โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ซี.เจ.ฮิงกิ

Posted: 07 Jan 2012 08:32 AM PST

ผมไม่คิดว่าการเลือกตั้งจะเท่ากับประชาธิปไตย แต่การสามารถมีส่วนร่วมของประชาชนต่างหากที่หมายถึงประชาธิปไตย และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมรัฐบาลถึงเกรงกลัวอินเทอร์เน็ต เพราะมันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วม เพราะอินเทอร์เน็ตทำให้บทสนทนาระหว่างเราสามารถเกิดขึ้นได้

ผู้ก่อตั้งกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทย

สหภาพโฮยารณรงค์ต่อ ยุติการเลิกจ้าง เตรียมจัดประชุมใหญ่ 9 ม.ค. นี้

Posted: 07 Jan 2012 02:24 AM PST

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 55 ที่ผ่านมามี สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ได้มีการชุมนุมและแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มสมาชิกพนักงานโฮยาเกี่ยวกับการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่จะจัดให้มีขึ้น วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 ณ.วัดศรีบุญยืน ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน เพื่อรับรองข้อเรียกร้องเดิมและมิให้มีการเลิกจ้างระหว่างมีการยื่นข้อเรียกร้อง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาชนเป็นจำนวนมากแห่เข้าร่วมเทศกาลหนังในย่างกุ้ง

Posted: 07 Jan 2012 02:09 AM PST

มีประชาชนกว่า 7 พันคนเข้าร่วมชมเทศกาลหนัง “The Art of Freedom film festival” ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 1 – 3 มกราคมที่ผ่านมา โดยเทศกาลหนังครั้งนี้ มีนางอองซาน ซูจี และซาร์กานาร์ รวมไปถึงผู้กำกับชาวพม่าคนอื่นๆร่วมจัดงานและให้การสนับสนุนหลัก

ทั้งนี้ มีหนังจำนวน 54 ที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน จากทั้งหมด 188 เรื่องที่ส่งเข้าประกวด “ผมเชื่อว่า หนังทั้งหมดได้บอกเล่าถึงเสรีภาพผ่านทางผลงานศิลปะและเทคโนโลยีที่ผู้ทำหนังใช้” มิน ติน โก โก จี หนึ่งในผู้กำกับชาวพม่าและเป็นคณะกรรมการตัดสินในครั้งนี้กล่าว
 
ขณะที่หนังที่เข้าฉายในเทศกาลครั้งนี้ ไม่ได้ถูกเซ็นเซอร์จากทางการพม่าเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหนังบางส่วนที่เข้าฉายในเทศกาลครั้งนี้ มีเนื้อหาโจมตีรัฐบาลทหารพม่าชุดเก่า ขณะที่บางคนกล่าวว่า อุตสาหกรรมหนังพม่าอาจกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง หากเสรีภาพกลับคืนสู่พม่า
 
“แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า ประชาชนในพม่าไม่ยอมรับการเซ็นเซอร์และเหตุผลที่จะนำไปสู่การเซ็นเซอร์ ” หนึ่งในผู้กำกับที่ส่งหนังเข้าประกวดกล่าว

ทั้งนี้ หนังเรื่อง “Rope” โดยมิน ไต้ก คว้ารางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยมไปครอง ส่วนหนังเรื่อง “Freedom and Unity” กำกับโดย ซอ โบ โบ ฮิง คว้ารางวัลหนังแอนิเมชันยอดเยี่ยม ส่วนหนังที่ได้รับรางวัลจากการโหวตจากผู้ชมมากที่สุดคือหนังเรื่อง “Cut this Scene” นอกจากนี้ยังมีรางวัลสารคดียอดเยี่ยม ซึ่งตกเป็นของสารคดีเรื่อง “Click in Fear” โดยจายจ่อข่าย ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวช่างภาพชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เขาได้บันทึกภาพเหตุการณ์ประท้วงใหญ่เมื่อปี 2550 มีรายงานว่า หนัง 3 เรื่องที่ชนะการประกวดจะถูกนำไปแข่งขันในเทศกาลหนังนานาชาติต่อไป
 
ขณะที่หนึ่งในผู้ส่งหนังเข้าประกวด จายจ่อข่าย ผู้กำกับชาวไทใหญ่กล่าวว่า เขาไม่ได้คาดหวังกับรางวัลมาก่อน การส่งหนังเข้าประกวดครั้งนี้เพียงหวังให้ประชาชนได้เห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในพม่า โดยยังกล่าวว่า หนังของเขานั้นมอบใหักับคนที่รักความยุติธรรมและอิสรภาพ
 
ด้านซาร์กานาร์กล่าวถึงงานที่จัดขึ้นว่า “นี่เป็นการแสดงออกอย่างเสรีภาพ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของทิศทางที่ถูกต้อง และเราไม่กลัว เราไม่เคยกลัว”เขากล่าว อย่างไรก็ตาม ซาร์กานาร์กล่าวบน Facebook ของเขาว่า รู้สึกผิดหวังกับจำนวนตัวเลขนักโทษการเมืองที่ได้รับการปล่อยตัว
 
“ตอนแรกผมคาดหวังว่า ผมจะฉลองเทศกาลหนังครั้งนี้พร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่ได้รับการปล่อยตัวจากคุก ตอนนี้ผมอยากเปลี่ยนชื่องานครั้งนี้เป็น เทศกาลแห่งการถูกจองจำ ”เขากล่าว อย่างไรก็ตาม ศิลปินเป็นจำนวนมากต่างให้กำลังใจกับผู้จัดงานและหวังให้มีการจัดเทศกาลหนังเช่นนี้เกิดขึ้นอีกในครั้งต่อๆไป
แปลแลเรียบเรียบจาก Mizzima/ Irrawaddy/www.myanmarcelebrity.com 6 มกราคม 55

SSA – ใต้ ถูกเชิญไปเจรจาสันติภาพที่เนปีดอว์

มีรายงานว่า ทางรัฐบาลพม่าได้เชิญเจ้ายอดศึกและตัวแทนกองทัพรัฐฉานใต้ (Shan State Army-South) หรือ SSA – ใต้ไปกรุงเนปีดอว์ เพื่อเจรจาสันติภาพในช่วงวันที่ 15 – 20 ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า จะมีตัวแทนจาก SSA – ใต้ราว 10 คน ที่จะเข้าร่วมพบเจรจากับฝ่ายรัฐบาลพม่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เจ้ายอดศึกจะเดินทางไปเนปีดอว์ด้วยหรือไม่

ด้านโฆษกของ SSA – ใต้ จายหลาวแสงกล่าวว่า การเจรจาที่จะมีขึ้น จะเป็นการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงของเขตแดนของ SSA – ใต้และกองทัพพม่าเป็นหลัก
 
“เราอยากให้รัฐบาลพม่าให้รายละเอียดเกี่ยวกับเขตแดนและพื้นที่ควบคุม พื้นที่ไหนที่เราควรจะเปิดสำนักงาน จากนั้นเราจะเริ่มย้ายครอบครัวของเราไปพื้นที่นั้นๆ เราจำเป็นต้องหารือกับรัฐบาลในเรื่องการเคลื่อนกำลังพลของเรา เช่นเดียวกับที่เราจำเป็นต้องรู้ว่า รัฐบาลจะสั่งทหารของพวกเขาประจำการที่ไหนในอนาคต” ทั้งนี้ จายหลาวแสงกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ทั้งสองฝ่ายจะตกลงทำสัญญาหยุดยิงชั่วคราว แต่จนถึงขณะนี้ทหารพม่าก็ยังไม่ถอนกำลังออกจากรัฐฉานแต่อย่างใด
 
ทั้งนี้ จายหลาวแสงกล่าวว่า การหารือที่จะมีขึ้นจะไม่มุ่งไปยังประเด็นทางการเมืองเป็นหลัก เนื่องจากเห็นว่า การเจรจาทางการเมืองนั้น ตัวแทนจากชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มควรที่จะมีส่วนร่วมด้วย “เราไม่สามารถพูดถึงประเด็นทางการเมืองได้เพียงลำพัง เราจำเป็นต้องรอจนกว่าชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มเข้าร่วม”ขณะที่รัฐบาลพม่าและ SSA – ใต้ ได้เจรจาสันติภาพกันแล้วหลายรอบก่อนหน้านี้ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยที่จะมีการหยุดยิงกันชั่วคราว
 
อย่างไรก็ตาม ทาง SSA – ใต้ วางแผนที่จะเปิดสำนักงานในเมืองตองจี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน รวมถึงเมืองเชียงตุง เมืองสาด เมืองโขหลำ และพื้นที่อื่นๆของรัฐฉาน ขณะที่อีกด้านหนึ่งในรัฐคะฉื่น ซึ่งเป็นรัฐที่ติดกับรัฐฉานกลับมีสถานการณ์ที่แตกต่าง เนื่องจากการสู้รบกันระหว่างทหารพม่า และทหารคะฉิ่น KIA(Kachin Independence Army) ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าเกิดเหตุการณ์ปะทะกันจำนวน 160 ครั้งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยยังพบว่า หลังวันที่ 10 ธันวันคม นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็งเส่งออกคำสั่งให้กองทัพพม่าหยุดโจมตีรัฐคะฉิ่น ก็ยังคงพบการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายถึง 90 ครั้ง
 
Irrawaddy 5 มกราคม 55

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

LiveScience เผย 10 อันดับงานวิจัยใต้สะดือแห่งปี 2011

Posted: 07 Jan 2012 01:53 AM PST

เว็บไซต์ข่าววิทยาศาสตร์ชั้นนำของสหรัฐฯ จัดอันดับ 10 งานวิจัยใต้สะดือยอดเยี่ยมของปี 2011 มีทั้งเรื่องเซ็กส์ทอยที่ชาวสหรัฐฯ โปรดปราน ปลาหมึกที่มีเพศสัมพันธ์พิสดาร และใครจะรู้ล่ะว่าการนั่งสมาธิเพิ่มความสุขทางเพศรสได้

บางครั้งวิทยาศาสตร์ก็ลงไปแตะเรื่องใต้สะดือแล้วก้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจออกมา ปีที่ผ่านมาก็เช่นกัน เมื่อมีนักวิจัยลงไปสำรวจเรื่องชวนให้ขวยเขินจำพวก การถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไป, เซ็กส์ทอย, และการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ ทั้ง 10 เรื่องต่อไปนี้ถูก Livescience จัดให้เป็น 10 อันดับงานวิจัยใต้สะดือประจำปี 2011

1.) ไม่ใช่เพียงผู้ชายเท่านั้นที่รู้สึกว่าตนถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไป

จากงานวิจัยของวารสารเพศวิทยา Sexologies ฉบับเดือน ต.ค. 2011 การถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปเกิดในเพศหญิงมากกว่าที่คิด ในการสำรวจขั้นต้นจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงชาวโปรตุเกส โดยโรงพยาบาลในโปรตุเกสเปิดเผยว่ามีผู้หญิงร้อยละ 14 ประสบกับปัญหาการถึงจุดสุดยอดไม่พึงปรารถนาก่อนเวลาอันควรอยู่บ่อยๆ ผู้หญิงกลุ่มนี้ไม่สามารถควบคุมการถึงจุดสุดยอดของตัวเองได้ และมักจะรู้สึกอึดอัดหากจะมีเพศสัมพันธ์ต่อ ทำให้คู่นอนรู้สึกไม่ดี นักวิจัยเผยว่าพวกเขาจะทำการวิจัยต่อยอดเพื่อศึกษาว่า การถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปในเพศหญิงนั้น จะถูกจัดเป็นความผิดปกติในการมีเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับการหลั่งเร็วในเพศชายได้หรือไม่

2.) ชาวอเมริกันโปรดปรานไวเบรเตอร์

เรื่องนี้อาจจะไม่น่าแปลกใจนัก ในปีที่ผ่านมามีการสำรวจพบว่าชาวอเมริกันดูจะชื่นชอบเซ็กส์ทอย อย่างน้อยก็ในกลุ่มผู้หญิง จากการสำรวจของสหรัฐฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างราวครึ่งหนึ่งเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า "ไวเบรเตอร์ (เซ็กส์ทอยที่เป็นเครื่องระบบสั่น) เป็นส่วนหนึ่งของวิธีทางเพศของผู้หญิงที่ดีต่อสุขภาพ" เปรียบเทียบกับร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างที่มองประโยคนี้ในแง่ลบ รวมถึงผู้มีความเชื่อที่ว่าการใช้ไวเบรเตอร์เป็นการดูถูกคู่นอนของพวกเธอ

ก่อนหน้านี้คณะผู้วิจัยทีมเดียวกันเคยสำรวจพบว่า มีกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงร้อยละ 53 และผู้ชายร้อยละ 45 เคยใช้ไวเบรเตอร์มาก่อน และพบความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ไวเบรเตอร์กับความพึงพอใจทางเพศ

3.) การทำสมาธิช่วยเพิ่มความสุขทางเพศรส

เรื่องนี้เป็นเรื่องเซ็กส์ในเหล่าสตรีเพศอีกแล้ว งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในเดือน พ.ย. ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้หญิงที่ "ทำสมาธิวิปัสสนา" จะมีร่างกายที่ไวต่อการตอบสนองสิ่งเร้าทางเพศเช่น รูปอิโรติก มากขึ้น นักวิจัยรายงานในวารสารเวชศาสตร์กายจิต (Psychosomatic Medicine) ว่า การทำสมาธิที่เน้นให้คนอยู่กับปัจจุบันขณะ จะช่วยยับยั้งความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ได้

4.) มนุษย์โบราณก็มีการผสมข้ามพันธุ์

ก่อนหน้านี้ในปี 2010 เคยมีข่าวการสำรวจพบว่า มนุษย์เผ่าพวกเราและนีแอนเดอทาล เคยมีความสัมพันธ์กัน แต่ในปี 2011 มีการสำรวจไปไกลกว่านั้น เมื่อมีการค้นพบในเดือน มิ.ย. ว่า นักวิจัยค้นพบหลักฐานทางดีเอนเอ ที่บอกว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันมีชิ้นส่วนของพันธุกรรมนีแอนเดอทาลอยู่ร้อยละ 9 ยกเว้นในทวีปแอฟริกา นั่นหมายความว่า การทดลองมีเพศสัมพันธุ์กันข้ามเผ่าพันธุ์จนเกิดการผสมยีนส์กันน่าจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่มนุษย์เราอพยพออกจากทวีปแอฟริกา

และในทวีปเอเชียเมื่อ 23,000 ถึง 45,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เราก็มีความใกล้ชิดกับมนุษย์พันธุ์เดนีโซวาน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ที่แตกแขนงเผ่าพันธุ์มาจากเครือญาตินีแอนเดอทาล

อีกนัยหนึ่ง การมีเพศสัมพันธ์ข้ามพันธุ์อาจจะเกี่ยวเนื่องกับการคุมกำเนิดด้วยก็ได้ เมื่องานวิจัยในเดือน ก.ย. 2011 เผยว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับนีแอนเดอทาลจะมีโอกาสเกิดลูกเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น

5.) วัยรุ่นคิดว่าออรัลเซ็กส์ มีความเสี่ยงน้อยกว่า

แม้จะมีหลักฐานชี้ว่าการทำออรัลเซ็กส์ (การทำรักด้วยปาก) มีความเสี่ยงบางส่วนต่อมะเร็งหู คอ จมูก แต่วัยรุ่นก็คิดว่าการออรัลเซ็กส์มีความเสี่ยงน้อยกว่าการสอดใส่ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก ในเดือน ก.พ. 2011 มีการนำเสนองานวิจัยในที่ประชุมประจำปีของสมาคมเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา (American Association for the Advancement of Science) ซึ่งเปิดเผยว่า มีวัยรุ่นร้อยละ 14 คิดว่าการทำออรัลเซ็กส์ไม่ได้มีความเสี่ยงใดๆ ต่อสุขภาพ ในความจริงคือมีไวรัสอยู่ตัวหนึ่งที่ชื่อ papilloma virus (HPV) ที่สามารถติดต่อระหว่างคน และความเสี่ยงต่อการติดไวรัสนี้ในปากและคอจะเพิ่มขึ้นหากยิ่งมีการทำออรัลเซ็กส์ให้คู่นอนมากคน

6.) การได้รับวัคซีนต้านไวรัส ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น

ยังคงอยู่ในประเด็นเรื่องเพศของวัยรุ่น งานวิจัยล่าสุดเมื่อเดือน ธ.ค. 2011 เปิดเผยว่าการที่วัยรุ่นรับวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ไม่ได้ทำให้พวกเขาอยากสำส่อนทางเพศเพิ่มขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันของสหรัฐฯ (American Journal of Preventative Medicine) โดยศูนย์สถิติและควบคุมโรครายงานว่าวัยรุ่นผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนป้องกัน HPV ไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้รับวัคซีน

ผู้วิจัยรานงานว่า วัยรุ่นหญิงที่ได้รับวัคซีน HPV จะใช้ถุงยางตอนมีเพศสัมพันธ์มากกว่าวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้รับวัคซีน น่าจะเป็นเพราะพวกเธอได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการรับวัคซีน HPV ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องอายเลย

7.) นักศึกษาชอบคุยโวเรื่องเพศมากกว่าทำจริง

ในเดือน ก.ย. นักวิจัยได้เปิดโปงเรื่องที่อาจทำให้นักศึกษาจอมคุยต้องทำตัวลีบลงไปบ้าง แม้นักศึกษาจะเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวัยเรียน รวมถึงการนอกใจเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีหลายรายที่เป็นการเล่าขวัญชาวหอพัก มากกว่าจะทำจริง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนบราสก้า-ลินคอน ได้สอบถามนักศึกษาว่าเพื่อนของพวกเขามีเพศสัมพันธ์กับนักศึกษาคนอื่นมากน้อยขนาดไหน แล้วก็พบว่าสิ่งที่รับรู้มาไม่ค่อยตรงกับความจริงเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น มีนักศึกษาร้อยละ 90 คิดว่า การมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างน้อย 2 คนเป็น "เรื่องปกติ" สำหรับวัยนักศึกษา แต่ในความจริงแล้วมีเพียงร้อยละ 37 เท่านั้นที่มีเพศสัมพันธ์กับจำนวนคนที่ว่ามา การคุยโวเรื่องบนเตียงไม่เคยจะเก่าเลยจริงๆ

8.) ปลาหมึกน้ำลึกปล่อยสเปิร์มแล้วชิ่ง

แม้ว่าสัตว์จะไม่เรื่องมากในเรื่องเพศเท่ามนุษย์ พวกมันไม่ค่อยเรียกร้องหาความเป็นส่วนตัวเท่าใดนัก แต่เจ้าปลาหมึกน้ำลึกอย่าง Octopoteuthis deletron มีเซ็กส์ที่หวือหวากว่านั้น พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกอันมืดมิดแถบชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย น้อยครั้งที่พวกมันจะได้เจอปลาหมึกตัวอื่นที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน นักวิจัยรายงานในวารสาร Biology Letters ว่าเมื่อปลาหมึกพวกนี้พบเจอพวกเดียวกัน มันไม่ใช้เวลาดูด้วยซ้ำว่าตัวที่มันเจอเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่พวกมันจะฉีดกลุ่มสเปิร์มไปที่ตัวที่เพิ่งจะเจอกันทันที จากนั้นก็ชิ่งหนีไป ฟังดูเป็นเรื่องน่าอายสำหรับตัวที่ถูกยิงสเปิร์มใส่ แต่เป็นเรื่องดีสำหรับนักวิจัยในการติดตามการพยายามสืมพันธุ์ของพวกมัน โดยกลุ่มสเปิร์มก็จะยังคงติดตัวปลาหมึกตัวเป้าหมายขณะที่พวกมันว่ายน้ำต่อไป

9.) แบททีเรียชวนแหวะบนโต๊ะกาแฟ

พักเรื่องเซ็กส์ๆ ไว้ชั่วคราว เพราะมีอีกงานวิจัยชิ้นหนึ่งของปี 2011 ที่เป็นข่าวร้ายเอามากๆ สำหรับโต๊ะกาแฟของหนุ่มโสด เนื่องจากนักวิจัยด้านจุลชีววิทยาบอกว่า ห้องพักของชายหนุ่มโสดจะมีแบททีเรียมากกว่าห้องพักของสาวโสด 15 เท่า และแบททีเรียบางชนิดที่พบก็เป็นแบททีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในอุจจาระ

ความจริงอีกข้อหนึ่งคือ มีการตรวจพบโคลิฟอร์มแบททีเรียในอุจจาระดังกล่าวบนโต๊ะกาแฟของกนุ่มโสดในอัตรา 7 ต่อ 10 ของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีแบททีเรียที่ว่าคือการที่ผู้ชายมักเอาเท้าพาดกับโต๊ะในขณะที่ยังใส่รองเท้าอยู่

แต่หญิงโสดก็อย่าได้ใจไป มีการตรวจพบโคลิฟอร์มแบททีเรียในที่พักของพวกเธอด้วยเช่นกัน เพียงแค่มีความหนาแน่นน้อยกว่าที่พักของชายโสดเท่านั้นเอง จุดสำคัญอื่นๆ ที่พบโคลิฟอร์มแบททีเรียพวกนี้ได้แก่ ร๊โมทโทรทัศน์, โต๊ะข้างเตียงนอน และลูกบิดประตู

10.) การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์และมะเร็งองคชาติ

แม้จะเป็นอันดับสุดท้าย แต่ก็ชวนให้หวาดเสียว (หรือหวาดผวา) ไม่แพ้อันดับอื่น เมื่อนักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานในวารสารเวชศาสตร์ทางเพศ (Sexual Medicine) ในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาเปิดเผยว่าการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์มีส่วนเกี่ยวโยงกับโรคมะเร็งองคชาติ

นักวิจัยค้นพบความเกี่ยวข้องนี้จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างชาย 492 คนในแถบชนบทของบราซิล พวกเขาพบว่ามีถึงร้อยละ 35 ของกลุ่มตัวอย่างที่บอกว่าตนมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ครั้งหนึ่งในชีวิต และนักวิจัยก็พบว่าคนที่ป่วยเป็นมะเร็งองคชาติมักจะเป็นคนเดียวกับที่มีเพศสัมพันธุ์กับสัตว์ พวกเขาตั้งสมมุติฐานว่าการบาดเจ็บขององคชาติและสารคัดหลั่งในสัตว์สปีชี่ส์อื่นอาจเป็นตัวทำให้เกิดเชื้อโรคที่เป็นเหตุของมะเร็ง เช่นเดียวกับ papillomo ไวรัสของคน

ที่มา

10 Science Stories That Made Us Blush in 2011, LiveScience, 28-12-2011
http://www.livescience.com/17656-embarrassing-science-2011.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ถนนประชาธิปไตย ๒๕๕๕ ปีแห่งการรุกของพลังประชาธิปไตย

Posted: 07 Jan 2012 01:43 AM PST

ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ถือเป็นปีมะโรงตามนัขษัตร ได้รับการกล่าวถึงในลักษณะต่างๆ บ้างก็ว่าจะเป็นปีมังกรทอง ที่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว บ้างก็ว่าเป็นปีมังกรน้ำ เพราะจะเกิดน้ำท่วมมากกว่าปีก่อน นอกจากนั้นยังมีประเภทคำทำนายว่า จะเกิดภัยพิบัติ หรือเป็นปีโลกแตก แต่ที่กล่าวมาส่วนมาก ล้วนแต่เป็นคำทำนายอันเหลวไหล นึกเดาเอาเอง โดยไม่มีรากฐานจากข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า จะคาดการณ์สถานการณ์ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ ที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในบทความนี้ จะขอลองคาดการณ์จากข้อมูลที่เป็นจริงและขอนำเสนอว่า ปีนี้จะเป็นแห่งการรุกของฝ่ายประชาธิปไตย

การคาดการณ์นี้ มาจากข้อสรุปอย่างกว้างว่า ความหมายของ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ คือ ปีแห่งการต่อสู้ของประชาชนคนเสื้อแดง ปี พ.ศ.๒๕๕๔ คือ ปีแห่งการฟื้นตัวของขบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนกรกฎาคม ถือว่ามีความหมายสำคัญในทางประวัติศาสตร์อย่างมาก

ทั้งนี้คงต้องขยายความให้ชัดเจนมากขึ้นว่า สถานการณ์ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ที่มีการโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา คือ สถานการณ์แห่งความขัดแย้งระหว่างพลังฝ่ายอำมาตยาธิปไตย และพลังฝ่ายประชาธิปไตยของประชาชน ในระยะแรก ฝ่ายอำมาตย์มีความได้เปรียบ เพราะเป็นฝ่ายควบคุบกำลังทหาร ควบคุมกลไกรัฐ กลไกศาล และครอบงำความคิดด้วยสื่อมวลชนกระแสหลัก  ฝ่ายอำมาตย์ได้ตั้งรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ มาควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่แรก โดยไม่คำนึงถืงเจตนารมย์ของประชาชนส่วนข้างมาก และวาดภาพผีทักษิณขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ฝ่ายตน ต่อมา เมื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง ประชาชนก็ได้แสดงเจตนารมย์ชัดเจน โดยการเลือกพรรคพลังประชาชน ที่ได้รับการสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาบริหารประเทศ ฝ่ายอำมาตย์ไม่พอใจ จึงโอบอุ้มเอาพรรคประชาธิปัตย์ที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง มาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ประชาชนจำนวนมากจึงได้รวมตัวกันเป็นขบวนการคนเสื้อแดง ภายใต้การนำของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.) และต่อสู้คัดค้านตลอดมา ฝ่ายอำมาตย์ตอบโต้โดยการใช้กำลังทหารเข้ากวาดล้าง และจับกุมคุมขังทั้งด้วยข้อหาก่อการร้าย ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ และ ข้อหาอืนๆ รวมทั้งใช้สื่อกระแสหลักโจมตีทำลายภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดง ให้เป็นพวกเผาบ้านเมือง แต่ก็ไม่ประสบผล เพราะเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ประชาชนก็เลือกพรรคเพื่อไทยอย่างท่วมท้น ฝ่ายอำมาตย์ต้องถอยทางยุทธศาสตร์อีกครั้ง โดยยอมให้พรรคพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ

แต่กระนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงอยู่ ฝ่ายอำมาตย์ก็ยังคงมีมหิธานุภาพ โดยเฉพาะยังคงควบคุมกองทัพแห่งชาติ โดยอาศัย พรบ.กลาโหม ที่ออกในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนนท์ เป็นเกราะป้องกัน ไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้าไปจัดดำเนินการ นอกจากนี้ก็ยังควบคุมอำนาจตุลาการ และรองรับความชอบธรรมด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่เปิดทางให้ฝ่ายตุลาการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้อย่างเปิดเผย และ ยังใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๒ ข่มขู่คุกคามประชาชนไม่ให้มีความเห็นต่างจากพวกอำมาตย์ และฝ่ายอำมาตย์ยังคงควบคุมกำหนดกรอบสำหรับสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่มอมเมาประชาชนและปกป้องพวกอำมาตย์ ดังนั้น ชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยจึงเป็นเพียงจังหวะก้าวแรก จะต้องมีการรุกทำให้ในขั้นตอนต่อไป จึงจะทำให้สังคมไทยบรรลุเป้าหมายประชาธิปไตยที่แท้จริงได้

ในยุทธศาสตร์ระยะยาวของการต่อสู้ เป็นที่แน่นอนว่า พลังฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องชนะอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุผลประการแรกคือ ประชาธิปไตยเป็นกระแสการเมืองของโลกนานาชาติ ประเทศสำคัญในโลกต่างก็สนับสนุนแนวทางประชาธิปไตยทั้งสิ้น ไม่มีประเทศใดเลยที่อำมาตยาธิปไตยได้รับชัยชนะ ประการที่สอง ประชาชนไทยมีความตื่นตัวมากขึ้น ปรากฏการณ์ตาสว่างขยายตัว ผู้คนเห็นธาตุแท้อันหลอกลวงของฝ่ายอำมาตย์มากขึ้น ประการที่สาม ระบอบศักดินานั้น เป็นยาหมดอายุ ย่อมพ่ายแพ้ต่อกาลเวลา

คำถามสำคัญในขณะนี้ คือ พลังฝ่ายประชาธิปไตยจะทำการรุกอย่างไร จึงจะทำให้สถานการณ์พัฒนาไปในทางที่เป็นคุณแก่ขบวนการประชาชน

ในขณะนี้ เราก็จะเห็นได้แล้วว่า ใน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้จะมีประเด็นหลักที่นำไปสู่การต่อสู้ทางความคิดและทางการเมืองอย่างแหลมคมอย่างน้อย ๒ เรื่อง คือ เรื่องแรก กระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้เขี่ยลูกแล้ว โดยพรรคเพื่อไทย แนวทางการแก้ไขที่เป็นไปได้ในขณะนี้ คือ การตั้งสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นมารับหน้าที่ เป้าหมายเฉพาะหน้า คือ ต้องผลักดันการตั้ง สสร.ที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ให้ประชาชนเป็นผู้เสือกสมาชิก สสร.ทางตรง และถ้าหากว่า จะต้องมีนักกฏหมายหรือนักวิชาการเข้าร่วม ก็จะต้องไม่เป็นเนติบริกรที่เคยรับใช้รัฐประหาร เช่น การกำหนดคุณสมบัติว่า ผู้ที่เคยเข้าร่วมในรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และ สภาร่างรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ไม่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิก เป็นต้น นอกจากนี้ คงต้องถกเถียงในเชิงข้อเสนอ เช่น เรื่องการยกเลิกวุฒิสมาชิกลากตั้ง การนำอำนาจตุลาการกลับคอกศาล การเพิ่มอำนาจรัฐสภา และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การยกเลิกองคมนตรี เป็นต้น

แต่ประเด็นที่แหลมคมยิ่งกว่านั้น คือ กระแสการรณรงค์เรื่องการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ เพราะในหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นแล้วว่า ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้กลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายอำมาตย์ในการใส่ร้ายป้ายสี จับกุมคุมขังประชาชน และทำลายปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตย และการดำเนินคดีเหล่านี้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกระบวนการศาล การคัดค้านการใช้มาตรา ๑๑๒ จึงกลายเป็นกระแสใหญ่  และใน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ จะเป็นกระแสใหญ่มากขึ้น ชวนผู้คน รวมทั้งปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมออกมาถกเถียง อันจะเป็นการขยายความรู้เชิงวิพากษ์แก่สังคมมากยิ่งขึ้น

ในการณรงค์ประเด็นเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า บทบาทการเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของ นปช.จะลดลง ตราบเท่าที่ นปช.ไม่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขมาตรา ๑๑๒ พลังของฝ่ายปัญญาชนที่ก้าวหน้า ที่มีกลุ่มนิติราษฎร์เป็นแกนกลาง จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพราะข้อเสนอของฝ่ายนิติราษฎร์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลบล้างผลพวงรัฐประหาร และปฏิรูปมาตรา ๑๑๒ เป็นข้อเสนอที่ชัดเจนและเป็นธรรม กลุ่มประชาชนคนเสื้อแดงหลายกลุ่มจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวเช่นนี้

สำหรับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย การสนับสนุนและความนิยมอาจจะตกต่ำลงในกลุ่มคนเสื้อแดง ตราบเท่าที่ยังคงล่าช้าในการเยียวยาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ในกรณีเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และยังวางเฉยในการช่วยเหลือพี่น้องคนเสื้อแดง ที่ยังถูกดำเนินคดีและจำคุก เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรทำ นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และดำเนินโครงการตามที่สัญญาไว้กับประชาชน ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และควรที่จะออกกฏหมายนิรโทษกรรม นำพี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลจากกรณีการเมืองออกมาจากคุก โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ให้เข้าใจว่าคนเหล่านี้เสียสละและต่อสู้อย่างกล้าหาญ เพื่อทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ จึงสมควรที่จะได้รับการช่วยเหลือ

และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลเพื่อไทยอย่าไปตามรอยความผิดพลาดของรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่นการปราบปราบเข่นฆ่าประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน และไล่จับกุมประชาชนที่เห็นต่างตามอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นวิธีการอันไม่ศิวิไลซ์ และเป็นการทำลายฐานของฝ่ายตนเองอย่างโง่เขลา ประเทศไทยจะก้าวหน้าต่อไปในทางประชาธิปไตย ก็ต่อเมื่อไม่มีนักโทษการเมือง และไม่มีนักโทษทางความคิด

 ในลักษณะเช่นนี้ ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ประชาชนก็จะมีความสุขโดยทั่วกัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรายังจะจั​ดงานบอลฯกั​นอีกหรือ

Posted: 07 Jan 2012 01:26 AM PST

 

ในขณะที่เสรีภาพในการคิด ในการพูดและความยุติธรรมในสังคมล้มหายไปอย่างรวดเร็ว การปิดกั้นการแสดงออกและกระบวนการทำให้เชื่องผุดขึ้นในทุกๆตารางเมตร มหาวิทยาลัยที่เปรียบประดุจดั่งบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้มีคำขวัญจับใจว่า"เสรีภาพทุกตารางนิ้ว" และมหาวิทยาลัยคู่แข่งทางอุดมการณ์อย่างมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันยิ่งใหญ่ว่าเป็น"เสาหลักแห่งแผ่นดิน" กลับเร่งเร้าจัดงานเชื่อมสัมพันธ์กระชับไมตรีที่ดูเหมือนจะเป็นงานเหล่หญิงส่องหนุ่มอวดโอ้การเป็นมหาวิทยาลัยที่"เก่งกว่า"เป็นจุดประสงค์หลักมากกว่า อย่าง"งานฟุตบอลประเพณี" ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์อุทกภัยหรือเหตุการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงเพียงใด แต่งานก็ยังเลื่อนไปจัดในเดือนถัดๆมาอยู่ดี
 
เป็นเรื่องสมควรแล้วหรือที่เราจำเป็นต้องมีงานอย่างนี้ทุกๆปีไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ในขณะที่เสรีภาพแห่งปัญญาที่นิสิตนักศึกษาจำเป็นต้องแสวงหาถูกริดรอน ในขณะที่เสรีภาพแห่งการแสดงออกที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการศึกษาถูกปิดกั้น ทำไมเราถึงไม่รู้สึกร้อนหนาวแต่อย่างไร เรายังมุ่งมั่นซ้อมหลีดอันตระการตราที่ค่าชุดการแสดงสามารถนำไปช่วยผู้ยากไร้หรือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมได้ทั้งจังหวัด หรือทั้งที่เวลาในการมุ่งมั่นซ้อมสแตนด์เหน็บแนมมหาวิทยาลัยคู่ตรงข้าม และสร้างอัตลักษณ์ความภูมิใจแบบสถาบันนิยมสามารถนำไปใช้พัฒนาสังคมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมที่สังคมนี้พึงได้รับมากกว่า

การเสริมสร้างสถาบันนิยมของธรรมศาสตร์ที่ผูกติดกับอุดมการณ์ของอ.ปรีดี, คณะราษฎร, การต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา, เสรีภาพ ฯลฯ ไม่ได้ทำให้พวกเขาตระหนักเลยหรือว่า ในขณะนี้สิ่งที่พวกเขากำลังยึดโยงอยู่ ไม่ได้มีความหมายอีกแล้ว ในประเทศที่สังคมไม่มีความเท่าเทียมกัน ซ้ำยังจับคนที่มีอุดมการณ์แบบขบวนการนักศึกษา,แบบ อ.ปรีดี, ผู้ที่มีความคิดเสรีนิยม หรือกระทั่งประชาชนผู้ไม่มีทางสู้ เข้าคุกเพียงเพราะพวกเขามีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับอุดมการณ์ของรัฐ พวกเขาไม่เคยดูข่าวเลยหรือ หรือเขาพยายามปิดกั้นตัวเองออกจากโลกภายนอกและนอนกอดภาพการต่อสู้ทางอุดมการณ์ครั้งก่อนไว้อย่างเดียว
 
หรือแม้กระทั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันยิ่งใหญ่อย่าง"เสาหลักแห่งแผ่นดิน" และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งหรือสองของประเทศ ก็มิได้ตระหนักถึงการจัดงานที่"ไม่พอเพียง" เช่นนี้ หรือไม่ตระหนักว่าเสาหลักนี้ได้ปล่อยให้ประชาชนร่วงลงมาจากแผ่นดินด้วยการดีดของมือที่มองไม่เห็นมากมายเพียงใด  งานฟุตบอลประเพณีจึงป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างมากมายมหาศาล ทั้งยังส่งเสริมสถาบันนิยมที่นำไปสู่การใช้ระบบโซตัส การเชื่อฟังอย่างจำยอม นำไปสู่การใช้ระบบอำนาจนิยมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและการเพิกเฉยต่อปัญหา ในขณะที่พวกคุณกำลังสนุกสนานกับงานฟุตบอลประเพณี ยังมีคนอีกมากที่นั่งร้องไห้เพราะความอยุติธรรมในสังคมและความเดือดร้อนอย่างมาก

พวกเขาควรหวังกำลังหลักที่สำคัญเช่นนิสิตนักศึกษาอย่างพวกคุณไหม?

ขอส่งท้ายด้วยกลอนของสุจิตต์ วงษ์เทศ - กูเป็นนิสิตนักศึกษา สนพ.ประพันธ์สาส์น พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2529

กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไปงานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
พริ้งสง่างามผงาดเพียงราชสีห์
มันสมองของสยามธานี
ค่ำนี้กูจะนาบให้หนำใจ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เจ้าขี้ข้ารู้จักกูหรือไหม
หัวเข็มขัด กลัดกระดุม ปุ่มเน็คไทร์
หลีกไปหลีกไปอย่ากีดทาง
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มหาวิทยาลัยอันกว้างขวาง
ศึกษาสรรพรสมิเว้นวาง
เมืองกว้างช้างหลายสบายดี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เดินเหินดูสง่ามีราศี
ย่ำค่ำกูจะย่ำทั้งราตรี
กรุงศรีอยุธยามาราธอน
เฮ้ย กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มีสติปัญญาเยี่ยมสิงขร
ให้พระอินทร์เอาพระขรรค์มาบั่นรอน
อเมริกามาสอนกูเชี่ยวชาญ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
หรูหราแหลมหลักอัครฐาน
พรุ่งนี้ก็ต้องไปร่วมงาน
สังสรรค์ในระดับปริญญา
ได้โปรดฟังกูเถิดสักนิด
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เงียบโว้ย-ฟังกู--ปรัชญา
กูอยู่มหาวิทยาลัย...
...กูอยู่มหาวิทยาลัย
รู้ไหม เห็นไหม ดีไหม
อีกไม่นานเราก็ต่างจะตายไป
กอบโกยใส่ตัวเองเสียก่อนเอย.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สันต์ หัตถีรัตน์: “แพทย์-พยาบาลแนวใหม่”

Posted: 07 Jan 2012 01:19 AM PST

หลักการและเหตุผล

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา  แม้จะมีการผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่ประชาชนในชนบทและแม้แต่ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่อยู่ห่างไกลศูนย์ความเจริญ (ทางวัตถุ) ก็ยังขาดแคลนแพทย์และพยาบาลอย่างมาก

ประชาชนที่อยู่ในและใกล้ศูนย์ความเจริญ (ทางวัตถุ) ก็ขาดแคลนแพทย์ที่สามารถดูแลตนได้ทุกอวัยวะและทุกระบบแบบองค์รวม ซึ่งหมายถึงจิตใจและร่างกายทุกส่วนของตนที่มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชนของตน  นั่นคือ ขาดแคลนแพทย์ที่สามารถดูแลตนทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งครอบครัว และชุมชนในท้องถิ่นของตนด้วย

สาเหตุที่สำคัญของการขาดแคลนดังกล่าว คือ ระบบการเรียนการสอนแพทย์และพยาบาลในปัจจุบัน   ที่ใช้วิธีการสอบคัดเลือกความรู้เป็นสำคัญ  ทำให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นเด็กในกรุงและเมืองใหญ่ ที่มีโอกาสได้รับความรู้สำหรับการสอบมากกว่าเด็กในชนบท รวมทั้งการมีโอกาสกวดวิชา (“กวดข้อสอบ”) ได้ใกล้เคียงข้อสอบจริงมากกว่า เป็นต้น   เด็กเหล่านี้ย่อมไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตในชนบท  เมื่อจบแล้ว จึงไม่อยากออกไปทำงานในชนบท และถึงจะถูกบังคับให้ออกไปทำงานใช้ทุนในชนบท  ก็อยู่อย่างไม่มีความสุขเป็นส่วนใหญ่ และไม่ช้าไม่นาน  ก็จะกลับบ้านในกรุงในเมืองที่ตนคุ้นเคยมากกว่า เป็นต้น

นอกจากนั้น  ระบบการเรียนการสอนแพทย์และพยาบาลในปัจจุบัน  ยังมุ่งเน้นความรู้ด้านทฤษฎี โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ของโรคและการดูแลรักษา โดยลืมหรือไม่สนใจในด้านสังคมศาสตร์ (ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)  ด้านศิลปะศาสตร์ (วัฒนธรรม การพูดและการแสดงออก การปรับตัว การบริหารจัดการ ฯลฯ)  ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (การแพทย์พื้นบ้าน การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ฯลฯ) เป็นต้น   ทำให้เด็กที่จบแล้วรู้จักแต่ด้านวิทยาศาสตร์ของโรคและการดูแลรักษาโรค  โดยลืมมิติของ “คน” จึงรักษา “โรค”  มากกว่ารักษา “คน” และเกิดความขัดแย้งกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในท้องถิ่น

อนึ่ง  อาจารย์แพทย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด  เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะอวัยวะหรือระบบ ทำให้การเรียนการสอนและการเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์  ก่อให้เกิดทัศนะคติในการเป็นแพทย์เฉพาะอวัยวะหรือระบบให้แก่ศิษย์  ทำให้ศิษย์คุ้นเคยกับการดูแลเฉพาะอวัยวะหรือระบบ  นั่นคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบแยกเป็นส่วนๆ (ส่วนของใครของมัน!) ไม่เกี่ยวข้องกัน  ไม่ก้าวก่ายกัน  ไม่ร่วมปรึกษาหารือกันเพื่อให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมได้   ซึ่งนอกจากจะเกิดอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยแล้ว   ยังทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนต้องไปรักษากับแพทย์หลายคน  เสียเวลาในการเดินทางและการรอพบแพทย์  แล้วยังเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

ถ้าแพทย์แต่ละคนสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนเดียว  การผลิตแพทย์แบบนี้จะยิ่งทำให้ขาดแคลนแพทย์ เพิ่มขึ้นๆ อย่างรวดเร็ว  และผู้ป่วยจะต้องเสียเงิน เสียเวลา และเจ็บตัว (เกิดภาวะแทรกซ้อน) เพิ่มขึ้น ตามคำพังเพยว่า  “มากหมอมากความ”  นั่นเอง

จึงจำเป็นที่จะต้องมีการผลิต  “แพทย์-พยาบาลแนวใหม่”   ที่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม (ซึ่งรวมถึงครอบครัว และชุมชนด้วย) อย่างมีความสุขในท้องถิ่นที่ตนคุ้นเคย  และได้รับการคุ้มครองดูแลโดยประชาชนในท้องถิ่นนั้น

วัตถุประสงค์  เพื่อให้

1. ประชาชนในท้องถิ่นที่ต้องการแพทย์และพยาบาล  มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิต “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เพื่อให้ได้แพทย์และพยาบาลแบบที่ตนต้องการ

2. “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  สามารถปฏิบัติงานในท้องถิ่นที่ขาดแคลนได้อย่างมีความสุขและความผูกพันกับท้องถิ่นที่ตนปฏิบัติงานอยู่

3. การผลิต “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เป็นต้นแบบสำหรับการปฏิรูประบบการศึกษาอื่นๆ ให้ผลผลิตของระบบการศึกษามีความสุขและความผูกพันกับท้องถิ่นและสังคม  มีความใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง  และสามารถประยุกต์วิทยาการต่างๆ มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลสำหรับท้องถิ่นและสังคมของตนแม้จะมีทรัพยากรต่างๆอย่างจำกัดได้

ปัจจัยที่จะนำไปสู่การริเริ่มการผลิตแพทย์และพยาบาลแนวใหม่

1. การรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักว่า  การขาดแคลนแพทย์และพยาบาลในท้องถิ่นของตน  ไม่ได้เป็นความผิดของตน  และไม่ได้เป็น  “กรรมเก่า”  ของตนที่ตนต้องเกิดมาในท้องถิ่นนั้นๆ  แต่เป็นเพราะนโยบายของผู้บริหารประเทศและผู้บริหารระบบการเรียนการสอนแพทย์และพยาบาล ที่ทำให้แพทย์และพยาบาลที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดไม่อาจปฏิบัติงานในท้องถิ่นที่ไม่คุ้นเคยได้อย่างมีความสุข  และการรวมศูนย์การผลิตแพทย์และพยาบาลไว้ในกรุงเทพมหานคร  และในเมืองใหญ่ๆ  ตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่ถูกต้อง  ที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจ/การพาณิชย์และการเชี่ยวชาญเฉพาะอวัยวะหรือระบบมากกว่าการดูแลผู้ป่วยและประชาชนแบบองค์รวม เป็นต้น

2. ประชาชนที่ต้องการแพทย์และพยาบาล  จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันตัวแทนของตน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)  สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  สมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นต่างๆ  รัฐบาล  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ  ให้ตระหนักว่า  ตนต้องการแพทย์และพยาบาล  ที่สามารถดูแลตนแบบองค์รวมได้ในท้องถิ่นของตนอย่างมีความสุข  และไม่ต้องการแพทย์และพยาบาลที่ถูกบีบบังคับให้ออกไป (ใช้ทุน) ดูแลตนอย่างไม่มีความสุข  ซึ่งอยู่ได้ไม่นานก็จากไป และต้องมาเริ่มต้นกันใหม่

3. หากมีการต่อต้าน/คัดค้านการผลิต  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  โดยแพทยสภา  สภาพยาบาล  และ/หรือสถาบันการศึกษาปัจจุบัน  รัฐบาลและรัฐสภาควรจะพิจารณาตราพระราชบัญญัติการศึกษาวิชาชีพแนวใหม่  เป็นทางเลือกต่างหากจากหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน  โดยใช้โครงการการผลิต “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เป็นโครงการนำร่อง  เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาในวิชาชีพอื่นๆต่อไป  ในทำนองเดียวกันกับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้ประชาชนกว่า 40 ล้านคนมีโอกาสได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

หลักสูตรแพทย์-พยาบาลแนวใหม่

1. หลักการ

1.1 ประชาชนมีส่วนร่วม

1.2 การคัดเลือกและการเรียนการฝึก  ดำเนินการในท้องถิ่น

1.3 การเรียนส่วนใหญ่เป็น  การเรียนโดยปฏิบัติ (สิกขา หรือ on-the-job training) ร่วมกับครูผู้สอน/ผู้ฝึก  และเป็นการเรียนด้วยตนเอง  โดยค้นคว้าจากตำรา หนังสือ และ/หรืออินเตอร์เน็ต ตามปัญหาที่ตนสนใจหรือพบเห็นจากผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม  แล้วนำมาเสวนาร่วมกับครูและผู้เรียนอื่นๆ

1.4 ห้องเรียน  คือ  ท้องถิ่น  ชุมชน  และสังคมที่ตนเกี่ยวข้อง  รวมทั้งสถานพยาบาลในระดับต่างๆ รวมทั้งสถานพยาบาลพื้นบ้าน

1.5 การได้รับค่าครองชีพ  ค่าเล่าเรียน  และผลตอบแทนการปฏิบัติงานในขณะเล่าเรียน  ตามความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ  “บันไดวิชาชีพ”  เช่น  จากผู้ต้อนรับผู้ป่วยและญาติ  เป็นผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยและญาติ  เป็นผู้ช่วยพยาบาล เป็นพยาบาล เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ เป็นแพทย์  โดยการเลื่อนลำดับแต่ละขั้นขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ (ไม่ขึ้นกับกำหนดเวลาตายตัว  ผิดกับการเรียนทั่วไป  ที่ใช้จำนวนเดือนจำนวนปี เป็นตัวกำหนดหลักสูตร)

2.  ผู้มีสิทธิเรียน

ผู้มีสิทธิเข้าเรียนหลักสูตรแพทย์-พยาบาลแนวใหม่  คือ  ประชาชนในท้องถิ่นที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จบมัธยมศึกษา  มีความรักในงานดูแลผู้ป่วย  และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการในท้องถิ่น

3.  การคัดเลือกผู้มีสิทธิเรียน

ผู้ที่รักงานดูแลผู้ป่วยและสนใจที่จะเรียนหลักสูตรแพทย์และพยาบาลแนวใหม่  ให้แจ้งพ่อแม่/ผู้ปกครอง  ซึ่งจะแจ้งต่อไปยังคณะกรรมการท้องถิ่นสำหรับหลักสูตรแพทย์และพยาบาลแนวใหม่ (คณะกรรมการฯ)

คณะกรรมการฯ  ควรประกอบด้วย ผู้นำชาวบ้าน (พระ ครู ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และอื่นๆ ที่ชาวบ้านศรัทธา) ร่วมกับแพทย์และพยาบาลในสถานพยาบาลในท้องถิ่นนั้น     ที่คิดว่าตนจะสามารถดูแลสั่งสอน “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่” ได้ เป็นต้น

คณะกรรมการฯ  จะคัดเลือกและจัดให้ผู้สมัครเหล่านั้น  ได้ลองไปฝึกปฏิบัติงานต้อนรับผู้ป่วยและญาติตามสถานพยาบาลในท้องถิ่นของตนในช่วงที่ผู้สมัครว่าง  เช่น  ในวันหยุดราชการ  ในช่วงปิดภาคเรียนเป็นต้น   เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน (ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน) โดย พ่อแม่/ผู้ปกครอง/คณะกรรมการฯ   สนับสนุนค่าเดินทางและค่าอาหารให้แก่ผู้สมัคร

หลังเสร็จสิ้นการลองปฏิบัติงานต้อนรับผู้ป่วย  และผู้ป่วยจบมัธยมศึกษาแล้ว  คณะกรรมการฯ จะร่วมประชุมกันคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือเพียงจำนวนหนึ่ง (2-5 คน) ขึ้นอยู่กับความสามารถของแพทย์และพยาบาลในสถานพยาบาลในท้องถิ่นนั้นที่จะรับดูแลและสั่งสอนผู้เรียนเหล่านั้นได้  และขึ้นกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง  และคณะกรรมการฯ ที่จะสามารถหาทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน  และการดำรงอยู่ของผู้เรียนในขณะเล่าเรียน

4.  สถานที่เรียนและปฏิบัติงาน

4.1 สถานพยาบาลระดับต่างๆ ในท้องถิ่น  โดยเฉพาะสถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (ตำบล)  โรงพยาบาลชุมชน (อำเภอ)  และโรงพยาบาลทั่วไป (จังหวัด)  ที่มีแพทย์และพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่เต็มใจและยินดีจะดูแลและฝึกอบรม  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”

4.2 หน่วยรักษาพยาบาลพื้นบ้าน  เช่น  ในวัด  บ้าน/สำนักงานของหมอพื้นบ้าน  เป็นต้น

4.3 บ้านของผู้ป่วย และสถานสงเคราะห์ต่างๆ สำหรับเด็ก  คนชรา  คนพิการ  และผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น

4.4 สถานพยาบาลในระดับอื่นๆ  เพื่อให้นักเรียนได้ดูงานตามความเหมาะสม

5. การเรียนและการประเมิน

หลังได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เรียน (นักสิกขา หรือ ผู้ปฏิบัติ) แล้ว

5.1 ในระยะแรก นักสิกขาจะได้รับมอบหมายให้ฝึกปฏิบัติหน้าที่ต้อนรับผู้ป่วยในสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านของตน  เช่น  การแนะนำตนเองต่อผู้ป่วยและญาติ  การทำบัตรผู้ป่วยให้  การนำผู้ป่วย/ญาติไปนั่งพัก/รอในสถานที่ที่เหมาะสม  การนำผู้ป่วย/ญาติไปห้องสุขาหรือที่อื่นในสถานพยาบาลที่ผู้ป่วย/ญาติสามารถเข้าไปได้  การพูดคุยกับผู้ป่วย/ญาติ  เพื่อให้คลายเครียดคลายกังวลขณะรอพบแพทย์และพยาบาล  เป็นต้น

ในช่วงเวลาที่ว่างจากการต้อนรับผู้ป่วย  นักสิกขาจะต้องจดบันทึกสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ  และวิเคราะห์ว่าตนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการได้ต้อนรับผู้ป่วย/ญาติแต่ละคน  มีจุดแข็ง-จุดอ่อนอะไรบ้างที่ตนคิดได้  และควรจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร  เมื่อครูผู้ดูแลว่างในช่วงบ่าย/เย็นพร้อมกันแล้ว  จะได้นำสิ่งที่ตนบันทึกไว้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและนักสิกขาคนอื่น (ถ้ามีนักสิกขาในสถานพยาบาลนั้นเกิน 1 คน) แล้วครูจะมอบหมายให้นักสิกขาไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในปัญหา/หัวข้อที่ได้จากการเสวนา  โดยศึกษาจากตำรา หนังสือ  และ/หรืออินเตอร์เน็ต  เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันใหม่ในเย็นวันรุ่งขึ้น

หลังฝึกปฏิบัติงานเช่นนี้ประมาณ 1-2 เดือน   ครูผู้ดูแลอาจจะประเมินได้ว่า นักสิกขาที่ตนดูแลอยู่มีความรู้ความสามารถและเจตคติที่จะไต่อันดับสู่ระยะที่สองได้หรือไม่  ถ้าไม่แน่ใจหรือคิดว่านักสิกขาคนนั้นอาจจะปรับตน/ปฏิบัติตนได้ดีกว่าในสถานพยาบาลอื่น  ก็อาจพิจารณาส่งไปฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง  หากครูผู้ดูแลทั้ง 2 แห่ง หรือ 3 แห่ง  เห็นพ้องต้องกันว่า  นักสิกขาผู้นั้นไม่มีเจตคติที่ดีพอสำหรับการดูแลผู้ป่วย  และ/หรือ  ไม่สามารถเรียนรู้และปฏิบัติการต้อนรับผู้ป่วยได้ดีพอหลังจากฝึกปฏิบัติมา 4-6 เดือนแล้ว  ก็อาจพิจารณาให้พ้นจากการเป็นนักสิกขาได้

สำหรับผู้ที่มีเจตคติดี มีความใฝ่รู้ และสามารถเรียนรู้ได้ดี และมีทักษะในการต้อนรับผู้ป่วยเป็นอย่างดี ก็จะได้รับการเลื่อนอันดับให้ขึ้นสิกขาในระยะที่สอง

5.2 ในระยะที่สอง  นักสิกขาจะได้ปฏิบัติในการช่วยดูแลผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาล เช่น  การทำ/ป้อนอาหาร  การดูแลความสะอาดเตียงและร่างกายผู้ป่วย  การพูดคุย  การช่วยเคลื่อนไหวร่างกายและส่วนต่างๆ ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต  การบีบนวดแบบเบาๆ  การวัดไข้  การหายใจ ชีพจร  และความดันเลือด  การตวงวัดปริมาณน้ำดื่มและปัสสาวะของผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลา  การระวังการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ  เป็นต้น

เช่นเดียวกับระยะแรก  นักสิกขาจะต้องบันทึกสิ่งที่ตนปฏิบัติ  และวิเคราะห์ประโยชน์ จุดแข็ง-จุดอ่อนในการปฏิบัติของตนสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้ดูแลและนักสิกขาอื่นในช่วงเวลาที่ว่างพร้อมกัน  แล้วครูผู้ดูแลจะมอบหมายให้นักสิกขาไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากตำรา หนังสือ  และ/หรืออินเตอร์เน็ต  เช่น  ไข้เกิดจากอะไร  การหายใจเกิดจากอะไร  ชีพจรเกิดจากอะไร  ความดันเลือดเกิดจากอะไร  แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวันต่อไป  เป็นต้น

ในระยะที่สองนี้  นักสิกขาจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตผู้ป่วยอย่างละเอียดจากการพูดคุยกับผู้ป่วย สาเหตุของการป่วยที่ผู้ป่วยเข้าใจ  (ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง  แต่จะได้รับการชี้แจงจากครูผู้ดูแลในระหว่างการเสวนา) กายวิภาคและสรีรวิทยาเบื้องต้นของอวัยวะต่างๆ  วิธีการดูแลผู้ป่วยทั่วไปให้เหมาะสมกับสภาพครอบครัว  เศรษฐฐานะ และสิ่งแวดล้อม   การปฐมพยาบาล  เป็นต้น   และเรียนรู้ที่จะทำงานวิจัย  เช่น  ประชาชนในชุมชนของตนมีปัญหาอะไรบ้าง  สาเหตุของปัญหา  สาเหตุของการเจ็บป่วย  เป็นต้น

หลังฝึกปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 2-4 เดือน  ครูผู้ดูแลจากสถานพยาบาล 2-3 แห่ง อาจจะประเมินได้ว่า  นักสิกขามีเจตคติและความรู้ความสามารถที่จะไต่อันดับสู่ระยะที่สามได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้  ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยต่อไป  จนกว่าจะผ่านการประเมินให้ขึ้นสู่ระยะที่สามได้  การฝึกปฏิบัติในฐานะนักสิกขา จะได้รับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการฯ และสถานพยาบาลที่ได้ประโยชน์จากแรงงานของนักสิกขานั้น  ยกเว้นในกรณีที่ครูผู้ดูแลเห็นว่า นักสิกขาผู้นั้นกระทำในสิ่งที่ผิดจริยธรรม และ/หรือ กฎระเบียบอย่างรุนแรง  ก็อาจพิจารณาให้พ้นจากสภาพนักสิกขาได้

5.3 ในระยะที่สาม  นักสิกขาจะได้ฝึกปฏิบัติเป็นผู้ช่วยพยาบาล เช่น การทำ/ให้อาหารทางท่อจมูก-กระเพาะ  การใส่ท่อจมูก-กระเพาะ  การสวนปัสสาวะ/อุจจาระ  การทำแผล  การให้ออกซิเจน  การดูแลผู้ป่วยในรายละเอียดที่สูงขึ้นกว่าในระยะที่สอง  เป็นต้น

เช่นเดียวกับระยะก่อนๆ  นักสิกขาจะต้องบันทึกสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ และวิเคราะห์ประโยชน์          จุดแข็ง-จุดอ่อนในการปฏิบัติของตนสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้ดูแลและนักสิกขาอื่นในช่วงที่ว่างพร้อมกัน ฯลฯ

ในระยะที่สามนี้   นักสิกขาจะได้เรียนรู้กายวิภาค  และสรีรวิทยาของคนเพิ่มขึ้น  ได้เรียนรู้พยาธิวิทยาและโรคง่ายๆ ที่พบบ่อย  พร้อมกับการดูแลผู้ป่วยในโรคต่างๆ  การปฐมพยาบาลในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งการคลอดฉุกเฉิน  การกู้ชีพขั้นต้น  การติดตามครูผู้ดูแลออกไปดูผู้ป่วยที่บ้าน และจุดเกิดเหตุ       การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น  และการทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย หรืออื่นๆ

หลังฝึกปฏิบัติงานเช่นนี้ประมาณ 4-6 เดือน  ครูผู้ดูแลจากสถานพยาบาล 2-3 แห่ง อาจจะประเมินได้ว่า  นักสิกขามีเจตคติและความรู้ความสามารถที่จะไต่อันดับสู่ระยะที่สี่ได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้  ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยพยาบาลต่อไป จนกว่าจะผ่านการประเมินให้ขึ้นสู่ระยะที่สี่ได้  โดยจะได้รับเงินอุดหนุนในการปฏิบัติงานสูงขึ้นกว่าระดับก่อน

5.4  ในระยะที่สี่  นักสิกขาจะได้ฝึกปฏิบัติเป็นพยาบาล  ตามกำหนดหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพทั่วไป  โดยเริ่มจากงานพยาบาลง่ายๆ ก่อน และค่อยๆ  ให้ยากขึ้นๆ  ตามลำดับ

เช่นเดียวกับระยะก่อนๆ นักสิกขาจะต้องบันทึกสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ  และวิเคราะห์ประโยชน์         จุดแข็ง-จุดอ่อนในการปฏิบัติของตน   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้ดูแลและนักสิกขาอื่นในช่วงที่ว่างพร้อมกัน ฯลฯ

ในระยะที่สี่นี้  นักสิกขาจะได้เรียนรู้กายวิภาคและสรีรวิทยาของคนเพิ่มขึ้น  ได้เรียนรู้พยาธิวิทยาและโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น  รวมทั้งการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะต่างๆ ที่พบบ่อยในท้องถิ่น  การปฐมพยาบาลในระดับสูง  การคลอดทารกท่าก้นหรือท่าผิดปกติอื่นที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้โดยไม่ต้องผ่าคลอด  การกู้ชีพขั้นสูง  การให้ยา  การฉีดยา  การใช้อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ ทางการรักษาพยาบาล  การบริหารจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล  การแนะนำ  การฝึกอบรมและการรณรงค์ให้ผู้ป่วยและประชาชนรู้จักวิธีป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ การดูแลผู้ป่วยแบบพื้นบ้าน เป็นต้น  และการทำงานวิจัยในระดับที่สูงขึ้น  หรือการสร้างนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

หลังฝึกปฏิบัติงานเช่นนี้ประมาณ  2-3 ปี  ครูผู้ดูแลจากสถานพยาบาล 3-4 แห่ง  อาจจะประเมินได้ว่า  นักสิกขามีเจตคติและความรู้ความสามารถที่จะไต่อันดับสู่ระยะที่ห้าได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้  ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลต่อไป จนกว่าจะผ่านการประเมินให้ขึ้นสู่ระยะที่ห้าได้  โดยจะได้รับเงินอุดหนุนในการปฏิบัติงานสูงขึ้นกว่าระดับก่อน

5.5  ในระยะที่ห้า  นักสิกขาจะได้ฝึกปฏิบัติเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ  ตามกำหนดหน้าที่ของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป  โดยเริ่มจากงานดูแลรักษาโรคง่ายๆ ก่อน  แล้วค่อยๆ ให้ยากขึ้นๆ ตามลำดับ

เช่นเดียวกับระยะก่อนๆ นักสิกขาจะต้องบันทึกสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ และวิเคราะห์ประโยชน์         จุดแข็ง-จุดอ่อนในการปฏิบัติของตน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้ดูแลและนักสิกขาอื่นในช่วงที่ว่างพร้อมกัน ฯลฯ

ในระยะที่ห้านี้  นักสิกขาจะได้เรียนรู้โรคต่างๆ  เพิ่มขึ้น  รวมทั้งการดูแลรักษาโรคเหล่านั้น      การเย็บแผล การผ่าฝี  การถอดเล็บ  การเข้าเฝือก  และหัตถการอื่นๆ ที่ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่  และสามารถทำแทนแพทย์ได้ เมื่อแพทย์ไม่อยู่ และผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉินหรือจำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการนั้น         การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน (การนวด สมุนไพร) ฯลฯ  และการทำงานวิจัยหรือการสร้างนวัตกรรมในการรักษาพยาบาล เป็นต้น

หลังฝึกปฏิบัติงานเช่นนี้ประมาณ 4-12 เดือน  ครูผู้ดูแลจากสถานพยาบาลประมาณ 3-4 แห่ง  อาจจะประเมินได้ว่า  นักสิกขามีเจตคติและความรู้ความสามารถที่จะไต่อันดับสู่ระยะที่หกได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้  ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติต่อไป  จนกว่าจะผ่านการประเมินให้ขึ้นสู่ระยะที่หกได้  โดยจะได้รับเงินอุดหนุนการปฏิบัติงานสูงขึ้นกว่าระดับก่อน

อนึ่ง  นักสิกขาในระดับนี้  อาจจะต่อยอดเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน  พยาบาลดมยา  พยาบาลผ่าตัด และอื่นๆ  ตามความชอบของตน และตามความต้องการของท้องถิ่นได้

5.6  ในระยะที่หก  นักสิกขาจะได้ฝึกปฏิบัติเป็นแพทย์  ตามกำหนดหน้าที่ของแพทย์ทั่วไป  โดยเริ่มจากงานดูแลรักษาและผ่าตัดโรคง่ายๆ ก่อน  แล้วค่อยๆ ให้ยากขึ้นๆ ตามลำดับ

เช่นเดียวกับระยะก่อนๆ นักสิกขาจะต้องบันทึกสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติ และวิเคราะห์ประโยชน์         จุดแข็ง-จุดอ่อนในการปฏิบัติของตน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้ดูแลและนักสิกขาอื่นในช่วงที่ว่างพร้อมกัน ฯลฯ

ในระยะที่หกนี้  นักสิกขาจะได้เรียนรู้รายละเอียดของโรคต่างๆ รวมทั้งวิธีการรักษาเพิ่มขึ้น  การผ่าตัดทั่วไป  การบริหารจัดการและการประสานงาน  การแนะนำ  การฝึกอบรม  และการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ  การออกหน่วยเคลื่อนที่ไปช่วยเหลือผู้ป่วยและประชาชนในถิ่นทุรกันดาร  การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน (การนวด สมุนไพร) ฯลฯ  และการวิจัยหรือการสร้างนวัตกรรม  เป็นต้น

หลังจากฝึกปฏิบัติงานเช่นนี้ประมาณ 2-3 ปี ครูผู้ดูแลจากสถานพยาบาล 3-4 แห่ง อาจจะประเมินได้ว่า  นักสิกขามีเจตคติและความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะจบออกไปเป็นแพทย์ได้หรือไม่

ถ้าไม่ได้  ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติต่อไป  หรือถ้ามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นแพทย์ให้ได้  ก็ให้ฝึกปฏิบัติงานแพทย์ต่อจนกว่าจะสามารถผ่านการประเมินได้

สำหรับผู้ที่จบเป็นแพทย์แล้ว  อาจไปต่อยอดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ  ต่อไปได้    ตามความชอบของตนและตามความต้องการของท้องถิ่น

หมายเหตุ :  ถ้าแพทยสภา  และสภาพยาบาล  ยินยอมให้  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เข้าสอบเพื่อเอาใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา และใบประกอบวิชาชีพพยาบาลจากสภาพยาบาลได้  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  ย่อมยินดีที่จะเข้าสอบตามที่แพทยสภาและสภาพยาบาลใช้สอบแพทย์และพยาบาลตามหลักสูตรเดิม เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมากขึ้น

แต่ถ้าแพทยสภาและสภาพยาบาล  ไม่ยินยอม  รัฐบาลและรัฐสภาก็จำเป็นจะต้องออกกฎหมายรับรองวิชาชีพ  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นที่ขาดแคลนแพทย์และพยาบาล  สามารถมีแพทย์และพยาบาลที่สมบูรณ์แบบ  เพื่อดูแลรักษาประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน         ตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้น

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1. ประชาชนในท้องถิ่นที่ขาดแคลนแพทย์และพยาบาล  จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตแพทย์และพยาบาลตามความต้องการของตน 

2. จำนวนแพทย์และพยาบาลในท้องถิ่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   โดยรัฐบาล (ส่วนกลาง)      จะเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตน้อยมาก (น้อยกว่าการผลิตแบบปัจจุบันหลายสิบเท่า)  เพราะใช้ทรัพยากรตามที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน

3. ชนิดของแพทย์และพยาบาลที่ผลิตได้  จะเป็น “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  ที่สามารถรักษาผู้ป่วยและประชาชนแบบองค์รวม  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข  เพราะมีความผูกพันและได้รับการอุ้มชูดูแลจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น

4. การเรียนด้วยการฝึกปฏิบัติและการเรียนเอง  จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วย  และมีความสามารถในการเรียนรู้และการใฝ่รู้ที่จะเรียนเองได้จากผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ตำรา หนังสือ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

5. ผู้เรียนได้รับการอุดหนุนค่าเล่าเรียน ค่าดำรงชีวิตจากการปฏิบัติงานไปพร้อมกับการเรียน  และการอุ้มชูดูแลอื่นๆ จากประชาชนในท้องถิ่น  ร่วมกับการมี  “บันไดวิชาชีพ”  เพื่อความก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ  ตามศักยภาพของตนได้

6. การผลิต  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  จะเป็นต้นแบบสำหรับการปฏิรูปการศึกษาในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ได้  และเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น

7. ความรักและความผูกพันระหว่าง  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  กับประชาชนในท้องถิ่นที่อุ้มชูดูแลตนมาโดยตลอด จะลดความขัดแย้งระหว่าง แพทย์-พยาบาล กับ ผู้ป่วยและครอบครัวลงได้อย่างมาก  และทำให้เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของแพทย์และพยาบาลดีขึ้น

8. “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  จะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิม แห่งการพึ่งพาอาศัยกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดูแลกันเองได้  และมีน้ำใจไมตรีต่อกัน  จะได้บรรเทาลัทธิ  “ตัวใครตัวมัน”  และ  “มือใครยาวสาวได้สาวเอา”   ของวัฒนธรรมตะวันตกและ  “คนกรุงคนเมือง”  ลงได้ไม่มากก็น้อยในอนาคต

สรุป

ประชาชนในท้องถิ่นที่ขาดแคลนแพทย์และพยาบาล ผู้สามารถดูแลรักษาตนทั้งจิตใจและร่างกายทุกส่วนทุกระบบแบบองค์รวม  ต้องร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันรัฐบาลและผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งอนุมัติการผลิต  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันและความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนผู้มีความต้องการเช่นนั้น  ซึ่งอาจจะต้องการพระราชบัญญัติใหม่เพื่อลดแรงต่อต้านจากแพทยสภา  สภาพยาบาล  และสถาบันการศึกษาต่างๆ และเอื้ออำนวยให้  “แพทย์และพยาบาลแนวใหม่”  เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน  เพื่อให้การดูแลรักษา “คน” และ “สุขภาพ”  ของประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันได้ในอนาคตอันใกล้.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘พงศ์โพยม’เตือนอย่าหลงโมเดล ทิ้งโจทย์ 13 ข้อปฏิรูปชายแดนใต้

Posted: 07 Jan 2012 12:53 AM PST

วงอภิปรายทางเลือกปกครองชายแดนใต้ พงศ์โพยม วาศภูติ เตือนอย่ามัวหลงโมเดล แต่ให้เพิ่มอำนาจประชาชน ฝาก13ข้อกระจายอำนาจชายแดนใต้ โจทย์สำคัญดับไฟใต้ได้หรือไม่

เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 5 มกราคม 2555 มีการอภิปรายเรื่อง “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ : มุมมองที่หลากหลาย ในงานสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตคณะกรรมการปฏิรูป นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม คณะกรรมการประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองนายกนายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ร่วมอภิปราย

นายพงศ์โพยม อภิปรายว่า อย่าหลงกับรูปแบบการปกครองมากนัก แต่ต้องพยายามเอาอำนาจของรัฐมาให้กับภาคประชาชนในรูปขององค์กรปกครองท้องถิ่น แต่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่บวกกับภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชน โดยต้องสร้างกลไกลภาคประชาชนมาถ่วงดุลกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมา

“แนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เลือกได้ 2 แบบ คือ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการขออำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น หรือแบบก้าวกระโดดอย่างที่พวกเรากำลังจะทำกันอยู่นี้ ผมชอบคำว่าจังหวัดจัดการตนเองเพราะดูดีและรัฐคงจะปฏิเสธยาก จะใช้คำว่า super ท้องถิ่น หรือท้องถิ่นรูปแบบพิเศษก็แล้วแต่ แต่พยายามหลีกเลี่ยงคำว่าเขตปกครองตนเอง เพราะล่อแหลมหรือมีความหวาดระแวงของฝ่ายอื่นอยู่”นายพงศ์โพยม กล่าว

นายพงศ์โพยม กล่าวว่า สิ่งที่ตนอยากเตือนในเรื่องการกำหนดรูปแบบการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 13 ข้อ ข้อแรก รูปแบบขององค์กร บทบาท อำนาจหน้าที่ ต้องชัดเจน เช่นจะทำเหมือนเชียงใหม่มหานครแล้วจะดูแลไหวหรือไม่

ข้อ 2การกำกับดูแลของส่วนกลางจะมีแน่นอน แต่จะยอมมากน้อยแค่ไหน ข้อ 3 การตรวจสอบจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต้องมี ข้อ 4 หน่วยงานส่วนกลางในพื้นที่ยังต้องมีอยู่ เพราะยังมีงานส่วนหนึ่งที่รัฐบาลยังสงวนไว้

นายพงศ์โพยม กล่าวว่า ข้อ 5 เป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องภาษี รายได้และรายจ่าย จะตกลงกันอย่างไรกับรัฐบาลกลาง ถ้าตกลงกันไม่ได้ รัฐบาลก็ไม่ให้แน่เก็บภาษีเองแน่

ข้อ 6 เรื่องงานบริหารบุคคล ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก 80% ของหน่วยงานที่มีอยู่ตอนนี้จะต้องมาอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่นี้ เพราะฉะนั้นงานบริหารงานบุคคลจะยุ่งยากมาก

“ข้อ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วจะเอาอย่างไร ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือยกระดับอบจ.ให้เป็น super อบจ. หรือจะเป็นเหมือนกรุงเทพมหานคร ผมก็ไม่สามารถวิจารณ์ได้” นายพงศ์โพยม กล่าว

นายพงศ์โพยม กล่าวว่า ข้อ 8 การปกครองท้องที่ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะคงไว้หรือยกเลิก ข้อ 9 กลไกการมีส่วนร่วม การตรวจสอบถ่วงดุลโดยภาคประชาชน จะยอมให้มีหรือไม่

นายพงศ์โพยม กล่าวว่า ข้อ 10 กรณีที่มีข้อขัดแย้งกับราชการ จะหาทางออกอย่างไร คณะกรรมการปฏิรูปเสนอให้มีศาลปกครองท้องถิ่น ในกรณีมีความขัดแย้งกันทางนโยบาย การแก้ปัญหาจะจบตรงไหน คณะกรรมการปฏิรูปเสนอให้มีคณะอนุญาโตตุลาการ ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ก็ไปที่ศาลปกครองท้องถิ่น แต่ถ้าผิดกฎหมาย ตำรวจก็ดำเนินคดีไปตามปกติ ข้อ 11 กรณีมีการร้องเรียน ร้องทุกข์เกี่ยวกับการบริหารงานท้องถิ่น ใครจะเป็นเจ้าภาพ จะอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนของรัฐบาลกลางที่ถูกส่งมาหรือไม่

นายพงศ์โพยม กล่าวว่า ข้อ 12 เป็นข้อที่สำคัญ คือ การใช้อำนาจบังคับ (Enforcement) ของโครงสร้างการปกครองใหม่ จะมีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนหรือไม่

“ข้อ 13 รูปแบบที่กำลังเสนออยู่นี้ ตอบโจทก์ของการแก้ปัญหาความไม่สงบได้หรือไม่ จะเป็นโจทย์แรกที่รัฐบาลจะถามว่า ความสงบจะเกิดขึ้นหรือไม่หากมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ขึ้นมาในพื้นที่ ท้ายที่สุดต้องมีการยกร่างกฎหมายขึ้นมาพร้อมกับคำตอบที่มีเหตุมีผล โดยมีข้อมูลสถิติ ตัวเลขสนับสนุน” นายพงศ์โพยม กล่าว

นายสวิง อภิปรายว่า ตนมี 5 ประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ ประเด็นแรก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐส่วนกลางกับองค์กรใหม่จะเป็นอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่า ถ้าจะจัดการตอนเองก็ไม่ควรจะมีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้ามากำกับดูแลอีกต่อไป หมายความว่าจะไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค แต่จะมีส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งอนารยะประเทศส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแล้ว

นายสวิง กล่าวว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นก็ต้องให้เป็นรัฐบาลท้องถิ่น เพราะสามารถออกข้อกำหนด ข้อบัญญัติต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศกฎหมายใดที่ขัดกับท้องถิ่น ให้ยึดถือท้องถิ่นเป็นหลัก ในญี่ปุ่น กำหนดให้ท้องถิ่นออกกฎหมายได้ แต่ห้ามต่ำกว่ามาตรฐานกลางที่รัฐบาลกลางตั้งไว้ เพราะงานต่างๆ รัฐบาลท้องถิ่นทำได้หมดแล้ว รัฐบาลส่วนกลางจะมาบ่ง บอก ชี้แนะ กำกับ ไม่ได้อีกแล้ว ทำได้เพียงแค่ชักชวน จูงใจ ร่วมมือและสนับสนุนเท่านั้น

“ต้องปรับโครงสร้างรัฐส่วนกลางให้เล็กลง และรับผิดชอบแค่ 3 เรื่อง คือ การต่างประเทศ การป้องกันประเทศและการเงินการคลัง อย่างอื่นมาไว้ที่ท้องถิ่นทั้งหมด เพราะทุกวันนี้ท้องถิ่นสามารถจัดการได้หมดแล้ว” นายสวิง กล่าว

นายสวิง กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2 ความสัมพันธ์ภายในจังหวัด โดยยุบผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วให้นายก อบจ.มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง

“ตอนนี้เราคุ้นชินกับคำว่ากับฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นต้องสร้างขาที่สามขึ้นมา ที่เชียงใหม่เรียกว่า สภาพลเมือง ทำหน้าที่ 3 เรื่อง คือ สร้างการมีส่วนร่วม วางแผนวิสัยทัศน์ และไต่สวนสาธารณะนักการเมือง” นายสวิง กล่าว

นายสวิง กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดกับท้องถิ่น จังหวัดไม่ได้เป็นหัวหน้าของเทศบาล แต่ทำหน้าที่จูงใจ สนับสนุน ไม่ใช่บังคับบัญชา ที่คิดอย่างนี้เพราะใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง คือ พื้นที่ใครคนนั้นดูแล เพื่อให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กสามารถที่จะจัดการตนเอง

“ที่เชียงใหม่กำหนดไว้ว่า งบประมาณ 100 % ต้องจัดให้ท้องถิ่น 70% คงไว้ที่ส่วนกลางของจังหวัดแค่ 30% พอ มิฉะนั้นงบประมาณก็จะกองอยู่ที่จังหวัด ดังนั้นต้องดันงบประมาณลงพื้นที่ให้หมด เพื่อให้พื้นที่จัดการตนเอง” นายสวิง กล่าว

นายสวิง กล่าวว่า ประเด็นที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นขนาดเล็ก ทุกวันนี้พอจะไปกันได้แล้ว เพราะมี 3 ขา คือ ท้องถิ่น ท้องที่ และสภาองค์กรชุมชน ทั้ง 3 ขานี้ต้องเข้มแข็ง ต้องทำให้ 3 ขานี้ร่วมมือกันจึงจะสามารถจัดการตนเองได้

นายสวิง กล่าวว่า ประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องภาษีหรือเงิน ทุกวันนี้ รัฐส่วนกลางเก็บภาษี 100% ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25% ทั่วโลกเปลี่ยนหมดแล้ว โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้เก็บภาษีแล้วส่งให้ส่วนกลาง ถ้าท้องถิ่นเป็นผู้เก็บภาษีหมายความว่า เก็บภาษีได้ 100% เก็บไว้ 70% แล้วส่งให้ส่วนกลาง 30% เพราะส่วนกลางดูแลแค่ 3 เรื่องเท่านั้น ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก งานทุกอย่างอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว

“ตอนนี้เชียงใหม่กับอีก 8 จังหวัดทางภาคเหนือกำลังเคลื่อนไหวในเรื่องจังหวัดจัดการตนเองนี้อยู่ โดยจังหวัดเชียงใหม่กำลังจะเสนอพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเองภายใน 3 – 4 เดือนข้างหน้านี้ เพราะได้ยกร่างกฎหมายเสร็จแล้ว หลังจากนั้นหลังเทศกาลสงกรานต์ก็จะเคลื่อนไหวใหญ่ในเรื่องนี้” นายสวิง กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวว่า โครงสร้างการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปไม่ได้ที่จะเหมือนกับการปกครองในภาคอื่นๆ เพราะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ถึง 80% เพราะฉะนั้นต้องมีรูปแบบที่เป้นของตัวเอง เพื่อให้สอดคลองกับสภาพของพื้นที่

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวว่า รูปแบบโครงสร้างการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานีมหานคร เกิดจากการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 2,000 คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 2 ล้านคน จึงยังเป็นเพียงความคิดเห็นของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ปัตตานีมหานครจึงยังไม่ใช่ข้อสรุปว่า โครงสร้างใหม่ในการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้รูปแบบปัตตานีมหานคร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า ในการนำเสนอรูปแบบหรือโมเดลการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 โมเดลในเวทีสมัชชาปฏิรูปครั้งนี้ ที่จริงแล้วยังโมเดลที่ 7 คือกระดาษเปล่าที่รอให้ประชาชนเข้ามาเขียน ซึ่งโมเดลที่ 7 อาจเป็นโมเดลที่ดีที่สุดก็เป็นได้
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คอป.ไปอีสาน ญาติยื่นจม. ‘สมชาย หอมลออ’ เร่งรัดประกันตัว-เยียวยา

Posted: 06 Jan 2012 10:53 PM PST

 

 

5 ม.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้จัดการประชุมเพื่อหารือร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ภาคอีสาน  โดยมีนายสมชาย หอมลออ หนึ่งในกรรมการ คอป. เป็นประธานในการประชุม  และมีผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ทั้งผู้ที่เคยถูกจับกุมแต่ได้รับการปล่อยตัวแล้ว  ญาติของผู้ที่ยังถูกคุมขังอยู่ และญาติของผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจากจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ มุกดาหาร มหาสารคาม และศรีสะเกษ เดินทางมาร่วมให้ข้อมูล

นายสมชายกล่าวถึงภารกิจของ คอป. ซึ่งในทางหนึ่งต้องรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ  และในอีกทางหนึ่งต้องนำข้อมูลที่ได้รับฟังไปกระตุ้นรัฐบาล  พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ได้รับผลกระทบ  จากนั้น ได้เปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบนำเสนอเรื่องคดี และปัญหาความเดือดร้อนของตน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีผู้ต้องขังที่ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลฯ มีทั้งสิ้น 4 คน อุดรฯ 5 คน  มุกดาหาร 13 คน, ผู้ต้องขังคดีพยายามเผาที่ว่าการอำเภอเมือง จ.มหาสารคาม จำนวน 9 คน  ญาติได้เรียกร้องต่อ คอป.ว่า ต้องการให้ได้รับการประกันตัว เพราะเชื่อว่าพวกเขาไม่ได้ทำผิด เช่น  กรณี นายสนอง เกตุสุวรรณ พยานโจทก์ปากสุดท้ายเป็นนายทหารนอกราชการของ กอ.รมน.ให้การว่านายสนองเข้าไปห้ามคนเสื้อแดงไม่ให้เผาศาลากลาง แต่สุดท้ายนายสนองถูกศาลตัดสินจำคุก 33 ปี 4 เดือน ส่วนคนที่ศาลตัดสินยกฟ้องในคดีเหล่านี้  หลังจากที่ติดคุกมาเป็นปีก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย

ตัวแทนญาติระบุอีกว่า ส่วนผู้ถูกยิงในศาลากลางอุบลฯ 5 คน ถูกขังอยู่ 6 เดือน แล้วประกันตัวออกมา โดยกู้เงินดอกเบี้ยร้อยละ 20 มาวางเป็นหลักทรัพย์ ปัจจุบันคดีตัดสินแล้ว จำคุก 3 ปี 9 เดือน ปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 4 ปี  แต่คนยิงยังไม่รู้เป็นใคร ไม่มีการดำเนินคดี เงินที่กู้มาประกันตัวเองก็ไม่มีใครรับผิดชอบ

นอกจากนี้ มีกรณีนายรังสรรค์ รัตนวรรณ ถูกทำร้ายร่างกายในขณะชุมนุมปี 2552 แต่กลับมาเสียชีวิตที่บ้าน(จ.ศรีสะเกษ) ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานใดเลย

นายพิเชษฐ์  ทาบุดดา อดีตผู้ถูกคุมขังในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลฯ ซึ่งถูกจำคุกอยู่ 15 เดือน โดยไม่ได้รับการประกันตัว  กล่าวว่า คอป.ทำงานมาเป็นปีแล้ว การที่ต้องมาสอบถามทีละคนว่าคดีเป็นอย่างไร แสดงว่าไม่ได้มีการเตรียมการกันมาก่อนเลย ถ้า คอป.มีความจริงใจที่จะช่วยผู้ได้รับผลกระทบ ข้อมูลพื้นฐานพวกนี้ต้องมีแล้ว  ปีที่แล้วก็ถามอย่างนี้  เวลาผ่านไป 1 ปี ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย  ประเด็นหลักคือ พวกที่ถูกยิง พวกที่ติดคุกจะช่วยเหลืออย่างไร จะเยียวยาหรือประกันตัวออกมาอย่างไร จนถึงวันนี้ คอป.ทำอะไรได้บ้าง   ถ้าทำไม่ได้เราจะทำของเราเอง  รัฐบาลเคยทำสัญญาประชาคมว่าจะช่วยพวกเสื้อแดงที่ติดคุก

กรรมการ คอป. ชี้แจงว่า คอป.ไม่มีอำนาจ มีแต่ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล  สิ่งที่ คอป.ทำได้คือ สะท้อนสภาพปัญหาไปยังรัฐบาลทั้งโดยตรงและโดยผ่านสื่อ และเสนอรัฐบาลว่าควรจะดำเนินการอย่างไร  คอป.ไม่คุยกับศาล เพราะถือหลักว่าศาลควรเป็นอิสระ  ข้อเสนอหลักๆ ของ คอป.ก็เหมือนกับผู้ได้รับผลกระทบนำเสนอ คือ  คนที่ติดคุก โดยศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทำความผิดควรได้รับการประกันตัว  โดยรัฐบาลอาจช่วยเหลือเรื่องเงินประกัน  หรือถ้าศาลไม่ให้ประกัน ก็อุทธรณ์โดยให้เหตุผลต่อศาล  อัยการหรือ พนง.สอบสวนไม่ควรค้าน และสนับสนุนให้ประกัน  ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลทำได้   ส่วนกรณียกฟ้อง ปกติจะติดคุกฟรี แต่ คอป.เสนอให้ควรได้รับการชดเชยอย่างน้อยตามค่าแรงขั้นต่ำ

นายสมชายกล่าวอีกว่า   รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์รับปากว่าจะสนับสนุนตามที่ คอป.เสนอไปทุกอย่าง  เราก็ต้องดูว่าเขาจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน  ผู้ได้รับผลกระทบต้องไปตามกับรัฐบาล ไม่ใช่ตามกับ คอป.   ทั้งนี้ หลังจากมาฟังเสียงสะท้อนจากเจ้าของปัญหาในวันนี้  คอป.จะ ทำ จม.ถึงรัฐบาลภายใน 1 อาทิตย์  และเข้าพบกับรองนายกฯ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ประธาน  ปคอป. เพื่อชี้แจงเรื่องเหล่านี้  ส่วนจะได้ประกันตัวเมื่อไหร่ รัฐบาลก็คงบอกไม่ได้ เพราะอำนาจอยู่ที่ศาล  

ส่วน  คอป.จะมีอายุอีกแค่ 6 เดือน หลายเรื่องที่เสนอไปเชื่อว่าจะยังไม่สำเร็จ อยู่ที่ตัวผู้ได้รับผลกระทบเอง  ต้องรวมตัวกันเป็นพลังขับเคลื่อน  อย่างคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาคม 35  อย่าหวังพึ่ง คอป.  การผลักดันจากคนเสื้อแดงเองจะมีพลังมาก เพราะรัฐบาลเป็นของท่าน ท่านเลือกมา เขาต้องฟัง  ทำอย่างไรให้เรื่องนี้พี่น้องเสื้อแดงมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน และส่งสัญญาณไปทางรัฐบาล   คอป.ทำในขอบเขตอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว

นายพิเชษฐ์  กล่าวถึงกรณีคนที่ศาลตัดสินยกฟ้องว่า จะกำหนดกฎเกณฑ์ว่าอย่างน้อยค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ สิทธิเสรีภาพของคนเทียบตัวเงินไม่ได้ คอป.ควรระบุเลยว่าเสียชีวิตให้ 10 ล้าน  คนบาดเจ็บ/ติดคุกเอาไป 5 ล้าน ให้ไม่ให้อีกเรื่องหนึ่ง  ถ้าใครอยากได้เงินมากให้มาตาย มาติดคุกแทนพวกเรา  และถ้าภายในเดือนนี้ไม่ได้รับคำตอบว่าพวกเราจะได้รับการประกันหรือเยียวยาเมื่อไหร่ เราจะเคลื่อนไหวใหญ่เข้ากรุงเทพ

พร้อมกันนี้  นายกองชัย ชัยกัง ตัวแทนกลุ่มญาติผู้ต้องขังฯ ได้อ่านข้อเรียกร้อง และยื่นหนังสือต่อนายสมชาย โดยมีข้อเรียกร้องให้ คอป.ดำเนินการช่วยเหลือหรือเร่งรัดให้มีการดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยให้ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตัดสินให้จำคุก  และชะลอการพิจารณาให้ชั้นอุทธรณ์/ฎีกาออกไป, ให้การเยียวยาต่อผู้ที่ถูกคุมขังเป็นเวลานาน โดยในที่สุดศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถูกขังเกินกว่าโทษ, ให้ชะลอคดีที่ยังอยู่ในชั้นอัยการหรือศาลชั้นต้น  และให้ทบทวนหมายจับที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

 

 0000000000000

กลุ่มญาติผู้ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมปี 2553

                                                                           5  มกราคม 2555

เรื่อง      ขอให้เร่งรัดการดำเนินการช่วยเหลือผู้ต้องขังและเยียวยาผู้ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม

เรียน      นายสมชาย  หอมลลออ  กรรมการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)

            จากการที่มีประชาชนถูกจับกุม/ดำเนินคดีเป็นจำนวนมากในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมปี 2553 ทั้งคนที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากฝ่ายรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว  และประชาชนทั่วไป  พวกเขาเหล่านี้และครอบครัวต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก   ปัจจุบัน ถึงแม้สถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลง ประชาชนได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง  แต่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่มีความเห็นต่างทางการเมืองยังคงดำรงอยู่  การดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเหล่านี้จึงเป็นไปอย่างล่าช้า  พวกเขาและครอบครัวยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

            ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปรองดองขึ้นในชาติ  เราในฐานะกลุ่มญาติผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงขอเรียกร้องต่อ คอป.ให้ดำเนินการช่วยเหลือหรือเร่งรัดให้มีการดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ดังนี้

1.     ให้ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตัดสินให้จำคุก  และชะลอการพิจารณาให้ชั้นอุทธรณ์/ฎีกาออกไป

2.     ให้การเยียวยาต่อผู้ที่ถูกคุมขังเป็นเวลานาน โดยในที่สุดศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถูกขังเกินกว่าโทษ

3.     ให้ชะลอคดีที่ยังอยู่ในชั้นอัยการหรือศาลชั้นต้น  เช่น คดีเผาศาลากลางและเอ็นบีทีที่จังหวัดขอนแก่น  คดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหารที่ผู้ต้องหาเข้ามอบตัวในภายหลัง

4.     ให้ทบทวนหมายจับที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

 

ทั้งนี้ กลุ่มญาติฯ ได้ส่งข้อมูลมาด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาของ คอป. หรือส่งต่อข้อมูลให้รัฐบาล

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

                                                                                                      ขอแสดงความนับถือ

 

                                                                          กลุ่มญาติผู้ต้องขังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมปี 2553

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น