ประชาไท | Prachatai3.info |
- ประชาไทบันเทิง: My 1.39 hrs. With ‘My Week With Marilyn’
- Beauty Forever: อยากสวยอมตะ...มาทางนี้
- "ธาริต"ยันไม่รู้ที่มา"ผังล้มเจ้า" แต่"สุเทพ"ถือมาให้ดีเอสไอรับทำคดี
- ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ขอบคุณที่ไทยรับรองเอกราช
- ชายอินโดฯ เจอรุมหลังโพสท์ความเห็น "พระเจ้าไม่มีอยู่จริง"
- กองทัพรัฐฉานหารือกับผู้นำชุมชนที่เมืองตองจี
- สองแกนนำพรรคการเมืองไทใหญ่หารือแผนงานอนาคต
- เปิดเดินรถสายเชียงใหม่-หลวงพระบางเที่ยวแรกแล้ว
- แจงเหตุ กสม.ออกแถลงการณ์ กรณีมาตรา 112
- ฝ่ายที่สาม ไม่ใช่มือที่สาม, และการยุติความขัดแย้งภายในรัฐ
- 'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: เพื่อไทยจะถลุง 30 บาท
- ตุลาการไทย กับ มาตรา 112
- ผ่า 3 ทางเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว
- 3 ปี ผู้ว่าฯ กทม. คนกรุงเทพฯ 60.8% ยังไม่ประทับใจ
- ‘ปกาเกอะญอ โคอิ’ แห่งผืนป่าแก่งกระจาน
ประชาไทบันเทิง: My 1.39 hrs. With ‘My Week With Marilyn’ Posted: 19 Jan 2012 09:11 AM PST แม้รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาต่างๆ ยังไม่ปรากฏ แต่จากคืนวันอาทิตย์ (เช้าวันจันทร์ในเวลาบ้านเรา) ที่ผ่านมา กับการประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ซึ่งถือเป็นเวทีใหญ่รองลงมาจากออสการ์ ก็ทำให้เห็นแล้วว่า ‘ตัวเต็ง’ ทั้งหลายน่าจะเข้าวินเช่นเคย หนึ่งในนักแสดงที่ขึ้นรับรางวัลในคืนนั้นคือ มิเชล วิลเลี่ยมส์ จากบทบาทการแสดงเป็น ‘มาริลีน มอนโร’ ในหนังเรื่อง ‘My Week With Marilyn’ กับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์เพลงหรือตลก (ซึ่งก็น่าประหลาดใจว่าหนังเรื่อง ‘My Week With Marilyn’ นั้นเป็นหนัง ‘เพลง’ หรือหนัง ‘ตลก’ ตรงไหน ? หรือนี่เป็นการหลีกทางให้กับตัวเต็งในปีนี้อย่าง เมอรีล สตรีพ จากบทบาทหญิงเหล็ก นางมากาเร็ธ แทธเชอร์ ในหนังเรื่อง ‘The Iron Lady’ ซึ่งคว้างรางวัลนักแสดงนำหญิง สาขาภาพยนตร์ดราม่าไปตามความคาดหมาย เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ มิเชล วิลเลี่ยมส์ มีหวังพลาดรางวัลอย่างแน่นอน) My Week With Marilyn สร้างจากหนังสือบันทึกความทรงจำของ Colin Clark สองเล่ม คือ ‘My Week With Marilyn’ และ ‘The Prince and The Show Girl and Me’ ที่ต่อมาเขาก็กลายเป็นนักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง ซึ่งในขณะนั้นเขาเป็นผู้ช่วย ‘คนที่สาม’ ของกองถ่ายหนังเรื่อง ‘The Prince and The Show Girl’ ของ Lawrence Olivier ซึ่งเป็นหนังที่มาริลีน มอนโร บินมาจากอเมริกาเพื่อถ่ายทำหนังเรื่องนี้ที่อังกฤษ และเขาก็ได้มีโอกาสได้ ‘ใกล้ชิด’ กับมาริลีน มอนโร โดยเนื้อหาความสัมพันธ์ของเขากับมาริลีน นั้นคือเรื่องราวหลักที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ เคยมีหนังสารคดีที่ฉายทางโทรทัศน์เกี่ยวกับชีวิตของมาริลัน มอนโร ในชื่อว่า ‘Blonde’ ในปี 2001 แสดงโดยนักแสดงสาวชาวออสเตรเลีย Poppy Montgomery ย้อนไปไกกว่านั้นก็ Marilyn: The Untold Story (1980), Marilyn and Me (1991), Marilyn & Bobby: Her Final Affair (1993) และ Norma Jean & Marilyn (1996) ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นฉายทางโทรทัศน์ นั่นเป็นเหตุผลทำไมว่าหนังเรื่อง ‘My Week With Marilyn’ ถึงได้เป็นที่ฮือฮาและจับตามองตั้งแต่มีการประกาศว่าจะทำการสร้าง รวมถึงเมื่อมีการประกาศว่าผู้ที่รับบทเป็นมาริลืน มอนโร นั้นคือ ‘มิเชล วิลเลี่ยมส์’ ซึ่งได้รับการวิพากวิจารณ์ รวมถึงด่าทอมากมายว่าเธอดูยังไง แต่งยังไงก็ไม่เหมือนมาริลีน มอนโร (โดยก่อนหน้านั้นมีข่าวว่าผู้ที่จะมาแสดงบทนี้คือสการ์เล็ต โจแฮนสัน) มิเชล วิลเลี่ยมส์ ดูยังไงก็ไม่เซ็กซี่พอจะเป็นมาริลีน มอนโรได้ ! แต่เธอก็เป็นไปแล้ว และเพิ่งได้รับรางวัลลูกโลกทองคำไปหมาดๆ ไม่มีใครปฏิเสธฝีมือการแสดงของมิเชล วิลเลี่ยมส์ โดยเฉพาะหนังเรื่อง ‘Blue Valentine’ ที่แม้จะพลาดรางวัลออสการ์ แต่ก็ทำให้เธอกลายเป็นนักแสดงหญิงฝีมือฉกาจที่น่าจับตาอีกคนหนึ่งของฮอลลีวู้ดไปในทันที (ซึ่งที่จริงก็โดดเด่นมาตั้งแต่หนังเรื่อง Brokeback Mountain แล้วล่ะ) ซึ่งนั่นยิ่งทำให้บทบาทการแสดงของเธอในเรื่องนี้ที่ต้องสวมบทบาทเป็นคนอื่น ที่เคยมีชีวิตอยู่จริง เป็นตำนานของวงการ เป็นตัวแม่ของความเซ็กซี่ และยังเป็นผีที่หลอกหลอนวงการมายาอยู่ เป็นที่จับตามองมากกว่าว่าว่าหนังเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ พูดง่ายๆ ว่าหนังจะประสบความสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ งานนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือการแสดงของมิเชล วิลเลี่ยมส์ ล้วนๆ จากการที่ความสนใจถูกหันเหไปยังมิเชล วิลเลี่ยมส์ และการสวมบทบาทการเป็นมาริลีน มอนโร ว่าจะ ‘เหมือน’ หรือไม่นั้น ทำให้คนดูออกจะผิดหวังสักหน่อย เมื่อที่จริงแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังที่เล่าเรื่อง ‘มาริลีน มอนโร’ เป็นแกนกลาง เพราะทุกอย่างจะถูกเล่าผ่านสายตา และเรื่องราวของโคลิน คลาร์ก ก็แน่ละ...หนังเรื่องนี้สร้างจากหนังสือของเขานี่ และเรื่องราวที่ถูกบันทึกในหนังสือก็เป็นเรื่องราวของ ‘เขา’ ที่ไปสัมพันธ์กับ ‘มาริลีน มอนโร’ ช่วยไม่ได้ ที่ความจริงในข้อนี้ถูกกลบไปด้วยกระแสของคำว่า ‘มาริลีน มอนโร’ และอาจสร้างความผิดหวังและความ ‘ไม่อิ่ม’ เล็กน้อยให้กับคนดู โดยเฉพาะในช่วงแรกที่หนังตัดฉึบฉับอย่างรวดเร็ว และถูกขโมยซีนจากจูดี้ เดนซ์ (เจ้าแม่ขโมยซีนของวงการ ยังจำเรื่อง Shakespeare In Love ที่เธอคว้ารางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบหญิงจากการออกฉากไม่กี่นาทีได้ไหม ?) ไปอย่างง่ายดาย ด้วยสีหน้าและคาเร็กเตอร์ รวมถึงความช่ำชองในฝีมือการแสดงของเธอเอง จากนั้นหนังจึงค่อยๆ นำเราสู่การทำความรู้จักกับผู้หญิงที่ชื่อว่า ‘มาริลีน มอนโร’ ผ่านสายตาการสัมผัสของโคลิน คลาร์ก อย่างแรกเลยคือมิเชล วิลเลี่ยมส์ นั้นผอมไปสำหรับการรับบทบาทเป็นมาริลีน มอนโร ไม่ได้อวบอัด บึ่บบั่บ สมกับเป็นเซ็กซี่สตาร์ และที่สำคัญ ‘แวว’ ของความเซ็กซี่ในฐานะเซ็กซี่ตัวแม่อันเป็นตำนานนั้นไม่ฉายเลยสักนิด มิเชล วิลเลี่ยมส์ (นอกจากจะแปลงโฉมแล้วก็ยังไม่ค่อยเหมือนแล้ว) ไม่สามารถตีบทแตกได้ตรงความเซ็กซี่ของมาริลีน มอนโร นี่แหละ (แน่นอนคำว่าเซ็กซี่นั้นไมได้หมายถึงแค่นมที่ใหญ่ หุ่นอวบอั๋น หรือรูปร่างอย่างกับนาฬิกาทรายเพียงเท่านั้น) แต่เธอก็สามารถแสดงพลังของการได้ได้อย่างยอดเยี่ยม กับการเสนอภาพของมาริลีน ในแบบความซื่อใสเหมือนเด็ก ใครจะไปคิดว่ามิเชล วิลเลี่ยมส์ ที่รับบทหนักๆ กร้านโลกมาทั้งชีวิตจะสามารถนำแววตาใสซื่อบริสุทธิ์นั้นมาใช้ได้! หนังเรื่องนี้พยายามฉายภาพมาริลีนที่แตกต่างจากการเป็นนักแสดงสุดเซ็กซี่และเรื่องอื้อฉาวทั้งหลาย ผ่านสายตาการสังเกตของโคลิน คลาร์ก ซึ่งทำให้เราเห็นอีกหลายๆ ด้านของเธอ ทั้งความเจ็บปวดจากการเติบโตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า การเป็นคนหัวช้าในเรื่องการแสดง ความซื่อใสบริสุทธิ์แบบเด็กที่อยู่ก้ำกึ่งกับการเฟลิร์ต หรืออ่อยผู้ชาย การขาดความรักความเข้าใจและได้รับความเจ็บปวดจากการที่ต้องเป็น ‘มาริลีน มอนโร’ ที่คน Stereotype ไว้ตลอดเวลา (ซึ่งรวมถึงอดีตสามีของเธออย่างอาร์เธอร์ มิลเลอร์ด้วย) ซึ่งบุคลิก ตัวตน ทั้งหมดนี้ถูกนำเสนอผ่านการแสดงที่ยอดเยี่ยมของมิเชล วิลเลี่ยมส์ ที่สอบผ่านได้อย่างเหลือเชื่อ (ยกเว้นความเซ็กซี่) รวมถึงการพูดการจา ที่เธอกล่าวในตอนขึ้นรับรางวัลลูกโลกทองคำว่าต้องขอบคุณลูกสาวของเธอที่ยอมฟังนิทานก่อนนอนในเสียงพากษ์แบบมาริลีน มอนโร มาตั้งหลายเดือน ตัวตน (ที่แท้จริง ?) ของมาริลีน มอนโร ที่ถูกนำเสนอผ่านในหนังเรื่องนี้ นั้นมาจากการสังเกต การสัมผัสได้ของโคลิน คลาร์ก และการเล่าเรื่องของเขาทั้งในหนังสือ และในหนัง เหตุนี้เองที่ทำให้คนดูอาจจะรู้สึกไม่ชอบนัก เพราหนังได้เปลี่ยน (ความคิดเราที่ตั้งใจไว้แต่ต้น) ความสนใจจุดใหญ่ที่คาดหวังว่าจะอยู่ที่ ‘ความเป็นมาริลีน มอนโร’ กลายเป็นเรื่องราวของมาริลีน มอนโร ในระยะเวลาสั้นๆ ผ่านสายตาและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับโคลิน คลาร์ก เราจึงเหมือนเป็นอีกคนที่คอยลอบสังเกตมาริลีน เพื่อตีความเอาเองว่าเธอเป็นคนอย่างไรจากสายตาของโคลิน คาร์ก อีกที ในความคลุมเครือนี้ มีทังข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ มันไมได้เป็นการตัดสินมาริลีน มอนโร โดยตรงและเปิดโอกาสให้เราได้ใช้วิจารณญาณในการทำความรู้จักผู้หญิงคนนี้ ส่วนข้อเสียก็คือ มันคลุมเครือเกินไป เรื่อยเฉื่อยเกินไป จนหนังไม่มีจุดเด่น เพราะในการเล่าเรื่องผ่านโคลิน คาล์ก นั้น หนังก็ไม่ได้ชูประเด็น ‘การเติบโต’ หรือผลลัพธ์ (หรือเอาง่ายๆ คือความดราม่า) ของ โคลิน คาล์ก จากการผ่านเหตุการณ์ เรื่องราวนี้ ว่าเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง ซึ่งมันทำให้หนังไม่ได้ไปทางใดทางหนึ่งเอาเสียเลย จนกระทั่งถึงตอนจบ เราก็ยังไม่รู้สึกอิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการได้รู้จักตัวตนของมาริลีน มอนโร หรือเรื่องราวการเติบโต เปลี่ยนผ่าน ของโคลิน คาล์ก ที่เขาได้ประสบพบเจอ การเข้าไปดูหนังเรื่องนี้จึงเหมือนแค่การเข้าไปดูการแสดงของมิเชล วิลเลี่ยมส์ ว่าเธอจะทำได้ดีหรือเปล่า เท่านั้นเอง แต่ในส่วนเรื่องราวของตัวหนังกลับไม่เป็นที่จดจำสักเท่าไหร่ แต่ถึงแม้มิเชล วิลเลี่ยมส์ จะทำได้ดี แต่เราก็อาจจะแค่รู้สึก ‘เฉยๆ’ กับการแสดงของเธอ อย่างแรกเลย อาจเป็นเพราะ เราไม่เคยดู รู้จัก หรือคุ้นเคยกับมาริลีน มอนโรมาก่อน ในฐานะบทบาทการแสดงของเธอ เราจึงจับไม่ได้หรอกว่า มิเชล วิลเลี่ยมส์ นั้นแสดงได้เหมือนมาริลีนจริงหรือไม่ ประการต่อมาคือ นอกจากจุดหลักจะเป็นการเล่าเรื่องของโคลิน คลาร์ก ซึ่งดึงความสนใจออกจากตัวมาริลีนเองด้วยแล้ว (เขาเป็นตัวเอกของเรื่อง) นักแสดงในหนังเรื่องนี้ยังฝีมือฉกาจฉกรรจ์และมีคาแร็กเตอร์ที่ ‘แรง’ คาแร็กเตอร์ของมิเชล วิลเลี่ยมส์ ไม่ว่าจะเป็นจูดี้ เดนซ์ ที่ขโมยซีนในช่วงต้น หรือ Kenneth Branagh ที่เล่นได้ดุเดือดและลึกซึ้ง หรือ Julia Ormond (ในบทบาทของภรรยาของ Lawrence Olivier) ที่ออกมาน้อยมาก แต่ทรงพลังมากในทุกๆ คำพูด การกระทำของเธอ รวมถึงการแสดงของมิเชล วิลเลี่ยมส์ เอง ที่แม้การแสดงเป็นมาริลีนร์นั้นจะโหดหินมาก แต่มันเป็นคาแร็กเตอร์ที่ไม่ ‘แรง’ ไม่ได้ใส่อารมณ์ แถมเก็บกด สับสน แบบเงียบๆ จึงทำให้ดูเหมือนว่าพลังแห่งการแสดงของเธอไม่มีออกมา ทั้งๆ ที่นั่นเป็นการแสดงอย่างยิ่งยวด ถ้าหากวัดมวยกันกับเมอรีล สตรีพ ในบทบาทของนางมาร์กาเร็ธ แทธเชอร์ ใหนังเรื่อง The Iron Lady แล้ว เห็นว่าเมอรีล (และหนังเรื่องนั้น) นั้นดราม่ามากกว่า ได้แสดงอะไร (ที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน) เยอะกว่า My Week With Marilyn ถึงดูไม่ค่อยประสบความสำเร็จและน่าประทับใจมากนัก และดูเหทือนว่าหนทางบนเวทีออสการ์ของมิเชล วิลเลี่ยมส์ ก็ดูริบหรี่ลงอีกเช่นกัน (เพราะเวทีออสการ์ ไม่มีการแยกสาขาหนังดราม่าและหนังตลกเหมือนลูกโลกทองคำ) ความหวังของหนังเรื่องนี้บนเวทีออสการ์ (ในสาขารางวัลอื่นๆ) ยิ่งดูน้อยลงไปอีก เพราะหนังเรื่องนี้เท่าที่จะมีความหวังได้ก็มีเพียงการแสดงของมิเชล วิลเลี่ยมส์เท่านั้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
Beauty Forever: อยากสวยอมตะ...มาทางนี้ Posted: 19 Jan 2012 09:02 AM PST อยากมีริมฝีปากอวบอิ่มยิ่งกว่าแองเจลินา โจลี่ แต่ไม่อยากไปศัลยกรรมให้เจ็บตัว...ใช้ผลิตภันฑ์นี้สิคะ อยากมีหน้าอกใหญ่บึ่บบั่บอย่างสการ์เล็ต โจแฮนสัน แต่ไม่อยากไปผ่าตัด...ก็ใช้ผลิตภันฑี้สิคะ อย่างมีหน้าสวยเนียน ไร้รอยด่างดำ กระ ฝ้า ยิ่งกว่าดาราเกาหลี...ใช้ผลิตภัณฑ์นี่สิคะ เอ๊ะ...มีด้วยหรือผลิตภัณฑ์ความงามที่มีสรรพคุณครอบจักรวาลขนาดนี้ มีสิคะ...ผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ชื่อ Fotoshop by Adobé เอ๊ะ...ชื่อคุ้นๆ เหมือนชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลย ว่าแต่ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มาจากค่ายไหน ชิเชโด้ พีแอนด์จี หรือว่าค่ายเดียวกันกับลาแมร์ ขอตอบว่าไม่ใช่ทั้งนั้น และที่บอกว่าชื่อคุ้นๆ กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นก็ไม่ผิดหรอก เพราะผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ก็คือโปรแกรมโฟโต้ช็อปนั่นแหละ ! Fotoshop by Adobé เป็นโปรเจ็กต์โฆษณาการล้อเลี่ยน เสียดสี นิยามความสวยงามในยุคปัจจุบันที่ถูกนำเสนอผ่านหน้าปกแม็กกาซีนทั้งหลาย ที่ใครๆ ก็สามารถสวยเฟอร์เฟ็กต์ได้ด้วยโปรแกรมโฟโต้ช็อป เป็นผลงานของ Jesse Rosten ที่เธอคิดคอนเซ็ปต์ขึ้นมาเอง เขียนสคริปต์เอง และทำโปรดักชั่นเอง โดยได้แรงบันดาลใจจากบรรดาเซเลบริตี้บนปกนิตยสารที่สวยงามมหัศจรรย์ทั้งหลาย ที่ไร้ริ้วรอย ผิวไม่มีรูขุมขน หรือแม้กระทั่งผิวที่ขาวกว่าชาติพันธุ์ดั้งเดิมตัวเอง ซึ่งทั้งหมดล้วนถูกเสกสรรค์ปั้นแต่งด้วยโปรแกรมโฟโต้ช็อปทั้งนั้น เธอจึงทำแคมเปญโฆษณานี้ขึ้นมาล้อเลียน เสมือนว่ามีการออกผลิตภัณฑ์ความงามชนิดใหม่ในชื่อ Fotoshop by Adobé ที่สามารถเนรมิตรความงามทุกสิ่งอย่างให้กับสาวๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปาก ตา หน้า หรือรูปร่าง ไม่ต่างจากบรรดาดาราเซเลบริตี้ แถมยังนำเอาวิธีการของโฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามทั้งหลายมาใช้อีกด้วย แถมยังตบท้ายอย่างเจ็บแสบอีกว่าจะออกกำลัง หรือกินอาหารที่มีประโยชน์ไปทำไม ในเมื่อผลิตภัณฑ์ Fotoshop by Adobé นี้สามารถช่วยให้คุณสวยได้ในพริบตา ลองเอาไปใช้สักขวดไหมคะ ? ปล. ติดตามผลงานอื่นๆ ของเธอคนนี้ได้ที่ jessserosten.com สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
"ธาริต"ยันไม่รู้ที่มา"ผังล้มเจ้า" แต่"สุเทพ"ถือมาให้ดีเอสไอรับทำคดี Posted: 19 Jan 2012 08:44 AM PST "ธาริต เพ็งดิษฐ์" ยันนั่งประชุมกรรมการ ศอฉ. จริง แต่ไม่รู้ "ผังล้มเจ้า" ใครทำ รับเคยเห็นสื่อตีพิมพ์มาระยะหนึ่ง แต่เห็นอย่างเป็ฯทางการในวันที่ "สุเทพ" ถือมาให้ดีเอสไอรับทำเป็นคดีพิเศษ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุกรณีมีการทำคดีผังล้มเจ้า ขณะที่ดีเอสไอเป็นกรรมการ ศอฉ. ว่า ตนยอมรับว่านั่งประชุมเป็นกรรมการ ศอฉ.จริง แต่กรรมการ ศอฉ.ไม่ได้รู้ว่าที่มาของแผนผังล้มเจ้าใครเป็นคนจัดทำ เพราะกรรมการ ศอฉ.ไม่ได้เป็นคนจัดทำผัง แต่เป็นไปตามข้อมูลของนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ระบุว่าหน่วยข่าวฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้จัดทำขึ้น "ผมเห็นแผนผังล้มเจ้าอย่างไม่เป็นทางการมาสักระยะ จากการตีพิมพ์ของสื่อ แต่เห็นอย่างเป็นทางการ วันที่ท่านสุเทพนำแผนผังนี้มาแจงให้ดีเอสไอให้รับเป็นคดีพิเศษ ถ้าบอกว่าดีเอสไอนั่งเป็นกรรมการ ศอฉ.ยอมรับว่าจริง แต่การประชุมของ ศอฉ.มีหลายชุด หลายวง ทั้งฝ่ายยุทธศาสตร์ ฝ่ายข่าว แต่วงประชุมของผมไม่มีการพูดถึงแผนผังล้มเจ้า" นายธาริตกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ขอบคุณที่ไทยรับรองเอกราช Posted: 19 Jan 2012 08:24 AM PST "มะห์มูด อับบาส" กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่รับรองอธิปไตยของปาเลสไตน์ หลังทูตไทยที่ยูเอ็นส่งจดหมายถึงปาเลสไตน์รับรองฐานะความเป็นรัฐ และระบุว่าพร้อมสถาปนาความสัมพันธ์การทูตอย่างเป็นทางการในระยะเวลาอันใกล้นี้ ประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ (แฟ้มภาพ: วิกิพีเดีย) สำนักข้อมูลข่าวสารปาเลสไตน์ รายงานว่า วันนี้ (19 ม.ค.) ประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาส (Mahmoud Abbas) แห่งปาเลสไตน์ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยที่รับรองฐานะความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ โดยในรอบปี 2555 นี้ ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองปาเลสไตน์ ทั้งนี้ ผู้แทนทางการทูตถาวรของไทยประจำสหประชาชาติได้ส่งจดหมายอย่างเป็นทางการ มาให้เมื่อวันอังคารนี้ โดยมีใจความว่า รัฐบาลไทย "ยอมรับในสถานะความเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองอย่างเป็นทางการ และทางรัฐบาลไทยยังประสงค์จะเริ่มกระบวนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับปาเลสไตน์ในระยะเวลาอันใกล้นี้" หนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้รายวัน ยังรายงานด้วยว่า รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศปาเลสไตน์ นายริอัด อัล มาลิกิ (Riad Al-Maliki) กล่าวว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (17 ม.ค.) ไทยได้รับรองฐานะของรัฐเอกราชปาเลสไตน์เหนือดินแดนที่ครอบครองอยู่ในปี 1967 (พ.ศ. 2510) โดยรัฐมนตรีต่างประเทศปาเลสไตน์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นการบรรลุผลสำเร็จของการทูตปาเลสไตน์ เซี่ยงไฮ้รายวัน ซึ่งอ้างข่าวจากสำนักข่าวซินหัว ระบุด้วยว่าไทยถือเป็นชาติแรกที่รับรองปาเลสไตน์ในปี 2555 นี้ โดยยในปี 2554 ที่ผ่านมามีชาติในละตินอเมริกาจำนวนมากได้รับรองฐานะของประเทศปาเลสไตน์ และนับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ขณะนี้มีมากกว่า 125 รัฐแล้วที่รับรองปาเลสไตน์ในฐานะรัฐเอกราช ทั้งนี้เมื่อกันยายนปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ มะห์มูด อับบาส ได้ยื่นเรื่องขอให้ดินแดนเวสต์แบงก์และกาซาเป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ โดยมีเยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งดินแดนส่วนนี้อิสราเอลได้เข้ายึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี พ.ศ. 2510 แต่สหประชาชาติยังไม่ยอมลงมติรับรองฐานะสมาชิกสหประชาชาติของปาเลสไตน์ แต่ปาเลสไตน์ได้ให้คำมั่นว่าจะดำรงความพยายามในการหาเสียงสนับสนุนจากชาติต่างๆ ในโลกมากขึ้น นอกจากนี้ ท่าทีของสหรัฐอเมริกา ยังยืนยันมาตลอดว่าจะใช้สิทธิยับยั้ง หรือวีโต้ ไม่ให้ปาเลสไตน์เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติด้วย ในวันเดียวกัน นายเอ็กเมเลดดิน อิซาโนกลู (Ekmeleddin Ihsanoglu) เลขาธิการองค์กรความร่วมมืออิสลาม หรือ โอไอซี (Organization of Islamic Cooperation - OIC) ได้แถลงชื่นชมประเทศไทยที่รับรองฐานะของปาเลสไตน์เช่นกัน
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Abbas Thanks Thailand for Recognizing Palestine, WAFA, 19/1/2012 Palestinians praise Thailand for recognition of Palestinian state, Shanghai Daily, 19/1/2012 http://www.shanghaidaily.com/article/article_xinhua.asp?id=46416 OIC Welcomes Thailand’s Recognition of the State of Palestine, QNA, 19/1/2012 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
ชายอินโดฯ เจอรุมหลังโพสท์ความเห็น "พระเจ้าไม่มีอยู่จริง" Posted: 19 Jan 2012 07:18 AM PST ข้าราชการอินโดนีเซียที่ใช้ชื่ 19 ม.ค. 2012 - ข้าราชการอินโดนีเซียคนหนึ่ ชายผู้นี้เรียกตัวเองว่า อเล็กซานเดอร์ อายุ 31 ปี กำลังเสี่ยงต่อการถูกให้ ข้อหาหมิ่นศาสนาในอินโดนีเซีย มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี สื่อท้องถิ่นในอินโดฯ รายงานว่าเมื่ออเล็กซานเดอร์ เดินทางเข้ามาทำงานที่ สารวัตร ชัยรูล อะซิซ ประจำเขตธรรมาสรายา กล่าวกั ชัยรูล กล่าวว่า เข้าไม่สามารถยืนยั ข้อความของอเล็กซานเดอร์ถู "หากพระเจ้ามีอยู่จริง ทำไมสิ่งเลวร้ายเช่นนี้ถึงเกิ อเล็กซานเดอร์ บอกว่าเขาเกิดเป็นชาวมุสลิม แต่ก็เลิกกิจกรรมทางศาสนาไปในปี 2008 "ผมไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไร พอผมเข้ามาที่สำนักงาน มีกลุ่มคนเข้ามาทุบตีผม และพาผมไปส่งตำรวจ" อะซิซ บอกว่าในตอนนี้ตำรวจยังคงรอข้ "หากหน่วยงานต่างๆ บอกว่าการกระทำของเขาเป็นการหมิ่นศาสนา พวกเราจะดำเนินคดีกับเขา" กุสรีซัล กาซาฮาร์ ประธานสภาอุเลมา (MUI) สาขาสุมาตราตะวันตกกล่าวกับสื่ "ผมอยากให้เขาถูกไล่ออก" กุสรีซัล กล่าว ที่มา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
กองทัพรัฐฉานหารือกับผู้นำชุมชนที่เมืองตองจี Posted: 19 Jan 2012 04:42 AM PST คณะตัวแทนกองทัพรัฐฉาน (SSA) พบปะผู้นำชุมชนและองค์กรไทใหญ่ในเมืองเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามานานหลายทศวรรษ เผยดีใจได้มีโอกาสพบหารือเกี่ยวกับแผนอนาคต เล็งพบปะชุมชนไทใหญ่ในมัณฑะเลย์ ย่างกุ้ง และหมู่เจ้-น้ำคำ เมื่อวานนี้ (18 ม.ค.) คณะผู้แทนจากสภากอบกู้ัรัฐฉาน (RCSS) กองทัพรัฐฉาน (SSA) กว่า 10 คน ได้พบปะกับบุคคลและองค์กรชุมชนไทใหญ่ในเมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน หลังจากได้ลงนามข้อตกลง 11 ข้อในการประชุมกับคณะเจรจาสันติภาพของรัฐบาลพม่าครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่กองทัพ SSA ได้พบปะกับชุมชนชาวไทใหญ่ในเมืองหลวง นับตั้งแต่มีการต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามานานหลายทศวรรษ "หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกับคณะเจรจาสันติภาพจากรัฐบาลพม่า เราได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับตัวแทนชุมชนและองค์กรไทใหญ่ในเมืองตองจี ซึ่งเรารู้สึกดีใจที่บุคคลและตัวแทนองค์กรต่างๆ มาพบพูดคุยและหารือกัน" พ.ต.หลาวแสง โฆษกกองทัพรัฐฉาน SSA กล่าวกับสำนักข่าวฉาน (SHAN) จายส่าอ่อง ชาวเมืองตองจีซึ่งเป็นสมาชิกชมรมการศึกษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ประจำเมืองตองจี เปิดเผยว่า เขารอพบตัวแทนกองทัพรัฐฉาน SSA ตั้งแต่ที่เขาได้ยินข่าวตัวแทน SSA จะเดินทางไปพบหารือกับตัวแทนรัฐบาลพม่าที่เมืองตองจี "ผมประหลาดใจยิ่งที่ได้ยินข่าวตัวแทนกองทัพรัฐฉาน SSA มาที่นี่ ผมกระตือรือร้นมากที่จะได้พบกับพวกเขา เพราะตลอดช่วงชีวิตผมยังไม่เคยพบเห็นทหารไทใหญ่แม้สักครั้งเดียว ที่ผ่านมาสื่อรัฐบาลมักจะรายงาน SSA เป็นกลุ่มกบฏ แต่สิ่งที่ผมเห็นมันต่างกัน ทหารไทใหญ่ดูมีความเป็นมิตรมาก “ จายส่าอ่อง กล่าว ขณะที่ พ.ต.หลาวแสง เผยอีกว่า คณะตัวแทน SSA กำลังวางแผนเพื่อเดินทางไปพบปะกับชุมชนไทใหญ่และตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ ในหลายเมืองใหญ่ เช่น เมืองมัณฑะเลย์ ย่างกุ้ง และน้ำคำ เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทัพรัฐฉาน SSA "เรามีความพอใจมากที่เราได้พบกับประชาชนของเราและเราได้อธิบายให้พวกเขาทราบเกี่ยวกับแผนการของเราในอนาคต ซึ่งพวกเขาก็ดีใจกับความสำเร็จระหว่างเรากับรัฐบาลพม่า โดยตัวแทนชุมชนองค์กรที่มาพบเรามีกว่า 30 คน ทั้งตัวแทนด้านชมรมการศึกษา วัฒนธรรม และพรรคการเมืองไทใหญ่ รวมถึงตัวแทนองค์กรกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงด้วย” พ.ต.หลาวแสง กล่าว พ.ต.หลาวแสง กล่าวอีกว่า ในอนาคต SSA จะพบกับประชาชนไทใหญ่ในเมืองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของ SSA ในอนาคตว่าสิ่งใดที่อยากจะให้กองทัพรัฐฉาน SSA ทำมากที่สุด นอกจากนี้ คณะตัวแทนกองทัพรัฐฉาน SSA มีกำหนดพบหารือกับเจ้าขุนทุนอู ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย SNLD อดีตนักโทษการเมืองที่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมาด้วย และจากนั้นจะเดินทางไปยังเมืองหมู่แจ้ และเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ เพื่อสำรวจหาสถานที่ตั้งสำนักงานประสานงานและพบกับสมาชิกในพื้นที่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
สองแกนนำพรรคการเมืองไทใหญ่หารือแผนงานอนาคต Posted: 19 Jan 2012 04:28 AM PST จายอ้ายเปา แกนนำพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (18 ม.ค.) จายอ้ายเปา ประธานพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ ทั้งนี้ สองฝ่ายใช้เวลาหารือกันประมาณ 30 นาที โดยจายอ้ายเปา ได้ร้องขอพรรค SNLD เจ้าขุนทุนอู ร่วมงานกันในการลงแข่งการเลื ขณะที่เจ้าขุนทุนอู กล่าวว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดทิ สำหรับพรรค SNLD ภายใต้การนำของเจ้าขุนทุนอู เคยชนะการเลือกอันดั ส่วนพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
เปิดเดินรถสายเชียงใหม่-หลวงพระบางเที่ยวแรกแล้ว Posted: 19 Jan 2012 04:19 AM PST ขนส่งเชียงใหม่ เปิดเดินรถโดยสารระหว่างประเทศสายเชียงใหม่-หลวงพระบางเที่ยวปฐมฤกษ์แล้ว เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย-เชียงของ-ข้ามน้ำโขงที่หลวงน้ำทา-อุดมไชย-หลวงพระบาง ใช้เวลา 18 ชั่วโมง ช่วงแรกใช้รถปรับอากาศ ม.2 แบบ 44 ที่นั่ง จะเปลี่ยนเป็นรถ ม.1 ในปี 56 หลังสะพานข้ามน้ำโขงที่เชียงของ-ห้วยทรายสร้างเสร็จ ที่มาของภาพ: เฟซบุควิถีชนคนเมืองล้านนา สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (19 ม.ค.) ว่านายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รองปลัดกระทรวง รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในพิธีเปิดเดินรถโดยสารระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เส้นทางสายที่ 8 เชียงใหม่ – แขวงหลวงพระบาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 3 อาเขต 2 โดยการเดินรถโดยสารดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของกรมการขนส่งทางบกของไทยและกรมโยธาธิการและขนส่ง ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะแรกเดินรถด้วยรถโดยสารปรับอากาศมาตรฐาน 2 ของบริษัทขนส่ง จำกัด หรือ บขส. จากจังหวัดเชียงใหม่ จอดรับผู้โดยสารที่จังหวัดเชียงราย และอำเภอเชียงของ ข้ามเรือที่ท่าเรือเชียงของ บ่อแก้ว ขึ้นรถโดยสารของบริษัทนาหลวงขนส่งโดยสารผ่านแดน ต่อไปยังแขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไชยและแขวงหลวงพระบาง ใช้เวลาเดินทาง 18 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 1,200 บาทตลอดสาย และเมื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของห้วยทรายแล้วเสร็จในปี 2556 จะเปลี่ยนใช้รถโดยสารปรับอากาศมาตรฐาน 1 แทน อัตราค่าโดยสาร 1,500 บาท ทั้งนี้หน่วยงานทั้งสองประเทศเชื่อว่าการเปิดเส้นทางเดินรถดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างสอง ประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจการลงทุนเป็นอย่างดี สำหรับรถที่ใช้โดยสารในขณะนี้เป็นรถปรับอากาศแบบ ม.2 44 ที่นั่ง และจะปรับเปลี่ยนเป็นรถที่สะดวกกว่าเมื่อสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 แล้วเสร็จ โดยคาดหวังจำนวนที่นั่งร้อยละ 60 ของที่นั่งทั้งหมดจึงจะคุ้มทุน และออกเดินรถวันละ 1 เที่ยว คาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยวเส้นทางนี้จำนวนมาก โดยผู้โดยสารต้องใช้หนังสือเดินทางผ่านแดนเมื่อเข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
แจงเหตุ กสม.ออกแถลงการณ์ กรณีมาตรา 112 Posted: 19 Jan 2012 03:12 AM PST 19 ม.ค.55 แหล่งข่าวในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีที่ กสม.ออกแถลงการณ์ปฏิเสธการสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยระบุว่าแถลงการณ์ดังกล่าวได้ผ่านมติของที่ประชุมคณะกรรมการแล้ว และเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแสข่าว โดยเฉพาะการยื่นหนังสือของ น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จากเครือข่ายพลเมืองอาสาป้องกันแผ่นดินที่คัดค้านการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้รวมถึงพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ของคณะกรรมการสิทธิฯ ภายในอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน โดย นพ.ตุลย์ได้คัดค้านการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 112 ตลอดจนคัดค้านตัวบุคคลที่อยู่ในคณะทำงานบางคนด้วย แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ผ่านมามีกระแสข่าวที่พยายามดึงกรรมการสิทธิฯ ไปอยู่ในกลุ่มแนวคิดล้มล้างสถาบัน ประกอบกับปัญหาภายในองค์กรเองที่มีบางกลุ่มพยายามสร้างข่าวที่ก่อความเสียหายให้กับองค์กร จึงเห็นว่าควรมีการออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าวเพื่อความชัดเจนและไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มใด สำหรับการตั้งคณะทำงานและการตรวจสอบกรณีที่ได้รับการร้องเรียนจากการใช้กฎหมายมาตรา 112 นั้น ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่กรรมการสิทธิฯ จำเป็นต้องทำตามหน้าที่ เช่นเดียวกับหมอที่มีหน้าที่ต้องรักษาคนไข้ แล้วจากนั้นจึงจะสรุปบทเรียน ลักษณะของปัญหาเพื่อนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
ฝ่ายที่สาม ไม่ใช่มือที่สาม, และการยุติความขัดแย้งภายในรัฐ Posted: 19 Jan 2012 03:06 AM PST ผมได้เคยเขียนบทความที่ชื่อ สงครามกลางเมือง ภูเขา คนหนุ่ม: สงครามเกิดเพราะมันมีโอกาส ไปแล้วเพื่ออธิบายถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสงครามกลางเมือง (the economic theory of civil war) หัวใจของทฤษฎีก็เพื่อที่จะอธิบายว่าสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือภูมิศาสตร์อะไรบ้างที่กำหนดโอกาสเกิดสงครามกลางเมือง ในบทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่แตกต่างออกไป, คือกล่าวถึง “ทฤษฎีว่าด้วยการแทรกแซงความขัดแย้งภายในรัฐ” ซึ่งหัวใจของทฤษฎีนี้พยายามที่จะหาคำอธิบายว่า ความขัดแย้งภายในรัฐต่างๆ จะมีโอกาสยุติได้โดยวิธีการใดบ้าง? และด้วยความน่าจะเป็นที่จะประสบความสำเร็จแค่ไหน? [1] ในกรณีที่มีการแทรกแซงจากฝ่ายที่สามเข้า มายุ่งเกี่ยว โดยเลือกเอาบทความวิชาการเรื่อง Conditions of successful third-party intervention in intrastate conflicts ของ Patrick M. Regan ปี 1996 เป็นเค้าโครงหลักในการเล่าเรื่อง “ถ้าจะนิยามอย่างง่ายที่สุด สงครามกลางเมืองคือการสู้รบด้วยกำลังอาวุธระหว่างคู่ขัดแย้งอย่างน้อยสอง ฝ่ายที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตของรัฐชาติหนึ่ง (internal, intra-national) โดยคู่ขัดแย้งหลักเป็นพลเมืองในชาติเดียวกันเอง ทั้งนี้คู่ขัดแย้งอาจจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินหรือทางทหารจากภายนอก ประเทศก็ได้...” (ประจักษ์ ก้องกีรติ, 2553: 55) จากนิยามนี้จะเห็นว่าสงครามกลางเมืองสามารถที่จะใช้ในความหมายที่เป็น สงครามภายในรัฐ (intrastate conflict) ชนิดหนึ่งได้เช่นเดียวกัน สิ่งแรกที่จะทำให้การวิเคราะห์เรื่องความขัดแย้งภายในรัฐ (intrastate) เกิดมุมมองที่ชัดเจนคือ การนิยามสภาวะความขัดแย้งภายในรัฐให้ชัดว่ามีลักษณะอย่างไร Small and Singer (1982) เสนอหลักเกณฑ์ 3 ประการเพื่อนิยามความขัดแย้งภายในรัฐ นั่นคือ 1. การเผชิญหน้ากันต้องเกิดขึ้นภายในรัฐ 2. คู่ขัดแย้งด้านหนึ่งจำเป็นต้องอยู่ในอำนาจรัฐ และ 3. ฝ่ายต่อต้านรัฐมีความสามารถที่จะเผชิญหน้ารัฐได้อย่างยืดเยื้อ ความขัดแย้งที่เกิดภายในรัฐนี้หากจะแบ่งแยกย่อยลงไปอีกก็จะแบ่งได้เป็นสาม ประเภทด้วยกันคือ 1. ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ (ethnically) 2. ความขัดแย้งทางศาสนา (religiously) และ 3. ความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ (ideologically) ซึ่งอัตลักษณ์ที่ว่านี้หมายถึงได้ทั้งอัตลักษณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น ความขัดแย้งทางชนชั้นถือเป็นความขัดแย้งทางอัตลักษณ์เช่นเดียวกัน สาเหตุที่ต้องแยกวิเคราะห์ความขัดแย้งภายในรัฐออกเป็นประเภทต่างๆก็เพราะ สาเหตุที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จในการแทรกแซงให้เกิดการยุติสงความขัด แย้งภายในรัฐอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์และศาสนาจะคลี่คลายได้ง่ายกว่า ความแตกต่างทางอัตลักษณ์การเมืองและเศรษฐกิจ (โอกาสประสบความสำเร็จในการยุติความขัดแย้งภายในรัฐกรณีขัดแย้งทาง ชาติพันธุ์อยู่ที่ราว 17% ทว่าการแก้ไขปัญหาทางอัตลักษณ์จะมีโอกาสประสาบความสำเร็จเพียง 12% เท่านั้น) วิธีการของฝ่ายที่สามใช้เพื่อเข้ามาแทรกแซงให้ความขัดแย้งภายในรัฐยุติลงก็ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ, ฝ่ายที่สามซึ่งอาจจะเป็นประเทศอื่นๆ หรือองค์กรโลกบาลอย่างองค์กรสหประชาชาติ สามารถที่จะแทรกแซงสงครามกลางเมืองได้โดยการ 1. เป็นคนกลางเจรจา 2. ใช้กำลังทหาร 3. ใช้นโยบายทางเศรษฐกิจ และ 4. วิธีการผสมผสาน ซึ่งวิธีการเจรจาจะถูกตัดออกไปจากการพิจารณาในบทความชิ้นนี้เนื่องจากมีการ ศึกษามามากพอสมควรแล้วอย่างเช่นงานของ Frida Möller, Karl DeRouen Jr., Jacob Bercovitch, Peter Wallensteen (2007) ซึ่งพูดถึงการแทรกแซงสงครามกลางเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น ในส่วนของการใช้กำลังทหารและนโยบายทางเศรษฐกิจ (เช่นการคว่ำบาตรทางการค้า) นั้นถ้าพิจารณาถี่ถ้วนก็จะพบว่าเป็นนโยบายที่ประสานกัน (complementary policy) คือถ้าใช้อย่างใดอย่างหนึ่งจะประสบผลไม่มากเท่ากับการใช้ทั้งสองประการพร้อม กัน เพราะหากใช้กำลังทหารหรือนโยบายทางเศรษฐกิจโดยลำพังจะมีโอกาสยุติความขัด แย้งภายในรัฐในรัฐได้เพียง 11% เท่านั้นเมื่อเทียบกับนโยบายผสมผสานที่จะช่วยทำให้ความน่าจะเป็นในการยุติ ความขัดแย้งภทยในรัฐเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 31% ทั้งนี้จะต้องใช้นโยบายทางทางหารและเศรษฐกิจให้เหมาะแก่สถานการณ์ด้วย กล่าวคือ หากต้องการปรามพฤติกรรมบางอย่างก็ควรใช้กำลังทหาร แต่ถ้าต้องการส่งเสริมทิศทางที่ดำเนินมาอย่างถูกต้องแล้ว การใช้นโยบายทางเศรษฐกิจย่อมเหมาะสมกว่า เป็นต้น, การใช้นโยบายทางทหารและทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมจะไปเพิ่มต้นทุนในการก่อสงคราม ให้แก่คู่ขัดแย้ง (นโยบายทหาร) และ เพิ่มประโยชน์ที่จะได้รับหากยุติสงครามลง (นโยบายเศรษฐกิจ) นอกจากวิธีการแทรกแซงแล้ว การเลือกที่จะสนับสนุนผ่านใดฝ่ายหนึ่งในคู่ขัดแย้งก็มีผลต่อความสำเร็จด้วย ในทางทฤษฎีแล้วรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มักมีฐานความชอบธรรม มากกว่ากลุ่มต่อต้าน (opposition side) การสนับสนุนรัฐบาลในการต่อสู้หรือเจรจาจึงมักนำมาซึ่งความสำเร็จที่สูงกว่า การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านอย่างมาก คือหากสนับสนุนรัฐบาลจะมีโอกาสสำเร็จราว 23% ในทางกลับกันจะมีโอกาสสำเร็จเพียง 8% เท่านั้น ดังที่กล่าวไปบ้างแล้วถึงเรื่องต้นทุนของความขัดแย้งภายในรัฐ, ต้นทุนส่วนที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งก็คือการสูญเสียชีวิตจากการต่อสู้ นัยนี้ จำนวนผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจึงควรที่จะมีผลต่อการตัดสินใจสู้รบยืดเยื้อ และความสำเร็จของการแทรกแซงโดยฝ่ายที่สามเพื่อยุติสงครามด้วย ในทางทฤษฎี, ยิ่งมียอดผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้นมากเท่าไหร่ โอกาสที่ฝ่ายที่สามจะเข้ามาเจรจาสันติภาพได้สำเร็จย่อมน้อยลงเรื่อยๆ จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ต้นทุนที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมีน้อยแล้ว (ความทุกข์จากการสูญเสียเพิ่มในอัตราที่ลดลง – พอรบจนบาดเจ็บล้มตายไปมากแล้วก็รู้สึกด้านชาและเจ็บปวดกับความสูญเสียน้อยลง แต่มุ่งเอาชนะเพื่อชดเชยให้กับความสูญเสียเหล่านั้นมากขึ้น) เป็นต้น และจากการทำนายโดยแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (เศรษฐมิติ) พบว่าหากมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บ 200 คน โอกาสที่ฝ่ายที่สามจะแทรกแซงสำเร็จมี 15% แต่ถ้ามีผู้เสียชีวิตถึง 500,000 คนโอกาสจะลดลงเหลือเพียง 11% เท่านั้น และหากมีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้ก็จะยิ่งมีโอกาสแห่งความสำเร็จน้อยลงไป เรื่อยๆ อีกประเด็นหนึ่งที่งานของ Regan (1996) กล่าวถึงขึ้นมาแต่ไม่ได้วิเคราะห์ต่อไปให้ลึกซึ่งมากมายนักก็คือ เรื่องการเข้ามาแทรกแซงของฝ่ายที่สาม ว่ามีใครบางเป็นผู้เล่นหลัก ผลพบว่าฝ่ายที่สามหลักๆที่มีบทบาทในการเข้ามาช่วยจัดการสงครามกลางเมืองให้ ยุติลงทั่วโลกนั้นมีประเทศใหญ่ๆ อย่างอเมริกา รัสเซีย สหประชาชาติ ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และ คิวบา เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย เรื่องชวนคิด (ที่ Regan, 1996 ไม่ได้กล่าวไว้) ก็คือ... ผู้อ่านทุกท่านคิดว่าการเข้ามาแทรกแซงเพื่อยุติสงครามกลางเมืองของประเทศ เหล่านี้ (หากไม่นับสหประชาชาติ) เป็นไปด้วยความรู้สึกที่ต้องการจะคืนสันติภาพให้แก่โลกอย่างตรงไปตรงมาหรือ มีประเด็นอื่นแอบแฝงอยู่ด้วย? จากประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (อันน้อยนิดของผู้เขียน) พบว่าการแทรกแซงเหล่านี้ “มักจะ” มีนัยทางการเมืองอย่างเข้มข้น มากกว่าจะเป็นเพียงความหวังดี ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการให้เงินช่วยเหลือในประเทศที่อดอยาก แท้ที่จริงแล้วการให้เงินช่วยเหลือส่วนใหญ่ทั่วโลกเกิดขึ้นโดยการที่ประเทศ อดีตอาณานิคมโอนเงินเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันเอง มากกว่าที่จะโอนไปให้แก่ประเทศยากจนที่สุดจริงๆ (Alesina and Dollar, 2000) เป็นต้น โดยหลักฐานเบื้องต้น (อาจไม่ใช่หลักฐานที่ชี้ชัดนักแต่ชวนให้น่าศึกษาต่อ) ได้แก่ การที่ประเทศฝ่ายที่สามเหล่านี้เลือกแทรกแซงประเทศตะวันออกกลางมากที่สุด ทั้งๆที่ทวีปซึ่งมีความขัดแย้งภายในรัฐ-สงครามกลางเมืองคือแอฟริกา (ภาพที่ 1 และ 2) ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นสัดส่วนของการเกิดสงครามกลางเมืองแบ่งตามทวีป ที่มา: Frida Möller, Karl DeRouen Jr., Jacob Bercovitch, Peter Wallensteen (2007)
ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นสัดส่วนของการแทรกแซงโดยฝ่ายที่สามแบ่งตามทวีป ที่มา: Frida Möller, Karl DeRouen Jr., Jacob Bercovitch, Peter Wallensteen (2007) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นไปเพื่อที่จะอธิบายว่าปัจจัยใดบ้างกำหนดความสำเร็จในการแทรกแซงให้หยุด ความขัดแย้งภายในรัฐแต่การแทรกแซงเพื่อหยุดความขัดแย้งภายในรัฐนั้นไม่ได้ ค้ำประกันถึงเสถียรภาพระยะยาว หรือยืนยันว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งภายในรัฐขึ้นอีก ในความเป็นจริงแล้วความขัดแย้งอาจจะกลับมาในรัฐเดิมได้อีกซ้ำหรือที่เรียก ว่าการติดอยู่ในกับดักความขัดแย้ง (conflict trap) งานของ Addison และ Murshed (2001) จึงเสนอแนวคิดที่พยายามต่อยอดสันติภาพหลังความขัดแย้งภายในรัฐให้เกิดขึ้น อย่างยั่งยืน โดยให้แนวคิดว่า ก่อนเกิดความขัดแย้งภายในรัฐสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเสมอนั่นคือการที่สัญญา ประชาคม (social contract) ถูกทำลายลง โดยสัญญาประชาคมในความหมายของทั้งสองคือ ข้อตกลงว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรและสิทธิ์ในสังคม ดังนั้น ภายหลังความขัดแย้งภายในรัฐยุติลงแล้ว (หรือกระทั่งระหว่างดำเนินไปก็ตาม) สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการเจรจาก็คือการสร้างสัญญาประชาคมขึ้นมาใหม่ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมขึ้น โดยข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมของการสร้างสัญญาประชาคมขึ้นมาใหม่ในบทความของ ทั้งสองก็เช่น 1. การทำนโยบายเข้าหาคนจน (pro-poor policy) 2. การสร้างระบบสัญญาที่มีสภาพบังคับใช้แน่นอน (credible contract design) เป็นต้น โดยกระบวนการสร้างสัญญาประชาคมขึ้นมาใหม่ตามข้อเสนอของ Addison และ Murshed (2001) ยังไปพ้องกับทฤษฎีพัฒนาการประชาธิปไตย (democratization theory) ของ Acemoglu and Robinsson (2006) ซึ่งมีแนวคิดว่า รัฐที่พัฒนาตัวเองไปสู่ประชาธิปไตยย่อมต้องคำนึงถึงความต้องการของคนส่วน ใหญ่มากยิ่งขึ้นผ่านกระบวนการรับผิด(และชอบ)ทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้นรัฐประชาธิปไตยก็จะทำนโยบายเข้าหาคนจนมากยิ่งขึ้น และการทำนโยบายเข้าหาคนจนนี้จะช่วยลดโอกาสที่ประชาชนจะทำการประหารรัฐที่ ไม่เป็นประชาธิปไตยลงได้ด้วย หรือกล่าวได้ว่าสัญญาประชาคมที่เข้าข้างคนจน (คนส่วนใหญ่) จะช่วยลดความขัดแย้งภายในรัฐลงนั่นเอง แต่ก็อย่างที่ผู้อ่านทุกท่านคงเข้าใจได้ไม่ยาก... การมาสร้างสัญญาประชาคมกันภายหลังจากที่มันถูกละเมิด ยกเลิกไปแล้วนั้น มีต้นทุนสูงกว่าการรักษามันเอาไว้เป็นไหนๆ, และผู้เขียนหวังว่าประเทศไทยของเราจะไม่ต้องมีโอกาสใช้ทฤษฎีว่าด้วยการยุติ ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐเหล่านี้นะครับ. เชิงอรรถ
เอกสารอ้างอิง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: เพื่อไทยจะถลุง 30 บาท Posted: 19 Jan 2012 02:31 AM PST ความเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบท ที่จะระดมพลคัดค้าน “ขบวนการล้มบัตรทอง” ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ ถูกกระแสข่าวปรับคณะรัฐมนตรีกลบไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ความจริงนี่เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง กระทบผลประโยชน์ของประชาชน 48 ล้านคน ที่ได้อานิสงส์จากนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของพรรคไทยรักไทย จนทำให้ได้คะแนนเสียงท่วมท้น 19 ล้านเสียง ไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามา คมช.หรือพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่กล้าล้มนโยบายนี้ มีแต่พยายามจะทำให้ดีขึ้น แต่ต่อให้ทำดีแค่ไหน อานิสงส์ก็ล้วนไปตกกับทักษิณและพรรคไทยรักไทย ในฐานะผู้ริเริ่มจนประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลขิงแก่ยกเลิกเก็บเงิน 30 บาทไปแล้ว และรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ยกเลิกบัตรทองไปแล้ว ให้ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกกันติดปาก ว่าบัตรทอง 30 บาทของไทยรักไทยอยู่ดี แต่ไม่น่าเชื่อว่าเมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามา จะงี่เง่าถึงขนาดเขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า หลายคนอาจจะไม่เชื่อและอาจจะบอกว่าแพทย์ชนบทพูดเว่อร์ไป “ขบวนการล้มบัตรทอง” ยังกะข้อกล่าวหา “ขบวนการล้มเจ้า” ใครจะไปล้มนโยบาย 30 บาท ไม่มีใครงี่เง่าขนาดนั้นหรอก ใช่ครับ ไม่มีใครล้มทันทีหรอก แต่ความงี่เง่าไม่รู้จักแยกมิตรแยกศัตรู ตลอดจนมองเห็นแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า สามารถทำให้นโยบาย 30 บาทเป็นอัมพาตไปได้ เอ้า ดูกันง่ายๆ กับแนวคิดที่จะกลับมาเก็บเงิน 30 บาท ทั้งที่ยกเลิกไปหลายปีแล้ว ผมอยากถามว่าคิดได้ไง เอาอวัยวะส่วนไหนคิด ถ้าไม่งี่เง่าพอจะคิดอย่างนี้ได้ไหม มันก็ไม่ต่างจากนโยบายเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แล้วกลับมาเก็บใหม่ หาเรื่องให้ชาวบ้านด่าพึม จนรัฐมนตรีพลังงานโดนเด้ง คนเคยเสีย แล้วไม่เสีย แล้วกลับมาเสีย ใครเขาจะพอใจครับ ไปเชื่อพวกหมอเมือง (ตรงข้ามกับหมอชนบท) ได้ไง ที่ว่าไม่เก็บ 30 บาททำให้คนหาหมอพร่ำเพรื่อ “การยกเลิกการจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ส่วนคนที่ยากจนจริงๆนั้น บางคนอาจไม่มีเงินเป็นค่าเดินทาง ก็อาจจะไม่สามารถมารับบริการได้ แต่ผู้มีเงินมากก็จะมารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น เรียกร้องการรักษามากขึ้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเอง และไม่ต้องร่วมจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองเลย” นี่คือตรรกของ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) ซึ่งเขียนบทความเรื่อง “เมื่อกระทรวงสาธารณสุขไร้อำนาจ-ไร้เงิน ใครคือตัวจริงกุมอำนาจเบ็ดเสร็จบริการสาธารณสุขไทย!” ลงเว็บไซต์ thaipublica เราๆ ท่านๆ ลองเอาอวัยวะตรองดูก็ได้ว่านี่เป็นตรรกที่น่าเชื่อถือหรือเปล่า คบคนผิดไม่รู้มิตร-ศัตรู ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือเราจะต้องแยกมิตรแยกศัตรูให้ชัดเจนก่อน ว่าใครอยู่ข้างใคร ในทางการเมือง และในทางนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ประชาชน ซึ่งต้องยอมรับว่ามันซับซ้อน นโยบาย 30 บาทเป็นไอเดียของหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ซึ่งท่านจากไปครบ 4 ปีพอดีในวันที่ 18 มกราคม หมอสงวนเป็นหนึ่งในกลุ่มสามพราน สานุศิษย์หมอประเวศ อาจกล่าวได้ว่านโยบายนี้เป็นไอเดียที่กลุ่มสามพรานช่วยกันคิดขึ้นมา แล้วหมอสงวนกับหมอวิชัย โชควิวัฒน ซึ่งเป็นคนเดือนตุลา ก็เอานโยบายนี้ไปเสนอทักษิณ ผ่านทางหมอมิ้ง พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช และกลุ่มคนเดือนตุลาที่อยู่รอบๆ ทักษิณ และเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็มีหมอเลี้ยบเป็น รมช.สาธารณสุข ผลักดันให้นโยบายสัมฤทธิ์ผล โดยมีหมอมงคล ณ สงขลา ปลัดกระทรวง หมอกลุ่มสามพราน และชมรมแพทย์ชนบท เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง กลุ่มคนที่คัดค้านไม่พอใจนโยบาย 30 บาท ก็คือผู้บริหารในกระทรวง เพราะหลังจากรัฐบาลไทยรักไทยออก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมา ก็ดึงงบประมาณเกือบทั้งหมดไปจากกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนเป็นค่ารักษาพยาบาลรายหัว ซึ่ง สปสช.จ่ายตรงไปให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนที่ร่วมโครงการ สปสช.เป็นผู้กำหนดราคาค่ารักษา เป็นผู้จัดซื้อ ต่อรองราคายาและอุปกรณ์ทุกอย่าง กลุ่มหมอกระทรวงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับหมอสามพรานและหมอชนบทมานาน ตั้งแต่สมัยจับทุจริตยาในรัฐบาลชวน 2 ซึ่งทำให้หมอปรากรม วุฒิพงศ์ โดนเด้ง หมอมงคลได้เป็นปลัดแทน กลุ่มถัดมาก็คือแพทย์ตามโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งหัวใจของ 30 บาท คือการปฏิรูประบบงบประมาณ จากเดิมที่จ่ายงบตามขนาดโรงพยาบาลและจำนวนบุคลากร ทำให้เกิดความไม่สมดุล แพทย์ พยาบาล กระจุกกันอยู่แต่ในตัวเมือง หรือใกล้กรุงเทพฯ แต่นโยบาย 30 บาทเปลี่ยนมาจ่ายงบประมาณตามรายหัวประชากร งบก็หล่นโครมลงไปอยู่ตามจังหวัดไกลปืนเที่ยง ตามโรงพยาบาลชุมชน ที่มีประชากรมาก มีหมอน้อย มีพยาบาลน้อย ส่วนพวกโรงพยาบาลใหญ่ ที่ประชากรไม่มาก แต่ดันมีหมอมาก พยาบาลมาก ก็โดนตัดลด เพื่อบีบให้กระจายบุคลากรสู่ชนบท พวกนี้จึงโวยวายกันทั่ว อ้างว่าขาดทุน อันที่จริงระบบ 30 บาทก็กำหนดให้ รพ.ใหญ่รับผู้ป่วยจาก รพ.ชุมชน แล้วเก็บค่ารักษาตามอัตราที่ สปสช.กำหนด และ รพ.ใหญ่ยังได้ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ตลอดจนคนมีเงินรักษาเอง ซึ่งต่อมาเมื่อระบบเข้าที่ ก็ไม่ได้มีปัญหาขาดทุนอย่างที่โวยวายกัน เพียงแต่แพทย์พยาบาลเหล่านี้ก็ยังไม่พอใจอยู่ดี อยากให้แยกเงินเดือนออกจากงบค่าใช้จ่ายรายหัว กลุ่มที่สามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ 30 บาท ก็คือโรงพยาบาลเอกชนเกรดบี ที่ไม่ใช่ รพ.กรุงเทพ บำรุงราษฎร์ สมิติเวช พระราม 9 ธนบุรี ฯลฯ ที่ทำมาหากินกับคนมีกะตังค์หรือคนไข้ข้ามชาติไปแล้ว ไม่มาสน 30 บาทหรอก แต่พวกเกรดบีเกรดซีเนี่ยต้องอาศัยประกันสังคมและ 30 บาทเป็นรายได้พื้นฐาน พวกนี้ไม่ได้ต้องการล้ม 30 บาท แต่ต้องการให้ สปสช.ดีดเพดานค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น (รวมทั้งอาจจะอยากให้ลดมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพลง) เมื่อ สปสช.ต่อราคา พวกนี้ก็มักจะโวยวาย เช่นเมื่อ สปสช.ต่อราคาค่าฟอกไตเหลือ 1,500 บาท น.พ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน (เจ้าของเครือ รพ.รามคำแหง) กับ น.พ.เฉลิม หาญพาณิชย์ (เจ้าของค่ายเกษมราษฎร์ ญาติแลนด์แอนด์เฮ้าส์) ก็ส่งจดหมายเวียนถึง รพ.เอกชนทุกแห่ง ไม่ให้เซ็นสัญญา เพราะจะเสียราคาที่รับกับสวัสดิการข้าราชการอยู่ครั้งละ 2,000 บาท นั่นทั้งๆ ที่หมอเอื้อชาติเป็นกรรมการ สปสช.อยู่โดยตำแหน่ง จึงทำให้บอร์ด สปสช.มีมติประณาม (แต่ก็ยังไม่มีผลอะไรตามมา หมอเอื้อชาติยังอยู่ในบอร์ดชุดปัจจุบัน) พวกแพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป และ รพ.เอกชน คือเสียงส่วนใหญ่ในแพทยสภา (แหงละ เพราะแพทย์ชนบทมีแค่หยิบมือ) อย่าง น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาหลายสมัย ก็เป็นเจ้าของโรงพยาบาลลาดพร้าว มิตรศัตรูของนโยบาย 30 บาท มาแปรเปลี่ยนเพราะการเมืองเรื่องเสื้อสี ที่ไม่ต้องพูดมากก็รู้กันว่าเครือข่ายลัทธิประเวศกลายเป็นศูนย์อำนวยการ NGO ฝ่ายไล่ทักษิณ เชียร์รัฐประหาร และเป็นเครื่องมือของรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยมี สสส.เป็นท่อน้ำเลี้ยง ชะรอยพวกเพื่อไทยคงเคยอ่านที่ผมเขียนว่า “เครือข่ายหมอประเวศล้มรัฐบาลได้” พอเข้ามาก็เลยกะจะล้างบางพวกหมอวิชัย และทายาทหมอสงวนใน สปสช.เป็นอันดับแรก แต่มันผิดฝาผิดตัวครับ ข้อแรก คุณควรจะไปล้างบาง สสส. เพราะ สปสช.ไม่ได้เอาเงินออกมาเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้ใคร ข้อสอง ถ้าล้างบางลัทธิหมอประเวศ ก็ควรทดแทนด้วย NGO ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ใช่ทดแทนด้วยกลุ่มผลประโยชน์ เพราะอย่างน้อย พวกหมอวิชัย หมอสงวน หมอสุวิทย์ แพทย์ชนบท ก็ไม่เคยมีปัญหาเรื่องทุจริตประพฤติมิชอบ แม้จะเคยหนุนรัฐบาลประชาธิปัตย์ กระทั่งหมอวิชัยทำจดหมายน้อยขอตำแหน่งปลัดกระทรวงให้หมอชูชัย ศุภวงศ์ แต่พอโครงการไทยเข้มแข็งของ ปชป.ส่อทุจริต หมอวิชัยกับแพทย์ชนบท ก็เป็นคนเปิดโปง จนวิทยา แก้วภราดัย โดนเด้ง (และ ปชป.ก็เอาจดหมายน้อยมาแฉหมอวิชัยกลับ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบแมลงสาบเป็นพิษจนผุยผง”) ที่สำคัญกว่านั้นคือ เมื่อพวกหมอประเวศเป็นเหลืองแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายตรงข้ามในนโยบาย 30 บาทเป็นแดง เพราะพวกหมอๆ ส่วนใหญ่ ก็ไม่พอใจทักษิณอยู่แล้ว ยิ่งถูกปลุกอุดมการณ์ราชานิยม ก็ยิ่งไปกันใหญ่ สังเกตดูสิครับ โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งในประเทศไทย ในช่วงพันธมิตรกระแสสูง เปิด ASTV วิสัญญีคนไข้กันทั้งสิ้น เอ้า ยกตัวอย่างง่ายๆ บอร์ด สปสช.ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐบาลนี้ตั้งใหม่ ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้คุณเสงี่ยม บุญจันทร์ ชนะกิตติศักดิ์ ปรกติ เพื่อนเก่าผม ผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับนิติราษฎร์ ตอนแรกผมก็สะใจ ไอ้กิตติศักดิ์ (เรียกแบบเพื่อน) มันปกป้องรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ดีนัก ว่าแต่คุณเสงี่ยมนี่เป็นใครมาจากไหนผมไม่รู้จัก เอ๊ะ ทนายเสื้อแดงหรือเปล่าหวา พอไปค้นประวัติดู เฮ้ย ที่ไหนได้ แทบหงายหลัง คุณเสงี่ยม บุญจันทร์ เพิ่งไปออก ASTV กับ อ.พิชาย รัตนดิลก เมื่อปลายเดือนกันยา (ทั้งที่ได้รับเลือกเป็นบอร์ด สปสช.แล้ว) คัดค้านข้อเสนอนิติราษฎร์ ด่าอัยการที่ไม่อุทธรณ์คดีภาษีพจมาน ค้นย้อนไปอีกพบว่า คุณเสงี่ยมเคยเป็นเลขาธิการสภาทนายความ สมัยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ปกป้องกษิต ภิรมย์ ว่าไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน และให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2553 หลัง ศอฉ.ล้อมจับแกนนำ นปช.ไม่สำเร็จว่า มวลชนเสื้อแดงที่เข้าไปช่วยเหลือแกนนำให้หลบหนีการจับกุมถือว่ามีความผิด ฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ อ้าว เฮ้ย เปรียบกับกิตติศักดิ์ ไม่รู้ใครสลิ่มกว่าใคร อย่างน้อยผมก็ยังเชื่อมั่นกิตติศักดิ์ ว่าจะปกป้องผลประโยชน์ประชาชนในนโยบาย 30 บาท แต่คุณเสงี่ยมที่รัฐมนตรีสาธารณสุขเอามานี่ ผมไม่รู้จัก ไม่รู้พลิกกลับมาเป็นบอร์ดในรัฐบาลเพื่อไทยได้ไง (ไหนโวยกันนักว่าไม่ตั้งเสื้อแดง) ยกตัวอย่างอีกเรื่องนะครับ คุณหมอเชิดชูที่เขียนบทความถล่ม สปสช. เธออ้างถึงการสัมมนาของแพทยสภาเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2553 ว่าวิทยากรในการสัมมนาคือ คุณสุกฤษฏิ์ กิตติศรีวรพันธุ์ นักกฎหมายมหาชน วิจารณ์ สปสช.ว่า ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ที่รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการหน่วยงานในสายงานของตนเองได้ โห พูดได้จับใจ น่าเชิญไปวิพากษ์วิจารณ์ พรบ.จัดระเบียบกลาโหม แต่ปรากฏว่าผมค้นอาจารย์กู คุณสฤษดิ์แกเพิ่งเป็นทนายให้เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ฟ้องศาลปกครองให้คุ้มครองม็อบของคุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เมื่อต้นปี 54 แล้วก็เคยไปฟ้อง กกต.ต่อศาลปกครองให้สั่งยกเลิกการเลือกตั้ง 2 เมษา 49 ที่ยกมานี่ผมไม่ได้บอกว่าท่านที่เอ่ยนามมีความผิดคิดร้าย แต่ผมจะบอกว่า เฮ้ย ในแวดวงหมอๆ ที่บอกว่าต่อต้านเครือข่ายหมอประเวศเนี่ย ต่างก็นัวเนียหนับหนุนพันธมิตรมาด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยอย่าเอาการเมืองเรื่องสีเสื้อมาเช็กบิลพวกหมอวิชัย แล้วเปิดก้นให้อีกฝ่ายเข้าข้างหลัง ระวังจะแสบ กระทรวงนี้เจ๊คุม บอร์ด สปสช.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตั้งใหม่มี 7 คน ได้แก่ 1.พ.ญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพ 2.น.พ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุข 3.น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย 4.น.พ.พินิจ หิรัญโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก 5.นางวรานุช หงสประภาส ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง 6.นายเสงี่ยม บุญจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 7.นาวาอากาศเอก (พิเศษ) น.พ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ แต่ต่อมาต้องเปลี่ยนแปลง 1 ตำแหน่งคือ น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยแทน น.พ.พิพัฒน์ เพราะมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติเนื่องจากยังเป็นเลขาธิการ อ.ย.อยู่ เมื่อเปรียบมวยกับฝ่ายเครือข่ายหมอประเวศ ซึ่งไม่ได้รับเลือกทั้ง 7 คน ได้แก่ น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพธราดล, ภก.สำลี ใจดี, น.พ.ประพจน์ เภตราการ, นางนวพร เรืองสกุล, กิตติศักดิ์ ปรกติ และ รศ.จิราพร ลิ้มปนานนท์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ก็ต้องบอกว่าฝ่ายหลังมีคุณสมบัติตรงกว่า และมีชื่อเสียงเรื่องต่อสู้กับการทุจริต และการเอารัดเอาเปรียบของบริษัทยาข้ามชาติ ใน 7 คน โอเค คุณเสงี่ยม คุณวรานุช หมอจรัล อาจมีคุณสมบัติตรง ขณะที่ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ คือภริยา ศ.อรุณ เผ่าสวัสดิ์ กรรมการแพทยสภา ผมไม่ทราบว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพตั้งแต่เมื่อไหร่ นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา มาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ ถ้าบอกว่าสังคมเก่ง ก็คงใช่ หมออิทธพรเป็นคนที่น่าจับตามาก (บางคนเก็งว่าจะมาเป็นเลขา สปสช.ด้วยซ้ำ) เพราะบุคลิกดี มีวาทศิลป์ ที่ผ่านมาก็ทำหน้าที่คล้ายๆ “ล็อบบี้ยิสต์” ของแพทยสภา ป้วนเปี้ยนอยู่แถวรัฐสภาและสมาคมนักข่าว (เพราะเคยอบรมกับสถาบันอิศรา) มีบทบาทสำคัญในการคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข น.พ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา เป็นอดีต ผอ.รพ.นครปฐม ไม่ทราบว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกมาแต่ไหน ท่านอ้างว่าเคยไปอบรมแพทย์ทางเลือกที่เมืองจีน บอร์ดก็เลือกเข้ามาแทน น.พ.ประพจน์ เภตราการ อดีตรองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทย ถ้าจำกันได้ สมัยไชยา สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีจากนครปฐม ก็เคยผลักดันให้ น.พ.พินิจเป็นเลขาธิการ สปสช.แต่ตอนนั้นต้องลงแข่งกับหมอสงวน เลยสู้ไม่ได้ น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ที่มาเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยแทน น.พ.พิพัฒน์ นี่ยิ่งบ้าเข้าไปใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแพทย์แผนไทย? หมอประดิษฐ์คือกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดคคอร์มาร์ท จำกัด ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านระดับ “ไฮเอนด์” จากต่างประเทศ (ผมไม่รู้ว่าไฮเอนด์แปลว่าอะไร ไม่มีวาสนาใช้ของระดับนี้) และเป็นหุ้นส่วนในเครือ “แสนศิริ” ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นบอร์ดการบินไทยด้วย เฮ้ย นี่มันนายทุนพรรคซะมากกว่า เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนไทยมาจากไหน น.พ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ เคยรักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข หลังเจ๊หน่อยปลดหมอวัลลภ ไทยเหนือ พอเกษียณแล้วไปสมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ขอนแก่น แล้วสอบตก แต่เจ๊หน่อยยังเอามาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีตอนย้ายไปว่าการกระทรวงเกษตรฯ ถ้าย้อนข่าวตอนนั้นคงจำกันได้นะครับ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวง ถูกเจ๊หน่อยปลด แล้วโวยว่าเป็นเพราะขัดขวางการทุจริตประมูลคอมพิวเตอร์ 900 ล้าน เจ๊หน่อยตั้ง น.พ.จรัลรักษาการปลัด ก่อนจะตั้ง น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธานกรรมการสอบทุจริต สอบกันยังไงผมจำไม่ได้แล้ว รู้แต่ว่า น.พ.ชาตรี บานชื่น โดน ปปช.ชี้มูล และโดน น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดสาธารณสุขคนถัดมา ลงโทษตัดเงินเดือนฐานผิดวินัย แต่พอไชยา สะสมทรัพย์ มาเป็น รมว.สาธารณสุข ก็มีการอุทธรณ์คำสั่งไปที่ ก.พ.และ ก.พ.ยกโทษให้ น.พ.จรัลรักษาการปลัดชั่วคราว โดยมีแคนดิเดท 3 คนคือ น.พ.วิชัย เทียนถาวร น.พ.ปราชญ์ และ ภ.ก.ภักดี โพธิศิริ เจ๊หน่อยเลือก น.พ.วิชัยเป็นปลัด แต่ต่อมาก็เจอวิบากกรรมซ้ำซ้อน เกิดคดีทุจริตจัดซื้อรถพยาบาล 232 คัน คราวนี้ น.พ.พิพัฒน์โดนเสียเอง เรื่องยังอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ปปช.โดย น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีแทนเจ๊หน่อย สั่งเด้ง น.พ.วิชัย เทียนถาวร และตั้งกรรมการขึ้นปลดล็อกสเปก กระทั่งมาจัดซื้อได้สมัยพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรี ตัวละครเหล่านี้กลับมาหมดนะครับ น.พ.จรัลเป็นบอร์ด สปสช. น.พ.พิพัฒน์ก็ได้รับการผลักดันเข้ามาแต่บังเอิญขัดคุณสมบัติ น.พ.ชาตรี บานชื่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ของ สปสช. ส่วน น.พ.วิชัย เทียนถาวร ก็กลับมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี เรื่องทุจริตคอมพ์ และทุจริตจัดซื้อรถพยาบาล จนบัดนี้ก็ยังค้างอยู่ใน ปปช.เพราะกรรมการ ปปช.ที่สอบเรื่องนี้คือ ภ.ก.ภักดี โพธิศิริ ซึ่งเจ๊หน่อยโวยวายว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และอนุดิษฐ์ นาครทรรพ ก็ไปยื่นถอดถอน ภ.ก.ภักดีต่อวุฒิสภา เป็นเรื่องให้พิจารณากันอยู่ตอนนี้ ฉะนั้น เราคงเห็นภาพรางๆ กันว่า วิทยา บูรณศิริ เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข โดยมีเงาเจ๊หน่อยอยู่ข้างหลัง ที่บรรยายมานี้ไม่ใช่ว่าสายไทยรักไทยทั้งหมดอยู่ข้างเจ๊หน่อยนะครับ เพราะ น.พ.สุชัย “หมอแม่ยายทักษิณ” ก็เข้ามาปลด น.พ.วิชัย เทียนถาวร และตอนเริ่มต้น 30 บาท หมอเลี้ยบกับหมอหน่อยก็ใช่ว่าจะกินเส้นกัน แต่ตอนนี้ พรรคเพื่อไทยทำเหมือนจะยกกระทรวงสาธารณสุขให้หมอหน่อยทำอะไรก็ได้ตามใจปากไปซะแล้ว ถลุงงบ 30 บาท บอร์ด สปสช.มีทั้งหมด 31 คน มีรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนหนึ่งเป็นบอร์ดตามตำแหน่ง ตามโควตาระบบราชการ เช่น ปลัดคลัง ปลัดกลาโหม ปลัดมหาดไทย ปลัดพาณิชย์ ปลัดสาธารณสุข ปลัดแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษา และ ผอ.งบประมาณ อีกส่วนเป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน อีกส่วนเป็นผู้แทนองค์กรท้องถิ่น อบต.อบจ.เทศบาล และ กทม.อีกส่วนเป็นผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวกับสุขภาพ 9 ด้าน เลือกกันเองเข้ามาเป็นกรรมการ 5 คน กรรมการทั้ง 4 ส่วนจะร่วมกันเลือกบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนข้างต้น ซึ่งที่ผ่านมาก็จะเป็นสายหมอประเวศเสียส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้ เครือข่ายหมอประเวศเหลืออยู่แต่ NGO 5 คนเท่านั้น เมื่อเสียงข้างมากในบอร์ดอยู่ในมือฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นพันธมิตรกับผู้บริหารกระทรวง แพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ชุมชน และ รพ.เอกชน อะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องดูเป้าประสงค์ของฝ่ายต่างๆ ที่สอดคล้องต้องกัน แน่นอน ฝ่ายการเมืองไม่ต้องการล้ม 30 บาทหรอก เพียงแต่ต้องการเข้าไปมีอำนาจล้วงลูกใน สปสช.ซึ่งตำแหน่งเลขา สปสช.กำลังจะครบวาระในเร็วๆ นี้ ถ้าปล่อยให้ทายาทหมอสงวนสืบทอดกันต่อๆ ไป นักการเมืองก็ไม่สามารถแตะต้องงบประมาณ สปสช.ที่เป็นงบเกือบทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารกระทรวงก็ต้องการล้มระบบ สปสช. เพราะระบบปัจจุบัน ปลัดกระทรวง รองปลัด ผู้ตรวจ ฯลฯ ไม่มีความหมาย สปสช.คุมงบ 1 แสน 7 พันล้านบาท จ่ายรายหัวๆ ละ 2,755 บาท โดยส่วนใหญ่จ่ายตรงไปยังจังหวัด มีบางส่วนที่ สปสช.คุมเองเฉพาะโรคที่ค่าใช้จ่ายสูง หรือโครงการรณรงค์เป็นพิเศษ แพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป อาจไม่ได้ต้องการล้ม 30 บาท แต่ต้องการล้มหัวใจของ 30 บาท นั่นคือระบบจ่ายรายหัวโดยรวมเงินเดือนแพทย์พยาบาล สิ่งที่พวกแพทย์เรียกร้องคือ ให้รัฐจ่ายค่ารักษาฟรีไป แต่แยกเงินเดือนออกมา ซึ่งถ้าทำอย่างนั้น แพทย์พยาบาลก็จะมากองอยู่ในเมือง ส่วนในชนบทมีงบเหลือเฟือให้รักษาฟรี แต่ไม่มีหมอ ในเบื้องต้น มีแนวโน้มว่า ทั้งแพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป และผู้บริหารกระทรวง ต้องการให้โอนเงิน สปสช.ลงไปให้ผู้ตรวจราชการเขตต่างๆ เป็นคนถือเงิน จากระบบปัจจุบันที่ส่งลงจังหวัด แล้วแต่ละจังหวัดไปตกลงกันเองว่าจะแบ่งลง ร.พ.ชุมชนเท่าไหร่ กันเงินส่วนกลางไว้เท่าไหร่ ส่วน รพ.เอกชน แน่นอนครับว่าไม่ต้องการล้ม 30 บาท แต่ต้องการให้ สปสช.ขยายเพดานค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น แทนที่จะมาต่อรองให้ลดลง ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเป้าประสงค์ของบริษัทยา ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ สปสช.เนื่องจาก สปสช.ตั้งแต่ยุคหมอสงวนมาจนปัจจุบัน ทำแสบกับบริษัทยาไว้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นการทำ CL ยาข้ามชาติ หรือการต่อรองราคายาและอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ Erythropoietin ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ขวดหนึ่งขายทั่วไป 670 บาท สปสช.ซื้อได้ 270 บาท ในปี 2553 ถัดมาปี 2554 ลดได้อีกเป็น 228.50 บาท ประหยัดเงินแต่ละปี 300 กว่าล้าน สายสวนหัวใจหรือสเตนท์ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อก่อนบริษัทยาดีดราคา 70,000-80,000 บาท แต่ สปสช.ต่อรองราคาได้ 30,000 บาท สำหรับที่ผลิตจากอเมริกา แต่ถ้าเป็นของจีน ต่อรองราคาได้หมื่นกว่าบาท กรณีนี้เคยมีเรื่องอื้อฉาว เพราะ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ผ่าตัดใส่ของจีนให้ผู้ป่วยแล้วมาเบิกราคาอเมริกา สปสช.ตรวจพบ ต้องเรียกเงินคืนกว่า 30 ล้านบาท โครงการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์เทียมให้ผู้ป่วยต้อกระจก เป็นหนึ่งในโครงการที่ สปสช.ทำเอง เรียกว่า Vertical Program ซึ่งพวกแพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป โวยวายว่า สปสช.กั๊กเงินเอาไว้ทำเองจน รพ.ขาดทุน แต่ความเป็นจริงคือ สปสช.ทำโครงการรักษา 88,000 ดวงตา ต่อรองให้ทำในราคา 7,000 บาท แล้วแต่ใครจะรับ รพ.รัฐอ้างว่าขาดทุน ทำไม่ได้ รพ.เอกชน น.พ.เอื้อชาติก็บอกว่าทำไม่ได้ แต่มี รพ.เล็กๆ คือ รพ.ศุภมิตร ที่อยุธยาและสุพรรณบุรี ทำได้ 19,000 ดวงตาในปี 2552 และปี 2554 รับทำ 24,000 ดวงตา โดยเปิดให้ผู้ป่วยทั่วประเทศไปรักษา เลนส์เทียมเมื่อก่อนดีดราคา 4-50,000 บาท แต่ปัจจุบัน สปสช.ซื้อจำนวนมากต่อราคาเหลือ 2,800 บาท ถ้าเป็นเลนส์แข็ง จากราคา 4-6,000 บาทต่อราคาเหลือ 700 บาท นี่คือตัวอย่างที่ สปสช.สามารถควบคุมกลไกราคายาและอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลสะเทือนต่อบริษัทยาและ รพ.เอกชน ที่รู้กันอยู่ว่าฟันกำไรมหาศาลจากค่ายา เพิ่มงบอย่าคิดว่าดี อันที่จริง ประเด็นที่แพทย์ รพ.ศูนย์และ รพ.ทั่วไป โวยวายว่า รพ.ขาดทุน ก็มีด้านที่น่าเห็นใจ เพียงแต่แพทย์เหล่านี้โวยวายแล้วก็พยายามจะสรุปให้แยกเงินเดือนออกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ตามที่ตัวเองตั้งธงไว้ ปัญหาที่ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป โวยว่าขาดทุน ต้องแยกให้ออกว่ามี 2 ช่วง ช่วงแรกคือช่วงเริ่มโครงการใหม่ๆ ในปี 2545 ซึ่งก็เป็นอย่างที่อธิบายคือ หลายๆ รพ.ยังมีบุคลากรล้นเกิน และระบบส่งต่อยังมีปัญหาเรื่องการเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาเมื่อระบบเริ่มเข้าที่เข้าทาง รพ.ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้โวยว่าขาดทุนอีก รพ.หลายแห่งมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ในช่วงที่ครบ 5 ปี แต่ไม่พูดกัน ช่วงที่สอง ที่ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป กลับมาโวยอีกครั้ง คือช่วงปี 2551 ตรงนี้ต้องยอมรับว่า สปสช.พลาด “เสียท่า” ให้กับ รพ.โรงเรียนแพทย์ และ รพ.ศูนย์ใหญ่ เนื่องจากมีการคิดระบบ DRG มาใช้ เพื่อกำหนดมาตรฐานค่ารักษา โดยใช้ RW เป็นตัวกำหนดค่าน้ำหนักโรค ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็สมมติเช่น โรครักษาง่าย 1 RW โรครักษายาก 10 RW ซึ่งปรากฏว่า โรครักษายากส่วนใหญ่ เช่น ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดหัวใจ จะมีแต่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น สปสช.คิดมาตรฐานราคาโดยเอาค่ารักษาที่แต่ละโรงพยาบาลเรียกเก็บ มาเฉลี่ยกัน เป็นมาตรฐานสำหรับปีต่อไป สมมติเช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง ทั่วประเทศ บาง รพ.อาจเรียกเก็บ 8,000 บาง รพ.เรียกเก็บ 12,000 แต่คิดรวมหมด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 เป็นต้น ผ่าตัดไส้ติ่งไม่มีปัญหา เพราะรักษากันได้แทบทุก รพ.ทั่วประเทศ แต่ผ่าตัดสมองมีปัญหาสิครับ เพราะรักษาได้แค่ รพ.ใหญ่ๆ พอใช้ระบบนี้ไปพักหนึ่ง รพ.ใหญ่ๆ รพ.มหาวิทยาลัย ก็เริ่มศรีธนญชัย เห็นช่องโหว่ ว่าถ้าต่างคนต่างเรียกเก็บราคาแพง ค่าเฉลี่ยก็ต้องแพงขึ้นๆ ฉะนั้น ก็เกิดรายการฮั้วกันโดยอัตโนมัติ ทำให้เงินจำนวนมากถูกดูดออกไปอยู่ที่ รพ.เหล่านี้ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า พวก รพ.มหาวิทยาลัยที่เคยโวยเมื่อเริ่มต้น 30 บาทใหม่ๆ ตอนนี้ไม่โวยเลย อยู่สุขสบายดี (แต่ตอนนี้ สปสช.รู้ทันและกำลังแก้ลำอยู่) คนเดือดร้อนก็คือแพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป แต่พวกนี้ก็ยังฝังใจกับความไม่พอใจนโยบาย 30 บาท และกล่าวหาว่า สปสช.กั๊กเงินค้างท่อ หรือเอาไปทำโครงการเอง Vertical Program อย่างที่ว่า อันที่จริงถ้าดูข่าวอนุกรรมาธิการวุฒิสภา ศึกษาปัญหาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อปี 53 ก็จะพบว่าในขณะที่หลายโรงพยาบาลโวยวายว่าขาดทุน บางโรงพยาบาลก็บอกว่ามีกำไร เช่นชลบุรี สระบุรี ซึ่งเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ รู้จักควบคุมระบบ แต่คณะอนุกรรมาธิการก็สรุปแต่ว่า เป็นเพราะไม่แยกเงินเดือนออกจากค่าใช้จ่ายรายหัว กระแสถล่ม สปสช.จึงเห็นชัดว่า หนึ่ง ต้องการให้แยกเงินเดือนออก สอง ถล่มผู้บริหาร เพื่อให้รับกับการที่จะต้องสรรหา เลขา สปสช.ใหม่ เช่น ร่อนเอกสารตรวจสอบของ สตง.ซึ่งเป็นการท้วงติงว่าไม่ทำตามระเบียบ แต่ไม่ได้บอกว่าทุจริต และฟังคำชี้แจงของเลขา สปสช.แล้ว หลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่ สปสช.ถือว่าตัวเองมีอิสระ บางเรื่องเช่นการจัดซื้อจัดจ้าง การที่ สปสช.ไม่ทำตามระเบียบ กลับจัดซื้อได้ถูกลง ขอ Note ไว้ด้วยนะครับว่า อย่าคิดว่า สตง.เป็นนางเอกเสมอไป เพราะตอนทุจริตจัดซื้อรถพยาบาล 232 คัน พอตั้งกรรมการมาปลดล็อกสเปก สตง.กลับหาว่ากรรมการชุดหลังทุจริตเสียได้ สาม ข้อสำคัญที่อาจลวงตาชาวบ้านได้ผล คือการเพิ่มเงินค่าใช้จ่ายรายหัว แล้วไปเพิ่มอัตราค่ารักษาให้โรงพยาบาล ทั้งรัฐและเอกชน โดยอ้างว่า รพ.ขาดทุน อ้างว่าเพิ่มคุณภาพ ซึ่งเรื่องพวกนี้หลอกคนภายนอกที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจได้ง่าย อย่าลืมว่างบค่าใช้จ่ายรายหัวปีแรก จ่ายแค่ 1,202 บาทเท่านั้นนะครับ ปีที่แล้วจ่าย 2,895 บาท ปีนี้ถูกตัดงบเหลือ 2,755 บาท แต่ก็ยังมากกว่าปีแรก 2 เท่ากว่า ถามว่าปีแรกๆ ยังอยู่กันได้ ทำไมตอนนี้อยู่ไม่ได้ ถ้ารู้จักประหยัด ตัดทอน ต่อราคายา อุปกรณ์ อยู่ได้แน่ แต่ถ้าซื้อยากันตามใจบริษัท เพิ่มงบเป็นหัวละ 5,000 ก็เจ๊งครับ พูดอย่างนี้คนทั่วไปก็ไม่เข้าใจอีก เหมือนยกตัวอย่างสเตนท์ สายสวนหัวใจ หมอ ร.พ.มหาวิทยาลัยหยามของจีน ไม่ยอมใช้ สปสช.ต้องอนุโลมยอมให้ใช้ของอเมริกา แต่ถามว่าที่เปลี่ยนๆ ของจีนกันไป ใช้ได้ไหม ราคายาก็เหมือนกัน พาราเซตามอล คุณจะซื้อขององค์การเภสัช ขวดละไม่กี่บาท หรือซื้อในห้าง ขวดละหลายสิบบาท หรือซื้อใน รพ.เอกชน ขวดละเป็นร้อย มันก็คือพาราเซตามอล และยาบางอย่าง เช่นยาปฏิชีวนะ ใช้ยาแรง ใช้ยาแพง ก็ใช่ว่าจะดี เพราะยิ่งทำให้เชื้อดื้อยาง่าย แต่หมอทั่วไป หมอเอกชน หมอ ร.พ.มหาวิทยาลัย ที่มีดีเทลยาสาวๆ เข้าหาบ่อยๆ มักจะสร้างความเชื่อฝังใจให้คนไข้ว่ายาดีต้องแพงกว่า ยายิ่งหายากยิ่งวิเศษ ซึ่งมันอาจจะเป็นยาบางตัว แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างที่อันตรายคือ เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานประกันสังคมประกาศว่า สปส.จะจ่ายค่าบริการทางแพทย์ให้หน่วยบริการ 1 RW = 15,000 บาท มากกว่าข้าราชการและบัตรทอง ที่จ่าย 1 RW=12,000 บาทและ 9,000 บาท โห เกทับบลัฟฟ์แหลก รัฐมนตรีแรงงานออกมาลอยหน้าลอยตา คิดว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง เอาใจผู้ประกันตนทั่วประเทศ ที่ไหนได้ เสียค่าโง่ครับ เพราะอย่างที่อธิบายข้างต้นแล้วว่า 1 RW คืออัตราค่ารักษาต่อค่าน้ำหนักโรค สมมติง่ายๆ 1 RW เท่ากับการผ่าตัดไส้ติ่ง มันแปลว่าคุณผ่าตัดไส้ติ่งเหมือนกัน แต่ถ้าคุณเป็นข้าราชการ กรมบัญชีกลางจ่ายให้โรงพยาบาล 12,000 ถ้าใช้บัตรทอง สปสช.จ่ายให้ 9,000 ถ้าถือบัตรประกันสังคม สปส.จ่ายให้โรงพยาบาล 15,000 นี่หลายคนยังไม่เข้าใจ คิดว่าดีสิ ประกันสังคมควรจะมีสิทธิดีกว่าบัตรทอง เปล่า ไม่ใช่เลย เงินนี้ไม่ได้จ่ายให้เรา เขาจ่ายให้โรงพยาบาล จ่ายต่างกันทั้งที่ผ่าไส้ติ่งเหมือนกัน โอเค คุณอาจจะได้หมอมีชื่อเสียงกว่า พยาบาลสวยกว่า บริการดีกว่า แต่ในภาพรวมแล้วคือโรงพยาบาลได้ ไม่ใช่เราได้ นี่ไม่รวมค่าห้องค่าใช้จ่ายอื่นๆ หมอพงศธร พอกเพิ่มดี ที่ออกมาโวยเรื่องนี้ถึงบอกว่าประกันสังคมควรไปเพิ่มค่าห้องพิเศษให้ยังดีเสียกว่า ถามว่าขึ้นค่า RW อย่างนี้ใครได้ ก็ รพ.เอกชนที่รับประกันสังคมอยู่ลูบปาก แล้วใครเสีย ก็คนถือบัตรทอง ที่จะกลายเป็นพลเมืองชั้นสามทันที คิวไม่มีเอาไว้ทีหลัง ส่วนผู้ประกันตนก็เสียเงินกองทุนประกันสังคม แทนที่จะเอาไปใช้อย่างอื่นให้คุ้มค่ากว่า นี่คือตัวอย่างที่แพทย์ชนบทเรียกร้องว่า รัฐบาลควรจะรวมระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกันแล้วให้ สปสช.ดูแลแต่ผู้เดียว ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ทำให้ผู้ประกันตนต้องมีสิทธิเท่าบัตรทองทั้งที่เสียเงินประกันตนนะครับ เพราะข้อเสนอคือ รัฐจ่ายให้หมดเท่าเทียมกัน เงินประกันสังคมให้เอาไปใช้ด้านอื่น เช่น ประกันการว่างงาน ยังดีกว่า ทุกวันนี้ ประกันสังคมกับบัตรทอง ที่จริงก็ได้สิทธิแทบจะไม่ต่างกันอยู่แล้ว ถ้าทำอย่างนี้ข้อดีคือ สปสช.จะคุมอำนาจต่อรองทั้งหมด ทำให้ค่ารักษา ค่ายา ถูกลงเท่าเทียม ประเด็นนี้ดูเหมือนนายกรัฐมนตรีเข้าประชุมบอร์ด สปสช.ครั้งล่าสุด ก็กำชับให้เป็นนโยบาย ซึ่งถือเป็นเรื่องดี นี่จะเป็นการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพครั้งใหญ่ครั้งที่สอง แต่ปัญหาคือ ถ้ากลุ่มแพทย์ที่เรียกร้องให้แยกเงินเดือน กับเครือข่ายธุรกิจเอกชน และกลุ่มการเมืองผลประโยชน์ เข้าไปยึด สปสช.ได้ มันก็สวนทางนโยบาย และจะทำให้ทุกอย่างจบเห่ งบประมาณหลักประกันสุขภาพจะบานปลาย จนกลายเป็นภาระหนักของประเทศ ซึ่งถึงตอนนั้นถ้าไม่ล้มก็เหมือนล้มละครับ แล้วก็จะเป็นจริงอย่างที่แพทย์ชนบทบอกว่าเขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า ผมไม่ได้บอกว่าต้องอัญเชิญลัทธิประเวศกลับมาครองอำนาจตลอดไป แต่อย่างน้อยก็ต้องมีการถ่วงดุล และมีการจัดสัดส่วนให้เหมาะสม อย่างน้อย นักการเมืองพรรคเพื่อไทยหรืออดีตพรรคไทยรักไทย ที่เข้าใจปัญหาก็มีอยู่หลายคน ทำไมไม่ให้พวกเขาเข้ามาดูแล แต่ถ้าตัดโควต้าแบ่งสมบัติให้เจ๊ไปแล้ว ก็เอวังด้วยประการทั้งปวง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
Posted: 19 Jan 2012 02:11 AM PST
วันนี้มีประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เดือดเนื้อร้อนใจเกี่ยวกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในขณะเดียวกัน ก็มีประชาชนอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่เดือดเนื้อร้อนใจกับผู้ที่พยายามจะแก้ไขยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เมื่อประชาชนหลายฝ่ายต่างเดือดเนื้อร้อนใจกับประเด็น มาตรา 112 ประชาชนจะหวังพึ่งใครได้ ? ปรากฏชัดว่า กลุ่มประชาชนที่นำโดย คณะนิติราษฎร์ และ ครก. 112 ได้หันไปพึ่ง “ฝ่ายนิติบัญญัติ” โดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา เพื่อแก้ไปประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ ต้องติดตามต่อไป หากมองมาที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในฐานะ “ฝ่ายบริหาร” รองนายกรัฐมนตรี คุณเฉลิม อยู่บำรุง ก็กล่าวชัดเจนจะไม่เข้าไปแตะต้องมาตรา 112 ล่าสุด “ฝ่ายองค์กรอิสระ” อย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็แถลงจุดยืนว่าไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 จึงน่าคิดว่า “ฝ่ายตุลาการ” หรือ “ศาล” ที่มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ศาลจะเป็นที่พึ่งของสังคมเมื่อมีปัญหา มาตรา 112 ได้หรือไม่ อย่างไร ? แน่นอนว่า “แนวคำพิพากษาฎีกา” ตลอดหลายทศวรรตที่ผ่านมา ได้ตีความ มาตรา 112 ไปในทางที่อาจเข้าใจได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ นั้น “ไม่อาจแตะต้องได้” ศาลฎีกาเคยบังคับใช้ มาตรา 112 โดยนำหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักจารีตประเพณีมาประกอบการตีความไว้อย่างกว้าง เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 2354/2531 (คดีนายวีระ มุสิกพงศ์) ตอนหนึ่ง ศาลฎีกาอธิบายว่า: “… ศาลฎีกาเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย…บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข …องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ … บุคคลใดจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญมิได้ … บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ และ … รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต…” “…นอกจากนี้ประมวลกฎหมายอาญายังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป รวมทั้งบัญญัติความผิดฐานหมิ่นประมาทดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา 112 ด้วย…” “…ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวมา ย่อมเห็นได้โดยแจ้งชัดว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงคงอยู่คู่ประเทศตลอดไป ไม่เพียงแต่กฎหมาย แม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้า ฯ ตลอดมาตั้งแต่โบราณกาล การที่จะกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบเปรียบเปรย หรือเสียดสีให้เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้นหามีบุคคลใดกล้าบังอาจไม่ …” (เน้นคำและวรรคตอนโดยผู้เขียน ฉบับย่อยาวอ่านได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/112) คำถามที่น่าคิด คือ หากวันนี้มีคดีเกี่ยวกับ มาตรา 112 ไปถึง “ศาลฎีกา” อีกครั้ง “ศาลฎีกา” จะตีความกฎหมายอย่างไร ? หาก “ศาลฎีกา” ตีความกฎหมายดังเดิมทุกประการ ย่อมมีประชาชนเดือดเนื้อร้อนใจไม่น้อยไปกว่าเดิม กล่าวคือ ประชาชนฝ่ายหนึ่งย่อมยังคงเดือดเนื้อร้อนใจและต่อสู้เพื่อยกเลิกแก้ไข มาตรา 112 ในขณะที่อีกฝ่ายก็ต้องเดือดเนื้อร้อนใจและดำเนินการต่อต้านอีกฝ่ายพยายามแก้ไขกฎหมาย ในขณะเดียวกัน หากจะให้ “ศาลฎีกา” ทำตัวเป็นรัฐสภา เพื่อตีความให้ มาตรา 112 แปรผันให้สอดรับกับข้อเสนอนิติราษฎร์ ก็ย่อมเป็นการลุแก่อำนาจตุลาการและละเมิดกระบวนการทางประชาธิปไตย ศาลย่อมทำไม่ได้เช่นกัน คำถามสำคัญ คือ “ศาลฎีกา” จะสามารถตีความ มาตรา 112 “ดังที่เป็นอยู่” ให้ “หลักแหลม ลึกซึ้ง และแยบยล” เพื่อหาทางออกที่ยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย และนำความสงบสุขกลับมาสู่สังคมไทย ได้หรือไม่ ? หากผู้ใดจะลอง “คิดให้สมศาลฎีกา” (แทนที่จะ “คิดเพื่อตามศาลฎีกา” แบบที่เนติบัณฑิตไทยถูกปลูกฝังทุกวันนี้) ผู้นั้นก็อาจจะร่างคำพิพากษาฎีกา ดังนี้ ************** …ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่ถูกบัญญัติไว้ในลักษณะ “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ดังนั้น การตีความบังคับใช้ มาตรา 112 ย่อมต้องเป็นไปให้สมกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งย่อมแตกต่างไปจากลักษณะความผิดอื่น เช่น ลักษณะ “ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง” ที่มุ่งหมายจะคุ้มครองเกียรติยศของบุคคลเป็นการส่วนตัว ดังนั้น ผู้ที่จะกระทำผิดและต้องโทษตาม มาตรา 112 ได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้อง หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายแบบธรรมดาทั่วไปเท่านั้น แต่ผู้นั้นจะต้องกระทำในลักษณะหรือด้วยเจตนาที่รุนแรงถึงขั้นกระทบถึง “ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” อีกด้วย กล่าวคือ มาตรา 112 ตลอดจนบทบัญญัติมาตราอื่นที่อยู่ในลักษณะความผิดเดียวกัน เป็นบทบัญญัติต้องตีความตัวบทให้สอดคล้องกับตามเจตนารมณ์ของลักษณะความผิดเป็นรายกรณี มิใช่เหมารวมว่าการกระทำทุกกรณีที่ต้องตามตัวบทจะต้องสอดคล้องกับตามเจตนารมณ์ของลักษณะความผิดเสมอไป กล่าวให้ชัดเจนก็คือ การที่ศาลล่างในคดีนี้ ตลอดจนศาลฎีกาในอดีต ตีความประหนึ่งว่า การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ตามมาตรา 112 ไม่ว่าจะมีลักษณะเช่นใด ย่อมต้องถือเป็น “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” เสมอไปนั้น ถือเป็นการตีความกฎหมายที่กลับหัวกลับหาง คือ แทนที่จะตีความบทบัญญัติให้เข้ากับเจตนารมณ์ของลักษณะหมวดหมู่ กลับไปตีความหัวข้อหมวดหมู่ได้กลายมาเป็นเนื้อหาของบทบัญญัติมาตรา 112 เสียเอง ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การตีความในลักษณะกลับหัวกลับหางดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการประกันไว้ตามรัฐธรรมนูญเกินไปกว่าเท่าที่จำเป็น เห็นได้ชัดจากการตีความบทบัญญัติมาตราอื่นซึ่งถูกบรรจุเป็นความผิดลักษณะเดียวกับ มาตรา 112 ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่า “พลทหาร ก” ยุยงให้เพื่อนทหารในกองร้อยทิ้งอาวุธหนีกลับบ้านในยามที่ต้องสู้กับผู้ก่อการร้าย “พลทหาร ก” ย่อมทำ “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” แต่หากเป็นอีกกรณี คือ “พลทหาร ก” ยุยงให้ “พลทหาร ข” ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ล้างห้องน้ำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ กรณีนี้ ศาลย่อมไม่อาจตีความว่า “พลทหาร ก” ได้ทำ “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” จนถูกจำคุกได้ทันที แต่ศาลต้องพิจาณาเจตนารมณ์ของบทบัญญัติให้ได้สัดส่วนและสมเหตุสมผลว่า การไม่ทำหน้าที่ล้างห้องน้ำตามคำสั่งดังกล่าว กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือไม่? และสุดท้าย แม้หากการกระทำดังกล่าวจะไม่ถือเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ผู้บังคับบัญชาก็ย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะลงโทษทางวินับตามความเหมาะสมต่อไป ตัวอย่างที่ 2 สมมติว่า “นาง ก” เผาธงชาติที่สนามหลวง พร้อมปราศัยให้ล้มล้างประเทศไทย ย่อมชัดเจนว่าเป็นความผิด แต่หากเป็นอีกกรณี คือ “นาง ก” นั่งชมกีฬาอยู่ภายในบ้านกับ “นาง ข” จากนั้น “นาง ก” นำธงชาติไทยมาขยำและพูดจาเหยียดหยามความสามารถของชาติไทยในการแข่งกีฬาให้ “นาง ข” ฟัง หากกรณีนี้ “นาง ข” จะนำคดีไปฟ้อง “นาง ก” ว่ากระทำต่อธงชาติเพื่อเหยีดหยามประเทศชาติ จึงเป็น “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” จนถูกจำคุกได้เสมอไป ก็ย่อมไม่เป็นธรรมและไม่สมเหตุสมผลเช่นกัน ตัวอย่างที่ 3 สมมติว่า “นาย ก” ขายความลับทางทหารของประเทศไทยให้กับเจ้าหน้าที่กองทัพของต่างชาติที่มีแผนการรุกรานประเทศไทย “นาย ก” ย่อมมีความผิดตามมาตรานี้ แต่หากเป็นอีกกรณี คือ “นาย ก” ได้รับการว่าจ้างให้เป็นที่ปรึกษาทางการค้าของบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลต่างประเทศ โดย “นาย ก” ได้นำความรู้อันเป็นสากลในด้านการค้าของ “นาย ก” ไปช่วยให้รัฐบาลต่างประเทศค้าขายได้เปรียบประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง หากจะตีความว่า “นาย ก” คบคิดกับบุคคลอื่นซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศ ในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ และถูกจำคุกนั้น ย่อมเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์เช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น การตีความบังคับใช้ มาตรา 112 ย่อมต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยพิจารณาว่า การที่จำเลยได้กระทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 112 นั้น มีลักษณะที่รุนแรงหรือเจตนาที่มุ่งให้กระทบต่อ “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” หรือไม่ หากศาลพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะกรณีและพบว่าความผิดมีความรุนแรงหรือเจตนาที่กระทำเพื่อให้กระทบต่อ “ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ศาลย่อมต้องพิพากษาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษให้เข็ดหลาบและสาสม ในทางตรงกันข้าม หากการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำโดยความไร้เดียงสา หรือโดยไม่ทันระวังยั้งคิด หรือเป็นการติชมวิพากษ์วิจารณ์อย่างสุจริต โดยปราศจากเจตนาที่จะกระทำเพื่อให้กระทบต่อ “ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” แล้วไซร้ ศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ใดจะไม่ได้กระทำผิดตามมาตรา 112 แต่กฎหมายก็ย่อมเปิดช่องให้ดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำการดังกล่าวหากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๗ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ...กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หรือ มาตรา ๓๗๒ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใด...กระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท” เป็นต้น ส่วนประเด็นที่โจทก์อ้างถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 ซึ่งบัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ นั้น เห็นว่า เป็นบทบัญญัติที่ต้องตีความประกอบกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 ซึ่งการจะลงโทษจำคุกผู้ใดนั้น ศาลย่อมต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นการเฉพาะ ดังนั้น เมื่อได้วินิจฉัยไปแล้วว่า มาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในกรณี “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” เท่านั้น อีกทั้งยังมีบทบัญญัติอื่นที่นำมาบังคับใช้ลงโทษได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเฉพาะกรณี ข้ออ้างของโจทก์ในข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น อนึ่ง นอกจากเหตุผลทางกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ยังพึงระลึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งได้ทรงพระราชทานต่อคณะผู้เข้าเฝ้าถวายพระพร รวมถึงบรรดาผู้พิพากษาตุลาการ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การตีความบังคับใช้มาตรา 112 โดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์นั้น นอกจากจะเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และนำมาซึ่งความแตกแยกภายในสังคมดังที่ปรากฏในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการที่สร้างความเดือดร้อนลำบากต่อเบื้องพระยุคลบาทอันเป็นการมิบังควรยิ่งอีกด้วย ดังนั้น จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ จึงวินิจฉัยว่า การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายกรณีมาตรา 112 โดยไม่ได้พิจารณาถึงลักษณะการกระทำและเจตนาของจำเลยว่าเป็น “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” หรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยความผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง… ************** ผู้เขียนเชื่อว่า หาก “ศาลฎีกา” ตีความมาตรา 112 ดังที่กล่าวมานี้ ผู้ที่ต้องการแก้ไขยกเลิก มาตรา 112 ไม่จำเป็นต้องเดินหน้าแก้ไขยกเลิกต่อไป และฝ่ายที่ต่อต้านการแก้ไข ก็สบายใจได้เช่นกัน สังคมอาจแก้ปัญหา มาตรา 112 โดยไม่ต้องมีการยกเลิกแก้ไขตัวบทกฎหมายเลย ก็เป็นได้ ผู้เขียนย้ำว่า “ศาล” ไม่ได้เป็นร้านขายคำพิพากษา แต่เป็นศูนย์กลางของสังคมที่คอยเชื่อมโยงความสูงส่งแห่งหลักการให้สอดรับกับมโนธรรมสำนึกของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ศาลคือผู้ที่ต้องแสวงหาความจริงแห่งยุคสมัยและอธิบายความถูกต้องให้แก่สังคมในยามที่มืดมนและสับสน ดังนั้น ในยามที่ขาดแสงเช่นนี้ จึงขอฝากให้พวกเราประชาชน โดยเฉพาะบรรดานักนิติศาสตร์และครูบาอาจารย์กฎหมายทั้งหลาย โปรดร่วมส่งแรงจรรโลงความหวังทางสติปัญญาไปยังตุลาการผู้มีใจอันเป็นธรรม ให้สามารถเป็นตุลาการที่หลักแหลม ลึกซึ้ง และแยบยล และเป็นตุลาการในพระปรมาภิไธยเพื่อปวงชนได้อย่างสง่างามและแท้จริง.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
ผ่า 3 ทางเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว Posted: 19 Jan 2012 01:55 AM PST เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่าน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ไปมอบนโยบายด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สำคัญและน่ายินดียิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้พูดถึง “การทำให้ระบบสุขภาพทั้ง 3 ระบบให้มีบริการขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเรื่องนี้ที่มีมาอย่างยาวนานของคนไทย โดยจะมีการประชุมระดมสมองสำหรับผู้เกี่ยวข้องเร็วๆนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้นยังสั่งการให้กรมบัญชีกลางโดยผ่านบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปศึกษาเพิ่มเติมอีก บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสรุปแนวทาง และความเป็นไปได้สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการนำไปสู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวของคนไทย ซึ่งแนวคิดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นี้ไม่ใช่ความคิดใหม่ ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอเป็นทางเลือกจากหลายฝ่ายที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมของบริการสุขภาพทั้ง 3 ระบบการรักษาพยาบาลมาแล้ว ซึ่งสามารถสรุปใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน 2) รูปแบบสำนักงานพัฒนาการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และ 3) รูปแบบภาคเอกชน ที่เสนอโดยสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) และแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนบางกลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 1 ความแตกต่างในการออกแบบของ 3 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 ข้อเสนอของภาคประชาชนและองค์กรเอกชน เป็นรูปแบบที่มีจุดเด่น ด้านความเป็นธรรมและประสิทธิภาพ โดยใช้เงินจากระบบภาษีของประชาชน มีหน่วยงานเดียวบริหารจัดการ ประชาชนสามารถไปใช้บริการโดยไม่ต้องบอกว่ามีสิทธิอะไร ซึ่งจะได้รับความเป็นธรรม และยังมีจุดเด่นในเรื่องประสิทธิภาพ เนื่องจากเสียงบบริหารจัดการเพียงสำนักงานเดียว มีผลจากอำนาจการต่อรองสูงของกองทุน (purchasing power) ต่อหน่วยบริการ มีการรวมและเฉลี่ยความเสี่ยงของประชาชนทั้งประเทศ ส่วนด้านคุณภาพก็ไม่แตกต่างจากรูปแบบอื่นเท่าใดขึ้นอยู่กับงบเหมาจ่ายรายหัว แต่มีจุดอ่อนเรื่องความยั่งยืนของงบประมาณในอนาคต เพราะเป็นภาระของภาษี และจะมีแรงต่อต้านจากประชาชนในระบบอื่นๆ ในการบริหารจัดการโดยหน่วยงานเดียว ที่สำคัญแรงต้านจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจการแพทย์ที่จะเสียประโยชน์จากการทำธุรกิจ เนื่องจากกองทุนจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น บริษัทยาที่เคยทำกำไรได้สูง ก็อาจจะทำกำไรได้ลดลง เป็นต้น แต่ในภาพรวมถือได้ว่าเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ประเทศที่พัฒนาแล้วจำนวนมากใช้ระบบนี้ รูปแบบที่ 2 ข้อเสนอสำนักงานพัฒนาการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ที่ตั้งขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยนั่งเป็นประธานด้วยตนเอง หวังที่จะตั้งสำนักงานขึ้นมาใหม่เพื่อคุมทั้ง 3 กองทุน เป็นหน่วยงานที่คอยกำหนดสิทธิประโยชน์ วิธีจ่ายเงิน และข้อมูลข่าวสารของทั้ง 3 กองทุน ต้องการให้ทั้ง 3 ระบบกระทบกระเทือนน้อยที่สุด แต่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด รูปแบบนี้เป็นรูปแบบประนีประนอม ที่ไม่ต้องการผ่าตัดทั้งระบบ แต่ก็อาจจะมีจุดอ่อนในทางปฏิบัติ เพราะแต่ละระบบมีบอร์ดเป็นของตนเอง มีวิธีการออกแบบระบบด้วยตนเอง สำนักงานใหม่ไม่มีอำนาจที่จะบังคับทั้ง 3 กองทุนได้ จึงยากที่จะดำเนินการได้จริงๆ หากจะมีในลักษณะนี้ระบบสุขภาพก็ต้องมีหลายร้อยกองทุน สำนักงานนี้จึงจะมีอำนาจเต็มที่ จุดเด่นของรูปแบบนี้คือการประนีประนอม ไม่กระทบต่อระบบประกันสังคม ไม่กระทบต่องบประมาณของรัฐบาลที่ต้องจ่ายให้กับผู้ประกันตนอีก 10 ล้านคน ไม่แก้ปัญหางบประมาณ แต่จะไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม และประสิทธิภาพต่อระบบในระยะยาว และยังไม่เคยเห็นประเทศใดที่มีเพียง 2-3 กองทุนใช้ระบบนี้ รูปแบบที่ 3 ข้อเสนอเอกชน โดยสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) และแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนบางกลุ่ม ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันกันแบบทุนนิยม โดยต้องการให้ประชาชนทุกคนร่วมจ่าย (co-insurance) และให้บริษัทประกันชีวิตเอกชน เป็นผู้บริหารกองทุน ซึ่งอาจมีกองทุนไม่จำกัด ระบบนี้เป็นระบบที่มีจุดอ่อนทั้งเรื่องประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม และไม่มีอะไรการันตีเรื่องคุณภาพ ที่สำคัญคือขัดกับลักษณะของระบบสุขภาพ ซึ่งมีลักษณะการตลาดล้มเหลว (market failure) ไม่สามารถใช้การตลาดแบบทุนนิยมเช่นภาคธุรกิจอื่นๆได้ ทั้งจาก ความไม่แน่นอน (uncertainty) ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนเองจะป่วยเมื่อใด โรคอะไร ความไร้สมมาตรของข้อมูลข่าวสาร (asymmetric information) ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ การตัดสินใจต่างๆของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับแพทย์ (agency relationship) และความเป็นสินค้าสาธารณะ (public goods) อย่างไรก็ตามระบบนี้ก็มีจุดแข็งในเรื่องความมั่นคงทางการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว เพราะเป็นการผลักภาระมาให้ประชาชนรับผิดชอบแทนในลักษณะต้องร่วมจ่าย แต่ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้ ตัวอย่างประเทศที่มีระบบนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดในโลก จนประธานาธิบดีโอบามาต้องปฏิรูประบบในที่สุด และตัวอย่างจาก กองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของไทย ที่มอบให้บริษัทประกันภัยเอกชนทำหน้าที่บริหารกองทุน แต่ละปีมีต้นทุนการบริหารจัดการสูงถึง 3,000-4,000 ล้านบาท ขณะที่มีเม็ดเงินกองทุนเพียง 10,000 ล้านบาทต่อปี เท่านั้น ทั้ง 3 รูปแบบนี้อาจไม่ใช่รูปแบบสำเร็จรูปทั้งหมด แต่เชื่อว่าเป็นแนวทางกว้างๆ ที่จะนำไปสู่การหารือกันในการประชุมระดมสมองเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมของระบบสุขภาพที่มีมาอย่างยาวนาน หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นรัฐบาลจริงใจกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะการมีผู้ประกันตน 10 ล้านคน เพียงกลุ่มเดียวที่ยังต้องจ่ายเงินอยู่ และหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศและคนไทยทุกๆคน ที่สำคัญงานนี้เป็นการพิสูจน์ฝีมือทีมงานที่อยู่เบื้องหลังพรรคเพื่อไทยว่ามีกึ๋นและความจริงใจแค่ไหนในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือคิดเพียงแค่เอารูปแบบที่พรรคประชาธิปัตย์ออกแบบมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะการไขความเหลื่อมล้ำของระบบหลักประกันสุขภาพในครั้งนี้นั้นยากกว่าการทำนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ทำให้คนไม่เคยมีหลักประกันสุขภาพได้หลักประกันสุขภาพเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลายเท่านัก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
3 ปี ผู้ว่าฯ กทม. คนกรุงเทพฯ 60.8% ยังไม่ประทับใจ Posted: 19 Jan 2012 01:49 AM PST เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 3 ปี ของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 3 ปี ผู้ว่าฯ กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,117 คน เมื่อวันที่ 12 -16 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ 5.78 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อตอนที่ ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำงานครบ 2 ปี 6 เดือน 0.11 คะแนน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 โดยพึงพอใจผลงานด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดมากที่สุด (6.25 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนน้อยที่สุด (5.43 คะแนน) สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนน 6.15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลสำรวจในช่วงที่ทำงานครบ 2 ปี 6 เดือน 0.13 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 2.1 โดยได้คะแนนด้านความขยันทุ่มเทในการทำงานมากที่สุด (6.60 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่น้อยที่สุด (5.78 คะแนน) ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านเปรียบเทียบกับช่วงที่ทำงานครบ 2 ปี 6 เดือนพบว่า มีเพียงด้านความขยันทุ่มเทในการทำงานเพียงด้านเดียวที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.56 คะแนนเป็น 6.60 คะแนน เมื่อสอบถามเกี่ยวกับผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.2 เห็นว่า มีผลงานเด่นชัดน่าประทับใจ (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงครบ 2 ปี ร้อยละ 8.6) โดยในจำนวนนี้ระบุว่าผลงานที่เด่นชัดมากที่สุดอันดับแรกคือ การแก้ปัญหาน้ำท่วม และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม (ร้อยละ 17.3) รองลงมา คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการอุโมงค์ยักษ์ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า (ร้อยละ 6.6) และความสะอาดของกรุงเทพฯ ทั้ง ทางเท้า ถนน และแม่น้ำลำคลอง (ร้อยละ 4.9) อย่างไรก็ตามคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.8 ยังเห็นว่าผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังต่อตัว ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อตอนได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. กับผลงานที่ปรากฏในขณะนี้พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 44.1 เห็นว่ามีผลงานพอๆ กับที่คาดหวังไว้ (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อครบ 2 ปี 6 เดือน ร้อยละ 2.1) ร้อยละ 15.5 เห็นว่าแย่กว่าที่คาดหวังไว้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8) และร้อยละ 13.2 เห็นว่าดีกว่าที่คาดหวังไว้ (ลดลงร้อยละ 1.6) ขณะที่ร้อยละ 27.2 ระบุว่าไม่ได้คาดหวังไว้ สุดท้ายเมื่อถามว่า “ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.9 ระบุว่าจะสนับสนุน (ลดลงจากผลสำรวจเดือน พ.ย. 54 ร้อยละ 1.4) ขณะที่ร้อยละ 18.3 ระบุว่าจะไม่สนับสนุน (ลดลงร้อยละ 11.3) และร้อยละ 43.8 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||
‘ปกาเกอะญอ โคอิ’ แห่งผืนป่าแก่งกระจาน Posted: 19 Jan 2012 01:36 AM PST เรื่องรางของปกาเกอะญอแห่งผืนป่าแก่งกระจาน มันเป็นเวลาช่วงบ่าย-สองวัน สำหรับการสัมภาษณ์ปู่โคอิ เราพบว่ามีข้อเท็จจริงบางเรื่องแตกต่างไปจากที่รับรู้ในครั้งแรก ปู่โคอิ ดูสดชื่นขึ้นกว่าครั้งแรกที่พบกันที่เซฟเฮ้าส์ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ที่ผ่านมา[4] บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นด้วยไม้ไผ่ที่ถูกตีให้แบน เมื่อเดินผ่านทางเข้าก็จะเห็นปู่นอนชิดทางขวาของตัวบ้าน ใกล้ๆ กับกองไฟที่ให้ความอบอุ่น(และเป็นที่ทำอาหาร) ถัดไป-มีชายชราผอมๆ อีกคนที่นอนอยู่ เสียงเรียกของล่ามทำให้ปู่ค่อยๆ ลุกขึ้นมานั่ง ดูเหมือนปู่จะคุ้นเคยกับการมาของคนแปลกหน้า ปู่พยักหน้าพร้อมพูดอะไรบางอย่างออกมา ล่ามแปลว่า “ปู่บอกว่าคุยได้” ถ้อยคำจากปู่โคอิ ผ่านล่าม พ่อชื่อ มิมิ ส่วนแม่ชื่อ นอดี ปู่โคอิ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 6 คน เรียงตามลำดับคือ 1) ดึ๊ลือ 2) นอมือรึ 3) น่อเจนัว 4) เคอะ 5) โคอิ 6) นอโพะ ไม่ต่างไปจากที่คาด-เมื่อถามถึงวันเดือนปีเกิด-ปู่ตอบว่า “ไม่รู้” แต่บอกได้ว่าปัจจุบันอายุ 103 ปี ล่ามแปลให้ฟังถึงวิธีการที่ปู่ใช้นับอายุ ปู่บอกว่านับอายุจากจำนวนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้ในแต่ละปี ผ่านไปแต่ละปีจะเก็บเมล็ดข้าวโพดเพิ่มอีกหนึ่งเมล็ด โดยพ่อแม่เก็บไว้ให้ก่อน ปู่ประมาณเอาจากปีที่ลูกชายคนโตของแกเกิด ปีนั้นนับเมล็ดข้าวโพดได้ 27 เมล็ดแล้ว และปู่เอาเม็ดข้าวโพดมาเรียงเก็บไว้ ทุกปี-เม็ดข้าวโพดจะเพิ่มขึ้นตามขวบปีของลูกชายที่โตขึ้น จึงตอบอย่างแน่วแน่ มั่นคงว่า ปัจจุบันตนอายุ 103 ปี เมื่ออายุได้ประมาณเริ่มเป็นหนุ่ม พ่อแม่ย้ายมาอยู่ที่บริเวณที่เรียกว่าบางกลอยบน โดยย้ายมาทั้งครอบครัว ใช้เวลาเดินเท้ามา หนึ่งวันเต็มๆ มาตั้งรกรากบ้านเรือนระหว่างบริเวณห้วยม้อลอ (โป่ง)กับห้วยคอลิ (เศษจาน) เมื่อมาถึงบางกลอยบน พบว่ามีผู้อาศัยอยู่ในบริเวณนี้แล้ว 4 ครอบครัว คือ ครอบครัวแรก-ครอบครัวพื้อโบ, ครอบครัวที่สอง-พื้อท้อเคาะ มีลูกคือพ้ะลุ้ย และเพาะกลอมึ ซึงเป็นลูกของเพาะกลอมึ ครอบครัวที่สาม-พื้อชาลัวะ มีลูกคือ นายจอโจ่ และครอบครัวสุดท้าย-พื้อคุ ต่อมามีลูกสาวชื่อปีจิ๊ ซึ่งเป็นมารดานายสมจิต กว่าบุ (ต่อมานายสมจิตร เป็นสามีนางบุเรมิ) ปู่อาศัยอยู่ได้ประมาณ 10 ปี จึงมีภรรยา คือหน่อทิกิพู้ ต่อมาอีก 2 ปีจึงมีลูกคนแรกคือ จอเงเง สอง-กะเทรอ สาม-บุเรมิ ในช่วงเวลาที่มีภรรยาคนแรก ปู่โคอิ เคยเข้าป่าล่าสัตว์กับเพื่อนๆ นำไปขายกับ “ซุ” หรือเพื่อนนำมิตร [5] เมื่อภรรยาคนแรกตาย ปู่ได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สอง คือ นอตะกี มีลูกด้วยกันสองคนคือ หนึ่ง-หน่อเอะ หรือนอแอ๊ะ สอง-หน่อสะ [6] ปู่ดำรงชีวิตตามวิถีทางกะเหรี่ยงปกาเกอะญอที่บรรพบุรุษสั่งสอนมา โดยปลูกข้าวไร่ ทำการเกษตรแบบหมุนเวียน ปลูกต้นหมากไว้ 2-3 แปลง แปลงละร้อยกว่าต้น ปัจจุบันหมุนเวียน 2-3 ปีต่อครั้ง ในช่วงที่ทางราชการแจกเหรียญชาวเขา ปู่ไม่ทราบเรื่อง แต่ลูกชายคือนายจอเงเง และลูกเขย คือนายสมจิต กว่าบุ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ลงจากเขาไปยังตัวอำเภอ ซึ่งขณะนั้นคืออำเภอท่ายาง ได้พบกับผู้ใหญ่มา ผู้ใหญ่จึงบอกให้ไปรับเหรียญชาวเขา ปู่บอกว่า “ไม่รู้เรื่อง” “ถ้ารู้ ก็คงไปรับเหรียญ แต่ระยะทางก็ไกลมาก” ช่วงที่มีการสำรวจทะเบียนสำรวจบุคคลในบ้าน (ทรชข.) [7] ปู่ยังจำได้ ปู่ได้รับการสำรวจพร้อมกับนอตะกีและลูกทั้งสอง ส่วนช่วงที่มีการสำรวจบัตรสีฟ้า (บัตรบุคคลบนพื้นที่สูง) [8] ปู่ไม่ได้รับการสำรวจ (ตกสำรวจนั่นเอง) เนื่องจากไม่เคยทราบเรื่องเลย อำเภอไม่เคยขึ้นมาที่บ้านบางกลอยเพื่อแจ้งให้ชาวบ้านทราบเลย และสำหรับการสำรวจบัตรเขียวขอบแดง (บัตรชุมชนบนพื้นที่สูง) [9] ปู่และครอบครัวก็ไม่ได้รับการสำรวจหรือตกสำรวจอีกเหมือนกัน และแม้คราวนี้อำเภอจะขึ้นมาดำเนินการ ณ บ้านโป่งลึกบางกลอยก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ขึ้นไปถึงบางกลอยบน ปู่โคอิและครอบครัวจึงเป็นผู้ตกหล่นจากการสำรวจและทำบัตรสีฟ้า (บัตรบุคคลบนพื้นที่สูง) และบัตรเขียวขอบแดง (บัตรชุมชนบนพื้นที่สูง) เหตุการณ์สำคัญในชีวิตครั้งล่าสุดสำหรับปู่โคอิ คือถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์และบ้านที่อาศัยถูกเผา ปู่เล่าว่า ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่มาพบก่อนหน้านั้นเพื่อเตือนให้ออกจากพื้นที่เลย วันนั้น-เจ้าหน้าที่บอกผ่านล่ามว่า ให้ปู่และครอบครัวลงไปจากป่า อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้แล้ว [10] ปู่ก็ตอบว่า “ไปไม่ได้หรอก ตามองไม่เห็น” เจ้าหน้าที่ก็ว่า-เขาจะลากไป แล้วเขาก็ลากปู่ไป ผ่านไปตรงที่มีตอไม้เยอะๆ จนถึงเฮลิคอปเตอร์ ปู่รู้ได้ยังไงว่าเป็นเจ้าหน้าที่? “รู้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ เพราะล่ามบอก” ปู่ไม่ได้เห็นภาพทรัพย์สินถูกทำลาย บ้านถูกเผากับตาของตัวเอง มีเพียงคนบอกมาว่าอุทยานเผาบ้าน และรับรู้จากลูกชายว่า ข้าวของในบ้านถูกเผา-ทำลายเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย มีด เคียว หรือ “เงินเป็นร้อย ที่ไม่ได้หามาได้ง่าย” ปู่เสียดายหมดทุกอย่าง “หากได้คืน ก็จะสุขใจ แล้วแต่จะคืนให้ ใจจริงๆ ก็ไม่ว่าอะไรเขาสักอย่าง จะคืนเป็นของหรือเป็นเงินก็ได้ แต่ก็ไม่กล้าขออะไร ..กลัวเขาจะมายิง” เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากได้คืนมามากที่สุด ปู่บอกว่า “เข็มขัดเงิน กับสร้อยคอที่เป็นรูปเหรียญซึ่งห้อยกับด้าย สร้อยลูกประคำ” และ “อยากกลับไปอยู่ที่เดิม ..เพราะมีหมาก พลู ของกินที่ปลุกไว้ กลับไปทำไร่ที่เดิม กลับไปที่ที่ร่องรอยของพ่อแม่เคยอยู่” ปู่ยืนยันว่าไม่เคยทำลายป่า ไม่เคยทำลายแผนดิน ไม่เคยนำไม้ไปขาย ทำแค่มีบ้าน พื้นที่ปลูกข้าวไร่ พืชผัก แม้ว่าบ้านเมืองจะพัฒนาไปอย่างไร ปู่ก็ทำเหมือนคนอื่นๆไม่ได้ ทำได้แค่นี้ เท่าที่พ่อแม่สั่งสอนมา มันเป็นเวลาช่วงบ่าย-สองวัน สำหรับการสัมภาษณ์ปู่โคอิ เราพบว่ามีข้อเท็จจริงบางเรื่องแตกต่างไปจากที่รับรู้ในครั้งแรก อาทิ ปู่บอกว่าปู่เกิดที่ต้นน้ำพาชี ปู่ไม่เคยไปรับเหรียญชาวเขา เหรียญที่ออกข่าวเป็นของลูกชายคือจอเงเง ที่ตกทอดถึงลูกชายคือมาดีหรือมงคลชัย แม้เราจะเห็นว่าความแตกต่างของข้อมูลดังกล่าวย่อมไม่กระทบถึงความเป็นกะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอดั้งเดิมแห่งผืนป่าแก่งกระจานของปู่โคอิ ติดตามอ่านฉบับต่อไป-งานวิเคราะห์และความเห็นทางกฎหมายต่อสถานะบุคคลตามกฎหมาย, สิทธิในที่ดินรวมถึงสิทธิในทรัพย์สินของปู่โคอิ
--------------------------------------------------------------------------------------- [1] เอกสารเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายใต้กิจกรรมงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) และเพื่อสนับสนุนงานเครือข่าย คือคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือคดี และเป็นเอกสารพัฒนาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก คณะนิติศาสต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2554, ปรับปรุงจาก ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, มอง 100 ปีกฎหมายสัญชาติไทยผ่าน 100 ปีของ ‘ปกาเกอะญอเฒ่าโคอิ’ แห่งผืนป่าแก่งกระจาน” ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554, สืบค้นได้ที่ [3] นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักกฎหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ [4] ที่จริงข้อมูลเบื้องต้นของปู่โคอิเคยถูกบันทึกและเผยแพร่ไปแล้ว-ในบันทึกชิ้นแรก (ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, มอง 100 ปีกฎหมายสัญชาติไทยผ่าน 100 ปีของ ‘ปกาเกอะญอเฒ่าโคอิ’ แห่งผืนป่าแก่งกระจาน ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554 แต่ด้วยเพราะเป็นข้อมูลที่รับฟังมาอีกทอดหนึ่ง รวมกับข้อเท็จจริงที่ว่า วันนั้น-ปู่โคอิมีอาการอิดโรย ทั้งจากการผ่าตัดต้อตา บวกกับการต้องนั่งอยู่บนรถที่ต้องกระแทกไปมาบนทางป่าและหิน ร่วมสองชั่วโมงเศษ บวกอีกด้วยความเสียใจที่อัดแน่นในใจเพราะเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์บ้านและยุ้งข้าวถูกเผาทำลาย รวมถึงลูกชายที่ถูกจับ.. ระหว่างที่เขียนบันทึกชิ้นแรก พบว่าบางคำถาม-ไม่ได้ถูกถาม นอกจากนี้ การไม่ได้ยินไม่ได้ฟังจากปากคนให้ข้อมูล เพื่อความมั่นใจในข้อมูล รวมถึงการเขียนงานวิเคราะห์สถานะบุคคล-เป็นไปอย่างมั่นใจ ..การถามใหม่ถามซ้ำด้วยตัวเองและรับฟังคำตอบด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่อยากทำ งานเขียนชิ้นนี้ ถอดความจากการสัมภาษณ์ปู่โคอิ โดยดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ในระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2554 ณ บ้านโป่งลึก-บางกลอย ตำบลห้วยแม่เพียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นการลงพื้นที่พร้อมกับทีมงานของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ เมื่อวันที่ 3-5 ธันวาคม 2554 [5] บุคคลที่ปู่โคอิ เรียกว่าเป็น “ซุ” หรือ “เพื่อนนำมิตร” ก็คือ นายระเอิน บุญเลิศ บิดาของนายวุฒิ บุญเลิศ ที่เป็นคนพากลุ่มนายพรานกะเหรี่ยงไปขายนอแรดที่จังหวัดราชบุรี สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554, ดูภาพประกอบโดยสืบค้นได้ที่ [6] ต่อมาทั้งหน่อเอะ หรือนอแอ๊ะ และหน่อสะ ได้รับการสำรวจและบันทึกในทะเบียนสำรวจบุคคลในบ้าน (ทรชข.) พร้อมกับปู่โคอิ และนางนอตะกี่ โดยท.ร.ชข. ดังกล่าวจัดทำโดยศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกาญจนบุรี สำรวจเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2531 [7] สำรวจเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2531 โดยเจ้าหน้าที่ของกรมประชาสงเคราะห์ในปีพ.ศ.2531 ภายใต้โครงการสำรวจข้อมูลประชากรชาวเขาหรือโครงการสิงห์ภูเขา (เป็นการสำรวจชาวเขาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2527) [8] ในระหว่างปีพ.ศ.2533-2534 กรมการปกครองได้มีโครงการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงและบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง (บัตรสีฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2533) เพื่อสำรวจบุคคลที่อยู่บนพื้นที่สูงทั้งหมด กล่าวคือ ไม่จำกัดเฉพาะชาวเขาเท่านั้น แต่รวมถึงชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่บนพื้นที่สูง 20 จังหวัด, อ้างจากเอกสารเผยแพร่ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายการทะเบียนชนกลุ่มน้อย ส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, “ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย”, มกราคม 2542 [9] โครงการสำรรวจและเพื่อทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวชุมชนบนพื้นที่สูง (บัตรสีเขียวขอบแดง) ซึ่งมีการดำเนินการในช่วงปีพ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำสถิติจำนวนชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศ โดยรัฐบาลกำหนดนโยบายให้มีสถานะเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว เพื่อรอการพิสูจน์สถานะต่อไป [10] ปฏิบัติการโดยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับหลายหน่วยงาน ภายใต้โครงการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชุมชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาบุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย – พม่า ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 5 – 9 พฤษภาคม 2554, อ้างอิงจาก เอกสารสรุปผลการปฏิบัติงานยุทธการตะนาวศรี โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า อุทยานแห่งชาติแกเงกระจาน ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2554 โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช กระทรวงการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น