ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'อาเจะห์โพสต์' สื่อท้องถิ่นในสถานการณ์รุนแรง ลมหายใจที่ยังคงมีอยู่
- 3 คนข่าวเสวนาข้อท้าทายในการรายงานข่าวเจาะ-ภาคใต้-112
- ลอบบึ้มทหาร รปภ.ครู 3 ชุดในวันเดียว ทหารดับ 1 เจ็บ 4
- มอ.ปัตตานีก้าวหน้า เลือกตั้งออนไลน์ แห่งแรกในไทย
- รายงาน: พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา วีระ-ราตรี และราษฎรอื่นๆ
- ธีระ สุธีวรางกูร
- ค้าน ‘กมธ.การเมือง’ จัดเวทีหนุน-ต้านโปแตชอุดรฯ หวั่นความขัดแย้งปะทุ
- นักต่อต้านในเยอรมนีจัดแข่ง 'เกม' ทำลายกล้องวงจรปิด
- ที่ปรึกษาอัคคีภัยเซ็นทรัลฯ ยันจำเลยคดีเผา CTW ไม่สามารถวางเพลิงได้
- ทูต 'อียู' แจงไม่ได้ 'แทรกแซง' ไทยกรณี 'สมยศ' แต่ 'ปฏิสัมพันธ์' ด้วยหลักสิทธิฯ
- กสทช. มอบใบอนุญาตช่องรายการเคเบิล-ดาวเทียม ครั้งแรก ทดลอง 1 ปี
- สาระ+ภาพ สื่อไทย-ใครเชียร์ ใครต้านแก้รัฐธรรมนูญ2550
- ไฟเขียวลดเงินสมทบประกันสังคม ด้าน ก.แรงงาน ระบุหลังเพิ่ม 300 พบเลิกจ้างแค่ 1,264 คน
- การเมืองเรื่อง “ยกเมฆ” ของคน “แอ๊บฉลาด”
- คปก.เสนอสภารอร่างฯ ทรัพยากรทะเลภาคประชาชน
'อาเจะห์โพสต์' สื่อท้องถิ่นในสถานการณ์รุนแรง ลมหายใจที่ยังคงมีอยู่ Posted: 30 Jan 2013 10:00 AM PST ทุกกลุ่มชนในโลกใบนี้ สมควรที่จะต้องรังสรรค์พื้นที่สื่อของตนเอง เพื่อให้เป็นสิ่งประดับให้อยู่คู่กับสังคม ไม่ว่าสังคมนั้นจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จะวิกฤติหรือไม่อย่างไร สื่อท้องถิ่นจะต้องมีที่ยืนเพื่อเป็นสื่อกลางให้กับประชาชน ระหว่างช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนผันจากห้วงขณะหนึ่ง ไปยังอีกช่วงขณะหนึ่งข้างหน้า โดยปราศจากการเลือกขั้วอย่างโจ่งแจ้ง อาเจะห์โพสต์ถือเป็นสื่อท้องถิ่นของอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเองที่คอยทำหน้าที่บอกกล่าวนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างที่จะเป็นการนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงการเมือง การสำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การวิพากษ์วิจารณ์การใช้งบประมาณของผู้บริหาร และการศึกษา ถึงแม้บทบาทที่แท้จริงอาจจะไม่เท่ากับสื่อกระแสหลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ที่มาจากส่วนกลางก็ตาม แต่อย่างน้อยเป็นการเปิดโอกาสให้กับสังคมในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงที่สุดวิธีหนึ่ง อาเจะห์โพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ โดยจะเลือกเอาประเด็นที่น่าสนใจ ที่เคลื่อนไหวในแต่ละรอบสัปดาห์ เนื้อหาโดยส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายหลังจากที่ได้รับสิทธิทางการเมือง เท่าที่ผู้เขียนได้สัมผัสในช่วงปลายปีที่แล้วที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นราวหนึ่งเดือนเศษไม่น้อยกว่าสี่ฉบับด้วยกัน ทุกฉบับจำเป็นจะต้องให้พื้นที่กับแวดวงการปกครองไม่มากก็น้อย อย่างน้อยเป็นการเกาะติดภารกิจของผู้นำที่ออกปฏิบัติภารกิจอยู่เป็นประจำ ส่วนประเด็นการเมืองในอาเจะห์ส่วนมากจะเป็นการปฏิรูปที่กำลังอยู่ในระยะการพลิกฟื้นจากโศกนาฏกรรมความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปไม่น้อย ซึ่งกินเวลานานถึง 30 ปี นั่นก็คือเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการร่างนโยบายของคณะผู้บริหาร การกำหนดกฎหมายและบทลงโทษเพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง การลงมติเพื่อหาข้อสรุปในการที่จะเลือกใช้ตราสัญลักษณ์บนผืนธง ทุกเรื่องสังคมล้วนจักได้รับทราบอย่างทั่วกัน นอกจากที่จะได้นำเสนอข่าวสารอื่นๆ แล้ว อาเจะห์โพสต์ ยังได้เปิดพื้นที่สื่อให้กับกลุ่มสตรีอีกด้วย ทุกฉบับจะต้องเปิดพื้นที่ให้กับผู้หญิง ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวประวัติ การศึกษา ความโดดเด่นและความสำเร็จในอาชีพการงานของบุคคลที่เป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นดาราสาว การประกวดนางงามแห่งอาเจะห์ นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมหญิงที่ได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ล้วนเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง เพื่อจักเป็นแบบอย่างแก่ผู้หญิงท่านอื่น ถึงกระนั้นก็ตาม การอวดโฉมใบหน้าและเรือนร่างจะต้องอยู่บนครรลองคลองธรรมของศีลธรรมและสังคมถึงจะสามารถนำเสนอรูปภาพนั้นได้ อาเจะห์โพสต์ เป็นทั้งสื่อและเสียงเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสในการสื่อสารระหว่างรัฐได้เป็นอย่างดี รัฐอาจจะมองด้วยสายตาห่างๆ อยู่บ้างในบางครั้งบางคราว แต่ไม่ถึงกับการบังคับทุกระเบียบนิ้วเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีระหว่างกัน หากขืนรัฐไปแทรกแซงจนไม่สามารถที่จะขยับได้อย่างสะดวก ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างเงื่อนไขอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ อาเจะห์โพสต์ยังคงยืนหยัดทำหน้าที่จนวินาทีนี้ แม้ว่าจะเป็นสื่อเล็กๆ ฉบับหนึ่งก็ตาม เมื่อเทียบกับสื่อกระแสหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนจะมาจากส่วนกลางแห่งจาการ์ต้าอินโดนีเซีย ถึงแม้สื่อกระแสหลักดังกล่าว จะมีทั้งความรวดเร็วและทันสมัย หากแต่ไม่ได้หมายความว่า สื่อเล็กๆ อย่างอาเจะห์โพสต์ จะต้องตายหายไปจากสังคมอาเจะห์ ด้วยความมีจรรณยาบรรณของทีมผู้บริหารและความสำนึกของทีมกองบรรณาธิการ สามารถเอาชนะสื่อกระแสหลักได้อย่างน่าแปลกใจ อาเจะห์โพสต์ คงไม่สามารถยืนหยัดจนถึงทุกวันนี้ได้ หากไม่มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถหายใจได้ตราบนานเท่านานในท่ามกลางความท้าทายและการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง อย่างไรก็ตามเมื่อตัวแปรอยูที่ประชาชน ประชาชนคือตลาด ประชาชนคือผู้ตัดสิน หากเมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคไม่ถามหาสินค้า ผู้อ่านได้หันหลังให้กับสื่อ เมื่อนั้นลมหายใจของสื่อก็จะล่มจมไปในความเงียบอย่างน่าเสียดาย บางครั้งก็ยากที่จะเรียกกลับคืนมาใหม่ได้เหมือนเดิม ความจำเป็นของสื่อนั้น เท่ากับว่าเป็นการเติมลมหายใจให้กับสังคมแต่ละสังคมเพื่อให้ยืดชีวิตอีกสักระยะหนึ่งได้ ทว่าหากสังคมใดก็ตามที่ไร้ซึ่งสื่อภาษาในแบบของตนเอง สังคมนั้นอาจไร้ความหมายโดยปริยายในบริบทของการดำรงอยู่ของแต่ละสังคมอย่างน่าอดสู่ ปาตานีก็เป็นอีกสังคมหนึ่งที่รอวันแห่งการสูญสลาย หากไม่มีผู้ที่ลุกขึ้นมาอาสาในการรังสรรค์เพื่อให้เกิดพื้นที่สื่อสำหรับสังคมปาตานีเอง อย่างน้อยก็เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าปาตานียังมีชีวิตอยู่ ปาตานียังไม่ตาย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
3 คนข่าวเสวนาข้อท้าทายในการรายงานข่าวเจาะ-ภาคใต้-112 Posted: 30 Jan 2013 09:48 AM PST อียูจัดเสวนาว่าด้วยเสรีภาพในไทย เวทีเรื่องความท้าทายในการทำงานของผู้สื่อข่าว 'สถาพร' ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ชี้ความท้าทายข่าวคอร์รัปชั่น ต้องพิสูจน์มุมหมิ่นเหม่ทางกฎหมาย 'ปกรณ์' จากสำนักข่าวอิศรา แจง 3 ความท้าทายการทำข่าวภาคใต้ 'ประวิตร' จากเนชั่น ชี้อุปสรรคการนำเสนอข่าว 112 คือสื่อ
(30 ม.ค.56) ในการเสวนาหัวข้อภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทย เรื่องข้อท้าทายในการทำงานจากมุมมองของผู้สื่อข่าว ภายใต้การสัมมนาเรื่องการปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย ซึ่งจัดโดยสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ที่โรงแรมดุสิตธานี สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวถึงการทำข่าวสืบสวนสอบสวนว่า เป้าหมายในการทำข่าวประเภทนี้ไม่ได้ต้องการรังแกหรือทำลายความน่าเชื่อถือของใคร แต่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา ในการทำข่าวเรื่องขบวนการบุกรุกที่ ราชพัสดุ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งได้รับรางวัลข่าวสืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม ก็เคยถูกขู่ฆ่า และสกัดทุกวิถีทางในการเข้าถึงพื้นที่ แต่ถือว่า มีข้อได้เปรียบคือทำงานในองค์กรที่ไม่มีโฆษณา ไม่มีคำสั่งจากรัฐบาล ทำให้เสนอเรื่องนี้ได้จนจบ โดยไม่เคยโดนสั่งให้เลิกทำ หรือให้เบาลง มีแต่บอกว่ายังไม่พอ โดยมีข้อพิสูจน์คือ ในการติดตามเรื่องนี้ 4 เดือน เสนอไป 30 ตอน นำไปสู่บทสรุปที่มีข้อเสนอ จนเกิดวาทกรรมสวนผึ้งโมเดล สถาพร กล่าวว่า เรื่องของการบุกรุกที่ดินของรัฐนั้น มีบริบทชัดเจน แต่ประเด็นที่ยากกว่าคือเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเนื่องจากมีมุมที่หมิ่นเหม่ทางกฎหมาย มีการแก้ไขระเบียบให้การทุจริตเหมือนไม่ทุจริต ซึ่งความท้าทายคือการพิสูจน์ว่านี่คือการทุจริตนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ สถาพรยกตัวอย่างอีกปัญหาที่พบจากทำงานล่าสุด ที่ติดตามเรื่องสารปรอทในพื้นที่อุตสาหกรรม โดยพบในปลาและเส้นผมมนุษย์ว่า ชาวบ้านมีท่าทีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล แต่ไม่ออกสื่อ เพราะมีความหวาดกลัว เนื่องจากต้องชนกับอุตสาหกรรมกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหรืออาจจะในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ พอเป็นการต่อสู้เรื่องข้อมูล ก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่รัฐไปช่วยกลุ่มอุตสาหกรรม โดยหลังมูลนิธิแห่งหนึ่งตรวจพบสารปรอท แต่เมื่อหน่วยงานรัฐมาตรวจกลับบอกว่าไม่มีปัญหา
ปกรณ์ กล่าวต่อว่า สอง วิธีการนำเสนอ ลักษณะของข่าวไทยนั้นเน้นรายวัน จบแล้วจบเลย ยากที่จะมีการเกาะติด ตามจนจบ โดยยกตัวอย่างตนเองที่วานนี้ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานเรื่องกล้องวงจรปิดถูกเผาที่ภาคใต้ ซึ่งก็ทำจนดึก พอมาเช้านี้มีข่าวกำนันเป๊าะถูกจับ เรื่องของตนคงไม่ได้ตีพิมพ์ และตลอดอาทิตย์นี้คงมีแต่เรื่องกำนันเป๊าะ ทั้งที่มาของคดี การกลับเข้าประเทศ ทั้งนี้ การทำข่าวเช่นนี้ของสื่อก็สะท้อนสังคมไทยที่ตามข่าวแบบผิวเผินด้วย สังเกตจากตอนที่ตนเองทวีตข่าวในวันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีผู้ติดตามและรีทวีตจำนวนมาก แต่พอวันถัดมา ก็ไม่มีใครสนใจแล้ว ปกรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้การที่นักข่าวในพื้นที่ต้องตามข่าวรายวัน ต้องส่งข่าวให้ได้ จึงเกิดปรากฏการณ์ได้ข่าวจากรัฐฝ่ายเดียว เช่น ในการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งว่าเป็นมือปืน มีหมายจับ 30-60 หมายจับ ขณะที่ในเว็บของกองปราบฯ นั้น คนที่เป็นมือปืนมือหนึ่งมีหมายจับเพียง 7 หมายจับเท่านั้น ตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีนักข่าวคนไหนไปตามที่บ้านของผู้ตาย ไปถามความเห็นจากคนใกล้ตัวเขาเลย ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่าหากผู้ต้องสงสัยดังกล่าวมีหมายจับจำนวนมาก ฆ่าได้หมดทุกคนก็คงเก่งมากๆ เพราะสามารถฆ่าตำรวจที่จบพลร่มได้ หรือกรณียิงครูจำนวนมากตั้งแต่กันยายนถึงสิ้นปี รวมแล้ว 11 กรณี ไม่มีใครนำเสนอต้นทางของปัญหาซึ่งคือการตายของผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนสอนศาสนาชื่อดังซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้นอกจากนักข่าวมาเลเซีย โดยชาวบ้าน-คนในพื้นที่เชื่อว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ สร้างความชอบธรรมให้ขบวนการก่อความไม่สงบที่จะแก้แค้นคืน เกิดการเอาคืน มีการฆ่าผู้อำนวยการโรงเรียนสายสามัญของรัฐ สาม ความท้าทายสังคมในพื้นที่เอง แยกเป็นสองส่วน คือ หนึ่ง ภาคประชาสังคม ซึ่งหลังๆ มีวาระในการเคลื่อนไหวของตัวเอง ด้านสิทธิมนุษยชนบ้าง ด้านการเมืองการปกครองเรียกร้องเขตปกครองพิเศษ ทำให้สื่อทำงานยาก บางทีเสนอมุมที่แตกต่าง องค์กรเหล่านี้ไม่ยอมรั ตอบโต้หรือกดดันสื่อ อีกกลุ่มคือ สังคมในพื้นที่ที่มีกระแสอิสลามภิวัฒน์สูง ตัวเองโดนกดดันเยอะ เพราะไม่ได้เป็นมุสลิมและทำงานในส่วนกลาง ทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือ ไม่ได้นับถือศาสนาเดียวกัน หรือพูดภาษาเดียวกัน ทั้งที่นักข่าวของตนเป็นคนในพื้นที่อยู่แล้ว อุปสรรคในการเสนอ 112 คือ "สื่อ" ประวิตรกล่าวว่า นอกจากนี้ ไม่แปลกใจเลยที่ไม่มีแถลงการณ์จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หลังคำตัดสินจำคุก สมยศ พฤกษาเกษมสุข 10 ปีจากการเป็น บก.นิตยสาร เพราะทราบจากภรรยาของสมยศว่า ตลอดเวลาที่สมยศถูกคุมขัง 21 เดือน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว 12 ครั้งนั้น ไม่เคยมีแถลงการณ์จากสมาคมนักข่าวฯ เลย ประวิตรกล่าวด้วยว่า แม้จะมีสื่อหลักรุ่นใหม่ที่เป็นห่วงเรื่องนี้ แต่พวกเขาก็ไม่กล้าแสดงออก เพราะจะเป็นการฆ่าตัวตายทางวิชาชีพ ไม่มีใครที่ไม่เอา 112 แล้วเป็น บก.ในสื่อหลักได้ พวกเขาไม่มีที่ทางแสดงความเห็นถ้าไม่มีอายุงานพอ และถ้าอยากเติบโตในหน้าที่ก็ต้องเงียบ เพราะสื่อส่วนใหญ่นั้นไม่มีปัญหากับมาตรานี้ ขณะที่ปกรณ์ กล่าวว่า จากการทำข่าวมา 20 ปี วัฒนธรรมข่าวเรื่องนี้คือ ตกข่าวดีกว่า ไม่มีใครว่า พอเกี่ยวกับเรื่องนี้สื่อไม่นำเสนอเลยดีกว่า แม้จะมีสื่อหลายคนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่ก็ถูกวาทกรรมกดทับ ซึ่งเขามองว่า ควรเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยกัน เหมือนอย่างกรณีปัญหาภาคใต้ และอยากให้รัฐเป็นผู้เริ่ม อย่างไรก็ตาม เขากล่าวด้วยว่า ขอให้มองสื่ออย่างเข้าใจด้วย เพราะที่ผ่านมา แม้แต่อดีตอธิบดีกรมตำรวจยังเคยถูกแจ้งความเนื่องจากอ่านเนื้อหาออกสื่อมาแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ลอบบึ้มทหาร รปภ.ครู 3 ชุดในวันเดียว ทหารดับ 1 เจ็บ 4 Posted: 30 Jan 2013 09:44 AM PST ด้าน ศอ.บต. แจ้งทูตสมาชิกโอไอซี 16 ประเทศ ลงติดตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้วัน 31 มกราคม 56 ศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) รายงานสถานการณ์ไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาใต้ขอวันที่ 30 มกราคม 2556 ว่า มีเหตุลอบวางระเบิดทำร้ายเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยครูถึง 3 ชุดด้วยกัน โดยเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 07.00 น. โดยคนร้ายลอบวางระเบิด ทหารชุดรักษาความปลอดภัยครู สังกัดหมวดปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 33 บริเวณสามแยกโคกแมแน หมู่ที่ 3 ต.มะนังตายอ อ.เมืองจ.นราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 1 ราย คือพ.จ.อ.สุเทพโมคะมูล บาดเจ็บ 2 ราย ได้แก่ พลทหารอนุชิต กลีบนิล และพลทหารวสันต์ แก้วสันทราย ขณะออกลาดตระเวนโดยใช้รถกระบะเป็นพาหนะ จากนั้นเวลา 07.30 คนร้ายลอบวางระเบิดชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยครู กองร้อยทหารพรานที่ 4609 หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 46 จำนวน 12 นาย ขณะเดินเท้าลาดตระเวน เหตุเกิดบริเวณคอสะพานบ้านกูมุง หมู่ที่ 2 ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ จ.นราธิวาส แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเวลา 08.40 น.คนร้ายลอบวางระเบิดชุดปฏิบัติการกองร้อยทหารพราน 4807 หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 48 ทำให้ทหารพรานได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 ราย ได้แก่ อส.ทพ.อับดุลเลาะ รอดิง และอส.ทพ.มูฮาหมัดอุสมาน เจ๊ะมามะ เหตุเกิดบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านไอสะเตียร์ บ้านไอกูเด็ง หมู่ที่ 13 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ขณะทหารพรานชุดกล่าวจำนวน 12 คน ออกลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยครูในพื้นที่ วันเดียวกัน สำนักสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แจ้งว่า ในวันที่ 31 ธันวาคม 2556 คณะเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ประจำประเทศไทย จำนวน 20 คน จาก 16 ประเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ และเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มอ.ปัตตานีก้าวหน้า เลือกตั้งออนไลน์ แห่งแรกในไทย Posted: 30 Jan 2013 09:39 AM PST ชี้ทราบผลเร็ว ประหยัดกระดาษ ตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาได้ เตรียมเผยแพร่ให้ทุกมหาวิทยาลัยใช้ หนุนใช้กับการเลือกตั้งทั่วประเทศ ยันตรวจสอบได้ โกงยาก ฝ่ายไม่เห็นด้วยชี้ประชาชนยังไม่พร้อม เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา สภานักศึกษาและนายกสโมสร โดยใช้ระบบออนไลน์หรือระบบอิเลคทรอนิกส์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยระบบดังกล่าวให้นักศึกษานำบัตรประจำตัวนักศึกษาหรือบัตรประจำตัวประชาชนไปลงทะเบียนที่หน้าอาคารกองกิจการนักศึกษา เพื่อตรวจสอบสถานภาพความเป็นนักศึกษา โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้งนักศึกษา เป็นผู้อธิบายวิธีการและขั้นตอนการลงคะแนน จากนั้นให้นักศึกษาไปลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งปรับเป็นห้องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งออนไลน์ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ภายในคูหาหลังจากนักศึกษาลงคะแนนแล้ว นักศึกษาจะต้องลงชื่อเพื่อบันทึกเป็นชั่วโมงกิจกรรมของนักศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ระบบนี้เริ่มทดลองใช้เมื่อปีที่แล้ว และผลการทดลองประสบความสำเร็จอย่างดี จึงนำมาใช้จริงในการเลือกตั้งปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบการเลือกตั้งในรูปแบบออนไลน์ ผศ.นิฟาริด เปิดเผยด้วยว่า ทางมหาวิทยาลัยจะนำการเลือกตั้งในระบบออนไลน์ไปนำเสนอต่อที่ประชุมของกลุ่มเครือข่ายกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศนำระบบนี้ไปใช้ เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้ ผศ.นิฟาริด กล่าวว่า เห็นด้วยถ้าจะนำระบบนี้ไปใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศ เนื่องจากระบบการเลือกตั้งออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถทุจริตได้ แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมแก่ประชาชนเสียก่อน "ปัจจุบันนี้ระบบนี้สามารถใช้ได้สำหรับเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่และขอนแก่น เป็นต้น" ผศ.นิฟาริด กล่าว นายวันสุไลมาน เจะแวมาแจ เจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทางองค์การบริหารองค์การนักศึกษาได้เสนอต่อมหาวิทยาลัยให้ใช้ระบบเลือกตั้งออนไลน์ เพื่อประหยัดทรัพยากร เนื่องจากแต่ละปีมหาวิทยาลัยต้องพิมพ์บัตรเลือกตั้งประมาณ 8,000 ใบ แต่ปรากฏว่ามีนักศึกษามาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 4,000 คน ทำให้สิ้นเปลืองกระดาษ นายวันสุไลมาน เปิดเผยต่อไปว่า การเลือกตั้งระบบออนไลน์ยังทำให้สามารถทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบได้ทำให้ยากต่อการทุจริต โดยสามารถตรวจสอบทั้งผลการเลือกตั้งและตรวจสอบสถานภาพของนักศึกษา นายนูรุดดีน มูลทรัพย์ นักศึกษาชั้นปี 4 คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า ข้อดีของการใช้ระบบการเลือกตั้งออนไลน์คือ สามารถรับรู้ผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว และในการลงคะแนนสามารถเห็นรูปภาพของผู้สมัครอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากระบบบัตรเลือกตั้งที่ไม่มีภาพของผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นผลเสียกรณีที่นักศึกษาบางคนจำชื่อผู้สมัครไม่ได้แต่จำหน้าตาได้ ส่วนข้อเสียคือ ระบบคอมพิวเตอร์ทุกระบบมีช่องโหว่ต่อการที่จะโดนเจาะฐานข้อมูลได้ "ผมไม่เห็นด้วยหากจะนำระบบการเลือกตั้งออนไลน์ ไปใช้กับการเลือกตั้งของนักการเมือง ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เพราะจะเป็นปัญหาต่อผู้สูงอายุที่ไม่เข้าใจระบบเทคโนโลยี" "นอกจากนี้ประเทศเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ระบบอินเตอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึงทุกภาคส่วน ที่สำคัญส่วนใหญ่ผู้ที่มีตำแหน่งสูงๆ มักมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และการเลือกตั้งมีการแข่งขันกันสูง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะจะเจาะระบบคอมพิวเตอร์และแก้ไขข้อมูลการเลือกตั้งได้" นายนูรุดดีน กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายงาน: พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา วีระ-ราตรี และราษฎรอื่นๆ Posted: 30 Jan 2013 08:45 AM PST พูดคุยกับอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองฯ ของคณะกรรมการสิทธิฯ ถึงเรื่องราวสภาพในเรือนจำของวีระ สมความคิด และปัญหาทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชา ที่มีประชาชนของทั้งสองประเทศเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างเงียบๆ และถูกละเลย
วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ น่าจะมีข่าวดีเกี่ยวกับการปล่อยตัวนางราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ที่ได้รับอภัยโทษและเดินทางออกจากเรือนจำเปรยซอว์ กรุงพนมเปญ แม้ว่ายังเหลือนายวีระ สมความคิด อีกคนหนึ่งที่ติดค้างที่นั่น ทั้งสองถูกทหารกัมพูชาจับกุมตัวเมื่อวันที่ 21 ส.ค.53 พร้อมกับนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ คนสนิทของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมถึงคนอื่นๆ ในทีม ขณะเดินทางไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใน อ.โนนสูง จ.สระแก้ว เพื่อเข้าไปตรวจสอบเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างไทยกับกัมพูชาอันเนื่องมาจากกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร ซึ่งนายวีระเคยนำทีมไปอ่านแถลงการณ์ทวงคืนพื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหารจนมีเหตุปะทะกับชาวบ้านในพื้นที่ก่อนหน้านี้ หลังการจับกุมรัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามประสานขอตัวคนกลุ่มนี้กลับแต่ไม่ได้รับการตอบรับ ต่อมาหลังศาลกัมพูชาตัดสินโทษ คนส่วนใหญ่ได้กลับประเทศ เว้นแต่นายวีระเเละนางราตรี โดยในวันที่ 1 ก.พ.2554 ศาลกัมพูชาพิพากษาให้ทั้งสองมีความผิด 3 ข้อหา คือ รุกล้ำชายแดน เข้าไปในเขตทหาร และโจรกรรมข้อมูลทางทหาร ตัดสินจำคุกนายวีระ 8 ปี ปรับ 1 ล้าน 8 แสนเรียล และตัดสินจำคุกนางราตรี 6 ปีปรับ 1 ล้าน 2 แสนเรียล เรื่องราวผ่านมากว่า 2 ปี ล่าสุด นายสุวัฒน์ แก้วสุข จากกองคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล แจ้งความคืบหน้าให้กับอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิฯ ซึ่งมีหมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน ว่า กัมพูชามีการอภัยโทษให้กับนักโทษต่างชาติและกัมพูชาราว 500 คน เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอดีตกษัตริย์นโรดม สีหนุ ซึ่งจะเริ่มในวันศุกร์ (1 ก.พ.) นี้ ในจำนวนนี้มีคนไทยอยู่ด้วย 5 คน รวมวีระและราตรี (จากจำนวนนักโทษชาวไทย 37 คนในกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด) นางราตรีได้ปล่อยตัวทันทีส่วนนายวีระนั้นได้รับการลดโทษ 6 เดือน แต่ก็มีสัญญาณที่ดีว่าน่าจะนำไปสู่การอภัยโทษในอนาคต ทั้งนี้ เพราะตามหลักเกณฑ์ของกัมพูชา นักโทษจะได้รับอภัยโทษได้เมื่อได้รับโทษครบ 2 ใน 3 แล้ว นอกจากนี้ยังอาจมีการหารือเรื่องการโอนตัวนักโทษ ซึ่งตามเกณฑ์ของกัมพูชาแล้วต้องรับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 ซึ่งสำหรับนายวีระนั้นจะได้รับโทษครบ 1 ใน 3 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ สำหรับขั้นตอนการโอนตัวนั้น จะมีคณะกรรมการร่วมจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมการกงสุล และกรมราชทัณฑ์ ซึ่งในเบื้องต้นคณะกรรมการได้พิจารณาเรื่องของนายวีระไว้แล้ว หากครบกำหนดโทษตามหลักเกณฑ์และมีการส่งเรื่องเข้าคณะกรรมการเมื่อใดก็สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทันที เรียกได้ว่า ขออภัยโทษ กับขอโอนตัว ทำสิ่งไหนได้แต่ก่อนก็จะทำทันที นพ.นิรันดร์ ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการฯ ที่ติดตามเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา เคยเดินทางไปเยี่ยมนายวีระและนางราตรีที่เรือนจำในกัมพูชาเมื่อปลายปีที่แล้ว ให้สัมภาษณ์ว่า การจับกุมคุมขังครั้งนี้เป็นประเด็นทางการเมือง โดยที่วีระ ราตรีไม่ได้เป็นสายลับจารกรรมข้อมูลดังที่ถูกกล่าวหา เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำงานกับวีระในเรื่องการต่อต้านการคอรัปชั่นมายาวนาน ประกอบกับวีระเองก็เป็นอนุกรรมการฯ ที่นพ.นิรันดร์เป็นประธาน ทำให้ยืนยันได้ว่าเขาเป็นคนตรงไปตรงมา และพยายามต่อสู้เรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนตามชายแดนตามแนวทางที่เชื่อ เพราะเรื่องนี้กระทบสิทธิของชุมชนและประชาชนด้วย ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวด้วยว่า อนุกรรมการฯ ชุดนี้ไม่ได้เพียงแต่ดูเรื่องคุณวีระ ราตรี แต่ได้รับเรื่องร้องเรียนของประชาชนไม่น้อยในเรื่องเขตแดนที่ไม่ชัดเจน มีคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุมตัวไปอยู่ในเรือนจำที่เสียมเรียบบ้าง พนมเปญบ้าง และขณะเดียวกันก็มีพี่น้องกัมพูชาที่อยู่ชายแดนถูกทำร้ายโดยทหารของฝ่ายไทย โดยทางอนุฯ ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วในหลายกรณี "อยากให้เห็นว่านอกจากประเด็นชาตินิยมที่ต่างกัน ในเรื่องปราสาทพระวิหารแล้ว เรื่องเขตแดนที่ไม่ชัดเจนมันก็กระทบกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วย เช่น พี่น้องประชาชนมาร้องว่า ไม่มีที่ดินทำกิน เพราะที่ดินตรงนั้นถูกประกาศให้กลายเป็นอุทยานแห่งชาติไป และประกาศกฎอัยการศึกไม่ให้คนไทยเข้าไปทำมาหากิน ทั้งๆที่เขาทำมาหากินมานาน แต่ตรงข้ามรัฐบาลกัมพูชาให้ชาวกัมพูชามาหากินได้ สร้างบ้านเรือนได้ มันเป็นนโยบายที่แตกต่างกัน"นิรันดร์กล่าว เมื่อถามถึงสภาพการถูกคุมขังที่เรือนจำในกัมพูชา นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า ในการไปเยี่ยมนั้นได้คุยกับวีระนานร่วมชั่วโมง ทั้งนายวีระ และนางราตรี อยู่ในห้องขังแยกกัน สำหรับสุขภาพของวีระนั้นดีขึ้น เนื่องจากมีโรคประจำตัวคือ โรคภูมิแพ้ โรคไขข้ออักเสบ แต่ระยะหลังมีคณะแพทย์จากประเทศไทยไปดูอาการและให้ยาเป็นระยะ สำหรับการอยู่ในเรือนจำมีสภาพต่างกัน นพ.นิรันดร์เล่าว่า วีระถูกควบคุมมากกว่า ถูกจำกัดไม่ให้มีหนังสืออ่าน เขียนเอกสารใดๆ ไม่ได้ ไปไหนมาไหนจะมีผู้คุมเดินประกบตลอด อยู่ห้องขังเดี่ยว เพราะเขาถือว่าเป็นสปายสายลับ ซึ่งตรงข้ามกับราตรีที่ยังส่งหนังสือให้อ่านได้ ระยะหลังจึงผ่อนคลายพอสมควร นพ.นิรันดร์กล่าวด้วยว่า "จุดที่วีระไปแล้วถูกจับเป็นจุดที่วีระเคยไปมาหลายครั้งแล้ว วีระยืนยันว่าจุดที่ไปอยู่ฝั่งไทย เพราะมีโอกาสพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่นั้นมาก่อน ไปเห็นหมุดเขตแดนชัดเจน เขาเชื่อมั่นตรงนั้นอยู่ในฝั่งไทย เพียงแต่มันมีนโยบายจัดการชายแดนที่ต่างกันระหว่างไทยกับกัมพูชา นอกจากนี้การจัดการเขตแดนของไทยกับกัมพูชามีปัญหามาตลอด ไม่สามารถเคลียร์ได้ แต่วีระเขามั่นใจว่าเขตนั้นอยู่ในเขตไทย ที่ไปแล้วถูกจับในครั้งหลังเพราะได้รับการติดต่อจากส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ให้ช่วยพาไป จริงๆ คุณวีระไม่ได้อยากไป โปรแกรมคุณวีระวันนั้นจะพาคุณแม่ไปพักผ่อน เพราะใกล้ปีใหม่ด้วยซ้ำไป" นิรันดร์กล่าว นพ.นิรันดร์กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง ประเด็นที่ถูกจับเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าไทยหรือกัมพูชา และการที่เขาถูกจับ นักการเมืองกัมพูชาก็ได้ประโยชน์ในการปลุกกระแสชาตินิยมในประเทศของเขา การที่สามารถที่จะดำเนินการทำให้มีการลดหย่อนโทษวีระและปล่อยราตรี แสดงให้เห็นว่าการเมืองของความตึงเครียดที่มองกันเป็นศัตรูนั้นลดลง และเป็นข้อพิสูจน์ว่าความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาไม่ใช่ใช้ความรุนแรง หรือการรบ วิธีการเหล่านี้ไม่ได้เกิดประโยชน์ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชานั้นไม่ได้มีเฉพาะกรณีของวีระ-ราตรี แต่ยังมีกรณีชาวบ้านอุบลราชธานีถูกทหารกัมพูชาจับกุมตัวไปด้วย อย่างที่กล่าวไปว่าการอภัยโทษครั้งนี้มีคนไทยรายอื่นรวมอยู่ด้วย คือ นายทองแดง ยะลา อายุ 51 ปี และนายพิณ นาอ่อน อายุ 46 ปี ชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีอาชีพหาของป่า และเป็นพรานล่าสัตว์ ถูกทหารกัมพูชาจับตัวบริเวณช่องอานม้าเมื่อวันที่ 31 พ.ค.53 เนื่องจากเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน โดยพวกเขาถูกจำคุกอยู่ที่เสียมเรียบ นายทองแดง และนายพิณ ถูกทหารกัมพูชาจับในข้อหา เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และข้อหาครอบครองและมีไว้ซึ่งอาวุธปืน(ปืนแก๊ปและกระสุนกว่า 500 นัด) ศาลลงโทษให้จำคุก 5 ปี ในระดับพื้นที่โดยปกติเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีการเจรจา แต่เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ไม่ค่อยจะดีนักจึงไม่ประสบผล เมื่อญาติทราบข่าวการถูกจับกุมได้ไปร้องเรียนในหลายหน่วยงานแต่ไม่ได้รับความสนใจ ไม่ว่ากระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม ทำเนียบรัฐบาล จนสุดท้ายได้ร้องเรียนมายังอนุกรรมการสิทธิพลเมืองฯ ซึ่งอนุกรรมการได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังทั้งสองที่กัมพูชาและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนกรณีชาวบ้านอุบลราชธานีถูกทหารพรานของไทยเองยิง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 นายไชยา สายสิม อายุ 39 ปี พร้อมลูกชายเดินทางกลับจากการหาของป่า ช่วงเวลาประมาณ 20.00น. ทั้งสองขับรถไถนาแบบเดินตามที่เก็บท่อนไม้ยาวประมาณ 1 เมตรจำนวน 4 ท่อนกลับมาด้วย เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณไร่มัน เจ้าหน้าที่ส่องไฟใส่ แล้วยิงบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง นายไชยาฯ เข้าไปหลบอยู่ในไร่มัน ส่วนลูกชายได้วิ่งหนีไปก่อนหน้านั้น ทหารพรานที่อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งหมดประมาณ 6 – 7 นาย ได้ประสานให้เจ้าหน้าที่จากอุทยานเขาพระวิหารมายึดรถไถนาเดินตามของนายไชยาฯ ภายหลังการพักรักษาตัวราว 1 สัปดาห์ มีการได้ติดต่อให้เจ้าหน้าที่ทหารพรานผู้ก่อเหตุมาเจรจากันที่โรงพัก แม้จะไม่มีการแจ้งความ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดทหารได้ยอมจ่ายค่าเสียหายให้กับนายไชยา ไม่เฉพาะราษฎรไทยที่ประสบปัญหาในพื้นที่ทับซ้อนเหล่านี้ ราษฎรกัมพูชาเองก็ประสบภัยคุกคามจากความไม่ชัดเจนของเขตแดนเช่นเดียวกัน โดยปลายปีที่แล้ว นักวิชาการกลุ่มหนึ่งและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้ร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารไทย กรณีการสังหารประชาชนชาวกัมพูชานอกกระบวนการยุติธรรม (Extra-judicial executions) ตามบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาในปี พ.ศ. 2551 – 2554 ซึ่งตามข้อมูลที่ได้รับจากสมาคมสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งกัมพูชา (Cambodia Human Rights and Development Association) และศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งกัมพูชา (Cambodia Center for Human Rights) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนแนวหน้าในประเทศกัมพูชานั้นได้อ้างถึงเหตุการณ์หลายกรณีในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2551 – 2554 ที่เกี่ยวข้องกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนกัมพูชาตามบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาโดยทหารไทย โดยอ้างว่าในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมาทหารไทยได้มีการสังหารประชาชนกัมพูชาไปกว่า 20 คน อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามเอ็นจีโอที่ติดตามเรื่องนี้พบว่า ไม่มีความคืบหน้าในการตรวจสอบทั้งในฝั่งไทยและกัมพูชา เป็นที่แน่ชัดว่า สถานการณ์ทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นนั้นทำให้การเผชิญหน้า ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาในจุดต่างๆ ลดน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่เรากำลังเตรียมพร้อมอย่างหนักในการแถลงต่อศาลโลกในคดีพื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหาร เราอาจต้องหันมาตรวจสอบและแก้ปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนตามแนวชายแดนจุดอื่นๆ ด้วย เพื่อไม่ให้ราษฎรของทั้งสองประเทศต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยไม่มีใครแยแสอีกต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 30 Jan 2013 08:34 AM PST |
ค้าน ‘กมธ.การเมือง’ จัดเวทีหนุน-ต้านโปแตชอุดรฯ หวั่นความขัดแย้งปะทุ Posted: 30 Jan 2013 08:15 AM PST กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานียื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ จี้ กมธ.การพัฒนาการเมือง ยกเลิกเวทีการมีส่วนร่วมฯ โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี เผยหวั่นปะทะรุนแรง พร้อมตั้งคำถามจัดเวทีตามใบสั่ง เหตุไม่มีใครร้องขอ ด้านเอ็นจีโอจวก สส.สร้างมูลค่าให้ตัวเอง วันนี้ (30 ม.ค.56) เวลาประมาณ 11.00 น.ที่ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 10 คน เข้ายื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดถึงประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ยกเลิกการประชุมและศึกษาดูงาน กรณีการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ของคณะกรรมาธิการ ชุดดังกล่าวซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 1 ก.พ.56 นี้ โดยเห็นว่าจะเกิดการเผชิญหน้าของกลุ่มชาวบ้านทั้งฝ่ายคัดค้านและสนับสนุนโครงการ และนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้นอีก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้ นำโดยนายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จ.อุดรธานี เขต 6 รองประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยได้ขอความร่วมมือจากส่วนราชการให้ออกหนังสือเวียนประสานให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียทั้งกลุ่มที่ต่อต้านและสนับสนุนโครงการฯ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าร่วมประชุม นางมณี บุญรอด กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ระหว่างชาวบ้านทั้งฝ่ายคัดค้านและสนับสนุนโครงการฯ ยังคงครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากว่า กมธ.การเมือง จะจัดประชุมโดยให้แต่ละฝ่ายที่มีจุดยืนและมีเป้าหมายที่แตกต่างกันเข้าร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็นตามที่ฝ่ายตนเห็นว่าถูกต้องนั้น กลุ่มอนุรักษ์ฯ หวั่นเกรงว่า ปัญหาความขัดแย้งจะปะทุรุนแรงขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้น เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งจึงเห็นควรให้มีการยกเลิกเสีย "การจัดเวทีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการขอประทานบัตรในขั้นตอนใดเลย และเป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดเวทีในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการร้องเรียนของฝ่ายใดมาก่อน อยู่ๆ กมธ.การเมือง ก็จะมาจัดแสดงว่า สส.พรรคเพื่อไทย รับใบสั่งจากใครมาให้ผลักดันโครงการ นี้หรือไม่" นางมณีกล่าว ด้านนายพัตทอง กิตติวัฒน์ รักษาราชการแทนอุสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมารับข้อร้องเรียนของชาวบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดได้รับการประสานงานมาจากคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว จึงทำหนังสือให้ส่วนราชการแจ้งกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมประชุม แต่เมื่อกลุ่มอนุรักษ์ฯ เห็นว่าไม่สมควรจัดเวที เนื่องจากว่าจะมีความขัดแย้ง ตนก็จะทำหนังสือประสานกลับไปยังคณะกรรมาธิการ เพื่อให้พิจารณาตามข้อเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้าน และหากมีผลเป็นอย่างไรก็จะแจ้งให้กลุ่มฯ ทราบอีกครั้ง ขณะเดียวกันนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสสศ.) อีสานเปิดเผย กับผู้สื่อข่าวว่า การมาดูพื้นที่ของคณะกรรมาธิการ ที่นำโดยส.ส.พรรคเพื่อไทย ในครั้งนี้ ไม่ได้มีผลต่อการขอประทานบัตรโครงการเหมืองโปแตชอุดรฯ แต่เป็นการมาเพื่อสร้างค่าตัวให้กับตนเองและ กมธ.โดย กมธ.ชุดนี้อาจจะมีข้อสรุปที่เห็นด้วยกับเหมืองและเป็นตราประทับเพื่อให้สร้างโครงการฯ ได้ในอนาคต "ที่ผ่านมา กมธ. ไม่มีบทบาทอะไรที่ชัดเจน การจัดเวทีในครั้งนี้ จึงเป็นการผลักดันผลประโยชน์ และเรียกค่าตัวให้กับตนเองมากกว่า ขณะที่ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์อะไร และยิ่งจะสร้างความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น" นายสุวิทย์กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. นายพัตทอง กิตติวัฒน์ รักษาราชการแทนอุสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ได้โทรศัพท์แจ้งกับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ว่าทาง กมธ.การเมือง ได้ยกเลิกการการประชุมและการลงพื้นที่ในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มฯ แล้ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักต่อต้านในเยอรมนีจัดแข่ง 'เกม' ทำลายกล้องวงจรปิด Posted: 30 Jan 2013 07:42 AM PST กลุ่มต่อต้านการใช้กล้องวงจรปิดเชิญชวนแข่งขันทำลายกล้องวงจรปิดในเมืองต่างๆ ของเยอรมนี โดยให้คะแนนตามจำนวนและคะแนนพิเศษจากการทำลายกล้องด้วยวิธีการที่ 'ครีเอท' กว่าใคร แต่ขณะเดียวกันก็ชวนให้กังวลเนื่องจากเป็นการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมาเว็บไซต์ The Verge รายงานว่ามีกลุ่มนักต่อต้านในเยอรมนีประท้วงการติดกล้องวงจรปิดในประเทศที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการจัดแข่งเกมทำลายกล้องทั่วประเทศในชื่อ Camover 2013 การแข่งขัน Camover 2013 คือการให้ผู้เข้าร่วมทีมแข่งกันทำลายกล้องวงจรปิดให้ได้มากที่สุด เว็บบล็อกใน The Guardian เปิดเผยว่า นอกจากจำนวนแล้วยังมีการให้คะแนนพิเศษสำหรับทีมที่แสดงภาพการทำลายกล้องได้อย่าง 'ครีเอท' ที่สุด ในวีดิโอเชิญชวนเผยให้เห็นภาพของ 'ผู้เล่น' ที่สวมหน้ากากสกีซึ่งบอกว่าตัวเองเป็นนักฉกชิงวิ่งราว, คนพ่นกราฟิตี้, คนไร้บ้าน และนักบุกรุกสถานที่ พวกเขาใช้เชือกดึงกล้องลงมาแล้วทุบทำลายมันด้วยค้อน ทำให้กล้องมืดด้วยสีสเปรย์ มีการเชิญชวนให้อัพโหลดการทำลายกล้องของแต่ละทีมลงในเว็บไซต์ Camover ด้วย The Guardian ชี้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ชาวเยอรมันเริ่มมีการถกเถียงเรื่องการใช้กล้องวงจรปิดในที่สาธารณะทั่วไป แม้ว่าจะมีการใช้กล้องวงจรปิดในเยอรมนีตั้งแต่ช่วงกลางยุค 1960s แต่เหตุการณ์ระเบิดในบอนน์เมื่อปีที่แล้ว และการฆาตกรรมในที่สาธารณะตอนกลางวันแสกๆ ในย่านอเล็กซานเดอร์แพลตซ์ที่มีคนพลุกพล่านก็ทำให้รมต.หมาดไทยของเยอรมนีนำกล้องวงจรปิดซึ่งแต่เดิมติดอยู่ตามสถานีรถไฟออกมาวางติดตั้งตามท้องถนน ทางกระทรวงอ้างว่าการติดกล้องทำให้อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลงร้อยละ 20 แม้ว่ากล้องวงจรปิดจะไม่สามารถป้องกันเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งหมดเนื่องจากมักจะมีการใช้วิธีกำบังกล้องก็ตาม อย่างไรก็ตาม The Verge กล่าวว่าความกังวลในเรื่องจริยธรรมและเรื่องกฏหมายต่อประเด็นการทำลายทรัพย์สินสาธารณะทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มากกว่า 'เกม' การแข่งขัน และผู้จัดก็ยอมรับว่านี้ถือเป็นเรื่องจริงจัง ผู้จัด Camover รายหนึ่งที่ไม่ระบุนามกล่าวว่า "แม้ว่าพวกเราเรียกมันว่าเกม แต่พวกเราก็จริงจังกับมันพอสมควร เป้าหมายของเราคือการพยายามทำลายกล้องวงจรปิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องการแสดงอิทธิพลต่อเรื่องการมีกล้องวีดิโอวงจรปิดในเมืองของพวกเรา" Camover มีกำหนดการหมดเขตการแข่งขันในวันที่ 16 ก.พ. สามวันก่อนการเริ่มประชุมสภาตำรวจของยุโรป
Anti-surveillance activists turn smashing CCTV cameras into a competitive game, The Verve, 27-01-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ที่ปรึกษาอัคคีภัยเซ็นทรัลฯ ยันจำเลยคดีเผา CTW ไม่สามารถวางเพลิงได้ Posted: 30 Jan 2013 06:50 AM PST นัดพิพากษาคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์25 มี.ค.นี้ สืบพยานครั้งสุดท้าย ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัลเบิกความไฟไหม้เพราะกองกำลังแต่งกายคล้ายทหาร ตำรวจยังไม่กล้ายุ่ง เผยช่วงเพลิงไหม้ทหารคุมพื้นที่ทั้งหมด9 ผู้ถูกจับกุมในที่เกิดเหตุไม่มีความสามารถวางเพลิง ด้านนายจ้าง "สายชล" ยันวันเกิดเหตุขายของที่ห้างอิมฯลาดพร้าว เมื่อวันที่ 28 ม.ค.56 เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ4 เป็นโจทก์ฟ้องนายสายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปี (ในวันเกิดเหตุ) อาชีพรับจ้างและนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี (ในวันเกิดเหตุ) อาชีพรับจ้างในความผิดร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจนเป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุขซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยคดีนี้เป็นคดีเดียวกันกับกรณีผู้ต้องหา2 คนที่เป็นเยาวชนซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้พิพากษายกฟ้องไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการสืบพยานจำเลย 2 ปากสุดท้าย คือ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ อายุ 61 ปี แกนนำนปช.จังหวัดชุมพร ปัจจุบันเป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นนายจ้างนายสายชลจำเลยที่ 1 ที่จ้างให้ขายของที่ร้าน ชั้น 4 ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าวและพ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร อายุ 72 ปี พนักงานราชการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามากว่า 20 ปีในฐานะผู้ควบคุมการดับเพลิงในเซ็นทรัลเวิลด์
แกนนำ นปช.นายจ้าง "สายชล" ยันอยู่อิมฯ ลาดพร้าววันเกิดเหตุ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ เบิกความว่าเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มนปช.ในปี 53 นั้นทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ ความสงบเรียบร้อย ประสานงานมวลชนเสื้อแดงกับเวทีปราศรัย โดยรู้จักกับสายชล จำเลยที่ 1 จากการที่ตนเองมาปราศรัยที่สนามหลวงหลังเหตุการณ์การรัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นต้นมา โดยขณะนั้นตนสังกัดอยู่กลุ่มอิสระ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลขณะนั้นจัดให้มีการเลือกตั้ง นายสายชลขณะนั้นใช้สนามหลวงเป็นที่พักและมีอาชีพรับจ้าทั่วไป เขาเบิกความต่อว่าได้เปิดร้านค้าที่ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าวชั้น 4 เพื่อขายของกิน ของที่ระลึกของคนเสื้อแดง รวมทั้ง VCD เผยแพร่ประชาธิปไตยซึ่งเป็นเทปบันทึกการปราศรัยของแกนนำแต่ละคน และเห็นว่านายสายชล มีพฤติกรรมดี ซื่อสัตย์ จึงได้จ้างวันละ 300 บาท เพื่อมาขายของที่ร้านพร้อมยืนยันว่าในช่วงปิดล้อมการชุมนุม วันที่ 12-19 พ.ค.53พยานได้ฝากร้านค้าที่ห้างอิมฯ ลาดพร้าว ให้นายสายชลดูแล ภาพซ้าย : ภาพที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวนและถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดังกล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน ทนายจำเลยที่ 1 ได้นำภาพที่ใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมและดำเนินคดีกับนายสายชล จำเลยที่ 1 (ดูภาพซ้ายประกอบ)ให้ พ.ต.ต.เสงี่ยม พิจารณาดูว่าเป็นนายสายชลหรือไม่นั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าไม่ใช่ หลังจากนั้นทนายได้นำภาพที่นายสายชลขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพขวาประกอบ) พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าคนในภาพนี่คือนายสายชล พ.ต.ต.เสงี่ยม ยังได้เบิกความต่อศาลถึงความเห็นที่มีการจับกุมตัวนายสายชลด้วยว่าหลังสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53 นั้น ตนเองถูกผู้มีอำนาจผ่าน DSI ขอหมายจับข้อหาก่อการร้าย แต่ทราบว่าศาลไม่ได้ดำเนินการ อย่างไรก็ตามตนเองได้หลบไปต่างประเทศช่วงนั้นจึงคิดว่าในช่วงนั้นรัฐบาลพยายามที่จะตามหาตัวตนเอง การที่นายสายชลถูกจับนั้นก็อาจเป็นเพราะมีความใกล้ชิดกับตนเอง พ.ต.ต.เสงี่ยม เบิกความต่อด้วยว่าจากประสบการณ์การเป็นตำรวจ คนเร่ร่อนหรือคนที่ที่อยู่สนามหลวง บางครั้งสายสืบก็จะใช้หรือจ้างหรือบังคับให้คนเหล่าเป็นสายสืบหาตัวผู้กระทำความผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งหากไม่ทำก็อาจมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ สำหรับนายสายชลนั้นทราบว่าเคยมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและเทศกิจ เช่น การไล่ร้าน แต่ตอนมาทำงานกับพยานที่ห้างอิมฯ ลาดพร้าว นั้นไม่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่
ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัล เบิกความโยง "ชายชุดคล้ายทหาร" พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนาเบิกความว่า ช่วง 2เดือนที่มีการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ของ นปช. นั้นได้วางแผนป้องกันความปลอดภัยและอัคคีภัยให้กับห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยในเซ็นทรัลเวิลด์มีทีมดับเพลิงมืออาชีพที่เป็นพนักงานประจำอยู่ถึง 25 คน ดังนั้นจากประสบการณ์แล้วเห็นว่าห้างนี้มีระบบรองรับทุกอย่าง หากเกิดไฟไหม้เล็กๆ พนักงานหรือแม่บ้านก็สามารถดับได้ แต่หากเป็นเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ก็จะมีพนักงานดับเพลิงมืออาชีพคอยป้องกันอยู่ ถือได้ว่ามีระบบการป้องกันอัคคีภัยเป็นหนึ่งในเอเชียก็ว่าได้ และได้มาตรฐานระดับสากล ทนายจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อความของพ.ต.ท.ชุมพล ที่เคยให้สัมภาษณ์ในหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" ที่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์โลกวันนี้ หน้า 11 อ่านให้พ.ต.ท.ชุมพล ฟังเนื้อหาระบุว่า
หลังจากนั้น พ.ต.ท.ชุมพล ได้ยืนยันต่อศาลว่าตนเองเป็นผู้พูดเช่นนั้น โดยหลังการสลายการชุมนุมได้มีคนมาสัมภาษณ์และนำไปลงในหนังสือ "คนช่วยคน" ของสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ที่ตนเองเป็นเลขาธิการอยู่ และคาดว่าหนังสือความลับหลังฉากฯ ได้นำไปเผยแพร่ต่อ ที่ปรึกษาอัคคีภัยเครือเซ็นทรัลเบิกความต่อด้วยว่า ในห้างมีสปริงเกอร์ทุกๆ 3 เมตร แต่เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.53 นั้นอยู่นอกเหนือจากความสามารถของพนักงานดับเพลิง เพราะไม่สามารถดับเพลิงได้ พนักงานดับเพลิงปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะในตอนต้นที่มีคนกลุ่มแรกเข้ามา รปภ. ที่มีกว่า180 คนก็สามารถผลักดันออกไปได้ แต่เมื่อมีคนกลุ่มที่ 2 เข้ามาอีก รปภ. ได้แจ้งว่ามีการปาระเบิดเข้าใส่พนักงานจนทำให้มีคนบาดเจ็บ จึงได้มีการร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามา เมื่อตำรวจเข้ามาในห้างประมาณ 25 คน ได้มีการจับกุมคนที่เข้ามาหลบซ่อนตัวในห้าง ก่อนที่จะถอนกำลังออกไปเมื่อพบผู้บุกรุกชุดที่สองซึ่งมีอาวุธอยู่ด้านหน้าของห้าง เขาขยายความต่อว่า ชุดแรกที่เข้ามานั้นมีประมาณ 14 คน เข้ามาจาก2 ด้านคือด้านถนนพระราม 1 และถนนราชดำริ ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าเซน (ZEN) ในเวลาประมาณเกือบ 14.00 น. โดยทุบกระจกเข้ามาในห้าง แต่ รปภ. ที่มีจำนวนถึง 180 คนก็ได้ไล่คนเหล่านั้นออกไปต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. จากการตรวจสอบกล้อง CCTV เห็นว่ามีกลุ่มคนชุดที่สอง ประมาณ 7-8 คน แต่งกายคล้ายทหารและมีอาวุธด้วยเข้ามาทางด้านห้างเซ็นทรัลเวิลด์รปภ. พยายามต้านทานไม่ให้คนกลุ่มนี้เข้ามาแต่กลับถูกปาระเบิดใส่ ตำรวจในเครื่องแบบเข้ามาช่วยก็ยังต้องถอนกำลังออกไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายได้นำภาพผู้ถูกจับกุม 9 คนซึ่งถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯ โดยนำมาจากหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" หน้า 27 ซึ่ง 1 ในนั้นมีจำเลยที่ 2 (พินิจ) รวมอยู่ด้วยให้ พ.ต.ท.ชุมพล จากนั้น พ.ต.ท.ชุมพล ได้ยืนยันต่อศาลว่า 9 คนนี้เป็นพวกที่หลบอยู่ในห้างไม่มีอาวุธและไม่ใช่กลุ่มคนที่มีอาวุธดังกล่าว โดยเขาได้รับการยืนยันจากหัวหน้า รปภ.ที่อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย ภาพ 9 คนที่ถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯจากหนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" หน้า 27 พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความต่อว่า หลังจากที่ตำรวจทั้ง 25 คน ถอนกำลังออกจากห้างไปทำให้ รปภ.และพนักงานดับเพลิงเสียขวัญกำลังใจ จึงได้ไปรวมตัวที่จุดรวมพลตรงลานจอดรถใกล้โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เพื่อให้ฝ่ายบริหารห้างตัดสินใจ เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สุดท้ายจึงได้ตัดสินใจออกจากห้างทั้งหมดในเวลาประมาณ 16.40 น. เขากล่าวด้วยว่า หลังจากนั้นเวลาประมาณ 19.00 น. เศษ ทางสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยได้รับการขอร้องจากเซ็นทรัลเวิลด์อีกให้เข้าไปช่วยดับไฟแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ทหาร กว่าจะได้เข้าไปถึงพื้นที่ได้ก็เวลาประมาณ 22.00 น. และจากการตรวจสอบ CCTV จากห้างเกษรพลาซ่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้นพบว่าเวลาประมาณ 21.00 น. กว่าๆ ตึกก็ได้ถล่มลงมาแล้ว และพื้นที่รอบๆ นั้นถูกควบคุมโดยกองกำลังของทหารทั้งหมด แม้กระทั่งตอนออกจากห้างในช่วงเย็นทางด้านหลังห้างพารากอนก็มีทหารควบคุมพื้นที่อยู่ รถพยาบาลหรือ รปภ. วิ่งออกมาจากพื้นที่ก็ยังต้องผ่านด่านทหาร ทนายได้ถามด้วยว่าหลังสลายการชุมนุมของ นปช. บริเวณห้างและรอบๆ นั้น จากที่พยานได้รับรายงานและประสานงานนั้นเป็นหน่วยไหนที่ควบคุมพื้นที่ พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารของ ศอฉ. "ทีมงานเราอยู่ภายในถ้าไม่ไล่เราออกไป มันเรื่องเล็กสำหรับไฟขนาดนั้น ในอาคารมีอุปกรณ์พร้อม น้ำในห้างก็มีจำนวนมหาศาลทั้ง 3 อาคารเชื่อมต่อกัน ระบบแรงดันน้ำภายในห้างก็ใช้ได้ ถ้าไม่ไล่เราออกไม่มีทางจะไหม้ ส่วนคนที่ไล่เราออกไปนั้นคือกลุ่มคนที่มีอาวุธ มีการโยนระเบิด ขนาดตำรวจยังต้องหนี" ที่ปรึกษาฯ กล่าว เขาเบิกความต่อว่า เมื่อออกไปแล้วก็กลับเข้ามายากมากเพราะต้องติดด่านที่ทหารตั้งอยู่ ตั้งแต่ด่านตรงเพชรบุรี สะพานหัวช้าง และถนนพระราม 1 ก็ไม่ให้เข้า เลยต้องขอเข้าด้านหลังแทน พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความย้ำด้วยว่า "ไม่มีที่ไหนในโลกหรอกที่เขาไม่เคลียร์พื้นที่ให้กับทีมดับเพลิง ตั้งแต่เย็นไม่มีใครเคลียร์พื้นที่ให้ ปล่อยให้มันไหม้ได้อย่างนั้น" ที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยเครือเซ็นทรัล เบิกความภายหลังทนายได้นำภาพถ่ายที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล ซึ่งเป็นรูปชายชุดำกำลังถือถังสีเขียวว่า ภาพดังกล่าวถ่ายในบริเวณห้าง ส่วนถังสีเขียวในรูปเป็นถังดับเพลิง ซึ่งในตัวห้างก็มีถังในลักษณะนี้อยู่ ยืนยันว่าไม่ใช่ถังแก๊ส และเครื่องดับเพลิงไม่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการวางเพลิงได้ ภาพชายชุดำกำลังถือถังสีเขียวที่ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล อัยการได้ซักค้านพยานด้วยว่ากลุ่มคนกลุ่มที่สองซึ่งติดอาวุธ 7-8 คนที่เข้ามาในห้างที่พยานระบุว่ามีการแต่งกายคล้ายทหารนั้นมีลักษณะอย่างไร พ.ต.ท.ชุมพล ตอบว่าดูจากกล้อง CCTV ประกอบกับที่ได้รับการยืนยันจากหัวหน้า รปภ. แล้วคาดว่าเป็นชุดปฏิบัติการรบในลักษณะปฏิบัติการพิเศษแน่นอน เครื่องแต่งกายมีหมวกเหล็ก ท็อปบู๊ต ชุดพรางและมีฮู้ดปิดหน้า พ.ต.ท.ชุมพลเบิกความยืนยันตอนท้ายด้วยว่าเมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยและรายงานจากทีมดับเพลิงในที่เกิดเหตุเห็นว่า ผู้ถูกจับกุมทั้ง 9 คนที่ถูกจับในห้างนั้นไม่มีความสามารถในการวางเพลิงได้ หลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลได้นัดพิพากษาคดีนี้ในวันที่ 25 มี.ค.53 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทั้งนี้นายสายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวมาตั้งแต่กลางปี 2553
ภาพทหารบริเวณแยกราชประสงค์ช่วงเพลิงไหม้และเสื้อแดงคนสุดท้าย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" ซึ่งทนายจำเลยใช้อ้างเป็นพยานวัตถุในคดี ยังมีภาพทหารสวมผ้าพันคอสีเขียวอ่อนหรือเหลืองปรากฏอยู่ในหน้า 36 และจากการตรวจสอบจากเว็บไซต์ gettyimages.comซึ่งเป็นเว็บไซต์ซื้อขายภาพข่าวของช่างภาพทั่วโลกพบด้วยว่ามีภาพทหารกลุ่มผ้าพันเขียวพูดคุยกับน.ส.ผุสดี งามขำ หญิงเสื้อแดงที่นั่งอยู่หน้าเวทีราชประสงค์เป็นคนสุดท้ายในวันที่ 19 พ.ค.(คลิกดู)นอกจากนี้ผุสดียังเคยให้สัมภาษณ์กับข่าวสดรายวัน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.53ระบุว่า หลังแกนนำมอบตัวและมวลชนออกจากบริเวณที่ชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ไปหมดแล้ว ท่ามกลางระเบิดและกระสุนที่ดังทั่วบริเวณ ตนเองยังอยู่ต่อและเห็นทหารกลุ่มหนึ่งผูกผ้าพันคอสีเหลืองได้ขอให้ออกจากที่ชุมนุม จึงตัดสินใจออกมาพร้อมผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่มารายล้อมขอสัมภาษณ์ตลอดเส้นทางเห็นกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ฝั่งถนนเพลินจิตไว้ได้ทั้งหมดแต่กลับไม่มีการนำรถดับเพลิงมาดับไฟที่ลุกไหม้อยู่ รวมทั้งใน gettyimages.com ยังมีภาพ 99986251ที่จะเห็น น.ส.ผุสดีที่นั่งอยู่บริเวณหน้าเวทีสีแยกราชประสงค์(คลิกดู) และภาพ 99986642(คลิกดู), 99986816(คลิกดู) และ 99985793(คลิกดู)จะเห็นทหารกลุ่มดังกล่าวบริเวณสี่แยกราชประสงค์ด้านหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ภาพจาก หนังสือ "ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์" หน้า 36 วีดีโอคลิปขณะที่ทหารเคลื่อนจากเพลินจิตรเข้าสีแยกราชประสงค์ นาทีที่ 4.08 ของวีดีโอจะพบ น.ส.ผุสดี ที่นั่งถือธงอยู่บริเวณหน้าเวทีการชุมนุมที่สีแยกราชประสงค์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทูต 'อียู' แจงไม่ได้ 'แทรกแซง' ไทยกรณี 'สมยศ' แต่ 'ปฏิสัมพันธ์' ด้วยหลักสิทธิฯ Posted: 30 Jan 2013 06:43 AM PST ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในไทย กล่าวถึงกรณีเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ที่จะเดินทางไปประท้วงสำนักงานอียูในไทยวันพฤหัสนี้ กรณีอียูออกแถลงการณ์ "เป็นห่วง" การตัดสินคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข 30 ม.ค. 56 - เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูต และหัวหน้าผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงเรื่องการชุมนุมของเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ที่มีกำหนดชุมนุมคัดค้านสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ ( 31 ม.ค.) ว่า สหภาพยุโรปมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงอธิปไตยตามที่ทางเครือข่ายอ้าง เนื่องจากสหภาพยุโรปเพียง"ปฏิสัมพันธ์" กับประเทศไทยบนหลักของสิทธิมนุษยชน และ "เป็นห่วง" ถึงบทลงโทษของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่รุนแรงเกินเหตุ ก่อนหน้านี้ เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันได้เผยแพร่กำหนดการการชุมนุมหน้าสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระบุว่าเป็นการประท้วงการออกแถลงการณ์ของสหภาพยุโรปเรื่องการตัดสินจำคุก 10 ปีกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin เนื่องจากมองว่าสหภาพยุโรปได้ "ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของชาติไทย" และต้องได้รับการ "สั่งสอน" เดวิด ลิปแมน ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพยุโรปไม่ได้เข้ามา "แทรกแซง" กิจการของประเทศไทย แต่หน้าที่ของสหภาพยุโรปคือการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชน โดยมองว่า บทลงโทษจำคุกนายสมยศถึง 11 ปี สำหรับบทความที่ตนเองไม่ได้เขียน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม "แน่นอนว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องที่สามารถตีความได้ แต่เรามองเรื่องนี้จากหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน สำหรับเราแล้วในยุโรป เราเองก็มีสถาบันกษัตริย์ ผมมาจากประเทศอังกฤษซึ่งก็มีพระราชินีที่เราเคารัพและนับถือมาก และประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ในทางที่เคารพ และก็ไม่ถูกส่งไปจำคุก" ลิปแมนกล่าว เขากล่าวถึงกรณีการประท้วงของกลุ่มดังกล่าวว่า นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนสามารถใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตนเองได้ ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสหภาพยุโรป แต่ลิปแมนก็ย้ำว่า การออกแถลงการณ์ไม่ใช่การแทรกแซง แต่เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากล อนึ่ง ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "การปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก" ที่โรงแรมดุสิตธานี โดยมีนักวิชาการ อดีตเอกอักรราชทูต สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากในไทยและระหว่างประเทศ เข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย ลิปแมนกล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ เป็นไปเพื่อพูดคุยเรื่องคอนเซปต์ของเสรีภาพการแสดงออก ไม่ได้มุ่งแต่ดูเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสถานการณ์ในไทยและยุโรป "เราต้องมีพื้นที่ที่สามารถคุยเรื่องนี้ได้อย่างเสรีและเปิดเผย และนั่นเป็นสิ่งที่ผมเห็นคุณค่ามาก เพราะผมรู้ว่า หากผมเป็นทูตที่นี่สองสามปีก่อน ผมคงไม่สามารถจัดงานสัมมนาเรื่องนี้ซึ่งมีวิทยากรทั้งในไทยและต่างประเทศมาได้ ฉะนั้น นี่แสดงถึงความก้าวหน้าในตัวมันเอง" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช. มอบใบอนุญาตช่องรายการเคเบิล-ดาวเทียม ครั้งแรก ทดลอง 1 ปี Posted: 30 Jan 2013 03:47 AM PST ได้แล้ว 632 ใบอนุญาต สำหรับช่องรายการ 300 ใบ อายุ 1 ปีก่อนต่ออีก 14 ปี สื่อยักษ์ขอใบอนุญาตเปิดสถานีเพียบ ส่วนใบอนุญาตบริการโครงข่ายให้ 331 ใบ อายุ 15 ปี วันนี้ (30 ม.ค.56) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หรือ บอร์ดกระจายเสียงฯ จัดพิธีมอบใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ในกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ 3 ฉบับ โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท.ร่วมเป็นประธาน ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตฯ มีจำนวน 632 ใบอนุญาต ประกอบด้วย ใบอนุญาตเพื่อให้บริการกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือช่องรายการ จำนวน 301 ใบอนุญาต ซึ่งมีอายุ 1 ปี แต่ถ้าผู้ประกอบการดำเนินรายการแบบไม่มีปัญหาจะให้อีก 14 ปี รวมเป็น 15 ปี และใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น จำนวน 331 ใบอนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี ทั้งนี้ การมอบใบอนุญาตฯ เป็นไปตามประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ลาคม 2555 เป็นต้นมา ประกาศดังกล่าว ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างการอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.การให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือ ช่องรายการ 2.การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เช่น เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เป็นต้น 3.การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ ส่วนที่รองรับการเชื่อมโยงโครงข่าย เช่น เสาอากาศ สายอากาศ ระบบท่อ ระบบสาย เป็นต้น ด้าน พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. และประธาน กสท.เปิดเผยว่า ถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการมอบใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมในรอบกว่า 50 ปี โดยคณะกรรมการฯ ใช้เวลาพิจารณาเอกสารคำขอประมาณ 1 เดือนเศษ ซึ่งยังมีผู้ประกอบการช่องรายการที่เอกสารสถานะทางการเงิน ลิขสิทธิ์รายการ ยังไม่พร้อม และโครงข่ายยังมีปัญหาเรื่องความชัดเจนของสถาปัตยกรรมต้นทางยันปลายทาง และขอบเขตการครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 400 ราย คาดว่าจะสามารถพิจารณาแล้วเสร็จช่วงประมาณปลายเดือน ก.พ.56 ส่วนบรรยากาศการรับมอบใบอนุญาตดังกล่าว มีช่องรายการอาทิ เดลินิวส์ทีวี, จีเอ็มเอ็มแซด, เอเอสทีวี, เอเชียอัพเดต, ทรูวิชั่น, ซีทีเอช, กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานตำรวจ เป็นต้น ส่วนใบอนุญาตโครงข่าย อาทิ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มารับมอบในครั้งนี้ สำหรับกรณีใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เมื่อวันที่ 28 ม.ค.56 การประชุม บอร์ด กสท.ได้มีมติอนุมัติออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 143 ใบ แบ่งเป็นประเภทบริการธุรกิจ 93 ใบ บริการสาธารณะ 30 ใบ และบริการชุมชน 20 ใบ รวมทั้งหมดที่พิจารณาไปแล้ว จำนวน 748 ใบ โดยมีการพิจารณาไปก่อนหน้านี้บ้างแล้ว และจะมอบให้ผู้ประกอบการในวันที่ 8 ก.พ.2556 โดยใบอนุญาตมีอายุปีต่อปี เพราะอยู่ในช่วงการคัดกรองผู้ให้บริการและจัดสรรคลื่นความถี่ที่ปัจจุบันมีปัญหาคลื่นรบกวน เรียบเรียงบางส่วนจาก: เดลินิวส์ออนไลน์ และไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาระ+ภาพ สื่อไทย-ใครเชียร์ ใครต้านแก้รัฐธรรมนูญ2550 Posted: 30 Jan 2013 02:58 AM PST
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 Media Inside Out เรื่องการกำหนดกรอบวาทกรรมสื่อมวลชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในปี 2555 ซึ่งศึกษาโดย รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, อริน เจียจันพงษ์, วันเพ็ญ แถมอุทุม และธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ โดยทีมวิจัยได้ศึกษาเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับได้แก่ ไทยรัฐ มติชน ไทยโพสต์ บางกอกโพสต์ ผู้จัดการ และคมชัดลึก ระหว่างเดือนเม.ย. –ก.ค. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีกระบวนการนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาจนถึงการนำเรื่องสู่ศาลรธน. และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยสรุปนั้น เกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าเป็นไปในทางต่อต้านคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผล ล้มล้างสถาบัน/การปกครองระบอบประชาธิปไตย และมุ่งช่วยเหลือทักษิณ ผลการสำรวจบทบก. 143 ชิ้น พบว่ามีวาทกรรม 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นวาทกรรมคัดค้าน/ชี้ถึงความไม่ชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญ จำนวน 133 ชิ้น หรือ 93.01 % ของตัวอย่างในการสำรวจ ขณะที่บทบ.ก.ซึ่งมีมีวาทกรรมเชิงสนับสนุน/ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียง 10 ชิ้น หรือ6.99% เท่านั้น โดยเป็นบทบก.จากไทยรัฐและมติชน ส่วนผู้จัดการไม่มีบทบก. วาทกรรมที่ถูหยิบยกขึ้นมาเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญผ่านบทบก. มากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1. ทำให้สงครามการเมืองปะทุ (27 วาทกรรม = 18.88%), 2. แก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยทักษิณ (21 วาทกรรม = 14.68%) 3.ลดความน่าเชื่อถือของสมาชิกรัฐสภา (19 วาทกรรม = 13.28%) 4. ล้มล้าง/ทำลายสถาบัน (18 วาทกรรม = 12.58%) 5. เสียงข้างมากครอบงำสภา (11 วาทกรรม = 7.69%) ด้านวาทกรรมของกลุ่มที่สนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมี 4 ลำดับได้แก่ 1.ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (4 วาทกรรม=2.79%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4วาทกรรม=2.79%) 3.ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง (1 วาทกรรม = 0.69%) และ 4. การแบ่งแยกอำนาจ (1 วาทกรรม = 0.69%) ในส่วนของคอลัมน์ความเห็นหนังสือพิมพ์ที่เปิดพื้นที่ให้ความคิดเห็นมาก และให้การสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากคือมติชน ขณะบทความในไทยรัฐค่อนข้างให้น้ำหนักไปที่การไม่ให้ความชอบธรรมกับการแก้ไข รธน. และบทความส่วนใหญ่ 5 ใน 6 ฉบับไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผลสำรวจข่าวหน้าหนึ่งที่สื่อทั้ง 6 ฉบับนำเสนอพบว่า ไทยรัฐ มติชน และบางกอกโพสต์ นำเสนอมุมมองแบบผู้สังเกตการณ์ ขณะที่คมชัดลึก ไทยโพสต์ และเอเอสทีวีนำเสนอมุมมองแบบเลือกข้างเป็นฝ่ายคัดค้าน และลดความชอบธรรมของคนเสื้อแดง เช่น นักการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด คิดแต่ประโยชน์ตนเอง-ไม่เอานักการเมือง, เพื่อไทย-เสื้อแดงทำลายชาติ ตัวอย่างพาดหัวลักษณะนี้ เช่น เปิดทางโหวตรัฐไทยใหม่ อัยการเป่าคดี ม็อบแดงถ่อยแจกเบอร์ศาล โดย เอเอสทีวีผู้จัดการ ฉบับวันที่ 8 มิ.ย. 2555, รธน. ปิตุฆาต โดยไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2555, อย่ากดดันในหลวง โดย ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 ก.ค. 2555 ทั้งนี้ พบด้วยว่าสื่อที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญใช้วาทกรรมความแตกแยกทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดี และหลังคำตัดสิน กลุ่มของคำที่พบมากได้แก่ นองเลือด, วิกฤตครั้งใหญ่, เสี่ยงรัฐประหาร, ศุกร์ 13, บ้านเมืองสุ่มเสี่ยง เป็นต้น วาทกรรมที่พบในข่าวหน้าหนึ่ง จำนวน 962 วาทกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สนับสนุน/ให้ความชอบธรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 241 วาทกรรม หรือ 25.05% โดยฝ่ายสนับสนุนให้น้ำหนักกับประเด็นดังนี้ 1. ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (14.34%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4.57%) 3.ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง (2.07%) 4. การแบ่งแยกอำนาจ (3.95%) 5.สภาใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (0.10%) วาทกรรมฝ่ายคัดค้าน/ชี้ความไม่ชอบธรรมของการแก้รัฐธรรมนูญประกอบด้วย 1.การแก้รัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์/ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย (12.88%) 2.เป็นกลยุทธการเมืองของฝ่ายรัฐบาล (11.85%) 3. เพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (11.33%) 4.ทำให้สงครามกลางเมืองปะทุ (9.87%) 5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกครองงำโดยนักการเมือง (4.78%) สำหรับแหล่งข่าวนั้น เป็นแหล่งข่าวจากภาครัฐ ขณะที่แหล่งข่าวจากภาคสังคมมีไม่ถึง 1 %
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไฟเขียวลดเงินสมทบประกันสังคม ด้าน ก.แรงงาน ระบุหลังเพิ่ม 300 พบเลิกจ้างแค่ 1,264 คน Posted: 30 Jan 2013 02:18 AM PST ครม.เห็นชอบลดเงินประกันสังคมช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการปรับขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ด้าน รมว.แรงงาน เผย ยังไม่มีลูกจ้างใน 25 จังหวัดที่ปรับค่าจ้าง 300 บาทแบบก้าวกระโดดมาขึ้นทะเบียนว่างงาน ขณะที่พบการเลิกจ้างเนื่องจากการปรับค่าจ้าง 7 แห่งเท่ากับกลางเดือนที่ผ่านมา 1,264 คน 30 ม.ค. 56 เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่านพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ประชุมครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการปรับขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยปรับลดเงินจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมตามกฎกระทรวงเดิมที่กำหนดให้ทั้งรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ/ตาย/คลอดบุตร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 เป็นต้นไปที่อัตรา 1.5% ของค่าจ้าง โดยปรับอัตราจ่ายสมทบลงเหลือฝ่ายละ 0.5% ของค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.2556 และให้กลับมาเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 1.5% ของค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.2557 เป็นต้นไป ซึ่งการลดเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดอัตราเงินสมทบด้วย จากเดิมออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท เป็นออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 336 บาทด้วย สำหรับเงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ให้ปรับอัตราเงินสมทบตามกฎกระทรวงเดิมที่รัฐบาลจ่ายสมทบในอัตรา 1% ของค่าจ้าง โดยปรับอัตราสมทบที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในส่วนนี้เป็น 2% ของค่าจ้างไปจนสิ้นสุดปี 2556 ส่วนนายจ้างและผู้ประกันตนให้จ่ายสมทบในอัตรา 3% ของค่าจ้างต่อไปเช่นเดิม นพ.ทศพรกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้กรมทางหลวงก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจ้างเหมาะก่อสร้างทางบริการ (โลคัลโรด) ทางหลวงหมายเลข 7 กรุงเทพฯ-บ้านฉาง จ.ชลบุรี ตอนที่ 1-2 ระยะทาง 32 กิโลเมตร วงเงิน 1,190 ล้านบาท รวมทั้งขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีจากปีงบ 2555-56 เป็นปีงบ 2555-58 ก่อนที่กรมทางหลวงจะไปลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาต่อไป นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ พ.ศ. ... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ กระทรวงแรงงานเผยยังไม่มีลูกจ้างใน 25 จังหวัดขึ้นทะเบียนว่างงานหลังปรับค่าแรง 300 บาท ด้านสำนักข่าวไทยรายงานเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 56 ว่านายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการพร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1-25 มกราคม 2556 มีสถานประกอบกิจการเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 16 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,264 คน เพิ่มขึ้นจากกลางเดือนที่ผ่านมา 2 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้น 231 คน โดยสถานประกอบการที่เลิกจ้างเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มีจำนวน 7 แห่งเท่ากับกลางเดือนที่ผ่านมา เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วน จำนวน 435 คน และสถานประกอบการที่เลิกจ้างเนื่องจากผลกระทบอื่นๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ธุรกิจขาดทุนสะสมมีทั้งหมด 9 แห่ง เพิ่มขึ้น 2 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 598 คน ลูกจ้างเพิ่มขึ้น 231 คน แบ่งเป็นสถานประกอบการที่ปิดกิจการ 3 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 186 คน เพิ่มขึ้น 4 คน และสถานประกอบการเลิกจ้างบางส่วน 6 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างรวม 643 คน เพิ่มขึ้นจากกลางเดือน 217 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการ ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป แปรรูปอาหาร และผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ขณะเดียวกันจากการรายงานของศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการพร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน 25 จังหวัด ที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดดพบว่ายังไม่มีลูกจ้างรายใดแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงาน เนื่องจากผลกระทบค่าจ้าง 300 บาท แต่เป็นการแจ้งเลิกจ้างกรณีอื่นๆ จำนวน 99 คน ทั้งลาออกเองและเลิกจ้างในสถานประกอบการ 94 แห่ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การเมืองเรื่อง “ยกเมฆ” ของคน “แอ๊บฉลาด” Posted: 30 Jan 2013 02:13 AM PST ละครฉากใหญ่กำลังเปิดฉากขึ้นอย่างเข้มข้น แต่เป็นฉากเดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนละครช่องเจ็ดและช่องสาม ที่พระเอกไม่รู้ว่านางเอกบริสุทธิ์เลยข่มขืน แต่สุดท้ายก็รักกัน หรือที่จริงนางเอกนั้นเป็นลูกผู้ดีมีเงินตกยากที่ตามหาพินัยกรรมของพ่อที่ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เช่นเดียวกันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ที่คิดมุกใหม่ๆ ไม่ออก นอกจากลอกท่อ ขึ้นรถเมล์ เทขยะ ฯลฯ ที่เราจะเห็นได้เฉพาะเมื่อเวียนมาถึงเทศกาลการเลือกตั้ง และตอนนี้...เราก็กำลังดูฉากเดิมๆ อยู่ ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งจริงขิงผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อีกหนึ่งละครฉากใหญ่ที่กำลังเล่นไปควบคู่กันก็คือเกมการเมืองที่ดุเดือดเข้มข้น และดูจริงจัง ดุเด็ด เผ็ดมันส์ มากกว่าการลอกท่อ ขึ้นรถเมล์ เทขยะ ฯลฯ โดยในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 18 คน สังกัดพรรคการเมือง 3 คน คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย และนายจำรัส อินทุมาร พรรคไทยพอเพียง และผู้สมัครอิสระอีก 15 คน โดยที่พอจะคุ้นชื่อและเป็นข่าวมากหน่อยเห็นจะเป็นพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นามกลุ่ม "พลังกรุงเทพ" และนายสุหฤท สยามวาลา ดีเจชื่อดัง ที่ออกสตาร์ทหาเสียงก่อนใครเพื่อน ความดุเด็ดเผ็ดมันส์เริ่มตั้งแต่การที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งอดีตผู้ว่า กทม. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงสมัครเพื่อยึดเก้าอี้เดิมของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายด้วย "Performance" ในการทำงานที่ผ่านมาในฐานะผู้ว่ากทม.นั้น ไม่สู้ดี ถึงขั้นมีการเขียนข่าวว่าแม้แต่ผู้ที่นิยมชมชอบในตัวพรรคประชาธิปัตย์เอง (ซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดา) ยังไม่อยากจะเลือกกลับให้เข้าไปทำงานอีกครั้งเลย ตามมาด้วยข่าวพรรคเพื่อไทยที่เปิดตัวผู้สมัครตามข่าวว่า แม้แต่ส่ง "เสาไฟฟ้า" ลงสมัคร ก็ยังชนะเลย ซึ่งกลายเป็นฉายาต่อมาของ พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทยและอีกหนึ่งคนคือ คุณสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครอิสระที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากที่สุดอีกคนหนึ่ง ทั้งด้วยวิธีการการหาเสียง ประวัติส่วนตัว และนโยบาย จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ มีการเผยแพร่โปสเตอร์แคมเปญอันหนึ่งทางเฟซบุ๊ก สืบความได้ว่าน่าจะมาจากเพจ "พวกเราชาวไทยไม่ยุบสภาและมาเอาคนโกงชาติทักษิณกลับคืนมา" โดยมีการอ้างอิงข้อความบนโปสเตอร์นั้นมาจากความในใจเบื้องหลังคนบันเทิงคนหนึ่ง ซึ่งดูจากเครดิตท้ายโปสเตอร์เขียนไว้ว่า Thipdhida Satdhathip นักเขียนบทภาพยนตร์ที่ข้อความการแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของเธอเกี่ยวกับเรื่องการแบนละครเรื่องเหนือเมฆนั้นได้รับการเผยแพร่แชร์ต่ออย่างแพร่หลาย และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่ข้อความการแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของเธอถูกนำมาเผยแพร่ในรูปแบบการจัดทำโปสเตอร์แคมเปญสู่สาธารณะในโลกโซเชียลมีเดีย โดยข้อความดังกล่าวปรากฏว่า ภากจากเฟซบุ๊ก พวกเราชาวไทยไม่ยุบสภาและไม่เอาคนโกงชาติทักษิณกลับมา "หนึ่งคะแนนเสียงมีค่าอย่าใช้เพื่อความมันแปลกแตกต่าง หรือกับพรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ???? อย่าเป็นคนแอ๊บใสที่อยากแสดงว่า "เป็นตัวของตัวเอง" จนไม่แหกตาดูว่ารอบๆ ตัว เหี้ย !!! มันกำลังแพร่เชื้อ อย่ามุ่งปัจเจกจนลืมภาพรวมผืนใหญ่ อย่าเป็นมือหนึ่งที่ส่งมอบประเทศไทย ป้อนใส่ปากทักษิณ BY Thipdhida Satdhathip" พลันที่อ่านข้อความจบ ดิฉันก็คิดว่า คงต้องตีความแบบ "เหนือเมฆ" สักหน่อย อ่านรวมๆ เหมือนว่าจะดี เพราะยกเอา "ภาพรวม" เป็นหลัก แต่ไปริดรอนสิทธิ (รวมถึงดูถูกเหยียดหยาม) ทั้งผู้สมัคร และผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่นั่นก็ไม่เท่ากับคอนเซ็ปต์ความคิดอันจะพูดถึงต่อไป อ่านแบบขำๆ นี่อาจจะเป็นเกมการเมืองแบบ "เหนือเมฆ" ก็เป็นไปได้ ในเมื่อหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ สตาร์ทด้วยภาพลักษณ์ที่ติดตัวมาจาก Performance ในขณะที่เป็นผู้ว่า กทม. ไม่สู้ดีนัก ซึ่งอาจทำให้คะแนนเสียงลดลงทั้งจากฝ่ายตรงข้ามที่ผูกปิ่นโตกับพรรคเพื่อไทย หรือฝ่ายที่นิยมชมชอบพรรคประชาธิปัตย์อยู่แต่เดิม แต่ไม่อยากลงคะแนนเสียงให้หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เพราะพิจารณาจากผลงานครั้งที่แล้ว รวมถึงผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นๆ ที่อาจจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครอิสระอื่นๆ ด้วยเพราะความนิยมชมชอบในนโยบาย หรือความสนิทสนมส่วนตัว เป้นญาติ เป็นเพื่อน เป็นเจ้านาย อะไรก็ว่าไป ดังนั้นสาวกของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหลาย ในเมื่อมิอาจกู้ชื่อ "เสีย" จากการเป็นผู้ว่า กทม. ในครั้งก่อนเพื่อเรียกคะแนนเสียงในการลงสมัครครั้งนี้แล้ว จึงได้คิดแคมเปญใหม่คือ ไม่ต้องพูดถึงนโยบายกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครของใคร ไม่ต้องดูว่าผลงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่จงดู "ภาพรวม" กันดีกว่าว่า ถ้าคุณไปเอาคะแนนเสียงไปทิ้งกับบรรดาผู้สมัครอิสระทั้งหลาย จนเป็นการเกลี่ยคะแนนเสียง อาจทำให้ผู้สมัคร "เสาไฟฟ้า" จากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้ ซึ่งจะการสูญเสียพื้นที่การปกครองทั้งระดับกรุงเทพฯ และระดับประเทศ (เนื่องด้วยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลอยู่ ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่า กทม. ก็เท่ากับว่ายังเหลือกรุงเทพฯ ที่ยังไม่สูญเสียเขตพื้นที่และอำนาจการปกครองให้พรรคเพื่อไทย) อุ๊ย! มันช่าง "เหนือเมฆ" เสียจริง ที่เหนือเมฆ หรือยกเมฆ มากไปกว่านั้นคือ อุปมาว่าด้วยการสูญเสียประเทศ ดั่งพม่าจะมาตีเมืองเหมือนสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 อย่างนั้นแหละ สงสัยคงจะดูหนังเรื่องนเรศวรมากไป ! หากจะกล่าวถึงเรื่องการสูญเสียประเทศเชิงกายภาพ ตราบใดที่เราเสียภาษี บ้านที่ดิน เป็นเชื่อของเรา รัฐบาลไม่บ้าจี้ (ซึ่งแน่นอนว่ามันคงโง่มาก) ลุกขึ้นมาออกกฎหมายริบทรัพย์สินของประชาชนให้ตกเป็นของรัฐทั้งหมด แล้วเราจะไปเสียประเทศให้คร้ายยย...(ยกเว้นฝรั่งหรือทุนต่างชาติที่ร่วมหุ้นกับทุนไทยที่กว้านซื้อที่ดินริมทะเลสร้างเป็นคอนโด รีสอร์ท โรงแรมหรูไปเสียหมด อันนี้สิ ของจริง!) หรือหากจะมองในแง่การครอบงำของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ปัจจุบันนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มี ลิสต์รายชื่อมาสิว่ากลุ่มทุนที่ผูกขาดที่ดิน แบรนด์อุปโภคบริโภคของคนไทย (เซเว่นเป็นต้น) จะมีสักกี่เจ้ากี่นามสกุลกันเชียว หรือหากจะพูดถึงในแง่เขตพื้นที่การบริหาร ไม่ว่าพรรคไหน หรือกลุ่มอิสระไหนเข้ามาบริหารกรุงเทพฯ ก็ต้องมีระบบในการตรวจสอบด้วยกันทั้งนั้น และก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องตรวบสอบ (การทุจริต การเอื้อประโยชน์) ไม่ว่าพรรคไหนๆ ก็ตาม ดิฉันไม่ได้นาอีฟ หรือแอ๊บใส โลกสวย ที่จะบอกว่าการที่พรรคการเมืองหนึ่งมีอำนาจปกครองในฐานะรัฐบาลแล้วพรรคการเมืองของตัวเองก็ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารกรุงเทพฯ นั้นจะไม่เกิดการเอื้อประโยชน์ทางการเมือง แต่สิ่งที่กำลังจะบอกก็คือ การอุปมาไปไกลขนาดนั้น มันไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ มันยกเมฆ มันเกินจริง กับการที่พยายามจะโน้มน้าวให้แคมเปญนั้นดูมีเหตุมีผล น่าเชื่อถือ ทั้งๆ ที่มันไม่น่าเชื่อถือเลยสักนิด ! เริ่มตั้งแต่ประการแรก กับการดูถูกเหยียดหยามผู้สมัครอิสระคนอื่นๆ ที่ลงชิงชัยในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้กับคำกล่าวที่ว่า "พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????" (สะกดตามตัวบทเดิมในโปสเตอร์) เราคงต้องกลับไปทบทวนพื้นฐานการเมืองของประเทศไทยก่อนเสียว่า เราไม่ได้มีระบบสองพรรคอย่างอเมริกา ที่มีผู้ชิงชัยเพียง 2 ฝ่าย ใครเป็นรีพลับบลิกันก็ลงคะแนนให้รีพลับบลิกัน ใครเป็นเดโมแครตก็ลงคะแนนให้เดโมแครต ส่วนใครไม่เป็นอะไรเลย ก็รอดูว่านโยบายของใครน่าสนใจ และเราอยากจะสนับสนุนนโยบายของพรรคไหน และไอ้คำว่า นโยบายของใครน่าสนใจใครอยากจะสนับสนุนนโยบายของพรรคไหน หรือผู้สมัครคนใดก็เป็นพื้นฐานแห่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และในเมื่อประเทศไทยไม่ใช่ระบบสองพรรค จึงเปิดโอกาสให้มีผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือในนามอิสระ ที่อาจมีนโยบายที่แตกต่างออกไปจากสองพรรคใหญ่ให้เป็นทางเลือกของคนกรุงลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ซึ่งสงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารนะคะ... แต่แม้ว่าในที่สุด หากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง เราก็ไม่สามารถไปโทษผู้สมัครอิสระอื่นๆ ได้ว่า มึงเสือกมาลงเลือกตั้งทำไม เห็นไหมว่าคะแนนเสียงมันถูกเกลี่ยไป เพราะการเสือกมาลงสมัครรับเลือกตั้งนี้เป็นการเสือกที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายการเลือกตั้งและระบการเลือกตั้งของประเทศนี้ ที่เราไม่อาจเสือกไปว่าเขาได้ว่า "พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????" เพราะเขามีสิทธิโดยชอบธรรมทุกประการ และหากพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์แพ้การลือกตั้ง (ระวังไว้เหอะ ถ้าคุณสุหฤท สยามวาลา ได้ แล้วคุณจะหงายเงิบ) มันก็ไม่ใช่ความคิดของผู้สมัครอิสระที่ไปแชร์ หรือไปเกลี่ยคะแนนเสียง แต่เป็นเพราะคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ (ที่โดยนัยของโปสเตอร์นั้นบ่งบอกว่ากรุณาเลือกพรรคประชาธิปัตย์นะคะ) ได้ไม่มากพอที่จะได้รับการเลือกตั้งต่างหากล่ะ การไปตราหน้าด่ากราดว่า "พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????" เป็นการแสดงถึงความคับแคบทางความคิดในทางการเมืองของตนเองที่ไปตัดสินคนอื่นจากจุดยืนทางการเมืองของตนเองฝ่ายเดียวอีกด้วย และยิ่งตอกย้ำความคับแคบทางความคิดของตนเองแบบคูณสองกับคอนเซ็ปต์ต่อมาที่ว่า "อย่าเป็นคนแอ๊บใสที่อยากแสดงว่า "เป็นตัวของตัวเอง" ประการแรกการเลือกตั้งนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยเจตจำนงเสรีที่บุคคลหนึ่งพึงมีโดยไม่ถูกกระทำด้วยการบังคับ ข่มขืน ทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่ใช่หรือ และหากเขาเหล่านั้นจะใช้เจตจำนงเสรีของตนเองเลือกผู้ว่า กทม. ที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ การแสดงความ "เป็นตัวของตัวเองในทางความคิด" ด้วยการเลือกผู้ว่า กทม. ตามที่เขาพึงพอใจในนโยบายนั้น เขาผิดอย่างไร ทำไมจึงต้องถูกตราหน้าว่า "แอ๊บใส" พูดง่ายๆ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเลือกพรรคเพื่อไทยก็ได้ แต่สมมติว่าคนกลุ่มหนึ่งเบื่อมากกก...กับการเมืองสองพรรคใหญ่ ที่ตีกันไปกันมาแล้วกำลังจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครอิสระ แล้วเผอิญว่ากำลังการแสดงความเป็นตัวของตัวเองก้อนนี้ดันใหญ่ซะด้วย แล้วสมมติต่ออีกว่าทำให้ผู้สมัครอิสระคนหนึ่งได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ว่า กทม. นั้น เขา "แอ๊บใส" อย่างไร เขาผิดอย่างไร ??? การจะเลือกใครนั้น ปัจเจกคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง เขาอาจจะชื่นชอบ ศรัทธา ในนโยบาย (ที่สองพรรคนั้นอาจไม่มี หรือมีคนละเรื่อง) หรืออาจมี agenda ที่เหนือเมฆไปกว่านั้น คือเปลี่ยนมือการปกครองจากสองพรรคยักษ์ใหญ่ไปเลยก็ได้ นี่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนเราทุกคน ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อาจจะมาละเมิดหรือดูหมิ่น เหยียดหยาม ทางที่ดีที่ถูกที่ควร สุภาพและวิญญูชนที่มีสติสัมปชัญญะพึงกระทำนั้นก็คือ หากคุณต้องการให้พรรคไหนที่คุณชื่นชอบนั้นชนะการเลือกตั้งก็จงช่วยเขาหาเสียง ช่วยเขาเผยแพร่นโยบายของเขา ไม่ใช่มากล่าวหาทั้งผู้สมัครอิสระ หรือคนที่จะเลือกผู้สมัครอิสระว่า เป็นมือหนึ่งที่กำลังทำให้ประเทศต้องล่มจมเพราะกำลัง "ส่งมอบประเทศไทย ป้อนใส่ปากทักษิณ" ซึ่งทั้งหมดนั้น มาจบที่บทสรุปของคอนเซ็ปต์ความคิดใหญ่ที่โปสเตอร์หรือข้อความนั้นกำลังส่งสารถึงเรา นั่นก็คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของประชากรในเมืองผู้มีการศึกษา" ที่กำลัง "แอ๊บ" (หรือหลอก) ตัวเองว่า "ฉลาด" ฉันคือผู้ที่มีวิสัยทัศน์ทางการเมืองที่กว้างไกล มองขาดกว่าคนอื่นๆ ฉันคือคนดี รักประเทศไทย เห็นว่าอะไรเป็นอะไร ใครชั่ว ใครดี แล้วเราทั้งหมดต้องทำอย่างไร เชื่อฉัน อย่าหลงไปเชื่อใคร และโปรดดด...ปฏิบัติตามที่ฉันบอก (สั่ง กล่าว ขู่ หรือด่า) ไม่เช่นนั้นประเทศชาติจะฉิบหาย และหากประเทศชาติฉิบหายขึ้นมา (โดยที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นผู้ว่า กทม.) พวกมึงนั่นแหละ ที่ไม่ยอมเชื่อ พวกมึงคือ "สาเหตุ" ที่ต้องแบกรับความผิด เพราะดันไปเลือกผู้ว่าอิสระ (พวกผู้สมัครอิสระ มึงก็ผิดและโง่เหมือนกัน มองเกมไม่ออกเหรอว่าถ้ามึงสมัคร คะแนนเสียงจะถูกเกลี่ย ทำให้ประชาธิปัตย์ไม่ชนะ) ทำให้คะแนนเสียงถูกแชร์ ถูกเกลี่ย พวกมึง ไม่ใช่คนชั่ว แต่ก็โง่ที่ไมยอมเชื่อฟัง ปฏิบัติตาม เห็นไหมล่ะ ประเทศต้องฉิบหายแน่ๆ เพราะพวกมึง ต้องโทษพวกมึง เพราะฉันบอกแล้ว และฉันก็เลือกพรรครประชาธิปัตย์แล้ว พวกมึงนั่นแหละ อยากแนว อยากเป็นตัวของตัวเอง แต่เสือกไม่ดูภาพรวม โง่ดีนัก เห็นไหมล่ะ เป็นไง เพื่อไทยครองเมืองแล้ว !!! ประเทศฉิบหายแน่ !!! นี่คือมโนทัศน์ของผู้มีการศึกษา ที่ชอบยกตนอวดอ้างความฉลาดกว่าคนอื่นๆ รักประเทศไทยกว่าคนอื่นๆ และคนอื่นๆ ที่ไม่คิดเห็นไปตามที่พวกเขาคิดและบอก คือคนโง่ ฉลาดน้อย ไม่รักประเทศไทย (เพราะฉะนั้นประเทศนี้จึงควรมีแต่พวกเขาอยู่เท่านั้น ประเทศถึงจะเจริญ) และคนพวกนี้แหละที่จะพาประเทศชาติไปสู่ความฉิบหาย (เพราะฉลาดน้อยและอยากเป็นตัวของตัวเอง) ไม่ใช่พวกเขา ดิฉันจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงมีความคิดเห็นบ้าๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรามากมายก่อนหน้านี้ เช่น อย่างอยากให้คนที่ลงคะแนเสียงเลือกตั้งจบปริญญาตรีเท่านั้น หรือเสียภาษีมาก ลงคะแนนเสียงได้มากกว่า และจะไม่แปลกใจเลยหากการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ชนะการเลือกตั้ง เพราะผู้สนับสนุนนั้นเป็นคน "แอ๊บ" ฉลาด ที่ได้กระทำการ "โง่ๆ" จนคนหมั่นไส้และรังเกียจจนไม่อยากจะเลือกนั่นเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คปก.เสนอสภารอร่างฯ ทรัพยากรทะเลภาคประชาชน Posted: 30 Jan 2013 01:36 AM PST ชี้กฎหมายกำหนดให้ คปก.มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึ 30 มกราคม 2550 กรณีที่ เรื่องดังกล่าว คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ออกหนังสือแถลงความเห็นว่า การเลื่อนพิจารณาร่างพระราชบั คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงเห็นควรให้รัฐสภาทบทวนการพิ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น