ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ถนนประชาธิปไตย ขอจังหวัดธนบุรีคืน
- หาดใหญ่กันน้ำไม่อยู่/สะเดาถูกตัดขาด
- กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (2)
- สมชัย ภัทรธนานันท์: มองการเมืองฟิลิปปินส์ผ่านกรณี GMA
- เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 3: มองจากมุมศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ‘ไฟใต้ปี 55 สงบหรือไม่’
- ส่งท้ายปี Quotes of the Year (5): “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ถนนประชาธิปไตย ขอจังหวัดธนบุรีคืน Posted: 02 Jan 2012 06:26 AM PST “กรุงธนแทนที่ กรุงศรีอยุธยา วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี จะถือกันว่า เป็นวันพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งจะเป็นวันที่ประชาชนชาวธนบุรี จะจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชของราชอาณาจักร หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตาก ซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาวชิระปราการ ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ แล้วนำกองทัพต่อสู้เพื่อรื้อฟื้นบ้านเมือง พระองค์ประสบความสำเร็จ และได้ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ครองราชย์สมบัติมาได้ ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ.๒๓๒๔ ก็เกิดกบฏภายในราชอาณาจักร จนทำให้พระองค์เสื่อมอำนาจลง เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ แล้วมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรี เมืองหลวงเดิม ตั้งอยู่ในที่คับแคบ ไม่ต้องด้วยหลักพิชัยสงคราม จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งบางกอก ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่มาของกรุงเทพฯ เมืองหลวงในปัจจุบัน ในทางประวัติศาสตร์ในระยะแรก เมืองธนบุรี ก็ยังมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในราชอาณาจักร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้มีการจัดตั้งเป็นมณฑลกรุงเทพมหานคร มีการรวมหลายเมืองอยู่ในมณฑล คือ กรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ ธัญญบุรี และมีนบุรี จนเมื่อเกิดการปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยกเลิกมณฑล แล้วตั้งเป็นจังหวัด โดยถือว่าจังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เป็น ๒ จังหวัดที่แยกจากกัน ถือเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนั้น ชาวธนบุรี จึงได้มีจังหวัดธนบุรีของตนเอง ในระยะแรก สมุทรสาครก็รวมอยู่ในจังหวัดธนบุรีด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรก จังหวัดธนบุรีก็มีผู้แทนราษฎรจังหวัดของตน ต่อมา พ.ศ.๒๔๘๐ เมื่อมีการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นครั้งแรก จังหวัดธนบุรี ก็มีเทศบาลนครธนบุรีเป็นอิสระของตนเอง นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ เป็นอดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรีที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นคนสำคัญในการรวมรวมเงินบริจาคเพื่อรณรงค์สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้ากรุงธนบุรีที่วงเวียนใหญ่ ซึ่งสร้างได้สำเร็จและประดิษฐานเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ สำหรับอดีตผู้แทนราษฎรธนบุรีที่มีชื่อเสียงในระยะต่อมาก็เช่น นายไถง สุวรรณทัต พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ เป็นต้น จนกระทั่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ คณะผู้ยึดอำนาจได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๕ ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ให้ยุบจังหวัดธนบุรีไปรวมกับจังหวัดพระนครโดยให้เรียกว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งควบตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีในจังหวัดที่รวมกัน ในคำประกาศคณะปฏิวัติได้ให้เหตุผลการรวมจังหวัดดังนี้ "โดยที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครองมาช้านาน แม้ในปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ละจังหวัดก็ได้ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นจังหวัดเดียวกัน และการจัดหน่วยราชการสำหรับรับใช้ประชาชน ก็ได้กระทำในรูปให้มีหน่วยราชการร่วมกัน เช่น การศาล การรับจดทะเบียนกิจการบางประเภท คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควรที่จะรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดเดียวกัน เพื่อการบริหารราชการจะได้ดำเนินไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพ บังเกิดความเจริญแก่จังหวัดทั้งสองโดยรวดเร็ว" (อ้างจาก กำพล จำปาพันธ์ รัฐประหาร ๒๕๑๔ กับการรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯ) ดังนั้น จะขอย้ำในที่นี้ก่อนว่า การรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯนั้น คือ ผลพวงของการรัฐประหาร ไม่มีการนำเสนอเข้าพิจารณาในสภาผูแทนราษฎร ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ถามชาวฝั่งธน ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า คณะรัฐประหารปรึกษาหารือ หรือรับข้อเสนอมาจากใคร ยิ่งกว่านั้น จะเห็นว่าเหตุผลในการรวมจังหวัดอ่อนมาก ข้ออ้างเพียงแค่ จังหวัดทั้งสองมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครอง ไม่ได้ให้ความกระจ่างได้เพียงพอ แต่กระนั้น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ก็ยังคงมีคำว่า ธนบุรีอยู่ในชื่อ จนกระทั่ง อีก ๑ ปีต่อมา คือ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ คณะรัฐประหารก็ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๕ ให้ยุบรวมการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลทั้งหมดเข้ากับผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหน่วยราชการเดียว เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกชื่อนครหลวงกรุงเทพธนบุรีไปด้วย และการเรียกชื่อ กรุงเทพมหานคร ยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน ในโครงสร้างการบริหารเช่นนี้ ธนบุรีคือเขตที่เคยเป็นอำเภอเมืองธนบุรี กลายเป็นเพียงเขตหนึ่งในกรุงเทพมหานครเท่านั้น การยุบรวมจังหวัดธนบุรีเข้ากับกรุงเทพมหานครดังกล่าว ทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจังหวัดใหญ่เทอะทะ เพราะจากสถิติในขณะนี้ กรุงเทพมหานครมีประชากรที่เป็นทางการราว ๕.๗ ล้านคน หรือราว ๘.๕ เปอร์เซนต์ของประเทศ มีการแบ่งเขตการบริหารได้ถึง ๕๐ เขต และมี ผู้แทนราษฎรถึง ๓๓ คน ก่อนหน้านี้ เคยมีครั้งหนึ่งเช่นกัน ที่เกิดการตั้งคำถามกับความใหญ่โตของกรุงเทพมหานคร คือ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ เมื่อเกิดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งแรก ในขณะนั้น คิดจำนวนวุฒิสมาชิกสัดส่วนตามประชากร ทำให้กรุงเทพมหานครมีวุฒิสมาชิกได้ ๑๘ คน ทำให้มีผู้สมัครแข่งขันถึง ๒๖๕ คน ซึ่งเป็นการยากลำบากทั้งในการจัดการที่จะต้องปิดประกาศผู้สมัครและพิมพ์บัตรเลือกตั้ง จึงมีการเสนอกันว่า ถ้ากรุงเทพมหานครมีขนาดเล็กลง การเลือกตั้งจะสะดวกกว่านี้ แต่หลังจากการเลือกตั้ง กระแสนี้ก็เงียบหายไป จนกระทั่ง เมื่อผ่านมาถึงขณะนี้ กรุงเทพมหานครจะมีอายุครบ ๔๐ ปี ได้เกิดกระแสจากประชาชนชาวธนบุรีที่สงสัยและไม่เห็นด้วยกับการรวมจังหวัด และเริ่มเกิดการรณรงค์ที่ให้มีการฟื้นฟูจังหวัดธนบุรี โดยตั้งเป็นเฟซบุค "เราต้องการจังหวัดธนบุรี” การรณรงค์นี้ เหตุผลที่รองรับแรกสุดคือ พื้นที่กรุงเทพมหานครกว้างเกินไปกว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครจะดูแลได้ทั่วถึง ตัวอย่างรูปธรรมที่ก่อให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจสำหรับชาวธนบุรีก็คือ กรณีน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา ชาวฝั่งธนบุรีรู้สึกว่าถูกปล่อยให้รับน้ำแทนชาวพระนครชั้นใน มีการนำเสนอข้อมูลว่า ชาวธนบุรีนั้น มีจำนวน ๓๑.๒๔ เปอร์เซนต์ของกรุงเทพฯ แต่ไม่มีระบบการระบายน้ำของตนเอง ดังนั้น ถ้าหากว่าชาวธนบุรี มีการบริหารท้องถิ่นของตนเอง การจัดการบริหารน่าจะดีกว่า นอกจากนี้ ในระยะ ๔๐ ปีที่ผ่านมา ก็เกิดการแยกจังหวัด และตั้งจังหวัดใหม่ถึง ๗ จังหวัด คือ ยโสธร พะเยา มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระแก้ว อำนาจเจริญ และ บึงกาฬ ซึ่งทำให้การบริหารราชการสะดวกและคล่องตัวมากขึ้นทั้งสิ้น และการแบ่งจังหวัดเหล่านั้น ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองใดเลย นี่จึงเป็นเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ที่จังหวัดธนบุรี จะแยกตัวออกมา เพื่อช่วยลดขนาดของกรุงเทพมหานครลง ประการต่อมา การรื้อฟื้นจังหวัดธนบุรีถือได้ว่าเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เป็นผู้ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และด้วยเหตุผลที่ธนบุรีเป็นอดีตราชธานีเช่นนี้ ก็น่าจะเพียงพอต่อการฟื้นฟูสถานะของจังหวัดขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพแก่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย สำหรับผมเอง ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นชาวธนบุรี สาเหตุสำคัญก็คือ การล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งอาจจะเป็นจุดกเริ่มต้นของการล้มล้างผลพวงรัฐประหารทั้งหลาย ที่ทำให้ประเทศไทยล้าหลังอยู่ในขณะนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
หาดใหญ่กันน้ำไม่อยู่/สะเดาถูกตัดขาด Posted: 02 Jan 2012 06:07 AM PST
1 มกราคม 2555 น้ำท่วมใต้ขยายวง 12 อำเภอสงขลาเจอน้ำถล่มหนัก สะเดาวิกฤติถูกตัดขาด หาดใหญ่ไปไม่รอดน้ำทะลุเข้าตัวเมืองชั้นใน lyj’หลายชุมชนอพยพคนแล้ว พัทลุงส่งทีมค้นหา 8 นักท่องเที่ยวหลงป่า ยะลา–นราธิวาสเจอดินถล่มซ้ำ ปัตตานีท่วมแล้ว 5 อำเภอ รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาแจ้งว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ได้กระจายไปยังอำเภอต่างๆ แล้ว 12 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาทวี อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอบางกล่ำ อำเภอเทพา อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอเมืองสงขลา มีผู้จมน้ำผู้เสียชีวิตแล้ว 1 รายคือ นายฟักเม่ง แซ่เจีย อายุ 54 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านถูกน้ำท่วมกะทันหัน หนีออกจากบ้านไม่ทัน สะเดาวิกฤติถูกตัดขาด จากสภาพดังกล่าว ส่งผลให้รถขบวนขนส่งสินค้าต้องจอดที่สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ส่วนขบวนรถไฟระหว่างประเทศบัตเตอร์เวร์ธ–กรุงเทพมหานคร จากมาเลเซียเข้าสู่สถานีหาดใหญ่ในช่วงเย็นของวันที่ 1 มกราคม 2555 ต้องจอดที่สถานีปาดังเบซาร์ สำหรับรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงให้บริการตามปกติ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ที่เข้ามาท่องเที่ยวปีใหม่ในอำเภอหาดใหญ่ เริ่มเช็คเอ้าต์ออกจากโรงแรมเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากเกรงน้ำจะท่วมหาดใหญ่ แต่ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ติดค้างอยู่ตามโรงแรมต่างๆ เนื่องจากเส้นทางถนนกาญจนวานิช ระหว่างอำเภอหาดใหญ่กับอำเภอสะเดาที่เส้นทางไปด่านพรมแดนสะเดาถูกตัดขาด ขณะที่ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ต่างพากันไปซื้ออาหารตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ไปตุนเตรียมรับสถานการณ์หลังจากทางเทศบาลนครหาดใหญ่เปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์เตือนภัยน้ำท่วม จากธงเขียวเป็นธงเหลือง เพราะ ปริมาณน้ำที่จุดวัดน้ำบางศาลาอีกเพียง 40 เซนติเมตรน้ำจะล้นตลิ่ง ในขณะที่น้ำในคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่ 1 ยังต่ำกว่าระดับตลิ่งกว่า 1.50 เมตร น้ำทะลักเข้าตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน ขณะเดียวกันเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เร่งนำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวกั้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำให้ไหลเข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าได้ช้าลง นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กล่าวว่า ถึงแม้บริเวณ 4 แยกคลองหวะระดับน้ำจะขึ้นสูง แต่ยังถือว่าระดับน้ำยังต่ำอยู่ เทศบาลจะพยายามระบายน้ำให้เร็วที่สุด ขณะนี้คลองระบายน้ำที่ 1 ยังสามารถระบายน้ำได้ดี ขณะที่คลองอู่ตะเภายังรับน้ำได้อีก 3 เมตร ส่งทีมค้นหา8นักท่องเที่ยวหลงป่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ล่าสุดน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรสวนยางพารา ในอำเภอตะโหมด 4 ตำบล อำเภอบางแก้ว 2 ตำบล อำเภอเขาชัยสน 3 ตำบล อำเภอป่าบอน 2 ตำบล อำเภอกงหรา 2 ตำบล อำเภอศรีนครินทร์ 3 ตำบล อำเภอศรีบรรพต 1 ตำบล อำเภอควนขนุน 6 ตำบล อำภอเมืองพัทลุง 5 ตำบล โดยมีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 เซนติเมตร–1 เมตร โดยเฉพาะถนนสายอำเภอเขาชัยสน–อำเภอกงหรา หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม และสายตะโหมด–กงหรา หมู่ที่ 12 ตำบลตะโหมด ระดับน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ยะลาเจอภัยดินถล่ม โดยมีนายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยนายพงศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา นายเวโรจน์ สายทองแท้ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ได้เดินทางไปอำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลาว่า น้ำท่วมคลอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองยะลา ที่ตำบลสะเตงนอก ตำบลยุโป ตำบลท่าสาป และตำบลลำใหม่ อำเภอยะหา ที่ตำบลบาโร๊ะ ต้องอพยพราษฎร 20 ครัวเรือน ตำบลปะแต มีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 153 ครัวเรือน และเกิดเหตุดินถล่มทับบ้าน 1 หลัง ตัวบ้านได้รับเสียหายบางส่วน อำเภอรามัน ที่ตำบลโกตาบารู รถเล็กผ่านไม่สะดวก ตำบลกายูบอเกาะ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ตำบลอาซ่อง หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าธง หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลเกะรอ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 และตำบลจะกว๊ะ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 อำเภอบันนังสตา ที่ตำบลตลิ่งชัน ตำบลบาเจาะ และตำบลบันนังสตา อำเภอกรงปินัง ที่ตำบลกรงปินัง และตำบลสะเอ๊ะ นายเดชรัฐ เปิดเผยว่า ทางจังหวัดยะลาได้เร่งระดมเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ เครื่องมือในการช่วยเหลือเบื้องต้น เข้าไปช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมแล้ว พร้อมทั้งประกาศ แจ้งเตือนพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่เสี่ยงภัย ให้เก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้นที่สูง และระมัดระวังอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า ปลั๊กไฟที่อยู่ในที่ต่ำ และระมัดระวังสัตว์ร้ายต่างๆ ที่อาจเข้ามารบกวนและทำร้ายในช่วงน้ำท่วม นายเดชรัฐ เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลาตรวจสอบข้อมูลและสรุปพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป ส่วนบ้านที่ถูกดินถล่มทับ จะให้อพยพไปอยู่ในที่พักชั่วคราว โดยให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และองค์การบริหารส่วนตำบลปะแต อำเภอยะหา เข้าไปตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือแล้ว ทหารออกโรงช่วยชาวบ้าน พร้อมกันนี้หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 ยังได้นำทีมแพทย์ทหาร พร้อมเครื่องยาเวชภัณฑ์และอาหารสำเร็จรูป พร้อมเรือท้องแบน และรถ GMC ของกองทัพภาค 4 ออกมาให้บริการชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ในส่วนของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้มีการประสานฝ่ายพลเรือนและหน่วยกองกำลังเจ้าหน้าที่ทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระจายกำลังออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนในหมู่บ้าน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สามารถรู้ล่วงหน้าว่าน้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ ทำให้เตรียมพร้อมรับมือได้ทัน คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้นโดยเร็ว ปัตตานีท่วมแล้ว 5 อำเภอ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานี ขณะนี้ทางหลวงสาย 418 เป็นเส้นทางสัญจรหลัก ตรงบริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี–ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา น้ำป่าไหลหลากท่วมเส้นทางต้องปิดถนนฝั่งขาออกไม่ให้รถทุกชนิดผ่าน โดยหน่วยทหารได้จัดกำลังมาคอยอำนวยความสะดวก และอนุญาตให้รถวิ่งผ่านฝั่งขาเข้าได้เพียงช่องทางเดียว ขณะที่หมู่ที่ 5 ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง น้ำป่าและน้ำจากแม่น้ำปัตตานี ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 300 ครัวเรือน ถนนเข้าออกหมู่บ้านจมอยู่น้ำประมาณ 30–60 เซนติเมตร ประชาชนต้องนำสิ่งของขึ้นไปไว้บนที่สูง นราธิวาสเร่งช่วยผู้ประสบภัย พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประชุมชลธารา กล่าวว่า ปริมาณน้ำที่ท่วมครั้งนี้สูงที่สุดในรอบ 30 ปี หลังจากฝนหยุดตกแล้ว สถานการณ์น้ำที่ท่วมในพื้นที่เริ่มลดลงจนเหลือ 30 เซนติเมตร คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในคืนวันที่ 1 มกราคม 2555 ถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำอีก เนื่องจากมวลน้ำได้ไหลลงสู่ป่าพรุโต๊ะแดง เขตรอยต่ออำเภอสุไหงปาดีกับอำเภอสุไหงโก–ลก ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติ นายจำนัลยอมรับว่า ปริมาณน้ำได้ไหลบ่าลงมาจากเทือกเขาตะเวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมาย ทำให้ราษฎรไม่สามารถเก็บสิ่งของขึ้นบนที่สูงได้ทัน ทางอำเภอกำลังตรวจสอบความเสียหาย ทั้งในส่วนของบ้านเรือนราษฎร ถนน และสาธารณูปโภค เพื่อให้ความช่วยเหลือและซ่อมบำรุงต่อไป ขณะเดียวกันนายอภินันท์ ก็ได้ประกาศให้พื้นที่ 8 อำเภอ เป็นเขตประสบภัยพิบัติ และแจ้งไปยังนายอำเภอทั้ง 8 อำเภอ ให้การช่วยเหลือราษฎร รวมทั้งสำรวจความเสียหายเพื่อตั้งงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาอย่างเร่งด่วนแล้ว จากการสำรวจล่าสุด มีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของราษฎรในจังหวัดนราธิวาสแล้ว 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอสุคิริน และอำเภอเมืองนราธิวาส โดยบริเวณน้ำท่วมได้ขยายวงกว้าง ปริมาณน้ำท่วมขังสูงอยู่ที่ระดับ 100–130 เซนติเมตร ขณะนี้ถนนจารุเสถียร สายสุไหงโก–ลก–เจาะไอร้อง ยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ โดยมีน้ำท่วมขังสูง 2 จุดคื ภายในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี และบริเวณทางโค้งมะรือโบออก หมู่ที่ 1 ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถบรรทุกและเครื่องขยายเสียง ประกาศเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมสามารถอพยพได้ทันที หากมีน้ำป่าบนเทือกเขาไหลทะลัก รือเสาะท่วมหนักแถมดินถล่มซ้ำ นอกจากนี้ น้ำป่ายังได้พัดดินบนเทือกเขาหลังหมู่บ้านถล่มลงมา สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนของราษฎรอีก 20 หลัง โดยพ.ต.อ.สะท้านฟ้า วามะสิงห์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ ได้นำกำลังตำรวจไปให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (2) Posted: 02 Jan 2012 05:46 AM PST ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ด้วยเพราะหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ที่โครงสร้างอำนาจ ประเด็นการกระจายอำนาจ จึงเป็นประเด็นหลักบนเวทีสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” วันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สองและเป็นวันปิดงาน โทนของงานวันนี้ ฉายจับอยู่ที่การกระจายอำนาจ ตั้งแต่ช่วงแรกไปจนถึงช่วสงปิดงาน ไล่มาตั้งแต่ปาฐกถาพิเศษ “สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในทัศนะอิสลาม” โดยดอกเตอร์อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา ต่อด้วยการฉายวีดิทัศน์ “ทำไมต้องกระจายอำนาจ” จากนั้นเป็นการนำเสนอ “รูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจ” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ตามด้วยการอภิปรายเรื่อง “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้: มุมมองที่หลากหลาย” ผู้อภิปรายประกอบด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตกรรมการปฏิรูป นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในแบบเฉพาะที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เคยถูกเรียกร้องและหยิบยกขึ้นมาพูดคุยบ้างแล้วในอดีต ดังกรณีข้อเรียกร้อง 7 ประการ เมื่อกว่าหกสิบปีก่อนของฮัจญีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาคนสำคัญของปัตตานี ครั้นเมื่อความรุนแรงระลอกใหม่ปะทุขึ้นในปี 2547 รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอ “นครปัตตานี” เป็นหนึ่งในรูปแบบพิเศษของการกระจายอำนาจต่อหน้าประชาชน ณ มัสยิดกรือเซะและวัดช้างไห้ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเกิด “เหตุการณ์ 28 เมษายน 2547” ไม่นาน ข้อเสนอดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสีเพื่อเป็นแนวทางดับไฟใต้ ถ้อยแถลงครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงเรื่องนี้ในเวลาต่อมา ต่อมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ก็ได้นำเสนอแนวทางดับไฟใต้ต่อรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในปี 2549 โดยหนึ่งในนั้นคือการปรับโครงสร้างบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รวบรวมกลุ่มจังหวัดเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2551 ก็เคยเสนอแนวทางการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ ขณะที่ “เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้” ที่เกาะกลุ่มกันมาตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันต่างๆ อาทิ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) สภาพัฒนาการเมือง และสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ก็ได้พัฒนาร่างข้อเสนอจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ราว 50 เวที กระทั่ง สามารถผลักดันออกมาเป็น “ปัตตานีมหานคร” ได้อีกตัวแบบหนึ่ง ผ่านรูปแบบของรายงานวิจัยและร่างพระราชบัญญัติในเวลาต่อมา ในอีกด้านหนึ่ง แนวทางการกระจายอำนาจยังรองรับด้วยงานวิจัยอื่นๆ อีกหลายตัวแบบ เช่น ข้อเสนอ “ทบวงชายแดนใต้” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และดอกเตอร์สุกรี หลังปูเต๊ะ ที่มาจากการทบทวนรูปแบบการถ่ายโอนอำนาจและฟังเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการเปลี่ยนผ่านจาก “ทบวงชายแดนใต้สู่เขตพิเศษสามนคร” ของนายอำนาจ ศรีพูนสุข ที่เสนอกระบวนการในการเปลี่ยนผ่านแบบมีจังหวะก้าว และตัวแบบ “เขตบริหารปกครองพิเศษ” ของนายสุริยะ สะนิวา และคณะ เท่าที่ได้ประมวลข้อเสนอในเรื่องนี้ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สามารถนำมาสังเคราะห์ และจัดกลุ่มออกเป็น 6 ทางเลือกในการบริหารปกครอง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาลักษณะเด่นของรูปแบบการบริหาร ข้อสนับสนุน และข้อวิจารณ์ของแต่ละทางเลือก ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 คือ “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” ทุกรูปแบบทางเลือกจะถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอในที่ประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ช่วงเวลา 9.55–10.25 น. ของวันที่ 5 มกราคม 2555 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สมชัย ภัทรธนานันท์: มองการเมืองฟิลิปปินส์ผ่านกรณี GMA Posted: 02 Jan 2012 05:36 AM PST เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภาพข่าวการสกัดไม่ให้กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal-Arroyo-GMA) ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตทางการเมืองของเธอจึงผกผั หากศึกษาเส้นทางชีวิตทางการเมื แม้ว่าการประท้วงครั้งนี้จะดู จริงอยู่ที่ Erap เป็นผู้นำที่ฉ้อราษฏร์บังหลวง แต่ชนชั้นนำของฟิลิปปินส์ก็ บรรดานักการเมือง-เจ้าที่ดิ GMA ได้ใช้โอกาสนี้มาเป็ ภายหลังเหตุการณ์ศาลสูงได้วินิ เมื่อ GMA รับตำเเหน่งไม่นานเธอได้สั่ GMA ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ นอกจากการโกงเลือกตั้งแล้วยังมี ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึ การคาดคะเนของ GMA นั้นถูกต้อง เมื่อนอย นอย บุตรชายของโคราซอน อคีโน ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีก็มี ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายยั ปฏิกริยาของนอย นอยต่อคำตัดสินดูเหมือนจะเป็ หลังการตัดสินดังกล่าวนอย นอย ได้โจมตีโคโรนาด้วยถ้อยคำที่รุ
หมายเหตุ: การเขียนบทความนี้ได้รับการสนั
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 3: มองจากมุมศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ‘ไฟใต้ปี 55 สงบหรือไม่’ Posted: 02 Jan 2012 05:20 AM PST ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) นักวิจัยผู้เก็บข้อมูลสถิติสถานการณ์ไม่สงบมาตลอด 7 ปี วิเคราะห์แนวโน้มความรุนแรงในปี2555 ไฟใต้สงบหรือไม่ อะไรคือปัจจัย ดังนี้ 0 0 0 0 0 0 ไฟใต้ปี’55 สงบหรือไม่ มี 2 แนวโน้ม หากดูจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2554 ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ แนวโน้มที่ 1 สถานการณ์ความรุนแรงที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2554 เป็นผลมาจากการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการปกครองพิเศษตามที่รัฐบาลเคยเสนอในช่วงหาเสียงหยุดชะงักลง เรื่องการเจรจากับขบวนการก่อความไม่สงบที่เคยดำเนินการในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็หยุดชะงักลง และการขาดความชัดเจนในเรื่องทิศทางของนโยบายและความต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่ง ปัญหาเรื่องการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทั้ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 หรือการใช้กฎหมายที่เป็นทางเลือกใหม่ อย่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่ให้อบรมผู้ต้องหาแทนการจำขัง ตามมาตรา 21 ก็ยังไม่มีความไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนทางนโยบายและสัญลักษณ์ทางการเมืองที่มีต่อประชาชนในพื้นที่และสัญลักษณ์ต่อขบวนการ แนวโน้มความรุนแรงในปี 2555 อาจจะสูงขึ้น เพราะเป็นการตอบโต้และแสดงสัญลักษณ์กดดันรัฐบาล สร้างกระแสว่า สถานการณ์ยังไม่ยุติและยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน แนวโน้มที่ 2 หากมีนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.4สน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ (ศชต.) ประสานการทำงานเป็นระบบมากขึ้น จัดการทัศนะและท่าทีว่าด้วยเรื่องเขตปกครองพิเศษในพื้นที่ให้ชัดเจน จัดการเจรจากับกลุ่มต่างๆ หรือจัดการพูดคุยกับคนในพื้นที่ เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น หากรัฐบาลดำเนินการอย่างนี้ แนวโน้มสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่จะลดลง แม้อาจลดลงไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยประคับประคองสถานการณ์เอาไว้ได้ ผมเข้าใจว่า ผู้บริหารชุดใหม่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามพูดคุยและเจรจากับกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม การผสมผสานทางนโยบายหรือการพูดคุยเชื่อมต่อระว่างภาคประชาสังคมกับฝ่ายรัฐและฝ่ายความมั่นคง จะเป็นดึงกระชับเหตุการณ์และเป็นเงือนไขให้เหตุการณ์ลดลง ส่วนเหตุการณ์ที่มีอยู่ อาจไม่ออกมาในรูปแบบที่รุนแรงมากหรือก่อเหตุพร้อมกับหลายสิบจุด เพราะมีนัยยะทางการเมืองหรือทางนโยบายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ปีที่ผ่านมา มองเห็นการต่อสู้ทั้งของฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการอย่างไร? ในส่วนของรัฐ ในรอบปีที่ผ่านมา ทำได้ 2 อย่าง คือ 1.การรักษาความไม่สงบในพื้นที่หรือ การควบคุมพื้นที่ทำได้ในระดับหนึ่ง ในแง่การใช้กำลัง การใช้กฎหมายพิเศษ ทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือกฎอัยการศึก ในระยะหลังทำได้ดีขึ้นในแง่การระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดสิทธิของประชาชน หรือไม่ให้เกิดความผิดพลาด ส่วนตำรวจ พยายามทำงานทางการเมืองหรือทำงานมวลชลมากขึ้น แนวโน้มเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี แต่การแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะทางยุทธศาสตร์และการจัดการความขัดแย้ง จะต้องมีการพัฒนากันต่อไปว่า จะเอาอะไรเป็นประเด็นหลัก กลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มประสานงานหรือกลุ่มใดจะเป็นกลุ่มเจรจาของฝ่ายรัฐ ในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ การประสานงานกับผู้ศาสนา ผู้นำท้องถิ่นหรือภาคประชาชนสังคมในพื้นที่ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องปรับยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รัฐต้องให้ความสำคัญในการสร้างหรือขยายพื้นที่กลางทางการเมือง หรือพื้นที่กลางการเจรจาต่อรอง หากสามารถสร้างพื้นที่กลางได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาทางการเมืองและทางนโยบายได้ ในส่วนของขบวนการนั้น กำลังมีการปรับตัวอยู่หลายอย่าง เพราะการใช้ความรุนแรงสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเป็นตัวชี้ขาดการเปลี่ยนแปลงทางเมืองหรือการแก้ไขปัญหาได้ เพราะมีผลด้านลบต่อประชาชน สังคมและเศรษฐกิจ หากปัญหาเยื้อยื้อยาวนาน ก็จะบั่นทอนหรือทำให้สังคมมันอ่อนแอลง สะท้อนได้จากปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรง ปัญหายาเสพติดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงโดยตรงกับขบวนการก่อความไม่สงบ แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่สงบที่ยื้อเยื้อ จึงทำให้เกิดสังคมอ่อนแอลง หากฝ่ายขบวนการต้องการสร้างสังคมทีดีหรือสังคมที่มีความสุข ก็ต้องคิดเรื่องนี้ด้วย เพราะหากปล่อยให้ประชาชนแย่มากๆ ก็จะส่งให้ผลกระทบทางการเมืองของตนเองด้วย การแก้ปัญหา คือต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาหรือมีข้อเสนอที่เป็นนโยบายชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ที่ขาดไม่ได้การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง 2 ฝ่าย คือเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายขบวนการ จะต้องมองเห็นความจำเป็นในการใช้พื้นที่กลางในการแก้ปัญหาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสันติ
ต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไร กว่าจะเกิดสันติภาพในชายแดนใต้ สถานการณ์เกิดขึ้นมาแล้ว 8 ปี อาจจะมีความหวังมากขึ้น หากเดินมาถูกทาง แต่หากเดินผิดทาง อาจจะต้องใช้เวลานานไปอีก
อะไรคือทางออกของปัญหาชายแดนใต้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยตรงและโดยอ้อม ต้องเรียนรู้และปรับตัว คือถอดบทเรียนของตัวว่า การต่อสู่ด้วยความรุนแรงนั้น ไม่ว่าฝ่ายขบวนการหรือฝ่ายทหาร ไม่สารมารถที่จะแก้ปัญหาได้ หากเกิดสภาวะที่เยื้อยื้อเรื้อรังต่อไป ทุกๆฝ่ายก็จะได้รับเสียหาย ร่วมทั้งประชาชน ฉะนั้นต้องหาทางปรับตัว เรียนรู้ และก้าวไปข้างหน้า ต้องหาวิธีการทางสันติภาพ และกระบวนการทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหา แล้วหันมาสู่กระบวนการเจรจาระหว่างกัน ข้อเรียกร้องต่างๆ อย่างข้อเรียกร้องสูงสุดของขบวนการ คือแบ่งแยกดินแดน ผมว่าอาจยากที่จะยอมรับได้ น่าจะลองทบทวนดู อาจจะต้องมีการปรับ จะเป็นไปได้หรือไม่หากใช้วิธีการอื่น หรือลดเป้าหมายลง เพื่อให้เกิดการเจรจากันจริงๆ ส่วนฝ่ายรัฐเอง ก็ต้องเรียนรู้ว่า ต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยการปฏิรูปทางเมือง เพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ ฉะนั้นการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างอำนาจมีความสำคัญและต้องยอมให้มีการปรับ เพราะมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรเท่าไร เพราะอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญหรือกรอบกฎหมาย ทุกฝ่ายต้องลดเงื่อนไขหรือข้อเรียกร้องตนเองลงมา ผมคิดว่า จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ปรับคนละก้าว เดี๋ยวก็สามารถหาข้อสรุปได้ เพราะคนยอมรับแนวทางสันติภาพมากขึ้นอยู่แล้ว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 02 Jan 2012 05:07 AM PST ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออนไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา 0 0 0 สำหรับ Quotes of The year ประจำปีนี้ ประชาไทขอยกให้กับวลี/ประโยคเหล่านี้
“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้” (ร่วมบันทึกวาทะแรงๆ โดย รุ้งรวี ศิริธรรมไพบูลย์)
ไม่แน่ใจว่าวลี/ประโยค แห่งปีนี้ จะเป็น “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้” หรือ “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด”กันแน่ เพราะประโยคเต็มๆ นั้นก็คือ “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้…น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว…ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด” ข้อความดังกล่าวนี้เป็นที่ฮือฮาและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในสังคมออนไลน์และการรายงานข่าวของสื่อมวลชน จากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา โดยเป็นข้อความที่เกิดขึ้นจากการส่งข้อความผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ชื่อว่าทวิตเตอร์ของ “หนูดี วนิษา เรซ” บุคคลผู้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยด้วยโปรไฟล์ สาวสวยผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ เจ้าของอัจฉริยะสร้างได้ จบปริญญาโทด้านวิทยาการทางสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และพรีเซ็นเตอร์ซุปไก่สกัดตราแบรนด์ เหตุที่ข้อความนี้กลายเป็นที่ฮือฮาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก คงไม่ใช่ด้วยตัวข้อความ สาระสำคัญ ความเป็นเหตุเป็นผล หรือความหลักแหลม อะไรทั้งสิ้น แต่มันกลับอยู่ที่องค์ประกอบ ‘รอบๆ’ ข้อความประการหนึ่งก็ด้วยเพราะตัวของผู้โพสต์ข้อความนี้เอง ที่มี ‘ภาพลักษณ์’ ความเป็นผู้หญิงฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์สาขาวิชาและสถาบันการศึกษาที่จบมา อีกทั้งภาพลักษณ์ในด้านบุคลิกภาพของเธอก็ยังเป็นผู้หญิงที่สวย มีบุคลิกภาพที่ดี พูดจาดี มีทัศคติที่ดี สวยงาม ต่อสังคม ไม่ปรากฏว่าในชีวิตนี้เคยว่าร้าย หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในสื่อ หรือแม้กระทั่งเคยมีความคิดเห็นในเชิงการเมืองออกมาก่อน ความ ‘ขัดกัน’ ของคำว่า “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” จากผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์ที่ “ไม่แรง” (ตลอดทั้งชีวิตที่ผ่านมา) เสริมส่งด้วยการเป็นผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับว่าฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์ทางการศึกษา อีกทั้งด้วยสภาพแวดล้อมทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้นำประเทศ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างหนัก ประกอบกับ การส่อนัยของข้อความดังกล่าวที่ว่า “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด” จึงทำให้ข้อความดังกล่าวเป็นที่นิยมชมชอบ ได้รับการเชื่อมั่นนับถือ สนับสนุน (จากคนกลุ่มหนึ่ง) แม้เธอจะออกมาอธิบายในภายหลังว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้มีส่วนพาดพิงถึงตัวผู้นำประเทศแต่อย่างใดก็ตาม หากเปรียบกันง่ายๆ ให้เห็นภาพ ก็คงเปรียบเสมือน นางเอกละครน้ำเน่าหลังข่าว ที่มีภาพลักษณ์ “ผู้ดี” แสนดี ไม่เคยว่าร้าย คิดร้าย หรือทำร้ายใคร และอาจจะโดนทำร้ายจากนางอิจฉามาตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็ไม่เคยตอบโต้ ได้แต่ก้มหน้ารับกรรม ยอมโดนทำร้ายเรื่อยมา ด้วยว่าผู้ดีนั้นคงไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นคนอื่น เพราะนั่นมันไม่ใช่วิสัยของผู้ดี แต่จู่ๆ วันหนึ่งด้วยความเหลืออดเหลือทนหรืออะไรก็มิทราบได้ นางเอกของเราก็เดินไปจิกหัวนางอิจฉามาตบ ทั้งๆ ที่วันนั้นนางอิจฉาอาจจะยืนสวยๆ อยู่ยังไม่ได้ทำอะไร แต่ด้วยความเป็นผู้ดี เป็นนางเอก คนดูก็ย่อมออกแรงเชียร์ ด้วยเพราะว่านางเอกผู้แสนดี ไม่เคยทำอะไร “แรงๆ” อย่างนี้มาก่อน คงต้องเหลืออดจริงๆ ถึงได้กระทำการที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ดีนี้ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นที่รับได้ และถือว่าถูกต้อง เพราะเธอเป็น “นางเอก” ของคนดู ตบมันเลย...อย่างนั้นแหละ ตบมัน!!! ความโด่งดังของประโยคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การนำมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่มันยังถูกนำไปใช้ในการ ‘เล่นมุก’ ต่างๆ ในสังคมออนไลน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...กลัวขึ้นคานก็กลัว แต่กลัวที่สุด...ก็กลัวได้สามีเป็นแอบ(เกย์) นี่แหละ” “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วจะร้องไห้ … น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว ไม่มีคนเล่น google+ ด้วย” “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วอยากร้องไห้.....น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...คนที่มือไม่พายยังเอาปากราน้ำ เพราะ พวกเราจะตายกันหมด” “ขอพูดอะไรแรง ๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้ วินโดวส์จะมี troubleshooter ไว้ทำค-ยอะไรในเมื่อไม่เคยช่วยแก้ปัญหาเหี้ยอะไรตูไม่ได้เลย” ซึ่งแน่นอนว่าการเล่นคำ เล่นประโยคนี้ ซึ่งมาจากข้อความทวิตเตอร์ของหนูดี มีมาก่อนการเล่น “จนกระทั่งโดยธนูปักที่เข่า” เสียอีก
0 0 0 0 0 0
“...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..” ข้อความจาก facebook ID : Sasin Chalermlarp ของศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผืนป่าตะวันตก ซึ่งโด่งดังในฐานะนักวิชาการเรื่องน้ำผู้อธิบายเรื่องยากๆ ออกมาให้ฟังเข้าใจง่าย และน่าติดตาม จาก “คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม” ซึ่งเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554 ขณะที่มวลน้ำขนาดใหญ่จ่อทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ ภาวการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อนักวิชาการด้านการจัดการน้ำ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการปัญหาของรัฐบาล คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม โดย ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ การนำเสนอข้อมูลของ “ศศิน” ทำให้นักอนุรักษ์กลายเป็นนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมรุ่นใหม่ที่ออกมาวิพากษ์การทำงานของรัฐบาลได้ถึงใจผู้ชม ท่ามกลางข้อมูล สถิติ การคำนวณทางวิชาการ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาที่โถมกระหน่ำไปมาในหน้าสื่อมวลชนอย่างท่วมท้นไม่แพ้กระแสน้ำ ภายหลังจากที่มีการโพสข้อความยอมรับความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลของศศิน หลังเล็งเห็นผลสำเร็จในการป้องกันน้ำรุกเข้าท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน จากที่เคยคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ จะไม่รอดพ้นจากการเป็นเมืองนองน้ำ ด้านหนึ่งทำให้เขาได้รับความชื่นชมในฐานะคนจริงที่กล้ายอมรับในความผิดพลาดของตัวเอง อีกด้านหนึ่งเขาถูกมองว่าหันมายอมรับการทำงานของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ในการป้องกันน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการโพสข้อความดังกล่าว นักวิเคราะห์คนดังได้เขียนชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ไม่ได้ยอมรับฝีมือสกัดน้ำ ศปภ. ตามที่คนโพสต์ โพสต์ ครับ ผมยอมรับว่าคนทำงานหน้างาน ซึ่งหมายถึงวิศวกร และคนทำงานอื่นๆ ของกรมชล "รู้" ว่าข้อมูลน้ำมีมาอย่างไร เคารพและให้เกียรติมาตลอด และยอมรับความเป็นมืออาชีพของการระบายน้ำใน กทม. จากคนทำงานหน้างานเช่นกัน ส่วนจะมาจากผู้บริหารอย่างไร ผมไม่เคยรู้ เวลาพูดถึงก็พูดแต่ว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้เขาเต็มที่ที่สุดแล้วส่วนผู้บริหารจะมีส่วนมา "หน้างาน" หรือ ในห้องวอร์รูมอย่างเข้มข้นก็คือส่วนนั้น และ สิ่งที่วิเคราะห์พลาด นั่นคือ ส่วนที่การจัดการน้ำของเขาที่เปลี่ยนยุทธวิธี ทางฝั่งตะวันออก และสิ่งที่ผมบอกอธิบายเรื่องราวหลายอย่างที่มีความนัยต้องตีความอยู่มากขอให้อ่านอย่างพิจารณาดีๆ ด้วยครับ 2) ผมยอมรับ "วิธีการ" ที่เขาทำมาว่าได้ผลส่วนหนึ่งและยอมรับว่า พี่นายช่างใหญ่ ก็มีเจตนารักษากรุงเทพฯ ชั้นในอย่างจริงจังแน่วแน่จริง ตามภารกิจที่ได้รับมา และตามความจริง ตามกรอบคิดและสถานการณ์ที่เขาทำงานและประเมินกันอยู่ แต่ไม่ได้บอกว่า วิธีการนั้น "ดีที่สุด" ที่จะป้องกัน กทม. และ สุวรรณภูมิ ในด้านที่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าปกติ ต่อที่อื่นๆ และจะมีวิธีการที่ทำงานกับคนที่ดีกว่านี้ได้มาก 3) ประเด็นที่ต้องออกมา เพื่อ "เตือนภัย" ให้ ตระหนัก ไม่ให้ ตระหนก เตือนในระดับที่ผมว่าคนตระหนัก แล้ว และพยายามที่สุดแล้วที่จะบอกให้ดูข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยยะว่า จะท่วมเมื่อน้ำท่วมผ่านการสกัดใดๆมาด้วยเหตุผลใด ใน clip หรือ ทีวี ผมก็ทำงานส่วนนี้ต่อใน fb เป็นหลักครับจะมีเสียงออกตามวิทยุทีวีนั่นก็เพื่อเตือนภัย แลกเปลี่ยนให้คนได้คิดตามว่ามันมีเหตุผลที่จะท่วมหรือไม่ท่วมอย่างไร ต้องเฝ้าดูอะไร เท่าที่ดูๆ ก็เน้นตะวันตกที่วิกฤติมาถึงบัดนี้ ถือว่าเป็นสื่อทางเลือกที่คนเลือกตามเอง และเมื่อมีคนโพสต์ต่อ หรือนำไปแปลงเป็นสื่อสาธารณะหลักอื่นอื่นๆ นั่นก็อยู่นอกเหนือที่ผมรับรู้แล้ว ส่วนเรื่องเวลา ถ้านับจากวันที่ 11 ตุลามา เราก็อยู่ในภาวะ น้ำท่วม ที่ยันกันไว้ เป็นเดือน ครับ ผมบอกเสมอว่า น้ำทั้งหมดระบายหมด ต้องมีสามเดือน แต่ เอาแบบครึ่งหนึ่งพออยู่ได้ปกติ ก็ต้องมีหลังลอยกระทง ไปตามสภาพของพื้นที่แต่ละที่ครับ ตอนนี้ก็ผ่านมาเดือนกว่า ถ้าปล่อยท่วมกทม. แต่กลางเดือนที่แล้วก็ครบเดือนนานแล้วครับ ทั้งนี้ มหาวิกฤติอุทกภัยในปีที่ผ่านมา เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน (NOCK–TEN)” ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย และปัญหาในการจัดการน้ำทำให้น้ำจากพื้นที่ภาคเหนือไหลบ่าลงสู่ภาคกลาง จากสรุปสถานการณ์สาธารณภัย โดยศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด (10 ธ.ค.2554) พบว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะไดรับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ มีผู้เสียชีวิต 680 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,920 ตำบล 43,636 หมู่บ้าน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรีนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรีเลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎรธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น