักในกิจกรรมครั้งนี้
นงานแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมกลางแจ้งซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน และกิจกรรมในร่ม โดยเป็นการเสวนาในหัวข้อ"การปัญหาการป้องกันเด็กจากความรุนแรงและแนวทางการป้องกันเด็กในอนาคต"
หลังการเสวนามีการกำหนดประเด็นในการขับเคลื่อนต่อไป ได้แก่
 
1.ผลักดันให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนในการเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง
 
2.มีมาตรการพิเศษในการปกป้องความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ในที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน เขตชุมชนเป็นต้น
 
3.มีมาตรการพิเศษในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของเด็กและเยาวชน ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child; CRC) ที่รัฐไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคี โดยให้ความสำคัญกับสิทธิที่จะได้รับการดูแลสันติภาพ สุขภาพขั้นพื้นฐาน สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการทำร้าย ล่วงละเมิด และสิทธิในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างมีผู้รับฟัง
 
"ขอให้ตัวเลขเหยื่อเด็กเป็นศูนย์"
 
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกำหนดพันธะกิจ "ขอให้ตัวเลขเด็กเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นศูนย์ในปี 2556" (ZERO CHILDREN VICTIM) ดังต่อไปนี้
 
1.จัดตั้งศูนย์รายงานเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อเด็กจากสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบและรายงานไปยังทุกองค์กรร่วม
 
2.ดำเนินการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังผู้ใช้ความรุนแรง หากไม่สามารถระบุได้ในเบื้องต้นก็ควรดำเนินการสื่อสารแบบไม่เจาะจง
 
3.ดำเนินการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อสาธารณะถึงการปฏิเสธการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในรูปแบบองค์กร หรือร่วมเครือข่าย
 
สำหรับกิจกรรมต่อไปคือการขับเคลื่อนเชิงป้องกัน โดยนางสาวอัญชนา หวังว่า รัฐต้องยอมรับในหลักการที่เสนอจากภาคประชาสังคม และต้องปรับเชิงนโยบายและการปฏิบัติเพื่อเป็นพันธสัญญาว่า ภาคประชาสังคมและภาครัฐจะเดินร่วมกันในเรื่องนี้อย่างไร เป็นการสร้างเจตจำนงร่วม แล้วขยับต่อและหาแนวทางเพื่อการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เผยผลรับฟังความคิดเห็นปี 55 ปชช./ผู้ให้บริการ ขอมีส่วนร่วมนโยบาย 3 กองทุนมาตรฐานเดียว

Posted: 13 Jan 2013 07:26 AM PST

กก.หลักประกันฯเผยข้อเสนอภาคปชช-หน่วยบริการปี 55 ไม่ตัดสิทธิจำนวนครั้งคลอดบุตร พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล คัดกรองกลุ่มเสี่ยงแรงงานนอกระบบ ขอมีส่วนร่วมลดเหลื่อมล้ำบริการสุขภาพ 3 กองทุน แนะเตรียมความพร้อมด้านการคลังรองรับเปิดเศรษฐกิจเสรีอาเซียนป้องกระทบหน่วยบริการสุขภาพขนาดเล็ก
 
13 ม.ค. 56 - นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้านการแพทย์ทางเลือกและในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า  หลังจากที่ สปสช.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้ให้บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี 2555 ในรูปแบบสมัชชาพิจารณ์ ระดับภาคทั้ง 4 ภาค ภาคละ 1 จังหวัด ตั้งแต่พฤษภาคม-กันยายน 2555 ที่ผ่านมา  พบว่า จากผลการรับฟังความเห็นมีประเด็นที่ผู้เข้าร่วมทั้งภาคประชาชนและหน่วยบริการมีข้อเสนอที่หลากหลายประเด็น โดยเฉพาะภาคประชาชนมีข้อเสนอ ในเรื่องที่ใกล้ตัวคือ  เรื่องสิทธิประโยชน์ นั้น มีข้อเสนอให้เพิ่มการรักษารากฟันในทุกกลุ่มอายุ ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการคลอดบุตร  หรือการตรวจดีเอ็นเอเพื่อทราบสถานะบุคคล  ตลอดจนให้ทุกกองทุนสุขภาพภาครัฐอีก 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม มีระบบการเยียวยาช่วยเหลือเบื้องต้นหรือมาตรา 41  แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ขณะเดียวกัน ยังได้เสนอให้มีเครื่องช่วยคนพิการ เช่น ที่นอนลม ผ้าอ้อม การตรวจสุขภาพประจำปีทุกโรค เช่น คัดกรองภาวะเสี่ยงในกลุ่มแรงงานนอกระบบ และขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาแรงงานต่างด้าวด้วย
 
กรรมการหลักประกันสุขภาพฯกล่าวว่า ในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานนั้น ในส่วนของผู้ให้บริการมีข้อเสนอให้ทบทวนตัวชี้วัดหรือเกณฑ์ประเมินคุณภาพและมาตรฐานบริการที่ง่ายและเหมาะสม พร้อมทั้งเสนอให้ ใช้มาตรการด้านการเงินอย่างเข้มงวดในการผลักดันให้หน่วยบริการปรับปรุงมาตรฐาน  ขณะที่การส่งต่อและการประสานหาเตียงให้ผู้ป่วยในรพ.รัฐยังมีอุปสรรคอยู่บ้างโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯโดยเสนอให้ สปสช.ควรจัดรพ.เอกชนทุกแห่งเข้าร่วมโครงการได้ด้วย
 
สำหรับในเรื่องการเงินการคลังนั้น  ผู้ให้บริการมีข้อเสนอให้เพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัว และขอให้หารือกับรัฐบาลขอให้มีการทบทวนงบรายหัวคงที่ 3 ปี เพราะจะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของหน่วยบริการได้   อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการจัดสรรเงินขอให้เน้นการสร้างความเป็นธรรมลงไปถึงระดับพื้นที่ทั้งอำเภอหรือแม้แต่หน่วยบริการขนาดเล็กด้วย  และข้อเสนอยังรวมถึงขอให้มีการทบทวนการหักเงินเดือนของจังหวัดที่มีข้าราชการน้อยไปช่วยจังหวัดที่มีข้าราชการมาก  ควรให้มีการเบิกจ่ายสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และมีการเตรียมการด้านการเงินเพื่อรองรับอาเซียน(AEC)  ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558  ซึ่งจะต้องมีการเตรียมพร้อมในการรองรับ จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการในอนาคต รวมทั้งให้มีการปรับระบบการจ่ายล่วงหน้าให้มากขึ้น และควรมีการตั้งกองทุนสำรองระดับเขตเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องของหน่วยบริการ แก้ไขให้งบเหมาจ่ายไม่รวมเงินเดือน พัฒนาการเรียกเก็บเงินชดเชยค่าบริการผ่านระบบดีอาร์จี
 
นายแพทย์จรัล กล่าวว่า  สำหรับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้เพิ่มงบสนับสนุนค่าบริการ และให้ อปท.สมทบตามขนาดของกองทุน ทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการบริหารกองทุนให้ครอบคลุมภาคส่วน  รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สนับสนุนให้มีศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนระดับตำบลและระดับอำเภอ และในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน  ให้มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย  รวมทั้งด้านการบริหารจัดการของสปสช. ควรให้มีการจัดส่งข้อมูลรายงาน  ซึ่งไม่ควรให้เป็นภาระของหน่วยบริการ โดยต้องสะดวกต่อผู้ปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันขอความร่วมมือประสานสถาบันการศึกษาเพื่อจัดให้มีหลักสูตรเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นความรู้พื้นฐานในทุกระดับการศึกษา
 
"การรับฟังความคิดเห็นนั้นเป็นไปตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปบทเรียนและประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพในอนาคต" นพ.จรัลกล่าว
 
นายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2548-2554 ที่ผ่านมาได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและได้มีการประกาศเป็นนโยบายหรือกำหนดเป็นชุดสิทธิประโยชน์แล้ว   เช่น   การสนับสนุน เร่งรัดพัฒนาบริการปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ การให้ความคุ้มครองผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ การเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย การบริหารจัดการโรคที่มีค่าใช่จ่ายสูงอย่างครบวงจร การขยายบริการทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ยกเลิกการจำกัดการคุ้มครองการเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่เกิน 2 ครั้งต่อไป การเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพง และยาในบัญชี จ(2) การนำร่องการใช้บัตรประชาชน Smart card แทนบัตรทอง  การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ การผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพลงหมิ่นศาสนาในประเทศไทย : อภัยได้เชื่อไหม?

Posted: 13 Jan 2013 07:18 AM PST


เกริ่นนำ
เพลงหมิ่นศาสนาในประเทศไทย โดยทั่วไปรับเข้ามาจากต่างประเทศนานแล้ว แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เนื่องจากอยู่ใต้ดินเป็นหลัก  (Underground) ส่วนใหญ่เพลงหมิ่นศาสนาเหล่านั้น มักโจมตี "ความเชื่อของศาสนจักร" (Doctrine) เป็นต้น การล้อเลียน เยาะเย้ย ถางถาง พระเยซู การตั้งคำถามเรื่องความเป็นพรหมจรรย์ของพระมารดา และที่สุด เพลงหมิ่นศาสนาเหล่านั้นจะมีศิลปะที่ดูหมิ่นศาสนาเป็นของคู่กันด้วย เช่น เสื้อยืดลายกางเขนกลับหัว หรือ สร้อยคอรูปใบหน้าปีศาจ ปัญหาคือ ศาสนิกให้อภัยผู้ผลิตเพลงหมิ่นศาสนาได้หรือไม่? ถ้าไม่เพราะอะไร?

เนื้อหา
ตัวอย่างที่ชัดมากขอยกจาก บรรดาประเทศมุสลิมซึ่งบังคับใช้กฎหมายศาสนาซึ่งจะอภัยให้ไม่ได้ ถ้าเพลงหมิ่นศาสนาถูกเผยแพร่ในรัฐอิสลาม แน่นอน ที่สุดบทลงโทษตามกฎหมายศาสนาได้สะท้อนกลิ่นอายที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ของศาสนาอับราฮัม (ยูดาย คริสต์ อิสลาม) และน่าตกใจกว่านั้น คือ บทลงโทษดังกล่าวยังบังคับใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น "การเอาหินขว้างคนบาปให้ตาย"  แน่นอน พี่น้องร่วมโลกของเราถูกความไร้มนุษยธรรมนี้กดขี่อยู่ ที่สำคัญ รัฐศาสนามักปิดกั้นเสรีภาพในการสื่อสารด้วย เช่น คุณจะไม่สามารถบันทึกภาพหรือเสียงของการทารุณกรรมมนุษย์ในประเทศนั้นๆได้ ฉะนั้น เราจะไม่มีหลักฐานอะไร และยากมากที่องค์กรใดจะเข้าไปแทรกแซง (Sanction) ได้เนื่องจากเป็นความมั่นคงของรัฐ ไม่ว่าประชาชนจะถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพเพียงใดก็ตาม

แต่ประชากรส่วนใหญ่ในโลกเป็นพลเมืองของประเทศที่ไม่ได้บังคับใช้กฎหมายศาสนา ซึ่งทำให้ความเป็นพลเมืองถูกคุ้มครองเสรีภาพในการดำเนินชีวิตด้วยกลไกรัฐ (แม้จะไม่ค่อยเท่าเทียมนัก) และไม่ว่ารัฐจะบกพร่องต่อการบริหารราชการแผ่นดินมากหรือน้อยเพียงใด ประชาคมโลกไม่อาจยอมรับได้ต่อ "การฆ่าอย่างไร้มนุษยธรรม" หรือแม้กระทั่งการประหารชีวิตนักโทษที่กระทำความผิดจริงก็ตาม ควรรู้ว่า หลายประเทศในโลกพากันลงมติยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณีไปแล้ว แน่นอนบางประเทศไม่

สำหรับประเทศไทยซึ่งมีโทษประหารชีวิตและการฆ่าอย่างไร้มนุษยธรรมที่กระทำในนามรัฐ เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชากรของบางส่วนของประเทศนี้ยังเห็นดีเห็นงามกับการเอาชีวิตผู้อื่นด้วยซ้ำไป เราพบวาทกรรมและการผลิตซ้ำวาทกรรมมากมายที่ประกอบสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ของรัฐ  หลายครั้ง ผู้ที่เห็นด้วยกับการฆ่าประชาชนโกหกตัวเองและผู้อื่นว่า นี่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง นี่เป็นการจัดระเบียบและคืนความสงบสุขแก่สังคม?

เพลงหมิ่นศาสนาบนดินเป็นการแสดงออกในที่สาธารณะที่ถูกตีความว่าเป็นการละเมิดต่อความถูกต้อง เป็นสิ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นการทำลายระเบียบของสังคม และทำให้น่าหวาดกลัวว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบสุข? ทำให้มีคำถามว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้เกิดเพลงหมิ่นศาสนานั้นๆ?  หรืออะไรที่เป็นเหตุให้นักดนตรีสนใจสร้างสรรค์เพลงหมิ่นศาสนา? ถึงจะยังไม่รู้คำตอบแน่ชัด แต่ปัจจัยข้อหนึ่ง คือ "การกดขี่และความเหลื่อมล้ำ" อาจกล่าวได้ว่า เพลงหมิ่นศาสนาเป็นแรงปฏิกิริยา (Reaction) ที่ปลดปล่อยออกมาภายหลังปฏิกิริยา (action) กดขี่ของอำนาจ
 

ต้องยอมรับความจริงว่า เพลงหมิ่นศาสนามีแรงจูงใจ (motivation) ไม่มากก็น้อยจากการถูกกดขี่และปิดกั้นเสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นภาวะบีบคั้นที่ทำให้ไม่สามารถแสดงออกในทางอื่นได้ และทางออกก็เหลืออยู่ไม่กี่ทาง หนึ่งในนั้นคือ ดนตรี กลายเป็นเหมือนกฎไปแล้วว่า ถ้าขึ้นมาบนดินคุณต้องอำพรางการเรียกร้องเสรีภาพในรูปแบบสัญลักษณ์เพื่อจะได้ไม่เจ็บตัว แต่ถ้าคุณอยู่ใต้ดินคุณจะมีอิสระและเสรีภาพในการสื่อสารหรือสร้างสรรค์อะไรได้มากกว่า?
                เพราะการ "หมิ่นอำนาจ" เป็นอะไรที่ "ผู้รักษาอำนาจ" ไม่อาจยอมได้ เพราะการหมิ่นจะไปกระตุ้นในทางจิตวิทยาให้ผู้รักษาอำนาจเกิดโทสะว่า นี่เป็นการกระทำที่ก้าวร้าวบังอาจ เป็นการยั่วยุท้าทายอำนาจ ดังนั้น จำเป็นต้องใช้กฎระเบียบทุกข้อเพื่อจำกัดพฤติกรรมหมิ่นนี้ให้สิ้นซาก ซึ่งวิธีบังคับใช้กฎระเบียบก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายสูงสุดของรัฐ ถ้ากฎหมายสูงสุดยอมรับการเอาหินขว้างคนบาปให้ตาย แน่นอนที่สุด ไม่จำเป็นต้องรีรอที่จะปลุกระดมมวลชนให้เห็นด้วยกับการลงโทษดังกล่าว และสำหรับประเทศไทย แม้ว่าโดยเจตนารมณ์และตัวบทกฎหมายจะยอมอ่อนน้อมต่อหลักเสรีภาพสากลเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่าลืมว่า ครั้งหนึ่งมีคำแนะนำในนามศาสนาว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป?"
            
ฉะนั้น ถ้าคุณมีอำนาจหรือรู้จักกับผู้รักษาอำนาจ และใครก็ตามที่หมิ่นอำนาจคุณจะถูกกำจัดด้วยวิธีการต่างๆ และวิธีการที่นิยมกันมากในปัจจุบัน คือ "โยนหินถามทาง" เนื่องจาก บรรดาผู้รักษาอำนาจยุคใหม่มีความกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอำนาจด้วย เห็นได้ชัดเจนจากการทำเป็นทีเล่นทีจริงกับการบังคับใช้อำนาจ (ดูปฏิกิริยามวลชน) เป็นที่ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวเรียกร้องมากเกินไปก็อาจเลิกทำเสีย แต่ถ้าหาใครสักคนที่สามารถชักจูงเกลี้ยกล่อมประชาชนได้สำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องรีรออะไรอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องสนใจ "เสรีภาพของความเป็นมนุษย์" ด้วย ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ประเทศไทย
                ขอให้สังเกตว่า ที่อภิปรายมาทั้งหมด เพลงหมิ่นศาสนา แทบจะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือแก่นคำสอนของศาสนาแต่อย่างใด หากแต่เกี่ยวข้องกับ "อำนาจ"(Authority) ซึ่งพัวพันอย่างแยกไม่ออกกับผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง เป็น "อำนาจ" (Authority) ที่ชักจูงและเกลี้ยกล่อมให้ ผู้อยู่ใต้อำนาจให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ก้าวร้าวเพื่อปกป้องสถาบันอันเป็นที่รัก เป็น "อำนาจ" (Authority) ที่แสดงตนอย่างแข็งแกร่งราวกับจะลบภาพลักษณ์ของความเมตตาซึ่งเป็นหัวใจของคำสอนในศาสนา เป็น "อำนาจที่กระทำทุกอย่างในนามของความดี"

สรุป
            "เพลงหมิ่นศาสนาจึงได้รับการอภัยไม่ได้ในแง่ของการหมิ่นอำนาจ"
 เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจ ภาพลักษณ์ ผลประโยชน์ในการชวนเชื่อ เท่านั้น ซึ่งการหมิ่นเช่นนี้จำเป็นต้องถูกดำเนินคดีในทางกฎหมายถ้าเป็นไปได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งผู้รักษาอำนาจเองแยกแยะการฟ้องร้องออกจากพื้นฐานคำสอนทางศาสนาอยู่แล้ว กล่าวโดยง่ายว่า เพลงหมิ่นศาสนาเหมือนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แบบหนึ่ง เพราะ ไม่ใช่ใครๆจะตีความหรือตั้งคำถามอะไรกับศาสนาก็ได้ ถ้าไม่ใช่ผู้รักษาอำนาจ ? ทั้งที่ในคำสอนของศาสนา เป็นต้น ศาสนาคริสต์ระบุไว้ว่า
"------------ ความพินาศจะเกิดแก่เจ้า คนเคร่งศาสนาหน้าซื่อใจคด  เจ้าเที่ยวสั่งสอนคนให้เข้ารีตแล้วเสี้ยมสอนให้เขาผู้นั้นชั่วร้ายกว่าเจ้าเสียอีก  ความพินาศจะเกิดแก่เจ้า คนเคร่งศาสนาหน้าซื่อใจคด  เจ้าละเลยความยุติธรรม ความเมตตากรุณา และความซื่อสัตย์  ความพินาศจะเกิดแก่เจ้า คนเคร่งศาสนาหน้าซื่อใจคด  เจ้าฆ่าบรรดานักคิดซึ่งพระเจ้าทรงส่งไปหาเจ้ามากมาย เราพระเยซู ไม่ขอมีส่วนร่วมในการฆ่านั้น ------------ " (เทียบ มัทธิว 23:13-39)

ควรรู้ พระเยซูตายเพราะหมิ่นอำนาจคนเคร่งศาสนาพวกนี้เช่นกัน !


อธิบายภาพ: ปกอัลบั้ม Anti-christ ในปี 1996 ของวง Gorgoroth วงดนตรีแนว Black metal สัญชาตินอรฺเวย ถิ่นกำเนิดของเพลงหมิ่นศาสนา แต่ศาสนจักรกลับนิ่งเฉยที่จะแสดงความเห็นถึงเรื่องนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: ศาสนาแห่งรัก!! | ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไปเต้นมะเนา กับสงครามซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดของชาวคะฉิ่น

Posted: 13 Jan 2013 04:17 AM PST

บันทึกจาก "องอาจ เดชา" เยี่ยมยามเทศกาลเต้นมะเนา ของชุมชนชาวคะฉิ่น ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และเรื่องราวในไฟสงครามที่พี่น้องของพวกเขากำลังเผชิญอยู่ที่รัฐคะฉิ่น ทางตอนเหนือของพม่า

 

หลายคนที่ไปร่วมงานเต้นรำมะเนา (Manau) เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยังคงจดจำภาพอันตื่นตาตื่นใจได้ไม่ลืมเลือน เมื่อเสียงกลอง ฆ้อง แตร ฉาบ ขลุ่ยและเสียงเพลงร้องประสานเสียงดังก้องเต็มลานหญ้า พร้อมกับสีสันการแต่งกายประจำของชาวคะฉิ่น หรือกะฉิ่น (Kachin) อันงดงาม อ่อนหวาน ทำให้บรรยากาศงานเต้นรำมะเนา บนลานหญ้ากลางชุมชนบ้านใหม่สามัคคีในวันนั้นดูครึกครึ้น และทำให้หัวใจผู้คนที่มาร่วมงานนั้นรู้สึกตื่นเต้น ร่าเริง สดใส ไปตามๆ กัน

บ้านใหม่สามัคคี ตั้งอยู่ติดกับโครงการหลวงหนองเขียว ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าบริเวณด่านกิ่วผาวอก และถือว่าเป็นชุมชนคะฉิ่นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านถาวรร้อยกว่าหลังคาเรือน นอกนั้นเราอาจพบคนคะฉิ่นอาศัยอยู่กระจัดกระจายร่วมกับชนพื้นเมืองอื่นๆ ในหลายๆ พื้นที่ของเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

ชนกลุ่มนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน คนลาหู่เรียกว่า 'ค้างฉ่อ' ส่วนคนไทยใหญ่เรียก 'ขาง' คนพม่าและคนไทย เรียกว่า 'คะฉิ่น' แต่ชาวคะฉิ่น กลับเรียกตนเองว่า 'จิงเผาะ' บางคนก็บอกว่าเป็นคน 'มาหรู่' บางคนบอกตัวเองว่าเป็น 'ระวาง' บางคนก็บอกว่าตนเองเป็น 'ลีซู' แต่ทุกวันนี้พวกเขาได้ใช้ภาษาจิงเผาะเป็นภาษากลางในการสื่อสารกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์นี้

มีการสำรวจกันว่า ปัจจุบัน มีชนเผ่าคะฉิ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 15,000 คน แน่นอน หลายคนอาจมองว่า คะฉิ่นเป็นเพียงชนเผ่ากลุ่มเล็กๆ และอยู่กันเงียบๆ ไม่ค่อยมีบทบาทโดดเด่นอะไรในเมืองไทย แต่เมื่อพลิกดูประวัติศาสตร์แล้ว ถือว่ากลุ่มชาติพันธุ์นี้มีความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีกเผ่าชนหนึ่งเลยทีเดียว

ในประวัติศาสตร์ของคะฉิ่นนั้น บอกไว้ว่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่รวมกันในเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ 'มิตจินา' ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศพม่า ติดกับแม่น้ำอิระวดี มีอาณาเขตติดกับธิเบต จีน และอินเดีย ดินแดนแห่งนี้ แต่ก่อนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการปกครองของพม่าแต่อย่างใด และเมื่ออังกฤษเข้ามาครอบครองพม่า คะฉิ่นก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในตอนนั้น แต่มาถูกบุกรุกโดยจีนอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งมีมีการลงนามในสัญญาชายแดนระหว่างพม่ากับจีน แต่ก็มาถูกรัฐบาลทหารพม่าพยายามเข้ามาควบคุม ครอบงำจนได้ จนนำไปสู่การตั้งกองทัพอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) ขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 เป็นต้นมา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 ได้ทำสัญญาหยุดยิง โดยขอตั้งเป็นเขตปกครองอิสระ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงยังคงมีการสู้รบกับรัฐบาลพม่ามาจนถึงทุกวันนี้

จึงไม่แปลกใจว่า ในงานเต้นรำมะเนาที่บ้านใหม่สามัคคี เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จะมีพี่น้องชนชาติคะฉิ่นที่มาจากเมืองมิตจินา รวมทั้งชาวคะฉิ่นที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายๆ ประเทศ เช่น พม่า จีน ออสเตรเลีย เนปาล ฯลฯ พากันเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

เมื่อพูดถึง พิธีการเต้นรำมะเนา นั้นถือว่าเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติคะฉิ่นที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

มีการบอกเล่าไว้ว่า พิธีเต้นรำมะเนา ในอดีตนั้น เขาจะจัดขึ้นเพื่อถวายสักการะแด่ นัต มะได (Madai) และจัน (Jan) ซึ่งเป็น "ผี" ที่มีอำนาจบันดาลให้สันติและความสุขความเจริญแด่มนุษย์ การเต้นมะเนาตามแบบความเชื่อดั้งเดิมของคะฉิ่น จะต้องคารวะนัตทั้งสองก่อนเสมอ โดยมีหมอผีเป็นผู้นำพิธีเซ่นไหว้ด้วยวัว ควาย หมู หรือไก่ ต่อมา ชาวคะฉิ่นได้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ทำให้การรำมะเนาได้เปลี่ยนมาเป็นการสักการะพระผู้เป็นเจ้าแทนที่จะเป็นนัต แต่ในปัจจุบัน ที่เมืองมยิตจินา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น ก็ยังคงมีการจัดพิธีการรำมะเนากันขึ้นทุกปี เพื่อแสดงถึงการรวมพลัง ความสามัคคีกัน

ในขณะที่พิธีเต้นรำมะเนาในประเทศไทยนั้น ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2-5 ธันวาคม 2545 ที่บ้านใหม่สามัคคี เพื่อเฉลิมฉลองการก่อตั้งหมู่บ้าน หลังจากนั้นก็ได้มีพิธีการเต้นรำมะเนากันในทุกๆ สองปี

บนลานหญ้ากว้างกลางหมู่บ้านในวันนั้น จะมองเห็นเสามะเนาตั้งปักไว้สูงเด่นเรียงกันเป็นแนวนอน 10 เสาติดกันโดยแต่ละเสาก็จะมีลวดลายสีสันงดงาม แต่แฝงไว้ด้วยความหมาย มีทั้งรูปใบไม้ ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ เช่น นกเขา เสือ ปลา มังกร กบ ฯลฯ ว่ากันว่าล้วนซ่อนนัยยะบ่งบอกถึงภาวะและคุณสมบัติที่แตกต่างของมนุษย์ นอกจากนั้น ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ ภาพของตะวัน จันทร์ ดาว ซึ่งบ่งบอกถึงการดำรงชีวิตของสัตว์โลก จักรวาล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นผู้สร้าง

และที่โดดเด่นก็คือ มีการสลักลวดลายแผ่นไม้เป็นรูปนกเงือกตัวใหญ่ทอดยาวระหว่างเสามะเนา

พ่อเฒ่ากวะเจ่ กำ หรือพ่อเฒ่าซอ นั่งอยู่ในกระท่อม บอกเล่าให้ฟังว่า นกเงือก หมายถึงประธานแห่งนก หมายถึงความรัก ความสามัคคี สันติสุข และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสรรพสัตว์ในโลกใบนี้

งานเต้นรำมะเนา เริ่มต้นเมื่อเสียงกลองใหญ่ ฆ้อง แตร ฉาบ ขลุ่ย ดังกังวานขึ้น จากนั้น 'เนา ชอง' ผู้นำเต้นรำหัวแถวสวมชุดสีเหลือง สวมหมวกปักร้อยด้วยหางนกยูงและเขี้ยวหมูป่า เดินถือดาบ พาพี่น้องชาวกะฉิ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ออกนำเต้นรำหมู่ไปรอบๆ เสามะเนากลางลานหญ้า ผู้ชายที่ร่วมเต้นมะเนา จะต้องถือมีดดาบจริงหรือดาบไม้ ส่วนผู้หญิงจะถือผ้าเช็ดหน้าสีขาว กวัดแกว่ง โบกไปมาตามจังหวะลีลาของการเต้นรำ คล้ายกับผีเสื้อบิน ซึ่งมีท่วงท่าลีลาสวยงามอ่อนช้อยพริ้วไหวไปมา

เป็นที่สังเกตว่า การเต้นรำมะเนาของคะฉิ่นนั้น ได้ซ่อนแฝงนัยยะเอาไว้ ซึ่งหลายคนที่ไปเห็นได้แอบตั้งคำถามเอาไว้ว่า ทำไมผู้ชายต้องพกดาบ ถือดาบตลอดเวลา ทำไมผู้หญิงต้องถือผ้าเช็ดหน้าสีขาว?!

หลายคนได้วิเคราะห์กว้างๆ ทั่วไปแบบไม่ลังเลว่า อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของคะฉิ่นนั้นต้องประสบกับสงครามความขัดแย้งต่อสู้ตลอดเวลา ทำให้ต้องพกอาวุธ แม้กระทั่งในงานเต้นรำก็ต้องถือมีดดาบ ในขณะที่ผ้าเช็ดหน้าสีขาวที่หญิงคะฉิ่นถือโบกไปมานั้น อาจสื่อให้เห็นถึงเศร้าโศก หรือสื่อให้รู้ว่าลึกๆ นั้นชาวคะฉิ่นนั้นต้องการความสงบและเรียกร้องหาสันติภาพ

ว่ากันว่า ในอดีตนั้น จะมีการเต้นมะเนาในยามศึก ด้วย ซึ่งเรียกกันว่า หนิ่งทาน มะเนา (Ning manau) ที่จัดเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกรบ เป็นการสักการะวีรบุรุษสงครามที่ได้จากไปแล้วและกระตุ้นความฮึกเหิมให้แก่นักรบ ผู้รำจะใช้อาวุธประจำตนชี้ขึ้นฟ้าและปลดอาวุธลงเมื่อจบการรำ หลังเสร็จพิธีก็จะออกรบทันที

นอกจากนั้น 'เนาส็อต มะเนา' (Nausawt) สำหรับช่วงพักรบเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจทหารเป็นการบูชานัตเล็กๆ ตอนสองตน และใช้เสามะเนากระดาษแข็งหรือผ้าทำลวดลายง่ายๆเท่านั้น จากนั้น หากได้รับชัยชนะในสงคราม ก็จะมี ปาดัง มะเนา (Padang manau) ที่จัดขึ้นเพื่อขอบคุณนัตและฉลองชัยชนะจากการออกรบ

การเต้นรำมะเนานั้นจะมีการจัดขึ้นในทุกๆ สองปี ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ที่บ้านใหม่สามัคคี อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่รู้ข่าว ต่างพากันมาเที่ยวชมกันอย่างล้นหลาม บางคนถึงกับกระโดดเข้าร่วมเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน เบิกบานใจ

แต่ก็นั่นแหละ เมื่อหันไปดูพี่น้องคะฉิ่น ในรัฐคะฉิ่นของพม่าในขณะนี้ สงครามความขัดแย้งระหว่างชาวคะฉิ่นกับรัฐบาลของพม่า ก็ยังคงดำเนินไปอยู่อย่างต่อเนื่อง จนทำให้พี่น้องคะฉิ่นที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายๆ ประเทศต้องออกมาเรียกร้องให้มีการยุติความขัดแย้ง ทารุณ รุนแรงกันอย่างต่อเนื่อง

โดยในวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการร่างจดหมายเปิดผนึกจากพี่น้องคะฉิ่น กับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งและสงครามระหว่างคะฉิ่น และสหภาพพม่าในประเทศพม่า

ในจดหมายระบุว่า "จนถึงตอนนี้การสู้รบระหว่างกองกำลังคะฉิ่นและพม่าดำเนินมาเกือบจะสองปีแล้ว แทนที่สถานการณ์ดีขึ้น แต่ยิ่งแย่ลงและรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากกองกำลังพม่าไม่ยอมยุติ และการกระทำของกองกำลังพม่านั้นไร้มนุษยธรรมเพราะไม่ต่อสู้กองกำลังคะฉิ่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำร้ายประชาชนตาดำๆทั้งเด็กและผู้เฒ่าผู้แก่อย่างหดเหี้ยม ไร้จรรยาบรรณ กองกำลังพม่าฆ่าเด็กตาดำๆ และทำร้ายข่มขืนผู้หญิงสาว และฆ่าผู้เฒ่าผู้แก่ แล้วยังเผาบ้านเผาเรือนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย ทำลายข้าวของของชาวบ้านทั้งไร่นา ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ในป่า ทำให้ขาดแคลนอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ทำให้ชาวบ้านเป็นไข้ป่า ไข้มาเลเลียเสียชีวิต

ที่ผ่านมา เด็กๆไม่ได้เรียนหนังสือ ทำให้พี่น้องชนเผ่าคะฉิ่นได้รับความเดือดร้อน ณ ตอนนี้กองกำลังพม่าทยอยเสริมกำลังรวมทั้งใช้อาวุธที่ร้ายแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การใช้เครื่องบินทำให้ประชาชนได้รับอันตราย และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้กองกำลังพม่าได้มีการประกาศว่า ถ้ากองกำลังคะฉิ่นไม่ถอย จะทำการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่าคะฉิ่น ทำให้ชาวบ้านมีความกลัวและต้องการความยุติธรรมอยากให้ทั่วโลกรู้การกระทำของรัฐบาลพม่า ชาวบ้านจึงรวมพลังเพื่อต่อต้านให้ทางรัฐบาลพม่าหยุดใช้ความรุนแรง ยุติความรุนแรงโดยใช้วิธีการเจรจา และเห็นแก่สิทธิความเป็นมนุษย์  

ดังนั้นพี่น้องชนเผ่าคะฉิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจึงได้มีการระดมกำลังเพื่อไปเรียกร้องความเป็นธรรม ยุติความรุนแรงในสถานทูตพม่าประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 11 มกราคมนี้ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องคะฉิ่นที่ได้รับผลกระทบ ช่วยเหลือพี่น้องที่อยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัว กดดัน เพื่อให้รัฐบาลพม่าให้เสรีภาพ ใช้ความยุติธรรมในการแก้ปัญหา และเห็นถึงสิทธิความเป็นมนุษย์

 

ข้อมูลประกอบ:

1.มนตรี กาทู และคณะ, หนังสือกะฉิ่น : เมื่อวานและวันนี้,ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์,พรสุข เกิดสว่าง บรรณาธิการ,กันยายน 2555

2.ภู เชียงดาว: หนังสือสารคดีชาติพันธุ์ เด็กชายกับนกเงือก,สำนักพิมพ์วิถีชน,มกราคม2554

3.เผ่าคะฉิ่น,พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์

4.จดหมายจากพี่น้องคะฉิ่น--สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งและสงครามระหว่างคะฉิ่น และสหภาพพม่าในประเทศพม่า,Stateless Watch,9 มกราคม 2013 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปฏิญญาหน้าศาล นัดชุมนุมใหญ่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ว่าด้วยนิรโทษกรรม ฉบับนิติราษฏร์

Posted: 13 Jan 2013 03:24 AM PST

 

กลุ่มปฏิญาหน้าศาล นัดรวมตัวที่หมุดคณะราษฎร วันที่ 29 ม.ค. 2556 เวลา 8.00 น. เพื่อยื่นข้อเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง หวัง นิรโทษกรรมเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาสมัยนี้

13 ม.ค. 2556 สุดา รังกุพันธ์ นักวิชาการและนักกิจกรรมกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล แถลงนัดรวมตัวเพื่อนำข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้งไปเสนอต่อรัฐสภาประกาศไม่ล่ารายชื่อ เชื่อเป็นกลลวงของรธน. 2550 หลอกประชาชนให้ลงรายชื่อแต่ไม่มีผลทางปฏิบัติ

โดยสุดาระบุว่า เหตุการณ์รุนแรงในปี 2553 ทำให้เห็นภาพชัดเจนถึงการปราบปรามประชาชนด้วยอาวุธสงครามร้ายแรง และมีการกวาดล้างประชาชนอบย่างต่อเนื่อง มีผู้ถูกดำเนินคดี 13,857 คน ในศาล 59 แห่ง โทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต ขณะที่คดีต่างๆ ที่ตัดสินไปก่อนพรรคเพื่อไทย ในช่วงรัฐบาล อภิสิทธิ์ถูกตัดสินอย่างรวดเร็ว แม้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่ตัวการสำคัญ ก็ถูกตัดสินจำคุก บางคนได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี ไม่มีเจตนาหลบหนี แต่หลังคำพิพากาษาของศาลชั้นต้นกลับไม่มีการประกันตัวออกมาเลย ตัวอย่างของคนที่ได้รับผลกระทบสูงสุดคือนายวันชัย รักสงวนศิลป์ที่เสียชีวิตไปแล้วระหว่างถูกคุมขัง หลังถูกตัดสินข้อหาวางเพลิงเพราะไปชุมนุมที่ที่ศาลากลาง จ.อุดรธานี

นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับอย่างต่อเนื่อง อัยการยังคงสั่งฟ้องศาลคดีที่เกิดจากมูลเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

"ความน่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมติดลบหมดแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะเดินหน้าสู่ความปรองดองโดยยังมีนักโทษการเมืองถูกขังอยู่เช่นนี้" สุดา กล่าว พร้อมทั้งระบุว่าแนวทางของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเห็นว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นจะเป็นทางออกที่จะนำสู่ความปรองดองและนำสู่การแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง และเป็นก้าวแรกที่จะคืนควาเมป็นธรรมให้สังคม

"ในนามของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลได้หารือกับกลุ่มต่างๆ โดยมีเป้าหมายในการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาสมัยนี้ให้จงได้ สิ่งที่มุ่งหวังคือรัฐบาลจะได้รับข้อเสนอนี้จากนิติราษฎร์ไปพิจารณาในคณะรัฐมนตรี นำร่างฯ เข้าสู่รัสภา โดยจะไม่มีการเข้าชื่อ โดยเชื่อว่ารธน. 2550 ได้วางกลลวงไม่ทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิตามที่เขียเนรป็นลายลักษณ์ ดังที่ได้เห็นจากที่รัฐสภาจำหน่ายนทิ้งช้อเสนอร่างฯ ครก.112 ออกจากากรพิจารณาในสภา เป็นเหตุผลทรี่ทำให้เห็นว่าการที่ประช่ขนถูกล่อลวงไปเสนอชื่อมากมาย ใช้ทรัพยากรและอุทิศเวลาส่วนตัว เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ประชาชนจะไม่ใช้การเข้าชื่อตอไป แต่จะไปด้วยตัวเอง จะร่วมกันไปยื่นนร่างฯ ต่อรัฐสภาที่ทำเนียบรัฐบาล โดยจะนัดชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 29 มกราคม 2556 เวลา โดยรวมตัวกันที่หมุดคณะราษฎรเวลา 8.00 น. เพื่อเดินไปยังรัฐสภา" สุดากล่าวในที่สุด 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิติราษฎร์: คำอธิบายเรื่องร่าง รธน.ว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง

Posted: 13 Jan 2013 01:43 AM PST

'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' 'ปิยบุตร แสงกนกกุล' และ 'จันทจิรา เอี่ยมมยุรา' ขยายความข้อเสนอนิติราษฎร์ ชี้ แก้ไขผ่านร่างรัฐธรรมนูญเร็วที่สุด เป้าหมายนิรโทษคือคนที่ร่วมชุมนุมทุกฝ่ายทางการเมือง ไม่นิรโทษ จนท.ปฏิบัติเกินกว่าเหตุ หวังฝ่ายการเมืองขยับเรื่องนิรโทษกรรม 'สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล' ชี้ประเด็นสำคัญอยู่ที่เจตจำนงร่วมกันของสังคม

13 ม.ค. 2556 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปิยบุตร แสงกนกกุล และจันทจิรา เอี่ยมมยุรา ตัวแทนคณะนิติราษฎร์ร่วมกันแถลงที่ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายข้อเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง หลังจากที่มีการเผยแพร่ร่างฯ ดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความเข้าใจภาพรวมของกฎหมายฉบับนี้ว่าเมื่อเสนอไปแล้ว ใครอยู่ในข่าย และมีผลเป็นการก่อตั้งองค์กรอะไร คนและองค์กรที่ได้รับจากกฎหมายฉบับนี้


ข้อเสนอเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับใครและไม่เกี่ยวกับใคร
การนำเสนอการล้มล้างผลพวงรัฐประหารเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อคนที่ถูกรัฐประหาร ซึ่งร่างฯ ฉบับที่เสนอใหม่นี้ ไม่เกี่ยว แต่เกี่ยวกับคนที่ร่วมเดินขบวนอันเนื่องจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อ 19 ก.ย. 2549 และทำความผิดที่มีมูลเหตุจูงใจจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหาร

ไม่เกี่ยวอะไรกับคนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกแย่งชิงอำนาจรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องการล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร ที่นิติราษฎร์เสนอไปก่อนหน้านี้ซึ่งเสนอให้ยกเลิกการดำเนินคดีทั้งปวง แล้วให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวพันกับการแย่งชิงอำนาจรัฐโดยเฉพาะฝ่ายที่เสียอำนาจและฝ่ายยึดอำนาจ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไปพร้อมๆ กัน

"ที่มีการบอกว่านิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมให้ทักษิณไม่ถูกต้อง เพราะเราเสนอให้ล้างกระบวนการยุติธรรมแล้วเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่"

สิ่งนี้จะเกิดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีการร่างฯ ขึ้นมา โดยน่าจะผ่านการออกเสียงประชามติ

สำหรับฉบับที่ใช้บังคับอยู่ ก็เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญที่ค้างในมาตรา 3 ตอนนี้


ทำไมนิติราษฎร์จึงเสนอเรื่องการนิรโทษกรรมเป็นร่าง รธน. ไม่เสนอเป็นร่าง พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก.
เพราะการนิรโทษกรรมครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนมากกว่าเรื่องอื่นๆ ซึ่งถ้าไปดูร่างกฎหมายนิรโทษที่อยู่ในการพิจารณาของสภาขณะนี้ก็จะมีเหมือนๆ กันคือร่างฯ ของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเสนอนิรโทษให้ทหารและประชาชน ขณะที่ร่างฯ ของ ส.ส. ส.ว. ไม่มีการนิรโทษให้ทหาร แต่นิรโทษให้แกนนำและผู้เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งนิติราษฎร์มองเห็นว่าร่างฯ ทั้งหมดในสภา ไม่ครอบคลุม หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนและไม่อาจจะแก้ไขได้ด้วยร่าง พ.ร.บ. แบบเดิมๆ

เหตุผลที่นิติราษฎร์ไม่เสนอแยกการนิรโทษกรรมระหว่างแกนนำกับผู้ชุมนุม และเราเห็นว่าแกนนำก็เป็นผู้ชุมนุม ถ้านิรโทษก็ต้องทำทั้งหมดในฝ่ายของผู้ชุมนุม

อีกประการคือต้องการให้ครอบคลุมคนที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองทุกฝ่าย ไม่ว่าสีแดงหรือเหลือง จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนด ไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรมแบบอัตโนมัติ

ส่วนเหตุผลที่ไม่เสนอเป็นร่าง พ.ร.บ.ฯ เพราะอาจจะถูกยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทำให้ถูกดึงและหน่วงเหนี่ยวให้ล่าช้าไปกว่าเดิม

ประการที่สอง การทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ นิติราษฎร์เสนอให้เป็นสมบัติสาธารณะ กลุ่มบุคคลใดที่เห็นพ้อง จะนำไปปรับปรุง ก็สามารถรวบรวมประชาชน ให้ได้ 50,000 ชื่อแล้วเสนอร่างฯ ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาเลย และเป็นการป้องกันการตีความว่าไม่เข้าหมวด 3 หรือหมวด 5 ดังที่เคยเกิดขึ้นกับร่างของ ครก. 112 ที่ถูกตีความว่าไม่เข้าหมวดดังกล่าว แต่ถ้าเป็นร่างฯ รัฐธรรมนูญประธานสภาปฏิเสธไม่ได้ เพียงแต่อาจจะยุ่งยากกว่าเพราะต้องใช้ 50,000 รายชื่อ

อย่างไรก็ตาม ครม. หรือ ส.ส. เสนอก็ได้ ดังนั้นคนที่เห็นด้วยก็อาจจะเรียกร้องไปยัง ครม. ให้นำเรื่องนี้เข้าสู่สภา

ถ้าฝ่ายการเมืองมีความแน่วแน่ในการแก้ไขจะสามารถทำได้เร็วกว่าการเป็น พ.ร.บ. เพราะจะต้องผ่านสองสภาๆ ละสามวาระ และวุฒิฯ มีโอกาสยับยั้งได้

แต่ถ้าแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาทั้งสามวาระ ถ้าตั้งใจทำก็จะเร็วกว่า
 

ป้องกันการนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐด้วย พ.ร.ก.หรือ พ.ร.บ.
ร่างฯ กำหนดให้บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สลายการชุมนุมจะยังมีความผิดต่อไป จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การทำเรื่องนี้ในระดับรัฐธรรมนูญเป็นการป้องกันล่วงหน้าที่รัฐบาลจะออก พ.ร.ก.หรือ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่รัฐ ถ้าจะทำก็ต้องไปแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว
 

ทำไมไม่ปล่อยให้เรื่องนี้อยู่ในอำนาจศาล
สภาพการปรับใช้กฎหมายหลังการสลายการชุมนุมเรื่อยมา ยังมีคนถูกขัง บางคนถูกลงโทษแล้ว และถ้าพบคนที่ถูกดำเนินคดีจะพบว่ามีฝั่งสีแดงมากกว่าฝั่งเหลือง และเวลาที่ศาลวินิจฉัยจะวินิจฉัยไปตามโครงสร้างกฎหมายปกติ ไม่ดูแรงจูงใจทางการเมืองว่ามีความคับแค้นใจอย่างไร เช่นเรื่องเผาทรัพย์ ครบองค์ประกอบก็ลงโทษเลย ไม่ดูมูลเหตุจูงใจว่าทำไมทำเช่นนั้น เพราะอยู่ๆ คนไม่ได้ออกมาเผาทรัพย์แต่มีแรงจูงใจในทางการเมือง

กระบวนการยุติธรรมปกติไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้จึงต้องสร้างองค์กรเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นองค์กรพิเศษ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยการกระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมือง


ไม่มีการนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในระดับใดๆ ทั้งสิ้น
เพื่อป้องกันให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมย เพราะมีบทเรียนหลายครั้งแล้วที่หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ปฏิบัติไปตามอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว บางครั้งเกินกว่าเหตุ บางครั้งปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จะรู้ก็ตาม

และอีกเหตุผลหนึ่งคือถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรมให้ เพราะ  พ.ร.ก.ฉุกเฉินกำหนดไว้แล้วว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับการกระทำผิดกฎหมายหากสุจริต ไม่เกินกว่าเหตุ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ซึ่งถ้าทำเช่นนี้ก็ไม่ผิดอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรมให้


คนที่จะได้ผลจากนิรโทษ
กลุ่มแรกพ้นจากความผิดและความรับผิดไปเลย คือผู้เข้าร่วมชุมนุมในพื้นที่สถานการณ์ฉุกเฉิน และมีโทษไม่มาก

อีกพวกคือ คนที่กระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูงหรือไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมโดยตรงแต่เป็นผู้แสดงความคิดเห็นบางอย่างที่เข้าข่ายความผิดอาญา กลุ่มหลังจะไม่ได้รับนิรโทษกรรมทันที แต่มีการระงับการดำเนินคดีชั่วคราวและมีการปล่อยตัวทันที หลังจากนั้นเรื่องจะไปที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง ถ้าคณะกรรมการชี้ว่ากระทำความผิดไปโดยมีเหตุจูงใจทางการเมือง คดีจะยุติลงทันที และได้รับนิรโทษกรรมทางการเมือง

แต่ถ้ากรรมการวินิจฉัยว่าไม่เกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ก็จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมก็ต้องเข้าสู่กระบวนการปกติต่อไป

ทั้งหมดนี้ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ การนิรโทษกรรมทั้งปวงไม่ว่าจะโดยอัตโนมัติ หรือเป็นการนิรโทษกรรมโดยผลจากการเข้าสู่กระบวนพิจารณาฯ จะไม่มีผลอะไรถ้าขัดกับพันธกรณีกฎหมายระหว่างประเทศ


องค์กรที่เกิดใหม่
คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง เป็นองค์กรที่ดูมูลเหตุจูงใจในทางการเมืองและชี้ว่าใครควรจะได้รับการนิรโทษกรรม


คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง
เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญประกอบด้วยห้าคน จากหลายฝ่าย ได้แก่ บุคคลที่ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรี 1 คน, สมาชิกสภาผู้แทนจากฝ่ายค้านและรัฐบาลอย่างละ 1 คน รวม 2 คน, ผู้พิพากษาหรือดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม 1 คน เลือกโดยรัฐสภา, พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ 1 คนเลือกโดยรัฐสภา

สถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อกรณีนี้กรณีเดียวโดยเฉพาะ ใช้อำนาจในระดับรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยเป็นที่สุดผูกพันทุกองค์กรทันที ไม่สามารถเป็นวัตถุแห่งการพิจารณาอื่นใดได้อีก

หน้าที่ ให้มีคำวินิจฉัยว่าบุคคลมีการกระทำความผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองหรือไม่

คำวินิจฉัย มีผลผูกพันองค์กรรัฐทุกองค์กร ศาลจะเข้ามาทบทวนการใช้อำนาจไม่ได้ เพราะการตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งเพื่อให้ดูมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ถ้าเป็นก็นิรโทษ ถ้าไม่เป็นก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปตามปกติ แต่ไม่มีสิทธิมาวินิจฉัยว่าคณะกรรมการวินิจฉัยถูกหรือไม่


ใครเป็นผู้ตีความ
คณะนิติราษฎร์เสนอให้รัฐสภาเป็นผู้ทรงสิทธิเด็ดขาดในการตีความเกี่ยวกับคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง ให้สภาทรงไว้ซึ่งสิทธิขาดเพราะเป็นเรื่องทางการเมือง และให้ผลการตีความของรัฐสภามีผลผูกพันองค์กรรัฐทุกองค์กร และการตีความนี้ไม่อาจจะเป็นวัตถุในการวินิจฉัยขององค์กรตุลาการ หมายถึงเอาไปฟ้องศาลต่อไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นมูลเหตุจูงใจทางการเมือง

"การนิรโทษกรรมไม่ควรเป็นแบบเหมาเข่งทุกฝ่าย ต้องดูว่าฝ่ายที่กระทำผิดมีมูลเหตุจูงใจแบบไหนเพื่อได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิในการนิรโทษ"


เงื่อนเวลา
หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถึง 9 พ.ค. 2554 คือวันที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาผู้แทนฯ ทั้งนี้เพราะการชุมนุมต่างๆ นั้นมีทั้งแบบที่ออกไปชุมนุมและแบบที่แสดงความเห็นผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก คณะนิติราษฎร์คิดว่าพวกที่ไปชุมนุมยึดโยงกับพื้นที่ที่มีการประกาศ เป็นการเชื่อมโยงกับประกาศต่างๆ ที่ออกมาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

แต่คนที่ไม่ได้ไปชุมนุม เขายังกระทำการบางอย่างอันเป็นผลจากการยึดอำนาจ เช่น การพูดจาปราศัย การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อออนไลน์ ถ้ามีการนิรโทษกรรมให้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ต้องคิดว่าจะตัดช่วงเวลาที่ตรงไหน ก็ต้องมีช่วงตัดเรื่องระยะเวลา การทำความผิดหลัง 9 พ.ค. 2554 ก็ไม่อยู่ในข่าย

"เราเห็นว่าข้อเสนอที่ออกไปนั้นแม้จะไม่ใช่ข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่น่าจะครอบคลุมรอบด้านที่สุด แม่จะดูว่าเป็นเรื่องยากเพราะเป็นรัฐธรรมนูญ"


ทำไมเสนอช่วงนี้ ก่อนหน้านี้ทำอะไร เพราะมีคนติดคุกมานานแล้ว
นิติราษฎร์ คิดว่ากระบวนการยุติธรรมธรรมดาถ้าเล็งเห็นว่านี่เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองก็น่าจะมีการปล่อยตัวชั่วคราวก่อน แต่เราเห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้นคนที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็มักจะเป็นแกนนำ บางคนติดคุกจนออกไปแล้ว และรัฐบาลก็ไม่ได้ขยับทำอะไรเรื่องนี้อย่างที่ควรจะทำ นิติราษฎร์จึงนำเสนอเรื่องนี้เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลไม่ลืมความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ และไม่เกี่ยวพันกับวาระสามที่ค้างอยู่ สามารถเสนอให้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้เลย และสามารถทำได้ทันที อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เรานำเสนอก็ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน แต่ระยะเวลาไม่ควรจะนานเกินไป ควรให้มีผลโดยเร็วเพื่อให้คนที่ได้รับผลกระทบหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดได้รับผลจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้


กรอบข้อเสนอสามประการของนิติราษฎร์
วรเจตน์ย้ำว่าโครงสร้างข้อเสนอของนิติราษฎร์คิดในกรอบสามเรื่อง คือ
หนึ่ง การนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้งของสังคมไทย ซึ่งเสนอในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวันนี้
สอง การลบล้างผลพวงการรัฐประหาร การเลิกคดีทั้งปวงที่ได้กระทำมาจากการรัฐประหาร ที่ต้องเขียนหมวดใหม่
สาม การจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิรูปศาล กองทัพ ทั้งหมดต้องทำในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าทำได้ทั้งสามประเด็นก็จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในสังคมนี้


รายละเอียดเชิงปฏิบัติ
สภาเป็นคนลงรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรใหม่ เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน


ทำไมไม่นิรโทษทหารชั้นผู้น้อย
บรรดาพวกทหารชั้นผู้น้อยเขาปฏิบัติไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่นี่เป็นการพยายามสร้างวัฒนธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย ข้อเสนอของนิติราษฎร์ต่อไปคือเรื่องการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การไม่นิรโทษกรรมให้จะเป็นการสร้างแนวทางหรือบรรทัดฐานที่ดีงามว่าถ้าคำสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาก็สามารถที่จะปฏิเสธ ไม่เช่นนั้นก็จะอ้างว่านายสั่งแล้วหลุดจากความผิด การสลายการชุมนุมที่เล็งปืนไปยังผู้ชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย


บทบาทระหว่างคณะกรรรมการขจัดความขัดแย้งกับองค์กรตุลาการ
ไม่ขัดหลักแบ่งแยกอำนาจ, ทำเฉพาะกรณีผลกระทบและความขัดแย้งที่เกิดหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ขอบเขตมีเฉพาะการกระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการกระทำที่มีมูลเหตุทางการเมืองเรื่องการรัฐประหารเท่านั้น และจะไม่กระทบกับกระบวนการยุติธรรมหลักของประเทศ
ความสำคัญของข้อเสนอ

หนึ่ง การเสนอนี้จะสร้างวัฒนธรรมใหม่คือนิรโทษกรรมเฉพาะผู้เข้าชุมนุม ไม่ใช่การนิรโทษกรรมแบบยื่นหมูยื่นแมว
สอง เป็นหมุดหมาย ว่าเรื่องขจัดความขัดแย้งสามารถตั้งโต๊ะคุยกันได้ทั้งสองข้าง น่าจะไม่มีใครออกมาค้านเรื่องนี้เพราะไม่เกี่ยวกับรัฐบาลหรือฝ่ายค้านเลย แสดงให้เห็นว่าแม้ความเห็นทางการเมืองต่างกันก็ยังเป็นเพื่อนร่วมชาติกันได้อยู่ และเป็นการปูทางเรื่องการปรองดองต่อไป


 

ถาม-ตอบ
ถาม: กังวลว่าเป็นกฎหมายล้างผิดให้คนเผาบ้านเผาเมืองหรือไม่
วรเจตน์: ไม่กังวล "เผาบ้านเผาเมือง" เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์กันขึ้นมา มีการใส่ความรู้สึกลงไปเช่นนี้ สมัยฮิตเลอร์ก่อนขึ้นสู่สภา ก็มีการเผาสภา ฮิตเลอร์ก็ฉวยโอกาสจากการกล่าวหากันเรื่องเผาสภาให้ตัวเขาก้าวสู่อำนาจเช่นกัน


ถาม: ทำให้คนรู้สึกว่าทำผิดได้และอาจจะทำรุนแรงขึ้นได้หรือไม่ เช่น การยึดสนามบิน, การเปิดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิเสธคำสั่ง บางครั้งคำสั่งไม่ผิดกฎหมาย เรื่องนี้อาจจะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาหรือไม่, ตอนนี้เสื้อเหลืองเขาไม่ได้ติดคุก เขาก็ไม่รู้สึกว่าเขาได้รับการนิรโทษ ไม่สาแก่ใจ จะอธิบายอย่างไรให้เขารู้ว่เขาได้ประโยชน์ด้วย
วรเจตน์: เรื่องการยึดทำเนียบหรือยึดสนามบินเกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร ล้วนออกไปด้วยความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่ง พวกเขาก็อยู่ในข่ายของการนิรโทษกรรม แต่อย่างไรก็ตามต้องดูพันธกรณีกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม ซึ่งแค่ไหนเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศ จึงบอกไม่ได้ว่าการยึดสนามบินจะอยู่ในข่ายนี้หรือไม่ ต้องดูว่าประเทศไทยไปลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้วย

ส่วนเรื่องอำนาจบังคับบัญชาหรืออำนาจสั่งการนั้นคิดว่าไม่กระทบ แต่คำสั่งที่สั่งให้ใช้กระสุนจริงยิงผู้ชุมนุมไม่ควรมีใครเอามาใช้อ้างได้ว่าเป็นการทำตามคำสั่ง ถ้าเขาทำตามสมควรแก่เหตุ เขาย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าเขาทำเกินกว่าเหตุเขาก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง ตั้งใจทำความผิด เช่น บางคลิปที่ออกมาก็ต้องรับผิด


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: ประเด็นหลักคือเจตจำนงร่วมกัน
ประเด็นแรก เป้าหมายต้องการจะช่วยให้มีภาวะที่มีนักโทษการเมืองในประเทศไทย ในแง่นี้พูดแบบบ้านๆ ร่าง พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก.อะไรก็ได้ทั้งนั้น เช่นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอครั้งแรก ผมไม่เห็นด้วย แต่ถ้าวิธีนี้เร็วสุดผมก็เห็นด้วย แต่เหตุผลอื่นที่ อ.วรเจตน์ยกว่าเป็นเรื่องความซับซ้อนหรือไม่คลุมอำนาจตุลาการ ผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นเหตุผลจริงเพราะการนิรโทษกรรมไม่ว่าที่ใดในโลกนั้นเป็นเรื่องนิติบัญญัติหรือบริหารเป็นการไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องที่ยอมรับกัน ในแง่นี้การต้องใช้รัฐธรรมนูญไปคลุมจนไม่คิดว่าเป็นเหตุผลจริงๆ แต่ถ้าเร็วกว่าจริงก็เห็นด้วย

บางทีเราต้องคิดถึงเป้าหมายทางการเมืองว่าเราต้องการอะไร ถ้าเรามีวิธีอื่น แล้วมันลงตัว แม้กระบวนการโอเค ก็หวังว่านิติราษฎร์คงจะเห็นด้วย

การนิรโทษกรรมได้หรือไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่อยู่กับเจตจำนงทางการเมืองของทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล นิติบัญญัติและฝ่ายค้าน ง่ายๆ คือเพื่อไทยและ ปชป. ต้องโอเคกันในระดับหนึ่ง คือถ้ามีเจตจำนงทางการเมือง กฎหมายไม่เพอร์เฟกต์ก็ผ่านได้ แต่ต่อให้ร่างดีอย่างไร องค์กรทั้งหลายแหล่ก็คงมีวิธีที่จะบล็อคอยู่ดี ประเด็นใหญ่จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่การร่างฯ ให้เพอร์เฟกต์ แต่อยู่ที่การสร้างเจตจำนงร่วมกัน

การร่างฯ ของนิติราษฎร์นี้ซับซ้อนเกินไปมากไปหน่อยหรือเปล่า เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องเจตจำนง การแบ่งคนเป็นสี่กลุ่มหรือสองกลุ่มใหญ่ ทำไมต้องแบ่ง ทำไมไม่รวดไปทีเดียว การอธิบายว่ามีความซับซ้อนนั้นบางทีรวบเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ ไอเดียของการนิรโษกรรมก็คือเพื่อยุติความขัดแย้งแต่พออ่านแล้วก็รู้สึกทำไมต้องจำกัดและลงรายละเอียดมาก ทำไมต้องแยกฐานความผิดที่ต่ำกว่า 2 ปีและเกิน 2 ปี ทำไมไม่รวมกันไปเลย

ประเด็นต่อมา ร่างฯ นี้คล้าย พ.ร.บ. 14 ตุลา ซึ่งไม่มีการนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ คือให้นิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมือง ไม่มีการพูดถึงเจ้าหน้าที่เลย ก็มีแบบอย่างที่ทำได้ไหม ก็มีอยู่ ส่วนประเด็นกรรมการอะไรก็ตาม ก็ตั้งได้ ผมรู้ว่านิติราษฎร์เสนอให้ปล่อยไปก่อน แต่ผมเสนอว่า ทำไมไม่นิรโทษไปก่อน

ร่างฯ นี้ผมเข้าใจว่านิติราษฎร์หวังจะครอบคลุม 112 ไปด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะไม่คลุม ก็ควรจะเขียนไปเลย ว่านิรโทษ 112 ด้วย หรือเขียนลงไปเลยว่า กระทำความผิดฐานอะไร ได้รับการนิรโทษบ้าง

ประเด็นต่อมา สมมติว่า strict จริงๆ เรื่องการผูกกับกฎหมายระหว่างประเทศ พันธมิตรฯ คนที่เข้าชุมนุมก็จะโดน สุดท้ายจะกลายเป็นพันธมิตรฯ เท่านั้นที่โดนเล่นงาน เพราะเขาไปยึดสนามบิน คนที่หลุดหมดคือเสื้อแดง น่าจะตัดประเด็นนี้ไป

สุดท้าย ประเด็นแบ่งระหว่างแกนนำกับคนระดับล่าง ถ้าตามนี้ก็คือว่าในทางการเมืองรับกันได้ทั้งสองฝ่าย เช่น ฝ่ายเสื้อแดงรับได้ไหมว่าสนธิ ลิ้มทองกุลจะหลุด และผมพูดแทนคุณสนธิได้เลยว่ารับไม่ได้ที่แกนนำเสื้อแดงจะหลุด

วรเจตน์: การนิรโทษกรรมที่ผ่านมาทุกครั้งจะโยงกับการชุมนุมประท้วง ไม่มีการนิรโทษให้คนที่ชุมนุมประท้วง แกนหลักที่นิติราษฎร์ใช้คือมูลเหตุจูงใจทางการเมือง จึงไม่ต้องการให้กลับไปสู่ศาลปกติ เพราะจะมีปัญหาคือการตีความว่าแค่ไหนเป็นมูลเหตุจูงใจทางการเมือง จึงไม่สามารถเหมารวมการนิรโทษกรรมไปเลย ต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ชี้ ไม่เช่นนั้นศาลจะมีช่องเข้ามาวินิจฉัย

เห็นด้วยกับ อ.สมศักดิ์ว่าเรื่องนี้ต้องการเจตจำนงร่วมกัน และคนเสื้อแดงหรือ ส.ส. หรือ รมต. ก็จะหลุดไปด้วย

เรื่องพันธมิตรฯ จะโดนฝ่ายเดียว ความผิดจำนวนหนึ่งต้องดูพันธกรณีที่ทำในทางกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่รัฐต้องเคารพ การจะนิรโทษความผิดภายในก็ทำไป แต่เรื่องผูกกับพันธกรณีระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องยึดสนามบินอย่างเดียว เพราะเสื้อแดงก็ถูกกล่าวหาว่าก่อการร้ายด้วยเช่นกัน แต่สุดท้ายก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง ว่าจะดูมูลเหตุจูงใจทางการเมืองประกอบพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างไร

เรื่องทำไมต้องแยกโทษ 2 ปี กับเกิน 2 ปี เพราะว่าการกระทำความผิดบางกรณีที่รุนแรงไปเลย โทษ 2 ปี ส่วนใหญ่เป็นโทษฝ่าฝืน  พ.ร.ก.เป็นหลัก แต่โทษที่ผิดมากกว่า 2 ปี ก็อาจจะฝืนความรู้สึกประชาชนเกินไป ก็ควรไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ แต่ถามว่าควรจะรวมความผิดได้หรือไม่ ก็รวมได้


สมศักดิ์: ที่ผ่านมาการนิรโทษกรรมฆ่าคนตายก็มี ดังนั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไหร่ ถ้ามีเจตจำนง และเข้าใจว่าทำไมให้ความสำคัญกับบทบาทกรรมการฯ เยอะ

และไม่อยากชี้โพรงให้กระรอก แต่พันธมิตรฯ พูดได้ทันทีว่า ข้อเสนอนี้มีผลให้พันธมิตรฯ ต้องโดนฝ่ายเดียว การบอกว่าเขียนกฎหมายโดยไม่ได้ดูหน้าของคนที่จะได้รับผล แต่ในทางการเมืองที่จะสร้างเจตจำนงร่วมกันในทางการเมืองนั้นมีผลกระทบ

วรเจตน์: เรื่องยึดสนามบินนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า พันธมิตรฯ มีความผิดหลายกรรมหลายวาระไม่ใช่เรื่องยึดสนามบินอย่างเดียว แต่เรื่องยึดสนามบินเป็นความผูกพันในระดับระหว่างประเทศ ถ้าพันธมิตรฯ จะได้หรือไม่ได้ตรงนี้ต้องตีความระหว่างมูลเหตุจูงใจทางการเมืองกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ในทางการเมืองก็คิดได้ว่านี่เป็นเรื่องที่จะไม่หลุด แต่เป็นเรื่องพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในสายตาประชาคมระหว่างประเทศ แต่ก็เห็นด้วยกับ อ.สมศักดิ์ ว่าในท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรง การที่ฝ่ายค้านจะไม่สนับสนุนก็เป็นธรรมดา แต่เราคิดในกรอบของกฎหมายและคนธรรมดาและไม่อยากให้เกิดกรณียื่นหมูยื่นแมวนิรโทษกรรม

วรเจตน์กล่าวในท้ายที่สุดว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่นิติราษฎร์ต้องการย้ำเพื่อให้ฝ่ายการเมืองมีปฏิกิริยาเรื่องนี้ เพราะว่าเรื่องนิรโทษกรรมค้างอยู่ในรัฐสภามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีความเคลื่อนไหว สิ่งสำคัญของการเสนอเรื่องนี้คือการกระตุ้นฝ่ายการเมืองให้ดำเนินการเรื่องการนิรโทษกรรม

ในช่วงท้ายที่สุด สมศักดิ์ ถามว่าการนิรโทษกรรมนั้นทำเป็น  พ.ร.ก.ดังที่ฝ่าย นปช. เสนอย้ำในช่วงนี้ได้หรือไม่ วรเจตน์ตอบว่าออกได้ แต่เป็นไปได้สูงที่จะถูกตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทำให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นโมฆะ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น