ประชาไท | Prachatai3.info |
- หมายเหตุประเพทไทย #191 หนังสือแสดงกิจจานุกิจเข้าข่ายสารานุกรมแค่ไหน?
- เนปาลประท้วงไม่พอใจรัฐบาลเก่ายื้อเวลาไม่ลงจากอำนาจหลังแพ้เลือกตั้ง
- เลขา ป.ป.ช. เผยยังไม่มีการหารือปรับเกณฑ์การรับของมีค่า
- คนทำงาน ธันวาคม 2560
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 ม.ค. 2561
- โพลล์ระบุคนเชื่อปี 2561 การเมืองเหมือนเดิม-ยังไม่นิ่ง
- บอร์ด สปสช.เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาใหม่ 5 กลุ่มโรค 7 รายการ
- พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: การศึกษาเพื่อเสรีภาพ
- ละคร และ การก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตย
- สุรพศ ทวีศักดิ์: อิทธิพลทางความคิดของพุทธไทยที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตย
หมายเหตุประเพทไทย #191 หนังสือแสดงกิจจานุกิจเข้าข่ายสารานุกรมแค่ไหน? Posted: 07 Jan 2018 06:39 AM PST หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึง "หนังสือแสดงกิจจานุกิจ" ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ซึ่งตีพิมพ์ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2410 หรือกว่า 150 ปีมาแล้ว นับว่าถือกำเนิดขึ้นในห้วงที่มีการขยายตัวของสิ่งพิมพ์และวิทยาการตะวันตกในสยาม หนังสือแสดงกิจจานุกิจมีความน่าสนใจตรงที่เป็นความพยายามของชนชั้นนำในสยามในการโต้แย้งความรู้และความเป็นสมัยใหม่ที่เริ่มแพร่ขยายเข้ามาโดยชาวตะวันตก อย่างไรก็ตามอาจจะห่างไกลจากการเป็น "สารานุกรม" และหนังสือ "วิทยาศาสตร์" เล่มแรกของไทย ด้วยเนื้อหาของหนังสือเป็นไปในทางผูกแนวคิดพุทธศาสนาไปในทางวิทยาศาสตร์มากกว่า ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เนปาลประท้วงไม่พอใจรัฐบาลเก่ายื้อเวลาไม่ลงจากอำนาจหลังแพ้เลือกตั้ง Posted: 07 Jan 2018 12:46 AM PST เนปาลมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาในช่วงวันที่ 26 พ.ย.- 7 ธ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งผู้ที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายกับพรรคสายเหมาอิสต์ แต่ทว่าจนถึงตอนนี้แล้วรัฐบาลเดิมจากพรรคเนปาลีคองเกรสก็ยังไม่มีทีท่าจะลงจากอำนาจ สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนรวมถึงผู้สนับสนุนพรรคคองเกรสเอง การเลือกตั้งในเนปาลเมื่อช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ที่มาภาพ: European Union Election Observation Mission to Nepal, 2017 6 ม.ค. 2561 สื่ออัลจาซีรารายงานเรื่องความไม่พอใจของประชาชนในกรณีที่รัฐบาลเก่าของเนปาลยังไม่ยอมเปลี่ยนผ่านทางอำนาจแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งที่ทำให้พรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะเมื่อเดือน ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา การเลือกตั้งในช่วงวันที่ 26 พ.ย.- 7 ธ.ค. 2560 สร้างความหวังให้กับเนปาลว่าจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้งได้ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลทำให้มีผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนกันในกรุงกาฐมาณฑุ โดยกลุ่มนักศึกษาที่เดินขบวนเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เชอร์ บาฮาดอร์ เดโอบา จากพรรคเนปาลีคองเกรสออกจากตำแหน่ง และให้มีการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจสู่พรรคฝ่ายซ้ายของเนปาลที่ได้รับชัยชนะอย่างท้วมท้นโดยเร็ว ตามรัฐธรรมนูญของเนปาลแล้วนายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ตำแหน่งได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดตั้งทั้งสภาบนและสภาล่างสำเร็จ ซึ่งเดโอบาบอกว่าเขาจะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งสภาบนสำเร็จโดยจะมาจากการโหวตของผู้แทนรัฐต่างๆ และมี 3 ที่นั่งที่จะมาจากการต่งตั้งโดยประธานาธิบดีจากการเสนอชื่อของรัฐบาล แต่ถึงแม้ว่าจะมีการโหวตสภาบนไปแล้วก็ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จเนื่องจากปัญหาด้านการบริหารจัดการ โดยที่นักวิจารณ์กล่าวหาว่าเดโอบาพยายามยื้อเวลาเพื่อหาทางแยกพรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายออกจากกันซึ่งจะทำให้พวกเขายึดกุมอำนาจต่อไปได้ ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 2560 มีนักศึกษารวมตัวกันหน้ารัฐสภาโดยที่มีกำลังตำรวจอยู่หนาแน่น ผู้ประท้วงตะโกนขับไล่บอกให้รัฐบาลรักษาการออกไปได้แล้ว นอกจากนี้พวกเขายังไม่พอใจเรื่องการขึ้นราคาเชื้อเพลิงด้วย ในการประท้วงก่อนหน้านั้นนึ่งวันก็มีการเผาหุ่นจำลองของเดโอบาและมีการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่การประท้วงหน้าโรงเรียนรัฐในกาฐมาณฑุ นาบินา ลามา หนึ่งในผู้จัด หนึ่งในผูจัดการประท้วงกล่าวให้สัมภาษณ์ต่ออัลจาซีราว่า รัฐบาลรักษาการจากพรรคเนปาลีคองเกรส "บ่อนทำลายและเป็นภัยต่อประชาธิปไตยในเนปาล" และบอกว่าพวกเขาจะประท้วงต่อไปจนกว่ารัฐบาลรักษาการนี้จะลงจากตำแหน่ง พรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายต่างก็ชนะการเลือกตั้งได้รับที่นั่งเสียงข้างมากในสภาล่าง โดยที่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาลหรือยูเอ็มแอล (UML) ได้ไป 121 ที่นั่ง ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์สายเหมาอิสต์ได้ไป 53 ที่นั่ง ขณะที่เนปาลีคองเกรสได้ไป 63 ที่นั่ง ฝ่ายซ้ายทั้งสองพรรคยังชนะที่นั่ง 6 ใน 7 ของผู้แทนรัฐจากการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นที่จัดขึ้นพร้อมกันในการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิราวร้อยละ 68.63 มีผู้คนในหมู่บ้านบนเทือกเขาหิมาลัยที่ห่างไกลเดินทางหลายชั่วโมงบ้างก็เดินเท้าเปล่าผ่านหิมะเพื่อที่จะได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บรรณาธิการสื่อกาฐมาณฑุโพสต์ อะคิลเลช อุปาติไย กล่าวว่าตัวเขาเองก็ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแต่ก็ไม่พอใจอย่างมากที่การเปลี่ยนผ่านอำนาจดูจะใช้เวลาเนินนานแทบจะเป็นตลอดกาลทำให้ผู้ไปใช้สิทธิคนอื่นๆ ผิดหวังด้วย อัลจาซีราระบุว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีความสำคัญต่อเนปาลในฐานะที่จะเป็นความหวังในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นหลังจากที่พวกเขาผ่านวิกฤตและการเปลี่ยนผ่านมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามกลางเมืองที่จบลงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว พวกเขาสามารถโค่นล้มระบอบกษัตริย์อิงศาสนาฮินดูลงได้หลังจากนั้นสองปี เคยมีความขัดแย้งในช่วงร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ที่มีชนกลุ่มน้อยชาวมาเดซีประท้วงอย่างหนักเนื่องจากในรัฐธรรมนูญใหม่ของเนปาลมีการกีดกันเลือกปฏิบัติกับพวกเขา รวมถึงปัญหาจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ทำให้มีคนเสียชีวิต 9,000 ราย เนปาลีคองเกรสที่ได้รับอำนาจตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2560 ตามข้อตกลงการแบ่งสรรอำนาจ ราม จันดา เปาเดล เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคกล่าวว่าพวกเขาจะลงจากตำแหน่งหลังจากที่มีการจัดตั้งสภาสูงสำเร็จ ขณะที่พรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายโต้แย้งว่าพรรคเนปาลีคองเกรสไม่มีอาณัติในการตัดสินใจเรื่องนี้ นั่นนำมาซึ่งข้อสงสัยจากบก.สื่อกาฐมาณฑุโพสต์ว่ารัฐบาลรักษาการของเนปาลีคองเกรสมี "วาระซ่อนเร้น" อยู่หรือไม่ อุปาติไยตั้งข้อสงสัยว่าเนปาลีคองเกรสอาจจะอาศัยส่วนที่กำกวมในรัฐธรรมนูญอ้างทำให้พรรคเหมาอิสต์หันมาจับมือกับตัวเองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแล้วละทิ้งพันธมิตรเดิมอย่างพรรค UML เป็นวิธีการสืบต่ออำนาจอีกแบบหนึ่ง เรียบเรียงจาก Frustration simmers as Nepalis await new government, Roshan Sedhai & Zaheena Rasheed, Aljazeera, 07-01-2018 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลขา ป.ป.ช. เผยยังไม่มีการหารือปรับเกณฑ์การรับของมีค่า Posted: 07 Jan 2018 12:05 AM PST เลขา ป.ป.ช. เผยยังไม่มีการหารือปรับเกณฑ์การรับของมีค่า ชี้ข้อเสนอของ 'วิษณุ' เป็นเพียงความเห็นระบุต้องรับฟังความเห็นรอบด้าน ส่วนอดีตประธาน ป.ป.ช. หนุนแนวคิดปรับรับเกณฑ์ทรัพย์สินเพิ่มจาก 3,000 บาท 7 ม.ค. 2561 นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุถึงความเห็นของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ระบุควรจะมีการปรับเกณฑ์แก้กฎหมาย ป.ป.ช.เกี่ยวกับจำนวนเงินการรับของมีค่าไม่เกิน 3,000 บาท ให้ทันกับยุคสมัย ว่า ยังไม่เคยมีการหารือเรื่องดังกล่าวในการประชุม ป.ป.ช. แต่ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายกำลังร่างแก้ไขประกาศ ป.ป.ช. ที่จะต้องประกาศใช้ตามรัฐธรรมนูญใหม่ จึงยังไม่ทราบว่าเกณฑ์จำนวนเงินในการรับของมีค่า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่รัฐ จากเดิม 3,000 บาท จะถูกบรรจุไว้หรือไม่ นายวรวิทย์กล่าวว่าข้อเสนอของนายวิษณุเป็นเพียงความเห็นหนึ่งที่ต้องขอบคุณ แต่หลักการทำงานของ ป.ป.ช. เมื่อจะมีการยกร่างกฎระเบียบใดจะต้องรับฟังความเห็นของหลายๆ ฝ่ายให้เกิดความรอบคอบรอบด้าน อีกทั้งเรื่องเกณฑ์การรับของมีค่า มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้นการรับฟังความเห็นน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด "คงไม่ถึงขั้นต้องเปิดเวทีรับฟัง เพียงแต่ฟังเสียงสะท้อนแนวคิดนี้จากสังคม เพราะเรื่องนี้บางคนก็บอกตัวเลข 3,000 บาท มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2542 ควรปรับปรุง แต่บางคนการให้ประมาณนี้ เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ส่วนตัวมองว่า เกณฑ์ที่มีอยู่เดิม ก็ยังมีความเหมาะสมอยู่" นายวรวิทย์ กล่าว นายวรวิทย์ กล่าวอีกว่า สำนักกฎหมาย ป.ป.ช.ที่รับผิดชอบในการร่างกฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับใหม่ จะดูอนุบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และในการพิจารณากฎหมาย จะดูความสำคัญก่อนหลัง เรื่องเกณฑ์การรับของมีค่า น่าจะจัดอยู่ในความสำคัญลำดับท้าย เนื่องจากสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญลำดับแรก คือ เรื่องของระบบการทำงานขอ งป.ป.ช. ที่ตามรัฐธรรมนูญมีการกำหนดเงื่อนไขเวลาที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ป.ป.ช.จึงต้องมีการปรับระเบียบวิธีการและระยะเวลาในการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 'ปานเทพ' หนุนแนวคิดปรับเกณฑ์รับทรัพย์สินเพิ่มจาก 3,000 บาท ด้านนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) อดีตประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงข้อเสนอให้แก้ไขประกาศ ป.ป.ช. เพื่อเพิ่มมูลค่าให้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่รัฐ จากเดิม 3,000 บาท ของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีว่าในอดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยมีการหารือ เพื่อให้แก้ไขประกาศดังกล่าว ให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงของค่าครองชีพในปัจจุบัน เพราะประกาศของ ป.ป.ช.ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2542 แล้ว จึงอาจล้าสมัยไปบ้าง และมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็เสนอให้แก้ไข ดังนั้นจึงมีเหตุผล หาก ป.ป.ช.จะปรับตัวให้เข้ากับความจริงของสังคม "ของบางอย่างตอนนี้มีราคาสูง บางทีรับผู้รับก็อาจจะไม่รู้ราคาที่แท้จริงจึงจะเป็นปัญหาซึ่งผมเห็นว่าประกาศเก่ามีมานานแล้ว สมควรจะต้องปรับและหากปรับตอนนี้ก็มีเหตุผลเงิน 3,000 บาท ในสภาพปัจจุบันถือว่าไม่มากถ้าเทียบกับค่าเงินในอดีต" นายปานเทพกล่าว อย่าไรก็ตามนายปานเทพกล่าวว่าในกรณีการรับของที่มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท ในปัจจุบันที่ยังคงใช้ประกาศฉบับเดิมอยู่ผู้รับสามารถโอนสิ่งของนั้นให้เป็นของหน่วยงานได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำผิดกฎหมาย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 06 Jan 2018 11:49 PM PST |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 ม.ค. 2561 Posted: 06 Jan 2018 11:22 PM PST
เตือนภัย !! หนุ่มแสบใช้เฟซบุ๊กหลอก 8 คนไทยไปทำงานเกาหลีใต้ ก่อนเชิดเงินหนีกว่า 1 แสนบาท วันที่ 7 ม.ค. 2561 นางนิธิอร บุญญานุสิทธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ไปที่บ้านเลขที่ 208 บ้านสองห้อง หมู่ที่ 9 ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา เพื่อพบกับกลุ่มแรงงานชาวไทย 8 คน ที่ถูกมิจฉาชีพใช้เฟซบุ๊กหลอกลวงว่าจะช่วยให้ไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ จนเสียทรัพย์สินกว่า 140,000 บาท โดยได้ทำการรวบรวมเอกสาร และหลักฐานของการหลอกลวง ได้แก่ บัญชีธนาคารผู้รับโอนเงิน, หน้าเฟซบุ๊กมิจฉาชีพ, สลิปการโอนเงิน, ข้อความแชทคุยกัน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชุมพวง ให้เร่งทำการสืบสวนหามิจฉาชีพรายนี้มาดำเนินคดี โดยนางบุญเลิศ อาจดี อายุ 36 ปี หนึ่งในผู้ที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2560 ได้เข้าไปพบข้อมูลในเฟซบุ๊กของชายหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า "ก้องภพ ป้องคำลา" ที่มีข้อความโฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถช่วยให้คนว่างงานเดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับทำการเกษตร ประกอบกับขณะนั้นตนก็กำลังหางานทำอยู่ จึงรู้สึกสนใจและลองติดต่อทางเฟซบุ๊กดู จนได้มีการทักแชทคุยกัน จึงตกลงว่าจะต้องไปทำพาสปอร์ต ส่งไปให้เขา พร้อมกับเอกสารต่างๆ เพื่อที่จะจองตั๋วเครื่องบินให้ โดยตกลงราคาค่าดำเนินการ และค่าตั๋วเครื่องบินไป คนละ 17,000 บาท จึงทำให้ตนรีบไปกู้ยืมเงินนอกระบบ รวมทั้งนำที่นาไปจำนองไว้ เพื่อเอาเงินมาใช้ในการเดินทาง ต่อมามีญาติอีก 5 คนหลงเชื่อด้วย รวมทั้งตนเป็น 6 คน จึงได้พากันโอนเงินไปให้คนละ 17,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เลขบัญชี 408-006102-0 ชื่อบัญชี ก้องภพ ป้องคำลา ต่อมาก็มีเพื่อนบ้านที่รู้จักกันชาว จ.ขอนแก่น สนใจร่วมเดินทางไปด้วยอีก 2 คน จึงโอนเงินไปให้อีกคนละ 20,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น กว่า 142,000 บาท โดยได้มีการนัดเวลาเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 หลังจากนั้นก็ได้มีการติดต่อพูดคุยกับนายก้องภพอย่างต่อเนื่อง แต่ต่อมาเมื่อใกล้จะเดินทาง นายก้องภพก็ได้ปิดเฟซบุ๊กหนี ไม่สามารถติดต่อได้ จึงได้รู้ว่าโดนมิจฉาชีพหลอกลวงเสียแล้ว และได้เข้าไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชุมพวง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 เพื่อให้อายัดบัญชีธนาคารไว้ พร้อมกับให้สืบสวนหาตัวคนร้ายรายนี้มาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ด้านนางสาวกนกพร ฉลอยฉิม อายุ 24 ปี ผู้เสียหายอีกราย เปิดเผยว่า ตนเองนั้นทำงานเป็นพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แต่ด้วยความจนบังคับจึงอยากได้งานใหม่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะต้องการนำเงินมาสร้างบ้านให้แม่อยู่อาศัย พอได้ยินข่าวจากญาติที่มาเล่าให้ฟังเรื่องไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ จึงรู้สึกสนใจ และนำสร้อยคอทองคำน้ำหนัก 2 บาท ไปขาย เพื่อที่จะได้เงินมาใช้เป็นค่าเดินทาง ต่อมาเมื่อใกล้จะเดินทาง จึงได้รู้ว่าถูกหลอก ทำให้เสียใจมาก เพราะเสียเงินเสียทองไปแล้ว หลังจากนี้ก็จะระมัดระวังตัวไว้ ถ้าอยากไปทำงานก็จะไปติดต่อที่สำนักงานจัดหางาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินทางไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายดีกว่า นางนิธิอร กล่าวว่าคดีแรงงานไทยถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศลักษณะนี้ มีให้เห็นบ่อยครั้ง ซึ่งทุกวันนี้มิจฉาชีพได้ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่สามารถเชื่อต่อกับเหยื่อได้ง่าย รวมทั้งยังสามารถปลอมแปลงชื่อ ที่อยู่ อาชีพ เพื่อสร้างเป็นโปรไฟล์หลอกให้ดูน่าเชื่อถือ แต่สุดท้ายเมื่อหลอกเหยื่อได้เงินมาก็จะเปิดโซเชียลหนีไปอย่างลอยนวล จึงอยากฝากเตือนแรงงานไทยที่อยากจะไปทำงานในต่างประเทศ ก่อนโอนเงินไปให้ ควรตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ว่าบุคคล หรือหน่วยงานนั้นๆ ได้รับการรับรองจากกรมจัดหางานหรือไม่ ถ้าจะให้ดีก็ให้มาติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ซึ่งจะมีข้อมูลของบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับติดตามข้อมูลข่าวสาร ที่จะมีการจัดนัดพบแรงงานเพื่อให้บริษัทจัดหางาน และแรงงานได้มาพูดคุยกัน ซึ่งจะทำให้สามารถได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมายด้วย องค์การลูกจ้างชี้ขึ้นค่าแรง 15 บาท อย่างเดียวไม่พอ วอนรัฐคุมค่าครองชีพ ดูแลสวัสดิการ รายได้อื่นเพิ่มด้วย นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือแรงงานด้วยการเตรียมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 15 บาทนั้น เห็นว่าต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมราคาสินค้า ค่าครองชีพไม่ให้พุ่งสูงเป็นเงาตามตัวหลังขึ้นค่าแรง "ต่อให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกกี่บาทก็ยังไม่พออยู่ดี ตราบใดที่ยังไม่ควบคุมราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งแรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ด้วยแค่ลำพังค่าจ้างขั้นต่ำ แต่อยู่ด้วยสวัสดิการที่เป็นตัวเงินทั้ง ค่ากะ ค่าล่วงเวลา อื่นๆ ที่ต้องไม่ให้มารวมเป็นค่าแรงขั้นต่ำ" นายมนัส กล่าว นายมนัส กล่าวว่าหากเทียบค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2516-2561 อยู่ที่ 310 บาท อาจเทียบไม่ได้กับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงที่เพิ่งจะ ขยับแบบก้าวกระโดดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นนอกจากค่าแรงขั้นต่ำแล้วยังต้องพิจารณาเรื่องสวัสดิการและรายได้อื่นให้สอดรับด้วย นอกจากนี้ ยังควรปรับแก้กฎระเบียบเพิ่มเติมเรื่องค่าจ้างแรกเข้า ที่เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีทักษะฝีมือแรงงานที่เพิ่มขึ้นแล้วก็ควรจะกำหนดให้เพิ่ม ค่าจ้างตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ยึดแต่เพียงค่าจ้างขั้นต่ำ ที่จะทำให้ลูกจ้างซึ่งทำงานมานานแล้วได้เงินเดือนเท่ากับลูกจ้างที่เพิ่งเข้าใหม่ ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังมอบนโยบายให้กับคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงที่กระทรวงยุติธรรมว่าได้ให้ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยให้ยึดจากฐานค่าแรงขั้นต่ำมาเป็นค่าเฉลี่ย และอาจมีการช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพที่ไม่ใช่รูปแบบตัวเงินเพียงอย่างเดียว ทั้งหมดต้องเห็นความคืบหน้าภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน ระบุว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำจากสามฝ่าย (ไตรภาคี) เรียกประชุมบอร์ดชุดใหญ่ที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน เพื่อหารือและมีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำภายในไม่เกินวันที่ 15 ม.ค.นี้ โดยค่าแรงปรับใหม่มีผลทันทีสิ้นเดือนนี้ ขณะที่นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า อาจมีการปรับค่าแรงขึ้นมากกว่า 15 บาท หลังจากไม่ได้ขึ้นมา 3 ปี โดยจะปรับขึ้นทีเดียวทั่วประเทศ เปิดตัว "JOBBOX" ตู้บริการจัดหางานได้ทันที เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 ที่โรงแรมไอ โฮเท็ล อ.เมือง จ.นครพนม พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิด "โครงการเดือนแห่งการมีงานทำ น้อมนำศาสตร์พระราชา" ซึ่งกรมการจัดหางาน จัดขึ้น โดยมี นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวรายงาน พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามแนวทางประชารัฐเพื่อส่งมอบความสุขให้แก่ประชาชนในการสร้างงาน สร้างอาชีพในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยกระทรวงแรงงานได้มอบของขวัญปีใหม่ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง และประชาชนรวม 9 ชิ้นภายใต้แนวคิด 9 ชื่นบานแรงงานชื่นใจ โดยหนึ่งในของขวัญคือชื่นมื่นมีงานทำ จับคู่คนให้ตรงกับงาน จัดหางานให้ตรงใจ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำ รวมทั้งผู้สูงอายุและคนพิการได้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งการส่งเสริมการมีงานทำเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ความตอนหนึ่งว่า "การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกิน พอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้โดยแน่นอน..." รมว.แรงงานกล่าวอีกว่าการจัดงานครั้งนี้จะส่งผลให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นำไปสู่สังคมคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายประชารัฐ ส่งเสริมให้คนไทยทุกคนมีงานทำถ้วนทั่วกันทุกช่วงวัย ก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลาง มุ่งสู่การมีรายได้สูงอย่างมีเสถียรภาพ นำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในที่สุด ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและภาคเอกชน กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนัดพบแรงงาน ซึ่งมีนายจ้างเข้าร่วมสัมภาษณ์งานประมาณ 26 แห่ง ตำแหน่งงานว่างกว่า 1,000 อัตรา การสาธิตอาชีพที่น่าสนใจแก่คนรุ่นใหม่พร้อมแนะนำแหล่งเงินทุน การทดสอบความพร้อมทางอาชีพ การแนะแนวอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน การให้คำปรึกษาด้านแรงงาน ตลอดจนการดูแลคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน นายจ้างสถานประกอบการให้ได้รับความเป็นธรรมและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคม ทั้งนี้ "โครงการเดือนแห่งการมีงานทำ น้อมนำศาสตร์พระราชา" จะจัดขึ้นอีกในจังหวัดอื่นๆ ในทุกภาคของประเทศไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2561 "ที่สำคัญกรมการจัดหางานได้นำ "ตู้งาน" (Jobbox) ซึ่งเป็นตู้ที่อำนวยความสะดวกในการให้บริการจัดหางาน เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถค้นหาตำแหน่งงานที่ตรงกับใจและสมัครงานได้มากกว่า 1 แห่ง พร้อมกับ Matching งานได้ทันทีอีกด้วย ซึ่งสามารถจับคู่คนให้ตรงกับงาน จัดหางานให้ตรงใจได้อย่างรวดเร็วทุกที่ ทุกเวลา โดย "Jobbox" จะไปให้บริการในพื้นที่ชุมชนทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อไป" รมว.แรงงาน กล่าว กพร.อบรม รปภ.หลักสูตร 60 ชม.ยกระดับปลอดภัย นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าจากการที่พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยพ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มีมาตรฐานในการประกอบธุรกิจ ทางกระทรวงแรงงานจึงพัฒนาหลักสูตรอบรม รปภ. สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมจะมีการปรับให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยพ.ศ. 2558 เบื้องต้นใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 60 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้น บทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย กฎหมายเบื้องต้น การบรรเทาสาธารณภัย การจราจร วิชาการทหาร การพัฒนาบุคลิกภาพ และการพัฒนาทักษะสื่อสาร เป็นต้น การดำเนินการของกพร.ในครั้งนี้ นอกจากจะมีส่วนในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนทำงานอย่างมั่งคงแล้ว ยังมีส่วนในการสนับสนุนการช่วยเหลือให้ธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยมีความเข้มแข็งสร้างความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนได้ ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 6/1/2561 ประกันสังคม พร้อมช่วยเหลือผู้ประกันตนตกงาน นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง สถานการณ์ในปัจจุบันที่สถานประกอบการบางแห่งมีการปิดกิจการ ทำให้มีลูกจ้าง ผู้ประกันตน ถูกเลิกจ้าง ในขณะที่ผู้ประกันตนบางส่วนออกจากงานเอง ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความเป็นห่วงลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน โดยได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานให้การช่วยเหลือดูแล ลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือออกจากงานอย่างเต็มที่ สำนักงานประกันสังคมในฐานะที่ดูแลสวัสดิการของผู้ประกันตน จึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือกรณีดังกล่าว ขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวล หากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกก็ตาม และยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ทั้งนี้ต้องไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ทั่วประเทศภายใน 30 วัน หลังถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน หากเกิน 30 วัน จะไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ครบถ้วน และให้เตรียมหลักฐาน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตนไปด้วย สำหรับผู้ประกันตนว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเงินทดแทนในระหว่างว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง ไว้แน่นอน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน นอกจากนี้ หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเองภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ ในอัตราเดือนละ 432 บาท โดยผู้ยื่นคำขอต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ยื่นสมัครด้วยตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th มีเฮ! ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-15 บาทสิ้นเดือน ม.ค.นี้ วานนี้ (4 ม.ค.2561) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวา คณะกรรมการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำจากสามฝ่าย หรือ ไตรภาคี จะหารือเพื่อมีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ภายในไม่เกินวันที่ 15 ม.ค.นี้โดยค่าแรงปรับใหม่มีผลทันทีสิ้นเดือนนี้ตามข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำจะปรับขึ้นเท่าใดนั้น ที่ประชุมไตรภาคี จะพิจารณาจากหลายปัจจัยมาประกอบ เช่น ความเป็นอยู่ของแรงงาน ค่าครองชีพ และผู้ประกอบการ ยังมีกำไร และมีศักยภาพในการลงทุนแข่งขัน รวมถึงค่าแรงของประเทศเพื่อนบ้าน ด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ไม่ได้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาแล้ว 3 ปี ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ปรับขึ้น 310 บาท เพียง 30 จังหวัดซึ่งอัตราที่บอร์ดค่าจ้างไตรภาคี เคยพิจารณาปรับขึ้นระหว่าง 2-15 บาท ซี่งครั้งนี้อาจขึ้นมากกว่า 15 บาท ส.อ.ท.หวั่นขึ้นค่าจ้างกระทบผู้ประกอบการรายเล็ก นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการไตรภาคีจะพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 2-15 บาท ว่า การพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำในส่วนของ ส.อ.ท.ต้องการให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี ยึดตามหลักเกณฑ์ที่เคยดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา และพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการที่เป็นผู้จ้างงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างกัน อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงาน และที่สำคัญ คือ ความสามารถในการจ่ายค่าแรงของผู้ประกอบการแต่ละพื้นที่ด้วย "ส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีค่าครองชีพแตกต่างกันออกไปไม่ได้เท่ากัน หากปรับขึ้นวันละ 15 บาท จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายเล็กที่มีข้อจำกัดความสามารถที่จะจ่ายค่าแรง ที่จริงปัญหาของไทย คือ ผู้ที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำไม่ใช่คนไทย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ แต่ไม่ได้หมายความว่า ส.อ.ท.ต้องการกดค่าแรงแรงงานต่างด้าว สำหรับภาพรวมตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมของไทยปัจจุบันยังอยู่ในภาวะขาดแรงงานมีทักษะ" นายเจน กล่าว นายเจน กล่าวว่า ข้อเสนอของ ส.อ.ท.ในเรื่องแรงงานขณะนี้ คือ แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันกฎหมายตามประกาศ คสช. ก็สมควรที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องการนำแรงงานเข้ามาสู่ระบบให้มีความสะดวก สามารถปฎิบติได้ถูกต้องตามกฎหมาย และดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และจำเป็นต้องเข้าใจบริบทของแรงงานต่างด้าวที่ขณะนี้ประเทศไทยได้ประโยชน์ จึงถือว่าแรงงานต่างด้าวไม่ได้เป็นภาระ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคง ยืนยันว่าแรงงานต่างชาติยังมีความจำเป็น สำหรับเรื่องความมั่นคงก็มีการดำเนินการตามระบบที่ถูกต้องต่อไป พนักงานฟูจิคูระกว่า 1,500 คน กลับมาปักหลักเรียกร้องเงินโบนัส-สวัสดิการต่อ 4 ม.ค. 2561 พ.ต.ท.เฉลียว ปิ่นแก้ว สวป.สภ.เมืองปราจีนบุรี พร้อมด้วย ร.ต.ชาญยุทธ ทนันชัย ผบ.มว.รส.มทบ.12 และนายอลงกต เอี่ยมประไพ ปลัดอำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ , ทหาร และ อส. ดูแลความเรียบร้อย เนื่องจากมีพนักงานบริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งออกต่างประเทศ เลขที่ 118/2 หมู่ 11 ถนนสุวรรณศร ต.บ้านพระ อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จำนวนกว่า 1,500 คน รวมตัวกันตั้งเต็นท์ 8 หลัง ประท้วงต่ออีกครั้งหลังก่อนหน้าเมื่อปลายปี 2560 เคยเรียกร้องขอเพิ่มเงินโบนัส ซึ่งทางบริษัทประกาศให้โบนัส 2.5 บวกเงิน 7,000 บาท แต่พนักงานต้องการ 3.0 บวกเงิน 15,000 บาท และเงินพิเศษตามอายุงานของพนักงาน โดยวันนี้ (4 ม.ค.) หลังกลับจากภูมิลำเนา กลุ่มพนักงานได้ประท้วงเรียกร้องขอเพิ่มเงินโบนัสต่ออีกรอบ โดยรอผลการเจราจาอีกครั้งอย่างเป็นทางการจากแกนนำ / สหภาพแรงงานอยุธยา (สำนักงานใหญ่) พบมีการติดป้ายต่างๆ ใจความว่า เดินหน้าหรือถอยหลังไม่ได้อยู่ที่ขา แต่อยู่ที่ใจ ทั้งนี้ ได้เรียกร้องอย่างสงบ มีกำลังทหารชุด รส.มทบ.12 , กำลังตำรวจ สภ.เมืองปราจีนบุรี และ อส.ดูแลผู้ประท้วง นายอธิษฐ์ ปัณณวัฒนานันท์ ตัวแทนสหภาพแรงงานบริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จะปักหลักรอฟังผลการเจรจาที่ จ.อยุธยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ โดยตัวแทนลูกจ้างได้ยื่นข้อเสนอให้ทางบริษัทเพิ่มโบนัส (3.3 + 15,000) ก่อนหน้านี้ ได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง บริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับผู้แทนลูกจ้าง บริษัท ฟูจิคูระ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.อยุธยา 1. ผู้แทนนายจ้าง ยืนยัน การจ่ายโบนัสในอัตรา 2.8 + เงินพิเศษคนละ 7,000 บาท ตามข้อเสนอไว้วันที่ 18 ธ.ค. 60 หากลูกจ้างยอมรับข้อเสนอเรื่องโบนัสนี้ บริษัทฯ ยินดีจะพิจารณาข้อเรียกร้องอื่น 2. ผู้แทนลูกจ้าง ยืนยัน ข้อเสนอการจ่ายโบนัสตามข้อเสนอเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 60 คือ 2.8 + เงินพิเศษคนละ 7,000 บาท และขอเพิ่มโบนัสพิเศษอีกคนละ 10,000 บาท หากนายจ้างยอมรับข้อเสนอเรื่องโบนัสนี้ ทางฝ่ายลูกจ้างจึงจะเจรจาข้อเรียกร้องอื่นๆ 3. พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ขอให้ทั้งสองฝ่ายกลับไปทบทวนข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งผลการเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ ได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งต่อไปวันที่ 22 ธ.ค. 60 เวลา 10.00 น. ณ สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ล่าสุด เมื่อเวลา 19.45 น. มีรายงานผลการเจรจา ยังไม่เป็นที่ตกลง พนักงานทุกคนยืนยันตามข้อเรียกร้องเดิม และจะใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย ขณะที่ทางโรงงานใช้สิทธิ์ปิดงานปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน ด้านพนักงานก็ใช้สิทธิ์ทางกฎหมายมาประท้วงต่อไป สมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ชี้ส่งออกอิเล็กฯ ปี 2561 ส่งสัญญาณโตบวก นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยปี 2561 ตัวเลขยังคงเป็นบวก คาดว่าจะเติบโตได้ไม่น้อยกว่า 3-6% ต่อเนื่องจากปี 2560 ที่เติบโตราว 8-9% ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญมาจากการที่เทคโนโลยีกลายเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ในทิศทางเดียวกันส่งผลให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปได้ ทั้งแนวโน้มมีความเป็นไปได้ว่านักลงทุนจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ กลุ่มสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องไปกับนโยบายส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ รวมถึงการลงทุนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี นอกจากนี้ บ้านเมืองที่สงบ การเมืองที่มีเสถียรภาพส่งผลให้บรรยากาศโดยรวมเหมาะแก่การทำธุรกิจ ไม่เกิดการตั้งคำถาม อีกด้านนับว่าไทยผ่านเหตุการณ์วิกฤติมาได้หลายครั้งและไม่ได้มีผลกระทบอะไรที่รุนแรง ดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นประเทศที่คาดเดาอนาคตได้ง่าย "ผมได้เห็นสัญญาณที่เป็นบวกมาตั้งแต่ครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว พอครึ่งปีหลังยิ่งเห็นว่าเติบโตได้ดีมากขึ้น ผมเชื่อด้วยว่าด้วยบรรยากาศที่เป็นอยู่ขณะนี้จะส่งผลให้ตลาดเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้โดยทั่วไปบรรยากาศการบริโภคฝั่งคอนซูเมอร์อาจไม่แน่นอน แต่ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่และตลาดหลักเป็นการส่งออกไปทั่วโลกจึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ" ส่วนความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก แต่แม้มีผลกระทบก็คงไม่นาน เนื่องจากโลกธุรกิจยังต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จำเป็นต้องนำไปใช้เพื่อการพัฒนาสู่ยุค 4.0 ในมุมผู้ผลิต ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา คำนึงถึงประเด็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทุกวัน ขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร คำนึงถึงความสุขของคนในองค์กร เพิ่มความเชี่ยวชาญ รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ส่วนภาครัฐ ระยะหลังมานี้เห็นได้ชัดเจนว่ามีการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น นับเป็นช่วงเวลาที่ดี บรรยากาศน่าลงทุนอย่างมาก "นโยบายรัฐบาลที่จะรักษาบรรยากาศให้เป็นบวกมีส่วนสำคัญอย่างมาก หากสามารถรักษาความสงบทางการเมือง การบริหารจัดการภาครัฐที่เร็วมากขึ้นได้ตลอด อุตสาหกรรมก็มีโอกาสเติบโตได้ดีต่อเนื่อง" นายสัมพันธ์ กล่าว เขากล่าวว่า ต่างชาติยังคงเชื่อมั่นต่อประเทศไทย ปัจจุบันไทยยังคงเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์อันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนมากกว่า 50% ทุกวันนี้ยังคงสามารถรักษามาตรฐาน คุณภาพกระบวนการผลิตได้ดีมาต่อเนื่อง 30 ปี สำหรับตัวแปรสำคัญที่จะตัดเชือกว่านักลงทุนจะตัดสินใจเข้ามาหรือไม่ หลักๆ ขึ้นอยู่กับนโยบายระหว่างประเทศซึ่งขณะนี้ชาติต่างๆ ต่างกำลังแข่งขันเพื่อดึงดูดนักลงทุนกันอยู่ ขณะที่ ตัวแปรด้านความเปลี่ยนแปลงของตลาด ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้ผู้ผลิตไม่ได้กังวลมากนัก เนื่องจากภาพที่มองเห็นเป็นบวกดังกล่าว ที่ผ่านมาได้ผ่านเหตุการณ์วิกฤติมามาก จนทุกวันนี้มีแผนงานเพื่อรองรับความไม่แน่นอน พยายามระมัดระวัง รอบคอบ และยืดหยุ่นให้ได้ตามการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ผู้ผลิตได้เริ่มปรับตัว เปลี่ยนแปลงตัวเองมาล่วงหน้าเป็นเวลากว่า 10 ปี เช่นการนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ โดยค่อยๆ ทยอยเข้ามาเป็นระยะ ประเมินขณะนี้การปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของผู้ผลิตรายใหญ่นับว่าทำได้ดีไม่ต่างกับบริษัทในยุโรปหรืออเมริกา ปัจจุบันการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่ 2 รูปแบบหลัก คือ การย้ายฐานการผลิต และด้านเทคโนโลยี 4.0 การลงทุนไอทีที่มองกันอยู่ หลักๆ ขณะนี้คือการนำเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและอนาไลติกส์มาปรับใช้ นอกจากนั้น มีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) มาใช้มากขึ้น โดยรวมจะค่อยๆ ดำเนินการ ทำทันทีเลยไม่ได้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ด้านบุคลากร ต้องพัฒนาต่อเนื่องเช่นกัน บทบาทของสมาคมนายจ้างอิเล็กฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแผนงานรองรับไว้ชัดเจนเสมอ เช่น การสนับสนุนด้านการฝึกอบรม พัฒนาทักษะบุคลากร โดยปกติจะต้องวางแผนล่วงหน้าระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่ง เน้นเรื่องการเพิ่มทักษะใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน เพิ่มสมรรถนะในงานสำคัญที่จะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศ ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 3/1/2561 ห่วงคนไทยออมไม่พอเกษียณ กระตุ้นคนรุ่นใหม่วางแผนการเงิน นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ (จำกัด) เปิดเผยว่า จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอใช้หลังเกษียณ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งยังต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่น เช่น ลูกหลาน สามี/ภรรยา ญาติ/พี่น้อง หรือยังต้องพึ่งพาเบี้ยยังชีพจากรัฐบาล ขณะที่อีกส่วนหนึ่งยังคงต้องทำงานหาเงินเลี้ยงชีพแม้อายุเกิน 60 ปีไปแล้ว โดยมีประชากรประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่มีเงินเก็บเพียงพอหลังเกษียณ สาเหตุหลักมาจากการที่คนไทยไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวและเพิ่งเริ่มสนใจวางแผนเมื่ออายุ 40-45 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการวางแผนเกษียณที่ดีที่จะต้องเริ่มออมและลงทุนให้เร็วที่สุด เพื่อลดภาระในการออมและการลงทุนในช่วงเวลาที่ใกล้เกษียณ ทั้งนี้ บลจ. ทิสโก้ เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเปิดตัวโครงการ "TISCO Smart Retirement สุขทุกวันยันเกษียณ" มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจการวางแผนการเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อการเกษียณอย่างมั่งคั่ง โดยจะเผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงิน อาทิ การออม/ลงทุน การใช้จ่าย และการลดความเสี่ยง ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Smart Saving, Smart Spending, Smart Living และ Smart Insured ผ่านงานสัมมนา กิจกรรมไลฟ์สไตล์ การประกวดชิงรางวัล และเกร็ดความรู้ผ่านเฟสบุ๊ก TISCO Smart Retirement และ Line @TISCOAsset โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทิสโก้และผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญ ผลัดเปลี่ยนมาให้คำแนะนำการวางแผนเพื่อการเกษียณ โดยจะเริ่มจัดกิจกรรมให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของ บลจ.ทิสโก้เป็นลำดับแรก และจะเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปต่อไป นอกเหนือจากกิจกรรมด้านการให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณแล้ว บลจ.ทิสโก้ยังจะเปิดตัวแอพพลิเคชั่น My PVD My TISCO ให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของ บลจ.ทิสโก้สามารถตรวจสอบยอดเงินสะสมและเงินสมทบของตนเองผ่านทางแอพพลิเคชั่นดังกล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นไป บ.มิตซูฯ ยาหอมลูกจ้างให้โบนัส 7.2 เดือน พร้อมเงินพิเศษ หากกลับเข้าทำงาน ความคืบหน้ากรณีบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้สิทธิประกาศปิดงาน เนื่องจากการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานไม่ได้ข้อยุติ ทำให้พนักงานราว 1,800 คน ต้องหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2560 นั้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายโนริคาสึ อิชิคาว่า ประธานบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ ได้ออกหนังสือลงวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ถึงพนักงานทุกคนระบุว่า มีความห่วงใยพนักงานและครอบครัวของพนักงานอันเนื่องจากการปิดงาน จึงประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับทราบเป็นข้อมูลตัดสินใจ ทั้งนี้ การใช้สิทธิปิดงานของบริษัทจนกว่าข้อเรียกร้องสามารถตกลงกันได้ รวมถึงช่วงวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2561 จะไม่ได้รับค่าจ้าง และไม่ได้รับสวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และรางวัลพนักงานดีเด่นที่แต่ละปีละได้สร้อยคอทองคำ หากพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน มิตซูบิชิ ประเทศไทย ประสงค์ขอกลับเข้าทำงานจะคืนสิทธิให้และสวัสดิการทั้งหมดให้ รวมทั้งไม่หักค่าจ้างในวันที่หยุดให้ แต่จะต้องกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ขอกลับเข้าทำงานส่งกลับไปที่บริษัทภายในวันที่ 7 มกราคมนี้ และเพื่อเนขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานที่ขอกลับเข้าทำงาน เบื้องต้นจะจ่ายโบนัสให้ 7.2 เดือน พร้อมเงินพิเศษ 20,000 บาท ภายในวันที่ 12 มกราคมนี้ ด้านนายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ในฐานะที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน มิตซูบิชิ ประเทศไทย กล่าวว่า ข้อเสนอนี้เป็นเพียงยาหอมของนายจ้าง จึงเชื่อว่าพนักงานที่จะกลับเข้าไปทำงานคือกลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ แต่ในส่วนของพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ จะขอรอฟังผลการเจรจากับนายจ้างในวันที่ 8 มกราคมนี้ก่อน กระทรวงการต่างประเทศพบคนไทยตกทุกข์ในต่างประเทศลดลง แต่ยังพบปัญหาเรื่องการไปทำงานควรศึกษาให้รอบคอบ 3 ม.ค.2561 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ในต่างประเทศในปี 2560 ที่ได้รวบรวมจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกทั้ง 97 แห่งว่า มีคนไทยขอรับความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่รวม 10,216 ราย ลดลงกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบปี 2559 ที่มีจำนวน 14,481 ราย ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือที่พบมากที่สุดคือ การให้ความช่วยเหลือในเรื่องการตกทุกข์ทั่วไปอย่างการทำหนังสือเดินทางสูญหาย การส่งคืนทรัพย์สินสูญหายที่ต่างประเทศคืนเจ้าของในประเทศไทย การเจ็บป่วยของคนไทย และการส่งตัวคนไทยตกทุกข์เดินทางกลับประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 จากการให้ความช่วยเหลือทั้งหมด อันดับที่ 2 คือการช่วยเหลือแรงงานไทยตกทุกข์ โดยคิดเป็นร้อยละ 30 และอันดับที่ 3 คือการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกจับกุมโดยเฉพาะกลุ่มหญิงไทยที่ทำงานโดยใช้วีซ่าผิดประเภท คิดเป็นร้อยละ 18 ขณะที่ภูมิภาคที่มีผู้ขอรับความช่วยเหลือมากที่สุดคือตะวันออกกลาง โดยปัญหาที่พบเป็นส่วนใหญ่คือปัญหาหญิงไทยที่ไปลักลอบทำงานเป็นพนักงานนวดสปา อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือจะลดลง แต่ปัญหาคนไทยตกทุกข์ในต่างประเทศก็ยังน่าห่วงกังวลและยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอฝากข้อเตือนและคำแนะนำสำหรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำงานในต่างประเทศหากจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศขอให้ทำประกันการเดินทางไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพหรืออุบัติเหตุเพราะการรักษาพยาบาลที่ต่างประเทศมักมีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจะต้องตรวจสอบสัญญาว่าจ้างงานอย่างรอบคอบและควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั้งกฎหมาย ระเบียบ ประเพณี ของประเทศปลายทาง เพื่อป้องกัน ปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เหนือนำร่องคอร์สดูแลคนแก่ รับสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ หอการค้า 5 ภาค ร่วมลงนาม MOU กับสถาบันการศึกษา เปิดหลักสูตรสร้างอาชีพแคร์กิฟเวอร์ดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มแรงงานคุณภาพป้อนธุรกิจ รับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในอีก 5 ปี นำร่องการสอนภาคเหนือเป็นแห่งแรก เริ่มสอนปี 2561 นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ เปิดเผยว่า การประชุมหอการค้าครั้งล่าสุดได้มีการทำเอ็มโอยู (MOU) ความร่วมมือกันระหว่างหอการค้าทั้ง 5 ภาค และสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 รวมถึงโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท และสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย เพื่อเปิดสอนหลักสูตรสร้างอาชีพการดูแลผู้สูงอายุแห่งแรกในภาคเหนือ ซึ่งตัวเลขจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) บ่งชี้ว่า ภาคเหนือจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนทุกภาคในประเทศไทย ฉะนั้นในภาคเหนือจึงมีความต้องการแรงงานในด้านนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ หลักสูตรที่จะเปิดสอนได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอาชีวศึกษา และสามารถเปิดสอนได้ทั่วประเทศ จึงเป็นระบบทวิภาคีที่ชัดเจน โดยจะมีสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 จังหวัดพิษณุโลก นำร่องเปิดสอนหลักสูตรนี้เป็นสถาบันแรก ซึ่งหลักสูตรนี้ไม่เพียงแต่สร้างอาชีพเท่านั้น ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นจีดีพีได้ เช่น ธุรกิจลองสเตย์ที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่มีผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่มากถึง 4 พันคน นางสาวรัชฎา ฟองธนกิจ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในภาคเหนือประสบปัญหาเกี่ยวกับแคร์กิฟเวอร์ หรือคนดูแลผู้สูงอายุอยู่ 2 ข้อ คือ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่มีคุณภาพ เพราะกลุ่มอาชีพนี้จะต้องมีความรู้มากพอสมควร แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาของประเทศไทยที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ มีเพียงหลักสูตรนอกโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เมื่อเรียนครบ 420 ชั่วโมง ก็รับประกาศนียบัตรสามารถทำงานดูแลผู้สูงอายุได้ ฉะนั้นหลังจากร่วมทำ MOU กรมอาชีวศึกษาต้องรองรับบุคลากรในระดับ ปวช.และ ปวส.เท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนเด็กเกินไปและวุฒิภาวะยังไม่เพียงพอ นางสาวรัชฎากล่าวอีกว่า หากวัดตามการกำหนดระดับของสหประชาชาติ เมื่อมีผู้สูงอายุ 20% ของจำนวนประชากรในประเทศจะก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุในระดับสมบูรณ์ และตอนนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 18% ของประชากร 65 ล้านคน อีกประมาณ 5-6 ปีจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย 151 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และกระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครนายก ทั่วทุกภูมิภาค "หลักสูตรนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก มีสถาบันการศึกษาในภาคใต้ต้องการนำหลักสูตรที่จะเปิดสอนในภาคเหนือไปใช้เพื่อผลิตแคร์กิฟเวอร์ดูแลผู้สูงอายุเช่นกัน เพราะต้องรองรับการลงทุนจากนักลงทุนที่เข้ามาทำลองสเตย์ หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้างลองสเตย์ของกลุ่มทุนคนไทยที่หาดกมลา จังหวัดภูเก็ต ด้วยเงินลงทุนหลายพันล้านบาท ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในเอเชีย เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย คนกลุ่มนี้ก็มีศักยภาพในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านค่าครองชีพที่ถูกกว่าประเทศตัวเอง สามารถเลือกระดับมาตรฐานใช้บริการได้หลากหลายในอนาคต และภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศดีเหมาะกับผู้สูงอายุ" นายสงวน หอกคำ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า สำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถาบันแรกที่ร่วมมือกับหอการค้า พัฒนาหลักสูตรขึ้นมา และจะเปิดสอนในภาคเรียนปี 2561 เป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีความน่าสนใจด้วยการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี สามารถไปฝึกงานหรือปฏิบัติงานอยู่กับสถานประกอบการจริง และผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพได้ทันทีหลังเรียนจบ "คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เรียนต้องมีใจรักในงานบริการ เราจะมีหลักสูตรภาษาให้เรียนทั้งภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ เน้นพัฒนาให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายได้ต่อเดือนไม่น่าจะต่ำกว่า 15,000 บาท สามารถไปทำงานต่อได้ในต่างประเทศ และสิ่งที่จะตามมาหลังจากเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนคือเรื่องของธุรกิจที่จะเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการจัดการดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจอาหารผู้สูงอายุ หรือการท่องเที่ยว นักลงทุนจะกล้ามาลงทุนมากขึ้น เพราะเราสามารถป้อนบุคลากรเข้าไปในระบบได้ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่จะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีการเติบโตได้ในอนาคต" นายสงวนกล่าว ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 2/1/2561
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โพลล์ระบุคนเชื่อปี 2561 การเมืองเหมือนเดิม-ยังไม่นิ่ง Posted: 06 Jan 2018 10:33 PM PST สวนดุสิตโพลล์สำรวจการคาดการณ์ประชาชนปี 2561 ส่วนใหญ่มองการเมืองน่าจะเหมือนเดิมเพราะสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่นิ่ง นักการเมืองยังคงขัดแย้ง แตกแยก แตกความสามัคคี ฯลฯ 7 ม.ค. 2561 สวนดุสิตโพลล์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องการคาดการณ์ของประชาชน ต่อ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ปี 2561 ซึ่งจากสถานการณ์บ้านเมืองในปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้สร้างความหนักใจให้กับประชาชนคนไทยไม่น้อย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะแก้ไขได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารของรัฐบาล ซึ่งในปี 2561 นี้ ประชาชนต่างก็มีความคาดหวังต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล และมีความคาดการณ์ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นไปในทิศทางใด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน โดยจากผลสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,230 คน ระหว่างวันที่ 2-6 ม.ค. 2561 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. ประชาชนคาดการณ์ว่า "การเมืองไทย" ในปี 2561 จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 น่าจะเหมือนเดิม 48.05% เพราะสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่นิ่ง นักการเมืองยังคงขัดแย้ง แตกแยก แตกความสามัคคี ฯลฯ อันดับ 2 น่าจะดีขึ้น 29.51% เพราะรัฐบาลทำงานตามโรดแมป มีประสบการณ์มากขึ้น รู้ปัญหาของบ้านเมือง มีทิศทางในการทำงานชัดเจน กระตุ้นให้ทุกกระทรวงเร่งทำผลงาน ฯลฯ อันดับ 3 น่าจะแย่ลง 22.44% เพราะการเลือกตั้งยังไม่ชัดเจน ยังคงมีการทุจริตคอรัปชั่น รัฐบาลยังถูกโจมตี มีข่าวเชิงลบ ฯลฯ 2. ประชาชนคาดการณ์ว่า "เศรษฐกิจไทย" ในปี 2561 จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1น่าจะดีขึ้น 38.53% เพราะรัฐบาลและภาคเอกชนร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ตัวเลขการค้าการลงทุนส่งสัญญาณที่ดี ธุรกิจต่างๆ มีโอกาสมากขึ้น เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลเร่งแก้ไขอยู่ในขณะนี้ ฯลฯ อันดับ 2น่าจะเหมือนเดิม 31.71% เพราะ ข้าวของแพง ค่าครองชีพสูง ต้องประคับประคอง การเมืองมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ฯลฯ อันดับ 3น่าจะแย่ลง 29.76% เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่ แก้ไขได้ยาก ทั่วโลกเศรษฐกิจไม่ดี ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้า ฯลฯ 3. ประชาชนคาดการณ์ว่า "สังคมไทย" ในปี 2561 จะเป็นอย่างไร? อันดับ 1 น่าจะเหมือนเดิม 44.39% เพราะสังคมไทยยังมีปัญหาหลายเรื่องที่รอการแก้ไข เช่น ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด สังคมมีความเหลื่อมล้ำ ไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ อันดับ 2 น่าจะดีขึ้น 28.05% เพราะคนไทยมีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน ทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบ ภาครัฐมีการรณรงค์ กระตุ้น ให้คนไทยรักและสามัคคี ทำให้สังคมน่าอยู่ ฯลฯ อันดับ 3 น่าจะแย่ลง 27.56% เพราะจากข่าวสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น เศรษฐกิจไม่ดี ต่างคนต้องเอาตัวรอด คนขาดศีลธรรม แตกแยก หลงวัตถุ ฯลฯ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บอร์ด สปสช.เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาใหม่ 5 กลุ่มโรค 7 รายการ Posted: 06 Jan 2018 09:30 PM PST บอร์ด สปสช.อนุมัติสิทธิประโยชน์ยาจำเป็นแต่มีราคาแพง 5 กลุ่มโรค 7 รายการ ช่วยคนไทยเข้าถึงยาใหม่ที่มีความจำเป็นต่อการรักษา ลดเวลาในการกินยา ลดผลข้างเคียง และประหยัดงบประมาณลงได้จำนวนมาก นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 มีมติอนุมัติเพิ่มสิทธิประโยชน์ยาจำเป็นแต่มีราคาแพง 5 กลุ่มโรค 7 รายการ ดังนี้ 1.ยารักษาการติดเชื้อราในกระแสเลือด 1.1 ยา Voriconazole (โวริโคนาโซล) ยาเดิมเพิ่มเติมข้อบ่งใช้ สำหรับรักษาการติดเชื้อราแอสเปอจิรัสระยะลุกลามจากเชื้อราชนิด Fusarium spp. (ฟูซาเรียม) และ Scedosporium spp. (สเก็ดโดสปอเรียม) 1.2 ยา Micafungin (ไมคาฟังกิน) ยาใหม่ใช้เป็นทางเลือก สำหรับรักษาการติดเชื้อราชนิด Invasive candidiasis ที่ดื้อต่อยา Fluconazole (ฟลูโคนาโซล) หรือไม่สามารถใช้ amphotericin B (แอมเธอริซิน บี) ได้ 2.ยา Deferasirox (ดีเฟอราซีร็อกซ์) ยาใหม่ใช้เป็นทางเลือก ยาเพิ่มการขับเหล็กในผู้ป่วยธาลัสซีเมียเด็กที่มีปัญหาการใช้ยาฉีดไม่ได้ผล 3.ยา Raltegravir (ราลทิกราเวียร์) ยาใหม่ใช้ร่วมกับยาเดิม เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อสูตรพื้นฐาน 4.ยา Rituximab (ริทูซิแมบ) ยาใหม่ใช้ร่วมกับยาเดิม เป็นยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด DLBCL ที่เจาะจงเฉพาะเซลล์มะเร็งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา 5.ยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกสายพันธุ์ที่ผลการรักษาดีกว่าเดิม และลดเวลาการกินยาลงจาก 6 เดือนเหลือ 3 เดือน 5.1 ยา Sofosbuvir (โซฟอสบูเวียร์) ยาใหม่ใช้ร่วมกับยาเดิม เป็นยากินในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 5.2 ยาเม็ดผสม Sofosbuvir + Ledipasvir (โซฟอสบูเวียร์ยา + เลดิพาสเวียร์) ยาใหม่ ทดแทนยาเดิม เป็นยาสูตรผสม [SOF/LDV] สำหรับรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีแทนยาชนิดเดิม ทั้งนี้ ยาทั้ง 7 รายการใน 5 กลุ่มโรคนี้ เป็นยาที่คัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านภาระงบประมาณ และมีการต่อรองราคายาในราคาที่ถูกลง เช่น ยา Sofosbuvir (โซฟอสบูเวียร์) จากราคาเม็ดละ 500 บาท เหลือเม็ดละ 130 บาท เป็นต้น "การเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคราคาแพงจะทำให้คนไทยเข้าถึงยาใหม่ที่มีความจำเป็นต่อการรักษา ลดเวลาในการกินยา ลดผลข้างเคียง และประหยัดงบประมาณลงได้จำนวนมาก โดยเฉพาะการบริหารยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังแบบกิน ทำให้ประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 200 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณเหลือพอที่จะเพิ่มยาสิทธิประโยชน์ใหม่ขึ้นมาได้" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: การศึกษาเพื่อเสรีภาพ Posted: 06 Jan 2018 05:53 PM PST
ผลิตผลที่พึงประสงค์ด้านการศึกษาในความหมายของสถาบันการศึกษาแบบฉบับสากลที่สรุปกันได้แล้ว หมายถึง การที่ผู้เรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง วิเคราะห์ด้วยตัวเอง วิเคราะห์ปัญหาเป็น ด้วยวิธีการนี้เท่านั้น ที่สามารถต่อยอดอารยธรรมมนุษยชาติ หรือที่เราเรียกกันว่า "นวัตกรรม" นั่นเอง ในแง่ปรัชญา วัตถุประสงค์ของการศึกษาในอเมริกาหรือโลกตะวันตก ส่วนใหญ่ จึงหมายถึง การปลดล็อก หรือการปลดพันธนาการให้กับมนุษยชาติดีๆ เพราะก่อนหน้าที่มนุษย์จะกลายเป็นผู้มีการศึกษานั้น มนุษย์เสมือนอยู่ในคอกจองจำในหลายๆ ด้าน เช่น จองจำจากจารีต จองจำจากประเพณีวัฒนธรรม หรือแม้การจองจำจากสภาพทางการเมือง ต่อเมื่อมนุษย์ได้รับการศึกษาจนถึงที่สุด การศึกษาก็จะช่วยคลายล็อค หรือปลดล็อคพันธนาการดั้งเดิมที่มนุษย์เคยมี เช่นความกลัวอันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เป็นต้น นี่นับเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ที่เปรียบเสมือนแสงสว่างสาดส่องโลกที่มืดอยู่ให้กลับกลายเป็นสว่าง มองอะไรๆ เห็นชัดเจนมากขึ้น การศึกษาจึงไม่ต่างจากการปลดปล่อยมนุษยชาติจากอุ้งมือหรืออำนาจชั่วร้ายที่ยึดกุมหรือพรากเสรีภาพออกไปจากมนุษย์ ไม่แปลกที่ไม่ว่ารัฐใดๆ ในโลกต่างก็ยืนยันชัดเจนที่จะให้พลเมืองของรัฐนั้นๆ เข้าถึงการศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เว้นเสียแต่รัฐเผด็จการเท่านั้น ที่ในทางลึกแล้วปฏิเสธคุณค่าของการศึกษา ปฏิเสธที่มาและคุณค่าของนวัตกรรมที่ร้อยทั้งร้อยก็อาศัยการศึกษานี่แหละเป็นตัวทำให้เกิด รัฐเผด็จการทำให้การศึกษาเป็นไปในลักษณะการยัดเยียดให้กับผู้เรียน ดังการควบคุมหลักสูตรจากส่วนกลาง รวบอำนาจการเขียนหลักสูตรไว้ที่ส่วนกลางเป็นหลัก ทั้งที่ผู้เรียนเองควรมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นอย่างหลากหลายกว้างขวาง โดยที่แต่ละท้องถิ่นมีฐานข้อมูลดิบ ฐานทรัพยากร ที่สามารถนำมาศึกษาแตกต่างกันไป ด้วยการมีระบบการศึกษาที่ว่ามานี้ จึงเป็นเหตุให้การศึกษาไทยตกอยู่ในสภาวะ "ถอยหลังเข้าคลอง"ในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลยันระดับอุดมศึกษา โดยเป็นระบบที่ล้าหลังที่สุดแม้แต่ในประเทศอุษาคเณย์ด้วยกันจะเปรียบไปไยการศึกษาของประเทศในโลกตะวันตก เนื่องด้วยการศึกษาของไทยเรานั้น มีจุดเน้นไปที่ "อำนาจนิยม" เป็นหลัก ดังที่เราสามารถเห็นจากพื้นฐานการแต่งกายของนักศึกษา การเน้นการบังคับนักเรียนเรื่องทรงผม เป็นต้น ขณะที่ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนเอง โดยเฉพาะอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาเองส่วนหนึ่งพากันทรยศต่ออุดมการณ์ของการเป็นนักวิชาการที่ซื่อตรง ไปขึ้นตรง เป็นบริวาร หรือรับใช้หน่วยงานภาครัฐ ไม่ต่างจากพวกประจบสอพลอ ขุนพลอยพยัก ซึ่งในที่สุดก็ทำให้ตัวนักวิชาการและสำนักของพวกเขาเสื่อมลงๆ ไปเรื่อยๆ งานวิจัยที่เป็นหน้าที่หลักกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า นี้ยังไม่รวมระบบเส้นสาย ระบบอุปถัมภ์หรือระบบพวกพ้องในมหาวิทยาลัย ที่หลายสถาบันปฏิบัติระเบียบแบบศรีธนญชัย เช่น ลงประกาศสำคัญๆ เอาต่อเมื่อเวลาหรือภาวการณ์ที่มีผลได้ผลเสียต่อสถาบันหรือมหาวิทยาลัยได้ผ่านไปแล้ว หากินกันอยู่ในลักษณะนี้ก็มาก ไม่รวมถึงการประเมินผลการศึกษาโดยหน่วยงานเฉพาะของรัฐทางด้านศึกษา ที่ขาดความเด็ดขาด ไร้ความโปร่งใส ชี้แจงหรือรายงานปัญหาของสถาบันการศึกษาเหลานั้น ต่อสาธารณะได้แบบอืดเอามากๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านจึงเห็นได้ว่า สถาบันการศึกษาของไทยแทบไม่ได้สร้างนวัตกรรมใดๆ เกิดขึ้นมาเลย เรามัวไปพะวงเรื่องงบประมาณเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องงบประมาณมีความจำเป็นต่อการศึกษาไทยจริง แต่สิ่งที่เราละเว้นที่จะพูดถึงคือ ทัศนะเชิงอุดมการณ์หรือเชิงปรัชญาของการศึกษา ที่ควรมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองอย่างถึงที่สุด ซึ่งนี่ก็เท่ากับการเกิดนวัตกรรม นั่นเอง ซึ่งก็น่าเสียดายว่าหลายสำนักอุดมศึกษาไทยยังมีกรอบความคิดการเรียนการสอนแบบจารีต ออกแนวท่องจำ เสมือนการท่องจำสูตรคูณ เหมือนเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ทั้งดูเหมือนว่า ประเทศไทยเรามีสถาบันระดับอุดมศึกษาหลายรูปแบบ กลไกการกำกับดูแลก็อาจไม่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าสถาบันใด เป็น "เด็กเส้น"ของหน่วยงานไหน สถาบันด้านการศึกษาทางศาสนาโดยเฉพาะก็มี แต่แล้วก็เลยไม่ทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ใช้มาตรฐานในการดูแลหรือกำกับด้านมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ การอนุญาตให้มหาวิทยาลัยเหล่านั้น เปิดหลักสูตรให้เกร่อได้ทั่วไป แม้กระทั่งถึงในต่างประเทศนั้น แน่ใจได้อย่างไรว่า สถาบันการศึกษาเชื่อมโยงในต่างประเทศมีมาตรฐานขนาดไหน บางทีในแง่นี้ บริบทของการโฆษณาชวนเชื่ออาจมีการนำมาใช้ (หรือไม่?) เพราะอย่าว่าอื่นไกลเลย ไทยเป็นประเทศที่ถูกร่ำลืออยู่เสมอแม้แต่ในดินแดนโลกตะวันตกว่า มีการคอรัปชั่นในสถาบันอุดมศึกษากันสูงมาก โดยการร่ำลือดังกล่าวนี้พวกเขาล้วนมีหลักฐานเชิงประจักษ์ จนไทยแลนด์ กลายเป็นดินแดนฉ้อฉลทางวิชาการชื่อกระฉ่อนโลก ส่วนตัวผมมองว่า คงไม่ทุกสถาบันการศึกษาหรอกที่ชื่อกระฉ่อนเน่าๆ หากปลาเน่าตัวเดียว ก็ย่อมเหม็นทั้งตะข้อง ฉันใดก็ฉันนั้น สกอ.ไม่ควรทำตัว ปากว่าตาขยิบ หากพบปลาเน่าตัวใดก็ควรคัดออกแต่เนิ่นๆ โดยไม่เห็นแก่หน้าใครทั้งสิ้น หรือพูดแค่นี้อาจเป็นเรื่องตลกของคนในวงการศึกษาไทย ที่หัวเราะก้าก เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ชนิดที่เกิดขึ้นประจำมานานแล้ว ไหนๆ ก็เสื่อมทราม เน่าแล้วก็ปล่อยให้เน่าต่อไปดีกว่า ทั้งๆ ที่ข้อมูลการการทุจริตคอร์รัปชั่นในสถาบันอุดมศึกษานั้นมีอยู่มากมายสุดคณา ทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน น่าเศร้าและน่าทุเรศที่ท่านปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาไทยแช่อยู่ในน้ำครำเส็งเคร็งปานนี้ จะไปสอนคน เพื่อให้มีเสรีภาพ อิสรภาพและเกิดนวัตกรรมได้อย่างไร ก็ในเมื่อสถาบันการศึกษาเองยังเอาตัวไม่รอด ต่างเล่นเกมขายผ้าเอาหน้ารอด สร้างภาพลักษณ์เคร่งขรึมทางวิชาการบิดเบือน ไปวันๆ แบบนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ละคร และ การก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตย Posted: 06 Jan 2018 04:59 PM PST
ภายหลังจากการประมูลช่องโทรทัศน์ดิจิตัลไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้เกิดการแข่งขันในระบบขึ้นของช่องโทรทัศน์หน้าใหม่ 'ละคร' เป็นหนึ่งในอาวุธในการต่อสู้กันอย่างดุเดือดของช่องดิจิตัล เพื่อช่วงชิงเรตติ้งให้กับช่องของตนเอง แน่นอนว่า การผลิตละครที่สามารถดึงฐานคนดู แข่งกันสร้างละครเพื่อตัดกำลังและแย่งเรตติ้งกันในหมู่ผู้กำกับและผู้จัดละคร ได้สร้างวัฒนธรรมการผลิตละครแบบใหม่ขึ้นมา ความรุนแรงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือชูโรงในการเรียกแขก ความ 'สะใจ' และ 'เอามันส์ส์ส์' ถูกดึงมาบังหน้าเพื่อสร้างความชอบธรรมในสังคม ผ่านคำว่า ละครสะท้อนสังคม , ก็ชีวิตจริงมันเป็นแบบนี้ อย่าโลกสวยหน่อยเลย (ป้องปากกระซิบ) เราไม่ได้กำลังจะพาทุกท่านเข้าสู่ทุ่งลาเวนเดอร์และฝูงม้าโพนี่คาดโบว์สีรุ้ง แต่เราต้องการชี้เห็นถึงปัญหาของการผลิตละคร ที่ทำลายวัฒนธรรมการวิพากษ์แก่สังคมไทยนั้นกำลังก่นทำลายการพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อยที่สุดละครที่ขาด 'Awearness' ได้ทำลายพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไปด้วยในขณะเดียวกัน ประเด็นการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยนั้นซับซ้อนมากเกินไปในบริบทของสังคมไทย นักวิชาการบางสายก็จะเน้นให้แก้ไขสถาบันต่างๆทางการเมือง แต่สิ่งที่หายไปในการต่อสู้ทางประชาธิปไตยในช่วงที่ผ่านมาคือ 'ชาวบ้าน' ที่จะกลายเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง เกิดอะไรขึ้นกับ ชาวบ้าน เมื่อละครกลายเป็นความบันเทิง และความรู้ในการเข้าสังคม เมื่อละครกลายเป็นบรรทัดฐานให้ชาวบ้านเชื่อและเดินตาม ละคร สามารถกลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างและทำลายประชาธิปไตยได้ในคราวเดียวกัน การผลิตซ้ำค่านิยมจากละคร ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ทำได้จริงซึ่งก็มีลักษณะที่ไม่ได้แตกต่างออกไปจาก Propaganda หรือ โฆษณาชวนเชื่อเลย บทโทรทัศน์สร้างค่านิยมในสังคม สังคมไทยก็เป็นภาพความสำเร็จของการผลิตซ้ำค่านิยมของละครเช่นกัน ... ค่านิยมความรุนแรง ... เหยียดหยาม ดูถูก และกดขี่ คนจากสถานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาการผลิตซ้ำค่านิยมจากละครของไทย ได้สร้างความซับซ้อนในสังคมไทย ซึ่งปัญหาความซับซ้อนนี้ส่งผลทางอ้อมกับระบอบประชาธิปไตย ตัวละครนี่เอง คือผู้ร้ายอีกตัวหนึ่งที่สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมพุทธเทียมขนาดใหญ่ และเหนียวแน่นแตกต่างจากหลักการแบบชาวพุทธแท้ อาศัยคีย์เวิร์ดทางศาสนายัดใส่ปากตัวละครในบทโทรทัศน์ อ้างถึงความดีชั่ว แต่ไม่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของตัวละครที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจการเมือง ที่นำไปสู่การตัดสินใจต่างๆในชีวิตของตัวละคร และสร้างสังคมที่ขาดการวิพากษ์ขึ้นมา ผ่านวิธีชีวิต และไดอาล็อค ของตัวละคร ที่ไม่ได้แสดง ตรรกะและการให้เหตุผลอย่างสมบูรณ์ ละครดึงผู้ชม ให้ออกห่างจากวิธีคิดอย่างเป็นเห็นเป็นผล ตลอดจนสถาปนาความหรูหราผ่านสัญญะต่างๆในละคร บ้านที่มีขนาดมหึมา และมีคนรับใช้ (ที่สามารถเรียกจิกหัวได้ทุกเมื่อ) สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของบทละครแย่ๆของไทยคือการสร้างสังคมแห่งการเหยียด เหยียดหยามผู้คน ผูกสัญญะความจนไว้กับอาชีพคนใช้ ดูหมิ่นดูแคลน ยากจน และผลิตภาพออกมาในเชิงขำขันเพื่อใช้กับกลุ่มคนที่สามารถเหยียดหยามได้ในลำดับชั้นทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลลัพธ์คือ ความขำ ทำให้ภาพจำคงทน มากยิ่งขึ้น การผลิตละครจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถเป็นได้ทั้งคุณและโทษต่อการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย เนื่องสงครามทีวีดิจิตัลที่ร้อนแรง ทำให้บทละครโทรทัศน์มีความแตกต่างและแปลกใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญที่แสดงการหลุดพ้นจากขนบเดิมๆในการผลิตละครจากการรีเมค หรือการผลิตละครเพื่อย้ำชัดค่านิยมแบบไทยๆอย่างในอดีต โดยแนวโน้มของละครรุ่นใหม่ หรือละครยุคหลังอนาล็อก มุ่งไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ตามเพศ อายุ และสถานะ โดยเฉพาะละครที่อ้างว่าผลิตเพื่อสะท้อนสังคม ได้ปรากฎตัวละครเพศใหม่ๆ ที่ท้าทายต่อขนบทางสังคมไทยมากยิ่งขึ้น แต่ท้ายที่สุดการปรากฏตัวของเพศใหม่ในหน้าละครโทรทัศน์กลับไม่ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) แต่ประการใด หากแต่เป็นการตอกฝาโลงแก่เพศอื่นที่ไม่ใช่ชายและหญิง ให้กลายเป็นผู้ร้ายและชายขอบมากเสียยิ่งกว่าเดิม ความจริงลึกๆ ที่สังคมไทยไม่เคยยอมรับ ปรากฎผ่านบทละครเหล่านี้ บทดึงพวกเขาให้จมลงกับการเป็นตัวร้าย ให้จบลงในฐานะ ผู้ที่ขัดขวางความรักของพระเอกและนางเอกเสมอ แล้วการเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนจะเป็นหมุดหมายที่สำคัญของโลกหลังอนาล็อกนี้ มันจะสำคัญยังไง ถ้าละครยังไม่สามารถสร้างสังคมที่มีการวิพากษ์ขึ้นมาได้ แต่กลับเป็นละครที่ชี้นำความคิดให้แก่สังคม มันคงดีไม่น้อยความความคิดที่ชี้นำมันถูกต้องตามหลักสากล และผ่านการทบทวนมาอย่างรอบคอบ การแก้ปัญหาของตัวละครเมื่อมีตัวละครกระทำความผิด ตัวละครมักจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ถูกผลิตออกมาอย่างตรงไปตรงมาจนขาดความงามทางศิลปะ และขาดความ 'สมจริง' ในการเป็นมนุษย์ (จนเผลอหัวเราะในใจถึงความเล่นใหญ่ของละครไทย) ซึ่งมันก็ตอกย้ำวัฒนธรรมศาลเตี้ย และการขาดการทบทวนรวมถึงการตระหนักรู้ในการวิพากษ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในละคร เน้นความสะใจ เน้นการนำอารมณ์เป็นสรณะมากกว่าการถกเถียงเพื่อหาเหตุผลและข้อสรุปในการแก้ปัญหา ในช่วงที่ผ่านมางานเขียนเก่าๆ ของนักเขียนหน้าเดิมๆที่ถูกนำมาผลิตเป็นละครโทรทัศน์นั้นเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมทางความคิดของคนไทย และงานประพันธ์หลายชิ้นกลับวนเวียนอยู่กับการสร้างค่านิยมแบบผิดๆ ที่ผูกติดกับขนบของวัฒนธรรมไร้การวิพากษ์ของสังคมภายในละคร ตลอดจนการผลิตซ้ำชุดความคิดทางศาสนา ที่ไม่ได้รับการตกผลึกอย่างแท้จริง แต่กลับอาศัยการยืมคำ (Big word) ในการสร้างความชอบธรรมให้การกระทำของตัวละคร แต่ปราศจากพัฒนาการทางอารมณ์และวิธีคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากลับคน แต่กลับยัดเยียดแนวคิดทางศาสนาเข้าไปโต้งๆ เพื่อให้ทำตัวละครใกล้ชิดกับศาสนามากพอที่จะอธิบายความชอบธรรมของตัวละครได้ และสิ่งที่สำคัญอีกประการคือ ลัทธิชายเป็นใหญ่ ที่บทประพันธ์เก่าๆไม่รู้สึกตัว และเผลอคิดว่าการนำเสนอของตนจะเชิดชูพลังของความเป็นหญิง แต่เปล่าเลย ท้ายที่สุด คำตอบสุดท้ายของนางเอกแทบจะทุกเรื่องของละครไทย ได้ย้ำชัดถึงพลังชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย ผ่านการสมยอมสารพัดรูปแบบและยืนยันความชอบธรรมผ่านการข่มขืนของพระเอกและยอมรับความรุนแรงของพระเอกที่ทำต่อเหล่านางเอกไทยหลายต่อหลายเรื่อง ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา อาศัยประโยคการทำละครสะท้อนสังคม กับคำพูดประเภทที่ว่า ไม่ชอบก็ไม่ต้องดู แต่มันจะไม่ดีกว่าหรือ ถ้าเราผลิตละครที่สามารถสร้างวัฒนธรรมที่ศิวิไลซ์ให้กับสังคม ร่วมกันก้าวไปข้างหน้าผ่านความคิด และมีการแลกเปลี่ยนทางความคิดหลังชมละครจบ แต่ความเป็นจริง กลับมีแต่ละครที่ปราศจากความเข้าใจในการเป็นมนุษย์ของตัวละครเต็มไปหมด และยัดเยียดบทละครโทรทัศน์ที่มี สร้าง 'ความแม่-ความแน่' สร้าง 'ความโดน' ความ 'พระเอก-นางเอก' โดยที่ตัวละครนั่นไม่ได้มีพัฒนาการทางความคิดที่เชื่อมโยงกับบทเหล่านั้นเลย ซี่งมันส่งผลโดยตรงต่อการรับสารของผู้ชม และวิธีคิดวิพากษ์ที่หายไปในส่วนนี้ ปัญหาความเป็นประชาธิปไตยในไทยแม้จะดูยาก ดูลำบากในการไปถึงวันนั้น แต่ถ้าเราเริ่มสามารถวัฒนธรรมการคิด การให้เหตุผล จากเรื่องใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ คงจะช่วยให้การไปถึงประชาธิปไตยดูเป็นไปได้มากขึ้นซักเปอร์เซ็นสองเปอร์เซ็นก็ยังดี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุรพศ ทวีศักดิ์: อิทธิพลทางความคิดของพุทธไทยที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตย Posted: 06 Jan 2018 04:45 PM PST ข้อความจากทวิตเตอร์ ว. วชิรเมธี ข้างบน ถูกนำมาแชร์ในโลกโซเชียลอีกครั้ง หลังจากกระแสยกย่อง "ตูน" ว่ามีจิตโพธิสัตว์และมีคุณสมบัติควรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเตือนสติคนไทยผ่านเฟซบุ๊คที่มีคนติดตามกว่า 6,000,000 คน (ตามรายงานในมติชนออนไลน์) ว่า "อย่าก่นด่าประเทศตัวเอง" ตามด้วย "คำคม" อีกหลายชุด ผมเข้าใจว่าพระสงฆ์ทั่วไปท่านมี "เจตนาดี" ต่อสังคม ข้อคิดต่างๆ ของ ว. วชิรเมธี ก็ย่อมมาจากเจตนาดีเช่นกัน แต่ปัญหาของพระไทยโดยทั่วไปคือ การขาดความเข้าใจ "ความคิดพื้นฐาน" ในเรื่องมาตรฐานถูก-ผิดในทางสังคมการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในโลกสมัยใหม่ ขออภัยที่พูดแบบขวานผ่าซาก ผมจะพยายามอธิบายให้เห็นปัญหาเป็นประเด็นๆ ดังนี้ ประเด็นแรก เรื่องถูก-ผิดในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่เกี่ยวกับธรรมะหรือศาสนา เพราะระบอบประชาธิปไตยมี "หลักการสาธารณะ" เป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดชัดเจนอยู่แล้ว เช่นหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค หลักการยอมรับเสียงข้างมาก-เคารพสิทธิเสียงข้างน้อย หลักการถ่วงดุลตรวจสอบ การมีส่วนร่วมบนฐานของการมีสิทธิต่อรองที่เท่าเทียม เป็นต้น ถ้าทำถูกตามหลักการเหล่านี้ก็คือถูก ทำผิดก็คือผิด มันไม่ใช่เรื่องที่จะเอาธรรมะหรือศีลธรรมศาสนามาใช้เป็นบรรทัดฐานกำกับหลักการสาธารณะดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง หรือมันไม่ใช่เรื่องที่จะใช้ธรรมะ ศีลธรรมศาสนามาเป็นหลักประกันให้คนทำตามหลักการสาธารณะนั้นได้ เพราะถึงคุณมีธรรมะ เคร่งศีลธรรมศาสนา หรือเป็นคนดี กระทั่งเป็นพระโพธิสัตว์ หากคุณไม่กระจ่างชัด ไม่เห็นคุณค่า หรือไม่ยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการเหล่านั้น คุณก็ทำสิ่งที่ผิดได้ และทำได้ด้วยความเชื่ออย่างหัวชนฝาว่าตนเองทำถูกต้องเสียด้วย ดังเราได้เห็นบรรดาพระดี คนดี ทั้งแสดงความคิดเห็น และออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในทางที่ขัดแย้งกับหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคหรือขัดกับหลักการพื้นฐานประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน "อย่างภาคภูมิใจ" เสมอมา ประเด็นที่สอง มันไม่ใช่แค่ว่าความคิดพื้นฐานเรื่องถูก-ผิดตามระบอบประชาธิปไตยกับเรื่องถูก-ผิดทางธรรมะหรือศาสนาต่างกันในสาระสำคัญดังกล่าวแล้วเท่านั้น แต่ระบบสังคมการเมืองสมัยใหม่เขา "แยกศาสนาจากการเมือง" คือในเชิงอุดมการณ์ รัฐปัจจุบันไม่ใช่รัฐพุทธศาสนาแบบอดีตที่ยึดหลักพุทธศาสนาเป็นอุดมคติในการปกครองอีกแล้ว แต่ปกครองด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เป็นหลักการทางโลก เมื่อสังคมปัจจุบันไม่ใช้หลักศาสนาเป็นอุดมคติในการปกครองแล้ว การที่พระพยายามสอนว่า "ประชาธิปไตยที่ไม่มีธรรมะคือหายนะมวลรวมประชาชาติ" หรือ "ถ้าหมู่มนุษย์มีศีล 5 สิทธิมนุษยชนก็ไม่จำเป็น" เป็นต้น มันจึงขัดหลักการแยกศาสนาจากการเมืองดังกล่าว หรือเป็นการเสนออะไรที่ "ผิดฝาผิดตัว" ขัดกับมาตรฐานถูก-ผิดตามระบอบประชาธิปไตย ประการที่สาม เมื่อแยกศาสนาจากการเมืองในทางอุดมการณ์ของการปกครองแล้ว เพื่อให้เกิดผลรูปธรรมในทางปฏิบัติก็จึงแยกในทางโครงสร้างด้วย นั่นคือแยกองค์กรศาสนาออกจากโครงสร้างอำนาจรัฐ หรือเปลี่ยนองค์กรศาสนาจากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอำนาจรัฐ ให้เป็นเป็นองค์กรเอกชนทุกศาสนา แต่ปัจจุบันองค์กรสงฆ์หรือมหาเถรสมาคมยังคงเป็นองค์กรศาสนาของรัฐ มีหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและนโยบายรัฐ ซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลาง,หลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาคในการนับถือและไม่นับถือศาสนาของรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) คำถามคือ เมื่อสถานะและบทบาทขององค์กรสงฆ์ขัดกับหลักการพื้นฐานของรัฐประชาธิปไตย แล้วพระสงฆ์และชาวพุทธจะใช้ธรรมะ ศีลธรรมพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย หรือทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยก้าวหน้าได้อย่างไร หรือในทางกลับกันถามว่า ถ้ามีหลักธรรมหรือหลักการพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนจริง หลักดังกล่าวนั้นจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่สถานะและบทบาทศาสนจักรของรัฐขัดต่อหลักความเป็นกลาง เสรีภาพ และความเสมอภาคในการนับถือและไม่นับถือศาสนาได้อย่างไร ประเด็นสุดท้าย ถามว่าในสังคมการเมืองสมัยใหม่ มีเหตุผลที่ควรตีความศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ถ้าดูจากศาสนาคริสต์ ในคัมภีร์ไบเบิลยอมรับระบบทาสด้วยซ้ำ แถมยุคกลางศาสนจักรโรมันคาทอลิกก็กดขี่รุนแรงมาก แต่เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่เขาก็ตีความศาสนาสนับสนุนแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความหมายของ God ก็ถูกตีความในทางปรัชญาซับซ้อนมาก และมักจะตีความในทางสนับสนุนคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้อย่างมีเหตุผล แต่ในเมื่อเขาแยกศาสนจักรเป็นเอกชน ไม่รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐ หรือไม่ก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจรัฐ และอำนาจรัฐก็ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงศาสนจักร การตีความศาสนาสนับสนุนคุณค่าสมัยใหม่เช่นนั้นจึงสมเหตุสมผล ในบ้านเราการตีความศาสนาในทางการเมืองมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบแรกตีความพุทธศาสนาสนับสนุนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภาดรภาพ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนประเพณีการตีความพุทธศาสนาสนับสนุนอำนาจนำทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครอง มาสู่การตีความสนับสนุนคุณค่าสมัยใหม่ แบบที่ยุโรปเปลี่ยนจากการตีความ God สนับสนุนอำนาจชนชั้นปกครองมาเป็นตีความ God สนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค การตีความเช่นนี้เห็นได้ในความพยายามของปรีดี พนมยงค์ แต่น่าเสียดายที่ความพยายามนี้ไม่ประสบความสำเร็จ หรือไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าที่ควร แบบที่สองคือแบบที่นิยมกันแพร่หลาย เป็นการตีความแบบยก "ธรรม" หรือศีลธรรมพุทธศาสนาเหนือกว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในตัวมันเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธทาสภิกขุ ที่เสนอว่า "ระบบการเมืองใดๆ ไม่ว่าประชาธิปไตยหรือเผด็จการจะเป็นระบบที่ดีได้ต้องมีธรรมะ เป็นธรรมาธิปไตยหรือเป็นระบบที่ประกอบด้วยธรรม" สาระสำคัญของระบบที่มีธรรมะ ก็คือมี "คนดี" หรือคนที่มีศีลธรรมเป็นผู้ปกครอง ข้อความในทวิตเตอร์ของ ว.วชิรเมธีข้างต้น ก็คือตัวอย่างของการได้รับอิทธิพลการตีความพุทธศาสนาทาการเมืองแบบที่ถือว่า "ธรรม" หรือศีลธรรมเป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดทางการเมืองดังกล่าวนี้ ซึ่งแพร่หลายมากในวงการพระ และสังคมไทยโดยรวม โดยเฉพาะในระยะกว่าทศวรรษมานี้ ฉะนั้น วิธีคิดแบบใช้ธรรมะ ศีลธรรม ความดี คนดีเป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดทางการเมืองดูเหมือนจะมีอิทธิพลมาก อิทธิพลดังกล่าวดำเนินไปภายใต้ "มายาคติ" ว่า พระสงฆ์อยู่เหนือการเมือง เป็นกลางทางการเมือง มี "หน้าที่" ชี้แนะ ชี้นำทางการเมืองโดยธรรม แต่เมื่อพระสอนในสถานการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่งว่า "ประชาธิปไตยที่ไม่มีธรรมะ คือหายนะมวลรวมประชาชาติ" ท่านก็กล่าวในสถานการณ์ทางการเมืองอีกแบบหนึ่งว่า "ค่านิยม 12 ประการ คล้ายธรรมะในพุทธศาสนา" ก็เลยไม่รู้ว่าพระ "อยู่เหนือการเมือง" หรือ "เป็นกลาง" ทางการเมืองอย่างไรแน่ อีกทั้งโดยทั่วไปแล้ว พระเองก็แสดงความเห็นทางการเมือง และเคลื่อนไหวทางการเมืองสนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมาตลอด และสถาบันสงฆ์เองก็เป็นสถาบันของรัฐที่มีบทบาทสนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและตอบสนองนโยบายรัฐอยู่แล้ว ฉะนั้น บทบาทของพุทธไทยทั้งในเชิงสถาบันและบุคคล จึงมีอิทธิพลในการสร้างวัฒนธรรมทางความคิดในเรื่องถูก-ผิดทางการเมือง ที่มีนัยสำคัญเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย จะแก้ไขได้จำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ และเปลี่ยนความคิดพื้นฐานในการตีความพุทธศาสนาทางการเมืองอย่างสิ้นเชิง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น