โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'นักกฎหมายสิทธิฯ' ร้องยุติคดี 'คนอยากเลือกตั้ง' หยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558

Posted: 22 May 2018 10:53 AM PDT

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร้องปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยทันที และยุติการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม 'คนอยากเลือกตั้ง' หยุดการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

 

22 พ.ค.2561 จากที่กลุ่มประชาชนในนาม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" จัดการชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการรัฐประหารของ คสช. เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปลายปี 2561 และให้ คสช. หยุดสืบทอดอำนาจ  โดยการชุมนุมเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 21 พ.ค.และมีการเคลื่อนขบวนไปใกล้ทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงสายวันนี้ (22 พ.ค.61) แต่ได้ถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าตำรวจหลายกองร้อยทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ และในที่สุดช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการจับกุมแกนนำการชุมนุมและผู้ชุมนุม และแกนนำบางส่วนตัดสินใจเข้ามอบตัว รวมแล้วมีผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 15 คน โดยถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และสถานีตำรวจนครบาลพญาไทนั้น

เมื่อช่วงหัวค่ำที่ผ่านา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ออกแถลงการณ์ ขอให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดยทันที

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระบุว่ามีความกังวลอย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว และมีความเห็นว่าการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองของประชาชน และเป็นเรื่องที่ชอบธรรมในสังคมที่เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย โดยสิทธิประการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น รัฐควรที่จะเคารพสิทธิที่จะแสดงออกถึงเจตจำนงอย่างเสรีของประชาชน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และผู้ที่แสดงออกถึงเจตจำนงดังกล่าวไม่ควรถูกดำเนินคดี

การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และอยู่ในขอบข่ายของการชุมนุมโดยสงบตามที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 34 และ 44  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม แม้การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะสามารถทำได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายและจำเป็นแก่สังคมประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ซึ่งตามข้อเท็จจริงแม้ในการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะมีการโต้เถียงและกระทบกระทั้งกับเจ้าหน้าที่เป็นระยะๆ แต่การกระทบกระทั้งดังกล่าวก็มีสาเหตุมาจากการปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและการพยายามจับกุมผู้ชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ อีกทั้ง ก่อนเริ่มการชุมนุม กลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้มีความพยายามในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยการดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้ดูแลการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว แต่เป็นรัฐเองที่ไม่ยอมดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว กลับนำคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 อันเป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะรัฐประหาร คสช. และถูกนำมาบังคับใช้อย่างไร้ขอบเขตเพื่อจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนในช่วงเกือบสี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งคำสั่งดังกล่าวยังไม่ใช่เงื่อนไขทางกฎหมายที่จะนำมาใช้จำกัดเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบได้ตามหลักสิทธิมนุษยชนดังที่กล่าวไป

นอกจากนี้ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 9 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 ได้กำหนดว่าห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจ เว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย  ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดให้การจับกุมโดยทั่วไปจะต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาล การจับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง อันไม่ได้เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายปกติใดๆ และกระทำไปโดยไม่มีหมายหรือคำสั่งของศาล มีการอ้างเพียงคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่ให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่และขาดระบบการตรวจสอบที่เพียงพอ ย่อมถือเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรและเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวโดยอำเภอใจ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยทันที และยุติการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม รวมทั้งหยุดการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความสำคัญของกระดุมเม็ดแรกในรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตร

Posted: 22 May 2018 10:11 AM PDT


ชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหง บ้านแหงเหนือหมู่ 1 และ 7  บ้านแหงใต้ หมู่ ๒ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  เดินขบวนไปที่ว่าการอำเภองาวเรียกร้องให้หยุดการขอ
ประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์  เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557

ในขั้นตอนการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ของประเทศไทยนั้น เมื่อผู้ประกอบการได้ยื่นคำขอประทานบัตรแล้ว ขั้นตอนแรกที่ต้องทำก็คือ 'การรังวัดไต่สวนพื้นที่' ซึ่งตามระเบียบกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการรังวัดกำหนดเขตคำขอ พ.ศ. 2547 ที่ออกตามความพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ได้กำหนดให้ต้องจัดทำ 'รายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตร' โดยให้เจ้าหน้าที่รังวัดนำกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ปกครองประจำท้องที่ไปด้วย เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลพื้นที่จากบุคคลซึ่งอยู่ในพื้นที่จริง รายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรจึงถือเป็น 'กระดุมเม็ดแรก' ในขั้นตอนของการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยในกฎหมายได้ระบุให้กระดุมเม็ดนี้ต้องระบุรายละเอียดลักษณะภูมิประเทศที่เป็นจริงในพื้นที่คำขอและบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่รัศมี 2 กิโลเมตร ไม่ว่าจะเป็นลำธาร ห้วย คูคลอง แหล่งน้ำซับซึม ถนน สิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯ ลฯ ต้องมีการระบุลงไปให้ชัดเจนเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการพิจารณาออกใบประทานบัตรต้องมีการทำอย่างละเอียดถี่ถ้วน และที่สำคัญคือข้อมูลในรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรนี่เองที่จะถูกนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) ที่จะเป็นกระดุมในเม็ดต่อ ๆ ไปในอนาคต

สิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยกลับพบว่ากระดุมเม็ดแรกนี่เองที่เป็นปัญหาในหลาย ๆ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ทองคำที่จังหวัดเลย โครงการเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานีและโครงการเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ที่จังหวัดลำปาง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงแค่สามพื้นที่นี้เท่านั้นที่การจัดทำรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรมีความไม่ชอบมาพากล แต่ก็มีเพียงสามพื้นที่นี้เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับรายงานการไต่สวนฯ ดังกล่าวจนนำมาสู่การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองจังหวัดอุดรธานีพิพากษาให้ชาวบ้านจากจังหวัดเลยและจังหวัดอุดรธานีชนะคดี ในขณะที่ศาลปกครองเชียงใหม่มีคำพิพากษายกฟ้องกลุ่มรักษ์บ้านแหง ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง

คำถามหนึ่งที่ตามมาก็คือ "เราได้อะไรจากการฟ้องให้เพิกถอนรายงานการไต่สวนฯ ?"

หลังจากมีคำพิพากษาของศาลปกครองอุดรธานีต่อคดีสิ่งแวดล้อมออกมาทั้งในคดีของการทำเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย[[1]]และโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี[[2]] สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวังที่จะได้เห็นและอยากให้เกิดขึ้นก็คือบรรทัดฐานในการจัดทำรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรที่ควรเป็นไปตามข้อเท็จจริง และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมทั้งในการจัดทำและในการตรวจสอบเพื่อที่จะลดความขัดแย้งระหว่างชุมชน รัฐและบริษัทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งกระบวนการนี้ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่กระบวนการที่สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ด้วยเหตุผลนี้เอง กระดุมเม็ดแรกจึงสำคัญอย่างยิ่ง กระดุมเม็ดนี้จึงต้องเป็นกระดุมเม็ดหลักที่จะแสดงข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องมีการเดินสำรวจจริง มีผู้ปกครองท้องที่ไปด้วยจริง และเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบได้จริง จึงจะเป็นการจัดทำรายงานการไต่สวนฯ ที่ชอบด้วยกฎหมาย 

แต่เมื่อข้อมูลในรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตุที่ไม่แสดงรายละเอียดที่ถูกต้องตามความเป็นจริง กระดุมเม็ดต่อ ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อดำเนินการขอประทานบัตรในหมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในเขตคำขอประทานบัตร การขอใช้พื้นที่จากบุคคล เอกชนและหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของพื้นที่ การจัดทำแผนผังโครงการ การจัดทำรายงาน EIA/EHIA เรื่อยไปจนถึงการอนุญาตใบประทานบัตรและขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับประทานบัตร ที่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ข้อมูลจากรายงานการไต่สวนฯ มาเป็นพื้นฐานก็ต้องถือว่ากระบวนการเหล่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน

เมื่อการเริ่มต้นในการติดกระดุมเม็ดแรกทำออกมาด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือทำด้วยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วประชาชนในพื้นที่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในชุมชนจะเป็นไปตามระเบียบ วิธี หรือข้ออ้างที่ทางผู้ประกอบการอ้างมาจริง ๆ เมื่อเริ่มต้นด้วยความเคลือบแคลงใจ ความไม่ไว้ใจ คงเป็นไปได้ยากที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้น การสร้างบรรทัดฐานที่ดีก็ควรเริ่มทำตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก เมื่อเห็นแล้วว่ากระดุมเม็ดแรกคือเม็ดที่มีปัญหาก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องดูว่าชายเสื้อที่ใส่จะเท่ากันหรือไม่ เรื่องแบบนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้ผลกระทบเกิดขึ้นก่อน เมื่อรู้แล้วก็ต้องรีบแก้ไข เพราะการกระทำที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นย่อมไม่มีทางที่จะทำให้ถูกต้องได้ในอนาคต

คำถามต่อมาก็คือ "เราได้เห็นอะไรจากคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ ?"

ในคดีที่ทำการฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่นี้เป็นคดีของชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหงจากหมู่บ้านแหงเหนือ หมู่ที่ 1 และ 7 และบ้านแหงใต้ หมู่ที่ 2 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ที่กำลังต่อสู้คัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหินใกล้บริเวณชุมชน ได้ยื่นฟ้องคดีว่ารายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรเป็นเท็จ ซึ่งเป็นชาวบ้านกลุ่มแรกที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในประเด็นนี้มาตั้งแต่ปี 2556 และก็เป็นพื้นที่สุดท้ายจากในสามพื้นที่ที่ได้มีคำพิพากษาออกมา ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เห็นว่าการที่หน่วยงานราชการแอบอ้างว่าลงมาสำรวจพื้นที่แต่กลับแจงข้อมูลลงไปในรายงานการไต่สวนฯ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนั้นย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิแล้ว เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวเหมาะแก่การทำเหมืองแร่หรือไม่ และในความเป็นจริงนั้น ตัวรายงานการไต่สวนฯ ไม่ใช่แค่ข้อมูลเบื้องต้นตามที่หน่วยงานราชการชี้แจงต่อศาลปกครองเชียงใหม่เพื่อลดทอนคุณค่ารายงานการไต่สวนฯ ให้ต่ำลง แต่เปรียบเสมือน 'กรอบ' ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หากในรายงานการไต่สวนฯ ไม่มีการระบุเรื่องแหล่งน้ำซับซึม ใน EIA/EHIA ย่อมไม่มีการระบุข้อมูลแหล่งน้ำซับซึมตามไปด้วย หากในรายงานการไต่สวนฯ ไม่ระบุทางน้ำและทางสาธารณะ ย่อมไม่มีทางที่รายงาน EIA/EHIA จะปรากฏทางน้ำและทางสาธารณะด้วยเช่นกัน และถึงแม้ว่าการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำรายงาน EIA/EHIA จะมาทำในฤดูฝนที่เห็นชัดเจนว่าป่าไม้อุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่ข้อมูลนี้จะไม่ปรากฏในรายงานแน่นอนหากในรายงานการไต่สวนฯ ระบุว่าพื้นที่นี้คือป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้คงไม่อาจพูดได้ว่ารายงานการไต่สวนฯ ไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของเอกชน ทั้งยังมีคำพิพากษาศาลปกครองอุดรธานียืนยันในเรื่องนี้ว่าการจัดทำรายงานการไต่สวนฯ ไม่ได้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่รอให้ประชาชนโต้แย้ง แต่เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่สำคัญที่ต้องแสดงข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อดำเนินการขอประทานบัตรในหมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในเขตคำขอประทานบัตร รวมไปถึงนำมาใช้ในการพิจารณาออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับประทานบัตรของหน่วยงานต่าง ๆ ในขั้นตอนต่อ ๆ มาด้วย


ชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหง บ้านแหงเหนือหมู่ 1 และ 7  บ้านแหงใต้ หมู่ ๒ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  เดินขบวนไปที่ว่าการอำเภองาวเรียกร้องให้หยุดการขอ
ประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์  เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557

แต่สุดท้ายผลการพิพากษาคดีต่อกลุ่มรักษ์บ้านแหงก็ไม่ได้เป็นดังหวัง โดยศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษายกฟ้อง[[3]] ซึ่งจากการอ่านคำพิพากษามีประเด็นต่าง ๆ ในการพิจารณาคดี ดังนี้

1. ชาวบ้านไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสภาพป่าเป็นแหล่งน้ำซับซึมดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง

2. รายงานการไต่สวนฯ ครั้งที่สองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 มี 'ผู้ฟ้องคดี' ที่ 41 ซึ่งเป็น 'ผู้ถูกฟ้องคดี' ที่ 3 ในฐานะผู้ใหญ่บ้านลงนามรับรองด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายงานการไต่สวนฯ นี้เป็นไปตามข้อเท็จจริงแล้ว รายงานดังกล่าวจึงถูกต้องไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี

3. เรื่องลำน้ำห้วยโป่งที่ระบุว่าอยู่ในพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 8/2553 นั้นเป็นเพียงทางผ่านของน้ำตามฤดูกาล ไม่ได้มีน้ำไหลตลอดเวลา จึงไม่ใช่แหล่งต้นน้ำ

4. รายงานการไต่สวนฯ ครัั้งที่สองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ได้ทับที่หรือมีที่ราษฎรรายใดอยู่ในพื้นที่ที่จะต้องได้รับความยินยอม จึงไม่ได้มีการทับที่ราษฎรตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง

5. เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนเห็นว่าการจัดทำรายงานการไต่สวนฯ เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตพื้นที่คำขอประทานบัตร ซึ่งเป็นเพียงการแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น ยังไม่ใช่การกระทำที่เปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เกิดการกระทบสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

จากประเด็นดังกล่าวทั้ง 5 ข้อ ผู้เขียนขอหยิบยกประเด็นสำคัญขึ้นมาพิจารณาเนื่องจากเห็นถึงความผิดพลาดและมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อคำพิพากษาดังกล่าว ดังนี้

ในประเด็นที่ 2 ศาลได้ระบุในคำพิพากษาว่าผู้ฟ้องคดีที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะที่มีการจัดทำรายงานการไต่สวนฯ ครั้งที่สองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น ได้ร่วมลงนามในรายงานดังกล่าวในฐานะผู้ปกครองท้องที่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะจากการขอตรวจสอบสำนวนของทนายความผู้เป็นเจ้าของคดีและชาวบ้านที่เป็นผู้ฟ้องคดีร่วมกันได้ยืนยันชัดเจนว่าผู้ที่ลงนามในรายงานการไต่สวนฯ ไม่ใช่ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีที่ 41 แต่เป็นกำนันซึ่งไม่ใช่คนในท้องที่ เพียงแต่มีนามสกุลที่คล้ายกันเท่านั้น

คำวินิจฉัยในประเด็นนี้ควรเป็นสาระสำคัญแห่งคดีเพราะหากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องที่ไม่ได้ลงไปเดินสำรวจพื้นที่ รายงานการไต่สวนฯ ดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เทียบจากคำพิพากษาศาลปกครองอุดรธานีที่พิพากษาในประเด็นนี้ว่า ในข้อที่ 22 วรรคหนึ่ง ของระเบียบกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการรังวัดกำหนดเขตคำขอ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำการรังวัดนำกำนันหรือใหญ่บ้านเจ้าของพื้นที่ไปทำการรังวัดด้วย การไต่สวนจะอาศัยแต่เพียงข้อมูลจากเเผนที่และการสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองท้องที่ไม่ได้ จะต้องอาศัยการเดินสำรวจท้องที่เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นการลงลายมือชื่อในรายงานไต่สวนฯ โดยไม่ได้ไปสำรวจพื้นที่จริงจึงไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีผลทำให้รายงานการไต่สวนฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) แต่เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ออกมาเช่นนี้เพียงเพราะดูชื่อคนผิด ย่อมทำให้เกิดคำถามต่าง ๆ ตามมามากมายว่าเพราะเหตุใดข้อผิดพลาดเช่นนี้จึงเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีการฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งถือเป็นการรอคอยความยุติธรรมที่ยาวนาน

ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งที่อาจจะสามารถระบุสาเหตุของข้อผิดพลาดนี้ได้ก็คือการไม่อนุญาตให้ตุลาการแถลงคดีในวันที่มีการนั่งพิจารณาก่อนมีคำพิพากษา เพราะเมื่อขอคัดสำนวนได้มาแล้วทางผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่าคำแถลงคดีของตุลาการมีจุดผิดพลาดที่เหมือนกันโดยเข้าใจผิดว่าผู้ที่ลงนามในรายงานการไต่สวนฯ คือผู้ฟ้องคดีที่ 41 หากในวันนั้นผู้พิพากษาเปิดโอกาสให้ตุลาการแถลงคดีดังเช่นคดีอื่น ๆ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้ทักท้วงถึงข้อผิดพลาดดังกล่าว และผลแห่งคดีจากคำพิพากษาอาจจะไม่ออกมาเป็นเช่นนี้

ประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ต่อมาคือประเด็นที่ 4 ซึ่งเป็นประเด็นที่สืบเนื่องมาจากประเด็นที่ 2 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าแม้ในคำขอประทานบัตรจะมีหรือไม่มีที่ดินราษฎรตามที่ได้รังวัดมาในรายงานการไต่สวนฯ ครั้งที่สอง แต่หน่วยงานที่ได้ทำการไต่สวนจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงในเมื่อการไต่สวนครั้งนี้ไม่ได้มีการปิดประกาศให้ประชาชนคัดค้านภายใน 20 วัน เหมือนกับที่ทำรายงานการไต่สวนในครั้งแรก เพราะชาวบ้านในพื้นที่ไม่มีใครได้ทราบเลยว่าทางหน่วยงานรัฐได้เข้ามาทำการไต่สวนใหม่ตามที่ได้ลงข้อมูลไว้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 และรวมไปถึงผู้ฟ้องคดีที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นก็ไม่ทราบถึงการไต่สวนดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ประเด็นสุดท้ายที่ต้องนำมาวิเคราะห์กันก็คือประเด็นที่ 5 ที่ควรจะเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยและถกเถียงกันมากที่สุดว่าขั้นตอนในการจัดทำรายงานการไต่สวนฯ ที่ไม่ถูกต้องถือเป็นการกระทำที่เปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลหรือไม่ ตามความเห็นของผู้เขียนนั้น รายงานการไต่สวนฯ ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากในรายงานต้องระบุข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ซึ่งต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยคนในพื้นที่เป็นสำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริงว่าทางน้ำและทางสาธารณะอยู่ตรงไหน ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากทางน้ำหรือไม่และอย่างไร และใช้เส้นทางสาธารณะใดสัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากไม่ระบุให้ชัดเจนถูกต้องตั้งแต่แรกก็ย่อมเป็นปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะข้อมูลเหล่านี้เองที่ต้องถูกนำไปใช้ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การเข้ามาของเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาจัดทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อประชาชน ถือเป็นการกระทบสิทธิและหน้าที่แล้ว เนื่องจากสาระสำคัญแห่งการถูกกระทบสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นว่าร่างกายหรือจิตใจจะต้องได้รับความกระทบกระเทือน หรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอให้ผลกระทบจากการทำเหมืองเกิดขึ้นก่อนแต่อย่างใด เพราะนั่นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 

แต่รายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรถือเป็นการวางหลักการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุสำหรับกระบวนการขออนุมัติ/อนุญาตประทานบััตรเพื่อทำเหมืองแร่ในประเทศไทยได้ดีทีเดียว นั่นเป็นอุดมคติที่ปรากฎอยู่ในลายลักษณ์อักษร แต่กระบวนทัศน์ของผู้รักษากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนหวังพึ่งจากการพิจารณาคดีทางปกครองกลับสวนทาง.

 

เชิงอรรถ

[1] คำพิพากษาศาลปกครองอุดรธานี คดีหมายเลขดำที่ ส.8/2557 คดีหมายเลขแดงที่ ส.5/2557 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2560

[2] คำพิพากษาศาลปกครองอุดรธานี คดีหมายเลขดำที่ ส.2/2556 คดีหมายเลขแดงที่ ส.6/2556 วันที่ 30 มีนาคม 2561

[3] คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ ส.2/2556 คดีหมายเลขแดงที่ ส.3/2556 วันที่ 25 เมษายน 2561

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายนักวิชาการ-ปชช.ภาคเหนือหนุนเรียกร้องเลือกตั้งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพลเมือง

Posted: 22 May 2018 08:57 AM PDT

เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนภาคเหนือ ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันว่าการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พลเมืองทุกคนสามารถแสดงออกมาได้ อีกทั้งยังขอสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ "คนอยากเลือกตั้ง" และประชาชนทุกหนแห่งที่เรียกร้องการเลือกตั้งบนหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

22 พ.ค. 2561 - เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนภาคเหนือ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งนิธิ เอียวศรีวงศ์ อานันท์ กาญจนพันธุ์ ธเนศวร์ เจริญเมือง ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ฯลฯ ร่วมกันออกแถลงการณ์ "เสรีภาพเป็นของประชาชน ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องการเลือกตั้ง" สนับสนุนการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" และชี้ว่าการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พลเมืองทุกคนสามารถแสดงออกมาได้ ทั้งยังประณาม การขัดขวาง การดำเนินคดี และการจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำต่อ "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" และประชาชนผู้เรียกร้องการเลือกตั้ง

โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

แถลงการณ์

เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนภาคเหนือ

เสรีภาพเป็นของประชาชน ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องการเลือกตั้ง

เป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากประชาชน ด้วยคำกล่าวอ้างว่า เข้ามาแก้ไขปัญหาและสร้างความสงบสุข แต่ในทางตรงกันข้าม 4 ปีที่ผ่านมา กลับเป็นช่วงเวลาอันแสนหดหู่และน่าเศร้า ภายใต้บรรยากาศการบริหารงานและปกครองประเทศ ด้วยรูปแบบเผด็จการอำนาจนิยม ของ คสช. ที่มิได้มาจากเจตจำนงของประชาชนโดยทั่วไป 4 ปีที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นถึง ความล้มเหลวในการบริหารงานในหลายด้านของ คสช. ทั้ง คุณภาพชีวิตประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่สำคัญ คือ "หลักการประชาธิปไตย" ได้ถูกทำลายลงอย่างเห็นได้ชัด

หลายต่อหลายครั้ง ที่ประชาชนผู้มีความหวังถึง "ประชาธิปไตย" ได้ยืนยันถึงสิทธิความเป็นพลเมือง ด้วยการเรียกร้องถึง "การเลือกตั้ง" แต่ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา การจับกุม การดำเนินคดี และการติดตาม ตลอดจนการคุกคามด้วยรูปแบบต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ผ่านคำสั่ง หัวหน้า คสช. 3/2558 จนทำให้ชีวิตขาดความปกติสุข ไม่สามารถแสดงออกถึงสิทธิ และเสรีภาพ ที่ประชาชนพึงมีบนหลักการประชาธิปไตย

พวกเราในนาม เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนภาคเหนือ ขอยืนยันว่า การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เป็นสิทธิอันชอบธรรม ที่พลเมืองทุกคนสามารถแสดงออกมาได้

พวกเราขอสนับสนุน การเคลื่อนไหวของ "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" และประชาชนทุกหนแห่ง ในการเรียกร้องการเลือกตั้งบนหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

พวกเราขอประณาม การขัดขวาง การดำเนินคดี และการจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำต่อ "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" และประชาชนผู้เรียกร้องการเลือกตั้ง

เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนภาคเหนือ

22 พฤษภาคม 2561

ดังรายชื่อต่อไปนี้

นิธิ เอียวศรีวงศ์

อานันท์ กาญจนพันธุ์

ธเนศวร์ เจริญเมือง

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ชัชวาล ปุญปัน

สุชาดา จักรพิสุทธิ์

นงเยาว์ เนาวรัตน์

ชำนาญ จันทร์เรือง

วรวิทย์ เจริญเลิศ

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

นันท์นภัส แสงฮอง

นัทมน คงเจริญ

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

พลอยแก้ว โปราณานนท์

จณิษฐ์ เฟื่องฟู

พศุตม์ ลาศุขะ

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ

รวิพร ดอกไม้

สิงห์ สุวรรณกิจ

วราภรณ์ เรืองศรี

ธิกานต์ ศรีนารา

สิรีธร ถาวรวงศา

ภัควดี วีระภาสพงษ์

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์

ธีรมล บัวงาม

อานนท์ ตันติวิวัฒน์

อรภัคค รัฐผาไท

ชนฐิตา ไกรศรีกุล

กัลย์สุดา ปานพรม

พึ่งบุญ ใจเย็น

ภูธน ทองตัน

จิรภัทร ทวีชื่น

ธนวัฒน์ นุ่มเจริญ

จตุพล คำมี

อภิบาล สมหวัง

พงศ์ภรณ์ พงษ์พันธุ์

ธีระพล คุ้มทรัพย์

ทศพล ศรีนุช

วิธญา คลังนิล

พรพรรณ วรรณา

นิติพงศ์ สำราญคง

ธนพงษ์ หมื่นแสน

กฤตน ชัยแก้ว

พัชรินทร์ ถาปินตา

ดำนาย ประทานัง

หทัยกานต์ สังขชาติ

อธิคม มุกดาประกร

นลธวัช มะชัย

อนุสรณ์ ติปยานนท์

ประวิทย์ มุ่นเชย

อันยา โพธิวัฒน์

ศักดิ์ ไชยดวงสิงห์

แสงดาว ศรัทธามั่น

กิตติศักดิ์ อินต๊ะริน

จำลอง ทองศรี

สุกัญญา ทองศรี

ประเสริฐ ต้นเขียน

นาตยา คงเจริญ

อิสสริยา โนวัค

บุญวรรณี วิริยะชัยวงศ์

ลลิตา เดชเกิด

พรนภัส พูลสมบัติ

สุดารัตน์ พรมเสน

กาญจนา ดีอุด

พรพิศ ผักไหม

สุนทรี ภูมิชัยสุวรรณ์

วีรยุทธ อติมานะ

ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว

เฉิดฉันท์ ศรีพาณิชย์

อังสนา วดีศิริศักดิ์

ธนาวุฒิ วดีศิริศักดิ์

สุวิภา จำปาวัลย์

ชญาณิฐ สุนทรพิธ

นิชากร ตัวละมุน

แพร จารุ ทองเกลี้ยง

ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์

พลลดล พลเดชวิสัย

อาทิตยา พลเดชวิสัย

คีตพัฒน์ ประภานนท์

วรญา ประภานนท์

ณจิตรา ประภานนท์

วีระพงษ์ ชินวัตร

วีระเกียรติ ชินวัตร

ธงไชย อาภาวัชรุตม์

วรรณศิริ พุทธิศรี

กีรติกานต์ เดชาวัฒนากุล

ศรยุทร เอี่ยมเอื้อยุทธ

นิตย์ ใจงิ้วคำ

รวิวาร รวิวารสกุล

ชานนท์ ญาณาคร

วรการต์ ปันดวง

ภัทรภูมิ เติงจันต๊ะ

พงษ์กฤษฏิ์ จิโน

อนินท์ญา ขันขาว

พิทักษ์ พิสูจน์

พงษ์ศักดิ์ บุญสม

เยาวเรศ คำปรุงสิทธิ์

จุฑาทิพย์ บุญสม

เขม ชุดทอง

เพ็ญนภา เรืองมาลัย

พนิดา การะบุญ

ปรีญาวัลย์ ใจปินตา

เกรียงไกร จินะโกฎิ

ดิเรก หมานมานะ

ซูไลมาน กูตัยบี

นูรีมะห์ บือราเฮง

สาลาม๊ะ หลงสะเตียะ

พงศกร สงวนศักดิ์

ชัยพงษ์ สำเนียง

สมพงษ์ อาสากิจ

พนา กันธา

กรวรรณ บัวดอกตูม

รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์

พีรณัฐ พฤกษารัตน์

วรเมธ ชัยมงคล

สุทธิดา มณีกุล

พัชรีพร เทพนำชัย

สุทธิชัย เกษมสุขพูนวัตถุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยสิทธิบัตรทองช่วยลูกป่วยฮีโมฟีเลียได้รักษาต่อเนื่อง สุขภาพแข็งแรง

Posted: 22 May 2018 08:52 AM PDT

พ่อผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย เผยลูกชายใช้สิทธิบัตรทองมากว่า 10 ปี เข้าถึงการรักษาต่อเนื่อง ลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิประโยชน์สำรองยาแฟคเตอร์ ช่วยลดความพิการในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจากภาวะเลือดออกในข้อและใต้ผิวหนังได้ ระบุช่วงอายุ 8 ขวบ เคยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ ภาวะเลือดไม่หยุดไหลส่งผลค่าผ่าตัดรักษาพุ่ง 5 แสนบาท จากปกติแค่หลักหมื่น ย้ำหากไม่มีสิทธิบัตรทองครอบครัวกระทบแน่

22 พ.ค.2561 พิเศษ รักเดช อายุ 47 ปี ชาวนนทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันลูกชายอายุ 16 ปี เป็นผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ในการรักษามาตั้งแต่ปี 2549 โดยในช่วงที่ลูกชายเกิด ตนเองและครอบครัวไม่รู้ว่าลูกป่วยด้วยโรคนี้ อาการเริ่มปรากฎในช่วงอายุ 6 เดือนที่เด็กเริ่มพลิกคว่ำ พบพบจ้ำเขียวช้ำตามแขนขาและร่างกาย แต่เนื่องจากลูกชายเป็นเด็กอ้วนและมีน้ำหนักมาก ทำให้คิดว่าคงอาการปกติทั่วไปจึงไม่ได้ไปหาหมอ แต่เมื่ออายุ 2 ขวบ เกิดอุบัติเหตุหกล้มฟันกระแทกจนเกิดแผลในปาก มีเลือดออกไม่หยุด จึงพาไปหาหมอที่โรงพยาบาลเพื่อให้หยุดเลือดที่ไหลนี้ และต่อมาคุณหมอที่โรงพยาบาลจึงได้ส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช จากการวินิจฉัยได้รับแจ้งว่าลูกชายป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย จากนั้นจึงได้รักษาต่อเนื่องที่ รพ.ศิริราชมาตลอด เพราะนอกจากต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลแล้ว ยังต้องใช้ยาแฟคเตอร์ที่เป็นสารประกอบของเลือดในการรักษาที่ รพ.ทั่วไปไม่มีสำรอง       

ในการรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เฉพาะยาแฟคเตอร์ที่ผู้ป่วยต้องใช้เพื่อหยุดการไหลของเลือด ราคาที่บริษัทยาจำหน่ายอยู่ที่ 5,000-6,000 บาทต่อขวด ปริมาณการใช้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุที่ได้รับ หากเป็นบาดแผลรุนแรงอาจะต้องใช้ 2-3 ขวด ทั้งยังต้องใช้ยานี้รักษาต่อเนื่องไปอีก ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หากนาน 1 สัปดาห์ เฉพาะค่าห้องผู้ป่วยก็อยู่ที่ 6,000-7,000 บาทแล้ว เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียยังต้องมียาแฟคเตอร์เพื่อสำรองไว้ที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหยุดภาวะเลือดไหลหรือชะลอการไหลของเลือดได้ก่อน เพราะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกระทันหัน เช่น รถเฉี่ยว รถชน และหกล้มจนมีแผลทำให้เลือดออก เป็นต้น และเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ไม่คุ้นเคยกับโรคฮีโมฟีเลีย ประกอบกับกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ล่าช้า จำเป็นต้องมียาแฟคเตอร์สำรองไว้ที่ผู้ป่วยเพื่อช่วยบรรเทาหรือชะลอความรุนแรงของอาการก่อน ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่สามารถให้การรักษาโรคฮีโมฟีเลียได้เพียง 49 แห่งเท่านั้น ซึ่งระบบบัตรทองได้เพิ่มสิทธิประโยชน์สำรองยาแฟคเตอร์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในปี 2557

"ปัจจุบันลูกชายยังคงรับการรักษาต่อเนื่องที่ รพ.ศิริราช โดยใช้สิทธิบัตรทอง คุณหมอจะนัดตรวจติดตามอาการ 3 ถึง4 เดือนครั้ง หากไม่มีระบบบัตรทองนี้ แน่นอนคงกระทบกับครอบครัวเราอย่างมาก โดยในช่วงที่ลูกชายอายุ 8 ขวบ เกิดอาการปวดท้องอย่างหนัก พบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบและต้องผ่าตัด ซึ่งค่าใช้จ่ายผ่าตัดไส้ติ่งกรณีคนทั่วไปจะอยู่เพียงแค่หลักหมื่นบาท แต่กรณีของผู้ป่วยฮีโมฟีเลียที่มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดอย่างลูกชายผม ต้องเลียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดไส้ติ่งสูงถึง5 แสนบาท เป็นภาระค่ารักษาที่หนักมาก โชคดีที่มีระบบบัตรทองช่วยดูแล" พิเศษ กล่าว   

พิเศษ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีระบบบัตรทองทำให้รู้สึกเบาใจและสบายใจอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษาของลูกชาย เชื่อว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูงต่างรู้สึกเช่นกัน มองว่าเป็นระบบที่จำเป็นอย่างมากในการช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนได้ หากไม่มีระบบนี้ครอบครัวเราคงแย่ และจากที่ระบบบัตรทองได้เพิ่มสิทธิประโยชน์การเข้ายาแฟคเตอร์ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียยังช่วยลดความพิการจากภาวะเลือดออกในข้อและใต้ผิวหนังได้ จากเดิมที่ผู้ป่วยโรคนี้พบความพิการถึงร้อยละ 90 แต่ด้วยระบบการสำรองยาแฟคเตอร์ให้กับผู้ป่วยฮีโมพีเลีย ทำให้ความพิการในผู้ป่วยกลุ่มนี้ลดน้อยลงอย่างมาก จนผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ระยะหลังๆ แทบไม่ปรากฎความพิการ

"ปัจจุบันผมลูกชายสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไปโรงเรียนได้ เล่นได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเป็นพิเศษ ยอมรับว่าส่วนตัวยังรู้สึกกังวลทุกครั้งมีข่าวเกี่ยวกับการยกเลิกหรือมีการปรับเปลี่ยนระบบบัตรทองนี้ ครอบครัวคงได้รับผลกระทบอย่างมาก ดังนั้นอยากฝากถึงรัฐบาลขอให้ระบบบัตรทองมีอยู่ตลอดไปเพื่อดูแลประชาชน ไม่อยากให้ล้มหรือยกเลิกไป" พ่อผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย กล่าว  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวประชาไทถูกตำรวจสอบปากคำเป็นพยาน เหตุพบโดรนบินหลังแนวกั้นตำรวจ

Posted: 22 May 2018 08:33 AM PDT

'ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล' สั่งสอบปากคำผู้สื่อข่าวประชาไทในฐานะพยาน หลังถามตำรวจระหว่างแถลงข่าวเรื่องพบเห็นโดรนบินบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หลังแนวกั้นของตำรวจ

ภาพโดรนที่ถูกถ่ายได้บริเวณหลังแนวกั้นตำรวจ

22 พ.ค.2561 ระหว่างที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. นำเจ้าหน้าที่แถลงเกี่ยวกับคดีการชุมนุมคนอยากเลือกตั้งนั้น มีรายงานข่าวปรากฎในสื่อว่า เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา ผู้สื่อข่าวสำนักประชาไท สอบถาม พล.ต.อ.ศรีวราห์ ว่าในการชุมนุมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่มีการใช้โดรนบินสำรวจด้วยหรือไม่ เนื่องจากระหว่างทำข่าวบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สังเกตเห็นโดรนบินอยู่ ทาง รอง ผบ.ตร.ยืนยันว่าเป็นโดรนของทางการที่ได้หยิบยืมมาจากกองทัพเรือโดยบินอยู่เฉพาะบริเวณองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แต่เยี่ยมยุทธ ยืนยันว่าพบเห็นบินอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแนวกั้นของเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม จากนั้นรอง ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ผู้กำกับ สน. ชนะสงครามดำเนินการสอบปากคำผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวในฐานะพยาน เพื่อทำการสืบสวนในการติดตามหาผู้กระทำความผิดต่อไป

ล่าสุด เยี่ยมยุทธ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบปากคำเสร็จแล้ว โดยมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ในที่เกิดเหตุประมาณเวลาราว 10.30 น. มีแกนนำผู้ชุมนุมกล่าวว่ามีโดรนบินอยู่ เมื่อมองไปเห็นโดรนบินอยู่เหนือบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หลังแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงถ่ายภาพโดรนไว้ เมื่อเปิดดูรายละเอียดภาพพบว่าภาพดังกล่าวถูกถ่ายในเวลา 11.44 น. แต่เนื่องจากจำเวลาชัดเจนไม่ได้ เขาจึงให้ปากคำเป็นการประมาณเวลา โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้บังคับ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวญี่ปุ่น 3 คนร่วมกันฟ้องรัฐบาล-คดีถูกบังคับทำหมัน

Posted: 22 May 2018 08:24 AM PDT

ญี่ปุ่นเคยมีกฎหมายเกี่ยวกับพันธุกรรมที่ออกมาตั้งแต่ 70 ปีก่อน โดยอนุญาตให้มีการทำหมันบุคคลได้โดยไม่ผ่านการยินยอมจากบุคคลนั้นๆ ถ้าหากถูกมองว่า "มีความพิการทางจิต" หรือมีโรคทางกรรมพันธุ์ แม้กฎหมายนี้จะยกเลิกไปนานแล้วแต่บุคคลที่เคยถูกบังคับทำหมันก็ยังคงไม่ได้รับการเยียวยา ทำให้มีอดีตคนถูกบังคับทำหมัน 3 คน ร่วมกันฟ้องร้องรัฐบาลญี่ปุ่นในเรื่องนี้

NHK รายงานว่ามีชาวญี่ปุ่น 3 คนที่เคยถูกบังคับทำหมันโดยรัฐบาล ร่วมกันฟ้องร้องรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2561 พวกเขาถูกบังคับให้ทำหมันโดยการอ้างกฎหมายคุ้มครองพันธุกรรมที่ดี (eugenics protection law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบัน

หนึ่งในโจทก์จากจังหวัดมิยางิกล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า เธอรู้สึกเจ็บปวดมาเป็นเวลาหลายปีกับเรื่องการถูกบังคับทำหมันและรู้สึกเหมือน "ถูกขโมยชีวิตไป" โจทก์อีกรายหนึ่งบอกว่าเขาไม่รู้จะทำอย่างไรกับความโกรธของตัวเองดี เขาแค่ต้องการชีวิตตัวเองคืน

โจทก์คนที่สองที่เป็นชายปัจจุบันอายุ 75 ปี เขาบอกว่าเขาถูกทำหมันมาตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยที่ไม่รู้ความ เขาเคยเป็นผู้พักอาศัยในบ้านพักสวัสดิการมาก่อน ต่อมาเขาแต่งงานกับภรรยาและไม่สามารถบอกภรรยาของเขาได้เลยเกี่ยวกับอดีตของเขาทำให้เขารู้สึกเจ็บปวดเมื่อเห็นภรรยาของเขาอุ้มลูกของเพื่อน เขาเพิ่งบอกความจริงกับภรรยาของเขาเมื่อ 5 ปีที่แล้วก่อนภรรยาเขาเสียชีวิต

กฎหมายคุ้มครอง "พันธุกรรมที่ดี" ของญี่ปุ่นออกมาตั้งแต่ในปี 2491 โดยอ้างว่าเพื่อเอาไว้ลดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลังสงครามที่ทหารกลับมาจากสงครามพร้อมกันจำนวนมากร่วมกับปรากฏการณ์เบบี้บูมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกฎหมายฉบับนี้อนุญาตให้มีการผ่าตัดทำหมันคนทีพิการทางจิตหรือคนที่มีโรคทางกรรมพันธุ์ โดยไม่ต้องผ่านความยินยอมจากเจ้าของร่างกายนั้น พวกเขาอ้างว่าเพื่อ "ป้องกันไม่ให้กำเนิดลูกหลานที่มีความด้อย"

ในกฎหมายดังกล่าวยังอนุญาตให้แพทย์กระทำการยับยั้งเหนี่ยวรั้งร่างกายของผู้ป่วยได้ เช่น การใช้ยาชา หรือการล่อหลอกให้เข้ารับการผ่าตัด กฎหมายฉบับนี้คงอยู่มาเป็นเวลา 48 ปีถึงจะยกเลิก มีผู้คน 16,500 คนทั่วญี่ปุ่นถูกจับทำหมันขณะที่ยังมีกฎหมายนี้

ในประเทศอื่นๆ อย่างเยอรมนีหรือสวีเดนก็เคยมีกรณีที่รัฐบาลบังคับประชาชนทำหมันมาก่อน แต่พวกเขาก็ออกมายอมรับว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากนั้นจึงออกมาขอโทษและชดเชยให้กับเหยื่อ

กรณีของญี่ปุ่นนั้น ทางสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นชดเชยให้กับเหยื่อมาเป็นเวลาหลายครั้งแล้วนับตั้งแต่ปี 2541 แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของญี่ปุ่นก็ปฏิเสธไม่ยอมขอโทษหรือจ่ายค่าชดเชยให้โดยบอกว่าเป็นเพราะในตอนที่มีการบังคับทำหมันเป็นช่วงเวลาที่ยังมีกฎหมายคุ้มครองในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตามกลุ่มพรรคแนวร่วมรัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับประเด็นนี้ขึ้นมา โดยคัดมาจากกลุ่มสภานิติบัญญัติที่ไม่แบ่งแยกฝ่าย มีเป้าหมายเพื่อเสนอร่างกฎหมายชดเชยให้กับเหยื่อสู่สภา อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังมีปัญหาอยู่บางประการ เช่น บันทึกการทำหมันจำนวนมากหายไปแล้ว และเหยื่อที่ถูกทำหมันหลายคนก็อยู่ในสภาพพิการหนัก ทำให้เป็นเรื่องยากต่อการที่พวกเขาจะจะส่งเสียงออกมาให้ได้ยินได้

เรียบเรียงจาก

Victims of Forced Sterilization Sue Japanese Government, NHK, 18-05-2018

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศรีสุวรรณ' จี้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้ม หากทำไม่ได้ให้คืนอำนาจประชาชน

Posted: 22 May 2018 06:45 AM PDT

 
เช็คราคาน้ำมัน http://www.pttplc.com/th/getoilprice.aspx/
 
22 พ.ค.2561 ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้ม หากทำไม่ได้ให้คืนอำนาจประชาชน
 
โดยมีรายละเอียดดังนี้ : 
 
แถลงการณ์ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
 
เรื่อง จี้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้ม หากทำไม่ได้ให้คืนอำนาจประชาชน
 
ตามที่ปรากฏเป็นการทั่วไปว่าผู้ค้าน้ำมัน-ก๊าซหุงต้มทุกยี่ห้อ ต่างพาเหรดกันขึ้นราคาหลายต่อหลายครั้งอย่างผิดปกติในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการรถขนส่งผู้โดยสาร-รถบรรทุกสินค้า ใช้เป็นข้ออ้างในการขอปรับขึ้นราคาค่าโดยสารและค่าขนส่งอยู่ในขณะนี้ ซึ่งสมาคมฯขอคัดค้านอย่างเต็มที่ และจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการทั้งระบบขยับตัวปรับราคาขึ้นไปให้แพงทั้งแผ่นดิน เคราะห์กรรมก็จะตกอยู่กับประชาชนหรือผู้บริโภคอย่างหนี้ไม่พ้น
 
กรณีที่เกิดขึ้น จึงสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลว-ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล คสช. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และ รมว.กระทรวงพลังงานโดยตรง ทั้ง ๆ ที่มีอำนาจอยู่ล้นมือในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา แต่กลับปล่อยปละละเลยและนอนฝันอยู่แต่เรื่องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการตลาดที่มีบทสรุปสุดท้ายคือการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนผู้ค้าน้ำมันและก๊าซหุงต้ม โดยผลักภาระมาให้กับประชาชนเท่านั้น
 
ทั้งนี้รัฐบาลมีเครื่องมือหรือกลไกการควบคุมราคาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้มได้อยู่แล้วนั่นคือ "กองทุนน้ำมัน" ซึ่งปัจจุบันมีสะสมอยู่มากกว่า 31,580 ล้านบาท แต่รัฐบาลกลับไม่นำมารักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า "เพื่อรักษาระดับการขายปลีกราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่คณะรัฐมนตรีกำหนด" ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลในต่างจังหวัดเกินกว่า 30 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันเบนซินเกินกว่า 38 บาท/ลิตรไปแล้ว ในขณะที่ต้นทุนน้ำมันดีเซลราคาเพียง 19.53 บาท ส่วนเบนซินอยู่ที่ 20 บาทเท่านั้น แต่เพราะการกำหนดโครงสร้างราคาพลังงานที่บิดเบือนขูดรีดผู้บริโภคผ่านระบบภาษีหลายประเภท ประกอบด้วย ภาษีสรรพากร ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงาน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าการตลาด ซึ่งรวมแล้วจะประมาณ 16-18 บาท/ลิตรเลยทีเดียว ซึ่งหากรัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มเพื่อช่วยประชาชนได้อย่างแท้จริง ต้องใช้คำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 โดยยกเลิกภาษีสรรพากร ภาษีเทศบาล กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงาน โดยเก็บแต่เพียงภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ก็จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้ทั้งหมด
 
ส่วนก๊าซหุงต้มนั้นมีการปล่อยให้ปรับราคาขึ้นถึง 3 ครั้งในรอบหนึ่งเดือนอย่างไม่มีเหตุผล เริ่มจากวันที่ 1 พ.ค ขึ้นราคา 0.5016 บาท/กก.เท่ากับขึ้นราคาถังละ 7.524 บาท วันที่ 8 พ.ค ขึ้นราคา 0.6946 บาท/กก. ถังละ 10.419 บาท วันที่ 16 พ.ค ขึ้นราคา 0.5714 บาท/กก. ถังละ 8.571 บาท และวันนี้ 22 พ.ค.ขึ้นราคาอีก 1.5485 บาท/กก. เท่ากับว่าก๊าซหุงต้มเดือน พ.ค. ถังขนาด 15 กก.ขึ้นราคาไป 3.31 บาท/กิโลกรัม หรือถังละ 49.65 บาทกันเลยทีเดียว ซึ่งยังไม่เคยมีปรากฎการณ์ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มกันแบบมหาโหดเช่นนี้มาก่อนเลย ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยมากว่าก๊าซหุงต้มราคาตลาดโลกอยู่ที่ราคาประมาณ 15 บาท/กก. แต่ราคาในประเทศที่มาจากก๊าซอ่าวไทยกลับมีราคาหน้าโรงแยกก๊าซที่ 18 บาท สูงกว่าราคาตลาดโลกประมาณ 3 บาท
 
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และกระทรวงพลังงาน ไม่ได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่น ความสามารถในการจัดการ ควบคุม และแก้ไขปัญหาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้มได้ ตามที่ประชาชนคาดหวังได้เลย แม้รัฐบาลจะมีอำนาจอยู่เต็มมือแต่กลับนิ่งเฉย ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนั่งบริหารประเทศอยู่ต่อไป และวันนี้ถือว่าเป็นวันครบรอบของการยึดอำนาจอย่างไม่เป็นประชาธิปไตยมาจากประชาชน ดังนั้นควรถือโอกาสในวันนี้เร่งประกาศ "คืนอำนาจ" ให้กับประชาชนเสีย เพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้กลไกการเลือกตั้ง เป็นเครื่องมือในการชี้ว่าผู้ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในอนาคตต้องเป็นผู้ถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งหรือไม่ หากรัฐบาลและ คสช. คิดว่าตนมีอำนาจล้นฟ้า ยังเพิกเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ก็เชื่อว่าอีกไม่นานประชาชนจะสอนบทเรียนทางประวัติศาสตร์การเมืองที่มีค่ายิ่งต่อการบริหารราชการที่ไม่ใส่ใจต่อความทุกข์ยากและเดือดร้อนของประชาชน และเมื่อถึงวันนั้นก็ยากที่จะคาดเดาอนาคตของผู้ที่เพิกเฉยต่อความทุกข์ร้อนของประชาชน เพราะ "แม้มีอำนาจล้นฟ้า แต่ก็ไม่เหนือไปกว่าอำนาจประชาชน"
 
แถลงมา ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2561
 
นายศรีสุวรรณ จรรยา
 
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'แอมเนสตี้' ทวงสัญญา คสช. ยกเลิกคำสั่งที่จำกัดสิทธิภายใน มิ.ย. นี้

Posted: 22 May 2018 05:15 AM PDT

แอมเนสตี้ทวงสัญญา คสช. ต้องปฏิบัติตามคำสัญญาที่ว่าจะยกเลิกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองในเดือนมิถุนายน 2561 นอกนั้นยังต้องยกเลิกกฎหมายและคำสั่งอื่นๆ ที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนด้วย

22 พ.ค.2561 เนื่องในวาระครบรอบ 4 ปี ของการรัฐประหารโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า ใกล้ถึงวันที่ คสช. ต้องปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะยกเลิกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองในเดือนมิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557

แคทเธอลีน เกอร์สัน (Katherine Gerson) เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คำสั่งของ คสช. ที่ออกมาตั้งแต่หลังการทำรัฐประหารเป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและปราศจากความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง มาตรการพิเศษนี้ควรนำมาใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ผ่านมาสี่ปีแล้วคำสั่งเหล่านี้ยังคงถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องและเคร่งครัดโดยทางการ ซึ่งส่งผลให้มีการปฏิบัติมิชอบจำนวนมาก
 
"หลังเลื่อนคำสัญญามาหลายครั้ง ถึงเวลาแล้วที่ คสช.จะต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ในการยกเลิกคำสั่งห้ามการจัดกิจกรรมทางการเมืองภายในเดือนมิถุนายนนี้ แต่เฉพาะการกระทำเช่นนี้ถือว่ายังไม่เพียงพอ จะต้องยกเลิกกฎหมายและคำสั่งอื่นๆ ที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนอย่างสงบด้วย" แคทเธอลีน  กล่าว
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังระบุเพิ่มเติมว่า คสช. จะต้องยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบของประชาชนอย่างเร็วที่สุด โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายและคำสั่งที่เป็นเผด็จการที่พุ่งเป้าไปที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมและฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองซึ่งใช้สิทธิมนุษยชนของตนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบ ประชาชนหลายร้อยคนไม่ควรถูกดำเนินคดีอาญาเพียงเพราะการแสดงความเห็นและเข้าร่วมการประท้วงอย่างสงบ
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ: 4 ปีที่สูญเสีย.....เสรีภาพ

Posted: 22 May 2018 03:59 AM PDT


 

ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นเวลาครบ 4 ปี ที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งอย่างสันติ เรียกร้องสิทธิอันควรเป็นของพวกเขาและประชาชนไทยทุกคน ได้ถูกจับกุมไปอย่างน้อย 12 คน กรณีนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า นี่คือ 4 ปีที่ชาวไทยไร้สิทธิเสรีภาพ

นี่ไม่ใช่แค่การละเมิดต่อผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 12 คน ไม่ใช่แค่การละเมิดต่อผู้ชุมนุมจำนวนมากที่ออกมาแสดงสิทธิเสรีภาพของตนเองในวันนี้ แต่ยังเป็นการละเมิดต่อคนไทยทั้งประเทศที่อยากเห็นการเลือกตั้งเพื่อให้ประเทศของเราหลุดพ้นจากระบอบการเมืองของคณะรัฐประหาร ผมขอยืนยันว่า สิทธิการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่พวกเราต้องได้รับ และผมขอให้กำลังใจผู้ที่ออกมาชุมนุมในวันนี้ ทุกคนคือผู้ที่กล้ายืนหยัดเพื่อความถูกต้อง แม้จะต้องรับผลอันหนักหนาสาหัสจากสิ่งที่รัฐบาลทหารเรียกว่า "กฎหมาย"

ไม่ใช่แค่เสรีภาพเท่านั้น ที่เราสูญเสียไปใน 4 ปีภายใต้ คสช. มันยังเป็น 4 ปีที่พิสูจน์ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า การปราบคอร์รัปชันโดยรัฐบาลเผด็จการไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะการตรวจสอบถ่วงดุลจากพรรคการเมืองและประชาชนไม่สามารถทำได้ภายใต้ระบอบแบบนี้

นี่เป็น 4 ปีที่พิสูจน์ว่า "การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" หรือการปฏิรูปใต้อำนาจรัฐบาลทหาร ไม่มีวันเป็นการปฏิรูปเพื่อประชาชน ซ้ำร้ายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมาในยุค คสช. ซึ่งจะยังคงอยู่กับสังคมไทยไปอีกนาน มรดกจากการรัฐประหารเหล่านี้จะทำให้ประเทศจมปลักอยู่กับที่ และกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย การลงทุนจากต่างประเทศลดฮวบ จีดีพีโตช้ากว่าเพื่อนบ้าน เป็น 4 ปีที่เราเสียโอกาสในการวางนโยบายที่ชาญฉลาด รับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่มากับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมในระดับสากล

ผมพูดเสมอว่าชีวิตผมผ่านการรัฐประหารมา 5 ครั้ง ในเวลาเพียง 40 ปี มันมากเกินไปแล้วสำหรับประเทศไทย ที่อยู่ๆ ก็มีกระบวนการนอกกฎหมายมาขัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตย การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง นักการเมืองต้องถูกตรวจสอบโดยประชาชนและองค์กรตามกฎหมาย ไม่ใช่ด้วยคณะรัฐประหารที่ไม่มีใครตรวจสอบได้

ผู้ที่เรียกร้องการเลือกตั้ง ผู้ที่ออกมาแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพอันพึงมีของพลเมือง ไม่ควรถูกดำเนินคดี ตรงกันข้าม ผู้ก่อรัฐประหารและผู้ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่างหากที่เป็นฝ่ายต้องถูกดำเนินคดี ในอนาคตอันใกล้ มรดกของคณะรัฐประหารต้องถูกลบล้างได้โดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราทุกคน ทุกพรรคการเมือง ต้องร่วมกันปักธง สร้างบรรทัดฐานนี้ให้เป็นจริง เพื่อที่จะไม่มีใครกล้าทำรัฐประหารอีกต่อไป

อนาคตใหม่ที่ไม่มีรัฐประหาร คืออนาคตที่ประชาชนจะได้กำหนดชะตาของตนเอง คืออนาคตที่อำนาจสูงสุดเป็นของเราทุกคน



ที่มาภาพPPTV HD 36

เผยแพร่ครั้งแรกใน: เฟสบุ๊คแฟนเพจ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 ปี คสช. : 'สามัญชน-ครป.' จี้ประกาศวันเลือกตั้งที่ชัดเจนโดยเร็ว หยุดจำกัดสิทธิฯ ปชช.

Posted: 22 May 2018 03:27 AM PDT

ขบวนการสามัญชน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ชี้ว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาล้มเหลวเกือบสิ้นเชิง ส่วนปัญหาการทุจริต ยังเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ยังกีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ จี้ คสช. ประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอน-ชัดเจน หยุดจำกัดสิทธิฯ ปชช. 'ผสานวัฒนธรรม' ชี้ '4 ปีรัฐประหาร นิติรัฐสูญหาย เลือกตั้งคือทางออก' 

22 พ.ค.2561 เนื่องในในวาระครบรอบ 4 ปี การรัฐประหารโดย คสช. ขบวนการสามัญชน ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจให้กับประชาชนและจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม พร้อมทั้งหยุดการใช้อำนาจข่มขู่ คุกคาม และจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยทันที พร้อมระบุว่าการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเป็นการชุมนุมโดยสันติ ปราศจากอาวุธซึ่งเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และเป็นวิธีทางตามกระบวนการประชาธิปไตย จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐ ให้สิทธิแก่ผู้ชุมนุมอย่างเต็มที่ และไม่ใช้ความรุนแรงใดๆอันจะเป็นอันตรายแก่ผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด

รายละเอียดแถลงการณ์ : 

แถลงการณ์ขบวนการสามัญชน

เป็นเวลา 4 ปีแล้ว ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดยพลเอกประยุทธ์​ จันทร์โอชา เข้ายึดกุมอำนาจและบริหารประเทศภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร

รัฐบาล คสช. ได้ทำลายหลักการประชาธิปไตยลงอย่างราบคาบจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ และขัดกับหลักประชาธิปไตยสากล

รัฐบาล คสช. ยังได้ทำลายหลักสิทธิมนุษยชนสากลในทุกๆด้าน มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ข่มขู่ คุกคาม จับกุม สอดแนม และละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้รัฐบาล คสช. ยังออกกฎหมายและคำสั่งที่ขัดกับหลักนิติรัฐอีกนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะการใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่หัวหน้ารัฐบาล ทำให้ขาดการตรวจสอบ ไร้ซึ่งความโปร่งใส และไร้ความยุติธรรม

ขบวนการสามัญชน เกิดจากการรวมตัวของประชาชน เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักศึกษา และภาคประชาสังคม ผู้ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยฐานราก สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม ขอแถลงการณ์ให้รัฐบาลคืนอำนาจให้กับประชาชนและจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม พร้อมทั้งหยุดการใช้อำนาจข่มขู่ คุกคาม และจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยทันที

สำหรับการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันนี้ ขบวนการสามัญชนเห็นว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติ ปราศจากอาวุธซึ่งเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และเป็นวิธีทางตามกระบวนการประชาธิปไตย เราจึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐ ให้สิทธิแก่ผู้ชุมนุมอย่างเต็มที่ และไม่ใช้ความรุนแรงใดๆอันจะเป็นอันตรายแก่ผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด

เราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ใช่จากการปกครองด้วยระบอบเผด็จการ หากแต่คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม

"เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ"

ขบวนการสามัญชน
22 พฤษภาคม 2561

 
 

ครป. จี้ คสช. ประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนและชัดเจน

ขณะที่ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)  ออกแถลงการณ์ เรื่อง "4 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับการปฏิรูปประเทศไทย" ระบุว่า การปฏิรูปประเทศในสถานการณ์อนาคตข้างหน้า เราไม่อาจฝากความหวังไว้กับกลไกของรัฐ คสช. ได้อีกต่อไป ดังนั้น การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤติที่สังคมไทยเผชิญอยู่นั้น จึงเป็นภารกิจของประชาชนที่ต้องทำให้การปฏิรูปเป็นจริง เราจึงขอเรียกร้องให้ คสช. ดำเนินการตามสัญญาด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว เร่งประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยต่อไป
 
โดยมีรายละเอียดดังนี้ : 
 
แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)  เรื่อง "4 ปี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับการปฏิรูปประเทศไทย"
 
นับเป็นเวลา 4 ปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศโดยอ้างว่า "สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชน  ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มขยายตัวจนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ" เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557  นั้น
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแสดงท่าทีและความเห็นต่อกรณีดังกล่าวดังนี้
 
1. เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศ อันหมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศในทุกด้าน ให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งป้องกันการผูกขาด แก้ปัญหาการทุจริตฉ้อฉล และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม อันเป็นข้อเสนอประชาชนก่อนจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น และต้องถือเป็นภารกิจหลักของ คสช. และรัฐบาลทุกชุดที่จะต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่ช่วงที่ผ่านมา พบกว่าการปฏิรูปประเทศของ คสช. มีแต่การแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ และแผนงานที่ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก  แต่ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด ถือว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาล้มเหลวเกือบสิ้นเชิง
 
2. เราเห็นว่า ปัญหาการทุจริต ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลอันเป็นโรคร้ายของสังคมไทยในยุครัฐบาลเลือกตั้งก็ยังเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการโกงเงินคนจนที่ลุกลามกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ กรณีเงินทอนวัด กรณีกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้ รายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือTI) ระบุว่า แทบไม่เห็นผลงานการปราบปรามทุจริตของคณะรัฐประหารไทยว่า มีความแตกต่างจากก่อนที่จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ TI ได้แถลงถึง ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก (Corruption Perception Index - CPI) ประจำปี 2560 ผลปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 96 ของ 180 ประเทศทั่วโลกได้คะแนน CPI 37 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ได้ 43 คะแนน
 
ทั้งนี้เพราะสิ่งที่ คสช. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตในช่วงที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการแบบฉาบฉวย แค่การโยกย้ายข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ไม่ได้มีมาตรเด็ดขาดในการเอาคนกระทำผิดมาลงโทษ อีกทั้งยังกีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย แม้กระทั่งการข่มขู่คุกคามประชาชนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการ SLAPP (Strategic Litigation against People Participation) หรือการฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชน ในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองของประชาชนด้วย
 
3. เราเห็นว่า การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ผ่านมา ก่อให้เกิดสภาพ "รวยกระจุก จนกระจาย" กลุ่มธุรกิจหรือนายทุนรายใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ผ่านมามากกว่าคนยากจน ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังปรากฏตามตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อปี 2560) ที่ระบุว่า ธุรกิจขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย เพียง 0.3 % ของประเทศ แต่มีสัดส่วนรายได้จำนวนมากถึง 50.7 % ของรายได้ประชาชาติทั้งหมด ขณะที่ภาคธุรกิจขนาดกลางจำนวน 0.51 % มีสัดส่วนรายได้ 14.6 % และธุรกิจรายย่อย 99.19 % แต่มีรายได้ร่วมกัน 34.7 % นั่นหมายความว่า คนส่วนน้อยควบคุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น ดังที่ องค์กรการกุศล OXFAM ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้แย่ที่สุดในโลกเป็นรองแค่รัสเซียและอินเดียเท่านั้น นั่นหมายถึงรัฐบาลล้มเหลวในการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนทั้งประเทศ
 
4. เราเห็นว่า 4 ปีที่ผ่านมาของการปกครองประเทศ พบว่ามีคำสั่งหัวหน้า คสช. จำนวนมากที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะคำสั่งฯ ที่ 3/2558 เป็นคำสั่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ ได้ให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน แต่ที่ผ่านมาการบังคับใช้คำสั่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม อีกทั้งการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้มีหลักการว่า "การชุมนุมหรือการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลักษณะใด สามารถกระทำได้ หรือลักษณะใด ไม่สามารถกระทำได้" ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมักวินิจฉัยโดยอ้างเหตุความมั่นคงเป็นหลัก ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
 
ครป.เห็นว่า การปฏิรูปประเทศในสถานการณ์อนาคตข้างหน้า เราไม่อาจฝากความหวังไว้กับกลไกของรัฐ คสช. ได้อีกต่อไป ดังนั้น การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤติที่สังคมไทยเผชิญอยู่นั้น จึงเป็นภารกิจของประชาชนที่ต้องทำให้การปฏิรูปเป็นจริง เราจึงขอเรียกร้องให้ คสช. ดำเนินการตามสัญญาด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็ว เร่งประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยต่อไป
 
ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังประชาชน
 
แถลงโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
 
แถลงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561

 

'ผสานวัฒนธรรม' ชี้ '4 ปีรัฐประหาร นิติรัฐสูญหาย เลือกตั้งคือทางออก' 

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์ ชื่อว่า '4 ปีรัฐประหาร นิติรัฐสูญหาย เลือกตั้งคือทางออก' เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรวมกลุ่ม การแสดงออกทางความคิดเห็นของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งและของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการแสดงออกทางการเมืองในวาระครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร การใช้เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่มากเกินความจำเป็นก็อาจจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อภาพพจน์ของประเทศยิ่งขึ้น อีกทั้งรัฐบาลและผู้นำคสช.บางคนต้องยุติการข่มขู่หรืออ้างประกาศคำสั่งของคสช.ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมมากีดกั้นการแสดงออกโดยชอบธรรมของประชาช

สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสถานที่เริ่มต้นชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้น  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอให้มหาวิทยาลัยและบุคลากรอำนวยความสะดวกให้กับผู้ชุมนุมเพื่อให้สามารถแสดงเจตนารมย์ได้อย่างสันติ  โดยไม่กีดกั้นและแสดงอคติต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อันเป็นประเพณีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด

"ยิ่งไปกว่านั้นที่ผ่านมา นอกจากยึดเอาประชาธิปไตยและสิทธิในการเลือกตั้งของประชาชนไปแล้ว คสช. ยังได้ทำลายหลักการทางกฎหมายและนิติธรรม นิติรัฐของประเทศลงอย่างสิ้นเชิง ด้วยการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไร้การตรวจสอบถ่วงดุล และลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ทั้งไม่มีการดำเนินการใดๆที่เหมาะสมเพียงพอที่เอื้อให้เกิดความปรองดองของคนในชาติดังที่เป็นข้ออ้างในการก่อการรัฐประหาร  มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่ารัฐบาล และคสช.ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อคืนประชาธิปไตยและนำไปสู่การเลือกตั้งดังที่ได้สัญญาไว้ เพื่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามารถเข้ามาแก้ไขสถานการณ์อย่างชอบธรรม  สร้างประชาธิปไตย และฟื้นฟูความเข้มแข็งแก่นิติธรรม นิติรัฐต่อไป" แถลงการณ์มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยูเอ็นเรียกร้องให้ปล่อยตัว "คนอยากเลือกตั้ง"

Posted: 22 May 2018 03:04 AM PDT

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมเหล่านี้โดยพลัน ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้เรียกร้องรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องให้เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและชุมนุมอย่างสงบในฐานะที่เป็นรัฐภาคีกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและพลเมือง

22 พ.ค. 2561 กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุม "คนอยากเลือกตั้ง" ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ใกล้ที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน นั้น ล่าสุดในเพจของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ลงประกาศมีรายละเอียดดังนี้

ระหว่างวันที่ 21 ถึง 22 พฤษภาคม สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ สังเกตการณ์ชุมนุมอย่างสงบที่จัดโดย "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองและนักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่ได้จัดการชุมนุมอย่างต่อเนื่องเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งปลายปี 2561 ผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติได้ประสานงานและพูดคุยกับผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทน "เครือข่ายสังเกตการณ์เลือกตั้งและการบันทึกการชุมนุมสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน" ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ทำงานร่วมอย่างใกล้ชิดได้ลงพื้นที่สังเกตการณ์เช่นเดียวกัน

การชุมนุมครั้งนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดขึ้นเพื่อรำลึกสีปีรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในตอนเย็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้นำของกลุ่มฯ และนักกิจกรรมจำนวนสิบเอ็ดคน พวกเขาจะถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจชนะสงคราม แกนนำห้าคนได้ถูกร้องทุกข์โดย คสช. ว่าละเมิดคำสั่งที่ 5/2558 ที่ห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมเหล่านี้โดยพลัน ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้เรียกร้องรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องให้เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและชุมนุมอย่างสงบในฐานะที่เป็นรัฐภาคีกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและพลเมือง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' ยันเลือกตั้ง ต้นปี 62 ไม่มีเร็วกว่านั้น ย้ำที่ช้าเป็นเรื่องความพร้อมของกฎหมาย

Posted: 22 May 2018 02:09 AM PDT

พล.อ.ประยุทธ์ ยันเลือกตั้งเป็นไปตามขั้นตอน คือต้นปี 62 ไม่มีเร็วกว่านั้น ระบุที่มันล่าช้าไป 3-4 เดือนเป็นเรื่องความพร้อมของกฎหมาย ดำเนินคดีต่อ 8 แกนนำพรรคเพื่อไทยเป็นเรื่องของกฎหมาย ขณะที่ 'ประวิตร' ย้ำพร้อมดำเนินการกับคนอยากเลือกตั้ง หากทำผิดกฎหมาย

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

22 พ.ค.2561 เนื่องในวันครบรอบ 4 ปี การทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ชุมนุมเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.นี้ว่าก็เรียกร้องไป เรียกร้องได้ ท่านอ้างว่าเป็นการเรียกร้องตามรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายมีอยู่ ฉะนั้นการให้เรียกร้องได้ ตรงไหนที่ไหน กฎหมายการชุมนุมว่าอย่างไรก็ไปว่ากันมาให้ครบ

"ผมบอกแล้วว่าเป็นไปตามขั้นตอนของผม คือต้นปี 62 ไม่มีเร็วกว่านั้น ผมก็ต้องยืนยันในหลักการของผม ที่มันล่าช้าไป 3-4 เดือนเป็นเรื่องความพร้อมของกฎหมาย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ความเห็นเกี่ยวกับกระแสวิจารณ์การที่ คสช.แจ้งความดำเนินคดีต่อ 8 แกนนำพรรคเพื่อไทยในขณะที่พรรคและกลุ่มการเมืองอื่นก็มีการจัดแถลงข่าวทำนองเดียวกันนั้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อันนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย ผิดกฎหมายก็คือผิดกฎหมาย แต่เรื่องปลดล็อกก็คือเรื่องปลดล็อก มันคนละเรื่องกัน อย่าเอาเรื่องนี้ไปพันเรื่องนู้น มันจะยิ่งยุ่งกันใหญ่จะเป็นการขยายความขัดแย้งไปเรื่อย ไม่เกิดประโยชน์ต่อใครทั้งสิ้น

"ฉะนั้น เรื่องการประท้วงอะไรตอนนี้ก็พยายามผ่อนผันให้ตามที่เราสามารถให้ได้ เราไม่ต้องการจะปิดกั้น วันนี้อยากจะบอกว่าผมพูดหลายครั้งแล้ว คนเหล่านี้ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นหลายครั้งแล้ว รัฐบาลก็รับมาพิจารณาและดำเนินการในสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่เขาก็ยังทำต่อไปเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่ากฎหมายมีอยู่ทุกฉบับ พ.ร.บ.ต่างๆ เยอะแยะไปหมดแล้ว วันนี้ศาลปกครองสูงสุดก็ตัดสินมาแล้วว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แล้วจะให้ผมทำอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติเจ้าหน้าที่ก็โดนละเว้น จะมาอ้างว่าสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวคงไม่ได้ ผมบอกแล้วเราอย่าทะเลาะเรื่องรัฐธรรมนูญกันต่อไปอีก ทั้งวันนี้และวันหน้า มันเป็นคนละเรื่องกัน ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย ใครมาเดินก็ไม่ได้ถ้ามันผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็แล้วแต่จะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายทั้งหมดผมไม่ต้องการให้กลับไปที่เดิม" หัวหน้า คสช. กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ถ้าเรามีการเดินขบวนที่ไม่มีวันสิ้นสุด ภาพรวมเศษรฐกิจที่กำลังเติบโตสิ่งเหล่านี้จะหายไปเรื่อยๆ แล้วจะทำอย่างไรตัวเลขต่างๆ ก็จะตกลง สิ่งต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น ความมั่นคง ปลอดภัยชีวิตทรัพย์สินสำคัญที่สุด ฝากสื่อช่วยกันพิจารณาตรงนี้ด้วยผมไม่อยากให้ไปสัมภาษณ์เพราะเป็นการขยายความต้องฟังเหตุผลที่รัฐบาลพูดบ้างว่าเราต้องการอะไรกันในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไปปิดกั้น ตอนนี้กำลังไปตรวจสอบทั้งหมดไม่ว่าจะการ์ดมีคดีความในส่วนตรงไหนหรือไม่

"รัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอากฎหมายไปบังคับใช้กับคนที่เห็นต่าง เห็นต่างได้ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย จำคำพูดผมไว้นะ ฉะนั้น การดำเนินคดีต่างๆ ก็จะต้องเอาจริงเอาจังให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นเราจะเสียหาย ผมให้ประเทศเสียหายไม่ได้ อะไรที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นอนาคตของประเทศในวันข้างหน้าทั้งสิ้น ฝากทุกคนไว้ด้วย ผมยืนยันว่าทุกเรื่องรับทราบหมด ใครจะร้องเรียนอะไรต่างๆ เพราะผมติดตามหลายช่องทางด้วยกัน และนำไปสู่การปฏิบัติและแก้ปัญหาสั่งการใน ครม.ให้ไปหามาตรการที่เหมาะสมนั่นคือรัฐบาลนี้ ฉะนั้น อยากให้เข้าใจตรงนี้ด้วย" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว พร้อมระบุว่าขอบคุณ สวัสดี ขอให้รักษาสุขภาพด้วย ฝนตกไม่เป็นหวัด

ต่อคำถามถึงสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ เคยกล่าวว่า 4 ปีแป๊บเดียวยังมีปัญหาต้องแก้อีกเยอะ คิดว่าต้องใช้เวลาอีกกี่ปีในการแก้ปัญหานั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ให้ไปถามรัฐบาลในวันข้างหน้า

'ประวิตร' ย้ำพร้อมดำเนินการกับคนอยากเลือกตั้ง หากทำผิดกฎหมาย

ขณะที่ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ว่า ล่าสุดกลุ่มผู้ชุมนุมได้ติดต่อขอมาอ่านแถลงการณ์ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมระบุว่าจะเลิกชุมนุมแล้ว ซึ่งตนมองว่าสถานการณ์จะยุติในเร็ว ๆ นี้

"ส่วนตัวไม่รู้สึกกังวล หากผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมายต้องดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุบานปลาย ขณะนี้ประเทศชาติสงบดีอยู่แล้ว และขอยืนยันว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562" พล.อ.ประวิตร กล่าว

ส่วนข้อเรียกร้องของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ให้กำหนดกรอบการเลือกตั้งอย่างชัดเจนภายในเดือนมิถุนายนนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดกรอบการเลือกตั้งไว้อย่างชัดเจนแล้ว

"ผมเชื่อว่าการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะไม่ยืดเยื้อ เพราะหากทำผิดกฎหมาย ก็จะจับกุมทันที โดยเฉพาะแกนนำ และขอยืนยันว่าการรักษาความปลอดภัยในวันนี้ ไม่ใช่จุดแข็งของ คสช. แต่เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยให้บ้านเมือง และยังไม่ได้รับรายงานมีกลุ่มอื่น ๆ มาร่วมชุมนุมเพิ่มเติม ส่วนกรณีที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ เป็นลมหมดสติกลางกลุ่มผู้ชุมนุม ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นลมจริงหรือไม่ ส่วน 5 แกนนำที่ละเมิดคำสั่ง คสช.จะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ต้องดำเนินตามกฎหมาย" พล.อ.ประวิตร กล่าว

ส่วนกระแสข่าวการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างการเดินทางมาทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร ยอมรับว่า มีการจ้างให้สร้างสถานการณ์ และก่อกวน แต่ไม่ขอเปิดเผยว่าใครเป็นคนจ้าง พร้อมกันนี้ ยังปฏิเสธถึงการพิจารณาแก้ไขคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 โดยรอให้ถึงเดือนมิถุนายนก่อน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกัดดาวกระจายแกนนำ "คนอยากเลือกตั้ง" ที่มัฆวานก่อนเข้ามอบตัว

Posted: 22 May 2018 01:52 AM PDT

กลุ่มผู้ชุมนุม "คนอยากเลือกตั้ง" ส่วนหนึ่งเคลื่อนขบวนแบบดาวกระจายจากหน้า ม.ธรรมศาสตร์ มุ่งหน้าทำเนียบทวงวันเลือกตั้งจากรัฐบาล คสช. ก่อนที่ตำรวจจะสกัด-ล้อมกรอบหน้ายูเอ็น เชิงสะพานมัฆวาน โดยหลังแกนนำอ่านแถลงการณ์จบได้ยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ ล่าสุดมีผู้ถูกควบคุมตัว 15 คน

คลิปแกนนำ "คนอยากเลือกตั้ง" ดาวกระจายมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาลก่อนถูกสกัดที่สะพานมัฆวาน โดยสุดท้ายแกนนำได้อ่านแถลงการณ์และประกาศมอบตัว

แกนนำ "คนอยากเลือกตั้ง" ที่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำโดยรังสิมันต์ โรม สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ประกาศยุติการชุมนุม

22 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ในช่วงบ่ายของการชุมนุม "คนอยากเลือกตั้ง" ในโอกาสครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร คสช. ซึ่งตั้งแต่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแนวสกัดไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งสู่ทำเนียบรัฐบาลนั้น

ศรีวราห์ตรวจพื้นที่ชุมนุม
ลั่นไม่ให้เคลื่อนไปไหน คสช. แจ้งความหมดแล้ว

ทั้งนี้มีรายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เดินทางมาตรวจพื้นที่ชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝั่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าไม่สามารถให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนไปไหนได้ เนื่องจากทางฝ่ายกฎหมาย คสช.ได้ไปแจ้งความไว้กับแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้งหมดแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา

ตอนนี้อย่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแบกภาระไปมากกว่านี้ โดยจะตรึงกำลังเจ้าหน้านี้ไว้ตลอด หากผู้ชุมนุมป่วยหรือเจ็บ ต้องส่งแพทย์มาดูแลทันที ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้านี้จะไม่มีการรุกเข้าหากกลุ่มผู้ชุมนุมจะเรียกร้องอะไร ก็สามารถเรียกร้องมาตรงนี้ยังพออนุโลมได้ หากยังอยู่ในกรอบกฎหมายทางเจ้าหน้าที่ก็จะลดกำลังลง ซึ่งขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายไปมาก หากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ใช้เครื่องทุ่นแรง ทางตนก็สบายใจ

มีรายงานด้วยว่าในช่วงที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ เดินทางกลับมีประชาชนประมาณ 30 คน รอโห่ไล่ด้วย

 

อานนท์ นำภา ดาวกระจายมุ่งหน้าทำเนียบ แต่ถูกสกัดที่มัฆวาน

ต่อมาเวลาประมาณ 13.30 น. อานนท์ นำภา และกลุ่มผู้ชุมนุม "คนอยากเลือกตั้ง" ส่วนหนึ่งเดินเท้าเคลื่อนขบวนแบบดาวกระจายออกจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าสู่ ถ.ราชดำเนิน มุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดวันเลือกตั้งภายในปีนี้

ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแนวสกัดใหม่ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ บริเวณสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นจุดที่ห่างจากทำเนียบรัฐบาลประมาณ 300 เมตร

โดยเริ่มแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาเจรจาให้ผู้ชุมนุมอ่านแถลงการณ์บริเวณแนวเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ และเตือนว่าหากเคลื่อนไปข้างหน้าจะดำเนินคดีทันที โดยในเวลาต่อมา ณัฐฐา มหัทนา ได้เดินทางมาสมทบพร้อมผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผกก.สน.ดุสิต ได้ประกาศบนรถขยายเสียงให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การชุมนุมดังกล่าวขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ขอให้แกนนำ ยุติการชุมนุมดังกล่าวและนำมวลชนออกจากพื้นที่

ตำรวจตั้งแถวสกัด-ผลักดันหน้ายูเอ็น
แกนนำอ่านแถลงการณ์-ก่อนประกาศมอบตัว

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งแถวและพยายามเข้าควบคุมตัวผู้ชุมนุมบริเวณด้านหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ

ทั้งนี้อานนท์ นำภา ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมนั่งลงและอย่าขัดขืนหากเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรง โดยแกนนำจะยอมมอบตัวกับตำรวจไม่ตอบโต้ ทั้งนี้เมื่อตำรวจเคลื่อนกำลังเข้าใกล้มีการยื้อยุดฉุดกระชากและพยายามแยกแกนนำออกจากผู้ชุมนุม จนเหลือแกนนำในวงล้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้แกนนำได้ขออ่านแถลงการณ์ก่อนยอมมอบตัวกับตำรวจ

โดยแถลงการณ์ของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งมีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

ประชาชนชาวไทยทุกท่าน

พวกเราซึ่งเป็นหนึ่งในประชาชนชาวไทยเหมือนกับท่านทั้งหลาย ได้รวมตัวกันในนาม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" เพื่อเป็นเสียงป่าวประกาศแทนประชาชนทั่วประเทศ ว่าไม่ต้องการเห็นเผด็จการ คสช. มีอำนาจครอบงำสังคมไทยอีกต่อไป ลุกขึ้นมาแสดงพลังต่อต้านการเลื่อนการเลือกตั้งและความพยายามสืบทอดอำนาจของ คสช. มาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนมกราคม 2561

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 4 เดือน พวกเราจัดกิจกรรมแสดงพลังมาแล้ว 6 ครั้ง

ในทุกครั้งพวกเราได้ส่งเสียงนำเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งและคืนอำนาจกลับสู่ประชาชนอย่างแท้จริง แต่ทว่าไม่มีครั้งไหนเลยที่ คสช. และบรรดาบริวารทั้งหลายรับฟังและนำไปปฏิบัติ มิใช่เพราะข้อเสนอของพวกเราเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ แต่เป็นเพราะหูของพวกเขาได้ยินแต่คำเย้ายวนจากปีศาจแห่งความกระหายอำนาจที่อยู่ภายในจิตใจของตนเองอยู่ตลอดเวลา

ในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เราสามารถสรุปได้อย่างหนึ่งว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมาคือ 4 ปีแห่งการบ่อนทำลายชาติโดยรัฐบาล คสช. อันประกอบไปด้วยการบ่อนทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และบ่อนทำลายอนาคต

ในด้านหลักนิติรัฐนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนนั้น รัฐบาล คสช. ได้สร้างกลไกในรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้ตนใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ โดยมีมาตรา 44 ที่สถาปนาอำนาจเบ็ดเสร็จให้หัวหน้า คสช. ในการออกคำสั่งใดๆ ก็ได้ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตาม ซึ่งอำนาจเหล่านี้ รัฐธรรมนูญที่พวกพ้องของ คสช. ร่างขึ้น ได้รับรองเอาไว้ในมาตรา 279 มากไปกว่านั้น มาตราดังกล่าวยังได้รับรองการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้ ซึ่งหมายความว่า ความเลวร้ายใดๆ ที่ควรถูกถือกันว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปรกติ ได้ถูกแปรสภาพให้เป็นเสมือนเป็นสิ่งปรกติ อันรวมถึงการนิรโทษกรรมตัวเอง โดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อผลกรรมที่เคยก่อขึ้น

นอกจากนี้บทบัญญัติดังกล่าวยังได้ส่งผลกระทบที่ทำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบมีอำนาจในการออกคำสั่งใดๆ เพื่อเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน เพื่อให้พรรคการเมืองอ่อนแอ โยกย้ายข้าราชการเพื่อสนับสนุนการใช้อำนาจตามอำเภอใจ และส่งเสริมกลไกในการสืบทอดอำนาจ มีการใช้องค์กรอิสระเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของอำนาจของตัวเอง ดังตัวอย่างการอนุมัติให้กรรมการ ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติยังคงดำรงตำแหน่งต่อไป เพื่อทำให้การตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นของพวกพ้องในรัฐบาล คสช. ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ไม่สามารถเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ดังที่ปรากฎในกรณีนาฬิกา 25 เรือนของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ขณะเดียวกัน ประชาชนและสื่อมวลชนก็ได้สูญเสียเสรีภาพในการแสดงออก เพราะการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ถูกตีความว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ มีการเรียกรายงานตัว ปรับทัศนคติ ข่มขู่คุกคามและติดตามกว่า 1,000 ราย ปิดกั้นและแทรกแซงการจัดกิจกรรมซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางวิชาการกว่า 300 ครั้ง ประชาชนถูกดำเนินคดีข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกือบ 400 ราย ถูกดำเนินคดีข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะและข้อหายุยงปลุกปั่นรวมกว่า 300 คน พลเรือนถูกดำเนินคดีในศาลทหารกว่า 2,000 คน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย

ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล คสช. ได้ใช้วิธีการหว่านงบประมาณในลักษณะแจกจ่ายเพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การดำเนินการโดยที่ขาดสติปัญญาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดรายจ่ายเกินรายได้และทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6 แสนล้านบาทในที่สุด ซ้ำร้ายยังมีการจัดสรรงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับกองทัพเป็นอันดับหนึ่ง จึงได้เห็นการเพิ่มงบประมาณให้กับกองทัพ การใช้งบมหาศาลในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หรือแม้แต่การเกณฑ์ทหารซึ่งควรถูกยกเลิกไปตามบริบทที่เปลี่ยนไปของสงครามทั่วโลกแล้ว ยังไม่นับรวมถึงการทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านลงไปกับโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีได้เดินสายหาเสียง เพื่อปูทางสู่การสืบทอดอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีนอกครรลองประชาธิปไตยผ่านงบประมาณภาษีของประชาชนต่อไป

นอกจากนั้นรัฐบาลเผด็จการยังบ่อนทำลายอนาคต นี่คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่ คสช. ได้มอบให้ไว้ต่อประชาชน รัฐธรรมนูญอันเป็นมรดกของ คสช. นั้นได้มีการวางสารพัดกับดักเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าภาคการเมืองและภาคประชาชนจะอ่อนแอ จนไม่สามารถเป็นปฏิปักษ์กับอำนาจเผด็จการได้ กล่าวคือ ได้มีวางกับดักที่เปรียบเสมือนการยึดอนาคตของประเทศชาติด้วยการร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม โดยมี ส.ว. จำนวน 250 คนที่เป็นสมัครพรรคพวกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจในการกำกับดูแล หมายความว่ากลไกเหล่านี้ก็จะคอยปกป้องคุ้มครองระบอบ คสช. ในดำรงอยู่สืบทอดอำนาจต่อไปอีกแสนนาน

ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงขอสู้อีกครั้ง ด้วยการเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล สถานที่ซึ่ง คสช. ได้ยึดครองและใช้เป็นฐานในการวางไข่เผด็จการมากว่า 4 ปี เข้าไปให้ใกล้พวกเขามากที่สุดด้วยหวังที่จะให้ได้ยินเสียงของประชาชนเสียที แม้ในวันนี้พวกเราจะไปไม่ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ แต่พวกเราจะยังขอตะโกนบอกย้ำกับพวกเขาอีกครั้งด้วยเสียงที่ดังที่สุดเท่าที่จะเปล่งออกมาได้ ถึงจุดยืนของพวกเราว่า

1. การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ตามที่ คสช. เคยให้คำมั่นไว้

2. คสช. จะต้องยุติความพยายามใดๆ ที่จะสืบทอดอำนาจหรือเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองต่อไปภายหลังการเลือกตั้ง

3. จะต้องปลดอาวุธ คสช. โดยการยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆ ของ คสช. ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรวมถึงประกาศหรือคำสั่งที่ขัดขวางการดำเนินการต่างๆ ของพรรคการเมืองเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งโดยทันที

4. คสช. จะต้องยุติการดำรงอยู่ของตัวเอง และเปลี่ยนสถานะของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐบาลรักษาการโดยทันที เพื่อสร้างหลักประกันในการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงจาก คสช.

5. กองทัพจะต้องยุติการสนับสนุน คสช. ในทุกประการโดยทันที เพื่อไม่ให้ คสช. มีขุมกำลังในการสืบทอดอำนาจเผด็จการได้อีก

ขอประชาชนชาวไทยทุกคนจงเป็นพยาน ว่าพวกเราได้พยายามทุกวิถีทางแล้วในการเรียกร้องให้ คสช. หยุดความพยายามในการเลื่อนการเลือกตั้งและสืบทอดอำนาจแต่โดยดี หาก คสช. ยังคงดันทุรังที่จะสานต่อความทะเยอทะยานของตนต่อไป พวกเราก็จะเดินหน้าต่อไปเพื่อโค่นล้มมันให้จงได้เช่นกัน

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ

กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง

แถลง ณ หน้าอาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ จุดที่ใกล้ทำเนียบรัฐบาลมากที่สุดเท่าที่พวกเราไปถึง

22 พฤษภาคม 2561

000

ชลธิชา แจ้งเร็ว: "เราได้พยายามต่อสู้อย่างถึงที่สุดแล้ว"

หลังอ่านแถลงการณ์ ชลธิชา แจ้งเร็วกล่าวด้วยว่า "ขอให้ประชาชนชาวไทย โปรดจงจำไว้ว่า เราได้พยายามต่อสู้อย่างถึงที่สุดแล้ว"

โดยในเวลา 15.20 น. ภายหลังแกนนำคนอยากเลือกตั้ง อ่านแถลงการณ์เสร็จ ทั้งหมดได้เดินเข้ารถควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ตำรวจประกาศให้ผู้รวมชุมนุมทั้งหมดสลายตัว และตำรวจได้เปิดเส้นทางจราจร

ทั้งนี้แกนนำที่มอบตัวกับตำรวจที่ ถ.ราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ อาทิ อานนท์ นำภา, ณัฏฐา มหัทธนา, ชลธิชา แจ้งเร็ว ฯลฯ เบื้องต้นทราบว่าควบคุมตัวที่ห้องประชุมชั้น 4 สน.พญาไท

แกนนำที่หน้า ม.ธรรมศาสตร์ ประกาศมอบตัว
สิรวิชญ์ย้ำวันนี้ยังไม่ยอมแพ้ วันหน้าขอสู้เผด็จการต่อไป

ส่วนแกนนำที่อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิมันต์ โรม, สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ปิยรัฐ จงเทพ ฯลฯ ซึ่งก่อนหน้านี้เตรียมเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ อย่างไรก็ตามหลังมีการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแนวสกัด และมีการเจรจาหลายหน

ในที่สุดเวลาประมาณ 15.30 น. แกนนำที่อยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศขอยุติการชุมนุม และมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยขอให้ตำรวจเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับบ้าน

ทั้งนี้สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว กล่าวกับผู้ชุมนุมว่าวันนี้ไม่ใช่การยอมแพ้ วันข้างหน้ายังต้องสู้กับเผด็จการทหารต่อไป โดยเขากล่าวปลอบใจผู้ชุมนุมที่เหลือให้เดินทางกลับบ้าน หรือหากใครจะไปติดตามการดำเนินคดีก็ขอให้เดินทางไปที่สถานีตำรวจอย่างสงบ ส่วนรังสิมันต์ โรม กล่าวว่าขอให้การชู 3 นิ้วเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการตลอดไป

ทั้งนี้มีแกนนำและผู้ร่วมชุมนุม "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ถูกควบคุมตัวไปที่ สน.พญาไท 10 คน และมีผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวไปที่ สน.ชนะสงครามอีก 4 คน รวมแล้วขณะนี้มีผู้ถูกควบคุมตัว 14 คน

โดยรายชื่อผู้ถูกควบคุมตัวที่ สน.พญาไท 10 คน ได้แก่  1. อานนท์ นำภา 2. ชลธิชา แจ้งเร็ว  3. ณัฏฐา มหัทธนา  4. เอกชัย หงส์กังวาน 5. โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ 6. คีรี ขันทอง  7. พุทไธสิงห์ พิมพ์จันทร์ 8. โรจน์ ตรงงามรักษ์ 9. ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม 10. ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม ส่วนรายชื่อผู้ถูกควบคุมตัวที่ สน.ชนะสงคราม 4 คน ได้แก่  1. รังสิมันต์ โรม 2. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 3. ปิยรัฐ จงเทพ 4. วิเศษณ์ สังขวิศิษฎ์

 

 

มีรายงานจาก iLaw ด้วยว่ามีนักกิจกรรมจากกลุ่ม YPD ถูกตำรวจควบคุมตัวอีก 1 ราย หลังสวมหน้ากาก พล.อ.ประยุทธ์ ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ โดยถูกควบคุมตัวไปที่ สน.ลุมพินี ขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีการตั้งข้อกล่าวหาใดหรือไม่

ตั้ง 3 ข้อหาแกนนำคนอยากเลือกตั้ง

เวลาประมาณ 17.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา รองผบช.ภ.1 พล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา รองผบช.น. พ.ต.อ.ชยุต มารยาทตร์ รองผบก.สส.ภ.1 พ.ต.อ.จักรกริศน์ โฉสูงเนิน ผกก.สน.ชนะสงคราม พร้อมคณะเดินทางมาติดตามความคืบหน้า

โดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ เปิดเผยว่าแจ้งข้อหาผู้ต้องหาทั้งหมด 3 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่น  มาตรา 215 ข้อหาผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปหรือกระทำการให้เกิดตวามวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ร่วมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ต้องหารายหนึ่งที่เป็นผู้ใช้คีบตัดแม่กุญแจ ประตู 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องรอให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แจ้งดำเนินคดีก่อนถึงจะสามารถแจ้งข้อหา ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ และลักทรัพย์ในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตามการสอบปากคำต้องใช้ระยะเวลาสักระยะ หากทำการสอบสวนเสร็จสิ้นจะควบคุมตัวแกนนำไปขออำนาจศาลฝากขัง ส่วนพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากก่อเหตุลักษณะดังกล่าวมาหลายครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิทธิฯ ร้อง ยุติการดำเนินคดีต่อ 'ไทยพีบีเอส-ผู้สื่อข่าว' ปมเสนอข่าวเหมื่องแร่ จ.เลย

Posted: 22 May 2018 12:01 AM PDT

องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อ 'ไทยพีบีเอส-ผู้สื่อข่าว' ปมคลิปข่าวของนักข่าวพลเมือง เสนอกรณีเหมืองแร่ จ.เลย ชี้เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก

ภาพขุมเหมือง เหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 (แฟ้มภาพประชาไท)

เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights) ซึ่งเป็นองค์กรทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าว โดยระบุว่า ทางการไทยและบริษัททุ่งคำ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการเหมืองทองคำ ควรถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาโดยทันที ต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และผู้สื่อข่าวชาวไทย เนื่องจากศาลอาญามีกำหนดเริ่มการพิจารณาคดีอีกครั้งต่อสำนักข่าวและผู้สื่อข่าว หลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้กลับคำตัดสินเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2561 โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้พิจารณายกคำร้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง

โดย 21 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญา รัชดาภิเษก นัดพร้อมเพื่อเตรียมเริ่มพิจารณาคดี และกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ยในวันที่ 13 ก.ค. 2561 

องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ ระบุเหตุผลในการเรียกร้องให้ถอนฟ้องว่า เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 34 และ 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และข้อ 19 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอาจกระทำได้ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ต้องได้สัดส่วน และจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ชอบธรรม การกำหนดโทษจำคุกในคดีหมิ่นประมาทถือเป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายนี้ ทางการไทยควรลดการเอาผิดทางอาญา ถอนฟ้องคดีอาญาต่อผู้ซึ่งใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของตนอย่างชอบธรรม และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรธุรกิจใช้ประโยชน์จากกฎหมายนี้อย่างมิชอบและปฏิบัติมิชอบต่อชุมชน

สำหรับคดีนี้สืบเนื่องมาจากคลิปข่าวของนักข่าวพลเมือง ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างการเข้าค่ายเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม อ.วังสะพุง จ.เลย ในคลิปดังกล่าว เด็กนักเรียนหญิงอายุ 15 ปี จากหมู่บ้านใกล้กับเหมืองของบริษัท ทุ่งคำฯ กล่าวหาว่าหมู่บ้านในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเหมืองทองคำ บริษัท ทุ่งคำ จำกัดได้ฟ้องคดีต่อเด็กนักเรียนหญิง รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานีเนื่องจากรายงานข่าวชิ้นนี้ โดยในการฟ้องคดีต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานี ทางบริษัทได้เรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท เนื่องจากการเสียชื่อเสียงของตน และให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นเวลา 5 ปี ด้วย

รายละเอียดแถลงการณ์ : 

ประเทศไทย: ยุติการดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าว

การพิจารณาคดีหมิ่นประมาททางอาญาจะเริ่มขึ้นในวันนี้

(กรุงเทพฯ 21 พฤษภาคม 2561) ทางการไทยและบริษัททุ่งคำ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการเหมืองทองคำ ควรถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาโดยทันที ต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และผู้สื่อข่าวชาวไทย ฟอร์ตี้ฟายไรต์กล่าวในวันนี้ ศาลอาญามีกำหนดเริ่มการพิจารณาคดีอีกครั้งต่อสำนักข่าวและผู้สื่อข่าว หลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้กลับคำตัดสินเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 โดยก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้พิจารณายกคำร้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง

"เสรีภาพของสื่อในประเทศไทยกำลังถูกคุกคาม ผู้สื่อข่าวยังคงถูกโจมตีเพียงเพราะการทำหน้าที่ของตน" เอมี สมิธ (Amy Smith) ผู้อำนวยการบริหารฟอร์ตี้ฟายไรต์กล่าว "คดีนี้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและส่งผลเชิงคุกคามการรายงานข่าวของสื่อ ในประเด็นที่เป็นข้อกังวลของสาธารณะในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ศาลพิจารณาถูกต้องแล้วที่ไม่รับฟ้องคดีนี้"

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 บริษัททุ่งคำ จำกัด ซึ่งมีกิจการเหมืองแร่ในจังหวัดเลยที่ยังมีข้อกังขา ได้ฟ้องคดีต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวสี่คนในขณะนั้น รวมทั้งนางสาววิรดา แซ่ลิ่ม นายสมชัย สุวรรณบรรณ นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ และนายโยธิน สิทธิบดีกุล  โดยกล่าวหาว่า เป็นการละเมิดมาตรา 326 และ 328 ของประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 และ 16 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และกฎหมายอื่น ๆ

การฟ้องคดีนี้เป็นผลมาจากคลิปข่าวของนักข่าวพลเมือง ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างการเข้าค่ายเยาวชน ทั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในคลิปดังกล่าว เด็กนักเรียนหญิงอายุ 15 ปีจากหมู่บ้านใกล้กับเหมืองของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด กล่าวหาว่าหมู่บ้านในบริเวณนั้น "ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเหมืองทองคำ" บริษัท ทุ่งคำ จำกัดได้ฟ้องคดีต่อเด็กนักเรียนหญิง รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานีเนื่องจากรายงานข่าวชิ้นนี้

ในการฟ้องคดีต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานี ทางบริษัทได้เรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท เนื่องจากการเสียชื่อเสียงของตน และให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นเวลาห้าปี

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ยกคำร้องของโจทก์ต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานี โดยเห็นว่าคดีไม่มีมูล เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและผู้สื่อข่าวของสถานีปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นมืออาชีพ และใช้ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งผลการสำรวจของหน่วยงานของรัฐและของชาวบ้านในท้องถิ่น  

ในวันที่ 20 มีนาคม 2561 ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นชอบกับคำพิพากษาก่อนหน้านี้ และระบุว่ามีพยานหลักฐานมากเพียงพอในการดำเนินคดีตามมาตรา 326 และ 328 ของประมวลกฎหมายอาญา ยกเว้นการดำเนินคดีตามมาตรา 14 และ 16 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

หากถูกตัดสินว่ามีความผิด จำเลยยังอาจได้รับโทษจำคุกสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท  

บริษัท ทุ่งคำ จำกัดได้ฟ้องคดีอาญาและแพ่งอย่างน้อย 19 คดีต่อชาวบ้านจังหวัดเลย 33 คน รวมทั้งสมาชิกของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด องค์กรสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนที่ประท้วงต่อต้านเหมืองทองคำในช่วงแปดปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายรวมกันทั้งหมด 320 ล้านบาท

เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 34 และ 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และข้อ 19 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอาจกระทำได้ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ต้องได้สัดส่วน และจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ชอบธรรม การกำหนดโทษจำคุกในคดีหมิ่นประมาทถือเป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก

เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายนี้ ทางการไทยควรลดการเอาผิดทางอาญา ถอนฟ้องคดีอาญาต่อผู้ซึ่งใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของตนอย่างชอบธรรม และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรธุรกิจใช้ประโยชน์จากกฎหมายนี้อย่างมิชอบและปฏิบัติมิชอบต่อชุมชน ฟอร์ตี้ฟายไรต์กล่าว

"ระบบยุติธรรมของไทยควรส่งสัญญาณที่หนักแน่นอีกครั้งให้กับภาคธุรกิจว่า การพยายามข่มขู่และคุกคามผู้สื่อข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์" เอมี สมิธกล่าว "ทางการควรยุติการดำเนินคดีอาญาใด ๆ โดยพลการและไม่เหมาะสมต่อผู้สื่อข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: อำเภอใจ

Posted: 21 May 2018 11:39 PM PDT


ที่ท่านทำตามอำเภอใจ
สี่ปีที่ผ่านไปจึงไร้ค่า
สิทธิขั้นพื้นฐานของประชา
ย่อยยับอัปราคงสาแก่ใจ

พวกท่านเอาประชาชนมาแอบอ้าง
นำปืนนำรถถังทำทางวางท่าใหญ่
ใช้รัฐเป็นเครื่องมือเก็งกำไร
สร้างวาทกรรมความเป็นไทยไล่บี้คน

อยากเลือกตั้ง!! อยากเลือกตั้ง!! มีความผิด
รัฐบาลทุจริตกลับไม่ผิดตั้งแต่ต้น
เพราะยังกดขี่ข่มหัวประชาชน
ก็เป็นเพียงขุนโจรที่ปล้นกิน

ที่ท่านทำตามอำเภอใจ
พฤติกรรมจรรไรอันโฉดฉิน
เดี๋ยวประชาจะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน
พวกขุนโจรจงได้ยินปณิธาน

 

หมายเหตุ: ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดกั้นถนนไม่ให้ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่ชุมนุมอยู่ใน ม.ธรรมศาสตร์ออกเดินไปที่ทำเนียบรัฐบาล 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น