ประชาไท | Prachatai3.info |
- คสช. ยันไม่เกี่ยวเพจ 'ไข่แมว' ปลิว วิษณุ บอกไม่รู้
- กมธ.พรป.สส. ยืดบังคับใช้ 90 วัน เลือกตั้งขยับปี 62 ย้ำไม่มีใบสั่ง คสช.
- ความล้มเหลวของระบบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน1: ความเป็นมาเกี่ยวกับองค์กรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- ชายพกมีดพับบุกประชิดเอกชัย หน้าทำเนียบ ตร.ล็อคตัวทัน
- A Brighter Summer Day เฉดความสว่างและมืดที่ถูกแต่งแต้มโดยระบบของสังคม
- กสทช. เดินหน้านำสายสื่อสารลงดิน ปรับทัศนียภาพเส้นทางตัวเมืองชั้นในภายในปีนี้
- เปลี่ยนสรรหา ส.ว. จากเลือกไขว้ เป็นให้ผู้สมัครเลือกกันเอง ลดจาก 20 เหลือ 15 กลุ่มอาชีพ
- ศาลฎีกานักการเมืองสั่งจำคุก 'ธาริต' คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน ต่อ ป.ป.ช.
- 'มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค' ประกาศพร้อมช่วยเหลือผู้บริโภคถูก บ.มาสด้า ฟ้อง
คสช. ยันไม่เกี่ยวเพจ 'ไข่แมว' ปลิว วิษณุ บอกไม่รู้ Posted: 19 Jan 2018 09:58 AM PST โฆษก คสช. ยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เหตุเพจ 'ไข่แมว' หาย โฆษกกระทรวงดิจิทัลฯ ระบุไม่มีส่วนรับผิดชอบ เพจดังแห่โพสต์อาลัย ตัวอย่างภาพการ์ตูนไข่แมว 19 ม.ค. 2561 จากตั้งแต่ช่วงบ่ายของวานนี้ (18 ม.ค.61) เป็นต้นมา เฟสบุ๊คแฟนเพจการ์ตูนล้อเลียนสังคมการเมืองชื่อดัง 'ไ่ข่แมว' https://www.facebook.com/cartooneggcat/ ซึ่งมียอดกดถูกใจกว่า 4.5 แสนรายไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยยังไม่ทราบสาเหตุ นั้น ล่าสุดวันนี้ (19 ม.ค.61) วอยซ์ ออนไลน์ รายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยกับ "วอยซ์ ออนไลน์" ว่า คสช.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และกระแสพาดพิงถึงการใช้อำนาจปิดเพจ เป็นเพียงการคาดเดาและไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับ สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ยืนยันกับ 'วอยซ์ ออนไลน์' ว่ากรณีที่เกิดขึ้นทางกระทรวงดิจิทัลฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบ ขณะที่การจับตาเฟซบุ๊กที่เกี่ยวกับความมั่นคง จะเป็นกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ทีื่เป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ ขณะที่ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามกรณีเพจไข่แมวหายเกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือไม่ที่เป็นผู้สั่งปิดหรือไม่ ว่า "ไม่รู้ และไม่รู้จะตอบอย่างไร แต่ถ้าเพจ คลิป ไลน์ ที่ผิดกฎหมายก็ต้องจัดการ แต่ถ้าเพจใดไม่ผิดกฎหมาย ขอถามว่าจะเอาอำนาจอะไรไปจัดการ" ขณะที่เพจดังหลายเพจโพสต์ไว้อาลัยดังนี้ :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กมธ.พรป.สส. ยืดบังคับใช้ 90 วัน เลือกตั้งขยับปี 62 ย้ำไม่มีใบสั่ง คสช. Posted: 19 Jan 2018 09:32 AM PST โฆษก กมธ.พรป.สส.เผยที่ประชุม ยืดบังคับใช้ร่างกฎหมายนี้ 90 วัน ยันว่าเป็นการพิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นอิสระ ไม่ได้มีใบสั่งจาก คสช. และจะมีการเสนอให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง แฟ้มภาพ 19 ม.ค. 2561 Voice TV และโพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเสร็จทุกมาตราแล้ว และจะมีการแถลงรายละเอียดภาพรวมทั้งหมดในวันจันทร์ที่ 22 ม.ค.นี้ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ มีมติเสียงข้างมากให้แก้ไขมาตรา 2 ของกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ 90 วันนับแต่วันประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา จากเดิมที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมพิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นอิสระ ไม่ได้มีใบสั่งจาก คสช. ซึ่งกรรมาธิการฯ เห็นว่าเนื่องจากมีคำสั่งของ คสช.ที่ 53/2560 ในการกำหนดกระบวนการทางธุรการของพรรคการเมืองที่จะเริ่มขึ้นในเดือน มี.ค. จึงเห็นว่าควรจะต้องมีการแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำสั่ง คสช.ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการเสนอให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาในสัปดาห์หน้าอีกครั้งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ต่อกรณีคำถามว่า หากที่ประชุม สนช.เห็นชอบตามเสียงข้างมากของกรรมาธิการฯ ในมาตรา 2 จะมีผลให้การเลือกตั้งขยับออกไปจากกำหนดการเดิมในเดือนพ.ย. 2561 หรือไม่นั้น ทวีศักดิ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าอาจจะต้องมีการขยับออกไปบ้าง โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 พร้อมยืนยันว่าการพิจารณาของกรรมาธิการฯ มีหน้าที่เฉพาะในเรื่องเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองหรือความมั่นคงแต่อย่างใด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความล้มเหลวของระบบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน1: ความเป็นมาเกี่ยวกับองค์กรต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน Posted: 19 Jan 2018 09:08 AM PST
พูดอย่างกว้างๆ องค์กรในภาครัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ความจริงแล้วมีทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ การทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายย่อมมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน การจะจัดการกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ดีต้องอาศัยกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ มีช่องโหว่ รูรั่วน้อย การบริหารที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นไปตามหลักนิติธรรม แต่ถ้าพิจารณาให้แคบเข้า สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ก็คือ ระบบและกลไกที่ใช้จัดการกับการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งมีพัฒนาการมาเป็นเวลานานมาก่อนหน้านี้สักระยะหนึ่ง การออกแบบระบบและกลไกนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมากทีเดียว ในการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการปฏิรูปตอนแรกๆ แต่ต่อมาอาจจะไม่เกิดผลเท่าใดนัก ระบบและกลไกในการจัดการกับการทุจริตคอร์รัปชันมีความเป็นมาอย่างไร ? ในปัจจุบันมีปัญหาอย่างไร ? ระบบและกลไกตามรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ? เป็นเรื่องที่จะวิเคราะห์ในบทความนี้ องค์กรที่รับผิดชอบในการต่อต้านการทุจริตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีที่มา โครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และสังกัดหรือความเป็นอิสระที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงแต่ละตอน ซึ่งส่งผลแตกต่างกันในเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเป็นที่เชื่อถือ เราอาจวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันตามลำดับขั้นของการพัฒนาดังนี้
องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกของรัฐในการแก้ปัญหาการทุจริตในประเทศไทยในอดีตมา จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เป็นองค์กรในสังกัดฝ่ายบริหาร เช่น ปี 2476 มีข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงตรวจการ ปี 2496 มีกรมตรวจราชการแผ่นดิน ปี 2514 มีคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ(กตป.)ตั้งโดยประกาศคณะปฏิวัติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปี 2518 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ(ป.ป.ป.) ซึ่งกรรมการต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาและเลขาธิการป.ป.ป.แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2530 คณะกรรมการป.ป.ป.มีอำนาจชี้มูลเพื่อให้ต้นสังกัดสอบสวนวินัยและส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กับเสนอแนะมาตรการต่อครม.ยังไม่ใช่องค์กรควบคุมปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันเสียทีเดียว ก่อนปี 2540 มีแนวความคิดที่จะเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้แก่ ป.ป.ป.รวมทั้งปรับเปลี่ยนบทบาทให้ปปป.เป็นองค์กรควบคุมปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ในหมวดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขึ้นทำหน้าที่เป็นองค์กรควบคุมปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่มีอำนาจมากกว่าป.ป.ป.ในอดีต คณะกรรมการนี้มาจากการสรรหาและได้รับความเห็นชอบโดยวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีสำนักงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินการอื่น ปี 2542 มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตขึ้นใช้แทน พ.ร.บ.ป.ป.ป. ปี 2550 รัฐธรรมนูญปี 2550 ในหมวดว่าด้วยองค์กรตามรัฐธรรมนูญบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นองค์กรอิสระ มาจากการสรรหาและได้รับความเห็นชอบโดยวุฒิสภาแบบผสมและมีสำนักงาน ป.ป.ช.ที่เป็นอิสระ มีข้อน่าสังเกตว่า ที่ผ่านมาคณะรัฐประหารมักตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ในการแก้ปัญหาการทุจริตขึ้นโดยองค์กรเหล่านี้ขึ้นต่อคณะรัฐประหารหรือรัฐบาล เช่นในปี 2514 มี กตป.ดังกล่าวแล้ว ปี 2534 มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินขึ้นตามประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 เรื่องให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน เป็นต้น การตั้งองค์กรที่เป็นกลไกปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันโดยคณะรัฐประหารนี้ล้มเหลวมาตลอด กตป.ซึ่งมี จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นประธาน และมี พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เป็นรองเลขาธิการที่มีบทบาทมากกว่าเลขาธิการ เป็นองค์กรที่ถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ มีไว้จัดการแต่กับฝ่ายตรงข้าม ส่วนการยึดทรัพย์นักการเมืองโดยคณะกรรมการที่ รสช.ตั้งขึ้นก็ถูกศาลฎีกาตัดสินให้เป็นโมฆะและยังถูกมองด้วยว่า ทำไปเพื่อการต่อรองกับนักการเมืองในขณะนั้น หลังจากที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันเป็นของ ป.ป.ช.ซึ่งเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารเป็นต้นมา บทบาทของฝ่ายบริหารในการแก้ปัญหาการทุจริตก็ลดน้อยลงมาก ฝ่ายบริหารยังคงมีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนเพื่อลงโทษทางวินัยข้าราชการ ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ มีหน่วยราชการที่ดูแลเกี่ยวกับกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้าง มีหน่วยงานอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษทำหน้าที่ดำเนินคดีในกรณีที่มีการกระทำผิดกฎหมายอาญา แต่ไม่มีการตั้งองค์กรทำหน้าที่ต่อต้านหรือปราบปรามการทุจริตที่ขึ้นต่อฝ่ายบริหารเหมือนอย่างในอดีตอยู่ระยะหนึ่ง การที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหาการทุจริตอย่างจำกัด น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเพราะ ปปช.เองก็ทำหน้าที่ได้ไม่ครอบคลุมเพียงพอ ในขณะที่ฝ่ายบริหารซึ่งมีข้าราชการเจ้าหน้าที่จำนวนมหาศาลเป็นกลไก กลับไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะดูแลกลไกเหล่านั้นในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตอย่างที่ควรจะเป็น สมัยก่อนโน้นเคยมีปัญหาว่า เวลาที่ฝ่ายบริหารตรวจสอบการทุจริตแล้วมักเกิดการ 'ลูบหน้าปะจมูก' แต่พอกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระก็มีปัญหาว่า ไม่เห็นรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารทำอะไรเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการทุจริต ทั้งๆ ที่รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารควรต้องรับผิดชอบด้วย ในขณะที่ ปปช.ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรง ก็อยู่ในสภาพงานล้นมือ แก้ปัญหาไม่ทัน อาจจะเป็นเพราะเห็นปัญหานี้กัน ทำให้ต่อมาในปี 2551 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จึงได้มีการออกกฎหมายให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ขึ้น คณะกรรมการนี้มีสำนักงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรม ในคณะกรรมการซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน มีเลขาธิการ ป.ป.ช.เป็นกรรมการอยู่ด้วย คือ มีการเชื่อมโยงเอาองค์กรอิสระเข้าไปร่วมงานกับองค์กรของฝ่ายบริหารด้วย ป.ป.ท.มีอำนาจหน้าที่และบทบาทเป็นอย่างไรไม่เป็นที่รับรู้กันมากนัก เวลามีข่าว ป.ป.ท.เข้าไปดำเนินการในเรื่องที่อื้อฉาวก็เป็นที่สนใจกันขึ้นมาบ้าง แต่ดูบทบาทของ ป.ป.ท.ก็ยังจำกัด เนื่องจากมีหน้าที่ดูแลปัญหาการทุจริตของข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับที่ไม่สูงนัก และก็ยังพบว่า กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้บทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ท.เท่าใดนัก นอกจากนั้นยังมีปัญหาสับสนซ้ำซ้อนระหว่าง ป.ป.ท.กับ ป.ป.ช.อีกด้วย เพราะ ป.ป.ท.ดูแลข้าราชการบางระดับ แต่ ป.ป.ช.มีอำนาจครอบคลุมข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ ปัญหาที่ยังคงค้างอยู่ ก็คือ ฝ่ายบริหารควรมีบทบาทในการป้องกันปราบปรามการทุจริตมากขึ้นหรือไม่ และควรแยกหรือจัดความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานขององค์กรอิสระและหน่วยงานของฝ่ายบริหารอย่างไร เมื่อระบบป้องกันปราบปรามการทุจริตเน้นบทบาทขององค์กรอิสระ ก็มีปัญหามีภาระงานล้นมือจนทำไม่ทัน บางช่วงไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน ที่สำคัญ คือปัญหาที่มา องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ การที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบองค์กรอิสระได้ หรือองค์กรอิสระไม่มีการยึดโยงกับประชาชน เกิดการเลือกปฏิบัติ ถูกมองว่าเป็น 'สองมาตรฐาน' ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ หลังรัฐประหารปี 2549 คมช.ก็ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำอันทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการ(คตส.)ขึ้น เท่ากับเป็นการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรมปรกติ หลังจากนั้นมีการออกแบบระบบป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันขึ้นใหม่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งต่อมาพบว่า ไม่เพียงไม่แก้ปัญหาข้างต้นแล้ว หากยิ่งมีปัญหามากกว่าเดิมด้วย กล่าวคือ องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามการทุจริตกลายเป็นองค์กรมีสังกัด แบ่งฝักแบ่งฝ่ายและเลือกปฏิบัติจนขาดความน่าเชื่อถืออย่างร้ายแรง รวมทั้งขาดผลงานด้วย (ยังมีต่อ)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชายพกมีดพับบุกประชิดเอกชัย หน้าทำเนียบ ตร.ล็อคตัวทัน Posted: 19 Jan 2018 08:51 AM PST 19 มกราคม 2561 เวลาประมาณ 09.00 น.ทำเนียบรัฐบาล ประตู 4 นายเอกชัย หงส์กังวาน และนายนายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ สองนักกิจกรรมการเมือง ได้นำนาฬิกาจำนวน 3 เรือน และโปสเตอร์คอลเล็คชั่นนาฬิกา 25 เรือน เดินทางมามอบให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ พล.อ.ประวิตร ต้องทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก และคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขณะที่ เอกชัยกำลังโชว์นาฬิกาให้ผู้สื่อข่าวดู ปรากฏว่ามีชายอายุประมาณ 55-60 ปี ใส่เสื้อสีแดง สวมเสื้อแจ็คเก็ตแขนยาวทับด้านนอก ได้เดินตรงเข้ามากระชากที่แขนซ้ายของเอกชัย แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าทำการควบคุมตัวเอาไว้ และนำตัวไปยัง สน.ดุสิต ส่วนนายเอกชัยและนายโชคชัย ทางเจ้าหน้าที่เชิญตัวเข้ามาใน ก.พ. เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ดุสิต แจ้งว่าจากการสอบสวนชายคนดังกล่าว ทราบว่าชื่อนายฤทธิไกร ชัยวรรณศาสน์ อายุ 56 ปี อ.โป่งน้ำร้อน จันทบุรี และจากการตรวจค้นร่างกาย พบมีดพับ ความยาวประมาณ 3 นิ้ว จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา พกพาอาวุธมีดไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
A Brighter Summer Day เฉดความสว่างและมืดที่ถูกแต่งแต้มโดยระบบของสังคม Posted: 19 Jan 2018 03:15 AM PST ชวนดูหนังมาสเตอร์พีซ A Brighter Summer Day โดย เอ็ดเวิร์ด หยาง ถ่ายทอดชีวิตวัยรุ่นไต้หวันช่วงต้นยุค 60 ภายใต้สภาวะสังคมที่ยังผันผวนไม่แน่นอน ถ่ายทอดมิตรภาพ การแก้แค้น ศักดิ์ศรีลูกผู้ชายในสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ความรัก ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวชุมชน ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์และอำนาจนิยมภายในโรงเรียนและสังคม A Brighter Summer Day (1991) คือหนึ่งในหนังไต้หวันที่ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ไต้หวัน 2018 ซึ่งจัดตั้งแต่วันที่ 17-23 ม.ค. ที่โรงภาพยนตร์ Quartier CineArt เป็นหนังลำดับที่ 5 ใน 9 เรื่องที่กำกับโดย เอ็ดเวิร์ด หยาง (Edward Yang: 1947–2007) ผู้กำกับไต้หวันที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งตั้งแต่ยุค Taiwanese new wave โดยหนังเรื่องสุดท้ายที่เขาทำ Yi Yi (2000) ทำให้เขาได้รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ในปี 2000
ในด้านเทคนิคทางภาพยนตร์ การถ่ายภาพด้วยการใช้สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ การวางเฟรมภาพ สอดแทรกสัญลักษณ์ให้ตีความ กับบางฉากที่จงใจไม่ถ่ายโคลสอัพให้เห็นสีหน้าตัวละครแม้เป็นฉากที่เน้นอารมณ์ แต่ถ่ายภาพกว้างเพื่อให้เห็นรายละเอียดเล็กน้อยของการแสดงและการจัดวางองค์ประกอบในฉากแทน ส่งผลให้ความรู้สึกนั้นรุนแรงกว่าเดิมหลายเท่า เหล่านี้เรามักไม่ได้เห็นบ่อยในภาพยนตร์ทั่วไป A brighter Summer Day จะฉายอีกครั้งวันที่ 22 ม.ค. ในงานเทศกาลภาพยนตร์ไต้หวัน ที่ Quartiar CineArt รายละเอียดเพิ่มเติมที่ เพจ V.active ภาพประกอบจาก https://trailersfromhell.com/a-brighter-summer-day/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช. เดินหน้านำสายสื่อสารลงดิน ปรับทัศนียภาพเส้นทางตัวเมืองชั้นในภายในปีนี้ Posted: 19 Jan 2018 02:54 AM PST สำนักงาน กสทช. จับมือผู้ประกอบการโทรคมนาคม เดินหน้านำสายสื่อสารลงดินเพื่อ 19 ม.ค. 2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( ฐากร กล่าวต่อว่า การนำสายสื่อสารลงดินนอกจากจะเป็ สำนักงาน กสทช. ระบุด้วยว่า ผลการดำเนินการปี 2560 ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการพหลโยธิน แบ่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปลี่ยนสรรหา ส.ว. จากเลือกไขว้ เป็นให้ผู้สมัครเลือกกันเอง ลดจาก 20 เหลือ 15 กลุ่มอาชีพ Posted: 19 Jan 2018 02:52 AM PST กมธ.พิจารณากฎหมายลูกว่าด้วย ส.ว. ได้ข้อสรุปยกเลิกระบบเลือกไขว้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ให้เลือกภายในกลุ่มแทน ยุบกลุ่มอาชีพเหลือ 15กลุ่ม พร้อมกำหนดกลไกป้องกันฮั้ว มั่นใจส่งร่างกฎหมายเข้าที่ประชุมใหญ่ สนช. พิจารณาวาระ 2-3 วันที่ 26 ม.ค.นี้ 19 ม.ค. 2561 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า พลเรือเอกธราธร ขจิตสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แถลงถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมายว่า ที่ประชุมมีมติให้แบ่งกลุ่มที่มา ส.ว.แบบใหม่ จากเดิมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แบ่งเป็น 20 กลุ่ม ให้เปลี่ยนเป็น 15 กลุ่มสังคม ประกอบด้วย 1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 3.กลุ่มการศึกษา 4.กลุ่มการสาธารณสุข 5.กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก ทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง 6.กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 7.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน 8.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 9.กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม 10.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนา นวัตกรรม 11.กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพลภาพ 2.กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ๆ 13.กลุ่มศิลปะวัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 14.กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ 15.กลุ่มอื่น ๆ ส่วนวิธีได้มาซึ่ง ส.ว.นั้น มีมติให้เลือกกันเองทุกระดับ ทั้งในระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ โดยให้ยกเลิกวิธีการเลือกไขว้ตามที่ กรธ. เสนอมา เปลี่ยนเป็นการให้ผู้สมัครเลือกกันเองภายในกลุ่ม ซึ่งทั้ง 15 กลุ่มจะได้สมาชิกกลุ่มละ 13 คน รวมทั้งหมด 195 คน ส่วนเศษที่เหลืออีก 5 คน ให้กลุ่มที่มีผู้สมัครมากที่สุดได้รับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มละ 1 คน เรียงตามลำดับ นอกจากนี้ กรรมาธิการฯ ยังกำหนดวิธีป้องกันการทุจริตหรือการฮั้วกันในมาตรา 40 ไว้ว่า การเลือกกันเองของผู้สมัครแต่ละกลุ่ม หากมีผู้สมัครมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้สมัครทั้งหมดในกลุ่มนั้น ไม่ได้รับการเลือกจากสมาชิกแม้แต่คนเดียว ก็ให้สันนิษฐานว่า มีการทุจริตเกิดขึ้น และสั่งให้ดำเนินการเลือกกันเองในขั้นตอนนั้นใหม่ อย่างไรก็ตามกรรมาธิการสัดส่วนของ กรธ.ทั้งหมด สงวนคำแปรญัตติ และขอให้คงเนื้อหาตามร่างเดิม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง และนำเข้าสู่ที่ประชุม สนช.วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 26 มกราคมนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลฎีกานักการเมืองสั่งจำคุก 'ธาริต' คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน ต่อ ป.ป.ช. Posted: 19 Jan 2018 12:57 AM PST ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษา 'ธาริต' แจ้งเท็จและปกปิดบัญชีทรัพย์สิน จำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บ. เจ้าตัวสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือ จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บ. โทษจำคุก รอลงอาญา 2 ปี ห้ามดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5 ปี แฟ้มภาพ 19 ม.ค. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วันนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติเป็นเอกฉันท์ พิพากษาว่า ธาริต เพ็งดิษฐ์ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน พร้อมเอกสารประกอบ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ต่อคณะกรรมการปอ้งกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีทุก 3 ปีที่อยู่ในตำแหน่งอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ประกอบด้วยบัญชีเงินฝากธนาคาร 4 บัญชี เงินลงทุนในหุ้น บริษัท 2 แห่ง สิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน 2 แปลง ของ ธาริตและ วรรษมล เพ็งดิษฐ์ คู่สมรส และเงินฝากธนาคารอีก 2 บัญชี ที่อยู่ในความครอบครองของ ปิยฤกษ์ อรรถกานต์รัตน์ หลานของวรรษมล ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2560 อันเป็นวันที่พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 119 ให้จำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท แต่ธาริตให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าธาริตเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ให้รอการลงโทษจำคุก 2 ปี หากไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค' ประกาศพร้อมช่วยเหลือผู้บริโภคถูก บ.มาสด้า ฟ้อง Posted: 18 Jan 2018 10:45 PM PST มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคประกาศพร้ 19 ม.ค. 2561 รายงานข่าวจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งว่า จากกรณีกลุ่มผู้เสียหายจำนวน 22 ราย จากการซื้อรถยนต์มาสด้า 2 รุ่น คือ รุ่นXD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 มีอาการสั่นขณะเร่งความเร็ ภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์ "ปัญหาของรถเสี่ยงต่อการเกิดอุ เฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้ นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริ "สิ่งที่ สคบ.ต้องดำเนินการตามคำร้องขอก็ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าการออกมาใช้สิทธิของผู้ "ขอชื่นชมที่ผู้บริโภคออกมาใช้ "ขอสนับสนุนและผลักดัน พระราชบัญญัติความรับผิดต่อสิ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น