ประชาไท | Prachatai3.info |
- จริยธรรมของการเยียวยา
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: จริยธรรมของการเยียวยา
- กองทัพรัฐฉาน SSA–พม่า เจรจาเรื่องเขตปกครองไร้ข้อสรุป
- เปิดแถลงการณ์ ฝั่งหนุน VS ต้าน กรณีเงินเยียวยาตาม มติ ครม.
- 'ภูมิใจไทย' ลั่นถ้า 'นิติราษฎร์' ไม่หยุดจะล่าชื่อค้าน ท้าเสียงใครจะมากกว่ากัน
- 'ฮิตเลอร์ซับนรก' เจอ 'ดราม่า' ในสก็อตแลนด์
- พวงทอง ภวัครพันธุ์: เงิน 7.5 ล้านมีค่าน้อยกว่าชีวิตของคนหนึ่งคน
- คนรักหลักประกันสุขภาพ จับตานายกฯเวิร์กช็อบ
- กวีตีนแดง: นิติศาสตร์จักต้องเป็นศาสตร์เพื่อราษฏร
- แนะให้ศาลสั่งผ่าศพมุสลิม อนุ กสม.ถกแนวชันสูตรตามอิสลาม
- ชมรมเพื่อนโรคไตหวั่น '30 บาท' เป็นระบบอนาถา
- ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI
- วิกิพีเดียเตรียม "จอดับ" 24 ชม. ประท้วงร่าง กม.จัดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์
- หมอตุลย์เจอนอนประท้วง-พร้อมคำถาม "ยุให้ "ฆ่า" กันทำไม?"
- “สมยศ” ตระเวนทั่วไทยสืบพยานถึง “นครสวรรค์”
Posted: 17 Jan 2012 10:29 AM PST หลังจาก ปคอป มีมติอนุมัติให้การเยียวยาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 7.75 ล้านบาท ก็มีข้อโต้แย้งไปมากันทั้งสองฝ่าย สิ่งที่น่าเสียดายคือ ข้อโต้แย้งทั้งสองฝ่ายมักตกวนอยู่ในหลุมของ เงินจำนวนเจ็ดล้านกว่าบาทนี้ มันคุ้มชีวิตคนหรือไม่ ชีวิตของคนที่ตายไปไม่มีค่าพอกับเงินก้อนนี้บ้างละ บทความนี้จะไม่จำเป็นต้องเขียนเลย ถ้าทุกคนในสังคมเข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของการเยียวยาและจริยธรรมของการเยียวยาที่เป็นต้นกำเนิดให้เกิดการกระทำนี้ขึ้น คำถามที่ขึ้นอยู่ในหัวผมตอนนี้คือ ทำไมๆ ประเทศฝรั่งเศสเวลามีการเยียวยาจากรัฐให้แก่เหยื่อที่ได้รับอันตรายไม่ว่าจากไหนก็แล้วแต่ ทำไมถึงไม่มีใครส่งข้อความโต้ไปมาทางเฟซบุค ออกมาเรียกร้อง ออกมาฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกการเยียวยาเฉกเช่นที่เป็นอยู่ในเมืองไทย การเยียวยามีขึ้นมาเพื่อ ‘ชดเชย’ (compensation) ต่อความเสียหายที่ไม่อาจย้อนกลับได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติมีคนไข้ไปหาหมอแล้วเกิดอุบัติเหตุแทรกซ้อนขึ้น จนคนไข้ต้องทำการตัดแขนนั้นทิ้ง การสูญเสียแขนจึงเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ เพราะเราไม่สามารทำการผลิตแขนของผู้ป่วยให้เหมือนเดิม แล้วนำไปต่อใช้การได้อีกเช่นเคย เราไม่สามารถกดปุ่มไทม์แมชชีนย้อนกลับไปก่อนเกิดเหตุได้ แต่ว่าปัจจุบันนี้เรามีความเสียหายเกิดขึ้นจริง และตามกฎหมายแพ่งแล้ว ผู้ใดทำการละเมิดบุคคลอื่นย่อมต้องทำการชดเชยความเสียหายนั้น ความเสียหายนั้น ถ้าปกติชดเชยด้วยสิ่งที่สูญเสียไปได้หรือสิ่งที่เสียไปสามารถตีราคาตามท้องตลาดได้อย่างแน่นอนย่อมไม่มีปัญหา เช่น ถ้าสมมตินาย ก ทำแจกัน นาย ข แตก นาย ก ต้องชดใช้ด้วยแจกันที่มีคุณลักษณะเดียวกันทุกประการ หรือถ้านาย ก ไม่สามารถหาได้ เช่น แจกันที่แตกมีใบเดียวในโลก นาย ก ก็ต้องชดใช้ด้วยเงินตามราคา แต่ในกรณีที่การเสียหายเป็นการเสียหายที่ไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็นชีวิตคน มันจึงเป็นการที่ซับซ้อนกว่ามาก เพราะคนไม่สามารถถูกสร้างใหม่ให้เหมือนเดิมได้ เราไม่สามารถชดเชยชีวิตคนที่ตายไปด้วยการผสมพันธุ์ผลิตมนุษย์ขึ้นมาใหม่ เพราะมนุษย์เป็นของหนึ่งเดียว (unique) ต่อให้สเปริ์มกับไข่เดียวกันผสมกัน ก็ได้มนุษย์ที่แตกต่างกัน ในเมื่อชดเชยด้วยสิ่งของไม่ได้แล้วจึงเหลือแค่ช่องทางเดียวคือ การใช้ตัวเงินชดเชยความเสียหาย ปัญหาที่ตามมาคือ มนุษย์ควรมีราคาเท่าไร ควรมีการตีราคามนุษย์หรือไม่ การตีราคามนุษย์นั้นผิดจริยธรรมหรือไม่ ในเมื่อการตีราคาของมนุษย์เป็นของร้อนที่ไม่ควรแตะแล้ว เราควรละเลยไม่เยียวยาผู้เสียหายเลยหรือ? คำตอบคือไม่ใช่ การเยียวยายังต้องมีอยู่ ตามปกติแล้วการเยียวยาจะเกิดได้ต้องมีองค์ประกอบสามประการ คือ 1)ความผิด 2) ความเสียหาย 3)ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดกับความเสียหาย ความผิด กรณีที่สองคือ ความเสียหายที่เกิดจากรัฐ เนื่องจากรัฐหรือบุคลากรของรัฐทำความเสียหายแก่เอกชนในขณะปฏิบัติหน้าที่จากคำสั่งของฝ่ายปกครองแล้ว ถ้าเกิดความเสียหายกับเอกชน รัฐในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องทำการชดเชยความเสียหาย เช่นกรณีถ้ามีความเสียหายจากการล้อมปราบ ซึ่งเป็นคำสั่งของ ครม แล้วเกิดความเสียหายนั้น รัฐจึงต้องชดเชยความเสียหายขึ้น ย้ำอีกทีนะครับ ต้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่นอกเวลาปฏิบัติหน้าที่ มิเช่นนั้นแล้วจะเป็นการผิดระหว่างเอกชนกับเอกชนเอง กรณีที่สามเป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า การรับผิดโดยปราศจากความผิด* เป็นการเยียวยาให้กับเหยื่อโดยที่ไม่มีฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดเลย เพียงแต่ว่ากรณีนี้เป็นการสูญเสียร้ายแรงเอากลับมาไม่ได้ และเพื่อความเป็นมนุษยธรรมและความปรองดองในสังคมแล้ว รัฐจึงต้องมีหน้าที่ในการเยียวยาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายนั้น เช่น ในกรณีที่มีฝ่ายหนึ่งชอบอ้างว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากชายชุดดำซึ่งยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นใคร ในกรณีนี้จับมือใครดมหาความผิดไม่ได้ แต่ว่ามีผู้เสียหายจริงและต้องการความเยียวยา รัฐจึงต้องเข้ามาช่วยโอบอุ้มเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ คราวนี้คงจะตอบคำถามได้นะครับว่า ทำไมรัฐถึงต้องช่วยเยียวยา ทำไมถึงต้องใช้ภาษีในการเยียวยา ความเสียหาย อย่างไรก็ตามเพื่อถ่วงดุลอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาค่าชดเชยแล้ว รัฐต้องมอบอำนาจให้ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์สามารถปฏิเสธจำนวนเงินก้อนนี้ได้ และทำการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อพิจารณาเงินก้อนนี้ใหม่ แต่รัฐไม่ได้มอบอำนาจให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อระงับการเยียวยา เพราะมันเป็นเรื่องเฉพาะรัฐกับผู้ได้รับประโยชน์นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องทางปกครองหรือเอกชนบุคคลอื่น เงินเยียวยาจากรัฐที่ให้กับผู้เสียชีวิตจึงไม่ได้ และไม่ควรสะท้อนว่า ผู้เสียชีวิตมีมูลค่าเท่าไร แต่ควรหมายถึงการแสดงสัญลักษณ์ระหว่างรัฐกับผู้เสียหายว่า รัฐไม่ได้ทอดทิ้งผู้เสียหาย และทำการเยียวยาด้วยตัวเงิน ถึงแม้ว่า บางทีอาจจะชดเชยไม่ได้กับชีวิตผู้ที่ตายไป เงินก้อนนี้มีไว้เพื่อช่วยให้ครอบครัวผู้สูญเสียนำมาเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ในการมีชิวิตอยู่ในสังคม ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าหลังจากรัฐให้เงินก้อนนี้แล้ว ภาระหน้าที่ที่รัฐมีต่อผู้สูญเสียเป็นอันจบกัน รัฐควรจะติดตามว่า ครอบครัวผู้เสียหายสามารถปรับตัวกับความสูญเสียแล้วมีชีวิตอยู่ต่อในสังคมอย่างปกติสุขหรือไม่ ผู้เสียหายยังขาดสิ่งใดหรือต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ หรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดและความเสียหาย ในกรณีความเสียหาย 91 ศพ ผู้ตายเสียชีวิตจากกระสุนปืน โดยคำสั่งของรัฐ รัฐย่อมมีหน้าที่ในการเยียวยา (หรือถ้ายังมีคนแย้งว่าเป็นฝีมือชายชุดดำ ช่วยกรุณาย้อนอ่านการรับผิดโดยปราศจากความผิดอีกครั้ง*) บทส่งท้าย 1) ทุกคนในสังคมเข้าใจว่า การช่วยคนที่ลำบากเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อให้เกิดความปรองดองกันในสังคม น่าแปลกใจอย่างที่สุดที่สังคมบ้าศีลธรรมและชอบทำบุญอย่างสังคมไทยนั้นกลับตั้งคำถามนี้ขึ้นมา 2) ถ้าสังคมไทยยังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่เคารพการตัดสินใจของเสียงข้างมาก นโยบายบริหารจากเสียงข้างมาก เราไม่ต้องมาดีเบทกันในเฟซบุคเรื่องมูลค่าการเยียวยาเลย เพราะเรามอบหน้าที่ให้ฝ่ายบริหารเป็นคนประเมินค่าเยียวยาแล้ว และหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือ การเคารพการตัดสินใจของสถาบันสาธารณะที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: จริยธรรมของการเยียวยา Posted: 17 Jan 2012 08:46 AM PST บทความนี้จะไม่จำเป็นต้องเขียนเลย ถ้าทุกคนในสังคมเข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของการเยียวยาและจริยธรรมของการเยียวยาที่เป็นต้นกำเนิดให้เกิดการกระทำนี้ขึ้น หลังจาก ครม. มีมติอนุมัติให้การเยียวยาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 7.75 ล้านบาท ก็มีข้อโต้แย้งไปมากันทั้งสองฝ่าย สิ่งที่น่าเสียดายคือข้อโต้แย้งทั้งสองฝ่ายมักตกวนอยู่ในหลุมของ เงินจำนวนเจ็ดล้านกว่าบาทนี้ มันคุ้มชีวิตคนหรือไม่ ชีวิตของคนที่ตายไปไม่มีค่าพอกับเงินก้อนนี้บ้างละ บทความนี้จะไม่จำเป็นต้องเขียนเลย ถ้าทุกคนในสังคมเข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของการเยียวยาและจริยธรรมของการเยียวยาที่เป็นต้นกำเนิดให้เกิดการกระทำนี้ขึ้น คำถามที่ขึ้นอยู่ในหัวผมตอนนี้คือ ทำไมๆ ประเทศฝรั่งเศสเวลามีการเยียวยาจากรัฐให้แก่เหยื่อที่ได้รับอันตรายไม่ว่าจากไหนก็แล้วแต่ ทำไมถึงไม่มีใครส่งข้อความโต้ไปมาทางเฟซบุ๊ก ออกมาเรียกร้อง ออกมาฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกการเยียวยาเฉกเช่นที่เป็นอยู่ในเมืองไทย การเยียวยามีขึ้นมาเพื่อ ชดเชย (compensation) ต่อความเสียหายที่ไม่อาจย้อนกลับได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติมีคนไข้ไปหาหมอแล้วเกิดอุบัติเหตุแทรกซ้อนขึ้น จนคนไข้ต้องทำการตัดแขนนั้นทิ้ง การสูญเสียแขนจึงเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ เพราะเราไม่สามารทำการผลิตแขนของผู้ป่วยให้เหมือนเดิม แล้วนำไปต่อใช้การได้อีกเช่นเคย เราไม่สามารถกดปุ่มไทม์แมชชีนย้อนกลับไปจุดก่อนเกิดเหตุได้ แต่ว่าปัจจุบันนี้เรามีความเสียหายเกิดขึ้นจริง และตามกฎหมายแพ่งแล้ว ผู้ใดทำการละเมิดบุคคลอื่นย่อมต้องทำการชดเชยความเสียหายนั้น ความเสียหายนั้นถ้าปกติชดเชยด้วยสิ่งที่สูญเสียไปได้หรือสิ่งที่เสียไปสามารถตีราคาตามท้องตลาดได้อย่างแน่นอนย่อมไม่มีปัญหา เช่นถ้าสมมตินาย ก ทำแจกัน นาย ข แตก นาย ก ต้องชดใช้ด้วย แจกันที่มีคุณลักษณะเดียวกันทุกประการ หรือถ้านาย ก ไม่สามารถหาได้ เช่นแจกันที่แตกมีใบเดียวในโลก นาย ก ก็ต้องชดใช้ด้วยเงินตามราคา แต่ในกรณีที่การเสียหายเป็นการเสียหายที่ไม่ใช่สิ่งของแต่เป็นชีวิตคนมันจึงเป็นการที่ซับซ้อนกว่ามาก เพราะคนไม่สามารถถูกสร้างใหม่ให้เหมือนเดิมได้ เราไม่สามารถชดเชยชีวิตคนที่ตายไปด้วยการผสมพันธุ์ผลิตมนุษย์ขึ้นมาใหม่ เพราะมนุษย์เป็นของหนึ่งเดียว (unique) ต่อให้สเปิร์มกับไข่เดียวกันผสมกัน ก็ได้มนุษย์ที่แตกต่างกัน ในเมื่อชดเชยด้วยสิ่งของไม่ได้แล้วจึงเหลือแค่ช่องทางเดียวคือ การใช้ตัวเงินชดเชยความเสียหาย ปัญหาที่ตามมาคือ มนุษย์ควรมีราคาเท่าไร ควรมีการตีราคามนุษย์หรือไม่ การตีราคามนุษย์นั้นผิดจริยธรรมหรือไม่ ในเมื่อการตีราคาของมนุษย์เป็นของร้อนที่ไม่ควรแตะแล้ว เราควรละเลยไม่เยียวยาผู้เสียหายเลยหรือ? คำตอบคือไม่ใช่ การเยียวยายังต้องมีอยู่ ตามปกติแล้วการเยียวยาจะเกิดได้ต้องมีองค์ประกอบสามประการคือ 1) ความผิด 2) ความเสียหาย 3)ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดกับความเสียหาย ความผิด กรณีที่สองคือ ความเสียหายที่เกิดจากรัฐ เนื่องจากรัฐหรือบุคลากรของรัฐทำความเสียหายแก่เอกชนในขณะปฏิบัติหน้าที่จากคำสั่งของฝ่ายปกครองแล้ว ถ้าเกิดความเสียหายกับเอกชน รัฐในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องทำการชดเชยความเสียหาย เช่นกรณีถ้ามีความเสียหายจากการล้อมปราบซึ่งเป็นคำสั่งของ ครม. แล้วเกิดความเสียหายนั้น รัฐจึงต้องชดเชยความเสียหายขึ้น ย้ำอีกทีนะครับต้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่นอกเวลาปฏิบัติหน้าที่มิเช่นนั้นแล้วจะเป็นการผิดระหว่างเอกชนกับเอกชนเอง กรณีที่สามเป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่าการรับผิดโดยปราศจากความผิด เป็นการเยียวยาให้กับเหยื่อโดยที่ไม่มีฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดเลย เพียงแต่ว่ากรณีนี้เป็นการสูญเสียร้ายแรงเอากลับมาไม่ได้ และเพื่อความเป็นมนุษยธรรมและความปรองดองในสังคมแล้ว รัฐจึงต้องมีหน้าที่ในการเยียวยาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายนั้น เช่นในกรณีที่มีฝ่ายหนึ่งชอบอ้างว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากชายชุดดำซึ่งยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นใคร ในกรณีนี้จับมือใครดมหาความผิดไม่ได้แต่ว่ามีผู้เสียหายจริงและต้องการความเยียวยา รัฐจึงต้องเข้ามาช่วยโอบอุ้มเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ คราวนี้คงจะตอบคำถามได้นะครับว่าทำไมรัฐถึงต้องช่วยเยียวยา ทำไมถึงต้องใช้ภาษีในการเยียวยา ความเสียหาย อย่างไรก็ตามเพื่อถ่วงดุลอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาค่าชดเชยแล้ว รัฐต้องมอบอำนาจให้ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์สามรถปฏิเสธจำนวนเงินก้อนนี้ได้และทำการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อพิจารณาเงินก้อนนี้ใหม่ แต่รัฐไม่ได้มอบอำนาจให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อระงับการเยียวยา เพราะมันเป็นเรื่องเฉพาะรัฐกับผู้ได้รับประโยชน์นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องทางปกครองหรือ เอกชนบุคคลอื่น เงินเยียวยาจากรัฐที่ให้กับผู้เสียชีวิตจึงไม่ได้ และไม่ควรสะท้อนว่า ผู้เสียชีวิตมีมูลค่าเท่าไร แต่ควรหมายถึงการแสดงสัญลักษณ์ระหว่างรัฐกับผู้เสียหายว่า รัฐไม่ได้ทอดทิ้งผู้เสียหายและทำการเยียวยาด้วยตัวเงิน ถึงแม้ว่าบางทีอาจจะชดเชยไม่ได้กับชีวิตผู้ที่ตายไป เงินก้อนนี้มีไว้เพื่อช่วยให้ครอบครัวผู้สูญเสียนำมาเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ในการมีชิวตอยู่ในสังคม ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าหลังจากรัฐให้เงินก้อนนี้แล้ว ภาระหน้าที่ที่รัฐมีต่อผู้สูญเสียเป็นอันจบกัน รัฐควรจะติดตามว่าครอบครัวผู้เสียหายสามารถปรับตัวกับความสูญเสียแล้วมีชีวิตอยู่ต่อในสังคมอย่างปกติสุขหรือไม่ผู้เสียหายยังขาดสิ่งใดหรือต้องการความช่วยเหลืออื่นๆหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดและความเสียหาย บทส่งท้าย [1] นักศึกษาปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัย Paris Descartes
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กองทัพรัฐฉาน SSA–พม่า เจรจาเรื่องเขตปกครองไร้ข้อสรุป Posted: 17 Jan 2012 08:05 AM PST กองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่าเจรจาสันติภาพขั้
เมื่อวานนี้ (16 ม.ค.) ตั้งแต่เวลา 9.00 – 13.00 น. คณะเจรจาสันติภาพสภากอบกู้รั ทั้งนี้ สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันลงนามข้ 5. การจัดการดูแลด่านเข้า- ด้าน พ.ต.หลาวแสง โฆษก RCSS/SSA เปิดเผยว่า การเจรจาระหว่าง RCSS/SSA กับรัฐบาลพม่าครั้งนี้ ส่วนใหญ่เน้นการหารือเรื่ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
เปิดแถลงการณ์ ฝั่งหนุน VS ต้าน กรณีเงินเยียวยาตาม มติ ครม. Posted: 17 Jan 2012 06:18 AM PST ชวนอ่านแถลงการณ์ ระบุเหตุผลและข้อเรีกยร้องของสองกลุ่ม นักกิจกรรมเสื้อแดง VS กลุ่มหมอตุลย์ ซึ่งไปทำกิจกรรมหน้าทำเนียบรัฐบาลวันนี้ เพื่อต่อต้าน-สนับสนุน มติครม.เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง 000
0 0 0
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
'ภูมิใจไทย' ลั่นถ้า 'นิติราษฎร์' ไม่หยุดจะล่าชื่อค้าน ท้าเสียงใครจะมากกว่ากัน Posted: 17 Jan 2012 04:15 AM PST โฆษกพรรคภูมิใจไทยลั่น หากนิติราษฎร์ยังไม่หยุดเคลื่อนไหว พรรคภูมิใจไทยจะล่ารายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม. 112 เพื่อแสดงให้รู้ว่าฝ่ายไหนมีจำนวนเสียงมากกว่ากัน 17 ม.ค. 55 - เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า เวลา 15.00 น. ที่พรรคภูมิใจไทย (ภท.) นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีคณะนิติราษฎร์ ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนอย่างน้อย 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า หากกลุ่มนิติราษฎร์ยังไม่หยุดเคลื่อนไหว พรรคภูมิใจไทยจะตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อแสดงให้รู้ว่าฝ่ายไหนมีจำนวนเสียงมากกว่ากัน โดยพรรคภูมิใจไทยจะเป็นแกนสำคัญในการคัดค้านเรื่องนี้ต่อไป นายศุภชัย กล่าวต่อว่า หากคณะนิติราษฎร์ ได้รายชื่อครบจำนวนและเสนอแก้ไขต่อรัฐสภา เชื่อว่าไม่สำเร็จ เพราะก่อนหน้านี้หัวหน้าพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้รับปากกัน และมีมติร่วมกันว่าจะไม่แก้ไขมาตรา 112 และเมื่อครั้งที่คณะกรรมการธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ( กมธ.ปรองดองฯ) ได้เชิญหัวหน้าพรรคทุกพรรคการเมืองมาร่วมรับประทานอาหารเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และทุกคนยืนยันว่าจะไม่มีการแก้ มาตรา 112 ดังนั้นเมื่อหัวหน้าพรรคการเมือง ที่มีส.ส. อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่พิจารณากฎหมายไม่เอาด้วย จึงเชื่อว่าการเสนอแก้ไขมาตรา 112 จะไม่มีทางสำเร็จ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
'ฮิตเลอร์ซับนรก' เจอ 'ดราม่า' ในสก็อตแลนด์ Posted: 17 Jan 2012 04:04 AM PST 16 ม.ค. 2012 - ส.ส. พรรคแรงงานของสก็อตแลนด์ถูกบีบให้ลาออกในฐานะผู้ประชาสัมพันธ์พรรคทางโซเชียลมีเดียหลังจากที่เขาได้โพสท์วิดีโอล้อเลียนโดยเปรียบเทียบ อเล็ก ซาลมอนด์ (นายกรัฐมนตรีของสก็อตแลนด์ และหัวหน้าพรรคชาตินิยม) กับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทอม แฮร์ริส ซึ่งเคยลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเมื่อปีที่ผ่านมาก็ออกมาขอโทษ และกล่าวว่าการกระทำของเขาเป็น "การเบี่ยงเบนความสนใจที่ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น" ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อพรรคแรงงานของเขา ซึ่งพยายามนำสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้เป็นเครื่องมือ โฆษกพรรคชาตินิยมของสก็อตแลนด์กล่าวถึงกรณีนี้อย่างอารมณ์ดีว่า "มันเป็นเรื่องงี่เง่า เป็นเรื่องไร้สาระในแง่ลบ ที่ทำให้เรารู้ว่าทำไมพรรคแรงงานถึงซบเซาในสก็อตแลนด์" แฮร์ริส เป็นส.ส. จากกลาสโกว์ตอนใต้ และเป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย มีประสบการณ์การใช้บล็อกมากที่สุดในพรรคแรงงาน เขาได้โพสท์วิดีโอเสียดสีที่เป็นคลิปมาจากภาพยนตร์เยอรมนีเรื่อง Downfall ปี 2004 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับช่วงชีวิตวันสุดท้ายของฮิตเลอร์ในหลุมหลบภัยที่กรุงเบอร์ลิน ซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นคำที่แฮร์ริสคิดขึ้นเอง มีเนื้อหาพูดถึงอนาคตของซาลมอนด์ตอนที่เขาได้เข้าพิธี "สวมมงกุฏ" ในกรุงเอดินเบอระ หลังจากที่เขาชนะในการทำประชามติเพื่อแยกให้สก็อตแลนด์เป็นเอกราช วีดิโอดังกล่าวใช้ชื่อว่า Joan's Downfall ซึ่งมาจากชื่อของส.ส. พรรคชาตินิยม โจแอน แมคอัลไพน์ ผู้ให้คำปรึกษาที่ใกล้ชิดกับซาลมอนด์ที่สุด หลังจากที่โจแอนกล่าวว่านักการเมืองคนใดก็ตามที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของพรรคชาตินิยม คนนั้นเป็นคนที่ "ต่อต้านความเป็นสก็อตแลนด์" แมคอัลไพน์ ปฏิเสธจะขอโทษ และย้ำว่าคำกล่าวของเธอเป็นการกล่าวโจมตีนโยบายของกลุ่มพรรคการเมืองที่เอียงข้างสหราชอาณาจักร ไม่ได้เป็นการโจมตีที่ตัวผู้นำเป็นรายบุคคล ซึ่งฝ่ายตรงข้ามเธอก็กล่าวหาว่าเธอเป็น "พวกเหยียดเชื้อชาติทางการเมือง" นิโกลา สเตอเจียน รองนายกฯ สก็อตแลนด์ถูกบีบให้ต้องตีตัวออกห่างจากคำวิจารณ์ของแมคอัลไพน์ หลังจากที่เธอถูกท้าทายโดยดักลาส อเล็กซานเดอร์ รมต.เงาด้านการต่างประเทศ ผ่านทางรายการ Question Time ของ BBC คลิปวีดิโอจากเรื่อง Downfall มักถูกนำมาใช้ล้อเลียนบุคคลทางการเมืองที่มีชื่อเสียง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการใช้ล้อเลียนอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ด้วย ในวิดีโอล้อเลียนชิ้นนี้ แฮร์ริส เปรียบเทียมคำกล่าวของแมคอัลไพน์ว่าเป็น "การคลั่งชาติแบบเสื้อสายสก็อตฯ" (tartan jingoism) ในคำแถลงของแฮร์ริสเมื่อเช้าวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา แฮร์ริสกล่าวว่า จากการที่ได้พูดคุยกับโจฮาน ลามอง หัวหน้าพรรคแรงงานของสก็อตแลนด์แล้ว เขาก็ตัดสินใจลงจากตำแหน่งผู้นำด้านการใช้โซเชียลมีเดียของพรรค "วีดิโอที่ผมโพสท์เป็นมุขตลกชั้นเยี่ยม ที่ใช้ล้อเลียนบุคคลสาธารณะหลายคน" "อย่างไรก็ตามบริบทคือทุกสิ่งทุกอย่าง และหากพิจารณาจากบริบทของผมกับโจฮานที่ต้องการพัฒนาการถกเถียงทางการเมืองโดยอาศัยโซเชียลมีเดีย รวมถึงคำกล่าวจริงจังของโจแอน แมคอัลไพน์ ที่ว่าผู้ต่อต้านพรรคชาตินิยมเป็นผู้ต่อต้านความเป็นสก็อตแลนด์แล้ว การกระทำของผมเป็นแค่การเบี่ยงเบนความสนใจที่ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ซึ่งผมก็ต้องขอโทษในที่นี้ด้วย" โฆษกพรรคชาตินิยมกล่าวเสริมว่า "มันเป็นเรื่องน่าละอายอย่างมากสำหรับพรรคแรงงาน ที่หนึ่งในส.ส. และผู้ที่เคยลงสมัครตำแหน่งหัวหน้าพรรค ผู้ที่ควรจะมีอะไรดีๆ กว่านี้ทำ กลับส่งเสริมสิ่งที่ไร้รสนิยมเช่นนี้ในเว็บไซต์ของพรรค" อย่างไรก็ตามพรรคแรงงานก็ชี้ให้เห็นว่า มีภาพที่ขัดแย้งกันอย่างมาก ระหว่างกรณีที่แฮร์ริสตัดสินใจลงจากตำแหน่ง กับกรณีที่พรรคชาตินิยมปฏิเสธที่จะสอนวินัยทางการเมืองให้กับแมคอัลไพน์ ผู้ที่ยังคงเป็นคนสนิทของซาลมอนด์อยู่ "ความสนใจในตอนนี้หันเหมาที่การที่พรรคชาตินิยมปฏิเสธไม่ดำเนินการใดๆ ต่อโจแอน แมคอัลไพน์ ลูกพรรคของฝ่ายนายกฯ จากการที่เธอตั้งคำถามกับความรักชาติและความเป็นสก็อตแลนด์ของผู้อื่นอย่างอุกอาจ ซึ่งคนที่ถูกกล่าวหาก็ไม่ได้คิดจะแบ่งแยกดินแดนจริงๆ เหมือนที่คนส่วนใหญ่ก็ไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนเช่นกัน" โฆษกพรรคแรงงานกล่าว ที่มา Labour MP Tom Harris forced to resign as social media tsar, The Guardian, 16-01-2012 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
พวงทอง ภวัครพันธุ์: เงิน 7.5 ล้านมีค่าน้อยกว่าชีวิตของคนหนึ่งคน Posted: 17 Jan 2012 03:49 AM PST
"ธุรกิจประเภทใหม่ รายได้ดี...ธุรกิจการเรียกร้องประชาธิปไตย"
ภาพและคำพูดข้างต้นใน facebook ของวรกร จาติกวณิช ได้รับการกดไลค์นับพันครั้ง เป็นปฏิกิริยาฉับพลันต่อมติ ครม.ที่อนุมัติการเยียวยาผู้เสียหายจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549-พฤษภาคม 2553 เป็นสิ่งที่ชี้ว่า ผู้คนจำนวนมากในสังคมนี้ ยังมองความตายของคนเสื้อแดงอย่างหยามเหยียด เป็นเสมือนยาพิษที่สาดซัดไปยังบาดแผลสด ๆ ของครอบครัวของผู้เสียชีวิต 92 คน และบาดเจ็บสาหัสอีกจำนวนมากจากการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 และวันจันทร์ที่ผ่านมา (16 ม.ค.) ตัวแทนพรรค ปชป.ได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ขอให้มีคำสั่งเพิกถอน มติ ครม. เรื่องการเยียวยา และสั่งให้รัฐบาลมีมติกำหนดหลักเกณฑ์เยียวยาความเสียหายให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งต่างๆ อย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกัน ช่างเป็นตลกที่ขำไม่ออก เพราะมติ ครม.ดังกล่าว เป็นข้อแนะนำของ คอป.ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นเอง คอป.ระบุชัดว่า การชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ ที่จริง ปชป. น่าจะยื่นต่อศาลปกครอง ให้สั่งยุบ คอป. ไปเสียด้วยเลย คนตายคนเจ็บถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย แต่จนบัดนี้ เราก็ยังไม่เคยเห็นหลักฐานว่า คนที่ตายมีอาวุธร้ายแรงอยู่ข้างกาย ถ้ามีหลักฐานรูปถ่ายใดๆ รัฐบาล ปชป.ในขณะนั้น คงเอามาป่าวประกาศเป็นล้าน ๆ ครั้งแล้ว ในทางตรงกันข้าม คลิปวีดีโอและรูปถ่ายจำนวนมาก ชี้ว่าพวกเขาถูกยิงตายเหมือนหมาข้างถนน โดยไม่มีอาวุธอยู่ข้างกาย หลายคนตายเพราะถูกลูกหลง เพราะทหารกราดกระสุนใส่ประชาชน หลายคนตายขณะกำลังเดินข้ามถนน การตายในลักษณะนี้เป็นผลจากการใช้กำลังอย่างเกินขอบเขตของฝ่ายรัฐนั่นเอง ถ้าใครแน่ใจว่าคนตาย คนเจ็บคนไหนเป็นผู้ก่อการร้าย ก็ชี้ตัวออกมาเลย อย่ามาปูพรมข้อหามั่วๆ กับคนที่เขาเจ็บปวดมามากแล้ว พวกคุณก็มีลูกไม่ใช่หรือ เงิน 7.5 ล้านแลกกับชีวิตลูกของคุณจะเอาไหม หรือคุณคิดว่าความเป็นคนชั้นสูงของคุณทำให้คุณรักลูกมากกว่าเงิน แต่คนจนเห็นแก่เงินมากกว่าลูก จึงปล่อยลูกไปตาย กล้าไปถามพ่อแม่น้องเฌอ แม่น้องเกด และอีกหลายๆ พ่อแม่ไหมว่า ระหว่างเงิน 7.5 ล้านกับลูกของเขา อะไรสำคัญกว่ากัน เคยใช้จินตนาการบ้างไหมว่า สำหรับพวกเขาวันพ่อวันแม่จะมีความหมายอะไร เมื่อไม่มีลูกให้ชื่นชมความเป็นพ่อเป็นแม่ของพวกเขาอีกต่อไป กล้าไปถามเมียและลูก 2 คนในวัยเรียนของครอบครัวอัศวศิริมั่นคงไหมว่า ชีวิตพวกเขาลำบากแค่ไหน เมื่อหัวหน้าครอบครัวต้องกลายมาเป็นคนพิการ ระหว่างเงิน 7.5 ล้านกับพ่อที่ไม่พิการ พวกเขาอยากได้อะไร ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ เคยคิดจะเปิดสมอง เปิดใจ รับฟังความทุกข์ของพวกเขาบ้างไหม บอกว่าเป็นเงินภาษีของประชาชน..ก็ในเมื่อชนชั้นกลางในเมืองทั้งหลาย ช่วยกันเชียร์ให้รัฐบาล ปชป.ใช้กำลังปราบปรามเสื้อแดงอย่างเด็ดขาด นี่ก็คือความรับผิดชอบทางสังคมที่พวกคุณต้องจ่ายเพื่อแลกกับความสุขความสบายใจที่ได้รับยังไงล่ะ แล้วขอโทษที ไม่ได้มีแต่พวกคุณที่จ่ายภาษี คนเสื้อแดงเขาก็จ่ายภาษีเช่นกัน เวลารัฐบาลเอาเงินเป็นแสนล้านไปสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่เห็นมีคนจนออกมาค้านเลย แต่ถ้ารัฐบาลทำอะไรเพื่อคนจนหรือคนเสื้อแดง พวกนี้ต้องอ้างเรื่องภาษีของกูทุกที เงิน 7.5 ล้านนี่มันเกินค่าความเป็นมนุษย์ของพวกเขากระนั้นหรือ? ถ้าฉันมีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ฉันจะจ่ายให้พวกเขามากกว่านี้แน่นอน เงินชดเชย 4.5 ล้านบาท คำนวนจากการใช้รายได้ประชาชาติ GDP) ของปี 2553 หรือ 150,177 บาท/ปี คูณ 30 ปี แต่อันที่จริง รัฐบาลควรคำนวณจากรายได้ที่พวกเขาเคยได้รับจริงก่อนที่จะเสียชิวิตหรือทุพพลภาพ คูณจำนวนปีจนถึงอายุ 65 ปี จึงจะนับว่าเป็นความเหมาะสมขั้นต่ำ เพราะ เมื่อใช้ GDP ปี 2553 เป็นฐานในการคำนวณ เท่ากับว่าแต่ละคนมีรายได้แค่เดือนละ 12,514 บาทเท่านั้น ต่ำกว่าเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต่ำที่เขาพึงได้หากยังมีชีวิตอยู่เสียอีก หลายคนมีรายได้มากกว่านี้แน่นอน หรือแม้แต่เยาวชนที่เสียชีวิต ก็ต้องคิดด้วยว่า หากเขามีชีวิตอยู่ เขาจะทำรายได้อย่างน้อยเท่าไร พ่อแม่เขาจะพึ่งพาเขาในยามแก่เฒ่าได้ต่อไป นี่เป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ ส่วนเงินค่าเยียวยาทางจิตใจอีก 3 ล้านบาท สำหรับความสูญเสียตลอดชีวิต มากเกินไปอย่างนั้นหรือ กรุณาถามตัวเองว่า มันมีค่าสูงกว่าคนที่คุณรักจริงๆ หรือ? ขอเตือนความจำอีกครั้งว่า คนเสื้อแดงมาเรียกร้องการยุบสภา มาขอแสดงสิทธิทางการเมืองให้เป็นที่ประจักษ์อีกครั้งว่า คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ต้องการให้ใครเป็นรัฐบาล มายืนยันว่าเขาไม่ต้องการรัฐบาลที่เกิดจากค่ายทหาร พวกเขาไม่ได้มาเพื่อใช้ชีวิตแลกเงิน 7.5 ล้าน โปรดเลิกใช้เหตุผลวิปลาสกันเสียที ปชป.บอกว่าต้องรวมคนที่ตายในตากใบ-กรือเซะ ใน 3 จว.ภาคใต้ ใน 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 แล้วทำไมตอนตัวเองเป็นรัฐบาลไม่คิดจะทำอะไรให้กับพวกเขาบ้าง จะได้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไป ทำไมตอนนั้นไม่เคยคิดทำอะไรที่สร้างสรรค์บ้าง แต่พอคนอื่นทำ กลับหาว่ามุ่งหาคะแนนเสียงกับคนเสื้อแดง อ้าว! ก็นี่เป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองไม่ใช่หรือ แล้วที่ปชป.ทำมาตลอด และทำอยู่นี่ ไม่ได้สนใจฐานเสียงชนชั้นกลางของพรรคเลยอย่างนั้นหรือ? ในทางกลับกัน การชดเชยเยียวยาจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองนับแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา หากทำได้จริง ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไป และจะช่วยให้การเรียกร้องให้มีการเยียวยาแก่คนกลุ่มอื่นๆ กระทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ขอแต่เพียงว่า เมื่อถึงคราวที่คนในจังหวัดภาคใต้ได้รับการเยียวยาบ้าง คนกลุ่มเดียวกันนี้จะไม่ออกมาตะโกนว่า “กูจ่ายภาษีเพื่อพัฒนาชาติ ไม่ใช่เพื่อสนับสนุน 'โจรใต้' แยกดินแดน” ทั้งนี้ทั้งนั้น โปรดเข้าใจด้วยว่า การเยียวยาด้วยตัวเงิน เป็นแค่การผ่อนความทุกข์ของครอบครัวที่ได้รับผลกระทบให้เบาบางลงเท่านั้น การเยียวยาไม่ได้เป็นทั้งหมดของความยุติธรรม สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ การนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับความตาย-บาดเจ็บเมื่อ เม.ย.-พ.ค.53 มาลงโทษ ประชาธิปัตย์ยินดีคืนความยุติธรรมให้เขาหรือไม่?
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
คนรักหลักประกันสุขภาพ จับตานายกฯเวิร์กช็อบ Posted: 17 Jan 2012 03:30 AM PST ย้ำการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนหลักการ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว โดยมีเป้าหมายที่ควรบรรลุคือ นโยบายรัฐบาลที่ชัดเจนในการรวมระบบสุขภาพทั้งสามให้เป็นหนึ่ง 17 มกราคม 2554 กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกแถลงการณ์จับตา นายกฯเวิร์กช็อบหลักประกันสุขภาพวันที่ 21 มกราคมนี้ ย้ำการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนหลักการ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว โดยมีเป้าหมายที่ควรบรรลุคือ นโยบายรัฐบาลที่ชัดเจนในการรวมระบบสุขภาพทั้งสามให้เป็นหนึ่ง การสร้างมาตรฐานคุณภาพบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ตรวจสอบได้ มีหลักการตรวจสอบความคุ้มค่า คุ้มทุนที่เป็นมาตรฐาน เป็นธรรม การบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีความเชี่ยวชาญด้วยระบบเดียว มีความพร้อมในเชิงวิชาการ และประสบการณ์บริหารระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ประกอบผู้เข้าร่วมเวิร์กชอบอย่างรอบด้านที่สุด โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ ดังนี้ 0 0 0 แถลงการณ์ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๕ ตามที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมาว่าจะจัดเวิร์กชอบเพื่อพิจารณาเรื่องการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพให้มีมาตรฐานการรักษาเดียวกันทั้งประเทศนั้น นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ และมาเป็นประธานในการพิจารณาเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามเวิร์กชอบดังกล่าวต้องตั้งอยู่บนหลักการ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว เป้าหมายที่ควรบรรลุคือ นโยบายรัฐบาลที่ชัดเจนในการรวมระบบสุขภาพทั้งสามให้เป็นหนึ่ง การสร้างมาตรฐานคุณภาพบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ตรวจสอบได้ มีหลักการตรวจสอบความคุ้มค่า คุ้มทุนที่เป็นมาตรฐาน เป็นธรรม การบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีความเชี่ยวชาญด้วยระบบเดียว มีความพร้อมในเชิงวิชาการ และประสบการณ์บริหารระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ประกอบผู้เข้าร่วมเวิร์กชอบอย่างรอบด้านที่สุด การจัดเวิร์กชอบที่มีเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และสำนักงานประกันสังคม จะถือว่าไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรมเพราะขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้บริการระบบหลักประกันสุขภาพ ในการติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพพบว่ายังขาดองค์ประกอบสำคัญที่เข้าร่วมเวิร์กชอบ ซึ่งจะจัดในวันที่ ๒๑ มกราคมนี้ ดังนั้น จึงขอเรียนให้นายกฯ ได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย คือ ๑. ตัวแทนประชาชน ในระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ทุกระบบ ๒. ตัวแทนจากนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานวิจัยเรื่อง มาตรฐานการรักษาพยาบาล การควบคุมคุณภาพบริการ การบริหารการเงินการคลังสุขภาพที่เป็นธรรม คุ้มค่า คุ้มทุน มีประสิทธิภาพ เช่น ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ดร.นพ.ศุพสิทธิ์ พรรณารุโณทัย ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ดร.นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ ดร.นพ.พงษธร พอกเพิ่มดี นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ๓. ตัวแทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ขอส่งแถลงการณ์นี้เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมในเวิร์กชอบอย่างแท้จริง เฉกเช่นเดียวกับที่อดีตนายกทักษิณ ได้ดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๔
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กวีตีนแดง: นิติศาสตร์จักต้องเป็นศาสตร์เพื่อราษฏร Posted: 17 Jan 2012 02:54 AM PST ทันทีที่รัฐประหารทำลายหลักการแห่งนิติรัฐ เช่นนี้..นิติศาสตร์จักต้องเป็นศาสตร์เพื่อราษฏร เจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตยไม่แบ่งชนชั้น นิติราษฏร์ประกาศลบล้างผลพวงรัฐประหาร ทางเท้า : กลุ่มกวีตีนแดง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
แนะให้ศาลสั่งผ่าศพมุสลิม อนุ กสม.ถกแนวชันสูตรตามอิสลาม Posted: 17 Jan 2012 01:45 AM PST
ถกผ่าศพมุสลิม - ผู้นำศาสนาอิสลามร่วมพิจารณาร่างแนวทางการชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อ 16 มกราคม 2555 ที่ห้องประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 16 มกราคม 2555 ที่ห้องประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดประชุมพิจารณาร่างแนวทางการชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ตามหลักศาสนาอิสลาม) มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน ที่ประชุมรับข้อเสนอของนายแพทย์อนันต์ชัย ไทยประทาน นายแพทย์ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ในฐานะคณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ที่เสนอให้ศาลเป็นผู้สั่งให้มีการผ่าพิสูจน์ศพหรือขุดศพชาวมุสลิมขึ้นมาเพื่อชันสูตร ในกรณีที่มีความจำเป็น ตามคำแนะนำของดาโต๊ะยุติธรรม บรรจุลงในร่างแนวทางฉบับนี้ด้วย ที่ประชุมยังรับข้อเสนอของนายเซ็ง ใบหมัด กรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ในฐานะคณะทำงาน ที่เสนอให้เชิญนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ชักชวนบรรดาอุลามะห์ (นักปราชญ์ทางด้านศาสนาอิสลาม) ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อคนในภาคใต้ มาทำความเข้าใจถึงความจำเป็นต่อการชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญในพื้นที่ และการนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้ต้องให้เห็นผลว่า นิติวิทยาศาสตร์สามารถทำให้เกิดความยุติธรรมได้จริง ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า สำหรับแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ฉบับสมบูรณ์ จะสามารถจัดพิมพ์เผยแพร่ก่อนครั้งแรกประมาณ 100 เล่ม ในช่วงประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 หลังจากได้พูดคุยหารือกับบรรดาอุลามะอ์ในพื้นที่แล้ว ก็จะพิมพ์เพิ่มอีกประมาณ 1,000 เล่ม ศ.ดร.อมรา แจ้งอีกว่า คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาสร่วมกับสำนักจุฬาราชมนตรีจะเป็นผู้นำไปเผยแพร่ ส่วนการนำไปปฏิบัติในพื้นที่จะให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประสานกับหน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ศ.ดร.อมรา แจ้งต่อที่ประชุมด้วยว่า ในวัน5 - 6 มีนาคม 2555 ตนจะไปพบกับนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เพื่อรายงานเรื่องการพิจารณาร่างแนวทางการชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ให้ทราบ และขอให้นายอาศิสเขียนคำนิยมในหนังสือแนวทางการชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ด้วย นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ในฐานะคณะทำงาน กล่าวต่อที่ประชุมว่า เสนอว่าควรตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่อธิบายหรือทำความเข้าใจต่อญาติของผู้ที่เสียชีวิต ในกรณีที่ต้องชันสูตรศพเพื่อค้นหาความยุติธรรม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ชมรมเพื่อนโรคไตหวั่น '30 บาท' เป็นระบบอนาถา Posted: 17 Jan 2012 01:40 AM PST
ชมรมเพื่อนโรคไตกังวลทิศทางการพัฒนา 30 บาทยุคเพื่อไทย กลายเป็นระบบอนาถาหลังการเมืองส่งคนที่เคยคัดค้านนโยบาย ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ มาเป็นบอร์ด สปสช. หวั่นเอื้อประโยชน์ รพ.เอกชน ไม่ปกป้องผลประโยชน์ประชาชนและผู้ป่วย เรียกร้องนายกรัฐมนตรีจัดการโดยเร็ว วอนอย่าเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า 17 มกราคม 2555 นายสุบิล นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับทิศทางการดำเนินงาน ‘30 บาท’ ในยุครัฐบาลเพื่อไทย โดยเฉพาะหลังจากที่ชมรมแพทย์ชนบทได้ออกมาเปิดเผยถึงแผน 4 ขั้น ในการล้มระบบบัตรทองนั้น ทางชมรมเพื่อนโรคไตมีความเป็นห่วงและวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างมาก และเมื่อทราบว่าได้มีการประชุมลับระหว่าง นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ บอร์ด สปสช. เพื่อจัดโผการแต่งตังคณะอนุกรรมการการเงินการคลังนั้น ก็น่าเป็นห่วงว่า ต่อจากนี้ไป ทิศทางของบัตรทองภายใต้การบริหารของกลุ่มคนที่คัดค้าน 30 บาทมาตั้งแต่ต้น แต่กลับเข้ามาเป็นบอร์ด สปสช.จะไม่รักษาผลประโยชน์ประชาชนและผู้ป่วย แต่จะเอื้อประโยชน์ให้ รพ.เอกชนมากกว่า ต่อจากนี้สิทธิประโยชน์เพื่อประชาชนจะไม่ได้รับการพัฒนา ที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว กรณี นพ.เอื้อชาติ ที่ทำหนังสื่อถึง รพ.เอกชนไม่ให้เข้าร่วมฟอกเลือดผู้ป่วยไตกับ สปสช. เพราะต้องการกดดันให้ สปสช.เพิ่มราคาให้ รพ.มากกว่าเดิม นายสุบิล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาชมรมเพื่อนโรคไตได้ร้องเรียนกับ รมว.สธ. แพทยสภา ให้พิจารณาประเด็นจริยธรรมของ นพ.เอื้อชาติ ที่ขัดขวางการพัฒนาสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของประชาชนมาโดยตลอด ทั้งประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนสมัยที่เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขของ สปสช. แต่ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม รพ.เอกชนด้วย อีกทั้งที่ผ่านมา นพ.เอื้อชาติยังเป็นหนึ่งในกลุ่มแพทย์ ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกฎหมายหลักประกันสุขภาพ และกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยตลอด ซึ่งชมรมเพื่อนโรคไตยืนยันว่า จะร่วมปกป้องเจตนารมณ์ของระบบหลักประกันสุขภาพที่ถือกำเนิดขึ้นในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากการผลักดันของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่มีขึ้นเพื่อสิทธิของประชาชน จะไม่ยอมให้กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ใดมาฉกฉวยเอาประโยชน์จากกองทุน และทำให้ ‘30 บาท’ กลายเป็นระบบอนาถา ละเมิดสิทธิของประชาชน “ชมรมเพื่อนโรคไตขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลเพื่อไทยว่าอย่าเขียนด้วยมือแล้วลบด้วยเท้า สิ่งที่รัฐบาลไทยรักไทยได้สร้างมาเป็นประโยชน์มหาศาลกับคนไทยทั้งประเทศ แต่ผ่านมา 10 ปี รัฐบาลนี้กลับจะมาทำลายระบบที่ตัวเองสร้างมากับมือเสียเอง อยากถามว่าเป็นเรื่องที่สมควรทำแล้วหรือไม่ ซึ่งผมและชมรมเพื่อนโรคไต ตลอดจนเครือข่ายผู้ป่วยจะเข้าร่วมประชุมกับชมรมแพทย์ชนบทในวันที่ 20 ม.ค.นี้ และจะยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้จัดการกับความไม่ถูกต้องนี้โดยเร็ว ก่อนที่บอร์ด สปสช.ชุดใหม่จะทำให้ 30 บาทกลายเป็นระบบการรักษาพยาบาลแบบอนาถาในที่สุด” ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI Posted: 17 Jan 2012 01:14 AM PST กรณีที่นายทุนข้ามชาติภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลิกจ้างพนักงาน 4 แห่งเกิดขึ้นในช่วงภาวะปกติและไม่ปกติ คือ ทั้งก่อนและหลังอุทกภัย ปีพ.ศ. 2554 อีกทั้งสาเหตุของการเลิกจ้างเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย ประเด็นหลักที่จะนำเสนอคือ เมื่อแรงงานรวมตัวกันเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง และมีสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขาก็ถูกละเมิด ถูกขัดขวางเพราะถูกเลิกจ้างอย่างเสรีโดยฝ่ายทุน ซึ่งนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของระบบประชาธิปไตย ผู้เขียนต้องการรณรงค์ปัญหาการเลิกจ้างที่นำไปสู่ภาวะสั่นคลอน/ไร้เสถียรภาพของสหภาพแรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ 1) สหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย 2) สหภาพแรงงานริโก้ประเทศไทย 3) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (Hoya) และ 4) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ (MMI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ให้รัฐแก้ไขปัญหาแรงงาน 4 กรณีอย่างเร่งด่วน 2. ให้สื่อ สาธารณชน ขบวนการแรงงาน นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การรวมตัวเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานมากขึ้น 3. ตั้งคำถามต่อนายทุนเอกชนถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม การใช้กลไก CSR (Corporate Social Responsibility) จรรยาบรรณทางการค้าของบรรษัทข้ามชาติ รวมถึงกลไกรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่า ทำไมไม่สามารถรองรับปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อแรงงานในภาวะปกติและไม่ปกติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บทความจะนำเสนอหัวข้อ 1. การเลิกจ้างพนักงาน : หลากหลายสาเหตุและวิธีการ 2. การทำลายเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ใช้แรงงาน 3. การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมผ่านกลไกต่างๆ 4. ข้อเรียกร้องต่อรัฐ
1. การเลิกจ้างพนักงาน : หลากหลายสาเหตุและวิธีการ ปรากฏการณ์การเลิกจ้างพนักงานหลังน้ำลดเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง นายจ้างแต่ละแห่งใช้ยุทธวิธีและข้ออ้างที่แตกต่างกันไป ตัวเลขล่าสุดจำนวนคนงานถูกเลิกจ้างมีประมาณ 25,501 คนในสถานประกอบการ 89 แห่ง โดยเป็นการเลิกจ้างใน จ.พระนครศรีอยุธยา มากที่สุด 16,371 คน รองลงมาคือ จ.ปทุมธานี 8,456 คน [1] เหลือแรงงานที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่อีกประมาณ 30,000-40,000 คน ขณะที่สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้มีจำนวน 1,337 แห่ง ลูกจ้าง 233,536 คน ในจำนวนนี้บางส่วนได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างที่มียอด รวมจำนวน 257,887 คน จึงทำให้ตัวเลขการเลิกจ้างยังมีไม่มากนัก แต่ยอดรวมแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีประมาณ 1 ล้านคน ไม่เพียงแค่การเลิกจ้างเท่านั้น แต่ยังมีปรากฏการณ์ลดฐานเงินเดือนเหลือ 75% 50% 25% โดยใช้ช่องทางของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 75 [2] รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตภายในประเทศ และต่างประเทศ เป็นต้น เสรีภาพของนายทุนหมายถึงการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ตระหนักถึงผลกระทบ ความเดือดร้อนของอีกฝ่าย ในขณะที่อีกฝ่ายไม่มีเสรีภาพในการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น เสรีภาพในการพูด เจรจาต่อรอง ปรึกษาหารือร่วม และรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ยุทธวิธีและข้ออ้างของนายจ้างสามารถเห็นได้จากสถานการณ์ปัญหาของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 4 แห่ง ดังนี้ เสรีภาพของทุนในการขัดขวางการรวมตัวและจัดตั้งสหภาพแรงงาน มี 2 กรณีคือ 1.1 การเลิกจ้างพนักงานเอจีซี อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 61 คน 1.2 การเลิกจ้างพนักงานริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง จำนวน 54 คน เสรีภาพของทุนในการขัดขวางกระบวนการสร้างความเติบโตของสหภาพแรงงาน มี 2 กรณีคือ 1.3 การเลิกจ้างพนักงานโฮยา กลาสดิสก์ จำนวนประมาณ 2,000 คน 1.4 การเลิกจ้างพนักงานเอ็มเอ็มไอ พรีซิชั่น จำนวน 200 คน เสรีภาพของทุนในการขัดขวางการรวมตัวและจัดตั้งสหภาพแรงงาน 1.5 การเลิกจ้างพนักงานเอจีซี อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 61 คน พนักงานเอจีซีอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 61 คนเป็นพนักงานของบริษัทเอจีซีอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย จำกัด หรือรู้จักกันในนามอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 4,200 คน ผลิตเลนส์กระจกสำหรับฮาร์ดดิสก์ พนักงานที่ถูกเลิกจ้างยังเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 2 แห่งคือ สหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทยและสหภาพแรงงานเอจีซีเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ก่อนเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัด ทั้งหมดร่วมชุมนุมคัดค้านการลดเงินเดือนพนักงานในวันที่ 12 ก.ค. 54 จึงถูกตั้งข้อหาสร้างความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตลอดเวลา ยุยงพนักงานให้เกิดความแตกแยก และแตกความสามัคคี ทำลายบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ยุยงไม่ให้พนักงานทำงานล่วงเวลา อีกทั้งบริษัทไม่พอใจพฤติกรรมก้าวร้าวจากการผละงานเมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2553 จากความไม่พอใจของนายจ้างที่ลูกจ้างเคยผละงานขอโบนัสเพิ่มปี 2553 ทำให้พนักงานเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเลิกจ้างครั้งนี้ และสั่งสมมาจนถึงช่วงของการรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย กระทั่งบริษัทประกาศใช้มาตรา 75 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งทำให้พนักงานไม่พอใจ และออกมาชุมนุมกันที่โรงอาหารประมาณ 600 คน เพื่อสอบถามสาเหตุที่แท้จริงจากผู้บริหาร และผู้บริหารได้อ้างว่าสาเหตุการลดเงินเดือนมาจากปัญหาในกระบวนการผลิตสินค้าที่ทำให้ลูกค้า Claim สินค้ากลับมาให้แก้ไข และจำเป็นต้องปิดปรับปรุงกระบวนการผลิตชั่วคราว แต่พนักงานต้องมารายงานตัวทุกสัปดาห์ ด้วยเหตุนี้ สหภาพแรงงานจึงเรียกร้องให้บริษัทหยุดใช้มาตรา 75 เพราะค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้น รายได้ที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต สาเหตุของการนำไปสู่การเลิกจ้างสามารถแจกแจงรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้ 1) การออกมาเรียกร้องโบนัสเพิ่มของพนักงาน วันที่ 21-24 ธันวาคม 2553 พนักงานบริษัทรวมตัวกันจำนวนกว่า 3 พันคนเรียกร้องขอให้นายจ้างเพิ่มโบนัสจาก 2.1 เท่าของเงินเดือนเป็น 2.5 เท่า เนื่องจากโรง 4 (ผลิตเลนส์กระจกสำหรับกล้องดิจิตอล) ได้รับโบนัสมากกว่าถึง 2.7 เท่า ในขณะที่โรง 1-3 (ผลิตกระจกสำหรับฮาร์ดดิสท์) ได้ 2.1 เท่า อีกทั้ง ยังขอให้นายจ้างจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่พนักงานทุกคน เนื่องจากที่มีอยู่นั้นจัดให้เฉพาะพนักงานระดับซุปเปอร์ไวเซอร์ขึ้นไป พนักงานได้ออกมาชุมนุมกันที่หน้าโรงงานเป็นเวลา 3 วันและไปยังศาลากลางเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่รัฐไกล่เกลี่ย ผลการไกล่เกลี่ยคือ นายจ้างยังให้โบนัสเป็น 2.1 เท่า แต่เพิ่มเงินพิเศษแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท และบริษัทไม่เอาผิดพนักงานที่ออกมาชุมนุมหน้าโรงงาน 2) การก่อตั้งสหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย วันที่ 25 มกราคม 2554 พนักงานที่เคยเรียกร้องโบนัส ร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ จากที่เคยมีอยู่เดิม (สหภาพแรงงานเอจีซี เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) เป็นสหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย วันที่ 8 กรกฎาคม 2554 ประธานสหภาพแรงงานไปร้องเรียนคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จังหวัดหลังจากที่ถูกนายจ้างกดดันให้ลาออกพร้อมกับเสนอเงินให้ และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ได้เรียกตัวไปสอบสวนเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) การปรับลดเงินเดือนพนักงาน วันที่ 11 กรกฎาคม 2554 เวลา 11.00 น. หัวหน้างานแต่ละส่วน (ระดับ senior และ engineer) แจ้งปากเปล่าแก่พนักงานในไลน์ผลิตว่า วันดังกล่าวไม่มีการผลิต เนื่องจากมีปัญหาด้านคุณภาพงานที่ลูกค้าเคลม คือ มีสิ่งเจือปนในชิ้นงาน พร้อมกับแจ้งว่าบริษัทจะใช้มาตรา 75 จ่าย 75% เป็นเวลา 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย คนงานจึงหยุดทำงานและทำความสะอาดไลน์การผลิต เวลา 14.00 น. ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้เรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน เพื่อ แจ้งเรื่องการใช้มาตรา 75 ด้วยเหตุผลเกิดปัญหาคุณภาพงาน และกำหนดให้พนักงานมารายงานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ทางสหภาพยังยืนยันให้บริษัทจ่ายเต็ม 100% หรืออย่างน้อยสุดเหลือ 80% แต่การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ วันที่ 12 กรกฎาคม 2554 เวลา 10.00 น. สหภาพฯ ได้ทำหนังสือแจ้งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ถึงข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ไกล่เกลี่ยหาข้อยุติเรื่องการใช้มาตรา 75 ว่าถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมต่อพนักงานหรือไม่ แต่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดแจ้งทางโทรศัพท์กลับมาว่า ไม่ว่างเข้ามาไกล่เกลี่ย ทั้งยังไม่ทราบเรื่องการใช้มาตรา 75 ของบริษัท จึงขอให้พนักงานมาร้องทีหลังหากบริษัทประกาศใช้แล้วอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเวลา 12.00 น. บริษัทปิดประกาศการใช้มาตรา 75 บังคับต่อพนักงานจำนวน 2,700 คน ที่หน้าอาคาร ลงลายมือชื่อวันที่ประกาศวันที่ 11 ก.ค. 54 ซึ่งไม่ตรงกับวันที่ติดประกาศจริง ทำให้พนักงานส่วนใหญ่เกิดความคับข้องใจ จึงออกมาจับกลุ่มรวมตัวกันบริเวณโรงอาหารชั้น 1 ประมาณ 600 คนในเวลา 13.10 น. เพื่อหาความชัดเจนต่อการใช้มาตรา 75 สมาชิกสหภาพฯ จึงขึ้นไปสอบถาม และเรียกร้องให้ให้บริษัทจ่ายค่าจ้างเต็ม 100% วันที่ 13 กรกฎาคม 2554 กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ 1 ออกบันทึกข้อความรายงานเรื่องการหยุดกิจการชั่วคราวของบริษัทดังกล่าวให้แก่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความว่าบริษัทจำเป็นต้องหยุดเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต และได้สรุปว่า พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทั้งสองฝ่ายควรมีการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์กันต่อไป อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงยืนยันลดเงินเดือนพนักงานต่อไป 4) การเลิกจ้างสมาชิกและกรรมการสหภาพแรงงานที่มีบทบาทปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 เวลา 6.30 น. ฝ่ายทรัพยากรบุคคลโทรศัพท์เข้ามาในไลน์ เรียกพนักงานกะดึก (shift c) เข้าไปพบรอบแรกประมาณ 7 คน ซึ่งเป็นผู้มีรายชื่อใน 61 คนที่ถูกเลิกจ้าง (หลายคนไม่ได้ถูกเรียกพบ แต่รู้เมื่อมีการติดประกาศเลิกจ้าง) โดยได้พบกับทนายความของนายจ้าง และทนายความแจ้งข้อหาทางวาจาว่า “เรามีความผิดที่ผละงาน ชุมนุม” ซึ่งลูกจ้างโต้กลับว่า “ทำไมไม่มีเอกสารเลิกจ้างมาให้ดู” ทนายความตอบว่า “ถึงเอามาให้ดู พวกคุณก็ไม่เซ็นชื่อกันหรอก” ต่อมาในเวลา 7.40 น. บริษัทติดประกาศก่อนเข้างานกะเช้า เพื่อห้ามไม่ให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเข้างานโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างไกล่เกลี่ยกับนายจ้าง นายจ้างก็เปิดรับพนักงานใหม่อีกประมาณ 500 อัตรา 1.2 การเลิกจ้างพนักงานริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง จำนวน 54 คน บริษัท ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผลิตเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร และชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังกล่าวส่งไปยังต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น ทวีปยุโรป อเมริกา ทวีปเอเชีย โอเชียเนียและออสเตรเลีย ตั้งอยู่ที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง มีพนักงานทั้งสิ้น 724 คน ส่วนมากเป็นพนักงานหญิง 70% ชาย 30% ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน เฉลี่ยเงินเดือนประมาณ 6,000 บาท เวลาทำงานตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. เวลาพัก 1.15 ชั่วโมง ทำงานทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันหยุดประจำสัปดาห์ 2 วันคือ เสาร์-อาทิตย์ สวัสดิการที่ได้รับ ได้แก่ เบี้ยขยัน รถรับส่ง ค่าข้าวมื้อเที่ยงและทำงานล่วงเวลาฟรี ค่าเช่าบ้าน โบนัสขึ้นอยู่กับผลกำไรซึ่งไม่แน่นอน ค่าความชำนาญ ชุดยูนิฟอร์ม ตรวจสุขภาพประจำปีและปรับเงินขึ้นทุกปีโดยการตัดเกรดพนักงาน [3] เหตุการณ์การเลิกจ้างพนักงานดังกล่าวมีสาเหตุจากการที่พนักงานการทนสภาพการทำงานไม่ไหว การรวมตัวเรียกร้องโบนัสเพิ่ม และการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) สภาพปัญหาการทำงานของพนักงาน มีดังนี้ 1. ลาป่วย 1 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ 2. อุปกรณ์ความปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เพราะมีพนักงานบางส่วนทำงานเกี่ยวกับสารเคมี 3. ไม่จัดที่ทำงานเฉพาะสำหรับพนักงานที่ตั้งครรภ์ โดยให้ปฏิบัติงานในส่วนเดียวกันกับฝ่ายผลิต 4. การปรับเงินขึ้นและโบนัสไม่เป็นธรรม 5. โรงอาหารที่สำหรับกินข้าวและช้อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของพนักงาน 6. บังคับพนักงานทำงานล่วงเวลา 7. ห้องพยาบาลไม่เพียงพอและไม่มีการจัดพยาบาลและหมอให้ตามที่กฎหมายกำหนด 8. ใน"ไลน์ผลิต" เข้าห้องน้ำต้องลงเวลา 9. ผ้าปิดจมูกเป็นผ้าธรรมดาป้องกันสารเคมีไม่ได้ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น พนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรม จนกระทั่งมีประกาศผลโบนัสออกมา 2) ความไม่พอใจกับประกาศผลโบนัสของบริษัทและการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 บริษัทฯได้ประกาศการจ่ายเงินโบนัสประจำปี ค่ากลางเท่ากับ 2.7 เดือน ซึ่งเท่ากับปีที่ผ่านมา แต่ความเป็นจริงในปี 2554 บริษัทฯ ได้ทำการผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2553 ทำให้พนักงานส่วนมากไม่พอใจกับการประกาศผลโบนัสครั้งนี้ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา 18.10 น.พนักงานได้รวมตัวกันที่หน้าบริษัทฯและได้ทำข้อเรียกร้องพร้อมลงลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องจำนวน 274 คน โดยแต่ละแผนกส่งตัวแทนพนักงานแผนกละ 3คน เพื่อขึ้นไปเป็นตัวแทนในการเจรจากับนายจ้างรวมทั้งหมด 21 คน รวมทั้งแต่งตั้งผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายลูกจ้าง จำนวน 7 คน หลังจากนั้นก็ได้มีการเจรจากับนายจ้างคนญี่ปุ่นและผู้บริหารคนไทย และได้ข้อสรุปว่า ผู้บริหารจะนัดชี้แจงเงินบวกพิเศษเพิ่มในวันที่ 2 ธันวาคม 2554 เวลา 17.30น ที่โรงอาหาร ในช่วงของวันที่ 1 ธันวาคม 2554 พนักงานได้ลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงานทั้งหมด 306 คน ต่อมาเมื่อ เวลา 18.30 น. ซึ่งเป็นเวลาเลิกงานแล้วได้มีพนักงานจำนวน 13 คน ซึ่งเป็นตัวแทนที่จะดำเนินการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ประชุมเตรียมการจัดตั้งและกรอกเอกสารบางส่วน และได้นัดกรอกเอกสารเพิ่มเติมอีกในวันที่ 3 ธันวาคม 2554 วันที่ 2 ธันวาคม 2554 เวลา 08.15น ทางบริษัทฯได้มีการเรียกพนักงานกะดึกของคืนวันที่ 1ธันวาคม 2554 มารับฟังการประกาศผลโบนัสเป็นกลุ่มแรก พร้อมทั้งได้มีการบังคับให้พนักงานลงลายมือชื่อยินยอมรับเงินโบนัส ส่วนพนักงานที่เข้าทำงานกะเช้าของวันที่ 2 ธันวาคม 2554 ทางผู้บริหารได้เรียกแต่ละแผนกไปชี้แจงในห้อง Training Room พร้อมทั้งให้เซ็นยอมรับเงินโบนัสโดยไม่ได้เจรจากับตัวแทนพนักงาน ซึ่งมีพนักงานที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หลังเลิกงานพนักงานจึงรวมตัวกันอีกครั้งที่หน้าบริษัทฯ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับพนักงานที่ทำงานกะเช้า แต่ครั้งนี้ไม่มีการเจรจาใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากทางผู้บริหารกลับบ้านก่อน พนักงานจึงได้มีการลงลายมือชื่อจำนวน 284 คนเพื่อจะยื่นข้อเรียกร้องให้กับบริษัทฯใหม่อีกครั้ง วันที่ 3 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00น พนักงานที่เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานพร้อมเพื่อนพนักงานอีกส่วนหนึ่งได้มาปรึกษาเรื่องการจัดตั้งสหภาพแรงงานพร้อมทั้งกรอกเอกสารเพิ่มเติมบางส่วนที่ยังไม่เรียบร้อยเพื่อจะดำเนินการไปยื่นจดทะเบียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง โดยมีพนักงานลงลายมือชื่อสนับสนุนจำนวนทั้งหมด 306 คน วันที่ 4 ธันวาคม 2554 เวลา 09.00น พนักงานได้มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในการยื่นข้อเรียกร้องและการมีสหภาพแรงงงานในสถานประกอบการพร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูลเพื่อที่จะทำการยื่นข้อเรียกร้องใหม่เพื่อจะยื่นอีกครั้งในวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ทว่าเมื่อถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ทางบริษัทฯได้ติดประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนทั้งหมด 41 คน โดยตั้งข้อหาพนักงานทั้งหมด 12 ข้อหา เช่น สร้างความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ยุยงให้เกิดความแตกแยก ไม่ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี ทำลายความหวัง ความก้าวหน้าของเพื่อน พนักงานและบริษัทฯ พูดจาให้ร้ายบริษัทฯ สร้างเรื่องเพื่อทำให้พนักงานเกิดความระแวงต่อกัน แสดงกิริยา วาจา ก้าวร้าว ทัศนคติไม่ดี คิดร้ายต่อบริษัทฯ เป็นต้น ส่วนข้อเรียกร้องที่ได้เตรียมมายื่นให้กับบริษัทฯนั้น ไม่สามารถยื่นได้เนื่องจากถูกเลิกจ้างก่อน พนักงานส่วนหนึ่งจึงนำสำเนาข้อเรียกร้องพร้อมลายมือชื่อที่สนับสนุนข้อเรียกร้องไปยื่นให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดได้ออกมาชุมนุมกันที่หน้าบริษัทฯ จนกระทั่งเวลา 14.20 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานและสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองได้เดินทางมาเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยได้ข้อสรุปว่าให้เรียกพนักงานจำนวน 22 คนที่ไม่มีรายชื่อถูกเลิกจ้างกลับเข้าไปทำงานโดยให้สัญญาว่าจะไม่มีการเลิกจ้างและเอาผิดใดๆ กับพนักงานทั้ง 22 คนนี้ วันที่ 7 ธันวาคม 2554 ทางบริษัทฯได้ติดประกาศเลิกจ้างพนักงานเพิ่มอีก 4 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีรายชื่ออยู่ในจำนวนพนักงาน 22 คนข้างต้น วันที่ 8 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณ 07.30น. กลุ่มพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง 45 คนได้มารวมตัวกันที่หน้าบริษัทฯ เพื่อที่จะเข้าไปรายงานตัวกับบริษัท แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยอ้างว่าไม่ได้รับคำสั่งจากฝ่ายบุคคลว่า ให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน โดยติดประกาศหน้าป้อม รปภ. ว่าทางบริษัทฯได้ประกาศแจ้งให้ทราบว่า ห้ามไม่ให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเข้ามากระทำการใดๆภายในบริษัทฯ มิเช่นนั้นทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนพนักงานที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้าง ทางบริษัทฯได้ทำหนังสือให้เซ็นชื่อ เพื่อกันไม่ให้เข้าร่วมชุมนุม ถ้าไม่เช่นนั้นจะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายและพยายามข่มขู่พนักงานให้เกิดความกลัว วันที่ 9 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ได้มีการนัดเจรจาแต่ทางนายจ้างได้มีการโทรแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานและเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองว่าไม่สบายและไม่สามารถมาเจรจาได้ จึงขอเลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เวลา 14.00น วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ได้มีการเลิกจ้างพนักงานเพิ่มอีก 9 คน ที่อยู่ในกลุ่ม 22 คน โดยตั้งข้อกล่าวหาว่า ขาดงาน ทำผิดซ้ำคำเตือน และร่วมชุมนุมกับพนักงานที่อยู่ด้านนอก ซึ่งพนักงานทั้ง 9 คนได้โทรศัพท์ลางานกับหัวหน้างานเรียบร้อยแล้ว และเป็นพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานด้วย เสรีภาพของทุนในการขัดขวางกระบวนการสร้างความเติบโตของสหภาพแรงงาน 1.3 การเลิกจ้างพนักงานโฮยา กลาสดิสก์ จำนวนประมาณ 2,000 คน 1 ธ.ค. 54 บริษัท โฮยา กลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ได้ประกาศว่าจะเลิกจ้างคนงานเกือบ 2,000 คนจากทั้งหมด 4,639 คน หลังจากที่ประกาศใช้มาตรา 75 มาตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 54 โดยได้แจ้งกับสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ว่า จะเปิดเป็นโครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจ จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและบวกอีก 25% ส่วนเหตุผลในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทระบุว่า มาจากการขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 กอปรกับปัญหาอุทกภัย แต่ทางสหภาพแรงงานฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อปี 2553 บริษัทยังมีกำไรอยู่ถึง 591 ล้านบาท และเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นก็ท่วมที่โรงงานของโฮย่าใน จ.อยุธยา เท่านั้น สาเหตุเบื้องหลังของการเลิกจ้างพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนี้สามารถมองย้อนกลับไปในช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อปี 2550 กล่าวคือ จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 คนงานบริษัทโฮย่าฯ จำนวน 3,289 คนได้ร่วมกันลงชื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทฯ แต่ไม่สามารถเจรจากันได้ จึงเกิดเป็นข้อพิพาทแรงงาน และไกล่เกลี่ยกันโดยมีเจ้าหน้าที่ประนอมข้อพิพาทของรัฐเป็นตัวกลาง สุดท้ายสามารถตกลงกันได้ ในระหว่างที่มีการยื่นข้อเรียกร้องนั้น คนงานบริษัทโฮย่าฯ 18 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และ เครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) และได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 มีการจัดประชุมใหญ่โดยมีสมาชิกสหภาพฯ ทั้งสิ้น 2,960 คน ได้คณะกรรมการสหภาพฯ ชุดแรก จำนวน 21 คน ซึ่งทั้ง 21 คนนี้ ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างด้วย ทว่าในการจัดตั้งสหภาพ มีปัญหาในการดำเนินกิจการ คือ ได้รับแรงกดดันจากฝ่ายบริหารของบริษัทฯ มาโดยตลอด ซึ่งสรุปได้ดังนี้ [4] - การออกประกาศระเบียบของบริษัทฯ ไม่ให้สหภาพฯ ดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงานในบริษัทฯ - บริษัทฯ ปฏิเสธการประชุมร่วมกับสหภาพฯ คณะกรรมการลูกจ้าง คณะกรรมการสหภาพฯ ได้ทำหนังสือยื่นต่อฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ขอให้จัดประชุมร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาตามที่คนงานร้องเรียน เพื่อการจัดสวัสดิการของคนงาน และเพื่อการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ไม่ยอมประชุมพูดคุยร่วมกับคณะกรรมการสหภาพฯ และคณะกรรมการลูกจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์มาตรา 50 ที่ว่า “นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างอย่างน้อย 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง หรือเมื่อกรรมการลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการลูกจ้างทั้งหมด หรือสหภาพแรงงานร้องขอ...” การเลิกจ้างพนักงานโรงที่ 2 ที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเกือบทั้งหมดสามารถตีความถึงการพยายามทำลายการเติบโตของสหภาพแรงงานในจังหวะช่วงวิกฤตน้ำท่วม 1.4 การเลิกจ้างพนักงานเอ็มเอ็มไอ พรีซิชั่น จำนวน 200 คน บริษัทเอ็มเอ็มไอ พรีชิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (MMi Precision (Thailand) Limited) นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตั้งอยู่ที่อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ มีพนักงานทั้งสิ้น 250 คน พนักงานประจำประมาณ 200 คน คนงานเหมาค่าแรง (sub-contract) 50คน ในช่วงเกิดอุทกภัย วันที่ 22 ตุลาคม 2554 น้ำทะลักท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร รวมทั้งบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ นายจ้างจึงสั่งหยุดงานทันทีโดยที่ยังไม่ได้แจ้งกับพนักงานว่าจะจ่ายค่าจ้างเท่าไร เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 ฝ่ายบุคคลบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ ได้แจ้งการเลิกจ้างคนงานทางโทรศัพท์ และให้มารับเช็คในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. มีคนงานไม่ถึง 10 คนที่ทำงานอยู่แผนกตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานย้ายไปทำงานที่บริษัทฯในเครือของเอ็มเอ็มไอฯ จ.ชลบุรี มีสมาชิกสหภาพบางคนที่ไม่พร้อมที่จะไปทำงานที่จังหวัดชลบุรีเนื่องจากไม่สะดวกในการเดินทางและมีภาระต้องดูแลครอบครัว บริษัทเอ็มเอ็มไอฯ ก็จะยื่นคำขาดกับคนงานว่าถ้าไม่ไปก็จะไม่ได้อะไร ? [5] เลขาธิการสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์เมื่อทราบข่าวว่าบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ จะเลิกจ้าง จึงรีบโทรศัพท์ถึงฝ่ายบุคคล สหภาพแรงงานขอเจรจากับทางบริษัทฯเป็นการด่วนเพราะอยู่ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง แต่ทางฝ่ายบุคคลแจ้งว่าจะมีการเลิกจ้างคนงานประมาณ 90% ของคนงานทั้งหมด ส่วนคนงานที่เหลือเป็นช่าง และขอปฏิเสธเจรจาพูดคุยกับทางสหภาพแรงงาน ขณะเดียวกันสหภาพแรงงานไม่สามารถรวมกลุ่มเพื่อชี้แจงได้ เพราะสมาชิกได้หนีน้ำไปอยู่กับครอบครัวต่างจังหวัด และได้พยายามติดต่อสมาชิกทางโทรศัพท์เพื่อให้ต่อรองเรื่องสิทธิต่างๆ เช้าวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ณ โกดังแห่งหนึ่งใกล้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร บริษัทเอ็มเอ็มไอฯ เลิกจ้างพนักงานเกือบ 200 คน และกำลังขออำนาจศาลแรงงานเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง 7 คน ขณะเดียวกันกรรมการสหภาพแรงงานพยายามขอเจรจาพูดคุยกับตัวแทนของบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ แต่ก็ถูกปฏิเสธตลอด นางสาวแสงอรุณ แก่นเพ็ชร เลขาธิการสหภาพแรงงานได้ชี้แจ้งกับสมาชิกเรื่องนโยบายการเลิกจ้างของบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ ขณะเกิดวิกฤตอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งสวนทางกับอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (นายอาทิตย์ อิสโม) ที่ออกรายการทางทีวีช่องไทยพีบีเอสเมื่อคืนว่าจะไม่มีการเลิกจ้างคนงาน แต่พอรุ่งเช้าก็เจอสภาพการเลิกจ้างซึ่งตรงข้ามกับถ้อยคำของอธิบดีอย่างสิ้นเชิง ประธานสหภาพแรงงานฯ กล่าวว่าขณะนี้สิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงตามสภาพการจ้างบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ จ่ายให้ไม่ครบ เช่น เบี้ยขยัน ค่าอาหาร วันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสและที่ตนกังวลใจมากไปกว่านั้นคือ เพื่อนสมาชิกหากถูกเลิกจ้างจะไปทำงานที่ไหน ? เพราะแต่ละคนทำงานให้กับบริษัทเอ็มเอ็มไอฯ มาเป็นเวลา 15 ปีถึง 20 กว่าปี เกือบทุกคนมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีภาระครอบครัว กรณีการเลิกจ้างพนักงานเอ็มเอ็มไอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ไม่แตกต่างจากกรณีพนักงานโฮย่า ที่เคยมีประวัติศาสตร์การต่อสู้เรียกร้องให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้างงาน กล่าวคือ คนงานรวมตัวกันก่อตั้งสหภาพฯในปี 2534 มีคนงานเข้าร่วม 200 คน จากทั้งหมดประมาณ 300 คน ในขณะนั้นยังเป็นบริษัท TPW ไดส์คราสติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผลของการยื่นข้อเรียกร้องและก่อตั้งสหภาพแรงงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ บริษัทติดตัวระบายอากาศภายในโรงงาน ได้เบี้ยขยันเป็นครั้งแรก 100-250 บาท ค่ากะ กะบ่าย 12 บาท กะดึก 18 บาท ปรับค่าจ้างให้คนงานที่ทำงานครบ 1 ปีทุกคน ขั้นต่ำ 8 % สูงสุด 10 % ห้องพยาบาลพร้อมเตียงและพยาบาลวิชาชีพ ระหว่างปี 2545-2546 กิจการของบริษัทเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีจำนวนคนงานมากถึง 3,000 คน ขยายโรงงานเพิ่มเป็น 4 โรงงาน แต่ในปี 2545 MMI สิงค์โปรได้เข้ามาซื้อกิจการต่อจาก TPW และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท MMI พรีซีชั่น (ประเทศไทย) จำกัด แม้สหภาพแรงงานจะจัดตั้งมานานเกือบ 20 ปีแล้วก็ตาม บริษัทก็ยังไม่ยอมรับการเจรจาต่อรองร่วมและการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานของคนงานแต่อย่างใด จะเห็นได้จากการพยายามลดอำนาจการต่อรองของสหภาพฯ โดยการนำเอาคนงานเหมาค่าแรงเข้ามาทำงานในกระบวนการผลิตและนำเอางานออกไปทำข้างนอกกับบริษัทรับเหมาช่วง การเปิดโครงการอาสาลาออกและเลิกจ้างแกนนำของสหภาพฯ ทำให้อำนาจการต่อรองลดลง นับแต่ปี 2547 เป็นต้นมาบริษัทเปิดโครงการอาสาลาออกอย่างต่อเนื่องทำให้จำนวนคนงานและสมาชิกของสหภาพลดลงเรื่อย ๆ เหลือคนงานเพียง 250 คน ในปัจจุบัน และเหลือสมาชิกสหภาพแรงงาน 105 คน 2. การทำลายเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ใช้แรงงาน จากกรณีปัญหาทั้ง 4 กรณีข้างต้น จะเห็นชัดว่า ไม่ว่าฝ่ายแรงงานจะแสดงออกอะไร ฝ่ายทุนก็มักจะแทรกแซงขัดขวางแทบทุกจังหวะก้าวที่มีโอกาส สะท้อนให้เห็นถึงการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of expression) ที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เสรีภาพในการพูด แสดงความเห็น ชุมนุมเรียกร้อง เจรจาต่อรอง รวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน ดำเนินกิจการของสหภาพฯ เป็นต้น เราสามารถสรุปสาเหตุและวิธีการเลิกจ้างผู้ก่อการและสมาชิกสหภาพแรงงานได้ โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ช่วงก่อการเตรียมการจัดตั้งสหภาพแรงงาน กรณีพนักงานเอจีซีกับริโก้ และ 2. ช่วงดำเนินกิจการสหภาพแรงงานของพนักงานโฮย่าและเอ็มเอ็มไอ ดังนี้ 2.1 ช่วงก่อการเตรียมการจัดตั้งสหภาพแรงงาน กรณีพนักงานเอจีซีอิเล็กทรอนิกส์กับริโก้ หากพิจารณาข้อหากว่า 10 ข้อ ที่นายจ้างใช้เป็นเหตุผลในการเลิกจ้างพนักงานเอจีซีและริโก้ ได้แก่ ข้อหาสร้างความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตลอดเวลา ยุยงพนักงานให้เกิดความแตกแยก และแตกความสามัคคี ทำลายบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ยุยงไม่ให้พนักงานทำงานล่วงเวลา ก้าวร้าว คิดร้ายต่อบริษัท เป็นต้น เป็นวาทกรรม/ภาษาของฝ่ายทุน ที่สะท้อนการเลือกกล่าวหาตามใจชอบของฝ่ายทุน ดังที่ได้นำเสนอข้างต้น และนี่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับแรงงาน วาทกรรมของฝ่ายทุนมีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง เมื่อฝ่ายแรงงานกล้าออกมาเรียกร้องขอแบ่งปันผลกำไร ที่มาจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ไม่ขาด ไม่ลา ไม่มาสาย เพื่อมาจัดสรรเป็นสวัสดิการแก่คนส่วนใหญ่ และกล้าออกมาชุมนุมคัดค้านมาตรการปรับลดเงินเดือนและสภาพการจ้างงานที่เอารัดเอาเปรียบพนักงาน พนักงานเอจีซีและริโก้เป็นคนหนุ่มสาวที่ต้องการเสรีภาพในการแสดงออก ถูกเลิกจ้างทันที ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงก่อนน้ำท่วม (กรณีเอจีซี) และหลังน้ำท่วม (กรณีริโก้) เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะปกติ แต่แรงงานไม่สามารถวางใจได้ว่า จะสามารถทำงานและอยู่อย่างมั่นคงได้ในภาวะเช่นนี้ เสรีภาพในการแสดงออกของผู้ใช้แรงงานที่ถูกละเมิด ได้แก่ • การออกมาแสดงความไม่พอใจ ความคิดเห็นที่แตกต่าง คัดค้านประกาศของบริษัท คือ ประกาศปรับลดเงินเดือน ประกาศโบนัส และชุมนุมเรียกร้อง ที่ถูกข่มขู่ว่าจะลงโทษทางวินัย ถ้าไม่สลายการชุมนุมที่โรงอาหาร ดังเห็นได้จากการตั้งข้อหาข้างต้น • การนำทางความคิดของแกนนำ การเจรจาต่อรองกับนายจ้าง การรวมตัวก่อการ และจัดตั้งสหภาพแรงงาน ด้วยการเลิกจ้าง ผลักไสแกนนำให้พ้นไปจากบริษัทด้วยข้อหาข้างต้นเช่นกัน 2.2 ช่วงดำเนินกิจการสหภาพแรงงานของพนักงานโฮย่าและเอ็มเอ็มไอ ข้ออ้างการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน พูดได้ว่าเลิกจ้างยกครัว (หมดโรง 2 กรณีโฮย่า และเกือบหมดบริษัทกรณี MMI) มาจากวิกฤตน้ำท่วม ทั้งเดือดร้อนจริงและไม่จริงโดยอาศัยวิกฤตดังกล่าวเป็นโอกาสในการปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ไปด้วย เช่น ย้ายฐานการผลิตไปชลบุรีกรณีของ MMI นำเครื่องจักรเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทดแทนแรงงาน ขยายกิจการไปต่างประเทศในกรณีของโฮย่า วิธีการของนายจ้างคือ ไม่เจรจาต่อรอง ปรึกษาหารือกับพนักงานก่อนตัดสินใจเลิกจ้าง อันเนื่องมาจากการมีทัศนคติไม่ยอมรับการมีอยู่ของสหภาพแรงงาน ที่ก่อนหน้านี้แรงงานเคยเรียกร้องต่อสู้เรื่องปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง 3. การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมผ่านกลไกต่างๆ พนักงานบรรษัทข้ามชาติทั้ง 4 แห่งกำลังอยู่ในระหว่างการต่อสู้เรียกร้องตามกลไกต่างๆที่มีอยู่ ซึ่งจะนำเสนอเป็นรายกรณีว่า ได้ใช้กลไกอะไร และมีความคืบหน้าหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐติดตามปัญหาได้ทัน และเห็นข้อจำกัดของกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่างๆ 3.1 กรณีของเอจีซีได้ร้องเรียนกับสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพื่อให้ไกล่เกลี่ย รวมถึงการยื่นข้อร้องเรียนต่อกรรมาธิการรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และวันที่ 11 ส.ค. 54 คนงานจำนวน 30 คนและประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 54 คนงานจำนวน 61 คน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 54 ทว่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงใช้กลไกสืบสวนหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมการฯได้ขอเลื่อนเวลาในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงไปอีกเพราะนายจ้างติดน้ำท่วม [6] ไปเป็นวันที่ 20 มกราคม 2555 3.2 กรณีของริโก้ ได้เจรจาไกล่เกลี่ยนายจ้างภายใน แต่ไม่สำเร็จ จึงร้องเรียนไปยังสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เมื่อถึงคราวไกล่เกลี่ยในวันที่ 15 ธ.ค. 54 นายจ้างไม่ยินยอมที่จะให้ตัวแทนพนักงานเข้าร่วมรับฟังการเจรจาระหว่างนายจ้างกับเจ้าหน้าที่รัฐด้วย โดยอ้างว่าได้มีการเจรจากับตัวแทนพนักงานหลายครั้งแล้ว ต่อมาทางเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานและเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองได้โทรแจ้งกับตัวแทนพนักงานให้เรียกพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดมารับฟังข้อสรุปในการเจรจา ณ ที่ทำการการนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ข้อสรุปมีว่า นายจ้างไม่ต้องการที่จะรับพนักงานทั้งหมดที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2554 พนักงานที่ถูกเลิกจ้างไปร้องเรียนกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยที่กรุงเทพฯ และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้พาไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน วันที่ 26 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณ 15.00 น. มีการเจรจาระหว่างนายจ้างกับเจ้าหน้าที่แรงงาน จ.ระยองและทางเจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงาน มีข้อสรุปว่าทางบริษัทจะรับพิจารณาและจะแจ้งผ่านไปทางแรงงานจังหวัดระยองก่อนวันที่ 9 มกราคม 2555 ล่าสุดวันที่ 8 มกราคม 2555 กลุ่มคนงานที่ถูกเลิกจ้างได้ไปติดตามความคืบหน้าในการยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมสวัสดิการฯ ที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ปรากฏว่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ อีกทั้งยังไม่มีการแจ้งกลับผลการเจรจาระหว่างนายจ้างกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับจังหวัดและส่วนกลาง ที่สัญญาว่าจะแจ้งภายใน 2 สัปดาห์หลังปีใหม่ 3.3 กรณีของโฮย่า เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน [7] 4 ธ.ค. 54 เวลา 9.00 น. ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีโดยผ่านนายสถาพร มณีรัตน์ กรรมาธิการแรงงาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ติดตามและลงมาดูแลเกี่ยวกับกรณีการประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่าสองพันคน โดยบริษัทอ้างเรื่องการขาดทุนและเหตุการณ์อุทกภัยในภาคกลาง [8] 6 ธ.ค. 54 ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลำพูน ได้นัดให้มีการเจรจากันระหว่าง บริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้แทนลูกจ้าง กรณีที่บริษัท โฮย่าฯ จะเลิกจ้างลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2555 นั้น ผลการเจรจานัดแรกปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยผู้แทนลูกจ้างต้องการให้บริษัทโฮย่าทบทวนการเลิกจ้างทั้งหมด โดยให้ยกเลิกนโยบายเลิกจ้างนี้ ส่วนฝ่ายผู้แทนนายจ้างจะขอเวลานำข้อเสนอนี้ไปให้ฝ่ายบริหารที่จะกลับมาจากต่างประเทศพิจารณา พร้อมทั้งจะแจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมเจรจาด้วย โดยการเจรจานัดต่อไปกำหนดให้มีในวันที่ 9 ธ.ค. 54 เวลา 9.00 น. ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลำพูน [9] 7 ธ.ค. 54 สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ได้ยื่นหนังสือถึงนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเพื่อให้มีการช่วยเหลือ [10] 3.4 กรณีของเอ็มเอ็มไอ นายจ้างได้ขออำนาจศาลแรงงานกลางในการเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานจำนวน 5 คนซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างด้วย แต่บริษัทไม่จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานเหล่านี้เลยทั้งๆที่ศาลยังไม่ตัดสิน ล่าสุดศาลได้นัดไกล่เกลี่ยกับนายจ้างวันที่ 24 มกราคมนี้ อย่างไรก็ตาม พนักงานที่ถูกเลิกจ้างได้รับเงินจากบริษัทไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ยังไม่พอใจที่บริษัทจ่ายเงินไม่ครบ สหภาพแรงงานทั้ง 4 แห่งยังอยู่ในระหว่างการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม กรณีของพนักงานเอจีซีเกิดปัญหาก่อน แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ อีกทั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกลไกที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้ขอเลื่อนการไต่สวนนายจ้างกับลูกจ้าง เพราะอ้างว่านายจ้างติดน้ำท่วมไม่สามารถมาได้ กลุ่มพนักงานจึงต้องรอคอย และดิ้นรนทำมาหากิน บางรายขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง บางรายขายของมือสองเพื่อนำเงินมาต่อสู้ที่จะกลับเข้าไปทำงาน นอกจากนี้ยังไม่มีการดำเนินการจากทางเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การตรวจสอบโรงงานที่กำลังเป็นข้อพิพาทว่า นายจ้างทำผิดกฎหมายหรือไม่ กรณีการใช้มาตรา 75 กับพนักงาน การตรวจสภาพการทำงานว่าปลอดภัยจากสารเคมีร้ายแรง ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ กล่าวโดยรวมเฉพาะบทบาทเจ้าหน้าที่รัฐก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเตรียมการให้มีการไกล่เกลี่ยได้อย่างทันท่วงทีท่ามกลางความยากลำบากของแรงงาน แต่ทั้งนายทุนและเจ้าหน้าที่รัฐมีกินมีใช้อย่างน้อยในระดับปกติเหมือนที่เป็นมา ส่วนกลไกของบริษัท คือ CSR ความรับผิดชอบต่อสังคม มักมีไว้สำหรับการประชาสัมพันธ์โอ้อวดต่อสาธารณชนตามอินเตอร์เน็ทเว็บไซด์ แต่พนักงานที่ออกมาเรียกร้องให้บริษัทปรับปรุงสภาพการจ้างงาน โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำที่เป็นตัวแทนเจรจา กลไก CSR นี้กลับไม่คำนึงถึงคนงานของตัวเอง 4. ข้อเรียกร้องต่อรัฐ การแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างพนักงาน 4 บริษัทนี้ เจ้าหน้าที่รัฐควรต้องรับออกมาปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่อย่างทันท่วงที โดยต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพนักงานในระยะเฉพาะหน้า ดังนี้ 4.1 ข้อเรียกร้องของพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ 4 บริษัท มี 3 ประการ ได้แก่ 1. ขอให้พนักงานทั้ง 4 แห่งกลับเข้าไปทำงาน ซึ่งจะเป็นการรักษาสถานภาพการเป็นลูกจ้างและผลประโยชน์ที่สั่งสมมาจากการทำงานหลายปี โดยจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และตำแหน่งตามเดิม 2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ดีขึ้น (กรณีริโก้) และตรวจสอบการใช้มาตรา 75 ของนายจ้างว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (กรณีเอจีซี) 3. หยุดการกลั่นแกล้ง ขัดขวางการจัดตั้งและดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานทั้ง 4 แห่ง 4. กรณีพนักงานเอ็มเอ็มไอที่ไม่ขอกลับเข้าทำงาน ขอค่าชดเชยพิเศษที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และขอให้บริษัทจ่ายเงินค้างจ่ายบางส่วนให้ครบถ้วน พร้อมกับขยายสิทธิประกันการว่างงานเป็น 10 เดือนเพื่อขยายเวลาแก่พนักงานอายุมาก คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ในการหางานทำใหม่ เนื่องจากบริษัทหลายแห่งไม่นิยมรับพนักงานใหม่ที่อายุ 35 ปีขึ้นไปรวมทั้งคนงานที่กำลังตั้งครรภ์ 4.2 ข้อเรียกร้องในระดับนโยบาย มี 2 ประการ ได้แก่ 1. รัฐบาลจะต้องให้สัตยาบัน รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศข้อ 87 และ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัว และเสรีภาพในการเจรจาต่อรองร่วม 2. รัฐจะต้องปรับปรุงกลไกการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้รองรับสภาพความเป็นจริงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อป้องกันการเลิกจ้าง การละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเสรี และตรวจสอบโรงงานให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เสรีภาพของนายทุนก็คือการผูกขาดอำนาจการปกครองเพียงฝ่ายเดียว ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่กระทำหรือรีรอ-ล่าช้าในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของแรงงานคนส่วนใหญ่ สังคมโดยทั่วไปและฝ่ายแรงงานทุกภาคส่วนก็สามารถมีข้อมูลได้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐเกรงใจนายทุน-เข้าข้างนายทุนหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับนายทุน ซึ่งข้อสรุปนี้มิได้มาจากจินตนาการ หากเป็นการประพฤติ-การปฏิบัติของรัฐและทุนที่ขัดขวางการสร้างเสริมประชาธิปไตย และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงสงบสุขของสังคมไทยด้วย เชิงอรรภ [1] ข่าว เผยหลังน้ำท่วมเลิกจ้างแล้ว 25,000 คน คาดมีอีกแต่ไม่เกิน 50,000 คน. 4-1-2555. แหล่งที่มา : เว็บไซด์โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, http://www.thailabour.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=1618&auto_id=7&TopicPk= [2] กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 75 ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน และให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำการ [3] พนักงานริโก้. เอกสารข้อเท็จจริงกรณีบริษัทริโก้แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย)จำกัด ละเมิดกฎหมายเลิกจ้างผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานและผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้อง. 18 ธันวาคม 2554 [4] สุชาติ ตระกูลหูทิพย์. เสรีภาพของสหภาพแรงงาน แบบปากว่าตาขยิบ ลำดับเหตุการณ์กรณีเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์. มูลนิธิเพื่อนหญิง. แหล่งที่มา: เว็บไซด์มูลนิธิเพื่อนหญิงhttp://www.friendsofwomen.or.th/index.php?key=Y29udGVudD1jb250ZW50JmlkPTQ1&PHPSESSID=e4a330b6d6f342e2d934a753b82ad01e [5] สุธิลา ลืนคำ. เอกสารรายงาน บริษัทเอ็มเอ็มไอเลิกจ้างคนงานทางโทรศัพท์. 2554. [6] กรรมการสหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. ที่ประชุมเครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ 15 ธันวาคม 2555. กรุงเทพฯ [7] สหภาพแรงงานแรงงานโฮย่าร้องสำนักงานสวัสดิการฯ ลำพูน. แหล่งที่มา : เว็บไซด์ข่าวประชาไทhttp://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38163 [8] พฯ โฮย่ายื่นหนังสือถึงนายกผ่าน กมธ.แรงงาน. แหล่งที่มา : เว็บไซด์ข่าวประชาไทhttp://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38167 [9] โฮย่าเจรจานัดแรก ยังไม่ได้ข้อตกลง. แหล่งที่มา : เว็บไซด์ข่าวประชาไท, http://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38208 [10] คนงานโฮย่าจี้ผู้ว่าลำพูนช่วยเหลือ. แหล่งที่มา : เว็บไซด์ข่าวประชาไท, http://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38216
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
วิกิพีเดียเตรียม "จอดับ" 24 ชม. ประท้วงร่าง กม.จัดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ Posted: 17 Jan 2012 12:09 AM PST ชุมชนวิกิพีเดียประกาศปิดเว็บไซต์วิกิพีเดีย ในส่วนภาคภาษาอังกฤษ เป็นเวลา 24 ชั่วโมงในวันพรุ่งนี้ (18 ม.ค.) โดยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 5.00น. UTC (ตรงกับเวลา 12.00น. วันที่ 18 ของประเทศไทย) เพื่อประท้วงกฎหมาย SOPA และ PIPA ที่กำลังเสนอในรัฐสภาของสหรัฐ
ภายใต้กฏหมายนี้ ให้อำนาจไว้กับรัฐและเอกชนไว้สามส่วนใหญ่ๆ Section 102: ให้อัยการสามารถขออำนาจศาล เพื่อประกาศแบนเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง จากเว็บค้นหา, บริการ DNS, เซิร์ฟเวอร์ใดๆ, บริการจ่ายเงิน, และการโฆษณา กฏหมายนี้ไม่เพียงกระทบถึงเว็บไซต์ที่มีการละเมิด แต่ยังกระทบไปยังอินเทอร์เน็ตโดยรวม โดยเฉพาะการมองเว็บเป็น "โดเมน" งานนี้บริษัทที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ 9 บริษัท คือ AOL, eBay, Facebook, LinkedIn, Mozilla, Twitter, Yahoo!, และ Zynga ได้ร่วมกันส่งจดหมายถึงสภาคองเกรสให้ทบทวนกฏหมายนี้ ทางกูเกิลนั้นส่งตัวแทนไปเพื่อให้การต่อสภานิติบัญญัติ เพื่อให้คำแนะนำในการต่อต้านการละเมิดที่เจาะจงมากกว่านี้ ส่วนร่าง PIPA (Protect IP Act) ถูกเสนอเข้าไปยังรัฐสภาสหรัฐฯ โดยกลุ่ม ส.ว. โดยยังคงมีประเด็นสำคัญคือการบล็อค DNS เมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ การตัดสินใจปิดเว็บชั่วคราวครั้งนี้ของวิกิพีเดีย ใช้เวลาถกเถียงกันระหว่างสมาชิกในชุมชนเป็นเวลา 3 วัน โดยมีสมาชิกกว่า 1,800 รายร่วมการอภิปราย จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า นี่เป็นแอคชั่นพิเศษของชุมชน แม้ว่าเราจะเสียใจที่ต้องทำให้โลกไม่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียได้แม้เพียงวินาทีเดียว แต่เราก็ไม่สามารถละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า SOPA และ PIPA จะเป็นภัยต่อเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ รวมถึงจะเป็นต้นแบบที่น่ากลัวของการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของโลกด้วย ก่อนหน้านี้ reddit เว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ด้านไอทีอีกแห่ง ประกาศ "ปิดเว็บ" เพื่อประท้วงร่างกฎหมายเจ้าปัญหาทั้งสองฉบับ โดยจะปิดเว็บชั่วคราวเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ 8.00น.-20.00น. ของวันที่ 18 มกราคม ตามเวลาสหรัฐฯ โดยในช่วงที่ปิดเว็บ reddit จะขึ้นข้อความอธิบายว่าร่างกฎหมาย SOPA/PIPA จะส่งผลให้เว็บไซต์อย่าง reddit ถูกสั่งปิดได้ และแปะวิดีโอของผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตหลายราย (รวมถึงผู้ก่อตั้ง reddit คือ Alexis Ohanian) ให้ความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐด้วย นอกจากนี้ WordPress ผู้ให้บริการบล็อกรายใหญ่ ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 60 ล้านคนทั่วโลกหรือคิดเป็น 15% ของเว็บไซต์ทั้งหมด ก็เข้าร่วมการต่อต้านนี้ด้วย โดยเขียนบล็อกเชิญชวนให้ผู้ใช้ลุกขึ้นมาต่อต้านร่างกฏหมายทั้งสองฉบับนี้
ที่มา:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
หมอตุลย์เจอนอนประท้วง-พร้อมคำถาม "ยุให้ "ฆ่า" กันทำไม?" Posted: 16 Jan 2012 09:11 PM PST เสื้อหลากสียื่นหนังสือทำเนียบ ค้านจ่ายชดเชยผู้เสียชีวิตเหตุสลายชุมนุม ลั่นจ่ายทำไมเพราะไม่ใช่การชุมนุมเพื่อประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมให้อภิสิทธิ์ยุบสภา-แล้วพรรคเพื่อไทยกลับมามีอำนาจเท่านั้น ก่อนเจอฝ่ายหนุนเสื้อแดงชุมนุมต้านด้วยการ "กราบ-นอน" ประท้วง พร้อมชูป้ายถาม นพ.ตุลย์ "ไม่อยากให้จ่ายเยียวยา? แล้วยุให้ "ฆ่า" กันทำไม?" วันนี้ (17 ม.ค.) นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี พร้อมผู้สนับสนุน เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านนายสมภาส นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านการจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมือง ในช่วงปี 2548-2553 โดยผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินกว่า 7 ล้านบาท รวมต้องใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของ นพ.ตุลย์ ซึ่งกล่าวว่า ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการนำภาษีของประชาชนไปจ่ายให้กลับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาเรียกร้องชุมนุมให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรียุบสภาฯ เพื่อให้พรรคเพื่อไทยกลับมามีอำนาจ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่การชุมนุมทางประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีการเผาบ้านเผาเมือง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้คดีก่อการร้ายก็ยังอยู่ในชั้นอัยการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องรอกระบวนการพิจารณาตามกระบวนการขั้นต้อนของศาลว่าการ ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ และการเบิกจ่ายเงินชดเชยนั้น จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ยุติมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลต่อไป อนึ่ง นพ.ตุลย์ ได้โพสต์ลงในเฟซบุคเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ด้วยว่า "รวมพลังกดดันครม.ให้ยกเลิกมติอัปยศ จ่ายเงินให้เสื้อแดงอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีกฤฎหมายรองรับ ใครร่วมกดดันรัฐบาลช่วยกันเผยแพร่ด้วยการกด like กด share ด้วยครับ" ที่มาของภาพ: Nithiwat Wannasiri อย่างไรก็ตาม มีผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงเดินทางมาคัดค้านการยื่นหนังสือของ นพ.ตุลย์ด้วย โดยในช่วงที่กลุ่มของ นพ.ตุลย์ ใกล้เลิกชุมนุม ผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงได้ประท้วงเชิงสัญลักษณ์บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล มีการเดินสลับการหมอบกราบกลุ่มของ นพ.ตุลย์ เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร พร้อมชูป้าย "ไม่อยากให้จ่ายเยียวยา? แล้วยุให้ "ฆ่า" กันทำไม?" "ไม่มีใครสมควรตายเพราะคิดต่างทางการเมือง" จากนั้นมีการล้มตัวลงนอนราบไปกับพื้นเพื่อแสดงการคัดค้านการยื่นหนังสือของกลุ่ม นพ.ตุลย์ ดังกล่าว ทั้งนี้ไม่มีการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น มีเพียงการตะโกนด่าจากกลุ่มผู้สนับสนุน นพ.ตุลย์ เช่น "น่าอนาถ" "น่าสมเพช" "พวกเผาบ้านเผาเมือง" โดยใช้เวลาไม่นานทั้งสองฝ่ายก็ได้ยุติการชุมนุม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
“สมยศ” ตระเวนทั่วไทยสืบพยานถึง “นครสวรรค์” Posted: 16 Jan 2012 06:16 PM PST สืบพยานโจทก์คดีกล่าวหา “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” ผิด ม.112 ที่ “นครสวรรค์” หลังเดินทางสืบพยานที่สระแก้ว-เพชรบูรณ์ นัดหน้าสืบพยานที่สงขลา ด้านทนายเล็งค้านเหตุพยานโจทก์แม้จะมีภูมิลำเนาสงขลา แต่อาศัยอยู่ กทม.
ผู้สนับสนุนนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขหน้าศาลจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ 16 ม.ค. 55 นายจอห์น เมย์นาร์ด เพื่อนเก่าแก่ของนายสมยศ เข้าเยี่ยมให้กำลังใจขณะการพิจารณาคดี (ภาพจาก “กลุ่มเพื่อนสมยศ”)
บทกวีที่นายสมยศ แต่งให้กำลังใจสมาชิกกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
16 ม.ค. 55 ที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์ มีการสืบพยานในคดีที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin, เรด พาวเวอร์ และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยในวันนี้มีทั้งนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทย กลุ่มนักกิจกรรมจากกรุงเทพฯ และกลุ่มคนเสื้อแดงจากนครสวรรค์เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ที่ศาล รวมทั้งมีแกนนำสหภาพแรงงานจากนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าแก่ของนายสมยศเดินทางมาให้กำลังนายสมยศด้วยเช่นกัน ในเวลา 9.00 น. ก่อนเริ่มการสืบพยาน กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และ Thailand Mirror ซึ่งจัดกิจกรรมแรลลี่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ราว 40 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมหน้าศาล โดยการชูรูปนายสมยศ และชูป้ายที่มีข้อความเช่น “ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับสิทธิประกันตัว” “คุกตารางฤๅจะหยุดยั้งความตั้งใจ “ปล่อยตัวนักโทษการเมือง” พร้อมทั้งตะโกนข้อความ “Free Somyot” หลายครั้งร่วมกัน เป็นที่สนใจแก่ผู้ที่ผ่านไปมา รวมทั้งร่วมกันร้องเพลง “เก็บตะวัน” ในตอนท้าย ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโดยก่อนหน้านี้มีการสืบพยานโจทก์ปากแรกเรือนจำจังหวัดสระแก้ว ต่อมาเป็นการสืบพยานที่ จ.เพชรบูรณ์ และวันนี้เป็นการสืบพยานที่ จ.นครสวรรค์ และเตรียมไปสืบพยานที่สงขลา สำหรับพยานปากที่สามที่จังหวัดนครสวรรค์ คือนางปนิดดา หอมหวาน อดีตเสมียนสำนักงานสุนัยทนายความ และเป็นพี่สาวของพยานโจทก์ปากที่สอง คือนางสาวเบญจา หอมหวาน อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการของนิตยสาร Voice of Taksin การสืบพยานใช้เวลาราว 20 นาที โดยพยานโจทก์เบิกความว่าตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับนิตยสารฉบับนี้ และน้องสาวก็ไม่เคยเล่าถึงเรื่องงาน มีแต่เคยบ่นว่าเหนื่อยจากงาน แต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดใดๆ และตนเคยได้อ่านบทความสองชิ้นในนิตยสารที่เขียนโดยนายจิตร พลจันทร์ ในตอนที่ไปให้การกับดีเอสไอ แต่ตนก็ไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจความหมายของบทความดังกล่าว อีกทั้งไม่มีเนื้อหาตอนใดของบทความที่เอ่ยถึงพระมหากษัตริย์ เมื่อเสร็จสิ้นการสืบพยาน ทนายจำเลยได้แถลงต่อศาล ขอให้ส่งตัวจำเลยกลับไปที่เรือนจำกรุงเทพฯ ก่อน และคัดค้านการสืบพยานปากต่อไปที่จังหวัดสงขลา ด้วยเหตุทั้งเรื่องความปลอดภัยของจำเลย และสภาพเรือนจำที่แออัด อีกทั้งทางทนายจำเลยยินดีที่จะออกค่าใช้จ่ายให้กับพยานปากต่อไป ให้สามารถเดินทางมาเบิกความที่ศาลในกรุงเทพฯ ได้โดยจำเลยเดินทางไปสงขลา แต่ศาลเห็นว่าศาลจังหวัดไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้ การส่งผู้ต้องขังไปพักไว้ที่ไหน ขึ้นอยู่กับอำนาจของราชทัณฑ์ ไม่อยู่ในอำนาจศาล และศาลต้องทำตามสำนวนและรายงานที่ศาลอาญากรุงเทพฯส่งเรื่องมา จึงแนะนำทนายจำเลยให้ไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเองโดยตรง จากนั้นนายสมยศได้แถลงต่อศาลเพิ่มเติมว่า ทางราชทัณฑ์เองก็บอกตนว่าไม่เคยเกิดคำสั่งศาลลักษณะนี้ที่ไม่ระบุวันเวลาส่งตัวจำเลย อีกทั้งยังให้ตระเวนไปมาในจังหวัดต่างๆ กว่าสามเดือนแล้วที่ตนไม่ได้กลับไปกรุงเทพฯ เท่ากับจะทรมานจำเลยในการพิจารณาคดี แต่ศาลก็ยังยืนยันให้ทนายจำเลยไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาโดยตรง นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายจำเลยกล่าวว่าศาลอ้างว่าไม่มีบันทึกเรื่องคำร้องขอให้ส่งตัวจำเลยกลับกรุงเทพฯ และคัดค้านการไปสอบพยานที่สงขลา ทั้งที่ทนายก็ได้ยื่นขอศาลแต่ละจังหวัดทุกครั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกของการนัดพร้อมที่ศาลอาญากรุงเทพฯ แล้ว แต่ศาลกลับไม่มีการบันทึกคำร้องไว้ นอกจากนั้นการลงไปสืบพยานที่สงขลาเหมือนเป็นการกลั่นแกล้ง เพราะพยานความเห็นที่ทางดีเอสไอเรียกไปสอบสวน ในฐานะผู้ที่ให้ความเห็นและบอกความรู้สึกจากการอ่านบทความ ซึ่งมีจำนวน 10 คน โดย 9 ใน 10 คนล้วนมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ แต่อัยการที่กรุงเทพฯกลับเลือกพยานที่มีภูมิลำเนาอยู่สงขลามาเป็นพยานโจทก์ อีกทั้งในความเป็นจริงพยานคนนี้ก็อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯด้วย ถ้าไม่เรียกว่ากลั่นแกล้งก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ส่วนกรณีถ้าต้องลงไปสืบพยานโจทก์ปากต่อไปที่สงขลา ซึ่งตามกำหนดนัดจะมีขึ้นในวันที่ 13 ก.พ. นายสุวิทย์เห็นว่าอาจจะขอกำลังคุ้มครองจำเลยไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย และตนเตรียมจะกลับไปยื่นคำร้องให้ส่งตัวจำเลยกลับกรุงเทพฯ และคัดค้านการไปสอบพยานที่สงขลาต่อศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 17 ม.ค.นี้ ด้านสมาชิกกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ซึ่งมีโอกาสเยี่ยมนายสมยศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ถึงปัญหาเรื่องระเบียบในเรือนจำ ซึ่งได้สร้างปัญหาให้กับตัวผู้ต้องขัง ได้แก่ โซ่ตรวนของเรือนจำนครสวรรค์ที่หนักกว่าที่อื่น การไม่มีเชือกสำหรับดึงตรวนขึ้นมาเพื่อใช้ผ่อนน้ำหนักเวลาผู้ต้องขังเดิน ทำให้เกิดเสียงโซ่กระทบกับพื้นดังอยู่ตลอดเวลา หรือเรื่องที่ไม่สามารถส่งหนังสือต่างๆ เข้าไปให้ผู้ต้องขังอ่านได้ รวมทั้งการเปลี่ยนเรือนจำไปมายังทำให้นายสมยศมีอาการป่วยทุกครั้งหลังจากย้ายพื้นที่ และสภาพเรือนจำเกือบทุกที่ที่มีความแออัด นักโทษล้น นายจอห์น เมย์นาร์ด ประธานสหภาพแรงงานไปรษณีย์แห่ง Aotearoa (PWUA) จากประเทศนิวซีแลนด์ กล่าวว่าเขาเป็นเพื่อนกับสมยศมาตั้งแต่ 30 ปีก่อน สมยศเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่ง โดยเรียกได้ว่าสมยศเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ตนได้รู้จัก เป็นผู้ช่วยแนะนำตนให้รู้จักเพื่อนหลายคน พาไปรู้จักคนงานไทย และช่วยให้รู้จักสังคมไทย การเดินทางมาครั้งนี้ต้องการมาให้กำลังใจสมยศ เพราะไม่ได้เจอกันมานาน และต้องการสนับสนุนเพื่อน ตนดีใจที่สมยศยังได้รับการดูแลจากทั้งครอบครัวและนักกิจกรรมที่เดินทางมาให้กำลังใจหลายคน และ สำหรับข้อกล่าวหาที่สมยศโดน ตนเห็นว่าในประเทศนิวซีแลนด์ หรือออสเตรเลีย ซึ่งก็มีพระราชินีแห่งอังกฤษเป็นกษัตริย์ ก็ยังไม่มีข้อหาแบบมาตรา 112 ทุกคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเปิดเผย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น