ประชาไท | Prachatai3.info |
- เหตุใดแผนประชุมสุดยอดสหรัฐ-เกาหลีเหนือจึงล่ม ท่าทีเปียงยางหรือสายเหยี่ยวรบ.สหรัฐ?
- 2 คดี 112 'ทอม-ทนายประเวศ' เลื่อนอ่านคำพิพากษาไปปลายเดือนหน้า
- นิวซีแลนด์ เป็นประเทศแรกของโลกที่โบกธงแสดงการยอมรับ Intersex หน้าอาคารรัฐสภา
- อุบัติเหตุบนท้องถนน: ชีวิตที่ไม่ได้ถูกให้ราคาจากรัฐไทย บทเรียนจากนักร้องที่กลายเป็นคนพิการ
- จับสึก-ส่งเข้าเรือนจำ หลังศาลไม่ให้ประกัน 5 พระเถระผู้ต้องหาคดีทุจริตเงินทอนวัด
- บ.เหมืองจีนฟ้องคนต้านเหมืองโปแตช สกลฯ รายที่ 3 ข้อหาข่มขืนใจ กรณีขวางขุดเจาะสำรวจ
- ปล่อยตัว "คนอยากเลือกตั้ง" รังสิมันต์ โรมย้ำสู้เผด็จการต่อไป
- จนท.ตรวจค้นหลายจังหวัดพบอาวุธจำนวนมาก เชื่อเตรียมสร้างสถานการณ์ช่วง 'คนอยากเลือกตั้ง' ชุมนุม
- 'พุทธะอิสระ' พฤหัสฯไม่อิสระ-ถูกจับสึก คดีอั้งยี่ซ่องโจร-ปลอมพระปรมาภิไธย
- 'ประวิตร' ชี้น้ำมันแพง ก็ต้องเสียสละบ้าง ถาม 'ไม่ขึ้นมา 4 ปี ไม่เห็นมีใครร้อง'
- ‘คนทำงาน รพ.สต.’ ทำสารพัด 'เอกสารยันพัสดุ' มีเวลาบริการสุขภาพประชาชนน้อย
- เลขาธิการ สปสช.เผย 6 ปัจจัย หนุนหลักประกันสุขภาพไทยสู่ความสำเร็จ
- ตร.ขออำนาจศาลฝากขัง 'คนอยากเลือกตั้ง' ด้านทีมนายประกันพร้อมแล้ว
- 4 ปีรัฐประหาร: สวัสดิการสังคม สุขภาพ และชีวิตคนจน: ปัญหา ข้อท้าทาย และทางออก
- ประธาน กสม. ขอให้รัฐบาลผ่อนปรนการชุมนุมทางการเมือง
เหตุใดแผนประชุมสุดยอดสหรัฐ-เกาหลีเหนือจึงล่ม ท่าทีเปียงยางหรือสายเหยี่ยวรบ.สหรัฐ? Posted: 24 May 2018 02:18 PM PDT หลังแผนเจรจาสุดยอดผู้นำสหรัฐ-เกาหลีเหนือมีอันต้องพับไป สาเหตุของเรื่องนี้เป็นเพราะการต่อรองของเกาหลีเหนือประเภทไม่ยอมเร่งขจัดนิวเคลียร์ หรือเป็นเพราะสายเหยี่ยวในรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ ที่พยายามจะบีบให้เกาหลีเหนือขจัดนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงแต่ฝ่ายเดียว ที่มาของภาพประกอบ: Wikipedia ในวันพฤหัสบดี (24 พ.ค.) ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ยกเลิกแผนเจรจาสุดยอดกับผู้นำเกาหลีเหนือ คิมจองอึน ในวันที่ 12 มิถุนายน โดยทรัมป์ ได้ส่งจดหมายแจ้งให้ คิมจองอึน ทราบเรื่องนี้แล้ว จดหมายดังกล่าวที่เปิดเผยโดยทำเนียบขาว ระบุว่า "จากความโกรธเคืองอย่างมากมายและความเป็นปรปักษ์ที่ปรากฎอยู่ในแถลงการณ์ล่าสุดของผู้นำ คิม จอง อึน ตนจึงรู้สึกว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการพบเจรจาตามแผนที่วางไว้อย่างยาวนาน" ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุในจดหมายถึงผู้นำเกาหลีเหนือด้วยว่า "ผู้นำคิมเอาแต่พูดถึงศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ แต่สหรัฐฯ นั้นมีอาวุธนิวเคลียร์ที่มากมายและทรงพลัง ซึ่งแม้แต่ตนเองก็ยังต้องอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าว่าอย่าให้ถึงเวลาที่ต้องใช้นิวเคลียร์เหล่านั้น" และยังระบุด้วยว่า "หากเกาหลีเหนือเปลี่ยนใจ และยังต้องการให้เกิดการประชุมสุดยอดที่มีความสำคัญอย่างที่สุดนี้จริงๆ ก็อย่าได้ลังเลที่จะโทรศัพท์หรือเขียนจดหมายมาหาตน" "โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกาหลีเหนือ ได้สูญเสียโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับการสร้างสันติภาพที่ยืนยาว และความมั่งคั่งรุ่งเรือง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์" ทรัมป์อ้าง อนึ่งในวันพฤหัสบดี เกาหลีเหนือเพิ่งปิดสถานที่ทดสอบนิวเคลียร์ Punggye-ri เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ทั้งหมดนี้ทำให้การหารือระหว่างสองผู้นำสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ มีอันต้องพับไป อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ฝ่ายเกาหลีเหนือดูจะส่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่าการเจรจานิวเคลียร์เกาหลีเหนืออาจจะเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น เรื่องนี้เป็นเพราะการต่อรองของเกาหลีเหนือเอง? เป็นเพราะสายเหยี่ยวสหรัฐฯ? แม้กระทั่งปัจจัยจากเกาหลีใต้ก็มีส่วนทำให้เกิดขึ้น? มีสื่อต่างประเทศและนักวิชาการหลายสำนักวิเคราะห์เอาไว้ดังนี้ การประชุมล่ม เพราะเกาหลีเหนือไม่พอใจสหรัฐฯ |
2 คดี 112 'ทอม-ทนายประเวศ' เลื่อนอ่านคำพิพากษาไปปลายเดือนหน้า Posted: 24 May 2018 01:14 PM PDT ศาลจังหวัดราชบุรี เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี 112 ของ 'ทอม ดันดี' ไป 29 มิ.ย.นี้ เหตุ ยังไม่ได้รับร่างคำพิพากษาที่ส่งไปให้สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 กลับคืนมา ขณะที่คดี ทนายประเวศ เลื่อนไป 27 มิ.ย.นี้ ทอม ดันดี วันพิพากษาศาลทหาร 11 ก.ค.2559 (แฟ้มภาพ เพจ Banrasdr) 25 พ.ค.2561 จากกรณีที่ศาลจังหวัดราชบุรี ศาลนัดพิพากษาคดีที่ ธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี จำเลยในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น iLaw รายงานว่า ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งเลื่อนการอ่านคำพิพากษาคดีออกไปเป็นวันที่ 29 มิ.ย.นี้ เวลา 13.30 น. โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่ได้รับร่างคำพิพากษาที่ส่งไปให้สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 กลับคืนมา การเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีของธานัทเกิดขึ้นคล้อยหลังจากที่ศาลอาญามีคำสั่งเลื่อนการอ่านคำพิพากษาคดีของทนาย ประเวศ ประภานุกูล เพียงวันเดียว ความเคลื่อนไหวที่ศาลจังหวัดราชบุรี iLaw รายงานว่าในวันดังกล่าว ภรรยาและเพื่อนๆ ของธานัทเดินทางมาถึงศาลจังหวัดราชบุรีตั้งแต่ก่อนเวลา 9.00 น. เมื่อมาถึงภรรยาของธานัทไปที่ห้องควบคุมตัวของศาลจังหวัดราชบุรีเพื่อซื้อข้าวและพูดคุยกับสามีของเธอ แต่เมื่อไปถึงกลับพบว่า ธานัทไม่ถูกนำตัวมาที่ศาล จึงคาดกันว่าการอ่านคำพิพากษาอาจจะถูกเลื่อนออกไป ในเวลาประมาณ 9.40 น. ภรรยาของธานัทและทนายของเขาเข้าไปที่ห้องพิจารณาคดี 10 ของศาลราชบุรี ซึ่งเป็นห้องที่มีการติดตั้งระบบเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ไปที่เรือนจำจังหวัดราชบุรี ศาลแจ้งกับธานัทผ่านระบบวิดีโอว่า ร่างคำพิพากษาที่ส่งไปให้สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ตรวจแต่ยังไม่ถูกส่งกลับคืนมา จึงต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาคดีของธานัทออกไปก่อนเป็นวันที่ 29 มิถุนายน 2561 เมื่อธานัทถามศาลว่า เขาจะได้กลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพหรือไม่ ศาลแจ้งว่า ระหว่างนี้ธานัทจะยังคงต้องอยู่ที่เรือนจำราชบุรีไปก่อน แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วก็จะถูกส่งตัวกลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการภรรยาและเพื่อนๆของธานัทอีกเกือบๆ 20 คนที่ตั้งใจจะมาให้กำลังใจธานัทในวันนี้ก็ถ่ายภาพร่วมกันที่หน้าศาลจังหวัดราชบุรีก่อนจะเดินทางกลับ ทั้งนี้ ทอม ดันดี อยู่ในเรือนจำมา 3 ปี 10 เดือนเศษ เขาถูกจับกุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2557 และถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไม่มารายงานตัว ศาลลงโทษจำคุก 6 เดือนแต่ให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนคดีตามมาตรา 112 นั้นเขาถูกทยอยฟ้องทั้งสิ้น 4 คดี ทั้งหมดมาจากการปราศรัย คดีแรกและคดีที่สองมาจากคลิปการปราศรัยของเขาที่โพสต์ในยูทูบโดยบุคคลอื่นในปี 2556 ด้วยระยะเวลาห่างกันราว 1 สัปดาห์ คดีแรก ศาลอาญาพิพากษาจำคุกกรรมละ 5 ปี รวม 3 กรรม 15 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงเหลือโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน อีกคดี ศาลทหารลงโทษจำคุก 5 ปี แต่เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้นับโทษต่อจากคดีของศาลอาญา รวมแล้ว จำคุก 10 ปี 10 เดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องคดี 112 จากการปราศรัยของทอม ดันดี ที่จังหวัดลำพูนเมื่อปี 2554 ในงานแรงงานสร้างบ้านแป๋งเมือง แม้ว่าตัวเขาจะตัดสินใจรับสารภาพไปแล้ว และลำดับท้ายสุดที่จะมีการพิพากษาคือ คดีนี้ที่ศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งอัยการเพิ่งฟ้องเมื่อเดือนมกราคม 2561 เหตุจากการปราศรัยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2553 ในรอบสัปดาห์นี้ นอกจากคดี 112 ของ ทอม แล้ว ยังมี ประเวศ ประภานุกูล ทนายความตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ที่เดิมศาลนัดฟังคำพิพากษา เมื่อวันที่ที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่ศาลแจ้งว่าขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปก่อน เนื่องจากการหารือจัดทำคำพิพากษาตามระเบียบยังไม่แล้วเสร็จ จึงนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ เวลา 9.00 น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิวซีแลนด์ เป็นประเทศแรกของโลกที่โบกธงแสดงการยอมรับ Intersex หน้าอาคารรัฐสภา Posted: 24 May 2018 12:26 PM PDT Intersex หรือคนเพศกำกวมยังเป็นได้รับการพูดถึงน้อยมากแม้แต่ในประเด็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่ประเทศนิวซีแลนด์ที่มีรัฐบาลสายก้าวหน้าจากการเลือกตั้งของประชาชนกลายเป็นประเทศแรกที่ทำการโบกธงสัญลักษณ์ของ Intersex หน้าอาคารรัฐสภา ถือเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ในสายตาของกลุ่มคนเพศกำกวมในนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2561 สื่อเกย์สตาร์นิวส์รายงานว่าประเทศนิวซีแลนด์สร้างประวัติศาสตร์กลายเป็นประเทศแรกที่โบกธงสัญลักษณ์ของคนสองเพศหรือ "เพศกำกวม" (intersex) ไว้หน้าอาคารรัฐสภาเนื่องในวันสากลยุติความเกลียดกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศ (IDAHOTBIT) ของปีนี้ เพศกำกวม คือคนที่ลักษณะทางเพศเชิงกายภาพ (โครโมโซมเพศ, อวัยวะเพศ และ/หรือ ลักษณะเฉพาะอื่นๆ) ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหญิงหรือชายอย่างชัดเจน บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเติบโตขึ้น ทำให้ร่างกายของพวกเขาไม่สามารถถูกจัดแบ่งตามนิยามชายหญิงแบบทั่วไปได้ ในโลกที่ยังมีการพูดถึงคนเพศกำกวมน้อยมาก การโบกธงของชาวเพศกำกวมร่วมกับธงสีรุ้งที่เป็นสัญลักษณ์ไพรด์และธงสีอื่นๆ เช่นธงของคนข้ามเพศ ถือเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ในสายตาของกลุ่มคนเพศกำกวมในนิวซีแลนด์ ธงสัญลักษณ์สำหรับคนเพศกำกวมคือธงพื้นหลังสีเหลืองมีวงกลมสีม่วงอยู่ตรงกลาง ผู้ที่ออกแบบธงนี้คือองค์กรเพื่อคนเพศกำกวมสากลในออสเตรเลีย (Organisation Intersex International Australia) ที่สร้างธงนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน ก.ค. 2556 โดยให้ความหมายว่าสีเหลืองกับสีม่วงบนธงคือสีของคนที่มีลักษณะของสองเพศในตัวคนๆ เดียว แจน ล็อกกี ส.ส. พรรคกรีน กล่าวว่าการติดธงของคนเพศกำกวมที่หน้าอาคารรัฐสภานั้นถือเป็นการแสดงออกยอมรับคนเพศนี้อย่างเป็นทางการ "และในฐานะ ส.ส. พวกเราหวังจะเป็นตัวแทนสำหรับคนทุกคน" ล็อกกีกล่าว ส.ส. พรรคกรีนกล่าวอีกว่าในประเทศนิวซีแลนด์มีคนเพศกำกวมอยู่ราว 2,000 คน แต่คนส่วนใหญ่ของโลกนี้ก็มักจะอ้างว่าคนเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง อ้างว่าโลกใบนี้มีแต่เพศชายและเพศหญิงเท่านั้น กลุ่มอินเตอร์เซ็กส์ยูธเอาเทียรัว (Intersex Youth Aotearoa) ซึ่งเป็นกลุ่มสร้างความตระหนักในประเด็นคนเพศกำกวมของนิวซีแลนด์ (คำว่า "เอาเทียรัว" เป็นคำในภาษาเมารีใช้เรียกประเทศนิวซีแลนด์) ระบุว่าการโบกธงยอมรับพวกเขาหน้ารัฐสภาถือเป็นสิ่งที่สำคัญระดับประวัติศาสตร์สำหรับพวกเขามาก รวมถึงประกาศขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในพิธีวันสากลยุติความเกลียดกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เรียบเรียงจาก New Zealand is the first country to raise intersex flag outside parliament, Gay Star News, 21-05-2018 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Intersex_flag ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อุบัติเหตุบนท้องถนน: ชีวิตที่ไม่ได้ถูกให้ราคาจากรัฐไทย บทเรียนจากนักร้องที่กลายเป็นคนพิการ Posted: 24 May 2018 11:57 AM PDT บทเรียนจากนักร้องสาวผู้กลายเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับ สำรวจสถิติความตาย และพิการบนพิการจากอุบัติเหตุบนท้องถนน พบไทยเป็นแชมป์ตายมากที่สุดในโลก ในขณะที่รัฐบาลทุกสมัยไม่ได้ให้ความสำคัญเร่งแก้ปัญหา เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับชี้มี 3 DNA หล่อเลี้ยงอุบัติเหตุและความตาย "คุณเดินทางออกจากบ้านมาเจอผมวันนี้ ถามหน่อยมีอะไรบ้างที่มีโอกาสที่จะทำให้คุณตาย หรือพิการได้" นั่นคือคำกล่าวทักทายชวนคิดของ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เขายกตัวอย่างต่อไปให้เห็นชัดว่าหากออกจากบ้านมาสิ่งที่จะทำให้เราตาย หรือพิการมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และไม่สามารถควบคุมได้ และแน่นอนว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัจจัยอย่างหลัง แม้เราจะระมัดระวังในเวลาที่สัญจรมากน้อยเท่าใดก็ตาม แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือไปจากตัวเรานั้น เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ อีฟ ราชาวดี ใจหงิม หญิงสาวอายุ 27 ปี เป็นหนึ่งในหลายคนที่ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปโดยที่ไม่มีทางเลือก ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อน คืนวันที่ 6 พ.ค. 2555 เธอได้รับการว่าจ้างให้ไปร้องเพลงในงานๆ หนึ่งที่อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ในตอนนั้นเธออายุเพียง 21 ปี และยังเรียนอยู่ในวิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี ครอบครัวไม่ได้ร่ำรวย เธออาศัยอยู่กับญาติที่อำเภอเมือง ขณะที่พ่อแม่แยกทางกัน เธออยู่ในความดูแลของแม่ก็จริง หากแต่ตอนนั้นแม่ของเธอได้เข้ามาทำงานเป็นแม่บ้านในห้างสรรพสินค้า และเป็นพี่เลี้ยงเด็ก การทำงานเพื่อหาเงินเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเธอ ก่อนหน้าที่จะมารับงานร้องเพลงที่ว่าหนึ่งวัน เธอกำลังอัดรายการ "กิ๊กดู๋สงครามเพลง" อยู่ ในรายการนั้นเธอคือตัวแทนของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งสามารถเอาชนะใจคณะกรรมการได้รับชัยชนะเหนือตัวแทนจังหวัดปทุมธานี และมีคิวแข่งขันต่อเพื่อที่จะเข้ารอบถัดไปในสัปดาห์หน้า แต่ที่สุดแล้วเธอต้องยุติการแข่งขันไปโดยปริยาย เพราะในขณะที่เดินทางกลับบ้านตอนไปร้องเพลงซึ่งมีผู้ว่าจ้างที่อำเภอหนองขาหย่าง รถที่เธอนั่งมาด้วยประสบอุบัติเหตุรถแหกโค้งพลิกคว้ำไปชนเชาไฟฟ้าริมทาง ตัวเธอจากที่นั่งอยู่เบาะหน้าข้างคนขับ กระเด็นไปอยู่ด้านหลัง เวลานั้นเธอว่าบอกยังมีสติ รู้สึกตัว แต่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ ก่อนที่จะหมดสติไปนเวลาไม่นานนัก เธอเล่าความทรงจำในคืนนั้นให้ฟังว่า หลังจากเสร็จงานแล้วผู้ว่าจ้างได้บอกให้ลูกน้องขับรถมาส่งเธอที่บ้าน แต่เธอสังเกตได้ว่าคนขับรถดื่มเหล้าอย่างหนัก และมีอาการมึนเมา ทั้งในขณะที่ขับรถยังคงใช้วิทยุสื่อสาร เนื่องจากคนขับรถเป็นอาสาสมัครกู้ภัย จนที่สุดแล้วอุบัติเหตุก็เกิดขึ้น เธอเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด 7 วันก่อนจะถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรุงเทพฯ กระนั้นก็ตามแพทย์ได้แจ้งให้เธอและแม่ทราบว่า เธอไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีกต่อไป เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนต้นคอในระดับ C4 และ C5 แตกและไปทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้ร่างกายตั้งแต่ช่วงหน้าอกลงไปไม่สามารถขยับได้อีก ส่วนแขนแม้จะยังขยับได้อยู่แต่ก็ไม่มีความรู้สึก ส่วนคนขับรถได้รับบาดเจ็บเพียงกระดูกหลังเคลื่อนใส่เฝือก 7 วันก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้ และหลังจากนั้นเธอไม่เคยพบเขาอีกเลย ราชาวดี ใจหงิม และปาณิกา สุขภิรัมย์ "เสียใจนะ เพราะตอนนั้นอนาคตเรากำลังเดินไปในสายที่เราชอบ เราอยากเป็นนักร้อง อยากทำงานสายบันเทิง ทุกอย่างมันกำลังจะดี แต่มันก็ต้องหยุดลง เรียนก็ใกล้จะจบแล้ว ทุกอย่างต้องหยุดหมดเลย" อีฟ กล่าว ระยะเวลาที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราว 7 เดือนคือช่วงเวลาที่ทรมานที่สุดในชีวิต เธอเล่าว่าช่วง 5 เดือนแรกไม่สามารถทำอะไรได้เลยต้องนอนอย่างเดียว ร่างกายเจ็บปวดทรมาน ไม่สามารถขยับได้ตามปกติอีกต่อไป นอกจากนี้ร่างกายของเธอไม่สามารถขับเหงือออกจากผิวหนังได้ ซึ่งทำให้ร่างกายเมื่อเจอกับอากาศร้อนจะร้อนกว่าปกติ ทำให้เธอจะต้องอยู่ในห้องพิเศษตลอด 7 เดือนซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นไปอีก โดยที่ครอบครัวเธอเองก็ไม่ได้เงินทองมากมายเพื่อที่จะนำมาดูแลในเรื่องนี้ แต่ยังพอมีญาติพี่น้องที่คอยช่วยเหลืออยู่บ้าง หมดอนาคต และทุกข์ทรมาน คือคำอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด แต่ความทุกข์ทรมานไม่ได้เกิดขึ้นกับเธอเพียงคนเดียว ปาณิกา สุขภิรัมย์ ผู้เป็นแม่อธิบายสภาวะเมื่อเห็นลูกสาวออกจากห้อง ICU ว่ามันคือ ภาวะใจสลาย และหลังจากเธอต้องลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูกจนถึงทุกวันนี้ จากเดิมที่รายได้น้อย แต่วันนี้กลับไม่มีรายได้เลย นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงสองคน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที จากต้นตอคือ "เมาแล้วขับ" การที่ อีฟ ราชาวดี ต้องกลายมาเป็นผู้พิการไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของเธอ และไม่ใช่เป็นเรื่องของเวรกรรม ข้อมูลจาก The World Atlas ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2560 ระบุว่าประเทศไทยได้ขึ้นอยู่ในลำดับที่ 1 ของประเทศที่มีอุบัติเหตุบนท้องถนนมาที่สุดในโลก คือมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 36.2% ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ขณะที่ในปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมด 22,356 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย โดยผู้เสียชีวิตมีอายุอยู่ในช่วง 15-29 ปี มีผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนราว 1 แสน รัฐใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาประชาชนทั้งหมดราว 5 แสนล้านบาท ขณะที่มีผู้ที่กลายเป็นผู้พิการ 6 หมื่นคนในปี 2559 นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช ระบุว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมทั้งอุบัติเหตุการเสียชีวิตบนท้องถนน ในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้มีการลงรายละเอียดชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่มีข้อมูลที่พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ส่วนกรณีการเมาแล้วขับนั้นยังไม่มีพนักงาน หรือหน่วยงานใดรับหน้าที่ในการบันทึกอย่างจริงจัง แต่คาดการณ์ว่ากว่าครึ่งหนึ่งของอุบัติเหตุทั้งหมดเกิดจากการ "เมาแล้วขับ" การไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจังในการเก็บสถิติอุบัติเหตุเมาแล้วขับ นายแพทย์แท้จริงเห็นว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าความตายบนท้องถนนเป็นเรื่องที่ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญโดยรัฐไทย กระทั่งวันนี้สถิติความตายบนท้องถนนของไทยอยู่อันดับ 1 ของโลก รัฐบาลก็ยังไม่เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยด่วน มีแต่เพียงการออกมาเข้มงวดจริงจังกันในช่วงเทศกาลสำคัญเท่านั้น เขาเล่าว่าเคยได้ร่วมประชุมกับพลเอกประวิทย์ วงษ์สุวรรณ เพื่อนำเสนอเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเมื่อปี 2559 ซึ่งในเวลานั้นไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่มีความตายบนท้องถนนมากที่สุด รองนายกรัฐมนตรีดูมีความตกใจกับข้อมูล พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวสู่อันดับ 1 ของโลก แต่ที่สุดแล้วไทยก็ก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 1 โดยที่ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นายเเพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ นายแพทย์แท้จริง ชี้ให้เห็นว่ามี 3 ลักษณะนิสัย หรือ DNA สำคัญของสังคมไทยที่ยังหล่อเลี้ยงอุบัติเหตุบนท้องถนนให้ยังคงอยู่และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ การเป็นสังคมอุปถัมภ์ การทุจริตคอร์รัปชั่น และการเป็นสังคมง่ายๆ อะไรก็ได้ ทั้งสามสิ่งนี้คือปัจจัยสำคัญที่ยังทำให้อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากการเมาแล้วขับยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กฎหมายที่โทษสูง ความเข้มงวดในการรักษากฎหมายก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เขาเห็นว่าทั้ง 3 ลักษณะ หรือ 3 DNAนี้เป็นสิ่งที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ ยากที่จะแก้ไข แต่ยากยิ่งกว่าที่จะทำให้รัฐบาลเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หรือสำนึกรู้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ชีวิตของผู้คนที่ต้องหมดอนาคต หรือความตายที่เกิดขึ้นบนท้องถนน เป็นสิ่งที่สะท้อนความล้มเหลวในการบริหารจัดการของรัฐอย่างชัดเจน ไม่เพียงเฉพาะรัฐบาลทหาร แต่รัฐบาลพลเรือนที่ผ่านมาก็ไม่เคยเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เข็มวินาทีเดินไปเรื่อยๆ ตัวเลขจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นประเทศไทยในวันที่ 23 พ.ค. 2561 ซึ่งรวบรวมไว้โดย ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนน มีอุบัติเหตุทั้งหมด 2,570 ครั้ง บาดเจ็บ 2,540 ราย เสียชีวิต 30 ราย และหากนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2561 มาถึงวันนี้ (24 พ.ค.) มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6,828 ราย บาดเจ็บ 397,793 และมีอุบัติเหตุแล้วทั้งสิ้น 404,621 ครั้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จับสึก-ส่งเข้าเรือนจำ หลังศาลไม่ให้ประกัน 5 พระเถระผู้ต้องหาคดีทุจริตเงินทอนวัด Posted: 24 May 2018 10:01 AM PDT ศาลไม่ให้ประกันพระผู้ใหญ่ 5 รูป ผู้ต้องหาคดีทุจริตเงินทอนวัด จับสึกนุ่งขาวคุมตัวขึ้นรถเรือนจำ 'สมเด็จพระสังฆราช' ทรงมีพระบัญชา ปลด 3 พระผู้ใหญ่โยงคดีนี้ด้วย 24 พ.ค.2561 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานกรณีที่ตำรวจกองบังคับการปราบปราม นิมนต์เชิญพระศรีคุณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ พระครูสิริวิหารการสมจิตร จันทร์ศรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศ พระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือเจ้าคุณเทอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และ พระอรรถกิจโสภณ เลขาเจ้าคณะกรุงเทพฯ วัดสามพระยา ผู้ต้องหาคดีทุจริตเงินทอนวัด มาฝากขังต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยศาลใช้เวลาพิจารณานานหลายชั่วโมงกระทั่งล่าสุด ได้มีคำสั่ง ไม่ให้ประกันพระผู้ใหญ่ทั้ง 5 รูป ทำให้ตามกระบวนการต้องสึกจากความเป็นพระ และคุมตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา มารดาของ ร.ท.ฐิติทัศน์ พิพนธ์พิทยา นายทหารสังกัด ศรภ. และ นุชรา สิทธินอก ศาลไม่ให้ประกันตัวเช่นกัน ก่อนจะคุมตัวทั้งหมดเข้าเรือนจำ ส่วนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ภายหลังศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไม่อนุญาตให้ประกัน พระครูวิจิตรธรรมาภรณ์ พระศรีคุณาภรณ์ พระครูสิริวิหารการ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสสระเกศ พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยาและเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พร้อมพระอรรถกิจโสภณ เลขานุการ และฆราวาส อีก 4 คน หลังพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ยื่นคำร้องขอฝากขังผัดแรกเป็นเวลา 12 วัน ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน จากกรณีทุจริตงบประมาณอุดหนุนโรงเรียนปริยัติธรรมและงบประมาณเผยแผ่ศาสนา ตั้งแต่ปี 2557 และจับสึกนุ่งขาวคุมตัวขึ้นรถเรือนจำ นอกจากนี้ ข่าวสดออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า พระพรหมมุนี กรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เปิดเผยว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาให้ มส. พ้นจากตำแหน่ง 3 รูป ดังนี้ พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร, พระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม, พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ประมวลผลเสนอมา ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการให้พ้นตำแหน่งไปก่อน หากทั้ง 3 รูปสามารถพิสูจน์ตนเองตามกระบวนการทางกฎหมายและไม่มีความผิด ก็สามารถที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม ได้อีกครั้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บ.เหมืองจีนฟ้องคนต้านเหมืองโปแตช สกลฯ รายที่ 3 ข้อหาข่มขืนใจ กรณีขวางขุดเจาะสำรวจ Posted: 24 May 2018 08:22 AM PDT สมาชิกกลุ่มรักษ์ อ.วานรนิวาส กลุ่มคัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตชใน จ.สกลนคร ถูกบริษัท ฯ ทำเหมืองกล่าวหาข่มขืนจิตใจ ใช้กำลังประทุษร้าย รายที่ 3 กรณีชุมนุมปิดเส้นทางไม่ให้รถขนอุปกรณ์ขุดเจาะเหมืองเข้าพื้นที่เมื่อ กลาง พ.ค. ที่ผ่านมา
สัมฤทธิ์ โบราณมูล (ภาพจาก : กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส) 24 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า สัมฤทธิ์ โบราณมูล อายุ 48 ปี ชาวบ้านหินกอง หมู่ที่ 17 ต.วานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร อาชีพเกษตรกร หนึ่งในสมาชิกกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส กลุ่มที่เคลื่อนไหวคัดค้านการสำรวจและทำเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน สภ.วานรนิวาส ข้อหากระทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 309 ฐานร่วมกันข่มขืนจิตใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใดๆ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ซึ่งผู้อื่นในที่นี่คือตัวแทนบริษัทไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกอาชญาบัตรพิเศษให้สิทธิสำรวจแร่โปแตช พื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ กินพื้นที่ 6 ตำบล ในเขต อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร จากกรณีที่ประชาชนชาววานรนิวาสชุมนุมคัดค้านการขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแตชใต้หลุมที่ 4 ของบริษัทไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 9-15 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยพนักงานสอบสวนได้ระบุวันรับทราบข้อกล่าวในหมายเรียกคือในวันที่ 25 พ.ค. 2561 (วันพรุ่งนี้) ที่ สภ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ภาพ ประชาชนชาววานรนิวาสปักหลักชุมนุมคัดค้านการขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแตชใต้หลุมที่ 4 ของบริษัทไชน่า หมิงต๋า โปแตชฯ เมื่อวันที่ 9-15 พ.ค. ที่ผ่านมา กว่า 6 คืน 7 วัน (ภาพจาก : กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส) สัมฤทธิ์ ถือว่าเป็นรายที่ 3 ที่ได้รับหมายเรียกในข้อกล่าวหานี้ ก่อนหน้านี้มีสมาชิกกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสที่ไปร่วมคัดค้านการขนอุปกรณ์สำรวจเหมืองแร่ได้รับหมายเรียกในข้อกล่าวหานี้ 2 รายแล้ว สัมฤทธิ์ กล่าวว่า วันนี้ขณะที่ตนไปถวายอาหารพระที่วัดบ้านหินกองตามปกติเหมือนทุกวัน เวลาประมาณ 13.00 น. เพื่อนบ้านที่มีบ้านติดกันได้นำเอาเอกสารฉบับหนึ่งมาให้ตน ทราบภายหลังคือหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน สภ.วานรนิวาสดังกล่าว โดยเพื่อนบ้านคนนั้นได้เล่าให้ตนฟังอีกว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งนายจาก สภ.วานรนิวาส มาหาตน (นางสัมฤทธิ์) ที่บ้าน แต่ไม่พบ จึงได้ฝากให้ ตน (เพื่อนบ้าน) นำมาให้ที่วัด "ไม่รู้สึกตกใจอะไร เพราะรู้มาก่อนแล้วว่า ตนอาจถูกบริษัท ฯ ฟ้องร้อง ดำเนินคดี คิดว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ฟ้องร้องให้เราหยุดเคลื่อนไหวต่อต้านการทำเหมืองแร่'' สัมฤทธิ์ กล่าว สัมฤทธิ์กล่าวอีก วันที่มีการชุมนุมปิดเส้นทางไม่ให้รถขนอุปกรณ์ขุดเจาะของบริษัท ฯ เข้ามาสำรวจแร่ กว่า 6 คืน 7 วันนั้น ตนทำหน้าที่บันทึกภาพ บันทึกวีดีโอสิ่งที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังทำช่วยประสานงาน ทำอาหารดูแลพี่น้องที่มาร่วมชุมนุมตลอดการชุมนุมเท่านั้น ไม่ได้ไปบังคับข่มขืนใจหรือทำร้ายใครตามที่ถูกกล่าวหา "เบื้องต้น พรุ่งนี้ไปรับทราบข้อกล่าวหากับทนายความและจะขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เพราะไม่ได้กระทำผิด ฉันคิดว่าเป็นสิทธิของฉันเช่นกันที่จะต่อสู้คัดค้านไม่ให้เหมืองแร่มาทำลายชีวิตควาเป็นอยู่ของฉัน ฉันไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองและครอบครัวเพียงอย่างเดียว แต่ต่อสู้เพื่อชุมชน เพื่อลูกหลาน คนอื่น ๆ ด้วย" สัมฤทธิ์กล่าว สัมฤทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้เป็นแกนนำที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองแร่ดังกล่าว แต่ตนเป็นเพียงประชาชนคนธรรมดา ที่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ซึ่งที่ดินทำกินของตนและครอบครัวนั้นก็อยู่ใกล้กับพื้นที่ที่ได้รับสิทธิในการสำรวจเพื่อทำเหมืองแร่โปแตซอีกด้วย จึงทำให้ตนต้องออกมาคัดค้านการทำเหมือง เพราะกังวลว่าเหมืองจะทำให้ตนสูญเสียที่ดินทำกิน หรือผลผลิตทางการเกษตรของตนจะได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ เช่น ปัญหาดินเค็ม น้ำเค็ม ดินถล่ม เป็นต้น "ฉันและพี่น้องชาว อ.วานรนิวาส จะยืนยัน ต่อสู้คัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตซเหมือนเดิม เพื่อปกป้องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน ปกป้องสิ่งแวดล้อม ที่ดินทำกิน แหล่งอาหารของชุมชนต่อไป" สัมฤทธิ์ กล่าว สักกพล ไชยแสงราช ทนายความกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสกล่าวว่า ข้อกล่าวหานี้ ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้เสียหายก็คือบริษัท ฯ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อนุญาตให้รถขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่ สามารถเข้าไปสำรวจขุดเจาะได้นั้น ได้กล่าวหาประชาชนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสที่ไปชุมนุมบริเวณทางเข้าพื้นที่ขุดเจาะนั้น ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะได้รับอันตราย และกังวลว่าทรัพย์สินจะเสียหายจากการกระทำของประชาชนที่ชุมนุมคัดค้าน "พรุ่งนี้เราจะไปรับทราบข้อกล่าวหาและจะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เพราะพี่น้องไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา ไม่ได้ทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหายก็คือบริษัท ฯ เลย" สักกพล กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปล่อยตัว "คนอยากเลือกตั้ง" รังสิมันต์ โรมย้ำสู้เผด็จการต่อไป Posted: 24 May 2018 06:46 AM PDT ศาลอนุมัติปล่อยตัวชั่วคราว "คนอยากเลือกตั้ง" ทั้ง 15 คน โดยตั้งเงื่อนไข ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายแก่สาธารณะชน รังสิมันต์ โรม ระบุรู้ว่าการเคลื่อนไหวในโอกาส 4 ปี คสช. มีราคาแสนแพงต้องแลกด้วยสิทธิเสรีภาพของตน แต่ขอยืนยันว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการเคลื่อนไหวที่สันติเท่าที่สติปัญญาของมนุษย์คนหนึ่งจะทำได้ มากไปกว่านี้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ย้ำจุดยืนขอสู้เผด็จการต่อไป 24 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 15.20 น. ศาลอนุมัติตำรวจขอฝากขัง "คนอยากเลือกตั้ง" ขณะทีมทนายโวยศาลยกคำร้องคัดค้านการฝากขังของผู้ต้องหา โดยไม่ไต่สวน และมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ทำให้ทีมทนายความผู้ต้องหาคดีคนอยากเลือกตั้ง ทั้ง 15 คน ยื่นประกันตัวผู้ต้องหาคนละ 100,000 บาท วงเงินรวม 1.5 ล้านบาท ยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ในรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานความเห็นของศาลว่า เมื่อพนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขัง ผู้พิพากษาศาลได้เข้ามาพิจารณาคดี โดยที่ศาลไม่ได้ถามการคัดค้านฝากขัง มีการถามผู้ต้องหาว่าต้องการคัดค้านฝากขังหรือไม่ อานนท์ นำภา หนึ่งในผู้ต้องหาตอบว่าคัดค้านการฝากขัง ก่อนที่ศาลแจ้งว่าเลยกระบวนการขั้นนั้นมาแล้ว ให้ไปขอใช้สิทธิ์ประกันตัวหรือใช้สิทธิ์อุทธรณ์แทน โดยคำสั่งในกระบวนการพิจารณาคดีระบุว่า ศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและตั้งข้อกล่าวหา ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ในชั้นพิจารณา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพนักงานสอบสวนซึ่งสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ จึงมีเหตุที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฝากขังระหว่างสอบสวน และอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังได้ตามขอ ต่อมาทางด้านทนายความและนายประกันของผู้ต้องหา ยื่นเรื่องเพื่อขอประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ให้ประกันด้วยหลักทรัพย์ 100,000 บาท โดยกลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้งหมดได้รับการประกันตัว โดยมีเงื่อนไข "ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายแก่สาธารณะชน" นอกจากนี้เฉพาะกรณีของณัฏฐา มหัทธนา ระบุเงื่อนไขการประกันตัวเพิ่มว่า "หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาอื่นเพิ่มเติม อาจเรียกเงินประกันเพิ่มเติม" โดยนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ หนึ่งในทนายความได้กล่าวว่า วันนี้ศาลให้ประกันตัวแล้ว ส่วนวิธีการดำเนินกระบวนการทางการเมืองอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ก็ค่อยมาว่ากัน ทั้งนี้ผู้ชุมนุมและแกนนำ "คนอยากเลือกตั้ง" เดินทางออกจากอาคารศาลเมื่อเวลาประมาณ 17.45 น. โดยมีผู้สนับสนุนและญาติมิตรรอต้อนรับและให้กำลังใจ โดยต่างตะโกนเปล่งคำขวัญ "เลือกตั้งปีนี้ เลือกตั้งปีนี้" ตอนหนึ่งในการแถลงต่อผู้สื่อข่าว รังสิมันต์ โรม กล่าวว่ารู้ว่าการเคลื่อนไหวในโอกาส 4 ปี คสช. มีราคาแสนแพงต้องแลกด้วยสิทธิเสรีภาพของตน แต่ขอยืนยันการชุมนุม 21-22 พฤษภาคม เป็นการเคลื่อนไหวที่สันติที่สุด เท่าที่สติปัญญาของมนุษย์คนหนึ่งจะทำได้ มากไปกว่านี้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว โดยย้ำจุดยืนขอสู้เผด็จการต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จนท.ตรวจค้นหลายจังหวัดพบอาวุธจำนวนมาก เชื่อเตรียมสร้างสถานการณ์ช่วง 'คนอยากเลือกตั้ง' ชุมนุม Posted: 24 May 2018 06:46 AM PDT ตำรวจ ทหารสนธิตรวจค้นหลายจังหวัด ระบุจับกุมผู้ต้องหาพร้อมอาวุธฯ จำนวนมาก คุมไว้ที่ มทบ.11 เตรียมส่งกองปราบ 25 พ.ค.นี้ ชี้เตรียมสร้างสถานการณ์ในการชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง
24 พ.ค.2561 ข่าวสดออนไลน์ มติชนออนไลน์ และไทยโพสต์ รายงานตรงกันว่า วันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารร่วมสนธิกำลังเข้าตรวจค้นบ้านพักผู้ต้องหา สุชาติ คอนเล็ก จ.ระยอง พบอาวุธสงครามในพื้นที่เป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ที่ร้านแก้วขนมเปี้ยะและบ้านภรรยาผู้ต้องหาบริเวณตรงข้าม สภ.บ้านโพธิ์ ต.บ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา จากการขยายผลพบว่าผู้ต้องหาเคยมีประวัติเป็นการ์ด นปช. การตรวจค้นภายในบ้านพบอาวุธสงครามและเครื่องกระสุนปืน 7 รายการ ประกอบด้วย 1. อาวุธปืนเอ็ม 16 ทั้งประกอบและไม่ประกอบหลายกระบอก 2.ลำกล้องปืนพกที่กลึงแล้ว 3.ลำกล้องปืนเล็กยาวที่ยังไม่ได้กลึง 4. กระสุนปืนพกขนาด 9 มม. 5.กระสุนปืนเล็กยาว ขนาด 7.62 มม. 6.อุปกรณ์การดัดแปลงอาวุธปืน 7.กล่องปืนกล็อกและอื่นๆ อีกหลายรายการ รายงานข่าวยังระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ยังร่วมกันตรวจค้นในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ อีกกว่า 10 จุด อาทิ สมุทรปราการ อยุธยา ฉะเชิงเทรา และเชียงราย สามารถจับกุมผู้ต้องหาพร้อมอาวุธสงครามได้อีกเป็นจำนวนมาก ก่อนจะนำตัวทั้งหมดมาควบคุมไว้ที่ มทบ.11 และเตรียมส่งตัวให้พนักงานสอบสวนกองบังคับการกองปราบปรามเช้าวันที่ 25 พ.ค. สอบสวนขยายผลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับใครบ้างถึงได้มีอาวุธสงครามจำนวนมากขนาดนี้ การตรวจค้นดังกล่าวสืบเนื่องจากหน่วยงานความมั่นคงได้พบความเคลื่อนไหวกลุ่มหัวรุนแรงเตรียมอาวุธสงครามเพื่อสร้างสถานการณ์ในการชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21-22 พ.ค.61 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านจุดตรวจ จุดสกัด จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายอาวุธเข้ามาในพื้นที่ กทม.ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'พุทธะอิสระ' พฤหัสฯไม่อิสระ-ถูกจับสึก คดีอั้งยี่ซ่องโจร-ปลอมพระปรมาภิไธย Posted: 24 May 2018 05:28 AM PDT ศาลไม่ให้ประกันตัว อดีตพระพุทธะอิสระ พร้อมจับสึก หลังทนายยื่นหลักทรัพย์ 1.5 แสน คดีอั้งยี่ซ่องโจร และคดีปลอมพระปรมาภิไธย จนท.นำขึ้นรถเพื่อไปเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพ ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติโยมที่มาให้กำลังใจ ที่มาภาพ http://news.thaipbs.or.th/content/272415 24 พ.ค.2561 จากกรณีช่วงเช้า ตำรวจนำกำลังคอมมานโด จับ พระพุทธะอิสระ หรือ "พระสุวิทย์ ธมฺมธีโร" ที่วัดอ้อน้อย ตามหมายจับ และพาตามายังกองปราบปรามในคดีปล้นทรัพย์ และเป็นหัวหน้าอั้งยี่ซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2557 ขณะที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. และตำรวจสันติบาลถูกการ์ด กปปส. แจ้งวัฒนะ ทำร้ายร่างกาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัส และปล้นเอาทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ไปด้วย นอกจากนี้ ตำรวจแจ้งข้อหาแอบอ้างใช้พระปรมาภิไธย "ภปร" และ "สก" กรณีสร้างพระเครื่องพระนาคปรก รุ่นหนึ่งในปฐพี นั้น ต่อมาช่วงบ่ายตำรวจนำตัว พระพุทธะอิสระ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา มาขออำนาจศาลฝากขัง คดีอั้งยี่ซ่องโจร และคดีปลอมพระปรมาภิไธย 2 สำนวน มาฝากขังครั้งแรกต่อศาลอาญา เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.- 4 มิ.ย.นี้ เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ล่าสุด ไทยพีบีเอส รายงานว่า เมื่อ เวลา 18.30 น. ศาลไม่ให้ประกันตัว อดีตพระพุทธะอิสระ พร้อมจับสึก หลังทนายยื่นหลักทรัพย์ประกันตัว 150,000 บาท จากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวผู้ต้องหาขึ้นรถเพื่อไปเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพ ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติโยมที่มาให้กำลังใจ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรง ไทยรัฐออนไลน์ รายงานรายละเอียดคดีไว้ดังนี้ คดีมีการ ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย.60 นายวิชัย ประเสริฐสุดสิริ ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กก.5 บก.ป. ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ที่นำอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. มาประดิษฐานหลังองค์พระเครื่องโดยไม่ได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โดยนายวิชัย ผู้กล่าวหา ได้ตรวจพบทางเว็บไซต์ว่าพระเครื่องดังกล่าว มีการสร้างเมื่อช่วงเข้าพรรษาปี 2554 บรรจุปรอทเมื่อวันที่ 15 ส.ค.2554 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สร้างพระสำเร็จ ผู้กล่าวหาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, ปลอมขึ้นซึ่งพระปรมาภิไธย และใช้พระปรมาภิไธยที่มีการปลอมขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 250, 252 โดยมีการสอบสวนพยานบุคคล พร้อมทั้งตรวจสอบไปยัง สำนักพุทธศาสนา ยืนยันตรงกันว่า ผู้ต้องหาไม่ได้รายงานขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม และจากการสอบสวนพยานบุคคลเจ้าหน้าที่ กรมราชเลขานุการในพระองค์ ยืนยันว่าผู้ต้องหาไม่ได้ขออนุญาตใช้พระปรมาภิไธยย่อ และอักษรย่อพระนามาภิไธย ตามพฤติการณ์และพยานหลักฐาน จึงยืนยันว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้สร้างพระนาคปรก อุดปรอท รุ่นหนึ่งในปฐพี ที่เป็นปัญหาในคดีนี้จริง โดยไม่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธย และอักษรพระนามาภิไธยย่อ ไปประดิษฐานหลังองค์พระเครื่องดังกล่าว เหตุเกิดที่วัดอ้อน้อย ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ระหว่างปี 2554 - 15 ส.ค.2554 พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาฐาน ปลอมขึ้นซึ่งพระปรมาภิไธย และใช้พระปรมาภิไธยที่มีการปลอมขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 250, 252 ในชั้นสอบสวน ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยขอให้การในชั้นศาล ขณะที่การฝากขังคดีนี้ พนักงานสอบสวนระบุว่า หากผู้ต้องหาขอปล่อยชั่วคราวในชั้นศาล ก็ขอให้เป็นดุลยพินิจของศาล ส่วนประเด็นการฟ้องในคดี ม.112 นั้น โพสต์ทูเดย์รายงานว่า ทนายของพุทธะอิสระ ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ประวิตร' ชี้น้ำมันแพง ก็ต้องเสียสละบ้าง ถาม 'ไม่ขึ้นมา 4 ปี ไม่เห็นมีใครร้อง' Posted: 24 May 2018 03:18 AM PDT พล.อ.ประวิตร ระบุน้ำมันแพงเหตุขึ้นทั้งโลก ยันว่าไม่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล แต่ว่าคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาท ถาม 'ไม่ขึ้นมา 4 ปี ไม่เห็นมีใครร้อง' แนะเสียสละกันบ้าง สั่งดำเนินคดีสื่อออนไลน์บิดเบือนคำพูด พล.อ.ประยุทธ์ 24 พ.ค.2561 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากปัญหาราคาน้ำมันแพงว่า น้ำมันมันขึ้นทั้งโลก "เวลาน้ำมันไม่ขึ้น 4 ปี ไม่เห็นมีใครร้องอะไรเลย กำไรไม่ร้องเลย ก็ต้องเสียสละบ้าง" พล.อ.ประวิตร กล่าว พร้อมยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล รัฐบาลเพียงแต่ว่าคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาท สำหรับกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ธรรมดา 10 ปีที่แล้วมามีใครไม่โดนถล่มด้านเศรษฐกิจไหม PPTV รายงานกรณี การเผยแพร่ข้อมูลบนสื่อออนไลน์ และการส่งต่อข้อมูลข่าวสาร ที่บิดเบือนคำพูด ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยข้อความที่ระบุว่า "ให้ประชาชนใช้น้ำเปล่าแทนน้ำมัน" ล่าสุด พล.อ.ประวิตร สั่งให้เร่งติดตามตัวแอดมินเว็บไซต์ดังกล่าว มาดำเนินคดีตามกฎหมาย ขณะที่ ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า "ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำม อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนกลับไปครั้งที่ราคาน้ำมันลดลงปลายปี 57 พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะนั้นกลับกล่าวว่า "การปรับลดราคาน้ำมันครั้งน ซึ่งในครั้งนั้น (ปลายปี 57) ราคาน้ำมันดิบโลกลดลงประมาณ 56.47% ขณะที่ราคาน้ำมันในไทยลดลงเพียงประมาณ 33-34% เท่านั้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘คนทำงาน รพ.สต.’ ทำสารพัด 'เอกสารยันพัสดุ' มีเวลาบริการสุขภาพประชาชนน้อย Posted: 24 May 2018 02:27 AM PDT งานศึกษา 'ภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)' พบภาพรวมขาดกำลังคนเมื่อเทียบกับภาระงาน บุคลากรใช้เวลากว่า 30% "ทำรายงานผลงาน งานเอกสาร งานพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน การบันทึกข้อมูล ฯลฯ" ทำให้เวลาบริการสุขภาพประชาชนลดน้อยลง ขาดขวัญกำลังใจที่ทำงานหนักแต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ส่วนการโอน 'รพ.สต.' ให้ 'ท้องถิ่น' ยังไม่คืบ บุคคลากรหวั่นไม่มีหลักประกันก้าวหน้าในสายงาน การเมืองท้องถิ่นไม่แน่นอน 'เจ้าหน้าที่สาธารณสุข' หรือ 'หมออนามัย' ในอดีตส่วนใหญ่จะจบจากวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร แล้วได้บรรจุทำงานที่ สถานีอนามัยหรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปัจจุบันผู้เข้าเรียนวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรลดจำนวนลง เนื่องจากนโยบายลดจำนวนข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุข ที่มาภาพประกอบ: parliament.go.th จาก การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรและคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2560 โดยงานศึกษาชิ้นนี้ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณจากบุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. 5 ขนาด (S, M, L, Extra และพิเศษ) จำนวน 336 คน ใน 48 แห่ง จาก 12 จังหวัด ใน 12 เขตสุขภาพ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย บุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. ดีเด่น จำนวน 8 แห่ง ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจาก 4 ภูมิภาคของประเทศ ผลการศึกษาที่น่าสนใจพบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาภาระงาน มีบุคลากรได้แก่ เจ้าพนักงาน/นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ บุคลากร ทันตสาธารณสุข แพทย์แผนไทย และบุคลากรสายสนับสนุนรวม 4-11 คน เฉลี่ย 7.14 คน/แห่ง แต่มีเพียงร้อยละ 14.28 เท่านั้นที่มีบุคลากรปฏิบัติงานครบทุกตำแหน่ง ในจำนวนเฉลี่ย 7.14 คน/แห่งนี้ มีตำแหน่ง เจ้าพนักงาน/นักวิชาการสาธารณสุข 2.64±0.74 คน พยาบาลวิชาชีพ 1.43±1.16คน ทันตบุคลากร 1±0.68 คน แพทย์แผนไทย 0.86 คน บุคลากรสายสนับสนุน 0.86 คน และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 0.36 คน และเมื่อวิเคราะห์ภาระงานจากภารกิจ บริหาร เภสัชกรรม ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ทันตกรรม แพทย์แผนไทย วิชาการ บันทึกข้อมูล พบว่า รพ.สต.กลุ่มตัวอย่างยังขาดอัตรากำลังประมาณ ร้อยละ 20 ของที่ควรจะมี ซึ่งเป็นความขาดแคลนในระดับที่ไม่รุนแรง และสามารถบริหารจัดการเพื่อให้บุคลากรมีการทำงานล่วงเวลา โดยมีค่าตอบแทนหรือให้มีการจ้างงานเป็นบางเวลาเพื่อเป็นอัตรากำลังเสริมในช่วงที่มีภาระงานเพิ่มสูงกว่าปกติ ขาดกำลังคนทำงานสารพัด เอกสารยันจัดซื้อแทนที่จะได้ไปทำงานด้านบริการสุขภาพในด้านการใช้ประโยชน์จากกำลังคน พบว่าบุคลากร รพ.สต.ต้องทำงานที่ไม่ได้อยู่ในหรือเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตนเลย ตัวอย่างเช่น นักวิชาการทันตสาธารณสุข, พยาบาลเวชปฏิบัติ และนักวิชาการสาธารณสุข ต้องทำงานการเงิน งานจัดซื้อจัดจ้าง งานพัสดุ และใช้เวลากว่าร้อยละ 30 ของบุคลากรสาธารณสุขที่ต้องมารับผิดชอบงานเหล่านี้ แทนที่จะได้ไปทำงานด้านบริการสุขภาพตามบทบาทของตนเอง ซึ่งหากบริหารจัดการภาระงานในส่วนนี้ได้ จะทำให้บุคลากรสายวิชาชีพเหล่านี้สามารถรับภาระงานบริการวิชาชีพได้อย่างเพียงพอนอกจากนี้ยังพบว่าในบาง รพ.สต.พยาบาลต้องไปทำงานด้านแพทย์แผนไทย และยังพบอีกว่าบุคลากร รพ.สต.ยังต้องทำงานซึ่งต้องใช้ความรู้และทักษะของวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่วิชาชีพตน และไม่ใช่ skill mix ของทีมงานใน รพ.สต.เช่น งานจัดการคลังเวชภัณฑ์ งานเภสัชกรรมบำบัด งานคุ้มครองผู้บริโภค งานยาเสพติด และงานอุบัติเหตุ ถึงแม้ว่างานจะถูกจัดการให้ลุล่วงไปได้ แต่ประเด็นของความคุ้มค่าและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรบุคคลที่ว่า "put the right man on the right job" ถือได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังพบว่าบุคลากรวิชาชีพทุกคนใน รพ.สต.ต้องใช้เวลาประมาณร้อยละ 10 ไปกับการลงข้อมูลและจัดทำรายงานต่างๆ ที่ต้องนำส่งกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นนี้ควรได้รับความสนใจอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรบุคคลของ รพ.สต. ส่วนการกระจายเวลาการทำงานของบุคลากร ในแต่ละงานใน รพ.สต. พบว่า 5 อันดับแรกของการใช้เวลาในการทำงาน มากที่สุดถูกใช้ไปในงานด้านรักษาพยาบาล ร้อยละ 26.1 รองลงมาคืองานบริหาร ร้อยละ 16.4 งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ร้อยละ 14.5 งานเภสัชกรรม ร้อยละ 12.1 และงานบันทึกข้อมูล ร้อยละ 9.2 ตามลำดับ และงานที่มีเวลาทำน้อยที่สุด คือ งานการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) และงานฟื้นฟูสภาพ ซึ่งอาจเนื่องจากการที่ รพ.สต. มีอัตรากำลังพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงพอ ดังจะเห็นได้จากศึกษาครั้งนี้พบว่า มีรพ.สต ในกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 7 ที่ไม่มีพยาบาลอยู่ปฏิบัติงาน ร้อยละ 64.28 มีพยาบาลเพียงคนเดียว ร้อยละ 21.43 มีพยาบาล 2 คน และร้อยละ 7.14 มีพยาบาลมากกว่า 2 คน ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของการบริหารจัดการสรรหา และการกระจายกำลังคน ที่อาจต้องมีการดำเนินการให้มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อทำงานในลักษณะทีมทักษะผสม และมีความจำเป็นที่ต้องสร้างทักษะด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเพื่อให้บุคลากรสายวิชาชีพสาธารณสุขให้สามารถทำงานทดแทนกันได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อร้องเรียนว่าผู้ป่วยมา รพ.สต.แล้วเจ้าหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นไม่ได้เลยเวลาพยาบาลไม่อยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า นักวิชาการ/เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ยังมีความจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาด้านทันตกรรมแก่ประชาชนด้วยซึ่งจุดนี้คงต้องหาทางช่วยให้คนทำงานด่านหน้าของกระทรวงสาธารณสุขทำงานได้อย่างถูกต้องและได้รับความคุ้มครองในเชิงกฎหมายด้วย การจัดการกระบวนการทำงานใน รพสต.อาจจะยังขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งการมอบหมายงานและการกำกับการทำงานเป็นทีมอาจไม่ชัดเจน จากการที่พบว่าบุคลากรทุกตำแหน่งรายงานว่ามีภาระงานบริหาร ที่ใช้เวลา เกือบ 1 ใน 5 ของเวลาทำงานทั้งหมด รวมทั้งเมื่อวิเคราะห์ภาระงานรายตำแหน่งพบว่า ผอ. รพ สต ใช้เวลาเพื่อทำงานบริหารเพียงครึ่งหนึ่งของเวลาทำงานทั้งหมด พยาบาลวิชาชีพ ใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งของเวลาทำงานทั้งหมด ในการรักษาพยาบาลและงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ในขณะที่ เจ้าพนักงาน/นักวิชาการสาธารณสุข ใช้เวลากับงานนี้เพียงร้อยละ 36 และทำงานบริหารร้อยละ 21 ขาดขวัญกำลังใจเพราะปฏิบัติงานไม่ตรงกับงานที่รับผิดชอบ-ไม่ตรงตามโครงสร้าง ส่งผลต่อความก้าวหน้างานศึกษาของ นพ.วิโรจน์ และคณะ ยังระบุว่าปัจจัยกำหนดผลิตภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ณ รพ.สต. คือ จำนวนและโครงสร้างประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ประเภทและจำนวนของบุคลากรใน รพ.สต. รวมไปถึง ตัวชี้วัดจากกระทรวงสาธารณสุข และผลการดำเนินงานที่ต้องมีเพื่อเบิกงบประมาณจาก สปสช. เมื่อหน่วยงานต้องถูกประเมินด้วยตัวชี้วัดและงบประมาณที่ผูกไว้กับผลงาน ดังนั้น รพ.สต.ก็ต้องบริหารจัดการให้เกิดการดำเนินงานที่สามารถตอบตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดมาและสามารถเบิกเงินได้เพียงพอกับการดำเนินงานให้ได้ ดังนั้นรูปแบบการดำเนินงานของ รพ.สต. ตลอดปีงบประมาณจะถูกออกแบบให้งานที่ทำในแต่ละช่วงเวลาสามารถเรียงร้อยต่อกันได้และตอบตัวชี้วัด หรือการประเมินได้ทันเวลาที่ต้องส่งเบิกหรือต้องถูกประเมิน ผลลัพธ์ของงานส่วนใหญ่คือการจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดปีละครั้ง จะมีแต่งานรักษาพยาบาลเท่านั้นที่มีการดำเนินงานตลอดเวลาทำการเพื่อป้องกันข้อร้องเรียน ด้วยจำนวนบุคลากรที่มีอยู่จำกัดงานบางงานที่ รพ.สต.ควรทำก็จะไม่ได้ทำ ดังนั้นหากมีการจัดการอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะช่วยให้การทำงานคล่องตัวลดระยะเวลาการทำงานและการออกรายงาน รวมทั้งมีบุคลากรบางสาขาสายสนับสนุนที่จำเป็น เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อรับผิดชอบงานที่เกินขอบเขตวิชาชีพอันเป็น skill mix ของทีมงานที่มีอยู่ อาจจะช่วยให้การดำเนินงานของ รพ.สต.มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้บุคลากรที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. สะท้อนถึงปัญหาที่ทำให้ขาดขวัญกำลังใจ เพราะทำงานหนัก แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงควรมีการทบทวนการกำหนดกรอบมาตรฐานอัตรากำลัง, การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่างๆ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากกำลังคนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ ตามลักษณะงานและปริมาณงานของ รพ.สต.แต่ละขนาด ส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับภารกิจหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาสมรรถนะ ผู้อำนวยการรพ.สต. ในการบริหารจัดการเพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็น และควรมีการจัดสรรบุคลากร รพ.สต. ให้มีจำนวนเพียงพอภาระงานในปัจจุบัน รวมทั้งการทบทวนเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัด และระบบรายงาน ที่จะไม่เป็นภาระแก่บุคลากรโดยไม่จำเป็น หวั่นย้ายสังกัดมา อปท. ไม่มีหลักประกันก้าวหน้าในสายงาน-การเมืองท้องถิ่นไม่แน่นอนนับตั้งแต่มี พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ก็ได้มีการกำหนดการกระจายอำนาจด้านสุขภาพไว้ ซึ่งในขณะนั้นถึงกับมีแผนการดำเนินการถ่ายโอนสถานบริการสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดูแลให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า ณ ปัจจุบัน (ข้อมูลเดือน ต.ค. 2559) พบสถานบริการสาธารณสุขที่ถ่ายโอนไปให้ อปท.ดูแลเองมีเพียง 51 แห่งใน 23 จังหวัด (อปท. ที่รับโอนเป็น เทศบาลตำบล 17 แห่ง อบต. 16 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเมือง 1 แห่ง) จากทั้งประเทศที่มีสถานีอนามัยและ รพ.สต. รวมกันถึง 9,787 แห่ง งานศึกษา ผลการศึกษาเบื้องต้นการประเมินผลท้องถิ่นกับการพัฒนาระบบสุขภาพในบริบทการกระจายอำนาจ: การสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย โดย รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ลงเก็บข้อมูล รพ.สต. 28 แห่ง ที่ถูกถ่ายโอนมาให้ อปท. เมื่อปี 2555 ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ ในภาพรวมพบว่าการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอน รพ.สต. สู่ อปท. ค่อนข้างเป็นปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องการชี้แจงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ใช้เวลาสั้นและให้เฉพาะข้อมูลเชิงบวกเท่านั้น เช่นเรื่อง ความคล่องตัวในการทำงาน การเลื่อนไหลของตำแหน่ง โบนัส ฯลฯ แต่ขาดการให้ข้อมูลเรื่องการเตรียมความคิดและจิตใจให้กับบุคคลากรที่จะต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างจากสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องการวางตัวในบริบทการเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้มีเพียงเจ้าหน้าที่ส่วนน้อยที่เลือกตัดสินใจด้วยตนเองในการถ่ายโอนไปท้องถิ่น เช่น ต้องการความท้าทาย ไม่พึงพอใจกับระบบการทำงานเดิม หรือตัดสินใจถ่ายโอนเพราะไม่ต้องการถูกย้ายออกนอกพื้นที่ เป็นต้น และแม้ว่าอัตรากำลังในภาพรวมของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปให้ อปท.จะได้รับการสนับสนุนด้านอัตรากำลังจากท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงตำแหน่งฝ่ายสนับสนุน เช่น ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่ธุรการ คนสวน แม่บ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากมองจากกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้แต่แรกถ่ายโอน อย่างตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน และทันตภิบาลนั้น ในภาพรวมยังคงเป็นปัญหาเนื่องจากยังกรอบอัตราที่ว่างหาคนบรรจุไม่ได้ หรือท้องถิ่นไม่สามารถจัดการหาคนมาลงได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน และทันตภิบาล นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่โอนมา อปท. ยังถูกมองว่าเสียเปรียบเมื่อเทียบกับเจ้าหน้าที่ระดับเดียวกันที่ยังอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ทำให้หลายคนต้องการปรับไปกินตำแหน่งบริหารใน อปท. ควบด้วย แต่ยังต้องทำหน้าที่บริการในฐานะพยาบาลเวชปฏิบัติ ให้บริการรักษาพยาบาล พร้อม ๆ กับเสียสิทธิ์การได้รับเงินค่าตำแหน่ง ระยะหลังๆ จึงเกิดกรณีความสับสนในการตีความการเปลี่ยนตำแหน่งสู่สายงานบริหารใน อปท. เช่น ถูกแต่งตั้งเป็นรองปลัดฯ หรือหัวหน้าส่วนฯ แต่ไม่รู้จะรับเงินเดือนจากที่ใด? และตำแหน่งเดิมยังคงอยู่หรือไม่? เป็นต้น ในงานศึกษาของ รศ.ดร.ลือชัย และคณะ ยังระบุว่าสถานะและการรับรู้ต่ออัตลักษณ์ของตนเองของ รพ.สต. และเจ้าหน้าสาธารณสุขที่ถ่ายโอนมายัง อปท. ดูเหมือนจะตกอยู่ตรง 'ชายขอบ' ของสองพื้นที่ คือ 'พื้นที่ของสาธารณสุข' และ 'พื้นที่ของท้องถิ่น' มีภาพที่หลากหลาย อย่างในสายตาของคนทำงานในกระทรวงสาธารณสุขอาจมองว่าเป็น 'พี่น้องสาธารณสุขเหมือนเดิม' จนถึง 'คนของท้องถิ่น' หรืออาจเลวร้ายถึง 'พวกกบฏ พวกมีปัญหา' ขณะที่ ในสายตาของข้าราชการท้องถิ่น ก็จะมองว่าเป็น 'ข้าราชการถ่ายโอน' ที่ไม่ใช่ลูกหม้อของท้องถิ่น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลขาธิการ สปสช.เผย 6 ปัจจัย หนุนหลักประกันสุขภาพไทยสู่ความสำเร็จ Posted: 24 May 2018 01:42 AM PDT 'เลขาธิการ สปสช.' ย้ำการดำเนินงานหลักประกันสุ 24 พ.ค.2561 เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุ นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจั นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า จากการดำเนินระบบหลักประกันสุ 1. เป็นนโยบายจับต้องได้ 2. มีการบริหารจัดการที่ดี (GOOD GOVERNANCE) ที่ไม่ใช่รูปแบบราชการ ดึงภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนเพื่ 3. การดำเนินระบบอยู่บนหลั 4. ฝ่ายการเมืองมีนโยบายชั 5. การสร้างการมีส่วนร่ 6. การยึดหลักตามข้อเสนอการคลั นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า แม้ว่าวันนี้ระบบหลักประกันสุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตร.ขออำนาจศาลฝากขัง 'คนอยากเลือกตั้ง' ด้านทีมนายประกันพร้อมแล้ว Posted: 24 May 2018 01:22 AM PDT ตำรวจนำ 15 คนอยากเลือกตั้งขออำนาจศาลฝากขัง โดยมีผู้สนับสนุนรอให้กำลังใจ ขณะที่ทีมนายประกันพร้อมแล้ว ที่มาภาพ สำนักข่าวหมียักษ์ 24 พ.ค.2561 เมื่อเวลา 12.30 น. พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ผู้ชุมนุมและแกนนำ "คนอยากเลือกตั้ง" ทั้ง 15 คน เดินทางมาขออำนาจศาลฝากขังที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก โดยมีผู้สนับสนุนรอให้กำลังใจผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 15 คน เพจของเครือข่ายนักวิชาการเ สำหรับการดำเนินคดีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่มประชาชนในนาม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" จัดการชุมนุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
4 ปีรัฐประหาร: สวัสดิการสังคม สุขภาพ และชีวิตคนจน: ปัญหา ข้อท้าทาย และทางออก Posted: 24 May 2018 12:13 AM PDT 4 ปีรัฐประหารและสวัสดิการที่สั่นคลอน เมื่อรัฐมองการดูแลประชาชนเป็นภาระ ระบบสวัสดิการสุขภาพถูกทำลายการมีส่วนร่วมจากระบบราชการ นักเศรษฐศาสตร์ระบุในระบอบประชาธิปไตยที่ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสวัสดิการจะเกิดขึ้น
4 ปีของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวได้ว่าเป็นคณะรัฐประหารที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย การรัฐประหารครั้งนี้กำลังทำลายรัฐสวัสดิการด้วยความเป็นรัฐราชการ มองประชาชนเป็นภาระ มีแต่ประชาธิปไตยเท่านั้นจึงจะพัฒนารัฐสวัสดิการขึ้นได้ 'D-Move ก้าวที่ดี เลือกทางที่เดิน' จัดงานเสวนาหัวข้อ สวัสดิการสังคม สุขภาพ และชีวิตคนจน: ปัญหา ข้อท้าทาย และทางออก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการ เอ็นจีโอ และภาคประชาชนร่วมสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วง 4 ปีใต้อำนาจ คสช.
เผด็จการที่ไม่ต้องอาศัยอำนาจจากประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องหยิบยื่นสวัสดิการให้แก่ประชาชน ธร ปิติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับงานที่ผมทำเสร็จไป เป็นมุมมองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของระบบสวัสดิการในประเทศไทย ประเด็นหลักที่ผมจะพูดในวันนี้เชื่อมโยงระหว่างระบบการเมืองกับพัฒนาการของระบบสวัสดิการ ผมจะเน้นย้ำว่าทำไมบริบทของประเทศไทย ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดพัฒนาการของสวัสดิการขึ้นมาได้ เริ่มแรกผมอยากเริ่มจากคำถามว่าในที่นี้มีใครที่มีคนในครอบครัวที่ตัวเองไม่เคยได้เจอ ผมมีคนในครอบครัวที่ผมไม่เคยได้เจอคือคุณยายผม ซึ่งเสียตอนแม่ผมอายุ 5 ขวบ เสียตอนที่คลอดลูก คุณยายคลอดลูกคนที่ 4 แล้วเสียชีวิต ลูกก็อยู่ได้อีกไม่กี่เดือนก็เสียชีวิตตามไปด้วย ที่ผมเล่าให้ฟังเพราะผมจะหยิบตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจมาให้ดู ในช่วงเวลาที่คุณยายผมเสียไปไม่นาน ในปี 1960 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มเก็บข้อมูลอัตราการตายของทารกเกิดใหม่พบว่าในช่วงนั้นอยู่ที่ประมาณ 100 คนต่อ 1,000 คน กล่าวคือเกิดมา 100 คน ตาย 1 คน เราจะพบว่าถ้าเราเทียบวันนั้นกับวันนี้ ตัวเลขจะต่างกันมาก ตัวเลขเหลือไม่ถึง 10 คนต่อ 1,000 คนที่เสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ขวบ แสดงว่าเราลดอัตราการเสียชีวิตของทารกได้ดีมาก ถ้าคุณน้าผมเกิดมาในสมัยนี้ โอกาสที่จะเสียชีวิตจะลดลงมาเยอะมาก ที่ผมเล่าตรงนี้เพื่อต้องการสื่อว่า สวัสดิการเชื่อมโยงกับชีวิตเราโดยตรง ระบบสวัสดิการสร้างความแตกต่างอย่างมากกับชีวิตของเรา กับครอบครัวของเรา ประเด็นสำคัญคือถ้าเรามองว่าสวัสดิการเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเราทุกคน อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้สวัสดิการพัฒนาขึ้นได้ ผมอยากจะเน้นว่าสิ่งสำคัญยิ่งที่ทำให้สวัสดิการสามารถพัฒนาได้คือระบบการเมือง ระบบการเมืองเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นไปได้ต่อพัฒนาการของระบบสวัสดิการ ผมจะย้อนกลับไปถึงระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ประเทศที่เป็นต้นแบบคืออังกฤษ ระบบ National Health Service หรือ NHS เป็นระบบที่อังกฤษภาคภูมิใจ ระบบนี้คล้ายกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย NHS เกิดมาได้เพราะระบบการเมืองสร้างให้ในบริบทที่ค่อนข้างพิเศษคือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถามว่าทำไมระบบการเมืองจึงสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา เรียกว่าเป็นตัวอย่างแรกๆ ของโลกที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นมาได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอังกฤษเสียหายเยอะ คนล้มตายมาก ความเสี่ยงในชีวิตก็เยอะ ความยากจนเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ทั่วไป ในเวลานั้นมีฉันทามติในระบบการเมืองว่าควรต้องมีระบบสุขภาพที่รองรับความเสี่ยงให้กับผู้คนไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร พูดง่ายๆ ว่าในช่วงที่ทุกคนรับรู้ได้ถึงความลำบากจากสงคราม การเมืองในอังกฤษก็เกิดฉันทามติขึ้น นักการเมืองไม่ว่าจากพรรคไหนมองตรงกันว่า ระบบหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้น นี่คือตัวอย่างของความเป็นไปได้ที่การเมืองสร้างขึ้น แต่ถามว่าการเมืองจะสร้างความเป็นไปได้แบบนั้นได้อย่างไร เราก็ต้องดูว่าระบบการเมืองเป็นอย่างไร ในการเมืองไทย ความเป็นไปได้ที่การเมืองเราจะสร้างพัฒนาการให้กับระบบสวัสดิการ มันเป็นอย่างไรมาก่อนในอดีต ผมอยากจะย้อนไปช่วงที่คุณยายผมเสียคือช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 จอมพล ป. อยู่ในอำนาจ 2 ช่วง ช่วงแรกคือช่วงที่คณะราษฎรยังเรืองอำนาจ ช่วงที่ 2 คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงนี้อำนาจของจอมพล ป. อยู่กับกลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และกลุ่มราชครู ตอนที่จอมพล ป. จะสูญเสียอำนาจไป จอมพล ป. พยายามพึ่งพิงหาอำนาจเพิ่ม ซึ่งอำนาจที่จอมพล ป. หันไปหาคืออำนาจที่เคยสนับสนุนอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ก็คือกลุ่มแรงงาน กลุ่มฝ่ายซ้าย การที่จอมพล ป. หาแรงหนุนทางการเมืองเพราะเชื่อว่าตนเองจะชนะเลือกตั้งจากการสนับสนุนจากอีกฝ่ายได้ เป็นช่วงเดียวกันกับที่ประเทศไทยมีความพยายามดัน พ.ร.บ.ประกันสังคม เป็นครั้งแรก เมื่อใดที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการแรงหนุนจากประชาชน เมื่อนั้นเราจะเห็นได้ว่าผู้อำนาจทางการเมืองจะหยิบยื่นสวัสดิการสังคมให้ อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ไปถึงฝั่งฝัน เพราะมีการยึดอำนาจจากจอมพลสฤษดิ์ก่อน สมัยจอมพลสฤษดิ์ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายทศวรรษคือเราอยู่ในระบบสวัสดิการแบบลดทอน ทำไมจึงเป็นระบบสวัสดิการแบบลดทอน เพราะเป็นสวัสดิการที่ให้อย่างจำกัดที่สุด กลุ่มที่ถูกตัดที่ทางออกไปจากสวัสดิการก็คือกลุ่มแรงงานและชาวนา เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมุ่งสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเมือง กลุ่มที่ได้สวัสดิการค่อนข้างเยอะเป็นกลุ่มแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือกลุ่มข้าราชการ ถามว่าทำไมระบบเผด็จการแบบจอมพลสฤษดิ์ถึงต้องให้ประโยชน์ทางสวัสดิการแก่ข้าราชการมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งเรียกได้ว่าในสมัยนั้นและอีกหลายทศวรรษถัดมา ข้าราชการเป็นกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ได้รับสวัสดิการที่รับรองความเสี่ยงของชีวิตได้ นั่นก็เพราะว่าการเมืองของเผด็จการต้องพึ่งพิงอำนาจข้าราชการเป็นเสาค้ำยันเอาไว้ สิ่งที่ผมต้องการเน้นคือการเมืองเป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้ว่าสวัสดิการจะพัฒนาไปในทางใด เผด็จการที่ไม่ต้องอาศัยอำนาจจากประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องหยิบยื่นสวัสดิการใดๆ ให้แก่ประชาชนเท่าใดนัก ระบบการเมืองแบบเผด็จการและระบบสวัสดิการแบบลดทอนลดบทบาทลงเมื่อไหร่ ผมอยากจะหยิบยกความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 ขั้นที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสิบปี ช่วงเดียวกับที่เผด็จการแบบจอมพลสฤษดิ์ลดบทบาทลงก็คือตั้งแต่ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จนถึงช่วงที่พลเอกเปรมลงจากอำนาจไป และเริ่มมีการเมืองที่นักการเมืองต่างจังหวัดและนักธุรกิจเข้ามามีบทบาทในสมัยพลเอกชาติชาย จนถึงยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย 3 ช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ถ้าเราย้อนกลับไปดูว่าเกิดอะไรกับระบบสวัสดิการบ้าง เราจะเห็นเลยว่าทุกการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะนำมาสู่สิ่งใหม่ๆ ในระบบสวัสดิการเสมอ
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลหันมาหยิบนโยบายที่ช่วยอุดหนุนชาวนา คือยุคของคึกฤทธิ์ ปราโมชกับนโยบายเงินผัน เพราะว่าปัญหาชาวนาเป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาถกเถียงมากและถูกหยิบมาพูดถึงมากหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ช่วง 2531 หลังจากพลเอกเปรมลงจากอำนาจไป เปิดช่องทางให้นักการเมืองอย่างพลเอกชาติชายมีที่ทาง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่นักการเมืองต่างจังหวัดและนักการเมืองที่เป็นตัวแทนฝั่งธุรกิจมีบทบาทมากขึ้น เช่นเดียวกัน เป็นช่วงที่ระบบประกันสังคมก้าวหน้าและมี พ.ร.บ.ประกันสังคมออกมาได้ จนมาถึงปี 2543 ในช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 การเข้ามาของพรรคไทยรักไทย เป็นจุดที่น่าสนใจมาก เพราะมีการก้าวกระโดดของระบบสวัสดิการคือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของประเทศไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาที่ต่างชาติชื่นชม นโยบายเรียนฟรี นโยบายอุดหนุนภาคการเกษตรอย่างจริงจัง หากเรามองว่าในช่วงพลเอกชาติชายจนถึงช่วงไทยรักไทยเกิดอะไรขึ้น จะเห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านสวัสดิการ รายจ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 จนถึงช่วงปี 2011 เพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านดอลล่าร์ เป็นการมีบทบาทอย่างมากของนโยบาย 30 บาท สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปอย่างมากในช่วงสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมาคืออัตราการเข้าเรียนมัธยมในเมืองไทย สิ่งที่เราเจอตอนนี้คือแทบจะ 100 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยมีสิทธิเข้าเรียนมัธยมได้ อันนี้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่เกิน 30 ปีนี้เท่านั้น ทั้งหมดนี้ผมอยากจะชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงที่เป็นประชาธิปไตย มันมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาประเทศ สวัสดิการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันทำให้ความเหลื่อมล้ำเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผมจะแยกเวลา 2 ช่วงคือช่วง 2524-2535 กับช่วง 2535-2556 ช่วงแรกเป็นช่วงของพลเอกเปรม ส่วนช่วงที่ 2 เป็นช่วงของพลเอกชาติชายจนถึงพรรคไทยรักไทย 2 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ถ้าเราไปดูเรื่องความเหลื่อมล้ำ จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม ช่วงพลเอกเปรมเป็นช่วงที่ความเหลื่อมล้ำในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ช่วงหลังจากนั้นเป็นช่วงที่ความเหลื่อมล้ำลดลง ถามว่าอะไรที่ทำให้มันเพิ่มขึ้นและลดลง ยิ่งน่าสนใจ เพราะว่าปัจจัยที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเพิ่มขึ้นก่อนช่วงเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตย พอหลังช่วงเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลง ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วยการศึกษา ช่วงที่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น ถ้าดูเรื่องการศึกษาจะพบว่ามันทำให้คนห่างกันเพราะคนที่มีการศึกษาสูงไปได้ห่างจากคนที่มีการศึกษาน้อย ปัจจัยต่อมาคือการอยู่ในชนบท คนที่อยู่ในชนบททำให้ถูกคนในเมืองทิ้งห่างออกไป และปัจจัยสุดท้ายคือการอยู่ในภาคเกษตรก็ทำให้คนห่างกันในด้านฐานะทางเศรษฐกิจ พอช่วงปี 2535-2556 สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม การศึกษาทำให้คนใกล้กันมากขึ้น เป็นเพราะว่าการศึกษามีความต่างกันลดลงระหว่างคนที่มีฐานะดีกับคนที่มีฐานะไม่ดี การอยู่ในภาคชนบทและภาคเกษตรก็เช่นกัน กลับเป็นตัวที่ทำให้คนใกล้กัน ตรงนี้น่าสนใจเพราะมันเชื่อมโยงโดยตรงกับการมีสวัสดิการตั้งแต่ช่วงยุค 2530 จนถึงหลังยุคไทยรักไทยเป็นต้นมา สิ่งหนึ่งที่บอกได้โดยตรงว่าเป็นความสำเร็จนโยบายสวัสดิการที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงมาสู่ประชาธิปไตยก็คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค สิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยรู้คือ ถ้าอ่านงานวิชาการของต่างประเทศ ผมบอกได้เลยว่าประเทศไทยไม่ใช่เคสตัวอย่างที่ดี ยกเว้นเรื่องเดียวคือนโยบาย 30 บาท ทำไมถึงถูกหยิบขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่าง เพราะพบว่า 30 บาทมีผลที่น่าทึ่ง มีนักวิชาการจากเอ็มไอทีนำอัตราการตายของทารกมาศึกษา พบว่า 30 บาทแทบจะเปลี่ยนอัตราการตายของทารกไปโดยสิ้นเชิง ใช้เวลาแค่ปีเดียวเท่านั้น ผู้หญิงอายุประมาณ 20-30 ปี รวมถึงเด็กอ่อน เข้าถึงโรงพยาบาลเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะในชนบทและเมือง ความแตกต่างด้านอัตราการตายระหว่างชนบทและเมืองหายไป อัตราการตายของทารกหลังจากมี 30 บาทลดลงไปร้อยละ 13 และภายใน 5 ปี ลดจาก 15 ต่อ 1,000 เหลือแค่ 2 ต่อ 1,000 เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ก็น่าสนใจว่า เวลาเจอข้อถกเถียงในประเทศมักจะถูกโจมตีว่าเราไม่มีเงินพอจะทำเรื่องนี้ได้หรือทำให้คนจนใช้ชีวิตแบบไม่ดูแลสุขภาพ ประเด็นถกเถียงเหล่านี้จะไม่เจอในต่างประเทศ ถ้าถกเถียงในวงวิชาการในต่างประเทศก็ไม่เจอเหมือนกัน พอมาถึงตรงนี้ ผมเน้นว่าประชาธิปไตยสร้างความเป็นไปได้ให้สวัสดิการก้าวหน้า อย่างไรก็ดี ผมก็มีข้อที่เป็นปัญหาและความท้าทายให้ช่วยกันคิด พัฒนาการทางการเมืองกับสวัสดิการยังมีเงื่อนที่เราต้องคลายกันต่อไป อยู่ 4 ประเด็น เราอาจมองภาพว่าประชาธิปไตยผลักให้ระบบสวัสดิการขยายตัว แต่เรายังมีปัจจัยที่ขาดหายไป ปัจจัยแรกที่หายไปและเป็นปัจจัยที่มีบทบาทต่อการพัฒนาสวัสดิการทั่วโลกก็คือบทบาทของแรงงานและพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย เรายังไม่มีพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่เข้มแข็ง ไม่มีกลไกแรงงานที่สามารถรวมตัวกันได้อย่างกว้างขวาง สองเรื่องนี้ทำให้ลักษณะของสวัสดิการไทยยังไม่ถูกดันอย่างเป็นระบบเท่าไหร่ ยังมีความเหลื่อมเยอะว่าจริงๆ แล้วเราต้องการอะไรกันแน่ ความคิดเบื้องหลังสวัสดิการยังกระจัดกระจายเพราะยังไม่มีพรรคการเมืองที่หยิบเรื่องนี้มาถกกันอย่างจริงจังว่าสุดท้ายแล้วอยากได้ระบบอะไร มันจึงมีระบบสวัสดิการแบบไทยที่ซ้อนกัน ปัจจัยที่ 2 เวลาเรามองนโยบายสวัสดิการไทย เรายังหนีไม่พ้นจากระบบการเมืองที่เรียกว่าศักดินาราชูปถัมภ์ มันเป็นระบบที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองมองว่าอำนาจทางการเมืองเป็นของตัวเอง ทำอะไรไปก็เหมือนว่าเขาให้กับชาวบ้านเอง ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเขา อำนาจการเมืองไม่ใช่ของประชาชนอยู่แล้ว เรายังหนีไม่ค่อยพ้นวิธีคิดเหล่านี้เท่าไหร่ ตั้งแต่พรรคไทยรักไทยหรือก่อนหน้านั้น ยังมีความคิดเรื่องสวัสดิการแบบนี้ฝังอยู่ นักการเมืองทำอะไรให้ก็มองว่าเป็นนโยบายของเขา ชาวบ้านก็ต้องรู้สึกว่าเป็นบุญคุณไปด้วย อันนี้ไม่ใช่วิธีคิดที่ทำให้ระบบสวัสดิการเป็นสิทธิ แต่เป็นการให้แบบต่างตอบแทน ควรเป็นเรื่องที่เราจะมองต่อไปว่าถ้าจะขยับจากสวัสดิการที่ผูกกับอิทธิพลของศักดินาราชูปถัมภ์ ไปสู่สวัสดิการที่เรามองเป็นสิทธิจริงๆ เราต้องทำอย่างไร ปัจจัยต่อมาคือเวลาพูดเรื่องสวัสดิการยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลางระดับบน พอไม่มีตรงนี้มันจึงค่อนข้างยาก เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการรัฐ เมื่อรัฐบาลทำอะไรก็มักจะมีแรงเสียดทาน และข้อสุดท้ายคือตอนนี้ประชาธิปไตยหยุดชะงัก ซึ่งประชาธิปไตยช่วยให้สวัสดิการก้าวหน้า แต่เราก็ไม่ได้อยู่แบบนั้นมานานมากแล้ว เรากำลังอยู่ในมรดกของ คสช. ที่เรายังไม่รู้จะคลี่คลายยังไง ไม่ใช่ว่ามีเลือกตั้งแล้วทุกอย่างจะคลี่คลาย เพราะมันมีล็อกอยู่เยอะมาก ชวนให้เราคิดว่าไม่ใช่แค่มีเลือกตั้ง แต่ต้องคิดว่าเราจะคลายเงื่อนปมทั้งหลายที่ คสช. ทิ้งเอาไว้อย่างไรด้วย
ชีวิตคนจนใต้อำนาจ คสช. นุชนารถ แท่นทอง เครือข่ายสลัมสี่ภาค แหม่มเป็นตัวแทนจากสลัมสี่ภาคและเป็นคนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2533 จากการถูกไล่ที่ อดีตเป็นชาวบ้านที่อยู่ในสลัม ต้องทำงานดูแลแม่ที่พิการ พ่อก็เป็นช่างไม้ เรียนจบ ม.3 ก็ออกมาทำงานเลย ชีวิตไม่ได้คิดเรื่องคนอื่นเลยจนมาโดนไล่ที่ ถึงได้รู้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ไม่ใช่เราคนเดียวที่ยากจน จนปี 2553 ถึงมีที่เป็นของตัวเอง มีโฉนดของตัวเอง เนื้อที่ 16.9 ตารางวา ถึงจะไม่มากแต่ก็เป็นที่ซุกหัวนอนที่ดูแลครอบครัวได้ ในยุคที่ผ่านมา ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล เราไม่เคยเชื่อว่าจะแก้ปัญหาเราได้ เพราะว่าต่อสู้มาตลอด ไม่เคยมีคำพูดที่จะแก้ปัญหาได้จริง เพราะถ้าแก้ได้ปัญหาคงไม่หมักหมมมาจนทุกวันนี้ ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้างมาตลอด จนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีฮีโร่ขี่ม้าขาวมาช่วย ก็รู้สึกว่าฉันปลื้ม เพราะฉันชอบทหาร ชอบคนในเครื่องแบบ อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัว พูดเลย คิดว่าคงจะดีขึ้นนะ แต่ 4 ที่ผ่านมามันทำให้เราเปรียบเทียบได้เลยกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะสิ่งที่รัฐบาลที่มาแบบไม่ชอบธรรม กฎหมายที่เขาใช้แทนที่จะเป็นประโยชน์กับคนยากคนจนกลับบังคับให้เราดูต้อยต่ำลงไปอีก เพราะเราถูกละเมิดสิทธิ์เพิ่มขึ้นจากโครงการที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเคยคิดไว้ แต่ไม่สามารถทำได้เพราะกลัวเสียคะแนนเสียง กลัวกระทบกับพรรคการเมืองที่ตนสังกัด พอมาในยุครัฐบาลนี้ เขามีมาตรา 44 สามารถบันดาลอะไรก็ได้ ทำให้โครงการต่างๆ ที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งทำไม่ได้ แต่รัฐบาลนี้ทำได้ บังคับเวนคืนที่ดิน ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ เกิดโครงการขนาดใหญ่ขึ้น เช่น รถไฟฟ้ารางคู่ รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ รถไฟความเร็วสูง การจัดการน้ำ อีกเรื่องคือการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย 50 เขตในกรุงเทพมหานคร ก็มาจากการใช้กฎหมายเฉพาะบังคับใช้ สิ่งที่คนจนในชุมชนแออัดได้รับก็คือ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของเมือง พอมีการประกาศ ที่ดินก็กลายเป็นสินค้าทันที เกิดการไล่ที่ โดนไล่รื้อ คนจนที่เคยมีบ้านอยู่ในชุมชนแออัด ถึงจะซ่อมซ่อ เป็นแหล่งเสื่อมโทรมที่สังคมรังเกียจ เราถูกตีตราไปแล้วว่าเป็นคนไม่ดี เป็นแหล่งก่ออาชญากรรม แหล่งยาเสพติด เป็นสิ่งที่เขาพูดใส่เราทุกวัน แต่เขาไม่ได้มองว่าพวกเราเป็นแรงงานสำคัญที่สร้างเมือง เป็นทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มั่งมีศรีสุขจนทุกวันนี้ ถ้าไม่มีคนจน ถามว่าพวกเขาจะไปหากินกับใคร กลายเป็นว่าแผนพัฒนา 20 ปี คนร่างยุทธศาสตร์เป็นพวกเต่าล้านปี รู้สึกว่ามันไม่ก้าวหน้า แต่กลับถอยหลังไปอีก เพราะตั้งแต่เกิดเราก็เห็นการกดขี่เกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ที่ไหนมีความเจริญมากเท่าไหร่ การกดขี่ก็มีมากขึ้นเท่านั้น การไล่หาบเร่แผงลอยซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนจนเมืองกลับถูกไม่ให้ค้าขาย เป็นทุนขนาดใหญ่ได้ประโยชน์ เรารู้สึกว่ายุทธศาสตร์ชาติที่บอกว่าจะลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน ให้เราเข้าถึงที่อยู่อาศัย มันเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อนโยบายต่างๆ มีผลกับเราทั้งหมด ที่ดินก็มีราคาแพง เราไม่สามารถเข้าถึงที่ดินได้ ความเจริญที่เขาสร้างขึ้นแค่ปรนเปรอคน 20 ล้านคนในเมือง กลายเป็นเอางบประมาณไปตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ จัดสวัสดิการแบบไม่เคยถามพวกเราว่าใช้ได้หรือเปล่า จากลงทะเบียนคนจนมาเป็นบัตรสวัสดิการคนจน ไม่เคยถามเราว่ามันใช้ได้มั้ย บางคนที่ได้ประโยชน์ก็ได้แบบถ้วนหน้า เพราะบางครอบครัวได้ถึง 5 ใบ เงินเป็นกอบเป็นกำ บางครอบครัวไม่ได้สักใบ การที่รัฐคิดแบบเขา ไม่ได้มีส่วนร่วมของประชาชนทำให้เราเจ็บปวดมากกว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะถ้าเราไม่พอใจ เราก็ไม่เลือกได้ แต่นี่เราไม่ชอบ เราเลือกไม่ได้ เราถูกบังคับให้ต้องยอมรับ ที่ออกมาพูดวันนี้เพราะว่า 4 ปีที่ผ่านมาการถูกกดขี่เพิ่มขึ้น นโยบายต่างๆ หรือยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่เปิดโอกาสให้เราลืมตาอ้าปากได้ ก็เลยคิดกันแบบชาวบ้านว่าถ้าคนจนหมดไป แล้วคนชั้นกลางหรือคนชั้นสูงจะอยู่กันอย่างไร ในเมื่อไม่มีเราให้เขาขูดรีด ไม่มีเราเป็นเครื่องมือให้เขาเขียนนโยบายต่างๆ อ้างคนจนเป็นหลัก การที่เขาเอานโยบายมาตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทำไมไม่เอามากระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ระบบสาธารณูปโภค ถ้าทุกที่สบายหมด คนก็ไม่ต้องเข้าเมือง คนก็อยากทำมาหากินที่บ้านเขา คนสลัมใช้ไฟฟ้ายูนิตละ 10 บาท ไม่มีโอกาสมีมิเตอร์ไฟ มีมาตรน้ำเป็นของตัวเอง ต้องใช้มาตรเดียวแล้วต่อพ่วงกันทั้งชุมชน ไปขอก็บอกว่าคุณไม่มีบ้านเลขที่ มีบ้านเลขที่ก็เป็นบ้านเลขที่ชั่วคราว ยังเป็นประชาชนชั้น 2 ของประเทศอยู่เลย ทั้งที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ นี่เป็นสิ่งที่เรารู้สึกถูกกระทำมาโดยตลอด
ด้านการศึกษาเราก็เข้าไม่ถึง บอกว่าฟรี ก็ฟรีไม่จริง พวกแหม่มได้เรียนจบแค่ ม.3 ก็ถือว่าบุญแล้ว จะเรียนต่อก็คงไม่มีโอกาส เพราะค่าใช้จ่ายในโรงเรียนสูง แล้วยังมีการเลือกนักเรียน เลือกว่าเป็นลูกใคร มีสตางค์ค่าแป๊ะเจี๊ยะหรือเปล่า เราคนจนพยายามปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ สังเกตดูนะคะ อย่างโครงการบ้านมั่นคง คนจนในชุมชนแออัดพยายามขอใช้ที่ดินของรัฐทำที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัมสี่ภาคเป็นองค์กรชาวบ้านที่ผลักดันให้มีการใช้ที่ดินรถไฟแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ซึ่งรถไฟหวงที่ดินมาก แต่ไล่ไม่ได้เพราะมีชุมชนแออัด เราก็พยายามอยู่อย่างถูกกฎหมาย จนมีมติบอร์ดปี 2543 ออกมา ให้มีการเช่าที่ดิน มีการสำรวจ 61 ชุมชน ไม่ใช่เช่าง่ายๆ นะคะ กว่าจะได้แต่ละแปลง ไปชุมนุมที่กระทรวงคมนาคม 9 วัน 9 คืน เพื่อจะได้เช่าที่ดิน เส้นรัชดานี่ที่ดินรถไฟหมดเลยนะคะ สังเกตดูว่าใครเช่า ธุรกิจใหญ่ๆ ทั้งนั้น คนจนมีโอกาสยากมาก ตอนนี้ก็กำลังไล่ที่แถวคลองตัน เพราะอยู่ในมติ 61 ชุมชนแต่ไม่ยอมให้เช่าสักที เขาบอกว่าเป็นทำเลทอง กฎหมายเหล่านั้นให้ประโยชน์กับคนแค่กลุ่มเดียวเท่านั้น แต่คนส่วนใหญ่ของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายที่คุณใช้เลย กลายเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน การแสดงออกก็ทำไม่ได้ จะเรียกร้องหรือคิดต่างก็ทำไม่ได้ ต่อไปจะตดต้องขออนุญาตหรือเปล่าก็ไม่รู้ เราเป็นคนในชุมชนแออัด อย่ามองเราเป็นส่วนที่ทำให้เมืองไม่เจริญ เราเป็นคนสร้างเมืองเหมือนกัน เมืองจะเจริญได้อย่างไร ถ้าปราศจากคนจน พูดว่าพวกนี้มันค้ายา ก็แค่ตัวเล็กตัวน้อย คนจนที่ไหนจะเอารถไปขนยาเป็นล็อตๆ เข้ามาในชุมชนได้ เราไม่มีทางเลือก ไปขายของก็บอกว่าผิดกฎหมาย ไม่ให้ขาย ทำอาชีพอะไรก็ไม่ได้ พอเราทำผิดหน่อยกลายเป็นตัวอย่างว่าคนในชุมชนแออัดค้ายา แล้วจะให้เราไปทำอะไรกิน ค้าขายก็ผิด ทางออกก็คือไม่ควรเอาเงินไปละลายแม่น้ำ แต่เอามาอุดหนุนการศึกษา ระบบรักษาพยาบาล บำนาญชราภาพ ซึ่งเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว อายุ 60 ปีขึ้นไปควรมีบำนาญให้ เพราะเขาก็เสียภาษี มันใช่เหรอกับ 4 ปีที่ผ่านมา รู้สึกผิดหวังกับคนในเครื่องแบบ อยากให้มีการเลือกตั้ง ล่าสุดก็ไปร่วมชุมนุมกับพี-มูฟ เครือข่ายสลัมสี่ภาคก็เป็น 1 ใน 6 เครือข่ายที่ร่วมกับพี-มูฟที่ไปผลักดันการแก้ปัญหาที่ดิน การใช้ที่ดินรัฐแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ขนาดต่างชาติยังใช้ได้ ให้เขาเช่าตั้ง 99 ปี เราจะเช่าแค่ 30 ปียากเย็นเหลือเกิน เราต้องสู้กับเขา เพราะว่าเราไม่มีทางเลือก ไม่มีเงินไปซื้อขนาดนั้น ถ้าให้ซื้อก็ออกไปอยู่นอกเมือง ได้ก็เป็นที่ศักยภาพต่ำอีก ไม่มีเงินถม นี่เป็นสิ่งที่เราเจอตลอด รัฐสวัสดิการคือทุกคนมีสิทธิที่จะได้ใช้ มีสิทธิเป็นเจ้าของ มีสิทธิที่จะพูดถึง ไม่ใช่ให้ลงทะเบียนคนจน ถูกกาหน้าผากไว้เลยว่าเป็นคนจน นี่คือการแบ่งคนออกเป็นชนชั้น แล้วการให้อำนาจข้าราชการอีกอย่างหนึ่ง ทุกวันนี้เหมือนเทวดาเลย ไปขอความช่วยเหลือบอกให้ไปศูนย์ดำรงธรรม แหม่มไปทุกศูนย์แล้ว ชาวบ้านถูกไล่ที่ ศูนย์ดำรงธรรมเหมือนเสือ แต่ไม่มีลาย แก้อะไรไม่ได้สักอย่าง จะเห็นว่าการต่อสู้ไม่เคยหยุดเลย ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คุณบอกว่าคุณเข้ามาชอบธรรม แต่คุณไม่เคยใช้อำนาจให้ประชาชนคนยากจนได้ประโยชน์ แต่คนที่ได้ประโยชน์คือกลุ่มทุนที่พวกคุณรู้จักกัน นี่คือระบบพรรคพวก เราไม่อยากเห็นรัฐบาลแบบนี้ มีทหารคนหนึ่งบอกว่าเดี๋ยวเขาก็เลือกตั้งแล้ว เดือนกุมภาฯ เราก็เลยถามว่า พ.ศ. เท่าไหร่คะ เขาก็อ้ำๆ อึ้งๆ นะ แหม่มคิดว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกที่ดี อย่างน้อยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังฟังเสียงประชาชน ประเทศชาติจะเดินหน้าได้ต้องมีประชาธิปไตย เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดประเทศ กำหนดตัวเขา คุณเป็น คสช. คุณมากำหนดชีวิตคนอื่นไม่ได้หรอก เพราะคุณไม่ได้รู้ดีทุกเรื่อง ก็ขอฝากไว้ในฐานะที่เป็นตัวแทนคนจนเมืองที่ผ่านความจนมาแล้ว ตอนนี้ก็ยังจนอยู่ เพียงแต่ไม่ได้ลำบากเหมือนเมื่อก่อน
รัฐราชการกำลังทำลายสวัสดิการสุขภาพของประชาชน นิมิตร์ เทียนอุดม กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เขาชวนผมมาพูดเรื่องสวัสดิการสังคม สุขภาพ และชีวิตคนจน ผมอยากใช้คำว่า รัฐสวัสดิการ เพราะมีนัยของคำที่บอกว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดสวัสดิการให้กับประชาชน เมื่อเป็นหน้าที่ของรัฐ มันจะกลายเป็นสิทธิของประชาชน พวกเราชอบใช้คำนี้เพื่อเป็นธงว่าเราขับเคลื่อนเรื่องนี้เพราะเป็นสิทธิที่เราจะได้รับบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ แล้วมันจะไปกำหนดหน้าที่ให้รัฐต้องดูแล พัฒนา สร้างระบบต่างๆ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประเด็นที่อยากจะพูดต่อ ทุกวันนี้ความยากลำบากที่เราเผชิญเพราะเรากำลังอยู่ในรัฐราชการ ซึ่งสร้างความเสียหายมาก ถ้าโฟกัสด้านสวัสดิการสุขภาพ การมี คสช. ซึ่งก็คือราชการ แล้วเขาไม่รู้เรื่องอื่นนอกจากเรื่องทหาร เมื่อเขามาอยู่ตรงนี้ก็ต้องใช้ราชการส่วนอื่นมาบริหารจัดการ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันดับแรกคือมันทำลายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เขาถูกระเบียบปฏิบัติของราชการสอนมาแบบนั้น จนกลายเป็นวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ราชการเป็นคนสั่ง ไม่คุ้นชินกับกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ระบบราชการเป็นระบบที่ไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่องหลักประกันสุขภาพตลอด 17 ปี มันไปข้างหน้าได้ มันเป็นความสำเร็จของประเทศ ที่เป็นแบบนี้ได้เพราะกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนั้น เกือบ 4 ปีนี้ สิ่งที่ คสช. ทำมากที่สุดกับหลักประกันสุขภาพคือการทำลายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เข้ามาทำให้ระบบนี้พัฒนายิ่งขึ้น ทำลายยังไง คสช. มาถึง ไม่รู้เรื่องระบบสุขภาพ ก็ต้องพึ่งพิงข้าราชการ พึ่งพิงกลไกกระทรวงสาธารณสุข พึ่งพึงแพทย์พาณิชย์จำนวนหนึ่งที่พยายามแสวงประโยชน์จากความเจ็บป่วยของคนไทย มันจึงทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมถูกทำลาย กลไกต่างๆ ตั้งแต่ระดับตำบลขึ้นมาหยุดชะงักหมด แล้วเวลาที่ระบบราชการเข้ามาดูแลก็มาพร้อมวิธีคิดแบบราชการ ถ้าไม่มีการรัฐประหาร ไม่มี คสช. เกิดขึ้น รัฐราชการจะไม่มีสิทธิ์มาเผยอหน้าแบบนี้ เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมยังคงเกิดขึ้น นี่คือความเสียหาย ก่อนหน้านี้พวกเราเคยพูดเรื่องการควบคุมโรคที่เกิดจากคนสู่คน ถ้าเราจะควบคุมโรค เราก็ต้องควบคุมคนทุกคน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ราชการจำนวนหนึ่งบอกว่า งบนี้ใช้ได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น ไปใช้กับแรงงานข้ามชาติที่มาอยู่ในเมืองไทยไม่ได้ แต่พอมีกระบวนการมีส่วนร่วม มีหลายองค์กรเข้ามาช่วยกันคิดบอกว่า ก็คนมันอยู่ร่วมกัน เวลาเชื้อโรคจะติดต่อ มันไม่รู้หรอกว่าคนไหนคนไทย คนไหนคนต่างชาติ ที่ผ่านมาระบบสามารถจัดการดูแลคนข้ามชาติเหล่านี้ได้ แต่พอเป็นรัฐราชการที่ไม่ฟังการมีส่วนร่วม คุณทำไม่ได้ ผมคิดว่านี่คือความเสียหายที่พวกเราต้องช่วยกันคิดว่าจะทนให้ คสช. บริหารประเทศแบบรัฐราชการแบบนี้ต่อไปหรือไม่ หรือต้องลุกขึ้นมาบอกว่าต้องเลือกตั้ง ต้องลดทอนอำนาจทหาร ต้องลดทอนงบประมาณที่ใช้กับกระทรวงกลาโหม เวลาพูดเรื่องสุขภาพไม่ได้มองแค่เรื่องสุขภาพ แต่การเมืองมันมาทำลายระบบสุขภาพตรงนี้ ประเด็นถัดมาคือระบบหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา มันดีขึ้นมากภายหลังมีบัตรทอง แต่ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพอยู่ 3 ระบบคือสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ 30 บาท ซึ่งระบบแบบนี้สร้างความเหลื่อมล้ำและสิทธิการรักษาที่ไม่เท่ากัน ก่อนหน้าที่เราจะอยู่ภายใต้รัฐราชการแบบนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมเรียกร้องให้ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ การจะลดความเหลื่อมล้ำได้ก็ต้องนำไปสู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ก่อนที่ คสช. จะขึ้นมาหรือขึ้นมาแล้วบอกว่าจะปฏิรูปประเทศ ไปตั้งคณะกรรมการต่างๆ มากมาย การปฏิรูปประเทศด้านหนึ่งคือเรื่องสุขภาพ ปรากฏว่ายิ่งคิดเรื่องการปฏิรูป ยิ่งไปตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ถ้าคุณบริหารประเทศด้วยระบบราชการ อาจารย์ธรพูดเมื่อสักครู่ว่า ข้าราชการเป็นกลุ่มเดียวที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากรัฐสวัสดิการ คนที่เป็นข้าราชการจะรู้หรือไม่ว่าเขาเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากความเหลื่อมล้ำ แล้วพอคุณมาเป็นคนบริหารประเทศ เราจะฝากความหวังในการลดความเหลื่อมล้ำจากคนกลุ่มนี้ได้หรือไม่ เวลาที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพพูดเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำเพื่อสร้างระบบเดียว มาตรฐานเดียว กลุ่มคนที่ค้านเรื่องนี้มากที่สุดคือราชการ ถึงแม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพจะก้าวหน้าไปมาก แต่ถ้าเราทำให้ความเหลื่อมล้ำตรงนี้หายไป ทุกคนจะได้รับบริการสุขภาพที่ดีกว่านี้ ผมอยากยกตัวอย่างให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำที่ผมพูด รูปธรรมคืออะไร ในระบบสุขภาพ มีคำว่าค่าเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่แต่ละระบบจ่าย ทราบหรือไม่ว่ากรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง คิดคำนวณการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ค่าราชการต่อคนและครอบครัวปีละกี่บาท ปีละ 12,000 บาทต่อคน ข้าราชการและครอบครัวมีประมาณ 4 ล้านคน งบประมาณด้านสุขภาพที่รัฐเตรียมไว้อยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แล้วงบที่ให้แก่บัตรทอง ค่าเหมาจ่ายรายหัวที่จ่ายคน 49 ล้านคน ตอนนี้อยู่ประมาณ 3,900 บาท ห่างกัน 3 เท่า แล้วรัฐจ่ายสมทบเข้าประกันสังคม ประกันสังคมนำไปใช้ด้านการรักษาพยาบาล หารสาม เท่ากับรัฐจ่ายประมาณ 1,000 บาทต่อหัวสำหรับพี่น้องประกันสังคม นี่คือรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดของความเหลื่อมล้ำ แล้วความเหลื่อมล้ำนี้ก็สร้างปัญหาตามไปถึงระบบพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งต้องสต็อกยา 3 ก้อน เกิดความยุ่งยาก พวกเราก็รู้สึกว่าไม่มีความเป็นธรรมเวลาไปรับบริการ ถ้าเราเอาทั้ง 3 ก้อนมารวมกัน เงินจำนวนนี้เป็นภาษีทั้งหมด ไม่ใช่เงินข้าราชการที่ควักมาเพื่อจ่ายตัวเอง แต่มีเงินของผู้ประกันตนอยู่ส่วนหนึ่ง ถ้าเราเกิดระบบเดียว นำงบประมาณมาบริหารจัดการให้เป็นก้อนเดียว ทุกคนได้ประโยชน์จากระบบหลักประกันสุขภาพอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพมากขึ้น แต่สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นในยุคเผด็จการ ไม่เกิดขึ้นในยุคราชการที่มีหัวบนสุดคือทหาร
ถ้าเราจะไปข้างหน้า เราต้องลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ ต้องทำให้เกิดระบบเดียวให้ได้ และอยากให้เป็นเป้าหมายของประชาชนทุกคนด้วย ผมอยากบอกว่ามันมีความเหลื่อมล้ำ รัฐมองไม่เห็นความเหลื่อมล้ำ ที่สำคัญกว่านั้น คสช. กำลังมองว่ามันเป็นภาระของประเทศ เราได้ยินแกบ่นหลายครั้งว่าจะเอาเงินจากไหนมาจ่ายค่าบัตรทอง มันสะท้อนวิธีคิดว่าประชาชนเป็นภาระ สิ่งที่ต้องชี้คือถ้าเราทำให้คนในประเทศมีสุขภาพดี มันคือการลงทุนหรือเปล่าครับ ถ้าเขายังอยู่ต่อแม้จะภายใต้เสื้อคลุมการเลือกตั้งก็ตาม ที่น่าห่วงคือเมื่อเขามองว่าประชาชนเป็นภาระ เขากลับไปสู่วิธีการเลือกรักษา เป็นไปได้หรือเปล่า พวกคุณไปขึ้นทะเบียนหรือยังว่าเป็นคนจนใน 11 ล้านคน ด้วยวิธีคิดที่ต้องการทำบิ๊กดาต้าเพื่อสแกนว่าใครมีรายได้เท่าไหร่ เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าไม่มีเงินซื้ออาวุธ อยากจะไปลดทอนอย่างอื่น ก็เป็นไปได้ว่าขอช่วยเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคน แล้วทำได้ด้วย เพราะเราสู้เรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ ซึ่งเขียนว่ารัฐจะจัดการรักษาพยาบาลให้ฟรีก็แต่กับผู้ยากไร้เท่านั้น ถ้าเขายังอยู่และอยู่ต่อ มีวิธีคิดว่าประชาชนเป็นภาระ ขอดูแลสุขภาพเฉพาะกลุ่ม ใครจนก็จะรักษาให้ ใครไม่จนก็จ่ายเองหรือร่วมจ่าย คนชั้นกลางต้องจ่ายค่ารักษาสุขภาพเอง แรกๆ ก็อาจรู้สึกว่าจ่ายได้ มีเงินเดือน น่าจะพอจ่ายได้ แต่เชื่อหรือเปล่าว่าในระบบแบบนี้คุณกลายเป็นคนจนเฉียบพลันได้ในทันที ถ้าคุณป่วยด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ไขมันอุดตัน ถ้าต้องจ่ายค่าเส้นเลือดเทียมที่เรียกว่าการทำบอลลูน เส้นละประมาณ 2 แสน ถ้าโชคไม่ดีต้องอุด 2 เส้น ผมถามว่ามีชนชั้นกลางกี่คนที่จ่ายได้ นี่คือโจทย์ที่เราต้องชี้ให้เห็นว่าถ้ารัฐไม่มีปัญญาและบริหารจัดการไม่ดี ปล่อยให้ราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนแพงโดยไม่มีการควบคุม ปล่อยให้ราคายาพุ่งโดยไม่ทำอะไร บวกกับรัฐบอกว่าจะรักษาฟรีเฉพาะคนจนเท่านั้น คนชั้นกลางก็อยู่ไม่ได้ครับ นี่เป็นโจทย์ของชนชั้นกลางด้วยเหมือนกัน ถ้าเราจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างระบบบริการที่ดีและมีคุณภาพ ไม่ว่าคุณจะอยู่ชนชั้นไหน เรื่องสุขภาพคุณไม่มีปัญญาต่อรองราคาหรอก แต่ถ้าเราร่วมมือกัน ทำให้เป็นระบบเดียว มาตรฐานเดียว เราสู้กับทุนนิยมพวกนี้ได้ ระบบที่มองประชาชนเป็นภาระจะถูกทำลายได้ก็ต่อเมื่อสังคมเป็นประชาธิปไตย ต่อเมื่อเราดึงกระบวนการมีส่วนร่วมกลับคืนมาได้ ผมอยากจะบอกว่าระบบหลักประกันสุขภาพเป็นสมบัติชิ้นเดียวที่เกิดขึ้นในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย มันเป็นผลพวงของการบริหารประเทศที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มันจึงเป็นสิทธิของคนทุกคน ไม่ใช่นโยบายการสงเคราะห์ของรัฐบาล ถ้าจะรักษาระบบนี้ไว้และทำให้เดินไปข้างหน้าได้ก็ต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ อีกเรื่องที่อยากจะชวนขยับขึ้นไปอีกคือเรากลายเป็นสังคมผู้สูงวัยแล้ว ตอนนี้เรามีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญ ณ ตอนนี้มีคนอยู่ 2 กลุ่มเท่านั้นที่อายุ 60 ปีแล้วรู้ว่าพรุ่งนี้ยังมีข้าวกินคือข้าราชการที่มีบำนาญกับคนงานประกันสังคมที่มีบำนาญน้อยนิด แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ยังมืดมนอยู่ ถ้า 60 ปีแล้วลูกหลานไม่เลี้ยง ออกจากงานแล้ว จะมีชีวิตอยู่ต่อยังไง จะมีข้าวกินมั้ย มีค่าน้ำ ค่าไฟมั้ย ผมอยากชวนมาสร้างหลักประกันด้านรายได้ ที่เรียกว่าบำนาญถ้วนหน้า ประชาชนสร้างประวัติศาสตร์มาแล้วด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากผลพวงของรัฐธรรมนูญปี 2540 จากการเสนอกฎหมายโดยประชาชนในปี 2545 ก้าวต่อไปคือต้องลุกขึ้นมาสร้างหลักประกันด้านรายได้เมื่อสูงวัย แล้วเราต้องจัดการกับมายาคติ ต้องอาศัยนักเศรษฐศาสตร์มาช่วยกันคิดว่าอย่าไปเชื่อว่าประเทศนี้ไม่มีเงิน ประเทศนี้มีรายได้จากภาษีปีละ 2 ล้านล้านบาท ถ้าเราเซ็ตระบบจัดการงบประมาณแผ่นดินที่เป็นธรรม สร้างระบบการมีส่วนร่วมให้ประชาชนมีสิทธิที่จะบอกว่าภาษีควรนำไปใช้อะไรบ้าง ตอนนี้รัฐบาลจ่ายเบี้ยยังชีพต่อปีประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ถ้าเราบอกว่าต้องเกิดบำนาญที่อยู่บนเส้นความยากจน อาจต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นอีกจาก 5 หมื่นล้านเป็นแสนล้านต่อปี ถามว่าประเทศเรามีเงินมากพอหรือเปล่า นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่ามีมากพอ ถ้าเราไม่ใช้กับกลาโหม กับเรื่องความมั่นคงมากเกินไป จัดสรรมันอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งตั้งแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพ เราใช้เงินปีละ 1.5 แสนล้าน อัตราการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังเท่าเดิม เราก็ยังมีเงินมาบริหารจัดการ อัตราการจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้เพิ่มขึ้น บางช่วงมีการเพิ่มลดหย่อนขึ้นไปอีก เราก็มีเงินมาบริหารจัดการสวัสดิการสุขภาพ เพราะฉะนั้นเรามีงบประมาณมากพอ สิ่งสำคัญคือเราจะกำหนดกฎเกณฑ์ให้รัฐมีเจตจำนงที่จะดูแลประชาชนหรือเปล่าเท่านั้น เพราะถ้ารัฐไม่มีเจตจำนงที่จะดูแลประชาชน ต่อให้มีเงินมากแค่ไหน เขาก็ไม่เอาเงินมาดูแลรัฐสวัสดิการ สิ่งสำคัญคือประชาชนต้องเป็นคนเลือกรัฐ และต้องเลือกรัฐที่มีเจตจำนงที่จะจัดสวัสดิการเพื่อประชาชน ต้องขยายวิธีคิดนี้ไปสู่พี่น้องของเราว่าเราต้องเป็นคนเลือกรัฐ ถ้าเราไม่มีอำนาจ ก็ต้องลุกขึ้นมาเรียกคืนอำนาจของเรา ถ้าเราจะทำให้พวกเราทุกคนก้าวข้ามความยากจนเรื้อรัง เราต้องทำให้ประเทศนี้มีรัฐสวัสดิการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประธาน กสม. ขอให้รัฐบาลผ่อนปรนการชุมนุมทางการเมือง Posted: 23 May 2018 08:59 PM PDT ประธาน กสม. ขอให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรั 24 พ.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง. กสม.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นวาระครบ 4 ปี ในการรัฐประหารของคณะรั "ผู้ชุมนุมได้ฟ้องต่ ประธาน กสม. กล่าวต่อว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุ "พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 ไม่ใช้กับการชุมนุมภายในสถานศึ สำหรับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 นั้น วัส กล่าวว่า ออกมาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2558 อันเป็นเวลาหลังการรัฐประหารไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น