ประชาไท | Prachatai3.info |
- บอร์ดค่าจ้างเคาะแล้ว ไม่ขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ สูงสุด 330 บ. ต่ำสุด 308 บ. มีผล 1 เม.ย.นี้
- อภิสิทธิ์ จ่อร้อง ป.ป.ช.เอาผิด 'สุกำพล' หลังฎีกาเพิกถอนคำสั่งปลดออกจากราชการทหาร
- 'ชาญวิทย์' ยันพร้อมสู้ตามกระบวนการ หลัง ตร.เอาผิดปมแชร์โพสต์กระเป๋าภรรยาประยุทธ์
- นิธิ เอียวศรีวงศ์: ให้เหล้า ≠ แช่ง
- หลังเจรจา บ.ต้าถัง ปมสร้างเขื่อน ปชช.ริมโขง ย้ำต้องศึกษาผลกระทบทั้งลุ่มน้ำ
- โกหกให้เนียนหน่อย
- ใบตองแห้ง: เศรษฐกิจไทยนิยม
- อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์: วิกฤติของภาคการผลิตไม่เป็นทางการ
- คืนเพื่อนแล้วไง...เปิดกฎหมาย ป.ป.ช.ไม่ได้ห้ามแค่รับทรัพย์สิน แต่ห้ามรับประโยชน์อื่นใดด้วย
- 'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานมิตซูบิชิ
- โจชัว หว่อง และเพื่อนถูกตัดสินลงโทษเพิ่ม กรณี 'ขัดขวางการปราบปรามการชุมนุม'
- 'เป็นเอก-ประจักษ์' เปิดจุดที่หนัง 'ประชาธิปไทย' ถูกเซ็นเซอร์ สะท้อนยุคสมัยประเทศนี้
- สปสช.ยันใช้สิทธิบัตรทองไม่มีเงินประกันก่อนรักษา เร่งตรวจสอบผู้ป่วยถูกเรียกเงินก่อนผ่าตัด
- นิธิ เอียวศรีวงศ์: ‘การเมือง’และ‘ไม่การเมือง’
- ‘นอน-ไบนารี่’ สำนึกทางเพศที่ไม่ใช่ชาย-หญิง หรือความเรื่องมากของคนที่ไม่เข้าพวก?
บอร์ดค่าจ้างเคาะแล้ว ไม่ขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ สูงสุด 330 บ. ต่ำสุด 308 บ. มีผล 1 เม.ย.นี้ Posted: 17 Jan 2018 10:25 AM PST มติคณะกรรมการค่าจ้าง สรุปผลปรับค่าจ้างปี 61 แบ่งเป็น 7 ระดับ ต่ำสุด 3 ชายแดนใต้ 308 บ. สูงสุดภูเก็ต ชลบุรี ระยอง 330 บ. กรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ 325 บ. กระทรวงแรงงาน เตรียม ครม.พิจารณาก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. นี้ 18 ม.ค. 2561 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานระบุว่า จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 19 ครั้งที่ 2/2561 ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2561 โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการปรับขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 7 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1) ค่าจ้าง 308 บาท มี 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระดับที่ 2) ค่าจ้าง 310 บาท มี 22 จังหวัด คือ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีสะเกษ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร หนองบัวลำภู สตูล ระดับที่ 3) ค่าจ้าง 315 บาท มี 21 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ น่าน กาญจนบุรี อ่างทอง ระดับที่ 4) ค่าจ้าง 318 บาท มี 7 จังหวัด คือ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี ระดับที่ 5) ค่าจ้าง 320 บาท มี 14 จังหวัด คือ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พังงา ระดับที่ 6) ค่าจ้าง 325 บาท มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และระดับที่ 7) ค่าจ้าง 330 บาท มี 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า อัตราค่าจ้างต่ำสุดอยู่ที่ 308 บาท ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนอัตราค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 330 บาท คือ ภูเก็ต ชลบุรี และระยอง ขณะที่อัตราค่าจ้างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ที่ 325 บาท ส่วนที่เหลือจะลดหลั่นกันไปตามลำดับ ทั้งนี้ มติที่ประชุมยังได้เสนอมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยมาตรการลดหย่อนภาษีโดย 1.5 เท่าของค่าจ้างแรงงานสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สำหรับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 50 คนให้มีการจัดทำโครงสร้างอัตราเงินเดือนเพื่อให้ลูกจ้างเห็นความชัดเจนในการปรับขึ้นค่าจ้างในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้มีการปรับค่าจ้างแบบลอยตัวโดยเริ่มนำร่องในพื้นที่สามจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกก่อน คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยให้ค่าจ้างลอยตัวที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ รายงานข่าวระบุด้วยว่า กระทรวงแรงงานจะนำผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2561 ต่อไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กลุ่มคนงาน นำโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้รณรงเรียกร้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องเป็นธรรม โดยต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้ตามหลักการสากลและต้องเท่ากันทั้งประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อภิสิทธิ์ จ่อร้อง ป.ป.ช.เอาผิด 'สุกำพล' หลังฎีกาเพิกถอนคำสั่งปลดออกจากราชการทหาร Posted: 17 Jan 2018 10:06 AM PST อภิสิทธิ์ จ่อฟ้อง ป.ป.ช. เอาผิด พล.อ.อ.สุกำพล ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ หลังศาลฎีกา มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ลงนามโดย พล.อ.อ.สุกำพล ให้ปลด ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการทหารย้อนหลัง 23 ปี เหตุขาดการเกณฑ์ทหาร ภาพจากเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva 17 ม.ค. 2561 โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีศาลฎีกา มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1163 /2555 ที่ ลงนามโดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น ให้ปลด ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการทหารย้อนหลัง 23 ปี ว่า ต่อจากนี้จะนำคำพิพากษาศาลฎีกามาพิจารณา เพื่อดำเนินการร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อ เพราะเห็นว่าผู้ที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง อภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่เรื่องนี้ยุติลงแล้ว และเป็นไปอย่างที่ได้ขอความเป็นธรรมมาตลอด เพราะเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ อยากฝากไปถึงผู้ใช้อำนาจว่า ต้องใช้ด้วยความเป็นธรรม และทำตามกรอบของกฎหมาย อย่าใช้ไปในทางไม่ชอบ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง หากทำได้ ก็จะช่วยให้ระบบการเมืองและระบอบประชาธิปไตยดีขึ้น วานนี้ (16 ม.ค.61) ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า บัณฑิต ศิริพันธ์ ในฐานะทนายความเจ้าของคดี เปิดเผยหลังศาลฎีกาตัดสินว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ อภิสิทธิ์ ฟ้อง พล.อ.อ.สุกำพล ออกคำสั่งปลด นายอภิสิทธิ์ ออกจากราชการทหารย้อนหลังถึง 23 ปี โดย อภิสิทธิ์ได้ต่อสู้คดีนี้มาถึง 3 ศาล ซึ่งสรุปคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีแพ่งในคดีนี้ได้ว่า อภิสิทธิ์ เป็นโจทก์ ฟ้อง พล.อ.อ.สุกำพล จำเลย ผลคำพิพากษาศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของ พล.อ.อ.สุกำพล เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ส่อไปในทางไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทนายความระบุต่อว่า โดยข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลย ออกคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ ในขณะที่โจทก์มิได้อยู่ในราชการ แต่เป็นนายทหารนอกประจำการ ซึ่งโจทก์เองไม่เคยถูกตั้งกรรมการสอบทางวินัย หรือถูกสั่งพักราชการหรือเป็นกรณีที่โจทก์หนีราชการ ที่จำเลยจะใช้อำนาจสั่งปลดโจทก์ให้มีผลย้อนหลังถึง 23 ปี เมื่อได้ความว่าคำสั่งการปลดโจทก์ในขณะที่โจทก์มิได้รับราชการแล้ว จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยทหารพุทธศักราช 2476 มาตรา 7 ทั้งไม่อาจแปลความให้เป็นผลร้ายแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยออกคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 2 มิ.ย. 2531 ซึ่งโจทก์พ้นจากราชการมาก่อนแล้วถึง 23 ปีเศษ ก็ส่อไปในทางไม่สุจริต ถือเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ โดยคดีนี้มีตนและนายไพบูลย์ โพธิ์น้อย เป็นทนายความรับผิดชอบคดี ทั้งนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาว่าคำสั่งของกระทรวงกลาโหมนั้นชอบแล้ว โดยระบุว่าไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งของจำเลย เนื่องจากเหตุที่จำเลย ปลดโจทก์ออกจากราชการ เพราะโจทก์ขาดการตรวจเลือกทหารแล้วนำใบสำคัญ (ใบสด.9) แทนฉบับที่ชำรุดสูญหายอันเป็นเท็จ มาแสดงต่อสัสดีจังหวัดนครนายก ทำให้สัสดีจังหวัดนครนายก ไม่ทราบความจริงว่าโจทก์ครบเวลา ที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหาร จึงไม่ได้ระบุสถานะว่า เป็นผู้ขาดการเกณฑ์ทหาร เป็นเหตุให้สัสดีจังหวัดนครนายกออกใบสำคัญ สด.3 (ใบขึ้นทะเบียนกองประจำการ) ให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่มีใบสด.41 เป็นเอกสารแสดงว่า ได้รับการผ่อนผันกรณีศึกษาที่ต่างประเทศว่าไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหาร โจทก์จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและไม่มีคุณสมบัติที่จะบรรจุเข้ารับราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรได้ การสมัครและบรรจุโจทก์เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร กับการแต่งตั้งโจทก์เป็นนายทหารสัญญาบัตรฯ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหมเป็นการไม่ชอบ คำสั่งของจำเลยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว ต่อมาอภิสิทธิ์โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์จนมีผลออกมาได้มีคำพิพากษากลับเป็นให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงกลาโหม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ชาญวิทย์' ยันพร้อมสู้ตามกระบวนการ หลัง ตร.เอาผิดปมแชร์โพสต์กระเป๋าภรรยาประยุทธ์ Posted: 17 Jan 2018 09:12 AM PST ชาญวิทย์ ยันความบริสุทธิ์ใจในก 17 ม.ค. 2561 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้รับคำสั่งให้ตรวจสอบเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลที่โพสต์เฟสบุ๊คสาธารณะวิจารณ์กรณีกระเป๋าถือของ นราพร จันทร์โอชา ภรรยา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขณะเดินทางไปต่างประเทศ โดยมีการบิดเบือนข้อมูลให้คนอื่นเข้าใจผิดว่าเป็นกระเป๋าหรูราคา 2 ล้านบาท อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา รายงานข่าวระบุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบบัญชีเฟสบุ๊คชื่อ Charnvit Kasetsiri ได้แชร์โพสต์ของ Ploy Siripong เมื่อ 11 ม.ค.2561 เวลา 22.08 น. จากเพจชื่อ"ตีแตกการเมือง" และอีก 1 โพสต์ที่แชร์บทความจากแพรว ฉบับออนไลน์ เมื่อ 15 ม.ค.2561 เวลา 23.14 น. โดยมีผู้อื่นมาแชร์ต่อ และแสดงความคิดเห็นวิจารณ์ภรรยานายกฯ รวมไปถึงการทำงานของรัฐบาลไปในทางเสียหาย มติชนออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า พ.ต.อ.โอฬาร ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง "มติชน"ว่า วันนี้ตนได้ทำการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ในข้อหาความผิดดังกล่าว เนื่องจากการโพสต์ข้อความดังกล่าวสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ที่พบเห็น อันเป็นความผิด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะมีการออกหมายเรียกหรือไม่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 19 ม.ค.นี้ ชาญวิทย์ เผยยินดีต่อสู้ตามกระบ |
นิธิ เอียวศรีวงศ์: ให้เหล้า ≠ แช่ง Posted: 17 Jan 2018 08:30 AM PST
เหล้าถูกใช้เป็นสื่อกลางระหว่างคนกับผีมาแต่โบราณ ในวรรณคดีเรื่องขุนเจื๋อง ก่อนเลี้ยงเหล้ากัน เขาจะสาดเหล้าในจอกขึ้นไปบนฟ้าด้านหลัง เพื่อถวายให้แถนได้ดื่มก่อนเสมอ และในเมืองไทยสืบมาจนทุกวันนี้ เซ่นไหว้ผีเมื่อไรก็ต้องตั้งจอกเหล้าเรียงไว้ถวายพร้อมเครื่องเซ่นอย่างอื่นด้วย คนทรงเจ้าบางรายยังต้องเสพสุราจนออกอาการเมาก่อนให้เจ้าประทับทรง ซึ่งพอประทับทรงปั๊บก็หายเมาปุ๊บ หรือกลับกัน ก่อนประทับทรงไม่มีอาการเมาเลย พอประทับทรงแล้วก็เมาทันที ไม่ใช่ผี, แถน, เจ้าชอบกินเหล้า แต่เหล้าเป็นตัวกลางในการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งลี้ลับในหลายวัฒนธรรม น้ำเมาอะไรก็ไม่รู้ที่พวกอารยันเรียกว่า "โสม" คือเทพเจ้าองค์หนึ่งเลยทีเดียว จีนไหว้เจ้าก็มักถวายเหล้าเสมอ เหล้าในที่นี้จึงมีความหมายมากกว่าน้ำเมาแน่ และคงด้วยเหตุดังนั้น เหล้าจึงถูกใช้ในหลายวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับ การแสดงความยินดี รวมทั้งในวัฒนธรรมไทยด้วย อย่างน้อยในวรรณคดีเรื่องขุนเจื๋องเขาทำอย่างนั้น ไม่ว่าแขกจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง จนถึงทุกวันนี้ ธรรมเนียมดื่มอวยพรของฝรั่งก็ยังใช้เหล้า (แม้อนุญาตให้เป็นน้ำเปล่าสำหรับคนที่ไม่กินเหล้าได้ เพราะสังคมฝรั่งปัจจุบันให้ความสำคัญแก่เสรีภาพส่วนบุคคลมากกว่าธรรมเนียมประเพณี) เวลาที่คนไทยให้เหล้าแก่ใครในเทศกาลเช่นปีใหม่หรือวันเกิด ผมแน่ใจว่าเขาไม่ตั้งใจจะแช่งผู้รับ แต่เขาตั้งใจจะสื่อความยินดี, สื่อการต้อนรับเข้าสู่กลุ่มหรือพวกเดียวกัน และอาจสื่อความเคารพนับถือด้วย เพราะในวัฒนธรรมไทยเราให้เหล้าแก่ผี-แถน-เจ้ามาก่อน ยังมีอีกความหมายหนึ่งของเหล้า ซึ่งผมสงสัยว่าเป็นความหมายเฉพาะที่สังคมไทยสมัยใหม่ให้แก่มันโดยเฉพาะทีเดียว ในช่วงที่สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความทันสมัยในระยะแรก คนชั้นกลางซึ่งเริ่มขยายตัวขึ้นในเขตเมือง ต้องเผชิญกับความสัมพันธ์ระหว่างกันแบบใหม่ที่ไม่เคยมีในสังคมเมืองของไทยมาก่อน นั่นคือความสัมพันธ์ของคนเสมอภาคกัน ในโรงเรียนที่รัฐหรือมิชชันนารีเปิดให้แก่เด็กไทย ลูกคุณหลวงต๊อกต๋อยหรือแม้แต่ลูกเจ๊กกับลูกเจ้าคุณเตะตูดกันได้ ยกเว้นเด็กที่เป็นเชื้อสายเจ้านายแล้ว เด็กทุกคนเสมอภาคกันหมด แม้แต่ในระบบราชการซึ่งเน้นอภิสิทธิ์ของคนชั้นสูงอย่างมาก คนต่างสถานภาพทางเศรษฐกิจ, สังคม และการเมือง เมื่อเริ่มเข้ารับราชการ ก็มักมีสถานะทางราชการใกล้กัน ไม่พูดถึงบริษัทห้างร้าน (ฝรั่งหรือจีน) ซึ่งจ้างแรงงานที่มีการศึกษาไทยไว้ด้วยเหมือนกัน แม้ไม่มากนัก คนหนุ่มเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์เสมอภาคขึ้นนอกสถานที่ทำงานด้วย ดังจะเห็นได้จากนวนิยายรุ่นแรกๆ ที่พูดถึงกลุ่มเพื่อนชายต่างสถานภาพกันอยู่เสมอ ความเสมอภาคเป็นสิ่งแปลกใหม่ในความสัมพันธ์ของ "ผู้ดี" เมืองกรุง แม้ว่าเป็นสิ่งปรกติธรรมดาในความสัมพันธ์ของชาวบ้าน ทั้งที่อยู่ในเมืองและชนบท วงเหล้าของคนหนุ่มจึงช่วยให้ทุกคน ไม่ว่าลูกคุณหลวงหรือลูกเจ้าคุณหรือลูกเจ๊ก ก้าวข้ามความต่างทางสถานภาพลงมาสู่ระนาบเดียวกันหมด ปลดปล่อยตัวเองจากมารยาทของช่วงชั้นที่ผูกตรึง "ผู้ดี" ไทยมาแต่โบราณ ทุกคนในวงเหล้าบอกตัวเองและผู้อื่นได้ว่า หน้าข้าวหน้าเหล้า จะถืออะไรกันเล่าวงเหล้าจึงเป็น "พิธีกรรม" ที่สร้างความสัมพันธ์เสมอภาคและใกล้ชิดกัน ภายใต้คำว่า "เพื่อน" ซึ่งได้ความหมายใหม่ในหมู่คนชั้นกลางไทยในช่วงนี้ อันเป็นความหมายที่ไม่มีในภาษาไทยมาก่อน (เพื่อนในภาษาไทยแต่เดิมหมายถึง companion ไม่ใช่ friend "เพื่อน" ในความหมายนี้เป็นความสัมพันธ์ใหม่ที่เราไม่เคยมีมาก่อน จึงมีการอภิปรายความสัมพันธ์อันใหม่นี้ในนามของคำว่า "มิตรภาพ" จำนวนมาก ทั้งในบทความ, นวนิยาย และโคลงกลอนในช่วงนี้ สืบมาจนเมื่อผมเข้าโรงเรียน) และถ้ามองจากแง่นี้ วงเหล้าจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับปัจเจกบุคคล โอ้โห ใหม่เอี่ยมถอดด้ามเลยนะครับ แค่มีสำนึกว่าตัวเป็นปัจเจกบุคคล แค่นี้ก็ทั้งตื่นเต้น, หฤหรรษ์ต่อศักยภาพของตน, สลดใจต่อความโดดเดี่ยว และคงหวาดเสียวด้วย เพราะเป็นสำนึกที่ไม่เคยเกิดขึ้นแก่บรรพบุรุษไทยคนไหนมาก่อน แล้วจะหา "พิธีกรรม" อะไรล่ะครับ ที่อาจสมานมนุษย์พันธุ์ใหม่ในสังคมไทยเหล่านี้ได้ดีไปกว่าวงเหล้า เมื่อวัฒนธรรมคนชั้นกลางระบาดออกไปในสังคมมากขึ้นเรื่อยมา เหล้าในความหมายนี้จึงถูกใช้กว้างขวางขึ้นตลอดมาด้วยทั้งหมดที่ผมพูดมาถึงตรงนี้ หาได้มีความปรารถนาแต่อย่างใดที่จะมาเล่นคำกับ สสส. เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าเหล้าถูกคนไทยใช้ในหลายมิติมากกว่าการดื่มหัวราน้ำอย่างเดียว แต่โครงการรณรงค์ต่อต้านเหล้าของ สสส. มีอยู่เพียงมิติเดียว คืออย่าให้มันรั่วไหลเข้าปากใครแม้แต่หยดเดียว พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนไทยกินเหล้าด้วยเหตุอะไรอื่นที่ไม่ใช่เมาหัวราน้ำแยะมาก แต่เหตุเหล่านี้ไม่ถูกนำมาพิจารณาในการรณรงค์งดเหล้าเด็ดขาดของ สสส. แต่อย่างไร รณรงค์อะไรก็ตามที่ไม่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง มันจะสำเร็จได้ละหรือ ถึงสำเร็จได้ด้วยอำนาจรัฐประหาร มันจะยั่งยืนละหรือ พูดให้เข้าใจยากขึ้นหน่อยก็คือ การกินเหล้าไม่ใช่อาการทางกาย แต่มีความคิด, ความรู้ และความรู้สึกอยู่เบื้องหลังอีกมาก ผมขอเรียกว่าทัศนคติกินเหล้า ซึ่งเป็นเหตุให้กายกินเหล้า อีตรงทัศนคตินี่แหละครับ ที่ผมเห็นว่า การรณรงค์ของ สสส. ละทิ้งไปหมดเลย เหลือแต่การบังคับด้วยกฎหมาย, ภาษี และการสาปแช่งครับ ไม่มีใครสาปแช่งคนไทยยิ่งไปกว่า สสส. หรอกครับ ขอให้มึงตายอย่างทรมานในซองบุหรี่ และขอให้มึงจนและป่วยจนไม่มีทางรักษาในโฆษณาต่อต้านเหล้า แม้แต่เรื่องเมาแล้วขับก็เป็นเรื่องทัศนคติมากกว่าเหล้า คนที่ทำอย่างนั้นขาดสำนึกถึง "คนอื่น" ซึ่งเป็นเหตุให้เราทำร้ายกันถึงชีวิตหรือถึงพิการกันตลอดมา สำนึกถึงคนอื่นนั้นขาดหายไปในการศึกษาไทยนับตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นมาเลยนะครับ แม้แต่พระไทยก็ไม่ค่อยเทศน์เรื่องคนอื่น คนอื่นที่ผมหมายถึงคือคนที่ไม่มีหน้าตา เราไม่รู้จักและไม่เกี่ยวข้องเชิงผลประโยชน์อะไรกับเราทั้งสิ้น เพียงแต่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเรา (ไม่ใช่ "ชาติ" เฉยๆ หรือ "ความเป็นไทย" หรือ "ความสามัคคี" นะครับ) ซึ่งทำให้เราต้องห่วงหาอาทรต่อสวัสดิภาพของเขา เช่นเดียวกับที่เขาต้องห่วงหาอาทรต่อสวัสดิภาพของเรา สำนึกอย่างนี้คือที่เรียกกันว่า "ภราดรภาพ" อันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมสมัยใหม่ และอาจไม่จำเป็นแก่ชีวิตในหมู่บ้านซึ่งทุกคนเป็นญาติกันหรือเห็นหน้าค่าตากัน สำนึกภราดรภาพนี่แหละครับที่ขาดหายไปในสังคมไทย ขาดหายไปในการศึกษา, ในสื่อ, ในการอบรมเลี้ยงดู, ในนโยบายของรัฐ, ในทุกอย่างที่สร้างบุคลิกภาพคนไทยขึ้นมา ดังนั้น ตั้งด่านกันสักเท่าไร ก็หนีไม่พ้นเหยื่อของเมาแล้วขับไปได้หรอกครับ ผมไม่ได้หมายความว่าเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ไม่สำคัญ สำคัญอย่างยิ่งและขาดไม่ได้เลย แต่ไม่เพียงพอครับ ส่วนที่กล่อมเกลาทัศนคติให้มองเห็นคนอื่นก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน หรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เป็นส่วนที่การรณรงค์ต่อต้านเหล้าของ สสส. ไม่เคยใส่ใจเลย อันที่จริงตัวรถยนต์เองก็เป็นอาวุธฆ่าคนที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง ไม่ว่าคนขับจะเมาหรือไม่ คนไทยใช้อาวุธนี้ฆ่ากันเองไม่น้อยเหมือนกัน โดยไม่ได้เมาเลย แต่เราก็ยังจำเป็นต้องใช้รถยนต์ต่อไป หากทว่าไม่ใช่เพียงแค่กฎจราจรเท่านั้นที่ช่วยให้ความปลอดภัย ที่สำคัญกว่าเพราะทำให้คนขับอยากเคารพกฎจราจรคือสำนึกถึงคนอื่นครับ เช่นเดียวกับเรื่องวงเหล้าเป็น "พิธีกรรม" นะครับ สังคมไทยไม่ค่อยมีกิจกรรมที่เปิดให้ทำอะไรร่วมกัน มองไปรอบตัวสิครับ เราไม่มีห้องสมุดที่กระจายไปทั่วจนคนเข้าถึงได้ง่าย, โรงหนังเล็กๆ ที่ฉายหนังทางเลือก, เวทีแสดงที่ "นักแสดง" ทุกประเภทสามารถขึ้นไปได้ง่ายๆ เพราะมันอยู่นอกตลาด, สถานที่ร่วมกิจกรรมของชมรมคนที่สนใจร่วมกัน (เช่น "สวน" ของมูลนิธิไชยวนาของอาจารย์องุ่น มาลิก) ฯลฯ และเราไม่มีอะไรอีกหลายอย่างที่ทำให้เราสามารถมี "เพื่อน" ได้นอกวงเหล้า สสส. จำเป็นต้องสนใจมิติอันหลากหลายของเหล้าในวัฒนธรรมไทย เพื่อการรณรงค์ต่อต้านเหล้าทำได้ในหลายมิติมากกว่ากฎหมาย, ราคา และการสาปแช่ง หรือรณรงค์ทางกายภาพเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องเดียวกับการต่อต้านยาเสพติดแหละครับ เน้นแต่ด้านป้อนตลาดของผู้ผลิต โดยให้ความใส่ใจแก่ด้านความต้องการของผู้เสพน้อยเกินไป แล้วประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดก็เห็นอยู่ หลายคนพูดว่าการต่อต้านบุหรี่, เหล้า และยาเสพติด กลายเป็นการประกอบการทางเศรษฐกิจของคนบางกลุ่มไปเสียแล้ว หากเป็นจริงตามนั้น ก็เข้าใจล่ะครับว่า เหตุใดจึงไม่สนใจต่อมิติด้านอื่นเลย จะรณรงค์อย่างไรก็ตาม อย่าลืมด้วยว่าทางเลือกชีวิตที่เสรี เป็นเรื่องสำคัญในโลกปัจจุบันไปแล้ว ผู้คนจำนวนมากขึ้นยอมเสี่ยงเลือกทางชีวิตที่แตกต่าง การกินเหล้าก็เป็นทางเลือกชีวิตอย่างหนึ่ง รณรงค์ต่อต้านเหล้าอย่างไรจึงไม่ปิดทางเลือกชีวิตของผู้คน เหล้ามีอันตรายต่อตนเอง, ครอบครัว, สังคม ฯลฯ ก็ต่อเมื่อกิน "ไม่เป็น" ไม่ใช่หรือ การสอนให้คนกินเหล้า "เป็น" จึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าสอนให้ไม่กินเหล้าเลย ผมคิดมานานแล้วว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนควรถูกบังคับเรียนวิชาสุรา 101 ซึ่งนอกจากสอนให้กินเหล้า "เป็น" แล้ว ยังสอนให้รู้จักวิธีปฏิเสธอย่างที่คนอื่นไม่รู้สึกว่าตัวด้อยลงไปด้วย เพราะคนกินเหล้า ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็น เขาก็ยังเป็นมนุษย์เหมือนกันกับนักรณรงค์ต่อต้านเหล้า ไม่ใช่สัตว์นรกอย่างภาพโฆษณาของ สสส. ชวนให้เข้าใจ
ที่มา: www.matichonweekly.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หลังเจรจา บ.ต้าถัง ปมสร้างเขื่อน ปชช.ริมโขง ย้ำต้องศึกษาผลกระทบทั้งลุ่มน้ำ Posted: 17 Jan 2018 08:08 AM PST ตัวแทนภาคประชาชนริมแม่น้ำ 17 ม.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ตัวแทนภาคประชาชนริมแม่น้ำ พร้อมระบุว่า ไม่สามารถมาพูดคุยกันทีละเขื่ ตัวแทนภาคประชาชนริมแม่น้ำ โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้ : แถลงการณ์จากการประชุมเจรจากั |
Posted: 17 Jan 2018 07:57 AM PST
เช้าวันนี้ผมไปขึ้นศาลทหารในคดีที่ คสช. ส่งคนมาอุ้มผมไปควบคุมที่พล ร. 9 เนื่องจากผมโพสต์ข้อความเมื่อสงกรานต์ปี 2559 ว่า "ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" การที่ผมยังต้องขึ้นศาลทหารคือการประจานรัฐบาลที่ออกมติ ครม. ให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ เพราะการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารขัดต่อข้อ 10 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พฤติกรรมของ คสช. และรัฐบาลคือการพูดอย่างทำอย่าง เช่น ขอเวลาอีกไม่นานแต่จนบัดนี้เกือบ 4 ปียังไม่มีทีท่าจะคืนอำนาจ หรือสร้างภาพเป็นรัฐบาลปราบโกง ถึงขนาดออกคำสั่ง คสช. ที่ 127/2557 แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ จากนั้นออกคำสั่งที่ 1/2558 แต่งตั้งตัวเองเป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนพลเอกประวิตรเป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการ (ตามลิ้งค์แนบท้าย) ทั้งหมดคือการสร้างภาพเพราะทั้งประธานและที่ปรึกษาไม่สามารถตอบคำถามเรื่องนาฬิกา 25 เรือน (ข้อมูลสิ้นสุดวันนี้) ให้ประชาชนเชื่อถือได้ คำตอบที่ว่านาฬิกาทั้งหมดเป็นของเพื่อนที่ยืมมาใส่ไม่มีใครเชื่อ พลเอกประวิตรคงคิดว่าประชาชนโง่เหมือน ป.ป.ช. ที่อดีตเลขาของตัวทำหน้าที่เป็นประธาน ตามภาพถ่ายนาฬิกาทั้ง 25 เรือนที่โพสต์มา มีนาฬิกาชนิดที่สายเป็นโลหะซึ่งต้องตัดสายให้พอดีกับขนาดข้อมือเจ้าของถึง 12 เรือน หากนาฬิกาเป็นของเพื่อนพลเอกประวิตรจริง เพื่อนทุกคนจะต้องมีรูปร่างเหมือนกันมีขนาดแขนเท่ากับขาเหมือนพลเอกประวิตร จึงจะมีขนาดข้อมือเท่ากันให้พลเอกประวิตรยืมมาใส่ได้ ที่น่าแปลกคือนาฬิกาทั้ง 25 เรือนมีขนาดสายพอดีกับข้อมือพลเอกประวิตรทั้งหมด อย่าลืมหาเพื่อนที่รูปร่างเท่ากับตัวเองมาแสดงด้วย
ที่มา: FacebookWatana Muangsook ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 17 Jan 2018 07:42 AM PST
"ประชาธิปไตยไทยนิยม" ไม่ใช่เรื่องใหม่ ก็แค่วาทกรรมต่อเนื่องของ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ที่ไม่เอากติกาสากล สังคมไทยไม่ต้องการกติกาใดๆ เพราะใช้ความเชื่อตัวบุคคล เชื่ออภิสิทธิ์ชน คนดี ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ตรวจสอบไม่ได้ แล้วบอกว่านี่คือ "ความเป็นไทย" ว่าที่จริง ข้ออ้างเหลวไหลนี้ไม่ค่อยมีคนเชื่อสักเท่าไหร่ เพียงแต่คนไทยอยู่ในภาวะอับจน ไม่มีตัวเลือก ไม่เห็นอนาคต ก็ต้องจำทน แล้วรัฐบาลก็ประโคมว่าระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะทำให้ประเทศมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะลงทุนสาธารณูปโภคขนานใหญ่ เปิด EEC นำประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ถ้าไม่มีอำนาจพิเศษ ทำอย่างนี้ไม่ได้นะถ้าไม่ใช่ คสช.จะฟื้นโปรเจ็กต์ 2.2 ล้านล้านเป็น 3-4 ล้านล้านได้ไง ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญตีตกไปแล้ว แถมยังใช้ ม.44 สร้างรถไฟจีน ใช้ ม.44 กำหนดผังเมือง EEC รวดเร็วทันใจ ใครก็ค้านไม่ได้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จึงขายฝันอภิมหาโปรเจ็กต์ ตั้งแต่ 4.0 มาถึงหายจน เพื่อผูกมัดคนไทย ถ้าอยากให้เศรษฐกิจดี ถ้าอยากหายจน ก็ต้องยอมสละความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ยอมอยู่ใต้นายกฯ คนนอก ส.ว.แต่งตั้ง รัฐราชการทหารศาลองค์กรอิสระเป็นใหญ่ ไปอีก 5-20 ปี ถ้ายอมอยู่ในโอวาทเสียดีๆ อนาคตคนไทยจะร่ำรวยเหมือนคนจีน ที่มาท่องเที่ยวกินกุ้งเมืองไทย ชู "ประชาธิปไตยอัตลักษณ์จีน" เป็นแบบอย่าง ว่าทำให้ประเทศเจริญกว่าเป็นประชาธิปไตย นั่นแหละคือโจทย์ง่ายๆ ของประชาธิปไตยไทยนิยม เศรษฐกิจไทยนิยม ที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนดีขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตย ยอมทนอยู่ใต้ระบอบที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ ว่าไปก็ตลกดี ที่สมคิดเคยเป็นขุนคลังของทักษิณ ในยุคพรรคไทยรักไทยทำให้ประชาชนเห็นว่า "ประชาธิปไตยกินได้" แต่หลายปีมานี้ สมคิดพยายามขาย "รัฐประหารกินได้" ถ้าทำสำเร็จก็ต้องยกย่องสมคิดและทีมงาน ว่ามีคุณูปการอันใหญ่หลวง ต่อการสถาปนาระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ปัญหาคือมันไม่ง่ายเช่นนั้น ไม่เฉพาะความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดวิกฤติศรัทธา ในหมู่ "กองหนุน" รัฐบาลเอง แต่ว่าเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ที่แปลง "ทุนนิยมโดยรัฐ" แบบจีน มาเป็น "ทุนนิยมประชารัฐ" ก็มีเงื่อนไขแตกต่างหลายข้อ ข้อสำคัญคือการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่สวยหรูผ่านรัฐราชการไทย ถามหน่อยสิว่า รัฐราชการไทยมีเอกภาพมีประสิทธิภาพเพียงไร เมื่อเทียบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนรัฐราชการไทยใหญ่โตเทอะทะ เต็มไปด้วยความคิดเจ้าขุนมูลนาย หัวโต นายเยอะ ทำอะไรต้องรอนายสั่ง รวบอำนาจสู่ส่วนกลาง ขยันสร้างระเบียบจุกจิก ที่เป็นอุปสรรคคนทำงาน แต่ทำอะไรคนโกงไม่ได้ ขัดแข้งขัดขากันเอง ทั้งในหน่วยงานและข้ามหน่วยงาน ขณะเดียวกันก็ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเบี้ยเลี้ยงเบี้ยประชุม ค่าจัดงานอีเวนต์พิธีกรรมอบรมสัมมนาดูงาน แข่งกันขยายตำแหน่งซี 9 ซี 10 มีเงินประจำตำแหน่งรถประจำตำแหน่ง เกือบ 4 ปีในรัฐบาลนี้ ไม่ได้ปฏิรูประบบราชการเลย มีแต่เพิ่มอำนาจสู่ส่วนกลาง กับเพิ่มกฎระเบียบ นี่หรือกลไกที่จะผลักดันเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ทุนนิยมประชารัฐ ที่เอาภาคธุรกิจเข้าร่วม จะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ อย่างที่บ่นกันว่าคนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง ซึ่งจะเป็นแรงบวกทางการเมืองในระยะต่อไป ในระยะเฉพาะหน้า นโยบายสมคิดดูเหมือนประโคมได้สำเร็จแต่ในระยะต่อไป อย่าพลิกผันก็แล้วกัน
ที่มา: www.kaohoon.com ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์: วิกฤติของภาคการผลิตไม่เป็นทางการ Posted: 17 Jan 2018 07:34 AM PST
ในขณะที่รัฐบาลมองเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ตัวเลขการประมาณการทางเศรษฐกิจสูงมากขึ้น แต่ชาวบ้านร้านถิ่นทั่วไปกลับรู้สึกว่าการทำมาหากินของพวกเขาฝืดเคืองมากขึ้นกว่าเดิมมาก พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดหรือผู้ค้าขายอาหารตามสั่งในที่ต่างๆ ล้วนแล้วแต่บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าลูกค้าลดลงไปมากกว่าครึ่ง ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ภาพรวมของสังคมเศรษฐกิจ หากแต่เป็นปัญหาในส่วนของภาคการผลิตไม่เป็นทางการ การผลิตภาคไม่เป็นทางการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาในช่วง 20 ปี กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ซึ่งต้องการการปรับตัวอย่างเร่งด่วน ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแบบแผนการบริโภคของคนในสังคม ซึ่งสัมพันธ์อยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน ประการแรก การขยายตัวของครอบครัวเดี่ยว ได้ทำให้การทำอาหารกินกันในบ้าน/ในครอบครัวลดลงอย่างสำคัญ เพราะพบว่าหากซื้อวัตถุดิบจากตลาดมาทำอาหารกินกันในครอบครัวที่มีสมาชิกเพียง 2-3 คนกลับแพงกว่าซื้ออาหารสำเร็จรูป ที่สำคัญ ในช่วง 10 ปีหลังนี้ คนจะไม่ทำอาหารและไม่ค่อยซื้ออาหารสำเร็จรูปแต่เปลี่ยนไปเป็นการกินอาหารนอกบ้าน จึงส่งผลโดยตรงกับการลดการจับจ่ายในตลาดสดทั่วไป ผู้ประกอบการร้านอาหารก็ไม่ได้ซื้อวัตถุดิบผักผลไม้จากตลาด หากไปซื้อที่ตลาดกลางผักผลไม้ (ตลาดในเขตเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยต้องปรับตัวมาขายอาหารสำเร็จรูปหรือขายสินค้าอาหารตอบสนองการท่องเที่ยว เช่น ตลาดในเขตเมืองเชียงใหม่ปรับตัวมาขายแคบหมู เป็นต้น ) ประการที่ 2 เมื่อการกินข้าวนอกบ้านในช่วง 20 ปีหลังมานี้ได้เปลี่ยนจาก "ภาวะหรูหรามาสู่ความจำเป็น" ( From Luxury to Necessity ) ได้ทำให้การกินข้าวนอกบ้านถูกลง และมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น การกินข้าวนอกบ้านจึงไม่ใช่การกินตามหาบเร่แผงลอยหรือตลาดโต้รุ่งแบบเดิมอีกต่อไป แต่จะเจาะจงเฉพาะบางร้านหรือไปตามร้านบุฟเฟต์ระดับกลาง หรือกลางล่าง ส่งผลทำให้แผงลอยขายก๋วยเตี๋ยว หรือข้าวตามสั่งมีลูกค้าน้อยลง ประการที่ 3 กระบวนการทางสังคมที่ทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องปกติของชีวิต ได้ทำให้การกินข้าวนอกบ้านไม่ใช่เพียงการแสวงหาอาหารใส่ท้องเพื่อยังชีวิตอีกต่อไป หากแต่เป็นพื้นที่การแสดงตัวตนในรูปแบบต่างๆ และตัวชี้บ่งบอกรสนิยมมากขึ้น จึงทำให้เกิดการเสาะแสวงหาที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา เมื่อก่อนอาจจะมีแค่ "ถนัดศรี" เท่านั้นที่คอยมาชี้ชวนให้ไปกินร้านแสนอร่อย แตในวันนี้ ทุกคนสามารถแสดงบทบาทนี้ได้ผ่านโซเชียลมีเดีย จึงไม่น่าแปลกใจที่ร้านอาหารจำนวนไม่น้อยพร้อมลดราคาให้ผู้เข้ามากินที่ร้าน หากเขาหรือเธอ "เช็คอิน" ร้านในเฟซบุ๊คของเขาและเธอ ประการที่ 4 ความสามารถในการเดินทางที่ไกลมากขึ้น ด้วยการมีพาหนะต่างๆ ไม่ว่ารถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ได้ทำให้ขอบเขตการแสวงหาร้านอาหารนอกบ้านที่เหมาะสมกับกระเป๋า หรือตอบสนองความอยากที่หลากหลายมากขึ้นนั้นเป็นไปได้ง่ายยิ่ง ลูกค้าขาประจำของร้านหาบเร่แผงลอยจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แน่นอนว่าเมื่อขยายขอบเขตการกินได้กว้างขวางขึ้นก็ย่อมไม่มีใครอยากจะจำเจอยู่กับร้านขาประจำเดิม ร้านอาหารใหม่ๆ ก็กระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้พื้นที่นั้นเป็นจุดขายไปด้วย ( ที่เชียงใหม่นั้นมีร้านขายข้าวขาหมูอยู่บนเนินเขา ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ไกลไปอีกหนึ่งอำเภอ แต่ก็มีคนขับรถไปกินเป็นอาหารกลางวัน ) ประการที่ 5 การขยายตัวของบริษัทยักษ์ใหม่ที่เข้ามาตอบสนองแบบแผนการบริโภค ด้วยการขยายร้านสะดวกซื้อออกไปทุกหัวระแหง และเน้นการขายอาหารพร้อมกินทุกรูปแบบ ทำให้กลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นกลายเป็นลูกค้าประจำแทนที่จะเข้าร้านอาหารตามสั่งแบบคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ (น่าสนใจตรงที่วัยรุ่นผู้หญิงจะนิยมซื้ออาหารพร้อมกินจากร้านสะดวกซื้อมากกว่าวัยรุ่นผู้ชาย และวัยรุ่นผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย ) ความเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภคของผู้คนในสังคม ทำให้การผลิตภาคไม่เป็นทางการที่ใหญ่ที่สุด คือ อาหารการกิน ตกอยู่ในสภาวะซบเซามาก ภาคการผลิตไม่เป็นทางการเคยเป็นพลังหล่อเลี้ยงสังคมในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพราะมีสัดส่วนการจ้างงานถึง 60% ของกำลังแรงงานและเป็นการผลิตที่เชื่อมต่อกันในเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น สภาวะความหยุดนิ่งของส่วนการผลิตหนึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปสู่ส่วนอื่นๆ ของระบบการผลิตไม่เป็นทางการทั้งหมด ภาคการผลิตไม่เป็นทางการจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแนวทางในการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้ประกอบการในภาคการผลิตไม่เป็นทางการ จะต้องพยายามสร้างจุดเน้นที่แตกต่างของสินค้าภาคไม่เป็นทางการทุกอย่าง อาหารก็จะต้องแปลกใหม่มากขึ้น ของกินเล่นพื้นบ้านก็จะต้องปรับแพ็คเกจให้ดูดีมีราคา ฯลฯ แม้ว่าคนที่เข้ามาสู่การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ มักจะเป็นคนรุ่นใหม่ไม่ใช่พ่อค้าแม่ค้าเดิม เช่น เหล้าขาว "หมาใจดำ" ของเชียงใหม่ แต่วันนี้ ผู้ประกอบการทุกคนต้องคิดแล้วครับ ขณะเดียวกัน รัฐก็จะต้องร่วมกันแสวงหาทางออกให้แก่ภาคการผลิตที่สำคัญต่อสังคมไทย รัฐและกลไกรัฐท้องถิ่นจะต้องสร้าง "พื้นที่กลาง" ที่กระจายไปตามที่ต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่มสินค้าโดยไม่คิดต้นทุน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการปรับตัวที่ง่ายมากขึ้น เงินงบประมาณ "ประชารัฐ" ควรต้องมาใช่ในการทำให้เกิดการลดต้นทุนคงที่ทุกด้านให้แก่ผู้ประกอบการการผลิตภาคไม่เป็นทางการนี้ ไม่ใช่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำผ่านกลุ่มทุนใหญ่แบบที่ทำกันอยู่นี้ รัฐและกลไกรัฐท้องถิ่นจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายจำกัดการขยายตัวอย่างเสรีของห้างสะดวกซื้อ (เมืองเกียวโตสามารถมีเทศบัญญัติไม่ให้ห้างใหญ่ตั้งอย่างเสรี) รัฐและกลไกรัฐท้องถิ่นจะต้องคิดถึงกระบวนการการผลิตในท้องถิ่นให้มีการผลิตสินค้าท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงไปข้างหน้าและย้อนกลับ (forward linkage and backward linkage) ให้มากและกว้างขวางที่สุด ซึ่งต้องเป็นการระดมความคิดกันจากทั้งผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ และผู้รู้ด้านต่างๆ วิกฤติที่เกิดในภาคการผลิตไม่เป็นทางการนี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะเป็นเรื่องที่ผูกพันอยู่กับคนไทยไม่ต่ำกว่าสิบล้านคนครับ
ที่มา: www.bangkokbiznews.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คืนเพื่อนแล้วไง...เปิดกฎหมาย ป.ป.ช.ไม่ได้ห้ามแค่รับทรัพย์สิน แต่ห้ามรับประโยชน์อื่นใดด้วย Posted: 17 Jan 2018 07:13 AM PST "มันวนกัน มันวน มันวน เออ…" นี่คือคำตอบของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังจากที่เหล่าผู้สื่อข่าวติดตามถามถึงที่มาของนาฬิกาหรูเรือนต่างๆ ที่ถูกขุดคุ้ยขึ้นทุกๆ วัน โดยเพจ CSI LA ข้อมูลล่าสุด (17 ม.ค. 2561) พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 25 เรือน รวมมูลค่า 39.5 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้อยู่ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. โดยพลเอกประวิตรให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 ว่า นาฬิกาหลายๆ เรือนที่เป็นเรื่องคาใจคนในสังคมอยู่นี้ ไม่ได้เป็นของตนแต่อย่างใด แต่มีเพื่อนให้ยืมมาทั้งหมด และได้เอาคืนเพื่อนไปหมดแล้ว พร้อมระบุด้วยว่าอย่างกังวลกับการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. เพราะเป็นองค์กรใหญ่ และหากมีการลงมติชี้มูลว่าตนเองมีความผิดก็พร้อมที่จะลาออก เท่ากับว่าตอนนี้คำตอบที่สังคมไทยเฝ้ารอจากพลเอกประวิตรก็ได้ถูกเปิดเผยแล้ว แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยคลายความสงสัยลงไปเลย เพราะจากคำตอบของพลเอกประวิตรได้ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกมากมาย เช่นว่า ใครเป็นเพื่อนที่ใจดีของพลเอกประวิตรบ้าง และจริงๆ แล้วนาฬิกาที่เพื่อนได้เอามาให้ยืมนั้นมีทั้งหมดกี่เรื่อน เพื่อนที่ว่าจะได้ไปชี้แจงต่อ ป.ป.ช. ด้วยหรือไม่ และคำถามที่สำคัญที่สุดคือ ยืมเขามา แต่คืนแล้ว มีความผิดหรือไม่ เอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการกฎหมาย ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านทางเฟสบุ๊คไลฟ์ Ekachai chainuvati โดยได้อธิบายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 103 ซึ่งเป็นเรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งตามกฎหมายระบุว่า "ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด" เอกชัยอธิบายว่า การยืมของราคาแพงจากบุคคลอื่นนั้น ถือว่าเป็นการได้รับผลประโยชน์อื่นใด แม้ท้ายที่สุดจะได้คืนของเหล่านั้นให้เจ้าของแล้วก็ตาม เพราะโดยปกติแล้วการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่รับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนนั้น หากมีความต้องการที่จะใส่นาฬิกาที่ชอบ โดยปกติแล้วก็จะต้องใช้เงินเดือนซื้อมาใส่เอง การที่ไปหยิบยืมคนอื่น หรือมีคนนำมาให้ยืมนั้นเท่ากับว่าเป็นการรับผลประโยชน์อื่นใด ซึ่งก็คือการได้ใส่นาฬิกา โดยไม่ต้องเสียเงิน แม้สุดท้ายจะได้นำนาฬิกาคืนเจ้าของไปแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่ามีความผิดอยู่ เพราะการรับผลประโยชน์ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ ในมาตรา 103/1 ได้ระบุให้ความผิดตามมาตรา 103 เป็นความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย และมาตรา 103/9 ระบุว่า ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการเปิดเผยกระบวนการและขั้นตอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ โดยให้มีการจัดทําข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ป.ป.ช. ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและผลกระทบต่อรูปคดีด้วย
อ่านประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานมิตซูบิชิ Posted: 17 Jan 2018 05:46 AM PST คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกแถลงการณ์ร้องรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน ระหว่าง บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)จำกัด กับสหภาพแรงงาน ภาพการชุมนุมของสมาชิกสหภาพแรงงานมิตซูบิชิฯ 17 ม.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง ขอให้ทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานระหว่าง บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)จำกัด กับสหภาพแรงงาน โดยเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐใช้ความพยายามในการให้เกิดการเจรจาภายใต้ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีตามหลักการทางสากล หลักนิติธรรมและหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 74 และยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย และในเบื้องต้นเพื่อแสดงออกถึงความจริงใจและสร้างบรรยากาศในการเจรจาบริษัทควรยกเลิกการประกาศปิดงานและให้สหภาพแรงงาน สมาชิก และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องกลับเข้าไปทำงานก่อนเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และพร้อมกันนั้นก็ดำเนินการเจรจาเพื่อหาข้อยุติยอมรับร่วมกันในการแบ่งปันที่เป็นธรรม และเชื่อมั่นว่าการแสดงออกถึงความจริงใจและความร่วมมือบนพื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ปัญหาข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ สหภาพแรงงานมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทมิตซูบิชิฯ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 60 ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากการทำงานในระหว่างปีและเรื่องปรับปรุงสวัสดิการที่จำเป็น และได้มีการเจรจากันหลายครั้งแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 60 บริษัทฯตอบโต้กลับด้วยการยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับการปรับเงินค่าจ้างประจำปีและโครงสร้างในระดับตำแหน่งงานต่างๆ การจัดเวลาเข้าทำงานใหม่(กะ)และขอยกเลิกหักเงินค่าบำรุงของสมาชิกให้แก่สหภาพแรงงาน ซึ่งข้อเรียกร้องของนายจ้างสหภาพแรงงานและสมาชิกเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนที่ไม่เป็นคุณไม่สามารถยอมรับได้ การเจรจายืดเยื้อหาข้อยุติไม่ได้จนเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างกัน ซึ่งต่อมาได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. - 27 ธ.ค. 60 แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้และในวันเดียวกันเวลาประมาณ 22.35 น.บริษัทจึงประกาศปิดงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการใดๆให้แก่สมาชิกของสหภาพแรงงานและผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 60 เป็นต้นไป รายละเอียดแถลงการณ์ : แถลงการณ์ฉบับที่ ๑เรื่อง ขอให้ทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน ระหว่าง บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)จำกัด กับสหภาพแรงงานตามที่สหภาพแรงงานมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)จำกัด เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ ซึ่งประเด็นการยื่นข้อเรียกร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากการทำงานในระหว่างปีและเรื่องปรับปรุงสวัสดิการที่จำเป็น และได้มีการเจรจากันหลายครั้งแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ บริษัทฯตอบโต้กลับด้วยการยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับการปรับเงินค่าจ้างประจำปีและโครงสร้างในระดับตำแหน่งงานต่างๆ การจัดเวลาเข้าทำงานใหม่(กะ)และขอยกเลิกหักเงินค่าบำรุงของสมาชิกให้แก่สหภาพแรงงาน ซึ่งข้อเรียกร้องของนายจ้างสหภาพแรงงานและสมาชิกเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนที่ไม่เป็นคุณไม่สามารถยอมรับได้ การเจรจายืดเยื้อหาข้อยุติไม่ได้จนเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างกัน ซึ่งต่อมาได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนับตั้งแต่วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จนถึงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และในวันเดียวกันเวลาประมาณ ๒๒.๓๕ น.บริษัทจึงประกาศปิดงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการใดๆให้แก่สมาชิกของสหภาพแรงงานและผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป การปิดงานของนายจ้างเป็นเรื่องที่สะเทือนต่อความรู้สึกของสหภาพแรงงานและสมาชิกเป็นอย่างมากเพราะเป็นการปิดงานในห้วงเวลาที่คนงานน่าจะมีความสุขกับการเฉลิมฉลองในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่และน่าจะได้เดินทางกลับบ้านไปเยี่ยมเยือนครอบครัว พ่อแม่พี่น้องพร้อมกับสิทธิประโยชน์ตอบแทนการทำงานระหว่างปีที่บริษัทเคยจ่ายให้ทุกปีตามข้อตกลงระหว่างบริษัทกับสหภาพแรงงาน แต่ปีนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งความจริงแล้วหากพิจารณาถึงผลกำไรของบริษัทนั้นมีผลกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ ในปี ๒๕๕๖ กำไรสุทธิ ๔,๔๘๘,๑๕๗,๘๑๑ บาท / ปี๒๕๕๗ จำนวน ๗,๗๘๖,๑๘๙,๕๗๙ บาท / ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๗,๕๐๓,๒๘๕,๕๖๐ บาท / ปี ๒๕๕๙ จำนวน ๘,๘๗๑,๘๑๒,๒๔๑ บาท และปี ๒๕๖๐ กำไรสุทธิ ๘,๙๘๖,๐๖๐,๓๐๑ บาท (ข้อมูลจากแถลงการณ์สหภาพแรงงานมิตซูบิชิฯ) เมื่อพิจารณาจากผลกำไรอย่างต่อเนื่องของบริษัท หากบริษัทเข้าใจสหภาพแรงงานซึ่งมีสมาชิก ๑,๘๐๐ คน และพนักงานอีก ๒๐๐ กว่าคน ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนต่อกันที่ทำให้บริษัทมีการพัฒนา มีความก้าวหน้ามั่นคงมาเป็นลำดับ ซึ่งบริษัทก็ควรให้ความสำคัญถึงความก้าวหน้า ความมั่นคงของคนงานด้วย การแบ่งปันจากข้อเสนอของสหภาพแรงงานมีสัดส่วนน้อยนิดเพียงแค่ ๔๑๗,๗๓๗,๕๐๐ บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๔ เท่านั้นจากกำไรสุทธิของบริษัทในปี ๒๕๖๐ ประมาณ ๘,๙๘๖,๐๖๐,๓๐๑ บาท(แปดพันเก้าร้อยกว่าล้านบาท) แต่จนถึงขณะนี้คนงานยังคงปักหลักประชุมร่วมกันในบริเวณวัดมาบสามเกลียว ต.ดอนหัวฬ่อ อ.เมือง จ.ชลบุรี เพื่อรอผลการเจรจาระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานซึ่งเท่าที่ติดตาม สถานการณ์และบรรยากาศในการเจรจามีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ภายหลังที่ได้รับหนังสือขอรับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานมิตซูบิชิฯและคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ พบปัญหาข้อมูลหลายด้านที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคนงาน การจ้างงานนักศึกษาฝึกงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แต่กระนั้นก็ตามข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่รับทราบจากสหภาพแรงงานและสมาชิกที่มาร่วมประชุมกันนั้นไม่มีแนวคิดและความประสงค์ในการนัดหยุดงานทุกคนต้องการที่จะทำงานให้บริษัท แต่มูลเหตุของข้อพิพาทและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเป็นความประสงค์ต้องการของนายจ้างและบริษัทที่ไม่ยอมรับเหตุผล ความจำเป็นและความเป็นจริง จนถึงปัจจุบันสหภาพแรงงานและสมาชิกยังคงมีความมุ่งหวังให้ข้อเรียกร้องและข้อพิพาทแรงงานยุติลงบนความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ดังนั้นคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) องค์กรสมาชิกและเครือข่ายด้านแรงงานจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐใช้ความพยายามในการให้เกิดการเจรจาภายใต้ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีตามหลักการทางสากล หลักนิติธรรมและหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา๗๔ และยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย และในเบื้องต้นเพื่อแสดงออกถึงความจริงใจและสร้างบรรยากาศในการเจรจาบริษัทควรยกเลิกการประกาศปิดงานและให้สหภาพแรงงาน สมาชิก และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องกลับเข้าไปทำงานก่อนเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และพร้อมกันนั้นก็ดำเนินการเจรจาเพื่อหาข้อยุติยอมรับร่วมกันในการแบ่งปันที่เป็นธรรม และเชื่อมั่นว่าการแสดงออกถึงความจริงใจและความร่วมมือบนพื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ด้วยความเชื่อมั่น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โจชัว หว่อง และเพื่อนถูกตัดสินลงโทษเพิ่ม กรณี 'ขัดขวางการปราบปรามการชุมนุม' Posted: 17 Jan 2018 05:36 AM PST ศาลสูงสุดฮ่องกงสั่งพิพากษาลงโทษ โจชัว หว่อง และราฟาเอล หว่อง อีกหนึ่งคดีคือกีดขวางการสลายการชุนุมปี 2557 นักกิจกรรมทั้งสองคนประกาศลั่นถึงเจตจำนงเสรีภาพและประชาธิปไตย ขณะที่มีผู้ชุมนุมให้การสนับสนุนพวกเขานอกศาล ตะโกนเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้ง 17 ม.ค. 2561 นักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยฮ่องกง โจชัว หว่อง ถูกลงโทษตัดสินจำคุกเพิ่มอีก 3 เดือน ในอีกหนึ่งข้อหาคือข้อหา "ขัดขวางการสลายการชุมนุมใหญ่" ในช่วงที่มีการชุมนุมครั้งใหญ่ในช่วงที่มีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยปี 2557 ถือเป็นคดีที่สองที่หว่องถูกตัดสินจำคุกจากการชุมนุมครั้งนั้น โจชัว หว่องเป็นคนหนุ่มอายุ 21 ปี ที่เป็นผู้นำพรรคเดโมซิสโต พรรคการเมืองสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มนักกิจกรรมสกอลาริซึม (scholarism) ก่อนหน้านี้เขาเคยถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือน ร่วมกับเพื่อนนักศึกษา 2 ราย จากข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" และ "ชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย" เดอะการ์เดียนรายงานว่าสิ่งที่น่าวิตกเกี่ยวกับการลงโทษล่าสุดจะเป็นการทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากแสดงความคิดเห็นของตัวเองและกลายเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จากเดิมที่ฮ่องกงซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษของจีนให้เสรีภาพมากกว่าในแผ่นดินใหญ่ การลงโทษหว่องแสดงให้เห็นถึงการที่จีนพยายามจะควบคุมฮ่องกงมากยิ่งขึ้น นอกจากโจชัว หว่อง แล้ว เพื่อนนักกิจกรรมอีกคนหนึ่งของเขาคือ ราฟาเอล หว่อง ถูกสั่งจำคุก 4 เดือน 15 วัน ด้วยสาเหตุเดียวกัน ผู้พิพากษาแอนดริว ชาน ไม่ยอมให้มีการประกันตัวทั้ง 2 จำเลย โดยระบุในคำตัดสินว่าหว่องมี "บทบาทนำ" ในการขัดขวางการสลายการชุมนุมในครั้งนั้นและอ้างว่าควรจะให้มีการสั่งคุมขังหว่องโดยทันที ขณะที่ทนายฝ่ายจำเลยพยายามเรียกร้องให้ผู้พิพากษาพิจารณาการตัดสินใจของเขาอีกครั้ง โดยที่ในตอนนี้ทั้งโจชัวและราฟาเอลต่างก็ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปคุมขัง อย่างไรก็ตาม ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังนำตัวพวกเขาไปนั้น ราฟาเอลก็ตะโกนออกมาว่า "เจตจำนงในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวกเราจะไม่เปลี่ยนแปลง!" ก่อนการรับฟังคำตัดสินในครั้งนี้โจชัวให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเขาไม่เสียดายที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมในปี 2557 และบอกว่า "พวกเขาอาจจะกักขังร่างกายพวกเราได้ แต่พวกเขากักขังความคิดพวกเราไม่ได้" มีผู้สนับสนุนนักกิจกรรมทั้งสองรายรวมตัวประท้วงอยู่นอกศาลสูงของฮ่องกง พวกเขาพากันตะโกนว่า "เราคือชาวฮ่องกง เราต้องการสิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป" เดอะการ์เดียนระบุว่าก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นเคยตัดสินให้หว่องและนักกิจกรรมอีกสองคนคือนาธาน หลอ และอเล็ก โจว ไม่มีความผิดจากการประท้วงดังกล่าว แต่หลังจากที่รัฐบาลแทรกแซงพวกเขาก็ถูกสั่งจำคุกในชั้นอุทธรณ์ แสดงให้เห็นถึงการที่จีนแผ่นดินใหญ่พยายามแผ่อิทธิพลเหนือฮ่องกง มีการยื่นอุทธรณ์ต่อในศาลสูงสุดของฮ่องกงซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
Hong Kong activist Joshua Wong jailed for second time over 2014 protest, The Guardian, 17-01-2018
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'เป็นเอก-ประจักษ์' เปิดจุดที่หนัง 'ประชาธิปไทย' ถูกเซ็นเซอร์ สะท้อนยุคสมัยประเทศนี้ Posted: 17 Jan 2018 01:59 AM PST เป็นเอก-ประจักษ์ ร่วมเสวนาฉายผลงานเก่า 'ประชาธิปไทย' ชี้เสียงที่หายไปในหนังคือบาดแผล สะท้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคนี้ที่ไม่ใช่ทุกเรื่องที่พูดได้ เป็นเอก และประจักษ์ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2561 Doc Club Theater จัดกิจกรรม "B-Side of Pen-ek" ฉายผลงานหน้า B เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ภาพยนตร์ของ เป็นเอก รัตนเรือง ณ Doc Club Theater Warehouse30 ซอยเจริญกรุง 30 โดยกิจกรรมจัดขึ้น 2 วัน ระหว่างวันที่ 13 – 14 ม.ค. ในกิจกรรมมีการฉายผลงานเก่าของ เป็นเอก รวมถึงภาพยนตร์สารคดีเรื่อง 'ประชาธิปไทย' (Paradoxocracy) ที่เขาเป็นผู้กำกับ พร้อมร่วมเสวนาระหว่างเป็นเอก กับ ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นเนื้อหาในภาพยนตร์ดังกล่าว (ดูเสวนาย้อนหลังได้ที่ goo.gl/7NJ4eu ) บาดแผลใน "ประชาธิปไทย"ช่วงหนึ่งของเสวนา ประจักษ์กล่าวถึงข้อเขียนของนักศึกษาว่า นักศึกษาหงุดหงิดเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้คือตอนที่เสียงหายไป ซับไตเติ้ลก็โดนคาดดำ ซึ่งเป็นตอนที่ทุกคนตั้งใจที่สุดแต่มันหายไป พอจบคลาส นักศึกษาก็ถามกันเข้ามาว่าเขาพูดอะไรกัน โดยเป็นเอกอธิบายว่ามีสาเหตุจากการโดนสั่งตัด 5 จุดโดยกองเซ็นเซอร์ เพราะคำพูดที่ให้สัมภาษณ์ แต่เนื่องจากภาพไม่ได้มีปัญหาจึงเลือกเอาแค่เสียงออก "พอผมนั่งดูก็พบว่าหนังเรื่องนี้เกิดแผล 5 แผล แล้วหนังที่มีแผลมันบอกอะไรบางอย่างกับคนดู มันมีบางอย่างในประเทศนี้ที่พูดไม่ได้ ก็เท่ากับว่ากองเซ็นเซอร์มาช่วยกำกับหนังเรา ทำให้หนังเราดีขึ้น มันเป็นการบอกกับยุคสมัยว่า ณ ยุคนึงของประเทศนี้ มันมีเรื่องบางเรื่องที่พูดไม่ได้" เป็นเอก กล่าวเสริม พร้อมอธิบายว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายขึ้นในปี 2556 ใช้เวลาเตรียมการก่อน 1 ปี โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากความสงสัยของตนเองเกี่ยวกับความขัดแย้งการเมืองไทยเรื่องสีเสื้อ และได้อ่านหนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะทำออกมาเป็นภาพยนตร์สารคดีโดยใช้เวลาอยู่พอสมควร จนกระทั่งได้ผลิตออกมา โดยมีความต้องการหลักคือตอบสนองความไม่รู้ของตนเอง ประจักษ์ กล่าวว่าตนเองใช้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสอนนักศึกษาในคณะ ทั้งยังให้นักศึกษาวิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าอะไรคือประเด็นที่ชอบและไม่ชอบที่สุดจากเรื่องนี้ และได้นำข้อวิจารณ์บางส่วนที่ได้รับจากผลงานนักศึกษามาเปิดเผยและแลกเปลี่ยนกับเป็นเอก ในกิจกรรมนี้ ความทรงจำของเป็นเอกในการเมืองไทยเป็นเอกเล่าความทรงจำในวัยเด็กเคยพบเห็นผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ทั้งยังมีประสบการณ์ร่วมชุมนุมสมัยพฤษภาทมิฬซึ่งเขาคิดว่าตนเองโชคร้ายเพราะไม่ได้เห็นเหตุการณ์การปะทะกัน แต่ก็คิดว่าโชคดีที่ตนเองรอดมาได้ ต่อมาในการชุมนุมประท้วงราวปี 2549 – 2550 เขาก็อยู่ในเหตุการณ์นั้น "ตอนเสื้อแดงปิดราชประสงค์ก็ไปวันนึงแต่เสียงดัง ทนไม่ได้ ตอนที่เขาเป่านกหวีด ก็ไปวันนึง ไปกินขนมจีน เพราะคนใต้ขนมจีนอร่อย ผมก็ไปตามหาซุ้มขนมจีน กินเสร็จก็ถ่ายรูปตึกอยู่แถวนั้น ก็โดนการ์ด กปปส. จะยึดกล้อง ก็เปิดรูปให้เค้าดู ก็ไม่มีอะไร ได้น้ำเก็กฮวยมาขวดนึง แต่ผมไม่ชอบไปม็อบ มันเสียงดัง ร้อน แล้วมันก็มีอาการคนบนเวทีต้องบิ้ว พูดจากไม่ดี ต้องให้คนไม่กลับบ้าน" เป็นเอกกล่าว ประจักษ์ให้ความเห็นเสริมว่าก็มีลูกศิษย์ที่ไม่ชอบการเมืองแต่ก็ไปกินอาหารที่กลุ่มผู้ชุมนุมแจกเป็นหลัก ใครเปิดโลกทัศน์เรื่องการเมืองไทยในเรื่องนี้มากที่สุด ?ภาพยนตร์เรื่องนี้ในมุมมองของผู้กำกับ ธงชัย วินิจกุล ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน และอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 เป็นคนที่เปิดโลกทัศน์เรื่องการเมืองไทยให้กับเป็นเอกมากที่สุด "ผมรู้สึกว่าแก (ธงชัย) มีความลึกซึ้งจากที่แกผ่านประสบการณ์แบบจริง ซึ่งประสบการณ์ที่แกผ่านมามันเลวร้ายมาก เรียกได้ว่ามันทำให้คุณเกลียดทุกอย่างในประเทศนี้ได้ แต่แกไม่มีตรงนั้นเลย แกอยู่เหนืออารมณ์แบบนั้น แม้ว่าจะมีอยู่บ้าง แต่โดยรวมๆ แล้วแกสามารถให้ความรู้เราได้โดยที่ไม่ได้เป็นกลางด้วยนะ ความเป็นกลางนี่มันก็น่ากลัว มันใช้ไม่ได้ แกก็ไม่ได้เป็นกลาง ขณะเดียวกันมันไม่ได้มีอารมณ์หรือความบาดเจ็บที่มาทำให้เป็นอุปสรรคในการนั่งพูดเรื่องพวกนี้ให้เราฟัง ทั้งที่บาดแผลแกเยอะมาก แกก็เลยกลายเป็นคนที่ผมเลื่อมใสไปเลย" เป็นเอก กล่าว ในส่วนของประจักษ์เอง ได้อธิบายว่านักศึกษาที่ได้ดูเรื่องนี้ก็ชอบ ธงชัย เหมือนกัน ทั้งคนที่รู้จักและไม่รู้จัก อีกคนคือ อ.สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ "คือ อ.สุลักษณ์ เวลาดูเนี่ย จะมีเสียงหัวเราะอะไรออกมาเวลานักศึกษาดู และนักศึกษาก็ไม่ได้รู้จักว่า อาจารย์คนนี้คือใคร เขาบอกว่าคนนี้เก๋ามาก ผมบอก คุณไม่รู้เหรอ นี่ปัญญาชนสยามอันดับหนึ่ง" ประจักษ์ กล่าว พร้อมกล่าวเสริมด้วยว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่รู้จักนักวิชาการในภาพยนตร์เรื่องนี้ยกเว้น ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เนื่องจากเป็นรองอธิการบดีประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือคนไทยไม่ได้มีสิบบาทเท่ากัน ?ฉากหนึ่งในภาพยนตร์ที่ อ.ปริญญา ยกการทอนเหรียญจำนวนสิบบาท ถ้าคนนึงมีเหรียญห้าสองเหรียญ คนนึงมีเหรียญสิบหนึ่งเหรียญ คนนึงมีเหรียญบาทสิบเหรียญ ถ้าให้ไปก็คือแต่ละคนก็ให้ไม่เท่ากัน ทอนไม่เท่ากัน แต่ทุกคนก็มีสิบบาท หมายความว่าหนึ่งคำถามมีหลายคำตอบที่ถูกต้อง เป็นกรณีสิ่งที่ อ.ปริญญา หยิบยกมากล่าวให้แก่นักศึกษาอยู่เสมอ ซึ่งในวงเสวนา ประจักษ์กล่าวแย้งว่าปัญหาการเมืองไทยคือทุกคนไม่ได้มีสิบบาท เหลืองแดงไม่ได้ขัดแย้งเรื่องมีเท่ากัน แล้วทอนต่างกัน แต่เป็นเรื่องของคนหนึ่งที่มีสิบบาทที่ไม่อยากเสียสิบบาท กับอีกคนที่มีหนึ่งบาทแต่อยากมีสิบบาทบ้าง โดยเป็นเอกกล่าวเสริมว่า ตรรกะของ อ.ปริญญา ดังกล่าว หากฟังเร็วๆ อาจจะใช้ได้ แต่หากพิจารณาอีกทีก็พบว่ามีข้อบกพร่องดังที่ประจักษ์ว่าไว้ ความเป็นกลางทางการเมืองประจักษ์ ได้อธิบายว่านักศึกษาที่ได้ชมมีมุมมองต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ 2 มุมมอง มุมมองแรก พวกเขามองว่าเรื่องนี้นำเสนอได้หลากหลายมิติ แลดูเป็นกลาง ในขณะที่อีกมุมมองนั้นตรงกันข้าม "มีนักศึกษาบางคนคอมเมนต์ว่าท้ายที่สุดผู้กำกับไม่ได้ Paradoxocracy จริง จริงก็เข้าข้าง Democracy (ประชาธิปไตย) แบบเนียน ๆ" ประจักษ์ กล่าว เป็นเอกตอบว่า ตนเข้าข้างประชาธิปไตยอยู่แล้ว ยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน อย่างเต็มตัว ซึ่งมันก็ถูกถ้าเขาคิดแบบนั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นมุมมองไหนในตอนทำออกก็ไม่ได้มีความตั้งใจขนาดนั้น มันคือการสร้างสมดุลให้กับภาพยนตร์ปกติ ภาพยนตร์ทั่วไปก็ทำ ตนไม่ได้ใส่ใจเรื่องการ สมดุลมุมมองของทั้งสองฝั่งเท่ากับการที่หนังมันต้องค่อยๆ สร้างอารมณ์ให้คนดู เป็นเอกกล่าวเพิ่มเติมว่า มีอีกมุมหนึ่งจากคนดูที่ตนรับรู้มาคือ ประเภทหนึ่งที่เขาเป็นคอการเมือง เลือกฝั่งชัดเจน เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้หน่อมแน้มมาก ประวัติศาสตร์ 101 มาก เหมาะสำหรับฉายในโรงเรียนมัธยมฯ คล้ายๆ ว่าเป็นบุหรี่ Marlboro light ไม่ได้เป็นบุหรี่ Marlboro แดง มันก็จริง แต่ตนก็ไม่รู้จะอธิบายกับคนที่มีมุมมองเช่นนี้อย่างไร ตนทำได้แค่นี้ รู้แค่นี้ จากข้อคิดเห็นนั้นมันกลับเป็นจุดแข็งของภาพยนตร์ไปด้วย เพราะเอาเข้าจริงประชาชนไทยเกินครึ่ง เขาไม่ได้รู้การเมืองขนาดนั้น แต่กลับพาไปไกลกว่าที่เขารู้ อีกประเภทหนึ่งคือตนก็มีทั้งเพื่อนที่เป็นเหลืองและแดง เพื่อนที่เป็นแดงดูแล้วร้องไห้ ตนก็สงสัยว่าไปร้องไห้ตรงฉากไหน เขาก็บอกว่าร้องไห้กับฉากที่ บก.ลายจุด (สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมเสื้อแดง) พูดว่า คนทำงานจะไม่ให้เขาซื้อมอเตอร์ไซค์เหรอ อีกฝ่ายเขาไม่คิดแบบนี้เหรอ ส่วนเพื่อนที่เป็นเหลืองก็พูดถึงฉากเดียวกันว่าโคตรสะใจ ดูสะเหล่อมาก มันเป็นเรื่องบังเอิญที่สองคนนี้พูดถึงฉากเดียวกันจากคนละมุมมอง อนาคตของภาพยนตร์การเมืองไทยเป็นเอก อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในสังคมไทยที่จะมีภาพยนตร์การเมืองออกมาในกระแสหลัก ยกเว้นว่าจะทำเงินได้ร้อยล้าน หรืออาจทำเป็นเนื้อหาที่เน้นการเมืองผ่านสัญลักษณ์แทน "ไม่เห็นภาพว่ามัน (หนังการเมือง) จะมีในบ้านเรา ไม่ใช่มองไปที่รัฐอย่างเดียว ตัวคนผลิตหนังมันต้องมีความกล้าหาญ ถ้ามันไม่มีก็ไม่มีทางเกิดขึ้น" เป็นเอก กล่าว เป็นเอกกล่าวด้วยว่า ภาพยนตร์เรื่อง 'ประชาธิปไทย' ยังไม่ได้สมบูรณ์ ต้องเพิ่มในส่วนของสีสันและเนื้อหาเข้าไปอีก โดยจะมีการจัดทำและฉายต่อไปในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องการเมืองไทยว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีทางจบสิ้นและยังต้องบันทึกกันต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับ อัฐพล ปิริยะ ผู้รายงานเสวนาชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 2/2560 จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสนใจด้าน One Piece, Star Wars, วรรณกรรม, การเมืองวัฒนธรรม และการศึกษา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สปสช.ยันใช้สิทธิบัตรทองไม่มีเงินประกันก่อนรักษา เร่งตรวจสอบผู้ป่วยถูกเรียกเงินก่อนผ่าตัด Posted: 17 Jan 2018 01:26 AM PST สปสช.แจงการใช้สิทธิบัตรทองนั้น ประชาชนผู้มีสิทธิไม่ต้องจ่ 17 ม.ค. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลั ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า ขณะที่อุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ต้ "กรณีปัญหาที่ผู้ป่วยถูกเรี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิธิ เอียวศรีวงศ์: ‘การเมือง’และ‘ไม่การเมือง’ Posted: 17 Jan 2018 12:34 AM PST
ถ้านิยามการเมืองว่าคือการแย่งและรักษาอำนาจกันระหว่างคนในวงการเมือง การ "ไม่การเมือง" มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารบ้านเมืองจริงอย่างที่คณะรัฐประหารทุกชุดย้ำพูด ยึดอำนาจกันทีไรก็มักกล่าวว่า นักการเมืองและการเล่นการเมืองทำให้บ้านเมืองเสียหาย ต้องหยุดเล่นการเมืองกันเสียที เพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง หรือปฏิรูปบ้านเมือง ภายใต้อำนาจของทหารซึ่งไม่มี "การเมือง" แต่ตรงกันข้ามกับที่คณะรัฐประหารพูด ในระบอบที่อ้างว่า "ไม่การเมือง" ที่สุดนั่นแหละ ที่มักจะ "การเมือง" ที่สุด คือดึงเอากลไกรัฐที่ควรอยู่นอกการแย่งและรักษาอำนาจกันในวงการเมือง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งและรักษาอำนาจ หรือเข้ามาเป็น "การเมือง" หมดเลย กองทัพซึ่งตามหลักการแล้วไม่เกี่ยวอะไรกับการแย่งหรือรักษาอำนาจเลย กลับกลายเป็นตัวเอกในการเล่น "การเมือง" ตำรวจตามเข้ามาอีกทั้งกอง เพราะตำรวจเป็นหน่วยถืออาวุธเหมือนกัน กองทัพที่ยึดอำนาจจึงวางใจไม่ได้ ต้องเข้าไปกำกับควบคุม ทางตรงหรือทางอ้อมไว้ให้มั่นคง หาก ผบ.ตร.มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร จะหวังให้ตำรวจไม่เป็นเครื่องมือทางอำนาจให้แก่คณะรัฐประหารย่อมเป็นไปไม่ได้ ไล่ไปตามกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบจนถึงคุก ราชการทั้งระบบกลายเป็น "การเมือง" ไปหมด ที่ควรเตือนนักการเมืองในเครื่องแบบด้วยข้อมูลรอบด้าน และเหตุผลที่ดี ก็ไม่กล้าเตือน ร้ายไปกว่าไม่กล้าเตือนก็คือกระโดดโลดเต้นตาม "นโยบาย" ที่เห็นอยู่แล้วว่าผิด เพื่อนักการเมืองในเครื่องแบบจะได้มองเห็นตัว และบันดาลให้ก้าวหน้าได้เร็วกว่าเพื่อน องค์กรอิสระ ซึ่งหลายองค์กรน่าจะเป็นหลักให้แก่บ้านเมือง แม้ในยามที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อป้องกันมิให้บ้านเมืองเสียหายด้วย "การเมือง" มากเกินไป กลับลงมาเล่น "การเมือง" เสียเอง หรือลงมามีส่วนร่วมในการแย่งและรักษาอำนาจทางการเมืองของคณะรัฐประหาร อะไรที่ควรมองเห็นก็ไม่เห็น อะไรที่เห็นอยู่โต้งๆ ก็ทำตาเหล่เสียในการรัฐประหารครั้งสุดท้ายนี้ แม้แต่มหาวิทยาลัยก็ไม่เว้น ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่อำนาจรัฐ (ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหาร) เอื้อมไปไม่ถึง หรือถึงก็ไม่สะดวกดายนัก แต่มหาวิทยาลัยกลับพยายามไปประสานทางการเมืองกับนักการเมืองในเครื่องแบบ ไม่เหลืออะไรที่ "ไม่การเมือง" ในเมืองไทยอีกเลยหากนิยามการเมืองอย่างที่คณะรัฐประหารทุกชุดเข้าใจ ความ "ไม่การเมือง" ของหน่วยงานที่เป็นกลไกของรัฐนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพวกเขามีทั้งข้อมูลรอบด้านกว่านักการเมือง (ทั้งในและนอกเครื่องแบบ) และทั้งประสบการณ์จริงในการปฏิบัติตามนโยบายมากกว่า เขาจึงอาจช่วยถ่วงดุลการวางนโยบายของนักการเมืองได้ดี จุดอ่อนของพวกเขาอยู่ที่ว่ามักจะคิดอะไรนอกกรอบไม่เป็น เพราะระบบเองก็ไม่ส่งเสริมให้เขาคิดอะไรนอกกรอบมากนัก ซึ่งก็ถูกแล้ว เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน จึงไม่ควรคิดหรือทำอะไรที่ต้องเสี่ยงต่อผลประโยชน์ส่วนรวมมากไปกว่าที่เคยทำมาแล้ว นักการเมืองเข้ามาถ่วงดุลการคิดอะไรแคบๆ ของพวกเขาจริงอยู่ ถึงที่สุดแล้ว กลไกรัฐต้องตอบสนองต่อนโยบายของนักการเมือง (แม้แต่ที่ได้อำนาจจากการรัฐประหาร) แต่พวกเขาสามารถท้วงติงได้แต่ต้น เพื่อให้นักการเมืองคิดใหม่ หรือเมื่อปฏิบัติตามนโยบายแล้ว เกิดผลเสียอย่างไร ก็พวกเขาอีกนั่นแหละที่จะแจ้งให้นักการเมืองรู้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนจะสายเกินไป จริงอยู่อีกเหมือนกันที่กลไกรัฐในประเทศไทยไม่ได้ทำอย่างนั้น แม้ภายใต้ระบอบปกครองที่เป็นประชาธิปไตยก็ตาม ทั้งนี้ เพราะกลไกรัฐเหล่านี้ล้วนถูกสร้างขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการพลเรือน, กองทัพ, หรือระบบศาล จึงเป็นส่วนหนึ่งของ "การเมือง" มาแต่ต้น รวมทั้งเคยชินกับการเชื่อมโยง "การเมืองภายใน" ของหน่วยงานเข้ากับ "การเมือง" ระดับชาติด้วย เพื่อสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของแต่ละคน เปรียบเทียบกับกลไกรัฐในอีกหลายประเทศ ที่ประคองตัวได้อย่างสมดุลระหว่างการต้องปฏิบัติตามนโยบายและการท้วงติง เช่น ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ เพราะกลไกรัฐเหล่านั้นล้วนเกิดและพัฒนาขึ้นภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยสรุปก็คือ การรักษากลไกรัฐให้ "ไม่การเมือง" (หากนิยาม "การเมือง" อย่างที่คณะรัฐประหารและผู้สนับสนุนเข้าใจ) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้ในเมืองไทย แต่ต้องใช้เวลาและยุทธวิธีที่แนบเนียน ความเป็นอิสระเฉยๆ อย่างที่ให้แก่ระบบตุลาการอาจไม่ช่วยนัก จำเป็นต้องคิดถึงกลวิธีอื่นๆ อีกมาก และตรงกันข้ามกับที่เข้าใจ การรัฐประหารเสียอีกที่ทำให้กลายเป็น "การเมือง" กันไปหมด เพราะจะหานโยบายอะไรของคณะรัฐประหารที่สำคัญยิ่งไปกว่า รักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้เล่า จำเป็นต้องดึงพลังของกลไกรัฐมาใช้ในทางการเมืองก็ดึง อย่าลืมว่า ยิ่ง "การเมือง" กันมาก ก็ยิ่งทำให้ระบอบรัฐประหารยั่งยืนมากขึ้น เพราะกลไกรัฐต่างๆ เข้าไป "การเมือง" กับคณะรัฐประหารมากเสียจน สูญเสียความชอบธรรมทางอำนาจของตนไป หากไม่มีคณะรัฐประหารคอยปกป้องไว้ ก็ต้องรับผิดชอบต่อกฎหมาย, ความชอบธรรม, และ/หรือประชาชนผู้ตื่นรู้ ซึ่งมีแต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เราจะป้องกันมิให้เกิดรัฐประหารซ้ำซากในเมืองไทยได้ ไม่ใช่ด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญที่ยกอำนาจให้แก่กลุ่มคนที่มีศักยภาพในการทำรัฐประหาร ซึ่งเท่ากับทำให้ระบอบรัฐประหารกลายเป็น "สภาพปกติธรรมดาใหม่" ของสังคม แต่เราต้องปรับปรุงแก้ไขมิให้กลไกรัฐ และสถาบันต่างๆ กลายเป็นลูกกะโล่ของคณะรัฐประหารต่างหาก ใครก่อรัฐประหารขึ้น เขาก็จะถูกโดดเดี่ยว ทั้งจากตัวระบบและจากการไม่ยอมรับของสังคม
ที่มา: https://www.matichon.co.th/news/801120
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘นอน-ไบนารี่’ สำนึกทางเพศที่ไม่ใช่ชาย-หญิง หรือความเรื่องมากของคนที่ไม่เข้าพวก? Posted: 17 Jan 2018 12:09 AM PST นอน-ไบนารี่ (Non-binary) คือคำนิยามทางเพศที่อาจยังไม่ค่อยคุ้นหูในสังคมไทยนัก เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ เราอาจต้องทำความเข้าใจกับคำสองคำที่ต่างกันก่อนนั่นคือ สำนึกทางเพศ (Gender Identity) หมายถึง การที่เรามองตัวเองหรือสะท้อนตัวเองว่าเป็นเพศอะไร กับอีกคำหนึ่งคือ รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) หมายถึง รูปแบบพื้นฐานของอารมณ์ ความใคร่ ความสนใจทางเพศต่อชาย หญิง หรือทั้งสองเพศ หรือเพศอื่น นอน-ไบนารี่ เป็นสำนึกทางเพศชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ชายและหญิง ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคม เป็นคำกว้างๆ ที่พูดถึงเพศต่างๆ ที่ไม่ใช่ชายและหญิง นอน-ไบนารี่เป็นร่มใหญ่ ที่แตกย่อยออกไปอีกคือสำนึกทางเพศหลายรูปแบบ ไม่ว่าคุณจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองเพศ (androgyne) เป็นกลางหรือรู้สึกไม่มีเพศ (agender) หรือมีเพศที่ลื่นไหลไปมา (Gender Fluid) หรืออื่นๆ ไบนารี่ (Binary) คือหลักคิดที่ว่าคนเรามีสองเพศคือชายกับหญิง ขณะที่นอน-ไบนารี่คือการปฏิเสธหลักคิดนี้ และเชื่อว่ามีตรงกลางระหว่างนั้นอีก ไม่จำเป็นต้องถูกผลักไปเป็นขั้วชายหรือขั้วหญิงเสมอไป มีคำถามที่ว่า เมื่อมีกลุ่ม LGBT (Lesbian-Gay-Bisexual-Transgender) เกิดขึ้นแล้ว ทำไมจึงยังต้องเกิดกลุ่ม นอน-ไบนารี่ ขึ้นอีก ทำไมกลุ่มนอน-ไบนารี่ไม่อาจรวมกับกลุ่ม LGBT และขับเคลื่อนประเด็นร่วมกันได้ และรวมถึงข้อถกเถียงที่ว่าหรือนอน-ไบนารี่จะเป็นแค่ความ "เรื่องมาก" ของคนที่ไม่อาจเข้าพวกกับกลุ่มอื่นได้ ประชาไทชวนคุยกับ คณาสิต พ่วงอำไพ และมณีนันท์ ช่อมณี นักขับเคลื่อนสิทธิและเสรีภาพทางเพศ กลุ่มนอน-ไบนารี่ไทยแลนด์ เพื่อทำความรู้จักกับคำว่า 'นอน-ไบนารี่' ซึ่งอันที่จริงมีความหมายลึกลงไปถึงระดับสรีรวิทยา วิพากษ์กรอบแนวคิดแบบไบนารี่ ตอบคำถามที่ว่านอน-ไบนารี่แตกต่างจากกลุ่ม LGBTQ อย่างไร และข้อเสนอของกลุ่มนอน-ไบนารี่ตั้งแต่เรื่องการศึกษาไม่แบ่งแยกเพศ ห้องน้ำกลาง จนถึงความเป็นกลางทางภาษา สำนึกทางเพศกับรสนิยมทางเพศของนอน-ไบนารี่เป็นยังไง? คณาสิต: ถ้าเขาถามสำนึกทางเพศของเรา เราเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ชายและหญิง หรือก็คือนอน-ไบนารี่ ส่วนรสนิยมทางเพศ คนที่เป็นนอน-ไบนารี่ ก็มีทั้งที่ชอบเพศตรงข้าม (heterosexual) ชอบเพศเดียวกัน (Homosexual) ชอบสองเพศ (Bisexual) หรือ ชอบได้ทุกคนไม่ได้สนใจที่เพศ (Pansexual) หรือชอบเพศหลากหลาย (Polysexual) หรือชอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจำเพาะ เช่น Androsexual ชอบคนที่มีลักษณะโดยรวมเป็นชาย หรือเอียงไปทางด้านชาย เช่น เกย์ ทรานส์แมน ทอม อย่าง LGBT คือสำนึกทางเพศไหม? คณาสิต: ไม่ใช่ เป็นรสนิยมทางเพศ อย่างเกย์เวลาไปถามเรื่องสำนึกทางเพศของเขา เขาจะบอกว่าเขาเป็นผู้ชายคนหนึ่ง เพียงแต่มีรสนิยมที่แตกต่างไปจากบรรทัดฐานทางสังคมคือชอบเพศเดียวกัน หรือถ้าถามกะเทยบางคนก็จะบอกว่าตัวเองเป็นผู้หญิง นั่นคือสำนึกแบบไบนารี่ คือยังมีความเป็นเพศชายหรือหญิงอยู่ แล้วเควียร์กับนอน-ไบนารี่ต่างกันยังไง? คณาสิต: เควียร์หมายถึงกลุ่มคนที่เขานิยามตัวเองว่าเป็นขบถต่อบรรทัดฐานสังคม แหกไปจากกรอบเดิม เควียร์จะพื้นที่ใหญ่ ไม่ได้พูดถึงสำนึกทางเพศอย่างเดียว แต่เป็นเพศวิถี รสนิยมทางเพศ ออกไปไกลถึงเรื่องการเมือง การแหกขนบอื่น เควียร์เกิดมาตั้งแต่ยุคฮิปปี้แล้ว ต้านระบบเก่า แต่นอน-ไบนารี่เพิ่งเกิดมาประมาณยุค 90 แต่มีความชัดเจนว่าโฟกัสแค่เรื่องสำนึกทางเพศของมนุษย์ เควียร์จึงไม่ใช่เพียงสำนึกทางเพศ (Gender Identity) แต่เป็น identity label ในอดีตกลุ่มเกย์ก็เคยเรียกตัวเองว่าเป็นเควียร์ เป็นการรวมการนิยามตัวเอง รสนิยมทางเพศ การแสดงออก ฯลฯ ทุกอย่างที่แหกไปจากขนบ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่เขาเรียกตัวเองว่าเป็นเควียร์ สำนึกทางเพศของเขาอาจจะยังเป็นชายอยู่ เพียงแต่รสนิยมทางเพศที่เขามีมันแหกไปจากขนบเดิมคือเขาไม่ได้ชอบเพศตรงข้าม เขาก็อาจจะระบุว่าตัวเองเป็นเควียร์ แต่สำหรับนอน-ไบนารี่ จริงๆ เราค่อนข้างใกล้เคียงและทับซ้อนกับคำว่าเควียร์ แต่ของเราจะเป็นเควียร์ในด้านของสำนึกทางเพศโดยตรง มันขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมตั้งแต่สำนึกทางเพศของเราเลย เหมือนนอน-ไบนารี่เป็นซับเซ็ตของเควียร์ เพราะทฤษฎีของเควียร์ก็สามารถใช้อธิบายได้ทั้งเควียร์ทั้งนอน-ไบนารี่ แต่พวกเราจะเน้นทางด้านสำนึกทางเพศโดยตรง เควียร์แปลว่าแหกกรอบขนบเดิม แต่นอน-ไบนารี่คือไม่ใช่ชายและหญิง สำหรับเราเราชอบคำนี้เพราะสื่อสารชัดเจน เพราะถ้าเราบอกว่าเราคือเควียร์ก็ต้องมาถามอีกว่า เควียร์อะไร แหกจากอะไร แต่ถ้าเราบอกว่านอน-ไบนารี่ไม่ใช่ชายหญิง คนจะเข้าใจว่าเราแหกจากเรื่องของเพศไม่ได้มีแค่ชายหญิง แต่ถ้าคนจะมองว่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ จะต่างกันก็ได้แล้วแต่คน
ค้นพบตัวเองว่าเป็นนอน-ไบนารี่ได้ยังไง? มณีนันท์: ณ วันนี้มองย้อนไปตอนยังเป็นเด็ก จะเห็นตัวเองมีการแสดงออกทางเพศค่อนไปทางกลางๆ มาโดยตลอด เสื้อยืด กางเกงยีนส์ ตัดผมสั้นมาตั้งแต่เด็ก ก่อนหน้านั้นเราจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นสาวห้าวมาตลอด เราเคยลองแต่งตัวใส่สั้นๆ สายเดี่ยวอยู่ครึ่งปี แต่สุดท้ายพบว่ามันไม่ใช่ ก็กลับมาที่จุดเดิม แต่ถ้าช่วงที่ค้นพบตัวเองจริงๆ คือประมาณปี 2554 เราไปเรียนต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ เริ่มสังเกตตัวเองว่าไม่ชอบแสดงออกว่าเป็นหญิง จะเอียงไปทางกลางๆ ทอมๆ ทีนี้ไปชอบนักร้องผู้ชายคนหนึ่ง ตอนแรกมันเหมือนอารมณ์ผู้หญิงอยากมีแฟนแบบนี้ จนมาถึงวันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราไม่ได้แค่ชอบเขา เราอยากเป็นแบบเขาด้วย มันเกินปกติ เลยเบนความสนใจตัวเองว่าหรือเราจะเป็นเกย์ทรานส์แมน (Transman-ผู้ชายข้ามเพศหรือหญิงที่ข้ามเพศเป็นชาย) อยากได้เขาและอยากเป็นเหมือนเขา ช่วงปีนั้นก็พีคมาก ปฏิเสธทุกอย่างที่ใส่แล้วเป็นหญิง เวลาเห็นผู้ชายสักเยอะๆ หุ่นดีๆ หนวดๆ เราจะรู้สึกอยากได้ร่างแบบนั้นและอยากได้คนแบบนั้นมาเป็นแฟน มันรู้สึกอึดอัดอยู่ในใจมาก ตอนนั้นเรานิยามตัวเองว่า เหมือนเป็นเกย์ที่ติดอยู่ในร่างสาวห้าว พอถึงช่วงที่สับสนว่าตัวเองเป็นทรานส์แมนรึเปล่า ก็พยายามหาบทความเกี่ยวกับทรานส์แมนมาอ่านแล้วก็พบว่ามันไม่ใช่ เราไม่ได้สำนึกว่าเราเป็นผู้ชาย เราแค่ชอบลุคที่เป็นมาสคิวลีนมากกว่าเฟมินีน บวกกับเราค้นพบว่าเราชอบได้ทั้งสองเพศ หรือถ้าให้เจาะจงก็คือเราเป็น androsexual คือชอบคนที่มีความเป็นชายสูงแต่ไม่สนใจเพศกำเนิด ทั้งลุคและความคิดแมนเท่าๆ กับเราหรือมากกว่า แต่ถ้าผู้หญิงจ๋าๆ ก้นเด้งๆ เราจะไม่ชอบ เราไม่อยากเป็นและไม่อยากได้ นิสัยตัวเอง ความคิด ทัศนคติ เรารู้สึกว่าเราไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้หญิง หรืออยู่ใน norm ของผู้หญิง เรารู้สึกว่าเราเข้ากับเขาไม่ได้มาตลอดตั้งแต่ตอนเราเป็นเด็ก เราเอียงไปทางชายตลอด เวลามีประเด็นทางเพศที่เขาเถียงกัน เราจะอยู่ฝ่ายผู้ชายตลอดแบบ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่บ้านหรือเพื่อนๆ ก็จะชอบบอกตลอดว่าเราขวางโลก เราเลยฝังใจว่าเราเป็นคนแปลก แต่พอได้ศึกษามากขึ้นเราก็เห็นว่าเรามีคุณสมบัติที่ตรงข้ามกับฝั่งผู้หญิง ศึกษามาเรื่อยๆ จนมาลงตัวที่คำว่า Gender non-conforming คือปฏิเสธที่จะเป็นตามเพศเดิม ทั้งสภาพร่างกาย บทบาทตามที่สังคมมอบให้ จนได้มาเจอคำว่านอน-ไบนารี่ในที่สุด เรามองว่าที่ต้องพูดเรื่องสำนึกทางเพศแยกกับรสนิยมทางเพศ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่สังคมยังจับแปะป้ายพ่วงกันอยู่ พอเขามีลักษณะทางเพศแบบไหน รสนิยมทางเพศเขาก็จะต้องเป็นแบบนั้นด้วย เช่น คนมักเข้าใจว่าเราเป็นทอม ต้องชอบผู้หญิง ทั้งที่เราชอบคนที่แมนๆ มีความเป็นหญิงน้อยๆ ดังนั้นการแสดงออกไม่ได้ชี้วัดถึงสำนึกทางเพศ คนอื่นจะมองว่าทำไมต้องมีคำจำกัดความเฉพาะเจาะจงให้ยุ่งยากขนาดนี้ แต่สำหรับคนที่เป็นแบบพวกเรา เราจะรู้สึกว่าสำคัญ มันไม่ใช่แค่รสนิยม มันยิ่งใหญ่กว่านั้น มันคือจิตวิญญาณของเรา เพราะเรารู้สึกว่าเราไม่ใช่ผู้หญิง เราไม่มีความเป็นส่วนหนึ่งกับเพศหญิง เราลาออกจากความเป็นเพศหญิงมา แต่ในขณะเดียวกันเราไม่ได้ไปสมัครใหม่เป็นเพศชาย หรือทรานส์แมน เพราะเราก็ไม่ได้อยากเป็นผู้ชาย เราเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ชายและหญิง
คณาสิต: เราออกสาวตั้งแต่เด็ก เห็นรูปตอน 7 ขวบก็ยืนพ้อยท์เท้า สาวกว่าตอนนี้อีก ทุกคนก็จะเรียกเราว่าตุ๊ดๆๆ ก็รู้ว่าเราเป็นบางอย่างที่แตกต่างออกไป และเราก็รู้จักแต่คำว่าตุ๊ด พอสมัยมัธยม เรียนโรงเรียนชายล้วน มันก็เริ่มชัด มันจะมีกลุ่มกะเทยที่เขาพร้อมจะเป็นหญิงข้ามเพศ คือเตรียมตัวแปลงเพศ ก็จะทำตัวสวยๆ แต่งตัว เตรียมบำรุงร่างกาย พวกที่เป็นเกย์ก็คือเกย์เลย จะแมนๆ อาจจะมีสาวบ้างเล็กๆ น้อยๆ แล้วก็เป็นกลุ่มเด็กผู้ชายธรรมดา ทีนี้เราถูกกีดกันออกมาจากกลุ่มที่เป็นกะเทยหรือตุ๊ด มันมีการปกครองในแบบของเขาอยู่ การปกครองแบบลำดับชั้น พี่สาวน้องสาว ตุ๊ดรุ่นน้องจะต้องไหว้ตุ๊ดรุ่นพี่ ใครไม่ไหว้ต้องตบ มีการรวมกลุ่มกันเพื่ออบรม ซึ่งในตอนนั้นเรารู้สึกเป็นลัทธิอะไรบางอย่างที่ดูน่ากลัว เราถูกกีดกันออกมา เพราะเราไม่ใช่ในแบบที่เขาต้องการ เรามีลักษณะบางอย่างที่เขาไม่ยอมรับ เราเลยลองไปเข้ากับกลุ่มเกย์แต่ก็เข้าไม่ได้ เราสาวเกินไป ทุกคนไม่เรียกเราว่าเป็นเกย์ถึงเราจะพยายาม ทุกคนเรียกเราเป็นตุ๊ด แต่พอเป็นตุ๊ด เราก็ไม่ได้เป็นตุ๊ดที่ได้รับการยอมรับแบบตุ๊ด เพราะเรามีลักษณะที่ไม่เหมือนกับทั้งสองฝั่งโดยจำเพาะ เช่น เราไม่ได้รักสวยรักงามเท่าไหร่ ไม่ได้ชอบการประกวด เดินแบบไม่เป็น เต้นไม่ได้ ประดิษฐ์ผ้าไม่ได้ ถ้าจัดอยู่ในกลุ่มตุ๊ดก็จะเป็นตุ๊ดง่อย ไม่มีสกิลการเป็นตุ๊ด แต่พอจะเป็นเกย์ เราก็ไม่เล่นฟิตเนส ไม่ได้ดูมีความเป็นชาย แต่ไม่ใช่ว่าเราคุยกับเขาไม่ได้ เราคุยได้ แต่เรารู้สึกไม่เป็นพวกเดียวกันกับเขา เรามักจะจับกลุ่มกับเด็กเนิร์ดที่เล่นเกมส์การ์ด ดูอนิเมะ เขียนนิยาย เขียนการ์ตูน เป็นพื้นที่ที่เขายอมรับเรา เราไม่ได้โกรธที่เขากีดกัน เรารู้สึกมันติงต๊อง แต่พอเรามาทบทวนตัวเองจริงๆ เรามีอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนตุ๊ดและเกย์จริงๆ เพราะฉะนั้น identity ช่วงแรกสุดของเราคือเกย์สาว แต่ในความรู้สึกเราเกย์สาวไม่ได้อยู่ใต้เกย์ แต่เป็นสิ่งใหม่ เป็นสำนึกใหม่อย่างหนึ่ง เราเริ่มเข้าสู่โซเชียลตอนม.ปลาย เราไปเจอเว็บหนึ่งเป็นชุมชนเกย์เล็กๆ ในเน็ต เพื่อเข้ามาหาคู่ มาพูดคุย แต่เราค้นพบว่าเราไม่ได้เป็นที่ต้องการของใคร เกย์จะเขียนโปรไฟล์แปะไว้เลยว่า "ไม่พูดคุยกับพวกที่ออกสาว" และเรารู้ตัวดีว่าเราไม่สามารถอำพรางสิ่งที่เราเป็นได้ เรารู้ว่าเรามีความสาวและเราไม่เคยคิดจะอำพรางมัน พอจะไปคุยกับใครก็จะเจอคำถามว่า "สาวป้ะๆ?" จากทุกคน แล้วก็โดนกีดกันออกมาเรื่อยๆ จนเราตั้งกลุ่มในห้องแชตเป็นกลุ่มเกย์สาวขึ้นมา เพื่อรวบรวมคนที่รู้สึกอึดอัดจากการถูกกีดกันจากกลุ่มเกย์ เรารู้สึกอึดอัด เรายอมรับได้ที่เขาไม่คุยกับเรา แต่มันต้องไม่ถึงขั้นเขียนด่าเหมือนเราไม่มีคุณค่า และมันไม่ควรอยู่ในโปรไฟล์สาธารณะ ถ้าไปด่าเราในแชตโอเคได้ แต่นี่คือเหมือนทุกคนจะได้รับค่านิยมความเกลียดชังเกย์สาว ตอนนั้นเรายังไม่มีนิยามที่ดีกว่าเกย์สาว ตอนนั้นเราคิดว่าเกย์สาวก็ต้องทัดเทียมกับเกย์ คุณค่าต้องเท่ากัน ต้องไม่มีใครมากดคุณค่าหรืออัตลักษณ์ของเราว่ามันต่ำต้อยกว่า ไม่เป็นที่นิยม ไม่ได้ คุณต้องให้เกียรติ การต่อสู้ในตอนนั้นเรายังไม่สมาทานความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและเหตุผล การต่อสู้ก็เลยกลายเป็นการด่า ด่าจนกว่าจะยอมฉัน สิ่งที่เราต่อสู้ก็คือใครก็ตามที่เขียนโปรไฟล์เหยียดเกย์สาว พูดไม่ดีมากๆ จนถึงจุดหนึ่ง เราจะต้องไปบังคับให้เขาเปลี่ยน เป็นการต่อสู้ของคนบ้ากลุ่มหนึ่ง (หัวเราะ) จนทุกคนต้องคอยเปลี่ยนโปรไฟล์ ให้เวลาสามสิบนาที ไม่เปลี่ยน ด่า วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเกย์สาวมันยังไม่พอ ตราบใดที่เรายัง label ตัวเองว่าเป็นเกย์อยู่ ยังไงเราก็ไม่ใช่ค่านิยมกระแสหลักของเกย์ เราก็ยังเป็นชายขอบที่ถูกกดทับอยู่ดี ทุกวันนี้ก็ยังเป็น ค่านิยมเกย์เป็นอะไรที่นับถือบูชาความเป็นชายมากๆ จนบางทีมันเลยกว่าผู้ชายในสังคมไปอีก อะไรที่สาวก็จะโดนกด การต่อสู้ที่เรายังนิยามว่าเราเป็นเกย์มันไม่มีประโยชน์ เราไปหาคำใหม่ดีกว่า คำที่นิยามตัวเราได้ดีกว่านี้ ตอนแรกเราเลือก androgyne คือการผสมผสานระหว่างชายหญิง แต่ไปๆ มาๆ เรากลับรู้สึกว่า คำว่า "ผสมผสานระหว่างชายหญิง" มันคือการที่เราต้องรู้สิ่งที่ผู้ชายและผู้หญิงเป็น แต่เราไม่รู้ เราเป็นอะไรอย่างอื่น เราไม่ได้มีสำนึกร่วมของทั้งสองอย่าง จนเรามาเจอคำว่านอน-ไบนารี่ ตอนนั้นขนาดรู้แค่ว่า นอน-ไบนารี่คือกลุ่มสำนึกทางเพศที่ไม่ใช่ชายและหญิง แค่นั้น แค่คีย์นั้น เรารู้เลยว่ามันคือเรา มันเป็นสิ่งที่เราตามหามานาน มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เกย์ ไม่ใช่เลส ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่หญิง และเราภูมิใจกับสิ่งที่เราเป็น อะไรก็ได้ที่เราเป็นตอนนี้ มันเหมือนการตื่นรู้อะไรบางอย่าง ตอนนั้นเราร้องไห้ ตัวสั่น เหมือนเราตามหามานาน ทำให้เรารู้สึกว่าในที่สุดเราค้นพบคำที่เราจะใช้ในการต่อสู้ มันคือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นฉันได้มากกว่าและถูกต้อง เราเรียกภาวะนี้ของเราว่าเป็นการตรัสรู้ทางเพศ ขนาดนั้นเลย การตรัสรู้หรือเข้าใจแจ่มแจ้งในอะไรบางอย่างที่มันเคยกดทับลดทอนเรา ที่เราตามหามันมีอยู่จริง เหมือนเป็นการปลดล็อก คือยังไม่ได้ทำอะไรเลยแต่ในความคิดของเราคือเราหลุดพ้นแล้วซึ่งความทุกข์และสิ่งที่กดดันเรามาตลอด เรารู้สึกว่าสิ่งนี้คือแสงสว่าง คือสิ่งที่มอบพลังให้กับเรา ให้เรายืนหยัดและต่อสู้ไปได้ ในชีวิต สิ่งที่เราขบคิดมาตลอดเวลาคือเรื่องเพศ สิ่งที่เราเป็นมันแตกต่างไปนะ ทำไมทุกคนถึงต้องเชื่อในความเป็นชายเป็นหญิงกันขนาดนั้น มันมีคำถามนี้มาตลอดก่อนจะมาพบคำว่านอน-ไบนารี่ พอมาพบมันคือคำอธิบาย และ เฮ้ย! มันมีคนคิดเหมือนเราว่ะ ตั้งคำถามเหมือนกับเรา เพศของเราตอนนี้คือเราตั้งขึ้นมาใหม่ เรียกมันว่า Gender Enlightenment มันคือคนๆ หนึ่งที่มีความต้องการสูงสุดที่จะหลุดออกมาจากกรอบของชายหญิง เราจะไปเทียบกับสมณเพศเลยไง เหมือนเราหลุดออกมาแล้วเราก็อยากเผยแพร่ให้ทุกคนได้ปลดปล่อย คนที่เคยตกระกำและทุกข์ทนกับกรอบชายหญิง คนที่เป็นเหมือนเราแล้วเขาได้หลุดออกมาเราจะดีใจมาก คืออย่างน้อยเราได้หลุดพ้นออกมาจากความทุกข์ภายในใจของเราแล้ว ตอนนี้ถ้าใครถามเราก็จะบอกว่าเป็นนอน-ไบนารี่ซึ่งเป็นร่มใหญ่ๆ แต่สิ่งที่เราเน้นคือภาวะหนึ่งๆ ที่เราตื่นรู้ เหมือนประสบการณ์ชีวิตทำให้เราไปเจอคำว่าอะไร และคำไหนคือเราจริงๆ ตั้งแต่นั้นเราก็เริ่มมาศึกษาเรื่องนอน-ไบนารี่ เรื่องสิทธิมนุษยชน การด่าทอสุดท้ายมันเหนื่อยและมันไม่ได้อะไรไปมากกว่าการแค่ด่าเขา ทุกคนไม่ได้เข้าใจแต่แค่กลัวที่เราจะด่า สิ่งที่ตอบโจทย์คือการใช้เหตุผล
ในกลุ่มนอน-ไบนารี่ดูจะมีสำนึกทางเพศที่หลากหลายมาก? คณาสิต: นอน-ไบนารี่คนอื่นก็จะมีสำนึกอีกหลายแบบที่ไม่เหมือนกัน เช่น มีคนที่เป็น Agender ไม่ต้องการมีเพศใดๆ androgyne ผสมผสานระหว่างสองเพศ Gender Fluid เพศที่ลื่นไหลไปมา และอีกมากมาย ปัญหาของกรอบคิดแบบไบนารี่? คณาสิต: กรอบค่านิยมแบบไบนารี่ชายหญิงมันกดทับและสร้างปัญหาบางอย่าง ล่าสุดที่คุยกันในกลุ่ม เรามองว่าปัญหาการข่มขืนส่วนหนึ่งมาจากกรอบไบนารี่ การแบ่งแยก เราให้สิ่งเด่นกับผู้ชาย สิ่งด้อยกับผู้หญิง และมันทำให้ผู้ชายรู้สึกตัวเองมีอำนาจ ถูกหล่อหลอมให้ต้องใช้อำนาจนั้นกับผู้หญิง ส่วนใหญ่พอเป็นเพศสภาพชาย แม้คนจะรับรู้ว่าเป็นตุ๊ด แต่เราก็ยังถูกคาดหวังในคุณค่าของความเป็นชายอยู่ดี เช่น อยู่กับเพื่อน ถึงมึงจะเป็นตุ๊ดแต่มึงก็มีโครงร่างของผู้ชาย มึงต้องยกของหนัก ซึ่งจริงๆ มันช่วยกันยกก็ได้ เราสนใจเรื่อง feminist แต่ในมุมมองของเราถ้าคุณยังแบ่งตัวเองว่าเป็นชายและหญิงแล้วสู้กัน มันก็เหมือนการสู้กันในขั้วตรงข้าม มันจะไม่มีวันจบสิ้น และมันไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด เราเข้าใจว่าการต่อสู้ทางด้านเพศต้องเข้าใจในความหลากหลายของเพศ อาจจะไม่ต้องถึงขั้นสลายกรอบ แต่ต้องบาลานซ์ทุกเพศให้เท่ากัน เพราะตอนนี้คือครึ่งหนึ่งของชีวิตเราโดนปิดกั้นบทบาททางเพศไปแล้ว
คณาสิต: ประเด็นคือเรามีปัญหาลึกๆ ที่มากกว่าแค่ต้องการคำนิยาม แต่สิ่งแรกคือคนต้องเข้าใจในนิยามของมันก่อน เพื่อจะเกริ่นไปสู่ปัญหาที่แท้จริง ว่าการที่เราเป็นแบบนี้มันมีปัญหาอะไรในการใช้ชีวิต มันมีความอึดอัด ปัญหาอะไรยังไม่ได้แก้ไข นำไปสู่การขับเคลื่อนทางการเมือง แต่ทุกคนก็จะคิดว่ามันเป็นความเรื่องมาก การขับเคลื่อนบางอย่างของพวกเขามันก็เป็นปัญหาของเราด้วย เช่น แน่นอนเราสนับสนุนสิทธิการสมรสเพศเดียวกัน และร่วมขับเคลื่อนได้ แต่จะมีปัญหาหลายอย่างที่เราไปกันไม่ได้ เพราะใน LGBT ส่วนหนึ่งก็ยังมีความคิดแบบไบนารี่ แม้เขาจะบอกว่ามีเพศที่หลากหลาย แต่สุดท้ายแล้วความคิดของเขาคือสำนึกทางเพศของคนเรามีแค่ชายหรือหญิง แต่เรามองว่าการที่คุณจะทำงานเคลื่อนไหวในเรื่องเพศ คุณต้องเข้าใจทุกกลุ่ม ต้องไม่มาปิดกั้นกลุ่มอื่น ถ้าเขาขับเคลื่อนว่าสุดท้ายสำนึกทางเพศมีแค่ชายกับหญิง เราก็ไม่สามารถที่จะไปขับเคลื่อนร่วมกับเขาได้ เพราะเขาปิดกั้นเราไปแล้ว เราไม่มีตัวตนแล้วสำหรับเขา เราเคยถกเถียงเรื่องนี้กับกลุ่ม LGBT ซึ่งบางส่วนก็มองว่าเราเป็นแค่คนที่เพ้อเจ้อ แปลกประหลาด แต่พวกเขาไม่ได้มองว่าสิ่งนี้มันเคยเกิดขึ้นกับพวกเขามาก่อน ตอนที่ LGBT ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าวันนี้ เรายินดีที่จะขับเคลื่อนร่วมกับ LGBT แต่ว่าแนวคิดบางอย่างมันจะทำให้บางเรื่องเราไม่สามารถไปกันได้จริงๆ ไม่ใช่อยากจะแยก ไม่ได้อยากจะเด่นแล้วตั้งนอน-ไบนารี่ขึ้นมาแข่ง แต่ถ้าเราเจอคนที่ไม่เข้าใจสำนึกแบบนอน-ไบนารี่ เราจะไปทำงานร่วมกับเขาได้ยังไง เราจะทำงานร่วมกับคนที่มองว่าเราไร้ตัวตน เป็นแค่ความเพ้อเจ้อได้ยังไง ปัญหาอะไรบ้างที่คุณอยากเสนอให้มีการแก้ไข? คณาสิต: เรื่องแรกที่เราอยากเรียกร้องคือห้องน้ำกลาง อย่างคนที่เป็นหญิงข้ามเพศ แต่ยังมีโครงร่างใหญ่ เดินเข้าห้องน้ำหญิง เกิดอะไรขึ้น? ผู้หญิงบางคนกลัว เรียก รปภ. มีการถกเถียงกันมากมาย สมควรไหมที่จะให้เข้าห้องน้ำหญิง เป็นผู้ชายปลอมตัวมารึเปล่า ต้องมีมาตรการอะไร ต้องแปลงเพศหรือยัง ต้องตรวจสอบทางจิตรึเปล่า มันกลายเป็นว่าการที่เราจะเดินเข้าห้องน้ำเพื่อไปขี้ไปเยี่ยว เราต้องตรวจสอบทางจิตด้วยเหรอวะ หลายๆ คนการจะไปเข้าห้องน้ำเหนื่อยมาก โดนตาม รปภ. แม่บ้านมากั้นไม่ให้เข้า ขอตรวจบัตรประชาชน ผู้หญิงมอง ร้องกรี๊ด พอจะไปเข้าห้องน้ำชายด้วยสารร่างเป็นหญิงก็ไม่ได้อีก ถ้ามันมีพื้นที่กลาง เป็นห้องน้ำที่ใครก็ได้เข้ามา ไม่ต้องมีใครมาตรวจสอบ ไม่ต้องมีใครรู้สึกไม่สบายใจ เข้าห้องน้ำมาทำกิจกรรมส่วนตัวแล้วออกไป จบ นี่คือสิ่งที่เราต้องการ เป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกตรวจสอบจากใคร ไม่ถูกสงสัยจากใคร ไม่ถูกหวาดระแวง ไม่ถูกเรียก รปภ. ไม่ต้องกรอกแบบสอบถามทางจิตเพื่อเข้าห้องน้ำ เพราะฉะนั้นห้องน้ำที่ไม่ระบุเพศถ้ามันเกิดขึ้นมา มันจะตอบโจทย์หมดเลย ไม่สบายใจคุณเข้าห้องน้ำกลางได้ หรือชายหญิงทั่วไปอยากเข้าก็เข้าได้ ใครก็ได้เข้าได้หมดเลย เราไม่มีการแบ่งแยกห้องน้ำของเรา แต่ทีนี้คนก็จะนึกถึงประเด็นความปลอดภัย มันจะมีการข่มขืนกันเกิดขึ้นไหม เราก็รับฟัง เพราะฉะนั้นเราก็เลยออกแบบโดยนึกถึงห้องน้ำคนพิการ ตามปั๊มที่ตั้งอยู่ข้างหน้าตรงกลาง ของเราก็อาจจะไปเรียงติดกับห้องน้ำคนพิการมีสักสองสามห้อง ส่วนการขับเคลื่อนด้านอื่นที่เราคิดคือเรื่องการศึกษา เราอยากเสริมสร้างพื้นฐานให้คนเข้าใจตั้งแต่เด็กว่าการเลี้ยงดูเด็กแบบแบ่งแยกเพศมันมีปัญหายังไง ถ้าสอนเด็ก ไม่ว่าเขาจะมีเพศกำเนิดอะไร ก็สอนให้เขาเข้าใจทุกมิติ ทุกเพศมีทั้งด้านมีอำนาจและด้านอ่อนหวานได้ ไม่ต้องไปกีดกันว่าเป็นเด็กผู้ชายห้ามหยิบของสีชมพู ให้เขาเรียนรู้สิ ปล่อยให้เขาทำสิ่งที่อยากทำ ให้เขาเป็น gender neutral ไม่ต้องไปปิดกั้น ถ้าเป็นแบบนี้เด็กก็จะไม่มีความรู้สึกแปลกแยกตั้งแต่แรกเลย ฉันชอบของเล่นสาวฉันก็ไม่ได้ต้องนิยามตัวเองว่าเป็นตุ๊ด ฉันก็ไม่ได้แปลกแยกจากสังคมอีกต่อไป เพราะฉันจะเป็นอะไรก็ได้และเด็กทุกคนก็จะเคารพว่าเป็นสิทธิของเขา ไม่ได้ผิดปกติ มันก็จะไม่สร้างปัญหาอื่นๆ เมื่อเด็กโตขึ้น ไม่ได้รับความรู้สึกถูกบีบหรือกดดันจากสังคม มณีนันท์: เรามองว่าพื้นที่ของคนที่อยู่ตรงกลางมันควรต้องมี ควรต้องมีคำกลางๆ ไว้ใช้อย่างเป็นทางการ เช่น คำนำหน้านามที่ไม่ระบุเพศในเอกสารราชการ คำสรรพนาม คำลงท้ายที่ไม่แบ่งแยกเพศและเป็นทางการด้วย เพราะสำหรับสังคมไทยมันสำคัญ หรือถ้าเป็นต่างประเทศจะเป็นเรื่อง pronoun หรือกระทั่งเวลาไปร้านแล้วเขาเรียกเราว่าคุณผู้หญิง เราก็รู้สึกแปลกๆ ถ้าเรียกแค่ว่า คุณลูกค้า ก็น่าจะดีกว่า นอกจากนี้ก็มีเรื่องการแต่งกายที่สุภาพถูกต้องทางราชการที่ไม่แบ่งแยกเพศ เคยมีประเด็นคือชุดที่จะเข้าไปไหว้พระบรมศพ แม้สำนักพระราชวังจะประกาศว่าแต่งกายสุภาพในแบบที่ต้องการได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงเจ้าหน้าที่กลับไม่ให้ทำแบบนั้น นอน-ไบนารี่มีตัวอย่างตั้งแต่ในระดับสรีรวิทยา? คณาสิต: ในฐานะที่เราเรียนมาทางด้าน Biology มันมีเปเปอร์หนึ่งเขียนเกี่ยวกับเรื่องสรีรวิทยา การแบ่งเพศตั้งแต่ในระดับชีวะ มันก็ไม่ได้แบ่งเพศเป็นแค่สอง มันมีกลุ่ม Intersex มีกลุ่มที่โน้มเอียงเป็น Sex Spectrum มันไม่ได้แบ่งเป็นแค่สองเพศ หรือในโครโมโซมก็ไม่ได้มีแค่ XX (หญิง) กับ XY (ชาย) แต่วิทยาศาสตร์จะตีความว่ามันเป็นความผิดปกติ ซึ่งคำนี้เราไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ Intersex มีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบที่เกิดมาอวัยวะเพศกำกวม หรือแบบที่ ถ้าพูดแบบเข้าใจง่ายคือ เกิดมาตอนแรกมีอวัยวะเพศผู้หญิง แต่พออายุ 12 ปี อวัยวะเพศชายที่ซ่อนอยู่จะโผล่ออกมา กลายเป็นผู้ชาย หรือกลุ่มที่เกิดมามีโครงสร้างทุกอย่างเป็นผู้หญิงแต่พอไปตรวจโครโมโซมแล้วเป็น XY จะมารู้ตอนที่มีบุตรไม่ได้แล้วหมอบอกว่าเป็นหมัน คุณไม่มีรังไข่มาตั้งแต่แรกแต่คุณมีอัณฑะแฝงอยู่แทน หรือเคสที่มีอวัยวะเพศกำกวม คือมีอวัยวะเพศหญิงแต่ก็มีส่วนของอวัยวะเพศชายงอกออกมาด้วยนิดนึง ทำให้ส่วนของผู้หญิงใช้งานไม่ได้ ส่วนของผู้ชายก็ใช้งานไม่ได้ หรือคนที่มีโครโมโซมทั้งสองชุด XX XY เพราะฉะนั้นการแบ่งแยกอย่างง่ายมันเลยไม่ถูกต้องมาตั้งแต่แรก ด้วยความที่เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย สนใจสิทธิมนุษยชนด้วย บางครั้งการตีความบางอย่างมันตั้งอยู่ในสมมติฐานที่แปลกๆ เหมือนกัน เช่น ชีววิทยาจะเน้นไปที่การสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตคือสิ่งที่ต้องออกลูกออกหลานได้ ดำรงเผ่าพันธุ์ตัวเองได้ สิ่งใดที่สืบพันธุ์ไม่ได้จะถูกมองว่าไม่มีคุณค่าเชิงชีววิทยา เขาก็เลยมองว่า Intersex คือสิ่งที่บกพร่อง ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ แต่ถ้าเรามองเรื่องของความเป็นมนุษย์ ไม่มีคนไหนที่บกพร่องรึเปล่า คุณจะไปตัดสินว่า เธอบกพร่อง แบบนี้ได้เลยเหรอ แต่มันก็มีวิวัฒนาการของคำ กลุ่มการแพทย์หลายกลุ่มเขาเปลี่ยนคำที่ฟังไม่ค่อยดี เช่น คำว่า "โรคผิดปกติทางพันธุกรรม" เป็น "ความหลากหลายทางพันธุกรรม" มันมีคนที่คิดได้จริงๆ ว่าเราควรจะใช้คำที่มันดีกว่านี้ แม้กระทั่งในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ มันเลือกใช้ได้ มันไม่ใช่ว่าคุณต้องยอมรับว่ามันคือความผิดปกติ ความผิดปกติของอะไร คุณใช้อะไรมาเป็นบรรทัดฐานของความปกติ บอกว่า Intersex ผิดปกติ เขาผิดปกติยังไง เขาเพียงแต่ไม่สืบพันธุ์ตามหลักชีววิทยา Intersex มี 2 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก มีเท่ากับคนที่มียีนผมสีแดง 2 เปอร์เซ็นต์ของโลกไม่น้อยนะ โลกนี้มีประชากรกี่พันล้านคน เรามอง Intersex ในฐานะที่เป็นนอน-ไบนารี่ทางธรรมชาติ หลายๆ คนพอคุยกันเขาก็ไม่ได้อยากจะเป็นชายหรือหญิง มณีนันท์: ในไทย Intersex ไม่มีแม้แต่การรณรงค์ด้วยซ้ำว่าปล่อยให้เด็กเขาเลือกเพศเอง ในต่างประเทศเขาต่อสู้กันมาก บางทีหมออยากปัดปัญหาให้พ้นตัว บอกว่าเก็บอวัยวะเพศส่วนนี้ไว้เดี๋ยวก็เป็นมะเร็ง จัดการตัดนู่นนั่นนี้ แล้วพอเด็กโตขึ้นเด็กไม่ได้เป็นไปตามสรีระที่ได้รับก็มีปัญหา กลายเป็นว่าหมอกับผู้ปกครองเป็นคนเลือกเพศให้แก่เด็ก เด็กไม่ได้เลือกเองและก็มี Intersex หลายคนมาลงตัวที่นอน-ไบนารี่ เราสามารถดำเนินชีวิตโดยใช้หลักคิดแบบนอน-ไบนารี่ในการใช้ชีวิตประจำวันได้จริงไหม ในสังคมที่ยังมีการแบ่งแยกบทบาททางเพศอยู่? คณาสิต: หลักคิดแบบนอน-ไบนารี่คือการเปิดกว้างต่อทุกสำนึกทางเพศ และเรียนรู้ทำความเข้าใจกับตัวตนที่หลากหลายของผู้คน ในสังคมที่มีการแบ่งแยกเพศ มันมีปัญหาอยู่มากเพราะสังคมกำหนดและคาดหวังให้ชายและหญิงมีภาระหน้าที่ต่อสังคมที่แตกต่างกัน หลักคิดแบบนอน-ไบนารี่จะช่วยให้เราไม่แบ่งแยกโลกออกเป็น 2 ใบ คือโลกที่คิดแบบผู้ชาย กับ โลกที่คิดแบบผู้หญิง เปิดรับความเข้าใจทุกมิติของมนุษย์ที่จริงแล้วเราสามารถมีคุณสมบัติและบทบาททุกๆ อย่างได้ในคนๆ เดียว หลักคิดของนอน-ไบนารี่ทำให้เราไม่ตัดสินคนจากเพศกำเนิด ไม่คาดหวัง กดดันให้ใครเป็นไปตามบทบาททางเพศ ไม่สร้างแรงกดดันต่อตนเองและคนอื่นที่จะต้องดิ้นรนเพื่อเป็นไปตามบทบาทที่สังคมมอบให้ ที่หากใครก็ตามที่ทำไม่ได้ก็จะไม่ได้รับการยอมรับและด้อยคุณค่า หลักคิดของนอน-ไบนารี่จึงเจือจางปัญหาที่เกิดการการแบ่งขั้วทางเพศหรือชายเป็นใหญ่ การข่มขืนลวนลาม การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง และลำดับชั้นทางเพศ การเลือกปฏิบัติทางเพศ อันเกิดจากอคติที่ว่า ผู้หญิงอ่อนแอกว่าผู้ชายอีกด้วย บทบาททางเพศ สถานะของคู่รัก ใครรุก รับ สถานะทางครอบครัว ใครสามี ภรรยา ใครผัว ใครเมีย ซึ่งเป็นบทบาทที่ถอดแบบจากสังคมชายหญิง นอน-ไบนารี่ไม่ฟิกซ์บทบาททางเพศและสถานะต่างๆ ไม่มีขั้วตรงข้ามเลย ถ้าเป็นมิติมุมมองอื่นๆ คือ เราจะไม่แบ่งแยกและตัดสินทุกอย่างด้วยคู่ตรงข้าม ดี-เลว ขาว-ดำ ระลึกถึงความหลากหลายและซับซ้อนของทุกตัวตน ค่านิยมที่มีในสังคม ทำให้เราเป็นอิสระไม่ยึดติดกับการแบ่งแยกทางเพศ เช่น เสื้อผ้าสำหรับชายหญิง เราเดินดูหมดและสามารถแมทช์เสื้อผ้าที่เราต้องการได้ ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายเป็นอิสระได้มากกว่าเดิม ภาระหน้าที่ต่างๆ พอเป็นนอน-ไบนารี่มันก็สามารถทำได้ทุกอย่างที่เราสนใจจะทำ ไม่มานั่งคิดจำกัดว่า นี่เป็นงานของผู้หญิงนะเราทำไม่ได้ นี่งานเฉพาะของผู้ชายเท่านั้น ทำให้เราทลายกำแพงอคติ ชุดค่านิยมที่แบ่งแยกเพศ และกีดกันไม่ให้เราเข้าถึงพื้นที่อีกครึ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ทุกคนสูญเสียโอกาสที่จะมีความสมบูรณ์จากการเข้าถึงพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะเท่ากับพื้นที่ทางการศึกษา การงาน บทบาทต่างๆ ก็ตาม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น