ประชาไท | Prachatai3.info |
- เตือนระวังกลลวง ‘ขอบัตรประชาชน-เปิดเบอร์-แจกเครื่องฟรี’ เป็นหนี้ไม่รู้ตัว
- ตร. แจ้ง 'บก.ลายจุด' ลดผู้ชุมนุม ‘กินแมค’ 19 พ.ค.นี้ หรือไม่ก็ไปขอหัวหน้าคสช. ก่อน
- ประยุทธ์ ย้ำ 'คนไทยไม่เหมือนคนอื่น' หลังมีกระแสปลุก 'ชวน' กลับมาเป็นนายกฯ เทียบ 'มหาธีร์'
- รำลึก 8 ปี 'เฌอ' เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ถูกยิงเสียชีวิตช่วงสลายแดง
- กระทรวงต่างประเทศยัน ไม่มีผู้แทนไทยร่วมเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในเยรูซาเล็ม
- อย. - กสทช ระงับออกอากาศโฆษณาผิด ก.ม. อาหาร-เครื่องสำอาง 29 ช่อง เว็บไซต์ 10 URL
- ฮิวแมนไรท์วอทช์ร้องจีนหยุดส่งทหารอยู่บ้านชาวซินเจียงเพื่อสอดแนม-ล้างสมอง
- คดีกวาดจับหน้ารามฯ สืบพยานโจทก์ปาก 3 ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 10-14
- พรรคประชาธิปไตยใหม่ #1 เน้นเคาะประตูบ้าน ไม่หวั่นโซเชียล ไม่กลัวพลังดูด คสช.
- อาจารย์ศิลปากรฯ โวยถูก 'ตร.' รบกวนการสอน หลังเช็ค 22 พ.ค.นี้มี นศ.ไปท่าพระจันทร์ไหม
- แม่ขอบคุณสิทธิบัตรทองช่วยผ่าตัดหัวใจลูกอายุ 15 วัน เติบโตเป็นเด็กแข็งแรง มีสุขภาพดี
- แจงปลด บก.บางกอกโพสต์ เหตุโยงเลือกตั้งมาเลเซียกับไทย ขณะที่ประยุทธ์จะมางานครบรอบ 72 ปี
- สภานักศึกษาในเยอรมนี ร้อง รบ.ไทย ตระหนักถึงเสรีภาพ 'เนติวิทย์-คนอยากเลือกตั้ง'
- ดันขยายรัศมีห้ามชุมนุม ชาวบ้านเข้าไม่ถึงทำเนียบ-สภาและการชุมนุมที่ไร้ความหมาย
- 'เอกชัย' ได้ประกันตัวแล้ว หลักทรัพย์ 1 แสน คดีฝืนคำสั่ง คสช. ชุมนุมร้องเลือกตั้ง
เตือนระวังกลลวง ‘ขอบัตรประชาชน-เปิดเบอร์-แจกเครื่องฟรี’ เป็นหนี้ไม่รู้ตัว Posted: 15 May 2018 11:49 AM PDT มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตือนผู้บริโภคให้ระวังการหลอกลวงผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุในชุมชน ให้ช่วยเปิดเบอร์โทรศัพท์แถมเครื่อง ถึงแม้จะอ้างว่า ไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอะไร ก็อย่าได้หลงเชื่อ ส่วนมิจฉาชีพเมื่อเปิดโทรศัพท์สำเร็จก็นำโทรศัพท์ไปจำหน่ายต่อ 15 พ.ค.2561 ศูนย์ข่าวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รายงานว่า มณี จิรโชติมงคล แกนนำชุมชน ในฐานะอนุกรรมการด้านสื่อและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ได้นำผู้เสียหายมาร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า ได้มีบุคคล ชักชวนชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่ไม่มีรายได้ ให้ช่วยเปิดเบอร์โทรศัพท์โดยให้เงินตอบแทนรายละ 300-4000 บาท โดยผู้เปิดเป็นเพียงผู้ขอใช้โทรศัพท์ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เนื่องจากตนต้องการโทรศัพท์ไปจำหน่ายต่อ ทำให้คนในชุมชนเดียวกันและชุมชนใกล้เคียง นำบัตรประชาชนไปเปิดโทรศัพท์ให้กับมิจฉาชีพ สำรวย ฤาไชยคาม ผู้เสียหาย เล่าว่า หลังจากไปเปิดเบอร์โทรศัพท์ไม่ถึง 30 วัน ก็ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าใช้บริการ 499 บาทต่อเดือน ก็ได้โทรศัพท์ไปต่อว่า คนชักชวน และขณะนี้คุณมณี ได้ช่วยแจ้งยกเลิกการใช้บริการ ไปลงบันทึกประจำวัน จึงอยากเตือนผู้บริโภคเป็นอุทาหรณ์ พร้อมเรียกร้องให้พนักงานขายหรือผู้ประกอบการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคที่ไปเปิดการใช้บริการด้วยว่า จะต้องมีชำระเงินรายเดือน และทำสัญญา 1 ปี เพราะหากชัดเจนแบบนี้ก็จะไม่มีใครไปช่วยเปิดเบอร์โทรศัพท์ พร้อมเรียกร้องกสทช. ดำเนินการให้สัญญาโทรศัพท์มือถือ มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นได้ชัด และสรุปสัญญาสั้นๆ ให้ผู้บริโภคเข้าใจชัดเจน เพื่อป้องกันการถูกหลอก สาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มพบ. กล่าวเสริมว่า กลลวงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ อย่างกรณีนี้ หลอกผู้สูงวัยให้บัตรประชาชนเปิดเบอร์โทรศัพท์แถมเครื่อง แถมด้วยจะได้เงินเล็กน้อย ขอให้กสทช. ตรวจสอบเรื่องนี้ ว่า มีความเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการหรือไม่อย่างไร รวมทั้งให้กสทช. กำกับการยกเลิกการใช้บริการของผู้บริโภคที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการภายใน 5 วันให้เป็นจริงด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตร. แจ้ง 'บก.ลายจุด' ลดผู้ชุมนุม ‘กินแมค’ 19 พ.ค.นี้ หรือไม่ก็ไปขอหัวหน้าคสช. ก่อน Posted: 15 May 2018 11:37 AM PDT ตำรวจแจ้ง 'สมบัติ บุญงามอนงค์' ให้แก้ไขจำนวนผู้ร่วมชุมนุม รำลึก 19 พ.ค.หรือขออนุญาตจากหัวหน้าคสช. ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนเริ่มการชุมนุม แล้วแจ้งมาผู้รับแจ้งการชุมนุมวันที่ 17 พ.ค.นี้ 15 พ.ค.2561 จากกรณีที่ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ทำหนังสือถึง สน.ลุมพินี แจ้งความประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะเพื่อชวนกินแมค รำลึก 19 พ.ค. 2553 ณ ร้านแมคโดนัล ห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์พลาซ่า วันที่ 19 พ.ค.นี้ ล่าสุดวันนี้ เมื่อเวลา 15.48 น. สมบัติ โพสต์หนังสือตอบกลับของ สน.ลุมพินี ซึ่งเขาสรุปสาระสำคัญว่ามี 2 ประการคือ 1. ให้มาแก้จำนวนตัวเลขผู้ชุมนุมใหม่เพราะเยอะไป อันนี้ไม่มีปัญหาพรุ่งนี้ตนจะไปขอแก้ตัวเลข 2. เรื่องให้ไปขออนุญาตหัวหน้า คสช "เออไอเดียดี เพราะจะได้ไปทวงบัญชีทีเดียวเลย ไว้พบกันประตูสี่ ทำเนียบรัฐบาล" สมบัติ โพสต์ ส่วนหนังสือที่สน.ลุมพินี ลงนามโดย พ.ต.อ. อัครวุฒ ธานีรัตน์ ผกก.ลุมพินี ตอบกลับมา มีดังนี้ ตามหนังสือของท่าน แจ้งความประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชวนกินแมครำลึก 19 พ.ค. 2553 เริ่มชุมนุมตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. เวลา 17.00-20.00 น. บริเวณร้านแมคโดนัล ห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์พลาซ่า และป้ายบอกสถานที่แยกราชประสงค์ หน้าห้างสรรพสินค้าเกสรพลาซ่า ทั้งนี้เพื่อชวนกลุ่มผู้ชุมนุมรับประทานอาหารของแมคโดนัลในการรำลึกเหตุการณ์ในวันที่ 19 พ.ค. 2553 มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวน 30,0001 คน ไม่มีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมสาธารณะ นั้น เนื่องจากผู้จัดการชุมนุมแจ้งจำนวนผู้เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมากและสถานที่ชุมนุมใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส ซึ่งเป็นสถานีขนส่งสาธารณะ ซึ่งอาจจะขัดต่อพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และการชุมนุมดังกล่าวนั้น แม้ผู้แจ้งการชุมนุมไม่แจ้งจุดประสงค์ว่าเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่การชุมนุมจะจัดในวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าการชุมนุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับจำนวนผู้ชุมนุมมีจำนวนตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป ซึ่งขัดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 3/2558 ข้อ 12 ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่กิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคสช.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จึงแจ้งให้ผู้จัดการชุมนุมแก้ไขจำนวนผู้ร่วมชุมนุมหรือดำเนินการขออนุญาตจัดการชุมนุมในที่สาธารณะจากหัวหน้าคสช. ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนเริ่มการชุมนุม แล้วแจ้งมาผู้รับแจ้งการชุมนุมวันที่ 17 พ.ค. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์ ย้ำ 'คนไทยไม่เหมือนคนอื่น' หลังมีกระแสปลุก 'ชวน' กลับมาเป็นนายกฯ เทียบ 'มหาธีร์' Posted: 15 May 2018 11:19 AM PDT ประยุทธ์ ชี้จะเอาประเทศอื่นมาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ หลังมีกระแสความคิดปลุก 'ชวน หลีกภัย' เป็นนายกรัฐมนตรี เทียบ 'มหาธีร์' พร้อมขอบคุณนิด้าโพล หลังผลออกมาหนุนเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ 15 พ.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ เวลา 12.50 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณี มหาธีร์ โมฮัมหมัด วัย 92 ปี ชนะการเลือกตั้งมาเลเซีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีกระแสความคิดปลุก "ชวน หลีกภัย" มาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง เพื่อสู้เลือกตั้งกับพรรคหนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ว่า "ก็เป็นเรื่องของท่าน ท่านจะปลุกอะไรยังไงก็แล้วแต่ เราเป็นประเทศไทย เราก็ควรจะมีสถาปัตยกรรมของไทยเอง ทั้งในด้านการเมือง การพัฒนาต่าง ๆ การขจัดความขัดแย้ง เขาเรียกว่าการสร้างสถาปัตยกรรมทางการเมืองของไทยใหม่ เราจะเอาประเทศอื่นมาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เพราะคนไทยไม่เหมือนคนอื่น เราก็มีความเป็นไทยของเราเอง ก็อย่างดูถูกประชาชนคนไทยของเรา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว กรณีที่ผลสำรวจของนิด้าโพลหนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ จะเป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจอนาคตทางการเมืองหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องขอบคุณนิด้าโพลรวมทั้งโพลต่างๆและประชาชนที่ได้ตอบแบบสอบถาม วันนี้ตนมุ่งหวังแต่เพียงว่าจะทำอย่างไรเราจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลทั้ง 6 ข้อ ให้ได้ ส.ส.ได้ ครม.ที่มีคุณภาพ ตนคาดหวังแค่นั้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าผลโพลจะออกมาอย่างไรก็เป็นเรื่องของโพล ต่อกรณีที่นิด้าโพลระบุว่าต้องการให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่หลังการเลือกตั้ง พรรคที่ คสช.สนับสนุน จะไปจับมือกับพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ว่ากันไปโน่น ที่ คสช. จะสนับสนุนไปจับมือกับพรรคเพื่อไทย ผมจะไปจับมืออะไรกับใคร ผมไม่ใช่ศัตรูของใคร เพราะฉะนั้นทุกพรรคการเมืองก็ต้องทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่มาทำเพื่อผมหรือผมไปทำเพื่อเขา ใครจะไปใครจะมาทุกคนก็ต้องทำเพื่อประเทศชาติ และไปหาเสียงกันตรงนั้น ไม่ใช่วันนี้โจมตีกันไปมาสรุปว่าไม่มีใครดีแล้วจะเลือกตั้งกันไปทำไม ผมอยากให้มีการเลือกตั้ง ไม่ใช่ต้องการให้เลื่อนการเลือกตั้งหรือหาเหตุให้ไม่มีการเลือกตั้ง ผมพูดมาเป็นร้อยเป็นพันครั้งแล้วว่าต้องเลือก ตั้ง ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ใครจะไปฝืนได้ เพราะฉะนั้น เรื่องใครจะจับมือกับใครก็เป็นเรื่องของพวกท่าน จะไปจับกันที่ไหนก็ไปเถอะ สิ่งสำคัญที่สุดวันนี้คือทำอย่างไรที่ให้ประชาชนเข้าใจว่าประชาธิปไตยที่ดีและถูกต้องควรเป็นอย่างไร การได้รัฐบาลที่ดีได้ ส.ส.ที่มีคุณภาพจะได้มาอย่างไร เราต้องช่วยกันลดความขัดแย้ง รัฐบาลที่จะมาทำหน้าที่ต่อไปจะต้องสานต่อการปฏิรูประยะแรกที่ผมทำไว้ให้เป็นนโยบายที่ทุกคนจะต้องนำมาหาเสียงว่าจะทำอะไรต่อไปไม่ใช่มาหาเสียงตอนปลาย ว่าเดี๋ยวจะทำนั่นทำนี่ให้ราคาสูงขึ้น ทั้งที่ไม่เคยดูมาก่อนเลยว่าปัญหาที่ต้นทางนั้นมันมีอะไร และผมอยากให้ไปถามคนที่ออกมาพูดว่ามีแนวทางการปฏิรูปอย่างไร จะปฏิรูปอะไร วิธีการไหน ถามให้ผมบ้างในเมื่อสื่อฯบอกว่าจะต้องเสนอสองทางก็ต้องไปถามอีกฝ่ายแบบที่ตั้งคำถามผม อยากรู้ว่าจะตอบประชาชนอย่างไรและวันข้างหน้าจะไม่ขัดแย้งกันได้อย่างไร" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าปัจจุบันความขัดแย้งมีหลายอย่าง รวมทั้งความไม่เข้าใจในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย จนบางครั้งก็ถูกต่อต้าน ทั้งที่เป็นกฎหมายธรรมดา กฏหมายการจราจร เพราะทุกคนอ้างถึงสิทธิเสรีภาพ ถามว่าแล้วจะอยู่กันอย่างไรสื่อมวลชนก็ต้องช่วยตนตรงนี้ด้วยว่า อะไรคือการขัดแย้งทางกฏหมาย อะไรคือการขัดแย้งทางความคิดความรู้สึกและบางครั้งยอมรับว่าก็มีเจตนาที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์แอบแฝงอยู่เหมือนกัน ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้งเลย สำหรับสูตรการเมืองของ สุวัจน์ ลิปตะพัลลภ หรือสูตรโนพรอบแพรม ที่เสนอให้ทุกพรรคการเมืองยอมรับผลการเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐบาลแห่งชาตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ต้องมาพูด แล้วจะเลือกตั้งกันไปทำไมถ้าไม่ยอมรับกัน เมื่อเลือกตั้งก็ต้องยอมรับ และต้องยอมรับด้วยว่า หลังเลือกตั้งแล้วจะต้องไม่มีการประท้วง ไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีการใช้อาวุธสงครามให้สัญญากับประชาชนไว้อย่างนี้ ไม่ใช่ให้ผมเป็นคนสัญญา เพราะในอนาคตพวกคุณจะเข้ามาในวงการเมืองข้างหน้าแล้ว ถ้าเลือกตั้งมาแล้วบริหารไม่ได้จะทำอย่างไร แล้วก็จะมาพูดถึงการรัฐประหาร เรื่องนี้ถ้าทำดีแล้วใครเค้าจะทำ ใครจะมาเสี่ยง ดังนั้นผมอยากจะฝากคนไทยทั้งประเทศ ว่าจะยอมกันอีกหรือยอมให้คนเค้ามาพูดจาแบบนี้หรืออย่างไร" ที่มา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และข่าวสดออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รำลึก 8 ปี 'เฌอ' เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ถูกยิงเสียชีวิตช่วงสลายแดง Posted: 15 May 2018 10:59 AM PDT ครอบครัวและเพื่อน ร่วมรำลึก 8 ปี สมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ 'เฌอ' เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ช่วงสลายแดง ถ.ราชปรารภ ขณะที่ จนท. นำรั้วแผงเหล็กกั้นบริเวณรอบหมุดสัญลักษณ์ที่ระบุที่เฌอถูกยิง พร้อมเฝ้าสังเกตการณ์ร่วมหลายสิบนาย ภาพจากเฟสบุ๊ค ไพศาล จันปาน 15 พ.ค.2561 ที่บริเวณบาทวิถีตรงข้ามสถานีจำหน่ายน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภ หรือ 'หมุดเฌอ' ซึ่งเป็นจุดที่ สมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ 'เฌอ' เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ขณะนั้น ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อช่วงสายวันที่ 15 พ.ค. 53 เหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 19.30 น. พันธ์ศักดิ์ และสุมาพร ศรีเทพ ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของสมาพันธ์ พร้อมด้วย พะเยาว์ อัคฮาด ร่วมกันเดินทางมาวางดอกไม้รำลึกครบรอบ 8 ปี ถึงการเสียชีวิตของ สมาพันธ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดินแดง และพญาไท รวม 30 นาย คอยอำนวยความสะดวกพร้อมทั้งนำรั้วเหล็กมากั้นบริเวณโดยรอบจุดดังกล่าว พันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ตนเดินทางมาร่วมระลึกถึงการมรณกรรมของบุตรชาย รวมทั้งเตือนนโยบายถึงความรุนแรงในการปฎิบัติการ ที่ไม่ได้สนใจเรื่องปฎิบัติทางสากลซึ่งจะเป็นตัวอย่างเตือนให้ผู้อื่นต่อๆไป หากเรายังไม่ยอมจำมรณกรรมในครั้งนี้ ก็จะมีเหยื่อรายต่อไปเรื่อยๆ อีกทั้ง "เฌอ" จะไม่ใช่คนสุดท้ายหากเราเงียบ ซึ่งในวันนี้จะไม่มีกิจกรรมใดๆเป็นพิเศษ เพียงแค่นำดอกไม้มาวางและนั่งดื่มน้ำชาเพียงเท่านั้นก่อนแยกย้ายเดินทางกลับที่พักกันตามปกติ สำหรับความคืบหน้าคดีที่ปรากฎเป็นข่าวครั้งสุดท้ายตั้งแต่เมื่อ 18 ต.ค. 56 นั้น ทั้งพนักงานสอบสวนดีเอสไอส่งให้ บช.น.พิจารณาแล้ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กระทรวงต่างประเทศยัน ไม่มีผู้แทนไทยร่วมเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในเยรูซาเล็ม Posted: 15 May 2018 10:09 AM PDT กระทรวงการต่างประเทศไทยแถลง เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟไม่ได้ร่วมพิธีเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ประจำอิสราเอลในนครเยรูซาเล็ม หลังสื่อต่างประเทศรายงานว่ามีไทยเข้าร่วม 16 พ.ค. 2561 สืบเนื่องจากที่สื่อต่างประเทศรายงานว่าสหรัฐฯ และอิสราเอลได้มีพิธีเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ประจำอิสราเอลในนครเยรูซาเล็มเมื่อวันที่ 14 พ.ค. มีหลายประเทศส่งตัวแทนไปร่วมพิธีเปิดสถานทูตใหม่รวมถึงไทย ทางกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลระบุว่า ได้เชิญตัวแทนจาก 86 ประเทศที่มีทูตประจำอยู่ในอิสราเอล และประเทศที่ตอบรับว่าจะเข้าร่วมมีจำนวน 33 ประเทศ ศูนย์ข่าวกระทรวงการต่างประเทศไทย ออกข่าวสารนิเทศชี้แจงว่า "ตามที่ปรากฏรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับพิธีเปิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาที่นครเยรูซาเล็ม เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2561 โดยระบุว่ามีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ รวมถึงไทยในอิสราเอลเข้าร่วมพิธีเปิดดังกล่าวนั้น" "กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ไม่ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว และไม่มีผู้แทนไทยอื่นใดเข้าร่วมงานด้วย" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อย. - กสทช ระงับออกอากาศโฆษณาผิด ก.ม. อาหาร-เครื่องสำอาง 29 ช่อง เว็บไซต์ 10 URL Posted: 15 May 2018 10:00 AM PDT อย. – กสทช. เผยผลระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ หลังจากได้มอนิเตอร์ร่วมกับ กสทช. ระหว่างวันที่ 4 - 15 พ.ค. 61 รวม 6 ครั้ง ระงับการออกอากาศไปแล้วทั้งสิ้น 29 ช่อง 1 สถานีวิทยุ และเว็บไซต์ อีก 10 URL 15 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบรายการและโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย ทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ระหว่างวันที่ 4 -11 พ.ค. 2561 ที่ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ สำนักงาน กสทช. รวม 6 ครั้ง ได้ตรวจสอบพบโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายทางสถานีโทรทัศน์ 29 ช่องรายการ และทางสถานีวิทยุ 1 สถานี ได้แก่ ครั้งที่ 1 (4 พ.ค.61) จำนวน 4 ช่อง คือ 1. ช่องสปริงนิวส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโกตุ โคล่าคริสตัลเฮิร์บ 2. ช่อง 8 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสกัดผสมเห็ดหลินจือ พลัส ตรา ซีเนเจอร์ และผลิตภัณฑ์อาหารเอส.โอ.เอ็ม. ซีแมคซ์ กาแฟสำเร็จรูปชนิดผง 3. ช่องแอดทีวี (ทีวีดาวเทียม) ผลิตภัณฑ์ไบโอวัน และผลิตภัณฑ์ดับเบิ้ล แม็กซ์ และ4. ช่องมิกซ์ เมเจอร์ ชาแนล (ทีวีดาวเทียม) ผลิตภัณฑ์ดับเบิ้ล แม็กซ์ ครั้งที่ 2 (7 พ.ค.61) จำนวน 4 ช่อง คือ 1. ช่อง Mirror channel ผลิตภัณฑ์ลูทินาร์ 2. ช่อง JKN Dramax ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอร์ดี้ พลัส 3. ช่อง KM Channel ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอร์ดี้ พลัส และ 4. ช่อง Hit Station ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ST DBM Active serum ครั้งที่ 3 (8 พ.ค.61) จำนวน 7 ช่อง คือ 1. ช่อง Fan TV ผลิตภัณฑ์อาหาร Lamucare 2. ช่อง ทีวีบ้านบ้าน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอร์ดี้ พลัส 3. ช่อง ESAN TV ผลิตภัณฑ์หลินจือโกะ (Lingzhigo) 4. ช่อง สตาร์ ทีวี ผลิตภัณฑ์อาหารเอสที.เพอริส 5. ช่อง Movie Hit ชาเทวัญ 6. ช่อง 8 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Magique gravitas treatment และ 7. ช่อง Bright TV ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Ricapil rapid ครั้งที่ 4 (9 พ.ค.61) จำนวน 8 ช่อง และ 1 สถานีวิทยุ คือ 1. ช่อง ทริปเปิ้ลเอ ทีวี ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำชาปรุงสำเร็จรสวินิก้า ผสมน้ำผึ้ง และเห็ดหลินจือ ชนิดเข้มข้น ตรา มาดี คอมบูชา 2. ช่อง MIX MAJOR ผลิตภัณฑ์แอล-ซี พลัส 3. ช่อง Hit Station ผลิตภัณฑ์แอล-ซี พลัส 4. ช่อง Unity ผลิตภัณฑ์เคลียร์วิส (Kleavis) 5. ช่อง สตาร์ ทีวี ผลิตภัณฑ์ลูทินาร์ 6. ช่อง สปริงนิวส์ ผลิตภัณฑ์ไวตา-พลัส และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า Nuvite Melasis Cream 7. ช่อง 8 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสกัดผสมเห็ดหลินจือ พลัส ตรา ซีเนเจอร์ 8. ช่อง ONE ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เคลลี่ รีจูเวเนติ้ง แอนด์ ลิฟท์ติ้ง เซรั่ม และ 9. สถานีวิทยุกระจายเสียง AM 873 MHz ชุดพรีเมี่ยม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์คลอโรฟีน่า, พรมมิ แซนที และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบลล่า ครั้งที่ 5 (10 พ.ค.61) จำนวน 8 ช่อง คือ 1. ช่อง Good living ผลิตภัณฑ์อาหารเคลียร์วิส 2. ช่อง INTV ผลิตภัณฑ์ลูทินาร์ 3. ช่อง TGN ผลิตภัณฑ์คอร์ดี้ พลัส 4. ช่อง Chic Station ผลิตภัณฑ์หลินจือมิน 5. ช่อง Hit Stationผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แอล-ซี พลัส 6. ช่อง MIX MAJOR ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอสที.เพอริส 7. ช่อง NOW ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง HYA Serum และ 8. ช่อง Nation TV ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง HYA Serum ส่วนครั้งที่ 6 (11 พ.ค.61) อยู่ระหว่างการพิจารณาระงับสื่อโฆษณา จำนวน 8 ช่อง รวม 9 เรื่อง และในวันนี้ (15 พ.ค.61) ได้ระงับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลีน ทางเว็บไซต์จำนวน 10 URL ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบความผิด คือ ผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีการโฆษณาว่ารักษาโรคได้ ซึ่งเป็นการ โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ถือเป็นการสื่อข้อความที่เป็นเท็จ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโฆษณาทำให้เข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จึงได้สั่งระงับการออกอากาศโฆษณาดังกล่าวทั้งหมด เลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอย้ำเตือนมายังผู้บริโภค ไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อาหารกฎหมายไม่อนุญาตให้โฆษณาว่าเป็นยารักษาโรค ส่วนเครื่องสำอาง มีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาดและสวยงามเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของร่างกายได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณที่อวดอ้างเกินความจริงทางสื่อต่าง ๆ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายโดยคาดไม่ถึง หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556, อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th, ร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์ ศรป. อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน กสทช. 1200
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฮิวแมนไรท์วอทช์ร้องจีนหยุดส่งทหารอยู่บ้านชาวซินเจียงเพื่อสอดแนม-ล้างสมอง Posted: 15 May 2018 07:40 AM PDT ฮิวแมนไรท์วอทช์รายงานเกี่ยวกั 15 พ.ค. 2561 ในเว็บไซต์ขององค์กรสิทธิมนุ ในช่วงที่เจ้าหน้าที่ ทางฮิวแมนไรทวอทช์เรียกร้องให้ มายา หวัง นักวิจัยอาวุโสในประเด็นจี ตั้งแต่ปี 2557 เจ้าหน้าที่ทางการจีนในซินเจียงส่งทหาร 200,000 นาย เข้าไปเยี่ยมเยื ในช่วงต้นปี 2561 โครงการเยี่ยมบ้านของรัฐบาลซิ เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเก็บข้อมู อย่างไรก็ตามปฏิบัติการนี้มีลั ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารถูกสั่ หวังกล่าวว่าการพยายามบังคับผู้ ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุอีกว่ ในช่วงปีที่แล้ว ทางการซินเจียงพยายามหลอมรวมชาวซินเจียงมากขึ้นและพยายามตัดไม่ให้ เรียบเรียงจาก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คดีกวาดจับหน้ารามฯ สืบพยานโจทก์ปาก 3 ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 10-14 Posted: 15 May 2018 05:54 AM PDT คดีกวาดจับหน้ารามฯ จำเลย 14 คนตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่, ซ่องโจร, มีวัตถุระเบิด พยานโจทก์ปาก 3 เชื่อจำเลยที่ 10-14 ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ทนายชี้ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลยแต่ยังไม่ได้มีน้ำหนักต่อรูปคดีนัก ด้านญาติจำเลยส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจนเล่าการเดินทางจากนราธิวาสมากรุงเทพฯ ใช้เงินเยอะต้องผลัดกันมา แฟ้มภาพ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 พ.ค. 61) เวลาประมาณ 10.00 น. ที่ศาลอาญา กรุงเทพฯ ห้องพิจารณาคดี 808 ได้มีการสืบพยานโจทก์ปากที่ 3 ในคดีกวาดจับหน้ารามฯ ในเดือนตุลาตม ปี 2559 หรือคดีระเบิดน้ำบูดู ซึ่งมีจำเลย 14 คนที่ตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาร่วมกันเป็นอั้งยี่, ซ่องโจร, มีวัตถุระเบิด โดยมีครอบครัวและญาติเข้าร่วมการสืบพยานเกือบ 20 คน ทนายชี้ให้การเป็นประโยชน์แก่จำเลยแต่ยังไม่ได้มีน้ำหนักต่อรูปคดีนักกิจจา อาลีอิสเฮาะ หนึ่งในทนายความของคดีและเลขานุการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมกล่าวว่า วันนี้สอบพยานหนึ่งปากคือ พ.อ.ชัชภณ สว่างโชติ รอง ผอ.ศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภาค 4 สน ซึ่งพยานได้เบิกความถึงตอนที่เขาได้รับตัวจำเลยที่ 10-14 มาอยู่ที่ศูนย์สันติวิธีซึ่งมีนโยบายเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้หลงผิดในมิติศาสนา ซึ่งพยานได้เบิกความที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 10-14 เนื่องจากพยานให้การว่าเชื่อว่าจำเลยทั้ง 5 คนไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ แต่ในทางคดีก็อยู่ที่พนักงานตำรวจว่ามีหลักฐานอะไรอีกนอกเหนือจากนี้ นอกจากนี้พ.อ.ชัชภณ ซึ่งเป็นพยานปากนี้ได้ให้การว่า ทราบว่าจำเลยที่ 10-14 เคยถูกควบคุมตัวที่กรุงเทพฯ แต่ก็ได้รับการปล่อยตัว จากนั้นพ่อแม่ของจำเลยที่ 10-14 ได้ส่งตัวจำเลยที่ 10-14 มาเข้าร่วมโครงการของศูนย์สันติวิธีที่พยานเป็นผู้ดูแลอยู่ ซึ่งตอนนั้นจำเลยที่ 10-14 ก็เชื่อว่าจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่พอจำเลยที่ 1-9 ถูกดำเนินคดีเป็นล็อตแรก จำเลยที่ 10-14 จึงถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันคืออั้งยี่,ซ่องโจร ครอบครองวัตถุระเบิด ในส่วนจำเลยที่ 1-9 กิจจากล่าวว่า หากดูจากคำเบิกความที่ให้การกับชั้นกองปราบของพยานคนนี้ เขาบอกว่าไม่รู้ว่าพยานที่ 1-9 เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดครั้งนี้หรือไม่อย่างไร อีกทั้งในความเห็นของกิจจาคิดว่าพยานปากนี้ยังไม่ได้เป็นพยานสำคัญที่มีคำให้การที่มีน้ำหนักมาก แต่ก็เป็นประโยชน์ให้กับจำเลยที่ 10-14 ญาติส่วนใหญ่ฐานะค่อนข้างยากจน ชี้การเดินทางจากนราธิวาสมากรุงเทพฯค่าใช้จ่ายมากเมาะซู แม่ของอุสมาน กาเด็งหะยี จำเลยที่ 4 เล่าว่า ครอบครัวของจำเลยทุกคนล้วนมีสถานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ส่วนใหญ่รับจ้างกรีดยาง รวมทั้งรับจ้างอย่างอื่นทั่วไป การเดินทางจากนราธิวาสมาขึ้นศาลอาญาที่กรุงเทพฯ ทุกครั้งมีค่าใช้จ่ายมาก มีทั้งค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอาหาร รวมถึงเงินที่เตรียมมาให้ลูกทุกครั้งที่ขึ้นมาประมาณ 2,000-4,000 บาท ดังนั้นแต่ละครอบครัวจึงต้องผลัดกันมาทีละคนสองคน แมะมูเนอะ สาและ แม่ของวิรัติ หะมิ จำเลยที่ 8 จากนราธิวาสเช่นกัน เล่าว่า วิรัติเป็นพี่คนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน เขาเข้ามาทำงานขายของในกรุงเทพฯ ประมาณสองเดือนก่อนจะถูกจับ ก่อนหน้านี้วิรัติแยกทางกับภรรยา และมีลูกสาวหนึ่งคนอายุ 3 ขวบ ปัจจุบันลูกสาวของเขาอยู่ในความดูแลของแมะมูเนอะและลูกชายคนรองวัย 17 ปี แมะมูเนอะกล่าวว่าวิรัติช่วยดูแลหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว เมื่อวิรัติถูกคุมขัง แมะมูเนอะจึงเป็นคนเดียวที่ต้องทำงานหาเงิน "ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน เก็บยางไม่ได้ ยางตอนนี้กิโลละ 15 บาท วันหนึ่งกรีดได้ 4-5 กิโล ได้วันหนึ่งไม่ถึง 200 บาท เราอายุ 57 ปีแล้ว ขึ้นเขาไปทำนาภูเขาก็ไม่ได้ เวลามาเยี่ยมลูกบางทีก็ยืมเงินเพื่อนมา เอามาให้ลูก 2,000 กินข้าวไม่ได้บางทีก็กินข้าวโพดกับน้ำ" แมะมูเนอะกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พรรคประชาธิปไตยใหม่ #1 เน้นเคาะประตูบ้าน ไม่หวั่นโซเชียล ไม่กลัวพลังดูด คสช. Posted: 15 May 2018 04:45 AM PDT เปิดบ้านพูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคการเมืองขนาดเล็กที่เปิดตัวไม่ถึง 90 วัน ก็สามารถคว้า 1 ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งปี 54 มาวันนี้พวกเขากำลังหาทางแก้โจทย์รัฐธรรมนูญ 2560 ที่สร้างอุปสรรคให้พรรคเล็ก เพราะใช้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มาคำนวณที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เปิดบ้านพูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคการเมืองขนาดเล็กที่เปิดตัวไม่ถึง 90 วัน ก็สามารถคว้า 1 ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งปี 54 มาวันนี้พวกเขากำลังหาทางแก้โจทย์รัฐธรรมนูญ 2560 ที่สร้างอุปสรรคให้พรรคเล็ก เพราะใช้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มาคำนวณที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อแม้จะมีคำสั่งของ คสช. ที่จำกัดการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ทุกวันนี้พวกเขาเดินสายเคาะประตูบ้าน ปราศรัยทั้งงานบุญงานบวช แม้จะไม่เน้นโซเชียลแต่ก็รีแบรนด์โลโก้พรรคจาก "ลูกโลก" มาเป็น "พญานาค 7 เศียร" หวังใช้ส่งข้อความ "สวัสดีวันจันทร์" สร้างความจดจำในหมู่สมาชิกพรรคที่ใช้ LINEขณะที่หัวหน้าพรรค "สุรทิน พิจารณ์" ก็ย้ำว่าไม่หวั่นประชาธิปไตยไทยนิยม+พลังดูดของ คสช. ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก และหากประชาชนเลือก "พรรคประชาธิปไตยใหม่" ก็พร้อมเป็นรัฐบาลไม่ขอเป็นฝ่ายค้าน
สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ สมาชิกพรรคร่วมงานทำบุญพรรคประชาธิปไตยใหม่ย่างเข้าสู่ปีที่ 8 เมื่อ 6 เมษายน 2561 (ที่มา: พรรคประชาธิปไตยใหม่) 000 แม้โรดแมปจัดเลือกตั้งของ คสช. จะทอดเวลาออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรืออาจจะเกิดขึ้นล่าช้ากว่านั้น แต่ผลของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ทำให้พรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่กลับมาคึกคักอีกครั้ง และหนึ่งในนั้นก็คือ "พรรคประชาธิปไตยใหม่" ซึ่งเพิ่งครบรอบวันก่อตั้งพรรคปีที่ 7 เข้าสู่ปีที่ 8 ในวันที่ 21 เมษายน โดยที่ผ่านมาพรรคเพิ่งจัดงานทำบุญพรรคเมื่อวันที่ 6 เมษายน และประกาศจุดยืนไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และหากประชาชนเลือกก็พร้อมเป็นรัฐบาลไม่เป็นฝ่ายค้าน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ประสบการณ์จากพรรคเล็ก |
อาจารย์ศิลปากรฯ โวยถูก 'ตร.' รบกวนการสอน หลังเช็ค 22 พ.ค.นี้มี นศ.ไปท่าพระจันทร์ไหม Posted: 15 May 2018 03:58 AM PDT ผศ.ดร.อัจฉรา โพสต์แจงเรื่องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรบกวนการทำงาน หลังสันติบาลมาเช็ค 22 พ.ค.นี้ มีนักศึกษาไปร่วมงานที่ ท่าพระจันทร์ ซึ่งตามกำหนดจะมีกิจกรรมของคนอยากเลือกตั้ง 15 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.02 น. ที่ผ่านมา ผศ.ดร.อัจฉรา รักยุติธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Nong Atchara แจ้งว่า เรื่อง ขอแจ้งข่าวการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรบกวนการทำงาน อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ ศิลปากร ระบุว่า วันนี้เป็นวันสอบปลายภาควันแรกของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และตนทำหน้าที่คุมสอบทั้งเช้าและบ่าย สักครู่ที่ผ่านมา นักศึกษามาแจ้งว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาที่ภาควิชาสังคมศาสตร์ ไม่ระบุแน่ชัดว่าต้องการพบใคร แต่ถามหาหัวหน้าภาคฯ ซึ่งเธอติดภารกิจเช่นกัน จากนั้นตนได้รับข้อความจากเพื่อนร่วมงานตามภาพที่แนบมาข้างล่างนี้ และเพื่อนร่วมงานยังแจ้งเพิ่มเติมอีกด้วยว่าเจ้าหน้าที่ได้ขอถ่ายภาพ (เซลฟี่) ร่วมกับเขาแต่เขาปฏิเสธว่าไม่สะดวก ผศ.ดร.อัจฉรา ระบุว่า ตามมารยาทโดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่าท่านที่ต้องการขอพบใครก็ตามควรมีการนัดหมายล่วงหน้า เนื่องจากเป็นวันทำงาน และอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กร หรือพนักงานต้อนรับ และไม่มีเหตุจำเป็นใดที่จะต้องถ่ายรูปคู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังเช่นการจับผู้ร้ายมาแถลงข่าวทางสื่อสาธารณะ เจ้าหน้าที่ตำรวจพึงทราบว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่บริษัทที่ทำธุรกิจบริการ แม้ว่าจะออกนอกระบบแล้วก็ตาม พนักงานมหาวิทยาลัยจึงไม่มีหน้าที่พบปะต้อนรับประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐใด ๆ ตลอดเวลาดังเช่นสถานีตำรวจ หากแต่มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งผลิตความรู้วิชาการ ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัยและคณาจารย์ล้วนต้องการความสงบในการทำงาน เช่นเดียวกับประชาชนทุกสาขาอาชีพ อาจารย์มหาวิทยาลัยมีภาระงานหลายด้าน เช่น การทำงานวิจัย ทำแผนการสอน ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ฯลฯ ซึ่งต้องการความเป็นส่วนตัวและสมาธิในการทำงาน จึงไม่สามารถยอมรับมารยาทในการเข้าพบอย่างจู่โจมเช่นนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ที่มาขอพบมิได้มีเจตนามาแสวงหาความรู้ทางวิชาการ แต่อาจเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม "ดิฉันเคยให้ที่อยู่สำหรับการส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์แก่เจ้าหน้าที่สันติบาลไปแล้ว หากต้องการพบหรือขอความร่วมมือใดๆ กรุณานัดหมายตามช่องทางดังกล่าว ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของ คสช. เจ้าหน้าที่ไม่ควรเคาะประตูบ้าน ดังเช่นพนักงานขายตรง ซึ่งเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่ให้เกียรติผู้อื่น ล้าหลัง และไม่เท่าทันโลกเช่นนี้เลย" ผศ.ดร.อัจฉรา โพสต์ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมวา เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา เคยปรากฎเป็นข่าวมาแล้วว่า การที่กิจกรรมในชั้นเรีย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แม่ขอบคุณสิทธิบัตรทองช่วยผ่าตัดหัวใจลูกอายุ 15 วัน เติบโตเป็นเด็กแข็งแรง มีสุขภาพดี Posted: 15 May 2018 03:00 AM PDT แม่น้องมาร์คผู้ป่วยผ่าตัดหั สุธาลิณี ศรีแก้ว และ ดช.ญาณากร ชุ่มเย็น 15 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า สุธาลิณี ศรีแก้ว แม่ ดช.ญาณากร ชุ่มเย็น หรือน้องมาร์ค กล่าวว่า น้องมาร์คได้รับการผ่าตัดหั ทั้งนี้จากการที่น้องมาร์คได้รั "จากการที่น้องมาร์คได้รับผ่าตั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แจงปลด บก.บางกอกโพสต์ เหตุโยงเลือกตั้งมาเลเซียกับไทย ขณะที่ประยุทธ์จะมางานครบรอบ 72 ปี Posted: 15 May 2018 01:01 AM PDT ฝ่ายบริหารเครือโพสต์ เผยสาเหตุปลด บก.บางกอกโพสต์เพราะ เขียนข่าวเลือกตั้งในมาเลเซียเชื่อมโยงกับไทย ในขณะที่ประยุทธ์เตรียมเดินทางมาร่วมงานครบรอบ 72 ปีหนังสือพิมพ์ ด้านประยุทธ์ชี้เป็นเรื่องจรรยาบรรณสื่อที่ต้องดูแลกันเอง หวังเห็นจรรยาบรรณในสื่ออื่นๆ ด้วย 15 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงค่ำของเมื่อวาน ในแวดวงสื่อมวลชนได้มีการพูดถึง กรณีการปลด อุเมส ปานเดย์ ออกจากตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กระแสข่าวที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่า สาดเหตุของการปลดเขาออกจากตำหน่งในครั้งนี้การจากการไม่ยอมลดการเสนอข่าวที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร เมื่อคืนที่ผ่านมา อุเมส ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Umesh Pandey ดยย้ำว่า เขาไม่ยอมปฏิบัติตามคำขอร้องที่ให้ tone down การนำเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร เป็นเหตุให้ถูกปลดจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่จะหมดสัญญาจ้างให้เป็น บก.หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 2 ปี ในอีก 45 วันข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากคนในเครือโพสต์อย่าง ณ กาฬ เลาหะวิไลย รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) เครือโพสต์ กลับได้รับคำชี้แจงไปอีกทางหนึ่ง โดยเขาบอกว่า อุเมสไม่ได้ถูกปลด เพียงแต่ถูกย้ายให้มาเป็นผู้ช่วย COO เครือโพสต์ เนื่องจากปัญหาการบริหารงานในตำแหน่ง บก.หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกขอให้ลดโทนการตรวจสอบรัฐบาลทหารแต่อย่างใด หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์วันที่ 11 พ.ค. 2561 ขณะที่เฟซบุ๊ควาสนา นาน่วม เผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระบุว่า ตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดบรรณาธิการในครั้งนี้ พร้อมชี้ว่า เป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของจรรยาบรรณสื่อที่ต้องดูแลกันเอง "นี่เป็นเรื่องจรรยาบรรณของสื่อ ที่ต้องดูแลกันเอง ผมให้โอกาสในการดูแลกันเอง ก็ไปพิจารณา กันสิว่า เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม อย่ามา สร้างความขัดแย้งแบบนี้ สื่อมักจะบอกว่า จะอยู่ตรงกลาง ได้ยังไงอ้างว่า อยู่ตรงกลางเนี่ย แต่พอรัฐบาลทำอะไร ก็ผิดไปหมด ผิดๆ แล้วมันจะอยู่กันได้ยังไง ผมก็หวังในจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นด้วย" ประยุทธ์ กล่าว
ที่มาจาก: จุลสารราชดำเนิน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สภานักศึกษาในเยอรมนี ร้อง รบ.ไทย ตระหนักถึงเสรีภาพ 'เนติวิทย์-คนอยากเลือกตั้ง' Posted: 15 May 2018 12:45 AM PDT สภานักศึกษามหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน กังวลกรณีเนติวิทย์และคนอยากเลือกตั้ง จะได้รับโทษหนักจากคำตัดสินของศาล พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตระหนักถึงเสรีภาพ และรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกถึงการต่อต้าน อ่านฉบับภาษาเยอรมันที่ https://www.refrat.de/article/news.solierklaerung1805.html 15 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า สภานักศึกษามหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน เยอรมนี ออกแถลงการณ์ แสดงความกังวล กรณีที่ เนติวิทย์และกลุ่มผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง จะได้รับโทษหนักจากคำตัดสินของศาล พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตระหนักถึงเสรีภาพ และรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกถึงการต่อต้าน สภานักศึกษามหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน ยังเรียกร้องไปยังผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และตัวแทนนักศึกษาทั้งหมดให้ร่วมสนับสนุนต่อ เนติวิทย์ และผู้ชุมนุมคนอื่นๆ ด้วย รายละเอียดแถลงการณ์ฉบับแปลมีดังนี้ แถลงการณ์สภานักศึกษามหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินหลังจากกรณีการเปิดโปง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยว่ามีนาฬิกาหรูหลายยี่ห้อมากกว่า 25 เรือนสิริรวมราคานับล้านดอลลาร์ ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มนิสิตนักศึกษามากขึ้น "รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์เป็นรัฐบาลที่ขาดจริยธรรม" ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพได้เขียนข้อความนี้ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสระหว่างการเปิดโปงอย่างต่อเนื่องของเหตุการณ์คอรัปชั่นอันฉาวโฉ่ นอกจากนี้ เขายังเขียนด้วยว่า "รัฐบาลนี้ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป" ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557 ประเทศไทยได้ถูกปกครองโดยคณะรัฐบาลทหาร ซึ่งในตอนแรกได้ให้สัญญาว่าจะนำมาซึ่งสันติภาพ ระเบียบ และประชาธิปไตยที่แท้จริงแก่ประเทศ แต่คำสัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยได้ถูกเลื่อนออกไปตลอดสี่ปีของรัฐบาลทหาร และล่าสุดก็เลื่อนไปจนถึงช่วงต้นปี 2562 ดังนั้นรัฐบาลทหารภายใต้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงเข้ามาควบคุมการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แผนการเลื่อนเลือกตั้งดำเนินไปได้ตามแผน ล่าสุดในเดือนเมษายน 2561 พบว่าผู้ชุมนุมกว่าร้อยรายถูกตั้งข้อกล่าวหา โดยส่วนใหญ่คือนักศึกษาที่ออกมาประท้วงเพื่อต้องการการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย ที่ออกมาประท้วงนับตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.2561 เป็นต้นมา ข้อกล่าวหาที่นักศึกษากลุ่มนี้โดนคือการปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง และรวมถึงการทำผิดกฏของการชุมนุมทางการเมืองที่รวมตัวกันเกินกว่าห้าคน ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้มีสิทธิถูกจำคุกเป็นเวลา 7 ถึง 9 ปีจากการชุมนุม และยังมีอีก 40 กว่าคนที่ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาที่เบากว่า เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อายุ 21 ปี เป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา ในปี 2560 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ เนติวิทย์และเพื่อนนักเรียนได้ก่อตั้งสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียกร้องปฏิรูปการศึกษาไทยในปี 2555 ส่งผลให้พวกเขายังเป็นกลุ่มต่อต้านที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดานักกิจกรรมที่ถือว่าเป็น "ฝ่ายค้านนอกสภา" จากการที่เนติวิทย์ถูกกล่าวหาว่าไม่ได้แสดงการกระทำไม่เหมาะสมในพิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ในช่วงต้นภาคการศึกษาซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนรุนแรง ส่งผลให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งประธานสภานิสิตฯ ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์เข้มงวดที่สุด และกฎหมายดังกล่าวมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ช่วงที่มีกระแสการจับกุมผู้ชุมนุม เนติวิทย์เขียนแถลงการณ์ลงในบล็อกว่า "ถ้าหากพวกเราซึ่งเป็นพลเมืองที่จ่ายภาษีให้ผู้มีอำนาจเกิดตั้งคำถามต่อพวกเขาแล้วพวกเรากลับต้องตกอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ ผมไม่คิดว่าเราควรปล่อยให้ผู้มีอำนาจพวกนี้ปกครองประเทศเราได้อีกต่อไป" "ผมเชื่อว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง และกำหนดชะตากรรมประเทศของเขา โดยปราศจากข้อกังวลใดๆ" เนติวิทย์ ได้รับเชิญให้เป็นปาฐกในการประชุมเสรีภาพแห่งออสโล ที่นอร์เวย์ในเดือนพฤษภาคมนี้ จากการทำกิจกรรมครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร จึงน่ากังวลว่า เนติวิทย์และพวกอาจจะได้รับโทษหนักจากคำตัดสินของศาลในวันที่ 16 พ.ค. นี้ พวกเรา สภานักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮุมโบลต์ ซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษาที่นี่ หวังว่ารัฐบาลทหารจะตระหนักถึงเสรีภาพ และรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกถึงการต่อต้านด้วย พวกเราขอเรียกร้องไปยังผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และตัวแทนนักศึกษาทั้งหมดให้ร่วมสนับสนุนต่อเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และผู้ชุมนุมคนอื่นๆ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดันขยายรัศมีห้ามชุมนุม ชาวบ้านเข้าไม่ถึงทำเนียบ-สภาและการชุมนุมที่ไร้ความหมาย Posted: 15 May 2018 12:06 AM PDT สตช.เตรียมแก้กฎหมาย เพิ่มรัศมีห้ามชุมนุมรอบเขตพระราชฐานจาก 150 เมตร เป็น 1 กิโลเมตร หวั่นสกัดการชุมนุมของประชาชน เพราะจะทำให้ทำเนียบ-รัฐสภาเป็นพื้นที่ห้ามชุมนุม การชุมนุมจะปราศจากความหมาย นักกฎหมายตั้งข้อสังเกตว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญและเป็นการดึงสถาบันมาใช้เพื่อหวังผลทางการเมืองหรือไม่
ตามที่มีการเสนอข่าวในเฟสบุ๊กของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือไอลอว์ กรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างแก้ไข พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเสนอแก้ไขใน 2 ส่วนคือ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง 'ให้การจัดการชุมนุมสาธารณะหรือการชุมนุมสาธารณะในระยะหนึ่งกิโลเมตรจากแนวเขตพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก หรือสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ/สถานที่สำคัญ จะกระทำมิได้' และ มาตรา 7 วรรคสอง 'ให้การจัดการชุมนุมสาธารณะหรือการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีการจัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะภายในพื้นที่นั้น' (อ่านเนื้อหาได้ที่ https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10160426037460551) โดยในมาตรา 7 วรรคหนึ่งเดิมบัญญัติว่า การจัดการชุมนุมสาธารณะในรัศมีหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรจากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตําหนักหรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก หรือสถานที่พํานักของพระราชอาคันตุกะ จะกระทํามิได้ เนื้อหาที่เปลี่ยนคือการเพิ่มเติมคำว่า 'การชุมนุมสาธารณะ' ลงไป อีกส่วนคือการเพิ่มระยะรัศมีจากเดิม 150 เมตร เป็น 1 กิโลเมตร ทางไอลอว์ยังตั้งข้อสังเกตว่า หากมีการแก้ไขตามที่ สตช. เสนอจะทำให้สถานที่ราชการอย่างน้อย 11 แห่ง ได้แก่ รัฐสภา, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงศึกษาธิการ, ศาลฎีกา, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงมหาดไทย, ทำเนียบรัฐบาล, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงกลาโหม, และสำนักงานอัยการสูงสุด รวมถึงลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ จะไม่สามารถจัดชุมนุมได้ การชุมนุมที่ปราศจากความหมาย ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยมีความจำกัดจำเขี่ยมาก เป็นประชาธิปไตย 4 วินาที หลังการหย่อนบัตรเลือกตั้ง ประชาชนก็แทบไม่มีส่วนใดๆ ในการตัดสินใจทางการเมือง เหตุนี้ รัฐธรรมนูญปี 2540 จึงเพิ่มช่องทางของประชาธิปไตยทางตรงและรับรองสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ "รัฐธรรมนูญ 2540 พูดเรื่องนี้ไว้ชัดเจนที่สุด เพื่อขยายช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน มองในแง่นี้ สิทธิการชุมนุมจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ให้การรองรับ จากงานวิจัยของสมชาย ปรีชาศิลปกุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ที่ดูกฎหมายชุมนุมของประเทศต่างๆ จะเห็นว่ากฎหมายชุมนุมของประเทศตะวันตกเป็นกฎหมายชุมนุมที่รองรับสิทธิการชุมนุมเพื่อให้การชุมนุมทำได้โดยสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ชุมนุม เป็นการออกกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิ" ประภาส ปิ่นตบแต่ง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว แต่บริบทการเกิดกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของไทยกลับวางบนฐานคิดที่ผิดฝาผิดตัว ประภาส อธิบายว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่มากว่าทศวรรษ ทำให้รัฐบาลทุกชุดมีความพยายามออกกฎหมายชุมนุมเพื่อเป็นเครื่องมือจัดการการเคลื่อนไหวของอีกฝ่าย วิธีคิดของกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจึงมุ่งจัดการกับผู้ชุมนุมมากกว่าการส่งเสริมและรับรองสิทธิ การขยายรัศมีห้ามชุมนุมตามที่ สตช. เสนอ เข้าใจได้ไม่ยากว่ามีนัยทางการเมืองแฝงอยู่ เพราะเท่ากับสกัดการชุมนุมของประชาชนบริเวณศูนย์กลางอำนาจและหน่วยราชการที่รับผิดชอบปัญหาของประชาชนหลายแห่ง ถามว่าก็ไปชุมนุมบริเวณอื่นไม่ได้หรือ ก็อาจจะได้ แต่การชุมนุมจะปราศจากความหมาย "ถ้าไม่ไปชุมนุม กดดัน เรียกร้อง เพื่อให้คนเห็นความเดือดร้อนและต่อรองกับหน่วยงานให้ออกมาเจรจา การชุมนุมจะไม่มีความหมาย ที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ให้ไปชุมนุมที่อื่น ปัจจุบันเสนอให้ไปชุมนุมที่เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ถามว่าตรงนั้นดีหรือไม่ในแง่ความสะดวกสบาย ดีแน่ๆ แต่ผู้ชุมนุมก็จะได้เจอแต่เรือแล่นผ่านไปผ่านมา ไม่ได้เจอกับผู้มีอำนาจทางการเมือง กระบวนการเจรจาต่อรองก็จะไม่เกิดขึ้น "ที่สำคัญคือการชุมนุมในพื้นที่ศูนย์กลางอำนาจหรือสถานที่ราชการทำให้เกิดการรับรู้ของผู้คนผ่านข่าวสาร นักข่าวก็ประจำอยู่ทำเนียบและสถานที่ราชการ มันเป็นพื้นที่ข่าว ถ้าชุมนุมแล้วไม่เป็นข่าวก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะหัวใจหลักของการชุมนุมคือการสื่อสารกับผู้คนในสังคมเพื่อให้เห็นปัญหาความเดือดร้อน เข้ามาร่วมรับรู้ ร่วมถกเถียง กดดันให้ผู้มีอำนาจเข้ามาแก้ไขปัญหาหรือเจรจา โดยสรุปคือถ้าห้ามแบบนี้ การชุมนุมก็จะไม่มีความหมายใดๆ สำหรับผู้ชุมนุม" ประภาสแสงดทัศนะว่า นี่เป็นการอ้างเรื่องความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย จนตีความเกินเลย ไม่สอดคล้องกับชีวิตสังคมการเมืองของผู้คนที่ต้องการแสดงออก ซึ่งจะทำให้สังคมการเมืองก้าวไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลง "ความเป็นห่วงต่อพระราชวัง ต่อพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่ดี แต่ผมคิดว่าประชาชน คนยากคนจนที่ชุมนุมก็เคารพสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่ไปละเมิดอยู่แล้ว ที่ผ่านมาไม่มีการชุมนุมครั้งไหนที่ละเมิดต่อสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ ไม่มีเหตุอะไรที่ต้องพูดถึง ไม่มีปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหา ประชาชนในสังคมไทยตระหนักดีว่าสถานที่แบบนี้ต้องไม่เข้าไปละเมิด ผมจึงคิดว่าการแก้กฎหมายแบบนี้เป็นตีความเกินเลยไปมาก" ย้ายหน่วยราชการออกพ้นรัศมี 1 กิโลเมตรก่อน แล้วค่อยแก้กฎหมาย ด้านเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา เห็นว่าเป็นการนำสถาบันมาอ้างเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าไปชุมนุมใกล้พื้นที่อำนาจของรัฐบาล ซึ่งหากทาง สตช. ต้องการแก้กฎหมายตม เขาเสนอว่า
"ชาวบ้านต้องการเข้ามาหาศูนย์อำนาจเพื่อให้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อให้ราชการทุกระดับทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหา ถ้าชาวบ้านมาชุมนุมไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร ปัญหาชาวบ้านยังไงก็ต้องมาที่ทำเนียบ มาที่รัฐสภา "ถ้าไม่ต้องการให้ชุมนุมใกล้พระราชวังในรัศมี 1 กิโลเมตรจริง แต่รัศมี 1 กิโลเมตรนั้นไปพาดผ่านสถานที่ราชการ หน่วยงานราชการทางอำนาจที่สำคัญที่ประชาชนต้องชุมนุม คุณก็ย้ายหน่วยงานราชการเหล่านั้นออกจากรัศมี 1 กิโลเมตร ตราบใดที่ยังไม่ย้ายศูนย์อำนาจออกจากพื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตรรอบเขตพระราชวัง ก็ยังไม่ควรแก้ไขกฎหมาย ย้ายออกให้หมดเสียก่อน แล้วค่อยแก้ครับ" เลิศศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า ถ้าจะแก้กฎหมายการชุมนุมสาธารณะที่ทำให้การแสดงออกของประชาชนตีบตันมากขึ้น ก็ควรแก้รัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 44 ที่รับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธด้วย ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้เขาจึงเห็นว่าน่าจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ การสร้างสมดุลระหว่าง 2 คุณค่า ในทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องยากที่จะมองเห็นนัยข้างต้น ขณะเดียวกัน ในทางกฎหมาย เรื่องนี้ก็มีประเด็นให้ขบคิดและค้นหา จันทจิรา เอี่ยมมยุรา จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว การห้ามชุมนุมในพื้นที่บางลักษณะ เช่น ที่ประทับของกษัตริย์ ประมุขของรัฐ หรือราชอาคันตุกะ เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เนื่องจากมันมีคุณค่าหรือประโยชน์ที่กฎหมายต้องคุ้มครอง กรณีมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เหตุผลก็เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนพระองค์ การอยู่อย่างสันติสุขในฐานะประมุขของรัฐหรือบุคคลสำคัญของรัฐ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธก็เป็นอีกคุณค่าหนึ่งที่กฎหมายการชุมนุม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศ ให้การยอมรับและคุ้มครอง ปัญหาจึงอยู่ที่ว่ากฎหมายจะสร้างสมดุลแก่คุณค่าทั้งสองประการนี้อย่างไร "การกำหนดระยะก็เพื่อสร้างมาตรการสำหรับคุณค่าประการแรก แต่กฎหมายหรือผู้บังคับใช้กฎหมายมีหน้าที่ต้องทำให้ทั้งสองคุณค่าเกิดความสมดุลกัน แต่เท่าที่สำรวจดูกฎหมายของประเทศต่างๆ ระยะทางที่ห้ามไม่ให้ชุมนุมโดยทั่วไปจะกำหนดไว้ประมาณ 100 เมตร" จันทจิรา กล่าวว่า การเพิ่มคุณค่าประการแรกให้สูงขึ้นไปอีกโดยกำหนดรัศมี 1 กิโลเมตร ฝ่ายนิติบัญญัติต้องพิจารณาว่าข้อเสนอของ สตช. ได้สัดส่วนกันหรือไม่ระหว่างคุณค่าประการแรกคือการคุ้มครองความเป็นอยู่อย่างปกติสุขของประมุขของรัฐกับเสรีภาพในการแสดงออก ประการต่อมา การที่มาตรา 7 เดิมกำหนดรัศมีไว้ 150 เมตร เป็นมาตรการที่ทำให้คุณค่าประการแรกบรรลุได้หรือไม่ ซึ่งผู้บังคับใช้กฎหมายอาจสามารถทำให้บรรลุคุณค่า 2 ประการนี้ได้โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย "บทบัญญัติที่เสนอแบบนี้ ตั้งแต่ระยะทางที่ไกลมาก เมื่อบวกกับคำที่ใช้อยู่เดิมในมาตรา 7 จะทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนมากเกินกว่าสัดส่วนที่ควรจะเป็นหรือไม่ มันทำลายความสมดุลของตราชั่งไปแล้วหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็อาจถือได้ว่ากฎหมายฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองเสรีภาพของผู้ชุมนุมไว้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องมีบทบาทในการพิจารณาประเด็นนี้" ระยะห้ามชุมนุมในเกาหลีใต้ จันทจิรายังได้เล่ากรณีที่น่าสนใจในเกาหลีใต้ช่วงประมาณปี 1995 ว่า เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนชุมนุมใกล้กับสถานที่ของศาล ซึ่งกฎหมายของเกาหลีใต้ระบุไว้ในทำนองเดียวกับของไทยว่าห้ามชุมนุมในบางพื้นที่ โดยกฎหมายของเกาหลีใต้ระบุว่า ห้ามชุมนุมใกล้ที่ทำการศาลในรัศมี 100 เมตร แต่มีคนโต้แย้งว่าบทบัญญัตินี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ในที่สุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้มีทั้งหมด 9 คน เสียงข้างมาก 5 คนเห็นว่าบทบัญญัตินี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่ามีไว้เพื่อคุ้มครองการทำหน้าที่ของศาลให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การตีความของเสียงข้างมากยังเห็นว่า การจะกำหนดระยะรัศมี 100 เมตร ต้องหมายความถึงอาคารที่ศาลใช้นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น อาคารสำนักงานหรืออาคารที่ทำหน้าที่อื่นๆ ที่ศาลไม่ได้ใช้พิจารณาคดีไม่นับอยู่ในบทบัญญัตินี้ ขณะที่ตุลาการเสียงข้างน้อย 4 คน เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าไม่จำเป็นต้องมีบทบัญญัติลักษณะนี้ กฎหมายก็สามารถคงไว้ซึ่งคุณค่าและการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะได้ ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และรัฐบาล ยังอยู่ในวิสัยที่จะควบคุมการชุมนุมโดยที่ศาลยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ หวังผลการเมือง? "ตอนที่ดิฉันไปเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วงที่หน้าหอศิลป์ตอนครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร กรณีนี้ผู้ชุมนุมฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐว่าขัดขวางการชุมนุม เราพบข้อเท็จจริงว่าเหตุผลที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้เลิกการชุมนุมเพราะตอนนั้นใกล้จะพลบค่ำและอยู่ใกล้สถานที่ประทับหรือวังสระปทุม ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือมีมือที่สามก่อความวุ่นวายได้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แผงเหล็กกั้นผู้ชุมนุมไว้ แต่แทนที่จะกั้นบริเวณหน้าวังสระปทุมกลับมากั้นอยู่ด้านหน้าหอศิลป์ กล่าวคือกั้นเพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปยังหอศิลป์ โดยไม่มีนัยอะไรที่กลัวว่าผู้ชุมนุมจะเข้าไปใกล้สถานที่ประทับเลย เหตุผลของเจ้าหน้าที่ตำรวจคืออะไร กลัวจริงหรือเปล่า ที่ผ่านมาเคยมีข้อเท็จจริงหรือไม่ที่ผู้ชุมนุมจะเข้าไปใกล้สถานที่ประทับหรือรบกวนความเป็นอยู่ส่วนพระองค์จริงๆ ถ้ามีข้อเท็จจริงแบบนั้นเกิดขึ้น แผงเหล็กควรมากั้นอยู่หน้าวังสระปทุม อันนี้คือข้อสังเกตและพูดไว้ในคดี แต่ศาลไม่ได้นำมาใช้ ศาลไม่พูดถึงประเด็นนี้เลย" จันทจิรา กล่าว จันทจิรายังกล่าวถึงกฎหมายการชุมนุมสาธารณะเดิมที่มีอยู่ว่า กฎหมายยังต้องทำหน้าที่สร้างสมดุลให้แก่ 3 คุณค่าคือสิทธิเสรีภาพของผู้ชุมนุม สิทธิเสรีภาพของผู้ที่ไม่ได้ชุมนุมแต่ต้องใช้สถานที่สาธารณะบริเวณนั้น และความสงบเรียบร้อยปลอดภัยของสาธารณะ การมีกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่รักษาคุณค่า 3 ประการนี้ให้ดำรงอยู่อย่างสมดุลและทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีกฎเกณ์ชัดเจน ไม่ต้องรอศาลพัฒนาหลักกฎหมายขึ้นมา แต่เมื่อมีกฎหมายแล้ว บทบัญญัติควรเป็นอย่างไร เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณา ซึ่งจันทจิราเห็นว่า "พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ยังมีบทที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์เยอะมาก มีปัญหาในข้อกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงศาลลงมา โดยการให้ศาลเป็นผู้สั่งสลายการชุมนุม ซึ่งศาลไม่ควรทำหน้าที่เป็นฝ่ายปกครองในการบอกว่าควรหรือไม่ควรสลายการชุมนุม ศาลควรทำหน้าที่ตรวจสอบคำสั่งของเจ้าหน้าที่หรือฝ่ายปกครองว่าปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แบบนี้เท่ากับดึงศาลลงมาเป็นคู่กรณีกับผู้ชุมนุม และนี่กำลังดึงสถาบันลงมาเป็นคู่กรณีอีกหรือไม่" จันทจิราตั้งข้อสังเกตคล้ายกับประภาสว่า การชุมนุมของประชาชนเป็นการเรียกร้องกับรัฐบาล ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบัน และประชาชนก็ตระหนักดีว่าไม่ควรละเมิดความเป็นส่วนตัวขององค์ประมุข ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายเช่นเพื่อหวังผลทางการเมืองใช่หรือไม่? ทั้งที่ไม่เคยมีข้อเท็จจริงสนับสนุนให้ต้องแก้ไขมาตรา 7 วรรค 1 เลย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'เอกชัย' ได้ประกันตัวแล้ว หลักทรัพย์ 1 แสน คดีฝืนคำสั่ง คสช. ชุมนุมร้องเลือกตั้ง Posted: 14 May 2018 10:57 PM PDT 'เอกชัย หงษ์กังวาล' ได้ประกันตัวแล้ว หลังทนายยื่นหลักทรัพย์ 1 แสน คดีฝืนคำสั่ง คสช. ชุมนุมร้องเลือกตั้ง คาดว่าจะปล่อยตัว 20.00 น. วันนี้ แฟ้มภาพ เพจ Banrasdr Photo 15 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกชัย หงษ์กังวาล นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้รับการประกันตัวแล้ว โดยใช้หลักทรัพย์ 100,000 บาท จากกองทุนกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คาดว่าจะปล่อยตัว 20.00 น. วันนี้ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม คุม ตัว เอกชัย มาขออำนาจศาลฝากขังในความผิดคดีมาตรา 116, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากกรณีชุมนุมขับไล่ คสช. เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สัญญาไว้ ที่หน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าออกหมายเรียกหลายครั้งแล้วไม่มา จึงออกหมายจับ พิจารณา แล้วอนุญาตให้ฝากขังได้ในผัดแรก (เป็นเวลา 12 วัน) ก่อนได้รับการประกันตัวในวันนี้ โดยก่อนหน้านั้น เอกชัย ถูกตำรวจเข้าจับกุมตัวที่บ้านพักและถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่ สน.ชนะสงคราม ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น