ประชาไท | Prachatai3.info |
- จาตุรนต์ ฉายแสง: ต้นเหตุที่ปฏิรูปไม่เกิด คือ พลเอกประยุทธ์
- พ.ร.บ.อีอีซี กับศักราชใหม่ของการขายชาติ
- พรบ.อีอีซี กับศักราชใหม่ของการขายชาติ
- เซ็กส์ทอยที่ออกแบบมาเพื่อใช้เยียวยา ผู้เคยเผชิญการข่มขืน-ล่วงละเมิดมาก่อนได้
- ใบตองแห้ง: รัฐ 0.4 ไม่ใช่แค่สี่ปี
- ใบตองแห้ง: ไทยไม่มี ‘มหาเธร์’
- UNHCR - จุฬาราชมนตรี จัด 'รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง' ส่งความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
- เปิดมุมมองนักศึกษารัฐศาสตร์ กับ วาทกรรม ‘คนรุ่นใหม่’ ของพรรคการเมือง
- ป่าแหว่ง: การใช้สิทธิชุมชน
- กวีประชาไท: พิพากษา...พฤษภา-2553
- รบ.สั่งจัดเก็บข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในไทย ระบุป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ-ก่อการร้าย
- สช.จับมือภาครัฐ-ดันเวทีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ
- ปลอยตัว 'อันวาร์ อิบราฮิม' ภายหลัง 'มหาธีร์' ขออภัยโทษ
- 'บันทึก 6 ตุลา' เปิดคำให้การ 'ตำรวจพลร่ม' ชี้เป็นปฏิบัติการสงครามลับ บอกระดับความโหดฝ่ายขวา
- องค์กรเพื่อคนจนในสหรัฐฯ จัดชุมนุมสานต่อแนวทางเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจของ 'มาร์ติน ลูเทอร์ คิง'
จาตุรนต์ ฉายแสง: ต้นเหตุที่ปฏิรูปไม่เกิด คือ พลเอกประยุทธ์ Posted: 16 May 2018 10:13 AM PDT
ตามที่พลเอกประยุทธ์ออกมาโต้นายบวรศักดิ์เรื่องการปฏิรูปไม่คืบหน้านั้นยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า พลเอกประยุทธ์ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้เลยว่าได้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใดบ้าง ที่ยกตัวอย่างมาอวดอ้างว่าเป็นการปฏิรูป ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการทำงานโน่นนิดนี่หน่อย ไม่ได้เป็นความสำเร็จมากมายอะไร เช่น รถไฟทางคู่ 4ปียังทำได้ไม่ถึงสามกิโลเมตร การทำประปาเข้าหมู่บ้าน การทำถนนในท้องถิ่นเป็นเรื่องดี แต่ก็ยังทำได้ไม่มากเพราะว่าเอางบประมาณไปใช้ด้านอื่นเสียมากกว่า ที่ยกตัวอย่างเรื่องการออกกฏหมายเพียงบางฉบับ ก็ยิ่งทำให้เห็นว่า ที่นายบวรศักดิ์พูดว่าการปฏิรูปกฎหมายไม่คืบหน้าเป็นเรื่องจริง นอกจากนั้น ที่ยกตัวอย่างเรื่องการปฏิรูปการบุกรุกป่า การจัดการปัญหาที่ดิน บริหารจัดการน้ำ ล้วนเป็นเรื่องที่ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราว ที่น่าตกใจ คือ พลเอกประยุทธ์ยกความสำเร็จในเรื่องการทำประโยชน์ให้แก่เกษตรกรและคนยากจน รวมทั้งยกตัวอย่างโครงการไทยนิยม สวนทางกับผลโพลล์ที่เพิ่งจะออกมาระบุว่า คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักโครงการไทยนิยม ส่วนเกษตรกรและคนยากจนได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสกันทั่วหน้า ใครๆก็รู้กันอยู่ พลเอกประยุทธ์ยังตั้งคำถามให้คนช่วยกันตอบว่า อะไรทำ อะไรไม่ทำ ตนทำมาตลอด แต่กลับไม่สามารถยกตัวอย่างผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอัน จากการพูดแบบหัวฟัดหัวเหวี่ยงในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าต้นเหตุที่ทำให้การปฏิรูปไม่เกิดขึ้นแท้จริงแล้ว ก็คือ พลเอกประยุทธ์นี่เอง ที่พูดออกมาแสดงให้เห็นว่า พลเอกประยุทธ์ไม่เข้าใจแม้แต่ความหมายของคำว่าปฏิรูป ซึ่งหมายถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงเรื่องต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ ในทางการบริหารหรือแก้ปัญหาบ้านเมืองก็ต้องหมายถึงการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในทางระบบหรือโครงสร้าง รวมทั้งความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ทำโน่นนิดนี่หน่อยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แบบสะเปะสะปะ ไม่มีทิศไม่มีทางอย่างที่พลเอกประยุทธ์ทำอยู่ การปฏิรูปเปรียบเหมือนการยกเครื่องหรือการผ่าตัด แต่ที่พลเอกประยุทธ์ทำอยู่ คือ การปะผุ หรือยิ่งซ่อมยิ่งพัง ผมได้แสดงความเห็นไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า สาเหตุที่ไม่เกิดการปฏิรูป จะโทษแต่ข้าราชการไม่ได้ แต่ควรจะโทษคสช.และแม่น้ำทั้ง 5 สายที่ไม่ได้มีความคิดความตั้งใจที่จะปฏิรูปมาแต่ต้น การปฏิรูปเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อเข้าสู่อำนาจของคสช. และเป็นข้ออ้างเพื่ออยู่ในอำนาจตลอดมา และกำลังเป็นข้ออ้างที่จะสืบทอดอำนาจต่อไป ที่พลเอกประยุทธ์ออกมาพูดในครั้งนี้ ยิ่งทำให้เห็นว่า ผู้ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ไม่เกิดการปฏิรูปใดๆ คือ พลเอกประยุทธ์ ผู้ไม่รู้แม้แต่ความหมายของการปฏิรูปนี่เอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พ.ร.บ.อีอีซี กับศักราชใหม่ของการขายชาติ Posted: 16 May 2018 10:06 AM PDT
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 (10 พฤษภาคม) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มาชำแหละ พรบ.ฉบับนี้ว่าเป็นการปูทางสู่ศักราชใหม่ของการขายชาติอย่างแท้จริงหรือไม่
มาตรา 33 ในกรณีที่มีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการใดเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษ. . . ไม่ว่าการนั้นจําเป็นต้องดําเนินการภายในหรือภายนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หากการดําเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานของรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วย คณะรัฐมนตรีจะกําหนดให้หน่วยงานของรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือสํานักงานเป็นผู้ดําเนินการแต่เพียงหน่วยเดียว หรือให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือบางหน่วยร่วมกันดําเนินการหรือร่วมกับสํานักงานดําเนินการก็ได้. . . หากมีกฎหมายกําหนดให้ผู้ดําเนินการนั้นต้องได้รับอนุมัติหรืออนุญาตหรือต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐหน่วยใด ให้คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตหรือให้ความเห็นชอบแทนหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น. . .
มาตรา 36 . . . คณะกรรมการนโยบายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจให้สํานักงานเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้. . .ให้อํานาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นอํานาจของคณะกรรมการนโยบาย. . .
ที่บอกว่ามี 10 อุตสาหกรรมส่งเสริม เป็นแค่ฉากหน้าหลอก!! ยังมีบริการ-ท่องเที่ยวที่มีได้ มาตรา 48 ให้ผู้ประกอบกิจการหรืออยู่อาศั
มาตรา 49 ให้ผู้ประกอบ. . .ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นคนต่ มาตรา 51. . .บุคคลดังกล่าวรวมทั้งคู่สมรส บุพการี และบุตร. . .อาจได้รับการลดหย่อนภาษี สิทธิเกี่ยวกับการเข้าเมื มาตรา 52 การเช่า เช่าช่วง ให้เช่า หรือให้เช่าช่วงที่ดินหรืออสั
ข้อแย้ง: ต่างชาติสามารถใช้เงินตราสกุ
บางท่านจึงอาจดูคล้ายกับว่าศั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พรบ.อีอีซี กับศักราชใหม่ของการขายชาติ Posted: 16 May 2018 09:57 AM PDT
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 (10 พฤษภาคม) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มาชำแหละ พรบ.ฉบับนี้ว่าเป็นการปูทางสู่ศักราชใหม่ของการขายชาติอย่างแท้จริงหรือไม่
มาตรา 36 . . . คณะกรรมการนโยบายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจให้สํานักงานเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้. . .ให้อํานาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นอํานาจของคณะกรรมการนโยบาย. . . มาตรา 39 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศในด้านต่าง ๆ. . .คณะกรรมการนโยบายจะประกาศกำหนดจากอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยอาจรวมถึงอุตสาหกรรมการบริการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการจัดประชุม หรืออุตสาหกรรมอื่นใดด้วยก็ได้แต่อย่างน้อยต้องประกอบด้วยอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้. . . ที่บอกว่ามี 10 อุตสาหกรรมส่งเสริม เป็นแค่ฉากหน้าหลอก!! ยังมีบริการ-ท่องเที่ยวที่มีได้ มาตรา 48 ให้ผู้ประกอบกิจการหรืออยู่อาศั
มาตรา 49 ให้ผู้ประกอบ. . .ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นคนต่ มาตรา 51. . .บุคคลดังกล่าวรวมทั้งคู่สมรส บุพการี และบุตร. . .อาจได้รับการลดหย่อนภาษี สิทธิเกี่ยวกับการเข้าเมื มาตรา 52 การเช่า เช่าช่วง ให้เช่า หรือให้เช่าช่วงที่ดินหรืออสั
ข้อแย้ง: ต่างชาติสามารถใช้เงินตราสกุ
มาตรา 59 . . .(1) ในกรณีที่การประกอบวิชาชีพใดมี บางท่านจึงอาจดูคล้ายกับว่าศั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เซ็กส์ทอยที่ออกแบบมาเพื่อใช้เยียวยา ผู้เคยเผชิญการข่มขืน-ล่วงละเมิดมาก่อนได้ Posted: 16 May 2018 09:49 AM PDT ขณะที่บางประเทศที่อ้างศีลธรรมแบบปากว่าตาขยิบยังมอง 'เซ็กส์ทอย' หรือของเล่นทางเพศเป็นสิ่งที่เสื่อมต่อศีลธรรม แต่ในประเทศอื่นๆ มีการพยายามปรับแต่งเซ็กส์ทอยให้กลายเป็นสิ้งที่ผู้เคยประสบภัยจากการข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศมาก่อนสามารถใช้เยียวยาตัวเองเพื่อให้กลับมามีความสุขทางเพศอีกครั้งได้ 16 พ.ค. 2561 นักออกแบบชาวดัทช์ เนียนเคอ เฮลเดอร์ เป็นหนึ่งในผู้ที่พยายามปรับแต่งเซ็กส์ทอยให้นำมาใช้บำบัดผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์ข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศมาก่อน (rape survivor) โดยอาศัยประสบการณ์ของเธอเอง เฮลเดอร์บอกว่าเธอต้องการใช้เซ็กส์ทอยเหล่านี้เป็น "เครื่องมือที่จะให้โอกาสในการฟื้นฟูทางเพศสัมพันธ์ในแบบส่วนตัวของตัวผู้ใช้งานเอง" สำหรับผู้ที่เผชิญกับการล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขืนมาก่อนนั้น อาจจะรู้สึกเข้าถึงกิจกรรมทางเพศที่จะให้ความสุขพวกเขาได้ยากขึ้น ในขณะที่มีการเยียวยาทางจิตใจและทางอารมณ์สำหรับพวกเขาแล้วสิ่งที่ยังขาดคือการพูดถึงรอยแผลใจที่จะส่งผลถึงเพศสัมพันธ์ เฮลเดอร์จึงได้ออกแบบเซ็กส์ทอยในคอลเลคชั่นที่ตั้งชื่อว่าเป็น "การเยียวยาทางเพศ" (Sexual Healing) เช่น แปรงขนม้าที่นำมาใช้สำรวจการสัมผัสและการจักกะจี้ กระจกที่ทำให้ผู้ใช้เห็นปากช่องคลอดตัวเองได้ง่ายขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะสะท้อนและกระตุ้นเตือนการทำงานของร่างกายผู้ใช้อย่าง เครื่องมือที่จะสั่นเตือนถ้าพบว่าส่วนของอวัยวะเชิงกรานของผู้ใช้ตึงเครียดเกินไป หรือเซนเซอร์ตรวจจับว่ามีการหายใจเร็วเกินไปเพื่อเตือนให้ทำอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เฮลเดอร์บอกว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองของร่างกายตัวเองต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้ ถึงแม้ว่าเซ็กส์ทอยแบบของเฮลเดอร์ยังเป็นต้นแบบทดลองอยู่ แต่ก็มีบางสถานที่อย่างทางตะวันออกของลอนดอนที่มีร้านค้าเซ็กส์ทอยที่เน้นสำหรับผู้หญิงอยู่ชื่อ "Sh! Women's Erotic Emporium" ที่นอกจากจะขายเซ็กส์ทอยแล้วยังมีการให้การศึกษาเรื่องเพศด้วย ทาง Erotic Emporium ยังเคยปรึกษาหารือกับหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษเพื่อให้มีเซ็กส์ทอยที่คนหลายแบบสามารถเข้าถึงได้รวมถึงผู้ที่เคยเผชิญกับการล่วงละเมิดทางเพศหรือการข่มขืนด้วย เรเน เดนเยอร์ ผู้จัดการร้านและผู้ให้การศึกษาทางเพศกล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนทำงานสาธารณสุขจำนวนมากยังรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะพูดถึงเรื่องเพศ นอกจากนี้เดนเยอร์ยังเป็นคนที่ดำเนินการตั้งกลุ่มให้คำปรึกษาสำหรับผู้หญิงที่เคยเผชิญกับความรุนแรงทางเพศมาก่อน เดนเยอร์บอกว่าสำหรับผู้ที่เคยเผชิญการล่วงละเมิดทางเพศหรือการข่มขืนมาก่อนพวกเธอจะรู้สึกว่า "ส่วนหนึ่งของร่างกายพวกเธอถูกดึงออกไป" แต่ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่เดนเยอร์กล่าวถึงคือหลังจากที่มีการบำบัดทางจิตใจพวกเธอจนพร้อมที่จะคิดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์แล้ว กลับไม่มีพื้นที่ที่จะทำให้พวกเธอฟื้นฟูตัวเองในแง่เพศสัมพันธ์นี้ เดนเยอร์บอกว่าเซ็กส์ทอยจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยให้คนที่เคยเผชิญการล่วงละเมิดทางเพศทำให้ร่างกายกลับมาเป็นของตัวเองได้ เพราะสำหรับคนที่เผชิญการล่วงละเมิดทางเพศแล้วบางที่พวกเขาหรือพวกเธอจะต่อต้านการถูกสัมผัสในทางเพศโดยปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกาย แม้ว่าจะเป็นสัมผัสของคนที่พวกเขาเลือกจะเป็นคู่รักเองก็ตาม เดนเยอร์เชื่อว่าเซ็กส์ทอยจะเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เน้นในสิ่งที่สัมผัสไม่เหมือนเนื้อ ไม่เป็นลักษณะอวัยวะเพศ และเป็นไปในเชิงสอดใส่ รวมถึงแนะนำให้ใช้สารหล่อลื่นที่จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นแบบอวัยวะเพศซึ่งจะกระตุ้นความรู้สึกแย่กับผู้เผชิญการล่วงละเมิดทางเพศ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้คนได้สำรวจเรื่องเพศของตัวเองอีกครั้งในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ในวิธีที่ถูกสุขภาวะ และไม่จำเป็นต้องถูกกดดันด้วยเรื่องทางกายภาพหรือเวลา จนกระทั่งสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนได้ในที่สุด ซาบรินา ฟารามาร์ซี นักข่าววัฒนธรรมของเดอะการ์เดียนระบุว่ากระบวนการบำบัดผู้เคยเผชิญกับการล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขืนอาจจะยังห่างจากความสมบูรณ์แบบอยู่มาก แต่แนวทางที่เปิดในเรื่องทางเพศ (sex-positive) จะทำให้พวกเขาหรือพวกเธอมีชีวิตทางเพศที่ดีขึ้นได้บ้าง
เรียบเรียงจาก How sex toys are being redesigned to help survivors of sexual assault, The Guardian, 15-05-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใบตองแห้ง: รัฐ 0.4 ไม่ใช่แค่สี่ปี Posted: 16 May 2018 09:41 AM PDT
ทีดีอาร์ไอจัดเสวนา "ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมเข้าสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี" สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ชี้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ถ้าปรับตัวไม่ทัน ภาคธุรกิจอาจย้ายฐานไปต่างประเทศ เศรษฐกิจไทยอาจโตเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี และจะมีตำแหน่งงานหายไป 3 ล้านตำแหน่ง เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ เน้นว่าภาครัฐต้องปรับทัศนคติในการกำหนดนโยบายและออกระเบียบ ต้องเลิกความคิด "คุณพ่อรู้ดี" เลิกการกำกับดูแลที่เน้นเฉพาะความปลอดภัยสูงสุดอย่างเดียว และมุ่งมั่นปกป้องกลุ่มผลประโยชน์เดิมเป็นหลัก โดยยกตัวอย่างบริการเรียกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น ที่ได้รับความนิยม แต่ติดขัดทางกฎหมาย รัฐบาลไม่ตัดสินใจจะสนับสนุนหรือไม่ ต่างกับอินโดนีเซีย ที่แก้กฎหมายตามความต้องการของประชาชน จน Gojek กลายเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น มีมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ฟังแล้วเห็นภาพอย่าง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งผู้คนในแวดวงหัวเราะก๊ากว่าถ้าอะไร ๆ มันยุ่งยากขนาดนี้ ดีไม่ดีเจอโทษทั้งจำทั้งปรับ เสียภาษี 15% อีกต่างหาก ก็คงหนีไปซื้อขายต่างประเทศกันดีกว่า ส่วนตัวไม่ได้เข้าใจเศรษฐกิจดิจิทัล เงินดิจิทัล อะไรนัก แต่ทัศนะ "คุณพ่อรู้ดี" ของรัฐอนุรักษนิยม รัฐราชการเป็นใหญ่ นี่เข้าใจลึกซึ้งเลย รัฐไทยยึดทัศนะความมั่นคงปลอดภัยไว้ก่อน ทั้งความมั่นคงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิมสมัยสงครามเย็น สมัย 0.4 ไม่มีทางเข้าใจสิ่งที่เดือนเด่นเตือนว่า ในยุคดิจิทัลนี้ "ถ้าไม่รับความเสี่ยง ก็ไม่มีโอกาส" ทัศนะเศรษฐกิจของรัฐ ก็ไม่ต่างอะไรกับทางการเมือง ที่จะสร้างนักรบไซเบอร์ เพิ่มตำแหน่งงาน 5,000 ตำแหน่ง มาสอดส่องปกป้องความมั่นคงของชาติ ทั้งที่ความมั่นคงไซเบอร์ควรจำกัดแค่ป้องกันอาชญากรคอมพิวเตอร์โจมตีระบบ แพร่ไวรัส ไม่ใช่ไล่จับทัศนะที่เห็นต่างจากทหาร จากรัฐบาล ซึ่งถ้ามีความผิดก็เข้าข่ายกฎหมายอื่นอยู่แล้ว สังคมไทยทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ดูจะยังไม่ตระหนักว่า รัฐประหาร 2557 ไม่ได้มาแค่ 4-5 ปี แล้วกลับสู่เสรีประชาธิปไตย ในความเป็นจริง เราจะไม่เห็นประชาธิปไตยแบบที่คุ้นเคยกันอีกต่อไป เพราะนี่คือการสถาปนารัฐระบอบเก่าขึ้นมาใหม่ รัฐที่ถูกกำกับอยู่ใต้หน่วยงานความมั่นคง ใต้ทัศนะที่ย้อนไปเสมือนยุคสงครามเย็น มองเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม และเทคโนโลยี เป็นภยันตรายต่อความมั่นคงของชาติทั้งสิ้น สี่ปีมานี้ ภาคธุรกิจ คนชั้นกลางในเมือง พึงพอใจกับความสงบราบคาบ ไม่มีม็อบเสื้อสี ไม่มีการประท้วง กระทั่งพีมูฟจะมาเรียกร้องเรื่องปากท้องที่ทำกิน ยังถูกอุ้มเข้าค่ายทหาร คนอีสานต้านเหมืองโปแตช ก็ผิด พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ แต่ความพึงพอใจว่าได้ทำมาค้าขายอย่างสงบ ก็มีค่าใช้จ่าย คือถูกรัฐล้าหลังเอาทัศนะความมั่นคงเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจ สกัดความเปลี่ยนแปลง ทั้งที่โลกกำลังผันผวน เทคโนโลยีไปเร็วมาก แต่มาถึงขั้นนี้แล้ว จะร้องโวยวายยังไงละครับ พูดแบบบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่าท้อใจ ปฏิรูปผิดทาง ราชการล้าหลัง ฯลฯ อย่างนั้นหรือ หรือพูดแบบสมคิด เลิศไพฑูรย์, บรรเจิด สิงคะเนติ ว่าประชาชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ พูดทำไม ร่วมมือกันมาชัด ๆ พูดแบบอดีต ส.ส.ปชป. รัชดา ธนาดิเรก สิ realistic ที่สุด รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีทางแก้ได้ ทำใจทนอยู่กับมันเสียเถอะ สังคมไทย ภาคธุรกิจไทย ก็ควรทำใจอยู่กับรัฐ 0.4 เว้นแต่มีช่องทางย้ายฐานการผลิต ก็ตัวใครตัวมัน แต่ชาวบ้านตาดำ ๆ ย้ายหนีไปไหนไม่ได้
ที่มา: https://www.kaohoon.com/content/231789
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 16 May 2018 09:34 AM PDT
คนไทยทั้งเซอร์ไพรส์และดีใจกับชัยชนะล็อกถล่มของพรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย ที่มหาเธร์ โมฮัมหมัด วัย 92 ขวบ หวนกลับมาเป็นผู้นำ "แนวร่วมแห่งความหวัง" โค่นนาจิบ ราซัค ผู้อื้อฉาวเรื่องคอร์รัปชันล้มยักษ์พรรคอัมโนที่ครองอำนาจมายาวนาน 61 ปี ทั้งที่ฝ่ายรัฐบาลเอารัดเอาเปรียบทุกอย่าง (แต่ยังโง่มาก ไม่รู้จักตั้งวุฒิสมาชิกมาเลือกตัวเองเป็นนายกฯ) โดยมหาเธร์นี่แหละ คือผู้นำที่ครองอำนาจนานที่สุดของพรรคอัมโน 22 ปีตั้งแต่ปี 1981-2003 มีคะแนนนิยมสูงมาก แต่ก็ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ปิดกั้นเสรีภาพ จับกุมคุมขังฝ่ายค้าน ตั้งข้อหาอันวาร์ อิบราฮิม ร่วมเพศทางทวารหนัก จนติดตะรางเกือบ 20 ปี แต่กลับมาจับมือกันได้ โดยสัญญาว่าจะขอพระราชทานอภัยโทษและยกเก้าอี้ให้ใน 2 ปี ชัยชนะของมหาเธร์จึงย้อนแย้ง แล้วแต่จะมองมุมไหน พวกไม่ศรัทธาประชาธิปไตยก็อาจท่องคำพระ ว่านี่แหละการเมือง อำนาจและผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร อยู่กับอำนาจและผลประโยชน์ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งกันต่อไปดีกว่า แต่อะไรก็ไม่น่าขันเท่าพวกบอยคอตต์เลือกตั้ง ขัดขวางเลือกตั้ง ยังเผลอดีใจกับเขาไปด้วย ว่านี่เป็นการเลือกตั้งปราบโกง ไม่รู้คิดได้ไง คงเห็นนาจิบเป็นทักษิณ เห็นพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคอัมโน แต่ต่อให้เป็นจริง ทหารมาเลเซียก็ไม่เคยทำรัฐประหาร สมมตินาจิบเป็นทักษิณ จริง ๆ นะ เมื่อปี 2549 ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมไทย อดีตผู้นำที่ประชาชนยกย่อง ก็ควรจะหวนมาลงเลือกตั้ง ไม่ใช่พากันเรียกหารัฐประหาร เราก้าวข้ามโอกาสที่จะมีมหาเธร์ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ในทัศนะประชาธิปไตย ชัยชนะของฝ่ายค้านมาเลย์ แม้มีรอยด่างที่ตัวมหาเธร์ แต่ก็ถือเป็นนิมิตหมาย เปิดประวัติศาสตร์การเมืองหน้าใหม่ เมื่อโค่นพรรคอัมโนลงได้ นับแต่นี้ การเมืองมาเลย์น่าจะเข้าสู่ "ตลาดเสรี" ไม่มีใครผูกขาดอีกต่อไป ฝ่ายค้านซึ่งถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพมานาน ถูกกระทำด้วยอำนาจไม่เป็นธรรม น่าจะแก้ไขกฎกติกาให้แข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม มีเสรีภาพแสดงความคิดเห็นและแสดงออก ตามความต้องการของประชาชน แม้อาจคดเคี้ยวบ้าง แต่ก็ยังเห็นอนาคตกว่าการเมืองไทย ที่เคยภาคภูมิใจว่าเป็นประชาธิปไตยกว่าใครในภูมิภาคนี้ โห เรามี 14 ตุลาก่อนฟิลิปปินส์ไล่มาร์กอส ก่อนอินโดนีเซียไล่ซูฮาร์โต ตั้งหลายสิบปี แต่ป่านฉะนี้ ยังวนเวียนกับรัฐประหารอยู่เลย รัฐประหารมาจะครบสี่ปี ยังไม่ได้เลือกตั้งเลย ร้ายกว่านั้น การเมืองไทยถึงมีเลือกตั้ง ก็ไม่มีทางโค่น "พรรคอัมโน" ได้ เพราะพรรคอัมโนของไทยใหญ่กว่า ครองอำนาจมายาวนานกว่า โดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง นั่นคือพรรคราชการ ที่มีทหารเป็นแกนกลาง คุมอำนาจความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ความดีงาม กระบวนการยุติธรรม แถมขยายไปสู่องค์กรต่าง ๆ ที่แปะคำว่า "อิสระ" การเมืองไทยชนะเลือกตั้งถล่มทลายก็แก้ไขโครงสร้างอำนาจไม่ได้ แค่รัฐธรรมนูญก็แก้ไม่ได้ จะมองหามหาเธร์ มาเป็นผู้นำฝ่ายค้าน จับมือพรรคการเมืองไม่เอาพรรคราชการ ก็มองไม่เห็น และไม่มีทางเป็นไปได้สังคมการเมืองไทยแตกแยกกันเกินกว่าจะจับมือได้ เพราะแตกแยกเรื่องเอาไม่เอาประชาธิปไตย เทียบอย่างนี้ไม่ใช่ว่าพรรคอัมโนเลวร้ายเสียหมด อย่างน้อยพรรคอัมโนก็ก่อตั้งขึ้นด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมมลายู ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แม้เป็นอนุรักษนิยมก็มุ่งลดเหลื่อมล้ำ และมีวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจ แต่พรรคราชการไทยล่ะ มีอะไร
ที่มา: https://www.kaohoon.com/content/230846 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
UNHCR - จุฬาราชมนตรี จัด 'รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง' ส่งความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา Posted: 16 May 2018 09:29 AM PDT UNHCR ร่วมกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แถลงข่าวโครงการ "รอมฎอน นี้เพื่อพี่น้อง" ส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศร่วมบริจาคเงิน ในเดือนรอมฎอน ส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่ไม่มีโอกาสได้เฉลิมฉลอง 16 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ร่วมกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี แถลงข่าวโครงการ "รอมฎอน นี้เพื่อพี่น้อง" ส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศร่วมบริจาคเงิน ในเดือนรอมฎอน ผ่านสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี โดยเงินบริจาคบางส่วนนำไปสนับสนุนการทำงานของ UNHCR เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่ไม่มีโอกาสได้เฉลิมฉลองเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในประเทศของตนเอง "คำสอนของทุกศาสนามีหลักการด้านมนุษยธรรมส่งเสริมให้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสโดยไม่แบ่งแยกสีผิว หรือเชื้อชาติ" อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน กล่าว "ท่ามกลางวิกฤติผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก เราต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ส่งต่อความช่วยเหลือถึงกันและกันโดยไม่มีกำแพง หรือการแบ่งแยก" ปัจจุบัน สถานการณ์ผู้ลี้ภัยทั่วโลกอยู่ในขั้นวิกฤติจำนวน 65.6 ล้านคน สูงที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง "สงคราม ความขัดแย้ง การประหัตประหาร ส่งผลให้คนบริสุทธิ์ต้องตกอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย" ซากีย์ พิทักษ์คุมพล รองเลขานุการ จุฬาราชมนตรี กล่าว "ไม่มีใครเลือกเกิดมาเป็นผู้ลี้ภัย ต้องทิ้งทุกอย่างไว้ข้างหลัง และขออาศัยในประเทศที่ไม่ใช่บ้านของตนเอง วิกฤติผู้ลี้ภัยจึงเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกต้องใส่ใจ และร่วมช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น" ในเดือนรอมฎอน ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจำนวนมาก ต้องระลึกถึงช่วงเวลานี้นอกประเทศ นอกจากนี้หลังการลี้ภัยที่ยากลำบาก พวกเขากำลังเผชิญวิกฤติครั้งใหม่จากฤดูมรสุม และดินโคลนถล่มในบังคลาเทศ "รอมฎอน เป็นช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมได้ทบทวนถึงความยากลำบากที่เกิดขึ้นในโลก เป็นโอกาสในการแบ่งปันสิ่งที่เรามีให้แก่คนด้อยโอกาส ยากจน และเปราะบาง" ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าว "นอกจากนี้ รอมฎอน คือเวลาอันมีค่าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ชุมชน และช่วยให้เรานึกถึงครอบครัวต่างๆที่ไม่สามารถอยู่กับคนที่พวกเขารักในเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์นี้" โครงการ "รอมฎอน นี้เพื่อพี่น้อง" ได้รับการสนับสนุนจาก ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ในฐานะทูตสันถวไมตีของ UNHCR ประเทศไทย "ปูรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือจากทุกศาสนา เพื่อมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับ UNHCR" ปู ไปรยา กล่าว "ในเวลา 30 วันที่พี่น้องชาวมุสลิมอยู่ในเดือนรอมฎอน ปูขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และขอขอบคุณพี่น้องชาวมุสลิมในความเมตตาที่ให้แก่ผู้ลี้ภัยด้วยค่ะ" สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ยินดีร่วมมือและสนับสนุนการทำงานของ UNHCR ในภารกิจช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ในฐานะองค์กรภาคีเพื่อมนุษยธรรม โดย UNHCR จะนำเงินบริจาคทั้งหมดไปช่วยซ่อมแซมที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศบังคลาเทศที่เสียหายจากฤดูมรสุมที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเงินบริจาคจะนำไปถึงมือผู้ลี้ภัยทั้งในเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นสุดรอมฎอนแล้ว โดย UNHCR เน้นส่งมอบความช่วยเหลือไปที่กลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็กกำพร้า แม่เลี้ยงเดี่ยว และหญิงหม้าย เป็นต้น รายงานข่าวยังระบุช่องทางสำหรับผู้สนใจร่วมบริจาคได้ที่ บัญชี สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อโรฮิงญาและผู้ลี้ภัย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ibank) : 034-108-7440 หรือ www.unhcr.or.th ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดมุมมองนักศึกษารัฐศาสตร์ กับ วาทกรรม ‘คนรุ่นใหม่’ ของพรรคการเมือง Posted: 16 May 2018 09:11 AM PDT เปิดมุมมองต่อวาทกรรม 'คนรุ่นใหม่' ของพรรคการเมือง ผ่านนักศึกษารัฐศาสตร์หลากมหา'ลัย ตั้งแต่ตอบโจทย์คนออกจากอาการแช่แข็ง เบื่อการเมืองความขัดแย้งที่พวกเขาไม่คิดว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้อง จนถึงมองเป็นเพียงกระแส ชี้ความหวังมันอยู่ที่เรารวมตัวกันมากกว่าการที่พรรคการเมืองเปิดช่อง ช่วงนี้หลายพรรคมีแนวคิดที่เตรียมนำเสนอแนวทางหรือนโยบายต่างๆ ต่อสังคม ที่น่าจับตามองโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือในเรื่องของวาทกรรม "คนรุ่นใหม่" ไม่ว่าจะเป็นพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคอนาคตใหม่ก็ นำเสนอแนวคิดคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ อาจจะสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศห่างหายจากการเลือกตั้งมาระยะหนึ่งจึงทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ยังไม่ได้ใช้สิทธิพื้นฐานของตนในการเลือกตั้ง พลังของคนรุ่นใหม่นี่ จึงอาจเป็นพลังอันสำคัญในการพัฒนาประเทศไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น ในโอกาสนี้จึงได้พูดคุยเพื่อเปิดมุมมองของนิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์จากทุกภูมิภาคของประเทศไทยว่า ในฐานะผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางด้านสังคมการเมือง ปรากฏการณ์ทางสังคม ทฤษฏีทางการเมืองต่างๆ ถือเป็นศาสตร์ทางการเมืองโดยตรง และแน่นอนว่านิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์เหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งในคนรุ่นใหม่ และมีความคิดเห็นต่อวาทกรรม "คนรุ่นใหม่" โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่พรรคต่างๆ ที่มีการนำเสนอประเด็นนี้ขึ้นมา วิรัลพัชร รอดแก้ว นิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่าวาทกรรม "คนรุ่นใหม่" มันขายได้ในยุคนี้ เพราะวัยรุ่น "คนรุ่นใหม่" อาจจะเบื่อการเมืองภายใต้ความขัดแย้งมานาน พวกเขาไม่คิดว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความขัดแย้งนี้ขึ้น แต่ผลกรรมกลับตกอยู่ที่พวกเขา ซึ่งเป็นผลกรรมที่หนักหนาเอาการ คือการมีรัฐบาลทหารที่อายุรวมกันได้หลายหมื่นปี ไม่มีความสามารถในการบริหาร ตามไม่ทันโลกที่กำลังหมุนเร็วขึ้น ทำให้โอกาสที่จะพัฒนาก่อร่างสร้างอนาคตของพวกเขาเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่ควร ทั้งยังเป็นคนที่พวกเขาไม่ได้เลือกมาอีก นอกจากนี้ วาทกรรมคนรุ่นใหม่ยังมีนัยยะของความเป็นกลางทางการเมืองที่จะไม่เป็นการล้างแค้นในลักษณะทีใครทีมัน ในส่วนที่พรรคการเมืองหลายพรรคมีความพยายามนำเสนอประเด็นดังกล่าวขึ้นมานั้นอาจจะตอบโจทย์สังคมหรือผู้ที่อาจจะได้เลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตของคนรุ่นใหม่หลายๆ คน นั้น ชยางกูร กิตติวัฒนากูล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าการที่ พรรคการเมืองต่างๆ ออกมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สืบเนื่องจากหลายๆ เหตุผล อาทิ กลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นมีองค์ความรู้ในด้านการเมืองต่างๆ ที่ใหม่ที่สุดจึงทำให้บุคคลเหล่านี้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศได้แต่ก็ไม่ควรที่จะมองข้ามกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสาขาอื่นๆ ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มคนรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้ วิรัลพัชร และ ชยางกูร กล่าวถึงการถูกแช่แข็งทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหารปี 57 ว่า ทั้งคนรุ่นใหม่และคนที่ต้องการออกจากอาการแช่แข็ง ในขณะนี้ มองเห็นว่า ประเทศนี้มีคนจำนวนมากที่บอบช้ำจากความขัดแย้งที่ผ่านมาจนไม่สามารถลืมสิ่งที่เกิดขึ้นหรือพร้อมที่จะไปต่อโดยที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาได้ ซึ่งหากมองอีกมุม คนรุ่นใหม่เองอาจจะมีความอยากรู้อยากเห็นอีกด้วย ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย คือ ทำให้คนรุ่นใหม่มีความเป็น พลเมืองตื่นรู้ (Active citizen) มากขึ้น วัชรพล นาคเกษม นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความเห็นต่อ วาทะกรรม "คนรุ่นใหม่" ว่า เป็นเรื่องดี การที่พรรคการเมืองเปิดพื้นที่หรือชูประเด็นความเป็น "คนรุ่นใหม่" ออกมาให้เห็น เพราะเมื่อนึกถึง "คนรุ่นใหม่" กับ "การเมือง" ภาพฝันที่อยากให้สองคำนี้มาเชื่อมประสานกันได้อย่างลงตัวเลย คือการสร้างการมีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปมีบทบาททางการเมือง มีสิทธิ์มีเสียงมีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศ แต่การมองอีกด้านวาทกรรมที่ว่าด้วย "คนรุ่นใหม่" เป็นคำที่สร้างความพิเศษทางสถานะบางอย่างทางสังคม? แต่ก็ตั้งคำถามอีกว่าใครบ้างเป็นคนรุ่นใหม่? คนที่เรียนในระดับอุดมศึกษา คนที่เรียนอาชีวะศึกษา คนเมือง คนต่างจังหวัด เด็กแว้น กลุ่มคนที่ก้าวพลาดจากการกระทำในอดีต คนที่ไม่เรียนต่อตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มชาติพันธุ์ คนทุกกลุ่มที่พูดมานับรวมเป็นคนรุ่นใหม่ด้วยกันทั้งหมดหรือเปล่า แต่ก็มีคิดเห็นในทางตรงกันข้ามคือ การที่พรรคการเมืองชู วาทกรรมคนรุ่นใหม่ มองคำว่าคนรุ่นใหม่ได้ครอบคุมหรือไม่ หากใครสักคนหรือสักกลุ่มถูกทิ้งแล้วกลายเป็นคนชายขอบของคนรุ่นใหม่ด้วยกัน จึงอยากให้พรรคการเมืองที่ชูวาทกรรมนี้มอง คนรุ่นใหม่ในทุกมิติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นย้ำในเรื่องการอยู่เคียงข้างกับผู้ถูกกดขี่ทุกมิติเช่นกัน ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเห็นว่า คนรุ่นใหม่ต้องต่อสู้ในฐานะผู้ถูกกดขี่ทางอายุตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะสืบเนื่องมาจากการถือครองทรัพยากรที่มากกว่า โดยสามารถมองเห็นถึงการแบ่งชนชั้นและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างชัดเจน ทำให้การแสดงออกไม่ว่าจะเป็นทางแนวคิดหรือการกระทำของคนรุ่นใหม่มักจะถูกควบคุมและมีกรอบ กฎเกณฑ์มากเกินไป สาเล็ม มะดูวา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี มีทัศนคติและมุมมองที่เห็นว่า การนำเอาคนรุ่นเก่ามาสร้างข้อกฎหมายให้กับอนาคตของประเทศ ผลของมันก็คือ สังคมไม่อยากที่จะให้คนแก่มาวางอนาคตให้กับคนรุ่นใหม่ สิ่งนี้เอง ที่ทำให้ หลายๆพรรคเริ่มที่จะเห็น การดึงคนรุ่นใหม่ (ที่มีความคิดใหม่ๆ) มาเป็น ผู้สมัคร (Candidate) ของตัวเอง เพื่อที่จะสร้าง ทัศนคติ ค่านิยม ความคิด ของผู้คนในการมองการเมืองว่า คนรุ่นใหม่ สามารถที่จะเข้าไปสร้างหนทางอนาคตของตัวเองได้" นอกจากนี้ สาเลม มองว่า วาทกรรมเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับเรื่องการเมือง ในทัศนะคติของเขามันคือ สิ่งที่หลายฝ่ายพยายามที่จะควบคุมการนิยามของมัน ช่วงเวลานี้ เราจะพบเห็นได้ว่า พรรคที่เรียกตัวเองว่า เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม ต่างๆ มีความพยายามที่จะเรียกร้อง "คนรุ่นใหม่" ให้หวนกลับเข้ามาในพื้นที่ทางการเมือง เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ช่วงเวลานี้สังคมพร้อมที่จะต้อนรับคนรุ่นใหม่ ที่มันสวนทางกับผู้ที่มีอำนาจอย่างผูกขาดอยู่ ณ ตอนนี้ นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์หลายๆ คนอาจจะมีความคาดหวังหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้กับพรรคการเมืองที่ออกมา นำเสนอประเด็น "คนรุ่นใหม่" แต่ ชาดไท น้อยอุ่นแสน นักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลับมีความเห็นว่า ยังไม่มีอะไรที่คาดหวังได้เท่าไรมันดูจะเป็นเพียงแค่กระแสมากกว่า สำหรับพรรคการเมืองต่างๆ ที่บอกว่าให้คนรุ่นใหม่เข้าไปมีส่วนร่วม แต่สุดท้ายก็อาจจะถูกวัฒนธรรมของเขากลืนอยู่ดี ซึ่งในมุมมองส่วนตัว ชาดไท เห็นว่า แนวทางที่ดีที่จะส่งเสริมคนรุ่นใหม่ในสิ่งที่เราจะทำ จะเปลี่ยนแปลง เราจะต้องรวมเป็นกลุ่มการเมืองของตัวเอง ในรูปนั้นหวังได้มากกว่า ความหวังมันอยู่ที่เรารวมตัวกันมากกว่าการที่พรรคการเมืองเปิดช่องให้เราเข้าร่วมพรรคใหญ่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 16 May 2018 04:49 AM PDT
จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การที่ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้ออกมารณรงค์ให้มีการ "รื้อ เต ตุ๊บ" บ้านพักของตุลาการแถบเชิงดอยสุเทพจนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศและทั่วโลก(ที่มีคนไทยอยู่)นั้นคือการใช้ "สิทธิชุมชน" ซึ่งผมอยากจะนำเรื่องสิทธิชุมชนนี้มาเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างของการใช้สิทธิชุมชน โดยขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดของผลการเจรจาเพราะมีรายละเอียดปรากฏตามข่าวเยอะแล้ว การออกมาใช้ "สิทธิชุมชน"ของคนเชียงใหม่นั้นไม่ใช่ของใหม่ ที่ผ่านมากลุ่มชนต่างๆในสังคมไทย ต่างออกมาเรียกร้องสิทธิกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องสิทธิในที่ดิน น้ำ ป่าหรือสิทธิในการทำประมงชายฝั่ง จึงเกิดมีคำถามตามขึ้นมาเสมอๆว่า ทำไมชาวบ้านถึงคิดว่าตนเองมีสิทธิในทรัพยากรเหล่านั้น ในขณะที่ภาคราชการกลับคิดว่าชาวบ้านไม่มีสิทธิ อย่างเช่นในกรณีของสิทธิที่ชาวบ้านออกมาเรียกร้องค่าชดเชยจากการสูญเสียอาชีพประมงในแม่น้ำมูล ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนปากมูล หรือ การที่ชาวบ้านลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตน ด้วยการคัดค้านการสร้างเขื่อน การสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน หรือการสร้างท่อก๊าซ และล่าสุดคือกรณีป่าแหว่ง กรณีต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความขัดแย้งในการตีความหมายของสิทธิ หรือการเข้าใจความหมายของสิทธิแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหมายของสิทธิชุมชน เช่น สิทธิของชาวนา สิทธิชาวบ้าน และสิทธิของท้องถิ่น ทั้งๆ ที่เป็นความคิดที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 แล้ว ล่าสุดคือรัฐธรรมนูญฯปี 60 ก็บัญญัติไว้ให้ชุมชนย่อมมีสิทธิ "จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ" การบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดก็เพื่อให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร แต่เนื่องด้วยความหมายที่ยังไม่คุ้นเคย จึงมีการตีความที่ไม่ตรงกัน |
กวีประชาไท: พิพากษา...พฤษภา-2553 Posted: 16 May 2018 03:57 AM PDT กองกระดูกปนกระดาษขาดวิ่น ยมราชเพ่งพิจวินิจฉัย หนึ่งสมมุติฐานสังหารหมู่ สองถูกรุกเข้าล้างเผ่าพันธ์ สามการปล้นฆ่าอย่างบ้าคลั่ง ยมโลกอ่านคำพิพากษา แล้วตรัสสั่งบริวารจึงหาญเร่ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รบ.สั่งจัดเก็บข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในไทย ระบุป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ-ก่อการร้าย Posted: 16 May 2018 03:20 AM PDT พล.อ.ประวิตร สั่งจัดเก็บข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในไทย ระบุป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ-ก่อการร้าย ขอพีมูฟเข้าใจรัฐบาลแก้ปัญหาต้องเป็นไปตามกฎหมาย พร้อมหนุน 'ประยุทธ์' ทำหน้าที่ต่อ ภาพ พล.อ.ประวิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ครั้งที่ 4/2561 (ที่มาภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก) 16 พ.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่า พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ครั้งที่ 4/2561 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการปฏิรูปด้านความมั่นคง การจัดเก็บข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในประเทศไทย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยขณะนี้ฝ่ายความมั่นคงกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการติดตามชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว นักลงทุน รวมถึงแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ซึ่งจะทำการเชื่อมโยงระบบจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน ตั้งแต่ที่เดินทางเข้าเมือง ที่พักอาศัย และอื่น ๆ "ในระหว่างการพัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลนี้ พล.อ.ประวิตร ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านเทคนิคการเชื่อมโยงข้อมูล พร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมาย เร่งรัดติดตามชาวต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบ เพื่อมาดำเนินการให้ถูกต้อง และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปสำรวจการพักอาศัยของชาวต่างชาติด้วย ส่วนการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ไทยจะสามารถให้สัตยาบันเกี่ยวแรงงานบังคับ ฉบับที่ 29 ได้ในเดือนมิถุนายนนี้ โดย พล.อ.ประวิตร มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมกำชับว่ารัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้มีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ อันจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม" พล.ท.คงชีพ กล่าว ขอพีมูฟเข้าใจรัฐบาลแก้ปัญหาต้องเป็นไปตามกฎหมายพล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินได้พูดถึงข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) และจะมีการตั้งคณะกรรมการติดตามและแก้ปัญหา แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากข้อเรียกร้องใดที่ติดข้อกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินการได้ จำเป็นต้องแก้กฎหมายก่อน "ยืนยันว่า ในที่ประชุมได้สั่งการให้ช่วยเหลือตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพีมูฟ ขณะเดียวกัน กลุ่มพีมูฟต้องเข้าใจรัฐบาลว่า ทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย เชื่อว่า กลุ่มพีมูฟจะไม่มีการกลับมารวมตัวเรียกร้องอีก" พล.อ.ประวิตร หนุน 'ประยุทธ์' ทำหน้าที่ต่อพล.อ.ประวิตร กล่าวถึงกรณีผลสำรวจของนิด้าโพล และกลุ่มคนที่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ เนื่องจากมีผลงานดีมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ว่า นายกรัฐมนตรีมีกองหนุนที่ดี และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ทำงานเป็นตัวอย่างที่ดีโดยตลอด ส่วนการสนับสนุของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยที่มีต่อ พล.อ.ประยุทธ์นั้น มีมานานแล้ว ยังไม่มีสิ่งใดเปลี่นแปลง ต่อกรณีที่สุเทพถือเป็นมิตรกับ พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ให้ไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ เอง ส่วนตนยอมรับว่ารู้จักนายเสนาะ เทียนทอง แกนนำกลุ่มวังน้ำเย็น มากว่า 30 ปี แต่ไม่เคยติดต่อหรือพบกัน เมื่อถามว่า ในอนาคตจะร่วมงานทางการเมืองกับ เสนาะ เทียนทอง หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ขอให้ไปสอบถาม เสนาะเอง เพราะไม่ทราบและขณะนี้ยังไม่มีการจัดตั้งพรรคการเมือง มีเพียงสื่อมวลชนเท่านั้นที่นำไปเขียนข่าวเอาเอง พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงกรณีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะเดินทางมาที่ทำเนียบฯ ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ที่จะครบรอบ 4 ปีของ คสช.ว่า ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ใด เพราะรัฐบาลได้ชี้แจงไปหมดแล้ว ทั้งการเลือกตั้ง และเชื่อว่ากลุ่มคนอยากเลือกกตั้งจะไม่มีการเดินทางที่ทำเนียบฯ ซึ่งการพูดเช่นนี้ไม่ได้เป็นการท้าทาย และเชื่อว่าการใช้กฎหมายปกติ สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ โดยไม่ต้องใช้กฎหมายพิเศษใด ๆ
ที่มา : สำนักข่าวไทย และ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สช.จับมือภาครัฐ-ดันเวทีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ Posted: 16 May 2018 02:55 AM PDT 16 พ.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิ "การปฏิรูปที่แท้จริงคือต้องเกิ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่ "ปัจจุบันถึงจะมีกระแสที่กล่ ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ในอดีตการปฏิรูปติดขัดในเรื่ "การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปลอยตัว 'อันวาร์ อิบราฮิม' ภายหลัง 'มหาธีร์' ขออภัยโทษ Posted: 16 May 2018 02:29 AM PDT หลังชนะเลือกตั้งมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮัมหมัด แกนนำพรรครัฐบาลชุดใหม่ "พันธมิตรแห่งความหวัง" ได้ขออภัยโทษจากสมเด็จพระราชาธิบดีทำให้อดีตคู่ปรับ "อันวาร์ อิบราฮิม" ได้รับอิสรภาพแล้ว ทั้งนี้อันวาร์ซึ่งเป็นผู้นำตัวจริงของพรรคแนวร่วมรัฐบาลแถลงด้วยว่าจะยังไม่เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีและจะขอใช้เวลาอยู่กับครอบครัว โดยเขาในฐานะพลเมืองคนหนึ่งขอสนับสนุนรัฐบาลที่นำโดยมหาธีร์และภรรยาของเขา บริหารประเทศในทิศทางที่มุ่งสู่การปฏิรูป เคารพหลักการประชาธิปไตยและความยุติธรรม อันวาร์ อิบราฮิม ระหว่างแถลงข่าวหลังได้รับอิสรภาพ (ที่มา: เฟสบุ๊ค Dr Wan Azizah Wan Ismail) การแถลงข่าวของอันวาร์ อิบราฮิม หลังได้รับอิสรภาพ (ที่มา: TV3) 16 พ.ค. 2561 อันวาร์ อิบราฮิม ที่ต้องโทษจำคุกข้อหาร่วมเพศทางทวารหนัก และถูกย้ายที่จองจำมารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากการผ่าตัดไหล่นั้น ล่าสุดวันนี้ (16 พ.ค.) เขาได้รับการอภัยโทษจากสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 5 โดยผู้ขออภัยโทษคือมหาธีร โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อดีตศัตรูทางการเมืองที่ได้เข้าร่วมกับแนวร่วมฝ่ายค้าน "พันธมิตรแห่งความหวัง" เอาชนะการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียโค่นรัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" ที่มหาธีร์เคยเป็นแกนนำรัฐบาลในช่วงปี 2524-2546 โดยอันวาร์ ได้รับการปล่อยตัวเมื่อเวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 10.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยเขาได้รับอิสระก่อนครบกำหนดโทษเล็กน้อยคือก่อนวันที่ 8 มิถุนายน ในการแถลงข่าวหลังได้รับอิสรภาพ ตอนหนึ่งเขาตอบคำถามว่าเขาให้อภัยมหาธีร์แล้วหรือไม่ โดยอันวาร์กล่าวว่า "เขาให้อภัยมหาธีร์ไปแล้ว เรื่องราวมันเกิดมานานแล้ว และเขาได้ปรับปรุงตัวเอง เขาได้ต่อสู้และทำงานหนักอย่างไม่ย่อท้อ เขาได้สนับสนุนวาระการปฏิรูป เขาได้ปล่อยตัวผม แล้วทำไมผมต้องอาฆาตเขาอีก?" ทั้งนี้ตามรายงานของ SCMP อันวาร์กล่าวด้วยว่าขณะนี้เขายังจะไม่รับรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจะขอเป็นพลเมืองที่ห่วงใยชาติบ้านเมืองคนหนึ่ง และจะขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้มหาธีร์ โมฮัมหมัด ในฐานะนายกรัฐมนตรี และวัน อาซีซะห์ วัน อิสมาอิล ภรรยาของเขา ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้บริหารประเทศในทิศทางที่จะไปสู่การปฏิรูป เคารพหลักประชาธิปไตยและความยุติธรรม โดยหลังได้รับอิสรภาพเขาตั้งใจว่าจะใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และหวังว่าวัน อาซีซะห์ ภรรยาที่จะเป็นรองนายกรัฐมนตรีคงพอมีเวลาให้กับเขาบ้าง นอกจากนี้จะเดินทางไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเขาเคยแจ้งกับมหาธีร์แล้วว่าในช่วงนี้เขาจะยังไม่รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ในรายงานของมาเลเซียกินี มหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานพรรคแนวร่วมรัฐบาล "พันธมิตรแห่งความหวัง" กล่าวว่าในวันพรุ่งนี้ (17 พ.ค.) จะมีการหารือบทบาทของอันวาร์ อิบราฮิม ผู้เป็นแกนนำพรรคในทางปฏิบัติว่าจะมีตำแหน่งใดในรัฐบาล "เขาไม่ได้เป็นสมาชิกของรัฐบาล ดังนั้นบทบาทของเขาในขณะนี้จะอยู่ภายในพรรค" มหาธีร์แถลงในวันนี้ อนึ่งก่อนหน้านี้ NST รายงานด้วยว่า มหาธีร์ ยังกล่าวให้สัมภาษณ์กับวอลสตรีเจอนัลเมื่อวันอังคารนี้ (15 พ.ค.) ว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 2 ปี และหลังจากลงจากตำแหน่งจะหันไปมีบทบาทอยู่เบื้องหลังแทน ผู้นำฝ่ายค้านซึ่งถูกจองจำ และการคืนดีของมหาธีร์สำหรับอันวาร์ อิบราฮิม เคยดำรงแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติ จนกระทั่งแตกคอกับมหาธีร์ในปี 2541 หลังจากนั้นในปี 2542 เขาต้องโทษจำคุกข้อหาคอร์รัปชันและร่วมเพศทางทวารหนัก ต่อมาหลังจากพ้นโทษเมื่อปี 2547 และพ้นกำหนดห้ามรับตำแหน่งการเมืองในปี 2551 เขาก็กลับมาเล่นการเมืองในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามเขาถูกฟ้องในข้อหาร่วมเพศทางทวารหนักอีกครั้งในปี 2551 ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะยกฟ้องเมื่อมกราคม 2555 แต่เขาถูกศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินเมื่อ 4 มีนาคม 2557 ให้ควบคุมตัวเขาระหว่างดำเนินคดี อย่างไรก็ตามในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ศาลสูงสุดของมาเลเซียก็มีคำตัดสินสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และยืนยันโทษจำคุก ซึ่งผู้สนับสนุนเขาเห็นว่าคดีนี้เป็นข้อกล่าวหาทางการเมือง รายงานในหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในมาเลเซีย Sin Chew Daily เมื่อ 12 มีนาคม 2561 มหาธีร์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหากเขาสามารถย้อนเวลาได้เขาจะไม่ตัดสินใจไล่อันวาร์ อิบราฮิมออกจากตำแหน่งรองรายกรัฐมนตรี และกล่าวด้วยว่าเขาขอสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ทำให้ประชาชนเกลียดเขาอีกแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'บันทึก 6 ตุลา' เปิดคำให้การ 'ตำรวจพลร่ม' ชี้เป็นปฏิบัติการสงครามลับ บอกระดับความโหดฝ่ายขวา Posted: 16 May 2018 02:19 AM PDT 'บันทึก 6 ตุลา' เปิดคำให้การตำรวจพลร่มและพยานฝ่ายโจทก์ในคดี ระบุอาวุธที่ขนมาที่ธรรมศาสตร์ ได้แก่ เอ็ม 16 เอ็ชเค.33 เครื่องยิงระเบิด M79 และปืน ปรส. บอกถึงระดับความโหดเหี้ยมของฝ่ายขวาไทยในขณะนั้นได้ชัดเจน 16 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟสบุ๊คแฟนเพจ บันทึก 6 ตุลา - Documentation of Oct 6 โพสต์ เผยแพร่คำให้การของ ส.ต.ท.อากาศ ชมพูจักร หนึ่งในตำรวจพลร่มและพยานฝ่ายโจทก์ในคดี 6 ตุลา (https://doct6.com/archives/1637) ระบุว่าอาวุธที่ตำรวจพลร่มขนมาที่ธรรมศาสตร์ ได้แก่ เอ็ม 16 เอ็ชเค.33 เครื่องยิงระเบิด M79 และปืน ปรส. (ปืนไร้แสงสะท้อนหลัง – คืออาวุธปืนในภาพที่มีคนแบกอยู่กับอาวุธปืนที่ติดกล้องเล็งขนาดใหญ่ ที่เล็งยิงจากด้านพิพิธภัณฑ์สถาน) ในเช้าวันที่ 6 ตุลาตำรวจพลร่มประมาณ 40 คนถูกส่งมาที่ธรรมศาสตร์ จำนวนที่ไม่มากมายนี้คือสิ่งที่ชี้ว่าถึงจะเป็นหน่วยเล็กแต่พิษสงร้ายแรงยิ่งนัก บันทึก 6 ตุลาฯ ระบุว่า ผู้ที่สนใจเรื่อง 6 ตุลาต่างทราบดีว่ากำลังหลัก บันทึก 6 ตุลาฯ ระบุอีกว่า ตำรวจพลร่มเป็นหน่วยรบที่ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลจอมพล ป. ภายใต้ การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและการฝึกฝนจากซีไอเอ มีความเชี่ยวชาญระดับสูงในการรบแบบสงครามกองโจร โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขาทุรกันดารที่ไม่มีระบบขนส่งสำหรับขนอาวุธหนักและกำลังพลจำนวนมากเข้าไปได้ สมาชิกของหน่วยนี้จึงต้องมีความอดทนในการใช้ชีวิตในป่าได้เป็นเวลานาน เข้าสู่พื้นที่ด้วยการกระโดดร่มชูชีพ เชี่ยวชาญการใช้อาวุธทุกชนิด สามารถแฝงตัวเข้าไปในชุมชนและเข้าใจภาษาของคนท้องถิ่นเพื่อสามารถสืบความลับได้ด้วย แต่ละทีมประกอบด้วยกำลังคน 5 หรือ 10 คน และจะต้องมีคนที่ฝึกจนเชี่ยวชาญด้านระบบสื่อสารวิทยุติดต่อและการแพทย์เพื่อช่วยชีวิตของทีมด้วย แต่ตำรวจพลร่มในยุคจอมพล ป. ก็ยังไม่เคยสำแดงฝีมือจริง ๆ จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์ในลาวในปี 2503 ในปี 2503 เมื่อนายทหารหนุ่มชื่อร้อยเอก กองแล ทำรัฐประหารและยึดเวียงจันทน์จากรัฐบาลฝ่ายขวาของลาวที่นำโดยนายพล ภูมี หน่อสะหวัน (ลูกพี่ลูกน้องของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ได้สำเร็จ แม้ว่าฝ่ายนายพลภูมีจะมีกำลังทหารและอาวุธที่ดีกว่าเพราะได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอแต่ก็ไม่สามารถยึดเวียงจันทน์คืนได้ ซีไอเอและไทยตระหนักว่าหนทางเดียวที่จะช่วยฝ่ายขวาในลาวให้ยึดเวียงจันทน์คืนได้คือ ต้องส่งกองกำลังต่างชาติเข้าไปช่วยเพราะทหารลาวลุ่มขาดระเบียบวินัยและเจตจำนงในการรบ เพจ บันทึก 6 ตุลาฯ ยังระบุว่า ซีไอเอและรัฐบาลสฤษดิ์เห็นตรงกันว่าหน่วยพลร่มของไทยมีความเหมาะสมสำหรับปฏิบัติการลับในลาวครั้งนี้ กล่าวคือ ในทางปฏิบัติมีแต่ไทยเท่านั้นที่แสดงความยินดีที่จะส่งทหารเข้าไปปฏิบัติภารกิจในลาว แต่หากไทยทำเช่นนั้นอย่างเปิดเผยก็จะถูกประณามจากนานาชาติว่ากำลังแทรกแซงกิจการของลาว และอาจทำให้ไทยถูกตอบโต้จากจีนและเวียดนามเหนือได้ ขณะที่สหรัฐฯก็ไม่ต้องการส่งทหารของตนเข้าไปช่วยฝ่ายภูมีเพราะจะถูกประณามจากนานาชาติเช่นกัน จุดนี้นำไปสู่ข้อตกลงลับระหว่างซีไอเอและรัฐบาลสฤษดิ์ ในการก่อตั้งปฏิบัติการลับในลาวด้วย "หน่วยตำรวจพลร่ม" ของไทย และทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหารให้กับกองกำลังของภูมี โดยมี นายทหารอเมริกัน เจมส์ วิลเลียม แลร์ (James William Lair) หรือ บิล แลร์ (Bill Lair) และพันตำรวจตรีประเนตร ฤทธิฦๅชัย ผู้บังคับบัญชาหน่วยพลร่ม เป็นผู้ควบคุมดูแลปฏิบัติการนี้ ปฏิบัติการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยเป็น "ฝ่ายให้" ความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศอื่น โดยก่อนหน้านี้ไทยเป็นผู้รับมาโดยตลอด เพียงแต่การให้นี้เปิดเผยไม่ได้ เพราะเท่ากับไทยกำลังละเมิดสนธิสัญญาสันติภาพเจนีวาปี 1954 ที่ห้ามกองกำลังต่างชาติเข้าไปตั้งในลาว ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของไทยทุกคนที่เข้าร่วมในปฏิบัติการลับในลาวจะต้องยื่นใบลาออกจากราชการก่อนเดินทางเข้าสู่ลาว เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่ารัฐบาลอยู่เบื้องหลัง หากพวกเขามีชีวิตรอดจากภารกิจเหล่านี้ ใบลาออกดังกล่าวก็จะถูกทำลาย และจะไม่ปรากฏประวัติว่าเคยเข้าร่วมในปฏิบัติการนี้ ในที่สุด หน่วยพลร่มสามารถช่วยให้ฝ่ายภูมีสามารถยึดเวียงจันทน์คืนจากฝ่ายกองแลได้สำเร็จในวันที่ 18 ธันวาคม 2503/1960 แม้ว่าฝ่ายกองแลจะได้รับอาหารและอาวุธจากสหภาพโซเวียต แต่ปฏิบัติการลับนี้ไม่สามารถเป็นความลับได้จริง ทั้งรัฐบาลจีนและเวียดนามได้ออกมากล่าวประณามการแทรกแซงของไทยและซีไอเอ ซีไอเอและหน่วยพลร่มของไทยยังมีบทบาทสำคัญในการฝึกและจัดตั้งกองกำลังชาวม้งภายใต้การนำของนายพลวังเปา ซึ่งเป็นกองกำลังที่เข้มแข็งกว่าฝ่ายขวาลาวอื่น ๆ เพื่อต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์อีกด้วย "อันที่จริง การปราบปรามนักศึกษาประชาชนด้วยกำลังตำรวจธรรมดาก็น่าจะเกินพอแล้ว อีกทั้งยังมีหน่วยสวาทและตระเวนชายแดนที่คุ้นเคยกับการใช้อาวุธสงคราม แต่การเรียกใช้กองกำลังที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำสงครามลับและมีความสามารถในการสังหารขั้นสูงในภารกิจปราบปรามนักศึกษาประชาชนในเช้าวันที่ 6 ตุลานี้ บอกเราถึงระดับความโหดเหี้ยมของฝ่ายขวาไทยในขณะนั้นได้ชัดเจนทีเดียว" เพจ บันทึก 6 ตุลาฯ โพสต์ทิ้งท้าย สำหรับ เพจ บันทึก 6 ตุลาฯ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ "บันทึก 6 ตุลา" เป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์ (Online archives) ที่มุ่งเก็บรวบรวมรักษาและจัดระบบข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายในที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อต่ออายุความสนใจและการค้นคว้าเกี่ยวกับ 6 ตุลาให้ไปอีกไกลในอนาคต ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 16 May 2018 02:10 AM PDT หนึ่งในมรดกของนักสู้เพื่อสิทธิพลเมือง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง คือการเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้คนจน องค์กรที่สานต่อแนวทางของเขาคือ "พัวร์พีเพิลแคมเปญ" จัดการชุมนุมต่อเนื่อง 40 วัน เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา (14 พ.ค.) เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ มีนโยบายแก้ไขปัญหาความากจนครอบคลุมมากขึ้น พร้อมทั้งพูดถึงปัญหาประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป้น สิทธิการเลือกตั้ง สวัสดิการสุขภาพ สิทธิสตรี ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องความยากจน องค์กรเพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ "พัวร์พีเพิลแคมเปญ" ที่สานต่อการทำงานของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้ถูกสังหารไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว เริ่มต้นการประท้วงต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2561 ทั้งในรัฐวอชิงตันและในเมืองหลวงของรัฐอื่นๆ มากกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ องค์กรพัวร์พีเพิลแคมเปญมีเป้าหมายจะประท้วงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 40 วันไปจนถึงวันที่ 23 มิ.ย. 2561 โดยเน้นเรื่องการขับเคลื่อนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการอารยะขัดขืน โดยมีเป้าหมายเรียกร้องกฎหมายค่าแรงที่ "ได้สัดส่วนกับเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21" รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิกแผนเก็บภาษีที่เอื้อต่อคนรวยและกระทบต่อสวัสดิการสุขภาพ รวมถึงเรียกร้องให้มีระบบที่อยู่อาศัยที่เป็นธรรมมากขึ้น การประท้วงใหญ่ในครั้งนี้นำโดยวิลเลียม บาร์เบอร์ ผู้จัดตั้งการชุมนุมในนอร์ทแคโรไลนา โดยจะมีแผนการชุมนุมในทุกวันจันทร์ และแต่ละสัปดาห์ก็จะสับเปลี่ยนประเด็นที่จะสื่อสาร โดยวางอยู่ในกรอบใหญ่ๆ เรื่องความยากจนและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ เช่น เรื่องผู้หญิงและเด็กภายใต้ความยากจน สิทธิการเลือกตั้ง สวัสดิการสุขภาพ และที่อยู่อาศัย บาร์เบอร์ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อเดโมเครซีนาวว่าพวกเขาจะถูกช่วงชิงประชาธิปไตยไปถ้าหากยังคงมี "ความรุนแรงทางการเมือง" เกิดขึ้นในทุกวัน เขาบอกว่าในการพูดถึงเรื่อง "การเมือง" ในสหรัฐฯ หรือแม้กระทั่งในสื่อต่างๆ ล้วนแล้วแต่ละเลยที่จะพูดถึงว่ามีคนตาย 250,000 คน ต่อปีเพราะความยากจนและการขาดแคลน โครงการพัวร์พีเพิลของคิงมีเป้าหมายเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายสิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Bill of Rights) ที่การันตีรายได้ต่อปีและการจ้างงานเต็มเวลาของประชาชน มีการนำงบประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์ไปแก้ไขปัญหาความยากจนและจัดตั้งที่อยู่อาศัยราคาถูกให้กับคนจน บาร์เบอร์และสถาบันเพื่อการวิจัยนโยบายประเมินว่าในปัจจุบันมีชาวอเมริกัน 140 ล้านคนใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจน มากกว่าการประเมินของสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ราว 100 ล้านคน สำหรับโครงการพิวร์พีเพิลแคมเผญในยุคใหม่นั้น พวกเขาเรียกร้องให้มีนโยบายการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างมากขึ้นเพื่อการทำให้คนยากจนไม่ต้องแบกรับภาระทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพัวร์พีเพิลแคมเปญนี้มีขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีการประท้วงของที่เน้นเรื่องแรงงานเกิดขึ้นทั่วสหรัฐฯ จากการที่ขบวนการครูประท้วงวอล์กเอาท์เพื่อไปเดินขบวนประท้วงค่าแรงที่น้อยนิดและประท้วงที่งบประมาณโรงเรียนน้อยเกินไป ขณะที่วุฒิสมาชิกของรัฐเวอร์มอนต์ เบอร์นี แซนเดอร์ส เสนอร่างกฎหมายที่จะทำให้สหภาพแรงงานในสหรัฐฯ เข้มแข็งขึ้น บาร์เบอร์กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อเดโมเครซีนาวอีกว่าการที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในโลกยังคงมีปัญหาความยากจนและละทิ้งแรงงานแสดงให้เห็นว่ารัฐบาล "ล้มเหลวในทางศีลธรรม" จึงตองมีการเผชิญหน้าอย่างสันติกับรัฐบาลเพื่อเรียกร้องศีลธรรมเช่นนี้ ไปพร้อมๆ กับการปรับความหมายของศีลธรรมให้กลายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่ประชาชนทั่วไปสามารถได้รับค่าจ้างที่ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ (Living wage)
เรียบเรียงจาก 'Time for a Moral Confrontation': Poor People's Campaign Launches With Local Rallies Nationwide, Common Dreams , 14-05-2018
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น