โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

บก.ลายจุด ยื่น กกต.ขอแก้ชื่อพรรคใหม่เป็น 'พรรคเกียน' - ฟ้องศาลปกครองขอคุ้มครองชื่อ 'พรรคเกรียน'

Posted: 21 May 2018 10:44 AM PDT

บก.ลายจุด ยื่น กกต.ขอแก้ไขชื่อพรรคใหม่เป็น 'พรรคเกียน' พร้อมฟ้องศาลปกครอง ขอคุ้มครองใช้ชื่อ 'พรรคเกรียน' หลังนายทะเบียนยืนยันไม่อนุญาต เผยอาจไม่ขออนุญาต คสช. จัดประชุมพรรค หากผิดท้าให้จับ

21 พ.ค.2561 จากกรณีเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้ก่อตั้งพรรคเกรียน โพสต์จดหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  ยืนยันว่าไม่ให้ใช้ชื่อพรรคเกรียนนั้น

จดหมายตอบกลับจาก กกต.

วันนี้ (21 พ.ค.61) สำนักข่าวไทย รายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น. ที่สำนักงาน กกต. สมบัติ ได้เดินทางมายื่นขอแก้ไขชื่อพรรค จากพรรคเกรียน เป็น "พรรคเกียน" แทน หลังนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหนังสือแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อดังกล่าว เนื่องจากชื่อดังกล่าวเข้าข่ายทำให้สังคมเกิดความสับสนในความหมาย ไม่เหมาะสม ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

สมบัติ มั่นใจว่าชื่อพรรคเกียนที่ยื่นขอแก้ไขต่อนายทะเบียนใหม่นั้น จะไม่มีปัญหา หรือมีความหมายแสลง เพราะคำว่า "เกียน" ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายว่า อ่าวหรือทะเล ทั้งนี้ส่วนตัวยังคงชื่นชอบชื่อ "พรรคเกรียน" อยู่ ถ้าศาลปกครองพิจารณาว่าสามารถใช้ชื่อดังกล่าวได้ ก็จะกลับไปใช้ชื่อนั้นอย่างแน่นอน เพราะตนรักและชอบความหมายของชื่อ "พรรคเกรียน" คือ สั้น สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

นอกจากนี้ สมบัติ ยังเข้ายื่นฟ้องนายทะเบียนพรรคการเมือง ต่อศาลปกครองกลาง กรณีนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อดังกล่าว เนื่องจากชื่อเข้าข่ายอาจทำให้สังคมสับสนในความหมาย อันอาจไม่เหมาะสมขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ว่าจะยื่นอุทธรณ์แล้วแต่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ยังยืนยันที่จะไม่อนุญาต   จึงขอพึ่งศาลปกครองให้คุ้มครอง 

"รับไม่ได้กับการที่นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อพรรคเกรียน  ทั้งที่เป็นเสรีภาพในการตั้งชื่อพรรคและหากใช้ชื่อเกียนแล้วยังไม่ได้รับอนุญาตอีกก็จะถือว่ามีอดคติส่วนตัว" สมบัติ  กล่าว

ส่วนการขออนุญาต คสช.เพื่อจัดประชุมนั้น สมบัติ กล่าวว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ เพราะตามรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.พรรคการเมืองไม่ได้กำหนดไว้  แต่มีระบุในคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 53/2560 ดังนั้นจึงมีแนวทางว่าอาจจะจัดประชุมโดยไม่ขออนุญาต หาก คสช.เห็นว่าผิดก็ให้จับตน แต่การประชุมก็ยังดำเนินการต่อได้ ซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะยังมีเวลาถึง 180 วัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา สมบัติ ได้เข้ายื่นอุทธรณ์ต่อ กกต. เพื่อขอให้ตีความชื่อพรรคใหม่ จนมีจดหมายดังกล่าวกลับมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

[คลิป]รังสิมันต์ โรม ย้ำ 22 พ.ค. เคลื่อนไปทำเนียบรัฐบาล-ชู 3 นิ้วทวงเลือกตั้งปีนี้

Posted: 21 May 2018 10:22 AM PDT

รังสิมันต์ โรม ปราศรัยเวทีคนอยากเลือกตั้ง เมื่อเวลา 21.40 น. วันที่ 21 พ.ค. 2561 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนัดหมาย 07.00 น. ผู้ชุมนุมที่ปักหลักพักค้างและที่กำลังเดินทางสมทบในช่วงเช้ามืดจะเริ่มเอ็กเซอร์ไซส์ จากนั้นเวลา 08.30 น. จะเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ โดยหวังไปชู 3 นิ้วต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ นิ้วที่ 1 เลือกตั้งปีนี้ นิ้วที่ 2 ยุบ คสช. เหลือแค่รัฐบาลรักษาการณ์ และนิ้วที่ 3 พอกันที หยุดสนับสนุน คสช.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'คนอยากเลือกตั้ง' เตรียมชุดสันติวิธีไว้อย่างน้อย 100 คน ขอ ตร.อย่ารุนแรง

Posted: 21 May 2018 10:07 AM PDT

แกนนำคนอยากเลือกตั้งจัดชุดสันติวิธีไว้ 100 คนเพื่อสื่อสาร เจรจาเจ้าหน้าที่ ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัย ไม่ให้มีการยั่วยุจากผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ แกนนำย้ำชัด เน้นชุมนุมโดยสันติ นัดหมายเริ่มออกเดินไปชูสามนิ้วให้ประยุทธ์-ประวิตร 8.30 น.

22 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พื้นที่ชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งว่า อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน และหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมระบุว่า ได้เตรียมชุดสันติวิธีไว้จำนวน 100 คนเพื่อเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีที่มีเหตุการณ์รุนแรง

ทั้งนี้ รังสิมันต์ โรม หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งระบุว่าในวันพรุ่งนี้จะมีชุดสันติวิธีมาเพิ่มอีก และได้ขอให้ตำรวจอย่าใช้ความรุนแรง ผู้ชุมนุมจะยึดสันติวิธีเพราะข้อเรียกร้องคือสิทธิเลือกตั้ง โดยความสำเร็จในวันพรุ่งนี้สำหรับคนไทยทุกคนคือ ทำให้ทุกคนรู้ว่าสิทธิเลือกตั้งเป็นของเรา

เรวดี สิทธิสุราษฎร์ วัย 63 ปี ร่วมเป็นหนึ่งในทีมสันติวิธีที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสันติวิธีจะคอยดูแลความเรียบร้อย ความปลอดภัยของกิจกรรม ทีมสันติวิธีจะเจรจาสื่อสารเจ้าหน้าที่ตำรวจหากมีเหตุด่วน ระวังไม่ให้มีการยั่วยุทั้งจากฝั่งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ โดยขอรัฐบาลอย่าใช้ความรุนแรง เพราะมาเรียกร้องรัฐบาลเรื่องเดียวคือต้องกำหนดวันเลือกตั้งปีนี้ ไม่ใช่เลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนเดือดร้อน ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) รังสิมันต์ ปราศรัยเมื่อเวลา 21.40 น. นัดหมายวันที่ 22 พ.ค. เวลา 07.00 น. ผู้ชุมนุมที่ปักหลักพักค้างและที่กำลังเดินทางสมทบในช่วงเช้ามืดจะเริ่มออกกำลังกาย จากนั้นเวลา 08.30 น. จะเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เจอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ หวังไปชู 3 นิ้วต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ นิ้วที่หนึ่งหมายความว่าเลือกตั้งปีนี้ นิ้วที่สองหมายความว่ายุบ คสช. เหลือแค่รัฐบาลรักษาการณ์ นิ้วที่สามหมายความว่าพอกันที หยุดสนับสนุน คสช.

ธรรมศาสตร์สั่งงดใช้สนามฟุตบอล ช่วงคนอยากเลือกตั้งนัดชุมนุม

'คนอยากเลือกตั้ง' ฟ้องศาลปกครองให้ ตร.เลิกการห้ามเดินขบวน-หยุดคุกคามผู้ชุมนุม

ทหารปล่อยผู้ให้บริการเครื่องเสียงคนอยากเลือกตั้งแล้ว หลังถูกคุมตัวเข้า มทบ.11 วานนี้

ตร. 50 นาย บุกค้นบ้าน 1 ในผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง

ภาพจากพื้นที่ในตอนกลางคืน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อุ้มไปค่าย-เข้าค้น-เฝ้าหน้าบ้าน-ห้ามไม่ให้ร่วม: สถานการณ์สกัดคนอยากเลือกตั้งทั่วประเทศ

Posted: 21 May 2018 09:54 AM PDT


 

จากกรณีกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยนัดหมายจัดการชุมนุม "22 พฤษภา เราจะหยุดระบอบ คสช." เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ และเรียกร้องให้ คสช.หยุดสืบอำนาจ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 21 พ.ค. และมีกำหนดการจะเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้าวันที่ 22 พ.ค. นั้น  ก่อนหน้ากิจกรรม มีรายงานการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐที่เดินทางไปที่บ้านของผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้งเป็นระยะตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา

(ดูในรายงาน ปฏิบัติการเยี่ยมบ้านคนอยากเลือกตั้ง เพิ่มอุณหภูมิแล้งร้อนให้ประเทศไทย และ มองทหาร-ตำรวจตระเวนเยี่ยมบ้านคนอยากเลือกตั้ง ในฐานะปฏิบัติการจิตวิทยา)

การติดตามและคุกคามถึงที่บ้านโดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเป็นไปอย่างเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในช่วงตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. จนถึงช่วงเช้าวันที่ 21 พ.ค. มีประชาชนอย่างน้อย 54 ราย ที่ถูกเจ้าหน้าที่เข้าเยี่ยมบ้าน นัดหมายพบเจอ เฝ้าติดตาม หรือถูกโทรศัพท์ติดตามความเคลื่อนไหวเป็นระยะ โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนเท่าที่ทราบเท่านั้น สถานการณ์ลักษณะนี้เป็นไปได้ว่าเกิดขึ้นกับประชาชนในหลักหลายร้อยคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

ทั้งหมดถูกสอบถามว่าจะเดินทางไปชุมนุมในวันที่ 21-22 พ.ค.นี้ หรือไม่ และหลายกรณีมีการขอหรือข่มขู่ไม่ให้ไปร่วมกิจกรรม ทั้งยังมีลักษณะปฏิบัติการที่รุนแรงขึ้น อาทิเช่น การเข้าควบคุมตัวไปค่ายทหาร การนำหมายค้นเข้าตรวจค้น การนำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากไปล้อมบ้าน การติดตามความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง หรือการให้เซ็นเอกสารข้อตกลงไม่ไปร่วมการชุมนุม

ผู้ถูกติดตามคุกคามหลายสิบคนเป็นผู้เคยถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมเรียกร้องเรื่องการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา ทั้งเจ้าหน้าที่ยังเข้าติดตามกลุ่มประชาสังคมอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งแต่อย่างใด เช่นกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ หรือคนเสื้อแดงในต่างจังหวัด ซึ่งไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมในปีนี้

ต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในขณะนี้


ทหาร-ตร.บุกอุ้มคนให้เช่าเครื่องเสียงไปค่ายทหาร

วันที่ 20 พ.ค. 61 เวลาประมาณ 16.00 น. นายอุทัย แถวโพธิ หรือ 'จี๊ด' ซึ่งเป็นผู้เคยให้บริการเช่าเครื่องเสียง และเคยให้เช่าเครื่องเสียงในการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้ง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบประมาณ 10 นาย เข้าควบคุมตัวจากบ้านพัก ภรรยาเปิดเผยว่าในขณะควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีหมายจับใดๆ แต่แจ้งว่าจะพาตัวไปสอบถามข้อมูลที่มณฑลทหารบกที่ 11 แต่ไม่ระบุว่าเป็นเรื่องอะไร เพียงแต่บอกว่าได้รับคำสั่งมา ภรรยาและลูกชายจึงได้ขอติดตามไปด้วย และขณะควบคุมตัว ได้มีเจ้าหน้าที่เข้าขับรถกระบะที่บรรทุกเครื่องเสียงออกไปด้วย

เมื่อไปถึงค่ายทหาร เจ้าหน้าที่ได้ให้ภรรยาและลูกรอที่รถ ก่อนพาตัวนายอุทัยเข้าไปยังตึกภายในค่ายมทบ.11 จากนั้นเจ้าหน้าที่ทหารก็ได้ขับรถพาภรรยาและลูกกลับไปส่ง โดยที่ยังควบคุมตัวนายอุทัยและได้ยึดรถเครื่องเสียงไว้

ต่อมามีรายงานว่าในสายวันนี้ 21 พ.ค. 61 เจ้าหน้าที่ทหารได้นำตัวนายอุทัยไปส่งคืนที่บ้านแล้ว โดยเขาถูกควบคุมตัวไว้ที่ค่ายทหารทั้งคืน และถูกให้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลง (MOU) ไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง และไม่เดินทางออกนอกประเทศ แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ส่งคืนรถเครื่องเสียงที่ยึดเอาไว้ด้วยแต่อย่างใด


ภาพนายอุทัย แถวโพธิ


นำหมายค้นเข้าตรวจค้นบ้านผู้ชุมนุมหลายราย แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใด

นอกจากการบุก "อุ้ม" ไปค่ายทหาร ยังมีรายงานกรณีที่เจ้าหน้าที่นำหมายค้นของศาล เข้าไปตรวจค้นบ้านของผู้เคยร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งหลายราย อาทิเช่น กรณีน.ส.กุลวดี ดีจันทร์ หนึ่งในผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง และเป็นผู้ถูกดำเนินคดี ARMY57 ย่านปทุมธานี (ดูในรายงานข่าว)

นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ "ฟอร์ด เส้นทางสีแดง" หนึ่งในผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบประมาณ 8-9 นาย นำหมายค้นของศาลมาที่บ้าน ตั้งแต่เวลา 6.45 น. ของวันที่ 21 พ.ค.61 โดยเมื่อเข้าตรวจค้นก็ไม่ได้พบสิ่งผิดกฎหมายใด เจ้าหน้าที่ได้สอบถามเรื่องการไปร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย ซึ่งนายอนุรักษ์ยังยืนยันว่าจะไปร่วมกิจกรรม


ภาพขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์
(ภาพจากเฟซบุ๊กของนายอนุรักษ์)

ด้านนายเทวินทร์ พูลทวี และนางประนอม พูลทวี สองสามีภรรยา ซึ่งเป็นผู้ถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมหน้ากองทัพบก หรือ "ARMY57"  ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายหน่วยเข้าติดตามนัดหมายพูดคุยอย่างต่อเนื่องแทบทุกวัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีทั้งการนัดกินข้าว เข้าไปเยี่ยมบ้าน ติดตามถ่ายรูป และมีการขอไม่ให้ไปร่วมการชุมนุมทั้งในวันที่ 19 และ 21-22 พ.ค.นี้   ต่อมาในช่วงเช้าวันที่ 21 พ.ค. 61 ได้มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบประมาณ 12 นาย เดินทางโดยรถ 7 คันรถ นำหมายค้นเข้ามาตรวจค้นที่บ้านของทั้งสองคน แต่ไม่ได้พบสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นบ้านของผู้เคยร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งอีกรายหนึ่ง ที่เคยเขาไปช่วยงานด้านการแจกจ่ายอาหารในที่ชุมนุม โดยมีการนำหมายค้นเข้าตรวจค้น ขณะเธอไม่อยู่บ้าน มีเพียงลูกชายอยู่บ้านขณะการตรวจค้น และไม่ได้พบสิ่งผิดกฎหมายใด


ภาพขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านนายเทวินทร์ พูลทวี


นำกำลังหน่วยสวาท-หน่วยอรินทราช กว่า 50 นายบุกล้อมบ้าน ก่อนบังคับเซ็น MOU ไม่ไปชุมนุม

ด้านนายสมบัติ ทองย้อย ช่างกรองน้ำ ผู้ร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง และถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน หรือ "RDN 50" เปิดเผยว่าในช่วงสายวันที่ 19 พ.ค. 61 ขณะกำลังเดินทางกลับจากการทำงาน ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้โทรศัพท์สอบถามว่าจะกลับบ้านเมื่อไร  และต่อมาญาติซึ่งอยู่บ้านย่านสมุทรปราการ ติดต่อแจ้งว่าได้มีเจ้าหน้าที่จะมาค้นบ้าน โดยมีการนำหนังสือบางอย่างมาให้ดู เพื่อขอเข้าตรวจค้น แต่ไม่ใช่หมายค้นแต่อย่างใด

เมื่อนายสมบัติกลับถึงบ้านพบว่ามีรถเจ้าหน้าที่มากกว่า 10 คัน จอดอยู่ที่หน้าปากซอย ทางในซอยพบว่ามีเจ้าหน้าที่หน่วยสวาท (SWAT)  2-3 คันรถ และเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 50 คน กำลังล้อมบ้านเขาอยู่ เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่าเป็นหน่วยอรินทราช ซึ่งถืออาวุธครบมือ ทำให้ในซอยมีแต่เจ้าหน้าที่ชุดดำเต็มไปหมด

เมื่อเข้าไปพูดคุย เจ้าหน้าที่ได้สอบถามนายสมบัติเรื่องการไปร่วมชุมนุมที่ธรรมศ่าสตร์ โดยเจ้าหน้าที่ได้มีการให้เขาทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าจะไม่ไปร่วมการชุมนุมในวันที่ 21-22 พ.ค. นี้ เมื่อเขายินยอมเซ็น เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้มีการเข้าไปตรวจค้นในบ้าน แต่ได้เชิญเขาให้ไปทำประวัติที่สภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงช่วงเย็นวันนั้น


ภาพเจ้าหน้าที่หน่วยอรินทราชพร้อมอาวุธ บริเวณซอยบ้านนายสมบัติ ทองย้อย
(ภาพจากเฟซบุ๊กของนายสมบัติ)


คอยเฝ้าติดตามคนอยากเลือกตั้ง 24 ชั่วโมง จนต้องเข้าไปนอนโรงพัก เพื่อความปลอดภัย

อีกกรณีหนึ่งคือกรณีของนางพรวลัย ทวีธนะวานิชย์ ผู้ถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งทั้ง "MBK 39" และ "RDN 50" ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลเดินทางไปพบ 3 รอบ ที่บ้านย่านจังหวัดปทุมธานี จนในวันที่ 20 พ.ค. ได้มีเจ้าหน้าที่ขับรถติดตามเธอและเพื่อนซึ่งเดินทางจากบ้านไปยังจังหวัดอยุธยาตลอดทั้งวัน

เธอสังเกตเห็นเมื่อได้จอดแวะทำธุระที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง พบว่ามีชายเดินเข้ามาใกล้และพยายามถ่ายรูป หลังจากออกจากที่นั่นก็เริ่มสังเกตว่ามีรถขับติดตามมา เมื่อลองแวะบางสถานที่ถึงสองสามครั้ง รถคันดังกล่าวก็ติดตามเข้าไปด้วย โดยรถมีการติดฟิล์มหนา ทำให้มองไม่เห็นคนในรถด้วย ทำให้เธอเกิดความตกใจกลัว ในช่วงค่ำ ระหว่างกลับจากอยุธยา เธอและเพื่อนจึงตัดสินใจเดินทางเข้าไปที่สภ.คลองหลวง เพื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแจ้งเรื่องการโดนติดตามตั้งแต่ช่วงเช้า


ภาพเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางไปที่บ้านผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้งรายหนึ่ง
ที่จังหวัดกำแพงเพชร


ติดตามหาตัวนักศึกษาหลายคนถึงในมหาวิทยาลัยและที่บ้าน

ด้านนักศึกษาผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งในช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีรายงานว่าได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้าติดตามตัวถึงมหาวิทยาลัยในหลายพื้นที่  เช่น นายยามารุดดิน ทรงศิริ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และผู้ถูกดำเนินคดีในกรณีชุมนุมหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU06) เมื่อวันที่ 19 พ.ค.61 ได้รับทราบจากเพื่อนในมหาวิทยาลัยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปสอบถามถึงตน ว่าจะไปร่วมชุมนุมหรือไม่ และพยายามสอบถามถึงจำนวนผู้จะไปร่วมชุมนุมเรียกร้องเรื่องการเลือกตั้ง แต่ทางเพื่อนนักศึกษาไม่ได้ทราบรายละเอียดแต่อย่างใด

นายชินภัทร วงค์คม นักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 20 พ.ค.61  ได้รับแจ้งว่าได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปสอบถามถึงเขาจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัย พร้อมสอบถามถึงเบอร์โทรศัพท์และหอพักที่เขาอยู่ โดยระบุว่าได้รับคำสั่งให้มาติดตามตัวจนถึงวันที่ 23 พ.ค. 61 เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการชุมนุม

ต่อมาในวันเดียวกัน ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสภ.เมืองพะเยา 3 นาย เดินทางไปที่บ้านของเขา เมื่อได้พูดคุยกับมารดา พยายามสอบถามว่าชินภัทรอยู่ที่ไหน เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ติดตามตัว พร้อมระบุว่าครั้งหน้าเจ้าหน้าที่ทหารจะเข้ามาติดตามเอง ทำให้มารดาของชินภัทรเกิดความหวั่นวิตกอย่างมาก

ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีเจ้าหน้าที่สันติบาล 2 นาย เดินทางไปที่บ้านของนายอภิบาล สมหวัง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 61 โดยระบุกับครอบครัวว่ามาติดตามเพราะอภิบาลเคยไปร่วมการชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันถัดมายังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์สอบถามบิดาของเขาว่าเขาอยู่ที่ไหน พร้อมกับเตือนว่าหากนายอภิบาลขึ้นเวทีของคนอยากเลือกตั้งที่กรุงเทพฯ จะต้อง "โดน" แน่


ไปที่ทำงาน-เฝ้าหน้าบ้าน "หมอราชบุรี" ต่อเนื่อง

ส่วนนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล ศัลยแพทย์ทั่วไปจังหวัดราชบุรี และเป็นผู้ถูกดำเนินคดีร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่ราชดำเนิน หรือ RDN50 เปิดเผยว่าในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาติดตามพบทั้งที่บ้านและที่ทำงานหลายครั้ง โดยเมื่อวันที่ 18 พ.ค. ผู้บังคับการของจังหวัดราชบุรีได้เข้าพูดคุยถึงที่ทำงาน ทั้งยังมีตำรวจสันติบาลเข้าไปพูดคุยที่ทำงานเช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่พยายามสอบถามเรื่องการไปร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุว่าถ้าคุณหมอไปจะทำให้เจ้าหน้าที่เดือดร้อนด้วย  และยังพยายามสอบถามกิจวัตรในแต่ละวันของเขาด้วย

นอกจากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสายสืบของ สภ.เมืองราชบุรี มารอพบที่หน้าบ้าน และมีการวนเวียนอยู่ที่หน้าบ้านหลายสิบครั้งตลอดหลายวันนี้ โดยระบุว่า "นาย" ให้มาเฝ้าทั้งวันด้วย


ภาพเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้าพูดคุยกับ น.พ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล

ในที่ทำงาน (ภาพจากเฟซบุ๊กของน.พ.พงษ์ศักดิ์)


ไปบ้านพ่อ "ไผ่ดาวดิน" สามวันติด อ้าง "นาย" ให้มาถาม

ด้านนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา หรือบิดาของ "ไผ่ ดาวดิน" และผู้ถูกดำเนินคดีร่วมชุมนุมที่ราชดำเนิน หรือ RDN50 ก็ได้มีทั้งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ มาหาที่บ้านสามวันติดต่อกัน โดยวันที่ 18 พ.ค. มีทหาร 3 นาย พยายามเข้าสอบถามว่าจะไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ หรือไม่ โดยระบุว่า "นาย" ให้มาถาม และพยายามขอเข้าบ้านและถ่ายรูป แต่นายวิบูลย์ไม่อนุญาต และยืนยันถ้า "นาย" อยากรู้ ให้มาถามเอง

วันที่ 19 พ.ค. ได้มีตำรวจ 4 นาย เดินทางมาถามเรื่องการไปชุมนุมเช่นเดียวกัน นายวิบูลย์ยังยืนยันเช่นเดิมว่าให้ "นาย" มาพูดคุยด้วยตนเอง พร้อมระบุว่าการมาโดยไม่บอกกล่าวเช่นนี้เป็นการเสียมารยาทอย่างมาก และวันที่ 20 พ.ค. ยังมีตำรวจมาที่บ้านขณะที่วิบูลย์ไม่อยู่ โดยภรรยาก็ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าบ้านเช่นกัน


ภาพขณะเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางไปที่บ้านนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา
(ภาพจากเฟซบุ๊กนายวิบูลย์)

เสนอเหมาซื้อหมูยอที่จะไปขายในงานชุมนุม เพื่อไม่ให้เดินทางไปกทม.

อีกกรณีหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 61 ได้มีทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ประมาณ 25 นาย เดินทางไปที่บ้านของนางรัตนา ผุยพรม สมาชิกกลุ่มเสรีชนจังหวัดอุบลราชธานีและเคยเดินทางไปร่วมกิจกรรมคนอยากเลือกตั้งก่อนหน้านี้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารมีการพูดคุยขอให้อย่าเดินทางไปกรุงเทพฯ ถ้ารัตนาไป เนื่องจากจะเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และขัดต่อคำสั่งของ คสช.  และจะทำให้เจ้าหน้าที่ถูกต่อว่า ว่าคุมคนในพื้นที่ไม่ได้ แต่รัตนายืนยันว่าได้สั่งหมูยอเพื่อไปจำหน่ายที่งานไว้แล้ว ถ้าไม่ไปก็จะทำให้ของเสียหาย ถ้าเจ้าหน้าที่ได้มีการพูดคุยว่าจะออกเงินเหมาซื้อหมูยอทั้งหมดไว้ด้วย และจะให้รัตนาไปทำกับข้าวที่สภ.วารินชำราบ โดยอ้างว่ามีงานเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ค.) ด้วย

 

ติดตามคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด

ขณะที่ผู้เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด แม้ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งก็ตาม แต่ก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้าติดตามตัวและพยายามตรวจเช็คความเคลื่อนไหว โดยหลายคนถูกติดตามอย่างต่อเนื่องหลายวันติดต่อกัน

นายคำบง คีรี คนเสื้อแดงในจังหวัดขอนแก่น และเป็นหนึ่งในจำเลยคดีขอนแก่นโมเดล ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางไปที่บ้านเมื่อวันที่ 18 พ.ค. แต่ไม่พบนายคำบง ต่อมาพบว่ามีชายขับรถวนไปมาอยู่บริเวณบ้านหลายรอบ และมีทหารโทรศัพท์ไปหาคำบง โดยสอบถามว่าเขาอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ และจะมีการเคลื่อนไหวอะไรหรือไม่ รวมทั้งยังสอบถามถึงอาชีพที่ทำอยู่และรายได้ ทั้งของเขาและครอบครัว นายคำบงยืนยันว่าตนไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร เพราะต้องทำงานรับจ้างได้ค่าแรงไม่กี่ร้อยบาทต่อวัน และเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ยังได้มีเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เดินทางไปที่บ้านอีก พยายามสอบถามเรื่องการเข้าไปชุมนุมในกรุงเทพฯ เช่นเดิม ขณะเดียวกันยังพยายามถามถึง "ท่อน้ำเลี้ยง" ด้วย แต่นายคำบงยืนยันว่าเขาไม่ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ


ภาพเจ้าหน้าที่เข้าพูดคุยกับคนเสื้อแดงในจังหวัดอุบลราชธานี

นางแจ่มจิตร ศรีโรจน์ คนเสื้อแดงในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารมาที่บ้านหาทั้งในวันที่ 19-20 พ.ค. โดยพยายามสอบถามว่าจะไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ หรือไม่ จะมีการเคลื่อนไหวอะไรไม่ เจ้าหน้าที่ยังมีการขอความร่วมมือไม่ให้ไป โดยระบุว่าคราวนี้เขาเอาจริง "นาย" สั่งมาว่าให้เอาจริง นางแจ่มจิตรจึงแจ้งว่าเธอไม่ได้เดินทางไป

นอกจากนั้นมีรายงานว่ามีแกนนำเสื้อแดงในอีกหลายจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ กำแพงเพชร เป็นต้น ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยต่างๆ เข้าตรวจเช็คความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

 

ติดตามตรวจเช็คชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายพื้นที่

ขณะเดียวกัน ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ก็ถูกเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจเช็คความเคลื่อนไหวเช่นกัน แม้ไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งมาก่อน   อาทิเช่น กรณีพ่อบุญช่วย โสสีทา กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมตำรวจ เดินทางไปพบขณะกำลังทำงานในหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่พยายามสอบถามว่าจะไปกรุงเทพฯ หรือไม่ จะพาชาวบ้านไปด้วยหรือไม่ และจะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอะไรไหม ทางนายบุญช่วยยืนยันว่าไม่ได้ไปและไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร ในวันดังกล่าว เจ้าหน้าที่ทหารระบุด้วยว่าอยากให้นายบุญช่วยไปพูดคุยกับพ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี หรือ "เสธ.พีท" จาก กกล.รส.จังหวัดขอนแก่น โดยให้ไปพูดคุยที่ศาลากลางจังหวัด เนื่องจาก "นาย" สั่งมา แต่พ่อบุญช่วยปฏิเสธไม่เดินทางไป


ภาพเจ้าหน้าที่เข้าติดตามกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว

รวมทั้งยังมีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางไปที่บ้านของสมาชิกกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย ซึ่งคัดค้านเหมืองทองคำในพื้นที่ ไปติดตามตรวจสอบชาวบ้านเครือข่ายกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งคัดค้านเหมืองแร่โปรแทซ และชาวบ้านกลุ่มรักษ์น้ำอูน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งคัดค้านโคงการโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงงานน้ำตาลด้วย

 

ที่มา: www.tlhr2014.com/th/?p=7341

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: มาเลเซียเปลี่ยนรัฐบาลแต่ทุกอย่างเหมือนเดิม

Posted: 21 May 2018 09:43 AM PDT



ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในมาเลเซียคือชัยชนะจอมปลอม เพราะถึงแม้ว่าพรรค U.M.N.O. ที่เคยปกครองประเทศมาตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเป็นฝ่ายแพ้ แต่มหาธีร์คนที่จะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของพรรค U.M.N.O. ระหว่างปี 1981 ถึง 2003

รัฐบาลของนาจิบ ราซัค แพ้การเลือกตั้งเพราะมีเรื่องอื้อฉาวคอร์รับชั่น แต่ในสมัยที่มหาธีร์เป็นนายกก่อนหน้านี้รัฐบาลก็มีเรื่องอื้อฉาวและมีการแจกผลประโยชน์ให้พรรคพวกเช่นกัน นอกจากนี้มหาธีร์มีประวัติในการปกครองแบบกึ่งเผด็จการโดยจับนักการเมืองฝ่ายค้านเข้าคุกหลายครั้ง

รัฐบาลใหม่ของพรรคแนวร่วม Pakatan Harapan มีข้อตกลงว่ามหาธีร์จะเป็นนายกสองปี หลังจากนั้น อันวาร์ อิบราฮิม จะขึ้นมาสู่ตำแหน่งแทน อันวาร์ เป็นอดีตนักการเมืองคนโปรดของมหาธีร์ในพรรค U.M.N.O. ก่อนที่จะทะเลาะกับมหาธีร์และถูกจำคุกภายใต้ข้อหาเท็จเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย

สรุปแล้วผลการเลือกตั้งมาเลเซียเป็นแค่ละครเปลี่ยนเก้าอี้ของนักการเมืองกระแสหลักที่เคยผูกพันกับพรรค U.M.N.O. ส่วนพรรคอื่นๆ ในแนวร่วมก็ผลัดกันกิน

สำหรับสหายเราในพรรคสังคมนิยมมาเลเซีย P.S.M. ปรากฏว่าพรรคไม่ได้ที่นั่งในรัฐสภาเลย ในอดีตพรรคเคยมีข้อตกลงกับฝ่ายค้านเลยชนะที่นั่งบ้าง ปีนี้พรรคไม่ยอมทำข้อตกลงกับฝ่ายค้านเพราะนำโดยคนอย่างมหาธีร์

มาเลเซียไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบ เพราะมีการออกแบบระบบการเลือกตั้งตามเชื้อชาติ และมีการใช้กฏหมายความมั่นคงภายในเพื่อข่มขู่นักการเมืองฝ่ายค้านเสมอ

นโยบายการเมืองเชื้อชาติมีวัตถุประสงค์ในการระงับการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของคนชั้นล่าง รัฐบาลมาเลเซียใช้ประเด็นเชื้อชาติเป็น "หน้ากากบังหน้า" เพื่อให้ความชอบธรรมกับตนเอง โดยอ้างว่ารัฐบาลผสมของแนวร่วมชาติเป็นตัวแทนของทุกเชื้อชาติ ขณะที่ในความเป็นจริงมันเป็นแนวร่วมระหว่างนายทุนเอกชน (นายทุนจีนและอินเดีย) กับนายทุนข้าราชการ (นายทุนมาเลย์) และการเมืองชนชั้นถูกปราบปรามตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนถึงปัจจุบัน

ความคิดเรื่องการเมืองเชื้อชาติเป็นเครื่องมือที่รัฐต่างๆ ใช้เพื่อแก้ปัญหาความไม่พอใจหรือปัญหาข้อกังวลของประชาชนที่มาจากโครงสร้างสังคมแบบชนชั้น

การจลาจลปี ค.ศ. 1969 ถูกอ้างเสมอเพื่อให้ความชอบธรรมกับนโยบายการเมืองแบบเชื้อชาติ แต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการจลาจลครั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เพราะก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นคะแนนเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลเช่น U.M.N.O. กับพรรคนายทุนจีน M.C.A. ลดลง พรรคที่ได้คะแนนเพิ่มเป็นพรรคที่มีความเกี่ยวข้องกับคนชั้นล่าง ทั้งๆที่บางพรรคยังอาจอยู่ในกรอบเชื้อชาติเป็นส่วนใหญ่ ในสถานการณ์แบบนี้องค์กรเยาวชนของ U.M.N.O. เป็นผู้ก่อความรุนแรงก่อน โดยเข้าไปโจมตีชาวจีนเพื่อปลุกกระแสความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างของรัฐที่จะประกาศภาวะฉุกเฉินและปราบปรามพรรคฝ่ายค้าน

ตั้งแต่ปี 1969 ชนชั้นปกครองมาเลเซียใช้นโยบายชาตินิยม-เชื้อชาติเพื่อสร้างฐานสนับสนุนในหมู่ชาวนาและกรรมาชีพเชื้อสายมาเลย์ โดยพยายามสร้างภาพปลอมว่าคัดค้านนายทุนจีนและนายทุนต่างชาติ และในขณะเดียวกันมีการปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สังกัดชนชั้น

หลังการเลือกตั้งทั่วไปรอบปัจจุบันไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานอะไรว่าพรรคแนวร่วม Pakatan Harapan จะเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มีประชาธิปไตยเต็มใบแต่อย่างใด

 

 

ที่มา: turnleftthai.wordpress.com

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแพ่งสั่งจำหน่ายชั่วคราว คดี กกต.ฟ้อง กปปส.ขวางการเลือกตั้ง ให้รอฟังผลคดีอาญาก่อน

Posted: 21 May 2018 09:40 AM PDT

ศาลแพ่งสั่งจำหน่ายคดี ที่ กกต.ฟ้อง กปปส.ขัดขวางการเลือกตั้งชั่วคราว โดยให้รอฟังผลคดีอาญาก่อน 'สุเทพ' ยันเจตนาดี มั่นใจไม่ได้ขัดขวางการเลือกตั้ง ย้ำ กกต.จัดการเลือกตั้งไม่สำเร็จเป็นเรื่องของรัฐบาลในขณะนั้น และ กกต.ที่จะต้องรับผิดชอบ พร้อมแถลงปฏิเสธข่าว กปปส.นัดรวมตัวคนไม่อยากเลือกตั้ง
ที่มาภาพ เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)
 
21 พ.ค.2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วันนี้ ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาฯ  ศาลนัดชี้สองสถาน คดี สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกลุ่ม กปปส. และประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และพวกรวม 39 คน เป็นจำเลยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีขัดขวางการจัดการเลือกตั้งของ กกต. เมื่อปี 2557 ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 3,100 ล้านบาท
 
สุเทพและ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย จำเลยหลักๆ มาศาล เบื้องต้น ศาลให้รวมสำนวนคดีแพ่งของจำเลยอีก 1 คน ซึ่งเป็นประชาชนใน จ.สุราษฎร์ธานี มาไว้ด้วยกัน ทำให้จำเลยคดีนี้มีทั้งหมด 39 คน ศาลได้ชี้สองสถาน เพื่อกำหนดประเด็นการต่อสู้ให้มีความครอบคลุม อาทิ มีการฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ และการฟ้องของโจทก์ใช้สิทธิ์โดยสุจริตและมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ โจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใด จำเลยทั้งหมดต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด  และทนายโจทก์ขอนำสืบพยานในชั้นศาลจำนวน 126 ปาก ส่วนจำเลยขอนำสืบประมาณ 50 ปาก
 
แต่ศาลเห็นว่า จำเลยมีคดีที่เกี่ยวข้องและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลอาญาศาลเห็นควรให้มีการพิจารณาจำหน่ายคดีแพ่งชั่วคราว เพื่อรอฟังผลคดีอาญา ซึ่งเป็นคดีกบฏ ข้อกล่าวหาทั้งอั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุมชุมนุมและขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งศาลอาญานัดตรวจพยานหลักฐานคดีกบฏ 25 มิ.ย.นี้ 
 
เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)' รายงานว่า หลังเสร็จสิ้นการพิจารณา สุเทพ ให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้ กกต.ฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีการจัดเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ที่จัดไม่สำเร็จ เพราะพวกตนไปขัดขวางการเลือกตั้งทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยคดีนี้มีชาวพัทลุงรายหนึ่งเสียชีวิต ฝ่ายโจทก์บอกให้นำภรรยาและบุตรของผู้เสียชีวิตเข้ามาเป็นจำเลยร่วมรับผิดชอบความเสียหายในคดีนี้ด้วย ส่วนตัวสงสารมากเพราะภรรยาและบุตรของผู้เสียชีวิตนั้นไม่มีสมบัติอะไร แต่ก็ถูกนำมาร่วมรับผิดชอบ ต้องว่าไปตามกระบวนการทางกฎหมาย จำเลยรายหนึ่งที่ถูกแยกฟ้องก็เอามารวมเป็นคดีเดียวกัน ประเด็นการฟ้องของโจทก์ใช้สิทธิ์โดยสุจริตหรือไม่ ข้อเท็จจริงคือการจัดการเลือกตั้งนั้น โจทก์คือ กกต.รู้อยู่แล้วว่าประชาชนทั้งประเทศต่อต้านคัดค้านการเลือกตั้ง แล้วก็มีองค์กรหลายองค์กรได้แสดงความเห็นแล้วว่าไม่ควรจัดการเลือกตั้ง แต่ กกต.ก็เลือกที่จะเสี่ยงภัยเอาเอง ดึงดันจัดการเลือกตั้ง เมื่อจัดแล้วมีความเสียหายจะมาบอกว่าเป็นการใช้สิทธิ์โดยสุจริตก็ไม่ได้

 

สุเทพ กล่าวต่อไปว่า ฝ่ายโจทก์ได้เสนอพยานมาทั้งหมด 126 คน ฝ่ายจำเลยมีพยานประมาณ 50 คน ศาลเห็นว่าคดีแพ่งนี้มีผลเกี่ยวข้องต่อเนื่องจากคดีอาญา ศาลได้สอบถามคดีอาญาที่ตนถูกดำเนินคดี ตนก็ได้กราบเรียนให้ทราบคดีจากการชุมนุมคราวนี้มีตั้งแต่ก่อการร้าย กบฏ ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อั้งยี่ ซ่องโจร บุกรุกสถานที่ราชการ และขัดขวางการเลือกตั้ง ศาลจึงวินิจฉัยให้รอผลการพิจารณาคดีอาญาเรื่องขัดขวางการเลือกตั้งด้วย ขอขอบคุณประชาชนที่เป็นห่วงพวกตนจะล้มละลายเพราะต้องเสียค่าเสียหาย 3,100 ล้านบาท

 

"พวกผม มวลมหาประชาชนที่ออกมาต่อสู้กัน เรามีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง ความตั้งใจดีของเราในเรื่องนี้ เราได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังว่า เราต่อสู้ในฐานะพลเมืองดี เราระวังไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นตามข้อกล่าวหาทั้งหมดเรามั่นใจว่า เราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นเราต้องรวบรวมเอกสารพยานหลักฐาน บุคคลมาเป็นพยานยืนยันกับศาล แล้วเราคิดว่าเราทำได้" สุเทพ กล่าว พร้อมยืนยันว่า มั่นใจไม่ได้ขัดขวางการเลือกตั้งตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และพร้อมสู้คดี เพราะมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่า กรณีดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ความผิดของกลุ่ม กปปส.และประชาชน พร้อมให้เหตุผลว่า การที่ กกต.จัดการเลือกตั้งไม่สำเร็จเป็นเรื่องของรัฐบาลในขณะนั้น และ กกต.ที่จะต้องรับผิดชอบ

 

สำหรับคดีอาญาของสุเทพกับพวกเกี่ยวกับการชุมนุมกลุ่ม กปปส. ในข้อหากบฏและข้อหาอื่นที่รวมถึงการขัดขวางการเลือกตั้งนั้น ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดตรวจหลักฐานในวันที่ 25 มิ.ย. นี้ เวลา 9.00 น. ส่วนคดีแพ่งนี้เคยมีการนัดชี้สองสถานครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2561 แต่เลื่อนนัดมาเป็นวันนี้เนื่องจากมีจำเลย 1 รายที่เสียชีวิต และการฟ้องเพิ่ม 1 ราย

 

นอกจากนี้ สุเทพ ยังแถลงปฏิเสธข่าว กปปส.นัดรวมตัวคนไม่อยากเลือกตั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด 'รพิพรรณ' ภรรยาของ อริสมันต์ ร่ำรวยผิดปกติ

Posted: 21 May 2018 09:15 AM PDT

ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด 'รพิพรรณ' ภรรยาของ อริสมันต์ ร่ำรวยผิดปกติกว่า 42 ล้านบาท ส่งสำนวนให้ อัยการสูงสุดฟ้องยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน พร้อม  ชี้มูลความผิดหัวหน้าสนง.จังหวัดพิษณุโลกพร้อมพวกทุจริตจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 ทั้งอาญาและวินัยร้ายแรง
 

21 พ.ค.2561 วันนี้ วรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด รพิพรรณ พงศ์เรืองรอง ภรรยาของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.กรณีเข้ารับตำแหน่ง กรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี  โดย ป.ป.ช.ตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางบัญชีกรณีเข้ารับตำแหน่งกับกรณีพ้นจากตำแหน่ง พบว่า รพิพรรณ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นกว่า 21 ล้านบาท (21,534,084.34 บาท) จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ รพิพรรณ โดยมี สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ

วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีเงินฝาก รพิพรรณ พบว่าทำรายการฝากเงินและถอนเงินออกจากบัญชีจำนวนมาก และยังพบการซื้อทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งจำนวนมาก อันเป็นพฤติการณ์โอน ยักย้าย แปรสภาพ หรือซุกซ่อนทรัพย์สิน จึงมีคำสั่งอายัดบัญชีเงินฝาก ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะ รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท (15,545,143.33 บาท) ซึ่ง รพิพรรณ ไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ รวมมูลค่ากว่า 42 ล้านบาท (42,816,226.64 บาท) ประกอบด้วย บัญชีเงินฝาก 6 บัญชี จำนวนกว่า 27 ล้านบาท (27,618,954.64 บาท) ที่ดิน 3 แปลง มูลค่ากว่า 9 ล้านบาท (9,492,000บาท) สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 2 ล้านบาท รถยนต์ 1 คัน มูลค่า 1.8 ล้านบาท และเงินที่นำมาชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร 1.9 ล้านบาท ดังนั้น ป.ป.ช. จึงส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อยึดทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 38 หากไม่สามารถบังคับคดีเอาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติของ รพิพรรณได้ ป.ป.ช.จะขอให้ศาลบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นภายในอายุความ 10 ปี

ชี้มูลความผิดทุจริตจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 ทั้งอาญาและวินัยร้ายแรง

วันเดียวกัน เลขาธิการ ป.ป.ช. ยัง แถลงว่า ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดว่าที่ร.ต.สุรศักดิ์ วงศาโรจน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก กรณีทุจริตโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจค้นยาเสพติด หรือ อัลฟ่า6  โดยวิธีพิเศษ ในวงเงิน 1,650,000 บาท ซึ่งเป็นการลงนามแทนผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งที่ไม่มีอำนาจ โดยขั้นตอนการจัดซื้อ ว่าที่ร.ต.สุรศักดิ์ได้นำใบเสนอราคาของบริษัท แอม เบส พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งไม่เคยจำหน่ายเครื่องตรวจค้นยาเสพติด แต่นำมาเป็นคู่เปรียบเทียบกับบริษัท เอ็ม-แลนดาร์ซ จำกัดที่เสนอราคาถูกกว่า

เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่า คณะกรรมการจัดซื้อไม่เคยสืบราคาจากบริษัทต่างๆ แต่มีความเห็นว่าบริษัทเอ็ม-แลนดาร์ซ จำกัดเสนอราคาต่ำที่สุด จึงอนุมัติให้จัดซื้อเครื่องอัลฟ่า6 จำนวน 1 เครื่อง พร้อมลงโปรแกรมให้สามารถตรวจสารเสพติดได้ 6 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าว่าที่ร.ต.สุรศักดิ์ยังเป็นกรรมการตรวจรับเพียงคนเดียวจากจำนวนกรรมการทั้งหมดที่ต้องมี 3 คน โดยสั่งให้ ขวัญชัย คำชุ่ม กรรมการตรวจรับอีกคนมาลงชื่อในใบตรวจรับพัสดุภายหลัง ขณะที่หลังการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า6 ได้นำไปทดสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ทดสอบเฉพาะการตรวจหายาบ้าเพียงชนิดเดียว
 
"คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติชี้มูลความผิดว่าที่ร.ต.สุรศักดิ์มีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 123 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86, มาตรา 162 (1), (4) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 162 (1), (4) ประกอบมาตรา 84 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต" วรวิทย์ กล่าว
 
เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่า ส่วน วีระกิตติ์  อินทรประสิทธิ์ ประธานกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ มีมูลความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1), (4) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และ ทรงศักดิ์ ภูมิผล กรรมการตรวจรับพัสดุ มีมูลความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1), (4) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และให้กัน นางหทัยกาญจน์ แปงแก้ว กรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ และ ขวัญชัย คำชุ่ม กรรมการตรวจรับพัสดุ เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี
 
เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า สำหรับเรื่องร้องการทุจริตการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 และจีที 200 เกิดขึ้นหลัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องอัลฟ่า 6 ซึ่งปรากฎว่าไม่มีประสิทธิภาพตามคุณลักษณะ จึงนำมาสู่การยื่นเรื่องร้องเรียนต่อป.ป.ช. เมื่อปี 2555 โดยป.ป.ช.ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวน 12 คดีและพิจารณาชี้มูลแล้วเสร็จ 1 เรื่อง คือการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 ของ จ.พิษณุโลก ซึ่ง จะนำสำนวนคดีนี้เป็นแนวทางในการไต่สวนสำนวนคดีที่เหลืออีก 11 คดี
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: ถ้าดีจริงทำไมกลัวม็อบ

Posted: 21 May 2018 07:37 AM PDT



คสช.อยู่ครบ 4 ปี "ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้" ไม่กระดากปากเลยหรือไร พูดในขณะไล่จับคนวิจารณ์แจ้งจับ 8 แกนนำพรรคเพื่อไทย โทษฐานวิจารณ์ผลงานถือเป็นความผิดบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ไก่อูชี้แจงอีกต่างหาก เจ้าหน้าที่ไม่มีทางเลือก ต้องรักษา "กฎหมาย"

คนวิจารณ์เลยเติมให้อีกข้อ ผลงาน คสช. คือทำให้ "ย.ยักษ์" หายไปทำให้กฎหมายวิบัติ ออกคำสั่งเป็นกฎหมาย นึกอยากเอาผิดใคร ก็ไปแจ้งตำรวจที่อยู่ใต้อำนาจรัฐบาล ให้ดำเนินคดีตาม "กฎหมาย"

"ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้" แต่ห้ามวิจารณ์ ห้ามเคลื่อนไหว ห้ามกระทั่งรำลึกคนตายพฤษภา 53 ขู่เอาผิดฐานชุมนุมทางการเมือง จองศาลาทำบุญก็โดนตำรวจยึดที่นั่ง พะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด จึงบอกว่าประเทศนี้ทำอะไรต้องขออนุญาตทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียว ยิงลูกเธอตายไม่ต้องขออนุญาต

4 ปี คสช.ไม่ได้ "บัดโซะ" ไปเสียทุกอย่าง ผลงานดี ๆ ก็มี แต่ต้องดูว่าอยู่บนฐานอะไร ไม่ใช่เอามาเทียบง่าย ๆ ว่าฉับไว ปราบโกงโปร่งใสกว่ารัฐบาลเลือกตั้ง นักการเมืองต้องปรับตัวเสียมั่ง การเมืองจากเลือกตั้งแพ้การเมืองจากรัฐประหาร

โธ่ถัง การเมืองจากรัฐประหารวิพากษ์วิจารณ์ได้ไหมใช้ ม.44 แต่งตั้ง ปลด ย้าย ออกคำสั่งลัดขั้นตอน นักการเมืองทำได้หรือ ถ้ามาจากเลือกตั้งถูกฟ้องบรรลัย แต่นี่ใช้อำนาจโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ปลดองค์กรอิสระยังได้ ปิดสื่อก็ได้ ทั้งโพลล์ทั้งสื่อเกรงใจ ปลด ผอ. ปลด บก. บอกว่าต้องให้ความเป็นธรรมรัฐบาล เพราะจะเชิญท่านมาพูดในงานครบ 72 ปี

คสช.จึงมีผลงานบนสังคมจำยอม ถูกสยบ แต่บางกลุ่มก็สมประโยชน์ บ้างก็สอพลอ เผอิดเผสินเยินยอ ในขณะที่คนเดือดร้อนสะท้อนไม่ได้ เว้นแต่เป็นดราม่าในโลกออนไลน์ แล้วรัฐจะจัดการให้ มีปัญหาอะไร ไก่อูก็จะออกมาสัมภาษณ์ว่านายกฯ เป็นห่วง มีละครเรื่องไหนดัง วงไหนฮิต นักกีฬาคนไหนได้รางวัล ฯลฯ ก็จะเอาไปจัดเรียลลิตี้โชว์ที่ทำเนียบรัฐบาล

บนคำว่า "ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้" ยังแฝงความจริง "ไม่แย่จริงอยู่ไม่ได้" คือความรู้สึกของสังคมว่าประเทศมาถึงจุดอับจน ไม่สามารถอยู่อย่างปกติได้ อยู่ใต้ คสช.ก็แย่ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าเกิดอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ไม่รู้จะแย่กว่าไหม ก็เลยเป็นสังคมก้มหน้า จำยอม ทำมาหากินไปวัน ๆ พร้อมกับหลอกตัวเองว่าสักวันจะดีขึ้น เหมือนนักลงทุนที่หลอกตัวเองว่ามีเลือกตั้งแล้วจะกลับโชติช่วงชัชวาลแบบยุคเปรม

ถ้าดีจริง ก็มีคำถามว่าทำไมไม่รีบเลือกตั้งล่ะ ถ้าดีจริง ทำไมกลัวคำวิจารณ์ ถ้าดีจริงทำไมต้องกลัวกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งชุมนุมมาหลายครั้งอย่างสงบสันติ เคยเดินไปหน้ากองทัพบก ก็ไม่เห็นวุ่นวายอะไร แต่ถูกตั้งข้อหาร้ายแรงยิ่งกว่าปิดเมืองขัดขวางเลือกตั้ง

ครั้งนี้ ในโอกาสครบสี่ปี พวกเขาก็แค่จะชุมนุมค้างคืนแล้วไปทำเนียบตอนเช้า ซึ่งต่อให้มีคนมากขึ้นสิบเท่า ก็ทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ โดยจุดยืนประชาธิปไตย ไม่ใช่อันธพาลยึดทำเนียบยึดสนามบิน อย่างมากก็แสดงพลังคาดคั้นไว้ ไม่ให้ยื้อเลือกตั้งออกไปอีก

แต่ไม่รู้เป็นไร รัฐบาล คสช. ดูจะเต้นเกินปกติ ทั้งออกมาตำหนิ ทำชาติบ้านเมืองวุ่นวาย ทั้งขู่ว่าผิดกฎหมาย จะโดนหลายคดี หมดอนาคต ส่งตำรวจทหารไปรบกวนถึงบ้าน

เสียวสันหลังเกินปกติไหม ก็ไม่รู้ แต่เหมือนท้าทายให้คนออกไปร่วมเยอะ ๆ จะได้รู้ว่าทำไมถึงกลัวจัง

 

ที่มา: www.kaohoon.com/content/232566

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: วัชพืชประชาธิปไตย

Posted: 21 May 2018 07:24 AM PDT

วัชพืชที่ไม่อยู่ในสนาม
คือวัชพืช ในนาม คสช.
ทำประเทศ วิบัติ ยังไม่พอ
ยังเชิดหน้า ชูคอ อ้างบุญคุณ

วัชพืช ในนาม คสช.
ที่จีบปาก จีบคอ ถ่อยสถุล
สี่ปีแล้ว สี่ปีแล้ว นะคุณ
หยุดอำนาจ หยุดทารุณ คุณค่าคน

คืนอำนาจ คืนประชาธิปไตย
ที่คุณช่วง ชิงไป จากประชาชน
สี่ปีแล้ว คุณโป้ปด เราสุดทน
จะทวงคืน ความเป็นคน พอกันที!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาวิชาชีพการแพทย์ค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ของ วท. ชี้ไม่ช่วยแก้ปัญหา แค่ลดแรงต้านเท่านั้น

Posted: 21 May 2018 06:30 AM PDT

ทันตแพทยสภาและสภาวิชาชีพทางการแพทย์หนุนร่าง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ฉบับที่แก้ไขโดย สนช. ระบุแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น ประกาศไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ฉบับที่กระทรวงวิทย์ฯ แก้ไข เหตุไม่ได้แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ เพียงแค่ต้องการลดกระแสค้านเท่านั้น

 

21 พ.ค.2561 ผศ. (พิเศษ) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวถึงการประเมินผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.2559 ซึ่ง ปส.ได้ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำวิจัยให้ ว่า คณะผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ 2 ข้อ ได้แก่ 1.ควรแยกประเภทเครื่องกำเนิดรังสีตามลักษณะการใช้งานและปริมาณรังสี และ 2.ควรแยกเครื่องกำเนิดรังสีทางการแพทย์ ออกจากเครื่องกำเนิดรังสีประเภทอื่นและให้กระทรวงสาธารณสุข กำกับดูแล เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดูแลมานานและมีกฎหมายรองรับ ซึ่งการแยกประเภทเครื่องกำเนิดรังสีจะเป็นการปลดล็อคปัญหาที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอื่นที่ตามมาอย่างเป็นเหตุเป็นผล

นายกทันตแพทยสภา กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่า ผลการวิจัยนี้จึงสอดคล้องกับสิ่งที่ทันตแพทยสภาและบุคลากรทางการแพทย์เรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขมาโดยตลอด ซึ่งสอดคล้องกับร่างแก้ไขกฎหมายที่เสนอโดย นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนผู้ให้บริการสาธารณสุข ตัวแทนโรงพยาบาลต่างๆ มีมติประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมายตามร่างที่เสนอโดย นพ.เจตน์ นี้และได้ทำหนังสือส่งไปยังนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขของ สนช. พร้อมทั้งส่งรายงานผลการวิจัยที่ดำเนินการโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรไปด้วย

ผศ. (พิเศษ) ทพ.ไพศาล กล่าวว่า ในส่วนของร่างกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการแก้ไขอยู่ในขณะนี้ ทันตแพทยสภาเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อลดกระแสการคัดค้านและเพื่อเบี่ยงเบนทำให้เข้าใจว่าได้มอบอำนาจการควบคุมกำกับเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำกับดูแลเมื่อเทียบกับร่างกฎหมายที่เสนอโดย สนช. แต่โดยเนื้อแท้แล้วยังควบคุมโดย ปส. หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาเชื่อว่าจะยังเกิดปัญหาในทางปฏิบัติและไม่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด" นายกทันตแพทยสภา กล่าวและว่า ดังนั้น ทันตแพทยสภาและสภาวิชาชีพทางการแพทย์จึงไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของกระทรวงวิทย์ฯ และจะผลักดันให้ สนช.รับหลักการตามร่างแก้ไขกฎหมายฉบับของ สนช.แทน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถาบันพระปกเกล้าเสนอโครงการส่วนร่วมพลเมืองในเมกะโปรเจคต์รัฐ

Posted: 21 May 2018 06:17 AM PDT

นักศึกษาในสถาบันพระปกเกล้านำเสนอโครงการการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อสังคมสันติสุขยั่งยืน เน้นลงชุมชน สร้างความเชื่อมั่น สะท้อนเสียงจากประชาชนให้ถึงรัฐ ใช้กฎหมายและความเห็นประชาชนกำหนดการเคาะสร้างหรือไม่สร้างเมกะโปรเจคต์

21 พ.ค. มีเอกสารแถลงข่าวจากฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 8 (4 ส 8) สถาบันพระปกเกล้า ที่ได้นำเสนอโครงการศึกษา"การมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อสังคมสันติสุขยั่งยืน" ที่ห้องประชุมชั้น 2 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข  เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดเวทีสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 8 (4 ส 8) ที่จะนำเสนอเรื่อง "การมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อสังคมสันติสุขยั่งยืน"ว่า  เริ่มจากแนวคิดสังคมสันติสุขถูกถ่ายทอดสู่การเรียนการสอนที่ปลูกฝังในหลักสูตรพิเศษของสถาบันพระปกเกล้าที่เรียกว่าหลักสูตร 4 ส  ที่ได้รวบรวมเอาบุคคลผู้เห็นต่างทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านสังคม หรือด้านอื่นๆมาหล่อหลอมรวมแนวคิดใช้ชีวิตบนความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ดั่งคำพูดที่ว่า สันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่างตลอดระยะเวลา 9 เดือนเต็มของหลักสูตร

นักศึกษา 4 ส 8 ได้ร่วมทำกิจกรรมและศึกษาตามหลักสูตร ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึง การศึกษาด้วยการลงดูงานพื้นที่ความขัดแย้งทั่วประเทศรวมถึงในต่างประเทศ ทั้งหมดล้วนเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่นักศึกษาได้รวบรวมและพร้อมส่งต่อแนวคิด สังคมสันติสุขออกเผยแพร่สู่สาธารณชนทั้งงานเอกสารทางวิชาการที่จะระดมสมองจัดเวทีสาธารณะในวันจันทร์ที่ 28 พ.ค. นี้ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน

ศ.นพ.วินัย วนานุกูล รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะประธานคณะกรรมการนักศึกษา 4 ส 8 สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ในกระบวนการจัดการศึกษาของหลักสูตร4 ส รุ่นที่ 8  ภายใต้ความเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เป็นพลังในการก้าวข้ามความไม่เข้าใจ ไปสู่การแสวงหาทางออกจากประเด็นปัญหาต่างๆ ของสังคมร่วมกันได้

คณะนักศึกษา 4 ส 8 มองเห็นโอกาสที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของรัฐผ่านโครงการขนาดใหญ่มาเป็นกรณีศึกษา โดยเริ่มต้นความสนใจจากโครงการพัฒนาสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาขยายไปสู่การศึกษาอีก 4 โครงการขนาดใหญ่ อาศัย "กระบวนการ" ร่วมคิดร่วมออกแบบกระบวนการเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยเทคนิคต่างๆ อาทิ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสานเสวนา เพื่อนำมาสังเคราะห์เปรียบเทียบกับงานวิจัยและหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องหลายด้านการเทียบเคียงกับมาตรการต่างๆ ทางกฎหมาย ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นเชิงวิพากษ์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจนได้ผลลัพธ์เป็น "โมเดล 4ส8" และพัฒนาสู่ข้อเสนอในเชิงนโยบายเพื่อนำเสนอให้รัฐบาลและสังคมไทย ได้นำไปเป็นแนวทางในการร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์  ทีมงานวิชาการซึ่งได้ลงพื้นที่ทำงานภาคสนามของโครงการ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะนักศึกษา 4 ส 8 ตระหนักจากการทำงานค้นคว้าชิ้นนี้คือ กระบวนการเข้าไปหาชุมชนถึงบ้านของพวกเขาซึ่งวิธีการนี้ทำให้ได้พบกุญแจสำคัญที่เปิดประตูไปสู่ขุมทรัพย์สำคัญคือความไว้เนื้อเชื่อใจที่ชุมชนมอบให้ ยิ่งกว่านั้นการเข้าไปรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสียในโครงการขนาดใหญ่ทั้ง 5 โครงการ ทำให้ได้พบความตื่นตัวและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศร่วมกับรัฐของภาคประชาชนซึ่งพวกเขาบอกว่าที่ผ่านมารัฐไม่ได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้พวกเขามากพอ

ดังนั้นด้วยรูปแบบวิธีการทำงานและกระบวนการใน "โมเดล 4ส8" อาจพอสะท้อนสุ้มเสียงของภาคประชาชนที่ปรารถนาจะขอให้รัฐเปิดใจรับฟังความต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของรัฐแล้ว "ความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐที่หายไปก็คงจะกลับคืนมาได้ไม่ยากนัก ด้วยพวกเขาต่างปรารถนาจะเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาที่มุ่งไปสู่ความสันติและยั่งยืนร่วมกับรัฐด้วยเช่นกัน

รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ประธานฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการนักศึกษา 4 ส 8 กล่าวถึงจุดเด่นของข้อเสนอในวันนี้ว่า ประการแรกที่โมเดล 4 ส 8 แตกต่างจากกระบวนการเดิมคือ ก่อนการตัดสินใจว่าจะทำโครงการขนาดใหญ่ใดๆ จะต้องจัดให้มีการทำ SEA โดยมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ทั้งผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น ร่วมกันกำหนดทิศทางว่า อยากเห็นชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือประเทศของเราเป็นแบบไหน อย่างไร เมื่อต้องการจะทำโครงการใดๆ ต้องทำให้สอดคล้องกับทิศทางนี้ก่อนเสมอ ถ้าไม่สอดคล้องก็ไม่ควรทำตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าสอดคล้องจึงเริ่มนับหนึ่งคือเริ่มทำ EIA/EHIA

สิ่งที่แตกต่างประการต่อมา คือนำ พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ มาผนวกในทางปฏิบัติร่วมกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่กำหนดขั้นตอนการประเมินผลกระทบ ไว้อย่างเป็นขั้นตอนอยู่แล้ว ในลักษณะทวนสอบว่า ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจจริง มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หากกระบวนการมีส่วนร่วมยังไม่ดีพอ คณะทำงานที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมของประชาชนฯ นี้ สามารถทำเรื่องย้อนกลับไปยังทีมงานจัดทำ EIA/EHIA ให้ปรับปรุงแก้ไข แต่หากยังไม่เป็นที่ยอมรับอีกสามารถจัดทำข้อเสนอไปยัง ครม. ให้พิจารณาชี้ขาดต่อไป

แนวทางใหม่ตามโมเดล 4 ส 8 นี้ เสมือนมีคณะทำงานอีกชุดมาตรวจสอบถ่วงดุลว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจการดำเนินการโครงการทุกขั้นตอน มีคุณภาพจริง ท้วงติงได้ และหากไม่ดำเนินการตามข้อคิดเห็นนั้นๆ สามารถให้ความเห็นแก่รัฐบาลเพื่อระงับโครงการได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไอลอว์' เปิดสถิติปริมาณกฎหมาย 4 ปี คสช. และการดำเนินคดีทางการเมือง

Posted: 21 May 2018 04:39 AM PDT

'ไอลอว์' เผยสถิติการใช้อำนาจของ คสช. 4 ปี ที่ผ่านมา พร้อม สนช. ที่ผ่านกฎหมายอย่างน้อย 292 ฉบับ โดย 17 ฉบับ ผ่าน 3 วาระรวดในวันเดียว คดี 112 อย่างน้อย 94 คน ส่วนคนที่ถูกลงโทษสูงสุด จำคุก 70 สารภาพเหลือ 30 ปี 60 เดือน ขณะที่ปี 61 สถานการณ์คดี 112 ดูจะคลายตัวลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบาย

ภาพจากเพจ iLaw

21 พ.ค.2561 เนื่องในวาระครบรอบ 4 ปีการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ รายงาน ตัวเลขสถิติที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของ คสช. ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการออกประกาศ หรือ คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งเป็นการใช้อำนาจพิเศษออกกฎหมายโดยไม่มีการตรวจสอบหรือถ่วงดุลใดๆ ตัวเลขการออกกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติซึ่งมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด และสุดท้ายตัวเลขของผู้ถูกดำเนินคดีจากการออกมาแสดงออกทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ที่พุ่งสูงขึ้นในยุคคสช. 

ไอลอว์ ระบุว่า นับตั้งแต่เข้ายึดอำนาจในวันที่ 22 พ.ค. 2557 คสช. ออกประกาศและคำสั่ง คสช. รวมอย่างน้อย 335 ฉบับ และในเวลาต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปี 2557 ถูกประกาศใช้ในวันที่ 22 ก.ค. 2557 หรือสองเดือนเต็มหลังการยึดอำนาจ หัวหน้า คสช. ก็อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. อีกอย่างน้อย 188 ฉบับ (นับถึง 21 พ.ค. 2561) รวมแล้ว คสช. และหัวหน้า คสช. ให้อำนาจออกประกาศคำสั่งรวมอย่างน้อย 525 ฉบับ 
 
ประกาศและคำสั่งจำนวนมากถูกนำมาใช้จำกัดสิทธิทางการเมืองของประชาชน เช่น ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามและกำหนดโทษสำหรับที่ที่ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเรียกบุคคลมากักตัวเพื่อ "พูดคุย" และกำหนดโทษผู้ไม่ยอมมาตามคำสั่งเรียก คำสั่งนี้มักถูกหยิบใช้กับผู้แสดงความเห็นต่างจากคสช. คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 1/2557 ซึ่งงดเว้นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทุกระดับ เป็นต้น ขณะที่ประกาศคสั่งบางส่วน เช่น คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64 และ 66/2557 ซึ่งเป็นเรื่องนโยบายทวงคืนผืนป่าก็ส่งผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินและทรัพยากรของประชาชน     

จำนวนของประกาศ-คำสั่งคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ถูกออกมามากกว่า 500 ฉบับหรือเฉลี่ย 125 ต่อปีตลอดระยะเวลาที่ คสช. ยึดอำนาจและบริหารประเทศ ทางหนึ่งอาจจะมองได้ว่าเป็นความพยายามของ คสช. พยายามจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่ประเทศนี้เผชิญอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพแนวคิดการแก้ปัญหาแบบอำนาจนิยมที่เลือกใช้ "อำนาจพิเศษ" ในการแก้ไขปัญหาแทนที่จะใช้กลไกปกติอื่นๆหรือสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
 
ขณะที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้น  ไอลอว์ รายงานว่า เริ่มประชุมนัดแรกในวันที่ 7 ส.ค.2557 ในแง่ขององค์ประกอบอาจกล่าวได้ว่า สนช. คือ แหล่งรวมของข้าราชการสูงอายุ ในจำนวนสมาชิก สนช. 248 คนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน (21 พค 2561) มีข้าราชการทหาร 73 คน ตำรวจ 11 คน และข้าราชการอื่นๆอีก 66 คน รวม 150 คนจากสมาชิกสภาทั้งหมด 248 คน ขณะที่อายุเฉลี่ยของสนช.ชุดปัจจุบันก็อยู่ที่ 65 ปี โดยสมาชิกที่อาวุโสที่สุดมีอายุ 93 ปี
 
ตลอดระยะเวลาประมาณสามปีเก้าเดือนที่ สนช. ปฏิบัติหน้าที่มีการผ่านกฎหมายออกมาอย่างน้อย 292 ฉบับหรือเฉลี่ยปีละ 73 ฉบับ ในจำนวนนี้มี 17 ฉบับ ที่ใช้เวลาพิจารณาผ่านเป็นกฎหมายสามวาระรวดโดยใช้เวลาเพียงวันเดียว เช่น พ.ร.บ.คณะสงฆ์  พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63) พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน เป็นต้น โดยในกรณีของการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สงฆ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 29 ธันวาคม 2559 สนช.ใช้เวลาแก้ไขกฎหมายดังกล่าวสามวาระรวดโดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 10 นาที http://www.nationtv.tv/main/content/378529075/
 
ไอลอว์ ยังมีข้อน่าสังเกตด้วยว่า สนช. เคยให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับงบประมาณมหาศาลอย่างน้อยสามฉบับโดยใช้เวลาพิจารณาเพียงวันเดียว ได้แก่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณฯ รวมสามฉบับ โดยพิจารณาแบบสามวาระรวดในวันเดียว ครั้งแรกคือการผ่าน"ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559" อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 59,000,000,000 บาท ครั้งที่สองอนุมัติ "ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560" วงเงิน 190,000,000,000 บาทและครั้งที่สามผ่าน"ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561" อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมวงเงิน 150,000,000,000 บาท 
 
ขณะที่ร่างกฎหมายสองฉบับคือร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมและร่างพ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ผ่านโดยมีเสียงไม่เห็นชอบมากที่สุดก็มีเสียงคัดค้านเพียง 6 เสียงเท่านั้น จึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจที่สนช.สามารถออกกฎหมายได้ในปริมาณมากนับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในเดือนสิงหาคม ปี 2557
 
ตามที่ คสช. ออกประกาศและคำสั่งให้การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเป็นความผิด ส่งผลให้มีประชาชนที่ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์หรือประท้วงคสช.ถูกดำเนินคดีด้วยคำสั่งทั้งสองฉบับไปแล้วอย่างน้อย 390 คน โดยปีที่มีการตั้งข้อกล่าวหาคนด้วยประกาศคำสั่งทั้งสองฉบับดังกล่าวมากที่สุดคือปี 2559 ซึ่งมีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาคดีนี้อย่างน้อย 184 คน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีมากน่าจะเป็นเพราะมีประชาชนออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และมีการเปิดศูนย์ปราบโกง รองลงมาคือปี 2561 ซึ่งในขณะที่เวลายังผ่านไปไม่ถึงครึ่งปีมีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาไปแล้วอย่างน้อย 115 คน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนยุทธวิธีดำเนินคดีประชาชนของเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินคดีกับผู้ที่น่าจะเป็นผู้จัดการชุมนุมเพียงอย่างเดียว แต่มีการขยายไปดำเนินคดีผู้มาร่วมการชุมนุมด้วย 
 
ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ถูกนำมาใช้ดำเนิคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ทั้งการแสดงออกบนโลกออนไลน์และการแสดงออกด้วยวิธีการอื่นๆโดยเฉพาะการปราศรัยในกิจกรรมทางการเมือง โดยตลอดระยะเวลาที่คสช.อยู่ในอำนาจจนถึงปัจจุบัน (21 พค 2561) มีคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เกิดขึ้นอย่างน้อย 31 คดี มีผู้ถูกตั้งข้อหา 78 คน ซึ่งจนถึงบัดนี้มีเพียงสี่คดีเท่านั้นที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 
 
สำหรับคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เกิดขึ้นในยุค คสช. นั้น  ไอลอว์ ระบุว่า เท่าที่มีข้อมูลจนถึงขณะนี้มีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหานี้จากการแสดงความคิดเห็นไปแล้วอย่างน้อย 94 คน คนที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษสูงสุดคือวิชัยที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดรวมสิบกรรม ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุกในความผิดกรรมละเจ็ดปีรวมโทษจำคุก 70 แต่เนื่องจากวิชัยให้การรับสารภาพโทษจำคุกจึงลดเหลือ 30 ปี 60 เดือน อย่างไรก็ตามในปี 2561 สถานการณ์คดีมาตรา 112 ก็ดูจะคลายตัวลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจออกคำสั่งว่าจะฟ้องคดีหรือไม่แต่เพียงผู้เดียวเพื่อให้เกิดความรัดกุมซึ่งปรากฎว่าในปี 2561 ยังไม่มีการฟ้องคดีกับบุคคลใดเพิ่มเติม

รายละเอียดข้อมูลของไอลอว์ : 

ดูสถิติการตั้งข้อกล่าวหาคดีการเมืองในยุคคสช.เท่าที่ไอลอว์บันทึกได้ >>> https://freedom.ilaw.or.th/politically-charged
ดูสถิติการออกกฎหมายโดยสนช. >>>https://www.facebook.com/pg/iLawClub/photos/?tab=album&album_id=10160513494135551
ดูสถิติสัดส่วนสมาชิกสนช.ตามอาชีพ >>>https://www.ilaw.or.th/node/4407
ดูสัดส่วนสมาชิกสนช.ตามอายุ >>> https://www.ilaw.or.th/node/4408
ดูข้อมูลการบังคับใช้มาตรา 44 >>> https://www.ilaw.or.th/node/3679
ดูความคืบหน้าของคดีจากการแสดงออกที่เกิดขึ้นในยุคคสช. >>> https://www.facebook.com/pg/iLawClub/photos/?tab=album&album_id=10160509966450551

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อย. - กสทช. เดินหน้าสั่งระงับออกอากาศโฆษณาผิดกฎหมาย พบช่องที่ออกอากาศลดลง

Posted: 21 May 2018 03:50 AM PDT

อย. - กสทช. เดินหน้าสั่งระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ทั้งอาหารและเครื่องสำอางต่อเนื่อง พบจำนวนช่องที่ออกอากาศลดลง ทีวีดิจิตอลเหลือเพียง 2 ช่อง

21 พ.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) รายงานว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.พร้อมด้วยนายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. เป็นต้นมา มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยจำนวนช่องที่มีการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายมีจำนวนลดลง

ฐากร เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 16-18 พ.ค. 2561 พบว่า มีทีวีดิจิตอลเพียง 2 ช่องที่ออกอากาศโฆษณาอาหารและเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ ช่องสปริงนิวส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร REAL อัลฟ่า คลอโรฟิลล์ และช่อง Nation TV ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชาริส ส่วนช่องโทรทัศน์ดาวเทียม/เคเบิลทีวี มีทั้งหมด 10 ช่อง รวม 13 ผลิตภัณฑ์ แต่การโฆษณาในฝั่งเว็บไซต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น 20 URL ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีผลกับโครงสร้างของร่างกาย การเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างสรรพคุณเพื่อการรักษาโรค

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากวันที่ 4-15 พ.ค. 2561 ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกที่ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือกัน สำนักงาน กสทช. ได้ระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายในทีวีดิจิตอลไปแล้วจำนวน 7 ช่อง รวม 13 ผลิตภัณฑ์ ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม/เคเบิลทีวีจำนวน 25 ช่อง 22 ผลิตภัณฑ์ และเว็บไซต์จำนวน 10 URL

"หลังจากสำนักงาน กสทช. และ อย. ได้ทำงานร่วมกันเพื่อระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายพบว่า ขณะนี้ทิศทางเริ่มดีขึ้น จำนวนโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่ไปออกช่องทีวีดิจิตอลเริ่มลดลง ยังคงมีเว็บไซต์ที่อาจเพิ่มขึ้น แต่ทั้งสองหน่วยงานจะยังทำงานร่วมกันติดตามโฆษณาเหล่านี้อย่างเข้มข้น ผมเชื่อว่าในช่วง 1-2 เดือนจากนี้แนวโน้มโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ผิดกฎหมายที่ออกอากาศผ่านโทรทัศน์จะมีจำนวนลดลง" ฐากร กล่าว

ด้าน ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่าโฆษณาที่ผิดกฎหมายอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาว่าเป็นยารักษาโรค ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ส่วนเครื่องสำอางจะเป็นลักษณะการโฆษณาที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย เช่น การปรับสีผิว ผิวขาว หยุดผมร่วง เป็นต้น ส่วนโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่พบเป็นเรื่องการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งได้ส่งเรื่องให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการแล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธรรมศาสตร์สั่งงดใช้สนามฟุตบอล ช่วงคนอยากเลือกตั้งนัดชุมนุม

Posted: 21 May 2018 02:46 AM PDT

ธรรมศาสตร์สั่งงดใช้สนามฟุตบอล อ้างเตรียมใส่ปุ๋ยใส่ยากำจัดศัตรูพืช ขณะที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเปลี่ยนที่รวมพลมาที่หน้าหอประชุมศรีบูรพาแทน ส่วน 'ศรีวราห์' ออกคำสั่งกำกับสื่อต้องใช้ปลอกแขน บช.น. ทำข่าวให้อยู่รวมกับฝั่งตำรวจ ขณะที่สมาคมนักข่าวโต้ว่ามาตรการดังกล่าวเป็นกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้มีการประสานมายังสมาคม

21 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก่อนการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้ โดยที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการติดป้ายประกาศบริเวณโดยรอบสนามฟุตบอลระบุว่า "ของดการใช้สนามฟุตบอล ตั้งแต่วันที่ 20 - 23 พฤษภาคม 2561" เนื่องจากกำลังลงปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง นัดรวมตัวค้างคืน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคืนวันที่ 21 พ.ค. ก่อนจะเตรียมตัวเดินเท้า ไปยังทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 07.00 น. วันที่ 22 พ.ค. เนื่องในวาระครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร คสช. โดยผู้ชุมนุมได้ย้านมารวมตัวกันบริเวณด้านหน้าหอประชุมศรีบูรพาแทน

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ผู้ให้เช่าเครื่องเสียงสำหรับการรวมตัวทำกิจกรรมครั้งนี้ได้ถูกคุมตัวไปยัง มทบ. 11 เพื่อสกัดกั้นการทำกิจกรรม ก่อนจะปล่อยตัวในเช้าวันถัดมา ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่า แม่ครัวซึ่งจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าร่สมกับชุมนุมถูกคุกคาม รวมทั้งคนขับรถสุขาที่ได้มีการประสานเตรียมไว้สำหรับผู้ชุมนุมก็ถูกคุมคามโดยเจ้าหน้าที่ทหารด้วย

ทั้งนี้ พล.ต.ปิยะพงษ์ กลิ่นพันธ์ ผบ.มทบ.11 ในฐานโฆษก คสช. แจงว่า เจ้าหน้าที่ได้เตรียมกำลัง สำหรับการดูแลความสงบในการชุมนุม ประมาณ 20 กองร้อย ราว 3,000 นาย โดยคาดว่าจะมีผู้ชุมนุมเพียงหลักร้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รายงานว่า ก่อนหน้านี้ได้มีเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจ กระจายกำลังเข้าไปพูดคุยกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเข้ามาเพื่อสอบถามว่าเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาร่วมชุมนุมหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับสื่อมวลชนที่จะเข้ามารายงานการชุมนุมในครั้งนี้จะต้องเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อลงทะเบียนยืนยันตัวตนและสังกัด เพื่อรับปลอกเเขนสำหรับสื่อมวลชน จัดจะสามารถเข้าไปรายงานข่าวในพื้นที่ในวันที่ 22 พ.ค. ได้

อย่างไรก็ตามสมาคมนักข่าวและหนังหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กรณีการลงทะเบียนสื่อที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้มีการประสานมายังสมาคมแต่อย่างใด

นอกจากนี้มีข้อปฏิบัติในการทำข่าวการชุมนุมโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. ระบุว่า 1. สื่อมวลชนต้องใช้ปลอกแขนที่ บช.น.ออกให้เท่านั้น ไม่อนุญาตใช้บัตรสื่อกรมประชาสัมพันธ์ หรือบัตรของสถานี มิเช่นนั้นจะถูกดำเนินคดี 2.ห้ามสื่อมวลชนอยู่รวมกับผู้ชุมนุมเด็ดขาดให้อยู่ฝั่งเดียวกับตำรวจเท่านั้น 3. ห้ามนำเสนอข้อมูลที่จะสร้างความแตกแยก หรือความเข้าใจผิดในลักษณะยุยงปลุกปั่น

ทั้งนี้ปลอกแขนที่ บช.น. แจกในช่วงบ่ายหมดแล้ว และมีการสั่งทำปลอกแขนเพิ่มอีก 320 ปลอก โดยให้สื่อมวลชนนำสำเนาบัตรสื่อกรมประชาสัมพัธ์ หรือบัตรพนักงานมารับได้ที่ห้องประชาสัมพันธ์ บช.น. ตั้งแต่เวลา 18.00 ของวันที่ 21 พ.ค.61 โดยต้องมา "รับด้วยตัวเองเท่านั้น!"

สำหรับกระแสข่าวซึ่งมีหนังสือพิมพ์บางสำนักพาดหัวข่าวในลักษณะที่แสดงให้เข้าใจว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งเตรียมการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลในวันพรุ่งนี้นั้น สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งระบุว่า ได้เห็นข่าวดังกล่าวแล้วพบว่าแหล่งข่าวที่มีการอ้างถึงนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ และทางกลุ่มได้ยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล จะมีเพียงแค่เดินทางไปเพื่อประกาศจุดยืนของกลุ่มคนเลือกตั้งเท่านั้น

เวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการปิดประตูเข้าออกบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านสนามหลวงทั้งสองประตูแล้ว แต่ยังสามารถเดินทางเข้าออกได้ทางประตูท่าพระจันทร์ และประตูท่าพระอาทิตย์

วรัญชัย โชคชนะมาถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านประตูฝั่งสนามหลวงแต่ไม่สามารถเข้าได้

บรรยากาศสื่อมวลชนรอทำข่าวการแถลงของแกนนำคนอยากเลือกตั้ง หลัง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. สั่งจัดระเบียบห้ามสื่อมวลชนอยู่กับผู้ชุมนุม

โดยเมื่อเวลาประมาณ 16.40 น. วรัญชัย โชคชนะ อดีตผู้สมัครผู้ว่า กทม. และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองมาถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วแต่ไม่สามารถเข้ามาได้เนื่องจากประตูด้านฝั่งสนามหลวงปิดแล้ว จึงหาทางเข้าจากด้านอื่นแทน

17.50 น. มีการใช้คีมตัดโซ่ที่คล้องประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านสนามหลวงฝั่งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ โดยผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถเข้ามาภายในที่ชุมนุมได้แล้ว

คลิปบรรยากาศแถลงข่าว "คนอยากเลือกตั้ง" ช่วงเย็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในโอกาสชุมนุม 4 ปีรัฐประหาร คสช. รังสิมันต์ โรมย้ำเคลื่อนขบวนไปหน้าทำเนียบรัฐบาลเช้าวันพรุ่งนี้ ขณะที่่จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ขอให้ตำรวจรู้บทบาทหน้าที่ตัวเองคือต้องอำนวยความสะดวกประชาชน อย่ามาขัดขวางการชุมนุม ย้ำข้อเรียกร้องพื้นฐานเลือกตั้งปีนี้ เดือนมิถุนายนต้องกำหนดวันเลือกตั้งให้ประชาชนได้รู้ ย้ำรัฐบาลอย่าใส่ร้าย และการเคลื่อนขบวนในวันที่ 22 พ.ค. จะหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน รอให้ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก่อน แล้วหลังจาก 08.30 น. จะเคลื่อนขบวน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศรีวราห์' ระบุปล่อย 8 แกนนำเพื่อไทยหลังสอบปมขัดคำสั่ง คสช. โดยไม่ต้องยื่นขอประกัน

Posted: 21 May 2018 01:49 AM PDT

รอง ผบ.ตร.ยันหลังสอบปาคำจะปล่อยตัว 8 แกนนำพรรคเพื่อไทย คดีฝืนคำสั่ง คสช. ปมแถลงข่าว '4 ปีที่ล้มเหลวของรัฐบาล-คสช.' โดยไม่ต้องยื่นหลักทรัพย์ประกันตัว เหตุไม่มีพฤติกรรมหลบหนี มารายงานตัวก่อนหมายเรียก ขณะที่ 'อภิสิทธิ์' ถาม ถ้าเพื่อไทยแถลงชม ผลงานดีมากๆ คสช.จะเอาผิดหรือไม่?

ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo

21 พ.ค.2561 จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฟ้องดำเนินคดีกับแกนนำพรรคเพื่อไทย หลังแถลงข่าวเรื่อง 4 ปีที่ล้มเหลวของรัฐบาล และ คสช.นำประเทศไปสู่ความมืดมนและอันตราย ณ ที่ทำการของพรรคเพื่อไทย ย่าน ถ.เพชรบุรี ในวาระครบรอบ 4 ปี คสช. 4 ข้อหา ได้แก่ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 57/2557 ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการไลฟ์สด ในเฟสบุ๊ค และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น นั้น

วันนี้ (21 พ.ค.61) รายงานข่าวระบุว่า 8 แกนนำพรรคเพื่อไทย ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์, ภูมิธรรม เวชยชัย, ชูศักดิ์ ศิรินิล, ชัยเกษม นิติสิริ, จาตุรนต์ ฉายแสง, นพดล ปัทมะ, วัฒนา เมืองสุข และกิตติรัตน์ ณ ระนอง เข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา 

ต่อมา สำนักข่าวไทย รายงานข่าวว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ยืนยันว่า หลังสอบปาคำ จะปล่อยตัวแกนนำพรรคเพื่อไทยทั้ง 8 คน โดยไม่ต้องยื่นหลักทรัพย์ประกันตัว เนื่องจากไม่มีพฤติกรรมหลบหนี และมารายงานตัวก่อนหมายเรียก กรณีกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง นัดรวมตัวค้างคืนที่ ม.ธรรมศาสตร์คืนนี้เพื่อเคลื่อนไหวเดินเท้าไปทำเนียบรัฐบาลพรุ่งนี้(22 พ.ค.)นั้น ได้สั่งการให้ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม ยกเลิกคำสั่งอนุญาตแล้ว หากกลุ่มคนอยากเลือกตั้งฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ในการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมทางการเมือง จะดำเนินการตามกฎหมายที่เปิดช่องให้จับตัวได้ในทันที ยืนยันการรวมกลุ่มกันทางการเมือง จัดกิจกรรมทางการเมือง หากทางกองทัพไม่อนุญาต ตำรวจก็ไม่สามารถอนุญาตได้ วันพรุ่งนี้(22 พ.ค.)ได้เตรียมกำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนไว้ 3 - 20 กองร้อย ไว้ดูแลความปลอดภัย พิจารณาจากสถานการณ์ หากมีเหตุฉุกเฉินจะเรียกกำลังเสริมทันที

'อภิสิทธิ์' ถาม ถ้าเพื่อไทยแถลงชม ผลงานดีมากๆ คสช.จะเอาผิดหรือไม่?

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนี้ด้วยว่าว่า ความจริงตนยังไม่ทราบว่าเหตุการณ์วันนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งความจริงที่ผ่านมาเรามีการรวมตัวเกิน 5 คน ในลักษณะของการทำกิจกรรมทางการเมืองมาสักระยะหนึ่งแล้วด้วย ดังนั้นเราจึงต้องมองว่าอาจจะไม่เรื่องของพรรคการเมืองหรือรัฐบาลโดยตรง แต่ถ้าถามว่าเรื่องนี้เป็นการเมืองหรือไม่ ตนว่าก็เป็นเรื่องของการเมืองชัดเจน การมีกฎหมายพิเศษแล้วมีการตีความกันไปเอง พอปฏิบัติไปแล้วอาจจะถูกตั้งคำถามจากสังคม เพราะที่ผ่านมาทั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้มีการจัดงานในลักษณะนี้ ดังนั้นตนจึงบอกว่าการจะใช้กฎหมายโดยไม่มีการผ่อนปรนให้ทางการเมืองไปตลอดเลยคงจะเป็นไปไม่ได้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้าถามว่ามี 3 คนที่พูด แล้ว 5 คน ที่นั่งฟังจะเป็นอย่างไร ในทางกลับกัน ถ้าวันนั้นพรรค พท. บอกว่า คสช.ทำงานมา 4 ปี ดีมากๆ จะผิดหรือไม่ และก็ต้องไปดูด้วยว่าการแถลงของพรรค พท.กระทบต่อความมั่นคงหรือไม่

"การวิจารณ์ผู้วิจารณ์ผู้มีอำนาจในทางลบ ไม่ควรจะเป็นเรื่องกระทบความมั่นคง ยกเว้นมีการปลุกปั่น หรือปลุกระดม ดังนั้นถ้าเขาวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ จะไปบอกว่าเขาทำกระทบความมั่นคงคงไม่ได้ ถ้าเขาสามารถพิสูจน์ว่าการแถลงข่าวสามารถเชื่อมโยงการความเคลื่อนไหวได้ก็ต้องพิสูจน์ การวิจารณ์ในทางลบแล้วบอกว่ากระทบความมั่นคง ผมว่ามันไม่เพียงพอและอันตราย ผมจึงบอกว่าเรื่องความมั่นคงต้องแยกเป็นส่วนหนึ่ง การชุมนุมเกิน 5 คนก็อีกส่วนหนึ่ง" อภิสิทธิ์กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น