โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

หมายเหตุประเพทไทย #209 ภูมิปัญญาโซเชียลค้านบ้านพักศาลเชิงดอยสุเทพ

Posted: 13 May 2018 08:30 AM PDT

วิเคราะห์ผลสำเร็จและสารพัดกลยุทธ์ของการรณรงค์ #ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ #หมู่บ้านป่าแหว่ง หรือการคัดค้านบ้านพักข้าราชการตุลาการที่เชิงดอยสุเทพ แห่งเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในพื้นที่ออนไลน์และกราวด์เกมหรือพื้นที่จริงซึ่งมีประชาชนหลายเครือข่ายร่วมรณรงค์ขนานใหญ่ ซึ่งไม่พบบ่อยนักนักตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย พบกับชานันท์ ยอดหงษ์ และเจนวิทย์ เชื้อสาวะถี

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หญิงตาบอด แชร์คลิป สุรชัย-ดีเจตีโต้ โดน พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 1 ปี

Posted: 13 May 2018 06:20 AM PDT

13 พฤษภาคม 2561 นางหานีตา ผู้เป็นพี่สาวคนโตของ น.ส. นูรฮายาตี มะเสาะ หญิงตาบอดวัย 23 ปี ผู้ถูกชายตาบอดกล่าวหาว่ามีการโพสต์บทความที่มีเนื้อหาผิด กฎหมายอาญา ม.112 ลงในเฟสบุ๊คตามที่เคยเป็นข่าว ได้เปิดเผยว่า วันที่ 4 มีนาคม 2561นูรฮายาตี ได้ถูกเจ้าหน้าที่คุมตัวออกจากบ้านที่ อ.เมืองยะลา และในวันที่ 5 มีนาคม 2561 พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องในข้อหาว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์คลิปรายการวิทยุของ ดีเจตีโต้ และ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ บนเฟสบุ๊ค โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559 โดยมีรายละเอียดของคำฟ้องว่าเป็นการส่งต่อข้อมูลสู่สาธารณะ สร้างความตื่นตระหนก น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ

ศาลได้นัดสืบพยานในวันที่ 6 มีนาคม 2561 น.ส.นูรฮายาตี ได้ให้การสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ศาลอาญาจึงได้มีคำพิพากษาในวันนั้นว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ม.3,14 (5) ให้จำคุกจำเลย 2 ปี แต่เนื่องจากจำเลยให้การสารภาพจึงลดให้กึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้นับโทษต่อจากวันที่เธอได้ถูกขังมาแล้ว

พี่สาวของนูรฮายาตี กล่าวต่อว่า จากนั้น นูรฮายาตี ได้ถูกจำคุกอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกรุงเทพจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสองเดือนแล้ว ทางครอบครัวได้ขึ้นมาเยี่ยมได้บ้างแต่ไม่บ่อยนัก เนื่องจากการเดินทางมาเยี่ยมจากจังหวัดยะลามีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหารและค่าที่พักเที่ยวละหลายพันบาท แต่ก็กำลังจะขึ้นมาอีกครั้งเพื่อหาเงินในการประกันตัว หานิตา อยากให้ย้ายน้องสาวผู้พิการของเธอไปยังเรือนจำ จ.ยะลา เพื่อสะดวกกับการไปเยี่ยม ในส่วนทนายความขอแรงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น


เกี่ยวกับคดี นูรฮายาตี  มะเสาะ เป็นหญิงพิการทางสายตาวัย 23 ปี เป็นชาวจังหวัดยะลา เธอมีโอกาสได้เรียนหลักสูตรอักษรเบรลล์และการช่วยเหลือตนเอง (หลักสูตรสำหรับผู้พิการ) ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 2 จังหวัดยะลาเพียง 1 ปี แล้วไปเรียนเพิ่มเติมที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เธอถูกฟ้องร้องกล่าวโทษจาก นายพิพัฒน์ธนชัย สระกวี นายกสมาคมประชาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวหาว่าเธอได้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับคนตาบอด (สมาร์ทวอยซ์) แสดงความเห็นทางการเมืองผ่านทางเฟสบุ๊คและแชร์บทความของ ใจ อึ๊งภากรณ์ ในระหว่างวันที่ 13-18 ตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์หลังจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 9

เธอถูกพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกและตั้งข้อกล่าวหาว่ามีความผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112 โดยที่ทางครอบครัวของเธอได้นำตัวเธอเข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตามหมายเรียก แต่ได้รับการปล่อยตัวในชั้นสอบสวนก่อนจะถูกฝากขังในเรือนจำในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 และเมื่อคดีขึ้นสู่ชั้นศาล วันที่ 4 มกราคม 2561 นูรฮายาตี ได้ให้การรับสารภาพ ศาลจังหวัดยะลาพิพากษาจำคุกเธอตาม กม.อาญา ม.112 เป็นเวลา 3 ปี แต่จำเลยรับสารภาพ จึงให้ลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา

จากนั้นมีรายงานว่า นูรฮายาตี ได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูลว่าใครเป็นนายประกันและไม่ทราบว่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวนั้นเป็นวงเงินเท่าไหร่ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้มีคำพิพากษาโดยพิจารณาจากคำให้การของจำเลยในศาลชั้นต้นและรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยตาบอดสนิททั้ง 2 ข้างและมีโอกาสได้ศึกษาในโรงเรียนคนตาบอดเพียง 2 ปี ประกอบด้วยความผิดตาม ม. 112 เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ไม่ใช้ความผิดอาญาในตัวเอง จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการที่จำเลยคัดลอกข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความและภาพจากเว็บไซต์อื่นลงในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมกับส่งเผยแพร่ออกไปนั้น เกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นการหมิ่นประมาท ร. 9 พิพากษาให้ยกฟ้องทุกข้อหา ซึ่งผลการพิจารณาคดีในครั้งนี้ไม่ได้ปรากฏบนหน้าสื่อแต่อย่างใด จนกระทั่งมีข่าวการจับกุมตัวแจ้งข้อหาดำเนินคดีและตัดสินคดีอย่างรวดเร็วอีกครั้ง โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องเอาผิดเธอตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ราชกิจจาฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก.ภาษีคริปโต

Posted: 13 May 2018 04:22 AM PDT

ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้พระราชกําหนดภาษีคริปโต ให้คํานวณหักในอัตรา 15% จากกำไร มีผลบังคับใช้ 14 พ.ค. นี้

 
13 พ.ค. 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการประกาศพระราชกําหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว โดยใจความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดเก็บภาษี จากเงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือ หรือครอบครองโทเคนดิจิทัล โดยผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากการโอน (การเทรด) คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ เกินกว่าที่ลงทุน (กำไร) ให้คํานวณหักในอัตรา ร้อยละ 15 ของเงินได้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2561 เป็นต้นไป
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูโรวิชันระงับสิทธิโทรทัศน์จีนแพร่ภาพรายการหลังถูกเซนเซอร์เนื้อหา LGBTQ+

Posted: 13 May 2018 03:26 AM PDT

การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป หรือ 'ยูโรวิชั่น' ในปีนี้มีการแสดงของคนที่ร้องเพลงเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างชายกับชายพร้อมการแสดงเบื้องหลังตามเนื้อหาจากแดนเซอร์ แต่โทรทัศน์ของจีนตัดการแสดงเขาออก รวมถึงเบลอรูปธงสีรุ้งในหมู่ผู้ชม ทำให้ทางสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (EBU) สั่งแบนไม่ให้สถานีโทรทัศน์แพร่ภาพการแสดงยูโรวิชั่นในรอบถัดไป

 
 
13 พ.ค. 2561 สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (EBU) สั่งแบนไม่ให้สถานีโทรทัศน์ 'แมงโกทีวี' ของจีนทำการแพร่ภาพการประกวดร้องเพลง 'ยูโรวิชั่น' ในรอบสุดท้ายของปี 2561 หลังจากที่พวกเขาเซนเซอร์เนื้อหาบางส่วนของการประกวด ซึ่งทาง EBU แถลงให้สาเหตุว่าที่พวกเขาสั่งแบนเพราะสถานีโทรทัศนของจีนไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกับการให้คุณค่าต่อ "ความเป็นสากล" และ "การเปิดรับทุกคน" ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจดั้งเดิมของ EBU ที่ "เฉลิมฉลองความหลากหลายผ่านทางดนตรี"
 
ในการแข่งขันยูโรวิชั่นรอบก่อนชิงชนะเลิศมีผู้แสดงจากไอร์แลนด์ชื่อ ไรอัน โอชอฮ์เนสซี ร้องเพลงชื่อ "Together" เนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างชายสองคน ระหว่างร้องเพลงก็มีแดนเซอร์ชายทำการแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวตามเนื้อหาของเพลงไปด้วย แต่โทรทัศน์แมงโกของจีนกลับเซนเซอร์การแสดงชุดนี้ของโอช็อกฮ์เนสซี อีกทั้งยังเซนเซอร์การแสดงของอีกชาวอัลแบเนียอีกคนหนึ่งเพียงเพราะมีรอยสัก และทำการเบลอธงสีรุ้งที่กลุ่มคนดูเป็นคนถือ
 
แมงโกทีวีเป็นโทรทัศน์ของรัฐบาลมณฑลหูหนาน ประเทศจีน โดยเมื่อปี 2559 ทางการจีนเคยกำหนดให้การรักเพศเดียวกันถือเป็นสิ่งที่พวกเขามองว่า "ไม่เหมาะสม" ที่จะให้เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอ้างว่าเป็น "พฤติกรรมแปลกประหลาด" 
 
ขณะที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในจีนประกาศต่อต้านการเซนเซอร์นี้ เช่นกลุ่มไชนาเรนโบว์มีเดียอวอร์ดที่สนับสนุนกลุ่ม LGBT ระบุในเว่ยป๋อว่าการเซนเซอร์การแสดงในยูโรวิชั่นถือว่า "มากเกินไป" ทั้งที่เมื่อราว 20 ปีที่แล้วหูหนานทีวีเคยมีรายการที่สัมภาษณ์เกย์โดยเฉพาะมาก่อน แต่ทำไมคราวนี้พวกเขากลับทำตัวล้าหลังลงกว่าเดิม
 
โอชอฮ์เนสซีกล่าวว่าเขายินดีที่ทาง EBU ยืนหยัดสนับสนุนความหลากหลาย สำหรับเขาแล้วความรักก็คือความรักไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศเดียวกันหรือต่างเพศ และการที่ EBU โต้ตอบการเซนเซอร์นี้โดยไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยถือว่า "มาถูกทางแล้ว"
 
เจมี ฮัลลิเวลล์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยภูมิศาสตร์ทางสังคมและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เมโทรโปลิแทน เขียนถึงปรากฏการณ์ที่ว่าทำไมการประกวด้องเพลงยูโรวิชั่นถึงกลายเป็นพื้นที่การพูดคุยในประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น
 
ฮัลลิเวลล์ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่อง "อัตลักษณ์ความเป็นแฟนคลับยูโรวิขั่น" ระบุว่า ถึงแม้ยูโรวิชั่นจะไม่ได้ถูกแปะฉลากว่าเป็น "อีเวนต์เกย์" ในตัวมันเอง แต่ความเป็นแฟนคลับของยูโรวิชั่นในโลกออนไลน์ทำให้เกิดพื้นที่กำกวมที่คนสามารถแสดงตัวตนแบบ LGBT ของตัวเองได้ รวมถึงโซเชียลมีเดียที่ทำให้แฟนๆ ที่ชื่นชอบเรื่องเดียวกันเชื่อมโยงเข้าหากันได้ บางคนถึงขั้น "เปิดตัว" (coming out) เรื่องเพศสภาพ-เพศวิถึของตัวเองเพราะรายการนี้ และการปฏิสัมพันธ์เหล่านี้เองที่ทางรายการมองว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันกับกลุ่มคนดูโดยที่ไม่ต้องแปะป้ายว่าเป็น "การเมืองเรื่องอัตลักษณ์" (identity politics) 
 
ยูโรวิชั่น เป็นการประกวดร้องเพลงประจำปีในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกของ EBU โดยประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันแสดงสดทางโทรทัศน์จะเลือกเพลงและนักร้องมาประเทศละหนึ่งชุด แต่ละชุดจะใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน โดยเพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง ในแง่การตัดสินแต่ละประเทศจะใช้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นและการโหวตจากผู้ชมทางโทรศัพท์ ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ซึ่งในปี 2561 นับเป็นการจัดครั้งที่ 63 มีประเทศเข้าร่วม 43 ประเทศ เคยมีนักร้องดังๆ ที่ผ่านการชนะการประกวดเวทีนี้อย่าง วงแอ็บบา และ ซีลีน ดิออน
 
ฮัลลิเวลล์ระบุอีกว่าตัวยูโรวิชั่นเองก็ยืดอกแสดงความภาคภูมิใจที่พวกเขาสนับสนุนเรื่องนี้ แม้แต่นักแสดงยูโรวิชั่นเองบางคนก็แสดงออกผลักดันในเรื่องนี้ด้วย เช่น ในการประกวดปี 2557 มี Drag Queen (คนแต่งกายข้ามเพศในเชิงศิลปะการแสดง) อย่างคอนชิตา เวิร์สต ฉายา "สุภาพสตรีผู้มีหนวดเครา" ก็กลายเป็นตัวแทนผู้ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศสภาพและเพศวิถี รวมถึงเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ในเวลาต่อมา
 
 
เรียบเรียงจาก
 
China Barred From Airing Eurovision Finale After Censoring LGBT Content, Advocate, 11-05-2018
 
Eurovision pulls plug on China after censorship of LGBT act, CNN, 11-05-2018
 
How Eurovision became an online haven for LGBT fans across the world, Pink News, 10-05-2018
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ท่าเตียนซิงตัคลั้ค: ชุมชนจับมือมหา'ลัยสะท้อน การพัฒนาต้องไม่ทิ้งคนในพื้นที่

Posted: 13 May 2018 03:05 AM PDT

เดินดูงานนิทรรศการท่าเตียน ในวันที่การเปลี่ยนแปลงจากนักท่องเที่ยว ทุนและโครงสร้างภาครัฐถาโถมเข้ามา คุยกับนักวิชาการ บทเรียนของชุมชนป้อมมหากาฬถึงท่าเตียน ระบุ พื้นที่ตรงกลางให้คนใน คนนอก ภาครัฐ ได้มาหาทางออกร่วมกันนั้นสำคัญ การพัฒนาที่คิดถึงคนจะทำให้ชุมชนมีีชีวิตชีวา

  • 'ท่าเตียนซิงตัคลั้ค' เป็นงานที่จัดให้พื้นที่ท่าเตียนเป็นนิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์ชุมชน มีตลาดนัดที่คนในชุมชน หรือญาติของคนในชุมชนนำของมาขาย
  • คณาจารย์ที่อำนวยความสะดวกและแนะนำนิสิตนักศึกษาในการลงพื้นที่คุยกับชาวชุมชนเพื่อตกผลึกเป็นการออกแบบในทางรูปธรรมระบุว่า วัตถุประสงค์ของงานคือการทำให้ภาพการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนที่สอบถามจากผู้อยู่อาศัยเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทั้งอยากให้มีพื้นที่กลางให้ผู้อยู่อาศัย ประชาชน คนภายนอกชุมชนสามารถพูดคุย กำหนดนโยบายร่วมกับภาครัฐได้

'ท่าเตียนซิงตัคลั้ค' ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวพันกับคำว่า 'ตัลล๊าคคค' ที่วัยรุ่นสมัยนี้ใช้แทนคำว่า 'น่ารัก' แต่เป็นงานนิทรรศการที่ใช้ท่าเตียน ย่านที่มีความเป็นมายาวนานคู่กับกรุงรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่โชว์ประวัติศาสตร์ ชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงแสดงผลงานของนิสิต นักศึกษาว่าด้วยการออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ย่านในหลายแบบ ตั้งแต่การออกแบบบ้านจนถึงรถแผงลอยแบบ 'ตัลล๊าคคค'

ท่าเตียนเป็นหนึ่งในพื้นที่ในใจกลางพระนครที่ได้รับความเปลี่ยนแปลงมาก ไม่ว่าจะจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพื้นที่ในส่วนที่เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นายทุนภายนอกเข้ามาจับจองพื้นที่ทำธุรกิจบริการนักท่องเที่ยว การเข้ามาของรถไฟใต้ดิน รวมถึงการเป็นหนึ่งในพื้นที่พัฒนาในแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์มายาวนาน ปัจจัยหลายอย่างนำไปสู่คำถามเรื่องการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ข้อกังวลว่าชุมชนจะถูกทิิ้งไว้ข้างหลังในกระแสการพัฒนา

ช่วง 10-13 พ.ค. นี้จึงเกิดการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มท่าเตียนซิงตัคลั้คที่เป็นชาวชุมชนท่าเตียนรุ่นใหม่ ชุมชนท่าเตียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรรมาธิการสถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง สมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA CAN) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมิวเซียมสยาม ใช้พื้นที่ท่าเตียน และความตั้งใจของชาวชุมชนจากการระดมสมอง และลงพื้นที่ของนักศึกษาตั้งแต่ต้นปี 2561 ให้เป็นรูปธรรม ออกมาเป็นเส้นทางวอล์กแรลลี เก็บสติกเกอร์ตามจุดแสดงประวัติท่าเตียน ตลาดนัดจากชาวชุมชนและนิทรรศการแสดงผลงานด้านการออกแบบของนิสิต นักศึกษา

ท่าเตียนที่เปลี่ยนแปลง: พื้นที่กลางและความคิดสร้างสรรค์สำคัญต่อการสร้างเมืองของทุกคน

"ปีนี้พอดีว่ามีโครงการของสำนักนวัตกรรมแห่งชาติส่งไปทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ศิลปากรก็มีโครงการที่ชื่อโอบิทขึ้นมา เป็นโครงการพัฒนา ฟื้นฟูย่านเมืองเก่า การเก็บข้อมูลเพื่อวิจัย พัฒนา ฟื้นฟูชุมชน ที่มีช่องว่างของ gentrification (การแปรสภาพของพื้นที่) พื้นที่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนนักท่องเที่ยวมีแต่แบ็คแพค เดี๋ยวนี้มีทัวร์จีนเป็นคณะมาลง พื้นที่เริ่มเปลี่ยน วิถีชีวิตก็เริ่มเปลี่ยน อย่างที่เห็นคือมีโฮสเทล มีนู่นนี่เข้ามา ก็จะมีช่องว่างระหว่างคนที่อยู่เดิมกับผู้มาใหม่"

"ถ้าดูจากข้อมูลอ้างอิงในหลายพื้นที่ หรือหลายประเทศ ถ้าไม่มีอะไรมาช่วยยึด ช่องว่างก็จะถ่างไปเรื่อยๆ และจะเกิดการปะทะ เกิดการแย่งชิงพื้นที่และผลประโยชน์กันนิดหน่อย คนที่เคยอยู่ก่อนหน้านี้ คนที่มาใหม่ก็อาจจะคิดว่า ฉันจ่ายค่าที่มาถูกต้องแล้วทำไมฉันทำไม่ได้ แกมาทำให้วุ่นวาย เราก็รู้สึกว่ามันไม่น่ารักถ้าเป็นแบบนั้น"

เป็นถ้อยคำของเตชิต จิโรภาสโกศล อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) หนึ่งในคณาจารย์ที่เข้ามาร่วมทำโครงการท่าเตียนซิงตัคลั้คที่สะท้อนถึงท่าเตียนที่กำลังอยู่กลางกระแสการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน

เตชิต จิโรภาสโกศล

อาจารย์จากเอแบคพูดถึงบริบทของท่าเตียนที่อยู่กลางสายธารการเปลี่ยนแปลงจากหลายปัจจัยด้วยความเกรงว่า ความเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้มาใหม่ ได้แก่นักท่องเที่ยว นายทุนใหม่ กับผู้อยู่ในชุมชนแต่เดิม ซึ่งเป็นหนึ่งเหตุผลที่คณาจารย์และนักศึกษาเข้ามาร่วมวงกับคนในชุมชนเพื่อใช้ความรู้ที่เรียนมาสร้างความเป็นไปได้ที่จะเกิดความร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน

"ก่อนหน้านี้มันก็เป็นอย่างนั้น อย่างข้างหน้าหรือข้างหลังที่มีวิวสวยๆ ก็จะเป็นโฮสเทล คาเฟ่ แต่ตรงกลางที่เป็นที่อับๆ พวกเขาก็ยังใช้ชีวิตกันเหมือนเดิม แล้วคิดดูว่าชุมชนอยู่แบบนี้ก็จะเหมือนกับวัดพลังกันกับทุนใหม่หรือคนใหม่ๆ ที่เข้ามา ซึ่งเขาก็ไม่ผิดที่จะเข้ามาหาโอกาสทางธุรกิจ มันจะมีกรณีหนึ่งที่คนในชุมชนเล่าให้ฟังว่า บ้านหลังหนึ่งติดริมน้ำที่เจ้าของบ้านมีสติเป็นงงๆ นิดหนึ่ง แล้วขายบ้านไปในราคาถูกมาก คนที่ซื้อไปก็ทำเป็นโรงแรม

"ถามว่าผิดไหมก็ไม่ผิดหรอก แต่ถ้าเราปล่อยไว้แบบนี้ก็จะเป็นชุมชนคุยกับนายทุน ส่วนตัวคงไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินใคร แต่คิดว่ามันไม่ค่อยเท่าเทียมกัน การต่อรองมันคนละเรื่องกัน เวลาชุมชนต่อสู้กันในแบบเดิมคือการประท้วง ซึ่งนั่นคือเครื่องมือที่เขามี แต่ตอนนี้ในฐานะที่เราเป็นนักออกแบบ มีเครื่องมือที่สร้างสรรค์ เราอยากให้เครื่องมือในการประสานกันให้กับเขา เพราะคนที่เข้ามาและคนในชุมชนก็อยากได้อะไรที่สร้างสรรค์ เรามาหามันร่วมกันได้ไหมว่าความสร้างสรรค์ของพื้นที่นี้เป็นอย่างไร เราเองก็ไม่ได้ปฏิเสธคนนอก หน้างานก็จะมีบอร์ดให้คนที่มาเยือนได้ติดความเห็น ซึ่งก็จะเอาไปพิจารณากันต่อ"

นักศึกษาเอแบครับผิดชอบในเรื่องการออกแบบชุดสาธิตผลิตภัณฑ์ของใช้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า รถเข็นขายของ ศาลารอรถประจำทาง ไปจนถึงหีบห่อรวบรวมผลิตภัณฑ์ของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าเตียน

เตชิตกล่าวว่างานท่าเตียนชิงตัลลั้คเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการทำให้ไอเดียของชาวชุมชนท่าเตียนเป็นรูปเป็นร่าง และหวังว่าในอนาคตจะมีการพูดคุยและร่วมมือกันต่อไป

"มันเป็นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ อย่างที่บอกว่านี่เป็น Incubation Project (โครงการบ่มเพาะ) ตามมิติการทำงานด้านพื้นที่ ด้วยเวลา 5 เดือนมันไม่เสร็จ ถ้าเสร็จก็แปลว่าเราใช้อำนาจบางอย่างให้คลี่คลาย เหมือนที่ทางภาครัฐทำมา แบบนั้นจะเสร็จเร็ว แต่ถ้าเราทำแบบนี้ มาคลี่คลายร่วมกันก็จะช้า อันนี้เป็นเฟสที่หนึ่ง เราหวังว่าจะมีการคลี่คลายร่วมกันอีกต่อๆ ไป เพื่อให้ชุมชนเห็นว่าสิ่งที่แชร์กับเรา คุยกับเรา 3-4 เดือนที่ผ่านมามันเป็นแบบนี้ ชุมชนไม่ได้คิดหรอกว่าไอเดียของเขาจะถูกผลักดันในเชิงนโยบาย แต่เขาเห็นว่าไอเดียของเขาออกมาเป็นอย่างนี้แล้ว แล้วถ้าครั้งต่อไปถ้ามีอะไรอีกเขาก็ยินดีที่จะนำเสนอไอเดียต่อ"

สุพิชชา โตวิวิชย์ (ที่มา: Facebook/ Supitcha Tovivich)

ผศ.สุพิชชา โตวิวิชย์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ประธานคณะกรรมาธิการสถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง หรือ ASA CAN นั่งให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ร้านผัดไทยประจำท่าเตียนว่า เป้าหมายของโครงการนี้คือการจุดประกายให้คนในชุมชนด้วยการจัดพื้นที่ให้เห็นเป็นรูปธรรม ผ่านธีม 'การค้าขาย' ที่ทีมงานคิดว่าเป็นเอกลักษณ์ของท่าเตียน และอยากให้ชุมชนมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มที่ชัดเจนในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงกำลังมาหาท่าเตียนจากรอบทิศทาง

"เวลาเราบอกว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ คนข้างในก็ค่อนข้างจะตื่นเต้นเหมือนกันว่าจะมีคนข้างนอกเข้ามาเยอะ เลยอยากสร้างเครือข่ายคนข้างในให้เข้มแข็งไว้ก่อน เขาเข้มแข็งอยู่แล้วแหละ แต่อยากให้เขามีความชัดเจนของการรวมกลุ่มที่สาธารณะรับรู้ได้ เผื่อในอนาคตจะมีคนมาขอทำนู่นนี่ อย่างน้อยก็มาปรึกษาคนในชุมชนก่อน ซึ่งชุมชนก็มีการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นอยู่แล้วคือชุมชนท่าเตียนที่เป็นรุ่นอาวุโส และกลุ่มคนรุ่นใหม่ คือกลุ่มซิงตัคลั้ค"

"ทำเป็นตลาดเพราะว่าระดมสมองเรื่องอัตลักษณ์ของท่าเตียน และมีข้อสรุปว่า ท่าเตียนคือการค้าขาย แต่เขาต้องอยู่กับการค้าขายรูปแบบใหม่ด้วย ค้าส่งก็ยังขายได้นะ ร้านที่แข็งแรงก็อยู่ได้ แต่ในอนาคตพอมีรถไฟฟ้า ย่านจะค่อยๆ เปลี่ยน จะมีคนรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยวใหม่ๆ เราเลยคิดว่าจะใช้อะไรเป็นแพลตฟอร์มมาร่วมคิดร่วมคุย ก็เลยนึกถึงตลาด และใช้ชื่อตามกลุ่มคนรุ่นใหม่ของท่าเตียน ร้านที่มาออกก็เป็นคนในท่าเตียน หรือเป็นญาติๆ ของคนในท่าเตียน ไม่ใช่คนนอก ไม่ใช่คนข้างนอกมาทำให้เปลี่ยน แต่เป็นของคนข้างในที่ชวนกันมา"

คอนเซปต์การพัฒนาเมืองที่คิดถึงผู้คน กับบทเรียนที่รัฐควรและไม่ควรทำ

หากติดตามประเด็นการพัฒนาพื้นที่ อย่างน้อยจะต้องเคยเห็นคำว่า 'Gentrification' ผ่านตาไม่มากก็น้อย (อย่างน้อยก็เห็นบนหัวข้อด้านบนที่อ่านผ่านมาแล้วหนึ่งครั้ง) คำว่า Gentrification เป็นคำที่พูดถึงการแปรสภาพพื้นที่ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ แต่คอนเซปต์ของ Gentrification ที่ได้ยินจากนักวิชาการมักโยงไปถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนพื้นที่จากลักษณะหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างผลงานการออกแบบโกดังเก็บเรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนท่าเตียนจากนิสิต ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อนำเสนอแนวทางปรับพื้นที่ชุมชน

ศ.ไมเคิล เฮอร์ซเฟลด์ ศาสตราจารย์คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า Gentrification คือการพูดถึงการอนุรักษ์เมืองโดยไม่คำนึงถึงการได้รับการยอมรับ ทำให้คนที่ไม่มีความสามารถในการอยู่อาศัยในพื้นที่ต้องย้ายออกไป เช่น คนที่ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น แล้วให้คนที่รวยกว่า มีทุนที่สามารถใช้ลงทุนเพื่อบูรณะพื้นที่ได้เข้ามาอยู่ กลายเป็นบริเวณสำหรับคนที่มีสิทธิพิเศษเท่านั้น รูปธรรรมของ Gentrification ที่พูดคุยกับไมเคิลคือชุมชนป้อมมหากาฬที่ปัจจุบันกำลังถูกเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ

พื้นที่ที่เคยเป็นชุมชนป้อมมหากาฬ ปัจจุบันกำลังถูกไถกลบ ปรับพื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ

รื้อไล่ไม่ใช่ทางออกเดียว: คุยกับนักมานุษยวิทยา ม.ฮาร์วาร์ดเรื่องชุมชนป้อมมหากาฬ

ในขณะที่สุพิชชาให้ความเห็นว่า Gentrification มีหลายแบบ แต่สามารถแปลแบบเถื่อนๆ ได้ว่าการทำให้พื้นที่เป็นของชนชั้นกลาง ซึ่งก็มีทั้งคุณและโทษ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ กระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่ควรทิ้งคนที่อาศัยอยู่เดิมไว้ข้างหลัง

"ถ้าแปลแบบเถื่อนๆ หน่อยก็คือการทำให้พื้นที่เป็นพื้นที่ของชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางในที่นี้ก็จะเป็นเชิงลบนิดหนึ่ง เป็นพื้นที่เก๋ๆ อะไรอย่างนี้ ซึ่งก็เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก เมื่อมีพื้นที่เสื่อมโทรมที่มีที่เช่าราคาถูก ก็จะมีศิลปิน นักออกแบบเข้าไปพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น ในแง่ดีคือมันได้ใช้พื้นที่ที่เคยถูกทิ้งร้าง แต่พอเข้าไปเยอะๆ มันก็มีคีย์เวิร์ดเรื่อง inclusive คือต้องเอาคนข้างในมาร่วมคิดด้วย จะมาจัดตลาดก็ไม่ใช่จัดวันหรือเวลาไหนก็ได้ คือถ้าเป็น Gentrification แบบโหดร้ายก็คือทุกอย่างถาโถมมา ไอ้นี่ต้องทำบาร์ ต้องเป็นนู่นนี่นั่น ซึ่งคนข้างในไม่ได้ไปด้วยกัน"

"ส่วนตัวอยากจะบอกว่า Gentrification ไม่ได้เป็นเชิงลบเสมอไป การถูกทำให้เป็นพื้นที่สดชื่น สดใสมันมีประโยชน์ เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสทางเศรษฐกิจนั้นตกอยู่กับท้องถิ่น ไม่ใช่ที่คนข้างนอกอย่างเดียว ถ้ามีแต่คนนอกถาโถมเข้ามา คนข้างในก็จะโดนทิ้งห่างเพราะค่าเช่าจะเริ่มแพงขึ้นจากการที่พื้นที่มีศักยภาพมากขึ้น"

"ในลอนดอนจะมีย่านแฮกนีย์ ที่เป็นย่านเสื่อมโทรม พอศิลปินไปอยู่เยอะๆ ก็เริ่มเก๋ขึ้น มีฮิปสเตอร์อยู่เยอะมากจนคนในนั้นรู้สึกว่าตัวเองป็นคนข้างนอก ถึงขั้นไปเผาร้านฮิปสเตอร์อย่างที่เป็นข่าวเมื่อหลายปีที่แล้ว  ถึงเน้นว่า คุยกับคนข้างใน ข้อกำหนดหลายๆ อย่างควรมาจากคนข้างใน ไม่อยากให้เป็น Gentrification แบบใครก็ได้เข้ามาทำ"

ตลาดท่าเตียนซิงตัคลั้คยามค่ำคืน

ในประเด็นเดียวกันว่าด้วยคอนเซปต์ของ Gentrification เตชิตได้โยงไปถึงภาครัฐว่า การปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามนโยบายบนแผ่นกระดาษไม่ควรจะทำโดยไม่คำนึงถึงมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผู้สร้างมูลค่าต่างๆ บนถิ่นที่อยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การคำนึงถึงความหลากหลาย การมีส่วนร่วมจากระดับประชาชนสู่การกำหนดนโยบายคือสิ่งที่จะทำให้ท่าเตียนต่างจากดิสนีย์แลนด์ที่ทุกอย่างสวยงามแบบจัดสรรเอาไว้ตามแผนเป๊ะๆ

"มันไม่ควรจะถูกแทรกแซงโดยนโยบายใหญ่จากภาครัฐโดยที่ไม่มีการทำงานร่วมกับคนที่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นทุนใหม่ที่เข้ามา หรือทุนรายย่อยหรือคนในชุมชน เพราะเวลาเราทำงานเชิงนโยบาย โดยเฉพาะกับภาครัฐที่มีอำนาจเขาก็ดูแบบ Bird eye view และในผังมันไม่มีคน แบบนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงยุคโมเดิร์น 1950-1960 มันตกยุคไปแล้ว ประเทศที่เคยโมเดิร์นเขาเรียนรู้แล้ว เวลาเขาเปลี่ยนแปลงเมืองเขาเอาชุมชนมาเป็นฐาน เอาคนในพื้นที่ มีคำว่า human scale คือทำในระดับของมนุษย์"

"ประเทศเราช้ากว่าประเทศอื่นในหลายมิติ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ แม้กระทั่งงานออกแบบ หรือแนวคิดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เราไปหยิบเอายุทธศาสตร์ที่โลกเรียนรู้แล้วว่าไม่เวิร์กมาใช้ตอนนี้ เราเรียนรู้จากบริบทของประเทศอื่นๆ แค่ไปดูก็จะรู้ว่าไม่น่าเวิร์ค"

"มันอาจจะเวิร์คกับคนที่อยู่ในการวางนโยบาย มันจะออกมาสวย เรียบ คุมโทน ออกมาเป็นโทนเดียวกัน แต่อย่างนี้มันจะต่างอะไรกับดิสนีย์แลนด์ที่มีบูธเรียงกัน คนประจำบูธก็แต่งตัวเหมือนกัน แต่ถูกออกแบบมาแล้วว่าให้ขายแบบนี้ มันไม่ lively (ไม่มีชีวิตชีวา) ถ้าแบบนี้ไปเที่ยวดิสนีย์แลนด์ก็ได้"

"แต่ถ้าเราไม่โจมตีอย่างเดียวก็จะรู้ว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งนั้น (ผู้กำหนดนโยบาย) ยุ่ง ทำงานหลายมิติ เราก็อยากให้เห็นว่ามีคนเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นตัวกลางคอยเชื่อม นำเสนอ คุยกับชุมชน แม้กระทั่งพยายามผลักดันให้ชุมชนเป็นคนกำหนดนโยบายภาคชุมชน เพื่อนำไปเสนอหรือแลกเปลี่ยน พูดคุย นโยบายภาครัฐ แน่นอนเขามีหน้าที่ต้องทำแบบนั้น แต่มันมีช่องทางการแลกเปลี่ยน ผสมผสาน หรือฟังเสียงร่วมกันไหม มันเป็นเมืองของทุกคน แล้วคนที่อยู่มาก่อนหน้านี้ มูลค่าที่มีอยู่ก็เพราะคนก่อนหน้านี้ที่ทำให้มีชีวิตชีวา หรือกระทั่งแผงลอย รถเข็น ที่อาจจะผิดกฎหมาย แต่ก็ทำให้มีชีวิตชีวา"

เรือใบกระดาษที่ทางเข้านิทรรศการข้อเสนอการปรับพื้นที่ชุมชนท่าเตียนที่จัดในโกดังเก็บเรือสมัยรัชกาลที่ 3

"แม้แต่คลองถมที่ดูดาร์ค ผิดกฎหมาย แต่มันคึกคักและมีคน เพราะคนเหล่านั้นทำให้มีคน แต่พอตอนนี้ภาครัฐปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้สะอาด ตอนนี้ก็แห้งเหี่ยวไม่มีใครไปเดิน จะมีใครไปเดินถนนคอนกรีต เวลาเราเดินไปเจอบูธสวยๆ เยอะแยะแต่ไม่มีคน เราก็ไม่กล้าเข้า แต่ถ้าเจอร้านที่คนมุงอะไรไม่รู้เยอะแยะ เราก็จะเข้าไปมุงด้วย เพราะคนมันดึงดูดกัน เราดึงดูดด้วยคน ไม่ได้ดึงดูดด้วยอะไรสวยงาม สิ่งที่ควรคิดถึงให้มากที่สุดในเมืองคือคนที่อยู่ตรงนั้น การพัฒนาเมืองที่เป็นฐานรากคือจากล่างสู่บน" เตชิตกล่าว

สุพิชชาย้ำถึงความสำคัญซึ่งเป็นเจตจำนงของการจัดงานท่าเตียนชิงตัลลั้คว่าต้องการให้มีพื้นที่ให้คนในชุมชน คนนอกชุมชน รัฐบาล ได้พูดคุยกันเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกัน

"อยากให้รัฐบาลมีนโยบายที่เปิดกว้างให้กับคนข้างล่างที่เขาพร้อมจะช่วยทำงานให้ได้มีนโยบายที่มาเจอกัน รัฐทำถึงข้างล่างไม่ไหวหรอก รายละเอียดเยอะ รัฐที่ไหนจะมานั่งคุยกับบ้านทีละหลัง รัฐควรจะเปิดให้คน ชุมชนที่พร้อมทำงาน มีพื้นที่ให้ bottom-up กับ top-down (ล่างสู่บน กับบนสู่ล่าง) มาเจอกัน เพราะฉะนั้น มีความหวังกับท่าเตียนอยู่แล้ว คนในทา่เตียนน่ารักมาก แต่อยากให้การทำงานของรัฐหลายๆ อย่าง ดึงเอาคนในพื้นที่ขึ้นไปทำงานด้วยกัน เวลาจัดระเบียบก็ปรึกษากันหน่อยไหม อาจจะหาตัวกลาง เช่นสถาบันการศึกษาที่เป็นกันชนอย่างดีให้กับหลายๆ เรื่อง"

"เชื่อว่าถ้าเรามีแพลตฟอร์มที่เอาคนมาคุยกัน อย่างมากก็ทะเลาะกัน แต่ถ้าไม่จับมาคุยกันก็ทะเลาะกันแน่ๆ แต่ถ้าจับมาเจอกันก็อาจมีทางแก้ไขอะไรบางอย่าง รัฐช่วงนี้ก็จัดระเบียบกรุงเก่าอะไรเยอะไปหมด ก็เป็นห่วงมาก เพราะเรียนและโตที่ศิลปากร รู้สึกว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ได้ทำงานแถวนี้ เลยหวงแหนพอสมควร" สุพิชชาทิ้งท้าย

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคนที่ทำงานในประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬ เตชิตสะท้อนบทเรียนจากพื้นที่ชุมชนป้อมว่า สิ่งที่สำคัญคือการมีพื้นที่ตรงกลางทั้งในด้านพื้นที่ ความคิด และยุทธศาสตร์เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาคลี่คลายปัญหาไปในจังหวะเดียวกัน ไม่ใช่ปะทะกัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่มุ่งให้เกิดในท่าเตียน
 
"มันเหมือนเป็นคลื่นพลังที่ขึ้นๆ ลงๆ และควรพยายามจะจับมันให้ได้ และให้ทุกคนอยู่ในจังหวะเดียวกันไม่ได้ ไม่ใช่การปะทะกัน ไอ้นี่พุ่งมา ฉันต้องพุ่งกลับ มันควรมีความรู้สึกที่ว่า ทำไมคุณเป็นอย่างนี้ มีเหตุผลอะไร ไหนพูดให้ฟังหน่อย แต่เรายังไม่มีพื้นที่แบบนั้น เวลาเราประชุมถ้าไม่ประชุมที่กรุงเทพฯ ก็ต้องประชุมที่ชุมชน มันไม่มีพื้นที่กลาง ซึ่งพื้นที่มันก็สะท้อนความคิดเรื่องความเป็นเจ้าของ ถ้ามันมีพื้นที่กลางทั้งในทางกายภาพ ความคิด ยุทธศาสตร์ ผมคิดว่าจะไม่มีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น เพราะทุกคนก็อยากให้เมืองโตไปในทางที่ดี คนในชุมชนก็เรียนรู้ แต่ก่อนคนในชุมชนก็อาจจะเอาเปรียบในเชิงกฎหมาย แต่ทุกคนเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ใช่ว่ายึดแต่ภาพเดิมๆ มาตลอด" เตชิตกล่าว
 
คำถามที่เกิดขึ้นในใจผู้สื่อข่าวตอนนี้ เวลาที่คอนโดแข่งกันทิ่มแทงท้องฟ้า รถไฟใต้ดินจะวิ่งเข้าใจกลางพระนครคือ 'ประชาชน' จะอยู่ตรงไหนในสมการการพัฒนาเมือง?

หมายเหตุ: ประชาไทได้แก้ไขและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่เพื่อเรียงลำดับใจความสำคัญ และลดความสับสนของการนำเสนอประเด็นในเรื่องท่าเตียนและคอนเซปต์การพัฒนาพื้นที่ เมื่อเวลา 22.49 น. วันที่ 13 พ.ค. 2561

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในไทยยังมีมาก

Posted: 13 May 2018 01:55 AM PDT

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ระบุปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดีขึ้นมากนักแม้นการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ความเหลื่อมล้ำของการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งยังคงรุนแรงขึ้นในไทย ส่วนความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นยังมีมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าของทุนกับแรงงานรับจ้างทั่วไปและเกษตรกรรายย่อย

 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (แฟ้มภาพ)
 
13 พ.ค. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดีขึ้นมากนักแม้นการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากงานวิจัยของ ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะพบว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ดีขึ้นเล็กน้อยโดยวัดจากดัชนีจินี โดยค่าดัชนีจินีเท่ากับ 0.45 ในปี 2558 (ข้อมูลล่าสุดที่มีการคำนวณ) จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 0.51 ในปี พ.ศ. 2549 (ดัชนีจีนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่าความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เข้าใกล้ 0 ความเหลื่อมล้ำลดลง ค่า 1 คือ ความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ค่า 0 คือไม่มีความเหลื่อมล้ำเลย) สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตนเห็นว่าเป็นผลมาจากนโยบายและมาตรการต่างๆของหลายรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะนโยบาย "เอื้อคนจน" (Pro-poor policy) ไม่ว่าจะเป็นการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรทั้งมาตรการรับจำนำข้าว มาตรการประกันราคา การเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ บทบาทของกองทุนหมู่บ้าน นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สวัสดิการทางด้านการศึกษา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นของผู้ประกันจากกองทุนประกันสังคม เงินอุดหนุนแม่และเด็ก เป็นต้น   
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่าอย่างไรก็ตามปัญหาความเหลื่อมล้ำของการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งยังคงรุนแรงขึ้นในไทย ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นมีมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าของทุนกับแรงงานรับจ้างทั่วไปและเกษตรกรรายย่อยปราศจากที่ดินทำกิน มหาเศรษฐี 100 อันดับแรกของไทยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยของประเทศทรัพย์สินและความมั่งคั่งไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยและหนี้สินต่อครัวเรือนลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประเทศไทยจึงติดอันดับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกเป็นอันดับสามรองมาจากอินเดียและรัสเซีย ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย สถาบันการเงินเครดิตสวิสได้เคยออกรายงานความมั่งคั่งของโลกระบุว่าไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 3 ของโลกโดยคนรวย ที่มีสัดส่วน 1% ของประชากร ครอบครองความมั่งคั่งสูงถึง 58% ของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ข้อมูลของโครงสร้างเงินฝากในระบบสถาบันการเงินยังพบว่าคนรวย 0.1% หรือ 65,000 คน จากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน มีเงินฝากเท่ากับ 49% ของเงินฝากทั้งระบบ กลุ่ม 10% แรกของประชากร เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ มหาเศรษฐี 50 อันดับแรกของไทยมีสัดส่วนทรัพย์สินเทียบกับจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2557 เป็น 30% (มีทรัพย์สินทั้งหมด 4.32 ล้านล้านบาท) ในปี 2560 ภายใต้รัฐบาล คสช. หมายความว่ามีคนเพียง 50 คน ที่ถือครองทรัพย์สินมากกว่าหนึ่งในสี่ของจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด  
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่าตนเชื่อว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่งและทรัพย์สินนี้น่าจะรุนแรงกว่าตัวเลขที่ปรากฎเผยแพร่เนื่องจากเราไม่สามารถสำรวจข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลการถือครองทรัพย์สินของกลุ่มประชากรที่มีรายได้และถือครองทรัพย์สินสูงสุด 5-10% ได้อย่างครบถ้วน ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นี้จะนำมาสู่ความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในอนาคต  
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าความรุนแรงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน แม้นเป็นเรื่องที่แก้ไขยากและต้องใช้เวลา สภาวะความเหลื่อมล้ำอย่างมากได้ทำลายศักยภาพของประเทศและคนไทยส่วนใหญ่ ทำให้ขาดโอกาส ขาดสิทธิ ขาดรายได้และไร้ซึ่งทรัพย์สินและการเข้าถึงปัจจัยการผลิต ทำให้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลง ตกอยู่ในวังวนของธนาธิปไตยและระบอบรัฐประหาร รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้ปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจโดยเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะลดลงภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยและหลักการกระจายอำนาจ ความอยุติธรรมหรือการถูกเลือกปฏิบัติจากโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำย่ำแย่ลง ต้องใช้วิธีลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพิ่มโอกาส เพิ่มสิทธิให้ประชนชน
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่าจำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดอำนาจผูกขาดและเพิ่มการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เพิ่มสวัสดิการ ลดการรั่วไหลและการทุจริตงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ปฏิรูปภาษีด้วยการเพิ่มภาษีทรัพย์สิน ดำเนินการผ่านกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต้องคำนึงถึงการกระจายโอกาสและการกระจายผลประโยชน์ไปยังประชาชนส่วนใหญ่ด้วย และควรศึกษาการเก็บภาษีลาภลอยเพื่อนำผลประโยชน์ส่วนเกินที่ได้จากการลงทุนจากงบประมาณของรัฐไปพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ของประเทศด้วย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ลง ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่ารัฐบาล คสช. เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คือ การผลักดันให้มีการผ่านกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาบังคับใช้ซึ่งขณะนี้ค้างอยู่ที่ สนช. เนื่องจากมีการเสนอแก้ไขเนื้อหาสาระในหลายมาตราโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการขอยกเว้นภาษีและอัตราภาษี การแก้ไขเหล่านี้ไม่ควรทำให้หลักการสำคัญของภาษีที่ดินเสียหายไปโดยเฉพาะการเพิ่มความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ลดการทุจริตคอร์รัปชัน คาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาษีที่ดินไม่ต่ำกว่า 35,000-45,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและจัดสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยได้ มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา "การตะครุบที่ดิน" (land grabbing) โดยทุนขนาดใหญ่ต่างชาติโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหลาย อัตราภาษีทรัพย์สินที่ต่ำเกินไปหรือไม่มีการจัดเก็บพร้อมทั้งระบบข้อมูลการถือครองที่ดินที่ไม่ชัดเจนจะทำให้ปัญหาการตะครุบที่ดินรุนแรงมากขึ้นในอนาคต แม้นที่ดินจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศได้ แต่การเป็นเจ้าของที่ดินอาจส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรที่ดินที่รัฐอาจมีปัญหาในการควบคุมการใช้ได้ ปัญหาการตะครุบที่ดินเกิดขึ้นในหลายประเทศในละตินอเมริกาและแอฟริกาและสร้างความไม่สมดุลและเพิ่มความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงในประเทศเหล่านี้ จึงควรมีการศึกษาระบบและกลไกที่ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตะครุบที่ดิน 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอนุญาตฝากขัง 'เอกชัย' ผัดแรก 12 วัน คดีฝืนคำสั่ง คสช. ชุมนุมร้องเลือกตั้ง

Posted: 13 May 2018 01:48 AM PDT

ศาลอนุญาตฝากขัง 'เอกชัย' คดีฝืนคำสั่ง คสช. ชุมนุมร้องเลือกตั้ง ระบุออกหมายเรียกหลายครั้งแล้วไม่มา จึงออกหมายจับและอนุญาตฝากขังผัดแรก 12 วัน เอกชัย ประกาศใช้อารยะขัดขืนไม่ประกันตัว  จนท.เตรียมส่งตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพทันที

ภาพจากเพจ Banrasdr Photo 

13 พ.ค.2561 ภายหลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม คุม ตัว เอกชัย หงษ์กังวาล นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง มาขออำนาจศาลฝากขังในความผิดคดีมาตรา 116, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากกรณีชุมนุมขับไล่ คสช. เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สัญญาไว้ ที่หน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา

ล่าสุด ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เวลา 14:20 น. มีรายงานข่าวจากศาลอาญา โดยระบุว่าศาลค้านแถลงคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม แต่ศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าออกหมายเรียกหลายครั้งแล้วไม่มา จึงออกหมายจับ วันนี้พิจารณา แล้วอนุญาตให้ฝากขังได้ในผัดแรก (เป็นเวลา 12 วัน) โดยในวันนี้ยังไม่มีญาติมายื่นหลักทรัพย์ประกันตัว เจ้าหน้าที่จึงเตรียมส่งตัวนายเอกชัย เข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพทันที

โดยที่เพจ Banrasdr Photo รายงานว่า เอกชัย ประกาศใช้อารยะขัดขืนไม่ประกันตัว จึงถูกคุมตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

ทั้งนี้ เอกชัย ถูกตำรวจเข้าจับกุมตัวที่บ้านพักและถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่ สน.ชนะสงคราม ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า กรณีการควบคุมตัว เอกชัย ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ออกมาหมายเรียกครบ 4 ครั้ง ซึ่งหมายเรียกครั้งที่ 4 ระบุให้ เอกชัย เข้ารายงานตัวในเวลา 9.30 น. ของวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้พนักงานสอบสวนได้ทำการขอออกหมายจับจากศาลอาญา หลังจากนั้น ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับ ทำให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเข้าจับกุมตัวที่บ้านพัก ขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ สน.ชนะสงคราม ดังกล่าว สำหรับคดีนี้ในส่วนของแกนนำ ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาและได้ถูกนำตัวไปฝากขังโดยพนักงานสอบสวนแล้ว โดยศาลอาญารัชดามีคำสั่งไม่รับฝากขังแกนนำและผู้ชุมนุมไปก่อนหน้านี้ใน 2 ชุด คือเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 จำนวน 5 คน และวันที่ 1 พ.ค. 2561 จำนวน 4 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวแอพฯ บริหารจัดการบั้งไฟ สร้างความปลอดภัยคมนาคมทางอากาศ

Posted: 13 May 2018 01:15 AM PDT

'จิสด้า' เปิดตัวแอพพลิเคชั่น 'บำเพ็ญ' ช่วยแจ้งเตือนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมทางอากาศ ได้รับทราบถึงจุดหรือพิกัดที่จะมีการปล่อยบั้งไฟ เพื่อจะได้วางแผนในเส้นทางการบิน และไม่ให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบกับการคมนาคมทางอากาศ

 
 
 
13 พ.ค. 2561 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เปิดตัว "ระบบบริหารจัดการกิจกรรมบั้งไฟ" หรือแอพพลิเคชั่น "บำเพ็ญ" ณ บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ตั้งเป้าให้หน่วยงานทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชนได้ใช้งานอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความปลอดภัยให้กับการคมนาคมทางอากาศ โดยไม่กระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีอันดีงามของคนไทย
 
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบัน การปล่อยบั้งไฟนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายและผลกระทบต่อการคมนาคมทางอากาศได้ หลายปีมานี้มีการแจ้งพบบั้งไฟขณะทำการบินซึ่งนักบินไม่ได้รับแจ้งเตือนล่วงหน้า ซึ่งหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด พยายามแก้ไขปัญหาในจุดนี้โดยได้ขอความร่วมมือและสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่นหรือผู้ที่ต้องการประกอบกิจกรรมการจุดบั้งไฟ เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ควบคุมและเฝ้าระวังบริเวณโดยรอบสนามบิน และเส้นทางบินเป็นพิเศษ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงขั้นตอนการขออนุญาตการจุดบั้งไฟกับทางหน่วยงานปกครองในท้องที่ก่อนการประกอบกิจกรรมฯ ทุกครั้งด้วย โดยเฉพาะระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงประเพณีบุญบั้งไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากสถิติที่พบเมื่อปี 2560 มีการแจ้งการจุดบั้งไฟมากถึง 19,520 บั้ง และมีนักบินพบเห็นบั้งไฟขณะทำการบินจำนวนมากกว่า 50 ครั้ง
 
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตระหนักถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยที่เกิดจากกิจกรรมการปล่อยบั้งไฟมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีมาตรการและข้อบังคับในการขออนุญาตแต่ก็ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการคมนาคมทางอากาศอย่างครบวงจร ทำให้ยังไม่สามารถวิเคราะห์ถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นกับการคมนาคมทางอากาศได้ทั้งหมด เช่น เขตพื้นที่ห้วงอากาศสำหรับการเดินอากาศ หรือเส้นทางการจราจรทางอากาศ รวมถึงข้อมูลที่สำคัญบางส่วนในใบอนุญาตอาจยังไม่ครบถ้วนเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า จึงทำการพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการปล่อยบั้งไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการคมนาคมทางอากาศและเป็นการส่งเสริมในการนำระบบภูมิสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของการส่งคำขอใบอนุญาตจากทางภาคประชาชน การรับรองคำขอจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องที่ การวิเคราะห์ความปลอดภัย รวมไปถึงการออกใบอนุญาตทั้งกระบวนการแบบครบวงจร เพื่อเชื่อมโยงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และรักษาความปลอดภัยทางการคมนาคมทางอากาศของประเทศไทย ซึ่งเมื่อต้นเดือนเมษายน 2561 ได้มีการนำระบบดังกล่าวมาทดสอบใช้งานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัดคือ ศรีสะเกษ และยโสธร ได้รับทราบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงคมนาคม, บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และการท่าอากาศยานไทย เป็นต้น ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว
 
ทางด้าน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า กล่าวว่า จิสด้าได้พัฒนาเครื่องมือภูมิสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการด้านการคมนาคมทางอากาศและความปลอดภัยทางอากาศ หรือที่เรียกว่า GISAVIA ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานใน 2 ส่วน หรือ Dual use ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งมิติของความมั่นคงและมิติด้านพลเรือน รองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยจุดเด่นของ GISAVIA พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโตของการจราจรทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถทางด้านความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน่านฟ้าการจราจรทางอากาศตามมาตรฐานสากล ซึ่งจากความสามารถของ GISAVIA นั้น ได้มีการต่อยอดไปสู่การพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างง่าย นั่นก็คือ "บำเพ็ญ" เป็นแอพพลิเคชั่นสนับสนุนการบริหารจัดการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการควบคุมการปล่อยบั้งไฟที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีบุญบั้งไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการดังกล่าวจะต้องไม่กระทบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมาช้านานของคนในพื้นที่ด้วย
 
แอพพลิเคชั่น "บำเพ็ญ" จะช่วยแจ้งเตือนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมทางอากาศ ได้รับทราบถึงจุดหรือพิกัดที่จะมีการปล่อยบั้งไฟ เพื่อจะได้วางแผนในเส้นทางการบิน และไม่ให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบกับการคมนาคมทางอากาศ ทั้งด้านทางทหาร ด้านพลเรือน ด้านการบินพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นดังกล่าว จะช่วยให้ประชาชนที่ลงทะเบียนใช้งาน ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องกรอกเอกสารบนกระดาษอีกต่อไป ช่วยประหยัดเวลาในการยื่นเอกสาร รวมทั้งผู้ใช้งานสามารถติดตามคำขอของตนเองได้ด้วย โดยลักษณะการใช้งานของระบบดังกล่าวสามารถแจ้งชื่อกิจกรรม ประเภทของวัตถุที่จะปล่อย เส้นผ่านศูนย์กลาง น้ำหนัก และจำนวนของวัตถุที่ต้องการจะปล่อยสู่น่านฟ้าได้ ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการจัดการของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการวิเคราะห์และประเมินด้านความปลอดภัยในการคมนาคมทางอากาศ จนกระทั่งสู่การออกใบอนุญาตในที่สุด
 
"บำเพ็ญ" ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในการกำหนดเป็นนโยบาย หรือมาตรการ หรือข้อบังคับ หรือการขออนุญาตในการบินโดรน หรือการบินประเภทอื่นๆ ในอนาคตได้ ซึ่งมีกรอบแนวคิดและวีธีการในการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าว
 
หมายเหตุ: สามารถดาวน์โหลด Bampen ได้ที่ Play Store บนระบบแอนดรอยด์ได้แล้ววันนี้ สำหรับระบบ IOS อยู่ระหว่างการพัฒนา
 


 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อธิบดีกรมเหมืองแร่ฯ ชี้บริษัทจีนเข้าสำรวจแร่ได้เลย ด้าน NGO ระบุถ้างั้นต้องไปแก้กฎหมายก่อน

Posted: 13 May 2018 12:22 AM PDT

อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยบริษัทจีนทำตามขั้นตอนทางกฎหมายทุกอย่างแล้ว สามารถเข้าสำรวจแร่ในพื้นที่ได้ หากได้รับการอนุญาจากเจ้าของที่ดินแล้ว ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้บริษัทแจกแจงพื้นที่คุณภาพน้ำนั้น บริษัทไม่ต้องทำ ด้านนักวิชาการเหมืองแร่โต้ หากจะทำอย่างนั้นต้องกลับไปแก้กฎหมายก่อน

สืบเนื่องจากกรณีที่ ชาวบ้านกลุ่มรักษ์วานรนิวาส ได้ออกมารวมตัวคัดค้านการขนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแทช ของบริษัทไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เข้าไปในพื้นที่ซึ่งเป็นหลุ่มขุดเจาะที่ 4 โดยเห็นว่าเป้นการกระทำที่ไชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเห็นว่าทางบริษัทจำเป็นต้องแจกแจงก่อนว่าพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตอาชญาบัตรให้สำรวจแร่ได้นั้นเป็นพื้นที่ประเภทใด ตามการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และเป็นพื้นที่สงวนหรือพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ในมาตรา 118

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเกี่ยวกับกลุ่มอนุรักษ์วานรนิวาส จ.สกลนคร ยื่นหนังสือเพื่อขอทบทวนอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โพแทชของบริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ให้เป็นไปตามมาตรา 188 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 นั้น บริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับใบอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โพแทชแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. 2558 ถึงวันที่ 11 ม.ค. 2563 (มีอายุ 5 ปี) โดยมีเงื่อนไขให้ ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อนจึงจะเข้าพื้นที่ทำการสำรวจได้ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ทำการสำรวจตามแผนงานและเงื่อนไขการอนุญาต มีการเจาะสำรวจไปแล้ว 3 หลุม โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินที่มีการเจาะสำรวจแล้ว ทั้งนี้ กระบวนการสำรวจแร่โพแทชจะใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยในการเจาะสำรวจ และต้องทำการฝังกลบพร้อมกับฟื้นฟูพื้นที่ทันทีหลังเสร็จสิ้นการเจาะสำรวจ

สำหรับการขอให้ทบทวนอาชญาบัตรพิเศษของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามประกาศของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรังวัดกำหนดเขตคำขอตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 188 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ปัจจุบันบริษัทฯ ไม่มีคำขอประทานบัตรและคำขอใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 188 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ดังกล่าว

ส่วนกรณีการขอข้อมูลเกี่ยวกับอาชญาบัตรพิเศษของบริษัทฯ ของภาคีเครือข่ายประชาชนวานรนิวาสนั้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนครได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และบริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จะได้ชี้แจงทำความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันต่อไป

อย่างไรก็ตาม มาตรา 188 ใน พ.ร.บ.แร่ ระบุว่า บรรดาคําขอทุกประเภทที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่า เป็นคําขอตามพระราชบัญญัตินี้ และให้พิจารณาดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ส่วนมาตรา 189 ระบุว่า บรรดาอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ยังคงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ด้านเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่  กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ระบุว่า หากจะมีการดำเนินการโดยไม่ต้องจำเป็นที่จะต้องทำตาม พ.ร.บ. แร่ โดยเฉพาะมาตรา 188 และ 189 นั้น ก็จะต้องกลับไปแก้กฎหมายเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งประกาศกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรังวัดกำหนดคำขอตาม พ.ร.บ. แร่ 2560 ซึ่งประกาศไว้เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2560 ก็ระบุชัดเจนว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่น ให้มีตรวจสอบพื้นที่ที่ยื่นคำขอว่าเป็นพื้นที่ที่ห้ามยื่นขอตามกฎหมายว่าด้วยแร่หรือ กฎหมายอื่นหรือไม่แล้วส่งให้สำนักวิศวกรรมและฟื้นฟูพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเขียนแบบพิมพ์อาชญาบัตร และคำขอ อาชญาบัตรพิเศษ ให้มีการลงรายละเอียดข้างเคียงให้ครบถ้วน ทั้งแสดงแนวเขตการทับคาบเกี่ยวพื้นที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย พื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรี และพื้นที่ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560

ขณะที่ ณัฐพร อาจหาญ กลุ่มขบวนการอีสานใหม่ ได้เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการสำรวจแร่โปแทชให้ประชนในพื้นที่ได้รับรู้ โดยเฉพาะแผนที่แนบท้ายโครงการที่จะแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ทั้งหมด 120,000 ไร่ ที่บริษัทได้รับอาชญาบัตรพิเศษให้สำรวจแร่ได้ 5 ปี นั้นจะเป็นพื้นที่ใดบ้าง และพื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ประเภทใด

"ชาวบ้านเราขอมาตลอดยื่นเรื่องของมาตลอด หน่วยงานก็ตอบกลับมาว่าไม่สามารถให้ได้เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับสิทธิของบริษัท จากนั้นชาวบ้านก็ไปยื่นขอกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ ล่าสุดก็มีการส่งเรื่องกลับมาว่ามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อให้พิจารณาว่าจะเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่ ซึ่งก็จะเห็นว่าชาวบ้านยังไม่เคยเข้าถึงข้อมูลของโครงการเลย โดยมีความพยายามกีดกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าถึงข้อมูล และระหว่างนั้นบริษัทกลับดำเนินการไป" ณัฐพร กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอปฏิรูปตำรวจห้ามนำ 'ผู้ต้องหา' แถลง

Posted: 13 May 2018 12:21 AM PDT

'บวรศักดิ์' ในฐานะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เห็นว่าการนำตัวผู้ต้องหามาแถลงนั้นจะไม่สามารถทำได้ เพราะถือว่าผิดอาญาและกฎหมายยังกำหนดว่าผู้ต้องหาจะมีความผิดก็ต่อเมื่อศาลได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว

 
 
13 พ.ค. 2561 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่านายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ในฐานะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... ให้สัมภาษณ์ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เอาจริงกับการปฏิรูปตำรวจ หลังจากตั้งกรรมการร่างกฎหมายที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายนี้จะแตกต่างกับแนวทางการปฏิรูปตำรวจของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธานอย่างมาก โดยคณะกรรมการจะเขียนโครงสร้างการปฏิรูปที่ไม่ใช่แค่การขึ้นเงินเดือน แต่ต้องปรับปรุงกระบวนการแต่งตั้งโยกย้าย ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าควรกำหนดหลักเกณฑ์อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการดูความอาวุโส และผลงาน เพื่อป้องกันการซื้อขายตำแหน่งและเลือกพวกพ้อง ลดการใช้ดุลพินิจในการแต่งตั้ง  
 
"การปฏิรูปตำรวจต้องเปิดโอกาสให้พนักงานสอบสวนเติบโตในตำแหน่งหน้าที่จนถึงขั้นเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ส่วนผู้ไม่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่ง ผบ.ตร.ก็ไม่มีอำนาจสั่งพนักงานสอบสวนได้ ที่สำคัญต้องแยกออกการทำงานของหน่วยปราบปรามกับพนักงานสอบสวนออกจากกัน อาจมีผู้กำกับการสถานีตำรวจที่อยู่ในสายพนักงานสอบสวนควบคู่กับผู้กำกับฯ ฝ่ายปราบปรามด้วย ทั้งยังต้องมีกองทุนสำหรับพนักงานสอบสวน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน"นายบวรศักดิ์กล่าว และระบุว่านอกจากนี้ยังเห็นว่าการนำตัวผู้ต้องหามาแถลงนั้นจะไม่สามารถทำได้ เพราะถือว่าผิดอาญา และกฎหมายยังกำหนดว่าผู้ต้องหาจะมีความผิดก็ต่อเมื่อศาลได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' ยกเลิกลงพื้นที่ จ.สระแก้ว

Posted: 12 May 2018 11:56 PM PDT

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย 'ประยุทธ์' ยกเลิกภารกิจลงพื้นที่ จ.สระแก้ว เนื่องจากสมเด็จฮุนเซนติดภารกิจ มาเปิดด่านชายแดนร่วมไม่ได้ 'สรวงศ์ เทียนทอง' เชื่อ 'เสนาะ' ไม่มีนัยยะทางการเมือง ยันไม่หนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก

 
13 พ.ค. 2561 พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกระแสข่าวการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.สระแก้ว ว่าเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการไปพบใครหรือจะไปดูด ส.ส.ในพื้นที่ หรือไปพบปะประชาชนและไม่ใช่เกรงว่าจะถูกมองเชื่อมโยงทางการเมืองจึงได้ยกเลิกภารกิจไป เพราะแต่เดิมนั้นได้กำหนดว่าจะเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดด่านชายแดนร่วมกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่เนื่องจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาติดภารกิจจึงต้องยกเลิกกำหนดการ 
 
"นายกฯ ไม่ต้องการให้สื่อมวลชนหรือนักการเมืองนำประเด็นนี้ไปบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิด ส่วนการย้ายพรรคหรือรวมพรรค ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันว่าผู้นั้นจะได้เป็น ส.ส. หากไม่มีผลงานหรือไม่ได้รับความไว้วางใจ ประชาชนก็ไม่เลือกอยู่แล้ว จึงไม่อยากให้กังวลจนมากเกินไป และต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชนด้วย" พลโทสรรเสริญ กล่าว 
 
พลโทสรรเสริญ กล่าวว่านายกรัฐมนตรียังแสดงความเป็นห่วงด้วยว่าแม้ขณะนี้ยังไม่เข้าสู่การเลือกตั้ง แต่มีการยุยงปลุกปั่นให้ร้ายเช่นนี้และเมื่อเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ส่วนกรณีนายเสนาะ เทียนทอง นั้นพลเอกประยุทธ์เคยรู้จักมานานแล้วแต่ไม่ได้ใกล้ชิดสนิทสนมหรือเกี่ยวข้องใดๆ กัน
 
'สรวงศ์ เทียนทอง' เชื่อ 'เสนาะ' ไม่มีนัยยะทางการเมือง ยันไม่หนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก
 
ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2561 ที่ผ่านมานายสรวงศ์ เทียนทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว พรรคเพื่อไทย และบุตรชายของนายเสนาะ เทียนทอง แกนนำกลุ่มวังน้ำเย็น กล่าวถึงการเตรียมเดินทางลงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งฃาติ หรือ คสช. ว่าส่วนตัวทราบจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเดินทางมา ตนในฐานะที่เป็นอดีต ส.ส.ดูแลพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ก็รู้สึกยินดีเพราะจะทำให้จังหวัดเกิดความเจริญยิ่งขึ้น แต่มองว่าไม่จำเป็นต้องเตรียมต้อนรับแบบนักการเมืองเพราะตนเองมีสถานะเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง 
 
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าการลงพื้นที่จังหวัดสระแก้วของนายกรัฐมนตรี มีนัยยะทางการเมือง โดยเฉพาะการดึงตัวนายเสนาะเข้าร่วมงานในอนาคต นายสรวงศ์ กล่าวว่าในส่วนของบิดา ตนเองมั่นใจว่าไม่มีนัยยะเรื่องการเมืองและเข้าใจในเจตนาของบิดาดีว่าต้องการให้นายกรัฐมนตรีมารับทราบและแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ตลาดโรงเกลือที่ซบเซาลง เนื่องจากมีกลุ่มผู้มีอิทธิพลไปเรียกรับเก็บส่วย ทำให้ผู้ค้าที่ตลาดขายไม่ได้ 
 
ขณะที่ความเป็นไปได้ที่จะร่วมงานกับนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น นายสรวงศ์ กล่าวว่าคงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะตนเองและบิดาพูดคุยกันตลอดและทราบจุดยืนดี จึงอยากขอเปลี่ยนจากการใช้คำว่า "รัฐบาลแห่งชาติ" เป็น "การทำงานร่วมกันหลังเลือกตั้ง" 
 
"ผมยืนยันไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มาจากการยกมือโหวต แต่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ใครจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ตนก็ขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำหน้าที่เพื่อประชาชน อย่าเอาชนะกันเหมือนในอดีต ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยกันประคับประคองให้ประเทศเดินหน้าและให้รัฐบาลทำงานเพื่อประชาชนให้เกิดความราบรื่นมากที่สุด เรื่องใดที่ยอมได้ก็ขอให้ยอมๆ กัน "นายสรวงษ์ กล่าว
 
นายสรวงษ์ กล่าวว่า ขออย่ากังวลเรื่องการดูดให้ไปเข้าร่วมกับพรรคใด เพราะส่วนตัวมีจุดยืนชัดเจนที่จะทำงานกับพรรคเพื่อไทย และมองว่าคนรุ่นใหม่ก็สามารถทำงานกับพรรคเพื่อไทยได้  ทั้งนี้ไม่ต้องการให้มีการสืบทอดอำนาจจากรัฐบาล คสช. รวมถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ขอเพียงอย่างเดียว คืออย่าโกง และไม่ว่าผลเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับตามกติกาและร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไป
 
นอกจากนี้ นายสรวงษ์ กล่าวอีกว่าส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะทุกวันนี้โลกเดินเป็นวินาที ทุกอย่างก้าวไปอย่างรวดเร็ว การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศถอยหลังและจะไม่สามารถตามคนอื่นได้ทัน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องปลดล็อค
 
 
ที่มาเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2]
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เตรียมบล็อก URL เครื่องสำอางผิดกฎหมาย

Posted: 12 May 2018 10:25 PM PDT

กสทช. เตรียมนำ URL ที่มีการเผยแพร่โฆษณาเครื่องสำอางผิดกฎหมายผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ให้ไอเอสพีรายใหญ่ปิดการเข้าถึง 15 พ.ค. นี้

 
13 พ.ค. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าวันที่ 15 พ.ค. นี้ กสทช. จะมีการนำรายชื่อ URL ที่มีการเผยแพร่โฆษณาที่ผิดกฎหมายผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งได้ กสทช. ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งมอบให้กับผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ที่ กสทช. กำกับดูแลทั้ง 25 ราย ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับไอเอสพีแล้วในวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยไอเอสพีรายใหญ่ ทั้งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมการให้บริการกว่า 90% ของตลาดเข้าร่วมประชุม ซึ่งจากนั้นไอเอสพีจะเป็นผู้ปิดการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
 
"ปัจจุบันผุ้บริโภคนิยมเสพข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก จึงต้องมีการเรื่องการเผยแพร่โฆษณาที่ผิดกฎหมายผ่านช่องทางนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม กสทช. ไม่มีอำนาจไปปิดเว็บไซต์ต่าง ๆ แต่สามารถประสานงานนำข้อมูลเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่โฆษณาที่ผิดกฎหมายส่งต่อให้ไอเอสพีปิดได้ ขณะที่การโฆษณาผ่านเฟสบุ๊กหรือยูทุปนั้น ต้องให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นคนประสานงานเพื่อให้มีการนำการเผยแพร่โฆษณาที่ผิดกฎหมายออกจากช่องทางเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถดูแลได้เบ็ดเสร็จเพราะข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใส่ใหม่ได้ตลอดเวลา และแพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายไทย นอกจากนี้ เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่กฎหมายจะคุมทันด้วย" นายก่อกิจ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีผู้เสียชีวิตและเจ็บหลายคนจากเหตุระเบิดโจมตีโบสถ์ในอินโดนีเซีย

Posted: 12 May 2018 10:10 PM PDT

ตำรวจอินโดนีเซียรายงานวันนี้ว่า มือระเบิดฆ่าตัวตายก่อเหตุโจมตีโบสถ์ 3 แห่งในเมืองสุราบายาเมืองใหญ่อันดับสองของอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน 

 
13 พ.ค. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่าโฆษกสำนักงานตำรวจชวาตะวันออกแถลงว่าเจ้าหน้าที่กำลังตรวจชันสูตรศพผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย โดยมีรายงานเบื้องต้นว่า มีเหตุระเบิด 3 ครั้งที่โบสถ์ 3 แห่ง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน และบาดเจ็บอีก 13 คนจากเหตุระเบิดโจมตีหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงระเบิดฆ่าตัวตายที่มีเป้าหมายโจมตีโบสถ์ในเมืองสุราบายา ตำรวจอินโดนีเซียกล่าวว่า เหตุระเบิดนองเลือดทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 10 นาที โดยระเบิดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 07.30 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันในไทย สถานีโทรทัศน์อินโดนีเซียแพร่ภาพซากปรักหักพังโดยรอบทางเข้าโบสถ์แห่งหนึ่ง และตำรวจปิดกั้นพื้นที่เกิดเหตุท่ามกลางผู้คนมุงดูเหตุการณ์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังสอบสวนด้วยว่ามีเหตุระเบิดโจมตีโบสถ์แห่งที่สี่ด้วยหรือไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลระบุคน กทม. 41.8% ไม่เห็นด้วยเพิ่มภาษีรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Posted: 12 May 2018 07:59 PM PDT

บ้านสมเด็จโพลสำรวจคน กทม. 1,258 คน พบ 51.1% เห็นด้วยสลากแบบรวมชุด 41.8% ไม่เห็นด้วยเพิ่มภาษีรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล 60% รู้หวยใต้ดินเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่เคยเข้าไปมีส่วนร่วม 

 
 
 
13 พ.ค. 2561 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาลและการพนันหวยใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,258 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 1 - 4 พ.ค. 2561 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่าผลการสำรวจในครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยเฉพาะการแก้ไขสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาที่มีการขายเกินราคา 80 บาท ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องแต่ในปัจจุบันการเพิ่มจำนวนการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นงวดละ 80 ล้านใบต่องวดก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา รวมไปถึงแผนในการจัดทำสลากแบบรวมชุดของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและการเพิ่มอัตราเก็บภาษีรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลจาก 0.25% เป็น 2% ว่าประชาชนนั้นจะมีความคิดเห็นอย่างไร และการพนันหวยใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าในปัจจุบันสังคมมองการพนันหวยใต้ดินว่าเป็นอย่างไร ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และรัฐบาล มีนโยบายด้านการปราบปรามการพนัน การพนันหวยใต้ดินที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยทุกคนเคยพบเจอจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของประชาชน การลักลอบเล่นการพนันหวยใต้ดินที่เป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมายาวนาน ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการพนันหวยใต้ดิน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
 
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพบเห็นการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา (ขายเกิน 80 บาท) ร้อยละ 57.7 รู้สึกว่าการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 54.5 และทราบว่าการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 57.3 
 
ทราบว่าปัจจุบันสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลขายงวดละ 80 ล้านใบต่องวด ร้อยละ 50.5 และคิดว่าในปัจจุบันรัฐบาลได้เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา ร้อยละ 49.6 เห็นด้วยกับการจัดทำสลากแบบรวมชุด (หวยชุด) ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 51.1 และไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มอัตราเก็บภาษีรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลจาก 0.25% เป็น 2 ร้อยละ 41.8 
 
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้สึกว่าการพนันหวยใต้ดินเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 56.2 ทราบว่าการพนันหวยใต้ดินเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ร้อยละ 60.0 และเคยเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 52.3 รับทราบข่าวสารเกี่ยวกับการพนันหวยใต้ดิน ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ค มากที่สุด ร้อยละ 31.6 อันดับที่สองคือสื่อบุคคล (เพื่อน คนรู้จัก) ร้อยละ 26.4 อันดับที่สามคือ โทรทัศน์ ร้อยละ 20.3 
 
กลุ่มตัวอย่างคิดว่าในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องได้เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 55.0 และอยากให้ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 42.6  
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: รักลุงตู่ต้องรักเนวิน

Posted: 12 May 2018 07:17 PM PDT



ซูเปอร์ยิ่งใหญ่ อภิมหาอลังการ ยิ่งกว่าหนังซูเปอร์ฮีโร่ เนวิน ชิดชอบ นำชาวบุรีรัมย์ 3 หมื่นคนไชโยโห่ร้อง "ลุงตู่สู้ๆ" แลกงบหมื่นล้าน มอบหมวกกันน็อกเป็นของขวัญ นำแว้นสำรวจสนาม ชวนชมของดีทั่วจังหวัด ชวนชิม "ขนมตดหมา" วิถีชาวบ้าน

ไม่เคยมีจังหวัดไหนต้อนรับท่านผู้นำได้ประทับจิตขนาดนี้นะ สมแล้วที่ท่านชู "แมวขาวแมวดำก็จับหนูได้" เป็นสัญญาณอันดีของการ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ที่คนชั้นกลางนกหวีดรอมานาน ใครจะว่าดูดสีเทาก็ช่าง พระศิวะยังดูดยาพิษจนคอดำ

เนวินใจถึง พึ่งได้ เข้าแก๊งไหน เอ๊ย เข้าพรรคไหน ทุ่มให้หัวหน้าสุดจิตสุดใจ อ้าว จำไม่ได้หรือ ทักษิณขี่ช้างหาเสียง เนวินก็อารักขาอยู่แทบเท้าช้าง รัฐบาลลุงหมัก เนวินก็ภักดีจนแตกหักกับทักกี้ ปชป.ปากดี ดูถูกคนบุรีรัมย์ หาว่าจ้างหัวละ 300 แหม่ ตอนนั้นถ้าไม่กอดกับเนวิน มีหรือมาร์คจะได้เป็นนายกฯ แล้วใครเอ่ย พาทัวร์อีสาน โดยจัดคนเสื้อสีน้ำเงินต้อนรับ ตอนนั้นจ้างมาหรือเปล่า

ครม.สัญจรครั้งนี้ พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ ถ้าอยาก win-win ก็ต้องจับมือเป็นพันธมิตร ลุงตู่ปีติยินดี มีมวลชนต้อนรับล้นหลาม นักการเมืองจัดให้ ระบบราชการไม่มีฝีมืออย่างนี้นะ มองไปข้างหน้า ก็ฐานเสียงแน่นหนา ปัดโธ่ มัวแต่อาศัยศีลธรรมอันดีงาม ประชารัฐ ไทยนิยม กับคนชั้นกลางในเมือง จะสานต่อภารกิจที่แผ่นดินเรียกร้องได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยนักการเมือง

ฝั่งเนวิน ฝั่งภูมิใจไทย ก็ได้ภูมิใจภาพลักษณ์ อุ้มคนดีเพื่อชาติ เหมือนที่เคยอุ้มมาร์ค แต่ครั้งนั้น ปชป.ทำเสียของ ครั้งนี้รับรอง กองหนุนลุงตู่ไม่ผิดหวัง คนดีๆ ทั้งนั้น จะต้อง ปรบมือให้เนวิน

แหม่ กระทั่งลุงตู่ยังปลื้ม เนวินสร้างสนามบอล สนามแข่งรถ ได้เหนือจังหวัดอื่น ทำไมมาอยู่บุรีรัมย์หมดไม่เข้าใจ อ้าว ไปถาม ป.ป.ช.สิครับ กำลังสอบอยู่เรื่อง สตง.กล่าวหาเจ๊ต่ายใช้งบ อบจ.ขนคนเชียร์บอล แต่ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องใหญ่

พวกเรียกร้องประชาธิปไตยเยาะเย้ยคนชั้นกลางนกหวีดครึกครื้น "เป่านกหวีดแทบตาย สุดท้ายได้เนวิน" แต่เอาเข้าจริง ทำอะไรสลิ่มไม่ได้หรอก สลิ่มไม่ใช่บางๆ คนรักลุงตู่ยินดีให้ทำทุกวิถีทาง ไม่ต้องเลือกวิธีการ ย้อนแย้งตรรกะวิบัติก็ช่าง ขอให้อยู่เป็นหลักไปนานๆ ก็พอ

คนรักลุงตู่เดี๋ยวก็จะรักเนวิน เหมือนรักลุงป้อมนั่นแหละ ทำเป็นโวยแหวนนาฬิกา ลุงป้อมเฉย บอกแค่ "นาฬิกาเพื่อน" จบมั้ย จบ เพราะรู้แก่ใจ ลุงตู่อยู่คนเดียวไม่ได้

ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 4 ปี ทำไมไม่ทำ มาทำตอนเหลือ 8 เดือน ก็ขำๆ กันไป อยากปฏิรูปจริงไหมยังไม่รู้เลย รู้แต่ว่าเกลียดทักษิณ ยิ่งควงน้องสาวบินมาโชว์อยู่สิงคโปร์ ถ่ายภาพกับเฉลิม กับลูกชาย คุยโวจะชนะเลือกตั้งถล่มทลาย คนเกลียดยิ่งตัวสั่น เอาแบบไหนก็ได้ อย่าให้มันกลับมามีอำนาจก็พอ

ฉะนั้นใครจะว่า "ยุทธานอส" ดูดไปทั่ว ตระกูลคุณปลื้ม สะสมทรัพย์ เนวิน สุชาติ สมศักดิ์ ฯลฯ ก็เอาที่สบายใจ กองหนุนจะกระดากกระเดื่องเป็นพิธี แต่ช่วยแถไปจนได้ ดูดเป็นครรลองประชาธิปไตย ดูดคนมีความรู้มากกว่าไก่อูมาช่วยงาน ฉันเปล่านา เขามาเอง อยู่พรรคเดิมไม่มีความสุขก็ย้าย

เราอยู่ในสงครามชนชั้น คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี ปฏิเสธระบบการเลือกตั้งหนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน ซึ่งทำให้ทักษิณและคนชั้นกลางระดับล่างชนะ จึงกอดท็อปบู๊ตแน่น หวังพึ่งกองทัพ รัฐธรรมนูญแต้มต่อ มี ส.ว. องค์กรอิสระลากตั้ง (ลวกน้ำกินทันทียังได้ แบบสรรหา 5 กกต.)

ข้ออ้างเรื่องศีลธรรมความเป็นไทย ความดีงาม ต้านโกง ฯลฯ ทั้งหลายเป็นแค่ฉากหน้า เหมือนที่อ้างกันมาในการโค่นล้มทางการเมืองทุกยุคสมัย เอาเข้าจริงเป็นเรื่องผลประโยชน์ใคร รัฐราชการ รัฐทหาร กลุ่มทุน ฯลฯ มาจนถึงคนกลุ่มต่างๆ

เราจะหาศีลธรรมอะไรในสังคมที่คนชั้นกลางระดับบนยกตนเป็นยอดมนุษย์ ชัตดาวน์กรุงเทพฯ เทียบชั้นเสรีไทย แต่แค่นิสิตนักศึกษาอยากเลือกตั้งกลับหมดอนาคต ถูกคุกคาม ถูกให้ร้ายป้ายสีว่าเคยไปฝึกอาวุธที่ประเทศเพื่อนบ้าน

ในความเป็นจริงเป็นเรื่องผลประโยชน์ ตราบใดที่คนชั้นกลางในเมืองไม่เดือดร้อนกับระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ได้พึ่งอำนาจกดทำลายฝ่ายที่ตนเกลียดชัง ก็หนุนอำนาจ ทุกวิถีทางแม้ไม่ชอบธรรม

ในแง่นี้เนวินน่ารักกว่า เนวินตรงไปตรงมาไม่ดัดจริต ขอผลประโยชน์ให้บุรีรัมย์

 

 

ที่มา: www.khaosod.co.th/politics/news_1069755

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น