ประชาไท | Prachatai3.info |
- นักศึกษา PerMAS เยี่ยมบันนังสตา เผย ปชช.ถูก จนท.คุมตัวกว่า 30 คน
- ทันตแพทยสภา จับมือ สคบ. แถลงจัดการธุรกิจจัดฟันแฟชั่นออนไลน์
- 'ผสานวัฒนธรรม' เผยกะเหรี่ยง บ้านวังโค อ.สวนผึ้ง เสี่ยงต่อการถูกบังคับอพยพ
- ครม. อัด 3.56 หมื่นล้าน บัตรคนจนเฟส 2 ใครร่วมโครงการแก้จนให้เพิ่ม 100-200 บ.
- 'อานนท์ นำภา' รับทราบข้อหาหมิ่นศาล ปมโพสต์วิจารณ์ศาล เพื่อนทนายหลายสิบร่วมให้ใจกำลังใจ
- โสภณ พรโชคชัย: อย่าเพิ่งเชื่อ 'โจน จันใด'
- จาตุรนต์ ฉายแสง: คสช.กำลังทำให้ระบบต่อต้านคอรัปชั่นล้มละลายยาวนาน
- ชวนถกกรณีอดีตพนง.กูเกิลฟ้องบริษัท ทำอย่างไรเมื่อเสรีนิยมไม่ยอมรับความเห็นต่าง
- SOTUS ที่ทำให้ประชาธิปไตยสร้าง (ไม่) เสร็จในมหาวิทยาลัย
- กวีประชาไท: ก า ฬ ยุ ค
- ในวันที่ได้รับอิสรภาพของสุภาพ คำแหล้ สตรีนักสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกิน
- พุทธะอิสระเข้าแจงกองปราบปมถูกกล่าวหา ผิด ม.112 หลังมีกระแสเตรียมบุกค้นวัด
- ผู้ใช้เน็ตจีนเริ่มเคือง หลังบ.ไอทีเผยข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้
- ผลสำรวจพบนักข่าวหญิงเผชิญการคุกคามทางเพศกว่า 48%
นักศึกษา PerMAS เยี่ยมบันนังสตา เผย ปชช.ถูก จนท.คุมตัวกว่า 30 คน Posted: 10 Jan 2018 11:50 AM PST สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนบันนังสตา ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่เหวี่ยงแห่ปิดล้อมปูพรมควบคุมตัว ชาวบ้าน มากกว่า 30 คน ชี้มาตรการดังกล่าว สร้างความหวาดระแวงต่อการบังคับใช้กฏหมาย 10 ม.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี หรือ เปอร์มัส (PerMAS) โพสต์รายงานผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'The Federation of Patani Students and Youth - PerMAS' ว่า กลุ่ม ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนบันนังสตา ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่เหวี่ยงแห่ปิดล้อมปูพรมควบคุมตัว ประชาชน มากกว่า 30 คน ซึ่งในขณะนี้ทาง PerMAS ได้หารือกับชาวบ้านเพื่อเก็บข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการปิดล้อมดังกล่าว ซึ่งการปิดล้อมควบคุมตัวดังกล่าว ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหวาดระแวงต่อการบังคับใช้กฏหมายที่ตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่ รายงานข่าวของเปอร์มัส ระบุด้วยว่า ชาวบ้านในพื้นที่เปิดเผยว่า ในขณะที่ไปเยี่ยมคนที่ถูกควบคุมตัวชาวบ้านยังพบเห็นรอยฟกชำตามร่างกายและร่างกายอ่อนล้าคลายกับการซ้อมทรมานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ผู้ที่ถูกควบคุมตัวรับสารภาพ ฮาฟิส ยะโกะ ประธานเปอร์มัส กล่าวว่า แม้การปิดล้อมตรวจค้นชาวบ้านยังคงเกิดขึ้น แต่เราก็ไม่หยุดที่จะอยู่เคียงข้างประชาชน ซึ่งการปูพรมปิดล้อมของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ส่งผลต่อการแก้้ไขปัญหาในพื้นที่ยากเกินกว่าที่จะแก้ไขได้และทางเจ้าหน้าได้ทำลายความเชื่อมั่นของตนเอง การบังคับใช้กฏหมายพิเศษของเจ้าหน้าที่นั้นส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าที่จะออกไปกรีดยางไม่กล้าออกไปไหนหวาดกลัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปรธาน เปอร์มัส กล่าวด้วยว่า เรายังคงที่จะยืนหยัดต่อสู้กับความอยุติธรรมเพื่อสิทธิของประชาชนและอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทันตแพทยสภา จับมือ สคบ. แถลงจัดการธุรกิจจัดฟันแฟชั่นออนไลน์ Posted: 10 Jan 2018 05:46 AM PST ทันตแพทยสภา จับมือ สคบ. แถลงความคืบหน้า รุกจัดการ 'ธุรกิจจัดฟันแฟชั่นออนไลน์' หลัง สคบ.ออกประกาศห้ามขายอุปกรณ์จั 10 ม.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. ได้มีการจัดประชุมแนวทางจัดการ "ธุรกิจจัดฟันแฟชั่น" ที่ระบาดอย่างแพร่หลายในสื่อสั ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ธุรกิจจัดฟันแฟชั่นที่ ทั้งนี้ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการอย่างจริงจัง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ "จากการติดตามพบว่า การโฆษณาธุรกิจจัดฟันแฟชั่ ทพ.ไพศาล กล่าวว่า ขณะเดียวกันสำนั ด้าน ทพ.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทันตแพทยสภา ให้ข้อมูลว่า ตามที่ได้รับเบาะแสเรื่องจัดฟั พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริ "การจัดฟันได้มีพัฒนการเปลี่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'ผสานวัฒนธรรม' เผยกะเหรี่ยง บ้านวังโค อ.สวนผึ้ง เสี่ยงต่อการถูกบังคับอพยพ Posted: 10 Jan 2018 05:31 AM PST มูลนิธิผสานวั 10 ม.ค. 2561 มูลนิธิผสานวั มูลนิธิผสานวั ชาวบ้านระบุว่าเนื่ มูลนิธิผสานวั การดำเนินการใดๆ ของทางรัฐต้ "ยิ่งไปกว่านั้น จากข้อเท็จจริงที่ได้ตรวจสอบพบ แทนที่รัฐจะเข้ามาดูแลช่วยเหลื ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ครม. อัด 3.56 หมื่นล้าน บัตรคนจนเฟส 2 ใครร่วมโครงการแก้จนให้เพิ่ม 100-200 บ. Posted: 10 Jan 2018 02:08 AM PST ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 โดยเน้นการพัฒนาตัวเองภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด และการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบ ใครร่วมโครงการแก้จนให้เพิ่ม 100-200 บ. ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 10 ม.ค. 2561 ไทยพีบีเอส รายงานว่า ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 ซึ่งรัฐบาลต้องการให้เกิดการพัฒนาตัวเองภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยมีคณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จุดเด่นของมาตรการระยะที่ 2 จะวิเคราะห์ให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคล พัฒนาคุณภาพชีวิตตามความจำเป็นใน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติการมีงานทำ มิติการมีอาชีพ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน โดยคาดว่าจะสามารถเข้าถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างน้อย 4,700,000 คน นอกจากนี้ ยังบูรณาการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนผ่าน 2 มาตรการจูงใจได้แก่ เปิดโอกาสให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้พัฒนาตัวเอง ด้วยการเข้าร่วมอบรมในโครงการต่างๆ กว่า 30 โครงการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากแสดงความประสงค์เข้ารับการอบรมจะได้รับวงเงินเพิ่มเติม 200 บาทต่อเดือนต่อคน หากมีรายได้เกิน 30,000 บาท ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้รับวงเงินเพิ่ม 100 บาทต่อเดือนต่อคน และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อจูงใจภาคเอกชนโดยนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล จัดการฝึกทักษะฝีมือให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่าย ที่นายจ้างได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้มีบัตร และรายจ่ายที่นายจ้างได้จ่ายเพื่อจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจ่ายเป็นค่าจ้างผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฉพาะในส่วนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนลูกจ้างในบริษัท โดยผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องยอมให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบของรัฐ รายละเอียดงบประมาณ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ครม. อนุมัติมาตรการดังกล่าว ภายใต้งบประมาณ 35,679.09 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 2,989.17 ล้านบาท งบประมาณเพื่อรองรับการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ไม่เกิน 18,807.41 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อวัตถุดิบในร้านค้าประชารัฐวงเงิน 13,872.51 ล้านบาท "มาตรการช่วยเหลือคนจนเฟส 2 เป็นมาตรการสมัครใจ หากใครแสดงความประสงค์ที่จะร่วมกับภาครัฐ ภายในเดือนมี.ค. 2561 จะมีการเพิ่มเงินช่วยเหลือในค่าครองชีพ ค่ารถโดยสาร ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ที่มีจัดสรรเงินไว้ วงเงิน 13,872 ล้านบาท แบ่งเป็น ผู้ที่มีรายได้ไม่เกินปีละ 3 หมื่นบาท ได้รับเงินเพิ่มคนละ 200 บาทต่อเดือน และที่มีรายได้สูงกว่าปีละ 3 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท ได้รับเงินเพิ่มคนละ 100 บาทต่อเดือน เชื่อว่า จะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยมีรายได้พ้นเส้นความยากจนได้ประมาณ 4.7 ล้านคน มาตรการนี้จะเป็นการเริ่มให้ตกปลา ไม่ได้แจกปลา เพื่อความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตคนไทย" ณัฐพร กล่าว ณัฐพร กล่าวว่า ทั้งนี้ การจะรับเงินเพิ่มดังกล่าวได้ ต้องมีเงื่อนไขให้ผู้ที่มีรายได้น้อยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการพัฒนารายบุคล ทั้งฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะ ตามที่รัฐบาลกำหนด โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอาชีพจะได้รับเงินในเดือนถัดไปหลังจากที่ได้แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้จนถึงเดือนธ.ค. 2561 เบื้องต้น คาดว่า เงินก้อนแรกจะลงไปถึงมือได้ประมาณเดือนมี.ค. 2561 นี้ และในการดำเนินการดังกล่าว หากผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมผิดเงื่อนไขไม่ทำตามที่กำหนดไว้ รัฐจะหักเงินเพิ่มในเดือนถัดไปออกทันที ณัฐพร กล่าวด้วยว่า นอกจากการจัดสรรวงเงินเพิ่มให้ผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังมีโครงการต่างของหน่วยงานภาครัฐที่จะเข้าไปพัฒนาผู้มีรายได้น้อย รวมกันถึง 34 โครงการ ทั้งการส่งเสริมให้มีงานทำ 5 โครงการ การฝึกอบรมและการศึกษา 10 โครงการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ 11 โครงการ และการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน 8 โครงการ โดยในจำนวนนี้มีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ 6 โครงการ วงเงินรวม 18,807 ล้านบาท ทั้งโครงการเพิ่มทักษะอาชีพเกษตรกร 110 หลักสูตร การจ้างแรงงานภาคเกษตรก่อสร้างและบำรุงรักษางานชลประทาน ของกระทรวงเกษตรฯ ฝึกอาชีพเร่งด่วนช่างเอนกประสงค์ จัดหลักสูตรฝึกอาชีพเสริม 3 หลักสูตร และค้นหาตำแหน่งงานว่างผ่านตู้งาน ของกระทรวงแรงงาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'อานนท์ นำภา' รับทราบข้อหาหมิ่นศาล ปมโพสต์วิจารณ์ศาล เพื่อนทนายหลายสิบร่วมให้ใจกำลังใจ Posted: 10 Jan 2018 01:36 AM PST ทนายอานนท์ นำภา เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับ ปอท. ปมโพสต์วิจารณ์ศาล หลังจากมีการพิพากษาคดีนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัว 'ไผ่ ดาวดิน' เพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ (ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo) 10 ม.ค. 2561 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association) รายงานว่า วันนี้ (10 ม.ค. 61) เวลาประมาณ 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมาย พร้อมด้วยทนายความ และเพื่อนๆ นักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ รายงานข่าวระบุว่า อานนท์ ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟสบุ๊ค 2 ข้อความ คือ ข้อความว่า ""ทั้งยังสั่งห้ามคบค้าสมาคม...." ศาลเอาอำนาจอะไรไปสั่งใครห้ามคบกับใคร ตลกจริงๆ" และข้อความว่า "ศาลทำตัวเองแท้ๆ ถ้าการทำหน้าที่ของท่านจะถูกชาวบ้านชื่นชมหรือดูแคลน พึงรู้ไว้ว่ามันเกิดจากท่านทำตัวท่านเอง ผมหมายถึงศาลจังหวัดขอนแก่นนั่นหล่ะครับ" ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสในวันที่ 2 พ.ย. 2560 หลังจากมีการพิพากษาคดีที่สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือนิว และนักศึกษาดาวดินรวม 7 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งขณะนั้นถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยคดีนี้ พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์ เป็นผู้แจ้งความต่อ ปอท. จันทรจิรา จันทร์แผ้ว ทนายความที่เดินทางมาร่วมให้กำลังใจ กล่าวว่า การที่เพื่อนๆนักกฎหมาย ทนายความเดินทางมาให้กำลังใจอานนท์ในวันนี้ เนื่องมาจากเห็นว่า การถูกดำเนินคดีดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของอานนท์เพียงคนเดียว แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจกฎหมายในการคุกคามทนายความและการใช้เสรีภาพในแสดงออก ซึ่งการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน การเป็นนักกฎหมายหรือทนายความด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากจะทำหน้าที่ว่าความในศาลแล้ว บางกรณีเราต้องมีบทบาทในการช่วยพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมด้วย ซึ่งการแสดงออกให้สาธารณะได้เห็นถึงปัญหา ความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการยุติธรรมหรือคนในกระบวนการยุติธรรมก็ถือเป็นหน้าที่ในการช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรมรูปแบบหนึ่ง การที่อานนท์โพสต์ข้อความเชิงวิพากษ์กระบวนการยุติธรรมแล้วทำให้ถูกดำเนินคดี ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนจากภาคเหนือ เห็นว่ากรณีนี้ทนายความถูกแจ้งข้อกล่าวหาอันเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะประเด็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทนายความทุกคนที่ต้องทำงานเผชิญหน้ากับตำรวจ อัยการ หรือผู้พิพากษา โดยเฉพาะคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการต่อสู้กันเข็มข้น ซึ่งบางทีอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันจนเกิดความไม่พอใจกันเกิดขึ้น แล้วมีการหาช่องทางกฎหมายมาเล่นงานกัน เราจึงต้องมาแสดงจุดยืนในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ควรมีการนำกฎหมายมาใช้เล่นงานทนายความหรือปิดกั้นการแสดงออกของทนายความ กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ บอกว่า ตั้งใจมาให้กำลังใจทนายอานนท์ เพราะอานนท์เป็นทนายความที่อุทิศตนเพื่อรักษาหลักการ และทำงานช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด และเห็นว่าการดำเนินคดีครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้อง มีการบิดเบือนกฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงออก ดังนั้น เราในฐานะนักกฎหมายต้องออกมายืนยันในหลักการว่าทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกและการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สุรชัย ตรงงงาน ทนายความด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการมาให้กำลังใจอานนท์วันนี้ว่า สิ่งที่ทนายอานนท์ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก เป็นเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อยนยันในหลักการของเขา เป็นเหตุทำให้เขาถูกดำเนินคดีนี้ เราทราบกันดีว่าทนายความเราเป็นวิชาชีพ เราไม่ได้เป็นแค่อาชีพเพื่อทำมาหากิน แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งที่อานนท์ทำก็เป็นไปเพื่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญมากในสังคมไทยปัจจุบัน รายงานข่าวระบุด้วยว่า หลังจากนั้น ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ ได้เป็นตัวแทนของนักกฎหมายและทนายความที่มาให้กำลังใจ อ่านแถลงการณ์แสดงถึงความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ ดังต่อไปนี้ 1. ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา แต่กรณีนี้กลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้กล่าวหา จึงมีคำถามว่า กรณีนี้ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีหรือไม่ 2. การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและใช้ด้วยระมัดระวัง มิเช่นนั้นแล้วกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพและรังแกกลั่นแกล้งประชาชน 3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด การที่จะกล่าวหาบุคคลใดว่ามีความผิดอาญาดังเช่น ความผิดฐานดูหมิ่นศาลนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่ามีการใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูหมิ่นศาล ซึ่งในทางวิชาการการดูหมิ่น หมายถึง การกระทำอันเป็นการเหยียดหยาม ลดคุณค่าของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี เช่น กล่าวหาว่าผู้พิพากษารับสินบนจึงทำให้ตนแพ้คดี หรือกล่าวหาว่าผู้พิพากษาลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในการพิจารณาคดีของตน เป็นต้น หากยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอ เจ้าหน้าตำรวจก็ต้องไม่ใช้อำนาจไปดำเนินคดี ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการตีความกฎหมายอาญาโดยขยายความออกไปจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการตีความกฎหมายอาญา 4. การใช้การตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐต้องกระทำโดยสุจริต เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ การใช้อำนาจย่อมต้องมุ่งประโยชน์สาธารณะเป็นหลักโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่อาจมีความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ดังนั้น การบังคับใช้และการตีความกฎหมายอาญาเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลใดจะต้องมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เพียงพอ และสามารถแสดงเห็นหรืออธิบายได้อย่างชัดแจ้งและมีเหตุผลว่าการกระทำตามข้อเท็จจริงนั้นฝ่าฝืนกฎหมายใดอย่างชัดเจน การดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับ อานนท์ นำภา รวมทั้งทนายความด้านสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ทนายความเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน อาทิ ทนายศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความของนักศึกษากลุ่มดาวดินและกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ตลอดจนการดำเนินคดีกับชาวบ้านและนักเคลื่อนไหวที่ออกมาทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยตลอดระยะที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นการเคลื่อนไหว การแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่าเป็นการบังคับใช้และตีความกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรมที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้กฎหมายที่มุ่งจะยับยั้งการแสดงออก การมีส่วนร่วมหรือขัดขวางการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ดังนั้น การดำเนินคดีในลักษณะเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทั้งทนายความ ตำรวจ อัยการและศาล รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต้องให้ความสำคัญและติดตามตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้และตีความกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของตนเองหรือชุมชน และทนายความสามารถใช้ความรู้ความสามารถและวิชาชีพปกป้องสิทธิของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากทนายความไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ประชาชนที่ตกเป็นลูกความก็ย่อมไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมและปกป้องสิทธิของตนเองได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า "การละเมิดสิทธิเสรีภาพของทนายความ คือ การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน" ซึ่งสังคมไทยต้องไม่ยินยอมให้เกิดขึ้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอานนท์ ด้วยว่า เขามีอาชีพเป็นทนายความ แต่คนทั่วไปอาจจะรู้จักเขาในฐานะนักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหว หรือบางครั้งก็ศิลปิน เขาจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาทำกิจกรรมทางสังคมและร่วมเคลื่อนไหวกับภาคประชาชนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา เมื่อเขาจบการศึกษา เขาก็ประกอบอาชีพเป็นทนายความ และทำงานช่วยเหลือคดีชาวบ้านและคดีด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องในหลากหลายประเด็น อาทิ คดีชาวบ้านชุมนุมค้านโรงถลุงเหล็ก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านค้านท่อแก๊สที่ อ.จะนะ จ.สงขลา คดีแกนนำชาวบ้านคัดค้านการทำเหมืองหินที่บ้านกลาง อ่าวลึก กระบี่ ถูกฟ้อง รวมทั้งคดีบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปด้วย ในช่วงที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสูง โดยเฉพาะในปี 2553 เป็นต้นมา อานนท์ กับเพื่อนทนายจำนวนหนึ่ง กระโดดเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือทางกฎหมายและคดีความแก่ชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวนมาก รวมทั้งช่วยเหลือคดีที่ใครๆไม่อยากยุ่งอย่างคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่น คดีอากง เอสเอ็มเอส ด้วยความปรารถว่าทุกคนต้องสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม รวมถึงเหยื่อที่ถูกกระทำต้องได้รับความยุติธรรม การเยียวยาและผู้ที่กระทำผิดต้องถูกลงโทษ หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 อานนท์เข้าร่วมทีมทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแล้ว ในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกจับกุม ควบคุมตัว ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายพิเศษของรัฐบาลทหาร คสช. อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดของอานนท์ในช่วงหลักรัฐประหารคือ การเป็นนักกิจกรรม ผลจากการเคลื่อนไหวอย่างเข็มข้นของเขาภายหลักการรัฐประหาร ทำให้เขาถูกดำเนินคดีไม่น้อยกว่า 6 คดี ซี่งคดีส่วนใหญ่เกิดจากการจัดกรรมอย่างสงบ เช่น จัดกิจกรรม เลือกตั้งที่(รัก)ลัก ที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 คดียืนเฉยๆที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้คสช.ปล่อยตัวประชาชน 9 คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารบุกควบคุมตัวเพราะทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ วันที่ 27 เม.ย. 2559 คดียืนเฉยๆ"ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ คสช.ปล่อยตัววัฒนา เมืองสุขที่ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 2559 เป็นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โสภณ พรโชคชัย: อย่าเพิ่งเชื่อ 'โจน จันใด' Posted: 10 Jan 2018 01:02 AM PST
อ.โจน จันใด มีแนวคิดที่แปลกและน่าสนใจยิ่ง นับเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็ ผมเพิ่งได้ฟังคลิป "ชีวิต ช่างแสนเรียบง่าย ทำไมเราทำให้มันแสนยาก" โดยอาจารย์โจน จันใด (https://goo.gl/evUvYX) และพบว่ามีคนศรัทธาในแนวคิ 1. นาทีที่ 0:40 แต่พอ มีโทรทัศน์ เข้ามามีผู้คนมาที่หมู่บ้ ข้อโต้แย้ง: การเข้ามาในกรุงเทพมหานครเป็ 2. นาทีที่ 1:04 เมื่อผมไปกรุงเทพ มันไม่สนุกเลยคุณจำเป็นต้องเรี ข้อโต้แย้ง: อันนี้เป็นธรรมดาของคนที่ต้องสู้ 3. นาทีที่ 1:18 ผมทำงานหนักมากแปดชั่วโมงต่อวั ข้อโต้แย้ง: 8 ชั่วโมงก็ไม่ได้มากมายอะไร คนที่จะประสบความสำเร็จ อาจต้องทำงานถึง 12-16 ชั่วโมงก็มี ชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงตั้งตั 4. นาทีที่ 1:59 ผมพยายามที่จะเข้าเรียนมหาวิ ข้อโต้แย้ง: อ.โจนอาจไม่ประสบความสำเร็ 5. นาทีที่ 2:20 ในมหาวิทยาลัย มันไม่มีความรู้ที่เป็นประโยชน์ ข้อโต้แย้ง: อ.โจนไม่ประสบความสำเร็จในการศึ 6. นาทีที่ 2:43 ถ้าเราไปที่คณะเกษตรศาสตร์. . .มันหมายความว่าเรากำลังเรียนรู้ ข้อโต้แย้ง: อ.โจนไม่พึงตีขลุมหรื 7. นาทีที่ 3:12 ผมคิดถึงสมัยเมื่อตอนเป็นเด็ก ไม่มีใครต้องทำงานวันละแปดชั่ ข้อโต้แย้ง: วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมนี้ก็เหมื 8. นาทีที่ 3:33 เป็นเพราะพวกเขามีเวลาว่างกั ข้อโต้แย้ง: อ.โจนคงเข้าใจผิด การนอนกลางวันอย่างเป็นจริงเป็ 9. นาทีที่ 4:02 เมื่อพวกเขามีเวลามากพอสำหรับตั ข้อโต้แย้ง: ความจริง ศิลปของชาวบ้านแค่พื้นๆ การสร้างบ้านในสมัยโบราณก็ไม่ซั 10. นาทีที่ 4:51 เมื่อผมกลับบ้าน ผมเริ่มใช้ชีวิตเหมือนอย่างที่ ข้อโต้แย้ง: ท่านเคยบอกว่าแรกๆ ก็ยังเทียวไปเทียวมา ไม่ได้อยู่ตัว แต่ที่ได้ดีคงเป็นเพราะ อ.โจน (โชคดี) ได้ภริยา NGO ชาวอเมริกัน และไปอยู่อเมริกามา 2 ปี จนได้ภาษา ได้แนวคิดการสร้างบ้านดิ 11. นาทีที่ 4.58: ผมเริ่มทำงานปีละสองเดือน ผมได้ผลผลิตเป็นข้าวสี่ตัน. . .สามารถขายข้าวบางส่วนได้ ผมทำบ่อปลา. . .ทำสวนเล็กๆ. . .ผมใช้เวลาวันละ 15 นาที ดูแลสวน. . .เราสามารถสร้างรายได้ได้อีกด้ ข้อโต้แย้ง: ถ้าทุกคนมีที่มีนาทำแบบนี้ได้ ก็คงดี แต่ความจริงคือ ไม่มี เขาจึงต้องมาหากินในเมือง ท่านทำได้เพราะโชคช่วย มีที่ทาง ท่านยังย้ายจากอีสานไปภาคเหนื 12. นาทีที่ 5:46 . . .ทำไมผมจึงไปอยู่ที่กรูงเทพ เป็นเวลาถึงเจ็ดปี ทำงานอย่างหนัก แต่ไม่เคยกินอิ่ม . . . ข้อโต้แย้ง: อ.โจนไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีผู้ประสบความสำเร็ 13. นาทีที่ 6:09 คนที่ฉลาดกว่าผม คนที่สอบได้ที่หนึ่งของชั้นทุ ข้อโต้แย้ง: อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของ อ.โจน คนไทยมีระดับความสามารถในการซื้ 14. นาทีที่ 6:34 แต่เมื่อผมได้เริ่มต้นทำบ้านดิน มันช่างแสนง่ายดาย ผมใช้เวลาวันละสองชั่วโมงจากตี ข้อโต้แย้ง: การสร้างบ้านดิน ใครๆ ก็ทำได้ (อ.โจนเคยบอกว่าเด็กอายุ 9 ขวบยังสร้างได้) แต่ประเด็นที่ อ.โจนไม่ได้คิดก็คือที่ดิน ใช่ว่าใครๆ จะไปสร้างในพื้นที่ป่ 15. นาทีที่ 7:16 และผมยังคงสร้างบ้านทุก ๆ ปี อย่างน้อยปีละหนึ่งหลัง. . . ข้อโต้แย้ง: อ.โจนพูดอันนี้ในปี 2554 แต่ไม่นานก็เปลี่ยนจาก "โจน บ้านดิน" ไปเล่นเรื่องเก็บเมล็ดพันธุ์แทน 16. นาทีที่ 9:25 สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ก็คือเมื่ ข้อโต้แย้ง: รัก โลภ โกรธ หลงเป็นเรื่องปกติ ที่ อ.โจนมีภริยา ไม่ใช่เพราะชอบดอกหรือ 17. นาทีที่ 10:12 ผมได้เรียนรู้วิธีการใช้น้ำเพื่ ข้อโต้แย้ง: คนที่รู้จักรักษาสุขภาพให้แข็ 18 นาทีที่ 12:35 ปัจจัยสี่: อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค จะต้องถูกและง่าย สำหรับทุกคน นั่นคือความเจริญ ข้อโต้แย้ง: ที่อยู่อาศัยนั้น ตัวบ้านดินสร้างง่าย แต่ที่ดินก็ต้องซื้อ ถ้าไปบุกรุกของส่วนรวม คงไม่แฟร์สำหรับคนอื่น เสื้อผ้าทอเองคุ้มกว่าจริงหรือ ถ้าจริง คงทอกันทั่วประเทศแล้ว ยารักษาโรคพื้นๆ แทบไม่ต้องมีสำหรับโรคพื้นๆ แต่โรคอื่นล่ะ หาไม่คงไม่ต้องมีหมอ 19. นาทีที่13:32 เป็นคนปกติธรรมดาเท่าเทียมกั ข้อโต้แย้ง: คนไม่ใช่เดรัจฉาน ไม่ใช่อยู่ในยุคสังคมบุพกาล มนุษย์โครมันยองจึงจะอยู่แบบนั้ 20. นาทีที่ 14:14 แต่ผู้คนมองว่าผมเป็นคนผิดปกติ คนที่บ้าบอคนหนึ่ง แต่ผมไม่สนใจหรอกนะ เพราะมันไม่ใช่ความผิดของผม มันเป็นความผิดของพวกเขา ข้อโต้แย้ง: ความจริงไม่มีใครผิด เป็นสิทธิของทุกคน อ.โจนก็มองเขาผิดปกติไม่ได้ อ.โจนอยากเป็น "ฮิปปี้" ก็เป็นเรื่องของท่านเอง โดยสรุปแล้ว ชีวิต อ.โจน เปลี่ยนจากผู้ไม่ประสบความสำเร็ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จาตุรนต์ ฉายแสง: คสช.กำลังทำให้ระบบต่อต้านคอรัปชั่นล้มละลายยาวนาน Posted: 10 Jan 2018 12:31 AM PST
เกือบ 4 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะมีการจัดการกับปัญหาคอรัปชัน ก็มีเฉพาะกับผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ คสช. ซึ่ง คสช.ได้เข้าแทรกแซงกระบวนการในการจัดการ จนไม่มีใครรู้ว่า ถ้าไม่มีการแทรกแซงของคสช.ที่เริ่มจากการรัฐประหารแล้ว กรณีเหล่านั้นจะมีข้อสรุปอย่างไร ? ส่วน คสช.เองหรือพวกพ้องทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่า มีการจัดการกับปัญหาคอรัปชันอย่างโปร่งใสให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันแม้แต่เรื่องเดียว การปฏิรูปก็ไม่เกิด ทั้งคนของ คสช.และรัฐบาล ไม่มีใครสามารถยกตัวอย่างว่าได้มีการปฏิรูปในเรื่องใด ยิ่งระบบต่อต้านปราบปรามคอรัปชันด้วยแล้ว ไม่เพียงแต่ไม่เกิดการปฏิรูป คสช.และพวกยังได้ร่วมกันทำลายระบบนี้ให้พังทลายลงไปแล้ว เมื่อเกิดกรณีอื้อฉาว ที่ผู้คนคิดและเชื่อว่า เป็นเรื่องคอรัปชันโดยคนใน คสช.หรือรัฐบาล ไม่มีใครตั้งกระทู้ ไม่มีใครเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเหมือนในระบบรัฐสภา ถ้าเป็นระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย ป่านนี้มีการตั้งกระทู้สดทุกสัปดาห์มาหลายเดือนแล้ว พอตอบกระทู้สดไม่ได้หลายๆครั้งเข้า ก็จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งคงถึงขั้นตกม้าตายกลางสภากันไปแล้ว บางท่านอาจจะบอกว่า อภิปรายไม่ไว้วางใจไปก็เท่านั้น รัฐบาลก็ยกมือชนะอยู่ดี ทว่าตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมานั้น หากจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในข้อหาทุจริตประพฤติมิชอบหรือร่ำรวยผิดปกติ ผู้ยื่นญัตติก็จะต้องนำเรื่องไปยื่นร้องต่อ ปปช.เสียก่อน ซึ่งก็จะทำให้ ปปช.ต้องทำการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อมีการอภิปรายให้ข้อมูลในสภาไปแล้ว ปปช.จะนิ่งเฉยไม่ทำอะไรก็ไม่ได้ หากนิ่งเฉยกรรมการ ปปช.เองก็อาจถูกถอนถอนโดยสมาชิกรัฐสภาไปด้วย การที่นายกรัฐมนตรีบอกให้สื่อมวลชน "ลดราวาศอก" มิฉะนั้น จะใช้อำนาจมากกว่าเดิม ถ้าเป็นในระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีก็คงโดนอภิปรายไปแล้วเหมือนกัน ปัญหาในเชิงระบบอีกเหมือนกัน ก็คือ ประชาชนและสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพในการหาข้อมูลและแสดงความคิดเห็น การหาข้อมูลถูกขัดขวาง การแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการทุจริตของรัฐไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมักจะถูกคุกคามหรือถูกจัดการด้วยกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม เช่น คำสั่งของ คสช.เอง ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรอิสระที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอรัปชันนั้น ผมได้เคยวิจารณ์ไว้ว่า "...สรุปได้ว่า คสช.ได้เปลี่ยนระบบและองค์กรในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน ไปเป็นระบบอื่นที่ ไม่ใช่ระบบที่อาศัยองค์กรอิสระ หรือเรียกได้ว่าไม่มีองค์กรอิสระ อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ คสช.และรัฐบาลไปแล้ว..." ที่จะวิจารณ์เพิ่มเติม ก็คือ ในส่วนของคณะกรรมการ ปปช.ปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่แต่งตั้งกันในขณะที่ คสช.มีอำนาจเต็ม การสรรหาและแต่งตั้งเกิดขึ้นโดยมีรองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเข้าไปร่วมเป็นกรรมการสรรหา การให้ความเห็นชอบทำโดย สนช.ซึ่งล้วนเป็นคนของ คสช. และในที่สุดก็ได้คนสนิทของ คสช.เข้ามาเป็น ปปช.คนสำคัญ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใด ปปช.ชุดนี้จึงไม่กระตือรือร้น เอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบกรณีอื้อฉาวที่เกิดขึ้น และทำไม ปปช.ชุดนี้จึงไม่ได้รับควาามเชื่อถือจากสังคมหรือประชาชนทั่วไป เวลาที่ คสช.ทำอะไรเลอะๆเทอะๆ มักมีคำอธิบายว่า เป็นเรื่องชั่วคราว ต่อไปเมื่อ คสช.พ้นจากอำนาจหน้าที่ไปแล้ว ระบบที่ดีๆในรัฐธรรมนูญก็จะถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ไม่มีใครอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงไม่ใช้ระบบที่อวดอ้างว่าดีนั้นกันเสียตั้งแต่ คสช.ยังมีอำนาจอยู่ แต่กับเรื่องการต่อต้านคอรัปชันนั้น เลวร้ายยิ่งกว่านั้นไปอีก คสช.อ้างว่า เข้ามาปราบคอรัปชัน เวลาให้คนเขียนรัฐธรรมนูญก็เลยอวดอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็น "รัฐธรรมนูญปราบโกง" เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกงจริงหรือไม่นั้น ผมไม่ขอวิจารณ์ในที่นี้ แต่ที่อยากจะบอกว่า เกิดการหลอกต้มคนทั้งประเทศก็คือเรื่อง "รัฐธรรมนูญปราบโกง" นี่แหละ รัฐธรรมนูญนี้ เขียนอำนาจหน้าที่ของ ปปช.ไว้ แล้วให้ กรธ.ไปเขียนคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ปปช.ไว้ใน พรป. ผลออกมาเป็นคุณสมบัติแบบที่เรียกกันว่า "ขั้นเทพ" เป็นเหตุให้โอ้อวดว่า สมกับเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง แต่สุดท้าย สนช.กลับต่ออายุกรรมการปปช.ชุดปัจจุบันไปจนกว่าจะครบวาระ คือ อีก 7-8 ปี ทั้งๆที่กรรมการบางคนมีลักษณะต้องห้ามที่กำหนดไว้ใน พรป. ที่เขาเห็นว่า เป็นปัญหากันไปทั้งบ้านทั้งเมือง ก็คือ กรรมการบางคนมีลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับการต้องพ้นจากการเป็นข้าราชการประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งไปโดนเอาประธาน ปปช.เข้าเต็มๆ ก็เลยกลายเป็นว่า ที่อวดอ้างว่า "รัฐธรรมนูญปราบโกง" นั้น จริงๆแล้วจะไม่ได้ใช้ ระบบต่อต้านการคอรัปชันที่จะใช้กันต่อไปอีกหลายปี ก็คือ ระบบของ คสช.โดย คสช.และเพื่อ คสช.นั่นเอง เรื่องทุจริตคอรัปชันที่กำลังอื้อฉาวเกรียวกราวอยู่นั้น จึงเป็นปัญหาของระบบยิ่งกว่าปัญหาของตัวบุคคล ระบบที่ไม่ใช่แค่ล้มเหลว แต่ต้องเรียกว่า ถึงขั้นล้มละลายเลยทีเดียว ที่ คสช.อวดอ้างว่า ยึดอำนาจเข้ามาเพื่อจัดการกับการคอรัปชันและจะปฏิรูประบบต่อต้านการทุจริตคอรัปชันให้ดีอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนนั้น ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่เพียงล้มเหลวที่จัดการกับพวกพ้องของ คสช.เอง ไม่ได้แม้แต่เรื่องเดียวแล้ว ยังล้มละลายในเรื่องความเชื่อถือที่ประชาชนมีต่อระบบนี้ด้วย ระบบต่อต้านการคอรัปชันที่ล้มละลายยาวนาน คือ สิ่งที่คสช.มอบให้แก่ประชาชนไทยครับ
เผยแพร่ครั้งแรกใน: เฟสบุ๊คแฟนเพจ Chaturon Chaisang
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชวนถกกรณีอดีตพนง.กูเกิลฟ้องบริษัท ทำอย่างไรเมื่อเสรีนิยมไม่ยอมรับความเห็นต่าง Posted: 10 Jan 2018 12:29 AM PST
'เราสามารถเลือกปฏิบัติกับคนที่เลือกปฏิบัติต่อคนอื่นได้หรือเปล่า' เป็นประโยคที่ไม่รู้จะตอบได้ง่ายหรือยาก แต่ก็เป็นประโยคที่เมื่อถามแล้วทำให้ต้องหยิบเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมาสร้างเป็นฉากทางแยกเชิงศีลธรรมได้หลายประการ 'เราจะทำอย่างไรกับกลุ่มชาตินิยมผิวขาวที่ประท้วงรุนแรงจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเมืองชาร์ล็อตสวิลล์ สหรัฐฯ' 'เราจะทำอย่างไรกับแกนนำที่บอกว่าการลงคะแนนเสียงของแต่ละคนมีคุณภาพไม่เท่ากัน' 'เราจะทำอย่างไรกับชาวพุทธที่ต่อต้านการก่อสร้างมัสยิดในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัย' คำถามเช่นว่าอาจนำมาซึ่งการโต้ตอบในแบบที่ไม่เหมือนกันในเวลาและสถานที่ที่แตกต่าง ในรอบนี้หนึ่งฉากที่อาจกลายเป็นหนึ่งภาพประกอบของคำถามดังกล่าวเกิดขึ้นกับบริษัทกูเกิลและนโยบายสร้างความหลากหลายในที่ทำงานที่ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมมองว่าการสนับสนุนความหลากหลายคือการสร้างอคติในเชิงโครงสร้าง และแนวคิดเสรีนิยมที่ชอบพูดกันว่ายอมรับในความแตกต่างกลับกลายเป็นผู้สร้างกลไกกีดกันความเห็นต่างในองค์กรเสียเอง เมื่อ 8 ม.ค. 2561 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน รายงานว่า กูเกิล บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่นบริการค้นหาบนเว็บไซต์ บริการแผนที่กูเกิลแมป บริการพื้นที่ข้อมูลออนไลน์กูเกิลไดรฟ์ เป็นต้น ถูกรื้อฟื้นกระแสความขัดแย้งเรื่องท่าทีของบริษัทต่อบุคลากรที่มีแนวคิดขั้วอนุรักษ์นิยมหลังบริษัทถูกฟ้องโดยกลุ่มบุคคลที่นำโดยเจมส์ เดมัวร์ อดีตวิศวกรของกูเกิลที่ถูกไล่ออกในปี 2560 เพราะเขาเขียนบันทึกข้อความ (memo) ในเชิงเหยียดเพศ
รายละเอียดการฟ้องร้องระบุว่าผู้จัดการของกูเกิลหลายคนยังคงขึ้นบัญชีดำกลุ่มพนักงานที่มีความคิดเป็นอนุรักษ์นิยมในบัญชีเดียวกันกับคนที่ไม่ทำงาน มีบัญชีดำของพนักงานอนุรักษ์นิยมที่ถูกห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่บริษัท รวมถึงระบุว่า การที่กูเกิลไล่เดมัวร์ และเดวิด ยูดแมน หนึ่งในโจทก์ร่วมนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ โฆษกของกูเกิลระบุในแถลงการณ์ว่าจะสู้คดีนี้ในชั้นศาล สัดส่วนการจ้างงานของกูเกิลมีลักษณะคล้ายคลึงกับธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ คือประกอบด้วยคนขาว คนเชื้อสายเอเชียที่เป็นเพศชายจำนวนมากในสัดส่วนที่ล้นหลาม เมื่อปี 2560 กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ เคยกล่าวหากูเกิลว่าจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานเพศหญิงน้อยกว่าเพศชายอย่างมาก และเคยมีกลุ่มบุคลากรผู้หญิงร่วมกันฟ้องร้องกูเกิลในประเด็นความไม่เท่าเทียมทางรายได้ด้วย กรณีการฟ้องของเดมัวร์นั้นมุ่งเปิดเผยถึงอคติของวัฒนธรรมการสนับสนุนความหลากหลายและความยุติธรรมทางสังคมที่กูเกิลพยายามทำด้วยการเพิ่มอัตราการจ้างงานผู้หญิงและชนกลุ่มน้อยว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนหมู่มากโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (illegal discrimination against majority) สำนวนฟ้องเปิดเผยการข่มขู่อนุรักษ์นิยมในองค์กรเดอะการ์เดียนรายงานเพิ่มเติมว่า มีภาพการสื่อสารภายในบริษัทกูเกิลที่ถูกจัดเก็บมาแสดงให้เห็นว่าพนักงานจำนวนมากสนับสนุนแนวคิดที่มีลักษณะไม่ยอมรับความเห็นที่แตกต่างในหลายแง่มุม เช่น มีโพสต์หนึ่งที่พูดถึงกรณีโน้ตของเดมัวร์ว่า บริษัทควรอบรมหรือกำจัดคนที่สนับสนุน หรือในบางโพสต์ที่มีเนื้อหาสื่อถึงความพยายามที่จะปิดปากมุมมองที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่รุนแรง ใจความว่า "มีทัศนคติหลายประการ รวมถึงในประเด็นเรื่องการเมืองที่ผมไม่อยากให้คนแสดงออกอย่างสะดวกใจที่นี่… คุณจะเชื่อว่าผู้หญิงหรือชนกลุ่มน้อยนั้นไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ[ที่จะทำงาน] อย่างไรก็ได้...แต่ถ้าคุณพูดออกมาแล้วก็ต้องรับผลการกระทำที่จะตามมา" ผู้จัดการคนหนึ่งโพสต์ว่า "ฉันยังคงเก็บรายชื่อคนที่ฉันจะไม่มีวันให้เข้ามาใกล้ทีมของฉันโดยพิจารณาจากทัศนคติและท่าทีของเขาต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งในวันนี้ รายชื่อดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย" นอกจากนั้นยังมีโพสต์หนึ่งในการสื่อสารภายในในประเด็นอภิปรายเรื่องความหลากหลายในที่ทำงานใจความว่า "ถ้าอยากเพิ่มความหลากหลายในกูเกิล ให้ไล่พวกคนขาวหัวรั้นออกไป" การฟ้องร้องครั้งนี้จะเป็นการจุดชนวนสงครามทางวัฒนธรรมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้งตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ได้โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยกลุ่มเสรีนิยมภายในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนั้นเคยกดดันพนักงานให้แสดงท่าทีต่อต้านนโยบายของทรัมป์หลายประการ เช่นการห้ามชาวมุสลิมบางประเทศเดินทางเข้าประเทศ นอกจากนั้น บริษัทหลายแห่งเองก็มีปัญหาในการหาขอบเขตให้กับการให้กลุ่มชาตินิยมผิวขาวจัดตั้งการเคลื่อนไหวผ่านแพลตฟอร์มของบริษัท กรณีการไล่เดมัวร์ออกในเดือน ส.ค. ปีที่แล้วถูกสื่อมวลชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมให้ความสนใจอย่างล้นหลามเพื่อพยายามที่จะสื่อว่าซิลิคอนวัลเลย์ (แหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำหลายแห่ง ตั้งอยู่บริเวณทางใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐฯ) มีอคติเอียงไปทางเสรีนิยม เดมัวร์ถูกกลุ่มขวาทางเลือกแปรสภาพเป็นสัญลักษณ์ของการพลีชีพในทางการเมือง การฟ้องร้องที่นำโดยเดมัวร์ครั้งนี้ยังได้เปิดเผยผลกระทบที่อดีตวิศวกรของกูเกิลได้รับหลังโน้ตและอีเมลถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง หนึ่งตัวอย่างของผลกระทบคืออีเมลจากเพื่อนวิศวกรด้วยกันที่ส่งมายังเดมัวร์ ใจความว่า "ฉันจะตามล่าแกไปจนกว่าคนใดคนหนึ่งในพวกเราจะโดนไล่ออก" ยูดแมน หนึ่งในโจทก์ที่ฟ้องกูเกิลร่วมกับเดมัวร์ เป็นคนที่ถูกกูเกิลไล่ออกภายหลังที่เขาตั้งคำถามและรายงานฝ่ายบุคคลว่ามีบุคลากรที่เป็นมุสลิมโพสต์แสดงความกังวลต่อการตกเป็นเป้าหมายเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับเอฟบีไอ โดยสำนวนฟ้องระบุว่าฝ่ายบุคคลกล่าวหาว่ายูดแมน "กล่าวหา[พนักงานมุสลิม]ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย" | |
SOTUS ที่ทำให้ประชาธิปไตยสร้าง (ไม่) เสร็จในมหาวิทยาลัย Posted: 10 Jan 2018 12:19 AM PST
จุดเริ่มต้นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอาจมิใช่เพียงแค่สอบติดสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบติดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับ ผู้ที่สามารถสอบติดได้ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองหรือรู้สึกประสบความสำเร็จขั้นหนึ่งในการมุมานะทุ่มเทในการศึกษาค้นคว้า หาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ แต่ที่จริงแล้วเชื่อหรือไม่ว่า "การสอบติดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น" เมื่อเปิดภาคการศึกษาใหม่นักศึกษาที่เข้ามาใหม่รู้สึกภาคภูมิใจในสถาบัน ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศ มีคณะหนึ่งเป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้นำในสังคมเรียนทฤษฏี ที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมคนอื่นในสังคม วิพากษ์วิจารณ์สังคมได้ แต่ คณะนั้นกลับชื่นชมในการเป็นพี่เป็นน้อง ช่วยเหลืออุปถัมภ์กันแบบผิดๆ ตีกรอบความคิดให้กับนักศึกษาใหม่ที่จะเข้ามาศึกษาในคณะเดียวกับตน และเรียกนักศึกษาใหม่ว่า "น้อง" ทั้งๆ ที่อายุห่างกันเพียงแค่ 1-2 ปีและน้องบางคนอาจมีวุฒิภาวะ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์มากกว่าพวกที่เรียกตัวเองว่า พี่ก็ได้ แต่กลับ กดขี่ ข่มเหง บังคับ ให้ทำตามในกรอบที่มีกันมา 50 กว่าปี กรอบที่ว่านั้นคือ 1. การห้อยป้าย DOG TAG หรือเหมือนเข้าค่าย ทำกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการแขวนป้ายเป็นการริดรอนสิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่แขวนป้ายถูกจับตามองถ้าไม่ทำตามสิ่งที่พวกพี่ๆ เหล่านั้นกำหนดมา แม้ว่าจะมีข้อดีคือทำให้คนรู้จักกันจริง แต่ก็รู้จักกันแค่ผิวเผินใช่หรือไม่ ถอดป้ายก็ลืมกัน ถ้าไม่ถูกใจจริงๆ นักจิตวิทยา หลายท่านกล่าวไว้ว่า การที่เราจำชื่อใครได้แสดงว่าเราให้ความสำคัญกับเขาและเขาก็จะให้ความสำคัญกลับมาหาเราเช่นกัน ดังนั้นป้ายก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป หรือถ้าจำเป็นควรเป็นกรณีที่ทำความรู้จักกันในระยะสั้นๆ เช่นการประชุม การเข้าค่าย เป็นต้น 2. ทำตัวน่าเคารพหรือไม่ จริงๆ แล้วการเคารพผู้อาวุโสเป็นสิ่งที่ดีงามแต่ ผู้อาวุโสที่ว่าในคณะนี้อายุห่างกันเพียง1-2 ปี ต้องเคารพตลอดเวลาหรือไม่ ทั้งๆ ที่บางคนไม่เคยรู้จักกันถ้าไม่เคารพ ถือว่าทำผิดกลายเป็นประเด็นมีการจดชื่อลงโทษไร้สาระ เคาะโต๊ะบ้างเรียกไปด่าบ้าง ตะคอก กดดัน จนบางคนถึงกับร้องไห้ ไม่เท่านั้นเวลาคิดอะไรต้องคิดให้ตรงกับที่พี่คิดมาให้มากที่สุดแตกต่างมากเกินหรืออกนอกกรอบก็ไม่ได้ คือบางทีเด็กมหาวิทยาลัย ก็เป็นวัยที่คิดเองได้ใช่หรือไม่จะมาตีกรอบ ให้ทำตามแบบแผนอยู่เสมอไม่ได้ สังคมเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว พวกอนุรักษนิยมควรปรับตัวให้ทันกับโลก วัยรุ่นสมัยใหม่คิดให้มากกว่านี้ ถ้าเปรียบเป็นประเทศ ก็คงเป็นประเทศโลกที่ 3 3. แบบไหนเรียกว่าแบบอย่าง การไม่เป็นแบบอย่างให้คนอื่นของรุ่นพี่บางคน คิดว่าตัวเองถูกเสมอ การที่ผู้สถาปนาตนเองว่าเป็น "พี่" ที่ผ่านกระบวนการระบบโซตัสมา กลับแต่งกายไม่ถูกระเบียบกระโปรงสั้น เสื้อฟิต ผมรุงรัง ไว้หนวดไว้เครา รองเท้าแตะมาสถานที่ราชการถือเป็นแบบอย่างที่ดีแล้วหรือ ที่ไม่ดูตัวเองแต่กลับว่า คนที่เข้ามาใหม่ให้ทำตามกรอบที่กำหนดไว้ ใครทำผิดก็เหยียดหยามด้วยสายตา 4. เอาเวลาไปทำสิ่งดีๆ กันไหม การเข้าห้องเชียร์ที่เสียเวลาและหาสาระที่จะมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ ไซโค ตะโกน เสียงดัง ดุด่าว่านักศึกษาใหม่ ใช้เวลาเล่นๆ เหมือนพวกว่างๆ ไม่มีอะไรทำ แทนที่จะใช้เวลาเหล่านั้นไปอ่านหนังสือ หรือหาความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพลงเชียร์แค่บังหน้า อาทิตย์หนึ่งได้หนึ่งเพลงวันล่ะ 3 ชั่วโมงร้องเพลงจริงๆ ไม่ถึงชั่วโมง คงสนุกกับการกดดันทำตัวเหนือกว่าคนอื่นไปวันๆ ส่วนบางคนก็ยืนหัวเราะอยู่ด้านหลังหรือนอกห้อง ด่าน้องไม่หนักก็เปลี่ยนอีกชุดเข้ามาด่าว่า ไม่รู้เพราะความสะใจหรือคิดไม่ได้ที่จะใช้เวลาเหล่านี้ไปทำอย่างอื่น ที่สร้างสรรค์กว่านี้ 5. ทำด้วยใจหรือใช้การเช็คชื่อดี การเช็คชื่อการเข้าร่วมกิจกรรมหรือช่วยกิจกรรมต่างๆ หากไม่เข้าร่วมโดนแบล็คลิสต์ การเช็คชื่อจะไม่มีความจำเป็นถ้ากิจกรรมนั้นน่าสนใจ ดึงดูดให้คนเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ หรือมีการกระตุ้นจิตสำนึกให้เห็นถึงส่วนรวมหรือปลูกฝังความเป็นพลเมืองการเช็คชื่อก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป การสร้างจิตสำนึกจะเป็นสิ่งที่ติดตัวไปตลอดคนจะรู้สึกเห็นถึงส่วนรวมมากขึ้นและเป็นรากฐานในการสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง เช่น การมีสำนึกต่อส่วนรวมในการทำกิจกรรมต่างๆ น้อยคนนักที่จะสนใจหรือให้ความสำคัญกับกิจกรรม ต้องมีผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับถึงจะช่วย ในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์เท่ากันการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ เท่ากับเราได้รักษาสิทธิ์ของเราแล้ว สิทธิ์ในการมีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็น นำมาสู่ความภาคภูมิใจในกิจกรรม มากกว่าการเข้าร่วมอย่างไม่เต็มใจ 6. คิดต่างต้องโดนเกลียดชัง กระบวนการพรรคพวกปลุกปั่น รุมเกลียดชิงชัง เหยียดหยามคนไม่เห็นด้วยกับระบบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยที่ต่ำมาก แค่คนที่เห็นต่างก็ยอมรับกันไม่ได้ ระบบนี้ใครห้ามเห็นต่าง ถ้าเห็นต่างเชิญไปเป็นคนชนชั้นสองของคณะ 7. สร้างเผด็จการบนฐานประชาธิปไตย เมื่อถึงวันที่ต้องเลือกประธานรุ่นและประธานสาขาเพื่อที่สืบทอด ระบบนี้ให้คงอยู่สืบต่อไป โดยไม่รู้ว่าจะนานสักเท่าไรถึงจะหมดไปจากมหาวิทยาลัยบางแห่งของไทย เพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างที่ผ่านมา ทุกรุ่นมักจะมีการเลือกประธานรุ่นและประธานสาขาด้วยความพิสดาร โหวตเลือกจริงแต่เผด็จการตรงที่ ไม่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้ที่ได้รับหน้าที่มาจากเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ ไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ผู้ชายจะเป็นใหญ่ตลอดเวลา และผู้ที่ถูกเลือกน่าจะถูกวางตัวไว้แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าคนๆ นั้นจะต้องรู้จักกับคนในรุ่นมาก สำหรับการโหวตที่เรียกว่าพิสดารนี้คือ ผู้โหวต ก้มหน้าลงหัวชิดโต๊ะ หลับตา ยกมือโหวตโดยห้ามเงยหน้าขึ้นมา ส่วนผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นผู้นำหันหน้าชิดผนังหลับตา พวกพี่ว้าก ก็ทำหน้าที่ในการนับคะแนนยกมือ แน่นอนว่าผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธานรุ่นและประธานสาขามีความสมัครใจที่จะเป็นอยู่แล้ว ต้องการอำนาจ และเมื่อได้อำนาจมาก็ต้องพยายามรักษาระบบไม่ให้ถูกโค่นล้ม ซึ่งน้อยมากที่จะมีคนคิดจะโค่นระบบหรือปฏิเสธการเอารุ่น นอกจากนี้ยังมีการใช้หลักจิตวิทยาในการชักจูงคนให้เชื่อในระบบของตน เช่น การมอมเมาผู้ชายให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล้างสมองให้เชื่อในความเป็นโซตัสว่าดี จบแล้วมีเครือข่ายคอยช่วยกันไม่ตกงาน มีการสาบานตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหรือคณะว่าจะเอาระบบโซตัสนี้ จะไม่ทรยศต่อเพื่อนต่อพี่ ซึ่งเป็นวิธีที่ล้าหลังเป็นอย่างยิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงสถาบันทางการศึกษาที่สร้าง "ปัญญาชน" ของชาติยังคงมีการสาบานตน เล่นกับความเชื่อไม่ได้เห็นว่าชาติจะพัฒนาไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างได้แต่รู้สึกได้ถึงการย้อนยุคกลับสู่ช่วงสมัยอยุธยาเสียด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่โลกไปข้างหน้าทุกวัน แต่ระบบความเชื่อเดิมๆ นี้ดึงคนรุ่นหลังให้ถอยหลังเข้าคลอง จะเห็นได้ว่ากรอบต่างๆ ล้วนแต่ริดรอนสิทธิเสรีภาพ แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ เรียกตัวเอง ว่า พี่ ตั้งสรรพนามให้คนอื่นว่า น้อง แขวนป้าย ว้าก เช็คชื่อ ใช้จิตวิทยาหรือสาบานอะไรต่างๆ แสดงถึงความล้าหลังและล้มเหลวของการศึกษาไทยตรงที่ เด็กบางคนเก่งจริงแต่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนชอบอะไรหรืออยากเป็นอะไร บางคนไม่ได้ให้ความสำคัญในสาขาที่ตนเรียน แต่เลือกที่จะเรียนเพราะปัจจัยต่างๆ เช่น ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย การตามเพื่อน หรือเลือกเพราะ พ่อ แม่ ครู เลือกให้ ถ้าหากสนใจในสาขาที่ตนเองเรียนจะรู้สึกให้ความสำคัญและไม่เมินเฉยต่อสิ่งที่พบเจอ ว่ามันขัดกับความจริง ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาไทยมองไม่เห็นว่าใครจะเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวและคิดว่า ยากที่จะสูญหายไป และทำให้เห็นชัดเจนว่าในตัวนักศึกษาที่เข้ามาใหม่น้อยมากที่จะเห็นต่าง หรือเห็นต่างแต่ไม่กล้าแสดงออก แต่หนักที่สุดคือคนที่ยอมจำทนหรือเห็นดีเห็นชอบกับระบบซึ่งทำให้เห็นว่าจุดเริ่มต้นของการเป็นปัญญาชน เลือนราง มองไม่เห็นแสงสว่างของประชาธิปไตยและ ประเทศไทยที่จะขึ้นเป็นประเทศพัฒนา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 09 Jan 2018 11:35 PM PST
มิแค่ตาที่บอดได้ ใจนั้นด้วย มิแค่ตาที่บอดได้ ใจนั้นด้วย มิแค่ตาที่ยังเยาว์ ใจเจ้ายิ่ง โลก 'ชั่ว-ดี' กี่ด้าน ป่วยการนับ พรุ่งฯจะกำชะตาใครในกำมือ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ในวันที่ได้รับอิสรภาพของสุภาพ คำแหล้ สตรีนักสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกิน Posted: 09 Jan 2018 11:06 PM PST สุภาพ คำแหล้ ภรรยาเด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกิน ซึ่งหายตัวไป ได้รับอิสรภาพแล้ว หลังถูกศาลสั่งจำคุก 6 เดือนไม่รอลงอาญา คดีรุกป่าสงวนฯ ยืนยันเมื่อความยุติธรรมยังไม่ปรากฏ ก็ยังต้องสู้ต่อเพื่อความมั่นคงของชุมชนโคกยาว บ้านน้อยหลังนี้ที่มีคนหาย และกลับกลายเป็นบ้านแสนอ้างว้าง โดยเฉพาะความมืดที่เข้ามาเยือนทุกค่ำคืน ความรู้สึกยิ่งแลดูเงียบเหงาลงอย่างรวดเร็ว เมื่อแม่สุภาพ คำแหล้ ผู้เป็นแม่บ้านที่เฝ้ารอคอยการกลับมาของสามีกลับคืนสู่ผืนดินที่เรียกว่าบ้าน ถูกตัดสินให้ไร้อิสรภาพและถูกจองจำอยู่ในเรือนจำภูเขียว นับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 60 ภายหลังจากที่ศาลจังหวัดภูเขียวนัดอ่านพิพากษาศาลฎีกา มีคำสั่ง จำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ตามความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ เมื่อครบกำหนดในวันที่ 6 ม.ค.2561 หลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ บรรยากาศเปี่ยมไปด้วยความอบอุ่นใจ แวดล้อมด้วยผู้คนอย่างหลากหลายจากเครือข่ายภาคประชาชนทั่วทุกภูมิภาคในนาม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ ) รวมทั้งองค์กรนักสิทธิมนุษยชน ประชาชนทั่วไป และนักศึกษา เดินทางมาต้อนรับขวัญแม่สุภาพ คำแหล้ คืนสู่อิสรภาพจากเรือนจำภูเขียว กลับคืนเฮือนจากเข้าร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ สุภาพ คำแหล้ หรือแม่ภาพ อายุ 65 ปี ชาวบ้านชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เล่าว่า ตามกำหนดเจ้าหน้าที่เรือนจำ จะปล่อยตัวเวลาประมาณ 10.00 น.เพราะหลังจากตื่นนอนในช่วงเช้านักโทษทุกคนจะต้องทำกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ ออกกำลังกาย อาบน้ำ จากนั้น 08.00 น.เข้าแถวยืนตรงร้องเพลงชาติ และกินข้าว แต่ในวันที่จะได้รับอิสรภาพ เจ้าหน้าที่เรือนจำเร่งปล่อยให้แม่ออกมาก่อนกำหนด คือก่อนช่วงเวลาประมาณ 07.00 น โดยที่แม่ภาพไม่ทันเตรียมตัว ข้าวก็ไม่ได้กิน และที่สำคัญคือ ยังไม่ได้กล่าวลาเพื่อนๆ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเลย แม่ภาพเล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มปนกับเสียงหัวเราะ ด้วยว่า สงสัยเจ้าหน้าที่คงกลัวว่าจะมีนักข่าว และผู้คนที่จะทยอยมาต้อนรับแม่กันมากมายกว่านี้ ถึงแม้จะถูกปล่อยออกมาก่อนเวลา แต่ภาพที่เห็นคือมีความรู้สึกดีใจอย่างเป็นสุขและอบอุ่นยิ่งนัก ที่มีพี่น้องมารอต้อนรับให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก แม่สุภาพ ถือเป็นบุคคลตัวอย่างของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง ที่เรียกร้องในสิทธิที่ดินและการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน นอกจากนี้ก็ต้องลุกขึ้นมาเป็นผู้หญิงแถวหน้า เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับสามีที่สูญหายตัวไป สำหรับบ้านหลังน้อยที่ถูกปกคลุมไปด้วยผืนป่าใหญ่ ไม่มีทั้งน้ำประปาและไฟฟ้า ไร้แม้แต่เงาของผู้เป็นสามีที่เคยเคียงข้างกันมาเกือบสี่สิบปี ขณะที่ปัญหาข้อิพาทเรื่องที่ดินก็ยังไม่สิ้นสุด แม่ภาพบอกว่าเมื่อความยุติธรรมยังไม่ปรากฏชัด ก็ยังต้องต่อสู้เพื่อความมั่นคงในผืนดินร่วมกับสมาชิกชุมชนโคกยาวต่อไปอย่างไม่ยอมถอย สำหรับการที่ทางเรือนจำปล่อยตัวแม่ภาพออกมาก่อนกำหนดเวลานั้น ส่งผลให้หลายคนตั้งใจมาต้อนรับมอบกำลังใจ ต้องพบกับความว่างเปล่า เช่นเดียวกับ อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลับมหาสารคาม (มมส.) เล่าว่า ในคืนวันที่ 5 มกราคม 2561 ได้เดินทางออกจากจังหวัดมหาสารคาม มาเช่าห้องพักนอนอยู่แถวตัวเมืองอำเภอภูเขียว เพื่อเช้าอีกวันจะไปรับขวัญแม่ภาพ ตามกำหนดการเดิมบอกปล่อยตัว 10.00 น. ปรากฏว่าไปถึงเรือนจำภูเขียวในเวลาดังกล่าว กับพบแต่ความว่างเปล่า เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่แจ้งว่าปล่อยตั้งแต่ 07.00 น.และกลับไปกันหมดแล้ว จึงต้องตามไปแสดงความยินดีที่วัดตาดฟ้าดงสะคร่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ที่ทางเครือข่ายภาคประชาชนนัดหมายรวมตัวไปที่วัดดังกล่าว เพื่อจัดทำพิธีรับขวัญแม่ภาพ ด้านอนุสรณ์ พัฒนศานติ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (มรภ.ชัยภูมิ) ผู้มารอต้อนรับแม่ภาพ กล่าวถึงความรู้สึกว่า เคยลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยประเด็นปัญหาที่ดินจังหวัดชัยภูมิ มีโอกาสพูดคุยกับพ่อเด่น สองสามครั้งก่อนที่พ่อเด่นจะหายตัวไป ส่วนแม่ภาพมีโอกาสได้พูดคุยไม่มากนัก แต่ได้พบปะบ่อยครั้งช่วงที่มีงานสัมมนาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน รวมทั้งได้มาร่วมงานรำลึกครบรอบการหายตัว 1 ปี ของพ่อเด่น เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 ณ วัดทุ่งลุยลาย "รู้สึกมีความผูกพันมานาน จนกระทั่งต่อมาแม่ภาพถูกคำสั่งศาลฎีกาต้องโทษจำคุก 6 เดือน เมื่อถึงกำหนดการปล่อยตัวจึงตั้งใจมาต้อนรับและมอบกำลังใจให้ เพราะรู้สึกว่าคนเราทำไมชีวิตถูกกระทำซ้ำเติมถึงขนาดนี้ เพราะช่วงที่ไปเห็นชุมชนโคกยาว สภาพที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินก็เพียงนิดเดียว อีกทั้งตัวบ้านก็เป็นแบบตอกสังกะสีล้อมพอบังลม ที่ดินแค่ไม่ถึง 2 งาน พอปลูกถั่ว ปลูกผักแบบพอเลี้ยงชีพวันต่อวัน แล้วต้องมาถูกจำคุก จึงคิดว่ามันเกินไปสำหรับชีวิตคนจนที่มาถูกกระทำแบบนี้" อนุสรณ์ เผยความรู้สึก ทิ้งท้าย กรณีของแม่สุภาพ คำแหล้ เป็นเพียงหนึ่งในปัญหาข้อพิพาทที่ดิน ระหว่างรัฐกับประชาชน ที่สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมที่เป็นภัยคุกคามความเป็นธรรม ที่ประชาชนได้รับจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง อาทิเช่น การประกาศเขตป่าต่างๆ ทับที่ทำกินที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน และการปลูกสร้างสวนป่าทับที่ทำกินชาวบ้าน หรือการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แต่เมื่อชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้ปกป้องสิทธิ ผลการเรียกร้องโดยส่วนมากกลับต้องเผชิญอุปสรรคและการถูกข่มขู่ คุกคาม ทั้งความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ จึงไม่พ้นที่จะถูกจับกุม และถูกดำเนินคดี เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต้องต่อสู้คดีตั้งแต่ศาลชั้นต้น ยันถึงฎีกา ท้ายที่สุดถูกกำจัดอิสรภาพอยู่ในเรือนจำ เหล่านี้คือวงจรเดิมที่จะเกิดขึ้นอีกเป็นซ้ำซาก เพราะการไม่ให้ความร่วมมือของหน่วยงานรัฐในการแก้ปัญหาทางนโยบาย เพราะฉะนั้น รัฐควรมีหน้าที่ในการช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ไม่ใช่เป็นฝ่ายที่สร้างปัญหาให้กับประชาชน ส่งผลให้ชาวบ้านต้องเผชิญอุปสรรคและการถูกข่มขู่ คุกคาม ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถูกดำเนินคดีและถูกจองจำจำกัดอิสรภาพ เพราะสิทธิที่ดินทำกินเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พุทธะอิสระเข้าแจงกองปราบปมถูกกล่าวหา ผิด ม.112 หลังมีกระแสเตรียมบุกค้นวัด Posted: 09 Jan 2018 10:43 PM PST พุทธะอิสระ เข้าแจงกองปราบกรณีถูกกล่าวหา ผิด ม.112 หลังเกิดกระแสเตรียมบุกค้นวัด ย้ำหากผิดจริงแจ้งข้อหาได้เลย พร้อมโพสต์บ่น "ไม่สงสัยเลยว่า ทำไมป๋าเปรมถึงได้เตือนนายกลุงตู่ว่า กำลังหนุนกำลังจักหมดแล้ว" พุทธะอิสระ ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)' เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2561 คมชัดลึกออนไลน์และข่าวสดออนไลน์ รายงานว่าที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือ หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม พร้อมด้วยทนายความ เดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ กก.5 บก.ป. เพื่อขอชี้แจงและสอบถามข้อมูลในกรณีที่มีผู้ที่แจ้งความร้องทุกข์เอาผิดในคดีที่เกี่ยวกับ มาตรา 112 โดยมีบรรดาลูกศิษย์เดินทางมาให้กำลังใจ พระสุวิทย์ กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจเดินทางมาพบเจ้าของคดี เพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ พร้อมทั้งชี้แจงในทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา โดยหากพบว่ามีความผิดจริงก็ขอให้แจ้งข้อกล่าวหาได้เลย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2560 ทางพนักงานสอบสวน บก.ป. ได้ติดต่อมายังทนายความส่วนตัวว่า จะให้มาเข้าพบเจ้าหน้าที่ แต่สุดท้ายทางตำรวจก็แจ้งว่าเลื่อนไม่ต้องเข้ามาพบแล้ว "ก่อนหน้านี้ทราบข้อมูลมาว่ามีตำรวจเข้าไปสอบปากคำคนใกล้ชิดและบุคคลภายในวัดอ้อน้อย นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่าจะมีการบุกค้นวัดอ้อน้อย วันนี้จึงเดินทางมาพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน" พระสุวิทย์ กล่าว รายงานข่าวระบุด้วยว่า หลังจากที่พระสุวิทย์ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เดินขึ้นไปพบเจ้าหน้าที่ กก.5บก.ป. พร้อมด้วยทนายความในทันที จากกนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้เดินออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ในการพูดคุยครั้งนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน สำหรับเรื่องคดีความที่ถูกกล่าวหา รวมถึงประเด็นที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปสอบถามคนสนิทในเรื่องส่วนตัว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อ้างเพียงว่าทำงานตามคณะทำงานเท่านั้น โดยหลังจากนี้อาจจะเดินทางไปสอบถามกับทาง ผบ.ตร. ด้วยตนเองหากยังถูกก่อความเดือนร้อนรำคาญจากเจ้าหน้าที่อีก ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2560 วิชัย ประเสริฐสุดสิริ ผู้ประสานงานองค์กรส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา (อสคพ.) พร้อมคณะร้องทุกข์กล่าวโทษกับกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ หลวงปู่พุทธอิสระได้ประกอบพิธีปลุกเสกพระเครื่อง "พระนาคปรก" รุ่น "หนึ่งในปฐพี" โดยที่ด้านหลังของพระเครื่อง มีการอันเชิญพระปรมาภิไธย ภปร. และมีการใช้เลือด หรือปะสะโลหิต ของหลวงปู่พุทธอิสระ ในการจัดพิธีด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น ล่าสุดวันนี้ (10 ม.ค.61) พระสุวิทย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ 'หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)' ในหัวข้อ "ไม่สงสัยเลยว่า ทำไมป๋าเปรมถึงได้เตือนนายกลุงตู่ว่า กำลังหนุนกำลังจักหมดแล้ว" โดยมีรายละเอียดดังนี้ วันนี้ต้องหอบสังขารที่อิดโรย แถมยังไม่ได้ฉันข้าวเช้า เดินทางไปกองปราบ เพื่อสอบถามถึงเป้าประสงค์ ที่พวกเขาพยายามสร้างแรงกดดันเดือดร้อน รำคาญให้แก่พระเณร และคนใกล้ชิดฉันอยู่เป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น เรียกคนใกล้ชิดเข้าไปสอบถามหาข้อมูลส่วนตัวเช่น ใครเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดของพุทธะอิสระ พุทธะอิสระไปเอาเงินมาจากไหน ถึงได้สามารถทำโน่น ทำนี่ได้มากมายหลายเรื่องหลายอย่าง ใครเป็นนายทุนให้พุทธะอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ พุทธะอิสระเคยมีครอบครัวมาหรือเปล่า ระหว่างบวชอยู่มีใครเข้ามารับใช้ใกล้ชิดอยู่บ้าง และอะไรๆ อีกหลายอย่าง หลายเรื่อง ซึ่งพิจารณาดูจากหลากหลายคำถามและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่กองปราบกอง 5 ที่แสดงออกเริ่มตั้งแต่พยายามส่งสายเข้ามาสืบความเคลื่อนไหวของพุทธะอิสระทั้งภายในและนอกวัด แถมยังส่งคนไปตรวจค้นธุดงคสถานของวัดที่ลำอีซู ทั้งที่ไม่มีหมายค้น แต่อาศัยป่าไม้ให้พาเข้าไป โดยอ้างว่ามาตรวจประจำปี ทั้งยังกำชับว่า วันต่อไปจักไปตรวจที่สถานปฏิบัติธรรมทองผาภูมิอีก ต่อมาก็โทรมานัดให้พุทธะอิสระเข้าไปให้สอบปากคำ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา พอพุทธะอิสระรับปากว่าจะไป วันต่อมาก็โทรมาบอกทนายว่า ขอเลื่อนเนื่องจากเจ้านายไม่อยู่ไปนอก พุทธะอิสระจึงให้ทนายโทรไปถามว่า สรุปแล้วจะเอาอย่างไร จะแจ้งข้อหาอะไรก็แจ้งมา อย่ามาสร้างความเดือดร้อน รำคาญอยู่เช่นนี้ วันนี้จึงเดินทางไปถามเจ้าหน้าที่กองห้าว่า สรุปแล้วพวกคุณไปได้ข้อมูลอะไรมา ถึงได้ทำกับฉันอย่างนี้ หากพวกคุณอยากรู้อะไร เอาข้อมูลที่คุณได้รับมาจากพวกลิ่วล้อธรรมกาย มาถามฉันในเวลานี้ได้เลย อย่าทำเป็นหลบๆ แอบๆ คนอย่างพุทธะอิสระไม่ชอบให้ใครมาข่มขู่คุกคาม สร้างความเดือดร้อน รำคาญอยู่เช่นนี้ เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องต้องมาพลอยเดือดร้อนไปด้วย มิใยว่าจักถามไปซักกี่ครั้ง สิ่งที่ได้คือการนิ่งเฉย ฉันพยายามสอบถามทั้งเจ้าพนักงานสอบสวน และรองผู้กำกับการกอง 5 แต่สิ่งที่ได้รับคือ ไม่รู้ ไม่ทราบ เปิดเผยไม่ได้ พุทธะอิสระ จึงตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่กองปราบดูจะกระตือรือร้นต่อการที่พวกลิ่วล้อธรรมกายมาแจ้งความเสียเหลือเกิน ถึงขนาดเขามาแค่ชี้เบาะแสให้ตรวจสอบกรณีพระปรมาภิไธย พวกเจ้าหน้าที่ก็รีบเต้นรับทำหนังสือไปขอความเห็นจากสำนักพระราชวังในวันรุ่งขึ้นในทันที แต่ทีพุทธะอิสระไปแจ้งความร้องทุกข์ กรณีธัมมชโยแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ แถมยังลงชื่อ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์เองด้วย แต่ท่านทั้งหลายรู้ไหม 6 เดือนต่อมา พุทธะอิสระถึงได้รับหนังสือแจ้งว่า ให้ไปแจ้งความในพื้นที่ตั้งวัดธรรมกายเอง และที่น่าตกใจคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบกองหนึ่งผู้รับแจ้งความ เขาจ่าหน้าซองส่งหนังสือว่า ส่งถึงนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ เท่ากับว่า ในสายตาของตำรวจกองปราบ เขาไม่ได้มองพุทธะอิสระเป็นพระเลย จึงไม่รู้สึกแปลกใจเลยต่อพฤติกรรมของตำรวจกองปราบที่ทำต่อพุทธะอิสระในเวลานี้ พอฉันเล่าให้รองผู้กำกับฟัง เขาก็ตอบฉันกลับมาว่า จริงหรือใครเป็นคนส่งหนังสือแบบนั้น เอาชื่อมาให้ผม ฉันจึงแจ้งว่าจดหมายฉบับนั้น ฉันสั่งให้ทนายเก็บเอาไว้แล้ว ที่จริงก็ไม่อยากเอาเรื่อง แต่พอมาเจอเหตุการณ์ก่อกวน คุกคามต่อตนเองเช่นนี้ มันทำให้ฉันต้องมานั่งคิด ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังเฝ้าจับผิดเราเช่นนี้ อาจจะเป็นเพราะอำนาจบารมีของลัทธิธรรมกาย สยายเข้ามาครอบคลุมถึงกองปราบด้วยหรือเปล่า สรุปแล้ว วันนี้ไปถามหาเหตุ ว่าเจ้าหน้าที่กองปราบกองห้า คุณมีข้อมูลอะไรจากใคร ถึงได้มาคอยจ้องจับผิดฉันอยู่ทุกวันนี้ วันนี้ฉันมานั่งให้คุณสอบถามแล้ว มีอะไรก็ถามมา คำตอบที่ได้คือเฉย ไม่ใช่พุทธะอิสระเป็นบุคคลเหนือกฎหมายตรวจสอบไม่ได้ แต่การตรวจสอบ ก็ให้มันมีข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและควรให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกตรวจสอบ ไม่ใช่ฝ่ายตรงข้ามกับพุทธะอิสระเอาข้อมูลอะไร ไปยัดใส่ให้ก็เต้นไปตามเขา ทั้งที่ไม่รู้ว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร อีกทั้งวิธีตรวจสอบกลายเป็นการคุกคามสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ทีเวลาพุทธะอิสระไปแจ้งความร้องทุกข์ในกรณีธรรมกายกลับนิ่งเฉย เฉื่อยชาทิ้งเรื่องไว้ครึ่งปี แล้วจึงแจ้งกลับมาว่าให้ไปแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ในท้องที่เอง พอมีเรื่องนี้เข้ามา จึงทำให้ถึงบางอ้อว่า ทำไมป๋าเปรมถึงได้เตือนนายกลุงตู่ว่า ได้ใช้กองหนุนหมดแล้ว จึงเข้าใจเลยว่า ที่กองหนุนของนายกตู่หมดไป ก็เพราะลูกน้องนายกนี่เอง แต่ไม่ต้องกลัวคนอย่างพุทธะอิสระ รู้จักแยกดีแยกชั่ว รู้ถูกรู้ผิดชัดเจน ถึงยังไงท่านนายกประยุทธ์ และ คสช. ก็ยังมีประโยชน์ต่อบ้านเมืองอยู่อีกมากถ้าจะดีมากๆ ควรจักต้องเตือนลูกน้องเสียบ้างว่า ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างระมัดระวัง ตรงไปตรงมา อย่าเลือกปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ไม่เอารัฐบาล คสช. เพื่อมาทำลายกองหนุนของรัฐบาลเสียเอง พุทธะอิสระ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผู้ใช้เน็ตจีนเริ่มเคือง หลังบ.ไอทีเผยข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ Posted: 09 Jan 2018 10:40 PM PST ถึงแม้ว่าประเทศจีนจะมีการสอดแนมและรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชนมาเป็นเวลานานจนมีภาพจำว่าประชาชน "เคยชิน" กับมัน แต่สื่อนิวยอร์กไทม์ก็ประเมินว่าในปี 2561 นี้ มีสิ่งที่ท้าทายสำหรับทางการจีนและบริษัทไอทีจีนคือการที่ประชาชนเริ่มแสดงความไม่พอใจการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวกันแล้ว 10 ม.ค. 2561 ประเทศจีนมีระบบการจ่ายเงินออนไลน์ขนาดใหญ่ผ่านบริษัทที่มีผู้ใช้บริการหลายร้อยล้านคน โดยในทุกๆ ปีบริษัทเหล่านี้จะมีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้ในรายละเอียดหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาก่อไปจนถึงลำดับของพวกเขาเทียบกับนักช้อปคนอื่นๆ ในพื้นที่ นักช้อปในจีนก็มักจะมีนิสัยอวดเรื่องทางการเงินของตัวเองและแชร์เรื่องนี้ผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตามในปีนี้ดูเหมือนชาวจีนจะแสดงออกต่างออกไป เพราะพวกเขาเริ่มมีความตระหนักเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยหลังจากที่บริษัทแอนต์ไฟแนนเชียลในเครือของอาลีบาบากรุ๊ปเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้ในโครงการที่เรียกว่า "เซซามีเครดิต" ออกมาโดยอัตโนมัติก็ทำให้ผู้คนไม่พอใจจนทำให้ทางบริษัทต้องออกมาขอโทษ โครงการเซซามีเครดิตคือการคอยติดตามชีวิตส่วนตัวของผู้คนไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรือแบบแผนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อนำไปประมวลผลการตัดสินใจให้กู้ยืม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความทะเยอทะยานของรัฐบาลจีนในการพยายามติดตามสอดแนมชีวิตของผู้คนที่หลายคนมองว่าแทบจะเหมือนนิยายของจอร์จ ออร์เวลล์ นิวยอร์กไทม์ระบุว่าถึงแม้วัฒนธรรมจีนจะไม่เน้นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคล และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีนก็เริ่มเคยชินกับการสอดแนมและการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลไปแล้ว แต่ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในกรณีล่าสุดของอาลีบาบาก็สะท้อนว่าผู้คนเริ่มต้องการสิทธิความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีกรณีการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตและการจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนเกิดขึ้นไปทั่ว ถึงแม้ว่าจีนจะมีการสอดแนมไปทั่วทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นการติดกล้องในเมืองใหญ่หรือการสอดแนมการพูดคุยของผู้คนในโลกออนไลน์ แต่นิวยอร์กไทม์ก็มองว่าการที่ผู้คนเริ่มตื่นตัวเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวอาจจะกลายเป็นความท้าทายสำหรับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีนและต่อการพยายามคุมอำนาจไซเบอร์ของรัฐบาลจีนเอง เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้วมีผู้นำธุรกิจของจีนที่เริ่มบ่นถึงปัญหาการขาดความเป็นส่วนตัวเช่นในโปรแกรมแชตอย่าง WeChat หลี่ ซูฝู ประธานของจี๋ลี่โฮลดิงกรุ๊ปและวอลโวคาร์กล่าวในที่ประชุมวันปีใหม่ว่า ทุกวันนี้ในจีน "ไม่มีสิทธิความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางข้อมูลข่าวสารเลย" และพูดถึง WeChat ว่า "โพนี่ หม่า จะต้องอ่านข้อความ WeChat ของพวกเราทุกวัน" โพนี่ หม่า คือประธานและผู้ก่อตั้งเทนเซนต์ บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในจีนที่ครอบคลุมทั้งโซเชียลมีเดียและโปรแกรมแชตที่มีผู้ใช้งานเกือบ 1,000 ล้านคน ถึงแม้ว่าเทนเซนต์จะเคยแถลงว่าพวกเขาไม่เก็บข้อมูลประวัติการพูดคุยของผู้ใช้งานและจะไม่เอาข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า แต่ผู้คนก็ไม่เชื่อสิ่งที่เทนเซนต์พูดเพราะเคยมีผู้ใช้งานถูกจับกุมเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาพูดใน WeChat และมีการนำข้อความ WeChat ไปใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล มีนักกิจกรมถูกติดตามเพราะการพูดคุยผ่าน WeChat นอกจากนี้ยังมีกรณีการออกแบบหน้าจอใช้งานในเชิงหลอกล่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยอมรับเงื่อนไขบริการและลงทะเบียนผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติ เช่น กรณีของบริษัทแอนต์ไฟแนนเชียลในเครือของอาลีบาบากรุ๊ปที่ให้ผู้ใช้งานคลิกผ่านหน้าจอโดยมีตัวอักษรเล็กๆ ที่ระบุว่าผู้ใช้งานได้ยอมรับเงื่อนไขของบริการ แต่เงื่อนไขของบริการดังกล่าวก็ไม่มีการเปิดเผยให้เห็นในหน้าจอนั้น และมีการตั้งค่าให้ผู้ใช้งานยอมรับโดยอัตโนมัติและสมัครให้พวกเขาเข้าใช้งานโครงการเซซามีเครดิต โดยเงื่อนไขการบริการของพวกเขาคือการระบุว่าบริษัทมีสิทธิจะเอาข้อมูลของผู้ใช้งานส่งให้บุคคลที่สาม รวมถึงส่งให้รัฐบาลเพื่อใช้กับระบบการให้คะแนนประชาชนโดยทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในเวลาต่อมาเทนเซนต์จะแจ้งว่าผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ว่าจะเข้าร่วมระบบการให้คะแนนเครดิตหรือไม่ และจะทำให้ผู้ที่ถูกลงทะเบียนเข้ามาในระบบโดยไม่ได้จงใจออกจากระบบ แต่ผู้ใช้งานก็วิพากษ์วิจารณ์ไปมากกว่าแค่เรื่องนี้ โดยตั้งคำถามกับท่าที WeChat ที่ทำตัวเป็น "พ่อค้าขายข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้" ที่ไม่ยอมรับผิดชอบกับเรื่องใดๆ ด้วย เรื่องนี้ยังทำให้โจวหยาง นักลงทุนอายุ 25 ปีจากเซี่ยงไฮ้กังวลว่าจะเอื้อต่อการจารกรรมข้อมูลและการหลอกลวงต้มตุ๋นทางอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นด้วยจากการที่ปัญหาเหล่านี้มีเพิ่มมากขึ้นในจีน และจากการสำรวจเมื่อปี 2560 จากสื่อรัฐบาลจีนเองก็พบว่าการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความกังวลอันดับหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีน เรื่องนี้มีแรงสะเทือนไปถึงระดับบนของการเมืองจีนที่ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามจัดวางระบบสอดแนมที่สลับซับซ้อนและกว้างใหญ่ที่สุดในโลกแต่นักการเมืองจีนก็เรียกร้องให้มีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่ดีขึ้น มีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้ใช้งานให้ดีขึ้น แต่ก็คุ้มครองแค่การห้ามแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัทเท่านั้น ความกังขาต่อเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวยังส่งผลต่อการทำธุรกิจกับต่างประเทศ เช่นกรณีที่แอนต์ไฟแนนเชียลตกลงซื้อบริษัทมันนี่แกรมไม่สำเร็จเนื่องจากในสหรัฐฯ มีความกังวลว่าบริษัทจีนจะเข้าถึงข้อมูลการเงินจำนวนมหาศาลได้ ระบบเซซามีเครดิตยังมีส่วนคล้ายกับระบบ "เครดิตทางสังคม" ที่จีนพยายามจะนำมาใช้งานในปี 2563 ที่จะถึงนี้ซึ่งจะเป็นการสอดแนมผสมกับการที่รัฐบาลให้คะแนนผู้คน ทำให้คนที่ได้คะแนนสูงมีอภิสิทธิ์ในเรื่องต่างๆ โดยข้อมูลส่วนหนึ่งอาจจะมาจากข้อมูลผู้ใช้บริการของบริษัทอย่างอาลีบาบาเอง เป็นเรื่องที่ชวนให้สังเกตการณ์ต่อไปว่าการตื่นตัวเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวจีนบางส่วนจะขยายไปถึงการคุ้มครองตัวเองจากเงื้อมมือของรัฐบาลจีนด้วยหรือไม่ ในเมื่อยังมีชาวจีนจำนวนหนึ่งที่เสพติดการอวดคะแนนที่ได้จากช้อปปิ้งออนไลน์และไม่สามารถเลิกใช้บริการจากบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในจีนได้ง่ายๆ
Internet Users in China Expect to Be Tracked. Now, They Want Privacy., New York Times, 04-01-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผลสำรวจพบนักข่าวหญิงเผชิญการคุกคามทางเพศกว่า 48% Posted: 09 Jan 2018 08:38 PM PST ผลสำรวจองค์กรสื่อมวลชนนานาชาติ ระบุนักข่าวหญิง 48% ต้องเผชิญกับการคุกคามทางเพศ โดย 45% ของผู้คุกคามเป็นแหล่งข่าว-ผู้ติดตามข่าว ส่วนอีก 38% เป็นการคุกคามจากเจ้านาย-หัวหน้างาน บ้านเราก็มีบ่อยครั้ง ตั้งแต่กรณีบิ๊กข้าราชการขี้หลีปี 2546, ผู้บริหารองค์กรสื่อถูกร้องเรียนเมื่อ ก.ย. 2560 และกรณีผู้สื่อข่าวหญิงถูกคุกคามออนไลน์เสนอเงินให้เป็นภรรยาน้อยเมื่อปลายปี 2560 ที่มาภาพประกอบ: International Federation of Journalists เมื่อปี 2560 หลังจากมีรายงานข่าวข้อกล่าวต่อโปรดิวเซอร์ชื่อดังคนหนึ่งของฮอลลีวู้ดว่าได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงในวงการบันเทิง ทำให้ผู้หญิงหลายล้านคนหันใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเผยเเพร่ประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นกับตนโดยใช้แฮชแท็ก #MeToo ซึ่งการโพสต์ข้อความเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์สร้างความตื่นตัวที่มุ่งเปิดเผยวัฒนธรรมการคุกคามและเอาเปรียบทางเพศ ที่ได้ส่งผลสะเทือนอย่างแพร่หลายและรวดเร็วในโลกอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ผลสำรวจของ Washington Post-ABC News poll ที่เผยแพร่เมื่อเดือน ต.ค. 2560 พบว่าร้อยละ 54 ของหญิงอเมริกัน เคยเจอกับการถูกล่วงเกินทางเพศโดยไม่เต็มใจในที่ทำงาน ร้อยละ 30 ระบุว่าเพื่อนร่วมงานชายเป็นผู้กระทำผิดและร้อยละ 25 ระบุว่าเพื่อนร่วมงานชายเหล่านี้ที่ล่วงเกินทางเพศต่อพวกเธอ เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าทางการงานของพวกเธอ ทั้งนี้ในแวดวงสื่อมวลชนเอง ผู้สื่อข่าวหญิงก็ถือว่าตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามทางเพศ จาก ผลสำรวจสภาพการทำงานของผู้สื่อข่าวหญิงเกือบ 400 รายใน 50 ประเทศ โดยสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (International Federation of Journalists หรือ IFJ) ที่เปิดเผยเมื่อเดือน พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 48 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อนจากการคุกคามทางเพศในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเธอ และร้อยละ 44 เคยถูกการคุกคามทางเพศออนไลน์ สำหรับรูปแบบการคุกคามทางเพศที่พบมากที่สุดในบรรดาผู้สื่อข่าวหญิง ได้แก่ การละเมิดทางวาจา (ร้อยละ 63) การล่วงละเมิดด้านจิตใจ (ร้อยละ 41) การล่วงละเมิดทางเพศ (ร้อยละ 37) การล่วงละเมิดทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 21) และเกือบร้อยละ 11 เผยเผชิญกับความรุนแรงทางกาย ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าร้อยละ 45 ของผู้กระทำผิดคือคนที่อยู่นอกสถานที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งข่าวและผู้ติดตามข่าว อีกร้อยละ 38 เกิดขึ้นจากฝีมือเจ้านายหรือหัวหน้างาน แต่สองในสามหรือร้อยละ 66.15 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ถูกคุกคามกลับไม่ได้ร้องเรียนอย่างเป็นทางการ และในบรรดาผู้ที่ร้องเรียนร้อยละ 84.8 ไม่เชื่อว่าได้ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมในทุกกรณีกับผู้กระทำผิดที่คุกคามทางเพศ มีเพียงร้อยละ 12.3% เท่านั้นที่พอใจกับมาตรการดำเนินการเมื่อพวกเธอร้องเรียนว่าถูกคุกคามทางเพศ ที่น่าตกใจคือมีเพียงร้อย 26 ขององค์กรสื่อที่มีนโยบายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ บางครั้งการคุกคามทางเพศต่อนักข่าวก็รุนแรงในระดับที่มีการข่มขืนเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น กรณีปี 2552 เหตุการซุ่มโจมตีขบวนรถนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดมากินดาเนาทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 57 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้สื่อข่าว 34 ราย มีรายงานข่าวว่าผู้สื่อข่าวผู้หญิงรวมถึงภรรยาและลูกสาวของผู้สื่อข่าวถูกข่มขืนก่อนถูกสังหาร ในปี 2554 มีรายงานข่าวว่าผู้สื่อข่าวหญิงชาวต่างประเทศเกือบถูกข่มขืนขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการโค่นล้มอำนาจประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ที่ประเทศอียิปต์ และในปี 2557 ผู้สื่อข่าวหญิงวัย 19 ปี ในโซมาเลียถูกข่มขืนในห้องข่าว ต่อมาเธอถูกคุมขังถึง 6 เดือน ส่วนผู้ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนเธอกลับไม่ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด เป็นต้น บ้านเราก็มี(บ่อย)นะกรณีของ น.ส.กาลเวลา เสาเรือน ผู้สื่อข่าวสาวทีวีช่องดังแห่งหนึ่งแจ้งความตำรวจ ปอท. ถูกเสี่ยทักเฟสบุ๊คเสนอเงินเดือนละ 2.2 แสนบาท แลกเป็นภรรยาเก็บ ที่มาภาพ: สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพ วิทยุโทรทัศน์สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรอบกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาในบ้านเรา ประเด็นเรื่องการคุกคามทางเพศต่อนักข่าวหญิงเริ่มถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในสังคม ตั้งแต่กรณีบิ๊กขี้ข้าราชการหลีที่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับผู้สื่อข่าวหญิงเมื่อปี 2546 ในปี 2549 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เคยจัดอภิปรายเรื่อง "นักข่าว (หญิง) กับภัยคุกคามทางเพศ" โดยมีการระบุจากผู้ร่วมการอภิปรายว่า ส่วนใหญ่นักข่าวไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอน บางทีเสี่ยงเพื่อที่จะได้ข่าวมา ในเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศมักไม่เกิดกับคนที่สมยอมแต่มักเกิดกับคนที่ไม่ยินยอมเรื่อยมา ที่สำคัญไม่มีการฝึกอบรมนักข่าวผู้หญิง มีเพียงแต่การสอนแบบพี่สอนน้องในการป้องกันตัวเอง ทั้งนี้การละเมิดต่อนักข่าวหญิงในที่ทำงานว่ามีหลายรูปแบบ เช่น ความรุนแรงทางกาย การที่นักข่าวต้องเป็นหญิงแกร่ง ข่าวต้องมาอันดับหนึ่ง ต้องกินเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ถือตัว สามารถแต๊ะอั๋งได้เพื่อที่จะแลกกับข่าว นี่เป็นทัศนะของผู้ชายที่มองนักข่าวหญิง นอกจากนี้ยังมีความรุนแรงทางจิตใจ เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ที่นักข่าวหญิงแม้มีมากกว่านักข่าวชายแต่ก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ ถ้าผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งงานเดียวกับผู้ชายจะได้เงินเดือนน้อยกว่า สามารถเลื่อนขั้นได้ง่ายกว่า ผู้หญิงถูกสอนให้ต้องพิสูจน์ตัวเองให้เห็นความสามารถในการทำงานตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่การลวนลามนักข่าวผู้หญิงโดยผู้ชายนั้นถูกทำให้เป็นเรื่องเล็ก เช่น ฝ่ายชายออกมารับผิดว่าตนเมา ขาดสติ และถ้าผู้หญิงไม่ยอมก็คงไม่มาด้วย หลังจากนั้นปัญหาก็จบเพราะว่าเป็นการเมาขาดสติ หรือการสมยอมของฝ่ายหญิง คดีการล่วงละเมิดทางเพศส่วนใหญ่จบแบบเดียวกัน คือการยอมความ อีกประการหนึ่งคือ ความรุนแรงทางสังคม ปัญหาเรื่องนักข่าวหญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศพูดกันอยู่ตลอดแต่ไม่เคยกลายเป็นประเด็นหลักเพราะสังคมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้อีกประเด็นหนึ่งก็คือความไม่กล้าออกมาทำลายกำแพงความหวาดกลัว ในขณะที่นักข่าวหญิงเสียหายหัวหน้าผู้ชายกลับบอกว่าไม่อยากให้พนักงานตกเป็นข่าวเพราะกลัวที่ทำงานจะเสียชื่อเสียง แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะไม่ออกมาเรียกร้องอะไร มีหลายกรณีที่ผู้หญิงกล้าออกมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเป็นกรณีศึกษาที่น่ายกย่อง เพราะทำให้เกิดบรรทัดฐานในการปฏิบัติ (อ่านเพิ่มเติม: เสวนา : นักข่าว (หญิง) กับภัยคุกคามทางเพศ) ปี 2559 ผู้สื่อข่าวหญิงอาวุโสท่านหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ถึงประเด็นการคุกคามทางเพศในวงการข่าวว่านักข่าวหญิงมักถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นประจำทั้งจากเพื่อนร่วมงานและแหล่งข่าวที่เป็นเพศตรงข้าม เช่น ทางวาจาโดยเฉพาะกับนักข่าวผู้หญิงที่เข้าข่ายหน้าตาและบุคลิกภาพดีมักตกเป็นเป้าหมายของการล่วงละเมิดทางเพศ หนึ่งในปัจจัยของปัญหาดังกล่าวสาเหตุหลักมาจากทัศนคติของเพศชายที่ยังมองว่า ผู้หญิงเป็นเพศที่มีไว้เพื่อชื่นชมในความงามน่ารัก หรือเพื่อเชยชม มากกว่าจะใส่ใจคุณค่าสมองและเห็นผู้หญิงเป็นเพื่อนร่วมงาน (อ่านเพิ่มเติม: ฟังนักข่าวหญิง-ถูกติดป้ายข่าวบันเทิง เสี่ยงถูกล่วงละเมิด-แช่แข็งในสายงาน) ในช่วงเดือน ก.ย. 2560 เกิดกรณีมีกระแสข่าวว่าผู้บริหารองค์กรสื่อแห่งหนึ่งมีพฤติกรรมคุกคามทางเพศพนักงานในสังกัด จนทำให้ต้องลาออกจากองค์กรและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง จนทำให้สมาคมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยต้องตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงขึ้นมา แต่จนถึงปัจจุบัน (ม.ค. 2561) ก็ยังไม่มีการเปิดเผยผลการสอบสวนแต่อย่างใด (อ่านเพิ่มเติม: สมาคมนักข่าวฯ แจงตั้ง อนุฯ กก.แสวงหาข้อเท็จจริง ปมข่าวบิ๊กสื่อคุกคามทางเพศแล้ว) และกรณีที่เป็นข่าวดังครั้งล่าสุด เมื่อเดือน ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา น.ส.กาลเวลา เสาเรือน อายุ 31 ปี ผู้สื่อข่าวหญิงสายสังคมของสถานีโทรทัศน์ชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้นำหลักฐานเอกสารสำเนาคำสนทนาระหว่างคู่กรณีที่อ้างตัวเป็นเสี่ย แชตเสนอเงิน 222,000 บาท แลกกับการเป็นภรรยาน้อย เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินดดีกับชายคนดังกล่าว โดย น.ส.กาลเวลา ระบุว่าในคืนวันเกิดเหตุมีผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่งเพิ่มเพื่อนเข้ามา จากนั้นได้ทักแชตเข้ามาในอินบ๊อกส่วนตัวเฟสบุ๊คตน ก่อนมีการเจรจายื่นข้อเสนอเงิน 222,000 บาทต่อเดือน แลกกับการเป็นภรรยาน้อย ให้ไปนอนกับที่โรงแรมตามที่จะนัดทุกวันที่ 5 วันที่ 15 และวันที่ 25 ของเดือน หรือให้ไปมีเพศสัมพันธ์ 3 ครั้งต่อเดือน ต่อมาผู้ใช้เฟสบุ๊คดังกล่าวยังวิดีโอคอลล์เข้ามา และพยายามยามให้เปิดกล้องเพื่อดูหน้าตน เมื่อตนปฏิเสธ ก็มีการอัพค่าตัวเพิ่มให้อีก 65,000 บาท รวมเป็น 287,000 บาท แล้วก็มีการส่งรูปผู้หญิงคนอื่น ๆ แบบโป๊เปลือย ที่ชายคนดังกล่าวอ้างว่าเป็นเมียน้อยของตนเองเหมือนกัน นอกจากนี้ยังส่งรูปอวัยวะเพศชายมาให้ดูด้วย (อ่านเพิ่มเติม: นักข่าวดังช็อก! เสี่ยขอเลี้ยงเดือนละ 2 แสน ส่งรูปโป๊สาวๆ ในสังกัดมายัน-มีทุกวงการ!)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น