โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียจัดเลือกตั้งสภาค่าย สะท้อนปชต.เชิงสัญลักษณ์

Posted: 18 Jan 2013 10:28 AM PST

ผู้ลี้ภัยสงครามกลางเมืองจากซีเรียในค่ายคิรีส ประเทศตุรกี จัดการเลือกตั้งให้หมู่คนอพยพเพื่อหาผู้ช่วยดูแลค่ายร่วมกับจนท.ตุรกี แม้ส่วนใหญ่ดูเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ แต่ก็มีการหาเสียง ติดโปสเตอร์ แบบการเลือกตั้งจริง และเป็นการเรียนรู้ประชาธิปไตยล่วงหน้าหากได้กลับไปในประเทศอีกครั้งหลังปลอดสงคราม

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2013 สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานเรื่องผู้อพยพชาวซีเรียในประเทศตุรกีจัดการเลือกตั้งสภาผู้อพยพของตนเองขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลจัดการค่ายผู้อพยพร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตุรกี และเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงซีเรียได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง

ผู้สื่อข่าว ฮะเชม อะเฮลบาร์รา รายงานจากค่ายผู้ลี้ภัยคิรีสในตุรกีว่า ผู้ลงสมัครเลือกตั้งซึ่งเป็นชาวซีเรียในค่ายต่างก็มีโครงการหาเสียงในแบบของตน

ผู้ลงสมัครคนแรกคือ มาลิกา มูซา พยายามอยากมากในการชนะใจผู้ลงคะแนนในค่าย เธอบอกว่าเธอไม่อยากให้คำมั่นสัญญาอะไรเพราะคิดว่าอย่างไรก็ทำให้เป็นจริงไม่ได้ แต่ถ้าหากเธอได้รับเลือก เธอจะพยายามทำให้ประชาชนที่ลี้ภัยมาจากซีเรียจะสามารถเข้ามาถึงค่ายผู้ลี้ภัยและให้การช่วยเหลือทางการแพทย์เข้าถึงผู้ลี้ภัยทั้งหมดได้

ครอบครัวของ มาลิกา อพยพมาจากเมืองทางตอนเหนือของอิดลิบ ซึ่งครอบครัวของมาลิกาก็ให้การสนับสนุนเมื่อมาลิกาต้องการลงสมัครเลือกตั้งสภาผู้อพยพ เพราะคิดว่าเธอต้องการช่วยเหลือผู้คน และดูจากสภาพความยากลำบากที่พวกเขาได้พบเจอแล้ว พวกเขาคิดว่าเธอทำในสิ่งที่ถูก

ฟาติมา ทิมานินี เป็นผู้ลงสมัครอีกราย เธอมาจากเมืองอเล็ปโป การหาเสียงเลือกตั้งของเธอเน้นที่การต่อสู้กับการแบ่งแยกและเหยียดเพศ เธอบอกว่าเธอมาจากพื้นเพอนุรักษ์นิยม ในตอนนี้เธอหวังว่าจะช่วยให้ซีเรียเดินไปข้างหน้าและให้ผู้หญิงได้มีสิทธิขั้นพื้นฐาน

ในค่ายผู้อพยพมีการหาเสียงด้วยป้าย โปสเตอร์ และธง ผู้ลงสมัครส่วนใหญ่มาจาก อเล็ปโป, อิดลิบ และลาทาเคีย ผู้ที่ได้รับเลือกจะเป็นผู้ดูแลจัดการค่ายผู้อพยพร่วมกับเจ้าหน้าที่ตุรกี

แม้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ แต่พวกเขาก็หวังว่ามันจะเป็นตัวอย่างบทเรียนของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาได้กลับไปยังประเทศของตนและได้สร้างซีเรียใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย


เรียบเรียงจาก

Syria refugees hold elections in Turkish camp, Aljazeera, 17-01-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้หญิงรอบโลก: ข่าวสตรีประจำสัปดาห์ 1-17 ม.ค. 56

Posted: 18 Jan 2013 06:27 AM PST

 
Women in the news ประจำวันที่ 1 ม.ค. - 17 ม.ค. 56
 
ประมวลข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงรอบโลก เพื่อนำเสนอความท้าทาย ปัญหาและโอกาสเกี่ยวกับสิทธิสตรี สัปดาห์นี้ในอินเดีย ยังคงมีกรณีการข่มขืนที่ยังไม่ยุติหลังจากการประท้วงระลอกใหญ่ไปจนถึงซาอุดิอาระเบียที่แต่งตั้งสตรีในสภาที่ปรึกษาระดับชาติเป็นครั้งแรก สู่สหรัฐอเมริกาที่การผ่านกม. ปกป้องสิทธิสตรีถูกคัดค้านโดยส.ส.พรรครีพับลิกัน 
 
 

ที่มาภาพ: www.policymic.com

 
 
3 ม.ค. 56 - ส.ส. รีพับลิกันในสภาล่างปฏิเสธการเห็นชอบการใช้พ.ร.บ. ความรุนแรงต่อสตรี ค.ศ. 2012 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมการป้องกันความรุนแรงภายในครัวเรือนที่กระทำต่อกลุ่มรักเพศเดียวกัน (LGBT) แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนและสตรีพื้นเมืองอเมริกันกว่า 30 ล้านคน ถึงแม้ว่าได้การสนับสนุนจากรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน และได้รับการรับรองจากเสียงในวุฒิสภา
 
ส.ส. รีพับลิกันในสภาระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.ดังกล่าวเนื่องจากเป็นการสนับสนุนกลุ่มแรงงานอพยพ กลุ่ม LGBT และสตรีพื้นเมืองมากเกินไป และได้ส่งพ.ร.บ. ที่ร่างขึ้นใหม่ซึ่งไม่ครอบคุลมสตรีในกลุ่มดังกล่าวสู่การพิจารณาในสภาคองเกรส 
 
นับว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 ที่พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากส.ส. ในสภา โดยทำเนียบขาวได้ระบุว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ปรับปรุงระบบยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อสตรี และจัดหางบประมาณในโครงการต่างๆ ที่ยุติความรุนแรงในครัวเรือน การทำร้ายทางเพศ และการเยียวยาต่อผู้ถูกกระทำทางเพศ 
 
ทั้งนี้ การผ่านกฎหมายในสภาของสหรัฐ จำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาล่าง ซึ่งปัจจุบันมีเสียงจากพรรครีพับลิกันมากกว่า และสภาสูง ซึ่งมีเก้าอี้จากพรรคเดโมแครตมากกว่า 
 
 
10 ม.ค. 56 - รัฐบาลซาอุดิอาระเบียถูกโจมตีจากประชาคมนานาชาติ หลังจากดำเนินการประหารชีวิตแม่บ้านชาวศรีลังกาวัย 24 ปี เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยนางสาวราซีนา นาฟีก ผู้อพยพจากประเทศศรีลังกามาทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านเมื่อปี 2548 ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมทารกวัย 4 เดือน ซึ่งเป็นลูกของนายจ้างในครอบครัวที่เธอทำงานให้ในกรุงริยาห์ด ซาอุดิอารเบีย เธอถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในปี 2550 ท่ามกลางการคัดค้านขององค์กรสิทธิมนุษยชนสากลที่ต่อต้านโทษประหารชีวิต เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์แนเชั่นแนล และฮิวแมนไรท์ วอทช์
 
สื่อทางการของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ตอบโต้การประณามดังกล่าวว่า ทางการซาอุฯ ปฏิเสธการแทรกแซงใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจการและอำนาจศาลจากภายนอกประเทศ ในขณะที่รัฐบาลศรีลังกาได้เรียกทูตประจำซาอุดิอาระเบียกลับประเทศเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตดังกล่าว 
 
การถูกตัดสินประหารชีวิตของนางสาวนาฟีก เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองว่ารุนแรงเกินกว่าเหตุ และไม่มีหลักฐานชัดเจนในการเอาผิด เนื่องจากเธอไม่มีทนายความในระหว่างชั้นศาล และกล่าวว่า ตนเองถูกบังคับและทรมานให้สารภาพระหว่างการสอบสวนในชั้นตำรวจ โดยเธอถูกกล่าวหาจากนายจ้างว่าทำการรัดคอเด็กทารก แต่นาฟีกกล่าวว่าทารกสำลักนมเสียชีวิตในขณะป้อนนมจากขวด
 
มีรายงานว่า ปัจจุบัน มีคนทำงานรับใช้ในบ้านสตรีต่างชาติราว 45 คน ที่กำลังรอถูกลงโทษประหารชีวิตในซาอุเดียอาระเบีย ซึ่งมีความผิดจากการถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกายและฆาตกรรม โดยรายงานของฮิวแมนไรท์ วอทช์ที่เผยแพร่ในปี 2553 ระบุว่า คนทำงานรับใช้ในบ้านต่างชาติสตรีในซาอุดิอารเบียจำนวนมาก เผชิญกับการตกเป็นเหยื่อทางเพศ ถูกทำร้าย การบังคับให้ทำงานวันละ 14-15 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด และเมื่อถูกดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมแล้ว มักขาดความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็น
 
ปัจจุบัน มีคนทำงานรับใช้ในบ้านที่เป็นสตรีต่างชาติในซาอุดิอาระเบียราว 1.5 ล้านคน ทั้งจากศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย 
 
 

ที่มาภาพ: Walter Callens on Flickr
 
11 ม.ค. 56 - กษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบียได้ทรงอนุญาตให้สตรีมีที่นั่งในสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ เป็นจำนวน 30 ที่นั่งจาก 150 ที่นั่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ระบบการเมืองของซาอุดิอาระเบียไม่มีการมีส่วนร่วมของสตรีมากนัก ทั้งนี้สภาดังกล่าว มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและตั้งคำถามต่อรัฐมนตรี แต่ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา สตรีได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่ปรึกษาเท่านั้น 
 
คำสั่งดังกล่าว มีขึ้นหลังจากที่นักเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อสิทธิสตรี เรียกร้องให้รัฐบาลมีพื้นที่ให้เสียงของผู้หญิงในสังคมมากขึ้น และท้าทายต่อสถาบันทางศาสนาในหลักวาฮาบี ซึ่งถือว่าตีความกฎหมายชารีอะห์เข้มงวดมากที่สุดหลักหนึ่ง รวมถึงการแยกเพศในที่สาธารณะที่เข้มงวด มีรายงานว่าหญิงชายที่ไม่แต่งงาน อาจถูกจับกุมได้ หากพบว่าอยู่ในรถคันเดียวกันโดยไม่มีผู้อื่น หรือดื่มกาแฟด้วยกันในที่สาธารณะ นอกจากนี้ สตรีในซาอุดิอาระเบียยังไม่อนุญาตให้ขับรถยนต์ไปไหนมาไหนเองด้วย 
 
 
14 ม.ค. 56 - รัฐสภาสิงคโปร์ได้เลือกนางฮาลิมาห์ ยาคอบ เป็นโฆษกรัฐสภาคนที่ 9 ซึ่งถือเป็นโฆษกรัฐสภาคนแรกที่เป็นสตรีในสิงคโปร์ และเป็นโฆษกรัฐสภาคนที่สามที่มาจากเชื้อชาติคนกลุ่มน้อย (มาเลย์) ในสิงคโปร์ โดยนางยาคอบได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาพรรค PAP มาตั้งแต่ปี 2001 ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคม เยาวชน และกีฬา ก่อนหน้านี้เธอดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาสหภาพแรงงานแห่งชาติด้วย  
 
 

ที่มาภาพ: www.indybar.org

 
 
14 ม.ค 56 - เกิดเหตุการณ์ข่มขืนสตรีคนหนึ่งวัย 29 ปีบนรถบัสในเมืองเกิร์ดาสปูร์ ในรัฐปันจาบ โดยชาย 7 คน รวมถึงพนักงานขับรถและพนักงานเก็บสตางค์บนรถรุมข่มขืนสตรีคนดังกล่าวหลังจากที่ไม่ยอมให้เธอลงป้ายที่ต้องการลง ล่าสุดมีรายงานว่า ตำรวจสามารถจับกุมชายกลุ่มดังกล่าวได้แล้ว 
 
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์หลังจากเกิดเหตุการณ์ข่มขืนหมู่สตรีวัย 23 ปีบนรถบัส ในกรุงเดลี ซึ่งถูกข่มขืนด้วยแท่งเหล็กนานหลายชั่วโมงโดยชาย 5 คน ต่อมาเธอถูกโยนลงจากรถบัส รัฐบาลอินเดียตัดสินใจส่งเธอไปรักษาตัวที่ประเทศสิงคโปร์ แต่เนื่องจากทนบาดแผลไม่ไหว จึงเสียชีวิตลงหลังจากได้รับการรักษานานราว 2 สัปดาห์ ท่ามกลางการประท้วงของประชาชนชาวอินเดียเพื่อให้รัฐบาลจับผู้กระทำผิดมาลงโทษ และการจับตามองของสังคมนานาชาติ 
 
 
16 ม.ค. 56 - ประชาชนชาวอินเดียจำนวนหลายพันคนออกมาประท้วงหลังจากเกิดกรณีข่มขืนเด็กหญิงวัย 7 ปี ในห้องน้ำโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองวาสโก ดา กามา ในรัฐกัว ทางตะวันตกของอินเดีย โดยผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้ตำรวจเร่งหาผู้กระทำผิด และจับกุมครูใหญ่ของโรงเรียนซึ่งถูกมองว่ามีความผิดในข้อหาบกพร่องในหน้าที่ 
 
ทั้งนี้ สถิติอย่างเป็นทางการของการข่มขืนในอินเดียได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 2,487 คดีในปี 2514 เป็น 24,206 คดีในปี 2554 โดยผู้สังเกตการณ์ชี้ว่า การข่มขืนที่เกิดขึ้นในอินเดียน่าจะมีสถิติที่สูงกว่านี้มาก แต่ไม่ได้ถูกบันทึก เนื่องจากในสังคมยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องที่น่าละอาย จึงไม่นิยมไปแจ้งที่สถานีตำรวจหรือที่สาธารณะอื่นๆ 
 
 
17 ม.ค. 56 - มาเลเซีย ให้ความสำคัญกับสตรีในสังคม ล่าสุดออกกฎใหม่กำหนดให้อาคารทุกแห่งทั่วประเทศ จัดที่จอดรถสำหรับผู้หญิงที่ขับรถพาเพียงลำพัง โดย "ดาโต๊ะ รายา นอง ชิค" รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาพื้นที่เขตเมือง ของมาเลเซีย เผยว่า นับตั้งแต่นี้ไป ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าทุกแห่งทั่วประเทศ ต้องจัดพื้นที่ร้อยละ 7 ของพื้นที่จอดรถทั้งหมด ให้เป็นที่จอดรถสำหรับผู้หญิงที่ขับรถมาคนเดียว รวมทั้งควรจัดวางมาตรการรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์ขอความช่วยเหลือยามเกิดภัยฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: สังคมไทยคืนสู่สภาพเดิมหรือ??

Posted: 18 Jan 2013 06:22 AM PST

หลายคนเชื่อหรืออยากฝันว่า สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังรัฐประหาร 19กันยา หลังการประท้วงจากสองฝ่าย การเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงโดยทหาร และชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี 2554 แต่ก็มีคนเสื้อแดงไม่น้อยที่เชื่อว่าประชาชนจำนวนมาก "ตาสว่าง" และสังคมไทยจะกลับสู่สภาพเดิมไม่ได้ อย่างไรก็ตามความจริงในรูปธรรมมันซับซ้อนกว่านั้น

สำหรับพวกที่เชื่อหรือฝันว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสภาพเดิม แน่นอนมีคนอย่างพวกทหารระดับสูง ที่คิดว่าจะไม่มีการลดอำนาจทหาร ไม่มีการแก้กฏหมาย 112 ไม่มีการปฏิรูประบบศาล ไม่มีการนำฆาตกรอย่างตัวเขาเองมาขึ้นศาล ทั้งหมดเพราะมีข้อตกลงกับนักการเมืองน้ำเน่าในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และอีกกลุ่มหนึ่งที่หวังว่าทุกอย่างกำลังกลับสู่สภาพเดิมคือทักษิณและนักการเมืองที่เป็นพรรคพวก และนั้นคือความหมายของการปรองดองแย่ๆ ทำพวกนี้ผลักดัน มันปรองดองบนซากศพวีรชน ปรองดองบนความทุกข์ของนักโทษการเมือง ปรองดองเพื่อให้ชนชั้นปกครองไทยที่เคยทะเลาะกัน กลับมาร่วมกินเสพสุขบนพื้นฐานการกดขี่ขูดรีดประชาชนส่วนใหญ่

นอกจากฝ่ายชนชั้นสูงแล้ว มันมีปรากฏการณ์ในหมู่นักวิชาการและผู้นำเอ็นจีโอหลายคน ที่เคยโบกมือต้อนรับรัฐประหาร 19 กันยา และชื่นชมในทหารที่เข่นฆ่าเสื้อแดง พวกนี้ก็หวังว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสู่สภาพเดิม และเริ่มออกมา "หน้าด้าน" แสดงความเห็นต่อสังคมเรื่องประชาธิปไตย โดยอ้างว่าเป็นผู้แทนหรือปากเสียงของ "ภาคประชาชน" พวกนี้ไม่ต่างจากสัตว์เลื้อยคลานที่ออกมาตอนกลางคืนหลังจากที่แสงสว่างหมดไปจากโลก เราก็เลยเห็นคนที่เคยร่วมทำลายประชาธิปไตย เคยร่วมส่งเสริมเผด็จการ เคยร่วมกันด่าประชาชนธรรมดาเวลาประชาชนเหล่านั้นชุมนุมเป็นเสื้อแดง ตอนนี้ออกมาเป็น "ผู้เชี่ยวชาญหรือพี่เลี้ยง" ในเรื่องประชาธิปไตย หรือ "ผู้ส่งเสริมสิทธิผู้บริโภคหรือสิทธิชาวบ้าน" แต่มันมีเงื่อนไขคือชาวบ้านเหล่านั้นต้องยอมรับการนำของเขา และต้องไม่นำตนเอง

ที่น่าสมเพช คือแนวทางในการพัฒนาประชาธิปไตยของพวกนี้มีแต่สูตรเดิมๆ ที่ไม่เคยมีความหมายจริง เพราะไปอาศัยทฤษฏีของฝ่ายชนชั้นปกครองทั่วโลกมาใช้ ซึ่งเป็นแนวคิดฝ่ายขวาที่เป็นอุปสรรค์ต่อการสร้างประชาธิปไตยและเสรีภาพแท้ บ่อยครั้งมันฟังดูดี แต่มันนามธรรมเหลือเกิน ซึ่งเป็นการสร้างภาพให้ดูดีเพื่อให้คงไว้สภาพเดิมเท่านั้น

ขอยกตัวอย่าง มีการพูดว่าประชาธิปไตยต้องไม่ยึดติดกับตัวบุคคลเกินไป เออ...ก็ใช่นะ แต่พวกที่พูดแบบนี้ก็กลับยึดติดกับคนชั้นสูงที่เขาเองรักจนหัวใจพองโต หรือยึดติดกับผู้ก่อตั้งศาสนาในยุคโบราณ หรือมองว่าการเปลี่ยนแปลงในโลกมาจากการกระทำของคนสำคัญ "คนดีไม่กี่คน" "คนฉลาดไม่กี่คน" หรือแม้แต่คนชั้นกลางที่เป็นคนส่วนน้อย แต่พอสะกิดความคิดของเขาด้วยข้อเสนอว่าคนธรรมดานำตนเองได้ สร้างขบวนการเสื้อแดงได้ หรือกรรมกรโรงงานบริหารการผลิตเองได้โดยไม่ต้องมีนายทุนหรือหัวหน้างาน หรือถ้าเราเสนอว่าทุกตำแหน่งสาธารณะในสังคมควรมาจากการเลือกตั้ง เขาจะรีบสวนกลับไปว่าคนชั้นต่ำทำอะไรเองไม่ได้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องการคอร์รับชั่น ซึ่งเป็นปัญหาจริง แต่เป็นปัญหาจากโครงสร้างสังคมที่เป็นสังคมชนชั้น เพราะพวกที่คอร์รับชั่นจริงในสังคมไทย คือชนชั้นปกครองทั้งชนชั้น ไม่มีดีสักคน เช่นทหารที่เบ่งอำนาจ ใช้งบจากภาษีประชาชนเพื่อสร้างสถานีโทรทัศน์แล้วตั้งตัวเองเป็นกรรมการบอร์ดเพื่อกินกำไรเข้ากระเป๋าส่วนตัว เช่นพวกอภิสิทธิ์ชนที่อาศัยตำแหน่งเพื่อตั้งเงินเดือนตัวเองสูงๆ แล้วกดเงินเดือนประชาชนธรรมดา หรือตัวอย่างอื่นๆ ของคนที่ใช้ตำแหน่งเพื่ออ้างสิทธิพิเศษที่จะร่ำรวยมหาศาลโดยที่ตนเองไม่ทำงานเลย และเรายังไม่ได้พูดถึงนักการเมืองน้ำเน่าทั้งหลาย แต่พวกที่เคยสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยาจะพูดถึงคนกลุ่มสุดท้ายนี้เท่านั้น

พวกที่ล้าหลังที่สุดที่ตอนนี้คลานออกมาจากใต้ก้อนหินเพื่อสั่งสอนสังคม เคยเสนอว่าประชาชนไทยไม่ควรมีสิทธิ์เลือกตั้งเต็มที่ เพราะเคยไปเลือกทักษิณ โดยที่พวกนี้พยายามปกปิดความจริงว่าประชาชนเลือกทักษิณเพราะชอบนโยบายที่เป็นรูปธรรมของพรรคไทยรักไทย นั้นไม่ใช่การยึดติดกับตัวบุคคลของเสื้อแดง แต่การเสนอว่าในระบบการเมือง หรือในการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ควรยึดติดกับตัวบุคคล มันมีความหมายในอีกแง่ คือมันเป็นวิธีหลีกเลี่ยงประเด็นชนชั้น

เรื่องการคอร์รัปชั่นก็เป็นเรื่องชนชั้น และความสามารถในการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่พวกกระแสหลักชอบพูดถึงบ่อยๆ จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าชนชั้นกรรมาชีพหรือคนทำงานไม่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ยิ่งกว่านั้นการตรวจสอบการใช้อำนาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้ามีกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ที่ปกป้องทหาร นักการเมือง และอภิสิทธิ์ชน

คนที่ปฏิเสธความสำคัญของชนชั้น และนักวิชาการกับแกนนำเอ็นจีโอเกือบทุกคนมองโลกแบบนี้ เป็นคนที่ปิดหูปิดตาตัวเอง และพยายามปิดหูปิดตาคนอื่นถึงแก่นแท้ของความไม่เท่าเทียมทางอำนาจในสังคม ซึ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะถ้าไม่นำเรื่องชนชั้นมาพูด เราจะไม่สามารถมองเห็นการที่คนส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง คุมอำนาจทางการเมืองในมือ และใช้อำนาจนั้นในการบังคับขโมยทรัพย์สินส่วนเกินจากคนส่วนใหญ่ที่ทำงาน จนพวกนี้ร่ำรวยมหาศาล นอกจากนี้คนกลุ่มนี้สามารถร่วมกันใช้ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ผ่านกลไกของรัฐ ในการรักษาความไม่เท่าเทียมทางอำนาจต่อไปได้

ถ้าเราปฏิเสธประเด็นชนชั้น เราเหลือแต่คำอธิบายว่าเศรษฐี คนรวยหรือนายทุน รวยเพราะขยันและรู้จักออม หรือเขารวยหรือมีอำนาจทางการเมือง เพราะเขาฉลาดหรือมีความสามารถพิเศษกว่าเรา

คนที่ปฏิเสธชนชั้นจะมองไม่ออกว่า "การเมือง" เป็นช่องทางในการแย่งผลประโยชน์กันระหว่างคนส่วนน้อยที่คุมอำนาจและการผลิตมูลค่า กับคนส่วนใหญ่ที่ทำงานผลิตมูลค่าดังกล่าว เขาจึงมองว่า "การเมือง" เป็นแค่การเล่นเกม ระหว่างทีมต่างๆ ที่มีรสนิยมต่างกัน การมองว่าการเลือกตั้งระหว่างพรรคเดโมแครด กับพรรคริพับลิแคน ในสหรัฐอเมริกา คือจุดสุดยอดของการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างที่ดีของความคิดปัญญาอ่อนแบบนี้ และเวลามีวิกฤตเกิดขึ้น เรามักจะได้ยินพวกนี้พูดว่า "เราควรสามัคคีเพื่อชาติ" หรือ "ไม่ควรนำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง"

แต่ในโลกจริงการเมืองของความขัดแย้งทางชนชั้นไม่เคยหายไป เวลาน้ำท่วมหรือพายุเข้ามา คนจนเดือดร้อนมากกว่าคนรวยหลายร้อยเท่า และคนจนยิ่งเดือดร้อนมากขึ้นเวลาคนรวยที่มีอำนาจ ไม่ยอมให้รัฐของนายทุน เก็บภาษีจากตัวเขาเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่

เรื่องประชาธิปไตยเป็นเรื่องชนชั้นล้วนๆ เพราะในระบบประชาธิปไตยแท้ ที่พวกเราเรียกว่า "สังคมนิยม" คนทำงานธรรมดาจะมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่จะควบคุมทุกอย่างในสังคมร่วมกัน แทนที่จะมีนายทุนที่มีอำนาจล้นฟ้าอย่างทุกวันนี้

ถ้าจะมีประชาธิปไตยแท้ในอนาคต เราต้องมีพรรคการเมืองที่มาจากคนทำงาน และเสนอนโยบายเพื่อคนทำงาน พรรคนี้จะต้องเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนธรรมดา ซึ่งหมายความว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้เศรษฐีนายทุน และพรรคพวกของเขา รวมถึงนายทหารชั้นสูง เสียผลประโยชน์และในที่สุดเสียอำนาจด้วย ในสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและฐานะเศรษฐกิจ การสร้างความเสมอภาคย่อมกระทบกับคนส่วนน้อยที่เคยได้ประโยชน์จากความไม่เสมอภาค มันเข้าใจได้ง่าย

ถ้าวกกลับมาพิจารณาว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสู้สภาพเดิมหรือไม่ เราต้องตั้งข้อสังเกตหลายประการ เช่นสังคมที่ไหน ไม่ว่าจะไทยหรือที่อื่น ไม่เคยแช่แข็งหยุดนิ่งโดยไม่เปลี่ยนแปลง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้สังคมดีขึ้นโดยอัตโนมัติ มันอาจแย่ลง หรืออาจเปลี่ยนในหลายแง่ แต่ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

ประชาชนไทยจำนวนมากผ่านประสบการณ์วิกฤตการเมืองหลังรัฐประหาร ๅต กันยา ซึ่งทำให้บางคนตาสว่าง บางคนมองโลกในแง่ใหม่ บางคนอยากเปลี่ยนสังคมต่อไป บางคนพร้อมจะขยับตัวออกมาต่อสู้หรือจัดตั้งเพื่อเปลี่ยนสังคม แต่ในขณะเดียวกันบางคนอาจยิ่งถอยหลังลงคลอง ดื้อในความล้าหลัง ไม่พร้อมจะให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะเกลียดและกลัวภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เคยเห็นแว๊บๆ ท่ามกลางวิกฤตที่ผ่านมา และอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรลืมคือ คนเปลี่ยนความคิดเสมอ และการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอาจไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันเสมอ อาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ ตัวอย่างที่ดีคือคนสมัย 14 ตุลา หรือ  6 ตุลา ที่ตื่นตัวทางการเมืองและเริ่มขยับไปทางซ้ายสังคมนิยม ในภายหลังวกกลับมามีความคิดอนุรักษ์นิยมอีก พูดง่ายๆ คนที่ตาสว่างหลัง 19 กันยา จะไม่ตาสว่างตลอดไปถ้าไม่มีการต่อสู้เพิ่มเติมและการจัดตั้งทางการเมืองอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสังคมนิยม

ไม่มีหลักประกันว่าตอนนี้สังคมไทยจะไม่กลับคืนสู่สภาพเดิมๆ ที่ไร้ความยุติธรรม แต่ก็ไม่มีหลักประกันอีกด้วยว่าสังคมจะไม่เปลี่ยน ตอนนี้เป็นโอกาสทองที่จะต่อยอดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของเสื้อแดง เพื่อผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแท้ และเปลี่ยนโครงสร้างสังคมให้เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ แต่มันขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะร่วมกันลงมือทำงานเพื่อเป้าหมายนี้

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: สังคมไทยคืนสู้สภาพเดิมหรือ??

Posted: 18 Jan 2013 06:22 AM PST

หลายคนเชื่อหรืออยากฝันว่า สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังรัฐประหาร 19กันยา หลังการประท้วงจากสองฝ่าย การเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงโดยทหาร และชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี 2554 แต่ก็มีคนเสื้อแดงไม่น้อยที่เชื่อว่าประชาชนจำนวนมาก "ตาสว่าง" และสังคมไทยจะกลับสู่สภาพเดิมไม่ได้ อย่างไรก็ตามความจริงในรูปธรรมมันซับซ้อนกว่านั้น

สำหรับพวกที่เชื่อหรือฝันว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสภาพเดิม แน่นอนมีคนอย่างพวกทหารระดับสูง ที่คิดว่าจะไม่มีการลดอำนาจทหาร ไม่มีการแก้กฏหมาย 112 ไม่มีการปฏิรูประบบศาล ไม่มีการนำฆาตกรอย่างตัวเขาเองมาขึ้นศาล ทั้งหมดเพราะมีข้อตกลงกับนักการเมืองน้ำเน่าในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และอีกกลุ่มหนึ่งที่หวังว่าทุกอย่างกำลังกลับสู่สภาพเดิมคือทักษิณและนักการเมืองที่เป็นพรรคพวก และนั้นคือความหมายของการปรองดองแย่ๆ ทำพวกนี้ผลักดัน มันปรองดองบนซากศพวีรชน ปรองดองบนความทุกข์ของนักโทษการเมือง ปรองดองเพื่อให้ชนชั้นปกครองไทยที่เคยทะเลาะกัน กลับมาร่วมกินเสพสุขบนพื้นฐานการกดขี่ขูดรีดประชาชนส่วนใหญ่

นอกจากฝ่ายชนชั้นสูงแล้ว มันมีปรากฏการณ์ในหมู่นักวิชาการและผู้นำเอ็นจีโอหลายคน ที่เคยโบกมือต้อนรับรัฐประหาร 19 กันยา และชื่นชมในทหารที่เข่นฆ่าเสื้อแดง พวกนี้ก็หวังว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสู่สภาพเดิม และเริ่มออกมา "หน้าด้าน" แสดงความเห็นต่อสังคมเรื่องประชาธิปไตย โดยอ้างว่าเป็นผู้แทนหรือปากเสียงของ "ภาคประชาชน" พวกนี้ไม่ต่างจากสัตว์เลื้อยคลานที่ออกมาตอนกลางคืนหลังจากที่แสงสว่างหมดไปจากโลก เราก็เลยเห็นคนที่เคยร่วมทำลายประชาธิปไตย เคยร่วมส่งเสริมเผด็จการ เคยร่วมกันด่าประชาชนธรรมดาเวลาประชาชนเหล่านั้นชุมนุมเป็นเสื้อแดง ตอนนี้ออกมาเป็น "ผู้เชี่ยวชาญหรือพี่เลี้ยง" ในเรื่องประชาธิปไตย หรือ "ผู้ส่งเสริมสิทธิผู้บริโภคหรือสิทธิชาวบ้าน" แต่มันมีเงื่อนไขคือชาวบ้านเหล่านั้นต้องยอมรับการนำของเขา และต้องไม่นำตนเอง

ที่น่าสมเพช คือแนวทางในการพัฒนาประชาธิปไตยของพวกนี้มีแต่สูตรเดิมๆ ที่ไม่เคยมีความหมายจริง เพราะไปอาศัยทฤษฏีของฝ่ายชนชั้นปกครองทั่วโลกมาใช้ ซึ่งเป็นแนวคิดฝ่ายขวาที่เป็นอุปสรรค์ต่อการสร้างประชาธิปไตยและเสรีภาพแท้ บ่อยครั้งมันฟังดูดี แต่มันนามธรรมเหลือเกิน ซึ่งเป็นการสร้างภาพให้ดูดีเพื่อให้คงไว้สภาพเดิมเท่านั้น

ขอยกตัวอย่าง มีการพูดว่าประชาธิปไตยต้องไม่ยึดติดกับตัวบุคคลเกินไป เออ...ก็ใช่นะ แต่พวกที่พูดแบบนี้ก็กลับยึดติดกับคนชั้นสูงที่เขาเองรักจนหัวใจพองโต หรือยึดติดกับผู้ก่อตั้งศาสนาในยุคโบราณ หรือมองว่าการเปลี่ยนแปลงในโลกมาจากการกระทำของคนสำคัญ "คนดีไม่กี่คน" "คนฉลาดไม่กี่คน" หรือแม้แต่คนชั้นกลางที่เป็นคนส่วนน้อย แต่พอสะกิดความคิดของเขาด้วยข้อเสนอว่าคนธรรมดานำตนเองได้ สร้างขบวนการเสื้อแดงได้ หรือกรรมกรโรงงานบริหารการผลิตเองได้โดยไม่ต้องมีนายทุนหรือหัวหน้างาน หรือถ้าเราเสนอว่าทุกตำแหน่งสาธารณะในสังคมควรมาจากการเลือกตั้ง เขาจะรีบสวนกลับไปว่าคนชั้นต่ำทำอะไรเองไม่ได้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องการคอร์รับชั่น ซึ่งเป็นปัญหาจริง แต่เป็นปัญหาจากโครงสร้างสังคมที่เป็นสังคมชนชั้น เพราะพวกที่คอร์รับชั่นจริงในสังคมไทย คือชนชั้นปกครองทั้งชนชั้น ไม่มีดีสักคน เช่นทหารที่เบ่งอำนาจ ใช้งบจากภาษีประชาชนเพื่อสร้างสถานีโทรทัศน์แล้วตั้งตัวเองเป็นกรรมการบอร์ดเพื่อกินกำไรเข้ากระเป๋าส่วนตัว เช่นพวกอภิสิทธิ์ชนที่อาศัยตำแหน่งเพื่อตั้งเงินเดือนตัวเองสูงๆ แล้วกดเงินเดือนประชาชนธรรมดา หรือตัวอย่างอื่นๆ ของคนที่ใช้ตำแหน่งเพื่ออ้างสิทธิพิเศษที่จะร่ำรวยมหาศาลโดยที่ตนเองไม่ทำงานเลย และเรายังไม่ได้พูดถึงนักการเมืองน้ำเน่าทั้งหลาย แต่พวกที่เคยสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยาจะพูดถึงคนกลุ่มสุดท้ายนี้เท่านั้น

พวกที่ล้าหลังที่สุดที่ตอนนี้คลานออกมาจากใต้ก้อนหินเพื่อสั่งสอนสังคม เคยเสนอว่าประชาชนไทยไม่ควรมีสิทธิ์เลือกตั้งเต็มที่ เพราะเคยไปเลือกทักษิณ โดยที่พวกนี้พยายามปกปิดความจริงว่าประชาชนเลือกทักษิณเพราะชอบนโยบายที่เป็นรูปธรรมของพรรคไทยรักไทย นั้นไม่ใช่การยึดติดกับตัวบุคคลของเสื้อแดง แต่การเสนอว่าในระบบการเมือง หรือในการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ควรยึดติดกับตัวบุคคล มันมีความหมายในอีกแง่ คือมันเป็นวิธีหลีกเลี่ยงประเด็นชนชั้น

เรื่องการคอร์รัปชั่นก็เป็นเรื่องชนชั้น และความสามารถในการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่พวกกระแสหลักชอบพูดถึงบ่อยๆ จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าชนชั้นกรรมาชีพหรือคนทำงานไม่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ยิ่งกว่านั้นการตรวจสอบการใช้อำนาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้ามีกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 ที่ปกป้องทหาร นักการเมือง และอภิสิทธิ์ชน

คนที่ปฏิเสธความสำคัญของชนชั้น และนักวิชาการกับแกนนำเอ็นจีโอเกือบทุกคนมองโลกแบบนี้ เป็นคนที่ปิดหูปิดตาตัวเอง และพยายามปิดหูปิดตาคนอื่นถึงแก่นแท้ของความไม่เท่าเทียมทางอำนาจในสังคม ซึ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะถ้าไม่นำเรื่องชนชั้นมาพูด เราจะไม่สามารถมองเห็นการที่คนส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง คุมอำนาจทางการเมืองในมือ และใช้อำนาจนั้นในการบังคับขโมยทรัพย์สินส่วนเกินจากคนส่วนใหญ่ที่ทำงาน จนพวกนี้ร่ำรวยมหาศาล นอกจากนี้คนกลุ่มนี้สามารถร่วมกันใช้ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ผ่านกลไกของรัฐ ในการรักษาความไม่เท่าเทียมทางอำนาจต่อไปได้

ถ้าเราปฏิเสธประเด็นชนชั้น เราเหลือแต่คำอธิบายว่าเศรษฐี คนรวยหรือนายทุน รวยเพราะขยันและรู้จักออม หรือเขารวยหรือมีอำนาจทางการเมือง เพราะเขาฉลาดหรือมีความสามารถพิเศษกว่าเรา

คนที่ปฏิเสธชนชั้นจะมองไม่ออกว่า "การเมือง" เป็นช่องทางในการแย่งผลประโยชน์กันระหว่างคนส่วนน้อยที่คุมอำนาจและการผลิตมูลค่า กับคนส่วนใหญ่ที่ทำงานผลิตมูลค่าดังกล่าว เขาจึงมองว่า "การเมือง" เป็นแค่การเล่นเกม ระหว่างทีมต่างๆ ที่มีรสนิยมต่างกัน การมองว่าการเลือกตั้งระหว่างพรรคเดโมแครด กับพรรคริพับลิแคน ในสหรัฐอเมริกา คือจุดสุดยอดของการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างที่ดีของความคิดปัญญาอ่อนแบบนี้ และเวลามีวิกฤตเกิดขึ้น เรามักจะได้ยินพวกนี้พูดว่า "เราควรสามัคคีเพื่อชาติ" หรือ "ไม่ควรนำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง"

แต่ในโลกจริงการเมืองของความขัดแย้งทางชนชั้นไม่เคยหายไป เวลาน้ำท่วมหรือพายุเข้ามา คนจนเดือดร้อนมากกว่าคนรวยหลายร้อยเท่า และคนจนยิ่งเดือดร้อนมากขึ้นเวลาคนรวยที่มีอำนาจ ไม่ยอมให้รัฐของนายทุน เก็บภาษีจากตัวเขาเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่

เรื่องประชาธิปไตยเป็นเรื่องชนชั้นล้วนๆ เพราะในระบบประชาธิปไตยแท้ ที่พวกเราเรียกว่า "สังคมนิยม" คนทำงานธรรมดาจะมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่จะควบคุมทุกอย่างในสังคมร่วมกัน แทนที่จะมีนายทุนที่มีอำนาจล้นฟ้าอย่างทุกวันนี้

ถ้าจะมีประชาธิปไตยแท้ในอนาคต เราต้องมีพรรคการเมืองที่มาจากคนทำงาน และเสนอนโยบายเพื่อคนทำงาน พรรคนี้จะต้องเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนธรรมดา ซึ่งหมายความว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้เศรษฐีนายทุน และพรรคพวกของเขา รวมถึงนายทหารชั้นสูง เสียผลประโยชน์และในที่สุดเสียอำนาจด้วย ในสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและฐานะเศรษฐกิจ การสร้างความเสมอภาคย่อมกระทบกับคนส่วนน้อยที่เคยได้ประโยชน์จากความไม่เสมอภาค มันเข้าใจได้ง่าย

ถ้าวกกลับมาพิจารณาว่าสังคมไทยกำลังกลับคืนสู้สภาพเดิมหรือไม่ เราต้องตั้งข้อสังเกตหลายประการ เช่นสังคมที่ไหน ไม่ว่าจะไทยหรือที่อื่น ไม่เคยแช่แข็งหยุดนิ่งโดยไม่เปลี่ยนแปลง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้สังคมดีขึ้นโดยอัตโนมัติ มันอาจแย่ลง หรืออาจเปลี่ยนในหลายแง่ แต่ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

ประชาชนไทยจำนวนมากผ่านประสบการณ์วิกฤตการเมืองหลังรัฐประหาร ๅต กันยา ซึ่งทำให้บางคนตาสว่าง บางคนมองโลกในแง่ใหม่ บางคนอยากเปลี่ยนสังคมต่อไป บางคนพร้อมจะขยับตัวออกมาต่อสู้หรือจัดตั้งเพื่อเปลี่ยนสังคม แต่ในขณะเดียวกันบางคนอาจยิ่งถอยหลังลงคลอง ดื้อในความล้าหลัง ไม่พร้อมจะให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะเกลียดและกลัวภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เคยเห็นแว๊บๆ ท่ามกลางวิกฤตที่ผ่านมา และอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรลืมคือ คนเปลี่ยนความคิดเสมอ และการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอาจไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันเสมอ อาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ ตัวอย่างที่ดีคือคนสมัย 14 ตุลา หรือ  6 ตุลา ที่ตื่นตัวทางการเมืองและเริ่มขยับไปทางซ้ายสังคมนิยม ในภายหลังวกกลับมามีความคิดอนุรักษ์นิยมอีก พูดง่ายๆ คนที่ตาสว่างหลัง 19 กันยา จะไม่ตาสว่างตลอดไปถ้าไม่มีการต่อสู้เพิ่มเติมและการจัดตั้งทางการเมืองอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสังคมนิยม

ไม่มีหลักประกันว่าตอนนี้สังคมไทยจะไม่กลับคืนสู่สภาพเดิมๆ ที่ไร้ความยุติธรรม แต่ก็ไม่มีหลักประกันอีกด้วยว่าสังคมจะไม่เปลี่ยน ตอนนี้เป็นโอกาสทองที่จะต่อยอดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของเสื้อแดง เพื่อผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแท้ และเปลี่ยนโครงสร้างสังคมให้เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ แต่มันขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะร่วมกันลงมือทำงานเพื่อเป้าหมายนี้

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหนือเมฆ 2 ความจริง VS ความฟิน

Posted: 18 Jan 2013 06:01 AM PST

ผมไม่คิดว่าการแบนละครเรื่อง "เหนือเมฆ 2: มือปราบจอมขมังเวทย์" เป็นการปิดกั้น "ความจริง" ต่อผู้ชม (เอาแค่ผู้ชมพอครับ คำว่าสังคมมันใหญ่ไป ไม่ใช่ทุกคนในสังคมที่ดูละครเรื่องนี้) แต่มันคือการปิดกั้น "ความฟิน" มากกว่า กล่าวคือ ปิดกั้นผู้ชมจากโอกาสในการเสพสมกับความสะจิตสะใจที่ได้เห็นทัศนคติและจินตนาการต่อนักการเมืองที่ตนมีในหัวออกมาโลดแล่นบนจอโทรทัศน์ และยิ่งสาแก่ใจเมื่อได้เห็น "ความเลว" เหล่านั้นถูกจัดการด้วย "ความดี" ในละครอย่างสาสม

เป็นเรื่องของการสำเร็จความใคร่ด้วยจินตนาการทางศีลธรรม…

"นักการเมืองเลว" เป็น "ความจริงเหมารวม" ที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ได้ยินมาตลอดในสภาพสังคมอย่าง "ปากก็ด่ามือก็กากบาทเลือกตั้ง" และในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา วลีดังกล่าวก็ยิ่งชัดขึ้นในแง่ของการผลิตวาทกรรมบนการชุมนุมทางการเมือง

นักการเมืองเลวเป็นความจริงเหมารวมระดับที่ไม่ต้องมาเปิดเผยกันแล้วครับ อีกทั้งความเลวและกระบวนการกระทำอันเรียกได้ว่าเป็นความเลวในฐานะที่เป็นนักการเมือง (หรือการทุจริตคอร์รัปชันนั่นแหละ) มันก็ซับซ้อนคลุมเครือเสียจนผมไม่เห็นว่าของที่ต้องทำทุกอย่างให้ "เห็นชัด" อย่างละคร (ยืนคิดอยู่ในหัวคนเดียวยังต้องพูดออกมาเหมือนคนบ้าคุยกับตัวเอง) จะสามารถตีแผ่ความจริงอันซับซ้อนออกมาให้คนรู้เท่าทันได้

การเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อประโยชน์แห่งพวกพ้อง การมี "อำนาจมืด" นอกระบบ (ไม่ว่าจะตามทัศนะของฝ่ายไหนหรือของใคร) มาขับเคลื่อนหรือแทรกแซงการเมือง เหล่านี้เป็นจินตนาการที่มีอยู่ในใจของผู้คนที่เชื่อเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว สิ่งที่ละครทำไม่ใช่เปิดเผยความจริงที่ถูกปิดบัง แต่คือการตอกย้ำสิ่งที่ผู้คนจินตนาการว่ามันมีเรื่องแบบนี้อยู่จริง ที่เห็นจากในละครจึงไม่ใช่ความจริงอันถูกปิดบังที่ถูกหยิบมาจากไหน หากแต่คือความจริงที่อยู่ในหัวในใจคุณนั่นแหละ คุณเห็นมันอยู่แล้วทุกวันตามข่าว เห็นมันจากเรื่องราวตามบทความต่างๆ ไม่ใช่ของใหม่ ไม่มีอะไรลึกลับ ที่เห็นในละครเป็นแค่การกระชับแน่นจินตนาการที่มีอยู่

เพราะแบบนั้น ผมถึงเรียกการแบนนี้ว่าการปิดกั้นความฟิน และที่ผู้คนออกมาเรียกร้องกันก็ไม่ใช่การเรียกร้อง "เสรีภาพในการนำเสนอความจริง" แต่เป็นการร้องหา "เสรีภาพที่จะฟิน" ก็คุณจะไปเรียกของที่คุณก็รู้อยู่แก่ใจและใครต่อใครก็รู้ไปกับคุณ แถมยังเผยแพร่กันในที่สาธารณะได้อย่างอิสระและธรรมดาทั่วไปว่า "ความจริงที่ถูกปิดบัง" ได้อย่างไร

กระนั้น ที่กล่าวมาด้วยน้ำเสียงข้างต้นนี่ผมไม่ได้หมายความว่า "เพราะฉะนั้น ละครแบบนี้ไม่มีประโยชน์" นะครับ กลับกัน ผมเห็นว่าประโยชน์ของละครก็คือแบบนี้นี่แหละ สะท้อนสิ่งที่มีอยู่ในสังคมออกมาให้ผู้ชมเสพสมจนถึงฟิน ความเลวอะไรที่จัดการไม่ได้ในชีวิตจริงก็ให้ความดีในละครจัดการกับมันอย่างฟุ้งเฟ้อ เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ จะ "เหนือเมฆ 2" หรือ "แรงเงา" ผมว่าต่างก็ทำหน้าที่นี้ได้ดีเท่าๆ กัน อีกทั้งการเรียกร้องเสรีภาพที่จะฟินก็ไม่ใช่เรื่องผิด (ถ้าจะผิดก็อาจจะแค่ตรงที่คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังอยากฟิน) และในแง่ของการเรียกร้องแล้ว ผมไม่คิดว่ามันด้อยกว่าการเรียกร้องเสรีภาพในเรื่องอื่นๆ ที่ตรงไหน และก็เช่นเดียวกัน ผู้อื่นมีสิทธิ์จะมองว่ามันไร้สาระหรือไม่ใช่ความสำคัญอันดับต้นๆ ได้เฉกเช่นที่การเรียกร้องอื่นๆ ถูกมองแบบนั้น

ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไรต่อการเรียกร้องอะไร ไม่มีใครมีสิทธิไปห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องนั้นๆ ตราบที่มันไม่ขัดต่อกฎหมายและสิทธิที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ความคิดที่ว่า การทำละครแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ "ความกล้าหาญ" ผู้ทำช่างมีความกล้าหาญเหลือเกินที่ทำละครสะท้อนความจริงแบบนี้ออกมา ในความคิดของผม ตรงนี้มันชี้ให้เห็นทัศนคติในสังคมส่วนหนึ่งว่า "การเมือง" ช่างเป็นสิ่งที่ทรงพลังอำนาจและแตะต้องไม่ได้จนการที่ละครเรื่องหนึ่งไปแตะมันขึ้นมาจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ว่าจะจริงหรือไม่ การที่พลเมืองยังมีทัศนคติเช่นนี้ สะท้อนว่า พัฒนาการของทัศนคติทางการเมืองในบ้านเรายังคงต่ำจนราวกับว่าไม่เคยพัฒนาไปไหน ประหนึ่งยังเป็นการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารโบราณดึกดำบรรพ์อย่างนั้นเลย

แถมละครทางฟรีทีวีนี่ยังต้องเป็นพื้นที่พิเศษมากๆ นะครับ ทั้งที่เราอยู่ในประเทศที่ดูถูกเหยียดหยามด่านายกฯ ด่านักการเมืองกันหยาบๆ คายๆ ในเฟซบุ๊กกันอย่างเปิดเผย เอากันถึงขั้นเปิดเพจเปิดสื่อมาด่าเป็นล่ำเป็นสัน แต่พอเป็นละครที่เนื้อหาเฉี่ยวไปเฉี่ยวมานี่กลับได้รับการสรรเสริญว่ากล้าหาญมาก แสดงว่าละครนี่มันต้องเป็นพื้นที่พิเศษมากๆ ทางการเมืองจริงๆ

(ซึ่งเอาเข้าจริง เรื่องเฉี่ยวไปเฉี่ยวมานี่ นก-ฉัตรชัย เปล่งพานิช ผู้อำนวยการสร้างละครเรื่องนี้ ก็ได้ออกมาบอกแล้วนะครับว่า "เนื้อหาละครเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์สมมุติ การนำเสนอไม่มีเจตนากระทบกระทั่งใคร" แบบนี้เลยน่าจะเรียกได้ว่ากล้าโดยไม่เจตนาเลยทีเดียว)

อันที่จริง ในตอนที่มีการแบนเกิดขึ้น ผมหวังเป็นอย่างมากนะครับว่า ทางผู้จัดจะออกมา "แฉ" ให้หมดเปลือกว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่จนแล้วจนรอด อย่าว่าแต่สาก ผมลองเป่าครกที่บ้านดูก็ยังเสียงดังกว่าเลย มันน่าเสียดายนะครับ ไม่ว่าใครจะมองว่าละครนั้นน้ำเน่า ตื้นเขิน หรืออะไรอย่างไรในทางลบ แต่ผมก็เห็นว่ามันก็คือรูปแบบการแสดงความคิดอย่างหนึ่ง และสิ่งที่เกิดขึ้นกับละครเรื่องเหนือเมฆ 2 ก็คือการลิดรอนจำกัดหรือกระทั่งกำจัดสิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเลยทีเดียว และการออกมาแฉจะไม่ใช่แค่เอาความจริงมาตีแผ่ แต่อาจทำให้ขยายขอบเขตการ "เล่นกับความจริง" ของละครไปได้อีกไกลมากเลยทีเดียว การเงียบงันตรงนี้จึงเป็นทั้งการทำลายโอกาสในการสร้างพัฒนาการของสังคมและวงการละครไปในคราวเดียวกัน

และสำหรับผู้ที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้ ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ความจริงบางอย่างจะพูดออกมาไม่ได้ ถ้าคิดแบบนั้นแล้วคุณจะออกมาเรียกร้องทำไม ต่อไปมีอะไรแบบนี้ก็ไม่ต้องออกมาเรียกร้องแล้วครับ เชิญคุณสำนึกไว้แต่แรกเลยว่า อ้อ นี่มันคงเป็นความจริงที่พูดไม่ได้ แล้วก็แสดงความเคารพต่อความเงียบของผู้กล้า จากนั้นก็ไปนั่งจินตนาการเอาเองว่าอะไรมันเป็นอะไร เรียกว่าไปสร้างละครอีกเรื่องในหัวให้มันฟินกับตัวเองเงียบๆ ก็พอ

ปฏิกิริยาของฝ่ายผู้ผลิตละครต่อการแบนละครนี่ก็สำคัญมากนะครับ มันสะท้อนทัศนคติในการทำงานด้วย ว่ามองละครที่ตัวเองทำอยู่ในฐานะอะไร และทุกวันนี้ สิ่งที่เรียกว่าละครนั้นมีสถานะเป็นอย่างไร เช่น ต่อคำพูดของ"อุ๋ย-นนทรี นิมิบุตร ผู้กำกับละครเหนือเมฆ" เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการที่บอกว่า "เรามีอิสระในการทำงาน ไม่มีใครขัดขวางการทำละครตั้งแต่ต้นจนจบ เพียงแต่ตอนจบไม่ได้ออกอากาศเท่านั้น เราก็เหมือนช่างทำรองเท้า พอตัดเสร็จก็ส่งให้ผู้จ้าง เขาจะเอาไปใส่หรือไม่ไม่เกี่ยวกับเราแล้ว ถือว่าไม่ขัดกับอิสรภาพ" (ข่าวเดียวกัน) ซึ่งนั่นหมายความว่า สิทธิของผู้ชม ที่อยากจะบริโภครองเท้าคู่นี้ (ด้วยสายตาและอารมณ์) ไปจนสุดทาง ไม่ได้ถูกผนวกรวมเข้าไว้ในการตัดรองเท้าสักคู่ที่เรียกว่าละครสักเรื่องเลย

คิดในแง่ธุรกิจก็เหมือนจะถูกต้องสมบูรณ์แบบครับ เพราะถึงฟรีทีวีจะฟรีในแง่ที่ว่าผู้ชมสามารถรับชมได้โดยไม่ต้องเสียสตางค์ แต่ในการจะขับเคลื่อนกิจการไปได้ การเลือกรองเท้าคู่ที่เหมาะจะใช้สวมเพื่อเตะตาคนดูก็เป็นเรื่องสำคัญ หรือเรียกได้ว่าจำเป็นเหนือยิ่งสิ่งอื่นใดเลยทีเดียว

แต่อย่าลืมนะครับว่า ไอ้รองเท้าที่ว่านั่น เวลาสวมใส่ออกมาเดิน เขาเอามาเดินกันบนถนนความถี่ที่มันเป็นทรัพยากรของชาติที่แต่ละช่องได้รับการแบ่งสรรปันส่วนกันไป และเมื่อเป็นทรัพยากรของชาติ ก็แปลว่ามันเป็นทรัพยากรของประชาชนด้วย ดังนั้น กับรองเท้าที่เรียกว่าละคร เมื่อคุณสวมใส่ออกมาเดินสักพักหนึ่ง แล้วก็มีผู้คนที่ถูกอกถูกใจอย่างเห็นคุณใส่เดินไปจนจบ คุณก็ต้องชี้แจงให้ได้ล่ะครับว่า เพราะเหตุใดคุณถึงถอดมันโยนทิ้งไปทั้งที่ก็ใส่เดินมาจนใกล้จะสุดทางแล้ว

ลำพังแค่บอกว่าเดินไปเตะมาตรา 37 ของ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 นี่ไม่พอนะครับ คุณต้องบอกให้ชัดเจนด้วยว่า คุณไปเดินอีท่าไหนมันถึงไปสะดุดมาตรา 37 ที่ว่านั่นได้ บอกให้ละเอียด ไม่ใช่แค่พูดว่าเดินสะดุดแล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น

ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจสั่งแบนต้องชี้แจงให้ชัดเจน!!

ก็ไม่รู้จะใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ตั้งสองอันให้มันดูยิ่งใหญ่ไปทำไม เรื่องแค่นี้คนที่ออกมาเรียกร้องก็คงคิดได้กันอยู่แล้ว แต่ก็นั่นแหละครับ ไม่ใช่อะไร เห็นท่าทีทางฝั่งผู้จัดแล้ว ผมกลัวว่าเรื่องเหนือเมฆ 2 ฉายไม่ทันและไม่มีวันจบ พวกท่านก็จะสร้างละครอีกเรื่องมาฉายแทน…

ภายใต้ชื่อเรื่องว่า "ใต้พรม" !!

 

 

ที่มา: thaipublica

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหนือเมฆ 2 ความจริง VS ความฟิน

Posted: 18 Jan 2013 06:00 AM PST

ผมไม่คิดว่าการแบนละครเรื่อง "เหนือเมฆ 2: มือปราบจอมขมังเวทย์" เป็นการปิดกั้น "ความจริง" ต่อผู้ชม (เอาแค่ผู้ชมพอครับ คำว่าสังคมมันใหญ่ไป ไม่ใช่ทุกคนในสังคมที่ดูละครเรื่องนี้) แต่มันคือการปิดกั้น "ความฟิน" มากกว่า กล่าวคือ ปิดกั้นผู้ชมจากโอกาสในการเสพสมกับความสะจิตสะใจที่ได้เห็นทัศนคติและจินตนาการต่อนักการเมืองที่ตนมีในหัวออกมาโลดแล่นบนจอโทรทัศน์ และยิ่งสาแก่ใจเมื่อได้เห็น "ความเลว" เหล่านั้นถูกจัดการด้วย "ความดี" ในละครอย่างสาสม

เป็นเรื่องของการสำเร็จความใคร่ด้วยจินตนาการทางศีลธรรม…

"นักการเมืองเลว" เป็น "ความจริงเหมารวม" ที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ได้ยินมาตลอดในสภาพสังคมอย่าง "ปากก็ด่ามือก็กากบาทเลือกตั้ง" และในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา วลีดังกล่าวก็ยิ่งชัดขึ้นในแง่ของการผลิตวาทกรรมบนการชุมนุมทางการเมือง

นักการเมืองเลวเป็นความจริงเหมารวมระดับที่ไม่ต้องมาเปิดเผยกันแล้วครับ อีกทั้งความเลวและกระบวนการกระทำอันเรียกได้ว่าเป็นความเลวในฐานะที่เป็นนักการเมือง (หรือการทุจริตคอร์รัปชันนั่นแหละ) มันก็ซับซ้อนคลุมเครือเสียจนผมไม่เห็นว่าของที่ต้องทำทุกอย่างให้ "เห็นชัด" อย่างละคร (ยืนคิดอยู่ในหัวคนเดียวยังต้องพูดออกมาเหมือนคนบ้าคุยกับตัวเอง) จะสามารถตีแผ่ความจริงอันซับซ้อนออกมาให้คนรู้เท่าทันได้

การเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อประโยชน์แห่งพวกพ้อง การมี "อำนาจมืด" นอกระบบ (ไม่ว่าจะตามทัศนะของฝ่ายไหนหรือของใคร) มาขับเคลื่อนหรือแทรกแซงการเมือง เหล่านี้เป็นจินตนาการที่มีอยู่ในใจของผู้คนที่เชื่อเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว สิ่งที่ละครทำไม่ใช่เปิดเผยความจริงที่ถูกปิดบัง แต่คือการตอกย้ำสิ่งที่ผู้คนจินตนาการว่ามันมีเรื่องแบบนี้อยู่จริง ที่เห็นจากในละครจึงไม่ใช่ความจริงอันถูกปิดบังที่ถูกหยิบมาจากไหน หากแต่คือความจริงที่อยู่ในหัวในใจคุณนั่นแหละ คุณเห็นมันอยู่แล้วทุกวันตามข่าว เห็นมันจากเรื่องราวตามบทความต่างๆ ไม่ใช่ของใหม่ ไม่มีอะไรลึกลับ ที่เห็นในละครเป็นแค่การกระชับแน่นจินตนาการที่มีอยู่

เพราะแบบนั้น ผมถึงเรียกการแบนนี้ว่าการปิดกั้นความฟิน และที่ผู้คนออกมาเรียกร้องกันก็ไม่ใช่การเรียกร้อง "เสรีภาพในการนำเสนอความจริง" แต่เป็นการร้องหา "เสรีภาพที่จะฟิน" ก็คุณจะไปเรียกของที่คุณก็รู้อยู่แก่ใจและใครต่อใครก็รู้ไปกับคุณ แถมยังเผยแพร่กันในที่สาธารณะได้อย่างอิสระและธรรมดาทั่วไปว่า "ความจริงที่ถูกปิดบัง" ได้อย่างไร

กระนั้น ที่กล่าวมาด้วยน้ำเสียงข้างต้นนี่ผมไม่ได้หมายความว่า "เพราะฉะนั้น ละครแบบนี้ไม่มีประโยชน์" นะครับ กลับกัน ผมเห็นว่าประโยชน์ของละครก็คือแบบนี้นี่แหละ สะท้อนสิ่งที่มีอยู่ในสังคมออกมาให้ผู้ชมเสพสมจนถึงฟิน ความเลวอะไรที่จัดการไม่ได้ในชีวิตจริงก็ให้ความดีในละครจัดการกับมันอย่างฟุ้งเฟ้อ เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ จะ "เหนือเมฆ 2" หรือ "แรงเงา" ผมว่าต่างก็ทำหน้าที่นี้ได้ดีเท่าๆ กัน อีกทั้งการเรียกร้องเสรีภาพที่จะฟินก็ไม่ใช่เรื่องผิด (ถ้าจะผิดก็อาจจะแค่ตรงที่คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังอยากฟิน) และในแง่ของการเรียกร้องแล้ว ผมไม่คิดว่ามันด้อยกว่าการเรียกร้องเสรีภาพในเรื่องอื่นๆ ที่ตรงไหน และก็เช่นเดียวกัน ผู้อื่นมีสิทธิ์จะมองว่ามันไร้สาระหรือไม่ใช่ความสำคัญอันดับต้นๆ ได้เฉกเช่นที่การเรียกร้องอื่นๆ ถูกมองแบบนั้น

ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไรต่อการเรียกร้องอะไร ไม่มีใครมีสิทธิไปห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องนั้นๆ ตราบที่มันไม่ขัดต่อกฎหมายและสิทธิที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ความคิดที่ว่า การทำละครแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ "ความกล้าหาญ" ผู้ทำช่างมีความกล้าหาญเหลือเกินที่ทำละครสะท้อนความจริงแบบนี้ออกมา ในความคิดของผม ตรงนี้มันชี้ให้เห็นทัศนคติในสังคมส่วนหนึ่งว่า "การเมือง" ช่างเป็นสิ่งที่ทรงพลังอำนาจและแตะต้องไม่ได้จนการที่ละครเรื่องหนึ่งไปแตะมันขึ้นมาจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ว่าจะจริงหรือไม่ การที่พลเมืองยังมีทัศนคติเช่นนี้ สะท้อนว่า พัฒนาการของทัศนคติทางการเมืองในบ้านเรายังคงต่ำจนราวกับว่าไม่เคยพัฒนาไปไหน ประหนึ่งยังเป็นการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารโบราณดึกดำบรรพ์อย่างนั้นเลย

แถมละครทางฟรีทีวีนี่ยังต้องเป็นพื้นที่พิเศษมากๆ นะครับ ทั้งที่เราอยู่ในประเทศที่ดูถูกเหยียดหยามด่านายกฯ ด่านักการเมืองกันหยาบๆ คายๆ ในเฟซบุ๊กกันอย่างเปิดเผย เอากันถึงขั้นเปิดเพจเปิดสื่อมาด่าเป็นล่ำเป็นสัน แต่พอเป็นละครที่เนื้อหาเฉี่ยวไปเฉี่ยวมานี่กลับได้รับการสรรเสริญว่ากล้าหาญมาก แสดงว่าละครนี่มันต้องเป็นพื้นที่พิเศษมากๆ ทางการเมืองจริงๆ

(ซึ่งเอาเข้าจริง เรื่องเฉี่ยวไปเฉี่ยวมานี่ นก-ฉัตรชัย เปล่งพานิช ผู้อำนวยการสร้างละครเรื่องนี้ ก็ได้ออกมาบอกแล้วนะครับว่า "เนื้อหาละครเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์สมมุติ การนำเสนอไม่มีเจตนากระทบกระทั่งใคร" แบบนี้เลยน่าจะเรียกได้ว่ากล้าโดยไม่เจตนาเลยทีเดียว)

อันที่จริง ในตอนที่มีการแบนเกิดขึ้น ผมหวังเป็นอย่างมากนะครับว่า ทางผู้จัดจะออกมา "แฉ" ให้หมดเปลือกว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่จนแล้วจนรอด อย่าว่าแต่สาก ผมลองเป่าครกที่บ้านดูก็ยังเสียงดังกว่าเลย มันน่าเสียดายนะครับ ไม่ว่าใครจะมองว่าละครนั้นน้ำเน่า ตื้นเขิน หรืออะไรอย่างไรในทางลบ แต่ผมก็เห็นว่ามันก็คือรูปแบบการแสดงความคิดอย่างหนึ่ง และสิ่งที่เกิดขึ้นกับละครเรื่องเหนือเมฆ 2 ก็คือการลิดรอนจำกัดหรือกระทั่งกำจัดสิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเลยทีเดียว และการออกมาแฉจะไม่ใช่แค่เอาความจริงมาตีแผ่ แต่อาจทำให้ขยายขอบเขตการ "เล่นกับความจริง" ของละครไปได้อีกไกลมากเลยทีเดียว การเงียบงันตรงนี้จึงเป็นทั้งการทำลายโอกาสในการสร้างพัฒนาการของสังคมและวงการละครไปในคราวเดียวกัน

และสำหรับผู้ที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้ ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ความจริงบางอย่างจะพูดออกมาไม่ได้ ถ้าคิดแบบนั้นแล้วคุณจะออกมาเรียกร้องทำไม ต่อไปมีอะไรแบบนี้ก็ไม่ต้องออกมาเรียกร้องแล้วครับ เชิญคุณสำนึกไว้แต่แรกเลยว่า อ้อ นี่มันคงเป็นความจริงที่พูดไม่ได้ แล้วก็แสดงความเคารพต่อความเงียบของผู้กล้า จากนั้นก็ไปนั่งจินตนาการเอาเองว่าอะไรมันเป็นอะไร เรียกว่าไปสร้างละครอีกเรื่องในหัวให้มันฟินกับตัวเองเงียบๆ ก็พอ

ปฏิกิริยาของฝ่ายผู้ผลิตละครต่อการแบนละครนี่ก็สำคัญมากนะครับ มันสะท้อนทัศนคติในการทำงานด้วย ว่ามองละครที่ตัวเองทำอยู่ในฐานะอะไร และทุกวันนี้ สิ่งที่เรียกว่าละครนั้นมีสถานะเป็นอย่างไร เช่น ต่อคำพูดของ"อุ๋ย-นนทรี นิมิบุตร ผู้กำกับละครเหนือเมฆ" เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการที่บอกว่า "เรามีอิสระในการทำงาน ไม่มีใครขัดขวางการทำละครตั้งแต่ต้นจนจบ เพียงแต่ตอนจบไม่ได้ออกอากาศเท่านั้น เราก็เหมือนช่างทำรองเท้า พอตัดเสร็จก็ส่งให้ผู้จ้าง เขาจะเอาไปใส่หรือไม่ไม่เกี่ยวกับเราแล้ว ถือว่าไม่ขัดกับอิสรภาพ" (ข่าวเดียวกัน) ซึ่งนั่นหมายความว่า สิทธิของผู้ชม ที่อยากจะบริโภครองเท้าคู่นี้ (ด้วยสายตาและอารมณ์) ไปจนสุดทาง ไม่ได้ถูกผนวกรวมเข้าไว้ในการตัดรองเท้าสักคู่ที่เรียกว่าละครสักเรื่องเลย

คิดในแง่ธุรกิจก็เหมือนจะถูกต้องสมบูรณ์แบบครับ เพราะถึงฟรีทีวีจะฟรีในแง่ที่ว่าผู้ชมสามารถรับชมได้โดยไม่ต้องเสียสตางค์ แต่ในการจะขับเคลื่อนกิจการไปได้ การเลือกรองเท้าคู่ที่เหมาะจะใช้สวมเพื่อเตะตาคนดูก็เป็นเรื่องสำคัญ หรือเรียกได้ว่าจำเป็นเหนือยิ่งสิ่งอื่นใดเลยทีเดียว

แต่อย่าลืมนะครับว่า ไอ้รองเท้าที่ว่านั่น เวลาสวมใส่ออกมาเดิน เขาเอามาเดินกันบนถนนความถี่ที่มันเป็นทรัพยากรของชาติที่แต่ละช่องได้รับการแบ่งสรรปันส่วนกันไป และเมื่อเป็นทรัพยากรของชาติ ก็แปลว่ามันเป็นทรัพยากรของประชาชนด้วย ดังนั้น กับรองเท้าที่เรียกว่าละคร เมื่อคุณสวมใส่ออกมาเดินสักพักหนึ่ง แล้วก็มีผู้คนที่ถูกอกถูกใจอย่างเห็นคุณใส่เดินไปจนจบ คุณก็ต้องชี้แจงให้ได้ล่ะครับว่า เพราะเหตุใดคุณถึงถอดมันโยนทิ้งไปทั้งที่ก็ใส่เดินมาจนใกล้จะสุดทางแล้ว

ลำพังแค่บอกว่าเดินไปเตะมาตรา 37 ของ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 นี่ไม่พอนะครับ คุณต้องบอกให้ชัดเจนด้วยว่า คุณไปเดินอีท่าไหนมันถึงไปสะดุดมาตรา 37 ที่ว่านั่นได้ บอกให้ละเอียด ไม่ใช่แค่พูดว่าเดินสะดุดแล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น

ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจสั่งแบนต้องชี้แจงให้ชัดเจน!!

ก็ไม่รู้จะใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ตั้งสองอันให้มันดูยิ่งใหญ่ไปทำไม เรื่องแค่นี้คนที่ออกมาเรียกร้องก็คงคิดได้กันอยู่แล้ว แต่ก็นั่นแหละครับ ไม่ใช่อะไร เห็นท่าทีทางฝั่งผู้จัดแล้ว ผมกลัวว่าเรื่องเหนือเมฆ 2 ฉายไม่ทันและไม่มีวันจบ พวกท่านก็จะสร้างละครอีกเรื่องมาฉายแทน…

ภายใต้ชื่อเรื่องว่า "ใต้พรม" !!

 

 

ที่มา: thaipublica

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองเรื่องความปกติ: ว่าด้วยทรงผม เพศ เกษตรกร และความเป็นไทย

Posted: 18 Jan 2013 05:06 AM PST

ข่าวเรื่องรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงและนักเรียนหญิงไว้ผมเลยติ่งหูก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากฝ่ายต่างๆ ในสังคมไทย ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการคืนสิทธิและเสรีภาพในการดูแลร่างกายให้กับเด็ก เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดและวิจารณญาณตัดสินใจเลือกว่าอะไรดีอะไรเหมาะสมกับตนเองหรือไม่อย่างไร อันเป็นการปูพื้นฐานการสร้างพลเมืองที่มีอิสระและความรับผิดชอบให้กับสังคมประชาธิปไตยต่อไปในอนาคต ส่วนฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่าการอนุญาตให้เด็กนักเรียนไว้ผมยาวจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กให้ความสำคัญกับความสวยความงามจนละเลยการเรียนอันเป็นหน้าที่หลักของคนวัยนี้และทำให้เด็กต้องเสียเงินกับเรื่องความสวยความงามเพิ่มขึ้นขณะที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง นอกจากนี้ การปล่อยให้เด็กไว้ผมยาวทรงต่างๆ ยังทำให้แลดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะระเบียบวินัยเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียนและการประสบความสำเร็จในชีวิตของเด็ก

ประเด็นที่ผมชวนคุยในวันนี้เป็นการสานต่อการอภิปรายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทรงผมเด็กนักเรียนดังกล่าว แต่ไม่ได้เป็นในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และความรับผิดชอบของเด็กอย่างที่หลายคนกำลังพูดกัน หากแต่อยากชี้ชวนให้เห็นว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นการเมืองเรื่องความปกติในสังคมไทยอย่างไร และการเมืองในลักษณะที่ว่านี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาณาบริเวณอื่นๆ ที่เป็นหัวข้อของกิจกรรมครั้งนี้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ความเป็นไทย หรือชาวนา นอกจากนี้ ผมอยากชวนให้เราคิดต่อว่าการเผชิญหน้ากับการเมืองเรื่องความปกติอย่างที่เป็นอยู่มีความเท่าทันแล้วหรือไม่อย่างไร หากคำตอบคือไม่แล้วเราจะมีวิธีการเผชิญหน้ากับการเมืองอย่างที่ว่านี้อย่างไร  

การกำหนดให้นักเรียนชายไว้ผมเกรียนและนักเรียนหญิงไว้ผมสั้นไม่เกินติ่งหูเป็นส่วนหนึ่งของระบบการควบคุมร่างกายของบุคคลภายในโรงเรียน ฉะนั้น นอกจากทรงผม นักเรียนไทยยังต้องเผชิญกับการควบคุมร่างกายในลักษณะอื่นๆ ภายในโรงเรียนควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเครื่องแบบ ไม่นับรวมกิจกรรมต่างๆ นับตั้งแต่การยืนเข้าแถวเคารพธงชาติ การสวดมนตร์ ไปจนถึงการพักรับประทานอาหารเที่ยงและกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งต่างมุ่งหวังควบคุมร่างกายและกิจกรรมของนักเรียนทั้งสิ้น ระบบการควบคุมเหล่านี้ในแง่หนึ่งดูเหมือนเป็นการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในหมู่นักเรียน เพราะไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร สูงต่ำดำขาวขนาดไหน นักเรียนทุกคนต้องไว้ผมทรงเดียวกัน ต้องแต่งชุดเหมือนกัน และประกอบกิจกรรมอย่างเดียวกัน ทว่าในอีกแง่หนึ่งระบบการควบคุมเหล่านี้ก็จำแนกเด็กนักเรียนให้แตกต่างกันผ่านการสร้างมาตรฐานหรือความปกติ หากนักเรียนคนไหนไม่ปฏิบัติตามหรือว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานจะถือว่าผิดปกติและต้องถูกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เด็กนักเรียนที่ไว้ผมยาวผิดระเบียบจะถูกนับว่าเป็นเด็กเกเร นอกคอก ต่อต้าน และมีแนวโน้มจะก่อปัญหาอื่นๆ ตามมาจึงต้องลงโทษให้หลาบจำ หรือเด็กนักเรียนคนใดทำคะแนนได้ไม่ดีหรือสอบตกจะถูกนับว่าโง่ สติปัญญาบกพร่อง ไม่เชื่อฟังครู และจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในอาชีพการงานน้อย ส่วนนักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีหรือสอบได้ที่ 1 จะได้รับการยกย่องชื่นชมว่ามีความเฉลียวฉลาด อยู่ในโอวาท และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตรออยู่ข้างหน้า ฉะนั้น ระบบการควบคุมที่วางอยู่บนการสร้างความเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือความปกติจึงทั้งกีดกันและผนวกรวม จึงทั้งลงโทษและให้รางวัลเด็กนักเรียนที่มีความต่างกันทั้งในเชิงชีววิทยา ทักษะ ความปรารถนา และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม

การควบคุมผ่านการสร้างมาตรฐานหรือความปกติไม่ได้จำกัดเฉพาะทรงผมหรือเครื่องแบบหรือเฉพาะในนักเรียน หากแต่ครอบคลุมอาณาบริเวณอื่นและบุคคลอื่นในสังคมด้วย เช่น เรื่องเพศ เพราะสังคมไทยที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากวิทยาศาสตร์และศาสนาหลักมักถือว่าโดยธรรมชาติมนุษย์มี 2 เพศ คือ ชายและหญิง ซึ่งผูกติดกับเครื่องเพศ ฉะนั้น ใครก็ตามที่ไม่รู้สึกหรือไม่แสดงออกซึ่งความเป็นเพศให้สอดคล้องกับเครื่องเพศของตนและบรรทัดฐานของสังคมจะถูกนับว่าวิปริตผิดธรรมชาติรวมทั้งเป็นบาปในบางกรณี บางคนจึงต้องหลบๆ ซ่อนๆ ขณะที่บางคนก็เปิดเผยอย่างออกนอกหน้าเพราะไม่สามารถแสดงออกอย่างปกติได้ เพราะคนปกติโดยทั่วไปจะต้องเป็นชายจริงหญิงแท้เท่านั้น  

นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ก็ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียว เช่น คนเราไม่ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างพร่ำเพรื่อ หากมีหรือต้องการมีมากเกินไปถือว่ามีความผิดปกติ ต้องได้รับการบำบัดรักษา รวมทั้งไม่ควรมีรูปแบบหรือวิธีการหาความสำราญทางเพศต่างไปจากที่กำหนดไว้ หากผิดแผกออกไปจะกลายเป็นพวกโรคจิตหรือวิตถาร ความสำราญทางเพศควรมีผ่านการมีความสัมพันธ์ทางเพศแบบปกติเท่านั้น นักบวชและผู้เผยแพร่ศาสนาจึงแนะนำชนพื้นเมืองให้ร่วมรักเฉพาะในท่า "มิชชันนารี" ขณะเดียวกันความสำราญก็ไม่ควรเป็นเหตุผลหลักในการมีความสัมพันธ์ทางเพศ เพราะความสัมพันธ์ทางเพศที่ถูกที่ควรต้องเป็นส่วนหนึ่งของการจรรโลงสถาบันครอบครัว ใครมีความสัมพันธ์ทางเพศนอกสถาบันการสมรสไม่ว่าก่อนหน้าหรือในขณะมีครอบครัวถือว่าผิดศีลธรรมจรรยา โดยเฉพาะหากเป็นผู้หญิงการถูกตราหน้าจะรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ ความสัมพันธ์ทางเพศที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน หรือเป็นปกติต้องเป็นในลักษณะของผัวเดียวเมียเดียว  

นอกจากนี้ เครื่องเพศและการร่วมเพศเป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องปกปิด ไม่สามารถเปิดเผยในที่สาธารณะ และหากต้องนำออกสู่สาธารณะก็จะต้องผ่านการปรุงแต่งให้ประณีตบรรจง หรือต้องอยู่ในรูปของศิลปะ มิฉะนั้นจะถูกกล่าวหาว่าลามกอนาจาร ซึ่งผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม แม้ในทางปฏิบัติเส้นแบ่งระหว่างอาณาบริเวณทั้งสองจะพร่าเลือนและเบาบางเป็นอย่างยิ่งก็ตาม 

ในทำนองเดียวกัน ความเป็นไทยที่ปลูกฝังในโรงเรียน หน่วยงานรัฐ สื่อ และงานศิลปะประเภทต่างๆ ก็เป็นการสร้างมาตรฐานหรือความปกติให้กับผู้คนในเชิงชาติพันธุ์ เพราะผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่เรียกว่าประเทศไทยตอนนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเชิงเชื้อชาติ ภาษา คติความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่อยู่ในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง รัฐมลายู หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางแต่เดิม ทว่าการสร้างชาติที่ดำเนินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาที่อาศัยคุณลักษณะของชนชาติไตเป็นตัวตั้งก็ยังผลให้คุณลักษณะของชนชาติอื่นถูกกลืนกลายหรือไม่ก็ถูกเบียดขับให้กลายเป็น "อื่น" ความเชื่อเรื่องผีของชาวเผ่าหรือชนพื้นเมืองเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระเมื่อเปรียบเทียบกับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นมีสถานะเป็นเพียงความแปลกตาไว้ให้นักท่องเที่ยวชม ขณะที่การเรียกร้องสิทธิทางชาติพันธุ์และศาสนาของชาวมลายูมุสลิมเป็นสิ่งบ่อนเซาะความมั่นคงของรัฐและความเป็นเอกภาพเหนือดินแดน พวกเขากลายเป็น "โจรแขก" ที่คิด "แยกดินแดน" ที่ "คนไทย" จะยอมเสียไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้ว  

นอกจากนี้ ปัจจุบันความเป็นไทยได้กลายเป็นมาตรฐานหรือมาตรวัดความปกติในสายตาของคนจำนวนมากในสังคม หากใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ปกติ ถูกประณามว่าไม่เป็นคนไทยหรือถูกสงสัยว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า เพราะสำหรับคนเหล่านี้คนไทยโดยปกติคือคนที่หยุดเดินหรือลุกขึ้นยืนเมื่อได้ยินเพลงชาติ คือคนที่ต้องร่วมกันทวงคืนเขาพระวิหาร และคือคนที่ลุกขึ้นยืนเมื่อมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในสถานที่ต่างๆ พวกเราจำเป็นต้องรักชาติหวงแผ่นดิน ต้อง "รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด" ผิดไปจากนี้ไม่ใช่คนไทยและเพราะเหตุดังนั้นจึงไม่ใช่คนปกติในประเทศนี้           
นอกจากนี้ ความยากจนซึ่งแทนตัวโดยชาวนาชาวไร่และผู้ใช้แรงงานก็เกี่ยวข้องกับการสร้างความปกติให้กับชีวิตและตัวตนทางเศรษฐกิจของผู้คนเช่นกัน เพราะหลายคนเชื่อว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูป เกษตรกรจะลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกรรมกรที่จะถูกแทนที่ด้วยแรงงานมีฝีมือและเครื่องจักร เกษตรกรและกรรมกรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในตอนนี้คือส่วนเกินหรือส่วนผิดปกติที่จะหายไปในไม่ช้า ลูกหลานของพวกเขาโดยผ่านระบบการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานจะกลายเป็นคนปกติที่ประกอบอาชีพในบริษัทห้างร้าน สถานประกอบการ หน่วยราชการ องค์กรอิสระ ฯลฯ ขณะเดียวกันหลายคนเชื่อว่าภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีทุนเป็นตัวขับเคลื่อน ความมั่งคั่งจะกระจายไปสู่ทุกคนอย่างทั่วถึงในที่สุด ขอเพียงแต่มีกติกาที่เป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แข่งขันกันอย่างเสรี คนเหล่านี้จึงเชื่อว่า "ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน" คนที่ขยันแต่ยังยากจนจะต้องมีอะไรผิดปกติในชีวิตเป็นแน่  

อย่างไรก็ดี กระบวนการสร้างมาตรฐานหรือความปกติยังไม่ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์หรือประสบความสำเร็จอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่เป็นกระบวนการที่ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเต็มไปด้วยรอยปริแยกแตกหัก ขัดกันเองบ้าง หรือแม้กระทั่งเป็นเงื่อนไขให้ถูกท้าทายมาจากภายในเอง ยกตัวอย่างกรณีทรงผมนักเรียนชาย เดิมการท้าทายหรือการไม่ปฏิบัติตามระเบียบคือการไว้ผมยาว ทว่าปัจจุบันการท้าทายหรือการไม่ปฏิบัติตามระเบียบส่วนหนึ่งสามารถกระทำได้ผ่านการไว้ผมสั้นจำพวกทรงสกินเฮด ซึ่งในแง่หนึ่งผมทรงดังกล่าวไม่ได้ผิดระเบียบเนื่องจากเส้นผมไม่ได้ยาวเกินที่กำหนดไว้หรืออาจจะสั้นกว่าที่ระเบียบต้องการให้ไว้เสียด้วยซ้ำ ทว่าในอีกแง่หนึ่งทรงสกินเฮดมีลักษณะเป็น "แฟชัน" ที่ระเบียบต้องการห้ามและไม่อยากเห็น ผมทรงสกินเฮดจึงเป็นการท้าทายระเบียบโดยอาศัยการปฏิบัติตามระเบียบเพื่อตอบสนองเป้าหมายส่วนตัวของบุคคลซึ่งขัดแย้งหรือตรงข้ามกับเป้าหมายที่ระเบียบถูกออกแบบมา    

ในทำนองเดียวกัน คำว่า "เกรียน" เป็นอีกตัวอย่างของการท้าทายจากภายใน เพราะเดิมทีการท้าทายหรือการขบถต่ออำนาจในห้องเรียนคือการหนีเรียน ทว่าการ "เกรียน" ไม่ได้เป็นการหนีเรียน หากแต่เป็นการเข้าชั้นเรียนและทำให้อำนาจในชั้นเรียนระส่ำระสายด้วยการตั้งคำถามที่ร่างทรงของอำนาจไม่สามารถตอบได้โดยง่ายแม้จะเป็นคำถามที่มาจากท้ายห้อง การ "เกรียน" จึงเป็นการท้าทายอำนาจในชั้นเรียนมากกว่าการหนีเรียน เพราะการหนีเรียนไม่ได้สร้างปัญหาให้กับอำนาจในชั้นเรียนโดยตรง เว้นเสียแต่ว่าการหนีเรียนเกิดขึ้นในปริมาณมากจนไม่สามารถจัดให้มีการเรียนการสอนได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก หรือหากเกิดขึ้นก็เป็นลักษณะของการประท้วงรวมหมู่มากกว่าจะเป็นการหนีเรียนเป็นรายบุคคล ปัจจุบันคำว่า "เกรียน" ได้กลายเป็นเครื่องหมายของการสร้างความปั่นป่วนให้กับปฏิบัติการอำนาจในรูปแบบหรือวิธีการที่ปฏิบัติการอำนาจนั้นถูกออกแบบมา เป็นการอาศัยการปฏิบัติตามระเบียบ คือการไว้ผมเกรียน ยั่วยุและท้าทายปฏิบัติการของอำนาจที่อยู่เบื้องหลังกฎระเบียบนั้น       

นอกจากเพื่อการท้าทายหรือต่อต้านขัดขืน การปฏิบัติตามระเบียบหรือการกระทำที่ดูเหมือนจะเป็นการยอมจำนนต่ออำนาจสามารถเป็นช่องทางหรือวิธีการที่ช่วยให้คนสามารถกระทำการได้อย่างมีประสิทธิผลด้วย ซึ่งสามารถเห็นได้จากปฏิบัติการของผู้หญิงในอาณาบริเวณศาสนาที่หลุดรอดหรือไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตรรกะของการกดขี่ครอบงำและการต่อต้านขัดขืน เช่น ขณะที่จริยธรรมอิสลามจำพวกความสงบเสงี่ยมเหนียมอายและความอ่อนน้อมถ่อมตนเข้ากันไม่ได้กับตัวตนในเชิงปลดแอกและศักยภาพในเชิงล้มล้างของสตรีนิยมกระแสหลัก จริยธรรมอิสลามเหล่านี้กลับเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้สตรีมุสลิมได้เข้าไปพัวพันกับเรื่องราวในศาสนารวมทั้งในครอบครัวและในที่สาธารณะได้อย่างมีสิทธิอำนาจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือด้วยการยอมจำนนต่อพระเจ้าด้วยการเป็นบุตรสาวของพระองค์ หรือด้วยการเป็นมุสลิมที่มีศรัทธาปสาทะ สตรีมุสลิมได้รับโอกาสที่จะสามารถใช้อำนาจของพระเจ้าผ่านทางตัวเธอ เช่น การบอกให้วงประชุมเรื่องการเมืองที่มีแต่ผู้ชายหยุดกลางคันด้วยเหตุผลว่าถึงเวลาละหมาด หรือในกรณีชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประดับพานพุ่มที่ทำเข้าร่วมงานแข่งขันกีฬาที่อำเภอว่า "เรารักนายหลวง" ซึ่งเป็นการอาศัยการปวารณาตัวเป็นพสกนิกรที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เพื่อที่จะได้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐที่พวกเขาไม่ค่อยชอบหน้าได้อย่างมีสิทธิอำนาจ เป็นความสามารถที่เกิดขึ้นผ่านอำนาจของผู้อื่นอีกชั้นหนึ่ง  

นอกจากนี้ การเมืองเรื่องความปกติหรือธรรมดาสามัญสามารถเกิดขึ้นจากฝ่ายที่ดูด้อยกว่าหรือเสียเปรียบกว่าได้ ดังจะเห็นได้จากการที่สิ่งที่ถูกทำให้ดูผิดปกติถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นสิ่งปกติหรือธรรมดาสามัญอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการอำพรางปฏิบัติการอำนาจที่แฝงอยู่ในเวลาเดียวกัน เช่น คำว่า "ชาวนา" หรือว่า "ชาวบ้าน" มักถูกใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มคนที่ซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสาและมักตกเป็นเหยื่อของการกดขี่ขูดรีดฉ้อโกงไม่ว่าจะโดยรัฐหรือทุน ทว่าการใช้คำว่า "ชาวนา" หรือว่า "ชาวบ้าน" ในความหมายของคนธรรมดาสามัญเช่นนี้ในแง่หนึ่งเป็นการอำพรางหรือพรากความเป็นการเมืองออกไปจากกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งต่างพัวพัน เจรจาต่อรอง หรือว่าชิงไหวชิงพริบกับทั้งรัฐและทุนอยู่ตลอดเวลา ความสงสารและความเห็นอกเห็นใจ "ชาวนา" หรือว่า "ชาวบ้าน" ที่ดูธรรมดาสามัญ ซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา และเป็นเหยื่อของรัฐและทุนจึงเป็นผลของปฏิบัติการอำนาจที่แฝงมา ไม่แตกต่างจากการที่เห็นว่าพวกเขาเป็นความผิดปกติในระบบทุนซึ่งก็เป็นผลของปฏิบัติการอำนาจอีกชุดเช่นกัน    

การเมืองเรื่องความปกติหรือธรรมดาสามัญหรือว่าปฏิบัติการอำนาจในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ได้มีเพียงด้านเดียว มันไม่ได้เป็นเพียงการกดขี่ครอบงำ เก็บกดปิดกั้น หรือเบียดขับกีดกันอย่างง่าย หากแต่ยังเป็นการผนวกรวมและเปิดโอกาสให้กับการท้าทายจากภายในในเวลาเดียวกัน รวมทั้งยังสามารถอาศัยเป็นช่องทางในการตอบสนองวัตถุประสงค์ของบุคคล และช่วยให้บุคคลสามารถกระทำการได้อย่างมีประสิทธิผลได้ด้วย นอกจากนี้ ความเป็นปกติหรือความธรรมดาสามัญยังสามารถเป็นกลวิธีทางการเมืองจากฟากของผู้ด้อยกว่าหรือมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าได้ จะเผชิญหน้ากับการเมืองประเภทนี้ได้อย่างเท่าทันก็ต้องเข้าใจความยอกย้อนซ่อนเงื่อนของมันดังกล่าวให้ได้ในเบื้องต้น

เพราะเหตุที่การเมืองเรื่องความปกติหรือความธรรมดาสามัญมีความยอกย้อนซ่อนเงื่อนดังที่ว่า การเผชิญหน้ามันอย่างเท่าทันก็ต้องยืดหยุ่นและพริ้วไหวตามไปด้วย เพราะเหตุที่มันไม่ได้มีเฉพาะด้านของการกดขี่ครอบงำหรือการเก็บกดปิดกั้น เราจึงไม่สามารถอาศัยเฉพาะการต่อต้านขัดขืนในการเผชิญหน้ากับมันเพียงอย่างเดียวได้ ทางเลือกไม่ได้มีเฉพาะการโค่นล้มระบบ รื้อโครงสร้าง ชุมนุมประท้วง เดินขบวน หรือจับปืนขึ้นสู้ เราสามารถท้าทายมันได้จากภายในหรือว่าใช้ประโยชน์จากมันได้โดยอาศัยเทคโนโลยีชนิดเดียวกัน และขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ตกหลุมพรางของการเมืองประเภทนี้ ไม่ว่าจะด้วยการตอกย้ำความปกติหรือความธรรมดาสามัญที่มีอยู่ เช่น การพยายามนิยามและผูกขาดการนิยามว่าอะไรคือศิลปะและอะไรที่ไม่ใช่คืออนาจาร หรือด้วยการสร้างความปกติหรือความธรรมดาสามัญขึ้นใหม่ เช่น การหมายความ "ชาวนา" หรือว่า "ชาวบ้าน" เป็นคนธรรมดาหรือเป็นเหยื่อที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา เพราะไม่ช่วยให้เราเห็นว่าพวกเขาพัวพันกับอำนาจอย่างไรและจะชวนให้เราหลงทางในที่สุด       

 


หมายเหตุ: ปรับปรุงจากปาฐกถาของผู้เขียนหัวข้อ "การเมืองเรื่องความปกติ" ในกิจกรรม "นิทรรศการการเมือง 2556" โดยกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย วันที่ 14 มกราคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โธมัส ฟูลเลอร์ (Thomas Fuller)

Posted: 18 Jan 2013 03:48 AM PST

"In sentencing a former protest leader to two years in prison, a court ruled that the defendant was liable not only for what he said, but also for what he left unsaid." ("การจำคุก 2 ปี อดีตผู้นำการประท้วง ศาลตัดสินว่าจำเลยหมิ่นไม่เพียงจากสิ่งที่เขาพูด แต่ยังรวมไปถึงสิ่งที่เขาละไว้ไม่พูดออกมา")

17 ม.ค.56, ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ในบทความ "In Thailand, a Broader Definition of Insulting Royalty"

กสทช.คุยลาว-มาเลเซียร่วมคุมสัญญาณมือถือ แก้ 'โรมมิ่งชายแดน'

Posted: 18 Jan 2013 03:03 AM PST

กสทช.เจรจากับหน่วยงานลาวและมาเลเซีย ในการกำหนดระยะและระดับสัญญาณของเทคโนโลยี 2G และ 3G ในพื้นที่เชื่อมต่อ โดยสัญญาณบริการมือถือของแต่ละประเทศจะข้ามชายแดนมาเป็นระยะทางไม่เกิน 2 กิโลเมตร และมีระดับสัญญาณที่อ่อนจนเครื่องมือถือของผู้ใช้บริการไม่สามารถจับสัญญาณได้


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงปัญหาการใช้โทรศัพท์มือถือในบริเวณพื้นที่ชายแดน ที่บ่อยครั้งผู้ใช้บริการโทรออกหรือรับสายอยู่ในดินแดนฝั่งไทย แต่ถูกคิดค่าบริการในอัตราสูงแบบบริการข้ามแดนอัตโนมัติหรือโรมมิ่งต่างแดนว่า เหตุดังกล่าวเกิดเนื่องจากสัญญาณของผู้ให้บริการภายในประเทศนั้นอ่อนกว่า เครื่องที่พกติดตัวมาจึงเปลี่ยนโดยอัตโนมัติไปใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการจากอีกประเทศที่สัญญาณแรงกว่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวน่าจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว อย่างน้อยในส่วนของพื้นที่ชายแดนด้านที่ติดกับประเทศลาว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุตามบริเวณชายแดนไทย-ลาว  หรือ JTC (Joint Technical Committee on Coordination and Assignment of Frequencies ได้มีการเจรจาและบรรลุข้อตกลงที่จะกำหนดสัญญาณ หรือ Signal Level ของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตพื้นที่เชื่อมต่อชายแดน ว่าจะมีค่าสูงสุดไม่เกิน -90 dBm สำหรับส่วนของเทคโนโลยี 2G และไม่เกิน -100 dBm สำหรับเทคโนโลยี 3G รวมทั้งมีการกำหนดระยะการส่งสัญญาณด้วยว่า ในเขตพื้นที่พิเศษ หรือ Special Zone ที่เป็นเขตประชากรหนาแน่น ระยะการส่งสัญญาณข้ามชายแดนจะจำกัดไว้ที่ 1 กิโลเมตร ขณะที่เขตพื้นที่ทั่วไป หรือ  General Zone จำกัดระยะที่สัญญาณจะข้ามแดนมาไว้ที่ 2 กิโลเมตร

"ค่าระดับสัญญาณสูงสุดตามที่กำหนด ทั้งของเทคโนโลยี 2G และ3G นั้นเป็นระดับที่จะทำให้เครื่องลูกข่าย หรือเครื่องมือถือของผู้ใช้บริการทั่วๆ ไปไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ ดังนั้นปัญหาแบบที่เคยเกิดจึงไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะภายใต้กติกาที่ตกลงร่วมกันนี้หมายความว่า ระดับสัญญาณของผู้ให้บริการมือถือของประเทศลาวที่ส่งข้ามมาในดินแดนไทยจะค่อนข้างอ่อน จนเครื่องของผู้ใช้บริการไม่เปลี่ยนไปหาโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ว่าสัญญาณของเครือข่ายผู้ให้บริการไทยอ่อนกว่า ซึ่งถ้าหากยังเกิดกรณีเครื่องเปลี่ยนไปจับสัญญาณต่างแดนอัตโนมัติก็จะสะท้อนปัญหาเรื่องคุณภาพของโครงข่ายผู้ให้บริการไทย แสดงว่าบริเวณนั้นๆ อาจต้องมีการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพิ่มเติม"  นพ.ประวิทย์ กล่าว

ส่วนในกรณีประเทศมาเลเซียนั้น  นพ.ประวิทย์ เปิดเผยว่า มีข้อตกลงเดิมอยู่แล้วว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทั้งสองประเทศต้องปรับลดพื้นที่ให้บริการ (Service Area Coverage) ของสถานีวิทยุกิจการเคลื่อนที่ระบบเซลลูล่าให้อยู่ภายในเขตแดนของประเทศตนเท่านั้น โดยไม่ให้มีสัญญาณข้ามเขตแดน หรือมีให้น้อยที่สุด ดังนั้นจึงน่าจะมีความเสี่ยงลดลงอย่างมากเช่นกัน และแม้ว่าทางหน่วยงานโทรคมนาคมของมาเลเซียนั้นมีความพยายามเสนอให้ประเทศไทยพิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าว แต่ท่าทีของไทยก็ยังคงยืนยันที่จะจำกัดพื้นที่เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม นพ.ประวิทย์ แนะนำผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือว่า เมื่ออยู่บริเวณพื้นที่ชายแดน ควรต้องหมั่นสังเกตว่าเครื่องกำลังจับสัญญาณของเครือข่ายที่เราเปิดใช้บริการหรือไม่  ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องเสียเงินเพิ่มโดยไม่จำเป็น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทย-เทศร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ปล่อย ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’

Posted: 18 Jan 2013 02:41 AM PST

 

18 ม.ค.56 โครงการรณรงค์เพื่อแรงงาน (องค์กรพัฒนาเอกชน) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยรายชื่อแนบท้าย 381 รายทั้งชาวไทยและต่างประเทศ  เรียกร้องให้รัฐบาลผลักดันการปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งกำลังจะถูกพิพากษาในวันที่ 23 ม.ค. 56

ทั้งนี้ รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย รายชื่อองค์กร 110 แห่ง รายชื่อบุคคล 271 คน ซึ่งมีผู้ประสงค์ไม่ออกสื่อ 262 คน และส่วนที่เปิดเผยอีก 119 คน

โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานระบุวัตถุประสงค์ของการล่ารายชื่อในจดหมายเปิดผนึกครั้งนี้ว่าต้องการกระตุ้นให้รัฐบาลและศาลเร่งแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิพลเมืองของกระบวนการยุติธรรมไทย  และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงองค์กรสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการรณรงค์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยตระหนักถึงปัญหาความไม่ยุติธรรมที่กระทำกับประชาชนที่คัดค้านการทำรัฐประหารและเรียกร้องยุบสภาเมื่อปี 2553  ซึ่งเป็นช่วงของความขัดแย้งทางการเมือง  ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางสร้างประชาธิปไตยในสังคมมากขึ้น

"การพิพากษาคดีสมยศจะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2556 ณ ศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ เราขอยืนยันว่าสมยศไม่สมควรถูกจับ  สิทธิในการแสดงออกไม่ว่าเขาจะมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเช่นไรควรได้รับการปกป้องโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อตกลงสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ผูกมัดประเทศไทย  ไม่ว่าทั้งสองบทความที่เป็นข้อกล่าวหาจับกุมสมยศถูกมองว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอย่างมาก สิ่งที่ควรทำมากกว่าการล่าแม่มดกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง คือ การประกันให้มีพื้นที่เปิดรับการถกเถียงแลกเปลี่ยนประเด็นการเมืองและประเด็นผลประโยชน์ของประชาชน เพราะจะช่วยลดความตึงเครียดในสังคมและนำไปสู่การหาทางออกให้แก่สังคม" ส่วนหนึ่งของจดหมายเปิดผนึก

 

000000000000

จดหมายเปิดผนึก

 

เรียน

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต

กรุงเทพฯ 10300

 

วันที่  17  มกราคม  พ.ศ. 2556

 

เรื่อง      กระบวนการยุติธรรมไทยละเมิดสิทธิของสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักปกป้องสิทธิ

มนุษยชนและบรรณาธิการ

 

           พวกเราที่ลงชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลและองค์กรภาคประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลก เขียนถึงท่านอีกครั้งเพื่อกระตุ้นเตือนท่านให้เคารพหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก ด้วยการหยุดกระบวนการยุติธรรมที่ละเมิดนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และปล่อยตัวเขาโดยไม่มีเงื่อนไขและโดยเร็วที่สุด  สมยศผู้เป็นบิดาของบุตรและธิดาสองคนถูกคุมขังมาเป็นเวลา 21 เดือนติดต่อกันด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์บทความเสียดสีการเมือง 2 บทลงในวารสารที่เขาเป็นบรรณาธิการ

           คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการกักขังตามอำเภอใจ พิจารณาแล้วว่า การคุมขังสมยศเป็นการกระทำตามอำเภอใจและละเมิดกฎหมายสากล จึงขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา  ทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเพื่อนร่วมงานของสมยศได้เรียกร้องท่านให้ปล่อยตัวเขาหลายครั้ง  เราจึงยังคงต้องการตอกย้ำว่า การที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวถึง 12 ครั้งล่าสุดเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการสันนิษฐานว่าจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์  รัฐบาลจึงควรเคารพสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิในการประกันตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

           เสียงคัดค้านการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปในทางที่ผิดในประเทศดังขึ้นทุกๆ วันและการจัดการคดีสมยศถือว่าเป็นบททดสอบรัฐบาลว่าเคารพหลักนิติรัฐและหลักการประชาธิปไตยหรือไม่

           การพิพากษาคดีสมยศจะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2556 ณ ศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ เราขอยืนยันว่าสมยศไม่สมควรถูกจับ  สิทธิในการแสดงออกไม่ว่าเขาจะมีความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเช่นไรควรได้รับการปกป้องโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อตกลงสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ผูกมัดประเทศไทย  ไม่ว่าทั้งสองบทความที่เป็นข้อกล่าวหาจับกุมสมยศถูกมองว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอย่างมาก สิ่งที่ควรทำมากกว่าการล่าแม่มดกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง คือ การประกันให้มีพื้นที่เปิดรับการถกเถียงแลกเปลี่ยนประเด็นการเมืองและประเด็นผลประโยชน์ของประชาชน เพราะจะช่วยลดความตึงเครียดในสังคมและนำไปสู่การหาทางออกให้แก่สังคม

           การทำให้ข้อความทางการเมืองเป็นเรื่องผิดกฎหมายอาญาและการดำเนินคดีกับบรรณาธิการไม่เป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน  บ่อยครั้งประเทศไทยแสดงตัวในเวทีสากล โดยเฉพาะเป็นประเทศที่ต้องการที่นั่งในสภาความมั่นคงของสหประชาชาติและเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนด้วย  ครั้งหนึ่งประเทศไทยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยและเป็นหนึ่งในประเทศแถบอาเซียนที่ก้าวหน้าที่สุด แต่การใช้กฎหมายไปในทางที่ผิด จับกุมพลเมืองอย่างสมยศได้บั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และบั่นทอนความพยายามที่จะแยกตัวเองออกจากรัฐอำนาจนิยมในภูมิภาคนี้

           เรายังหวังว่ารัฐบาลจะตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและสามารถที่จะหยุดยั้งความอยุติธรรมที่กระทำต่อประชาชนได้  ด้วยเหตุนี้เราขอให้ท่านและฝ่ายบริหาร รวมทั้งกลไกรัฐทั้งหมดหามาตรการที่เหมาะสมที่จะหยุดการคุมขังสมยศโดยทันที และให้เขาสามารถใช้สิทธิพื้นฐานได้โดยปราศจากการถูกแก้แค้นหรือถูกโต้ตอบกลับไปจนถึงระดับศาล

          ขอขอบคุณท่านที่พิจารณาข้อเรียกร้องของเราอย่างจริงจัง เราหวังว่าจะได้รับการตอบกลับจากท่านและท่านจะแสดงความเคารพเสรีภาพในการแสดงออก

 

                                                                                    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

 

รายชื่อองค์กรและบุคคลที่สนับสนุนการปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

  1. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  Thai Labour Campaign (TLC), Thailand
  2. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังแห่งประเทศไทย
  3. สหภาพแรงงานกิจการปั่นทอพิพัฒน์สัมพันธ์
  4. องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย
  5. นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
  6. กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชนคนงาน
  7. กลุ่มสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์
  8. สหภาพแรงงานทิมเครื่องหนัง
  9. สหภาพแรงงานประชาธิปไตย
  10. สหภาพแรงงานเหล็กและโลหะ
  11. สหภาพแรงงาน เอม เอส พี
  12. กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ
  13. กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนคนงานกิ่งแก้ว
  14. กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนคนงานคู่สร้าง
  15. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
  16. สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์
  17. องค์กรเลี้ยวซ้าย ประเทศไทย
  18. กลุ่มสมานฉันท์แรงงาน ประเทศเกาหลีใต้  Workers Solidarity All Together (South Korea)
  19. ศูนย์ทรัพยากรแรงงาน Sedane ประเทศอินโดนีเซีย  Sedane Labour Resource Center( LIPS)
  20. กลุ่มเพื่อนหญิง ประเทศมาเลเซีย  Friends of Women (PSWS)
  21. เครือข่ายประชาชนผู้ถูกกดขี่ ประเทศมาเลเซีย  Oppressed People Network / Jaringan Rakyat Tertindas (JERIT)
  22. พรรคสังคมนิยมแห่งมาเลเซีย  Socialist Party of Malaysia (PSM: Parti Sosialis Malaysia)
  23. เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ประเทศมาเลเซีย   Community Action Network (CAN)
  24. กลุ่มชาวมาเลเซียสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย   Malaysia Support Group for Democracy in Thailand
  25. กลุ่มพันธมิตรรณรงค์ฐานค่าจ้างแห่งเอเชีย สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย   Asia Floor Wage Alliance-SEA office
  26. องค์การรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  Clean Cloths Campaign (CCC)
  27. โครงการรณรงค์ปล่อยตัวสมยศ   Free Somyot Campaign
  28. องค์กรสังคมเพื่อแรงงานและการพัฒนา ประเทศอินเดีย   Society for Labour and Development (SLD) ,India
  29. สหภาพแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ประเทศอินเดีย   Garment and Allied Workers Union (GAWU) ,India
  30. องค์กรสมานฉันท์ประชาชน ประเทศฝรั่งเศส   Peuples Solidaires, France
  31. Law life, Bangladesh
  32. The Resilience Space, United Kingdom
  33. Just Solutions Network, United Kingdom
  34. กลุ่มพันธมิตรชาวไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเทศสหรัฐอเมริกา The Thai Alliance for Human Rights, USA
  35. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ  ประเทศญี่ปุ่น Labornet Japan International Division, Japan
  36. เครือข่ายพุทธศาสนิกชนระหว่างประเทศ  International Network of Engaged Buddhists (INEB)
  37. โครงการปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย  Action for People's Democracy in Thailand (ACT4DEM)
  38. เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112  The Network of Family Member and People Affected by the Article 112., Thailand
  39. สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งประเทศอินโดนีเชีย   Confederation of Congress of Indonesian Unions Alliance (KASBI),  Indonesia
  40. องค์กรประชาชนชาวกัมพูชาสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประเทศกัมพูชา  Cambodian League for the Promotion & Defense of Human Rights (LICADHO), Cambodia
  41. สมาคมประชาธิปไตยเสรีของเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ ประเทศกัมพูชา  Independent Democracy of Informal Economy Association (IDEA), Cambodia
  42. องค์กรสมานฉันท์ไร้พรมแดนแห่งยุโรป ประเทศฝรั่งเศส   Europe solidaire sans frontières (ESSF), France
  43. สหภาพแรงงานเฟิร์ส ประเทศนิวซีแลนด์   FIRST Union, New Zealand.
  44. พรรคแรงงานอะวามี ประเทศปากีสถาน   Awami Workers Party, Pakistan
  45. ศูนย์ศึกษาแรงงานและสังคม ประเทศเนปาล   Center for Labour and Social Studies CLASS-Nepal
  46. เครือข่ายปฏิบัติการชาวมุสลิมในเอเชีย ประเทศอินโดนีเซีย   Asian Muslim Action Network (AMAN), Indonesia
  47. Yayasan Transformasi Lepra Indonesia
  48. Yamakindo, Indonesia
  49. แนวร่วมองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสากล แห่งอินโดนีเซีย   Indonesia's NGO Coalition for International Human Rights Advocacy (HRWG) 
  50. Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (EMPOWER), Malaysia
  51. คณะกรรมการเวียดนามเพื่อสิทธิมนุษยชน   Vietnam Committee for Human Rights
  52. องค์กรปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตย ประเทศเวียดนาม   Quê Me: Action for Democracy in Vietnam
  53. องค์กรตรวจสอบโลกาภิวัตน์ ฮ่องกง   Globalisation Monitor, Hong Kong
  54. เครือข่ายแรงงานจีน, ฮ่องกง    China Labour Net, Hong Kong
  55. เครือข่ายแรงงานออสเตรเลียและเอเชีย ประเทศออสเตรเลีย   Australia Asia Worker Links (AAWL), Australia
  56. กลุ่มแนวหน้าประชาชนต่อสู้  ประเทศอินโดนีเซีย   People Struggle Front  (FPR) Indonesia
  57. สหพันธ์แรงงานชาวอินโดนีเซีย   Indonesian Workers Union Federation (FSBI) , Indonesia
  58. สหพันธ์แรงงานอิสระ ประเทศอินโดนีเซีย   Federation of Independent Trade Union, Indonesia (GSBI), Indonesia
  59. กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซนเซอร์ ประเทศไทย   Freedom Against Censorship Thailand (FACT)
  60. สหพันธ์แรงงานเนปาล   General Federation of Nepalese Trade Unions (GEFONT), Nepal
  61. Labour Behind the Label (CCC UK)
  62. Collectif Ethique sur l'étiquette (CCC France).
  63. ศูนย์ศึกษาแรงงาน นิวเดลี ประเทศอินเดีย  Center for Workers Education, New Delhi
  64. เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานเอเชียแปซิฟิก   Asia Pacific Workers Solidarity Link (APWSL)
  65. ศูนย์ทรัพยากรแรงงาน ประเทศมาเลย์เซีย   Labor Resource Center (LRC) ,Malaysia
  66. กลุ่ม 24 มิถุนายนเพื่อประชาธิปไตย ประเทศไทย   24 June Democracy Group, Thailand
  67. องค์กรสังคมนิยมทางเลือก ประเทศออสเตรเลีย   Socialist Alternative, Australia
  68. MARUAH, Singapore
  69. ศูนย์สตรีดาบินดู  ประเทศศรีลังกา   Dabindu Women Center, Sri Lanka
  70. สหภาพแรงงานอิสระแห่งชาติ ประเทศศรีลังกา   National Free Trade Union, Sri Lanka
  71. องค์กรเกาหลีเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างประเทศ  Korean House for International Solidarity, Korea
  72. สหภาพแรงงานก้าวหน้า ประเทศศรีลังกา   Progress Union, Sri Lanka
  73. Comité du Forum Social Lémanique, Genève
  74. สภาแรงงานแห่งชาติอินเดีย   Indian National Trade Union Congress
  75. สหพันธ์แรงงานปากีสถาน   Pakistan Labour Federation, Pakistan
  76. สถาบันนโยบายก้าวหน้า ประเทศเกาหลีใต้   The Progressive Policy Institute, South Korea
  77. พรรครวมพลังก้าวหน้า ประเทศเกาหลีใต้    The Unified Progressive Party ,South Korea
  78.  Schone Kleren Campagne  (Dutch CCC)
  79.  Federación Setem (Spanish CCC)
  80. TIE-Netherlands
  81. Elmer Labog, Kilusang Mayo Uno, Philippines
  82. สมาพันธ์แรงงานเกาหลี  ประเทศเกาหลีใต้    Korean Confederation of Trade Union, South Korea
  83. องค์กรพันธมิตรประชาชนชาติพันธุ์ ประเทศอินโดนีเซีย   Aliansi Masyarakat Adat Nusantara (AMAN)- indigenous Peoples Alliance of the Archipelago, Indonesia
  84. ศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์   Workers Assistance Center, Inc, Philippines
  85. องค์กรสมานฉันท์แรงงานคาไวท์ ประเทศฟิลิปปินส์   Solidarity of Cavite Workers (SCW), Philippines
  86. LEADER, Inc., Philippines
  87. เครือข่ายการศึกษาและบริการด้านแรงงาน ฮ่องกง  Labour Education and Service Network, Hong Kong
  88. กลุ่มปฏิบัติการแรงงานจีน, ฮ่องกง   Labour China Action, Hong Kong
  89. RUMPUN, Indonesia
  90. สหภาพแรงงานการบินพลเรือนตุรกี   Turkish Civil Aviation Union (Hava-Is), Turkey
  91. สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์   FNV ( Netherlands Trade Union Confederation)
  92. องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  ประเทศนอร์เวย์   Clean Clothes Campaign- Norway
  93. องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Clean Clothes Campaign- Switzerland 
  94. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแสง ประเทศบัลแกเรีย   Light Industry Workers Federation PODKREPA, Bulgaria, Europe
  95.  องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าสะอาด  ประเทศเดนมาร์ก   Clean Clothes Campaign- Denmark
  96.  องค์กรพันธมิตรนักสังคมนิยม ประเทศออสเตรเลีย   Socialist Alliance,Australia
  97. สมาคมการศึกษาและข้อมูลด้านแรงงานไต้หวัน   Taiwan Labor Information & Education Association (TLIEA), Taiwan
  98. Korean Federation of Public Services and Transportation Workers' Unions (KPTU)
  99. International Catholic movement for Intellectual and Cultural Affairs (Pax Romana),Geneva
  100. People's Communication Centre (Pusat Komas), Malaysia
  101. Community Residents Association for Selangor and Federal Territories (PERMAS), Malaysia
  102. Center for Independent Journalism (CIJ), Malaysia
  103. achACT – Actions Consommateurs Travailleurs (Belgium CCC)
  104. Cardijn Community International
  105. สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง   Hong Kong Confederation  of Trade Union
  106. International Federation of Workers' Education Association (IFWEA), South Africa
  107. PROJEK DIALOG ( DIALOGUE PROJEC), Malaysia
  108. องค์กรเสียงของประชาชนชาวมาเลย์เซีย  Voices of Malaysian People ( SUARAM), Malaysia
  109. Front Line Defenders
  110. Islamic Renaissance Front
  111. นายพรมมา  ภูมิพันธ์  หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังแห่งประเทศไทย
  112. นางสาวสุธิลา ลืนคำ
  113. นางสาวศรีไพร นนท์ทรี
  114. นายบุณมี วันดี
  115. นางสาวพนม บาลี
  116. นางสาวคำผอง คำพิทูรย์
  117. นางสาวณัฐปภัทร แก้วทอง
  118. นางสาวลักษมี สุวรรรภักดี
  119. นางสาวเยาวภา ดอนเส

 

 

สำเนาถึง

 

นายประชา พรหมนอก

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม

ชั้น 22 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค

ถนนแจ้งวัฒนะ  ปากเกร็ด

นนทบุรี 11120

โทรศัพท์  02 1416435  โทรสาร 02 1439883

E-mail: om@moj.go.th , secretary@moij.go.th

 

ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ

เลขที่ 443 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท

เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์  02 203 5000 # 15018

โทรสาร  02 643 5320, 02 643 5309

อีเมล์ : minister@mfa.go.th, thaiinfo@mfa.go.th, permsec@mfa.go.th

 

นายจุลสิงห์  วสันตสิงห์
อัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 ม.3

ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์  02 1421436  โทรสาร 02 2143 9457, 02 143 9197

E-mail: ag@ago.go.th  oag@ago.go.th

 

นายไพโรจน์ วายุภาพ

ประธานศาลฎีกา

ศาลฎีกา เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน

แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร 10200

โทร. 0-2221-3161-70 # 1265  โทรสาร  02 2266005

 

นายทวี ประจวบลาภ

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก

แขวงจอมพล เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์  0 2 541 2284 – 90

โทรสาร 02 541 2273

 

ศ.อมรา พงษ์ศาพิชญ์

ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

120 ม.3  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 6-7

ถ. แจ้งวัฒนะ  เขตหลักสี่  กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์  02 1413800, 02 141 3900  โทรสาร  02 141 3900

อีเมล์ : amara@nhrc.or.th, interhr@nhrc.or.th, help@nhrc.or.th

 

นายธานี ทองภักดี

เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ

ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

H.E. Mr. Thani Thongphakdi

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

Permanent Representative

Permanent Mission of Thailand to the United Nations Office and other international organizations in Geneva, Rue Gustave Moynier 5

1202 Geneva, Switzerland

Fax: +41 22 715 10 00 , +41 22 715 10 02

Email: mission.thailand@ties.itu.int

 

นายนรชิต สิงหเสนี

เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ณ นครนิวยอร์ก

H.E. Mr. Norachit Sinhaseni

Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary

Permanent Representative

Permanent Mission of Thailand to the United Nations in New York

351 East 52nd Street

New York, N.Y. 10022, USA

Fax: +1 212 688 3029

E-mail: thailand@un.int

 

ดร.เสรี นนทสูติ

ผู้แทนไทยในคณะทางานยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

Email: sernon@gmail.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เราสร้างพระเจ้าขึ้น เพื่อฆ่าพระเจ้าองค์อื่นๆ

Posted: 18 Jan 2013 02:36 AM PST

'คนดี' สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทยน่าจะถูกอ้อนวอนด้วยคำขอพื้นฐานนี้จากพ่อแม่ที่กำลังมีลูก และน่าจะเป็นสิ่งปรารถนาสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่ทุกคน

สังคมไทยช่วงเจ็ดแปดปีมานี้ 'คนดี''ความดี''ศีลธรรม''จริยธรรม''คุณธรรม' เป็นกลุ่มคำที่ถูกเฆี่ยนตีสาหัสที่สุดจากสถานการณ์ทางการเมือง มันปรักหักพังไม่มีชิ้นดีในสายตาบางคนบางกลุ่ม บ้างถึงกับตั้งความหวังว่าจะรื้อถอนมันเสีย แล้วสถาปนาระบบศีลธรรมใหม่ที่อิงแอบแนบแน่นกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย

นั่นเป็นเพราะกลุ่มคำข้างต้นผูกโยงกับ 'อำมาตย์' 'เผด็จการ' 'ความไม่เป็นธรรม' 'ความไม่เท่าเทียม' งานของนักวิชาการหรือปัญญาชนที่ผมอ่านผ่านตาบ้าง อธิบายว่าความดีที่สังคมไทยยึดถือถูกสร้างโดยชนชั้นบนที่ต้องการผูกขาดอำนาจเอาไว้ในมือ มันคืออุปกรณ์เชิงนามธรรมชิ้นมหึมาที่กดทับและปิดปากคนจน-คนด้อยโอกาสในสังคมมิให้หืออือ ตอกย้ำให้คนเล็กคนน้อยใต้ถุนสังคมเตือนตนไว้เสมอว่า "พวกเจ้าเป็นพวกโง่ จน เจ็บ และไม่ดีพอ"ฉะนั้น จงอย่าเสนอหน้า ข้อถกเถียงแนวนี้แยกไม่ออกกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่กำลังเป็นสงครามแหลมคมอยู่ตอนนี้

ณ ปัจจุบัน ดังที่รับรู้ ความดีและศัพท์ในหมวดหมู่เดียวกันกำลังสั่นคลอน แต่เพราะเป็นค่านิยม ความเชื่อที่อยู่มาแสนนาน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะล้มล้างลงได้ชั่วข้ามคืน

0 0 0

ผมไม่มีความรู้ด้านรัฐศาสตร์ ยิ่งปรัชญายิ่งไม่ต้องพูดถึง แค่พอรู้เลาๆ ว่า อะไรดี-ไม่ดี คือคำถามอมตะนิรันดร์กาลตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ถึงยุคสมาร์ทโฟนก็ยังไม่มีคำตอบใดที่ทุกฝ่ายยอมรับ บ้างก็ว่าหากจะตัดสินดี-เลวให้ดูที่ผลลัพธ์สุดท้าย บ้างให้ดูที่เจตนา บ้างให้ใช้เหตุผลเพื่อเลือกกระทำสิ่งที่ดีที่สุด ...ก็ว่ากันไป

ผมว่า 'ความดี' เป็นสิ่งนามธรรมที่แปลกประหลาดและน่าสงสาร ดูเหมือนทุกคนอยากครอบครองมัน แต่ก็ปฏิเสธมัน

เท่าที่สังเกต ยามที่เราชื่นชมใครสักคนว่าเป็นคนดีแบบซึ่งๆ หน้า มักได้รับการปฏิเสธ (ส่วนใครจะประกาศดังๆ ว่า 'ผมจะเป็นคนดี' ผมถือเป็นกรณียกเว้น) บางคนกลับอธิบายถึงความชั่วร้ายหรือข้อบกพร่องของตนเพื่อบอกว่า "ผม/ฉันไม่ใช่คนดีอะไรหรอก" เหมือนกับต้องการสร้างเกราะป้องกันบางๆ เผื่อไว้สำหรับการกระทำผิดพลาด แน่นอน เราไม่มีทางรู้ความรู้สึกนึกคิดภายในของคนผู้นั้น เขาอาจกำลังเหลิงลอยไปไกลแล้วก็ได้

ขณะที่บางคนเลือกจะแสดงด้านมืดให้เห็นกันจะๆ อาจเพราะไม่อยากปิดบังความเป็นตัวตน อาจเพราะต้องการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อกระทำสิ่งที่อยู่นอกบรรทัดฐานสังคม แต่อยู่ในอาณาเขตความพึงพอใจส่วนตัว หรือเหตุผลใดก็ตาม บ่อยครั้งที่การแสดงด้านมืดที่ใครๆ เชื่อว่ามันคือตัวตนของคนผู้นั้นก็กลายเป็น 'ความดี' อีกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดหมวดอยู่ในความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา แน่นอน อีกเหลี่ยมมุมหนึ่งมันก็มีค่าใช้จ่ายสูงที่คนผู้นั้นต้องจ่าย

'ความดี' ช่างเป็นเรื่องน่าปวดหัว ดังนั้น "ผม/ฉัน ไม่ใช่คนดีอะไรหรอกครับ/ค่ะ" จึงเป็นประโยคที่คลุมเครือในตัวมันเอง เหมือนจะบอกว่า ฉันเป็นคนไม่ดี แต่ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว

คนดีมักมีที่ทางให้ขยับเนื้อขยับตัวน้อยกว่า มันถูกจำกัดด้วยมาตรฐานที่คนภายนอกคาดหวังว่าจะได้เห็นจากคนดีผู้ครอบครองความดี ขณะที่คนไม่ดีดูจะมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับกระทำตามความต้องการของจิตใจ โดยไม่ต้องถูกคาดหวังจากใคร ถึงกระนั้นในโลกความเป็นจริงกลับไม่มีใครดีทั่ว ชั่วหมด

0 0 0

นอกจากความดีจะโคตรยาก ซับซ้อน และน่าสงสารแล้ว มันยังเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในประวัติศาสตร์ ใช่, ดังที่รู้ มนุษย์เข่นฆ่ากันด้วยเหตุผลแห่งความดีมาแต่ไหนแต่ไร แต่จะทำเช่นนั้นได้ มนุษย์จำต้องหยิบยื่นญาติผู้ใกล้ชิดความดีที่สุดให้แก่อีกฝ่ายเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การเข่นฆ่า ด่าทอ เหยียดหยาม-ความชั่วร้าย

ในศาสนาคริสต์ ลูซิเฟอร์ จอมมารผู้เกลียดชังมนุษย์ก็คืออดีตเทวทูตมือดีของพระเจ้า ฮาเดส จ้าวแห่งโลกใต้พิภพเป็นน้องชายของซูส ราชาแห่งขุนเขาโอลิมปัส และพระพุทธเจ้าก็ต้องผจญพญามารบนหนทางสู่โพธิ ตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยเฉพาะในยุคกลางของยุโรป ความดี-ความชั่ว ที่มองผ่านแว่นของศาสนาค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่อำมหิตนัก

ปัจจุบัน ศาสนาไม่ใช่กรอบแว่นหลักที่คนเราใช้มองความดี-ความชั่ว แต่ความอำมหิตยังไม่เสื่อมคลาย

0 0 0

ผมเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องมีมโนทัศน์เรื่อง 'ความดี' หรือพูดให้ตรงกว่านั้น คือมีเกณฑ์อะไรบางอย่างที่กำหนดเส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่ ใช่-ไม่ใช่ ควร-ไม่ควร เหมาะ-ไม่เหมาะ ขืนไม่มีเกณฑ์เลยโลกนี้คงอลหม่าน ซึ่งถึงที่สุดอาจไม่จำเป็นต้องเรียกสิ่งนี้ว่า 'ความดี' ก็ได้

ความยากคือไอ้เกณฑ์ที่ว่ามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัยและบริบทที่ห้อมล้อม

โลกปัจจุบันคงไม่มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองใดที่ทรงอิทธิพลมากเท่าระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีเกณฑ์คุณงามความดีหรือชุดคุณค่าของมันอยู่ชุดหนึ่ง ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็มีเกณฑ์ชุดหนึ่ง และเกณฑ์อื่นๆ อีกหลายชุดตามความเชื่อชุดอื่นๆ ของมนุษย์ ความดีจึงมีชนิดพันธุ์ของมัน ข้อดีของการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่ที่มันเปิดโอกาสให้ชุดคุณค่าเหล่านี้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องทะเลาะตบตีกัน

ทว่า ความดีสามารถหลอกลวงมนุษย์ได้เก่งกาจไม่แพ้ความชั่ว ยิ่งความดีถูกฉาบเคลือบด้วยอุดมการณ์สูงส่งมากเท่าใด ความดีนั้นก็ยิ่งอำมหิตมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ปรากฏการณ์ที่ผมพบเจอจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยระยะใกล้ก็คือ กลุ่มก้อนความคิดทางการเมืองฟากฝั่งที่เรียกว่าอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายที่เชื่อมั่นในประชาธิปไตยต่างก่นด่าคนที่เชื่อใน 'ความดี' อีกชุดหนึ่งเสียยับเยิน 'ความดี' ที่มิใช่ความดีของฉันมักถูกตีตราเป็นความชั่วร้าย ฝ่ายแรกเชื่อมั่นกับชุดคุณค่าแบบเดิมๆ และเห็นฝ่ายหลังมิใช่มนุษย์ เพราะจ้องจะทำลาย 'ความดี' ที่ตนเองยึดถือ ฝ่ายหลังซึ่งน่าจะเข้าใจคุณค่าความเป็นมนุษย์ดีกว่าก็หยามเหยียด แดกดัน ด่าทอฝ่ายแรกชนิดไม่เป็นผู้เป็นคนพอๆ กัน สิ่งที่ดูย้อนแย้งพิกลคือฝ่ายหลังปฏิเสธ 'ความดี' 'คนดี' หรือชุดคุณค่าของฝ่ายแรก แต่ก็สร้างและเชื่อมั่นใน 'ความดี' 'คนดี' (แม้จะไม่ใช้คำนี้) และชุดคุณค่าตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ายังไงๆ มันต้องดีกว่า 'ความดีจอมปลอม' ของฝ่ายแรก

แล้วเราก็ทำร้ายกัน ด่าทอกัน เหยียดหยามกัน และถึงขั้นเข่นฆ่ากัน

...ก็เหมือนที่ผ่านๆ มา เราสร้างพระเจ้าขึ้น เพื่อฆ่าพระเจ้าองค์อื่นๆ ไม่ว่าเราจะเรียกขานพระเจ้าของเราด้วยนามใด-ความดี ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ ทุนนิยม ความรักชาติ ความจงรักภักดี ศาสนา เสรีภาพ เผด็จการ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

อาจบางที ความเผลอไผลทำให้เราสร้างพระเจ้าของเราขึ้นบนโลกภายนอก เพื่อเข่นฆ่าพระเจ้าของผู้อื่น พร้อมๆ กันนั้น เราก็สร้างปีศาจขึ้นภายในเพื่อบงการพระเจ้าอีกทอดหนึ่ง...โดยไม่รู้ตัว

0 0 0

เราอาจโต้เถียงกันได้ว่า ความดีแบบนั้นแบบนี้ทำร้ายผู้คนอย่างไร แต่เป็นไปได้เพียงใดที่จะหักหาญให้โลกนี้ไม่มีที่ทางให้แก่ความดีที่เราเกลียดมัน

บทสนทนาครั้งหนึ่งกับอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผมถามด้วยความสงสัยว่า ทำไมเราต้องเลือกระหว่าง 'ประชาธิปไตย' กับ 'ความดี' อาจารย์เสกสรรค์ตอบกลับด้วยคำถามว่า ถ้าให้เลือกระหว่างตาซ้ายกับตาขวาจะเลือกอะไร

สุดท้าย มันจึงกลายเป็นสงครามช่วงชิงความหมายของ 'ความดี' ว่า 'ความดี' ของใครเป็น 'ความดี' ที่ 'ดี' กว่า

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไทยอีนิวส์' ถูกลบจาก 'บล็อกสปอต'-ยังไม่ทราบสาเหตุ

Posted: 18 Jan 2013 02:33 AM PST


ภาพหน้าจอเมื่อเข้า http://thaienews.blogspot.com/ (เข้าถึงเมื่อ 18 ม.ค.56)

 

(18 ม.ค.56) สมศักดิ์ ภักดีเดช ผู้ดูแลเว็บบล็อก 'ไทยอีนิวส์' (http://thaienews.blogspot.com) ซึ่งเป็นเว็บเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางสังคมการเมืองในประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ เมื่อเข้าเว็บบล็อกไทยอีนิวส์ ก็พบข้อความว่า "บล็อกถูกลบแล้ว" โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ลบ และไม่เคยมีอีเมลแจ้งเตือนล่วงหน้าหรือแจ้งเหตุผลในการลบจากกูเกิลแต่อย่างใด ทั้งนี้ ได้กดปุ่มแจ้งอุทธรณ์ไปแล้ว ซึ่งระบบให้รอ 24-48 ชั่วโมง

สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คิดว่ามีสาเหตุมาจากการเมือง เพราะบล็อกของตนถูกปิดกั้นมานานแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยังปิดต่อเนื่อง แต่ผู้ที่สนใจก็ยังหาทางอ้อมเข้ามาอ่านได้ จึงคิดว่าอาจเป็นปัญหาทางเทคนิค อาจมีผู้กดรีพอร์ตไปยังกูเกิลจนถึงเกณฑ์ จึงถูกลบ อย่างไรก็ตาม ยังมองว่าแปลกที่มาถูกลบในช่วงนี้ เพราะถ้าถูกรีพอร์ตน่าจะโดนมาตลอด เพราะคนไม่ชอบก็มีอยู่มาก แต่ถ้าถามว่ามีเนื้อหาขัดกับกฎหมายไหม ก็คิดว่าไม่ขัด เพราะทางทีมก็ได้คุมไม่ให้มีอะไรที่หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายอยู่แล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อคนงานเหมาค่าแรงบริดจสโตนอินโดนีเซียต่อสู้จนได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ

Posted: 18 Jan 2013 01:39 AM PST

ปัญหาการจ้างเหมาแรงงานเป็นปัญหาระดับชาติในประเทศอินโดนีเซีย  ทั้งนี้ขบวนการแรงงานอินโดนีเซียได้ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และศาลรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียได้มีคำพิพากษาออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2012 ซึ่งชี้ว่าการจ้างงานแบบเอาท์ซอร์ส เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและเป็นการละเมิดสิทธิคนงาน

 
 
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2012) คนงานเหมาค่าแรงและคนงานสัญญาระยะสั้น 997 คนซึ่งทำงานอยู่ที่โรงงานคาราวัง (Karawang) และเบอกาซี่ (Bekasi) ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำของบริษัทบริสโตน
 
นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านแรงงานสัมพันธ์ของอินโดนีเซียและเป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับสมาชิก IndustriALL  ทั้งนี้สหภาพแรงงาน KEP SPSI มีสมาชิก 3250 คนทำงานอยู่ที่บริษัทบริดจสโตน
 
สหภาพแรงงานและบริษัทบริโตนได้มีการเจรจากันในเรื่องคนงานจ้างเหมามาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่สหภาพแรงงานได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาที่จัดโดย ICEM (ปัจจุบัน IndustriALL) โครงการมาตรฐานแรงงานสากลและการเจรจาต่อรองร่วมและโครงการรณรงค์ปัญหาการจ้างเหมา 
 
ตามกฏหมายแรงงานอินโดนีเซีย (หมายเลข 13/2003) การจ้างเหมาแรงงานในไลน์การผลิตถือเป็นการผิดกฏหมาย ทว่าไม่มีการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวอย่างเข้มงวด 
 
ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2011 ได้มีการเจรจาอย่างต่อเนื่องระหว่างบริษัทกับสหภาพแรงงานในเรื่องปัญหาการจ้างเหมา และบริษัทได้ตกลงที่จะยุติการรับคนงานเหมาค่าแรงชุดใหม่ในไลน์การผลิต พร้อมทั้งเตรียมการเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนสถานภาพการจ้างงานของพนักงานเหมาค่าแรงให้เป็นพนักงานประจำ ในปี 2011 พนักงานเหมาค่าแรง 200 คนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ
 
ตลอดปี 2012 สหภาพแรงงานได้ทำการเจรจาอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรจุพนักงานจ้างเหมาส่วนที่เหลืออยู่ให้เป็นพนักงานประจำ และในเดือนพฤศจิกายน 2555 กระทรวงแรงงานได้ออกกฏกระทรวงเพื่อบังคับใช้กฏหมายแรงงานอย่างเข้มงวดโดยอนุญาติให้บริษัทสามารถใช้แรงงาน
จ้างเหมาได้เพียง 5 ประเภทงานเท่านั้น ได้แก่ งานรักษาความปลอดภัย งานทำความสะอาด งานโรงอาหาร  งานผู้ช่วยในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และงานขนส่ง 
 
หลังจากบริษัทและสหภาพแรงงานบรรลุข้อตกลงเมื่อเดือนธันวาคม 2012  คนงานเหมาค่าแรงและสัญญาระยะสั้น 997 คนได้รับการบรรจุทั้งหมดเป็นพนักงานประจำของบริษัทบริสโตน คนงาน 997 คนได้รับเงินค่าชดเชยการเปลี่ยนสัญญาจ้าง และการนับอายุงานของคนงาน นับจากวันแรกที่คนงานเข้ามาทำงานที่บริษัทบริโตน
 
สหภาพแรงงานกล่าวว่ายังมีคนงานเหมาค่าแรงอีก 171 คนซึ่งทำงานขับรถและพนักงานรักษาความปลอดภัย  สหภาพแรงงานจะเจรจาเพื่อพนักงานกล่มนี้ในเดือนมกราคม 2013
 
ปัญหาการจ้างเหมาแรงงานเป็นปัญหาระดับชาติในประเทศอินโดนีเซีย  ทั้งนี้ขบวนการแรงงานอินโดนีเซียได้ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และศาลรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียได้มีคำพิพากษาออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2012 ซึ่งชี้ว่าการจ้างงานแบบเอาท์ซอร์ส เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและเป็นการละเมิดสิทธิคนงานซึ่งรัฐธรรมนูญประเทศอินโดนีเซียได้การันตีให้กับคนงานและประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค
 
สหภาพแรงงานอินโดนีเซียหลายองค์กรประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสถานภาพการจ้างงานของคนงานจ้างเหมาเป็นพนักงานประจำ
 
ที่มา:
 
http://www.industriall-union.org/indonesian-bridgestone-workers-win-permanent-employment
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ โรฮิงญา มนุษย์ที่ไม่ถูกนับรวม

Posted: 18 Jan 2013 12:51 AM PST

คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรฮิงญาคือเชื้อสายผสมที่สืบทอดมาจากแขกมัวร์ อาหรับ พ่อค้าเปอร์เซียน เตอร์ก ปาทาน เบงกาลี กับคนพื้นเมืองอาระกัน และตั้งรกรากอยู่ในรัฐอาระกันตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมกุลในช่วงศตวรรษที่ 9-15

ปี ค.ศ. 1948 พม่าประกาศเอกราชและก้าวสู่รัฐชาติสมัยใหม่ ขณะที่บังกลาเทศที่รู้จักกันในปัจจุบันประกาศเอกราช แยกตัวจากอินเดีย เป็นปากีสถานตะวันออก เมื่อปี 1947 ก่อนจะแยกตัวเป็นบังกลาเทศในเวลาต่อมา

โรฮิงญาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากรัฐชาติสมัยใหม่ เมื่อมีการขีดเส้นเขตแดน พวกเขาไม่ถูกนับรวมเป็นประชากรของประเทศใดเลย ไม่ว่าจะเป็นพม่าหรือบังกลาเทศ ไม่ได้รับสิทธิในฐานะพลเมือง และพยายามแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าโดยการล่องเรือมายังมาเลเซียและไทย และเข้ามาสู่กระบวนการค้ามนุษย์

 

จำนวนประชากรโรฮิงญา

ประชากรโรฮิงญา ตัวเลขอย่างเป็นทางการขององค์การสหประชาชาติคาดว่ามีประมาณ 1,424,000 ++

อย่างไรก็ตาม การเก็บจำนวนประชากรโรฮิงญานั้น ไม่อาจระบุจำนวนที่แน่นอนได้ เป็นเพียงตัวเลขประมาณการดังนี้

พม่า (รัฐอาระกัน) 800,000 คน

บังกลาเทศ 300,000 คน

ปากีสถาน 200,000 คน

 ไทย 100,000 คน

 มาเลเซีย 24,000 คน

ซาอุดิอาระเบีย 500,000-600,000 คน

อินเดีย 4,000 คน

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

นอกเหนือจากการล่องเรือและเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ในปีที่ผ่านมา ชาวโรฮิงญาซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมีปัญหากระทบกระทั่งและนำไปสู่การปะทะกันกับคนชาติพันธุ์อาระกันซึ่งนับถือศาสนาพุทธในรัฐยะไข่ หรือรัฐอาระกัน ประเทศพม่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน และบ้านเรือนนับพันหลังถูกเพลิงไหม้

ข้อมูลจากฮิวแมนไรท์วอทช์เมื่อเดือน ต.ค. 2555 ความรุนแรงจากการปะทะ ประกอบกับการที่รัฐบาลพม่ามีควบคุมการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชุมชนชาวโรฮิงยาที่ต้องอพยพหลังเกิดความรุนแรง ทำให้มีชาวโรฮิงยาราว 104,000 ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในเรื่องอาหาร ที่พัก และการดูแลสุขภาพ มีผู้อพยพภายในประเทศ (Internally displaced persons - IDP) 75,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงยา และอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 40 แห่งในเมืองซิต ตเหว่ และเจาก์ตาว

สำหรับสถานการณ์ของชาวโรฮิงญาที่ถูกกักตัวในประเทศไทยนั้น ชาวโรฮิงญาล่องเรือเข้ามาในเขตประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งล่าสุด มีการกักตัวชาวโรฮิงญาในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา กว่า 800 คน โดย UNHCR เรียกร้องไทยอย่าส่งตัวกลับไปยังพม่า แต่ขอให้ส่งไปยังประเทศที่สาม เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียเป็นต้น

วันที่ 15 ม.ค. กลุ่มคณาจารย์ นักกิจกรรมทางสังคม และนิสิตนักศึกษา เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาสารคามร่วมกันลงนามเรียกร้องยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญา

โดยข้อเรียกร้องมี 3 ข้อ คือ

ประการแรก ขอเรียกร้องให้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของรัฐสภา องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนทั้งของไทยและสากล เข้ามีบทบาทในการเข้าช่วยเหลือชาวโรฮิงญาโดยเร่งด่วน โดยกดดันให้รัฐบาลไทยยุตินโยบายและปฏิบัติการที่เป็นการผลักดันชาวโรฮิงญากลับพม่า

เพราะชาวโรฮิงญาแตกต่างจากผู้อพยพหรือแรงงานข้ามชาติกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากพวกเขาเป็นคนไร้รัฐ การผลักดันพวกเขาออกนอกประเทศกลับไปยังพม่าจะทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และหากพวกเขาหลบหนีออกมาอีกครั้งก็จะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียชีวิตระหว่างหลบหนีหรือไม่ก็ต้องตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์อีก

สำหรับนโยบายในการแก้ปัญหาชาวโรฮิงญา รัฐไทยต้องให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและปฏิบัติการของรัฐไทยต่อชาวโรฮิงญาเป็นกรณีเฉพาะ

ประการที่สอง ขอเรียกร้องให้สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือประชาคมอาเซียนและรัฐบาลในประเทศกลุ่มอาเซียนเข้ามีบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า โดยกดดันใหรัฐบาลพม่าและชาวพม่ากลุ่มอื่น ยุติการปราบปรามเข่นฆ่า และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ต่อชาวโรฮิงญาโดยทันที และให้การช่วยเหลือชาวโรฮิงญาทั้งที่ยังอยู่ในประเทศพม่าและที่หลบหนีออกมา รวมทั้งที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์โดยเร่งด่วน

หากประชาคมอาเซียนและรัฐบาลในประเทศกลุ่มอาเซียนเพิกเฉยต่อชาวโรฮิงญาก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าประชาคมอาเซียนเป็นเพียงการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวโดยไม่ตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาคมอาเซียนเอง

ประการที่สาม ขอให้สังคมไทยร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลไทยดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 อย่างจริงจัง รวมทั้งทำการรณรงค์ให้ยุติการค้ามนุษย์ในประเทศไทยโดยเร่งด่วน สำหรับกรณีของชาวโรฮิงญาที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ที่ภาคใต้ใน ขณะนี้ ขอให้สังคมไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พวกเขาโดยเร่งด่วน โดยไม่มีอคติทางศาสนาและชาติพันธุ์ แต่ถือว่าชาวโรฮิงญา คือเพื่อนร่วมโลกของเรา

ภายหลังจากมีการเผยแพร่และรณรงค์ผ่านเฟซบุ๊ก มีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 25,000 คนภายใน 1 วัน

 

อ้างอิง

ฮิวแมนไรท์ วอทซ์เผยภาพชุมชนโรฮิงญาถูกเผาวอด หลังเหตุขัดแย้งรอบล่าสุดในพม่า

http://prachatai.com/journal/2012/11/43432

ออง ซาน ซูจีปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าข้างทั้งชาวโรฮิงญาและชาวยะไข่

http://prachatai.com/journal/2012/11/43480

ดีเอสไอเผยนายกฯเตรียมดึงยูเอ็นช่วยโรฮิงญา

http://www.dailynews.co.th/crime/178693

UNHCR เรียกร้องอย่าส่งโรฮิงญากลับ ปท.ต้นทาง

http://news.voicetv.co.th/thailand/60615.html

ASEAN Weekly: วิกฤตในรัฐอาระกัน สู่ประเด็นระหว่างประเทศ

http://prachatai.com/journal/2012/09/42570

ศูนย์มนุษยชนเพื่อพี่น้องโรฮิงญา

https://www.facebook.com/RHCThailand?fref=ts

สารคดี "โรฮิงญาที่ฉันรู้จัก"

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=39SNpboZXAQ

 

แหล่งอ้างอิงประชากรโรฮิงญา

http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people

http://articles.timesofindia.indiatimes.com/2013-01-14/kolkata/36330829_1_rohingyas-naf-river-myanmar-state

http://www.csss-isla.com/arch-July-1-15-2012.htm

http://www.saudigazette.com.sa/index.cfm?method=home.regcon&contentid=20120723130781

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น