ประชาไท | Prachatai3.info |
- มองการเมืองพม่าผ่านสายตา “อดีตนักโทษการเมือง”: เปลี่ยนแปลงเร็ว-แต่ยังสรุปไม่ได้
- แด่เสียงของคนส่วนใหญ่ในโลก
- จดหมายเปิดผนึก แนะผู้บริหารมธ.เลิกห้ามเคลื่อนม. 112
- วิกฤติสิ่งแวดล้อมในมุมมองสังคมนิยม
- ยึดครองทุกแห่ง: แรงบันดาลใจจากออคคิวพายฯ สู่ประเทศไทย
- พม่า - กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ลงนามหยุดยิงรอบใหม่
- นัดสืบพยานเดือน ก.ย. โปรแกรมเมอร์ผู้ถูกกล่าวหาสร้างเพจหมิ่นในเฟซบุ๊ค
- เสวนา: มองขบวนการเสื้อแดงผ่านมาร์กซิสต์
- อธิการ มธ. เผยมติฝ่ายบริหารไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่เคลื่อนไหว ม.112
- ย้ำเจตนากฎหมาย สปสช.ต้องมีภาค ปชช.เพื่อถ่วงดุล เปิด 5 กลุ่มชี้อนาคตบัตรทอง
- ยึดสปสช. กับบันไดอีก 3 ขั้น สู่หลุมดำประกันสุขภาพ หยุดปฏิรูป ปูทางเอกชน
- นักข่าวพลเมือง: สนร.ตอบจดหมาย ได้รับเรื่องขยายการเยียวยา ปรับปรุงงบกองทัพ
- รายงาน: 10 ปีทวงคืนสัญชาติไทย ใครจะเป็นประชาชนอาเซียน...เมื่อคนไทยยังไร้สัญชาติ
- ตัดสินอีกคดีทหารซ้อมเหยื่อดับ ศาลปกครองสั่งชดใช้กว่า 5 แสน
- ประชาไทบันเทิง: SimSimi แอพฮิตตัวใหม่บนโลกไซเบอร์
มองการเมืองพม่าผ่านสายตา “อดีตนักโทษการเมือง”: เปลี่ยนแปลงเร็ว-แต่ยังสรุปไม่ได้ Posted: 30 Jan 2012 10:18 AM PST สัมภาษณ์ ‘โบ จี’ อดีตนักโทษการเมือง และผู้ก่อตั้งสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า ระบุยังมีนักโทษการเมืองถูกขังอยู่กว่า 400 คน ชี้ถึงแม้พม่าจะเปลี่ยนเร็ว แม้รัฐบาลจะไม่จับกุมใครเพิ่ม แต่ในอีกเดือนสองเดือนข้างหน้าหรือหลังเลือกตั้ง สถานการณ์อาจเปลี่ยนไปอีกก็ได้ หลังจากที่พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองระลอกใหญ่ถึง 651 คนเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา และมีกระแสการปฏิรูปภายในประเทศที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ชาติตะวันตกที่มีนโยบายคว่ำบาตรพม่ามาอย่างยาวนาน ต่างแสดงความยินดีต่อความเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญในพม่า ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของชาติดังกล่าว อาทิ การผ่อนปรนการคว่ำบาตร การยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และการให้เงินช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ ภายในพม่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ประชาไทมีโอกาสพูดคุยกับโบจี (Bo Kyi) อดีตนักโทษการเมือง และเลขาธิการสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่าหรือ AAPP-B (Assistance Association for Political Prisoner – Burma) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักโทษการเมืองพม่าและครอบครัวในด้านการเงิน การรักษาพยาบาลและการศึกษา รวมถึงการเก็บสถิติ-ข้อมูล และการรณรงค์ในระดับสากลเพื่อกดดันให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ยังคงเหลืออยู่
นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษการเมืองในพม่าแล้ว AAPP ให้ความช่วยเหลือแก่นักโทษการเมืองอย่างไรอีกบ้าง เราให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมืองผ่านทางครอบครัวของพวกเขา โดยเฉพาะด้านการเงิน เนื่องจากว่าเราเองไม่สามารถเดินทางกลับเข้าพม่า เราจึงใช้กลุ่มลับของเราในประเทศเพื่อเข้าเยี่ยมครอบครัวของนักโทษการเมืองและมอบเงินให้ญาติๆ ไปเยี่ยมนักโทษที่เรือนจำซึ่งพึ่งความช่วยเหลือจากครอบครัวในเรื่องอาหารและอื่นๆ นอกจากนี้ AAPP ก็ให้ความช่วยเหลือแก่นักโทษการเมืองที่ถูกปล่อยตัวออกมา เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ และหากว่าพวกเขาต้องการการรักษาพยาบาลระยะยาว เราก็จะช่วยเหลือพวกเขาตรงจุดนั้น เรายังให้ทุนการศึกษาแก่ลูกๆ ของนักโทษการเมืองด้วย โดยในทุกๆ ปี เราจัดหาทุนการศึกษาให้แก่เด็กๆ 200 คนเพื่อศึกษาภายในประเทศ และอย่างในปีนี้ ก็มีนักศึกษาสามคนที่ได้ทุนศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ฮ่องกง ซึ่งล้วนเป็นลูกๆ ของนักโทษการเมือง หากพวกเขามีเกณฑ์เหมาะสม เขาก็จะได้รับทุนตรงนี้ เพราะเราอยากจะมอบโอกาสการศึกษาแก่เด็กรุ่นใหม่ๆ มีเพียงองค์กร AAPP เท่านั้นที่ให้ความช่วยเหลือในลักษณะนี้ ในประเทศพม่าเอง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยก็ให้ความช่วยเหลือแก่นักโทษการเมืองในด้านการเงิน ในบางโอกาสเขาก็จะให้ทุนการศึกษาแก่ลูกๆ ของนักโทษการเมืองด้วย ตอนนี้ ตัวเลขของนักโทษการเมืองในพม่าล่าสุดเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ตอนนี้ตัวเลขล่าสุดของเราอยู่ที่ 410 และกำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบต่อไป คุณค่อนข้างดีใจหรือเปล่ากับการปล่อยตัวนักโทษการเมืองระลอกใหญ่จำนวน 651 คนเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผมรู้สึกดีใจเมื่อเห็นสหายของผมได้ออกมาจากเรือนจำ ผมดีใจและตื่นเต้นมากจริงๆ แต่ผมก็รู้สึกไม่พอใจรัฐบาล เพราะรัฐบาลเองยังไม่ยอมรับว่าพวกเขาเป็นนักโทษการเมือง ในแง่หนึ่งก็เป็นเรื่องดีที่ผู้นำขบวนการคนสำคัญหลายคนถูกปล่อยตัวออกมา นั่นหมายถึงว่าเรายิ่งมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพื่อที่จะเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ยังคงถูกจองจำอยู่ซึ่งเป็นคนตัวเล็กตัวน้อย ผมกลัวว่าประชาคมนานาชาติจะไม่ใส่ใจกับคนที่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว เราจึงต้องทำอะไรเพื่อพวกเขามากกว่านี้ เพราะถ้าหากคนอย่างนางออง ซาน ซูจีถูกจำคุกล่ะก็ ทุกคนต้องรู้และพูดถึงกันไปทั่ว แต่สำหรับคนที่ไม่มีใครรู้จักนั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนท่าทีของนโยบายต่างประเทศต่อพม่า เช่นการยุติการคว่ำบาตร และความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต คุณมองว่าทางตะวันตกประเมินสถานการณ์ดีเกินความเป็นจริงหรือเปล่า ผมคิดว่าเขาเร็วเกินไป เขาน่าจะทำอะไรเป็นขั้นตอนและช้าลงกว่านี้ เช่น ถ้าหากว่ารัฐบาลสามารถสร้างสันติภาพทั่วประเทศหรือเจรจาหยุดยิงได้ทั้งหมด สหรัฐและยุโรปค่อยมาคิดขั้นตอนไปว่าจะทำอย่างไร เช่นการยุติการคว่ำบาตร และหากว่าเขาเชื่อว่าสถานการณ์กำลังจะดำเนินไปในทางที่ถูกต้องจริงๆ แล้ว เขาอาจจะมายื่นข้อเสนอต่อไป เช่นว่า จะล็อบบี้ให้มีการยกเลิกการคว่ำบาตรทั้งหมด เป็นต้น นอกจากนี้ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่าก็ยังไม่ดีขึ้นเลยด้วย เรื่องหลักนิติรัฐก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากไม่มีหลักนิติรัฐ ใครๆ ก็อาจจะถูกจับกุมได้ ถึงแม้ว่าในตอนนี้รัฐบาลจะไม่จับกุมใครก็ตาม แต่ในอีกเดือนสองเดือนข้างหน้า หรือแม้แต่หลังการเลือกตั้ง สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ ใครจะรู้ คุณพูดถึงเรื่องการปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่มาพร้อม “เงื่อนไข” คืออะไร ช่วยอธิบายหน่อยได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น มินโกหน่าย (ผู้นำขบวนการนักศึกษาในยุค 1988) ถูกตัดสินจำคุก 65 ปี เขาถูกจำคุกตั้งแต่ปี 2550 จนมาถึงตอนนี้ ได้รับการปล่อยตัวแล้ว ก็เป็นเวลา 4 ปี หากว่าเขาถูกจับอีกครั้ง เขาอาจจะต้องถูกจำคุกเพื่อใช้โทษที่เหลืออีก 60 กว่าปีก็เป็นได้ เพราะประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ไม่ได้แถลงให้ชัดว่าการปล่อยตัวนักโทษเป็นการปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไข กฎหมายเองระบุไว้ว่าการปล่อยตัวมีสองแบบ แบบแรกคือมีเงื่อนไข แบบที่สองคือไม่มีเงื่อนไข ซึ่งตรงนี้ประธานาธิบดีไม่ได้ระบุให้ชัดเจน เนื่องจากก่อนหน้านี้ นักโทษการเมืองที่ถูกปล่อยตัวออกมาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ บางคนก็บอกว่าเขาได้รับการปล่อยตัวแบบไม่มีเงื่อนไข บางคนก็บอกว่าถูกปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไข ซึ่งความไม่ชัดเจนตรงนี้ทำให้เกิดความสับสนมากว่าอะไรเป็นอะไร เราเองก็ไม่ทราบข้อมูลตรงนี้ชัดเจน จะรู้ก็ต่อเมื่อพวกเขาถูกจับอีกครั้งเท่านั้น คุณคิดยังไงกับการลงเลือกตั้งของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย บางคนมองว่าหากว่าพรรคได้รับเสียงการเลือกตั้งที่มากพอ นางออง ซาน ซูจีอาจจะได้รับเก้าอี้รัฐมนตรีในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งก็ได้ ผมสนับสนุนการตัดสินใจของนางออง ซาน ซูจีในการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายและลงสมัครเลือกตั้ง แต่ถ้าหากเธอได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา หรือกระทรวงอื่นที่ไม่สำคัญนัก แล้วเธอจะทำอะไรได้เล่า บางคนมองว่า เมื่อรัฐบาลได้ทำการปฏิรูปที่มีผลในแง่บวกแล้ว องค์กรทางการเมืองฝ่ายค้านของพม่าที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศควรจะกลับเข้าไปในประเทศเพื่อร่วมกันทำงาน คุณคิดว่าอย่างไร รัฐบาลบอกว่าเราสามารถกลับไปประเทศได้แบบมีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น หากว่าผมไม่ได้กระทำผิดอะไรในพม่า และนอกประเทศ ผมสามารถกลับไปได้ แต่ถ้าหากความผมเคยทำผิดอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะในประเทศหรือนอกประเทศ ผมอาจจะถูกจับอีกก็ได้ คือ ตอนนี้สถานการณ์มันดีขึ้น แต่มันดีขึ้นเพียงเล็กน้อยมาก นอกจากนี้ เราเองก็ยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองเท่าใดนัก ถ้าหากว่าเรามั่นใจมากขึ้น เราก็จะกลับไป ฉะนั้น สำหรับพวกเราตอนนี้แล้ว การอยู่ข้างนอกเป็นเรื่องที่ดีกว่า ในแง่ของปัจเจกบุคคล บางคนก็ได้เจรจาต่อรองกับรัฐบาลว่าหากเขากลับไปพม่าแล้วเขาต้องสามารถเดินทางออกมาอีกได้ จริงๆแล้วมีคนไม่มากเท่าไหร่นะที่กลับเข้าประเทศ มีจำนวนน้อยมากที่กลับไปยังพม่า นอกจากนี้ก็ยังพวกกลุ่มนักวิชาการที่ได้รับเชิญกลับเข้าประเทศไปร่วมกิจกรรมหรือการประชุม พวกเขาสามารถกลับเข้าประเทศได้หนึ่งหรือสองอาทิตย์และก็สามารถกลับออกมาได้เพราะพวกเขาได้ต่อรองกับรัฐบาล ถ้าหากว่าผมได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศและกลับออกมาได้ ผมก็จะกลับไป นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องรอดูสถานการณ์ไปจนถึงปี 2558 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหญ่ครั้งต่อไป การเลือกตั้งซ่อมมีความหมายน้อยมากสำหรับพวกเรา เก้าอี้ 48 ที่นั่งไม่ได้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่อะไรมากมาย และถึงแม้ว่าเราจะได้รับคะแนนเสียงทั้งหมดเพียงพอสำหรับเก้าอี้ทั้งหมด แต่เก้าอี้ 48 ที่นั่งก็ไม่เวิร์คอยู่ดี ฉะนั้นเราจำเป็นต้องรอจนกว่าจะถึงปี 2558 เมื่อถึงตอนนั้น ต้องดูอีกทีว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยจะได้มีส่วนร่วมมากแค่ไหน การเลือกตั้งจะใสสะอาดและยุติธรรมมากน้อยเพียงใด ในความคิดเห็นของคุณ มาตรการที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำเพื่อให้บรรลุความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคืออะไร ผมคิดว่ารัฐบาลต้องมีหลักนิติรัฐ หลักนิติรัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และในการจะบรรลุซึ่งสิ่งนั้น รัฐบาลพม่าจำเป็นต้องแถลงนโยบาย เช่น การจะยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วประเทศ พร้อมทั้งดำเนินการต่อผู้กระทำผิดดังกล่าว ผมไม่ได้พยายามฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่ผมร้องขอเพื่อปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างเช่น ในอดีตที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐที่เคยทรมานผม ผมขออย่างเดียวคือขอให้เขารับสารภาพ และยอมรับว่าเขาได้กระทำผิด เพียงแค่นั้นเองที่เราต้องการ มันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรองดองมาก อีกอย่างคือ ผมต้องการจะทำโครงการเยียวยาสำหรับเหยื่อทางการเมือง รัฐบาลจะต้องให้ความสนับสนุนในทางการเงิน หรือรัฐบาลจะต้องอนุญาตให้เรารับเงินทุนจากผู้บริจาคต่างประเทศได้ เพราะถ้าผมทำงานอยู่ในพม่า ผมไม่สามารถรับเงินต่างประเทศได้เพราะนั่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นั่นคือปัญหา มันมีกฎแบบนั้นอยู่เยอะมาก ฉะนั้นเราจำเป็นต้องพูดถึงกฎหมายที่จะต้องถูกยกเลิก และกฎหมายที่จำเป็นจะต้องมีเพื่อการทำงานในสถานการณ์เช่นนี้ คุณคิดอย่างไรกับการลงทุนอันมหาศาลของประเทศไทยในพม่า ผมไม่รู้เรื่องมากนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการเงินระหว่างไทยและพม่า แต่ผมรู้ว่าประเทศไทยพึ่งพาทรัพยากรด้านก๊าซธรรมชาติและพลังงานจากพม่าอยู่มาก นั่นเป็นผลประโยชน์ของไทยที่ใหญ่ที่สุดต่อพม่า และถ้าหากว่านักธุรกิจไทยทำทุกอย่างได้ดีเหมาะสม เราก็จะไม่พูดอะไร เพราะผมเชื่อว่าประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเรา ฉะนั้นเราสามารถรักษาผลประโยชน์ที่ร่วมกันไว้ได้ นั่นคือสิ่งที่เราต้องการสำหรับไทยและพม่า หากว่าเราทำงานร่วมกันได้ เราก็จะได้ผลประโยชน์ด้วยกัน คุณไม่คิดว่าประเทศไทยควรคว่ำบาตรการลงทุนในพม่าหรือ? ยังไงประเทศไทยก็ไม่ทำเช่นนั้นหรอก ผมคิดว่าให้มันเป็นการทำธุรกิจที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบมากกว่า โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานสากลและปกป้องสิทธิแรงงาน เราต้องการการลงทุนที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ น่าสนใจที่คุณพูดเช่นนั้น เพราะว่าที่ผ่านมานักรณรงค์ไทยหลายกลุ่มได้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรการลงทุนในพม่า ใช่ ผมก็เข้าใจ ผมคิดว่ามันจะดีกว่าต่อแรงงานเองและนักธุรกิจเองด้วย ถ้าหากว่าเขาสามารถปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานสากล และให้ค่าแรงที่เหมาะสม ตอนนี้ผมอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผมเห็นธุรกิจหลายแห่งที่บ้างก็ดี บ้างก็ไม่ดี ฉะนั้น ถ้าหากเขาสามารถปฏิบัติตามหลักการสากลและจัดหาสภาพการทำงานที่เหมาะสมแก่คนงานได้ นั่นก็เป็นเรื่องดี แต่ในประเทศไทยมันเป็นเรื่องยากที่จะทำเช่นนั้นเพราะนักธุรกิจไทยไม่ทำตามกฎหมาย ผมคิดว่ารัฐบาลไทยยังคงผ่อนปรนในเรื่องของข้อบังคับมากเกินไป เรื่องเช่นนี้คงจะเกิดในอนาคต แต่เราจะคงต้องผลักดันให้มันบรรลุผลไปทีละน้อย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 30 Jan 2012 09:44 AM PST ก่อนที่การประท้วงเปลือยที่ทรงค่าจะถูกล้อเลียนจน กลายเป็นเรื่องโจ๊กไป ผมอยากเล่าความรู้สึกให้ฟังถึงการเปลือยอกท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บในที่ ประชุมของบรรดานายทุนและผู้นำรัฐบาลโลก ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาล้อเลียนถากถางกัน แต่เป็นการเรียกร้องด้วยความเสียสละ มีความเป็นมา และมีเป้าหมายยิ่งใหญ่เพื่อคนส่วนใหญ่ในโลก (คนจน+ผู้หญิง) ผมหมายถึงการประท้วงในระหว่างการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่กรุงดาวอสในขณะนี้ ดาวอสเป็นเมืองตากอากาศในภาคตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรแค่ประมาณหมื่นเศษ ส่วนที่ประชุม World Economic Forum (WEF) นั้นเป็นการจัดงานขององค์กรที่อ้างตัวเองว่าเป็นองค์กรสากล และทุกปีจะเชื้อเชิญผู้นำธุรกิจ+การเมือง+นักวิชาการ (ยกเว้นคนยากคนจน) จากทั่วโลกมาประชุมกัน เพื่อหาทางทำให้ “โลกดีขึ้น” WEF นั้นก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1971 แต่ไม่โด่งดังจนกระทั่งการประชุม WEF ในปี 2000 (2543) ซึ่งมีผู้ประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์นับพันคนเข้ามารณรงค์ ที่คนจำได้แม่นคือการถล่มร้านแม็คโดนัลด์ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยม และยังเป็นแรงบันดาลใจให้มีการประท้วงต่อเนื่องไประหว่างการประชุมธนาคารโลก ที่วอชิงตัน และประชุมของ IMF ในเดือนเมษายนกับกันยายน ปีเดียวกัน ก่อนหน้านั้นในปี 1999 ก็มีการประท้วงต่อต้านโลกาภิวัตน์ครั้งใหญ่ในระหว่างการประชุมขององค์การการ ค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่ตอนนั้นมีบทบาทมากในการส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การประท้วงที่ดาวอสในสองปีต่อมาจึงถือเป็นความสืบเนื่องของความไม่พอใจต่อผล กระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่เฉพาะคนรวย แต่ไม่กระจายให้ทั่วถึงคนส่วนใหญ่ในโลก ต่อให้ผมพระมาพูดผมก็ไม่เชื่อว่าบรรดาผู้นำการเมือง+นักธุรกิจที่ร่ำรวย 200 กว่าคนที่มาประชุมกันทุกปีที่เมืองตากอากาศในประเทศร่ำรวยสุดในโลกเหล่านี้ จะพยายามหาทางกระจายโภคทรัพย์ให้ทั่วถึงคนทุกคนในสังคม ผลจาก การประท้วงที่ดาวอสในปี 2000 เป็นเหตุให้ในปี 2001 (2544) ภาคประชาชนจัดการประชุมคู่ขนานขึ้นมาที่เราเรียกว่าเป็น World Social Forum หรือเวทีสังคมโลก (แทนที่จะพูดแต่เรื่องเศรษฐกิจเหมือนนายทุน เราต้องพูดเรื่องของสังคมด้วย) และจัดงานนี้ขึ้นที่เมือง Puerte Allegre ประเทศบราซิล ภาคประชาชนจัดงานเขามีคนเข้าร่วม 50,000 กว่าคนเป็นบรรยากาศที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการประชุมของนายทุนที่ดาวอส ที่ WSF ไม่มีการปิดกั้นการประท้วง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะแสดงออก และทุกคนเสมอภาคกัน แต่การประชุมของนายทุน+นักการ เมืองนั้น เขากีดกันคนที่เห็นต่างจากโลกาภิวัตน์ เลือกไปประชุมในเมืองแพงสุดในประเทศแพงสุดในโลก มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และสามารถทำได้ดีเพราะดาวอสเป็นเมืองขนาดเล็กในหุบเขา สามารถตั้งด่านสกัดบรรดาผู้ประท้วงได้เป็นอย่างดี พวกนายทุนเขามีบทเรียนมาแล้วจากการประท้วงที่ซีแอตเติล ต้องย้ายไปนิวยอร์ก ต่อมาก็ย้ายไปควีเบ็ค (ซึ่งถึงกับมีการกั้นด้วยแท่งปูนถาวรรอบที่ประชุม) ในการประชุมครั้งที่ 42 ของ WEF นอกจากผู้ประท้วงกลุ่ม Occupy ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกแล้ว ยังมีสตรีสามท่านที่ทำการประท้วงอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแหวกวงล้อมอันแน่นหนาเข้าไปถึงประตูที่ประชุม ผู้ประท้วงเปลือยอกทั้งสามท่านมาจากกลุ่ม Femen ประเทศยูเครน นำโดยคุณ Inna Shevchenko หลายคนอาจจำประเทศนี้ได้จากอดีตประธานาธิบดี Yulia Tymoshenko ที่สวยและสง่าที่นอกจากแพ้เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลในข้อหาคอร์รัปชัน ข้อความประท้วงบนหน้าอกเปลือยของผู้ประท้วงท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บถึงขั้น เป็นน้ำแข็งมีอาทิ “เราจนเพราะพวกคุณ” (Poor because of you!) “วิกฤตเกิดขึ้นจากดาวอส” ("Crisis! Made in Davos) “ปาร์ตี้ของพวกแก๊งนายทุนในดาวอส” (Gangsters party in Davos) ที่ประทับใจผมมากสุดคือที่คุณ Inna Shevchenko แกให้สัมภาษณ์ว่า “ในตึกที่ประชุมแห่งนี้ มีแต่ผู้ชาย มีผู้หญิงเพียงไม่กี่คน ในรัฐสภาทั่วโลกก็เป็นแบบนี้” เธอบอกต่อว่า “ในยูเครน รัฐมนตรีเป็นผู้ชายทั้งนั้น ไม่มีผู้หญิงเลย” ผู้หญิงเองก็ “ต้องการตัดสินชะตากรรมด้วยตนเอง” “เรามาที่นี่เพื่อตะโกนก้อง ใช้เสียงของผู้หญิง ใช้ร่างกายของผู้หญิงเพื่อจะบอกว่าผู้หญิงก็ต้องการตัดสินชะตากรรมของตนเอง ด้วย” คุณ Inna Shevchenko กล่าวในท้ายสุด
Stop Davos! 1 from FEMEN Video on Vimeo. ข่าวจาก
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จดหมายเปิดผนึก แนะผู้บริหารมธ.เลิกห้ามเคลื่อนม. 112 Posted: 30 Jan 2012 09:11 AM PST มีผู้ลงชื่อจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องผู้บริหารมธ. ทบทวนและยกเลิกมติการห้ามใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวเพื่อการแก้ไขม. 112 ชี้ หาก "ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว" ก็ควรเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงเรื่องการเมือง-สังคมอย่างเสรี ดังประสงค์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย กลุ่มนักศึกษา-อาจารย์-ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประชาชนกว่าร้อยคนร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกมติที่ออกมาจากที่ประชุมมหาวิทยาลัย หลังสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โพสต์ข้อความสาธารณะในเฟซบุ๊กว่า ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคลื่อนไหวในกรณีเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยระบุเหตุผลว่า "อาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดัง กล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัย ของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้" จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวซึ่งล่าสุดมีคนร่วมลงชื่อกว่าร้อยคนผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควรจะ เป็นพื้นที่ที่มี "เสรีภาพทุกตารางนิ้ว" ดังคำขวัญและจุดประสงค์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และไม่เคยมียุคไหนนอก จากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมีนโยบายปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน จึงควร เล็งเห็นความสำคัญของการยอมให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีบรรยากาศเสรีและสามารถจัดกิจกรรมทางสังคมและ การเมืองอย่างเปิดกว้าง เพื่อเอื้อให้ความขัดแย้งในสังคมบรรเทาลง ทั้งนี้ นายรักชาติ วงศ์อธิชาติ หนึ่งในผู้ร่วมลงนามจดหมายเปิดผนึกกล่าวว่า กลุ่มดังกล่าวจะเดินทางไปยื่นหนังสือ เปิดผนึกต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภายในสัปดาห์นี้ด้วย 0000 สืบเนื่องจากสเตตัสล่าสุดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ในเฟสบุ๊ก ใจความว่าด้วย เรื่องของการจะห้ามใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการเคลื่อนไหวทางความคิดและการขับเคลื่อนประเด็น ปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เห็นได้ชัดว่านี่เป็นการปิดกั้น เสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพทางวิชาการ ในมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันโดดเด่นว่า เสรีภาพทุกตารางนิ้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นเป็นพื้นที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การก่อตั้ง มหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตของคณะราษฎรที่จะมุ่งหวังในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย มหาวิทยาลัยผ่านประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่ ขบวนการ 11 ตุลาคม 2494 ในการเรียก ร้องมหาวิทยาลัยคืนจากจอมพล ป., ขบวนการ 14 ตุลา 2516, ขบวนการ 6 ตุลา 2519, ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ทำ ให้มหาวิทยาลัยได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมความคิดทางการเมือง และประชาธิปไตย การเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่แหลมคมควรจะเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยพึงกระทำโดยไม่มีการกีดกันและคัดค้าน คง จะมิเป็นการกล่าวเกินจริงว่าพื้นที่ทางวิชาการที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและเป็นพื้นที่ที่เปิด กว้างทางความคิดมากที่สุด คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มติเอกฉันท์ของผู้บริหารเพียงไม่กี่คนนำมาซึ่งการทำลายเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง การจะไม่อนุญาต ให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการเคลื่อนไหวกรณีมาตรา112 เป็นการปิดกั้น ปิดปาก นักศึกษาและประชาชน ผู้กระหาย ในเสรีภาพทางวิชาการและความถูกต้อง เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การที่มีความมุ่งหวังว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็น “บ่อบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขา ควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพ ของการศึกษา.” นักศึกษา, คณาจารย์, ศิษย์เก่า แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประชาชนผู้รักในเสรีภาพทางความคิดและการ แสดงออก ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารทั้งหลายที่ลงมติในการไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน กรณีการแก้ไขมาตรา112 กลับไปทบทวนว่าความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ที่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้มีการใช้เพื่อพูดคุย ถกเถียง ประเด็นทางสังคมและการเมือง ไม่เคยมีครั้งไหนนอกจากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายปิดกันไม่ให้ นักศึกษาและอาจารย์แสดงเสรีภาพทางความคิด เราขอเรียกร้องให้ผู้บริหารยกเลิกมติข้างต้น หากมหาวิทยาลัยยังมีคำขวัญที่ว่า “ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตาราง นิ้ว” อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิยาลัยควรจะเห็นถึงความสำคัญของธรรมศาสตร์ในการเป็นพื้นที่สำคัญในการทำ ให้ความขัดแย้งบรรเทาลงและยอมให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปิดที่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคม การเมือง และการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงอย่างเปิดกว้างอย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยความเคารพ รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ อดีตสมาชิกสภานักศึกษาและศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544 - 2548) เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์ จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย เพียงคำ ประดับความ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จีรนุช เปรมชัยพร อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 29 ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554) ภัควดี วีระภาสพงษ์ ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา รหัส 256280 บริภัทร ตั้งเสรีกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (class of 2013) ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัชรี แซ่เอี้ยว อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส48 สุเจน กรรพฤทธิ์ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส 43 พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง กรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2554-2555) ธันย์ ฤทธิพันธ์ ประชาชน ภูริพัศ เมธธนากุล มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุปต์ พันธ์หินกอง อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ พันธกานต์ ตงฉิน อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 48 อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49, อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2551-2552, อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2552-2553 วันเพ็ญ ก้อนคำ/ ประชาชน น้ําฝน ลิ่วเวหา วารสารศาสตร์48 รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร (นิรันดร์ สุขวัจน์ มธ 159101) / ลาออกปีการศึกษา 2519 "รัฐศาสตร์ ทฤษฎีและปรัชญา การเมือง" นุชจรีย์ วิริยางกูรภาพ อดีตนักศึกษาคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี วรวิทย์ ไชยทอง ภาควิชาการปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬา ฯ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล /ประชาชน พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รหัส 46 ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์, นิสิตเกษตรศาสตร์, รหัส ๒๕๒๕ พิศาล ธรรมวิเศษ ชาวบ้าน ศิรดา วรสาร อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 50 ธนุต มโนรัตน์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เทพวุธ บัวทุม คนไท มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ราษฎร สุเทพ ศิริวาโภ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ประชาชน นายนิคม โชติพันธ์ ประชาชน ธนพล พงศ์อธิโมกข์ CCP/ประชาชน อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วรัญญา เกื้อนุ่น รหัส 37 คณะนิติศาสตร์ มธ วรรษชล ศิริจันทนันท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิวัฒน์ วัฒนพงษ์ อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49 สุริยัน สินธทียากร ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ คณะเศรฐศาสตร์ รุ่น 24 ศิริวุฒิ บุญชื่น SEAS, ศิลปศาสตร์ '46 นวภู แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์ ราษฎร ธนากร ปัสนานนท์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี3 อาดีช วารีกูล รัฐศาตร์การเมืองการปกครองม.รามและมานุษยวิทยาสาขาไทยคดีศึกษาปริญญาโท ม.ทักษิณ สงขลา นครินทร์ วิศิษฎ์สิน บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พีระพล เวียงคำ นักกิจกรรม, นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ รหัส 4903610147,อดีตอุปนายกฯ อมธ.ปี 2551- 2552 ประวิทย์ พันสว่าง นักเขียน ชาวบ้าน แวววิศาข์ ณ สงขลา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ราชาวดี สิริโยธิน อักษรศาสตร์ จุฬา ฯ เกียรตินิยม สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษา ป.โท คณะนิติศาสตร์ รหัส 2551 ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปินอิสระ วินัย ผลเจริญ อดีตนักศึกษาปริญญาโทคณะศิลปศาสตร์ และปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พลิศ ลักขณานุรักษ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554) สิทธา แสนสมบูรณ์สุขนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน รหัส53 นาย พิเศษ นภาชัยเทพ ราษฎร ยศวัฒน์ ปานโต ประชาชนคนไทยที่ไม่ได้จบธรรมศาสตร์ แต่รู้จักธรรมศาสตร์จากสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาในการ แสดงออก และปรารถนาให้ธรรมศาสตร์มียึดมั่นในอุดมการณ์ในสิทธิเสรีภาพของการแสดงออก ประชาเลิศ แซ่เจ็ง ม.รามคำแหง พัธรพงศ์ เลิศปัญญาธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประภาภูมิ เอี่ยมสม นักศึกษาชั้นปีที่2 คณะมนุษยศาสตร์ เอกอังกฤษ สถาบันการศึกษานานาชาติ ม.รามคำแหง ผุ้ซึ่ง เคยชื่นชมมธ.ในฐานะมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการแสดงออกทางการเมือง ก้าวหน้า เสาวกุล ศิลปศาสตรบัณฑิต มธ. รหัส 47 นางกนกวรรณ เกิดผลานันท์ (นางสาวกนกวรรณ โยธาทิพย์) ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัสนักศึกษา 3207610746 ธนพล ฟักสุมณฑา อนุพันธุ์ หงษาชัย รัฐศาสตร์บัณฑิต ม. รามคำแหง ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักอย่างแท้จริง อิทธิพล โคตะมี อชิรวิชญ์ อันธพันธ์ วรยุทธ ยอดบุญ นิสิตปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พรเทพ กมลเพชร เศรษฐศาสตร์บัณฑิต รหัส 48 ปองภพ บูรพกิจลาภา นักศึกษาปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ลิขิต เครือบุญมา ศิลปศาสตร์ ปี2 ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ราษฎร เกศริน เตียวสกุล นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์รหัส ๒๐ ชัยพฤกษ์ พัฒน์ดำรงจิตร คมลักษณ์ ไชยยะ บัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์รุ่น 32 ดร.อิสราภรณ์ พิศสะอาด ลงชื่อค่ะ นารีรัตน์ นิลพิศุทธิ์ บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐญา เกิดเพชร,วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แคน อุดมเจริญชัยกิจ ธรรมศาสตร์ รหัส52 วีระ หวังสัจจะโชค รัฐศาสตร์ จุฬาฯ อรุณี พูลสวัสดิ์ ประชาชน ตันติกร เตริยาภิรมย์ บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เธนศก์ ล้ำเลิศ / ราษฎร วสวัตติ์ เถื่อนคำ ประชาชน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วิกฤติสิ่งแวดล้อมในมุมมองสังคมนิยม Posted: 30 Jan 2012 08:38 AM PST หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอในเวที "วิกฤติสิ่งแวดล้อมในมุมมองสังคมนิยม" เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2555 เวลา 17.00 -18.45 น. ในงานสัมมนา Marxism ณ สำนักงานมูลนิธิ 14 ตุลา จัดโดยกลุ่มประกายไฟ
เมื่อเร็วๆ นี้มีเสียงบ่นจากนักสิ่งแวดล้อมชื่อดังทางเฟซบุ๊กทำนองที่ว่ามีแต่คนพูดเรื่องการเมือง แต่ไม่ค่อยมีคนพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์หรือการต่อรองของฝ่ายต่างๆ เพื่ออำนาจ ได้ยินทัศนะแบบนี้ก็น่าแปลกใจกึ่งเศร้าใจที่ยังมีคนคิดแบบนี้อยู่ ซึ่งคิดไปคิดมาก็คงมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงและชนชั้นกลางที่มีมุมมองแบบสิ่งแวดล้อมนิยม โดยไม่เห็นความเชื่อมโยงกับเรื่องทางการเมือง เรื่องที่จะพูดวันนี้คงไม่ใช่เรื่อง "สังคมนิยม" เพราะไม่ถนัด แต่จะพูดเรื่องนิเวศวิทยาการเมืองที่ใช้เป็นกรอบทำความเข้าใจปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซิสต์โดยตรง จะขอพูด 3 ประเด็น 1.นิเวศวิทยาการเมืองคืออะไร เกี่ยวข้องกับมาร์กซิสม์อย่างไร 2.ใช้กรอบนิเวศการเมืองวิพากษ์การใช้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม ที่พยายามผลักดันกันอยู่ในปัจจุบัน 3.ชี้ให้เห็นว่าการพยายามแก้ไขปัญหาทรัพยากรมีความเชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองและความเป็นประชาธิปไตยอย่างมาก นิเวศวิทยาการเมืองคืออะไร หนึ่ง เถียงกับนักวิทยาศาสตร์ที่มองแต่เรื่องทางกายภาพ โดยเสนอว่าเรื่องของ "ธรรมชาติ" การขาดสมดุลของระบบนิเวศ หรือจำนวนประชากรที่มากเกินไป แต่เกี่ยวโยงกับเงื่อนไขทางสังคมการเมืองอย่างมาก สอง เถียงกับแนวคิดการพัฒนาที่มองว่าความยากจนและคนยากจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การกล่าวหาคนจนเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาทางนิเวศวิทยาการเมืองในประเทศโลกที่สาม เพื่อจะสร้างคำอธิบายใหม่ว่าการถูกครอบงำทางเศรษฐกิจการเมืองโดยประเทศโลกที่หนึ่ง การขูดรีดทรัพยากรตั้งแต่สมัยอาณานิคม และการถูกผนวกเข้ากับระบบทุนนิยมโลกต่างหากที่ทำให้ทรัพยากรในประเทศโลกที่ 3 ถูกทำลาย และคนยากคนจนในประเทศโลกที่ 3 ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าคนรวยเพราะอยู่ในภูมิประเทศที่สุ่มเสี่ยงมากกว่า มีเงินและทุนในการรับมือกับปัญหาน้อยกว่า เช่น กรณีน้ำท่วมที่ผ่านมา แม้จะบอกว่าเป็นภัยธรรมชาติ แต่ก็จะพบว่าผู้คนได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน มีคนชั้นในที่ไม่ถูกน้ำท่วม คนรวยรอบนอกก็หนีออกไปตั้งแต่น้ำยังมาไม่ถึง แต่คนจนคนจนลอยคอ ทุกวันนี้หลายคนก็ยังรอคอยการฟื้นฟูอยู่ ขณะที่คนรวยล้างบ้านอบโอโซนฆ่าเชื้อราทาสีใหม่ไปเรียบร้อย นิเวศการเมืองวิเคราะห์ด้วย Interactive Approach คือวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้คนในสังคมที่เป็นเงื่อนไขของภัยธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอาจเกิดขึ้นจริง แต่มันถูกหยิบยกให้เป็นปัญหาในสังคมเพราะเงื่อนไขทางการเมือง เช่น ไฟป่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติทุกปี แต่วันหนึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก เพื่อจะบอกว่าคนในป่าเผาป่าและควรถูกอพยพออกจากป่า หรือเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมาณจัดการไฟได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น โดยสรุปคือนิเวศวิทยาการเมืองพยายามชี้ว่ากระบวนการทางเศรษฐกิจการเมือง มีส่วนกำหนดรูปแบบการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บางครั้งพวกนักสิ่งแวดล้อมมีข้อเสนอดีๆ ให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ใช้รถพรีอูซเราเองก็เห็นด้วย แต่ทำไมเราทำตามไม่ได้ แอนโธนี กิดเดนส์ มาร์กซิสต์คนหนึ่ง อธิบายเรื่องนี้ว่าก็เพราะเราอยู่ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมที่กำกับควบคุมอยู่นั่นเอง
1) นิเวศวิทยาการเมืองแนวที่นี้ รับอิทธิพลมาจากเศรษฐศาสตร์การเมืองของมารกซิสต์ ได้อิทธิพลของวัตถุนิยมวิภาษวิธีคือวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ขับเคลื่อนความเป็นไปทางสิ่งแวดล้อม 2) เป็นการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ 3) เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะใช้การวิเคราะห์ชนชั้นมาแสดงให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้คนในสังคม จะแก้ไขปัญหามลพิษด้วยการออกรถไฮบริด หรือการทำไบโอดีเซลคงไม่พอ ตราบเท่าที่คนในสังคมมันยังไม่เท่ากันไม่เสมอภาคกัน 4) นิเวศวิทยาการเมืองวิจารณ์รัฐ และระบบทุนนิยม ว่าเป็นตัวการของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทวิจารณ์ของนักนิเวศวิทยาการเมืองต่อมาร์กซิสต์มีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นการนำไปต่อยอด เพราะเห็นว่ายังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้วิเคราะห์ปัญหาไม่ครอบคลุม แต่วันนี้คงไม่มีเวลาลงรายละเอียดเรื่องนี้ ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม Common Property ผ่านมุมมองนิเวศวิทยาการเมือง สิทธิเหนือทรัพยากรเป็นเรื่องหนึ่งที่นิเวศวิทยาการเมืองให้ความสำคัญ เพราะทำให้เกิดปัญหามากมาย โดยมองว่าจำเลยสำคัญอยู่ที่รัฐ กับ ทุนนิยม ในกรณีของประเทศไทย ตามกฎหมายสิทธิเหนือที่ดินป่าไม้มีแค่สองแบบคือกรรมสิทธิ์ของรัฐ และกรรมสิทธิ์เอกชนที่บริหารจัดการด้วยกลไกตลาดเป็นหลัก คนฐานะดีจึงซื้อที่ดินกักตุนได้ แต่คนจนไม่สามารถเข้าถึงที่ดินทำกิน มาร์กซิสต์เห็นว่าการควบคุมผูกขาดปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะแรงงานและที่ดินของนายทุนเป็นปัญหาสำคัญของระบบทุนนิยม ทำให้แรงงาน และชาวนาชาวไร่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขบวนการชาวไร่ชาวนาไทยตั้งแต่กลางทศวรรษ 2510 เรื่อยมาก็ได้รับอิทธิจากแนวคิดนี้ มีการต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน ค่าเช่านา การกระจายการถือครองที่ดิน และแนวทางนี้มีอิทธิพลมาถึงขบวนการชาวนาในปัจจุบัน ขณะที่มาร์กซิสต์เสนอเรื่องการผลิตร่วมและกรรมสิทธิ์ส่วนร่วม ก็มีแนวคิดเรื่อง Tragedy of the Commons (1968) ของ Garrett Hardin ซึ่งเป็นนักนิเวศวิทยาที่บอกว่าหากทรัพยากรกลายเป็นของส่วนรวมเมื่อไหร่จะกลายเป็นโศกนาฏกรรม เพราะแต่ละคนจะเข้าไปแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่สนใจดูแลรักษา แต่ไม่นานก็มีการแย้งว่าในชุมชนท้องถิ่นที่ระบบการจัดการทรัพยากรดูแลร่วมกันได้ มีกฎเกณฑ์การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เป็นระบบ Common Property เพื่อจะบอกว่ารัฐอย่ามาผูกขาดอำนาจเหนือทรัพยากร หรือเอื้อประโยชน์ให้นายทุนด้วยการใช้ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนที่ใช้กลไกตลาดในการจัดการทรัพยากร แนวคิดเรื่อง Common Property ได้รับความสนใจมากในแวดวงนิเวศวิทยาการเมือง เช่นเดียวกับในแวดวงเศรษฐศาสตร์การเมือง และเศรษฐศาสตร์สถาบัน งานพัฒนาในประเทศโลกที่สามก็มักจะหยิบเอาเรื่องนี้มาเผยแพร่และส่งเสริมชุมชนท้องถิ่น ในประเทศไทยพูดเรื่องนี้กันมากช่วงปลายทศวรรษ 2520 เมื่อมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบเหมืองฝาย และต่อมาก็ป่าชุมชน ซึ่งพยายามไปเข้าใจวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อเรื่องผีซึ่งเป็นอุดมการณ์อำนาจที่ควบคุมการจัดการทรัพยากร ต่อมาก็พูดเรื่องสิทธิชุมชน เรื่อยมาจนถึงโฉนดชุมชนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลแรกที่รับลูก
ปัญหาของการพยายามใช้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม ข้อแรก เรื่องสิทธิเหนือทรัพยากรไม่ใช่เรื่องของคนกับทรัพยากรเท่านั้น แต่เป็นการกำหนดสิทธิระหว่างคนกับคนในสังคมด้วยกันเอง งานศึกษาและข้อเสนอในเรื่อง Common Property จึงเน้นไปที่การจัดความ "ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ" ระหว่างผู้คน แต่ก็มักพูดถึงแต่ความสัมพันธ์หรือความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับรัฐ หรือชุมชนกับนายทุนหรือคนภายนอกเนื่องจากบริบทปัญหาในขณะนั้นเป็นเช่นนั้น เช่น รัฐให้นายทุนมาสัมปทานทำไม้ รัฐประกาศเขตป่าทับที่ ฯลฯ งานศึกษาและงานเขียนพยายามแสดงให้เห็นการจัดการทรัพยากรของชุมชน มีแนวโน้มไปทางโรแมนติก คือชุมชนจัดการดีไปหมด เกรงว่าถ้าบอกว่าไม่ดี หรือขัดแย้งกันภายในก็จะหมดความชอบธรรมในการอ้างอำนาจเหนือทรัพยากร แต่สิ่งที่มักขาดไปคือไม่แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลายและความขัดแย้งภายในชุมชนที่มากพอ ถ้ามองแบบมาร์กซิสต์ก็คือขาดการวิเคราะห์ทางชนชั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะระหว่างชาวบ้านกับกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ แต่งานทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญกับความแตกต่างของฐานะทางสังคมเศรษฐกิจภายในชุมชน โดยที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางสังคมภายนอกว่าทำคนในชุมชนไม่เท่าเทียมอย่างไร และมีการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในชุมชนอย่างไร เมื่อไม่วิเคราะห์ความแตกต่างจึงทำให้มีข้อเสนอที่โรแมนติก คือชุมชนจัดการกันเองได้ ไม่สนใจรัฐหรือกลไกอำนาจและสถาบันต่างๆ ในรัฐ ไม่เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่ปรากฏในทุกๆ หน่วยทางสังคม คู่ขัดแย้งไม่ได้มีเฉพาะรัฐหรือนายทุนกับประชาชน แต่มีความไม่เสมอภาคระหว่างประชาชนด้วยกันเองด้วยซึ่งที่สุดแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดการทรัพยากรและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ที่แม้จะสามารถจัดการทรัพยากรด้วยระบบกรรมสิทธิ์ร่วมได้ก็อาจไม่ช่วยทำให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ปัญหาข้อที่สอง งานศึกษาเกี่ยวกับ Common Property ในต่างประเทศ รวมทั้งในไทย เป็นการศึกษาระบบที่เคยมีอยู่แล้วในชุมชนท้องถิ่น หรือท้องถิ่นปรับประยุกต์ขึ้นเองเพื่อต่อรองกับอำนาจภายนอก แต่ขณะนี้มีความพยายามส่งเสริมแนวคิดนี้โดยสร้างให้เป็นโมเดล กลายเป็นกรอบการจัดการทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นที่แข็งตัว ซึ่งมีธงว่าชุมชนท้องถิ่นต้องปกปักษ์รักษาทรัพยากรเอาไว้ให้ได้ และต้องเป็นวิถีทางแห่งการอนุรักษ์ โดยไม่ได้พิจารณาเงื่อนไขปัจจุบันว่าชุมชนเป็นอยู่อย่างไรจริงๆ ผลที่เกิดขึ้นกลายเป็นการควบคุมชุมชนมากกว่าจะช่วยต่อรองให้ชุมชนมีอำนาจเหนือทรัพยากรมากขึ้น ความจริงเป้าหมายของการจัดการทรัพยากรแบบนี้ดีอยู่แล้วคือ เพื่อกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรจากรัฐมาสู่ประชาชนอย่างเป็นธรรมมากขึ้น แต่ยังต้องใคร่ครวญว่าแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายแค่ไหนอย่างไร การจัดการร่วมจะบรรลุก็ต่อเมื่อดำเนินการอย่างเป็นประชาธิปไตย คือต้องให้ทั้งเสรีภาพ และทำให้ปัจเจกมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เหตุผลหนึ่งที่สังคมคอมมิวนิสต์มีปัญหาก็เพราะเป็นการบังคับปัจเจกให้ทำเพื่อส่วนรวม คือให้ใช้แรงงานทำการผลิตในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วม แล้วให้ปัจเจกได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีปัญหาในการนิยามความ "จำเป็น" เพราะเป็นเรื่องของการประกอบสร้างทางสังคม (social construction) ที่แต่ละคน "จำเป็น" ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
หลายปีก่อนมีโอกาสลงพื้นที่ ทั้งศึกษาเอง และไปสังเกตการณ์ การทดลองใช้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม จะยกตัวอย่างให้เห็นว่ามีปัญหาอย่างไร กรณีแรก มีความพยายามทดลองการทำนารวมในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ภาคเหนือ และอีกแห่งที่อีสาน เป็นระบบการผลิตร่วมกัน มีเป้าหมายให้ชุมชนได้ใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน นารวมที่ภาคเหนือใช้ที่ดินที่นายทุนปล่อยรกร้างว่างเปล่า ปรากฏว่าคนมาทำนาส่วนใหญ่เป็นคนอายุมาก ซึ่งก็ทำมั่งไม่ทำมั่ง เพราะไม่ไหว ผลผลิตที่ได้จึงต่ำมาก ส่วนที่ภาคอีสานเป็นการเข้าหุ้นที่ดินและปัจจัยการผลิต คนที่เอาที่ดินมาลงหุ้นส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุที่อยากทำนา แต่ไม่มีแรงงาน เพราะลูกหลานออกรับจ้างไปตัดอ้อยทั้งฤดูบ้าง รับจ้างรายวันบ้าง ส่วนคนที่มาออกแรงมีทั้งแกนนำชุมชน ซึ่งทำการผลิตของตนเองอยู่แล้วและขยายกำลังการผลิตเพิ่มมาในที่ดินส่วนรวม การทำนารวมที่นี่ได้ผลผลิตดี แบ่งกันตามส่วน แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ว่าจะช่วยเหลือชาวนาไร้ที่ดิน หรือช่วยกระจายทรัพยากร เพราะชาวนาไร้ที่ดินก็ไม่ค่อยมาทำ แต่ออกไปรับจ้าง ผู้ที่ร่วมในระบบดังกล่าวกลับเป็นอดีตชาวนาที่มีที่ดินและมีเงินส่งกลับจากลูกหลาน การทำเกษตรในปัจจุบันต้องลงทุนสูงทั้งแรงงาน และปัจจัยการผลิต การแก้ปัญหาเรื่องที่ดินอย่างเดียวบางทีก็ไม่ตอบโจทย์ว่าจะช่วยให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้นหรือเปล่า มีงานวิจัยเรื่องนี้อยู่มาก แต่ไม่ค่อยนำมาพิจารณากันเท่าที่ควร กรณีที่สองเป็นชุมชนเมืองในที่ดินของรัฐ สุ่มเสี่ยงจะถูกไล่รื้อ จึงเรียกร้องให้รัฐออกโฉนดชุมชน และมีข้อต่อรองว่าชุมชนจะควบคุมกันเองไม่ให้ขายสิทธิหรือให้เช่าที่ดิน เพื่อยืนยันว่าชาวบ้านต้องการที่ดินเพื่ออยู่อาศัยจริงๆ แต่ความจริงคนในชุมชนไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ-สังคม มีทั้งคนจนและคนฐานะดีมาก ชุมชนบอกว่าผู้ที่ไม่ร่วมการเคลื่อนไหวจะไม่ให้มีชื่ออยู่ในโฉนดชุมชน ปรากฏว่าคนที่ไม่ร่วมเป็นคนฐานะดีและมีอิทธิพล มีบ้านให้เช่าอยู่ในชุมชน 2-3 หลัง ถ้าออกโฉนดชุมชนได้เขาจะถูก "ชุมชน" ยึดบ้านและที่ดิน ซึ่งเขาคงไม่ยินยอม และใครจะตัดสินว่าเป็นธรรมหรือเปล่า ถ้าเขาจะถูกผลักไสออกจากที่ดินเพราะเขาก็บุกเบิกจับจองหรือซื้อสิทธิมา ไม่ต่างจากคนในชุมชนอื่นๆ เพียงเพราะเขาฐานะดี หรือไม่เข้าร่วมขบวนการเรียกร้อง เรื่องนี้ก็ยังต้องถกเถียงกันต่อ ความขัดแย้ง "ภายใน" ที่เกิดขึ้นมักกลายเป็นภาระที่ชาวบ้านต้องจัดการกันเอง บนสมมติฐานว่าชุมชนมีศักยภาพ จัดการกันเองได้ แม้ว่าปัญหาจะเกิดจากกลไกใหม่ หรืออำนาจภายนอกก็ตาม ในขณะที่เข้าไปศึกษา การออกโฉนดชุมชนที่นั่นยังไม่คืบหน้านัก ความขัดแย้งต่างๆ จึงไม่ปรากฏ หรืออาจมีความขัดแย้งแล้วแต่นักวิจัยก็ไม่ได้รับอนุญาตให้รับรู้ ตัวอย่างสุดท้ายเป็นที่ดินในเขตป่าภาคเหนือ มีการรังวัดทำขอบเขตทั้งรอบแปลง และแยกแยะที่ดินของแต่ละครัวเรือน ใช้หลักการโฉนดชุมชนคือห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือ มีกติกาจัดการร่วมกัน แต่ปรากฏว่าการซื้อขายที่ดินมีมาก่อนนั้นนานแล้ว มีคนต่างหมู่บ้าน และต่างอำเภอเข้ามาซื้อที่ดินทำเกษตร แต่ไม่ได้อยู่ในชุมชน กรรมการหมู่บ้านและกรรมการตำบลจึงไม่สามารถจะเอากฎเกณฑ์ร่วมของหมู่บ้านและตำบลไปควบคุมเขา เป็นเรื่องที่ต้องต่อรองกันต่อไป การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเป็นเรื่องที่ยังคงต้องผลักดันกันต่อไป แต่แนวทางที่เป็นอยู่อาจไม่บรรลุ หรือไม่พอ จะพูดแบบเหมาๆ ว่าเพื่อ "คนยากจน" เพื่อ "คนจนไร้ที่ดิน" หรือจัดการร่วม หรือยั่งยืน หรือเพื่อส่วนรวม แล้วแปลว่าเป็นแนวทางที่ดีเวิร์คยังไม่พอ เรื่องที่น่าจะพิจารณามากขึ้นคือ 1.เหตุของความไม่เป็นธรรมในการจัดการทรัพยากรมีเฉพาะ "รัฐ ทุนชาติ ทุนข้ามชาติ" เท่านั้นหรือเปล่า ประชาชนด้วยกันเองจะปัญหาด้วยไหม 2.ถ้ามองเห็นแค่รัฐกับทุน ซึ่งรัฐก็มักหมายถึงหน่วยงานรัฐ หรือกฎหมายบางตัวที่มีปัญหา การต่อรองกับรัฐและทุนจึงมีเป้าหมายเพียงแค่ต่อรองกับหน่วยงานหนึ่งๆ หรือพยายามแก้กฎหมาย ร่างกฎหมายบางฉบับ เพื่อให้ชุมชนมีอำนาจจัดการที่ดิน การมองแค่นี้อาจแคบเกินไปจนละเลยปัญหาพื้นฐานที่สำคัญที่เป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น 3.เรื่องกรรมสิทธิ์นั้นสำคัญแต่ทำเรื่องนี้อย่างเดียวไม่พอ เพราะยังตอบโจทย์ชีวิตของคนท้องถิ่นได้ไม่รอบด้าน สถานะของผู้คน ระบบเศรษฐกิจ ระบบและความสัมพันธ์ทางการผลิตในยุคนี้ เป็นอย่างไรแล้ว ชาวไร่ชาวนาหรือคนชนบทยังทำการเกษตรอยู่หรือเปล่า สังคมชนบทยังเป็นสังคมชาวนาอยู่ไหม ความสัมพันธ์ภายในชุมชนเป็นอย่างไร 4.ระบบที่นำไปสวมในชุมชนท้องถิ่นนั้นเป็นระบบที่จะเพิ่มความขัดแย้งภายในให้เพิ่มขึ้นไหม แน่นอนว่าคนท้องถิ่นมีศักยภาพในการจัดการ และแก้ไขปัญหา แต่ระบบใหม่ที่นำเข้าไปจะช่วยให้คนท้องถิ่นมีอำนาจเหนือทรัพยากรมากขึ้น หรือยิ่งไปเพิ่มปัญหาให้ถูกจำกัดควบคุมมากขึ้นกันแน่ 5.ระบอบกรรมสิทธิ์ร่วมที่กำลังผลักดันกันอยู่นี้เน้นบังคับใช้กับชุมชนท้องถิ่นที่มีปัญหาเรื่องสิทธิเหนือทรัพยากร แม้จะบอกว่านั่นคือเครื่องมือในการต่อรองกับรัฐ แต่คงต้องถามต่อว่าสำหรับประชาชนคนอื่นภายนอกเล่า ยังสามารถเสพ ซื้อ หรือกักตุนทรัพยากรอย่างไรก็ได้หรือเปล่า หากเป็นเช่นนี้ระบอบนี้จะทำให้เกิดความเสมอภาคต่อประชาชนทั้งมวลได้อย่างไร แก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิเหนือทรัพยากรไม่ได้ หากประชาชนไม่เสมอภาค การมุ่งเน้นแก้ไขเรื่องสิทธิเหนือทรัพยากรเรื่องเดียวจะกลายเป็นการแก้ไขปัญหาที่มิรู้จบ เพราะปัญหาแก้ไม่ได้ด้วยการแก้ไขกฎหมายป่าไม้-ที่ดิน หรือมติ ครม.ทีละฉบับ ทีละมาตรา ต่อให้มีกฎหมายป่าชุมชน โฉนดชุมชนขึ้นมา แต่หากคนมองคนไม่เท่ากัน กฎหมายดีๆ ก็ยังถูกเลือกใช้ เลือกปฏิบัติเหมือนเดิม การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดคือจะต้องทำให้ความเป็น "ประชาชน" มีความหมายในสังคม และทำให้บ้านเมืองเรามี "ประชาธิปไตย" ที่มีความหมายจริงๆ คือยอมรับร่วมกันให้ได้เสียก่อนว่า "คนมีความเป็นคนเท่ากัน" มีความเสมอภาค มีสิทธิที่จะส่งเสียง เป็นประชาชนที่มีมีความหมายคือ มีอำนาจเหนือรัฐ คือรัฐต้องฟังเสียงประชาชน และปกป้องดูแลไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนถูกเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งก็เป็นคนเหมือนกันข่มขู่คุกคามตลอดเวลาแบบที่เป็นอยู่ ความเป็นประชาธิปไตยยังหมายรวมถึงการจัดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ทำให้ประชาชนธรรมดาๆ มีสิทธิที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และเสมอภาคกับประชาชนคนอื่น ที่มีที่มีสถานะทางสังคมเศรษฐกิจเหนือกว่า การจะทำให้คนมีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจเท่ากันคงเป็นเรื่องเพ้อฝันเกินไป แต่สิทธิ เสรีภาพ โอกาส และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สามารถทำให้เท่าเทียมกันได้ ไม่ใช่บอกให้คนในป่าอยู่พอเพียงกับความอดๆ อยากๆ เพื่อถนอมป่าไว้ให้เป็นปอดของชาติ ที่รอคนมีเงินมานอนตากอากาศ หากคนในเมืองมีสิทธิกินเกินอิ่มได้ ทำไมคนในป่าจะต้องทนหิว บอกว่าคนในป่าโง่ไม่รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากร แต่คนรวยเดินตากแอร์กันอย่างไม่รู้สึกผิด หากคนในเมืองชอบไปเที่ยวป่าได้ ทำไมคนในป่าเดินห้างแล้วจะต้องถูกเหยียดหยามดูแคลน ประชาธิปไตยเป็นเรื่องพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมง่ายที่สุด ตรงที่สุด เพราะเราจะเห็นได้ง่ายๆ ว่าชาวบ้านที่ต่อสู้ปกป้องสิทธิเหนือทรัพยากรไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐและประชาชนกลุ่มอื่นๆ อยู่บ้านดีๆ ก็ถูกจับ ทำเกษตรก็ถูกขังคุก ต่อสู้เคลื่อนไหวก็ถูกฟ้องร้อง ชุมนุมก็ถูกคนในเมืองด่า หากไม่มีประชาธิปไตยที่ทำให้คนมีความเสมอภาคกันจริงๆ กรรมสิทธิ์ร่วม หรือระบบสิทธิเหนือทรัพยากรใดๆ ที่ว่าดีที่สุดก็ไม่อาจช่วยให้คนด้อยอำนาจ คนชายขอบ เป็นประชาชนที่มีความหมายขึ้นมาได้ เพราะถึงจะมีสิทธิเหนือทรัพยากรในท้องถิ่นของตัวเอง แต่ออกไปข้างนอกก็ยังถูกคนอื่นกดหัวดูถูกอยู่เหมือนเดิม แต่น่าเสียดายว่านักเคลื่อนไหวด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา กลับมองไม่ค่อยเห็นการเชื่อมโยงตรงนี้ ไม่เห็นว่าสิทธิและเสียงของประชาชนมีความหมาย ในที่นี้ไม่ได้พูดถึงเฉพาะการเลือกตั้ง หรือการจะเลือกพรรคไหนเป็นรัฐบาลแค่นั้น แต่กำลังพูดว่าเรามีจุดยืนหรืออุดมการณ์ที่มองเห็นคนเท่ากันหรือเปล่า เราเคารพความเป็นคนของคนอื่นแล้วหรือยัง เคารพสิทธิ เสียง และเสรีภาพในการเลือกของประชาชนคนอื่นไหม ไม่ต้องมาร่วมเคลื่อนไหวอะไรในเรื่องประชาธิปไตยก็ได้ถ้าบอกว่ามีภารกิจการงานมากอยู่แล้ว มีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากอยู่แล้ว "แต่ถามกันจริงๆ จุดยืนในใจที่กั๊กไว้เนี่ยมองประชาชนคนอื่นยังไง..มองชาวบ้านที่ทำงานด้วยยังไง..พูดถึงพวกเขายังไง มองเขาเท่ากับตัวเองหรือเปล่า กล้ายอมรับกันตรงไปตรงมาไหม" หรือว่าเราจะได้ยินเพียงเสียงของธรรมชาติ และเสียงของประชาชนคนชายขอบในสังกัดของตัวเอง ผู้ที่ถูกมองอย่างโรแมนติกว่าบริสุทธิ์ ซื่อ และไร้เดียงสา และความจริงแล้ว แม้แต่ประชาชนที่เราบอกว่าเราทำงานเพื่อพวกเขา ก็ไม่แน่ว่าจริงๆ แล้วเราจะมองพวกเขาเป็นประชาชนที่มีความหมาย...
ข้อเสนอหากว่าจะอยากทราบกันจริงๆ เพราะเห็นคนชอบถามหาข้อเสนอ บอกว่าวิจารณ์แล้วไม่เสนอ ที่ไม่เสนอก็เพราะทราบว่าเสนอไปก็ไม่ทำ 1) คงจะต้องให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายของสถานะทางเศรษฐกิจสังคมในชุมชน และวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขาที่เป็นอยู่อย่างจริงจังกว่านี้ 2) ระบบสิทธิเหนือทรัพยากรใดๆ ที่จะคิดพัฒนาขึ้นมา จะต้องไม่ใช่เพื่อให้คนในชุมชนควบคุมกันเองอย่างเดียว แต่ต้องทบทวนว่าทำให้ชาวบ้านมีอำนาจเหนือทรัพยากรจริงไหม และคงจะต้องผลักดันการกระจายทรัพยากรจากคนรวยมาสู่คนจนให้มากกว่านี้ 3) เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผลักดันอุดมการณ์ว่าประชาชนต้องเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เชิงรูปธรรมไม่แน่ใจ แต่อุดมการณ์ตรงนี้มีอยู่ในสำนึกของนักสิ่งแวดล้อมแล้วหรือยังคงต้องทบทวนให้หนัก และพยายามปฏิบัติให้ได้ ในสังคมไทย สังคมนักพัฒนา สังคมชาวบ้าน ทำเรื่องเหล่านี้ในทางปฏิบัติให้ได้เสียก่อนแล้วเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วม หรือสำนึกรับผิดชอบร่วมในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมันจึงจะเป็นไปได้ "หากออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ไม่ได้ นอนแสดงจุดยืนอยู่ที่บ้านก็ได้ แต่ที่ผ่านมาเห็นแต่ว่ากระตือรือร้นสนับสนุนให้มีการปราบ การฆ่าประชาชน ไม่เห็นว่าจะมีจุดยืนเรื่องการเคารพความเป็นคนของประชาชนเลย" ความอาวุโส ระบบอุปถัมภ์อะไรที่มีอยู่ในแวดวงนักพัฒนาและสังคมไทยนั้นไม่น่ารังเกียจเกินไปนักหรอก หากวางอยู่บนความสัมพันธ์ที่มองเห็นคนมีศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่ากัน.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ยึดครองทุกแห่ง: แรงบันดาลใจจากออคคิวพายฯ สู่ประเทศไทย Posted: 30 Jan 2012 08:23 AM PST สารคดี: ยึดครองทุกแห่ง: แรงบันดาลใจจากออคคิวพายฯ สู่ประเทศไทย
วิธีอ่านคำบรรยายภาษาไทย: ขณะเล่นวิดีโอให้กดปุ่ม cc บริเวณมุมล่างขวาของจอวิดีโอ
คำอธิบายโดยผู้ผลิตสารคดี ประชาธิปไตยภายในขบวนการและแนวร่วมที่เข้มแข็ง คือ ลักษณะเด่นของการเคลื่อนไหวกลุ่ม “ออคคิวพายวอลล์สตรีท” ที่ทำให้เราสองคนสนใจและตัดสินใจทำวิดีโอขนาดสั้นนี้ขึ้นระหว่างที่เราเข้า ร่วมสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวที่นิวยอร์คช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือน พฤศจิกายนปีที่แล้ว วัตถุประสงค์เบื้องต้นก็คือ เราต้องการแนะนำและจุดประกายให้คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเคลื่อนไหวและนักจัดตั้งในบ้านเราได้รู้จักหลักการพื้น ฐานและวิธีการของการจัดตั้งที่เรียกว่า “กระบวนสร้างฉันทามติ (consensus-building process)” เราเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวมีจุดแข็งที่ทำให้ขบวนการออคคิวพายฯ สามารถขยายฐานการเคลื่อนไหวและผลักดันประเด็นของตนเองจนเกิดความตระหนักใน เรื่องนี้อย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970s อย่างไรก็ตาม เราตระหนักดีว่าขบวนการนี้ไม่ได้ปราศจากข้อบกพร่องและประเด็นปัญหาเร่งด่วน ในบริบทของแต่ละสังคมนั้นแตกต่างกันไป หัวใจสำคัญก็คือ เราเล็งเห็นว่าสังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายสำคัญทางการเมืองและต้อง การแรงบันดาลใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเชิงยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนที่จะช่วยให้ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศสามารถสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พม่า - กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ลงนามหยุดยิงรอบใหม่ Posted: 30 Jan 2012 06:37 AM PST กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA และรัฐบาลพม่าลงนามหยุดยิงกันอี มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะเจรจากองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" หรือ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน กองทัพรัฐฉาน SSPP/SSA ได้พบเจรจาสันติภาพกั พ.อ.เจ้าจายละ โฆษก SSPP/SSA เปิดเผยว่า ช่วงเช้าคณะเจรจาสันติภาพของ SSPP/SSA รวม 7 คน นำโดยเจ้าขุนแสง ได้พบหารือกับคณะเจรจาพม่าระดั จากนั้นในช่วงบ่าย สองฝ่ายมีการเจรจาสันติภาพระดั ทั้งนี้ หลังการลงนามข้อสัญญาสันติ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA มีพล.ต.ป่างฟ้า เป็นผู้นำสูงสุด มีพื้นที่เคลื่อนไหวในรั ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นัดสืบพยานเดือน ก.ย. โปรแกรมเมอร์ผู้ถูกกล่าวหาสร้างเพจหมิ่นในเฟซบุ๊ค Posted: 30 Jan 2012 05:33 AM PST
30 ม.ค.55 ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา ถนนรัชดา ศาลนัดพร้อมคดีหมายเลขดำที่ 4357/2554 ที่นายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ถูกพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6 สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องในความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำเลยซึ่งถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.54 ถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาศาล พร้อมด้วยทนายความ รวมถึงพี่ชายและมารดาจำเลยที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด โดยในวันนี้จำเลยได้ให้การปฏิเสธในชั้นศาลว่าไม่ใช่เจ้าของอีเมล์และเพจดังกล่าว รวมทั้งไม่ใช่ผู้นำเข้าข้อความตามฟ้อง และขอต่อสู้คดี ศาลนัดวันสืบพยานต่อเนื่องสำหรับพยานโจทก์ 12 ปาก และพยานจำเลย 5 ปาก โดยนัดหมายให้สืบพยานโจทก์ในวันที่ 18-20 ก.ย.55 สืบพยานจำเลยในวันที่ 21, 25 ก.ย.55 อานนท์ นำภา ทนายจำเลย ระบุว่า พยานโจทก์ปากแรกคือผู้แจ้งความดำเนินคดีกับนายสุรภักดิ์ โดยบุคคลดังกล่าวปรากฏชื่ออยู่ในผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อนประชาธิปไตย (พธม.) ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของอีเมล์ dorkao@hotmail.com ซึ่งจัดทำเพจในเฟซบุ๊กชื่อว่า “เราจะ.......โดยทำรัฐประหาร” และกระทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3,14,17 คำฟ้องระบุว่า จำเลยทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าวในวันที่ 4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54 ในเฟซบุ๊ก และในวันที่ 2 ก.ย.54 เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวจำเลยได้พร้อม คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง แอร์การ์ด 1 อัน ซิมการ์ดทรูมูฟ 2 อัน ซิมการร์วันทูคอล 1 อัน แผ่นซีดี บรรจุในกระเป๋าซีดี จำนวน 52 แผ่น โมเดมเร้าเตอร์ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง แผงวงจรไฟฟ้า 1 ตัว จึงได้ยึดเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในตอนท้ายคำฟ้องยังระบุเหตุผลคัดค้านการขอประกันตัวของจำเลยด้วยว่า “อนึ่ง จำเลยเป็นคนไทย อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อชาติบ้านเมือง และพสกนิกรเป็นล้นพ้น จำเลยนอกจากไม่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทรงมีต่อพสกนิกรเสมอมาแล้ว ยังบังอาจแสดงความอาฆาตมาดร้าย มุ่งล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติที่ประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ พฤติกรรมของจำเลยไม่มีเหตุอันควรปราณี ไม่ว่าในทางใด สมควรได้รับโทษสถานหนัก จำเลยกระทำผิดร้ายแรง อันเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว อาจหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อภัยในลักษณะดังกล่าวขึ้นมาอีก หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสวนา: มองขบวนการเสื้อแดงผ่านมาร์กซิสต์ Posted: 30 Jan 2012 04:25 AM PST วันที่ 29 มกราคม กลุ่มประกายไฟ (Iska group) จัดการเสวนางานหัวข้อ“มองขบวนการเสื้อแดงผ่านมาร์กซิสต์” ร่วมเสวนาโดย รัชพงษ์ โอชาพงษ์ ตัวแทนจากกลุ่มประกายไฟ อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกิติภูมิ จุฑาสมิต กลุ่มปีกซ้ายพฤษภา ที่ห้องประชุม 14ตุลา อาคารมูลนิธิสำนักงาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน การนิยามกลุ่มคนเสื้อแดงว่า “ชนชั้นกลางใหม่” เป็นเพียงมุมมองในแบบปัจเจก รัชพงษ์ตั้งข้อสังเกตว่า หากเรานิยามกลุ่มคนเสื้อแดงว่าเป็นชนชั้นกลางใหม่ คือ เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในโรงงาน ไม่ได้อยู่ในระบบอุตสาหกรรม ถ้าหากเป็นเช่นนี้ ก็อาจหมายความว่ากรรมกรและคนงานในระบบเป็นคนส่วนน้อยของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมหรือไม่ รัชพงษ์ตั้งข้อสังเกตต่อไปอีกว่าคนเสื้อแดงที่ชุมนุมอยู่ในกรุงเทพนั้นอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มาจากต่างจังหวัด ด้วยจำนวนผู้ชุมนุมที่มานั้นจะเพิ่มมากขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาเย็น หากเป็นเช่นนี้แล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงผู้ที่มาชุมนุมในกรุงเทพนั้นเป็นใคร หากเป็นคนที่อยู่ในเมืองอยู่แล้ว แล้วคนที่อยู่ในเมืองนี้ถือเป็นชนชั้นกลางใหม่ด้วยใช่หรือไม่ แล้วผู้ประกอบการรายย่อยในชนบทนั้นจะนิยามว่าเป็นชนชั้นกลางใหม่ด้วยหรือไม่ รัชพงษ์กล่าวว่าเมื่อนิยามให้กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นชนชั้นกลางใหม่แล้ว กลุ่มคนเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้เองจริงหรือเปล่า แล้วการเป็นผู้ประกอบการรายย่อยนี้คือกลุ่มที่อยู่ช่วงไหนของ “การผลิต” ยกตัวอย่างเช่น คนทำอาชีพขายส้มตำก็ถูกสรุปง่ายๆว่าเป็นชนชั้นกลางโดยที่ไม่ดูว่ารายได้ของเขาเท่าไหร่ คนพวกนี้มีการหล่อเลี้ยงการผลิตของเขาได้แค่ไหน แล้วจะเรียกว่าเป็นชนชั้นกลางได้หรือไม่ กลุ่มคนเสื้อแดงประกอบด้วยคนหลากหลายชนชั้น และไม่สามารถศึกษาได้ในแบบมาร์กซิสต์ อนุสรณ์กล่าวว่าการศึกษากลุ่มคนเสื้อแดงมักพูดถึงประเด็นทางชนชั้น แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีใครอธิบายออกมาในมุมมองแบบมาร์กซิสต์ ปัญหาตรงนี้คือเราจะมองชนชั้นของกลุ่มคนเสื้อแดงได้อย่างไร แล้วจะอธิบายอย่างไรกับกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจคล้ายกันกับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง เช่น กลุ่มคนยอดหญ้าหรือกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ในภาคใต้ก็ไม่ได้เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง อนุสรณ์กล่าวต่อไปว่าสถานะและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโดยลำพังไม่สามารถนำมาอธิบายกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมดได้ ความขัดแย้งที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องทางชนชั้น เพราะในกลุ่มคนเสื้อแดงก็มีองค์ประกอบที่หลากหลาย และมีลักษณะเป็น “แนวร่วมทางชนชั้น” มากกว่า อนุสรณ์กล่าวปิดท้ายว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นเป็นการใช้เครื่องมือในเรื่องของ Identity Politic เช่น การผลิตสินค้าของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่าง เสื้อสีแดง และรองเท้า ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นแนวแบบมาร์กซิสต์ กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นผลจากกลุ่มคนเสื้อเหลืองตามกฎวิพาษวิธีในแบบมาร์กซิสต์ และสังคมยูโทเปียแบบไทยๆถูกทำลายโดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 กิติภูมิอธิบายการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงผ่านกระบวนการวิพาษวิธี (Dialectics) ตามทฤษฎีของมาร์กซิสต์ โดยเริ่มต้นที่การเปลี่ยนจากปริมาณสู่คุณภาพ ซึ่งก็คือจำนวนของผู้ร่วมชุมนุมในกลุ่มคนเสื้อแดงที่เพิ่มมากขึ้น ประเด็นต่อมาคือเกิดจากความขัดแย้งของระบบที่เป็นอยู่ และสุดท้ายคือการปฏิเสธของการปฏิเสธ กล่าวคือ มีกลุ่มคนเสื้อเหลือง (Thesis) และต่อมาเกิดกลุ่มคนที่ต่อต้านเสื้อเหลืองอีกทีซึ่งก็กลายเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง (Anti-thesis) ส่วนกระบวนการขั้นต่อไป (Synthesis) นั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หากกล่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงมีที่มาจากกลุ่มคนเสื้อเหลืองก็ต้องอธิบายย้อนกลับไปอีกว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองมาจากไหน กิติภูมิอธิบายว่าคนเสื้อเหลืองมีอุดมการณ์ราชาชาตินิยม แต่เขาก็ตั้งข้องสังเกตว่าอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นเสมือนอุดมการณ์ลวง แล้วทำไมชนชั้นกลางจึงยอมรับอุดมการณ์อันนี้ได้ กิตติภูมิอธิบายต่อไปว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองก็คือกลุ่มคนที่ถูกคุกคามทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยมีศัตรูคือทักษิณ โลกาภิวัตน์ และประชาชน ที่ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และทรัพยากร โดยมีคนที่สังกัดในกลุ่มคนเสื้อเหลืองคือ กลุ่มเจ้า ขุนนาง อำมาตย์ ข้าราชการ ทหาร ร่วมกับชนชั้นกลาง กิตติภูมิกล่าวว่าทักษิณคือผลพวงจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ทำลายรัฐในอุดมคติ หรือสังคมยูโทเปีย (Utopia) ของรัฐไทย ย้อนไปในยุคของพลเอกเปรม ติณสูญลานนท์ ประเทศไทยในขณะนั้นเป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ต่อมาในยุคของชาติชาย ชุณหวรรณ ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจมาก ประเทศไทยก็ถูกดึงกลับสู่ความเป็น “บ้านดีเมืองดี” โดยคณะ รสช. และในเวลาต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ได้สร้างทักษิณขึ้นมา ก็ทำให้เกิดการกลับสู่การเป็นบ้านดีเมืองดีอีกครั้งในวันที่ 19 กันยายน 49 และพอมีการเลือกตั้งอีกครั้ง หลังการชนะของพรรคพลังประชาชน ประเทศไทยก็กลับสู่ความเป็นบ้านดีเมืองดีอีกครั้งโดยกลุ่มพันธมิตร ประเด็นต่อมาคือรูปแบบการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป โดยประชาชนเลือกพรรคตามนโยบายที่หาเสียง และรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ถูกออกแบบโดยมีลักษณะเสมือนระบบกึ่งประธานาธิบดี การเสียประโยชน์ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องทักษิณเท่านั้น หากแต่เป็นเพราะคนไม่สามารถยอมรับระบบในลักษณะนี้ได้ กิตติภูมิกล่าวต่อไปอีกว่าเรื่อง “ประสิทธิภาพ” และ “การเปรียบเทียบ” ไม่เคยมีขึ้นในประเทศไทย ก่อนหน้านี้สิ่งที่วงการเมืองคุยได้อย่างเดียวคือ สุจริต ไม่โกง แต่ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน จนกระทั่งมาในยุคของทักษิณที่ทำให้มีการพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพ และเกิดการเปรียบเทียบขึ้นมา กิตติภูมิอธิบายถึงขบวนการของกลุ่มคนเสื้อแดงว่ามีอุดมการณ์หลากหลาย มีทั้งอุดมการณ์เสรีนิยม สากลนิยม และสังคมนิยม กลุ่มคนเสื้อแดงอธิบายตนเองให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์กว่าคนเสื้อเหลือง เช่น ไม่มีเรื่องไสยศาสตร์มากมายเท่ากับกลุ่มคนเสื้อเหลือง และเป็นกลุ่มที่มีจิตสำนึกทางอุดมการณ์มากกว่าคนเสื้อเหลือง เป็นต้น กิตติภูมิสรุปทิ้งท้ายว่าหากมองเหตุการณ์หลังการผ่านพ้นวิกฤติตามหลักของมาร์กซิสต์แล้ว เมื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชนะก็จะเกิดการแตกแยกและขัดแย้งกันเอง และจะเกิดร่วมมือข้ามกับอีกชนชั้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อธิการ มธ. เผยมติฝ่ายบริหารไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่เคลื่อนไหว ม.112 Posted: 30 Jan 2012 04:02 AM PST หวั่นคนเข้าใจผิดคิดว่าการรณรงค์แก้ไข ม.112 เป็นการดำเนินการของ มธ. และอาจเกิดความขัดแย้งรุนแรงจนไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินมหาวิทยาลัยได้ ด้าน "เกษียร เตชะพีระ" โพสต์ระบุน่าเสียใจที่ผู้บริหารไม่เห็นความจำเป็นของมหาวิทยาลัยในฐานะที่แสวงหาทางออกจากความขัดแย้งแก่สังคมด้วยเหตุผลและหลักวิชาโดยสันติ วันนี้ (30 ม.ค.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่ากรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีมติเอกฉันท์ไม่ให้ พื้นที่มหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวเรื่องมาตรา 112 อีกต่อไป โดย ศ.ดร.สมคิดได้โพสตข้อความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กเมื่อเวลา ประมาณ 17.15 น. ว่า "ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักสถาบันมีมติเอกฉันท์ว่ามหาลัย คณะสำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัย หรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้" ขณะที่ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นในเฟซบุคด้วยว่า "เป็นเรื่องเศร้า แต่ไม่เหนือความคาดหมาย เหตุผลแรกฟังไม่ค่อยมีน้ำหนัก เพราะยังไม่เคยได้ยินใครว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นด้วยกับการผลักดันให้แก้ไข ม. 112 เลย สังคมทั่วไปทราบดีว่าเป็นกลุ่มนิติราษฎร์และ ครก.112 ไม่ใช่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยรวม ส่วนเหตุผลหลัง ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ แต่ยังไม่เห็นเค้ารอยความเป็นไปได้ชัดเจนนอกจากการเผาหุ่นที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวเท่ากับผลักดันให้เวทีแสดงความเห็นและแก้ไขความขัดแย้งเรื่องนี้หลุดลอยจากวงวิชาการออกไปสู่ท้องถนนหรือที่สาธารณะอื่นๆ ซึ่งน่าจะล่อแหลมต่อความรุนแรงกว่าด้วยซ้ำ น่าเสียใจที่คณะผู้บริหารไม่เห็นความจำเป็นของบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะที่แสวงหาทางออกจากความขัดแย้งแก่สังคมด้วยเหตุผลและหลักวิชาโดยสันติ" สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ย้ำเจตนากฎหมาย สปสช.ต้องมีภาค ปชช.เพื่อถ่วงดุล เปิด 5 กลุ่มชี้อนาคตบัตรทอง Posted: 30 Jan 2012 02:17 AM PST กรรมการภาคประชาชน บอร์ด สปสช. ยืนยันที่ผ่านมาตัวแทนภาคประชาชนไม่ได้ช่วงชิงอำนาจและไม่มีผลประโยชน์จากกองทุน ให้จับตากรรมการชุดใหม่ที่มีตัวแทน รพ.เอกชนและการเมืองเข้ายึด พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของกรรมการหลักประกันสุขภาพชุดใหม่และสนับสนุนให้มีการกระจายแพทย์ให้เท่าเทียม ตามที่ได้มีความขัดแย้งในการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพและไม่ได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนจนเป็นสาเหตุของการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง บางฝ่ายคิดว่าการออกมาเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเนื่องจากมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจและฝ่ายประชาชนเสียประโยชน์ นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพตัวแทนจากภาคประชาชน ยืนยันว่าที่ผ่านมากรรมการภาคประชาชนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ จากกองทุน หากมีคงเป็นเพียงเบี้ยประชุม แต่หากหมอที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลหรือหน่วยบริกาได้เป็นกรรมหลักประกันสุขภาพฯในชุดใหม่นี้ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ กำหนดเพิ่มค่ารักษา เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน แม้เพิ่มขึ้นเพียง 1 บาทต่อหัวประชากร ก็ได้เงินมากถึง 48 ล้านบาท ที่ผ่านมากรรมการภาคประชาชน ได้ตรวจสอบหน่วยบริการที่เรียกเก็บเงินไม่ถูกต้องและดำเนินการเรียกเงินคืน และผลักดันให้ระบบหลักประกันสามารถครอบคลุมทุกคนทุกโรคได้เพิ่มขึ้น การได้รับยาของผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และการเข้าถึงการรักษาโรคที่ไม่เร่งด่วน เช่น และพร้อมผลักดันให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการกระจายแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศเพราะขณะนี้ภาคอีสานมีสัดส่วนแพทย์น้อยที่สุด “การที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้มีสัดส่วนของภาคประชาชนก็เพื่อให้เข้าไปถ่วงดุล สร้างให้เกิดความเป็นธรรมในระบบสิทธิประโยชน์ การส่งเสียงทักท้วงในการเลือกตั้ง การลากตั้งอนุกรรมการที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ใช่การช่วงชิงอำนาจของภาคประชาชน แต่นี่คือการพยายามสร้างให้ระบบมีความสมดุล ความเป็นธรรม ให้ยังคงดำรงอยู่ เพื่อให้ประชาชน 48 ล้านคนยังคงเข้าถึงบริการดูแลการรักษาที่มีคุณภาพและมีโอกาสในการมีคุณภาพมาตรฐานเดียวได้ต่อไป”นายนิมิตร์ กล่าว นางสุนทรี เซ่งกิ่ง ตัวแทนภาคประชาชนอีกคนหนึ่งในกรรมการหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า อยากให้สังคมจับตาดูรายชื่อและคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิและอนุกรรมการ จะพบว่าไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักประกันสุขภาพอยู่ในนั้นเลย แต่เต็มไปด้วยตัวแทนของโรงพยาบาลเอกชน และผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยภาคการเมือง แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความพยายามที่จะครอบงำและเพิ่มผลประโยชน์ของกลุ่มแพทย์พาณิชย์ในระบบหลักประกัน แม้ตัวแทนภาคประชาชนจะได้ท้วงติงก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานในที่ประชุมแต่อย่างใด ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุในบอร์ด สปสช. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีห้ากลุ่มผู้เสียประโยชน์ ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายการเมืองได้เข้ายึดครองกำหนดอนาคตของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และกำลังมีความพยายามจะผลักดันให้เปลี่ยนหลักการของระบบที่นายแพทย์สวงน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้สร้างไว้ ทำให้เกิดเสียงคัดค้านและเป็นห่วงจากเครือข่ายผู้ป่วย ประชาชน สื่อมวลชน ภายในประเทศและนักวิชาการต่างประเทศ ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำลังจับตาดูพัฒนาการของระบบหลักประกันสุขภาพของไทยว่าจะไปทางไหน ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุ เปิดเผยต่อว่า ห้ากลุ่มผู้เสียประโยชน์ ได้แก่ หนึ่งผู้บริหารหัวเก่าบางคนของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจในการใช้งบประมาณ และต้องการกำกับให้ สปสช.เป็นหน่วยงานหนึ่งกลับไปอยู่ภายใต้กระทรวง กลุ่มที่สอง บริษัทยาข้ามชาติ เพราะระบบ สปสช.ทำให้ราคายาถูกลงและไม่ต้องการให้บอร์ด สปสช. ผลักดันการบังคับใช้สิทธิ์ กับสิทธิบัตรยาหรือซีแอลเหมือนที่ผ่านมา กลุ่มที่สามธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ที่เกรงจะสูญเสียตลาด เช่น การผ่าตัดต้อกระจกและทำให้เสียราคาที่จะเรียกกำไรจากระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม กลุ่มที่สี่ ผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในวิชาชีพแพทย์บางคน เพราะถูกครอบงำจากธุรกิจยา และธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีการให้สินบนปนน้ำใจแก่แพทย์บางส่วนที่มีบทบาทสูงในองค์กรวิชาชีพ กลุ่มที่ห้า นักการเมืองที่ฉ้อฉล เพราะระบบงบประมาณแบบเหมาจ่ายลงสู่หน่วยบริการโดยตรง และบริหารกำกับโดยคณะกรรมการที่มาจากหลายภาคส่วน ทำให้การล้วงลูก ของนักการเมืองที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ทำได้ยากกว่าระบบงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข “แนวคิด หลักการ และวิธีการบริหารของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้มีผู้เสียประโยชน์ถึงห้ากลุ่ม จึงทำให้มีการรวมตัวกันภายใต้การประสานงานของผู้มีอำนาจทางการเมืองภายในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อครอบงำการกำหนดนโยบายของ สปสช. โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะต้องเสียอะไร และระบบหลักประกันสุขภาพของไทยจะถดถอยอย่างไร” นพ.วิชัย กล่าว อนึ่ง มีรายงานว่า มีความพยายามจะผลักดันให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชุดใหม่มีมติให้ใช้เงินกองทุนบัตรทองซึ่งได้รับงบต่อหัวต่ำกว่าระบบอื่นอยู่แล้ว ขยายไปชดเชยความเสียหายให้กับผู้ป่วยในระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และโรงพยาบาลเอกชน โดยการแก้ไขมาตรา 41 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยโรงพยาบาลเอกชนไม่ต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายหรือรับผิดชอบกรณีทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสียหาย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ยึดสปสช. กับบันไดอีก 3 ขั้น สู่หลุมดำประกันสุขภาพ หยุดปฏิรูป ปูทางเอกชน Posted: 30 Jan 2012 02:10 AM PST เป็นไปตามแผนบันไดขั้นที่ 1 ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ และอนุกรรมการชุดต่างๆของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ครบทุกชุดไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 อย่างรีบเร่ง ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากเครือข่ายผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่นเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายโรคไต และชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งขาดหลักการเชิงจริยธรรมในการเลือกที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลของการเลือกแต่งตั้งบุคคลต่างๆได้ เป็นการตั้งโดยอำเภอใจ ยึดพวกมากลากไป ขาดการพิจารณาประเด็นสัดส่วนว่าควรมาจากองค์กร หรือหน่วยงานใด จำนวนเท่าใด และไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติในสายงานที่เกี่ยวข้อง และผลประโยชน์ทับซ้อน รวมไปถึงเป็นเจ้าของปัญหาที่จะแก้ไขได้มากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น คณะอนุกรรมการด้านบริหารยุทธศาสตร์ ที่เปลี่ยนให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานอนุกรรมการเสียเอง ถามว่าเหมาะสมหรือไม่ คำตอบชัดเจนว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากต้องเข้าใจก่อนว่าที่ผ่านมา สปสช.ทำหน้าที่เป็นองค์กรซื้อบริการ ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรจัดบริการรายใหญ่ที่สุด หลักการดุลและคานอำนาจของทั้งสององค์กรสำคัญมากต่อประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ และสำคัญมากต่อธรรมาภิบาลเกิดการคอรับชั่นได้ยาก แต่ปัจจุบันปลัดกระทรวงมาเป็นผู้กำหนดกติกาใน สปสช. แล้วก็นำกติกาที่ตนกำหนดไปทำเอง เข้าข่ายชงเองกินเอง ผิดหลักการการคานอำนาจ ที่ต้องแยกผู้ซื้อบริการ(purchaser) ออกจาผู้จัดบริการ(provider) ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ที่ทั่วโลกยอมรับ ครั้งนี้จึงเสมือนเป็นการถอยหลังลงคลองไปอีก 10 ปี รวบศูนย์อำนาจกลับสู่กระทรวงสาธารณสุขอย่างในอดีตก่อนที่จะมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การดำเนินการรุกคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ในขั้นที่ 2 ซึ่งเริ่มไปแล้วจากการเสนอของปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้หันกลับมาตัดเงินเดือนบุคลากรรวมในระดับประเทศ จากเดิมที่ตัดเงินในระดับโรงพยาบาล เงินเดือนค่าจ้างของบุคลากรเป็นต้นทุนที่สำคัญของระบบสุขภาพ การจะหยุดไม่ให้โรงพยาบาลในเขตเมืองรับย้ายบุคลากรทั้งๆมีคนมากพอแล้ว ก็ด้วยกลไกการตัดเงินเดือน กล่าวคือ หากรับย้ายได้คนเพิ่มก็ต้องรับภาระจ่ายเงินเดือนเขาด้วย ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลในเขตเมืองคิดรอบคอบเรื่องจะรับย้าย เพราะเป็นต้นทุนที่ตนต้องจ่าย แต่หากตัดเงินเดือนระดับประเทศเช่นที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอ นั่นหมายถึง เป็นการย้ายเสรี เพราะได้คนเพิ่มแต่ไม่ต้องจ่ายเงินเดือนเอง ใครจะไม่เอา ปัญหาสมองไหลจากชนบทที่เคยชะลอตัวก็จะกลับมาเป็นปัญหาใหญ่ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขแทบจะไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกระจายบุคลากรไปสู่ชนบทอยู่แล้ว การกระจายแพทย์และพยาบาลซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะให้ประชาชนในเขตชนบทได้ใช้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างเป็นระบบนั้น กำลังจะถูกทำลายด้วยการตัดเงินเดือนในระดับประเทศ แม้ว่าจะมีการเพิ่มมาตรการในเชิงบวก แต่เป็นน้ำผึ้งอาบยาพิษ โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวโดยภาพรวม แต่งบประมาณที่เพิ่มเกือบทั้งหมดนั้นจะไปกระจุกตัวที่งบผู้ป่วยใน ละเลยงบประมาณผู้ป่วยนอกและการส่งเสริมป้องกัน เน้นการชดเชยตรวจรักษาที่มีราคาแพงโดยขาดการประเมินความเหมาะสม เอื้อต่อการแทรกแซงหว่านล้อมจากบริษัทยา เหมือนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีค่าใช้จ่ายสุขภาพสูงมากเพราะเน้นที่การรักษา แต่สถานะสุขภาพกลับมีผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จนรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มมากจนระบบประกันสุขภาพไปไม่รอด และมีแนวโน้มที่ สปสช.ในการกำกับของกลุ่มแพทย์พาณิชย์ จะผลักดันให้นำระบบการจ่ายเงินผู้ป่วยในของกรมบัญชีกลาง ที่ดูแลระบบสวัสดิการข้าราชการอยู่ในปัจจุบัน ที่ใช้อัตราการจ่ายของโรคเดียวกันไม่เท่ากันในโรงพยาบาลแต่ละประเภทมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผ่าตัดไส้ติ่งที่โรงพยาบาลเอกชนกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลเอกชนรายละประมาณ 20,000 บาท แต่หากผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลจังหวัด กรมบัญชีกลางจะจ่ายคืนโรงพยาบาลของรัฐเพียง 6,500 บาท ทำไมต้องเอาภาษีประชาชนไปจ่ายแพงให้โรงพยาบาลเอกชน นี่เป็นจุดอ่อนที่ขาดความเป็นธรรม (equity) อย่างยิ่งในการจ่ายงบประมาณ และระบบที่ผลาญภาษีประชาชนเช่นนี้กำลังจะนำมาใช้ใน สปสช. ที่ถูกยึดไปเรียบร้อยแล้ว เปรียบได้กับปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาที่กรุงเทพท่วม แต่ลดได้อย่างรวดเร็ว แต่จังหวัดปริมณฑล เช่น จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ท่วมไม่ลดเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน ในทำนองเดียวกันระบบสุขภาพ คนต่างจังหวัด คนชนบท ก็ต้องเสียสละอีกเช่นเคย ไม่สนับสนุน หรือ แน่นอนว่ายึดได้ถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องตามด้วยแผนขั้นที่ 3 คือการเปลี่ยนเลขาธิการ สปสช. ซึ่งเป็นก้างชิ้นใหญ่และเป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดที่หลายฝ่ายอยากเปลี่ยนตัว เพื่อให้ได้คนที่ยอมรับการทำกำไรของภาคเอกชน ให้ได้คนที่ยอมรับการใช้งบประมาณที่ประสิทธิภาพต่ำของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเป็นคนที่การเมืองสั่งได้ด้วย คุณสมบัติเช่นที่ว่านี้ หาง่ายและเขามีตัวรอเสียบอยู่แล้ว เลขาธิการคนใหม่ที่ถูกล็อคสเป็คคัดสรรมาแล้วก็จะมีหน้าที่ ยกเลิกประกาศมาตรการซีแอลยา เพราะทำให้ราคาที่ติดสิทธิบัตรมีราคาถูกลง เช่นยาต้านลิ่มเลือด ยาต้านมะเร็ง ยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อเอื้อประโยชน์กับบริษัทยาจะได้ขายยาแพงได้อีกครั้ง เสมือนการโยกเงินภาษีที่มีมูลค่ากว่าหลายพันล้านบาทเข้ากระเป๋าบริษัทข้ามชาติ โดยที่มีคนมีอำนาจรู้เห็นเป็นใจ นอกจากนี้ยังมีภารกิจปรับเปลี่ยนเงื่อนไข โครงการผ่าตัดตาต้อกระจก การล้างไต และอีกหลายสิทธิประโยชน์ให้เอื้อกับโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น ในที่สุดระบบประกันสุขภาพไทยที่พัฒนามาไกลก็จะล่มสลาย เพราะต้นทุนแพงขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล งบที่มีก็จะจัดบริการได้แย่ลง ใกล้เคียงการรักษาแบบอนาถาอย่างในอดีต ประชาชนหมดศรัทธาต่อระบบสุขภาพของรัฐ ดิ้นรนเข้าโรงพยาบาลเอกชน แล้วก็เข้าสู่แผนขั้นที่ 4 คือปล่อยผีให้ระบบเอกชนเข้ามาทำกำไรกับความเจ็บป่วยของพี่น้องประชาชนได้อย่างเต็มที่ เพิ่มภาระหนี้สินกับประชาชนจากปัญหาสุขภาพกลับมาอีกครั้งอย่างในอดีต ขาดการปฏิรูประบบสุขภาพ ขาดการกระจายทรัพยากร ปล่อยให้กระจายเองตามกลไกตลาดที่มีเงินเป็นตัวนำ ความถูกต้องและจริยธรรมเก็บไว้ในลิ้นชัก ขอให้กลุ่มรากหญ้าประชาชน 15 ล้านเสียงที่เลือกรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บูณณศิริ ได้รับรู้ด้วยว่า นักการเมืองเหล่านี้กำลังจะมาบิดเบือนหลักการระบบประกันสุขภาพ ปูทางให้อำนาจทุน ที่พรรคไทยรักไทยผู้พี่เขียนด้วยมือ แต่พรรคเพื่อไทยผู้น้องลบด้วยเท้า อีกทั้งยังหยุดการปฎิรูประบบสุขภาพ ทำลายการกระจายทรัพยากรไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะชาวชนบท จนต้องตั้งคำถามว่า พรรคเพื่อไทยหรือพรรคเพื่อใครกันแน่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักข่าวพลเมือง: สนร.ตอบจดหมาย ได้รับเรื่องขยายการเยียวยา ปรับปรุงงบกองทัพ Posted: 30 Jan 2012 01:54 AM PST ส.ปลัดสำนักนายกฯ แจ้งส่งข้อเรียกร้อง เร่ง-ขยายกรอบเยียวยา เร่งค้นหาความจริง ปรับปรุงงบกองทัพและแก้ ม.112 ของนักกิจกรรมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้ว วานนี้ (28 ม.ค.55) ตัวแทนเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ เปิดเผยว่าได้รับจดหมายจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ได้ส่งข้อเรียกร้องของทางเครือข่ายฯ กรณีให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมืองและโดยรัฐ เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปรับปรุงงบประมาณของกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนักวิชาการ โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแล้ว โดยจดหมายดังกล่าวมีเนื้อหาถึงนายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ลงวันที่ว่า 23 ม.ค.55 ความว่า ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปรับปรุงงบประมาณของกองทัพกรณีการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธของกองทัพให้มีความเหมาะสม และนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของนักวิชาการมาพิจารณา และอื่นๆ ความแจ้งแล้วนั้น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขอเรียนว่า ได้ประสานงานเพื่อส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ในฐานะประธานกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) รับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว จดหมายเรียนเพื่อทราบจากส.ปลัดนายกฯฉบับดังกล่าว
โดยเมื่อวันที่ 17 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ตัวแทนเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ ได้เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์แต่ละกรณีการสลายการชุมนุม ลดงบประมาณกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ ม.112 ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะนิติราษฎร์มาพิจารณา ซึ่งเป็นเวลาไม่กี่นาทีหลังจากที่ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้เข้ายื่นค้านจ่ายชดเชยผู้เสียชีวิตเหตุสลายชุมนุม ซึ่งทางเครือข่ายนักกิจกรรมฯและกลุ่มประกายไฟ ได้เดินสลับการหมอบกราบกลุ่มของ นพ.ตุลย์ เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร พร้อมชูป้าย "ไม่อยากให้จ่ายเยียวยา? แล้วยุให้ "ฆ่า" กันทำไม?" "ไม่มีใครสมควรตายเพราะคิดต่างทางการเมือง" “เสื้อหลากสีได้แต่อย่าให้ใจดำ” จากนั้นมีการล้มตัวลงนอนราบไปกับพื้นเพื่อแสดงการคัดค้านการยื่นหนังสือของกลุ่ม นพ.ตุลย์ ดังกล่าว ทั้งนี้ไม่มีการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น มีเพียงการตะโกนด่าจากกลุ่มผู้สนับสนุน นพ.ตุลย์ เช่น "น่าอนาถ" "น่าสมเพช" "พวกเผาบ้านเผาเมือง" โดยใช้เวลาไม่นานทั้งสองฝ่ายก็ได้ยุติการชุมนุม เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มประกายไฟ เรื่อง เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์แต่ละกรณีการสลายการชุมนุม ลดงบประมาณกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ ม.112 ของ คอป.และนิติราษฎร์มาพิจารณา เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการจ่ายเงินชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 โดยการชดเชยเยียวยาให้ครอบคลุมถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ทุกเหตุการณ์ นับแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เหตุรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งปี 2552 มาจนถึงเหตุความรุนแรงเมษา-พฤษภาปี 2553 รวมวงเงิน 2 พันล้านบาท โดยไม่รวมถึงความเสียหายจากเหตุการณ์อื่นๆ อาทิ กรณีตากใบหรือกรือเซะ นั้น ทางเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง เนื่องจากจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้คุณค่าของชีวิตมนุษย์ในสังคมนี้ และเป็นบทเรียนแก่ผู้กุมอำนาจและสังคมที่จะไม่ปล่อยให้มีการเข่นฆ่าประชาชนเกิดขึ้นอีกต่อไป จริงอยู่ที่เงินเพืยงไม่กี่แสนหรือล้านจะไม่สามารถชดเชยคุณค่าความเป็นมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่มติ ครม.นี้ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตและผู้บาด เจ็บจะต้องได้รับการเยียวยาเป็นการเบื้องต้นจากความสูญเสียที่ไม่ควรที่จะ เกิดขึ้นนี้ โดยมาตรฐานเหล่านี้ถือได้ว่าจะเป็นคุณูปการของประชาชนในสังคมไทยในอนาคตอีกด้วย ในขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.54 ที่ผ่านมาคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ได้เสนอแนะรัฐบาล ว่าควรผลักดันการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่นเดียวกับคณะนิติราษฎร์ที่เสนอให้มีการปรับแก้กฎหมายมาตรานี้ ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยควรนำมาพิจารณา พร้อมทั้งเปิดให้สังคมได้มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงประชาพิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ทางเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา ขอแสดงความนับถือ เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย(คกป.) ----- อ้างอิง
จดหมายของเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟที่เข้ายื่นเมื่อวันที่ 17 ม.ค.55
คลิปภาพเหตุการณ์การประท้วงกลุ่มหมอตุลย์ที่ออกมายื่นคัดค้านการเยียวยา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน: 10 ปีทวงคืนสัญชาติไทย ใครจะเป็นประชาชนอาเซียน...เมื่อคนไทยยังไร้สัญชาติ Posted: 30 Jan 2012 01:51 AM PST ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นไปจำนวน 6 คนเดินทางไปพบกับสื่อต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น เนชั่น คมชัดลึก เดลินิวส์ แนวหน้า มติชน ช่อง 5 ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 11 เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตนเอง ให้สื่อมวลชนเห็นถึงปัญหาจากร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 3 ที่จะส่งผลต่อพี่น้องไทยพลัดถิ่น 90 เปอร์เซ็นที่อยู่ในเครือข่ายฯ จะไม่สามารถเข้ารับสิทธิตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ที่กำลังจะผ่านที่ประชุมวุฒิสภา ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2555 นี้ “อีกสองเดือนหนูก็จะจบ ม.3 แล้ว หนูก็ยังไม่รู้เลยว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน อนาคตหนูจะเป็นอย่างไร ฐานะทางบ้านหนูก็ยากจนเสียเหลือเกิน ปัญหาใหญ่ระดับประเทศก็รุมเร้าจนหนูเองเกือบจะหมดหวังกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้แล้ว หนูเป็นคนไร้สัญชาติ มันทำให้หนูมองไม่เห็นอนาคตตัวเองเลย ความฝันหนูคงต้องพังทลายลงแน่ เส้นทางชีวิตที่หนูฝันไว้ หนูอยากเป็นนักพัฒนาชุมชน อยากนำความรู้ไปพัฒนาหมู่บ้าน” ชาลิด้า ขุนภักดี กล่าวอย่างสิ้นหวัง “ถ้ายายมีโอกาสได้บัตรประชาชนแล้วยายตาย ไม่ต้องไปแจ้งตายหรอก...ให้เผาบัตรประชาชนพร้อมไปกับยาย เผื่อเกิดชาติหน้า..ยายจะได้เกิดเป็นคนมีบัตรประชาชน” ยายบี วัย 63 ปี ตอกย้ำอีกคน บ้านและสังคมที่ตัวเองอยู่ แต่ฉันคงไม่มีโอกาสได้เรียน ส่วนคนที่มีฐานะบางคนไม่เรียน การต่อสู้มาตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ที่เราต่อสู้กันมา บางคนถามว่า สู้เพื่ออะไร สู้เพื่อใคร สู้แล้วได้อะไร ถ้าวันนี้มีคนถามอีก ฉันก็จะตอบว่า จะด้วยหัวใจ สู้เพื่อความฝัน ความหวัง อนาคตและ"สิทธิเสรีภาพ สิทธแห่งความเป็นคนไทย อย่างเต็มตัว ไม่กี่เดือนแล้ว สิ ที่ฉันจะเรียนจบ....ม.3 ฉันและพี่ชาย อยากเรียน ฉันอยากเรียนพัฒนา ส่วนพี่ อยากเรียนศิลปะ พี่ชายฉันชอบวาดรูป เขาอยากเป็ครูสนอศิลปะ ส่วนพี่สาวคนโตของฉัน เขาออยากเป็นนักข่าวและนักเขียน....เราสามคนพี่น้องต่างมีความฝันคนละแบบแต่สิ่งที่เราฝันมันเลือนลางเหลือเกิน.......เราสามคนแม้จะมีความฝันคนละแบบ แต่เราก็มีเป้าหมายร่วมกันคือ อยากเอาความรู้มาช่วยคนที่เดือดร้อน มาพัฒนาประเทศและชุมชน สังคมที่เราอยู่ เราสามคน....กำลังจะจบ ม.3 ในไม่ช้านี้........ฉันคิดแล้วร้องไห้ พี่สาวและพี่ชายฉันปลอบใจฉันว่า ...อย่าท้อ เพราะคนเราต้องมีความหวัง พี่ชายอาสาที่จะส่ง ฉันกับพี่สาวเรียน และเขาก็ค่อยเรียน กศน.เอา แต่พี่สาวบอกว่า ไม่อยากให้น้องเรียน กศน.ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ถ้าเรียนสายตรงแล้ว ก็อยากให้เรียนไป.....ความหวัง ความฝัน อนาคต ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง ในกี่วันที่ผ่านมา อาจารย์ถามเด็กๆทุกคน รวมถึงฉันและเพื่อนๆว่า ใครมีแผนที่จะไปเรียนต่อที่ไหน ฉันพยายามหนีหน้าครู พยายามหนีหน้าเพื่อน เพื่อไม่อยากตอบคำถามนี้ ฉันเจ็บปวดมาก .........คิดๆไปคิดมาว่า จะทำยังไง........ถ้าหากความดีที่ทำและสร้างมา.....มันคงส่งผลให้มีคนดีๆที่จะมาสนับสนุพวกเราในการเรียนต่อ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีของฉัเด็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง กำลังเร่งมือเก็บของใส่กระเป๋า เตรียมข้าวสาร หม้อ กะละมัง ฯลฯ ขนขึ้นรถ เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ “เร่งมือเข้าหน่อย เสาร์ อาทิตย์นี้แหละอาจเป็นครั้งสุดท้ายของการต่อสู้ของพวกเรา หรือลุงอาจจะตายเสียก่อนที่จะได้บัตร ก็ได้ยังไม่รู้เลย เครื่องหนังตะลุงเอาขึ้นรถด้วย แล้วคณะมโนราห์เขาจัดของขึ้นรถเรียบร้อยหรือยัง เราไปนอนหน้ารัฐสภากันเลยนะเตรียมให้พร้อม” ผู้อาวุโสของเครือข่ายตะโกนบอก เมื่อปี 2554 ขบวนคนไทยพลัดถิ่นได้เดินเท้าจากด่านสิงขรถึงรัฐสภา เพื่อผลักดันร่างกฎหมายสัญชาติ ว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น จนผ่านวาระ 1–2–3 ของสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) สามวาระรวด ปัจจุบันกฎหมายดังกล่าว กำลังอยู่ในการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ วุฒิสภา ปัญหาก็คือคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ ตัดและเพิ่มเติมตัวบท ในมาตรา 3 จนทำให้คนไทยพลัดถิ่นที่พยายามผลักดันกฎหมายนี้ ไม่มีโอกาสจะได้สัญชาติไทยอีกต่อไป สาระสำคัญอยู่ที่การกำหนดคำนิยาม “คนไทยพลัดถิ่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ข้อเท็จจริงก็คือ ที่ผ่านมากรมการปกครองไม่เคยออกประกาศสำรวจ “คนไทยพลัดถิ่น” เป็นการเฉพาะ มีแต่การสำรวจชนกลุ่มน้อย และคนไร้สถานะทางทะเบียนฯ เท่านั้น แน่นอน อาจจะมีชื่อคนไทยพลัดถิ่นบางส่วนอยู่ในจำนวนนั้นบ้าง แต่ก็เป็นจำนวนน้อย ดังนั้น การตัดออกและเพิ่มเติม เนื้อความในมาตรา 3 ทำให้คนไทยพลัดถิ่น ที่ออกมาผลักดันกฎหมายนี้ ตกหล่นไม่ได้รับสัญชาติเกือบทั้งหมด กรณีข้อกังวลของสมาชิกวุฒิสภา ที่ว่าจะมีคนนอกที่ไม่ใช่คนไทยจะอาศัยกฎหมายฉบับนี้ขอสัญชาติไทยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องตัดและเพิ่มเติมตัวบทในมาตรา 3 นั้น ข้อเท็จจริงก็คือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุจะให้สัญชาติไทยเฉพาะ “ผู้มีเชื้อสายไทย....และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง” แล้วเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบจากบ้านที่อยู่อาศัยจริงได้ชัดเจนในทุกชุมชน อันที่จริงแล้ว ร่างกฎหมายนี้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะกำหนดให้มี คณะกรรมการที่มาจากหลายฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ฝ่ายความมั่นคง นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่ออกหลักเกณฑ์/พิจารณารับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งจะเป็นกระบวนการและกลไกในการแก้ไขปัญหาที่โปร่งใส และสร้างความเป็นธรรมได้มากกว่าที่ผ่านมา เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น จึงนำเรื่องราวชีวิตความเป็นจริงของคนในซอกหลืบของสังคมมาเปิดเผยอีกครั้ง โดยเปิดเวทีสื่อสารต่อสาธารณะ “ไทยพลัดถิ่นชี้แจงสมาชิกวุฒิสภากรณีมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ” ที่หน้ารัฐสภามาตั้งแต่เวลา 17.00 น. วันที่ 28 มกราคม 2555 เวลา 10.00 น. วันที่ 29 มกราคม 2555 ก็ได้เปิดเวทีเสวนามาตรา 3 ทำลายโอกาสไทยพลัดถิ่นได้พิสูจน์ตัวตน ต่อด้วยเวทีวัฒนธรรมทำความเข้าใจมาตรา 3 ร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ วันที่ 30 มกราคม 2555 รณรงค์และยื่นข้อเสนอต่อประธานวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการวุฒิสภาทุกคณะ พร้อมกับส่งตัวแทนเข้าร่วมฟังการประชุมวุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ “เมื่อไหร่......กรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภา และผู้มีอำนาจจะเข้าใจเราสักที เมื่อไหร่จะเลิกพูดถึงความมั่นคง เมื่อไหร่จะเลิกมองว่าเราเป็นตัวร้ายทำลายความมั่นคง และเมื่อไหร่คุณจะคืนความมั่นคงในชีวิตให้พวกเราคนไทยพลัดถิ่นเสียที... หากพี่น้องไทยพลัดถิ่นคือคนที่จะเป็นตัวทำลายความมั่นคง ได้โปรดฆ่าพวกเราเสียเถอะ หรือสร้างเรือสร้างแพขนาดใหญ่ แล้วขนพวกเราไปทิ้งกลางทะเลก็ได้ เราไม่รู้ว่าจะอยู่ต่อไปทำไม เพราะแม้แต่คนที่ร่วมสายเลือดยังไม่เชื่อว่า เราคือสายเลือดเดียวกัน..... มันไม่มีประโยชน์เลยที่พวกเราจะต้องอยู่บนโลกใบนี้ แบบคนไร้ตัวตนในสังคมเช่นนี้อีกต่อไป โปรดพิจารณา” อาริฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ เยาวชนที่เติบโตผ่านกระบวนการต่อสู้มา 10 ปีเต็ม พูดออกมาด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ตัดสินอีกคดีทหารซ้อมเหยื่อดับ ศาลปกครองสั่งชดใช้กว่า 5 แสน Posted: 30 Jan 2012 01:42 AM PST ศาลปกครองสงขลา สั่งสำนักนายกฯ ชดใช้ให้แม่อัสฮารี สะมาแอ กว่า 5 แสนบาท คดีทหารซ้อมทรมานจนตาย เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มกราคม 2555 ที่ห้องพิจารณาคดี 1 ศาลปกครองสงขลา นายโสภณ บุญกูล ตุลาการผู้แถลงคดี ขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษาคดีนางแบเดาะ สะมาแอ มาดาของนายอัสฮารี สะมาแอ ผู้เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 4 เป็นเงินรวมประมาณ 1,000,000 บาท ฐานการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 คดีหมายเลขดำที่ 39/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 14/2555 โดยมีผู้ฟ้องคดีและทนายมาศาล ส่วนตัวแทนผู้ถูกฟ้องคดีไม่มาศาล แต่มีเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า(กอ.รมน.ภาค 4 สน.) จำนวนหนึ่งมาร่วมฟังคำพิพากษา ศาลพิพากษาสรุปว่า พิพากษาให้สำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดแก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน 534,301.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 497,500 บาท นับตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และให้ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 3 ศาลพิพากษาสรุปว่า คดีนี้ ผลการตรวจร่างกายนายอัสฮารีจากแพทย์ระบุว่า มีรอยช้ำที่ศีรษะและตามร่างกายหลายแห่ง แพทย์ระบุว่าไม่น่าจะเกิดจากการลื่นล้ม ประกอบกับผลการตรวจร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ พบร่องรอยถูกทำร้ายร่างกายด้วย จึงเชื่อว่านายอัสฮารีถูกทำร้ายร่างกาย โดยผลการตรวจสมองของโรงพยาบาลสิโรรส พบว่านายอัสฮารีมีเลือดคั่งในสมอง จึงถูกส่งตัวไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา แต่เนื่องจากนายอัสฮารี ไม่มีบัตรประชาชน ประกอบกับติดต่อญาติไม่ได้ โรงพยาบาลศูนย์ยะลาจึงไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากไม่มีญาติยินยอม นายอัสฮารีเสียชีวิตในวันต่อมา ศาลพิพากษา สรุปว่า นายอัสฮารี ถูกทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กับหน่วยเฉพาะกิจที่ 13 ร่วมกับตำรวจสถานีตำรวจภูธรปะแต่ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จับกุมบริเวณสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านจาเราะซีโป๊ะ ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากนั้นนำไปสอบสวนที่ศูนย์วิวัฒน์สันติ ในค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ต่อมาคืนวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 เจ้าหน้าที่นำตัวนายอัสฮารี ไปส่งโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร และส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานี จากนั้นถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ยะลา จนกระทั่งเสียชีวิตในวันต่อมา นางแบเดาะ เปิดเผยว่า พอใจกับคำพิพากษา และจะไม่ขออุทธรณ์ในส่วนที่ศาลมิได้พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน เป็นเงิน 576,000 บาท ทนายจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า ในส่วนของคดีไต่สวนการตายของนายอัสฮารี ที่ศาลจังหวัดยะลา ขณะนี้การพิจารณาคดียังสิ้นสุด โดยศาลนัดสืบพยานฝ่ายผู้ร้องปากสุดท้ายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00 น. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประชาไทบันเทิง: SimSimi แอพฮิตตัวใหม่บนโลกไซเบอร์ Posted: 30 Jan 2012 12:51 AM PST โลกปัจจุบันนี้บ้าไปแล้ว...เพราะคนจะคุยกันน้อยลง แชตกันน้อยลง แล้วหันมาคุยกับโปรแกรม (อะไรไม่รู้) มากขึ้น หลังจาก iPhone 4s ระบาดหนักไปพักใหญ่ๆ ใครๆ ก็ถือไอโฟน 4s ขึ้นมาคุยกับสิริ (siri โปรแกรม Voice Control) กันทั้งนั้น แม้แต่คนที่ไม่มี พอเจอเพื่อนที่มี iPhone 4s แทนที่จะคุยกับเพื่อนก็บอกว่า “ขอคุยกับสิริหน่อย” แหมมม...ให้มันได้อย่างนี้สิ แต่ความกิ๊บเก๋ หรือเทรนด์การคุยกับสิริใช่ว่าจะทำได้ทุกคนไป เพราะเท่ากับว่าคุณต้องมี iPhone 4s ในครอบครอง ซึ่งราคาก็สองหมื่นกว่าบาท ใช่ว่าจะถูกเสียเมื่อไหร่ แต่ในเมื่อเทรนด์การคุยกับโปรแกรมอะไรสักอย่างกำลังมา จึงมีแอพพิเคชั่นตัวใหม่ล่าสุดที่กำลังระบาดอยู่ในหมู่คนใช้สมาร์ทโฟนทั้งระบบแอนดรอยด์ หรือไอโอเอส และไอโฟน (ไม่ต้อง 4s ก็ได้) อยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีชื่อว่า SimSimi SimSimi นั้นเป็นแอพฯ สัญชาติเกาหลี SimSimi โดยรูปแบบในการใช้งานหรือการเล่นแอพฯ นี้นั้น ให้อารมณ์เหมือนเรานั่แช็ตกับเพื่อนของผ่านทาง MSN หรือโปรแกรม Chat ต่างๆ เพียงแต่เปลี่ยนเพื่อนมาเป็นโปรแกรม SimSimi เท่านั้นเอง ซึ่งส่วนมากจะเรียกแอพฯ SimSimi นี้ว่าโปรแกรมอับดุล เพราะถามอะไรไปตอบได้หมด ตอบรู้เรื่องไม่รู้เรื่อง หรือว่าตรงกับที่ถาม ที่คุยไปก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนี่แหละเป็นที่มาของความฮิต ของเจ้า SiMSimi เพราะสิ่งที่มันตอบโต้เรามานั้นกวนประสาท ยียวน (คิดอีกทีก็ปัญญาอ่อนเหมือนกันนะ) ไม่ว่าจะพิมพ์อะไร มันก็จะตอบเราได้หมด ท แม้แต่คำหยาบคายก็ตาม หรือเรื่องอะไรที่ส่วนตัวสุดๆ (เช่น ชื่อเพื่อน) ก็มีคำตอบให้ หรือย่างน้อยมันก็จะโต้ตอบอะไรสักอย่างกลับมา ซึ่งข้อดีของมันก็คือสามารถ (พิมพ์) คุยกันเป็นภาษาไทยได้ ไม่เหมือนเจ้าสิริ ที่สำเนียงภาษาอังกฤษของเรากะเหรี่ยงเกินไป มันก็ตอบว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจอยู่นั่นแหละ เล่นไปๆ ชักไม่สนุก มาเล่นกับ SimSimi สนุกกว่าเยอะ โดยเฉพาะสนุกเวลาถามอะไรแปลกๆ แล้วมันตอบกลับมาฮาๆ งงๆ ขำๆ หรือหยาบๆ นี่แหละ สำคัญ และสนุกกว่านั้นคือเวลาเราเอาไปโพสต์ในเฟซบุ๊กนี่แหละ ซึ่งคือที่มาของความฮิตและการแพร่หลายของเจ้า SimSimi ในขณะนี้ เพราะมันถูกเอาข้อความที่เราคุยไปเผยแพร่ให้เพ่อนๆ ได้ฮากันถ้วนหน้าในเฟซบุ๊กนั่นเอง อ้อ....แม้จะไม่มีสมาร์ทโฟน คนทำแอพเขาก็ไม่ใจร้าย สามารถเล่นได้ในอินเตอร์เนตทั่วไปในเว็บไซต์ของ SimSimi เช่นเดียวกัน ที่ www.simsimi.com/talk.htm อ้อ...อย่าซีเรียสไป ถ้าจะมีใครเอาเจ้าโปรแกรมนี้ไปเล่นอะไรทางการเมือง อย่างที่เริ่มเห็นโผล่มาแล้วในเฟซบุ๊ก...ขำๆ ก็แล้วกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น