ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'ทหาร-ตร.' คุมตัวคนขับรถ กักตัวเครือข่าย P-move ขณะเดินทางเข้ากรุงชุมนุมหน้าทำเนียบ
- ครม.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ
- ศาลปกครองสูงสุด ชี้ยกเลิกพาสปอร์ต 'ทักษิณ' ชอบด้วยกฎหมาย แต่ของ 'จาตุรนต์' ไม่ชอบ
- 'ประยุทธ์' ยันไม่คิดจะเลื่อนเลือกตั้ง เหตุประกาศต่อเวทีนานาชาติแล้ว
- คนงานรังสิตถูกห้ามชูป้าย 'เลือกตั้งปีนี้' ในขบวนวันกรรมกรสากล
- ประมวลภาพ+คลิป เสียงสะท้อน ความรู้สึก บทเรียนจากชุมชนป้อมมหากาฬ
- ไม่ฝากขัง 4 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง เหตุผู้ต้องหาให้ความร่วมมือ ตร.-มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
- เผยคนงานสื่อ 'ต้องการการปรับเงินเดือนประจำปีตามความสามารถ' มากที่สุด
- 'ตร.-ทหาร' ยึดป้าย 'แรงงานข้ามชาติไม่ใช่ตู้ ATM'
- รอบโลกแรงงานเมษายน 2018
- ตร. คุม 4 แกนนำ คนงาน GM ไปสอบประวัติ หลังร้องสถานทูตสหรัฐ ช่วยแก้ปัญหาแรงงาน
- กัมพูชาห้ามสหภาพฯ จัดชุมนุม-เดินขบวนวันแรงงานสากลที่หน้ารัฐสภา
- แรงงาน 4.0 : เปิดวิจัย 'เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม' กับผลกระทบต่อการจ้างงานภาคบริการไทย
- 'สมานฉันท์แรงงาน-แรงงานรัฐวิสาหกิจ' ทวงรัฐบาล 10 ข้อปีที่แล้ว ทำให้ได้
- กรุงเทพโพลล์ เผย 40.4% บอก 'ยังไม่ได้รับ' การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นใหม่
'ทหาร-ตร.' คุมตัวคนขับรถ กักตัวเครือข่าย P-move ขณะเดินทางเข้ากรุงชุมนุมหน้าทำเนียบ Posted: 01 May 2018 09:38 AM PDT ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยเจ้าหน้าที่ 'ทหาร-ตร.' กักตัวขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ไว้ที่เชียงใหม่-ลำพูน ไม่ให้เดินทางลงชุมนุมหน้าทำเนียบ ขณะที่คนขับรถถูกคุมตัว ที่มาภาพ เพจขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) 1 พ.ค.2561 จากกรณีขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ได้ประกาศจัดกิจกรรมการชุมนุม "ลดความเหลื่อมล้ำ คืนความเป็นธรรม ปกป้องชุมชน" ในวันที่ 2 พ.ค. 61 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยจะมีกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่ดินและป่าไม้ เดินทางเข้าไปยังกรุงเทพฯ เพื่อติดตามทวงถามปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนที่ P-move เคยได้ร้องเรียนต่อรัฐบาล คสช. ไปก่อนหน้านี้ แต่ไม่มีความคืบหน้า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ล่าสุดวันนี้ (1 พ.ค. 61) ในช่วงเย็นกลุ่มเครือข่ายชาวบ้านจากจังหวัดลำพูน ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ ได้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางเพื่อลงไปเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่เวลาประมาณ 19.00 น. เมื่อรถโดยสารที่ชาวบ้านใช้ในการเดินทางลงไปยังกรุงเทพฯ เดินทางไปถึงด่านตรวจอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเรียกให้จอดเพื่อทำการตรวจค้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้มีการควบคุมตัวพนักงานขับรถไป โดยระบุเพียงว่าจะนำตัวพนักงานขับรถไปสอบสวน โดยไม่แจ้งรายละเอียดใดๆ เมื่อชาวบ้านพยายามสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ ทำให้มีชาวบ้านในรถโดยสารประจำทางคันดังกล่าวติดอยู่ที่ด่านตรวจ อ.แม่ทา จ.ลำพูน กว่า 40 คน ช่วงเวลาเดียวกันนั้น กลุ่มชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกเครือข่ายของกลุ่ม P-move ได้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางเพื่อลงไปเข้าร่วมกิจกรรมเช่นเดียวกัน แต่เมื่อรถโดยสารที่ชาวบ้านใช้ในการเดินทางลงไปยังกรุงเทพฯ เดินทางไปถึงด่านตรวจสภ.แม่แฝก ใกล้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกให้จอดเพื่อทำการตรวจค้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้มีการควบคุมตัวพนักงานขับรถไปเช่นเดียวกัน ทั้งเครือข่ายชาวบ้านกว่า 40 คน ได้ถูกกักตัวไว้อยู่ที่สภ.แม่แฝก จ.เชียงใหม่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานเพิ่มเติ่ว่า จนถึงขณะนี้เวลา 22.00 น. เครือข่ายชาวบ้านทั้งสองจุด ยังถูกเจ้าหน้าที่กักตัวไว้ที่ด่านตรวจเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงแล้ว เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move' รายงานเมื่อ 22.39 น.ที่ผ่านมาว่า ล่าสุดชาวบ้านรายงานว่าคนขับรถทั้ง 2 คัน ถูกควบคุมตัวที่มลฑลทหารบกที่ 33 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครม.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ Posted: 01 May 2018 08:28 AM PDT ครม.มีมติอนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... ตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ พร้อมคณะกรรมการ 2 ชุดดูแลเรื่องนี้ 1 พ.ค. 2561 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่าวันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ครม.มีมติอนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ทั้งนี้ ให้เสนอร่าง พ.ร.บ.ในเรื่องนี้ต่อ สนช. ไม่ก่อนการเสนอพิธีสารปี 2014 ส่วนเสริมอนุสัญญา ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 ต่อ สนช. สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ตามที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลสรุปไว้มีดังนี้ 1. กำหนดลักษณะความผิดฐานใช้แรงงานบังคับ หมายถึง "ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ทำงานหรือ บริการโดยมิได้สมัครใจให้กับตนหรือบุคคลที่สาม โดยการข่มขู่ ขู่เข็ญว่าจะลงโทษโดยมิชอบ ใช้กำลังประทุษร้าย ยึดเอกสารสำคัญประจำตัวของบุคคลนั้นไว้ นำภาระหนี้ของบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ หรือด้วยวิธีอื่นใดโดยมิชอบที่ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถที่จะขัดขืนได้หรือมิได้สมัครใจที่จะทำเอง ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานใช้แรงงานบังคับ" 2. กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานใช้แรงงานบังคับหรือช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานใช้แรงงานบังคับในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่ 3. กำหนดให้มีคณะกรรมการจำนวน 2 คณะ ได้แก่ 3.1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ 3.2 คณะกรรมการกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการ ติดตามการดำเนินงาน และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 4. กำหนดมาตรการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการใช้แรงงานบังคับ เช่น การจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว 5. กำหนดบทลงโทษที่มีความเหมาะสมกับการกระทำความผิดฐานใช้แรงงานบังคับ โดยเพิ่มโทษกรณีกระทำผิดต่อผู้เสียหายที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ หรือผู้มีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบและกรณีที่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือเป็นโรคร้ายแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือถึงแก่ความตาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลปกครองสูงสุด ชี้ยกเลิกพาสปอร์ต 'ทักษิณ' ชอบด้วยกฎหมาย แต่ของ 'จาตุรนต์' ไม่ชอบ Posted: 01 May 2018 08:12 AM PDT ศาลปกครองสูงสุดชี้ยกเลิกพาสปอร์ต 'ทักษิณ' ชอบด้วยกฎหมายเหตุพูดพาดพิงต่อองคมนตรี เป็นปรปักษ์กับการปกครอง ขณะที่ชี้ยกเลิกพาสปอร์ต 'จาตุรนต์' ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1 พ.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่าวันนี้ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในชั้นอุทธรณ์คดียกเลิกหนังสือเดินทางไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คดี คือคดีของ จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย และคดีทักษิณ ชินวัตร สำหรับคดีของจาตุรนต์ นั้น เขาฟ้องกระทรวงการต่างประเทศกับพวก รวม 7 คน กรณียกเลิกหนังสือเดินทางไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง เห็นว่า คำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากหลังจากที่มีคำสั่งห้าม จตุรนต์ออกนอกประเทศ ก็ไม่มีการหลบหนี ส่วนการยกเลิกหนังสือเดินทาง หลังการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่า คำสั่งของกรมการกงสุล โดยอธิบดีกรมการกงสุลที่ยกเลิกหนังสือเดินทาง ตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของ ศาลปกครองกลางที่เพิกถอนคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางของ จาตุรนต์ จาตุรนต์ กล่าวภายหลังจากฟังคำพิพากษาของศาล ว่า ยังไม่ฟ้องกลับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการยกเลิกหนังสือเดินทางในขณะนี้ เพราะมีหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการ โดยจะพิจารณาหลังการเลือกตั้งต่อไป ส่วนคดีที่ ทักษิณ ยื่นฟ้องอธิบดีกรมการกงสุล และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรณียกเลิกหนังสือเดินทางทั้ง 2 ฉบับของตน โดยศาลปกครองสูงสุดได้ยืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางว่า คำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางชอบด้วยกฎหมาย จากกรณีการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนของประเทศเกาหลี ซึ่งเนื้อหามีการพาดพิงต่อองคมนตรี ซึ่งเป็นผู้ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ในทำนองว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถ้อยคำดังกล่าวจึงเป็นปรปักษ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นการกระทบต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง การยกเลิกหนังสือเดินทาง เป็นการไม่รับรองให้ทักษิณสามารถเดินทาง โดยอ้างสิทธิการอนุญาตของประเทศไทยอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแปลความหรือวินิจฉัยถ้อยคำการให้สัมภาษณ์ของทักษิณ ว่าเข้าหลักเกณฑ์ข้อห้ามที่กำหนดไว้หรือไม่ ส่วนกรณีที่ ทักษิณอ้างว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรมนั้น ศาลเห็นว่า การที่จะอ้างว่าเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้กระทำความผิดเอง ก็ไม่สามารถอ้างว่า หน่วยงานผู้ใช้อำนาจเรื่องการเลือกปฎิบัติได้ จึงถือว่าคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางนั้นชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางที่มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว วัฒนา เตียงกูล ทนายความผู้รับมอบอำนาจ กล่าวภายหลังฟังคำพิพากษาว่า คำพิพากษาของศาลถือเป็นที่สุดแล้ว หลังจากนี้จะประสานไปยังทักษิณ เพื่อแจ้งคำพิพากษาของศาลให้รับทราบต่อไป เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'ประยุทธ์' ยันไม่คิดจะเลื่อนเลือกตั้ง เหตุประกาศต่อเวทีนานาชาติแล้ว Posted: 01 May 2018 07:38 AM PDT 'ประยุทธ์' แจง หากเลื่อนจากเดิมเพราะติดขัดเรื่องกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับตน ย้ำการดูดส.ส.เป็นเรื่องปกติในกระบวนการระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่ตนเท่านั้นเป็นคนคิด ขออย่าเดินขบวนปัญหาบ้านพักตุลาการ 'เพนกวิน' บุกก้มกราบประยุทธ์ วอนขอเลือกตั้ง 1 พ.ค.2561 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและสำนักข่าวไทยรายงานว่า วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) กรณีนักวิชาการวิจารณ์คนในรัฐบาลและ คสช. เล่นการเมืองด้วยการดูดส.ส.ว่าเป็นการทำลายการปฏิรูปการเมืองและทำให้กลับสู่วงจรการเมืองแบบเก่าว่า นักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย บางคนท้วงติงตลอดทุกเรื่อง ตนรู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่ "การที่ผมพูดว่าการดูดส.ส.เป็นเรื่องปกติในกระบวนการระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ผมที่พูดคนเดียวหรือคิดไปเอง ทุกคนก็คิด การแยกย้ายกันไปทำงานทางการเมืองของนักการเมืองเป็นไปด้วยความสมัครใจของนักการเมือง แต่ละคนที่ไปพูดคุยกัน แล้วเห็นว่าแนวทางการทำงานการเมืองตรงกัน คล้ายกัน สามารถทำงานร่วมกันได้จึงไปรวมกัน ซึ่งเป็นปกติ ที่กล่าวหาผมว่าดูดนักการเมือง ผมสอบถามพรรคการเมืองที่บอกว่าจะสนับสนุนผม เขาก็บอกไม่ได้ทำอะไร เขาก็อยู่บ้านของเขาเฉย ๆ แล้วก็มีคนมาหา มาพูดคุย ตอนนี้ยังไม่ไปสู่ขั้นตอนไหน อนาคตยังไม่มีความชัดเจน เรื่องการดูด ส.ส.หากย้ายมารวมกันเพื่อพัฒนาประเทศ จะร่วมงานก็ร่วมกันไป ผมเห็นด้วย แต่หากมีเรื่องเรียกผลประโยชน์ สัญญาว่าจะให้ มีเรื่องตำแหน่งเข้ามาเกี่ยวข้อง อันนี้ผมไม่เห็นด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการุชมุนมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ว่า ให้ไปดูว่าเป็นคนกลุ่มไหน คนเดิมหรือคนใหม่ และให้ไปดูด้วยว่าการเคลื่อนไหวสอดคล้องกับพรรคการเมืองใด ซึ่งพรรคนั้นก็สนับสนุน การชุมนุมละเมิดกฎหมาย เพราะต้องการให้บานปลายเมื่อรัฐบาลต้องเข้าไปดำเนินกาตามกฎหมายก็กล่าวหาว่ารัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชน "ชุมนุมไปก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งเป็นกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย อย่ามาชุมนุมเลย ไปคิดดีกว่าว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะทำอย่างไรให้ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ให้ได้นักการเมืองที่ดี ทั้งหมดประชาชนต้องออกมาลงคะแนน ผมก็ประกาศไปแล้วว่าการเลือกตั้งมีขึ้นในปี 2562 ไม่ต้องห่วง เพราะผมได้ประกาศต่อเวทีนานาชาติด้วย ผมไม่คิดจะเลื่อน แต่ที่เลื่อนจากเดิมเพราะติดขัดเรื่องกฎหมาย แล้วมาหาว่าผมดึงกฎหมาย ผมคงไม่ทำอะไรขนาดนั้น" หัวหน้า คสช. กล่าว ขออย่าเดินขบวนปัญหาบ้านพักตุลาการกรณีโครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการ ที่ จ.เชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลกังวลใจมาโดยตลอด และได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไขปัญหา ทราบว่ามีผลไปในทิศทางที่ดี ดังนั้น ขออย่ากดดัน หรือใช้คำว่า ขีดเส้นตาย กับเรื่องต่างๆ ที่เสนอมายังรัฐบาล "ยืนยันว่าผมและรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนเชียงใหม่ มาเป็นลำดับแรกๆ ในการแก้ปัญหา ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวเดินขบวน ขออย่าทำอะไรให้เกิดความเสียหาย เพราะขณะนี้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รัฐบาลได้แก้ไขในหลายเรื่อง หากมีการเดินขบวน ก็จะส่งผลกระทบตามมา เช่น การท่องเที่ยว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟสบุ๊คไทยคู่ฟ้า ของรัฐบาล ได้เปิดให้ประชาชนเข้าไปเสนอความเห็นและทางออก เกี่ยวกับกรณีโครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการด้วย 'เพนกวิน' บุกก้มกราบประยุทธ์ วอนขอเลือกตั้งPPTVHD36 รายงานด้วยว่า พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แนวร่วมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ใส่เสื้อสำนักงานประกันสังคม ที่แจกให้ผู้ใช้แรงงานมาร่วมกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ที่ลานคนเมืองศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และทันทีเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางมาถึงภายในงาน พริษฐ์ บุกเข้าไปหา พล.อ.ประยุทธ์ ถึงตัวแล้วก้มกราบลงไปที่พื้น พร้อมกับพูดว่า "ผมขอกราบท่านนายกฯผมอยากเลือกตั้ง" แต่อย่างไรก็ตาม พริษฐ์ ถูกชุดรักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรี รีบนำตัวออกจากงาน และนำตัวเข้าไปภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเพื่อสอบสวน จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินขึ้นเวทีพูดคุยกับผู้ใช้แรงงานเพื่อรับข้อเสนอต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คนงานรังสิตถูกห้ามชูป้าย 'เลือกตั้งปีนี้' ในขบวนวันกรรมกรสากล Posted: 01 May 2018 05:00 AM PDT กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ ยื่น 6 ข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าฯ ปทุม ขณะที่ จนท.ประกบห้ามชูป้ายการเมืองและ 'เลือกตั้งปีนี้' ขณะที่ ศรีไพร ชี้คนงานในยุค รบ.นี้ถูกนายจ้างฉวยโอกาสกดดัน เหตุไม่มีสิทธิเสรีภาพการแสดงออก 1 พ.ค.2561 วันกรรมกรสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเช้า กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง รวมตัวกันที่ริมถนนพหลโยธินก่อนนถึงบุญถาวร เพื่อเตรียมเคลื่อนขบวนไปศาลากลางจังหวัดยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี จำนวน 6 ข้อ ซึ่งวานนี้ (30 เม.ย.61) ตามที่ประชาไทรายงานไว้ว่าตัวแทนกลุ่มดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเรียกเข้าพูดคุยเกี่ยวกับแผนการจัดกิจกรรมในวันนี้ พร้อมขอไม่ให้คนงานกลุ่มนี้พูดเรื่องการเมืองและการเลือกตั้ง ศรีไพร นนทรีย์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า วันนี้พวกตนตั้งขบวนตามกำหนดการที่วางไว้ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไล่ให้ออกขวนก่อนกำหนด ทำคนงานหลายคนตกขบวน ต้องนั่งรถไปดักกลางทางเพื่อเดินไปศาลากลางจังหวัดปทุมฯ ศรีไพร กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ไม่ให้ติดป้าย 6 ข้อเรียกร้องของทางกลุ่ม ทั้งที่วานนี้ตกลงกันแล้วในที่ประชุมกับตำรวจและทหารว่าสามารถติดได้ เมื่อติดป้ายที่รถไม่ได้ ป้ายที่ถือที่เกี่ยวกับเรื่องเลือกตั้งและประชาธิปไตยก็ไม่สามารถถือได้ มีเพียงประเด็นเรื่องแรงงานอย่างเดียวที่อนุญาตให้ถือ ขณะที่ผ้าโพกหัวสีแดงที่เขียนว่า "เลือกตั้งปีนี้" ถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้เอาออกก่อนเข้าศาลากลาง ผ้าโพกหัวข้อความ 'เลือกตั้งปีนี้' ที่ถูกให้เอาออกก่อนเข้าศาลากลาง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ กล่าวอีกว่า ก่อนกลุ่มจะเข้าศาลากลางมีชายนอกเครื่องแบบบอกตัวเองว่าเป็นตำรวจ สั่งห้ามพวกตนไม่ให้ใช้เครื่องเสียง ส่วนตำรวจในเครื่องแบบจะพูดกับพวกตนด้วยดี เมื่อถึงศาลากลาง ตัวทนที่มารับข้อเรียกร้องคือหัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุม แต่ทางผู้ว่าหรือรองผู้ว่าไม่มารับ ไม่เหมือนปีก่อนๆ อย่างน้อยก็จะมีรองผู้ว่ามารับ ปีนี้ปฏิสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่แย่กว่าปีปีก่อนๆ รวมทั้งตำรวจและทหารก็มากดดันโดยตลอดด้วย ข้อเรียกร้องของกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ 6 ข้อ ประกอบด้วยประเด็น 1. รัฐสวัสดิการ 2. การปรับค่าจ้างที่เป็นธรรม 3. ให้รัฐไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการรวมตัวและเจรจาต่อรองของคนงาน 4. ดูแลความปลอดภัยในการทำงาน 5. ประชาธิปไตย และ 6. เลือกตั้งปีนี้ สำหรับข้อ 5 และ 6 ที่เป็นที่จับตาของเจ้าหน้าที่นั้น ศรีไพร กล่าวถึงเหตุที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งปีนี้ เพราะว่ามันไม่ไหวแล้ว รัฐบาลทหารอยู่มานานชีวิตคนงานไม่ได้ดีขึ้น สิทธิของคนงานในภาพรวมมันถูกลิดรอนลงไป ไม่มีสิทธิในการแสดงออกมันอันมาเยอะแล้ว "ตอนแรกทหารบอกให้อดทนรอ 1 ปี เต็มที่ไม่เกิน 2 ปีมีการเลือกตั้ง แต่นี่จะ 4 ปีแล้ว และมันทะลุ 4 ปีแน่" ศรีไพร กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า มันเห็นเด่นชัดว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร การแสดงออกของลูกจ้างได้รับสิทธิเสรีภาพแตกต่างกัน สิทธิมันถอยหลังลงไปแล้วพูดไม่ได้ กลายเป็นตอนนี้ข้าราชการทำงานช้า อีกทั้งนายจ้างรู้ว่าช่วงนี้คนงานแสดงออกไม่ค่อยได้ ก็ได้โอกาสกดดันคนงานด้วย 6 ข้อ ของกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมวลภาพ+คลิป เสียงสะท้อน ความรู้สึก บทเรียนจากชุมชนป้อมมหากาฬ Posted: 01 May 2018 04:36 AM PDT ประมวลภาพและวิดีโอตั้งแต่วันที่ชุมชนป้อมมหากาฬตัดสินใจปิดตัว และย้ายออกจากพื้นที่ เสียงสะท้อนจากคนใน คนนอกชุมชน ไปจนถึงการขนย้ายแมวเหมียวไร้บ้าน 1 พ.ค. 2561 เป็นเวลาราวสองสัปดาห์แล้วหลังจากชาวชุมชนป้อมมหากาฬที่ยังคงปักหลักอยู่หลังกำแพง ตัดสินใจปิดชุมชนและย้ายออก เปิดพื้นที่ให้ทาง กทม. ปรับพื้นที่เพื่อทำสวนสาธารณะ ประชาไทรวบรวมภาพและวิดีโอในวันที่ชุมชนปิดตัว และสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปในวันที่บ้านเก่าแก่และวิถีชีวิตชุมชนจะถูกแทนที่ด้วยสวนสาธารณะ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไม่ฝากขัง 4 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง เหตุผู้ต้องหาให้ความร่วมมือ ตร.-มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง Posted: 01 May 2018 03:42 AM PDT ศาลยกคำร้องฝากขัง 'จ่านิว-โรม-ทนายอานนท์-ปกรณ์' แกนนำคนอยากเลือกตั้ง เหตุผู้ต้องหาให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนมาตามนัดและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ที่มาภาพ เพจ 'Banrasdr Photo' 1 พ.ค.2561 เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'Banrasdr Photo' รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลอาญายกคำร้องที่พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ขออำนาจศาลฝากขัง 4 แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ในความผิดกฎหมายมาตรา 116, ขัดคำสั่ง คสช. และ พ.ร.บ.ชุมนุม กรณีชุมนุมหน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ต้องหาให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวน มาตามนัดและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง สำหรับ 4 แกนนำดังกล่าวประกอบด้วย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, รังสิมันต์ โรม, อานนท์ นำภา และปกรณ์ อารีกุล โดยวานนี้ (30 เม.ย.61) ตำรวจ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังทั้ง 4 คนไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขัง เนื่องจากการยื่นคำร้องของพนักงานสอบสวนนั้นยื่นหลังเวลาทำการของศาล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยคนงานสื่อ 'ต้องการการปรับเงินเดือนประจำปีตามความสามารถ' มากที่สุด Posted: 01 May 2018 02:13 AM PDT สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไท 1 พ.ค.2561 วันกรรมกรสากล สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไท พบว่ามีการตอบแบบสอบถามจำนวน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'ตร.-ทหาร' ยึดป้าย 'แรงงานข้ามชาติไม่ใช่ตู้ ATM' Posted: 01 May 2018 01:43 AM PDT ตำรวจ-ทหาร เข้าตรวจสอบและยึดป้ายจากเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ที่ตลาดมหาชัย ก่อนเข้าร่วมขบวนวันกรรมกรสากล อ้าง ข้อความไหนไม่เหมาะสมกับการเมืองต้องเอาออก ที่มาภาพ เพจ MWRN 1 พ.ค.2561 วันกรรมกรสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เฟสบุ๊คแฟนเพจของเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ (M.W.R.N)โพสต์ภาพเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าตรวจค้นพร้อมยึดป้ายผ้าข้อความที่คนงานกลุ่มนี้เตรียมใช้ไปประกอบการเดินขบวนเนื่องในวันกรรมกรสากลร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่าย M.W.R.N เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวประชาไท ว่า ป้ายดังกล่าวที่ถูกตรวจค้นและยึดนั้น เป็นข้อความทั้งหมดของปีที่แล้ว ไม่ได้มีการเขียนใหม่เพิ่มเติม ประเด็นในข้อความประกอบด้วยเรื่องประกันสังคม เรื่องสิทธิการรวมตัวของคนงาน และขอให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานไทย รวมทั้งมีป้าย "แรงงานข้ามชาติไม่ใช่่ตู้ ATM" ซึ่งถูกยึดไป ผู้ประสานงานเครือข่าย M.W.R.N กล่าวต่อว่า ตอนที่เจ้าหน้าที่มานั้นตนไม่เห็นเนื่องจากตนอยู่ภายในสำนักงานของเครือข่าย แต่เมื่อคนงานที่นัดหมายไว้มาจำนวนมากแล้วจึงเตรียมตัวที่จะขึ้นรถจาก ตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ไปร่วมขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่เมื่อกำลังจะขึ้นรถที่เตรียมไว้ทั้งตำรวจและทหารก็มาทั้งในและนอกเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่แจ้งกับพวกตนว่ามาตรวจดูข้อความ ข้อความไหนที่มันไม่เหมาะสมกับการเมืองต้องเอาออกต้องเซ็นเซอร์ หลังจากนั้นก็เก็บผ้า 2 ผืนที่เป็นภาษาพม่าไป เป็นภาพการ์ตูนล้อเลียนเรื่องตำรวจชอบเก็บเงินแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ขอเซ็นเซอร์ 2 แผ่นดังกล่าว แต่ตนได้ของร้องไม่ให้เอาไป และรับปากว่าจะไม่นำไปใช้เดินในขบวนวันนี้ แต่เจ้าหน้าที่ยังยืนกรานและเก็บใส่ท้ายรถตำรวจไป สำหรับกิจกรรมของเครือข่ายแรงงานข้ามชาติในวันกรรมกรสากลนั้น สุธาสินี กล่าวว่า มีการจัดและร่วมขบวนกับกลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมาทุกปี แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปัญหา ภาพเจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุยกับสุธาสินี สุธาสินี กล่าวว่าก่อนวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มาคุยกับตนว่าจะจัดกิจกรรมในวันกรรมกรสากลอย่างไรแล้ว ตนก็อธิบายรายละเอียดแล้ว รวมทั้งวานนี้(30 เม.ย.61) ประมาณ 14.00 น.ทหารก็เข้ามาที่สำนักงานพวกตนอีก มาพร้อมกับการบันทึกภาพการพูดคุยกับตนอีกทั้งที่ตนก็ไม่ได้ปิดบังการจัดกิจกรรมนี้ จึงคิดว่ามันเกินไปหรือไม่กับการทำแบบนี้ เสรีภาพในการแสดงออกของพวกตนไม่ควรที่จะถูกลิดรอน ทั้งที่เป็นวันกรรมกรสากลที่ทั่วโลกก็มีกิจกรรมออกมาเฉลิมฉลองกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 01 May 2018 12:27 AM PDT คนงานบริษัทรถไฟฝรั่งเศส นัดหยุดงานบางวันในช่วงเวลา 3 เดือน คัดค้านแผนปฏิรูปแรงงาน ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับการนัดหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ของสหภาพแรงงานในภาคคมนาคม โดยเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2018 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ SNCF ได้นัดสมาชิกให้นัดหยุดงานประท้วงนโยบายปฏิรูปแรงงานของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) หลังรัฐสภาลงมติรับรองร่างกฎหมายนั้นเมื่อเดือน ก.ย. ปีก่อน โดยก่อนหน้านี้สหภาพแรงงานครู พยาบาล และสหภาพแรงงานกลุ่มอื่น ๆ ได้ร่วมนัดหยุดงานประท้วงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟมาแล้วเมื่อเดือน มี.ค. 2018 ที่ผ่านมา ทั้งนี้นโยบายปฏิรูปแรงงานของมาครงจะกระทบต่อสวัสดิการของพนักงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ SNCF โดยตรง ปัจจุบันสวัสดิการของพนักงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ SNCF มีอาทิเช่น ได้รับการขึ้นเงินเดือนโดยอัตโนมัติ, มีสิทธิเกษียณอายุก่อนกำหนด ได้รับวันหยุด 28 วันใน 1 ปี และได้รับการคุ้มครองจากการถูกปลดออกจากงาน ขณะที่คนในครอบครัวมีสิทธิได้รับตั๋วรถไฟฟรี แม้ว่า SNCF กำลังเผชิญกับภาวะหนี้สินสูงถึง 46.6 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.78 ล้านล้านบาท) การหยุดงานประท้วงครั้งนี้มีตารางที่แน่นอน โดยคนขับรถไฟมากกว่าร้อยละ 75 และพนักงานรถไฟเกือบร้อยละ 50 ได้หยุดงานเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา และมีแผนผละงาน 36 วัน ภายในเวลา 3 เดือน โดยจะหยุดงาน 2 วันในทุก 5 วันจนกว่าจะถึงวันที่ 28 มิ.ย. 2018 ภาคธุรกิจสหรัฐฯ ประกาศแผนปลดพนักงานจำนวน 60,357 คน เมื่อเดือน มี.ค. 2018 บริษัทที่ปรึกษาด้านแรงงาน Challenger, Gray and Christmas ระบุว่าบริษัทในสหรัฐฯ ประกาศแผนปลดพนักงานจำนวน 60,357 คนในเดือน มี.ค. 2018 เพิ่มขึ้น 39% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และจากระดับ 35,369 ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้ภาคค้าปลีกประกาศแผนปลดพนักงานมากที่สุดในเดือน มี.ค. คิดเป็นจำนวน 35,042 คน และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีนี้ ภาคค้าปลีกประกาศแผนปลดพนักงานมากถึง 56,526 คน ที่มา: finance.yahoo.com, 5/4/2018 หญิงสาวเตรียมฟ้องนายจ้างเก่าฐานไล่ออกเพราะภาพชูนิ้วกลางใส่ 'ทรัมป์' จูลี บริกส์แมน (Juli Briskman) เตรียมยื่นฟ้องบริษัทที่ไล่เธอออก หลังภาพที่เธอชูนิ้วกลางใส่ขบวนรถของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างที่เธอปั่นจักรยานอยู่ ถูกเผยแพร่ไปในสื่อสังคมออนไลน์ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว เธอได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุผลในการยื่นฟ้องนายจ้างเก่า ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาของรัฐบาลสหรัฐฯ ว่า เธอต้องการทำให้ชาวอเมริกันรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างหน้าที่การงานกับอุดมการณ์ทางความคิด และแม้ว่าการทำงานให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯถือเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ควรถูกจำกัดสิทธิ์ในการแสดงความเห็นในเวลาส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว คุณบริกส์แมนออกไปปั่นจักรยานในวันหยุดสุดสัปดาห์ ระหว่างนั้นขบวนรถของทรัมป์ได้เคลื่อนผ่านบริเวณเดียวกันพอดี เธอจึงชูนิ้วกลางใส่ขบวนรถดังกล่าว และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวได้บันทึกภาพเธอไว้ได้ แม้ว่าในขณะนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าประธานาธิบดีเห็นเหตุการณ์นี้หรือไม่ แต่เมื่อคุณบริกส์แมนแชร์ภาพนี้ลงบนเฟสบุ๊คของตัวเอง ภาพดังกล่าวจึงถูกแชร์ไปเหมือนไฟลามทุ่ง ซึ่งทำให้เธอถูกไล่ออกจากบริษัทก่อสร้าง Akim ที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ โดยเธอได้รับเหตุผลว่า แม้ภาพดังกล่าวจะไม่ปรากฏใบหน้าของคุณบริกส์แมน แต่เธอละเมิดนโยบายของบริษัทในการโพสต์ภาพที่ไม่เหมาะสมบนสื่อสังคมออนไลน์ ต้นทุนบำบัดรักษาพนักงานที่เสพติด 'โอปิออยด์' ในสหรัฐฯ เพิ่มสูงสุดเป็นสถิติใหม่ รายงานชิ้นใหม่ระบุว่า เมื่อปี ค.ศ. 2016 บริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ ทุ่มงบประมาณเป็นมูลค่ารวมกัน 2,600 ล้านดอลลาร์ ในการบำบัดรักษาพนักงานที่เสพติดการใช้ยาที่มีส่วนผสมของฝิ่น หรือ โอปิออยด์ (Opioid) รวมไปถึงผู้ใช้ยาโอปิออยด์เกินขนาดด้วย โดยงบดังกล่าวซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในรอบ 14 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาบุตรหลานของพนักงาน มูลนิธิ Kaiser Family Foundation เผยแพร่บทวิเคราะห์ซึ่งชี้ว่า การทุ่มงบประมาณในการบำบัดรักษาผู้เสพติดยาโอปิออยด์ในปี 2016 ทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 26 ดอลลาร์ ต่อผู้รับการบำบัด 1 คน บรรดานายจ้างพยายามจำกัดขอบเขตกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ในการครอบคลุมการใช้ยาโอปิออยด์ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานของบริษัทเสพติดยาเหล่านั้น นักวิจัยวิเคราะห์คำร้องในการเบิกค่าประกันสุขภาพจากพนักงานกว่า 1,000 คน พบว่าพนักงานส่วนใหญ่ซื้อประกันสุขภาพเอง โดยที่นายจ้างช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งด้วย สหภาพแรงงานร้านค้าปลีกเกาหลีเรียกร้องผู้บริหารขอโทษ หลังพนักงานเสียชีวิต 2 คน นายชุง ยง-จิน รองประธานบริษัท ชินเซเกกรุ๊ป ถูกสหภาพแรงงานวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากเพิกเฉยต่อการเสียชีวิตของพนักงาน E-Mart 2 คนเมื่อไม่นานมานี้ สหภาพแรงงานร้านค้าปลีกเกาหลีจัดชุมนุมที่หน้าห้างสรรพสินค้าชินเซเก สาขาหลักในกรุงโซลและร้าน E-Mart ทั่วประเทศจนกว่ารองประธานจะขอโทษต่ออุบัติเหตุที่ทำให้พนักงานเสียชีวิต สืบจากสภาพแรงงาน พนักงานเก็บเงินหญิงอายุ 48 ปีทำงานที่ห้างมาเป็นเวลา 10 ปี บ่นเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหันและหมดสติในขณะที่กำลังทำงานอยู่ในร้าน E-Mart สาขา Guro ในกรุงโซล เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา เธอถูกหามส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงภายใน 10 นาทีแต่ก็ไม่รอด อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของพนักงานช่างซ่อมทางเดินเลื่อน ใน E-Mart สาขา Donong จังหวัดคย็องกีเพียง 3 วัน ในระหว่างตรวจสอบทางเลื่อนหลังห้างปิด พนักงานซ่อมอายุ 21 ปีซึ่งทำงานให้กับซับคอนแทรคของ E-Mart ตกลงไปในช่องว่างระหว่างเครื่องจักรที่เดินเครื่องอย่างกระทันหัน ที่มา: The Korea Time, 8/4/2018 กองทัพเรืออินโดนีเซียจับเรือประมงกักแรงงานขังทาส กองทัพเรืออินโดนีเซียสามารถสกัดจับเรือกักแรงงานขังทาส เรือประมงผิดกฎหมายไร้สัญชาติที่แท้จริงชื่อ STS-50 ติดธงแตกต่างกันถึง 8 สัญชาติ โดยอินโดนีเซียได้รับการแจ้งจากตำรวจสากลระบุว่าลูกเรือบนเรือประมงลำนี้อาจถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ซึ่งกองทัพเรืออินโดนีเซียสามารถเข้าจับกุมได้เมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่มา: The Jakarta Post, 8/4/2018 สายการบิน Lufthansa ยกเลิกกว่า 800 เที่ยวบินเหตุพนักงานประท้วง สายการบิน Lufthansa ประกาศยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศมากกว่า 800 เที่ยวในวันที่ 9 เม.ย. หลังจากที่พนักงานเตรียมทำการผละงานประท้วงเพื่อให้มีการปรับเพิ่มค่าจ้าง การผละงานดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวน 90,000 คน ขณะที่ลุฟท์ฮันซ่าคาดหวังว่าการให้บริการจะกลับสู่ภาวะปกติในวันพุธ (11เม.ย.) โดยสหภาพแรงงานของสายการบินเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารขึ้นค่าจ้าง 6% แก่พนักงานทั้งหมด ที่มา: Deutsche Welle, 9/4/2018 นักศึกษาบังกลาเทศประท้วงไม่พอใจรัฐบาลมีโควต้าแหน่งงานภาครัฐให้กลุ่มคนพิเศษ นักศึกษามหาวิทยาลัยหลายหมื่นคนเดินขบวนประท้วงในหลายเมือง ไม่พอใจนโยบายของรัฐบาลที่กันตำแหน่งงานในภาครัฐให้กลุ่มคนพิเศษ รายงานข่าวระบุว่ามีการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทำให้มีนักศึกษาบาดเจ็บกว่า 100 คน ที่มา: The Straits Time, 9/4/2018 ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านค่าจ้าง 'ชาย-หญิง' ยังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอเมริกัน วันอังคารที่ 10 เม.ย. ของปีนี้ ถูกกำหนดให้เป็นวัน Equal Pay ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นโอกาสที่ชาวอเมริกันร่วมสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมด้านค่าแรงในอเมริกา อย่างไรก็ตาม นักรณรงค์เพื่อสิทธิสตรีชี้ว่าวัน Equal Pay ไม่ใช่วันที่ผู้คนสมควรจะเฉลิมฉลอง เพราะปัจจุบัน สตรีในอเมริกายังได้รับค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมกับผู้ชาย กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงอเมริกันต้องทำงานมากกว่าผู้ชายอเมริกันเกินกว่าสามเดือน จึงจะได้ค่าจ้างรายปีที่เท่าเทียมกัน ผลสำรวจของเว็บไซต์หางาน Hired.com ชี้ให้เห็นว่า 63% ของผู้ชายอเมริกันมักได้รับเสนอเงินเดือนที่สูงกว่าผู้หญิงในตำแหน่งงานเดี่ยวกัน และมี 54% ของผู้หญิงที่ระบุว่า พวกเธอรับรู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตการทำงาน ว่าได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชายในตำแหน่งเดียวกัน โดยผู้สนับสนุนวัน Equal Pay ระบุว่าการจ่ายค่าจ้างอย่างเท่าเทียมระหว่างหญิงกับชายนั้น มิใช่เพื่อความยุติธรรมทางเพศเท่านั้น แต่ยังถือเป็นประโยชน์โดยรวมต่อนายจ้างเองและสังคมโดยรวมด้วย แรงงานทาสเกาหลีเหนือในต่างประเทศ คาดส่งเงินกลับไปหนุนโครงการนิวเคลียร์ อดีตนักการทูตเกาหลีเหนือกล่าวหารัฐบาลเกาหลีเหนือว่าส่ง "แรงงานทาส" ออกมาทำงานในประเทศต่าง ๆ เพื่อนำเอาเงินไปใช้ในโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีป แต ยอง โฮ อดีตผู้ช่วยทูตเกาหลีเหนือที่ประจำที่ลอนดอนให้สัมภาษณ์กับทีมบีบีซีพาโนรามากล่าวหาคิมจองอึน ผู้นำสูงสุดและรัฐบาลเกาหลีเหนือว่านำเงินที่ได้มาจากแรงงานส่งออกมาใช้สำหรับ "ความฟุ่มเฟือยส่วนตัวของครอบครัวผู้นำคิม โครงการนิวเคลียร์ และกองทัพ" จากข้อมูลที่รวบรวมโดยบีบีซีพาโนรามา ซึ่งทำข่าวสืบสวนสอบสวนมานานกว่าสองปีเพื่อขุดคุ้ยเกี่ยวกับเรื่อง "กลุ่มทาสที่เกาหลีเหนือปกปิด" หรือ "North Korea's secret slave gangs" คาดว่ามีแรงงานเกาหลีเหนือราว 150,000 คนถูกส่งมาทำงานนอกประเทศ และส่งเงินกลับไปให้รัฐบาลของตนเองหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งเงินส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในโครงการนิวเคลียร์ของคิมจองอึน ผู้นำเกาเหลีเหนือ "หากว่าเงินถูกใช้ไปเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเกาหลีเหนือก็น่าจะดีกว่านี้มาก แต่เงินเหล่านั้นหายไปไหนกันเล่า" แต ยอง โฮ ตั้งคำถามในระหว่างการสัมภาษณ์ แรงงานส่งออกของเกาหลีเหนือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาทางด้านการเงินและความยากลำบากทางเศรษฐกิจ เพราะความล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลเกาหลีเหนือ และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2006 เพื่อบีบให้ยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ธุรกิจในญี่ปุ่นขึ้นค่าจ้างมากที่สุดในรอบ 20 ปี คนทำงานชาวญี่ปุ่นได้รับการขึ้นเงินเดือนมากที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษเนื่องจากธุรกิจในภาคการค้าปลีกและชนส่งโลจิสติกส์ช่วงชิงกำลังแรงงานที่ขาดแคลนกันอย่างรุนแรง โดยกลุ่มธุรกิจดังกล่าวได้ยกระดับค่าจ้างโดยเฉลี่ยที่ 2.41% ในปี 2018 นี้ การขึ้นค่าจ้างนั้นจะเป็นการขึ้นค่าจ้างพื้นฐาน รวมทั้งค่าจ้างบนฐานของความอาวุโสโดยอัตโนมัติ เทียบกับปีที่แล้ว อัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยขึ้นเพียง 0.3% การขึ้นเงินเดือนครั้งนี้เท่ากับ 7,527 เยน หรือประมาณ 70 สหรัฐฯ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1998 การขึ้นค่าจ้างในญี่ปุ่นโดยปกติจะขับเคลื่อนโดยภาคการผลิตอุตสาหกรรม แต่ครั้งนี้ภาคการผลิตที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมเป็นผู้นำการขึ้นเงินเดือน ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1997 นั่นคือ พวกเขาขึ้นเงินเดือนที่ 2.79% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 21 ปี และมากกว่าครึ่งหนึ่งของภาคการผลิตอุตสาหกรรม Starbucks จะปิดร้านในสหรัฐเพื่ออบรมพนักงานกรณีจับกุมชายผิวดำ Starbucks แถลงว่าจะปิดร้านกาแฟ 8,000 แห่ง ทั่วประเทศสหรัฐในช่วงบ่ายวันที่ 29 พ.ค. 2018 เพื่ออบรมพนักงาน 175,000 คน เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงความโน้มเอียงทางเชื้อชาติหรือสีผิว หลังเกิดเหตุการณ์จับกุมชายผิวดำสองคนที่ร้านสาขาแห่งหนึ่งในนครฟิลาเดลเฟียจนเกิดการประท้วง ที่มา: The Guardian, 17/4/2018 ฮิวแมนไรท์ฯ โวย บ.ยักษ์จีนกีดกันทางเพศ 'อาลีบาบา' โดนด้วย ฮิวแมนไรท์วอทช์ ตีพิมพ์รายงานชิ้นใหม่วันที่ 23 เม.ย. เรียกร้องให้รัฐบาลจีนและบริษัทจีนหยุดการลงโฆษณารับสมัครงานที่มีลักษณะกีดกันทางเพศเช่นที่ทำอยู่ โดยระบุว่าทางการจีนแทบจะไม่เคยบังคับใช้กฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเพศในการลงโฆษณารับสมัครงานและการรับเข้าทำงานเลย "เกือบหนึ่งในห้าของโฆษณารับสมัครงานของหน่วยราชการจีนในปี 2018 ระบุว่า ต้องการ "ผู้ชายเท่านั้น หรือไม่ก็ระบุว่า "ต้องการผู้ชายมากกว่า" ในขณะที่บริษัทใหญ่ ๆ อย่าง อาลีบาบา ลงโฆษณาสมัครงานที่สัญญากับผู้สมัครว่าพวกเขาจะได้ "ผู้หญิงสวย ๆ" เป็นเพื่อนร่วมงาน" โซฟี ริชาร์ดสัน ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำประเทศจีน กล่าว และบอกต่อว่า ทางการจีนต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อหยุดกระบวนการโฆษณาหางานของทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความกีดกันเพศหญิงอย่างชัดเจน รายงานยาว 99 หน้าขององค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนนี้มาจากการวิเคราะห์โฆษณากว่า 36,000 ชิ้น ระหว่างปี 2013 ถึงปี 2018 บนเว็บไซต์หางาน เว็บไซต์บริษัท และช่องทางโซเชียลมีเดียในจีน โฆษณาหลายชิ้นระบุว่า ผู้สมัครต้องเป็นผู้ชาย หรือบอกว่า อยากได้ผู้ชายมากกว่า หรือ "เหมาะกับผู้ชายมากว่า" โฆษณาบางชิ้นระบุว่าผู้หญิงต้องมีรูปลักษณ์ตามที่บริษัทต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความสูง น้ำหนัก น้ำเสียง และหน้าตา แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงานเลยก็ตาม ฮิวแมนไรท์วอทช์รายงานว่า สื่อโซเชียลมีเดียของอาลีบาบา มีการโพสต์รูปพนักงานสาว ๆ ของบริษัทและบรรยายพวกเธอว่าเป็น "ผลประโยชน์เวลาต้องทำงานดึก ๆ" ฮิวแมนไรท์วอทช์ ยังรายงานอีกว่า โฆษณางานของบริษัทเทนเซ็นต์มีรูปพนักงานชายคนหนึ่งที่พูดว่าการมีผู้หญิงสวย ๆ อยู่ด้วยเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเข้าร่วมงานกับบริษัท ในขณะที่โฆษณาของบริษัทไป่ตู้มีรูปพนักงานชายที่บอกว่าการมีเพื่อนร่วมงานผู้หญิงที่มีเสน่ห์เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขามีความสุขกับงาน เว็บไซต์บลูมเบิร์ก ระบุว่าบริษัทเทนเซ็นต์ระบุในแถลงการณ์ผ่านอีเมลว่ากำลังสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจะปรับปรุงแก้ไขทันที บริษัทไป่ตู้ ระบุว่าเสียใจกับเหตุการณ์ที่พวกเขาบอกว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ และย้ำว่าบริษัทจ้างงานผู้หญิงถึง 45 เปอร์เซ็นต์ และมีสัดส่วนคล้ายกันสำหรับตำแหน่งระดับกลางและระดับสูง ด้านบริษัทอาลีบาบา ระบุว่าตรวจสอบการลงโฆษณาหางานของบริษัทอยู่เสมอ และมีกรอบที่ชัดเจนในการให้โอกาสผู้สมัครทั้งชายและหญิงอย่างเท่าเทียม บริษัทบอกว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานบริษัทเป็นผู้หญิง และพนักงานระดับหัวหน้าที่เป็นผู้หญิงมีสัดส่วนคิดเป็นหนึ่งในสามของพนักงานทั้งหมด บริษัทเสื้อผ้าหลายแห่งถูกวิจารณ์ไม่โปร่งใสในการเปิดเผยแหล่งที่มาของสินค้า บริษัทแฟชั่นระดับหรูหลายบริษัท เช่น Dior Chanel และ Dolce & Gabbana คือส่วนหนึ่งของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่มีความโปร่งใสน้อยที่สุดในการจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการผลิตสินค้าของบริษัทตัวเอง ตามรายงานการจัดทำดัชนีความโปร่งใสในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของบริษัทที่ปรึกษา Fashion Revolution รายงาน Fashion Transparency Index ระบุว่า บริษัทกีฬา Adidas และ Reebok อยู่ในอันดับ 1 ของบริษัทเสื้อผ้าที่มีความโปร่งใสน้อยที่สุด ตามด้วย Puma และ H&M ดัชนีดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรงงานสิ่งทอขนาด 8 ชั้น Rana Plaza ถล่มในบังกลาเทศ เมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งทำให้มีคนงานเสียชีวิต 1,135 คน บาดเจ็บอีกราว 2,000 คน จุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัย และการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมสิ่งทอทั่วโลก คูเวตไล่ทูตฟิลิปปินส์หลังถูกเรียกร้องประเด็นทารุณกรรมแรงงาน รัฐบาลคูเวตมีคำสั่งให้เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำคูเวต เดินทางออกนอกประเทศภายในเวลา 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งเรียกตัวเอกอัครราชทูตคูเวตประจำฟิลิปปินส์กลับประเทศเพื่อทำการหารือ ท่ามกลางความขัดแย้งของประเทศทั้งสองเกี่ยวกับรายงานที่ว่า มีการทารุณกรรมแรงงานฟิลิปปินส์ที่รับจ้างเป็นผู้ช่วยแม่บ้านในคูเวต ซึ่งส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์หลายคนตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต เรียกร้องให้แรงงานฟิลิปปินส์ในคูเวตเดินทางกลับประเทศ หลังจากมีการพบศพของแรงงานชาวฟิลิปปินส์รายหนึ่งในช่องแช่แข็งของบ้านหลังหนึ่ง รัฐบาลคูเวตแสดงความไม่พอใจต่อกรณีที่ฟิลิปปินส์ละเมิดอธิปไตย จากการที่เจ้าหน้าที่ในสถานทูตฟิลิปปินส์ เรียกร้องให้แรงงานฟิลิปปินส์หลบหนีออกจากบ้านนายจ้าง และต่อมากระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ได้ออกมาขอโทษต่อเรื่องดังกล่าว โดยเผยว่าสถานทูตฟิลิปปินส์ถูกบังคับให้ช่วยเหลือแรงงานฟิลิปปินส์เหล่านี้ เนื่องจากบางเหตุการณ์อยู่ในสภาวะชี้เป็นชี้ตาย กระทรวงการต่างประเทศคูเวต ให้เวลา 3 วันแก่เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ในการเปิดเผยรายชื่อชาวฟิลิปปินส์ ที่อาศัยในคูเวตที่ลักพาตัวแรงงานชาวฟิลิปปินส์จากบ้านของนายจ้างชาวคูเวต และเจ้าหน้าที่ของคูเวตจะยังคงไล่ล่าผู้ที่ละเมิดความมั่นคงของประเทศ และนำตัวขึ้นศาลเพื่อดำเนินคดี ที่มา: Middle East Eye, 25/4/2018 ฮ่องกงเตรียมพิจารณาร่างกฎหมายต่อต้านค้ามนุษย์ ในวันที่ 4 พ.ค. 2018 นี้ จะเป็นวันชี้ชะตาถึงอนาคตของแรงงานต่างชาติในฮ่องกง เมื่อสภานิติบัญญัติฮ่องกงเตรียมพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นครั้งแรก ทนาย Azan Marwah หนึ่งในผู้จัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้ บอกว่า กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์นี้ พุ่งเป้าไปที่การคุ้มครอง การสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดีตามกฎหมาย ไปจนถึงการปฏิรูประบบการจ้างแรงงานต่างชาติ เข้ามาประกอบอาชีพเป็นผู้ช่วยในบ้าน หรือ domestic helper เนื่องจากที่ผ่านมา มีการร้องเรียนถึงการหลอกลวงให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานอย่างผิดกฏหมาย การใช้ค่าแรงต่ำ รวมทั้งการใช้ความรุนแรงกับแรงงานเหล่านี้มากมาย แต่กลับไม่ได้รับการใส่ใจ ไม่มีแม้กระทั่งเปิดการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การพิจารณากฎหมายค้ามนุษย์ของฮ่องกง ยังมีความเป็นไปได้ที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นตัวบทกฎหมาย Patricia Ho หนึ่งในนักกฎหมายที่จัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้ บอกด้วยว่า ความท้าทายสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ การชี้แจงถึงความจำเป็นในการผลักดันร่างกฎหมายค้ามนุษย์ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งแรงกดดันจากนานาชาติเกี่ยวกับปัญหานี้ ได้ทำให้รัฐบาลฮ่องกงเริ่มรับรู้ถึงความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม ทาง Lawrence Li โฆษกด้านความมั่นคงของฮ่องกง ยืนยันว่า ฮ่องกงมีกฎหมายที่เพียงพอในการต่อต้านการค้ามนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งสวนทางกับมุมมองของทนาย Marwah ที่มองว่า ตอนนี้ฮ่องกงยังไม่มีกฎหมายห้ามใช้แรงงานทาส กฎหมายห้ามซื้อขายแรงงานทาส กฎหมายห้ามบังคับให้แรงงานกลุ่มนี้แต่งงาน รวมทั้งกฎหมายการฟอกเงิน ซึ่งกฎหมายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ทั้งสิ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงถูกกดดันจากนานาชาติในประเด็นการค้ามนุษย์ หลังจากสหรัฐฯจัดอันดับให้ฮ่องกงอยู่ในประเทศกลุ่มเทียร์ 2 ที่ต้องจับตา ในรายงานการค้ามนุษย์ เทียบเท่ากับอัฟกานิสถานและปากีสถาน เนื่องจากรัฐบาลฮ่องกงไม่สามารถทำตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการปราบปราบการค้ามนุษย์ได้ ทั้งการเอาผิดกับขบวนการค้ามนุษย์ การระบุตัวเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการเพิกเฉยต่อปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ฮ่องกงออกมาปฏิเสธรายงานค้ามนุษย์ฉบับดังกล่าว ปัจจุบัน ตามข้อมูลของ Justice Center ของฮ่องกง รายงานว่า ฮ่องกงมีแรงงานต่างชาติราว 336,000 คน ส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้ามาประกอบอาชีพผู้ช่วยในบ้านของกลุ่มคนฐานะปานกลางและร่ำรวยในประเทศ แรงงานกลุ่มนี้ต้องทำงานเฉลี่ย 71.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเกือบ 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ ด้วยค่าแรงเพียง 4,110 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 20,550 บาทต่อเดือน ท่ามกลางสภาพการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก พม่าเปิดตัวแนวทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคนงานภาคสิ่งทอ กระทรวงแรงงาน การเข้าเมือง และประชากรของพม่าเปิดตัวแนวทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ทำงานของคนงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่รัฐบาลคาดว่าจะมีคนทำงานในอุตสาหกรรมนี้มากถึง 1.5 ล้านคนภายในปี 2020 สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอพม่าระบุว่า ปัจจุบันมีคนงานทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอราว 500,000 คน ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์กรแรงงานพม่าระบุว่าโรงงานบางแห่งมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว หากเกิดเพลิงไหม้จะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงขอให้พนักงานโรงงานปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด ด้านองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประเมินว่า แต่ละทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุหรือโรคจากการทำงานไม่ต่ำกว่า 2.78 ล้านคน มีผู้บาดเจ็บหรือล้มป่วยราว 374 ล้านคน ที่มา: Myanmar Times, 29/4/2018
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตร. คุม 4 แกนนำ คนงาน GM ไปสอบประวัติ หลังร้องสถานทูตสหรัฐ ช่วยแก้ปัญหาแรงงาน Posted: 01 May 2018 12:10 AM PDT ตำรวจ สน.ลุมพินีนำ 4 แกนนำคนงานเจอเนอรัลมอเตอร์สฯ เข้าลงบันทึกประจำวันว่านำคนมาชุมนุม-สอบประวัติ โดยไม่แจ้งข้อหา หลังเข้าร้องสถานทูตสหรัฐฯ ช่วยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ภาพกลุ่มคนงานเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ (ที่มาภาพ เพจ สมัชชาคนจน) 1 พ.ค.2561 เนื่องในวันกรรมกรสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทยและเครือข่ายตั้งขบวนจากสวนลุม และตามถนนวิทยุมายื่นหนังสือข้อเรียกร้องที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้สหภาพแรงงานเจอเนอรัลมอเตอร์ส และเรียร้องให้สหรัฐอเมริกาต้องยุติการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยมี เอริน นิคกอร์สัน รองที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นผู้รับหนังสือ ต่อมาเวลาประมาณ 10.30 น. ภายหลังจากตัวแทนเข้ายื่นข้อเรียกร้องออกมาจากสถานเอกอัครราชทูตฯ เจ้าหน้าที่ได้นำตัว 4 ตัวแทน ไปลงบันทึกประจำวัน รวมทั้งสอบประวัติที่ สน.ลุมพินี บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก และกรรมการบริหารสมัชชาคนจนฝ่ายกฎหมายแรงงาน เปิดเผยกับประชาไท นอกจากตนแล้ว คนที่ถูกนำตัวไปที่ สน.ลุมพินี ประกอบด้วย นฤพล มีเหมือน ประธานสหภาพแรงงานเจอเนอรัลมอเตอร์ส ชาญชัย ธูปมงคล และผู้ประสานงานอีก 1 คน รวมเป็น 4 คน โดยที่ ชาญชัย เป็นผู้แจ้งชุมนุมสาธารณะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมาแล้ว บุญยืน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ว่าพวกตนพาคนมาชุมนุม รวมทั้งสอบประวัติ โดยที่ยังไม่แจ้งข้อกล่าวหา บุญยืน กล่าวด้วยว่า ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่มาสกัดการชุมนุมไม่ให้พวกตนเดิน แต่ตนยืนยันที่จะเดินไปยื่นหนังสือเนื่องจากประสานกับทางสถานทูตไว้แล้ว สำหรับการยื่นข้อเรียกร้องผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ฉบับ ฉบับแรกยื่นหนังสือถึงประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาควบคุมและดูแลนักลงทุนจากประเทศของตนให้ยุติการละเมิดสิทธิและเคารพต่อสิทธิแรงงาน ตามอนุสัญญา องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 การรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง รวมทั้งเคารพสิทธิในการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน ในกรณีสหภาพแรงงาน เจอเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย และติดตามทวงถามความคืบหน้าถึงหนังสือร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงาน พร้อมบทลงโทษ ที่เคยได้ร้องเรียนเมื่อเดือนมี.ค. 2556 จากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อีกฉบับยื่นหนังสือผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ถึงบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์สสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่ เพื่อให้รับทราบปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากการกระทำของบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์สสหรัฐอเมริกา ตลอดจนให้เร่งแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกิดขึ้น แสดงความรับผิดชอบจากการกระทำของบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย เพื่อให้ยุติการละเมิดและให้เคารพสิทธิแรงงาน เคารพสิทธิในการรวมกลุ่มกันเป็นสหภาพแรงงานโดยเร็ว สำหรับปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ได้สรุปไว้ว่าดังนี้ กรณีดังกล่าวมีปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2556 และนายจ้างใช้สิทธิปิดงาน (งดจ่ายจ้าง) เฉพาะพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 300 คน จนเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2560 สมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน 72 คน ทนต่อสภาวะเศรษฐกิจไม่ไหว จึงรับข้อเรียกร้องของนายจ้างทั้งหมดเพื่อขอกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างกลับไม่ให้สมาชิกสหภาพแรงงานเข้าทำงานแต่อย่างใด สมาชิกสหภาพแรงงาน พร้อมกับประธานและเลขาธิการสหภาพแรงงาน รวมทั้งหมด 72 คน จึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งต่อมา ครส.มีคำสั่งให้บริษัทฯ รับสมาชิกสหภาพแรงงาน 70 คนกลับเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าเสียหายนั้น บริษัทฯ จึงเรียกพนักงานทุกคนให้ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานที่สนามกอล์ฟ พัฒนากอล์ฟคลับ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 ทั้งยังยื่นชุดข้อเสนอให้พนักงานพิจารณา และยื่นหนังสือคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปรับลดค่าจ้างเหลือเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ 9,600 บาท ตัดสวัสดิการทั้งหมด และลดตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมอบหน้าที่ใหม่ให้ไปขูดสีตีเส้นบริเวณพื้นของคลังสินค้าดังกล่าว เป็นแรงงานไร้ฝีมือ โดยสั่งให้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2561 คำสั่งของนายจ้างข้างต้น ทำให้พนักงานหลายคนวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะต้องแยกกันอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง พนักงานส่วนใหญ่จึงตัดสินใจไม่เดินทางไปตามคำสั่งของนายจ้าง และต้องยอมลาออกไปเองเพราะไม่สามารถทนทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่และสภาพการจ้างานใหม่ได้ เหลือพนักงานที่สามารถเดินทางไปทำงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพียง 9 คน เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ฯ ชี้ว่า ผลกระทบจากคำสั่งของนายจ้างถือเป็นการกลั่นแกล้งพนักงาน ให้ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน สิทธิมนุษยชน และมีเจตนาทำลายสหภาพแรงงานอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ พนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทั้ง 9 คนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากรายได้ลดลงและไม่สามารถดูแลลูกและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามฉุกเฉิน รวมทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในจำนวนพนักงาน 9 คนมีพนักงานหญิง 1 คนที่ต้องเดินทางไปทำงานร่วมกับพนักงานชาย 8 คน ต้องเสาะหาที่พักเพียงลำพัง ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง ทั้งยังเป็นการกดขี่ทางเพศอย่างรุนแรง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กัมพูชาห้ามสหภาพฯ จัดชุมนุม-เดินขบวนวันแรงงานสากลที่หน้ารัฐสภา Posted: 30 Apr 2018 11:44 PM PDT เทศบาลพนมเปญห้ามไม่ให้กลุ่มแรงงานจัดการชุมนุมด้วยการเดินขบวนมาที่หน้าอาคารรัฐสภาเนื่องในวันแรงงานสากล โดยอ้างปัญหาเรื่องการจราจรและความปลอดภัย กรุงพนมเปญ (ที่มา: วิกิพีเดีย) ในวันแรงงานสากล 1 พ.ค. 2561 ประเทศกัมพูชายังคงปฏิเสธไม่ให้สหภาพแรงงานเดินขบวนผ่านตัวเมืองพนมเปญเพื่อแสดงออกถึงความสำคัญของวันนี้ อัฐ ธร ประธานสมาพันธ์แรงงานกัมพูชากล่าวว่าเจ้าหน้าที่ศาลากลางพนมเปญอ้างเรื่องการจราจรกับความปลอดภัยของประชาชนในการจำกัดแผนการเดินขบวนของสมาพันธ์แรงงาน ซึ่งเดิมทีมีแผนเดินขบวนจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชาใกล้ๆ กับวัดพนมไปยังรัฐสภา นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พนมเปญยังอ้างอีกว่าพวกเขาไม่อนุญาตให้จัดงานที่ชื่อว่า "การท้าทายการบังคับใช้กฎหมายต่อสหภาพแรงงาน" ที่หน้าอาคารรัฐสภา โดยเสนอให้พวกเขาไปจัดงานที่ลานฟรีดอมพาร์คห่างออกไปจากศาลากลางแทน ธร บอกว่าเรื่องนี้เป็น "การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกเล็กน้อย" ถึงแม้ทางการจะอนุญาตให้จัดงานที่ฟรีดอมพาร์ค แต่พวกเขาก็ไม่อยากจัดที่นั่นเพราะว่ามันอยู่ไกลจากตัวเมือง ถึงแม้ว่าตามกฎหมาย "การชุมนุมอย่างสงบและเป็นไปตามกฎหมาย" ของกัมพูชาแล้ว ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลก่อนการชุมนุมเพียงแต่ต้องมีการแจ้งให้ทราบก่อน อย่างไรก็ตามการสั่งห้ามจากศาลากลางดูเหมือนจะกลายเป็นพิธีกรรมรายปีอย่างหนึ่งไปแล้ว แต่ทว่าขณะที่ปีก่อนหน้านี้พวกเขาจะยังคงเดินขบวนในที่เดิมตามแผนต่อไปแม้จะถูกห้าม ในปีนี้พวกเขากลับไม่สามารถทำแบบนั้นได้เพราะมีการประนีประนอมกับฝ่ายทางการให้จัดงานหน้าสำนักงานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชาแทน ธรเปิดเผยว่าสาเหตุที่พวกเขาประนีประนอมในปีนี้เพราะเป็นช่วงใกล้เลือกตั้งแล้ว พวกเขาไม่อยากท้าทายรัฐบาล จึงยอมรับเงื่อนไขเปลี่ยนสถานที่จัดงานดังกล่าว ธรบอกด้วยว่าทางเทศบาลพนมเปญสัญญาว่าจะส่งใบขออนุญาตการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วม 2,000 คน ให้กับกระทรวงกิจการภายใน แต่ เขียว โสเพียก โฆษกของกระทรวงก็บอกว่ายังไม่ได้รับรายงาน นอกจากงานชุมนุมใหญ่ในที่สาธารณะแล้ว ในวันแรงงานสากลที่กัมพูชายังมีกลุ่มอื่นๆ ที่จัดงานกันในสถานที่เอกชนแต่จะมีการรองรับคนเข้าร่วมได้น้อยกว่า สำหรับการห้ามจัดชุมนุมจากทางการกัมพูชาในครั้งนี้ นาลี พิลอจ จากกลุ่มสิทธิมนุษยชน Licadho กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ผู้จัดงานไม่ได้ไต่ถามเจ้าหน้าที่เทศบาลหรือกระทรวงกิจการภายในว่าการเดินขบวนอย่างสันติของคนงานจะส่งผลกระทบต่อ "ความมั่นคงในชาติ" หรือทำให้เกิดปัญหาจราจรได้อย่างไร เรียบเรียงจาก Phnom Penh bans Labour Day march once again, The Phnom Penh Post, Apr. 27, 2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แรงงาน 4.0 : เปิดวิจัย 'เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม' กับผลกระทบต่อการจ้างงานภาคบริการไทย Posted: 30 Apr 2018 11:23 PM PDT เปิดงานศึกษาสภาพการจ้างงานใน 'อูเบอร์-แอร์บีเอ็นบี-บีนีท' พบเจ้าของแพลตฟอร์มพยายามสร้างสภาพความคุมเหนือผู้ขายและซื้อ จากความคลุมเครือ ระบบการให้คะแนน คนเข้ามาขับมากก็ถูกแชร์มาก รวมทั้งภาวะผูกขาด ขณะที่การรวมกลุ่มก็เพียงเพื่อปรับทุกข์กัน ไม่มีใครกล้าต่อรอง แฟ้มภาพ ในงาน การสัมมนา "เศรษฐกิจดิจิทัลกับแรงงาน 4.0: วิกฤตเก่า หรือโอกาสใหม่?" เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา จัดโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) และ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีการนำเสนอผลการวิจัย เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มกับผลกระทบต่อการจ้างงานภาคบริการในประเทศไทย ที่จัดทำโดย อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักวิจัยสถาบันเศรษฐกิจและแรงงานที่เป็นธรรม ซึ่ง อรรคณัฐ เป็นผู้นำเสนอ ประเทศเราประกาศนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล มีการส่งเสริม แต่เรื่องการควบคุมกับดูแลยังไม่มีมาตรการที่ดีพอ งานศึกษานี้ตนสนใจความขัดแย้งใน จ.เชียงใหม่ เนื่องจากมีแพลตฟอร์ม อย่าง อูเบอร์ (Uber) กับรถแดง แต่เนื่องจากมันเป็นสิ่งใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้นั้นเป็นกฎหมายที่มีนานแล้ว ภาครัฐจึงไม่สามารถตามทัดในบริบทเศรษฐกิจใหม่ๆ ปัญหานี้จึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เราทำการศึกษาเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจำนวน 3 แพลตฟอร์ม 1 ภาคขนส่งคืออูเบอร์ 2 แอร์บีเอ็นบี (Airbnb)เป็นแพลตฟอร์มที่พักอาศัย ที่เรานำที่พักที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์ แล้วเอามาเสนอให้เช่า เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงมากทั่วโลก เหล่านี้มันกระทบตลาดแรงงานแบบเดิมอย่างไร 3. แพลตฟอร์มบีนีท (BeNeat) บริการแม่บ้าน ลูกจ้างในบ้าน แพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยนักธุรกิจไทย เจ้าของแพลตฟอร์มพยายามสร้างสภาพความคุมเหนือผู้ขายและซื้อสำหรับเศรษฐกิจแพลตฟอร์มนั้น อรรคณัฐ อธิบายว่า เป็นลักษณะจับคู่ระหว่างผู้ต้องการใช้บริการกับเสนอบริการ ในแพลตฟอร์มก็อาจมีหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ หรือแอปผ่านมือถือ ช่องทางอาจมีมากกว่า1 ช่องทาง โดยมันจะมีผู้เล่นหลักคือคนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม คนที่เป็นเจ้าของก็พยายามสร้างสภาพความคุมเหนือทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ขายและซื้อสินค้าและบริการ โดยการหักค่าดำเนินการ แต่เดิมคนที่เสนอสินค้าและบริการก็จะได้ประโยชน์จากการเสนอเอง แต่เทคโนโลยีแพลตฟอร์มทำให้คนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มสร้างสภาพความคุมให้คนที่จะเสนอสินค้าบริการต้องทำ งานวิจัยในต่างประเทศสนใจผลกระทบ-รูปแบบการจ้างงานอรรคณัฐ กล่าวว่าในต่างประเทศที่คนสนใจศึกษามากๆ คือผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม สนใจสัญญาการจ้างงานที่รูปแบบการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป สนใจเรื่องสภาพการจ้างงาน รายได้ มีการศึกษาเรื่องของความท้าทายของการกำกับดูแล สำหรับในยุโรปกับสหรัฐฯมีการถกเถียงว่าคนที่ทำงานกับอูเบอร์ถือเป็นลูกจ้างไหม ในต่างประเทศจะเป็นข้อถกเถียงเรื่องมิติของแรงงานจำนวนมาก แต่ขณะที่ในไทยเป็นเรื่องของความขัดแย้ง หรือข้อกฎหมายเป็นหลัก และข้อกฎหมายเหล่านั้นก็จะไม่ค่อยเป็นข้อกฎหมายแรงงานเสียเท่าไหร่ มองผ่านกรอบงานที่มีคุณค่าในการวิเคราะห์ของรายงานชิ้นนี้ อรรคณัฐ กล่าวว่าใช้กรอบงานที่มีคุณค่าเข้ามาใช้ การศึกษา 3 กรณีศึกษา กรณีอูเบอร์ใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่ จ.เชียงใหม่ พบว่ากลุ่มที่ศึกษา มีกลุ่มที่ขับเป็นรายได้หลักก็มี แต่กลุ่มใหญ่เป็นขับเป็นรายได้เสริม แบ่งเป็น รายได้เสริมที่จะส่งเสริมอาชีพหลัก เช่น เป็นไกด์ด้วย กับอีกประเภทเป็นรายได้เสริมที่ไม่เกี่ยวกับรายได้หลักเลย ส่วนแอร์บีเอ็นบีและ บีนีทก็ใช้สัมภาษณ์ สำหรับอูเบอร์ ที่ทำการศึกษาที่ จ.เชียงใหม่ข้อถกเถียงการให้บริการอูเบอร์เป็นข้อถกเถียงทางด้านกฎหมายเป็นหลัก โดยมุมมองจะมี 3 มุมมอง คือผู้ให้บริการ ใช้บริการ แพลตฟอร์ม รวมทั้งคนที่กำกับคือเจ้าหน้าที่ คนใช้บริการมีความสุขเนื่องจากตัวแพลตฟอร์มมันตอบสนองความต้องการของเขา ขณะที่ในฝั่งของคนขับ 100% บอกว่าสามารถตอบปัญหาบางอย่าง เช่น การยืดหยุ่นในการทำงาน แต่เมื่อถามไปลึกๆ เขาจะแสดงให้เห็นว่าตัวเองถูกเอาเปรียบจากแพลตฟอร์มอยู่บ้าง ส่วนภาครัฐ ในฐานผู้กำกับ เนื่องจากมีข้อขัดแย้ง การแก้ไขก็ยึดกฎมาย รัฐมองว่าตัวแพลตฟอร์มไม่ผิดกฎมาย แต่คนขับอูเบอร์ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ในประเทศไทยข้อถกเถียงจะจำกัดตรงนี้ แต่ในต่างประเทศข้อถกเถียงอยู่ที่คนขับอูเบอร์เป็นแรงงานไหม กฎหมายแรงงานคุ้มครอเขาอย่างไรบ้าง ในมุมมองของการสร้างสภาพควบคุม โดยตัวเจ้าของแพลตฟอร์มสร้างสภาพความคุมเหนือคนขับ โดยการที่รู้ข้อมูลว่าบริเวณไหนมีคนต้องการใช้จำนวนมาก ก็จะมีมาตรการจูงในให้คนเข้าไปขับในบริเวณนั้น เช่น ให้ค่าบริการมากกว่า โดยที่ตัวแพลตฟอร์มไปเรียกเอากับผู้บริการ เมื่อแพลตฟอร์มเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งผู้โดยสารและคนขับไม่มีความสามารถในการควบคุมแพลตฟอร์มเลย ความคลุมเครือ – การให้คะแนน – คนเข้ามาขับมากก็ถูกแชร์มาก - ภาวะผูกขาดอรรคณัฐ กล่าวว่า ความคลุมเครือของการทำงานทำให้คนขับมีความกังวลที่จะปฏิเสธในการทำงาน บางคนต้องทำงานติดต่อ ถ้าถามแพลตฟอร์ม ทางแพลตฟอร์มก็จะบอกว่าปฏิเสธได้ แต่คนงานไม่ทราบว่าการจับคู่กับผู้รับบริหารเหล่านี้มาจากอะไร การสร้างสภาพควบคุมอีกประเด็นคือการให้คะแนน คนใช้บริการก็จะเป็นข้อมูลที่ดี แต่คนขับก็จะพยายามทำงานให้ได้มีคะแนนสูงๆ ระบบการให้คะแนนด้านหนึ่งมีข้อดี แต่อีกด้านก็เป็นการสร้างสภาพกังวลต่อผู้ขับ การปฏิเสธผู้โดยสารก็จะมีผลต่อคะแนนด้วย ขณะที่ เรื่องค่าโดยสาร ถ้าหักตัวค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำมันค่าสึกหรอ ช่วงแรกคนขับก็จะบอกว่าพอเนื่องจากมีรายได้จูงใจ แต่เมื่อมีผู้ขับเข้ามามากขึ้นก็ถูกแชร์ออกไป นอกจากนี้มีปัญหาเรื่องประกันด้วย การรวมกิจการของแกร็บมาอยู่กับอูเบอร์ แต่เดิมคนขับมีทางเลือก แต่ตอนนี้ไม่ทางเลือกแล้ว ถูกผูกขาดไปแล้ว แอร์บีเอ็นบี - บีนีทส่วน แอร์บีเอ็นบี ข้อถกเถียงในประเทศไทย ก็เป็นเรื่องของการตีความทางกฎหมายเหมือนเดิม คือผิด พ.ร.บ โรงแรม ไหม จากการศึกษาพบว่าทุกห้องที่เอามาใช้กับแอร์บีเอ็นบีนี้ไม่ผิดกฎหมายข้อใดก็ข้อหนึ่ง ผลกระทบก็คือที่พักลดลง เดิมให้เช่ารายเดือน เปลี่ยนเป็นให้เช่ารายวันแทน กรณีนี้มีมากในต่างประเทศ แพลตฟอร์มก็มีการสร้างสภาพควบคุม เช่น มีกรณีเดิมรับจองไปแล้ว เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ มีเหตุจำเป็นก็ยกเลิกไป จึงส่งผลต่อลำดับการแสดงผลด้วย ที่พักที่แสดงผลเป็นอันดับต้นๆ มีโอกาสถูกเลือกมากกว่า ระบบการให้คะแนนของแอร์บีเอ็นบีก็มีผลต่อลำดับการแสดงผล การยกเลิกซ้ำยังมีการลงโทษด้วยการหักเงิน แม้ว่าจะมีการอุทธรณ์ได้ แต่เจ้าของที่พักนั้นก็มีความสงสัยว่าทำไม่ต้องรายงาน รวมทั้งการหักเงินนั้นเป็นการหักเพื่อลงโทษโดยแพลตฟอร์ม แทนที่จะเป็นการหักไปเพื่อให้ลูกค้าที่เสียโอกาส ส่วนแพลตฟอร์มลูกจ้างทำงานบ้านนั้น แพลตฟอร์มเข้ามาเป็นตักลางในการจับคู่ความต้องการผู้ที่จะมาทำงานบ้าน คนที่จะต้องการแม่บ้าน ก็มีประโยชน์ บนแพลตฟอร์มสามารถกำหนดเวลาทำงานได้ และช่วยประกันความเสียหายด้วย เช่น แม่บ้านทำเสียงานบนวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ตัวแพลตฟอร์มมีรับประกัน การทำงานค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง โดยตัวแพลตฟอร์มหักค่านายหน้าไว้ ข้อกังวลคือคนที่เป็นแม่บ้านนั้น ต้องเป็นคนที่รับภาระเครื่องมือน้ำยา อุปกรณ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางด้วย แม้มีความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ก็มีสิ่งที่เสียไปเช่นกัน โดยรวมทำได้มากก็ประมาณ 2 รายต่อวัน การให้คะแนนนั้น ระบบนี้จะให้ได้ทางเดียวที่คนใช้บริการเท่านั้นที่จะให้คะแนนได้ และคะแนนมีผลต่ออันดับการแสดงผล การรวมกลุ่มก็เพียงเพื่อปรับทุกข์กัน ไม่มีใครกล้าต่อรองการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองนั้น อรรคณัฐ กล่าวว่าแทบทำไม่ได้ ทำก็เพียงเพื่อปรับทุกข์กัน ไม่มีใครกล้าต่อรองเนื่องจากเกรงว่าจะถูกเอาออกจากแพตฟอร์ม มีการรวมกลุ่มผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่ก็มีคนของแพลตฟอร์มเข้ามาอยู่และมอนิเตอร์ตลอดเวลา โดยสรุปพบว่ามีลักษณะบางอย่างที่เป็นปัญหา แน่นอนว่าประโยชน์นั้นมีมากมายเช่นกัน เช่น เกิดโอกาสการจ้างงานใหม่ๆ มีอาชีพต่อเนื่องจากการมาของแพลตฟอร์ม ในขณะเดียวกันการกำกับดูแลของภาครัฐซึงอาศัยกฎหมายเป็นหลักไม่ทันสมัย จึงเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เช่น กรณีขนส่งสาธรณะนั้นค่อนข้างชัดเจนมาก การแข่งขันของแท็กซี่แบบเดิมที่ตัวเองจำต้องปฏิบัติตามกฎทั้งเรื่อค่าโดยสาร เรื่องตัวรถ เครื่องแต่งกาย แต่ว่าคู่แข่งของเขาคืออูเบอร์ไม่ต้องปฏิบัติตามกฏอะไร นี่จึงเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ขณะที่เรื่องที่พักจะมีผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม เพราะตอนหลังผู้พักมีทางเลือกมีแอร์บีเอ็นบีขึ้นมาก็ส่งผลกระทบต่อแรงงานไม่มากก็น้อย ถึงแม้อาจจะยังไม่ชัดเจน เนืองจากยังไม่มีการศึกษาเชิงบริมาณเสียเท่าไหร่ แต่ก็เห็นชัดว่ามีผลกระทบบ้าง โดยรวมคือมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะการบริหารจัดการการกำกับดูแลที่เหมาะสมของภาครัฐและในอนาคตอาจจะเกิดปัญหาที่ใหญ่ตามมา ตัวแพลตฟอร์มพยายามที่จะผลักภาระความเสี่ยงทั้งหมดออกไปให้ผู้ใช้บริการและผู้รับบริการ โดยตัวเองสนใจที่จะรับผลประโยชน์อย่างเดียว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'สมานฉันท์แรงงาน-แรงงานรัฐวิสาหกิจ' ทวงรัฐบาล 10 ข้อปีที่แล้ว ทำให้ได้ Posted: 30 Apr 2018 10:05 PM PDT 'คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน-สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ' ย้ำ 10 ข้อเรียกร้องเดิม กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ ภาพจากเพจ Voicelabour 1 พ.ค.2561 เนื่องในวันกรรมกรสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) รวมตัวกันเพื่อเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ทวง 10 ข้อเรียกร้องเดิมที่เสนอรัฐบาลไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับ 10 ข้อเรียกร้องประกอบด้วย 1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 1.1 ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย 1.2 ด้านการศึกษาตามความต้องการในทุกระดับ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน 2.1 กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ 2.2 กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี 3.รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและ การเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48) 4.รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนี้ 4.1 ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ 4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 4.3 ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ 5. รัฐต้องยกเลิก นโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว 6. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้ 6.1 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม 6.2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของ พรบ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน 6.3 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ให้เท่ากับ มาตรา 33 6.4 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ชราภาพ 50 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนสุดท้าย 6.5 ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้ อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับที่ออกตาม พรบ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 6.6 ขยายกรอบเวลาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์ และ 6.7 รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53) 8. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตามผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ (กรณีศึกษา บริษัท บริติช-ไทยซินเทติค เท็กสไทล์ จำกัด) 9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ และ 10. รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้ 1 พฤษภาคม วันกรรมกรสากล"สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ ประชาธิปไตยประชาชน"การจัดงานวันกรรมกรสากลและความเป็นมาอย่างสังเขปของวันกรรมกรสากลนับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม(INDUSTRIAL REVOLUTION)ในปี คศ.1750 โดยเริ่งเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษก่อนที่จะขยายไปยังยุโรป อเมริกาและภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผล กระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก วิถีการผลิตเปลี่ยนไปจากเกษตรกรรมไปสู่ระบบอุตสาหกรรมโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น แรงงานชนบทอพยพจากชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ภาวะเช่นนี้จึงการกดขี่ขูดรีดอย่างรุนแรงของนายทุนที่มีต่อคนงาน ทำให้คนงานต้องทำงานอย่างหนัก ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ไม่มีวันหยุด สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ค่าจ้างต่ำไม่มีสวัสดิการใดๆ ทำให้คนงานไม่สามารถทนต่อการกดขี่ขูดรีด และสภาวะการทำงานเยี่ยงทาสได้อีกต่อไป จึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นสู้โดยเริ่มที่เมืองชิคาโก้ สหรัฐอเมริกาและขยายลุกลามไปยังอีกหลายเมือง รวมไปถึงแคนาดา เป็นต้น และคนงานทั่วทั้งโลกได้สำแดงพลังครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1886(พ.ศ.2429) เพื่อเรียกร้องให้ได้มา "ระบบสามแปด" คือ ทำงานแปดชั่วโมง พักผ่อนแปดชั่วโมง ศึกษาหาความรู้แปดชั่วโมง การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดเข้มข้นและข่าวการลุกขึ้นสู้ของกรรมกรในสหรัฐอเมริกาได้แพร่ขจายไปยังกรรมกรในประเทศต่างๆที่มีสภาพการทำงานที่เลวร้าย เยี่ยงทาสไม่ต่างกัน จึงเกิดการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง และมีการนัดหยุดงานลุกลามไปยังประเทศต่างๆทั่วทั้งโลก การต่อสู้ของกรรมกรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใช่ว่าจะสำเร็จได้โดยง่าย การยืนหยัดต่อสู้ล่วงเลยถึงปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432)จึงประสบชัยชนะ แต่การต่อสู้ในครั้งนั้นกรรมกรต้องสังเวยชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ต่อมาในคราวการประชุมสมัชชาสังคมนิยมสากลที่สองมีมติกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันกรรมกรสากล" โดยเริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1890(พ.ศ.2433)เป็นต้นมา ซึ่งต่อมาภายหลังองค์การสหประชาชาติได้นำเอาผลจากการต่อสู้ของกรรมกรสากลมาบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศก็ได้บัญญัติหลักประกันของระบบ "สามแปด" รวมทั้งสิทธิ เสรีภาพด้านต่างๆ และในทุกๆปีกรรมกรทั่วทั้งโลกต่างออกมาชุมนุม เดินขบวน เฉลิมฉลอง พร้อมกับยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศ รณรงค์สะท้อนปัญหาของคนงานให้สังคมได้รับรู้ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมที่กล้าหาญ กล้าต่อสู้ กล้าเสียสละของกรรมกรในยุคนั้นซึ่งส่งผลอย่างเอนกอนันต์มายังกรรมกรในยุคปัจจุบัน ประเทศไทยกรรมกรก็ได้กระทำในสิ่งที่ทรงคุณค่าเช่นเดียวกับกรรมกรทั่วทั้งโลก แต่ต่อมา "วันกรรมกรสากล" ได้ถูกชนชั้นปกครองตัดตอนประวัติศาสตร์ความเชื่อมโยงกับสากล โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ"ทำให้ความแหลมคม จุดยืน อุดมการณ์เลือนหายไปเพราะการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติถูกชี้นำกำกับโดยรัฐบาลด้วยการสนับสนุนงบประมาณ ไม่ยืนอยู่บนหลักการอิสระ พึ่งตนเอง ทำให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอลงเป็นลำดับ "ด้วยการแบ่งแยก ทำให้แตกแล้วปกครอง" แต่ที่สุดแล้วก็ไม่อาจทำลายความเป็นพี่น้อง ความเป็นมิตรสหายของกรรมกรได้ เพราะยังมีกรรมกรส่วนที่ก้าวหน้า ยังมีความเชื่อมั่นว่า "กรรมกรทั้งผอง คือ พี่น้องกัน" กรรมกรต้องเชื่อมั่นในพลังของตนเองไม่ยอมตกเป็นทาสของนายทุนและชนชั้นปกครองที่พยายามแบ่งแยกสลายพวกเรา หากเราแบ่งแยก แตกความสามัคคี อ่อนแอ ตกเป็นเครื่องมือของนายทุนและชนชั้นปกครองเมื่อใดแล้ว ความหวังว่าจะมีอนาคตและชีวิตที่ดีนั้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย วันกรรมกรสากลในปี 2018 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)ได้จัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ "วันกรรมกรสากล"ให้แจ่มชัดยิ่งขึ้นเช่นทุกปี โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันภาวะการกดขี่ขูดรีดที่รุนแรง หนักหน่วง สลับซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม ภายใต้กลไกและการทำงานของระบบเศรษฐกิจทุนเสรีนิยมใหม่ในยุคสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4(4.0)ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งจะมีการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทดแทนในการดำเนินชีวิตของคน ทั้งภาคการผลิต การบริการ การสื่อสาร การเกษตร และอื่นๆ ซึ่งก็จะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตและความสัมพันธ์ทางผลิต แม้จะมีส่วนที่ดีในแง่ของความรวดเร็ว สะดวก สบาย แต่ก็จะเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างรุนแรงเช่นกัน ทั้งการตกงาน ว่างงาน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การผูกขาด การเข้าถึงเทคโนโลยีของธุรกิจและภาคการผลิต รายย่อย ความมั่งคั่งจะตกอยู่ในอาณาจักรของคนไม่กี่คน และนั่นหมายถึงการแย่งชิงและความรุนแรงจะตามมา ประเทศไทยเองแม้จะเขย่งขาก้าวสู่เวทีแข่งขันกับนานาชาติภายใต้นโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" แต่ก็ไม่ได้มีกรอบการทำงานและนโยบายเชิงรุก และมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน พยายามโน้มน้าวให้สังคมเห็นแต่สิ่งดี ปกปิด บิดเบือนผละกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างจงใจ และที่สำคัญประเทศไทยก็ไม่ใช่ผู้ผลิต ผู้คิดค้นเทคโนโลยี ทุกสิ่งล้วนแต่ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศเป็นด้านหลัก จึงยังไม่รู้ว่าทิศทางหลักของประเทศจะมุ่งไปในทิศทางใด เกษตรกรรม ความพอเพียง หรืออุตสาหกรรมของระบบเศรษฐกิจทุนเสรีนิยม ที่จะทำให้ชนชั้นล่างชนชั้นแรงงาน คนยากจน ใช้ชีวิตอย่างลำบากมากยิ่งขึ้นในขณะที่นายทุน นักธุรกิจทั้งที่เป็นคนไทยและต่างชาติได้รับการสนับสนุนอย่างออกหน้าออกตาจากรัฐบาล ด้วยมาตรการทางกฎหมาย นโยบายการเงิน การคลัง การลดหย่อนภาษี การเข้าถึงทรัพยากรอย่างไม่มีขีดจำกัด..ประเทศไทยกำลังก้าวเดินสู่..กับดัก..ที่ผู้นำประเทศสร้างขึ้นเอง..อย่างน่ากังวล กิจกรรมในปีนี้จะจัดขึ้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึง ทำเนียบรัฐบาล โดยชูคำขวัญเช่นทุกปีที่ยังคงเหมาะสมกับยุคสมัย เข้ากับสถานการณ์โลก สถานการณ์ประเทศไทย คือ "สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ ประชาธิปไตยประชาชน" ข้อเสนอวันกรรมกรสากลปี 2561(2018) และได้ยื่นต่อรัฐบาลไปแล้วเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 ในปีนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)ซึ่งร่วมกันจัดงาน "วันกรรมกรสากล"ในประเทศไทยมาทุกๆปี มีมติร่วมกันว่าจะไม่มีการยื่นข้อเสนอใหม่ในวันกรรมกรสากลในปีนี้แต่จะเป็นการติดตาม ทวงถามข้อเสนอที่ยื่นไปในปี 2560(2017) อันเนื่องมาจากข้อเสนอที่ยื่นไปยังไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอและความต้องการของคนงาน แม้บางเรื่องได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย บางเรื่องก็เพิกเฉยเช่นการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม แต่บางเรื่องกลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น ข้อเสนอที่จะให้ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่รัฐบาลกลับออกกฎหมายที่จะเป็นเครื่องมือให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือ "ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูและและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ....." "ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ....."ที่จะนำไปสู่การแปรรูปกิจการรถไฟ และล่าสุดกรณีรัฐบาลมีนโยบายในการจัดตั้งบริษัทโครงข่ายบรอดแบรนด์แห่งชาติ (NBN)ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ และศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (NGDC) ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และจะถ่ายโอนทรัพย์สินของบริษัทแม่ไปยังบริษัทลูกและในอนาคตก็จะยกให้เอกชนมาบริหารจัดการแทน จนก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านจากพนักงาน ขบวนการแรงงานและภาคประชาชนเป็นวงกว้าง รวมทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ไม่เป็นไปตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และจากข้อเสนอให้เท่ากันทั้งประเทศแต่กลับไปทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องค่าจ้าง เหลื่อมล้ำเรื่องรายได้ คือจากให้ค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศกลับไปเป็น 7 เขต ดังนั้นข้อเสนอในปีนี้จึงยังคงยืนยันข้อเสนอเดิม คือ 1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 1.1ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย 1.2ด้านการศึกษาตามความต้องการในทุกระดับ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน 2.1กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก ๒ คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ 2.2 กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี 3.รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและ การเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48) 4.รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนี้ 4.1ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ 4.2 จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 4.3 ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ 5.รัฐต้องยกเลิก นโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว 6.รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม ดังนี้ 6.1 ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม 6.2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของ พรบ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน 6.3 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ให้เท่ากับ มาตรา 33 6.4 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ชราภาพ 50 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนสุดท้าย 6.5 ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้ อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับที่ออกตาม พรบ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 6.6 ขยายกรอบเวลาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์ 6.7รั ฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53) 8.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตามผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ (กรณีศึกษา บริษัท บริติช-ไทยซินเทติค เท็กสไทล์ จำกัด) 9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ 10. รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ พี่น้องกรรมกรที่รักทั้งหลายรวมทั้งความสำเร็จทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นในวันข้างหน้าได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพลังของพวกเราในวันนี้ และวันนี้เช่นกันระบบเศรษฐกิจทุนเสรีนิยมใหม่ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก กลไกของมัน และรัฐบาลแต่ละประเทศที่คลั่งไคล้หลงใหลสมคบคิดกับระบบเศรษฐกิจเช่นที่ว่านี้ ปล่อยให้กลไกของมันบดขยี้ ขูดรีดพี่น้องคนงานทั้งอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นอำพราง จนพี่น้องคนงานต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่าในอดีตหลายเท่าทวีคูณ ดังนั้นพี่น้องกรรมกร และขบวนการแรงงานทั้งหลายต้องเร่งศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจให้ต่อสถานการณ์ให้ถ่องแท้แจ่มชัดและต้องเร่งขยายการจัดตั้งให้กว้างขวาง พร้อมๆกับการสร้างแนวร่วมและขบวนการทางสังคม สามัคคีกับประชาชนเพื่อสร้างโอกาส แสวงหาแนวทางเพื่อบรรลุถึงความต้องการ คือ ความกินดี อยู่ดี มีความมั่นคง ปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามแม้เราจะสามัคคีกับใครส่วนไหนก็ตาม แต่ตราบเท่าที่ภายในของเรายังอ่อนแอ แตกความสามัคคี ก็เป็นเรื่องยากหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ความต้องการจะถึงฝั่งฝันบรรลุสู่เป้าหมายได้ ดั่งคำที่ว่า "ภายนอกเป็นเงื่อนไข ภายในชี้ขาด" ความสัมพันธ์ภายในภายนอกจึงต้องจัดวางอย่างเหมาะสม ต้องลงมือปฏิบัติอย่าง ซื่อสัตย์ ยืนหยัด อดทน มุ่งมั่น สร้างสรรค์สอดคล้องกับสถานการณ์และเป็นจริงความสำเร็จจึงจะเกิดขึ้นได้...ที่สำคัญต้องออกแรงทำ..ลงมือปฏิบัติ..ความสำเร็จและชัยชนะจะเกิดขึ้นแน่นอน ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของพี่น้องกรรมกร ผู้ใช้แรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) 1 พฤษภาคม 2561
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรุงเทพโพลล์ เผย 40.4% บอก 'ยังไม่ได้รับ' การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นใหม่ Posted: 30 Apr 2018 07:24 PM PDT กรุงเทพโพลล์ เผยผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ 64.3 % ทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดย 59.6% ได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นแล้ว 39.9% ระบุว่ายังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ยืม โดยส่วนใหญ่ 85.5% กังวลว่าข้าวของจะราคาแพงขึ้น แรงงานส่วนใหญ่ 62.3 % อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิด วอนนายจ้างอยากให้เพิ่มค่าแรงรายวันให้มากขึ้น 1 พ.ค.2561 เนื่องในวันกรรมกรสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ความในใจของแรงงานไทย 4.0" โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,045 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 308- 330 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 35.7 ยังไม่ทราบ เมื่อถามต่อว่าได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.6 ได้รับแล้ว ขณะที่ร้อยละ 40.4 ยังไม่ได้รับ เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปี ติดต่อกัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.7 รู้สึกมีความสุข อยากให้ขึ้นแบบนี้ทุกๆปี ส่วนร้อยละ 35.7 รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 11.6 รู้สึกแย่ คิดว่าน่าจะขึ้นมากกว่านี้ ทั้งนี้เมื่อถามว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 39.9 ระบุว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 30.9 ระบุว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ส่วนร้อยละ 29.2 ระบุว่า พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม สำหรับเรื่องที่กังวลหลังจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปีติดต่อกันพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.5 กังวลว่าข้าวของจะราคาแพงขึ้น เพราะต้นทุนผู้ประกอบการสูงมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 25.1 กังวลว่าค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีกหลายปี และร้อยละ 19.8 กังวลว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงาน เมื่อถามว่าการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำไปทั่วทุกภูมิภาค ทำให้อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.3 อยากกลับ ขณะที่ร้อยละ 37.7 ไม่อยากกลับ โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการดีกว่า (ร้อยละ 43.4) รองลงมาคือ มีงานให้เลือกน้อย (ร้อยละ41.4) และชอบอยู่กทม.และปริมณฑลมากกว่า (ร้อยละ 37.2) สุดท้ายเมื่อถามถึงความในใจที่อยากบอกกับนายจ้างพบว่า เรื่องที่อยากบอกนายจ้างมากที่สุดคือ อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น (ร้อยละ 35.0) รองลงมาคือ อยากให้เพิ่มสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล (ร้อยละ 17.1) และอยากให้มีงานจ้างทุกวัน (ร้อยละ 13.8)
รายละเอียดการสำรวจ ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 17 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร จอมทอง ดินแดง บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางบอน บึงกุ่ม พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ลาดกระบังวังทองหลาง หนองแขม หลักสี่และปริมณฑล 1 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,045 คน เป็นชายร้อยละ 52.2 และหญิง ร้อยละ 47.8 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 – 27 เมษายน 2561 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 พฤษภาคม 2561 ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น