ประชาไท | Prachatai3.info |
- ศาลนัดอ่านคำพิพากษา 6 วัยรุ่น คดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ วันนี้
- จำคุกอีก 15 ปี 'หญิงไก่' คดีหมิ่นกษัตริย์ฯ สารภาพเหลือ 7 ปี 6 เดือน
- 'ประยุทธ์' ปัดแทรกแซงโพล ยอมรับรัฐบาลขาลง วอนเห็นใจ
- ส่องปฏิกิริยาหลังผลสอบบิ๊กสื่อไม่คุกคามทางเพศ แค่ "ต่างตีความด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน"
- 'มูลนิธิชีววิถี' สวน 'ประยุทธ์' หลังสั่ง 3 กระทรวงถกปัญหาสารกำจัดวัชพืช
- คดีสติกเกอร์โหวตโนบ้านโป่งและภูเขาน้ำแข็งของ พ.ร.บ.ประชามติ
- ครม.ไฟเขียว ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 7 ระดับ มีผล 1 เม.ย.นี้ พร้อมมาตรการลดผลกระทบ
- มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (3): กอ.รมน.มาจากไหน ทำไมถึงไปกางเต็นท์นอนในชุมชน
- ทำไมต้องลี้ภัย: บันทึกจาก การ์ตูน NDM เหยื่อรายล่าสุดจาก ม.112
- พบ ‘ข่าวปลอม-จ่ายค่าแรงน้อย-แรงกดดัน’ เป็นปัญหาสำคัญสื่อทั่วโลก
- โฆษก คสช. โต้ 26 ผู้บริหาร มธ. ระบุคนเท่ากันภายใต้กฎหมาย ไม่ยกเว้นกรณีใดเป็นพิเศษ
- คสช. แจ้ง 2 ข้อหา 7 คนเหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง
- คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพ: ผลิตผลของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่มาจากเบื้องล่าง
- ปปช., กลไกรับผิดรับชอบ, และปัญหาโลกแตกของนักรัฐศาสตร์
- กวีประชาไท: หน้าด้านทน!
ศาลนัดอ่านคำพิพากษา 6 วัยรุ่น คดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ วันนี้ Posted: 30 Jan 2018 10:34 AM PST ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ เผยศาลจังหวัดพลนัดอ่านคำพิพากษาคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติใน อ.พล และอ.ชนบท จ.ขอนแก่น ในข้อหา เป็นอั้งยี่ และ ม.112 วันนี้ (31 ม.ค.61) เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วันนี้ (31 ม.ค.61) ศาลจังหวัดพลนัดอ่านคำพิพากษาคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติใน อ.พล และอ.ชนบท จ.ขอนแก่น คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1267/2560 ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดพลเป็นโจทก์ฟ้อง ไตรเทพ (นามสมมติ) และพวกรวม 6 คน ในข้อหา เป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1268/2560 ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดพลเป็นโจทก์ฟ้องนายไตรเทพ (นามสมมติ) และพวกรวม 4 คน ในข้อหา เป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น และร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยจำเลยที่ 1-4 ในคดีทั้งสองเป็นบุคคลเดียวกัน ซึ่งโจทก์ขอให้นับโทษจำคุกในคดีทั้งสองต่อกันด้วย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานต่อว่า จำเลยทั้งหมดให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ในนัดพร้อมซึ่งโจทก์ขอรวมการพิจารณาคดีทั้งสอง เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 60 โดยก่อนหน้านี้ จำเลยทั้ง 6 ให้การรับสารภาพในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ในทั้ง 2 คดี แต่ปฏิเสธข้อหาอื่นๆ โดยเฉพาะข้อหาหมิ่นฯ พระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยืนยันว่า ไม่มีเจตนาเช่นนั้น รายละเอียดคดีเพิ่มเติมอ่านได้ในเว็บไซต์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=6162 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
จำคุกอีก 15 ปี 'หญิงไก่' คดีหมิ่นกษัตริย์ฯ สารภาพเหลือ 7 ปี 6 เดือน Posted: 30 Jan 2018 10:26 AM PST เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา ไทยพีบีเอส รายงานว่า ศาลอาญารัชดา นัดตรวจหลักฐานในคดีที่พนักงานอัยการคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง มณตา หยกรัตนกาญ หรือ หญิงไก่ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีเมื่อระหว่างปลายปี 2553-2558 จำเลยได้พูดกับ กาบแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) หญิงชาวลาว ทำนองว่า ตนเป็นคุณหญิง มีผู้ใหญ่เคยพาไปอยู่ในวัง เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องสูง และอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นเท็จ เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. จำเลยให้การปฏิเสธ รายงานข่าวระบุว่า วันนี้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เบิกตัว มณตา จากทัณฑสถานหญิงกลางมาศาล เมื่อถึงเวลา มณตา จำเลย ได้แถลงต่อศาลขอให้การรับสารภาพ ไม่ต่อสู้คดี ศาลจึงมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 3 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 15 ปี คำให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลย 7 ปี 6 เดือน พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษ ทั้งนี้คดีนี้ถือเป็นสำนวนที่ 2 ที่หญิงไก่ให้การรับสารภาพ รวมโทษที่ศาลตัดสินจำคุกหญิงไก่ ในคดีค้ามนุษย์ และคดีหมิ่นเบื้องสูง แล้ว 17 ปี 12 เดือน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
'ประยุทธ์' ปัดแทรกแซงโพล ยอมรับรัฐบาลขาลง วอนเห็นใจ Posted: 30 Jan 2018 10:00 AM PST พล.อ.ประยุทธ์ แจงไม่ได้เข้าไปก้าวล่วงการสำรวจความคิดเห็น แต่จุดมุ่งหมายของโพล เมื่ออ่านคำถามก็จะรู้ว่าทำมาเพื่ออะไร ยอมรับรัฐบาลเป็นช่วงขาลง ขอเห็นใจรัฐบาล คสช. ทำงานเต็มที่ ระบุชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาออกไปก่อน 30 ม.ค. 2561 หลังจากกรณีผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประกาศลาออกหลังถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยระงับการเผยแพร่ผลสำรวจ กรณีนาฬิกา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นั้น วันนี้ (30 ม.ค.61)เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีโพลสำรวจความคิดเห็นว่า เป็นเพียงช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งไม่ได้เข้าไปก้าวล่วงการสำรวจความคิดเห็น แต่ประเด็นของปัญหาคือจุดมุ่งหมายของโพลสำรวจความคิดเห็นเมื่ออ่านคำถามก็จะรู้ว่าทำมาเพื่ออะไร ด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ดี ไทยรัฐออนไลน์รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ว่า ขอเห็นใจรัฐบาล คสช. ทำงานเต็มที่ อย่าโยงทุกประเด็นกระทบการทำงาน ทั้งนี้ ขอเวลาวางรากฐานประเทศ จะมากหรือน้อยให้เป็นไปตามกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ ยังยอมรับรัฐบาลเป็นช่วงขาลง แต่เป็นเรื่องปกติของรัฐบาลทำงานมา 3 ปี มีปัญหาเพิ่มขึ้น กรณีกลุ่มชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กว่าว่า ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเท่าที่ทราบเบื้องต้นอาจจะต้องชะลอโครงการออกไปก่อน โดยจะมีการชี้แจงอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ขณะเดียวกันต้องแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้าไปทดแทนในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมฝากไปถึงประชาชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยว่า ขอให้คำนึงถึงความมั่นคงด้านพลังงานด้วย ตราบใดก็ตามที่ยังมีกลุ่มคนสองฝ่ายรัฐบาลก็ทำงานลำบาก ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องการจะใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขาดแคลนพลังงานในพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลรับฟังข้อเสนอจากทุกภาคส่วน ถึงแม้รัฐบาลจะมีอำนาจพิเศษก็ตาม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
ส่องปฏิกิริยาหลังผลสอบบิ๊กสื่อไม่คุกคามทางเพศ แค่ "ต่างตีความด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน" Posted: 30 Jan 2018 08:55 AM PST ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ตั้งคำถามกับผลสอบ ชี้แค่ "หมาหยอกไก่" ก็ถือว่าผิดทั้งหมด 'ทิชา ณ นคร' อัดมีทั้งคุกคามทางเพศ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 'กสม. อังคณา' แนะสมาคมนักข่าว นำมติ ครม. มาตรการในการป้องกันล่วงละเมิดทางเพศในการทำงานมาปรับใช้ในการสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง 30 ม.ค. 2561 จากกรณีวานนี้ (29 ม.ค.61) เว็บไซต์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เผยแพร่คำแถลงผลการพิจารณารายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีผู้บริหารองค์กรสื่อมีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ ของคณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวฯ จากกรณีมีกระแสข่าวตามสื่อสังคมออนไลน์ พาดพิงถึงผู้บริหารองค์กรสื่อแห่งหนึ่งว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ หลังจากคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงได้แสวงหาข้อเท็จจริงและเสนอให้คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ ได้พิจารณาแล้ว สรุปได้ว่า ในช่วงกลางปี 2560 มีเหตุการณ์ระหว่างสองบุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่งได้รับการปลูกฝังมาในเรื่องให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา จึงมีการดูแลบุคคลอีกคนหนึ่งในลักษณะที่ใกล้ชิดสนิทสนม การให้ความไว้วางใจ ซึ่งมีบางเรื่องที่ความไว้วางใจเป็นเหตุทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในลักษณะตีความเข้าข้างตัวเอง จนนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยงต่อการคุกคามทางเพศ เพราะต่างตีความด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน ต่อมามีการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจและขอโทษต่อกัน สุดท้ายฝ่ายหนึ่งลาออกจากองค์กรข่าวแห่งนั้นแล้ว ซึ่งหลังผลสอบได้เผยแพร่ออกไป ก็มีหลายบุคคลออกมาแสดงความผิดหวังต่อผลสอบและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางนั้น วันนี้ (30 ม.ค.61) อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะผู้รับผิดชอบด้านสิทธิ ทั้งนี้ อังคณา กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา กสม. ได้พิจารณาเรื่องการคุ นอกจากนี้ กสม.ผู้รับผิดชอบด้านสิทธิ ข่าวสดออนไลน์ รายงานด้วยว่า จะเด็ด เชาว์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า ตนเชื่อมั่นในคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ดูเหมือนมีความเป็นกลาง แต่เมื่อผลออกมาแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามว่าข้อเท็จจริงมีอะไรบ้าง ต้องตีความคำว่า "คุกคามทางเพศ" ให้ดีเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในแง่สากล "คุกคามทางเพศ"หมายถึงการใช้สายตา วาจา ก็ถือว่ามีปัญหาแล้ว ในส่วนของประเทศไทย มีกฎคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่ใช้ในหมู่ข้าราชการ ซึ่งหมายรวมถึงการใช้สายตา วาจา การใช้สื่อโซเชี่ยลแบบหมาหยอกไก่ ถือว่าผิดทั้งหมด แต่กฎดังกล่าวไม่คุ้มครองภาคเอกชนมากนัก จะเด็ด กล่าวว่า ต้องตั้งคำถามว่าคณะอนุกรรมฯ ชุดนี้ตีความคำดังกล่าวแบบไหน ส่วนตัวอยากให้พิจารณาทบทวนอีกรอบ โดยให้ตีความคำว่า "คุกคามทางเพศ" ให้ชัดเจน จะได้ออกมาเป็นรายงานให้สังคมได้เข้าใจ ไม่คลุมเครือ ขณะที่ ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว "Thicha Nanakorn" ถึงผลการพิจารณารายงานแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ระบุว่า "อ่านเอกสารที่เป็นผลจากการแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีผู้บริหารองค์กรสื่อมีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ ค่อนข้างแปลกใจกับการให้ความหมายความสัมพันธ์ โดยเฉพาะย่อหน้าที่ 5 เอาล่ะต่อไปนี้ ไม่ต้องไปหวังอะไรในประเด็นคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้น ณ หน่วยงานรัฐ การเมือง ศูนย์กลางอำนาจ ฯลฯ เพราะการคุกคามทางเพศมันแฝงอยู่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่ทางของมันและความเเข็งแกร่งของมันก็ที่นั่นแหละ ไม่ต่างจากเหรียญที่มี 2 ด้าน ทิชา ระบุว่า ด้านหนึ่งคือ คุกคามทางเพศ ด้านหนึ่งคือความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เมื่อให้ความหมายไม่ได้ เมื่อมองไม่เห็น จบกัน ตกลง …นี่ ไร้เดียงสาจริงหรือไร้เดียงสาเฉพาะกิจ หากทำไม่รู้ไม่ชี้กับประเด็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจในบริบทการคุกคามทางเพศ ไม่ต่างกับการวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อน การให้ยาผิด การรักษาผิด และสังคมก็ต้องรับผลโรคดื้อยา โรครักษาไม่หาย โรคเรื้อรังนี้ต่อไป ในที่สุดถอยหลังเข้าคลองอีกประเด็นหนึ่ง ข่าวสดออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า ทิชา ให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า การสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว เท่าที่ดูชื่อคณะอนุกรรมการฯ พบว่าเป็นคนกลางที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบธรรม เพียงแต่ผลที่ออกมาน่าจะบิดเบือนไปจากนิยามความหมายของคำว่า "คุกคามทางเพศ" จึงเกิดเครื่องหมายคำถามว่าตั้งใจหรือไม่
คำแถลงของ คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย :
คำแถลงผลการพิจารณารายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีผู้บริหารองค์กรสื่อมีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศสืบเนื่องจากกรณีมีกระแสข่าวตามสื่อสังคมออนไลน์ พาดพิงถึงผู้บริหารองค์กรสื่อแห่งหนึ่งว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายคุกคามทางเพศ และมีกลุ่มนักข่าวกลุ่มหนึ่งส่งจดหมายเปิดผนึกเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ เพื่อเรียกร้องให้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริง และต่อมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560 คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกจำนวนหกท่าน และดำเนินกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงในทางลับเพื่อให้ปราศจากอิทธิพลหรือปัจจัยภายนอกใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงมากที่สุดภายหลังคณะอนุกรรมการใช้เวลาดำเนินการภายในกรอบเวลา 90 วัน แล้วแจ้งผลให้คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยทราบ เพื่อพิจารณาต่อไปนั้น คณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ได้ส่งรายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงให้แก่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 โดยระบุว่าได้มีการประชุม และพบผู้ให้ข้อมูลตั้งแต่ผู้เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางสาธารณะต่อกระแสข่าว ผู้ใกล้ชิดกับผู้ถูกกล่าวอ้างถึงทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ผู้โพสต์ข้อความพาดพิงถึงผู้ถูกกล่าวอ้างถึงทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ไปจนถึงผู้ถูกกล่าวอ้างถึงฝ่ายชายและผู้ถูกกล่าวอ้างถึงฝ่ายหญิง รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 11 คน และการประชุมและการพบกับผู้ให้ข้อมูลทุกครั้งเป็นไปในทางลับตามกรอบมติที่คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ นอกจากนี้ในระหว่างกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีข้อมูล หรือผู้ที่คิดว่าจะได้รับความเสียหาย ให้มายื่นข้อมูลกับสมาคมนักข่าวฯ โดยตรง หรือผ่านตู้ ป.ณ. ที่ได้แจ้งต่อสาธารณะไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏผู้ยื่นข้อมูลใด ๆ จากช่องทางดังกล่าว และตลอดระยะเวลาของกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง ก็ไม่ปรากฏผู้แสดงความจำนงจะร้องทุกข์ต่อสมาคมฯ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ตั้งประเด็นการพิจารณา ได้แก่ 1. การกล่าวอ้างว่ามีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นในที่ทำงาน 2. การสื่อสารการใช้สังคมออนไลน์ในการแพร่กระจายประเด็นและการนำเสนอของสื่อหลัก 3. ข้อเสนอต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการคุมคามทางเพศในองค์กรสื่อ และการทำหน้าที่ของสื่อต่อประเด็นนี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ประชุมพิจารณารายงานของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ เป็นรายประเด็นแล้ว มีมติดังต่อไปนี้ ประเด็นการกล่าวอ้างว่ามีการคุกคามทางเพศนั้น มีความเห็นสอดคล้องกับรายงานของอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ที่ระบุว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวอ้างฝ่ายชายและผู้ถูกกล่าวอ้างฝ่ายหญิง ได้ถูกนำมาพูดคุยสื่อสารกับบุคคลภายในองค์กรจำนวนหนึ่ง อันเป็นเหตุทำให้เรื่องราวที่น่าจะจบลงระหว่างบุคคลทั้งสอง กลายเป็นเรื่องที่ต้องมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความจำเป็นที่องค์กรที่ต้องกำกับดูแลกันเอง เช่น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีหน้าที่ต้องเข้ามาแสวงหาข้อเท็จจริง เป็นเหตุให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ จนได้นำไปสู่ข้อสรุปว่า พบว่ามีองค์กรข่าวแห่งหนึ่งที่บุคคลากรทำงานด้วยความใกล้ชิดสนิทสนม เมื่อยามสนทนากันหรือทำงานร่วมกัน ก็มีการหยอกล้อกันเล่น มีการถูกเนื้อต้องตัวกันบ้างตามประสาคนที่ใกล้ชิด แต่ในช่วงกลางปี 2560 มีเหตุการณ์เป็นประเด็นระหว่างบุคคลสองคน ซึ่งบุคคลหนึ่งได้รับการปลูกฝังมาในเรื่องการให้เคารพต่อผู้ใหญ่ และวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา จึงมีการดูแลบุคคลอีกคนหนึ่งในลักษณะที่ใกล้ชิดสนิทสนม การให้ความไว้วางใจ ซึ่งมีบางเรื่องที่ความไว้วางใจเป็นเหตุทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะที่เป็นการตีความเข้าข้างตนเองของอีกฝ่ายหนึ่ง จนอาจนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยงต่อการคุกคามทางเพศ เพราะต่างตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน ต่อมาได้มีการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจและขอโทษต่อกัน ซึ่งในท้ายที่สุดฝ่ายหนึ่งลาออกจากองค์กรข่าวแห่งนั้น ต่อมามีบุคคลที่สามนำเรื่องราวที่ไม่ตรงข้อเท็จจริงไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสองฝ่าย โดยที่ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าไม่ติดใจที่จะเอาความต่อกันในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ทั้งยังกังวลแทนอีกฝ่ายจากการได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่ได้รับจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นต่อมา ประเด็นการสื่อสารการใช้สังคมออนไลน์ในการแพร่กระจายประเด็นและการนำเสนอของสื่อหลักมีความเห็นสอดคล้อง กับรายงานของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ที่พบว่า ผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ที่ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน ไม่ใช้การสื่อสารเชิงปรึกษาหารือ หรือการสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ทั้งอย่างเป็นทางการหรืออย่างไม่เป็นทางการ แต่กลับใช้วิธีการสอบสวนเรื่องราวหรือเหตุการณ์อย่างไม่ครบถ้วนรอบด้าน แล้วสื่อสารความเห็นสู่สาธารณะผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในพื้นที่ในชื่อส่วนบุคคลและชื่อองค์กร จนเป็นเหตุให้มีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จำนวนหนึ่งใช้สื่อสังคมออนไลน์สื่อสารขยายเรื่องราวจนเกินเลยไปกว่าข้อเท็จจริงมาก ทั้งในมิติความสัมพันธ์และพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ ส่วนการสื่อสารของสื่อหลักพบว่า ส่วนใหญ่ใช้ภาษาที่หวือหวา โดยการเสนอข่าวเชิงกล่าวหาตัดสินพบมากที่สุดในสื่อเว็บไซต์ รองลงมาพบบ้างในสื่อหนังสือพิมพ์รายวัน ขณะที่สื่อโทรทัศน์มีความระมัดระวังในการใช้ภาษา ประเด็นข้อเสนอต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ และการทำหน้าที่ของสื่อต่อประเด็นนี้นั้น เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ที่ว่า บุคลากรวิชาชีพสื่อ ต้องมีความเชื่อมั่นในกลไกการกำกับดูแลกันเอง และมีวิถีปฏิบัติต่อกลไกอย่างเป็นระบบ รวดเร็วทันกาลและด้วยความเสมอภาค ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะมีตำแหน่งหน้าที่ใด ภายใต้หลักการเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่ากระบวนการสอบสวนและพิจารณาข้อเท็จจริงจะเป็นที่สิ้นสุด โดยเฉพาะไม่พึงทำการสื่อสารโดยตรงหรือโดยนัยทางพื้นที่สาธารณะอย่างขาดข้อเท็จจริงรอบด้านหรืออย่างต่อเติม และตัดสิน อันส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในวิชาชีพ ขณะที่องค์กรสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อ จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติต่อกันอย่างเคารพในสิทธิแห่งตัวตนและร่างกาย โดยเฉพาะในมิติของความละเอียดอ่อนทางเพศภาวะ ทั้งในพฤติกรรมส่วนตัว ทั้งในการสื่อสารในพื้นที่ส่วนตัวแต่อย่างแสดงตัวตนความเป็นนักวิชาชีพสื่อ ไปจนถึงการสื่อสารในทางวิชาชีพทั้งด้านข่าวและอื่นๆ อีกทั้งยังเสนอให้องค์กรวิชาชีพสื่อ ร่วมกันพัฒนามาตรการหรือแนวทางปฏิบัติในทางจริยธรรม เกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมในทางความสัมพันธ์ในองค์กรวิชาชีพสื่อ วิธีการติดตามเฝ้าระวังการปฏิบัติอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศที่แตกต่างในองค์กรวิชาชีพสื่อ การปฏิบัติอย่างเที่ยงตรง เหมาะสม ชัดเจนในการสื่อสารทางออนไลน์ การทำหน้าที่ของสื่อเพื่อนำเสนอเนื้อหาในประเด็นทางเพศอย่างระมัดระวัง การนำข้อมูลจากสื่อออนไลน์ไปนำเสนอทางสื่อหลัก ที่หมายถึงสื่อหลักเดิมและสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเปิดประเด็นหรือสร้างกระแส แล้วเชื่อมโยงหรือนำไปสู่การผลิตซ้ำในสื่อหลัก ที่ส่งผลในเชิงความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของบุคคลและองค์กรวิชาชีพ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณารายงานสรุปของอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ แล้ว และมีมติเห็นชอบกับข้อสรุปดังกล่าว สมาคมนักข่าวฯ ยังตระหนักดีว่า กรณีนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ขององค์กรสื่อสารมวลชน นักวิชาชีพสื่อมวลชนโดยรวม จึงรับข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุมคามทางเพศในองค์กรสื่อและการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยจะส่งผลสรุปและข้อเสนอแนะของอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงให้องค์กรวิชาชีพสื่อ เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม และจะมีการหารือกับองค์กรวิชาชีพสื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการสร้างความเชื่อมั่นในกลไกการกำกับดูแลกันเอง และมีวิถีปฏิบัติต่อกลไกอย่างเป็นระบบ รวดเร็วทันกาล ด้วยความเสมอภาคต่อไป คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 29 มกราคม 2561
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
'มูลนิธิชีววิถี' สวน 'ประยุทธ์' หลังสั่ง 3 กระทรวงถกปัญหาสารกำจัดวัชพืช Posted: 30 Jan 2018 04:33 AM PST หลัง พล.อ.ประยุทธ์ สั่งให้ 3 กระทรวงหาทางออกปมสารกำจัดวัชพืชแทนพาราควอต มูลนิธิชีววิถี ชี้ ครม.ไม่ได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอและเห็นแก่กลุ่มทุนที่ขายสารพิษมากกว่าจะคำนึงถึงสุขภาพของเกษตรกรหรือผู้บริโภคจริงๆ 30 ม.ค.2561 จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี กล่าวเกี่ยวกับกรณีข้อเสนอให้มีการยกเลิกพาราควอตโดยอ้างว่าเป็นห่วงทั้งผลกระทบต่อผู้บริโภคและเกษตรกร โดยสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์หาทางออกในกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาทางออกทดแทนพาราควอตซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสารทดแทนนั้น มูลนิธิชีววิถี ออกแถลงเห็นว่าคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ ดังกล่าวเกิดจาก 2 เหตุผล คือ หนึ่ง คณะรัฐมนตรีไม่ได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอจากหน่วยงานของรัฐ และ สอง รัฐบาลนี้เห็นแก่กลุ่มทุนที่ขายสารพิษและกลุ่มธุรกิจเกษตรรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จากการขายหรือการใช้พาราควอตมากกว่าจะคำนึงถึงสุขภาพของเกษตรกรหรือผู้บริโภคจริงๆ มูลนิธิชีววิถี ระบุด้วยว่า ข้ออ้างที่บอกว่ายังไม่มีสารทดแทนนั้นไม่เป็นความจริง เพราะ ที่ผ่านมากระทรววงเกษตรฯซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวไม่พยายามนำเอางานวิจัยและทางออกของหลายหน่วยงานมาเผยแพร่แก่เกษตรกร ข้ออ้างดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะขณะนี้มีประเทศต่างๆถึง 53 ประเทศแล้วที่แบนและประกาศยุติการใช้พาราควอต รวมทั้งจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ และบราซิลซึ่งเป็นประเทศผลิตอ้อยรายใหญ่ของโลก ประเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีทางออกทั้งสิ้น การอนุญาตให้ใช้พาราควอตชี้ให้เห็นว่า การเสนอให้ประเทศไทยเป็นไทยแลนด์ 4.0 เป็นเรื่องเพ้อฝัน เนื่องจากการผลิตเกษตรและอาหารยังคงพึ่งพาสารพิษที่ประเทศครึ่งโลกยุติการใช้ไปแล้ว โดยไม่คำนึงถึงอันตรายของสารพิษนี้ที่มีต่อเกษตรกรรายย่อย ต่อผู้บริโภค และต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม เชื่อว่าในที่สุดแล้วหากรัฐบาลนี้ยังอนุญาตให้ใช้พาราควอตต่อไป เราจะเห็นตลาดโลกบอยคอตสินค้าจากบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือสินค้าจากประเทศไทย เพราะสินค้าเกษตรหลายประเภทขณะนี้ถูกต่อต้านเพราะมีการใช้สารพิษที่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร มูลนิธิชีววิถี ระบุว่าการที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ 3 กระทรวงหาทางออกเหมือนกับการวนกลับมาที่เดิม ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขและคณะทำงานสารที่มีความเสี่ยงสูง 4 กระทรวงหลักมีข้อสรุปให้แบนสารพิษนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว การฝากความหวังให้กรรมการวัตถุอันตรายซึ่งมีผู้ที่ได้ผลประโยชน์ทับซ้อนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบรรษัทสารพิษเป็นผู้ตัดสินอนาคตของพาราควอต ย่อมคาดเดาได้ว่าพวกเขาจะเลือกตัดสินใจแบบใด รัฐบาลที่ไม่ทำหน้าที่ปกป้องประชาชน รัฐบาลนั้นไม่สมควรและไม่ชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่ "ผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ทำให้เราพึงระลึกว่าประชาชนต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้มีรัฐบาลและผู้บริหารประเทศที่มาจากกลุ่มบุคคลที่ปกป้องประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนจากสารพิษและกลุ่มทุนเกษตรรายใหญ่" มูลนิธิชีววิถี ระบุท้ายคำแถลง สำหรับรายละเอียดที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ วันนี้ (30 ม.ค.61) มติชนออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กรณีที่มีกลุ่มเกษตรกรออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการนำเข้าสารพาราควอต รวมถึงมีการกดดันนักวิชาการที่เผยแพร่ผลวิจัยเรื่องนี้ ให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยว่า ตนได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรึกษาหารือกันของกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก็ต้องฟังเสียงจากทุกฝ่าย ทั้งเกษตรกรที่ยังมีปัญหาในเรื่องการกำจัดวัชพืช และฟังเสียงจากทางองค์การอาหารและยา (อย.) สาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เราจำเป็นต้องหาสารอื่นในการกำจัดวัชพืชมาทดแทน ซึ่งเรายังหาไม่ได้ ขณะเดียวกันเราก็ต้องเพิ่มมาตรการในการป้องกันว่าการใช้สารพาราควอต จะต้องทำอย่างไรจะให้เกิดความปลอดภัยในการป้องกันตัวเอง และใช้ไม่มากเกินไปจนเกินขีดความจำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ไปพร้อมกันด้วยระหว่างที่เรากำลังหาสารอื่นมาทดแทน "ผมก็เป็นห่วงพี่น้องเกษตรกร และเป็นห่วงผู้บริโภคด้วย ก็อยู่ที่ว่าการใช้สารเหล่านี้จะใช้อย่างไร หากมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ ซึ่งผมก็ให้เขาหาทางว่าจะลดการใช้สารเหล่านี้ได้อย่างไร ถ้าไม่นำเข้าจะใช้วิธีไหน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
คดีสติกเกอร์โหวตโนบ้านโป่งและภูเขาน้ำแข็งของ พ.ร.บ.ประชามติ Posted: 30 Jan 2018 04:04 AM PST แม้ว่าศาลจังหวัดราชบุรีจะยกฟ้อง 5 จำเลยคดี พ.ร.บ.ประชามติบ้านโป่ง ด้วยเหตุที่ว่าพยานโจทก์ทุกปากไม่สามารถระบุได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแจกจ่ายเอกสารและสติกเกอร์โหวตโนจริง แต่ในคดีนี้ศาลยังไม่วินิจฉัยว่าการรณรงค์โหวตโนทำได้หรือไม่ และคดีนี้เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายร้อยกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนจัดประชามติ 7 สิงหา 59 ที่รัฐบาลทหาร คสช. ใช้ พ.ร.บ.ประชามติ, กฎหมายอาญามาตรา 116, คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ฯลฯ จำกัดการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และมีผู้ถูกดำเนินคดีในช่วงจัดประชามติมากถึง 212 ราย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
ครม.ไฟเขียว ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 7 ระดับ มีผล 1 เม.ย.นี้ พร้อมมาตรการลดผลกระทบ Posted: 30 Jan 2018 03:51 AM PST คณะรัฐมนตรีไฟเขียวขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 61 7 ระดับ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 เป็นต้นไป พร้อมมาตรการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม 30 ม.ค. 2561 ความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหลังคณะกรรมการค่าจ้างมีมติปรับเป็น 7 ระดับ แม้จะมีเสียงของกลุ่มคนงาน นำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์ ล่าสุดวันนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง (ชุดที่ 19) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น ดำเนินการตามมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อไป รายงานข่าวจากเว็บไซต์ทำเนียบระบุด้วยว่า คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ได้ดำเนินการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2561 โดยได้มีการศึกษาข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้มีการกำหนดสูตรคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยเทียบเคียงกับสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส มาเลเซีย บราซิล และคอสตาริกา ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ยอมรับว่าเป็นสูตรคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สามารถดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้างได้ การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2561 โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 เป็นต้นไป มีดังนี้
สำหรับมาตรการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยให้ อก. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานร่วมดำเนินการ และ 2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ วงเงิน 500 ล้านบาท ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณจากแหล่งเงินที่เหมาะสม ครม.ยังมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อเป็นการลดภาระอันเนื่องมาจากการขาดแคลนแรงงานและค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงานโดยปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้มีการดำเนินการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำเครื่องจักรระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานโดยการพัฒนาบุคลากรมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ครม.ยังมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ) ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และดำเนินการต่อไปได้ ซึ่ง กระทรวงการคลัง เสนอว่า 1. ปัจจุบันนายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสามารถนำรายจ่ายค่าจ้างมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง (1 เท่า) เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับเงินได้ และไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) (13) และ (18) แห่งประมวลรัษฎากร 2. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควร เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการของผู้ประกอบการสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว จึงสมควรกำหนดมาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้สามารถนำรายจ่ายค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นจำนวน 1.15 เท่าของค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง สำหรับค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 3. กค. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการในเรื่องนี้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 แล้ว ซึ่งมาตรการดังกล่าวข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้ 3.1 เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเป็นการส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบมากขึ้น 3.2 คาดว่ามาตรการในเรื่องนี้จะทำให้ภาครัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 5,400 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาภาระให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีต้นทุนแรงงานเป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจการให้มีศักยภาพในการแข่งขันในประเทศได้อย่างยั่งยืน และจูงใจให้นายจ้างได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดย สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้างให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งนี้ สำหรับค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 1. ค่าจ้างรายวัน หมายถึง เงินค่าจ้างที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายวัน โดยค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง ประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นเงินภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้ 2.1 อัตราค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ต้องสูงกว่าอัตราค่าจ้างรายวันเดิมที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้กำหนดและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป หรือที่ได้มีการจ่ายค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้างก่อนวันที่ 1 เมษายน 2561 และ 2.2 ต้องไม่เป็นรายจ่ายค่าจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (3): กอ.รมน.มาจากไหน ทำไมถึงไปกางเต็นท์นอนในชุมชน Posted: 30 Jan 2018 12:39 AM PST ตอนสุดท้ายของชุดรายงานพิเศษ เมื่อ กทม.ใช้ฝ่ายความมั่นคงแก้ปัญหาพลเรือน ชวนดูที่มาและขอบเขตอำนาจ กอ.รมน. นายทหารฝ่ายข่าว กอ.รมน.กทม. ระบุ รับคำสั่งจากผู้ว่าฯ เข้าไปปราบปรามการขายพลุไฟตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ยังไม่กำหนดว่าจะออกตอนไหน ส่งผลกระทบต่อชุมชนแต่ชาวบ้านพูดไม่เหมือนกัน
ในภาวะที่ประเทศที่รัฐธรรมนูญระบุว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยถูกปกครองโดยคณะรัฐประหารมาจะเข้าปีที่ 4 และวันเลือกตั้งเลื่อนก็มีแต่จะเลื่อนออกไปเรื่อยๆ นั้น ก็ไม่รู้ว่าชุมชนป้อมมหากาฬที่ทุกวันนี้เหลือกันอยู่ไม่เกิน 50 คน กำลังพบกับภาวะไม่ปรกติหรือไม่ เมื่อลานกลางชุมชนมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) ไปตั้งเต็นท์ลายพรางประจำการตลอด 24 ชั่วโมงมาตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการจำหน่ายพลุไฟ สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากพลุไฟ
การเข้าไปประจำการของ กอ.รมน.กทม. ส่งผลกับความเป็นไปของชุมชนป้อมฯ อย่างชัดเจน เพียงแค่แต่ละคนพูดถึงผลกระทบไม่เหมือนกัน แต่ชี้ชัดว่ากิจการพลเรือนถูกหน่วยงานความมั่นคงเข้ามารับผิดชอบไปแล้ว "อย่างวันนี้ (22 ม.ค. 2561) เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เข้ามา ตอนแรกก็บอกว่าจะดูเรื่องพลุ ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล แต่ปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างหมดไป แต่เจ้าหน้าที่มาเจาะแต่ละบ้าน ไปถามว่า เมื่อไหร่จะไป ผมจะเอาบ้านให้ตรงโน้นตรงนี้ ก็เจาะแต่ละบ้าน ทุกวันนี้ที่โล่งๆ ก็คือคนที่อยากไป แล้วยังมีที่จะออกไปอีก" สุภาณัช ประจวบสุข ผู้ที่ยังอาศัยในชุมชนระบุถึงท่าทีของเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.กทม. เธอยังระบุว่ารู้สึกกดดัน เหมือนถูกจับตามอง ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬและหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวระหว่างการประชุมกับภาคประชาชน นักวิชาการ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ 21 ม.ค. 2561 ว่า ช่วงเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมาตนอยู่กับความหวาดระแวงว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัว ในชุมชนป้อมฯ มีความเคลื่อนไหวมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเอาทหารมาประจำการในพื้นที่เพื่อปราบปรามการขายดอกไม้ไฟ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมามีการใช้อำนาจตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 ที่ใช้เพื่อปราบปรามผู้มีอิทธิพล เรียกตนเข้าไปพบกับ กอ.รมน.กทม. และเมื่อสองวันที่แล้วมีนายทหารไปคุยกับหญิงชราที่มีอาชีพขายของชำป้อมมหากาฬว่า ถ้าคุณไม่ย้ายออกจากที่นี่ คุณคือศัตรูของกองทัพ พีระพล เหมรัตน์ อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ปัจจุบันย้ายออกมาอยู่ที่สถานพักพิงชั่วคราวที่การประปาแม้นศรี หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า 'บ้านอิ่มใจ' เป็นชื่อเดียวกันกับที่พักพิงคนไร้บ้านซึ่งตั้งอยู่ในรั้วเดียวกัน กล่าวถึงเหตุผลการย้ายไปอยู่ที่บ้านอิ่มใจว่า "แฟลตนี้ไม่มีชุมชนอื่น เป็นสถานที่เร่งด่วนที่สั่งโดย รองนายกฯ ประวิตร (วงษ์สุวรรณ) สั่งให้ กอ.รมน. มาดูที่นี่โดยเฉพาะ ให้ความสำคัญกับการหาที่อยู่ใหม่ให้คนในป้อม ให้อยู่สะดวกสบาย ก็มี เสธ. มาเดินดูหลายคน" พีระพลให้ข้อมูลเพิ่มเติม "เราก็สู้มา 25 ปีแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ เนื่องจากที่ตรงนั้น ข่าวสารและข้อมูลมันชัดเจนว่าไม่สามารถอยู่ต่อได้ในอนาคต เราและครอบครัวจึงปรึกษากันว่าไปดูที่อื่นไหม พอดีได้ที่ที่เกียกกาย หลังวัดแก้วแจ่มฟ้า มีที่ประมาณเกือบ 1 ไร่ เป็นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งทางทหาร กอ.รมน. ก็ได้ดำเนินการขอเช่าที่ กรมธนารักษ์ก็ไม่ติดอะไร แต่ตอนนี้อยู่ในขบวนการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อทำการเช่าที่ จึงตัดสินใจออกมา" พีระพล กล่าว กวี (นามสมมติ) ชาวชุมชนป้อมฯ ที่ย้ายมาอยู่ที่บ้านอิ่มใจอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า เคยมีปัญหากับอดีตผู้นำชุมชนเมื่อครั้งที่ตนจะถอนเงินจากออมทรัพย์ชุมชนเมื่อจะย้ายออก แต่ก็โดนบ่ายเบี่ยง จนถึงกับต้องแจ้งตำรวจ และทางทหารได้ช่วยเหลือเขาไว้หลายเรื่อง ซึ่งกวีระบุว่า ทหารพึ่งพาได้มากกว่าตำรวจ เพราะทหารยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือเวลาที่ตนลำบาก โดยกวีได้ไปร้องเรียนเรื่องข้างต้นที่ กอ.รมน.กทม และเจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน.กทม ก็พาไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.สำราญราษฎร์ บทบาทของ กอ.รมน.กทม. ที่อ้างว่าเข้ามาปราบปรามการขายพลุไฟ และเรียกตัวอดีตผู้นำชุมชนเข้าไปพบตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ได้ เป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามกับสังคมและหน่วยงานราชการฝ่ายพลเรือนได้สองประการ หนึ่ง ภาวะเงียบงันของสังคมและหน่วยงานราชการฝ่ายพลเรือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงในกิจการพลเรือน สะท้อนความชินชากับการอยู่ใต้ระบอบคณะรัฐประหาร และวัฒนธรรมความมั่นคงที่ทหารเป็นใหญ่หรือไม่ สอง ความเงียบงันของสังคม และการตัดสินใจของ ผู้ว่าฯ กทม. ที่ให้ กอ.รมน.กทม. เข้าไปปฏิบัติการในชุมชนป้อมมหากาฬสะท้อนถึงการตีความด้านความมั่นคงในลักษณะกว้างมากถึงขนาดที่จะใช้หน่วยงานความมั่นคงแทนที่หน่วยงานพลเรือน แม้แต่ในเรื่องการจัดการการจำหน่ายพลุไฟและข้อสงสัยเรื่องการใช้อิทธิพลในพื้นที่่ชุมชนขนาดไม่เกิน 15 หลังคาเรือนใช่หรือไม่ หรือว่าลึกๆ มีเหตุปัจจัยที่ กทม. และ กอ.รมน.กทม. ยังไม่ได้บอกสาธารณชนกันแน่ ประชาไทชวนดูที่มาของ กอ.รมน. บทบาท และอำนาจของหน่วยงานความมั่นคงที่กินอาณาบริเวณมาถึงกิจการพลเรือน รวมทั้งเดินทางไปยังสำนักงาน กอ.รมน.กทม. ที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อสัมภาษณ์พันเอกวิโรจน์ หนองบัวล่าง หัวหน้าฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. ถึงเหตุผลของการไปตั้งเต็นท์ประจำการในพื้นที่ และที่มาของอำนาจในการไปประจำการในชุมชน กอ.รมน. 101: มาจากไหน มีบทบาท-อำนาจอะไรบ้างเว็บไซต์ของ กอ.รมน. ระบุว่า กอ.รมน. คือองค์กรที่แปรสภาพมาจากกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) ใน พ.ศ. 2516 แต่ยังคงสืบต่อความรับผิดชอบในภารกิจป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปและภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์มีน้อยลงจึงได้ปรับบทบาทให้มีภารกิจด้านการป้องกัน ปราบปรามยาเสพติด จัดระเบียบและเสริมความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยและผู้หลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ปฏิบัติงานด้านการข่าวและปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ระบุให้สถานะของ กอ.รมน. เป็น "ส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ" ใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) และมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรอง ผอ.รมน. กอ.รมน.กทม. เป็นหน่วยย่อยในระดับจังหวัดของ กอ.รมน. โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่ง ผอ.รมน.กทม. (ผู้ว่าฯ ใน พ.ร.บ. หมายรวมถึงผู้ว่าฯ กทม. ที่มีที่มาของการดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้ง ต่างจากจังหวัดต่างๆ ที่มาจากการแต่งตั้ง) ขึ้นตรงกับ กอ.รมน.ภาค ที่มีแม่ทัพภาคเป็น ผอ.รมน.ภาค มีหน้าที่รับผิดชอบความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาค โดยหน่วยปฏิบัติงานระดับภูมิภาคนั้นเป็นหน่วยงานผสมระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่เป็นอัตราประจำและช่วยราชการ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
กอ.รมน. ปรากฏตามหน้าข่าวบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งเครือข่ายความมั่นคง หรือการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนในลักษณะต่างๆ ซึ่งสามารถนิยามในภาพรวมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่หน่วยงานความมั่นคงเข้าไปปฏิบัติการในกิจการพลเรือน
ฝ่ายข่าว กอ.รมน.กทม. เผย รับใบสั่งจากผู้ว่าฯ กทม. ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. และไม่มีกำหนดว่าจะย้ายออก
เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พันเอกวิโรจน์ หนองบัวล่าง หัวหน้าฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. กล่าวว่า กอ.รมน.กทม. อาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 27/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ทาง กอ.รมน.กทม. ได้สังเกตการณ์มานาน และได้ส่งคนไปประจำการเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ทั้งยังไม่มีกำหนดเวลาว่าจะอยู่ถึงเมื่อไหร่ โดย กอ.รมน.กทม. จะอยู่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปราบปรามการขายพลุให้แล้วเสร็จ ซึ่งชาวชุมชนเองก็ยืนยันหลายปากว่าไม่มีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพลุไฟหรือยาเสพติด "การที่ กอ.รมน. ไปตั้งเต็นท์ในพื้นที่ เพราะอดีตมีการทำผิดกฎหมายของประชาชนในป้อม มีการค้าขายและสะสมพลุ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม ผิดกฎหมาย ที่ผ่านมารายได้จากชุมชนในป้อมมาจากการจำหน่ายพลุ ทางเราก็ไปดำเนินกรรมวิธีตามกฎหมายว่า ไม่อยากให้ในป้อมมีการสะสมและจำหน่ายพลุ เราเลยเข้าไปอยู่ตรงนั้นเพื่อให้เห็นว่าเราทำตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งก็ทำสำเร็จ เพราะไม่มีคนขายและสะสมพลุในบริเวณนั้นอีกเลย รวมทั้งได้ไปตรวจพบและดำเนินการจับกุมบุคคลที่เป็นพ่อค้ารายใหญ่ที่อยู่ตรงบ้านบาตร ข้างวัดสระเกษที่เป็นแหล่งจำหน่ายและสะสมพลุจำนวน 7 คูหา มีพลุจำนวน 200 ตันที่นั่น เราก็ไปตรวจพบและจับกุมทั้งหมด เป็นการขยายผลจากชุมชน" "เราก็จะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมั่นใจว่าจะไม่มีการจำหน่ายพลุ ปัจจุบันสืบทราบว่ายังมีการลักลอบจำหน่ายอยู่ คนที่เคยจับกุมไปแล้ว จากที่เคยมาขายที่ป้อมมหากาฬ หน้าร้านตัวเอง ตอนนี้ใช้กุฏิพระในวัดสระเกษเป็นที่เก็บ เดี๋ยวรอให้แน่ชัดก่อนจะไปจับให้หมดเลย" เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวของ กอ.รมน.กทม. ระบุว่า แม้ทาง กทม. จะเป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าว แต่ กอ.รมน.กทม. ก็มีหน้าที่รับผิดชอบทับกับ กทม. ในบางเรื่อง ในประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬนั้น กอ.รมน.กทม. ได้รับคำมอบภารกิจจากผู้ว่าฯ กทม. ที่สวมหมวกผู้อำนวยการ กอ.รมน.กทม. อยู่แล้วอีกใบ "เขาเรียกว่าอยุ่ในความรับผิดชอบของ กทม. ในภาพรวม แต่ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบทับกับ กทม. ในบางเรื่อง เช่น ป้อมมหากาฬ ทางผู้ว่าก็ขอความร่วมมือมาทาง กอ.รมน. เพราะท่านก็เป็น ผอ. อยู่แล้ว ว่าช่วยเพ่งเล็งตรงนี้เรื่องการจำหน่ายพลุในป้อมเพิ่มเติมอีกภารกิจหนึ่ง โดย กอ.รมน.กทม. ได้มีการประสานงานกับส่วนกองกำลังรักษาความสงบ กองทัพภาคที่ 1 ส่วนสำนักงานเทศกิจเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร และตำรวจ สน.สำราญราษฎร์" คำตอบของวิโรจน์ในประเด็นบทบาทการไล่รื้อสะท้อนถึงทิศทางการจัดการพื้นที่และคนในชุมชนป้อมมหากาฬของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเก็บเอาไว้แต่บ้าน ส่วนคนนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกออกจากกัน "ทราบว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพฯ ได้เวนคืนหมดแล้ว ชุมชนป้อมที่เราไปอยู่ก็มี 15 ครอบครัว ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานดั้งเดิมจากคนในป้อม แต่เป็นคนมาเช่าบ้าน เช่น เมื่อก่อนมีคนเขมรมาเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ พอเราเข้ามาเขาก็ให้ออกไป เราก็ให้ประชาชนที่เขารู้จักกันมาอาศัยแทน รวมทั้งคนในป้อมที่มีหลายกลุ่มที่เป็นผู้บุกรุกแต่เดิมแต่อยู่มานาน ก็เป็นเรื่องที่ทาง กทม. ต้องดำเนินการต่อไปในสิ่งที่ตามกฎหมาย แต่ผมก็ทราบมาว่า ในส่วนของบ้าน ทาง กทม. จะอนุรักษ์ไว้ แต่จะอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน ไม่ให้คนอาศัย เป็นบ้านที่เขาเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และจะอนุรักษ์เอาไว้ ผู้บุกรุกทั้งหมดต้องออกไปจากบริเวณนี้" "ทาง กทม. จะมีประวัติแต่ละบ้านว่าเป็นบ้านใคร จ่ายค่าชดเชย ค่าเวนคืนไปแล้วเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ จากข้อมูล กทม. มีบ้านที่ไม่ได้รับค่าเวนคืนอีกร้อยละ 25 หรือ 2 ครอบครัว จะจ่ายต่อเมื่อรื้อเท่านั้น ที่เหลือเป็นผู้บุกรุกทั้งหมด"
วิโรจน์ขยายความของผู้บุกรุกว่า เป็นคนที่เจ้าของบ้านเดิมให้เช่าบ้าน แล้วเจ้าของบ้านเดิมก็รับค่ารื้อถอนไปแล้ว แล้วก็ให้คนที่เช่าอยู่นั้นอยู่ต่อโดยไม่เก็บค่าเช่า คนที่อยู่โดยสถานภาพผู้เช่าก็กลายเป็นผู้บุกรุกไปโดยปริยาย เพราะไม่จ่ายค่าเช่าให้ กทม. และไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน "แต่ กทม. ก็ไม่ได้ใจร้ายนะ เมื่อคนเช่าเดิมย้ายออกจากที่เช่าเดิมก็จะได้รับค่าเสียสิทธิ์จำนวน 43,000 บาทเพื่อไปเช่าบ้านที่อื่นต่อ อันนี้คือที่ทราบมา" แต่ในความเป็นจริง กอ.รมน.กทม. ก็มีหน้าที่เป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนจากคนในชุมชนเหมือนกัน สะท้อนจากคำตอบของวิโรจน์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง กอ.รมน.กทม. กับชุมชน "ก็มีหลายคนที่อยู่ในนั้นมาร้องว่า คนทั้ง 5 ครอบครัวเหมือนกับทำตัวเป็นเจ้านายเขาซึ่งเขาไม่ชอบ เราก็เลยเชิญเขามาพูดคุยว่ามีการร้องเรียนแบบนี้ มีเหตุผลอะไรที่ไปอธิบายให้ฟังไหม ก็ไกล่เกลี่ยแล้วยุติกันไป วันที่ 26 ม.ค. นี้ก็มีอีกเหมือนกันเพราะคนภายในปล่อยกู้เงินแล้วดอกเบี้ยเกินอัตรา ก็จะเรียกมาสอบถามกัน" ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกันที่ กทม. พยายามเข้ารื้อบ้านหมายเลข 111 ในชุมชนป้อมฯ ธวัชชัยได้เดินทางไปยังศาลาคนเมืองเพื่อเข้าพบกับทาง กอ.รมน. หลังถูกเรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการมองหน้าเท่านั้น เมื่อ 29 ม.ค. วิโรจน์กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ ชุมชนป้อมมหากาฬ ขณะที่มีการรื้อบ้านหมายเลข 113 ว่า กอ.รมน.กทม. เป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงานหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ที่ออกจากชุมชนป้อมฯ โดยที่จะเป็นบริเวณเกียกกาย ขนาดเกือบ 1 ไร่ เป็นที่ของกรมธนารักษ์ ซึ่งจะให้คนที่ไม่มีบ้านรวมเงิน และรวมตัวกันตั้งเป็นสหกรณ์ เก็บเงินสะสมรวมกันให้ได้ร้อยละ 10 ของราคาที่ แล้วยื่นเรื่องขอกู้เงินอีกร้อยละ 90 จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อเอาเงินจำนวนดังกล่าวมาสร้างบ้าน เช่าที่ โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระ 15 ปี แต่ต้องเป้นบ้านตามรูปแบบที่ พอช. กำหนด คือเป็นทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น วิโรจน์ระบุว่า การประสานกับอธิบดีกรมธนารักษ์เป็นไปด้วยดี "เราประสานกับรองอธิบดีกรมธนารักษ์แล้ว ท่านก็เต็มใจในส่วน กอ.รมน. เข้าไปดำเนินการจัดการ ก็เต็มใจที่จะให้ที่ตรงนั้น" ด้านอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ อาสาสมัครด้านกฎหมายของชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวถึงการใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เรียกตัวบุคคลเข้าพบนั้นไม่สมควร เพราะคำสั่งดังกล่าวให้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับสภาพการณ์ เพราะทางชุมชนก็มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว ส่วนภาพรวมการต่อสู้ระหว่าง กทม. กับชุมชนป้อมมหากาฬนั้นเป็นการต่อสู้เชิงนโยบายในประเด็นอัตลักษณ์ชุมชน ส่วนกฎหมายนั้นแม้เป็นกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิ์ แต่ก็ได้บัญญัติไปบังคับใช้ไปตั้งแต่ พ.ศ. 2535 แล้ว ทาง กทม. เองนอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว อีกด้านหนึ่งก็ยังมีภาระที่ต้องดูแลชาว กทม. ซึ่งชาวชุมชนป้อมมหากาฬเองก็เป็นคน กทม. เหมือนกัน "ถ้าว่ากันด้วยกฎหมาย รัฐได้ออกกฎหมายเวนคืนซึ่งเป็นกฎหมายลิดรอนสิทธิ์ เพื่อเอาที่ดินไปทำเป็นที่สาธารณะ แต่ในเชิงนโยบายที่ต่อสู้กันคือการรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนเมือง เป็นเรื่องการต่อสู้เชิงนโยบายและการแก้ไขปัญหาชีวิตคนเมือง กทม. เองก็มีหน้าต้องทำตามกฎหมายเวนคืน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขคน กทม. ด้วย ซึ่งคนชุมชนป้อมมหากาฬก็เป็นคน กทม. ถามว่าวันนี้ถ้าเอาคนออกจากชุมชน เขาก็เป็นคนไร้บ้าน กทม. จะรับผิดชอบตรงนี้อย่างไร 25 ปีที่ผ่านมาก็เป็นการต่อรองทางนโยบาย ไม่ได้ต่อรองกฎหมาย เพราะกฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 แล้ว" อภิชาต ระบุ
ความเดิมตอนที่แล้ว: จุดเริ่มต้นของปมปัญหา อัพเดทสถานการณ์ปัจจุบันชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ) ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. หน่วยทหาร-พลเรือน ของ กอ.รมน.กทม. เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ และยังคงปักหลักอยู่ที่ลานกลางชุมชนจนถึงทุกวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ผลัดเวรมานั่งเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง 15 ม.ค. กทม. เข้ารื้อบ้านเลขที่ 63 ที่เจ้าของบ้านสมัครใจย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่พักพิงชั่วคราวที่สำนักงานประปาเก่าที่สี่แยกแม้นศรีที่ถูกจัดเอาไว้ให้ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งในรั้วเดียวกันมีอาคารที่จัดเอาไว้เพื่อเป็นที่พักของคนไร้บ้าน เรียกว่า บ้านอิ่มใจ ทาง กทม. และ กอ.รมน.กทม. มีแผนที่จะใช้ที่ดินกรมธนารักษ์ในย่านเกียกกายปลูกที่พักอาศัยให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ต่อ ในวันเดียวกัน ธวัชชัย วรมหาคุณ อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ถูก กอ.รมน.กทม. เรียกตัวด้วยคำสั่งที่ 13/2559 กรณีมีบุคคลที่เพิ่งย้ายออกจากป้อมมหากาฬฟ้องร้องว่าธวัชชัยหลอกให้นำเงินจำนวน 80,000 บาท ไปซ่อมแซมบ้าน จากนั้นธวัชชัยก็ใช้อิทธิพลกดดันให้ตนออกจากบ้านที่ซ่อมแซม ซึ่งหลังจากคู่กรณีพูดคุยกันและชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ กอ.รมน. ก็พบว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เนื่องจากธวัชชัยไม่สามารถบังคับใครให้อยู่หรือย้ายจากชุมชนได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน รวมถึงพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อิทธิพลกดดันนั้นมาจากการที่ธวัชชัยมองหน้า และเพราะคนในชุมชนไม่พูดจาด้วย พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬระบุว่า ปัจจุบันเหลือประชากรในป้อมจำนวน 10 หลังคาเรือน จำนวนคนราว 45 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. มีแผนจะเข้ารื้อบ้านอีกในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. 2561 โดยวานนี้ (29 ม.ค. 2561) มีการเข้าไปรื้อบ้านหมายเลข 113 ซึ่งเป็นบ้านของกวี (นามสมมติ) ที่เพิ่งย้ายออกไปอยู่บ้านอิ่มใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีชาวชุมชนที่ออกไปส่วนหนึ่งกลับมาพร้อมคนงาน โดยให้เหตุผลว่ามาป้องกันเหตุทะเลาะกันระหว่างคนที่จะย้ายออกและคนที่ยังอยู่ ในวันเดียวกัน สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เรื่องมาตรการที่รัฐพึงปฏิบัติในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬ โดยเดินทางไปยื่นที่ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม โดยขอให้กรรมการอนุรักษ์ฯ ปฏิบัติตามกรอบข้อตกลง 4 ฝ่ายระหว่าง กทม. ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ นักวิชาการ และฝ่ายความมั่นคง ลงนามร่วมกันว่าด้วยการอนุรักษ์บ้านจำนวน 18 หลังเอาไว้ และให้พิจารณาเรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนที่ถือเป็นชุมชนชานพระนครแห่งสุดท้ายอีกด้วย ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
ทำไมต้องลี้ภัย: บันทึกจาก การ์ตูน NDM เหยื่อรายล่าสุดจาก ม.112 Posted: 30 Jan 2018 12:24 AM PST บันทึกจาก ชนกนันท์ ร่วมทรัพย์ นักกิจกรรมทางการเมืองผู้แชร์รายงานข่าว ประวัติ ร.10 จนถูกแจ้งข้อหาเอาผิดตาม กม.อาญา ม.112 (ชนกนันท์ เป็นผู้ถูกแจ้งความดำเนินคดีเป็นรายที่ 2 ต่อจากกรณี ไผ่ ดาวดิน
บ่ายวันที่ 16 มกราคม 2561 เราตื่นบ่ายสองเหมือนทุกวัน ตื่นมาเจอแฟนทำกับข้าวให้กินเหมือนทุกวัน ลงมาเจอพ่อกับแม่เหมือนทุกวัน เพียงแต่วันนั้นมีใบให้ไปรับของที่ไปรษณีย์ เราก็คิดว่าเป็นหมายนัดศาลทหารคดีราชภักดิ์ เพราะมีนัดขึ้นศาลทหารวันที่ 26 ม.ค. แล้วปกติจะมีหมายนัดมาบ้านเป็นใบให้ไปรับที่ไปรษณีย์แบบนี้ เราก็ขับรถไปไปรษณีย์ พอรับจดหมายมาแล้วก็เปิดอ่าน ปรากฎว่าไม่ใช่หมายนัดศาลทหาร แต่เป็นหมายเรียกผู้ต้องหาจากสน.คันนายาว ตอนแรกเรายังไม่ได้อ่านดีๆ ก็ตกใจ นึกว่าขับรถแย่ โดนใบสั่งอีกแล้ว แต่พออ่านข้อกล่าวหาดีๆ เราก็อึ้งไปสักพัก งง ว่าเราโดน 112 จากอะไร ทำอะไรไม่ถูก ระหว่างขับรถกลับบ้านก็ยังพูดอะไรไม่ออก เหมือนตอนนั้นเรามีทางเลือกแค่ไม่กี่ทางทางคือ สู้คดี ติดคุก ลี้ภัย เรากลับมาถึงบ้านแล้วได้คุยกับหลายๆคน ปรากฎว่าที่เราโดน 112 จากการแชร์ข่าว BBC ในเดือนธ.ค. ปี 59 ตอนที่เราอยู่บราซิล แล้วทหารที่ชื่อสมบัติ ด่างทา ได้ไปแจ้งความที่สน.คันนายาวตั้งแต่ ธ.ค. 59 แล้ว (จริงๆเราต้องโดนพร้อมไผ่) แต่สน.มีปัญหาภายใน เลยชะลอการออกหมาย พอทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็เอาคดีเก่าๆกลับมาออกหมายใหม่ ทำให้เราได้หมายในวันนั้น พอรู้แบบนี้แทบจะทุกคนบอกให้ออก แต่สุดท้ายเราเองที่เป็นคนตัดสินใจอยู่ดี เวลาในการตัดสินใจตอนนั้นมันสั้นมาก กระชั้นชิดมาก เรามีเวลาไม่ถึง 30 นาทีในการตัดสินใจว่าจะอยู่หรือจะไป มันยากตรงที่ไปครั้งนี้เราคงไม่ได้กลับมาแล้ว เราตัดสินใจลงไปบอกพ่อกับแม่ ทุกคนช็อค แต่ก็เห็นด้วย ไม่มีใครอยากให้เราติดคุก 5 ปี จากการโพสต์แชร์ข่าว BBC จำได้ว่าแม่ถามว่าไปครั้งนี้คือไม่ได้กลับแล้วใช่มั้ย เราตอบว่า ใช่ แล้วก็ร้องไห้ แม่ก็เหมือนจะร้องไห้ไปด้วย แม่ไม่ค่อยแสดงออกว่าเป็นห่วงเวลาเดินทางไปต่างประเทศนานๆ คงเพราะรู้ว่าซักวันลูกก็ต้องกลับบ้าน แต่ครั้งนี้มันแปลก มันฟังดูห่างไกล มันฟังดูเหงามากๆ ไม่รู้จะอธิบายยังไง ส่วนพ่อ... พ่อรักเรามากที่สุดในโลก แล้วเราก็รักพ่อมากที่สุดในโลกเหมือนกัน พ่อรู้แล้วก็เศร้ามาก เครียดมาก เรารู้เพราะพ่อไม่ค่อยแสดงความรู้สึก แต่วันนั้นมันแสดงออกมาทางสีหน้าชัดเจน พ่อสูบบุหรี่มวนต่อมวน แล้วกินเบียร์ไปเยอะมากภายในไม่กี่ชม.ที่รู้เรื่องจนถึงเวลาที่เราออกมา หลักๆคือเป็นห่วงว่าเราจะไปอยู่มุมไหนของโลก จะอยู่ยังไง จะใช้ชีวิตยังไง เรามีเวลาไม่กี่ชั่วโมงเหมือนกันในการบอกลาเพื่อนสนิทไม่กี่คน ทุกคนมีอาการเดียวกันคือ ช็อค อึ้ง พูดไม่ออก ...เราก็เหมือนกัน มาถึงที่นี่วันแรก เราเอาแต่ร้องไห้ เพราะหนทางมันมืดแปดด้าน ทุกอย่างดูสับสน กระชั้นชิด งง ไม่รู้จะจัดการยังไง เอาแต่ตั้งคำถามว่าเราคิดถูกแล้วใช่มั้ยที่เลือกจะลี้ภัย หรือเรากลับไปติดคุกแล้วออกมาเจอบ้าน เจอครอบครัว เจอเพื่อนเหมือนเดิม แต่ได้คำตอบว่ามันถอยไม่ได้แล้ว ถึงแม้เราจะลำบากมาๆ เราเชื่อว่าผู้ลี้ภัยหลายๆคนก็ลำบากแบบนี้เหมือนกัน มันไม่ได้สวยหรู ไม่ได้สบาย อย่างน้อยในตอนแรกเราก็พูดได้ว่ามันแย่มาก ตั้งแต่ตอนนั้นเวลามีคนถามว่าเรารู้สึกยังไง เราก็ตอบไม่ถูก ความรู้สึกมันหลากหลายมาก เราทั้งหงุดหงิด ทั้งโกรธ เราโมโห เสียใจ คับแค้นใจ อึดอัด ผิดหวัง ผิดหวังมากๆกับหลายคน หลายอย่างที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีหวังก็สิ่งใหม่ๆที่เข้ามาในชีวิตเหมือนกัน จนถึงตอนนี้ ในเวลาไม่กี่วัน หลายๆอย่างเริ่มเข้าที่แล้ว สภาพจิตใจเราดีขึ้นเมื่อได้เจอคนที่เรารัก ได้คุยกับพ่อแม่ ได้คุยกับเพื่อน ได้กำลังใจจากคนที่เข้าใจเราจริงๆ ทุกอย่างมันค่อยๆดีขึ้น เรากำลังจะโตขึ้น สิ่งใหม่ๆในชีวิตกำลังจะเข้ามาให้เราเรียนรู้มากขึ้นเหมือนกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
พบ ‘ข่าวปลอม-จ่ายค่าแรงน้อย-แรงกดดัน’ เป็นปัญหาสำคัญสื่อทั่วโลก Posted: 30 Jan 2018 12:22 AM PST ผลสำรวจศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ พบ 'ข่าวปลอม' เป็นประเด็นปัญหาสำคัญของการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาคือ 'จ่ายค่าแรงน้อย' ตามมาด้วยแรงบีบจากความพยายามแย่งชิงจำนวนผู้อ่าน และการกดดันทางการเมือง ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/Nurgeldy (CC BY-NC 2.0) 30 ม.ค. 2561 เมื่อต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ (The Centre for International Media Ethics) ได้เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ 'จริยธรรมสื่อในยุคหลังความจริง (Post-Truth)' โดยทำการสำรวจใน ทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชียกลางและใต้ ยุโรปรวมไปถึงโอเชียเนีย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะทางจริยธรรมของอาชีพสื่อในประเทศเหล่านั้น ข้อมูลที่ได้จากผู้เข้าร่วมการสำรวจ พบว่าร้อยละ 58.33 ที่มองว่า 'ข่าวปลอม' (fake news) เป็นประเด็นปัญหาที่พบบ่อยในการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาร้อยละ 50 คือการจ่ายเงินที่ต่ำ และการถูกแรงบีบจากความพยายามดึงจำนวนผู้อ่าน และแรงบีบการเมืองหรือองค์กรสื่อเอง อยู่ที่ร้อยละ 47.92 มากกว่าครึ่งของผู้ให้ข้อมูลมองว่ารัฐบาลของประเทศพวกเขามีความพยายามที่จะปกป้องจริยธรรมสื่อในเกณฑ์ที่ต่ำและต่ำมาก นอกจากนั้นร้อยละ 83 ยังเห็นตรงกันว่าทุกวันนี้มีสื่อที่เกิดขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการสนับสนุนวาระทางการเมืองหรือบริษัทชั้นนำโดยเฉพาะเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง โดย 2 ใน 3 มองว่านั้นทำให้องค์กรสื่อได้มีความพยามลงทุนในการพัฒนาคุณภาพของสื่อมวลชนมากขึ้น ไปจนถึงยังมีการทำงานที่ต่อต้านความเกลียดชัง เหยียดเชื้อชาติและอำนาจนิยมได้ดีขึ้น โดยหลักการสำคัญ 3 อย่างที่เป็นสิ่งที่ผู้ร่วมการสำรวจมองว่าจำเป็นที่สุดในวงการสื่อของแต่ละประเทศคือ ความสิทธิสาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเท่าเทียม ความซื่อตรงในวิชาชีพและความรับชอบต่อสังคมโดยเคารพต่อคุณค่าสากลและความแตกต่างหลากหลาย การสำรวจดังกล่าวยังลงความสำคัญกับ 'ข่าวปลอม' (fake news) ร้อยละ 90 ของผู้ให้ข้อมูลได้เห็นการเพิ่มขึ้นของข่าวที่เร้าอารมณ์และข่าวปลอมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาโดยนักรัฐศาสตร์ ชี้ว่าการที่ผู้อ่านถูกหลอกโดยข่าวปลอมไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่อย่างใด เพราะจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งในสหรัฐฯ และอังกฤษ ได้รวมสถิติการเยี่ยมชมเว็บในช่วงระหว่าง 1เดือนก่อนการเลือกตั้งและ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เข้ากับการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอมของชาวอเมริกัน มากกว่า 2,500 คน ผลแสดงออกมาให้เห็นว่าแม่ว่าชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่จะพบกับข่าวปลอมเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่เพียงแค่ร้อยละ 8 เท่านั้นที่เชื่อข่าวเหล่านั้น
ที่มาเรียบเรียงจาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
โฆษก คสช. โต้ 26 ผู้บริหาร มธ. ระบุคนเท่ากันภายใต้กฎหมาย ไม่ยกเว้นกรณีใดเป็นพิเศษ Posted: 30 Jan 2018 12:05 AM PST พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษก คสช. ระบุหลัง 26 ผู้บริหาร มธ. แถลงขอทบทวนการดำเนินคดีผู้จัดกิจกรรมเดินมิตรภาพ ชี้รัฐบาลเดินหน้าตามโรดแมปมาตลอด ไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวาย ย้ำคนเท่ากันภายใต้กฎหมาย เมื่อทำผิดย่อมละเว้นไม่ได้ ภาพจาก: สำนักข่าวไทย 30 ม.ค. 2561 สืบเนื่องจากกรณีที่ 26 ผู้บริหารในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันออกแถลงการณ์ และยื่นต่อหัวหน้าคณะรักษาความวสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกร้องให้ คสช. ทบทวนการดำเนินคดีกับผู้จัดกิจกรรมเดินมิตรภาพ ล่าสุด พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษก คสช. ชี้แจงว่ากิจกรรมดังกล่าวมีมูลเหตุเริ่มต้นจากกลุ่มองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ในนาม People Go network ได้จัดกิจกรรมบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้อง มีการกล่าวปราศรัย โจมตีรัฐบาล และ คสช. ซึ่งมีผู้ร่วมในเหตุการณ์ประมาณ 150 คน นำโดย อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยา และมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งผู้บังคับกองพัน ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 4 ปฎิบัติหน้าที่รับผิดชอบการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ดังกล่าว ได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ฐานร่วมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว คือ พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา แต่หากยังไม่มาพบ จะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 และหากไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกหมายจับทันที "ณ เวลานี้การที่คณะอาจารย์ได้มีหนังสือให้พิจารณาทบทวน จึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ครูอาจารย์ผู้ซึ่งเป็นขุมพลังปัญญาอันสำคัญยิ่ง และสามารถชี้แนะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ให้แก่ นิสิต นักศึกษา และสังคม โดยใช้บรรยากาศการปรองดอง ความร่วมมือ ใช้สติปัญญาหันหน้าพูดคุย เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม กับบรรยากาศของบ้านเมือง และนำพาประเทศชาติและสังคมก้าวข้ามผ่านความยากลำบากในช่วงเวลานี้ และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม การกำหนดบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ให้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวยังมีผลบังคับใช้ เป็นเครื่องแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าประเทศยังมีความจำเป็นในการมีกฎหมายเพื่อรักษาความสงบและความมั่นคงภายในอยู่ ส่วนท่านใดจะตีความเช่นไร ก็เป็นการเสนอความเห็นที่กระทำได้ แต่มิได้หมายความว่าจะทำให้กฎหมายขาดความศักดิ์สิทธิ์ไปได้" พล.ต.ปิยพงศ์ พล.ต.ปิยพงศ์ กล่าวด้วยว่า คสช.และรัฐบาลได้ดำเนินงานตามโรดแมปที่วางไว้ตลอดมา และทุกฝ่ายพยายามทำให้เกิดความเรียบร้อยอย่างดีที่สุด การแสดงออกที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือสร้างความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ความสงบ อาจจะเป็นปัจจัยทำให้การเดินหน้าสู่โรดแมปไม่ราบรื่น ตามที่ประชาชนส่วนใหญ่คาดหวัง จึงอยากร้องขอให้การแสดงออกทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายทุกประการอย่างถ้วนทั่ว ไม่ควรมีการเรียกร้อง หรือขอข้อยกเว้นว่าให้ใช้กฎหมายเฉพาะรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดเท่านั้น เพราะทุกคนควรอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม อีกทั้งผู้ดำเนินกิจกรรมย่อมรู้อยู่แก่ตนเองว่ากิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ เหมือนหรือแตกต่างจากกิจกรรมรณรงค์ประเด็นทางสังคมอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ในส่วนของ คสช. ก่อนที่จะดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี ได้มีการสังเกตการณ์ รวมทั้งพูดคุยเจรจา ขอความร่วมมือ เพื่อมิให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อทางกลุ่มยังยืนยันที่จะทำต่อไป คสช.จึงไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากสนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งผู้จะพิจารณาว่าจะมี ขึ้นกับการดำเนินคดีหรือไม่อย่างไร กระบวนการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ที่ คสช.จะไม่ก้าวล่วง "อย่างไรก็ตาม คสช.ขอขอบคุณในความปรารถนาดี และการมีส่วนร่วมทางความคิดอันเป็นประโยชน์ยิ่งของคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและ คสช. มา ณ โอกาสนี้ และ คสช.จะพิจารณาโดยรอบคอบอย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้ความสงบสุขของบ้านเมืองจะได้ดำเนินต่อไป และหากมีผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ คสช.อย่างไร จะแจ้งให้ท่านทราบในโอกาสแรกทันที" พล.ต.ปิยพงศ์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ถูก คสช. แจ้งความนำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ทั้ง 8คน ประกอบด้วย 1.เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา 2.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 4.สมชาย กระจ่างแสง มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 5.แสงศิริ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 6.นุชนารถ แท่นทอง เครือข่ายสลัม 4 ภาค 7.อุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรทางเลือก 8.จำนงค์ หนูพันธ์ เครือข่ายสลัม 4 ภาค โดยในวันที่ 31 ม.ค. นี้ ทั้ง 8 คนได้เตรียมตัวเดินทางจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อไปรายงานตัวและให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนที่ สภ.คลองหลวง โดยเริ่มออกเดินจากวิทยาลัยฯ ป๋วย ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
คสช. แจ้ง 2 ข้อหา 7 คนเหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง Posted: 29 Jan 2018 11:06 PM PST พ.อ.บุรินทร์ แจ้งควาเอาผิด 'โรม-จ่านิว-ณัฎฐา-ทนายอานนท์-เอกชัย-สุกฤษฎ์-เนติวิทย์' ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. หลังจัดกิจกรรมเหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง ด้านโรม ยันพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ไม่หยุดเคลื่อนไหวค้านสืบทอดอำนาจ ที่ไม่ใช่แค่ ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกฯ แต่คือระบบที่ คสช.วางไว้ในรัฐธรรมนูญ 30 ม.ค.2561 ข่าวสดออนไลน์และเดลินิวส์ รายงานตรงกันว่า พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงศ์ รอง ผกก.(สอบสวน) สน.ปทุมวัน ได้รับแจ้งความจาก พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฎิบัติหน้าที่ หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังได้รับมอบอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้มาร้องทุกข์ กล่าวดำเนินคดี 1. รังสิมันต์ โรม 2. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 3. ณัฎฐา มหัทธนา 4. อานนท์ นำภา 5. เอกชัย หงส์กังวาน 6. สุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ และ 7. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ข้อหา"ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ที่ทางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวระหว่างวันที่ 25 ม.ค. เวลา 21.00 น. และวันที่ 27 ม.ค.เวลา 19.00 น. ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน บีบีซีไทย รายงานด้วยว่า ตรวจสอบข้อมูลพบว่า บุคคลทั้ง 7 คน ถูกตั้งข้อหาอย่างน้อย 2 ข้อหาคือ 1. ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป และ 2. กระทำการยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ขณะนี้ตำรวจ สน.ปทุมวัน ได้ส่งหมายเรียกไปยังผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 7 คนแล้ว เพื่อให้มาพบพนักงานสอบสวนในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 2 ก.พ. นี้ แต่ในกรณีของ สิรวิชญ์ หรือจ่านิว ตำรวจจะส่งเรื่องไปที่ศาลจังหวัดขอนแก่นด้วย เพราะก่อนหน้านี้ สิรวิชญ์ถูกศาลจังหวัดขอนแก่นตัดสินจำคุก 6 เดือน คดีละเมิดอำนาจศาล จากการแสดงออกทางสัญลักษณ์และจัดกิจกรรมทางการเมืองภายในเขตอำนาจศาล เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560 แต่ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก จึงถือว่ากระทำการผิดเงื่อนไขศาล ผู้สื่อข่าวประชาไท สอบถาม รังสิมันต์ เพิ่มเติม ยืนยันว่ายังไม่ยังไม่ได้รับหมายเรียกแต่อย่างใด และยืนยันด้วยว่าให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม หวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะอำนวยให้กับทุกคน และจะปรึกษาทนายความก่อน โดยตอนนี้เป็นกระบวนการตามศาลยุติธรรมตนก็สบายใจมากกว่าศาลทหาร คาดหวังว่าจะได้รับความยุติธรรมมากกว่า รังสิมันต์ กล่าวถึงการแจ้งความดำเนินคดีนี้ด้วยว่า เป็นเรื่องที่คาดหมายได้อยู่แล้ว สิ่งที่เรามุ่งหวังคือการปกครองที่ดีกว่านี้ ซึ่งคนที่เสียประโยชน์ก็คือ คสช. การแจ้งความก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ คสช.เท่านั้น รังสิมันต์ ยังยืนยันด้วยว่า จะเคลื่อนไหวต่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. ต่อไป เพราะผลร้ายที่เกิดขึ้นจะตกกับคนรุ่นหลัง สำหรับประเด็นการสืบทอดอำนาจ ของ คสช. ที่เคลื่อนไหวคัดค้านนั้น รังสิมันต์ เปรียบว่า เหมือนเป็นการล็อคผลบอล และอธิบายเพิ่มเติมว่า เรารู้อยู่แล้วว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจต่อไป สิ่งที่ต้องการคือให้ประชาชนตัดสินใจอย่างเสรีและเป็นธรรม (ฟรีและแฟร์) การสืบทอดอำนาจมันจึงหมายถึงระบบที่ คสช. วางเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นความพยายามที่ทำให้ คสช.กลับมามีอำนาจอีกครั้ง ไม่ใช่แค่ พล.อ.ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกเท่านั้น แต่เป็นระบบที่วางเอาไว้ ขณะที่ ณัฎฐา โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คถึงข่าวที่ตนเองถูก แจ้งความดำเนินคดีว่า ยังไม่ได้ยุให้ใครทำไรเลย แค่ยุให้คสช.ทำตามสัญญา และหยุดละเมิดสิทธิพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ วิธีง่ายที่สุดที่จะปิดปากเราก็คือ กลับมาประกาศการเลือกตั้ง พ.ย.61 ตามที่ไปบอกชาวโลกไว้ และหยุดสืบทอดอำนาจ ง่ายกว่าเยอะ ณัฎฐา โพสต์แถลงการณ์ของกลุ่มที่ร่วมกิจกรรม "เผด็จการทหารแจ้งความจับคนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยข้อหาว่าขัดคำสั่งเผด็จการทหาร ตลกดี คนพวกนี้นอกจากจะไม่อายแล้วยังสับสนหลงยุคอีก" อานนท์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คประกอบข่าวตนเองถูกแจ้งความดังกล่าว ขณะที่ เนติวิทย์ กล่าวผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวด้วยว่า ตนไม่ได้อยู่กลุ่มไหนทั้งนั้น และที่ไปงานนั้นก็โดยต้องการไปฟังเสียมากกว่า เหมือนทุกครั้งไม่ได้พูดอะไรเวลาไป ไปครั้งนี้ก็เหมือนพี่น้องประชาชนที่อยากจะตรวจสอบการทุจริตของพลเอกประวิตรและถามถึงสัญญาเลือกตั้ง หากมีเหตุทำให้ต้องพูดสั้นๆ ไม่ได้ตระเตรียมใดๆ ไม่ได้แชร์ว่าจะเข้าร่วมอะไร งานวันที่ 10 ก็ไม่รู้ใดๆว่าจะมีมาก่อน ยังคิดเลยว่าจะไปดีหรือไม่ "แต่ถ้าหากสิทธิพลเมืองในการตั้งคำถามกับคนที่เอาเงินภาษีของประชาคนไทยไปใช้ไม่ได้ บอกอีกอย่างทำอีกอย่าง ถ้าถามเสียงดังๆจะถูกเล่นงาน ผมคงไม่อาจจะปล่อยให้ประเทศนี้ตกอยู่ภายใต้การนำของคนเช่นนี้ไม่ได้ คนรุ่นผมจะลำบากจากเคราะห์กรรมแน่ๆจากมรดกการทุจริตและการตระบัดสัตย์เช่นนี้ ดังนั้น การจะเล่นงานผมครั้งนี้ ผมไม่กลัวใดๆ ดีเสียอีกว่า อย่างน้อยผมคนนึงก็ปกป้องประเทศชาติของเรา ผมมีความรู้สึกอย่างเดียวว่าเป็นเกียรติที่จะอยู่ใน 7 รายชื่อนี้ด้วย" เนติวิทย์ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพ: ผลิตผลของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่มาจากเบื้องล่าง Posted: 29 Jan 2018 10:46 PM PST
การต่อสู้ครั้งแรกของภาคประชาชนกับรัฐบาลเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) เมื่อรัฐบาลพยายามปิดกั้นและไม่อนุญาตให้ทีมเดินมิตรภาพที่ชุมนุมกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จัดกิจกรรมเดินจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดขอนแก่น โดยอ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เป็นฐานในการใช้อำนาจดังกล่าว การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ เป็นการต่อสู้กันบนท้องถนน ภาคประชาชนพยายามโต้แย้งการตีความและบังคับใช้กฎหมายของรัฐด้วยการยืนยันว่าสิทธิในการชุมนุมและการเดินของพวกเขาเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพวกเขาได้ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บัญญัติไว้แล้วทุกประการ พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะชุมนุมและเดิน ทีมเดินมิตรภาพยืนยันความคิดความเชื่อของพวกเขา ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนออกไปเดินตามที่วางแผนไว้ทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอม การต่อสู้ยกแรกระหว่างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมกับวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตยบนท้องถนน อาจถือได้ว่าภาคประชาชนเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สามารถยุติการชุมนุม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามที่ต้องการแล้ว ประชาชนยังสามารถยืนยันสิทธิด้วยการเดินตามที่วางแผนไว้ได้ (แม้จะต้องปรับแผนจากที่จะเดินหลายสิบคนมาเป็นเดินครั้งละ 4 คน) โดยที่ตำรวจไม่สามารถยุติกิจกรรมเดินมิตรภาพได้ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าการยืนยันสิทธิของประชาชนมีชัยเหนือการใช้อำนาจควบคุมโดยรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลตอบโต้ปฏิบัติการของภาคประชาชนด้วยการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มเดินมิตรภาพจำนวน 8 คน นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐพยายามสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยครั้งนี้เป็นการใช้สถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการคือการใช้คดีอาญาเป็นเครื่องมือ น่าเชื่อได้ว่าการดำเนินคดีอาญาของรัฐบาลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นการแสดงออกของภาคประชาชนยิ่งกว่าต้องการให้แกนนำทั้ง 8 ต้องรับโทษตามกฎหมาย การฟ้องคดีลักษณะนี้มีชื่อเฉพาะในทางวิชาการว่า "การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของประชาชน" (Strategic Litigation Against Public Participation/SLAPP) เป้าหมายของการฟ้องคดีประเภทนี้ไม่ได้อยู่ที่การแพ้ชนะในชั้นศาลเท่ากับมุ่งขัดขวางการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของภาคประชาชนในเรื่องสาธารณะ เป็นการใช้กฎหมายเพื่อขัดขวางกิจกรรมเดินมิตรภาพและเป็นการขู่ทางอ้อมว่าพวกที่เหลือก็อาจถูกดำเนินคดีเช่นนี้ได้ ในส่วนภาคประชาชนนั้นแทนที่จะสยบยอมต่อการคุกคามด้วยกฎหมายของภาครัฐ ด้วยการยุติกิจกรรมเดินมิตรภาพ ทีมเดินมิตรภาพกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม พวกเขายังคงยืนยันสิทธิด้วยการเดินต่อไปตามที่วางแผนไว้ ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังพยายามใช้สถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการควบคุมรัฐที่ลุแก่อำนาจ ด้วยการฟ้องหน่วยงานของตำรวจต่อศาลปกครองในข้อหาละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของพวกเขาเพื่อขอให้ยุติการกระทำที่เป็นการขัดขวางการใช้เสรีภาพของพวกเขาและเรียกค่าเสียหายจากการที่รัฐละเมิดเสรีภาพในการชุมนุมของพวกเขา ด้วยการฟ้องคดีปกครองภาคประชาชนได้กลับหัวกลับหางวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนมิติความสัมพันธ์ของภาคประชาชนจากการเป็นผู้ถูกกฎหมายกระทำแต่ฝ่ายเดียว มาเป็นผู้ใช้กฎหมายจัดการกับรัฐที่ลุแก่อำนาจ ทันทีที่ถูกฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้ผูกขาดการใช้การตีความกฎหมายก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก พวกเขาต้องพบกับความจริงที่ว่ากฎหมายไม่ได้เป็นอาวุธของพวกเขาแต่เพียงฝ่ายเดียว ภาคประชาชนก็สามารถใช้กฎหมายมาต่อสู้ต่อรองและจัดการกับพวกเขาได้เช่นกัน เพียงชั่วข้ามคืนพวกเขาพบว่าสถานะความสัมพันธ์ของหน่วยงานตำรวจกับประชาชนได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นคนใช้กฎหมายกำกับและควบคุมประชาชนแต่เพียงฝ่ายเดียว กลับต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องคดีในศาล หรือในอีกแง่หนึ่งพวกเขาถูกประชาชนใช้กฎหมายมาควบคุมตรวจสอบย้อนกลับ ในการไต่สวนตำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในวันที่ 26 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงที่ถูกฟ้องคดีและที่ศาลเรียกเข้ามาเป็นผู้ฟ้องคดีเพิ่มเติม จำต้องมาแก้ต่างข้อกล่าหาของพวกเขาในศาลปกครอง อำนาจที่ดูแข็งกร้าวและยิ่งใหญ่ของตำรวจที่ขัดขวางการเดินที่ธรรมศาสตร์ คุกคามทีมเดินมิตรภาพ ที่ จ.อยุธยา และขัดขวางการเข้าพักที่วัดต่าง ๆ ซึ่งทีมเดินได้ประสานงานไว้ กลับดูอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อต้องมาเป็นผู้ถูกกฎหมายบังคับใช้ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี หลังการไต่สวนอย่างยาวนานจากบ่ายถึงค่ำของวันที่ 26 มกราคม 2561 ในที่สุดศาลปกครองก็ได้กำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ด้วยการสั่งการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสั่งการให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 และภาค 4 ห้ามการกระทำใด ๆ ที่เป็นการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของผู้ฟ้องคดีและผู้ร่วมชุมนุม และให้ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับการชุมนุมจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 อันเป็นวันสุดท้ายของกิจกรรมเดินมิตรภาพอย่างเคร่งครัด ด้วยคำสั่งฉบับนี้มิติความสัมพันธ์ทางอำนาจของภาคประชาชนกับรัฐก็ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ตำรวจที่เคยผูกขาดและใช้อำนาจตามอำเภอใจได้กลายเป็นวัตถุที่ถูกกฎหมายควบคุมอย่างเคร่งครัดเสียเอง ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่าในการต่อสู้กันในสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการครั้งนี้ ภาคประชาชนก็ประสบความสำเร็จอีกครั้งในการใช้กฎหมายควบคุมรัฐ ขณะที่คดีอาญาที่รัฐพยายามใช้ควบคุมประชาชนหาได้ส่งผลใด ๆ ต่อการเคลื่อนไหวของทีมเดินมิตรภาพ คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพในแง่หนึ่ง คือ ผลิตผลของการต่อสู้ทางวัฒนธรรมทางกฎหมาย เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายไม่ได้เป็นแต่เพียงเครื่องมือของรัฐในการกดขี่ประชาชน แต่ในบางบริบท บางสถานการณ์ ประชาชนสามารถพลิกกลับและใช้กฎหมายควบคุมรัฐได้เช่นกัน และด้วยการใช้กฎหมายควบคุมรัฐในคดีเดินมิตรภาพ ประชาชนได้แสดงให้เห็นว่าแม้อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากภายใต้รัฐเผด็จการ การพยายามต่อสู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตยยังเป็นไปได้ จริงอยู่โอกาสที่ภาคประชาชนจะแพ้ในทางคดีอาจมีมากกว่าโอกาสที่จะชนะ แต่การต่อสู้และยืนยันสิทธิโดยตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตย ในสถานการณ์เช่นนี้การที่ภาคประชาชนสามารถใช้กฎหมายควบคุมรัฐได้แม้เพียงบางส่วน จึงเป็นชัยชนะร่วมกันของทั้งสังคมไม่ใช่เป็นเพียงชัยชนะของทีมเดินมิตรภาพเท่านั้น เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของประชาชน เป็นวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตย เป็นวัฒนธรรมที่ยืนอยู่บนฐานคิดที่ว่าประเทศนี้เป็นของราษฎรทุกคน ผู้ปกครองของประชาชน คือ กฎหมายที่มีเหตุมีผล ไม่ใช่รัฐบาล รัฐราชการ หรือสถาบันอื่นใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
ปปช., กลไกรับผิดรับชอบ, และปัญหาโลกแตกของนักรัฐศาสตร์ Posted: 29 Jan 2018 10:39 PM PST
จากประเด็นเรื่องการตรวจสอบ "แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน" ของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำให้บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการตรวจสอบคดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นกลับมาเป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้งหนึ่ง ประชาชนและนักข่าวหลายคนตั้งคำถามว่า การทำงานของ ป.ป.ช. จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใดภายใต้แรงกดดันทางการเมืองที่สูงเช่นปัจจุบัน ในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางหนึ่งในการช่วยหาคำตอบว่า ป.ป.ช. จะทำหน้าที่ได้อย่างดีหรือไม่ ผ่านการวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจทางการเมืองของ ป.ป.ช. หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือผู้เขียนจะลองพิจารณาดูว่าใครมีอำนาจเหนือ ป.ป.ช. และ ป.ป.ช. นั้นต้องรับผิดรับชอบต่อใคร (accountable to whom) นั่นเอง ตามประวัติศาสตร์ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระที่ถูกตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย โดยสรุป มาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ได้ให้อำนาจแก่ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารของรัฐ หรือข้าราชการระดับสูงว่ามีการกระทำการทุจริตหรือกระทำผิดต่อหน้าที่หรือไม่ การให้อำนาจ ป.ป.ช. เช่นนั้นดูเหมือนน่าจะได้ผลดี หากเราไม่คิดอะไรมากเราอาจจะเข้าใจเอาเองว่าการมีอยู่ของ ป.ป.ช. น่าจะช่วยให้ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยลดลงอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงผลลัพธ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น จากการสำรวจขององค์ร Transparency Internationnal ที่ได้จัดทำดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น (Corruption Perceptions Index: CPI)[1] พบว่าตั้งแต่ปี 2543 ที่เรามี ป.ป.ช. และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นต้นมา คะแนนภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นของไทยเพิ่มขึ้นน้อยมาก จาก 32[2] คะแนน ในปี 2543 เป็น 35 คะแนน ในปี 2559 ปัจจุบันถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ความโปร่งใสอยู่ที่อันดับที่ 101 จาก 176 ประเทศ[3] (Transparency International 2000 และ 2016) ป.ป.ช. ทำงานมาแล้วเกือบ 20 ปี ทำไมการคอร์รัปชั่นของไทยถึงไม่ได้ลดลงเลย? ถ้าให้ผู้เขียนตอบเอาตามความเชื่อของตนเอง ผู้เขียนเชื่อว่านั่นเป็นเพราะตัวหน่วยงาน ป.ป.ช. แม้จะมีอยู่มานานแล้ว แต่การทำงานของ ป.ป.ช. กลับต้องเผชิญข้อจำกัดหลายๆอย่างทำให้ทำหน้าที่ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น ข้อจำกัดของทรัพยากรและงบประมาณ แหล่งที่มาของงบประมาณ และปัญหาด้านบุคลากร (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2558) อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเชื่อว่าข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ทำให้การทำงานของ ป.ป.ช. อาจจะไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควรก็คือรูปแบบกลไกรับผิดรับชอบ (Accountability) ที่ ป.ป.ช. มีต่อผู้เล่นทางการเมือง (Actors) กลุ่มต่างๆนั่นเอง กลไกรับผิดรับชอบ (Accountability) นั้น คือความสัมพันธ์ทางอำนาจในลักษณะการให้คุณให้โทษระหว่างผู้เล่นทางการเมืองกลุ่มต่างๆ (Grant and Keohane 2005) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหัวหน้าแผนกมีอำนาจในการลงโทษหรือตกรางวัลแก่ลูกน้อง หมายความว่าลูกน้องต้องรับผิดรับชอบต่อ (Accountable to) หัวหน้านั่นเอง หรือในระบอบการเมืองแบบเลือกตั้ง ถ้าหากประชาชนไม่ชอบผลงานนักการเมืองคนใดก็อาจจะลงโทษนักการเมืองคนนั้นโดยการไปเลือกคนอื่น หรือถ้าประชาชนชอบผลงานก็อาจจะให้รางวัลโดยการเลือกนักการเมืองคนเดิมกลับเข้าไปดำรงตำแหน่ง ในกรณีนี้แสดงว่านักการเมืองรับผิดรับชอบต่อประชาชน เพราะประชาชนมีอำนาจให้รางวัลหรือทำโทษนักการเมืองนั่นเอง ลักษณะและรูปร่างหน้าตาของกลไกรับผิดรับชอบระหว่างผู้เล่นทางการเมืองนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนดว่าใครมีอำนาจเหนือใคร หรือพูดง่ายๆคือเป็นตัวกำหนดว่าผู้เล่นคนไหนจะต้องทำงานเพื่อใคร เช่น ในระบอบประชาธิปไตยผู้เล่นที่ควรจะมีอำนาจสูงสุดก็คือประชาชน เพราะฉะนั้นหน่วยงานรัฐ ข้าราชการ และนักการเมืองก็ควรจะมีความรับผิดรับชอบต่อประชาชนและควรจะทำงานเพื่อประชาชน[4] ฉะนั้น นักรัฐศาสตร์จึงให้ความสำคัญอย่างมากกับการออกแบบกลไกรับผิดรับชอบเพื่อรับประกันว่าประชาชน (และอาจจะรวมถึงผู้เล่นกลุ่มอื่นๆที่สมควรมีอำนาจ) สามารถตรวจสอบและลงโทษหน่วยงานรัฐ ข้าราชการ และนักการเมือง (และอาจจะรวมถึงผู้เล่นกลุ่มอื่นๆที่ควรถูกตรวจสอบ) ได้นั่นเอง สุดท้ายจึงมีการคิดเครื่องมือทางการเมืองต่างๆเพื่อมารับประกันว่ากลไกรับผิดรับชอบจะมีลักษณะเหมาะสม เช่น การเลือกตั้ง การทำโพลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน การให้สิทธิประชาชนยื่นถอดถอนนักการเมือง การมีสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐ ตลอดจนถึงกฎหมายต่างๆที่รับรองสิทธิในการตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเสรี เพราะถ้าหากกลไกรับผิดรับชอบมีลักษณะเหมาะสม หน่วยงานรัฐก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และจะทำงานเพื่อประชาชนนั่นเอง กลับมาสู่คำถามสำคัญที่ว่า แล้วกลไกลรับผิดรับชอบของ ป.ป.ช. มีลักษณะที่ไม่เหมาะสมอย่างไร? ผู้เขียนคิดว่าลักษณะของกลไกรับผิดรับชอบในปัจจุบันทำให้ ป.ป.ช. มีการรับผิดรับชอบต่อประชาชนน้อยเกินไป เพราะประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบหรือลงโทษ ป.ป.ช. ได้ค่อนข้างยาก โดยจะเห็นได้จากที่มาของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญปี 50 และ 60 ซึ่งมาจากการสรรหา และคณะกรรมการสรรหานั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวแทนจากศาลซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประชาชน[5] กรณีนี้แสดงให้เห็นว่า ป.ป.ช. น่าจะมีความรับผิดรับชอบต่อกรรมการสรรหาเหล่านี้มากกว่าประชาชน นอกจากนี้ อาจยังมีกลุ่มก้อนทางการเมืองอื่นๆอีกที่อาจมีอำนาจนอกเหนือจากที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญและไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประชาชน แต่กลับมีอิทธิพลต่อการสรรหา ป.ป.ช. ซึ่งอาจจะทำให้ ป.ป.ช. ต้องมีความรับผิดรับชอบต่อกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย หลายฝ่ายอาจออกมาโต้แย้งความคิดเห็นของผู้เขียนโดยกล่าวว่า ป.ป.ช. ในปัจจุบันถูกถ่วงดุลจากหน่วยงานอื่นอยู่แล้ว เช่น ศาลและวุฒิสภา เนื่องจากโดยทั่วไป ป.ป.ช. มีอำนาจแค่การไต่สวนและชี้มูลความผิดของการคอร์รัปชั่นเท่านั้น แต่อำนาจในการตัดสินลงโทษจะอยู่ที่ศาลหรือวุฒิสภา ผู้เขียนคิดว่าการโต้แย้งข้างต้นนั้นถูกต้อง แต่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการถ่วงดุล (Checks & Balances) และกลไกรับผิดรับชอบ (Accountability) นั้นไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกันแบบเป๊ะๆ โดยการถ่วงดุลมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้ผู้เล่นทางการเมืองกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเด็ดขาดทั้งหมด หรือไม่สามารถชงเอง ตบเอง กินเองได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เล่นกลุ่มอื่นๆด้วย (เช่น ป.ป.ช. ไม่สามารถไต่สวนการกระทำผิดเอง ชี้มูลความผิดเอง และตัดสินลงโทษเองได้ แต่ต้องอาศัยอำนาจของศาลและวุฒิสภาด้วย) พูดง่ายๆคือการถ่วงดุลมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครมีอำนาจมากเกินไป (Grant and Keohane 2005, p. 30) ในขณะที่กลไกรับผิดรับชอบนั้นมีไว้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เล่นทางการเมือง "ใช้อำนาจเท่าที่มีให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และตอบสนองต่อคนที่ควรจะตอบสนอง" นั่นเอง ฉะนั้นการออกแบบให้ ป.ป.ช. ถูกถ่วงดุลโดยศาลและวุฒิสภาแม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่อาจจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาการทำงานที่อาจจะขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เขียนจึงขออนุญาติสรุปว่า การมีอยู่ของ ป.ป.ช. เพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชันได้ เพราะ ป.ป.ช. อาจมีปัญหาในการดำเนินงานเพราะขาดกลไกรับผิดรับชอบที่ดี จุดนี้เองนำเราไปสู่คำถามถัดไปที่ว่า แล้วเราจะออกแบบกลไกรับผิดรับชอบของ ป.ป.ช. อย่างไรดี? คำถามนี้เป็นคำถามโลกแตกสำหรับนักรัฐศาสตร์ เพราะเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก และไม่มีคำตอบตายตัว นักรัฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันล้วนแล้วแต่ปวดหัวกับคำถามพื้นฐานที่ว่า "เมื่อเราให้อำนาจคนๆหนึ่งไปแล้ว เราจะตรวจสอบผู้มีอำนาจนั้นอย่างไรดี" ท่านผู้อ่านน่าจะเข้าใจความซับซ้อนของปัญหานี้ได้ง่ายขึ้น หากลองจินตนาการตามผู้เขียนดังนี้ ถ้าเรามีรัฐที่ทำงานไม่ดี วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือก็คือการสร้างองค์กรหนึ่งเพื่อมาตรวจสอบรัฐโดยเฉพาะ เช่น ป.ป.ช. 1 แต่แล้วเราก็จะพบว่า ป.ป.ช. 1 ที่เพิ่งตั้งมาใหม่นั้นอาจจะทำงานไม่ดีเช่นเดียวกัน วิธีการแก้ปัญหาก็คือการตั้ง ป.ป.ช. 2 เพื่อมาตรวจสอบ ป.ป.ช. 1 และหาก ป.ป.ช. 2 ทำงานไม่ดีอีก เราก็ต้องตั้ง ป.ป.ช. 3 เพื่อมาตรวจสอบ ป.ป.ช. 2 เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนนักวิชาการบางคนเรียกปัญหานี้ว่า "กลไกรับผิดรับชอบที่ไม่สิ้นสุด (n-order accountability)" (Schedler 1999) เพื่อหาทางแก้ปัญหา "กลไกรับผิดรับชอบที่ไม่สิ้นสุด" เราอาจจะต้องกลับไปตั้งคำถามว่าใครควรจะเป็นผู้มีอำนาจกลุ่มสุดท้ายที่สามารถตรวจสอบองค์กรที่มีอำนาจตรวจสอบองค์กรอื่นได้ทั้งหมด แน่นอนว่าภายใต้ระบอบประชาธิปไตยคำตอบแรกที่น่าจะผุดขึ้นมาในใจของใครหลายๆคนก็คือ "ประชาชน" ผู้เขียนขอเสนอแนวทางกว้างๆในการทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นและทำให้ ป.ป.ช. มีความรับผิดรับชอบต่อประชาชนที่เข้มแข็งขึ้น ดังนี้
วิธีการแรกคือการทำให้กลไกรับผิดรับชอบสายที่ 1 มีความเข้มแข็งขึ้น ผ่านการทำให้กระบวนการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีความโปร่งใสมากขึ้น หรือการทำให้กรรมการสรรหามีความรับผิดรับชอบต่อประชาชนมากขึ้น อาทิ การเพิ่มจำนวนของกรรมการสรรหาที่มีส่วนประกอบมาจากผู้เล่นที่มีความรับผิดรับชอบต่อประชาชน เช่น ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือ ส.ส. ฝ่ายค้าน เป็นต้น ถ้าหากกังวลว่าผู้เล่นที่มีความรับผิดรับชอบต่อประชาชนกลุ่มนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล เราก็สามารถกำหนดคุณสมบัติของกรรมการสรรหาให้มีความชัดเจนและเข้มข้นขึ้นเพื่อคัดกรองคนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลออกไปได้ หรืออาจจะไม่ให้กรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจตรวจสอบคดีเป็นการชั่วคราวก็ได้ หรือถ้าหากไม่อยากเปลี่ยนสัดส่วนของกรรมการสรรหา กรรมการสรรหากลุ่มเดิมก็ควรจะมีความรับผิดรับชอบต่อประชาชนมากขึ้น เช่น ประชาชนควรตั้งคำถามกับการทำงานของศาลและวิพากษ์วิจารณ์ศาลได้ เพื่อให้ศาลถูกตรวจสอบจากประชาชน วิธีการที่สองคือการทำให้กลไกรับผิดรับชอบสายที่ 2 มีความเข้มแข็งขึ้น หรือก็คือการทำให้ประชาชนตรวจสอบ ป.ป.ช. ได้มากขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างที่สามารถทำได้ เช่น การให้ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดการตัดสินคดีต่างๆให้รวดเร็วมากขึ้น ป.ป.ช. ควรจะตอบคำถามที่สังคมตั้งคำถามให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อีกวิธีการที่น่าจะจำเป็นคือการส่งเสริมให้มีสื่อที่ทำข่าวสืบสวนสอบสวน (Investigative jpurnalism) มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งข้อมูลทางเลือก และสามารถนำหลักฐานและข้อมูลต่างๆที่สื่อนำเสนอมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ ป.ป.ช. เปิดเผย (แน่นอนว่าแนวทางนี้ย่อมมาพร้อมกับการรับประกันสิทธิและเสรีภาพของสื่อที่ดี) ถ้าหากมีการดำเนินการตามนี้ ผู้เขียนมองโลกในแง่ดีว่าน่าจะช่วยให้กลไกรับผิดรับชอบของ ป.ป.ช. ต่อประชาชนมีความเข้มแข็งขึ้น และนำมาซึ่งการทำงานของ ป.ป.ช. ที่มีประสิทธิผลมากขึ้นไม่มากก็น้อย ส่วนเรื่องผลการตัดสินคดีของ พล.อ. ประวิตร นั้นจะออกมาเป็นอย่างไร ผู้เขียนคงไม่สามารถทำนายได้เพราะติดข้อจำกัดเรื่องความรู้และความกล้า อย่างไรก็ดีผู้เขียนหวังว่าความรู้ที่ท่านผู้อ่านได้จากบทความนี้น่าจะช่วยให้ท่านผู้อ่านสามารถวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร
หมายเหตุ: บทความนี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสนทนากับ นศ. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลังจากจบคาบเรียนวิชาทฤษฎีการบริหารการพัฒนา ผู้เขียนขอขอบคุณ นศ. ที่ตั้งคำถามที่น่าสนใจกับผู้เขียนมา ณ ที่นี้ด้วย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 รัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2558) การประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชั่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. Grant and Keohane (2005) 'Accountability and Abuse of Power in World Politics', American Political Science Review, 99 (1), pp. 29-43. Schedler (1999) Conceptualizing accountability, in The self-restraning state: power and accountability in new democracies. London: Lynne Rienner. Transparency International (2000) Corruption Perceptions Index 2000. Available from: https://www.transparency.org/research/cpi/cpi_2000/0 (28 January 2018). Transparency International (2016) Thailand: Corruption Perceptions Index. https://www.transparency.org/country/THA# (28 January 2018).
เชิงอรรถ [1] จริงๆแล้ว CPI เป็นดัชนีที่ค่อนข้างหยาบ ผู้เขียนตระหนักถึงจุดอ่อนข้อนี้ของ CPI ดี แต่ผู้เขียนมีความต้องการยก CPI มาเป็นตัวอย่างเพราะเห็นว่าเป็นดัชนีที่คนทั่วไปรู้จักและทำความเข้าใจได้ง่าย [2] ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา CPI ได้เปลี่ยนฐานการให้คะแนนจากเดิมที่มีคะแนนเต็ม 10 คะแนน มาเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงแล้วในปี 2543 ประเทศไทยจะได้คะแนน 3.2 จาก 10 คะแนน แต่ผู้เขียนขออนุญาติปรับฐานของคะแนนให้ตรงกับปี 2559 เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ จึงทำให้ในปี 2543 เมื่อเทียบจากฐานคะแนนเดียวกับปี 2559 แล้ว ประเทศไทยจะได้คะแนนที่ 32 คะแนนจาก 100 [3] ยิ่งคะแนนต่ำและอันดับสูงยิ่งมีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นที่แย่ [4] สิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านควรจะทำความเข้าใจคือ กลไกรับผิดรับชอบ หรือ Accountability นั้นแตกต่างค่อนข้างมากจากความรับผิดชอบ หรือ Responsibility เพราะ Accountability คือความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เล่นสองกลุ่มเป็นต้นไป โดยผู้เล่นกลุ่มหนึ่งสามารถใช้อำนาจกดดันให้ผู้เล่นอีกกลุ่มทำงานให้ดี ในขณะที่ Responsibility เป็นศีลธรรมส่วนบุคคลไม่เกี่ยวข้องกับผู้เล่นกลุ่มอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วการจะทำให้รัฐเกิด Responsibility นั้นทำได้ยาก นักวิชาการจำนวนมากจึงให้ความสำคัญกับการสร้างกลไก Accountability เพื่อสร้างแรงจูงใจให้รัฐทำงานให้ดีมากกว่า [5] รัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า "ให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนห้าคนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร" และรัฐธรรมนูญปี 2560 กำหนดให้กรรมการสรรหา ป.ป.ช. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลปกครองสูงสุด และบุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||
Posted: 29 Jan 2018 08:40 PM PST เลื่อนเลือกตั้งอ้างไม่สงบ รัดทะทำมะนูญพูนอำนาจ พูดอย่างทำอย่างเดินลอยหน้า คืนความสุขยัดเยียดทุกข์รุกสิทธิ์ นี่ก็ว่าจะตั้งพรรคการเมือง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น