โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สกว.ระดมสมองวิจัยเชิงยุทธศาสตร์-อนาคตศึกษา หวังเป็น ‘ดาวฤกษ์’ นำทางในบริบทซูเปอร์แมคโคร

Posted: 10 May 2018 09:53 AM PDT

สกว.ระดมสมองนักวิชาการทบทวนกรอบประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ "อนาคตศึกษา" เพื่อเป็นเป้าหมายในการสนับสนุนทุนวิจัยที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ หวังเป็น "ดาวฤกษ์" ที่ก้าวทันหรือนำการเปลี่ยนแปลง และหลุดจากกับดักความไม่ยั่งยืนในบริบท "ซูเปอร์แมคโคร" ของโลก

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.

10 พ.ค.2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รายงานว่า ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. เป็นประธานการประชุมกรอบประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ ครั้งที่ 3/2561 ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี เพื่อทบทวนผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบจากงานวิจัย ตลอดจนแนวทางการดำเนินงาน และการทำงานต่อไปในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ของ สกว. ที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่ก้าวทันหรือก้าวนำการเปลี่ยนแปลงของโลกและอนาคตศึกษาอย่างเป็นระบบ สร้างนโยบายและต้นแบบการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ และประเทศ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ และมอง "อนาคตศึกษา" ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมาภาพรวมของกรอบวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ประสบผลสำเร็จหลายเรื่อง เช่น การบริหารจัดการทุนวิจัยนวัตกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยบางประเด็น ความรู้และมุมมองของแต่ละยุทธศาสตร์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเด็นความเหลื่อมล้ำได้ถูกยกระดับจากงานวิจัยท้องถิ่นขึ้นมาในระดับชาติ อย่างไรก็ตามยังมีงานที่จะต้องทำอีกจำนวนมาก ทั้งนี้ในยุทธศาสตร์ใหม่ของ สกว. กรอบประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์จะต้องออกแบบให้บรรลุผลกระทบที่ต้องการ การชี้วัดผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเป้าหมายเชิงพัฒนา สถานภาพปัจจุบันที่ทำอยู่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อประเทศ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อให้ตอบสนองและเกิดการใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูป ดังนั้นในสามปีจากนี้ไปจึงฝากให้คณะทำงานดูเป้าหมายสุดท้าย ตัวชี้วัดเชิงการพัฒนา กรอบการทำงาน กรรมการที่ปรึกษาที่มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย รวมถึงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและการมองภาพอนาคต

ด้าน ผศ. ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว. มองว่า "อนาคตศึกษา" ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยแต่หลายภาคส่วนอาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือเป็นบริบทปกติของประเทศ ชาติพันธุ์ใดที่มีความสามารถมองอนาคตได้ดีกว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะอยู่รอดหรือแข่งขันได้ สามารถเห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหรือมองเห็นโอกาสได้มากกว่า ดังนั้นงานอนาคตศึกษาจึงไม่ใช่เพียงแค่การทำนาย แต่ในทางปฏิบัติแล้วเรานำมาใช้ในการสร้างจุดร่วมและออกแบบยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือชาติพันธุ์ เพื่อที่จะขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่สังคมต้องการในจุดร่วมเดียวกัน

ศ. ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ กล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนต้องการ กลุ่มเป้าหมายมีสองระดับ คือ ระดับผู้มีอำนาจตัดสินใจ และระดับผู้ปฏิบัติ เช่น หน่วยงานราชการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ซึ่งตนเชื่อว่าทั้งสองระดับมีความต้องการ แต่ปัญหาคือเมื่อจะตัดสินใจกลับไม่มีความรู้ให้เลือก บทบาทที่จะทำได้ต้องสมดุลกัน ตนยังยึดมั่นการทำงานวิจัยเพื่อหาความรู้และเป็นทางเลือกหนึ่งของการตัดสินใจในภาคนโยบาย

ศ.สุริชัย หวันแก้ว

ขณะที่ ศ.สุริชัย หวันแก้ว กล่าวว่า ผู้ใช้ประโยชน์บางคนบางหน่วยงานยังเพิกเฉยต่อระบบวิจัย การเชื่อมโยงงานจึงต้องดูบริบทของจิตวิทยาสังคมการเมืองด้วย หน้าตาของประเทศไทยในอนาคตที่มีผลต่อบริบทของผู้ใช้ประโยชน์และระบบวิจัยจะเป็นอย่างไร เช่น สอดคล้องต่อความรับผิดชอบต่อภูมิภาคของไทยหรือไม่ รวมถึงมีแพลทฟอร์มความรู้ใดที่จะคุยและเรียนรู้ระบบกันได้ คุณภาพขององค์กรจะบรรลุตนเองและมีความเสถียรท่ามกลางสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันได้อย่างไร ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในบริบทความไม่ยั่งยืนของโลกซึ่งเป็น "ซูเปอร์แมคโคร" แต่ส่วนใหญ่เรายังสนใจประเด็นประโยชน์ชาติในระดับแมคโคร หรือสนใจเฉพาะเรื่อง จึงควรจะสร้างความสนใจอย่างกว้างขวางแก่ผู้ใช้ประโยชน์ สกว.ต้องแสดงบทบาทและใส่ใจในการวางโจทย์ยุทธศาสตร์การวิจัย มิฉะนั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเสี่ยง ทำอย่างไรจะหลุดออกจากกับดักของความไม่ยั่งยืนและต้องมองในหลาย ๆ มิติเพื่อจะได้ไม่ทอดทิ้งใคร

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ระบุว่าส่วนตัวคิดว่าการเชื่อมโยงประเด็นทางการศึกษาและความมั่นคงทางทะเลไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นเรื่องที่หินมาก และอยากให้ประเด็นวิจัยของ สกว. ที่ประสบความสำเร็จเป็นแนวทางต่อประเด็นอื่น ๆ ว่ามีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างไร รวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ใช้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้มอง สกว. เป็นดาวฤกษ์ นำประเทศไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับความรู้จากงานวิจัยกรอบประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และงานวิจัยอื่นของ สกว. ที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ความมั่นคง (เช่น การรักษาความมั่นคงภายในโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติ) ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน (เช่น การลงทุนวิจัยและบ่มเพาะผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน (เช่น การสร้างความมั่นคงและความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยในสังคมสูงวัย) ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (เช่น การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย) ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ ความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทะเล) และยุทธศาสตร์การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (เช่น การบริหารจัดการการเงินการคลังของท้องถิ่น) ซึ่งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ เครือข่ายการทำงานภาควิชาการ ภาคนโยบายและภาคประชาชน ระบบหรือฐานข้อมูลเฉพาะด้าน รวมทั้งเกิดกระบวนการและรูปแบบการสื่อสารสู่ภาคนโยบายและสาธารณชน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิสิตจุฬาฯ ลงบันทึกประจำวัน หลังถูกกลุ่มชายคล้ายเจ้าหน้าที่บุก มหา'ลัย กลางดึก เช็คที่อยู่

Posted: 10 May 2018 08:41 AM PDT

หนึ่งในนิสิตจุฬาฯ กลุ่มชูป้ายเสียดสีประยุทธ์ ลงบันทึกประจำวัน หลังถูกกลุ่มชายคล้ายเจ้าหน้าที่บุก มหา'ลัย กลางดึก เช็คที่อยู่ พร้อมโวยพฤติกรรมของ ตร.บริการทุกระดับอันล้นเกิน

10 พ.ค.2561 จากกรณีกลุ่มชายคล้ายเจ้าหน้าที่ขับรถเก๋ง สีบรอนซ์ กระจกฟิลม์ดำสนิท  เข้ามาสอบถามข้อมูลด้วยท่าทีคุกคามกับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลางดึกคืนวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามข้อมูลและที่อยู่ของ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และ ธนวัฒน์ วงค์ไชย ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในนิสิตที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตามสอดส่อง หลังเป็นส่วนหนึ่งที่ชูป้ายเชิงเสียดสีใส่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา

ล่าสุดวันนี้ (10 พ.ค.61) ธนวัฒน์ โพสต์เอกสารที่ตนเองลงบันทึกประจำวันที่ สน.ปทุมวัน ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเขาระบุว่าเดินทางไปพร้อม เจ้าหน้าที่ของสำนักบริหารกิจการนิสิตจุฬาฯ

"นับว่าเป็นบริการทุกระดับอันล้นเกินของ สน.ปทุมวัน จริงๆ ครับ ที่ให้บริการผม ตั้งแต่ก้าวเข้าไปใน สน. ผมพึ่งรู้ว่าการลงบันทึกประจำวันนั้น ต้องมีการแจ้งนายให้ทราบด้วย ต้องมีการถ่ายรูปผมส่งให้นายดู ต้องมีการปรึกษานายก่อนว่าจะสามารถลงบันทึกประจำวันได้หรือไม่"  ธนวัฒน์ โพสต์ พร้อมระบุว่านอกจากนี้ระหว่างรอว่านายจะอนุญาตหรือไม่นั้น ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้กองที่นั่งอยู่ในบริเวณนั้น และเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านบอกกับตนว่า "เป็นเพื่อนมาตามหาเราหรือเปล่า อย่าไปคิดมาก" พอตนตอบกลับว่าเพื่อนคงไม่ใส่หมวกแก๊ป ทำตัวลับๆ ล่อๆ แล้วมีท่าทีจะเข้ามาประชิดตัวนิสิตจุฬาฯ ที่ไม่รู้จักขนาดนั้นมั้งครับ ท่านก็บอกกับตนว่า "เพื่อนอาจจะอยากแกล้งเราหรือเปล่า ไม่ต้องกังวลไปหรอก" ตนก็ได้แต่ยิ้มแห้งๆ ให้กับทัศนคติของผู้กองไป

ธนวัฒน์ รายงานต่อด้วยว่า จนกระทั่งนายตอบลงมาว่าสามารถลงบันทึกประจำวันได้ ตนถึงสามารถลงบันทึกประจำวันได้ ทั้งๆ ที่ประชาชนคนอื่นที่มาลงบันทึกประจำวันสามารถลงบันทึกได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งให้นายทราบและขออนุญาตนายแต่อย่างใด ยังไม่พอตอนระหว่างลงบันทึกประจำวันก็มีการถ่ายรูปผม และตอนลงเสร็จก็มีการเอาต้นขั้วไปถ่ายรูป ทั้งๆ ที่กับประชาชนคนอื่นก็ไม่ถูกปฏิบัติเช่นนี้

ธนวัฒน์ โพสต์ต่อว่า ระหว่างที่ลงบันทึกประจำวันอยู่ ก็มีรองผู้กำกับและผู้ช่วยของท่านมาพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ก็ต้องขอบคุณที่กรุณาลงมารับฟังปัญหาด้วยตัวเอง แต่จะดีกว่านี้มากถ้าหาก สน.ปทุมวัน ให้บริการอย่างดีกับประชาชนคนอื่นเหมือนที่ให้บริการกับผมในวันนี้ และปฏิบัติกับผมเหมือนกับที่ปฏิบัติกับประชาชนคนอื่น

"ผมหวังว่าทาง สน.ปทุมวัน จะดำเนินการตามตัวคนที่เข้ามาคุกคามและพยายามสร้างอันตรายต่อนิสิตจุฬาฯ ได้โดยเร็วนะครับ และผมยังอีกหวังว่าทาง สน. จะไม่ประนีประนอมโดยเด็ดขาด ถ้าหากรู้ว่าคนที่กระทำแบบนี้ คือ เจ้าหน้าที่รัฐ" ธนวัฒน์ โพสต์ทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอข้ามคืน หวังคุยปัญหาสำรวจแร่โปแตช แต่นายอำเภอวานรนิวาสกลับรับหนังสือกลุ่มหนุนก่อน

Posted: 10 May 2018 07:22 AM PDT

หลังจากชาวบ้านวานรนิวาสพบว่ามีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแตซ โดยไม่ชัดเจนว่าทำตามกฎหมายหรือไม่ ก็ออกมารวมตัวคัดค้าน พร้อมเรียกร้องนายอำเภอให้เดินทางมารับฟังปัญหา แต่สุดท้ายรอข้ามคืน ก่อนนายอำเภอเดินทางมาได้ออกไปรับหนังสือของกลุ่มหนุนเหมืองก่อน

10 พ.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. มีรถของบริษัท  บริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าไปในพื้นที่ขุดสำรวจแร่โปแตซ ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวบ้านในเขต ต.วานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เพื่อขุดเอาอุปกรณ์สำหรับการขุดเจาะ แต่เนื่องจากเจ้าของที่ดินได้ยกเลิกสัญญาแล้ว และทางบริษัทได้เข้าไปโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าก่อน เจ้าของที่ดินจึงได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจข้อหาบุกรุก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้รับเรื่องแจ้งความ แต่ของให้มีการไกล่เกลี่ยตกลงกันจนได้ข้อยุติ

หลังจากนั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้เริ่มเฝ้าระวังการเข้ามาของบริษัทอีกครั้ง โดยในวันที่ 9 เวลาประมาณ 11.00 น. ได้ขนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแตชอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการไปสำรวจในพื้นที่ใหม่ ที่ชุมชนบ้านน้อยหลังวัดโนน โดยมี เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร คอยอำนวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์

เครือข่ายชาวบ้าน์อำเภอวานรนิวาส ซึ่งประกอบไปด้วยชาวบ้านหลายหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอวานรนิวาส ที่คัดค้านการสำรวจเหมืองแร่โปแตช ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือจี้ให้เจ้าหน้าที่รัฐ หยุดกระบวนการสำรวจแร่โปแตช และให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมายแร่ ปี 2560 

โครงการเหมืองแร่โปแตชอำเภอวานรนิวาส และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดสกลนคร

คนวานรนิวาสร่วม 500 ค้านเหมืองโปแตซ หลัง'ไชน่าหมิงต๋า' จัดเวทีผู้รู้มาเล่า

ณัฐพร อาจหาญ สมาชิกขบวนการอีสานใหม่ ได้ให้ข้อมูลว่า ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายแร่ฉบับใหม่ที่มีผลใช้บังคับแล้ว ได้ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 188 ว่าบรรดาคำขอทุกประเภทที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้ และให้พิจารณาดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ด้วยเหตุนี้เองเมื่อกฎหมายแร่ฉบับใหม่ออกประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรังวัดกำหนดเขตคำขอตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 บังคับใช้ จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแร่ฉบับใหม่อย่างเคร่งครัดด้วยการตรวจสอบพื้นที่ที่ยื่นคำขอว่าเป็นพื้นที่ที่ห้ามยื่นขอตามกฎหมายว่าด้วยแร่หรือกฎหมายอื่นหรือไม่

"ชาวบ้านเขาขอสอบถามเพราะว่าตามกฎหมายแร่ฉบับใหม่บอกว่า แม้จะเป็นพื้นที่ที่ได้อาชญาบัตรพิเศษ ก็ต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งระบุว่าในอาชญาบัตรจะต้องมีการชี้แจ้งรายละเอียดของพื้นที่ คือในพื้นที่ที่เขาได้รับอาชญาบัตรในการเข้ามาสำรวจ 120,000 ไร่ บริษัทต้องแจกแจงมาให้หมดว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประเภทไหนตามการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และเป็นพื้นที่สงวนหรือพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ ตรงนี้กฎหมายกำหนดว่าต้องชี้แจงทั้งหมดก่อนจะดำเนินการใดๆ" ณัฐพร กล่าว

แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ที่นำขบวนรถขนย้ายอุปกรณ์ของบริษัท กลับพยายามอ้าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ โดยชี้ว่าการรวมตัวของชาวบ้านอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และขอให้ชาวบ้านเปิดทางให้กับบริษัทขนอุปกรณ์เจาะสำรวจแร่ แต่ชาวบ้านยืนยันสิทธิในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรของชุมชน และใช้สิทธิพลเมืองในการแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ

จนกระทั่งเวลา 14.00 น. รถขนอุปกรณ์สำรวจโปแตชได้เคลื่อนออกจากพื้นที่ เพื่อนำอุปกรณ์ไปเก็บไว้ ณ.ที่ตั้งของบริษัทในอำเภอวานรนิวาส จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ได้มาบันทึกวิดีโอความต้องการของชาวบ้าน โดยแจ้งว่าจะนำไปปรึกษากับผู้บังคับบัญชาต่อไป

ชาววานรนิวาสโวย อุตสาหกรรมจังหวัดจงใจปกปิดข้อมูลสำรวจแร่โปแตชสกลนคร

กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส ใช้พิธีกรรมต่อสู้เพื่อต้านเหมืองแร่โปแตช

ณัฐพล ให้ข้อมูลต่อว่า ชาวบ้านมีความต้องการที่จะคุยกับนายอำเภอ โดยเรียกร้องให้นายอำนาจเดินทางเข้ามาในพื้นที่ โดยชาวบ้านได้อยู่เป้าพื้นที่หลุมขุดเจาะดังกล่าวจนข้ามคืน เข้าสู่วันที่ 10 พ.ค. จึงมีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจเข้ามาพูดคุยอีกครั้ง แต่นายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงยังไม่ได้เดินทางมา ทั้งยังทราบข่าวว่าในช่วงบ่ายนายอำเภอได้ออกมารับหนังสือของกลุ่มสนับสนุนเหมืองแร่โปแตซ จนกระทั่ง 16.00 น. นายอำเภอจึงจะเดินทางมาพบกับชาวบ้าน และรับหนังสือของชาวบ้านที่ไม่เห็นกับการทำเหมืองแร่ แต่ยังไม่ทันได้พูดคุยอะไรมาก ก็จำเป็นต้องแยกย้ายออกจากพื้นที่ทั้งหมดเนื่องจากมีฝนตกอย่างหนัก

"ประเด็นที่สำคัญที่เรายังติดใจอยู่ก็คือ การไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลของอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร คือยังไม่มีการเปิดเผยแผนที่แนบท้ายโครงการว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่อยู่ในแผนการสำรวจของบริษัท ชาวบ้านเราขอมาตลอดยื่นเรื่องของมาตลอด หน่วยงานก็ตอบกลับมาว่าไม่สามารถให้ได้เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับสิทธิของบริษัท จากนั้นชาวบ้านก็ไปยื่นขอกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ ล่าสุดก็มีการส่งเรื่องกลับมาว่ามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อให้พิจารณาว่าจะเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่ ซึ่งก็จะเห็นว่าชาวบ้านยังไม่เคยเข้าถึงข้อมูลของโครงการเลย โดยมีความพยายามกีดกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าถึงข้อมูล และระหว่างนั้นบริษัทกลับดำเนินการไป"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รบ. ตั้งเป้า 5 ปี สร้าง 5 พันนักรบไซเบอร์ จับตาการเมือง-ความมั่นคง-การละเมิด

Posted: 10 May 2018 07:11 AM PDT

พล.อ.อ.ประจิน ระบุตั้งเป้า 5 ปี สร้างนักรบไซเบอร์ 5,000 คน มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เบื้องต้นต้องผลิตนักรบไซเบอร์ให้ได้อย่างน้อย 200 คน โดยใช้งบฯ  350 ล้านบาท จากกองทุนดิจิตัล

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

10 พ.ค.2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวในกิจกรรม "สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า" ครั้งที่ 3 หัวข้อ "มุมมองของรองนายกฯประจินฯ" ถึงกรณีที่รัฐบาลมีแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ต้องการเพิ่มนักรบไซเบอร์ 1,000 คน เพราะพบเนื้อหา หรือคนกลุ่มไหนในโลกออนไลน์ต้องจับตาเป็นพิเศษหรือไม่ โดยเฉพาะ 22 พ.ค.นี้จะครบ 4 ปี คสช.ความเคลื่อนไหวทางการเมืองจะย้ายมาอยู่ในโลกออนไลน์มากกว่าบนท้องถนนหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของเรื่องบิ๊กดาร์ต้ามีความคืบหน้าอย่างไรนั้น พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นโลกของไซเบอร์ เรามีอินเตอร์เน็ต ออนไลน์ สามารถสื่อสารได้ทุกมิติ ทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีทั้งแง่บวก แง่ลบ ทั้งสร้างสรรค์ ละเมิดบุคคล ทำลายข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือใช้คอมพิวเตอร์เรียกร้องผลประโยชน์ หรือทำลายระบบอื่น ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายและหน่วยงานที่มอร์นิเตอร์ประเด็นปัญหาที่เกิดจากการละเมิดต่อการใช้คอมพิวเตอร์ สถาบัน และบุคคลที่สาม รวมถึงด้านความมั่นคง และเมื่อเกิดการกระทำผิดกฎหมายก็ต้องมีหน่วยงานที่เข้าดำเนินการ ตอนนี้กระทรวงดิจิทัลฯก็จะมี ปอท. ที่ปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง และกสทช. และมีหน่วยงานหนึ่งที่ชื่อไทยเซิร์ท ที่เป็นหน่วยงานขึ้นอยู่กับเอดด้า ที่คอยให้การสนับสนุนข้อมูลเชิงสายวิชาการ ให้ความรู้ และเรื่องกฎหมาย พ.ร.บ.คอมฯ และกฎหมายละเมิดบุคคลที่สามที่กำลังจะออก ซึ่งคาดจะแล้วเสร็จปลายปีนี้ เพื่อปกป้องข้อมูล บุคคล ภาคธุรกิจ การเงิน อุตสาหกรรม ไม่ให้เกิดความสูญเสีย

"เราจำเป็นต้องสร้างระบบ และคน ที่เชี่ยวชาญในทั้งระบบไซเบอร์ ซึ่งวางเป้าไว้ว่าใน 5 ปี (60-64)เ ราต้องการถึง 4,500-5,000 คน ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ส่วนเบื้องต้นต้องผลิตนักรบไซเบอร์ให้ได้อย่างน้อย 200 คน โดยใช้งบประมาณ จำนวน 350 ล้านบาท จากกองทุนดิจิตัลเพื่อพัฒนาบุคคลกรด้านนี้ทั้งหมด โดยเริ่มได้ในกลางเดือนมิถุนายนนี้ที่จะสามารถเริ่มจัดคนเข้าหลักสูตรได้ และสามารถให้ 200 คนนี้บรรลุวัตถุประสงค์ในเวลาไม่เกิน 3 ปี ทั้งในหลักสูตรของ เจ้าหน้าที่เทคนิก เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ และผู้บริหาร ที่ต้องเรียนด้วยเพราะไม่เช่นนั้นจะคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่รู้เรื่อง จึงถือเป็นความจำเป็นร่วมให้ได้ตรงความต้องการเฉพาะทางตามที่วางเป้าไว้ ถือเป็นมาสเตอร์แพลน ตามแผนแม่บท เพื่อติดตามเฝ้าระวัง เผชิญเหตุ ฟื้นฟู พัฒนา ซึ่งคาดว่าภายใน 4-6 เดือนนี้แผนจะแล้วเสร็จ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

จ่อเพิ่มกำลังคนไซเบอร์ 1 พันคนรับมือกับภัยคุกคา

ขณะที่วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พิเชฐ ดุรงคเวชโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ครั้งแรก โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการรักษาพื้นฐานสารสนเทศ 6 กลุ่ม 1. กลุ่มความมั่นคงและบริการภาครัฐที่สำคัญ 2. กลุ่มการเงิน 3. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม

4. กลุ่มการขนส่งและโลจิสติกส์ 5. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และ 6. กลุ่มสาธารณสุข ด้วยการซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงจัดทำแผนปฏิบัติการรับมือ โดยได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อดูแลสังคมและโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกันนี้ ยังจัดตั้งหน่วยงานชั่วคราวที่จะดูแลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในทันที โดยไม่ต้องรอให้กฎหมายผ่านการบังคับใช้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีในช่วงเวลานี้

พิเชฐ กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังย้ำถึงการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ว่า จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้รับความรู้และประสบการณ์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรไทย โดยไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดตั้งศูนย์ และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย.นี้ และไทยจะเพิ่มกำลังคนไซเบอร์ ด้วยการพัฒนาบุคลากรประมาณ 1 พันคน มาทำหน้าที่รับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยเฉพาะ ซึ่งตั้งงบพัฒนาบุคลากรนี้ไว้ 350 ล้านบาท และคาดหวังว่าในการประเมินความพร้อมด้านความมั่นคงไซเบอร์ในเวทีสากล ไทยจะได้รับการปรับอันดับ ให้อยู่ใน 20 อันดับต้นๆ ของโลก

'ข่าวกรอง' รับสมัคร จนท.ความปลอดภัยไซเบอร์เพิ่ม 40 ตำแหน่ง

ขณะที่ blognone.com รายงานด้วยว่า สำนักข่าวกรองแห่งชาติประกาศรับสมัครนักการข่าวปฏิบัติการ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือตำแหน่งเดิมที่เคยประกาศรับสมัครตั้งแต่ปี 2015 10 ตำแหน่ง โดยปีนี้รับสมัครเพิ่มเติมถึง 40 ตำแหน่ง อัตราเงินเดือนรับสมัครยังคงอยู่ที่ 15,000-16,500 บาทเท่ากับเมื่อปี 2015 โดยระบุว่า "อาจ" ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพิเศษของผู้ปฎิบัติงานด้านการข่าวอีก 5,500 บาท
 
blognone.com ยังระบุด้วยว่า สามปีผ่านไป คุณสมบัติของผู้สมัครคล้ายเดิม แต่คัดข้อที่ระบุว่าพร้อมปฎิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมงออกไปแล้ว เปลี่ยนเป็นสามารถทำงานในภาวะที่กดดันแทน ส่วนรายละเอียดงานยังคล้ายเดิมคือการจัดทำข่าวกรอง การพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทดสอบเครือข่าย และดูแลความมั่นคงปลอดภัยเครือข่าย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การศึกษาสู่ความเท่าเทียม ตัวชี้วัดคือรายได้ระหว่างรุ่นที่สัมพันธ์กันน้อยที่สุด

Posted: 10 May 2018 06:43 AM PDT

เดชรัต สุขกำเนิด เล่าถึงประสบการณ์รัฐสวัสดิการการศึกษาในเดนมาร์กที่รัฐเป็นคนเลือกโรงเรียนให้ เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เมื่อเด็กอยากเรียนก็จะเรียนได้เอง ซึ่งมีตัวชี้วัดที่รายได้ของคนรุ่นลูกยิ่งไม่สัมพันธ์กับคนรุ่นพ่อแม่ยิ่งทำให้เกิดการเท่าเทียม "เราจะไม่เอารายได้ของเราไปช่วยลูกเรา ลูกเรากับเพื่อนในวัยเดียวกันต้องเติบโตอย่างเท่ากัน"

จากซ้ายไปขวา เดชรัต สุขกำเนิด, กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

5 พ.ค. ที่ผ่านมา Documentary Club ร่วมกับ SFW Central World จัดเสวนา "เรียนแบบนี้...อยากมีในไทย เป็นได้แค่ฝัน?" ต่อยอดความคิดจากหนังสารคดีนอร์เวย์ "Childhood โรงเรียนริมป่า" โดย เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์จริงเรื่องรัฐสวัสดิการกับโรงเรียนอนุบาลในเดนมาร์ก ดำเนินรายการโดยกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญเรื่องการศึกษาฟินแลนด์

หัวใจการเรียนของเดนมาร์กคือเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยเป็นนักเรียนทุนปริญญาเอกในประเทศเดนมาร์ก และลูกสาวได้เข้าโรงเรียนอนุบาลที่นั่นว่า การศึกษาของเดนมาร์กในระดับอนุบาลถึงประถมจะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ หรือ Exp Learning (Experiential Learning) หรือถ้าโตขึ้นกว่านั้นก็อาจเป็นการเรียนรู้ที่ลึกขึ้น

หัวใจสำคัญของการเรียนอนุบาลที่เดนมาร์กคือการเตรียมพร้อมเด็กให้อยู่ร่วมกันในสังคม มี 3 ข้อหลักคือ 1. ช่วยเหลือตัวเองได้ 2. ช่วยเหลือเพื่อนได้ 3. อยู่ร่วมกันในสังคมได้ เข้าใจกติกาสังคม ที่ไม่ใช่แค่คำสั่งของครู ไม่มีโจทย์ที่ว่าเรียนเก่งไหม ฉลาดไหม อ่านหนังสือได้ไหม

เดชรัตเล่าว่า ตอนที่ลูกสาวไปเรียนอนุบาลที่เดนมาร์ก เมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว ทางโรงเรียนจะบอกเราว่าไม่ได้มีการเรียนหนังสือแต่จะเป็นการทำกิจกรรมกัน การจัดห้องก็จะคละอายุตั้งแต่ 3-5 ขวบ จุดสำคัญคือเน้นการฝึกให้ช่วยเหลือกัน มีการออกไปเดินเล่นข้างนอก แม้กระทั่งวันฝนตก เพื่อปรับให้ทุกคนชินกับทุกอากาศ ผู้ปกครองและคุณครูต้องช่วยกันดูแล ด้วยการหาชุดที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพอากาศมาให้เด็กๆ ได้สนุกสนานในทุกๆ สภาพอากาศ เสื้อผ้าเลอะเทอะถือว่าเด็กสนุกกับกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การวาดรูป เล่นเกม

แต่แม้ไม่ได้เรียนเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ เด็กก็จะเริ่มเขียนหนังสือเป็น เพราะเด็กๆ จะเรียนกันเอง จากความรู้สึกว่าอยากเขียนให้เป็น คำแรกที่เด็กๆ เขียนคือชื่อของเขาเอง จากนั้นก็เป็นชื่อเพื่อนสนิท ซึ่งหมายถึงการที่เด็กได้เริ่มเรียนรู้จากตัวเอง

และเมื่อโตขึ้นมาหน่อยประมาณชั้น ม.3 หัวข้อที่นักเรียนจะได้ต้องถกกันจะมีประเด็นอย่างเช่น เดนมาร์กควรรับผู้อพยพจากซีเรียไหม หรือกระทั่งจนถึงการเรียนในระดับปริญญาโทเองก็ยังเป็นการให้โจทย์เพื่อให้แต่ละกลุ่มฝึกการแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนในแต่ละกลุ่ม ดังนั้นครูจึงอยู่ในฐานะผู้เปิดประสบการณ์ ซึ่งครูเองก็ต้องคิดและวางแผนว่าเด็กควรได้เจอประสบการณ์แบบไหน อย่างไร

เป้าหมายของการศึกษา

เดชรัตกล่าวต่อว่าถึงเป้าหมายการศึกษาของเดนมาร์กว่าเป็นการต่อยอดไปถึงสวัสดิการสังคมในด้านอื่น เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการศึกษาจึงสอดคล้องกับเป้าหมายในสังคมซึ่งคือการที่ทุกคนอยู่ได้อย่างสบายใจ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป้าหมายการศึกษาคือปล่อยพลังได้เต็มที่ ตกงานก็มีเงินสวัสดิการให้ การศึกษาจึงไม่ได้ทำให้คนถูกกำหนดกรอบว่าต้องเป็นอะไร ทำอะไร แต่ให้เป็นอย่างที่อยากจะเป็น

"อย่างเพื่อนผมที่เดนมาร์กเขาเป็นดอกเตอร์ แต่ลูกเขาจบม.3 แล้วก็ไม่เรียนต่อ ตอนนี้เขาก็เป็นนักดนตรีมีชื่อเสียง การไม่เรียนต่อของเขาจึงไม่ได้หมายความว่าชีวิตเขาจะจบลง แต่หมายถึงการที่เขาหาหนทางในชีวิตได้ เป้าหมายของการศึกษากับเป้าหมายของสังคมจึงสอดคล้องกันได้ด้วยวิธีคิดแบบนี้" เดชรัตกล่าว

รัฐเลือกโรงเรียนให้ มีเงินสวัสดิการจากรัฐ

เดชรัตเล่าต่อว่า ที่เดนมาร์กเลือกโรงเรียนเองไม่ได้ แต่เทศบาลจะเป็นคนเลือกให้ โดยดูจากโรงเรียนที่มีที่ว่างและสะดวกในการเดินทาง ทางโรงเรียนจะมีสัมภาษณ์นิดหน่อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะรับเด็กเข้า เรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ อย่างกรณีตนเป็นนักเรียนทุน ซึ่งถือเป็นคนอยากจนในเดนมาร์ก เทศบาลก็จะจ่ายให้ โดยปกติแล้วค่าเทอมทางเทศบาลจะเป็นคนส่งใบเสร็จไปให้โรงเรียน โรงเรียนจึงไม่รู้ว่าใครจนใครรวย

"นอกจากนี้พอลูกเข้าโรงเรียน ก็มีเช็คส่งมาให้ในชื่อภรรยาผม ซึ่งเป็นค่าเลี้ยงดูลูกจากรัฐบาล ที่ต้องให้กับภรรยาเพราะเขาบอกว่ามีการวิจัยมาแล้วว่าให้เงินกับแม่จะส่งผลดีกว่าให้เงินกับพ่อ" เดชรัตกล่าว

ตัวชี้วัดคือความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของรุ่นพ่อแม่กับรุ่นลูก ยิ่งสัมพันธ์น้อยยิ่งเท่าเทียม

เดชรัตชี้ว่า ที่เดนมาร์กมีตัวชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจคือ การพิจารณารายได้ของคนรุ่นลูกว่าสัมพันธ์หรือถูกกำหนดโดยรายได้ของคนรุ่นพ่อแม่แค่ไหน หรือที่เรียกว่า Intergenerational Income Elasticity ซึ่งยิ่งตัวเลขเข้าใกล้ศูนย์นั้นยิ่งหมายความว่ารายได้ของคนรุ่นลูกไม่สัมพันธ์กับคนรุ่นพ่อแม่ ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะพยายามให้ตัวเลขนี้เข้าใกล้ศูนย์ให้มากที่สุด ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียถือว่ามีตัวเลขนี้ต่ำที่สุดในโลก โดยเดนมาร์กอยู่ที่ 0.11 เพราะฉะนั้นเวลาที่เขาทำเรื่องการศึกษาที่เท่าเทียม เขาไม่ได้แค่คิดแต่เขาพยายามจะวัดมันด้วย

"ประเทศไทยยังไม่มีตัวชี้วัดนี้ แต่เราจะสามารถคิดแบบนี้ได้ไหมว่า เราจะไม่เอารายได้ของเราไปช่วยลูกเรา ลูกเรากับเพื่อนในวัยเดียวกันต้องเติบโตอย่างเท่ากัน บางทีเราไม่ได้คิด เพราะเรารู้สึกว่าในฐานะคนเป็นพ่อเราต้องเอาเงินของเราดูแลลูกเราให้เต็มที่ที่สุด อันนี้คือความเต็มที่ในความเป็นพ่อ มันไม่ผิดอะไร ในไทยเรามีห้อง Gifted หรือ EP ซึ่งเป็นห้องรวมเด็กเก่ง และบวกกับค่าใช้จ่ายเดือนละหมื่น หรือถึงห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนในโรงเรียนดังๆ" 

"ถ้าเราพ้นจากความเป็นพ่อเป็นแม่ มาพูดถึงสังคมที่เราหวังในภาพรวม เราอยากให้ทุกคนใช้เงินที่เรามีมาทำให้ความเหลื่อมล้ำในรุ่นลูกยังมีต่อไปรึเปล่า แต่แน่นอนว่าคนไทยยังไม่เคยคิดถึงขนาดนั้น ก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้ผิดอะไรมาก แต่เดนมาร์กเขาคิดถึงขั้นนั้นได้ เขาคิดว่าสังคมของเขาจะเป็นสังคมที่ทุกคนเติบโตได้โดยไม่ได้พึ่งเงินของพ่อแม่ แล้วลองคิดดูว่าสังคมที่ทุกคนไม่พึ่งเงินของพ่อแม่ กับสังคมที่เงินของพ่อแม่กำหนดเงินของลูก สังคมไหนจะมีคนที่ขวนขวาย มีความหวังในชีวิต มีประสิทธิภาพมากกว่ากัน" เดชรัตกล่าว

อุปสรรคเมื่อพยายามปรับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์มาใช้กับประเทศไทย

เดชรัตกล่าวว่า สิ่งที่สังเกตเห็นในเด็กยุคใหม่ซึ่งแตกต่างจากยุคของตนนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ 1. เขาชอบอะไรที่น่าสนใจ อย่างในยุคตนเวลาเข้าห้องเรียนก็จะไม่มีคำถามว่ามันน่าสนใจไหม 2. ไม่ชอบการบอกวิธีการก่อน เขาอยากจะลองค้นเองก่อน 3. เขาอยากทดลองหารูปแบบใหม่ๆ 4. เขาสนใจฟีดแบ๊กของ user หรือคนที่เป็นผู้ใช้งานหรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้โซเชียลมีเดียของเขา

แต่อุปสรรคคือ รูปแบบการศึกษาแบบ Exp Learning เมื่อมาใช้ในไทยกับห้องเรียนที่มีนักศึกษา 300 คนนั้นยังเป็นไปได้อยาก กลายเป็นการศึกษาแบบ Download Learning ครูก็สอนนักศึกษาก็ฟัง อุปสรรคอีกอย่างคือเวลา บางกิจกรรมอาจจะใช้เวลาคิดไม่นาน แต่บางกิจกรรมต้องนั่งคุยกันเป็นวัน แต่เวลาของเรามีแค่ 1 ชั่วโมงครึ่ง หรือลักษณะห้องเรียนที่เดินไปหานักเรียนยาก อาจจะเป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ต้องจัดการ

เดชรัตตั้งข้อสังเกตอีกอย่างว่า จากการศึกษาของเดนมาร์กคือ ไม่มีแนวคิดว่าลูกเราจะสู้ลูกคนอื่นได้ไหม และผู้ปกครองไม่ได้เลือกโรงเรียนเอง ซึ่งแปลว่าโรงเรียนทุกโรงเรียนต้องมีคุณภาพเหมือนกัน ในขณะที่คนไทยคิดว่าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเหมือนกับเป็นรางวัลแห่งชีวิต ถ้าคุณเก่งคุณก็จะได้เข้าโรงเรียนเหล่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าทำให้ทุกโรงเรียนเท่ากัน ก็อาจจะมีคนรู้สึกว่าโดนขโมยรางวัลนี้ไป

"ตราบใดที่ใจของเรายังคิดว่ายังมีชั้นอยู่ คนที่เก่งควรจะได้รางวัลนั้น เราก็มีโรงเรียนแบบนั้นไม่ได้ ลึกที่สุดเรายังรู้สึกว่าการศึกษามันเป็นเรื่องการให้อภิสิทธิ์แก่ผู้ที่คู่ควร และเรายังนำเงินของเราไปเติมให้ลูก ไม่ให้เด็กเติบโตอย่างเท่าเทียม มันจึงเป็นคำถามว่าเราพร้อมไหมที่จะให้ลูกเราไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ ให้เขามีเท่าเทียมกับคนอื่นปัจจุบันงบต่อหัวของเด็กนักเรียนในไทยได้เท่ากัน แต่งบส่วนอื่นก็จะเทไปที่โรงเรียนที่ดัง ในขณะที่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียเขามีหัวใจเรื่องการศึกษาเป็นเครื่องมือให้เกิดความเท่าเทียม ให้ทุกคนได้ยืนหยัดอย่างภาคภูมิ" เดชรัตกล่าว

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เดชรัตเล่าถึงลูกชายคนเล็กที่ออกมาเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า สำหรับตนแล้วจะมีการประเมินลูกชาย 4 ประการคือ 1. เป็นผู้ประกอบการ สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเน้นเรื่องความรับผิดชอบ 2. มีเครือข่ายใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ 3. มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 4. ต้องทำอะไรที่เป็นตัวเอง และไม่ใช่ตัวเองด้วย

เดชรัตขยายความเรื่องการทำอะไรที่เป็นตัวเอง และที่ไม่ใช่ตัวเองว่า "สมมติฐานของผมคือ ปัจจุบันคนเราเชื่อเรื่องการเป็นตัวเราเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งเมื่อเราเชื่อเรื่องการเป็นตัวเอง เวลาเราหลุดจากการเป็นตัวเอง มันเหมือนจากสุขเป็นทุกข์ ทั้งที่ความจริงแล้วเราไม่อาจเป็นตัวเราเองได้ตลอดร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันการเป็นตัวเราเองมันก็ไม่ใช่การเลือกที่สมบูรณ์แบบ เราอาจเลือกเป็นตัวของตัวเองภายใต้ประสบการณ์ที่เราเจอมา แต่ถ้าเราไปเจออย่างอื่นเราก็อาจจะเปลี่ยนได้ "

"คนรุ่นเรามักจะถามกันว่า "จะเป็นอะไรในอนาคต" แต่คนรุ่นใหม่เขาจะถามกันว่า "จะทำอะไร" ซึ่งเราในฐานะพ่อแม่ก็ต้องช่วยดูว่าลูกเราทำอะไรได้บ้าง และจะทำอะไรได้อีก แต่อย่างเราอยู่ในไทย เราก็รู้ว่าเรื่องวิชาพื้นฐานเราก็ต้องเตรียมไว้ด้วย เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ อย่าไปกังวลว่าเราต้องรู้ทุกเรื่อง ขอแค่เราอยากรู้และมีคำถามในทุกเรื่องก็พอแล้ว"

"เราไม่รู้ว่าโลกในอีก 10-20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร โลกในการทำงานช่วงเวลานั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นเราอย่าเอาประสบการณ์ที่เรามีไปตัดสินใจ เราทำได้แค่เป็นคนเติมประสบการณ์ของเขา แล้วเขาจะนำประสบการณ์เยอะแยะเหล่านั้นไปเลือกเอง" เดชรัตกล่าว

วิธีการประเมินผลด้วยบอร์ดเกม

แดนไท สุขกำเนิดเล่าประสบการณ์การออกมาเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า วิธีการประเมินผลแบบที่ตนชอบคือการออกแบบบอร์ดเกม โดยจะนำเอาความรู้แต่ละเรื่องที่ได้เรียนมาออกแบบบอร์ดเกม ทดลองเล่น ตัวเนื้อหาที่ได้เรียนเมื่อนำมาทำเป็นบอร์ดเกมเราก็จะยิ่งเห็นเนื้อหานั้นๆ ได้ชัดมากขึ้น และเมื่อนำมาเล่นกับคนอื่นก็จะเป็นการได้รับฟีดแบ๊กจากตัวผู้เล่นด้วยว่าเขาเข้าใจเนื้อหาที่เราจะสื่อไปหรือไม่ เราเข้าใจแล้วจะทำให้คนอื่นเข้าใจด้วยได้หรือเปล่า ข้อดีอีกอย่างของบอร์ดเกมคือผลของมันเป็นความจริงเสมอ เมื่อมันสนุกมันก็จะสนุกจริงๆ เราไม่สามารถไปบังคับให้มันสนุกหรือไม่สนุกได้ และผู้เล่นก็จะบอกเราจริงๆ ว่ามันสนุกไหม เข้าใจไหม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะกรรมการกัญชาทางการแพทย์เผย ต้องใช้ของกลางวิจัยไปก่อน รอปลดล็อคกฎหมาย

Posted: 10 May 2018 05:54 AM PDT

คณะกรรมพิจารณาการนำกัญชามาประโยชน์ทางการแพทย์เผย ตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ดูแลเรื่องการปลูก ปรับปรุงสายพันธ์ วิจัย คุมการรั่วไหล และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ตอนนี้ต้องใช้ของกลางวิจัยไปก่อน รอปลดล็อคกัญชา

10 พ.ค. 2561 NEWTV18 รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) คณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งมีนพ.โสภณ เมฆธน เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์นัดแรก โดยหารือร่วมกันนานกว่า 3 ชั่วโมง 

นพ.โสภณ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้นโยบายว่าประเทศไทยต้องมีการปรับเปลี่ยน อะไรที่เป็นประโยชน์ต้องถูกนำมาใช้ ซึ่งกัญชามีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้นต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาศึกษาวิจัยตั้งแต่การปลูก การพัฒนาสายพันธุ์ ภายใต้ระบบการควบคุมที่ดี

โดยการประชุมวันนี้ได้มีการตั้งคณะทำงาน 4 ชุด คือ 1.ให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดูแลเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ โดยเตรียมเตรียมใช้พื้นที่ อภ. ปลูกและทดลองสายพันธุ์ ตั้งเป้าผลิตกัญชา 500 กก.ต่อปี แต่ช่วงแรกกฎหมายยังไม่อนุญาตปลูกจะขอใช้กัญชาของกลางที่จับกุมได้ก่อน 2.การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จะมีกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือก รวมทั้ง นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันดำเนินงาน โดยจะนำไปวิจัยในคน 500 คน 3.เรื่องการควบคุมไม่ให้เกิดการรั่วไหลไปใช้ในทางที่ผิดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางจะมี อย.ร่วมกับ ป.ป.ส. ดูแล และ 4.เรื่องผลิตภัณฑ์จากกัญชาจะมี อย.เป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ปัจจุบันมีการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลายโรค อาทิ พาร์กินสัน ลดการเจ็บปวดจากโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องดูต่อว่าจะมีส่วนในการช่วยดูเลโรคมะเร็งอื่นๆ โรคอัลไซเมอร์ และออทิสติก หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักการเมืองหญิงยังถูกกลั่นแกล้ง-คุกคาม ในการเลือกตั้งท้องถิ่นศรีลังกา

Posted: 10 May 2018 03:49 AM PDT

ถึงแม้การเลือกตั้งท้องถิ่นศรีลังกาจะจบสิ้นไป 2-3 เดือนแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องที่น่ากล่าวถึงคือกรณีการข่มขู่คุกคามนักการเมืองหญิงที่ลงสมัครเลือกตั้งที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการแข่งขันและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเมือง นักข่าวศรีลังกาจากสื่อพลเมืองกราวน์วิวส์ อมาลินี เดอ เซย์ราห์ และ ไรซา วิกเกรมาทังก์ รวบรวมรายงานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ไว้

ถึงแม้ว่าในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อเดือน ก.พ. 2561 ศรีลังกาจะแสดงให้เห็นความก้าวหน้ามากขึ้นบ้างในประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศจากการที่กำหนดโควตาผู้แทนฯ ที่เป็นผู้หญิงร้อยละ 25 ในสภาท้องถิ่น แต่การเมืองศรีลังกาก็ยังคงมีการข่มขู่คุกคาม การข่มเหงรังแก การเหยียด ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงต่อตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งที่เป็นผู้หญิง

ในการกำหนดโควตานักการเมืองหญิงในการเลือกตั้งท้องถิ่นของศรีลังกา ทำให้หลายกลุ่มแสดงความยินดีโดยเฉพาะกลุ่มด้านสิทธิสตรี แต่ทว่าศูนย์เพื่อการเฝ้าระวังความรุนแรงช่วงเลือกตั้งของศรีลังกาก็ตรวจพบว่าเกิดกรณีการคุกคามรังแกตัวแทนหญิงและแม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงต่อพวกเธอ เช่น การใช้ก้อนหินขว้างปาบ้านของพวกเธอ ผู้สมัครหญิงคนหนึ่งต้องเข้าโรงพยาบาลหลังถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้สนับสนุนเธอเอง มีกรณีกลุ่มคนที่สนับสนุนคู่แข่งไปล้อมบ้านผู้สมัครหญิงรายหนึ่งจนเธอเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของตัวเองและลูกสาวจนต้องถอนตัวจากการเลือกตั้ง หรือแม้กระทั่งการกลั่นแกล้งด้วยวิธีการอ้างกฎหมายอย่างการยื่นคำร้องในเรื่องเท็จต่อตำรวจเพื่อกล่าวหาผู้สมัครหญิง

กลุ่มสังเกตการณ์การเลือกตั้งระบุว่าคนที่ก่อเหตุเหล่านี้จำนวนหนึ่งถูกบงการโดยผู้สมัครชาย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักบวชทางศาสนาที่รณรงค์ต่อต้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง ความรุนแรงเหล่านี้ถูกประณามโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่าเป็นการทำลายความสำคัญของการมีตัวแทนผู้หญิงในการเมือง

ถึงแม้ว่าการข่มขู่คุกคามทางกายภาพและทางทรัพย์สินจะถูกบันทึกไว้อย่างครอบคลุมหลายกรณี แต่ก็ยังมีความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งที่ยังคงมีคนพูดถึงน้อยคือความรุนแรงการสื่อสารทางเทคโนโลยีทั้งโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงการโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปข่มขู่ โดยที่สมาคมเพื่อการสื่อสารอย่างก้าวหน้าเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า "ความรุนแรงต่อผู้หญิงโดยเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี" ซึ่งบางครั้งความรุนแรงจากโลกออนไลน์ก็ส่งผลกระทบมาถึงโลกภายนอกด้วยไม่ว่าจะเป็นอันตรายต่อสภาพจิตใจของผู้คนหรือกระทั่งความรุนแรงทางกายภาพ

ในรายงานของอมาลินี เดอ เซย์ราห์ และ ไรซา วิกเกรมาทังก์ ที่นำเสนอในสื่อพลเมืองกราวน์วิวส์ยังได้พูดคุยกับผู้ลงสมัคร ส.ส.ท้องถิ่นหญิงหลายคนซึ่งถูกถึงการถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ

เจกาธีสวารัม จยาจันดริกา หรือที่รู้จักในนาม "มีนา" ผู้ลงสมัครสังกัดพรรคยูเอ็นพีเล่าเรื่องที่ถูกคุมคามจากการที่ผู้คนขว้างปาก้อนหินใส่ รวมถึงกล่าวแสดงความไม่พอใจที่ตำรวจไม่ยอมสืบสวนกรณีที่เธอถูกคุกคาม นอกจากนี้ยังมีการรังแกผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยการตัดต่อรูปเธอเข้าไปอยู่กลางกลุ่มผู้ชายแล้ววงรูปหน้าเธอด้วยวงกลมสีแดงพร้อมข้อความที่ระบุว่า "เธอเป็นเมียน้อยรัฐมนตรีคนอื่นสักคนหนึ่งในรูปนี้"

การข่มเหงรังแกด้วยการตัดต่อรูปมีนาทำให้ผู้หญิงที่อาสาสมัครรณรงค์หาเสียงให้เธอเลิกเข้าร่วมเพราะกลัวว่าจะกลายเป็นเป้าหมายไปด้วย หลังจากที่ถูกคุกคามมีนาก็ส่งจดหมายร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้เธอเล็งเห็นว่ายังคงมีการเลือกปฏิบัติทางเพศในการเมืองศรีลังกา

ทางด้านโรซี เซนานายาเก นายกเทศมนตรีหญิงคนแรกของเมืองโคลอมโบบอกว่าปัญหาการคุกคามผู้หญิงในตอนนี้มักจะเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ไม่ว่าจะกับคนในช่วงอายุใดก็ตาม บางครั้งก็เป็นการสื่อสารแบบแพร่จากกลุ่มเฟสบุ๊คไปสู่โปรแกรมแช็ตต่างๆ สิ่งที่เธอพบเจอมาคือการแสดงความคิดเห็นลดทอนคุณค่าของผู้หญิงว่าไม่ควรค่าพอกับการเป็นนักการเมือง ถูกกล่าวหาในเรื่องที่เธอไม่มีอำนาจควบคุม ทั้งนี้ เซนานายากาก็บอกว่าพื้นที่ออนไลน์ทำให้เธอได้รับเสียงสนับสนุนเช่นเดียวกัน การรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตจึงมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง

เจวานี กริยาวาซัม สมาชิกสภาเมืองชิลอว์และทนายความมองเรื่องเกี่ยวกับโลกออนไลน์แบบเดียวกับเซนานายาเกคือมันมีส่วนช่วยให้การรณรงค์กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้มีกลุ่มคนที่ปกปิดชื่อตัวเองคุกคามทั้งในอินเทอร์เน็ตและแผ่ขยายออกมาคุกคามในโลกความจริงด้วย การคุกคามเหล่านี้ยังส่งผลกระทบมาถึงครอบครัวเธอ เช่นเคยมีคนโทรขู่ฆ่าเธอ ขู่ไม่ให้เธออกจากบ้านแล้วแม่เธอเป็นคนรับสาย รวมถึงถูกขู่ไม่ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทางการ

นอกจากนี้ตอนที่กริยาวาซัมวิพากษ์วิจารณ์ กนาสรา เธโร และอัมพิติยา สุมานา เธโร ผู้นำกลุ่มพุทธหัวรุนแรงโบดู บาลา เซนา ผ่านทางเฟสบุ๊คก็มีคนโต้ตอบเธออย่างหนัก กริยาวาซัมวิจารณ์ที่กลุ่มพุทธกลุ่มนี้สนับสนุนความรุนแรงต่อกลุ่มน้อยศาสนาอื่นโดยเฉพาะมุสลิม

แม้แต่ผู้หญิงที่ไม่ได้อยากลงเล่นการเมืองเอง แต่เป็นนักสตรีนิยมที่อยากส่งเสริมผู้หญิงในพื้นที่การเมืองอย่าง บิสลิยา บุตโต ก็ถูกคุกคามหลังจากที่มีคนเสนอรายชื่อเธอเข้าชิงตำแหน่งในการเลือกตั้ง บุตโตเล่าว่าไม่ใช่แค่คนทั่วไปเท่านั้นที่ทำการข่มเหงรังแกผู้สมัครหญิง แม้แต่ตำรวจก็มีส่วนคุกคามผู้สมัครหญิงด้วยในกรณีที่เธอเผชิญคือการที่ตำรวจบุกเข้ามาในบ้านยามวิกาล พวกเธอถูกกล่าวหาในเรื่องทางการเงินที่ไม่เป็นความจริงและถูกกล่าวหาเรื่องมีอาวุธในครอบครอง

นอกจากกลุ่มศาสนาพุทธจะพยายามกีดกันผู้หญิงจากพื้นที่การเมืองในศรีลังกาแล้ว บุตโตเล่าว่าแม้แต่ศาสนาอิสลามเองก็มีครูสอนศาสนาเผยแพร่บทเทศนาต่อต้านการที่ผู้หญิงเข้าไปเป็นนักการเมืองโดยกล่าวหาว่าผู้หญิงที่ลงสมัครเลือกตั้ง "ไม่ใช่หญิงมุสลิมที่แท้จริง" เมื่อวิดีโอเผยแพร่ออกไปก็ส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนทางการเมืองที่พวกเธอได้รับ มีกลุ่มสิทธิสตรีกลายกลุ่มที่ส่งจดหมายร้องเรียนเรื่องนี้ไปให้กับหัวหน้าสารวัตรตำรวจได้รับทราบแต่ก็ยังมีความกังวลว่ากระบวนการยุติธรรมในศรีลังกาจะให้ความเป็นธรรมกับผู้หญิงได้จริงหรือไม่

 

เรียบเรียงจาก

An Uneven Playing Field, Groundviews, 04-05-2018

 

An uneven playing field for female candidates in Sri Lanka, Global Voices, 09-05-2018

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก 25 ปี ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ - ยื่น 13 ข้อเสนอ รมว.แรงงาน ดันความปลอดภัยในการทำงาน

Posted: 10 May 2018 03:32 AM PDT

'สมานฉันท์แรงงาน-สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ' ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลและ รมว.แรงงาน เพื่อเร่งรัดในการปฏิรูปเรื่องความปลอดภัยอย่างจริงจังภายใต้การมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายของผู้ใช้แรงงาน

10 พ.ค.2561 เนื่องในวาระครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารโรงงานผลิตตุ๊กตาบริษัทเคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2536 จนมีคนงานเสียชีวิต 188 คน บาดเจ็บอีก 469 คน ก่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน จนถูกตั้งเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 

voicelabour.org ข่าวแรงงาน รายงานว่า ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่างๆได้จัดงานรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีการใส่บาตรทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่คนงานเคเดอร์ที่ต้องเสียชีวิต และร่วมวางดอกไม้หน้าอนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยของคนงาน ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการที่เกี่ยวข้องด้านในพิพิธภัณฑ์ฯ 

จากนั้นทั้งหมดได้เดินทางไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดย คสรท. และ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ  มีข้อเสนอต่อรัฐบาลและ รมว.แรงงาน เพื่อเร่งรัดในการปฏิรูปเรื่องความปลอดภัยอย่างจริงจังภายใต้การมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายของผู้ใช้แรงงานดังต่อไปนี้

1. ขอให้ผู้เจ็บป่วยสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เจ็บป่วย /บาดเจ็บจากการงาน จนกว่าแพทย์จะสิ้นสุดการรักษา / ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีประกาศปี 2558 ให้เบิกได้ถึง 2 ล้าน แต่เข้าถึงสิทธิได้ยาก

2. ให้รัฐออกนโยบาย แนวปฏิบัติ หรือกฎกระทรวงให้ชัดเจน ห้ามไม่ให้สถานประกอบการเบี่ยงเบนให้คนงานที่บาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงานไปใช้สิทธิอื่น เช่น ประกันสุขภาพหมู่ หรือ รักษาเอกชนโดยไม่ระบุว่าเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มีบทลงโทษกรณีสถานประกอบการไม่ส่งเรื่องแจ้งคนงาน บาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงาน เข้ากองทุนเงินทดแทน

3. การประเมินการสูญเสียสิ้นสุดการรักษาต้องให้คนงานรักษาให้ถึงที่สุดจนหายดี และเงินประเมิน ต้องทดแทนให้คนงานที่สูญเสียอวัยวะ อยู่ได้อย่างไม่ลำบาก ตลอดชีพ

4. ขอให้คณะกรรมสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)หรือผู้แทนเข้าไปมีส่วนร่วมใน คณะกรรมการแพทย์ หรือ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน

5. ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างจิตสำนึก ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยเนื่องใน "วันความปลอดภัยแห่งชาติ" ทุกปี เฉกเช่นเดียวกับวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจัดสรรให้แก่องค์กรของคนงานที่มีการทำงานและผลงานอย่างต่อเนื่อง

6. ให้ คสรท. หรือผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการ(บอร์ด)สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ อย่างน้อย 1 คนในฐานะองค์กรผลักดัน

7. ขอให้รัฐยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ

8. ขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ พร้อมทั้งบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือให้แก่ "สถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน" และบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีคุณธรรม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม มีความโปร่งใส มีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ มีความรับผิดชอบในภารกิจเข้มงวด ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ทั้งในเรื่อง การให้ความรู้ การป้องกัน การรักษา การเยียวยาและการฟื้นฟู เพื่อให้คนที่ประสบเหตุสามารถดำเนินชีวิตในสังคมต่อไปได้ รวมทั้งการบริหารการจัดการ ขอให้ คสรท. หรือผู้แทนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารและการตัดสินใจ

9. การตรวจสุขภาพประจำปีให้มีการตรวจแบบอาชีวเวชศาสตร์และต้องตรวจทุกคน แจ้งผลให้คนงานทราบ โดยมีสมุดพกประจำตัวการตรวจสุขภาพให้ลูกจ้างทุกคน

10. ให้รัฐตรวจสอบสถานประกอบการทุกแห่ง ให้มีนโยบายปลอดภัย และมีคนปฎิบัติงานด้านความปลอดภัยอย่างจริงจังและมีส่วนร่วมจากคนงานในสถานประกอบการนั้น โดยให้คณะกรรมการความปลอดภัยมาจากองค์กรของลูกจ้างหากสถานประกอบการใดไม่มีให้คนงานเลือกตั้งกันเอง

11. ขอให้รัฐเร่งออกกฏหมายโรคจากการประกอบอาชีพ

12. ขอให้รัฐจัดให้มีคลินิกวินิจฉัย รักษาโรคจากการทำงาน ทุกพื้นที่อุตสาหกรรม ที่มีระดับมาตรฐานเท่าเทียมกัน สามารถวินิจฉัยโรคได้ ที่สำคัญเมื่อวินิจฉัยคนงานว่าเจ็บป่วย / บาดเจ็บจากการทำงานแล้ว คณะกรรมการแพทย์ต้องยึดเป็นเกณฑ์ในการให้สิทธิกองทุนเงินทดแทน

13. ขอให้มีแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมประจำทุกโรงพยาบาล หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบและกลไกรวมทั้งการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดั่งที่รัฐบาลประกาศนโยบาย "Safety Thailand"ให้เป็นวาระแห่งชาติข้อเสนอทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้นโยบายดังกล่าวไปสู่เป้าหมายเรื่องความปลอดภัยของคนทำงาน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ป.ป.ช. รับปมนาฬิกาอาจใช้เวลาอีก 2-3 เดือน

Posted: 10 May 2018 03:06 AM PDT

ป.ป.ช. แจงปมนาฬิกาอาจใช้เวลาอีก 2-3 เดือน ปัดเลือกปฏิบัติคดีวัฒนา - คดีสลายแดง กำลังพิจารณามีข้อมูลใหม่หรือไม่ เผยกำลังรวมหลักฐานเพิ่มคดีเมียเนวินใช้งบรัฐขนคนไปเชียร์บอล 

แฟ้มภาพ

10 พ.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่า วรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบการเป็นเจ้าของนาฬิกาที่แท้จริง คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากนาฬิกาแต่ละเรือนมีหมายเลขกำกับ โดยเป็นการตรวจสอบกับตัวแทนจำหน่าย แต่อาจต้องใช้เวลาบ้างเนื่องมีนาฬิกากว่า 20 เรือน

"ส่วนการสอบพยานบุคคลบุคคลโดยเฉพาะทายาทเจ้าของนาฬิกาได้สอบสวนครบถ้วนแล้ว แต่จะสอบเพิ่มหรือไม่ต้องรอผลการชี้แจงของตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาอีกครั้งหนึ่งว่าจะต้องสอบสวนผู้ใดเพิ่มหรือไม่ ยืนยันว่าการดำเนินการไม่ได้ชะงัก แต่ต้องรอพยานหลักฐานจึงจะดำเนินการต่อได้ แต่ยอมรับว่าอาจเสร็จไม่ทันภายในเดือนพฤษภาคมนี้  โดยอาจใช้เวลาอีก 2-3 เดือน" เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าว 

ส่วนความคืบหน้าเรื่องเงินทอนวัดที่กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ(ป.ป.ท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งมาให้ตรวจสอบ วรวิทย์ กล่าวว่า อยู่ระหว่าการแสวงหาข้อเสร็จจริง โดยเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบสำนวน เอกสาร หลักฐาน แต่ไม่ระบุชัดว่าการส่งข้อมูลล่าสุด มีพระผู้ใหญ่เกี่ยวข้องการการทุจริตเงินทอนวัดเพิ่มขึ้นหรือไม่ จากเดิมที่ส่งมามีจำนวน 7 รูป  

ปัดเลือกปฏิบัติคดีวัฒนา - คดีสลายแดง กำลังพิจารณามีข้อมูลใหม่หรือไม่

วรวิทย์ กล่าวถึงการดำเนินคดีกับ วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ที่ล่าสุดอัยการสั่งฟ้องคดีบ้านเอื้ออาทรแม้จะผ่านมา 12 ปีแล้ว ว่า ไม่ได้เป็นการเลือกปฎิบัติ ส่วนเรื่องการตรวจสอบเรื่องจริยธรรม ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง 

สำหรับคดีสลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อปี 2553  ที่มีการ้องขอให้ป.ป.ช.พิจารณาคดีใหม่นั้น วรวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาว่ามีข้อมูลหรือหลักฐานใหม่หรือไม่ อยู่ในข่ายที่ ป.ป.ช.จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้เจ้าหน้าที่จะสามารถเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการป.ป.ช.พิจาณรณาได้  ส่วนการที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ขอดูสำนวนหลังจากป.ป.ช. ยกคำร้อง ว่าอยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่พิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขระเบียบของ ป.ป.ช.หรือไม่     

วรวิทย์ เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้  (11 พ.ค.) สำนักงาน ป.ป.ช.จะเปิดบัญชีทรัย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งจะมีบัญชีของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังพ้นตำแหน่งสนช. ว่า ทางป.ป.ช.ต้องตรวจดูเรื่องหนี้ 300 ล้านบาทว่าได้แสดงอยู่ในบัญชีทรัพย์สินหรือไม่ ซึ่งหากพล.ต.อ.สมยศใช้หนี้ไปแล้วจะต้องปรากฎในส่วนของทรัพย์สินที่ลดลงไป ป.ป.ช.อาจไปดูย้อนหลังว่าได้นำเงินส่วนไหนไปชำระ หรือหากหนี้ยังอยู่ก็ต้องแจ้งในรายการทรัพย์สินและหนี้สินว่ามีหนี้ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากตัวเลขในบัญชีทรัพย์สินไม่สัมพันธ์กันป.ป.ช.ต้องตรวจสอบ

กำลังรวมหลักฐานเพิ่มคดีเมียเนวินใช้งบรัฐขนคนไปเชียร์บอล 

คดีกล่าวหา กรุณา ชิดชอบ นายก อบจ.บุรีรัมย์ ภรรยาเนวิน ชิดชอบ อดีตนักการเมืองชื่อดัง และเจ้าของทีมบุรีรัมย์ยูไนเต็ด กับพวก เบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้สมาคมกีฬา จ.บุรีรัมย์ จำนวน 20 ล้านบาท ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายให้ประชาชนร่วมชมและเชียร์ฟุตบอลทีมบุรีรัมย์ยูไนเต็ดนั้น เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าว ว่า เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการไต่สวนฯได้สรุปและเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่ายังมีประเด็นที่จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม จึงให้คณะอนุกรรมการไปดำเนินการ ซึ่งก็คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบไม่นาน

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย  และ มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส่องแผนปฏิรูปสื่อฯ พบเตรียมออก พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมสื่อฯ ภายในปี 2561

Posted: 10 May 2018 02:43 AM PDT

แผนปฎิรูปสื่อมวลชนเตรียมดันกฎหมายคุมสื่อฯ ภายในปี 2561 ตั้ง 9 กรรมการสภาวิชาชีพฯ กำหนดมาตรฐานจริยธรรมสื่อ กำกับดูแลสื่อที่ไม่ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพใด พร้อมเพิ่มมาตรการเอาผิดสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ที่เผยแพร่เนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและสถาบันหลักของประเทศ

สำหรับแผนการการปฏิรูปประเทศ 11 ด้านซึ่งลงหลักปักฐานประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2561 เป็นต้นมา สื่อมวลชนคือ อีกเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาล คสช. เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูป

การปฏิรูปหลักๆ ที่มีการวางแผนไว้โดย คณะกรรมการปฎิรูปประเทศ ด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมี จิรชัย มูลทองโร่ย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาล คสช.  มีทั้งหมด 6 เรื่อง ประกอบด้วย การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน , การวางแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ , การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ , การปฏิรูปแนวทางการกeกับดูแลสื่อออนไลน์ , การปฏิรูปการบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์/ กิจการอวกาศ และระบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารมวลชนและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ และการปฏิรูประบบการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ

รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการ

อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล คสช.

2.นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ กรรมการ

อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ , ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงประจําสํานักนายกรัฐมนตรี

3.พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร กรรมการ

อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด , ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สปท.

4. นายธงชัย ณ นคร กรรมการ

บรรณาธิการข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

5.ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กรรมการ

ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 

6.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด กรรมการ

ผู้บริหารสื่อเครือเดลินิวส์

7.ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์ กรรมการ

อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันการบินพลเรือน , สภาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ

8.นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กรรมการ

รองประธานกรรมการ บมจ.มติชน

9.นายเสรี วงษ์มณฑา กรรมการ

อดีตคณบดีคณะวารศาสตร์ศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , แกนนำกปปส. เวทีราชประสงค์

10.นายสุทธิชัย หยุ่น กรรมการ

อดีตประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

11.ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ กรรมการและเลขานุการ

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รายชื่อเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.นายเสรี วงษ์มณฑา ผู้ช่วยเลขานุการ

 

.

2.นางสาวกุลทิพย์ ศาสตระรุจจิ ผู้ช่วยเลขานุการ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คระนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

 

ในส่วนของการวางแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ ได้วางเป้าหมายไว้ทั้งหมด 4 เรื่อง คือส่งเสริมให้เกิดสภาผู้ประกอบการและนักวิชาการด้านสื่อมวลชนระดับชาติในการทำหน้าที่กำหับดูแลกันเองของผู้ประกอบการ และผู้ประกอบวิชาชีพ , สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพของนักการสื่อสารมวลชน , สนับสนุนให้เกิดระบบผู้ตรวจการ (ombudsman) เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ และกำกับ มาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรมวิชาชีพ ทั้งในระดับองค์กร ในระดับกลุ่มวิชาชีพ และในสภาระดับชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และ สนับสนุนให้เกิดคู่มือมาตรฐานกลางทางด้านจริยธรรมของวิชาชีพสื่อ

ดัน ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวล เป็นกฎหมายภายในปี 2561

โดยภายในปี 2561 ได้กำหนดแผนการดำเนินการเอาไว้วาง ในช่วง 2 ไตรมาสแรก ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวล พ.ศ. .... ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา , ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ , ผู้ ประกอบกิจการสื่อ , ตัวแทนภาควาการด้านนิเทศศาสตร์ และการสื่อสารมวลชน และตัวแทนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน สื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

ต่อมาในไตรมาสที่ 3 ช่วงเดือน มิ.ย.- ส.ค. จะมีการนำเสนอร่างกฎหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ตรวจ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ จากนั้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 จะมีการนำเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติ (สนช.) เพื่อพิจารณา ในและปี 2562 หลักจากที่กฎหมายมีผลบังคับจะให้สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีเป็นฝ่ายธุรการชั่วคราวเพื่อเริ่มการสรรหากรรมการบริหาร และจัดตั้งสำนักงานสภาวิชาชีพสื่อ

ในส่วนของสาระสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้มีการกำหนดโครงร่างไว้ว่า จะเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้น มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนวิชาชีพใน ประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยังคงรักษาหลักการ "กำกับดูแลกันเอง" ของสื่อมวลชนโดยองค์กรวิชาชีพ แต่ให้มีองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมาทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อที่ไม่ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพใด

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มมาตรการในการกำกับดูแลกันเองให้เข้มข้นขึ้น โดยให้องค์กรสื่อมวลชน ทุกแขนงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนด้านจริยธรรมภายในองค์กร (Media Ombudsman) ไม่ว่าองค์กรสื่อมวลชนนั้น จะถูกกำกับดูแลโดยตรงจากองค์กรวิชาสื่อที่จัดตั้ง ขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ยังให้เพิ่มมาตรการลงโทษองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่ปฏิบัติ ตามมติขององค์กรวิชาชีพที่สังกัด หรือองค์กรวิชาชีพสื่อที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้วแต่กรณี

ให้มีมาตรการส่งเสริมจริยธรรมและทักษะวิชาชีพผ่านการฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยให้ สภาวิชาชีพที่จะตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ ให้แก่องค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมในระดับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมและความตื่นตัวของภาคประชาชนในการกำกับดูแลสื่อมวลชน ผ่านการอบรม เรียนรู้เพื่อให้เท่าทันสื่อ

จัดให้มีกลไกในการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ปฏิบัติตาม กรอบจริยธรรมวิชาชีพจากการถูกแทรกแซงโดยรัฐและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

9 กรรมการสภาวิชาชีพ กำหนดมาตรฐานกลางจริยธรรมสื่อฯ พร้อมให้อำนาจลงโทษผู้ฝ่าฝืน

ทั้งนี้ในร่างกฎหมายจะกำหนดให้มี คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการซึ่งสมาชิกคัดเลือกกันเองจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน รวม 5 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสรรหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละ 1 คนจำนวนทั้งสิ้น 9 คน

โดยมีอำนาจหน้าที่ในการ กำาหนดมาตรฐานกลางของจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับ, ส่งเสริมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน, ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการกำกับดูแลกันเองขององค์กรสื่อมวลชนและองค์การวิชาชีพ สื่อมวลชนในระดับชาติ ภูมิภาค , พิจารณาเรื่องร้องเรียน ในกรณีมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หรือกรณีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนละเมิดจริยธรรมผ่านองค์กรสื่อมวลชนที่สังกัด , พิจารณา ตักเตือน ปรับ หรือแก้ไขข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อเสนอแนะขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน หรือดำเนินการโดยตรงแล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการร้องเรียนว่าองค์กรสื่อมวลชน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด เผยแพร่คำวินิจฉัย เรื่องร้องเรียนต่อสาธารณชน ตลอดจนการกำหนดโทษปรับทางปกครอง และการส่งคำวินิจฉัย ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ให้ กสทช. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย กสทช. และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง เพื่อลงโทษผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อมวลชน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการจริยธรรมสื่อมวลชน แต่งตั้งโดย คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนองค์กรสื่อมวลชนที่ ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง แล้วส่งให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนวินิจฉัย

การได้มาซึ่ง 9 คณะกรรมการวิชาชีพสื่อฯ

ตามหลักการในแผนปฎิรูปสื่อฯ กำหนดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสื่อฯ ทั้งหมด 9 คน โดย 5 คนแรกให้มาจากการคัดเลือกกันเองในกลุ่มองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนต่อไปนี้ กลุ่มสภาวิชาชีพหนังสือพิมพ์ , กลุ่มสภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ , กลุ่มสภาวิชาชีพด้านสื่อออนไลน์ , กลุ่มสมาคมวิชาชีพด้านหนังสือพิมพ์ระดับชาติ , กลุ่มสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ระดับชาติ และกลุ่มสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนระดับท้องถิ่น ให้คัดเลือกกันให้เลือกกลุ่มละ 2 คน โดยต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีสังกัด 1 คนและผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอีก 1 คน

จากนั้นให้มีคณะกรรมการสรรหาขึ้นมาคณะหนึ่ง จำนวน 9 คน ประกอบด้วย คณบดี หัวหน้าภาควิชา หรือผู้แทนคณะหรือภาควิชาทางด้านนิเทศศาสตร์หรือ สื่อสารมวลชน จาก3 กลุ่ม คือ มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเอกชน คัดเลือกกันเองให้เหลือกลุ่มละ 3 คน รวม 9 คน ทำหน้าที่ในการคัดเลือกรายชื่อที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนกลุ่มต่างๆสื่อเข้ามาให้เหลือเพียง 5 คน ส่วนที่มาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฒิด้านนิเทศศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และ ด้านสิทธิมนุษยชน รวม4 คน ยังไม่ได้มีการกำหนดที่มา

หวังกำกับดูแลสื่อออนไลน์-โซเชียลมีเดีย สร้างนวัตกรรม ตรวจสอบ ระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย

สำหรับการแนวทางกำกับดูแลสื่อออนไลน์ มีการตั้งเป้าหมาย เพื่อพัฒนาส่งเสริมและกำกับการบริหารจัดการร่วมกันของเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ โดยเป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ตามแนวทางประชารัฐ , เน้นนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูล และคุ้มครอง การทeธุรกรรมออนไลน์ของประชาชน และปราบปรามอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต , นำนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบูรณาการงานด้านการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การตรวจสอบ และการระงับการเผยแพร่ข้อมูล-ข้อความที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งระบบแจ้งกลับ และการเยียวยาผู้เสียหายจากภัยทางออนไลน รวมทั้ง การจัดทำกลไกการประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหา อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

โดยภายในปี 2563 มีความคาดหวังว่าจะเกิด ส่วนงานหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการประสานงานกับ ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ในและต่างประเทศ ให้มีลักษณะ Official Point of Contact เพียงหน่วยงานเดียว มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการ มาตรการทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง เพื่อเป็นการกดดันผู้ให้ บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศ อาทิเช่น ยื่นฟ้องร้องทางแพ่ง ในกรณีเป็นการเผยแพร่เนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงแห่งชาติและสถาบันหลักของประเทศ ที่ไม่สามารถเจรจาขอความร่วมมือได้ มีระบบศูนย์ข้อมูลกลางการระงับการแพร่หลายข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือผิดกฎหมาย ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุม การเก็บภาษีจากธุรกิจออนไลน์ต่างประเทศ ซึ่งใช้ระบบ Content Delivery Network (CDN) ในประเทศ

ทั้งนี้ได้มีการเสนอให้ แก้ไขระเบียบและประกาศของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับการจัดตั้ง ระบบศูนย์ข้อมูลการระงับการแพร่หลายข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมายที่มีผลกระทบด้านความมั่นคงในทุกมิติด้วย

อย่างไรก็ตามการระงับยับเนื้อหาที่มีการเผยแพร่บนเว็บไชต์ต่างๆ ในเวลานี้มีผลบังคับใช้อยู่แล้วตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาวชุดไทยหน้าบึ้งถูกไล่ออกจากงาน 'โสภณ' ชี้ต้องโทษนายจ้าง แนะปรับสภาพการจ้างใหม่

Posted: 10 May 2018 02:03 AM PDT

บริษัทสั่งไล่ออก 2 สาวหน้าบึ้งที่ใส่ชุดไทยคล้องพวงมาลัยนักท่องเที่ยวจีนแล้ว 'โสภณ พรโชคชัย' ชี้ต้องโทษนายจ้าง แนะปรับสภาพการจ้างใหม่ อัดจับมาแถลงข่าวใหญ่โตเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง

10 พ.ค.2561 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า หลังกลายเป็นคลิปที่ได้รับการแชร์โลกออนไลน์ของชาวจีนอย่างหนัก เมื่อมีการถ่ายคลิปสาวไทยที่ทำหน้าที่คล้องพวงมาลัยให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน ก่อนที่จะขึ้นรถทัวร์ โดยมีการถ่ายรูปกับสาวใส่ชุดไทยเป็นที่ระลึก แต่พบว่าสาวคนดังกล่าว มีสีหน้าที่มึนตึง ไม่ยิ้มแย้ม แต่จะยิ้มเหมือนเป็นคนละคนตอนถ่ายรูปเท่านั้น เหมือนคล้องพวงมาลัยไปแบบไม่อยากจะทำ โดยนอกจากคลิปดังกล่าวจะได้รับการแชร์ในสื่อออนไลน์ของชาวจีนแล้ว ยังพบว่ามีการทำคลิปล้อเลียน โดยนำไม้แขวนเสื้อและที่คล้องบัตรมาทำเป็นพวงมาลัย แล้วทำหน้าเบื่อโลก ก่อนยิ้มตอนถ่ายรูปเท่านั้น ซึ่งคลิปดังกล่าวได้รับการแชร์ และแสดงความคิดเห็นอย่างหนัก

ล่าสุดทางบริษัทสั่งไล่ออก 2 สาวหน้าบึ้งที่ใส่ชุดไทยแล้วทำหน้าที่คล้องพวงมาลัยให้นักท่องเที่ยวชาวจีนแล้ว โดยทางบริษัทได้ไล่ออกตั้งแต่ก่อนที่จะมีคลิปแชร์และเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ขณะที่พนักงานคนอื่นที่อยู่ในเหตุการณ์และช่างภาพที่ถ่ายรูปนั้น ทางบริษัทสั่งพักงานเป็นเวลา 7 วันเช่นกัน

โสภณ พรโชคชัย กรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นกรณีนี้ว่า เด็กคนนี้เป็นคนทำงานดี เพราะตอนถ่ายรูปก็ยิ้มหวานดี จะให้ยิ้มตลอดเวลาได้อย่างไร ยิ่งแต่งตัวแบบนี้ในภาวะอากาศร้อนๆ และคล้องพวงมาลัย 2,000 พวงต่อวัน ก็ยิ่งน่าเห็นใจเธอ ถ้าตอนถ่ายรูปไม่ยิ้มก็ว่าไปอย่าง ยิ่งกว่านั้น สื่อของจีน ก็ยังแสร้งว่า ถ้าให้ทิปจึงจะยิ้ม แต่ตามคลิปที่นำมาเปิดเผย ไม่มีนักท่องเที่ยวจีนคนไหนให้ทิป เลยสักหน่อย นักท่องเที่ยวที่ไม่มีคุณภาพของจีนจำนวนมากที่มาเที่ยว  ปรากฏว่าเดินออกมานอกโรงแรม หาซื้อโรตีแค่ถุงเดียว กินกันถึง 5 คน นักท่องเที่ยวไร้คุณภาพแบบนี้หรือจะทิปเด็กได้

โสภณ ยังชี้ให้เห็นว่าตามภาพที่ปรากฏสาวคนดังกล่าว ต้องคล้องพวงมาลัยไว้ที่แขนเป็นจำนวนมาก สภาพการทำงานแบบนี้ ควรได้รับการปรับปรุงเช่นกัน และหากมีการต้อนรับนักท่องเที่ยววันละ 2,000 คนจริง ในเวลาทำงาน 7 ชั่วโมง ก็เท่ากับต้องคล้องพวงมาลัยถึง 5 คนในเวลา 1 นาทีโดยเฉลี่ย จนดูคล้ายทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ไป การที่บริษัทนายจ้างให้พนักงานทำงานหนักเช่นนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขในการทำงาน โอกาสที่จะทำให้พนักงานทำงานโดยไม่เต็มใจจึงเกิดขึ้นได้

โสภณ กล่าวต่อว่า ยิ่งกว่านั้นพนักงานคล้องพวงมาลัยยังได้รับค่าจ้างแค่คนละ 300 บาทต่อวัน ก็เท่ากับการคล้องพวงมาลัย 1 ครั้ง พวกเขาคงได้รับเงินเพียง 15 สตางค์เท่านั้น การจ้างงานในลักษณะนี้จึงถือเป็นการเอาเปรียบพนักงาน ความเต็มใจในการทำงานจึงถดถอย แต่พนักงานก็ต้องทนทำงานต่อไป เพราะถ้าลาออกก็คงไม่มีรายได้จุนเจือครอบครัว  พวกเขาจึงคงต้องทำงานไปจนกว่าจะสามารถหางานใหม่ที่ดีกว่านี้ ภาวะความล้าจึงเกิดขึ้น เข้าทำนองคติไทยที่ว่า "รับใช้เจ้าตนตัวตาย รับใช้นายจนพอแรง" ถ้าจ่ายน้อย ก็ทำงานได้น้อยนั่นเอง

โสภณ ได้เสนอต่อนายจ้าง 4 ประเด็น คือ 1. จ้างพนักงานเพิ่มเติมเพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงาน ไม่ใช่ให้ทำงานคล้องพวงมาลัยวันละ 2,000 คนเช่นนี้ พนักงานจะได้ทำงานด้วยความเต็มใจกว่านี้ ไม่ใช่ทนทำงานเพื่อรองานใหม่ การจ้างเพิ่มอีก 1 คน เป็นเงินประมาณ 300 บาท แล้วไม่เกิดความเสียหายจนถึงขั้นถูกล้อเลียนข้ามชาติ นับว่าคุ้มค่าอย่างมาก ค่าพวงมาลัย 2,000 พวงๆ ละ 20 บาท ก็ 4,000 บาทเข้าไปแล้ว แค่จ้างคนมาคล้องคนเดียว 300 บาท มันเกินไปจริงๆ

2. จัดสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น เช่น มีถาดวางพวงมาลัย แทนที่จะต้องคล้องไว้ที่แขนเป็นจำนวนมากมายเช่นนี้ และเป็นการแสดงให้เห็นถึงการจัดหาพวงมาลัยต้นทุนต่ำ ๆ มาให้บริการเพื่อประหยัดต้นทุน 3. ให้ค่าจ้างและสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้สามารถคัดเลือกพนักงานที่มีจิตใจบริการมาทำงานมากขึ้น และ 4. จัดการตรวจสอบการทำงานเพื่อปรับปรุงบริการ ก่อนที่จะถูกนำไปล้อเลียนเช่นที่เกิดขึ้น

ดังนั้นในแง่นี้ บริษัทที่จ้างพนักงานมาทำงานจึงต้องได้รับการตำหนิมากกว่าพนักงานเสียอีก ค่าจ้างและสวัสดิการสำหรับคนทำงานคงไม่มากนัก เมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัท บริษัทจึงควรเจียดมาให้พนักงานมากกว่านี้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง บริษัทดังกล่าวอาจได้รับจ้างงานมาในราคาถูกจากบริษัททัวร์ของจีน ทำให้ต้องกระเบียดกระเสียรจนเกินพอดี ในแง่นี้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ควรตรวจสอบและไม่ควรปล่อยให้บริษัทคนไทยถูกจีนเอาเปรียบจนเกินไปเช่นกัน แม้แต่ไกด์ จีนก็ใช้ไกด์ของเขาเอง อย่างนี้ไม่เหมาะสมแน่นอน รัฐบาลก็อยากได้แต่ตัวเลขนักท่องเที่ยวมากๆ เพื่อหวังผลงานแต่ไม่เห็นใจคนไทยด้วยกันเอง

โสภณ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การจับสาวคนดังกล่าวส่งตำรวจท่องเที่ยวนำมาแถลงข่าวใหญ่โต ให้ขอโทษสังคมอีกต่างหาก (https://bit.ly/2wroMm9) นี่เท่ากับเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเธอเป็นอย่างยิ่ง การเอาผ้าปิดหน้าไว้บางส่วนไม่สามารถทำให้ปิดหน้าเธอได้หมด ที่สำคัญ คลิปที่ผ่านๆ มา ก็แชร์หน้าตาของเธอแบบไม่ปิดหน้าเลย ให้สังคมเห็นหมดแล้ว สื่อต่าง ๆ ควรได้รับการตำหนิที่เผยแพร่ข่าวโดยไม่ปกปิดใบหน้าของเธอ เพราะอาจทำให้เธอหางานลำบาก ยิ่งกว่านั้นคนที่ได้หน้าจากการจับขึงพืดเธอมาแถลงข่าวขอโทษเช่นนี้ ก็ควรได้รับการตำหนิเช่นกัน

โสภณ สรุปด้วยความเห็นใจพนักงานว่า เราต้องเห็นใจเด็กคล้องพวงมาลัยท่านนี้เพราะอย่างน้อยเขาก็ยิ้มตอนถ่ายรูป ตอนไม่ได้ถ่าย เขาหน้าตาเฉย ยังจะหาเรื่องไปว่าเขาอีก คนที่ได้รับค่าจ้างถูก ๆ ในแต่ละวันเช่นนี้ จะไปแบกรับภาระการดูแลศักดิ์ศรีของชาติในด้านการต้อนรับขับสู้อาคันตุกะของประเทศไทยอย่างไร บริษัทที่รับจ้างทำงานและระบบการทำงาน รวมทั้งการเอารัดเอาเปรียบของทัวร์จีนต่างหากที่ควรได้รับการตำหนิและตรวจสอบให้จงหนัก เราควรดูแลใส่ใจพนักงานให้มากกว่านี้ อย่าให้พนักงานสาวคล้องพวงมาลัยเป็นแพะบูชายัญ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยังมียาอีกหลายตัวที่ไม่ควรได้รับสิทธิบัตรอีก หลังฎีกาชี้ขาดถอนสิทธิบัตรยาวาลซาร์แทน

Posted: 10 May 2018 01:26 AM PDT

นักวิจัยอิสระและรองประธานกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์  เผยมียาอีกหลายตัวที่ไม่ควรได้รับสิทธิบัตรอีก หลังศาลฎีกาชี้ขาดถอนสิทธิบัตรยาวาลซาร์แทน  ระบุ 17 พ.ค.นี้ แผนงานศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยาจัดเวทีสรุปบทเรียนการต่อสู้สิทธิบัตรยาที่ไม่ชอบธรรมในไทยด้วย
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยอิสระและรองประธานกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ 
 
10 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยอิสระและรองประธานกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ เผยปมผู้ป่วยไทยเข้าไม่ถึงยา แม้อายุสิทธิบัตรของยานั้นจะสิ้นไปแล้ว เนื่องจากบริษัทยาใช้วิธีการที่เรียกว่า รูปแบบจดสิทธิบัตรไม่จบสิ้น(evergreen patent) สกัดบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญไทย 
 
จากกรณีศาลฎีกาชี้ขาดสั่งถอนสิทธิบัตรการผลิตยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง-โรคหัวใจ หลังต่อสู้เป็นคดีความยาวนาน 7 ปี เพราะยาดังกล่าวยื่นขอสิทธิบัตรกระบวนการผลิตยาเม็ด ซึ่งศาลพิจารณาว่า เหตุข้อมูลวิธีการผลิตนั้น ชัดเจนว่าไม่ใช่วิธีใหม่ เป็นเพียงการยื่นคุ้มครองกระบวนการผลิตยาเม็ดทั่วไปเท่านั้น ทุกคนที่มีความรู้ทางเภสัชกรรมก็สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้เปิดเผยโดยนายกสภาเภสัชกรรม ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา 
 
กรรณิการ์ ให้ความเห็นว่า กรณียา  Varsantan เป็นเพียงหนึ่งคดีที่บริษัทยาชื่อสามัญชนะคดี แต่ตลอดระยะเวลาที่สู้คดีถูกบริษัทยาข้ามชาติส่งจดหมายไปแจ้งโรงพยาบาลต่างๆที่จัดซื้อยาชื่อสามัญราคาถูกที่มีคุณภาพทัดเทียมยาต้นแบบว่า อาจถูกดำเนินคดีและถูกเรียกร้องค่าเสียหายด้วย ทำให้โรงพยาบาลไม่กล้าซื้อ คนไข้เข้าไม่ถึงยา ยายังคงมีราคาแพง ระบบสุขภาพต้องแบกรับค่ายาที่ผิดปกติเหล่านี้เพราะเทคนิคการแสวงหากำไรบนชีวิตผู้ป่วย
 
"ดังนั้นที่ผ่านมา มีบริษัทยาชื่อสามัญไทยไม่กี่รายที่กล้าสู้คดี ซึ่งต้องชื่นชมในที่นี้คือ บ.สีลม ก่อนหน้านี้ บ.สยาม และ องค์การเภสัชกรรม ขอบคุณนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่ยอมเป็นพยานในคดีที่ใช้เวลาอย่างยาวนาน ชื่นชมความสามารถของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและศาลฎีกาของไทยที่พิพากษาคดีประวัติศาสตร์นี้ เช่นที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เคยพิพากษาคดียาต้านไวรัส ddI ที่เป็นต้นแบบคำพิพากษาของโลกที่ชี้ว่า ผู้ป่วยสามารถร่วมฟ้องบริษัทยาในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและอ้างปฏิญญาโดฮาว่าด้วยการสาธารณสุข ของความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้ตีความเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงยา" กรรณิการ์ กล่าว
 
จากงานวิจัยสิทธิบัตรที่เป็น evergreening ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่า 70% สิทธิบัตรยาที่ออกไปแล้วนั้นไม่สมควรได้รับสิทธิบัตร และอีก 80% ของคำขอที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีความใหม่ไม่มีนวัตกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งหากคำขอสิทธิบัตรยาเหล่านี้ได้สิทธิบัตรจะเป็นภาระงบประมาณมากถึง 5000 ล้านบาทจากยาที่ขายดีเพียง 50 รายการเท่านั้น
 
"ที่ผ่านมาเมื่ออายุของสิทธิบัตรยาสิ้นสุดลง คือครบ 20 ปี อุตสาหกรรมยาของไทยจะผลิตยาชื่อสามัญมาแข่งขันได้ ซึ่งทำให้ลดการผูกขาดและราคายาถูกลง และสถานพยาบาลสามารถจัดหายาได้ในต้นทุนถูกลงเพื่อรักษาผู้ป่วยตามสิทธิหลักประกันที่สังกัด แต่กลับมาเจอบริษัทยามาขอขึ้นทะเบียนในลักษณะจดซ้ำซ้อน" 
 
"รัฐบาล คสช.ควรศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ยังย้ำคิดย้ำทำว่าต้องออกคำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 เพื่อจัดการคำขอสิทธิบัตรที่คั่งค้าง ถ้าทำเช่นนั้นก็เท่ากับปล่อยผีสิทธิบัตรยาที่ไร้คุณภาพ เป็นภาระกับประเทศ ขณะเดียวกัน กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องนำคำพิพากษาไปปรับปรุงคณภาพการตรวจสอบสิทธิบัตร และแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น" กรรณิการ์ กล่าว
 
สำหรับคดีที่บริษัทยาข้ามชาติฟ้องบริษัทยาชือสามัญไทย มีอย่างน้อย 3 คดี คดีที่ 1.ยา Finasterine บ.MSD ฟ้อง บ.สยาม ฎีกา เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ชนะไม่แพ้ ศาลชี้ว่า บ.สยามใช้คนละวิธี ไม่ละเมิด คดีที่ 2.ยา Varsantan บ.Novartis ฟ้อง บ.สีลม ฎีกา 8 พ.ค. เพิกถอนสิทธิบัตร Novartis ไม่สมควรได้ 3. ยา Celecoxib บ. Pfizer ฟ้อง บ.แมคโครฟาร์ คดีอยู่ในศาลทรัพย์สินทางปัญญา ศาลชั้นต้น 
 
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เครือข่ายผู้ป่วยร้องคัดต้านคำขอสิทธิบัตร อาทิ ยาสูตรผสมรวมเม็ดโซฟอสบูเวียร์และเลดิพาสเวียร์ ที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเข้าข่ายไม่ควรได้สิทธิบัตร เหตุเพราะไม่เข้าด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิบัตร คือ 1.ไม่อนุญาตให้จดสิทธิบัตรในเรื่องการบำบัดรักษา 2.การผสมยาสองชนิดรวมในเม็ดเดียวเป็นเทคโนโลยีธรรมดาๆ ที่เปิดเผยและทราบกันโดยทั่วไปในหมู่ผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมอยู่แล้ว 3.ประสิทธิผลของการใช้ยาสองชนิดนี้ร่วมกันเป็นสิ่งที่ทราบกันดีอยู่แล้วในทางเภสัชกรรม ซึ่งในกฎหมายระบุว่าต้องก่อให้เกิด "ผลที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย" จึงจะเข้าข่ายได้รับสิทธิบัตร 
 
ทั้งนี้ บ่ายวันพฤหัสที่ 17 พ.ค.นี้แผนงานศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จะจัดเวทีเสวนาวิชาการที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อสรุปบทเรียนการต่อสู้สิทธิบัตรยาที่ไม่ชอบธรรมในประเทศไทยด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ฉลาดซื้อ’ เผยโดนัท 8 ยี่ห้อดัง ไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ WHO

Posted: 10 May 2018 12:24 AM PDT

นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต พบ 8 ยี่ห้อมีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ WHO แนะเลี่ยงบริโภค พร้อมเร่ง อย. ออกมาตรการบังคับผู้ผลิต

10 พ.ค.2561 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รายงานว่า จากโดนัทรสช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่างพบว่า มี 8 ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ คือ ควรพบไขมันทรานส์ในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัม/ หน่วยบริโภค ได้แก่  1.ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม/ ชิ้น 2.ฟู้ดส์แลนด์ (Foodland โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 3.0484 กรัม/ ชิ้น 3.ดังกิ้น โดนัท (Dunkin Donuts ช็อกโกแลต ฟลาวเวอร์) มีปริมาณไขมันทรานส์ 2.7553 กรัม/ ชิ้น 4.เทสโก้ โลตัส (โดนัทรวมรส ช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 1.7449 กรัม/ ชิ้น 5.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (โดนัทชอคโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.9560 กรัม/ ชิ้น 6.มิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut ChocRing Classic) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.8690 กรัม/ ชิ้น 7.เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut ริงจิ๋ว ช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.8626 กรัม/ ชิ้น และ 8.ยามาซากิ (Yamazaki โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.7542 กรัม/ ชิ้น

ส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่เหลือมีปริมาณไขมันทรานส์อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ 1.คริสปี้ครีม (Krispy Kreme Doughnuts ช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.2067 กรัม/ ชิ้น 2.เบรดทอล์ค (BreadTalk โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.2029 กรัม/ ชิ้น 3.แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.1272 กรัม/ ชิ้น 4.เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0824 กรัม/ ชิ้น และ 5.แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough ดับเบิ้ล ช็อค) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม/ ชิ้น

รวมทั้งยังพบว่าโดนัทส่วนใหญ่ให้พลังงานสูงด้วยเช่นกัน เฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ 1.แซง-เอ-ตัวล ให้พลังงาน 320 kcal/ ชิ้น 2.ยามาซากิ ให้พลังงาน 313 kcal/ชิ้น 3.ฟู้ดส์แลนด์ ให้พลังงาน 312 kcal/ชิ้น 4.ซับไลม์โดนัท ให้พลังงาน 301 kcal/ ชิ้น และ 5.เฟลเวอร์ ฟิลด์ ให้พลังงาน 298 kcal/ชิ้น

จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การบริโภคไขมันทรานส์เป็นประจำหรือเกินกว่า 2.2 กรัม/ วัน สามารถเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) และลดระดับไขมันดี (HDL) ลง ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้นได้ จึงขอแนะนำผู้บริโภคเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันดังกล่าว

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เคยเสนอข่าวว่าอยู่ในระหว่างการยกร่างประกาศ ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือห้ามเติมไฮโดรเจน ลงในกระบวนการผลิตน้ำมัน (กระบวนการ Hydrogenation) ซึ่งคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 61 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีประกาศออกมา จึงเรียกร้อง อย. เร่งพิจารณาการออกประกาศดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฝ่ายค้านชนะรัฐบาลเลือกตั้งมาเลเซียส่ง 'มหาธีร์' เป็นนายกฯ แก่สุดในโลก

Posted: 09 May 2018 10:45 PM PDT

กลุ่มแนวร่วมนำโดยมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกฯ อายุ 92 ปี ชนะเลือกตั้งทั่วไปมาเลเซีย กวาด 117 ที่นั่งอย่างเป็นทางการ แซงหน้าแนวร่วมรัฐบาล นาจิบ ราซัค อดีตนายกฯ ที่ต้องลงจากตำแหน่งยังไม่ยอมรับว่ามีพรรคใดได้เสียงข้างมาก ต้องให้ประมุขรัฐตัดสินใจใครจะเป็นนายกฯ พิธีสาบานตนถูกเลื่อนจากเช้านี้ไปยังไม่มีกำหนด

มหาธีร์ โมฮัมหมัด ที่เวทีที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ เมื่อปี 2546 (ที่มา:วิกิพีเดีย)

10 พ.ค. 2561 เวลา 02.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นของมาเลเซีย สำนักข่าวเดอะสเตรตไทม์ของสิงคโปร์รายงานว่า ผลการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศมาเลเซียได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากกรรมการการเลือกตั้ง กลุ่มแนวร่วมแห่งความหวัง (Pakatan Harapan - PH) และพันธมิตรได้ที่นั่งในรัฐสภาเกิน 112 ที่นั่งจากทั้งหมด 222 ที่นั่ง เพียงพอต่อการตั้งรัฐบาล หมายความว่า มหาธีร์ โมฮัมหมัด หัวหน้ากลุ่ม PH จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของมาเลเซีย ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในโลกด้วยอายุ 92 ปี

การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองครั้งนี้ยังเป็นการยุติการปกครองประเทศของแนวร่วมรัฐบาล 'แนวร่วมแห่งชาติ (ฺBarisan Nasional-BN) นำโดยพรรคอัมโน ที่ยาวนาน 6 ทศวรรษ

พรรค PH ชนะไป 109 ที่นั่ง และพรรคมรดกซาบาห์ หรือ Warisan ที่เป็นพันธมิตรได้ไปหกที่นั่ง นอกจากนั้นยังมีผู้แทนอิสระอีกสองคนเข้ามาร่วมกลุ่มด้วย ทำให้ยอดรวมของพรรค PH และกลุ่มพันธมิตรมีทั้งหมด 117 คน

ทั้งนี้ หัวหน้าเลขานุการของกลุ่ม PH กล่าวกับมาเลเซียกินีเมื่อเที่ยงวันนี้ว่าแนวร่วมของกลุ่ม PH เพิ่มขึ้นเป็น 122 คน 

แม้จะมีผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อเช้ามืดวันนี้ แต่นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่กำลังจะต้องลงจากตำแหน่งออกมาแถลงข่าวในช่วง 11.00 น. ของวันนี้ว่า ไม่มีพรรคใดได้รับเลือกเกินกึ่งหนึ่งของสภา หมายความว่าไม่มีใครสามารถตั้งรัฐบาลได้ จึงจำเป็นต้องให้สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ผู้ดำรงตำแหน่งยังดีเปอร์ตวนอากง ประมุขรัฐของมาเลเซียตัดสินใจว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ของมาเลเซียคนที่ 7 โ่ดยพรรค BN จะเคารพการตัดสินใจของประมุขแห่งรัฐ

มาเลเซียกินีรายงานว่า พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมหาธีร์ที่ถูกกำหนดให้มีขึ้นในเช้าวันนี้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดวันและเวลา โดยทางกลุ่ม PH หวังว่าพิธีสาบานตนจะมีขึ้นในเย็นวันนี้เพื่ออุดสุญญากาศทางการเมือง

หัวหน้ากลุ่มอัมโน่รุ่นเยาว์ (Umno Youth) ไครี จามาลุดดีน กล่าวกับนักข่าวที่งานปาร์ตี้ที่บ้านของประธานาธิบดีนาจิบ ราซัคว่า รัฐบาลร่วมจะยอมรับเจตจำนงของประชาชน

"ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องเคารพเจตจำนงของประชาชน และต้องมั่นใจว่าผลการเลือกตั้งจะได้รับการเคารพ แล้วเราจะเดินหน้าต่อไป" ไครีกล่าว

ไครีทวีตในช่วงเที่ยงคืน หลังจากผลการเลือกตั้งเกือบจะนับครบทุกเขตแล้วว่า "ชาวมาเลเซียได้ส่งเสียงแล้ว และเสียงของประชาชนนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ ขอให้มาเลเซียโชคดีและขอบคุณผู้ลงคะแนนเสียงที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อชาติ".

เมื่อคืนวันที่ 9 พ.ค. เวลา 21.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นของมาเลเซีย มีรายงานในเว็บไซต์มาเลเซียกินีว่าหัวหน้าพรรคการเมือง และรัฐมนตรีว่าการในพรรคร่วมรัฐบาล BN 2 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ 4 คน แพ้การเลือกตั้ง ส.ส. ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 มาเลเซีย

นับคะแนนเลือกตั้งมาเลเซีย 2018 ฝ่ายค้านแซงชนะรัฐบาล-รัฐมนตรีสอบตกแล้ว 6 ราย

Liow Tiong Lai หัวหน้าพรรคสมาคมชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน หรือ MCA และยังเป็น รมว.คมนาคม แพ้การเลือกตั้งที่เขต Bentong รัฐปาหัง ให้กับ Wong Tack จากพรรคกิจประชาธิปไตย หรือ DAP

ส่วน S Subramaniam หัวหน้าพรรคมาเลเซียอินเดียคองเกรส หรือ MIC ซึ่งเป็น รมว.สาธารณสุข แพ้การเลือกตั้งให้กับ Edmund Santhara จากพรรคยุติธรรมประชาชนหรือ PKR ที่เขต Segamat รัฐยะโฮร์

มาเลเซียกินีรายงานด้วยว่า Mah Siew Keong ผู้นำพรรค Gerakan ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่งก็กำลังแพ้คะแนนให้กับ David Nga จากพรรค DAP

นอกจากนี้มีรัฐมนตรีระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการที่แพ้เลือกตั้งได้แก่ Razali Ibrahim รมช.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จากพรรค UMNO แพ้ที่เขต Muar รัฐยะโฮร์

Chua Tee Yong รมช.การค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม จากพรรค MCA แพ้ที่เขต Labis รัฐยะโฮร์

Hamim Samuri รมช.ทรัพยากรธรรมชาติ จากพรรค UMNO แพ้ที่เขต Ledang รัฐยะโฮร์ และ Nogeh Gumbek รมช.เกษตร จากพรรคประชาธิปไตยซาราวักก้าวหน้า (SPDP) แพ้ที่ Mas Gading รัฐซาราวัก

อดีตนายกรัฐมนตรีหลายสมัย ไม้เบื่อไม้เมาฝ่ายค้าน สู่ผู้ท้าชิงรัฐบาล

สำหรับผู้นำพรรคฝ่ายค้าน มหาธีร์ โมฮัมหมัด อายุ 92 ปี เกิดที่อลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีหลายสมัยของมาเลเซียระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2546 และก่อนหน้านี้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับฝ่ายค้านซึ่งนำโดยอันวาร์ อิบราฮิม-หลิมกิตเสียง มาโดยตลอด

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2558 ที่มีกรณีอื้อฉาวเกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีนาจิป ราซัก ซึ่งถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย หรือ 1MDB ทำให้เขาออกมาวิจารณ์นาจิปบ่อยครั้ง

ขณะเดียวกันนาจิปเองก็สั่งปลดรัฐมนตรีหลายคนที่เรียกร้องให้เขาออกมาอธิบายเรื่องนี้รวมทั้งมุไฮยิดดิน ยาซิน (Muhyiddin Yasin) รองนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.จากรัฐยะโฮร์ ทำให้ต่อมาเขาออกไปตั้งพรรคเบอซาตู (Bersatu) หรือ PPBM ในเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเขาเชิญมหาธีร์เข้าร่วมด้วย

มหาธีร์ปรากฏตัวในที่การชุมนุมใหญ่ของเบอเซะ หรือ "Bersih 4.0" ที่จัดโดยฝ่ายค้าน อดีตคู่อริของเขาที่จัตุรัสเมอร์เดก้า ระหว่าง 29-30 สิงหาคม 2558

โดยในการชุมนุมดังกล่าวผู้ที่ช่วยพามหาธีร์ ฝ่าฝูงชนเข้ามาในจัตุรัสเมอเดก้า ก็คือ ฉัว เทียนชาง หรือ "เทียนฉัว" ส.ส.ฝ่ายค้านพรรคยุติธรรมประชาชน (PKR) ซึ่งในสมัยที่มหาธีร์เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2544 เทียนฉัว เคยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวภายใต้กฎหมายความมั่นคงภายใน (ISA) มาแล้ว โดยเขาถูกรัฐบาลมหาธีร์กล่าวหาว่าเตรียมโค่นรัฐบาลด้วยการใช้ "ระเบิด เครื่องยิงลูกระเบิด ระเบิดขวด สะเก็ดลูกปืน และอาวุธอันตรายอื่นๆ"

เทียนฉัวให้สัมภาษณ์ในเวลานั้นว่า "มหาธีร์มีสิทธิที่จะแสดงออกว่าเขาสนับสนุน (Bersih 4.0) แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะลืมไปว่าส่วนหนึ่งของปัญหาทุกวันนี้ก็มาจากระบบที่มหาธีร์สร้างขึ้น ในขณะที่พื้นที่ประชาธิปไตยกลับถูกปิดลง" เขากล่าวต่อว่า "ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ประชาชนต้องลุกฮือกันในวันนี้" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ท่าทีของมหาธีร์ยิ่งมาทางฝ่ายค้านมากขึ้น หลังจากมุคริซ มหาธีร์ บุตรชาย ถูกบีบจากรัฐบาลนาจิปให้ลาออกจากตำแหน่งมุขมนตรีรัฐเคดาห์ เมื่อกุมภาพันธ์ 2559 และในเดือนกันยายน 2559 เขาก็เข้าร่วมกับพรรค PPBM ที่แยกตัวออกมาจากรัฐบาลนาจิป

และในเดือนพฤศจิกายน 2559 พรรค PPBM ก็เข้าร่วมกับพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน "พันธมิตรแห่งความหวัง" (Pakatan Harapan) หรือ PH

สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 ของมาเลเซีย พรรคฝ่ายค้านเลือกคู่อริเก่าของพวกเขาคือ "มหาธีร์ โมฮัมหมัด" เป็นประธานแนวร่วมพรรคฝ่ายค้าน และถูกวางตัวเป็นผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม คือวัน อาซีซะห์ วัน อิสมาอิล ถูกวางตัวเป็นรองนายกรัฐมนตรี

ผู้นำฝ่ายค้านซึ่งถูกจองจำ และการคืนดีของมหาธีร์

ส่วนอันวาร์ อิบราฮิม แกนนำสำคัญของแนวร่วมพรรคฝ่ายค้าน เคยถูกมหาธีร์ปลดออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2542 และถูกฟ้องจำคุกข้อหาคอร์รัปชันและร่วมเพศทางทวารหนัก ต่อมาหลังจากพ้นโทษเมื่อปี 2547 และพ้นกำหนดห้ามรับตำแหน่งการเมืองในปี 2551 เขาก็ลับมาเล่นการเมืองในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน

อย่างไรก็ตามเขาถูกฟ้องในข้อหาร่วมเพศทางทวารหนักอีกครั้งในปี 2551 ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะยกฟ้องเมื่อมกราคม 2555 แต่เขาถูกศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินเมื่อ 4 มีนาคม 2557 ให้ควบคุมตัวเขาระหว่างดำเนินคดี อย่างไรก็ตามในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ศาลสูงสุดของมาเลเซียก็มีคำตัดสินสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และยืนยันโทษจำคุก ซึ่งผู้สนับสนุนเขาเห็นว่าคดีนี้เป็นข้อกล่าวหาทางการเมือง

อนึ่งรายงานในหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในมาเลเซีย Sin Chew Daily เมื่อ 12 มีนาคม 2561 มหาธีร์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหากเขาสามารถย้อนเวลาได้เขาจะไม่ตัดสินใจไล่อันวาร์ อิบราฮิมออกจากตำแหน่งรองรายกรัฐมนตรี และกล่าวด้วยว่าเขาขอสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ทำให้ประชาชนเกลียดเขาอีกแล้ว

ส่วนอันวาร์ซึ่งปัจจุบันถูกย้ายที่จองจำมารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากการผ่าตัดไหล่ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม เรียกร้องให้ประชาชนเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงด้วยการเลือกพรรคฝ่ายค้าน โดยตัวของอันวาร์นั้นคาดหมายว่าจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 8 มิถุนายนนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีต กก.แพทยสภาชื่นชม ‘แพทยสภา' กล้าถอนฟ้องเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์

Posted: 09 May 2018 10:01 PM PDT

หมอวันชัย อดีตกรรมการแพทยสภาชี้ต้องยกย่องนายก-เลขาแพทยสภาเดินหน้าถอนฟ้องภาคประชาชน ทำจบสวยในการไกล่เกลี่ย ย้ำไม่เข้าใจสาเหตุกลุ่มต้านเรียกร้องปลดจากตำแหน่ง 

นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, อดีตกรรมการแพทยสภา

10 พ.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า สืบเนื่องจากกรณีที่ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายแพทย์ผู้ปฏิบัติงานจริง เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลด ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา และ นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เลขาธิการแพทยสภา หลังจากที่ไปถอนฟ้องนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์นั้น ล่าสุด นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, อดีตกรรมการแพทยสภา และอดีตผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การที่ นายกและเลขาธิการแพทยสภา ดำเนินการถอนฟ้อง ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นับได้ว่าเป็นการกระทำที่ต้องได้รับคำชื่นชมและสมควรถูกยกย่อง เพราะถือว่าเป็นการไกล่เกลี่ยภายในกระบวนการศาล และเชื่อได้ว่ากลุ่มแพทย์ที่เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลด ศ.นพ.ประสิทธิ์ และ นพ.สุกิจ คงไม่เข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ย จึงเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องดังกล่าว 

อดีตกรรมการแพทยสภา ระบุด้วยว่า สิ่งที่แพทยสภากล้าหาญถอนฟ้องในครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพว่าวงการแพทย์ไม่ใช่การปกป้องกันเอง แต่ต้องปกป้องประชาชนด้วย ซึ่งจะช่วยให้การเรียกศรัทธาให้แพทย์เป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกๆ ด้านกลับมาได้ 

นพ.วันชัย กล่าวว่า ในอดีตเคยมีคำพิพากษาของศาลเมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งจำไม่ได้ว่าคดีเกี่ยวข้องกับการรักษาซึ่งทำให้ผู้ป่วยตาบอด แต่ญาติผู้ป่วยฟ้องแพทย์ที่ทำการรักษา ศาลพิพากษาว่าแพทย์มีความผิด และขณะเดียวกันศาลระบุว่าแพทยสภาไม่ใช่องค์กรที่ศาลจะต้องรับฟังกับคดีที่เกิดขึ้น แต่ศาลต้องการรับฟังจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดมยาสลบผู้ป่วย นั่นจึงเป็นการฟ้องร้องระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ และศาลไม่ได้ฟังแต่แพทยสภาเพียงอย่างเดียว 

"การถอนฟ้องครั้งผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ขอชื่นชมว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี และผมก็ต้องชื่นชมการทำงานภาคประชาชนของนางปรียนันท์ที่ปกป้องสิทธิ์ของประชาชน แต่เมื่อเกิดการฟ้องร้องกันกระบวนการไกล่เกลี่ยจึงเป็นคำตอบที่ดีมาก เพราะทำให้เกิดการเยียวยา สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ดีกว่าการไปเอาชนะกันในศาล" อดีตกรรมการแพทยสภา กล่าว 

นพ.วันชัย กล่าวเสริมอีกว่า ผู้ที่มีอำนาจควรใช้โอกาสนี้มองไปข้างหน้าว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแพทยสภาควรจะต้องมีการปรับปรุงได้แล้วหรือไม่ โดยเฉพาะกับการเลือกกรรมการแพทยสภาที่ควรมีภาคประชาชนเข้าร่วมทำงานด้วยเฉกเช่นที่ต่างประเทศได้ทำกัน ไม่ใช่การเลือกเหมือนกับหาผู้แทนราษฎรเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะมีแต่พวกพ้องและการปกป้องกันเอง ทำให้ประชาชนไม่อยากจะมาพึ่งแพทยสภาแล้ว 

"ผมไม่ทราบและไม่เข้าใจว่ากลุ่มแพทย์ที่เรียกร้องให้ปลด ศ.นพ.ประสิทธิ์ และ นพ.สุกิจกระทำไปเพราะสาเหตุใด อาจเป็นเพราะความคิดของแพทย์ยุคเดิมๆ ที่กลัวการฟ้องร้อง เพราะแพทย์จำนวนไม่น้อยที่ขอโทษไม่เป็น และไม่ยอมรับความผิดพลาดที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่เมื่อแพทย์ผิดพลาดกลับเลือกวิธีการต่อสู้เพื่อให้พ้นผิด"

นพ.วันชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่จะปลด ศ.นพ.ประสิทธิ์ และ นพ.สุกิจพ้นจากแพทยสภานั้น ก็ไม่มีอำนาจใดรองรับได้ ดังนั้น การถอนฟ้องครั้งนี้ของแพทยสภาควรได้รับการยกย่อง และหากจะมีการปลดจริงก็เกรงว่าภาคประชาชนอาจลุกฮือขึ้นมาได้ และคงจะเป็นภาพที่ไม่สวยนัก 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น