ประชาไท | Prachatai3.info |
- ผู้นำกะเหรี่ยง KNU หารือ ผบ.กองทัพพม่า พร้อมเสนอให้ "หยุดยิงทั่วประเทศ"
- สัมภาษณ์ 2 นักวิชาการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กกับประเด็นแฟนเพจเฟซบุ๊กแห่งปี
- เจ้าหน้าที่จีนเข้าเจรจากรณีแก้บทบก. จนคลี่คลายแล้ว
- ชำนาญ จันทร์เรือง: อนาคตเสื้อแดง
- ชำนาญ จันทร์เรือง: อนาคตเสื้อแดง
- เครือข่ายคนพิการยื่น 11 ข้อเสนอต่อ รมว.คมนาคม
- คนหนองคาย 50 ตำบล ถกปัญหา ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ถึงกรณี ‘NGO ลาว’ หายตัว
- องค์กรสิทธิไทยจี้ความคืบหน้ากรณี 'สมบัติ สมพอน'
- นักข่าวต่างประเทศฟังปัญหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กูเกิลห่วงไทยเสียโอกาสธุรกิจ
- สาระ+ภาพ: มี 'อะไร' ในคำขวัญวันเด็ก
- บริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ์
ผู้นำกะเหรี่ยง KNU หารือ ผบ.กองทัพพม่า พร้อมเสนอให้ "หยุดยิงทั่วประเทศ" Posted: 09 Jan 2013 11:50 AM PST คณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เดินทางไปเนปิดอว์เพื่อพบกับ ผบ.ทบ.พม่า และประธานาธิบดีเต็ง เส่ง พร้อมเรียกร้องให้มีการหยุดยิงจริงๆ ทั่วประเทศ และระบุว่ากะเหรี่ยงจะเริ่มเจรจาทางการเมืองก็ต่อเมื่อสถานการณ์สู้รบในรัฐคะฉิ่นยุติเท่านั้น คณะผู้แทนของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU) ถ่ายภาพร่วมกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ระหว่างการเยือนเนปิดอว์ โดยประธานาธิบดีพม่าได้สวมชุดประจำชาติกะเหรี่ยงด้วย (ที่มา: เว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า)
สำนักข่าวกะเหรี่ยง (Karen News) รายงานเมื่อวานนี้ (9 ม.ค. 56) ว่า ตัวแทนจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้พบกับรองพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการกองทัพพม่า ที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงพม่า เพื่อหารือเรื่อง "ข้อตกลงหยุดยิงที่เป็นจริง" ทั่วประเทศ ระหว่างกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มและรัฐบาล พะโด มาน มาน เลขาธิการร่วมสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU และหนึ่งในคณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ที่เดินทางไปเนปิดอว์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวกะเหรี่ยงว่า "พวกเราได้หารือว่าทั้งรัฐบาลและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจำเป็นที่จะต้องมีข้อตกลงหยุดยิงที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ และทางสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ยังเจาะจงหารือในเรื่องข้อปฏิบัติในการหยุดยิงที่เราได้ร่างขึ้น" นอกจากเรื่องการหยุดยิง พะโด มาน มาน กล่าวด้วยว่า คณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงยังพูดคุยกับรองพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันของรัฐคะฉิ่น และแสดงความชัดแจ้งว่าสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงจะเริ่มเจรจาทางการเมืองต่อเมื่อการสู้รบในรัฐคะฉิ่น รัฐทางตอนเหนือของพม่าติดกับชายแดนจีนยุติเท่านั้น ด้านสื่อของฝ่ายคะฉิ่น ยังรายงานคำพูดของรองพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ซึ่งกล่าวกับคณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ว่า เขาพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) และยังกล่าวด้วยว่า เขาพอใจที่รัฐบาลได้บรรลุข้อตกลงกับกลุ่มชาติพันธุ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 70 และว่ากองทัพพม่าต้องการสันติภาพ ทั้งนี้เลขาธิการร่วมสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ระบุว่าข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่ง "ความรับผิดชอบหลักก็คือจะต้องสามารถยุติแนวสู้รบกับรัฐบาลทั้งหมด อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มจะต้องเป็นเอกภาพและร่วมมือซึ่งกันและกัน เราจะสามารถก้าวสู่การเจรจาทางการเมืองต่อเมื่อหลังการหยุดยิง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับทุกกลุ่มชาติพันธุ์" นอกจากนี้ คณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ยังได้พบกับเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของพม่า โดยในเว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีพม่ายังระบุว่าในการพบกันเมื่อวันที่ 5 มกราคมนี้ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง "เรียกร้องให้มีความร่วมมือบนพื้นฐานของสิทธิเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม แม้จะมีความแตกต่างกันทางการเมือง" ในเว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดียังระบุด้วยว่า การหารือระหว่างประธานาธิบดีพม่ายังร่วมไปถึงการดำเนินการในเรื่อง "การเจรจาสันติภาพ การหยุดยิง การตั้งสำนักงานประสานงาน และงานพัฒนาระดับภูมิภาค" ทั้งนี้คณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU นำโดยประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU คือพลเอก มูตู เซ พอ และสมาชิกรวมทั้งเลขาธิการคือ พะโด ซอ เคว ตู วิน เลขาธิการร่วมคนที่ 2 พะโด มาน มาน, พะโด มาน เย หม่อง, พะโด โรเจอร์ ขิ่น และพะโด ซอ หล้า ทุน ได้เดินทางไปที่เนปิดอว์ โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่งของพม่าได้เชิญผู้แทนของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ดังกล่าวไปเยือนเนปิดอว์ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา อนึ่ง สำนักข่าวอิระวดี ยังรายงานด้วยว่าคณะของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ยังจะเข้าร่วมงานฉลองปีใหม่กะเหรี่ยงที่นครย่างกุ้ง ในวันที่ 12 มกราคมนี้ด้วย นับเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี อย่างไรก็ตามยังไม่มีการยืนยันจากคณะผู้จัดงานวันปีใหม่กะเหรี่ยงว่าตัวแทนของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU จะกล่าวสุนทรพจน์ในงานปีใหม่ด้วยหรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สัมภาษณ์ 2 นักวิชาการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กกับประเด็นแฟนเพจเฟซบุ๊กแห่งปี Posted: 09 Jan 2013 09:07 AM PST คุยกับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต และ อธิป จิตตฤกษ์ นักวิชาการอิสระด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและศิลปวัฒนธรรม ถึงการเมืองบนเฟซบุ๊ก, ปรากกฏการณ์โหวตเพจแห่งปีกับประชาไทและประเด็นลิขสิทธิ์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
10 เฟซบุ๊กแฟนเพจแห่งปี VRZO, 9Gag in Thai(9GAG in Thai), Drama-addict, สมรัก พรรคเพื่อเก้ง, โหดสัส V2, เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด, Dora GAG, ออกพญาหงส์ทอง, วิรศากดิ์ นิลกาด และช้างเป็นสัตว์กินเลือด จากการ โหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก ปี 2012 ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจของประชาไทได้ตั้งไว้ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นอกจากในเชิงปริมาณที่ถือว่าได้รับความสนใจจากแฟนเพจเองและตัวแอดมินแฟนเพจ จนมีจำนวนการโหวตถึง 371,272 โหวต จำนวน user ที่กดติดตามการโหวต 4,358 user จำนวนการแสดงความเห็น 6,792 ความเห็น โดยเฉพาะความเห็นที่มากเกี่ยวกับการโหวตครั้งนี้จนก่อให้เกิดการถกเถียงอภิปรายกันหลายประเด็น เช่น เรื่องเครดิตหรือการเป็นเพียงเพจก๊อปบี้ เรื่องความเป็นเพจที่ไม่มีตัวตนหรือเป็นเพจแค่ช่องทางประชาสัมพันธ์กิจกรรม เท่านั้น จนกระทั่งผู้ใช้นามแฝงจ่าพิชิต ขจัดพาลชน แอดมินเพจ Drama-addict ได้นำเรื่องราวดังกล่าวไปเขียนเป็นดราม่า ในชื่อ "ติ่งแย่รังแกฉัน!!" อีกทั้ง 10 เพจ รวมทั้งเพจต้นๆที่ได้คะแนนโหวตสูงนั้นมีลักษณะร่วมบางอย่างที่น่าสนใจคือการเป็นเพจในลักษณะบันเทิงล้อเลียนเสียดสี ด้วยความน่าสนในเหล่านี้ ประชาไท จึงได้หยิบปรากฏการณ์ดังกล่าวมาพูดคุยกับ 2 นักวิชาการด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2 ท่าน ซึ่งประกอบด้วย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต และผู้เขียนวิทยานิพนธ์ หัวข้อ "การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือข่ายออนไลน์ไทย พ.ศ. 2553-2555"(คลิกอ่านบทคัดย่อ) ตามหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555 ที่ได้ตั้งคำถามกับการเคลื่อนไหวออนไลน์กับการเปิดพื้นที่ทางการเมืองใหม่ๆ อธิป จิตตฤกษ์ นักวิชาการอิสระด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและศิลปวัฒนธรรม ผู้เขียนบทความและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ที่น่าสนใจหลายชิ้นในรอบปี 55 ที่ผ่านมา เช่น กรณีวิวาทะเพลง "กังนัม สไตล์" ในบทความ "เชษฐา กังนัมลีลา" : ว่าด้วยเรื่องของ "เพลงขยะที่ก๊อปปี้ชาวบ้านมา" และ "คนดำสไตล์": คุณค่าของการมีส่วนร่วมทางดนตรีกับความสำเร็จของ "กังนัมสไตล์" หรือ คำประกาศแห่งโจรสลัด: ข้อเสนอการปฏิรูประบอบลิขสิทธิ์ของ 'พรรคไพเรต' รวมทั้ง Hate Speech: ความเข้าใจเบื้องต้นและประเด็นพิจารณาในการปราบปราม ล่าสุด 12 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคนไทย เป็นต้น อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต 0000 ประชาไท : จากผลโหวตเพจแห่งปีของประชาไท แน่นอนแม้จะอ้างอย่างเป็นทางการไม่ได้ แต่มันก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้มันสะท้อนอะไรเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะในเฟซบุ๊กขณะนี้บ้าง จะสังเกตเห็นว่าเพจที่ได้รับความนิยมมักเป็นเพจบันเทิง โดยเฉพาะเรื่องการล้อเลียน สังคมการเมือง ท่านคิดว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น อธิป: ผมว่ามันไม่แปลกนะ ถ้าเพจเขียนอะไรจริงจัง อ่านยาก ให้ความรู้เป็นที่นิยมสิแปลก ภาพล้อเลียนการโหวตโดยเพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด ในระหว่างการโหวตเพจแห่งปีครั้งนี้จะเห็นได้ว่ามีดราม่าใหญ่ๆ 2 เรื่อง คือเรื่อง เพจ 9Gag in Thai ที่มีเข้ามา 2 เพจ ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงกันเรื่อง ก๊อปบี้ หรือละเมิดลิขสิทธิ ท่านมองเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์กับโซเชียลเน็ตเวิร์คว่าอย่างไร อาทิตย์ : จะละเมิดหรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็แล้วแต่กฎหมายและศาลของแต่ละประเทศจะว่าไป แต่ยังไงก็ตามหัวใจของอินเทอร์เน็ตคือการก๊อปปี้ ทั้งไอเดีย ภาพ เนื้อหา ก๊อปทื่อๆ ก๊อปมาประกอบกับชิ้นส่วนอื่น ปะ ปรับ แปลง แปล แปร ภาพการ์ตูนและไอเดียแก๊กบน 9GAG เองก็อยู่บนฐานอินเทอร์เน็ตมีมที่มีมาก่อนหน้า รวมไปถึงภาพเซต rage comic และคำพูดแสดงอารมณ์อย่าง "ffffffuuuuuu" ตัว 9GAG in Thai ก็แปลมาจาก 9GAG มั่ง หรือเป็นแก๊กใหม่ที่ใช้เซ็ตภาพจาก 9GAG มั่ง หรือภาพใหม่มั่ง มันก๊อปกันไปหมด บางคนรู้สึกว่าคำพูดที่ว่า "ถ้าไม่อยากถูกก๊อป ก็อย่าโพสต์บนเน็ต" มันใช้ไม่ได้ มักง่าย แต่มันก็เป็นความจริง แล้วเราวัฒนธรรมมนุษย์ก็เป็นอย่างนั้น เราจะอยู่ยังไงโดยไม่ก๊อปปี้ พูดให้ใหญ่กว่านั้นคือ วัฒนธรรมมนุษย์มันก็คือการก๊อปปี้น่ะแหละ มีเพลงเล่นขึ้นมา ไม่รู้จะเต้นท่าไหน ก็เต้นตามคนข้างๆ ไปก่อน ขยับแขนขยับขาตาม แล้วระหว่างนั้นถ้านึกอะไรออกก็ใส่เพิ่มไป เป็นท่าใหม่ แล้วคนอื่นรอบๆ อาจจะเต้นตามเราก็ได้ มันไหลไปแบบนั้น การก๊อปปี้คือการไหล แล้วโซเชียลเน็ตเวิร์กมันก็คือคนมาเจอกัน เห็นว่าคนอื่นๆ ทำอะไร แล้วก็ทำตาม ต่อ เติม โซเชียลเน็ตเวิร์กก็เป็นเครือข่ายที่ทำให้การก๊อปปี้มันไหลไปมาหากัน ถ้าเทียบกับเงินกับสินค้า ของที่ไหลได้สะดวกมีสภาพคล่องสูง ก็คือเงินสกุลหลักหรือสินค้าที่คนใช้เยอะ มีความต้องการซื้อขายมาก คนรู้วิธีใช้มัน ของที่ไหลสะดวกก็คือมีมที่คนส่วนใหญ่เข้าใจมัน ดูแล้วเก็ต แล้วเอาไปใช้ต่อเองได้ด้วย นี่อาจจะตอบคำถามที่ว่า ทำไมเพจที่ได้รับความนิยมจำนวนหนึ่งจึงเป็นเพจล้อเลียน คือมันไม่ใช่แค่อ่านแล้วจบไง คนอ่านพอเก็ตแล้วยังมาร่วมเล่นได้ด้วย มันไม่ใช่ข่าวบันเทิงที่เอาไว้อ่านเฉยๆ มันเป็นการละเล่นที่ลงไปเล่นเองได้ด้วย อธิป : ประเด็นนี้มันซับซ้อนครับ ต้องว่ากันยาก แต่ในส่วนของผม คนไทยมีความเข้าใจด้านลิขสิทธิ์ที่ผิดเยอะมาก เช่น เข้าใจว่าการให้เครดิตแล้วจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ นำงานมาดัดแปลงไปมากๆ แล้วจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ นำงานไปใช้ "ไม่แสวงกำไร" แล้วจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่จริงๆ แล้วที่ว่ามาทั้งหมดนี่ไม่ได้ทำให้การกระทำหนึ่งๆ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เลยครับตามมาตรฐานสากลทั่วๆ ไป ถึงคุณจะเอางานชาวบ้านมาดัดแปลงแล้วให้เครดิตมาโพสต์โดยไม่แสวงผลกำไรมันก็ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดีครับ ซึ่งการละเมิดแบบนี้คนดำเนินคดีได้มีแต่เจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ถึงคนอื่นเห็นว่ามันเลวร้ายแค่ไหน เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ดำเนินคดี คนอื่นก็ดำเนินแทนไม่ได้ บน Social Network Site นี่จริงๆ การละเมิดลิขสิทธิ์มันมีเต็มไปหมด การเล่นมีมทั้งหลายก็ละเมิดลิขสิทธิ์เพราะคุณเอารูปใครก็ไม่รู้มาใส่ Caption ซึ่งรูปปกตินี้มีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว จะอ้างว่าคนมันเล่นกันทั้งบ้านทั้งเมืองก็ฟังไม่ขึ้นหรอกครับ คนมันก็โหลดเพลงทั้งบ้านทั้งเมือง แต่มันก็จัดเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นกิจกรรมหลายๆ อย่างที่เราทำบน Social Network มันวางอยู่ "บนความปราณีของเจ้าของลิขสิทธิ์" คือคุณทำได้ เพราะเขาไม่เอาเรื่องคุณ ไม่ใช่เขาเอาเรื่องไม่ได้ เรื่องพวกนี้ผมเขียนไปในบทความแล้วนะ แต่ก็อย่างว่ามาข้างต้นครับ งานจริงจังนี่ไม่มีใครอ่านหรอกครับ คงไม่มีใครสนใจด้วยนอกจากจะมีใครโดนฟ้องขึ้นมาสักคน
นอกจากนี้ยังมีดราม่าเรื่อง ความเป็นเพจเพียงแค่ประชาสัมพันธ์ งานหรือเป็นแค่ช่องทางในการสื่อสาร ไม่ถือเป็นเพจหรือเรียกว่าไม่มีตัวตนเป็นของตัวเองนั้น ท่านมองว่าอย่างไร อาทิตย์ : เฟซบุ๊กเรียกร้องให้สินค้าต้องมีบุคลิก มีมานุษยรูปจริงๆ ก็ไม่ใช่เฉพาะเฟซบุ๊กหรอกนะ การตลาดในยุคนี้ก็เน้นความใกล้ชิด มีการวางบุคลิกสินค้าหรือแบรนด์ ว่าจะเป็นเหมือนเพื่อนร่วมเฮ เหมือนพี่ให้คำปรึกษา เหมือนพ่อแม่คอยดูแล อะไรก็ว่าไป แต่ตัวเฟซบุ๊กหรือโซเชียลเน็ตเวิร์กมันอาจจะเข้มข้นกว่า เพราะมันเริ่มมาจากเครือข่ายของเพื่อน ของคนที่เรารู้จัก เราก็มีความคาดหวังจะพูดคุยโต้ตอบกับแบรนด์หรือเพจในแบบที่เราคุยกับเพื่อนๆ ทีนี้มันก็แล้วแต่ว่าแต่ละเพจจะวาง "ความเป็นมนุษย์" อันนั้นไว้ตรงไหน บางเพจเอาไว้ที่ตัวเพจเลย คือให้เพจเหมือนเป็นคนๆ หนึ่ง ทำนองตัวละครสมมติ ตอบโต้คุยกับคนในฐานะเพจ อาจจะมีทีมงานหลายคน แต่เวลาทำงานสื่อสารกับแฟนๆ ทีมงานเหล่านี้ไม่มีหน้าตาไม่มีชื่อ บางเพจอาจจะมีไกด์ไลน์ด้วยซ้ำ ว่าบุคลิกของเพจนี้เป็นแบบนี้ๆ การโต้ตอบต้องทำตามนี้ๆ ทีมงานทุกคนต้องปฏิบัติตาม บางเพจอาจจะวางความเป็นมนุษย์ที่ว่านี้ ไว้กับแอดมิน ตัวเพจจะเป็นเหมือนพื้นที่ปล่อยของ แต่ไม่ได้มีลักษณะเป็นมนุษย์ที่โต้ตอบกับคนโดยตรง คนที่แสดงตัวโต้ตอบคือแอดมิน ถ้ามีหลายคน ก็จะมีการลงชื่อหรือหมายเลขรหัสว่า นี่ตอบโดยแอดมินคนไหน อย่างไรก็ตาม แอดมินยังมีความสำคัญมาก คือบุคลิกรวมๆ ของแอดมินทุกคนมันออกมาเป็นบุคลิกของเพจด้วย เป็น collective (กลุ่มร่วม) แต่บางเพจอาจจะให้ความสำคัญไปอยู่ที่แบรนด์หรือสินค้า เพจลักษณะนี้จะเน้นบุคลิกของแบรนด์ แอดมินจะไม่ได้มีบุคลิกโดดเด่น ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ส่งสารรับสาร ให้แฟนๆ วานไปบอกต่อกับแบรนด์ จริงๆ เฟซบุ๊กเขาก็ชัดเจนอยู่แล้ว ว่า "เพจ" นั้นไม่ได้เหมือนกันไปหมด เขาแบ่งเป็นอย่างน้อย 6 ประเภท คือ ธุรกิจท้องถิ่นหรือสถานที่, บริษัท องค์กร และสถาบัน, ตรายี่ห้อและผลิตภัณฑ์, ศิลปิน วงดนตรี หรือบุคคลสาธารณะ, บันเทิง, และ การรณรงค์หรือชุมชน นี่นับตามเฟซบุ๊กเลยนะ ยังไม่นับพวกเพจคำพูด ที่เอาคำพูดฮิตๆ มาทำเป็นเพจ เพื่อจะได้ติดแท็กได้ อย่าง "เงียบ สงสัยไม่ช็อต" ดังนั้นก็ไม่เห็นแปลก แต่ละเพจอยากจะวางตัวเองเป็นยังไงก็ตามสบาย ไม่จำเป็นจะต้องมีตัวตนที่ตัวเพจก็ได้ ก็วางไว้ที่อื่น อธิป: ผมไม่ค่อยแน่ใจประเด็นนี้นะครับ ว่ากันตามหลักแล้วนี่มันยุ่งอยู่ เพราะคุณจะถือว่าเพจเป็นนิติบุคคลได้มั้ย? การกระทำของเพจจัดเป็นการกระทำของ Admin ที่โพสต์ หรือเพจในฐานะนิติบุคคล? ซึ่งผมก็ไม่แม่นข้อกฎหมายพวกนี้เท่าไร
ท่านคิดว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ในปี 2013 จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในไทย อาทิตย์ : ที่น่าจะสนุกคือแคมเปญเลือกตั้งกรุงเทพบนโซเซียลมีเดีย อธิป: ผมก็มองไม่ออกว่ามันมีอะไรใหม่เกิดขึ้นนะ ถ้าผมเดา Trend(แนวโน้ม) ออกนี่คนควรจะจ้างผมไปเป็นนักวิเคราะห์ตลาดแล้วล่ะครับ (หัวเราะ)
มีหลายกลุ่มที่ใช้ช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการรณรงค์เคลื่อนไหวทางสังคม ท่านคิดว่ามันมีพลังจริงหรือไม่ในการจะผลักดันหรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิตย์ : มีนะมันมีแน่ แต่จะหวังเร็วหรือช้า สื่อออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างน้อยๆ มันสร้างความโกลาหลในสังคมได้แน่ ความโกลาหลนี่แหละนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนมันจะเปลี่ยนไปหลังความโกลาหล แต่คนไม่ค่อยชอบความโกลาหล ผมว่าเรื่องนี้ไปถามพวกคนที่ใช้ขับเคลื่อนจริงๆ อย่างหนูหริ่ง หรือพวกแคมเปญจักรยานในกรุงเทพ จะชัดกว่า แต่ในระยะสั้น ผมคิดว่าแคมเปญที่จะประสบความสำเร็จจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ตอนนี้ จะเป็นแคมเปญเกี่ยวกับนโยบายระดับเมือง เกี่ยวกะถนนหนทาง สภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน อะไรที่ต้องเจอทุกวันจับต้องได้ และคนที่เข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ตลอดเวลา ก็มีแต่คนในเมืองนะ มันสอดรับกัน ส่วนระดับที่ใหญ่กว่านั้นหรือในพื้นที่นอกเขตเมือง ยังลำบากอยู่ แคมเปญที่ประสบความสำเร็จใน change.org สำหรับเมืองไทย เรื่องคนเมืองทั้งนั้น อธิป: ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอะไรแค่ไหนด้วยนะ ไอ้ดีเบตทำนอง "การต่อสู้ทางศิลปวัฒนธรรม" นี่ก็มีในฝ่ายซ้ายมานานแล้ว ผมอ่านมาก็เยอะ มันหาข้อสรุปไม่ได้หรอก ต้องดูเป็นกรณีๆ ไปว่าควรต้องการเปลี่ยนอะไรแค่ไหน แต่การพูดแบบนี้เป็นการแยกระหว่าง Online กับ Offline นะ ซึ่งผมว่ามันก็แยกยากอยู่ดี มันเหมือนคุณถามว่าคุณต้องต่อสู้บนท้องถนนในการรณรงค์ทางการเมือง หรือคุณต้องต่อสู้ด้วยวิถีชีวิตระดับชีวิตประจำวัน คำตอบทั่วๆ ไปมันก็คือทั้งคู่ต้องไปด้วยกันแหละ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เจ้าหน้าที่จีนเข้าเจรจากรณีแก้บทบก. จนคลี่คลายแล้ว Posted: 09 Jan 2013 07:49 AM PST แหล่งข่าวจากนสพ. Southern Weekly ที่ประท้วงเรื่องถูกแก้บทบก. เรื่องการปฏิรูปให้เป็นการเยิรยอพรรคคอมมิวนิสต์จีนกล่าวว่าจทน.จีนได้เข้ามาเจรจาจนสามารถยุติการประท้วงได้แล้ว ด้านสื่อจีนอ้างว่ากรณีนี้มีการยุยงจากนักกิจกรรมที่ไม่ได้เป็นสื่อ รวมถึงเฉิน กวงเฉิง นักกิจกรรมตาบอดที่หลบหนีไปอยู่ในสหรัฐฯ 9 ม.ค. 2013 - หลังจากเกิดกรณีกลุ่มคนทำงานหนังสือพิมพ์ Southern Weekly ในจีน ประท้วงเรียกร้องให้เจ้าพนักงานกรมประชาสัมพันธ์มณฑลกวางตุ้งออกจากตำแหน่งเนื่องจากทำการแทรกแซงสื่อโดยการเปลี่ยนบทบรรณาธิการ ล่าสุดสถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว และกลุ่มคนทำงานหนังสือพิมพ์ที่ออกมาประท้วงได้กลับเข้าทำงานหลังจากสามารถเจรจาข้อตกลงร่วมกันได้ รายงานดังกล่าวมาจากแหล่งข่าวคือคณะทำงานของ Southern Weekly และบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด โดยระบุว่าฝ่ายพวกเขาและฝ่ายรัฐสามารถตกลงกันได้ในเย็นวันอังคารที่ผ่านมา และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง เป็นคนเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ โดยที่หนังสือพิมพ์ฉบับวันพฤหัสฯ นี้ (9 ม.ค.) จะออกตีพิมพ์ตามปกติ และคณะทำงานจะไม่ถูกลงโทษ แต่รายละเอียดอื่นๆ ยังไม่มีการเปิดเผยอย่างชัดเจน โดยก่อนหน้านี้คณะทำงานของ Southern Weekly ได้ออกจดหมายเปิดผนึกสองฉบับเรียกร้องให้ ตั่ว เจิน เจ้าพนักงานกรมประชาสัมพันธ์ประจำมณฑลกวางตุ้งออกจากตำแหน่ง หลังถูกแทรกแซงบทบรรณาธิการที่มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง และเมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา ก็มีสื่อจีนหลายแห่งออกมาให้การสนับสนุนการประท้วงของ Southern Weekly นอกจากนี้ยังมีประชาชนเกือบ 100 คนส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวมาชุมนุมหน้าสำนักงานของ Southern Weekly ในเมืองกวางโจว พวกเขาสวมหน้ากากและนำดอกไม้มาวางเพื่อแสดงการไว้ทุกข์ให้เสรีภาพสื่อในจีน แต่ต่อมาก็มีเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนและต่อต้านหนังสือพิมพ์ Southern Weekly จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าไประงับเหตุการณ์
รัฐจีนเผยมีคนยั่วยุให้นักข่าวต่อต้าน ทางเว็บไซต์ข่าว Global Times ของจีนยังได้นำเสนอบทบรรณาธิการในประเด็นนี้เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยกล่าวไปในทางตรงกันข้ามว่า บทบรรณาธิการที่กลุ่มผู้ประท้วงบอกว่าถูกแทรกแซงปรับแต่งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แท้จริงแล้วเป็นบทบรรณาธิการที่เขียนเองโดยที่ทางเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ในท้องที่ไม่ได้เป็นคนเปลี่ยนแปลงเนื้อหา Global Times ซึ่งเป็นสื่อในสังกัดของหนังสือพิมพ์พีเพิลเดลี่ของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังได้กล่าวหาว่าอดีตกองบก. Southern Weekly และนักกิจกรรมหลายคน รวมถึง เฉิน กวงเฉิง นักกิจกรรมตาบอดที่ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐฯ เป็นผู้ 'ยุยง' ให้สื่อบางแห่งออกมาเผชิญหน้ากับรัฐบาล บท บก. Global Times แสดงความเห็นในประเด็นเรื่องการปฏิรูปอีกว่า การปฏิรูปสื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศจีนทั้งหมดและต้องเป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบันของจีน จะไม่มีการแบ่ง 'เขตการเมืองพิเศษ' ไว้ให้กับสื่อ "สำหรับมืออาชีพด้านสื่อนั้น เห็นได้ชัดว่าภายใต้สภาพการณ์ของประเทศจีนในปัจจุบัน พวกเราคงไม่สามารถมี 'สื่อเสรีสุดขั้ว' ซึ่งเป็นความฝันของเหล่านักกิจกรรมได้" คำกล่าวจากบท บก. Global Times
Southern Weekly เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่มียอดขายสูงสุดในจีน และเป็นที่นิยมในกลุ่มปัญญาชนและผู้มีแนวคิดเสรีนิยม หลังจากเกิดกรณีที่กล่าวหาว่ามีการแทรกแซงดังกล่าว ก็มีนักข่าวและบล็อกเกอร์หลายคนแสดงความเห็นในกรณ๊นี้ รวมถึง เหยา เฉิน ดาราสาวของจีนผู้มี 'แฟน' ติดตามในเว็บไมโครบล็อก Sina Weibo ราว 32 ล้านคน ได้โพสท์รูปโลโก้หนังสือพิมพ์ Southern Weekly ตามด้วยคำคมของอเล็กซานเดอร์ โซลเชนนิทซิน ที่กล่าวไว้ว่า "ความจริงเพียงคำเดียว ก็สามารถครอบงำโลกทั้งใบได้" ขณะเดียวกันในหน้าเว็บไซต์ Beijing News ได้เผยแพร่บทความแสดงความชื่นชมต่ออาหารข้าวต้มภาคใต้ของจีน โดยกล่าวว่า "ในช่วงที่สังคมวุ่นวาย พวกเราควรทานข้าวต้มอุ่นๆ จานนี้" ซึ่งผู้สื่อข่าว BBC ตีความว่าเป็นการแสดงการสนับสนุนหนังสือพิมพ์ Southern Weekly
เรียบเรียงจาก China censorship row: 'Deal' at Southern Weekly, BBC, 09-01-2013 Support for China censorship row paper Southern Weekly, BBC, 08-01-2013 Southern Weekly issue prompts soul-searching over media's role, Global Times, 08-01-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชำนาญ จันทร์เรือง: อนาคตเสื้อแดง Posted: 09 Jan 2013 06:14 AM PST ผมไม่ใช่เสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อเหลือง เพราะทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองต่างก็มีจุดดีและจุดด้อยไปคนละอย่าง แต่หากจะให้ผมเลือกหรือจำเป็นต้องเลือกระหว่างการเป็นเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงแล้ว ผมเลือกที่จะเป็นเสื้อแดงมากกว่า เพราะมีหลักการส่วนใหญ่ตรงกับรสนิยมทางการเมืองของผม เช่น ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคม เชื่อในพลังเสียงของประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในหลักการพื้นฐานที่ว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ฯลฯ แต่ก็มีหลายๆอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดง คือ 1) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องมีสายการบัญชาการหรือจัดให้มีองค์กรใหญ่โต เพราะการกำเนิดของเสื้อแดงนั้นเป็นการมารวมตัวกันของผู้คนหลายกลุ่มหลายเหล่าที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและทนเห็นความ อยุติธรรมไม่ได้ มีทั้งผู้อ่านหนังสือไม่ออกไปจนถึงศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ มีทั้งยาจกจนถึงเศรษฐี ที่สำคัญก็คือ แดงก็มีหลายโทน (Tone )หรือหลายเฉด (Shade) มีทั้งแดงขวัญชัย แดงรักเชียงใหม่ 51 ฯลฯ การชุมนุมที่โบนันซาเขาใหญ่นั้นเป็นตัวอย่างได้ดีถึงความไม่พอใจของแดงหลายๆกลุ่มที่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันจากผู้จัด ทั้งๆที่เป็นการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรม ฉะนั้น การปล่อยให้เป็นการรวมตัวอย่างเป็นธรรมชาติทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของ บก.ลายจุด /ม.เที่ยงคืน /กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล /กลุ่ม ครก.112 /เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ฯลฯ 2) ไม่เห็นด้วยที่แกนนำเสื้อแดงไปรับตำแหน่งทางการเมือง(ข้อนี้คงทำใจยากหน่อย) เพราะคุณต้องเลือกเอาระหว่างการเป็นผู้นำมวลชนที่ติดดินกับการเป็นขุนนางที่ใส่สูทตัวละเป็นหมื่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี ที่ปรึกษาฯ ส.ส. สว. ฯลฯ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแกนนำจะรับตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ ความหมายของผมก็คือ รับได้แต่ต้องยุติบทบาทการเป็นแกนนำ ไม่ใช่ถ่างขากั๊กอยู่อย่างนี้ ทำให้พลังต่อรองของเสื้อแดงลดลงกลายไปเป็นเพียงเบี้ยให้แกนนำที่เป็นขุนนางไพร่และพรรคเพื่อไทยเดิน 3) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องสนับสนุนพรรคเพื่อไทยไปเสียทุกเรื่อง ต้องกล้าที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หากเห็นว่ากระทำการไม่ถูกต้อง เช่น เกี้ยเซี้ยกับอำมาตย์และทหารจนเกินเหตุ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยให้คนเสื้อแดงตัวเล็กตัวน้อยที่ออกมาชุมนุมยังคงถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่กล้าที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆที่สามารถทำได้เพียงแต่ออกเป็นพระราชกำหนดเท่านั้น ซึ่งคงเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่นักโทษทางการเมืองคือฝ่ายเดียวกับรัฐบาล ที่น่าเศร้าที่สุดก็คือการสังเวยชีวิตในเรือนจำของวันชัย รักสงวนศิลป์ส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมา 4) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องเชื่อฟังรัฐบาลว่าใจเย็นๆขอพักเรื่องอื่นไว้ก่อน อาทิ การแก้รัฐธรรมนูญ การ "คืนอำนาจ"สู่ท้องถิ่น เช่น ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานคร เป็นต้น ฯลฯ โดยขอให้รัฐบาลอยู่รอดและเอาทักษิณกลับบ้านให้ได้ก่อน ซึ่งอันที่จริงแล้วในช่วงนี้เป็นช่วงที่รัฐบาลสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างแต่ไม่ทำ เพราะไม่ว่าฝ่ายทหารก็เข็ดขี้อ่อนขี้แก่จากการรัฐประหาร 19 กันยาที่ล้มเหลวจนถูกด่าไปทั้งเมืองเพราะเป็นการไปปลุกผีทักษิณขึ้นมาอีก มิหนำซ้ำยังต้องมาพะวงหน้าพะวงหลังกับคดีสลายการชุมนุมที่มาถึงตัวเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ส่วนอำมาตย์ก็น้ำยาเจือจางเต็มทีดังจะเห็นได้จากม็อบเสธอ้ายที่นกกระจอกไม่ทันกินน้ำก็โกยแนบ(ข่าวทางลับบอกว่าเสธอ้ายทนหิวข้าวไม่ไหวเลยประกาศสลายการชุมนุมน่ะ หุ หุ) ศาลรัฐธรรมนูญก็ถอยร่นจนแทบไม่มีที่ยืนในกรณีมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญเมื่อเจอพลังเสื้อแดงเข้าไปจึงต้องมีคำวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่าย แต่ก็ยังไม่วายวางระเบิดเวลาไว้ในกรณีประชามติจนทำให้ฝ่ายรัฐบาลและรัฐสภาอุจจาระขึ้นสมองกันเป็นแถว 5) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องจัดให้มีการชุมนุมใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพเพราะแทนที่จะดีกลับถูกชาวบ้านชาวช่องด่าเสียเปล่าๆเพราะไปทำให้รถติด แต่เห็นด้วยที่จะให้มีการชุมนุมในแต่ละจังหวัดหรือแต่ละชุมชนในที่สาธารณะที่ไม่กีดขวางทางจราจรทำให้เสียแนวร่วมโดยใช่เหตุ ยิ่งบ่อยยิ่งดีจะได้มีความต่อเนื่องและแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมือง 6) ไม่เห็นด้วยที่สื่อแดงทั้งหลายทั้งแดงเข้มและแดงอ่อนๆ จะไปกีดกันความเห็นต่างกับของตนเอง เช่น การปลดรายการของจอม เพชรประดับ หรือถอดละครเหนือเมฆ (แม้บางคนจะเรียกว่า "ยกเมฆ" ก็ตาม) เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้โทรทัศน์ที่บ้านจะได้ดูกันได้หลายๆคน ไม่ใช่ต้องหนีไปดูทีวีใครทีวีมันเช่นทุกวันนี้ และหากทั้งบ้านมีเครื่องเดียวก็ต้องทนดูเครื่องของผู้เป็นใหญ่ในบ้านเป็นผู้กำหนด ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในบ้านนั้นใครคือผู้เป็นใหญ่ที่แท้จริง 7) ไม่เห็นด้วยที่เสื้อแดงทั้งหลายจะต้องเลือกคนที่พรรคกำหนดให้เป็นผู้สมัครเสมอไป ตัวอย่างที่ดีก็คือการที่เสื้อแดงสันกำแพงและหลายๆที่เริ่มเรียกร้องให้มีการหยั่งเสียงหรือการเลือกตั้งเบื้องต้น(primary หรือ caucus) แทนการกำหนดตัวผู้ลงสมัครจากเบื้องบนลงมา (Top – Down) และปฏิเสธที่จะลงคะแนนให้หากไม่ผ่านกระบวนการเบื้องต้นมาก่อน อารมณ์และพฤติกรรมทางการเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ไม่มีอะไรคงทนถาวร ดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวรทางการเมือง" ฉันใด หากเสื้อแดงยังคงมีการรวมกลุ่มและจัดตั้งกับแบนี้ และหากยังมีความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยในลักษณะปัจจุบันนี้ อีกไม่นานก็ถึงคราวเสื่อมถอย แต่หากมีการปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นตามความเห็นของผมในฐานะกัลยาณมิตรแล้วไซร้ ความยั่งยืนสถาพร ก็จะบังเกิดขึ้น และเมื่อนั้นประชาธิปไตยที่มีความหมายว่าอำนาจอธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ก็จะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หากยังก้าวข้ามไม่พ้นกับยศถาบรรดาศักดิ์ที่เขาหยิบยื่นให้ ก้าวข้ามไม่พ้นการเป็นเจ้าของคนเสื้อแดงที่ถึงแม้จะตายเป็นศพไปแล้วยังตามไปบงการว่าจะให้สวดข้ามปีหรือไม่ให้สวดข้ามปีอยู่อีก ความเสื่อมย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่มีใครทำลายพลังของคนเสื้อแดงได้หรอกครับเพราะเป็นพลังบริสุทธิ์จากทุกชนชั้นที่ทนไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม เว้นเสียแต่ว่าเสื้อแดงจะทำลายตนเอง ด้วยการเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญและการกล่าวโจมตีสาดโคลนทะเลาะกันของมวลชนเสื้อแดงเท่านั้นเอง
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 9 มกราคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชำนาญ จันทร์เรือง: อนาคตเสื้อแดง Posted: 09 Jan 2013 06:13 AM PST ผมไม่ใช่เสื้อแดงและไม่ใช่เสื้อเหลือง เพราะทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองต่างก็มีจุดดีและจุดด้อยไปคนละอย่าง แต่หากจะให้ผมเลือกหรือจำเป็นต้องเลือกระหว่างการเป็นเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงแล้ว ผมเลือกที่จะเป็นเสื้อแดงมากกว่า เพราะมีหลักการส่วนใหญ่ตรงกับรสนิยมทางการเมืองของผม เช่น ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคม เชื่อในพลังเสียงของประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในหลักการพื้นฐานที่ว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ฯลฯ แต่ก็มีหลายๆอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดง คือ 1) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องมีสายการบัญชาการหรือจัดให้มีองค์กรใหญ่โต เพราะการกำเนิดของเสื้อแดงนั้นเป็นการมารวมตัวกันของผู้คนหลายกลุ่มหลายเหล่าที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและทนเห็นความ อยุติธรรมไม่ได้ มีทั้งผู้อ่านหนังสือไม่ออกไปจนถึงศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ มีทั้งยาจกจนถึงเศรษฐี ที่สำคัญก็คือ แดงก็มีหลายโทน (Tone )หรือหลายเฉด (Shade) มีทั้งแดงขวัญชัย แดงรักเชียงใหม่ 51 ฯลฯ การชุมนุมที่โบนันซาเขาใหญ่นั้นเป็นตัวอย่างได้ดีถึงความไม่พอใจของแดงหลายๆกลุ่มที่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันจากผู้จัด ทั้งๆที่เป็นการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรม ฉะนั้น การปล่อยให้เป็นการรวมตัวอย่างเป็นธรรมชาติทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของ บก.ลายจุด /ม.เที่ยงคืน /กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล /กลุ่ม ครก.112 /เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ฯลฯ 2) ไม่เห็นด้วยที่แกนนำเสื้อแดงไปรับตำแหน่งทางการเมือง(ข้อนี้คงทำใจยากหน่อย) เพราะคุณต้องเลือกเอาระหว่างการเป็นผู้นำมวลชนที่ติดดินกับการเป็นขุนนางที่ใส่สูทตัวละเป็นหมื่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี ที่ปรึกษาฯ ส.ส. สว. ฯลฯ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแกนนำจะรับตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ ความหมายของผมก็คือ รับได้แต่ต้องยุติบทบาทการเป็นแกนนำ ไม่ใช่ถ่างขากั๊กอยู่อย่างนี้ ทำให้พลังต่อรองของเสื้อแดงลดลงกลายไปเป็นเพียงเบี้ยให้แกนนำที่เป็นขุนนางไพร่และพรรคเพื่อไทยเดิน 3) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องสนับสนุนพรรคเพื่อไทยไปเสียทุกเรื่อง ต้องกล้าที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หากเห็นว่ากระทำการไม่ถูกต้อง เช่น เกี้ยเซี้ยกับอำมาตย์และทหารจนเกินเหตุ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยให้คนเสื้อแดงตัวเล็กตัวน้อยที่ออกมาชุมนุมยังคงถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่กล้าที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆที่สามารถทำได้เพียงแต่ออกเป็นพระราชกำหนดเท่านั้น ซึ่งคงเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่นักโทษทางการเมืองคือฝ่ายเดียวกับรัฐบาล ที่น่าเศร้าที่สุดก็คือการสังเวยชีวิตในเรือนจำของวันชัย รักสงวนศิลป์ส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมา 4) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องเชื่อฟังรัฐบาลว่าใจเย็นๆขอพักเรื่องอื่นไว้ก่อน อาทิ การแก้รัฐธรรมนูญ การ "คืนอำนาจ"สู่ท้องถิ่น เช่น ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานคร เป็นต้น ฯลฯ โดยขอให้รัฐบาลอยู่รอดและเอาทักษิณกลับบ้านให้ได้ก่อน ซึ่งอันที่จริงแล้วในช่วงนี้เป็นช่วงที่รัฐบาลสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างแต่ไม่ทำ เพราะไม่ว่าฝ่ายทหารก็เข็ดขี้อ่อนขี้แก่จากการรัฐประหาร 19 กันยาที่ล้มเหลวจนถูกด่าไปทั้งเมืองเพราะเป็นการไปปลุกผีทักษิณขึ้นมาอีก มิหนำซ้ำยังต้องมาพะวงหน้าพะวงหลังกับคดีสลายการชุมนุมที่มาถึงตัวเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ส่วนอำมาตย์ก็น้ำยาเจือจางเต็มทีดังจะเห็นได้จากม็อบเสธอ้ายที่นกกระจอกไม่ทันกินน้ำก็โกยแนบ(ข่าวทางลับบอกว่าเสธอ้ายทนหิวข้าวไม่ไหวเลยประกาศสลายการชุมนุมน่ะ หุ หุ) ศาลรัฐธรรมนูญก็ถอยร่นจนแทบไม่มีที่ยืนในกรณีมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญเมื่อเจอพลังเสื้อแดงเข้าไปจึงต้องมีคำวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่าย แต่ก็ยังไม่วายวางระเบิดเวลาไว้ในกรณีประชามติจนทำให้ฝ่ายรัฐบาลและรัฐสภาอุจจาระขึ้นสมองกันเป็นแถว 5) ไม่เห็นด้วยที่จะต้องจัดให้มีการชุมนุมใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพเพราะแทนที่จะดีกลับถูกชาวบ้านชาวช่องด่าเสียเปล่าๆเพราะไปทำให้รถติด แต่เห็นด้วยที่จะให้มีการชุมนุมในแต่ละจังหวัดหรือแต่ละชุมชนในที่สาธารณะที่ไม่กีดขวางทางจราจรทำให้เสียแนวร่วมโดยใช่เหตุ ยิ่งบ่อยยิ่งดีจะได้มีความต่อเนื่องและแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมือง 6) ไม่เห็นด้วยที่สื่อแดงทั้งหลายทั้งแดงเข้มและแดงอ่อนๆ จะไปกีดกันความเห็นต่างกับของตนเอง เช่น การปลดรายการของจอม เพชรประดับ หรือถอดละครเหนือเมฆ (แม้บางคนจะเรียกว่า "ยกเมฆ" ก็ตาม) เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้โทรทัศน์ที่บ้านจะได้ดูกันได้หลายๆคน ไม่ใช่ต้องหนีไปดูทีวีใครทีวีมันเช่นทุกวันนี้ และหากทั้งบ้านมีเครื่องเดียวก็ต้องทนดูเครื่องของผู้เป็นใหญ่ในบ้านเป็นผู้กำหนด ซึ่งก็แล้วแต่ว่าในบ้านนั้นใครคือผู้เป็นใหญ่ที่แท้จริง 7) ไม่เห็นด้วยที่เสื้อแดงทั้งหลายจะต้องเลือกคนที่พรรคกำหนดให้เป็นผู้สมัครเสมอไป ตัวอย่างที่ดีก็คือการที่เสื้อแดงสันกำแพงและหลายๆที่เริ่มเรียกร้องให้มีการหยั่งเสียงหรือการเลือกตั้งเบื้องต้น(primary หรือ caucus) แทนการกำหนดตัวผู้ลงสมัครจากเบื้องบนลงมา (Top – Down) และปฏิเสธที่จะลงคะแนนให้หากไม่ผ่านกระบวนการเบื้องต้นมาก่อน อารมณ์และพฤติกรรมทางการเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ไม่มีอะไรคงทนถาวร ดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวรทางการเมือง" ฉันใด หากเสื้อแดงยังคงมีการรวมกลุ่มและจัดตั้งกับแบนี้ และหากยังมีความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยในลักษณะปัจจุบันนี้ อีกไม่นานก็ถึงคราวเสื่อมถอย แต่หากมีการปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นตามความเห็นของผมในฐานะกัลยาณมิตรแล้วไซร้ ความยั่งยืนสถาพร ก็จะบังเกิดขึ้น และเมื่อนั้นประชาธิปไตยที่มีความหมายว่าอำนาจอธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ก็จะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หากยังก้าวข้ามไม่พ้นกับยศถาบรรดาศักดิ์ที่เขาหยิบยื่นให้ ก้าวข้ามไม่พ้นการเป็นเจ้าของคนเสื้อแดงที่ถึงแม้จะตายเป็นศพไปแล้วยังตามไปบงการว่าจะให้สวดข้ามปีหรือไม่ให้สวดข้ามปีอยู่อีก ความเสื่อมย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่มีใครทำลายพลังของคนเสื้อแดงได้หรอกครับเพราะเป็นพลังบริสุทธิ์จากทุกชนชั้นที่ทนไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม เว้นเสียแต่ว่าเสื้อแดงจะทำลายตนเอง ด้วยการเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญและการกล่าวโจมตีสาดโคลนทะเลาะกันของมวลชนเสื้อแดงเท่านั้นเอง
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 9 มกราคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายคนพิการยื่น 11 ข้อเสนอต่อ รมว.คมนาคม Posted: 09 Jan 2013 06:07 AM PST เครือข่ายคนพิการ ยื่นข้อเสนอเสนอแนะแนวทางดำเนินงานด้านคนพิการสนับสนุนนโยบาย "คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ" รวม 11 ประเด็นสำคัญ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556 เครือข่ายคนพิการ ยื่นข้อเสนอของคนพิการและองค์กรด้านคนพิการ ต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอแนะแนวทางดำเนินงานด้านคนพิการสนับสนุนนโยบาย "คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ" รวม 11 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.จัดซื้อจัดหารถโดยสารประจำทางใหม่ (รถเมล์) ทั้งโครงการรถเมล์ 3,183 คันและโครงการอื่นๆ รวมถึงการเพิ่มรถใหม่ของภาคเอกชน จะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการทุกประเภทเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ อย่างครบถ้วนทุกคัน 2.ดำเนินการปรับสภาพแวดล้อม พัฒนาบริการ และให้ความช่วยเหลือคนพิการด้านการเดินทาง โดยยึดหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1)ใช้การออกแบบที่เป็นธรรมเพื่อคนทั้งมวล 2) ใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท และ 3) ให้บริการช่วยเหลือคนพิการอย่างสมเหตุสมผล 3.ปรับปรุงสำนักงาน สถานี สนามบิน อาคาร ถนน ทางเดินเท้า สัญญาณข้ามถนน ทางข้ามถนน สถานที่จอดรถ ยานพาหนะ ส่วนควบของยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนจัดบริการให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน 4. กำหนดให้ทุกหน่วยงานใช้การออกแบบที่เป็นธรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือคนพิการอย่างสมเหตุสมผลในการดำเนินงานโครงการใหม่ทุกโครงการ เช่น การก่อสร้างอาคาร สำนักงาน สถานีขนส่ง ฯลฯ การจัด / ปรับสภาพแวดล้อม การจัดซื้อ / เช่ายานพาหนะทุกประเภท และการเริ่มจัดบริการรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น 5. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยอยู่เสมอ 6. กำหนดให้คนพิการมีส่วนร่วมคิด ให้ข้อเสนอแนะ วางแผนงาน กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ ร่างขอบเขตของงาน ตัดสินใจ ดำเนินการ กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน ตรวจรับงาน หรือพิจารณารายงานเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสาธารณะ โดยตั้งผู้แทนคนพิการเป็นคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ หรือคณะกรรมการดำเนินงาน 7. กำหนดมาตรการจัดระบบบริการขนส่งสาธารณะในระดับท้องถิ่น เช่น รถสองแถว รถสามล้อ และสกายแล็ป เป็นต้น ให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการเข้าถึงและประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย 8. กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนงบประมาณประจำปี เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) งบประมาณเพื่อการดำเนินงานทั่วไปโดยรวมคนพิการอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย และ 2) งบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม บริการ และความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป พร้อมทั้งกำหนดเวลาดำเนินงานให้สำเร็จ 9.แต่งตั้ง คณะกรรมการ โครงการพัฒนา "บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อคนทั้งมวล" (Transportation for All ) โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านบริการขนส่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนักวิชาการด้านต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคนพิการ เป็นต้น เพื่อจัดทำแผนดำเนินงานระยะสั้นและระยะยาวด้านคนพิการ รวมทั้ง จัดทำโครงการ หรือปฏิบัติกิจกรรมตามแผนฯ เช่น จัดศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้ทันสมัย จัดฝึกอบรมบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น 10. กำหนดให้ทุกหน่วยงานดำเนินการด้านคนพิการ โดยประสานงานในรูปแบบบูรณาการทั้งแผนงาน และการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สังกัดกระทรวงคมนาคม และสังกัดกระทรวงอื่น รวมถึง หน่วยงานในระดับท้องถิ่น และองค์กรด้านคนพิการ เช่น กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเครือข่ายคนพิการระดับท้องถิ่น เป็นต้น และ 11. กำหนดมาตรการจัดระบบบริการขนส่งสาธารณะในระดับท้องถิ่น เช่น รถสองแถว รถสามล้อ และสกายแล็ป เป็นต้น ให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการเข้าถึงและประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และปลอดภัย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนหนองคาย 50 ตำบล ถกปัญหา ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ถึงกรณี ‘NGO ลาว’ หายตัว Posted: 09 Jan 2013 05:12 AM PST
สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองคาย จัดประชุมระดับจังหวัด ย้ำ! ชะตากรรมคนลุ่มน้ำโขง เมื่อรัฐไทยไม่ฟังเสียงประชาชน เดินหน้า 'เขื่อนไซยะบุรี' พร้อมจัดสวดภาวนาระลึกถึง 'สมบัด สมพอน' เอ็นจีโอลาวที่ถูกอุ้มหาย
สภาองค์กรชุมชนตำบลหนองคาย กว่า 50 ตำบล จัดประชุมระดับจังหวัด เพื่อเตรียมประเมินพื้นที่พร้อมขยายการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนรองรับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากกรณีเขื่อนไซยะบุรี เมื่อวันที่ 8 ม.ค.56 ที่โรงเรียนโรซารีโอ ริมแม่น้ำโขงในเขต อ.เมือง จ.หนองคาย สืบเนื่องจากที่เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จ.หนองคายร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) คัดค้านและทวงถามการป้องกันผลกระทบกรณีเขื่อนไซยะบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไร้เสียงตอบรับใดๆ จากรัฐบาลไทย โดยการลงหมุดงานก่อสร้างยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้ออ้างว่าเป็นการดำเนินการนอกเหนืออธิปไตย แม้สื่อจะโหมโรงเพียงใดก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนไทยในประเทศที่เรียกตัวเองว่า "ประชาธิปไตย" กับการร้องขอเข้าไปมีส่วนร่วม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อมูล ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การตอบข้อกังวลของประชาชนลุ่มน้ำโขง กลับไม่ถูกหยิบยกเข้าไปหารือในวงการประชุมใดๆ แม้จะมีการประชุมระดับคณะมนตรีแม่น้ำโขง ที่เมืองหลวงพระบาง ในวันที่ 17 ม.ค.56 ที่จะถึงนี้ก็ตาม กิจกรรมการเสวนา หวั่น 'เขื่อนไซยะบุรี' ชะตากรรมที่คนลุ่มน้ำโขงต้องประสบ นายอิทธิพล คำสุข สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดหนองคาย คณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) เลขานุการเครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด กล่าวในการประชุมระดับจังหวัดสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคายว่า วันนี้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดหนองคายกว่า 50 ตำบล มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนการประเมินพื้นที่ สร้างเวทีระดับตำบล เพื่อสื่อสารถึงสาเหตุภาวะแม่น้ำโขงแห้งขอด และรวบรวมผลกระทบเพื่อสะท้อนเรื่องราวของพื้นที่ เสนอหน่วยงานทั้งในพื้นที่และระดับนโยบาย "เพื่อเป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า จนถึงวันนี้ พี่น้องภาคประชาชนยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ ถึงข้อเรียกร้องและข้อกังวลกรณีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งในที่ประชุมระดับจังหวัดมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวางถึงความเงียบที่ภาคประชาชนได้รับ" นายอิทธิพลกล่าว นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้ดูสรุปข่าวเขื่อนไซยะบุรีจากสื่อสาธารณะของปี 2555 ทีผ่านมา ยิ่งทำให้พี่น้องภาคประชาชนเกิดคำถาม ฮึดสู้เพื่อเดินหน้าทวงถามรัฐบาลหนักขึ้น และถึงแม้ทางเครือข่ายฯ จะเหนื่อยหนักกับการรณรงค์คัดค้าน กระทั่งประท้วงลอยเรือในน่านน้ำโขงในการประชุมอาเซม (การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป Asia-Europe Meeting: ASEM) ครั้งที่ 9 (5-6 พ.ย.55) ที่เป็นข่าวไปทั่วโลก ลาวกลับเดินหน้าก่อสร้าง ขณะที่รัฐบาลไทยไม่พูดอะไรเลย กลับให้นายเรวัติ สุวรรณกิติ จากบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ มาโต้ว่ามีการปรับแบบเขื่อนให้เป็นเขื่อนโปร่งใสไม่มีผลกระทบแล้ว "ถึงเดี๋ยวนี้ ไม่มีใครออกมารับประกันว่าสิ่งที่บริษัทเอกชนรายนี้กล่าวอ้าง เชื่อถือได้เพียงใด ประชาชนลุ่มน้ำโขงแทบจะเรียกได้ว่า มีชีวิตที่แขวนบนเส้นด้าย" นายอิทธิพลให้ความเห็น นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาชนทำตามกฎหมายทุกอย่าง ทวงถามตามสิทธิชุมชนที่พึงมี การประชุมระดับคณะมนตรีแม่น้ำโขง (MRC Council) ที่จะถึงก็ยังไม่มีวาระการคุยเรื่องเขื่อนไซยะบุรี หรือเขื่อนใดๆ บนแม่น้ำโขง สถานการณ์ความแห้งขอดของแม่น้ำโขงยังคงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่หลายฝ่ายบอกว่าเพราะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ "ภาวะโลกร้อน" ไม่ใช่สาเหตุจากเขื่อน ฝากความเห็นและแสดงความห่วงใยท่านสมบัด สมพอน สวดภาวนาระลึกถึง 'สมบัด สมพอน' เอ็นจีโอลาวที่ถูกอุ้มหาย นางอ้อมบุญ กล่าวด้วยว่า นอกจากการประชุมในวันนี้แล้วยังมีการจัดนิทรรศการปลาแม่น้ำโขง จัดนิทรรศการชุมชนเข้มแข็ง เพื่อแสดงผลการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ต้องแก้ไขการบริหารจัดการน้ำชุมชน ที่เป็นผลกระทบจากโครงการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง และที่สำคัญที่สุด โรงเรียนโรซารีโอแห่งนี้ เป็นสถานศึกษาที่สร้างการมีส่วนร่วมสำคัญกับภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง สภาองค์กรชุมชนตำบลจึงได้ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็ก และกิจกรรมลงลายมือชื่อพร้อมสวดภาวนาเพื่อระลึกถึงท่านสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสของลาว ที่ถูกลักพาตัวตั้งแต่เย็นวันที่ 15 ธ.ค.55 ที่ผ่านมา "อ้ายสมบัดเป็นเจ้าของรางวัลเกียรติยศรามอนแมกไซไซด้านบริการสังคม ปี 2548 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยุคใหม่ ที่อุทิศตัวทำงานด้านการพัฒนาและการศึกษาแบบองค์รวมมากว่าสามทศวรรษ รวมทั้งเป็นผู้นำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ เมื่อ 5 ปีที่แล้วหนองคายก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพของนานาประเทศในการจัดประชุมเพื่อสร้างรูปธรรมเรื่องนี้ในฐานะเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก" อ้อมบุญ พูดถึง สมบัด อ้อมบุญ ยังกล่าวด้วยว่า นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวยังเป็นผู้นำภาคประชาชนที่มีความกล้าหาญในการจัดประชุมคู่ขนานกับรัฐบาลลาวในการประชุมอาเซมครั้งที่ผ่านมาในกรุงเวียงจันทน์ พอๆ กันกับพี่น้องฝั่งไทยที่กล้าลอยเรือกลางลำน้ำโขงประท้วง แบบไม่กลัวตายอีกด้วย "เราให้ความสำคัญกับอ้ายสมบัด เพราะท่านเป็นผู้แทนของคนภูมิภาคที่ดำรงตนในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การคุกคามสิทธิมนุษยชนบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับผู้คน ในสังคมระดับภูมิภาค การถูกบังคับให้หายตัวไป เช่น กรณีทนายสมชาย นีละไพจิตรที่ช่วยเหลือพี่น้องชาวมุสลิมในภาคใต้ ที่ถูกอุ้มหาย พวกเราจะช่วยกันทวงถาม พี่น้องภาคประชาชนคนลุ่มน้ำโขงไม่ปรารถนาจะให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก" อ้อมบุญ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
องค์กรสิทธิไทยจี้ความคืบหน้ากรณี 'สมบัติ สมพอน' Posted: 09 Jan 2013 03:49 AM PST การหายตัวของนักพัฒนาอาวุโสคนสำคัญของลาว ยังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยนักสิทธิย้ำ 'อาเซียน' ต้องให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมากกว่ามุ่งทำการค้าเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ประชาสังคมนานาชาติดำเนินการเรียกร้องรัฐบาลลาวอย่างต่อเนื่อง
9 ม.ค. 55 - ที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน มีการจัดงานเสวนาเรื่อง "กรณีสมบัติ สมพอน ส่งสัญญาณอะไรกับประชาคมอาเซียน" โดยศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ โดยมีวิทยากรจากองค์กรพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการหายตัวของนายสมบัติ สมพอน นักพัฒนาเอกชนด้านสิทธิชุมชนอาวุโส และเจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ ซึ่งหายตัวไปเมื่อเย็นวันที่ 15 ธ.ค. 54 ในกรุงเวียงจันทร์ ขณะกำลังเดินทางกลับบ้าน นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากประเทศอาเซียนเพิ่งได้รับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเมื่อเร็วๆ นี้ ประกอบกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็ได้ตั้งมาเป็นเวลากว่าสามปี ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่การหายตัวของนายสมบัติ ก็ควรที่จะเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับอาเซียนมากพอๆ กับรัฐบาลลาวเอง ทั้งนี้ หลังจากการหายตัวของนายสมบัติเมื่อเย็นวันที่ 15 ธ.ค. 54 องค์กรระหว่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศ ได้แสดงความกังวลต่อประเด็นดังกล่าว โดยออกจดหมายเปิดผนึกและแถลงการณ์ให้รัฐบาลสอบสวนหาความจริงและเปิดเผยต่อกรณีการหายตัวของนายสมบัติ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 55 รัฐบาลลาวได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า การหายตัวของนายสมบัติ น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัวหรือปัญหาทางธุรกิจ และระบุว่า รัฐบาลลาวกำลังสอบสวนกรณีดังกล่าวอยู่ตามกฎหมาย นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร และประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ซึ่งทำงานเรื่องการถูกบังคับคนให้สูญหาย กล่าวว่า กรณีการหายตัวไปของนายสมบัติ และนายสมชาย มีจุดที่คล้ายกันคือเป็นการทำให้หายตัวไปโดยมีส่วนรู้เห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆ ที่มีหลักฐานต่างๆ ในคดีของทนายสมชายที่บ่งชี้การเอาผิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่หลักฐานเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีได้ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายเมื่อปีที่แล้ว และจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อังคณากล่าวว่า คดีของทนายสมชายและคดีการอุ้มหายอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆ ในแง่ของการค้นหาความจริงและยุติธรรมเลยแม้แต่น้อย อนึ่ง ประเทศลาว ก็ได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายไปเมื่อ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา และระบุว่า จะปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ตนเองเป็นภาคีอย่างเคร่งครัดในแถลงการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ การหายตัวของนายสมบัติ ถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับความคิดด้านแนวทางการพัฒนาประเทศลาวที่ขัดแย้งกัน โดยนายสมบัติ ได้ก่อตั้งศูนย์อบรมฮ่วมพัฒนาในปี 2539 เพื่อสนับสนุนการเกษตร การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน การทำวิสาหกิจขนาดย่อย และการสร้างความเป็นผู้นำในกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้ ได้มีจุดยืนไปในทางคัดค้านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลลาว เช่น การสร้างเขื่อนไซยะบุรี หรือการสร้างโรงไฟฟ้า นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การที่นายสมบัติสามารถจัดการประชุมภาคประชาชนคู่ขนานกับการประชุมเอเชีย-ยุโรป เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการส่งผลกระทบที่ชัดเจน ต่อแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างไปจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลลาวเริ่มเกิดความกังวลใจ "การจัดประชุมครั้งที่ผ่านมา เป็นการสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญที่สุดในลาว ผมไม่คิดว่าก่อนหน้านี้จะมีการประชุมแบบนี้มาก่อน รัฐบาลจึงตกใจว่ารัฐบาลจะรับมือกับแนวทางการพัฒนาที่ขัดแย้งแบบบนี้ได้อย่างไร" วิฑูรย์กล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลจากมูลนิธิชีววิถีระบุว่า ประเทศลาวเป็นประเทศอันดับ 2 ที่ให้สัมปทานพื้นที่การเกษตรแก่ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 41 ของพื้นที่การเกษตรในประเทศทั้งหมด รองมาจากประเทศไลบีเรียในแอฟริกา ที่ให้สัมปทานแก่ต่างชาติร้อยละ 61 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด และอันดับ 3 คือประเทศปารากวัย และอุรุกวัย ที่มีสัดส่วนร้อยละ 26 และ 25 ตามลำดับ นายจอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและการเมือง คณะกรรมการสิทธิมุนษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลลาวมีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว โดยต้องมีผู้นำพรรคระดับสูงให้ความเห็นชอบ จอนกล่าวว่า ในขณะนี้ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซจำนวน 52 คน ตั้งแต่ผู้ได้รับรางวัลปี 2508 ได้ร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกต่อรัฐบาลลาว เรียกร้องให้เปิดเผยความจริงในกรณีนี้ นอกจากนี้ เขาได้เล่าถึงตอนไปพบกับนายสมบัติ สมพอนที่ประเทศลาวว่า "เมื่อได้ไปเยือนการประชุมของผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซในลาว สมบัติเป็นคนสุดท้ายที่คาดว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้น เพราะเขาไม่มีลักษณะต่อต้านรัฐบาลหรือเป็นอันตรายต่อรัฐ ผมจึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และสามารถไม่ปฏิเสธได้ว่ารัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้" จอนกล่าว อนึ่ง การหายตัวของนายสมบัติ สมพอน ได้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้อำนวยการองค์กรพัฒนาเอกชน Helvetas ของสวิสเซอร์แลนด์ ถูกเนรเทศออกจากประเทศลาวไม่กี่สัมดาห์ เนื่องจากมีการเผยแพร่ข้อความของเธอที่ส่งหาแหล่งทุนต่างประเทศสู่สาธารณะ ซึ่งมีเนื้อหาวิจารณ์รัฐบาลลาวว่าไม่เป็นประชาธิปไตย การรณรงค์ของภาคประชาชนต่อกรณีการหายตัวของนายสมบัต สมพอน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักข่าวต่างประเทศฟังปัญหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กูเกิลห่วงไทยเสียโอกาสธุรกิจ Posted: 09 Jan 2013 12:18 AM PST
8 ม.ค.56 สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่อง ผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยมีวิทยากรคือ สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งทีมวิจัยเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ทำร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) และ แอน ลาวิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายสาธารณะของกูเกิล และตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) โดยงานนี้ได้รับความสนใจจากผู้สื่อข่าวต่างประเทศมากพอสมควร แอน ลาวิน (Ann Lavin) ตัวแทนจากบริษัทกูเกิล กล่าวว่า ไทยไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นมากนัก แต่เราในฐานะที่เชื่อมั่นในการแสดงความเห็นเราต้องต่อสู้เพื่อสิ่งนี้ ซึ่งจะเกิดในสังคมประชาธิปไตยที่มีหลักนิติรัฐ แอนชี้ว่า ประเด็นสำคัญ คือ อาชญากรรมนั้นไม่แตกต่างกัน ไม่ว่ามันจะในออนไลน์หรือออฟไลน์ ซึ่งก็มีกฎหมายดูแลอยู่แล้ว และปัญหาสำคัญของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คือ มาตรา 15 กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำผิด ทุกวันนี้เนื้อหาบริการต่างๆ ของกูเกิล เป็นภาษาไทยแค่ 1% เท่านั้น ในอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่น่าสนใจมากมายที่น่านำเสนอเป็นภาษาไทย แต่กูเกิลก็ยังไม่ตัดสินใจลงทุนตั้งสาขาในไทย เพราะแม้แต่คนไทยเองก็กลัวกฎหมายเหมือนกัน เวลาที่พูดเรื่องการเมืองหรือประวัติศาสตร์ "เราทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อเราทำวิจัยเราพบว่า ประชาชนห่วงกังวลในเรื่องของข้อกฎหมายมาก และไมเข้าใจกฎหมาย นี่คือเรื่องที่เสี่ยงมากๆ เป็นความเสี่ยงต่อการลงทุนทั้งในด้านสื่อและอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย" แอนกล่าว เธอยังยกตัวอย่างของยูทูบ ผลิตภัณฑ์หนึ่งของกูเกิลซึ่งมีสาขาในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่ไม่มีสาขาในประเทศไทย ด้วยเหตุผลหลักก็คือ มาตรา 15 ใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ขณะที่ทั่วโลกมีช่องทางทำเงินจากยูทูบมากมาย แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย และทำให้ไทยพลาดโอกาสทำเงินไปอย่างมาก เพราะกฎหมายเป็นอุปสรรค ไม่รู้ว่าจะถูกแบนเมื่อใด เธอกล่าวว่า ภายใต้กฎหมายแบบนี้ เป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับธุรกิจด้านไอที เว็บไซต์ต่างๆ จ่ายเงินมากมายไปกับนักกฎหมาย ไม่มีระบบอะไรที่จะปกป้องสัญญาหรือปกป้องตัวเอง พวกเขาจ่ายเงินมากมายไปกับการปกป้องตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สาวตรี สุขศรี กล่าวถึงข้อสรุปสำคัญของงานวิจัย 'ผลกระทบจากพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น' ซึ่งเผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้วว่า
"ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า ที่ผ่านมาคดีส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับเนื้อหา"
คดีจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.เว็บไซต์ประชาไท ศาลพิพากษาในฐานะผู้ให้บริการ ลงโทษตามมาตรา 15 จำคุก 1 ปี 8 เดือน แต่รอลงอาญา คดีสุรภักดิ์ ผู้เล่นเฟซบุ๊ก ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ผิดตามมาตรา 112 ประกอบกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลตัดสินยกฟ้อง แต่ไม่ได้ยกฟ้องเพราะเนื้อหา แต่ยกฟ้องด้วยเหตุผลว่าโจทก์ไม่สามารถสืบพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ คดีคธา อดีตโบรกเกอร์ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเกี่ยวกับพระพลานามัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถูกฟ้องตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลตัดสินจำคุก 4 ปี ในฐานะผู้โพสต์ข้อความ
"ข้อสรุปเบื้องต้น ลักษณะของการปิดเว็บของไทยโดยอาศัยกฎหมายตาม พรบ.คอม ไม่ได้ปิดอย่างสม่ำเสมอ ต่างกับจีนและมาเลเซีย แต่ของไทยจะเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ทางการเมือง เราทิ้งประเด็นไว้ว่า อย่างนี้หมายความว่า ประเภทของเว็บไซต์ที่ถูกปิดเป็นเรื่องสถาบัน กราฟที่ถูกปิดเป็นเรื่องทางการเมือง ก็พอจะได้ข้อสรุปว่า ม.112 ผสมกับ พรบ.คอม อาจจะถูกแต่ละฝ่ายทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการฟ้อง ในการส่งข้อมูลถึงฝ่ายรัฐในการปิดเว็บไซต์ก็เป็นได้" สาวตรีกล่าว สาวตรีกล่าวต่อว่า ส่วนที่สองของงานวิจัยเป็นการวิเคราะห์ปัญหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเสรีภาพของสื่อออนไลน์ พบว่า ปัญหาส่วนแรกคือ บทนิยาม – มีบทนิยามหลายคำที่ไม่ชัดเจน เกิดการตีความที่ขยายกว้างเกินไป ซึ่งเราเสนอว่าแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจนและแคบกว่านี้ ปัญหาส่วนสอง มีอีก 4 มาตราที่มีปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพ คือ มาตรา 14(1) เกี่ยวพันกับการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ มีผลทำให้ขัดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ความมุ่งหมายของผู้บัญญัติต้องการอุดช่องว่างในการทำเอกสารปลอมแล้วนำเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือ แต่ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดในศาลไทย คนที่ฟ้องตามมาตรานี้ฟ้องในลักษณะการหมิ่นประมาท ซึ่งมันคนละเรื่องกัน มาตรา 14(2)(3) ใช้ถ้อยคำคลุมเครือ "ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" "ขัดต่อความมั่นคง" เนื้อหาเหล่านี้เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานล้วนๆ มาตรา 15 ความรับผิดของผู้ให้บริการ คดีจำนวนมากฟ้องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จนมีคนพูดว่า "รัฐไทยไม่ได้ต้องการหาตัวผู้กระทำผิดแต่ต้องการหาคนมารับผิด และมันทำให้คนเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองขึ้นด้วย" มาตรา 20 เจ้าพนักงานร้องขออำนาจศาลปิดเว็บไซต์ได้ ให้อำนาจรัฐเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตได้สูง "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของเมืองไทยมีสองส่วนที่สำคัญ คือ บทว่าด้วยเรื่องการกระทำความผิดต่อตัวระบบหรือข้อมูล อาชญากรรมคอมฯ โดยแท้ กับการกระทำความผิดเกี่ยวกับเนื้อหา คดีที่เกิดขึ้นส่วนแรกแทบไม่ได้ใช้เลย แต่เป็นการใช้ส่วนหลังคุมเนื้อหาต่างๆ ซึ่งกระทบต่อเสรีภาพอย่างแน่นอน" สาวตรีกล่าวถึงข้อเสนอแนะ 3 ประเด็นใหญ่ คือ 1.ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ระบุว่าในอนาคตน่าจะต้องปรับหรือใช้บังคับกฎหมายนี้กับ "อาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้" ส่วนเนื้อหาให้ใช้กฎหมายฉบับอื่นที่ครอบคลุมอยู่แล้ว แต่ปรับให้ทันสมัย 2.หากท้ายที่สุด ไทยยังยืนยันว่ากฎหมายนี้ยังต้องครอบคลุมเนื้อหา ต้องบัญญัติถ้อยคำให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ เช่น "ขัดต่อความมั่นคง" "ขัดศีลธรรมอันดี" คืออะไร 3. ความรับผิดของผู้ให้บริการ ต้องมีการปรับบทนิยามของผู้ให้บริการชัดเจนขึ้น จำแนกให้เป็นระดับ เหมาะกับภารกิจที่เขาทำ การกำหนดโทษผู้ให้บริการต้องไม่เท่ากับผู้กระทำผิด และต้องทำบทบัญญัติเกี่ยวกับ notice and take down การแจ้งจากพนักงาน แจ้งแล้วให้ทำอะไร ลบข้อความภายในเวลาเท่าไร 4.องค์กรผู้ที่จะมากลั่นกรองว่าจะปิดหรือไม่ ไม่ควรเป็นศาล เพราะพบว่าศาลออกคำสั่งแต่ละคำสั่ง อาจปิดได้ถึง 300-400 URLs ในวันเดียว ซึ่งไม่น่าตรวจสอบได้หมด 5. ข้อเสนอเชิงนโยบาย รัฐควรทบทวนใหม่ว่าการปิดกั้นเว็บไม่แก้ปัญหาอะไร ควรหาวิธีการอื่น "คนไทยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการแสดงความคิดเห็นเท่ากับคนตะวันตก เวลามีกฎหมายออกมากระทบต่อสิทธิเขาจะไม่ค่อยมีการเรียกร้อง มีองค์กรไม่กี่องค์กรที่ช่วยกันเรียกร้องเวลามีกฎหมายที่ละเมิดสิทธิ ที่สำคัญ วิธีการเรียกร้อง เป็นการประท้วงและยื่นหนังสือเท่านั้น ไม่ค่อยมีการนำสู่ศาล ในอนาคตคนไทยต้องตื่นตัวเรื่องพวกนี้และปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวใหม่"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาระ+ภาพ: มี 'อะไร' ในคำขวัญวันเด็ก Posted: 08 Jan 2013 11:49 PM PST
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 08 Jan 2013 09:51 PM PST "ขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ทางสถานีฝ่ายรายการรับเทปจากผู้จัด ไม่ว่าจะเป็นละคร รายการ หรืออะไรก็แล้วแต่ เราจะมีเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาว่า มีอะไรที่ไม่สมควรออกอากาศบ้างไหม เขาก็จะดูในเบื้องต้น ถ้าเขาเห็นว่ามีอะไรไม่เหมาะสม ก็จะทำเสนอไปให้ทางผู้จัดการฝ่าย ถ้าเห็นว่าเจ้าหน้าที่พิจารณามา เห็นว่ายังไม่ดี ก็จะส่งเซ็นเซอร์ได้ ซึ่งเราก็เคยทำ ไม่ใช่ไม่เคย เพียงแต่ว่ามันไม่เป็นข่าว เรื่องเซ็นเซอร์รายการเราทำกันอยู่เป็นประจำ" 8 ม.ค.56, ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ช่อง 3 ชี้แจงเกี่ยวกับกรณีการถอดละครเรื่อง เหนือเมฆ 2 |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น