โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานองค์กรสื่อนานาชาติเผย เสรีภาพสื่อไทยรั้งอันดับ 140 จาก 180 ชาติทั่วโลก

Posted: 03 May 2018 06:08 AM PDT

องค์กรสื่อไร้พรมแดนจัดทำรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก นอร์เวย์มาอันดับหนึ่ง ไทยรั้งอันดับ 140 รายงานวิเคราะห์ ปีนี้กระแสเกลียดชังสื่อกระจายไปยังประเทศประชาธิปไตยด้วย

เมื่อ 25 เม.ย. 2561 องค์กรสื่อไร้พรมแดน (Reporters Without Borders - RSF) ออกรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อประจำปี 2561 จัดอันดับสถานการณ์ด้านเสรีภาพสื่อของ 180 ประเทศทั่วโลก

ผลปรากฏว่าปีนี้ นอร์เวย์ มีสถานการณ์เสรีภาพสื่อดีที่สุดในโลก รองมาคือสวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไทยติดอันอับที่ 140 ดีขึ้นจากปีที่แล้วที่ได้อันดับที่ 142 ทาง RSF ให้คำอธิบายประเทศไทยว่าถูก 'ปิดปากด้วย "สันติภาพและระเบียบ"' ประเทศที่ถูกปกครองโดยรัฐบาลทหาร คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ RSF ขนานนามว่าเป็น 'นักล่าเสรีภาพสื่อ' มาตั้งแต่ปีที่แล้ว มีการสอดส่องนักข่าวและนักข่าวพลเมืองตลอดเวลา บ่อยครั้งมีการเชิญตัวมาสอบสวนและควบคุมตัว

รายงานขององค์กรด้านเสรีภาพสื่อยังระบุว่าการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารอาจนำไปสู่การโต้ตอบอย่างรุนแรงจากฝ่ายนิติบัญญัติและระบบยุติธรรมที่ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลทหาร พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ถูกปรับให้ภาครัฐมีอำนาจในการสอดส่องและเซ็นเซอร์มากขึ้น นอกจากนั้น การผลัดเปลี่ยนรัชกาลไม่ได้ทำให้การใช้ข้อกล่าวหาด้วยกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ลดลง

สื่อไร้พรมแดน ประณามรัฐบาล คสช. 3 ปี ปิดเสรีภาพสื่อ ปราบนักกิจกรรม

ส่วนอันดับของประเทศในอาเซียน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และพม่ามีอันดับที่สูงกว่าไทย อินโดนีเซียอยู่อันดับ 124 ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 133 พม่าอยู่อันดับ 137 กัมพูชาอยู่อันดับต่ำกว่าไทย อยู่อันดับที่ 142 และมาเลเซียอยู่อันดับ 145 สิงคโปร์อยู่อันดับ 151 และเวียดนามอยู่อันดับ 175 สำหรับประเทศที่มีเสรีภาพสื่อน้อยที่สุดคือเกาหลีเหนือ รั้งท้ายอยู่อันดับที่ 180

RSF วิเคราะห์ว่า ในปี 2561 กระแสความเกลียดชังสื่อได้กระจายตัวไปจากประเทศที่เป็นเผด็จการสู่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยด้วย จำนวนผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างเป็นประชาธิปไตยที่เห็นว่าสื่อคือศัตรู สหรัฐอเมริกาที่รับประกันเสรีภาพสื่อในรัฐธรรมนูญก็อันดับตกลงไปเป็นอันดับที่ 45 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดว่าสื่อเป็น "ศัตรูของประชาชน" ซึ่งเป็นสิ่งที่โจเซฟ สตาลิน ผู้นำเผด็จการของสหภาพโซเวียตเคยใช้

เส้นแบ่งระหว่างความรุนแรงทางวาจากับทางร่างกายเริ่มหดแคบลง ในฟิลิปปินส์และอินเดีย ประเทศที่มีการโจมตีทางคำพูดต่อสื่อมากก็มีสื่อมวลชนถูกสังหารอย่างน้อยประเทศละสี่คนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

3 องค์กรสื่อ จี้ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ทวงคืนเสรีภาพประชาชน

Posted: 03 May 2018 05:11 AM PDT

3 องค์กรสื่อ ย้ำ 'เสรีภาพสื่อมวลชน' คือ 'เสรีภาพของประชาชน' หวังสื่อทุกประเภทตระหนักถึงคุณค่าเสรีภาพที่ยึดมั่นในหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นข้ออ้างของผู้มีอำนาจในการจัดการกับคนเห็นต่างได้

 

3 พ.ค.2561 วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก รายงานข่าวแจ้งว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ออกแถลงการณ์ "ปลดล็อกคำสั่ง คสช. ทวงคืนเสรีภาพประชาชน" โดยเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องระมัดระวังการออกกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน  พร้อมกับ "โละ เลิก ล้าง" ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ที่ลิดรอนเสรีภาพสื่อ ซึ่งก็คือเสรีภาพของประชาชนนั่นเอง เพื่อให้การดำเนินงานของสื่อสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกำลังเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้งตามโรดแมป

2. ให้ คสช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยปราศจากการครอบงำ 3. เรียกร้องให้ประชาชนและผู้ใช้สื่อในทุกแพลตฟอร์ม ระมัดระวังในการเผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่ผิดกฎหมาย  ข่าวปลอม (Fake News) ที่ไหลทะลักบนสื่อออนไลน์ และขอให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบ ควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้อยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ  

4. เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทุกแพลตฟอร์ม พึงตระหนักการทำหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ  ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อมวลชน และขอยืนหยัดพร้อมที่จะรับการถูกตรวจสอบจากสังคม ด้วยวิถีทางอันถูกต้อง ชอบธรรมด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย

 

สำหรับ "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" นั้นตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี ที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศ เพื่อตอกย้ำถึงเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของ "เสรีภาพสื่อมวลชน" ซึ่งก็คือ "เสรีภาพของประชาชน" เพื่อให้มวลมนุษยชาติตระหนักถึงความสำคัญของสื่อมวลชนมืออาชีพที่จะต้องมีเสรีภาพ โดยที่ทั้ง 3 องค์กรยืนยันสนับสนุนหลักการดังกล่าว  และต้องการเห็นสื่อทุกประเภทตระหนักถึงคุณค่าเสรีภาพที่ยึดมั่นในหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นข้ออ้างของผู้มีอำนาจในการจัดการกับคนเห็นต่างได้

โดยเฉพาะในปัจจุบัน สถานการณ์ด้านเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ ยังอยู่ภายใต้ประกาศและคำสั่ง คสช. หลายฉบับ เปิดทางให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซง ควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเป็นระยะๆ เข้าข่ายปิดกั้น ลิดรอนสิทธิการรับรู้ข่าวสาร และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มีเนื้อหาให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร การแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หากเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนใช้สิทธิเกินขอบเขตก็สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย หรือใช้กลไกควบคุมจริยธรรมขององค์กรสื่อ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ประกาศ หรือคำสั่งของ คสช.

แถลงการณ์ทั้ง 3 องค์กรสื่อระบุด้วยว่า ประเทศไทยอยู่ในช่วงขับเคลื่อนตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ รวมถึงแผนปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะพัฒนาระบบนิเวศสื่อเพื่อสร้างกลไกการปฏิรูปสื่อในประเทศไทย อาทิ มีข้อเสนอให้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน ภายใต้การกำกับกันเองของสื่อมวลชนในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ และเข้มข้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีกฎหมายอีกหลายฉบับออกมาบังคับใช้ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่มีความสุ่มเสี่ยงให้นิยาม "การปกป้องคุ้มครองและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านสารสนเทศของประเทศ" จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

P-move พอใจผลเจรจามหาดไทย เดินหน้าไป ก.เกษตรฯ ต่อพร้อมแถลงจี้รัฐหยุดคุกคามคนจน

Posted: 03 May 2018 05:02 AM PDT

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ขอเจ้าหน้าที่หยุดคุกคามการเคลื่อนไหวของคนจน พร้อมเผยพอใจผลการเจรจากับกระทรวงมหาดไทย เดินหน้าปักหลักค้างคืนต่อที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3 พ.ค. 2561 สืบเนื่องจากการชุมนุมของบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ P-move เมื่อวันที่ 2 พ.ค. โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ปักหลักชุมนุมค้างคืนบริเวณด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน 25 เรื่องให้กับเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

วันนี้เวลา 11.10 น. ประยูร รัตนเสนีย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในงานด้านกิจการความมั่นคงภายใน ได้เดินทางมาชี้แจงกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยระบุว่าตั้งแต่เมื่อกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งได้มีการเชิญตัวแทนกลุ่มเข้าไปพูดคุยในเรื่องต่างๆ ที่เป็นเรื่องเดือดร้อนของประชาชน 15 จังหวัด จนได้ข้อสรุปทั้งหมด 5-6 เรื่อง โดยเรื่องทั้งหมดได้เรียนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย ทราบแล้ว และจากการประชุมนั้นหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่างได้รับการมอบหมายงานให้เข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้ว และยังได้ทำข้อตกลงในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินร่วมกันด้วย

จากนั้นทางกลุ่มได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ระบุถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุม 3 แกนนำที่จังหวัดลำพูน รวมทั้งการสกัดกั้นไม่ให้ประชาชนจากจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อร่วมชุมนุมกับทางกลุ่ม โดยประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการข้างต้น เป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อการดำรงอยู่ของประชาชนในประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขอเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานฝ่ายต่างๆ ยุติการข่มขู่ คุกคาม ประชาชนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนจนในทุกพื้นที่

แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ฉบับที่ 3

จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ห้วงการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สังคมสากลทั่วไปให้การยอมรับ และภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่มีที่มาแบบพิเศษ มีความประสงค์อยากจะสร้างกระบวนการให้เกิดประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น การปฎิบัติจากหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงต่างๆกลับมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง

เหตุการณ์การเข้าสกัดการเดินทางของพี่น้องสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)เมื่อคืนวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา รถบัสที่ชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน จำนวน 2 คัน ซึ่งเหมาเช่าเพื่อเดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง มลฑลทหารบกที่ 33 ด่านแม่ทา จังหวัดลำพูน เรียกตัวคนขับรถบัสสองคนลงจากรถ และหายตัวไปโดยไม่ทราบสาเหตุ จนชาวบ้านจำนวน 50 กว่าคนบนรถลงมาสอบถามหาคนขับรถ แต่เจ้าหน้าที่กลับอ้างว่าไม่ทราบว่าหายไปไหน กุญแจรถบัสก็ถูกยึด ท้ายสุดชาวบ้านถูกควบคุมตัวไปยังมลฑลทหารบกที่ 33

และในวันถัดมา ในเวลา 15.45 นายประยงค์ ดอกลำไย ที่ปรึกษา ขปส. และนาย สุแก้ว ฟุงฟู รองประธานสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และนาย รังสรรค์ แสนสองแคว ประธานโฉนดชุมชนบ้านไร่ดง ถูกเจ้าที่คุมตัว โดยอ้างว่าชาวบ้านกระทำความผิด พรบ.การชุมนุมสาธารณะ ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงและไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะขัดต่อความมั่นคงและอาจจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ทั้งๆที่การเคลื่อนไหวของ ขปส. ได้ทำการแจ้งการเคลื่อนไหวตาม พรบ.การชุมนุมสาธารณะ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การกระทำเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่รัฐบาลต้องเปิดพื้นที่การแสดงออก แสดงความคิดเห็น และต้องรับฟังเสียงของประชาชนกลุ่มต่างๆ แต่สิ่งที่หน่วยงานความมั่นคงที่มีพฤติกรรมข้างต้นเป็นการกระทำที่เลวร้าย ป่าเถื่อน และมีความพยายามที่จะยัดเยียดข้อหาผิดตำสั่ง คสช. 13/2559 การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตราย ต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งๆ ที่ในหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานเรื่องการเคลื่อนไหวติดตามการแก้ปัญหาของ ขปส. ได้แจ้งวัตถุประสงค์ และรายละเอียดการเคลื่อนไหวไว้อย่างชัดเจน

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมขอประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการข้างต้น เป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อการดำรงอยู่ของประชาชนในประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขอเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานฝ่ายต่างๆ ยุติการข่มขู่ คุกคาม ประชาชนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนจนในทุกพื้นที่

ทั้งนี้ความคืบหน้าการติดตามการแก้ปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ได้รับการตอบสนองจากกระทรวงที่รับผิดชอบแล้ว 3 กระทรวง คือ กระทรวงคมนาคม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาเป็นประธานและให้นโยบายการแก้ไขปัญหาร่วมกัน พร้อมรับข้อเสนอกรณีปัญหา 10 กรณี 1 นโยบาย และกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามการแก้ปัญหาของประชาชน 
ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ได้มีการเปิดประชุมอนุกรรมการแก้ปัญหาที่สาธารณประโยชน์และที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้างเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเร่งด่วน 25 กรณี และเปิดเวทีถกนโยบายการส่งมอบพื้นที่ชุมชนที่อยู่ในที่ดินการดูแลของกระทรวงมหาดไทยตามนโยบายโฉนดชุมชน

สุดท้ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดการประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาเร่งด่วน และพร้อมเจรจาการแก้ปัญหาผลกระทบจากนโยบายต่างๆที่เกิดจากการดำเนินงานของทางกระทรวง

เราหวังว่ากรณีปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ที่สำคัญคือรัฐบาล จะตอบสนองข้อเสนอและเปิดพื้นที่ให้ผู้แทน ขปส. ได้เจรจาหารือแนวทางการแก้ปัญหาความเดือดร้อนดั่งเช่น 3 กระทรวงข้างต้น

ท้ายสุดขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมขอกราบขออภัย พี่น้องชาวกรุงเทพมหานครที่อาจจะได้รับผลกระทบการเคลื่อนไหวของเราในบางเวลา และขอบคุณสังคม สื่อต่างๆ ที่ให้ความสนใจและติดตามรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

ที่ดิน เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม


ต่อมาในเวลา 13.20 น. ทางกลุ่มได้เคลื่อนขบวนจากกระทรวงมหาดไทย ไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะเข้าพักค้างคืนบริเวณด้านหน้ากระทรวงเกษตรฯ ต่อ โดยในเวลา 14.30 น. ตัวแทนกลุ่มได้เข้าประชุมกับกระทรวงเกษตรเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' ปลดล็อกคำสั่ง 0.4 เดินหน้าเสรีภาพประชาชน

Posted: 03 May 2018 04:55 AM PDT

วงเสวนา "ปลดคำสั่ง 0.4 เดินหน้าเสรีภาพประชาชน" 'ศูนย์ทนายสิทธิ' เผยมีกว่า 2 พันคนต้องขึ้นศาลทหาร ระบุกสทช. ควบคุมสื่อ 'วอยซ์ทีวี-พีซทีวี' โดนประจำ ย้ำหลังเลือกตั้ง กลไกที่ คสช. ตั้งขึ้นมาคุมนโยบายยังอยู่ ด้าน ส.ผลิตข่าวออนไลน์ ชี้ Fake News น่ากลัวมากที่สุด นักวิชาการย้ำการกำกับสื่อไม่ต้องมาจาก ก.ม.อย่างเดียว แต่เป็นตัวผู้เสพสื่อเอง แนะกฎหมายดิจิทัลควรช่วยเพิ่มพูนสิทธิ

3 พ.ค.2561 ในเวทีเสวนา "ปลดคำสั่ง 0.4 เดินหน้าเสรีภาพประชาชน"  ซึ่งจัดขึ้น เนื่องในวันที่ 3 พฤษภาคม "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  โดยมีผู้ร่วมเสวนา ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความและหัวหน้าฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  โดยมี นายมานพ ทิพย์โอสถ ที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 มีคำสั่ง คสช. ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของสื่อ ซึ่งองค์กรสื่อมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้มีการปลดล็อกคำสั่งเหล่านั้น 

'ศูนย์ทนายสิทธิ' เผยมีกว่า 2 พันคนต้องขึ้นศาลทหาร 

พูนสุข กล่าวว่า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 2 วัน เพราะเห็นว่าหลังรัฐประหารมีการควบคุมตัวบุคคลที่ออกมาชุมนุมคัดค้านการรัฐประหาร และเรียกบุคคลไปรายงานตัวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มนักกฎหมายกลุ่มเล็กๆ จึงรวมตัวกัน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพบว่าในช่วงระยะเวลาที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดคือการที่มีพลเรือนจำนวนมากต้องขึ้นศาลทหาร โดยไม่รู้ว่าจะได้รับความเป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน

หากย้อนมองกลับไป ในช่วงระยะเวลา 4 ปี สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน เช่น วาทกรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่พูดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2558  หลังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ว่า "อำนาจของท่านมี อำนาจในการสั่งปิดสื่อทั้งหมด หรือแม้แต่นำคนมายิงเป้า แต่ท่านไม่ทำ" ซึ่งแม้จะเป็นคำพูดที่ดูไม่จริงจัง แต่สำหรับคนทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เรารู้สึกว่าถ้อยคำแบบนี้ เป็นถ้อยคำที่รุนแรง จนแม้แต่ UN ยังออกแถลงการณ์ถึงถ้อยคำของผู้นำในครั้งนั้นด้วยซ้ำ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า กลับไม่มีองค์กรสื่อในประเทศไทยที่จะออกมาพูดถึงเรื่องนี้เลย ว่าคัดค้านหรือไม่ควรทำ จึงเป็นข้อสังเกตว่าสถานการณ์ ทำให้สื่อไม่สามารถแสดงความเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ แม้กระทั่งการถูกข่มขู่ในลักษณะนี้

ภาพรวมหลังรัฐประหาร มีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 20 พ.ค. 2557  ถึง 1 เม.ย.2558  หลังจากนั้นแทนที่ด้วยคำสั่ง หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 ซึ่งยังมีบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน  ทำให้ทหารมีอำนาจในการควบคุมตัวบุคคล ที่กระทำความผิดฐาน 4 ฐานความผิด คือเกี่ยวกับความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช หรือ ความผิดเกี่ยวกับอาวุธที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้  ซึ่งคำสั่งนี้ทำให้พลเรือนสามารถขึ้นศาลทหารได้ เป็นสถานการณ์ที่คนในช่วงอายุ 20-30 ปี จะไม่เคยเจอมาก่อน ว่ามีการประกาศให้พลเรือนถูกดำเนินคดีในศาลทหารได้ด้วย

ซึ่งปัญหาของการดำเนินคดีในศาลทหาร คือ 1. ในเชิงโครงสร้าง ศาลทหารสังกัด กระทรวงกลาโหม ก็จะขาดความอิสระและเป็นกลาง  2.ช่วงประกาศกฎอัยการศึก เป็นช่วงเวลายาวนานหลายเดือน ทำให้คดีที่เกิดในช่วงนั้น ไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ คดีถูกพิจารณาชั้นเดียวแล้วจบเลย  และ 3. องค์คณะในศาลทหารไม่ได้มีการบังคับว่าต้องจบกฎหมายทั้งหมด คือให้จบการศึกษากฎหมาย 1 คน และอีกสองคนเป็นทหารอาชีพ

"อันนี้เป็นปัญหาที่พบในเชิงโครงสร้าง ปัจจุบันมีคนอย่างน้อย 2,000 กว่าคน ที่ถูกดำเนินคดีโดยศาลทหาร แม้จะมีการยกเลิกไปแล้ว แต่คดีที่เกิดในช่วงที่ประกาศใช้ศาลทหาร ก็ยังถูกดำเนินคดีในศาลทหารอยู่  ผลกระทบไม่ใช่แค่บุคคลที่เป็นเป้าหมายทางการเมือง ของ คสช. เท่านั้น ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิในการพิจารณาคดีไม่เป็นธรรม  แต่แม้กระทั่งทหารเอง ที่ขึ้นศาลทหารอยู่แล้ว  พอมีการประกาศกฎอัยการศึก ทำให้ถูกพิจารณาคดีชั้นเดียว เพราะคำพิพากษาไม่ถูกพิจารณาโดยศาลที่สูงขึ้นไป ทำให้ทหารไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วยเช่นกัน จากการประกาศใช้กฎอัยการศึก" พูนสุข กล่าว

กสทช. ควบคุมสื่อ 'วอยซ์ทีวี-พีซทีวี' โดนประจำ

พูนสุข กล่าวว่า อำนาจที่สำคัญอีกอย่างและยังคงมีการใช้จนถึงทุกวันนี้ คือการควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน และห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป ซึ่งล่าสุดออกเป็นคำสั่งที่ 3/2558  ไม่มีการให้นิยามที่ชัดเจน เมื่อนำมาบังคับใช้เจ้าหน้าที่ทหารก็บังคับใช้อย่างกว้างขวาง องค์กรที่จะมาตรวจสอบว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองหรือไม่คือศาล แต่คำสั่งที่ 3/2558 ถูกออกโดยมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญจึงยังเป็นปัญหาในการบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ รวมถึงการเรียกรายงานตัวและปรับทัศนคติก็ยังคงเป็นเทรนด์จนถึงทุกวันนี้

หัวหน้าฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สถานการณ์ที่กระทบสิทธิและเสรีภาพ ที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับสื่อโดยตรง  คือ กรณี ประวิตร โรจนพฤกษ์ ถูกคุมตัวไปในค่ายทหาร อย่างน้อย 2 ครั้ง ปัจจุบันก็ยังถูกดำเนินคดี แม้จะยกเลิกกฎอัยการศึกไปแล้ว โดยเป็นผู้ต้องหาในมาตรา 116  จากการโพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ค ซึ่ง 1 ใน 5 ข้อความพูดถึงการทำหน้าที่สื่อมวลชนตรวจสอบทุจริตการรับจำนำข้าว สะท้อนให้เห็นว่ามีการใช้กฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน และสิทธิในการแสดงออก

มีประกาศคำสั่งหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการที่ คสช. ออกมาควบคุมสื่อ สื่อเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ หลังรัฐประหารก็มีการห้ามสื่อออกอากาศ จากสถิติของ ILaw  ในช่วง 4 ปี คสช. โดย กสทช. ควบคุมสื่อโดยการลงโทษ 52 ครั้ง สื่อที่ถูกลงโทษมากที่สุดคือ วอยซ์ทีวี รองลงมาคือ พีซทีวี โดยทั้งหมดมี 34 ครั้ง ที่ลงโทษเกี่ยวกับการฝ่าฝืนประกาศของ คสช. ซึ่งมีฉบับหลักๆ คือ 97/2557, 103/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 41/2559 แม้ว่าประกาศที่ 97/2557 จะควบคุมสื่อไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาที่กระทบหรือวิพากษ์วิจารณ์ คสช. โดยไม่สุจริต และเป็นประกาศฉบับหลักที่ใช้ควบคุมสื่อ  แต่คำสั่งที่ 41/2559 เป็นการยื่นดาบให้ กสทช. อีกชั้นหนึ่ง ถ้า กสทช.เห็นว่าเนื้อหารายการไหนเข้าข่ายฝ่าฝืน ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 ถือว่าผิดมาตรา 37 ของ กสทช. ทันที

ซึ่งหาก กสทช ให้อำนาจของ กสทช. อย่างเดียวจะมีศาลปกครองช่วยดูว่าชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือไม่ ถ้าเราจำได้ คำสั่งที่ 41/2559  ออกมาตอนที่พีซทีวีมีการฟ้อง และศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การออกคำสั่งฉบับนี้มาทำให้ตัดอำนาจศาลปกครองออกไปในการตรวจสอบสื่อขึ้นมาทันที

ย้ำหลังเลือกตั้ง กลไกที่ คสช. ตั้งขึ้นมาคุมนโยบายยังอยู่

"เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพประชาชน และอีกทาง เสรีภาพประชาชน คือ เสรีภาพสื่อ แม้ปีหน้าจะมีเลือกตั้ง มี ครม. ชุดใหม่ แต่ในระยะยาวมีเรื่องที่เราต้องจัดการ คือกลไกต่างๆ ที่ คสช. ตั้งขึ้นมา เพื่อควบคุมนโยบาย เช่น คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะกินระยะเวลา 20 ปี  เป็นอย่างน้อย รวมกับกฎหมายที่ตราผ่านสภามากกว่า 800 ฉบับ เราไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะกฎหมายออกมาจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แม้ก่อนหน้านี้เราเคยภูมิใจคำว่านิติรัฐ นิติธรรม แต่ระยะ 4 ปี ที่ คสช. เข้ามา นิติรัฐถูกทำลายราบคาบ  ดังนั้นนอกจากสื่อจะพยายามที่จะปลดล็อกสิทธิเสรีภาพของตัวเองแล้ว สื่อก็ต้องช่วยปลดล็อกสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน" พูนสุข กล่าว

ต้องบอกว่าการจะล้มล้างกฎหมายที่มีในปัจจุบัน ไม่ง่าย และยากมากด้วยซ้ำ สังคมที่มีกฎหมายเต็มไปหมด ออกรวดเดียว ทั้งประกาศ ทั้งคำสั่ง ภายใน 4 ปี 800 ฉบับ  อย่างน้อยอาจต้องมีคณะกรรมขึ้นมาตรวจสอบ หรือดูว่ากฎหมายฉบับนั้น เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือไม่ เช่น พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ จริงๆ มีความพยายามออกกฎหมายตัวนี้มานานเป็นสิบปี และเมื่อออกมาแล้ว ในปี 2558 ก็เห็นปัญหาในการบังคับใช้อยู่ เพราะเป็นการออกมาอย่างขาดการมีส่วนร่วม  กฎหมายเกี่ยวสิทธิเสรีภาพ เราต้องการรัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหานี้ และดูความเร่งด่วนกฎหมายที่จะต้องทำต่อ

ส.ผลิตข่าวออนไลน์ ชี้ Fake News น่ากลัวมากที่สุด

ก้าวโรจน์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มองว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีบทบาทมากขึ้นในสังคม ต่างกับในอดีต แต่ไม่ว่าจะเป็นสื่อเก่า สื่อใหม่ สื่อออนไลน์ หรือ สื่อออฟไลน์ ปลายทางจะถูกบังคับให้มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่องานนั้นๆ อยู่แล้ว รวมถึงกฎหมายที่นำมาควบคุมเป็นตัวเดียวกัน โดยเฉพาะออนไลน์ที่จะมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาควบคุมด้วย

" พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต้องถูกวางโครงสร้างให้มีข้อมูลที่ดีเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชน ต่อไปโซเชียลมีเดียจะมีผลต่อการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่ากลุ่มการเมืองเริ่มมีความเคลื่อนไหวอยู่เนืองๆ ตอนนี้เพียงแค่บอกว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ก็มีการทำดาต้า ทำข้อมูลต่างๆ เพราะโซเชียลมีเดียสามารถบอกได้ทุกอย่าง ความสนใจ ความพอใจของประชาชน ทุกอย่างที่เป็นออนไลน์จะมีผลต่อประเทศไทย ส่วนตัวมองว่าเทคโนโลยีทำให้คนเสพข่าวได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผิดกับสมัยก่อน ขณะที่รัฐบาลเองก็มีความพยายามให้การตรวจสอบการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น"

"จากการทำหน้าที่นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์นั้น ข่าวบางข่าวเสนอได้ไม่นานก็ต้องเอาลงจากเว็บไซต์ ในช่วงแรกเป็นสิ่งที่เราเจอ แต่ช่วงหลังเมื่ออยู่บนพื้นฐานกฎหมายเดียวกันที่ออกมาควบคุมให้เราปฏิบัติตาม สิ่งที่น่ากลัวมากที่สุด คือ Fake News การรู้เท่าทันสื่อของโซเชียลมีเดีย  กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือเด็กและผู้สูงอายุที่ส่งข่าวต่อๆกัน  โดยขาดการไตร่ตรอง เพียงแค่ถูกจริตข่าวที่ไปอ่าน

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลังรัฐประหารที่เราพบว่ามีข่าวลวงต่างๆ มากขึ้น สิ่งที่สื่อต้องมีคือ สามัญสำนึกในการทำหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ทำงานประเภทใดก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกคนต้องทำเหมือนกัน คือ คุณภาพของเนื้อหาข่าวและความรับผิดชอบ โดยทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ก็ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบ Fake News ทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้" นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์  กล่าว

ย้ำการกำกับสื่อไม่ต้องมาจาก ก.ม.อย่างเดียว แต่เป็นตัวผู้เสพสื่อเอง

ฐิติรัตน์ กล่าวถึงมุมมองในประเด็นกฎหมายดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน และสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในปัจจุบันว่า สื่อจะต้องถูกกำกับควบคุมให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะกฎหมายเดิมหรือกฎหมายที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่การกำกับควบคุมตรงนี้ไม่จำเป็นต้องมาจากฎหมายอย่างเดียว เพราะสื่อไม่จำเป็นต้องให้ใครมาบอก หรือชี้ซ้าย ชี้ขวา ว่าควรเป็นอย่างไร กลไกของผู้เสพสื่อจะเป็นสิ่งที่บอกเองว่าสื่อต้องเป็นอย่างไร

"ปัจจุบันโลกออนไลน์และออฟไลน์ไม่ได้แยกจากกันแล้ว สิ่งที่เราเห็นบนโลกออนไลน์ทุกวันนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตบนโลกจริงๆ กฎหมายดิจิทัล เป็นกฎหมายที่ช่วยให้สังคมไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น เพราะเป็นกฎหมายคุ้มครองบุคคล ป้องกันไม่ให้บริษัทที่ดำเนินการในระบบดิจิทัล นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือแชร์ให้บุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นกรณีของเฟสบุ๊ค เพราะหากเราไม่มั่นใจว่าข้อมูลของเราถูกนำไปใช้อย่างไร คนที่ใช้ชีวิตปกติก็จะไม่กล้าแชร์ข้อมูล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและสังคม  โครงสร้างของโลกดิจิทัลมีความเปราะบางอยู่ แม้จะรวดเร็วและครอบคลุม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเป้าต่อการโจมตีได้ง่าย ทำอย่างไรเราจะทำให้โครงสร้างเหล่านี้มีเสถียรภาพพอที่ทุกคนจะใช้มันได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย" ฐิติรัตน์ กล่าว

กฎหมายดิจิทัลควรช่วยเพิ่มพูนสิทธิ

อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ยังกล่าวอีกว่า ถ้าพูดถึงกฎหมายดิจิทัล เราอาจจะนึกถึงกฎหมายที่จำกัดสิทธิ แต่ในความเป็นจริงยังเป็นกฎหมายที่ช่วยเพิ่มพูนสิทธิ ทำให้เราสามารถใช้เสรีภาพของเราได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดเสรีภาพสื่อและประชาชนทั่วไปเช่นกัน แต่การจำกัดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลในโลกดิจิทัลไหลเวียนได้อย่างราบรื่น ถูกนำไปใช้ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม นั่นคือสิ่งที่กฎหมายดิจิทัลควรจะเป็น ไม่ใช่มีไว้เพียงเพื่อดูแลความมั่นคงอย่างที่หลายคนพยายามจะจำกัดความ

"สิ่งที่ควรจับตามองในปัจจุบัน คือ กฎหมายที่ควบคุมผู้ให้บริการออนไลน์ ทั้งอำนาจ กสทช.  อำนาจคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 12/2557 และ 17/2557 รวมถึง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการสื่อหรือผู้ให้บริการดิจิทัล มาตรา 15 ที่พูดถึงการเปิดให้ผู้ใช้บริการเข้ามาแสดงความเห็น และผู้ให้บริการต้องคอยตรวจสอบเนื้อหาว่ามีโอกาสที่จะขัดต่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 หรือไม่ ตรงนี้เรียกว่าเป็นการให้อำนาจดุลยพินิจกับผู้ให้บริการออนไลน์ที่เป็นตัวกลางในการควบคุมเนื้อหาบนโลกดิจิทัล ซึ่งประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลกว่าการควบคุมตรงนี้ควรเป็นอำนาจของใครกันแน่ เพราะหากเป็นเชิงเนื้อหาควรถูกควบคุมโดยกฎหมาย แต่การที่กฎหมายไม่ระบุให้ชัดเจนทำให้เกิดประเด็นว่าผู้ให้บริการที่เป็นคนกลางต้องใช้วิจารณญาณคิดเอาเองว่าเนื้อหาแบบนี้มีโอกาสที่จะผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือคำสั่ง คสช. หรือไม่  ซึ่งคนที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนทุกคนคงไม่มีใครอยากรับความเสี่ยงตรงนี้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่ากำลังพยายามโยนอำนาจในการควบคุมจากรัฐไปที่สื่อตัวกลาง"

อีกประเด็นที่น่าจับตาคือ ร่างกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ร่างแรกที่ออกมา เมื่อ 2-3 ปีก่อน  กฎหมายตัวนี้เป็นเทรนด์ของโลก โครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์ ถ้าถูกโจมตีมีโอกาสที่จะเป็นปัญหาในชีวิตได้ เพราะเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล และโรงไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องรักษาโครงสร้างเหล่านี้ให้มีความมั่นคง เพราะกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ ร่างแรกที่ออกมาระบุให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลได้ในกรณีที่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยคุกคาม โดยไม่ต้องผ่านวิจารณญาณของใคร แต่ไม่ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ภัยคุกคาม" ทำให้หลายคนกังวลและพยายามที่จะต่อต้านกฎหมายนี้ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีความพยายามที่จะแก้ร่างกฎหมายนี้ให้มีถ้อยคำที่รัดกุมมากขึ้น ไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ 100% แต่ต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยพิจารณาด้วย

"สิ่งสำคัญคือกฎหมายไซเบอร์มีไว้เพื่อควบคุมความมั่นคงระบบของโครงสร้าง ไม่ใช่ความมั่นคงเชิงเนื้อหา และไม่มีกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ของประเทศใดในโลก จะให้ความสำคัญเรื่องสิทธิเสรีภาพ ขยายขอบเขตของกฎหมายให้ครอบคลุมในเรื่องเนื้อหา ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องช่วยกันระมัดระวัง เพราะไม่เช่นนั้นเราจะได้กฎหมายที่มีเจตนารมณ์ที่ดี แต่ออกมาแล้วถูกนำไปใช้อีกแบบหนึ่ง เหมือน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ตัวกฎหมายตั้งแต่ต้นไม่เคยมีความตั้งใจนำไปใช้เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทเลย แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้จะมีการแก้กฎหมายไปแล้วก็ยังคงเห็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกนำไปใช้ในคดีหมิ่นประมาทตลอดเวลา ได้แต่หวังว่าประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยกับ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์"

ฐิติรัตน์ กล่าวว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ก่อนจะมีการจัดทำกฎหมายต่างๆ โดยการลดขั้นตอนให้คนแสดงความคิดเห็นและเปิดช่องทางให้มากขึ้น

"หลายคนตั้งคำถามว่าเวลามีการเปิดให้แสดงความคิดเห็น เขียนไปแล้วจะมีการนำไปปรับแก้ไหม ต้องเข้าใจว่ากฎหมายมีออกมาใหม่ตลอดเวลา 800 ฉบับ แม้แต่เราที่เป็นนักกฎหมาย อ่านแล้วก็ยังสับสนว่าแต่ละร่างต่างกันอย่างไร แต่เราก็ต้องตั้งคำถามกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่าคุณต้องถามความเห็นจากประชาชนที่จะเป็นผู้ถูกบังคับใช้กฎหมาย ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้เห็นร่างกฎหมายก่อนที่จะออกมา

ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่จะทำให้ร่างกฎหมายไปสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ภาครัฐต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง บางครั้งมีเปิดให้เข้าไปแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ แต่กระบวนการ ขั้นตอนที่จะเข้าไปแสดงความคิดเห็นค่อนข้างยาก ต้องลงทะเบียนหลายขั้นตอน กฎหมายบางตัวมีผู้มาแสดงความเห็นไม่เกิน 10 คน เราจะเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นประชามติได้หรือไม่ แม้บางครั้งจะถูกแย้งกลับมาว่าเปิดแล้วแต่คนไม่สนใจ

"ถ้าเป็นแบบนั้นเราควรต้องตั้งคำถามกับตัวเองหรือเปล่า ว่าวิธีการ หรือช่องทางมีปัญหาหรือไม่ เว็บไซต์พวกนี้ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งเลขบัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล หรืออะไรต่างๆ เพราะการแสดคงความเห็นแบบไม่เปิดเผยตัวตนจะเป็นประโยชน์กว่า  ทำให้คนกล้าพูด แบบไม่ต้องกลัวอะไร โดยเฉพาะในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้ แม้บางคนจะมองว่าการไม่เปิดเผยตัวตนจะทำให้คนพูดอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่ส่วนตัวแล้วมองว่า เราควรปล่อยให้เนื้อหาของความเห็นเป็นสิ่งพิสูจน์ตัวเอง และสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประเวศ' แนะหาผู้นำตามธรรมชาติ 4 ล้าน ตั้งสภาประชาชน ขับเคลื่อนแผนชุมชน

Posted: 03 May 2018 03:54 AM PDT

'ประเวศ วะสี' ชูชุมชนเข้มแข็ง หัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แนะหาผู้นำตามธรรมชาติ 4 ล้าน ตั้งสภาประชาชน เป็นพลังพลเมืองตื่นรู้ ขับเคลื่อนแผนชุมชน

3 พ.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า วันนี้ สช. จัดเวที Kick off สานใจ สานพลัง ภาคีสนับสนุนปฏิรูปชุมชนเข้มแข็ง ครั้งที่ 1/2561 และ การพิจารณาร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. .... ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยมีภาคีเครือข่ายการปฏิรูป 11 ด้าน สมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด เครือข่ายสุขภาพ กทม. เครือข่ายทำงานระดับตำบล ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการกว่า 200 คนเข้าร่วม

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส บรรยายพิเศษหัวข้อ "ชุมชนเข้มแข็ง : หัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย" กล่าวว่า ชุมชนถือเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ทำให้เกิดความมั่นคงเข้มแข็ง เหมือนพระเจดีย์ที่ไม่สามารถสร้างจากยอดบนสุดแต่ต้องสร้างจากฐานล่าง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี 8 หมื่นหมู่บ้านและทุกๆ แห่งจะมี "ผู้นำตามธรรมชาติ" ประมาณ 40-50 คน ไม่ว่ากลุ่มครู พระสงฆ์ ศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรี ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นคนมีคุณภาพได้รับการยอมรับจากประชาชน เมื่อรวมทั้งประเทศแล้วจะมีถึง 4 ล้านคน

"การขับเคลื่อนนโยบายชุมชนเข้มแข็ง ควรเชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการและให้ความสำคัญกับผู้นำตามธรรมชาติทั้ง 4 ล้านคน จัดตั้งสภาผู้นำชุมชนหรือสภาประชาชนทุกหมู่บ้าน ให้เกิดเป็นพลังพลเมืองตื่นรู้ ขับเคลื่อนแผนชุมชนมุ่งเน้น 8 เรื่อง คือ เศรษฐกิจ จิตวิญญาณ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ การศึกษา และประชาธิปไตย" ศ.นพ.ประเวศ กล่าว

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม กล่าวว่า ขณะนี้แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศมีผลบังคับใช้แล้ว มุ่งให้ความสำคัญกับกลไกขับเคลื่อนทุกองค์กรที่ทำงานพัฒนาชุมชน จับมือร่วมกันมีเป้าหมายคือเพิ่มสิทธิและบทบาทของชุมชนทั้งเรื่องสวัสดิการ ทรัพยากร ทุน และเศรษฐกิจชุมชน

"การทำงานสร้างชุมชนเข้มแข็งจะเป็นแบบแนวราบ ไม่ใช้อำนาจสั่งการแบบแนวดิ่ง สานพลังเหมือนลมใต้ปีกให้กันและกัน บนหลักการประชารัฐ" นพ.อำพล ระบุ

เอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม กล่าวว่า ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติคือต้องสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ยกตัวอย่างในด้านเศรษฐกิจที่ปัจจุบันช่องว่างคนจนและคนรวยสูงถึง 22 เท่า ก็ควรลดเหลือไม่เกิน 15 เท่า จัดทำดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของคนและสังคมประกาศทุก 2 ปี และมีจังหวัดศูนย์กลางความเจริญ 15 จังหวัด 

"ปีนี้จังหวัดที่จนสุดคือแม่ฮ่องสอน แต่เป้าหมายคือภายใน ๒๐ ปีแม่ฮ่องสอนต้องพัฒนามาอยู่ระดับกลางให้ได้ ชุมชนจึงเป็นตัวสำคัญเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดการทำงานร่วมกัน" เอ็นนู กล่าว

โชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า รัฐบาลได้ขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืน มีทีมงานลงพื้นที่สอบถามปัญหาความต้องการของชุมชนทั้ง 8 หมื่นหมู่บ้าน ทำให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุ

สมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช. กล่าวว่า พอช. มีวิสัยทัศน์ช่วง 5 ปีข้างหน้า คือชุมชนจัดการตนเองได้ และ พ.ศ.2575 จะเข้มแข็งทั้งประเทศ แต่การทำงานต้องเชื่อมโยงชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น ประชาคม ภาควิชาการ หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง มีงบประมาณที่ชุมชนจัดการตนเองภายใต้หลักธรรมาภิบาล

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ.... โดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ และแนวทางการดำเนินงานว่า ร่างระเบียบสำนักนายกฯ เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านสังคม โดยบทบาทของ สช. ได้รับมอบหมายให้จัดตั้ง สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง เป็นหน่วยงานภายในของ สช. เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการให้กับคณะกรรมการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งระดับชาติ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งระดับจังหวัด

 "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ไม่ใช่กฎหมายที่มุ่งเน้นสั่งการ แต่ช่วยเสริมการทำงานของภาครัฐให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน มาทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ สร้างกลไกการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศ" ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมก็ได้ช่วยกันให้ความเห็นต่อร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. .... อาทิ ขอให้เพิ่มสัดส่วนของภาคประชาสังคมในคณะกรรมการฯทั้งระดับชาติและจังหวัด  การขยายขอบเขตคำว่าชุมชนให้รวมถึงการรวมกลุ่มตามสาขาอาชีพและลุ่มน้ำ และการสร้างความตื่นตัวให้ชุมชนร่วมกันขับเคลื่อน โดย สช. จะมีการจัดเวทีประสานเครือข่ายขับเคลื่อนเพื่อชุมชนเข้มแข็งเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิทธิร้องไม่ให้อุทธรณ์คดี 'นาหวะ จะอือ' และค่าชดเชยถูกคุมขัง 331 วัน

Posted: 03 May 2018 03:06 AM PDT

สององค์กรสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์ร่วมกรณีนาหวะ จะอือ ผู้ดูแลชัยภูมิ ป่าแส ถูกคุมขัง 331 วันก่อนถูกยกฟ้อง ร้องไม่ให้อุทธรณ์ต่อ ให้ผู้เกี่ยวข้องออกมาขอโทษ จ่ายค่าชดเชย พัฒนากองทุนยุติธรรม ทางการไทยต้องเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการไม่เลือกปฏิบัติต่อสตรี 

นาหวะ จะอื่อ (ที่มา: กลุ่มรักษ์ลาหู่)

เมื่อ 2 พ.ย. องค์กรสิทธิมนุษยชน โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชันแนล (พีไอ) และ Asia Pacific Forum on Women, Law and Development (APWLD) ออกแถลงการณ์ร่วมในกรณีที่ศาลยกฟ้องคดียาเสพติดของนาหวะ จะอื่อ น้องสะใภ้ไมตรี จำเริญสุขสกุล และผู้ดูแลชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ที่ถูกทหารวิสามัญเมื่อ 17 มี.ค. ปีที่แล้ว โดยนาหวะถูกศาลปฏิเสธการประกันตัว และต้องถูกคุมขังระหว่างดำเนินคดีนานถึง 331 วัน

ทนายเผย เล็งขอสินไหมชดเชย 'นาหวะ จะอื่อ' หลังถูกคุมขังระหว่างดำเนินคดี 329 วัน

แถลงการณ์มีใจความว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่และกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือที่ทางการไทยระบุว่าเป็นชาวเขา มักถูกกล่าวหาในคดีการจำหน่าย หรือใช้ยาเสพติด มีข้อมูลว่าทหารใช้ปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดมาสร้างความชอบธรรมให้กับการโจมตีเหล่านักกิจกรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ออกมาพูดเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นโดยทหารและเจ้าหน้าที่ความมั่นคง

นาหวะ จะอื่อ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มรักษ์ลาหู่ เป็นน้องสะใภ้ของไมตรี ผู้เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากชาติพันธุ์ลาหู่ หลังชัยภูมิถูกวิสามัญ นาหวะได้เรียกร้องความยุติธรรมให้กับชัยภูมิจนเป็นที่ประจักษ์ เธอเป็นผู้จัด และผู้ร่วมกิจกรรมเพื่ออุทิศให้กับชัยภูมิหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือเรื่องการลงพื้นที่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล และองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ จัดกิจกรรมรำลึกการเสียชีวิตครบ 60 วันของชัยภูมิ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ถูกเฝ้าระวังอย่างแน่นหนา รวมถึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจร่วมกับ กสม. เรื่องที่ไมตรีถูกข่มขู่เอาชีวิต แถลงการณ์ระบุว่า เป็นที่เชื่อว่า สาเหตุที่นาหวะถูกจับกุมตัวนั้นมามีสาเหตุจากสายสัมพันธ์ของเธอกับไมตรีและชัยภูมิ

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2560 บ้านของไมตรีที่หมู่บ้านกองผักปิ้งโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจตามปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด โดยตำรวจ สภ.อ.นาหวายและคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดได้เข้ามาแทรกแซงการค้น โดยไม่พบยาเสพติดในการค้นครั้งนั้น แต่ก็มีการตามหาตัวไมตรี ซึ่งขณะนั้นไม่อยู่บ้าน เนื่องจากกำลังกลับจากการประชุมกับผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ  (ยูเอ็น) ด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับตัวนาหวะ และฉันทนา ป่าแส ผู้เป็นญาติของชัยภูมิ โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเป็นผู้จัดหายาเสพติดให้ชัยภูมิ

นาหวะถูกคุมขังที่สถานคุมประพฤติเชียงใหม่ตั้งแต่ 29 พ.ค. 2560 เป็นเวลา 331 จนกระทั่งได้รับยกฟ้อง และถูกปล่อยตัวในวันที่ 24 เม.ย. 2561 ศาลเคยตั้งมูลค่าหลักทรัพย์ประกันตัวนาหวะเป็นจำนวน 2 ล้านบาท ซึ่งครอบครัวนาหวะได้ยื่นขอหลักทรัพย์จำนวนดังกล่าวกับกองทุนยุติธรรมในวันที่ 18 ก.ค. 2560 และได้รับอนุมัติในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน ทว่า ศาลปฏิเสธคำร้องขอประกันตัว

การวิสามัญชัยภูมิ ป่าแส ตามมาด้วยการข่มขู่ไมตรี จำเริญสุขสกุล ผู้เป็นพี่บุญธรรมของชัยภูมิและผู้ริเริ่มก่อตั้ง "กลุ่มเยาวชนรักษ์ลาหู่" เพื่อทำกิจกรรมกับเด็กและเยาวชนชาติพันธุ์ ให้ห่างไกลยาเสพติด และการใส่ร้ายนาหวะ เป็นหลักฐานว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกดำเนินคดีจากการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิอันเป็นหน้าที่ที่ชอบธรรม นักปกป้องสิทธิที่อยู่ตามพื้นที่ห่างไกล เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และผู้หญิงอยู่ในกลุ่มคนที่ยากจนและถูกกล่าวหาในฐานะอาชญากรมากที่สุดในสังคมไทย เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเหล่านั้นออกเสียงเรียกร้องทวงถามความยุติธรรมหรือเพื่อพิทักษ์สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะถูกข่มขู่ คุกคาม ทำให้เป็นอาชญากร และมีความเสี่ยงชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ หรือจากกลุ่มที่ไม่ได้สังกัดกับทางการ

โดยกลุ่มผู้ร่วมออกแถลงการณ์มีความกังวลกับการดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิทั้งหลายในไทย และมีข้อเรียกร้องต่อทางการไทยดังนี้

  • เรียกร้องให้อัยการไม่อุทธรณ์คดีของนาหวะที่เพิ่งถูกยกฟ้องไป รวมถึงให้มีการเยียวยา ชดเชยความเสียหายและการถูกละเมิดสิทธิของนาหวะระหว่างการถูกคุมขังถึง 331 วัน โดยการชดเชยควรมีทั้งค่าชดเชยค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย ความเสียหายต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ระหว่างถูกคุมขัง รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (กับความเสียหายต่อนาหวะ) ออกมา 'แสดงความขอโทษต่อสาธารณะ'

  • หยุดการข่มขู่ คุกคามนักปกป้องสิทธิ เช่นไมตรีและนาหวะ รวมถึงนักปกป้องสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มรักษ์ลาหู่

  • เคารพและปฏิบัติตามคำมั่นของรัฐบาลไทยที่มุ่งยึดถือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล โดยเฉพาะกับงานของกลไกพิเศษแห่งสหประชาชาติ โดยเชิญชวนผู้ถืออาณัติกลไก (mandate holder) เข้ามาเยือนประเทศ และขอให้ตอบรับอนุมัติคำร้องขอเยือนประเทศจากผู้ถืออาณัติที่ยังคั่งค้างอยู่

  • เคารพและปฏิบัติตามข้อคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) และคำแถลงของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงกลไกด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ไทยลงนามเป็นภาคีไว้

  • เพิ่มประสิทธิภาพและงบประมาณให้กับสำนักงานกองทุนยุติธรรม และให้ความสำคัญกับการเข้าถึงหลักทรัพย์ของกองทุนยุติธรรมของเหล่านักปกป้องสิทธิในไทย เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นถูกคุกคามจากกระบวนการยุติธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างชอบธรรมมาอย่างต่อเนื่อง

  • ปฏิบัติตามข้อแนะนำของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women - CEDAW) เรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้หญิงในประเด็นระบบยุติธรรมที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ มีการรับผิดรับชอบ เข้าถึงการเยียวยา และมีความยุติธรรม รวมถึงประเด็นกฎหมายและกระบวนการในทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติกับนักปกป้องสิทธิในพื้นที่ห่างไกลและมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พลฯชินวุฒเผยก่อนปลด เป็นทหารเกณฑ์จะเหนื่อยถ้าตั้งคำถามว่า “ทำไม”

Posted: 03 May 2018 01:52 AM PDT

 เพจ Smart Man Smart Soldier สัมภาษณ์ สามทหารเกณฑ์ก่อนปลดประจำการ เผยประสบการณ์ "ทำความดีด้วยหัวใจ" ช่วยชาติด้วยการลอกคลอง ทำงานเอกสารให้กองร้อย และเป็น PR กองทัพ พลฯชินวุฒ บอกเป็นทหารจะเหนื่อยถ้าสมองยังตั้งคำถามว่าทำไม

 

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2561 ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก Smart Man Smart Soldier ได้เผยแพร่การสัมภาษณ์สด พลทหารชินวุฒ อินทรคูสิน, พลทหารกรรชัย เรืองศรี และพลทหารนฤพนธ์ ดำแพร ทหารเกณฑ์ซึ่งรอการปลดประจำการในวันที่ 30 เม.ย. 2561 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ พันโทหญิง นุสรา วรภัทราทร

คุณเป็นใครก่อนจะเป็นทหารเกณฑ์

พลทหารนฤพนธ์ ดำแพร ทหารเกณฑ์ผลัด 2/60 เล่าว่าก่อนหน้าที่จะเข้ามาเป็นทหารเกณฑ์นั้น เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์โดยการสมัครใจเนื่องจากเห็นว่าหากสมัครแล้วใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับการลดหยอนให้เป็นทหารเกณฑ์เพียง 6 เดือน

"ก่อนเข้ามาก็เครียดนะครับ เปิดดูเว็บต่างๆ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าแต่ละที่เขาเป็นอย่างไร มีความเครียด มีความกังพอเหมือนกันว่า เพราะไม่ร็ว่าตัวเองจะต้องมาเจออะไรในสถานที่ใหม่ๆ ที่เราไม่เคยมา แต่พอได้เข้ามามันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด คือผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าที่อื่นเขาเป็นอย่างไร แต่ที่กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 ซึ่งเขาฝึกไม่ได้ต่างจากที่อื่นมาก ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน"นฤพนธ์ กล่าว

ขณะที่ พลทหารกรรชัย เรืองศรี ก่อนที่จะมาเป็นทหารนั้นเขายังเรียนอยู่ในมหาวิทยาแห่งหนึ่ง ก่อนหน้านั้นได้ชีวิตเหมือนวัยรุ่นปกติ แต่สาเหตุที่ตัดสินใจสมัครเข้ามาเป็นทหารนั้นเป็นเพราะก่อนหน้านี้ 1 ปี เขาสอบติดโรงเรียนนายสิบตำรวจ แต่ท้ายที่สุดขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นผู้ที่เกิดในปี 2539 และยังไม่ผ่านการตรวจคัดเลือกทหารกองประจำการ เขาจึงตัดสินใจสมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อที่จะได้รับการลดหยอนเหลือระยะเวลาประจำการเพียง 1 ปีเท่านั้น เพื่อที่จะได้มีเวลากลับไปสอบโรงเรียนนายสิบตำรวจอีกครั้งโดยที่อายุยังไม่เกินเกณฑ์คุณสมบัติ

กรรชัย เล่าต่อว่า การเข้ามาในค่ายของเขาถือว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ แต่เข้าใจว่าทุกๆ ค่ายก็จะมีลักษณะเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นโรงนอน ไปจนถึงการฝึก เขาบอกว่าไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน แล้วรู้สึกว่าการเป็นทหารคือความเท่อย่างหนึ่ง พร้อมบอกด้วยว่าหลังจากฝึกเสร็จแล้วสิ่งที่เขารู้สึกได้คือการโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ทั้งบุคคลิก แล้วการพูดจา

"ที่ผมสมัครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะมีปัญหาอย่างหนึ่งคือ ก่อนหน้านี้ผมได้ไปสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ เผอิญว่าสอบติด แต่ในระเบียบการบอกว่าไม่รับคนที่เกิด พ.ศ.2539 แล้วกำลังจะเข้ารับการเกณฑ์ทหารในปีนั้น วันที่ไปรายงานตัวที่โรงเรียนนักเรียนตำรวจนายสิบภูธรภาค 1 เขาบอกว่า ให้ไปจับใบดำใบแดงปีนี้ก่อน ถ้าจับได้ใบดำปีหน้าก็มาสอบใหม่ คือโดนสละสิทธิ์ไปเลย ผมเลยคิดว่าถ้าจับได้ใบแดงก็ต้องเป็น 2 ปี อายุเราก็จะเกินไม่สามารถสอบนายสิบได้ ก็เลยสมัครเป็นปีเดียว"กรรชัย กล่าว

ส่วน พลทหารชินวุฒ อินทรคู ศิลปินชื่อดัง ที่ตกเป็นข่าวดังเมื่อสองปีก่อนหลังจากที่ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นทหารเกณฑ์ทันทีโดยไม่มีสิทธิได้จับสลาก และไม่มีสิทธิได้สมัครร้องขอ เนื่องจากก่อนหน้านี้เขาไม่ได้มารายงานตัว เปิดเผยความรู้สึกในช่วงเวลานั้นอีกครั้งว่า สาเหตุที่ร้องไห้ในวันนั้น เป็นเพราะไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เนื่องจากไม่ทราบมาก่อน โดยปีก่อนๆ หน้านั้นเขาได้ไปรายงานตัวพร้อมกับฟิลม์เอ็กเรย์กระดูกข้อมือขวาหัก และมีการด้ามเหล็กไว้ แพทย์ประจำหน่วยคัดเลือกทหารกองประจำการจึงตัดสินให้เป็นบุคคลประเภท 3 คือ ยังไม่พร้อมที่จะเข้ารับารตรวจคัดเลือกในปีดังกล่าว แต่ในปี 2559 เข้ากลับมาอีกครั้งแล้วพบว่าร่างกายสามารถที่จะเข้ารับการตรวจคัดเลือกได้แล้ว ประกอบกับก่อนหน้านี้เข้าไม่ได้มารายงานตัวจึงต้องเข้าไปเป็นทหารเกณฑ์ทันทีเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม  ชินวุฒ เล่าต่อไปว่า ในปี 2559 มีแผนหลายอย่างในชีวิต แต่ปรากฎว่าต้องไปเป็นทหารเกณฑ์ทำให้รู้สึกเป็นห่วงครอบครัว เพราะตัวเองเป็นเสาหลักของครอบครัว

"เราไม่คิดว่าจะต้องเป็น แล้วเราก็มีแพลนหลายอย่างสำหรับปีนั้น ปรากฎว่าต้องเป็น ในหัวมันก็คือ ตายแล้ว เอาแล้ว เอาไงดีว่ะเนี่ย ภาพที่มันก่อนในหัวคือ ครอบครัว เพราะผมเป็นเสาหลักของครอบครัวแล้วตอนนั้นมีละคร 2 เรื่อง หนัง 1 เรื่อง คอนเสิร์ตอีกประมาณ 10 รายได้ก็หายไปค่อนข้างเยอะ เราก็ช็อค ก็ห้สัมภาษณ์ไปแบบนั้น แล้วคนก็ตีความไป คือคนก็จะอ่านแค่พาดหัวข่าว แล้วก็บอกว่าชิน ร้องไห้เพราะต้องเป็นทหาร คนก็ตีความไปว่า ชินไม่อยากเป็นทหาร มันก็มีกระแสมาว่าไม่รักชาติ"ชินวุฒ กล่าว

ชินวุฒ บอกว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการกล่าวหาว่าตนเองไม่รักชาติมากนัก เพราะรู้ตัวเองดีว่ามีความคิดอย่างไร และคนรอบข้างก็เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการตีความของคนอ่านข่าวพียงเท่านั้น

หน้าที่รั้วของชาติ การงานอันเป็นที่รักเมื่อทหารเกณฑ์ทำเป็นทุกอย่าง

ชินวุฒ เล่าต่อไปว่า ชายไทยแต่ละคนที่เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์ทุกคนจะมีทักษะเดิมติดตะวมาด้วยอยู่แล้ว บางคนทำงานบริหารทั่วไปมา ก็จะเหมาะกับงานเอกสารต่างๆ หรือค่อยประสานงานในเรื่องต่างๆ ได้ ส่วนตัวเองนั้นเป็นศิลปิน เป็นบุคคลที่ประชาชนรู้จัก จึงได้รับหน้าที่พิเศษคือ การทำงานเป็นประชาสัมพันธ์ในภารกิจต่างๆ ของกองทัพ รวมทั้งไปพบปะผู้คน และได้ช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่างๆ

"ผมโชคดี ต้องใช้คำว่า โชคดี เพราะเรามีทุนตรงนี้มา แล้วผมได้มีโอกาสปฎิบัติภารกิจแปลกๆ หรือภารกิจที่คนอื่นๆ อาจจะไม่มีโอกาสได้ทำ ผมได้มีโอกาสถ่ายสารคดีเฉลิมพระเกียรติ ได้ช่วยประชาสัมพันธ์งานดีๆ หลายอย่าง มันทำให้ผมได้มีโอกาสไปต่างจัดหวัด และได้ไปในพื้นที่ที่พระองค์ท่านได้เสด็จไปทรงงานจริงๆ ได้เจอกับคนที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับพระองค์ท่าน มันทำเรารู้สึกว่า เราได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านมากยิ่งขึ้น และได้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงงานเยอะมากๆ

ผมไปแค่ 20 โครงการ จาก 4,000 กว่าโครงการ แค่ 20 ผมก็คิดว่าเยอะมากแล้ว เพราะดูจากรูปาพเก่าๆ จากพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลยจนวันนี้มีทุกอย่าง แล้วผมได้ไปเจอกับทหารอีกกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า ทหารพัฒนา ซึ่งทหารส่วนมากคนจะเห็นในมุมของความเข้มแข็ง กล้าหาญ ถือปืน แต่ไม่ค่อยได้เห็นนมุมของการพัฒนา ซึ่งผมเองก็ไม่รู้เลยว่ามีหน่วยนี้ด้วย ก็ได้มีโอกาสไปทำงานกับเขา ก็ทำให้ผมเห็นว่ามันมีอะไรหลายๆ อย่าง ที่หลังจากผมปลดประจำการแล้วผมไปช่วยได้ มันมีอีกหลายๆ ที่ที่ผมไปได้ หน้าที่ของคนไทยด้วยกันไม่จำเป็นต้องมีเครื่องแบบอะไรทั้งสิน เพราะว่าเรามีสัญชาตินี้แล้ว เราไม่จำเป็นว่าจะต้องมีนามข้างหน้าว่าเป็น พลทหาร เป็นอะไรก็แล้วแต่ แค่มีสัญชาติไทยมันก็เพียงพอแล้วที่เราจะทำหน้าที่ของคนไทย ตรงนี้แหละมันทำให้ผมเรียนรู้ว่ามีนมีหน้าที่อะไรหลายๆ อย่าง ที่เราทำกันได้" ชินวุฒ กล่าว

นั่นคือ งานที่ศิลปินชื่อดังภาคภูมิใจ ขณะที่กรรชัย เล่าประสบการณ์การทำงานที่เขาประทับใจ ซึ่งเขาเห็นว่างานดังกล่าวเนสิ่งที่ทำให้เขามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นทหาร และรู้สึกมีส่วนร่วมในการช่สวยชาติ เขามีโอกาสร่วมโครงการ "ทำดีด้วยหัวใจ" งานที่ได้ทำคือ การไปทำความสะอาดบริเวณวัด ศาลาการเปรียญ ในจังหวัดปทุมธานี พร้อมกับไปลอกคูคลองต่าง โดยที่มีชาวบ้านเข้ามาช่วยกันทำงานคนละไม้คนละมือ ภาพที่เขาเห็นคือ ภาพแทนของความภาคภูมิที่ชีวิตหนึ่งได้มีส่วนร่วมนการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

ส่วนอดีตเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ด้านการบริหารทั่วไปอย่าง นฤพนธ์ เล่าว่างานของเขาหลังจากที่พ้นผ่านช่วงเวลาฝึกทหารใหม่ไปแล้ว หน้าที่ที่เขาได้รับคือการทำงานใน บก.ร้อย โดยจะเป็นผู้ที่จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ให้กับทหารในกองร้อย คอยจัดตารางเวลาว่าวันหนึ่งจะต้องมีใครไปที่ไหนบ้าง รวมทั้งทำเอกสารเรื่องเงินเดือนของเพื่อนพลทหาร ไปจนถึงการทำเอกสารปลดประจำการ

ชินวุฒ เสริมด้วยว่า การแบ่งงานในกองร้อยจะดูจากความถนัด หรือความสามารถพิเศาของแต่ละคน โดยในหนึ่งกองร้อยจะมีคนถนัดในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น ช่างไฟ ทำอาหาร ช่างประปา ก่อสร้าง โดยคนเหล่านี้จะถูกจัดสรรงานให้ตามความถนัดที่มี

"ภารกิจของหน่วยเราค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ช่วงฝึก บ้างที่กำลังพลไม่พอ ออกไปทำงานสนับสนันข้างนอกเยอะมาก วันสอง วันสามงาน ก็ต้องเอาน้องๆ ที่อยู่นช่วงฝึกให้มาช่วยงาน ฉะนั้นมันก็เหมือเป็นการฝึกงานไปในตัวก่อนเลย พอเราฝึกทหารใหม่เสร็จ ใครที่จะทำหน้าที่ต่างๆ ก็จะรู้เลยว่าใครถนัดกับงานอะไร แล้ววันแรกที่มาเขาก็จะให้เขียนก่อนเลยว่าใครถนัดงานอะไร มีความสามารถพิเศษอะไร บางคนเป็นช่างปะปา บางคนรู้เรื่องงานก่อสร้าง บางคนรู้เรื่องช่างไฟ จริงๆ แล้วทหารทำได้ทุกอย่างพูดอย่างนี้ดีกว่า ทหารหนึ่งกองร้อยถ้าไปที่ไหนผมว่าไม่อดตาย ยังไงก็รอดทำเป็นทุกอย่าง" ชินวุฒ กล่าว

เป็นดาราไม่มีสิทธิพิเศษในช่วงฝึก แต่เป็นตัวอย่างให้เพื่อนร่วมค่ายได้เห็นว่า ไอ้ชินมันยังโดน

ต่อคำถาที่ว่า เป็นทหารดารา จะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนอื่นหรือไม่ ชินวุฒ ตอบว่า ในช่วงฝึกไม่มีคำว่า "อภิสิทธิ์" โดยเข้าใจว่าตัวเองเป็นตัวอย่าง หากทุกคนในกองโดนกันหมด หากมีตัวเองไม่โดนอยู่คนเดียวก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง สุดท้ายกลายเป็นว่า ตัวเองยิ่งโดนหนักเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ เห็นว่า "มึงจะอู้ไม่ได้ เพราะไอ้ชินมันยังโดน"

สำหรับเขาสิ่งที่ตอกย้ำเข้าไปอีกว่าเขาไม่ได้มีสิทธิพิเศษเหนือไปกว่าใครๆ คือ บางวันหลังจากกลับจากการไปถ่ายสารคดีเฉลิมพระเกียรติ กลับมาถึงค่ายประมาณ 4 ทุ่ม ซึ่งทุกคนเข้านอนหมดแล้ว แต่เขายังต้องฝึกท่าต่างๆ เพิ่มเพราะช่วงเวลาที่ออกไปทำงานข้างนอกไม่ได้ฝึกร่วมกับเพื่อนๆ และจะทำให้ตามเพื่อนไม่ทัน

"หลังจากที่ฝึกเสร็จภารกิจของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน หน้าที่ของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน แต่ท้ายสุดแล้วถามว่าผมต้องปฎิบัติงานเยอะเท่าน้องๆ ไหม ไม่เยอะเท่า เพราะอย่างเวลาผมไปงานอื่นๆ อยู่แล้วมีงานเข้ามาผมก็ไปร่วมงานตรงนั้นไม่ได้ มันเลยทำให้มีการบริหารจัดการอีกแบบหนึ่ง หน้าที่ของผมก็มีหน้าที่สแตนบายเวลาที่จะมีงานประชาสัมพันธ์ต่างๆ ที่จะต้องไปทำไปช่วยกองทัพ อย่างเราอยู่กองพันทหารราบมณฑลทหารบกที่ 11 แล้วอยู่กองร้อยที่ 3 กับกองร้อยที่ 4 จะเป็นกองร้อยของกองทหารเกียรติยศ ก็จะเป็นกองร้อยที่เห็นใส่ชุดแดงออกมารับนายกฯ รับแขกต่างประเทศ ก็จะเป็นงานเรา ถ้าอยู่กองร้อยอื่นก็อาจจะไม่ได้ใส่ ถือว่าเราโชคดี ครั้งแรกที่ผมใส่ คุณลุงผมเป็นพลอากาศโทอยู่ที่ฝรั่งเศส แล้วเขาเห็นเราใส่ชุดนี้ แล้วเขาเกิดความภาคภูมิใจ มันคือความภาคภูมิใจ แต่ก็ต้องบอกว่าชุดมันร้อนมาก มันช่วยลีนร่างกายได้ดีมาก ผมบอกเลยคุณใส่ชุดนั้นสักวันหนึ่งเผาผลาญดี"

อย่าตั้งคำถามว่าทำไม ให้มองว่ามาออกกำลังกาย และเห็นมันเป็นเรื่องสนุก

ก่อนที่จะปลดประจำการพลทหารทั้ง 3 นาย ได้ฝากถึงพลทหารรุ่นต่อไปที่กำลังจะเข้ารับราชการเป็นทารเกณฑ์เอาไว้อย่างน่าสนใจ นฤพนธ์ แนะนำว่า ทุกคนควรที่ฝึกร่างกายมาให้พร้อมก่อนที่จะเข้ารับการฝึกในช่วง 10 สัปดาห์แรก เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่หนักที่สุด แต่ก็ถือว่าไม่ได้หนักเกิดกว่าจะรับได้ ขณะที่กรรชัย เสริมว่า การออกคำสั่งทุกอย่างของครูฝึกทหารใหม่นั้น เกิดจากการที่ผู้ที่เป็นครูฝึกได้ถูกสั่งให้ทำมาก่อนแล้วทั้งสิน โดยครูฝึกจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้เป็นอย่างดี โดยการฝึกจะค่อยๆ ไล่ระดับจากเบาไปหนัก ขณะที่ครูฝึกจะคอยประเมินกำลังของทหารใหม่แต่ละคนว่าไหวหรือไม่

"ฝากถึงน้องๆ 1/61 นะครับอยากให้เตรียมใจมากเยอะๆ ส่วนร่างกายจะได้เองโดยอัตโนมัติ แต่อยากให้เตรียมใจมาเยอะๆ อย่าคิดท้อ อย่าคิดว่าเหนื่อยไม่เอาแล้ว มองทุกอย่างให้มันเป็นเรื่องสนุก"

ส่วนชินวุฒ บอกว่า การเตรียมร่างกายเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องทำ แต่ก็คงยากที่ทุกคนจะเตรียมพร้อมมา และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายคนเป็นนักดื่ม หนักที่สุดคือเป็นคนเล่นยามาก่อน แต่การเข้ามาในค่ายทหาร ทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยทำจะต้องหยุด เขาชวนให้คิดว่าการมาเป็นทหารเมื่อมาเข้าคอร์ทล้างพิษในร่างกาย และคอร์ทฟิตเนส 10 สัปดาห์ ที่มีคนมาบังคับให้ออกกำลังกาย

"อย่างเพื่อนผมเข้ามาหนัก 110 กิโลกรัม ฝึกเสร็จเหลือแค่ 80 หน้าตาดีทันที ฉะนั้นผมว่าอย่างที่พูดทั้งกายทั้งใจเตรียมมา แต่ที่ผมอยากฝากด้วยก็คือ อย่าคิดฝืน ผมว่าที่เหนื่อยไม่ได้อยู่ที่ร่างกายหรอก มันอยู่ที่ใจมากกว่า มันเหนื่อยสมองคิด ทำไมต้องมาทำอย่างนี้ด้วยว่ะ ทำไม่ต้องโดนอีกแล้ว ทำไมต้องตื่นเช้า ทำไมต้องอย่างนั้น ทำไมต้องอย่างนี้ ทำไมๆ ทำไมทั้งวันทั้งคืน พอมันมีทำไมในหัวตลอดเวลา มันเลยฝืนมันเลยเหนื่อย แต่ถ้าเราทำไปปล่อยไป คิดว่ามันเป็นเรื่องสนุก คิดว่ามาออกกำลังกาย คิดว่าเรามาฝึกความแข็งแรงความอดทน คิดว่าเรามาฝึกระเบียบวินัย แค่นี้เข้ามามันจะสบายเพราะสุดท้ายแล้วมันเหนื่อยที่ความคิด"ชินวุฒ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสภณ แถลงราคาที่ดินพุ่ง 5.3% แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ดี

Posted: 03 May 2018 01:52 AM PDT

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ แถลง ราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พุ่งกระฉูดถึง 5.3% แม้แต่รถไฟฟ้าสายสีม่วงราคาก็พุ่งกระฉูด แต่ใช่ว่าเศรษฐกิจไทยจะดี

3 พ.ค.2561 ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) รายงานว่า ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยฯ ดังกล่าว ได้สำรวจตลาดราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งในนครหลักๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เป็น Big Data สำหรับการพัฒนาประเทศและธุรกิจ ผลการสำรวจล่าสุด ณ ปี 2561

การพัฒนาฐานข้อมูลราคาที่ดิน

โสภณ และคณะ ได้พัฒนาฐานข้อมูลแบบ Big Data มาใช้เพื่อการรับรู้ความจริงของราคาที่ดินในย่านต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2537 โดยออกสำรวจราคาที่ดินที่มีการซื้อขายจริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้วงการอสังหาริมทรัพย์ได้ใช้ประกอบการวางแผน สถาบันการเงินได้ใช้ประกอบการอำนวยสินเชื่อแก่บริษัทพัฒนาที่ดิน ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการพัฒนาเมือง

การสำรวจราคาที่ดินตั้งแต่ปี 2537 ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2561 และจะได้ดำเนินการต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะในทุกภาคส่วน เพราะเป็นการสำรวจที่ให้ราคาที่ดินตามราคาตลาดที่แท้จริง ไม่ใช่ราคาทุนทรัพย์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดำเนินการโดยกรมธนารักษ์ที่มักปรับปรุงใหม่ทุกรอบ 4 ปี แต่ศูนย์ข้อมูลฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี และในบางกรณีอาจดำเนินการได้รวดเร็วกว่านี้อีก เช่น ในรอบ 6 เดือน เป็นต้น

รายละเอียดการสำรวจ

การสำรวจในรายละเอียดเรื่องราคาที่ดินดำเนินการดังนี้:

         1. การจัดทำแปลงตัวอย่างเพื่อสำรวจราคาที่ดิน เช่น บนถนนสีลม ใช้ที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ เป็นตัวแทน โดยสมมติว่าหากเป็นที่ดินเปล่าและพัฒนาขึ้นเป็นอาคารสำนักงาน เช่น ธนาคารกรุงเทพ จะมีมูลค่าเท่าไหร่
         2. ในแต่ละถนนสายหลัก ศูนย์ข้อมูลฯ ได้กำหนดแปลงตัวอย่างเพื่อใช้ประเมินทั้งหมดประมาณ 200 บริเวณ เพื่อให้ครอบคลุมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
         3. ในซอยต่าง ๆ ก็ได้ดำเนินการสำรวจอีก 800 แห่ง แต่ข้อมูลเหล่านี้ ได้หยุดสำรวจในภายหลังเพราะเป็นข้อมูลหน่วยย่อยที่มีความสำคัญน้อย
         4. ตามสถานีรถไฟฟ้า ก็ได้สำรวจไว้เช่นกัน เพื่อพิจารณาว่าราคาที่ดินรอบสถานีมีมูลค่าเท่าไหร่ โดยมีเบื้องต้น 124 สถานี และมีสถานีเพิ่มเติมอื่นๆ ตามที่จะมีรถไฟฟ้าในอนาคต
         5. ปรับแปลงที่ดินให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะบนถนนลางแห่ง ไม่ได้มีที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปหลายเหลี่ยมบ้าง หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนบ้าง ฯลฯ จึงต้องปรับให้เท่ากับเพื่อให้เทียบกับได้
         6. และเพื่อการเปรียบเทียบที่ชัดเจน จึงกำหนดขนาดที่ดินไว้ โดยขนาดเล็กคือ 4 ไร่ (40 x 160 เมตร) 16 ไร่ และ 36 ไร่ตามลำดับ ในเขตใจกลางเมือง อาจไม่มีที่ดินแปลงใหญ่ ในบริเวณริมแม่น้ำ อาจมีที่ดินแปลงเล็กกว่า เช่น 8 ไร่ หรือ 10 ไร่เป็นต้น

การศึกษาเปรียบเทียบ

การกำหนดขนาดที่ดินเช่นนี้ไว้ จึงทำให้สามารถเปรียบเทียบอย่างชัดเจนได้ทั่วเขตกรุงเทพมหานครและสามารถนำไปใช้วางแผนไว้ว่าจะพัฒนาบริเวณไหนก่อนหลังดี เพราะ 1. ต้นทุนราคาที่ดินต่างกัน 2. อัตราการเปลี่ยนแปลงราคาและแนวโน้มของราคาที่ดินแตกต่างกัน และ 3. ศักยภาพแตกต่างกัน
 

ผลสำรวจล่าสุด: ราคาพุ่ง 5.3%

ผลการสำรวจล่าสุดของศูนย์ข้อมูลฯ โสภณ แถลงว่า ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 5.3% โดยเฉลี่ยทั่วเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่างจากปีที่ต่ำสุดในปี 2558 ที่สูงขึ้นเพียง 3.2% เท่านั้น ส่วนในปี 2559 และ 2560 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4%  เพิ่งมาเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดในปี 2561 นี้  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินก็เคยพุ่งสูงขึ้นกว่านี้ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในปี 2557
 
อย่างไรก็ตามราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะเศรษฐกิจดีแต่อย่างใด  แต่เนื่องจากการเกิดเพิ่มขึ้นของรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งตามสถานีรถไฟฟ้าเหล่านี้ ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นประมาณ 7-10% ทำให้ราคาที่ดินโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3% ในปี 2561  อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว ทั้งที่การส่งออกดี แสดงว่าเงินไปไม่ถึงผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกร นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เห็นว่าเศรษฐกิจไม่ดี (https://bit.ly/2Jlv6NB)

แพงสุด: สยามสแควร์ 2.2 ล้านบาท/ตรว.

ในปี 2561 นี้ โสภณ คาดว่าราคาที่ดินที่แพงที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะสูงถึง 2.2 ล้านบาทต่อตารางวาหรือมีค่าเท่ากับธนบัตรใบละ 1,000 บาทวางซ้อนกันถึง 6.4125 ชั้นเลยทีเดียว หรือโดยนัยนี้มีค่าสูงมาก  มูลค่าที่ดิน 2.2 ล้านบาทต่อตารางวา แลกได้ทองคำ ณ ราคาบาทละ 19,000 บาท ถึง 115.7894737 บาท หรือ 1.7628 กิโลกรัม ซึ่งถือว่ามหาศาล
 
สาเหตุที่สยามสแควร์มีราคาแพง ซึ่งรวมถึงรถไฟฟ้าสถานี ชิดลม เพลินจิต นานาและอโศกนั้น เป็นเพราะเป็นไปตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นเขตที่ผ่านย่านความเจริญเป็นอย่างมาก  ยิ่งกว่านั้นบริเวณสยามสแควร์ยังถือได้ว่ามีรถไฟฟ้า 2 สายตัดผ่าน แต่ทั้งสองสายนี้เป็นของ BTS  รถไฟฟ้าทำให้ราคาที่ดินบริเวณนี้เพิ่มสูงขึ้นมาก  โดยในปี 2537 จากการสำรวจครั้งแรก ดร.โสภณ พบว่าราคาที่ดินที่สยามสแควร์ ตกเป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาท ในขณะที่สีลมสูงกว่าคือ 450,000 บาท และเยาวราชแพงที่สุดคือ 700,000 บาทต่อตารางวา  แต่การมีรถไฟฟ้า ทำให้ราคาที่ดินที่สยามสแควร์สูงกว่าอย่างเด่นชัด

ต่ำสุด: ลำลูกกา เลียบคลอง 13

สำหรับราคาที่ดินที่แพงที่สุดในขนาด 4 ไร่ ก็คือแถวเลียบคลอง 13 ลำลูกกา โดยตกเป็นเงินตารางวาละ 2,700 บาท หรือไร่ละเพียง 1,080,000 บาทเท่านั้น หรือเพิ่มขึ้นเพียง 3.8% ต่อปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครที่ 5.3%  จะสังเกตได้ว่าราคาที่ดินย่านชานเมืองไกลๆ ราคาแทบไม่ขึ้น  แต่ราคาที่ดินใจกลางเมือง ราคากลับเพิ่มขึ้น  ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากในต่างจังหวัดอย่างสิ้นเชิง  เพราะในต่างจังหวัด ใจกลางเมืองที่ผังเมืองควบคุมหนัก ไม่สามารถพัฒนาใด ๆ ได้ จึงไปพัฒนานอกเขตผังเมืองในย่านชานเมืองแทน
 
สาเหตุที่ราคาที่ดินชานเมืองไกล ๆ ไม่เพิ่มขึ้นเลย ก็เพราะที่ดินชานเมือง ไม่มีสาธารณูปโภคใด ๆ เช่น ไม่มีทางด่วน ไม่มีรถไฟฟ้า ไม่มีโครงการที่ดึงดูดการลงทุนต่าง ๆ  อันที่จริงราคาที่ดินแถวลำลูกกานี้เคยสูงถึงไร่ละ 1.2 ล้านบาท แต่กลับตกต่ำลงมากหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในภายหลัง โดยในรอบสิบปีที่ผ่านมา แทบไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย  ดังนั้นการลงทุนในที่ดินเปล่าจึงไม่น่าจะมีโอกาสที่ดี โดยเฉพาะในย่านชานเมืองที่ไม่มีโอกาสการพัฒนา  ยกเว้นในอนาคต หากมีการสร้างวงแหวนรอบนอกรอบที่ 3 ก็จะทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้

ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า BTS

สำหรับที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูง โดยรถไฟฟ้า BTS เป็นดังนี้:
         1. รถไฟฟ้าบีที เอส ตร.ว.ละ 800,000-2,200,000 บาท สูงสุด สถานีสยามสแควร์ เพลินจิต ชิดลม ตร.ว.ละ 2,200,000 บาท เพิ่ม 10.0%
         2. ปี 2560 เพิ่มช่วง 8.8-20.0% เฉลีย 12.2% (เทียบค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ 5.3%)
         3. ทําเลย่านสีลม สาทร ตร.ว.ละ 1,650,000-1,850,000 บาท (เพิ่ม 8.8-10.0%)
         4. ทําเลย่านสุขุมวิท (นานา) 2,200,000 บาท (เพิ่ม 12.8%) เฉลีย 5ปี 15.4%

สำหรับส่วนต่อขยายของ BTS บางจาก-แบริ่ง, แบริ่ง-สมุทรปราการ, ตากสิน-บางหว้า และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นดังนี้:
         1. อ่อนนุช-แบริ่งปี 60 เพิ่ม 14.3-32.4% (เฉลี่ย 25.9%) สูงสุดสถานีอ่อนนุช 800,000 ต่ำสุดสถานีแบริ่ง 3580,000
         2. แบริ่ง-สมุทรปราการ ปี 60 เพิ่ม 6.7-16.7% (เฉลี่ย 11.1%) สูงสุดสถานีสําโรง 300,000 ต่ำสุด เคหะสมุทรปราการ 110,000
         3. ตากสิน-บางหว้า ปี 60 เพิ่ม 10.0-17.6% (เฉลี่ย 15.5%) สูงสุดสถานีกรุงธนบุรี 700,000 ต่ำสุด บางหว้า 200,000
         4. หมอชิ ต-สะพานใหม่-คูคต ปี 60 เพิ่ม 6.3-25.0% (เฉลี่ย 8.9%) สูงสุดสถานีลาดพร้าว 500,000 ต่ำสุดสถานีคูคต 65,000 บาท
 

ที่ดินตามสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง

สถานีนี้มีความน่าห่วงใยที่ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการน้อย  อย่างไรก็ตามราคาที่ดินก็ยังเพิ่มขึ้น ดังนี้:
         1.ราคาที่ดิน 100,000-300,000 บาท สูงสุดสถานีเตาปูน ตร.ว.ละ 300,000 บาท เพิ่ม 17.1% (เทียบค่าเฉลี่ย 10.7%)
         2.ปี 60 เพิ่ม 6.7-20.0% เฉลี่ย 10.7% (ปี 2559 เฉลี่ย 7.3%) เทียบค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ 5.3%
         3.ทำเลบางซ่อน วงศ์สว่าง ติวานนท์ 200,000 บาท (เพิ่ม 11.1%)
         4.ทำเลรัตนาธิเบศร์ ศูนย์ราชการนนทบุรี 160,000-220,000 บาท (เพิ่ม 6.7-15.8%)
         5.ทำเลไทรม้า ท่าอิฐ บางพลู 110,000-145,000บาท (เพิ่ม 7.4-10.0%)
         6.ทำเลบางใหญ่ 110,000-180,000 (เพิ่ม 10.0-20.0%)

เชื่อว่าราคาที่ดินในพื้นที่นี้จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากต่อไปจะมีผู้ไปอยู่อาศัยมากขึ้น  แต่ค่าโดยสารถไฟฟ้า ก็อาจต้องปรับราคาลงบ้างเพราะค่อนข้างสูง (ยกเว้นช่วงลดราคา)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กสทช.-อย.' เร่งระงับการโฆษณาผิดกฎหมาย

Posted: 03 May 2018 01:06 AM PDT

'สำนักงาน กสทช. - อย.' เร่งระงับการโฆษณาผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือโฆษณาเกินจริง โดย อย. พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาที่ กสทช. หากผิดพร้อมออกคำสั่งระงับทันที

3 พ.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) แจ้งว่า ในวันนี้ สำนักงาน กสทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมทั้งผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ได้ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางระงับการออกอากาศผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ผ่าน อย. และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ โดยมี กสทช. พล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. ร่วมกันแถลงข่าว

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ปัจจุบันกระบวนการทำงานตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้าโดยหลอกลวง หรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้า จะต้องนำเนื้อหาเข้าสู่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ที่มี กสทช. พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นประธาน ซึ่งเมื่อพบว่ามีโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หรือการโฆษณาเกินจริง สำนักงาน กสทช. ก็จะมีการสอบถามไปยัง อย. โดย อย. จะทำการตรวจสอบก่อนส่งเรื่องกลับมาที่สำนักงาน กสทช. รวมระยะเวลากระบวนการจะใช้เวลา 45-60 วัน ถึงจะสามารถยุติการออกอากาศรายการนั้นได้ แต่หลังจากนี้สำนักงาน กสทช. และ อย. จะเร่งรัดการยุติการออกอากาศโฆษณาด้วยการลดขั้นตอนเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อประชาชน

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า จากนี้สำนักงาน กสทช. และ อย. จะทำงานร่วมกันโดยจะมีเจ้าหน้าที่จาก อย. มาประจำการที่ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ (โซเชียลมีเดีย) ที่ผิดกฎหมาย ที่สำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ผ่าน อย. และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาผ่านสถานีโทรทัศน์ หากพบว่ามีโฆษณาใดที่ผิดกฎหมาย อย. จะทำหนังสือแจ้งมาเพื่อให้เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งระงับโฆษณานั้นเป็นการชั่วคราว แล้วส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการกระทำอันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และ กสทช. ตามลำดับ จนกว่าผลการพิจารณาจะเป็นข้อยุติ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5(2) ที่ระบุว่าการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้าโดยหลอกลวง หรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูลอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับวันละ 100,000 บาท

นพ.ธเรศ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข เห็นความสำคัญในการที่จะตรวจสอบโฆษณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลดีที่สุดคือการแก้ไขที่ต้นทาง ไม่ให้มีโฆษณาเผยแพร่ผ่านสื่อออกมาหลอกลวงผู้บริโภค ความร่วมมือระหว่าง อย. และ กสทช. ในการดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นผลดีที่ทำให้สามารถกลั่นกรองโฆษณาได้ตั้งแต่ต้น ทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการรับข่าวสารโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ฝ่าฝืนกฎหมายทางวิทยุและโทรทัศน์ เนื่องจากผลของข่าวผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการตรวจสอบอยู่ ณ เวลานี้ เป็นการโฆษณาทางโซเชียลมีเดีย ดังนั้น เพื่อให้การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพครอบคลุมทั้งในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไปในขณะเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกันในครั้งนี้

เลขาธิการ อย. ได้กล่าวว่า อย. ได้เห็นความสำคัญในการปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานจากเดิม ซึ่งมีการทำงานร่วมกันอยู่แล้วระหว่างสำนักงาน กสทช. และกระทรวงสาธารณสุข (อย. และ สสจ.) โดยกระบวนงานใหม่จะมีการร่วมกันพิจารณาเนื้อหาการโฆษณาที่ออกอากาศให้ทันต่อสถานการณ์มากขึ้น และการร่วมกันพิจารณา จะเป็นการลดขั้นตอนในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในส่วนของสำนักงาน กสทช. และกระทรวงสาธารณสุขด้วย ดังนั้น จึงขอให้ทางผู้ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงผู้ที่จะว่าจ้างลงโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางในทางวิทยุและโทรทัศน์ โปรดตรวจสอบเนื้อหา รวมถึงต้องนำเนื้อหาการออกอากาศ มาขออนุญาตตามกฎหมายที่ อย. และ สสจ. กำกับดูแลอยู่ ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

เลขาธิการ อย. ขอย้ำเตือนมายังผู้บริโภค ไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนยาหรือสารอันตรายที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ ส่วนเครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาดและสวยงามเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของร่างกายได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณที่อวดอ้าง เกินความจริงทางสื่อต่าง ๆ  นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายโดยคาดไม่ถึง หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556, อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th, ร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์ ศรป. อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน กสทช. 1200

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับ โปรดิวเซอร์, ผู้กำกับ, นักแสดงนำ ‘Ten Years Thailand’ หนังไทยไปคานส์เรื่องล่าสุด

Posted: 03 May 2018 12:20 AM PDT

'Ten Years Thailand' คือภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าของประเทศไทยในมุมมองของผู้กำกับแต่ละคนที่สะท้อนถึงปัญหาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ได้รับเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ในสาย section Speacial Screening ซึ่งจะมีรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ 

'Ten Years Thailand' เป็นภาพยนตร์ขนาดยาวรวม 4 เรื่องสั้นจาก 4 ผู้กำกับ ได้แก่ 'Sunset' โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์, 'The Planetarium' โดย จุฬญานนท์ ศิริผล, 'Catopia' โดย วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง และ 'The Monument' โดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ผู้กำกับอีกคนคือ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัวก่อนหน้านี้ พาร์ทของเขาจึงจะเข้าร่วมฉายที่ประเทศไทยหลังจากนี้) 

ประชาไทชวนคุยกับ คัทลียา เผ่าศรีเจริญ หนึ่งในโปรดิวเซอร์  ของภาพยนตร์  Ten Years Thailand ถึงจุดเริ่มต้นของโครงการที่อยากหาพื้นที่ทำหนังอิสระที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของนักทำหนัง และความยากลำบากในการระดมทุน หาสปอนเซอร์ รวมถึงการต้องหยิบยืมและใช้ทุนของตัวเองบางส่วนเพื่อให้เกิดหนังเรื่องนี้ โดยไม่อาจหวังพึ่งทุนจากภาครัฐที่จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดการควบคุมและตรวจสอบ ร่วมด้วย จุฬญานนท์ ศิริผล ผู้กำกับรุ่นใหม่ พูดถึงแนวคิดของหนังและรูปแบบหนังที่เปิดกว้างให้ตีความ และบุญฤทธิ์ เวียงนนท์ หนึ่งในนักแสดงนำจากพาร์ท 'sunset' ของ อาทิตย์ อัสสรัตน์

คัทลียา เผ่าศรีเจริญ

จุดเริ่มต้นคือการหาพื้นที่อิสระสอดคล้องอุดมการณ์ของคนทำหนัง และมูลค่าอื่นที่มากกว่าตัวเงิน

คัทลียา เผ่าศรีเจริญ หนึ่งในโปรดิวเซอร์ของภาพยนตร์เล่าว่า ก่อนหน้านี้ตนกับเพื่อนๆ ได้ตั้งโครงการ 'Films For Free' ซึ่งเป็นโครงการที่ระดมทุนเพื่อสร้างภาพยนตร์อิสระ เพื่อตั้งคำถามว่าภาพยนตร์เป็นอะไรได้อีกบ้างนอกจากสื่อบันเทิง และอิสระของคนทำงานหนังอยู่ตรงไหน สามารถทำสิ่งที่ตอบรับกับความคิดและอุดมการณ์ได้ขนาดไหน

"ที่ผ่านมาวงการหนังอิสระไทยวงเวียนอยู่กับทางออกทางรอด การสร้างฐานคนดู แต่จริงๆ เราไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหานี้ และจริงๆ แล้วมูลค่าของหนังนั้นวัดจากตัวเงินอย่างเดียวไม่ได้ อย่างหนังพี่เจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) ซึ่งคนจะรับรู้แค่ว่าหนังได้รางวัลปาล์มทองคำ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่ามันนำไปสู่ความรู้ทางด้านวงการวิชาการของภาพยนตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหนังของอภิชาตพงศ์ มูลค่าตรงนั้นไม่ได้ถูกพูดถึง รวมถึงทัศนคติที่เขามีต่อคน ต่อสังคมเรา จากที่เขาอาจจะไม่เคยรับรู้มาก่อน" คัทลียากล่าว

ต่อมาเธอได้ยินและได้รับการชักชวนจากโปรเจกต์ Ten Years ของฮ่องกง ซึ่งเป็นหนังสร้างจากมุมมองของผู้กำกับรุ่นใหม่ที่หลากหลาย ได้รับการชื่นชมว่ากล้าสะท้อนภาพแทนของสังคมฮ่องกงภายใต้การปกครองของจีนในอีก 10 ปีข้างหน้าและได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ดส์ เมื่อปี 2015  

"สถานการณ์วงการหนังฮ่องกงคือคุณไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนได้ ถ้าคุณทำคุณจะถูกแบนไม่ให้ไปทำงานหนังในจีนซึ่งเป็นตลาดหนังที่ใหญ่มาก ซึ่งตอนนั้นเราคิดว่าบ้านเราเองก็มีจุดเชื่อมต่อทางสังคม การเมืองกับเขาได้และเป็นการร่วมทุนกับฮ่องกงด้วย"

ภาพบางส่วนจาก Ten Years Thailand

จาก Crowdfunding, สปอนเซอร์, ขอทุน จนถึงทุนส่วนตัว

คัทลียาปรับโครงการ 'Films For Free' มาเป็น 'Ten Years Thailand' แม้จะมีทุนตั้งต้นที่น้อยมาก แต่โครงการก็เปิดให้ประชาชนที่สนใจร่วมระดมทุน (Crowdfunding) โดยคัทลียาคิดว่ามันคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่ได้สนับสนุนในสิ่งที่เขาอยากเห็น แต่สุดท้ายการระดมทุนก็ไม่ได้ตามเป้า อีกทางคือการหาสปอนเซอร์และการขอทุน ซึ่งเธอเล่าว่าการขอสปอนเซอร์ทางธุรกิจเป็นไปได้ยากหน่อย บางสปอนเซอร์ก็ขอถอนออกไปเพราะไม่ใช่หนังกระแสหลัก และเมื่อรู้ว่าหนังพูดเรื่องการเมืองก็กลัวว่าจะกระทบต่อภาพลักษณ์ บางสปอนเซอร์จึงไม่ประสงค์ออกนาม  ส่วนทุนที่เธอได้มาหลักๆ แล้วมาจากทางฮ่องกงและญี่ปุ่น เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องถ่ายก็เกิดปัญหาเรื่องงบประมาณ

"จนมันถึงขั้นที่ต้องถ่ายทำเพื่อให้มันเป็นไปตามเงื่อนไขเวลา และเสร็จทันส่งเทศกาล แต่ทุนยังไม่พอ เราก็ต้องไปยืมญาติพี่น้องเอามาทำ ก็ยังเป็นหนี้เขาอยู่ และเราก็หาทุนอื่นๆ ทั่วโลกไปด้วย อย่างพี่วิศิษฐ์อยากทำซีจีด้วยก็จะมีงบส่วนที่เกินออกมา เราก็ใช้วิธีสมัครทุน ซึ่งก็ได้ทุนจาก Script Develop มาเพิ่ม และพี่วิศิษฏ์แกก็ลงเงินส่วนตัวเองด้วย เพราะแกอยากพัฒนาเรื่องนี้เป็นหนังยาว นี้คือวิธีการที่ต้องทำให้เสร็จแล้วให้แหล่งทุนเห็นคุณภาพเขาจะเข้าใจมากขึ้น เราอยากให้ชิ้นงานนี้ผู้กำกับและทีมงานมีค่าตอบแทน ไม่ต้องร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ต้องมี" คัทลียากล่าว

ภาพบางส่วนจาก Ten Years Thailand

ไปเทศกาลเพื่อขยายพื้นที่การสื่อสาร และเทศกาลมักไม่เซ็นเซอร์หนัง

คัทลียากล่าวว่าเทศกาลหนังคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมซึ่งเธอเชื่อเรื่องการเชื่อมผู้คนด้วยงานเชิงวัฒนธรรม และงานเทศกาลเป็นพื้นที่ที่ทุกคนควรจะพูดได้และถูกพูดถึงได้จึงไม่ควรมีการเซ็นเซอร์ การได้ฉายในเทศกาลเหล่านี้ทำให้การสื่อสารและแรงกระเพื่อมของหนังไปได้ไกลมากขึ้น พื้นที่ในการทำงานจึงขยายมากขึ้น รวมถึงคุณค่าเชิงศิลปะที่พิสูจน์ว่าเป็นที่สนใจและถูกคัดเลือกให้ฉาย การ Q&A พูดคุยแลกเปลี่ยน ทำให้คนต่างประเทศรู้จักวัฒนธรรม ค่านิยม วิธีคิดของประเทศเราด้วย นอกจากนี้ในเทศกาลยังมีหน่วยอื่นๆ ของภาพยนตร์ด้วย เช่น มีการซื้อขายหนัง การ Pitch Project เพื่อหาผู้สนใจร่วมทุน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ภาพยนตร์มีศักยภาพและเผยแพร่ไปอีกระดับ

เธอยังมองว่าโปรเจกต์ Ten Years International ยังเป็น movement ด้วย คือการตั้งคำถามที่กระจายไปยังทั้งเอเชียว่า 10 ปีข้างหน้าแต่ละประเทศมองเห็นอะไร ซึ่งจะสะท้อนปัญหาออกมาผ่านหนัง อาจจะเป็นเรื่องการเมือง หรือบางประเทศถ้าบรรยากาศประชาธิปไตยทำงาน ปัญหาที่ออกมา เช่น ไต้หวันหรือญี่ปุ่นก็มีเรื่องสังคมผู้สูงอายุ

แต่ขณะเดียวกันคัทลียาพบว่า แม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะได้ไปเทศกาลดังอย่างเมืองคานส์ แต่ภาพยนตร์ก็ยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐอย่างจริงจัง มีการประชาสัมพันธ์จากทางรัฐว่ามีหนังไทยได้ไปเมืองคานส์ แต่รัฐเองก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมให้ทุนเพื่อแก่ผู้กำกับ นักแสดงและทีมงานเพื่อเข้าร่วมเทศกาล หรือมีเงื่อนไขว่าหากขอทุนจะต้องส่งภาพยนตร์ให้รัฐตรวจสอบก่อน ซึ่งคัทลียามองว่านั่นเป็นการควบคุมตรวจสอบของรัฐ และเธอเองก็เผชิญกับแรงเสียดทานนี้อยู่เนืองๆ

"ประเทศไทยตอนนี้มันมีปัญหาบางอย่างซ่อนอยู่ ที่ทำให้สิ่งที่ควรเป็นปกติมันเป็นปกติไม่ได้ แม้แต่การทำหนังสักเรื่อง เราว่าประเทศนี้มี material อีกเยอะให้เล่น มีความแอ๊บเสิร์ดที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน เรื่องจริงตอนนี้มันเกิดขึ้นยิ่งกว่าหนัง คุณกระพริบตาไม่ได้เพราะคุณอาจจะพลาดเหตุการณ์ทันที ประเทศไทยตอนนี้มันยิ่งกว่าหนังทดลองใดๆ ถ้าคุณอยู่ในประเทศไทยคุณก็ยิ่งต้องรีเลทกับหนังเรื่องนี้ไม่ว่าในมิติใด" คัทลียากล่าวทิ้งท้าย

จุฬญานนท์ ศิริผล

 

จุฬญานนท์ ศิริผล: ผู้กำกับรุ่นใหม่กับหนังสั้นแนวไซไฟ 'The Planetarium'

จุฬญานนท์เล่าว่าเขาคิดถึงการเมืองไทยช่วง 10 ปีที่แล้ว ซึ่งเขามองว่ามันเป็นไปได้ที่จะมีผลตกค้างไปสู่อนาคต หากในยุคนี้เป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารยังค่อนข้างเปิดกว้าง คนยังพอมีเสรีภาพในการแสดงออก ในอนาคตอาจจะถอยหลังกลับไปสู่ยุคที่ถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นเหมือนยุคที่เขายังเป็นเด็ก ดังนั้นเขาจึงสมมติโลกจำลองในอนาคตที่เหมือนย้อนกลับไปในอดีต กลายเป็นหนังไซไฟทุนต่ำมีความคัลท์ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบอดีตมาเป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชน และนำเอางานเก่าที่เขาเคยทำในรอบ 10 ปีมาใช้ผสมผสานอยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย

ในฐานะที่เขาเป็นผู้กำกับที่อายุน้อยสุด จุฬญานนท์กล่าวว่าเคารพผู้กำกับที่เหลือในฐานะที่ตนเติบโตมากับหนังของผู้กำกับเหล่านั้น พอต้องมาทำงานในโปรเจกต์เดียวกันก็มีกดดันว่างานจะด้อยกว่าคนอื่น แต่เขาก็มั่นใจกับประสบการณ์ที่เคยทำหนังสั้นมา และเชื่อในการตัดสินใจของโปรดิวเซอร์

"สุดท้ายแล้วเราก็คิดว่าเราเอาอยู่กับตัวงาน พอมาดูโดยรวมแล้วเราคิดว่ามันก็ยังมีพลังพอจะอยู่รวมกับงานของพี่ๆ ได้ เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันมีคอนเนคชั่นกับงานของพี่ๆ ทั้งในแง่ตัวบริบทและตัวเนื้อหาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้คุยกันมาก่อนมาเราจะทำอะไร แต่มันมีจุดเชื่อมโยงบางอย่างโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ" จุฬญานนท์กล่าว

เมื่อถามเรื่องการเซ็นเซอร์งานของตัวเอง จุฬญานนท์ตอบว่า "งานเราที่ผ่านมาเราเล่นกับเส้นบางๆ ตรงนี้อยู่แล้ว สำหรับเรางานศิลปะมันค่อนข้างเปิดกว้างให้คนเข้ามามองในมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ถ้าเรานำเสนอแบบ 1+1 = 2 ไปเลยมันจะไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ความคลุมเครือหรือการเปิดให้ตีความเลยกลายมาเป็นวิธีการทำงานของเรา ในกระบวนการทำงานของเรามันเลยไม่ใช่การเซ็นเซอร์ตัวเองแต่เป็นรูปแบบการนำเสนอที่เราไม่ต้องการนำเสนอแบบตรงไปตรงมา"

ภาพบางส่วนจาก Ten Years Thailand

บุญฤทธิ์ เวียงนนท์

 

บุญฤทธิ์ เวียงนนท์: นายทหารชั้นผู้น้อยในหนัง 'Sunset' ของ อาทิตย์ อัสรัตน์

บุญฤทธิ์เองก็เป็นหนึ่งในแวดวงคนทำหนัง เขาจบเอกภาพยนตร์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร เขากล่าวติดตลกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องแรกที่เล่นแล้วได้เงิน ก่อนหน้านี้แม้จะเคยเล่นหนังแต่ก็เป็นหนังธีสิสของรุ่นน้อง บทของเขาคือนายทหารชั้นผู้น้อยที่เป็นคนอีสาน ซึ่งเขาเองก็เป็นคนอีสานและพูดภาษาอีสานได้

"เราอยากร่วมในการทำหนังที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นโปรเจกต์ที่อยากมีส่วนร่วมด้วยมากๆ และจริงๆ ก็อยากพยายามทำให้เรื่องการเมืองมันมีทั้งหนังในหนังอิสระและหนังแมสด้วย เพราะสุดท้ายเราได้เรียนรู้มาจากการทำหนัง จากการไปเวิร์คชอป ไปอบรมว่าทุกปัญหามันล้วนเกี่ยวกับการเมือง"  บุญฤทธิ์กล่าว

บุญฤทธิ์เล่าเรื่องย่อในตอน 'sunset' ว่า เป็นเหตุการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้าของไทย ซึ่งจะมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและเซ็นเซอร์งานศิลปะ และเขาได้รับบทเป็นทหารที่เข้าไปตรวจงาน ซึ่งเขาเล่าถึงความรู้สึกที่ได้เล่นเป็นทหารว่า "เราเล่น เป็นทหารใต้บังคับบัญชา ซึ่งต้องเป็นทหารที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เหมือนเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในระบบ เราจึงเข้าใจว่าเขาเพียงแค่ต้องทำตามคำสั่ง แต่ในหัวเขาน่าจะว่างเปล่า ไม่ได้รู้สึกถึงสภาวะตรงนั้นที่เกิดขึ้น"

"ตอนแรกที่อ่านบทเรารู้สึกเฉยๆ แต่พอได้อ่านรอบสองแบบเต็มๆ ทั้งบท มันมีฉากหนึ่งที่อ่านแล้วเราน้ำตาคลอเบ้าเลย อาจจะเพราะเราก็เป็นคนทำหนัง ถ้าวันหนึ่งงานที่เราสร้างขึ้นเพื่อจะสื่อสารอะไรบางอย่างให้สังคมนี้เข้าใจมากขึ้น เกิดการถกเถียงในเรื่องนั้นๆ มากขึ้น ถูกคนแค่บางกลุ่มมาตัดสินคิดว่ามันเป็นตัวบ่อนทำลาย แล้วเราก็ไม่มีอำนาจจะไปต่อสู้กับมันได้ มันคงเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากๆ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวิตร เชื่อ P-Move ไม่ร่วมกับคนอยากเลือกตั้ง คาดชุมนุม 5 พ.ค. คนมาน้อย

Posted: 02 May 2018 10:37 PM PDT

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เชื่อการชุมชนของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 5 พ.ค. ไม่มีอะไรน่าห่วง คาดว่าคงมีคนมาร่วมไม่มาก ระบุการชุมนุมของ P-Move ไม่เกี่ยวกับการเมือง เพราะเป็นเรื่องปัญหาปากท้อง ย้ำไม่มีนักการเมืองไปร่วม เพราะได้เรียกมาคุยก่อนหน้านี้แล้ว

แฟ้มภาพ

3 พ.ค. 2561 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึ การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ค. นี้ ว่า จะไม่ขยายวงกว้างและจะมีคนมาร่วมจำนวนไม่มาก ส่วนที่มีความกังวลว่ากลุ่มพีมูฟจะรวมตัวกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่สื่อคิดไปเอง เพราะกลุ่มพีมูฟเคลื่อนไหวเรื่องปากท้อง ไม่เกี่ยวกับการเมือง

พล.อ.ประวิตร กล่าวด้วยว่า ฝ่ายความมั่นคงมีมาตรการรับมืออยู่แล้ว และไม่วิตกกังวลต่อการเคลื่อนไหว ส่วนการชุมนุมจะเคลื่อนไหวอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมายเชื่อว่ากลุ่มผู้ชุมนุมคงรู้กรอบปฏิบัตินี้ดีอยู่แล้ว ส่วนจะมีการผสมโรง ของฝ่ายการเมืองหรือไม่นั้น เชื่อว่าจะไม่มีการผสมโรง จากฝ่ายของการเมืองแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้มีการเชิญตัวคนกลุ่มนี้มาพูดคุยหารือกันบ้างแล้ว และได้มีการทำความเข้าใจกันเรียบร้อย เชื่อว่าไม่เกิดความวุ่นวาย

เรียบเรียงจาก: INNNEWS , สำนักข่าวไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทันตแพทยสภาชี้หมอฟันรีวิวสินค้า ทำในนามวิชาชีพ หากเกิดความเสื่อมเสียถือว่าผิดจรรยาบรรณ

Posted: 02 May 2018 10:37 PM PDT

นายกทันตแพทยสภาเผย หมอฟันที่ไปรีวิวสินค้าความงามหรือสินค้าอื่นๆ หากกระทำในฐานะวิชาชีพและเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ ถือว่าผิดจรรยาบรรณตามข้อบังคับทันตแพทยสภา

ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา

3 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ทางสื่อออนไลน์โดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ หรือบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปเกี่ยวข้องว่า ในส่วนของวิชาชีพทันตกรรมนั้น หากมีทันตแพทย์โฆษณาหรือรีวิวสินค้าความงาม จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ว่า ทันตแพทย์ที่รีวิวสินค้านั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าความงามหรือสินค้าอื่นๆ หากกระทำในฐานะวิชาชีพและเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของวิชาชีพ ถือว่าผิดจรรยาบรรณ

ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538 ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 หมวด คือ

หมวด 1 ว่าด้วยความประพฤติทั่วไปของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

หมวด 2 ว่าด้วย การประกอบวิชาชีพทันตกรรม

หมวด 3 ว่าด้วย การโฆษณาการประกอบวิชาชีพทันตกรรม

หมวด 4 ว่าด้วย การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

หมวด 5​ ว่าด้วย การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน

หมวด 6 ว่าด้วย การทดลองในมนุษย์

นายกทันตแพทยสภา กล่าวต่อว่า ข้อบังคับดังกล่าวนี้ มุ่งเน้นดูแลการประกอบวิชาชีพทันตกรรมและการกระทำที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรมเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากหมวด 2, 3, 4, 5 และ 6 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทันตกรรม สำหรับประเด็นการรีวิวสินค้าความงามที่ดูเหมือนจะเป็นการโฆษณาสินค้าความงามก็เป็นสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับทันตกรรม ดังนั้นการรีวิวจึงไม่ขัดต่อจรรยาบรรณในหมวด 3 ของข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม

แต่อย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณในหมวด 1 ความประพฤติทั่วไปของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ข้อ 2 ระบุว่า "ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ต้องไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพทันตกรรม"และ ข้อ 3 "ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ต้องดำรงตนในสังคมโดยธรรม เคารพและปฏิบัติตามบรรดาบทกฎหมายของประเทศ" ดังนั้น ต้องดูว่า การรีวิวสินค้าความงามดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่ หากตำรวจสั่งฟ้องและศาลพิพากษาว่ามีความผิด ก็ต้องพิจารณาต่อว่า การไปรีวิวสินค้าไปในนามส่วนตัว หรือเป็นการทำในฐานะวิชาชีพ และเป็นเหตุเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพทันตกรรมหรือไม่

ทพ.ไพศาล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คำว่า "เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพทันตกรรม" มีความหมายว่า มาตรฐานความประพฤติที่วัดจากการพิจารณาความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมของวิชาชีพทันตกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เป็นผู้มีเกียรติ จะต้องประพฤติให้สมกับความไว้วางใจจากประชาชน และต้องรักษาขื่อเสียง เกียรติคุณแห่งวิชาชีพ

"หากไม่พบว่าทำให้เสื่อมเสียก็ยกคำร้องไป แต่หากพบว่าเสื่อมเสีย ก็จะมีบทลงโทษ ตั้งแต่ ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต" นายกทันตแพทยสภา กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก : แอมเนสตี้ฯ ย้ำ 'การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม'

Posted: 02 May 2018 09:56 PM PDT

3 พฤษภาคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก"  มีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกเฉลิมฉลองสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นคือเสรีภาพในการแสดงออก

ภาพประกอบ โดย ประชาไท (10 วิธีปราบปรามสื่อมวลชนทั่วโลก) ดูภาพขนาดใหญ่

3 พ.ค. 2561 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รายงานว่า วันที่ 3 พ.ค.ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) เพื่อระลึกถึงข้อปฏิบัติว่าด้วยเสรีภาพสื่อ และเพื่อเป็นการปกป้องนักข่าวที่ถูกโจมตีเพียงเพราะพวกเขาทำหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น การปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกนั้นถือเป็นงานที่หนักพอสมควร 

โดยองค์กร Reporters Without Borders ได้รายงานว่า "การเคารพเสรีภาพสื่อนั้นลดลงจนน่ากลัว" ทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาค ในขณะที่หน่วยงาน Committee to Protect Journalists รายงานว่าในปี 2560  มีนักข่าว 46 คน ถูกฆ่าขณะปฏิบัติหน้าที่ และ หน่วยงาน The International News Safety Institute ได้รายงานว่าในปี 2561 นี้มีนักข่าวถูกฆ่าในขณะปฏิบัติหน้าที่จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นทวีปอเมริกา10 คน เอเชีย 22 คน และ ยุโรป 1 คน นักข่าวบางรายเสียชีวิตเพราะต้องเข้าไปทำข่าวในพื้นที่อันตราย เช่น  พื้นที่ที่มีการสู้รบ หรือพื้นที่ที่ถูกควบคุมโดยผู้ค้ายาเสพติด หรือองค์กรอาชญากรรม ในขณะที่นักข่าวบางรายเสียชีวิตเพราะถูกกลุ่มผู้มีอิธิพลทางการเมือง หรือศาสนาฆ่าปิดปากเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตัวเอง

ทั้งนี้ ข้อมูลของหน่วยงาน The International News Safety Institute ยังระบุอีกว่า ในปี 2561 นี้มีประเทศที่มีนักข่าวเสียชีวิตมากที่สุด 5 ประเทศ คือ อัฟกานิสถาน ซีเรีย เอกวาดอร์ อินเดีย และเม็กซิโก 

ทุกๆ วันนักข่าวทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการข่มขู่ การเซ็นเซอร์ การกักขัง และการใช้ความรุนแรงซึ่งรวมถึงการถูกทรมาน เพียงเพราะพยายามที่จะรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้สังคมได้รับรู้ 

ทั้งนี้ในปี 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เคยรวบรวม 10 วิธีการที่ทั่วโลกใช้ปราบปรามผู้สื่อข่าว เพื่อไม่ให้ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวอย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกพยายามพัฒนาเทคนิคเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวเปิดโปงการคอรัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งการฟ้องเพื่อปิดปาก การตั้งข้อหาเท็จ การเพิกถอนใบอนุญาตนักข่าว ไปจนถึงการสังหาร รวมทั้งวิธีการอื่นๆ อีกมากมายที่ยังใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  

ต้นกำเนิดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก" (World Press Freedom Day) เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงโดยเสรี และปลอดภัย เพราะในระยะหลังๆ มีนักข่าวที่ลงพื้นที่ภาคสนามเสียชีวิต ถูกจับเป็นตัวประกัน และถูกจับกุมเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ถึงแม้การเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2534 แต่เสรีภาพในการแสดงออกถูกพูดถึงเมื่อเกือบ 70 ปีมาแล้ว โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติรับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ 19 ว่า 

"ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน"

นักข่าวคือนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

นักข่าวหรือสื่อมวลชนถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนหนึ่ง เพราะพวกเขาคือคนที่ลงมือทำเพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนโดยไม่ใช้ความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ หรือความรุนแรง พวกเขาคือ "ผู้กล้า" ที่กล้าออกมาทำเพื่อส่วนรวม กล้าที่จะออกมายืนหยัดเพื่อสิทธิของเราทุกคน โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวหรือตีแผ่ความไม่เป็นธรรมในสังคม ภายใต้หลักการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกคือ "เสรีภาพในการแสดงออก" 

ในวันที่พวกเขาถูกคุกคามจึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องแสดงพลังสนับสนุนการทำงานอันกล้าหาญของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาทำงานได้อย่างปลอดภัยและเพื่อสังคมที่ดีขึ้น 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อมั่นว่า "การนำเสนอข่าวไม่ใช่อาชญากรรม" ดังนั้นเมื่อนักข่าวในประเทศต่างๆ ถูกจับกุม คุมขังหรือถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะการทำหน้าที่ในการรายงานข่าวหรือข้อเท็จให้สังคมได้รับทราบ แอมเนสตี้จะเรียกร้องให้ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดและปล่อยตัวพวกเขาโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข 

ทั้งนี้เพราะเสรีภาพของสื่อมวลชนถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกประเทศต้องให้การเคารพและยอมรับตามที่กล่าวไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงาน เมษายน 2561

Posted: 02 May 2018 08:00 PM PDT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น